จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๑๑๗ ประชาวิพากษ์ [Social Sanction]

Page 1



เปิด : ศรีประเด็ น ศักร วัลลิโภดม ประชาวิพากษ์ [Social Sanction] ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึ้น ด้วยความระลึกเป็นอย่างยิ่งถึง ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช นักมานุษยวิทยาอาวุโสที่ข้าพเจ้าเคารพและ นับถือ ผู้จากไปเมื่ออาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ที่แล้วมาด้วยวัย ๘๔ ปี อาจารย์สเุ ทพในเบือ้ งต้นเป็นนักมานุษยวิทยาสังคม [Social Anthropologist] เช่นเดียวกับข้าพเจ้า อาจารย์สเุ ทพเรียนจบปริญญา โททีม่ หาวิทยาลัยลอนดอนทีอ่ งั กฤษ ส่วนข้าพเจ้าเรียนทีอ่ อสเตรเลีย ที่ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย ครั้งนั้นการเรียนวิชามานุษยวิทยา ทั้งอังกฤษและออสเตรเลียเป็นมานุษยวิทยาสังคมเหมือนกัน แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการค้นคว้าวิจยั เหมือนกันในแนวคิดทางโครงสร้าง และหน้าที่ [Structural, Functional ที่เป็นหัวใจในการค้นคว้าเก็บ ข้อมูลจากประสบการณ์ภาคสนาม [Field Work] ในลักษณะองค์รวม [Wholistic] ด้วยการศึกษา การเปลีย่ นแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของ มนุษย์ในชุมชน [Community Study] ความเหมือนกันที่ส�ำคัญระหว่างอาจารย์สุเทพกับข้าพเจ้า ก็คือ ในการเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อจบปริญญาโทนั้นคือต้องเข้าไปอยู่ ในชุมชนเป็นเวลาร่วมปี ข้าพเจ้าศึกษาเก็บข้อมูลที่ชุมชนบ้านม่วงขาว ต�ำบลโคกปีบ อ�ำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในขณะที่อาจารย์ สุเทพศึกษาที่ชุมชนบ้านนาหมอม้าในเขตอ�ำเภออ�ำนาจเจริญ จังหวัด อุบลราชธานี (จังหวัดอ�ำนาจเจริญในปัจจุบัน) อาจารย์สุเทพเป็นรุ่นก่อนข้าพเจ้าหลายปี ได้กลับมาเป็น อาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ระยะหนึ่ง แล้ว ลาออกไปท�ำงานในองค์กรอเมริกัน ARPA ร่วมกับบรรดานักวิชาการ ที่เป็นนักมานุษ ยวิทยาและสังคมศาสตร์อื่นๆ เพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจของผู้คนในภาคเหนือและภาคอีสาน ต่อต้านการรุกราน ของคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นที่น�ำไปสู่การท�ำสงครามระหว่าง อเมริกันกับเวียดนาม หลังสงครามสงบอาจารย์สุเทพได้เข้ามาเป็น อาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้ บุกเบิกตัง้ ภาควิชามานุษยวิทยาขึน้ จึงนับได้วา่ เป็นผูใ้ ห้กำ� เนิดภาควิชา มานุษยวิทยาของคณะสังคมศาสตร์อย่างแท้จริง [Founding Professor] ข้าพเจ้ากลับมาท�ำงานภาคสนามทีบ่ า้ นม่วงขาวเกือบปี จนถึง วันสิ้นสุดของสงคราม ที่ประธานาธิบดีนิกสันถอนทหารจากสงคราม เวียดนาม และกลับไปเขียนวิทยานิพนธ์ร่วม ๒ ปี จึงกลับมาที่คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร หากแต่ไม่ลงรอยกับผู้บังคับบัญชา

และอาจารย์หลายคนในคณะจึงได้ขอให้อาจารย์สุเทพที่เป็นหัวหน้า ภาควิชามานุษยวิทยาที่เชียงใหม่ ยืมตัวชั่วคราวจากศิลปากรไปอยู่ เชียงใหม่ร่วม ๒ ปี โดยสอนวิชามานุษยวิทยาร่วมกัน

นักมานุษยวิทยาอาวุโสของประเทศไทยจากซ้ายด้านหลัง ผศ. ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช, รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม รศ. ดร. ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ด้านหน้า ศ.ปรานี วงษ์เทศ ขณะที่อยู่เชียงใหม่ได้มีการออกไปท�ำงานภาคสนามตาม ชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่บนพื้นราบร่วมกัน ๓ คนคือ อาจารย์สุเทพ สุนทรเภสัช อาจารย์เกษม บุรกสิกร ผู้เป็นนักสังคมวิทยา ต่อมา อาจารย์สเุ ทพได้รบั ทุนจากอเมริกาไปศึกษาต่อทีม่ หาวิทยาลัยเบิรก์ เลย์ เพือ่ ท�ำปริญญาเอกทางวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรมร่วม ๖ ปี ในขณะ ทีข่ า้ พเจ้ากับอาจารย์เกษม บุรกสิกรยังท�ำงานศึกษาชุมชนทัง้ ด้านชาติ วงศ์วรรณา [Ethnography] และโบราณคดี [Archaeology] อยูพ่ กั หนึง่ จึงกลับมาสอนทีภ่ าควิชามานุษยวิทยาศิลปากรจนเกษียณอายุราชการ จุดหันเหระหว่างข้าพเจ้าและอาจารย์สเุ ทพก็คอื การไปศึกษา ต่อทีอ่ เมริกาทีเ่ น้นในเรือ่ งมานุษยวิทยาวัฒนธรรมนัน้ เป็นกระแสสังคม และโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลงและกว้างขวางออกไป แตกแยกออกเป็นหลาย มิติและหลายแขนงทางวิชาการ จนมานุษยวิทยากลายเป็นวิชาครอบ จักรวาลไปจนถึงเรื่องของความเป็นมนุษ ย์อันเป็นสัตว์สังคม หรือ


สัตว์หมู่ ต้องมีชีวิตอยู่รวมกันอย่างมีโครงสร้างและหน้าที่กลายเป็น ปัจเจกบุคคล [Individual] หรือสัตว์เดี่ยว ซึ่งแลเห็นได้จากชีวิตความ เป็นอยู่ที่ไม่เป็นสังคมแบบก่อน อันสะท้อนให้เห็นได้จากการสร้างที่ อยู่อาศัยแบบต่างคนต่างอยู่ เช่น คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร ฯลฯ ร้อยพ่อพันแม่เข้ามาอยู่รวมกันโดยไม่มีโครงสร้างสังคม ซึ่งแลเห็นได้ จากแนวโน้มทางแนวคิดทฤษฎีแบบโครงสร้างและหน้าทีเ่ ปลีย่ นแปลง มาเป็น Post Structuralism หรือ Post Modernism และ Post Colonialism อะไรท�ำนองนั้น ส่วนข้าพเจ้ายังคงยืนอยู่กับสังคมแบบมี โครงสร้างและหน้าทีข่ องมานุษยวิทยาสังคมทีเ่ น้นการออกเดินทางไป ตามท้องถิน่ ต่างๆ ทัว่ ประเทศด้วยการเก็บข้อมูลทางชาติวงศ์วรรณนา [Ethnography] ส�ำหรับชุมชนปัจจุบัน [Ethnographic Present] และ อดีตที่ห่างไกลของชุมชนโดยทางโบราณคดี [Archaeological Past] ข้ า พเจ้ า ยั ง มั่น คงกับการศึก ษาที่ดูก ารเปลี่ยนแปลงทาง สังคมของมนุษย์ในชุมชนในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในทัง้ ทาง ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สังคม และไม่ตีความคุ้น เคยกับแนวคิดทฤษฎีใหม่ในเชิงวาทกรรมแบบสร้างค�ำใหม่ๆ ค�ำใหญ่ๆ แบบนักวิชาการในยุค Post Modern ปัจจุบัน แต่เมื่อมีอะไรติดขัด หรือสติปัญญาน้อยตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ข้าพเจ้าก็ต้องหันมา หาอาจารย์สุเทพ สุนทรเภสัช ผู้แม้จะไม่ออกไปตะลอนๆ ท�ำงานภาค สนามอย่างข้าพเจ้า แต่กร็ บั รูแ้ ละหาความรูใ้ นลักษณะเป็นนักปราชญ์ ทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อการอธิบาย ตั้งแต่เกษียณราชการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ สุเทพใช้เวลากับการอ่านหนังสือหลายๆ อย่างทางสังคมวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม ในลักษณะที่เป็นปราชญ์ มากกว่านักวิชาการทีร่ อู้ ะไรต่ออะไรเฉพาะด้านแบบรูม้ ากรูน้ อ้ ย เมือ่ มี อะไรติดขัดข้าพเจ้าก็ตอ้ งหันหน้าไปถามไถ่หารือขอความรูจ้ ากอาจารย์ สุเทพที่นับเป็นครูคนหนึ่งของข้าพเจ้า และมักจะได้รับความรู้และค�ำ อธิบายที่กระจ่างเร็วกว่าการไปอ่านหนังสือค้นหาด้วยตนเอง ในฐานะที่เล่าเรียนมาทางมานุษ ยวิทยาสังคมเหมือนกัน ข้าพเจ้ามักพูดคุยกันกับอาจารย์สเุ ทพในสิง่ ทีเ่ ป็นกลไกทางสังคม เช่น การควบคุมสังคม [Social Control] และการวิพากษ์สังคม [Social Sanction] เสมอ เช่น เรื่องการนินทา [Gossip] ของชาวบ้านที่เป็น คนในชุมชน การนินทาเป็นกลไกในการควบคุมพฤติกรรมทางสังคมของ คนที่มีชีวิตร่วมกันในชุมชน เป็นทั้งการส่งสัญญาณทางอ้อมให้ผู้ที่ไม่ ประพฤติในกรอบของศีลธรรม จารีตประเพณี ได้รู้สึกตัวอย่างไม่ ต้องเผชิญหน้าและชัดเจนว่าใครมีความขัดแย้งต่อกัน เพื่อให้ผู้ที่ถูก พาดพิงมีสติและปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจจะ นินทาหนาหูขึ้นจนถึงขั้นพิพากษ์ว่าอะไรเหมาะหรือไม่เหมาะ ดีหรือ ไม่ดี แล้วมีการลงโทษ หรือถ้าบุคคลนั้นเป็นผู้ท�ำดีก็จะถูกยกย่องอัน เป็นขั้นที่เรียกว่า สังคมพิพากษ์ [Social Sanction] ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้า เรียกว่า ประชาวิพากษ์ เพื่อให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

จดหมายข่าว

ในปัจจุบัน เพราะเป็นกลไกทางสังคมโดยภาคประชาชน และให้ แตกต่างไปจากประชารัฐด้วย ปัจจุบันการนินทาก็ยังเป็นกลไกส�ำคัญอยู่ในสังคมท้องถิ่น ที่ยังมีชุมชนอยู่ เช่น ตามบ้านและเมือง แต่ไม่ใช่กับในละแวกที่อยู่ อาศัยสมัยใหม่ เช่น บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมในสังคมเมือง ที่มี แต่โครงสร้างกายภาพแต่ไม่มีโครงสร้างทางสังคม มีเรือ่ งตลกกับข้าพเจ้าในการน�ำนักศึกษาปัจจุบนั ทีเ่ รียนทาง มานุษ ยวิทยาและสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งลงศึกษา ชุมชน เมื่อตอนที่ข้าพเจ้าพูดถึงบทบาทและหน้าที่ของการนิน ทา ก็ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เชิงขบขันว่าแปลกประหลาดและกระทบ กระแทกว่าทั้งข้าพเจ้าและอาจารย์สุเทพยังมีความคิดและวิธีการเช่น นักมานุษยวิทยารุ่นศตวรรษที่แล้วมา ทั้งนี้ก็เพราะนักศึกษาและนักมานุษยวิทยารุ่นใหม่ๆ เหล่านี้ คุ้นกับเรื่องของข่าวลือ [Rumor] อันเป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ที่เป็นกลไก ของการกล่าวหาของคนทีม่ คี วามคิดเป็นปรปักษ์ตอ่ กันในสังคมปัจจุบนั ทีค่ วามสัมพันธ์ทางสังคมกลายเป็นเครือข่ายของความสัมพันธ์ [Social Network] กระจายออกไปกว่าการมีขอบเขตของชุมชน แต่การตั้งข้อสังเกตของข้าพเจ้าที่สะท้อนจากปรากฏการณ์ ต่างๆ ทางสังคมทีเ่ รียกว่า ประชาวิพากษ์ นี้ ก็ยงั คงด�ำรงอยู่ในรูปแบบ ที่เปลี่ยนไปจากค�ำว่า นินทา [Gossip] ในชุมชนท้องถิ่นที่มีมาแต่เดิม รูปแบบใหม่ท่ีเกิดขึ้นก็คือสิ่งที่เรียกว่า เฟซบุ๊ก [Facebook] อันเกิด ขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทางการสื่อสาร ข้าพเจ้าก�ำลังจะ ถกปั ญ หาเรื่ อ งนี้ กั บ อาจารย์ สุเทพแต่ก็ช้าไป เพราะท่าน ล้ ม ป่ ว ยและจากไปเสี ย ก่อน จึงต้องน�ำข้อสังเกต มาเสนอต่อในที่นี้แทน

4

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


สั ง คมไทยโดยภาพรวมปั จ จุ บั น เป็ น สั ง คมทุ น นิ ย ม อุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้าสูร่ ะดับ ๔.๐ เช่นประเทศแนวหน้าหลายแห่งในสังคมโลกทีเ่ รียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ แต่ในด้านศีลธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัย การ ศึกษาและความรู้สึกนึกคิดของคนส่วนใหญ่ ในสังคมยังอยู่ ในระดับ ๐.๔ เพราะคนส่วนใหญ่ยังมีพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมของ สังคม เกษตรกรรมแบบชาวนา [Peasant Society] อยู่ ท�ำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างเทคโนโลยีในระดับ ๔.๐ กับคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังไต่ ระดับ ๐.๔ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ นั ก มานุ ษ ยวิ ท ยาเรี ย กว่ า ความล้ า หลั ง ทาง วัฒนธรรม [Culture Lag] ความล้าหลังทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการ เปลี่ยนผ่านของสังคมเกษตรกรรมแบบชาวนาเข้าสู่สังคมทุนนิยม อุตสาหกรรมตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมานั้น ท�ำให้ เกิดความขัดแย้งทางระบบศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรมเรื่อยมา ที่มีผลท�ำให้สังคมไทยในส่วนรวมไม่ว่าทั้งประชารัฐและประชาสังคม กลายเป็น สังคมละเมิดกฎหมาย [Law Violating Society] ที่มาถึง การเกิดวิกฤติทางศีลธรรมและจริยธรรมที่สะท้อนให้เห็นจากความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ การขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชนหรือประชาสังคมทีเ่ ห็น ชัดก็คือ การใช้อ�ำนาจทางกฎหมายจัดการกับประชาชนอย่างไม่เป็น ธรรมท�ำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ฉ้อราษฎร์บังหลวงของขุนนาง ข้าราชการของรัฐที่ให้ความร่วมมือกับนักธุรกิจ นายทุนทัง้ ในชาติและ ข้ามชาติ กระท�ำการไม่ชอบธรรมเอาเปรียบประชาชนที่ด้อยโอกาส และเดือดร้อน ในขณะที่ทางภาคสังคมทั้งคนชั้นกลางและชั้นล่างทั้งรุ่น ผู้ใหญ่และเด็กก็ถูกครอบง�ำด้วยวัตถุนิยม ความโลภและตัณหากิเลส ราคะในเรื่องโลกียสุข แต่ทุกฝ่ายล้วนใช้สื่อแบบเล่ห์ทุบายในการชวน เชื่อให้คนต่างก็เป็นคนดีมีศีลธรรมกันทั้งนั้น ผลที่ ส ะท้ อ นออกมาเป็ น ปรากฏการณ์ ท างสั ง คมและ วัฒนธรรมในขณะนีก้ ค็ อื ความขัดแย้งทีเ่ ห็นได้จากเรือ่ งราวของต�ำรวจ ข้าราชการ พระสงฆ์องค์เจ้า นักธุรกิจ นายทุน และนักการเมือง รวม ทั้งนักวิชาการกับประชาสังคมในขณะนี้ แต่ทา่ มกลางความล้มเหลวในการใช้กฎหมาย การใช้อำ� นาจ รัฐที่ ไม่เป็นธรรมและกระบวนการยุติธรรมที่ล้วนแต่จนเกือบไม่ท�ำ อะไรเลย ก็เกิดการเคลื่อนไหวทางภาคประชาสังคมในการติดตาม และวิพากษ์วิจารณ์การกระท�ำที่ ไม่ชอบธรรมของข้าราชการของรัฐ นักการเมืองและพ่อค้านายทุนตลอดจนพระสงฆ์และขุนนางพระมาก ขึ้นในช่องทางของระบบอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Facebook ที่ข้าพเจ้า เห็นว่าเป็นกลไกทางสังคมในการควบคุมและวิพากษ์วจิ ารณ์ทมี่ พี ลังใน การต่อรองกับรัฐและนายทุน เป็นอะไรทีค่ ล้ายกับการนินทา [Gossip] ของสังคมชาวนาในท้องถิ่นที่ใช้บริบทของความสัมพันธ์ทางสังคมใน พื้นที่ [Social Structure]

