ปิดฉาก
หากเดิ น เท้ า ผ่ า นหน้ า “ตรอกบ้ า น พานถม” ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดบวรนิเวศ วิหาร เป็นซอยกว้างพอรถเข้าออกได้ เชื่อมกับสะพานอุษาสวัสดิ์ (พ.ศ.๒๕๐๔) ข้ามคลองบางลำพูแล้วต่อกับซอยต่างๆ ทางแถบวั ด ตรี ท ศเทพได้ จะเห็ น ป้ า ย ข้อมูลการท่องเที่ยวสีน้ำตาลอยู่ด้านหน้า คงทำโดยกรุ ง เทพมหานคร เขี ย นทั้ ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า
ป้ายนี้ติดตั้งอยู่หลายปีแล้ว ถ้าไม่มี การเดิ น เท้ า ศึ ก ษาถามไถ่ ค นในย่ า นเก่ า เมืองหลวงของเราแห่งนี้เป็นเรื่องเป็นราว ก็คงเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คือข้อเท็จจริงของ ตรอกหรือซอยดังกล่าว ในความหมายที่ เป็นหมู่บ้านทำเครื่องถม งานหัตกรรมที่ คนไทยรู้จักกันดี และเป็นงานฝีมือขึ้นชื่อ ของเมืองนครศรีธรรมราชที่เรียกว่า “ถม นคร”
“เป็นชื่อของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เกิดขึ้น ในสมัยเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ที่รวม กั น เข้ า เป็ น กลุ่ ม จั ด สร้ า งหมู่ บ้ า นของ ตนเองขึ้ น โดยประกอบอาชีพทำเครื่อง ถม จึงมีชื่อเรียกว่าบ้านพานถม กรรมวิธี การทำเครื่องถม ทำโดยใช้ผงยาดำผสม น้ำประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะ สลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับ แล้วขัด ผิวให้เงางาม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ได้มีการส่งเครื่องถมเป็นเครื่อง ราชบรรณาการเพื่ อ ถวายแด่ พ ระเจ้ า หลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส เพื่อแสดงให้ เห็นว่าเครื่องถมเป็นของสำหรับชนชั้นสูง ในปัจจุบันยังคงมีแหล่งทำเครื่องถมพื้น บ้านที่สำคัญและสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน และยังคงรักษากระบวนการทำเครื่องถม แบบดั้งเดิมได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเหลืออยู่ เพียงแห่งเดียวเท่านั้นคือ ห้างไทยนคร ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ ถนนประชาธิปไตย เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ”
ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งสถานที่ และความเป็นย่านหัตถกรรมงานฝีมือ คำว่า “บ้านพานถม” ถูกใช้มาตั้งแต่ ครั้ ง แรกๆ ที่ มี ก ารบั น ทึ ก ถึ ง สถานที่ หมู่บ้านหรือชุมชนนอกคลองเมืองหรือ คลองบางลำภู เพราะพบทั้งในแผนที่เก่า ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ และเอกสารเก่า หลายแห่ง แต่ใ นเอกสารอี ก หลายแห่ ง ก็ เ รี ย ก เพียง “บ้านพาน” ซึ่งต่อเนื่องกับ “บ้าน หล่อ” และสอดคล้องกับคำบอกเล่าของ คนดั้งเดิมในพื้นที่ซึ่งเรียกว่า “บ้านพาน” ไม่ใช่ “บ้านพานถม” เช่นกัน ตรอกบ้านพาน วัดตรี บริ เ วณที่ เ รี ย กว่ า “ตรอกบ้านพาน วัดตรี” ในเอกสาร “สารบาญชี ส่วนที่ ๒ คือราษฎรในจังหวัด ถนนและตรอก จ.ศ. ๑๒๔๕ เล่มที่ ๒” เอกสารของกรม ไปรษณีย์ กรุงเทพมหานคร แม้ไม่มีราย ละเอียดว่าอยู่ ณ บริเวณใดอย่างแน่ชัด
งานช่างชั้นครู ที่ตรอกบ้านพาน วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ขันเงินฝีมือคนรุ่นเก่าแห่งตรอกบ้านพานอายุมากกว่าหนึ่งร้อยปีขึ้นไป สมบัติของคุณละออศรี (รัชตะศิลปิน) พิพิธภัณฑ์
แต่ พ อตี ค วามได้ ว่ า บ้านพานนั้นอยู่ใกล้กับวัดตรีทศเทพ บริเวณ เหนือฝั่งคลองเมืองหรือคลองบางลำภู นอกพระนคร และมีราย ละเอี ย ดของบ้ า นเรื อ นผู้ ค นซึ่ ง คงเป็ น เพี ย งส่ ว นหนึ่ ง ที่ อ ยู่ อ าศั ย ที่ บ้านพานคือ นายติดขึ้นหลวงสุวรรณอยู่เรือนฝากระดาน, นายกล่ำเป็นที่ จางวางในพระเจ้าดิศวรกุมารอยู่เรือนฝากระดาน, หลวงสุวันภักดีว่า กรมช่างทองอยู่เรือนฝากระดาน, นายโตเป็นที่ขุนวิเสศอักษร ขึ้น พระยามลตรี เรือนฝากระดาน, นายพยอม บุตรนายเอี่ยมอยู่เรือน ฝากระดานเป็นช่างทำพานเงิน, อำแดงแย้ม หม้าย เรือนฝากระ ดาน เป็นช่างสลักภานเงิน, เสมียนตรากรมมหาดไทย อยู่เรือนฝาก ระดาน, นายพุน เป็นมหาดเล็กวังหน้า เวนหลวง อยู่เรือนฝากระดาน, นายโตเพลง บุตรจ่าเรต อยู่เรือนฝากระดาน, นายโห้ บุตรนายพึ่ง อยู่เรือนฝากระดาน เป็นช่างสลักภานเงิน, นายควน เป็นเสมียนเจ้า คุณกรมท่า เรือนฝากระดาน จะเห็นว่ากลุ่มชาวบ้านพานในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๖) นอกจากเป็น “ช่าง” สลักพาน เงินแล้วก็ยังมีบ้านข้าราชการอีกหลายท่าน เช่น ว่ากรมช่างทองหลวง ก็มี เสมียนตรา มหาดเล็ก จางวาง และส่วนใหญ่อยู่เรือนฝากระดาน แทบทั้งสิ้น ถือว่าเป็นกลุ่มบ้านผู้มีฐานะและสถานภาพทางสังคมไม่ใช่ น้อย บ้านพานเป็นหนึ่งในกลุ่มบ้านช่างเช่นเดียวกับบ้านช่างอื่นๆ ใน ละแวก รอบกรุงฯ เช่น บ้านหล่อ บ้านบาตร บ้านบุ บ้านทองคำเปลว
บ้านดอกไม้ บ้านหม้อ บ้านช่างพลอย เป็นต้น กลุ่มบ้านช่างต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้านเมืองแบบเก่าที่มีราชสำนัก เป็นศูนย์กลาง มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนย่อยๆ มีกลุ่มบ้านหรือ หมู่บ้านผู้เชี่ยวชาญงานช่างและการผลิตเฉพาะรูปแบบ มีทั้งตลาดบก และตลาดน้ำ ส่วนหมู่บ้านทำเกษตรกรรมอยู่นอกเมืองออกไป บริ เ วณระหว่ า งวั ด ตรี ท ศเทพและวั ด ปริ น ายกหรื อ วั ด พรหมสุรินทร์ นอกกำแพงพระนครฝั่งนอกคลองเมืองหรือคลองบางลำพู คือย่านกลุ่มบ้านช่าง ๒ กลุ่มใหญ่คือ “บ้านพาน” และ “บ้านหล่อ” พื้นที่ต่อจากวัดตรีทศเทพคือตรอกบ้านพาน ถัดมาก่อนถึงวัดพรหม สุรินทร์มีลำน้ำสายสั้นๆ แยกออกจากคลองบางลำภู เชื่อมต่อกับแนว ร่องสวน (สวนมะม่ ว งโปร่ ง ใ นแผนที่ ต ั้ ง แต่ เ มื่ อ พ.