1
2
อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)
จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดํารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ
สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดํารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี
คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก
3
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม
ดํารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี
หน่วยที่
แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ
4
คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสําคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดําเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ
นิตยา วรวงษ์
5
สารบัญ หน้า ประเทศอินโดนีเซีย
6
8.1 ธงชาติและตราประจําแผ่นดิน
8
8.2 สภาพทางภูมิศาสตร์
9
8.3 ประวัติความเป็นมา
9
8.4 การเมืองการปกครอง
10
8.5 เศรษฐกิจ
11
8.6 สังคมและวัฒนธรรม
12
8.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย
13
แบบทดสอบ
14
เฉลยแบบทดสอบ
16
บรรณานุกรม
6
ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
สาระการเรียนรู้
1. ประเทศอินโดนีเซีย
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกสาระสําคัญของประเทศ
อินโดนีเซียได้
สมรรถนะประจําหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย
7
อินโดนีเซีย ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(Republic of Indonesia)
ขนาดพื้นที่
1,904,443 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างลองจิจูด 95 องศา กับ 141 องศา ทิศเหนือจดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศติมอร์เลสและประเทศปาปัวนิวกินี ทิศใต้ จดกับทะเลติมอร์ และทิศตะวันตกจดกับมหาสมุทรอินเดีย
เมืองหลวง
จาการ์ตา (Jakarta)
จานวนประชากร
243 ล้านคน (พ.ศ. 2553)
ชาติพันธุ์
ร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวชวา รองลงมาเป็นชาวซุนดาส ชาวมาดูเรส และชาวมาเลย์
ภาษา
ภาษาบาฮาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) เป็นภาษาราชการ
ศาสนา
นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 85 รองลงมาเป็นคริสต์ศาสนา ศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ
ระบอบการปกครอง
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้า ฝ่ายบริหาร ดํารงตําแหน่งวาระละ 5 ปี
วันชาติ
17 สิงหาคม
สกุลเงิน
รูเปียห์ (1,000 รเปีย์ เท่ากับ 3.5 บาทโดยประมาณ)
GDP
706,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2553)
รายได้ประชาชาติ
4,222 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2553)
อุตสาหกรรม
การกลั่นน้ํามัน ก๊าซธรรมชาติ การต่อเรือ สิ่งทอ กระดาษ ไม้ขีดไฟ แก้ว จักรยาน เครื่องไม้แกะสลัก และการท่องเที่ยว
สินค้านาเข้า
น้ํามัน เหล็ก และผลิตภัณฑ์จากเหล็ก สิ่งทอ รถยนต์ เครื่องจักร อาหาร และเคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออก
ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ ยางพารา แร่ ดีบุก ชา และเครื่องเทศ
8 8. กัมพูชา (Cambodia) 8.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 มี ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบสีแดงอยู่ด้านบน หมายถึง ความกล้าหาญและอิสรภาพ และแถบสีขาวอยู่ด้านล่าง หมายถึง ความบริสุทธิ์หรือจิตวิญญาณของมนุษย์ มีชื่อเรียกว่า “ซังเมราห์ปูติห์” 2. ตราประจําแผ่นดิน มีลักษณะเป็นรูปพญาครุฑที่ปีก ข้างมีขนข้างละ 17 เส้น หาง 8 เส้น โคนหาง 19 เส้น และที่ คอ 45 เส้น ซึ่งหมายถึงวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) วันประกาศเอกราชของประเทศ ตรงกลางมีโล่ 2 อัน ซ้อนทับกันอยู่ โล่ใหญ่แบ่งเป็น 4 ช่อง ช่องบนซ้ายมีสีแดงและมี รูปหัวควายป่า หมายถึง ประชาชน ช่องบนขวามีสีขาวและมีรูป ต้นไทร หมายถึง ลัทธิชาตินิยมช่องล่างซ้ายมีสีขาวและรูปดอก ฝ้ายและรวงข้าว หมายถึง ความยุติธรรมและช่องล่างขวามีสีแดง และรูปสร้อยสีทอง หมายถึง หลักมนุษยธรรมและความผูกพัน ในสังคม โล่เล็กอยู่ตรงกลางมีสีดํารูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า ที่เท้าของพญาครุฑจับผ้าแพร แถบสีขาวเขียนข้อความว่า “เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย” เรียกชื่อตราว่า “พญาครุฑปัญจศีล” ใช้ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