จดหมายข่าว

แต่ปรากฏการณ์ของ Facebook เป็นเรื่องของในสังคมที่มี ความสัมพันธ์ทางเครือข่าย [Social Network] ที่แผ่กว้างออกไปกว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ก็นับว่าเป็น พัฒนาการทางเทคโนโลยีกับคนในสังคมที่ทันสมัยขึ้นเพื่อยุคสังคม ๔.๐ ในอนาคต โดยสรุปการใช้ Facebook ของผูค้ นในปัจจุบนั ก็คอื กลไกเพือ่ การวิพากษ์ทางสังคมในระบบความสัมพันธ์ทเี่ รียกว่า Social Network ในปัจจุบันนั่นเอง ความส�ำคัญและความหมายของ Facebook และช่องทางใน โซเชียลมีเดียต่างๆ นอกเหนือไปจากการสื่อปกติก็คือ Social Sanction ที่มีอ�ำนาจในการต่อรองกับทางรัฐและทางทุนของผู้คนทั่วไปใน ภาคประชาสังคม ที่ว่าอ�ำนาจนั้นไม่ได้หมายถึงอ�ำนาจที่บังคับใช้ได้ ตามกฎหมาย หากเป็นอ�ำนาจต่อรองจากการแสดงความคิดเห็นของ ผู้คนในประชาสังคมที่เกิดจากการแสดงออกของคนหลายกลุ่มเหล่า ที่มีทั้งการขัดแย้งในทางตรงข้ามและเลือกฝักฝ่ายว่าเป็นพวกใดกลุ่ม ใด เสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

ภาพเสือด�ำและเครื่องหมายปิดเสียง (Mute) ที่มา : www.facebook.com/headachestencil Facebook ของแต่ละบุคคลนั้นเป็นเสียงจากปัจเจกที่มีทั้งรู้ เรื่องราวอย่างตื้นและผิวเผินหรือลุ่มลึก แต่เมื่อมาเชื่อมโยงจากเครือ ข่ายแล้วผ่านออกมาทางสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการวิเคราะห์ของผู้สนใจและรักความถูกต้องชอบธรรมแล้ว ก็ สามารถชี้ให้เห็นว่าอะไรถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมได้ในการ วิพากษ์วิจารณ์ เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่มีอ�ำนาจในการต่อรอง กับการตัดสิน ความเห็นของทางฝ่ายผู้มีอ�ำนาจทางกฎหมาย ซึ่งถ้า หากทางผู้มีอ�ำนาจไม่ยอมรับและหลีกเลี่ยงก็อาจจะเกิดสิ่งที่น�ำไปสู่ การเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นประชาขัดขืน [Civil Disobedience] ได้ ในเรื่องนี้มีหลายกรณีที่ทางผู้มีอ�ำนาจมักจะอ้างความถูกต้องทาง กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม แต่ฝ่ายที่ ไม่ยอมรับเห็นว่าเป็นสิ่ง ไม่ชอบธรรมที่ต้องตัดสินกันด้วยมโนธรรมและศีลธรรม สังคมไทยในยุคเทคโนโลยี ๔.๐ นีก้ ำ� ลังมีการต่อรองกันด้วย 5

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


อ�ำนาจของรัฐโดยชอบธรรมทางกฎหมาย กับอ�ำนาจของประชาวิพากษ์ที่หลายๆ เรื่อง ยังไม่อาจหาข้อยุติได้ บางเรื่องเล็กๆ ก็พอหาข้อยุติได้ เช่น กรณีหวย ๓๐ ล้าน แต่เรื่องการที่รัฐจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ยังซื้อเวลาอยู่ เพราะผู้มีอ�ำนาจพอมีสติว่าถ้าหากด�ำเนินการต่อไป ย่อมเกิดการขัดขืนที่รุนแรงอย่างแน่นอน แต่เรื่องที่ยังคลุมเครือและแอบท�ำอยู่เรื่อยๆ ก็คือ การรื้อป้อมมหากาฬอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ คนในชุมชน รวมทั้งโครงการท�ำถนนขนาบแม่น้�ำเจ้าพระยาที่จะมีผลให้เกิดการขับไล่คนในชุมชนและการท�ำลายวัดวาอารามสิ่งก่อสร้างทาง ศิลปวัฒนธรรมและทิวทัศน์ทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ และธนบุรีนั้น น่าจะกลายเป็นการประลองก�ำลังกันระหว่างอ�ำนาจทางกฎหมาย ของผู้เผด็จการกับอ�ำนาจประชาวิพากษ์ที่มาจาก Facebook และสื่อต่างๆ ในภาคประชาสังคม

ขอแสดงความเสียใจในการจากไปของ ผศ. ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช นักมานุษยวิทยาอาวุโส จดหมายข่าว

6

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย “เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ” และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ที่ไม่มีชีวิต (๑) อันเนื่องมาจากปัญหาพื้นฐานทางความคิดเรื่อง “ความ ดั้งเดิม ความแท้จริง” [Authenticity] ในการอนุรักษ์เมืองเก่าของ ประเทศไทยท�ำให้เกิดความขัดแย้งในการอนุรักษ์และศึกษาเรื่อง เมืองประวัติศาสตร์หรือย่านเก่าต่างๆ คือ ผู้มีหน้าที่อนุรักษ์เมือง ประวัติศาสตร์จะเข้าใจว่า ชุมชนเหล่านั้นต้องสืบสายเลือดหรือสืบ ตระกูลมาจากคนในยุคสร้างบ้านแปงเมืองและยังต้องท�ำงานช่าง หัตถกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับชุมชนในต�ำแหน่งทีร่ ะบุไว้ในเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ ในขณะที่ชาวบ้านที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปนั้นทราบและรับรู้ว่า ชุมชนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา [Living Community] มีผู้ ย้ายเข้าและย้ายออกไปโดยเหตุต่างๆ กลุ่มคนดั้งเดิมเป็นใคร และ กลุ่มคนที่ย้ายเข้ามาใหม่คือใคร โดยยอมรับผู้มาใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชนจากการช่วยเหลือและท�ำกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน แต่ก็ยัง เป็นชุมชนอยู่ ท�ำให้เกิดปัญหาเมื่อต้องพิจารณาว่าชุมชนใดควรถูกไล่รื้อ หรือชุมชนใดควรได้รับการสงวนไว้ และมีสิทธิโดยชอบธรรมในที่อยู่ อาศัยนัน้ และการประเมินคุณค่าของชุมชนต่างๆ โดยไม่ศกึ ษาค้นคว้า ข้อมูลโดยรอบด้าน ท�ำให้ให้คณ ุ ค่าน้อย เมือ่ ไม่เข้าใจจึงสนใจแต่เฉพาะ สิ่งที่เห็นประจักษ์คือโบราณสถานหรือโบราณวัตถุและสิ่งที่จับต้องได้ ตามองเห็นเท่านั้น ๑. ประวัติศาสตร์ของเมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ อย่างย่อ “พื้น ที่เมืองประวัติศาสตร์ทางกายภาพ” และทาง “ภูมิ วัฒนธรรม” ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งหมายถึงการปรับเปลี่ยนสภาพ แวดล้อมทางกายภาพและการเปลีย่ นแปลงทางสังคม การศึกษาครัง้ นี้ ใช้ฐานข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ในการแบ่งช่วงเวลาแต่ละยุคสมัยของ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เป็น “จุดเริ่มต้น” และ “จุดเปลี่ยน” ของยุคสมัย โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม หรือการเมืองการปกครองเป็นข้อก�ำหนด การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นนั้ ไม่สามารถแยกออกอย่างเด็ด ขาดจากกรุงธนบุรฯี โดยหลังจากย้ายพระบรมมหาราชวังมาสร้างทีฝ่ ง่ั ตะวันออกของแม่นำ�้ เจ้าพระยาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกฯ กรุงธนบุรีก็ยังมีการอยู่อาศัย โดยมีศูนย์กลางของ

จดหมายข่าว

7

ชุมชนคือพระราชวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือวังหลัง มี วังเจ้านายหลายพระองค์รวมทัง้ ขุนนางผูใ้ หญ่หลายกลุม่ และเป็นสถาน ที่ตั้งของวัดส�ำคัญของพระนคร เพียงแต่ไม่ได้มีการพัฒนาพื้นที่อย่าง ทัดเทียมไปพร้อมๆ กับฝัง่ กรุงเทพมหานครแต่อย่างใด ส่วนบ้านเรือน ขุนนางข้าราชการทัง้ หลายจะเรียงรายอยู่ในคลองบางหลวงหรือคลอง บางกอกใหญ่เป็นส่วนมาก ยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์นบั ตัง้ แต่รชั กาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยูห่ วั (ราว พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๔) เทียบได้กบั เวลาราว ๓ ชัว่ อายุคน นี้เป็นช่วงเวลาของการสร้างราชธานีใหม่ การสร้างความเป็นปึกแผ่น ของสยามประเทศ การสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์กลางของเมืองท่า และการค้าทางทะเล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้าย ราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองเพิ่มขึ้นจากสมัยกรุงธนบุรีคือ “คลองวัดสังเวช หรือคลองบางล�ำพูหรือคลองโอ่งอ่าง” เริ่มจากทางทิศเหนือไปออก แม่น�้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้บริเวณใกล้วัดสามปลื้มระยะทางราว ๓.๖ กิโลเมตร ให้ขุด “คลองท่อ” หรือ “คลองหลอด” ภายในเมืองเป็น เส้นตรงจากคลองคูเมืองชั้นในไปสู่คลองเมืองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง ๒ ล�ำคลอง เรียกว่า คลองหลอดบนและคลองหลอดล่าง เพื่อดึงกระแส น�้ำให้ไหลหมุนเวียนภายในพระนคร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) วัฒนธรรมหลวงยุคนี้ ให้ความส�ำคัญกับวัฒนธรรม ตะวันตกอย่างมาก เพราะพระองค์มีพื้นฐานของความเป็นปราชญ์ที่ ผนวชในพระพุทธศาสนาถึง ๒๗ ปีกอ่ นขึน้ ครองราชย์ ท�ำให้ทรงสามารถ รับศิลปะวิทยาการและความคิดใหม่ๆ มาปรับปรุงบ้านเมือง รวมทั้ง เปลี่ยนแปลงขนบประเพณีทั้งที่สร้างขึ้นใหม่และแก้ไขตามที่ทรงเห็น ควร ส่งผลให้สังคมภายในกรุงเทพมหานครเปิดรับความทันสมัย ที่เป็นแบบแผนบ้านเมืองอย่างตะวันตกอย่างรวดเร็ว ในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้คน พลเมืองมีจ�ำนวนไม่น้อยแล้ว ย่านการค้าขายและสถานกงสุลรวมทั้ง ท่าเรือสินค้าเพือ่ การติดต่อกับต่างประเทศส่วนใหญ่ขยายตัวออกไปยัง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


วัดอรุณราชวราราม สัญลักษณ์ของเมืองแห่งลุ่มน�้ำ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ริมฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาทางทิศใต้อนั สืบเนือ่ งมาจากการเซ็นสนธิสญ ั ญา เบาว์รงิ ภายในพระนครและปริมณฑลส่วนใหญ่มกี ารอยูอ่ าศัยติดริมน�ำ้ มีการตัดถนนตามทีช่ าวตะวันตกเรียกร้องผ่านทางกงสุลหลายประเทศ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๐๗ จุดเปลีย่ นส�ำคัญของสยามประเทศและกรุงเทพมหานครอยู่ ในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (พ.ศ. ๒๔๑๑๒๔๕๓) เกิดกระบวนการสร้างความทันสมัย [Modernization] ซึ่งมี การเปิดรับความรู้และวัฒนธรรมแบบชาติตะวันตกอย่างต่อเนื่องมา ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลนี้ทรง ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยยกเลิกต�ำแหน่งวังหน้า จัดระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน สร้างรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรวม หัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเทศาภิบาล เกิดรูปแบบการปกครองทีร่ วมศูนย์ อ�ำนาจของหัวเมืองต่างๆ ที่เคยเป็นเมืองประเทศราช โดยเป็นการ ปฏิรูปการปกครองอย่างแท้จริง ที่เรียกว่า “การปกครองแบบมณฑล เทศาภิบาล” ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ และเป็นยุคที่เปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมของเมืองภายในก�ำแพงพระนครและขยายย่านเมืองออกไป ภายนอก ทั้งการสร้างวังต่างๆ ตลอดจนถนนและย่านที่พักอาศัย นอกเมือง เป็นการพัฒนาเพื่อใช้พื้นที่ย่านริมคลองผดุงกรุงเกษม อย่างชัดเจน เมื่อสยามประเทศมีการส่งเชื้อพระวงศ์ บุตรหลานของ ขุน นางตระกูลต่างๆ รวมถึงผู้ได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาในต่าง ประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรป ที่เริ่มเข้มข้นตั้งแต่ครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา ถือเป็นการ สร้างผูค้ นกลุม่ ใหม่และมีอทิ ธิพลต่อสังคม โดยเปิดรับ [Change] และ

