ตรอกเฟื่องทองและตรอกวิสูตร เมืองเก่ายังไม่ไร้ช่างทอง

Page 1

คลองเมื อ งชั้น ในสุ ด ของกรุ ง เทพมหานครขุ ด มาตั้ง แต่ ส มั ย กรุงธนบุรี ถูกเรียกเป็นหลายชื่อ เช่น คลองคูเมืองเดิม-คลองโรง ไหม-คลองหลอด เริ่มจากท่าช้างวังหน้าทางทิศเหนือไปออกที่ปาก คลองตลาดทางทิศใต้ระยะทางราว ๒.๔ กิโลเมตร บริเวณนี้เคยมี ชุมชนหลายชาติพันธุ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยโดยเฉพาะคนจีน และคนมอญ เมื่อสร้างกรุงเทพมหานครจึงขุดคลองเมืองใหม่ คือ คลองบางลำพู-โอ่งอ่าง จึงมีการได้ย้ายพื้นที่พระบรมมหาราชวัง หรือที่ทำการรัฐบาล สร้างวังเจ้านายต่างๆ แล้วย้ายบ้านเรือนของ ขุ น นางและชุ ม ชนชาวจี น ในพื้น ที่ตั้ง แต่ บ ริ เ วณที่เ ป็ น พระบรม มหาราชวังตามฝั่งน้ำไปทางใต้ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณ พาหุรัดและ สำเพ็ง หน้าที่ของคลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคม และขนส่งสินค้าแทนที่คูเมืองและกำแพงป้องกันเมือง ส่วน “คลองหลอดบน” ที่ปัจจุบันเรียกว่าคลองหลอดวัดราช นัดดาฯ เริ่มแต่วัดบูรณศิริริมคลองเมืองฝั่งนอกขนานกับถนน ราชดำเนินกลางมายังวัดมหรรณพาราม ไปออกคลองโอ่งอ่างที่วัด เทพธิดาและวัดราชนัดดาใกล้กับป้อมมหากาฬ อันเป็นบริเวณที่มี การขุ ด คลองมหานาคผ่ า นวั ด สระเกศไปทางตะวั น ออกจนจรด คลองผดุ ง กรุ ง เกษมที ่ ขุ ด ในสมั ย รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “คลองหลอดล่าง” ที่ปัจจุบันเรียกว่าคลองหลอดวัดราชบพิธฯ ขุดจากคลองเมืองเดิมบริเวณหน้าวังสราญรมย์ผ่านวัดราชบพิธฯ ผ่ากลางพระนคร ผ่านหลังวัดสุทัศน์เทพวราราม ผ่านเรือนจำ พระนคร ออกคลองโอ่งอ่าง ระยะทางราว ๘๐๐ เมตร คลองหลอดคือคลองแนวตั้งที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองคูเมือง เดิ ม และคลองคู เ มื อ งใหม่ ตั้ง แต่ ใ นครั้ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ

เ มื อ ง ตรอกเฟื่องทอง เ ก่ า ยั ง และ ไ ม่ ไ ร้ ช่ า ง ตรอกวิสูตร ทอง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนที่กรุงเทพมหานคร ย่านสองฝั่งคลองหลอดวัดราชบพิธ บริเวณตรอกเฟื่องทองและตรอกวิสูตร พ.ศ. ๒๔๔๐

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คือ คลองหลอดทั้ง ๒ คลอง ชักน้ำ เชื่อมต่อระหว่างคลองคูเมืองเดิมและคลองเมืองใหม่เป็นแนว ตรงระยะทางราว ๑.๑ กิโลเมตร ทำหน้าที่คล้ายกับ “คลองท่อ” ที่พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้มีน้ำหมุนเวียนตามกระแสน้ำขึ้น น้ำลงไปยังคูคลองสายย่อยต่างๆ ภายในพระนคร และเป็น ถิ่นฐานการตั้งบ้านเรือนของชุมชนต่างชาติพันธุ์และบ้านเรือน ข้าราชการในยุคสมัยต่างๆ

ย่านสองฝั่งคลองหลอดวัดราชบพิธ ในช่วงต้นกรุงฯ บริเวณคลองหลอดล่างเมื่อแรกขุดคลอง ย่านนี้ไม่มีวัดดั้งเดิมก่อนการสร้างกรุงฯ ปากคลองเป็นสวนและ บ้านเรือนขุนนางข้าราชการและวังเจ้านาย โดยเฉพาะวังสราญ รมย์เป็นสวนกาแฟที่อยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง การตั้ง ถิ่นฐานหนาแน่นอยู่บริเวณปากคลองทั้งสองด้าน มื่อมีการสร้าง วัดราชบพิธฯ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ


แผนที่แสดงแนวคลองหลอดบนและล่างที่ขุดพร้อมๆ กับคลองเมืองบางลำพู-โอ่งอ่าง โดยมีคลองเชื่อมที่ข้างวัดสุัศน์ฯ ริมถนนอุณากรรณ แต่ปัจจุบันถูกถมกลบไปแล้ว

พร้อมกันกับการตัดถนนจึงเกิดตึกแถวเพื่อทำการค้าและบ้านเรือนริมถนนที่ ต้องเดินเข้าตรอกทั้งสองฝั่งริมคลองดังกล่าว อาณาบริเวณใกล้เคียงในย่านสองฝั่งคลองหลอดวัดราชบพิธฯ มีดังนี้ ทางฝั่งใต้คลองหลอดวัดราชบพิธ บริเวณบ้านหม้อ ผู้คน ในย่านนี้เป็นชาวมอญจากกรุงศรีอยุธยาที่ตามสเด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตั้งถิ่นฐานปั้นหม้อและ ทำเครื่องปั้นดินเผาขาย เป็นชุมชนเก่าตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงฯ บริเวณนี้เป็นย่าน คนมอญและมีพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ผู้เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ เป็น เสนาบดี ก ระทรวงคลั ง ในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั่ง เกล้ า เจ้ า อยู่หั ว นอกจากมี เ ชื้อ สายชาวมอญทางฝ่ า ยมารดาแล้ ว ยั ง เป็ ย เขยชาวมอญที่ บ้านหม้อ และตั้งนิวาสถานใกล้กับปากคลองหลอดวัดราชบพิธฯ จึงรวบรวมชาวมอญก่อสร้างสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมเยื้องกับวัดราช บพิธฯ จึงเรียกกันว่า “สะพานมอญ” ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งยังคงมีชุมชน มอญอยู่ จนถึงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึง ต้ น รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่หั ว ที่ส ภาพบ้ า นเมื อ ง เปลี่ยนแปลงไปย่านการค้าสำคัญของพระนคร จึงเหลือไว้เพียงชื่อถนน บ้ า นหม้ อ ที่เ ริ่ม จากถนนเจริ ญ กรุ ง ตั้ง แต่ สี่กั๊ก พระยาศรี ไ ปจนถึ ง ถนน จักรเพชร นอกจากชาวมอญทางฝั่งบ้านหม้อแล้ว ยังมีชาวพวนและลาวเวียงจันทร์ ที่ถูกกวาดต้อนมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้พร้อมกับเจ้าอนุวงศ์ในครั้งรัชกาลที่ ๓ โดยเรียกบริเวณนี้ว่าตำบลบ้านลาว และบ้างเรียก “บ้านกระบะ” เพราะทำ กระบะไม้ใส่สำรับกับข้าวในครัวเรือนขาย มีหลักฐานว่าเดิมก่อนสร้างถนน

