คู่มือ สำรวจอโยธยา กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

Page 1


2

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


สารบัญ พื้นฐานแนวคิด • การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของนครรัฐแบบสหพันธรัฐ ทั้งภายในภาคพื้นและชายฝั่งทะเล • เส้นทางการค้าบน East-West Corridor [เส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก] • กลุ่มคนผู้เข้ามาใหม่และ “สยามเทศะ”

๙ ๙ ๑๑

สยามเทศะและกรุงศรีอยุธยา • คนไทย/สยามเทศะหรือประเทศสยาม และการมี “กรุงศรีอยุธยา” เป็นราชธานี • นครรัฐเมืองคู่ • ประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ “เมืองอโยธยา” และความเป็นนครรัฐเมืองคู่

๑๓ ๑๔ ๑๖

เมืองอโยธยาเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมาก่อนเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา • เมืองอโยธยาศรีรามเทพนครบนล�ำน�้ำป่าสัก

๑๙

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

3


ปรับจากบทความของ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

4

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


กล่าวน�ำ การศึกษาอยุธยาของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ไม่ได้ศึกษาอยุธยาแบบนักโบราณคดีหรือนัก ประวัติศาสตร์ในกรอบที่เน้นเรื่องวัตถุหรือเอกสารแต่เพียงเท่านั้น แต่ได้ศึกษาเชิงมานุษ ยวิทยาและ ประวัติศาสตร์โบราณคดีที่เน้นเรื่องของภูมิศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับถิ่นฐานบ้านเมือง [Culture Landscape] ที่ เห็นถึงพัฒนาการ เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คน งานศึกษาเรื่องอโยธยาของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม มีมาเป็นล�ำดับ ต่อเนื่องจากงานของอาจารย์ มานิต วัลลิโภดม ผู้เป็นข้าราชการกรมศิลปากร ทั้งสองท่านมีความเห็นโดยสรุปที่แตกต่างไปจากความรับรู้ เดิมที่ว่า สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาน�ำไพร่พลหนีโรคห่ามาจากเมืองอู่ทอง ซึ่งเป็น เมืองอัตคัดน�้ำเพราะล�ำน�้ำจรเข้สามพันเปลี่ยนทางเดิน โดยเห็นถึงหลักฐานร่องรอยจ�ำนวนมากที่มีอยู่แล้ว ในพื้นที่เมืองพระนครศรีอยุธยาก่อนช่วงเวลาการสถาปนากรุงในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อีกทั้ง “เมืองอู่ทอง” เมืองโบราณสมัยทวารวดีทลี่ ำ� น�ำ้ จรเข้สามพันในจังหวัดสุพรรณบุรนี นั้ ก็มอี ายุเก่าแก่เกินไปกว่ายุคสมัยพระเจ้า อู่ทองในช่วงนั้นมากนัก โดยงานที่ปรากฏครั้งล่าสุดในบทความเรื่อง “อโยธยาศรีรามเทพนคร” โดยอาจารย์ส�ำรวจพื้นที่และ พิจารณาภาพถ่ายทางอากาศตลอดจนแผนทีอ่ ย่างละเอียด และให้ชา่ งเขียนแห่งเมืองโบราณ คุณสุทธิชยั ฤทธิ์ จตุพรชัย วาดภาพผังเมืองอโยธยาเป็นปกของวารสารเมืองโบราณปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๖๐ สาระส�ำคัญทีเ่ ป็นการน�ำเสนอข้อเสนอใหม่ครัง้ นีค้ อื การท�ำให้เห็นว่ามีเมืองโบราณรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าอยู่ แล้วโดยความยาวและความกว้างของ “เมืองอโยธยา” โดยประมาณราว ๒ กิโลเมตร และ ๑ กิโลเมตรตาม ล�ำดับ ซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกับ “เมืองราชบุรี” และ “เมืองสุพรรณภูมิ” ถือเป็นข้อเสนอครั้งแรกในการท�ำให้เห็น ว่ามีเมืองอโยธยาตั้งอยู่ริมล�ำน�้ำป่าสักเดิมก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของเส้นทางน�้ำหลายสาย จนกลายเป็นกรุงศรีอยุธยา เมืองทีม่ ลี ำ� น�ำ้ สายใหญ่ลอ้ มรอบ และเป็นการท�ำให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมครัง้ แรก นับจากเริม่ มีการยอมรับว่ามีชมุ ชนสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาอยูแ่ ล้วในบริเวณฝัง่ ตะวันออกของเกาะเมืองจากรูป แบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปแบบอูท่ อง พระเจดียแ์ บบอโยธยาทีเ่ ป็นรูปแปดเหลีย่ มฐานสูง หรือการตีความ ในพระราชพงศาวดารและเอกสารต่างๆ อโยธยาศรีรามเทพนคร ชื่อนี้ปรากฏสืบมาจากจารึกกรุงสุโขทัย ๒ หลัก คือ จารึกหลักที่ ๒ วัดศรีชุม ที่กล่าวถึง “ศรีรามเทพนคร” และจารึกหลักที่ ๑๑ วัดเขากบ ที่กล่าวถึงทั้งสองนามคือ “อโยธยาศรีรามเทพ นคร” การเดินทางกับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมและมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ครั้งนี้ คือการน�ำท่านไป ศึกษาพื้นที่เพื่อแนะน�ำให้รู้จักเมืองดั้งเดิมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุง ศรีอยุธยาจากการปรับเปลี่ยนล�ำน�้ำเส้นสายต่างๆ เพื่อจะได้ทราบหลักฐานร่องรอยที่ปรากฏและยังจะได้รับรู้ ข้อมูลพืน้ ฐานว่าท�ำไมจึงเกิดบ้านเมือง เช่น อโยธยาศรีรามเทพนครและต่อมาจึงพัฒนากลายเป็นกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลานั้น วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๒

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

5


ภาพวาดผังเมืองอโยธยา โดย การสั น นิ ษ ฐานแนะน� ำ โดย อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม วาด ภาพโดยสุทธิชยั ฤทธิจ์ ตุพรชัย ใช้ภาพนีเ้ ป็นหลักหรือแกนของ งานชิ้นนี้