ศ. ๒๔๔๐, ๒๔๕๐ จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ยังคงมีพื้นที่เหล่านี้อยู่) คลองนี้ เรียกว่า “คลองบ้านหล่อ” อยู่ประชิดกับวัดพรหมสุรินทร์หรือวัด ปรินายก ในเอกสารสารบาญชี ส่วนที่ ๔ คือราษฎรในจังหวัด คูแล คลองลำปะโดง สำหรับเจ้าพนักงานกรมไปรษณีย์กรุงเทพมหานคร จุลศักราช ๑๒๔๕ มีผู้อยู่อาศัยที่บันทึกไว้ทั้งเป็นข้าราชการชั้นหมื่น ขุน หลวง พระ หญิงสาว หญิงหม้าย ชายหนุ่ม บ้านเรือนมีทั้งฝา กระดาน ฝากระแชงอ่ อ น โรงแตะ คละกั นไป มีบ้านที่หล่อเต้าปูน ขายหลายบ้าน บ้านช่างกลึง และเป็นเลขวัดอยู่หลายวัด รวมทั้งเป็นก ลุ่มบ้านช่างทำมุกประดับเป็นกลุ่มใหญ่ และผู้คนส่วนใหญ่แถบนี้ขึ้น อยู่กับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เจ้ากรมพระ สุรัสวดี ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสักเลข จัดระเบียบกำลังไพร่พล
๒
แผนที่เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๐ บริเวณระหว่างวัดตรีทศเทพ และวัดปรินายกหรือ วัดพรหมสุรินทร์นอกกำแพง พระนคร ฝั่งนอกคลองเมือง หรือคลองบางลำพูคือ ย่านกลุ่มบ้านช่าง ๒ กลุ่ม ใหญ่คือ “บ้านพาน” และ “บ้านหล่อ” พื้นที่ต่อจาก วัดตรีทศเทพคือตรอก บ้านพาน ถัดมาก่อนถึง วัดพรหมสุรินทร์ มีลำน้ำ สายสั้นๆ แยกออกจาก คลองบางลำภูเชื่อมต่อกับ แนวร่องสวน
เต้าปูนใส่ปูนกินกับหมากน่าจะเป็นโลหะผสมพวกทองเหลือง จึงต้องใช้พื้นที่ชาน บ้านเป็นโรงหล่อขนาดเล็กๆ และอยู่ใกล้แหล่งน้ำเช่นลำคลองหรือลำประโดง และมีข้อ น่าสังเกตว่าจำนวนบ้านเรือนที่หล่อเต้าปูนขายริมคลองบ้านหล่อมีมากและหนาแน่น กว่าทางฝั่งตรอกบ้านพาน ทุกวันนี้คลองบ้านหล่อน่าจะถูกลบไปเสียสิ้นแล้วรวมทั้ง บ้านหล่อแต่เดิมที่ไม่หลงเหลือร่องรอยของผู้คนใดๆ ยังปรากฏแต่ชื่อซอยบ้านหล่อไว้ เท่านั้น และตรงนี้น่าจะเป็นความสับสนของหน่วยงานที่ตั้งชื่อตรอกซอยมาแต่เก่า เพราะผู้อยู่อาศัยใน “ซอยบ้านหล่อ” ซึ่งเคยชื่อ “ตรอกบ้านพาน” อายุ ๘๔ ปีแล้ว คุณละออศรี (รัชตะศิลปิน) พิพิธภัณฑ์ เล่าว่า คุณพ่อเป็นผู้บอกว่าท้ายซอยมีทาง เชื่อมกับบ้านหล่อที่เคยหล่อเต้าปูน ดังนั้นผู้คนร่วมสมัยแม้จะอายุแปดสิบกว่าปีแล้วก็ ไม่เคยเห็นชุมชนหรือกลุ่มบ้านช่างหล่อเต้าปูนทองเหลืองแต่อย่างใด บ้านหล่อและ คลองบ้านหล่อคงสาบสูญหายไปนานมากแล้ว ตามแผนที่เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๕ ตรอกบ้านพานอยู่ตรงข้ามวัดตรีทศเทพ ปัจจุบันคือซอยบ้านหล่อ ท้ายสุดของตรอกบ้านพานมีแนวลำคลองที่เป็นสาขาของ คลองบ้านหล่อตัดผ่าน ปัจจุบันเป็นทางขนาดเล็กตัดขวาง มีถนนลำลองขนาดเล็กกว่า ยาวไปจนเกือบถึงชุมชนท้ายตรอกที่มีบ้านเรือนอยู่จำนวนหนึ่ง ก่อนจะเป็นพื้นที่ใกล้ กับถนนราชดำเนินนอกเสมอกับแนวเขตที่ถูกเวนริมวัดปรินายก ซึ่งสร้างเป็นอาคาร ริมถนนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดิม “วัดตรีทศเทพ” สร้างโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์, ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังวังของพระองค์ที่อยู่ริมคลองบางลำภู แต่หลัง จากนั้นก็สิ้นพระชนม์เสียก่อนในปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น
มเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงส์, ต้นราชสกุล นพวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นพระเชษฐาร่วมพระมารดา เดียวกันคือ เจ้าจอมมารดาน้อย เจ้าจอมองค์แรกใน รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างต่อแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นพระ ชนมอีกพระองค์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จ คำว่า ตรีทศเทพคงมีความหมายถึงการสร้างวัดร่วมกันของ ทั้งสามพระองค์ รอบวัดตรีฯ ขุดคูน้ำล้อมรอบและเชื่อมต่อกับ คลองบางลำภู โดยวังพระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ก็อยู่ริมคู ขุดดังกล่าว ทุกวันนี้คูน้ำล้อมรอบวัดกลายเป็นถนน ไปเสียหมดแล้ว ส่วน “วัดพรหมสุรินทร์” สร้างเมื่อต้นรัชกาล พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ราว พ.ศ. ๒๓๕๒–๒๓๕๔ ผู้สร้างวัดนี้คือพระพรหมสุรินทร์ ต่อมาได้เลื่อน บรรดาศักด์ิเป็นพระยาราชโยธา, พระยาเกษตรรักษา และเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ตาม ลำดั บ ท่ า นเป็ น แม่ ท ั พ คนสำคั ญในสมั ย รั ช กาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ วัดนี้อาณาเขตกว้าง ขวางใหญ่โตมากเมื่อแรกสร้าง ต่อมาท่านเจ้าพระยาฯ ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. ๒๓๙๒ วัดจึงขาดผู้
๓
อุปถัมภ์จนทรุดโทรมมากว่า ๕๐ ปี วัดนี้มีอาณาบริเวณด้านหนึ่งติด ไปถึงริมถนนนครสวรรค์ทีเดียว และใน พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดถนนราชดำเนินนอกผ่านวัด พรหมสุรินทร์ไปมากกว่าครึ่ง ต่อมาจึงสร้างศาสนสถานถวายให้ใหม่ รวมทั้งพระอุโบสถและมีชื่อใหม่ว่า “วัดปรินายกวรวิหาร” เพื่อเป็น เกี ย รติ แ ก่ ข้ า ราชการท่ า นสำคั ญ และผู้ ส ร้ า งวั ด คื อ “เจ้ า พระยา บดินทร์เดชา” ตามแนวตรอกบ้ า นพานที่ อ ยู่ ฝ ั่ ง ตรงข้ า มกั บ วั ด ตรี ท ศเทพ มีตรอกเล็กๆ เลี้ยวไปจนจรดแนวคลองบางลำภูในแนวขวาง ใ น แผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ เขียนว่า หมู่บ้านพานถมและตรอกบ้านพาน ถม ส่วนพื้นที่ริมคลองทั้งฝั่งนอกและในเมืองมีโรงเลื่อยอยู่หลายแห่ง เอกสารเก่ า มี ท ั้ ง ที่ เ รี ย กชื่ อ ตรอกบ้ า นพานถมและตรอกบ้ า นพาน บริเวณทั้งสองพื้นที่นี้ถูกกำหนดให้เป็นเขตการปกครองแบบตำบลมา ตั้งแต่ในครั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล และคงใช้ อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๓๕ แล้ว จึงมีข้อมูลปรากฏเป็นท้องที่ตำบลบ้านพานถม และตำบลบ้านหล่อ ริมคลองฝั่งในเมืองตรงข้ามกับหมู่บ้านพานถมหรือเยื้องไม่มาก นัก นอกจากแนวกำแพงเมืองที่มีส่วนโค้งเล็กน้อย บริเวณนี้คือ “ป้อมมหาปราบ” และมีบ้านเรือนอยู่รายล้อม เหนือขึ้นไปทางฝั่ง ตะวันตกเป็นโรงเลื่อยตลอดไปจนถึงแถบตลาดบางลำภู แนวกำแพง