เจริญกรุง ถนนดั้งเดิมตั้งแต่ช่วงสี่กั๊กพระยาศรี ไปจนถึงกำแพงพระนครบริเวณสะพานดำรง สถิตหรือสะพานเหล็กก็เรียกว่า “ถนนบ้าน ลาว” ในช่วงรัชกาลที่ ๕ มีบันทึกเอกสารของ กรมไปรษณีย์ กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงบ้าน เรือนของราษฎรที่อยู่ริมคลองหลอดชื่อ นายลา ลาวเวียงจันทน์ ขึ้นพระองค์เจ้าแขไขดวง และ เรือนของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ยุ ค นธร ซึ่ง เป็ น พระเจ้ า ลู ก เธอในพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ต้นสกุลยุคนธรานนท์ และผู้อยู่อาศัยที่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับกรมพระราช วังบวรฯ ซึ่งขณะนั้นคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายแทบทั้งสิ้น ร่อง รอยของชาวลาวในบริ เ วณนี ้ เ ห็ น ได้ จ าก พระองค์เจ้าแขไขดวงนั้นเป็นพระเจ้าลูกเธอของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และมีเชื้อสาย ทางเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก เจ้าหญิงชาวเวียงจันทน์ และการเป็นคนเชื้อ สายลาวที่เป็นไพร่ขึ้นกับวังหน้าตลอดมา บริ เ วณตำบลบ้ า นหม้ อนั้นต่ อ เนื่อ งกั บ ตำบลบ้านญวนซึ่งคงเป็นชุมชนดั้งเดิมมาตั้งแต่ สมัยสร้างกรุงฯ เช่นเดียวกับชุมชนมอญที่อยู่


บริเวณบ้านหม้อ มีหลักฐานกล่าวว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๔๑ เกิดไฟไหม้ใหญ่ที่ “บ้านญวน” ติดกันถึงสองครั้งจน มีที่ว่าง รัชกาลที่ ๕ จึงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระ ราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๑๐ ปี ตัดถนนสายใหม่จากตำบล บ้านลาวไปถึงสะพานหันเรียกว่า “ถนนพาหุรัด” และเพราะตัด ผ่านบ้านญวนจึงเรียกว่า “ถนนบ้านญวน” ในระยะแรกๆ เพื่อให้ เป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่ต่อเนื่องกับทางถนนเจริญกรุง แต่ก็ ต้องใช้เวลาพอสมควรจึงมีกลายเป็นตลาดการค้าของชุมชนเชื้อ สายอินเดีย ซึ่งปลายถนนพาหุรัดช่วงที่ข้ามคลองเมืองหรือคลอง โอ่งอ่างนั้นต่อกับสะพานหันและตลาดสำเพ็งที่เป็นย่านการค้า ของคนจีน ถนนพาหุรัดจึงกลายเป็นย่านการค้าอย่างต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน นับแต่ช่วงรัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลที่ ๕ มีการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพในบริเวณท้องถิ่นใต้คลองหลอดวัดราชบพิธฯอย่าง ชัดเจน โดยตัดถนนตามแบบตะวันตกสายสำคัญต่างๆ เมื่อ สยามเริ่ม เข้ า สู่ยุ ค สมั ย ใหม่ แ ละทำให้ พื้น ที่ริ ม ถนนกลายเป็ น ตึกแถวและย่านการค้าต่างๆ ดังนั้นจึงไม่พบว่ามีชุมชนชาวมอญ ชาวญวน หรือชาวลาวอยู่อาศัยกันอย่างชัดเจนตามชื่อตำบลบ้าน ที่มีมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงฯ เนื่องเพราะมีการขยับขยายเปลี่ยนถ่าย

ไปอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ที่เราพบเห็นชื่อบ้านตำบลของกลุ่ม ชาติพันธุ์เหล่านี้ในบริเวณอื่นๆ ของพระนครและปริมณฑล ต่ อ ม า เ มื ่ อ มี ก า ร ตั ด ถ น น ใ น ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ และเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๐๗ โดยก่อสร้างถนนช่วงแรกตั้งแต่คูเมืองชั้นในจนถึงถนน ตกริ ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยาที่ต ำบลบางคอแหลม เรี ย กว่ า ถนน เจริญกรุงตอนใต้ ต่อมาจึงเริ่มสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน ตั้งแต่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ จไปนถึงสะพานดำรงสถิตหรือ สะพานเหล็กบนเพื่อเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุงทางนอกเมือง เมื่อ สร้างถนนเจริญกรุงแรกเสร็จนั้น เรียกกันทั่วไปว่า “ถนนใหม่” และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด [New Road] ชาวจีนเรียก “ซินพะ โล้ ว ” แปลว่ า ถนนตั ด ใหม่ แ ล้ ว จึ ง พระราชทานนามว่ า ถนน เจริญกรุง มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่น เดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่สร้างขึ้นในคราว เดียวกัน บริเวณ “ถนนบำรุงเมือง” เริ่มตั้งแต่ถนนสนามชัย ผ่านเสา ชิงช้า ประตูผี วัดสระเกศไปจนถึงสะพานยศเส บริเวณนี้มีการ สร้างอาคารตึกแถวรุ่นแรกของพระนคร และให้เช่าทำการค้าจน กลายเป็นย่านการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายเครื่องสังฆ ภัณฑ์ที่มีสืบต่อมาจนปัจจุบัน ส่วน “ถนนเฟื่องนคร” เริ่มต้นจากสี่ กั๊กพระยาศรีที่บรรจบกับถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้าระยะราว

แผนที่บริเวณสองฝั่งคลองหลอดวัดราชบพิธ ราว พ.ศ.๒๔๗๖


ตรอกเฟื ่อ งทองและตรอกวิ สู ต ร เมื อ งเก่ า ยั ง ไม่ ไ ร้ ช่ า งทอง

ภาพบน ตึกแถวที่ถนนเจริญกรุงเมื่อครั้งแรกสร้าง มองไปเห็นประตูสามยอดด้าน ไกลๆ ภาพล่าง บริเวณย่านอาคารร้านค้าที่ถนนตีทอง ฝั่งตรอกเฟื่องทองอยู่ทางด้านซ้าย ของภาพ

๕๐๐ เมตร ย่านนี้กลายเป็นย่านทันสมัยของ พระนครมาเป็นเวลานับร้อยปีก่อนที่เมืองจะ ขยายเป็ น มหานคร มี ร้ า นค้ า ขายสิ น ค้ า คุณภาพ เป็นแหล่งรวมของผู้คนซึ่งมีความ ก้าวหน้าทางสังคมเพราะเคยเป็นที่ตั้งของโรง พิ ม พ์ แ ละสำนั ก พิ ม พ์ ที่มี ชื่อ เสี ย งหลายแห่ ง เช่ น โรงพิ ม พ์ ส ยามประเภทของ กศร. กุหลาบ, โรงพิมพ์ไทยเขษม สำนักพิมพ์คลัง วิทยา จนถึงสำนักพิมพ์เคล็ดไทยและศึกษิต สยาม เป็นต้น บริเวณถนนดังกล่าวส่วนใหญ่ อยู่เหนือจากคลองหลอดวัดราชบพิธฯ ขึ้นไป แทบทั้งสิ้น บริ เ วณถนนเจริ ญ กรุ ง ที่อ ยู่ใ นพระนคร สองข้างถนนเป็นตึกแถวชั้นเดียวเป็นระยะไม่ ติดต่อกัน หากนับตั้งแต่สะพานมอญเรื่อยไป จนถึงถนนมหาไชย ปลูกต้นไม้ไว้เป็นระยะ กินเนื้อที่ถนนเข้าไปราวข้างละประมาณ ๒ เมตร มีการปลูกตึกแถวอยู่ทั้งสองฝั่งตั้งแต่ หลังตัดถนนในสมัยรัชกาลที่ ๔ สองฟากถนน เป็นตึกร้านค้าซึ่งส่วนมากเป็นร้านของคนจีน ย่ า นตึ ก แถวที่ส วยงามอยู่บ ริ เ วณประตู ส าม ยอดทางสะพานดำรงสถิต มีโรงหวยโรงบ่อน เป็นแหล่งการพนัน เป็นที่ชุมนุมชน ประตู สามยอดอยู ่ ที ่ เ ชิ ง สะพานดำรงสถิ ต หรื อ สะพานเหล็กบน เดิมมีประตูใหญ่แบบไทย มี สามช่อง แต่ละช่องมียอด จึงเรียกกันว่า ประตูสามยอด ตามช่องประตู มีบานประตูทำ ด้วยเหล็กแข็งแรงช่องละสองบาน เปิดปิดได้ เป็ น ประตู ก ำแพงเมื อ งด้ า นสำคั ญ ถนน เจริญกรุงลอดประตูทั้งสามนี้ไป ยานพาหนะ อื่น ๆ ลอดสองช่องเหนือ ช่องใต้สุดสำหรับ รถรางโดยเฉพาะ ทางด้ า นซ้ า ยของถนน เจริญกรุงที่ถนนตีทองตรงกับถนนตรีเพชร มี ร้านหัวมุมก่อนจะข้ามถนนตีทองเป็นร้านโร เบิร์ต เลนซ์ ต่อมากลายเป็นห้องภาพฉายา


