เปิด : ศรีประเด็ น ศักร วัลลิโภดม
ก่อนจะเป็นเมืองโบราณ และมูลนิธิเล็ก–ประไพ วิริยะพันธุ์
เมื อ งโบราณอั น เป็ น สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วและแหล่ ง เรี ย นรู ้ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในทุกวันนี้ มีก�ำเนิด มาแล้วร่วม ๔๘ ปี นับแต่วันเริ่มก่อสร้าง และอีก ๒ ปี ข้างหน้าก็จะ มีอายุกึ่งครึ่งศตวรรษทีเดียว ก่อนจะมีเมืองโบราณนั้น กล่าวได้เต็มปากเลยว่าไม่มี ใคร สร้างมาก่อน บางทีอาจจะมีคนคิดอยู่บ้างแต่สร้างไม่ส�ำเร็จ แหล่งที่ ท่องเที่ยวและหาความรู้ที่มีอยู่แล้วนั้นมีเพียงพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและแหล่งโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ ตามบ้ า นเก่ า เมื อ งเก่ า ที่ มี อ ยู ่ เ กื อ บแทบทุ ก ท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง เป็ น เพี ย ง พิพธิ ภัณฑ์ที่ไม่มชี วี ติ และการท่องเทีย่ วทีอ่ งค์กรทัง้ ของรัฐและเอกชน จัดท�ำขึ้นก็จะวนเวียนซ�้ำซากอยู่กับสถานที่อันไม่มีชีวิตเหล่านี้ เมื่อเมืองโบราณเกิดขึ้น ก็ยังมีผู้เข้าใจว่าเป็นแหล่งเพื่อการ ท่องเทีย่ วทัว่ ๆ ไปของบรรดานายทุนเพือ่ หาก�ำไรทางเศรษฐกิจ แถมยัง มีผ้รู ทู้ เี่ ป็นนักวิชาการต�ำหนิว่าเป็นการท�ำลายศิลปวัฒนธรรมเสียด้วย ซ�้ำ แต่เมื่อเมืองโบราณเกิดมาได้ ๒๐ ปี ถึงได้เกิดการเคลื่อนไหวทาง สังคมจากคนรุน่ ใหม่ที่ไม่ใช่ทางราชการและข้าราชการของรัฐในเรือ่ ง พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ กันขึน้ จัดตัง้ ให้เป็นแหล่งเรียนรูท้ างประวัตศิ าสตร์ทงั้ ทางวัฒนธรรมและสังคมในระดับราษฎร์ที่ไม่ใช่ระดับหลวงของทางรัฐ
ซึ่งในที่นี้อยากใช้ค�ำว่าเป็น “พิพิธภัณฑ์ราษฎร์” ไม่ ใช่ “พิพิธภัณฑ์หลวง” แบบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของทางราชการทั้ง หลาย ในปั จ จุ บั น พิ พิ ธภั ณ ฑ์ ราษฎร์ ห รื อ พิ พิ ธภั ณฑ์ ท้ อ งถิ่ น เกิ ด ขึ้น มากมาย และมีพัฒนาการเป็น พิพิธภัณฑ์ในยุคใหม่ที่เรียกว่า “พิพธิ ภัณฑ์มชี วี ติ ” [Living Museum] ในขณะทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์หลวงที่ใกล้ ตายก็ก�ำลังคิดจะปรับปรุงอะไรใหม่ๆ ให้มีชีวิตบ้าง เพราะถ้าหากไม่ เปลี่ยนวิธีคิดเสียใหม่ก็คงจะไปไม่รอด ทั้งหมดที่เกริ่นมานี้ ก็เพื่อน�ำไปสู่ความคิดที่ว่าเมืองโบราณ คือ “พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต” ที่ ได้คิด ได้ท�ำขึ้นโดย คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ตั้งแต่ราว ๔๘ ปีที่ผ่านมา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดจากทั้งการ คิดและการท�ำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ไม่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ในเวลาอันสั้นด้วยการมีการวางแผนผังและรูปแบบโดยนักวิชาการ อย่างการก่อสร้างสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ ศิลปวัฒนธรรม เพือ่ การ ท่องเที่ยวอย่างในทุกวันนี้ แต่ “เมืองโบราณ” ไม่ได้เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นด้วยเวลาอัน สั้นอย่างที่กล่าวมานี้ การเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองโบราณไม่ใช่ การจ�ำลองสร้างโบราณสถานทางประวัตศิ าสตร์ทหี่ กั พัง ทีต่ ายไปแล้ว
คุณเล็กและคุณประไพ น�ำรถยนต์ข้ามโขงไปยังวัดภู จ�ำปาสัก
[Dead Monuments] มาตัง้ แสดง แต่เป็นการสร้างบรรดาสถานทีท่ าง ประวัตศิ าสตร์เหล่านัน้ ให้เต็มรูปอย่างมีชวี ติ และอยู่ในสภาพแวดล้อม ทีเ่ ป็นบริบททางภูมวิ ฒ ั นธรรมของท้องถิน่ ทีเ่ ป็นบ้านเป็นเมืองอย่างใน อดีต ดังเช่น พระทีน่ งั่ สรรเพชญปราสาท ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้คนในปัจจุบันได้เห็นอย่างครั้งยังไม่ถูกท�ำลายและอยู่ในสภาพ แวดล้อมที่เป็นปราสาทราชวังเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งก่อนที่ปราสาทแห่งนี้ในเมืองโบราณจะเป็นที่ยอมรับของ คนทัง้ ในประเทศและต่างประเทศดังในทุกวันนี้ ก็ได้รบั การต�ำหนิและ วิจารณ์อย่างเสียหายว่าเป็นการท�ำลายสิ่งที่เป็นศิลปวัฒนธรรมของ ชาติเพื่อประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะไม่ถูกต้องในทางวิชาการ เป็นเพียงการเนรมิตขึ้นมาเองอะไรท�ำนองนั้น แต่หลังจากสร้างเสร็จ ทางรัฐบาลก็ขอใช้เมืองโบราณและพระที่นั่งสรรเพชญฯ แห่งนี้เป็นที่ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ รับรองการเสด็จมาเยือนราชอาณาจักรไทยของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร อันเป็นการเสด็จมาเยือนครั้ง แรกในปี พ.ศ ๒๕๑๕ และพระที่นั่งสรรเพชญฯ ของเมืองโบราณ แห่งนี้ก็คือ หนึ่งในตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองโบราณที่ นอกจากจะท�ำให้ผู้มาพบเห็นสามารถจินตนาการย้อนอดีตให้เห็นว่า เมื่อครั้งยังไม่ถูกท�ำลายเป็นอย่างไรในบริเวณของสภาพแวดล้อม ทางภูมิวัฒนธรรมของพระราชวังและบ้านเมืองครั้งกรุงศรีอยุธยา และนอกเหนือไปจากนี้ก็ได้เรียนรู้ถึงลักษณะทางศิลปวัฒนธรรมและ จดหมายข่าว
สถาปัตยกรรมอันเป็นผลงานของการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดีที่มีส่วนร่วมในการสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้น แต่ส�ำหรับคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ การสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิตดัง ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่สิ่งที่สร้างให้เสร็จได้รวดเร็วด้วยทุนทรัพย์อย่างคนที่ เป็นมหาเศรษฐีหรืออย่างของทางรัฐบาล ข้าราชการ แต่เป็นการสร้าง ด้วยก�ำลังความคิดอ่านทางสติปัญญาเพื่อให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ของ คนในชาติให้รจู้ กั อดีตของชาติบา้ นเมืองว่าเคยมีความเจริญรุง่ เรืองมา อย่างไร ซึง่ เป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมีขนึ้ เพือ่ ให้คนในยุคปัจจุบนั ได้รับทราบและเรียนรู้ คุณเล็กแม้จะเป็นนักธุรกิจใหญ่ก็ตาม แต่เป็นคนรักในการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา เริ่มต้นด้วยการใช้ทุนทรัพย์ ส่วนตัวของครอบครัว สะสมศิลปวัตถุทางโบราณคดีและวัฒนธรรม ที่เป็นทั้งของมีค่าและมีความหมายในเรื่องความรู้โดยไม่คิดน�ำไป แลกเปลี่ยนซื้อขายอย่างนักเล่นของเก่าทั่วๆ ไป ของสิ่งใดที่มีค่าควร เมืองทั้งทางประติมากรรม สถาปัตยกรรม และศิลปวัฒนธรรมก็จะ ตามซื้อตามหาเพื่อไม่ให้มีการซื้อขายออกนอกประเทศ ควรอยู่เป็น สมบัติของเมืองไทย ประจวบกับในช่วงเวลานั้นเป็นสมัยของการเริ่ม ต้นพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ยุครัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อเปลี่ยนบ้านเมืองให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมที่เดินตามรอยของ อเมริกนั คนไทยรุน่ ใหม่ได้รบั การศึกษาอบรมแต่ในทางความก้าวหน้า ทางวัตถุ และเน้นปัจจุบันจนลืมอดีต คุณเล็กแม้มีเชื้อสายเป็นคนจีน 4
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
แต่เมืองไทยก็คือแผ่นดินเกิดและแผ่นดินตาย คิดสร้างสถานที่อะไร ก็ ได้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้อดีตอย่างมีสติปัญญาและเพลิดเพลินโดย อาศัยบรรดาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทีค่ รอบครัวได้สะสมไว้เป็นทุนเดิม จัดท�ำขึน้ ในทีด่ นิ ทีค่ ณ ุ ประไพผูเ้ ป็น ศรีภริยาซื้อไว้กว่า ๖๐๐ ไร่ในเขตชายทะเลจังหวัดสมุทรปราการเป็น พืน้ ทีร่ บั รองโครงการพืน้ ฐานทีแ่ บ่งออกในทางภูมศิ าสตร์ให้เป็นแผนที่ ประเทศไทย โดยขุดคลองให้เป็นแม่น�้ำใหญ่ๆ ของแต่ละภูมิภาคเป็น เครื่องแบ่งเขต
โบราณวัตถุ สิ่งของทางวัฒนธรรม และศิลปกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามชุมชนเก่าๆ น�ำมาเก็บไว้เพื่อจัดท�ำพิพิธภัณฑ์ คุณเล็กใช้เวลากว่า ๑๐ ปีในการออกไปเทีย่ วศึกษาตามจังหวัดต่างๆ ในแต่ละภูมภิ าคของ ประเทศเพื่อให้ได้เห็นภูมิวัฒนธรรมของแต่ละบ้านเมืองอย่างซึมซับ เพราะถ้าหากจะสร้างสถานที่ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมใดๆ ขึ้น ควรจะมีลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่ ใกล้กับความเป็นจริงในท้องถิ่น ทัง้ หมดนีเ้ ป็นกระบวนการขัน้ แรกในการศึกษาภาคสนามเพือ่ เก็บข้อมูล ในบริบทของพื้นที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งการเดินทางออกไปแต่ละครั้ง ก็ไม่ดูเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง แต่ละคนต้องการเที่ยวชมธรรมชาติ และวัฒนธรรมไปในตัวเองในช่วงวันสุดสัปดาห์ เพราะเกือบแทบทุก ครั้งที่ออกเดินทางไปก็จะพาคุณประไพ ผู้เป็นภริยา และคุณสุวพร ผู้เป็นบุตรสาวตามไปด้วยเพื่อการพักผ่อนจากการท�ำกิจกรรมด้าน ธุรกิจ
ส�ำรวจดูบ้านเรือนในภาคกลาง
คุณเล็กและคุณประไพ น�ำรถยนต์ข้ามโขงไปยังวัดภู จ�ำปาสัก
หลังเวลา ๑๐ ปี ที่ออกไปท่องเที่ยวศึกษาเก็บข้อมูลตาม ท้องถิ่นจนอิ่มตัว คุณเล็กก็เลิกเดิน ทาง ฝังตัวเองอยู่กับการคิด ออกแบบและก่อสร้างสถานที่ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมตาม พื้นที่ซึ่งก�ำหนดให้เป็นบ้านเป็นเมืองในภูมิภาคต่างๆ โดยแทบไม่เคย เดินทางออกจากเมืองโบราณไปไกลๆ และสิ่งที่ ได้จากการออกไป ศึกษาตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศนั้นก็ท�ำให้คุณเล็กได้เห็นและ ได้คิดว่าการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองที่จะท�ำให้เมืองไทยเป็นสังคม ทันสมัยแบบสังคมอุตสาหกรรมทัว่ ไปอย่างทางตะวันตกนัน้ ก�ำลังท�ำให้ บรรดาร่องรอยความเป็นมาในอดีตและความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ของสังคมเกษตรกรรมที่มีมาแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อยุธยา ลงมาจนถึงสมัยกรุงเทพฯ ก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นั้นสูญหายไปอย่างไม่มีวันกลับ
