รวบรวม บันทึก ศึกษาขอมูลทางวัฒนธรรม สนับสนุนการอนุรักษเพื่อพัฒนา เผยแพรเพื่อการศึกษาของ สาธารณชน
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๙
Lek-Prapai Viriyapant Foundation
ปที่ ๒๐ ฉบับที่ ๑๑๐
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ จดหมายขาวรายสามเดือน
เปด ประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม ประเทศสยามวันนี้ : เมืองสองฝ ายฟ าระหว าง
อเมริกา กับ จีน
ประเทศไทยอยูในระหวางอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหวางมหาอํานาจ อเมริกาและจีน
ส�าหรับข้าพเจ้าในทุกวันนี้ภาวะที่ท�าให้เกิดความละเหี่ยใจก็คือความ รูส้ กึ ของคนปัญญาชนในสังคมทีส่ ะท้อนออกมาจากทัง้ การแสดงออกในโซเชียล มีเดียและข่าวสารตามหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ที่เห็นว่าแผ่นดินไทยในขณะ นี้ถูกปิดล้อมและคุกคามจากต่างชาติภายนอกทั้งในด้านสังคม การเมือง และ เศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยมีเหตุใหญ่มาจากความแตกแยกภายในทั้งรัฐและ สังคมของผู้ที่เรียกว่าคนไทยนั่นเอง
สารบัญ เปดประเด็น ประเทศสยามวันนี้ : เมืองสองฝ่ายฟ้าระหว่างอเมริกากับจีน ศรีศักร วัลลิโภดม หน้า ๑ ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ร้านยาหมอหวาน : การรื้อฟื้นต�ารับยาไทยอันท้าทาย ‘ยุคสมัยเที่ยววัดเที่ยววัง’ วลัยลักษณ ทรงศิริ หน้า ๕ จับกระแสพิพิธภัณฑทองถิ่น “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพุน�้าร้อน ด่านช้าง” เรียนรู้และท่องเที่ยวริมเทือกเขาตะนาวศรี จารุวรรณ ดวงคําจันทร หน้า ๙ บันทึกจากทองถิ่น ประเพณีบุญส่งกับจุดเริ่มต้น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย พัชรินธร เดชสมบูรณรัตน หน้า ๑๑ พระนครบันทึก “ไตเย็บใหม่” ร้านค้ากระดุมเก่าแก่ในย่านพาหุรัด พัชรินธร เดชสมบูรณรัตน หน้า ๑๓ คนยานเกา ฟัง “พจนา ดุริยพันธุ์” เล่า บ้านดนตรีดุริยประณีตแห่งบางล�าพู วลัยลักษณ ทรงศิริ หน้า ๑๕ กิจกรรม “เสวนาสาธารณะ” สรุปเสวนาสาธารณะของคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ ที่ป้อม มหากาฬ เรื่อง “ฟื้นพลังยาไทย บ�ารุงชาติสาสนายาไทย” จารุวรรณ ดวงคําจันทร หน้า ๒๑
บานเมืองยังคงอุดมสมบูรณและสามารถพึ่งพาตนเองได หากไมมีแรงกระทบจาก ภายนอกมาทําใหเสียสมดุลทางนิเวศวัฒนธรรมไป
ประเทศสยามอันมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางรุ่งเรือง ทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่สุดคือในรัชสมัยของรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พอสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว การคุกคามของมหาอ�านาจตะวันตกนักล่าอาณานิคมก็แผ่เข้ามา และนับว่าโชคดีด้วยเหตุสองประการ เพราะอสุรกายใหญ่สองตนที่มี อ�านาจมากที่สุดในขณะนั้น คืออังกฤษและฝรั่งเศสได้หลีกเลี่ยงการ ประจัญหน้าด้วยการปล่อยให้ “สยามเป็นประเทศกันชน” หลังจาก ได้บรรดาบ้านเมืองใหญ่น้อยที่เคยอยู่ในราชอาณาจักรทั้งทางเหนือ ทางใต้ ตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือไปเป็น ประเทศใน อาณานิคม ประเทศสยามแม้จะอยู่รอดมาในฐานะเป็นประเทศเอกราช ทางการเมืองการปกครองแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ก็ตาม แต่ในทางสังคมและวัฒนธรรมนั้นหาได้เป็นอิสระไม่ เพราะการรับอารยธรรมตะวันตกเพือ่ มาสร้างความทันสมัย [Westernization] ให้ทัดเทียมกับบ้านเมืองทางตะวันตกนั้น กลับ ท�าให้คนสยามตัง้ แต่ชนั้ สูงลงมาจนถึงชัน้ ล่าง กลายเป็นอาณานิคมทาง ปัญญาของฝรั่งตะวันตกไปสิ้น เพราะไปเห็นดีเห็นงามกับตะวันตกไป ทั้งหมดทั้งในด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง โดยเฉพาะระบบการปกครองที่ เ รี ย กว่ า สมบู ร ณาญา สิทธิราชย์ที่ท�าให้ประเทศสยามเป็นรัฐอ�านาจรวมศูนย์แบบเด็ดขาด จนไม่มีช่องว่างให้การปกครองท้องถิ่น [Local Government] อย่าง ที่เคยมีมาแต่สมัยอยุธยาและสุโขทัย ก็เป็นผลมาจากเอาโครงสร้าง และวิธีการบริหารปกครองแบบตะวันตกเข้ามาใช้แทนในทางสังคม เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมาคือ “คนชั้นกลาง” ที่ส่วนใหญ่มาจาก คนต่างชาติ ต่างชาติพันธุ์ที่มาจากภายนอกที่เป็นผู้ประกอบการ กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ อาศัยการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งแต่เดิม ไม่มี ในหมู่ไพร่ฟ้าประชากรของรัฐก่อนสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันได้มาจากการซื้อขายและการยึดครอง
จดหมายข่าว
จากประชาชนที่ด้อยโอกาสและด้อยปัญญามาเป็นของตน ของ ครอบครัว ของพรรคพวกและบริวาร กล่าวโดยย่อก็คือ “ระบบทุนและนายทุน” นั่นเอง ซึ่งมีผล ท�าให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคมชาวนา [Peasant] แต่เดิมที่ชาว บ้านไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพมาเป็นสังคม กสิกรรม [Farmer] ที่มีผู้ประกอบการเป็นพ่อค้า นายทุน เจ้าของที่ดิน และปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ ซึง่ รวมไปถึงการสัมปทานป่าไม้และอืน่ ๆ เกิดการขยายตัวของสังคมเมือง [Urbanism] เป็นบ้านเมือง มีตกึ รามบ้านช่องและถนนหนทางเป็นแบบตะวันตก รูปแบบการด�ารง ชีวิตของคนเมือง [Life Style] ก็เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการแต่งกาย ตามแบบตะวันตกที่สร้างความเหลื่อมล�้ากับผู้คนในสังคมระหว่าง คนชั้นสูงและคนชั้นกลางกับชาวบ้านที่เป็นชาวนาและแรงงาน แต่ที่ส�าคัญคือการศึกษาแบบตะวันตกท�าให้เกิดปัญญาชน รุ่นใหม่ที่มีความคิดและการมองโลกเปลี่ยนไปจากเดิมมากมาย คือ เน้นความส�าคัญทางวัตถุและความเจริญทางเศรษฐกิจที่ลดความ ส�าคัญทางศาสนาและจริยธรรมในมิติทางจิตวิญญาณจนไม่ได้ดุล กับความเจริญทางวัตถุจนท�าให้บรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ รวมทั้งพ่อค้า นักธุรกิจ คนชั้นกลางกลายเป็น “คนหัวนอก” ไป แตกต่างจากปัญญาชน “คนใน” ที่มีมาแต่เดิมให้กลายเป็นคนคร�่าครึ ๒
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ไม่ทันโลกที่เรียกว่า “เชย” เพราะประเทศไทยเป็นอิสระไม่ตกเป็นเมืองขึน้ ของตะวันตก นีเ่ องทีท่ า� ให้คนไทยเกิดความภูมใิ จว่าดีกว่าประเทศเพือ่ นบ้านทีต่ กอยู่ ในสภาพเป็นคนในอาณานิคมของตะวันตก คนไทยนอกจากไม่รู้สึก ในความเจ็บปวดในสิ่งเหล่านี้แล้วยังดูถูกคนในประเทศเพื่อนบ้านว่า ต�า่ ต้อยกว่าตน และในขณะเดียวกันก็พยายามท�าคนให้มคี วามก้าวหน้า ทัดเทียมกับคนตะวันตกเพื่อความศิวิไลซ์ [Civilized] เพื่อความมีหน้า มีตาเป็นชาติศิวิไลซ์ ท�าให้ปัญญาชนไทยส่วนใหญ่คิดอะไรไม่เป็น ลืมความเป็น มาของบ้านเมืองในอดีต ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะลอกเลียนแบบตะวันตก นับแต่การศึกษา การปกครอง การบริหารราชการ รวมทั้งกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ จนคนไทยกลายเป็นทาสทางปัญญาของคนตะวันตก ที่ท�าอะไรตามค�าแนะน�าหรือเอาแบบอย่างตะวันตกมาข่มคนชั้นล่าง ที่ด้อยโอกาส และคนในประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นอาณานิคมคนตะวัน ตกในทางการเมืองและเศรษฐกิจ จนกลายเป็นที่เกลียดชังของเพื่อน บ้านแทบทุกประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ความเป็นทาสทางปัญญาของคนไทยต่อคนตะวันตกนี้ ได้ เพิ่มพูนทวีคูณมาเป็นทาสทางการเมืองและเศรษฐกิจของคนตะวัน ตกในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งรู้จักกันในนามว่า “ยุค