แผนที่ประเทศอินเดีย
9 8.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ลองจิจูด 95 องศาไปจนถึง 141 องศา มีเนื้อที่ประมาณ 1,904,443 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทาทิศเหนือจดกับ ทะเลจีนใต้และมหาสมุทรเปซิฟิก ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศติมอร์-เลสเตและประเทศปาปัวนิวกินี ทิศ ใต้จดกับทะเลติมอร์ และทิศตะวันตกจดกับมหาสมุทรอินเดีย 2. ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นเกาะขนาดเล็ก และใหญ่รวมกันมากกว่า 13,500 เกาะ เกาะที่สําคัญ ได้แก่ เกาะสุมาตรา ชวา ซูลาเวซี หมู่เกาะโมลุกกะ บังกา บาหลี ลอมบอก ซุมบาวาซุมบา ฟลอเรส บอร์เนียว นิวกินี และ ติมอร์-เลสเต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟและที่ราบสูง มีแนวทิว ภูเขาไฟบนเกาะกรากะเตาในช่องแคบชุนดา เขาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และที่ราบลุ่มดินตะกอนอยู่ตามปาก ระหว่างเกาะสุมาตราและเกาะชวา แม่น้ําสายสั้นๆ
3. ภูมิอากาศ เป็นแบบป่าฝนเขตร้อน แต่มีอากาศไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลม มรสุมตลอดทั้งปี มีฝนตกชุก มีฤดูร้อนและฤดูฝน มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส 4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าดิบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดินส่วนใหญ่เป็นดิน ภูเขาไฟที่มีแร่ธาตุสูง มีทรัพยากรแร่หลายชนิด เช่น น้ํามันและก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก บ็กไซต์ เงิน ทองแดง 8.3 ประวัติความเป็นมา อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยโบราณมีอํานาจและมี ความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นระยะๆ ทั้งชาวมาเลย์ ชาว ฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ และชาวอาหรับที่เข้ามาค้าขายยังเกาะสุมาตรา ครั้นถึงสมัยล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ใน พ.ศ. 2415 ฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์ได้มาตั้งบริษัท United Dutch East India Company ที่เมืองจาการ์ตา เป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายในแถบนี้ แล้ว เปลี่ยนชื่อเมืองปัตตาเวีย ต่อมาฮอลันดาได้ยึดครองอินโดนีเซียเป็นอาณานิคมของตนเมื่อ พ.ศ. 2164 ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนนี้ไว้ได้และขับไล่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งช่วงนี้ได้มีการก่อตั้งขบวนการผู้ รักชาติขึ้น เมื่อสิ้นสุดสงครามและญี่ปุ่นพ่ายขบวนการผู้รักชาติจึงได้ประกาศเอกราชให้แก่ประเทศ ซึ่งตรงกับ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์ไม่ยอมรับและได้ส่งกอบทัพเข้ายึดอินโดนีเซียอีกครั้ง การสู้รบ ยืดเยื้อจนกระทั่งอังกฤษได้เข้ามาเจรจาให้ยุติสงครามด้วยการทําข้อตกลงลิงกัดยาติเมื่อ พ.ศ. 2489 แต่