6

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

7


อโยธยาศรีรามเทพนคร

ภาพแผนที่ทางอากาศ พระนครศรีอยุธยา จากกรมแผนที่ทหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๔๙๗

8

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


เส้นทางการค้าบน East-West Corridor [เส้นทาง เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก]

พื้นฐานแนวคิด การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมของ นครรัฐแบบสหพันธรัฐทัง้ ภายในภาคพืน้ และชายฝัง่ ทะเล อาจารย์ ศ รี ศั ก ร วั ล ลิ โ ภดม เห็ น ด้ ว ย กับ ศาสตราจารย์ โอ. ดับเบิลยู. วอลเตอร์ ที่ กล่าวว่า เหตุของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และการเมืองและการสิ้นสุดอ�ำนาจทางทะเลของ สหพั น ธรั ฐ ศรี วิ ชั ย ตามชายฝั ่ ง ซึ่ ง ร่ ว มสมั ย ของ สหพันธรัฐเมืองท่าทวารวดีบนผืนแผ่นดินใหญ่ ถูก ท�ำลายโดยการรุกรานของ “อาณาจักรโจฬะ” ชาว ทมิฬทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียหรือ ทางตอนใต้ของอินเดีย รัฐทางทะเลที่เป็นคนกลางผูกขาดสินค้า ที่มาจากดินแดนโพ้นทะเล จนท�ำให้มีความมั่งคั่ง ร�่ำรวยกว่ารัฐและอาณาจักรต่างๆ ในภูมิภาค เป็น เหตุให้จีนเลิกการค้าขายผ่านศรีวิชัย หันไปค้าขาย กับบ้านเล็กเมืองน้อยตามท้องถิ่นในภูมิภาค ท�ำให้ เกิดการรวมตัวของผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ก่อตั้งเป็น เมืองเป็นรัฐใหม่ๆ ขึ้น เพราะสอดคล้องกับการส�ำรวจศึกษาชุมชน เมืองโบราณ เพราะบรรดาบ้านเมืองใหญ่ๆ ทีพ่ ฒ ั นา ขึ้นเป็น “นครรัฐ” มักพบตามเส้นทางการคมนาคม ค้าขายแทบทัง้ สิน้ โดยเฉพาะบ้านเมืองและรัฐตัง้ แต่ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นต้นมา

พัฒนาการของรัฐสุโขทัยซึ่งไม่เคยเกิดเป็น เมืองใหญ่ เป็นนครรัฐมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แม้ว่าจะพบร่องรอยชุมชนในระดับบ้านและเมือง เล็กตามแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุและของป่ามาแต่ สมัยก่อนทวารวดีและสมัยทวารวดีในแถบต้นน�้ำ แม่ล�ำพันก็ตาม เส้นทางการค้าเหล่านีเ้ กิดขึน้ ในช่วงปลายยุค เหล็กจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จึงมีพัฒนาการ ของเส้นทางการค้าจากบ้านเมืองและรัฐทางเหนือใน ลุ่มน�ำ้ ปิง วัง ยม น่านตอนบน ที่มรี ัฐหริภุญชัยด�ำรง อยู่แต่สมัยทวารวดีลงมากับบ้านเมืองและรัฐใหญ่ ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยาสมัยทวารวดี

เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม องค์ระฆังฐานสูง ที่วัดพระรูป สุพรรณบุรี

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

9


แผนที่ทหารมาตราส่วน 1: 50,000 series: L708 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา sheet: 5154 III

ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านจากเหนือลงใต้มาออก ทะเลที่อ่าวไทย ตัดผ่านกับเส้นทางตะวันตก-ตะวัน ออกที่เชื่อมต่อทะเลในอ่าวเบงกอลของมหาสมุทร อินเดียมาออกฝั่งทะเลจีนทางตะวันออกในประเทศ เวียดนามตอนบน เมืองเหล่านี้มีทั้ง “เมืองเก่าสมัยทวารวดี” ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางน�้ำที่ยังสามารถเดินเรือจากอ่าว ไทยเข้ามาค้าขายได้ เช่น เมืองละโว้ และ “เมือง ใหม่” ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางน�้ำที่ยังสามารถเดินเรือ จากอ่าวไทยขึ้นมาถึง เช่น เมืองนครชัยศรี เมือง 10

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

อู่ทอง เมืองคูบัว เมืองอู่ตะเภาริมหางน�้ำสาครซึ่ง เป็นแม่น�้ำเจ้าพระยาเดิมและเมืองอินทร์บุรีเก่าบน ล�ำน�ำ้ แม่ลา เกิดเมืองใหม่ขนึ้ มาแทนในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘-๑๙ เมืองใหญ่ทเี่ ป็นนครรัฐในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ตอนปลายต่อกับพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็คือ “เมืองสุพรรณภูม”ิ ล�ำน�ำ้ ท่าจีน “เมืองราชบุร”ี ล�ำน�ำ้ แม่กลอง “เมืองเพชรบุรี” “เมืองแพรกศรีราชา” ล�ำน�้ำน้อย และ “เมืองอโยธยา” บนล�ำน�้ำป่าสัก


เช่น “กัมพูชาเทศะ” ที่มีมาก่อนแล้ว ซึ่ง หมายถึ ง เขตแดนที่ ก ว้ า งใหญ่ ข องอาณาจั ก รใน กัมพูชาทีเ่ ข้ามาถึง “เมืองเสมา” ในแคว้นศรีจนาศะ เป็น “ดินแดนนอกเขตกัมพูชาเทศะ” ซึ่งรวมทั้งลุ่ม น�ำ้ มูลชีและบ้านเมืองในภาคกลางของสยามประเทศ ก็อยู่นอกอ�ำนาจทางการเมืองของกัมพูชาเทศะเช่น กัน ตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา ดินแดน ในประเทศไทย ถูกเรียกว่า “สยามเทศะ” หรือ “สยามประเทศ” ดังมีการกล่าวถึงในจดหมายเหตุ จีนสมัยราชวงศ์ซุ้ง หยวน และหมิง ตามล�ำดับ รวม ทัง้ ในจารึกนครวัดในสมัยของพระเจ้าสุรยิ วรมันที่ ๒ ที่กล่าวถึงกองทหารที่ไปจากเสียมและละโว้ในพุทธ ศตวรรษที่ ๑๘ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม องค์ระฆังฐานสูงที่วัดแก้ว เมืองสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