สงครามเย็น” ที่โลกแบ่งออกเป็นสองขั้ว คือขั้วของระบบเศรษฐกิจ การเมืองที่เรียกว่า “ทุนนิยมเสรีประชาธิป ไตย” กับ “สังคมนิยม คอมมิวนิสต์” สังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้นแท้จริงคือการต่อสู้เรียกร้องของ คนที่เคยเป็นเบี้ยล่างทางเศรษฐกิจการเมืองของคนตะวันตกที่เป็น มหาอ�านาจในยุคการล่าอาณานิคม เป็นการต่อสู้ที่มาจากคนชั้นล่าง แต่คนไทยและรัฐไทยไม่เคยอยู่ ในสภาพเช่นนั้นทางเศรษฐกิจและ การเมือง อยู่กันอย่างสบายและประเทศมั่งคั่งด้วยทรัพยากรและ อาหารการกิน จึงคิดว่าการเคลื่อนไหวต่อสู้ของบรรดาประเทศเพื่อน บ้านที่เป็นคอมมิวนิสต์นั้นคือ ภัยร้ายแรงที่คุกคามรัฐไทยและคนไทย แต่ภัยนี้ ใหญ่หลวงนักเกินกว่าที่คนไทยจะต่อสู้ได้ต้องพึ่ง มหาอ�านาจทางฝ่ายทุนนิยมคืออเมริกาทีม่ ผี รู้ ว่ มทุกข์รว่ มสุขคืออังกฤษ และฝรัง่ เศสทีเ่ คยเป็นอสุรกายในการยึดครองและกดขีบ่ า้ นเมืองทีเ่ ป็น คอมมิวนิสต์มาก่อน ในยุ ค สงครามเย็ น นี้ ไ ทยอ้ า งตนเองว่ า เป็ น ทุ น นิ ย ม ประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วไทยไม่เคยเป็นประชาธิปไตยแบบตะวัน ตกเลย เพราะยังคงเป็นรัฐรวมศูนย์ที่ ไม่มีการกระจายอ�านาจตาม อุดมคติของการเป็นประชาธิปไตย โดยแท้จริงแล้วไทยคือรัฐเผด็จการ ทุนนิยมตลอดมา โดยเฉพาะในยุคสงครามเย็นทีเ่ ป็นรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะ รัชต์ ที่เป็นเผด็จการเต็มตัว ไทยกลายเป็นสาวกอเมริกันอย่างเต็มที่ ซึ่งนอกจากพลีแผ่นดินไทยให้เป็นฐานทัพส�าคัญในการท�าสงครามกับ ฝ่ายสังคมนิยมประชาธิปไตยทีเ่ รียกว่าคอมมิวนิสต์แล้วไทยยังปรับปรุง
จดหมายข่าว
๓
การบริหาร การเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ และการศึกษา รวมทัง้ การสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ พัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เปลีย่ น สังคมเกษตรกรรมทีม่ มี าแต่ดกึ ด�าบรรพ์ให้เป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิด กระบวนการท�าให้เป็นอเมริกัน [Americanization] ที่ท�าให้ผู้คนใน ระดับสูง ระดับกลางที่เป็นนักการเมือง นักปกครอง บริหาร นักการ ศึกษา และนักวิชาการคิดอะไรท�าอะไรไปเป็นแบบอเมริกันทั้งสิ้น จนกระทั่งในยุคปัจจุบันที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์นั้น ความคลั่ง ไคล้อเมริกันกลายเป็นโรคขึ้นสมองในบรรดาคนชั้นสูง ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และนักศึกษาไปทั้งหมด ดังตัวอย่างเช่นการมี รัฐธรรมนูญและการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยต้องเป็นแบบ รัฐสภามีประธานาธิบดี และการเลือกตัง้ จากคะแนนเสียงของคนส่วน ใหญ่ที่มาเลือกตั้งผู้แทนเป็นส�าคัญ จึงเกิดความขัดแย้งที่ยากจะหาข้อยุติได้ในเรื่องการเป็น ประชาธิป ไตยของคนไทย ซึ่งก�าลังกลายเป็นเครื่องมือหากินและ ท�าลายล้างสังคมไทยด้วยการพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริยแ์ ละพระ มหากษัตริย์ของบรรดานักการเมือง นักธุรกิจ นักศึกษา นักวิชาการ ที่ออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยแบบอเมริกัน คนไทยเกือบจะฆ่ากันตายอย่างนองเลือดเพราะความกระหายทีจ่ ะเป็น ประชาธิปไตยแบบอเมริกันนี้ ซึ่งแท้จริงก็คือยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ของบรรดานักธุรกิจการเมืองและนายทุนข้ามชาติทชี่ วั่ ร้ายเพือ่ การยึด ครองประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม แต่เคราะห์ดีที่ก่อนการนองเลือดเกิดขึ้นก็เกิดปรากฏการณ์ ทางสังคมและการเมืองขึ้นสองอย่าง อย่างแรกคือการปฏิวตั ลิ ม้ ล้างรัฐบาลคอร์รปั ชันทีม่ าจากการ เลือกตัง้ และบูชาประชาธิปไตยแบบอเมริกนั โดยนายทหารกลุม่ หนึง่ ทีม่ ี ความจงรักภักดีตอ่ พระมหากษัตริยแ์ ละประเทศชาติบา้ นเมืองสามารถ ยุติความรุนแรงและน�าประเทศชาติกลับเข้าสู่ภาวะที่สงบได้อย่างเป็น ที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม ปรากฏการณ์อย่างหลังคือ การตืน่ รูท้ างสติปญ ั ญาของผูค้ น ส่วนใหญ่ ในสังคมที่มีทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่แสดงออกจากการ เคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองในนามของมวลมหาประชาชน คนเหล่านี้แต่ก่อนไม่ใคร่น�าพาต่อปัญหาใดๆ ที่เกิดจากการ คอร์รปั ชัน การโกงกินและการกดขีห่ ลอกลวงของกลุม่ ทรราชทีข่ นึ้ มา มีอ�านาจเป็นรัฐบาลปกครองบ้านเมือง คนเหล่านี้คือพลังทางสังคม ที่ชอบธรรมหนุนการด�าเนินการของคณะปฏิวัติให้ปราบปรามทุจริต และปฏิรปู บ้านเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็คอยเฝ้าดูการด�าเนินการใน เรื่องต่างๆ ของรัฐบาลว่าเป็นไปโดยชอบธรรมและแก้ไขให้เกิดความ เรียบร้อยและความมั่นคงทางสังคมและการเมืองได้ส�าเร็จหรือไม่ เวลาล่วงมาเกือบสองปีเต็มแล้ว การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ บ้านเมืองก็ยังไม่ดูดีเท่าใด แม้ว่าความรุนแรงภายในจะค่อยๆ หมดไป หรือน้อยลงก็ตาม แต่เกิดความกดดันจากภายนอกทีท่ า� ให้ประเทศไทย ตกอยู่ใน “สภาพของการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้า” ขึ้นในลักษณะที่เป็น
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ไดเลมมา [Dilemma] คือภาวะที่อยู่ท่ามกลางเขาควายหนีเสือ ปะจระเข้ คือเป็นเมืองทีอ่ ยูร่ ะหว่างมหาอ�ำนาจสองกลุม่ คือ “อเมริกนั ” กับ “จีน” ซึ่งกลายเป็นแอกสองแอกที่ต้องได้รับการปลดปล่อย ข้ า พเจ้ า มองไม่ เ ห็ น ว่ า รั ฐ บาลปฏิ วั ติ ค ณะนี้ จ ะสามารถ ปลดแอกทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศออกจากภาวะ ระหว่างเขาควาย [Dilemma] นี้ได้ เพราะขาดความเด็ดเดี่ยวและเชื่อ มั่นในตนเองเป็นประการแรก กับประการที่สองขาดความรอบรู้และ เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของผู้คน ทั้งในระดับต่างๆ และท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ข้าพเจ้าคิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของ ประเทศในขณะนี้อยู่ในภาวะวิกฤต เพื่อปลดปล่อยสังคมให้ด�ำรงอยู่ได้อย่างราบรื่นนั้น รัฐต้อง เข้มแข็งและเป็นรัฐบาลเผด็จการอย่างเต็มตัว อย่าไปคาดหวังหรือ ตกอยู่ในกับดักของประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่บรรดานักการเมือง นักวิชาการ และนายทุน ที่ช่ัวร้ายน�ำมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดการ เลือกตั้งอย่างรวดเร็ว รัฐควรจัดการอย่างเด็ดขาดด้วยศาลทหารกับการปลุกผีและ เคลือ่ นไหวของฝ่ายที่ไม่หวังดีทอี่ า้ งต่างชาติ เช่น อเมริกา และองค์กร ต่างๆ ของสหประชาชาติที่อ้างอิงและกดดัน เพราะเท่าที่ดูในขณะนี้ คนส่วนใหญ่ที่เป็นผลพวงมาจากการตื่นรู้ของมวลมหาประชาชนนั้น สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว ข้าพเจ้านึกถึงครั้งสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ แสดงความเป็นเผด็จการอย่างเฉียบขาดและแก้ไขประเทศชาติในยาม วิกฤตด้วยการสร้างกฎหมายของรัฐบาลปฏิวตั ขิ นึ้ มาดูแลประเทศเป็น เวลานานก่อนทีจ่ ะเปิดโอกาสให้เป็นการปกครองแบบเลือกตัง้ ทุนนิยม ประชาธิป ไตยเข้ามาแทนที่ แต่จุดอ่อนของรัฐบาลเผด็จการสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เรื่อยมาถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจรก็คือ ปัญหาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของบ้านเมืองเพื่อการเปลี่ยน สังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมเพื่อเกิดความทันสมัยขึ้น มา ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตะวันตก ซึ่งเป็น ที่มาของวัตถุนิยมและบริโ ภคนิยมที่ท�ำลายรากเหง้าทางศีลธรรม และความเชื่อในมิติทางจิตวิญญาณที่ท�ำให้คนกลายเป็นคนวัตถุนิยม และเป็นปัจเจกชนที่เห็นแก่ตัว แย่งชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและ การเมืองอย่างไร้ศีลธรรมและจริยธรรมในขณะนี้ ความล้มเหลวของบ้านเมืองในยุคเผด็จการทหารที่แล้วมา คือไม่สามารถสถาปนารัฐประชาธิปไตยในหลักการทีแ่ ท้จริงได้ เพราะ ท�ำให้การสืบเนือ่ งของการเปลีย่ นรัฐรวมศูนย์นเี้ ป็นหัวใจของเผด็จการ มาจนกระทั่งปัจจุบัน แม้กระทั่งรัฐบาลปัจจุบันจะเป็นรัฐบาลเผด็จการที่หวังจะ สร้างแนวทางไปสู่การเป็นประชาธิป ไตยก็จะไม่ส�ำเร็จตราบใดที่ยัง มองไม่เห็นโครงสร้างและแผนการในการกระจายอ�ำนาจลงสู่ท้องถิ่น
