จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๑๐๗ ประจำเดือน กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๘

Page 1

รวบรวม บันทึก ศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรม สนับสนุนการอนุรักษ์เพื่อพัฒนา เผยแพร่เพื่อการศึกษาของ สาธารณชน

กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๘

Lek-Prapai Viriyapant Foundation

ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๑๐๗

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จดหมายข่าวรายสามเดือน

เปิด ประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

GDP VS GNH ในสังคมไทย

ประเทศแห่งความสุขมวลรวมประชาชาติ [GNH] ภูฏาน ภาพโดยศรัณย์ บุญประเสริฐ

ปีก่อนๆ ที่แล้วมาข้าพเจ้าเขียนบทความจดหมายข่าวของมูลนิธิฯ เรื่อง “อะไรคือรายได้มวลรวมประชาชาติ [GDP] กับอะไรคือความสุขมวล รวมประชาชาติ  [GNH]” เพราะในช่วงเวลานั้น มี ปั ญญาชนของประเทศ ได้ ไ ปเที่ ย วประเทศภู ฏ านได้ แ ลเห็ น ความสงบสุ ข อย่ า งมี กิ น มี ใ ช้ ข องผู ้ ค น ในประเทศ รวมทัง้ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของบ้านเมืองทีม่ ี ความสั ม พั น ธ์ กั บ ธรรมชาติ ไ ม่ แ ออั ด ยั ด เยี ย ดแวดล้ อ มไปด้ ว ยโครงสร้ า ง สถาปัตยกรรมบ้านเมืองที่ ใหญ่โตสูงใหญ่ ต่างจากสภาพแวดล้อมที่เป็นของ ประดิษฐ์ [Artificial environment] ดั่งเช่นในสังคมไทย

สารบัญ

เปิดประเด็น GDP vs GNH ในสังคมไทย ศรีศักร วัลลิโภดม หน้า ๑ ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม การสร้างงานประวัติศาสตร์เพื่อตอบสนองสังคมในปัจจุบัน วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หน้า ๕ พระนครบันทึก ศาลเจ้าเซี้ยอึ้งกง : ศาลเจ้าหลักเมืองในย่านส�ำเพ็ง อภิญญา นนท์นาท หน้า ๘ ความสับสนในที่มาของชื่อ “นางเลิ้ง” วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หน้า ๑๐ คนย่านเก่า วันนี้ชีวิตที่เหลือเกินคุ้มแล้ว “พี่กบ ป้อมมหากาฬ” วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หน้า ๑๓ กิจกรรม “บรรยายและเสวนาสาธารณะ” สรุปการเสวนาสาธารณะของคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ป้อมมหากาฬ เรื่อง “ชีพจรยังสั่นไหว ที่ตรอกละคร นางเลิ้ง” เมธินีย์ ชอุ่มผล และ เกสรบัว อุบลสรรค์ หน้า ๑๖ สรุปการเสวนาสาธารณะของคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ ป้อมมหากาฬ เรื่อง “ตลาดนางเลิ้ง ตลาดใหม่ (ซิงตั๊กลัก) ย่านชานพระนคร เมธินีย์ ชอุ่มผล และ เกสรบัว อุบลสรรค์ หน้า ๑๘ ความทรงจ�ำจากภาพถ่าย เมืองสกลนครโบราณในรัฐ “ศรีโคตรบูร” และต�ำนานอุรังคธาตุ ศรีศักร วัลลิโภดม (เรียบเรียงจากบทความเรื่อง ต�ำนาน อุรังคธาตุกับความคิดค�ำนึงทางโบราณคดี ตีพิมพ์ในวารสาร เมืองโบราณฉบับพระธาตุพนม, ๒๕๑๘ หน้า ๒๐


ชาวภูฏานที่ชีวิตจดจ่ออยู่กับการท่องบ่นคาถาและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย

ด้วยความประทับใจในสิ่งที่เห็นในสังคมภูฏาน ท�ำให้พวก ปัญญาชนเหล่านั้นเสนอความคิดในเรื่อง “ความสุขมวลรวมของ ประชาชาติ” ในท�ำนองวาทกรรมกับความสุขที่ ได้จากการมีรายได้ ต่อหัวของประชาชาติท่ีแทบทุกสังคมวัตถุนิยมทั้งไทยและเทศให้เป็น เครื่องมือในการก�ำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ และการด�ำเนินการ ให้เป็นจริง ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับความคิดในเรื่องความสุขมวลรวมของ ประชาชาติของบรรดาผูน้ ำ� ทางปัญญาของชาติเหล่านัน้ แต่นกึ ไม่ออก ว่ามี“รูปธรรม” อย่างไรเพราะเหตุผลและความคิดทีเ่ สนอมานัน้ ดูเป็น นามธรรมจนเกินไป ตราบจนได้มีโอกาสได้ไปภูฏานกับเขาบ้างมีโอกาสได้เห็น ทั้งภูมิวัฒนธรรม นิเวศวัฒนธรรม และชีวิตวัฒนธรรมของคนภูฏาน ในหลายท้องถิ่นของประเทศ ก็ท�ำให้เกิดความเข้าใจตามประสาของ ข้าพเจ้าที่เล่าเรียนมาทางมานุษ ยวิทยาและโบราณคดีว่าคนภูฏาน อยู่กันเป็นชุมชน บ้านเมือง และนครแบบก่อนๆ มีชีวิตอยู่ในที่ราบลุ่ม ในหุบเขาสูงต�่ำมากมายในโลกของหิมาลัยที่ครึ่งปีจะถูกปกคลุมไป ด้วยหิมะ หุบเขาแต่ละแห่งเป็นป่าเขาที่เรียกว่า หิมพานต์ ตามชื่อ ในวรรณคดีโบราณของไทย เพราะมีทั้งสัตว์และพืชพรรณนานาชนิด ทีด่ ำ� รงอยูไ่ ด้ทงั้ ฤดูหมิ ะตกและฤดูหมิ ะละลายทีม่ หี นองน�ำ้ ล�ำรางหล่อ เลี้ยงให้ความชุ่มชื้น เท่าที่ ได้เห็นสังคมภูฏานมีพื้นฐานเป็นสังคมชาวนาที่ผู้คน อยู่รวมกันเป็นชุมชนบ้านและเมืองอย่างติดที่ คือไม่เคลื่อนย้ายหรือ โยกถิ่นฐานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งบ่อยๆ พึ่งพิงธรรมชาติและสภาพ แวดล้อมร่วมกันในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนผู้ที่ประกอบการ ทางธุรกิจและการผลิตแบบเป็นเจ้าของกิจการมีไม่กี่แห่ง ความเป็น อยู่ไม่แออัดมีพื้นที่ว่างธรรมชาติระหว่างชุมชนในท้องถิ่นหนึ่งไปอีก ถิ่นหนึ่ง เส้นทางคมนาคมเป็นถนนที่ยังไม่ใหญ่เป็นถนนหลวงที่ท�ำให้ การติ ด ต่ อ ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมระหว่ า งกั น ง่ า ยและรวดเร็ ว โดยเฉพาะเส้ น ทางลงห้ ว ยและข้ า มเขาระหว่ า งหุ บ ต่ อ หุ บ ที่ แ คบ ขนานด้วยเหวลึกดูหวาดเสียวส�ำหรับคนภายนอกที่เข้ามาท่องเที่ยว สถานทีบ่ ริการ เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร และย่านตลาด ไม่มีเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาจากที่ต่างๆ

จดหมายข่าว

สิ่งที่โดดเด่นในภูฏาน คือ แม่น�้ำล�ำคลอง ห้วยน�้ำ และล�ำรางได้รับ การรักษาให้สะอาด ไม่สกปรกท�ำลาย ล�ำน�้ำล�ำห้วยแทบทุกแห่งของ เส้นทางถนนระหว่างท้องถิ่นระหว่างเมืองที่ผ่านไปได้รับการรักษาให้ สะอาดเพื่อการดื่มกินและอุปโภคของคนในและนอกท้องถิ่น โดยเหตุ ทีอ่ ยู่ในทีส่ งู สังคมภูฏานเป็นสังคมแล้งน�ำ้ โดยธรรมชาติ ทีม่ กี ารจัดการ น�ำ้ โดยแต่ละท้องถิน่ โดยมีสงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิม์ อี ำ� นาจควบคุม ซึง่ เป็นได้จาก การมีศาสนสถานทางพุทธมหายานสร้างขึ้นให้ผู้คนที่เดินทางไปมา ได้ใช้น�้ำและท�ำพิธีกรรมขอพร ขอความร่มเย็นเป็นสุขและปลอดภัย อาคารดังกล่าวนีจ้ ะมีระฆังขนาดใหญ่ทมี่ ภี าพสัญลักษณ์และ คาถาให้คนมาไหว้ได้หมุนรอบและพร�่ำขอพรด้วยคาถา “โอม มณี ปัทเม หุม” อันเป็นคาถาส�ำคัญที่คนภูฏานทุกรุ่นทุกเพศทุกวัยท่อง บ่น และมีการจารึกไว้ตามสถูปตามข้างทางที่มีตุงผ้าหลากสีขนาด ใหญ่น้อยประดับที่มีคาถาเขียนไว้ให้สวดและอธิษฐาน [Prayer flags] ส�ำหรับธงสวดเหล่านีต้ า่ งเรียงรายอยูต่ ามเส้นทางเป็นทีๆ่ ไป เป็นการ เตือนสติให้คนรู้สึกถึงการท่องบ่นตลอดเวลาถึงความเป็นมนุษย์ที่มี ความพอเพียงไม่โลภไม่หลงและเชื่อมั่นในความสุขของการหลุดพ้น การสวดคาถา “โอม มณี ปัทเม หุม” นี้เกือบแทบทุก ขณะจิตที่มีช่องว่าง แม้แต่ ในย่านตลาดและร้านขายของ ผู้ที่เป็น แม่ค้าหรือพ่อค้ามักมีล้อสวด [Prayer’s wheel] ขนาดเล็กอยู่ใกล้ๆ ใช้แกว่งอยู่บ่อยๆ ในขณะขายของ เพื่อเตือนสติให้กลับไปอยู่กับ ความเป็นมนุษย์ที่มีความพอเพียง พุทธศาสนามหายานลั ทธิตันตระที่เรียกว่า “วัชระยาน” นั้น คือวิถีชีวิตของคนภูฏาน กิจกรรมต่างๆ ทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ล้วนมีความเชือ่ ทางศาสนารวมอยูด่ ว้ ยในลักษณะ องค์รวม วัดและศาสนสถานมีมากมายหลายระดับ แม้แต่อาคาร และสถานที่ในการปกครอง เช่น พระราชวังของกษัตริย์เจ้านายและ ที่ท�ำการในการปกครองที่เรียกว่า “ซัง” ก็ล้วนมีอิทธิพลของศาสนา รวมอยู่ด้วย ซึ่งในด้านสถาปัตยกรรม ผังเมืองและบ้านที่อยู่อาศัย แม้จะได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกและจากอินเดีย ธิเบต ก็หา ได้รับมาทั้งดุ้นไม่ หากปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นภูฏานไปทั้งรูปแบบ การตกแต่งและสัญลักษณ์ [Localization of foreign elements] ในขณะที่ อ ยู ่ ภู ฏ านข้ า พเจ้ า แทบไม่ เ ห็ น คนภู ฏ านแสดง อาการลิงโลด เอาอกเอาใจคนต่างชาติ แต่ดูพอใจอย่างมีความสุขกับ การเป็นคนภูฏานจนข้าพเจ้ารู้สึกอิจฉา สิง่ ทีโ่ ดดเด่นทีท่ ำ� ให้แลเห็นความภูมใิ จในตนเองก็คอื รูปแบบ ของศิลปวัฒนธรรมของคนภูฏานที่ ให้ความส�ำคัญกับสัญลักษณ์ เรื่องเพศอย่างมากมายจนเป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งทางวัฒนธรรม ก็วา่ ได้ โดยเฉพาะการระบายสีและวาดสัญลักษณ์ทางเพศประดับบ้าน ที่อยู่อาศัยและสถานที่ส�ำคัญในชุมชนแม้กระทั่งภาพวาดใน ส.ค.ส. ก็ยังมีประจ�ำทุกปี คนภูฏานทั่วไปตามท้องถิ่นในชนบทและในเมืองไม่ ใคร่ 2

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


มีแหล่งสันทนาการมากมายเช่นในประเทศอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมากมาย หลายประเภทเพื่อการประโลมโลกและความทันสมัย หากยังใช้ วัดและสถานที่ทางศาสนาในยามมีประเพณีพิธีกรรมในรอบปีอื่นๆ เป็น ที่หย่อนใจ สนุกสนาน มีการมหรสพรวมไปกับการประเพณี พิธีกรรม ซึ่งก็เหมือนกันกับผู้คนในสังคมไทยก่อนสมัยเปลี่ยนแปลง การปกครอง สภาพชีวติ ความเป็นอยูข่ องผูค้ นและบ้านเมืองทีม่ ศี าสนา และเรื่องทางจิตวิญญาณเป็นตัวน�ำ ดังกล่าวนี้คือที่มาของความสุข มวลรวมประชาชาติ [GNH] ความสุ ข มวลรวมประชาชาติ ดั ง กล่ า วนี้ สั ง คมไทยเคย มีมาแล้วในอดีตแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ลงมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และยังด�ำรงอยู่เรื่อยมาจน พ.ศ. ๒๕๐๐ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันเป็น ยุคที่เสริมสร้างงานทางศิลปวัฒนธรรมระดับชาติมาก จนถึงมีการ ตั้ ง กระทรวงวั ฒ นธรรมขึ้ น มาดู แ ลและจั ด การกิ จ กรรมทางด้ า น ศิลปวัฒนธรรม สั ง คมไทยทั่ วไปยั ง เป็ น สั ง คมกสิ ก รรมที่ ต ่ อ ยอดมาจาก พื้นฐานของสังคมชาวนา ประชาชนมีราว ๑๗-๑๘ ล้านคน ยังอยู่กิน แบบเป็นบ้านเมืองท้องถิ่นที่มีสภาพแวดล้อมธรรมชาติแต่ละท้องถิ่น มี ร ะยะห่ า งกั น จนแลเห็ น ทั้ ง ความหลากหลายทางวั ฒ นธรรม โดยเฉพาะอัตลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละถิ่น ที่ส�ำคัญคนส่วนใหญ่ ไม่เดือดร้อนในเรือ่ งอาหารการกิน ทีอ่ ยูอ่ าศัยและทีท่ ำ� กิน วัดยังด�ำรง อยู่ ในฐานะเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและประเพณีวัฒนธรรม คงเป็นเช่นนีก้ ระมังทีร่ ฐั บาลคิดเรือ่ งวัฒนธรรมเป็นแต่ศลิ ปวัฒนธรรม จึงได้ตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นมา ครั้นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บ้านเมืองเปลี่ยนสังคม เปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม ท้องถิ่นต่างๆ ถูกเชื่อม โยงกันด้วยกระบวนการอุตสาหกรรม [Industrialization] และ การท�ำให้เป็นเมือง [Urbanization] ที่มีการเคลื่อนย้ายผู้คนไป ตั้งถิ่นฐานไปเป็นแรงงาน เกิดเมืองและย่านที่อยู่อาศัยที่มีผู้คนอยู่กัน หลายพวกเหล่า ทีเ่ น้นแต่เรือ่ งการท�ำมาหากินและการหาความสุขทาง วัตถุเฉพาะตนและกลุ่มเหล่า ส่วนการพัฒนาบ้านเมืองทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล ก็มีแต่มิติเศรษฐกิจการเมืองมากกว่ามิติทางสังคมวัฒนธรรมและ ความเป็นมนุษย์ ขาดมิติทางจิตวิญญาณและความเชื่อทางศาสนาอัน เป็นเหตุให้เกิดแปรปรวนขึน้ ในระบบศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม ทางสังคมของบ้านเมือง รั ฐไม่ ส นใจเรื่ อ งศี ล ธรรมและความมั่ น คงความสุ ข ทาง จิตใจ มุ่งท�ำอยู่แต่การให้ความสุขทางวัตถุในทางปัจเจกแก่ผู้คน แต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการมีรายได้ต่อหัวของประชาชาติ [GDP] ซึ่งก็มักสะท้อนออกมาให้เห็นจากการก�ำหนดนโยบายทาง เศรษฐกิจในเรื่องการผลิตและส่งออกแทบทุกรัฐบาล ผลที่ตามมาในทุกวันนี้ก็คือ ที่ ไหนเป็นเมืองใหญ่ อ�ำเภอ

จดหมายข่าว

3

การท�ำกสิกรรมที่สืบเนื่องมาจากการเป็นสังคมชาวนาก�ำลังถูกแทนที่ ด้วยเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศของเรา

และต�ำบลใหญ่ๆ ที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรอุตสาหกรรม คนอยู่กันอย่างแออัดแทบไม่มีร่องรอยของชุมชนบ้าน [Village] และ เมือง [Small town] แบบที่เคยมีอีกเลย ทั้งยังถูกคุกคามด้วยการไล่ รื้อชุมชนเก่า เพื่อสร้างบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมขึ้นมาแทนที่ จนไม่สามารถบูรณาการให้เป็นชุมชนมนุษย์ได้ ความต้องการของชุมชนโดยเฉพาะนายทุน ข้าราชการ และชนชั้นแรงงานที่โยกย้ายถิ่นฐานดูไม่สนใจกับชีวิตความเป็นอยู่ ที่เรียบง่ายเข้ากับธรรมชาติที่ระคนด้วยความสุขสงบทางจิตใจและ จิตวิญญาณ กลับเห็นแต่การท�ำงานเพื่อเงินเพื่อรายได้ เพื่อน�ำไป หาความสุขทางวัตถุเฉพาะตน เฉพาะครอบครัวและพวกพ้อง แตกแยก และแย่งผลประโยชน์จากฐานทรัพยากร แยกออกเป็น หลายก๊ก หลายเหล่า [Factions] การแตกแยกและความขัดแย้งเพื่อผลประโยชน์ดังกล่าวนี้ ท�ำให้ไม่สามารถสร้างกลไกใดๆ เพื่อการบูรณาการทางสังคมและ วัฒนธรรมให้ผู้คนในชุมชนเกิดส�ำนึกร่วม [Sense of belonging] ถึงการเป็นกลุ่มคนพวกเดียวกันในชุมชนได้ ในทุกวันนี้กระบวนการท�ำบ้านให้เป็นเมือง [Urbanization] และชนบทให้เป็นบ้านและนิคมอุตสาหกรรม [Industrialization] ได้แผ่ขยายกระจายไปแทบทุกท้องถิน่ ในทุกภูมภิ าค เกิดพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัย และแหล่งท�ำกินใหม่ที่ไม่เป็นชุมชน [Community] ไปทัว่ ราชอาณาจักร ท�ำให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทีเ่ คยด�ำรงอยูอ่ ย่าง มีดลุ ยภาพในสังคมเกษตรกรรมแบบเดิม คือ การล่มสลาย การรุกล�ำ้ ของแหล่งอุตสาหกรรม การสร้างพลังงานเพื่อการอุตสาหกรรม เช่น เขือ่ นพลังงานไฟฟ้าและเขือ่ นชลประทานเพือ่ การเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างถนนหนทางเพื่อการคมนาคมขนส่ง คือเหตุใหญ่ที่ ท�ำลายสภาพแวดล้อมและภูมิวัฒนธรรม [Cultural landscape] ของ บ้านเมืองที่เคยมีมาในอดีตให้เสื่อมหาย และเป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติ นานาชนิดขึ้นในทุกวันนี้ ในทุกมิติ เช่น อากาศเสีย น�้ำสกปรกเป็นพิษ เกิดอุทกภัยที่ไม่อาจคาดฝันหรือจัดการได้ และการล่มสลายของชุมชน โดยเฉพาะการล่มสลายของชุมชนนั้นเห็นชัดจากการรุกล�้ำ ของการใช้ที่ดินสร้างบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ทับลงไปในพื้นที่