10 เนเธอร์แลนด์ยังคงนําทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง หลายฝ่ายรวมทั้งองค์การสหประชาชาติได้เข้า มาช่วยระงับข้อพิพาทจนเนเธอร์แลนด์ยินยอมมอบดินแดนส่วนใหญ่ให้เป็นเอกราชในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ยกเว้นอีเรียนตะวันตก ต่อมาเนเธอร์แลนด์ได้ยกอีเรียนตะวันตกให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาดูแล แทน และสหประชาชาติได้ส่งมอบอีเรียนตะวันตนให้แก่อินโดนีเซียใน พ.ศ. 2506 กลายเป็นจังหวัดอีเรียน จายาในปัจจุบัน ขณะที่ดินแดนติมอร์ตะวันออกเมื่อได้รับเอกราชจากโปรตุเกสแล้ว อินโดนีเซียได้ส่งกองทัพ เข้าควบคุม จนกระทั่งวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ทางการอินโดนีเซียได้ยอมรับมติการขอแยกตัวของติมอร์ ตะวันออก ติมอร์ตะวันออกจึงได้รับเอกราชอย่างถาวรและกลายเป็นประเทศติมอร์-เลสเตมาจนถึงปัจจุบัน 8.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐมี ประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ ดร. ซูซิโล บัมบังยูโดโยโน (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ถือเป็นประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน คนแรกของประเทศ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด 1 เขต นครหลวง ได้แก่ กรุงจาการ์ตา และ 2 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ จังหวัดอาเจะห์และยอกยาการ์ตา 2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ หลังจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปลายสมัยของ ประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูกาโนบุตรี และต่อมาได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรก คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ประธานาธิบดียูโดโยโนได้ใช้ นโยบายต่างๆ เพื่อยุติความขัดแย้งของชนเผ่าต่างๆ ในประเทศและการปราบปรามผู้ก่อการร้ายอย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องการทุจริตในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ที่ทําให้นายยูโดโยโนได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีก สมัยหนึ่งก็ตาม ขณะที่การแต่งตั้งนายมาร์ตี้ นาตาเลกาวา อดีตผู้แทนถาวรแห่งสหประชาชาติเป็นรัฐมนตรีกระทรวง การต่างประเทศทําให้วิสัยทัศน์ของนโยบายต่างประเทศมีความกว้างไกลและทันสมัยช่วยพัฒนาความ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศได้ดีขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังมีความพยายามลดข้อขัดแย้งกับประเทศมาเลเซียใน หลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมที่มีความใกล้เคียงกัน แต่ในเวทีการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียนยังคงมี ความไม่ลงรอยกันปรากฏให้เห็นอยู่ในเรื่องการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียน เนื่องจากมาเลเซียเสนอให้จัดตั้ง กลุ่มเศรษฐกิจโดยดึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเข้ามาร่วมด้วย แต่ทางอินโดนีเซียกลับไม่เห็นด้วย 3. สิทธิมนุษยชน ประเทศอินโดนีเซียประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ ทําให้เกิดการละเมิด สิทธิ การกดขี่ข่มเหง การใช้ความรุนแรง และการไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ในปัจจุบันรัฐบาลได้ผ่าน
11 กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการก่อตั้ง คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งชาติและคณะกรรมการสิทธิสตรีแห่งชาติ 5.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ มีเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มีตลาดภายในประเทศที่เข้มแข็ง การ ลงทุนส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศมากกว่าการลงทุนจากภายในประเทศ พืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ ข้าว ยาสูบ กาแฟ เครื่องเทศ และปาล์มน้ํามัน มีแหล่งประมงทะเลที่กว้างขวางมีสัตว์ทะเลเป็นจํานวนมาก การ ทําเหมืองแร่ส่วนใหญ่เป็นการขุดน้ํามันและก๊าซธรรมชาติ แหล่งที่สําคัญอยู่บนเกาะสุมาตรา เกาะชวา และ เกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังมีการทําเหมืองแร่ดีบุก บ็อกไซต์ ถ่านหิน และนิกเกิล มีการทําป่าไม้เนื้อแข็ง บนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ขณะที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทํา ผ้าบาติก อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น กระดาษ จักรยาน การกลั่นน้ํามัน การต่อเรือ