กลุ่มคนผู้เข้ามาใหม่และ “สยามเทศะ” มีหลักฐานหลายอย่างทั้งในทางโบราณคดี และเอกสารทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ท� ำ ให้ เ ห็ น การ เคลื่อนย้ายของผู้คนหลายชาติพันธุ์ ศาสนา และ วัฒนธรรม เข้ามาตั้งถิ่นฐานตามเมืองใหม่ที่เกิดขึ้น และมีการผสมผสานทางสังคมวัฒนธรรมกับผูค้ นใน บ้านเมืองเก่าที่มีมาก่อนแล้ว กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่นับได้ว่าเป็นชนชาติที่ ส�ำคัญก็คือกลุ่ม “ไท-ลาว” ใช้ภาษาไทยเป็นภาษา ส�ำคัญในการสือ่ สารกันทางสังคมและเศรษฐกิจแทน ภาษาเดิมใน “ตระกูลภาษามอญ-เขมร” ที่มีมาแต่ เดิม เกิดบ้านเมืองใหม่ๆ ทีใ่ ช้ภาษาไทยเป็นสือ่ กลาง แทนภาษาเก่า เกิดพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมและการเมือง ใหม่ในรูปของ “เทศะ” หรือ “ประเทศ”

เจดีย์ทรงกลีบมะเฟืองที่วัดมหาธาตุ เมืองละโว้หรือลพบุรี

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

11


พระพุทธรูปยืนแบบสุโขทัย ที่วัดตะพานหิน นอกเมืองเก่าสุโขทัย

ละโว้ แ ละเสี ย มหรื อ สยามต่ า งก็ อ ยู ่ ใ น ภาคกลางของประเทศไทยเหมือนกัน จนในพุทธ ศตวรรษที่ ๑๙ จดหมายเหตุจีนในราชวงศ์หมิง กล่าวว่า “เสียมก๊ก” และ “หลอฮกก๊ก” รวมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกันกับหลัก ฐานในพงศาวดารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาที่ ว ่ า “สมเด็ จ พระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงเป็นพระ ราชบุตรเขยของกษัตริย์แห่งสุพรรณภูมิ” ข้อความแสดงให้เห็นว่า “เสียม” หมาย ถึง “สุพรรณภูมิ” ในขณะที่จีนยังเรียกทาง “หลอ ฮก” หรือ “ละโว้” อยู่ ทั้งๆ ที่ในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ นั้น หมายถึง “กรุงศรีอยุธยา” และ “พระ มหากษัตริย์ผู้ครองรัฐนี้ก็มีสองราชวงศ์” ผลัดกัน ปกครองในลักษณะของการกินดองกันทางเครือ ญาติ 12

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

จนกระทั่งปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา สมัย “สมเด็จพระนครินทราธิราช” แห่ง “ราชวงศ์ สุพรรณภูมิ” ก็ได้ครองอ�ำนาจเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยาเพียงพระราชวงศ์เดียว ขณะที่กษัตริย์ราชวงศ์ละโว้แตกไปอยู่ทาง เมืองพระนครหรือกัมพูชาแทน ท�ำให้เกิดสงคราม กับเมืองพระนครระหว่างสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ กับ อาณาจักรเมืองพระนครที่เกี่ยวดองกับพระมหา กษัตริย์ราชวงศ์ละโว้ จนในที่สุดกองทัพสยามจาก กรุงศรีอยุธยาก็ตีเมืองพระนครแตก ได้กวาดต้อน เทครัวของผู้คน ขุนนาง และชีพราหมณ์ รวมทั้ง สมบัติที่มีค่ามายังพระนครศรีอยุธยา ท�ำให้กษัตริย์ ทางเมืองพระนครต้องย้ายเมืองส�ำคัญไปตั้งใหม่ ริมแม่น�้ำโขงในเขตพนมเปญ


ในลิลิตยวนพ่ายแต่งขึ้นเพื่อสรรเสริญพระ เกียรติของ “สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” ผู้ทรง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ไม่เพียงผนวกกัมพูชาไว้ใน ราชอาณาจักร หากยังรวมเมืองและแคว้นสุโขทัย เข้าไว้ในราชอาณาเขตของอยุธยา ผนวกแคว้น นครศรีธรรมราชทางใต้ไว้ดว้ ย ท�ำให้กรุงศรีอยุธยา กลายเป็นศูนย์กลางราชอาณาจักรของดินแดนสยาม ประเทศที่แผ่กว้างไปถึงแหลมมลายูที่มีเมืองส�ำคัญ อยู่ที่มะละกา

สยามเทศะและกรุงศรีอยุธยา

ที่ผู้คนในทางชาติพันธุ์และภาษาคือ “มาเลย์” ส่วน ทางตะวันออกก็เป็น “กัมพูชาเทศะ” ที่มีผู้คนใช้ ภาษาเขมรเป็นภาษาส�ำคัญ ส่วนทางเหนือตัง้ แต่เขต “แคว้นสุโขทัย” ขึ้นไปถึง “แคว้นล้านนา” ผู้คนเป็น ชาติพันธุ์ไท-ลาว ที่ใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางเช่น เดียวกัน นับเป็นบ้านเมืองและผูค้ นในดินแดนทีเ่ รียก ว่า “สยามประเทศ” เช่นเดียวกันกับผู้คนทางภาค กลางในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ซึ่งล้วนเป็นบ้านเมืองที่เกิดใหม่ตั้งแต่พุทธ ศตวรรษที่ ๑๗ ลงมา ซึ่งแตกต่างจากผู้คนและบ้าน เมืองสมัยทวารวดี การเคลื่อนย้ายของผู้คนในแคว้นยูนนาน กวางตุ้ง กวางสีทางตอนใต้ของจีน เดินทางเข้ามา ค้าขายทางทะเล และเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐาน ขณะเดียวกัน ก็มีการลี้ภัยทางการเมืองของคนจีนในสมัยราชวงศ์ ซ้องเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานในเวลาไล่เลีย่ กัน “สะท้อน” ให้

