อาเซียนศึกษา เล่ม 7

Page 1

1


2

อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)

จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ

สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี

คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก


3

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม

ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี

หน่วยที่

แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน

ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ

               

               


4

คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ

นิตยา วรวงษ์


5

สารบัญ หน้า ประเทศกัมพูชา

6

7.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน

8

7.2 สภาพทางภูมิศาสตร์

8

7.3 ประวัติความเป็นมา

9

7.4 การเมืองการปกครอง

11

7.5 เศรษฐกิจ

11

7.6 สังคมและวัฒนธรรม

12

7.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย

13

แบบทดสอบ

15

เฉลยแบบทดสอบ

17

บรรณานุกรม


6

ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

สาระการเรียนรู้

1. ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกสาระสาคัญของประเทศกัมพูชาได้

สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศกัมพูชา


7

กัมพูชา ชื่ออย่างเป็นทางการ

ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

ขนาดพื้นที่

181,036 ตารางกิโลเมตร

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือติดต่อกับประเทศไทย และประเทศลาว ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศเวียดนาม ทิศใต้และ ทิศตะวันตกจดกับทะเลอ่าวไทย

เมืองหลวง

พนมเปญ (Phnom Penh)

จานวนประชากร

14.45 ล้านคน (พ.ศ. 2552)

ชาติพันธุ์

ร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวเขมร รองลงมาเป็นชาว เวียดนาม ชาวจีน ชาวไทย ชาวลาว และเชื้อสายอื่นๆ

ภาษา

ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ โดยทั่วไปใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส

ศาสนา

พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจาชาติ

ระบอบการปกครอง

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

วันชาติ

9 พฤศจิกายน

สกุลเงิน

เรียล (1 เรียล เท่ากับ 0.0077 บาทโดยประมาณ)

GDP

11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2552)

รายได้ประชาชาติ

635 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2552)

อุตสาหกรรม

โรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้ รองเท้า น้าตาล ปูนซีเมนต์ กระดาษ และสิ่งทอ

สินค้านาเข้า

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง

สินค้าส่งออก

เสื้อผ้าและสิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้แปรรูป ยางพารา บุหรี่ ข้าว และ ข้าวโพด


8

7. กัมพูชา (Cambodia) 7.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 และถูกยกเลิก ไปเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมือง ถูกนากลับมาใช้อีกครั้งใน พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีริ้ว 2 สี สีน้าเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ สีแดง หมายถึง ชาติและมีปราสาทหินนครวัด 3 ยอดสีขาว หมายถึง สันติภาพและศาสนา 2. ตราประจาแผ่นดิน มีลักษณะเป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุม พานแว่นฟ้าอัญเชิญพระแสงขรรค์ซึ่งหมายถึงพระราชอานาจและความ ยุติธรรม และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมีซึ่ง หมายถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมเขมร มีลายช่อต่อออกมาจาก กรรเจียกจรทั้ง 2 ข้าง มีรูปลายก้านขดเป็นฐาน ขนาบด้วยฉัตร 5 ชั้น ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งหมายถึง พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีประคองข้างด้วยราชสีห์และคชสีห์ซึ่งหมายถึงปวง ชนผู้ค้าจุนราชบัลลังก์เบื้องล่างสุดเป็นแพรแถบเขียนข้อความว่า “พระเจ้ากรุงกัมพูชา” 7.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตั้งอยู่ทางตอนใต้ ของคาบสมุทรอินโดจีน มีเนื้อที่ประมาณ 181,036 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศไทย และประเทศลาว ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศเวียดนาม ทิศใต้และ ทิศตะวันตกจดกับทะเลอ่าวไทย 2. ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของกัมพูชาอยู่ในเขต ที่ราบลุ่มแม่น้าโขง มีทะเลสาบเขมร (โตนเลสาบ) อยู่ทางตอนกลางค่อน ไปทางตะวันตกของเทศ ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวทิวเขาล้อมรอบ ได้แก่ทิวเขาพนมดงรักทางทิศเหนือ ทิวเขาบรรทัดทางทิศตะวันตก ทิวเขาพนมกระวานตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ และทิวเขาอันนัมทางทิศ ตะวันออก