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


งานเลี้ยงผีประจ�ำปี การแสดงขับล�ำที่ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตา อ�ำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ชุมชนเดิม เกิดการเพิ่มของคนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาอยู่อาศัยโดยที่ชุมชน เดิมไม่สามารถบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคมจนเกิดส�ำนึก ร่วมของการเป็นคนในชุมชนเดียวกันได้ ผู้น�ำของชุมชนและคนส�ำคัญ เช่น ผู้ใหญ่บ้านที่มีการเลือกตั้งจากคนในชุมชน ผู้อาวุโส พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส แม้กระทั่งคนที่เป็นผู้มีอิทธิพล ที่เรียกว่า นักเลงโต [Big man] ที่มีความรักท้องถิ่นก็ถูกแทนที่ โดยคนที่มาจากภายนอก หรือเป็น “คนนอก” ไปเกือบหมด คนเหล่านี้ ได้โอกาสจากกฎหมายของบ้านเมืองในรัฐรวม ศูนย์ที่ ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง และจากการเลือกตั้งแบบ ซื้อเสียงขายเสียงเข้ามาด�ำรงต�ำแหน่ง และบริหารการปกครอง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากสภาวะการตามไม่ทันของคนในท้องถิ่น [Culturelag] เข้ามาแสวงหาอ�ำนาจและผลประโยชน์ ดังเช่นผู้ที่เป็น ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่อบต. ที่ ได้รับอ�ำนาจการบริหาร จัดการมาจากรัฐในส่วนกลางท�ำให้เกิดกลุ่มนายทุนทั้งในชาติและ ต่างชาติเข้ามายึดครองที่ดินและทรัพยากรท้องถิ่น โดยผ่านการ รับรู้และช่วยเหลือของผู้ที่เป็นคนบริหารท้องถิ่นที่รับอ�ำนาจจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือ อบจ. เป็นต้น ในลั ก ษณะนี้ ก ารเติ บ โตแบบท� ำ ลายจากนิ เ วศการเมื อ ง เศรษฐกิ จ ที่ ม าจากรั ฐ และจากกระแสโลกาภิ วั ต น์ ก�ำ ลั ง คุ ก คาม ท�ำลายล้างภูมนิ เิ วศทางสังคมและวัฒนธรรมของผูค้ นตามชุมชนทีม่ มี า แต่เดิมอย่างน่ากลัวและรุนแรง การเพิม่ พลังงานเพือ่ การอุตสาหกรรม ในเศรษฐกิจแบบส่งออก การสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบดูแต่ตัวเลข จากรายได้ล้วนมีประโยชน์แก่บรรดานายทุนทั้งในประเทศและนอก ประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ต่อหัว [GDP] รวมทั้งการขยายพื้นที่เกษตร อุตสาหกรรมที่ท�ำให้คนท้องถิ่น ที่มีอาชีพทางเกษตรกรรมจ�ำนวน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีทดี่ นิ ให้ทำ� กินเพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เท่านัน้ ความวิบตั ิ ก�ำลังมาเยือนสังคมไทยทั้งประเทศ ปรากฏการณ์ของความรุนแรง ในหลายๆ พื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในสังคมเมือง ไม่ว่าเป็น เมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ล้วนมีที่มาจากความล่มสลายทางศีลธรรม และจริยธรรมของบรรดานักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ และ บรรดานายทุนทั้งสิ้น และเป็นสิ่งที่น�ำมาซึ่งปรากฏการณ์ของการใช้ อาวุธสงคราม ไม่ว่าจะเป็นปืนและระเบิดท�ำลายชีวิตผู้คนอย่างขาด

จดหมายข่าว

ความเป็นมนุษย์ [Dehumanization] ปรากฏการณ์ ค วามรุ น แรงที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ ในความคิ ด และ ประสบการณ์ของข้าพเจ้าเชือ่ ว่าคนในรัฐบาล นายทุน และนักวิชาการ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ไม่เคยมีความส�ำนึก ดังเห็นจากแทบทุกภาคส่วนยังคงให้ความส�ำคัญ กับนโยบายเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกเพื่อเพิ่ม GDP อยู่นั่นเอง ดั ง เช่ น การเปลี่ ย นแปลงรองนายกรั ฐ มนตรี แ ละเจ้ า กระทรวง ทบวง กรม ที่มีหน้าที่ทางเศรษฐกิจจากคนเดิม กลุ่มเดิม มาเป็นกลุ่มใหม่ช่างดูไม่มีอะไรต่างกัน เพราะทั้งคนใหม่และคนเก่า ก็ ยั ง ยึ ด ถื อในเรื่ อ งของ GDP ที่ จ ะมาจากการส่ ง ออกอยู ่ นั่ น เอง นี่คือจุดอ่อนที่สุดของรัฐบาลชุ ดนี้ที่ข้าพเจ้าให้ความนิยมชมชอบ มากกว่ารัฐบาลใดๆ ที่แล้วมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน รัฐบาลเผด็จการ คสช. ท�ำดีแล้ว ชอบแล้วในเรื่องยกเลิก รั ฐ บาลประชาธิ ป ไตยทุ น นิ ย มที่ เ ป็ น ขี้ ข ้ า อเมริ ก าและตะวั น ตก ได้คืนความสงบสุขและผาสุกแก่คนส่วนใหญ่ที่เป็นรากหญ้าของ ประเทศด้วยการปราบปรามคนรุนแรง ไร้ศีลธรรม และปราบปราม คนคอร์รัปชันโกงกินประเทศให้ถึงที่สุด บ้านเมืองจะดี ได้ก็เพราะสิ่งเช่นนี้คือพื้นฐาน แต่ไม่ควรจะ ให้ความสนใจกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผู้ประสงค์ดี และประสงค์ ร้ายที่ออกมาต�ำหนิว่า เป็นสิ่งที่ท�ำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ซึ่งข้าพเจ้า เห็นว่าเดือดร้อนอยู่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งนักการเมือง นายทุน และ นักวิชาการที่ตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่เน้นแต่การส่งออกและ GDP คนเหล่านี้คือคนส่วนบนแต่ไ ม่เคยเข้าใจในชีวิตวัฒนธรรมของคน ส่วนล่างตามท้องถิ่นแม้แต่น้อย การกระตุ ้ น การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ จากข้ า งบน และจาก ภายนอกในกระแสโลกาภิ วั ต น์ เ พื่ อ GDP นั่ น คื อ ความฉิ บ หาย ขายตั วในระยะยาว แต่ ใ นประสบการณ์ ข องข้ า พเจ้ า ที่ ท� ำ งาน ทางสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นกับบรรดาผู้คนในชุมชนข้างล่างกลับ ได้เห็นและสัมผัสว่า ท่ามกลางการคุกคามของทุน นิยมที่มาจาก โลกาภิวัตน์นั้น คนรากหญ้าในชุมชนท้องถิ่นที่มีมาแต่เดิม กลับมีชีวิต ที่พอเพียงเหมาะสมกับอัตภาพที่ ไม่ต้องขวนขวายท�ำงานเพื่อหาเงิน อย่างตัวเป็นเกลียวเพื่อให้มี GDP เพิ่ม จนไม่มีเวลาผ่อนคลาย แต่มี GNH แทน อันเป็นความสุขมวลรวมของผู้คนในชุมชน ที่สะท้อนให้เห็นจากชีวิตความเป็นอยู่ ในครัวเรือนที่มีคนอย่างน้อย สามรุ่นอยู่ด้วยกัน คือ ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ ลูก และหลาน โดยเฉพาะ ในเวลาไปวัดท�ำบุญไหว้พระ หรือไหว้ศาลเจ้า ศาลผี มีงานเลี้ยงฉลอง จะพากันเดินจูงกันไปทั้งครอบครัว ต่างคนต่างพาครอบครัวไปท�ำบุญ ไปกินเลี้ยงในงานประเพณี พิธีกรรม ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาของ ความผ่อนคลาย และความสุขตามกาลเทศะในชีวิตร่วมกันในชุมชน สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ไ ม่ เ คยสู ญ หายไปจากการมี ชี วิ ต ร่ ว มกั น ของ คนในชุมชนก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับความเชื่อ และอ�ำนาจ นอกเหนือธรรมชาติที่สะท้อนให้เห็นถึงการมีอยู่อย่างสืบเนื่องของ 4

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


วั ด และศาลผี เป็ น สิ่ ง ที่ ท� ำให้ เ กิ ดไม่ ไ ด้ ใ นแหล่ ง ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ใหม่ เช่น คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร และอะพาร์ตเมนต์ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างวัดกับศาลผี ในโลกของวัตถุนิยม ปัจจุบัน วัดมีอาการและสภาพเปลี่ยนไปเป็นอันมาก อันเนื่องจาก พระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป พระชั้นผู้ใหญ่และผู้น้อย มีพฤติกรรมเป็นอลัชชี อาศัยความเป็นพระในคราบผ้าเหลือง ไม่ยดึ มัน่ ในการปฏิบตั ธิ รรม ออกไปท่องเทีย่ วมัว่ สีกา เสพเมถุน ขายเครือ่ งราง ของขลัง โดยเฉพาะพระที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่ๆ ที่มีข่าวในขณะนี้ รื้อโบราณสถาน ไล่รื้อบ้านเรือนของผู้คนในชุมชนที่ อยู่กับวัดมาเป็นเวลาร้อยๆ ปี อันเป็นเพราะรัฐฆราวาสและรัฐสงฆ์ได้ให้อำ� นาจกฎหมายแก่ พระเทวทัตเหล่านัน้ ปฏิบตั กิ ารรือ้ ชุมชนเอาที่ไปขาย หรือไปให้นายทุน ก่อสร้างสถานที่ทางธุรกิจและอาคารพาณิชยสถาน เท่าที่ข้าพเจ้าไปสัมผัสมาพบว่า คนไทยที่เป็นชาวบ้านเป็น ปัญญาชนผูม้ คี วามสุขมวลชนนัน้ มีแนวโน้มทีจ่ ะนับถือพระพุทธศาสนา แค่เพียงพระพุทธ พระธรรมเท่านั้น พระสงฆ์หายไปมาก แต่มีการ

กราบไหว้นบั ถือทีเ่ ป็นทีพ่ งึ่ ทางจิตใจและสมานความสัมพันธ์ทางสังคม ของคนในชุมชนแทน “ผี” ดูพงึ่ ได้ในโลกนีแ้ ต่พทุ ธเป็นเรือ่ งของตามบุญตามกรรม ในโลกหน้า ชีวิตในชุมชนถ้าหากขาดพระพุทธ พระธรรม และผีแล้ว คงหาความสุขมวลรวมได้ยาก ทุกวันนี้ที่ใดมีวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนมีชื่อวัดและบ้าน เป็นชื่อเดียวกันเท่านั้น แต่วัดไหนที่กลายเป็นวัดใหญ่โต สร้างด้วย อิฐด้วยหินในรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อลังการเกินฐานะของผู้คน ในชุมชนแล้วก็มีอคติไว้ก่อนได้เลยว่า วัดนั้นไม่เป็นวัดของชุมชนหาก เป็นอาศรมของพระดังๆ ที่มีนายทุนและผู้ที่มีอ�ำนาจทางเศรษฐกิจ การเมืองมาช่วยสร้างและสนับสนุน ต่างกับศาลผีที่ด�ำรงอยู่กับ ชาวบ้านชาวเมืองอย่างยั่งยืน ในที่ สุดก็ อยากแสดงความเห็ นว่า GDP นั้ น เป็น เรื่ อง ของปัจเจก โดยเฉพาะในหมู่คนที่เน้นวัตถุมากกว่าความสุขทางจิต วิญญาณ ในขณะที่ GNH คือความสุขมวลรวมของคนในชุมชนทีส่ บื มา แต่สังคมชาวนา

ความ หลาก ทางสั งกคมและวั ฒนธรรม โดย วลั ย ลั ษณ์ ทรงศิ ร ิ หลาย

การสร้างงานประวัติศาสตร์ เพื่อตอบสนองสังคมในปัจจุบัน

วันพุธที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ท�ำพิธีมอบรางวัลที่ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ดีเด่น โดยมอบรางวัลแก่ผู้ท�ำงาน และผู้เขียนงานจ�ำนวน ๔ รางวัล ท่ า นแรกคื อ ที่ ป รึ ก ษามู ล นิ ธิ เ ล็ ก -ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์ รองศาสตราจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม ได้แก่ “รางวัลแด่บคุ คลทีท่ ำ� งาน ด้านประวัติศาสตร์อีสาน” ส่วนอีก ๓ รางวัลเป็นรางวัลหนังสือดีเด่น คือ หนังสือ “ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนลุ่มน�้ำท่าจีน” เขียนโดย รองศาสตราจารย์ สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์, หนังสือ “๑๐๐ ปี การเมืองท้องถิ่นลุ่มทะเลสาบสงขลา” เขียนโดย สารูป ฤทธิ์ชู และ หนังสือ “ความทรงจ�ำในอ่าวปัตตานี” เขียนโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และคณะ และในครั้งนี้มีการบรรยายและเสวนาหัวข้อต่างๆ ประกอบ ด้ ว ย เช่ น การบรรยายเรื่อ ง “การกระจายอ�ำนาจท้ อ งถิ่ นและ วัฒนธรรม” โดย ศาสตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี การบรรยายเรื่อง “มองอนาคตวงการประวัติศาสตร์ไทย” โดยรองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม และการเสวนาเรื่อง “การสร้างงานประวัติศาสตร์

จดหมายข่าว

5

เพื่ อ ตอบสนองสั ง คมในปั จ จุ บั น ” โดย อาจารย์ ส ารู ป ฤทธิ์ ชู , รองศาสตราจารย์สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ โดยมีรองศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น เป็นผู้ด�ำเนินรายการ รางวั ล นี้ มี บุ ค ลากรจากมู ล นิ ธิ เ ล็ ก -ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์ เข้ า รั บ รางวั ล ด้ ว ยคื อ ผลงานจากการศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ โบราณคดีอีสาน โดย “อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม” และหนังสือจาก งานวิจัยแบบมีส่วนร่วมทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง ความทรงจ�ำ จากอ่าวปัตตานี โดย “วลัยลักษณ์ ทรงศิริ” และผู้ร่วมงานที่เป็น ชาวบ้านดาโต๊ะจากอ่าวปัตตานี ๒ ท่านคือ ดอเลาะ เจ๊ะแต และ มะรอนิง สาและ ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ ได้รับรางวัลและถูกมอบหมายให้ร่วม เสวนาเรื่อง การสร้างงานประวัติศาสตร์เพื่อตอบสนองสังคมใน ปัจจุบัน ท�ำให้อยากน�ำเสนอและทบทวนแนวคิด วิธีการในการท�ำงาน ที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เน้นมาตลอดในการท�ำกิจกรรมเพื่อ สังคมและวัฒนธรรมโดยเฉพาะในท้องถิน่ ต่างๆ ทีค่ อ่ นข้างถูกเพิกเฉย และเป็นองคาพยพส่วนน้อยในงานศึกษาทัง้ ประวัตศิ าสตร์และสังคมใน ประเทศไทย

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม รับรางวัลบุคคลที่ท�ำงานด้านประวัติศาสตร์อีสาน จากสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี หรือ สังคมวัฒนธรรมก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในโครงสร้างส่วน บนหรือประวัตศิ าสตร์ระดับชาติและเน้นผูศ้ กึ ษาจากภายนอก แต่เมือ่ ราวช่วงทศวรรษที่ ๒๕๒๐ ราว ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ในประเทศไทย ก็เริ่มมีการศึกษาในประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือประวัตศิ าสตร์จากข้างล่างหรือประวัตศิ าสตร์ของประชาชนอย่าง จริงจัง นอกเหนือไปจากประวัติศาสตร์ของชาติ, พัฒนาการของ การมีเมืองหลวงตามท้องถิ่นต่างๆ และเรื่องราวของสงครามและ ผู้น�ำหรือวีรบุรุษ ของประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ถูกเขียนขึ้นใหม่ เพื่อเหตุผลในการสร้างชาติตามยุคสมัยต่างๆ มู ล นิ ธิ เ ล็ ก -ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์ ท� ำ งานเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร เพิ่มเติมจากการศึกษาวิจัยหรือใช้แนวคิดทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ สังคม โบราณคดี และมานุษยวิทยา โดยได้รบั ค�ำแนะน�ำจากทีป่ รึกษา ของมูลนิธิฯ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม แนะน�ำและชี้ให้เห็นช่องว่าง ของการศึกษาที่สามารถน�ำไปทดลองปฏิบัติการในพื้นที่ท้องถิ่นจาก ประสบการณ์ที่เดินทางไปท�ำงานศึกษาท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ มาก่อนหน้านั้นแล้ว และเห็นความจ�ำเป็นของสังคมไทยที่จะต้องมี การทบทวนวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบรวมศูนย์ที่ผลิตแนวคิด ในเชิงวิวัฒนาการและมีกรอบจ�ำกัดของข้อมูลอยู่มาก ขาดการ ท�ำความเข้าใจชุมชนและท้องถิ่น จนท�ำให้การพัฒนาของรัฐขาดมิติ ในการเข้าใจปัญหาของชาวบ้านหรือประชาชนโดยทั่วไป ซึ่ ง ในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วอั น ตรายจากการเดิ น ทางไปสู ่ ท้องถิ่นต่างๆ เริ่มลดน้อยลง จากที่เคยมีเหตุการณ์ทางการเมือง ท�ำให้ไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ต่างๆ ได้สะดวกก็กลับดีขึ้นมาก บรรยากาศเปลี่ยนไปพร้อมๆ กับมีกระแสความต้องการศึกษาบ้าน เมืองจนถึงท้องถิน่ ของตนเองเกิดขึน้ อย่างมากมาย ครัง้ แรกๆ นัน้ เป็น ระดับภูมภิ าคจนถึงระดับจังหวัดทีเ่ ป็นเขตการปกครอง แล้วจึงมาเป็น ระดับท้องถิ่นย่อยต่างๆ แม้กระทั่งต�ำบลหมู่บ้านขนาดเล็กๆ ก็ตาม สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น ผลสื บ เนื่ อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น พร้ อ มกั บ การพั ฒ นา ประเทศ สร้างสาธารณูปโภครวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ขยับเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

จดหมายข่าว

ภาพผู้ได้รับรางวัล

ทางการเกษตรจนถึงเกษตรอุตสาหกรรม และขยายตัวเคลือ่ นย้ายของ ประชากรเพื่อหางานตามฤดูกาลที่เพิ่มขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง โครงสร้างเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่ ซึง่ เป็นผลให้เกิดการเปลีย่ นแปลง โครงสร้างทางสังคมทั้งในชนบทและเมืองตามมา การเปลี่ ย นแปลงที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ชี วิ ต วั ฒ นธรรมของ ผู้คนในโครงสร้างเล็กจึงเกิดขึ้นทั่วไป คนในชุมชนเริ่มรู้สึกไม่มั่นคง และเห็ น วี่ แ ววในผลของความเปลี่ ย นแปลงที่ ต ามมา ค� ำ ถามจึ ง เกิดขึ้นทั้งในการสร้างตัวตน การมีอยู่ของผู้คนกับพื้นที่ ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในการเป็นเจ้าของระหว่างรัฐและชุมชน ในท้องถิ่นต่างๆ การมีอยู่ของผู้คนกับรัฐว่าควรเดินไปในแนวทางใด จะมีการรวมศูนย์ทงั้ ในทางอ�ำนาจการปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม เช่นเดิมๆ ได้อีกต่อไปหรือไม่ ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ และการศึกษาทางสังคมวัฒนธรรมใน ภูมภิ าคต่างๆ จึงกลายเป็นค�ำตอบส่วนหนึง่ หลังจากเกิดการตัง้ ค�ำถาม อันเป็นผลมาจากการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตามล�ำดับ กระแสสังคมและการสร้างงานประวัติศาสตร์ ดั ง ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและ วัฒนธรรมในประเทศไทย มีบทบาทส�ำคัญในการท�ำให้เกิดการเขียน ประวัติศาสตร์ที่แตกต่างไปจากเดิม แต่กระแสการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวเป็นไปได้ยากและเกิดขึ้นได้น้อยมาก เนื่องจากเรียนรู้ ตามระบบในสถาบั น การศึ ก ษา ถื อ ว่ า หลั ก สู ต รการเรี ย นเนื้ อ หา ประวัติศาสตร์ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนประเด็นที่ยังเป็นข้อ ขัดแย้งหรืออาจจะสามารถถกเถียงหาเหตุผลเพิม่ เติมอันเป็นหัวใจของ การเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์นั้น กลับไม่สามารถถ่ายทอดวิธีการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อความคิดและการใช้ตรรกะเหตุผลต่างๆ จึงเป็นความถดถอยและกล่าวได้ว่าอาจจะล้มเหลวของการเรียน วิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ ใ นระบบตั้ ง แต่ ชั้ นเด็ ก เล็ กไปจนถึ ง สถาบั น ที่ มี การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่ไม่สามารถสร้างหลักวิธีคิดใน ทางประวัติศาสตร์ได้ นอกจากนี้ กระแสของการใช้ สื่ อ เพื่ อ การบั น เทิ ง และ 6