จดหมายข่าว
และท�ำให้เกิดรัฐบาลท้องถิ่นขึ้น ซึ่งนอกจากความกล้าๆ กลัวๆ ไม่เด็ดขาดในการจัดการกับ ความขัดแย้งทางการเมืองจากฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังขาดความเข้าใจ ในเรื่องสังคมเศรษฐกิจ คือการจัดการเศรษฐกิจเพื่อสังคมเพื่อผู้คน ในสังคมได้เกิดความมั่นคงในชีวิตวัฒนธรรม สิ่งที่รัฐในปัจจุบันไม่ เข้าใจในเรื่องนี้เห็นได้จากการแก้ไขทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดรายได้ ประชาชาติ [GDP] แก่คนทั่วไปได้ อันความคิดในเรื่องรายได้ต่อหัวประชาชาติที่ตัดสินกันด้วย ตัวเลขเงินทองนั้นเป็นความเชื่อในทางมายาที่อุปโลกน์ว่ามีอยู่จริง เพราะรายได้ที่แท้จริงนั้นจะไปตกอยู่กับคนที่เป็นนายทุนหมด รัฐบาล โดยการชีแ้ นะของนักการเมืองและนักวิชาการฝ่ายเศรษฐกิจทีว่ างแผน การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในรูปแบบประชารัฐที่เน้นแต่ GDP และ การประกาศพื้นที่ทางเศรษฐกิจพิเศษนั้นไม่มีทางที่จะพบความส�ำเร็จ ในการบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขของประชาชนที่อยู่เบื้องล่างตามท้องถิ่น ต่างๆ ได้ ทั้งที่ในปัจจุบันหลายท้องถิ่นในหลายบ้านหลายเมืองภาวะ ทางสังคมเศรษฐกิจอยู่ในสภาพดีอยู่แล้วด้วยระบบเศรษฐกิจแบบพอ เพียงที่แลเห็นชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนกลับคืนมาและสะท้อนให้เห็น สิ่งที่หลายคนพร�่ำกล่าวถึง ความสุขมวลรวมของประชาชาติ [GNH] ที่แท้จริงแล้วคือความสุขมวลรวมของผู้คนที่อยู่ในชุมชนนั่นเอง ทุกวันนี้รัฐบาลถูกกดดันบีบคั้นให้รับเป็นประชาธิปไตยแบบ อเมริกันจากข้างนอกและข้างใน จากข้างในนั้นหลุดมาแล้วแต่จาก ข้างนอกก็คือ ชาติอเมริกันและพรรคพวกทางตะวันตก ซึ่งที่แท้จริง ต้องการทรัพยากรในด้านต่างๆ ของประเทศไทยที่ท�ำให้ผู้น�ำทาง รัฐบาลต้องหันไประวังการถ่วงดุลทางอ�ำนาจกับมหาอ�ำนาจทางตะวัน ออกโดยเฉพาะกับจีนและพรรคพวกเลยท�ำให้รัฐไทยและสังคมไทย กลายเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าไป เพราะอ�ำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ และการตลาดถูกถ่ายทอดโดยประเทศมหาอ�ำนาจข้างนอก แต่อสุรกายจากตะวันออกที่รัฐไทยและนายทุนไทยก�ำลัง ลุ่มหลงอยู่ในขณะนี้ ดูราวกับว่าไม่เบาไปจากอเมริกันเลย เพราะไม่ สนใจในรูปแบบทางการเมืองการปกครอง แต่สนใจในมิติทางสังคม เศรษฐกิจทีเ่ คลือ่ นด้วยการขยายตัวทางการลงทุนเข้ามายึดครองทีท่ ำ� กินและแย่งตลาดผลผลิตภายในประเทศด้วยการส่งสินค้าราคาถูกเข้า มาขาย แต่ทสี่ ำ� คัญคือการอุดหนุนส่งเสริมคนของตนเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐาน แต่งงานกับคนท้องถิ่นที่ตกเป็นเหยื่อวัตถุนิยมและบริโภคนิยม นับ เป็นการรุกคาดแบบยึดครองที่ท�ำให้ไทยที่มีมาแต่เดิมสูญพันธุ์ไปได้ ในที่สุด ประเทศไทยนีม้ คี วามอุดมสมบูรณ์ดว้ ยความหลากหลายทาง ชีวภาพนานาชนิดทีส่ ามารถเป็นแหล่งอาหารของคนได้ทวั่ โลก ถ้าหาก ไม่ต้องการอุตสาหกรรมแบบทุนนิยมและประชาธิปไตยแบบอเมริกัน แล้ว สามารถปิดประเทศได้นานกว่าห้าปีทที่ ำ� ให้ผคู้ นในชุมชนมนุษย์มี ความสุขมวลรวมด้วยระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง แต่บรรดาอมนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นนายทุนน่าจะตายหมด 4
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก โดย วลัยลักษณ ทรงศิริ หลาย
ร านยาหมอหวาน : การรื้อฟนตํารับยาไทย อันทาทาย ‘ยุคสมัยเที่ยววัดเที่ยววัง’
ยาหอมตํารับตางๆ ของรานหมอหวานที่กลับมาผลิตใหม ดวยการหีบหอที่ทันสมัยถูกใจผูซื้อ
เล่ากันในครอบครัวของหมอหวานว่า เริ่มแรกหมอหวานตั้ง บ้านเรือนอยู่บริเวณแยกถนนอุณากรรณที่ต่อกับย่านชุมชนถนนบ้าน ลาวทีก่ ลายมาเป็นถนนเจริญกรุงในเวลาต่อมาซึง่ อยูท่ างฝัง่ ตะวันออก ของวัดสุทัศน์ฯ ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ฟากถนนตีทองที่อยู่ทางฝั่งตะวัน ตกใกล้กับถนนบ�ารุงเมือง แม้ไม่ได้สร้างเป็นอาคารร้านค้าริมถนน แต่ก็อยู่ในจุดที่สามารถเดินเท้าเข้าถึงได้จากถนนทั้งสองแห่งทั้งถนน ตีทองและถนนบ�ารุงเมือง ร้านยาหมอหวานเป็นตึกสวยออกแบบตาม สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒4๖๗ หน้าอาคารมี ตัวอักษรแปลกตาเขียนติดกันว่า “บ�ารุงชาติสาสนายาไทย” ถัดลงมา มีสัญลักษณ์ตาเหลวและชื่อหมอหวาน เจ้าของผู้สร้างอาคารหลังนี้ ที่ร้านหมอหวานในปัจจุบัน ทายาทรุ่นเหลนตา “ภาสินี ญาโณทัย” และคณะ ศึกษาและค้นคว้าหลักฐานจากสมบัติตกทอด สืบกันมาภายในบ้าน พบว่ามีฉลากยาเก่าเขียนว่า “ร้านขายยาไทยตรา
จดหมายข่าว
๕
ชะเหลว” ของหมอหวานตั้งอยู่มุมถนนอุณากรรณแสดงว่าหมอหวาน น่าจะมีกิจการปรุงยามาตั้งแต่ก่อนสร้างบ้านหมอหวานหลังนี้นานพอ สมควร เพราะสามารถสร้างบ้านเป็นตึกหลังงามขนาดย่อมบนที่ดิน ของตนเองและเป็นบ้านตึกที่แสดงถึงฐานะอย่างภูมิฐาน ร้านยาหมอหวานนั้นสร้างขึ้น ๑ ปีภายหลังจากมี “พระราช บัญญัติการแพทย์พุทธศักราช ๒4๖๖” ซึ่งมีเนื้อความว่า การรักษา โรคนั้นเป็น “การประกอบโรคศิลปะ” ที่มีอิทธิพลต่อสวัสดิภาพของ ประชาชน กรุงสยามยังไม่มีระเบียบบังคับควบคุม ประชาชนยังไม่มี ความคุ้มครองจากอันตรายอันอาจจะเกิดจากการประกอบโดยผู้ไร้ ความรู้และไม่ได้ฝึกหัด เป็นต้น ในพระราชบัญญัตินี้กล่าวเฉพาะถึง การปรุงยาเท่านัน้ แต่ยงั ไม่ได้ครอบคลุมถึงการขายยาด้วย ต่อมาเมือ่ มี พระราชบัญญัติเพิ่มเติม พ.ศ. ๒4๗๒ จึงควบคุมให้สถานขายยา การ โฆษณายาต่างๆ ให้อยู่ในการประกอบโรคศิลปะด้วย
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
อาคารรานขายยาหมอหวานที่สรางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ และมีแผนปาย “บํารุงชาติสาสนายาไทย”
เม็ดคุลิกา เปนเม็ดปรวดหรือเม็ดนิ่ว ในถุงนํ้าดีของคาง
