มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
1
2
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
สารบัญ บทน�ำ #ท่องเที่ยวเพื่อเข้าใจเมืองไทย# “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ ๒ เที่ยวตามต�ำนาน ศรีศักร วัลลิโภดม
๖
เยี่ยมยามเมืองจันทบูร เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
๙
วันที่ ๑ ชุมชนเลียบชายฝั่งทะเล - วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม ปากน�้ำประแส และวัดสมมติเทพฐาปนาราม เมืองแกลง - ปากน�้ำประแส - “เตามังกร” (Dragon Kiln) บ้านเตาหม้อ บ้านท่าศาลา ต�ำบลล�ำพัน - แหลมสิงห์ ปากน�้ำจันทบูร - ตึกแดงและคุกขี้ไก่ - กลุ่มวัดตะปอนน้อย / วัดทางเกวียน เมืองขลุง
๑๗ ๑๗ ๒๑ ๒๔ ๒๘ ๓๐ ๓๑
วันที่ ๒ “จันทบูร เมืองท่าภายใน” - “เพนียดและวัดทองทั่ว เมืองท่าภายในเชิงเขาสระบาป” - “เมืองจันทบูรเก่า” - “เมืองป้อมที่เนินวง”
๓๔ ๓๔ ๓๗ ๔๓
วันที่ ๓ “ความรุ่งเรืองของชุมชนชาวสวนและวัฒนธรรมทางศาสนา” - ภาพพระบฏที่วัดบ่อพุ - ชุมชนริมน�้ำจันทบูร - พลอยเมืองจันท์
๔๗ ๔๗ ๕๐ ๕๕
บรรณานุกรม
๕๗
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
3
#ท่องเที่ยวเพื่อเข้าใจเมืองไทย# “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ วันเสาร์ที่ ๖ วันอาทิตย์ที่ ๗ และวันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒ นี้ กิจกรรมใหม่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ น�ำชมสาระทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ
“จันทบูร” หรือ “จันทบุรี” หัวเมืองใหญ่แต่โบราณของภูมิภาคตะวันออก คือ เมืองท่าภายในริมชายฝั่งทะเล ตาม เส้นทางการเดินเรือทะเลเลียบชายฝั่งระหว่างภูมิภาคใหญ่ของแหล่งอารยธรรมส�ำคัญคือจีนและอินเดีย ถือเป็นเมืองท่าส่งสินค้าของป่าชั้นดี เช่น ไม้ตะเคียน ไม้แดง ไม้ยาง ไม้หอม กฤษณา พืชสมุนไพรต่างๆ เช่น กระวานและโดยเฉพาะพริกไทย ชื่อเมือง “จันทบูร” นั้นน่าจะมีที่มาจากการเป็นพื้นที่ป่าเขาที่มีต้นไม้หอมอันเป็นต้นไม้เฉพาะถิ่นคือ “ต้นจันทน์” หรือ Sandal Wood ไม้จันทน์นี้น�ำไปใช้เป็นไม้หอมส�ำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในงานพระราชพิธีหลวงหรืองานมงคลต่างๆ และน�ำมาสกัดเป็น “น�้ำมันจันทน์” น�้ำมันหอมระเหยมูลค่าสูงและมีความต้องการทั้งทางฝั่งจีนและอินเดีย ส่วนค�ำว่า “บูร” นั้นหมายถึงความเป็นเมือง หรือ “ปุระ” ซึ่งอาจจะมีก�ำแพงค่ายคูประตูหอรบด้วยก็ได้ “เมืองจันทบูร” อยู่ริมล�ำน�้ำจันทบูร เมืองท่าที่อยู่ภายในแผ่นดิน ใกล้เชิงเขาสระบาปที่มีร่องรอยของบ้านเมืองที่ รับอิทธิพลวัฒนธรรมแบบเขมรตั้งแต่ยุคเริ่มแรก แต่ก็ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นเมืองใหญ่ได้ จนกระทั่งถึงยุคสมัยอยุธยาที่การค้าทางทะเลรุ่งเรือง ชุมชนจ�ำนวนมากจึงปรากฏอยู่ตามริมล�ำน�้ำหลายสาย จันทบูรจึงกลายเป็นหัวเมืองใหญ่ชายฝั่งตะวันออกที่ส่งออกสินค้าส�ำคัญของบ้านเมืองมาตั้งแต่บัดนั้น และที่ส�ำคัญเมื่อ “สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ” ฝ่าวงล้อมทัพพม่าในคราวสิ้นกรุงศรีอยุธยา พระองค์เลือกหัวเมือง ทางตะวันออก เช่น ระยอง จันทบูร และตราดที่มีฐานก�ำลังของผู้คนจ�ำนวนมากที่ไม่ถูกผลกระทบจากการล้อมกรุงฯ เป็น ที่มั่นเพื่อกลับสู่การกู้บ้านเมืองที่ล่มสลายไปแล้ว ผู้คนแถบนี้ล้วนมีที่มาหลากหลาย ทั้งคนชองผู้เก็บผลผลิตจากป่าเขาสู่เมือง คนสยาม คนมลายู คนจามมุสลิม และโดยเฉพาะคนเชื้อสายจีนทั้งพุทธและคริสต์ ซึ่งมีที่มาจากในพื้นที่เวียดนามและเมืองจีน มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมแห่งจันทบูรจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษายิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นภูมิวัฒนธรรมของการตั้งถิ่นฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพและความร�่ำรวยของอาหารการกินทั้งพืชผักสมุนไพร สวนผลไม้ และอาหารทะเล ประเด็น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอันเกี่ยวพันกับการกู้บ้านเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กษัตริย์เชื้อสายจีนสยามแห่งกรุงธนบุรี ท�ำให้ “จันทบูร” เป็นบ้านเมืองแรกที่ “มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” เลือกสรรมาแนะน�ำเพืื่อการท่องเที่ยว เรียนรู้รากฐานของความเป็นเมืองท่าแห่งภูมิภาคตะวันออกที่มีพลวัตต่อสยามประเทศ
4
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
5
“เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒ “ชุมชนเลียบชายฝั่งทะเล” ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทาง พบกันที่จุดนัดพบสถานีบริการน�้ำมัน ปตท. ดินแดง-วิภาวดี ถนนวิภาวดีรังสิต ๑๐.๐๐ น. ถึงเมืองแกลง น�ำชมวัดราชบัลลังก์ฯ บ้านทะเลน้อย สถานที่อันเกี่ยวเนื่องกับเส้นทางมุ่งสู่จันทบุรีของ ทัพพระเจ้าตากฯ ๑๑.๐๐ น. ชมปากน�้ำประแสฝั่งวัดสมมติเทพฐาปนาราม (วัดแหลมสน) ในฐานะจุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญแห่งหนึ่ง ของการป้องกันทางทะเลในสมัยรัชกาลที่ ๓ ๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวันร้านครัวมารวย ใกล้แยกวัดคลองปูน ๑๓.๓๐ น. ชมแหล่งผลิตโอ่งมังกรแห่งจันทบูร ผลิตจาก “เตามังกร” (Dragon Kiln) โอ่งเนื้อแกร่งเคลือบอายุ เก่าแก่กว่าโอ่งมังกรราชบุรี ที่บ้านเตาหม้อ ริมน�้ำล�ำพัน ในอ�ำเภอท่าใหม่ ๑๕.๓๐ น. เดินทางสู่แหลมสิงห์ ปากน�้ำจันทบูร เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรีบางส่วนจากโบราณสถาน สมัยฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองจันทบุรี ๑๖.๓๐ น. เดินทางสู่เมืองขลุง ชมภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถหลังเก่าวัดตะปอนน้อย ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็นที่ร้านครัวพิกุลโภชนา ในอ�ำเภอขลุง ๑๙.๓๐ น. เข้าพักที่โรงแรมริเวอร์ ลาวัลย์ริมแม่น�้ำจันทบุรี วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๒ “จันทบูร เมืองท่าภายใน” ๐๗.๐๐-๐๘.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมและชม Landscape ของเมืองจันทบูรเก่าฝั่งตรงข้ามล�ำน�้ำจันทบูร บนดาดฟ้าโรงแรม รวมทั้งเจดีย์น้อยบริเวณที่ตั้งโรงแรม อันเป็นสถานที่ทางยุทธศาสตร์ครั้ง รัชกาลที่ ๓ ๐๘.๔๕ น. เดินทางถึงวัดทองทั่ว ชมอาคารพิพิธภัณฑ์ และเรียนรู้แหล่งโบราณสถานเพนียดและการเป็นเมืองท่า ภายในเนื่องในวัฒนธรรมเขมรหลายยุคสมัย ๑๐.๓๐ น. เดินทางถึงค่ายเนินวง ท�ำความเข้าใจประวัติศาสตร์การสงครามครั้งใหญ่กับญวนในช่วงรัชกาลที่ ๓ และเข้าชมพิพิธภัณฑ์พานิชย์นาวีเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานของเมืองจันทบุรีและการค้าทางทะเล ๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารที่ร้านอาหารทะเลท่าแฉลบ ๑๓.๓๐ น. สักการะศาลหลักเมืองและศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
6
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
๑๔.๐๐ น. ชมเมืองจันทบูรเก่าและสถานที่ส�ำคัญภายในกองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ กองพลนาวิก โยธิน ค่ายตากสิน จันทบุรี ๑๔.๔๕-๑๗.๐๐ น. เสวนาและเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่อง “เมืองจันทบูรเก่าและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากมุมมอง นักวิชาการจากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ณ บริเวณเมืองจันทบูรเก่าในค่ายตากสิน ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็นอาหารญวณท้องถิ่น พักผ่อนและสนทนาแบบสบายๆ กับอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒ “ความรุ่งเรืองของชุมชนชาวสวนและวัฒนธรรมทางศาสนา” ๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม ๐๘.๓๐ น. เดินทางเข้าชมวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล และพูดคุยถึงประวัติศาสตร์ของชาวคริสต์ในจันทบุรี ๐๙.๓๐ น. ชมชุมชนเก่าริมน�้ำจันทบูร ชมพิพิธภัณฑ์ของชุมชนและวัดเขตร์นาบุญญาราม เที่ยวตลาดเก่าริมน�้ำ จันทบูร และหาซื้อสิ่งของตามอัธยาศัย ๑๑.๓๐ น. รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านจันทรโภชนา ๑๓.๐๐ น. ท�ำความเข้าใจท้องถิ่นพลอยแหวน ชมงานเนื่องในศิลปกรรมทางศาสนาที่วัดพลับบางกะจะ (หากมีงาน พิธสี งฆ์ประกาศชุมนุมเทวดาในการพิธที ำ� น�ำ้ อภิเษกและจุดเทียนชัยต้องของดเข้าชม) วัดโบสถ์พลอยแหวน ชมโบถส์และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพลูยาง ชมทับหลังแบบถาลาบริวัตรที่วัดบน ชมภาพพระบฏ แต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ และในยุคสมัยต่อมาที่วัดบ่อพุ ๑๕.๓๐ น. เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ๑๙.๐๐ น. (โดยประมาณ) ถึงสถานีบริการน�้ำมัน ปตท. ดินแดง-วิภาวดี ถนนวิภาวดีรังสิต
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
7
"เที่ยวตามตำ�นาน" ศรีศักร วัลลิโภดม
สังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมอุตสาหกรรมเต็มตัว เห็นได้จากผู้คนโยกย้ายถิ่นฐานบ้านเมืองไปอยู่อาศัยและ ประกอบอาชีพในถิ่นอื่นทั่วประเทศ เช่น คนใต้ไปอยู่เหนือ คนอีสานมาอยูภ่ าคกลาง และคนตะวันออกไปตะวันตก คน ชนบททิ้งถิ่นเข้าเมือง คนเมืองออกไปอยู่ชนบท ทั้งหลายแหล่เหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสั ง คมวั ฒ นธรรมและสภาพแวดล้ อ มของชุ ม ชน บ้านเมืองเดิมที่เป็นสังคมเกษตรกรรมอย่างเรียกว่าพลิก แผ่นดินก็ว่าได้ ความเป็นบ้านเมืองแบบใหม่สมัยใหม่ [Urbani zation] แผ่กระจายไปทุกแห่งหน บดบังถิ่นฐานบ้านเมือง [Cultural Landscape] ในสังคมเกษตรกรรมแต่เดิมจนแล ไม่เห็นและไปไม่ถูก อันเนื่องจากการสร้างถนน ตัดถนน หนทางใหม่ที่ซับซ้อน
8
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
หนึ่งในถนนที่เกิดในยุคใหม่นี้คือ “ถนนเลียบ เมือง” ทีน่ อกจากท�ำให้ทศิ ทางในการเข้าเมืองผ่านเมืองแต่ เดิมเปลี่ยนไปจนไม่เห็นถิ่นฐานบ้านเมืองและชื่อบ้านนาม เมืองจนหมดสิ้น เพราะมีการเปลี่ยนชื่อและตั้งชื่อสถานที่ ใหม่ๆ แทนของเดิมที่เป็นของคนในท้องถิ่นสร้างไว้ การ เปลี่ยนแปลงที่มีมาแต่ครึ่งศตวรรษที่แล้วมานี้ท�ำให้คนรุ่น ใหม่ยคุ ใหม่ในสังคมไทยแทบไม่รจู้ กั บ้านเก่าเมืองเก่าทีม่ อี ยู่ แทบทุกจังหวัดของประเทศแต่อย่างใด แม้แต่บา้ นเมืองทาง ประวัตศิ าสตร์กร็ เู้ ฉพาะแห่งทีม่ ผี นู้ ำ� เทีย่ วพาไป ยกตัวอย่าง เช่น เมืองอยุธยา สุโขทัย ก�ำแพงเพชร ฯลฯ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ท�ำงานประจ�ำ ในเรื่องการค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคดีและสังคม วัฒนธรรมตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ โดยใช้แนวทาง การศึกษาทางลักษณะภูมิวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ เพื่อให้
เห็นภาพรวมของถิ่นฐานบ้านเมืองแต่โบราณและผลการ ศึกษาอย่างหนึง่ ก็ได้นำ� มาเสนอในวารสารเมืองโบราณใน ภาพจ�ำลองของเมืองประวัตศิ าสตร์บนหน้าปกวารสารเพือ่ ให้เห็นภาพรวมของภูมวิ ฒ ั นธรรมของบ้านเมืองอย่างมีชวี ติ ชีวาในอดีต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของทั้งผู้คน ภายในท้องถิน่ ปัจจุบนั และคนนอกทีเ่ ข้ามาชมมาเทีย่ วแหล่ง เมืองเก่าทีเ่ หลือแต่รอ่ งรอยความหักพังและสภาพแวดล้อม ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป ดั ง แลเห็ นได้ ใ นปั จ จุ บั น ว่ า คนที่ ไ ปเที่ ย วแหล่ ง โบราณคดีทเี่ ป็นบ้านเก่าและเมืองโบราณเหล่านัน้ ไปได้เห็น แต่เมืองเฉพาะจุดเฉพาะแห่ง หาได้แลเห็นสภาพแวดล้อม ของความเป็นบ้านเก่าเมืองเก่าจนสามารถจินตนาการถึง ภาพรวมในอดีตได้ ยกตัวอย่าง เช่น เมืองประวัติศาสตร์อยุธยาและ สุโขทัยที่ทุกคนเดินทางเข้าไปแต่เส้นทางใหม่ที่ข้ามผ่าน บริเวณที่เป็นนิเวศวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น บ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา ตลาด และสถานที่ต่างๆ ที่สัมพันธ์กับ ถนนหนทางและล�ำน�้ำล�ำคลองไปหมดสิ้น เพียงมุ่งดูแต่ บรรดาโบราณสถานที่เหลือแต่ซากที่แม้ว่าจะมีการบูรณะ ขึ้นมาใหม่ก็ตาม ผลที่ตามมาก็คือการท่องเที่ยวแบบนี้ ไม่ได้ความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม อะไรเลย
แต่ยิ่งกว่านั้นการท่องเที่ยวแบบนี้ยังสร้างต�ำนาน บ้านเมืองใหม่แบบมโนใหม่ๆ ให้เป็นสีสันในการเดินทาง ด้วย เช่น การไปเที่ยวเมืองพิษ ณุโลกต้องไปดูสถานที่ อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระยาจักรี ฯลฯ หรือไปเที่ยวเมือง จันทบุรีต้องไปดูบริเวณที่พระยาตากสินสั่งให้ไพร่พลรบ ทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ในฐานะที่ข้าพเจ้าเห็นนักศึกษาทางภูมิ วัฒนธรรมของบ้านเมืองโบราณเดาไม่ออกบอกไม่ถูกว่า เรื่องที่เกิดในความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์หรือเป็น ต�ำนานทีค่ นนอกท้องถิน่ และคนรุน่ ใหม่สร้างขึน้ เพราะล้วน ดูขดั กับสภาพแวดล้อมทางภูมวิ ฒ ั นธรรมของบ้านเมืองแต่ โบราณ ดังต�ำแหน่งของบริเวณ “วัดพลับ” ในเขตต�ำบล บางกะจะ ที่คนส่วนใหญ่ปัจจุบันในท้องถิ่นจันทบุรีและคน จากภายนอกเชื่อว่าเป็นบริเวณที่พระยาตากสินให้แม่ทัพ นายกองทุบหม้อข้าวก่อนยกเข้าตีเมืองจันทบุรี ซึ่งนั่นก็ แสดงว่าต�ำแหน่งของกองทหารพระยาตากก่อนเข้าตีเมือง จันทบุรอี ยูท่ ที่ างตะวันตกเฉียงใต้หา่ งเมืองจันทบุรรี าว ๖-๗ กิโลเมตร อันเป็นระยะทางที่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีพอที่ ท�ำให้กองทหารต้องเหนือ่ ยล้าพอสมควร อีกทัง้ จะท�ำให้ทาง ฝ่ายเมืองจันทบุรีหาทางตั้งรับและตีกลับได้พอสมควร ถ้าหากเหตุการณ์ทบุ หม้อข้าวมีจริงก็คงจะเกิดขึน้
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
9
ในบริเวณทีก่ องทัพตัง้ ประชิดและล้อมเมืองจันท์ไว้แล้วเพือ่ การจูโ่ จมเมือ่ ได้จงั หวะเวลาทีเ่ หมาะสม เพราะเมือ่ ได้ศกึ ษา ดูตำ� แหน่งทีต่ งั้ และลักษณะของเมืองจันทบุรีในสมัยนัน้ หา ได้เป็นเมืองที่มีป้อมปราการแข็งแรงและใหญ่โตเช่นเมือง สงขลาครั้งกองทัพบกและเรือของทางกรุงศรีอยุธยาสมัย สมเด็จพระนารายณ์ฯ รบพุ่งเอาเมืองได้ จึงต้องใช้เวลา และก�ำลังมากมายต่อสู้กันเป็นเดือนจึงตีได้ แต่เมืองจันทบุรมี ตี วั เมืองขนาดเล็กตัง้ อยู่ในชัยภูมิ ที่ดีติดกับแม่น�้ำจันทบุรีและอยู่บนเนินสูง จากการศึกษา ส�ำรวจในขณะนี้พบร่องรอยเพียงแนวคันดินและก�ำแพง ล้อมรอบขนาดเล็กที่เป็นทั้งจวนเจ้าเมืองและศูนย์กลางใน การบริหารปกครอง ลักษณะเป็นเมืองป้อมที่เรียกว่าเวียง วัง ท�ำให้การเข้าโจมตีของกองทัพพระยาตากจึงเกิดขึ้นใน ลักษณะจู่โจมและปล้นเมืองได้ด้วยเวลาอันสั้น เมื่อมาถึงตรงนี้ก็หัน มามองดูบริเวณวัดพลับที่ เชื่อกันว่าเป็น ที่ตั้งกองทัพของพระยาตากตอนทุบหม้อ ข้ า วหม้ อ แกงที่ ตั้ ง อยู ่ ท างตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ข องเมื อ ง จันทบุรี เป็นบริเวณชายน�้ำที่เป็นท่าเรือของชาวบ้านชาว เมืองที่ตั้งถิ่นฐานใกล้ชายทะเลเช่นเดียวกันกับท่าแฉลบที่ อยู่ห่างไปทางตะวันออกเล็กน้อยจึงมีปัญหาว่าบริเวณที่ ตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทัพของพระยาตากจากเมืองระยอง มาตีเมืองจันทบุรีหรือไม่ เพราะเท่าที่ข้าพเจ้าและคณะได้ ศึกษาเส้นทางเดินทัพของพระยาตากแต่ตอนหนีออกจาก กรุงศรีอยุธยาด้วยก�ำลังคนจ�ำนวนน้อยดังเช่นในต�ำนาน พงศาวดารบอกว่ามีราว ๕๐๐ คน ที่ส่วนใหญ่เป็นคนจีน เท่านัน้ มารวบรวมเป็นกองก�ำลังใหญ่ได้โดยสะสมมาตาม รายทางจากอยุธยา นครนายก และปราจีนบุรีจนมาถึง ล�ำน�้ำท่าลาดในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราแล้วตัดขึ้นเดินทาง บกผ่านอ�ำเภอพนัสนิคมเดินทางตามเส้นทางภายในมาที่ ระยองเพื่อก่อตั้งฐานทัพในบริเวณอ�ำเภอบ้านค่ายอันเป็น บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อแข็งแรงพอแล้วจึงเดินทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี เป็นทางเดินทัพทางบกที่ ไม่ได้มาทางทะเลผ่านช่องเขา ระหว่างระยองกับจันทบุรีมาทางท่าใหม่ อันเป็นบริเวณ
10
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