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ชวนเชื่อก็มักพบเห็นการน�ำเนื้อหาประวัติศาสตร์ในแบบตัวบทเดิม [Text] ไปใช้ซ�้ำตลอดเวลา จะเพื่อเอาใจรัฐในสถานการณ์การเมือง และการปกครองตามยุคสมัย หรือเพื่อสร้างค่านิยมเดิมๆ ที่ ไม่ได้ เปลี่ยนแปลง และอีกประเด็นที่ส�ำคัญคือ ไม่สามารถหาเนื้อเรื่องที่ แตกต่างไปจากกรอบความคิดเดิมๆ เพราะไม่มีการผลิตเนื้อหาทาง ประวัติศาสตร์ในแนวทางหรือประเด็น [Theme] ใหม่ๆ อันเป็นชุด ความคิดทางประวัตศิ าสตร์ทตี่ า่ งไปจากเดิมและต้องอาศัยการท�ำงาน ค้นคว้าวิจัยและแสวงหาข้อมูลอย่างยาวนาน การเขียนประวัติศาสตร์ในแนวทางที่ ใช้กันอยู่ ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ มักได้รับมาจากการศึกษาจากเอกสาร จดหมายเหตุ พงศาวดาร บันทึกต่างๆ รวมทั้งโบราณสถาน โบราณ วัตถุ เป็นส�ำคัญ และวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานเหล่านั้น แต่การศึกษาที่เน้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ใช้การศึกษาจาก ข้อมูลค�ำบอกเล่าในเชิงมานุษยวิทยาเป็นหลัก โดยศึกษาทั้งในด้าน ต�ำนาน นิทาน เรื่องเล่า ความทรงจ�ำ การตั้งถิ่นฐาน สภาพแวดล้อม อาชีพหรือการท�ำมาหากิน ระบบเครือญาติ ประเพณีพิธีกรรม ฯลฯ โดยศึกษาถึงระบบความสัมพันธ์ใน ๓ ประเด็นที่อยู่ในสภาพแวดล้อม หรือท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาในนิเวศ วัฒนธรรมหนึ่งๆ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตอ่ มนุษย์ดว้ ยกัน, ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กบั สภาพแวดล้อม และสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กบั ความเชือ่ หรืออ�ำนาจนอกเหนือธรรมชาติ ซึง่ มักเป็น สิ่งก�ำกับความสัมพันธ์ทุกประการของมนุษย์ให้มีความราบรื่น ตั้งอยู่ ในดุลยภาพ และท�ำให้ปญ ั ญาทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ในระหว่างความสัมพันธ์ ต่างๆ บรรเทาหรือขจัดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ศูนย์กลางของข้อมูลในการสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือ ประวัติศาสตร์สังคมก็ตาม จึงอยู่ที่ค�ำบอกเล่าของผู้คนในท้องถิ่น ตลอดจนการศึกษาว่ามีความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อมหรือการตั้ง ถิ่นฐานอย่างไรและสามารถเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในระดับบน หรือประวัติศาสตร์ของรัฐได้อย่างไรบ้าง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือประวัติศาสตร์สังคมจึงเป็นการ ศึกษาที่ใช้ประวัติชีวิตของผู้คน ผ่านช่วงเวลาในราว ๓ ชั่วอายุคนเป็น อย่างมาก และเป็นวิธีการสร้างงานเขียนประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม ส�ำหรับสังคมไทยโดยรวม เพราะเป็นสังคมที่ไม่นยิ มบันทึกรายละเอียด ทุกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เน้นการบอกเล่าในครอบครัว หรือในตระกูล หรือถ่ายทอดผ่านการประพฤติปฏิบัติ จนถึงกับไม่มี การถ่ายทอดกันเลย ดังนั้นโอกาสในการสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ถูกต้อง แม่นย�ำจึงมีโอกาสน้อยลงทุกทีตามเวลาที่ผ่านไป และโอกาสที่จะหา ผู้รู้ที่ถูกต้องจึงลดน้อยตามไปด้วย แม้จะมีการใช้วิธีการท�ำงานร่วม กันกับผูร้ ขู้ อ้ มูลในท้องถิน่ หรือผูเ้ ป็นเจ้าของข้อมูลในท้องถิน่ นัน้ มาร่วม ท�ำงานก็ตามที ขณะทีก่ ารเก็บข้อมูลนัน้ ต้องใช้เวลามากและท�ำได้ยาก

จดหมายข่าว

7

ทั้งการประเมิน การแสวงหาผู้รู้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจน โอกาสในการท�ำงานอย่างเต็มรูปแบบ การสร้างงานประวัตศิ าสตร์เช่นนี้ จึงเป็นงานทีอ่ อกจะท้าทาย ผู้ศึกษาหรือผู้เขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือประวัติศาสต์สังคมใน พื้นที่ต่างๆ มากทีเดียว การสร้างงานจากพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนใต้ และจากพืน้ ทีเ่ มืองเก่า กรุงเทพมหานคร การศึกษาข้ามวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ยากและต้องใช้เวลามาก ทั้งในการเตรียมตัวทั้งเรื่องภาษา การปรับตัว การเรียนรู้วัฒนธรรม ท้องถิ่น หากใช้วิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาอย่างเต็มที่แล้วอาจจะ ใช้เวลาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องไม่ต�่ำกว่า ๑ ปีเป็นอย่างน้อย แต่วิธีการศึกษาที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ใช้ในพื้นที่ ซึ่งหลายแห่งนั้นก�ำลังมีปัญหาการก่อการร้ายในเมืองและเต็มไปด้วย ความไม่มนั่ คงและหวาดระแวงทางการเมืองคือ การให้คนในพืน้ ทีเ่ ป็น ผู้เก็บข้อมูลตามแนวทางที่ ได้ศึกษาเรียนรู้หรือพูดคุยปรึกษากันก่อน ท�ำงานในท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งแม้ไม่ใช่พื้นที่ยังมีเหตุการณ์รุนแรง ก็ตาม ก็สามารถใช้วธิ กี ารนี้ได้ดกี ว่าการท�ำงานจากนักวิชาการแต่เพียง ฝ่ายเดียว เพราะค่อนข้างใช้เวลาในการศึกษามาก คนในพื้นที่เข้าถึง ข้อมูลล�ำบากหรือเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล [Informants] เท่านั้น กระบวนการมีส่วนร่วมในการเขียนงานประวัติศาสตร์เหล่า นั้นจึงน้อยไปด้วย ทั้งที่ปรัชญาของการเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือประวัตศิ าสตร์สงั คมนัน้ ควรให้คนในท้องถิน่ หรือคนในพืน้ ทีม่ สี ว่ น ร่วมในการแสดงความเห็นหรือน�ำข้อมูลท้องถิน่ มาร่วมใช้ประกอบงาน ศึกษาเป็นหลัก นอกจากการให้ผู้ศึกษาในท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างทัดเทียม กันแล้ว ก็ยงั ต้องท�ำงานด้วยการเข้าไปมีสว่ นร่วมอย่างใกล้ชดิ ทัง้ การ ประเมินข้อมูล การจัดวงเสวนาวงย่อยในชุมชน การน�ำเสนอข้อมูล ความก้าวหน้าโดยมีทปี่ รึกษาซึง่ มีความช�ำนาญคอยดูแลหรือตรวจสอบ อย่างสม�่ำเสมอ เมือ่ ถึงขัน้ ตอนของการเขียนรายงาน ต้องเปิดโอกาสให้คนใน พื้นที่น�ำเสนอผลงานรูปแบบต่างๆ หรือจัดการเสวนาทั้งในพื้นที่และ นอกพื้นที่เพื่อท�ำให้เกิดการรับรู้ของคนท้องถิ่น ส�ำหรับปัญหาที่อาจ จะท�ำให้เกิดความขัดแย้งหรือมีข้อเคลือบแคลงสงสัยเพื่อจะได้ท�ำให้ เกิดการตอบรับมากที่สุด ซึ่งผลจากการท�ำงานวิจัยหรือเขียนงานดังกล่าวนี้สามารถ น�ำไปใช้ประโยชน์โดยประยุกต์เป็นการสร้างนโยบายการพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ การผลิตหนังสือประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ส�ำหรับเด็กในการเรียนหลักสูตรเรือ่ งประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีเ่ ริม่ มีมาก ขึ้น การสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หรือการท่องเที่ยวท้องถิ่นได้อีกมาก ส่วนการเขียนประวัตศิ าสตร์สงั คมหรือประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ในเขตเมืองเก่า เช่น กรุงเทพมหานคร แม้จะมีภาพพจน์ว่าเป็นเมือง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ที่ไม่มีชุมชนแบบชนบทหรือชุมชนที่มีโครงสร้างทางสังคมแบบชนบท แต่การเข้าไปศึกษานั้น พบว่า กรุงเทพมหานครก็ยังมีโครงสร้าง ทางสังคมแบบเดิมที่ยังคงมีวัดเป็นศูนย์กลาง และมีบ้านที่ยังพึ่งพา วัดอยู่ แต่ก็มีเฉพาะบางแห่งที่ ไม่สนใจชาวบ้านเลย มีกลุ่มอาชีพ เฉพาะ มีตลาดที่เป็นพื้นที่ค้าขายและอยู่อาศัย และอยู่กันตามตรอก บ้านหลังเก่าทีผ่ คู้ นส่วนใหญ่ออกไปจากชุมชนเนือ่ งจากครอบครัวใหญ่ ขึ้นต้องการพื้นที่อยู่อาศัยนอกเมืองมากขึ้น ชุมชนมีคนดั้งเดิมน้อย ลงและถูกแทนที่ด้วยคนต่างพื้นที่ทั้งต่างจังหวัดและต่างชาติท่ีเข้ามา เช่าบ้านเรือนใกล้ที่ท�ำกินเพื่ออยู่อาศัย การท�ำงานในเมืองที่ท�ำยากเพราะความไว้วางใจนั้นเป็นสิ่ง ที่ต้องสร้างร่วมกันเสียก่อน และส่วนใหญ่เป็นการท�ำงานเชิงปริมาณ เช่น การใช้แบบสอบถามมากกว่าจะเป็นการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ ซึง่ จะได้รายละเอียดมากมายและต้องใช้เวลามากในการท�ำงานเช่นนี้ ส่วนวิธกี ารเก็บข้อมูลนัน้ มีรปู แบบและโครงสร้างเช่นเดียวกับ การท�ำงานข้างต้น แต่สงิ่ ส�ำคัญทีจ่ ะต้องตระหนักอย่างยิง่ ก็คอื ปัญหา ของเมืองนัน้ คือพืน้ ทีห่ ลายแห่งเต็มไปด้วยการอยูอ่ าศัยในพืน้ ทีซ่ งึ่ ผูอ้ ยู่ อาศัยในชุมชนไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โอกาสในการเกิดปัญหา เช่น การถูกไล่รื้อจึงเกิดมาก การท�ำงานเพื่อสร้างประวัติศาสตร์สังคมต่างๆ ก็มักจะ เป็นการเขียนประวัติศาสตร์เพื่อวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือจากการ

เรียนรู้แล้ว ยังต้องการแสดงออกถึงความเป็นมาและการมีรากเหง้า ที่เคยอยู่กันมาเป็นชั่วอายุคน เพื่อสนับสนุนการเป็นย่านเก่า หรือย่าน อยู่อาศัยที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าซึ่งสมควรถูกเก็บ รักษาไว้มากกว่าถูกท�ำลายไป เพือ่ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือจัดท�ำ พืน้ ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ทจี่ ดั การผูค้ นให้ยา้ ยออกไปแทนทีจ่ ะจัดระเบียบให้ มีคนอยู่อาศัยได้ การเขียนประวัตศิ าสตร์ของเมืองกรุงเทพฯ จึงควรทีจ่ ะตอบ สนองความเป็นธรรมแก่ผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองที่ควรค�ำนึงมากกว่า การจัดการตามกฎหมาย โดยไม่ค�ำนึงถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ของเมือง การเขียนประวัติศาสตร์ของผู้คนหรือประวัติศาสตร์สังคม ในกรุงเทพมหานครนั้นไม่เคยมีงานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน นอกจากการเขียนประวัตศิ าสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างบ้านเมือง ในระยะแรก ประวัติศาสตร์การเมืองสมัยต่างๆ ผู้คนชั้นสูง พ่อค้า คหบดีต่างมีคนเขียนถึงหรือลูกหลานจัดท�ำศึกษา หรือนักเก็บสะสม ข้อมูลเก่า ดังนั้นจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนงานประวัติศาสตร์ สังคมหรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่านต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ก่อน ที่จะหมดสิ้นผู้รู้ที่ยังก่อนที่จะไม่มีผู้ใดบอกเล่าเรื่องราวในอดีตของ กรุงเทพฯ อีกต่อไป

พระนคร บัโดยนอภิทึญกญา นนท์นาท

ศาลเจ้าเซี้ยอึ้งกง

: ศาลเจ้าหลักเมืองในย่านส�ำเพ็ง

ในกลุ่มศาลเจ้าจีนที่ตั้งอยู่บริเวณย่านทรงวาดและส�ำเพ็ง ศาลเจ้าเซี้ยอึ้งกงหรือศาลเจ้าหลักเมืองตั้งอยู่ที่ตรอกชัยภูมิ ถือว่า เป็น หนึ่งในศาลเจ้าที่มีความเก่าแก่และมีคติความเชื่อที่น่าสนใจ แตกต่างจากศาลเจ้าอื่นๆ ในย่านนั้น ทั้งที่เป็นความส�ำคัญในฐานะ เทพเจ้าหลักเมืองของชาวจีนในย่านส�ำเพ็งและคติความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับความตาย ตรอกชัยภูมิ เป็นตรอกเล็กๆ อยู่ทางด้านข้างศาลเจ้า เล่าปุนเถ่ากงและโรงเรียนเผยอิง เชื่อมต่อระหว่างถนนทรงวาดกับ ซอยวานิช ๑ ภายในตรอกมีชุดอาคารห้องแถว ซึ่งเป็นอาคารเก่าที่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกกันว่า “ตึกสิบห้อง” มีความโดด เด่นที่ลวดลายไม้แกะสลักประดับอาคารที่ยังคงหลงเหลืออยู่ จากค�ำบอกเล่าของคุณมนตรี สุขกมลสันติพร ผูด้ แู ลศาลเจ้า หลักเมืองและคนเก่าแก่ในชุมชนมิตรชัยภูมิกล่าวว่า เดิมตรอกชัยภูมิ

จดหมายข่าว

มีชื่อเรียกที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าตรอกแตง ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็น ตรอกชัยภูมิภายหลัง ค�ำเรียก ตรอกแตง นั้น ยังปรากฏอยู่ในแผนที่ เก่าทีค่ น้ ได้จากหอสมุดแห่งชาติ ซึง่ เป็นแผนทีแ่ สดงอาณาเขตของศาล เจ้าเก่าหรือศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ก่อนมีการตัดถนนทรงวาด จากค�ำบอกเล่าถึงประวัติและความส�ำคัญของตรอกแตง พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ “เจ้าสัวติก” คหบดีชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งมีบ้าน อยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาถัดจากท่าน�้ำศาลเจ้าเก่า ซึ่งน่าจะเป็นบริเวณ ตรอกเจ้าสัวติกล้ง ริมถนนทรงวาดในปัจจุบันคนเก่าแก่ในชุมชนมิตร ชัยภูมยิ งั คงบอกเล่าเรือ่ งราวของการเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานของกลุม่ ชาวจีน ภายในชุมชนว่า เจ้าสัวติกได้อปุ ถัมภ์และจัดสรรทีอ่ ยู่ให้กลุม่ คนจีนโพ้น ทะเลที่มาจากต�ำบลเดียวกัน ให้มาตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณตรอกแตง ภายหลังจากเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ ในต�ำบลส�ำเพ็งเมื่อราว ร.ศ. ๑๒๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นเหตุ

8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


“เซี้ยอึ้งกง” เทพประธานภายในศาลเจ้า ภาพในอดีตของกลุ่มช่างทอสายที่บ้านสายรัดประค

ชุดอาคารเก่า ภายในตรอก ชัยภูมิ สร้างขึ้น สมัยรัชกาลที่ ๕

ให้มีการตัดถนนทรงวาดขึ้น และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เจ้าสัวติกได้ ขอพระราชทานที่ดินสร้างอาคารตึกแถวภายในตรอกแตง และแบ่ง ที่ดินส่วนหนึ่งสร้างเป็นศาลเจ้าขนาดเล็กๆ เพื่อประดิษฐานเทพเจ้า หลักเมืองหรือเซี้ยอึ้งกงที่อัญเชิญมาจากเมืองจีน เทพเจ้าหลักเมืองเป็นเทพประธานของศาลท�ำเป็นเทวรูป แต่งกายแบบขุนนางจีนโบราณ และมีเทพบริวารขนาบอยู่ซ้ายขวา นอกจากนี้ ภ ายในศาลยั ง เป็ น ที่ เ ก็ บ รั ก ษาระฆั งโบราณ ที่มีจารึกปีศักราชกษัตริย์เต้ากวงปีที่ ๒๒ แห่งราชวงศ์เช็งอีกด้วย คุณสมชัย กวางทองพาณิชย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรม จีน และเป็น “คนใน” ที่มีความสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภายในย่านส�ำเพ็งและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แสดงความเห็นเรื่องศาลเจ้า เซี้ยอึ้งกงว่า ในเมืองจีนจะมีการตั้งศาลเจ้าหลักเมืองขึ้น บริเวณ ข้างก�ำแพงเมืองหรือคูเมือง บริเวณที่เป็นทางเข้าออกเมืองจะต้อง ผ่านศาลนี้เพื่อเป็นการขออนุญาต ความส�ำคัญของศาลเจ้าหลักเมือง ในคติความเชื่อของชาวจีนยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของความตายอีกด้วย คือมีความเชื่อว่าเทพเจ้าหลักเมืองมีหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของ ดวงวิญญาณ หากมีผู้เสียชีวิตจะต้องมาไหว้เพื่อแจ้งบอกกล่าวองค์ เทพหลักเมืองให้ทราบก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายน�ำศพ ไปฝัง ส�ำหรับที่ศาลเจ้าเซี้ยอึ้งกงแห่งนี้มีคติความเชื่อเช่นเดียวกัน เมื่อมีคนที่อาศัยในบริเวณย่านนี้เสียชีวิตไป ลูกหลานจะต้องมาไหว้ แจ้งบอกกล่าวต่อเทพเจ้าเพื่อให้ช่วยคุ้มครองดวงวิญญาณ ซึ่งยังคง เป็นประเพณีปฏิบัติที่ยึดถือมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้คุณสมชัยยังแสดงความเห็นว่าจากความส�ำคัญ ของศาลเจ้ า หลั ก เมื อ ง อาจจะเป็ น องค์ ป ระกอบหนึ่ ง ที่ แ สดงถึ ง “ความเป็นเมือง” ของย่านส�ำเพ็งในมโนทัศน์ของชาวจีนที่เข้ามา

จดหมายข่าว

9

ตั้งถิ่นฐานในย่านนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของสภาพพื้นที่ ล�ำคลอง ตรอก และศาลเจ้าส�ำคัญ พบว่าจากบริเวณริมแม่น�้ำ เจ้าพระยาขึ้นไป จุดส�ำคัญที่เป็นประธานของเมืองคือ ศาลเจ้าเล่า ปุนเถ่ากง ซึ่งเป็นศาลเจ้าใหญ่และเก่าแก่ของกลุ่มชาวจีนแต่จิ๋ว ดังที่ มีเรื่องเล่ากันว่า สมัยก่อนคณะงิ้วที่เดินทางมาจากเมืองจีน จะต้อง ขึ้นมาเล่นถวายที่ศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากงเป็นเวลา ๑ คืน ก่อนที่จะเดิน ทางไปแสดงยังที่อื่นได้ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของศาล เจ้าเล่าปุนเถ่ากงว่าไม่ ใช่เฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้นที่ ให้ความศรั ทธา หากแต่รวมถึงกลุ่มคนจีนที่เข้ามาใหม่ด้วย ในอดีตศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ถูกขนาบข้างด้วยคลองส�ำคัญ คือคลองมังกรและคลองโรงกระทะ ปัจจุบันถูกถมเป็นถนนมังกร และถนนเยาวพานิช และมีตรอกโรงโคม (เต็งลั้งโกย) เป็นเส้นทาง สัญจรส�ำคัญที่เป็นเสมือนแกนหลักของย่านในยุคก่อนตัดถนนสาย ต่างๆ ตรอกโรงโคมเป็นเส้นทางเชื่อมจากท่าน�้ำศาลเจ้าเก่า (ศาลเจ้า เล่าปุนเถ่ากง) เข้าไปสู่ตลาดเก่า ผ่านศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ไปถึง ศาลเจ้าปอเต็กตึ๊งที่ย่านพลับพลาไชย จากสภาพพื้นที่ของย่านส�ำเพ็ง ดังกล่าวนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงภาพความเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ดังนั้น การตั้งศาลเจ้าหลักเมืองขึ้นในบริเวณนี้ จึงน่าจะเป็นสิ่งที่เน้นย�้ำถึง แนวคิดดังกล่าวด้วยก็เป็นได้ นอกจากนี้ศาลเจ้าเซี้ยอึ้งกงยังมีคติความเชื่อที่เป็นเรื่อง เฉพาะของท้องถิน่ อีกด้วย จากค�ำบอกเล่าของคุณวิเชียร สุขกมลสันติ พร เจ้าของร้านเตียท่งเซ้ง ร้านท�ำซาลาเปาและขนมมงคลที่สืบทอด มาถึง ๓ รุ่นภายในตรอกชัยภูมิ กล่าวว่าบางคนเรียกศาลเจ้าแห่งนี้ว่า “ศาลเจ้าขีย้ า”เพราะสมัยก่อนคนนิยมน�ำฝิน่ มาเป็นเครือ่ งแก้บนให้เทพ บริวารของเทพเซี้ยอึ้งกง เพราะเชื่อกันว่าเทพบริวารทั้ง ๒ องค์มีหน้า ที่ช่วยรับดวงวิญญาณซึ่งต้องท�ำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน จึงต้องน�ำฝิ่น มาถวายเพราะคิดว่าฝิ่นเป็นยาที่ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า ดังนั้นผู้ที่มา บนบานขอให้หายโรคภัยไข้เจ็บ เมือ่ มาแก้บนจะน�ำฝิน่ มาป้ายทีป่ ากของ รูปเคารพเทพบริวารทั้ง ๒ องค์ในยุคที่ฝิ่นกลายเป็นของผิดกฎหมาย จึงเปลี่ยนเครื่องแก้บนเป็นบุหรี่ กาแฟด�ำ หรือชาร้อนตามสมควร การน�ำฝิ่น มาเป็นเครื่องแก้การบนบานศาลดังกล่าวนั้น ยังปรากฏว่าเป็นความเชื่อที่พบในศาลเจ้าจีนแห่งอื่นๆ อีกด้วย เพราะ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


