คู่มือ ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้ / ศรีเทพ / เสมา

Page 1

LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา ท่องเที่ยวเพื่อเข้าใจเมืองไทย วันที่ ๑๐-๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ กิจกรรมใหม่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ น�ำชมสาระทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ ร่วมเดินทางศึกษาการมีอยูข่ องรัฐศรีจนาศะในเขตชายขอบทีร่ าบสูงโคราชต่อกับดินแดนภาคกลางใน ช่วงเวลา ๓ วัน ๒ คืน เพียงพอที่จะท�ำความเข้าใจกลุ่มบ้านเมืองขนาดใหญ่ในรัฐศรีจนาศะที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ อันเป็นช่วงเวลาอย่างคร่าวๆ ในการมีอยู่ของยุคนี้ ความเป็น “รัฐ” นั้นต่างจากความเป็น “อาณาจักร” การวิเคราะห์รูปแบบทางการเมืองเพียงอย่าง เดียวไม่สามารถระบุได้วา่ บ้านเมืองแห่งใดเป็นศูนย์กลาง แต่ตอ้ งพิจารณาถึงการศาสนา สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะรูปแบบเฉพาะในความสัมพันธ์แบบแต่งงานหรือกินดองในกลุ่มผู้ปกครอง ที่สามารถเชื่อมบ้าน เมืองต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึง่ ของมัณฑละหรือปริมณฑลของกลุม่ บ้านเมืองร่วมสมัยทีผ่ กู เข้าด้วยกันจากเหตุผล ข้างต้น โดยที่ไม่จำ� เป็นต้องมีการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจากศูนย์กลางของรัฐที่ใดที่หนึ่งตามรูปแบบ การปกครองแบบอาณาจักรที่รวบอ�ำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างเข้มงวด รัฐศรีจนาศะคือปริมณฑลหรือมัณฑละของยุคสมัยที่มีอยู่ในสยามเทศะ ก่อนการเกิดขึ้นของกัมพูชา เทศะอันเป็นอาณาจักรเมืองพระนครในที่ราบลุ่มทะเลสาบเขมร และก่อนการเกิดขึ้นอย่างรวมศูนย์ของ อาณาจักรอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในที่ราบลุ่มน�้ำภาคกลาง โดยมีบ้านเมืองขนาดใหญ่ที่ เมืองละโว้ เมืองศรีเทพ และเมืองเสมา อันเป็นกลุม่ เมืองทีม่ คี วามสัมพันธ์ตอ่ กันอย่างมีพลวัตในรัฐทีถ่ กู เรียก ว่า “ศรีจนาศะ” มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ สิงหาคม ๒๕๖๒

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

3


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

สารบัญ ทวารวดีศรีจนาศะ ศรีศักร วัลลิโภดม • ท�ำความเข้าใจใหม่ ความหมายของค�ำว่า “ทวารวดี” ในมิติการเมือง • เมืองละโว้ • ละโว้ในสหพันธรัฐทวารวดี • เมืองละโว้ : ศูนย์กลางของเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน�้ำที่ติดต่อไปยังดินแดน ภายในทางเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือ • จาก “ละโว้” เป็น “ลพบุรี” • มัณฑละหรือสหพันธรัฐภายใน : “ศรีจนาศะ” • ศรีเทพกับภูมิวัฒนธรรมของการสร้างบ้านแปงเมือง • การวางผังเมืองระดับนครรัฐที่ศรีเทพ • เมืองเสมาและจารึกศรีจนาศะ • ความคล้ายคลึงของเมืองเสมาและเมืองศรีเทพ : โครงสร้างทางกายภาพของเมือง สถานที่ในท้องถิ่นแห่งศรีจนาศะ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ • เมืองละโว้ • วัดนครโกษา • ปรางค์แขก • ศาลพระกาฬหรือศาลสูง • ปรางค์สามยอด • พระปรางค์วัดมหาธาตุ • แหล่งโบราณคดีที่วัดพรหมทินใต้ • คนพวนเมืองลพบุรี • เมืองศรีเทพ • เมืองโบราณศรีเทพ • โบราณวัตถุส�ำคัญจากเมืองศรีเทพในมือนักสะสม • เทวรูปรุ่นเก่าและเทวรูปเด่นจากเมืองศรีเทพ “สุริยเทพ” • จารึกบ้านวังไผ่และจารึกศรีเทพ 4

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๗ ๒๓ ๒๕ ๒๗ ๒๘ ๓๒ ๓๔ ๔๐ ๔๑ ๔๕ ๔๖ ๔๖ ๔๗ ๔๗ ๔๘ ๕๐ ๕๑ ๕๓ ๕๔ ๕๖ ๕๘


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION •

๕๙ ๕๙ ๖๐ ๖๐ ๖๒ ๖๒ ๖๓ ๖๔ ๖๕ ๖๖ ๖๖ ๖๙ ๗๔ ๗๔ ๗๕ ๗๖ ๗๘ ๗๘ ๘๐

• ปรางค์ศรีเทพ • ปรางค์สองพี่น้อง • โบราณสถานเขาคลังใน • โบราณสถานเขาคลังนอก • ปรางค์ฤาษี • สระแก้วสระขวัญ • หลุมขุดค้นทางโบราณคดี • เขาถมอรัตน์ • ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ เมืองเสมา • สู่ที่ราบสูงโคราช • เมืองเสมา • ศรีจนาศะจากจารึก • จารึกจากเมืองเสมา • จารึกศรีราชภิกษุ • กลุ่มปราสาทหินริมล�ำตะคองในวัฒนธรรมเขมร • ปราสาทโนนกู่ • ปราสาทเมืองแขก • ปราสาทเมืองเก่า

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

5


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

แผนที่แสดงตำ�แหน่ง เมืองโบราณลพบุรี เมืองศรีเทพ และเมืองเสมา 6

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

7


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

8

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ทวารวดี “ศรีจนาศะ” ศรีศักร วัลลิโภดม

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

9


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ทำ�ความเข้าใจใหม่ ความหมายของคำ�ว่า “ทวารวดี” ในมิติการเมือง ข้าพเจ้าได้ทำ�ความเข้าใจใหม่วา่ ทวารวดีในมิตทิ างการเมือง หมายถึง กลุม่ ของนครรัฐใกล้ทะเลหรือ นครรัฐที่เป็นทั้งเมืองท่าติดต่อกับโพ้นทะเล มารวมตัวกันอย่างหลวมๆ ในลักษณะที่เป็น มัณฑละ [Mandala] หรือสหพันธรัฐ [Federation] ทีม่ ี เมืองนครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณ เป็นศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม และ มี เมืองละโว้หรือลพบุรี เมืองอู่ทอง เมืองคูบัว และเมืองศรีมโหสถ เป็นเมืองในมณฑลหรือมัณฑละเดียวกัน ความเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของการปกครองหรือการรวมตัวของ นครรัฐในมัณฑละหนึ่งๆ นั้น ไม่ได้อยู่ที่เมืองสำ�คัญเมืองใดเมืองหนึ่ง หากอยู่ที่พระมหากษัตริยาธิราชผู้เป็น ผู้นำ�ทางบารมีที่อาจประทับอยู่ ณ เมืองใดเมืองหนึ่งได้ในชั่วพระชนมายุของพระองค์ หากสิ้นไปแล้วอาจ เคลื่อนไปอยู่ที่พระมหากษัตริย์ของนครรัฐอื่นที่อยู่ในมัณฑละเดียวกันได้ เช่น จากนครชัยศรีไปยังเมืองละโว้ หรือเมืองคูบัวก็ได้ ความเป็นศูนย์กลางของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “พระจักรพรรดิราช” นั้น สะท้อนให้เห็นจากคำ�จารึกในศิลาจารึกแผ่นโลหะและเหรียญเงินที่มีคำ�ว่า “บุญกุศลแห่งพระผู้เป็นใหญ่ แห่งศรีทวารวดี” เป็นต้น ส่ ว นในมิ ติ ท างวั ฒ นธรรม “ทวารวดี ” หมายถึ ง อารยธรรมพระพุทธศาสนาร่วมสมัยของบรรดาเมืองนครรัฐและ เมืองใหญ่น้อยทั้งที่อยู่ในมัณฑละทวารวดีและเมืองอื่นที่ ไม่ใช่ มัณฑละเดียวกัน ความเป็นอารยธรรมทวารวดีเห็นได้จากการ แพร่หลายของระบบความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเถรวาทและ มหายานที่สะท้อนให้เห็นจากหลักฐานทางโบราณสถานวัตถุที่ มีทั้งศิลปวัฒนธรรมที่เป็น ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศิลาจารึก พระพุทธรูป พระสถูป และลวดลายเครื่องประดับที่พบในภาค กลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้นจากโบราณสถานในเมือง นครปฐม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระปฐมเจดีย์

10

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

เหรียญเงินที่มีจารึก “ศรีทวารวดีศวรปุญญะ” แปลว่าบุญกุศลของพระ ผู้เป็นใหญ่แห่งศรีทวารวดี อีกด้านหนึ่งเป็นภาพโคแม่ลูก พบในเมือง โบราณในวัฒนธรรมทวารวดีหลายแห่ง


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ภาพวาดอาณาบริเวณเมืองละโว้รุ่นแรกในสมัยทวารวดีจนมาถึงเมืองลพบุรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จากวารสารเมืองโบราณ วาดโดยสุทธิชัย ฤทธิ์จตุพรชัย คำ�แนะนำ�โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

เมืองละโว้ บรรดาเมืองโบราณในประเทศไทยที่มีอายุแต่สมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ลงมา จนถึง สมัยลพบุรี อยุธยา และกรุงเทพฯ ในทุกวันนี้ เมืองที่ยังรักษาชื่อบ้านนามเมืองแต่เดิมไว้อย่างสืบเนื่องมีอยู่ ๓ เมือง คือ เมืองละโว้ ในลุ่มน�้ำลพบุรีของภาคกลาง เมืองพิมาย ในลุ่มน�้ำมูลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมืองหริภุญชัยหรือล�ำพูน ในลุ่มน�้ำกวงของภาคเหนือ เมืองอื่นๆ ทั้งเมืองใหญ่และเล็กจ�ำนวนเป็นร้อยกว่าแห่งขึ้นไปดูจะเลือนหายไปจากความทรงจ�ำและ การจดจ�ำของคนรุ่นหลังเกือบทั้งสิ้น จากการศึกษาส�ำรวจของข้าพเจ้าในเรื่องภูมิวัฒนธรรมของบรรดาเมือง โบราณในประเทศไทยที่ผ่านมา พอหาเหตุผลได้ว่าท�ำไมชื่อเมืองส�ำคัญทั้งสามแห่งนี้จึงยังไม่ขาดหายไป นั่นเพราะเมืองทั้งสามแห่ง ล้วนตั้งอยู่ ในต�ำแหน่งภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมทางการ คมนาคมทางน�้ำ คือเป็นบริเวณที่มีแม่น�้ำและล�ำน�ำ้ ไหลมารวมกัน เกิดการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนบ้านและเมือง ในท้องถิ่นเดียวกัน อยู่ในระบบนิเวศวัฒนธรรมเดียวกัน แม่น�้ำอันเป็นเส้นทางคมนาคมส�ำคัญไม่แห้งไปหรือ เปลี่ยนทางเดิน ชุมชนจึงยังด�ำรงอยู่อย่างสืบเนื่อง แม้ว่ากลุ่มชนที่เป็นชาติพันธุ์เดิมจะหายไปแล้วก็ตาม แต่คนกลุ่มใหม่ก็จะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ตลอด เวลา ท�ำให้ชื่อบ้านนามเมืองเก่าๆ ยังจดจ�ำกันอยู่ แม้ว่าจะเป็นต�ำนานก็ตาม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

11


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

เครื่องปั้นดินเผาที่พบในเขตลุ่มลพบุรี-ป่าสัก ลายขีดคดโค้งผสมกับลายจุด ถือเป็นรูปแบบการตกแต่งภาชนะ ดินเผาแบบซ่าหวิ่งห์-คาลาไนน์ที่พบกระจายในแถบชายฝั่งทะเลของเวียดนาม คาบสมุทร และหมู่เกาะในช่วง ยุคสำ�ริดต่อกับยุคเหล็ก ค่าอายุอาจผันแปรตามการศึกษาในแต่ละยุค

ละโว้ในสหพันธรัฐทวารวดี รัฐละโว้เป็นหนึ่งในเมืองท่าของสหพันธรัฐ หรือมัณฑละทวารวดี เช่นเดียวกันกับเมืองนครชัยศรี หรือนครปฐมโบราณที่สัมพันธ์กับ “มัณฑละศรี จนาศะ” อันเป็นกลุ่มเมืองภายใน เป็นเมืองนครรัฐ ที่เป็นเมืองท่าทางตะวันออกของลุ่มน�้ำเจ้าพระยาที่ มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับบรรดา เมืองภายในของลุ่มน�้ำลพบุรีและป่าสัก และบรรดา เมืองและนครรัฐในลุ่มน�้ำมูลตอนบนของที่ราบสูง โคราช โดยเฉพาะ “เมืองศรีเทพ” และ “เมืองเสมา” อันเป็นเมืองส�ำคัญของมณฑลศรีจนาศะ โดยมีร่อง รอยของเส้นทางติดต่อระหว่างเมืองต่อเมืองถึงกัน 12

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

เมืองละโว้ตั้งอยู่ตรงปลายตะพักของที่ลาด เชิงเขาของ “เขาสามยอด” อันเป็นหนึ่งในกลุ่ม เขาลพบุรี ที่ประกอบด้วย เขานงประจันต์ (เขาวง พระจันทร์) เขาพระงาม เขาสามยอด และ กลุ่ม เขาพระพุทธบาท อันเป็นทีเ่ กิดของลุม่ น�ำ้ ต่างๆ ทีม่ า รวมกันเป็นล�ำน�ำ้ ลพบุรี เป็นบริเวณทีล่ าดต�ำ่ ลอนลูก คลื่นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุจากภูเขา เช่น แร่ เหล็กและทองแดง มีทสี่ งู และทีล่ มุ่ เหมาะกับการตัง้ ถิ่นฐานอยู่อาศัยและการเกษตร จากหลักฐานทางโบราณคดีพบร่องรอยของ ชุมชนโบราณที่แสดงว่ามีคนเข้ามาอยู่อาศัยและ ท�ำกินไม่ตำ�่ กว่า ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยแบ่งออกเป็น ๒ ยุคใหญ่ๆ คือ


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

กำ�ไลอุทศิ ให้ผตู้ ายในหลุมฝังศพ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแถบนี้ นิยมทำ� จากเปลือกหอยมือเสือขนาดใหญ่ และ กำ�ไลหินเนื้อกึ่งหยกที่นำ�เข้ามาจากแดน ไกล อาจจะนำ�มาจากแถบหมูเ่ กาะไต้หวัน นอกจากนี้ยังนิยมทำ�เครื่องประดับต่างๆ โดยเฉพาะต่างหูจากเปลือกหอยมือเสือ และหอยสังข์รูปแบบต่างๆ เช่น แบบตะปู และแผ่นเรียบ รวมทัง้ กำ�ไลทำ�จากเปลือก หอยสังข์และลูกปัดขนาดเล็กรูปกลมแผ่น เรียบ

“ยุคก่อนเหล็ก” ที่บรรดาเครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธท�ำด้วยหอยทะเลลึก เช่น หอยมือเสือ หอยสังข์ และโลหะส�ำริดอันเป็น โลหะผสมของทองแดง ดีบุก และตะกั่ว และ “ยุคเหล็ก” ที่มีการใช้เหล็กเป็นอาวุธ และเครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งการน�ำเอาหินสีกึ่ง รัตนชาติมาท�ำเป็นลูกปัด เครื่องประดับต่างหูและ

ก�ำไลตั้งแต่ราว ๒,๕๐๐ ปีลงมา ถือเป็นช่วงต้น พุทธกาล ยุคนี้นอกจากมีพัฒนาการทางเทคโนโลยี เกี่ยวกับเหล็กแล้ว ยังเป็นสมัยเริ่มต้นของการเกิด ชุมชนบ้านเมืองและรัฐเล็กๆ [Early State] ที่มีการ ติดต่อกับอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ ๓ เป็นต้นมา ความอุดมสมบูรณ์ดว้ ยแร่ธาตุ เช่น เหล็กและ ทองแดง รวมทั้งของป่าที่มาจากความหลากหลาย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

13


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

แม่น�้ำบางขามที่หน้าตลาดท่าโขลง อ�ำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ทางชีวภาพของอาณาบริเวณ ท�ำให้ชมุ ชนบ้านเมือง ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในเขต เขานงประจันต์ อ�ำเภอ โคกส�ำโรง เขาพระงาม และ เขาสามยอด ในเขต อ�ำเภอเมืองลพบุรี อ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และ อ�ำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นชุมชนที่มี การท�ำอุตสาหกรรมเหล็ก ทองแดง การรวบรวม ของป่าและการเกษตรกรรม ที่มีเมืองละโว้เป็น เมืองท่าศูนย์กลาง ซึ่งอยู่ปลายตะพักของที่ลาดต�่ำ มีล�ำน�้ำลพบุรี ไหลผ่านลงสู่ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาทาง ด้านตะวันตกและด้านใต้ “ล�ำน�้ำลพบุรี” คือเส้นทางคมนาคมส�ำคัญ ทางฟากตะวันออกของลุ่มน�้ำเจ้าพระยา มีก�ำเนิด มาแต่เทือกเขาเพชรบูรณ์ทแี่ บ่งเขตอ�ำเภอโคกส�ำโรง จากอ�ำเภอชัยบาดาลและอ�ำเภอพัฒนานิคมของลุ่ม 14

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

น�้ำป่าสัก ล�ำน�้ำนี้ ไหลผ่านที่ลาดลอนลูกคลื่นและ ที่ลาดต�่ำลงสู่อ�ำเภอบ้านหมี่ อันเป็นบริเวณที่พบ ชุมชนบ้านเมืองสมัยยุคเหล็กและสมัยทวารวดี เช่น เมืองดงมะรุม เมืองพรหมทิน ผ่านชายขอบอ�ำเภอ บ้านหมีล่ งสูท่ รี่ าบลุม่ ต�ำ่ น�ำ้ ท่วมถึงทางตะวันตกของ อ�ำเภอบ้านหมี่มายัง ต�ำบลมหาสอน อันเป็นที่ล�ำน�้ำ ลพบุรมี าสบกับล�ำน�ำ้ ที่ไหลมาจากทีส่ งู ในเขตอ�ำเภอ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ที่ผ่านเมืองโบราณสมัย ทวารวดีที่เมืองบางไผ่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ล�ำน�้ำ บางขามหรือแม่นำ�้ ลพบุรี ทีก่ ลายเป็นแม่นำ�้ วกหักลง สู่ที่ราบลุ่มทางใต้มายังอ�ำเภอท่าวุ้ง แม่น�้ำบางขาม หรือลพบุรี จากต�ำบลมหาสอนไหลลงใต้มายัง วัด ไลย์ ในเขตอ�ำเภอท่าวุง้ อันเป็นพืน้ ทีท่ งุ่ กว้างไพศาล เมื่อรับน�้ำจากบริเวณที่สูงจากแทบทุกทิศ


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

พระประธานที่พระอุโบสถวัดไลย์ ตำ�บลเขา สมอคอน อำ�เภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ท�ำให้ล�ำน�้ำใหญ่แยกออกเป็นหลายแพรก แม่ น�้ ำ ลพบุ รี ส ายหนึ่ ง ผ่ า นอ� ำ เภอท่ า วุ ้ ง ลงไปทางใต้ ถึ ง เขตอ� ำ เภอมหาราช จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา และอี ก สายหนึ่ ง แยกไปทางตะวั น ออก ผ่านเขาสมอคอนไปยังทุ่งพรหมมาสตร์และเมือง ละโว้ แล้วหักวกผ่านหน้าเมืองละโว้ลงใต้ไปยัง อ� ำ เภอบ้ า นแพรกและอ� ำ เภอมหาราช จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมทางน�้ำ จากเมืองละโว้ทเี่ ป็นเมืองท่าในสมัยทวารวดีไปออก อ่าวไทย จากหลั ก ฐานทางต� ำ นาน โดยเฉพาะ “ต�ำนานจามเทวีวงศ์” ของเมืองหริภุญชัย พระนาง

จามเทวีน่าจะเสด็จโดยทางน�้ำจากเมืองละโว้ไป ครองเมืองล�ำพูนหรือหริภุญชัยทางเหนือ โดยเริ่มแต่แม่น�้ำลพบุรีหน้าเมืองละโว้ผ่าน ทุ่งพรหมมาสตร์ แยกเข้าปากน�้ำบางขามเข้าเขา สมอคอน ไปวัดไลย์ จนถึงต�ำบลมหาสอนในเขต อ�ำเภอบ้านหมี่ อันเป็นที่สบกันระหว่างล�ำน�้ำที่มา จากอ�ำเภอบ้านหมี่กับล�ำน�้ำที่มาจากอ�ำเภอตาคลี แล้วเสด็จตามล�ำน�ำ้ ทีม่ าจากทีส่ งู ในเขตอ�ำเภอตาคลี ขึ้นไปจนถึงเขตเมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ อัน เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีรกรากมาแต่สมัย ยุคเหล็ก จากเขตเมืองจันเสนก็เดินทางตามล�ำน�้ำ ไปยังล�ำน�้ำเจ้าพระยาเก่าที่ไหลมาจากบึงบอระเพ็ด ผ่านอ�ำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มายังต�ำบล มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

15


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION หางน�้ำสาครในเขตอ�ำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท พระนางจามเทวีเสด็จขึ้นตามล�ำน�้ำเจ้าพระยาเก่า ผ่าน เมืองอูต่ ะเภา (เมืองล่าง) ทีต่ ำ� บลหางน�ำ้ สาคร ขึ้นมายัง เมืองบนสมัยทวารวดีที่บ้านโคกไม้เดน ต�ำบลท่าน�้ำอ้อย เขตอ�ำเภอพยุหะคีรี ไปยังต้นน�้ำ เจ้าพระยาที่บึงบอระเพ็ด แล้วเสด็จขึ้นไปทางเหนือ โดยล�ำน�้ำปิงที่ เมืองพระบางหรือนครสวรรค์ เท่าที่กล่าวมาแล้วคือร่องรอยของเส้นทาง คมนาคมทางน�้ำจากเมืองละโว้ไปสัมพันธ์กับบ้าน เมืองทางเหนือตามชายขอบที่ราบลุ่มน�้ำเจ้าพระยา จนถึงเมืองหริภุญชัยหรือล�ำพูน ซึ่งเมื่อมองภาพรวมทางภูมิวัฒนธรรมของ ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาจะเห็นได้ว่า ต�ำแหน่งที่ตั้งของเมืองละโว้ คือ นครรัฐที่ เป็นเมืองท่าทางฟากตะวันออกของลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา ตั้งอยู่คนละฟากกับเมืองนครชัยศรีและเมืองอู่ทอง ทางฟากตะวันตก ความส� ำ คั ญ ของเมื อ งท่ า ทั้ ง สองต่ า งกั น เมืองนครชัยศรีคือเมืองท่าใหญ่ส�ำหรับการติดต่อ โพ้ น ทะเลที่ ม าจากทางตะวั น ตก และเส้ น ทาง

คมนาคมที่ ม าจากบ้ า นเมื อ งมอญและพม่ า ทาง ชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่เมืองละโว้มีความสัมพันธ์กับบ้านเมือง ทางฟากตะวั น ออกที่ ผ ่ า นลุ ่ ม น�้ ำ ป่ า สั ก ขึ้ น ไปยั ง ที่ราบสูงโคราชในดินแดนลุ่มน�้ำโขงทางชายฝั ่ ง ทะเลจีนใต้ จึงเห็นได้ว่าเมืองละโว้มีความสัมพันธ์กับ บ้านเมืองที่เก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในอาณา บริเวณกว้างขวางใหญ่โตกว่าทางเมืองนครชัยศรีที่ พัฒนาขึ้นในพื้นที่ลุ่มน�้ำล�ำคลอง [Riverine Area] แต่เมืองละโว้ครอบคลุมพื้น ที่บนที่สูง ที่ราบสูง ป่าเขาที่เต็มไปด้วยของป่าและแร่ธาตุในบริเวณ และปริ ม ณฑลที่ ม ากกว่ า โดยเฉพาะพื้ น ที่ ภู มิ วัฒนธรรมโดยรอบเมืองละโว้ซึ่งเป็นกลุ่มเขานง ประจันต์ เขาพระงาม เขาสามยอด และกลุ่ม เขาพระพุทธบาท ล้วนเป็นแหล่งชุมชนบ้านเมือง ที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและทองแดง ที่หนาแน่นกว่าแห่งใดๆ ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา โดยอายุและพัฒนาการ “เมืองละโว้” เทียบ ได้กับ “เมืองอู่ทอง” ที่มีอายุเก่าขึ้นไปถึงสมัยฟูนัน

เขาสมอคอน ชื่อที่ตั้งขึ้นตามวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ที่ทำ�ให้เกิดชื่อบ้านนามเมืองในแถบลพบุรี

16

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION และสุวรรณภูมิ ซึ่งแสดงให้เห็นจากหลักฐานการ ขุดค้นทางโบราณคดีที่ต�ำบลท่าแค ต�ำบลห้วยโป่ง เมืองซับจ�ำปา จังหวัดลพบุรี บ้านใหม่ชัยมงคลที่ จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น ชุมชนบ้านเมืองเหล่านี้ในยุคเหล็กหาได้อยู่ โดดเดี่ยวไม่ หากมีความสัมพันธ์กับการค้าระยะ ไกลจากแหล่งอารยธรรมยุคส�ำริดจากทางยูนนาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากรูปแบบของอาวุธและเครื่อง มือเครื่องใช้ ตลอดจนเครื่องประดับ เช่น รูปแบบ ของขวานส�ำริด กลองส�ำริด ก�ำไลส�ำริด ตุ้มหู ลูกปัดที่ท�ำด้วยหินสี หินกึ่งหยก สิ่งที่โดดเด่นที่สุด ของแหล่งโบราณคดีที่บ้านท่าแค ซึ่งนอกจากเป็น แหล่งอุตสาหกรรมทองแดงและเหล็กแล้ว ยังเป็น แหล่งผลิตเครื่องประดับด้วยหอยทะเลลึก เช่น หอยมือเสือและหอยสังข์ การใช้เปลือกหอยทะเล ลึกท�ำเครื่องประดับและเป็นวัตถุมงคลนี้ เป็นสิ่ง สากลของบรรดาบ้านเมืองโบราณที่มีความสัมพันธ์ การค้าระยะไกลโพ้นทะเลมาราว ๓,๐๐๐ ปีทีเดียว จากรู ป แบบของโบราณวั ต ถุ เช่ น เครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผาที่ ใ ช้ ใ นการเซ่ น ศพซึ่ ง พบตาม แหล่งฝังศพในพื้นที่ลุ่มน�้ำลพบุรี-ป่าสักนั้น มีความ คล้ า ยคลึ ง กั บ รู ป แบบของกลุ ่ ม วั ฒ นธรรมแบบ ซาหวิ่งห์อันเป็นบรรพบุรุษพวกจามในเวียดนาม คน เหล่านี้เป็นพวกพ่อค้าระยะไกลทั้งทางบกและทาง ทะเล และเป็นกลุ่มชนที่น�ำพาเครื่องประดับและ รูปแบบของศิลปะแบบดองซอนแพร่ไปตามชุมชน ต่างๆ ที่อยู่ชายฝั่งทะเลจีน ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ด้วย เช่นเดียวกันกับเมืองอู่ทองและชุมชนทางฟาก ตะวันตกและฝั่งอันดามันของลุ่มน�้ำเจ้าพระยาที่มี การเกี่ยวข้องกับอินเดียในสมัยสุวรรณภูมิ คือราว พุทธศตวรรษที่ ๒-๓ ลงมา บ้านเมืองทางฟากฝั่ง เมืองละโว้ก็มีความสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน แต่ไม่มาก เท่ากับทางฝั่งเมืองอู่ทอง หลักฐานที่แสดงให้เห็นก็คือบรรดาภาชนะ