จดหมายข่าว

ปรับปรน [Adjustment] กระแสวัฒนธรรมตะวันตกทั้งรูปแบบการ ด�ำเนินชีวิตและระบบวิธีคิดที่หลั่งไหลเข้าสู่สยามประเทศ ที่ปรากฏ เป็นประจักษ์คอื ลักษณะทางกายภาพของเมืองและวัฒนธรรมในพืน้ ที่ เมืองหลวงอย่างรวดเร็ว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว มีกลุ่มผู้ก่อการคือปัญญาชนและนายทหารเกือบร้อยคนที่ พยายามให้ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีความพยายามสังหารประมุขของประเทศ ด้วย ซึง่ เกิดขึน้ ครัง้ แรกส�ำหรับการปกครองโดยมีพระมหากษัตริยเ์ ป็น ประมุขตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ตั้งแต่ยุคแห่งการ ปฏิรูปการปกครอง การศาสนา และวัฒนธรรม เหตุการณ์นี้เริ่มสร้าง ผลสะเทือนเป็นระลอกคลื่นทางสังคมและการปกครองในสยามอย่าง เป็นรูปธรรมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ส�ำเร็จในอีก ๒๐ ปีต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวได้ว่าอิทธิพลจากการปฏิวัติทั้งฝรั่งเศสและรัสเซีย มีผลต่อผู้คนจนถึงรากเหง้าและจิตใจ สร้างความสั่นสะเทือนต่อ สังคมโลกในช่วงเวลาอันสับสนด้วยการล่มสลายของระบบระเบียบ การปกครองต่างๆ ที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งรวมทั้งสังคมสยามที่ส่ง คนออกไปศึกษาหาความรู้ในทวีปยุโรปตั้งแต่ในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นต้นมาอีกจ�ำนวนไม่นอ้ ย ผูไ้ ด้รบั การ ศึกษาจากต่างประเทศและนักคิดปัญญาชนทีพ่ ฒ ั นาตนเองในสังคมที่ เปิดกว้างกว่าเดิมมีจำ� นวนมากขึน้ และแสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับการ บริหารประเทศไว้เป็นหลักฐานสืบมา ซึ่งในยุคนี้เมืองหลวงได้กลายเป็นพระนครที่ทันสมัย อาจจะ เรียกว่าเป็นยุคมีความเจริญพอเหมาะพอควรทางกายภาพและทาง สังคม มีย่านการค้ามากมาย ธุรกิจหลากหลายประเภทเฟื่องฟูตาม ถนนสายหลักทีเ่ ป็นย่านธุรกิจ ถือเป็นช่วงทีก่ รุงเทพมหานครมีวงั บ้าน เรือน วัด ตลาด สถานที่ราชการ โรงมหรสพ ย่านบันเทิง ย่านธุรกิจ โครงข่ายการจราจรทั้งส่วนตัวและระบบขนส่งสาธารณะ ฯลฯ ตาม ลักษณะของนครใหญ่เจริญเติบโตมากที่สุด และใช้พื้นที่ของเมือง หลวงทั้งหมดไม่เหลือพื้นที่ว่างแต่ก็ไม่หนาแน่นจนเกินไป รวมทั้งการ ขยายพื้นที่เมืองออกไปยังย่านฝั่งธนบุรีตามถนนที่ตัดใหม่หลายสาย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ขึน้ ครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ สภาพสังคมในเวลานั้นมีความคุกรุ่นอย่างสืบเนื่องมาจาก สาเหตุทปี่ ระเทศประสบกับการเปลีย่ นแปลงทางสังคมขนานใหญ่เมือ่ ชาวเมืองและชนชัน้ กลางในกรุงเทพมหานครเริม่ ขยายจ�ำนวนขึน้ และ เริ่มแสดงความต้องการสิทธิเพิ่มมากขึ้น หลังพระราชพิธเี นือ่ งในการฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี เสร็จสิน้ จึงเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังไกลกังวล “คณะราษฎร” ได้ปฏิวัติยึดอ�ำนาจการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตัดสินพระทัยที่จะอยู่ ในราช สมบัตเิ ป็นพระมหากษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญ เมือ่ เสด็จกลับพระนคร 8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราว ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และพระราชทาน รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยไม่มี การสู้รบจนเสียเลือดเนื้อ และพระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละราช สมบัติ ในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ อันมีสาเหตุมาจากพระบรม ราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับนายปรีดี พนมยงค์ และ ต่อเนื่องด้วยกรณีกบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ ต่อมามีการท�ำรัฐประหารที่ถือได้ว่าเป็นการล้มล้างอ�ำนาจ ทางการเมืองของคณะราษฎรไปจนหมดสิ้น จากนั้นจึงเป็นยุคสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อยู่ในต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างยาวนาน นับแต่ดำ� รงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีนโยบายทีถ่ อื ว่าเป็นเรือ่ งส�ำคัญคือ การสร้างชาติที่เป็นลัทธิชาตินิยม เปลี่ยนแปลงโดยการบังคับให้คน ไทยปฏิบตั ติ ามประเพณีและวัฒนธรรมทีถ่ กู ก�ำหนดขึน้ โดยรัฐเรียกว่า รัฐนิยมเพื่อตอบสนองความคิดเรื่องความทันสมัย แต่ท�ำให้เกิดภาวะ การควบคุมความอิสระของพลเมืองค่อนข้างมาก และการเปลี่ยนชื่อ ประเทศ “สยาม” เป็น “ไทย” ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ นับจากในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนี้ ถือว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ถนนประชาธิปไตย สะพานวันชาติ ๒๔ มิถนุ ายน สร้าง อาคารริมถนนราชด�ำเนินจากถนนที่เป็นทางเสด็จพระราชด�ำเนินเพื่อ เป็นย่านการค้า จัดท�ำตลาดนัดสนามหลวงเพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไป ใช้บริเวณสนามอันเนือ่ งในพระราชพิธี เปิดตลาดเพือ่ ขายพืชผักอาหาร สด ตลาดปลาบริเวณท่าเตียน ย่านพระบรมมหาราชวัง การลดการ อุดหนุนวัดหลวง ยกเลิกพระราชพิธีของบ้านเมือง ฯลฯ นับเป็นการ สร้างระบบสัญลักษณ์เพื่อแสดงภาวะของระบอบกษัตริย์ที่ต้องอยู่ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ความเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นหลัก ส�ำคัญของชาติมาตั้งแต่โบราณรวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์นั้นถูกลด

ความส�ำคัญลงจนแทบสิ้นความหมาย การสร้างกฎหมายควบคุมการมหรสพและศิลปินแบบชาว บ้านรวมทัง้ ประเพณีปฏิบตั แิ ละการด�ำรงชีวติ ประจ�ำวันหลายประการ จนเห็นได้ชัดว่ามีความไม่เข้าใจและดูถูกวัฒนธรรมของราษฎรอย่าง เด่นชัดทีเดียว จนจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ท�ำรัฐประหารในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๖ ช่วงเวลานี้เองประเทศไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชดั เจน โดยได้รบั ผลกระทบจากการบริหาร ประเทศในยุคจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อย่างเต็มที่ นอกจากจะเป็น รัฐเผด็จการทหารโดยประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่างๆ ยังมี การวางแผนพัฒนาที่เน้นแต่เพียงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยได้รับการ สนับสนุนจากต่างประเทศ ท�ำการศึกษา ค้นคว้า วิจยั โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ จากสหรัฐอเมริกาจนกลายเป็นพืน้ ฐานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจใน ระยะเวลาต่อมา สร้างสาธารณูปโภคส�ำคัญทีเ่ ป็นพืน้ ฐานของการด�ำรง ชีวิต เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท เริ่มมีการท�ำเกษตรอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมที่ท�ำให้ภูมิ ทัศน์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ฟื้นฟู ความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเพณีหลวงต่างๆ ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รบั ผลกระทบจากสงคราม เย็นและสงครามเวียดนามที่ติดตามมาด้วยสงครามในลาว การฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาและความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในประเทศจาก การปราบปรามผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงกึ่ง พุทธกาลเป็นต้นมาจนถึงราวปลายทศวรรษที่ ๒๕๒๐ ทีค่ อ่ ยๆ คลีค่ ลาย ไปพร้อมการเมืองทีม่ เี สถียรภาพ การถอนตัวของกองทัพและฐานทัพ อเมริกันในภูมิภาคนี้ การเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าในยุคสมัย ของนายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ ท�ำให้วิถี

ย่านป้อมมหากาฬเห็นถนนราชด�ำเนินที่ตัดขึ้นในราว พ.ศ. ๒๔๔๒ และสะพานข้ามคลองคูเมือง ส่วนประตูเมืองและก�ำแพงเมืองบางส่วนถูกรื้อไปเพื่อสร้างถนนหนทางใหม่ๆ ในครั้งรัชกาลที่ ๕ (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

จดหมายข่าว

9

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ชีวติ ของผูค้ นและสภาพแวดล้อมหักเหไปจากเดิมอย่างมากเพือ่ อุดหนุน แก่แหล่งอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร กรุงเทพมหานครได้รบั ผลกระทบจากการพัฒนาประเทศใน ช่วงเวลานี้อย่างเต็มที่ จนกลายเป็นเมืองหลวงก็กลายเป็นมหานครที่ เติบโตออกไปอย่างขาดทิศทาง ชุมชนดั้งเดิมและอาคารภายในย่าน เมืองเก่าทั้งหลายขาดการดูแลและไม่มีการจัดระเบียบรวมทั้งการ จราจรที่ติดอันดับโลกในความแออัด การควบคุมพื้นที่นั้นมาภายหลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา กรุงเทพฯ ในปัจจุบันกลายเป็นศูนย์รวมของการปกครอง ระบบ ราชการ ธุรกิจการค้า ความทันสมัย เช่น ถนนหนทาง รถยนต์ ตึก สูง ศูนย์การค้าใหญ่โต และคนชัน้ กลางซึง่ มีโอกาสทางชีวติ และสังคม สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ พื้นที่ของกรุงเทพมหานครขยายตัวออกไปอย่าง รวดเร็วจนกลายเป็น “มหานคร” [Metropolitan] ส่ ว นพื้ น ที่ ใ นกรุ ง เทพมหานครที่ เ คยเป็ น พื้ น ที่ เ มื อ ง ประวัตศิ าสตร์กลายเป็นย่านทีพ่ กั อาศัยดัง้ เดิมทีแ่ ทบไม่มคี นรุน่ เก่าอยู่ อาศัยมากนัก การเปลีย่ นแปลงโครงสร้างทางสังคมทีท่ ำ� ให้ครอบครัว ขยายออกไปมีบ้านหลังอื่นๆ และการออกไปเพื่อท�ำงานตามสถานที่

ต่างๆ กลายเป็นพื้นที่บ้านเช่าของคนต่างถิ่นเพื่อรับจ้างท�ำงานและถูก ปรับกลายเป็นทีพ่ กั อาศัยของนักท่องเทีย่ ว ย่านเมืองเก่า เขตเศรษฐกิจ เช่น ตลาดสด ตลาดท้องถิ่น ย่านการค้าก็กลายเป็นพื้นที่ซบเซาและ ไร้ผู้คน ในข้อเท็จจริงนั้น ปรากฏว่าการเปลี่ยนแปลงการจัดการ ผังเมืองและการจัดขอบเขตปรับปรุงพื้น ที่โดยคณะกรรมการกรุง รัตนโกสินทร์และเมืองเก่า โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การเปลีย่ นแปลงนีน้ อ้ ยมาก เพราะเขตภายในพระนครและปริมณฑล แต่ดั้งเดิมตั้งแต่เมื่อเริ่มสร้างกรุงฯ ในย่านพระบรมมหาราชวัง สนาม หลวง ถนนราชด�ำเนิน ย่านตลาดริมแม่น�้ำที่ย้ายออกไปเป็นสถาน ที่พักผ่อนและร้านอาหารริมน�้ำ วัดวาอารามต่างๆ ถูกอนุรักษ์และจัด เตรียมไว้เพื่อนโยบายเปลี่ยน “เมืองประวัติศาสตร์” ให้เป็น “สถานที่ ท่องเทีย่ วส�ำคัญของประเทศ” เพือ่ กระตุน้ หวังผลในทางเศรษฐกิจ ซึง่ ปรากฏอย่างชัดเจนในนโยบายการพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ขององค์กร บริหารส่วนท้องถิ่นอย่างกรุงเทพมหานคร (มีต่อฉบับหน้า)

บันทึก จากท้องถิ่น

โดย พนมกร นวเสลา

การบันทึกเทปรายการออนไลน์ “อดีตในอนาคต”

ตอน ละครชาตรีนางเลิ้งละครเท่งตุ๊กจันทบุรี ละครชาวบ้านที่ยังมีชีวิต เมื่อวันที่ ๖-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา มูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ เดินทางไปบันทึกเทปรายการส�ำหรับเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ต “อดีตในอนาคต” ตอน “ละครชาตรีนางเลิง้ ละครเท่งตุก๊ จันทบุรี ละครชาวบ้านทีย่ งั มีชวี ติ ” ทีบ่ า้ นพักหัวหน้าคณะละครเท่งตุก๊ จักรวาลมงคลศิลป์ คุณจักรวาล มงคลสุข ในต�ำบลตะกาดเง้า อ�ำเภอ ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยเชิญคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ น�ำโดย คุณจารุวรรณ สุขสาคร ที่ปรึกษาคณะละครชาตรีจงกล โปร่ง น�้ำใจ และ คุณชูเกียรติ แก้วฟ้าเจริญ หัวหน้าคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ น�ำทีมคณะละครจงกล โปร่งน�้ำใจจากย่านนางเลิ้งมาร่วม สาธิตการร�ำและพูดคุยแลกเปลีย่ นข้อมูลและสถานการณ์ทวั่ ไปกับทาง คณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ โอกาสนี้ทั้งสองคณะได้แสดงสาธิต “การร�ำซัดหน้าเตียง และร�ำคุณครู” ซึง่ ถือเป็นการร�ำในขัน้ ตอนพิธกี รรมก่อนเริม่ การแสดง

จดหมายข่าว

ละครชาตรี ซึง่ คณะละครชาตรีมงคลศิลป์ แสดงการร�ำแม่บท ๑๒ ท่า หน้าศาลเจ้าที่สร้างมาแต่สมัยก๋งของคุณจักรวาล ตั้งอยู่บนเนินหลัง บ้าน ต่อด้วยการโหมโรงและการร�ำคุณครู ซึ่งก็คือการร�ำซัดของทาง คณะเท่งตุก๊ ขณะทีท่ างคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�ำ้ ใจ ได้สาธิตการ ร�ำซัดไหว้ครูหรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันทางนางเลิ้งว่า ร�ำซัดหน้าเตียง ทั้งสองคณะต่างก็เลือกบทร�ำไหว้ครูที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะบาง ประการที่มีร่วมกันและต่างกัน แม้ว่าจะเป็นคณะละครที่อยู่ต่างพื้นที่ คนละท้องถิ่นและมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงคนละบริบท พัฒนาการจากวัฒนธรรมร่วมสู่ความแตกต่าง ละครชาตรีเป็นศิลปะการแสดงแขนงหนึ่งที่มีพัฒนาการมา เป็นเวลานาน และแพร่หลายในหลายภูมิภาคของประเทศไทย จาก การติดต่อสัมพันธ์และการอพยพโยกย้ายท�ำให้การแสดงละครชาตรี 10