9

3. ภูมิอากาศ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนมีฝนตกชุก แต่ในฤดูหนาวค่อนข้างแห้ง แล้ง เขตที่ราบตอนในของประเทศปริมาณฝนน้อย เพราะมีแนวทิวเขาขวางกั้นทิศทางลมที่พัดพาฝนเข้ามาสู่ แผ่นดิน มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 28 องศาเซลเซียส มีปริมาณฝนประมาณ 1,500 มิลลิเมตรต่อปีหรือ น้อยกว่านั้น 4. ทรัพยากรธรรมชาติ กัมพูชาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก แต่ในปัจจุบันลด จานวนน้อยลง เนื่องจากการทาสัมปทานป่าไม้มีมากขึ้น 7.3 ประวัติความเป็นมา ดินแดนเขมรในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักฟูนันและ อาณาจักเจนละ ก่อนที่จะกลายมาเป็นอาณาจักรเขมร หรืออาณาจักรขอม เป็นอาณาจักรที่มีอานาจมากในคาบสมุทร อินโดจีน ครั้นถึงสมัยสุโขทัยอาณาจักรเขมรก็เริ่มเสื่อมอานาจลง และต่อมาได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อชาติ ตะวันตกแผ่ขยายการล่าอาณานิคมเข้ามาในดินแดนแถบนี้เขมร ก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2406 ครั้นถึง พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสได้เลือกเจ้านโรดมสีหนุ ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษา 18 ปี ขึ้น

เจ้านโรดมสีหนุ

ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมณีวงศ์ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้บุกยึดครองเขมรจากฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2488 และได้ให้เอกราชแก่เขมร เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น กัมพูชา (Cambodia) นายซัน งอก ทัน (Son Ngog Thanh) นักชาตินิยมหัวรุนแรงได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนแรก ครั้นญี่ปุ่นแพ้สงคราม เขมรก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอีก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายซัน งอก ทัน ได้ตั้งขบวนการเขมรเสรีขึ้นเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสในที่สุดฝรั่งเศส ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อลดแรงกดดัน แต่หลังจากนั้นการเมืองของเขมรก็ยังมีปัญหาวุ่นวายอยู่ เจ้านโรดม สีหนุจึงประกาศใช้กฎอัยการศึก แล้วไปพานักในต่างประเทศเพื่อเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ช่วงเวลา เดียวกันนั้นฝรั่งเศสเผชิญกับวิกฤตทางทหารในการทาสงครามกับเวียดมินห์ ต้องเผชิญปัญหาหลาย ด้าน จึงได้ให้เอกราชแก่กัมพูชาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 หลังจากได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุทรง เป็นประมุขของประเทศต่อมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2498 จึงทรงสละราชสมบัติเพื่อมาเล่นการเมืองอย่าง


10

เต็มตัว ทรงนาประเทศให้เป็นกลางหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงคราม ในเวียดนามและลาว ในพ.ศ. 2513 เจ้านโรดมสีหนุได้เสด็จไปสหภาพโซ เวียต ในช่วงนั้นนายพลลอนนอลได้ทาการปฏิวัติยึดอานาจ เจ้านโรดมสี หนุต้องลี้ภัยไปอยู่ในประเทศจีน ทรงตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับฝ่ายเขมรแดง กองกาลังของเขมรแดงได้เข้าไปต่อสู้กับรัฐบาลนายพลลอนนอล ซึ่งมี สหรัฐอเมริกาสนับสนุน ในที่สุดกองกาลังเขมรแดง ซึ่งนาโดยนายพอลพต นายพลพต

และนายเขียว สัมพันธ์ ก็สามารถยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 ช่วง