โรงฝิ่นถือว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่นิยมในกลุ่มแรงงานชาว จีน ดังจะเห็นได้ว่าหากที่ใดมีชุมชนชาวจีน ย่อมเคยมีโรงฝิ่นเกิดขึ้น ควบคู่กันเสมอ สมัยก่อนที่ตรอกแตงหรือตรอกมิตรชัยภูมิยังเคยเป็น ที่ตั้งของโรงยาฝิ่น รวมถึงแหล่งเริงรมย์สำ� หรับบุรุษ ซึ่งแหล่งที่ขึ้น ชื่อภายในตรอกชัยภูมิคือ “กิมเทียนเหลา” โรงโสเภณีที่มีหญิงสาว ชาวจีนกวางตุ้งคอยให้บริการ อย่างไรก็ตามแหล่งเริงรมย์ดังกล่าวได้ เลิกราไปตามยุคสมัย ปัจจุบันอาคารต่างๆ ภายในตรอกส่วนมากถูก ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและบางส่วนถูกปรับเป็นโกดังส�ำหรับเก็บสินค้าของ ร้านในตลาดส�ำเพ็ง ในขณะที่ยุคสมัยแปรเปลี่ยน สภาพวิถีชีวิตของผู้คนในย่าน ส�ำเพ็งเริ่มเปลี่ยนแปลงตามกันไป แต่ศาลเจ้าเซี้ยอึ้งกงหรือศาลเจ้า

หลักเมืองยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจและที่นับถือศรัทธาของคนเชื้อสาย จีนในย่านส�ำเพ็งเรือ่ ยมา ดังจะเห็นว่าศาลเจ้าหลักเมืองไม่เคยว่างเว้น จากผู้ที่มาสักการบูชา โดยเฉพาะในช่วงวันที่ ๒๕–๒๖ มิถุนายนของ ทุกปี ซึ่งเป็นงานประเพณีประจ�ำปีไหว้เจ้าพ่อหลักเมือง และในช่วง เทศกาลส�ำคัญของชาวจีน เช่น ตรุษ จีน สารทจีน ทิ้งกระจาด เช่น เดียวกับศาลเจ้าจีนแห่งอืน่ ๆ ในบริเวณย่านจีนแห่งนีท้ ยี่ งั คงรักษาความ เป็นศูนย์รวมจิตใจของลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเลสืบมาจนถึงปัจจุบัน ขอขอบคุณ คุณสมชัย กวางทองพาณิชย์, คุณมนตรี สุขกมลสันติพร และคุณวิเชียร สุขกมลสันติพร

พระนคร บัโดยนวลัทึยกลักษณ์ ทรงศิริ

ความสับสนในที่มาของชื่อ

“นางเลิ้ง”

จากค�ำบอกเล่าของย่าแห แก้วหยก ชาวมอญค้าขายทาง เรือแห่งบ้านศาลาแดงเหนือ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีผู้ ล่วงลับไปแล้วเล่าว่า ครอบครัวคนค้าขายทางเรือใช้เรือกระแชง ล�ำใหญ่รับเอาสินค้าเครื่องปั้นดินเผาจากเกาะเกร็ดและบางส่วน จากราชบุรีขึ้นล่องไปขายในระหว่างพื้นที่ภาคกลางตั้งแต่ปากแม่น�้ำ เจ้าพระยาขึ้นไปจนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์และพิษ ณุโลกของที่ขายส่วน ใหญ่จะเป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาและถ้วยชาม สินค้าอื่นๆ ก็มีปูนแดง เกลือ กะปิ น�้ำปลา ปูเค็ม ปลาเค็ม เต้าเจี้ยว ไตปลา ของแห้งต่างๆ ที่ใช้ในครัวเรือน ใส่เรือกระแชงชักใบล่องเรือไปขายคราวละไม่ตำ�่ กว่า ๓-๔ เดือน ปีละ ๒-๓ ครั้ง เมื่อคราวคนรุ่นย่ายายยังสาว พวกเครื่องปั้นดินเผาจะไปรับ ของทีเ่ กาะเกร็ดและบ้านหม้อทีค่ ลองบางตะนาวศรีใกล้ๆ เมืองนนท์ฯ ส่วนสินค้าของแห้งจะไปจอดเรือแถบสามเสนหรือซังฮี้ แล้วว่าเรือเล็ก เข้าไปซื้อแถวคลองบางหลวง ตลาดพลู หรือทางคลองโอ่งอ่างตาม แต่แหล่งสินค้าขึ้นชื่อจะมีที่ใด น�ำไปขายตามรายทางจนถึงปากน�้ำโพ เข้าแม่น�้ำน่านไปแถวบางโพท่าอิฐที่อุตรดิตถ์ก็มี ส่วนแม่น�้ำปิงท้องน�้ำ ทีเ่ ต็มไปด้วยหาดทรายท�ำให้เดินเรือไม่สะดวกจึงไม่ขนึ้ ไป บางล�ำก็แยก ทีอ่ ยุธยาเข้าไปทางป่าสักขึน้ ไปจนถึงแก่งคอยและท่าลานบางรายแยก ไปทางล�ำน�ำ้ ลพบุรเี ข้าบางปะหัน มหาราช บ้านแพรก บ้านตลุง ลพบุรี วิธีการค้าขายก็จะใช้สินค้าเหล่านี้แลกข้าวเปลือกเป็นหลัก ขากลับ

จดหมายข่าว

เรือมอญบ้านศาลาแดงเหนือรุ่นที่ ๓ ไปซื้อโอ่งราชบุรีที่โรงงาน บ้านท่าเสา จังหวัดราชบุรี ถ่ายภาพโดยมาณพ แก้วหยก พ.ศ. ๒๕๓๘

จะบรรทุกข้าวเปลือกมาเต็มล�ำเอาไปขายโรงสีแถวกรุงเทพฯ ในคลอง ผดุงกรุงเกษมที่มีอยู่หลายเจ้า การค้ า ขายเช่ น นี้ เ องที่ ท� ำ ให้ ย ่ า นริ ม น�้ ำ บริ เ วณคลอง ผดุงกรุงเกษม แถบปากคลองเปรมประชากรที่เดินทางออกไปยัง พื้นที่นอกเมืองได้สะดวกและอยู่ฝั่งตรงข้ามกับปากคลองวัดโสมนัสฯ และปากคลองจุลนาค ที่ใช้เส้นทางน�้ำไปออกคลองมหานาค ย่านเส้น ทางเดินทางส�ำคัญเพื่อออกนอกเมืองทางฟากตะวันออกได้และเรื่อย มาจนถึงเชิงสะพานเทวกรรมฯ 10

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เรือมอญบ้านศาลาแดงเหนือรุ่นที่ ๒ จอดขายโอ่งราชบุรีในคลองชลประทาน สะพานอ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เรือของนางสุนทร เรืองเพชร ถ่ายในราว พ.ศ. ๒๕๑๒ หรือ ๒๕๑๗

สาวงามและการถ่ายแบบ กับตุ่ม “อีเลิ้ง”

ตุ่มอีเลิ้งคนในพระนครยังเรียกว่าตุ่มนครสวรรค์ น่าจะ มาจากชื่อถนนนครสวรรค์ที่ต่อจากสะพานเทวกรรมฯ ไปยังประตู พฤฒิบาศที่กลายเป็นสะพานผ่านฟ้าฯ ในปัจจุบัน บริเวณนี้น่าจะเป็น ย่านค้าขายเพราะมีปากคลองใหญ่นอ้ ยทีพ่ กั จอดเรือและเป็นตลาดขึน้ สินค้าหรือจะหาสินค้าพวก “ตุ่มสามโคก” หรือ “อีเลิ้ง” ที่คนมอญ (พิศาล บุญผูก) กล่าวว่าไม่ใช่ภาษามอญ เพราะคนมอญเรียกโอ่ง ว่า “ฮะรี” และภาชนะเครื่องปั้นดินเผาพวกโอ่งอ่างต่างๆ มาตั้งแต่ เมื่อขุดคลองขุดเสร็จใหม่ๆ ชุมชนแถบนี้เคยเป็นย่านที่อยู่ใหญ่ท้ังตึก ชั้นเดียว บ้านชั้นเดียว ผู้คนย้ายมาจากหลายแห่งทั้งภายในพระนคร และคนจากเรือมาขึน้ บกก็มบี า้ งและมาจากต่างจังหวัดที่ใช้เรือค้าขาย รอนแรมมาจากท้องถิ่นอื่นๆ และบอกเล่าสืบกันมาว่าบ้างมีเชื้อสาย มอญที่เคยมาค้าขายภาชนะต่างๆ ย่านนี้คือฝั่งด้าน ‘ตรอกกระดาน’ ต่อเนื่องมาจากริมคลองผดุงกรุงเกษมและอยู่ทางฝั่งเหนือตลาด นางเลิ้งและบริเวณตรงข้ามกับแถบตลาดนางเลิ้งบนถนนศุภมิตร แต่ ห ลั ง จากการไล่ ที่ เ พราะเจ้ า ของต้ อ งการขายที่ ไ ปเมื่ อ ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้คนจากฟากย่านนางเลิ้งฝั่งที่ดินมีเจ้าของของเหนือ ถนนศุภมิตรแตกสานซ่านกระเซ็นไปจนหมดแล้วจึงสร้างตึกขึ้นมา ภายหลัง “ตุ่มสามโคก” หรือ “ตุ่มอีเลิ้ง” ลักษณะปากและก้นแคบ ป่องกลาง เนื้อดินสีแดงใบไม่ ใหญ่นักและมีขนาดเล็กใหญ่ต่างๆ กัน เพราะเคยปรากฏข้อความถึงการท�ำอาหารพวกน�้ำยาเลี้ยงคน จ�ำนวนมากก็ใส่อีเลิ้งหลายใบด้วยกัน เป็นของรุ่นเก่าที่เล่ากันว่าผลิต แถวสามโคกซึ่งยังหาร่องรอยไม่ได้ว่าผลิตขึ้นที่ ใดและเลิกท�ำกันไป ตั้งแต่เมื่อไหร่และแม้แต่เตาสามโคกที่วัดสิงห์ ก็ยังไม่พบร่องรอย การผลิตนั้น จะมีเลียนแบบตุม่ สามโคกทีร่ จู้ กั แหล่งผลิตก็คอื ตุม่ ปากเกร็ด ที่ รู ป ร่ า งคล้ า ย แต่ คุ ณ ภาพและเนื้ อ ดิ น แตกต่ า งและด้ อ ยกว่ า ผู้คุ้นเคยกับตุ่มสามโคกมองๆ ดูก็รู้ ตุ่มปากเกร็ดหรือโอ่งแดงเหล่า

จดหมายข่าว

11

นี้ปั้นขายกันแพร่หลายและก็เรียกกันต่อมาอย่างเข้าใจผิดว่าเป็น ตุ่มสามโคกเช่นเดียวกัน ส่วนโอ่งมังกรที่เป็นแบบเคลือบและเนื้อแกร่งกว่า “อีเลิ้ง” น่าจะมีการผลิตขึ้นก่อนแถบริมคลองผดุงกรุงเกษม โอ่งรุ่นแรก จะเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีลวดลาย ต่อมาจึงใส่ลายมังกรเข้าไปภายหลัง ที่วัดศาลาแดงเหนือมีโอ่งมังกรลายหมูป่าฝีมือดีอยู่ ใบหนึ่งเขียน ข้อความเป็นภาษาไทยตัวใหญ่ว่า “อยู่เย็นเป็นสุข” เขียนแหล่งผลิต เป็นภาษาไทยว่า “คลองขุดใหม่” และยี่ห้อภาษาจีน สันนิษฐาน ว่าเป็นโอ่งเคลือบแบบโอ่งมังกรรุ่นแรกๆ ที่ผลิตในประเทศไทย และศู น ย์ ก ลางแหล่ ง ผลิ ต และย่ า นการค้ าโอ่ ง มั ง กรแต่ แ รกคื อ แถบคลองผดุงกรุงเกษมหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า คลองขุดใหม่ ส่วนโอ่งมังกรของราชบุรี ท�ำโดยช่างชาวจีน ที่เลียนแบบโอ่งจาก เมืองจีนน่าจะผลิตเมื่อราว ๗๐-๘๐ ปีมาแล้วนี่เอง ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพลแล้ว บางรายยังคงใช้ เรือบรรทุกเฉพาะโอ่ง หม้อ ครก กระถางไปขายตามล�ำคลองแถบ คลองรังสิต คลองบางซื่อ คลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ เป็นพ่อค้าเร่ทางเรือที่ ไม่ไกลบ้านเหมือนในอดีต ซึ่งคนรุ่นพ่อแม่ของชาวบ้านศาลาแดงเหนือที่อายุราว ๕๐ ปีขึ้นไป วิ่งเรือไปเอาโอ่งมังกรโดยใช้เส้น ทางคลองภาษีเจริญผ่านท่าจีน เข้าคลองด�ำเนินสะดวกออกแม่กลองทีบ่ างนกแขวก แล้วล่องไปรับโอ่ง มังกรที่ราชบุรี แต่ขากลับเรือที่เพียบแประต้องการพื้นน�้ำที่ไม่วุ่นวาย เหมือนเส้นทางที่ผ่านมาก็จะเข้าทางแม่น�้ำท่าจีนขึ้นไปทางสุพรรณบุรี ผ่านประตูน�้ำบางยี่หน ผ่านบางปลาหมอ มาออกบ้านแพน แล้ว ล่องแม่น�้ำน้อยมาออกแม่น�้ำเจ้าพระยาแถวลานเท การค้าหม้อค้าโอ่งทางเรือค่อยๆ เลิกรา เพราะคลองเริ่ม เดินเรือไม่สะดวกและตลาดหรือที่ชุมชนไม่ ใช่พื้นที่ริมฝั่งคลองอีก ต่อไป เริ่มมีการเปลี่ยนจากเรือมาเป็นรถกันตัง้ แต่ราวปี พ.ศ. ๒๕๑๗ สมมติฐานเรื่องการค้าขายภาชนะ เช่น ตุ่มสามโคกหรือ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


“อีเลิ้ง” ของชาวเรือมอญจากแถบสามโคกก็พ้องกันกับเรื่องราวของ ชื่อ “นางเลิ้ง” ที่เปลี่ยนตามสมัยนิยมของคนมีการศึกษาในเมืองไทย ที่ไปเข้าใจค�ำว่า “อี” ที่ใช้มาแต่เดิมแต่โบราณนัน้ เป็นค�ำไม่สภุ าพ จาก ค�ำเรียกภาชนะแบบทับศัพท์ภาษามอญที่ใช้มาตัง้ แต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยา ที่บันทึกว่าในย่านคลองสระบัว แหล่งท�ำภาชนะใช้ในครัวเรือนส�ำหรับ ชีวิตประจ�ำวันก็มีการท�ำภาชนะใส่น�้ำแบบอีเลิ้งด้วย และคงมีการปั้น โอ่งหรือตุม่ รูปทรงนีต้ อ่ มาจนเข้าสูส่ มัยกรุงเทพฯ จากภาชนะทีเ่ รียกว่า อีเลิ้ง และเรียกย่านนั้นว่าอีเลิ้ง ก็กลายมาเป็นย่านนางเลิ้งตามจริต คนไทยให้ฟังดูสุภาพเสีย เพราะมีการเปลี่ยนชื่อเช่นนี้เสมอ เช่น หอยอีรมเป็นหอยนางรม, นกอีแอ่นเป็นนกนางแอ่น หนังสือพิมพ์บางกอกสมัยฉบับวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ กล่าวถึงการเสด็จพระราชด�ำเนินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเปิดตลาดนางเลิ้งรวมทั้งงานรื่นเริงต่างๆ นั้น ก็เขียนถึง ตลาดนี้ ในชื่อว่า “ตลาดนางเลิ้ง” มาตั้งแต่ครั้งเริ่มท�ำพิธีเปิดอย่าง เป็นทางการแล้ว ค� ำ ว่ า นางเลิ้ ง พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๕ และ พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่า “นางเลิ้ง” และ “อีเลิ้ง” เป็น ค� ำ นามหมายเรี ย กตุ ่ ม หรื อโอ่ ง ใหญ่ ว ่ า ตุ ่ ม อี เ ลิ้ ง หรื อ นางเลิ้ ง หรื อ “โอ่งนครสวรรค์” ก็เรียก และยังหมายเป็นนัยถึงใหญ่เทอะทะ ปัจจุบันพบว่ามีความสับสนที่มาของชื่อ “นางเลิ้ง” ว่าเป็น ชื่อมีที่มาอย่างไร สืบเนื่องจากมีการศึกษาชุมชนและตลาดนางเลิ้ง ในราว ๑๐ ปีหลังมานี้เป็นจ�ำนวนมาก และอ้างอิงผลิตซ�้ำค�ำอธิบาย จาก “ค�ำให้การผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมท้องถิ่น” ของกรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยอ้างอิงมาจากศูนย์วัฒนธรรม กรุ ง เทพมหานคร และสถาบั น เทคโนโลยี ร าชมงคล วิ ท ยาเขต พาณิชยการพระนคร ประวัติของชุมชนแต่เดิมในบริเวณนี้ก่อน การสร้างตลาดนางเลิง้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยเสนอสมมติฐานว่าเป็น ค�ำที่สืบเนื่องจากภาษาถิ่นที่ ใกล้เคียงกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นชุมชน เขมรในพระนครที่เข้ามาพร้อมกับเชื้อพระวงศ์กษัตริย์เขมรเมื่อต้น รัชกาลที่ ๑ ข้อมูลเหล่านี้ปรากฏทั้งในอินเทอร์เน็ตและการคัดลอกผ่าน งานศึกษาวิจัยต่างๆ ว่าสมมติฐานหนึ่งมาจากค�ำว่า “ฉนัง” และค�ำ ว่า “เฬิง” ในภาษาเขมร โดยแปลรวมกันว่าเป็นภาชนะขนาดใหญ่ แม้ จะกล่าวว่าทั้งค�ำว่า “ฉนัง” และ “เฬิง” นั้นปกติในภาษาเขมรก็ไม่ได้ น�ำมารวมกัน แม้จะมีหลักฐานว่าแต่เดิมเจ้านายเขมรนั้น พระราชทาน ที่ดินให้อยู่แถบต�ำบลคอกกระบือหรือแถบวัดยานนาวา ต่อมาราว พ.ศ. ๒๓๒๙ จึงสร้างวังพระราชทานให้ที่ริมคลองเมืองเยื้องปาก คลองหลอดวั ด ราชนั ด ดา ฝั ่ ง ตรงข้ า มวั ด สระเกศซึ่ ง อยู ่ ภ ายใน พระนครที่เรียกว่า “วังเจ้าเขมร” ส่วนครัวเขมรเข้ารีตราว ๔๐๐๕๐๐ คนให้สร้างบ้านเรือนอยู่รวมกับชาวบ้านเชื้อสายโปรตุเกสที่มี ศูนย์กลางของชุมชนคือวัดคอนเซ็ปชัญและบ้านญวนสามเสน ที่มีวัด