เครื่องมือทอผ้าในบ้านเรือนภาคกลาง
ในขั้ น แรกลองสร้ า งเมื อ งจ� ำ ลองให้ แ ลเห็ น ภาพรวมใน ลักษณะคล้ายเมืองตุ๊กตาส�ำหรับนักท่องเที่ยวได้ชมก่อน แล้วค่อย คิดสร้างให้ใหญ่โตตามในแต่ละภูมิภาคทีหลัง เมื่อโครงสร้างพื้นฐาน ทางภูมิประเทศเรียบร้อยแล้ว คุณเล็กก็ออกเดินทางเที่ยวศึกษาภูมิ วัฒนธรรมของบ้านเมืองตามท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค เพื่อเลือกเฟ้น ว่าสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์อะไรทีจ่ ะเลือกมาสร้างขึน้ ให้เป็นทีห่ มาย ของแต่ละบ้านเมืองในแต่ละจังหวัด และในขณะเดียวกันก็แสวงหา จดหมายข่าว
5
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
หอไตรกลางบึง ที่วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
แต่การได้ออกไปตามจังหวัดต่างๆ ได้เห็นร่องรอยเหล่านี้ แล้วน�ำมาเพื่อการสร้างเมืองโบราณอย่างเดียวนั้นเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ ในการอนุรักษ์ข้อมูลและความรู้เฉพาะช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีก หลายสิง่ หลายอย่างทีย่ งั ไม่ได้พบเห็นและเก็บไว้ให้เห็นประโยชน์ในวง กว้าง จึงไม่ควรจะหยุดออกไปศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเฉพาะช่วง เวลาที่จะท�ำเมืองโบราณเท่านั้น ควรท�ำงานต่อเพื่อน�ำข้อมูลหลักฐาน และความรูอ้ อกเผยแพร่แก่สงั คม จึงจะต้องท�ำการออกไปศึกษาอย่าง ต่อเนื่องก่อนที่จะสูญหายไปอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ เป็นสังคมอุตสาหกรรม ความคิดนีเ้ ป็นสิง่ ทีน่ ำ� มาจัดท�ำวารสารเมืองโบราณทีเ่ พือ่ เผย แพร่สิ่งที่ศึกษา ค้นพบ และการเสนอความคิดใหม่ๆ ทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และมานุษยวิทยา จึงจัดตั้งคณะท�ำงานออกไปศึกษา ค้นคว้าตามท้องถิ่นและเก็บข้อมูลอยู่ตลอดเวลาให้เมืองโบราณมีฐาน
บ้านเรือนโบราณในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จดหมายข่าว
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของบ้านเมืองเกือบทั่วประเทศ ที่รวบรวมไว้อย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ก่อนที่คุณเล็กจะถึงแก่กรรม จึงได้จัดตั้งมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เพื่อเป็นองค์กรในการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางโบราณคดีอันเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอื่น เป็นอดีตห่างไกลไม่เห็นคน [Archaeological Past] กับหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์สังคมอันเป็นเรื่องภูมิวัฒนธรรมของถิ่นฐานบ้านเมือง ของชุมชนทางชาติพันธุ์ [Ethnographical Present] ที่ยังเห็นมีชีวิต อยู่และควบคู่ไปกับการออกส�ำรวจศึกษารวบรวมหลักฐานทั้งทาง ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สังคม และให้ความช่วย เหลือแก่ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นเพื่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็น แหล่งเรียนรู้จักตนเองของคนในชุมชน ในรูปของ พิพิธภัณฑ์มีชีวิต [Living Museum] และอันเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทีจ่ ดั การโดยคนท้องถิน่ ในลักษณะที่เป็น การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน [Sustainable Tourism] ในทุกวันนี้มรดกทางภูมิปัญญาของคุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ ที่ให้ไว้กับแผ่นดินเกิดคือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต ๓ แห่ง แต่ที่เรียกว่าเสร็จแล้วดูดีในสมัยที่คุณเล็กและคุณประไพมีชีวิต อยู่ แห่งแรกคือ “เมืองโบราณ” ที่ต�ำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเสมือนโอเอซิสทางศิลปวัฒนธรรม ของประเทศ ท่ามกลางทะเลทรายของตึกรามบ้านช่องและสถานที่ ใหญ่นอ้ ยนานาชนิดของสังคมอุตสาหกรรม แห่งที่ ๒ คือ “ช้างเอราวัณ สามเศียร” ทีเ่ ป็นพิพธิ ภัณฑ์โบราณวัตถุทมี่ คี า่ ควรเมืองและกลายเป็น แหล่งศักดิ์สิทธิ์ ในความเชื่อของผู้คน และแห่งที่ ๓ คือ “ปราสาท สัจธรรม” ริมอ่าวพัทยา จังหวัดชลบุรี นับเป็นพิพธิ ภัณฑ์รอ้ ยปี เพราะ สร้างไม่เสร็จในชั่วอายุของคุณเล็กและคุณประไพ แต่เหลือไว้ให้ลูก หลานที่มุ่งรักษาอุดมการณ์และเจตนารมณ์ของคุณเล็กด�ำเนินต่อไป 6
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
สภาพวิหารวัดจองค�ำ อ�ำเภองาว จังหวัดล�ำปาง ก่อนขอผาติกรรมน�ำมาปลูกใหม่ที่เมืองโบราณ
คุณเล็กและคุณประไพที่หมู่บ้านเรือนโบราณ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บ้านเรือนโบราณในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย “เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ” และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ที่ไม่มีชีวิต (๔) ปัญหาพืน้ ฐานทางความคิดเรือ่ ง “ความดัง้ เดิม ความแท้จริง” [Authenticity] ในการอนุรักษ์เมืองเก่าของประเทศไทยท�ำให้เกิด ความขัดแย้งในการอนุรักษ์และศึกษาเรื่องเมืองประวัติศาสตร์หรือ ย่านเก่าต่างๆ คือ ผู้มีหน้าที่อนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์จะเข้าใจว่า ชุมชนเหล่านั้นต้องสืบสายเลือด สืบตระกูลมาจากคนในยุคสร้างบ้าน แปงเมืองและยังต้องท�ำงานช่างหัตถกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับชุมชนใน ต�ำแหน่งที่ระบุไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในขณะที่ชาวบ้านที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปนั้นทราบและรับรู้ว่า ชุมชนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา [Living Community] มีผู้ ย้ายเข้าและย้ายออกไปโดยเหตุต่างๆ กลุ่มคนดั้งเดิมเป็นใคร และ กลุ่มคนที่ย้ายเข้ามาใหม่คือใคร โดยยอมรับผู้มาใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชนจากการช่วยเหลือและท�ำกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน แต่ก็ยัง เป็นชุมชนอยู่ ท�ำให้เกิดปัญหาเมื่อต้องพิจารณาว่าชุมชนใดควรถูกไล่รื้อ หรือชุมชนใดควรได้รับการสงวนไว้ และมีสิทธิโดยชอบธรรมในที่อยู่ อาศัยนัน้ และการประเมินคุณค่าของชุมชนต่างๆ โดยไม่ศกึ ษาค้นคว้า ข้อมูลโดยรอบด้าน ท�ำให้ให้คุณค่าน้อยจนถึงกับรื้อถอนจนลบหายไป เมื่อไม่เข้าใจจึงสนใจแต่เฉพาะสิ่งที่เห็นประจักษ์คือโบราณสถานหรือ โบราณวัตถุและสิ่งที่จับต้องได้ตามองเห็นเท่านั้น จดหมายข่าว
7
ปัจจุบันของพื้น ที่ทางสังคมของคนย่านเก่าในเมืองประวัติศาสตร์ ตอนที่ ๒ “ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์” ซึ่งอยู่ในการดูแลของ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ เดิม เป็นบริเวณวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรม พระสมมตอมรพันธุ์ ต้นราชสกุลสวัสดิกลุ พระโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว โปรดเกล้าฯ สร้างต�ำหนักประทาน พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ประทับอยูท่ วี่ งั ส่วนพระองค์ใกล้วดั เทพธิดาฯ และทรงเป็นมรรคนายก วัดเทพธิดาฯ ด้วย พระต�ำหนักเป็นตึกสร้างแบบยุโรป รูปทรงสีเ่ หลีย่ ม สองชั้น ทาสีขาว หลังทิวงคตผู้สืบสกุลอาจจะไม่สามารถดูแลวังได้ ต่อมาอาณาบริเวณวังกรมพระสมมตฯ นั้นกลายเป็นห้อง เช่าส�ำหรับผู้หาเช้ากินค�่ำ เช่น คนงานหรือพ่อค้าแม่ค้าในตลาด ส�ำราญราษฎร์และคนขีส่ ามล้อถีบรับจ้างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมือ่ บ้านทีต่ รอกไข่ไฟไหม้และลามไปจนถึงตรอกหลังวัดเทพธิดารามฯ ก็ย้ายมาเช่าห้องแถวในบริเวณวังกรมพระสมมตฯ และคนจากตรอก ไข่กระจัดกระจายย้ายไปอยูต่ ามทีต่ า่ งๆ ทัง้ ป้อมมหากาฬ บ้านสายรัด ประคด และบริเวณชุมชนวังกรมพระสมมตฯ ด้วย ในปัจจุบันการจัดการพื้นที่ของส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
มหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นแตกต่างจากกรุงเทพมหานครที่ เป็นเจ้าของพื้นที่ในชุมชนป้อมมหากาฬตามพระราชกฤษฎีกาโดยสิ้น เชิง เพราะยังให้พื้นที่ชุมชนเดิมอยู่อาศัยโดยการเช่าอยู่ แต่ปรับปรุง เรือนที่พักให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นระบบระเบียบมากขึ้น โดย ยังไม่เข้ามาไล่รื้อหรือให้ย้ายออกไปแต่อย่างใด ขณะเดียวกันชุมชนที่ป้อมมหากาฬ ซึ่งมีทั้งกลุ่มคนที่เคย อยู่แต่ดั้งเดิมมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายและกลุ่มที่เข้ามาเช่าอยู่ใหม่เช่น เดียวกับชุมชนวังกรมพระสมมตฯ กลับเผชิญการไล่รื้อชุมชนจาก กรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องการเปิดพื้นที่เพื่อท�ำสวนสาธารณะ เมื่อ เสนอแนวทางการอยูอ่ าศัยร่วมกับโบราณสถานโดยการดูแลพืน้ ที่ ทาง กรุงเทพมหานครกลับโต้แย้งข้อเสนอดังกล่าวในหลายประเด็น ทั้งใน แง่ของกฎหมายที่ชาวชุมชนไม่สามารถโต้แย้งได้ เนื่องจากชาวชุมชน ส่วนใหญ่มิใช่เจ้าของที่ดิน แต่เป็นเพียงผู้เช่าผู้อาศัย ส่วนเจ้าของ เดิมเป็นผู้รับค่ารื้อถอนไปแล้ว จึงถือเป็นผู้ละเมิดกฎหมาย และเข้า รื้อชุมชนจัดการเป็นพื้นที่สวนสาธารณะเสร็จสิ้นเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ “บ้านบาตร” แทบจะเป็นชุมชนแบบหมู่บ้านในเมืองแห่ง เดียวที่ยังเหลือองค์ประกอบความเป็นชุมชนครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งใน ทางกายภาพและโครงสร้างทางสังคมเพียงแห่งเดียวในย่านเก่าแถบ นี้ เพราะชุมชนชาวตรอกที่บ้านบาตรท�ำให้เห็นว่ามีโครงสร้างสังคมที่ ท�ำให้ผู้คนในชุมชนรู้จักกัน มีความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรมเหมือนกันจนเกิดส�ำนึกระหว่างเป็นคนกลุ่มชุมชนเดียวกัน หลังจากไม่สามารถสูง้ านปัม๊ บาตรพระแบบกึง่ อุตสาหกรรม ได้ ชาวบ้านจึงตั้งกลุ่มอนุรักษ์การท�ำบาตรบ้าง กลับมาท�ำบาตรตาม รอยบรรพบุรษุ บ้าง และท�ำบาตรในราคาขายส่งที่ไม่แพงบ้าง ซึง่ น่าจะ เหลืออยูไ่ ม่นา่ จะเกิน ๖ ครอบครัว การท�ำบาตรในทุกวันนี้ไม่อาจแข่ง กับบาตรปั๊มที่มีอยู่ได้จึงกลายเป็นกลุ่มสืบทอดและเผยแพร่วิธีการท�ำ บาตรโบราณ และตีบาตรส�ำหรับผูท้ ตี่ อ้ งการซือ้ บาตรเป็นของทีร่ ะลึก หรือต้องการบาตรแบบประณีตพิเศษและราคาสูงเท่านัน้ การท�ำบาตร พระแต่ละใบด้วยการตีดว้ ยมือจึงใช้ผชู้ ำ� นาญหรือช่างหลายคนท�ำให้มี ต้นทุนสูงเพราะแบ่งค่าจ้างแรงงานให้กับช่างฝีมือต่างๆ ประกอบด้วย ช่างตีขอบ ช่างต่อบาตร ช่างแล่น ช่างลาย ช่างตี และช่างตะไบ ความรู้ในการตีบาตรคงอยู่กับคนบ้านบาตรมานาน ถือเป็น อาชีพส�ำคัญและยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่งานหัตถกรรม หลายชนิดที่อยู่ภายในพระนครและรอบนอกในชุมชนบ้านต่างๆ หาย สูญไปแล้วเกือบหมด บริเวณ “ชุมชนวัดสระเกศฯ” นัน้ ปลูกอาศัยอยูบ่ นทางน�ำ้ เก่า ทีต่ อ่ กับคลองบ้านบาตร ชาวบ้านทีม่ าเข้ามาท�ำงานรับจ้าง หาบเร่ขาย ขนมหวานที่มีชื่อเสียงมากหรือมาท�ำอาชีพถีบสามล้อค่อยๆ ปลูกบ้าน รุกล�้ำล�ำคลองจนกลายเป็นผืนดินไปหมด จากการเป็นที่รวมของผู้คน ร้อยพ่อพันแม่จึงกลายเป็นแหล่งอาชญากรรมทุกประเภทในอดีตและ ลดน้อยลงในปัจจุบนั เพราะชาวบ้านมีทพี่ กั เป็นหลักแหล่งและตัง้ ตัวได้ จดหมายข่าว