บริเวณตลาดบำเพ็ญบุญที่เป็นอาคารสองชั้นและติดกับคลองหลอดวัดราชบพิธฯ เคยเป็นสถานที่ตั้งของวังพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณ อนันตนรไชย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

นรสิงห์ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ฝั่ง ตรงข้ามเคยเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ย่านใต้ฝั่งคลองหลอดวัดราชบพิธฯ ฝั่งตรงข้ามกับวัดสุ ทัศน์เทพวรารามฯ เป็นที่ตั้งของวังพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ๒ พระองค์ เรียกกันทั่วไปว่า “วัง สะพานถ่าน” ส่วนถนนตีทองส่วนที่เลยคลองหลอดวัดราช บพิธฯ มาก็เคยเรียกว่าถนนสะพานถ่าน รัชกาลที่ ๔ โปรด เกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินบริเวณนี้สร้างวังพระราชทานพระเจ้าลูก ยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณ อนันตนรไชย แต่เสด็จ สวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระองค์เจ้าอุณากรรณฯ จึงทรง สร้างวังในที่ดินที่พระบรมราชชนกพระราชทานเสด็จอยู่ไม่ เท่ า ไรก็ สิ้น พระชนม์ โ ดยไม่ มี พ ระทายาท รั ช กาลที่ ๕ พระราชทานต่อให้กรมพระยาเทวะวงศ์ฯ ผู้เป็นเสนาบดี กระทรวงต่างประเทศผู้มีคุณูปการ ต้นราชกุลเทวกุลในเวลา ต่อมา ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อสร้างวังเทวะเวสม์พระราชทาน กรมพระยาเทวะวงศ์ฯ จึงทรงย้ายไป พื้นที่บริเวณวังนี้จึงอยู่ ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมาได้รื้อวังสร้างเป็นตลาดสด ตลาดขายอาหาร และ สถานบันเทิง ชื่อ “บำเพ็ญบุญนาฏสถาน” ชั้นบนเป็นโรง ภาพยนตร์ เป็นร้านอาหาร เป็นโรงยาฝิ่นและแสดงมหรสพ ตลาดนี้เป็นอาคารสองชั้นและมีชื่อเสียงอาหารสารพัดชนิด ชั้นบนเป็นวิกระบำนายหรั่ง เรืองนาม ที่ย้ายมาจากตึก ๙

ชั้น ย่านเยาวราชมาเปิดการแสดงเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตลาดบำเพ็ญบุญด้านหลังเป็นแหล่งมหรสพเริงรมย์ของ ผู้ชายตั้งแต่หัวค่ำถึงดึกดื่นในยุคหนึ่ง สองฝั่งคลองบริเวณนี้มี ตึกแถวในย่านที่เรียกว่า “สะพานถ่าน” ที่เคยมีผู้นำถ่านล่อง เข้าคลองหลอดมาขาย ฝั่งตรงข้ามคือถนนสระสรง-ลงท่า ติด กับวัดสุทัศน์ฯ เป็นย่านของหญิงบริการซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ต่อมาตลาดบำเพ็ญบุญทรุดโทรมไป สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงรื้อตลาดและสร้างเป็น “แฟลตบำเพ็ญบุญ” เมื่อราวกว่า ๓๐-๔๐ ปีมาแล้ว บริเวณนี้เป็นย่านที่พักผู้คนในกิจการฉาย หนังกลางแปลงต่างๆ มาโดยตลอดจนการฉายหนังแบบเดิม เริ่มหายไปในยุคปัจจุบัน ฝั่งตรงข้ามกับตลาดบำเพ็ญบุญ หากข้ามถนนเจริญกรุง ฝั่งตรงข้ามทางใต้คือบริเวณที่เรียกว่า “สนามน้ำจืด” ในสมัย รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินบริเวณระหว่างถนน เจริญกรุงและถนนพาหุรัดช่วงหลังวังบูรพาภิรมย์ ระหว่าง ถนนบูรพาและถนนตรีเพชร โดยวางแผนตัดถนนเป็นรูป กากบาทเพราะมีพระราชดำริอยากให้เป็นย่านการค้า แต่คง ปล่อยเป็นลานโล่งๆ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวในการที่จะฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี มีพระ ราชดำริจัดสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระบรม ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และถนน


โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง

สายต่างๆ ทางฝั่งธนบุรีให้เชื่อมต่อกับถนนในย่านเศรษฐกิจทางฝั่งพระนครที่ ผ่านถนนตรีเพชร ย่านแยกศาลาเฉลิมกรุง ย่านแยกพาหุรัดและตลาดมิ่งเมือง ผ่านโรงเรียนสวนกุหลาบและวัดราชบูรณะ และสร้างโรงภาพยนตร์ในบริเวณ ที่ดินว่างตรงสนามน้ำจืด ในคราวเดียวกัน เรียกว่าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิม กรุง เป็นโรงมหรสพที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียยุคนั้นและเป็นอาคารแห่ง แรกในประเทศไทยที่ใช้เครื่องปรับอากาศ สถาปนิกผู้ออกแบบโรงภาพยนตร์ อันทันสมัยนี้คือคือ ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากร บริเวณย่านถนนเจริญกรุงจึง กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและทันสมัยมาโดยตลอดจนกระทั่งหมดยุค ของโรงภาพยนตร์และการเดินตลาดใรช่วงที่เมืองกำลังขยายออกไปทุกทิศทาง จนกลายเป็นมหานครในปัจจุบัน เมื่อถึงยุคที่ภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู ศาลาเฉลิมกรุงเป็นศูนย์รวมของแหล่ง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นย่านพื้นที่รวมตัวของผู้สร้าง ผู้กำกับ ดารา ตัวประกอบ ทีมงาน นักพากย์ นักร้อง ช่างเขียนโปสเตอร์ ฯลฯ บริษัทฉาย หนังกลางแปลงและร้านจำหน่ายอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณด้านหลังของ ศาลาเฉลิมกรุง จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีการปรับปรุงเพื่อสร้าง The Old Siam Plaza ทำให้บรรดาร้านที่เกี่ยวเนื่องกับการฉายหนังต่างๆ กระจายมา อยู่ที่แฟลตบำเพ็ญบุญ ทางฝั่งใต้คลองหลอดวัดราชบพิธ ฝั่งตะวันตกของถนน

เฟื่อ งนครคื อ วั ด ราชบพิ ธ สถิ ต มหาสี ม ารามราชวรวิ ห ารที่ส ร้ า งเพื่อ เป็ น วั ด ประจำรัชกาลที่ ๕ ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ ด้านตะวันออกเป็นถนนตีทองซึ่งสร้างคั่น ระหว่างย่านชุมชนตรอกเฟื่องทองและวัดสุทัศน์เทพวรารามฯ ถนนตีทองเริ่ม