มีเรื่อ ยไปและเปิดเป็น “ประตูช่องกุด” ไว้ แ ห่ ง หนึ่ งในระหว่ า งโรง เลื่อย มีสะพานข้ามคลองเมืองหรือคลองบางลำภู เพื่อไว้สำหรับ คนทางบ้านพานและริมฝั่งนอกคลองเมืองเดินข้ามเข้ามาได้ ปัจจุบัน สะพานนี้ชื่อ “สะพานพระยาราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ์ ) ” อุทิศ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ สะพานนี้คงไม่ได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกราวปี นั้น แต่ได้สร้างเพื่อใช้ข้ามสำหรับชาวบ้านชาวเมืองเดินทางเข้าออก ผ่านประตูช่องกุดที่อยู่ทางแถบนี้มาก่อนหน้านี้นานแล้ว ทุกวันนี้ สะพานโค้งพระยาราชสัมภารากรยังปรากฏอยู่ แต่กำแพงเมืองและ ประตูช่องกุดถูกรื้อออกรวมทั้งป้อมมหาปราบด้วย (ในแผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ทั้งประตูช่องกุดและป้อมมหาปราบยังปรากฏอยู่) เมื่อมีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและตัดถนนต่อจาก “ถนนเทวียุรยาต” ซึ่งตัดขึ้นตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ และสร้างสะพาน เฉลิมวันชาติข้ามคลองบางลำภู เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โ ดยเรียกถนนที่กำลังตัดนี้ในภายหลังว่า “ถนน ประชาธิปไตย” ถนนนี้ต้องตัดผ่านกลางย่านบ้านพานเลียบแนว กำแพงวัดตรีทศเทพผ่านถนนวิสุทธิกษัตริย์ไปยังแถบพระราชวังดุสิต นาวาเอกอิสสระ รัชตะศิลปิน ซึ่งเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ เล่าไว้ ว่า ย่านนี้มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งถูกถนนตัดผ่านและบ้านท่าน ต้องเวนคืนในช่วงนั้นคือบ้านของ “พระยาพิพิธโภคัยสวรรค์” (เชฐ หังสสูต) อดี ต อธิ บ ดี ก รมกษาปณ์ สิ ท ธิ ก าร กระทรวงพระคลั ง มหาสมบัติ เล่ากันว่าคนที่ผ่านไปมาจะได้ยินเสียงสวดมนต์ดังมา
ตลาดนางเลิ้ง
แผนที่เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๐ ในครั้งรัชกาลที่ ๕ แสดงบริเวณพื้นที่ ทั้งนอกเมืองและในเมือง โดยมีคลอง บางลำภูคั่นกลาง จะเห็นหมู่บ้านพานถม ตรอกบ้านพาน ถมและที่ดินของเจ้าจอมมารดา (ชุ่ม) ใกล้กับสะพานข้ามคลอง และสองฝั่งคลองบางลำภูบริเวณนี้มี โรงเลื่อยอยู่หลายแห่ง
๔
ปิดฉาก
งานช่างชั้นครูที่ตรอกบ้านพาน จากบ้านท่านเป็นประจำ และภรรยาของท่าน คือคุณหญิงจันทร์ นามสกุลเดิมไกรฤกษ์เป็น พี่สาวของพระยาราชสัมภารากรและเจ้าจอม มารดาชุ่มในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งบริเวณย่านริม คลองบางลำภูบริเวณสะพานดังกล่าวฝั่งนอก เมืองนี้ เป็นบ้านและที่ดินของเจ้าจอมมารดา ชุ่มในตระกูลไกรฤกษ์ ปัจจุบัน ความทรงจำอย่างเดียวที่ยังหลง เหลืออยู่ในย่านบ้านพานก็คือ ชื่อซอยใกล้กับ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ “ซอยพิพิธโภคัย” และ “สะพานพระยาราชสัมภารากร” เท่านั้น การตัดถนนประชาธิปไตยดังกล่าว ทำให้ โรงเลื่ อ ยริ ม คลองบางลำภู แ ละโรงต่ อ เรื อ กระแชงหรือเรือเอี้ยมจุ๊นจำนวนหนึ่งถูกย้าย ออกไป โรงเลื่อยขนาดเล็กก็ปิดตัวตามไปด้วย หลายแห่งจนทำให้พื้นที่คลองบางลำภูกว้าง ขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านละแวกนี้เริ่มเปลี่ยนการ เดินทางเข้าออกเมืองผ่านสะพานพระยาราช สั ม ภารากรและประตู ช่ อ งกุ ด มาเป็ น การใช้ ถนนประชาธิปไตย มีรถรางสายรองเมือง รถ เมย์ขาวสายบางลำภู-ประตูน้ำ รถเจ๊กหรือรถ ลาก รถสามล้อ และยังน่าจะเป็นเหตุให้แบ่ง พื้นที่ย่านบ้านพานออกเป็นสองฟากถนน และ ทั้ ง สองฝั่ ง นั้ น อยู่ใ นเขตการปกครองแบบมี ขอบเขตที่เรียกว่าตำบลบ้านพานถมหรือแขวง บ้านพานถมในเวลาต่อมา ด้วยเหตุเหล่านี้ ป้ายข้อมูลเพื่อการท่อง เที่ยวของกรุงเทพมหานครนั้น จึงตั้งอยู่ใน พระยาราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ์) พื้ น ที่ ซึ่ ง ผิ ดไปจากความเป็ น จริ ง กรณี ตำแหน่งของตรอกบ้านพานที่มีกลุ่มบ้านพาน ช่างสลักพานเงิน เงินมากทีเดียว และรวมทั้งรายละเอียดของวิธี ในข้ อ มู ล จากกรมไปรษณี ย ์ใ นสมั ย ผลิตที่แตกต่างจากการทำเครื่องถมที่แสดงไว้ รัชกาลที่ ๕ ระบุกลุ่มบ้านในละแวกบ้านพาน บนป้ายข้อมูลเช่นกัน ว่าเป็น “ช่ า งสลั ก พานเงิ น ” ตามตรอกบ้าน พานมีซอกซอยเวียนไปออกริมคลองบางลำภู
ได้ มีคุณพระคุณหลวงทำพานทำขันเงินอีก หลายบ้าน ตระกูล “รัชตะศิลปิน” ซึ่งแปลความ หมายได้ว่าเป็นช่างเงิน สืบมาจากต้นตระกูลที่ มี วิ ช าช่ า งเครื่ อ เงิ น ที่ เ น้ น การทำพานเงิ น ดุ น ลาย นาวาเอกอิสสระ รัชตะศิลปิน ผู้ที่เกิด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และคุณละออศรี รัชตะ ศิลปิน ที่เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พี่น้องใน ตระกูลทำพานเงิน เป็นบุตรหลวงอนุการรัชฎ์ พัฒน์ (อู๋ รัชตะศิลปิน) ข้าราชการกรมพระ คลังข้างที่ ใ นตรอกหรือซอยบ้านหล่อยังมี บ้านพี่ชายคือบ้านขุนอดุลย์โภคทรัพย์ (รวย รัชตะศิลปิน) ถือว่าเป็นตระกูลใหญ่ในตรอก บ้านพานทีเดียว โดยมี ต้ น ตระกู ล ทางฝั่ ง พ่ อ และปู่ เ ป็ น ช่ า งเงิ น ซึ่ ง สื บ เชื้ อ สายมาจากครั ว ชาวลาวเวี ย งจั น ทน์ ที่ ม าพร้ อ มเจ้ า อนุ ว งศ์ ตลอดจนทางตระกูลฝ่ายภรรยาที่อยู่บ้านใกล้ เรือนเคียงและเป็นเคือญาติก็ทำพานเงินด้วย โดยเฉพาะ คุณละออศรี รัชตะศิลปิน ที่ ยังอยู่อาศัยในบริเวณบ้านเดิมครั้งเมื่อยังเป็น บ้านทำพานเล่าว่า ขุนนางข้าราชการที่มีทุน ทรัพย์ก็มักเปิดบ้านเป็น “นายเตา” ผลิตพาน เงินกันที่ลานบ้านหรือใต้ถุนบ้าน ส่วนคนที่ อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงก็จะเป็นคนงาน หรือเป็นช่างที่มีความสามารถพิเศษทำเฉพาะ งานต่างๆ ซึ่งก็มักจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือคน งานตีใช้แรงขึ้นรูปพาน ซึ่งเรียกว่า “ช่างกลึง” ในช่วงที่มีงานมากๆ จะมีบ้านละราว ๑๐ คน และช่างดุนหรือตอกลายลงบนผิวภาชนะเป็น “ช่างสลัก” ซึ่งต้องใช้ฝีมือความชำนาญและไม่ ต้องใช้แรงงานมากเท่าช่างตีขึ้นรูป คนงาน ส่วนใหญ่เป็นคนในละแวกโดยรอบ ตรอก เดียวกัน ซอยเดียวกัน มาหัดแบบไม่หวงวิชา หลายคนมาพักกินนอนที่บ้านนายเตา ปลูก บ้ า นอยู่ ท้ า ยบ้ า นก็ มี แ ละอยู่ ดู แ ลกั น ต่ อ มาก็
๕
บ้านในซอยบ้านหล่อของขุนอดุลย์โภคทรัพย์ (รวย รัชตะศิลปิน)
มาก บางคนก็สามารถเปิดเป็นนายเตาด้วย ตนเอง รับงานผลิตเองก็มี งานฝี มื อ ของคุ ณ ปู่ คุ ณ ละออศรี ซึ่ ง เป็ น ตระกูลช่างเงินโดยแท้ ถ่ายทอดความทรงจำว่า งานเครื่องเงินชุดหนึ่งทำให้กับพระมหาราชครู ปโรหิ ต าจารย์ ห รื อ คุ ณ ละออศรี เ รี ย กว่ า พระ ราชครู พ ราหมณ์ ซึ่ ง มี บ้ า นอยู่ ริ ม ฝั่ ง คลอง บางลำภูใกล้กับบ้านพาน และมีเอกสารบันทึก ถึงตำแหน่งบ้านพระราชครูพราหมณ์ไว้เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๒๖ ส่วนปัจจุบันจะเป็นอย่างไรก็ไม่ ทราบ คุณทวดของคุณละออศรีนั้นเป็นช่างเงิน มาก่อนและคงมีช่วงชีวิตในช่วงก่อนรัชกาลที่ ๕ อาจเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือน อยู่ทางเหนือฝั่งคลองนอกเมืองที่มีเรือกสวน อยู่มาก และเป็นไปได้มากที่จะเป็นกลุ่มช่าง หลวงจากเวี ย งจั น ทน์ ที่ ถู ก อพยพโยกย้ า ยมา เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ นอกจากนี้ยังเล่าต่อว่าคนรุ่นแม่ คุณป้า เป็นช่างสลักทำพวกของในวังบ้าง เช่น โกศเงิน สลักหรือดุนลาย งานของแม่ได้เข้าไปทำแทบจะ เป็นชิ้นท้ายๆ คือ โกศของสมเด็ จ พระนางเจ้ า รำไพพรรณีในรัชกาลที่ ๗ โดยมีครูบาอาจารย์ จากเพาะช่างพาเข้าไป นอกจากนี้ยังมีงานที่โรง กษาปณ์เดิมที่ไปแกะสลักลวดลาย
บ้านของคุณพ่อและญาติพี่น้องก็ทำเครื่อง เงิน แม้คุณพ่อจะรับราชการกรมพระคลังข้างที่ ในพระบรมมหาราชวัง เคยเป็นนักเรียนสวน กุหลาบรุ่นแรก เมื่อรับราชการต่อมาถูกดุลย์ ออกจากราชการในช่วงรัชกาลที่ ๗ แต่ที่บ้านก็ ยังมีกิจการเป็นนายเตา โดยคุณแม่ใหญ่และแม่ เล็กเป็นคนควบคุม มีพี่สาววิ่งรับและส่งงานกับ พ่อค้าและคนที่เข้ามาค้าขายถึงบ้าน ในตรอกบ้ า นพาน คุ ณ ละออศรี เ ล่ า ว่ า แม้จะมีอาชีพโดยพื้นของครอบครัวทำพานกัน หลายบ้าน แต่บุตรหลานส่วนใหญ่รับราชการ และส่ ง เสริ มให้ เ รี ย นหนั ง สื อ และรั บ ราชการ กล่าวกันว่าบุตรหลานข้าราชการแข่งกันเรียน เป็นหมอก็หลายท่าน โดยเฉพาะบุตรชาย ส่วน บุตรสาวนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนทัดเทียมกัน นัก โ ดยถูกปลูกฝังกันว่าการเรียนหนังสือเป็น สิ่งสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงสถานภาพและชีวิตได้ เป็นทหาร ทำงานกระทรวงต่างๆ คนในย่านนี้ จึงค่อยๆ ทยอยออกไปจากบ้านเดิม บ้างไป พำนั ก อาศั ย อยู่ ต่ า งประเทศ บ้ า งไปอยู่ ต่ า ง จังหวัด ผู้คนจึงลดน้อยลงจนแทบไม่เหลือคน ดั้งเดิม บุ ต รชายส่ ว นใหญ่ ก็ จะไปเรี ย นที่ ส วน กุหลาบบ้าง เตรียมอุดมฯ บ้าง ส่วนฝ่ายหญิง มักจะเรียนชั้นต้นๆ ที่โรงเรียนสตรีจุลนาค
ละออศรี (รัชตะศิลปิน) พิพิธภัณฑ์
และมาต่ อ ที่ ส ตรี วิ ท ยาหรื อ เบญจมราชาลัย ในกลุ่มเฉพาะที่เป็นลูกหลาน ข้าราชการ ส่วนคนทั่วๆ ไ ปก็เรียนโรง เรียนใกล้ๆ บ้านที่มีอยู่หลายแห่ง ลูกผู้ หญิงมักจะไม่ได้เรียนสูงนัก เพราะต้อง ช่วยครอบครัวในการทำพานเป็นส่วน ใหญ่ คุ ณ ละออศรีใ ห้ ค วามเห็ น ที่ ร ั บ รู้ มาว่ า แต่ เ ดิ ม ตรอกบ้ า นพานนั้ น ทำ พานเงินกันมาก่อนจะมีการทำ “พาน ถม” เพราะมี ก ารนำช่ า งมาจาก นครศรี ธ รรมราช เป็ น ช่ า งถมเงิ น ถมทอง มาเผยแพร่วิชาความรู้ ส่วน ตนเองเคยเห็ น คุ ณ แม่ ทำเครื่ อ งถม จำพวกแหวนเงินแล้วใส่ลายทองก็พอ มีบ้าง จากความทรงจำของหลายท่ า น บ้านที่ทำพานเงินในตรอกบ้านพานมี หลายบ้าน เช่น บ้านขุนปราณีต, บ้าน ขุนวรรณ, บ้านขุนศรีวารี, บ้านคุณ พระธนธรรัตนพิมล, บ้านสงวนสิน, บ้านพ.อ.เจิม ดิษยบุตร, บ้านคุณหญิง อาบพรโสภณ บ้านนายยิ้ม เป็นต้น บ้ า นอี ก หลั ง หนึ่ ง ที่ อ ยู่ ริ ม คลอง บางลำภูและเป็นขุนนางรับราชการไป พร้ อ มๆ กั บ เปิ ด บ้ า นทำพานเป็ น
๖