มากขึ้น ชุมชนวัดสระเกศฯ นั้นแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วนคือ พื้นที่ รุกล�้ำที่สาธารณะหรือคลองบ้านบาตรเดิม มีบ้านเรือนตั้งอยู่บนแนว คลองเดิมซึง่ กรุงเทพมหานครเคยไล่รอื้ ครัง้ หนึง่ ซึง่ วัดสระเกศฯ เจรจา ให้ย้ายออกและมีพื้นที่ ใหม่หลังโรงเรียนวัดสระเกศฯ เพื่อปลูกบ้าน ทดแทน ส่วนที่สองคือที่ด้านซ้ายต้นซอยของซอยคลองถมวัดสระ เกศฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ ในอ�ำนาจจัดการของส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ มหากษัตริย์ อยู่ในขั้นตอนการเจรจากับชาวบ้านเพื่อปรับปรุงอาคาร เก่าให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย เป็นบ้านไม้เก่าสวยงามหลายหลัง ส่วนมากเป็นของข้าราชการเก่า ส่วนที่สามคือพื้นที่ของวัดสระเกศฯ ด้านซ้ายของซอยคลอง ถมวัดสระเกศฯ ด้านหลังซอยเรือ่ ยมาจนถึงตึกแถวริมถนนบ�ำรุงเมือง ข้ามฝั่งถนนไปที่ตึกแถวโรงพิมพ์กรมศาสนาและซอยบ้านบาตรบาง ส่วน ซึ่งทางวัดสระเกศฯ เจรจาซื้อคืนเป็นส่วนๆ และอยู่ในระหว่าง ด�ำเนินการโดยไม่ต่อสัญญาเช่าในระยะนานแต่ใช้เป็นรายปี
ตลาดนางเลิ้ง
“ตลาดนางเลิง้ ” เกิดขึน้ จากการพัฒนาพืน้ ทีช่ านพระนครทาง ด้านตะวันออกที่ต่อเนื่องมาจากการสร้างพระราชวังและวังสวนดุสิต ทางด้านทิศเหนือนอกพระนคร ทีอ่ ยูร่ ะหว่างคลองเมืองผดุงกรุงเกษม และคลองสามเสนในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๔๐ และเป็นตลาดบกแห่งใหม่ ที่เป็นอาคารตึกของหลวงให้เช่าริมถนนและตลาดสดอาคารโถง ที่มี การมหรสพเสริมสร้างต่อเนื่องในระยะต่อมา นางเลิ้งเป็นย่านกิจกรรมคนเมืองอย่างแท้จริงมาตั้งแต่เริ่ม พัฒนาเป็นพื้นที่ตลาด มีการคมนาคม มีรถรางเดินทางสะดวกแก่ คนไปมาสัญจร คนมาซื้อของที่นางเลิ้งทั้งตลาดสดและตลาดอาหาร ร้านค้า ไม่ใช่เป็นตลาดของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง แต่เป็นของเมืองซึ่ง ขยายมาทางฝั่งคลองขุดใหม่อีกแห่ง ทดแทนที่ตลาดเก่าเยาวราช ตึกแถวที่ปลูกให้เช่าส่วนใหญ่มีแต่ชาวจีนโพ้นทะเล ครอบครัวจ�ำนวน มากอยู่มาตั้งแต่เริ่มเช่าครั้งแรกในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ 8
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกกลุ่มที่เป็นกลุ่มใหญ่ไม่น้อยคือช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนไปอยู่ในมือพรรค คอมมิวนิสต์แล้วประเทศไทยทุกวันนี้น่าสังเกตว่า ไม่สามารถท�ำการ ค้าแบบร้านเล็กร้านน้อยเกิน ๒-๓ รุ่น กิจการของครอบครัวที่มักมี ความรู้ประสบการณ์ส่งตรงเช่นนี้หลายๆ ร้านก็คงหมดไปกับคนรุ่นที่ สาม กิจการส่วนใหญ่ในร้านค้าปลีกพวกท�ำอาหาร เครื่องดื่ม หรือ งานฝีมือ มักเป็นคนจีนที่ส่วนใหญ่เห็นคุณค่าของการศึกษาอันเป็น ช่องทางในการปรับตัวเข้าสู่ชนชั้นอื่นๆ เมืองไทยไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ ใดๆ ก็สามารถเลื่อนสถานะตนเองกันได้เสมอๆ ถ้ามีความสามารถ และเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ ซึง่ แตกต่างจากการจัดล�ำดับทางสังคม ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอื่นๆ หรือเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก ผู้คนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่นางเลิ้งค่อนข้างหนาแน่น ท�ำให้ผู้คนต่างทยอยออกไป นอกจากนี้วังของเจ้านายต่างๆ หลัง จากเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น วังได้เปลี่ยนเป็นสถานที่ราชการ ต่อมาโรงหนังแบบเดี่ยวๆ ก็พบกับทางตัน และในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานีจงึ ปิดลงกลายเป็นพืน้ ทีเ่ ช่าเก็บของ รวมระยะ เวลาที่ฉายหนังยาวนานกว่า ๗๕ ปี จากนโยบายการเปลีย่ นเอาสถานทีร่ าชการออกไปนอกเมือง ซึ่งดึงคนออกไปด้วย ภายในเวลากว่า ๒๐ ปีภายหลังตลาดนางเลิ้งจึง เหลือแค่เพียงเป็นโรงอาหารกลายๆ และขายได้แค่สายๆ จนถึงพัก เที่ยง ส่วนตลาดสดนั้นที่เคยเป็นตลาดหลักก็เหลือพื้นที่ ไม่มาก รูป แบบการด�ำเนินชีวิตของคนในเมืองเปลี่ยนไป ย่านพระนครแทบจะ เป็นเมืองร้างในทุกวันนี้ มีความพยายามฟืน้ ตลาดนางเลิง้ ในหลากหลายโครงการและ รูปแบบ บรรยากาศตลาดแบบเดิมๆ หายไปมากและอยูก่ ำ�้ กึง่ ระหว่าง ตลาดสดและตลาดขายอาหารแบบธรรมชาติที่มีคนเดินตลาดหาซื้อ ของใช้และของกินในชีวติ ประจ�ำวันกับตลาดเพือ่ การท่องเทีย่ ว ปัจจุบนั ก็ยงั ด�ำรงสภาพกึง่ ๆ เช่นนัน้ อยู่ และชาวบ้านก�ำลังรวมกลุม่ ร่วมขบคิด และปรึกษาหารือถึงอนาคตชุมชนตลาดนางเลิ้งของตนเอง บริเวณ “ตรอกละคร” ที่อยู่ใกล้เคียงกับตลาดนางเลิ้ง เคย เป็นถิ่นฐานของกลุ่มไพร่หลวงเกณฑ์บุญจากทางใต้ในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่บริเวณนี้ด้านทิศใต้ติดกับ คลองขุดมหานาค ทางตะวันออกเป็นทีน่ ากว้างสภาพพืน้ ทีเ่ ป็นทุง่ นาที่ ลุม่ เรียกว่าสนามควาย ย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยมีสองกลุม่ คือ ริมคลองมหานาค มีศูนย์กลางของชุมชนอยู่ที่วัดมหายิ้มหรือวัดสิตาราม หรือวัดคอกหมู ครอบครัวของครูพนู เรืองนนท์จากย่านตรอกละคร มีโอกาส กลับไปยังนครศรีธรรมราชเมือ่ อายุราว ๘ ขวบ แล้วไปฝึกหัดเชิดหนัง ตะลุง โนรา ใช้การเชิดหนังเป็นภาษาใต้แต่บทพูดเป็นภาษากลาง เป็น คณะหนังตะลุงแบบทางใต้ในกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ขณะ เดียวกันก็รับเล่นละครชาตรีทุกวันเพราะเป็นที่นิยมและแสดงในงาน แก้บนเป็นหลักบางครั้งก็แสดงที่บ้านตนเองเพราะไม่ใช่มหรสพเพื่อ คนดูแต่เพือ่ การท�ำพิธกี รรมแก้สนิ บน รับการสืบทอดมาจากคณะโนรา จดหมายข่าว
9
ทางใต้ในรุ่นใหม่ๆ กว่าคณะละครอื่นๆ ที่ถูกปรับให้เป็นการแสดงกึ่ง ละครนอกไปแล้ว เนื่องจากครูพูน เรืองนนท์ มีภรรยาและบุตรหลานจ�ำนวน มาก จึงแตกสายเป็นคณะละครอีกหลายคณะในเวลาต่อมา เช่น คณะ ครูทองใบ เรืองนนท์ รุ่นหลานบัวสาย เรืองนนท์ คณะกนกพร ทิพ โยสถ ฯลฯ ขณะเดียวกันก็มีการสืบสายละครในครอบครัวอื่นๆ เช่น คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ ที่เกิดในตรอกละครนี้แต่สืบเชื้อสายละคร ชาตรีมาจากตระกูลอากาศโปร่ง ที่อพยพมาจากพัทลุงในช่วงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และจากย่าทางอ�ำเภอท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา และรับงานประจ�ำเป็นละครร�ำแก้บนที่ศาลพระ พรหมเอราวัณ นอกจากนี้ยังมีละครทางบ้านฝั่งถนนด�ำรงรักษ์ที่เป็น คณะโขน ละครร�ำ ลิเกจากสายฝ่ายหญิงที่เคยอยู่ทางตรอกละคร หลานหลวงอย่างน้อยก็น่าจะมีถึงสองคณะ
ตรอกละคร ป้ายคณะครูพูน เรืองนนท์
“ย่ า นบ้ า นนราศิ ล ป์ แ ละตรอกละคร” ซึ่ ง เป็ น ที่ ดิ น ของ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถูกก�ำหนดให้เป็นพื้นที่สถานี ขึ้นลงของรถไฟฟ้าใต้ดิน คนหลานหลวงยังไม่ได้รับค�ำตอบแน่นอน ส�ำหรับกรณีเวนคืนพื้นที่เพื่อสร้างสถานีขึ้นหรือลงรถไฟใต้ดิน ซึ่ง ถ้าท�ำตามแบบแผนเดิมย่านละครแถบถนนสนามควายที่บอกเล่า ประวัติศาสตร์การสร้างความเป็นพระนครมาแต่ยุคต้นกรุงฯ คงหาย ไป บริเวณเยื้องฝั่งตรงข้ามกับนางเลิ้งคือที่ตั้งของ “ชุมชนวัด ญวนสะพานขาว” ชาวญวนในพระนครเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงธนบุรี ชาวญวนกลุ่มที่ ๒ นั้นมากับ องเชียงสือ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ชาวญวนบางส่วนที่ไปอยูก่ าญจนบุรตี อ้ งการจะย้ายเข้ามาอยูก่ รุงเทพฯ ทรงโปรดฯ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านคลองผดุงกรุงเกษมและ ให้ไปสังกัดเป็นทหารปืนใหญ่ฝา่ ยวังหลวง ส่วนพวกทีถ่ อื คริสตังให้ยา้ ย ไปสังกัดเป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายวังหน้า มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ต่อมาพวกชุมชนที่วัดญวนสะพานขาวส่วนหนึ่งกลายเป็น “ตรอกใต้” และมีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตรอกใต้เรื่อง “ชีวิตและ จุดจบของสลัมกรุงเทพฯ แห่งหนึ่ง” และ “มองสังคมผ่านชีวิตใน ชุมชน” ของอาจารย์ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ผู้ล่วงลับ เป็นการศึกษา ชุมชนแออัดหรือที่ถูกเรียกว่าสลัม งานวิทยานิพนธ์ทางมานุษยวิทยา ปริญญาเอกเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๒ ที่ท�ำงานศึกษาเรื่องชุมชน แออัด โดยศึกษาแบบเข้าไปอยู่ในชุมชน เป็นงานศึกษาชิ้นแรกและ แทบจะไม่ปรากฏมากนักแม้ในช่วงเวลาปัจจุบัน