ตั้งแต่ถนนบำรุงเมืองที่แยกเสาชิงช้า ข้าม คลองหลอดวั ด ราชบพิ ธ ฯ ไปจนถึ ง ถนน เจริญกรุงที่สี่แยกเฉลิมกรุง สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายเล็กเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุง กับถนนบำรุงเมือง ถนนสายนี้ตัดผ่านย่าน ชุมชนดั้งเดิมที่ทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า “ถนนตีทอง” ในรัชกาลเดียวกันก็ได้ปรับปรุง ถนนด้านหลังวัดสุทัศน์ฯ เป็น “ถนนสระสรง” เชื่อมถนนตีทองกับถนนอุณากรรณ ส่วน “ถนนลงท่า” นั้นอยู่ด้านริมคลองหลอดวัด ราชบพิธฯ ทั้งถนนสระสรงและถนนลงท่าคู่ ขนานกัน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกแถว ให้เช่าโดยพระคลังข้างที่ ถัดจากแนววัดสุ ทัศน์ฯ คือถนนอุณากรรณที่ต่อเนื่องกับเรือน จำหรือคุกกองมหันต์โทษที่สร้างใน พ.ศ. ๒๔๓๓ ริมถนนมหาไชย และกลายเป็นสวน สาธารณะรมณีนาถเมื่อย้ายเรือนจำออกไป แล้วในปัจจุบัน การตัดถนนต่างๆ ในย่านวัดสุทัศน์ฯ และสร้ า งตึ ก แถวเพื่อ ให้ เ ช่ า เก็ บ ค่ า บำรุ ง สร้างตลาดการค้าหรือย่านเศรษฐกิจในยุคนี้


เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของเมืองหรือย่านการค้าภายในพระนครไปมาก จาก การมีชุมชนดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็เริ่มมีการผสมผสานถ่ายเทผู้ ทำการค้าไม่แต่เฉพาะคนจีนเท่านั้น แต่ยังมีคนเชื้อสายแขกต่างๆ ชาวต่าง ชาติ เช่น ญี่ปุ่น ชาวยุโรป คหบดีขุนนางเชื้อพระวงศ์ที่สร้างพื้นที่การค้าขาย สิ่งของทันสมัยนำเข้าจากต่างประทศ เหนือจากบริเวณตรอกเฟื่องทองเป็นถนนราชบพิธ อีกด้านหนึ่งคือตรอก หม้อ ต่อเนื่องไปถึงถนนตะนาวและย่านแพร่งต่างๆ เป็นย่านตลาดอาหาร การกิ น และร้ า นค้ า หลากหลายที่มี บ ริ เ วณติ ด กั บ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ศาล และหน่วยงานราชการจำนวนมากในยุคสมัยหนึ่ง ก่อนจะเริ่มย้ายสถานที่ราชการออกไปยังศูนย์ราชการและสถานที่อื่นๆ จน ทำให้ย่านนี้คึกคักด้วยข้าราชการ พนักงานบริษัทเอกชน หล่อเลี้ยงร้านค้า ร้านอาหารย่านชุมชนแถบนี้อย่างมีชีวิตชีวา จนกระทั่งหน่วยงานราชการย้าย ออกไปจนเกือบหมด ร้านค้าและร้านอาหารในย่านนี้จึงโรยลาลงตามลำดับ

สองฝั่งคลองหลอดวัดราชบพิธ ย่านวังและบ้านข้าราชการ ประวัติศาสตร์ศาสตร์บอกเล่าจากคนย่านเก่าสองฝั่งคลองหลอดวัด ราชบพิธคือทั้งทางตรอกวิสูตรและตรอกเฟื่องทอง โดยสรุปกล่าวกันว่าทาง ฝั่งบ้านเรือนทางตรอกเฟื่องทองส่วนใหญ่เป็นข้าราชการตุลาการ ข้ามฝั่ง คลองไปทางตรอกวิสูตร ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนข้าราชการทหารและโหร หลวง ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นที่ดินโฉนดพระราชทานแก่ข้าราชบริพารที่เป็น ข้าราชการชั้นสูงบ้านละ ๒๐-๒๕ ตารางวา หรือบางบ้านก็จะมีพื้นที่มากกว่า นั้นหากซื้อที่ดินเพิ่มเติมกันเอง เมื่อก่อนสร้างถนนเจริญกรุงตอนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ น่าจะมี บ้านเรือนชาวบ้านตั้งอยู่เป็นกลุ่มๆ เช่น บ้านหม้อ บ้านญวน บ้านบ้างสลับ กับที่ว่าง เมื่อสร้างถนนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงซื้อที่ดิน ตรงที่เป็นตลาดบำเพ็ญบุญในเวลาต่อมาจากราษฎรเพื่อพระราชทานให้เป็น วังพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณฯ และเมื่อยายวังออกไปในสมัย รัชกาลที่ ๖ บริเวณนี้กลายเป็นตลาดบำเพ็ญบุญที่เป็นทั้งย่านร้านอาหาร โรง ภาพยนตร์ โรงระบำ โรงยาฝิ่น ซ่องโสเภณี ส่วนย่านสะพานถ่าน อาจารย์เจษฎา รักสัตย์ ผู้เป็นคนตรอกวิสูตรที่อยู่ ใกล้เคียงกล่าวว่า คือบริเวณแนวคลองหลอดวัดราชบพิธตั้งแต่ตลาดบำเพ็ญ บุญหรือแฟลตบำเพ็ญบุญทุกวันนี้คลองหลอดไปทางถนนอุณากรรณและ เรือนจำที่เป็นสวนรมณีนาถในทุกวันนี้ เรียกว่าย่านสะพานถ่านทั้งหมด เพราะมีเรือถ่านแสมมาจอด แล้วก็มาทุบถ่านดุ้นยาวๆ ใส่เข่งสานด้วยไม้ไผ่ ขายคนซื้อ เวลาขนขึ้นมาเศษผงถ่านคลุมพื้นดำมืด หลัวสานด้วยไม้ไผ่ ในตรอกเฟื่องทองมีอาคารเรือนแถวเก่าซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินฯ ราว ๘ ห้อง ส่วนที่ดินและบ้านเรือนเก่าๆ แทบทั้งหมดถูกขายต่อไปสร้าง เป็นตึกแถวและอาคารพานิชย์เปลี่ยนสภาพไปแทบหมดสิ้น ทางฝั่งถนนตีทอง

นั้นเคยมีบ้านช่างทองคำเปลวอยู่หลายหลัง ส่วนใหญ่มีฐานะดี เมื่อสร้างตึกแถวที่ถนนตีทอง ช่วงระยะ หนึ่งมีร้านตัดกางเกงผู้ชาย กางเกงยูนิฟอร์ม ของข้าราชการ ผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องมาตัด แถวนี้หมดย่านนี้ทั้งหมด ก่อนจะหายไปจาก ความนิ ย ม นอกจากนั้น ก็ มี ร้ า นค้ า พวก เครื่องหมายข้าราชการอยู่หลายแห่ง ร้านขาย หมวกจากยุโรปในยุคมาลานำไทยและหมวก เครื่องแบบของข้าราชการต่างๆ ในยุคหลัง คุณยุทธศักดิ์ น้ อยพยัคฆ์ ประธานตรอก เฟื่องทอง-ตรอกวิสูตร ปัจจุบันอายุ ๖๔ ปี แทบจะเป็ น คนดั้ง เดิ ม บ้ า นเดี ย วที่เ หลื อ อยู่ ทางแถบตรอกเฟื่องทองเล่าว่า ตนเป็นหลาน ตาของขุนธนราชตุลารักษ์และมีเชื้อสายเป็น คนลาวเวียงนามสกุลศุขโชติ ซึ่งตรงตามหลัก ฐานในครั้ง สมั ย ต้ น กรุ ง ฯ ที่บ ริ เ วณนี้แ ต่ ดั้งเดิมเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชาวลาวเวียง และคนพวนที่ติดตามมาแต่ครั้งเจ้าอนุวงศ์ ถูกส่งมากรุงเทพฯ ละแวกนี้เคยมีบ้านเรือน ของข้าราชการปลูกเป็นหลังๆ มีบริเวณและ มีสวนมะม่วงคั่น มีบ้านของนายตำรวจที่เป็น นายแพทย์ บ้านของข้าราชการตุลาการ เช่น ตระกู ล ของมหาอำมาตย์ โ ทพระยานรเนติ บัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) บุคคลในแวดวง ตุลาการหลังจากกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายแล้ว ทั้งยังเป็น บิดาของศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด เศรษฐบุตร บริ เ วณที่ท ำการหอการค้ า ไทยนั้น เคยเป็ น บ้านพักของข้าราชการตุลาการ คือ พระดุลย ภาณสรประจักษ์ (บุญมาก ตังคณะสิงห์) ผู้ พิ พ ากษาหั ว หน้ า ศาลในจั ง หวั ด หั ว เมื อ ง ต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมโหรแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชิ นู ป ถั ม ภ์ ใ น จำนวน ๒๔ ท่านเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ร่วมกับ พระยาโหราธิบดี (แหยม วัชระโชติ) คุณตา ของอาจารย์เจษฎา รักสัตย์ ที่ยังปรากฏกลุ่ม บ้ า นอยู่ท างตรอกวิ สู ต ร โดยมี ห ลั ก ฐาน ปรากฏว่าเป็นบ้านของพระยาโหราธิบดีครั้ง เป็นหลวงโลกทีป ริมถนนตีทอง ซึ่งเป็นโหร