บ้านสวนเมืองสวนทีม่ เี ขาพลอยแหวนเป็นเขาศักดิส์ ทิ ธิ์ ผ่าน ทางเหนือของเขาพลอยแหวนมาต�ำบลท่าช้างอันเป็นที่ตั้ง ของเมืองจันทบุรีบนที่เนินและเข้าตีเมืองต�ำแหน่งเส้นทาง เดินทัพผ่านเขาพลอยแหวนนัน้ อยูท่ างด้านเหนือ แต่บริเวณ วัดพลับที่เชื่อว่าเป็น ที่ตั้งกองทัพอยู่ทางใต้ติดกับล�ำน�้ำ จึงห่างกันอยู่มาก จากการศึกษาภูมิประเทศและถิ่นฐานบ้านเมือง ตามเส้น ทางเดิน ทัพของพระยาตากมาเมืองจัน ทบุรีดัง กล่าวนี้ ท�ำให้เข้าใจในภูมวิ ฒ ั นธรรม [Cultural Landscape] ของเมืองจัน ทบุรีดีขึ้น ท�ำให้เห็นถิ่นฐานบ้านเมืองแต่ โบราณเป็นอย่างไร และมีการเปลีย่ นแปลงมาตามยุคสมัย อย่างไรจากค�ำบอกเล่าเชิงต�ำนานของคนในท้องถิ่นโดย เฉพาะบรรดาชื่อบ้านนามเมืองและสภาพทางสังคมศิลป วัฒนธรรม และชีวิตวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยเหตุนี้ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จึง ด�ำริที่จะจัดการน�ำเที่ยวบ้านเก่าเมืองเก่าไปตามต�ำนานที่ คนในท้องถิ่นสร้างขึ้น เพื่อให้เข้าถึงประวัติศาสตร์สังคม ศิลปวัฒนธรรม และชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนในสังคม ท้องถิน่ ในลักษณะที่ไม่ใช่การท่องเทีย่ วทีท่ ำ� กันอยูท่ วั่ ๆ ไป แต่เป็นการท่องเทีย่ วตามเส้นทางสายเก่าไม่ใช่ไปตามถนน ใหญ่ไฮเวย์ และทางเลี่ยงเมืองอย่างในปัจจุบันที่มุ่งเฉพาะ บริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือจุดใดจุดหนึ่ง
เยี่ยมยามเมืองจันทบูร เมืองท่าอันมีพลวัตทาง ประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หากจะท่องเที่ยวภาคตะวันออก ควรท�ำความ เข้าใจภูมิวัฒนธรรมหรือ Cultural Landscape ซึ่งสัมพันธ์ กั บ การตั้ ง ถิ่ น ฐานบ้ า นเมื อ ง เพราะจะท� ำให้ เ ห็ น ภาพ ประวัติศาสตร์ทั้งในแบบประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ และประวั ติ ศ าสตร์ ท ้ อ งถิ่ น หรื อ ประวั ติ ศ าสตร์ สั ง คมที่ สัมพันธ์กับผู้คนในพื้นที่ได้อย่างเข้าถึงมากขึ้น การ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” ครั้งนี้ แม้จะไม่ได้ พาเที่ยวกันจนครบถ้วนกระบวนความทั้งกลุ่มบ้านเมือง ที่เป็นชุมชนเลียบชายฝั่งทะเล ชุมชนเมืองท่าภายใน ไป จนถึงชุมชนบ้านป่าเมืองสวนในเขตเทือกเขาซึ่งเป็นต้น ทางของหัวใจแห่งทรัพยากรธรรมชาติอันก่อให้เกิดเมือง จันทบูร เนื่องจากไม่มีเวลาเพียงพอในการเยี่ยมชม ชวน เชิญมาท�ำความรู้จักกับเมืองท่าภายใน “จันทบูร” ที่มี ความส�ำคัญต่อบ้านเมืองสยามหลายยุคสมัยในพืน้ ทีภ่ ายใน
ลุ่มน�้ำและใกล้ชายฝั่ง จุดเริม่ ต้นของการเดินทางครัง้ นีม้ าจากงานศึกษา ความส�ำคัญของเมืองระยองในเส้นทางพระเจ้าตากมุ่งสู่ หัวเมืองตะวันออก ท�ำให้ค้นพบว่าการบันทึกในพระราช พงศาวดารและต�ำนานความเชื่อในพื้นที่นั้นมีร่องรอยของ ความแตกต่างกันค่อนข้างมาก หากเน้นเฉพาะบันทึกจาก ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวโดยไม่ท�ำความเข้าใจสภาพ ภูมศิ าสตร์และสังคมของผูค้ นในท้องถิน่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ตาม รายทางแล้วก็อาจท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดไปเสียง่ายๆ รวม ทั้งต้องแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงและความเชื่อในเรื่อง เล่าสืบต่อกันมาในต�ำนาน รวมทัง้ ประเด็นความเชือ่ ศรัทธา ที่ท�ำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กลายเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ในท้องถิ่นต่างๆ ด้วย
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่จันทบุรี มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
11
พระเจ้าตากกับการมุง่ ตะวันออกเพือ่ ภารกิจ กู้กรุงศรีอยุธยา
พระยาตากหรือพระยาวชิรปราการตัดสินใจตีฝ่า วงล้อมทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาเพือ่ ไปทางด่านเมือง นครนายก เลียบชายดงศรีมหาโพธิ์เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น�้ำ บางปะกง แล้วมุ่งสู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกในช่วง ก่อนพระนครสูญเสียต่อทัพพม่าราว ๓ เดือน เพื่อสะสม ผู้คนและจัดทัพย้อนกลับไปกู้บ้านเมืองอีกครั้ง การศึกษาเรือ่ งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชของ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ สร้างสมมติฐานแนวทาง การเดินทัพของพระยาตากเพือ่ รวบรวมไพร่พลท�ำให้เข้าใจ ข้อมูลในท้องถิ่นใหม่ๆ โดยการเดิน ทางในแต่ละระยะ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ระยะ ๑. จากกรุงศรีอยุธยาสู่ชายเขตแดนต่อเมือง นครนายก พระยาตากออกจาก “ค่ายวัดพิชัย” มาจนถึง “บ้านหันตรา บ้านธนู” และ “บ้านสามบัณฑิต” ซึ่งตั้งอยู่ โดดเดี่ยวกลางทุ่งพระอุทัยแล้วเดินทางต่อไปยัง “บ้านโพ สังหารหรือบ้านโพสาวหาญ” อยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยาไป ทางตะวันออกราว ๒๐ กิโลเมตร พม่าส่งกองทัพติดตามมา อีกจึงรบกันจนทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วเดินทัพต่อไปจนถึง “บ้านพรานนก” จึงหยุดพักแรม ช่วงเวลาแห่งการสูร้ บเพือ่ หนีจากทัพพม่าที่อยู่ประชิดเมือง และสู้รบตามรายทางใช้ เวลาราว ๒-๓ วันจึงเดินทางเข้าเขตเมืองนครนายก ๒. จากนครนายกผ่านด่านกบแจะและชายดง ศรีมหาโพธิ์ : การสู้รบกลางทุ่ง ทัพพระยาตากเลียบเขาผ่าน “บ้านนาเริ่ง” ซึ่งน่า จะเป็นบริเวณอ�ำเภอบ้านนา มี “วัดโรงช้าง” และ “บ้าน โรงช้าง” ซึง่ เคยเป็นชุมชนโพนช้างจับช้างป่าตามแถบเทือก เขาดงพญาเย็นส่งไปยังเพนียดที่กรุงศรีอยุธยา พบ “ขุน ช�ำนาญไพรสน” นายกองช้างน�ำช้างมอบให้พระยาตาก ๖ ช้าง แล้วเดินทางไปตามเส้นทางมุ่งไปยังเมืองปราจีนบุรี เก่า ผ่าน “ด่านกบแจะ” ริมแม่น�้ำปราจีนบุรีฝั่งเหนือ เลียบ ชายดงศรีมหาโพธิผ่านอาณาบริเวณของเขตเมืองโบราณ
12
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
สมัยทวารวดีที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” กว่า ๙ วัน “พระเชียงเงิน ขุนพิพิธวาที นักองราม” ซึ่งขุนนางเชื้อ สายจีนที่น่ามีถิ่นฐานแถบหัวเมืองตะวันออกและเจ้าเขมร ติดตามมาสมทบ ตั้งค่ายพักแรมในป่าที่เรียกว่า “ส�ำนัก หนองน�ำ้ ” ค�ำว่า “ส�ำนัก” หรือ “ชุมนุม” นีย้ งั ใช้เรียกชุมชน บ้านห่างที่ในป่าดงแถบตะวันออก พระยาตากรบครั้งใหญ่กับทัพพม่าบริเวณเหนือ จากท่าข้ามและปากน�ำ้ โจ้โล้ น่าจะเป็นบริเวณทีล่ มุ่ ระหว่าง ชายดงศรีมหาโพธิและบ้านดงน้อย ในอ�ำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่ใช่การศึกทีร่ บกันบริเวณปากน�ำ้ โจ้โล้ ซึ่งเป็นจุดที่ล�ำน�้ำท่าลาดต่อกับแม่น�้ำบางปะกงดังที่นัก ประวัติศาสตร์สรุป แล้วเคลื่อนทัพไปทาง “บ้านทองหลาง” และ คลองท่าทองหลางที่แยกออกมาจากแม่น�้ำบางปะกง ใน อ�ำเภอบางคล้า อยู่ต�่ำจากปากน�้ำโจ้โล้ราว ๕-๖ กิโลเมตร “ตะพานทอง” หรือ “พานทอง” ซึง่ เป็นชือ่ ของล�ำน�ำ้ ส�ำคัญ สาขาหนึ่งต้นน�้ำที่อยู่ในเขตป่าดงพื้นที่สูงในอ�ำเภอบ่อทอง พงศาวดารรวบรัดตัดความกล่าวไปถึงการเดินทัพไปทีบ่ าง ปลาสร้อยอย่างรวดเร็วจนถึงบ้านนาเกลือซึ่งมีนายกล�่ำคุม พลคอยสะกัดอยู่ ๓. จากฉะเชิงเทรามุ่งสู่พัทยา นาจอมเทียน สัตหีบ และแขวงเมืองระยอง รุ่งขึ้นจึง “ถึงพั ทยา” แต่พงศาวดารฉบับบริติช มิวเซียมว่า “ถึงทัพ” จึงมีข้อสังเกตกันต่อมาว่า จะใช่ ต�ำแหน่งที่ “พัทยา” หรือไม่ แล้วจึงยกมา “นาจอมเทียน” มาพักที่ “ทัพไก่เตี้ย” ที่ฉบับบริติช มิวเซียมว่าเป็น “ทุ่งไก่ เตีย้ ” ต่อมาจึงถึง “สัตหีบ” เลียบชายทะเลต่อมาจึงถึง “หิน โด่ง” และ “น�ำ้ เก่า” ทีผ่ รู้ งั้ เมืองระยองออกมารับ ซึง่ ข้อมูล เหล่านี้ล้วนมาจากเอกสารพระราชพงศาวดารที่บันทึกไว้ ภายหลังจากเหตุการณ์อย่างน้อยคือปลายรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าตากสินฯ ซึ่งใช้เวลามากกว่า ๑๐ ปีขึ้นไป การศึกษาของมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ตัง้ ข้อ สังเกตจากข้อมูลที่กล่าวว่า ทัพที่หนีมาจากกรุงศรีอยุธยา จะเดินทางผ่านบางปลาสร้อยจากต้นคลองพานทอง แต่
ในเวลานั้นน่าจะมีทัพพม่าตั้งควบคุมอยู่ที่ปากน�้ำทุกแห่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องทางยุทธศาสตร์ส�ำคัญ เนื้อหาในพระราช พงศาวดารก็กล่าวผ่านๆ ว่าไปที่บ้านนาเกลือ การใช้ เส้นทางตามในพระราชพงศาวดารในเส้นทางนี้ทั้งเสี่ยง อันตรายจากทัพพม่า ทั้งเลียบชายฝั่งทะเลที่ชุมชนเบาบาง และชาวบ้านไม่นยิ มใช้เส้นทางบกทัง้ ระยะทางไกลกว่าเส้น ทางที่นิยมใช้เดินทางกันภายใน แต่พระราชพงศาวดารตอนต่อมากลับมาให้ความ ส�ำคัญแก่ “เมืองบางปลาสร้อย” ตลอดช่วงเวลา ๗ เดือน ของการท�ำศึกก่อนกลับไปกู้บ้านเมืองอย่างมาก เพราะ “นายทองอยู่ นกเล็ก” ที่คบคิดกับกรมการเมืองระยอง เข้าต้านกองก�ำลังของพระยาตากแล้วหนีไปตัง้ มัน่ อยูเ่ มือง ชลบุรี พระยาตากจึงยกกองทหารจากเมืองระยองไปปราบ นายทองอยู่ นกเล็ก แต่ไม่ส�ำเร็จจึงท�ำไมตรีตั้งให้เป็นเจ้า เมืองชลบุรีที่ “พระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุท” ซึ่งเป็นช่วง เวลาห่างจากเริ่มเดินทัพราว ๔ เดือนให้หลัง กองก�ำลัง พม่าที่เฝ้าอยู่ ณ ปากน�้ำหรือจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ คงเริ่ม ถอนก�ำลังออกไป “จนพระยาตากสามารถขีช่ า้ งเลียบเมือง บางปลาสร้อย พ�ำนักยังเก๋งจีน และสถาปนานายทองอยู่ นกเล็กเป็นเจ้าเมืองชลบุรีได้” แต่นายทองอยู่ นกเล็กยัง ก่อความเดือดร้อนจนต้องปราบจับประหารในช่วงที่น�ำทัพ เรือกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยา การทีท่ พั พระยาตากจะเดินทางผ่านไปยังบางปลา สร้อยแล้วเลียบทะเลไปยังบ้านนาเกลือ พัทยา นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ แล้วเดินทางไปเมืองระยองที่ย่านปากน�้ำ ระยองซึง่ ถือว่าเป็นการเดินทางบกแต่เลียบชายฝัง่ ทะเลใน ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร ระยะทางไปยัง นาเกลือ นาจอมเทียน และสัตหีบแล้วจึงวกเลียบชายฝั่ง ผ่านบ้านพลา มาบตาพุดเข้ามายังเมืองระยองยังเป็นการ เดินทางที่อ้อมไกล มีชุมชนเบาบางเพราะไม่ใช่พื้นที่อุดม สมบูรณ์ ผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบันไม่ใช้วิธีการเดินทาง ไกลเช่นนี้ แต่ถ้าเลือกเดินทางตัดข้ามเขตป่าดงและที่สูง เข้าสู่แอ่งที่ราบคลองใหญ่หรือแม่น�้ำระยองที่กว้างขวาง กว่าแอ่งที่ราบอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์ มีชุมชนผู้คนอยู่
อาศัยกันหนาแน่นกว่าย่านบ้านเมืองอื่นๆ และที่ส�ำคัญคือ พม่ายังไม่ได้เข้ายึดครอง จึงเสนอข้อสันนิษฐานทีอ่ าจเป็นไปได้อกี ประการ หนึง่ คือ หลังจากเสร็จศึกใหญ่ในแถบย่านอ�ำเภอราชสาส์น ปัจจุบันกับพม่าที่ประจ�ำคุมอยู่ ณ ปากน�้ำโจ้โล้ ทัพจาก กรุงศรีอยุธยาของพระยาตากน่าจะเลือกเดินทางโดยใช้ แนวคลองหลวงหรือล�ำน�้ำพานทองจากจุดที่เป็นต้นคลอง พานทองที่เมืองพระรถในอ�ำเภอพนัสนิคมปัจจุบัน ตัด ไปยังชุมชนเก่าภายในอันเป็นเมืองสมัยทวารวดีเช่นกัน ซึ่งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางท้องถิ่นเก่าแก่ที่ใช้เดินทางเข้าสู่ ชุมชนภายในและผ่านไปยังหัวเมืองและชายฝั่งทะเลทาง ตะวันออกได้และมีการเดินทางกันอยู่เสมอ การเดินทางเข้าสูช่ มุ ชนภายใน ปัจจุบนั เรียกกันว่า “เมืองพญาเร่” ในอ�ำเภอบ่อทอง ซึ่งมีศาลใหญ่นอกเมือง เรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อพญาเร่” ต�ำนานเรื่องเล่าต่อกันมาว่า เจ้าพ่อพญาเร่รว่ มกับพรรคพวกเพือ่ นชายฉกรรจ์ชาวเขมร ป่าดง สมัครเป็นคนในกองทัพของพระยาตากฯ และเสีย ชีวิตที่บริเวณนี้จึงมีการตั้งศาลให้ จากนั้นจึงเดินทางตัดลง ใต้ไปที่บ้านค่าย สถานที่ทั้งสองแห่งถือเป็นความทรงจ�ำติดสถาน ที่ซึ่งเป็นค�ำบอกเล่าของชาวบ้านนอกเส้น ทางพระราช พงศาวดาร แต่อยู่ในพื้นที่ป่าดงในเขตภายใน และนึกหา สาเหตุไม่ได้เลยว่าท�ำไมจึงมีเรื่องเล่าเช่นนี้ติดสถานที่อยู่ ในเขตป่าเขาห่างไกล มีชุมชนอยู่อาศัยตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่ม ใหญ่เมือ่ ไม่นาน ชาวบ้านกราบไหว้บชู าโดยเชือ่ ว่า “เจ้าพ่อ” เคยเป็นทหารของทัพพระเจ้าตากฯ ๔. ตัง้ ฐานทีม่ นั่ ทีเ่ มืองระยองแล้วมุง่ สูเ่ มืองจันทบูร และตราด ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าจากสัตหีบแล้วเดิน ทางไปที่ “หินโด่ง” รุง่ ขึน้ ค้างที่ “น�ำ้ เก่า” ทีซ่ งึ่ ผูร้ งั้ และกรม การเมืองระยองออกมารับเสด็จ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทาง เดินทัพของพระยาตากฯ พยายามหาที่ตั้งของสถานที่ ใน เขตย่านเมืองระยองทั้งสองแห่งแต่ล้วนไม่แน่ ใจว่าท�ำไม จึงไม่เข้าเมืองระยองตามเส้นทางทีม่ าจากสัตหีบ หากออก
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
13
มารับจะขึ้นเหนือไปตามล�ำน�้ำระยอง เพราะควรจะออก ไปรับทางฝั่งตะวันตกของเมืองที่ผ่านมาทางบ้านพลาและ มาบตาพุด จาก “หินโข่ง” อาจจะตัดเข้าสู่บ้านค่ายที่ “บ้าน ตีนเนิน” “บ้านท่าฉนวน” เข้าสู่ “บ้านค่าย” ที่อยู่เหนือขึ้น ไปตามล�ำน�้ำคลองใหญ่หรือล�ำน�้ำระยองจากบ้านเก่าราว ๑๐ กิโลเมตร ในพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ทงั้ สองค�ำคือ “บ้านไข้” ตามส�ำเนียงคนระยองแถบนี้ และมีการกล่าวถึง “นายชืน่ บ้านค่าย” ทีเ่ ป็นนายชุมนุมในย่านหัวเมือง ทัง้ เป็น เพื่อนกับ “นายบุญมา แขนอ่อน และนายทองอยู่ นกเล็ก” ซึ่งชุมชนในบริเวณบ้านค่ายนี้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการมาตั้ง ทัพของไพร่พลของพระยาตากที่ใกล้หนองน�ำ้ แห่งหนึง่ และ คนเก่าๆ ยังเชื่อว่าบ้านค่ายเป็นสถานที่หนึ่งในเส้นทางเดิน ทัพของพระยาตาก วัดบ้านค่ายอาจจะเป็นวัดเก่าแก่อาจจะเก่าที่สุด ในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้ำระยองนี้ น่าจะเป็นสถานที่ตั้งของ เมืองระยองเก่าที่อยู่เข้าไปภายในซึ่งหัวเมืองชายฝั่งมักจะ มีรูปแบบของเมืองที่อยู่ภายใน บริเวณนี้ตามแผนที่เก่า มีแนวคูคันดินรูปสี่เหลี่ยมและเรียกว่า “หน้าฉนวน” ซึ่ง ปัจจุบนั ไม่ปรากฎร่องรอยนีอ้ ยู่ แต่ชาวบ้านใช้พนื้ ทีเ่ ป็นสวน สาธารณะและสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้า ตากสินฯ และเมื่อมีการค้าทางทะเลและมีกลุ่มคนจีนเข้า มาค้าขายก็มกั จะตัง้ เมืองใหม่ยา้ ยไปอยูท่ ปี่ ากน�ำ้ โดยเฉพาะ ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะพบโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปยืนท�ำจากหินทราย ใบเสมาหินทรายที่น่าจะ มีอายุไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้นหรือกลางและดูจะเก่ากว่า ย่านชุมชนหรือวัดดั้งเดิมอื่นๆ ในที่ราบลุ่มเดียวกันรวม ทั้งวัดในย่านเมืองระยองปากน�้ำที่มีอายุอยู่ในช่วงอยุธยา ตอนปลายทั้งสิ้น พบว่ามีศาลเจ้าแม่หลักเมือง ซึ่งเป็น ศาลหลักเมืองแบบเก่าทีเ่ ป็นเพศหญิงนีน้ า่ จะเป็นการแสดง ถึงกลุ่มชุมชนดั้งเดิมที่เป็นกลุ่มเก่าคือ “ชาวชอง” ที่นับถือ ให้ความส�ำคัญทางฝ่ายหญิง เช่นเดียวกับศาลเจ้าแม่กาไว ทีเ่ มืองเพนียดในจังหวัดจันทบุรี ก่อนทีจ่ ะมีความนิยมสร้าง ศาลหลักเมืองแบบจีนและมักจะเรียกว่าเจ้าพ่อหลักเมืองกัน
14
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
เสียมากกว่า เมื อ งระยองนั้ น ถื อ ว่ า เป็ น ที่ ตั้ ง ส� ำ คั ญ เพราะ พระยาตากตั้งตนเป็นหัวหน้าชุมชนปราบดาภิเษกในนาม “พระเจ้าตากสิน” ณ เมืองแห่งนี้ ตั้งค่ายรวบรวมผู้คนและ ใช้ยทุ ธวิธตี า่ งๆ ทัง้ การปราบด้วยก�ำลัง การเกลีย้ กล่อมให้ อ่อนน้อม เช่น ส่งนายบุญมี นายบุญรอด แขนอ่อน นายบุญ มา น้องเมียพระยาจันทบูรไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองจันทบูร ให้ร่วมเป็น พวก นายบุญเมืองผู้รั้งเมืองบางละมุงและ เป็นมหาดเล็กเดิม ซึ่งชอบพอคุ้นเคยกับพระยาจันทบูร รับหนังสือจากฝ่ายพม่าที่โพสามต้นเพื่อจะส่งไปให้พระยา จันทบูรเข้าไปสวามิภักดิ์ พระยาตากจับตัวไว้และส่งคืน พระยาจันทบูรโดยไม่ได้ท�ำอันตราย ฯลฯ ช่วงเวลาที่ตั้งค่ายอยู่เมืองระยองนี้ยังให้พระพิชัย และนายบุญมีเดินทางไปเมืองปากน�้ำพุทไธมาศหรือฮ่า เตียน เพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือให้จัดทัพเข้าไปกู้กรุงฯ จากพระยาราชาเศรษฐี (ญวน) หรือ “มักเทียนตื้อ” ซึ่งถูก ปฏิเสธกลับมา แล้วออกไปปราบ “นายทองอยู่ นกเล็ก” ที่ เมืองชลบุรี รวมทั้งน�ำกองทหารไปปราบผู้ที่ไม่เข้าร่วมทัพ และข่มเหงชาวบ้าน เมื่อข้ามล�ำน�้ำประแสซึ่งกว้างใหญ่กว่าล�ำน�้ำสาย อืน่ ในบริเวณเส้นทางที่ “ชาวบ้านทะเลน้อย” ยังใช้มาจนถึง ปัจจุบันและมีเรื่องเล่าในท้องถิ่นเล่าสู่กันต่อมารวมทั้งร่อง รอยของการประดิษฐานพระแท่นบัลลังก์เก็บรักษาไว้ที่วัด ทะเลน้อยหรือวัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม แล้วข้ามล�ำน�้ำ พังราดผ่านย่านวัดหนองไทร และวัดโขดหอยเพื่อไปยังทุ่ง สนามชัยที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาขนาดย่อมๆ ใช้ “ช่องเขา ตะอุก” หรือ “คอเขาตอม่อ” ข้าม “คลองล�ำพัน” “ห้วย ขโมง” อันเป็นสาขาของคลองวังโตนด ล�ำน�ำ้ นีเ้ มือ่ ออกปาก ทะเลเรียกว่าปากน�้ำแขมหนู ตัดผ่าน “ท่าใหม่” และ “เขาพลอยแหวน” ซึ่งเป็นชุมชนจีนเก่าดั้งเดิมของเมืองจัน ทบูรที่ท�ำสวนและท�ำประมง ตามพระราชพงศาวดารอาจจะถือว่า การเข้าตี เมืองจันทบูรถือเป็นด่านสุดท้ายที่ยากล�ำบากเพราะจาก การเปรียบเปรยที่ “วัดแก้วริมเมือง” หลังจากที่ต้องเอา