การแพทย์แบบสากลคือแบบตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามา มากและเป็นระยะเวลานานแล้ว อาจจะถือว่าเริ่มต้นเมื่อมีการสร้าง โอสถศาลาของมิชชันนารีชาวอเมริกันตั้งแต่เมื่อครั้งรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “หมอบรัดเลย์” เปิด “โอสถศาลา” ขึ้นเป็นที่แรกในสยามราว พ.ศ. ๒๓๗๙ เพื่อท�าการรักษา จ่ายยา และหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ จนเริ่มมีการสร้างโอสถศาลา ตามหัวเมืองต่างๆ โดยรัฐในเวลาต่อมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ในพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒4๖๖ เแบ่งการแพทย์เป็น ๒ แผน คือ แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนโบราณ โดยแพทย์แผนโบราณ แบ่งออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาเวชกรรมแผนโบราณ เภสัชกรรม แผนโบราณ ผดุงครรภ์แผนโบราณ และสาขานวดแผนโบราณ ดังนั้น ทัง้ การปรุงยาและการขายและโฆษณายาต่างๆ จึงถูกควบคุมด้วยพระ ราชบัญญัติการแพทย์มาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๖ และร้านหมอหวานก็ อยู่ในขอบข่ายของการควบคุมดังกล่าวและท�าใบอนุญาตถูกต้องตาม กฎหมาย จากหลักฐานที่เหลืออยู่ที่บ้านหมอหวาน ภาสินีพบว่ามีหูฟัง และปรอทวัดไข้เหมือนแพทย์แผนปัจจุบันและขวดยาที่ตั้งไว้ภายใน ร้านก็มีตวั อักษรภาษาอังกฤษก�ากับอยูด่ ้วย ด้วยจากยาที่เป็นยาต้มยา หม้อ ยาผงแต่สว่ นใหญ่ยาทีเ่ หลือติดก้นขวดจะเป็นยาเม็ด และมีบล็อก พิมพ์ แสดงถึงการปรับตัวจากยาไทยให้เป็นยาเม็ดแบบฝรัง่ การตรวจ รักษาก็นา� การแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาผนวก หมอหวานจึงเป็นบุคคล ประเภทผสานความรู้ทั้งของดั้งเดิมและแบบแผนสมัยใหม่ในทางการ แพทย์แผนปัจจุบันซึ่งเป็นสากลเมื่อเปิดร้านยานี้ การแพทย์ท้องถิ่นและการรักษาโดยยาท้องถิ่นถือเป็นส่วน หนึ่งในชีวิตของผู้คนที่สืบทอดกันมาและมักเป็นความรู้ที่อยู่กับวัด อันเป็นสถานศึกษาแบบเดิม มีต�ารายาต่างๆ มากมายที่เก็บรักษา ไว้ตามวัด หมอสมุนไพรก็มักเป็นพระสงฆ์ตามวัดเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีตระกูลของหมอยาผู้รู้ต่างๆ เก็บรักษาต�ารายาและความรู้อยู่ใน ตระกูลตามบ้านอีกจ�านวนมาก การรักษานั้นส่วนใหญ่ควบคู่ไปกับ
จดหมายข่าว
การรักษาแบบจารีตและความเชือ่ จึงดูไม่เป็นสากลแบบสมัยใหม่ตาม ระบบวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เป็นกระแสครอบง�าโลกยุคสมัยใหม่ [Modernization] ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อมีกฎหมายควบคุม หมอไทยและหมอพื้นบ้านเริ่มรู้สึก ไม่มั่นคงในอาชีพ บางส่วนต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ท�าเพราะส่วนใหญ่ เป็นการรับสืบทอดความรู้และการฝึกฝนกันในตระกูลหรือเรียนจาก พระจากต�าราวัด และไม่ได้เรียนในระบบและมีใบอนุญาตประกอบ โรคศิลปะ ปรุงยาก็กลัวว่าจะมีความผิด ท�าให้บางส่วนก็เลิกอาชีพไป ต�ารายาหลายขนานก็หายไป จนเริ่มมีความนิยมน�ายาไทย สมุนไพร ต่างๆ มาเผยแพร่อกี ครัง้ โดยการแพทย์ทางเลือกทีม่ กี ารผลิตสมุนไพร ต่างๆ และแพทย์แผนไทยทีเ่ ปิดสอนในหลายสถาบันในระยะราว ๒๐๓๐ ปีที่ผ่านมา ภาสินี ได้รับรู้จากค�าบอกเล่าของบรรพบุรุษว่า หมอหวาน มีโอกาสได้ถวายการรักษาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับ พระราชทานกล่องไม้จากพระธิดาพระองค์หนึง่ ว่า “ขอบใจหมอหวาน ที่ช่วยปรนนิบัติเสด็จพ่อ เมื่อคราวประชวร” หมอหวานอาจจะเข้าไปตรวจรักษาพระองค์ท่านเมื่อคราว ประทับอยู่ที่วังเดิมเชิงสะพานถ่านหรือวังสะพานถ่านที่ตั้งอยู่บน ถนนตีทองไม่ไกลจากบ้านหมอหวานที่ถนนอุณากรรณนัก ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั สร้างวังพระราชทานบนทีด่ นิ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และย้าย ไปประทับอยู่ ณ วังเทวะเวศม์ แถบบางขุนพรหม เมื่อ พ.ศ. ๒4๕๗ ก่อสร้างเสร็จเมือ่ พ.ศ. ๒4๖๑ ต่อมาบริเวณวังสะพานถ่านถูกรือ้ และ กลายเป็นตลาดบ�าเพ็ญบุญ หมอหวานปรุงยาแผนโบราณหลายต�ารับ ทั้งยาระบาย ยา กวาดคอเด็ก ยาหอม ยาแก้ปวดหัวตัวร้อน เป็นร้านยาส�าหรับชาวบ้าน ในพระนครทัว่ ไป มีคนไข้มารักษาทีบ่ า้ นบ้าง มาซือ้ ยาไปรักษาเองบ้าง บ้านหมอหวานจึงเป็นทั้งคลินิกรักษาและสถานที่ปรุงยา และเมื่อย้าย ๖
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
สถานที่อยู่อาศัยและปรุงยาจากมุมถนนอุณากรรณมาเป็นถนนตีทอง และบ�ารุงเมือง ฉลากยาก็เปลี่ยน ในฉลากยาจะมีเขียนไว้ว่าขายส่งขายปลีก และน่าจะขายดี มากเพราะมีการปลอมเกิดขึน้ ต้องท�าฉลากยาทีบ่ างชิน้ เขียนว่า “ของ หมอหวานแท้ต้องมีตราหมอหวาน” ลงในเอกสารก�ากับยาซึ่งจะเว้น ที่ไว้ เข้าใจว่าเตรียมไว้ส�าหรับเอาตราประทับลงไป พบตราประทับ ประมาณ 4-๕แบบ แบบแรกๆ จะเป็นแบบลายมือแล้วพัฒนามาเป็น แบบกึง่ พิมพ์ ซึง่ พิมพ์ทถี่ นนตีทองนีเ่ อง ยาหมอหวานจึงมียหี่ อ้ ขึน้ มาใน ช่วงนั้น และถึงช่วงเวลาที่ก�าลังสร้างตึกหลังนี้ ก็เริ่มมีการใส่ประโยค ที่ว่า “บ�ารุงชาติสาสนายาไทย” ลงไปในเอกสารก�ากับยาตั้งแต่อยู่ที่ ถนนอุณากรรณก่อนย้ายมาที่นี่ และต�ารับ “ยาหอมมหาสว่างภพ” มีเอกสารก�ากับยาเป็น เล่มเพราะสรรพคุณมากมายและพิมพ์เป็นจ�านวนมาก สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นต�ารับยาหอมที่ขายดีที่สุด ภาสินียังค้นพบเรื่องราวของหมอหวานด้วยตนเองต่อไปอีก คือ โครงสร้างของบ้านหมอหวานแบ่งออกเป็นสองส่วนชัดเจน แต่หาก มองจากด้านหน้าเข้ามาแล้วเหมือนมีเพียงตึกเดียวที่คงออกแบบโดย สถาปนิกชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอิตาเลียนซึ่งเข้ามารับราชการ และที่ท�าการรัฐบาล อาคารวังต่างๆ รวมทั้งออกแบบตึกแถวร้านค้า ซึ่งร้านหมอหวานก็น่าจะเป็นการออกแบบของสถาปนิกชาวต่างชาติ ท่านหนึ่งท่านใดในยุคนั้น ถัดไปคือบ้านไม้ที่เป็นเรือนพักอาศัยของ คนในบ้าน ตัวตึกนั้นคงตั้งใจจะท�าให้เป็นร้านขายยาแบบตะวันตกที่ มีหน้าร้าน มีบานประตูสูง ด้านข้างมีการจัดแสดงสินค้าหน้าร้าน วาง ขวดยาเพื่อให้ทราบว่าที่นี่คือร้านขายยา ภายในร้านมีเคาน์เตอร์ยา ข้างหลังเคาน์เตอร์จะเป็นตู้ยาวางแสดงขวดยาหรือตัวยาต่างๆ และ เมื่อตรวจสอบเอกสารเก่าๆ ดูก็พบว่ามีต�ารายาที่จดในสมุดฝรั่งบ้าง แต่สมุดไทยแบบผูกมากที่สุด และน่าจะเป็นสูตรยาหอมและมีหลาย ต�ารับซึ่งยังตกทอดมาจนปรุงอยู่ถึงปัจจุบัน หมอหวานมีบุตรสาวที่เป็นคุณยายของภาสินี ซึ่งรับสืบทอด การปรุงยาร้านหมอหวานสืบมา โดยแต่งงานและมีบุตร ๓ ท่าน หนึ่ง ในหลานสาวของหมอหวานคือคุณป้าออระ วรโภคป้าของภาสินซี งึ่ เกิด ทันได้เห็นได้พบคุณตาคือหมอหวาน จ�าได้วา่ ท่านเป็นคนทีพ่ ดู น้อย หน้า ไม่คอ่ ยยิม้ เหมือนเป็นผูใ้ หญ่ทดี่ ุ อาเจ็กทีข่ ายยาพวกเครือ่ งยาสมุนไพร ตรงเสาชิงช้าเล่าให้คุณภาสินีฟังว่า เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่นก็เคยพบหมอ หวาน ท่านมักเดินไปซื้อเครื่องยามาปรุงยาด้วยตัวเองเป็นประจ�า หลังจากสงครามสงบหมอหวานก็ถึงแก่กรรมที่บ้านซึ่งท่าน สร้างขึ้นมา เมื่อ พ.ศ. ๒488 รวมอายุของท่านราวๆ ๗๗ ปี ป้าออระ วรโภค เรียนที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วจึงข้ามฝั่งไปท�างานที่ศิริราช เป็นเลขา ของคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์เงินเดือนเดือนแรกที่ได้เอามาให้แม่ ซือ้ เครือ่ งบดยาไฟฟ้าที่ไม่ตอ้ งใช้แรงคน เพราะมีแต่ผหู้ ญิงในบ้านเป็น ส่วนใหญ่ เมื่ออายุ ๒๖-๒๗ ปี ท่านไปเรียนเภสัชกรรมไทยที่วัดโพธิ์
จดหมายข่าว
๗
ภาสินี ญาโณทัย ผูสืบทอดรานยาหมอหวานในปจจุบัน