พระนคร กูโบร์ที่มหานาคเป็นกูโบร์ใหญ่โตและกลายเป็นพื้นที่สีเขียว กลางเมืองใหญ่ในปัจจุบนั บริเวณทีจ่ อแจกลับกลายเป็นอีกโลกหนึง่ จน น่าเป็นสถานทีพ่ กั ผ่อนและปลงต่อชีวติ ไม่วา่ ผูเ้ ข้าเยีย่ มชมนัน้ จะนับถือ ศาสนาใด ชาวชุมชนเล่าให้ฟังว่าแต่เดิมพื้นที่กูโบร์เดิมคงอยู่ลึกกว่านี้ พอสมควร เพราะบริเวณพื้นดินปัจจุบัมีการถมรอบสองแล้ว และดิน ส่วนหนึ่งที่ถมก็ได้มาจากดินที่ขุดลอกจากคลองมหานาค ชุมชนมหานาคมีพื้นที่การอยู่อาศัยมากกว่าชุมชนในเมืองที่ มัสยิดจักรพงษ์และมัสยิดตึกดินมาก แต่ถงึ เช่นนัน้ ความเปลีย่ นแปลง ก็ยังท�ำให้เห็นร่องรอยว่าเคยเป็นชุมชนใหญ่ที่ผู้คนโยกย้ายออกไปหา ที่อยู่ใหม่ตามขนาดของครอบครัวที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สี่แยก มหานาคซึ่งเป็นย่านชุมชนการค้ามาตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ตั้งอยู่ ใกล้กบั สะพานเจริญราษฎร์ ๓๒ ทีข่ า้ มคลองมหานาค ซึง่ สร้างในสมัย รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ แทนสะพานร้อยปีซึ่งสร้างเนื่องในโอกาสฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี ทีส่ ร้าง พ.ศ. ๒๔๒๕ ปากซอยมัสยิดมหานาคในปัจจุบนั เมือ่ ข้ามสะพาน เจริญราษฎร์ ๓๒ ต่อเนือ่ งกับตลาดโบเบ๊ทขี่ ายเสือ้ ผ้าค้าส่งและมีตลาด ผลไม้ ด้านในเคยเป็นวังมหานาคของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ต้นราชตระกูล จิรประวัติ ก่อนทายาทจะขายพื้นที่วังส่วนใหญ่ไปท�ำโรงแรมรอยัล ชุมชนวัดญวน-คลองล�ำปัก ปริ๊ น เซส และยั ง เหลื อ พื้ น ที่ ข องวั ง มหานาคขนาดไม่ ใ หญ่ โ ตนั ก ตรอกใต้หลังจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ คนเดิม ตั้งอยู่ท่ามกลางความจอแจของตลาดโบ๊เบ๊ ก็เข้าไปจับจองที่ทันที จนหลังจากนั้นอีกราว ๑๐ ปี หลวงพ่อบ๋าวเอิง (องสรภาณมธุรส) เจ้าอาวาสวัดญวน สะพานขาวให้คา่ ขนย้ายแก่ชาว บ้านออกไปจากทีด่ นิ ของวัดและท�ำข้อตกลงกับส�ำนักงานทรัพย์สนิ ส่วน พระมหากษัตริย์เพื่อจะระบุแนวเขตที่ดินและภายหลังตกลงแบ่งพื้นที่ กันได้ คนจากตรอกใต้จึงย้ายออกไปอยู่ที่แฟลตดินแดงเป็นจ�ำนวน มากและอีกกว่าร้อยหลังคาเรือนยังอยู่กันที่ตรอกใต้เช่นเดิม ส่วนวัด ก็มรี ายได้เพิม่ ขึน้ จากค่าเช่าตึกดังกล่าวและทีด่ นิ ด้านหน้าเพือ่ ท�ำทีจ่ อด รถชั่วคราวด้วย ส่วนกลุ่มคนที่เข้ามาใหม่นั้นก็จะมาเข็นรถรับจ้างที่ตลาด มหานาค ขนผลไม้ ซึ่งความคึกคักของย่านตลาดโดยรอบลดน้อยลง ตัง้ แต่สองสามปีทแี่ ล้วมา พ่อค้าแม่คา้ ขายผลไม้รถเข็นซึง่ มาจากทีอ่ นื่ ๆ และต่างจังหวัดที่เข้ามาเช่าบ้านอยู่ในตรอกวัดญวน-คลองล�ำปัก ถือ เป็นความสืบเนื่องจากย่านชุมชนแออัดแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร ที่ต่อเนื่องกลับกลายมาจนถึงปัจจุบัน สีแ่ ยกมหานาคเป็นย่านตลาดและย่านชุมชนมุสลิม บริเวณนี้ มีชมุ ชนรายคลองอยูไ่ ม่นอ้ ยทัง้ จีน ชาวจามทีถ่ กู เรียกว่าแขกครัว และ ชาวมลายูทมี่ พี นื้ ฐานของชุมชนเป็นข้าราชการและสามารถสร้างสุเหร่า ขึ้นเป็นแห่งแรกๆ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อน พ.ศ. ๒๓๕๐ “ชุมชน มัสยิดมหานาค” ในปัจจุบนั เปิดมัสยิดรับรองแก่ชาวมุสลิมจากทีต่ า่ งๆ รองรับเป็นกลุม่ ใหญ่และแยกกลุม่ ชายหญิงอย่างชัดเจนแทบจะตลอด ชุมชนมหานาค เวลา เพราะอยู่ในย่านการค้าและมีผเู้ ดินทางมาได้สะดวกกว่ามัสยิดใน จดหมายข่าว
10
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ย่านริมแม่นำ�้ ตัง้ แต่ถนนสีพ่ ระยาเรือ่ ยมาทางทิศใต้ บริเวณนี้ เป็นย่านทีม่ ที า่ เรือมาจอดแต่เดิม ก่อนทีจ่ ะมีการสร้างท่าเรือคลองเตย ที่สร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๙๐ จึงมีผู้คนหลากเชื้อชาติทั้ง ชาวตะวันออกและชาวตะวันตกเข้ามาอยูอ่ าศัย มีโบสถ์อสั สัมชัญและ สถานกงสุล เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อยู่ใกล้ศูนย์กลาง การค้าระหว่างประเทศ มีการสร้างโรงภาษีรอ้ ยชักสามหรือศุลกสถาน ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา กรมเจ้าท่า ธนาคาร บริษั ทห้างร้านต่างๆ ส่วนฝั่งตรงข้ามคือย่านบางล�ำพูล่างหรือฝั่ง คลองสาน ที่มีคลังสินค้าของชาวจีนและชุมชนดั้งเดิม บริเวณนีเ้ ป็นทีต่ งั้ ของ “ชุมชนมัสยิดฮารูณ” คนในชุมชนส่วน มากเรียนหนังสือทีโ่ รงเรียนอัสสัมชัญทีอ่ ยู่ใกล้เคียง และเรียนศาสนา ในช่วงเย็น โดยพื้นฐานแล้วสามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษา อาหรับได้ดี และแปลได้อย่างคล่องแคล่วซึ่งเหมาะกับย่านที่มีศาสนิก นานาชาติทชี่ อบมาฟังกัน จนถือว่าได้รบั การศึกษาขัน้ สูงกว่าชุมชนอืน่ ๆ อีกหลายแห่ง แต่เมือ่ มีคนย้ายออกไปเพราะครอบครัวต่างๆ ขยายใหญ่ ขึน้ แต่เมือ่ ถึงช่วงวันส�ำคัญต่างๆ ก็จะมาทันทีเพือ่ พบปะสังสรรค์เยีย่ ม เยือน และยังคงฝังศพไว้ที่กูโบร์ของชุมชนเช่นเดิม ชุมชนมัสยิดฮารูนยังมีความเป็นชุมชนที่มีโครงสร้างทาง สังคมเข้มแข็งจากการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ และความผูกพันกันใน ระหว่างเครือญาติที่ยังแน่นแฟ้น ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมรอบด้านในพื้นที่ย่านธุรกิจดั้งเดิมและย่านการสร้าง อาคารสมัยใหม่เพื่อการพักผ่อนและท่องเที่ยวที่อยู่รายรอบ น่าจะสรุปได้วา่ ความเป็นชุมชนทีเ่ ข้มแข็งผูงโยงไว้ดว้ ยระบบ เครือญาติและความสัมพันธ์ในชุมชนนั้น ส�ำหรับชุมชนมุสลิมในย่าน เมืองประวัตศิ าสตร์ถอื เป็นชุมชนทีจ่ ะสามารถยืนหยัดท่ามกลางกระแส ความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับชุมชนชาวพุทธ เก่าแก่หลายแห่งที่ก�ำลังสูญสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ นับแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์ทางกายภาพและทางสังคมวัฒนธรรมครั้งส�ำคัญนั้นเกิดเมื่อ ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองและ ชุมชนเกือบทั่วกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงก็เปลี่ยนแปลง เข้าสู่สมัยการเป็นเมืองแบบตะวันตก [Urban Space และ Urban Community] แม้ว่าวัดและศาสนสถานในระบบความเชื่อยังด�ำรงอยู่ แต่สภาพแวดล้อมและภูมทิ ศั น์ของเมืองเปลีย่ นไป ความเป็นเมืองทาง น�ำ้ การคมนาคมทางน�ำ้ หมดไปหันมาใช้เส้นทางบก คือการสร้างถนน ใหญ่เล็กขึ้นมาแทนที่ถนนใหญ่ๆ เกิดขึ้นจากการถมคลองแล้วสร้าง ถนนทับ รวมทัง้ ล�ำคูคลองทีเ่ คยเข้าไปถึงชุมชนและวัดเพือ่ การไปมาทัง้ เดินเท้าและเรือขนาดเล็ก และเกิดการตัดถนนหนทางซึง่ ลบเอาชุมชน เดิมทีส่ ว่ นใหญ่เป็นชุมชนในกลุม่ ชาติพนั ธ์หุ ลายแห่งออกไปด้วย มีการ สร้างที่ท�ำการรัฐบาลลงบนวังเจ้านายแต่เดิมหลายแห่ง รวมทั้งสร้าง วังใหม่ๆ พระราชทานพระเจ้าน้องยาเธอและพระราชโอรสทรงกรม ที่ท�ำประโยชน์แก่บ้านเมืองและเพิ่งส�ำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จดหมายข่าว
11
รวมทัง้ การสร้างพระราชวังนอกเมือง จนกลายเป็นการขยายพืน้ ทีข่ อง กรุงเทพฯ ออกไปยังบริเวณปริมณฑลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หลังจากนั้นเป็นต้นมา จนถึงช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ม าเป็ น ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีการสร้างสถานที่ สัมพันธ์กับสัญลักษณ์และปณิธานของคณะราษฎร ที่ต้องการสร้าง สัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญอันเป็นอ�ำนาจสูงสุดที่เป็นของประชาชน หลายประการ และละทิ้งการดูแลสภาพแวดล้อมของเมืองแบบเดิม โดยปล่อยทิ้งไม่ได้ช่วยเหลือทางการบ�ำรุงรักษามากเท่าที่ควรจะเป็น จนถึงยุคสมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี มีความพยายามสร้างขนบประเพณีหลวงให้กลับมามีหน้าที่เช่นเดิม และยังมีความพยายามอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่สถาบันพระ มหากษัตริย์และพระราชวงศ์ต่างๆ ถูกเพิกเฉยในช่วงเวลายาวนาน จนหลายสิ่งที่มีผลต่อกายภาพของเมืองไม่มีการสืบทอดต่อไป เช่น วังของพระราชวงศ์หลายแห่งกลายเป็นสถานทีร่ าชการและอยู่ในการ ดูแลของส�ำนักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ ความรูค้ วามสามารถ ของพระราชวงศ์หลายพระองค์ที่ได้รับการศึกษาชั้นเยี่ยมไม่สามารถ น�ำมาบริหารประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไปได้ การดูแลกรมช่างสิบหมู่ ถูกยกเลิกไปและกลายเป็นหน่วยงานส่วนหนึง่ ของกรมศิลปากร ท�ำให้ ทัง้ งานฝีมอื ช่างหลวงและช่างชาวบ้านทีอ่ ยูร่ ายรอบพระนครต้องขาดผู้ อุปถัมภ์และสูญหายไปมาก แม้จะมีการอนุรกั ษ์ดว้ ยหน่วยงานศิลปาชีพ บ้างหรือวิทยาลัยในวังบ้าง แต่เห็นได้ชดั ว่าสูญหายไปตามยุคสมัยช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา หรือถูกเบียดขับจากผลิตภัณฑ์ แบบโรงงานต่างๆ เมือ่ เมืองขยายอย่างใหญ่ออกไปทุกทิศทางและอย่างรวดเร็ว หลังก�ำเนิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติหลัง พ.ศ. ๒๕๐๔ ส่งผลให้ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง นับแต่โครงสร้างทางสภาพ แวดล้อม ทรัพยากรทุกชนิดถูกก�ำหนดให้นำ� มาใช้อย่างมาก การส่งเสริม โรงงานจนกลายมาเป็นเขตอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษใน ปัจจุบัน สร้างให้เกิดการย้ายถิ่นฐานอย่างขนานใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่ ชุมชนเก่าในกรุงเทพมหานคร ที่ผู้คนส่วนใหญ่ย้ายออกไปจากบ้านที่ ครอบครัวเคยอยูอ่ าศัยภายในระยะ ๕๐ ปีทผี่ า่ นมา จนท�ำให้บา้ นเรือน เก่าเปลีย่ นสภาพเป็นบ้านเช่า คนจากท้องถิน่ อืน่ มาเช่าเพือ่ อยูอ่ าศัยจน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไป และไม่มีการควบคุมขอบเขตของเมืองที่มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี เหล่านี้จนเมื่อมีความพยายามจะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและอาคาร ตลอดจนโบราณสถานดั้งเดิมในเขตย่านเก่าของกรุงเทพมหานคร ชั้นใน โดยจัดตั้งคณะกรรมการดูแลซึ่งปรับเปลี่ยนจนเป็น “คณะ กรรมการอนุรกั ษ์กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า” ทีม่ หี น่วยงานอยู่ใน การก�ำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และมีหน่วย งานร่วมอีกจ�ำนวนมาก โดยการให้ค�ำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ส่วน ใหญ่เป็นสถาปนิกและงานผังเมือง งานโบราณคดีและวิทยาศาสตร์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