แผนที่แสดงเส้นทางเดินทัพพระเจ้าตากฯ เปรียบเทียบจากข้อมูลในพระราชพงศาวดารและข้มูลอนิมูธลิเล็สักน-ประไพ นิษฐานใหม่ วิริยะพันธุ์ 15
16
แผนที่แสดงเส้นทางเดินทัพพระเจ้าตากฯ เดินทางผ่านชายดงศรีมหาโพธิและรบกับทัพพม่าที่ขึ้นมาทางปากน�้ำโจ้โล้ คู่มือ “เยี่ยมยามเมื งจันทบูร”้งใหญ่กว่าครั้งอื่นๆ ในเส้นทางเสด็จออกจากกรุงฯ สู่หัวเมืองภาคตะวันออก ถือเป็นอการรบครั เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
เถิดเจ้าล่ออยู่นอกเมืองสักพักว่า “ให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกง เสียให้สิ้น ต้องเข้าตีให้ส�ำเร็จสถานเดียว” เมืองจันทบูรเป็นเมืองมีคูน�้ำคันดิน และอยู่ ใน ชัยภูมิที่ ได้เปรียบบนที่เนินสูงกว่าบริเวณโดยรอบ อยู่ ริมล�ำน�้ำท่าช้าง อันเป็นสาขาของล�ำน�้ำจันทบูร ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณค่ายตากสิน หน่วยนาวิกโยธิน ของกองทัพเรือและน่าจะมีอาณาบริเวณนอกค่ายทหารมา ทางฝั่งที่เป็นที่ตั้งของอาคารศาลากลางเก่า หน่วยราชการ และสถานศึกษาไปจนจรดแนวที่วัดโบสถ์เมือง พระเจ้าตากสินฯ พร้อมกองก�ำลังพลพรรคทั้ง มวลบุกเข้าโจมตีเมืองจันทบูรจากจุดทีเ่ ป็นวัดแก้วซึง่ อยูร่ มิ ประตูท่าช้างทางตอนเหนือของเขตแนวคันดินรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าของจวนเจ้าเมืองจันทบูรไปราว ๓๐๐ เมตรในดึกคืน นัน้ แล้วยึดเมืองจันทบูรได้ ส่วนพระยาจันทบูรพาลูกเมียหนี ลงเรือเลียบชายฝั่งไปยังเมืองพุทไธมาศหรือเมืองฮ่าเตียน ในประเทศเวียดนามปัจจุบัน แล้วจึงไปตีเมืองตราดต่อโดยเอกสารในพระราช พงศาวดาร ฉบับพันทนุมาศ (เจิม) กล่าวไว้อย่างสรุป รวบรัดถึงการน�ำพลไปตีเมืองตราดโดยเดินทางบกจาก เมืองจันทบูรสู่ทุ่งใหญ่ ซึ่งในแผนที่เก่าว่าอยู่บริเวณใกล้ เขตเมืองขลุง และน่าจะเสด็จโดยทางเรือจากล�ำน�ำ้ เวฬุแถบ บ้านทุง่ ใหญ่ไปทีท่ า่ ตะเภา ซึง่ เป็นจุดจอดเรือส�ำเภาหลบลม โดยมีเส้นทางน�ำ้ เข้าทีแ่ ถบอ�ำเภอแหลมงอบในปัจจุบนั และ คงพบกับจีนเจียมและกองเรือส�ำเภาของนายวานิชทัง้ หลาย จากบ้านท่าตะเภาหรือท่าเรือส�ำเภาดังกล่าวมีเส้นทางน�้ำ ภายในเข้าสู่คลองบางพระเมืองตราดอีกที มีต�ำนานเล่าว่า เจ้าตากมาตั้งทัพอยู่ที่วัดโบสถ์หรือวัดโยธานิมิตในปัจจุบัน โดยให้ก�ำลังพลขนมูลดินจนกลายเป็นวัดเกิดขึ้น แต่เมื่อ ดูตามหลักฐานศาสนสถานและศิลปกรรมที่ปรากฏในวัด โยธานิมิตพบว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ก่อสร้างช่วงหลังโดยเฉพาะ ในช่วงรัชกาลที่ ๓ ลงมา แล้วจึงมาพักอยู่ที่เมืองจันทบูร อันเป็นช่วงฤดูมรสุมเพื่อต่อเรือไว้ใช้เป็นเรือโดยสารและ เรือรบมุ่งกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยา เมื่อถึง “ฤดูลมตะเภาเดือนอ้าย” หรือเดือน
ธันวาคม จึงกลับไปกูบ้ า้ นกูเ้ มืองทีก่ รุงศรีอยุธยาโดยใช้เส้น ทางเดินเรือเลียบชายฝั่งผ่าน สัตหีบ เกาะคราม เกาะสีชัง นาเกลือ บางปลาสร้อย ไปยังปากแม่น�้ำเจ้าพระยา ต่อสู้ จนยึด “เมืองบางกอกหรือธนบุรี” คืนจากนายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรี ซึ่งพม่าตั้งไว้ แล้วเดินทางต่อไปตีค่าย โพธิ์สามต้นจาก “นายทองสุก” นายกองมอญที่ทัพหลวง พม่าแต่งตั้งเหลือไว้ให้เฝ้าค่ายโพธิ์สามต้นด้วยกองก�ำลัง ไม่มากนัก พระเจ้าตากสินฯ สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยา จากการยึดครองได้ส�ำเร็จ ใช้เวลาราว ๗ เดือนนับแต่สิ้น กรุงศรีอยุธยา
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
17
18
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
วันที่ ๑ "ชุมชนเลียบชายฝั่งทะเล"
วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม อ.แกลง จ.ระยอง
วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม ปากน�ำ้ ประแส และวัดสมมติ เทพฐาปนาราม เมืองแกลง การแนะน�ำเมืองจันทบูร โดยการเริ่มจากเมือง แกลงในลุ่มน�้ำประแสและเลือกสถานที่ที่ชุมชนบ้านทะเล น้อยอัน มีวัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวรารามตั้งอยู่นั้นเพราะ บริเวณนี้เป็นอาณาบริเวณส�ำคัญ ลุ่มน�้ำประแสถือเป็น พื้นที่ติดต่อโดยธรรมชาติของ “เมืองระยอง” และ “เมือง จันทบูร”
“เมืองแกลง” น่าจะเคยตั้งอยู่ที่บริเวณ “คลอง แกลง” ซึ่งใกล้เมืองระยองและแหลมแม่พิมพ์มากกว่า มาทางประแส และถูกกล่าวถึง “บ้านแกลง” ในครั้ง พระเจ้าตากสินยกไพร่พลออกจากเมืองระยองไปยัง “บ้าน ประแส บ้านไข้ บ้านคา บ้านกล�่ำ บ้านแกลง” ซึ่งขุนราม หมื่นซ่องตั้งอยู่เพื่อก�ำราบผู้น�ำในท้องถิ่นที่ ไม่ได้เข้าร่วม กลุม่ ด้วยและเข้าคุมพืน้ ที่ บ้านไข้หรือบ้านค่ายซึง่ เขียนตาม ค�ำออกเสียงของผู้คนในท้องถิ่นมากกว่า บ้านคานั้นไม่รู้ ต�ำแหน่งแน่ชัด ส่วนบ้านกล�่ำหรือบ้านกร�่ำเป็นนิวาสสถาน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
19
พระแท่นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ พิพิธภัณฑ์พระนคร
เดิมของบิดาของสุนทรภู่ บ้านแกลงซึ่งน่าจะอยู่ที่คลอง แกลง และบ้านประแสที่น่าจะอยู่ปากน�้ำ การตั้งทัพอยู่ที่ เมืองระยองท�ำให้พบกับพระสงฆ์เจ้าคณะเมืองระยองคือ “พระครูสธุ รรมธิราชมหามุน”ี ต่อมาเมือ่ สถาปนากรุงธนบุรี จึงนมัสการมาจ�ำพรรษาที่ “วัดหงส์รัตนาราม” กรุงธนบุรี ท่านเป็นชาวแกลงแต่เดิม กล่าวกันว่าเป็นพระสงฆ์ทมี่ คี วาม รู้ทางธรรมมากองค์หนึ่ง และทรงสมณเพศต่อมาในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ อาจจะน�ำมาซึง่ การมีอยูข่ อง “ตัง่ บัลลังก์ พร้อมแท่นรองเท้า” แกะสลักไม้ด้วยลวดลายแบบจีนโดย ฝีมือช่างชั้นสูง เชื่อกันว่าได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จ พระเจ้าตากสินฯ ปรากฏอยู่ที่ชุมชนบ้านทะเลน้อย ณ “วัด ราชบัลลังก์ปฎิฐาวราราม” ริมฝั่งน�้ำประแส ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น
นภวงศ์ ต้นราชสกุลท่านมีเชื้อสายสมเด็จพระเจ้าตากสิ นฯ กล่าวกันว่าท่านได้รับมรดกตกทอดมาจากต้นตระกูล เป็นตั่งหินอ่อนและสิ่งของอีกหลายชิ้นที่ยังเก็บรักษาอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร) ครั้งขณะที่ด�ำรงสมณศักดิ์พระ สุคุณคุณาภรณ์ ผู้อ�ำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี ราว พ.ศ. ๒๔๔๒ ชาวบ้านน�ำแท่นมาต้อนรับและกล่าวว่าเป็น พระแท่นทีป่ ระทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ท่านก็เห็นว่า เป็นฝีมือช่างชั้นสูงจึงได้น�ำไปเก็บรักษาไว้ ณ หอพระสมุด วชิรญาณและต่อมาจึงน�ำไปรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร ส่วนตั่งวางเท้าขนาดย่อมๆ ยังคงเก็บ รักษาไว้ที่วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวรารามจนถึงปัจจุบัน
แท่นรองพระบาทที่เชื่อกันว่าเป็นของที่อยู่คู่กับ บัลลังก์ของพระเจ้าตากฯ
20
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
“เมืองแกลง” เริม่ ปรากฏอย่างชัดเจนในนิราศของ สุนทรภู่ สันนิษฐานว่าแต่งขึน้ ในราว พ.ศ. ๒๓๔๙ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ บิดาของสุนทร ภู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าคณะเมือง แกลง อยู่ที่วัดป่ากร�่ำ น่าสังเกตว่าวัดเจ้าคณะเมืองนั้นตั้ง อยู่ท่ีบ้านกร�่ำ ซึ่งเป็นชุมชนชายขอบที่เนินต่อกับที่ราบลุ่ม ใช้ทำ� นาปลูกข้าวผืนใหญ่ตดิ กับทีล่ มุ่ น�ำ้ ท่วมถึงในสาขาของ คลองประแสคือ “คลองเนินฆ้อ” ซึ่งเป็นล�ำคลองน�้ำกร่อย และทุ่งนาที่ติดต่อกับบริเวณหาดทรายชายทะเล แถบนี้มี กลุ่มบ้านอยู่หลายแห่งเป็นกลุ่มใหญ่เพราะพื้นที่เหมาะสม และอุดมสมบูรณ์ แต่ต�ำแหน่งเมืองแกลงที่ยกกระบัตรและกรม การเมืองอยู่อาศัยไม่ ใช่ต�ำแหน่งที่ตั้งใน “คลองแกลง” เพราะสุนทรภู่กล่าวถึง “บ้านแกลง” ซึ่งอยู่ริมคลองแกลง ทางตะวันตกของบ้านกร�่ำที่ “บ้านดอนเด็จ” ซึ่งอาจจะเป็น “บ้านดอนเค็ด” เนื่องจากการคัดลอกที่ผิดพลาดก็ได้ ซึ่ง “บ้านดอนเค็ดแถบวัดโพธิ์ทองเหนือสามย่าน” ขึ้นมานั้น เป็นสถานที่ตั้งของบ้านเรือนกรมการเมืองและเจ้าเมือง แกลงจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อมูลจากแผนที่ ใน เอกสารเรื่อง “ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม” ของเซอร์ จอห์น เบาว์รงิ จากอังกฤษทีเ่ ข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีเมือ่ พ.ศ. ๒๓๙๗ จากฐานข้อมูลที่มีการเริ่มเก็บเพื่อท�ำแผนที่ ตัง้ แต่การส่งทูตจอห์น ครอว์เฟิรด์ เข้ามาขอท�ำสนธิสญ ั ญา กับสยามตัง้ แต่ในครัง้ รัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ ลงต�ำแหน่ง หัวเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันออกไล่เรียงตั้งแต่ บ้านบาง ปลาสร้อย [Bangplasoi] บางปะมุงหรือบางละมุง [Bangpomung] บางพระ [B.Phrai] ระยอง [Rayong] เมืองแกลง [M. Trang] บ้านกระแจะ [B.Kacheh] จันทบุรี [Chantaburi] เมืองทุ่งใหญ่ [M.Tungyai] รวมทั้งลงต�ำแหน่งและชื่อ ล�ำน�้ำส�ำคัญ คือ แม่น�้ำระยอง แม่น�้ำประแส แม่น�้ำพังราด และแม่น�้ำจันทบุรี ต�ำแหน่งเมืองแกลงที่เขียนว่า “M.Trang” อยู่
ทางตะวันตกของเมืองระยอง ก่อนถึงแม่น�้ำประแส ใกล้ บริเวณแหลมที่น่าจะคือเขาแหลมหญ้าบริเวณช่องเสม็ด และส่ ว นทางเหนื อ ปากน�้ ำ ประแสไม่ มี ต� ำ แหน่ ง เมื อ ง ปรากฎอยู่ จนถึงราวรัชกาลที่ ๕ เริ่มมีการลงรายละเอียด ที่เปลี่ยนไป ดังแผนที่บริเวณอ่าวตอนในและชายฝั่งทะเล สู่จันทบูรของ เฮอร์เบิร์ต แวริงตัน สมิธ ที่ลงต�ำแหน่ง ทั้ง “เมืองแกลงและเมืองประแส” ในแผนที่ดังกล่าวเมื่อ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๙ ต่อมาในราวก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการกล่าว ถึง “เมืองแกลง” ๒ สองครั้ง และระบุถึงปลายน�้ำเมือง แกลง ๒ แห่งในข้อความเดียวกันว่า “ให้หามาดเส้น (เรือ มาดคือเรือใช้ฝีพาย มีหลายแบบ ที่เป็นเรือพระที่นั่ง เช่น มาดประทุน มาดเก๋ง ค�ำว่ามาดเส้นคือความยาวของเรือ เกิน ๒๐ วา ซึ่ง ๑ เส้นคือราว ๔๐ เมตร ซึ่งเป็นซุงไม้ ตะเคียนที่ยาวมาก) มาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายซึ่ง... พระยาวิชยาธิบดีหาได้ที่ป่าเมืองจันทบุรีล�ำ ๑ พระเทพ สงครามปลัดหาได้ที่ตะเคียนทองล�ำ ๑ พระแกลงแกล้ว กล้าหาได้ที่ ปลายน�้ำเมืองแกลง ๒ ล�ำ พระอินทรอาสา (ทุม) หาได้ที่ปลายน�้ำเมืองระยองล�ำ ๑ พระอินทรักษาหา ได้ที่ ปลายน�้ำเมืองแกลงเมืองระยอง ล�ำ ๑ พระราชภักดี สงคราม ผู้ว่าราชการเมืองระยอง หาได้มาด ๑๘ วาที่ป่า เมืองระยองล�ำ ๑ รวมทั้งมาดเส้นเป็น ๗ ล�ำ” เฮอร์เบิร์ต แวริงตัน สมิธ ระบุไว้ชัดเจนว่ามาด เส้นหรือไม้ตะเคียนทีน่ ำ� มาขุดเป็นเรือพระทีน่ งั่ แบบโบราณ ขนาดใหญ่ผ่านมาจากต้น น�้ำประแสคือ “เรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช” นั่นเอง ตรงนี้ชัดเจนว่าเมืองแกลงนั้นเคยตั้งอยู่ที่ “คลอง แกลง” ซึ่งอยู่ ในเขตเมืองระยอง ต่อมาเมืองแกลงย้าย มาอยู่ริมน�้ำสาขาของล�ำน�้ำประแสที่บ้านดอนเค็จ วัด โพธิท์ อง ซึง่ ไกลจากชายฝัง่ ทะเลโดยวัดระยะทางตามล�ำน�ำ้ ราว ๒๐ กิโลเมตร ไม่พบว่ามีเจ้าเมืองต�ำแหน่งและชื่อ ในท�ำเนียบขุนนางแต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังไม่สามารถหาเหตุผลของการ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
21
ย้ายต�ำแหน่งที่ตั้งเมืองแกลงอย่างชัดเจน จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงมีพระบรมราชโองการแปลงและตั้งต�ำแหน่งขุนนาง หัวเมืองของกรมท่าใหม่ที่ปรากฏชื่อต�ำแหน่ง “พระแกลง กล้าหาญ” แต่เดิม เป็น “พระแกลงแกล้วกล้า” และให้ เมืองแกลงไปขึน้ กับเมืองจันทบุรี นับเป็นครัง้ แรกทีป่ รากฏ หลักฐานเอกสารเรื่องเจ้าเมืองแกลง ภายหลังมีการย้ายเมืองแกลงจากบริเวณบ้าน
ดอนเค็ดวัดโพธิ์ทองมายัง “บ้านสามย่าน” กลายเป็นที่ตั้ง ของอ�ำเภอแกลงในปัจจุบนั ตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๕๑ สาเหตุที่ตงั้ ทัง้ มณฑลเทศาภิบาลและเปลีย่ นจากเมืองเป็นอ�ำเภอได้ชา้ กว่าท้องถิน่ อืน่ ๆ เพราะติดอยูก่ บั เหตุการณ์ฝรัง่ เศสยึดเมือง จันทบูรไว้ถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๗) และก่อตั้ง มณฑลจันทบุรีในปี พ.ศ. ๒๔๔๙
จากแผนที่อินโดจีนที่ฝรั่งเศสท�ำขึ้นในช่วงอาณานิคมระบุพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกภายในแผ่นดินโดยรวมๆ ว่าเป็นของกลุ่มชาวชอง
22
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ปากน�้ำประแส จากการเป็นแหล่งค้าขาย เป็นตลาดปากน�้ำที่ ส�ำคัญในท้องถิ่นและภูมิภาค ทศวรรษที่ ๒๔๙๐ ตลาด ประแสซบเซาลง และเปลี่ยนแปลงมาเป็นการท�ำประมง เชิงพานิชย์ขนาดใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันไปทั้งประเทศ และ ท�ำให้คนประแสมีรายได้สูงเป็นที่เล่าลือกัน เนื่องจากช่วงเวลานั้นหัวเมืองชายฝั่งตะวันออกมี ความเคลือ่ นไหวทางการทหารเป็นอย่างมากจากเหตุการณ์ สงครามระหว่างสยามกับญวน เกิดการสร้างป้อมปราการ และค่ายทหารในพื้นที่ฝั่งตะวันออกทั้งป้อมปราการเมือง ฉะเชิงเทราและค่ายเนินวงเมืองจันทบุรี บุคคลส�ำคัญทีเ่ ป็น ผู้ควบคุมบังคับบัญชาการศึกทางทะเลในยุคนั้นในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั คือ สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ การก่อสร้างวัดโยธานิมิตที่มีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังบน ฐานที่ซ้อนลวดบัวมาลัยเถาหลายชั้น จ�ำลองรูปแบบมา จากเจดีย์วัดประยูรวงศ์ฯ ที่อาจถือว่าเป็นการสร้างเจดีย์ องค์ระฆังเป็นครัง้ แรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเอกลักษณ์ ของงานช่างในกลุ่มตระกูลบุนนาคและแบบประเพณีนิยม ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เมื่ อ เสด็ จ ผ่ า นปากแม่ น�้ ำ ประแส คราวเสด็ จ ประพาส ชายฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. ๒๔๒๗ โปรดเกล้าฯ ให้
สร้าง “วัดสมมติเทพฐาปนาราม” ที่บริเวณแหลมสนนั้น ประกอบ “พระเจดียเ์ ดิม” ทีเ่ ป็นเจดียอ์ งค์ระฆังย่อมๆ และ พระราชทานสิ่งของไว้ที่วัดตามสมควร อนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงเวลาผ่านไปไม่นาน นักก็น่าจะลืมไปแล้วว่ามีการสร้างเจดีย์รูปทรงระฆังเหล่า นี้ในพื้นที่ต่างๆ โดยไม่มีวัดเพื่ออะไร เจดีย์ทรงระฆังนี้รูป แบบเดียวกับเจดีย์ที่วัดทะเลน้อยหรือวัดราชบัลลังก์ปฏิฐา วรารามซึ่งในบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์หลายแห่งแถบ ปากน�ำ้ หรือจุดชัยภูมติ ามเส้นทางเดินทางหรือเดินทัพก็พบ เจดีย์ทรงระฆังองค์ย่อมๆ โดยไม่มีวัดปรากฏอยู่ เช่น ที่ “เขาน้อย” ฝั่งตรงข้ามกับเมืองจันทบูรเก่าที่ล้อมรอบด้วย ก�ำแพงหินขนาดใหญ่ ซึง่ ชาวบ้านยุคต่อมาเรียกว่า “หัววัง” บริเวณปากน�ำ้ แหลมสิงห์ ปากน�ำ้ ประแส และวัดทะเลน้อย ปากน�้ำระยอง ช่องแสมสาร ไปจนถึงเชิงเขาบางทรายที่ บางปลาสร้อย ฯลฯ ส่วนด้านเหนือเป็นที่ท�ำการทหารรักษาความสงบ เรียบร้อยและป้องกันกลุม่ โจรสลัดเพราะเป็นทีเ่ ปลีย่ ว และ บริเวณนี้ตั้งอยู่ใกล้เกาะมันทั้งสาม คือเกาะมันนอก เกาะ มันกลาง และเกาะมันใน ซึง่ มักมีพวกสลัดออกไปพ�ำนักใช้ เป็นทีห่ ลบภัยและดักปล้นเรือต่างๆ ทีโ่ ด่งดังคือ “เสือผ่อน” จนมีความทรงจ�ำส�ำหรับคนสูงวัยในกลอนล�ำตัดเก่าและค�ำ บอกเล่ามาจนถึงบัดนี้ และก่อนหน้านัน้ คือจอมโจรก๊กต่างๆ
เรือฉลอมติดใบเรือในล�ำน�้ำประแส พ.ศ.๒๔๗๙ ภาพจาก Robert L. Pendleton Collection. University of Wisconsin-Milwaukee Libraries. http://collections. lib.uwm.edu/digital/
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
23