คนไทย/สยามเทศะหรือประเทศสยาม และการมี “กรุงศรีอยุธยา” เป็นราชธานี พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๑ เมื่ อ มี ค วามเจริ ญ ทางการค้าทั้งทางบกทางทะเลเกิดขึ้น บรรดาคน จากภายนอกต่างเรียกดินแดนทีม่ กี รุงศรีอยุธยาเป็น ศูนย์กลางหรืออีกนัยหนึง่ เป็นราชธานีวา่ เมืองสยาม หรือ สยามประเทศ เป็นดินแดนที่ผู้คนในพระราช อาณาจักรถูกเรียกว่าเป็น “คนสยาม” และใช้ภาษา ไทยเป็นภาษากลางในการสือ่ สาร และผูค้ นในสยาม ประเทศเรียกตนเองว่าเป็น “คนไทย” เนื่องมาจาก การใช้ “ภาษาไทย” เป็นภาษาส�ำคัญ ประเทศสยามมี “กรุงศรีอยุธยา” เป็น ศู น ย์ ก ลางแต่ ป ลายพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา เป็นดินแดนร่วมสมัยกับ เมืองมอญหรือ “รามัญ ประเทศ” ทางตะวันตก เมืองมลายูบนคาบสมุทร ทางใต้และเกาะสุมาตราที่ใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษา ส�ำคัญ นั่นคือ “มลายู” ที่หมายถึงดินแดน ในขณะ

เขาตาม่องล่าย ซึ่งมีต�ำนานตาม่องล่ายกับนางยมโดย ริมอ่าวประจวบคีรีขันธ์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

13


สระพัง เป็นตระพังหรืออ่างเก็บน�้ำบนผิวดินอยู่บนสันทรายเก่าหรือถนนท้าวอู่ทอง ที่อ�ำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

เห็นจากต�ำนานเมืองและต�ำนานสถานที่ในท้องถิ่น ต่างๆ ใกล้ทะเล ที่กล่าวถึงลูกกษัตริย์จีนเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานและขอแต่งงานกับลูกสาวของผู้น�ำท้องถิ่น เช่น “ต�ำนานนางนงประจันเขาจีนโจนจีนแล” ของ เมืองลพบุรี “ต�ำนานตาม่องล่ายกับนางยมโดย” บริเวณรอบอ่าวไทย ที่ส�ำคัญกว่าต�ำนานอื่นๆ คือ “ต�ำนานท้าว อูท่ อง” ทีเ่ กีย่ วข้องกับ “เมืองอโยธยา เมืองเพชรบุรี และนครศรีธรรมราช” รวมทั้งท้องถิ่นอื่นที่สัมพันธ์ กับ “ถนนท้าวอู่ทอง” นครรัฐเมืองคู่ บรรดาบ้านเมืองที่เกิดใหม่ในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗ มีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีพิธีกรรมที่ไม่เหมือนเดิม สะท้อน ให้เห็นจากศาสนสถานและบรรดาศิลปะรูปแบบ ของสถาปัตยกรรมและสิง่ ทีเ่ ป็นวัตถุทางสัญลักษณ์ ทั้งพุทธและฮินดู 14

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย


วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย

ศาสนาและความเชื่อเดิมที่เคยเป็น “พุทธ เถรวาทและมหายาน” ค่อยๆ ถูกแทนที่โดย “พุทธ ศาสนาเถรวาทที่ส่งอิทธิพลมาจากศรีลังกา” ที่มี ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง “โปโลนนารุวะ” เป็นลัทธิ ศาสนาที่รู้จักในนามว่า “ลังกาวงศ์” เมืองส�ำคัญที่ เป็น “ศูนย์กลางของนครรัฐ” ที่พัฒนาขึ้นในพุทธ ศตวรรษที่ ๑๙ คือตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา ไม่ว่า “สุโขทัย สุพรรณภูมิ อโยธยา ราชบุรี เพชรบุรี แพรกศรีราชา” เป็นนครเกิดขึน้ ใหม่ หลากหลายทางชาติพนั ธุอ์ ยูบ่ นเส้นทางการคมนาคม การค้าขายที่มีกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ ศาสนาใหม่ มี วัดวาอารามแบบใหม่ที่ได้อิทธิพลพุทธศาสนาลังกา วงศ์ และทุกเมืองมีการใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลาง

เหมือนกัน อีกสิง่ หนึง่ ทีส่ งั เกตได้ชดั เจนก็คอื “ความเป็น นครรัฐในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ นี้” แต่ละรัฐ จะประกอบด้วย “เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง” ที่ “ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน�้ำที่มีแม่น�้ำใหญ่เป็นเส้นทาง คมนาคมทางน�้ำ” เช่น “เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย” “เมืองราชบุรีและเมืองเพชรบุรี” “เมืองสุพรรณภูมิและเมืองแพรกศรีราชา” “เมืองละโว้และอโยธยา” ฯลฯ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

15


อาจารย์มานิต วัลลิโภดม ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๑๕

ที่หนองโสนในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา แต่อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม และ อาจารย์ มานิต วัลลิโภดม ได้เคยเสนอเป็นเรือ่ งราวจากหลัก ฐานทางโบราณคดีทเี่ ป็นร่องรอยและต�ำแหน่งเมือง โบราณส�ำคัญไปแล้วกว่า ๓๐ ปี ว่าแท้จริงเมือง พระนครศรีอยุธยานั้นเป็นเมืองใหม่ที่ย้ายมาจาก เมืองอโยธยาเก่าที่อยู่ฟากแม่น�้ำทางตะวันออกของ เมืองพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน นักวิชาการรุ่นใหม่หลายคนเริ่มเห็นด้วยว่า ทางตะวันออกของเมืองพระนครศรีอยุธยา มีเมือง เก่าอยู่จริง เพราะมีโบราณสถานขนาดใหญ่คือ “พระวิหารและพระพุทธไตรรัตนนายกที่วัดพนัญ เชิง” ใกล้ปากน�ำ้ แม่เบีย้ เป็นพระพุทธรูปแบบอูท่ อง ที่มีมาก่อนสมัยการสร้างพระนครศรีอยุธยากับ สมัยอยุธยาตอนต้น พระราชพงศาวดารฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่า พระพุทธรูปองค์นี้และ

ประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ “เมืองอโยธยา” และความเป็นนครรัฐเมืองคู่ “เมื อ งอโยธยา” ที่ ต ่ อ มาพั ฒ นาเป็ น “พระนครศรี อ ยุ ธ ยา” มี ป ระเด็ น ปั ญ หาทาง ประวัติศาสตร์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตอนปลาย ทั้ ง นี้ เ พราะทั้ ง นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ส ่ ว นใหญ่ แ ละ ผู้คนโดยทั่วไปยังยึดมั่นอยู่กับความเชื่อเดิมที่นัก ประวัตศิ าสตร์ตา่ งชาติรนุ่ เก่าและนักประวัตศิ าสตร์ ไทยเชื่อตามการเขียนประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพที่ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่เกิดใหม่ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ สร้างขึ้นโดยพระเจ้าอู่ทอง ทรงทิ้งเมือง อูท่ องในลุม่ น�ำ้ สุพรรณบุรี แล้วย้ายมาสร้างเมืองใหม่ 16

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง


อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ตามคุณพ่อไปส�ำรวจครั้งยังอยู่ในวัยเรียนระดับมัธยม

วัดสร้างมาก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา ๒๖ ปี แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์บางท่านที่มักโต้ แย้งว่า ชื่อเมืองอยุธยาเป็นชื่อที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับ พระนครศรีอยุธยาและชือ่ เมืองอโยธยาก็คอื อยุธยา นัน่ เอง หากแต่คำ� ว่าอโยธยาและอยุธยานัน้ ใช้สลับ กันหรือแทนกันได้ แต่เห็นว่าทั้งค�ำว่าอโยธยาและอยุธยาใน ฐานะเป็นชื่อเมืองประวัติศาสตร์นี้ มีมาก่อนการ สร้างเมืองพระนครศรีอยุธยา เพราะพบชือ่ ในหลักฐานจากจารึกโบราณที่ มีมาก่อนอยุธยาและร่วมสมัยกับอยุธยาตอนต้น เช่น “จารึกสุโขทัยก่อนสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิ ไทยหรือร่วมสมัยกันกับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ลิไทย” กล่าวถึง “เมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร” และในจารึกอื่นๆ มักกล่าวชื่อสั้นๆ ว่า “เมืองนคร พระราม” แต่ที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ “จารึกวัดส่องคบ” ใน สมัยอยุธยาตอนต้นที่ชัยนาท กล่าวถึงนครสองแห่ง คู่กัน คือ “ศรีอยุธยา” และ “ศรีสุพรรณภูมิ” สุ พ รรณภู มิ คื อ ชื่ อ เมื อ งเก่ า ของเมื อ ง สุพรรณบุรี ซึ่งได้พิสูจน์และเขียนเป็นบทความ

เสนอไว้นานแล้ว ทั้งคู่คือเมืองนครรัฐคู่ขนานกัน ของรัฐสองรัฐทีเ่ ข้ามารวมกันในจดหมายเหตุจนี สมัย ราชวงศ์หมิงที่ว่า “หลอฮกก๊ก” กับ “เสียมหลอก๊ก”

ปากคลองสวนพลูหรือปากน�้ำแม่เบี้ยที่หมดสภาพโดยสิ้นเชิง และมีศาลเก่าแก่ของชาวจีนในกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อปากน�้ำแม่เบี้ย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

17


เศียรพระพุทธรูปส�ำริดแบบอู่ทอง พบที่วัดธรรมิกราช ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

มารวมกัน ค�ำว่า “หลอฮกก๊ก” นั้นหมายถึง “ละโว้” ในขณะที่ “เสียมก๊ก” หมายถึง “สุพรรณภูมิ” เป็น สิง่ ทีส่ อดคล้องกันกับการทีพ่ ระเจ้าอูท่ องหรือสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สร้างพระนครศรีอยุธยาทรง เป็นพระราชบุตรเขยของกษัตริย์สุพรรณบุรีหรือ สุพรรณภูมิ แต่การที่จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวถึงหลอฮกก๊กคือละโว้ ไม่น่าที่จะหมายถึง เมืองละโว้แต่คงหมายถึงเมืองอโยธยานั่นเอง ซึ่ง ก็ ดู ส อดคล้ อ งกั น กั บ นครรั ฐ ส� ำ คั ญ คื อ ทั้ ง อยุ ธ ยา และสุ พ รรณบุ รี ต่ า งก็ มี เ มื อ งคู ่ เ หมื อ นกั น คื อ “สุพรรณบุรมี เี มืองแพรกศรีราชา” ในขณะที่ “ละโว้ มีอโยธยา” “รัฐสุพรรณภูมิ” หรือ “สุพรรณบุรี” มี กษัตริย์ปกครองในพระนามว่า “บรมราชา” และ 18

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

เมื อ งลู ก หลวงคื อ “แพรกศรี ร าชา” มี เ จ้ า นาย ปกครองในพระนครว่า “อินทราชา” หรือ “นคร อินทร์” ส่วนอยุธยามี “พระรามาธิบดี” ครองเมือง หลวงและมี “พระราเมศวร” ครอง “เมืองละโว้” เป็นเมืองลูกหลวง จากจดหมายเหตุจีนแสดงให้เห็นว่าในสมัย ราชวงศ์หมิงที่ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น ฐานะ ความเป็นเมืองหลวงของละโว้ได้เปลีย่ นมาเป็นเมือง ลูกหลวง ในขณะที่เมืองอโยธยาเปลี่ยนจากเมือง ลูกหลวงมาเป็นเมืองหลวงของรัฐแทน การเปลีย่ นแปลงครัง้ นีต้ รงกับการย้ายเมือง อโยธยาทางฟากแม่น�้ำป่าสักทางตะวันออก มา สร้างใหม่บนฝั่งน�้ำลพบุรีและแม่น�้ำเจ้าพระยาแทน คือ เมืองพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันนักวิชาการและคนเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะผู้คนในเมืองพระนครศรีอยุธยาเชื่อว่า เมืองอโยธยามีจริงและเป็นเมืองเก่ามาก่อนการ สร้างพระนครศรีอยุธยา แต่ก็ยังมีความคลุมเครือ และไม่ชัดเจนเท่าเมืองสุพรรณภูมิที่มีร่องรอยของ ผังเมือง เรื่องคูน�้ำและคันดินชัดเจน ทั้งนี้เพราะบริเวณเมืองอโยธยาเก่าซึ่งอยู่ ทางตะวันออกของเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็น บริ เ วณที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงสถานที่ แ ละสภาพ แวดล้อมเป็นชุมชนใหม่เก่าซับซ้อนหลายสมัย แต่ หลังจากที่อาจารย์ศรีศักรท�ำการศึกษา ส�ำรวจ ลักษณะภูมิวัฒนธรรมของการสร้างบ้านแปงเมือง ใน ๓ ปีที่ผ่านมา ก็ได้พบเห็นร่องรอยและเงื่อนง�ำ ที่ซ่อนเร้นหลายอย่างที่พอจะสร้างเป็นผังเมืองและ บริเวณที่ตั้งของเมืองอโยธยาได้ค่อนข้างเป็นรูป ธรรม ดังนี้


จารึกวัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท (ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

เมืองอโยธยา เมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมาก่อนเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เมืองอโยธยาศรีรามเทพนครบนล�ำน�้ำป่าสัก ลักษณะทางภูมิวัฒนธรรมการสร้างบ้าน แปงเมืองในดิน ดอนสามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอน ล่าง เมืองส�ำคัญมักตั้งอยู่บนฝั่งหรือใกล้แม่น�้ำ ใหญ่ที่เป็นเส้นทางคมนาคม และมีบ้านเล็กเมือง น้อยกระจายกันอยู่ตามล�ำน�้ำล�ำคลองโดยรอบ เช่น มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

19


ภาพถ่ายทางอากาศเมืองรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า เมืองสุพรรณภูมิ อยู่ทางฝั่ง ตะวันออกของแม่น�้ำสุพรรณบุรี

เมืองคูบัว ที่ราชบุรี เมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

20

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


เมืองนครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณทีย่ า้ ยจากแม่นำ�้ บางแก้วมาอยูร่ มิ น�ำ้ ท่าจีนทีน่ ครชัยศรี หรือเมืองคูบวั ที่ย้ายไปอยู่ที่เมืองราชบุรี “ผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า” เป็นสิ่งที่น่าจะ ส่งทอดมาถึงผังเมืองราชบุรี แบบเดียวกับผังเมือง สุพรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองที่เกิดใหม่ริมแม่น�้ำท่าจีน หรือสุพรรณบุรีแทนที่เมืองอู่ทอง และร่วมสมัย กับเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น เมืองสุโขทัย เพชรบุรี พิมาย ในขณะที่ “เมืองละโว้” คงอยู่ในต�ำแหน่ง เดิมริมล�ำน�้ำลพบุรี ที่ยังใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ได้ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ แต่ต่อมาความ ส�ำคัญของเมืองละโว้ที่เป็นเมืองหลวงของรัฐได้ เคลื่อนลงมาอยู่ที่ “เมืองอโยธยา” ทางลุ่มน�้ำป่าสัก ตอนล่างแทน

การใช้ค�ำว่าเมืองอโยธยาตั้งอยู่ในลุ่มน�้ำ ป่าสักตอนล่าง คือ การเป็นเมืองท่าของเมือง ละโว้แต่สมัยฟูนันลงมาจนถึงสมัยทวารวดีนั้น เส้น ทางการติดต่อทางทะเลจากอ่าวไทยไปทีเ่ มืองละโว้ ผ่านชายทะเลอ่าวไทยผ่านบริเวณที่ลุ่มต�่ำปริ่มน�้ำ [Submerged Area] ทีต่ อ่ มาตืน้ เขินเป็นพืน้ ทีท่ เี่ รียก ว่าดินดอนสามเหลีย่ มใหญ่ [Young Delta] ทีม่ เี มือง อยุธยาเป็นบริเวณส่วนยอด บริเวณที่ลุ่มปริ่มน�้ำ [Submerged Area] กินพื้นที่เข้ามาจนถึงบริเวณลานเขาอันเป็นที่สบ ของแม่นำ�้ เจ้าพระยากับแม่นำ�้ น้อย แม่นำ�้ เจ้าพระยา ตัง้ แต่อา่ วไทยขึน้ มาจนถึงลานเทและเกาะบางปะอิน ยังไม่เกิดเป็นรูปร่างดังที่เห็นในทุกวันนี้ พื้นที่ลุ่ม ต�่ำปริ่มน�้ำนี้เป็นเวิ้งใหญ่ทางตะวันตกกินไปถึงลุ่ม น�ำ้ ท่าจีน-สุพรรณบุรี และทางตะวันตกไปถึงสองฝัง่ แม่นำ�้ นครนายกและปราจีนบุรตี งั้ แต่อำ� เภอองครักษ์

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

21


เมืองพระบางและวัดเขากบที่เห็นอยู่เชิงเขาด้านใกล้

บ้านสร้าง พนมสารคาม จนถึงอ�ำเภอบางปะกง การเข้ามาของเรือสินค้าทางทะเลจะผ่านมา ตามร่องน�ำ้ ใหญ่ในพืน้ ทีเ่ วิง้ ว้างอันเป็นทีล่ มุ่ ปริม่ น�ำ้ นี้ ซึ่งตามชายขอบของเวิ้งอ่าวก็เป็นที่เกิดขึ้นของบ้าน เมืองแต่สมัยฟูนนั -ทวารวดี เป็นระยะไปตัง้ แต่เมือง พระรถที่อ�ำเภอพนัสนิคม เมืองทวารวดีบนฝั่งล�ำน�้ำ ห้วยลาด ต�ำบลเกาะขนุน อ�ำเภอพนัสนิคม เมือง ศรีมโหสถ และโคกขวาง อ�ำเภอโคกปีบ ปราจีนบุรี เมืองดงละครที่อ�ำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เมืองอู่ตะเภา อ�ำเภอหนองแซง เมืองขีดขิน จังหวัด สระบุรี และเมืองละโว้ จังหวัดลพบุรีเป็นที่สุด ปัจจุบนั นับเนือ่ งเป็นกลุม่ เมืองทวารวดีทางฟากตะวัน ตกของลุ่มน�้ำเจ้าพระยา [Chao Phraya Basin] การเข้าถึงเมืองละโว้ที่เป็นนครรัฐทางเดิน เรือจากอ่าวไทย ผ่านขึ้นมาตามล�ำน�้ำใหญ่อันเป็น 22