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พบเห็นได้ในหลายพื้นที่ และต่างก็มีพัฒนาการในรูปแบบแตกต่างกัน ออกไป คณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยนางจงกล โปร่งน�้ำใจ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางคณะฯ ได้เข้าไปแสดงประจ�ำ ณ ศาลพระพรหม เอราวัณ สีแ่ ยกราชประสงค์จนถึงทุกวันนีแ้ ละถือว่าท�ำให้คณะละครมี งานแสดงที่กลายเป็นหลักจากช่องทางนี้ เชื้อสายของบรรพบุรุษคณะ ละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ มีที่มาจากหลากหลายพื้นที่ ล้วนเป็น ผู้ที่ท�ำงานทางด้านร้องร�ำ คือ ปู่ทวดและย่าทวดย้ายมาจากอยุธยา ทางปู่ทวดเป็นครูดนตรี ไทยของละครชาตรีอยุธยาจากอ�ำเภอท่าเรือ ย่าทวด (ชื่อนางน้อม โปร่งน�้ำใจ) พื้นเพเดิมเป็นผู้แสดงละครชาตรี สายพิจิตร ส่วนทางคุณยายทวด (ชื่อนางสมส่วน) เป็นโนราห์ชาตรี สายพัทลุง และย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ราวช่วงรัชกาลที่ ๖ ณ ตรอก ละครย่านนางเลิ้งหรือชื่อสนามควายแต่ดั้งเดิม ย่านดังกล่าวนับเป็น แหล่งรวมวัฒนธรรมบันเทิงที่ส�ำคัญของกรุงเทพฯ เพราะเป็นถิ่นอยู่ อาศัยของมหรสพแขนงต่างๆ ทั้ง คณะละครชาตรี โขน ลิเก ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ใน บรรดากลุ่มละครชาตรีที่อาศัยรวมกันอยู่ในย่านสนามควายนั้น คณะ ที่มีชื่อเสียงมากคณะหนึ่ง คือ คณะละครชาตรีของครูพูน เรืองนนท์ ซึ่งมารดาของคุณจารุวรรณ สุขสาคร และ คุณชูเกียรติ แก้วฟ้าเจริญ ได้รับการถ่ายทอดจากย่าทวดและยายทวดจนกลายมาเป็นนางละคร ท�ำงานร่วมกับครูพูน เรืองนนท์ และยังเป็นลูกโรงให้กับ คณะไทยศิริ ซึ่งเป็นคณะละครที่ร�ำแก้บนที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ และร่วมงาน กับคณะบ้านนราศิลป์ด้วย ละครชาตรีต้องรูปแบบการแสดงด้วยการรับเอาละครนอก เข้ามาผสมผสาน ผู้แสดงละครเยอะขึ้นมีทั้งชายและหญิง บางครั้ง มีการใช้เครื่องดนตรีอื่น เช่น ระนาดเอก เข้ามาบรรเลงเดินท�ำนอง ประกอบการแสดง นอกเหนือจากเครื่องดนตรีที่ ใช้เป็นหลัก ได้แก่ โทน กลองตุ๊ก กรับ ปี่ ฉิ่ง ส่วนบทบาทของการแสดงละครชาตรีใน ช่วงเวลานี้พบว่า ยังคงถูกใช้ในการแก้บนและแสดงเป็นงานมหรสพ ซึ่งความเฟื่องฟูของละครชาตรีในกรุงเทพฯ นั้นส่วนหนึ่งเห็นได้จาก จ�ำนวนรอบของการแสดงละครชาตรี ในหนึ่งวันกล่าวได้ว่ามีละคร ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจนถึงช่วงค�่ำเลยทีเดียว ส่วนคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ เป็นคณะละครที่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๙ โดยนายจักรวาล มงคล สุข ผู้หนึ่งที่สืบทอดละครชาตรีมาจากนางเต้าหยิน สวัสดิ์ไชย หรือที่ คนพื้นที่ว่า ย่ายิ้น โดยที่นางเต้าหยิน หรือ ย่ายิ้นเป็นผู้ที่ได้ร�่ำเรียน ละครชาตรีมาจากแม่ครูวอน สวัสดิ์ ไชยอีกทีหนึ่ง คุณจักรวาลไม่ ทราบว่าแม่ครูวอนสืบทอดร�่ำเรียนมาจากใคร รู้จากการเล่าต่อๆ กัน มาว่าสืบมาจากครู “โนราห์” ทีโ่ ดยสารเรือส�ำเภาขึน้ มาจากทางภาคใต้ ประสบเหตุเรืออับปาง ผู้ที่รอดได้ต่างขึ้นฝั่งตามที่ต่างๆ เช่น ที่แหลม สิงห์ หาดเจ้าหลาว บางกะไชย ฯลฯ จนคนทางบางกะไชยเรียกละคร

จดหมายข่าว

11

เท่งตุ๊กนี้ว่า “ละครเรือแตก” ตามต�ำนานที่เล่ากันมาและยังมีบ้านเรือ แตกหน้าหาดแถบบางกะไชยอยู่ที่นี่ด้วย และชื่อเรียกละครเท่งตุ๊ก เป็นการเรียกตามเครือ่ งดนตรีทปี่ ระกอบการแสดงคือ โทนกับกลองตุก๊ จากการศึกษาของ “ประภาศรี ศรีประดิษฐ์” เรื่อง “ละคร เท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ข้อ เสนอประมวลข้อมูลจากทั้งทางฝั่งแหลมสิงห์ว่า ละครเท่งตุ๊กสืบทอด มาจากครูขุนทองและคณะละครเร่มาจากทางใต้ แล้วครูทิม ภากกิจ คนบ้านเพซึง่ มาแต่งงานกับหญิงสาวทีบ่ า้ นช�ำห้าน ฝัง่ อ�ำเภอแหลมสิงห์

นายจักรวาล มงคลสุข หัวหน้าคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ รับสืบทอดต่อมา ประเมินเวลาได้วา่ ท่านน่าจะเกิดในช่วงปลายรัชกาล ที่ ๓ และท�ำคณะละครเท่งตุก๊ จนโด่งดังในช่วงรัชกาลที่ ๔ และรัชกาล ที่ ๕ จนสอนและสืบทอดให้กบั ลูกหลานทางฝัง่ แหลมสิงห์ทยี่ งั คงแสดง ละครเท่งตุก๊ กันอยู่ โดยมีแบบแผนค่อนข้างแตกต่างไปจากทางฝัง่ บาง กะไชยทีแ่ ม่ครูวอนและแม่ครูทา่ นอืน่ ๆ น�ำไปเผยแพร่ เนือ่ งจากทัง้ สอง พื้นที่อยู่คนละฝั่งแม่น�้ำจันทบุรี การติดต่อต้องข้ามเรือ จึงเสมือนแยก กันอยู่และมีความต่างกันในการสืบทอด อันเนื่องจากท้องถิ่นและการ ถ่ายทอดภายในสายตระกูลด้วย การแสดงของคณะเท่งตุก๊ แต่ละคณะมีความแตกต่างกัน แม้ ต่างรู้ถึงแบบแผนการร�ำ เช่น ร�ำแม่บทต้องมี ๑๒ ท่า แต่ก็ต่างกันใน การจัดล�ำดับหรือท่าร�ำและเนื้อร้อง ไม่มีรูปแบบของการถ่ายทอดที่ แน่นอนและตายตัว การเรียนรู้ผ่านกระบวนการฝึกฝนและการจดจ�ำ เป็นหลัก บางครั้งอาจเป็นเพียงการฝึกฝนเพื่อให้รู้ถึงเค้าโครงของบท ละครที่ตนเล่น และเมื่อแสดงจึงเป็นการด้นกลอนสดตามบทบาท ประการหนึ่งท�ำให้เห็นได้ว่าคณะละครชาตรีทั้งสองคณะมี ลักษณะบางประการร่วมกันคือการรับอิทธิพลศิลปะการแสดงจาก ทางปักษ์ใต้ ที่เรียกว่า “โนราห์ชาตรี” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการรับ วัฒนธรรมจากภายนอกผ่านการคมนาคมหรืออพยพย้ายถิ่นฐาน ดัง จะเห็นได้ว่ารูปแบบของการแพร่กระจายวัฒนธรรมจากทางปักษ์ใต้ จะสัมพันธ์กับทางพื้นที่ชายฝั่ง และต่อมาทั้งสองคณะละครชาตรี

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ต่างได้น�ำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของตน เรียม บทเวลา และบทยามบ่าย โดยในการแสดงหนึ่งครั้งจะเลือกบท จนมีเอกลักษณ์ที่มีความแตกต่างกันออกไป ใดบทหนึ่งขึ้นมาแสดง โดยทางคณะจะพิจารณาจากลักษณะของงาน ว่าจัดออกในรูปแบบไหน เนื้อหาในงานหรือสิ่งที่ทางเจ้าภาพต้องการ ความเหมือนและความแตกต่าง แบบแผนที่หลากหลายของละคร คือเรื่องอะไร เช่น หากไปแสดงงานวันแม่ ก็จะเลือกบทไหว้มารดา ชาตรี ฯลฯ และการร้องบทร�ำซัดไหว้ครูละครชาตรีจะมีการร้อง ๒ ท�ำนอง การแสดงละครชาตรีในแต่ละพื้นที่ แม้ว่าจะมีแบบแผนการ ได้แก่ การร้องแบบท�ำนองชาตรี เช่น บทควายเปลี่ยว และการร้อง แสดงที่คล้ายคลึงกันหากแต่รูปแบบและรายละเอียดของแต่ละคณะ แบบก�ำพรัด เช่น บทครูสอน จะมีต้นเสียงร้อง ผู้ร�ำมีลูกคู่รับ ต่อจาก ต่างก็มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสืบทอดและการ บทร�ำซัดไหว้ครูละครชาตรีจึงเป็นการร�ำซัดซึ่งเป็นการร�ำ ๑๒ ท่า จึง ปรับตัวของทางคณะละครดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบการแสดง เป็นอันจบในส่วนของพิธกี รรมและเริม่ การแสดงละคร ขณะทีข่ นั้ ตอน ช่วง “พิธีกรรม” ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนเริ่มเล่นละคร ของการร�ำแก้บน คือ เป็นการ “ร�ำถวายมือ” ประกอบไปด้วยการร้อง คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ มีแบบแผนของการแสดงละครชาตรี เชื้อ ร�ำเพลงช้าและร�ำเพลงเร็ว จบด้วยการลงลา คือ หากเป็นการแสดงละครทั้งวัน ช่วงเช้า จะเริ่มแสดงประมาณ ๙ การแสดงละครชาตรีจึงมีพิธีกรรมที่มีขั้นตอนมากกว่าและ โมงเริ่มด้วยการโหมโรง ร�ำซัดไหว้ครูละครชาตรีตัดสินบน และเล่น มีความซับซ้อนกว่าการร�ำแก้บน โดยเฉพาะในส่วนของพิธีกรรมร�ำ ละคร ลักษณะละครที่แสดงนั้นเนื้อเรื่องที่น�ำมาแสดงเป็นลักษณะ ซัดละครชาตรีนนั้ เป็นขัน้ ตอนหนึง่ ทีส่ ำ� คัญในพิธกี รรมเพราะเชือ่ กันว่า ละครนอก เช่น สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ แก้วหน้าม้า สังข์ศิลป์ชัย ฯลฯ เป็นการร�ำเพือ่ ป้องกันสิง่ ไม่ดที อี่ าจท�ำให้เกิดอันตรายหรืออุปสรรคต่อ โดยเจ้าภาพจะเป็นผู้ก�ำหนดเรื่องที่จะแสดง ในฉากลงโรง เริ่มด้วย การแสดง การไหว้ครูแบบดั้งเดิมการร�ำซัดจึงต้องร้องเชิญพระวิษณุ กรรมมาประทับ ณ เสากลางโรง เปรียบเสมือนเป็นเสามหาชัย ร�ำ ไปพร้อมบริกรรมคาถาใช้ผู้ชายเป็นหลัก ร�ำคนเดียว และเป็นการร�ำ ๒ ครั้ง กล่าวคือก่อนการเริ่มเล่นละครจะเป็นการร�ำซัดโดยเวียนทาง ซ้ายและเมื่อละครจบลงตัวนายโรงจะออกมาร�ำอีกโดยการเวียนขวา เป็นการคลายยันต์ ซึง่ ผูร้ ำ� จะมีคาถาอาคมประจ�ำตัวเองอยูแ่ ล้วในการ ท�ำพิธกี รรมแต่เมือ่ ใช้ผหู้ ญิงในการร�ำซัดสิง่ เหล่านีก้ ส็ ญ ู หายไปจะมีแต่ คาถาบูชาครูเท่านั้น การแสดงของคณะละครเท่งตุก๊ จักรวาล มงคลศิลป์ เริม่ จาก ขั้นตอนพิธีกรรม โหมโรงและการร�ำซัดบทไหว้ครู โดยจะมีตัวพระ เป็นผู้ร�ำ ๒ คน มักจะร�ำเป็นคู่ ขึ้นอยู่กับการว่าจ้างของเจ้าภาพซึ่ง อาจมีสูงสุดได้ถึง ๕ คู่ ส่วนบทไหว้ครู ทางคณะได้มา ๕ บท ได้แก่ บทคุณครู บทสอนรวย บทสอนร�ำ บทตัวเรียม และบทตัวพี่ เนื้อหา (ซ้าย) นายชูเกียรติ แก้วฟ้าเจริญ บางบทก็มีค�ำร้องที่คล้ายและสื่อความหมายเดียวกัน เมื่อแล้วเสร็จจึง หัวหน้าคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ เป็นการเริม่ แสดงละคร เล่นเรือ่ งบทละครนอกเช่นเดียวกับคณะจงกล (ขวา) นางจารุวรรณ สุขสาคร โปร่งน�้ำใจ เช่น เรื่อง สังข์ทอง พระอภัยมณี และยังรวมไปถึงเรื่อง ที่ปรึกษาคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ จักรๆ วงศ์ๆ เช่น พระไชยมงคล ขันทอง มาลัยทอง และตะเพียน ตัวพระเอกและเมื่อการแสดงจบจะมีผู้สรุปคือผู้ที่เป็นตัวตลก พิธีจะ ทอง ฯลฯ โดยวิธีการแสดงจะเป็นการแสดงตามโครงเรื่องแต่บทพูด ด�ำเนินไปจนถึงตอนเที่ยงจึงหยุดพัก ให้เจ้าภาพลาเครื่องสังเวยไป เจรจา บทกลอนจะเป็นการด้นสดของผู้แสดง ช่วงลงโรง (ฉากแรก) ปรุงอาหารหรือรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนตอนบ่ายก็ และลาโรง (หลังแสดงจบ) ทางคณะจะใช้ผแู้ สดงทีเ่ ป็นตัวตลกมาเป็น จะเป็นการโหมโรงโดยที่แต่เดิมจะเป็นการร้องบทร�ำซัดอีกรอบหนึ่ง ผู้บรรยาย การแสดงในหนึ่งรอบเรียกว่า “แต่ง” ระยะเวลาแต่ละรอบ แต่จะไม่รำ� เพียงแต่รอ้ งเพือ่ เป็นสัญญาณเรียกผูช้ มให้รวู้ า่ จะเริม่ การ ประมาณ ๓ ชั่วโมง โดยที่วันหนึ่งอาจแสดงได้ถึง ๓ แต่ง ตั้งแต่ช่วง แสดงในช่วงบ่าย การแสดงละครชาตรีบางครัง้ อาจใช้เวลาถึงช่วงเย็น เช้า-เที่ยง ช่วงเที่ยง-บ่าย และช่วงหัวค�่ำจนดึก ไม่มีการเซ่นไหว้ด้วย หรือค�่ำมืด และในแต่ละการแสดงครั้งหนึ่งจะเรียกว่า “เวลา” ซึ่งทาง ของไหว้ซึ่งต่างจากทางคณะจงกล โปร่งน�้ำใจ ฝั่งละครเท่งตุ๊กเรียกว่า “แต่ง” ส่วนการร�ำแก้บนนั้น จะมีทั้งแก้บนตามสวนผลไม้ บ่อกุ้ง บทร�ำซัดไหว้ครูละครชาตรี ทางคณะจงกล โปร่งน�้ำใจมี ๗ และศาลเจ้าจีนตามที่ต่างๆ เช่น ศาลเจ้าพ่อแหลมสิงห์ อ�ำเภอแหลม บท ได้แก่ บทสอนร�ำ บทครูสอน บทไหว้มารดา บทควายเปลีย่ ว บทตัว สิงห์ จังหวัดจันทบุรี, ศาลเจ้าพ่อชากไร่แตง อ�ำเภอแกลง จังหวัด