ดินเผาสีด�ำที่มีการขัดผิวและประดับด้วยลายเส้น เบาๆ ที่ ไ ม่ กิ น ลงไปถึ ง พื้ น ผิ ว ภาชนะ เป็ น สิ่ ง ที่ ศาสตราจารย์วิลเฮล์ม จี. โซลไฮม์ (Prof. Wilhelm G. Solheim) จากมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา พบเห็นจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดี ในที่ราบสูง โคราช โดยเฉพาะในชั้นดินชั้นล่างของปราสาทหิน พิมาย โซลไฮม์ให้ชื่อภาชนะดินเผานี้ว่า พิมายด�ำ [Phimai Black] มีอายุราว ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ลงมา เป็นรูปแบบที่พบตามแหล่งโบราณคดี ใน ประเทศอินเดีย ได้มีการพบเห็นภาชนะแบบพิมาย ด�ำนี้ในที่อื่นๆ เช่นที่ เมืองจันเสน ซับจ�ำปา และ ศรีเทพ จากอิทธิพลของการค้าระยะไกลทั้งทางบก และโพ้นทะเลทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลจีน ท�ำให้มี พัฒนาการของเมืองท่าทางชายขอบที่สูงทางฟาก ตะวันออกของลุ่มน�้ำเจ้าพระยาหลายเมืองตั้งแต่ สมัยฟูนันลงมา เช่น เมืองอู่ตะเภาที่ต�ำบลหางน�้ำ สาคร เมืองจันเสน เมืองละโว้ และเมืองขีดขิน จังหวัดสระบุรี

เมืองละโว้ : ศูนย์กลางของเส้นทางคมนาคมทัง้ ทางบกและทางน�ำ้ ทีต่ ดิ ต่อไปยังดินแดนภายใน ทางเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ความสัมพันธ์กบั บ้านเมืองทีอ่ ยูท่ างเหนือได้ กล่าวไปแล้ว ส่วนที่ไปทางตะวันออกยังลุม่ น�ำ้ ป่าสัก และที่ราบสูงโคราชนั้นมีหลายเส้นทาง ที่ส�ำคัญก็ คือเส้นทางที่ขึ้นไปตามล�ำน�้ำลพบุรี จาก หน้าเมือง ผ่านทุ่งพรหมมาสตร์ ไปเขาสมอคอนและวัดไลย์ เข้าบางขามไปยังต�ำบลมหาสอนและบางพึ่ง ผ่าน “เมืองวังไผ่” ที่อยู่ตรงทางแยกของแม่น�้ำที่จะไป ทางเหนือ แต่ไม่ไป กลับหักขึ้นไปทางตะวันออกยัง บ้านหมี่ เดินทางบกตามล�ำน�้ำเข้าสู่พื้นที่สูงอันเป็น บริเวณต้นน�้ำลพบุรี ผ่านชุมชนโบราณที่เป็นสมัย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

17


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

คุ้งน�้ำกว้างใหญ่ บริเวณหน้าเมืองโบราณวังไผ่ ในต�ำบลมหาสอน

ก่อนประวัติศาสตร์ในเขต เมืองพรหมทิน อ�ำเภอ โคกส�ำโรง ต่อไปยัง เมืองดงมะรุม ซึ่งเป็นทางแยก ขึ้นไปทางเหนือในเขตอ�ำเภอสระโบสถ์ ผ่านชุมชน โบราณสมัยทวารวดีที่ต�ำบลมหาโพธิไปยังต�ำบล โคกเจริญ ที่มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอันเป็น ชุ ม ทางที่ แ ยกไปทางตะวั น ตกเฉี ย งเหนื อไปยั ง เมืองดอนคา ที่อำ� เภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่ที่ล�ำน�้ำไหลไปลงบึงบอระเพ็ด ส่วนทางที่แยกจากเมืองไพศาลี ไปทางตะวันออกก็ ข้ามสันปันน�ำ้ ผ่านเขาถมอรัตน์อนั เป็นเขาศักดิส์ ทิ ธิ์ ของเมืองศรีเทพไปยังเมืองศรีเทพในตอนกลางของ ลุ่มน�้ำป่าสัก ในขณะเดียวกันที่ เมืองดงมะรุม ถ้าเดิน ทางข้ามช่องเขาเพชรบูรณ์ผ่านต�ำบลม่วงค่อมก็จะ ถึงสองฝัง่ แม่นำ�้ ป่าสักแต่เขตอ�ำเภอชัยบาดาลต่อกับ เขตอ�ำเภอพัฒนานิคม ซึง่ ปัจจุบนั เป็นเขือ่ นป่าสักชล สิทธิ์ ณ ต�ำบลล�ำนารายณ์ อันเป็นทีล่ ำ� น�ำ้ ป่าสักไหล 18

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

ผ่านเมืองศรีเทพมาสบกับล�ำสนธิและล�ำพญากลาง บริเวณนีเ้ ป็นทีต่ งั้ ของ “ปรางค์นางผมหอม” อันเป็น ปราสาทแบบขอมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ตัง้ อยูบ่ น เส้นทางแยกที่ผ่านล�ำสนธิขึ้นเทือกเขาพญาฝ่อหรือ ดงพญาเย็น ผ่านช่องหินลับไปยังหน้าเมืองโบราณ ในบริเวณต้นล�ำน�ำ้ ชีและล�ำน�ำ้ มูลของภาคตะวันออก เฉียงเหนือ อีกเส้นทางหนึง่ ไปทางใต้ตามล�ำพญากลาง เลียบเขาพญาฝ่อหรือพญาไฟไปยังปากช่อง เส้น ทางนีผ้ า่ นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัตศิ าสตร์บน ที่ลาดสูงทางฝั่งตะวันตกของล�ำพญากลางมากมาย หนึ่งในชุมชนดังกล่าวคือ “เมืองซับจ�ำปา” ที่พัฒนา เป็นเมืองในสมัยทวารวดี ซึ่งบรรดาโบราณสถาน วัตถุที่ขุดพบมีความสัมพันธ์กับเมืองละโว้และเมือง สมัยทวารวดีอื่นๆ ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ตามล�ำพญา กลางไปจนถึงปากช่อง ผ่าน “เมืองจันทึก” จังหวัด นครราชสีมา มีชมุ ชนโบราณสมัยทวารวดีทพี่ บจารึก


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION บนฐานพระพุทธรูป ซึ่งกล่าวถึงการสร้างพระพุทธ รูปอุทิศเป็นการบุญของพระราชเทวี ในพระราชา ผู้เป็นใหญ่แห่งศรีทวารวดี ตรงปากช่องเป็นรอย ต่อระหว่างล�ำพญากลางกับล�ำตะคองที่ ไหลลงมา จากต้นน�้ำบนเขาใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้มาลง หนองใหญ่ที่ปัจจุบันกลายเป็นเขื่อนล�ำตะคอง ผ่าน ช่องเขาพญาฝ่อหรือพญาไฟซึ่งเปลี่ยนมาเป็นดง

พญาเย็นเมื่อมีการสร้างทางรถไฟผ่านช่องเขาตาม ล�ำตะคองไปยังอ�ำเภอสีคิ้วและสูงเนิน อันเป็นที่ตั้ง ของ “เมืองเสมา” เมืองสมัยทวารวดีใหญ่ที่สุดแห่ง หนึ่งในภาคอีสานและเป็นเมืองคู่แฝดกับ “เมือง ศรีเทพ” ใน “มัณฑละศรีจนาศะ” การที่เมืองละโว้มีเครือข่ายของเส้น ทาง คมนาคมขึ้นไปทั้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออก

ศาลพระกาฬหรือศาลสูง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูสร้างด้วยศิลาแลง เพิ่งขุดแต่งเพื่อการบูรณะโดยรอบศาลซึ่งเป็นอาคาร ปราสาทในวัฒนธรรมเขมร อายุจากจารึกอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

19


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION พระนารายณ์ ข นาดเล็ ก พบ ที่ ศ าลสู ง ๒ องค์ และเก็ บ รั ก ษาไว้ ในพิพิธภัณฑ์องค์หนึ่ง รูปแบบคล้าย กั บ เทวรู ป พระนารายณ์ รุ่ น เก่ า จาก นครศรีธรรมราชและไชยา ซึ่งพบอีกที่ ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร เมืองอู่ทอง และ ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี

เฉียงเหนือตามที่กล่าวมา สะท้อนให้เห็นการมีพื้นที่ ติดต่อกับบ้านเมืองต่างๆ ที่กว้างขวางกว่าเมือง นครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณ นครชัยศรีแม้จะเป็นเมืองทางน�้ำที่มีขนาด ใหญ่และเจริญกว่าด้วยแหล่งศาสนสถานและศิลป วัฒนธรรมในสมัยทวารวดีก็ตาม แต่ก็ต้องโรย ร้างและเปลี่ยนสภาพเล็กลง อันเนื่องจากเส้นทาง คมนาคมทางน�้ำเปลี่ยน ชุมชนบ้านเมืองจึงเปลี่ยน ต�ำแหน่งทีต่ งั้ ตามไป ต่างกันกับเมืองละโว้ทเี่ ส้นทาง คมนาคมทั้งทางน�ำ้ ทางบก และเครือข่ายของบ้าน เมืองยังด�ำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก ท�ำให้ต้องหันมาทบทวนต�ำแหน่งที่ตั้งของ เมืองแต่สมัยทวารวดีจากจดหมายเหตุการเดินทาง ของ หลวงจีนฟาเหียน หลวงจีนเหี้ยนจัง และหลวง จีนอี้จิง อีกครั้ง โดยใช้แนวระนาบความสัมพันธ์ ตะวันตก-ตะวันออกว่า ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ นั้น มี “แคว้นหลั่งยะสิว” อยู่ทางตะวันออกของ “แคว้นศรีเกษตร” ถัดไปทางตะวันออกของหลั่งยะ สิว คือ “โตโลโปตี” ที่หมายถึงทวารวดี อีศานปุระ 20

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

และมหาจามปา แต่ทวารวดีคือชื่อของแคว้นหรือมัณฑละที่ ตัวเมืองส�ำคัญในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ คือ “ลวปุระ หรือเมืองละโว้” เป็นศูนย์กลางของมัณฑละที่พระ มหากษัตริย์ผู้เป็นพระประมุขประทับอยู่ ส่วนทางต�ำนานจามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลี ปกรณ์ และมูลศาสนา ทางเมืองหริภุญชัยกล่าวว่า พระฤๅษีวาสุเทพผู้สร้างนครหริภุญชัยส่งทูตมายัง พระจักรพรรดิผู้ครองละโว้ ขอพระนางจามเทวี พระราชธิดาไปปกครองเมืองหริภุญชัยและเมือง ละโว้ ในสมัยเวลาต่อมาหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๒๑๓ แล้ว เกิดสงครามชิงเมืองขึ้น โดยกษัตริย์จาก หริภุญชัยยกทัพมาท�ำสงครามชิงเมือง ในขณะที่ ท�ำสงครามนั้นก็มีกษัตริย์จากนครศรีธรรมราชยก กองทัพขึน้ มายังเมืองละโว้ ตีเข้าเมืองละโว้ได้ทำ� ให้ กษัตริย์ของเมืองละโว้ต้องรีบยกกองทัพขึ้นไปยึด เมืองหริภุญชัยแทน โดยไม่มี ใครทราบว่ากษัตริย์ จากเมืองหริภุญชัยไปอยู่ ณ ที่ใด เหตุการณ์ในต�ำนานครั้งนี้ นักโบราณคดี


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

พระปรางค์สามยอด สร้างขึ้นในพุทธศาสนาแบบมหายานราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แล้วจึงมาเปลี่ยนเป็นพระปรางค์ ประธานของวัดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ

ฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญศิลาจารึกและประวัติศาสตร์ ศิลป์ได้ตีความว่า เกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕๑๖ ลงมา เพราะในช่ ว งเวลานี้ มี ห ลั ก ฐานทาง โบราณคดี ท างศาสนาฮิ น ดู แ ละมหายานที่ เ ป็ น ศิลปกรรมแบบขอมเมืองพระนคร และศิลาจารึกที่ กล่าวถึงพระนามกษัตริยข์ อม เช่น พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๔ และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ในเมืองละโว้ โดย เฉพาะศิลาจารึกทีม่ พี ระนามของพระเจ้าสุรยิ วรมันที่ ๑ นัน้ กล่าวถึงชือ่ เมืองละโว้ดว้ ย อันแสดงให้เห็นว่า ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อันนับเนือ่ งเป็นสมัยลพบุรนี นั้ ชื่อเมืองละโว้ยังปรากฏอยู่ สิ่งที่น่าสนใจก็คือนักปราชญ์ฝรั่งเศสคือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ให้ความเห็นว่า กษัตริย์ จากนครศรีธรรมราชที่บุกเข้ามายึดเมืองละโว้ไว้ ได้ในต�ำนานทางภาคเหนือนั้น คือ พระเจ้าสุริย วรมันที่ ๑ เมื่อตีเมืองละโว้ได้แล้วก็ขยายอ�ำนาจ ไปตีเมืองพระนครไว้ได้ และขึ้นครองราชย์ในนาม สุริยวรมันที่ ๑ เหตุที่เซเดส์ตีความเช่นนี้ก็เพราะ สะดุดกับค�ำในศิลาจารึกค�ำหนึ่งที่เป็นภาษามาเลย์

คือค�ำว่า “ก�ำตวน” เป็นสร้อยค�ำกล่าวถึงพระเจ้า สุริยวรมันที่ ๑ เข้ากันได้กับการเป็นกษัตริย์ที่มา จากทางใต้ เช่น นครศรีธรรมราช ว่าเป็นคนมาเลย์ ทั้งในประวัติศาสตร์ขอมเมืองพระนครเองก็ระบุว่า พระเจ้าสุรยิ วรมันที่ ๑ เป็นผูท้ บี่ กุ รุกมาชิงราชสมบัติ จากราชวงศ์กษัตริย์เดิม แต่บดั นีค้ วามเห็นของเซเดส์นนั้ คนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย รวมทัง้ ข้าพเจ้า เพราะคิดว่ามาจากลุม่ น�ำ้ บาสัคอันเป็นสาขาของแม่นำ�้ โขงผ่านเมืองตาแก้วลง ไปยังบ้านเมืองที่เคยเป็นเขตแคว้นฟูนันซึ่งผู้คนเป็น คนจามในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และในช่ ว งพุ ท ธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ นี้ ก็ ป รากฏร่ อ งรอยของโบราณสถานและศิ ล ป วัฒนธรรมแบบขอมเมืองพระนครแพร่หลายไปทั่ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

21


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

แผนที่เมืองลพบุรีที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่เป็นเมืองเสด็จประพาสคราวละนานๆ แผนผังเมืองสร้างขึ้น โดยใช้เมืองเดิมที่เป็นเมืองสมัยทวารวดีสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยอิทธิพลเขมรและสมัยเป็นเมืองป้อมมีระบบสาธารณูปโภคแบบชาว ตะวันตกในสมัยลพบุรี

22

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION จาก “ละโว้” เป็น “ลพบุรี” เมืองละโว้ยังด�ำรงอยู่และดูกว้างขวางกว่า เดิมในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ลงมา โดยเรียก ว่า “ยุคลพบุรี” ถ้าหากน�ำเอาเส้นทางคมนาคม จากเมืองละโว้ไปยังดินแดนภายในที่เป็น มณฑล ศรีจนาศะตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือจากละโว้ ไปศรีเทพ เมืองเสมา ไปยังเมืองฝ้าย และกลุ่มบ้าน เมืองในลุม่ น�ำ้ ล�ำปลายมาศ ภูพระอังคาร เข้าสูพ่ นื้ ที่ เขตวัฒนธรรมขอมในเขตพนมรุง้ และภูปลายบัด ใน ขณะเดียวกันอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมขอม สมัยเมืองพระนครแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลงมา ก็ แพร่ขึ้นมาตามอาณาบริเวณของมัณฑละศรีจนาศะ ยังลุ่มน�ำ้ ป่าสักและลพบุรี เหตุน้ีจึงพบร่องรอยของ โบราณสถานและศาสนสถาน ศาสนวัตถุขอมใน เมืองส�ำคัญ เช่น “เมืองเสมา เมืองศรีเทพ และ เมืองละโว้” ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ในขณะ เดียวกัน ก็แลเห็นการเติบโตของบ้านเมืองแต่สมัย พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ลงมา ในรูปที่เกิดเป็น นครรัฐใหม่ๆ ขึ้น เช่น เมืองพิมาย เมืองพนมรุ้ง เมืองศามพูกะ ฯลฯ พอขึ้นต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ คือ ราว พ.ศ. ๑๗๐๐ ลงมา มัณฑละทวารวดีและศรีจนาศะก็สลาย ตัวไป มีการรวมกลุ่มของนครรัฐอิสระใหม่ๆ เหล่า นี้ขึ้นเป็นกลุ่มเมืองแบบมัณฑละใหม่หลายแห่ง เช่น ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยาที่จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงรัฐ ใหญ่ ๒ แห่งที่ส่งทูตไปเมืองจีน คือ “หลอฮก” และ “เสียม” “หลอฮกคือละโว้” ในขณะที่ “เสียม” มี คนตีความกันต่างๆ นานาว่า เป็น “สุโขทัย” โดย ไปผูกมัดกับเรื่องราวการเคลื่อนย้ายของชนชาติ ไทยจากยูนนานเข้ามาดินแดนประเทศไทย ที่เป็น อาณานิคมของอาณาจักรขอมเมืองพระนคร เมือง สุโขทัยในลุม่ น�ำ้ ยม-น่านถูกยึดครองโดยชนชาติไทย

แล้วตัง้ เป็นรัฐอิสระแผ่อำ� นาจมาขับไล่ขอมซึง่ อยู่ใน ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาที่มีเมืองละโว้เป็นศูนย์กลางแล้ว สร้างเมืองอยุธยาขึน้ มาแทนที่ สุโขทัยกลายเป็นราช อาณาจักรทีแ่ ผ่อำ� นาจไปปกครองทัง้ ประเทศ จนถึง เมืองนครศรีธรรมราชจรดคาบสมุทรมลายู แต่ จ ากการศึ ก ษาค้ น คว้ า ทางภาคสนาม ของข้าพเจ้า ไม่เคยเชื่อถือและยอมรับเรื่องการ เคลื่อนย้ายของชนชาติไทยจากยูนนานเข้ามาปราบ ขอม และสร้างสุโขทัยและอาณาจักรไทยขึ้นแทนที่ ในดินแดนประเทศไทยเช่นนี้เลย เพราะเป็นการ ตีความหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์จากแนวคิดเรือ่ ง ชาตินิยมที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ แล้วขยายผลจน ฟุง้ เฟ้อในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบลู สงคราม เป็น นายกรัฐมนตรี และเชื่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ท�ำนองตรงข้าม ในที่นี้ข้าพเจ้าเชื่อว่าบ้าน เมืองในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะในลุ่มน�้ำ เจ้าพระยาที่มี “มัณฑละทวารวดี-ศรีจนาศะ” ด�ำรง อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ นั้น เกิดการ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของการเกิดบ้านเมืองใหม่ ที่เป็นนครรัฐและมัณฑละใหม่แต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมา อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ-การเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงเหนือ ทั้งในหมู่เกาะและคาบสมุทรที่สัมพันธ์ กับการล่มสลายของมัณฑละศรีวิชัย สหพันธรัฐ เมื อ งท่ าในหมู ่ เ กาะและชายทะเลที่ ผู ก ขาดเส้ น ทางการค้าทั้งทางทะเลและทางบก ความส�ำคัญของศรีวิชัยก็คือเป็นยุคที่มีการ แผ่พุทธศาสนามหายานขึ้นไปตามบ้านเมืองต่างๆ ตามเส้นทางการค้าแต่พทุ ธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ หลัง พุทธศตวรรษที่ ๑๔ มัณฑละศรีวิชัยถูกท�ำลายโดย การรุกของพวกโจฬะทมิฬจากอินเดียใต้ และการ แพร่หลายของศาสนาฮินดูที่เข้ามาแทนที่ ท�ำให้ บรรดาบ้านเมืองซึ่งเกี่ยวข้องไม่ว่าทั้งทางภาคใต้ ของไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบ้านเมือง มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

23


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ในกัมพูชาและจามปา ต่างนับถือศาสนาฮินดูเป็น ใหญ่ แต่ก็ยังไม่ทอดทิ้งพุทธมหายาน ในยุคนี้เกิด มัณฑละใหม่ ในที่ราบสูงโคราชและดินแดนรอบ ทะเลสาบเขมร ท�ำให้ศาสนาฮินดูรุ่งเรืองและได้รับ การอุปถัมภ์โดยราชวงศ์กษัตริย์ที่มีอ�ำนาจ การสิ้นสุดของศรีวิชัยก็หาได้เกิดจากการ รุกรานของพวกโจฬะแต่อย่างเดียวไม่ หากยังผสม ผสานกับการเปลี่ยนนโยบายการค้าของจีนกับบ้าน

เมืองชายทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่แต่เดิมต้องท�ำการค้าขายกับศรีวิชัยซึ่งเป็นพ่อค้า คนกลาง จีนเปลีย่ นมาเป็นการค้าขายกับคนท้องถิน่ ในภูมิภาคแทน เป็นเหตุให้เกิดเส้นทางการค้าใหม่ๆ การเคลือ่ นย้ายของผูค้ นทัง้ จากโพ้นทะเลภายในและ ภายนอกเข้ามาตั้งเมืองใหม่และนครรัฐใหม่ ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ เป็นต้นไป

การปรับพื้นที่เพื่อสร้างถนนสมัยเมื่อเมืองลพบุรีได้รับการสร้างเมืองใหม่ที่อยู่ทางทิศเหนือขึ้นไป เป็นกรม กองค่ายทหารในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ไถทำ�ลายวัดละโว้ บริเวณหน้าไปรษณีย์ และปูนปั้น ในภาพเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกนำ�มาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ภาพถ่ายโดย อาจารย์มานิต วัลลิโภดม

24

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

เส้นทางทะเลอ้อมแหลมมลายูคือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเมือง ทำ�ให้เกิดบ้านเมืองที่เป็นเมืองท่าชายทะเล โดยเฉพาะ สองฝั่งแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา ชวา ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ก็มีการรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐศรีวิชัยขึ้น โดยมีเมือง สำ�คัญที่เกาะสุมาตราและเกาะชวา เช่น ที่อาริกันเมดุต และบูโรพุทโธ

เป็นยุคที่มีการน�ำศาสนาพุทธแบบมหายาน และฮิ น ดู เ ข้ า มาผสมผสานเป็ น ความเชื่ อ ทาง ศาสนาของผู้คนในบ้านเมือง แลเห็นการเกิดเป็น อาณาจักรของเมืองพระนครในกัมพูชาที่ส่งกระแส ทางวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น ศิ ล ปวั ฒ นธรรมเข้ า มายั ง ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ของประเทศไทย โดยเฉพาะในลุ่มน�้ำเจ้าพระยานั้น “เมือง ละโว้” ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม ที่ ได้รับอิทธิพลจากขอมกัมพูชา ทั้งด้านการเมือง และวัฒนธรรมมากกว่าบรรดาเมืองอืน่ ๆ ทางลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยาฟากตะวันตก เช่น นครชัยศรี อูท่ อง และ คูบัว ซึ่งเป็นนครรัฐร่วมมัณฑละเดียวกัน

มัณฑละหรือสหพันธรัฐภายใน : “ศรีจนาศะ” สมั ย ทวารวดี เ กิ ด ขึ้ น แต่ พุ ท ธศตวรรษที่ ๑๒ อันเป็นเวลาที่เส้นทางสายไหมทางทะเลจาก ตะวันออกกลางและอินเดียมายังคาบสมุทรไทยและ มลายู เพื่อขนถ่ายสินค้าแลกเปลี่ยนไปยังเวียดนาม และจีน เปลีย่ นจากการเดินเรือจากอินเดียมาขึน้ บก ทางฝั่งทะเลอันดามัน แล้วขนถ่ายสินค้าโดยทางบก ข้ามคาบสมุทรมายังชายฝั่งทะเลจีนในอ่าวไทย การขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรนั้นต้อง อาศัยเรือสินค้าสองชุด ชุดแรกคือจากฝัง่ ทะเลตะวัน ออกของอินเดีย ข้ามมหาสมุทรอินเดียมาขึ้นบก ทางฝั่งทะเลอันดามันของคาบสมุทรมลายู แล้วขน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

25


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ถ่ายสินค้าเดินทางข้ามคาบสมุทรมาฝั่งทะเลจีน ใช้ เรือสินค้าอีกชุดหนึ่งออกจากเมืองท่าเดินทางต่อไป กัมพูชา เวียดนาม และจีนอีกทีหนึ่ง แต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ลงมา มีทางการ สร้างเรือส�ำเภาขนาดใหญ่บรรจุคนและสินค้าได้เป็น จ�ำนวนมาก สามารถเดินทางข้ามทะเลในมหาสมุทร อินเดียมายังฝั่งอันดามันแล้วผ่านช่องแคบมะละกา อ้อมแหลมมลายูมาทางทะเลจีน และตามเมืองท่า ทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายูและอ่าวไทย ไปเวียดนาม และจีนโพ้นทะเล

การเกิดขึ้นของเส้น ทางทะเลอ้อมแหลม มลายูนคี้ อื พัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเมือง ท�ำให้ เกิดบ้านเมืองที่เป็นเมืองท่าชายทะเลในภูมิภาค สุวรรณภูมิ โดยเฉพาะสองฝั่งแหลมมลายูและเกาะ สุมาตรา ชวา และบอร์เนียวขึ้นมากมาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ก็มีการรวมตัวกัน เป็นสหพันธรัฐศรีวิชัยขึ้น โดยมีเมืองส�ำคัญที่เกาะ สุมาตราและเกาะชวา ในขณะที่ทางคาบสมุทรไทยและอ่าวไทยที่ อยู่ทางเหนือของคาบสมุทรมลายูก็เกิด สหพันธรัฐ

การเดินเรือทางทะเล ภาพแกะสลักที่ฐานบูโรพุทโธ บ้านเมืองสำ�คัญในเกาะชวาหนึ่งในเมืองท่าแห่งสหพันธรัฐศรีวิชัย