พร้อมๆ กับเปิดบ้านทำพานเป็นหัตถกรรม ในครั ว เรื อ นคื อ “บ้ า นขุ น ภั ก ดี ส าตรา (สิน)” เป็นนายทหารประจำแผนกรถไฟ กรมยุทธศาสตร์ กรมเสนาธิการทหารบก และนายทหารกรมแผนที่ ซึ่งมาซื้อที่ปลูก บ้านแถบนี้ โดยมีเพื่อบ้านเป็นข้าราชการ เช่นกัน เช่น บ้านคุณพระวรภัทราทร บ้านหลวงรัตนสมบัติ โดยพื้ น เพเป็ น คน อยุธยาจากอำเภอนครหลวง ปลูกเรือน มั่นคงด้วยการเขียนแบบบ้านเองเมื่อราว ร้อยกว่าปีก่อน ใช้ ช่ า งเซี่ ย งไฮ้ ที่นิยมกันใน สมัยนั้น ทุกอย่างจึงปราณีต ปลูกบ้านทั้ง สองหลังมีระเบียงเชื่อม หลังหนึ่งยุบจน ต้องรื้อไปแล้วและปลูกขึ้นใหม่ หลังที่รื้อ เคยมีหลุมหลบภัยที่สร้างเป็นสองชั้นแล้ว กรุ ด้ ว ยคอนกรี ตไว้ ห ลบภั ย ยามสงคราม รวมทั้งให้เพื่อนบ้านด้วย เวลามีเสียงหวอ เตื อ นก็ ร วบรวมเครื่ อ งเงิ น ที่ใ ช้ ทำพาน เข้าไปหลบด้วย ทายาทในปัจจุบันคือ คุณรัตนา (ชูติ นันทน์) กาญจนดุล อายุ ๗๐ ปี หลานปู่ ของขุ น ภั ก ดี ส าสตราเรี ย นจบจากคณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ ราวปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ขุนภักดีสาตราแม้จะรับราชการ แต่ให้ ภรรยาทั้ ง สองท่ า นที่ อ ยู่ ด้ ว ยกั น คอย ควบคุมดูแลและนำไปส่งขายที่ “หัวเม็ด” สะพานหั น แล้ ว ซื้ อ เงิ น แท่ ง มาชั่ งโดย ละเอียดและหลอม ทำแผ่นเงินผสมและขึ้น รูป “เหยียบพื้น” แม้ช่วงที่เกิดเมื่อ ๗๐ ปี ที่ แ ล้ ว ก็ไ ม่ ท ั น การทำพานแบบดั้ ง เดิ ม เพราะเลิกทำไปแล้ว แต่มีความทรงจำว่ามี ช่างทำขัน กลึงบ้าง สลักบ้าง ใ ช้เครื่อ ง สู บ เร่ งไฟหลอมโลหะในเตาบ้าง ตะไบขัน บ้าง ตามพื้นที่ในบ้าน และใช้ใต้ถุนโล่งเป็น พื้นที่ทำงาน ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนบ้านมา รับจ้างทำแบบไปเช้าเย็นกลับ และเนื่องจาก การทำพานหรือการทำเครื่องโลหะต้องใช้ น้ำมาก บ้านนี้มีตาน้ำจึงขุดบ่อน้ำมีน้ำใส ตลอดทั้งปี และเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน การผลิ ต เครื่ อ งเงิ น หรื อ การหล่ อ เครื่องโลหะเต้าปูนที่เป็นทองเหลืองก็ตาม
จะมี ก ารใช้ ก ารเตาหลอมและตี แ ผ่ นโลหะ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้น้ำสำหรับทำให้โลหะ เย็นตัวจำนวนมากในแต่ละวัน หากไม่อยู่ ตามแนวชายคลองเช่น บ้านหล่อ คนบ้าน พานก็มักจะจ้างขุดบ่อน้ำหรือจ้างคนหาบ น้ำมาใส่ตุ่มหรือภาชนะใส่น้ำ จึงมีอาชีพ คนหาบน้ำ จากลำคลองหรื อ น้ำ ประปา สาธารณะที่ทำขึ้นในเวลาต่อมา ซึ่งทำราย ได้ค่อนข้างดี แต่บุตรชาย แม้จะเรียนที่เพาะช่างและ สามารถทำพานได้ แต่ก็รับราชการเป็น หลัก รวมทั้งเป็นตระกูลนายทหารเสียส่วน ใหญ่จึงไม่มีผู้ใดรับสืบทอด เมื่อขุนภักดี สาตราสิ้นไปแล้วก็ไม่มีการทำกิจการต่อ คุ ณ รั ต นาเล่ า ถึ ง ความทรงจำของ ตนเองว่า บ้านคุณพระ ท่านขุน คุณหลวง ในตรอกบ้านพานมีหลายบ้านก็เป็นนายเตา หลายท่าน และเพราะเป็นย่านบ้านพานจะมี เสียงตอกขันป๊อกๆ กันอยู่ทั้งวัน ท่าน้ำและ โรงเลื่อยไม้อยู่ใกล้ๆ บ้านขุนภักดีสาตรา ริมคลองชายตลิ่งดินจะมีต้นจิกขึ้นเป็นแนว ร่มรื่น บ้านไม่มีรั้วกั้น เรือนไม้มีอยู่แทบ ทุกหลังคาเรือน ข้ามคลองที่เคยออกช่อง กุ ด และกำแพงเมื อ งแต่ เ ดิ ม ที่ ก ลายเป็ น ตึ ก แถวและตลาดวั น ชาติไ ปเมื่ อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ชาวบ้ า นพานเดิ น ข้ า มคลองไป ตลาดโดยใช้สะพานพระยาราชสัมภารากร ที่ เ คยเป็ นไม้ แ ล้ ว จึ ง มาทำเป็ น คอนกรี ต บรรยากาศเงียบ มีเรือแจวเรือพาย ขาย เมี่ยงมะม่วง น้ำใสพอจะอาบน้ำหรือซักผ้า ได้ ชาวสวนก็มีมาบ้างเข้ามาตามคลองขึ้น ตลาดวันชาติที่ท่านี้ คุณพิมพ์สิริ สุวรรณนาคร ประธาน ชุ ม ชนบ้ า นพานถมในปั จ จุ บ ั น เกิ ด และ เติบโตที่ตรอกบ้านพาน จากครอบครัวที่ เป็น “นายเตา” ใ นตระกูลสุวรรณนาครซึ่ง เป็นอีกบ้านหนึ่งที่ทำเครื่องเงินและพานเงิน สืบมาจากขุนราชมาลาการ (ครอบ) กรม ชาวที่ และมีพระยานครอินทร (ทองดี) เป็นปู่ แม้วัยจะเข้าล่วงจนอายุ ๗๒ ปีแล้ว แต่ ก็ ย ั ง จำบรรยากาศของการทำพานได้ ชัดเจนและรู้กรรมวิธีผลิตได้ทุกขั้นตอน
รัตนา (ชูตินันทน์) กาญจนดุล
แผ่ น เงิ น ที่ ผ สมกั บ ทองแดงเพื่ อ ตี ขึ้ น รู ป เป็นรูปทรงของภาชนะได้ง่ายขึ้น เช่น ขันน้ำ หรือพานรอง แอ่งหล่อปูนมีหลุมสำหรับใส่เบ้า สำหรั บ หลอมเนื้ อโลหะเงิ น ที่ ผ สมทองแดง เปอร์เซนต์เนื้อเงินอยู่ที่ ๙๐-๙๕ เปอร์เซนต์ เพราะถ้ามีเนื้อเงินมากไปก็จะไม่สวยเพราะถูก อากาศขึ้นสนิมดำได้ง่าย รอบๆ แอ่งหลอมเป็น ปู น เพราะร้ อ นจั ด แล้ ว ก็ มี ห ลุ ม อย่ า งเดี ย ว สำหรับใส่เบ้าที่มีสูบลมอัดอากาศเพิ่มอุณหภูมิ ความร้อนแล้วนำไปจุ่มน้ำ จากนั้นจึงนำเนื้อ เงินที่ผสมทองแดงแล้วตีแผ่เป็นแผ่นกลมเพื่อ ขึ้นรูปภาชนะ โดยใช้ท่อนไม้ขนาดราวเสาเรือน เป็นแท่นรองรับและฆ้อนใหญ่ ซึ่งต้องใช้แรง และกำลังมากทีเดียว มีการเท “ชัน” ซึ่งได้จากยางไม้ผสมกับ น้ำมันยางจนเป็นของเหลวใส่ลงไปในภาชนะ ทั้ งใบเพื่ อ รองรั บ ด้ า นในเพื่ อให้ ช่ า งสลั ก ที่ มี ฝีมือแกะหรือตอกลายโดยใช้สิ่วขนาดรูปร่าง ต่างๆ ตอกให้ได้เป็นรูปร่างตามลายที่เขียน แบบร่างไว้หรือจะตอกลายอย่างอิสระเลยก็ได้ หากชำนาญ พอเน้นลงไปบนพื้นที่มีชันรองรับ อยู่ลายจะดุนขึ้นมาและเห็นชัดเจน ไม่ใ ช่ ก าร แกะสลักลงไปในเนื้อเงิน
๗
กุ้งหอยปูปลา คนพายเรือ ต้นสาเก กอหญ้าข้าว กอบัว เป็น ลวดลายที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดปราณีตหรือฝีมือมากนัก และเป็นลายง่ายๆ ไ ม่ต้องใช้เวลานาน แต่คนชอบกันมากกว่า ลายเดิมๆ แบบโบราณ คนก็รับจ้างทำเพราะได้เงินดี
พิมพ์สิริ สุวรรณนาคร
แต่เมื่อพ่อค้าคนกลางบอกว่าให้ทำพานเอง ต้องใช้การ หยอดใช้กรดซึ่งค่อนข้างอันตรายจึงไม่ทำแล้ว เมื่อบ้านหนึ่ง เลิกทำก็กระจายไปสู่บ้านอื่นๆ ที่รับทำ ดังนั้นการทำพานที่ ไม่ใช่พานเงินตอกขึ้นรูปทั้งใบ แต่เป็นพานโลหะผสมแล้ว บัดกรีเชื่อมจึงกระจายไปสู่คนตามบ้านต่างๆ ทั่วไปตลอด ตั้งแต่บางลำภูไปจนถึงหน้าวัดปรินายกไปจนผ่านฟ้า คนรอบๆ ในเขตบ้ า นพานถมก็ ม ารับงานดุนลายพาน แบบพื้นๆ กันไปหมด จนไปถึงแถบตรอกหน้าวัดบวรฯ ที่ทาง กรุงเทพมหานครนำป้ายข้อมูลไปปักไว้
แผนที่ราว พ.ศ. ๒๔๗๔
เครื่องมือรูปแบบต่างๆ สำหรับทำลายบนพาน