จดหมายข่าว

เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ซงึ่ เป็นกลุม่ อพยพเข้ามาภายหลังในราวรัชกาลที่ ๓ บริเวณนี้เป็นที่รวมของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกหรือ ชาวคริสต์ตังและอยู่ต่อเนื่องสืบมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว จากนั้นมาบ้านโปรตุเกสที่นี่จึงถูกเรียกอีกชื่อว่าบ้านเขมร และวัด คอนเซ็ปชัญก็ถูกเรียกว่า “วัดเขมร” ชุมชนบ้านเขมรริมแม่น�้ำเจ้าพระยาแถบวัดคอนเซ็ปชัญนี้ มีนายแก้วที่เป็นผู้ช�ำนาญการวิชาปืนใหญ่ เนื่องจากเคยได้เรียน กับชาวโปรตุเกส ต่อมาได้รับพระราชทานต�ำแหน่งเป็น ที่พระยา วิเศษสงคราม รามภักดี จางวางกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ ๑ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายแก้วเขมรนี้เป็น หัวหน้าดูแลชาวหมูบ่ า้ นคอนเซ็ปชัญด้วย ต่อมาบุตรหลานได้รบั ราชการ สืบต่อมาเป็นล�ำดับ เชื้อสายสกุลพระยาวิเศษสงครามภักดี (แก้ว) ปรากฏอยู่คือ “วิเศษรัตน์” และ “วงศ์ภักดี” ในระหว่างรัชกาลที่ ๓ มีศึกสงครามรบกับญวนอยู่หลายปี มีชาวญวนเข้ารีตคริสต์ตังแถบ “เมืองเจาดก” ขอเข้ามาอยู่ ใน เมืองสยาม จึงน�ำมาอยู่เหนือบริเวณบ้านเขมร ภายหลังผู้คนใน บ้านเขมรมีมากขึ้นดังจากเหตุดังกล่าว จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานขยายเขตหมู่บ้านเขมรออกไปอีก ทิศเหนือจรด วั ด ราชผาติ ก าราม (วั ด ส้ ม เกลี้ ย ง) ทิ ศ ใต้ จ รดวั ด ราชาธิ ว าส (วั ด สมอราย) ทิ ศ ตะวั น ออกติ ด ถนนสามเสน ทิ ศ ตะวั น ตกจรด แม่น�้ำเจ้าพระยา ส่วนพวกญวนขยับจากที่เดิมไปบ้านเรือนทาง ด้านเหนือและสร้างโบสถ์เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์เป็นศูนย์กลางของ ชุมชนอีกแห่งหนึ่งเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙๖ ในภายหลัง (ประวัติวัด และหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญ, รวบรวมจากหนังสือที่ระลึกงานฉลองวัด คอนเซ็ปชัญครบ ๒๕๐ ปี, ห้องเอกสาร อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, คัดลอกจากอินเทอร์เน็ต ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘) จะเห็นได้ว่าไม่มีข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับชุมชนเดิมที่นางเลิ้ง สามารถเชื่อมโยงไปถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวเขมรบริเวณ ใกล้กับโบสถ์คอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นชุมชนเขมรคริสต์ตังใหญ่ปนเปกับ ผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส ส่วนที่เป็นเชื้อพระวงศ์และได้รับที่ดินและวัง พระราชทานบริเวณเยื้องปากคลองหลอดวัดราชนัดดา วังพระราชทานนัน้ หมดสิน้ ไปแล้วเมือ่ มีการบันทึกสารบาญชี ของกรมไปรษณีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และอาจเป็นเพียงการเข้าใจผิด ในชื่อสถานที่แรกตั้งถิ่นฐานที่มีชื่อ “คอกกระบือ” แถบวัดยานนาวา ที่อยู่นอกพระนครทางด้านใต้ พ้องกันกับแถบสนามกระบือทางด้าน ตะวันออกของพระนคร และการน�ำค�ำที่ปรากฏลากเข้าหาสมมติฐาน ที่ตนเองต้องการคือ “ฉนัง-เฬิง” ให้กลายเป็น “นางเลิ้ง” ดังกล่าว ขอบคุณ มาณพ แก้วหยก, บ้านศาลาแดงเหนือ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

12

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


คน

ย่โดยานเก่ า วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

วั น นี้ ชี วิ ต ที่ เ หลื อ เกิ น คุ ้ ม แล้ ว “พี่กบ ป้อมมหากาฬ”

หลังก�ำแพงคือชุมชนตรอกพระยาเพชรหรือ ชุมชนป้อมมหากาฬ ในปัจจุบัน

หากใครยังไม่เคยเห็นกรุงเทพฯ ครั้งที่ยังมีเสน่ห์และชีวิต แฝงแววตาเครียดอย่างไม่ปิดบัง คุยสนุกและแต่งตัวดูมีเอกลักษณ์ ยังเนิบช้าเมื่อเกือบศตวรรษที่แล้ว ลองไปยืนริมถนนมหาไชยฝั่ง แววตาจริ ง จั ง เพราะผ่ า นร้ อ นผ่ า นหนาวและผ่ า นมาหลายผู ้ ว ่ า ฯ วัดราชนัดดา แล้วเงยหน้าสูงๆ เพื่อมองไปที่ยอดก�ำแพงที่มีใบเสมา ผ่านเวลาที่เครียดที่สุด กลัวที่สุด และใจหายที่สุดมาแล้วมากมาย และหมู่ยอดไม้ใหญ่สูงลิ่วเป็นทิวแถวด้านหลังก�ำแพง หากเป็นยาม พี่กบชื่อจริงคือ “ธวัชชัย วรมหาคุณ” อายุเข้า ๕๗ ปีแล้ว เย็นลมจะพัดจนยอดไม้ใหญ่เอนไหวพลิ้วตามแรงลม ท�ำจิตสงบนิ่ง ผมตัดเกรียนรอบศีรษะแต่ไว้ยาวที่ด้านบน ไว้หนวด ดูเหมือนนักรบ สักพักก็คงระลึกชาติได้ ชาวบ้ า นในหนั ง พวกบางระจั น ท� ำ นองนั้ น มั กใส่ ก างเกงขาก๊ ว ย บริเวณนี้อีกเช่นกัน พวกเราคนกรุงเทพฯ เกือบจะเป็น เสื้อผ้าฝ้ายแขนยาวสีเข้มๆ และหากเพ่งใบหน้าพี่เขาดีๆ จะพบว่า พยานให้ เ กิ ด การท� ำ ลายพื้ น ที่ ช านพระนคร พื้ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย และ มีรอยแผลเป็นยาวทีห่ น้าสองสามแห่ง อันหมายถึงคงผ่านช่วงสมรภูมิ ย่านประวัติศาสตร์ส�ำคัญของคนกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นสนามหญ้า วัยรุ่นมาไม่น้อยแน่นอน เสียแล้ว และคงจะเรียกทุกอย่างให้กลับคืนไม่ได้ตลอดกาล พี่กบมักพูดถึง “คุณตา” เสมอๆ ตาชื่อ “อู๋ ไม่เสื่อมสุข” กลายเป็นการต่อสู้ของชาวบ้านที่อยู่หลังก�ำแพงนั่นเอง แม้จะสิ้นอายุไปเมื่อพี่เขาได้ ๑๒-๑๓ ขวบแค่นั้น แต่ก็จ�ำได้ดี มีภาพ พวกเขาช่วยกันเก็บพื้น ที่ส�ำคัญเหล่านี้ ไว้ให้พวกเรา นับแต่พระ ประทับใจ มีค�ำสอนที่ยังคงปฏิบัติ และที่ส�ำคัญที่สุดมีบ้านที่พี่กบ ราชกฤษฎีกาเวนคืน ตั้งแต่ ๒๕๓๕ ถึงวันนี้ก็ ๒๓ ปี รัฐท้องถิ่น ยังอยูแ่ ละมีประวัตศิ าสตร์ภายในบ้านมากมายเสียจนกลายเป็นคุณค่า ผู้จัดการพื้นที่ ยังไม่สามารถท�ำให้บริเวณริมน�้ำตรงนี้กลายเป็นสนาม มากกว่ามูลค่าไปแล้ว หญ้า เป็นสวนสาธารณะเหมือนที่อื่นๆ ตามแนวทางการออกแบบ บ้านพี่กบ แต่ก่อนเรียกกันว่า “ตรอกพระยาเพชร” มาจาก ของคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ได้ พวกเราก็เลยยังคงได้เห็น นามของพระยาเพชรปาณี ข้าราชการกระทรวงวังทีเ่ ริม่ ตัง้ วิกคณะลิเก ภาพและชื่นชมชีวิตและสภาพเป็นพระนครแบบเดิมๆ ของเราจาก เล่นอยู่ที่หน้าวัดราชนัดดาฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จกรมพระยา บริเวณส่วนที่ถูกเรียกว่า “ชุมชนป้อมมหากาฬ” ด�ำรงราชานุภาพเขียนบันทึกไว้ว่าก�ำเนิดลิเกเป็นมาอย่างไร ที่นี่เป็น ใครไปใครมาก็ มั ก จะพบ “พี่ ก บ” ผู ้ ช ายอารมณ์ ดี แ ต่ วิกลิเกที่ถือว่าโด่งดังมากในสมัยนั้น จดหมายข่าว 13 มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ตรอกพระยาเพชรมี ค ลองเมื อ งหรื อ คลองโอ่ ง อ่ า งอยู ่ ด้านหลัง ด้านหน้าก็คงเป็นวิกลิเกพระยาเพชรตั้งแต่สมัยโบราณ พี่กบเล่าว่าบ้านนี้เป็นของทวด พ่อของตา เกินกว่านั้นก็สืบไม่ได้แล้ว ตาอู๋สืบวิชาท�ำปี่พาทย์ ท�ำกลองทัด กลองแขกไปจนถึงกลองเพล ตามวัด งานที่ ไว้ชื่อลือชาก็คือขุดกลองเจ้าพ่อหอกลองที่น�ำไปไว้ บนชั้น ๓ เมื่อสัก พ.ศ. ๒๕๐๙ ส่วนคุณทวดของพี่กบคงเป็นคน ดนตรีระดับครูในแถบนี้ตั้งแต่แรกมา แม่พี่กบแต่งงานกับชายหนุ่มอีกฝั่งคลอง เป็นคนเชื้อจีน ย่านวัดสระเกศ มีอาม่าที่พูดไทยไม่ได้สักค�ำ แม่พี่กบแต่งงานที่บ้านนี้ แม้ตาจะไม่ชอบแต่ก็แต่งให้แล้วให้ไปอยู่บ้านพ่อพี่กบโดยไม่เอ่ย ปากถามสักค�ำ จนยายต้องมาบอกว่าอยู่กันยากไม่ไหวจริงๆ เพราะ เป็นสะใภ้ต่างวัฒนธรรม พี่กบเลยมาเกิดที่บ้านหลังนี้พร้อมพ่อแม่ อยู่กับตากับยาย เล่นสนุกและเติบโตมาแบบเด็กผู้ชายที่ตารัก แต่เพราะพ่อเป็นคนจีนแบบใช้แซ่ วิสัยแบบผู้ชายคนจีน เมื่อต้องมาอยู่ร่วมบ้านกับชายไทยดุๆ แบบคนโบราณ ก็เลยอยู่ร่วม บ้านกันไม่ได้ พ่อพี่กบเลยได้แต่มาหาเพราะแยกบ้านออกไป ดูผาดๆ แทบไม่รู้เลยว่ามีญาติสนิทเป็นคนจีนแซ่เบ๊ แถวตรอกเซี่ยงไฮ้ ตาอู๋นอกจากเป็นช่างท�ำปี่พาทย์และถ่วงตะกั่วปี่พาทย์ ฝีมอื ดีทสี่ ดุ คนหนึง่ แล้ว ก็ยงั มีวชิ าขุดกลองขึงหนังท�ำตะโพนไทยมอญ ใช้ลานบ้านและบ่อน�ำ้ ท�ำเองเป็นสถานทีผ่ ลิตเครือ่ งดนตรีอย่างพิถพี ถิ นั พี่กบบอกว่าคนมาหาตาทั้งวัน หรือไม่ตาก็ออกไปหาอุปกรณ์พวก หนังวัวแถวคลองเตยบ้าง คนมาหาจากนอกเมืองพวกอยุธยา อ่างทอง ก็มี มาถึงก็ผูกเรือกับล�ำไม้รวกที่ปักข้างคลองเดินทางกันแบบนี้เข้า มาหาตากันแบบปากต่อปาก บ้างก็เอาไม้มาให้พร้อม ตามีผู้ช่วยแค่ คนเดียว อยู่ร่วมกันในบ้านและบอกสูตรลับทั้งพวกการเคี่ยวรัก การถ่วงตะกัว่ ให้หมด พีก่ บเล่าว่าของพวกนีเ้ ป็นความลับขนาดปิดห้อง ท�ำกันทีเดียว แม้แต่คนในครอบครัวก็ไม่เคยได้รู้ นอกจากเป็ น ช่ า งปี ่ พ าทย์ แ ละท� ำ กลอง ตาอู ๋ มั ก หายไป ตอนเย็นๆ กลับมาก็จะมีขนมไข่หงส์มาฝากพี่กบเสมอๆ มารู้ภายหลัง เมื่อแม่บอกว่า ตาออกไปเล่นลิเกที่วิกเมรุปูน ตรงบ้านบาตร ตาอู๋ เป็นลิเกตัวโกงแบบแม่ค้าเกลียดเข้าไส้ขว้างไข่หงส์ให้เก็บได้ทุกครั้ง นอกจากจะเป็นช่างดนตรีชั้นครู เล่นลิเกตามวิก ก็ยังสอน ลิเกที่บ้านด้วย เพราะฉะนั้นบ้านพี่กบจึงมีลานกว้างหน้าบ้านส�ำหรับ ซ้อมและหัดร�ำลิเกด้วย แม้บ้านชั้นบนก็ยังมีชุดปี่พาทย์ชุดใหญ่และ เศียรหรือศีรษะพ่อปู่ พี่กบเล่าว่า ทุกวัน พฤหัสฯ ต้องจัดไหว้ครู ทุกอาทิตย์ ลูกศิษย์ที่มาร่วมกันก็ไม่ใช่น้อยจนเป็นที่รู้กัน ช่วงเวลาทีค่ ณ ุ ตาเสียชีวติ คงเป็นครูทมี่ ลี กู ศิษย์มาก คนดนตรี มากันมากมายพี่กบยังเด็กๆ ไม่ได้อะไรทางดนตรีมาจากตาอู๋เลย ได้แต่ใจนักเลง ช่างคิดและดูเป็นศิลปินหน่อยๆ เพราะโตมาในยุค ที่เพลงของเอลวิสก�ำลังเฟื่อง แถมย่านบางล�ำพูยังเป็นสวรรค์ของ นักเที่ยวทั้งกลางวันกลางคืน พอเริ่มเป็นหนุ่มรอบๆ บ้านที่ตรอกพระยาเพชรก็มีแต่ย่าน

จดหมายข่าว

เริงรมย์ สนุกในวัยหนุ่มเพราะที่เที่ยวที่เล่นสนุกมากมายและเต็มไป ด้วยสีสันมากมาย ราวๆ ต้นๆ ทศวรรษที่ ๒๕๑๐ สี่แยกบางล�ำพูเป็นที่สิง ของวัยรุ่นแถวตลาดนานา และชอบนั่งราวสะพานคอเอียงๆ คอยดูว่า มีใครจะกล้าสบตาบ้าง หรือไปหยอดเหรียญเล่นตู้เพลงหน้าโรงหนัง บุษยพรรณ นักเลงยุคนั้นไม่มีปืน ไม่มีระเบิด ตีกันอย่างมากก็ใช้มีด และไม้ แต่ก็หนักเอาการ พี่กบบอกว่าที่ชอบไปบางล�ำพูเพราะมีเพื่อน มาก มาจากชุมชนรอบๆ บางล�ำพู ทั้งทางวัดสามพระยา วัดอินทร์ฯ ตรอกไก่แจ้ ตรอกมะยม วัยรุ่น มุสลิมแถวจักรพงษ์มักนุ่งโสร่ง มาเที่ยวกัน แต่บางคนในโสร่งก็มีไม้คมแฝกซ่อนไว้ บางคนก็ขึ้นชื่อว่า “ดุ” จนมีชื่อ ไม่มี ใครข้ามเขตใคร โดยเฉพาะถ้ามี ใครมาจีบสาวๆ แถวบ้านแถวถิ่น แบบนี้ก็มีเรื่องกัน ชี วิ ต มนุ ษ ย์ เ งิ น เดื อ นของพี่ ก บมาสะดุ ด เอาตอนปี ๔๐ เมื่อเศรษฐกิจฟองสบู่แตกรอบแรก พี่กบได้เงินชดเชยมา ๖ เดือน เป็นอันจบชีวิตชายหนุ่มมนุษย์เงินเดือนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แล้วจึงท�ำ เหมือนคนตกงานยุคนั้นทั่วไปคือขายเสื้อยืดตามตลาดนัด ท�ำอยู่ปีหรือสองปี ชาวบ้านที่ป้อมมหากาฬเริ่มเข้าสู่ช่วง สภาพวิกฤตขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเห็นพ้องต้องกันว่าไม่อยากย้ายไปอยู่ ทีอ่ นื่ ๆ เช่น ถนนฉลองกรุงฯ ชาวบ้านมีแต่อดตาย ผูค้ นทีเ่ คยค้าขายใน ย่านสถานที่สังคมแบบเมืองจะไปปรับตัวอยู่แฟลตหรืออยู่ห่างไกลกัน แบบนั้นได้อย่างไร ช่วงนั้นบริเวณป้อมมหากาฬ ถูกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ที่ดินแล้ว ช่วงแรกๆ คนในป้อมก็ไม่รู้จะไปอย่างไร ชีวิตสับสนกันไป หมด กระบวนการเริ่มต้นเวนคืน เจ้าของที่ดินรับเงินไปพื้นที่ทั้งหมด มีกว่า ๒๑ แปลง เจ้าของรายใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่เจ้า เช่น คุณเล็ก นานา และวัดราชนัดดา ฯลฯ ส่วนบ้านของพี่กบก็ปลูกอยู่บนที่ดินของ วัดราชนัดดานั่นเอง พีก่ บเข้าไปมีสว่ นร่วมกับชาวบ้านมากขึน้ เรือ่ ยๆ จนไม่ได้ออก ไปขายเสื้อแล้ว รายได้ก็ไม่มี แต่นับจากวันนั้นถึงวันนี้ พี่กบก็ไม่เคย กลับไปมีอาชีพประจ�ำใดๆ อีกเลย และบอกว่าชีวิตราว ๑๖ ปีต่อมา จนถึงทุกวันนี้หมดไปกับการอุทิศเพื่อรักษาบ้านตาทวดหลังนี้ไว้ บ้านที่พี่กบบอกว่ามี “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มหาศาล หลังปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา จากกลุ่มบ้านหลังก�ำแพง ริมคลองโอ่งอ่างที่มีอยู่แน่นขนัดก็เริ่มต้องหาทางแก้ไขจะย้ายหรือ จะอยู่ บ้านเก่าๆ บางหลังถูกไฟไหม้ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพราะคนญวนท�ำพลุดอกไม้ไฟเกิดระเบิดแล้วกระจายไปอีกหลาย หลัง แต่บ้านพี่กบรอด ข้าวของไหว้ครูชั้นบนถูกไฟไหม้เก็บกู้ไม่ได้ สักชิ้น ความผูกพันของบ้านดนตรีหลังจากตายายสิ้นไปก็หมดลง จนเหลือแต่ความทรงจ�ำ หลายบ้านที่เป็นของขุนนางเก่า หมดสิ้นเชื้อสายไม่มีใครอยู่ ก็ขายสิทธิ์บ้าง ให้เช่าแก่คนใหม่ๆ ไปบ้างบางคนที่อยู่มาแต่เดิมเคย 14