เจดีย์ทรงองค์ระฆังขนาดย่อม บนฐานไพทีมีรั้วล้อมรอบขนาดเล็ก ในตำ�แหน่ง ทางยุทธศาสตร์สำ�คัญๆ ของเส้นทางเดินทางน้ำ�และเลียบชายฝั่งทะเลจุดต่างๆ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาในคราวสงครามญวน-สยาม ครั้งรัชกาลที่ ๓
เจดีย์ทรงองค์ระฆังที่ วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม บ้านทะเลน้อย
24
เจดีย์ทรงองค์ระฆังขนาดย่อม ที่เขาช่องแสมสาร สัตหีบ
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
เจดีย์ทรงองค์ระฆังที่เคยมีอยู่องค์เดียว ก่อนการสร้างวัดสมมติเทพฐาปนาราม แหลมสน ปากน�้ำประแส
เจดีย์ทรงองค์ระฆังขนาดย่อมที่เชิงเขา วัดเขาบางทราย ชลบุรี
เจดีย์ทรงองค์ระฆังที่ป้อมไพรีพินาศ ปากน�้ำแหลมสิงห์
เจดีย์ทรงองค์ระฆังที่เขาน้อย ฝั่งจันทนิมิต เมืองจันทบุรี
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
25
เขาคิชฌกูฏ
แผนที่แสดงต�ำแหน่งบ้านเตาหม้อ ต�ำบลร�ำพัน อ�ำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่ริมล�ำน�้ำร�ำพัน สาขาหนึ่งของแม่น�้ำวังโตนด ขนานไปกับแนวเทือกเขา ซึ่งคนเชื้อสายจีนถือว่าเป็นท�ำเลดีที่สุดในการตั้งถิ่นฐาน
“เตามังกร” (Dragon Kiln) บ้านเตาหม้อ บ้านท่าศาลา ต�ำบลล�ำพัน จากปากน�้ำประแสข้ามล�ำน�้ำพังราดและล�ำน�้ำ กระแจะที่มีชุมชนอยู่รายทางเป็นระยะ ระนาบนี้เป็นการ เดินทางเลียบชายฝั่งตามเส้นทางเกวียน ซึ่งมักจะมีการ สร้างศาลาเป็นระยะๆ ส�ำหรับการติดต่อระหว่างชุมชน แบบเก่าก่อนที่จะสร้างและซ่อมถนนสุขุมวิทช่วงนี้ ในราว ทศวรรษที่ ๒๔๙๐ การเดินทางในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ระหว่างหัวเมืองทางตะวันออกนัน้ ยังคงใช้การเดินเรือทะเล เลียบชายฝั่งทั้งการขนส่งสินค้าและผู้คน “คลองล�ำพัน” คือสาขาของล�ำน�้ำวังโตนดฝั่ง ตะวันตกที่มีปากน�้ำเรียกว่า “ปากน�้ำเข็มหนู” หรือ “แขม หนู” ที่อยู่ติดแนวเทือกเขายาวจากชายหาดเจ้าหลาว ตรง
26
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
เกาะช่องสะบ้าขึ้นไปทางเหนือที่เรียกว่า “เขาท่าศาลา” บริเวณนี้มีช่องเขาซึ่งเป็นช่องทางติดต่อโดยธรรมชาติจาก ทุง่ สนามไชยทีม่ ที างเกวียนติดต่อมาจากทางเมืองแกลงเดิน ทางเข้าสู่อาณาบริเวณเมืองจันทบุรี ผ่านไปยังคลองโขง และวัดโขมงสู่ท่าใหม่และเมืองจันทบุรีโดยทางบก ซึ่งเป็น เส้นทางสันนิษฐานเส้นทางเดินทัพสู่เมืองจันท์ของสมเด็จ พระเจ้าตากสินฯ รวมทั้งเป็นเส้นทางที่ชาวบ้านท้องถิ่นใช้ และเล่าสืบต่อมาเช่นกัน ระหว่างคลองล�ำพันและเชิงเขาท่าศาลา ชาว จีนโพ้นทะเลถือว่าเป็นฮวงจุ้ยท้องมังกร จึงย้ายเข้ามา ตั้งถิ่นฐานเป็นจ�ำนวนมากทั้งมีบ่อน�้ำจืดใหญ่ พื้นที่อุดม สมบูรณ์ เกิดเป็นตลาดท่าศาลาและโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตภาชนะดินเผาทัง้ เนือ้ ดินและเนือ้ แกร่ง เช่น ไหและโอ่ง เคลือบที่ส่งขายไปทั่วชุมชนชายฝั่งตะวันออกตั้งแต่ระยอง
ถึงตราด ส่วนใหญ่คนจีนดัง้ เดิมแถบนีเ้ ป็นจีนแคะคริสต์เตียน ต่อมาจึงสร้างโบสถ์ของ “วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าศาลา” ซึ่งคนภายนอกมักเรียกว่า “วัดญวน เตาหม้อ” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมาแต่เดิม เพราะพื้นที่นี้ไม่มีคนญวน คงมีแต่คนเชื้อ สายจีนแคะและแต้จิ๋ว บริเวณวัดยังมีฮวงซุ้ยที่ฝังศพรวมของชาวคริสต์ด้านหลังซึ่งเป็นที่ฝังศพส�ำหรับคนในชุมชนท่าศาลา และเตาหม้อ รวมไปถึงคนคริสต์ที่แหลมประดู่ ฝั่งตรงข้ามกับท่าแฉลบ ซึ่งเป็นคนจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนแถบนั้นก็นิยมมาฝัง ศพในชัยภูมิท้องมังกรนี้ด้วย เป็นที่ทราบกันว่าเมืองท่าชายฝั่งทะเลและภายในสามเหลี่ยมแม่น�้ำโขงที่ส�ำคัญๆ หลายแห่ง เช่น เมืองก�ำปอต เมืองบันทายมาศ เมืองสักซ้า [Rạch Giá] เมืองจ่าเวิญ [Trà Vinh] ไปจนถึงไซ่งอนนั้นมีคนจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นจ�ำนวน ไม่นอ้ ยมาตัง้ แต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ จนเมืองบางแห่งเช่นเมืองเปียมหรือทีเ่ รียกกันต่อมาว่าเมืองฮ่าเตียนทีอ่ ยูป่ ากน�ำ้ เมืองบันทายมาศก็มีผู้ปกครองในฐานะ “รัฐอิสระ” เป็นชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้งจนกระทั่งถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตา กสินฯ จึงเปลี่ยนแปลงหลังจากการปราบกบฎไต้เซินแล้วและราชวงศ์เหวงียนขึ้นปกครองและคงมีชาวจีนจ�ำนวนไม่น้อยใน พืน้ ทีส่ ามเหลีย่ มปากแม่นำ�้ โขงทีเ่ ข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์และอพยพเข้ามาสูห่ วั เมืองชายหลายแห่งในสยามช่วงรัชกาลที่ ๓ โบถส์ “วัดญวนเตาหม้อ” หรือ “วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าศาลา” ซึ่งไม่มีคนญวนอยู่ที่นี่ นอกจากชาวจีนแคะ
สุสานวัดญวน เตาหม้อ ซึ่งเป็นที่ฝังศพของชาวคริสต์เชื้อสายจีน ทั้งจากในชุมชนเตาหม้อและชุมชนแหลมประดู่
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
27
คนจีนแคะกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ บ้านเตาหม้อน่าจะมีอาชีพปั้นหม้อ กระถาง โอ่งใส่น�้ำ เป็น หลัก จากข้อมูลสัมภาษณ์ในงานวิจยั ของ “ภรดี พันธภากร” เรือ่ ง “การศึกษาเทคโนโลยีเครือ่ งปัน้ ดินเผาแหล่งจันทบุร”ี กล่าวถึงช่างปัน้ ชาวจีนแคะชือ่ “แปะสุน แซ่โค้ว” เป็นคนใน พืน้ ทีบ่ า้ นเตาหม้อ ปัน้ โอ่งเคลือบด้วยน�ำ้ ขีเ้ ถ้าและน�ำ้ ดินเลน ท�ำอยู่ราว ๓๐ ปี จนอายุมากขึ้นและอาจจะอยากพัฒนา เทคนิคการปัน้ และเผาโอ่งน�ำ้ เคลือบทีด่ จู ะได้รบั ความนิยม ใช้กันมากในท้องถิ่น จึงพยายามหาช่างฝีมือมารับช่วงท�ำ ต่อ เวลานัน้ คนจีนแคะมักไปรวมตัวพูดคุยถามข่าวให้ความ ช่วยเหลือเครือญาติท่ีเป็นชาวจีนแคะด้วยกันที่ “ร้านขาย ยาจังกวงอัน” ริมน�้ำจันทบุรี จนต่อมา “นายก้วน แซ่ตั้ง” หรือทีเ่ รียกันว่า “เจ๊กฝัน้ ” ช่างปัน้ จีนแต้จวิ๋ จากต�ำบลปังโคย เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง [ปังโคยมีชื่อเสียงในการท�ำ เครื่องดินเผาและเครื่องกระเบื้องมาแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบนั ] เดินทางด้วยเรือโดยสารมาลงทีท่ า่ แฉลบในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ อยู่กับแปะสุนเพียง ๔ เดือนก็รวบรวมเงินเดินทาง ไปรับภรรยาและญาติพนี่ อ้ งทีเ่ มืองจีนมาอยูด่ ว้ ยกันและเริม่
ภายในเตามังกรขนาดใหญ่ที่บ้านเตาหม้อ ของโรงงานเจริญชัยดินเผา สามารถเผาในอุณหภูมิสูงราว ๑,๑๐๐-๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส จนได้เครื่องดินเผาเนื้อแกร่ง [Stonware] ใช้รูปแบบเตาแบบเดียวกับเตาเผาที่เมืองจีนและใช้มาแต่เดิมแล้ว ขนาดราว ๔๐-๖๐ เมตร มี ช่องใส่ไฟ ๔๐-๖๐ ช่อง มีประตูทางเข้าส�ำหรับใส่เครื่องปั้นดินเผา ๔ ช่องประตู ด้านหน้าเป็นห้องส�ำหรับใส่ฟืน ด้านในใส่ภาชนะที่จะ ร” การเผารอบหนึ่งรวมการน�ำเข้ารอให้เย็นและน�ำออกราว ๕ วัน 28 คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูเผา เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ท�ำเตามังกรเป็นต้นแบบที่ผลิตกันที่กรุงเทพฯ แถบคลอง ผดุงกรุงเกษมและแถบสามเสน จนถูกน�ำไปผลิตที่ริมน�้ำ แม่กลองราชบุรี ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไป แล้ว และช่างปั้นโอ่งมังกรจากจันทบุรีก็กลายเป็นช่างชุด เดียวกับที่ราชบุรีด้วย กลุ่มจีนแคะนอกจาก “แปะสุน แซ่โค้ว” แล้ว ยังมี “นายเปี้ยง แซ่ตัน” ประเมินอย่างคร่าวๆ ได้ว่า น่า จะท�ำอาชีพปั้นโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ ขายที่ “บ้านเตาหม้อ” มาตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๒๐ หรืออาจจะมีการตั้งชุมชน ปั้นเครื่องปั้นดินเผาขึ้นไปจนถึงยุคที่ชาวคริสต์ญวน-จีน ที่ถูกผลักไสออกจากเวียดนามราว ๓๐ ปีก่อนหน้านั้น ทีเดียว “หมู่บ้านเตาหม้อ” กลายเป็นชุมชนชาวจีนที่ท�ำ เครือ่ งปัน้ ดินเผาอยูก่ นั เป็นจ�ำนวนมากในเวลานัน้ จนถึงกับ เคยเรียกกันว่า “เมืองจีนน้อย” และเป็นช่วงเวลาใกล้เคียง กับการก่อร่างชุมชนชาวคริสต์ที่เมืองขลุง บ้านเตาหม้อช่วงนั้นมีโรงงานใหญ่ดั้งเดิมอยู่ถึง ๖ โรง ต่อมาลูกหลานเครือญาติท�ำกลุ่มโรงงานเจริญชัย ดินเผาและชูชัยดินทอง ที่ท�ำกระเบื้องดินเผา โอ่งเคลือบ รุ ่ น แรกของโรงงานนี้ เ ป็ น รู ป ปู มี ชื่ อ ก� ำ กั บ ว่ า “อั น ฮวด เส็ง” ฯลฯ กลุ่มจีนแคะส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกาย โรมันคาทอลิก ต่างจากกลุ่มจีนแต้จิ๋วที่เข้ามาท�ำอาชีพปั้น โอ่งในระยะหลังซึ่งปรับมานับถือพุทธศาสนาแบบเดียวกับ คนไทยทั่วไป “เตามังกร” รูปแบบเก่าแก่ย้อนไปถึงราชวงศ์จิ๋น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๔) และใช้กันมากในกลุ่มเตาทาง ตอนใต้ของจีนแถบกวางตุง้ ซึง่ มักจะมีเนินเขาทีจ่ ะเลือ้ ยลง มาตามเนินเขาเพือ่ ช่วยให้อณ ุ หภูมสิ งู ขึน้ และควบคุมความ ร้อนได้ดี ถือว่าเป็นอัตลักษณ์ของเตาภาคใต้ของจีนเพิ่ม อุณหภูมไิ ด้สงู กว่า ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส เผาได้ถงึ ขัน้ เนือ้ กระเบื้องหรือพอซเลน เตาเก่าที่สุดที่ยังเหลืออยู่คือตั้งแต่ ราชวงศ์หมิงอายุกว่า ๓๕๐ ปี เตามังกรรุ่นแรกๆ ของบ้าน เตาหม้อซึ่งพังไปแล้ว เลื้อยจากเนินเขาจรดล�ำน�้ำล�ำพันไม่ น่าต�่ำกว่า ๓๐ เมตร ส่วนเตาปัจจุบันนี้วางตัวเรียบๆ สั้นๆ น่าจะถึง ๒๐ เมตร Seggers หรือที่เรียกว่า “กี๋” ท่อ แต่
ภาพวาดโครงสร้างเตามังกรที่ “หลงฉวน” จีนตอนใต้
เจ้าของเตาจีนเชื้อสายแคะเรียกสืบต่อมาว่า “จ๊อยแหน่” ส่วนแผ่นรองเรียก “โฉ้ว” ส่วน “เตาประทุน” หรือ Cross draft kiln ซึ่งมี เทคนิคและรูปแบบแตกต่างไปพบในแหล่งเตาโบราณใน ประเทศไทยทัว่ ไปนัน้ ก็รบั เทคโนโลยีมาจากเมืองจีนเช่นกัน ปัจจุบันโรงงาน “เจริญชัยดินเผา” ยังคงมี “เตา มังกร” ที่ยังใช้งานอยู่และก�ำลังจะปิดตัวยุติการผลิตอย่าง ถาวรซึ่งคนจันทบุรีอาจไม่รู้ว่ามีของดีอยู่ และเตามังกรใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นนั้ เป็นโบราณสถานส�ำคัญทีก่ ำ� ลัง สูญหายไปเสียหมด ในประเทศสิงคโปร์ที่เหลือเพียงแห่ง เดียวก็กลายเป็นโบราณสถานส�ำคัญของชาติทีเดียว
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
29
ภาพวาดเรือส�ำเภาสามเสาย่านชายฝั่งทะเลจันทบูร ภาพจากแวริงตัน สมิธ (ห้าปีในสยาม)
แหลมสิงห์ ปากน�้ำจันทบูร ปากน�้ำจันทบูรหรือที่มักเรียกว่า “ปากน�้ำแหลม สิงห์” เนื่องจากทางฝั่งปลายแหลมด้านตะวันตกที่ติดกับ ทะเล มีกอ้ นหินใหญ่ ๒ ก้อน มองจากทะเลจะดูคล้ายสิงโต ยืนคู่ เป็นที่นับถือบูชาของชาวประมงท้องถิ่น จึงเรียกกัน ว่าแหลมสิงห์ เล่ากันเป็นสองกระแสว่า เมื่อก่อนสิงห์คู่นี้ ไม่มี แต่บนเขามีสิงโตจริงๆ ตัวผู้และตัวเมียอยู่คู่หนึ่ง ไป ไหนมาไหนด้วยกันเสมอ ลงอาบน�ำ้ ทะเลด้วยกัน ต่อมาพวก ฝรัง่ ลอบท�ำร้ายโดยใช้ระเบิดยิงถูกสิงห์ตวั หนึง่ ถึงแก่ความ ตาย อีกตัวหนึง่ จึงวิง่ ลงทะเลทันที พอตายแล้วจึงกลายเป็น สิงห์ยืนอยู่ริมทะเล ส่วนตัวที่ตายเหลือแต่เพียงซากหินที่มี เค้าว่าเคยเป็นสิงห์อยูบ่ า้ ง แต่เรือ่ งเล่าส่วนใหญ่จะกล่าวว่า สมัยทีฝ่ รัง่ เศสเข้ายึดครองจังหวัดจันทบุรี ใช้กอ้ นหินนีเ้ ป็น เป้าทดลองปืน ท�ำให้ตัวหนึ่งแตกสลายไปส่วนอีกตัวหัวตก น�้ำไป จึงเหลือเพียงรูปแบบในปัจจุบันที่ดูแค่คล้ายสิงห์
30
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
เจ้าพระยาพระคลังเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ เป็นแม่กองสร้างเมืองจันทบุรที เี่ นินวง จมืน่ ราชามาตย์ (ข�ำ บุนนาค) ท�ำป้อมที่แหลมด่านป้องกันปากน�้ำ ๑ ป้อม ชื่อ “ป้อมภัยพินาศ” ที่เขาแหลมสิงห์ป้อมเก่ามีอยู่แล้วจึงท�ำ ป้อมใหม่ ๑ ป้อม ชื่อ “ป้อมพิฆาตปัจจามิตร” และทางฝั่ง นี้ในเวลาต่อมาเคยเป็นที่ตั้งของสุสานทหารฝรั่งเศสที่เสีย ชีวิตที่กองทหารปากน�้ำด้วย เหตุการณ์ปิดปากน�้ำเจ้าพระยาของกองเรือรบ ฝรั่งเศสเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ รู้จักกันในเหตุการณ์ “วิกฤตการณ์ปากน�ำ้ ” การปะทะเกิดขึน้ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ เมือ่ เรือรบฝรัง่ เศสแล่นฝ่าเข้าไปในปากแม่นำ�้ เจ้าพระยา ทั้ง ๓ ล�ำถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและ เรือปืน ผลการรบ ฝรั่งเศสสามารถด�ำเนินการปิดล้อม กรุงเทพฯ มีการเจรจาระหว่างกันซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของ เหตุการณ์ฝรั่งเศสเพื่อเข้ามายึดครองดินแดนในแถบภาค ตะวันออก
ชายฝั่งทะเลแถบจันทบูร คุ้งวิมานในปัจจุบัน
กรณี พิ พ าทเริ่ ม จากการปราบฮ่ อในรั ช กาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝ่ายฝรั่งเศส อ้างกรรมสิทธิเ์ หนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันห้าทัง้ หก ว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ขอให้ทัพไทยถอยออกไปให้พ้น เขต การเจรจาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับข้อเสนอ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ฝรัง่ เศสยืน่ ค�ำขาดให้สยามเคารพสิทธิข์ องญวน และเขมรเหนือดินแดนฝัง่ ซ้ายแม่นำ�้ โขง ให้เสียค่าปรับไหม และค่าท�ำขวัญในเหตุการณ์ที่ทุ่งเชียงค�ำและค�ำม่วนและ การรบที่ปากน�้ำเจ้าพระยาจ�ำนวนมาก ถ้ า ไม่ ส ามารถจ่ า ยได้ ก็ ต ้ อ งยอมให้ รั ฐ บาล ฝรั่ ง เศสมี สิ ท ธิ เ ก็ บ ภาษี อ ากรในเมื อ งพระตะบองและ เสียมราฐ ฝ่ายสยามยื่นค�ำตอบเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขง ช�ำระค่าเสียหาย ๒ ล้ า นฟรั ง ก์ และจ่ า ยเงิ น เหรี ย ญนกเม็ ก ซิ กั น ๓ ล้ า น ฟรังก์เพื่อมัดจ�ำ เมื่อฝ่ายสยามยอมรับข้อเสนอทุกข้อ ของฝรั่งเศสโดยไม่มีเงื่อนไข ฝรั่งเศสก็เรียกร้องเพิ่ม เติ ม โดยยึ ด ปากน�้ ำ และเมื อ งจั น ทบุ รี ไ ว้ เ ป็ น ประกั น ให้ สยามถอนก� ำ ลั ง จากเมื อ งพระตะบองและเสี ย มราฐ และสงวนไว้ซึ่งสิทธิท่ีจะตั้งกงสุลที่เมืองนครราชสีมาและ เมืองน่าน แม้ทางฝ่ายไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสบีบ บังคับทุกอย่าง ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี ต้องมีการตกลงท�ำสัญญาขึ้นใหม่ จนปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ฝรั่งเศสจึงถอนก�ำลังออกจากจันทบุรี แต่ได้เข้ายึดครอง เมืองตราดและบรรดาเกาะทัง้ หลายภายใต้แหลมสิงห์ลงไป
คือประจันตคิรีเขตร์หรือเกาะกงให้ฝรั่งเศส การเข้ามาปก ครองได้แต่งตั้งพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสและเขมรมาประจ�ำ อยู่ที่จังหวัดตราด โดยได้ใช้ “จวนเรสิดังกัมปอร์ต” ที่อยู่ บริเวณชุมชนคลองบางพระเป็นที่พักของข้าหลวงฝรั่งเศส ในการปกครองเมืองตราด ซึง่ ปัจจุบนั ยังมีอยู่ พืน้ ทีด่ งั กล่าว ได้ตกอยู่ในการยึดครองของฝรั่งเศส จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ จึงได้มีการตกลงท�ำหนังสือสัญญาคืนเมืองตราดให้ไทย ตามเดิม แต่ฝ่ายไทยจะต้องยอมยกดินแดนเขมรส่วนใน หรือมณฑลบูรพา คือ เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรี โสภณ เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยน และเมืองปัจจันตคิรีเขตร (เกาะกง) ฝรั่งเศสได้คืนให้สยาม หลังจากนัน้ ก็มกี ารตัง้ อ�ำเภอทีบ่ า้ นปากน�ำ้ นัน้ เป็น อ�ำเภอพลิ้วที่ย้ายมาจากบ้านคลองยายด�ำหรือที่ตั้งต�ำบล พลิว้ ในปัจจุบนั และเปลีย่ นเป็นชือ่ อ�ำเภอแหลมสิงห์ในเวลา ต่อมา เหตุการณ์ยดึ ครองทัง้ เมืองจันทบูรและเมืองตราด สร้างความหวั่นวิตกให้คนสยามในท้องถิ่นจ�ำนวนไม่น้อย และปรากฏว่ามีการอพยพออกมาจากเมืองนัน้ ข้ามมาอยูย่ งั แถบเมืองระยองและเมืองแกลงกันเป็นจ�ำนวนมาก หลาย ครอบครัวย้อนกลับไปยังเมืองจันทบูรและเมืองตราดภาย หลังเหตุการณ์สงบ ฝรั่งเศสคืนดินแดนให้สยามหลังแลก เปลีย่ นดินแดนกันแล้ว เป็นประวัตศิ าสตร์ที่ไม่ได้ถกู บันทึก เป็นทางการแต่อย่างใด นอกจากจะเป็นการบอกเล่ากันใน ครอบครัวและชุมชนบางแห่ง
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
31
ตึกแดงและคุกขี้ไก่ ในเอกสารเรื่อง “เมืองจัน ทบุรี” ของพระยา มหาอ�ำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) บันทึกว่ามีสิ่งปลูก สร้าง “ตึกแดงที่ปากน�้ำแหลมสิงห์กับที่คุมขังทหารหลัง หนึ่ง” เหตุที่เรียกว่าตึกแดงเพราะตัวตึกและกระเบื้องมุง หลังทาสีค่อนข้างแดง สถานที่ตึกหลังนี้ ใช้เป็นที่พักของ ผู้บังคับกองทหารที่ประจ�ำอยู่ที่ปากน�้ำ เมื่อฝรั่งเศสมอบ เมืองจันทบุรีคืนใน พ.ศ. ๒๔๔๗ และราชการสยามรักษา ไว้ส�ำหรับเป็นที่พักอาศัยของเจ้านาย ข้าราชการ และชาว ต่างประเทศซึ่งไปเที่ยวเตร่ตากอากาศเป็นครั้งคราว และ รัฐบาลไทยก็ยินยอมให้พวกคณะทูตและชนชาวฝรั่งเศสที่ จะไปเทีย่ วเตร่ไปมาเป็นครัง้ คราวพักตากอากาศด้วย จึงใช้ เป็นสถานทีส่ ำ� หรับพักตากอากาศหรือทีท่ า่ นเรียกว่า “แซนิ ตอเลียม” [Sanitarium] จนถึงเมื่อบันทึกชิ้นนั้นแล้ว (ราว พ.ศ. ๒๔๙๖) ที่คุมขังทหารจากเอกสารนี้ก็น่าจะเป็น “คุก” แต่