มีนโยบายอนุรักษ์พื้นที่และอาคารโบราณสถานต่างๆ ในปัจจุบันเห็น ได้ชัดว่าเน้นการจัดการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมตามนิยามขององค์ การยูเนสโกว่าเป็นวัฒนธรรมจับต้องได้ หรือการอนุรกั ษ์เฉพาะโบราณ วัตถุและโบราณสถานโดยขาดบริบทของชุมชนและความเข้าใจในการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม จึงท�ำให้ผลทีเ่ กิดขึน้ นัน้ ไม่เข้าใจและหลงลืมย่านเก่าทีถ่ อื เป็น จุดก�ำเนิดชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจของคนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหัวใจ ของการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ ดังนัน้ สภาพแวดล้อมในปัจจุบนั ของกรุงเทพมหานครในย่าน เมืองเก่านั้น จึงปรากฏเป็นความผิดปกติของเมืองที่กลายเป็นการ อนุรักษ์เมืองเก่าเฉพาะงานสถาปัตยกรรมทั้งที่เป็นของเดิมเฉพาะที่ เห็นได้ชดั เจน เช่น ตึกอาคารต่างๆ โดยไม่รวมอาคารของเอกชนทีต่ อ้ ง ดูแลด้วยตนเอง และสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ทางจักรยาน พื้นทางเท้า แต่ละเลยมรดกวัฒนธรรม ด้านอื่นๆ
การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ไม่เอือ้ ต่อการด�ำเนินชีวติ ในย่านเมืองเก่า เช่น การย้ายสถานที่ราชการทั้งหมดโดยไม่คัดเลือก ให้คงอยู่บ้าง กลายเป็นการย้ายผู้คนออกจากเมือง เศรษฐกิจจาก พื้นที่ตลาดแบบดั้งเดิมถูกขับให้ออกไป การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางสังคมของคนกรุงเทพฯ ที่ท�ำให้เกิดการอพยพโยกย้ายของผู้คน เจ้าของพื้นที่ในชุมชนต่างๆ ออกไปจากถิ่นที่อยู่เดิม และทิ้งบ้านเรือน ให้เป็นพื้นที่เช่าราคาถูก ท�ำให้เกิดความเสื่อมโทรมจากการไม่ดูแล รักษาเพราะไม่มีแนวทางในการช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์แต่ อย่างใด ฯลฯ เหล่านีล้ ว้ นท�ำให้เกิดปัญหาต่อเนือ่ งยาวนานในช่วงระยะเวลา กว่ายีส่ บิ ปีทนี่ โยบายของคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ถูกน�ำมาใช้งานจนท�ำให้เกิดปัญหาการไล่รื้อชุมชนในย่านเก่า ดังเช่น กรณีชุมชนป้อมมหากาฬที่เคยอยู่ในละแวกที่เรียกว่า “ตรอกพระยา เพ็ชรฯ” มาก่อนและถูกขอให้ย้ายออกไปทั้งหมดเพื่อเปิดพื้นที่โบราณ สถานให้เห็นทางฝั่งนอกเมืองและเพื่อสร้างสวนสาธารณะและเพิ่ม สีเขียวให้เมืองโดยปราศจากชุมชน
การเดินเท้าศึกษาพื้นที่ชุมชนในย่านเก่าต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย บ้าน วัด มัสยิด วัง ตลาด ฯลฯ อันประกอบกันขึ้นเป็นเมืองเก่า กรุงเทพมหานคร (ตรอกไก่แจ้ บางล�ำพู, บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี โรงเรียนจุลนาค, วังสะพานขาวเคยเป็นวังที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร และเคยใช้เป็นกรมประชาสงเคราะห์, และบริเวณชุมชนมัสยิดมหานาค) จดหมายข่าว
12
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ข้อมูลจากโครงการวิจัย การศึกษาแบบมีส่วนร่วม สร้างประวัติศาสตร์สังคมย่าน เมืองเก่ากรุงเทพฯ โดยการสนับสนุนของส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
บันทึก จากท้องถิ่น จิราพร แซ่เตียว
เทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกง ปากคลองแกลง จังหวัดระยอง เดือนตุลาคมทีผ่ า่ นมา ทีมงานมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ มีโอกาสร่วมสังเกตการณ์ “เทศกาลกินเจ” ของชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกง หัวแหลม บ้านปากคลองแกลง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกล จากตลาดบ้านเพแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลส�ำคัญของเมืองระยอง ซึ่ง เป็นการส�ำรวจความเคลือ่ นไหวจากท้องถิน่ ในระยะเวลาสัน้ ๆ มาเล่าสู่ กันฟัง เพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรูถ้ งึ ขนบธรรมเนียมความเชือ่ ของชาวไทย เชื้อสายจีนซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในภูมิภาคตะวันออก กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากประเทศจีนจนกระทั่งกลาย มาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ตามการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งโดยใช้ เกณฑ์ภาษาพูดและถิ่นฐานเดิมในประเทศจีนเป็น ๕ กลุ่มหลัก คือ จดหมายข่าว
13
แต้จิ๋ว กวางตุ้ง แคะ ฮกเกี้ยน และไหหล�ำ ซึ่งมาจาก ๓ พื้นที่หลัก คือ ภูมภิ าคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลางตอนล่างของมณฑลกว่าง ตง และทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลไห่หนาน (อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. ศาลเจ้าจีนในกรุงเทพฯ, หน้า ๓๒) จีนทั้ง ๕ กลุ่ม กระจัดกระจายอยู่ในทุกภูมภิ าคของประเทศไทย โดยเฉพาะจีนแต้จวิ๋ ซึ่งจัดว่ามีจ�ำนวนประชากรมากกว่าจีนอีก ๔ กลุ่ม (แสงอรุณ กนก พงศ์ชัย. วิถีจีน-ไทย ในสังคมสยาม, หน้า ๑๐) นอกจากเกณฑ์ภาษาพูดและถิ่นฐานเดิมแล้ว ในอดีตยัง อาจจ�ำแนกความต่างได้จากกฎเกณฑ์อื่นๆ เช่น ความแตกต่างในราย ละเอียดของพิธกี รรมทีแ่ ต่ละกลุม่ ปฏิบตั ิ ความถนัดในเชิงช่างของงาน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกงในปัจจุบัน
ศิลปะบางแขนง ความถนัดในวิชาชีพเฉพาะกลุม่ ซึง่ ปัจจุบนั กฎเกณฑ์ เหล่านี้ได้เปลี่ยนไป และจากการส�ำรวจภาคสนามพบความไม่ชดั เจนของเส้นแบ่ง กลุม่ อันเนือ่ งมาจากการผสมผสานทัง้ จากการแต่งงานข้ามกลุม่ ภาษา การแต่งงานกับคนไทยในท้องถิ่นและการปฏิสังสรรค์และหยิบยืม แลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรม ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เข้าร่วมเทศกาลกินเจที่ศาลเจ้าพ่อโต๊ะ กงนัน้ มีทงั้ คนในพืน้ ที่ คือคนปากคลองแกลงและจากบริเวณใกล้เคียง และรวมไปถึงคนต่างถิ่น ซึ่งกลุ่มหลังกลับเป็นกลุ่มส�ำคัญซึ่งเป็นผู้น�ำ แบบแผนการกินเจเข้ามาเผยแพร่ โดยผสมผสานธรรมเนียมพิธกี รรม จากความเป็นจีนต่างกลุม่ และเพิม่ เติมกิจกรรมส�ำคัญของศาลเจ้าคือ การจัดงานกินเจ ๒ ครั้ง ซึ่งแต่เดิมคนปากคลองแกลงและศาลเจ้า ไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติมาก่อน คุณฤทัย กิตติเลิศพงศ์ เจ้าของร้านสังฆภัณฑ์คนท้องถิน่ และ เป็นคนทรงเจ้าแม่กวนอิมในเทศกาลกินเจของศาลนี้ เล่าภูมหิ ลังครอบ ครัวและภูมิหลังกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ ให้ฟังว่า เธอเป็นจีน แต้จิ๋วรุ่นที่สาม คนจีนที่นี่ผสมผสานกัน มีแซ่โค้ว แซ่เฮ้ง แซ่ตั่น แซ่แต้ หลังๆ ก็ผสมกับไทย ตนเองเองพ่อแซ่ตนั่ แม่แซ่เฮ้ง แต่ลกู ๆ ไม่ได้ใช้ แซ่ เปลี่ยนเป็นนามสกุลไทย ส่วนคุณยายเป็นลูกครึ่งระหว่างไทยกับ จดหมายข่าว
จีน คุณตาเป็นไทย แม่แต่งงานกับคนจีน อากงเป็นคนจีนมาจากเมือง จีน แต่ย่าเป็นคนไทย อากงกินเจ แต่ย่าไม่กินเจ การมีกลุ่มจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเป็นกลุ่มหลักโดยผสมผสานกับ จีนกลุ่มอื่นๆ เช่น ฮกเกี้ยน แคะ ไหหล�ำ รวมไปถึงคนไทยพื้นถิ่นนี้ อาจจะเป็นภาพตัวแทนของคนไทยเชือ้ สายจีนภาคตะวันออกในปัจจุบนั อย่ า งไรก็ ต าม แม้ ค นรุ ่ น หลั ง จะไม่ ส ามารถเชื่ อ มโยง ตนเองกั บ อดี ต ที่ ม าของบรรพบุ รุษ ทั้ งเรื่ อ งแหล่ ง ก� ำเนิ ด ภาษา ความถนั ด ในวิ ช าชี พ และอื่ น ๆ รวมถึ ง การที่ จี น กลุ ่ ม อื่ น อาจถู ก บดบั ง ด้ ว ยวั ฒ นธรรมของจี น แต้ จิ๋ ว ซึ่ ง มี จ� ำ นวนมากกว่ า แต่ ร ่ อ ง รอยทางวัฒนธรรมบางอย่างก็ยังคงตกค้างให้ได้น�ำมาวิเคราะห์ กันต่อไป ความเห็นเสริมจาก คุณณรงค์ แซ่ซิ่ม หรืออาจารย์ เม้ง ผู้รู้ในประเพณีพิธีกรรมของชาวจีน ที่สืบทอดความรู้มาจาก บรรพบุรุษได้ให้ความเห็นว่า บริเวณศาลเจ้าโต๊ะกง แถบนี้เป็น คนแต้จิ๋วหรืออาจจะเป็นฮกเกี้ยนที่ผสมผสานกับแต้จิ๋ว เพราะใช้ แซ่ตั่นกัน แซ่ตั่นก็คือฮกเกี้ยน แต้จิ๋วเรียกแซ่ตั๊ง ถ้าจีนกลางเรียก แซ่เฉิน แต่ตัวเขาว่าเขาเป็นแต้จิ๋ว บางทีอาจจะรับอิทธิพลของแต้จิ๋ว มามากจนกลายเป็นแต้จิ๋วไปก็ได้ ถึงแม้คนที่ปากคลองแกลงจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่ม แต้จวิ๋ เช่นเดียวกันกับคุณธวัชชัย เทวศักดิร์ กั ษา นักธุรกิจโรงพิมพ์และ 14
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