นี้มีชาวกัมพูชาเสียชีวิตไปกว่า 1 ล้านคน ต่อมาเขมรฝ่าย อดีตผู้นากองกาลังเขมร เฮงสัมรินซึ่งเวียดนามและสหภาพโซเวียตสนับสนุนได้ขับไล่เขมรแดง แดง ออกไปและตั้งรัฐบาลใหม่ใน พ.ศ. 2521 ส่วนกองกาลังของเขมร 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้านโรดมสีหนุ ฝ่ายเขมร แดง และฝ่ายเขมรเสรี ซึ่งมีกองกาลังอยู่บริเวณชายแดนไทยได้สู้รบกับทหารฝ่ายเฮงสัมริน จนเกิดสงคราม กลางเมือง ชาวกัมพูชาจานวนมากต้องอพยพลี้ภัยสงครามมาพานักในประเทศไทย ต่อมารัฐบาลไทยสมัยพ เอกชาติชายชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เจรจาหยุดยิงภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ จัดให้มีการ เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เขมรจึงมีรัฐบาลที่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 2 คน คือ เจ้านโรดม รณ ฤทธิ์ โอรสของเจ้านโรดสีหนุ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และนายฮุนเซน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ต่อมา ใน พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชอาณาจักรกัมพูชาและเจ้านโรดมสีหนุทรงครองราชย์อีกครั้ง ครั้น ถึง พ.ศ. 2540 นายฮุนเซน ได้ปลอดเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ความ ขัดแย้งทางการเมืองมีมากขึ้น จนกระทั่งมีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ไม่มีพรรคการเมืองใจด ได้รับเสียงข้างมากจึงตั้งรัฐบาลผสมมีนายฮุนเซน เป็นนายกรัฐมนตรีครั้นถึง พ.ศ. 2547 เจ้านโรดมสีหนุทรง สละราชสมบัติและสถาปนาสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี พระโอรสเป็นพระมหากษัตริย์ของ ราชอาณาจักรกัมพูชา เหตุการณ์ทางการเมืองของกัมพูชาเริ่มคลี่คลายลง ภายหลังเมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้ง พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party) ได้รับชัยชนะ นายฮุนเซน หรือสมเด็จอัครมหา เสนาบดีเดโชฮุนเซน จึงเป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน


11

7.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง ประเทศกัมพูชาปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข องค์ปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน จากพรรคประชาชนกัมพูชา แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 1 ราชธานี คือ พนมเปญ และ 23 จังหวัด 2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ รัฐบาลในปัจจุบันของกัมพูชา

สมเด็จฯ ฮุนเซน

ภายใต้การร่วมมือกันของ 2 พรรคใหญ่ ได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชาและพรรคฟุนซินเปคมีเสถียรภาพสูง มาก ทาให้ความมั่นคงทางการเมืองมีค่อนข้างสูง ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคสมรังสีและพรรคสิทธิ มนุษยชนได้ร่วมมือกันเพื่อตรวจสอบและลดความเข้มแข็งของฝ่ายรัฐบาล แต่ยังคงมีความเข้มแข็งน้อยกว่า ฝ่ายรัฐบาลมาก ทางด้านการต่างประเทศนั้น การที่กัมพูชาถูกถอดออกจากบัญชีดาของสหรัฐอเมริกา ทาให้กัมพูชามี ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจต่อประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศเพื่อน บ้านที่ดีมากขึ้น อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์กับประเทศไทยกับประสบปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในเรื่อการ ปักปันเขตแดนและความขัดแย้งในการถือสิทธิ์ครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร แต่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น กับเวียดนามมากขึ้น 3. สิทธมนุษยชน ยังคงเป็นที่จับตามองของหลายฝ่ายต่อการกระทาของรัฐบาลในการควบคุมและ คุกคามการกระทาที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทางานของรัฐ เช่น กรณีการฟ้องหมิ่นประมาท นางมู ซกฮัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกัมปอต จากพรรคสมรังสี บีบคั้นและเพิกถอนสิทธิ์ทนายความของ

นาง

มู ฝ่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมองว่าเป็นความพยายามปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็น ซึ่ง ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งและขัดต่อหลักการประชาธิปไตย 7.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลกัมพูชา สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้นเพื่อลดปัญหาความ ยากจนภายในประเทศโดยมีรายได้หลักมาจากภาคเกษตร ซึ่งกาลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่การขยายตัวทาง เศรษฐกิจโดยภาพรวมแต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมกลับมีภาวะติดลบ เนื่องจากความซบเซาของ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า และรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดน้อยลง


12

2. ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินเรียล โดย 1 เรียลมีค่า เท่ากับ 0.0077 บาท โดยประมาณ 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ ปัจจัยการผลิต หลักยังคงอยู่ในภาคการเกษตร ได้แก่ดินและน้าที่ต้องอุดมสมบูรณ์ การทานาของชาวเขมรในบริเวณ ที่ลุ่มใกล้กับทะเลสาบเขมร