32
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อกักขังนักโทษชาวไทยที่ ได้ต่อต้านชาว ฝรั่งเศสตามที่บันทึกฝ่ายไทยเล่าลืออย่างแน่นอน เอกสาร ชุดต่างๆ ทีบ่ นั ทึกไว้นนั้ ก็ไม่มเี รือ่ งเกีย่ วกับการข่มเหงรังแก ทัง้ ทหารหรือพลเมืองสยามโดยวิธกี ารขังคุกแต่อย่างใด ซึง่ รูปทรงดูแล้วเหมาะจะเป็นป้อมปืนไปด้วยกัน เพราะมีช่อง เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้ายาวๆ ส�ำหรับส่องกระบอกปืนออกมา ด้านนอกแคบด้านในกว้างเพียงพอส�ำหรับวางฐานกระบอก ปืน น่าจะเป็นอาคารสองชั้นที่ชั้นบนสูงพอควรและชั้นล่าง จะไว้ท�ำโทษคุมขังทหารของฝ่ายฝรั่งเศสคงไม่แปลก หลวงสาครคชเขตต์บันทึกไว้ว่า ครั้งฝรั่งเศสยึด เมืองจันทบุรรี ะหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)-พ.ศ. ๒๔๔๗ กองทหารฝรัง่ เศสตัง้ ขึน้ ทีเ่ มืองจันทบุรแี ละทีป่ ากน�ำ้ แหลม สิงห์ เป็นด่านยามรักษาการณ์ขนึ้ ที่ “หัวแหลมตึกแดง” แห่ง หนึ่ง มีหน้าที่ตรวจบรรดาเรือเมล์หรือเรือใบที่จะผ่านเข้า ออก ซึ่งต้องเปิดแตรสัญญาณให้กองทหารได้ยินและลด ความเร็วแวะรับให้พวกทหารเรือล่ามของเขาขึ้นมาตรวจ กัปตันเรือต้องยืน่ บัญชีสนิ ค้าและจ�ำนวนคนให้ทราบทุกครัง้
คุกขี้ไก่ น่าจะเป็นป้อมปืนมาแต่เดิม โดย สังเกตจากช่องวางปืนด้านใน และน่าจะเคยใช้ ขังทหารฝรั่งเศสหรือทหารญวน ที่ไม่เคยใช้ขัง คนสยามแต่อย่างใด
กลุ่มวัดตะปอนน้อย / วัดทางเกวียน เมืองขลุง การเดินทางจากเมืองขลุงมีเส้นทางเกวียนผ่าและ เกวียนหัก คานรูด ตะปอนใหญ่ ตะปอนน้อยไปตามทุง่ น�ำ เกวียนไปจอดไว้หลังวัดไผ่ลอ้ มแล้วข้ามเรือจ้างทางฝัง่ ตะวัน ตกขายหรือซื้อของกลับที่เดิม มีต�ำบลพลิ้วเป็นศูนย์กลาง การค้าขายกับพื้นที่ ใกล้เคียง ซึ่งตั้งขึ้นจากหมู่บ้านคลอง ยายด�ำ หากจะเดินทางเรือจากคลองยายด�ำไปออกแม่นำ�้ จันทบุรแี ล้วต่อไปยังตัวจังหวัด หรือนัง่ เรือทีบ่ า้ นคลองยาย ด�ำไปขึ้นที่ท่าแฉลบแล้วโดยสารรถยนต์ต่อไป มีเส้นทาง เดินรถประจ�ำทางตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๗ คือตลาดพลิ้ว-ขลุง และตลาดพลิ้ว-คลองยายด�ำ ต่อมาก็มีถนนสุขุมวิทในช่วง ราว พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นต้นมา
ชุมชนแถบนีเ้ คยมีพนื้ ทีท่ ำ� นาที่ใช้บริโภคในท้องถิน่ ได้ วิถีชีวิตก็เป็นแบบชาวบ้านในสังคมชาวนา แถบนี้มีการ เล่าถึงประเพณีตรุษไทยท�ำบุญกันสองวันคือวันแรม ๑๕ ค�่ำ เดือน ๔ กับวันขึ้น ๑ ค�่ำ เดือน ๕ จะมีการขนทราย ที่เรียกว่า ตะกาด ซึ่งเป็นเศษเปลือกหอยละเอียดปนกับ ทรายใส่เกวียนเข้าไปยังลานพระอุโบสถ เพื่อก่อพระเจดีย์ ทราย พร้อมเจดียบ์ ริวารเล็กๆ รอบเจดียใ์ หญ่ ประดับด้วย ดอกไม้หลากสี ที่วัดตะปอนน้อยมีงาน “ยุคพระบาท” หรือ “ฉุด พระบาท” ช่วงหลังสงกรานต์ราว ๑ เดือน รอยพระบาท เขียนลงบนแผ่นผ้าขาวขนาดใหญ่มว้ นแล้วยาวตลอดเกวียน วางพระบาทผูกติดภายในเกวียน ใช้เชือกผูกให้แน่น ชาว หมูบ่ า้ นใกล้เคียง เจ้าของคือ ตะปอนน้อย บ้านป่าคัน่ พลิว้
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
33
บ้านคลองยายด�ำ จะมีการพนันว่าใครชนะ การฉุดคือการ ชักคะเย่อนัน่ เอง ทัง้ สองฝ่ายมีจำ� นวนเท่ากันหรือฝ่ายหญิง มากกว่าชาย ฉุดกันหลายวัน เริ่มจากกองพระทรายใหญ่ จะมีกลองใบหนึ่งอยู่บนเกวียนให้เด็กขึ้นไปตี ท�ำนองเพลง เชิดของกลองแขก มีหลายครั้งที่ชาวพลิ้วชนะฉุดมาถึงวัด ใหญ่พลิ้ว แล้วท�ำบุญฉลองพระบาท รุ่งขึ้นก็น�ำไปคืน ทุกวันนี้การเล่นชักเย่อเกวียนพระบาท จัดที่วัด ตะปอนใหญ่ ก�ำหนดจัดทุกวันที่ ๑๗ เมษายนของทุก ปี โดยน�ำผ้าพระบาทออกมาประดิษฐานไว้บนเกวียน ให้ สองฝ่ายชักเย่อแข่งกัน แบ่งเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชาย ผู้หญิง หนุ่มสาว ผู้สูงวัย และเด็ก ด้วยความที่สืบทอด การเล่นมานาน ชาวบ้านจึงมีกลวิธีการดึงที่พิเศษ ทั้งท่า ดึงที่ ได้เปรียบคู่ต่อสู้ที่สุด การล้มตัวกดเชือกไว้กับทราย เพื่อดึงเกม และการชิงจังหวะดึงเพื่อเอาชนะ ตลอดวันนั้น มีประเพณีสงกรานต์ เริ่มตั้งแต่การรดน�้ำด�ำหัวผู้ใหญ่ใน ตอนเช้า บ่ายแข่งชักเย่อ เล่นการละเล่น แดดร่มลมตกก็
ก่อพระเจดีย์ทราย แยกย้ายไปอาบน�้ำอาบท่า ก่อนจะกลับ มารวมกันทีว่ ดั อีกครัง้ เวลาประมาณ ๒ ทุม่ เพือ่ จุดเทียนท�ำ พิธีสมโภชน์พระเจดีย์ทราย มีพระสงฆ์มาสวดให้ศีลให้พร และประกาศรางวัลเจดีย์ทรายสวยงาม นับเป็นประเพณี ที่สนุกสนาน และเปี่ยมด้วยบรรยากาศแห่งศรัทธาที่ยังถือ เป็นประเพณีพิธีกรรมที่มีชีวิตชีวาของชาวบ้านแถบนี้ วัดตะปอนน้อยมีพระอุโบสถขนาด ๖ ห้องไม่ใหญ่ ไม่เล็ก มีแนวเสาลอยรอบผนังด้านยาวรองรับพาไลชายคา ด้านข้าง หน้าบันสลักภาพพระนารายณ์ทรงสุบรรณ อีกด้าน เป็นรูปพระอินทร์ถอื พระขรรค์ทรงช้างเอราวัณช่องบนและ ช่องล่างเป็นรูปพระรามพระลักษณ์ตามหานางสีดาในป่า ใบเสมามีทั้ง ๘ ทิศขนาดเล็กปักลงบนฐานสิงห์ จิตรกรรม ภายในมีภาพเรื่องพระมโหสถชาดก พระมหาชนกตอน เรื อ พระมหาชนกก� ำ ลั ง อั บ ปางกลางมหาสมุ ท ร พระ เวสสันดรชาดก เรื่องราวในรามเกียรติ์และเรื่องราวต่างๆ ส่วนวัดเกวียนหักก็มีร่องรอยของภาพจิตรกรรมเช่นกัน
วัดตะปอนน้อย อ.ขลุง จ.จันทบุรี
34
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
วัดเกวียนหัก ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
35
วันที่ ๒ "จันทบูร เมืองท่าภายใน"
เพนียดและวัดทองทั่ว เมืองท่าภายในเชิงเขาสระบาป จากหลักฐานทางโบราณคดีโดยสรุปกล่าวได้ว่า การตั้งถิ่นฐานบริเวณหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกล้วน สัมพันธ์กบั เส้นทางการค้าทัง้ ภายในแผ่นดินออกสูเ่ ส้นทาง เดินเรือเลียบชายฝั่ง เพื่อติดต่อสัมพันธ์กับบ้านเมืองใน ท้องถิ่นอื่นๆ และการติดต่อกับบ้านเมืองโพ้นทะเล เริ่มต้น ตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ตอนปลายทีม่ กี ารพบชิน้ ส่วน กลองมโหระทึกร่วมกับเครือ่ งมือเหล็กและส�ำริดแถบคลอง กระแจะซึ่งเป็นชุมชนภายในอยู่บริเวณสาขาของล�ำน�้ำ ตราด ก�ำหนดอายุได้แบบกว้างๆ ในราว ๒,๒๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนชุมชนก่อนหน้านั้นก็พบอยู่ประปรายตาม บริเวณพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขาภูเขาทั้งที่อยู่ใกล้และไกล ชายฝั่งทะเลแถบเขาแก้วและเขาบายศรี ในอ�ำเภอท่าใหม่ และไกลเข้าไปในเขตเทือกเขาที่อ�ำเภอเขาชะเมา จังหวัด ระยอง และอ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ใน ช่วงยุคหินและยุคส�ำริด
36
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ส่วนโบราณสถานที่ ใกล้เชิงเขาสระบาปซึ่งมีร่อง รอยของบ้านเมืองรับอิทธิพลวัฒนธรรมแบบจามและเขมร ตัง้ แต่ยคุ เริม่ แรก ต่อมาเรียกกันว่า “เมืองเพนียด” ชาวบ้าน ส่วนหนึ่งเรียกว่า “เมืองกาไว” ตามต�ำนานที่มีอิทธิพล ความเชือ่ แบบกลุม่ ชาวชองพบว่ามีการท�ำสระน�ำ้ ยกสูงหรือ บารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ ด้านเชื่อมต่อกันสร้างจาก หินแลงซึ่งเป็นชั้นดินที่พบทั่วไปแถบภูมิภาคนี้ และมีการ สร้างแนวคันดินรูปมุมฉากส�ำหรับเป็นแนวบังคับน�้ำที่ ไหล หลากมาจากคลองนารายณ์ ซึ่งมีต้นน�้ำที่ถือว่าเป็นภูเขา และล�ำน�้ำศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเก่าเชิงเขาสระบาปแห่งนี้ อาณาบริเวณของการท�ำระบบการจัดการน�้ำและโบราณ วัตถุทกี่ ระจัดกระจายเชือ่ กันว่าเป็นพืน้ ที่ไม่ตำ�่ กว่า ๑,๖๐๐ ไร่ โบราณวัตถุทเี่ ป็นรูปแบบทับหลังบ้าง ประติมากรรมบ้าง ฐานเทวรูปบ้าง ถูกน�ำไปไว้ตามวัดต่างๆ ทัง้ ในเมืองจันทบูร และชุมชนใหญ่ๆ หลายแห่ง ที่มีร่องรอยว่าเป็นชุมชนมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา
ทับหลังแบบไพรกเมงและถาลา บริวัตร ที่พิพิธภัณฑ์ของวัดทองทั่ว อายุราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓
ชิ้นส่วนประดับปราสาทแบบจาม ท�ำจากหินทราย
พบโบราณวัตถุหลายยุคสมัย เช่น ชิ้นส่วน เศียร พระหริหระแบบพนมดา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ทับ หลังแบบถาลาบริวตั ร อายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จารึก ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่กล่าวถึงชื่อ กษัตริย์อีศานวรมัน ทีม่ ถี นิ่ ฐานบ้านเมืองอยู่ในแถบทีร่ าบสูงซึง่ ต่อกับแนวเทือก เขาพนมดงเร็กและทางลุ่มน�้ำโขงของลาวใต้และกัมพูชา ตอนเหนือ ซึ่งพบอยู่หลายชิ้นแยกกันอยู่กระจัดกระจาย แต่น่าจะมาจากชิ้นเดียวกัน คือ จารึกวัดทองทั่ว จารึกสระ บาป จารึกขลุง และบางชิน้ ทีพ่ บในตึกฝรัง่ เศส ค่ายตากสิน และเป็นทีน่ า่ สังเกตว่า จารอักษรลงบนแท่นทีเ่ คยใช้ทำ� เป็น ฐานเทวรูปมาก่อน รวมทั้งพบจารึกในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบโบราณวัตถุในศิลปะแบบเขมร ส่วนใหญ่ในภูมิภาคอีสานของไทยที่เรียกว่า แบบบาปวน ชิ้นส่วนเครื่องประดับอาคารแบบปราสาทจามใกล้ชายฝั่ง เวียดนามตอนกลางท�ำจากหินทรายที่น่าจะมีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ หรือเก่ากว่านั้น
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
37
โบราณวัตถุจ�ำนวนมากนั้นมาจากชุมชนเก่าที่รับ อิทธิพลวัฒนธรรมแบบเขมรก่อนเมืองพระนคร ตั้งอยู่ใน บริเวณที่ล�ำน�้ำสามารถติดต่อได้กับบ้านเมืองโพ้นทะเล และชายฝั่งอันเนื่องในวัฒนธรรมแบบเจนละ ไม่ว่าจะที่ อังกอร์เบอเรยใกล้พนมดา ถาลาบริวตั รทีส่ ตรึงเตรง แม่นำ�้ โขงใต้คอนพะเพ็ง สมโบร์ไพรกุกที่อีสานปุระอยู่ระหว่าง แม่น�้ำโขงและทะเลสาบ อันเป็นเขตพื้นที่เนื่องในกษัตริย์ อีสานวรมันตามจารึกที่พบซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าจิตร เสน-มเหนทรวรมัน กษัตริย์ผู้ปรากฏพระนามหลายแห่ง ในเขตอีสานทั้งบริเวณลุ่มน�้ำมูล ชุมชนชายขอบเทือกเขา พนมดงเร็ก และที่ส�ำคัญคือบริเวณลุ่มน�้ำโขง การที่ ไ ม่มีปุระหรือปราสาทหินส�ำคัญนอกเสีย จากจารึกและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่ถูกน�ำมาจากบ้าน เมืองที่สามารถติดต่อกับชุมชนชายฝั่งทะเล ที่มีวัตถุบาง ประการคล้ายกับส่วนประดับสถาปัตยกรรมแบบปราสาท จาม ท�ำให้เกิดข้อสันนิษฐานทีอ่ าจไม่พอ้ งกับการสันนิษฐาน ทัว่ ไปว่า ในช่วงเวลายุคเหล็กตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๘-๑๐ ซึ่งพบมโหระทึกแถบชายฝั่งตะวันออก) และใน อีกหนึ่งถึงสองศตวรรษต่อมา บริเวณนี้มีการค้าทางทะเล
โดยการน�ำของป่าจากเทือกเขาภายในเป็นสินค้าส่งออก ที่มีการควบคุมจากบ้านเมืองที่เป็นเมืองท่าชายฝั่งบริเวณ เชิงเขาสระบาป อาจจะเป็นผู้คนที่มีความช�ำนาญการเดิน เรือค้าขายทางทะเลเลียบชายฝั่ง เช่น ชาวจามจากชายฝั่ง ทะเลเวียดนาม ซึง่ ถือเป็นกลุม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญการค้าระยะทาง ไกลทางทะเลทีต่ ดิ ต่อกับบ้านเมืองทัง้ ภาคพืน้ ภายในและหมู่ เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนานตัง้ แต่ถกู เรียกว่ากลุ่มวัฒนธรรมซ่าหวิงห์ และการน�ำสินค้าป่าออก สู่โลกภายนอก ชุมชนแถบเชิงเขาสระบาปและชุมชนที่อยู่ ภายในป่าเขาจ�ำเป็นต้องพึ่งพากลุ่มคนเหล่านี้และเปลี่ยน ค้าขายเป็นคนกลางในเครือข่ายอันเป็นส่วนหนึง่ ของระบบ การค้าทางทะเลที่มีมานานนับพันปีก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนที่มีข้อมูลอ้างอิงต่อมาว่ามีเมืองเก่าอีกฝั่งน�้ำ ของแม่นำ�้ จันทบูรทีเ่ รียกกันว่า “บ้านหัววัง” ต�ำบลจันทนิมติ นั้น สอบค้นพบว่าเริ่มมาจากเอกสารเรื่อง “ประวัติเมือง จันทบุรี” ของโชติ ผุดผ่อง ส�ำรวจตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. ๒๕๒๓ ในสังกัดวิทยาลัยครูจันทบุรี และมีการศึกษาต่อเนื่องจาก ท่านอื่นๆ ว่ามีการพบแนวคูน�้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลายแนว ในบริเวณดังกล่าว
จารึกจันทบูร พระเจ้าศรีอีศานวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๑๕๘-๑๑๗๘) และทรงรับสั่งให้น�ำมาประดิษฐาน ณ เทวสถานใดเทวสถานหนึ่ง เนื้อความโดยส่วนใหญ่ เป็นรายชื่อของทาสจ�ำนวนมาก และ โคกระบือ ที่พระองค์ทรงอุทิศถวายไว้ให้แก่เทวสถานนั้น น่าสังเกต ว่าการจารึกนั้นท�ำลงบนแท่นฐานเทวรูปหรือไม่
38
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
แต่จากการพิจารณาโดยการส�ำรวจข้อมูลต่างๆ บริเวณนี้เป็นพื้นที่ลุ่มต�่ำ เต็มไปด้วยหนองบึง และน�้ำ ท่วมถึงในหน้าฝน เป็นน�้ำหลากท่วมราว ๓-๕ วัน อย่าง ลึกคือเหนือเข่าพอพายเรือได้ ใช้เป็นทีท่ ำ� นาเรียกว่าต�ำบล ทุ่งหลังวัดจันทน์และต่อมาถูกปรับพื้นที่ส�ำหรับปลูกสวน ส้มเขียวหวานที่น�ำพันธ์ุมาจากคลองบางกอกน้อย อัน เป็นต้นทางของส้มแสงทองอันมีชื่อของเมืองจันทบุรี ใน เวลาต่อมา สวนแห่งนี้ขนาด ๙๐๐ ต้น ระยะปลูกห่างกัน ๕ เมตรทุกด้าน ดังนั้นจึงใช้พื้นที่ไม่ต�่ำกว่า ๓,๐๐๐ ไร่ ค� ำ นวนเวลาปลูก ส้มเหล่านี้ราวๆ ทศวรรษที่ ๒๔๕๐ (พระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี. ต�ำรายาไทยและการท�ำ สวนผลไม้. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาแพทยพงศาวิสทุ ธาธิบดี (สุน่ สุนทรเวช, ๙ ธันวาคม ๒๕๐๘)
พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มต�่ำขนาดนี้ ไม่เหมาะสมส�ำหรับ การตั้งเมืองหรือตั้งถิ่นฐานใดๆ ทั้งยังไม่พบร่องรอยของ โบราณวัตถุทคี่ วรจะมีสำ� หรับการมีชมุ ชนโบราณในบริเวณ นี้ นอกเสียจากใช้พื้นที่ท�ำการเกษตรปลูกข้าวหรือสวน ส่วนบริเวณชุมชนที่ ในแผนที่เก่าระบุว่าคือ “บ้านเหนือ วัด” อยู่ติดกับ “เขาน้อย” แผนที่ชุดแรกของเมืองจันทบูร ที่ส�ำรวจในปลายรัชกาลที่ ๕ นั้นไม่ระบุชื่อ “บ้านหัววัง” แต่อย่างใด บริเวณเขาน้อยเป็นป้อมมีแนวก�ำแพงท�ำด้วย หินกองใหญ่ลอ้ มรอบเจดียอ์ งค์ระฆังทีส่ ร้างบนเนินเขาหิน ขนาดเล็กๆ และมีขอบและช่องทางขึ้นจากริมตลิ่งชายน�้ำ สู่ต�ำแหน่งเจดีย์เขาน้อย ปัจจุบันขอบแนวก�ำแพงป้อมที่ท�ำด้วยก้อนหิน จ�ำนวนมากนั้นอยู่ ในเขตสวนของชาวบ้านและได้ปรับ เปลี่ยนพื้นที่ท�ำเป็นโรงแรมริมน�้ำริเวอร์ลาวัลย์แล้ว ส่วน เจดีย์องค์ระฆังที่เขาน้อยได้รับการดูแลยังปรากฏอยู่
เมืองจันทบูรเก่า “จันทบูร” เป็นค�ำดั้งเดิมที่พบในเอกสารเก่าและ ปรากฏในบัน ทึกของนักเดิน ทางชาวตะวันตกที่ ใช้การ เดินเรือเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ผู้คนในท้องถิ่น ดัง้ เดิมเองก็เรียกพืน้ ทีเ่ มืองบริเวณนีว้ า่ จันทบูรด้วยเหมือน กัน จันทบูรถือเป็นเมืองท่าภายในที่ส่งสินค้าของป่า ชั้นดี เช่น หนังสัตว์และเขาสัตว์ ไม้ตะเคียน ไม้แดง ไม้ ยาง จ�ำพวกไม้หอม เช่น กฤษณา พืชสมุนไพรต่างๆ เช่น กระวาน และโดยเฉพาะพริกไทย ไปจนถึงไม้เนือ้ อ่อน เช่น ไม้ระก�ำป่า ดังนัน้ ทีต่ งั้ อยูล่ กึ เข้ามาภายในแผ่นดินค่อนข้าง ไกลจากปากน�้ำและสามารถเดินทางเข้าถึงต้นน�้ำที่ติดกับ เทือกเขาอันเป็นแหล่งทรัพยากรได้สะดวก
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
39
เมืองจันทบูรเก่า มองจากอีกฝั่งน�้ำของแม่น�้ำจันทบูร
ต้นน�้ำจันทบูรประกอบขึ้นจากล�ำน�้ำหลากหลาย สาย แต่ที่ส�ำคัญคือมาจากทางเทือกเขาสอยดาวฝั่งตะวัน ตกและภูเขาในเขตนัน้ อีกหลายแห่ง ผูค้ นภายในทีเ่ ป็นกลุม่ ชาติพนั ธุพ์ ดู ภาษาในตระกูลมอญ-ขแมร์ เช่น กลุม่ ชาวชอง ถือเป็นผูด้ ำ� รงชีวติ และบุกเบิกการท�ำของป่าส่งส่วยแก่รฐั ที่ เข้ามาจัดการทรัพยากรแถบนี้ได้ตั้งแต่ครั้งโบราณ ที่อาจ จะไกลไปถึงช่วงก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงการเข้ามาของ อารยธรรมทางศานาฮินดูและพุทธในเวลาต่อมา ชื่อเมือง “จันทบูร” นั้น น่าจะมีที่มาจากการเป็น พื้นที่ป่าเขาที่มีต้นไม้หอมอันเป็นต้นไม้เฉพาะถิ่นคือ “ต้น จันทน์” หรือ Sandal Wood ไม้จันทน์นี้น�ำไปใช้เป็นไม้ หอมส�ำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในงานพระราชพิธีหลวงหรือ งานมงคลต่างๆ และน�ำมาสกัดเป็น “น�้ำมันจันทน์” น�้ำมัน หอมระเหยมูลค่าสูงและมีความต้องการมากมาโดยตลอด ส่วนค�ำว่า “บูร” นั้นหมายถึงความเป็น “เมือง” หรือ “ปุระ” [City or City State] ซึ่งอาจจะมีก�ำแพงค่าย คูประตูหอรบด้วยก็ได้ ในแถบภาคตะวันออก บ้านเมือง ที่เหลือร่องรอยคูคันดินของการเป็นเมืองแบบปุระนั้นมี น้อยแห่ง และทีเ่ ป็นเมืองในสมัยอยุธยานัน้ น่าจะพบทีเ่ มือง จันท์เพียงที่เดียว (ส่วนเมืองระยองที่บ้านค่ายนั้นร่องรอย