เพื่อให้ได้ใบประกอบโรคศิลปะและรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสมุนไพรและ การปรุงยาที่มีการสอนกัน ช่วงนี้เป็นยุคที่ร้านหมอหวานยังมีลูกจ้าง ช่วยงานและการขายยายังเป็นไปด้วยดี เป็นรายได้หลักของครอบครัว ยายและป้าของภาสินีที่เป็นผู้หญิงและมีลูกมือท่านหนึ่งเป็น ผู้ชายเป็นเสมือนเครือญาติ แต่ก็มีงานประจ�ามาช่วยหั่นยา บดยา ปรุงยาในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งต้องใช้แรงงานมาก หลังจากหมอ หวานเสียชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลิตลดลงไปจากเดิมมาก ยาบาง ต�ารับก็ไม่ได้ท�าเหมือนเช่นในสมัยหมอหวานยังมีชีวิตอยู่ แต่พอราว พ.ศ. ๒๕๒๖ บุตรสาวของหมอหวานที่เป็นยายของภาสินีเสียชีวิตลง จึงถึงจุดเปลี่ยนเพราะคิดว่าจะยุติกิจการไปและคืนทะเบียนทุกอย่าง หมด แต่ลูกค้ากลุ่มที่ซื้อเก่าแก่ก็ยังขอให้ท�าขาย แต่ผลิตกันอย่างไม่ เป็นทางการรู้กันเองในหมู่ของลูกค้าเก่าแก่จนเมื่อราว ๗ ปีที่แล้ว ภาสินี ญาโณทัยจึงลาออกออกจากงานประจ�าก็มาท�าเต็มตัว สานต่อ กิจการที่แทบจะเลิกไปทั้งหมดแล้วขึ้นมาใหม่ ในท้องตลาดจึงมียาหอมหลากหลายสูตรให้เลือกซือ้ หา แบ่ง ออกเป็นยาหอมทีม่ งุ่ แก้ลมกองหยาบและกองละเอียด คนทีเ่ ป็นลมซึง่ เกิดจากลมกองหยาบจะมีอาการคลื่นไส้ ท้องเฟ้อ ส่วนคนที่เป็นลม ซึง่ เกิดจากลมกองละเอียดเป็นลมเบือ้ งสูง มีอาการแน่นหน้าอกใจสัน่ วิงเวียนหน้ามืด ยาหอมทั่วไปมีสมุนไพรที่มุ่งเน้นแก้ลมกองหยาบ ส่วนตัวยา แก้ลมกองละเอียดมีน้อย เพราะตัวยาแพง หากไปขายในท้องตลาด ราคาแพงจะขายยาก หนึ่งในจ�านวนยาหอมโบราณ มียาหอมต�ารับ หมอหวานทีข่ นึ้ ชือ่ ด้วยสรรพคุณในการรักษามุง่ เน้นแก้ลมกองละเอียด จึงมีราคาค่อนข้างสูงกว่ายาหอมทั่วไป สมัยที่หมอหวานมีชีวิตอยู่ สืบเนื่องมาจนกระทั่งบุตรสาวมา รับช่วงปรุงยาต่อนั้นเป็นช่วงที่มีต�ารับยาแผนโบราณหลายขนาน มีทั้ง ยาส�าหรับเด็ก เช่น ยากวาดคอเด็ก และยาส�าหรับผู้ใหญ่ เช่น ยาลด ไข้ ยาหอม ต่อมาขาดช่วงไป การปรุงยาหลายขนานจึงต้องเลิกไป
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เหลือเพียงยาหอมโบราณเพียง ๔ ต�ำรับของหมอหวาน ซึ่งเคยได้รับ ความนิยมอย่างมากในอดีต ปัจจุบันยังคงมีการถ่ายทอดทั้งกรรมวิธี และกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ด้วยเครื่องมือโบราณที่ ใช้ในการ ปรุงยาขายให้กับลูกค้ามากว่าร้อยปี ต�ำรับยาหอมของหมอหวาน ๔ ต�ำรับ ได้แก่ ๑. ยาหอมสุรามฤทธิแ์ ก้อาการใจสัน่ เป็นลม บ�ำรุงหัวใจ ทาน เมื่อมีอาการครั้งละ ๑ เม็ด มีตัวยาส�ำคัญ คือ โสมเกาหลี พิมเสน เกล็ด อ�ำพันทอง หญ้าฝรั่น ชะมดเช็ด คุลิก่า ๒. ยาหอมอินทรโอสถแก้เหนือ่ ยอ่อนเพลีย แก้ไอ แก้เสมหะ ทานเมื่อมีอาการครั้งละ ๓-๕ เม็ด ตัวยาส�ำคัญได้แก่ รากฝากหอม อบเชยญวน เห็ดนมเสือ หญ้าฝรั่น ชะมดเช็ด โคโรค ๓. ยาหอมประจักร์แก้จกุ เสียดแน่นท้อง คลืน่ ไส้อาเจียน ทาน เมื่อมีอาการครั้งละ ๕-๙ เม็ด ตัวยาส�ำคัญได้แก่ โสมเกาหลี พิมเสน เกล็ด ชะมดเช็ด หญ้าฝรั่น เหง้าขิงแห้ง ๔. ยาหอมสว่างภพ แก้อาการวิงเวียนหน้ามืด แก้ไขสวิง สวาย ทานเมือ่ มีอาการครัง้ ละ ๕-๗ เม็ด ตัวยาส�ำคัญได้แก่ ใบพิมเสน พิมเสนเกล็ด หญ้าฝรั่น โสมเกาหลี ชะมดเช็ด ยาหอมทั้ง ๔ ต�ำรับ มีสรรพคุณที่คล้ายคลึงกันคือ เน้น การบ�ำรุงหัวใจ บ�ำรุงธาตุในร่างกายให้ท�ำงานเป็นปกติ แต่เพื่อความ สะดวกในการเลือกใช้ของคนในยุคปัจจุบัน เราจึงพยายามจ�ำกัด ข้อความและสรรพคุณของยาแต่ละขนานให้ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ยา หอมสุรามฤทธิ์ มีสรรพคุณแก้อาการใจสั่น เป็นลมหมดสติ จุกแน่น หน้าอก “ยาหอม” มีตัวยาหลายชนิดที่หายากมาก บางอย่างต้องสั่ง ซื้อจากต่างประเทศ เช่น “หญ้าฝรั่น” ที่มีราคาแพงมาก สรรพคุณใช้ บ�ำรุงหัวใจ หญ้าฝรัน่ ทีม่ คี ณ ุ ภาพดีตอ้ งมาจากสเปน กล่องหนึง่ น�ำ้ หนัก ประมาณ ๔๐-๕๐ กรัม ราคา ๑๒,๐๐๐ บาท ราคาสูงมาก เป็นตัวยา ส�ำคัญทางร้านไม่ต้องการลดทอนปริมาณตัวยาลง การปรุงยาแต่ละขนานต้องใช้ตัวยาจ�ำนวนมาก ผู้ที่บดยา ต้องใช้พละก�ำลังอย่างมาก ส่วนใหญ่จึงต้องให้ผู้ชายเป็นคนบดยา โดยใช้หนิ บดยา ส่วนวัตถุดบิ หรือตัวยาต่างๆ ในสมัยก่อนมีชาวบ้านน�ำ วัตถุดิบมาส่งให้ที่ร้านโดยตรง ดังนั้นโอกาสที่จะเลือกเฟ้นหาวัตถุดิบ ดีๆ ที่มีคุณภาพมีลักษณะตรงตามต�ำรับยาตามสรรพคุณที่ระบุไว้ได้ ง่าย แต่ในปัจจุบันวัตถุดิบถูกขนส่งมาเป็นทอดๆ กว่าจะมาถึงมือเรา ก็ตอ้ งผ่านพ่อค้าคนกลางมาถึงร้านค้า เราจึงมีโอกาสเลือกได้นอ้ ยกว่า สิง่ ทีพ่ อจะท�ำได้คอื สัง่ ซือ้ จากร้านขายยาทีเ่ ราซือ้ อยูเ่ ป็นประจ�ำ เช่น ร้าน เจ้ากรมเป๋อ และร้านค้าสมุนไพรโบราณอื่นๆ ปกติเมื่อยาเหลือน้อย ทางร้านก็จะผลิตเพิ่ม เคยมีบางครั้ง ต้องรอตัวยาส�ำคัญในการผลิตเป็นเวลานาน จนรู้สึกกังวลกลัวว่าจะ ผลิตไม่ทัน บางครั้งดินฟ้าอากาศไม่อ�ำนวย เช่น ฝนตกไม่มีแดดพอที่ จะตากเครือ่ งยาก็เป็นอุปสรรคในการปรุงยาเนือ่ งจากเครือ่ งยาส่วนที่ เป็นสมุนไพรต้องตากแดดให้กรอบเพือ่ ทีจ่ ะบดได้งา่ ย เมือ่ บดเสร็จต้อง
จดหมายข่าว
น�ำมากรองส่วนละเอียดออกมา ส�ำหรับส่วนทีห่ ยาบก็นำ� ไปบดใหม่ ท�ำ อย่างนี้หลายๆ ครั้งให้เหลือน้อยที่สุด จนกระทั่งขั้นตอนการผสมยา โดยใช้หินบดยา ซึ่งต้องใช้แรงผู้ชายบดตัวยาให้เข้ากัน เสร็จแล้วน�ำ มาผสมลงในโกร่งบดยาอีกครั้งหนึ่ง เป็นขั้นตอนที่ใส่ส่วนผสม เช่น พิมเสน หญ้าฝรัน่ ชะมดเช็ด แล้วน�ำผงยาทีก่ รองไว้ผสมกับตัวยาอืน่ ๆ อีกหลายสิบอย่าง ระยะเวลาตั้งแต่ซื้อเครื่องยาจนกระทั่งผลิตออกมา เป็นเม็ดยา ต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ แล้วแต่วา่ ยาขนานใดใช้ตวั ยา มากน้อยเพียงใด ยาทีผ่ สมแล้วจะมีลกั ษณะคล้ายดินเหนียว น�ำมาหัน่ เป็นชิน้ ๆ แล้วน�ำมาปั้มเป็นเม็ดทีละเม็ด เมื่อท�ำเสร็จแล้วต้องน�ำมาตากแดด อ่อนๆ อีกครั้งเพื่อไล่ความชื้น ห้ามตากแดดแรง เพราะกลิ่นของยา หอมจะระเหยไปหมด แล้วค่อยทยอยน�ำยาหอมที่หั่นไว้เป็นชิ้นๆ มา ผสมกับน�ำ้ ดอกไม้เทศ แล้วปัน้ ทีละเม็ด เครือ่ งปัม้ ก็ตอ้ งใช้มอื เราไม่มี เครือ่ งจักรในการผลิตเลยแม้แต่นอ้ ย เมือ่ ได้เม็ดยาแล้วน�ำมาใส่โถอบ เก็บไว้ แล้วจึงน�ำมาบรรจุลงขวดหรือใส่ซองยาหอมสามารถเก็บไว้ได้ นานนับปี แต่ที่ส�ำคัญอย่าให้ถูกความชื้นและห้ามเก็บในตู้เย็น ช่วงฤดู ฝนก็อย่าให้ถูกละอองฝน ยาหอมจะชื้นและสูญเสียสรรพคุณในที่สุด ตัวยาหายากและราคาแพง เช่น “ชะมดเช็ด”เพราะเป็นตัวยาที่หายากและราคาแพง ในสมัย ก่อนหมอหวานเลี้ยงชะมดไว้ในกรงที่บ้าน เมื่อชะมดโตขึ้นจะขับไขสี ขาวลักษณะคล้ายสีผึ้ง ขับออกทางผิวหนังตรงช่องอวัยวะเพศ เวลา ที่ชะมดถ่ายจะไปเช็ดกับกรง สิ่งที่ชะมดเช็ดไว้เป็นไขสีขาวเข้มข้นติด กับกรง จะเอาไม้มาขูดตามกรงเพื่อเก็บไขน�้ำมันหากเป็นช่วงฤดูร้อน ชะมดจะไม่คอ่ ยขับไขนีอ้ อกมา ตัวยาก็จะขาดตลาด แต่ถา้ เป็นช่วงฤดู หนาวก็จะไม่มีปัญหาเรื่องนี้สรรพคุณของน�้ำมันชะมด ช่วยบ�ำรุงหัวใจ บ�ำรุงก�ำลัง สิง่ ส�ำคัญที่ได้จากชะมดเช็ดคือกลิน่ ตัวน�ำ้ มันจากชะมดไม่ ค่อยมีกลิ่นหอมเท่าใดนัก แต่เป็นตัวช่วยให้ตัวยาอื่นๆ มีกลิ่นหอมทน หอมนาน จะเห็นได้ว่าเครื่องหอมต่างๆ เช่น เทียนหอม น�้ำอบไทยจะ มีส่วนประกอบของชะมดเช็ดเป็นตัวยาส�ำคัญ “คุลิก่า” เป็นเม็ดปรวดหรือเม็ดนิ่วในถุงน�้ำดีของค่าง ก้อน คุลิก่าหายากจึงมีราคาแพงมาก ตามสรรพคุณยาโบราณ กล่าวว่ามี รสเย็น ใช้เป็นน�้ำกระสายยาแทรกยาอื่นๆ เป็นยาดับพิษร้อน ดับพิษ กาฬ ดับพิษทั้งปวง กล่าวกันว่าราคากิโลกรัมละ ๑ ล้าน ๒ แสนบาท “เห็ดนมเสือ” เป็นตัวยาส�ำคัญใบยาหอมอินทรโอสถ บางช่วง จะหาไม่ได้เลย เพราะเป็นเห็ดที่เกิดจากน�้ำนมเสือแม่ลูกอ่อน คัดไหล ลงสู่พนื้ ดิน เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิดเป็นเห็ดต้นกลมสูง รูปร่างคล้ายร่ม มีรากเหมือนต้นไม้ เห็ดนีม้ สี รรพคุณบ�ำรุงก�ำลัง ครัง้ สุดท้ายเราได้เห็ด นมเสือที่ฉะเชิงเทรา แปดริ้ว ราคาแพงมาก แต่ก็ต้องยอมเพราะไม่รู้ จะไปหาที่ไหน ต้องอาศัยน�้ำนมของเสือโคร่งเท่านั้น “อ�ำพันทอง” เป็นของเหลวที่คัดหลั่งจากท้อง (ปลา) วาฬ ตัวผู้หลังผสมพันธุ์ เป็นต้น 8
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
จับ พิพิธภัณฑทองถิ่น กระแส โดย จารุวรรณ ดวงคําจันทร
“พิพิธภัณฑ ท องถิ่น วัดพุนํ้าร อน ด านช าง”
เรียนรูและทองเที่ยวริมเทือกเขาตะนาวศรี