แท่นขุดเจาะน้ํามันในทะเลชวา (ซ้าย) เกาะบาลีแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของประเทศ อินโดนีเซีย (ขวา) 2. ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินรูเปียห์ โดย 1,000 รูเปียห์มีค่าประมาณ 3.5 บาท 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นปัจจัยการผลิตที่ สําคัญของประเทศอินโดนีเซีย มีป่าไม้และสัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ และแม้ว่าดินส่วนใหญ่จะเป็นดินในเขตที่ สูง ก็มีการแก้ไขโดยการทํานาแบบขั้นบันไดตามเขตที่ลาดเชิงเขาประชากรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ขณะที่แรงงานส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมมักจะเดินทางไปใช้แรงงานในต่างถิ่นหรือ ต่างประเทศ โดยเฉพาะการเข้าไปทํางานในประเทศมาเลเซีย 4. การค้าและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลอินโดนีเซียสนับสนุนการลงทุนจาก ต่างประเทศสูงมากในปัจจุบัน ประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์
12 อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์ การลงทุนจากต่างประเทศทําให้เศรษฐกิจของประเทศ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว รัฐบาลอินโดนีเซียยังได้จัดสรรงบประมาณและกําหนดนโยบายการปราบปราม การก่อการร้ายเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ทําให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเป็นผู้นําและมีบทบาทสูงมากในกลุ่มสมาชิกอาเซียนและเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยเฉพาะการ กําหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียน 8.6 สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ประชากรส่วนใหญ่
ในภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย
เป็นชาวชวา มีผมสีดํา ตาเล็ก ผิวสีน้ําตาล จมูกใหญ่
ซาลามัต เซียง = สวัสดี
รองลงมาเป็นชาวซุนดาส มาดูเรส และชาวมาเลย์ ใช้ ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ยัง
มีการใช้ภาษาอังกฤษ ดัตซ์ และภาษาถิ่นอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาเป็น คริสต์ศาสนา ศาสนาฮินดู และพระพุทธศาสนา 2. ประเพณีและวัฒนธรรม ชาวอินโดนีเซียยืดหลักการดํารงชีวิตตามหลักศาสนาที่ตนนับถือทั้ง ศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม การแต่งกายในชุดประจําชาติ ผู้ชายจะใส่เสื้อคอปิดแขนยาวที่ทําจากผ้าลินิน และมีลวดลายที่ทําเป็นผ้าบาติกมาแล้ว สวมหมวกสีดํา (พิทจิ) และนุ่งโสร่ง (ปาเต๊ะ) มักเหน็บกริชไว้ด้วย เมื่อต้องเข้าพิธีกรรมต่างๆ ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนยาวพอดีตัว (ดามายา) และนุ่งผ้าจีบชายไว้ด้านหน้าให้ผู้ สูงเหนือพื้น ผู้หญิงบนเกะสุมาตราจะใส่เสื้อหลวมยาวถึงเข่าและมีผ้าพาดไว้ด้านหนึ่ง เรียกว่า “บัตยูกรุง” อินโดนีเซียมีศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหลักศาสนา เช่น สถูปเจดีย์แบบพระพุทธศาสนา ที่บูโรพุทโธ งานแกะสลักหินและเครื่องปั่นดินเผาตามแบบศาสนาฮินดู มีการแสดงนาฏศิลป์ 2 แบบ ไ ด้แก่ แบบสมาการ์ตา (Samakarta) มีท่วงทํานองที่นุ่มนวล และแบบยอกยาการ์ตา (Yogyagarta) มีท่วงทํานองที่ ไม่นุ่มนวล ตัวละครในการแสดงมักจะหลบตาลงต่ําและฟ้อนรําด้วยท่าทีที่อ่อนช้อย และมักใช้วงมโหรีที่ เรียกว่า “ตมิลัน” ประกอบการแสดง นอกจากนี้ยังมีการแสดงของวงดนตรีอังกะลุง การแสดงหนังตะลุง หรือวายัง และการแสดงละครเรื่องรามเกียรติ์อยู่บ่อยครั้ง อาหารของชาวอินโดนีเซียที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ บัคมีโกเรงหรือบะหมี่ผัด เซลบัลหรือน้ําพริก เคอดูปัดหรือข้าวต้มมัดอินโดนีเซีย และสะเต๊ะ 3. บุคคลสําคัญ ได้แก่ ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานธิบดีคนปัจจุบันของ ประเทศอินโดนีเซีย