26

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ทวารวดีขึ้นเป็น “สหพันธรัฐ” หรือ “มัณฑละ เมืองท่า” เช่นเดียวกับศรีวิชัย และมีความสัมพันธ์ ระหว่างกันในทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะมีการรับ อิทธิพลของพุทธศาสนามหายานร่วมกัน พุทธศาสนามหายานต่างจากพุทธเถรวาท ในลักษณะที่เป็นศาสนาและลั ทธิความเชื่อทาง โลกที่สนับสนุนการขยายตัวของเส้นทางคมนาคม และการเกิดบ้านเมืองและรัฐใหม่ๆ ขึน้ โดยเฉพาะ ทางคาบสมุทรไทยและอ่าวไทย มีการขยายตัวของ เส้นทางค้าขายและการคมนาคมทางบก ผ่านจาก บรรดาเมืองท่าชายทะเลเข้าสู่ดินแดนภายใน โดย เฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งบ้านเมืองบนเส้น ทางบกนี้ล้วนแต่รับ นับถือพุทธศาสนาที่มีส่วนผสมและอิทธิพลของ พุทธมหายานด้วยกันทั้งสิ้น นับเป็นพุทธศาสนา ร่วมสมัยของบ้านเมืองในสมัยทวารวดีตั้งแต่พุทธ ศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา

ศรีเทพกับภูมิวัฒนธรรมของการสร้างบ้าน แปงเมือง อาณาบริ เ วณที่ เ กิ ด เมื อ งศรี เ ทพเป็ น ภูมิประเทศที่โดดเด่น แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ของกลุ่มชนที่ท�ำให้เกิดเมืองศรีเทพขึ้นมา คือเป็น บริเวณเนินดินตอนใหญ่เป็นเกาะอยู่ท่ามกลาง ที่ราบลุ่มน�้ำท่วมถึงของลุ่มน�้ำป่าสักตอนกลางที่มี ทิวเขาขนาบอยูส่ องข้างทางตะวันออกและตะวันตก และมีกลุม่ เขาลูกโดดอยูท่ างใต้คนั่ อยูร่ ะหว่างพืน้ ที่ ในเขตอ�ำเภอศรีเทพ ซึง่ อยูท่ างเหนือและพืน้ ทีล่ าด ต�ำ่ ในเขตอ�ำเภอล�ำนารายณ์ อันเป็นบริเวณทีม่ กี าร สร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับสูงต�่ำของภูมิประเทศเป็นที่ลาดจาก ระดับความสูงทางเหนือลงใต้ทางหนึง่ กับทีล่ าดจาก ภูเขาทางตะวันออกไปทางตะวันตก จากทีล่ าดทาง

เหนือเป็นเส้นทางที่ล�ำน�้ำป่าสักไหลผ่านลงมาที่ลาด ลุ่มทางด้านตะวันตกของที่ดอนเกาะเมืองศรีเทพ ณ บริเวณนี้เป็นที่ลุ่มต�่ำล�ำน�้ำป่าสัก แตกออกเป็นสอง แพรก คือ ล�ำน�้ำป่าสักและล�ำน�้ำสนธิ รับน�้ำที่ไหลลง จากทีส่ งู และภูเขาทางตะวันออกผ่านเกาะเมืองศรีเทพ มาลงที่ลุ่มต�่ำของล�ำน�้ำใหญ่ทั้งล�ำป่าสักและล�ำสนธิ ทางตะวันตก ทั้งหมดนี้ได้ท�ำให้พื้นที่ลาดลุ่มรอบเกาะเมือง ศรีเทพกลายเป็นพื้นที่ชุ่มน�้ำและน�้ำท่วมถึงในฤดูฝน แต่ที่ส�ำคัญก็คือเกิดน�้ำซับใต้พื้นดินลูกรังในที่ดอน เกาะเมืองศรีเทพ บรรดาล�ำห้วยและทางน�้ำที่ไหลลง จากเขาและที่สูงทางตะวันออกผ่านเข้ามาใกล้ดอน เกาะนี้เป็นทางน�้ำที่ได้ถูกชักน�ำมาเข้าคูเมืองศรีเทพที่ มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน�้ำชนิดหนึ่ง [Tank Moat] เช่น เดียวกันกับบรรดาคูนำ�้ รอบชุมชนโบราณสมัยยุคเหล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณดอนเกาะที่เมืองศรีเทพตั้งอยู่ก็เป็นที่ ดอนลูกรังทีส่ ามารถขุดเป็นสระเป็นหนองเก็บน�ำ้ ไว้ใช้ ในการอุปโภคบริโภคได้ดี และทั้งอาณาบริเวณก็เป็น ป่าโปร่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งป่า โคกน�้ำท่วมไม่ถึง เหมาะกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง ท�ำให้มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนกระจายไปในที่ต่างๆ ของดอนเกาะ รวมทัง้ การขุดสระน�ำ้ เล็กและใหญ่เพือ่ การกักเก็บน�ำ้ เมืองศรีเทพตัง้ อยูท่ างตอนใต้ของดอน เกาะเป็นที่รับน�้ำจากที่สูงทุกด้านก่อนที่จะปล่อยผ่าน ลงทีล่ มุ่ ต�ำ่ ทางตะวันตกและทางใต้ แต่ทสี่ ำ� คัญบริเวณ ตัวเมืองอยู่ในต�ำแหน่งทีล่ ำ� น�ำ้ ล�ำห้วยหลายสายไหลลง จากเขาและทีส่ งู ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านมาเข้า คลองคูเมืองทางด้านตะวันออกและด้านเหนือ ส่วนพืน้ ที่ในดอนเกาะทางเหนือของเมืองเป็น พื้นที่กว้างใหญ่สูงต�่ำ เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน และการท�ำไร่นาในรัศมีราวสามกิโลเมตรจากตัวเมือง นับเนื่องเป็นปริมณฑลของนครศรีเทพ บริเวณนี้มีทั้ง ร่องรอยของชุมชน สระน�ำ้ อ่างเก็บน�ำ้ และการจัดการ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

27


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ภาพวาดบริเวณเมืองศรีเทพทั้งบริเวณเมืองในและเมืองนอกตลอดจนศาสนสถานและสระน�้ำในพื้นที่ใกล้เคียง จากวารสารเมืองโบราณ วาดโดยสุทธิชัย ฤทธิ์จตุพรชัย ค�ำแนะน�ำโดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

น�้ำเพื่อการอยู่อาศัยและการเพาะปลูก แต่ที่ส�ำคัญ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานส�ำคัญที่มีทั้งศาสนาพุทธ มหายานและศาสนาฮินดู และศาสนสถานที่ส�ำคัญก็คือ ศาสนสถาน คลังนอก ทีเ่ ป็นพุทธมหายานซึง่ มีความโดดเด่นกว่า บรรดาศาสนาพุทธมหายานอื่นใดในประเทศไทย ทั้งทางรูปแบบสถาปัตยกรรมและขนาด

การวางผังเมืองระดับนครรัฐที่ศรีเทพ ตัวเมืองศรีเทพมีลักษณะเป็นเมืองที่มีการ จัดการวางแผนผัง ให้เป็นเมืองในระดับนครอย่าง มีระเบียบและสวยงามทั้งในเรื่องการจัดการพื้นที่ ศักดิ์สิทธิ์และสาธารณ์ กับระบบการจัดการน�้ำ ภายในเมืองและนอกเมือง 28

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

จากการส� ำ รวจศึ ก ษาและวิ เ คราะห์ ข อง ข้าพเจ้าแลเห็นความสัมพันธ์ของการใช้พื้น ที่ ใน เมืองทั้งชั้น นอกและชั้นใน รวมทั้งความสัมพันธ์ ระหว่างตัวเมืองกับพื้นที่บนดอนเกาะโดยรอบ โดย เฉพาะทางด้านเหนือ เมืองชั้นในอันมีลักษณะรูป กลม มีคูน�้ำล้อมรอบเป็น พื้น ที่เริ่มต้นในการตั้ง ถิ่นฐานเพราะพบร่องรอยการอยู่อาศัยแต่สมัยยุค เหล็กตอนปลายที่ยังไม่มีอิทธิพลของศาสนาฮินดู และพุทธเข้ามาเกี่ยวข้อง นับเนื่องเป็นเมืองในยุค ก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับบรรดาชุมชนมีคูน�้ำ ล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีม่ กั ตัง้ อยูต่ อนชาย ขอบของที่สูงใกล้กับพื้นที่ลุ่มน�้ำที่ท�ำการเพาะปลูก ได้ และรับน�ำ้ จากพืน้ ทีส่ งู จากทางน�ำ้ ธรรมชาติ หรือ จากการท�ำท�ำนบบีบน�ำ้ ที่ไหลลงจากป่ามาเข้าคูเมือง เพือ่ กักเก็บน�ำ้ และชักน�ำ้ ผ่านช่องก�ำแพงเมืองเข้าไป


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ปรางค์ศรีเทพ ในบรรยากาศที่สงบร่มรื่นของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในปัจจุบัน

ในตัวเมืองและมีการระบายออกจากในเมืองมา คูเมืองไปลงที่ราบลุ่มต�่ำนอกดอนเกาะเมือง ปั จ จุ บั น ยั ง เห็ น ร่ อ งรอยของการชั ก น�้ ำ จากที่สูงทางเหนือมาไว้ในคูเมือง และมีช่องผ่าน ก�ำแพงเมืองทางมุมเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายไปตามร่องน�้ำไปยังแหล่งที่อยู่อาศัยและ ศาสนสถานทีม่ รี อ่ งน�ำ้ ระบายออกนอกก�ำแพงเมือง ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไปยังคูเมืองทางด้าน ตะวันตกที่มีทางน�้ำลาดลุ่มล�ำน�้ำป่าสัก ภายในตัวเมืองชั้นในปกคลุมไปด้วยพื้นที่ สูงต�่ำเป็นโคกเนินที่แสดงการสร้างอาคารเกี่ยว กับการอยู่อาศัยและสถานที่เกี่ยวกับความเชื่อไป ทั่ว ที่สะท้อนให้เห็นจากโครงสร้างในการจัดการ น�้ำที่มีการชักน�้ำระบายน�้ำเข้าสู่หนองน�้ำ สระ น�้ำขนาดใหญ่และเล็กมากมาย การขุดค้น ทาง โบราณคดีของกรมศิลปากรทีน่ บั ว่าเป็นทีน่ า่ ชมเชย เป็นอย่างยิ่ง ได้เปิดพื้นที่ให้แลเห็นโครงสร้างทาง สถาปัตยกรรมทีส่ ร้างด้วยอิฐและศิลาแลงกระจาย กันอยู่เกือบทั่วบริเวณ

โบราณสถานเหล่านีล้ ว้ นสัมพันธ์กนั กับร่องน�ำ้ และสระน�ำ้ อย่างมีระบบ ซึง่ ถึงแม้วา่ ยังไม่ขดุ ค้นทัว่ ไป ทัง้ บริเวณเมืองภายในก็ตาม แต่กพ็ อสะท้อนให้เห็นถึง การมีแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยกับศาสนสถานทัง้ พุทธและฮินดู สร้างทับซ้อนกันอยู่แต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ โดย มีต�ำแหน่งของศาสนสถานส�ำคัญของลั ทธิศาสนาทั้ง สองอยู่ตรงกลางเมือง พุทธสถานส�ำคัญอยู่ค่อนมา ทางซีกใต้โดยมีพระสถูปรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า คลังในเป็นประธาน และหันหน้าไปทางตะวันออก ในขณะทีศ่ าสนสถานของฮินดูอยูค่ อ่ นมาทาง ซีกเหนือที่น่าจะเป็นปราสาทและวิหาร แต่ได้ถูกปรับ เปลี่ยนสร้างให้เป็นปราสาทขนาดใหญ่สองแห่ง คือ ปราสาทปรางค์ศรีเทพ และปราสาทปรางค์สองพีน่ อ้ ง ที่ระเบียงคดล้อมและมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่หัน หน้าไปทางทิศตะวันตก โครงสร้างใหม่ของศาสนสถานฮินดูนี้เกิด ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมา ซึ่งเป็นสมัยเมือง พระนครแสดงให้เห็นถึงอารยธรรมฮินดูของขอมเข้า มาแทนพุทธมหายานที่มีมาแต่เดิม เช่นเดียวกับที่พบ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

29


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ที่เมืองเสมาอันเป็นเมืองคู่แฝด หากร่องรอยบางอย่างในการขุดค้น ทาง โบราณคดีของกรมศิลปากรแสดงให้เห็นว่า ศาสน สถานฮินดูในสมัยก่อนเมืองพระนครที่ร่วมรุ่นเดียว กับศาสนสถานคลังในและอื่นๆ ที่เป็นพุทธมหายาน นั้น ได้มีการสร้างทับใหม่เป็นปราสาทขอมสมัย เมืองพระนคร และมีการน�ำเอาศาสนวัตถุรปู เคารพ เช่น ศิวลึงค์ ฐานโยนี และเทวรูปพระนารายณ์ พระอาทิตย์ และอื่นๆ มาประดิษฐานไว้ในศาสน สถานทีส่ ร้างใหม่ เหตุนเี้ มือ่ เมืองศรีเทพร้างไปจนถึง สมัยกรุงเทพฯ รูปเคารพเหล่านัน้ จึงได้ถกู น�ำมาเก็บ ไว้ตามพิพิธภัณฑสถานแทน แต่สิ่งที่ต้องตั้งเป็นข้อสังเกตที่ส�ำคัญในที่นี้ ก็คอื การหันหน้าไปทางทิศตะวันตกของศาสนสถาน ฮินดูกบั การหันไปทางทิศตะวันออกของศาสนสถาน

พุทธ ที่เห็นชัดคือการหันหน้าไปทางตะวันตกของ ทั้งปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้องนั้น สัมพันธ์ กับการเข้าออกประตูเมืองทางด้านตะวันตกให้เป็น ประตูส�ำคัญ เพราะมีแนวคันดินและสิ่งก่อสร้าง สองข้างทางเป็นร่องรอยให้เห็นถึงทางเดินจากปาก ประตูเมืองทางด้านตะวันตกมายังศาสนสถานกลาง เมืองของปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้อง ในขณะที่การหันหน้าไปตะวันออกของพระ มหาสถูปคลังใน ก็มแี นวทางและสิง่ ก่อสร้างทีแ่ สดง ให้เห็นว่าเมืองหันหน้าไปทางตะวันออก โดยมีเส้น ทางเดินจากหน้าศาสนสถานคลังในผ่านไปออก ประตูเมืองชั้นในไปสู่พื้นที่บริเวณเมืองชั้นนอก ไป สู่บริเวณที่ข้าพเจ้าเคยคิดว่าจะเป็นบริเวณที่ตั้งของ พระราชวัง และตรงมุมด้านเหนือของพระราชวัง ติดกับสระน�้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่าสระขวัญ มีร่อง

สระขวัญ ใช้เป็นน�้ำศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับประกอบพระราชพิธี ส�ำคัญของบ้านเมือง ซึ่งพบว่ามีการท�ำบันไดลงสระน�้ำ และพบโบราณวัตถุบางส่วน

30

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

มหาสถูปเขาคลังนอก ตั้ง อยู่นอกเมืองศรีเทพไปทาง ทิศเหนือราว ๒ กิโลเมตร

รอยของแนวคันดินที่เป็นทางเดินผ่านประตูเมือง ทางด้านเหนือของเมืองชัน้ นอกผ่านคูเมืองทางด้าน เหนือไปออกบริเวณดอนเกาะทางเหนือทีเ่ ป็นพืน้ ที่ ใหญ่ อันเป็นปริมณฑลของเมืองศรีเทพ อันเป็น ทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนใหญ่น้อย อ่างน�้ำ สระน�้ำ และแหล่งศาสนสถานใหญ่ส�ำคัญ โดยเฉพาะคลั ง นอกอั น เป็ น พระมหา สถูปขนาดใหญ่ที่สุดที่มีผังบริเวณและอาคารเช่น เดียวกันกับพระมหาสถูป บูโรพุทโธ ในเกาะชวา ของอินโดนีเซีย ข้าพเจ้าสังเกตเห็นร่องรอยของแนวคันดิน ที่เป็นถนนจากประตูเมืองทางด้านเหนือของเมือง ชัน้ นอกมุง่ ตรงผ่านสระน�ำ้ ขนาดใหญ่และเล็กไปยัง บริเวณทีต่ งั้ ของศาสนสถานคลังนอกทีก่ ำ� ลังมีการ ขุดค้นและขุดแต่งบริเวณโดยรอบอยู่ นี่คือจุดเริ่ม ต้นของการแลเห็นความสัมพันธ์ทางภูมวิ ฒ ั นธรรม ระหว่างตัวเมืองศรีเทพกับบริเวณรอบเมืองทาง เหนื อ ที่ เ ป็ น ปริ ม ณฑลของนครประวั ติ ศ าสตร์ ภายในของลุม่ น�ำ้ ป่าสัก ซึง่ ถ้าหากมีการขุดค้นและ

ปรางค์ฤาษี ปราสาทขนาดเล็กที่น่าจะมีอายุร่วมสมัย กับปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้อง มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

31


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ขุดแต่งอย่างเป็นระบบเรียบร้อยแล้ว คงเป็นเมือง ส�ำคัญของมัณฑละศรีจนาศะ อันเป็นมหานครสมัย ทวารวดีทสี่ มบูรณ์ทสี่ ดุ ในบรรดาเมืองนครร่วมสมัย ในดินแดนประเทศไทย การขุ ด แต่ ง และบู ร ณะโบราณสถานทั้ ง ภายในเมืองและรอบนอกของเมืองทีส่ ภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ถูกรบกวน จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวหรือแม้แต่การเป็นมรดกโลกนั้น เผยให้ เห็นโครงสร้างทางผังเมืองที่เป็นมหานครและปุระ อันประกอบด้วยเมืองที่มีคูน�้ำล้อมรอบชั้นนอกและ ชั้นใน ที่มีพื้นที่รอบนอกโดยเฉพาะทางตอนเหนือ ที่มีศาสนสถานคลังนอกเป็นศาสนสถานที่ส�ำคัญ อันแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเมืองและ ปริมณฑลของนครขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับเมือง นครชัยศรีอันเป็นเมืองนครในลุ่มน�้ำล�ำคลองและ เป็นเมืองท่าใกล้ทะเล ณ เมืองศรีเทพ เราได้เห็นต�ำแหน่งของ ศาสนสถานส�ำคัญภายในเมืองและนอกเมืองเช่น เดียวกันกับเมืองนครชัยศรี คือศาสนสถานคลังใน และคลังนอกของเมืองศรีเทพ เปรียบกับพระมหา สถูปพระประโทนกลางเมืองนครชัยศรี กับพระประ ธมหรือปฐมเจดีย์นอกเมือง อันเป็นศูนย์กลางของ การจาริกแสวงบุญและการประเพณีกราบไหว้บูชา ในเวลานักขัตฤกษ์ในรอบปี

เมืองเสมาและจารึกศรีจนาศะ จากการศึกษาร่องรอยของเมืองโบราณ เพื่อดูพัฒนาการทางการเมืองของรัฐของอาจารย์ มานิต วัลลิโภดม ที่สืบต่อมาจนถึงสมัยข้าพเจ้า พบ ว่าบรรดาบ้านเมืองภายในตามเส้นทางการค้าทาง คมนาคมทีเ่ กิดขึน้ แต่พทุ ธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา นัน้ มีการสร้างเครือข่ายรวมตัวกันเป็นมัณฑละหรือ 32

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

สหพันธรัฐภายในขึ้น ในนามของ “ศรีจนาศะ” ที่มาของชื่อศรีจนาศะมาจากศิลาจารึกสอง หลัก หลักหนึง่ พบทีเ่ มืองเสมา ต�ำบลบ่ออีกา อ�ำเภอ สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา อีกหลักหนึง่ พบที่โบสถ์ พราหมณ์ ในเมืองพระนครศรีอยุธยา จารึ ก จากบ่ อ อี ก าใช้ อั ก ษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร พ.ศ. ๑๔๑๑ มีสองด้าน ด้านแรกกล่าวถึงพระราชาธิบดีแห่งศรีจนาศะทรง อุทิศทาสและสัตว์ให้พระภิกษุสงฆ์เพื่อมุ่งหวังพระ โพธิญาณและด้านทีส่ องกล่าวถึงการบูชาสรรเสริญ พระศิวะของบุคคลหนึง่ ชือ่ อังศเทพ ในดินแดนทีอ่ ยู่ นอก “กัมพูชาเทศะ” ส่วนศิลาจารึกหลักที่สองซึ่ง พบที่อยุธยา พ.ศ. ๑๔๘๐ หลังจารึกหลักแรก ๓๙ ปี กล่าวถึงพระราชาแห่งจนาศะปุระ หลายรัชกาล เริ่มแต่องค์แรกทรงพระนาม ภัคทัตต์ องค์ต่อมา คือ สุนทรปรากรม และ สุนทรวรมัน พระเจ้าสุนทร วรมันมีโอรส ๒ องค์ องค์แรกทรงพระนาม นรปติ สิงหวรมัน ผู้เป็น พระราชาของเมืองจนาศะปุระ ส่วนองค์น้องทรงพระนาม มงคลวรมัน เป็นผู้สร้าง จารึกหลักนี้เพื่อฉลองการสร้างรูปพระมารดาเป็น พระอุมาเทวี ความต่างกันระหว่างชือ่ ของจนาศะในจารึก ทั้งสองหลักก็คือ หลักแรกที่พบที่เมืองเสมานั้น พูด ถึงพระราชาแห่งศรีจนาศะ ซึ่งมีลักษณะเน้นความ ส�ำคัญอยู่ที่พระมหากษัตริย์ คล้ายๆ กันกับจารึกที่ กล่าวถึง พระผู้เป็นใหญ่แห่งศรีทวารวดี ดังนั้น ค�ำว่า ศรีจนาศะ หมายถึงแว่นแคว้น ที่เป็นมัณฑละ ในขณะทีจ่ ารึกหลักทีส่ องพบทีอ่ ยุธยากล่าว ถึง พระนามของพระมหากษัตริยผ์ คู้ รองจนาศะปุระ ซึ่งหมายถึงเมืองที่ชื่อ จนาศะ เหตุนี้จึงมีนักวิชาการ หลายท่านรวมทั้งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับสิ่งที่ รศ. ดร. ธิดา สาระยา เสนอว่าเมืองศรีเทพในลุ่มน�้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ เมืองจนาศะปุระ แต่ข้าพเจ้า


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ก็ไม่ลดความส�ำคัญของเมืองเสมาที่สูงเนินในเรื่อง ความเป็นเมืองส�ำคัญ เพราะความเป็นมัณฑละหรือ สหพันธรัฐนั้นไม่ใช่อาณาจักร [Kingdom] ที่หมาย ถึงการรวมศูนย์การปกครองไปไว้ทเี่ มืองหลวงเพียง แห่งเดียว การเป็น “อาณาจักร” หรือ Kingdom ใน ดินแดนประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุง ศรีอยุธยา ตัง้ แต่รชั กาลของสมเด็จพระบรมไตรโลก นาถในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา ที่ต่างประเทศ เรียกว่า ราชอาณาจักรสยาม แต่ในประเทศกัมพูชา และพม่ามีการรวมตัวของบ้านเมืองเป็นอาณาจักร มาก่อนคือ อาณาจักรเมืองพระนคร [Angkor] และ อาณาจักรพุกาม แต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ลงมา

พัฒนาการของเมืองนครรัฐขึน้ เป็นมัณฑละ ในดินแดนประเทศไทย เกิดขึ้นแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา คือ ทวารวดี อันเป็นกลุ่มของเมือง ท่าใกล้ทะเลกับ ศรีจนาศะ อันเป็นมัณฑละภายใน (Hinterland) และความเป็นมัณฑละก็ ไม่จ�ำเป็น ต้องมีเมืองส�ำคัญเพียงเมืองเดียว มักปรากฏออก มาเป็นเมืองคู่ที่จะเรียกว่าเมืองพี่เมืองน้อง หรือ เมืองหลวงกับเมืองลูกหลวงก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่ กับความสัมพันธ์ทางสังคม เกี่ยวกับการกินดอง ทางเครือญาติระหว่างกัน ดังเช่น เมืองคู่ระหว่าง อยุธยากับลพบุรี ในสมัยพุทธศักราชที่ ๒๐ หรือ เมืองสุโขทัยกับศรีสัชนาลัย หรือเมืองสุพรรณภูมิ กับเมืองแพรกศรีราชา เป็นต้น

จารึกบ่ออีกา เป็นจารึกชิ้นเดียวกับในภาพถ่ายคราวพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำ�รงพระยศพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพเสด็จประพาสโบราณสถานเมือง เสมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ทรงฉายกับจารึกหลักนี้

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

33


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION โดยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงคิดว่าเมืองส�ำคัญของศรี จนาศะก็เช่นเดียวกัน ถ้าเมืองศรีเทพคือศรีจนาศะปุระ เมืองเสมาที่พบจารึกรอยพระนามของพระราชาธิบดี ของศรีจนาศะก็คือ เมืองส�ำคัญรองลงมาในลักษณะ เป็นเมืองคู่แฝด เรื่องของมัณฑละศรีจนาศะ อาจเปรียบเทียบ ได้กบั เมืองหริภญ ุ ชัย หรือล�ำพูนกับเมืองเขลางค์นคร หรือล�ำปางของมัณฑละหริภญ ุ ชัยทางลุม่ น�ำ้ ปิง ซึง่ ก็หา ได้มีลักษณะเป็นอาณาจักรอย่างที่เชื่อกันอยู่ในทุกวัน นี้ พัฒนาการของมัณฑละหริภุญชัยนั้นมีอายุไม่ห่าง จากทวารวดีและศรีจนาศะเท่าใด แต่ว่าอยู่ในแวดวง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนมอญหรือระเมง ในประเทศพม่า เรื่ อ งของเมื อ งเสมาที่ อ� ำ เภอสู ง เนิ น บน ที่ราบสูงโคราชแสดงให้เห็นว่า เมืองเสมามีความ สัมพันธ์กับเมืองฝ้ายและบรรดาเมืองโบราณอื่นๆ ในบริเวณตอนต้นของแม่น�้ำมูล จากล�ำตะคองถึง ล�ำปลายมาศไปจนจดภูพระอังคาร อันเป็นภูเขาไฟ ลูกหนึ่งใกล้กับภูพนมรุ้ง และภูปลายบัด บ้านเมืองบนที่ราบสูงตอนต้นของแม่น�้ำมูล ดังกล่าวนี้ เป็น บ้านเมืองในอารยธรรมทวารวดีที่ นับถือพุทธศาสนาที่ผสมผสานระหว่างพุทธเถรวาท และมหายาน เช่นเดียวกันกับบ้านเมืองที่พบในลุ่มน�้ำ เจ้าพระยาในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลงมา แต่ความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของเมืองเสมาใน ฐานะเป็นเมือ งใหญ่ของมัณฑละศรีจนาศะ ก็คือ ผังเมืองและโครงสร้างทางกายภาพคล้ายคลึงกับ เมืองศรีเทพทั้งขนาดรูปแบบและโบราณสถาน นั่นก็ คือ เมืองเสมามีผังเมืองสองชั้นเช่นเดียวกันกับเมือง ศรีเทพและเมืองฝ้าย มีคูน�้ำคันดินก�ำแพงเมืองคมชัด ในลักษณะเป็นเมืองที่มีการวางแผน เป็นลักษณะ เฉพาะของเมืองโบราณที่สูงที่พบทั้งในภาคกลางและ ภาคอีสานโดยทั่วไป หรืออีกนัยหนึ่งเป็นรูปแบบของเมืองภายใน [Hinterland] ไม่ใช่เมืองที่อยู่ในลุ่มน�้ำและที่ราบใกล้ 34