เมื่อเสร็จแล้วจึงนำมาขัด ต้องใช้ทรายทะเลเนื้อสีขาวละเอียดมาล้างมา ขัดหรืออาจใช้ลูกปัดกลมๆ มาใช้เพื่อให้ล้างสะอาดแบบเบามือโดยใช้น้ำ สะอาดต้มกับลูกประคำดีควายช่วยล้าง จากงานช่างชั้นครูสู่งานหัตถกรรมชาวบ้าน คุณละออศรี รัชตะศิลปินกล่าวว่า ราวๆ ช่วงหลังสงครามจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ มีคนจีนที่อยู่ทางบางลำภูคนหนึ่งอาชีพเดิมขายก๋วยเตี๋ยวนำทอง เหลืองบ้าง ทองแดงผสมทองขาว [White gold] ซึ่งทองขาวเป็นโลหะผสม ระหว่างทองคำกับแร่อื่นๆ เพื่ อให้ เ กิ ด สี ที่ ต่ า งๆ ไม่ใ ช่ ท องคำขาวหรื อ Platinum นำมารีดเป็นแผ่นๆ เป็นชิ้นๆ แล้วบัดกรีจนเป็นรูปร่างขันที่ปาก ขอบก็ใส่ลวดเข้าไป แต่ต้นทุนถูกกว่านำเอาแร่เงินมาใช้เป็นวัสดุแบบเดิม นำ มาชุบเงินดูแวววาวสวยงามยาวนานกว่าการใช้พานเงินแท้ๆ เสียอีก แล้ว จึงนำมาให้คนในบ้านพานตอกลาย เมื่อคนรุ่นใหม่ๆ ที่คงเป็นหนุ่มสาวจากครอบครัวคนทำพานแบบ ดั้งเดิมก็รับตอกลาย เพราะรายได้ดีมาก เห็นอะไรในชีวิตในธรรมชาติ เช่น กุ้งหอยปูปลา คนพายเรือ ต้นสาเก กอหญ้าข้าว กอบัว เป็นลวดลายที่ไม่ ต้องใช้ความละเอียดปราณีตหรือฝีมือมากนัก และเป็นลายง่ายๆ ไม่ ต้ อ งใช้
แต่ ค นบ้ า นพานเดิ มๆ ที่ เ ป็ น นายเตาไม่ มี ผู้ใ ดกระทบ กระเทือนมากนัก เพราะส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ทำราชการ เป็นส่วนมาก แต่บ้านอื่นๆ น่าจะมีบ้าง เพราะหลายบ้านต้อง เลิกทำโดยเด็ดขาด บ้างคงไปหางานอาชีพอย่างอื่นหรือขาย บ้านช่องออกไปอยู่ที่อื่นก็มี หรือบางรายเมื่อสูงวัยต้องเลิกทำ ไม่นานนักก็เสียชีวิตไป นับจากนั้นเป็นต้นมา หลัง พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้ว การทำ พานแบบโบราณดั้งเดิมก็ไม่เคยหวนกลับมาอีกเลย ปั๊มอลูมิเนียม “ปิดฉาก” งานช่างฝีมือ โบราณ เมื่อเจ้าของกิจการผลิตภาชนะเครื่องใช้ทำจากอลูมิเนียม ตราแมวน้ำที่อยู่แถวบางปะกอก เริ่มผลิตเครื่องใช้อลูมิเนียม เข้ามาตีตลาด จำพวกเหยือก กาน้ำ ขันน้ำ ทัพพี แก้ว หม้อ ข้าว ฯลฯ ซึ่งราคาถูกกว่ามากและสีสวย น้ำหนักเบา และผลิต แบบ “ปั๊ม ” ด้ ว ยเครื่ อ งจั ก รครั้ ง ละมากๆ ได้อย่างง่ายดาย ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมก็ตีตลาดพานเงิน พานโลหะผสม จนชาว บ้านบริเวณรอบๆ ที่เคยรับจ้างคนจีนที่บางลำภูต้องเลิกทำ ภาชนะในที่ สุ ด หลายท่ า นกล่ า วว่ า อยู่ใ นช่ ว งราว พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๑๐ เมื่อนายห้างแมวน้ำนำขันและพานเงินที่เคยเป็นงานฝีมือ ช่างชั้นสูงไปทำปั๊มสำเร็จรูปในที่สุด การทำงานดุนลายด้วย มือที่แจกจ่ายไปตามบ้านรอบๆ ก็สิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้ ผู้คน แถบบ้านพานถมจึงต้องหางานหรืออาชีพอื่นๆ ทำเพื่อทดแทน อาชีพเดิมนับแต่นั้น เป็นการ “ปิดฉาก” งานช่างชั้นครูที่ตรอกบ้านพาน อย่างสมบูรณ์กันทีเดียว
เครื่องถม / ถมนคร / เครื่องถมไทยนคร “เครื่องถม” คือการทับหรือถมรอยโดยใช้น้ำยาถมที่มีส่วนผสม ระหว่าง เงิน ทองแดง ตะกั่ว และกำมะถัน ซึ่งเมื่อหลอมเหลวแล้วจะ มีสีดำ แล้วนำมาทาบนลวดลายแกะสลักบนเนื้อภาชนะหรือเครื่อง ประดั บ ต่ า งๆ ที่ ต้ อ งใช้ ค วามปราณี ต และใจเย็ นในการแกะสลั ก ลวดลาย และใช้ความชำนาญในการถมน้ำยา น้ำยาถมที่ดีนั้นต้องติด แน่นกับเนื้องานที่แกะสลัก พื้นดำต้องไม่มีตามดคือผิวเรียบเนียน ไม่มีรูพรุน งานเครื่องถมต้องใช้กรรมวิธีการผลิต ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ การ “ขึ้นรูป” ซึ่งมาจากช่างเงินหรือช่างทองที่จะทำรูปทรงภาชนะ หรือเครื่องประดับต่างๆ เพื่อเป็นชิ้นงานซึ่งแยกออกเป็นภาชนะ ขนาดใหญ่ เช่น ขันน้ำพานรอง เครื่องเชี่ยนหมาก หีบบุหรี่ กาน้ำ ภาชนะขนาดเล็ก เช่น เครื่องประดับ กำไล แหวน วิธีการต่อไปคือ การ “แกะสลักลาย” คือการแกะลงบนเนื้อเครื่องประดับหรือภาชนะ นั้นๆ ให้เป็นร่องรอยสวยงานตามลวดลายต่าางๆ และ “การถม” ซึ่ง ต้องใช้ความชำนาญในการผสมและลงยาถมบนพื้นที่ซึ่งแกะสลัก ลวดลายไว้แล้ว นี่คือกรรมวิธีผลิตที่มีความแตกต่างระหว่างช่างสลักพานเงิน และช่างพานถมหรือเครื่องถมอย่างชัดเจน เครื่องถมแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ถมดำหรือถมเงิน, ถม ตะทอง, และถมทอง ถมเงิน คือถมดำเป็นงานถมแบบดั้งเดิม คือการทาเนื้อถมลงบน พื้นลายบนพื้นเนื้อเงิน ซึ่งจะขับลายให้สวยงามขึ้น ถมทอง คือการถมดำแต่แตกต่างที่ลวดลาย จากลายสีเงินก็เป็น ลายสีทอง ช่างถมจะละลายทองคำให้เหลวในปรอท ช่างถมจะชุบน้ำ ทองผสมปรอทด้วยพู่กันเขียนทับลงบนลวดลายเส้นสีเงินเท่านั้น
แล้วจะใช้ความร้อนไล่ปรอทออกจากทอง ทองก็จะติดแน่นอยู่บน พื้นที่เขียนน้ำทองนั้น ถมตะทอง หมายถึงวิธีระบายทองผสมปรอทหรือเป็นแห่งๆ บนลวดลายที่ต้องการ ไม่ระบายทั้งหมดแบบถมทอง เครื่องถมที่ทำด้วยเงินหรือทองเช่นนี้โบราณเรียกว่า “ถมปรัก มาศ” ช่างถมที่ถือกันว่าฝีมือดีที่สุดคือช่างถมเมืองนครศรีธรรมราช เรามักได้ยินชื่อเสียงของเครื่องถมในนาม “ถมนคร” เครื่องถม นครได้รับความนิยมจนปัจจุบัน เนื่องจากยังรักษาคุณภาพไว้ได้ ลักษณะเด่นของงานถมนคร จะมีสีดำเงางาม ลวดลายเกิดจากการ สลักด้วยมือไม่ว่าจะเป็นการเคาะหรือแผ่รีด ทำให้ลวดลายมีความ ละเอียดและด้านในจะมีรอยสลักนูนขึ้นมา สมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องถมถือเป็นของสูงศักดิ์ ที่ใช้เป็นเครื่อง ราชูปโภคและเครื่องราชบรรณาการ ใ นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เครื่องถมเมืองนครได้รับความนิยมอย่าง สูงในราชสำนักและเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเอง คือ เจ้าพระยา นครศรีธรรมราช (น้อย) ก็เป็นผู้ส่งเสริมและทำนุบำรุงช่างถมให้ เจริญก้าวหน้า จนเครื่องถมเมืองนครเข้ามามีชื่อเสียงในพระนคร และยังสืบทอดต่อมาจนกลายเป็นโรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช และกลายเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตาม จากคำบอกเล่าก็พบว่าช่างทำพานที่บ้านพานรุ่น เก่า น่าจะทำเครื่องถมเป็น แต่ด้วยกรรมวิธีที่มีมากกว่าและค่อนข้าง ใช้ความละเอียดปราณีตและเวลา การทำเครื่องถมจึงไม่นิยมทำกัน ในพื้นที่บ้านพานแต่อย่างใด เพราะเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๓ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ ฟื้ น ฟู ส่ ง เสริ ม ศิ ล ปหั ต ถกรรมเครื่องถม นครศรีธรรมราชขึ้นในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๔๕๖ ไ ด้เปิดแผนก