หลวงในครั้งรัชกาลที่ ๕ อาจารย์เจษฎา รักสัตย์ อายุ ๗๒ ปี หลานตาพระยาโหราธิ บดี (แหยม วัชรโชติ) ซึ่งเป็นพระยาโหราธิบดีท่านสุดท้ายของ กรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนจะยุบกรมโหรหลวงลงในสมัยรัชกาลที่ ๗ และยังเป็นผู้จารึกดวงพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก บ้าน ที่ตรอกวิสูตรหรือซอยเจริญกรุง ๑ และถือเป็นบ้านดั้งเดิมหลัง เดียวที่ยังปรากฏอยู่ พระยาโหราธิบดีนั้นมีหลักฐานว่าเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า ท่านเป็นคนเชื้อสายมอญบ้านบางตลาด ปากเกร็ด นนทบุรี และ เป็นเจ้าของสมุดข่อย “ทักษารามัญ” และตำชราโหรอีกหลายเล่ม ที่ถูกนำมาพิมพ์เผยแพร่ใช้กันในวงการโหรภายหลัง โดยท่าน ศึกษาที่วัดตองปุหรือวัดชนะสงคราม อาจารย์เจษฎา รักศัตย์จบการศึกษาที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง ดำเนินอาชีพครูมาโดยตลอดกล่าวว่า ที่ดินบ้านคุณ ตา เดิมเป็นที่พระราชทานครึ่งหนึ่งและซื้อที่อีกครั้งหนึ่งในบุตร สาวปลูกบ้าน ๔ หลังแบ่งให้อยู่อาศัยในพื้นที่ราว ๖๐ ตารางวา แต่ในคราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อมีการทิ้งระเบิดที่การไฟฟ้า

วัดเลียบทำให้ไฟไหม้ที่ตลาดบ้านหม้อ และลามติดบ้านเรือนเป็น เวลาเกือบ ๒๐ วันจนมาถึงบ้านที่ใกล้คลองหลอด ไฟลามข้าม ถนนไหม้บ้านแต่เดิมทั้ง ๔ หลังจนหมดไม่เหลือเลย และต้อง สร้างบ้านใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง แถบบ้านของพระยาโหราธิบดี นั้นที่ตรอกวิสูตรนั้น แต่แรกเริ่มไม่มีบ้านผู้คนอื่นใด นอกจาก บ้ า นพระยาวิ สู ต รฯ ซึ่ง น่ า จะเป็ น ข้ า ราชการชั้น ผู้ใ หญ่ ข อง กระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่ทางปากตรอกด้านขวา ต่อจากนั้นจึง เป็นพระยาโหราธิบดีและบ้านนายทอง ด้านหลังบ้านของพระยา โหราธิบดีจะเป็นลำประโดงแยกเข้ามาจากคลองหลอด อาจารย์ เจษฎาเล่าว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังจะแจวเรือมารับส่ง คุณตาทุกวันเช้าและเย็น นอกจากนั้นคงเป็นพื้นที่ว่าง ตลาดสดในย่านนี้ที่ใกล้ที่สุดคือ “ตลาดบ้านหม้อ” ส่วน ตลาดตรอกหม้อก็มีเดิม แต่ไม่หนาแน่นเช่นทุกวันนี้ ทำบุญและ ตักบาตรกับพระทั้ง ๓ วัด คือ วัดสุทัศน์ฯ วัดราชบพิธฯ และ วัดโพธิ์ฯ มีแหล่งที่ไปช้อปปิ้งไปเที่ยวกันก็ที่ย่านวังบูรพาและห้าง เซ็นทรัลเป็นห้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น และนิยมไป ดูภาพยนตร์ที่โรงหนังเฉลิมเขต แถวยศเส และโรงหนังศาลา เฉลิมกรุง เดินเที่ยวตลาดมิ่งเมือง หลังวังบูรพา หากเดิน ทางออกจากบ้านจะพบแต่ย่านจำหน่ายสินค้าเป็นแหล่งใหญ่ๆ

พระยาโหราธิบดี (แหยม วัชรโชติ) และคุณหญิงพระยาโหราธิบดี (แก้ว วัชรโชติ) ดำรงตำแหน่งพระยาโหราธิบดีท่านสุดท้ายของกรุง รัตนโกสินทร์ ก่อนจะยุบกรมโหรหลวงลงในสมัยรัชกาลที่ ๗ และยังเป็นผู้จารึกดวงพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


ตรอกเฟื ่อ งทองและตรอกวิ สู ต ร เมื อ งเก่ า ยั ง ไม่ ไ ร้ ช่ า งทอง

กลุ่มบ้านสี่หลัง ในบริเวณบ้านพระยา โหราธิบดีใกล้คลองหลอดวัดราชบพิธฯ

ทั้งนั้น แหล่งรถยนต์อยู่ที่วรจักร แหล่ง เพชรที่บ้านหม้อ ทำทองรูปพรรณก็ย่าน ตี ท องไปถึ ง ตลาดเก่ า เยาวราชที่เ ป็ น แหล่งขาย แหล่ ง โต๊ ะ บิ ล เลี ย ดที ่ ใ หญ่ ที ่ สุ ด ใน ประเทศไทยอยู่ที่ห้างใต้ฮวดและเฮงฮวด ซึ่งคือตระกูลเตชะหรูวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้อง กัน โต๊ะบิลเลียดแหล่งแรกของเมืองไทย อยู่ที่นี่อยู่ที่ปากซอยเจริญกรุง ใต้ฮวดเขา

ก็มาเช่าที่ของบ้านพระยาวิสูตรฯ ภาย หลังลูกหลานต้องการย้ายไปอยู่ชานเมือง จึงขายที่ดินให้กับใต้ฮวดไปแล้ว บริเวณตรอกวิสูตรในปัจจุบันไม่มีผู้ อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่แล้วนอกจากบ้านของ อาจารย์ เ จษฎา กลายเป็ น พื้น ที่ส ร้ า ง ตึกแถวและอาคารที่คนจากต่างจังหวัด มาทำเพชรพลอยทองรูปพรรณต่างๆ เมื่อ มีฐานะก็ซื้อที่ดินและตึกแถวสร้างฐานะ

จากแรงงานลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ บางรายร่ำรวยในระดับร้อยล้านเพราะทำ เครื่องประดับส่งออกในราคาถูกและเป็น ที่นิยมในตลาดอเมริกา เป็นต้น ชุมชนตรอกเฟื่องทอง-ตรอกวิสูตรมีผู้ อาศัยอยู่ราว ๒,๗๐๐ ประมาณ ๕๐๐ ครัวเรือน ซึ่งเป็นคนอยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม ราว ๒๐ เปอร์เซนต์ที่เหลือนั้นเป็นคนมา จากที่อื่นๆ เพื่อเข้ามาประกอบอาชีพโดย เฉพาะทำทอง แต่พอถึงช่วงสงกรานต์ ผู้ค นก็ ก ลั บ บ้ า นที่ต่ า งจั ง หวั ด หมดหมด จนชุมชนเงียบเหงา แต่หากมีกิจกรรมของ ชุมชนก็เข้าร่วม คนจีน คนอีสานให้ความ ร่วมมือเช่นเดียวกัน คนจีนมีฐานะดีก็จะ ร่วมมือในจำนวนเงินมากขึ้น ส่วนคน อีสานก็จำนวนน้อยลงตามลำดับ ปัญหาที่พบและหนักใจคือ การมีเด็ก วัยรุ่นใช้ยาเสพติดบ้าง ทะเลาะวิวาทกับ วัยรุ่นในชุมชนอื่นๆ บ้าง นอกจากนั้นก็ เป็นปัญหาของการมีชุมชนทั้งสองฝั่งคลอง ที่ต้องใช้เวลาในการดูแลค่อนข้างมาก