การ์เม้นต์ย่านฝั่งธนฯ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดกิจกรรมกินเจที่นี่ แต่กลับรับ รูปแบบการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มฮกเกี้ยนมาใช้เป็นหลัก โดยมี อาจารย์โกเม้งเป็นผู้น�ำในการประกอบพิธี โดยเล่าที่มาที่ไปให้ฟังว่า “ผมกินเจมาตั้งแต่เด็ก บ้านผมกินเจทั้งบ้าน ก๋งเป็นเหล่าซือคือซินแส สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น ผมจีนแคะ แต่เวลาเรียนจะเรียนภาษาฮกเกี้ยน ท�ำประเพณีแบบคนฮกเกี้ยน พิธีกรรมของจีนแต่ละกลุ่มไม่เหมือน กัน แต้จิ๋วจัดสวยงาม ฮกเกี้ยนเน้นพิธีกรรม ความขลัง ความละเอียด ทุกอย่างทีเ่ อาขึน้ มาไหว้ตอ้ งมีเหตุมผี ลมีคำ� อธิบาย ส่วนคนแคะจะไหว้ แบบง่ายๆ ไหว้นำ�้ ชาแก้วเดียว ส�ำหรับผมท�ำพิธกี รรมแบบสายฮกเกีย้ น แบบจีนทางใต้ทงั้ หมด มาท�ำพิธที ศี่ าลเจ้าโต๊ะกงไม่ตอ้ งปรับเพราะเขา ไม่มีพิธีกรรมเลย มีงานปีอย่างเดียวคือโต๊ะจีน ผมน�ำเอารูปแบบที่ผม เรียนมาลงโดยไม่ตอ้ งปรับ ทุกคนเดินตาม ผมท�ำตัง้ แต่จงั หวัดระยอง ไม่มกี ารกินเจแม้แต่ศาลเดียว ไม่มรี า้ นอาหารเจ แต่ทกุ วันนีร้ า้ นอาหาร เจเป็นร้อยในเวลาสิบสี่ปีที่ท�ำมา” ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกงรวมถึงบริเวณโดยรอบในปัจจุบนั เป็นพืน้ ที่ แห่งการชุมนุมเหล่าเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเทศบาลเป็นผู้ดูแล นอกจากเจ้าพ่อโต๊ะกงหรือแป๊ะกง เทพเจ้า ผู้ดูแลหมู่บ้าน ซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าโรงเจ้าศาลเดิมแล้ว ในพื้นที่ยัง ประกอบไปด้วยเทพเจ้าองค์ส�ำคัญอื่นซึ่งเป็นที่นับถือของชาวไทยเชื้อ สายจีน เช่น เทพเจ้ากวนอู เจ้าแม่ทับทิม เจ้าแม่กวนอิม พระกิวอ๋อง ไต่เต่ เทพนาจา ฯลฯ นอกจากนี้ยังปรากฏศาลกรมหลวงชุมพรฯ ศาล สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และป้ายหมุดกวีสุนทรภู่ จุดที่ ๑๙ อ่าวสมุทร ที่หยิบยกข้อความจากนิราศเมืองแกลงมาบรรจุไว้ แต่หากย้อนกลับไปเมื่ออดีต ผู้คนในท้องถิ่นเล่าถึงสภาพ พื้นที่บริเวณนี้ว่า “เห็นศาลเจ้านี้มาแต่เด็ก เดิมเป็นศาลปูนเล็กกว่านี้ และไม่มีคนเข้ามาเลยเพราะรกและมืด คนจะเข้ามาไหว้ช่วงตรุษ จีน กับสารทจีน เทศบาลต�ำบลแกลง-กะเฉดดูแลพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ ได้ยงุ่ เกีย่ วอะไรกับศาลเจ้า ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกงเป็นศาลเก่าทีป่ ากคลอง
ด้านในคลองแกลงก็จะมีศาลริมน�้ำอีก เป็นศาลของชุมชนจีนเก่าใน คลองด้านในห่างจากปากคลองไม่ไกลนัก การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากศาลเจ้าพ่อโต๊ะกงเล็กๆ มาเป็นสภาพที่เห็นปัจจุบันเป็นผลมาจากการเข้ามาด้วยความศรัทธา คุณธวัชชัย เทวศักดิ์รักษา กับอาจารย์โกเม้ง หรือคุณณรงค์ แซ่ซิ่ม และพวกพ้องเพื่อนฝูง น�ำเอาเงินทุน รายได้ทั้งหมดให้ศาลเจ้า แต่ว่า รายจ่ายไม่คิด ศาลเจ้าถึงได้โตขนาดนี้ แต่เดิมมีแค่ศาลโต๊ะกงเล็กๆ ที่คนมาไหว้กัน พอคนพื้นที่เริ่มท�ำ เริ่มกินเจในเวลาสามปีต่อมาเขาก็ ไป” คุณธวัชชัยเล่าเพิม่ เติมว่า “ผมเป็นคนกรุงเทพฯ ฝัง่ ธนบุรี เมือ่ ๑๔ ปีที่แล้วมีเพื่อนอยู่ที่นี่ และตนเองอยากจะบูชาองค์เจ้า เลยมาหา สถานที่ท�ำพิธีปลุกเสก หรือเบิกเนตรองค์เจ้ากัน ตามต�ำราจีนถือว่า สถานที่ซึ่งจะปลุกเสกองค์เจ้าตามที่ระบุไว้คือ หน้าทะเล หลังภูเขา เช่นที่นี่จะศักดิ์สิทธิ์มาก ก็เลยมาจัดกองไฟลุยมากับคณะมีอาจารย์ ชื่อ อาจารย์ณรงค์ แซ่ซิ่มหรือชื่อเล่นว่าอาจารย์โกเม้ง เป็นคนภาคใต้ เป็นคนศึกษาเกีย่ วกับพิธกี รรมทางการกินเจฮกเกีย้ น แล้วขอใช้สถานที่ จัดงานกินเจปรากฏว่าจัดปีที่ ๑ ก็ยังไม่มีคนรู้จักว่าการกินเจคืออะไร อาหารเจชาวบ้านแถวนี้ ไ ม่รู้จัก ผมก็เลยมาเผยแพร่ว่าสิ่งนี้คือเจ สิ่งนี้ไม่ใช่เจ รวมถึงการปฏิบัติในการไหว้เจ้า จัดต่อมาคนก็เยอะขึ้น องค์เจ้าจีนที่เห็นสั่งมาจากชาวจีนฮกเกี้ยน ใส่เรือมาตั้งศาลไหว้ รวม ทั้งบนเขาด้วย ศาลนาจา ศาลเจ้าแม่กวนอิม จัดงานกินเจปีหนึง่ ๒ ครัง้ คือช่วงต้นปีกนิ เจของพระโพธิสตั ว์ กวนอิม จัด ๗ วัน และช่วงปลายปีคือเดือน ๙ จีนซึ่งตรงกับกินเจ พระกิ๋วอ๋องไต่เต่ ตรงกับกินเจทั่วประเทศจัด ๙ วัน แต่ละองค์จะ บูชาเทพอะไรก็แล้วแต่ อาจเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม เทพนาจา ฯลฯ องค์เจ้าที่ผมเลือกมาบูชาก็คือองค์เจ้าที่นับถือศรั ทธา แต่องค์เจ้าที่ เป็นประธานการกินเจคือพระกิ๋วอ๋องไต่เต่ ซึ่งทุกศาลที่จัดงานกินเจ ในประเทศไทยจะต้องเชิญองค์ท่านมาเป็นองค์ประธาน ประเพณีกิน
บรรยากาศงานพิธีสวดมนต์และ อัญเชิญองค์เทพลุยไฟในช่วงค�่ำคืน
จดหมายข่าว
15
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
คาวส�ำหรับญวนหรือจีนทีถ่ อื ศีล ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวว่าเป็นอาหาร ที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์และผักบางชนิด เช่น กระเทียม กุยช่าย ผักชี และค�ำว่า เจ อาจแปลให้เข้าใจง่ายว่า การถือศีลเพื่อความบริสุทธิ์ แต่เป็นศีลแบบจีนโบราณ ไม่ใช่ศลี ของพุทธศาสนาและอาจใช้ในความ หมายว่า เรียบร้อยสะอาดก็ได้ การกินเจยังสามารถแบ่งตามโอกาสที่กินเป็นประเภทต่างๆ แต่เทศกาลกินเจที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักและหลายคนถือโอกาสเข้า ร่วมคือการกินเจในวัน ๑-๙ ค�่ำเดือน ๙ นักวิชาการจีนส่วนมากสรุป ว่าเทศกาลกินเจเดือน ๙ มีเค้ามาจากประเพณีบชู าดาวของจีนโบราณ แต่พัฒนาเป็นเทศกาลอย่างสมบูรณ์เพราะศาสนาเต๋า” (ถาวร สิกข โกศล. เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้, หน้า ๔๔๗-๕๐๓) เนื่องจากการกินเจเป็นของใหม่ส�ำหรับคนบ้านปากคลอง แกลง ในระยะแรกเริ่มจึงเป็นการค่อยๆ ถ่ายทอดเรื่องราวและ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินเจสู่คนพื้นที่ มีแม่ครัวมาให้ความรู้ รายละเอียดต่างๆ สอนชาวบ้านแถวนี้ การท�ำอาหารโรงครัวก็จะมี คุณย่าคุณยายแถวนี้มาช่วยโดยไม่คิดค่าจ้าง ซึ่งแต่เดิมไม่เคยกินเจ แต่พอมาท�ำอาหารเจก็เปลี่ยนมากินเจด้วย
บรรยากาศงานลุยไฟในช่วงค�่ำคืน
เจของที่นี่จัดตามต�ำราพระกิ๋วอ๋องตามจีนฮกเกี้ยนจะเหมือนกันกับที่ ภูเก็ต ตรัง ทางภาคใต้ ถ้าเป็นตามรูปแบบมูลนิธิจะไม่มีการรับทรง เดินธูปแล้วก็จบ ส�ำหรับทีน่ มี่ ปี ระทับทรงด้วย มีหลายองค์ เช่น เจ้าแม่ กวนอิม เจ้าพ่อแป๊ะกงหรือโต๊ะกง องค์นาจา องค์เห้งเจีย องค์กวนอู ประทับทรงจะท�ำแต่ในช่วงพิธีกรรม ทุกคืนจัดงานช่วงหัวค�่ำจะมีสวด มนต์จีน เสร็จก็จะมีการประทับทรงองค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อมาช่วยให้ลูก หลานเดินสะพานสะเดาะเคราะห์ ๓ วัน เดินสะพานโชคลาภอีก ๒ วัน แล้วจะเป็นลุยไฟสะเดาะเคราะห์อย่างหมดสิน้ ในช่วงหัวค�ำ่ คนทีล่ ยุ ไฟ คือคนทีม่ ากินเจ จิตใจสะอาด ร่างทรงเทพจะเป็นผูเ้ ลือก ก็จะมีอาการ ต่างๆ เช่น เวลาได้ยินเสียงกลอง เสียงประทัด ใจจะสั่น เวลาท่านลง มาจะให้ท่านเขียนยันต์ว่าองค์ไหนมา จากเด็กที่เขียนภาษาจีนไม่เป็น ลูกหลานไทยก็มี ก็เขียนภาษาจีนได้” อาจารย์ถาวร สิกขโกศล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับเทศกาลกินเจไว้อย่างละเอียดในหนังสือเทศกาลจีนและการ เซ่นไหว้ สรุปบางส่วนดังนี้ “การกินเจ ๑-๙ ค�่ำเดือน ๙ เป็นประเพณีเก่าที่เคยมีอยู่ใน จีน ต่อมาค่อยๆ เสื่อมลงอย่างรวดเร็วจนแทบหมดไปจากจีนแต่ยังมี อยู่ในไต้หวัน ส่วนในไทยซึ่งรับประเพณีนี้มาจากจีนกลับรุ่งเรืองแพร่ ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและพัฒนาเป็นเทศกาลใหญ่ในปัจจุบัน ‘เจ’ เป็ น ค� ำ ยื ม จากภาษาจี น แต้ จิ๋ ว พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้นิยามไว้ว่า อาหารที่ไม่มีของสด จดหมายข่าว
บรรยากาศงานพิธีส่งพระหยกอ๋องส่องเต่ กลับสู่สวรรค์ โดยมีอาจารย์โกเม้ง เป็นผู้น�ำพิธี
อาจารย์โกวเม้งกล่าวว่า “ที่ศาลเจ้านี้ท�ำพิธีกินเจ และสร้าง ศรัทธาให้คน มาไหว้ทนี่ แี่ ล้วส�ำเร็จผล เราเข้ามาไม่มกี ารพาณิชย์แล้ว แต่ศรัทธา แค่จดุ ธูปไม่มเี งินก็มาทานได้ บางคนเป็นเถ้าแก่เรือ แต่พอ มาจากเถ้าแก่เป็นคนกวาดขยะก็มี ล้างห้องน�้ำ ไม่มีการรังเกียจเดียด ฉันท์เพราะถือว่าทุกอย่างทีเ่ ราท�ำเป็นมหาบุญ ท�ำแล้วมีความสุข ถ้ามี เงินเป็นธุรกิจพวกเราจะทะเลาะกัน คนมีเงินก็ชว่ ยเงิน คนมีแรงก็ชว่ ย แรง” ค�ำบอกเล่าของอาจารย์โกเม้งดังกล่าวสะท้อนถึงความ ศรัทธา ความสุข ความร่วมแรงร่วมใจ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นหัวใจส�ำคัญ ที่เราจะเห็นได้จากวาระพิเศษในงานพิธีกรรมต่างๆ เช่น การกินเจที่ ศาลเจ้าโต๊ะกง ปากคลองแกลง 16
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
สภาพภูมิวัฒนธรรมแกลง ปรับจากแผนที่บ้านสามย่าน กรมแผนที่ทหาร ส�ำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐
โรงเลื่อย ของป่า ภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เมืองแกลง พนมกร นวเสลา เมื อ งแกลงเป็ น หนึ่ ง ในเมื อ งทางภู มิ ภ าคตะวั น ออกของ ประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ เพราะพื้นที่ตอนบนมี สภาพเป็นเนินและภูเขาที่มีป่าเบญจพรรณทึบมีพันธุ์ไม้หลากหลาย ชนิด เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้แก่น ไม้ประดู่ ฯลฯ ส่วน บริเวณโดยรอบทีต่ งั้ ของเมืองแกลงมีสภาพเป็นพืน้ ทีร่ าบทุง่ นาและป่า โปร่ง ทิศใต้ของเมืองแกลงเป็นพืน้ ทีร่ าบทุง่ นากับป่าชายเลนและพืน้ ที่ ชายฝั่งทะเล โดยมีล�ำน�้ำส�ำคัญในพื้นที่คือ “ล�ำน�้ำประแส” ที่มีต้นน�้ำ ในเขตพืน้ ทีต่ อนในเป็นทัง้ สายน�ำ้ หล่อเลีย้ งทัง้ ป่าและผูค้ นในพืน้ ทีเ่ มือง แกลง จดหมายข่าว
17
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
นับตัง้ แต่ชว่ งต้นกรุงรัตนโกสินทร์การค้าขายขยายตัวมากขึน้ ท�ำให้มีการเกณฑ์ตัดไม้ส่งส่วยน�ำมาใช้ต่อเป็นเรือส�ำเภาที่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นส่วยไม้เนือ้ แข็งจากทางภาคเหนือและภาคตะวันตก เช่น ไม้ฝาง ไม้สัก ขณะที่ภาคตะวันออกส่วยไม้ที่ส่งเข้ารัฐบาลคือ ไม้แดง อย่างไรก็ตาม ป่าไม้ภาคตะวันออกเริ่มปรากฏความส�ำคัญในสายตา ราชส�ำนักสยาม เนื่องด้วยเป็นหนึ่งในแหล่งตัดไม้ท�ำเรือพระที่นั่งนับ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ รัฐได้ส่วยมาศเส้นจากเมืองจันทบุรียาว ๑ เส้นเศษ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นเรือพระที่นั่งกราบชื่อสุดสายตา และในช่วง เวลานี้การค้าขายของสยามมีความเจริญรุ่งเรืองมากจึงมีการตั้งการ จัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ หนึ่งในนั้นคือ ภาษีไม้แดง ต่อมาในสมัยรัชกาล ที่ ๔ ป่าไม้ภาคตะวันออกยังคงเป็นพื้นที่หาไม้ท�ำเรือพระที่นั่งเฉพาะ ในพื้นที่แกลงได้มาดเส้น ๔ ล�ำ สอดคล้องกับข้อความในบันทึกของ H.Warington Smyth เมื่อครั้งเดินทางตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวถึงพื้นที่เมืองแกลงไว้ว่าเป็นสถานที่น�ำไม้ ตะเคียนไปสร้างเรือพระราชพิธี และยังระบุดว้ ยว่าสภาพป่าของเมือง แกลงมีลกั ษณะเป็นป่าทึบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาสุรศักดิ์ มนตรี ได้เข้ามาส�ำรวจพื้นที่ป่าไม้ภาคตะวันออกและได้ก่อตั้งบริษั ท ศรีราชาทุนจ�ำกัด ท�ำกิจการป่าไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี รวมมาถึงระยอง ซึ่งในขณะนั้นก็มีโรงเลื่อยของเอกชนรายอื่นเกิดขึ้น ด้วยเช่นกัน