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยงของตระกูลขุนนางแถบนี้ก็ยังอยู่กันเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน แต่เพียงแยกปลูกเรือนออกไปต่างหาก ทั้งสองฝั่งที่เรียกกัน ว่าแถบหัวป้อมท้ายป้อม เริม่ จับกลุม่ คุยกัน หลังเวลาผ่านไปตามล�ำดับ พีก่ บเริม่ เข้ามาสูก้ บั ปัญหาอย่างเต็มตัว ย้ายไปไหนก็คงยาก แล้ว คนในชุมชนตามที่มีเจ้าของ ๒๐ กว่าแปลงถูกจัดการเรียบร้อย แต่คนที่อยู่อาศัยไม่ทราบเรื่องรายละเอียด ส่วนใหญ่ไม่ได้เงินชดเชย จากการปลูกสร้างอาคารเพราะความสับสนดังกล่าว แต่ที่แน่นอนคือ เจ้าของที่ตามสิทธิส่วนใหญ่มอบที่ให้ กทม. ไปแล้ว ราวๆ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒-๔๓ พี่กบแทบจะเลิกออกไปขายเสื้อ ยืดสกรีน ครอบครัวเริ่มไม่คุยกันเพราะไม่เข้าใจ ภรรยาพี่กบไม่เห็น ด้วยเลย กว่าจะเข้าใจกันก็เกือบจะท�ำให้ครอบครัวแตกกันไปทั้งที่อยู่ ไม่เคยห่างและพื้นฐานความรักแน่นหนา แต่เมื่อเริ่มท�ำกลุ่มสหกรณ์ ออมทรัพย์ มีคนในชุมชนขอให้ภรรยาพี่กบเป็นกรรมการ เพราะเป็น คนจากอีกฝั่งหนึ่ง เป็นลูกจีนที่เข้าใจเรื่องเงินเรื่องทอง อีกทั้งก็ยังเป็น ภรรยาพี่กบ ค�ำว่า “เบี้ยว” คงเกิดยาก พี่กบบอกว่าเมื่อได้เริ่มเข้ามา ร่วมกันท�ำงาน เห็นปัญหา ต้องสู้กับปัญหาร่วมกัน ความเข้าใจก็กลับ มาเต็มเปี่ยมอีกครั้ง คราวนี้ทั้งลูกชายหญิงอีกสองคนก็ร่วมใจกันทั้ง ครอบครัว พี่กบและหลายๆ คนในป้อมบอกว่า คนที่นี่รวมน�้ำใจเป็น หนึ่งเดียวกันไปนานแล้ว ทุกวันนี้ยังคงมีการจัดเวรยามเฝ้าในช่วง หลังเที่ยงคืนทุกคืน คนเข้าเวรทั้งชายและหญิง ท�ำแบบนี้มานานแล้ว ความเป็ น ชุ ม ชนแบบเป็ น ทางการของที่ นี่ ไ ม่ มี ใ นสารบบของ เขตพระนคร ไม่มีการสนับสนุนทางเงินงบประมาณจากรัฐทุกรัฐ ราชการทุ ก หน่ ว ยงาน การปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ล อกท่ อ ปลู ก ต้ น ไม้ ท�ำสาธารณูปโภคบ้างเคยมีอยู่เดิม แต่ส่วนใหญ่ ในปัจจุบันใช้เงิน ของชุมชน จากการออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น และแรงงานของชุมชนท�ำ กันเองทั้งหมด หากคนเสียชีวิตไปแล้วไม่มีสิทธิตั้งคนเป็นเจ้าบ้านใหม่ ถูกคุมจ�ำนวนประชากรอย่างเป็นทางการไปในตัว การกระท� ำ เช่ น นี้ ส ร้ า งข้ อ เปรี ย บเที ย บได้ อ ย่ า งชั ด เจน คนหลั ง ก� ำ แพงก็ ก ลายเป็ น ชุ ม ชนที่ เ ข้ ม แข็ ง ชั ด เจน มี ผู ้ น� ำ โดย ธรรมชาติแบบพี่กบ มีคนอาสาสมัครและแบ่งเวรยามโดยไม่ต้องใช้ เงินจ้างจนทุกวันนี้ พี่ ก บและคนหลั ง ก� ำ แพงที่ ป ้ อ มมหากาฬ ปรั บ ตั ว เอง พัฒนาตนเอง แทบไม่ได้การสนับสนุนอย่างจริงจังจากที่ ใดหรือ องค์กรใดๆ หลายคนพัฒนาตัวเองกลายเป็นองค์กรชาวบ้านที่เป็น เครือข่ายเรือ่ งทีอ่ ยูอ่ าศัยทีถ่ กู ไล่รอื้ จากทัว่ ประเทศ พีก่ บไม่ได้โดดเดีย่ ว แต่กลับมีเพือ่ นจากท้องถิน่ ต่างๆ ทีเ่ ผชิญปัญหาเดียวกันทัง้ ประเทศและ ขยายไปสูเ่ ครือข่ายในประเทศอืน่ ๆ ด้วย ประสบการณ์จากปัญหาของ ตนเองถูกน�ำไปใช้กับสถานการณ์อื่นๆ ที่ก�ำลังบีบคนจนให้อยู่ยากขึ้น แย่ขึ้นไปจากที่เป็นอยู่และจะทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้นเอง ทุ ก วั น นี้ พี่ เ ขาถื อ คติ แ ม้ ไ ม่ ก ่ อ มิ ต รแต่ ก็ ไ ม่ ส ร้ า งศั ต รู พี่กบพูดคุยกับทุกคนทุกองค์กรทั้งรัฐและเอกชน บางกลุ่มบางคนก็

จดหมายข่าว

15

พี่กบ หรือธวัชชัย วรมหาคุณ

อาจจะอธิบายเรือ่ งราวต่างๆ ได้ยากหน่อยเพราะมีอคติในใจจากหลาย ที่มาที่ไปก็ไม่เป็นไร พยายามจัดการชุมชน พยายามหาทางต่อรอง ในทุกสถานการณ์ พยายามเสนอข้อคิดเห็นต่อการจัดการชุมชน ในเมืองเช่นนี้ทุกทางที่จะท�ำได้ พี่ ก บในวั ย จะเข้ า หกสิ บ อี กไม่ กี่ ป ี ก็ ยั ง ท� ำ งานแข็ ง ขั น อยู ่ ในชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งที่จริงก็คือตรอกพระยาเพชรปาณี ในบ้าน ที่ เ ป็ น สมบั ติ ต กทอดมาจากรุ ่ น คุ ณ ทวดแหล่ ง ก� ำ เนิ ด ลิ เ กตั้ ง แต่ สมั ย รั ช กาลที่ ๕ ที่ เ หลื อ เป็ นเพี ย งความทรงจ� ำ ที่ ยั ง ต่ อ ติ ด เพี ย ง แห่ ง เดี ย วในย่ า นชานพระนครนี้ แต่ ถู ก ก� ำ หนดเพื่ อ จั ด การบน แผ่ น กระดาษของสถาปนิ ก จั ด ท� ำ เมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ ยุ ค หนึ่ ง ว่ า ควรใช้ยางลบลบออกไปเสียเพื่อให้เป็นสวนสาธารณะของคนเมือง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรม “บรรยายและเสวนาสาธารณะ” สรุปการเสวนาสาธารณะ ของคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ป้อมมหากาฬ

“ชีพจรยังสั่ นไหวที่ ตรอกละคร

นา ง เ ลิ้ ง ”

โดย เมธินีย์ ชอุ่มผล และ เกสรบัว อุบลสรรค์

งานเสวนาสาธารณะของคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ป้อมมหากาฬ งานเปิดตัว ครั้งแรก วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

จดหมายข่าว

วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๘ งานเสวนาสาธารณะของ คนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ป้อมมหากาฬ สนับสนุนการจัดงาน โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ซึ่งก�ำหนดจัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกเช้า วันอาทิตย์ตน้ เดือนของทุกเดือน เชิญชวนคนย่านเก่าและคนกรุงเทพฯ ตลอดจนผู้สนใจร่วมรับฟังและมาพูดคุยเสวนาเรื่องราวของตนเอง ทัง้ ชาวชุมชนป้อมมหากาฬและมูลนิธฯิ ต้องการน�ำเสนอการ พูดคุยของคนที่อยู่อาศัยในย่านเมืองเก่าในมิติทั้งความเป็นมาในอดีต การเปลีย่ นแปลงสูป่ จั จุบนั และปัญหาทีเ่ กิดขึน้ และมีผลกระทบต่อชีวติ วัฒนธรรมของคนกรุงเทพฯ และโครงการนีเ้ ป็นผลมาจากการท�ำงาน ศึกษาเรื่อง การสร้างประวัติศาสตร์สังคมย่านเก่า เมืองกรุงเทพฯ ที่ได้การสนับสนุนจากส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมี อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ครัง้ แรกนีน้ ำ� เสนอการพูดคุยเสวนากันเรือ่ ง “ชีพจรยังสัน่ ไหว ที่ตรอกละคร นางเลิ้ง” งานเสวนาใช้ พื้ น ที่ ห ลั ง ก� ำ แพงเมื อ งขนานไปกั บ ถนน มหาไชย ซึ่งเป็นลานกิจกรรมในชุมชนป้อมมหากาฬเพราะเป็นพื้นที่ ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มาถึงยุคปัจจุบันป้อมมหากาฬ และชาวป้อมก็ต้องต่อสู้เพื่อการอยู่อาศัยอย่างเข้มแข็งและยาวนาน ชุมชนป้อมมหากาฬจึงเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ท่ีมีชีวิต เป็นห้องเรียน ประวัติศาสตร์ที่มีลมหายใจ 16

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


งานเสวนาเริ่มขึ้นในเวลาประมาณ ๘.๓๐ น. โดยคุณวลัย ลักษณ์ ทรงศิริ จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และคุณธวัชชัย วรมหาคุณ หรือพี่กบ ตัวแทนชาวป้อมมหากาฬได้ร่วมกันกล่าว ต้ อ นรั บ ทุ ก คนเข้ า สู ่ ง านเสวนาครั้ ง นี้ อ ย่ า งเป็ น ทางการ จากนั้ น รศ.ศรีศักร วัลลิโ ภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ขนึ้ มากล่าวเปิดงานและเปิดห้องนิทรรศการเรือ่ ง“พืน้ ทีช่ านพระนคร และตรอกพระยาเพชร-ป้อมมหากาฬ” และนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “ประวัติศาสตร์ของย่านสนามควาย-วัดแคนางเลิ้ง (ฉบับย่อ)” แม้อาคารจัดแสดงนิทรรศการจะมีขนาดเล็ก แต่ภายในกลับอัดแน่น ไปด้วยข้อมูลอันเป็นประโยชน์พร้อมภาพประกอบและแผนที่เก่าแผ่น ใหญ่แสดงต�ำแหน่งที่ตั้งส�ำคัญๆ ต่างๆ เช่น คลองคูเมืองทั้ง ๓ เส้น สะพาน วังส�ำคัญ ป้อมประตูต่างๆ นับเป็นอีกมุมที่มีผู้ให้ความสนใจ แวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมกันอย่างไม่ขาดสาย เนื่องจากเป็นการเปิดตัวโครงการฯ ครั้งแรก จึงมีการจัด กิจกรรมเสริมสร้างความรูแ้ ละของกินมีชอื่ ของย่านนางเลิง้ มาจ�ำหน่าย ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักและทดลองชิมกันหลายอย่าง เช่น ขนมเผือก กวน ขนมถั่วกวน ขนมหม้อแกง ฝีมือป้าหงษ์จากตลาดนางเลิ้ง โรตี มะตะบะจากมัสยิดตึกดิน ขนมเบื้องญวนจากตลาดนางเลิ้ง และของ อร่อยจากชาวป้อมเองก็หลายร้าน หรือจะเป็นกิจกรรมความรู้และ ของเล่น เช่น ซุ้มสาธิตกิจกรรมการปักชุดละครจากบ้านจงกล โปร่ง น�ำ้ ใจ ซุม้ สาธิตการปักชุดโขนจากบ้านนราศิลป์ ซุม้ ผลิตภัณฑ์งานฝีมอื จากชาวป้อมมหากาฬ ซึ่งมีทั้งยาดม เครื่องหอม ถุงผ้า เสื้อยืดสกรีน ลาย มุมอาหารและเครื่องดื่มฝีมือลูกหลานชาวป้อมฯ ซุ้มขายหนังสือ ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และซุ้มของเล่นโบราณซึ่งเป็นงาน ฝีมือจากย่านตรอกใต้ วัดญวนสะพานขาว มีทั้งมังกรกระดาษชุบสี ป๋องแป๋ง และจั๊กจั่น อาจารย์ศรีศกั รกล่าวว่า ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นตัวอย่างของ การอยู่อาศัยในพื้นที่ชานพระนครแบบดั้งเดิมในเมืองประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ ที่ยังคงมีลมหายใจอยู่จนถึงปัจจุบัน เป็นธรรมดาที่ผู้คนตั้ง หลักฐานอยู่อาศัยอยู่ริมก�ำแพงเมือง ริมคลองเมืองซึ่งเดินทางติดต่อ ได้สะดวกและค้าขายทีม่ ตี ลาดน�ำ้ อยูห่ ลายแห่ง พอยุคสมัยเปลีย่ นการ พัฒนาพืน้ ทีจ่ ะด้วยเหตุใดก็ตามถูกใช้เป็นข้ออ้างในการไล่รอื้ ชุมชนบน พื้นที่เหล่านั้นออกไป ส� ำ หรั บ การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ก รุ ง เทพฯ ที่ ผ ่ า นมา เป็นประวัติศาสตร์ในระดับรัฐ มีเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัด วัง การเมือง การปกครอง และสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ เรื่องของชาวบ้านหรือคนธรรมดาทั่วไปกลายเป็นสิ่งที่ ไม่ถูกพูดถึง การสร้ า งประวั ติ ศ าสตร์ ก รุ ง เทพฯ หรื อ ประวั ติ ศ าสตร์ ข องคน กรุงเทพฯ ดังที่ทางมูลนิธิฯ พยายามผลักดันอยู่นี้ จึงเป็นเรื่องจ�ำเป็น แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดย “คนนอก” ต้องเกิดจากส�ำนึก ร่วมของ “คนในชุมชน” เป็นหลัก เพราะท้ายที่สุดแล้วประวัติศาสตร์ สังคมที่มีการศึกษารวบรวมกันนี้ ย่อมถูกน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือใน

จดหมายข่าว

17

การปกป้องตนเองจากกระแสการพัฒนาจากภายนอกได้ กลับไปทางเวทีหลัก เสียงฉิง่ กลอง ปี่ ตะโพน จากนักดนตรี คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ สอดแทรกด้วยเสียงกรับไม้ไผ่จากมือน้อยๆ ของนักดนตรีรุ่นจิ๋วระดับชั้นประถมต้นจากชมรมนาฏศิลป์โรงเรียน วัดสิตาราม ผสานกับท่วงท่าการร่ายร�ำอันอ่อนช้อยของนางร�ำมือ อาชีพพร้อมเสียงร้องที่หวานแว่วกังวาน เป็นสิ่งที่เรียกความสนใจ จากทุกคนในงานได้ไม่น้อย คณะละครจงกล โปร่งน�้ำใจเริ่มต้นด้วย การ “ร�ำซัดไหว้ครูละครชาตรีและเข้าเรื่องโหมโรง” เป็นการไหว้บูชา ครูก่อนเริ่มแสดงละครจริงจากคณะละครเด็กๆ โรงเรียนวัดสิตาราม สังเกตได้ว่ามีผู้คนให้ความสนใจเข้ามาร่วมงานเพิ่มมาก ขึ้ น เรื่ อ ยๆ จนท� ำให้ ล านกิ จ กรรมของป้ อ มมหากาฬดู แ คบลงไป ถนั ด ตา บางส่ ว นเริ่ ม ขยั บ เข้ า มาจั บ จองพื้ น ที่ ด ้ า นหน้ า เวที บางส่วนเตร็ดเตร่แวะเยีย่ มชมซุม้ กิจกรรมทีต่ งั้ อยูร่ อบๆ ลานกิจกรรม เด็ ก บางคนก็ ก� ำ ลั ง สาละวนกั บ ของเล่ น ที่ มี ข ายในงาน บ้ า งยื น ล้อมซุ้มโรตีมะตะบะ และขนมเบื้องญวนที่ส่งกลิ่นหอมยั่วน�้ำลาย เป็นบรรยากาศที่สนุกสนาน คึกคัก และเต็มไปด้วยความสุข ช่วงของการเสวนา “ชีพจรยังสัน่ ไหว ทีต่ รอกละคร นางเลิง้ ” มีคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็นผู้ ด�ำเนินรายการ และมีผรู้ ว่ มเสวนาอีก ๔ ท่าน คือ คุณสุภาภรณ์ ฤกษะ สาร หลานสาวครูพูน เรืองนนท์ คุณจารุวรรณ สุขสาคร จากคณะ จงกล โปร่งน�้ำใจ คุณพินิจ สุทธิเนตร จากบ้านนราศิลป์ และคุณครู ประทับใจ สุนทรวิภาต จากชมรมนาฏศิลป์โรงเรียนวัดสิตาราม ในวงเสวนาเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประวัติความเป็น มา ของละครชาตรีและคณะละครที่มีอยู่ที่ย่านนางเลิ้งว่ามีที่มาอย่างไร เดิ ม ละครชาตรี มี ค วามเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ ร� ำโนราในภาคใต้ แ ละเป็ น นาฏศิลป์ท่ีมาด้วยกันกับกลุ่มคนที่โยกย้ายมาจากเมืองนครฯ พัทลุง และสงขลามาอยู่ย่านสนามควายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ คุณสุภาภรณ์ ฤกษะสาร ทายาทคณะละครครูพนู เรืองนนท์ มี ที่ พ� ำ นั ก อาศั ย อยู ่ ใ นย่ า นถนนหลานหลวงและถนนด� ำ รงรั ก ษ์ กล่าวว่า คนเล่นละครในคณะครูพูนนั้นแต่ดั้งเดิมก็ ไม่ได้หาคนเล่น มาจากที่อื่นเลย เนื่องจากครูพูนได้ฝึกให้ลูกให้หลานในบ้านนั่นเอง ให้เล่นเป็นตัวละครต่างๆ ลูกหลานทุกคนจึงเล่นละครเป็น ในยุคของ ครูพูนนั้นถือได้ว่าละครชาตรีเป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ครูพูน เสียไปเมือ่ ประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๒ คณะละครก็ตกทอดมาสูภ่ รรยาของ ครูพนู และตกทอดสูท่ ายาทจนถึงปัจจุบนั ซึง่ ทุกวันนีง้ านไม่ได้มากมาย เหมือนสมัยก่อนตอนที่ครูพูนยังอยู่ ส่วนคุณจารุวรรณ สุขสาคร ทายาทผู้สืบทอดคณะละคร จงกลโปร่งน�้ำใจ ได้ถ่ายทอดว่า คณะละครจงกลโปร่งน�้ำใจนั้น มีทมี่ าจากตระกูลโปร่งน�ำ้ ใจทีเ่ ป็นครูดนตรีไทยจากอยุธยาและตระกูล อากาศโปร่งครูละครจากพั ทลุง เป็นคนละครโนราที่ขึ้น มาเล่น ที่ พระนครในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ เริ่มต้นจากการเป็น “ลูกโรง” รับจ้าง เล่นละครให้กับคณะนั้นคณะนี้ รับเล่นทั้งละครชาตรี ลิเก ท�ำขวัญ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


นาคด้วย เนื่องด้วยสมัยก่อนปัจจัยด้านทุนทรัพย์น้อยไม่สามารถตั้ง คณะเองได้จนมาถึงรุ่นปัจจุบัน ทุกวันนี้คณะละครมีงานเล่นน้อยลง ส่วนใหญ่จะรับงานแก้บนและมีงานละครแบบแสดงสาธิตอยู่บ้าง ปัจจุบันคณะจงกลโปร่งน�้ำใจเน้นการถ่ายทอดศิลปะการแสดงเหล่า นี้ ให้กับลูกศิษย์และคนที่สนใจ เพื่อให้ศิลปะการแสดงแขนงนี้ยังคง อยู่ได้ และสร้างความร่วมมือเข้าไปสอนให้กับนักเรียนในโรงเรียน ประถมแถบวัดสิตารามเพื่อสืบทอดต่อไป คุณวลัยลักษณ์เสริมว่า ปัจจุบันมหรสพหลายอย่างของไทย หายไปจากการแสดงหรือการรับรูข้ องคนไทยบ้างแล้ว แต่ทลี่ ะครชาตรี ยังคงอยู่แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปแบบบ้างเล็กน้อยเช่นเดียวกับการร�ำโนรา ที่ยังอยู่ได้ในปัจจุบัน เพราะมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเพราะเป็น ทั้งมหรสพและพิธีกรรมจึงยังคงอยู่ได้ เรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อท�ำให้ การแสดงนี้ยังอยู่ได้ ร�ำโนราก็มีการจัดพิธีแก้บน การไหว้ครูเรียกว่า “โนราโรงครู” ละครชาตรีก็ปรับเปลี่ยนหน้าที่ไปเป็นร�ำชาตรีแก้บน คุณพินิจ สุทธิเนตร จากบ้านนราศิลป์ ได้เล่าที่มาของ บ้านนราศิลป์ว่า เกิดจากคุณแม่ละม่อม สุสังกรกาญจน์ ซึ่งก่อนหน้า นัน้ ท�ำกิจการห้างขายของน�ำเข้ามีเชือ้ สายจีน จบการศึกษามาจากปีนงั เมือ่ มาอยูท่ หี่ ลานหลวง นางเลิง้ ได้ซมึ ซับจากบ้านรอบๆ เกิดความชอบ เรื่องศิลปะการแสดงถึงขนาดตั้งโรงโขนโดยชักชวนคนตรอกละคร เช่น บ้านครูพนู และท่านอืน่ ๆ ทัง้ จากกรมศิลปากรและครูดนตรีตา่ งๆ มาช่วยกันสร้างและท�ำให้เกิดบ้านนราศิลป์ขึ้นมา ในยุคที่การแสดง โขนเป็นที่นิยมมากที่บ้านนราศิลป์มีคณะโขนมากถึง ๓ โรง นอกจาก นี้ยังมีการพัฒนางานไปท�ำละครลงช่อง ๔ บางขุนพรหม ปัจจุบันได้ ปรับตัวมาเป็นการท�ำงานระบบเสียงหรือจัดเวทีทั้งงานอีเวนต์และ งานโทรทัศน์ และยังมีงานเข้ามาเรื่อยๆ ทุกคนต้องปรับตัว ส่วนคุณครูประทับใจ ผู้ไม่ได้มีพื้นฐานทางครอบครัวเป็น