40
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
สูญหายไปแทบหมดแล้ว) บันทึกในสมัยอยุธยากล่าวถึงหัวเมืองทางแถบ ตะวันออกไม่มากนัก หากไม่เน้นเรื่องราวการสงครามใน ยุคสมัยต่างๆ นอกจากรัชกาลที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ที่มี พระยาละแวกเข้ามาโจมตีทางทะเลและกวาดต้อนผู้คนไป ยังเขมรจนต้องมีการศึก ซึ่งก็ใช้ทั้งทัพบกและทัพเรือทาง ทะเลคราวหนึง่ และเหตุการณ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่นักบวชชาวฝรั่งเศสต้องเดิน ทางไปยังตังเกี๋ย อัน นัม และโคชิ น จี น บั น ทึ ก ข้ อ มู ล เรื่ อ งราวการเดิ น ทางของ บาทหลวงตาชาร์ดที่เรือล่มเมื่อไปขอความช่วยเหลือจาก เจ้าเมืองที่เมืองจันทบูร ก็พบว่าเจ้าเมืองนั้นเป็นชาวมุสลิม ส่วนจะเป็นชนชาติใดนั้นไม่ปรากฏ ซึ่งในเวลาเดียวกัน เจ้าเมืองที่เป็นจุดค้าขายและส่งสินค้าส�ำคัญที่มะริดและ ตะนาวศรีนั้นก็เป็นชาวมุสลิม เชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งมี บทบาทต่อการค้าในราชส�ำนักสมเด็จพระนารายณ์ฯ มา ก่อนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และชาวฝรั่งเศส หลักฐานทางกายภาพทีป่ รากฏบริเวณเหนือเมือง จันทบูรนั่นคือ การมีอยู่ของ “สุสานแขก” ตั้งอยู่ทางฝั่ง ตะวันออกของคลองท่าช้างที่ไม่มผี ใู้ ดรับรูถ้ งึ ทีม่ าของพืน้ ที่ นี้ และไม่ ใช่กุโบร์ร่วมสมัยที่ชาวมุสลิมยุคหลังใช้กันแต่
อย่างใด แต่ท�ำให้เห็นว่า เมืองจันทบูรนั้นมีความส�ำคัญ ส�ำหรับการเป็นเมืองท่าค้าขายทีท่ ำ� รายได้ให้รฐั เป็นจ�ำนวน มาก และรัฐสยามให้ความส�ำคัญมากพอที่จะส่งเจ้าเมือง เชื้อสายมุสลิมผู้มีความช�ำนาญในการเดินเรือสินค้าและ การค้าในเครือข่ายทางทะเลเข้ามาควบคุมดูแลบ้านเมือง ในแถบนี้ ส่วนข้อมูลทีก่ ล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ นี้ได้สร้างเมืองทีม่ คี คู นั ดินล้อมรอบเนินสูงทีร่ มิ คลองท่าช้าง และก่อคันดินที่กลายเป็นป้อมในเมือง [Citadel] อันเป็น ที่อยู่ของเจ้าเมืองมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนกลายเป็น เมืองจันทบูรก็ยังไม่เห็นข้อมูลในเอกสารใด เมืองจันทบูรเป็นเมืองมีคูน�้ำคันดิน และอยู่ ใน ชัยภูมิที่ ได้เปรียบบนที่เนินสูงกว่าบริเวณโดยรอบ อยู่ริม ล�ำน�้ำท่าช้าง อันเป็นสาขาของล�ำน�้ำจันทบูร พื้นที่ส่วน ใหญ่อยู่ในบริเวณค่ายตากสินในปัจจุบนั และน่าจะมีอาณา บริเวณนอกค่ายทหารมาทางฝัง่ ทีเ่ ป็นทีต่ งั้ ของอาคารศาลา กลางเก่า แถบอาคารศาลไปจนถึงแนวหลังวัดโบสถ์เมืองซึง่ พบเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าสภาพของคูคันดินที่เป็นร่องรอย ของเมืองจันทบูรเก่านั้นยังปรากฏอยู่มากเฉพาะบริเวณ ค่ายตากสินเท่านั้น พ้นเขตทหารออกมาก็แทบไม่พบเห็น ร่องรอยเลย จนท�ำให้เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่าเมือง จันทบูรเก่าเคยมีอยู่ตรงบริเวณใด นักโบราณคดี คุณพีรพงษ์ พิสณุพงศ์ ครั้งท�ำงาน อยูท่ หี่ น่วยศิลปากรที่ ๔ ปราจีนบุรี ส�ำรวจรูปแบบของเมือง โบราณแห่งนีว้ า่ “...น่าจะเป็นเมืองรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า ขนาด กว้างทางทิศเหนือและใต้ ๔๐๐-๔๕๐ เมตร ยาวทางทิศ ตะวันออกและตะวันตก ๕๕๐-๖๕๐ เมตร มีคันดินขนาด กว้างราว ๘-๑๐ เมตร ยกสูงประมาณ ๒-๓ เมตร และยัง ปรากฏคันดินขนาดเล็กทอดยาวตามแกนทิศเหนือใต้ขนาด กว้างประมาณ ๔ เมตร สูงประมาณ ๑.๕ เมตร บริเวณ ตอนกลางของแนวคันดินทิศตะวันออกท�ำเป็นรูปปีกกา คล้ายช่องประตูเปิดออก และสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่ตั้ง จวนเจ้าเมือง ...และให้ข้อสังเกตว่าคันดินด้านตะวันออก นั้นไม่แน่ใจว่าจะมีด้านนี้ เพราะอาจใช้แนวปราการตาม
แผนผังแสดงการส�ำรวจต�ำแหน่งคันดินและคูน�้ำเก่า ของเมืองจันทบูร โดยส�ำนักศิลปากรที่ ๕ กรมศิลปากร ราว พ.ศ. ๒๕๓๕
ธรรมชาติซงึ่ เป็นตะพักยกตัวสูงจากชายตลิง่ คลองท่าช้าง” ข้อมูลนี้ตรงกับการบันทึกภาพผังเมืองและข้อมูล ส่วนหนึ่งของกัปตันเจอร์ราร์ด ผู้บังคับบัญชากองทหาร ฝรั่งเศสที่เข้ายึดเมืองจันทบุรี ในช่วงรัชกาลที่ ๕ อย่าง สอดคล้องกัน และตะพักคันดินโดยธรรมชาตินี้ชาวจีนรุ่น ต่อมาถือเป็นฮวงจุ้ยชั้นดีส�ำหรับฝังศพบรรพบุรุษที่เคลื่อน ย้ายอพยพมาจากทางโคชินจีนหรือเวียดนามตอนใต้แถบ เมืองในสามเหลีย่ มแม่นำ�้ โขง เพราะเป็นเนินดินคล้ายภูเขา ในด้านหลังและลาดลงสู่ชายคลองท่าช้าง จึงท�ำฮวงซุ้ย ตามแนวตะพักนีท้ งั้ ในเขตค่ายตากสินและยาวไปตลอดริม ล�ำคลองท่าช้างจนถึงแถบบ้านเรือน “ชาวบ้านท่าช้าง” ริม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
41
คลองท่าช้างด้านเหนือ กล่าวกันว่าเคยมีอยูห่ ลายร้อยหลุม จนกระทั่งต้องท�ำค่ายทหารจึงเวนคืนที่ดินฮวงซุ้ยเหล่านั้น ออกไป ปัจจุบนั พบว่ายังมีฮวงซุย้ ของตระกูลสุนทรเวชอยู่ หลังหนึง่ ในเขตค่ายตากสิน ซึง่ อยูแ่ ถบแนวตะพักเนินดินดัง กล่าว จารึกบนป้ายหลุมศพ กล่าวถึงช่วงเวลาในการฝังที่ หลุมนี้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๑๓ (ขึ้น ๑ ค�่ำ เดือน ๑๑ ปี เกอิน๊ ฤดูเก็บเกีย่ ว แผ่นดินไต้เช็ง ทีฝ่ งั ศพของภรรยาหลวง แซ่ลี้ ของตระกูลแซ่ตัน บุตรชายเซยฮุยกับเม่าเตี้ยน ร่วม กันสร้าง) นอกจากนี้ยังค้นพบอีกว่าบริเวณสวนแนวตะพัก เดียวกันยังมีหลุมฝังศพที่น่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน อีก ๒-๓ หลุมหลงเหลืออยู่ ความส�ำคัญของ “เมืองจันทบูร” จนกลายเป็นที่ รูจ้ กั กันทัว่ ประเทศส�ำหรับผูส้ นใจทางประวัตศิ าสตร์คอื การ
หลุมฝังศพของตระกูลสุนทรเวช ซึ่งเป็นคนจีนเชื้อสายฮกเกี้ยน ซึ่งอพยพมาจากเมืองในโคชินจีนหรือบริเวณสามเหลี่ยมแม่น�้ำโขง ภายในค่ายตากสิน ก�ำหนดอายุเก่าไปถึง พ.ศ. ๒๓๑๓
42
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ครั้งมารวบรวมไพร่พลกลับไปกู้ กรุงศรีอยุธยา เมือ่ ครัง้ กรุงฯ แตก เมือ่ เจรจาต่อรองกับเจ้า เมืองจันทบูรไม่ส�ำเร็จและถูกหลอกล่อถ่วงเวลาไปเรื่อยๆ จึงปรารภเปรียบเปรยแก่ไพร่พลที่วัดแก้วริมเมืองจันทบูร ว่า “ให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงเสียให้สิ้น ต้องเข้าตีให้ส�ำเร็จ สถานเดียว” พระเจ้าตากสินฯ พร้อมกองก�ำลังพลพรรคทัง้ มวล บุกเข้าโจมตีเมืองจันทบูรทุกด้านในดึกคืนนั้นแล้วยึดเมือง จันทบูรได้ ส่วนพระยาจันทบูรพาลูกเมียหนีลงเรือเดินทะเล เลียบชายฝัง่ ไปยังเมืองพุทไธมาศหรือบันทายมาศหรือเมือง ฮ่าเตียนในประเทศเวียดนามปัจจุบัน ทุกวันนี้แม้จะมีเอกสารบันทึกเรื่องเล่าโดยหลวง สาครคชเขตต์ในต�ำแหน่งวัดแก้วว่า “วัดแก้วหรือวัดป่าแก้ว ตัง้ อยูภ่ ายนอกก�ำแพงเมืองทางด้านหลังของค่ายทหารทีต่ งั้ เป็นกองร้อยทหาร ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในภายหลังเดี๋ยวนี้แห่ง หนึ่ง และวัดป่าแก้วนี้เองปรากฏว่า เคยเป็นที่ชุมนุมพล ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน (พระเจ้ากรุงธนบุร)ี ก่อนทีท่ รง ยกก�ำลังเข้าตีเมืองจันทบุรีในเวลานี้ ซากของวัดแห่งนีพ้ อที่ จะเห็นได้กค็ อื ยังมีฐานแท่นพระอุโบสถเป็นส�ำคัญอยูบ่ า้ ง” สอดคล้องกับค�ำบอกเล่าของชาวบ้านท่าช้างคือ คุณยาย เนียม รัตนไพร สิ้นเคราะห์ อายุ ๙๑ ปี (บ้านเลขที่ ๔ หมู่ ๓ ต�ำบลท่าช้าง อ�ำเภอเมืองฯ จังหวัดจันทบุรี สัมภาษณ์ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) ซึ่งเป็นชาวบ้านท่าช้างมาแต่ดั้งเดิม และมีสามีเป็นทหารม้าในสมัยนัน้ เล่าว่าเมือ่ ตนยังเป็นเด็ก พ่อแม่พากันมาท�ำบุญส่งทุ่งที่ “วัดแก้ว” ซึ่งชี้จุดได้ตรงกัน กับที่หลวงสาครคชเขตต์ระบุไว้ คืออยู่นอกเมืองทางด้าน เหนือของแนวก�ำแพงเมืองที่ห่างออกไปราว ๒๐๐ เมตร ทุกวันนี้ซากอาคารของวัดแก้วนั้นไม่หลงเหลืออยู่ เพราะ สร้างอาคารเรือนแถวยาว และเหลือเพียงฐานศิลาแลงเป็น แนวตัวอาคาร หินทรายหินปูนถูกล�ำน�้ำพัดพาจนมนไม่มี เหลีย่ มน่าจะลอกมาจากล�ำน�ำ้ ท่าช้างนีท้ ชี่ าวบ้านแถบนีเ้ คย ย่อยหินขาย ใช้เป็นพื้นฐานอาคารเพื่อสร้างความแข็งแรง และชิ้นส่วนอิฐดินเผาและชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผาส�ำหรับ เป็นอาคารโบราณสถาน เศษภาชนะเนื้อแกร่งจ�ำนวนมาก
เคลือบสีด�ำหรือน�้ำเงินด�ำแบบไหหรือตุ่มใส่น�้ำขนาดย่อมๆ เป็นของเตาจีนเคลือบเซลาดอนจากเตาจีน ฝาภาชนะแบบ หม้อทะนน ไหเนื้อแกร่งจีนอายุรุ่นอยุธยา ดังนั้นที่มีความพยายามตีความในสมัยหลังเรื่อง การเข้าตีเมืองจันท์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ว่าจะต้อง ใช้เวลาและความพยายามอย่างยิง่ หรือค้นหาว่าทีต่ งั้ ของวัด แก้วนั้นอยู่ในจุดใด ก็จะเห็นว่า ตัวเมืองจันทบูรเก่าและวัด แก้วริมเมืองนัน้ ห่างกันเพียง ๒๐๐ เมตร และพระเจ้าตากฯ ในช่วงเวลานั้นต้องการเจรจากับเจ้าเมืองรุ่นน้องมากกว่า การบุกเข้ายึดครองเมืองด้วยการใช้กำ� ลัง แต่คนรุน่ ปัจจุบนั อาจใช้จินตนาการสร้างภาพวีรกรรมอันเลื่องลือครั้งนั้นจน อาจจะเหนือข้อเท็จจริงกันไปบ้าง เมื่ อ ฝรั่ ง เศสเข้ า ยึ ด เมื อ งจั น ทบุ รี ข้ อ มู ล จาก รายงานของกัปตันผู้บังคับบัญชาการยึดครองนี้ (Extract of the report of the Captain commanding the occupation detachment in Chanthaburi, 29 August 1893 (SHD, Guerre, 10 H 11).The French Army and Siam, 1893–1914) มีรายละเอียดว่า หลังจากฝ่ายสยามยอมรับข้อตกลงในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ แล้ว การยึดครองเมืองจันทบุรเี ริม่ ในวันที่ ๙ สิงหาคม ปีเดียวกัน กองทหารราบจากอันนัม โดยการควบคุมของกัปตันเจอร์ราร์ด [Captain Gerard] จ�ำนวน ๑๙๖ คน เป็นชาวยุโรป ๕๔ คน นอกจากนั้นเป็น ชาวญวน กัปตันพยายามให้เจ้าเมืองอพยพออกจากเมือง และทหารสยามยังคงมีอยู่ราว ๖๐๐-๘๐๐ คน และเช้า ของวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ก็เข้าครอบครองป้อม [Citadel] ทีเ่ มืองจันทบุรโี ดยการส่งมอบจากเจ้าเมืองขณะ นัน้ ซึง่ น่าจะเป็นพระยาราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) พวก เขาพบปืน Broadwell ๘๐ มม. แปดตัวสมบูรณ์แบบ ปืน ไรเฟิลล้าสมัยอีก ๑,๐๐๐ กระบอก ป้อมในเมืองนี้อยู่เหนือกว่าที่ตั้งเมืองจันทบุรีราว ๒๐ เมตร ซึ่งพื้นที่นั้นน�้ำท่วมตลอดเวลาในช่วงหน้าฝน น่า จะเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองริมคลองท่าสิงห์ที่บ้านลุ่ม ป้อมนี้
ตึกฝรั่งเศส สร้างอยู่ในขอบเขตของป้อมภายในเมืองที่เคยเป็น จวนเจ้าเมืองจันทบูรเก่า
มีพื้นที่ราวๆ ๔๕๐ เมตรในแต่ละด้าน (ข้อเท็จจริงคือพื้นที่ รูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้านีข้ นาดประมาณ ๒๐๐ และ ๑๕๐ เมตร) และล้อมรอบด้วยก�ำแพงดินที่มีคูน�้ำขนาดระหว่าง ๖-๑๐ เมตร บริเวณคูน�้ำเต็มไปด้วยหญ้าพงหนา ทางทิศเหนือ ของบริเวณนี้เป็นเหมือนป่าเล็กๆ ส่วนมุมตะวันออกเฉียง เหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายทหารอยู่ในสภาพดีและเป็นจุดที่ สูงที่สุด กองทหารชาวฝรั่งเศสใช้พื้น ที่ภายในป้อมทาง ตะวันตกเฉียงเหนือนัน้ เป็นค่ายทหารเล็กๆ บริเวณใจกลาง ของป้อมเป็นทีอ่ ยูข่ องจวนเจ้าเมืองแต่เดิม ตัวจวนทีพ่ กั รอบ ด้วยสวนสไตล์ฝรั่งเศสที่ดูแลรักษาเป็นอย่างดี พวกทหาร ฝรั่งเศสตัดสินใจว่าจะไม่ท�ำลายสวนนี้ และกัปตันรายงาน ภายหลังว่ากองก�ำลังคงปลอดภัยดี ในที่นี้แต่ต้องการกอง ทหารดูแลสัก ๕๐๐ หรือ ๓๕๐ คน ปืนแบบเสือภูเขาสัก ๓ กระบอก... ทหารฝรัง่ เศสใช้เงินจากรัฐบาลกลางของตนสร้าง อาคารถาวรหลายหลังที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ ถกเถียงโจษจันกันมากในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสยุคนั้น และ มีบทความจ�ำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พยายามโน้มน้าว ให้ยึดสยามทั้งประเทศเสียเพื่อไม่ ให้งบประมาณในการ ก่อสร้างต่างๆ ในเมืองจันทบูรนี้สูญเสียไปเปล่าๆ จากการ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
43
บันทึกของพระยามหาอ�ำมาตยธิบดี (เส็ง วิริยะสิริ) คือ ๑. ตึกรูปสีเ่ หลีย่ มชัน้ เดียว หลังคาตัด ใช้เป็นตึกกอง บัญชาการและเป็นที่พักอาศัยของผู้บังคับการทหาร (ตึก กอมมันดัง) เมื่อจัดตั้งกองทหารเรือประจ�ำจังหวัดจันทบุรี ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ แล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสีห วิกรม เกรียงไกร ซึง่ ด�ำรงพระยศเป็นผูบ้ ญ ั ชาการทหารเรือ ชายทะเลได้ปรับเปลี่ยนโดยก่อสร้างหลังคาซ้อนอีกชั้น ไว้ เป็นทีป่ ระทับเมือ่ เสด็จมา ต่อมาเมือ่ กลายเป็น “กองทหาร ม้า” ตึกกอมมันดังก็ถูกรื้อหลังคาออก ๒. ตึกชั้นเดียวขนาดใหญ่ ใช้เป็นสถานที่ส�ำหรับ ไว้เครื่องยุทธภัณฑ์ ๓. ตึกชั้นเดียว ใช้เป็น ที่อยู่ของพนักงานคลัง (กอมมิแซ) ๔. ตึกขนาดยาวชัน้ เดียว ใช้เป็นโรงพยาบาลทหาร ๕. ตึกขนาดใหญ่ชั้นเดียว ใช้เป็นที่อยู่ของนาย ทหาร (ชั้นออฟฟิศเซอร์) ๒ หลัง ๖. ตึกขนาดใหญ่หน้าประตูค่ายทหาร ใช้เป็นที่ อยู่ของกองรักษาการณ์ และตอนด้านหลังใช้เป็นที่คุมขัง นักโทษทหาร ส่วนพลทหารฝรั่งเศสพักอาศัยตามโรงเรือนของ ฝ่ายไทยที่มีอยู่ในค่ายอีกหลายหลัง ส่วนทหารญวนสร้าง โรงทหารขึ้นบริเวณหน้าค่าย บริเวณที่ตั้งศาลและศาลา กลางอีก ๗-๘ หลัง (บริเวณทีเ่ ป็นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ปัจจุบนั ) นอกจากนีท้ หารฝรัง่ เศสยังท�ำถนนหน้าค่ายทหาร ลงมาจนถึงท่าน�้ำหน้าวัดโบสถ์ ในช่วงกว่า ๑๑ ปี เมื่อมีผู้ เสียชีวิตก็ฝังที่ชาวยุโรปและญวนบนป้อมในเมืองจันทบุรี ยาวประมาณ ๔๒ เมตร กว้าง ๙ เมตร ต่อมาเมื่อจะสร้าง ศาลากลางจังหวัด และที่ดินจังหวัดก็ขอให้เปลี่ยนสถานที่ ไปฝังรวมกับสุสานชาวคาทอลิกทีอ่ ยูท่ างวัดคาทอลิกอีกฝัง่ หนึ่ง หลั ง จากกองทหารฝรั่ ง เศสย้ า ยออกไปแล้ ว ก็ จัดให้มีการฉลองเมืองถึง ๓ วัน ยกปร�ำที่หน้าโรงทหาร ญวนเป็นโรงมหรสพมีทั้งลิเก เพลงหุ่น และหนัง ประดับ ประดาด้วยเฟื่องใบไม้และธงช้าง โคมไฟ เลี้ยงเกาเหลา
44
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ตึกฝรั่งเศส สร้างอยู่ในขอบเขตของป้อมภายในเมืองที่เคยเป็น จวนเจ้าเมืองจันทบูรเก่า
รวมคนประมาณมากกว่าสองพันคนอาราธนาพระสงฆ์มา สวดชัยมงคลคาถาต่างๆ มากกว่า ๕๐ รูป แล้วย้ายสถาน ที่ท�ำการของรัฐบาลริมน�้ำไปอยู่ในค่ายกองทหารฝรั่งเศส ให้ข้าราชการเข้าไปพักอาศัย หลังจากนั้นสองปีเมื่อจัด ตั้งกองทหารเรือก็ให้ไปอยู่ในค่ายแทน และย้ายสถานที่ ราชการมาอยู่ที่เดิมอีก กล่ า วได้ ว ่ า เมื อ งจั น ทบู ร เก่ า ตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นนั้ ใช้ปอ้ มในเมืองทีม่ คี คู นั ดินล้อมรอบเป็นทีท่ ำ� การทัง้ จวนเจ้า เมืองและสถานที่ท�ำงานแบบธรรมเนียมเก่า เมื่อผ่านช่วง รัชกาลที่ ๓ หลังจากผ่านศึกญวนแล้ว น่าจะเริ่มมีการใช้ พื้นที่บริเวณเมืองจันทบูรเก่าอีกครั้ง ช่วงที่ฝรั่งเศสเข้ายึด เมืองก็ยังมีที่ท�ำการหรือจวนเจ้าเมืองท�ำสวนดอกไม้แบบ ฝรัง่ เศส ในช่วงพระยาวิชชยาธิบดี (ราชทินนามในต�ำแหน่ง
เจ้าเมืองจันทบุรี) (หวาด บุนนาค เป็นเจ้าเมืองจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๔ หลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ผู้ถือเป็นนักเรียนนอกรุ่นแรกๆ ของสยาม ไปเรียนวิชาทหารเรือที่สิงคโปร์ สามารถพูด ภาษาอังกฤษได้ดีและกลับมารับราชการในกรมท่าสมัย รัชกาลที่ ๔) และมีจวนที่ท�ำการอยู่ริมคลองท่าสิงห์แถบ บ้านลุ่ม เมื่อรับเมืองจันทบุรีคืนจากฝรั่งเศสก็ได้คืนกลับ ไปใช้ที่ท�ำการในเมืองจันทบูรเก่าสักพักหนึ่ง เมื่อมีการตั้ง มณฑลเทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ จึงมีการสร้างจวน เทศาฯ หรือบ้านเทศาที่ท�ำการมณฑลบนเนินถนนตัดใหม่ โดยพระยาตรังคภูมาภิบาล (ถนอม บุณยะเกตุ) และสร้าง ศาลากลาง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๙
เศษภาชนะดินเผาแบบไหเคลือบแบบจีนและเซลาดอนเขียว จากบริเวณวัดแก้วที่ถูกรื้อและเป็นอาคารเรือนยาวใน ค่ายตากสิน