๑๐


ช่างทำบาตรที่บ้านบาตรในอดีตกำลังรมดำ

จากย่านตีทองคำเปลวจนถึงทำทองรูปพรรณ ถนนตีทองเริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมืองที่แยกเสาชิงช้า ข้ ามคลองหลอดวัดราชบพิธไปจนถึงถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเฉลิมกรุง ระยะทาง ๕๒๕ เมตร กล่าวกันว่าถนนสายนี้ตัดผ่านย่านชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลวจึงเรียกว่า “ถนนตีทอง” และกลุ่มบ้าน ที่เคยตีทองคำเปลวอยู่ใน “ตรอกเฟื่องทอง” ที่อยู่ฟากตะวันตกของถนนตีทองติดกับคลองหลอดวัดราชบพิธที่มีเส้นทางเดิน เชื่อมกับทั้งถนนตีทองและถนนราชบพิธ ในช่วงราวพ.ศ. ๒๔๔๐ เคยมีบ้านเรือนหลายหลังที่ตีทองทำทองคำเปลว แต่ปัจจุบัน เลิกทำไปหมดแล้ว เช่น อำแดงเอี่ยม บุตรนายควร สังกัดทูลกรพหม่อทแก้วช่างทองคำเปลว เรือนฝากระดาน, นายตงบุตรจีน ติน ขึ้นพระยาสุรเสนา ช่างทองคำเปลวเรือนฝากระดาน, นายนิล มหาดเล็ก บุตรนายสุก ขึ้นพระยาภาศกรวงษ ช่างทองคำ เปลว เรือนฝากระดาน, นายเนย บุตรนานอ่วม ขึ้นเจ้าคุณกรมท่า ช่างตัดทองคำเปลว เรือนฝาแตะ, อำแดงซุ่น บุตเที่ยงขึ้น พระยารัตนโกษา ช่างทองคำเปลว เรือนฝากระดาน และยังพบว่าบริเวณตรอกรังษีหรือที่เรียกว่าตรอกวัดรังษีในคราวเดียวกันนั้น มีบ้านที่ตีแผ่นทองคำเปลวอยู่หลายบ้าน เช่น นายพันบุตรราชศรีนาคาขึ้นจ่ายง ตีทองตำเปลวขายเรือนฝากระดาน นายทิม พระมลตรีนวร ขึ้นกรมมหาดไทย ตีทองคำเปลว ขายเรือนฝากระดาน, อำแดงพลับ ภรรยาพระครูประโรหิต ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน, นายขาว บุตรนายเพง ขึ้นกรม หลวงจักรพรรดิพงษ์ ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน, นายถม ซายันมหาดเล็ก ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน, นาย ดิษ บุตรนายสน ขึ้นพระยาพลเทพ ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน นายเสม บุตรชาติโอสถขึ้นกรมหมอ ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน, อำแดงเกิด บุตรราชจินดาหุ้มแพร ตีทองคำเปลวขาย เรือนฝากระดาน, นายจรเป็นขุนจินดาพิรมลา ตีทอง คำเปลวขายเรือนฝากระดาน จะเห็นว่าบ้านที่ตีทองคำเปลวขายทางตรอกวัดรังษีมีเป็นจำนวนมากกว่าทางแถบถนนตีทองและ ทำกันเกือบทุกหลังคาเรือนทีเดียว น่าสังเกตว่าบ้านเรือนของผู้ทำกิจการตีทองคำเปลวขายมักเป็นผู้มีฐานะ ทั ้งหมดอยู่บ้านเรือนฝากระดาน และบ้างก็เป็น ขุนนางหรือลูกหลานขุนนางที่น่าจะพอมีทุนทรัพย์และฐานะมากพอจะมีทุนซื้อทองคำมาตีเป็นแผ่นขาย การผลิตแผ่นทองคำ เปลวนี้น่าจะแพร่หลายจากการใช้เวลาฝึกฝนกันอยู่ในกลุ่มเครือญาติและเพื่อนบ้าน ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนและต้องใช้ แรงกายรวมทั้งความอดทนมากกว่างานช่างชนิดอื่น แต่ก็ไม่ใช่หนึ่งงานช่างหลวงแต่อย่างใด

๑๑


แผ่นทองคำเปลวจิตรา โดยช่างตีทองที่ชุมชนตึกดิน ซึ่งยังคงมีการตีทองแบบดั้งเดิมอยู่

ปั จ จุ บั น ในชุ ม ชนตึ ก ดิ น ใกล้ กั บ มั ส ยิ ด ตึ ก ดิ น ทางฝั่ง ใกล้ ถ นนตะนาวหลั ง โรงเรียนสตรีวิทยายังมีบ้านที่ตีแผ่น ทองคำเปลวอยู่สองสามหลัง แต่นานๆ ครั้งจึงจะผลิตเนื่องจากราคาทองคำที่สูงมากในปัจจุบัน กลุ่มบ้านเรือนเหล่า นี้ที่อาจจะโยกย้ายมาจากแถบถนนตีทองหลังจากตัดถนนในสมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับชาวตึกดินที่เคยอยู่ทางแถบตรอกศิลป์ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตึกดิน ที่เคยเป็นสถานที่เก็บดินระเบิดของหลวงให้เป็นพื้นที่ถนนราชดำเนินกลาง บางส่วน

การผลิ ต ทองคำเปลว กระบวนการผลิ ต ยั ง คงไม่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเลือกซื้อทองคำแท่งที่มีเปอร์เซ็นต์ทองไม่ต่ำ กว่าร้อยละ ๙๖.๕-๙๙.๙๙ แล้วนำทองไปรีดให้เป็นแผ่นบางเท่ากับกระดาษ พับให้ได้หลายทบ แล้วนำมาตัดให้เป็น “ทองรอน” หรือแผ่นทองคำขนาด ๑x๑ เซนติเมตร ทองคำน้ำหนัก ๑ บาท เมื่อนำมาตัดให้เป็นทองรอนจะได้ จำนวน ๗๒๐ แผ่น นำทองรอนไปใส่กูบหรือกระดาษแก้ว ขนาด ๔x๔ นิ้ว ที่ผ่านการกำจัด เศษผงและลูบด้วยแป้งหินเนื้อละเอียดมีน้ำหนัก เพื่อไม่ให้ทองติดแผ่น กระดาษแก้ว ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้ความพิถีพิถันและระมัดระวังมาก เพราะต้องนำทองรอนมาวางตรงกลางกูบซ้อนกันให้ได้จำนวน ๗๒๐ ชั้น นำกูบกระดาษแก้วมาบรรจุในกูบหนังวัวอีกชั้นหนึ่ง แล้ว วางบนแผ่นหิน แกรนิตหรือหินอ่อน มีไม้ประกบเป็นกรอบ และมี “ไม้กลัด” สอดด้านข้างซอง หนังเพื่อยึดไว้ไม่ให้เคลื่อนที่เวลาตี จากนั้นตีด้วยค้อนที่ทำจากทองเหลืองน้ำหนัก ๑๐ กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำ หนักที่เหมาะสำหรับการตีทองคำเปลว ลงน้ำหนักอย่างเท่ากันนานราว ๑ ชั่วโมง จนทองเริ่มขยายเป็นแผ่นใหญ่ขึ้น จึงเปลี่ยนไปใส่ใน “ฝัก” ที่ทำจาก