คณะละครหรือการแสดงใด แต่ตั้งแต่จ�ำความได้ก็สนใจชมและ ติดตามการแสดงละคร ลิเก ประเภทนีม้ าตลอด เมือ่ เรียนจบวิทยาลัย ครูกาญจนบุรีก็ ได้มีโอกาสสอบเข้าเป็นครูในสังกัด กทม. ได้ดูแล รับผิดชอบเกี่ยวกับการร้องการร�ำและการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ในโรงเรียนและเป็นผู้ฝึกสอนเด็กๆ คณะละครที่มาแสดงในวันนั้น การแสดงปิดท้ายอีกชุดหนึ่ง เป็นการแสดงละครชาตรี ชุดจิ๋ว เรื่องไกรทอง ตอน ‘วิมาลาตามไกรทอง (พ้อบน)’ โดย คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ ร่วมกับกลุ่มเยาวชนชมรมนาฏศิลป์โรงเรียน วัดสิตาราม การแสดงชุดนี้สามารถเรียกรอยยิ้ม และเสียงปรบมือ จากผู้เข้าร่วมงานได้มาก ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย เป็นเรื่องราวการชิงรักหักสวาทระหว่างไกรทอง กับนางวิมาลา และ นางตะเภาแก้ว ตะเภาทอง ประกอบจังหวะให้คึกคัก เร้าใจ ด้วย ระนาด โทน ตะโพน กลองตุ๊ก กลองทัด ปี่ และฉิ่ง โดดเด่นด้วย การแสดงทีส่ ดใส น่ารักของน้องๆ ชมรมนาฏศิลป์ฯ ทีท่ ำ� ให้ละครชาตรี เรื่องนี้สามารถตรึงผู้ชมให้สนใจเฝ้าติดตามได้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง งานเสวนาเล็กๆ ที่ไม่อยู่ในกระแสงานนี้ จะช่วยปลุกเชื้อไฟ ในใจชาวชุมชนย่านเก่ากรุงเทพฯ ให้มีพลังมากขึ้น คนย่านเก่าหลาย คนอาจเริม่ เห็นแง่มมุ ทีง่ ดงามจากการเก็บรวบรวมสะสมประวัตศิ าสตร์ ชุ ม ชนจากผู ้ รู ้ ห รื อ คนเก่ า คนแก่ ใ นชุ ม ชนของตน คนกรุ ง เทพฯ ก็อาจเริ่มเห็น ภาพประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ที่มีแต่เรื่องราวของ วัดและวังได้แจ่มชัดขึ้น เป็นประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ในรูปแบบที่มี ผูค้ นหรือชาวบ้านชาวเมืองอยูด่ ว้ ยกัน เป็นมิตขิ องเมืองประวัตศิ าสตร์ ที่ถูกต้องชัดเจนขึ้นกว่าแต่เดิม อันเนื่องมาจากเสียงของคนเมืองเก่า เหล่านี้ ไม่ได้ถูกนับรวมไปในการพัฒนาเมืองหรือย่านประวัติศาสตร์ ที่มีชีวิตได้อย่างทัดเทียมและเสมอภาคจากเหตุการณ์พัฒนาในอดีต ที่ผ่านมา

สรุปการเสวนาสาธารณะ ของคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ป้อมมหากาฬ

“ตลาดนางเลิ้ง ตลาดใหม่ (ซิงตั๊กลัก) ย่านชานพระนคร” โดย เมธินีย์ ชอุ่มผล และ เกสรบัว อุบลสรรค์

การเสวนาสาธารณะของคนย่ า นเก่ า เมื อ งกรุ ง เทพฯ ครั้งที่ ๒ จัดเสวนาทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน การเสวนาในครั้งนี้เป็น การพุ ด คุ ย ต่ อ เนื่ อ งกั บ ครั้ ง ที่ แ ล้ ว ที่ ก ล่ า วถึ ง ตรอกละครนางเลิ้ ง ชวนเสวนากันเรื่อง “ตลาดนางเลิ้ง” ตลาดใหม่ (ซิงตั๊กลัก) ย่าน ชานพระนคร “ซิงตั๊กลัก” แปลว่า ตลาดใหม่ ซึ่งคนจีนกล่าวถึง ตลาดนางเลิ้ง ส่วนตลาดเก่านั้นคือที่ส�ำเพ็งและเยาวราชนั่นเอง

จดหมายข่าว

ในวันนี้มีชาวตลาดนางเลิ้งมาร่วมพุดคุยด้วย ๔ ท่านด้วย กันคือ คุณสมพงษ์ โชติวรรณ อดีตผู้ด�ำเนินกิจการโรงหนังเฉลิม ธานี, คุณวนาพร บุญญานุวัตร อดีตประธานชุมชนนางเลิ้ง ๕ สมัย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙–๒๕๔๙), คุณรักษมล แซ่เฮ้ง ผู้ค้าขายและ ท�ำงานชุมชนในตลาดนางเลิ้ง และคุณจุฑามาศ สุเจตรานนท์ เจ้าของ ร้านขนมไทยแม่สมจิตต์ จากตลาดนางเลิ้งเช่นกัน 18

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


การเสวนาเริ่มขึ้นด้วยคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จากมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เกริ่นน�ำเกี่ยวกับการเสวนาในวันนี้ บอก เล่าถึงความส�ำคัญของพื้นที่ย่านชานพระนคร “นางเลิ้ง” แห่งนี้ว่ามี ความส�ำคัญต่อประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ อย่างไรบ้าง ตลาดนางเลิ้งนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากการขยายเมืองออกมา นอกก� ำ แพงพระนครในช่ ว งที่ มี ก ารตั ด ถนนเส้ น ใหม่ ๆ ตั้ ง แต่ ใ น สมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ท�ำให้ชุมชนต่างๆ เกิดขึ้น มากมายนอกก�ำแพงพระนคร พัฒนาการของการขยายเมืองจึงมีมาก ในสมัยนั้น คนจีนเองก็มีบทบาทมากในการขยายเมืองในพระนคร เพราะเมือ่ ถนนขยายออกไปคนจีนก็ยา้ ยออกไปอยูต่ ามย่านต่างๆ แล้ว สร้างความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ย่านนางเลิง้ นัน้ เกิดจากการขยายเมืองไปทางด้านตะวันออก และทางเหนือ โดยมีพระราชวังดุสิตเป็นศูนย์กลางและการสร้างวัง พระราชทานพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่อยู่สองฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ประกอบด้วย “วังนางเลิ้ง” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “วังมหานาค” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เป็นต้น “วังวรดิศ” ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพทางถนนหลานหลวง คุณลุงสมพงษ์ เล่าว่า พ่อกับแม่เป็นคนเชื้อสายจีนมาท�ำ การค้ า ขายอยู ่ ที่ นางเลิ้ ง ส่ ว นตนนั้ น เกิ ด ที่ ห น้ าโรงหนั ง นางเลิ้ ง ในช่วงก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เล็กน้อยพอจ�ำความได้แล้วก็ เห็นทหารญี่ปุ่นมาตั้งค่ายอยู่ที่สนามม้านางเลิ้ง ชีวิตในวัยเด็กไม่ค่อย ได้อยู่กับพ่อแม่เพราะเป็นช่วงที่ท�ำการค้าไม่มีเวลาดูแล ถูกส่งไป อยู ่ กั บ คนอื่ น บรรยากาศนางเลิ้ ง สมั ย ก่ อ นนั้ น คนนางเลิ้ ง มี ความพยายามในการส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนภาษาจีน มีการตั้ง โรงเรียนสอนภาษาจีนในย่านตลาดนางเลิ้งด้วยแต่ ในอดีตตนคิดว่า คนจี น ค่ อ นข้ า งถู ก กดให้ มี ส ถานะที่ ต�่ ำ กว่ า คนไทยอยู ่ พ อสมควร คนจีนในสมัยนั้นจึงพยายามที่จะเปลี่ยนนามสกุลจากแซ่ต่างๆ มาเป็น นามสกุลอย่างไทย ดังที่พบเห็นกันทุกวันนี้ ป้าวนาพร บุญญานุวัตรเล่าเสริมว่า สมัยก่อนมีโรงเรียนจีน ชื่อโรงเรียนเอ้งเจี่ย ทุกวันนี้คือโรงเรียนเจริญศึกษาสอนภาษาจีนเป็น ภาษาหลัก ส่วนภาษาไทยสอนวันละ ๑ ชั่วโมงเท่านั้น บ้านที่อยู่เป็น เรือนแถวไม้อยู่ที่ถนนพะเนียง และเป็นถนนลูกรังอยู่ แม่ขายผักสด อยู่ท่ีตลาดนางเลิ้ง ป้าเมาเองเป็นช่างตัดเสื้อต่อจากพ่อ ก่อนหน้านี้ มีส�ำนักงานของราชการมากมายในเขตนางเลิ้ง ทั้งกรมการปกครอง ทีว่ งั ไชยาใกล้กบั วัดโสมนัส องค์การโทรศัพท์ กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ทีส่ ะพานขาว พาณิชยการพระนครใกล้กบั สนามม้านางเลิง้ จึงมีลกู ค้า มาก แต่ปจั จุบนั ทยอยกันออกไปหมดแล้ว คนรุน่ ป้าล้มหายตายจากไป หลายคนแล้ว ที่ย้ายออกไปก็มาก แต่ทุกวันที่ ๑๕ ธันวาคมของทุกปี กลุ่มคนเหล่านั้นจะกลับมานางเลิ้ง มาไหว้ศาลเสด็จเตี่ยร่วมกันใน “งานงิ้วประจ�ำปีนางเลิ้ง งานไหว้เสด็จเตี่ย-กรมหลวงชุมพรฯ” งานนี้

จดหมายข่าว

19

ถือได้วา่ เป็นการรวมพีน่ อ้ งคนนางเลิง้ ทีห่ า่ งหายกลับมาพบกันอีกท�ำให้ นางเลิ้งมีชีวิตชีวา มีบรรยากาศเดิมๆ กลับมาปีละครั้งก็ยังดี คุณรักษมล แซ่เฮ้ง เล่าถึงทีม่ าของครอบครัวและการโยกย้าย เข้ามาเป็นชาวนางเลิ้งเมื่อกว่า ๓๐ ปีก่อน บ้านเดิมอยู่ย่านสะพาน พุ ท ธ แต่ ห ลั ง จากมี ก ารสร้ า งสะพานพระปกเกล้ า ฯ ครอบครั ว จึงย้ายไปอยู่แถวถนนจักรวรรดิ ก่อนจะย้ายเข้ามาอยู่ที่ตลาดนางเลิ้ง ครอบครัวของคุณรักษมลเข้ามาประกอบอาชีพขายอาหาร โดยคุณลุง ได้ ซื้ อ ร้ า นขายอาหารต่ อ จากพ่ อ ของคุ ณ สมพงษ์ ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ข ้ า ง โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี จากนั้นจึงให้คุณพ่อของคุณรักษมลเข้ามา ดูแลกิจการต่อ ที่นี่จึงเป็นร้านขายอาหารของครอบครัว มีขายทั้ง อาหารตามสั่งและก๋วยเตี๋ยว วัตถุดิบต่างๆ ที่น�ำมาท�ำอาหารนั้น ก็ไม่ ต้องไปหาจากที่ไหนไกลเพราะสามารถหาซื้อได้จากในตลาดนางเลิ้ง ทั้งหมด ตลาดนางเลิ้งเมื่อช่วง ๓๐ กว่าปีก่อนยังเป็นตลาดที่คึกคัก มีผู้คนมาจับจ่ายซื้อหาของกินของใช้กันมากมาย ทั้งของสด ของแห้ง อาหารส�ำเร็จรูป ในตลาดมีสินค้าให้เลือกเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งต่าง จากสมัยนี้ เพราะตลาดนางเลิ้งกลายเป็นตลาดที่เงียบเหงา ซบเซา จนมีค�ำกล่าวว่า ตลาดนางเลิ้งเป็นเพียงโรงอาหารกลางวันเท่านั้น เพราะลูกค้าที่เข้ามาในตลาดจะเป็นกลุ่มคนท�ำงานที่เข้ามาเพื่อ รับประทานอาหารกลางวัน ความคึกคักในตลาดจึงมีจ�ำกัดเฉพาะ ในช่วงกลางวันของวันจันทร์-ศุกร์ หรือวันท�ำงานตามปกติเท่านั้น ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีสินค้าขายเพียงเล็กน้อย ไม่คึกคักเหมือน สมัยก่อน และตลาดนางเลิ้งมาซบเซาอีกรอบก็ในช่วงเวลาเหตุการณ์ ทางการเมืองหลายๆ ครั้งท�ำให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดได้รับผลกระทบ มากขายไม่ได้เลย และอันตรายกับคนในชุมชนด้วยเป็นผลกระทบที่ ยาวนานต่อเนื่องกับตลาดนางเลิ้งด้วยเช่นกัน สิ่งที่หายไปจากตลาดนางเลิ้ง นอกจากจะเป็นความคึกคัก ของผู้คนที่เข้ามาแล้ว ยังเป็นร้านอาหารหลายร้าน บางร้านเป็น เจ้าอร่อยของตลาดนางเลิ้ง แต่พอหมดรุ่นและขาดผู้สืบทอด สูตรลับ ความอร่อยเหล่านั้นก็หายไปด้วย ดังนั้นหลายร้านที่เปิดอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นร้านจากคนภายนอกที่เข้ามาค้าขาย ไม่ใช่ผู้ค้าเก่าแก่ที่สืบทอด มาแต่เดิม การจะพัฒนาให้ตลาดนางเลิง้ เป็นตลาดในเชิงการท่องเทีย่ ว เหมือนดังเช่นตลาดน�้ำ หรือตลาดเก่าที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้อาจไม่ใช่ เรือ่ งง่าย เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากชาวตลาดนางเลิง้ เป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ด้วย การพัฒนาดังกล่าวไม่อาจประสบความส�ำเร็จได้โดยใครคนใด คนหนึง่ ต้องเป็นความร่วมมือร่วมใจจากหลายฝ่าย ต้องเป็นการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ท�ำเป็นครั้งคราวตามกระแส คุณจุฑามาศ สุเจตรานนท์ ได้บอกเล่าถึงที่มาของร้านขนม หวานแม่สมจิตต์วา่ ร้านขนมไทยแม่สมจิตต์ เป็นหนึง่ ในร้านขนมหวาน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ร้านเก่าแก่ของตลาดนางเลิ้ง โดยแยกตัวออกมาจากร้านขนมไทย แม่กวา แม่กวามีศักดิ์เป็นคุณทวดของคุณจุฑามาศ ถ้าปัจจุบันท่าน ยังมีชีวิตอยู่จะมีอายุประมาณ ๑๒๐ ปีแล้ว เป็นผู้บุกเบิกการขาย ขนมไทยในตลาดนางเลิ้ง คุณทวดมีลูกสาว ๔ คน แต่ละคนจะได้ รับการฝึกฝนให้มีความถนัดในการท�ำขนมไทยแต่ละด้านต่างกัน เช่น ขนมเครือ่ งไข่ ขนมหม้อแกง ขนมเชือ่ ม หลังจากลูกสาวแต่ละคน ออกเรือนแล้ว จึงได้แยกย้ายออกมาสร้างครอบครัว และเปิดกิจการ ร้านขายขนมไทยของตนเองขึ้น คุณจุฑามาศนับเป็นทายาทรุ่นที่ ๔ ของร้านขนมไทยแม่สมจิตต์ แม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่รับช่วงสืบทอด กิจการร้านขนม แต่คุณจุฑามาศก็ยังไม่ละเลยที่จะเก็บรักษาสูตรและ กรรมวิธีการผลิตขนมไทยรูปแบบเดิมไว้ แต่ก็มีการปรับตัวด้วยการ ใช้เครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาช่วยในบางขั้นตอน เช่น เครื่องตี ไข่ เครื่องโม่ เพื่อให้ผลิตได้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ส�ำหรับอนาคตของร้านขนมไทยแม่สมจิตต์นนั้ คุณจุฑามาศ มั่นใจว่ายังมีผู้รับช่วงสืบต่อ เช่นเดียวกับตลาดนางเลิ้ง ซึ่งน่าจะถูก พัฒนาให้เป็นตลาดที่มีชีวิตชีวาขึ้นและอยู่ต่อไปได้และไม่ปิดตัวลง ในเร็ววันนี้ เพียงแต่ต้องเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากตัวผู้ค้า ภายในตลาดที่ต้องเห็นถึงความส�ำคัญ ร่วมพูดคุยเพื่อก�ำหนดทิศทาง ที่เหมาะสมร่วมกัน อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์ ได้ ช ่ ว ยเสริ ม ให้ กั บ เรื่ อ งของชุ ม ชนย่ า นชานพระนคร เพิ่มเติมว่า ชุมชนเหล่านี้เติบโตมาพร้อมพัฒนาการของกรุงเทพฯ แต่ปจั จุบนั เกิดความเปลีย่ นแปลง ชุมชนเหล่านีแ้ ตกแยกกันไป มีถนน หนทางมากขึ้นท�ำให้เกิดความห่างเหินของคนในชุมชน ความห่างเหิน

ระหว่างชุมชนกับชุมชน การจะสืบค้นประวัติศาสตร์ของย่านต่างๆ ชุมชนต่างๆ ควรมีคนจากหลายรุ่นมาร่วมกันท�ำความเข้าใจ เรียนรู้ และส่งต่อกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน จากการพูดคุยกับทั้ง ๔ ท่านจากชุมชนนางเลิ้งจะเห็น การเปลี่ ย นแปลงของชุ ม ชนนางเลิ้ ง ที่ เ คยรุ ่ ง เรื อ งและเป็ น ตลาด ที่ โ ด่ ง ดั ง ศู น ย์ ก ลางความเจริ ญ แห่ ง หนึ่ ง ของกรุ ง เทพฯ ก็ ว ่ าได้ ความเปลี่ยนแปลงของนางเลิ้งจากที่เล่าไว้คือตั้งแต่สมัยที่มีการ ปรับเปลี่ยนการเดินรถใหม่ ถนนหลานหลวงจากที่เคยวิ่งรถสวนกัน ได้ก็เปลี่ยนมาเป็นเดินรถทางเดียว ท�ำให้การเดินทางก็ ไม่สะดวก ที่จอดรถที่จะเข้าตลาดก็ไม่มีท�ำให้ความนิยมในตลาดนางเลิ้งค่อยๆ ซาลง ประกอบกับลูกหลานของพ่อค้าแม่ค้าในตลาดนางเลิ้งที่เติบโต ขึ้นมีหน้าที่การงานที่มั่นคงและรายได้ดีมากขึ้น ไม่จ�ำเป็นต้องมา ค้าขายเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่ท�ำให้ทายาทที่จะมาสืบต่อร้านค้าต่างๆ ในตลาดนางเลิง้ น้อยลงเรือ่ ยๆ ร้านรวงทีเ่ คยเปิดค้าหนาแน่นก็เบาบาง ลงเปิดบ้างไม่เปิดบ้าง บางร้านที่แก่ชราล้มหายตายจากไปก็เป็นอัน เลิกกิจการร้านค้ากันไป ตลาดนางเลิ้งจึงค่อยๆ เงียบเหงาลงเหมือน เช่นทุกวันนีแ้ ต่ทกุ คนทีย่ งั อยู่ในตลาดนางเลิง้ ทุกวันนีเ้ พราะความผูกพัน คนเกิดนางเลิ้งจึงรู้สึกว่านางเลิ้งเป็นบ้านคุ้นเคยและรู้สึกว่ามีน�้ำใจต่อ กันช่วยเหลือกันส�ำหรับคนที่นี่ ก็มีความสุขดี การเสวนาสาธารณะครั้งนี้เป็นเหมือนการสะท้อนตัวตน ความรู้สึกของคนนางเลิ้งบางส่วนที่ยังอยู่ และมีชีวิตต่อไปที่นางเลิ้ง ซึ่งมีทั้งความรู้สึกของคนรุ่นเก่าที่ก�ำลังโรยราและคนรุ่นใหม่ที่ก�ำลัง ก้ า วเข้ า สู ่ วั ย ที่ สู ง ขึ้ น ที่ ทุ ก คนพร้ อ มที่ จ ะท� ำ งานและผลั ก ดั น ให้ ตลาดนางเลิ้งยังคงอยู่ต่อไป