“เมืองป้อมที่เนินวง” จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ สถานที่ว่าราชการเมืองน่า จะย้ายพื้นที่อยู่บริเวณเมืองป้อมที่เนินวง จากข้อมูลจาก พระราชพงศาวดารเขียนไว้ไม่มากนัก บันทึกอย่างย่อๆ ว่า...เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งได้ต�ำแหน่งเป็นสมุหพระ กลาโหมด้วย สยามมีศกึ ปัญหากับญวนอย่างต่อเนือ่ ง กลัว ฝ่ายญวนจะยกทัพเรือเข้ามาโจมตีจึงให้พระยาพระคลัง เป็นแม่กองระดมต่อเรือป้อมอย่างญวนขึ้น ๘๐ ล�ำเอาไว้ ที่กรุง ๔๐ ล�ำ จ่ายไปรักษาหัวเมืองชายทะเล ๔๐ ล�ำจาก นั้นจึงให้เป็นแม่กองสร้างเมืองจันทบุรี ให้รื้อก�ำแพงเมือง เก่าเสียเพราะที่ตั้งอยู่ลึกเข้าไปไม่น่าจะรับศึกได้ดี แล้วจึง
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
45
46
แผนที่แสดงต�ำแหน่งสันนิษฐานอู่ต่อเรือสยามที่ท่าแฉลบและสถานที่ต่างๆ จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ซึ่งเดินทางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘, กรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ เห็นแนวขอบเขตของเมืองป้อมที่เนินวงอย่างชัดเจน คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
สร้างเมืองใหม่ทเี่ นินวงเพราะบ้านเรือนราษฎรอยูล่ กึ เข้าไป ข้างหลังเมืองเมืองป้อมที่เนินวงจึงเป็นที่ป้องกันครอบครัว พลเมืองได้ สร้างวัดขึ้น ๑ วัด ชื่อวัดโยธานิมิต ให้เจ้าหมื่น ราชามาตย์ชื่อข�ำไปท�ำป้อมที่แหลมด่านปากน�้ำป้อม ๑ ชื่อ ป้อมภัยพินาศ ที่เขาแหลมสิงห์ป้อมเก่าท�ำเสียใหม่ป้อม ๑ ชื่อป้อมพิฆาตปัจจามิตร แล้วโปรดให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ชื่อ “ช่วง” ต่อก�ำปั่นขึ้นล�ำหนึ่ง ปากกวาง ๑๐ ศอกเป็น ตัวอย่าง เมื่อน�ำเข้ามาถวาย พระราชทานชื่อว่า “แกล้ว กลางสมุทร” แล้วโปรดให้กลับไปต่อใหม่อีกล�ำหนึ่ง ปาก กว้าง ๔ วา พระราชทานชื่อว่า “ระบิลบัวแก้ว” จากบันทึกหมอบรัดเลย์ที่เดินทางไปจันทบูรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ กล่าวว่า......วันที่ ๑๙ พฤศจิกายนก็เริ่มเข้าสู่ ปากน�ำ้ จันทบูร ซึง่ มีภเู ขาโอบล้อมปกป้องไว้และขยายออก ไปในทะเลสามารถป้องกันได้ทั้งสองด้าน ชายฝั่งเป็นแนว ยาวไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เขาสระบาป อยู่ภายในแผ่นดินขนานไปกับชายทะเลยอดเขามีกลุ่มเมฆ ลอยปกคลุม พืชพรรณดูแตกต่างไปจากในกรุงเทพฯ น�้ำ ทะเลใสส่วนในแม่น�้ำเป็นหาดโคลน วันที่ ๒๑ พฤศจิกายนก็ออกจากเรือก�ำปั่นใบที่ ทอดสมออยู่ปากอ่าวมาลงเรือเล็ก มาถึง “อู่ต่อเรือสยาม” ส่วนบ้านพักรับรองท�ำจากไม้ไผ่ซงึ่ อยูต่ ดิ กับอูต่ อ่ เรือนีต้ ง้ั อยู่ ริมน�้ำซึ่งมีลมเหนือพัดมาแรงทีเดียวจากฝั่งตรงกันข้าม ซึ่ง ก�ำลังจะต่อเรือ ๕๐ ล�ำประกอบไปด้วยเรือ ๒ ชนิด ระวาง ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ ตัน ยังมีเรือส�ำเภารบอีก ๓๐-๔๐ ล�ำและ เรือเล็กๆ อีกจ�ำนวนมาก ในพื้นที่ราว ๕๐-๖๐ เอเคอร์ เหนือจากบริเวณนีก้ จ็ ะเป็นทางเดินที่ใช้สำ� หรับการเดินทาง ติดต่อกันได้ดี..... ช่วงเวลาเดียวกันก็สร้างป้อมที่เมืองฉะเชิงเทรา และป้อมคงกระพันทีค่ ลองบางปลากดทีส่ มุทรปราการ จาก นั้นสงครามระหว่างสยามและญวนในความขัดแย้งเรื่อง ดินแดนทั้งทางตอนเหนือฝ่ายหัวพัน ลาว และเขมร จึง ด�ำเนินไปเป็นเวลากว่า ๑๔ ปี (ราว พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๙๐) จารึกวัดโยธานิมิต พ.ศ. ๒๓๗๗ ระบุโดยละเอียด ขึ้นว่า ...เจ้าพระยาพระคลังว่าที่พระสมุหกลาโหม ยก
กองทัพออกมารักษาเมืองจัน ทบุรี ให้ท�ำป้อมที่ปากน�้ำ แหลมสิงห์ทั้งสองฝั่ง แล้วดูที่เมืองเก่าไม่เหมาะจะรักษา เมืองไว้จึงเที่ยวหาดูไชยภูมิที่เหมาะสม ให้วัดที่ถางเข้า เป็นเมืองขุดดินพูนเชิงเทินแล้วตั้งปืนใหญ่รายรอบตาม ช่องก�ำแพงเมือง สร้างหนึ่งปีจึงส�ำเร็จ แล้วจึงฝังอาถรรพ์ หลักเมือง ในวันเสาร์ เดือน ๔ ขึน้ ๑๑ ค�ำ่ จุลศักราช ๑๑๙๗ ปีมะแมศก (ตรงกับวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๗๘) ต�ำแหน่งหลักเมืองนั้นมีการสร้างอาคารแบบจีนคลุมอยู่ แล้วจึงชักชวนนายกองผู้ใหญ่สร้างวัดและเสนาสนะต่างๆ อุทิศถวายแด่พระศาสนา ซึ่งกล่าวเป็นธรรมเนียมในการ ท�ำบุญกุศลทีม่ รี ปู แบบคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับการถวาย หรืออุทศิ สิง่ ของในทางพระศาสนาตามวัดในแถบบางกะจะ เขาพลอยแหวน ซึ่งมีชุมชนและวัดเป็นจ�ำนวนมากที่น่าจะ สร้างขึ้นในคราวการตื่นตัวเพื่อรับศึกครั้งนี้ สร้างวัดอยู่ ๔
สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ ในตระกูลบุนนาค ผู้มี บทบาทการต่อเรือที่จันทบูร อู่ต่อเรือสยามอยู่บริเวณท่าเรือ ของเมืองในเวลาต่อมาที่เรียกว่า ท่าแฉลบ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
47
เดือนจึงแล้วเสร็จ หมอบรัดเลย์ยงั บันทึกอีกว่า...วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ได้เดินจากแนวแม่น�้ำประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร ขึ้นไปยังที่ ตั้งของพระยาพระคลัง (ท�ำเนียบหรือบริเวณบ้านท�ำเนียบ ในปัจจุบัน) ที่บางกะจะ ซึ่งบ้านพักของหลวงนายสิทธิ์ก็ ตั้งอยู่บริเวณนี้ บริเวณแม่น�้ำเหนือขึ้นไปจากอู่ต่อเรือนั้น คดเคี้ยวมากเกินไปและตลิ่งต�่ำน�้ำท่วมถึง เมื่อไปถึงใกล้ กันก็เห็น “การสร้างป้อมค่าย” ขนาดใหญ่ด้วยอิฐศิลาแลง ขนาด ๖x๙x๑๘ นิว้ คนตัดศิลาแลงนีค้ อื คนงานชาวจีนและ มาเลย์และเป็นคนก่ออิฐก�ำแพงป้อมนีแ้ ละท�ำงานด้วยความ รวดเร็ว สถานที่ตั้งป้อมอยู่เหนือจากพื้นราบราว ๔๐ ฟุต หรือ ๑๒ เมตร ก�ำแพงสูงราว ๖ ฟุต ระยะโดยรอบหาก เสร็จแล้วไม่น่าจะเกินกว่า ๓ กิโลเมตร... พระยาพระคลั ง ว่ า ที่ พ ระสมุ ห กลาโหม คื อ สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหาประยู ร วงศ์ ห รื อ สมเด็ จ เจ้าพระยาองค์ใหญ่แห่งตระกูล “บุนนาค” ที่น�ำกองทัพ ออกมารั ก ษาเมื อ งจั น ทบุ รี สร้ า ง “ท� ำ เนี ย บ” หรื อ ที่ ว่าราชการและเป็น ที่พ�ำนักด้วยอยู่ ในบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบันต�ำแหน่งที่เคยเป็นท�ำเนียบก็ถือว่ายังมีผู้รู้จัก แต่ ไม่มีหลักฐานภาพถ่ายอาคารเดิม แถบนั้นเรียกต่อมา ว่า “บ้านท�ำเนียบ” เป็น ที่อยู่อาศัยของตระกูลขุน นาง และบุตรหลานผู้รับราชการต่อมาเป็นกลุ่มใหญ่ก่อนที่จะ เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน และย่านนี้ยังพบว่าวัดวาอาราม ต่างๆ ล้วนถูกสร้างขึ้นในคราวครั้งรัชกาลที่ ๓ เสียเป็น ส่วนใหญ่ เรือนิภา เรือโดยสารเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่อเข้าเทียบท่าที่ท่าแฉลบ
48
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
วันที่ ๓ "ความรุ่งเรืองของชุมชนชาวสวน และวัฒนธรรมทางศาสนา"
ภาพพระบฏที่วัดบ่อพุ วัดบ่อพุอยูก่ ลางสวนเก่าร่มรืน่ ในกลุม่ ชุมชนเหนือ เนินวงและวัดโยธานิมิตที่สร้างในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชุมชนที่มีวัดเก่าดั้งเดิมของ ชุมชนส่วนใหญ่ปรากฏศิลปกรรมเนื่องในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นส่วนใหญ่ เช่น วัดโบถส์พลอยแหวน วัดพลูยางหรือวัด พุทธคยา รวมทั้งวัดบ่อพุด้วย ที่โดดเด่นคืออาคารศาสนสถาน เช่น โบสถ์ขนาด เล็ก เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านในและที่วัดพลูยางมี เขียนที่ด้านนอกด้วย และเจดีย์ทรงองค์ระฆังขนาดย่อมๆ ที่ปรากฏ ที่วัดบ่อพุมีการเก็บรักษาภาพพระบฏไว้ได้เป็น จ�ำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นของตกทอดจากสมบัติของวัด และอาจจะมีการเก็บรักษาจากวัดอื่นๆ บ้าง นอกจากนั้นก็ เป็นของมีคา่ ทีส่ ะสมไว้ เช่น นาฬิกาโบราณ เครือ่ งถ้วยและ
เครือ่ งทองเหลืองเก่าของวัด ฉากอุปรากรจีนท�ำจากเครือ่ ง ไม้สวยงาม ภาพพระบฏทีว่ ดั บ่อพุมหี ลายชิน้ และหลายขนาด มี ภาพที่เขียนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๕ และ อาจจะมียุคสมัยอื่นๆ อีกที่มีเขียนบันทึกไว้บ้าง ภาพการ บูชาพระจุฬามณีภาพหนึง่ เขียนขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมือ่ พ.ศ. ๒๓๘๘ ช่วงเวลาก่อนสิ้นศึกญวนเพียง ๑ ปี เป็นภาพ พระมาลัยน�ำดอกบัวไปบูชาพระเจดียจ์ ฬุ ามณีในสวรรค์ชนั้ ดาวดึงส์และได้สนทนากับพระอินทร์และเหล่าเทวดา การ ส�ำรวจด้วยสายตาคร่าวๆ ภาพพระบฏทีแ่ สดงเรือ่ งราวการ ไปบูชาพระจุฬามณีพบเป็นจ�ำนวนมากทีส่ ดุ ภาพนีด้ า้ นล่าง เขียนเป็นข้อความปรากฏ ดังนี้ “...ยายปิน ตาจัน ทรางพรจุลามุนเี จดียะถาอันเปน ทีป่ นั จุพระเกดเขียวแกว ขององสมเดดพรมะหากรุณายูใน ฉันดาววะดึงษาพีภบเมืองพระอีนต้ราทิราช สักกะราชลวง แล้ว ๒๓๘๘ พรวะสาสังขะยาเดิอนหามิใดวันลวง ๑๐ วัน
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
49
ปีมะเสงสัพะสกเดิอนหกแรมสิบเบดค�ำวัน ๗...” พระบฏคืองานจิตรกรรมไทยประเภทหนึ่ง บฏ มาจากค�ำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปล ว่าผ้าทอหรือผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว วาดภาพ พระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธ ศาสนา เช่น พระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ ใช้แทนที่ พระพุทธรูปเป็นที่เคารพบูชา การเตรียมผ้า เตรียมสี และเตรียมกาว ผ้าทีน่ ยิ ม ใช้ท�ำพระบฏ คือผ้าฝ้ายสีขาว ทารองพื้นด้วยดินสอพอง ผสมกับกาวเม็ดมะขามหรือกาวหนังสัตว์ ทาเพียงบางๆ เพื่อให้ม้วนเก็บได้และสีจะไม่แตกหักหรือกะเทาะง่าย สีฝุ่นที่ใช้เขียนเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ คือ ดิน แร่ หิน โลหะ น�ำไปบดหรือเผาไฟให้สุก ตากแห้งแล้วบด ให้ละเอียด มีบางชนิดที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์ น�ำไปต้มหรือต�ำ คั้นเอาน�้ำมากรอง เกรอะให้แห้ง จากนั้น จึงน�ำไปบดเป็นผงละเอียด สีฝนุ่ ที่ใช้ในสมัยโบราณมีสดี ำ� สี ขาว สีแดง และสีเหลือง ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีสีเพิ่ม ขึ้นและมีสีสดมากขึ้น เช่น สีเหลืองสด สีเขียวสด สีแดง ชาด ฯลฯ เป็นสีที่สั่งเข้ามาจากเมืองจีน กาวที่ใช้ในการเขียนภาพ มีกาวเม็ดมะขามหรือ กาวหนังสัตว์ส�ำหรับผสมกับดินสอพองในชั้นรองพื้น และ กาวจากยางกระถินเทศ ยางมะขวิด ยางมะเดื่อ ที่ใช้ผสม กับสีฝนุ่ ภาษาช่างโบราณเรียกน�ำ้ กาวที่ใช้ผสมสีวา่ “น�ำ้ ยา” ขั้นตอนการเขียนภาพ เริ่มจากการก�ำหนดภาพ หรือเรื่อง ร่างภาพพอสังเขปลงบนกระดาษ น�ำไปขยาย ใหญ่ลงบนผืนผ้า หรือใช้วธิ ปี รุภาพหรือลวดลายลงบนผืนผ้า จากนั้นจึงลงมือเขียนสี ปิดทองและตัดเส้นซึ่งเป็นขั้นตอน สุดท้าย เนื้ อ หาเรื่ อ งราวที่ เ ขี ย นลงบนภาพพระบฏ ได้แก่ ๑. พระพุทธเจ้ายืนยกพระหัตถ์ขวา บางครัง้ มีพระ อัครสาวกยืนประนมมือขนาบข้างซ้ายขวา หมายถึง พระ โมคคัลลานะและพระสารีบุตร ส่วนใหญ่แล้วมักเขียนเป็น ภาพพระพุทธเจ้ายืนภายในกรอบซุ้มประตู สมเด็จฯ เจ้า
50
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวินิจฉัยว่าเป็นตอนที่ พระพุทธเจ้าทรงเดินออกจากประตูเมืองเวสาลี ทรงหยุด และหันพระพักตร์มองเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้ายก่อน เสด็จปรินิพพาน ๒. พุทธประวัตินิยมเขียนมีตอนมารผจญ ตอน เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และ ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ๓. พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หมายถึง พระอดีต พุทธ ๓ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ และ พระกัสสปะ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือพระสมณโคดม และพระอนาคตพุทธเจ้า คือพระศรีอาริยเมตไตรย นิยม เขียนไว้ช่วงบนของผืนผ้า ๔. พระมาลัย กล่าวถึงพระอรหันต์รูปหนึ่งคือ พระมาลัย มีฤทธิ์เหาะได้ ลงไปโปรดสัตว์นรกและขึ้น ไปนมัสการพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้พบพระ อินทร์และพระศรีอาริย์ เมื่อกลับจากนรกและสวรรค์ จึง เทศนาสั่งสอนให้มนุษ ย์หวั่นเกรงต่อการท�ำบาป หมั่น ท�ำบุญท�ำทานอุทิศบุญกุศลจะได้ขึ้นสวรรค์และอยู่ในพระ ศาสนาพระศรีอาริย์ พระมาลัยแสดงด้วยพระสงฆ์ห่มจีวร สีแดง ถือตาลปัตร สะพายบาตร อยู่ในท่าเหาะหรือนั่งอยู่ ต่อหน้าพระเจดีย์จุฬามณี ๕. พระเจดีย์จุฬามณี เป็นพระเจดีย์แก้วเขียวที่ พระอินทร์ทรงสร้างไว้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระอินทร์ พระพรหมและเทพยดาชัน้ ต่างๆ เสด็จไปนมัสการอยูเ่ สมอ ส่วนพระศรีอาริย์นั้นเสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิตและบริวาร แสนโกฏิ พร้อมด้วยขบวนพยุหยาตรา แห่มานมัสการพระ เจดีย์จุฬามณีทุกวันขึ้น ๘ ค�่ำ และ ๑๕ ค�่ำ ๖. ทศชาติชาดก คือเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบ�ำเพ็ญบารมีใน ช่วง ๑๐ พระชาติสุดท้าย ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นพระ โคตมพุทธเจ้า ๗. เวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่นิยมเขียนกันมาก เป็นพระชาติที่ยิ่งใหญ่เพราะทรงบ�ำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ ประการ จึงเรียกว่า มหาชาติ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
51
๘. อสุภะ คือภาพพระสงฆ์พิจารณาซากศพที่อยู่ ในสภาพต่างๆ กัน ส�ำหรับเป็นมรณานุสติ นอกจากนี้ยังมีพระบฏที่เขียนเป็นภาพพระพุทธบาท สี่รอย มีลายมงคล ๑๐๘ ประการ ภาพพระอดีตพุทธเจ้า ประทับนั่งเรียงเป็นแถว แต่ทั้งหมดนั้นอาจจะเขียนอยู่ในผืนผ้าขนาดยาว
ผืนเดียวกัน แล้วแบ่งเรื่องราวออกเป็นส่วนๆ หรือบางผืน เขียนทุกเรื่อง คือ พระพุทธประวัติ พระมาลัย ทศชาติ ชาดก เวสสันดรชาดก รอยพระพุทธบาท ฯลฯ ในผ้าผืน เดียวกัน และผ้าผืนขนาดเล็ก เขียนเรื่องพุทธประวัติเป็น ตอนๆ แต่ที่นิยมคือตอนเวสสันดรชาดก ซึ่งบางทีเรียกว่า “ผ้าพระเวส”
ชุมชนริมน�้ำจันทบูร วัดเขตร์นาบุญญารามและวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล อาคารส่วนที่เป็นตึกริมน�้ำจันทบูรฝั่งตะวันออก นั้นตามแผนที่ปลายรัชกาลที่ ๕ ก็มีการสร้างตึกอาคาร เลียบริมน�้ำสองฝั่งถนนเหล่านี้แล้ว อาคารเหล่านี้สร้าง ตามแบบเก๋งจีนบ้างและแบบตะวันตกบ้างเป็นระยะราวๆ ๑ กิโลเมตร มีทั้งชั้นเดียวและสองชั้น อาคารทั้งสองฝั่ง ถนนจึงเป็นย่านการค้าที่ส�ำคัญของเมืองจันทบุรี ถัดจาก อาคารริมถนนไปก็คือตลาดและวัด ทั้งสองฝั่งล�ำน�้ำน่าจะ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนและชาวจีนมาตั้งแต่ก่อนสมัย รัชกาลที่ ๓
52
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ริมน�้ำจันทบูร พ.ศ. ๒๔๗๙
ในบันทึกของหมอบรัดเลย์เมื่อมาส�ำรวจแถบใน เมืองจันทบูรและชุมชนคาทอลิกที่อยู่ริมน�้ำกล่าวว่า .....วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ได้เดินทางไปยัง “เมือง จันทบูร” ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น�้ำสายใหญ่ ส่วนบางกะจะนั้นอยู่ ริมสาขาของแม่น�้ำสายย่อย ซึ่งต้องเดินผ่านท�ำเนียบของ พระคลัง แม่น�้ำนั้นกว้างราว ๖๐-๘๐ หลา ค่อนข้างลึก และคดเคี้ยวมาก เมื่อมาถึงใกล้เมืองจันทบูรก็พบว่ามีป่า ไผ่และสวนได้ผ่านเชิงเขาสระบาป ใกล้กันนั้นมีโรงเก็บ เรือส�ำเภารบอยู่หลายล�ำเพื่อเตรียมความพร้อมส�ำหรับ การรุกรานของชาวโคชินจีนและป้องกันตนเอง เมืองจัน ทบูรตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น�้ำที่กว้างราวๆ ๘๐ หลา และ มีโบสถ์โรมันคาธอลิคตั้งอยู่ฝั่งหนึ่งซึ่งดูตั้งมั่นท่ามกลาง ผูค้ นจนท�ำให้เกิดความรูส้ กึ กลัวส�ำหรับความมัน่ คงของคาธ อลิคทีน่ ี่ เมือ่ เดินส�ำรวจในเมืองพบว่าผูค้ นเป็นคนญวน จีน แต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน คนสยาม ประเมินว่าน่าจะมีประชากร ราว ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ คน เมือ่ เดินทางกลับผ่านบ้านหลวง นายสิทธิ์ ท่านพระคลังก็กวักมือเรียกให้ไปชมช้างเผือก เชือกใหญ่นั้น วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พบหญิงชาวฮกเกี้ยนที่ สามารถใช้อกั ษรโรมันแทนการเขียนภาษาของตนเองแบบ
ทันที สร้างความประหลาดใจให้มาก เธออ่านตัวหรือเขียน ตัวอักษรจีนไม่ได้เลย แต่ใช้อักษรโรมัน คิดว่าบาทหลวง โรมันคาธอลิคสอนมา และคิดต่อไปว่ายังคงจะมีความ เพียรพยายามประดิษฐ์อักษรจีนเป็นตัวโรมันกันอยู่..... วันที่ ๙ ธันวาคม กล่าวถึงการไปส�ำรวจเมืองจัน ทบูรและน�ำหนังสือไปแจกจ่าย โดยแบ่งหน้าที่กันคนละ ฝั่งแม่น�้ำ หมอบรัดเลย์ไปทางฝั่งขวาของแม่น�้ำ ซึ่งมีโบสถ์ คาธอลิคตัง้ อยู่ และพบว่ามีผคู้ นตัง้ บ้านเรือนทีท่ ำ� จากไม้ไผ่ อย่างหนาแน่น ไม่มีถนนมีเพียงทางเดินเชื่อมต่อกัน ส่วน ใหญ่ทำ� สวนอยูท่ างหลังหมูบ่ า้ น พบว่ามีบางคนทีอ่ า่ นภาษา จีนออก และส่วนใหญ่พูดภาษาฮกเกี้ยน คนส่วนใหญ่ฝั่ง นี้เป็นคนจีนจากอันนัมโคชินจีน [Annum-Cochin Chinese-หมายถึงเวียดนามทางใต้] ไม่มีสักคนที่พบสามารถ อ่านตัวอักษรจีนออก มีคนสยามหลายร้อยคน คนญวนซึ่ง คาดว่าอยู่ ใต้การปกครองของโบสถ์โรมันคาธอลิค เมื่อ ประเมินจากโบสถ์และสุสานทีอ่ ยู่ใกล้กนั ก็เห็นว่าพวกโรมัน คาธอลิคพวกนี้อยู่มานานแล้ว เพราะสุสานใหญ่และหนา แน่น ได้พบพระคาธอลิคซึ่งไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษ ได้และพูดภาษาฝรั่งเศสและญวนได้บ้าง แต่พูดผ่านภาษา สยามและเห็นว่าไม่เข้าใจข้อความในหนังสือและไม่มคี วาม รู้ ส่วนนายจอห์นสันซึ่งไปแจกหนังสือทางฝั่งซ้าย พบว่ามี จ�ำนวนคนจีนมากกว่าที่คาดไว้