จดหมายข่าว

12

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


สาธิตการร�ำซัดบทไหว้ครู ของคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ จันทบุรี ระยอง, ศาลเจ้าพ่อเกาะช้าง อ�ำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด รวมทั้ง ในงานเทศกาลจีน เช่น งานประเพณีทิ้งกระจาด งานตรุษ จีน จะมี การว่าจ้างคณะละครเท่งตุ๊กไปร�ำแก้บน หากเป็นการร�ำไหว้ศาลเจ้า จะเรียกว่า “ร�ำไหว้เจ้า” แต่ถ้าเป็นการร�ำแก้บนทั่วไปจะเรียกว่า “ร�ำ ถวายมือ” ร�ำกันอยู่ในพื้นที่สวนตามสภาพแวดล้อมของผู้ว่าจ้าง ผู้ที่ ท�ำร�ำซัดไหว้ครูก็จะมีคาถาอาคมไว้ป้องกันสิ่งไม่ดี แต่ปัจจุบันไม่ได้มี คนสืบทอดคาถาอาคมดังกล่าวแล้วเช่นกัน ขัน้ ตอนทีถ่ อื ว่าเป็นขัน้ ตอน ส�ำคัญของการร�ำแก้บนคือ การเอ่ยชื่อเจ้าภาพ โดยต้องเอ่ยชื่อให้ถูก ต้องและครบถ้วนเพื่อความสบายใจของเจ้าภาพ ทั้ ง การร�ำ แก้ บ นสวนผลไม้ แ ละการร�ำ แก้ บ นศาลเจ้ า จี น เป็ น การสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งภู มิ วั ฒ นธรรม และระบบความเชื่อของคนในจัน ทบุรี ได้เป็นอย่างดี อาชีพด้าน เกษตรกรรมโดยเฉพาะการท�ำสวนผลไม้ ซึ่งเป็นรายได้ทางเศรษฐกิจ ทีส่ ำ� คัญของพืน้ ที่ อย่างไรก็ตามสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในการประกอบอาชีพการ ท�ำสวนนั้น คือ “ความเสี่ยง” ที่ส่งผลถึงตัวชาวสวน เนื่องจากการ ลงทุนเพาะปลูกพืชต่างๆ มีปจั จัยทีอ่ ยูน่ อกเหนือการควบคุมของมนุษย์ เช่น สภาพภูมอิ ากาศเท่ากับการอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอน สิง่ หนึง่ ทีช่ ว่ ย บรรเทาความกังวลใจและสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพ ท�ำสวนได้คือ การ “บน” ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อช่วยให้ตนได้ผลผลิตที่ดี หากได้ผลผลิตมากพอตามที่ได้บนขอไว้กบั สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิก์ จ็ ะต้องแก้บน งานร�ำแก้บนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวผลผลิตตาม ฤดูกาล และไม่เพียงแต่การท�ำสวนเท่านั้น ที่ต้องใช้การบนต่อสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์แต่ยังรวมไปถึงการประกอบอาชีพอื่นที่ต้องใช้การลงทุน มหาศาลและมีความไม่แน่นอน เช่น บ่อกุ้ง ไปจนถึงการบนต่างๆ ในชีวิตปกติ รวมทั้งราคาของการจ้างคณะละครเท่งตุ๊กเมื่อเทียบกับ มหรสพอื่นๆ จะถูกกว่ามาก จึงท�ำให้เป็นตัวเลือกที่ถูกน�ำมาใช้ในการ แก้บน

จดหมายข่าว

13

ละครเท่งตุ๊กเป็นมหรสพที่มีความส�ำคัญและเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมทัง้ ในแง่วฒ ั นธรรมบันเทิงและสือ่ กลางในการตัดสินบน รวม ทัง้ เป็นวัฒนธรรมทีผ่ กู พันและใกล้ชดิ กับวิถชี วี ติ ของผูค้ นในจันทบุรมี า อย่างยาวนาน ความเหมือนและความต่างระหว่างคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�ำ้ ใจ และคณะละครเท่งตุก๊ พบว่าทัง้ ในส่วนของ เนือ้ ร้อง ดนตรี ท่าร�ำ ต่างก็มคี วามคล้ายและความแตกต่าง เช่น ร�ำซัดบูชาครู ในด้าน ของค�ำร้อง ทั้งสองคณะมีการสื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกันคือ การบูชาคุณครู แต่เนื้อหาและการใช้ค�ำมีความต่างกัน ส่วนท่าร�ำทาง คณะละครจงกล โปร่งน�ำ้ ใจจะมีลกั ษณะทีเ่ นิบช้ากว่า ร�ำซัดใช้เพียงคน เดียว ส่วนทางคณะจักรวาลมงคลศิลป์จะมีทา่ ทางทีก่ ระชับและร�ำเป็น คู่ ในส่วนของเนือ้ ร้อง บทไหว้ครูหรือบทคุณครูทมี่ คี วามคล้ายคลึงกัน นัน้ จะพบว่าช่วง ๒ วรรคแรกจะร้องเหมือนกันกล่าวว่า ...คุณเอยคุณครู เหมือนอย่างฝัง่ แม่นำ�้ พระคงคา...” หากแต่วรรคต่อมาค�ำเริม่ แตกต่าง กันบ้างเล็กน้อยแต่ยังคงสื่อความหมายเหมือนกัน จากบทไหว้ครูของคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�ำ้ ใจ กล่าวว่า “...สิ้นๆ จะแห้งแล้วก็ไหลมา ยังสิ้นไม่รู้สิ้นไม่รู้สุด...” ส่วนทางคณะ ละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ กล่าวว่า “...รินๆ น�้ำจะแห้งยังไหล มา ยังไม่รู้สิ้นไม่รู้สุด...” และเมื่อถึง ๒ วรรคท้ายสุดทางคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ กล่าวว่า “...ขอศัพท์ขอเสียง ให้ลูกดังก้อง เหมือนฆ้องชวา หล่อใหม่...” ทางคณะจักรวาลมงคลศิลป์ “...ขอให้ศพั ท์เสียงลูกล้อไหล กล่อมนวลกล่อมใยเจ้าน้องนาง...” จะเห็นได้วา่ วรรคจบใช้คำ� ทีต่ า่ งกัน ออกไปสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสื่อความหมายเดียวกันคือขอให้ ชื่อเสียงของตนนั้นเป็นไปในทิศทางที่ดี ลักษณะความเหมือนและความต่างระหว่างคณะละครชาตรี จงกล โปร่งน�้ำใจ และคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ ย่อม สะท้อนให้เห็นถึงการมีรากวัฒนธรรม “ร่วม” กันอย่างชัดเจน ขณะ เดียวกันในความห่างไกลของพื้นที่ท�ำให้มีพัฒนาการปรับเปลี่ยนเป็น เรื่องเฉพาะของตนเอง ละครชาตรี นางเลิ้ ง และละครเท่ ง ตุ ๊ ก การเผชิ ญ หน้ า ต่ อ ความ เปลี่ยนแปลงและการปรับตัว ท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลถึง การด�ำรงอยู่ของคณะละครของชาวบ้านทั้งสิ้น แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่แต่ละคณะละครเผชิญ ก็มีความแตกต่างและมีวิธีปรับตัวที่ต่างกัน คณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจเริ่มประสบปัญหาจาก จ�ำนวนผู้ชมที่ ให้ความสนใจลดน้อยลงไปตามอายุขัย ในขณะที่คน รุ่นใหม่ต่างก็รับวัฒนธรรมบันเทิงสมัยใหม่ มหรสพที่เป็นละครชาตรี แบบที่เคยเล่นกัน มาเริ่มลดน้อยลงไปมาก สถานการณ์ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางคณะละครได้เข้าไปแสดงประจ�ำในพื้นที่ศาลพระ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พรหม เอราวัณ บริเวณแยกราชประสงค์ เป็นคณะละครที่ร�ำแก้บน ให้กับผู้ที่มาบนบานต่อพระพรหมเพื่อให้สมปรารถนา อีกประการ หนึ่งที่ท�ำให้ทางคณะมีรายได้ที่พอเลี้ยงชีพและอยู่มาได้อย่างดีสืบมา จนปัจจุบัน แต่ถึงแม้คนรุ่นใหม่ยังคงจ้างให้คณะละครฯ ได้ออกไป แสดงร�ำถวายในงานประจ�ำปี ณ ที่ต่างๆ แต่การแสดงก็ถูกตัดทอน เหลือเพียงขั้นตอนพิธีกรรมเท่านั้น คือ การร�ำถวายมือ ซึ่งใช้เวลา เพียงครึ่งชั่วโมงต่างจากแต่เดิมที่การร�ำจะประกอบไปด้วย การร้อง เชื้อ ร�ำเพลงช้า ร�ำเพลงเร็ว ลงลา และด้วยระยะเวลาแสดงที่สั้นลง ทางคณะจึงพยายามปรับเปลีย่ นวิธกี ารแสดงให้นา่ สนใจและแปลกใหม่ เพิม่ อุปกรณ์ประกอบการแสดงเข้าไป เช่น ใช้พดั ประกอบการแสดงจีน ร�ำพัด ใช้ดอกบัวประกอบการแสดงระบ�ำดอกบัว ใช้พวงมาลัยประกอบ การแสดงฟ้อนมาลัย ฯลฯ การร�ำตัดสินบนในศาลพระพรหมระยะแรกจากที่เคยร�ำวน รอบพระพรหมทั้ง ๔ พระพักตร์ ใช้เวลา ๑๐ นาทีต่อรอบ เมื่อได้รับ ความนิยมมากเข้าก็เหลือเพียง ๕ นาทีและ ๒ นาทีตามล�ำดับและร�ำ เพียงครึ่งเพลง ขั้นตอนที่ส�ำคัญคือการเอ่ยชื่อผู้แก้บนให้ถูกต้องและ ชัดเจน ดังนั้นสถานภาพปัจจุบันของคณะละครชาตรีจงกลโปร่งน�้ำใจ จึงกลายเป็นคณะละครร�ำแก้บนเป็นหลัก จากแต่เดิมที่เล่นครบทุก ขั้นตอน หัวหน้าและทีป่ รึกษาของคณะละครจงกลโปร่งน�ำ้ ใจรูส้ กึ ถูก จ�ำกัดอยู่บนเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ของเมืองหลวง การแก้บนเป็นเพียงเครื่องมือที่ท�ำให้เกิดความสบายใจเพียงชั่วขณะ ของเจ้าภาพด้วยการร�ำสั้นๆ เพียงครึ่งเพลงด้วยเงื่อนไขของจ�ำนวน เจ้าภาพที่มีจ�ำนวนมาก ต้องตอบสนองต่อความเชื่อโดยที่เจ้าภาพเห็น ความส�ำคัญของการร�ำแก้บนเพียงแค่ได้เอ่ยชือ่ ตนเท่านัน้ ไม่ได้สนใจใน ขั้นตอนของการร�ำแบบพิธีกรรม และหากคนทั่วไปไม่รู้ข้อจ�ำกัดและ บริบทของการแสดงร�ำที่ศาลพระพรหม ก็อาจท�ำให้เกิดความเข้าใจ ผิดว่าละครชาตรีเป็นเพียงการร�ำสั้นๆ เพื่อแก้บนเท่านั้น แม้ทกุ วันนีท้ างคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�ำ้ ใจมีรายได้หลัก ประจ�ำอยู่ ณ ศาลพระพรหม เอราวัณ แยกราชประสงค์ก็ตาม แต่ใน อีกด้านหนึง่ ทางคณะฯ ก็พยายามสร้างพืน้ ทีท่ างสังคมและการยอมรับ จากหน่วยงานรัฐและบุคคลทัว่ ไปด้วยการน�ำเงินส่วนหนึง่ มาใช้เป็นค่า ใช้จ่ายในการแสดงงานตามเวทีทางศิลปวัฒนธรรม เช่น เวทีสังคีต ศาลา สถาบันคึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้งการออกไปฝึกหัดนักเรียน นักศึกษาตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนทางด้านคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์ ยังคงมี บทบาทในการร�ำแก้บน หากแต่รูปแบบการแสดงจ�ำเป็นต้องปรับตัว เนือ่ งจากความนิยมของมหรสพอืน่ ตามช่วงเวลา เช่น การปรับตัวตาม การแสดงและการแต่งตัวของลิเก เล่นเรื่องราวเหมือนอย่างลิเก แต่ ยังคงใช้แบบละครเท่งตุ๊กและยังคงระเบียบแบบแผนการแสดงของ ละครเท่งตุ๊กไว้ คือขั้นตอนพิธีกรรมก่อนเริ่มการแสดง บางช่วงเวลา คณะละครเท่งตุก๊ มีการน�ำเอาวงดนตรีสากลและหางเครือ่ งเข้ามาเล่น

จดหมายข่าว

สาธิตการร�ำซัดไหว้ครูละครชาตรี คณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ กรุงเทพฯ ผสมในวงตามความนิยมในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม ในมุมของผู้ชมที่ชื่นชอบละครเท่งตุ๊กกลับไม่ เห็นด้วยกับการเปลีย่ นแปลงดังกล่าว จนกระทัง่ เลิกความนิยมนี้ไป ทัง้ เป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานทางภาครัฐเริ่มเข้ามาศึกษาเก็บข้อมูล ควบคู่ ไปกับการเกิดขึ้นของกระแสอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ยิ่งไปกว่านั้น ค่า ใช้จา่ ยของชุดเครือ่ งแต่งกายแบบลิเกทีม่ รี าคาสูงและมักเปลีย่ นแปลง ตามความนิยมอยูต่ ลอดเวลาจึงเป็นภาระ ท�ำให้ตอ้ งย้อนกลับมาแสดง ละครเท่งตุ๊กแบบเดิม แม้ว่าบางครั้งจะต้องเจอกับปัญหาการถูก ตัดราคาจากคณะละครอื่น แต่ก็ยังความเป็นวัฒนธรรมบันเทิงหรือ มหรสพที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ จึงท�ำให้ยังคงมีราย ได้อย่างต่อเนื่อง และทางหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดยังให้หัวหน้า คณะฝึกซ้อมละครตามโรงเรียนเพือ่ เป็นการรักษาศิลปะการแสดง จน มีเด็กและเยาวชนเข้ามาสู่อาชีพนักแสดงนี้จ�ำนวนไม่น้อย เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมสถานการณ์ความเป็นอยู่ของทั้ง สองคณะละครพบว่า คณะละครชาตรีจงกลโปร่งน�้ำใจในปัจจุบัน ด�ำรงอยู่ภายใต้ภาวะของการตอบสนองต่อการแก้บนของชาวไทย และชาวต่างชาติจ�ำนวนมาก และอยู่ในกรอบของการอนุรักษ์เท่านั้น แม้ว่าการแก้บนจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อของสังคม และวัฒนธรรมในกรุงเทพฯ หากแต่การแก้บนด้วยวิธีการถวายละคร ชาตรีเช่นเดิมกลับไม่ตอบสนองต่อวิถชี วี ติ ของคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบนั เนือ่ งจากเจ้าภาพไม่มเี วลามากพอทีจ่ ะชมมหรสพละครชาตรีและยังดู ว่าเป็นสิง่ ล้าสมัยแต่จำ� ต้องท�ำแก้บน สุดท้ายจึงเหลือเพียงการร�ำแก้บน สั้นๆ เพียง ๒ นาที เพียงพอที่จะได้เอ่ยชื่อเจ้าภาพผู้แก้บนเท่านั้น การแสดงละครชาตรีในปัจจุบันก็อยู่ในสถานะที่ถูกอนุรักษ์ ไว้เป็นเพียงการแสดงเพื่อรักษาขนบประเพณีทางวัฒนธรรมหาได้ สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันไม่ หากแต่เป็นการแสดง ของผู้ที่สนใจเฉพาะทาง ขณะทีท่ างคณะละครเท่งตุก๊ จักรวาลมงคลศิลป์ แม้วา่ จะต้อง เผชิญกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ทแี่ พร่กระจายเข้าไปในพืน้ ที่ จนท�ำให้ทาง 14

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


คณะต้องปรับตัวด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงไปบ้างก็ตาม แต่เนือ่ งจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของคนในท้องถิน่ ทีย่ งั มีวถิ ี ชีวติ สืบเนือ่ งมาแต่เดิม การท�ำเกษตรกรรมและยิง่ มีการลงทุนมากเท่า ไหร่ก็เกิดความเสี่ยงมากเท่านั้น ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในพื้นที่ ยังคงอยู่และมีแต่เพิ่มขึ้นทุกวัน ท�ำให้คณะละครชาตรีเท่งตุ๊กจักรวาล มงคลศิลป์ยงั คงมีบทบาทและเป็นส่วนหนึง่ ของวิถชี วี ติ ของชาวสวน ใน การเป็นมหรสพส�ำหรับแก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งยังมีคนเฒ่าคน แก่หรือเด็กๆ ที่ชื่นชอบการแสดงละครเท่งตุ๊กอันสนุกสนานเร้าใจอยู่ บ้าง จึงท�ำให้ละครชาตรีจักรวาลมงคลศิลป์สามารถด�ำรงอยู่ได้ในรูป แบบดั้งเดิม