ช่างถมขึ้นในโรงเรียนเพาะช่าง และเรียกขุนปราณีถมกิจ (หยุย จิตตะกิตติ) เป็น ช่างถมอยู่บ้านพานให้มารับราชการเป็นผู้สอนร่วมกับขุนประดิษฐ์ถมการ (รื่น ทัพวัฒน์) วิชาเครื่องถมนี้ได้รับการส่งเสริมโดยให้มีการเรียนการสอนใน โรงเรียนเพาะช่างสืบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
ขันน้ำพานรองเครื่องถมนคร ภาพจาก https://aunhappy.wordpress.com/about/•galleryงานเครื่องถมนคร/
ในช่วงเวลาที่งานทำพานเงินกำลังเฟื่องฟู ก็มี “ห้างไทยนคร” ที่สืบทอด การผลิตหัตถกรรมเครื่องถม ที่เป็นของเครื่องใช้สำหรับผู้มีฐานะผลิตเครื่องถม ที่ถนนจักรเพชร เชิงสะพานพุทธฯ เคยมีคนทำเครื่องถมนับร้อยคน โดยนายสม จิตรและนางปราณี เที่ยงธรรมเป็นผู้ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ผลิตสินค้า เครื่องเงินและเครื่องถมจำหน่าย แต่ลูกค้ารายใหญ่คือสำนักพระราชวัง สำนัก นายกรัฐมนตรี กระทรวงและธนาคารต่างๆ รวมทั้งผู้มีฐานะดี สินค้าจำพวก หีบบุหรี่ ซองบุหรี่ ชุดน้ำชา กาแฟ หัวเข็มขัด สร้อยข้อมือ และกรอบรูปที่ขายดี ในระยะหลัง และ พ.ศ. ๒๔๘๙ ไ ด้รับพระราชทานครุฑตราตั้งจากพระบาท
๙
ปิดฉาก
งานช่างชั้นครูที่ตรอกบ้านพาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และมีการ ขันน้ำพานรองและประกวดเทพี ส่ ง จำหน่ า ยในต่ า งประเทศนั บ จากหลั ง ในงานสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ สงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา สงกรานต์ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์เริ่มขึ้นเมื่อ ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่ถนนประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๗๘ เกิดจากการจัดงานของชาวบ้าน ใกล้วัดตรีทศเทพ ฝั่งตรงข้ามเยื้องกับตรอก ในละแวกบ้านพานและชาวบ้านรอบๆ เช่น บ้านหล่อ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๘ เล่ากันว่ามี บ้านหล่อ บ้านพานถม วัดตรีทศเทพ ซอย ช่างย้ายตามมาราว ๒๐ คนเท่านั้น โ ดยทาง นามบัญญัติไปจนถึงบางขุนพรหม เทเวศร์
การประกวดเทพีวันสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ผู้ได้รับรางวัลเป็นขันน้ำเครื่องเงินจากบ้านพาน
ร้านนำช่างฝีมือจากเมืองนครฯ มาเป็นช่างลง ถม นำช่างจีนกวางตุ้งมาเป็นช่างขึ้นรูปเครื่อง เงิน ส่วนลวดลายเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของ ทางร้าน เช่น ลายเปลวเพลิงผสมเทพพนม ลายเรือสุพรรณหงส์ และลายนารายณ์ทรง สุบรรณ และไม่ได้มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับงานหัตถกรรมของบ้านพานแต่ดั้งเดิมแต่ อย่างใด
วัดอินทรวิหาร วัดสามพระยา วัดใหม่อมตรส มาร่วมกันทำบุญใส่บาตร ปล่อยนก ปล่อย ปลาในวันสงกรานต์ กลางคืนมีมหรสพต่างๆ ให้ดูฟรี และได้รับการอุปการะจากเจ้าคุณ วิเศษธรรมธาดา อดีตอธิบดีศาลฎีกา ตลอด จนอดีตข้าราชการและผู้อาวุโสสมัยนั้นช่วย สนับสนุนต่อมาการจัดงานได้ระงับไป ๔ ปีใน ระหว่างสงครามโลกจนถึงราว พ.ศ. ๒๔๘๙ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชทานเงินสมทบ การจัดงานขึ้นอีกครั้งโดยใช้ชื่องานว่า “งาน
รับขวัญชาววิสุทธิกษัตริย์” และเริ่มมีการ ประกวดเทพีสงกรานต์เป็นครั้งแรก เล่ากันว่าการประกวดนั้นเริ่มแต่เช้าตรู่ผู้ เข้ า ประกวดทุ ก คนจะมาใส่ บ าตรข้ า วสาร อาหารแห้งพร้อมๆ กับชาวบ้านละแวกถนน วิสุทธิกษัตริย์ แล้วการประกวดเริ่มขึ้นในเวลา ๗ โมงเช้ า ซึ่ ง แตกต่ า งไปจากเวที ป ระกวด อื่นๆ ที่มักจัดกันในช่วงเย็นค่ำ ของรางวัลที่ มอบในสมัยนั้นก็เป็นพานลงยา ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากตรอกบ้านพานนั่นเอง บรรณานุกรม กรมไปรษณีย์ กรุงเทพมหานคร. สารบาญชี ส่วนที่ ๒ คือราษฎรในจังหวัด ถนนและตรอก จ.ศ. ๑๒๔๕ เล่มที่ ๒. สำนักพิมพ์ต้นฉบับ, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๕๑. กรมไปรษณีย์ กรุงเทพมหานคร. สารบาญชี ส่วนที่ ๒ คือราษฎรในจังหวัด ถนนและตรอก จ.ศ. ๑๒๔๕ เล่มที่ ๔. โรงพิมพ์บ้านปรัดเล, ๒๔๒๖ นิทรรศการออนไลน์พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “ประวัติความเป็นมาของเครื่องถม” http:// museum.socanth.tu.ac.th/images/ page5Online%20Exhibition/ถททอง/ 1%20online%20Thomthong.html ปราณี กล่ำส้ม เรียบเรียง, น.อ.อิสระ รัชตะ ศิลปิน เล่าเรื่อง, เด็กบ้านพานถม วารสารเมือง โบราณ ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๑) พรพิมล เจริญบุตร. พิพิธโภคัย-บ้านหล่อ-นาม บัญญัติ ๓ ตรอกบนถนนประชาธิปไตย. จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ http://www.lek-prapai.org/watch.php? id=5026
๑๐