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

ที่ลุ่มต�่ำปริ่มน�้ำ ผ่าน “เกาะบางปะอิน” ไปยัง “เกาะพระ” ซึ่งมีแม่น�้ำใหญ่สองสายมาพบกัน สายแรกเป็นล�ำแม่น�้ำใหญ่ที่เกิดจากการ รวมกันของแม่นำ�้ เจ้าพระยา แม่นำ�้ ลพบุรี และแม่นำ�้ ป่าสัก ณ บริเวณใต้วัดพนัญเชิงลงมากับ “ล�ำน�้ำ ป่ า สั ก และล� ำ น�้ ำ หนองแซง” ที่ ป ั จ จุ บั น เรี ย กว่ า “คลองโพ” เรือผ่านคลองโพไหลไปทางตะวันออก ไปยัง “เมืองอู่ตะเภา เมืองขีดขิน และเมืองละโว้” ตามล�ำดับ ในส่วนเมืองละโว้ทเี่ ป็นเมืองท่าส�ำคัญนัน้ ใน สมัยฟูนนั และทวารวดี การติดต่อทางทะเลผ่านและ ขึ้นมาตาม “ล�ำน�้ำลพบุรี” ที่แยกออกหลายแพรก แต่แพรกที่ส�ำคัญก็คือ จากเมืองละโว้ ลัด ทุ่งทางตะวันออกไปต่อกับล�ำน�้ำโบราณสายหนึ่งใน เขตต�ำบลหนองโดน


เจดีย์วัดเขากบ ภาพเก่าของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และสันนิษฐานว่าน่าจะเคยเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มาก่อน

ล�ำน�้ำนี้ผ่านลงมายัง “เมืองขีดขินหรือเมือง ปรันตะปะ” ในเขตอ�ำเภอบ้านหมอที่ไหลลงไปสบ กับล�ำน�้ำป่าสักที่ไหลลงจากหุบเขาเพชรบูรณ์ ผ่าน อ�ำเภอแก่งคอยมายังอ�ำเภอท่าเรือ จังหวัดสระบุรี เมื่อมาถึง “ต�ำบลพระแก้ว” ล�ำน�้ำป่าสักแตกออก เป็นสองแพรกใหญ่ แพรกหนึ่งไปทางตะวันตก คือ “แม่นำ�้ ป่าสัก” ทีผ่ า่ นลงมายังอ�ำเภอนครหลวงมายัง เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ส่วนอีกแพรกหนึ่งคือ “ล�ำน�้ำพระแก้ว” ที่ ไหลเอนไปทางตะวันออกไกลที่ลาดสูงลงจากปลาย เขาใหญ่ ผ่ า นลงมายั ง เขตอ� ำ เภออุ ทั ย ในเขต จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้วไหลลงมาสู่ที่ราบลุ่ม ต�่ำในเขตต�ำบลบ้านสร้าง วกไปทางตะวันตกเรียก ว่า “คลองโพ” ไปออกแม่น�้ำเจ้าพระยาใกล้กับ “เกาะพระ” เหนือเกาะบางปะอิน

ควบคู่ขนานไปกับ “ล�ำคลองพระแก้ว” ใน พื้นที่ลาดต�่ำของอ�ำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ก็ มีลำ� น�ำ้ สายหนึง่ ทีน่ กั ภูมศิ าสตร์ตา่ งประเทศเรียกว่า “แม่น�้ำหนองแซง” เกิดจากการรวมตัวของล�ำห้วย หลายสายทีอ่ อกมาจากเขาใหญ่ ผ่าน “เขาพระพุทธ ฉาย” ลงไปทางใต้และไปออกที่ลุ่มต�่ำ อันเป็นเวิ้ง อ่าวทีเ่ ป็นทีล่ มุ่ ปริม่ น�ำ้ ในเขตอ�ำเภอหนองแค บริเวณ ที่ลาดลุ่มของล�ำน�้ำหนองแซงนี้เป็นที่ตั้งของเมือง โบราณสมัยทวารวดีที่เรียกกันว่า “เมืองอู่ตะเภา” เป็นเมืองที่มีคูเมืองกว้างเชื่อมต่อกับล�ำน�้ำใหญ่ที่ ไหลไปเชื่อมต่อกับ “ล�ำน�้ำบางแก้ว” ในเขตอ�ำเภอ อุทัย การเดินทางตามล�ำน�ำ้ จากเมืองละโว้ในสมัย แรก เช่น สมัยทวารวดี คือการเดินทางตาม “ล�ำน�้ำ พระแก้วและหนองแซง” ไปออกเวิ้งทะเล อันเป็นที่ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

23


แผนที่แสดงต�ำแหน่งส�ำคัญและเส้นทางน�้ำสายต่างๆ บริเวณพระนครศรีอยุธยา

24

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


แผนที่แสดงต�ำแหน่งส�ำคัญและเส้นทางน�้ำสายต่างๆ บริเวณพระนครศรีอยุธยา

ลุ่มปริ่มน�้ำแต่เขตอ�ำเภอหนองแค ลงไปทางอ�ำเภอ วังน้อย จังหวัดอยุธยา แต่ในสมัยทวารวดีตอนปลาย มาต่อสมัยลพบุรีแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ลงมา เส้นทางคมนาคมเปลีย่ นมาลงตามล�ำน�ำ้ ลพบุรที ไี่ หล จากเมืองละโว้มาถึงอ�ำเภอบ้านแพรกที่ล�ำน�้ำแยก ออกอีกแพรก ที่เรียก “คลองตาเมฆ” แยกไปทาง ตะวันออกไปสบกับ “ล�ำน�ำ้ ป่าสัก” ทีไ่ หลผ่านอ�ำเภอ นครหลวงไปยังเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา อันเป็นต�ำแหน่ง ทางภูมิศาสตร์ที่บรรดา