ซึ่งทาให้ได้พืชเศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย อาชีพหลักของชาวกัมพูชายังคงเป็นอาชีพการ

เพาะปลูก รองลงมาคือ การทาประมงในบริเวณทะเลสาบเขมร และการทาป่าไม้ โดยเฉพาะในเขตภูเขาทางตอนเหนือของประเทศ สาหรับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมนั้น เริ่มลดลงเนื่องจากความซบเซาของอุตสาหกรรมในประเทศ แรงงานบางส่วนกลับเข้าสู่ภาคการเกษตรในเขต ชนบท ขณะที่บางส่วนย้ายถิ่นฐานเข้าไปทางานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ให้ค่าแรงสูง กว่า จึงมักประสบปัญหาแรงงานข้ามเขตแดนอย่างผิดกฎหมาย 4. การค้าเสรีและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของอาเซียนและเข้า ร่วมเขตการค้าเสรีอาเซียน ทาให้ประเทศกัมพูชามีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศและประเทศเพื่อน บ้านเพิ่มมากขึ้น โดยจากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชาพบว่ามีการลงทุนจากประเทศ จีนและและประเทศเกาหลีใต้เข้ามาในประเทศมากที่สุดขณะที่เวียดนามเริ่มเข้ามาลงทุนในภาคการเกษตรและ ระบบโทรคมนาคมมากขึ้น รวมถึงการค้าและการลงทุนกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีมากขึ้นหลังจากรัฐบาล สหรัฐอเมริกา ถอนประเทศกัมพูชาออกจากบัญชีดา 7.6 สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ประชากรโดยส่วน

ในภาษาเขมร ซัวสเด = สวัสดี

ใหญ่เป็นชาวเขมร รองลงมาเป็นชาวเวียดนามและชาวจีนส่วน ใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทร้อยละ 95 มีภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ แต่โดยทั่วไปนิยมใช้ภาษาอังกฤษและภาษา ฝรั่งเศสร่วมด้วย

2. ประเพณีและวัฒนธรรม มีประเพณี พิธีกรรม รวมทั้งลักษณะของศิลปะที่ได้รับจากอิทธิพลมาจาก ศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะการเชื่อถือเทพเจ้าและโชคลางต่างๆ การแต่งกายนิยมใส่เสื้อกุยเฮง (ม่อฮ่อม) นุ่งกางเกงแพร นิยมนาผ้ามาพันรอบเอว ชุดประจาชาติของผู้ชายจะนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอปิด มีกระดุม 5


13

เม็ด ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงที่เรียกว่า “ผ้าซัมปอด”และผู้ปูน เนื้อมัน สีเข้มสดนิยมรับประทานปลาเป็นอาหาร มักจะ นาปลามาทาเป็นปลาร้า ซึ่งเรียกในภาษาเขมรว่า “ฮก” มีขนมจีนน้ายาและแกงซัมลอมจูล (แกงเปรี้ยว) เป็นอาหารประจาชาติ และยังมีงานวันสารทเขมรที่เรียกว่า “แซนโฎนตา” ซึ่งมีอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยกลายเป็น

ประชากรชาวเขมรในกรุงพนมเปญ

ประเพณีที่สาคัญของจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทยอีกด้วย 3. บุคคลสาคัญ ได้แก่ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และนายสม รังสี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน 7.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยความสัมพันธ์ใดด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง แม้จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอมา แต่มักจะเกิดปัญหาข้อขัดแข้ง ที่ทาให้มีการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตลงทั้งสองประเทศหลายครั้ง โดยเฉพาะในเรื่องการปักปันเขต แดนและความขัดแย้งในเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร แต่ทั้งสองประเทศได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาผ่านความ ร่วมมือในระดับทวิภาคี ซึ่งทาให้สถานการณ์เริ่มกลับสู่ภาวะปกติและมีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น