ขอขอบคุณ คุณจักรวาล มงคลสุข : หัวหน้าคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์, คุณชูเกียรติ แก้วฟ้าเจริญ หัวหน้าคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ, คุณจารุวรรณ สุขสาคร ที่ปรึกษาคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ, คุณศุภธิดา มั่นใจ นักแสดงคณะละครชาตรีจงกล โปร่งน�้ำใจ , คุณ ปฏิภาน หอมโชติ นักแสดงคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์, คุณ นิภาวรรค นาคคง นักแสดงคณะละครเท่งตุ๊กจักรวาลมงคลศิลป์

ระบบฐานข้อมูลภาพ ศรีศักร-มานิต วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ โดย พชรพงษ์ พุฒซ้อน

ความทรงจ�ำผ่านม้วนฟิล์มขาวด�ำ จากการท�ำงานของ อาจารย์มานิต และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม จากการท�ำงานเดินทางส�ำรวจเก็บข้อมูลตามพืน้ ทีต่ า่ งๆ อย่าง ชุมชน แหล่งโบราณคดี และโบราณสถานที่ส�ำคัญ ทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้ ของอาจารย์มานิตและ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม การบันทึกโดยการถ่ายรูปคือหัวใจหลักใน วิธกี ารศึกษาทางด้านประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ประวัตศิ าสตร์โบราณคดี และมานุษยวิทยามาโดยตลอด คุณประโยชน์จากการลงพื้นที่ส�ำรวจทั้งของอาจารย์มานิต และอาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดมได้สร้างฐานข้อมูลเบือ้ งต้นเป็นบทความ หนังสือ งานวิจยั มากมาย ขอยกตัวอย่างแนวทางและงานส�ำรวจเพียง บางแห่งอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ผู้อ่านพอจะเห็นภาพและเข้าใจ เช่น งาน ส�ำรวจแหล่งโบราณคดีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภทแหล่ง โบราณคดีบา้ นเชียงซึง่ กระจายกันอยูท่ วั่ บริเวณลุม่ น�ำ้ สงครามตอนบน ประมาณ ๘๓ แหล่ง การส�ำรวจแหล่งโบราณคดีในบริเวณลุม่ น�ำ้ มูล-ชี ตอนล่างตั้งแต่บริเวณจังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษไปจนถึงอุบลราชธานี โดยมีแนวทางในการใช้ภาพถ่ายทาง อากาศเข้ามาเป็นเครื่องช่วยหาต�ำแหน่งชุมชนโบราณ ท�ำให้เห็นภาพ รวมของชุมชนและท้องถิน่ อย่างชัดเจน สามารถใช้ในการวางแผนและ วางโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยหลักการศึกษาและเก็บข้อมูลของอาจารย์คอื ต้องลงพืน้ ที่ เพือ่ ให้เห็นวิถชี วี ติ ของคนทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ท้องถิน่ ดังนัน้ ภาพถ่าย เก่าทีเ่ ห็นจากฟิลม์ ขาวด�ำและภาพถ่ายทางอากาศในยุคเริม่ แรกจึงเป็น ตัวแทนทีเ่ ล่าถึงความทรงจ�ำจากการท�ำงานของท่านอาจารย์ทผี่ า่ นมา

จดหมายข่าว

15

ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนเองนอกจากจบสาขาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและใน ขณะที่เรียนอยู่ก็ ได้เรียนรู้วิธีการศึกษาและหลักการประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมแล้ว ยังเป็นความโชคดีของผู้ เขียนด้วยที่ได้มโี อกาสเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ามาท�ำงานจัดระบบภาพ ฟิลม์ ขาวด�ำจากการท�ำงานอันต่อเนือ่ งยาวนานกว่า ๕๐ ปีมาแล้ว จาก การออกส�ำรวจพื้นที่ต่างๆ ของอาจารย์มานิต และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อันทรงคุณค่าทางงานวิชาการ ขณะนีท้ างมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุไ์ ด้ดำ� เนินการจัดการ รวบรวมภาพถ่ายเก่าต่างๆ ที่เป็นฟิล์มขาวด�ำและภาพ ตลอดจนฟิล์ม สไลด์และไฟล์ดิจิทัลจัดระบบฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลเพื่อบันทึก ความทรงจ�ำจากการท�ำงาน การออกส�ำรวจพื้นที่ต่างๆ ของอาจารย์ มานิต และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม รวบรวมให้เป็นหมวดหมู่อย่าง เป็นระบบ โดยการน�ำโปรแกรมการจัดการภาพเข้ามาช่วยด�ำเนินการ ตัวอย่าง เช่น การจัดระบบฟิล์มขาวด�ำ โดยเริ่มจากการ เปลีย่ นรหัสภาพของม้วนฟิลม์ ทีเ่ ป็นไฟล์จากการสแกน ใส่รายละเอียด ข้อมูลของภาพฟิล์มในแต่ละภาพ และเป็นการรันชื่อรหัสภาพใหม่ ภายในคราวเดียวกัน ยกตัวอย่างภาพแรกกับรหัสภาพ คือ FBWR001 การอ่านรหัสภาพมีความหมาย ดังนี้ F หมายถึง ฟิล์ม BW หมายถึง ด�ำ ขาว R หมายถึง ม้วน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


FBWR001 หมายถึง ฟิล์มขาวด�ำม้วนที่หนึ่ง FBWR00101 หมายถึง ฟิล์มขาวด�ำม้วนที่หนึ่ง รูปที่หนึ่ง FBWR00101 - FBWR00134 หมายถึง ฟิล์มขาวด�ำม้วนที่ หนึ่งรูปที่หนึ่ง ถึง ฟิล์มขาวด�ำม้วนที่หนึ่งรูปที่สามสิบสี่ เมื่อจัดแยกและคัดกรองข้อมูลภาพฟิล์มขาวด�ำที่สแกนเป็น ภาพดิจิทัลให้เป็นอัลบั้มๆ เรียงตามรหัสแล้ว จึงจัดท�ำ Keyword ของ รูปภาพ ซึ่งเมื่อน�ำไปใช้งานกับโปรแกรมจัดการภาพแล้วจะสามารถ ค้นหาภาพในรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการจัดระบบภาพขาวด�ำที่เป็นภาพเก่า ฟิล์ม สไลด์ขาวด�ำและสี ฟิล์มขนาดใหญ่ Neopan เป็นต้น ภาพถ่ายการส�ำรวจโบราณสถาน ในภาพคือปราสาทหินพนมรุ้ง ในภาพ บทความทีเ่ ล่าด้วยภาพเกีย่ วกับแนวทางและประสบการณ์การ ท�ำงานของอาจารย์มานิตและอาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม ข้อมูลในด้าน ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ประวัตศิ าสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา เพือ่ เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจและต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อประโยชน์ ทางด้านงานวิชาการต่อไป

การจับคู่ระหว่างม้วนฟิล์มขาวด�ำ FBWR กับภาพ Contact Sheet (CS) วัตถุประสงค์ก็เพื่อหาส�ำรองข้อมูล หากฟิล์มช�ำรุดเสียหาย เกินที่จะสแกนภาพเพื่ออนุรักษ์ได้ และสะดวกต่อการค้นหาในระบบ ดิจทิ ลั ที่ใช้โปรแกรมการจัดภาพค้นหาความหมายของภาพจ�ำนวนมาก ได้อย่างรวดเร็ว โดยขณะนีอ้ ยู่ในขัน้ ตอนการปรับแต่งภาพ โดยน�ำโปรแกรม การแต่งภาพช่วยในการจัดการในบางภาพที่ยังไม่มีการปรับแต่งจน ท�ำให้ภาพในระบบดิจทิ ลั มีคณ ุ ภาพดีขนึ้ กว่าต้นฉบับเดิมในบางส่วน แม้ บางส่วนจะต้องใช้เวลาในการจัดแต่งภาพอย่างเอาใจใส่เข้มข้นก็ตาม และนอกจากนี้ ฟิล์มบางส่วนอยู่ในขั้นตอนการอนุรักษ์ภาพฟิล์มขาว ด�ำที่ช�ำรุดและขั้นตอนการสแกนฟิล์มขาวด�ำ ซึ่งยังมีอีกจ�ำนวนหนึ่งที่ ยังไม่ท�ำให้แล้วเสร็จ การจัดระบบภาพฟิล์มเก่าขาวด�ำ และภาพถ่ายทางอากาศ ของอาจารย์มานิต และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ทั้งนี้ทางมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการสร้างเป็นฐานข้อมูล ไว้ส�ำหรับอนาคตข้างหน้านี้ที่ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ก�ำลัง พัฒนาเว็บไซต์สำ� หรับแสดงข้อมูลภาพฟิลม์ เก่าขาวด�ำและภาพถ่ายทาง อากาศเพือ่ เป็นชุดข้อมูลและความรู้ ในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นสถานที่

จดหมายข่าว

กิจกรรมเนื่องในงานวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึกปีที่ ๑๕ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์

“ชวนเด็กแกลงตามรอย พระเจ้าตากฯ ที่กรุงธนบุรี” วันที่ ๒๔-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะ พันธุ์ ร่วมกับโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” และชาวบ้านทะเลน้อย รวมทั้งวัดราชบัลลังก์ฯ อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง จัดกิจกรรมค่าย วิชาการ “ชวนเด็กแกลงตามรอยพระเจ้าตากฯ ณ กรุงธนบุรี” เป็น กิจกรรมเพื่อเรียนรู้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่านเมืองแกลง และ ประวัตศิ าสตร์ยา่ นภูมภิ าคตะวันออกและกรุงธนบุรี รวมถึงศึกษา เส้นทางสร้างชาติสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนือ่ งในโอกาส ครบรอบ ๒๕๐ ปีการเสียกรุงศรีอยุธยา และ ๒๕๐ ปี ในการสถาปนา กรุงธนบุรี ในการท�ำกิจกรรมครั้งนี้ มูลนิธิฯ มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชน ในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกโดยเฉพาะสามารถท�ำความเข้าใจในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอ แกลง ซึ่งมีชุดข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่าในท้องถิ่นและความเชื่อ 16

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เกี่ยวกับค�ำบอกเล่าการเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในฐานะผู้น�ำทางวัฒนธรรม [Culture Hero] และในฐานะพระมหา กษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีของผู้คนชายฝั่งทะเลตะวันออก เห็นถึงคุณค่า และความส�ำคัญของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เพือ่ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจต่อถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย รวมถึงท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับกรุงธนบุรี อดีตราชธานีของไทย “จากเมืองแกลงสู่ธนบุรี” กิจกรรมในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน สถานที่แรกของการเริ่ม ต้นกิจกรรมอย่างเป็นทางการคือการเข้าสักการะอนุสาวรีย์สมเด็จ พระเจ้าตากสินฯ ณ วงเวียนใหญ่ ก่อนจะเข้าชมวัดต่างๆ ในพื้นที่ ธนบุรีที่เคยมีความส�ำคัญในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และเข้า

บันทึกภาพหมู่บริเวณอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ณ วงเวียนใหญ่ ชมพระราชวังเดิมซึ่งเป็นสถานที่ส�ำคัญของกิจกรรมในครั้งนี้ โดยได้ รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ ในด้านสถานที่และการเป็นวิทยากรให้ ความรู้ตลอดระยะเวลา ๒ ชั่วโมง ในพื้นที่พระราชวังเดิมและป้อม วิชัยประสิทธิ์ ในการบอกเล่าประวัติศาสตร์สมัยที่ธนบุรีเป็นราชธานี กิจกรรมในช่วงนีถ้ อื ว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รบั ความสนใจจากนักเรียนใน ระดับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๓-๔ ทีม่ คี วามกระตือรือร้นเป็นอย่างมากใน การเรียนรู้และมีการตั้งค�ำถามในข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการเรียนรูเ้ รือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์ เด็กๆ ได้ซมึ ซับบรรยากาศใน ท้องพระโรงซึง่ เคยเป็นทีเ่ สด็จออกทรงงานและประกอบพระราชพิธที ี่ ส�ำคัญมาแต่ครัง้ กรุงธนบุรี อีกทัง้ ยังได้รบั ความรูจ้ ากวิทยากรถึงเรือ่ ง ราวเหตุการณ์ส�ำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองใน สมัยกรุงธนบุรีต่อกรุงรัตนโกสินทร์ผ่านการบรรยาย และการน�ำชม โบราณสถานและโบราณวัตถุที่จัดแสดง ต่อมาเป็นการเข้าชมวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และวัดโมลีโลกยารามฯ ซึง่ ทัง้ สองวัดถือเป็นวัดทีม่ คี วามส�ำคัญอย่างยิง่ ในสมัยธนบุรี “วัดแจ้ง” หรือ “วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร”