ล�ำน�้ำใหญ่ๆ ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมเก่า ได้แก่ แม่น�้ำน้อย แม่น�้ำบางแก้ว แม่น�้ำลพบุรี ไหลมารวม กันเป็นแม่น�้ำใหญ่ในบริเวณใกล้กับวัดพนัญเชิง ล�ำน�้ำนี้ คือ “แม่น�้ำเจ้าพระยา” ในพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมใหม่ [Young Delta] ไปออก อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ ต�ำแหน่งทีเ่ ป็นต้นแม่นำ�้ เจ้าพระยาดังกล่าวนี้ คือ ต�ำแหน่งชุมทางคมนาคมทางน�้ำที่ในสมัยพุทธ ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ นั้น เกิด “เมืองอโยธยา” ขึ้น มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

25


เป็นเมืองลูกหลวงของ “เมืองละโว้” เมื อ งอโยธยา บริ เ วณที่ เ มื อ งอโยธยา เกิดขึ้นนั้นเป็นบริเวณที่มี “ล�ำน�้ำพุทธเลา (ล�ำน�้ำ เจ้าพระยา)” และ “ล�ำน�ำ้ ลพบุรี” มารวมกับ “ล�ำน�ำ้ ป่าสัก” ที่ไหลผ่านอ�ำเภอนครหลวงลงมา ซึ่งเมื่อมา ถึงในบริเวณทีม่ หี ลายล�ำน�ำ้ มารวมดังกล่าวนี้ “ล�ำน�ำ้ ป่าสัก” วกไปทางตะวันตกเป็น “ล�ำน�ำ้ หันตรา” ทีว่ ก ลงใต้ไปออกแม่นำ�้ เจ้าพระยา ณ บริเวณใต้วดั พนัญ เชิงลงมาที่เรียกกันว่า “ปากน�้ำแม่เบี้ย” หรือ “ปาก คลองสวนพลู” เมืองอโยธยาศรีรามเทพนครเป็นเมืองทีต่ งั้ อยูบ่ นฝัง่ ตะวันตกของแม่นำ�้ หันตราและหันหน้าลงสู่ แม่น�้ำหันตราหรือแม่น�้ำป่าสักโดยตรง ร่องรอยของ “ก�ำแพงเมืองและคูน�้ำ” ทาง ด้านตะวันตกและตะวันออกยังแลให้เห็นจาก “คลอง คูขื่อหน้า” อันเป็นคูเมืองด้านตะวันตกและแนว “ล�ำคลองวัดกุฎีดาว” ทางด้านตะวันออก รวมทั้ง ร่องรอยของล�ำคลองต่างๆ ที่ขุดขึ้นหลายยุคหลาย สมัยในบริเวณตัวเมือง โดยเฉพาะ “คลองกระมัง หรือคลองหันตรา” ที่ “ตัดผ่ากลางเมือง” จาก “คู ขื่อหน้า” ไปยัง “แม่น�้ำหันตราทางตะวันออก” และ ต่อยาวผ่านทุ่งพระอุทัยเป็น “คลองบ้านบาตร” ไป เชื่อมกับ “ล�ำน�้ำป่าสักสายที่เป็นล�ำน�้ำพระแก้วและ คลองโพ” ที่ไปออกแม่น�้ำเจ้าพระยาที่ “เกาะพระ” เหนือเกาะบางปะอิน โดยประมาณความยาวและความกว้างของ “เมืองอโยธยา” เป็นเมืองสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ไล่เลีย่ กับ “เมืองราชบุรี” และ “สุพรรณภูมิ” ความ ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร และกว้างประมาณ ๑ กิโลเมตร ความเป็นเมืองหันหน้าไปทางตะวันออกยัง แม่น�้ำหันตรา ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่ไหลวกมา ออกแม่น�้ำเจ้าพระยาที่ปากน�้ำแม่เบี้ย การเดิ น ทางขึ้ น ไปทางเหนื อ จะขึ้ น ตาม 26

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


บริเวณแยกล�ำน�้ำป่าสักสายเดิมจุดตั้งต้นของคันคูขื่อหน้า ที่กลายเป็นแม่น�้ำป่าสักในปัจจุบัน และบริเวณนี้คือปากคลองหันตราในปัจจุบัน

“ปากน�้ำแม่เบี้ย” ไปตาม “ล�ำน�้ำหันตรา” ที่กลาย มาเป็น “ล�ำน�้ำป่าสัก” เมื่อวกไปทางตะวันตกใน เขต “ต�ำบลหัวรอ” ก็พบกับ “แม่น�้ำลพบุรี” ก่อนขึ้น เหนือผ่านอ�ำเภอนครหลวงไปยังอ�ำเภอท่าเรือจังหวัด สระบุรที แี่ ม่นำ�้ ป่าสักแยกออกเป็น ๒ สาย คือ ล�ำน�ำ้ ป่าสักที่กลายเป็นล�ำน�้ำหันตรา กับ ล�ำน�้ำพระแก้ว หรือคลองโพที่ไปออกแม่น�้ำเจ้าพระยา ณ บริเวณ เกาะพระ เส้นทางระหว่างแม่น�้ำป่าสักทั้งสองสายนี้ มีร่องรอยของการขุดคลองและการตั้งถิ่นฐานของ บ้านเมืองในนิเวศลุม่ น�ำ้ ล�ำคลองไปจนถึงสระบุรแี ละ ลพบุรี ซึง่ อาจกล่าวได้วา่ “เมืองอโยธยา” คือเมือง ที่เกิดขึ้นเพื่อสัมพันธ์กับบ้านเมืองและการตั้งบ้าน แปงเมืองของลุ่มน�้ำป่าสัก และพัฒนาขึ้นเป็นเมือง

ท่าแทน “เมืองละโว้” ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ความเป็ น เมื อ งหลวงเมื อ งท่ า ดั ง กล่ า วที่ สะท้อนให้เห็นบริเวณทีเ่ รือสินค้า เรือใหญ่ทางทะเล มาจอดทอดสมอตรงบริเวณปากน�้ำแม่เบี้ยที่มีวัด พนัญเชิงและต�ำนานนางสร้อยดอกหมาก เล่าขาน ความเป็นไปของ “เมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร”

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

27


28

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

29


30

สำ�รวจอโยธยากับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.