ริมน�้ำจันทบูรในปัจจุบัน
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
53
วัดคาธอลิค พ.ศ. ๒๔๗๙
“วัดแม่พระปฏิสนธินริ มล” ในคริสต์ศาสนานิกาย โรมันคาทอลิกอยูท่ างฝัง่ ตะวันตกของแม่นำ�้ จันทบุรี ส�ำหรับ คนเชือ้ สายญวนทีน่ บั ถือคริสต์ศาสนา มีประวัตวิ า่ เริม่ สร้าง ครั้งแรกตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. ๒๒๕๔ ใน รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ บนฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำ จันทบุรี โดยคุณพ่อเฮิ้ต โตแลนติโนและคาทอลิกชาว ญวนขณะนั้นมีเพียง ๑๓๐ คน ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๗๓–๒๒๙๕ ปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระต่อ เนื่องถึงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการกวาดต้อน ชาวคาทอลิกไปอยู่ที่อยุธยา และบางส่วนหลบหนีจากการ จับกุมเข้าไปอยู่ในป่า วัดหลังที่ ๑ ถูกทอดทิ้ง ต่อมาราว ปี พ.ศ. ๒๒๙๕ บาทหลวงเดอกัวนารวบรวมชาวคาทอลิก ทีก่ ระจัดกระจายให้มาอยูท่ เี่ ดิมและรวมตัวกันสร้างวัดหลัง ที่ ๒ ด้วยไม้กระดาน ไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบตาล ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๗๗ บาทหลวงมัทเทียโดและบาทหลวงเคลมังโช่ชว่ ยกัน สร้างวัดหลังที่ ๓ โดยย้ายข้ามมาอยูฝ่ ง่ั ตะวันออกของแม่นำ�้ จันทบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่วัดปัจจุบันตั้งอยู่ ขณะนั้นเป็นวัด เล็กๆ สร้างด้วยไม้กระดานและไม้ไผ่ปี พ.ศ. ๒๓๘๑ เป็นเวลา วัดคาทอลิกปัจจุบัน
54
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
ทีช่ มุ ชนคาทอลิกเติบโตขึน้ มาก จึงก่อสร้างวัดหลังที่ ๔ โดย มีสัตบุรุษได้ร่วมแรงร่วมใจและร่วมบริจาคทรัพย์ อาคาร มีลักษณะถาวรมากขึ้น พ.ศ. ๒๔๔๓ บาทหลวงเปรีกาล ชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างวัดหลังที่ ๕ ซึ่งเป็น หลังปัจจุบัน ใช้สถาปัตยกรรมแบบแบบโกธิค กว้าง ๒๐ เมตร และยาว ๖๐ เมตร มียอดแหลมของหอทั้งสองข้าง แต่เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทอินโดจีน จึงต้องเอายอดแหลม ของหอทั้งสองออก เพราะเกรงว่าจะเป็นเป้าของระเบิด ทางอากาศ แต่ส่ิงที่ท�ำให้โบสถ์หลังนี้มีความงดงามอีก อย่างหนึง่ คือ การประดับกระจกสีเป็นภาพนักบุญทัง้ หมด นับว่าเป็นสิ่งสวยงามล�้ำค่าทั้งทางศิลปะและโบราณวัตถุ ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป ส่วนคนเชื้อสายญวนที่นับถือพุทธศาสนาทางฝั่ง ตะวันออก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “วัด เขตร์นาบุญญาราม” การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาฝ่ายญวน นั้นในรัชกาลที่ ๔ ครั้งยังทรงผนวช ใคร่จะทราบลัทธิของ พระญวน จึงทรงสอบถาม “องฮึง” ซึ่งต่อมาได้เป็น “พระ ครูคณานัม” สมณาจารย์องค์แรกในรัชกาลต่อมาและยก พระสงฆ์อนัมนิกายขึน้ เป็นพระพิธหี ลวงอีกแผนกหนึง่ พระ สงฆ์ในคณะอนัมนิกายได้เข้าเฝ้าถวายพระพรในพระราช พิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาเป็นประจ�ำทุกปีจนถึงในรัชกาล ปัจจุบนั โดยประกอบพิธกี งเต็กหลวง (กงเต็กหลวง) ถวาย
เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เนื่องในงานพระราชทาน เพลิงศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อ มาก็มพี ธิ นี อี้ กี หลายครัง้ ทีเ่ ป็นพิธหี ลวงจนถึงรัชกาลปัจจุบนั เช่นกัน ส�ำหรับไม้ระก�ำที่ใช้ท�ำเครื่องประกอบพิธีกงเต๊ก ญวนนั้น น�ำมาจากไม้ระก�ำที่ส่งมาจากเมืองจันทบูร ในรัชกาลที่ ๕ นี้ให้มีการจัดระเบียบสมณศักดิ์ให้ แก่พระสงฆ์อนัมนิกาย และพระสงฆ์จีนนิกาย เป็นอีกแบบ หนึ่งต่างหาก ได้แต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์ซึ่งเทียบได้กับ พระครูวิปัสสนา และมีฐานานุกรมเช่นเดียวกับพระสงฆ์ อนัมนิกายโดยพระราชทานสัญญาบัตรราชทินนาม พัดยศ ซึง่ มีรปู แแบบจ�ำลองแบบของพระสงฆ์ไทยแต่ขนาดเล็กกว่า คณะสงฆ์อนัมนิกายเดิมสังกัดกรมท่าซ้ายในความ ดูแลของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ปัน้ ) และมี “ขุนอนัมสังฆ การ” เป็นผู้ดูแลพระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายควบคู่กัน โดยให้ เป็นผู้แทนติดต่อกับส�ำนักพระราชวัง กรมธรรมการ และ กรมท่าซ้าย ต่อมาจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้โอนพระสงฆ์ทั้ง ฝ่ายอนัมนิกายและจีนนิกาย มาขึ้นกับกระทรวงธรรมการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ในปัจจุบันวัดญวนมีสถานะเป็นองค์กร ทางศาสนาเทียบเท่ากับมหาเถรสมาคม ภายใต้การบังคับ บัญชาของสมเด็จพระสังฆราช ราว พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดเกล้าฯ พระราชทานการ ปกครองของคณะสงฆ์อนัมนิกายพร้อมกันจ�ำนวน ๓ วัด ซึ่งส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากการเป็นชุมชนในครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในแหล่งชุมชนชาว ญวน ๓ แห่งคือ ได้แก่ “วัดเขตร์นาบุญญาราม” จังหวัด จันทบุรี “วัดถาวรวราราม” จังหวัดกาญจนบุรี และโปรด เกล้าฯ ให้ชาวญวนจากเมืองกาญจนบุรีย้ายเข้ามาอยู่ใน กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้พระราชทานที่ดิน ซึ่ง ปัจจุบันมีขอบเขตราวๆ ๒๒ ไร่ สร้างวัดญวนขึ้นอีกวัด หนึ่งคือ “วัดสมณานัมบริหาร” ริมคลองผดุงกรุงเกษม วัด ญวนในประเทศไทยมักมีการผสมผสานศิลปกรรมระหว่าง จีน ญวน และไทย แต่ค่อนข้างเด่นไปทางสถาปัตยกรรม แบบจีน พระพุทธรูปและองค์พระต่างคล้ายคลึงกับพระจีน
ส�ำหรับพิธีกรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ พิธีบูชาดาว นพเคราะห์ ตามความเชื่อแบบมหายานของวัดอนัมนิกาย ในช่วงตรุษ มีพิธี ไหว้พระขอพรและสะเดาะเคราะห์ตาม ล�ำดับ (และเรื่องของการแก้ปีชงตามสมัยนิยม) สินค้าส�ำคัญแต่อดีตของเมืองจันทบูรจากเอกสาร เรื่องเมืองจันทบุรี กล่าวถึง กระวาน เป็นเครื่องเทศ เงาะ สีชมพู ส้มแสงทองจากสวนแสงทองที่เคยมีชื่อเสียงมาก (เช่น ส้มแสงทองตราดอกเข็ม ที่เป็นสวนส้มของพระยา แพทยพงศาฯ ที่บ้านอ่าง พันธุ์คือส้มเขียวหวานที่เคยปลูก ตามสวนในคลองบางกอกน้อย) ลูกคุย ลูกคอแลน ลูกสี ละมัน เป็นผลไม้ปา่ ลักษณะคล้ายลิน้ จีแ่ ต่เปรีย้ วมาก สละ ระก�ำ ชะเนียง ลูกหย่อง ใช้หวั จิม้ น�ำ้ พริก ชะมวง ใช้ใบแกง หมูชะมวง สะตอ ต้นส�ำรองหรือพุงทลาย ต้นรงทอง ใช้ยาง รงท�ำสีรงหรือสีเหลือง สมัยโบราณใช้เป็นยาถ่ายแต่เลิกใช้ เพราะฤทธิ์แรง ต้นกก ใช้ท�ำเสื่อ และยางพาราที่ปลูกเพื่อ การส่งออกมาตั้งแต่ราวต้นสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว อาหารเมืองจันท์ตงั้ แต่อดีตทีโ่ ด่งดัง เช่น ก๋วยเตีย๋ ว จันท์ผัดใส่ปูทะเล กะปิ กุ้งแห้ง แกงหมูสามชั้นใบชะมวง แกงหมูฮองทีเ่ ป็นแกงหน่อไม้แห้งท�ำเป็นเส้นฝอยกับหมูสาม ชั้นใส่ถั่วลิสงคั่ว รสหวานเค็ม ขนมหัวผักกาด ข้าวเกรียบ จันท์ ไข่ปลากระบอกแห้ง ปลาเก๋ยหรือปลาจ่อม ทุเรียน กวน แมงกระพรุนแช่ฝาดสีออกแดงคล�้ำๆ จิ้มน�้ำพริกถั่ว ลิสง ย�ำต้นกระชายอ่อน ก๋วยเตี๋ยวแผ่นจิ้มน�้ำพริกกุ้งแห้ง โดยใช้แผ่นก๋วยเตีย๋ วที่ไม่ได้หนั่ ไม่ตอ้ งทาน�ำ้ มันและน�ำ้ พริก กุ้งแห้งไม่ใส่กะปิ
วัดเขตร์นาบุญญาราม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
55
บนเขาพลอยแหวนและภูมิทัศน์โดยรอบ พ.ศ. ๒๔๗๙
56
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
พลอยเมืองจันท์ “พลอยเมืองจันท์” ซึ่งคุณประสาท ตีระนันทน์ เขียนไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หลวง มัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์)” ผู้เป็นบิดาซึ่งทาง ครอบครัวมีอาชีพค้าพลอยเมืองจันท์มาช้านาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ว่า พลอยต่างๆ หลากชนิดของจันทบุรีมักจะมีมาก ทางเชิงเขาทีเ่ ป็นทีล่ มุ่ ภายใต้เรือกสวนไร่นา เมือ่ ส�ำรวจพบ พวกพ่อค้าก็จะเช่าเหมาสถานที่นั้นขุดหากันตามราคาที่จะ ตกลงกัน การขุดในอดีตจะท�ำเป็นหลุมกลมๆ หรือบ่อติดๆ กัน ปากหลุมกว้างราว ๒ เมตร ลึกราว ๔-๖ เมตร เมื่อได้ จ�ำนวนหนึ่งก็จะน�ำไปร่อนล้างให้สะอาดเพื่อน�ำไปคัดเลือก ต่อไป ถ้าเห็นว่าไม่มีแล้วก็จะเลิกขุดแถบนั้นและแสวงหาที่ อื่นๆ ต่อ จะไม่ขุดช่วงฝนชุกเพราะเกรงจะเกิดดินถล่ม ที่ มีชอื่ เรียกว่า บ่อบางกะจะ บ่อไร่ บ่อเวน บ่อตกพรม เป็นต้น (สถานที่ขึ้นต้นด้วยค�ำว่า “บ่อ” หรือตามเสียงที่ชาวตะวัน ตกบันทึกคือ “โบ่” ซึง่ นักส�ำรวจชาวอังกฤษให้ขอ้ สังเกตว่า เป็นค�ำที่มาจากภาษาไตของพวกกุลาที่ถูกเรียกว่าชาวฉาน ซึ่งเป็นนักขุดพลอย ซึ่งในเวลานั้นทั้งหมดเป็นคนในบังคับ อังกฤษ และบริษัทเบอร์เนียวก็เป็นผู้จัดการให้เกิดการท�ำ อุตสาหกรรมในช่วงเวลานั้น) พลอยที่จันทบุรีมีหลายชนิด เช่น พลอยสาแหรก หรือ Star Sapphires ซึ่งมีสีด�ำ เจียระไนนูนแบบหลังเต่า เท่านั้น เมื่อมาสะท้อนกับแสงจะมีสาแหรกหรือขา ๖ ขา สวยงาม สมัย พ.ศ. ๒๕๐๘ ราคากะรัตละ ๓๐-๕๐ บาท พลอยเขียว Bangkacha Sapphires ของเมือง จันท์ออกสีน�้ำเงินแก่ ค่อนข้างด�ำ บางทีเรียกสีเขียวก้าน มะลิ แม้ไม่งามเท่าที่บ่อพลอยเมืองกาญจน์ และไม่งาม เทียมเท่าบ่อไพลินที่เขมรเพราะสีจะออกเขียวก�ำมะหยี่ สวยงามมาก แต่ราคาในครั้งนั้นกะรัตละ ๑๐๐-๘๐๐ บาท ทีเดียว (ปัจจุบันที่ขายกันระบุว่า Green Sapphire เม็ดนี้ เป็นพลอยดิบหรือเรียกอีกแบบว่า พลอยสด จากเหมือง พลอยบางกะจะ จันทบุรี ไม่ผ่านการเผา Unheated หรือ ปรับปรุงใดๆ มี ใบเซอร์ฯ มาตรฐานเป็นเครื่องการันตี
น�้ำหนัก ๔.๕๒ กะรัต ราคา ๕๐,๐๐๐ บาท) พลอยแดง หรือ Siam Rubies สีแดงเข้มบางเม็ด ค่อนข้างปนม่วง ราคาค่อนข้างสูง เจียระไนแล้วขนาดจะไม่ ใหญ่นักนอกจากพิเศษจริงๆ บุศราคัม Yellow Sapphires หรือ Oriental Topaz ค่อนข้างแข็ง เจียระไนแล้วจะมีประกายแวววาวสดใส เป็น ที่นิยมมากและมีเม็ดใหญ่ๆ สีเหลืองเข้มหรือสีจ�ำปา ใช้ท�ำ แหวนหรือสร้อยล้อมเพชร ราคากะรัตละ ๓๕๐-๗๐๐ บาท ในครั้งนั้น โกเมน หรือ Garnets สีแดงค่อนข้างด�ำ เนือ้ พลอย อ่อน ราคาย่อมเยามากกะรัตละ ๕-๑๐ บาท พลอยสีเขียวใบไม้ หรือ Green Sapphires เนื้อ พลอยสดใสเพราะมีความแข็ง เช่นเดียวกับพวก Sapphires และ Rubies มีสตี อง สีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม ราคาไม่แพง ครั้งนั้นราวๆ กะรัตละ ๒๐-๓๐ บาท แหวนปู แหวนปลา คือแหวนกล แหวนกล ต้นก�ำเนิดน่าจะมาจากเครื่องประดับ แถบตะวันออกกลาง
การขุดพลอยแถบรอบเขาพลอยแหวน
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
57
เคยเป็นของดีที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองจันท์ ที่แสวงหากันมากอย่างหนึ่ง นอกจากจะเป็นเครื่องประดับ ที่สวยงามและแปลกแล้ว ตัวเรือนท�ำจากทองค�ำเป็นรูปปู ทะเล พญานาค กุ้ง ฯลฯ ท้องวงเป็นวงเรียงกันเมื่อถอด ก้านสีว่ งจะคล้องกันอยูไ่ ม่แยกจากกันและเมือ่ ประกอบกัน อย่างถูกวิธีแหวนจะมีสี่ด้านเรียงชิดกัน เจ้าของต้องรู้วิธี ประกอบว่าต้องจับด้านใดสอดด้านใด เจ้าของแหวนบาง ท่านจึงมักให้ช่างทองพันก้านทั้งสี่มิให้หลุดจากรูปเดิม จากข้อมูลพบว่าท�ำขึน้ ทีบ่ างกะจะ ช่างลุงหยี หรือ ฮอกหยี แซ่โง้ว เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ มีนามไทยว่า เสนาะ เจียรณัย รับช่วงอาชีพช่างทองมาจากนายกั๊ก ผู้บิดาและ เป็นช่างทองประจ�ำหมู่บ้านบางกะจะ บรรพบุรุษเป็นคน จีนฮกเกี้ยนเดินทางมาตั้งรกรากอยู่ที่บางกะจะตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๓ เริ่มท�ำแหวนกลนี้เมื่ออายุ ๔๐ ปี เพราะมีชาย สูงอายุนำ� แหวนทองรูปปูมาให้ดู แล้วถามว่าถ้าท�ำได้ให้ชว่ ย ท�ำแหวนที่เป็นวงคล้องกันอยู่ ๔ วง ประกอบกันเป็นรูปปู จึงน�ำมาศึกษาถอดเข้า ถอดออก พิจารณาดูว่าท�ำอย่างไร จนเข้าใจ แล้วก็ท�ำส�ำเร็จออกมาสวยงามกว่าของต้นแบบ เสียอีก ต่อมาได้พฒ ั นารูปแบบโดยน�ำเอาสัตว์ทะเล เช่น กุง้ และปลาชนิดต่างๆ มาประดิษฐ์ ประดับด้วยพลอยหลากสี อย่างสวยงาม ปัจจุบันช่างท�ำแหวนกลสืบทอดกันภายในตระกูล โดยช่างหยีไม่มีลูกหลานท�ำแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งที่ท�ำคือช่าง สายัณห์ ซึง่ มีคณ ุ ชูเกียรติ เนียมทอง พัฒนาและสืบทอดจน ทุกวันนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ Facebook บ้าน แหวนกลเมืองจันท์ เลขที่ ๑/๔๕ หมู๙่ ต�ำบลท่าช้างอ�ำเภอ เมือง จังหวัดจันทบุรี ๒๒๐๐๐ โทร ๐๘๑-๗๙๑-๓๒๗๘
58
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
สวนพริกไทย และสถานีทดลองพริกไทย ที่เขาวัว ท่าใหม่
บรรณานุกรม
จารุณี อินเฉิดฉาย. พระบฏ: พุทธศิลป์บนผืนผ้า. เมืองโบราณ. (ตุลาคม-ธันวาคม, ๒๕๔๕). ถวิล สินวัต และ ดร.ธนู แสวงศักดิ์. พลิ้ว และพลิ้วเมื่อ ๔๐ ปีก่อน. พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ หมื่นอนุสรณ์ พลิ้วพิทักษ์ (แดง ปราศไพริน) ณ เมรุวัดโคกรัก ต�ำบลพลิ้ว อ�ำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘. บาทหลวงตาชารด์ สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล).จดหมายเหตุการเดินทางสู่สยามประเทศ ครั้งที่ ๑ และ จดหมายเหตุการ เดินทาง ครั้งที่ ๒, สนพ.ศรีปัญญา, ๒๕๕๑. ประสาท ตีระนันทน์. พลอยจันทบุรี คัดจากหนังสือ “อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์)” ๑๗ เมษายน ๒๕๐๘. มหาอ�ำมาตยาธิบดี, มหาอ�ำมาตย์โท พระยา. เรื่องเมืองจันทบุรี. (พิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหา เสวกโทพระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. จากเมืองแกลงสู่กรุงธนบุรีและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง เอกสารเนื่องใน วันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก ปีที่ ๑๖ (ปี ๒๕๖๑). เอกสารออนไลน์ รายละเอียดข้อมูลท้องถิน่ จังหวัดจันทบุรี “วัดแม่พระปฏิสนธินริ มล (โบสถ์วดั คาทอลิก). สืบค้นจาก http://www.eculture. rbru.ac.th/ID3-วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล%20%20%20(โบสถ์วัดคาทอลิก) วลัยลักษณ์ ทรงศิร.ิ โอ่งจันทบูร. วารสารเมืองโบราณ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๑) สืบค้นจาก https://suanleklek.wordpress. com/2018/03/26/chanthabun-stoneware-jar/ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ข้อสังเกตการเดินทางของหมอบรัดเลย์สู่จันทบูรในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมืองโบราณ ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถนุ ายน ๒๕๖๑) และ https://suanleklek.wordpress.com/2018/06/08/chanthaboon-bradley/ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ภูมิวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ “เมืองแกลง” หัวเมืองเล็กๆ ชายฝั่งทะเลตะวันออก. เมืองโบราณ, ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑) และ https://suanleklek.wordpress. com/2018/10/05/the-cultural-landscape-and-local-history-of-muang-klang/ พีรพน พิสณุพงศ์, “เอกสารประกอบการทัศนศึกษาโบราณสถานปราจีนบุรี-สระแก้ว-จันทบุรี,” D-Library | National Library of Thailand, accessed 15 มีนาคม 2019, http://digital.nlt.go.th/digital/items/show/2678. พีรพน พิสณุพงศ์. เมืองจันทบุรีโบราณ ข้อมูลใหม่จากการส�ำรวจที่บ้านลุ่ม, วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๓๕) Michael Smithies. [Translated] From the Archives Amable Sablon du CorailThe French Army and Siam, 1893–1914. Journal of the Siam Society, Vol. 99, 2011 มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
59
60
คู่มือ “เยี่ยมยามเมืองจันทบูร” เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