โรงเลื่อยจักรพงษ์เกษม โรงเลื่อยไม้ในเมืองแกลง ส�ำหรับในอ�ำเภอแกลงมีโรงเลื่อยไม้ที่ส�ำคัญ คือ “โรงเลื่อย จักรพงษ์เกษม” ประวัตกิ ารก่อตัง้ ไม่แน่ชดั แต่จากการสัมภาษณ์คนใน พื้นที่พบว่าโรงเลื่อยนี้น่าจะก่อตั้งก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และปิดตัวลงไป เมือ่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีเจ้าของกิจการเป็นคนเชือ้ สายจีน เรียก กันว่า “จิกเสีย่ ” เป็นคนจากทางบางบ่อ สมุทรปราการ ต�ำแหน่ง “หลงจู”๊ (ผูจ้ ดั การ) ขณะทีแ่ รงงานส่วนใหญ่จะมีทงั้ ทีเ่ ป็นคนเชือ้ สายจีนท�ำงาน ในต�ำแหน่ง “นายม้า” คุมโต๊ะเลื่อยไม้หรือเป็น “เสมียน” จดบัญชี กับแรงงานซึ่งมาจากทางอีสานและคนในพื้นที่อ�ำเภอแกลงบางส่วน ต�ำแหน่งแบกหามเรียกว่า “หางม้า” ค่าแรงต่อวันไม่ถึง ๒๐ บาท ผู้ชายแบกไม้กระดานแผ่นใหญ่ๆ ขึ้นรถ ผู้หญิงหาบขี้เลื่อย แบกเศษ ไม้ เรียงไม้ (สัมภาษณ์ เกียง ภูเนตร อายุ ๘๖ ปี และ ปิยะ ก�ำแหง อายุ ๗๑ ปี) โรงเลื่อยอยู่ติดริมน�้ำประแสฝั่งตะวันออกของบ้านสามย่าน วิธีการล�ำเลียงไม้จากพื้นที่ตอนใน มีสองวิธีคือ ใช้เส้นทางล�ำน�้ำประ แสล�ำเลียงไม้ขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น ไม้กระบก ไม้กระบาก ล่องตาม น�้ำลงมา คนทางข้างบนจะตัดเป็นขอนล่องมาตามคลอง ผ่านวัดประ แสบน บ้านอู่ทอง โดยใช้คลองประแสเป็นหลัก (สัมภาษณ์ ศรีนวล ไกรเพชร อายุ ๗๖ ปี)
ปล่องไฟเดิมของโรงเลื่อยจักรพงษ์เกษม
จดหมายข่าว
18
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ล�ำน�้ำประแส บริเวณตลาดสามย่าน
อีกวิธีหนึ่งคือใช้รถลากซุงและแรงงานคน ชักลากซุงใส่รถ ขนไม้แล้วมาเทลงน�้ำประแสหน้าโรงเลื่อยที่สามย่าน จากนั้นจะมีคน ลงไปมัดเชือกซุงแล้วชักลากกันขึ้นมาเลื่อยตามขนาดที่ต้องการ โดย มีนายม้าเป็นคนก�ำหนดว่าจะเลื่อยออกมาขนาดใด เช่น หน้ากว้าง ๘ นิ้ว, ๑๒ นิ้ว, ๑๖ นิ้ว จากนั้นแรงงาน (หางม้า) จะยกไม้ขึ้นเลื้อยบน โต๊ะ เมื่อเลื่อยไม้แล้วจะมีแรงงานบางส่วนขนขี้เลื่อยออกไปทิ้งนอก โรงเลื่อย แม้ว่าต่อมาโรงเลื่อยจะปิดตัวไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ มีนโยบายปิดป่าจากรัฐบาลส่วนกลางเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ แต่การเข้าไป บุกเบิกและถางป่าพืน้ ทีต่ อนบนก่อให้เกิดการโยกย้ายจากพืน้ ทีร่ าบขึน้ ไปตัง้ หมูบ่ า้ นในพืน้ ทีต่ อนในทางทิศเหนือของเมืองแกลงมากขึน้ รวมทัง้ การบุกเบิกเข้าไปจับจองพื้นที่ท�ำการเกษตรกรรมปลูกมัน และต่อมา คือ ยางพารา วิถีหาของป่า คนเมืองแกลง ป่าไม้ทางทิศเหนือของเมืองแกลงเป็นแหล่งหาของป่าที่ ส�ำคัญ วิถีชีวิตของคนในพื้นที่เมืองแกลงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ท�ำนาเป็นหลัก เมือ่ เสร็จฤดูทำ� นาจะรวมกลุม่ พากันเทียมเกวียนเข้าป่า ไปหาของป่าน�ำออกมาขาย โดยเดินตามเส้นทางเกวียนลัดเลาะขึ้นไป ทางทิศเหนือหรือเดินตามล�ำน�ำ้ สายเล็กๆ เข้าไปยังป่าเบญจพรรณ ถึง เวลากลางคืนจะหยุดตามจุดที่เป็นชุมนุม บางแห่งอาจมีเพิงที่พักแบบ ชัว่ คราวซึง่ คนรุน่ ก่อนหรือกลุม่ อืน่ ได้ทำ� ทิง้ ไว้ และจุดกองไฟ นอนรวม กันป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่าโดยเฉพาะเสือที่ออกหากินตอนกลาง คืน การใช้เวลาอยู่ ในป่าไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่หาได้และ ปริมาณของป่าที่บรรทุกใส่เกวียน โดยทรัพยากรของป่าที่ต้องการ ได้แก่ น�้ำมันยาง ครั่ง ชัน หวาย กระวาน ลูกเร่ว รวมทั้งไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้กระบก ล่องน�้ำลงมาขายคนที่ตลาดเพื่อส�ำหรับน�ำไปท�ำฟืน เตาถ่าน น�ำกลับไปใช้ในครัวเรือนหรือน�ำออกมาขายที่ตลาดสามย่าน ลุงสงบ เจริญวงศ์ อายุ ๕๕ ปี เล่าว่า “...สมัยก่อนใช้เส้นนีเ้ ดิน ขีโ้ ล้นำ�้ มันยาง แบกน�ำ้ มันยางมาขาย เป็นป่าหมด แถวหนองพุหนองโพง จดหมายข่าว
19
(ชุมชนที่อยู่ทางทิศเหนือวัดโพธิ์ทอง)…” ส่วนพระครูวิสุทธิ์รัตนาภรณ์ อายุ ๗๐ ปี เล่าว่า “...ฉันไป อยู่ตั้งแต่เป็นป่ามีเสือ เขาเรียกชุมนุมสูง มีหนึ่งบ่อน�้ำมันยาง เลยวัด มงคลขึ้นไปหน่อยและก็ใต้วัดชุมนุมสูงลงมาหน่อยก็ตักน�้ำมันยางเอา มาขายกัน...” ขณะเดียวกันบางครัวเรือนทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ทีร่ าบตอนล่างอาจให้ ญาติของตนเข้าไปตั้งบ้านรวมกับชุมนุมในป่าแล้วเก็บผลผลิตส่งออก มาขาย หรือน�ำมาให้แก่ครอบครัวตนเอง เช่น สานหลัว ตัดหวาย คน ตลาดสามย่านก็เอาใส่เรือไปขายสมุทรสาคร สมุทรสงคราม การเข้าไปตัง้ ถิน่ ฐานในพืน้ ทีต่ อนในพบว่าหลายชุมนุม/ส�ำนัก ไม่ได้ด�ำรงชีพด้วยการหาของป่าเพียงอย่างเดียวแต่บุกเบิกพื้นที่ราบ ขนาดเล็กไว้ปลูก “ข้าวไร่” ปีละครั้ง พอเลี้ยงตนเองได้ควบคู่ไปกับ การปลูกมัน รวมทัง้ คนพืน้ ทีต่ อนในเองบางส่วนน�ำของป่าออกมาแลก เปลีย่ นข้าวสารหรือผลไม้กบั คนในพืน้ ทีร่ าบทุง่ นาและคนในตลาดสาม ย่าน นอกจากนี้การเข้าป่ายังรวมไปถึงการตัดไม้มาสร้างบ้านเรือนที่ อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน ปัจจุบันพื้นที่ป่าเบญจพรรณทางทิศเหนือของเมืองแกลง นั้นแทบไม่หลงเหลือแล้ว เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยพื้นที่การเกษตรทั้ง พื้นที่ปลูกยางพาราและพื้นที่สวนผลไม้ ประกอบกับการขยายตัวของ พื้นที่อยู่อาศัยและการตัดถนนเข้าไปยังหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่ตอนใน รวมถึงวิถีชีวิตการหาของป่าและการตัดไม้ป่าที่เลิกท�ำไปอย่างสิ้นเชิง คงเหลือแต่ร่องรอยของ “ชื่อชุมชน” (Place Name) ที่ยังบ่งบอก ถึงการเคยเป็นแหล่งชุมชนพื้นที่ตอนใน เช่น วัดคลองป่าไม้ (ชุมนุม คลองป่าไม้ อ�ำเภอแกลง), บ้านชุมนุมสูง (อ�ำเภอแกลง), บ้านชุมนุม ใน (อ�ำเภอวังจันทร์), วัดแก่งหวาย (ชุมนุมแก่งหวาย อ�ำเภอวังจันทร์) ฯลฯ ส่วนพื้นที่ที่ยังเป็นป่าหลงเหลืออยู่คือบริเวณอุทยานแห่งชาติเขา ชะเมา-เขาวง ขอบคุณ พระครูวิสุทธิ์รัตนาภรณ์ อายุ ๗๐ ปี, คุณเกียง ภูเนตร อายุ ๘๖ ปี, คุณปิยะ ก�ำแหง อายุ ๗๑ ปี, คุณประจวบ เที่ยงแท้ อายุ ๘๒ ปี, คุณ พิชัย สมคิด อายุ ๕๖ ปี, คุณศรีนวล ไกรเพชร อายุ ๗๖ ปี, คุณสงบ เจริญวงศ์ อายุ ๕๕ ปี, คุณเอกชัย เนตรมณี อายุ ๕๓ ปี
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
กิจกรรมเนื่องในวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก ปีที่ ๑๖
“จากเมืองแกลงสู่กรุงธนบุรี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง” กิจกรรมเนื่องในงานวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก ปีที่ ๑๖ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พนมกร นวเสลา เมือ่ วันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ทีผ่ า่ นมา มูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จัดกิจกรรม “จากเมืองแกลงสู่ธนบุรี เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง” ขึ้น เนื่องในวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก ปีที่ ๑๖ นับเป็นปีที่ ๒ ที่มีการจัดกิจกรรมโดยการน�ำเยาวชนจาก อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง มาร่วมท�ำกิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นของตนเอง ในการนี้ร่วมมือกับ “โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร” และ “กลุ่มรักษ์เขาชะเมา” น�ำเยาวชนทั้งสองแห่งมาทัศนศึกษา ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ และพื้นที่ลุ่มน�้ำประแส อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีจุดประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจ ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรีและรัชกาลบ้านเมืองในสมเด็จพระเจ้า ตากสินฯ นอกเหนือจากการเรียนในต�ำราหรือหลักสูตรจากกระทรวง ศึกษา ด้วยวิธีการลงพื้นที่ตามสถานที่ส�ำคัญต่างๆ ของฝั่งธนบุรี ผ่านการเรียนรู้ภูมิวัฒนธรรม ตลอดจนประวัติศาสตร์จากหลักฐาน ทางโบราณคดีที่ปรากฏ รวมทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่อ�ำเภอ แกลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินและ ความเชื่อมโยงระหว่างเมืองแกลงกับเมืองธนบุรี การจัดงานครั้งนี้มี เยาวชนและอาจารย์จากโรงเรียนแกลง วิทยสถาวร จ�ำนวน ๒๓ คน และเยาวชนจากกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ�ำนวน ๙ คน เข้าร่วมกิจกรรม ล�ำดับกิจกรรมในปีนจี้ ดั ขึน้ ๓ วัน แบ่งเนือ้ หาเรือ่ งกรุงธนบุรี ๒ วันแรก และเนือ้ หาเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เมืองแกลง ๑ วัน โดยภาพรวมจากเนื้อหาทั้งสองส่วนของโครงการมีสาระส�ำคัญ ดังนี้ จดหมายข่าว