ปลอกหนังคล้ายกูบ แต่แผ่นใหญ่กว่า จากนั้นถ่ายทองลงบนกระดาษแก้วที่หนา กว่าและโตกว่า ขนาด ๖x๖ นิ้ว ใส่ลงในซอง หนังเรียกว่า “ฝักทอง” มีกรอบยึดและวางบน แท่นหินเหมือนเดิม ใช้ค้อนหนัก ๔ กิโลกรัม ตี ต่อไปอีกห้ามหยุดพักในน้ำหนักที่เท่ากัน ๔ ชั่วโมง จนเป็นแผ่นทองคำเปลว การหยุดพัก เพี ย งนาที เ ดี ย วจะทำให้ ค วามเย็ น เข้ า แทนที่ ทำให้ทองขยายตัวไม่ได้มากเท่าที่ควร ถ้าตีน้ำ หนักเบาเกินไปแผ่นทองหนาก็ทำให้ขาดทุนได้ แต่หากแรงเกินไปก็อาจทำให้แผ่นทองฉีกขาด จึงต้องทำอย่างชำนาญ สม่ำเสมอและประณีต การตี ท องคำเปลวยั ง ไม่ ส ามารถตีด้ ว ย เครื่องจักรได้ เนื่องจากเครื่องจักรไม่สามารถ ผ่อนหนักผ่อนเบาได้ ยกเว้นจะใช้ทองคำที่มี ความบริสุทธิ์น้อย จากนั้นถ่ายทองไปใส่กระดาษสา หรือ “กระดาษดาม” เพื่อเตรียมตัดทองตามขนาดที่ ลูกค้าต้องการ ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องใช้อุปกรณ์ เสริมคือ “ไม้เลี้ยะ” หรือไม้ไผ่เหลาจนคม และ “หมอนรองตัด” ที่ไม่แข็งหรือไม่นุ่มเกินไป และ ต้องทำในที่อับลม เพื่อไม่ให้ทองปลิวและย่นยู่ ใช้ไม้รวกแซะทองวางบนกระดาษฟาง ด้านที่

๑๒


การทำทองรูปพรรณที่ตรอกเฟื่องทองในปัจจุบัน เนื้อหยาบสาก ในการทำขั้นตอนนี้ช่างตัดทองคำเปลวจะต้องผ่านการฝึกมา เป็นอย่างดี ใช้ความระมัดระวังในการตัดทองเพื่อให้ได้แผ่นทองที่สมบูรณ์มี รอยขาดให้น้อยที่สุด ซึ่งแผ่นทองคำเปลวที่มีขนาดสมบูรณ์ไม่มีรอยขาดจะ เรียกว่า “แผ่นทองคัด” จะมีขนาด ๔x๔ เซนติเมตรและขนาด ๓.๕x๓.๕ เซนติเมตร ส่วนแผ่นทองที่ขาดแล้วนำมาต่อกันจะเรียกว่า “ทองต่อ” จะมี ขนาด ๒.๕x๒.๕ เซนติเมตร และขนาด ๑.๕x๑.๕ เซนติเมตร และการ ตีทองของแต่ละเจ้าจะไม่ได้มีขนาดเดียวกันเสมอไปขึ้นอยู่กับการผลิตของ แต่ละบ้านที่สืบทอดกันมา แผ่นทองที่เหลือจากการตัดจะถูกนำมารวมกัน และเก็บใส่กล่อง เพื่อรอนำกลับไปหลอมนำมาผลิตใหม่อีกครั้ง ปัญหาในการตีทองคำเปลวก็คือราคาทองคำแท่งที่มีราคาสูง ราคา วัตถุดิบ เช่นกระดาษแก้วคุณภาพดีที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศ แม้จะมีลูกค้า ชั้นดีต้องการทองคำเปลวที่มีคุณภาพสูงก็ตาม และยังมีปัญหาการกดราคา รับซื้อของกลุ่มผู้ค้าคนกลางและคณะกรรมการวัด จากการสอบถามคุณจันทนีย์ จันแสง อายุ ๔๗ ปี “ทองคำเปลวจิตรา” ซึ่งเป็นลูกหลานช่างตีทองที่ตรอกบวรรังษีหรือชุมชนตึกดินมาตั้งแต่รุ่นคุณ ยาย น่าจะได้ประมาณ ๖๐-๗๐ ปีมาแล้ว แถบนี้มีบ้านที่ตีทองประมาณ ๓-๔ บ้าน แต่ปัจจุบันเลิกทำไปหมดแล้ว การตีทองของแต่ละบ้านที่ทำจะไม่เหมือน กัน แม้คล้ายคลึงกันภายนอกแต่บ้านต่างๆ จะใช้รูปแบบชิ้นงาน ความหนา บางและคำนวนราคาต่างกันคือดูภายนอกอาจจะเหมือนกันแต่ลักษณะเนื้อ ทอง ขนาด คุณภาพของทองจะไม่เหมือนกัน และมีการคำนวนราคาต่างกัน

การทำทองต้องใช้แรงงานคน จึงต้องใช้ แรงงานคนในครอบครัว เช่น “การตี” ต้องใช้ แรงงานผู้ชายและไม่ใช้เครื่องจักร ส่วนผู้ หญิงทำงานพวกตัด เทเข้ากระดาษ ตัดพิมพ์ ในอดี ต มี แ รงงานมากเพราะผู้ค นจะมา รับจ้างทำงานแบบนี้กัน แต่ปัจจุบันแทบไม่มี คนทำและไม่มีคนรุ่นใหม่ที่จะอดทนทำงาน เช่นนี้ ปัจจุบันการตีทองคำเปลวนั้นใช้คนรุ่น เก่าที่กลับบ้านและเป็นที่ไว้วางใจ เมื่อตีทอง จนได้ขนาดแล้วจะส่งไปให้ตัดเป็นแผ่น ซึ่ง ต้องใช้ความอดทนที่ต้องอยู่ในอากาศที่อับ ลมและร้อน ใช้ความชำนาญสูง เช่นชาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการส่งให้ไปทำ ที่บ้าน เมื่อเสร็จแล้วจึงนำมาส่ง จึงทำให้มี การขยับขยายไปตั้งโรงงานตีทองคำเปลวที่ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยากั น หลายเจ้ า เพราะความต้ อ งการทองคำเปลวของแท้ คุณภาพดีในตลาดยังมีอยู่มาก และหาช่าง ทำได้ยาก ตรอกเฟื่องทอง-ตรอกวิสูตร ย่านทำทอง รูปพรรณ จากการเป็นย่านตีทองคำเปลวมา ตั้งแต่ต้นกรุงฯ บริเวณตรอกเฟื่องทองและ ตรอกวิสูตรก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นสถานที่รับทำ ทองรูปพรรณทั้งแหวน สร้อย ประดับเพชร พลอยทำจากเงินและทองคำ กลายเป็นร้าน ชุบทอง ร้านซ่อมแบบยิงเลเซอร์เพื่อซ่อมตัว เรือนเพชรพลอยสายสร้อย ปั๊มจตุคามราม เทพ ขายพลอยทำทองและเงินรูปพรรณและ ก็ขายส่งออกต่างจังหวัด เป็นย่านธุรกิจที่สืบ เนื่อ งมาจากพื้น ที่ดั้ง เดิ ม ที่มี ก ารทำทองคำ เปลวและทองรูปพรรณ กล่าวกันว่าในช่วงราวหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการ ปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเป็นประเทศ คอมมิวนิสต์ จึงทำให้เกิดการอพยพหนีออก จากประเทศของตนเองเป็นระลอกใหญ่อีก ครั้งหนึ่ง คนจีนในกรุงเทพมหานครที่มีฐานะ ตระกูลสำคัญๆ หลายกลุ่มตระกูลก็อพยพ มายังประเทศไทยในช่วงเวลานี้ ช่างทองกลุ่ม ใหญ่ น ำเอาวิ ช าชี พ ช่ า งทองติ ด ตั ว มาด้ ว ย