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

ทะเล เช่น เมืองนครชัยศรี เมืองอู่ทอง เมืองศรี มโหสถ และเมืองคูบัว

ความคล้ า ยคลึ ง ของเมื อ งเสมาและเมื อ ง ศรีเทพ : โครงสร้างทางกายภาพของเมือง ทั้งเมืองเสมาและเมืองศรีเทพให้ความ ส�ำคัญกับเมืองชั้นในเป็น พื้น ที่ซึ่งพบโครงสร้าง ศาสนสถานและแหล่งพิธีกรรม รวมทั้งสระน�้ำใน ลักษณะที่เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ชัดเจน ในขณะที่ตัว เมืองชั้นนอกยังไม่พบโครงสร้างที่เป็นศาสนสถาน ส�ำคัญ แต่มีสระน�้ำ หนองน�้ำ รวมทั้งเนินดินไม่ สม�่ำเสมอที่รองรับโครงสร้างอาคารบ้านเรือนที่ สร้างด้วยไม้

พระพิมพ์ดินเผา ด้านหน้ามีจารึกภาษาสันสฤกต ตัวอักษร ปัลลวะ ส่วนด้านหลังเขียนด้วยภาษาจีน / ยังไม่มีการอ่าน พบที่เมืองศรีเทพ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ฯ


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ผังเมืองโบราณเปรียบเทียบระหว่างเมืองศรีเทพและเมืองเสมา จะเห็นข้อมูลสันนิษฐานว่ามีส่วน Citadel หรือวังในส่วนของเมือง ชั้นในเช่นเดียวกัน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

35


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

โบราณสถานภายในเมืองเสมาซึ่งเป็นอาคารที่มีการปักใบเสมาล้อมรอบ

อาจกล่าวได้ว่าเมืองชั้นในเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรือ่ งของทางธรรม แต่เมืองชัน้ นอกเป็นพืน้ ทีท่ าง โลกที่อยู่อาศัย ตลาด และวัง อันเป็นที่อยู่ของชนชั้น ปกครอง แต่ที่เมืองเสมาโดดเด่นกว่าศรีเทพก็คือ เห็น ร่องรอยของพระราชวังทีช่ ดั เจนอยู่ในบริเวณเมืองชัน้ นอก เป็นคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีสระน�้ำรูปกลม อยู่ตรงกลางและมีเนินดินไม่สม�่ำเสมอที่ยังไม่มีการ ขุดค้นเพื่อหาโครงสร้างสถานที่และอาคารที่อยู่อาศัย ความเด่นชัดของร่องรอยพระราชวังที่เมืองเสมานี้ ดู คล้ายๆ กันกับร่องรอยพระราชวังที่พบที่เมืองพุกาม เมื อ งศรี เ กษตร เมื อ งเปี ย ทะโนมาโย และเมื อ ง โบราณอื่ น ๆ ของพยู ่ ที่ มี อ ายุ ร ่ ว มสมั ย กั น กั บ สมั ย ทวารวดีในประเทศไทย การพบต� ำ แหน่ ง ที่ ชั ด เจนของพระราชวั ง ที่ เ มื อ งเสมานี้ ท� ำให้ ข ้ า พเจ้ า คิ ด ว่ า ต� ำ แหน่ ง ของ พระราชวังที่เมืองศรีเทพก็น่าจะคล้ายกันกับเมือง เสมา คืออยู่ในบริเวณเมืองชั้นนอกใกล้กันกับสระน�้ำ 36

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

สีเ่ หลีย่ มขนาดใหญ่ทเี่ รียกว่าสระ อันเป็นสระใหญ่ กลางบริเวณเมืองชัน้ นอก นอกจากจะใกล้สระน�ำ้ ใหญ่แล้วยังไม่ห่างก�ำแพงเมืองที่คั่นอยู่ระหว่าง

บริเวณอาคารพระนอนที่วัดธรรมจักรเสมาราม มีการปักเสมาคู่ล้อมรอบ


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอกที่มีร่องรอยของช่อง ประตูผ่านจากเมืองในมาสู่เมืองชั้นนอก ก็นับเป็น ที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากที่ ในการบูรณะขุดแต่ง และขุดค้นของทางกรมศิลปากรไม่ได้ให้ความ สนใจในการขุดค้นและขุดแต่งโบราณสถานที่เป็น พระราชวัง และโครงสร้างภายในแม้แต่น้อย ดู ตั้งหน้าตั้งตาแต่เพียงการขุดแต่งแหล่งโบราณคดี ที่เป็นศาสนสถานเพียงอย่างเดียว ความคล้ายคลึงทีถ่ ดั มาระหว่างเมืองเสมา กับเมืองศรีเทพก็คือ การมีศาสนสถานและแหล่ง พิธกี รรมทางศาสนาทีม่ รี ปู แบบคล้ายคลึงกันในช่วง เวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ กับระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ช่ ว งแรกเป็ น ช่ ว งพั ฒ นาการของบ้ า นที่ นับถือพุทธศาสนาเถรวาทผสมกับพุทธมหายาน เช่นเดียวกันกับบรรดาเมืองสมัยทวารวดี ในภาค กลางและภาคอื่นๆ ที่เต็มไปด้วยการสร้างวัดที่มี พระสถูปเจดีย์ วิหาร โบสถ์ และศาลา ทีม่ ที งั้ ขนาด ใหญ่และเล็กกระจายไปในเขตเมืองชั้นใน โดย เฉพาะพระสถูปและวิหารและโบสถ์นั้นมักมีเสมา หินปักรอบแปดทิศ และวิหารโบสถ์และศาลานั้น มักเป็นอาคารโถง คือมีฐานก่อด้วยศิลาแลงหรือ อิฐ มีเสาแลงหรืออิฐรับโครงสร้างของหลังคาซึ่ง เป็นเครือ่ งไม้มงุ ด้วยกระเบือ้ งกะบูดนิ เผามีเชิงชาย คติการปักเสมาล้อมรอบศาสนสถานแบบนี้ คงได้รบั อิทธิพลมาจากทางลังกาทีเ่ มืองอนุราชปุระ อาจเป็นแบบพุทธสถานของพุทธมหายานของคณะ สงฆ์ฝ่ายอภัยคีรีที่หลวงจีนอี้จิงได้เคยพบมา และ กล่าวถึงในจดหมายเหตุการเดินทางไปสืบศาสนา ครั้งพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เหตุที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าเสมาหินเป็นอิทธิพล ของลังกาก็คือ ภาพสลัก ปูรณฆฏะ ที่พบกลางใบ เสมา แต่มีลักษณะเป็นหม้อน�้ำที่ไม่มีการตกแต่ง ตอนบนของหม้อเหมือนกันกับทีพ่ บตามใบเสมาใน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลาหลังคือระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ ทัง้ เมืองเสมาและศรีเทพก็มกี ารเปลีย่ นแปลง ในเรื่องศาสนา ความเชื่อ และศิลปสถาปัตยกรรม เพราะเป็นช่วงเวลาที่แลเห็นอิทธิพลของอารยธรรม ฮินดูของขอมสมัยเมืองพระนครเข้ามาแทนที่ ซึ่งถ้า หากพิจารณาจากหลักฐานทางศิลาจารึกภาษาขอมที่ พบทัง้ เมืองเสมาและศรีเทพก็นา่ จะเริม่ แต่สมัย ราเชน ทรวรมัน ชัยวรมันที่ ๔-๕ และสุริยวรมันที่ ๑ ลงมา ที่เมืองเสมาตรงกลางของเมืองชั้นในที่เคย เป็ น กลุ ่ ม พุ ท ธศาสนาแบบทวารวดี ก็ มี ก ารสร้ า ง ปราสาทขอมขนาดใหญ่ที่มีระเบียงคดล้อมรอบขึ้น มาเป็นศูนย์กลาง แต่ดูแล้วยังสร้างไม่เสร็จดีเพราะ ยังไม่สมบูรณ์ในลวดลายภาพสลักประดับปราสาท และระเบียง อันเนื่องจากตัวเมืองเริ่มโรยร้างไป ซึ่ง

พระกฤษณะ พบที่เมืองโบราณศรีเทพ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

37


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ไปสร้างใหม่ในพื้นที่รอบนอกของเมือง จึงปรากฏมี ปราสาทหลายแห่งเกิดขึน้ เช่น แหล่งทีส่ ำ� คัญเห็นจะ ได้แก่ ปราสาทเมืองแขก ทีอ่ ยูบ่ นเนินดินริมฝัง่ ล�ำน�ำ้ ล�ำตะคอง ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นฐานจากเมืองเสมามา สร้ า งเมื อ งใหม่ ที่ มี ก ารนั บ ถื อ ศาสนาฮิ น ดู แ ละ สุดท้ายก็พุทธมหายานที่มีปราสาทแบบอโรคยา ศาลที่วัดบ้านเมืองเก่า จนมีการเล่าขานว่าคือเมือง โคราชปุระเก่าก่อนที่จะมาเกิดเมืองโคราชสมัย อยุธยาที่เป็นตัวจังหวัดในปัจจุบัน ณ เมืองศรีเทพก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่พุทธ ศตวรรษที่ ๑๕ ศาสนสถานกลางเมืองชั้นในที่เป็น สมั ย ทวารวดี มี พ ระสถู ป คลั ง ในที่ หั น หน้ าไปทาง ตะวันออกก็ถูกแทนด้วยปราสาทอิฐแบบขอม คือ ปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้องที่หันหน้าไป ทางทิศตะวันตก ทั้งสองปราสาทนี้ครอบคลุมพื้นที่ กว้างขวาง มีระเบียงคดล้อมรอบ มีสระน�้ำ และ อาคารบริวารพร้อมด้วยแนวถนนไปสู่ปากประตู เมืองทางทิศตะวันตก ลักษณะรูปแบบทางศิลปะ สถาปั ต ยกรรมของปราสาทเป็ น แบบขอมสมั ย บาปวนที่มีอายุแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมาและมี ร่องรอยการซ่อมและสร้างแต่งในสมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ เพราะพบทับหลังและรูปปัน้ เทวบาลสมัยบายน ที่ทางกรมศิลปากรได้เคลื่อนย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ สุโขทัย แต่ความต่างกันอย่างหนึ่งของเมืองศรีเทพ กับเมืองเสมาที่เห็นได้ชัดจากการที่เมืองศรีเทพมี ร่องรอยของโบราณสถานมากและซับซ้อนมากกว่า เมืองเสมา อีกทัง้ ปกคลุมอาณาบริเวณของความเป็น เมืองกว้างไกลกว่า ภายในเมืองชั้นในของศรีเทพพบร่องรอย ของการอยู่อาศัยของผู้คนมาแต่สมัยเหล็กตอน ปลาย เพราะมีการขุดพบแหล่งฝังศพ โครงกระดูก ทั้งเศษตะกรันเหล็กที่เกิดจากการถลุงเหล็กในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์อยู่ ในชั้นดินตอนล่าง ในชั้น 38

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

ดินทางวัฒนธรรมที่อยู่เหนือขึ้นมาก็เป็นสมัยครั้ง ประวัตศิ าสตร์ทมี่ ฐี านของศาสนาฮินดูคละกันไปกับ ศาสนสถานทางพุทธศาสนาสมัยทวารวดี ร่องรอย ของศาสนสถานฮินดูมีน้อยกว่าของทางพุทธ บรรดาโบราณวั ต ถุ โ ดยเฉพาะฐานโยนี ศิวลึงค์ เทวรูปพระวิษณุ พระศิวะ พระอาทิตย์ และ พระกฤษณะ ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ลงมา เป็นสิ่งบ่งบอกให้เห็นว่าเมืองศรีเทพมีการ นับถือศาสนาฮินดูมาก่อนที่จะนับถือพุทธศาสนา แบบทวารวดี จากศิลาจารึกที่พบที่วังไผ่ ในบริเวณใกล้ กับเมืองศรีเทพกล่าวถึงพระนามกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ อยู่ในเมืองนี้ว่า มีพระเกียรติยศยิ่งใหญ่เทียบเท่า พระเจ้าภววรมัน อันเป็นปฐมกษัตริย์ของรัฐเจนละ ที่มีเมืองส�ำคัญอยู่ที่สมโบร์ไพรกุก เป็นรัฐในลุ่ม ทะเลสาบและลุ่มแม่น�้ำโขงในกัมพูชา จากหลั ก ฐานทางโบราณสถานวั ต ถุ ใ น ศาสนาฮินดูสมัยก่อนเมืองพระนครที่พบในเมือง ศรีเทพและบริเวณโดยรอบของเมืองนั้น พอกล่าว ได้ว่าศรีเทพเป็นชุมชนบ้านเมืองมาก่อนในพื้น ที่ เมืองชั้นใน เป็นเมืองรูปค่อนข้างกลม มีคูน�้ำคันดิน ล้อมรอบ และศาสนสถานในเมืองและรอบเมืองก็ เป็นศาสนสถานฮินดูแต่เป็นขนาดเล็ก จนกระทั่ง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมา อารยธรรมขอมและ เมืองพระนครซึ่งเป็นอารยธรรมฮินดูอันเป็นศาสนา หลักของกลุ่มบ้านเมืองทางมัณฑละเจนละของลุ่ม น�้ำโขงทั้งบนที่ราบสูงโคราชและที่ราบลุ่มทะเลสาบ ซึ่งราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลงมา มัณฑละเจนละ ทัง้ ทีร่ าบลุม่ ทะเลสาบและทีร่ าบสูงโคราชก็สามารถ รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรเมืองพระนครทีม่ เี มือง ยโสธรปุระริมทะเลสาบในเขตเมืองเสียมเรียบ ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ นับแต่รชั กาล ของพระเจ้าราเชนทรวรมันลงมา อารยธรรมฮินดู ของอาณาจักรเมืองพระนครก็แผ่ขึ้นมาอย่างเป็น


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ทางการในพื้น ที่ของพุทธทวารวดีของนครรัฐศรี จนาศะทั้งที่เมืองเสมาและเมืองศรีเทพ เหตุนี้จึงพบ ร่องรอยและปราสาทขอมเกิดขึ้นเป็นระยะๆ จากภู พระอังคารต้นน�ำ้ ล�ำปลายมาศ ผ่านเมืองฝ้าย เมือง เสมาจากที่ราบสูงโคราชมายังปราสาทนางผมหอม แล้วผ่านไปเมืองศรีเทพและเมืองละโว้ ทั้งเมือง ศรีเทพและเมืองละโว้จงึ มีการสร้างศาสนสถานฮินดู เป็นปราสาทเกิดขึ้นกลางเมืองทั้งเมืองละโว้และ ศรีเทพ การเข้ามาของอารยธรรมฮินดูของขอม เมืองพระนครดังกล่าวนี้ ท�ำให้เกิดการผสมผสาน ทางวัฒนธรรมขึน้ ในท้องถิน่ [Localization] ทีท่ ำ� ให้ เกิดศาสนาใหญ่ๆ ของนครรัฐส�ำคัญที่มีทั้งพุทธ เถรวาท พุทธมหายาน และศาสนาฮินดู ที่พระมหา กษัตริย์ผู้ปกครองรัฐทรงอุปถัมภ์เหมือนกัน ในความคิดของข้าพเจ้าเห็นว่า ตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๕ เข้าสูพ่ ทุ ธศตวรรษที่ ๑๖ นัน้ คือ การเปลี่ยนผ่านทางอารยธรรมของพุทธทวารวดี มาสู่อารยธรรมฮินดูพุทธมหายานของสมัยลพบุรี อย่างเป็นทางการที่กินเวลาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พอเข้าพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็เกิดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากอารยธรรมฮินดู พุทธมหายานเข้าสูอ่ ารยธรรมพุทธเถรวาทลังกาวงศ์ ของสมัยกรุงศรีอยุธยาและสุโขทัย ทั้ ง เมื อ งศรี เ ทพและเมื อ งเสมาเริ่ ม หมด ความส�ำคัญลงแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้น มา แม้ว่าจะมีการสร้างศาสนสถานฮินดูขนาดใหญ่ ทั้งในเมืองและนอกเมือง แต่ความส�ำคัญทางการ เมืองของศรีจนาศะในฐานะเป็นเมืองนครรัฐคงสิ้น สุดลง กลายเป็นเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กบน เส้นทางคมนาคมขนส่งและการเดินทางผ่านแดน จากบ้านเมืองใหญ่ๆ ในลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา ผ่านลุม่ น�ำ้ ป่าสัก ผ่านปากช่อง ขึ้นสู่ที่ราบสูงโคราชไปยัง บรรดานครรัฐในลุ่มน�้ำมูล-ชี และต่อไปยังเมือง

พระนครในลุ่มทะเลสาบเขมร

สุริยเทพ พบที่เมืองโบราณศรีเทพ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

39


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

สถานที่ในท้องถิ่นแห่งศรีจนาศะ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

40

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

เมืองละโว้

บริเวณแพรกน�้ำหักศอกลพบุรีหน้าวัดมณีชลขันธ์และวัดพรหมมาสตร์ บริเวณนี้รวมเส้นทางน�้ำจากทิศต่างๆ ท�ำให้เห็นว่า เมืองลพบุรีตั้งอยู่บนชายที่สูงต่อกับที่ราบลุ่มอย่างแท้จริง

จากบทความของอาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม สรุปและเพิ่มเติมบางส่วนได้ ดังนี้ เมืองละโว้ตั้งอยู่ ชายขอบที่สูงของเขาสามยอด อันเป็นหนึ่งในกลุ่ม เขาลพบุรี ประกอบด้วย เขานงประจันต์ (เขาวง พระจันทร์) เขาพระงาม เขาสามยอด เขาเพนียด เขาโจนจีน เขาจีนแล ไปจนถึงกลุม่ เขาพระพุทธบาท บริ เ วณนี้ มี ป ่ า เขาธรรมชาติ ที่ ส วยงามและอุ ด ม สมบูรณ์ เป็นที่เกิดของลุ่มน�้ำต่างๆ มารวมกันเป็น ล�ำน�้ำลพบุรี และเป็นสถานที่วังช้างและมีเพนียด คล้องช้างปรากฏชัดในแผนที่ของชาวฝรั่งเศส ล�ำน�้ำลพบุรีคือเส้นทางคมนาคมส�ำคัญทาง ฟากตะวันออกของลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ก�ำเนิดมาจาก เทือกเขาเพชรบูรณ์ซึ่งอยู่แยกออกจากลุ่มน�้ำป่า สักไหลผ่านที่ลาดลอนลูกคลื่นสู่อ�ำเภอบ้านหมี่ลงสู่ ที่ราบลุ่มต�่ำน�้ำท่วมถึงมายังต�ำบลมหาสอน สบกับ ล�ำน�้ำที่ไหลมาจากที่สูงในเขตอ�ำเภอตาคลี จังหวัด

นครสวรรค์ ผ่านเมืองโบราณสมัยทวารวดีซงึ่ เป็นจุด เริ่มต้นของล�ำน�้ำบางขามกลายเป็นแม่นำ�้ ลงสู่ที่ราบ ลุ่มทางใต้มายังวัดไลย์ในอ�ำเภอท่าวุ้ง ตรงบริเวณนี้ เป็นท้องพืน้ ทีจ่ ดุ เชือ่ มต่อการคมนาคมทีส่ ำ� คัญกลาย เป็นท้องน�้ำกว้างใหญ่และท้องทุ่งไพศาล เป็นพื้นที่ รับน�ำ้ จากทีส่ งู แทบทุกทิศ ท�ำให้ลำ� น�ำ้ แยกออกหลาย แพรก ผ่านอ�ำเภอท่าวุ้งลงไปทางใต้ถึงเขตอ�ำเภอ มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มหนึ่ง และ อีกกลุม่ หนึง่ แยกไปทางตะวันออก ผ่านเขาสมอคอน ไปยังทุ่งพรหมมาสตร์และเมืองละโว้ แล้วหักวก ผ่านหน้าเมืองละโว้ลงใต้ไปยังอ�ำเภอบ้านแพรกและ อ�ำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทาง นีเ้ ป็นทางคมนาคมทางน�ำ้ จากเมืองละโว้ทเี่ ป็นเมือง ท่าในสมัยทวารวดีไปออกอ่าวไทย เมืองละโว้เกิดขึน้ ในสมัยทวารวดีโดยมีแนว คูน�้ำคันดินที่พอเหลือร่องรอยอยู่ทางทิศตะวันออก มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

41


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ร่องรอยของเมืองรุ่นทวารวดีที่ยังคงเหลือในปัจจุบันบริเวณเมืองลพบุรี จะเห็นว่าใช้แนวล�ำน�้ำลพบุรีด้านทิศตะวันตกเป็นคูน�้ำแล้วขุด คูล้อมรอบ เมืองเป็นเนินที่สูงรูปกลม ส่วนก�ำแพงเมืองที่สร้างด้วยอิฐและประตูเมือง รวมทั้งป้อมต่างๆ สร้างขึ้นโดยวิศวกร ชาวฝรั่งเศส สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ

42

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION และมี ป ้ อ มก� ำ แพงที่ น ่ า จะสร้ า งเสริ ม ขึ้ น ในสมั ย สมเด็จพระนารายณ์ฯ โดยมีการสร้างสาธารณูปโภค และขยายเมืองออกไปทางที่ลุ่มในทิศตะวันออก ของเมืองเดิม ส่วนทางทิศตะวันตกเป็นตลิ่งสูงชัน จากแม่น้�ำลพบุรีที่ ไหลหักศอกแยกลงมาทางใต้ เมืองละโว้ในยุคก่อนสามารถเดิน ทางทางเรือใน หน้าน�้ำโดยใช้ล�ำน�้ำลพบุรี ไปออกบ้านแพรกและ พระนครศรีอยุธยาได้เป็นปกติ แต่ ในหน้าแล้งจะ อาศัยการเดินเท้าเพือ่ ไปออกแม่นำ�้ เจ้าพระยาทีป่ าก คลองลพบุรีที่บางพุทราหน้าเมืองสิงห์บุรี อาจารย์ ศรีศกั รสันนิษฐานว่าน่าจะใช้กนั ในสมัยปลายอยุธยา จนถึงกรุงเทพฯ เป็นหลัก เส้นทางเดินทางบกนั้นมุ่งไปทางตะวันออก อันเป็นที่ลาดลอนลูกคลื่น เดินทางเข้าสู่พื้นที่สูงอัน เป็นบริเวณต้นน�้ำลพบุรี ผ่านชุมชนโบราณที่เป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเขตเมืองพรหมทินต่อไป

ยังเมืองดงมะรุม ผ่านไปยังต�ำบลโคกเจริญ บริเวณ นีม้ ที างแยกหากไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะไป ยังเมืองดอนคาทีอ่ ำ� เภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนทางที่แยกจากราวๆ เมืองไพศาลีไปทางตะวัน ออก ผ่านถมอรัตน์อันเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมือง ศรีเทพไปยังเมืองศรีเทพในตอนกลางของลุ่มน�้ำ ป่าสัก และจากเมืองดงมะรุม บริเวณนี้สามารถ เดินทางข้ามช่องเขาเพชรบูรณ์ผ่านต�ำบลม่วงค่อม ก็จะถึงสองฝั่งแม่น�้ำป่าสักแต่เขตอ�ำเภอชัยบาดาล ต่อกับเขตอ�ำเภอพัฒนานิคม ซึง่ ปัจจุบนั เป็นเขือ่ นป่า สักชลสิทธิ์ บริเวณล�ำนารายณ์ อันเป็นทีล่ ำ� น�ำ้ ป่าสัก ไหลผ่านเมืองศรีเทพมาสบกับล�ำสนธิและล�ำพญา กลาง ซึ่งมี “ปรางค์นางผมหอม” ที่มีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๖ ตั้งอยู่ จากนี้เดินทางขึ้นเทือกเขา พญาฝ่อหรือดงพญาเย็น ผ่านทาง “ช่องหินลับ” ไป

ประตูเมืองบริเวณประตูชัย

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

43


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ป้อมหินทางริมคูเมืองด้านตะวันออก ติดกับโรงเรียนพิบูล วิทยาลัยในปัจจุบัน

ยังเมืองโบราณในแถบต้นล�ำน�้ำชีและล�ำน�้ำมูลของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ เส้ น ทางนี้ คื อ การติ ด ต่ อ เข้ า สู ่ ชุ ม ชนใน มัณฑละศรีจนาศะ และสามารถเดินทางไปสู่บ้าน เมืองในเขตต้นน�้ำมูลและชี ในพื้นที่ราบสูงของภาค อีสานได้ และยังเดินทางต่อเนือ่ งเข้าสูพ่ นื้ ทีเ่ ชิงเทือก เขาพนมดงเร็ก ซึง่ มีชอ่ งเขาลงไปสูท่ รี่ าบเขมรต�ำ่ ซึง่ มีอาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนครอันรุง่ เรืองตัง้ อยู่ วัฒนธรรมแบบขอมจากลุ่มทะเลสาบจึงแพร่ผ่าน เข้ามาทางด้านนีเ้ ป็นหลัก จนเมืองละโว้สมัยทวารวดี ปรั บ เปลี่ ย นมารั บ ฮิ น ดู จ ากเขมรโบราณตั้ ง แต่ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือในสมัยบาปวนจนถึง สมัยบายนในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จารึกที่ศาลสูงเมืองลพบุรี ตรงกับ พ.ศ. ๑๕๖๕ และ ๑๕๖๘ พระนามในจารึกคือ “พระ บาทกัมรเตงกําตว-อัญศรีสุริยวรรมเทวะ” ซึ่งมีค�ำ ว่า “สุริยวรรม” และตรงกับช่วงเวลาที่พระเจ้าสุริย วรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๙-๑๕๙๓) ผู้สร้างปราสาท นครวัดและรวบรวมบ้านเมืองในทะเลสาบเขมร ขึ้นเป็นปึกแผ่นในระดับอาณาจักร และยังเป็นผู้ที่ นับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน ไม่รังเกียจหินยาน และยังคงให้ประชาชนนับถือฮินดูดังเดิมได้ ใน 44

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

จารึกกล่าวถึงการบ�ำรุงอุปถัมภ์นักบวชทั้งที่อยู่ ใน ศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน และปรากฏค�ำว่า “ก�ำตวน” แล้วไปโยงเอาค�ำว่า “ตวนหรือต่วน” อัน เป็นค�ำในภาษามลายูที่ ใช้เป็นสรรพนามเรียกญาติ ผู้ใหญ่หรือผู้เป็นเจ้าปกครองและโยงให้พ้องกับ ต�ำนานว่าเป็นกษัตริย์ที่มาจากราชวงศ์ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราช พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ นี้สันนิษฐานว่าน่า จะเป็นกษัตริย์จากบ้านเมืองในกลุ่มรัฐฟูนัน ทาง สามเหลี่ยมปากแม่น�้ำโขงที่สัมพันธ์กับทางศรีวิชัยที่ มักอ้างที่มาว่าสืบมาจากไศเรนทรวงศ์ ซึ่งพิจารณา แล้วไม่น่าจะเป็นกษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองใน ช่วงเวลาเดียวกันกับที่เมืองละโว้ แต่มีชื่อพ้องกัน และน่าจะเป็นกษัตริย์ท้องถิ่นแห่งละโว้เอง อิ ท ธิ พ ลวั ฒ นธรรมในศาสนาพุ ท ธแบบ

เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ได้รับอิทธิพลศิลปะ แบบบายนในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ฯ