มอง “ธนบุรี” ที่ต่างไปจากต�ำราเรียน ในช่วงวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ น�ำเยาวชนและอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการมาทัศนศึกษา ฝั่งธนบุรี เริ่มด้วยการสักการะอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ณ วงเวียนใหญ่ เพื่อความเป็นสิริมงคลพร้อมทั้งรับฟัง ที่มาของอนุสาวรีย์แห่งนี้โดยการบรรยายของวิทยากรจากมูลนิธิฯ จากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี-สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชจากสถานที่ส�ำคัญ ได้แก่ พระราชวังเดิมและ ป้อมวิไชยประสิทธิ์, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง), ศาลเจ้าเกียงอันเกง ศาลเจ้าของชาวจีนฮกเกี้ยน, วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร (วัดหงส์), มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่), วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร (วัดท้ายตลาด), วัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือใต้) และวัดราชคฤห์วรวิหาร (วัดบางยี่เรือเหนือ) การน� ำ ชมและทั ศ นศึ ก ษาในสถานที่ ต ่ า งๆ นี้ ไ ด้ ส ร้ า ง ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี-สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ในหลายแง่มุมให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการมาก ขึ้น ประการแรก เป็นการน�ำเสนอพัฒนาการเมืองธนบุรีตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา ผ่านสภาพทางภูมิศาสตร์และการจัดการ ในประเด็น สภาพเส้น ทางล�ำน�้ำเจ้าพระยาเดิม, การขุดคลองลัดในสมัยกรุง ศรีอยุธยาบริเวณเมืองบางกอก (ธนบุรี), ต�ำแหน่งที่ตั้งของป้อมวิไชย เยนทร์หรือป้อมเมืองบางกอกกับความส�ำคัญในฐานะเมืองหน้าด่าน, 20
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
พระนคร โดยมีคุณนิตยา กนกมงคล ผู้อ�ำนวยการพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร ให้การต้อนรับ
วิทยากรอธิบายภาพรวมของกรุงธนบุรีผ่านแผนที่จารชนสายลับพม่า
การสร้างบ้านแปงเมืองสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาในสมัยกรุงธนบุรี, ต�ำแหน่งสถานที่ส�ำคัญในเมืองธนบุรี เป็นต้น น�ำเสนอผ่านการเดิน ทางไปชมพื้นที่จริงและใช้ส�ำเนาแผนที่จารชนสายลับพม่า กับ แผนที่ เก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประกอบการบรรยาย สืบเนื่องจากปัจจัยทาง ภูมิศาสตร์เป็นการน�ำเสนอความหลากหลายและการตั้งถิ่นฐานของ กลุ่มชาติพันธุ์ในย่านต่างๆ ที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เช่น กลุ่มชาว มุสลิมบริเวณคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวง กลุ่มชาวจีน บริเวณกุฎีจีน นอกเหนือจากสาระความรู้จากการบรรยายและน�ำชมแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้เห็นโบราณวัตถุสมัยธนบุรี จัดแสดง ณ ที่ พระราชวังเดิม และไปเยี่ยมชมนิทรรศการ “๒๕๐ ปี กรุงธนบุรีศรี มหาสมุทร” ซึ่งเป็นนิทรรศการของกรมศิลปากรจัดขึ้น ณ โถงล่าง อาคารหอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ ภายในงานจัดแสดงหลักฐานทาง เอกสาร และโบราณวัตถุ ได้แก่ ตู้พระธรรมลายรดน�้ำ เครื่องถ้วย สมุดภาพไตรภูมฉิ บับหลวง สมุดไทยด�ำเรือ่ งรามเกียรติ์ พระสมุดกฎ ทรงถวายพระราชาคณะให้ถวายพระพรเตือน เป็นต้น
ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เมืองแกลง : ประวัตศิ าสตร์จากภายในและมีชวี ติ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นกิจกรรมสร้างองค์ ความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ให้กบั ผูเ้ ข้าร่วมโครงการฯ เพือ่ ก่อให้ เกิดความเข้าใจความเป็นมาของสังคมและวัฒนธรรมในอ�ำเภอแกลง รวมทัง้ ตระหนักถึงความส�ำคัญของเมืองแกลงในฐานะทีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ของประวัติศาสตร์ชาติที่ไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน มุ่งเน้นผลจากการศึกษาเรื่องของภูมิวัฒนธรรมเมืองแกลง เป็นเครือ่ งมือหลักในการท�ำความเข้าใจพัฒนาการของเมืองแกลง การ จัดกิจกรรมส่วนนี้ได้รับความอนุเคราะห์รถราง จากเทศบาลต�ำบล เมืองแกลง น�ำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางไปยังสถานที่ส�ำคัญใน พื้นที่อ�ำเภอแกลง ได้แก่ วัดโพธิท์ อง-บ้านดอนเค็ด ทีต่ งั้ เมืองแกลงช่วงต้นกรุง รัตนโกสินทร์, ตลาดสามย่าน ทีต่ งั้ เมืองแกลงภายหลังปี พ.ศ. ๒๔๕๑, แล้วจึงพาคณะเดินทางตามแนวเส้นทางเกวียนเดิมริมขอบพื้นที่ที่นา ของบ้านทะเลน้อย ผ่าน บ้านหนองเขาควายหัก บ้านวังหว้า บ้านเนิน ทราย บ้านเนินฆ้อ และตัดเข้าบ้านถนนกระเพรา ไปยัง วัดสมมติเทพ ฐาปนาราม (วัดแหลมสน) วัดที่รัชกาลที่ ๕ มีพระราชด�ำริให้สร้างวัด ขึ้น ณ ปากน�้ำประแส, วัดตะเคียนงาม ชมต้นตะเคียน ในอดีตเป็น หนึ่งในไม้ขึ้นชื่อของลุ่มน�้ำประแส ในสมัยรัชกาลที่ ๔ รัฐส่วนกลาง ได้เกณฑ์คนหัวเมืองภาคตะวันออกตัดไม้จากเมืองแกลงท�ำเรือพระ ราชพิธี, ตลาดปากน�้ำประแส อดีตเมืองท่าศูนย์กลางการค้าและการ ประมงของลุ่มน�้ำประแสโดยมีวิทยากร ส.ท.มงกุฏ เจริญพร สมาชิก เทศบาลต�ำบลปากน�ำ้ ประแสเป็นผูใ้ ห้การบรรยาย, วัดดอนมะกอกล่าง เป็นจุดท่าเรือข้ามฟากแม่นำ�้ ประแสทีส่ ำ� คัญบนเส้นทางเกวียนระหว่าง ตลาดสามย่าน กับ ตลาดประแส, วัดทุ่งควายกิน อดีตวัดกลางทุ่งที่ ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างอุโบสถในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ถึงต้น รัชกาลที่ ๖
เยาวชนจากอ�ำเภอแกลงเข้าชม พระแท่นประทับที่ได้จากวัดราชบัลลังก์ฯ ณ พช.พระนคร กรุงเทพฯ
ถัดจากนั้นได้เข้าชม “พระแท่นไม้จ�ำหลักลาย” โบราณวัตถุ ชิ้นส�ำคัญจากท้องถิ่นเมืองแกลง ที่เชื่อกันว่าเดิมเป็นที่ประทับพระ เจ้าตากฯ เคยเก็บรักษาไว้ ณ วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม อ�ำเภอ แกลง จังหวัดระยอง ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จดหมายข่าว
21
ส.ท.มงกุฏ เจริญพร สมาชิก เทศบาลต�ำบลปากน�้ำประแสร์ให้การต้อนรับ และบรรยายประวัติชุมชนปากน�้ำประแส
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
พิธีมอบเกียรติบัตรโดยนายเอกบรรจง บุญผ่อง ผอ. โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร ณ วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม
และมาสิ้นสุดที่วัดราชบัลลังก์ประดิษ ฐารามที่มีเรื่องราว เกี่ยวกับพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช และได้ ชมตั่งเล็กอีกหนึ่งชิ้น ซึ่งเป็นตั่งวางเท้าลวดลายล้อกันกับพระแท่น บัลลังก์ น่าจะท�ำขึ้นคู่กับพระแท่นไม้จ�ำหลักลายที่เก็บรักษาไว้อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ โดยมีวิทยากร คือ คุณบุญมี จ�ำเนียร คุณสุทธิ ช่างเหล็ก ไวยาวัจกรวัดราชบัลลังก์ฯ เป็นผู้บรรยาย ตลอดเส้นทางในอ�ำเภอแกลงจึงมิใช่แค่การไปดูหลักฐานทาง โบราณคดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังเป็นการท�ำความเข้าใจสภาพ แวดล้อมและเรียนรู้สภาพสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนด้วยเช่นกัน กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ชาติ ระหว่างเมืองแกลงกับเมือง ธนบุรี ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี เปิดมุมมองที่ต่างไปจากการเรียนใน ต�ำรา วิเคราะห์และท�ำความเข้าใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่าน การน�ำชมตามสถานทีส่ ำ� คัญต่าง ๆ ทัง้ ในเมืองธนบุรแี ละเมืองแกลงที่ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี การใช้แผนที่ ค�ำบอกเล่าจากวิทยากร ท้องถิ่น นับว่าเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งมุมมองในประวัติศาสตร์ชาติและการท�ำความเข้าใจท้องถิ่นของ ตนเองให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้เข้าใจประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลงอย่างรอบด้านมากขึ้น จดหมายข่าว
ขอขอบคุณ หน่วยงาน/สถานที่ กลุม่ รักษ์เขาชะเมา, ชุมชนตลาดปากน�ำ้ ประแส, มูลนิธอิ นุรกั ษ์โบราณ สถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ, โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง, วัดดอนมะกอกล่าง, วัด ตะเคียนงาม, วัดทุ่งควายกิน, วัดโพธิ์ทองพุทธาราม, วัดโมลีโลกยา รามราชวรวิหาร, วัดราชคฤห์วรวิหาร, วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม, วัดสมมติเทพฐาปนาราม, วัดหงส์รตั นาราม, วัดอินทารามวรวิหาร, วัด อรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, ศาลเจ้าเกียงอันเกง วิทยากรท้องถิ่น คุณบุญมี จ�ำเนียร, ส.ท.มงกุฏ เจริญพร, คุณสุทธิ ช่างเหล็ก
22
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
หนังสือ : พิพิธภัณฑ์ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ข้าพเจ้านึกถึงพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพียงแค่อะไรก็ตามที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ของผู้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ความรู้ สิ่งของ สถานที่อาคาร และ ทุนรอนในการจัดการแสดง วิธีการจัด ตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่มูลนิธิฯ เกี่ยวข้อง ด้ ว ยก็ คื อ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น พี่ เ ลี้ ย ง คอย แนะน� ำ ช่ ว ยเหลื อ และสนั บ สนุ น ให้ คนภายในท้องถิ่นจัดสร้างขึ้น ทั้งดูแล และถ่ า ยทอดความรู ้ ใ ห้ แ ก่ ค นภายใน ด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าการเคลื่อนไหวของ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท ้ อ งถิ่ น ในลั ก ษณะที่ เ ป็ น กระบวนการสร้ า งความรู ้ ที่ ไ ม่ ติ ด กรอบติ ด รู ป แบบและลื่ น ไหลไปตาม สถานการณ์และศักยภาพของท้องถิน่ คือ สิ่งที่อยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ที่นอกจาก จะสามารถสร้ า งส� ำ นึ ก ร่ ว มของคนใน สังคมได้แล้ว ยังเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะน�ำไป สร้างเป็นความรู้ท้องถิ่นให้เด็กได้เรียน กันตามโรงเรียนอีกด้วย ศรีศักร วัลลิโภดม