๑๓


ตรอกเฟื ่อ งทองและตรอกวิ สู ต ร เมื อ งเก่ า ยั ง ไม่ ไ ร้ ช่ า งทอง

วิกลิเก

การทำทองรูปพรรณที่ตรอกเฟื่องทอง ช่างทองเป็นคนมาจากภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ และมักเป็นเครือญาติของช่างทองเจ้าของร้าน และเดินทางเข้ามาเป็นลูกจ้างและเจ้าของ กิ จ การโดยเฉพาะบริ เ วณบ้ า นหม้ อ เยาวราช และตึ ก แถวบริ เ วณถนน เจริญกรุงช่วงภายในพระนคร ฯลฯ หลัง จากนั้นย่านตีทองจึงเริ่มเปลี่ยนเป็นย่าน ทำทองรูปพรรณส่งขายหน้าร้านใหญ่ๆ ที่ ถนนเยาวราชและบ้านหม้อ ทองรู ป พรรณดั้ง เดิ ม ก็ คื อ ทองจาก บางสะพาน และต่ อ มาทำเป็ น ทองรู ป พรรณที่ได้รับแบบมาจากทองรูปพรรณ ของชาวมุสลิมบ้าง แบบอย่างยุโรปบ้าง แต่คนจีนในรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนาออกแบบ ทำให้สวยขึ้น เขามาพัฒนา ทำให้สวยขึ้น ทำให้ราคาถูกลง ทำแบบโปร่ง ถักลายคด กริ ด ที่มี ค นรั บ จ้ า งทำอยู่ท างแถบตรอก เขมรใกล้บ้านบาตรบ้าง คนจีนที่มาทำ ทองเป็ น คนจี น แต้ จิ๋ว มาอยู่อ าศั ย ที่ เยาวราชเป็นหลัก พวกทำทองมาอยู่กันที่

แถบตรอกวิสูตรและภายหลังมีลูกมือหรือ ลูกจ้างชาวอีสานมาทำงาน จึงเริ่มเรียนรู้ เริ่มศึกษาอย่างจริงจังด้วยความชำนาญ จนสามารถเปิดหน้าร้านรับทำทองและ เงินรูปพรรณต่างๆ ต่างคนต่างมีหน้าร้าน มีช่างที่เป็น แรงงานเอามาจากคนบ้านเดียวกัน แล้ว มาสอนกัน สามารถสร้างฐานะจากเสื่อ ผืนหมอนใบมาเช่าอยู่ กลายมาเป็นเถ้าแก่ ซื้อตึก ซื้อที่อยู่อาศัยทางฝั่งธนฯ โดยรับ รายการมาจากร้านใหญ่ที่มาสั่งทำ ส่วน ลูกจ้างหรือช่างจะนำญาติๆ วัยรุ่นมา ฝึกฝน มาเรียนรู้ ห้องแถวที่ใช้ทำทอง เหล่านี้จะไม่ใช้พักอาศัย แต่จะออกไปพัก ที่อื่น มีทั้งที่ทำรูปพรรณพวกกำไล สร้อย แหวน ทำจากทองและเงิน ขายทั้งชิ้นปลีก และขายส่งจำนวนมาก ส่ง ร้านเพชร

ราคาไม่สูงมากนัก และขึ้นอยู่กับราคาม ทองคำที่ขึ้นลง ถ้าทองราคาแพงก็จะไม่มี คนสั่งทำมากนัก แต่ถ้าราคาถูกลงจะมี คนมาสั่งทำจำนวนมาก และหากราคา ทองขึ้นก็จะเลี่ยงไปทำเครื่องประดับเงิน แล้วประดับพลอยก็แล้วแต่ชิ้นงาน ค่า เพชรเท่าไร ค่าตัวเรือนหนักเท่าไร ส่วน การทำเครื่องเงิน ต้องนำเนื้อเงินต้องไป เข้าโรงหล่อแถวท่าพระ โดยการนำแม่ พิมพ์ไปจากร้านแล้วไปจ้างหล่อ สามารถ ทำได้ตั้งแต่ชิ้นหรือสองชิ้นไปจนถึงทำเป็น กิ่งราว ๑๐ ชิ้น ในราคา ๖๐๐-๘๐๐ บาท เมื่องานเสร็จแล้วเราถึงมาตีราคาอีก ครั้งหนึ่ง โดยคิดราคาตามราคาทองที่ขึ้น ลงในแต่ละช่วงวันและค่าแรง ถ้าสั่งจะได้ ราคาถูกกว่าหน้าร้าน ทำเสร็จจึงตีราคา ให้งบมาแค่หมื่นก็ทำได้ เช่น ทำแหวนเงิน ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ประมาณ ๗๐๐ บาท ถ้า

๑๔


เป็นทองราคาค่าแรงเฉลี่ยหลักพัน แต่การทำงานที่ใช้สายตามาก เมื่อเริ่มอายุราว ๕๐ ปี ก็อาจจะต้องเลิกทำเพราะใช้สายตาไม่ได้ดี เท่าเดิม การมาทำทองที่ย่านตรอกเฟื่องทองและตรอกวิสูตรถือว่าอยู่ ในแหล่งผลิตที่ผู้คนรู้จักกันดี กรณี “ร้านประยูร” ที่เจ้าของเป็นชาว ศรีษะเกษเกิดจากคนงานร้านทองมาเปิดร้านด้วยตนเองโดทดลอง ทำมาราว ๖ ปี และสามารถทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าส่วนมาก รายย่อย หรือางรายขายอยู่ในห้าง หรือลูกค้าสั่งก็มาสั่งต่อหรือมา จากจังหวัดไกลๆ เพื่อมาสั่งไปขาย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าราวๆ ๒๐-๓๐ ปีที่ผ่านมา คนจีนจากที่ เคยเป็นช่างทำทองรูปพรรณก็กลายมาเป็นคนขายเครื่องประดับซึ่ง มีหน้าร้านและฐานะค่อนข้างดี ขยับขยายออกจากพื้นที่ย่านทำ ทองที่ทำมาตั้งแต่ครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไปทำธุรกิจอื่นๆ บ้างหรือไปอยู่ตามแหล่งอื่นๆ บ้าง และงานช่างทองรูปพรรณที่ตรอกเฟื่องทอง-ตรอกวิสูตรทุก วันนี้ จึงกลายเป็นงานของช่างทองจากอีสานเป็นส่วนใหญ่ สัมภาษณ์ จันทนีย์ จันแสง. ชุมชนบ้านตึกดิน, ถนนตะนาว / ตุลาคม ๒๕๕๘ อภาพร โบราณบุญ. ร้านประยูร ซอยต้นทอง ชุมชนตรอกเฟื่อง ทอง-ตรอกวิสูตร / กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ยุทธศักดิ์ น้อยพยัคฆ์. ประธานชุมชนตรอกเฟื่องทอง-ตรอก วิสูตร /กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เจษฎา รักสัตย์. อดีตอาจารย์เกษียณ หลานตาพระยาโหราธิบดี ตรอกวิสูตร ถนนเจริญกรุง /กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

ภาพบน บริเวณคลองหลอดวัดราชบพิธ คั่น ระหว่างตรอกเฟื่องทองและตรอกวิสูตร ภาพล่าง ผลงานแหวนประดับเพชรพลอยของช่าง ชาวศรีษะเกษที่ตรอกเฟื่องทองในปัจจุบัน

บรรณานุกรม สารบาญชีส่วนที่ ๒ คือราษฎรในจังหวัด ถนน แล ตรอก จ.ศ. ๑๒๔๕ เล่มที่ ๒. สำนัก พิมพ์ต้นฉบับ, ๒๕๔๑ ปราณี กล่ำส้ม. จากพาหุรัดถึงตลาดมิ่งเมือง วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๘). เล่าขานตำนานทอง. ทองคำเปลว หัตถศิลป์ที่ยังมีชีวิต วารสาร ทองคำ ฉบับที่ ๒๕ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๓. https:// issuu.com/goldtraders/docs/gold25/5 /(๔/๐๓/๒๕๕๙) รัชกาลที่ ๗ กับกำเนิดศาลาเฉลิมกรุง. http:// www.crownpropertyfoundation.org/article-detail.php?id=8 (๔/๐๓/๒๕๕๙) หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

๑๕


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.