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION มหายานสืบต่อเนือ่ งมาจนถึงราวกลางพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ซึ่งได้อิทธิพลวัฒนธรรมจากเขมรในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๒) และ พบโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากในสมัยนั้นหลาย ประการ เมื่อบ้านเมืองหลายแห่งในลุ่มเจ้าพระยา เริ่มรวมตัวกันเป็นมณฑลขนาดใหญ่ สมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จากราชวงศ์ละโว้อโยธยาทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระ มหากษัตริยแ์ ห่งสุพรรณภูมิ แล้วสร้างกรุงศรีอยุธยา ขึน้ แทนเมืองอโยธยาเดิม ในราวปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ ท�ำให้ความเป็นศูนย์กลางของเมืองละโว้สิ้น สุดลง กลายเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองอยุธยา โดย มีสมเด็จพระราเมศวรโอรสยังคงปกครองเมืองละโว้ ในช่วงเวลานีบ้ รรดาเมืองนครรัฐทัง้ หลายใน ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาได้เปลี่ยนการนับถือศาสนาแต่เดิม ที่มีทั้งพุทธเถรวาท มหายาน และฮินดู มาเป็นพุทธ ศาสนาลังกาวงศ์ ละโว้เป็นเมืองส�ำคัญทางศาสนาที่มีศาสน สถานเก่าแก่และวัดวาอารามรุ่งเรืองและเป็นเมือง ส�ำคัญบนเส้นทางคมนาคมทางน�้ำจากอยุธยาขึ้น ไปยังหัวเมืองทางเหนือ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองละโว้ก็ได้รบั การ ฟืน้ ฟูให้เป็นเมืองทีป่ ระทับในฤดูรอ้ น มีการก่อสร้าง ตึกรามบ้านช่อง วัดวาอาราม ตลอดจนการจัดวาง ผังเมืองคล้ายกับทางตะวันตก เป็ น เมื อ งเสด็ จ ประพาสธรรมชาติ ข อง พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม พระเจ้าปราสาททองลงมา จนรุ่งเรือง สุดในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่ทรงสร้างเมือง ละโว้ใหม่ในนามเมืองนพบุรีหรือลพบุรี อันมีความ หมายว่าเป็นเมืองของพระนารายณ์ตามอย่างที่มี กล่าวถึงในรามเกียรติ์ ในยุคสมเด็จพระนารายณ์ฯ นี้ เ กิ ด การสร้ า งบ้ า นแปงเมื อ งและขยายถิ่ น ฐาน

ไปรอบเมืองลพบุรี ท�ำให้เกิดชื่อบ้านนามเมื อ ง ล�ำคลอง หนองน�้ำ และภูเขาที่สัมพันธ์กับเรื่องราว ในรามเกียรติ์ เช่น ทุ่งพรหมมาศ เมืองขีดขิน เขา สรรพยา เขาสมอคอน ฯลฯ ศาสนสถานส�ำคัญกลางเมืองละโว้ทถี่ กู ปรับ เปลี่ยนจากพุทธสถานแบบเถรวาทและเทวสถาน ฮินดูและพุทธมหายานมาเป็นแบบเถรวาทลังกาวงศ์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลงมา ได้แก่

วัดนครโกษา ต�ำแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬ เดิม เป็นพุทธสถานทางเถรวาทที่มีมาแต่สมัยทวารวดี ถูกสร้างทับเปลี่ยนให้เป็นพระสถูปและพระวิหาร ในพุทธเถรวาทลังกาวงศ์ การขุดแต่งที่ฐานเจดีย์ องค์ใหญ่พบประติมากรรมในสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป รูปบุคคล ยักษ์ ลวดลายประกอบ สถาปัตยกรรมต่างๆ ด้านหลังของเจดีย์ประธาน มีวิหารขนาดเล็กเพียงส่วนฐาน พบพระพุทธรูป หินทราย พระบาทมีฐาน

เจดีย์วัดนครโกษาที่สร้างมาแต่สมัยทวารวดี และมีการ ปรับให้เป็นวัดในสมัยลพบุรีต่อเนื่องกับอโยธยาโดยมีพระ หินทราย แท่นฐานพระยืนสร้างเป็นวิหารขนาดเล็กด้านหน้า และต่อมาก็บูรณะให้เป็นวัดนครโกษาในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์ฯ โดยเจ้าพระยาโกษา (เหล็ก)

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

45


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ด้ า นหน้ า วั ด มี ป รางค์ แ บบลพบุ รี แ ละ พระพุทธรูปปูนปัน้ แบบอูท่ อง ส่วนพระอุโบสถวิหาร สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งสันนิษฐานว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่งานด�ำเนินการ จึงได้ชื่อว่า “วัดนครโกษา” ตามราชทินนาม

ปรางค์แขก ปราสาทอิฐ ๓ หลังเรียงตัวกันในแนวเหนือ ใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันอยู่ในย่าน อยู่อาศัยและสถานที่ราชการ จนกลายเป็นพื้นที่ กลางถนนที่มีรถยนต์ผ่านไปมา น่าจะสร้างขึ้นใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ องค์กลางขนาดใหญ่ทสี่ ดุ มี ประตูทางเข้าเพียงประตูเดียว ส่วนอีกสามด้านเป็น ประตูหลอก เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูนและคาดว่าคง พังทลายลง ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงปฏิสังขรณ์ปรางค์ทั้งสาม องค์ขนึ้ ใหม่และสร้างอาคารอีกสองหลัง โดยอาคาร แรกเป็นวิหารทางด้านหน้า ส่วนอาคารอีกหลังทาง ทิศใต้สร้างเป็นถังเก็บน�ำ้ ประปา และอาคารทัง้ สอง ที่สร้างใหม่เป็นตึกแบบพระราชนิยม

ภาพเทวสถานปรางค์แขกในช่วงก่อนบูรณะ านิต/ศรี วัลเลิทพ/เสมา” โภดม ฑละแห่งศรีจนาศะมละโว้ 46 ในมัณภาพโดยอาจารย์

เทวสถานปรางค์แขก อยู่กลางถนน กลางเมืองในปัจจุบัน

ศาลพระกาฬหรือศาลสูง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูสร้างด้วยศิลา แลง ถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่กลางวงเวียนและ อยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟ ฐานสูงท�ำด้วยศิลาแลงจึง เรียกกันต่อมาว่า “ศาลสูง” มีบันไดทั้ง ๔ ด้าน มี การพบโบราณวัตถุส�ำคัญ คือ ศิลาจารึกศาลสูงซึ่ง เป็นศิลาจารึกส�ำคัญลงศักราชโดยละเอียดในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระวิษ ณุแบบเทวรูปรุ่นเก่า ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ฯ พบ หลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณ

การขุดแต่งบริเวณรอบศาลพระกาฬทำ�ให้เห็นฐานของ อาคารแบบปราสาทน่าจะรุ่นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ขึ้นไป


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์ฯ ประดิษฐานพระวิษ ณุยืนองค์เล็ก แบบเทวรูปรุ่นเก่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ และพบในพืน้ ทีเ่ มืองอูท่ องและสุพรรณภูมิ ส่วนพระ วิษณุองค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรแี ต่พระ เศียรหายไป ภายหลังมีผู้น�ำพระเศียรพระพุทธรูป หินทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ ศาลพระกาฬถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เทียบ ได้กับหลักเมืองอู่ทองและหลักเมืองสุพรรณบุรี ใน ยุคปัจจุบันเช่นกันชาวบ้านเข้ามาเคารพสักการะอยู่ ตลอดเวลา และปัจจุบันมีการขุดแต่งโดยรอบพื้นที่ ท�ำให้เห็นฐานโบราณสถานด้านข้างสองสามแห่ง รวมทั้งพื้นเดิมของตัวปราสาทในยุคแรกเริ่มที่เป็น โบราณสถานศาลพระกาฬในปัจจุบัน

ประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤๅษีนั่งชันเข่า ในซุ้มเรือนแก้ว ตกแต่งลวดลายปูนปั้น ปรางค์องค์ กลางมีฐานแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้บูรณะพระปรางค์ สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนาเถรวาท สร้างพระ วิหารก่อด้วยอิฐแบบที่นิยมในยุคนั้น ภายในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย ด้านหน้าทางทิศ ตะวันออกมีวิหารสร้างในสมัยเดียวกัน ประดิษฐาน พระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ปางสมาธิแบบอยุธยา ตอนต้น อนึ่ง ทั้งบริเวณปรางค์สามยอดและศาล พระกาฬซึ่งมีต้นไม้ใหญ่และค่อนข้างร่มรื่น ท�ำให้ ลิงจ�ำนวนมากมาอยู่อาศัยจนกลายเป็นสัญลักษณ์ ของเมืองลพบุรีในปัจจุบัน

พระปรางค์วัดมหาธาตุ จากเดิมที่เคยเป็นปราสาทแบบเขมรและ เป็น พุทธมหายาน ก็ถูกปรับเปลี่ยนปราสาทให้ เป็นสถูปธาตุในรูปของพระปรางค์ นับเป็นศิลปะ สถาปัตยกรรมแบบปรางค์ยุคแรกเริ่ม ก่อนจะแพร่ ไปสร้างในที่อื่นๆ พระสถูปทรงปรางค์นับได้ว่าเป็น

พระปรางค์สามยอดลพบุรีสร้างในสมัยราวพุธศตวรรษที่ ๑๘ และถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นวัดในสมัยอยุธยาเช่นกัน

ปรางค์สามยอด อยู่บนเนินดินฝั่งตรงข้ามกับศาลพระกาฬ โดยมีเส้นทางรถไฟคั่น ลักษณะเป็นปรางค์เรียง ต่อกัน ๓ หลัง เดิมเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา มหายาน สร้างในช่วงราวอิทธิพลศิลปะเขมรแบบ บายน ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย มีเสา

พระปรางค์วัดมหาธาตุ ลพบุรี ต้นแบบสถูปแบบปรางค์ที่ ส่งอิทธิพลให้แก่บ้านเมืองอื่นๆ เป็นพระมหาธาตุที่มีความ สำ�คัญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

47


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION อัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของเมืองละโว้ และวัด มหาธาตุนนั้ ถือว่าเป็นวัดส�ำคัญของเมืองละโว้ตงั้ แต่ สมัยสมเด็จพระราเมศวรลงมาถึงสมัยอยุธยาตอน ปลาย

แหล่งโบราณคดีที่วัดพรหมทินใต้ บ้านพรหมทินทั้งพรหมทินเหนือและพรหม ทินใต้เป็นพืน้ ทีข่ องเมืองโบราณที่ไม่เห็นแนวคูนำ�้ คัน ดินชัดเจน แต่ใช้ทางน�้ำธรรมชาติคือคลองโพธิ์ทอง ซึ่งต่อกับคลองถลุงเหล็กต่อกับล�ำมะเลง และไปลง ล�ำน�้ำสนามแจงและแม่น�้ำบางขามในแถบบ้านหมี่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองลพบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สูงลอนลูกคลืน่ และอยูเ่ ชิงเขาวงพระจันทร์ ในอ�ำเภอ โคกส�ำโรง จังหวัดลพบุรี โดยมีเขาทับควาย ซึ่ง มีแหล่งแร่เหล็กแบบเฮมาไทต์ตั้งอยู่ห่างไปราว ๔ กิโลเมตร พ.ศ. ๒๕๒๙ กรมศิลปากรเข้ามาส�ำรวจ

และขุดค้นภายในวัดพรหมทินใต้บริเวณด้านข้างพระ อุโบสถหลังเก่าโดยได้ทำ� การบูรณะพระอุโบสถหลัง เก่า ซึ่งเป็นพระอุโบสถในสมัยอยุธยา ซึ่งในพื้นที่ เดียวกันนัน้ พบเศษภาชนะดินเผาตัง้ แต่เนือ้ ธรรมดา จนถึงเนื้อแกร่ง เครื่องถ้วยลายครามแบบหมิง ไห ขอม เครื่องเคลือบจากกลุ่มเตาศรีสัชนาลัย พ.ศ. ๒๕๓๕ มีการขุดพบประติมากรรมท�ำจากหินรูป พนัสบดีในรูปแบบศิลปะแบบทวารวดี ซึ่งแต่เดิมน่า จะรองเป็นฐานพระพุทธรูปยืน (กล่าวกันว่าพนัสบดี เป็นสัตว์ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างพาหนะ ของ เทพเจ้าสามองค์ในศาสนาฮินดู คือ มีเขาคล้ายโค พาหนะของพระอิศวร มีปีกคล้ายหงส์ พาหนะของ พระพรหม และมีจะงอยปากคล้ายครุฑ พาหนะของ พระนารายณ์) ต่อมาภาควิชาโบราณคดีจึงท�ำการวิจัยโดย ขุดค้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปิดภาคการศึกษาโดย อาจารย์ธนิก เลิศชาญฤทธ์ ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

วัดพรหมทินใต้ มีอาคารโบสถ์สมัยอยุธยาล้อมรอบด้วยใบเสมา ที่ทำ�จากหินในรุ่นอยุธยาเช่นกัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลอนลูกคลื่น ใกล้กับเขาทับควาย ซึ่งเป็นแหล่งแร่เหล็กแบบเฮมาไทต์ [Hematite] เป็นสินแร่เหล็กที่มีการผลิตกันมาตั้งแต่โบราณและ สันนิษฐานว่าชุมชนบริเวณรอบๆ นี้คงจะผลิตแร่เหล็กส่งเป็น ส่วยเมืองลพบุรีในสมัยอยุธยาด้วย

48

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION โดยเป็นการขุดแหล่งฝังศพอย่างต่อเนื่องยาวนาน กว่า ๑๒ ปี และพบข้อมูลในรายละเอียดของการ ด�ำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่มี การติดต่อการค้าระยะทางไกลกับบ้านเมืองต่างๆ ในทุกทิศทาง ปั จ จุ บั น ทางคณะโบราณคดี ไ ด้ ป ระสาน งานให้เกิดการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนที่วัด พรหมทินใต้ โดยการสนับสนุนของบริษัทกรุงเทพ ประกั น ภั ย ถื อ เป็ น การจั ด พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท่ี น ่ า สนใจ หาความรู้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี สรุ ป ได้ ว ่ า มี ก ารอยู ่ อ าศั ย ที่ บ ริ เ วณบ้ า น พรหมทิ น มาตั้ ง แต่ ยุ ค ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ทั้ ง ยุ ค ส�ำริดตอนปลายและยุคเหล็ก หลักฐานที่พบ ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ฝังร่วมกับภาชนะรูปทรงต่างๆ ตกแต่งผิวด้วยการขัดมัน เครือ่ งมือเหล็ก ก�ำไรส�ำริด ลูกปัด แวดินเผา เป็นต้น อายุอยู่ระหว่าง ๒,๕๐๐๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนช่วงที่มีการใช้พ้ืนที่อย่างยาวนานซึ่งต่อ เนื่องกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายคือสมัย

ทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ พบเศษภาชนะ ดินเผาแบบต่างๆ โดยเฉพาะภาชนะแบบมีสนั ลูกปัด แก้ว เบี้ยดินเผา ชิ้นส่วนพวยกา หินดุ ฯลฯ เหรียญ ตามแบบทวารวดี และจารึ ก ภาษาบาลี อั ก ษร ปัลลวะและหลังปัลลวะในยุคสมัยทวารวดี การอยู่อาศัยยุคต่อมาคือในช่วงราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ทีพ่ บอาคารโบราณสถานก่อด้วย อิฐ ใบเสมาที่เป็นโกลนท�ำจากหินทรายสมัยอยุธยา ตอนต้น เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องถ้วย สังคโลก เครื่องถ้วยจีน และเครื่องเคลือบสีน�้ำตาล แบบสุโขทัย เป็นต้น ผู้คนในปัจจุบันเล่าสืบต่อกันมาว่าส่วนใหญ่ อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อท�ำการ ค้าวัวควายแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ราว ๑๐๐ กว่าปีมา แล้ว ได้สร้างวัดและโบสถ์ทับลงไปบนซากโบราณ เดิม ภายหลังถูกไฟไหม้จนหมดจึงได้สร้างอาคาร ไม้สังกะสีขึ้นแทน ภายในพระอุโบสถก็มีพระพุทธ รูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านนิยมมาสักการบูชา

การขุดค้นทางโบราณคดีในภาคฤดูร้อนโดยคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นำ�โดยอาจารย์ธนิก เลิศชาญฤทธ์

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

49


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION คนพวนเมืองลพบุรี เนือ่ งจากการรับประทานอาหารท้องถิน่ และ อาหารชาวพวนในเมืองลพบุรี โดยเจ้าของน่าจะเป็น คนเชื้อสายพวนจากบ้านหมี่ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ซึ่งมี จ�ำนวนประชากรมีเชื้อสายพวนมากที่สุดในจังหวัด ลพบุ รี จึ ง ควรท� ำ ความรู ้ จั ก กลุ ่ ม คนที่ ถู ก อพยพ กวาดต้อนเข้ามาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์กนั บ้าง

ชาวพวนบ้านหมี่ในปัจจุบัน ภาพจากเฟซบุ๊ก วัฒนธรรมไทย พวนบ้านทราย-บ้านหมี่ ลพบุรี

ผู้ที่ถูกเรียกว่า “ลาว” ในภาคกลางของ ประเทศไทย คือกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายและเป็น กลุ่มใหญ่ที่ปรากฏหลักฐานในการเคลื่อนย้ายเข้า มาสู่ดินแดนสยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจาก สงครามทีน่ ำ� ไปสูก่ ารกวาดต้อน ประกอบด้วยผูค้ น หลายกลุม่ หลายพืน้ ที่ หากแต่กวาดต้อนมาจากบ้าน เมืองทางฝ่ายเหนือจึงถูกเหมารวมเรียกว่า “ลาว” ทั้งหมด แม้จะมาจากทางเชียงแสนก็ถูกเรียกว่า “ลาวโยนหรือลาวยวน” ก่อนจะมาเปลี่ยนเป็นคน ยวนหรือไทยวนในภายหลัง หรือคนพวนจากเมือง พวนที่หัวพัน แม้จะเป็นกลุ่มคนไตที่เป็นชาวไทด�ำ กลุ่มหนึ่งแต่ก็ถูกเรียกอย่างเหมารวมว่าเป็น “ลาว พวน” เช่นกัน พวน หมายถึงกลุ่มชาวผู้ไทจากเมืองพวน 50

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

และบ้านเมืองในเขตที่ราบเชียงขวาง จากเอกสาร เรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ปรากฏว่า มีการประเมินข้อมูล จ�ำนวนคนพวนที่อยู่ ในที่ราบเชียงขวางมีมากพอๆ กับคนเชื้อสายพวนที่อยู่ในประเทศไทย คือ เกือบ หนึ่งแสนคน ซึ่งข้อมูลนี้อาจไม่ถูกต้องก็ ได้ แต่ อนุ ม านให้ เ ห็ น ว่ า มี ก ารประเมิ น จ� ำ นวนคนพวน จากเชียงขวางใกล้ชายแดนเวียดนามในสมัยที่ถูก กวาดต้อนมานัน้ โยกย้ายกันมาน่าจะจ�ำนวนครึง่ หนึง่ ของประชากรทีเดียว พวนน่าจะเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ถูกอพยพ เข้ามาสู่หัวเมืองชั้นใน เนื่องจากพวนเป็นกลุ่มไทด�ำ กลุม่ หนึง่ และมีวฒ ั นธรรมใกล้ชดิ กับชาวผูไ้ ทในเขต เมืองแถง และถือตัวว่าเป็นคนพวนไม่ใช่คนลาว รวม ทัง้ คนลาวก็เรียกว่าพวนโดยไม่นบั เป็นลาวด้วย ดังนัน้ ภาษาพูดจึงมีความใกล้ชิดกับลาวโซ่งหรือไทด�ำ คนพวนถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งแต่ ในสมัย รัชกาลที่ ๑ และเข้ามามากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครัวพวนถูกอพยพมาสมทบกับพวกพ้องทั้งที่เมือง ฉะเชิงเทรา ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่มผู้มีเชื้อสายพวนตั้งถิ่นฐานอยู่ ในจังหวัดต่างๆ หลายแห่งทัง้ ในภาคกลาง อีสาน และภาคเหนือตอน ล่าง ในเขตอ�ำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ได้ชื่อว่า เป็นอ�ำเภอที่กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเกือบทั้งอ�ำเภอและ มีอยู่หลากหลายกลุ่ม การส�ำรวจกลุ่มคนในอ�ำเภอบ้านหมี่โดย คนในท้องถิ่นเองแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ พวน ร้อยละ ๖๕ ลาวเวียงและลาวแง้ว ร้อยละ ๒๐ ไทย ร้อยละ ๑๐ จีน ร้อยละ ๕ ความแตกต่าง ไปจากกลุ่มลาวอื่นๆ ที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ท�ำให้ พวนมีเอกลักษณ์พิเศษทั้งภาษาพูด ขนบประเพณี พิธีกรรม และลักษณะพฤติกรรม ด้วยเหตุที่เป็น กลุ่มใหญ่และมีเอกลักษณ์นี้เองท�ำให้มีการรวมตัว เกิดสมาคมไทพวน จัดกิจกรรมต่างๆ ส�ำหรับคน เชือ้ สายพวนในปัจจุบนั ซึง่ เป็นลักษณะพิเศษทีล่ าวใน กลุม่ อืน่ ๆ ไม่สามารถรวมตัวกันเหนียวแน่นเช่นนี้ได้


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

เขาถมอรัตน์แห่งเมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ หลั ก ฐานจากพระราชพงศาวดารกรุ ง ศรีอยุธยา อธิบายเหตุการณ์หนึง่ ในสมัยสมเด็จพระ นเรศวรฯ เมื่อรับสั่งให้เจ้าเมืองที่ชื่อ “พระศรีถมอ รัตน์” และ “พระชัยบุรี” ไปโจมตีพระยาละแวกที่ อยู่ในดงพระยากลาง ต่อมาพบค�ำว่า “ถมอรัตน์” ถูกน�ำมาเป็นชือ่ ของเจ้าเมืองในเขตนี้ ดังมีหลักฐานที่สืบเนื่องจาก ที่มาของชื่อเมืองศรีเทพ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๗ เมื่อ ต้องเสด็จตรวจราชการหัวเมือง สมเด็จกรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพเคยทรงค้นจากท�ำเนียบเก่าบอก รายชือ่ หัวเมืองมีชอื่ เมืองศรีเทพปรากฏอยูแ่ ต่ไม่มผี ู้

ใดทราบว่าเมืองตั้งอยู่ที่ใด (การเสด็จตรวจราชการ หัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพ / นิทานโบราณคดี เรื่องที่ ๑๐ เรือ่ งความไข้ทเี่ มืองเพชรบูรณ์) พระองค์สนั นิษฐาน ว่า เมืองศรีเทพน่าจะอยู่แถบล�ำน�้ำป่าสัก เนื่องจาก มีข้อความจากเอกสารเก่าฉบับหนึ่งกล่าวถึงการให้ คนเชิญตราสารไปบอกข่าวการสิ้น พระชนม์ของ รัชกาลที่ ๒ ไปตามหัวเมืองต่างๆ มีเส้นทางหนึ่งไป ทางเมืองสระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพ เมือง เพชรบูรณ์ เมือ่ สอบถามเจ้าเมืองวิเชียรบุรคี นเก่าจึง ได้ความว่าเมืองวิเชียรบุรี เดิมเรียกกันอยู่ ๒ ชือ่ คือ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

51


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ภาพวาดผังเมืองศรีเทพ เห็นสระน�้ำจ�ำนวนมากทั้งเมืองในและเมืองนอกและบริเวณโดยรอบ เมืองศรีเทพแม้จะมีล�ำน�้ำสองสายไหล ผ่านอยู่ไม่ไกล แต่พื้นที่เป็นที่ราบลอนลูกคลื่นและร้อนแล้งในหน้าแล้ง การกักเก็บน�้ำในสระจึงเป็นความจ�ำเป็นของประชากร

“เมืองท่าโรง” และ “เมืองศรีเทพ” มาเปลี่ยนเป็น ชือ่ “เมืองวิเชียรบุร”ี สมัยรัชกาลที่ ๓ เมือ่ ครัง้ ปราบ กบฏเวียงจันทน์ พระศรีถมอรัตน์มคี วามดีความชอบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองศรีเทพเป็นเมืองตรี พร้อมทั้งเปลี่ยนนามเจ้าเมืองจาก “พระศรีถมอ รัตน์” เป็น “พระยาประเสริฐสงคราม” และเปลี่ยน นามเมืองจากศรีเทพเป็นวิเชียรบุรี (ทรงอธิบายว่า “ถมอรัตน์” คือ “เขาแก้ว” ซึง่ เป็นภูเขาส�ำคัญในท้อง ถิน่ ส่วน “วิเชียรบุร”ี ก็มาจากชือ่ เขาแก้วทีแ่ ปลงมา เป็นวิเชียรนั่นเอง) เมือ่ สมเด็จกรมพระยาด�ำรงฯ เรียกผูช้ ำ� นาญ ท้องถิ่น มาสอบถามว่ามีเมืองโบราณอยู่ ในล�ำน�้ำ ป่าสักที่ ไหนบ้าง ได้รับข้อมูลว่ามีเมืองหนึ่ง เป็น เมืองโบราณขนาดใหญ่อยู่ ในป่าแดงใกล้กับเมือง วิเชียรบุรี ไปถึงได้ไ ม่ยาก ทรงล่องเรือจากเมือง วิเชียรบุรีไปขึ้นท่าเรือที่บ้านนาตะกรุดแล้วเดินทาง 52

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

บกมายังเมืองโบราณซึ่งอยู่ห่างจากล�ำน�้ำราว ๔ กิโลเมตร ทรงส�ำรวจเมืองโบราณแล้วมีพระราช วินิจฉัยว่า เมืองโบราณแห่งนี้น่าจะเป็นต้นเค้าของ การเรียกชื่อเก่าของวิเชียรบุรีว่าเมืองศรีเทพ จึง เรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่าเมืองศรีเทพนับแต่นั้น จากโบราณวัตถุตลอดถึงการขุดค้น ทาง โบราณคดี แสดงให้เห็นว่าการตั้งถิ่นฐานในเขต เมืองศรีเทพ มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลาย จนถึงสมัยทวารวดี และลพบุรี ก่อนที่ ศูนย์กลางทางการเมืองในย่านนี้จะย้ายไปที่เมือง เพชรบูรณ์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งได้รับอิทธิพล วั ฒ นธรรมทางพุ ท ธศาสนาแบบลั ง กาวงศ์ จ าก สุโขทัย จนเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงเมื่อไม่นาน มานี้ ชุมชนในแถบศรีเทพและเขตลุ่มป่าสักมีผู้คน อยู่อาศัยอย่างเบาบางมาก ชุมชนต่างๆ เป็นเพียง หมู่บ้านขนาดเล็กที่มีผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากที่


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION อืน่ โดยเฉพาะจากแถบจังหวัดลพบุรี เช่น หมูบ่ า้ น บึงนาจาน บ้านสระปรือ บ้านนาตะกรุด