ภาคผนวก รายชื่อผู้อยู่อาศัยริมคลองบ้านหล่อ จากเอกสารสารบาญชี ส่วนที่ ๔ คือราษฎรในจังหวัด คูแลคลองลำปะโดง สำหรับเจ้า พนักงานกรมไปรษณีย์กรุงเทพมหานคร จุลศักราช ๑๒๔๕ หมื่นพิมนนาวี ขึ้นในกรมท่า เรือนฝากระแชงอ่อน, นายยารุด บุตรนายโพ ขึ้นในหลวงทวยหาญ เรือนฝากระดาน, หมอโพ เป็นขุนหมื่นขึ้นเจ้าพระยาหิน เป็นหมอรักษาโรคต่างๆ เรือนฝากระดาน, ขุนประสาทอักษร ขึ้นพระยาภาษกรวงษ์ กรมอาลักษณ์สอน หนังสือ มหาดเล็กเรือนฝากระแชงอ่อน, จ่าใจสุรแก้ว ตำรวจหน้า ขึ้นพระพรหมสุรินทร์ เรือนฝากระดาน, โ รงปั้นหม้อ เป็นโรงแตะ, นายเทด เป็นขุนวิเสศ ขึ้นเจ้าพระยามหิน ช่างหล่อเต้าปูนขาย เรือนฝากระดาน, ปลัดบุด ขึ้นพระยากลาโหม กรมพระราชวังบวร เรือนฝากระดาน, หม่อมเจ้าพร้อม บุตรกรมพราม เรือนฝากระดาน, นายนากเป็นไพร่หลวง ขึ้นอินทราชเป็นตำรวจ อาศัยหม่อมเจ้า พร้อม อยู่ฝาเรือนแตะ, นายแช่มบุตรนายคำ ขึ้นหม่อมเจ้าอึ่ง หล่อเต้าปูนขาย เรือนฝากระแชงอ่อน, อำแดงแย้ม หม้าย เรือนแตะ, นายเวรคุ้ม ขึ้นพระองค์ดิศวร เป็นช่างหล่อกระดึงวัดพระแก้ว เรือนฝากระแชงอ่อน, นายชื่น หมื่นนรินรักษา ขึ้นพระองค์เจ้าสาย หล่อเต้าปูนขาย เรือนฝากระแชงอ่อน, นายอ่ำเป็นบุตรนายคุ้ม ขึ้นหลวงเสนาภักดี เรือนฝากระแชงอ่อน, นายรอดเป็นขุนหมื่น ขึ้น พระยาศิริคลังมหาสมบัติ เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อเต้าปูนขาย, นายเอี่ยม เป็นขุนหมื่น ขึ้นพระเวียงใน เป็นพวกนักเรียนหนังสือสวนอนัน เรือนฝาแตะ, หลวงวิจารณ์คลังซ้าย ขึ้นพระยานานา เจ้ากรมไพร่หลวง เรือนฝากระดาน, อำแดงเอม ยังไม่มีผัว หล่อเต้าปูนขาย เรือนฝากระดาน, พระรามณรงค์ ขึ้นพระยากลาโหม กรมพระราชวังบวร หล่อเต้าปูนขาย เรือนฝากระดาน, หลวงพิชิตณรงค์ ขึ้นพระยากลาโหม กรมพระราชวังบวร เรือนฝากระดาน ทำ ราชการ, นายเหมือน บุตรนายหา ขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน อำแดงเตีย เป็นหม้าย เรือนฝาแตะ, อำแดงชั่น แม่หม้าย เรือน ฝากระแชงอ่อน, อำแดงทา ยังไม่มีผัว เรือนฝาแตะ, อำแดงสง เป็นหม้ายเรือนฝาแตะ, นายเถิน เป็นเลขวัดสระเกษ ขึ้นเจ้าพระยามหิน เรือนฝาแตะ, ปลัดไทย ช่างมุข ขึ้นพระองค์สุกรมอดิศร เรือนฝากระแชงอ่อน, นายพัน บุตรนายพุ่มขึ้นหลวงนายชาญภูเบศ เรือนฝากระ ดาน, นายกลั่น บุตรนายขำ ขึ้นพระยาสุรเสนา เรือนฝากระแชงอ่อน, นายเรือง บุตรนายแย้ม ขึ้นพระองค์เจ้าสายกรมแสง เรือนฝากระ แชงอ่อน ทำตุ๊กตาขาย, นายนก บุตรนายเอียม ขึ้นพระกลาโหม กรมพระราชวังบวร เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อผะอบเต้าปูนขาย, นายม้า บุตรนายเลี้ยง ขึ้นหลวงศักดา กรมสัสดีขวา เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อเต้าปูนขาย, นายจ่าง หมื่นทิพสินลา ขึ้นพันพุทก รมหมาดไทย เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อเต้าปูนขาย, นายขำ บุตรนายนาก ขึ้นกรมพระบำราบ โรงแตะ หล่อเต้าปูนขาย นายดาบ บุตรนายอ่ำ ขึ้นพระศรีสุนทร เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อเต้าปูนขาย, นายรอด หมื่นณรงค์ภักดี กรมเรือดั้ง ขึ้นกรมพระบำราบ เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อผะอบขาย, อำแดงสี เป็นเลขวัดเลียบ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝาแตะ, อำแดงเซา เป็นเลข วัดเลียบ ขึ้นเรือนพระมหิน เรือนฝาแตะ, อำแดงสี เป็นเลขวัดสะเกศ ขึ้นพระยามหิน เรือนแตะ, นายจั่น บุตรนายสี เป็นเลขวัดเลียบ ขึ้น พระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน, อำแดงลี เป็นเลขวัดเลียบ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน ทอหูก, นายคง บุตรนายมา ขึ้นพระ ยามหิน เป็นเลขวัดเลียบ เรือนฝาแตะ, อำแดงมา เป็นเลขวัดระฆัง ขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน, นายสอน บุตรนายคุ้ม กรม มหาดไทย ขึ้นหลวงเสนาภักดี เรือนฝากระแชงอ่อน หล่อเต้าปูนขาย, อำแดงแก้ว เป็นเลขวัดระฆัง ขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแช งอ่อน, นายลา บุตรนายคำ เป็นเลขวัดสระเกษ ขึ้นพระยามหิน โรงฝาแตะ นายชื่น เป็นขุนหมื่น ขึ้นพระองค์เจ้าสาย เป็นหมอยารักษาโรคต่างๆ เรือนฝากระแชงอ่อน, นายพัด บุตรนายลี เป็นเลขวัดโพ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝาแตะ เป็นช่างมุข, อำแดงอ่อน บุตรนายจันเป็นเลขวัดราชบูรณะ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝาแตะ นายบัว บุตรนาน สอน เป็นมหาดเล็กพระองค์โตใหญ่ เรือนฝาแตะ, นายทองบุตรนายช้อย เป็นเลขวัดโพ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝาแตะเป็นช่างมุข นายยวน บุตรนายเพง เป็นเลขวัดโพ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน เป็นช่างมุข, นายไทย เป็นขุนภักดีรสธรรม เป็นปลัดกรมวัดโพ ขึ้นพระ ยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน, อำแดงทองบุตรนายมา เป็นเลขวัดโพ เรือนฝาแตะเป็นช่างมุข นายหมวดลาเป็นเลขวัดโพขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน เป็นช่างมุข, อำแดงบาง เป็นเลขวัดโพ เรือนฝากระแชงอ่อน ช่างมุข, นายเนด บุตรนายอ่อนเลขวัดโพ ขึ้นพระยามหิน เรือนฝากระแชงอ่อน เป็นช่างมุข, อำแดงแป้น บุตรนายจีน ขึ้นพระพันพุท เรือนฝาแตะ, อำแดงอิ่ม ขึ้นอยู่คุณวรจัน พนักงานส่งดอกไม้ เรือนฝากระแชงอ่อน, นายแพ บุตรขุนบำรุงกรมการ ขึ้นพระนครสวรรค์ เรือนฝากระดาน, นายเปรมเป็นขุนหมื่น ขึ้นหลวงทวยหาญ เรือนฝากระดาน เป็นหมอรักษาโรคต่างๆ , นายพริ้งบุตรนายอยู่ ขึ้นหลวง พิพิธณรงค์ กรมกลาโหม เรือนฝากระแชงอ่อน เป็นช่างกลึง
๑๑
แผนที่บริเวณย่านตรอกบ้านพาน เหนือคลองบางลำภู ราว พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งยังไม่มีการตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์แต่อย่างใด