จดหมายข่าว

17

ตัง้ อยูร่ มิ ฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาใกล้กบั คลองมะกอกทีแ่ ยกออกจากแม่นำ�้ เดิมเรียกว่า “วัดมะกอกนอก” เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จน�ำ ทัพ ผ่านถึงหน้าวัดมะกอกนอกก็เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยน ชือ่ เป็น “วัดแจ้ง” ส่วนวัดโมลีโลกยาราม หรือ “วัดท้ายตลาด” ในอดีต อยูต่ อ่ จากตลาดของเมืองธนบุรเี ก่า ทัง้ สองเป็นวัดเดิมทีอ่ ยูค่ กู่ บั ชุมชน มาตัง้ แต่สมัยอยุธยา ต่อมาจึงเป็นวัดส�ำคัญทีต่ งั้ อยู่ในเขตพระราชฐาน พระราชวังและไม่มพี ระสงฆ์จำ� พรรษาตลอดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้า ตากสินฯ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดย วัดอรุณราชวรารามฯ ยังเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดของความเป็นเมือง ทัง้ สองฟากฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาตลอดมาจนทุกวันนี้ ขณะทีว่ ดั โมลีโลก ยารามฯ ยังเป็นแหล่งศึกษาปริยตั ธิ รรมของภิกษุสงฆ์และสามเณรอยู่ หลักฐานทีส่ ะท้อนความส�ำคัญของวัดโมลีฯ ในสมัยกรุงธนบุรคี อื วิหาร ที่มีต�ำนานบอกเล่าว่าเคยเป็น “ฉางเกลือ” ซึ่งเกลือเป็นยุทธปัจจัยใน การท�ำสงคราม การค้า และการตั้งชุมชน ในพื้นที่โดยรอบมีชุมชนที่ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายของ ชาติพันธุ์ หลากหลายศาสนาของผู้คนในบริเวณนี้ที่มีมาตั้งแต่สมัย อยุธยาสืบมาธนบุรีและจวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เห็นได้จากวัด ซึ่งเป็นศาสนสถานของผู้คนที่นับถือศาสนาพุทธ และมัสยิดต้นสนที่ เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม มัสยิดต้นสนเดิมเรียกว่า “กุฎี ใหญ่” ซึ่งย่อมาจาก “กุฎี บางกอกใหญ่” โดยมีหลักฐานก�ำกับเป็นช่วงเวลาการฝังศพที่กุโบร์ สร้างในปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ โดย พระยาราชวังสัน (มะหมุด) แม่ทัพเรือที่ถูกส่งมาก�ำกับการสร้างป้อม ร่วมกับทหารฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จ พระราชด�ำเนิน มาร่วมประกอบพิธีฝังศพเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (หมุด) สมุหนายกคนแรกในสมัยกรุงธนบุรี คนทั่วไปมักเรียกท่าน ว่าเจ้า “พระยาจักรีแขก” ถือว่าเป็นมัสยิดที่เก่าที่สุดในอาณาบริเวณ กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ “ล้อมวงเสวนา...ประวัติศาสตร์นอกต�ำรา” กิจกรรมส่งท้ายของวันคือการล้อมวงเสวนา ณ ทีพ่ กั บ้านคุณ นายโฮสเทล บริเวณแยกโพธิ์สามต้น เป็นกิจกรรมเพื่อถอดบทเรียน สรุปกิจกรรม และประมวลภาพความรู้ ความเข้าใจที่ได้ตลอดทั้งวัน รวมถึงแลกเปลีย่ นพูดคุยการเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์นอกต�ำราเรียนของ นักเรียนชัน้ มัธยม ร่วมกับคุณครูผคู้ วบคุมและผูส้ อนในกลุม่ สาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของโรงเรียนแกลง “วิทย สถาวร” แลกเปลี่ยนความเข้าใจในประเด็นหัวข้อประวัติศาสตร์ท้อง ถิ่นเพื่อเชื่อมต่อการเรียนรู้กับประวัติศาสตร์ในต�ำราเรียนที่คุ้นเคย วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยตนเองโดยเริ่มต้นจากการตั้ง ค�ำถาม และการฝึกสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากค�ำบอกเล่าแบบง่าย ซึ่ง น�ำคุยและวิทยากรให้ความรู้หลักโดยวลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และทีมงานจากมูลนิธิฯ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรม “ล้อมวงเสวนา...ประวัติศาสตร์นอกต�ำรา” เด็กๆ ต่างมองว่าประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัว กล่าว คือประวัตศิ าสตร์ทนี่ ำ� เสนอผ่านบทเรียนนัน้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรือ่ งราว ของประวัติศาสตร์ชาติที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องของการท่องจ�ำเพื่อ จะน�ำเนือ้ หาไปท�ำข้อสอบ ซึง่ แตกต่างจากประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีท่ าง มูลนิธฯิ ก�ำลังน�ำพาเข้าสูก่ ระบวนการเรียนรูน้ ี้ การท�ำให้ประวัตศิ าสตร์ กลายเป็นเรื่องที่ ใกล้ตัวควรเริ่มต้นจากการตั้งประเด็นค�ำถาม เช่น ชื่อบ้านนามเมืองมีที่มาอย่างไร พื้นที่ใกล้โรงเรียน ใกล้บ้าน มีความ เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะแบบใดและเราสามารถศึกษาได้เองมาก น้อยแค่ไหน และด้วยวิธีการใด ฯลฯ โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงมีพื้นที่ ให้แสดงออกทางความคิดและมีผู้คอยให้ค�ำแนะน�ำที่ดี เด็กๆ ก็จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจท้องถิ่นของตนเองและมีส�ำนึก รักษ์ท้องถิ่นได้โดยวิธีการธรรมชาติ การเริ่มต้นศึกษาท้องถิ่นจากคนในท้องถิ่นเองนั้นสามารถ เห็นในมิติที่ ใกล้ชิดกับความเป็นท้องถิ่น เนื่องด้วยมีความเข้าใจใน พื้นที่ ได้รับความเชื่อใจในการให้ข้อมูล ความคุ้นชินกับวิถีชีวิต เมื่อ เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ทั้งเกิดจากปัจจัย ภายในคนในชุมชนเองหรือแม้แต่ปัจจัยภายนอก คนในท้องถิ่นก็จะ สามารถเป็นผู้มีส่วนร่วมในการก�ำหนดแผนพัฒนาชุมชนร่วมกันโดย มีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน กิจกรรมในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน เริ่มต้นจากการเข้าชมวัด อินทารามวรวิหาร หรือ วัดบางยี่เรือนอก ซึ่งเป็นวัดส�ำคัญของสมัย กรุงธนบุรี กล่าวกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดทรงศีลบ�ำเพ็ญ กรรมฐานที่วัดแห่งนี้ มีพระแท่นบรรทมที่เคยใช้เป็นที่ประทับแรม ทรงธรรมและกรรมฐาน เป็นไม้กระดานกว้าง ๒ แผ่น มีลูกกรงงา เป็นพระราชอาสน์ที่พระองค์ทรงประทับแรมทรงศีล นอกไปจากนั้นวัดอินทารามยังเป็นที่ออกพระเมรุเพื่อถวาย พระเพลิงพระบรมศพ “สมเด็จกรมพระเทพามาตย์ พระบรมราชชนนี” และบ�ำเพ็ญพระราชกุศลสักการะพระบรมอัฐิ และมีพระเจดีย์บรรจุ พระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถเก่าคู่ พระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระอัครมเหสี

จดหมายข่าว

สถานที่สุดท้ายของกิจกรรม ณ กรุงธนบุรีคือ “วัดหงส์ รัตนาราม” เป็นวัดทีม่ มี าตัง้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชือ่ ว่า “วัดเจ้าสัว หง” หรือ“วัดขรัวหง” ซึ่งมีเศรษฐีจีนเป็นผู้สร้าง วัดหงส์รัตนารามเป็น พระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กับพระราชวัง กรุงธนบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ซึ่งเป็นชาวเมืองแกลงให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดหงส์อาวาสวิหารจนได้สมณศักดิท์ สี่ มเด็จพระสังฆราช ต่อ มาภายหลังปลายรัชกาลได้ถกู ถอดสมณศักดิต์ ำ� แหน่งแต่ยงั มีพระชนม์ ชีพต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนีย้ งั มีเรือ่ งเล่ามุขปาฐะ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าตากสินภาย หลังจากการถูกประหาร เชื่อกันว่าระหว่างการเคลื่อนย้ายพระบรม ศพจากป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปยังวัดอินทาราม เมื่อพระบรมศพผ่าน วัดหงส์ฯ พระโลหิตได้หยดลงภายในบริเวณวัด จึงได้มีการสร้างศาล สมเด็จพระเจ้าตากสินในภายหลัง นับว่าเป็นครั้งแรกส�ำหรับเด็กและคุณครูจากเมืองแกลงที่มี โอกาสเข้าเยีย่ มชมสถานทีต่ า่ งๆ ซึง่ สัมพันธ์และเกีย่ วเนือ่ งโดยตรงกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ กรุงธนบุรี ซึ่งโดยปกติจะมีเพียง การทัศนศึกษาในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเท่านั้น จึง ท�ำให้เห็นภาพประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อยู่ใน จินตนาการใกล้ชิดและมีตัวตนเด่นชัดอย่างแท้จริง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่น” กิจกรรมในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ณ ศาลากองทุนแม่ บ้าน ทะเลน้อย ต�ำบลทางเกวียน อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นการท�ำ กิจกรรมในพื้นที่เพื่อศึกษาเส้นทางกู้บ้านเมืองของพระเจ้าตากสินฯ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในฐานะคนในท้องถิ่นเดียวกัน โดย มีวิทยากรท้องถิ่น ๒ ท่าน คือ คุณลุงบุญมี จ�ำเนียร และคุณลุงสิทธิ ช่างเหล็ก

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ วิทยากรหลักบรรยาย ณ วัดโมลีโลกยาราม 18

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จากค�ำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นโดยเฉพาะชาวบ้านทะเล น้อยที่เชื่อกันว่า พระเจ้าตากสินฯ ทรงน�ำทัพผ่านทางบ้านทะเลน้อย เพื่อข้ามไปยังจันทบุรี พร้อมยังมีหลักฐานคือ “ตั่งรองพระบาท” ที่ ยังหลงเหลืออยู่ที่วัด เป็นตั่งไม้ที่เป็นศิลปะแบบจีน เห็นได้ชัดว่าเป็น ฝีมือช่างและรูปแบบลวดลายเดียวกับพระแท่นบัลลังก์ที่จัดแสดงอยู่

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และในการน�ำไปครั้งนั้นจึงมีการตั้งชื่อวัดให้ใหม่จากวัดเนิน สระ บ้านทะเลน้อย เป็น “วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม” ที่ปรากฏอยู่ ในแผนทีเ่ ก่าซึง่ ตัง้ โดยกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะด�ำรงต�ำแหน่งเป็น เจ้าคณะมณฑลจันทบุรีราว พ.ศ. ๒๔๔๖ ภายหลังถูกเปลี่ยนมาเป็น “วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาวราราม” แต่ในปัจจุบันชาวบ้านคงไว้เพียง ชื่อ “วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม” เดินทางเข้าไปภายในวัดพบวิหารซึง่ เคยถูกใช้เป็นพระอุโบสถ และเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์หวาย ตัวอาคารเป็นรูปแบบเดียว กับพระอุโบสถที่พบในเมืองระยองคือ มีขนาดย่อมและมีพาไลด้าน หน้า เดิมเป็นอาคารไม้ ภายหลังมีการซ่อมแซมให้เป็นอาคารที่ก่ออิฐ ถือปูนซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนผสม บริเวณด้านหลังวิหารประกอบไปด้วยเจดีย์อัฐิของพระ อุปัชฌาย์ของวัดบ้านทะเลน้อย ๔ รูป ซึ่งการเป็นพระอุปัชฌาย์นั้น คือ พระสงฆ์ที่ได้รบั อนุญาตจากรัฐสามารถบวชพระใหม่ได้ ตามความ เชื่อและความศรัทธาของชาวบ้านคือต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาก มีความ รู้ทั้งด้านการปกครองสงฆ์ การปฏิบัติกิจอย่างเคร่งครัด และเป็นที่ เคารพนับถือของชาวบ้านรวมถึงลูกศิษย์เป็นจ�ำนวนมาก ถือเป็นครูบา อาจารย์ของชุมชน ดังนั้นการพบเจดีย์อัฐิของพระอุปัชฌาย์ถึง ๔ รูป ที่วัดราชบัลลังก์ฯ ที่บ้านทะเลน้อยจึงถือว่าเป็นวัดที่มีความส�ำคัญเป็น แหล่งความรู้ของผู้คนในย่านเมืองแกลงรวมถึงจังหวัดระยองด้วย นอกจากนั้นยังมีเจดีย์แบบท้องถิ่นจันทบูร ซึ่งชาวบ้านได้มี ประเพณีเปลี่ยนผ้าห่มเจดีย์ในทุกๆ ปีของวันที่ ๒๘ ธันวาคม ในช่วง

จดหมายข่าว

19

งานพระเจ้าตากฯ ซึ่งเป็นงานประจ�ำปีของคนในหมู่บ้าน จากนั้นเดิน เข้ามากราบสักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในบริเวณข้างพระ อุโบสถหลังใหม่ เรียนรู้ความแตกต่างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ กรุงธนบุรีกับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในระดับหมู่บ้าน จ�ำพวก เครื่องเซ่นไหว้และลักษณะศาล รวมถึงความเชื่อของท้องถิ่นในมิติ ต่างๆ พระอุ โ บสถหลั ง ใหม่ ซึ่ ง สวดถอนใบเสมาเดิ ม ที่ ท� ำ จาก หินชนวนและมีลายเส้นเป็นรูปบัวแปดกลีบซึ่งพบใบเสมาลักษณะ เดียวกันนี้ที่วัดแหลมสนหรือวัดสมมติเทพฐาปนาราม และวัดโขมง อ�ำเภอท่าใหม่ วัดโบสถ์ ต�ำบลบางกะจะ อ�ำเภอเมืองฯ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น แตกต่างไปจากวัดเก่าที่เมืองระยองซึ่งเป็นใบเสมาหินทราย และชมตูพ้ ระธรรมลายรดน�ำ้ ภายในศาลาการเปรียญก่อนจะเดินกลับ ไปศาลากองทุนแม่เพื่อรับประทานอาหารกลางวันโดยฝีมือแม่ครัว ท้องถิ่นจากกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาวบ้านทะเลน้อย จากการท�ำกิจกรรมทีก่ ล่าวขึน้ มาข้างต้นนัน้ ท�ำให้เห็นถึงภาพ “อดีต ปัจจุบัน อนาคต” ที่สะท้อนให้เห็นว่าเด็กๆ มีความตระหนักใน การศึกษาอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบันและก�ำหนดทิศทางของอนาคตร่วม กัน เช่นเดียวกับการร่วมจินตนาการความเปลีย่ นแปลงของเมืองแกลง ของสมาชิกในทีมที่ช่วยกันสรรสร้างบรรยากาศของชุมชนที่อยู่อาศัย ที่ต้องการ โดยพื้นฐานนั้นทุกกลุ่มยังต้องการคุณภาพชีวิตและที่อยู่ อาศัยทีส่ ะดวกสบายขึน้ และมีบางกลุม่ ทีพ่ ยายามน�ำเสนอแนวทางการ พัฒนาเมืองให้เข้ากับการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม โดยการใช้พลังงานจาก ธรรมชาติให้ได้มากทีส่ ดุ ในขณะเดียวกันคือคงความสวยงามตามสมัย นิยม กิจกรรมทั้ง ๓ วันดังที่กล่าวมานั้นได้รับเสียงตอบรับจาก ชุมชนทะเลน้อยรวมไปถึงนักเรียนผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมว่ามีความพึงพอใจ ได้รบั ความสนุก เพิม่ พูนความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ของ กรุงธนบุรแี ละสามารถน�ำมาเชือ่ มโยงท�ำความเข้าใจกับประวัตศิ าสตร์ ท้องถิ่นจากค�ำบอกเล่าได้มากยิ่งขึ้น โดยท�ำให้เห็นว่าการศึกษา ประวัตศิ าสตร์กเ็ ป็นสิง่ ทีน่ า่ สนใจค้นหาและสามารถเชือ่ มโยงเข้าสูช่ วี ติ ปกติได้ เมื่อเริ่มสนใจที่จะมองเรื่องราวในอดีตเข้ากับปัจจุบันและ ร่วมสร้างสังคมในอุดมคติตามที่ได้ร่วมคิด ร่วมออกแบบกันไว้อย่าง เข้มแข็ง ฝึกการรับฟังความเห็นของผูอ้ นื่ ฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม และให้ความส�ำคัญกับข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เกิดจากค�ำบอกเล่าของ ชุมชน ทั้งต�ำนาน ความเชื่อ รวมถึงวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรม สรรสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไปในอนาคต ทั้งนี้มูลนิธิฯ มีความคาดหวังว่าจะมีโอกาสร่วมกิจกรรมกับ ทั้งโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ชุมชนบ้านทะเลน้อยและชาวอ�ำเภอ แกลง รวมถึงขยายขอบเขตของการศึกษา และเผยแพร่ความรู้ออก ไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ขอขอบคุณ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง, วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม, มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม, กอง บัญชาการกองทัพเรือ, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร, วัดอินทารามวรวิหาร, วัดหงส์รัตนาราม และ มัสยิดต้นสน คุณบุญมี จ�ำเนียร คุณสิทธิ ช่างเหล็ก คุณปรีชา สรรเสริญ และชาวบ้านทะเลน้อย ต�ำบลทางเกวียน อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖ จิราพร แซ่เตียว

เรียนรู้ “จีนสยามและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความเชื่อย่านส�ำเพ็ง” วันที่ ๒๓-๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้จัด กิจกรรม “พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖” ส่งท้ายปี ๒๕๖๐ เพื่อเผยแพร่ องค์ความรูเ้ กีย่ วกับภูมวิ ฒ ั นธรรมและประวัตศิ าสตร์สงั คมแบบพืน้ ฐาน ของคนกรุงเทพฯ ครั้งนี้น�ำเสนอพื้นที่ลงเดินเท้าศึกษาสภาพแวดล้อม และชุมชนย่านส�ำเพ็ง โดยใช้ชื่อว่า “จีนสยามและความหลากหลาย ทางชาติพนั ธุแ์ ละความเชือ่ ย่านส�ำเพ็ง” โดยวิทยากรของมูลนิธฯิ และ วิทยากรเจ้าของพื้นที่ร่วมบรรยายความรู้ตลอดทั้ง ๒ วัน โดยวันแรก จัดขึ้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า ส่วนวันที่สอง คือการเดินเท้าย่านส�ำเพ็งตัง้ แต่วดั ส�ำเพ็งหรือวัดปทุมคงคาฯ จนถึงวัด สามปลื้มหรือวัดจักรวรรดิราชาวาสฯ มีผู้เข้าร่วมรายการทั้ง ๒ วัน ประมาณ ๕๐-๗๐ คน กิจกรรมช่วงที่หนึ่ง : การบรรยายความรู้ภาคทฤษฎี ในวันแรกวิทยากรเริ่มกิจกรรมด้วยการเชิญให้ทุกท่าน แนะน�ำตนเองเพือ่ ท�ำความรูจ้ กั สร้างความคุน้ เคย ด้วยบรรยากาศเป็น กันเอง ช่วงนีเ้ ปิดให้เห็นความหลากหลายของกลุม่ พระนคร ๑๐๑ ครัง้ ที่ ๖ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ที่ท�ำงานเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้ที่อยู่ใน สายงานราชการ งานวิชาการ งานวิจัย งานการศึกษา รวมไปถึงกลุ่ม พนักงานบริษัทเอกชน และกลุ่มอาชีพอิสระ ซึ่งทุกท่านต่างให้ความ สนใจในข้อมูลประวัตศิ าสตร์ ความเป็นมาของชุมชนย่านพระนครและ คิดว่าจะสามารถน�ำความรูท้ ี่ได้ไปปรับใช้กบั หน้าทีก่ ารงานหรือบอกต่อ เพื่อนฝูง การบรรยายกล่าวถึงความเป็นกรุงเทพฯ ในแง่มมุ ต่างๆ เริม่ ต้นด้วยการอธิบายย่าน “เมืองบางกอก” ในความเป็นเมืองท่าตั้งแต่ สมัยอยุธยาตอนกลาง เรื่อยมาจนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ความเป็นสังคมชาวสวน ความส�ำคัญของแม่นำ�้ ล�ำคลอง อย่างไรก็ตาม