ความ จากภาพถ่าย ทรงจ�ำ โดย ศรีศกั ร วัลลิโภดม

(เรียบเรียงจากบทความเรือ่ ง ต�ำนานอุรงั คธาตุกบั ความคิดค�ำนึงทางโบราณคดี ตีพิมพ์ ในวารสาร เมืองโบราณ ฉบับพระธาตุพนม, ๒๕๑๘)

“ศรีโคตรบูร” และต�ำนาน อุรังคธาตุ

เมืองสกลนครโบราณในรัฐ

ทุกวันนี้เรารู้จักพระธาตุพนมในลักษณะที่ว่าเป็นพระธาตุ ใครเป็นผู้สร้างอยู่ ในแว่นแคว้นใดมาก่อนตลอดจนมีความส�ำคัญ เจดี ย ์ ที่ เก่ า แก่ แ ละมีความศัก ดิ์สิท ธิ์ส�ำคัญที่สุดในภาคตะวั นออก ต่อประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงใดนั้นยังเป็นที่ เฉียงเหนือของประเทศไทยแต่ปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่ามีมานานเท่าใด คาดคะเนไม่ ไ ด้ แ น่ น อนและมั ก เป็ น เรื่ อ งที่ ถ กเถี ย งกั น ในวงการ

จดหมายข่าว

20

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


โบราณคดี สิ่ ง ที่ พ อจะกล่ า วได้ อ ย่ า งมั่ น ใจขณะนี้ ก็ คื อ ลั ก ษณะของ ศิลปกรรมอันได้แก่ลวดลายและภาพที่สลักบนแผ่นอิฐซึ่งประดับรอบ พระธาตุเจดีย์ตอนล่างทั้งสี่ด้านเป็นลักษณะศิลปกรรมที่เป็นตัวเอง ไม่ใช่ลักษณะศิลปะของจาม มอญ และขอม ทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่า เป็นของที่สร้างโดยชนกลุ่มหนึ่งซึ่งในสมัยโบราณคือเจ้าของดินแดน สองฝั่งแม่น�้ำโขง หลักฐานทางโบราณคดีขณะนี้ยังไม่มีเพียงพอส่วน ใหญ่เป็นต�ำนานพงศาวดารซึ่งเรียบเรียงขึ้นภายหลังเหตุการณ์เป็น จริงที่เกิดขึ้นช้านาน เอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระธาตุพนมและ เรือ่ งราวของประชาชนตลอดจนแว่นแคว้นทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ ถือได้วา่ ดีทสี่ ดุ ขณะนี้ก็คือต�ำนานอุรังคธาตุ ค�ำว่าอุรังคธาตุนั้นหมายถึงพระบรมธาตุส่วนหน้าอกของ พระพุทธเจ้าซึง่ พระมหากัสสปะน�ำมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยกัปปนคีรี หรือภูก�ำพร้า อีกนัยหนึ่งก็คือพระธาตุพนมนั่นเอง ต�ำนานเล่มนี้ การเรียงล�ำดับเหตุการณ์และสถานทีด่ คู อ่ นข้าง สับสนจึงมีผนู้ ำ� ไปเรียบเรียงใหม่ให้อา่ นง่ายขึน้ หรือไม่กม็ ผี ตู้ ดั ตอนเอา เรื่องราวของสถานที่ไปแยกเขียนเป็นประวัติต�ำนานของท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ต�ำนานพระธาตุเชิงชุม ต�ำนานพระบาท ต�ำนานพระธาตุนารายณ์ เจงเวง ฯลฯ สาระส�ำคัญในต�ำนานอุรังคธาตุนั้นอาจวิเคราะห์เป็นเรื่อง ส�ำคัญได้ดังนี้ เรื่องแรกคือพุทธท�ำนายเป็นสิ่งที่จะต้องมีประจ�ำอยู่ในทุกๆ ต�ำนานคือการทีพ่ ระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ยงั ท้องถิน่ ใดถิน่ หนึง่ ในสุวรรณภูมแิ ล้วทรงท�ำนายการเกิดของบริเวณทีจ่ ะเป็นศาสนสถาน วัดวาอารามหรือบ้านเมือง ตลอดจนการก�ำหนดพระมหากษัตริย์หรือ บุคคลที่จะทะนุบ�ำรุงพระศาสนา ในต�ำนานอุรังคธาตุนี้พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดดินแดน ในลุ่มแม่น�้ำโขงโดยเฉพาะทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ในท้องที่ ต่างๆ เช่นที่ หนองคาย สกลนคร และนครพนม ทรงก�ำหนดภูก�ำพร้า ในเขตอ�ำเภอธาตุพนมเป็นสถานที่บรรจุพระอุรังคธาตุ และท�ำนาย การเกิดของนครเวียงจันทน์ในบริเวณหนองคันแทเสื้อน�้ำ ถัดจากพุทธท�ำนายก็เป็นนิยายปรัมปรา [Myth] เกี่ยวกับ ประวัติการเกิดของภูมิประเทศอันได้แก่ แม่น�้ำ ที่ราบ และภูเขา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกลุ่มชนที่อยู่อาศัย ต�ำนานอุรังคธาตุกล่าวถึง การเกิดของแม่น�้ำส�ำคัญๆตามล�ำแม่น�้ำโขงว่าเป็นการกระท�ำของ พวกนาค ซึ่งแต่เดิมมีที่อยู่อาศัยในหนองแสเขตยูนนานทางตอนใต้ ของประเทศจีน นาคเหล่า นั้นได้เกิดทะเลาะวิวาทกัน จนเป็ นเหตุ ใ ห้ ต ้ อ ง ทิ้งถิ่นฐานเดิมล่องมาตามล�ำแม่น�้ำโขงทางใต้ขุดควักพื้นดินท�ำให้เกิด แม่น�้ำสายต่างๆ ขึ้น เช่น แม่น�้ำอู แม่น�้ำพิง แม่น�้ำงึม แม่น�้ำชี และ แม่น�้ำมูล ฯลฯ

จดหมายข่าว

21

ข้อความที่เกี่ยวกับหนองแสและการวิวาทกันของพวกนาค จนเป็นเหตุให้ต้องหนีลงมาทางใต้ตามล�ำแม่น�้ำโขงนั้นตรงกันกับ ข้อความในต�ำนานอื่นคือต�ำนานสุวรรณโคมค�ำและต�ำนานสิงหนวัติ อันเรื่องราวเกี่ยวกับนาคนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่นิยม กันมากในบรรดาบ้านเมืองสองฝั่งแม่น�้ำโขงตั้งแต่หนองแส ซึ่งเป็น ตอนต้นน�้ำในเขตยูนนาน ลงมาจนถึงเมืองเขมรตอนปากแม่น�้ำโขง มี ลั ท ธิ เ คารพบู ช านาค เชื่ อ กั นว่ านาคเป็ นผู ้ บั น ดาลให้ เ กิ ด แม่ น�้ ำ ล�ำคลองเกิดความสมบูรณ์พนู สุขแก่บา้ นเมืองและอาจบันดาลภัยพิบตั ิ ให้น�้ำท่วมเกิดความล่มจมแก่บ้านเมืองได้ นาคมี ค วามสั ม พั นธ์ กั บ คนในฐานะเป็ น บรรพบุ รุ ษ เช่ น ในประวัติของอาณาจักรฟูนันในจดหมายเหตุจีนกล่าวว่าพราหมณ์ มาแต่งงานกับลูกสาวนาคแล้วตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองฟูนัน ต�ำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงทรมาน พวกนาคจนเลื่ อ มใสในพระพุ ท ธศาสนา กลายเป็ น ผู ้ อุ ป ถั ม ภ์ พระพุทธศาสนาไป ยิ่งไปกว่านั้น นาคยังเป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ ในการปกครอง และความยุติธรรม กษัตริย์องค์ไหนเจ้าเมืองคนไหนประพฤติผิด ในการปกครองหรือประชาชนมีจิตใจไร้ศีลธรรมจะได้รับการลงโทษ จากนาค ท�ำให้บ้านเมืองพิบัติล่มจมไป แต่ผู้ใดเจ้าเมืองใดยึดมั่น ในพระพุทธศาสนานาคก็จะท�ำตัวเป็นผู้คุ้มกันและช่วยเหลือนิยาย ปรั ม ปราคติ อั น เกี่ ย วกั บ นาคซึ่ ง เชื่ อ กั น ว่ า เป็ น ความจริ ง นี้ ถ ้ า หาก วิเคราะห์และแปลความหมายตามหลักวิชามานุษ ยวิทยาแล้วอาจ มองได้ ๒ ลักษณะคือ ๑. นาคในลักษณะที่เป็นกลุ่มชนดั้งเดิม ๒. นาคในลักษณะที่เป็นลัทธิหนึ่งในทางศาสนา ถ้าหากแบ่งขั้นตอนของการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่ม ชนที่มาจากหนองแสตามต�ำนานแล้วก็กล่าวได้ว่า “ต�ำนานสุวรรณ โคมค�ำและต�ำนานสิงหนวัติ” เป็นเรื่องของกลุ่มชนที่เคลื่อนย้าย มาตัง้ รกรากอยู่ในเขตลุม่ น�ำ้ โขงตอนบนคือตัง้ แต่เขตจังหวัดเชียงราย หลวงพระบางลงมาจนถึงจังหวัดเลย ส่วนต�ำนานอุรังคธาตุนั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เคลื่อนย้ายเข้า มาอยู่ ในลุ่มแม่น�้ำโขงตอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยตั้งแต่ เขตจังหวัดหนองคายลงไปจนถึงอุบลราชธานี ส่วนเรื่องที่ว่า นาคเป็นลั ทธิหนึ่งในทางศาสนานั้น หมาย ความว่ า ระบบความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม ของกลุ ่ ม ชนที่ อ ยู ่ ใ นลุ ่ ม แม่ น�้ ำโขง ตั้งแต่หนองแสลงมา เป็นลัทธิที่เกี่ยวกับการบูชานาค นาคเป็นสิ่งนอกเหนือธรรมชาติที่ส�ำคัญ บันดาลให้เกิด แม่ น�้ ำ หนอง บึ ง ภู เ ขา และที่ อ ยู ่ อ าศั ย ครั้ น เมื่ อ วั ฒ นธรรม อิ น เดี ย โดยเฉพาะพุ ท ธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ แ พร่ ห ลาย เข้ามาลั ทธิบูชานาคก็ ได้ผสมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของลั ทธิศาสนา ที่เข้ามาใหม่ จะเห็นได้ว่าเรื่องการที่พระพุทธเจ้าทรงทรมานนาคก็ดี

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เรื่องพระอิศวรและพระนารายณ์ (พระกฤษณะ) รบกับพญานาคก็ดี ในต�ำนานอุรังคธาตุนั้นเป็นการแสดงถึงชัยชนะของศาสนาใหม่ที่มี ต่อระบบความเชื่อเก่า แต่ทง้ั นีแ้ ละทัง้ นัน้ ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบความเชือ่ ดัง้ เดิม จะสลายตัวไป กลับถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาใหม่ด้วย ดังจะเห็นได้ว่าบรรดานาคได้กลายมาเป็นผู้พิทักษ์พระพุทธ ศาสนาและพุทธศาสนิกชน กษัตริย์หรือเจ้าเมืององค์ใดเป็นผู้ยึดมั่น ในพระพุทธศาสนาก็มักจะได้รับความช่วยเหลือจากนาคในการสร้าง บ้านแปงเมืองและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่บ้านเมือง แต่ ถ ้ า กษั ต ริ ย ์ ห รื อ ประชาชนไม่ ยึ ด มั่ น ในพระศาสนา ขาดศี ล ธรรม นาคก็ จ ะกลายเป็ น อ� ำ นาจนอกเหนื อ ธรรมชาติ ที่ บันดาลความวิบัติให้บ้านเมืองนั้นล่มจมเป็นหนองเป็นบึงไปอย่างเช่น เมืองหนองหารหลวงและเมืองมรุกขนคร เป็นต้น การบรรจุ พ ระอุ รั ง คธาตุ แ ละการสร้ า งตลอดจนบู ร ณะ พระธาตุ พ นมเป็ น เรื่ อ งของการแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างแคว้นหรือบ้านเมืองต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วอาจแบ่งระยะเวลา ออกได้เป็น ๒ ระยะ ระยะแรก เป็นเรื่องราวที่เป็นนิยายปรัมปราคติ [Myth] คื อ เริ่ ม แต่ ส มั ย พุ ท ธกาลในรั ช กาลของพระยาติ โ คตรบู ร ผู ้ ค รอง แคว้นศรีโคตรบูรพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ทรงก�ำหนดให้ พระกัสสปะน�ำพระอุรังคธาตุมาบรรจุ ณ ภูก�ำพร้าหลังจากพระองค์ นิพพานแล้ว ครั้งพระมหากัสสปะน�ำพระอุรังคธาตุมาบรรจุนั้นพระยา ติโคตรบูรสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระยานันทเสนราชอนุชาขึ้นครอง ราชย์เป็นกษัตริย์แห่งศรีโคตรบูรแทนได้ร่วมกับพระยาสุวรรภิงคาร แห่งแคว้นหนองหานน้อย พระยาอินทปัฐนครแห่งแคว้นอินทปัฐนคร และพระยาจุลณีพรหมทัตแห่งแคว้นจุลณี หลังจากก่อองค์พระธาตุเสร็จแล้วพระอินทร์และเทพยดา ทั้งหลายก็พากันมาสักการะพระอุรังคธาตุสร้างเสริมตกแต่งพระธาตุ ให้งดงาม ท�ำรูปกษัตริย์ทั้งหลายจากแคว้นต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการ ก่อพระธาตุทรงช้างทรงม้าพร้อมทั้งลวดลายประดับไว้บนผนังรอบๆ องค์พระธาตุทงั้ สีท่ ิศ รูปเหล่านี้เชื่อกันว่าคือที่ปรากฏบนลวดลายสลัก อิฐนั่นเอง เหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์เรื่อยมา ต่ อ มาบรรดากษั ต ริ ย ์ ทั้ ง หลายที่ ร ่ ว มกั น ก่ อ พระธาตุ ก็สิ้นพระชนม์ไปแต่ว่าไปประสูติใหม่ ในวงศ์กษัตริย์ของแคว้นต่างๆ ที่กล่าวนามมาแล้ว ในที่สุดพระยาติโคตรบูรก็ได้เสวยพระชาติเป็น พระยาสุมิตตธรรมครองเมืองรุกขนครแห่งแคว้นศรีโคตรบูร ส่วน กษัตริย์องค์อื่นๆ ได้บวชเรียนจนส�ำเร็จเป็น พระอรหันต์ ทรงมา พบกันอีกทีและทรงร่วมกันบูรณะก่อสร้างพระธาตุพนมครั้งที่สอง ขึ้น ในครั้งนี้เชื่อกันว่าพระธาตุพนมมีรูปร่างเป็นคูหาสี่เหลี่ยมสองชั้น ก่อด้วยอิฐซ้อนกัน ต่ อ จากรั ช กาลพระยาสุ มิ ต ตธรรมแห่ ง มรุ ก ขนครแล้ ว

จดหมายข่าว

แคว้นโคตรบูรก็เสื่อมลงความส�ำคัญของบ้านเมืองได้ย้ายไปอยู่ที่ นครเวียงจันทน์อันมีพระยาจันทรบุรีอ้วยล้วยเป็นต้นวงศ์กษัตริย์ และ ได้ทรงอุปถัมภ์พระธาตุพนมต่อมา ระยะหลั ง เหตุ ก ารณ์ เ กี่ ย วกั บ พระธาตุ พ นมเป็ น เรื่ อ งใน สมัยล้านช้างซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์แล้ว ต�ำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่าพระยาโพธิสาราชได้เสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์สร้างวิหารและ ถวายข้าพระเป็นจ�ำนวนมากเพื่อคอยดูแลรักษาพระบรมธาตุพระยา โพธิสาราชนี้มีหลักฐานว่าขึ้นครองราชย์ในล้านช้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๓ สมัยหลังๆ ลงมาก็ถึงรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรง ทราบเรื่องราวของพระธาตุพนมจากต�ำนาน ได้เสด็จมานมัสการ พระบรมธาตุและทรงบูรณปฏิสังขรณ์ เรื่องของต�ำนานอุรังคธาตุที่มี มาแต่โบราณมาหมดสิ้นเอาในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิ ราชแห่งล้านช้าง ต่อมาพระพนมเจติยานุรักษ์ (ปัจจุบันคือพระเทพรัตนโมลี) เจ้ า อาวาสวั ด พระธาตุ พ นมซึ่ ง เป็ น ปราชญ์ มี ค วามรอบรู ้ ใ นเรื่ อ ง อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีคนหนึ่งของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือได้รวบรวมเรียบเรียงต�ำนานอุรงั คธาตุขนึ้ ใหม่ให้ชอื่ ว่า “อุรงั คนิทาน” ได้นำ� เอาเรือ่ งราวและเหตุการณ์เกีย่ วกับพระธาตุพนม ในสมัยหลังรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาลงมาจนปัจจุบันซึ่งมีบันทึกอยู่ ในศิลาจารึกต�ำนานพงศาวดารและความทรงจ�ำของผู้รู้ในท้องถิ่น มาเพิ่มเติมไว้ จากเรื่องราวที่เพิ่มเติมนี้ท�ำให้ทราบว่าพระธาตุพนมเป็น ศาสนสถานที่ส�ำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทุกยุคทุกสมัย การบูรณปฏิสังขรณ์แต่ละครั้งเป็นเหตุการณ์ในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเจ้าบ้านผ่านเมือง ขุนนางข้าราชการ ประชาชน และพระภิกษุสงฆ์ ต้องมาร่วมกันด�ำเนินการการบูรณปฏิสงั ขรณ์ครัง้ ส�ำคัญในภายหลังนี้ ได้แก่ครั้งพระครูหลวงโพนสะเม็กใน พ.ศ. ๒๒๓๕ ครั้งพระครูวิโรจน์ รัตโนบลจากวัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ และ ครั้งสุดท้ายกรมศิลปากรมาบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓

22

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ภาพเล่าเรื่อง พระธาตุพนมล้ม

ถ่ายภาพและบรรยายภาพบางส่วน โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

การพังทลายลงมาหักเป็นสามท่อน ส่วนฐานซึ่งเป็นของเดิมถูกเครื่องบนกระแทกลงมาแตกเป็นผุยผง มองเห็น ส่วนยอด อิฐก่อแบบสอปูนซึ่งเป็นฝีมือการปฏิสังขรณ์สมัยพระไชยเชษฐาจากเวียงจันทน์กับยอดบนเป็นฝีมือ ปฏิสังขรณ์สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไทยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามสมัยแรก

พระพุทธรูปปางสมาธิและชิ้นส่วนของรูปสลักจากหิน

ส่วนฐานแตกกระจายเป็นกองอิฐร่วนคลุมส่วนใกล้พื้นอันเป็นส่วนส�ำคัญขององค์ พระธาตุพนมล้ม วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. เพราะฝนตกพายุ พระธาตุยังไม่เปิดเห็นการหักแบบขาดกลางน�้ำหนักอันมหาศาลนั้นได้กดทับฐาน พัดแรงติดต่อหลายวันพระธาตุพนมจึงได้ลม้ ทลายลงมาทัง้ องค์ ประชาชนทัง้ ประเทศ ส่วนล่าง ซึ่งเป็นอิฐก่อไม่สอปูนมีลายจ�ำหลักบนอิฐ ได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

จดหมายข่าว

23

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ลวดลายบนแผ่นอิฐไม่สอปูนที่สันนิษ ฐานภายหลังว่าน่าจะเป็นศิลปะแบบจาม

เสากลมของ พระธาตุพนมตามซุ้มทิศ

พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ต�ำบลธาตุพนม อ�ำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันในวันเพ็ญเดือน ๓ ถึง แรม ๑ ค�่ำ เดือน ๓ ของทุกปีจะมีงานประจ�ำปี ส่วนยอดชั้นบนของพระธาตุพนมปฏิสังขรณ์สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หักลงมาทั้งท่อนยังเห็นลายดอกจันทร์และลายกระจังปิดทอง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์, ตุ๊ก วิริยะพันธุ์, รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม, ดร.ธิดา สาระยา

เจ้าหน้าที่ สุดารา สุจฉายา, ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร, ศรีสมร ฉัตรแก้ว, มรกต สาตราคม, วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, สมนึก กิจเจริญผล, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์, อรรถพล ยังสว่าง, พรพิมล เจริญบุตร, ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง, อภิญญา นนท์นาท, จตุพร ทองขันธ์, เกสรบัว อุบลสรรค์, ภูนาท เช้าวรรณโณ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, เมธินีย์ ชอุ่มผล

จดหมายข่าว

24

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ุ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ Email : Vlekprapaifoundation@gmail.com www.lek-prapai.org

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.