เมืองโบราณศรีเทพ

เมืองโบราณศรีเทพมีคูน�้ำและคันดินล้อม รอบ ๒,๘๙๙ ไร่ หรือประมาณ ๔.๗ ตาราง กิโลเมตร มีคนู ำ�้ ขนาดใหญ่และคันดินสูงล้อมรอบ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ เมืองส่วนใน มีพื้นที่ ๑,๓๐๐ ไร่ รูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร มีช่องทางหรือประตูเข้า ออก ๖ แห่ง พืน้ ทีภ่ ายในเป็นทีร่ าบลอนลูกคลืน่ มี สระน�ำ้ หรือหนองน�ำ้ กระจายอยูท่ วั่ ไปกว่า ๗๐ แห่ง ส�ำรวจพบร่องรอยโบราณสถานได้รับการขุดแต่ง และบูรณะแล้วประมาณ ๔๐ แห่ง เป็นกลุ่มศาสน

สระแก้วภายในเมืองนอกศรีเทพ ปัจจุบันยังเป็นสระน�้ำที่ ชาวบ้านยังน�ำน�้ำไปใช้ส�ำหรับท�ำการเกษตร

สถานทัง้ ฮินดูและพุทธมหายานรวมทัง้ เถรวาทแบบ ทวารดีรวมอยู่ด้วยกันในพื้นที่ส่วนเมืองด้านใน ส่วนที่สองเมืองส่วนนอกพื้น ที่ ๑,๕๘๙ กว่าไร่ เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน มี ประตูหรือช่องทางเข้าออก ๖ แห่ง สระน�้ำขนาด ใหญ่เกือบกลางเมืองเรียกว่า “สระขวัญ” (ส่วน

นอกเมืองในบริเวณเกือบจะตรงข้ามกันไม่ไกล ออกไปนักมี “สระแก้ว” ใช้เป็นน�ำ้ ศักดิส์ ทิ ธิส์ ำ� หรับ ประกอบพระราชพิธสี ำ� คัญของบ้านเมือง ซึง่ พบว่า มีการท�ำบันไดลงสระน�้ำและพบโบราณวัตถุบาง ส่วน) และยังมีสระเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป และ พบร่องรอยโบราณสถานกระจัดกระจายเช่นกันมี โบราณสถานซึ่งส่วนใหญ่ขนาดเล็กและยังไม่ได้มี การขุดแต่งประมาณ ๕๔ แห่ง รวมทัง้ สระน�ำ้ ขนาด ใหญ่จนถึงเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปประมาณ ๓๐ แห่ง ทั้งนอกเมืองโบราณศรีเทพ ก็ยังพบร่อง รอยโบราณสถานอีกกว่า ๕๐ แห่ง ส่วนมากตั้ง อยู่ทางทิศเหนือของเมืองซึ่งมีโบราณสถานเขา คลังนอกและปรางค์ฤๅษีเป็นโบราณสถานส�ำคัญ และบริเวณนอกเมืองโบราณศรีเทพไปทางด้าน ทิศตะวันตกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ยังมีโบราณ สถานที่ถ�้ำเขาถมอรัตน์เป็นภาพสลักบนผนังถ�้ำ เป็นรูปพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ ที่สร้างขึ้น ตามความเชื่อของพุทธศาสนาลั ทธิมหายานเนื่อง ในวัฒนธรรมทวารวดี ถือเป็นเมืองขนาดใหญ่และ มีการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นมากมาย กรมศิลปากรเริม่ ส�ำรวจศึกษาเมืองศรีเทพ ราวปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จัดการรักษาเมืองโบราณนี้ไว้ ในนามอุทยานประวัตศิ าสตร์ศรีเทพจัดตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ.​ ๒๕๒๗ โดยสร้างศูนย์บริการข้อมูล จัดแสดง โบราณวัตถุและนิทรรศการเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ ส่วนทีเ่ ป็น โบราณวัตถุจำ� พวกชิน้ ส่วนประติมากรรมและอาคาร ทีท่ ำ� จากหิน ฐานเสา ฐานหินรองรับประติมากรรม ขนาดใหญ่อยูด่ า้ นนอกอาคาร และทีเ่ ป็นโบราณวัตถุ ส�ำคัญเป็นงานจ�ำลองจากของจริงทีเ่ ก็บรักษาไว้ตาม พิพธิ ภัณฑ์ตา่ งๆ ปัจจุบนั ได้นำ� ชือ่ ไปเสนอขึน้ ทะเบียน เบือ้ งต้นเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกไปแล้ว

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

53


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION โบราณวัตถุส�ำคัญจากเมืองศรีเทพในมือนักสะสม เมืองโบราณศรีเทพเป็นทีร่ จู้ กั ของนักสะสม โบราณวัตถุทงั้ ชาวไทยและต่างชาติมานานแล้ว โดย เฉพาะราว พ.ศ. ๒๕๐๕ ในถ�ำ้ ซึ่งแกะสลักหินจาก ถ�้ำเป็นรูปพระโพธิสัตว์ พระพุทธรูป เสาธรรมจักร และสถูปจ�ำลอง โดยสกัดเศียรพระพุทธรูปและ พระโพธิสัตว์โดยน�ำไปขายให้นักสะสมส่วนหนึ่งจน เป็นการท�ำลายสภาพเดิมอย่างน่าเสียดาย อยู่ ใน ความครอบครองของนายเจมส์ ทอมสัน ก่อนน�ำ มามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เก็บ รักษาไว้จนปัจจุบัน ภายในถ�้ำบนยอดเขาถมอรัตน์ จึงกลายเป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ช�ำรุดจน ปัจจุบัน นอกจากนี้ การทีเ่ มืองศรีเทพกว้างใหญ่และ มีพนื้ ทีเ่ ต็มไปด้วยความรกทึบ เพราะชาวบ้านไม่กล้า เข้าไปอยู่อาศัย โบราณวัตถุต่างๆ จึงหลุดรอดออก ไปได้ง่าย เช่น พระพุทธรูปและเทวรูปถูกน�ำไปจัด แสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และทั่วยุโรป มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เรียบเรียงข้อมูลต่อเนื่องจากกรณีทวงคืน ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึง โบราณวัตถุชนิ้ ส�ำคัญๆ ทีน่ ำ� ออกไปจากเมืองศรีเทพ ดังนี้ พระสุรยิ เทพ แกะสลักจากหินลักษณะแบบ ช่างท้องถิน่ แบบศรีเทพ สูง ๑๑๓.๗ เซนติเมตร อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๔ เศียรถูกลักลอบออกไป จากประเทศไทยก่อน ต่อมาองค์จึงถูกลักลอบออก ไป แล้วจึงน�ำมาประกอบกัน พระพุทธรูปยืน แกะจากหินขนาดสูงใหญ่ คือสูง ๒๒๓.๕ เซนติเมตร ศิลปะแบบทวารวดี มี การสลักอุณาโลมเจาะเป็นรูเข้าไปในพระนลาฏ อาจ มีการฝังเพชรพลอยหรือโลหะมีค่าลงไป แผ่นทองดุนลายรูปพระวิษณุ ขนาดยาว ๓๐ 54

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

เซนติเมตร ศิลปะแบบทวารวดี พระหัตถ์ ๔ กร หัตถ์ ขวาบนถือจักร หัตถ์ขวาล่างถือธรณี หัตถ์ซ้ายบนถือ สังข์ และหัตถ์ซ้ายล่างวางอยู่เหนือคทา มีบริวารรูป ล่างเล็ กกว่ายืนถือดอกบัวอยู่ทางเบื้องขวา หน้าตา เป็นแบบท้องถิ่น แผ่นทองดุนลายเป็นรูปพระโพธิสตั ว์ศรีอาริย เมตไตรย ขนาดยาว ๕.๐๘ เซนติเมตร รูปใบหน้า แบบทวารวดี นัง่ ขัดสมาธิเพชรอย่างหลวมๆ อยูเ่ หนือ ดอกบัว พระหัตถ์ขวาอาจถือดอกบัวตูมและพระหัตถ์ ซ้ายถือหม้อน�้ำมนต์ มีสถูปจ�ำลองอยู่เหนือเกศา ทั้ง ๔ รายการโบราณวัตถุชิ้นเด่นๆ นี้อยู่ใน ความครอบครองของพิพิธภัณฑ์ นอร์ตัน ไซมอน รัฐ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ประติมากรรมรูปสุริยเทพจากเมืองศรีเทพ นำ�ไปจัดแสดงอยู่ ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะนอร์ตัน ไซมอน แพซาดีนา แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

แผ่นทองดุนลายเป็นรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะนอร์ตัน ไซมอน

แผ่ น ทองดุ น ลายรู ป พระจั น ทร์ ห นึ่ ง ใ น ก ลุ่ ม เ ท พ ใ น ก ลุ่ ม พระอาทิตย์ น่าจะมาจากเมือง ศรี เ ทพอยู่ ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศิ ล ปะ นอร์ตัน ไซมอน ซึ่งการพบแผ่น ทองดุนรูปพระวิษณุ พระอาทิตย์ และพระจั น ทร์ รวมทั้ ง พระ โพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย ซึ่ง มีรูปแบบใบหน้าเป็นแบบศิลปะ ทวารวดี รวมทั้ ง พระพุ ท ธรู ป ยืน ทำ�ให้เห็นว่าในช่วงสมัยทวาร วดี เมืองศรีเทพนั้นมีการนับถือ ศาสนาฮินดูและพุทธแบบมหายาน ไปพร้อมๆ กับพุทธแบบเถรวาทที่ เป็นศาสนาในช่วงแรกเริ่ม

พระพุทธรูปยืน ศิลปะแบบทวารวดีหิน ขนาดสูงใหญ่มากคือ ๒ เมตรกว่า อยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะนอร์ตัน ไซมอน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

55


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION เทวรูปรุ่นเก่าและเทวรูปเด่นจากเมืองศรีเทพ “สุริยเทพ” เทวรูปรุ่นเก่าสวมหมวกทรงกระบอกพบที่ เมืองศรีเทพคือพระวิษณุ แกะจากหินสูงกว่า ๒๐๗ เซนติเมตร ลักษณะเป็น ประติมากรรมลอยตัว พระกรทั้งสี่ยกขึ้นไม่ติดกับส่วนองค์แต่หักหายไป นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นซึ่งเป็นอิทธิพลวัฒนธรรมแบบ เขมร (ถกเขมร) ยืนเอียงตนลักษณะแบบตริภังค์ และคล้ายกับทีพ่ บพระวิษณุสวมหมวกแขกทีพ่ บจาก เมืองโบราณที่ดงศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี เป็นหลัก ฐานของการนับถือศาสนาพราหมณ์ ฮินดูในช่วงยุค แรกๆ บนแผ่นดินไทย “สุริยเทพ” หรือพระอาทิตย์ ในศาสนา ฮินดูถือว่าเป็นเหตุแห่งการมีชีวิต ได้รับการบูชาใน ยามเช้าและมีวดั ฮินดูในอินเดียหลายแห่งทีบ่ ชู าพระ สุริยะเป็นการเฉพาะ เทวรูปพระอาทิตย์ในอินเดีย บ้างเป็นเทพสองกรถือดอกบัว บ้างมีสกี่ รถือดอกบัว จักร สังข์ และคทา เมื่อราตรีกาลผ่านไป พระสุริย เทพก็จะประทับราชรถข้ามฟากฟ้ามาประทานความ อบอุ่นและชีวิตให้กับสัตว์โลกอีกครั้งเอาชนะความ มืด ผลัดเปลี่ยนกันไปตลอดกาล พระสุริยะเป็นเทพเก่าแก่และส�ำคัญองค์ หนึง่ มีลัทธิเป็นเอกเทศของตนเองเรียกว่าลัทธิเสาระ ซึง่ รุง่ เรืองมากในสมัยหลังคุปตะราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ พระองค์อยู่ในกลุ่มอาทิตยเทพที่มีทั้งหมด ๑๒ องค์ ซึง่ มักบูชาควบคูก่ บั การบูชาเทพนพเคราะห์ หรือดาวเคราะห์อกี ๙ ดวง การบูชากลุม่ อาทิตยเทพ มีมานานแล้วในอินเดีย แต่พระสุรยิ ะยังไม่ได้รบั การ ยกย่องมากนัก จนกระทั่งได้รับอิทธิพลจากอิหร่าน ในราชวงศ์กุษาณะราวพุทธศตวรรษที่ ๕-๘ โดย นักบวชอิหร่านทีเ่ คยอาศัยทางตะวันออกของอิหร่าน ปัจจุบันซึ่งมีสายรัดเอวที่เรียกว่าอวยังคะ หมายถึง เข็มขัดศักดิส์ ทิ ธิข์ องผูน้ บั ถือพระอาทิตย์เทียบได้กบั 56

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

สายธุรำ� หรือสายยัชโญปวีตของพราหมณ์ สุริยเทพถือเป็นเทพแบบฮินดูองค์แรกๆ ที่ พบการสร้างประติมากรรมเพื่อเคารพบูชาในท้อง ถิ่น ในระยะแรกจะเป็นประติมากรรมเฉพาะองค์ แบบลอยตัว เช่น ที่พบจากไชยา สกุลช่างโจฬะจาก อินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ อันเป็นยุค ศรีวิชัยและสุริยเทพท�ำจากส�ำริด พบที่เมืองโบราณ ยะรัง ในจังหวัดปัตตานี พระสุริยะแต่งตัวหุ้มหน้าอกจนถึงเท้า ซึ่ง ไม่สวมรองเท้า ถ้าเป็นทางอินเดียใต้บริวารต่างๆ รวมทั้งรถม้าแบบทางเหนือหายไป ถือดอกบัวใน พระหัตถ์ในระดับบ่าทัง้ ๒ ข้าง สวมต่างหู สวมสร้อย ไข่มุกยาว คาดเข็มขัด (อวยังคะ) ไว้รอบเอว มีรัศมี วงกลมล้อมด้านหลังพระเศียร

พระสุริยเทพจากเมืองศรีเทพ ซึ่งพบว่ามีมากที่สุดในกลุ่ม เมืองโบราณต่างๆ ในประเทศไทย


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

พระวิษณุที่จัดเป็นศิลปกรรมแบบเทวรูปรุ่นเก่าสวมหมวก ทรงกระบอก พบที่เมืองศรีเทพ แกะจากหินสูงกว่า ๒๐๗ เซนติเมตร นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นซึ่งเป็นอิทธิพลวัฒนธรรม แบบเขมร (ถกเขมร) ยืนเอียงตนลักษณะแบบตริภังค์ อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔

สุริยเทพที่พบจากศรีเทพจะมีรูปลักษณ์คิ้ว หนาต่อกันเป็นรูปปีกกา ตาโต บางองค์มีหนวด โง้งเคราหนา ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับบุคคลเชื้อสาย เปอร์เซีย สวมหมวกทรงสูงมีลวดลายคล้ายทรง สามเหลีย่ มเป็นลายงดงามประดับอยูท่ งั้ ๓ ด้าน ยืน พระกรหักหาย แต่เห็นลักษณะงอข้อศอกสันนิษฐาน ว่าแต่เดิมคงถือดอกบัว สวมต่างหูใหญ่เป็นรูปกลีบ ดอกไม้ ประดับกรองศอเป็นแผ่นรูปสามเหลีย่ มและ บางองค์มีสายคาดเอวหรืออวยังคะชัดเจน และมี ประภามณฑลด้านหลังพระเศียร เทวรูปสุริยเทพพบที่เมืองศรีเทพมากที่สุด ในบรรดาเมืองโบราณในประเทศไทยคือ ๖ องค์ และน่าจะเป็นเมืองโบราณในภาคกลางแห่งเดียวที่ พบพระสุริยะ ท�ำจากฝีมือช่างท้องถิ่น อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ รูปแบบประติมากรรมเห็นได้วา่ ปรับรับอิทธิพลจากศิลปะแบบอินเดียใต้แบบคุปตะ และหลังคุปตะ หรือบางองค์ก็คล้ายกับพระสุริยะ ในราชวงศ์มถุรา ในรัฐอานธรประเทศ แล้วมาสร้าง เป็นงานประติมากรรมแบบของตนเอง เป็น “ศิลปะ แบบศรีเทพ” ต่อมามีความเชื่อที่ดูจะปรับเปลี่ยนไป แม้ จะกล่าวว่ามีแหล่งก�ำเนิดมาจากต�ำราโหราศาสตร์ ของฮินดูก็ตามคือ ความเชื่อเรื่องเทพนพเคราะห์ พบว่ามีการสลักเป็นกลุ่มเทพนพเคราะห์ เช่น ที่พบ บนทับหลังในปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทโลเลยในกัมพูชา และเป็นผูค้ รองเรือนชะตา ของมนุษย์ในต�ำราโหราศาสตร์ฮนิ ดู ซึง่ มีเทพบริวาร อีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ซึ่งจะให้โทษหรือสร้าง อุปสรรคให้กบั มนุษย์มากกว่าจะให้คณ ุ ต่อมาจึงต้อง มีผู้ควบคุมเทพนพเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ พระ คเณศ เทพผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เทพ นพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระ เสาร์ พระราหู และพระเกตุ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

57


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION นอกจากประติมากรรมเทวรูปพระสุรยิ เทพ ยังปรากฏรูปพระสุริยะบนธรรมจักรหิน ทวารวดี จ�ำนวน ๓ ชิ้น จากเมืองโบราณในภาคกลาง เป็น รูปบุคคลชาย นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองถือดอกบัวยก ขึ้นระดับหน้าอก จารึกบ้านวังไผ่และจารึกศรีเทพ จารึ ก บ้ า นวั งไผ่ ข ้ อ มู ล จากกรมศิ ล ปากร ระบุว่า สถานที่พบเป็นป่าใกล้บ้านวังไผ่ในอ�ำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือพบห่างออกไปทาง เหนือจากเมืองศรีเทพประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็น เสาเหลีย่ มมีรอยแตก เนือ้ หินบางส่วนหายไป อยู่ใน สภาพไม่ครบส่วน

พระสุริยเทพจากเมืองศรีเทพ ซึ่งพบว่ามีมากที่สุดในกลุ่ม เมืองโบราณต่างๆ ในประเทศไทย

58

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

เคยถือกันว่าข้อความจากศิลาจารึกจาก การอ่านของ ศ.เซเดส์ ท�ำให้อนุมานว่า ศิลาจารึก บ้านวังไผ่มีความเก่าแก่ที่สุด แต่ต่อมาเมื่อมีการ ศึกษามากขึ้นจากนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ก็เห็นต่างไป โดยอักษรรูปแบบจารึกที่เป็นอักษร แบบปัลลวะ ภาษาสันสกฤตนั้น น่าจะอยู่ ในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ต่างจากที่ก�ำหนดจากการ เปรียบเทียบเดิมถึงรัชกาลของศรีภววรมันที่อยู่ใน ช่วง พ.ศ. ๑๐๙๓ (พระเจ้ามเหนทรวรมันหรือเจ้า ชายจิตรเสนเป็นพระอนุชา) โดยมีการศึกษารูป แบบอักษรจากจารึกใหม่ที่น่าจะกล่าวถึงกษัตริย์ องค์หนึ่ง (ซึ่งน่าจะเป็นกษัตริย์ในท้องถิ่น) ผู้ทรงได้ รับการยกย่องว่ามีพระเกียรติยศเทียบเท่าพระเจ้า ภววรมั น เท่ า นั้ น มิ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง พระเจ้ า ภววรมั น โดยตรงแต่อย่างใด อิทธิพลของกษัตริย์แห่งเจนละ จากแถบชายเทือกเขาพนมดงเร็กอาจจะถูกน�ำมา จากถิ่นอื่นหรือสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องของกษัตริย์ ท้ อ งถิ่ น ที่ อ ้ า งถึ ง กษั ต ริ ย ์ ผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ แ ห่ ง เจนละนี้ ข้อความโดยประมาณคือ “พระเจ้าแผ่นดินผูเ้ ป็นราชนัดดาของพระเจ้า จักรพรรดิ์ เป็น พระโอรสของพระเจ้าปถถิวีน ทร วรมัน พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นทรงพระนามว่า ศรีภววรมัน ผู้เสมอด้วยพระอินทร์เป็นผู้มีคุณธรรม มี อ�ำนาจเป็ น ที่ เ กรงกลั ว ของศั ต รู ได้ ส ร้ า งศิ ล า จารึกหลักนี้ ไว้ในปีที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติของ พระองค์” ส่วนจารึกศรีเทพอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยสรุปเป็นจารึกที่กล่าวสรรเสริญบุคคล ซึ่ง อาจเป็นพระราชา หรือเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมือง ศรีเทพในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ปรางค์ศรีเทพ ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของเมือง อาจจะ เป็นศาสนสถานหลักของเมือง พบสิง่ ปลูกสร้างและ โบราณวัตถุโดยรอบมากมาย สร้างเพื่อเป็นศาสน สถานของฮินดูและถูกเปลี่ยนเป็นพุทธเช่นเดียวกับ ปรางค์สองพี่น้องและปรางค์ฤๅษี และน่าจะมีอายุ รุ่นราวคราวเดียวกัน ปรางค์หันหน้าไปทางทิศตะวันตก สร้าง ด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็น ฐานบัวลูกฟัก เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้น บริเวณนี้ พบชิน้ ส่วนทับหลังอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณ สถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ น่าจะมีความพยายามเปลีย่ นแปลง มีการทิง้ ชิน้ ส่วนกระจัดกระจาย ระหว่างปรางค์สองพี่น้องและ ปรางค์ศรีเทพมีก�ำแพงล้อมรอบและมีอาคารปะร�ำ พิธีขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป

ปรางค์ศรีเทพภายในเมืองโบราณศรีเทพ

ปรางค์สองพี่น้อง เป็นปรางค์ ๒ องค์ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เนือ่ งจากการหักพังตัง้ อยูบ่ นฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นกัน มีประตูทางเข้า ทางเดียว จากการขุดแต่งทางโบราณคดีพบทับหลัง จ�ำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุม้ นางปารพตีประทับเหนือ โคอุศุภราช ก�ำหนดอายุจากทับหลังและเสาประดับ กรอบประตูน่าจะอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ เป็นศิลปะแบบบาปวนต่อนครวัด และพบพระสุริย เทพองค์ที่มีเคราสวยงามในบริเวณนี้

ปรางค์ศรีเทพภายในเมืองโบราณศรีเทพ ธิเล็ก-ประไพ ปรางค์มูลสนิองพี ่น้อง วิริยะพันธุ์ 59


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

โบราณสถานเขาคลังใน

โบราณสถานเขาคลังนอก

เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่อยู่เขตเมือง ด้านในของเมืองศรีเทพ เป็นศาสนสถานในศาสนา พุทธแบบเถรวาท และมีมาตัง้ แต่สมัยแรกสร้างเมือง ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ การขุดแต่งพบว่าโบราณ สถานแห่งนี้คงสร้างขึ้นในพุทธศาสนาเถรวาทเนื่อง ในทวารวดี ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จึงได้ เปลี่ ย นเป็ น พุ ท ธศาสนามหายาน เนื่ อ งจากพบ ประติมากรรมพระโพธิสัตว์หลายองค์และพบร่อง รอยการซ่อมแซมเปลีย่ นแปลงในระยะเวลาเดียวกัน พร้อมกับท�ำลวดลายปูนปั้นประดับที่ฐานอาคารซึ่ง ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศ ใต้ที่มีรูปแบบเช่นที่เมืองนครปฐมและคูบัว

เป็นมหาสถูปเจดีย์ขนาดใหญ่มาก ก่อสร้าง ด้วยศิลาแลงเป็นหลัก น่าจะสร้างขึ้นเนื่องในพุทธ ศาสนานิกายมหายาน เปรียบเทียบได้กับบูโรพุทโธ ในเกาะชวา ตั้งอยู่ที่บ้านสระปรือ ห่างจากเมือง โบราณศรีเทพออกไปทางทิศเหนือราว ๒ กิโลเมตร เคยเป็นเนินดินมีต้นไม้ปกคลุมสูงใหญ่ ชาวบ้าน ในท้องถิ่นจึงเรียกว่า “เขาคลัง” ซึ่งชื่อให้คู่กับเนิน โบราณสถานขนาดใหญ่ด้านในเมืองจึงเรียกว่า เขา คลังนอกคู่กับเขาคลังใน เมือ่ ขุดแต่งบูรณะแล้วเสร็จเมือ่ พ.ศ. ๒๕๕๕ พบว่าฐานอาคารมีความสมบูรณ์สวยงามและคง สภาพได้ดีกว่าโบราณสถานแห่งอื่นๆ ที่อายุร่วม สมัยกันในประเทศไทย ฐานมีขนาดเฉลี่ยกว้างด้าน ละประมาณ ๖๔ เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด ประมาณ ๒๐ เมตร ซึ่งสูงมาก ไม่พบร่องรอยของ การฉาบปูนและปูนปั้นประดับ แต่พบชิ้นส่วนยอด ของสถูปขนาดเล็กที่ใช้ประดับอาคาร ตกแต่งด้วย ซุ้มอาคารจ�ำลองมีเสาประดับจ�ำนวนมาก มีทางขึ้น ทั้งสี่ด้านแต่ละด้านมีซุ้มประตูตั้งอยู่ด้านบน เพื่อ ผ่านเข้าไปยังลานประทักษิณเพื่อประกอบศาสน พิธีที่ล้อมรอบด้วยก�ำแพงแก้ว บริเวณโดยรอบของ มหาสถูปนีย้ งั มีการขุดแต่งและบูรณะเจดียร์ ายขนาด ย่อมๆ ที่มีอยู่ประจ�ำทิศล้อมรอบองค์มหาสถูป ซึ่ง ก�ำลังจะแล้วเสร็จ พบพระพุทธรูปท�ำจากหินทรายสีเขียว ทรง ยืนปางวิตรรกะ สูงราว ๕๗ เซนติเมตรเป็นโบราณ วัตถุส�ำคัญ นอกจากโบราณสถานดังกล่าวข้างต้น แล้วยังมีโบราณสถานย่อยๆ กระจัดกระจายอยู่ ทั่วไป พบธรรมจักรหินขนาดสูง ๑๔๐ เซนติเมตร

เจดีย์เขาคลังใน 60

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ลายปูนปั้นที่ฐานเจดีย์เขาคลังในมีลวดลายเช่นเดียวกับ ลายปูนปั้นประดับศาสนสถานที่นครปฐมและคูบัว

มหาสถูปเขาคลังนอก

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

61


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่นอกเมืองศรีเทพด้านเหนือไม่ไกลจากสระขวัญ

ปรางค์ฤๅษี

สระแก้วสระขวัญ

แต่เดิมน่าจะเป็นศาสนสถานแบบฮินดูตงั้ อยู่ นอกเมืองศรีเทพไปทางทิศเหนือราว ๓ กิโลเมตร อยูภ่ ายในบริเวณวัดป่าสระแก้วในปัจจุบนั มีลกั ษณะ สถาปัตยกรรมแบบเขมร แต่หากหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บน ฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนัก และมีอาคารขนาดเล็ก ในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวก�ำแพงก่อด้วย ศิลาแลง พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิน้ ส่วนโคนนทิ และ น่าจะมีการปรับแต่งอาคารในภายหลัง สัน นิษ ฐานว่าปรางค์ฤๅษีน่าจะมีอายุเก่า กว่า หรือร่วมสมัยกับโบราณสถานปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้อง ที่ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณ ศรีเทพ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖

สระแก้วตั้งอยู่นอกเมืองศรีเทพไปทางทิศ เหนือขนาด ๑๓๗ x ๑๕๗ เมตร มีการขุดลอกแล้ว พบบันไดทางลงสระทั้ง ๔ ด้าน พบโบราณวัตถุ จ�ำนวนมาก ส่วนสระขวัญที่มีรูปลักษณ์ใกล้เคียงกัน อยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอกค่อนไปทางเหนือของแนว ก�ำแพงเมืองส่วนนอกเป็นสระขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ไม่ ไกลกัน และบริเวณนี้อาจารย์ศรีศักรสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพืน้ ทีข่ องเขตพระราชวังหรือย่านทีอ่ ยูอ่ าศัย ของบุคคลผู้มีสถานภาพของเมืองศรีเทพ ส่วนเมือง ชั้นในเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ สระน�้ำทั้งสองสระนี้มีน�้ำขัง ตลอดปีและเชื่อกันว่าเป็นน�้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการน�ำน�้ำ สระแก้วไปท�ำน�้ำพิพัฒน์สัตยาของจังหวัดเพชรบูรณ์

62

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี จั ด แสดงโครงกระดู ก มนุ ษ ย์ แ ละโครง กระดูกช้างจากการขุดค้นทางโบราณคดีเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และแสดงหลักฐานแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในเมืองศรีเทพและบริเวณใกล้เคียง โครงกระดูกช้างอายุรว่ มสมัยกับโบราณสถาน ส่วน ในระดับชั้นดินการอยู่อาศัยที่ลึกที่สุดได้พบโครง กระดูกที่ท�ำพิธีกรรมฝังไว้ในบริเวณเมืองศรีเทพ สิง่ ของทีอ่ ทุ ศิ ให้ศพเป็นจ�ำพวก ภาชนะดินเผา เครือ่ ง ประดับส�ำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดคาร์นีเลียน และลูกปัดดินเผา ปัจจุบนั มีการเปิดหลุมขุดค้นขึน้ อีกแห่งหนึง่ โดยไม่ไกลจากอาคารจัดแสดงนัก พบการอยูอ่ าศัย ตั้งแต่ชั้นก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่มีการฝัง ศพที่มีโครงกระดูกสุนัขถูกฝังร่วมกัน โดยมีภาชนะ

ดินเผาและเครื่องใช้อีกจ�ำนวนหนึ่ง และก�ำหนดค่า อายุเบื้องต้นได้ราว ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว หรือในช่วง ยุคเหล็กตอนปลาย ต่อมาพบวัฒนธรรมข้าวของ เครื่องใช้แบบทวารวดีและต่อเนื่องด้วยเครื่องถ้วย ในวัฒนธรรมแบบเขมร นอกจากนี้ การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้าน หนองแดง ต�ำบลสระกรวด นอกเมืองศรีเทพห่าง ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว ๑๒ กิโลเมตร พบหลุม ฝังศพของที่อุทิศให้ศพคือ ภาชนะดินเผา เครื่อง มือเหล็ก เครื่องมือส�ำริด ขวานหินขัด กระดูกสัตว์ และเปลือกหอย ชุมชนก่อนเมืองศรีเทพเหล่านี้ สันนิษฐาน ได้ว่าน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงยุคโลหะตอนปลายหรือ อยู่ในสังคมที่มีการใช้เครื่องมือเหล็กแล้ว เป็นช่วง เวลาสุดท้ายก่อนการเข้าสู่สังคมแบบรัฐสมัยทวาร วดี ในยุคศรีจนาศะที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม แบบทวารวดีและแบบเขมรในเวลาต่อมา

โบราณวัตถุยุคทวารวดีที่พบจากหลุมขุดค้น หลุมขุดค้นทางโบราณคดีแห่งใหม่ภายในเมืองใน ของเมืองโบราณศรีเทพ ตั้งอยู่ไม่ห่างจากหลุมขุดค้นที่พบ กระดูกช้างนัก และชั้นดิน ที่ขุดค้น พบเริ่มตั้งแต่สมัยก่อน ประวัตศิ าสตร์ตอนปลาย ชัน้ ดินส่วนใหญ่คอื สมัยทวารวดี และ ชัน้ ต่อมาคือสมัยลพบุรี และพบโครงกระดูกสุนขั สันนิษฐานว่า ถูกฝังร่วมกับเจ้าของด้วย

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

63


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

เขาถมอรัตน์ เขาถมอรัตน์คงมีความส�ำคัญเรื่อยมาจน ปรากฏเป็นนามของเจ้าเมืองในเขตนี้ ตัง้ แต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาจนเข้าต้นรัตนโกสินทร์ ความส�ำคัญของ เขาถมอรัตน์ในฐานะเป็นภูเขาที่เป็นจุดสังเกต หรือ Landmark ตลอดจนท�ำหน้าที่เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ของเมืองโบราณที่มีความส�ำคัญอาจจะคงอยู่เรื่อย มาจนปรากฏเป็นหลักฐานดังกล่าว ปริมณฑลของเมืองโบราณศรีเทพไม่ได้ มีอาณาเขตอยู่แต่ภายในขอบเขตของคูน�้ำคันดิน เท่านั้น เพราะพบหลักฐาน เช่น ศาสนสถานและ รูปเคารพกระจัดกระจายทัง้ ในบริเวณนอกเมืองและ ในเมือง ที่สำ� คัญก็คือ “ถ�้ำบนยอดเขาถมอรัตน์” ที่ ต้องข้ามล�ำน�ำ้ ป่าสักและห่างจากเมืองศรีเทพไปทาง ทิศตะวันตกราว ๑๒ กิโลเมตร ปรากฏการสลักรูป เคารพทางศาสนาทีร่ ว่ มสมัยกับเมืองศรีเทพ บริเวณ

ปากทางเข้าถ�้ำจากแท่งหินธรรมชาติที่สูงจากพื้น จรดเพดานและสามารถเดินวนรอบได้ แกะสลัก พระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นรูปพระพุทธรูปยืนหน้า ตรงแสดงปางวิตรรกะ รูปเคารพทั้งพระโพธิสัตว์ ศรีอาริยเมตไตรยซึ่งเป็นรูปเคารพของศาสนาพุทธ ในคติแบบมหายาน และด้านในเป็นกลุ่มพระพุทธ รูป ศูนย์กลางเป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ซ้าย มีเสาเหลี่ยมรองรับธรรมจักร ส่วนด้านขวามีสถูป จ�ำลอง พระพุทธรูป เสาธรรมจักร และสถูปจ�ำลอง ซึ่งเป็นคติแบบเถรวาท เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๕ มีผู้ลักลอบสกัดเศียร พระพุทธรูปและพระโพธิสตั ว์ไปจากถ�ำ้ เขาถมอรัตน์ จนอยู่ ในความครอบครองของนายเจมส์ ทอมสัน ก่อนน�ำมามอบให้พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เก็บรักษาไว้

เขาถมอรัตน์

64

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ เมืองโบราณศรีเทพเป็นพื้นที่ซึ่งชาวบ้านมี ความเชื่อว่าไม่ควรเข้ามาอยู่อาศัย เพราะเป็นพื้นที่ ศักดิ์สิทธิ์ แต่จะใช้พื้นที่ท�ำเกษตรกรรมเท่านั้น อยู่ บริ เ วณด้ า นในประตู แ สนงอนหรื อ ประตู ด ้ า นทิ ศ ตะวันตก สมัยก่อนชาวบ้านมักจะไปกราบไหว้และ น�ำเครือ่ งเซ่นไปไหว้ ซึง่ ศาลทีต่ งั้ ไว้บนเนินดินบริเวณ ขอบพืน้ ทีเ่ มืองโบราณหรือเนินทีก่ รมศิลปากรเชือ่ ว่า น่าจะเป็นก�ำแพงเมือง หลังจากทีเ่ มืองโบราณเปลีย่ น เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ทางอุทยานฯ ได้ อัญเชิญศาลแห่งนี้ลงมาไว้ด้านล่าง และเทวรูปที่ ประดิษฐานอยูภ่ ายในศาลนัน้ ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “เจ้าพ่อศรีเทพ” เป็นศาลที่เคารพสักการะของชาว บ้าน และหน่วยงานราชการก็ยงั ไม่ทำ� ลายความเชือ่ นี้ ลง ในวันขึ้น ๒ หรือ ๓ ค�ำ่ เดือน ๓ มีงานบวงสรวง จนกลายเป็นงานประจ�ำปีของชุมชนโดยรอบเมือง ศรีเทพในปัจจุบัน ภายในบริเวณถ�้ำบนยอดเขาและเศียรพระโพธิสัตว์ที่ถูกสกัด ออกมาจากถ�้ำ ปัจจุบันชิ้นหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

65


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

เมืองเสมา สู่ที่ราบสูงโคราช บริ เ วณที่ ตั้ ง ของกลุ ่ ม เมื อ งสู ง เนิ น ซึ่ ง อยู ่ ทางทิศใต้ของเมืองเสมานั้น มีการตั้งถิ่นฐานมา ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ในยุคเหล็กตอนปลายใน วัฒนธรรมแบบลุม่ น�ำ้ มูลตอนบนและตอนกลาง และ 66

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

ต่อมาเมื่อมีถนนสายมิตรภาพตัดผ่านก็แบ่งพื้น ที่ เมืองสูงเนินออกเป็นสองฝั่ง ส่วนชุมชนที่อยู่บนเนิน ดินเก่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็เช่น บ้านมะเกลือ เก่า บ้านบุ่งคล้า บ้านสูงเนิน ซึ่งมีล�ำน�้ำไหลจาก ปลายของเทือกเขาพนมดงเร็กไหลลงสู่ลำ� ตะคอง เมืองเสมาตั้งอยู่ใกล้คลองยาง ห้วยไผ่ ที่


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION มีต้นน�้ำจากแนวเทือกเขาล�ำพญากลางไหลขนาน ไปกับล�ำตะคองไปรวมกับล�ำน�้ำมูลอีกทอดหนึ่งที่ บ้านท่าช้าง จากเมืองเสมาเส้นทางโบราณสามารถ เดิน ทางผ่านคลองยางลงไปที่ล�ำพญากลาง ไป ทางท่าหลวงผ่านช่องสาริกาเข้าสู่พื้น ที่ราบภาค กลางได้ โดยไม่ต้องผ่านดงพญาไฟปลายป่าเขา ใหญ่ ท างแก่ ง คอยไปเข้ า ปากเพรี ย วหรื อ เมื อ ง สระบุรี ซึ่งมาเปลี่ยนชื่อจากพระด�ำริในพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๔ ให้เป็น ดงพญาเย็นแทน เส้นทางผ่านช่องดงพญาไฟนี้ใช้เป็นเส้นทาง รถไฟที่จะเชื่อมมณฑลนครราชสีมาได้ใกล้สุด เขา ใหญ่-ดงพญาไฟคือส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขา พนมดงเร็กทางตะวันตก เรียกว่าดงพญาไฟเพราะ เส้นทางล�ำบาก ก่อนมีทางรถไฟต้องใช้การเดินเท้า ไต่ไปตามไหล่เขาบ้าง เดินไปตามสันเขาบ้างใช้เวลา ถึงสองคืนกว่าจะผ่านไปถึงแก่งคอยเพื่อไปยังเมือง สระบุรีได้ โดยไม่สามารถใช้เกวียนข้ามช่องเขาจุดนี้ ได้แต่อย่างใด เมื่อพ้นดงพญาไฟแล้วจึงถึงปากช่อง

ซึ่งเป็นแนวขอบที่ราบสูงยกตัว ต้องผ่านเมืองด่าน ที่เรียกว่า “นครจันทึก” ซึ่งเป็นแหล่งแร่ทองแดงที่ ถลุงมาใช้งานราชการในครั้งรัชกาลที่ ๓ สร้างพระ ประธานวัดราชนัดดาฯ วัดเฉลิมพระเกียรติ และ พระในรัชกาลอื่นๆ พ้นจากจันทึกจึงเข้าลาดบัวขาว สีคิ้ว บ้านสูงเนิน และบ้านโคราชเก่าตามเส้นทาง รถไฟ ไปสู่หัวเมืองต่างๆ ได้ อนึ่ง นครจันทึก เป็นเมืองด่านด้วยถูกเรียก ว่า “ด่านจันทึก” โดยในสมัยต้นกรุงฯ มีการอพยพ ผูค้ นจากหัวเมืองทางเหนือชาวยวนเข้ามาประจ�ำเฝ้า เมืองด่านแห่งนี้ เมือ่ สร้างเส้นทางรถไฟสถานีจนั ทึก กลายเป็นทีจ่ ดจ�ำ เมือ่ ตัง้ อ�ำเภอจันทึกทีว่ า่ การอ�ำเภอ อยู่ย่านหนองบัวต�ำบลลาดบัวขาว ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ ผู้คนจึงยังสับสนระหว่างสถานีจันทึกและตัวอ�ำเภอ จันทึกซึ่งอยู่คนละที่ ต่อมาอ�ำเภอย้ายมาตั้งที่บ้าน สีคิ้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอ�ำเภอสีคิ้วแทนอ�ำเภอจันทึก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ และที่ น ่ า สนใจอี ก ประการคื อ พบจารึ ก ที่ เรียกว่า “จารึกวัดจันทึก” ซึง่ ถูกน�ำมาเก็บรักษาไว้ที่

ปรางค์นางผมหอม อยู่ในบริเวณเชิงเขาของลำ�นารายณ์ใกล้ กับลำ�สนธิก่อนขึ้นเขาทางช่องสำ�ราญและเขาพังเหยสู่ที่ราบสูง โคราช ปราสาทอิฐฐานและยอดเป็นหินทรายนี้อายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๖ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

67


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION แสดงที่ตั้งธรรมศาลาและอโรคยาศาล

ปราสาทเมืองเก่า อโรคยาศาล

แผนที่ลายเส้นที่ตั้งของเมืองเสมาและกลุ่มปราสาทหินนอกเมือง

วัดจันทึกในอ�ำเภอปากช่องในปัจจุบัน อันเนื่องจาก นครจันทึกหรือเมืองด่านจันทึกดัง้ เดิมนัน้ ถูกน�ำ้ ท่วม จากการสร้างอ่างเก็บน�้ำล�ำตะคองไปจนหมดแล้ว (เขื่อนล�ำตะคองสร้างในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๗๒๕๑๒) แต่เดิมจารึกที่วัดจันทึกมีชิ้นเดียวซึ่งน�ำไป เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เมื่อน�ำ มาประกอบกับจารึกทีเ่ ก็บไว้อกี ชิน้ จึงต่อกันได้ จารึก ชิ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของฐานบัวรองรับพระพุทธรูป ซึ่งได้จากวัดจันทึกท�ำด้วยศิลาประเภทเดียวกันต่อ กันเป็นวงได้ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ รวมความทัง้ สองชิน้ ก็คอื “พระเทวี (มเหสี) ของเจาแหงทวารวดี ทรงบัญชา ใหพระธิดาสรางพระรูปของพระตถาคตนี้ไว” นครจันทึกหรือด่านจันทึกนี้จึงเคยเป็นพื้นที่ เมืองโบราณส�ำคัญในช่วงสมัยทวารวดี ซึ่งนับถือ 68

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

พุทธศาสนาแบบเถรวาท และอาจสัมพันธ์ต่อเนื่อง กับเมืองเสมาที่อยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปในช่วงยุค สมัยทวารวดีมาก่อน จากเมืองเสมาหากจะเดินทางไปยังเมือง ศรีเทพในลุ่มน�้ำป่าสัก ซึ่งใช้แม่น�้ำป่าสัก (ถ้าเดิน ทางมาจากเมืองหลวงก็ใช้แม่นำ�้ เจ้าพระยาต่อป่าสัก ที่แยกวัดพนัญเชิงแล้วเดินทางต่อมาถึงปากเพรียว ขึ้นแก่งคอยมาท่าหลวง) ขึ้นเหนือไปยังวิเชียรบุรี และเพชรบูรณ์จนถึงหล่มเก่า หล่มสักได้ ซึ่งเส้น ทางป่าสักนีค้ อื เส้นทางเดินทัพไปยังหัวเมืองลาวทาง เหนือเมื่อท�ำสงครามครั้งต้นกรุงฯ หรือจะแยกเดิน เท้าไปทางตะวันตกเพื่อเข้าสู่เมืองลพบุรีและเมือง โบราณด้านตอนเหนือของนครสวรรค์โดยผ่านทาง ด่านขุนทดและลงเขาที่ยกตัวของที่ราบสูงโคราชลง ทาง “ช่องหินลับ” สู่ที่ราบเชิงเขาเข้าสู่บ้านท่าหลวง


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION และชัยบาดาลหรือเดินทางต่อไปยังล�ำพญากลางได้ เช่นกันทีม่ คี วามต่างของพืน้ ที่ในระดับความสูงอย่าง เห็นได้ชัด บริเวณนี้ ใช้เป็นเส้นทางเก่าส�ำหรับเดิน ทางไปแถบหัวเมืองลาว นอกจากนี้ช่องเขาอีกเส้นทางหนึ่งที่นิยมใช้ ติดต่อกันคือ “ช่องส�ำราญ” บนเขาพังเหย ซึ่งน่า จะมาจากค�ำเก่าทีบ่ ริเวณนีเ้ ป็นพืน้ ทีส่ บกันของล�ำน�ำ้ ป่าสักและล�ำสนธิที่ “บ้านป่าลาน” เส้นทางนี้จะ ผ่าน “ปรางค์นางผมหอม” ที่อยู่ ใกล้ล�ำสนธิ ซึ่ง เป็นล�ำน�้ำที่มีต้นก�ำเนิดจากเทือกเขายกต่อจากล�ำ พญากลางแล้วสบกับ “ล�ำสนธิ” ไหลมาจากที่สูง ทางตอนเหนือของเทือกเขาพังเหย จุดทีส่ บกันเรียก ว่า “ด่านโคกคลี” แล้วไหลมารวมกับแม่น�้ำป่าสัก แถวบ้านบัวชุมในอ�ำเภอชัยบาดาล ในอดีตเส้นทาง เดินทัพเรือจากเมืองหลวงจะมาเปลี่ยนเป็นทัพบก บริเวณล�ำสนธิเพื่อเตรียมตัวขึ้นเขาพังเหยเข้าสู่ดิน แดนอีสานที่บ้านป่าลานที่อาจจะปรับเปลี่ยนมาเป็น ชือ่ ช่องส�ำราญก็ได้ นอกจากนีย้ งั มีเส้นทางรถไฟสาย ตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่เดินรถจากสถานี ชุมทางแก่งคอยถึงชุมทางสถานีบัวใหญ่แต่เดิม เรียกทางรถไฟเลียบล�ำน�้ำป่าสัก มีอุโมงค์เชื่อมต่อ ระหว่างทางล�ำนารายณ์ โคกคลี ช่องส�ำราญ ลอด เขาพังเหย อุโมงค์นี้ยาว ๒๓๕ เมตร เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ หากการเดิน ทางโดยใช้ถนนมิตรภาพใน ปัจจุบันให้เลี้ยวเข้าสู่ตลาดอ�ำเภอสูงเนิน ข้ามทาง รถไฟ ผ่านศาลเจ้าใหญ่ของคนในตลาดของอ�ำเภอ สูงเนิน เดินทางข้ามล�ำตะคองและผ่านบ้านหินตั้ง ไปจนถึงเมืองเสมาเป็นระยะทางราว ๔ กิโลเมตร อนึ่ง ปรางค์นางผมหอม ตั้งอยู่ที่บ้านโคก คลี และมีล�ำสนธิผ่านไม่ไกลกัน เป็นปราสาทอิฐ หลังเดี่ยวบนฐานหินทราย และก่ออิฐด้วยเทคนิค ไม่สอปูนมีทางเข้าด้านเดียวและยังมีเสากรอบประตู ท�ำด้วยหินทราย ส่วนยอดที่ท�ำเป็นชั้นบัวท�ำจาก

หินทรายพังลงมาจากอาคาร พื้นที่โดยรอบไปถึง สถานีกักกันสัตว์โคกคลี เล่ากันว่าเคยมีเนินดินที่มี ร่องรอยการอยู่อาศัยตั้งแต่โบราณและจากปรางค์ นางผมหอมก็เป็นเส้นทางขึ้นเขาที่ช่องส�ำราญของ เขาพังเหยในระยะประชิดกัน น่าจะเป็นปราสาทใน รุน่ เดียวกับปรางค์ศรีเทพในเมืองศรีเทพและปรางค์ แขกในเมืองลพบุรี ที่มีอายุในช่วงบาปวนราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ และเป็นจุดด่านส�ำคัญของเส้น ทางจากพื้น ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่เมือง โบราณในช่วงเดียวกับเมืองศรีเทพและเมืองลพบุรี ที่เรียกกันว่าศรีจนาศะ

เมืองเสมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่มีคู น�้ำคันดินล้อมรอบ ๒ ชั้น ท�ำให้แบ่งพื้นที่เมืองออก เป็นสองส่วน พื้นที่ทางเหนือเรียกว่า “เมืองนอก” พืน้ ทีท่ างใต้เรียก “เมืองใน” เส้นผ่านศูนย์กลางตาม แนวเหนือ-ใต้รวมเมืองทัง้ สองส่วนประมาณ ๑,๗๕๕ เมตร ตามแนวตะวั น ออก-ตะวั น ตกประมาณ ๑,๘๔๕ เมตร ก�ำแพงดินหรือคันดินสูงโดยเฉลี่ย ๓-๔ เมตร คูน�้ำกว้างประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร กลาง “เมืองนอก” มีคูน�้ำและคันดินรูป สี่เหลี่ยมคางหมูขนาดราว ๔๕๐ x ๓๕๐ เมตรและ มีแนวคันสองชั้นโดยมีคูน้�ำด้านใน บริเวณนี้หาก สันนิษฐานเปรียบเทียบก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ ส่วนเฉพาะที่ใช้เป็นส่วนอยู่อาศัยของผู้มีสถานภาพ หรือกษัตริยแ์ ห่งเมืองเสมา อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม เรียกว่า พระราชวังหรือส่วนที่เป็น Citadel ส่วน พื้นที่ีโบราณสถานต่างๆ นั้นอยู่บริเวณเมืองในทาง ทิศใต้ ซึ่งเป็นการวางระบบของเมืองคล้ายคลึงกับ เมืองศรีเทพ มีห้วยไผ่ไหลเลียบกับคูเมืองทางด้านทิศใต้ ส่วนห้วยยางไหลเข้าสู่บึงเหมือดแอทางด้านตะวัน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

69


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ล�ำตะคองบริเวณนคร จันทึก ในช่วงรัชกาลที่ ๕ (ปัจจุบันบริเวณนี้น่าจะอยู่ ในพื้นที่ของอ่างเก็บน�้ำ ล�ำตะคอง)

ตกเฉียงเหนือแล้วมารวมกับล�ำห้วยไผ่ แล้วทั้งหมด นี้ ไหลขนานกับล�ำตะคองแล้วไปรวมกับล�ำตะคอง ที่บ้านท่าหว้าที่ห่างไปทางตะวันออกไม่เกิน ๑๐ กิโลเมตร พบโบราณสถานทัง้ บริเวณเมืองในและเมือง นอก ๙ แห่ง เมืองส่วนในมีโบราณสถาน ๖ แห่ง อยู่ ในเมืองรูปกลมรี อีก ๓ แห่ง อยู่ด้านในเมืองส่วน นอก จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณเมือง เสมาพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานมาแล้วตั้งแต่ช่วงก่อน ประวัตศิ าสตร์ตอนปลายในยุคเหล็กและวัฒนธรรม ทีส่ มั พันธ์กบั ชุมชนโบราณร่วมสมัยบริเวณลุม่ แม่นำ�้ มูลและชีตอนบน โดยพบภาชนะดินเผาแบบสีดำ� ขัด มันหรือพิมายแบล็กและภาชนะแบบร้อยเอ็ดแบบลุม่ น�้ำมูลตอนกลาง ซึ่งเป็นช่วงเวลารัฐแรกเริ่มที่มีการ อยูอ่ าศัยทัง้ ในบริเวณอีสานอย่างหนาแน่นรวมไปถึง ในเขตลุ่มลพบุรีป่าสัก ต่อมาจึงปรากฏหลักฐานวัฒนธรรมทวาร วดีแบบที่พบในภาคอีสานซึ่งจะเกิดขึ้นช้ากว่าใน ภาคกลางราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ อันเป็นช่วง 70

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

ที่เป็นส่วนหนึ่งของมัณฑละแห่งรัฐศรีจนาศะ เป็น ช่วงที่ชุมชนมีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น มีหลัก ฐานแสดงถึงการรับอิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดีจาก ภาคกลางอย่างเด่นชัด คือ การนับถือพุทธศาสนา ทัง้ เถรวาทและมหายาน ในช่วงเวลานีช้ มุ ชนได้สร้าง ศาสนสถานและศาสนวัตถุเนือ่ งในศาสนาพุทธขึน้ ทัง้ ภายในเมืองชัน้ ในและชัน้ นอก ได้แก่ เจดีย์ วิหาร ใบ เสมาหินทราย พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลาขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง ๑.๔ เมตร ซึง่ เป็นรูปแบบศิลปกรรม ที่ ได้รับอิทธิพลศิลปะทวารวดี ส่วนหลักฐานทาง โบราณคดีอื่นๆ เช่น หม้อน�้ำมีพวยแบบทวารวดีใน ภาคกลาง ลูกปัดแก้ว ตะคันดินเผา เบีย้ ดินเผา หม้อ มีสัน ฯลฯ มีอาคารที่น่าจะเป็นฐานพระสถูปที่วัดแก่น ท้าว ซึ่งเป็นการก่อสร้างเนื่องในวัฒนธรรมแบบ ทวารวดี ใช้อิฐก้อนใหญ่และมีเศษแกลบข้าวเมล็ด สั้นปนชัดเจนที่วัดแก่นท้าว ซึ่งอยู่ห่างจากคูเมืองชั้น นอกด้านตะวันตกราว ๒๐๐ เมตร ถือว่าเป็นศาสน สถานนอกเมือง


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

พระปางปรินิพพานที่วัดธรรมจักรเสมาราม

ส่วนพระปางปรินิพพานท�ำจากหิน ทราย (ต�ำราจากพุทธเจดียส์ ยามอธิบายว่า ปางปรินพิ พาน เป็นการนอนวางแขนราบไปกับพื้นที่เห็นแตกต่าง ไปจากปางไสยาสน์ที่ตั้งแขนยกขึ้น) มาประกอบ กันขนาดใหญ่ราว ๑๓.๓๐ เมตร โดยมีซากฐาน อาคารท�ำจากอิฐและแนวก้อนหินคูท่ ที่ ำ� เป็นขอบเขต พัทธสีมา และสถานทีพ่ บธรรมจักร แกะสลักจากหิน มีหน้ากาลหรือเกียรติมขุ ประดับฐานด้วยกล่าวกันว่า ขุดได้บริเวณพระพักตร์พระปางปรินพิ พาน และเคย ถูกขโมยไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ แต่ตามกลับคืนมาได้ ทุกวันนีป้ ระดิษฐานไว้ทวี่ ดั ธรรมจักรเสมาราม ซึง่ ตัง้ อยูอ่ กี ฝัง่ น�ำ้ ของล�ำห้วยไผ่ ห่างจากคูเมืองไปทางทิศ