จดหมายข่าว

ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถมคลอง ตัดถนนท�ำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน จากริมคลองสู่ถนน และสร้างความเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาคือการกล่าวถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของ คนในกรุงเทพฯ เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ กวาดต้อนผู้คนจากการท�ำสงครามในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็น ยุคของการสร้างบ้านแปงเมืองที่ส�ำคัญ อาทิ คนกลุ่มทวาย ชุมชน มุสลิม โปรตุเกส ญวน และการอพยพเข้ามาระลอกใหญ่ของคนจีน หลังสนธิสัญญาเบาว์ริง จนถึงการอพยพของผู้คนในภูมิภาคต่างๆ เข้ามาประกอบอาชีพในกรุงเทพฯ เมือ่ เกิดการประกาศใช้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา กรุงเทพฯ ในช่วงสองร้อยกว่าปีนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนา เป็นราชธานี ได้ผ่านความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายทั้งในแง่พื้นที่ เชิงกายภาพ และสภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะ อย่างยิง่ พืน้ ทีย่ า่ นประวัตศิ าสตร์ในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ความเป็นมา อดีตถึงปัจจุบันของย่านต่างๆ และประเด็นปัญหาในการจัดการเมืองเก่าโดยคณะกรรมการ อนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ภายใต้ “แผน แม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์” ประเด็นการ อนุรกั ษ์เมืองเก่า แนวทางการจัดการด้วยกฎหมายซึง่ ขาดรายละเอียด ข้อมูลประวัติศาสตร์สังคมของพื้นที่ย่านเมืองเก่า การให้ความส�ำคัญ กับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือน โดยละเลยวิถีชีวิต ของคนท้องถิ่น ประเด็นปัญหาการจัดการวัฒนธรรมตามการนิยามมรดก ทางวั ฒ นธรรมที่ จั บ ต้ อ งได้ แ ละจั บ ต้ อ งไม่ ไ ด้ โดยองค์ ก ารการ ศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก 20

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


[UNESCO] ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่วิชาการจากมูลนิธิฯ ได้เน้นย�้ำถึงความ จ�ำเป็นในการช่วยกันสืบค้นประวัติศาสตร์สังคม การช่วยกันขยาย ความรู้ความเข้าใจประเด็นการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง ความรู้ความ เท่าทันความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ กับกรุงเทพฯ ในฐานะทีเ่ ป็นบ้านของ เรา เมืองของเรา และชุมชนของเรา กิจกรรมช่วงที่สอง : พระนครชวนชม กิ จ กรรมในสองวั น นี้ มี ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มจ� ำ นวนทั้ ง สิ้ น ๗๐ คน มูลนิธิฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากรท้องถิ่น ได้แก่ ฮัจยี อิบรอฮิม วงศ์ สอาด อิหม่ามมัสยิดหลวงโกชาอิศหาก คุณชัยรัฐ สมันตรัฐ ทายาทผูก้ อ่ ตัง้ มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก คุณชัชวาลย์ รัศมีคณ ุ ธรรม แห่งร้าน Chat chawan Gems ย่านส�ำเพ็ง และคุณสมชัย กวางทองพานิชย์ แห่งร้าน ก้วงเฮงเส็ง เชือกและตาข่ายแห่งย่านส�ำเพ็งเช่นกัน โดยวิทยากรทุก ท่านร่วมกันฉายภาพให้เห็นความหลากหลายทางชาติพันธุ์และความ เชื่อย่านส�ำเพ็งผ่านเรื่องราวของสถานที่ ผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบันใน พื้นที่จากคลองส�ำเพ็งจรดคลองสามปลื้ม โดยมีวลัยลักษณ์ ทรงศิริ และพนมกร นวเสลา นักวิชาการจากมูลนิธิฯ ช่วยเสริมข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์เป็นระยะ

เรื่องราวพ่อค้าพลอยเชื้อสายทมิฬมุสลิมจากอินเดีย โดยคุณชัชวาลย์ รัศมีคุณธรรม เริ่มต้นที่วัดปทุมคงคาราชวรวิหารหรือวัดส�ำเพ็งในชื่อเดิม และไปสรุปการบรรยายในจุดหมายสุดท้ายที่วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหารหรือวัดสามปลื้มอันเป็นย่านที่เรียกว่าคนจีนส�ำเพ็งสืบมา ตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ที่กล่าวว่า “โปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวก คนจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึง คลองวัดสามเพ็ง” วิทยากรจากมูลนิธิฯ เริ่มต้นด้วยแผนที่เพื่อท�ำความเข้าใจ สภาพภูมิศาสตร์ของพื้น ที่ จากแผนที่ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึง

จดหมายข่าว

21

รับฟังเรื่องราวของส�ำเพ็งจากคุณสมชัย กวางทองพานิชย์ พัฒนาการของกรุงเทพฯ-ธนบุรี ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนชุมชน วัดวาอารามตลอดทั้งสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ใน การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนนั้นแนะน�ำว่าควรใช้แผนที่ร่วมกับการ เดินเท้าส�ำรวจชุมชนละแวกบ้าน ในจุดแรกวัดส�ำเพ็ง ย่านส�ำเพ็ง คุณสมชัย กวางทองพานิชย์ เริ่มสนทนาพูดคุยกับทุกท่าน ผ่านการใช้เครื่องมือส�ำคัญคือภาพถ่าย เก่ า เปรี ย บเที ย บกั บ สภาพพื้ น ที่ ป ั จ จุ บั น เพื่ อ แสดงให้ ถึ ง ความ เปลีย่ นแปลงของสภาพพืน้ ทีแ่ ละวิถขี องผูค้ นในย่านนี้ จากชุมชนเมือง ท่าการค้ามาสูก่ ารถมคลองตัดถนนและเป็นแหล่งสินค้าหลากชนิดทีม่ ี ผู้คนขวักไขว่มาจนถึงปัจจุบัน สินค้าเหล่านีจ้ ะแบ่งพืน้ ทีเ่ ป็นย่านต่างๆ เช่น ย่านขายข้าวสาร ธัญพืช พืชไร่ อาหารแห้ง สินค้าประเภทเชือกและเครื่องมืออุปกรณ์ ทางการเกษตร เครื่องประดับ สินค้าขายปลีกและส่งตามสมัยนิยม ส่วนวัดส�ำเพ็งหรือวัดปทุมคงคา เป็นวัดโบราณตัง้ แต่สมัยอยุธยาตอน ปลาย ซึง่ ได้รบั การบูรณปฏิสงั ขรณ์ครัง้ ส�ำคัญโดยกรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑ และมีการปฏิสังขรณ์เรื่อยมา ทั้งยัง ได้นำ� ชมพระเจดียโ์ บราณและแท่นหินส�ำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ซึง่ ใน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ถกู ใช้เป็นทีส่ ำ� เร็จโทษเจ้านาย เนือ่ งจากถือว่า อยูช่ นบทห่างไกลจากก�ำแพงพระนคร ย่านนีย้ งั เป็นแหล่งย่านบ้านเก่า ของบุคคลส�ำคัญๆ ของประเทศ เช่น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เจ้าสัว ใหญ่อย่างตระกูลเจียรวนนท์ ฯลฯ คุณชัชวาลย์ รัศมีคณ ุ ธรรม พ่อค้าพลอยเชือ้ สายทมิฬมุสลิม จากอินเดียใต้ เป็นวิทยากรหลักอีกท่านหนึง่ ทีเ่ ข้ามาช่วยเติมเต็มข้อมูล ถนนการค้าพลอยของพ่อค้าชาวอินเดีย และร่วมให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับย่าน วัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโรงพิมพ์ส�ำคัญ เช่น โรง พิมพ์ราษฎร์เจริญทีต่ พี มิ พ์หนังสือวัดเกาะ หนังสือนิทานพืน้ บ้านนิทาน ชาดกที่ครองใจผู้อ่านและเป็นปรากฏการณ์แห่งยุคสมัย วิทยากร ท้องถิ่นทั้งสองท่านช่วยกันชี้ชวนพูดคุยเกี่ยวกับบ้านพักหมอบรัดเลย์

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


วิทยากรและผู้ร่วมกิจกรรมถ่ายรูปร่วมกัน ณ มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก นายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์และมีคุณูปการ ด้านการพิมพ์ การแพทย์สมัยใหม่ของไทยซึ่งเคยมีถิ่นพ�ำนักในย่านนี้ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ส�ำคัญที่ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาสส�ำเพ็ง เรื่องราวและรูปถ่ายของวัดเกาะในอดีตซึ่งเห็น ร่องรอยความเป็นเกาะ จากนั้นได้พาเดินเลาะผ่านตรอกสะพานญวน และได้เล่าข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมว่าพื้นที่บริเวณนี้นอกจากกลุ่มคนจีน คนมุสลิมแล้วยังน่าจะมีกลุ่มคนญวน ซึ่งเหลือร่องรอยเพียงชื่อตรอก สะพานญวนแต่ไม่พบผูค้ นเชือ้ สายญวนอยูอ่ าศัยแต่อย่างใดในปัจจุบนั คณะพากันเดินจากจุดเริ่มต้นวัดส�ำเพ็งผ่านจุดที่เคยเป็น คลองส�ำเพ็ง ตัดเข้าถนนวานิช ๑ ผ่านอาคารร้านค้าพลอย เลาะเลีย้ ว เข้าสู่มัสยิดหลวงโกชาอิศหากบนถนนทรงวาด โดยมีท่านฮัจยี อิบรอ ฮิม วงศ์สอาด คุณชัยรัฐ สมันตรัฐ ให้การต้อนรับ ร่วมกันบอกเล่า ความเป็นมาของมัสยิดหลวงโกชาอิศหาก ศาสนสถานของชนมุสลิม บริเวณนี้ที่อยู่คู่กับชุมชนมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงฯ จนถึงปัจจุบัน แต่เดิมนั้นเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หรือที่เรียกว่า “บาแล” สร้างขึน้ ราวรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลวง โกชาอิศหากและครอบครัว ได้รวบรวมวัสดุก่อสร้างและแรงงานมา ช่วยกันสร้างมัสยิดโดยรูปแบบอาคารได้รับอิทธิพลศิลปะแบบตะวัน ตก และสืบทอดการดูแลต่อมายังพระยาสมันตรัฐบุตรชาย และคุณ ชัยรัฐหลานชายในปัจจุบัน หลวงโกชาอิศหากเป็นชาวมลายูมาจากไทรบุรี ได้เดินเรือ ส�ำเภาจนมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ธนบุรี หรือที่ ในปัจจุบันคือที่ซอย เจริญนคร ๒๑ รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในกรมท่าขวา ต�ำแหน่ง หลวงโกชาอิศหาก มีความเชี่ยวชาญภาษายาวี นอกจากนี้ทางสถาบัน ประวัติศาสตร์ของรัฐเคดาห์ประเทศมาเลเซียยังเคยออกใบรับรอง ประวัตใิ ห้ดว้ ยในนามของรัฐบาล ในส่วนของพระยาสมันตรัฐบุตรชาย มีชีวิตอยู่ช่วงระหว่างรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๙ เคยเป็นนายอ�ำเภอ

จดหมายข่าว

เบตง จังหวัดยะลา ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสตูล สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร คนแรกของจังหวัดสตูล เป็นรัฐมนตรีชวั่ คราวสังกัดกระทรวงมหาดไทย คนแรก และในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ พระยาสมันตรัฐได้ท�ำหน้าที่เป็นล่าม ภาษามลายูให้กับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คราวเสด็จเยีย่ มราษฎรจังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลังจากรับฟังข้อมูลความรู้แล้ว วิทยากรทุกท่านได้บอกเล่า ถึงการด�ำเนินชีวิตตามแนวทางศาสนา และกรุณาพาชมพื้นที่ภายใน บริเวณมัสยิดและกุโบร์ รวมทั้งได้ชมโคมไฟที่ระลึกจากงานพระบรม ศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้รับพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ที่ได้พระราชทานพระบรม ราชวโรกาสให้ผู้น�ำมุสลิมเข้าเฝ้าฯ จากมัสยิดหลวงโกชาอิศหาก คุณสมชัยพาเดินชมและบอก เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตึกเก่าและความเป็นย่านการค้าของแถบถนน ทรงวาด ถนนซึ่งตัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับถนนเส้นอื่นๆ ในยุคนั้น เช่น ถนนเยาวราช ราชวงศ์ แปลงนาม พาดสาย ฯลฯ การตัดถนนมาพร้อมๆ กับการถมคลอง เส้นทางครั้งนี้จึงมีหลายจุดที่ เป็นการเดินบนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นคลองในอดีต ต่อมาจึงเดินตามตรอก ลัดไปยังศาลเจ้าและโรงเจส�ำคัญในย่านนี้ ได้เห็นตึกเก่าและฟังข้อ สันนิษฐานเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนส�ำเพ็งในอดีตผ่านชื่อบ้านนามเมือง ซึ่งเป็นร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ นอกจากนี้คุณสมชัยยังพาเดินชมจุด ที่เป็นบ้านเจ้าจอมสมบูรณ์ เจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นคนย่านนี้ และตึกเก่าซึ่งหลงเหลืองานไม้แกะลวดลายสวยงามที่แสดงฝีมือเชิง ช่างของคนจีนแต้จิ๋วในยุคนั้น ส�ำเพ็งนอกจากจะสะท้อนผ่านความเป็นชุมชนการค้าของ กลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ แล้ว การเป็นพืน้ ทีท่ างศาสนาและวัฒนธรรมก็โดด เด่นไม่แพ้กนั ผ่านการได้เข้าไปเยีย่ มชมสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและ รับฟังความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความแตกต่างในหน้าที่ของศาลเจ้า และโรงเจที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเชี้ยอึ้งกง ศาลเจ้าซินปู้นเก่าถัง (ซิน ปุนเถ่ากง) และโรงเจบุญสมาคม ตามล�ำดับ ปิดท้ายกิจกรรมทีว่ ดั จักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหารหรือวัด สามปลื้ม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระยาอภัยราชาได้บูรณะ จนมาบูรณะครั้ง ใหญ่โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จากกิจกรรมในครั้งนี้ ได้เห็นถึงความหลากหลายทางกลุ่ม ชาติพันธุ์ในพื้นที่ย่านส�ำเพ็ง อดีตท่าขนส่งสินค้า และย่านการค้าที่ ส�ำคัญของกรุงเทพฯ จากอดีตสูป่ จั จุบนั เห็นถึงความเปลีย่ นแปลงของ พืน้ ที่ วิถชี วี ติ และวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างหลากหลายของการอยูร่ ว่ มกัน ของผู้คน ทางมูลนิธิฯ ต้องขอขอบคุณวิทยากรและผู้ร่วมกิจกรรมทุก ท่านมา ณ โอกาสนี้

22

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.