เรื่องน่ารู้ ปราสาทพระวิหาร (Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินแบบศิลปะบันทายศรี สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาศนาฮินดู สัทธิไศวนิกาย เพื่อถวายพระศิวะที่ประทับบนยอดเขาไกรลาส ตั้งอยู่ บนชะง่อนผาเป้ยตาดี บนทิวเขาพนมดงรัก โดยมีทางขึ้นปราสาทที่สะดวกที่สุดอยู่ในอาเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทย แบบวิหารมีสถาปัตยกรรมในแนวเหนือใต้แตกต่างจากปราสาทขอมส่วน ใหญ่ คาดว่าสร้างขึ้นราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 สันนิษฐานว่าเดิมมีชื่อว่า “ภวาลัย” เนื่องจากปราสาทแห่งนี้ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา และประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาถือแผน ที่คนละฉบับกัน ทาให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนกันบนเขาพระวิหารและทาให้เกิดข้อพิพาทกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกได้ตัดสินให้เป็นของประเทศกัมพูชา และใน พ.ศ. 2551


14

องค์การมรดกโลกได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นของประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับ จากฝ่ายไทย 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ประเทศไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจด้นการเกษตรโรงแรม การท่องเที่ยว ร้านอาหาร โทรคมนาคม ซึ่งมีการลงทุนสูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศกัมพูชาขณะที่การค้า ชายแดนระหว่างกันมีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวจากไทยเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวใน ประเทศกัมพูชาสูงเป็นอันดับ 8 ของประเทศกัมพูชา แต่ระหว่างทั้งสองประเทศมักประสบปัญหาเรื่อง แรงงานผิดกฎหมายและขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งได้มีความพยายามร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหานี้ 3. ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา มีความคล้ายคลึง กันทาให้การร่วมมือกันได้ง่าย โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ร่วม เพื่อส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของทั้งสอง ประเทศ รวมถึงความร่วมมือทางด้านระบบสารสนเทศและการ ปราสาทหินนครวัด สถานที่ท่องเที่ยวที่มีคน

สื่อสาร

ไทยเดินทางไปท่องเที่ยวมากในแต่ละปี

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชากรณีปราสาทเขาพระวิหารหรือกรณีใดก็ ได้ที่สนใจ นาข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน


15

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 7

ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย  ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. ประเทศกัมพูชาเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศไทย ก. อังกฤษ ข. ฝรั่งเศส ค. โปรตุเกส ง. สหรัฐอเมริกา 2. ใครเป็นผู้เรียกร้องให้ประเทศกัมพูชาได้เป็นอิสระ ก. เจ้านโรดม สีหนุ ข. เจ้านโรดม สมุหมุนี ค. เจ้านโรดม รณฤทธิ์ ง. เจ้านโรดม สุรามฤต 3. ประเทศกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจาชาติ ก. พุทธ ข. ฮินดู ค. คริสต์ ง. อิสลาม 4. จังหวัดใดในประเทศไทยมีเขตแดนติดกับดินแดนกัมพูชาทางทิศตะวันตก ก. อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ข. สุรินทร์ บุรีรัมย์ ค. สระแก้ว จันทร์บุรี ตราด ง. ขอนแก่น อุดรธานี 5. เมืองหลวงของกัมพูชา ณ ปัจจุบัน มีชื่อว่าอะไร ก. กัวลาลัมเปอร์ ข. เนย์ ปิดอว์ ค. หงสาวดี ง. พนมเปญ


16

6. รายได้หลักของประเทศกัมพูชาเป็นรายได้จากอะไร ก. ปลา ข. ข้าว ปศุสัตว์ ค. ไม้ ยางพารา ง. เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม 7. ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาใด ก. อันนัม ข. บรรทัด ค. พนมดงรัก ง. พนมอาออรัล 8. ปัจจุบันประเทศกัมพูชามีการปกครองในระบอบใด ก. คอมมิวนิสต์ ข. ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ค. สาธารณรัฐประชาธิปไตย ง. ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 9. ประเทศกัมพูชามีสภาพภูมิอากาศแบบใด ก. หนาวจัด ข. เมืองหนาว ค. มรสุมเขตร้อน ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง 10. ถ้านักเรียนอยากไปเที่ยวชมความงามของปราสาทหินนครวัดนครธม นักเรียนควรจะไปประเทศใด ก. ลาว ข. อินโดนีเซีย ค. กัมพูชา ง. เวียดนาม


17

เฉลยแบบทดสอบ

ข้อ

เฉลย

ข้อ 1

ข้อ 2

ข้อ 3

ข้อ 4

ข้อ 5

ข้อ 6

ข้อ 7

ข้อ 8

ข้อ 9

ข้อ 10


18

บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.


19

รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net


20


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.