ใต้ราว ๔๐๐ เมตร นอกจากนี้บริเวณบ้านหินตั้งที่อยู่ทางฝั่ง เหนือล�ำห้วยไผ่ ห่างจากแนวคูเมืองด้านในทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ราว ๖๐๐ เมตรก็พบการปักแท่ง หินเสมาที่อาจจะเคยล้อมรอบเขตศักดิ์สิทธิ์ โดยใบ เสมาบางชิ้นมีรูปสถูปจ�ำลองปรากฏอยู่ด้วย จากนั้ น จึ ง มี ก ารรั บ อิ ท ธิ พ ลวั ฒ นธรรม เขมร จากการขุดค้นที่พบเศษภาชนะดินเผาที่เป็น เครื่ อ งเคลื อ บแบบบุ รี รั ม ย์ แ ทนที่ ภ าชนะดิ น เผา ในวัฒนธรรมทวารวดี นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ้วย จีนสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวนซึ่งมีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๗ จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

71


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

ธรรมจักรที่ถ่ายไว้ครั้ง โบราณสถานเมืองเสมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖

โบราณสถานหมายเลข ๑ มีขนาดใหญ่ ที่สุดและตั้งอยู่เกือบจะกึ่งกลางเมืองใน สร้างเป็น ปราสาทประธานแบบเขมรก่ออิฐ ๑ หลัง ขนาบ ด้านข้างด้วยวิหาร ๒ หลัง มีกำ� แพงแก้วล้อมรอบรูป สี่เหลี่ยมขนาด ๔๐ x ๔๐ เมตร เทคนิคการก่อสร้าง มีการใช้อิฐเนื้อค่อนข้างละเอียดไม่มีแกลบข้าวเช่น อิฐแบบทวารวดีโดยก่ออิฐไม่สอปูน จากรายงาน การขุดแต่งโบราณสถานพบชิ้นส่วนศิวลึงค์ เศียร เทวรูป ชิ้นส่วนรูปเคารพ ฐานรูปเคารพ ชิ้นส่วนโค นนทิ ท่อโสมสูตร ทีน่ า่ สนใจในการขุดค้นพบชิน้ ส่วน พระพุทธรูปหินทรายลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป สมัยทวารวดีพบที่โบราณสถานแห่งนี้ ถูกน�ำมาท�ำ เป็นฐานก�ำแพงแก้ว 72

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

พบศาสนสถานกระจายอยู่ภายในเมืองใน และนอก โบราณสถานหมายเลข ๒, ๕ เป็นฐาน เจดีย์ที่พบผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โบราณสถาน หมายเลข ๒ พบชิ้นส่วนธรรมจักรหินทราย โบราณ สถานหมายเลข ๓ เป็นผังรูปแปดเหลีย่ มและมีวหิ าร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โบราณสถานหมายเลข ๘ เป็น รูปกลม โบราณสถานหมายเลข ๔ และหมายเลข ๙ เป็นวิหารผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีร่องรอย การประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นทั้งที่เป็นรูป สัตว์และรูปดอกไม้ โบราณสถานที่ อ ยู ่ บ ริ เ วณเมื อ งนอกคื อ โบราณสถานหมายเลข ๗ เป็นอาคารทรงปราสาท ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานประดับลวดลาย


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ปู น ปั ้ น ภายในอาคารเป็ น ห้ อ งปรั บ ถมพื้ น ด้ ว ย หินทรายและฉาบพื้นด้วยปูนขาว ทิศใต้เป็นบันได ทางขึ้ น อาคาร ส่ ว นอี ก สามทิ ศ เป็ น บั น ไดสู ่ ซุ ้ ม ประดิษฐานรูปเคารพ นอกจากโบราณสถานหมายเลข ๑ แล้ว โบราณสถานทุกแห่งก่อด้วยอิฐขนาดค่อนข้างใหญ่ มีแกลบข้าวปนไม่สอปูนอันเป็นลักษณะของศาสน สถานในวัฒนธรรมทวารวดี

โบราณสถานหมายเลข ๗ ที่อยู่ในเมืองนอกและโบราณ สถานในเมือง เมืองเสมา เป็นศาสนสถานแบบทวารวดี

เสมาที่ปักเป็นวงรอบในสภาพดั้งเดิม ปัจจุบันอยู่ในหมู่บ้านหินตั้ง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

73


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ศรีจนาศะจากจารึก จารึกจากเมืองเสมา

จารึกในวัฒนธรรมเขมรทีเ่ กีย่ วข้องกับเมือง เสมามีทั้งสิ้น ๔ หลัก ค้นพบที่เมืองโบราณเสมา ๓ หลัก และที่โบสถ์พราหมณ์ สะพานชีกุน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ๑ หลัก อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๕-๑๖ กล่าวถึงบ้านเมืองชื่อ “ศรีจนาศะ” หรือ “จนาศะปุระ” “จารึกบ่ออีกา” พบที่บ่ออีกาซึ่งสันนิษฐาน ว่าอยู่ภายในเมืองเสมา มีภาพถ่ายคราวพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งด�ำรงพระยศ พระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพเสด็จประพาสโบราณสถานเมืองเสมา เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๖ ทรงฉายกับจารึกหลักนี้ จารึกด้วย ภาษาสันสกฤตและเขมร อักษรขอมโบราณ จารึกด้านที่ ๑ เอ่ยถึง พระราชาแห่งศรี จนาศะ ได้ถวายกระบือตัวเมียรูปรา งสมบูรณ ๒๐ ตัว แมโค ๕๐ ตัว มีถันถวงหนักพรอมกับลูกโคที่อวนพี ทาสหญิงชาย ๑๐ คนมีจิตใจรื่นเริงให้พระภิกษุ สงฆ์ เป็นการกัลปนาผู้คนและสัตว์เลี้ยงเพื่อดูแล ศาสนสถาน ด้านที่ ๒ กล่าวถึงบุคคลใช้แทนตัว ว่าข้าพเจ้า ขอเคารพธุลีพระบาทของกษัตริย์ผู้ เพียบพร้อมพระองค์หนึ่ง และกล่าวว่าไดรับแลวซ่ึ่ง ดินแดนอันถูกละทิง้ อยูน่ อกกัมพุเทศ ทานผูม นี ามวา อังศเทพเปนผูมีความคิดใครครวญอยางดียิ่ง เปน บุรุษที่ประเสริฐสุดในตระกูล ประกอบพรอมด้วย วัยที่เหมาะสม เปนผู้ที่ไดรับคําสรรเสริญเนื่องจาก ความมั่งคั่งทุกประการ ได้ท�ำบุญต่างๆ และกล่าว ถึงศิวลึงค์ทองและเป็นผู้รับใชของพระผู้เป็นเจาทั้ง สองพระองค์ ความส�ำคัญของจารึกบ่ออีกานีค้ อื การ กล่าวถึงพระราชาแห่งศรีจนาศะ ซึง่ อาจจะไม่ใช่บา้ น เมืองที่จารึกหลักนี้ตั้งอยู่ ทรงกัลปนาผู้คนและสัตว์ เลีย้ งให้แก่ศาสนสถานแห่งนี้ เป็นผูน้ บั ถือในพระเจ้า 74

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

อาจจะเนื่องในศาสนาฮินดูเนื่องจากมีการกล่าวถึง ศิวลึงค์ทอง และน่าจะเป็นหลักจารึกเพือ่ แต่งตัง้ บุรษุ ชื่อว่า “อังศเทพ” ผู้เหมาะสมทุกประการ จารึ ก ศรี จ นาศะ พบที่ เ นิ น ดิ น ใกล้ โบสถ์ พ ราหมณ์ (สะพานชี กุ น ) เกาะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ จารึกภาษา สันสกฤตและเขมร อักษรขอมโบราณ พ.ศ. ๑๔๘๐ เบื้องต้นกล่าวสรรเสริญพระศิวะ และต่อมาเอ่ยถึง พระนามพระราชาที่ “ไดปกครองดินแดนแหงจา นาศปุระ” เริม่ ตัง้ แต่ พระเจ้าภคทัตต์ พระเจ้าสุนทร ปรากรม พระเจ้าสุนทรวรรมัน พระองค์มีโอรส ๒ พระองค์ องค์แรกมีนามว่า นรปติสิงหวรรมัน ซึ่ง เป็นพระราชาของเมืองนี้ องค์น้องมีนามว่า มงคล วรรมัน ด้านต่อมาน่าจะเป็นรายชือ่ ทาสทีอ่ ทุ ศิ ถวาย จารึ ก เมื อ งเสมา ข้ อ ความในจารึ ก เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการกล่ า วค� ำ นมั ส การเทพเจ้ าในศาสนา พราหมณ์ ได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม พระอุ ม า และพระสรั ส วดี จากนั้ นได้ ก ล่ า วถึ ง พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๕ หรือพระบาทบรมวีรโลก ว่าทรงเป็นโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมัน และ ทรงสืบเชื้อสายมาจากจัน ทรวงศ์ กล่าวถึงพระ ราชกรณียกิจของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ว่าได้ทรง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจไว้อย่างไรบ้าง และใน ด้านต่อมากล่าวถึง ข้าราชการผู้ใหญ่ที่ ได้สร้าง เทวรู ป และพระพุ ท ธรู ป ไว้ ห ลายองค์ พร้ อ มทั้ ง ถวายทาสและสิ่ ง ของต่ า งๆ แด่ ศ าสนสถานลง พ.ศ. ๑๔๖๘ และ พ.ศ. ๑๔๘๔ ได้สร้างศิวลึงค์ที่ เป็นตัวแทนของกษัตริย์ทั้งหลายและสร้างปราสาท หลั ง หนึ่ งไว้ แ ล้ ว ถวายขั น เงิ น ใบใหญ่ พ ร้ อ มทาส ๒๕ คน สร้างสวนพร้อมอาศรม ๒ หลัง ข้าว ๑ ทะนานถวายเป็นประจ�ำ ใน พ.ศ. ๑๕๑๔ ต่ อ มากล่ า วถึ ง ผู ้ ดู แ ลศาสนสถานชื่ อ “ศรีทฤฒภักดีสิงหหวรมัน” เป็นคนดี เป็นคนท่ี่รัก ดินแดนบ้านเกิด ชอบคบค้าสมาคมกับผูส้ จุ ริต ถวาย


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ทรัพย์สินอุทิศเพื่อมารดาแก่ถวายแด่พระศิวะ และ ยังสร้างพระพุทธรูป ๗ องค์ ปราสาทหนึง่ หลังพร้อม งานฉลองยิ่งใหญ่ และการสรรเสริญและก�ำหนด บทบาทหน้าที่การดูแลที่ดินและทาสทั้งหลาย ข้อน่าสังเกตก็คือ หากจารึกเป็นเรื่องราว ของเมืองเสมา สถานที่นี้จึงยังนับถือพุทธศาสนา ควบคู่ไปกับการรับนับถือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนา ฮินดู ทั้งนิยมสร้างศิวลึงค์เพื่อแทนตนกษัตริย์องค์ ต่างๆ จารึกหลักที่ ๔ เพิ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร ยังไม่ ได้แปลเนื้อหา เบื้องต้นทราบแต่เพียงว่าระบุมหา ศักราช ๘๔๙ ตรงกับ พ.ศ. ๑๔๗๐ จารึกทั้งหมดนี้กล่าวถึงบ้านเมืองในช่วง เวลาตั้ ง แต่ พุ ท ธศตวรรษที่ ๑๕ จนถึ ง ต้ น พุ ท ธ ศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองที่เมืองเสมา

มีความสัมพันธ์กับ “ศรีจนาศะ” มีการนับถือทั้ง พุทธศาสนาและฮินดู ซึ่งสรรเสริญเทพพระศิวะ เป็นเบื้องต้น และเกี่ยวข้องกับการบูชาศิวลึงค์ใน การแทนตนของพระราชาต่างๆ มีความสัมพันธ์กับ บ้านเมืองในแถบทะเลสาบเขมรในช่วงก่อนเมือง พระนคร และเรียกดินแดนศรีจนาศะเหล่านี้ว่า “อยู่นอกดินแดนกัมพุเทศะ” จารึกศรีราชภิกษุ นอกจากนี้ ที่ เ มื อ งปั กในอ� ำ เภอปั ก ธงชั ย ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเสมาไปราว ๓๐

สำ�เนาจารึกบ่ออีกา ด้านที่ ๑ และ ๒ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

75


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION กิโลเมตร ชายทีส่ งู ของเทือกเขาพนมดงรัก พบจารึก ส�ำคัญอีกชุดหนึ่งที่เรียกว่า จารึกศรีราชภิกษุหรือ หรือจารึกหินขอน ๑ และ ๒ รูปแบบของตัวอักษร เป็นอักษรหลังปัลลวะ ท�ำให้กำ� หนดอายุได้ราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ศิลาจารึกหินขอนเป็นจารึกบน เสาสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ในบริเวณโบราณสถานบ้านหิน ขอนในอ�ำเภอปักธงชัย ปัจจุบันมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากเมืองปักราว ๓ กิโลเมตร ชือ่ บ้านขอนขว้าง ซึ่งอาจจะเป็นที่นี่หรือไม่ก็ได้ จากการบรรยายของ ศ.เซเดส์ โบราณสถาน แห่งนี้น่าจะเป็นพุทธสถาน มีเสาศิลาตั้งคู่กันเป็นใบ เสมา บางเสามีภาพจ�ำหลักรูปเจดีย์ บางเสามีจารึก โดยเฉพาะจารึกที่เสานั้น มีอยู่ ๒ หลักที่อ่านและ แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดย ศ.ยอร์ช เซเดส์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล แปลเอกสาร ชิ้นดังกล่าวเป็น ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึงทาน ศรีราชภิกษุ ซึ่งบาทบงกช ไดรับการเคารพบูชา ทานไดสรางเสมาศิลา ๔ หลัก ซึ่งมีลักษณะอยางดี ยิ่งและงดงามถวายวัด ๑๐ วัด บริจาคทานแกคณะ สงฆ ประกอบไปดวยองคแหงพระสุคต (พระพุทธ รูป) ทุงนา ทาส ฯลฯ และจีวร ๒ ผืน พรอม กฐิน และเจดีย อาหาร เครื่องขบเคี้ยว เครื่องดื่ม หมาก และสวน (สิ่งประดับดวย) ผลไมและดอกไมตางๆ จากบรรดาตนไมท่ีปลูกไว้ ท่านราชภิกษุผู้นี้ มีสมญาว่า “อุปธยายะ” และสถานที่ตั้งศาสนสถานมีนามว่า “เสฺราพฺรา” หรือ “สฺโรพฺรา” ซึ่งท่านราชภิกษุนี้เป็นเจ้านฤเปน ทราธิปติวรมัน โอรสของผู้สูงศักดิ์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งมี พระนามคล้ายคลึงกัน ทัง้ สององค์คงเป็นเจ้านายใน ราชวงศ์พื้นเมือง จะเห็นว่าการอุทิศเพื​ื่อการท�ำบุญของพระ ราชาในบ้านเมืองใกล้เคียงกันนั้นมีธรรมเนียมไม่ ต่างกัน ในช่วงพุทธศตวรรที่ ๑๓ หรือ ๑๔ ที่เมือง เสมายังเห็นได้ชัดกับการนับถือพุทธศาสนาแบบ เถรวาท ส่วนทางเมืองปักจากจารึกเป็นเรื่องของ 76

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

บ้านเมืองทางพุทธศาสนาแน่นอน ต่อมาในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ก็ยังมีการนับถือพุทธศาสนาไป พร้อมๆ กับการนับถือบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดูไป พร้อมๆ กัน ซึง่ ได้รบั อิทธิพลส่งผ่านมาอย่างแน่นอน จากบ้านเมืองในเขตเขมรต�่ำของลุ่มทะเลสาบ แถบ ทีร่ าบสูงโคราชชายขอบทีส่ งู ของเทือกเขาพนมดงรัก ที่เป็นเส้นทางติดต่อลงสู่ที่ราบของบ้านเมืองในเขต เขมรต�ำ่ ผ่านสูท่ รี่ าบภาคกลางด้วยเส้นทางผ่านทาง เมืองเสมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ บริเวณเมืองเสมาจากการขุดค้น พบว่าชั้น ดินการอยู่อาศัยนั้นอยู่ในรูปแบบสมัยทวารวดีนาน ที่สุด จะสังเกตได้ว่าศาสนสถานแบบฮินดูนั้นตั้งอยู่ ใจกลางเมืองเสมาแต่มีเพียงแห่งเดียว นอกนั้นเป็น อาคารศาสนสถานแบบพุทธสถานเป็นหลัก แม้แต่ พระพุทธรูปปางปรินพิ พานนอกเมือง ดังนัน้ การทีพ่ บ กลุม่ ศาสนาแบบฮินดูในวัฒนธรรมแบบเขมรโบราณ ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ แยกออกไป จากเมืองเสมาอย่างชัดเจนก็น่าจะตั้งเป็นข้อสังเกต ถึงการยอมรับศาสนาฮินดูที่สัมพันธ์กับพระราชา ผู้ปกครองเป็นประการส�ำคัญมากกว่ากลุ่มชาวบ้าน ทั่วไป กลุ่มปราสาทหินริมล�ำตะคองในวัฒนธรรมเขมร จากเมืองเสมาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว ๔.๓ กิโลเมตร มีกลุม่ ชุมชนในระยะต่อมาทีป่ ราสาท เมืองแขกและปราสาทโนนกูซ่ งึ่ น่าจะมีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ด้วยระยะทางที่ตั้งห่างกันเพียง ๕๐๐ เมตร ส่วนอโรคยาศาลซึง่ เป็นรูปแบบปราสาท สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่ “ปราสาทเมือง เก่า” ห่างจากเมืองเสมาในทิศทางเดียวกันราว ๗ กิโลเมตร และห่างจากกลุ่มปราสาทเมืองแขกราว ๓ กิโลเมตร กลุ่มปราสาททั้ง ๓ แห่ง อยู่ริมฝั่งล�ำ ตะคองทางด้านใต้


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

สำ�เนาจารึกหินขอน หรือจารึกศรีราชภิกษุ พบที่เมืองปัก ห่างจากเมืองเสมาไปทางทิศตะวันออกราว ๓๐ กิโลเมตร

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

77


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ปราสาทโนนกู่ เป็นศาสนสถานแบบศิลปะเขมรที่สร้างอยู่ บนเนินสูง เป็นปราสาทสร้างด้วยหินทรายผสมอิฐ ประกอบด้วยปราสาทประธานหลังเดีย่ วบนฐานสูง มี กรอบประตูตั้งอยู่เด่นชัด ด้านหน้ามีวิหารหันเข้าหา ปรางค์ประธาน ๒ หลัง ล้อมรอบด้วยก�ำแพงแก้ว มี ซุม้ ประตูทศิ ตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นทางเข้าออก น่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ มีการขุด พบเศียรพระพุทธรูป เทวรูป และวัตถุโบราณหลาย ชิ้นภายในบริเวณปราสาทแห่งนี้ ปราสาทโนนกู่ อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖

ปราสาทเมืองแขก ปราสาทเมืองแขกเป็นกลุ่มปราสาทขนาด ใหญ่และมีอาคารหลายหลัง เป็นปราสาทสร้างด้วย หินทรายผสมอิฐ เช่นเดียวกับปราสาทโนนกู่และตั้ง อยู่ห่างจากปราสาทโนนกู่ไปราว ๕๐๐ เมตร และ 78

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

น่าจะสร้างในยุคสมัยเดียวกัน พืน้ ทีแ่ บ่งออกเป็นส่วน ต่างๆ ด้านนอกเป็นแนวคูนำ�้ รูปตัวยูขนานกับแนวคัน ดินเกือบรอบโบราณสถานทางด้านเหนือมีประตูหรือ โคปุระเป็นทางเดินเชื่อมไปยังด้านใน ซึ่งมีซากฐาน ปราสาทสามหลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกันโดยหันหน้า ไปทางทิศเหนือ เฉพาะองค์ปราสาทประธานที่ตั้ง


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION อยู่ตรงกลางมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ด้านหน้าของทางเข้ากลุ่มปราสาทมีอาคาร วิหารหรือบรรณาลัยด้านละ ๑ หลังหันหน้าเข้าหา กลุ่มปราสาท ล้อมรอบด้วยก�ำแพงชั้นในมีโคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าลักษณะเป็นห้องยาว จากการขุดแต่งโบราณสถานพบทับหลังรูป เทวดานั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล ปราสาทเมืองแขก สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ โดยก�ำหนดอายุ จากรูปแบบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่พบที่ยังคงหลง เหลือเสาประดับกรอบประตูที่สวยมากและทับหลัง รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ และที่โคปุระขนาดใหญ่มี การขุดพบศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร พ.ศ. ๑๕๑๗ ปัจจุบนั เก็บรักษาอยูท่ พี่ พิ ธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติ มหาวีรวงศ์ พบบริเวณโคปุระ ก�ำแพงชั้น นอกปราสาทเมืองแขกถึง ๓ ชิน้ รูปอักษรมีลกั ษณะ อย่างเดียวกัน ยุคสมัยเดียวกัน ข้อความของจารึกก็ สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน เนื้อความกล่าวโดยสรุป ได้ว่า เป็น พระ ราชโองการของพระราชาให้สถาปนาเทวรูปคือ กัมร เตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรมเหศวร มรเตงอัญศรี อสมานธฤตจันทรสถามะ และพระแม่เจ้ากัมรเตง อัญศรีอสมานธฤตจันทรเทวี และหลังจากนั้นยัง ได้รวมพระกัมรเตงอัญแห่งลิงคปุระไว้ด้วย แล้วให้ บรรดาขุนนางและข้าราชบริพาร ร่วมกันดูแลเทวรูป และเทวสถานเหล่านี้ โดยกัลปนาข้าทาสและสิง่ ของ เช่น ข้าวสาร น�้ำมัน ฯลฯ เป็นประจ�ำ ข้อความของการกัลปนานี้ไม่ได้แตกต่างไป รูปแบบหรือธรรมเนียมเนื้อหาเพื่อการกัลปนาหรือ อุทิศเพื่อท�ำบุญจากจารึกที่พบจากเมืองเสมา ทั้ง มีอายุคาบเกีย่ วร่วมสมัยกับจารึกเมืองเสมาหลักหนึง่ ด้วย จึงอาจกล่าวได้วา่ ความแตกต่างของการนับถือ ศาสนาท�ำให้มกี ารแยกกลุม่ ชุมชนออกมาตัง้ ในพืน้ ที่ ห่างออกมาไม่ไกล และอยู่ในปริมณฑลเดียวกันของ ความเป็นเมืองเสมา ส่วนชื่อกัมรเตงอัญทั้งหลาย

เหล่านี้และความสัมพันธ์กับเจ้าเมืองอื่นๆ นั้นน่าจะ มีความเกี่ยวดองกันอยู่ในที เพราะไม่พบร่องรอย ความขัดแย้งจนถึงมีการเข้าต่อสู้หรือท�ำลายศาสน สถานแก่กนั จนเห็นถึงความขัดแย้งทางศาสนาและ ความเชื่อแต่อย่างใด

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

79


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION ปราสาทเมืองเก่า ห่างจากปราสาทเมืองแขกราว ๓ กิโลเมตร และห่างจากเมืองเสมาราว ๕ กิโลเมตร พบจารึก ประจ�ำอโรคยาศาลด้วย สันนิษฐานกันมาแต่เดิม ว่าเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโคราชเดิมจากพระนิพนธ์ ของสมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ จากนิทาน โบราณคดี ทรงวินจิ ฉัยว่า เมืองเดิมของนครราชสีมา น่าจะได้แก่ “เมืองเก่า” ซึ่งเป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ ฝัง่ ทิศใต้ของล�ำตะคองในเขตอ�ำเภอสูงเนิน และทรง สันนิษฐานว่า เมืองเก่านั้นเดิมชื่อ “โคราฆะปุระ” ตามชือ่ เมืองในอินเดีย ต่อมาเรียกเพีย้ นเป็น “เมือง โคราช”

ส่วนบรรณาลัยภายในกำ�แพงแก้ว

แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าเมืองเก่าที่ อ�ำเภอสูงเนินนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นต้นทางของเมือง โคราชอันเป็น ที่ตั้งของตัวจังหวัดนครราชสีมาใน ปัจจุบันแต่อย่างใด และเมืองโคราชเก่านั้นสร้างขึ้น ในสมัยอยุธยา “อโรคยาศาล” ที่ปรากฏอยู่ทั่วไปเป็นการ สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ แห่งนครธม ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เฉพาะ อโรคยาศาลทีบ่ า้ นเมืองเก่านัน้ วัตถุที่ใช้กอ่ สร้างเป็น หลักนอกเหนือจากฐานที่ท�ำด้วยศิลาแลงแล้วคือ หินทรายคุณภาพดีเช่นเดียวกับที่ ใช้สร้างปราสาท 80

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”

หินพิมายหรือปราสาทหินในแถบนี้ สังเกตว่าจะมี การใช้หินทรายมากกว่าอโรคยาศาลในท้องถิ่นอื่นๆ ประกอบด้วยปราสาทประธาน ๑ หลังหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก บรรณาลัย ๑ หลัง มีกำ� แพงแก้วล้อม รอบปราสาทประธานและบรรณาลัย ด้านหน้าสร้าง เป็นอาคารโคปุระเชื่อมกับแนวก�ำแพง นอกก�ำแพง แก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน�้ำกรุด้วย ศิลาแลง ๑ สระ ซึ่งอโรคยาศาลทุกแห่งล้วนสร้าง เช่นเดียวกัน พบโบราณวัตถุที่เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว ๒ องค์ ต่อมามีการ ขุดแต่งและบูรณะใน พ.ศ. ๒๕๓๓ พบศิลาจารึก เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ นครราชสีมา ซึ่งยังไม่ได้อ่านแปล แต่รูปแบบน่า จะเป็นจารึกอโรคยาศาลที่มักพบประจ�ำในอโรคยา ศาลและมีเนื้อความคล้ายคลึงหรือเกือบเหมือนกัน แท่นหินบดยา ชิ้นส่วนประติมากรรมหินทราย และ ทับหลังรูปพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิในซุ้มเรียงเป็น แถว ๔ องค์ ข้ อ สั ง เกตจากที่ ตั้ ง ของปราสาทที่ เ ป็ น อโรคยาศาล มักเลือกสร้างขึ้นในชุมชนที่รุ่งเรือง ในระดับเมืองและด�ำรงอยู่แต่เดิมมานานก่อนหน้า รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แล้ว สร้างขึ้นเพื่อ เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ โดย เลือกที่จะสร้างให้ไกลออกมาจากชุมชนดั้งเดิมใน ระยะที่เหมาะสมแทบทุกแห่งที่ปรากฏในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ และเป็นพระมหากรุณาของพระองค์ ที่จะเลือกสร้างอโรคยาศาลพระราชทานแก่บ้าน เมืองต่างๆ อันเป็นที่สถานพักฟื้นพยาบาล ซึ่งมีทั้ง ต�ำรายา พระพุทธรูปต่างๆ อันเป็นทั้งศาสตร์ใน การรักษาและความเชือ่ ความศรัทธารวมอยูด่ ว้ ยกัน


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

อโรคยาศาลที่ปราสาทเมืองเก่า สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บริเวณโคปุระทำ�จากหินทราย

วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำ�รงพระ ยศพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เสด็จทรงม้าประพาสปราสาทเมืองเก่า

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

81


LEK-PRAPAI VIRIYAHPANT FOUNDATION

82

ในมัณฑละแห่งศรีจนาศะ ละโว้/ศรีเทพ/เสมา”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.