โบราณวัตถุชิ้นเดน เชน ภาชนะดินเผาแบบมีปุมสี่ดาน, ขวานหินขัดรูปทรงแปลกตา และขวานรูปรองเทาบูตทําจากสําริด นาจะเปนการเขาในยุคโลหะตอนปลายหรือยุคเหล็ก พบที่แถบอําเภอดานชาง จังหวัดสุพรรณบุรี ในพิพิธภัณฑบานพุนํ้ารอน
“ด่านช้าง” ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพืน้ ที่ใกล้เชิงเขาตะนาว ศรีที่ทอดยาวเป็นพรมแดนธรรมชาติในภูมิภาคตะวันตกผ่านจังหวัด สุพรรณบุรี ด้วยสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้จึงท�าให้ประกอบไปด้วยกลุ่ม คนหลายชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง ละว้า อันเป็นผู้คนในท้องถิ่นแต่เดิม และลาวครั่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอพยพจากการสงครามสมัยต้นกรุงฯ ถูกให้ไปตั้งถิ่นฐานเฝ้าด่านชายแดนตะวันตกด้านนี้ตั้งแต่เมื่อสมัยต้น กรุงเทพฯ จนถูกเรียกว่า “ลาวด่าน” จากการขยายพื้นที่เพื่อท�าเกษตรแบบอุตสาหกรรมอย่าง กว้างขวางในปลายปีที่ผ่านมาท�าให้พบว่า บริเวณนี้พบหลักฐานทาง โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จ�านวนมากกลุ่มกะเหรี่ยวโปว์หรือ กะเหรี่ยงโผล่วอยู่บริเวณหมู่บ้านตะเพิ่นคี่ในอุทยานแห่งชาติพุเตยใน ปัจจุบัน ซึ่งต่างไปจากกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอที่อยู่ทางแถบเทือกเขาใน จังหวัดตาก ล�าปาง ล�าพูน เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน กะเหรี่ยง ในแต่ละพืน้ ทีน่ นั้ มีการแต่งกายทีแ่ ตกต่างกันออกไป ส่วนชาวบ้านพืน้ ราบซึง่ ส่วนใหญ่มเี ชือ้ สายลาวครัง่ ทุกวันนีท้ า� อาชีพเกษตรทีป่ ลูกพืชไร่
จดหมายข่าว
๙
เป็นหลัก เช่น อ้อย ข้าวโพด ที่พิพิธภัณฑ์บ้านพุน�้าร้อน ไม่ไกลจากตัวอ�าเภอด่านช้างนัก เป็นที่สะสมโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบจากแหล่งต่างๆ โดยมักจะพบ โบราณวัตถุโดยบังเอิญ โบราณวัตถุทพี่ บส่วนมากเป็นกลุม่ ของเครือ่ ง ประดับ เช่น ก�าไลเปลือกหอย ลูกปัดหิน สมัยยุคหินใหม่ ต่างหู ซึ่งมี นายสมศักดิ์ อินทร เป็นผูบ้ ริจาคส่วนใหญ่ให้กบั ทางวัดก่อนทีจ่ ะมีการ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์โดยสมบูรณ์ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕4๖ เรือ่ ยมามีการพบโบราณวัตถุแบบก่อน ประวัติศาสตร์ในยุคหินใหม่เรื่อยมาในหมู่บ้านพุน�้าร้อน บ้านหนอง ปลากระดี่ บ้านโป่งคอม บ้านทุ่งมะกอก บ้านตะเพินคี่ และบ้านท่า เย็น โดยมากแล้วจะอยู่ในบริเวณที่ราบเชิงเขา ที่มีล�าห้วยกระเสียว ไหลผ่าน จึงสันนิษฐานกันว่าบริเวณเหล่านี้น่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่มีความอุดมสมบูรณ์มานานกว่า ๓,๕๐๐ ปีมาแล้วโดยประมาณ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษ ย์ที่ถูกบรรจุลงใน ภาชนะดินเผาสี่หูเคลือบ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ พบ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
การทอผาซิ่นตีนจก ของกลุมชาติพันธุลาวครั่ง ที่วัดบานพุนํ้ารอน
เครื่องมือที่ท�าด้วยหิน เช่น แท่นหินบดยาและหินบดยา สมัยทวารวดี ซึ่งพบที่บ้านโป่งข่อย ขวานหินที่ได้จากบ้านละว้า บ้านวังควาย และ เครื่องมือหินอื่นๆ ที่ท�ามาจากหินประเภทหินเชิร์ต [Chert] จากบ้าน ท่าเย็น ภาชนะดินเผา ขวานส�าริด เป็นต้น มีการเพาะปลูกและท�า อุตสาหกรรมขวานหินเป็นจ�านวนมาก จนกระทั่งอุตสาหกรรมการ ถลุงเหล็กที่มีในช่วงสมัยของอยุธยา ที่ได้จากหลักฐานร่อยรอยที่พบ ตะกรันแร่และก้อนดินไฟทีเ่ ป็นส่วนประกอบของเตาถลุงเหล็กในพืน้ ที่ ของบ้านโป่งคอม หลักฐานหลายชิน้ ทีส่ ามารถบ่งบอกถึงการเคลือ่ นย้ายถ่ายเท หรือการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผูค้ น เช่น การพบเครือ่ งสังคโลกหลาย ชิ้นที่มาจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัยโดยขุดพบที่แหล่งโบราณคดีห้วย เหล็กไหล จุดเริ่มต้นของการรวบรวมวัตถุโบราณที่ชาวบ้านค้นพบนั้น พระอาจารย์เสน่ห์ (พระครูวิสิฐสุวรรณคุณ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ของวัดพุน�้าร้อน ได้รวบรวมและจัดเก็บไว้ที่วัดก่อนหน้าที่จะมีการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แล้ว เพราะท่านมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์ของโบราณ เพื่อให้ลูกหลานในชุมชนท�าการศึกษาจนเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ นายอ�าเภอด่านช้างในเวลานัน้ เล็งเห็น ความส�าคัญของพื้นที่และโบราณวัตถุต่างๆ ที่วัดพุน้�าร้อนเก็บรักษา ไว้และทางองค์การบริหารส่วนต�าบลได้สร้างอาคารสถานที่จัดเก็บ ขึ้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้จึงได้มีการประสานงานกับ กรมศิลปากรให้มาจัดท�าทะเบียนวัตถุให้เป็นระบบและถ่ายทอดความ รู้ต่างๆ ให้ชาวบ้าน โดยจัดการอบรมให้ความรู้ในเรื่องของการน�าชม หรือการเป็นมัคคุเทศก์ให้กับคนในชุมชนและเด็กเยาวชนโดยมีความ ร่วมมือกับทางโรงเรียนของบ้านพุน�้าร้อนอีกส่วนหนึ่ง และส่งต่อให้ ทางองค์การบริหารส่วนต�าบลเป็นผู้ดูแลจัดการไปพร้อมกับวัดและ ชุมชน ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัด พุน�้าร้อน เมืองสุพรรณบุรี” ที่มีเจ้าหน้าที่ของทางองค์การบริหารส่วน ต�าบลเป็นเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ไปในตัว ข้อดีของการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรูข้ องชุมชนก็คอื
จดหมายข่าว
มีส่วนช่วยท�าให้เด็กรุ่นใหม่ในชุมชนเกิดความรัก ความหวงแหน เกิด ความเข้าใจถึงที่มาของบรรพบุรุษ ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่าง หนึ่งที่ส�าคัญไม่น้อยกว่าการเรียนในต�ารา ทัง้ นีก้ ารจัดแสดงภายในพิพธิ ภัณฑ์ไม่ใช่แค่บอกเล่าเรือ่ งราว กลุ่มคนยุคโบราณ หรือจัดแสดงเพียงวัตถุโบราณเท่านั้น แต่ยังรวม ไปถึงการจัดแสดงข้าวของเครือ่ งใช้และสิง่ ทอทีถ่ อื เป็นอัตลักษณ์ของ กลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ทีอ่ าศัยอยู่ในท้องถิน่ ด่านช้าง โดยเฉพาะคนทีบ่ า้ น พุน�้าร้อนที่เป็นคนลาวเชื้อสายลาวครั่ง “สุมาตรา นันทา” เจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์กล่าวว่า เมื่อยัง เด็กนั้นอายที่จะพูดจาภาษาลาว ไม่กล้าแสดงตนว่าเป็นคนลาวครั่ง กลัวสังคมจะไม่ยอมรับ แต่ปัจจุบันนี้ด้วยความที่ ได้รับแนวคิดใหม่ มีการปรับทัศนคติและมีมมุ มองการด�ารงชีวติ ใหม่ กลับมองว่ามีความ ภูมิใจที่ตนเองได้เกิดมาอยู่ ในชุมชนที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และสามารถพูดภาษาลาวได้ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของบรรพบุรุษได้อย่างภาคภูมิใจ จึงเลือก ที่จะมาท�างานช่วยเหลือท้องถิ่น ในบริเวณวัดบ้านพุน�้าร้อนนั้น มีกลุ่มทอผ้าแบบลาวครั่งที่ ชาวบ้านรวมตัวมาทอผ้าทีอ่ าคารศูนย์การสาธิตการทอผ้าของวัด กลุม่ ทอผ้าดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาไม่นานนักราว ๒ ปีที่ผ่านมา ท่านพระครู ได้รวมชาวบ้านจัดตัง้ กลุม่ ทอผ้าเพือ่ อนุรกั ษ์และชุบชีวติ ผ้าทอลาวครัง่ ด้วยวิธีการ “น�าลายเก่า มาท�าขึ้นใหม่” ลายผ้าของบรรพบุรษุ ทีม่ มี าอย่างยาวนานและเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะผ้าซิ่นตีนจกสีแดง เป็นเสมือนการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งเลยก็ว่าได้ เพราะเดิมทีสีแดงได้มาจากตัว ครั่งที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้และบางคนก็เชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อ “ลาวครั่ง” รวมทั้งความเชื่อตามคติทางพระพุทธศาสนาด้วย เช่น ลายสัตตบริ ภัณฑ์หรือรูปสัตว์มงคลต่างๆ จากค�าบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าลาย