13 8.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2493 โดยความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง มีความร่วมมือกัน
สัตว์น้ํา อาหารสัตว์ ยิปซัม กระเบื้อง ปิโตรเคมี และเหมืองแร่
เรื่องน่ารู้ เมื่อไปท่องเที่ยวหรืออยู่อาศัยกับ ชาวอินโดนีเซียไม่ควรปฏิบัติตน ดังนี้ - ไม่ควรใช้มือซ้ายรับหรือส่งของ หรือรับประทานอาหาร เพราะชาว อินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ - ไม่จับศีรษะหรือลูบศีรษะชาว อินโดนีเซียทั้งเด็กและผู้ใหญ่ - ไม่ครอบครองอาวุธ ยาเสพติด และรูปภาพอนาจาร เพราะมีโทษถึง ประหารชีวิต - ควรศึกษาว่าพืชและสัตว์ชนิด
ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีความร่วมมือกันในรูปของคณะกรรมาธิการ
ใดบ้างที่ไม่ควรนําออกนอกประเทศ
ร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (JC)
อินโดนีเซีย ซึ่งมีกว่า 200 ชนิด หากนํา
ในกรอบอาเซียนทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี มีการเดินทาง เยือนระหว่างผู้นําทางทหารของทั้ง 2 ประเทศอยู่เสมอ โดย เฉพาะความร่วมมือที่เกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และการก่อการร้าย 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 3 ของประเทศไทย ในอาเซียน มีมูลค่าการค้าร่วมกันมากกว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คนไทยนิยมเข้าไปลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมประมง การเพาะเลี้ยง
3. ด้านพลังงาน มีความร่วมมือทางด้านพลังงานน้ํามัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยใช้กลไกความร่วมมือผ่านการประชุม
ออกนอกประเทศจะมีบทลงโทษที่ รุนแรงเช่นกัน
Energy Forum ซึ่งจัดประชุมขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2551 4. ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา ที่สําคัญคือการสนับสนุนในด้านทุนการศึกษาแก่นักเรียน ชาวมุสลิมจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยเป็นการสนับสนุนให้ศึกษาต่อในด้านต่างๆ ยกเว้น ด้านศาสนา ผ่านศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
14 แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 8 ตอนที่ 1 จงเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย มีชื่อว่าอะไร ก. ตราครุฑ ข. ตราพญาครุฑปัญจศิล ค. ตรางู ง. ตรานางพญา 2. ปรัชญาที่สําคัญมากของอินโดนีเซียคืออะไร ก. หลักปัญจศีล ข. หลักธรรม ค. หลักปัญจธรรม ง. หลักทศพิศราชธรรม 3. วันชาติของประเทศอินโดนีเซียคือวันที่เท่าใด ก. 12 ตุลาคม 2488 ข. 15 กันยายน 2488 ค. 9 กันยายน 2488 ง. 17 สิงหาคม 2488 4. เกาะใหญ่ที่สําคัญในประเทศอินโดนีเซียมีจํานวนกี่เกาะ ก. 1 เกาะ ข. 2 เกาะ ค. 5 เกาะ ง. 6 เกาะ 5. อินโดนีเซียมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด ก. วิญญาณ พระเจ้า ข. เหตุผล ค. ความจริง ง. ความรัก
15 6. ดอกไม้ประจําชาติอินโดนีเซียคือดอกอะไร ก. ดอกดาวเรือง ข. ดอกชบา ค. ดอกกล้วยไม้ราตรี ง. ดอกบัว 7. แร่ธาตุที่สําคัญและทํารายได้ให้กับอินโดนีเซียมากที่สุด ก. ทอง ข. ยางพารา ค. ดีบกุ ง. น้ํามันปิโตรเลียม 8. ประเทศอินโดนีเซียกําหนดให้ภาษาใดเป็นภาษาบังคับในโรงเรียนมัธยม ก. ไทย ข. ฝรั่งเศส ค. ภาษาอังกฤษ ง. สเปน 9. อาหารประเภทใดคือเป็นอาหารหลักของชาวอินโดนีเซีย ก. ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ข. ข้าวเหนียว ค. ก๋วยจับ ง. บะหมี่ 10. ภาษาประจําชาติของอินโดนีเซียมีชื่อว่าอะไร ก. ภาษากูรู ข. ภาษาอังกฤษ ค. ภาษาบาฮาซา ง. ภาษาบาลี
16
เฉลยแบบทดสอบ ข้อ
เฉลย
ข้อ 1
ข
ข้อ 2
ก
ข้อ 3
ง
ข้อ 4
ค
ข้อ 5
ก
ข้อ 6
ค
ข้อ 7
ง
ข้อ 8
ค
ข้อ 9
ก
ข้อ 10
ค
17 บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สํานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.
18 รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net
19