ทุกลายนั้นมีความหมาย ช่างทอผ้าก็ต้องมีความช�านาญเช่นเดียวกัน ซึ่งในแต่ละผืนจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างตามความยากง่ายของลาย ชนิดของผ้าซึ่งจะมีทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม นอกจากเรื่องของการอนุรักษ์ วัฒนธรรมการทอผ้าแล้วยังถือเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชาว บ้านที่ว่างเว้นจากการเกษตรกรรม ปัจจุบันมีกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านให้ความสนใจใน การศึกษาประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการเรียน รู้ท่ีจะทอผ้าซิ่นตีนจกถูกถ่ายทอดกันทางภูมิปัญญาในลักษณะ “ยาย สอนหลาน” ด้วยความที่มีองค์ความรู้ มีบุคลากรในท้องถิ่นแล้วยังมี ผู้ให้การสนับสนุน และมีบุคคลภายนอกให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท�าให้เด็กในชุมชนมีจุดสนใจที่จะเริ่มเรียนรู้และเกิดการหวงแหน จน กระทั่งน�าไปสู่การอนุรักษ์ ฝ่ายปกครองให้การสนับสนุนและผลักดัน มาโดยตลอดที่ท�าให้เกิดพื้นที่ท่องเที่ยวภายในชุมชน วั ด บ้ า นน�้ า พุ ร ้ อ น นอกจากจะเป็ น ศาสนสถานที่ ใ ห้ พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติศาสนกิจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ๑๐
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ที่มีทั้งพิพิธภัณฑ์และกลุ่มทอผ้า ให้ความร่วมมือร่วมใจโดยที่ยึดถือ พื้นที่วัดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ในการท�ากิจกรรมของชุมชน แม้ว่าแหล่ง เรียนรู้ในลักษณะนี้มีอยู่มากในประเทศไทย ทว่าจะท�าให้แหล่งเรียนรู้ นัน้ ยัง่ ยืนต่อไปนัน้ ชาวบ้านต้องมีสว่ นร่วม และสามารถเป็นผูถ้ า่ ยทอด ได้ด้วยตนเอง จะเห็นว่าชุมชนด่านช้าง และหมูบ่ า้ นพุนา�้ ร้อนนัน้ มีความเข้ม แข็งมากในการช่วยกันอนุรกั ษ์และสืบสานประเพณี วัฒนธรรม รวมไป
ถึงการสร้างเครือข่ายของชุมชนทีช่ าวบ้านสามารถมีสว่ นร่วมทัง้ นีท้ าง หน่วยงานภาครัฐก็ได้มีการให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเห็นว่า ชุมชนสามารถบริหารจัดการตัวเองได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งในอนาคตก�าลังจะ เพิ่มพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เพื่อใช้ในการจัดแสดงขึ้นมาอีก แสดงให้เห็น ถึงความก้าวหน้าของการเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ทีส่ มควรไปเยีย่ มเยือน และเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในพื้นที่เมืองด่านแห่งสุพรรณบุรี
บันทึก จากท องถิ่น โดย พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์
ประเพณีบุญสง กับ จุดเริ่มตน พิพิธภัณฑ ท องถิ่นบ านทะเลน อย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ก�าลังมีโครงการร่วมมือกับ ชุมชนบ้านทะเลน้อยและวัดราชบัลลังก์ อ�าเภอแกลง จังหวัดระยอง ในการท�าพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย เนื่องจากบริเวณพื้นที่บ้านทะเลน้อยมีประวัติศาสตร์ความ เป็นมายาวนาน ไม่ว่าจะมาจากต�านานเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาหลาย รุ่นอายุของคนในพื้นที่หรือจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ทีแ่ สดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยกรุงธนบุรี มีขอ้ สันนิษฐานว่าบ้านทะเลน้อย เป็นเส้นทางผ่านการเดินทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชเพือ่ เข้าตีเมือง จันทบูร โดยข้ามฝั่งผ่านทางแม่น�้าประแสบริเวณ “ท่าบน” และ “ท่า ล่าง” หรือเรียกกันในท้องถิ่นว่า “ตรอกตากสิน” เป็นเส้นทางในการ เดินทางไปข้ามล�าน�้าพังราดที่ช้างข้าม และพักทัพที่ทุ่งสนามชัยหรือ วัดสนามชัยต่อไป “ตรอก” เป็นค�าท้องถิ่นซึ่งหมายถึงพื้นที่กว้างไม่ใช่หมายถึง ซอยหรือทางเดินแคบๆ ในชุมชนหรือหมู่บ้านแต่อย่างใด บริเวณตรอกตากสินที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเดิน ทางผ่านนั้น เคยเป็นชุมชนเก่าที่มีการพบเศษภาชนะดินเผาอยู่ ใน พื้นดินเป็นจ�านวนมาก รวมทั้งที่วัดราชบัลลังก์ยังปรากฏตั่งวางเท้า ขนาดเล็กที่เคยอยู่คู่กับแท่นประทับโดยมีฝีมือช่างรูปแบบคล้ายคลึง กัน กล่าวกันว่าน่าจะเป็นสิ่งของประทานจากสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชภายหลังขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษา ไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตั้งแต่สมัยเมื่อครั้งที่สมเด็จ พระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ด�ารงสมณศักดิ์พระสุคุณ คุณาภรณ์ เมื่อทราบจากชาวบ้านว่าพระแท่นที่น�ามาถวายไว้ที่วัดเนิน
จดหมายข่าว
๑๑
ในชวงเชาของวันงานประเพณีบุญสง ชาวบานทะเลนอยจะมีการฉลองกองพระ ทรายกอนจะเริ่มการทําบุญ
สระที่เป็นชื่อเดิมของวัดราชบัลลังก์เป็นแท่นประทับฝีมือช่างชั้นสูง ที่ผสมผสานศิลปะแบบจีนจึงขอน�าไปเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิร ญาณในพระนคร แต่ไม่ได้น�าตั่งวางเท้าไปด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโบราณ วัตถุส�าคัญของวัดราชบัลลังก์ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในพื้นที่ บ้านทะเลน้อยและความเชื่อของชาวบ้านที่ว่าพื้นที่ของบ้านทะเลน้อย เองเคยเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความส�าคัญในอดีต จึงเป็น สาเหตุให้ชาวบ้านทะเลน้อยมีความต้องการขอน�าแท่นประทับจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครที่อยู่ ในการรักษาดูแลของทางรัฐ กลับมาเก็บรักษาไว้กบั ชุมชน ท�าให้เกิดการรวมกลุม่ และร่วมกันสร้าง
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
หลังจากการทําบุญและลอยเรือแลว ชาวบานจะนั่งลอมวงรับประทานอาหารรวมกันที่ศาลาตามทาตางๆ
ปจจุบันวัสดุที่ใชใสอาหารเพื่อลอยเรือในประเพณีบุญสงที่บานทะเลนอยจะเปน วัสดุที่หาไดงายในชุมชน
พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ขึน้ เพือ่ น�าหลักฐานทางโบราณคดีจา� พวกเศษภาชนะ ดินเผาที่พบทั้ง หม้อ ไห ถ้วย ชามต่างๆ มาเก็บและจัดแสดงรวมกัน ในพื้นที่ส่วนรวมของชุมชน ซึ่งก็คือ “วัดราชบัลลังก์” เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ร่วมเก็บข้อมูล “ประเพณีบญ ุ ส่ง” ซึง่ เป็นประเพณีทา� บุญหลังสงกรานต์ และต่อมาถูกจัดให้เป็นเทศกาลประจ�าปีของบ้านทะเลน้อย ความหมายของประเพณีบญ ุ ส่งหรือท�าบุญวันไหล ถือเป็นการ ท�าบุญขึ้นปี ใหม่ และเป็นช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ปี ใหม่ใน แต่ละรอบปีของชาวทะเลหรือคนที่อาศัยอยู่ติดกับสายน�้า รูปแบบ ประเพณีดั้งเดิมของผู้คนในภาคตะวันออกที่อาศัยอยู่ติดริมทะเลจะมี ความใกล้เคียงกัน โดยจะมีการท�าบุญเลีย้ งพระ ท�าบุญให้กบั บรรพบุรษุ และผีไม่มีญาติ มีการเฉลิมฉลองร่วมกัน เพื่อรับสิ่งมงคลเข้ามาในปี ใหม่ รวมถึงการส่งเคราะห์หรือสิ่งไม่ดีในปีเก่าให้ออกไปจากตัวเอง และชุมชนด้วย การก� า หนดช่ ว งเวลาของประเพณี บุ ญ ส่ ง ในแต่ ล ะที่
จดหมายข่าว
จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น วันไหลที่จังหวัดชลบุรี จัดงานขึ้นหลังประเพณีสงกรานต์ แต่ประเพณีดงั้ เดิมของชาวชองทีอ่ าศัยอยูจ่ งั หวัดในแถบทาง ภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และตราด จะจัดขึน้ ในช่วงวันพระ หลังการเก็บเกีย่ วข้าวเป็นเกณฑ์ โดยมีความเชือ่ ว่าเป็นการเฉลิมฉลอง ก่อนการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ เรียกประเพณีนี้ว่า พิธีท�าบุญส่งทุ่ง การจัด พิธบี ญ ุ ส่งทุง่ คนในชุมชนแต่ละบ้านจะน�าอาหารมาใส่ในใบไม้ ท�าเป็น เกวียนจ�าลองเป็นพาหนะในการเดินทางของยมทูต เพื่อให้สิ่งที่มอง ไม่เห็นเหล่านี้น�าเอาโรคภัยไข้เจ็บออกไปจากหมู่บ้าน และเป็นการ คุม้ ครองป้องกันอันตรายต่างๆ การจัดประเพณีบญ ุ ส่งทุง่ ของชาวชอง จะจัดต่อเนื่องกันจากชุมชนที่ไกลทะเลไปสู่ชุมชนใกล้ทะเล เพื่อจะส่ง สิ่งร้ายๆ ออกสู่ทะเลไป การจัดประเพณีบญ ุ ส่งทีบ่ า้ นทะเลน้อย อ�าเภอแกลง จังหวัด ระยอง ก็เช่นกัน บ้านทะเลน้อยซึง่ มีพนื้ ทีส่ ว่ นใหญ่ตดิ กับแม่นา�้ โดยรอบ มีเพียงทิศตะวันตกเฉียงใต้เพียง 4 กิโลเมตรเท่านัน้ ที่ไม่ได้มพี นื้ ทีต่ ดิ กับแม่นา�้ และจากการเป็นพืน้ ทีม่ นี า�้ ล้อมรอบจึงมีประเพณีบญ ุ ส่งทีส่ ง่ เคราะห์ออกสู่ทะเล ใช้สายน�้าในการลอยเรือไปในแม่น�้าที่ชาวบ้านใช้ สัญจรและประกอบอาชีพ เพือ่ ท�าบุญให้กบั บรรพบุรษุ และผีที่ไม่มญ ี าติ ในช่วงปีใหม่ไทย งานบุญส่งของบ้านทะเลน้อยจัดขึ้นหลังวันสงกรานต์ช่วง เวลาอาจจะก�าหนดตามความเหมาะสมของเวลาในแต่ละปี ภายหลัง จากวันสงกรานต์ที่มีการก่อกองพระทรายที่วัดราชบัลลังก์แล้ว วัน ถัดไปจะมีการท�าบุญที่ศาลาต่างๆ ในหมู่บ้านเป็นเวลา 4 วันต่อเนื่อง กัน โดยเรียงตามล�าดับตามศาลาที่ส�าคัญในหมู่บ้านตั้งแต่ “ศาลาท่า พลง”“ศาลาท่าโปะ”“ศาลาท่าล่าง” และ “ศาลาท่าปอ” ซึง่ ศาลาท่าพลงเป็นเพียงศาลาเดียวที่ไม่ได้ตงั้ อยูต่ ดิ กับแม่นา้� ในปัจจุบนั เพราะสมัยก่อนเคยเป็นคลองเล็กๆ แต่ปจั จุบนั ถูกถมท�าเป็น ถนนแล้ว แต่ก็ยังคงจัดงานบุญส่งที่ศาลาท่าพลงตามเดิม ส่วนศาลาที่ ๑๒
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เหลือก็จะเรียงกันไปตามเส้นทางสายน�้าที่จะออกสู่ทะเล พิธีกรรมเริ่มจากการที่ชาวบ้านมาร่วมกันท�าบุญจัดอาหาร คาวหวานน�ามาเพื่อตักบาตรและถวายพระ และหลังจากพระสงฆ์ฉัน ภัตตาหารเสร็จ ชาวบ้านจะรับประทานอาหารร่วมกันบริเวณศาลาทีจ่ ดั งาน ในระหว่างนัน้ ชาวบ้าน ๒-๓ คนจะน�าอาหารคาวหวานหรืออาหาร แห้งใส่ในเรือไปลอยส่งเคราะห์ในแม่น�้า เพื่อให้วิญญาณไร้ญาติจาก ที่ต่างๆ ได้รับอาหารเหล่านี้ และในช่วงบ่ายจะมีการละเล่นร้องร�าท�า เพลงหรือการแสดงไปตลอดวัน ภายหลังรูปแบบของการจัดงานมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามสภาพแวดล้อมและกาลเวลา เช่น ในอดีตการจัดท�าเรือจ�าลอง เป็นพาหนะในการลอยส่งอาหารไปให้วิญญาณบรรพบุรุษและผีที่ ไม่มีญาติ จะท�าจากวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ใบจาก ใบตอง ฯลฯ แต่ ปัจจุบนั เรือท�าขึน้ จากวัสดุทหี่ าได้งา่ ยในชุมชน เช่น ลัง กล่องโฟม และ การมางานบุญที่เหมือนเป็นการกลับมาพบปะกันของญาติพี่น้องใน ชุมชน คนทีย่ า้ ยออกไปอยูท่ อี่ นื่ จะกลับมาเพือ่ ร่วมงานบุญกับครอบครัว พูดคุยเล่าเรือ่ งราวและรับประทานอาหารร่วมกัน โดยชาวบ้านมีความ
พระนคร บัโดยนพัทึชริกนธร เดชสมบูรณ์รัตน์
เชื่อดั้งเดิมที่ว่าการมางานบุญจะไม่ ให้น�าอาหารที่น�ามาท�าบุญกลับ บ้านไปด้วยหากรับประทานไม่หมดจะต้องท�าทานให้กับสัตว์ท้ังหลาย ที่อยู่แถวศาลาหรือวิญญาณและผีที่ไม่มีญาติแทน แต่ปัจจุบันก็มีบ้าง ที่คนในชุมชนจะหิ้วปิ่นโตกลับไปทานข้าวที่บ้านแทนการทานอาหาร ร่วมกันกับคนในชุมชนแบบแต่ก่อน และคลายความเชื่อเรื่องการไม่ ให้น�าอาหารท�าบุญกลับบ้านไปด้วย ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมน�้าล้วนมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ผูกพันกับ สายน�้า ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของประเพณีด้วย เช่นเดียวกับที่บ้านทะเล น้อยนี้ แม้จะไม่ได้มีพื้นที่ติดกับทะเลแต่ก็ยังมีพื้นที่ที่ติดกับแม่น�้าโดย รอบ ท�าให้การด�าเนินชีวติ มีความสัมพันธ์กบั แม่นา�้ ในทุกช่วงชีวติ อย่าง ไม่สามารถตัดขาดได้ ขอบคุณผู้ให้ข้อมูล อรุณ ปฏิสังข์, วาริน บ�ารุง, สายชล รื่นรมย์, สุทธิ ช่างเหล็ก ชาวบ้าน ทะเลน้อย อ�าเภอแกลง จังหวัดระยอง
“ไตเย็ บ ใหม ” รานคากระดุมเกาแกในยานพาหุรัด ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีผู้คนจากหลากหลายเชื้อ ชาติและศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวมอญ ชาวญวน ชาวลาว ชาวตะวันตก แม้แต่ชาวอินเดีย กลุ่มคน เหล่านีอ้ พยพเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานเพือ่ อยูอ่ าศัยและท�ามาหากินตัง้ แต่กอ่ น ช่วงทีม่ กี ารเริม่ สร้างเมืองขึน้ ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความหลากหลาย ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ล้วนส่งผลท�าให้ ประเทศเกิดการขยายตัวของประชากร เศรษฐกิจ และการค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ย่านเยาวราช ย่านส�าเพ็ง ย่านพาหุรัด ฯลฯ ย่านพาหุรัดเป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งที่มีความส�าคัญ ในช่วง สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชบริเวณนีเ้ คยเป็น ทีอ่ ยูอ่ าศัยของชาวญวนทีอ่ พยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย จนถึงช่วง รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เกิดเหตุไฟไหม้จน ท�าให้ชาวญวนย้ายไปตัง้ ถิน่ ฐานทีอ่ นื่ จึงท�าให้เกิดเป็นทีว่ า่ ง รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนพาหุรัดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒44๑ และด�าริ ให้สร้างตึกแถวริมถนนพาหุรัดท�าให้มีคนอินเดียหรือแขกจ�านวนมาก เปิดเป็นร้านขายผ้าและสินค้าน�าเข้าจากประเทศอินเดียจนกลายเป็น ย่านการค้าที่ส�าคัญ พาหุรดั กลายเป็นแหล่งค้าผ้าแห่งใหญ่ทสี่ ดุ ในกรุงเทพฯ สมัย ก่อน เพราะความหลากหลายของสินค้าน�าเข้าประเภทผ้าจากต่าง
รานไตเย็บใหม ตั้งอยูบนตึกแถวริมถนนจักรเพชร
จดหมายข่าว
๑๓
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
คุณกิตติพงษ วงศมีนา เจาของรานรุนที่ ๓ ของรานไตเย็บใหม
ประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีผ้าไม่ต�่ากว่า ๑๐๐ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นผ้าจาก ประเทศอังกฤษ เช่น ผ้าดิบ ผ้าแฟนซี ผ้าคอตตอน ผ้ากันหนาวของ ประเทศอิตาลี และผ้าจากประเทศอื่นๆ ท�าให้ย่านพาหุรัดได้รับความ นิยมจากลูกค้าคนไทยและต่างชาติในยุคที่มีการตัดเย็บชุดเสื้อผ้า ส�าหรับใส่เอง ซึง่ นอกจากผ้าทีเ่ ป็นองค์ประกอบหลักในการตัดชุดแล้ว นัน้ สิง่ ทีส่ า� คัญทีข่ าดไม่ได้อกี อย่างหนึง่ ก็คอื “กระดุม” และ “ลวดลาย ลูกไม้” เย็บปักต่างๆ ส�าหรับตกแต่งเพือ่ ให้ชดุ เกิดความสวยงามมากขึน้ ร้านขายกระดุมเก่าแก่ที่สุดร้านหนึ่งในย่านพาหุรัด “ร้าน ไตเย็บใหม่” ตั้งอยู่บนถนนจักรเพชร เป็นร้านที่มีอายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว ปัจจุบันมีการสืบทอดกิจการมาจนถึงรุ่นที่ ๓ คุณกิตติพงษ์ วงศ์มีนา เจ้าของร้านปัจจุบันกล่าวว่าชื่อร้าน มีที่มาจากพี่ชายของคุณพ่อชื่อ ‘ไตเย็บ’ เป็นคนมุสลิมจากประเทศ อิหร่านทีอ่ ยูอ่ าศัยในประเทศอินเดียและย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เป็นผูเ้ ปิดร้านไตเย็บใหม่คนแรกและยังเป็นชาวมุสลิมเพียงห้องเดียวที่ อาศัยอยู่ในตึกแถวท่ามกลางคนจีนเช่นนี้ด้วย หลังจากคุณลุงเสียชีวิตไป คุณพ่อก็สืบกิจการต่อจากพี่ชาย และเปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็น “ร้านไตเย็บใหม่” กิจการขายกระดุมและ ลูกไม้สมัยก่อนไม่ได้มรี า้ นมากนัก บางครัง้ จึงมีนางสนมจากในวังแวะ มาซื้อลูกไม้น�าไปติดมุ้งและคุณหญิงคุณนายเข้ามาซื้อกระดุมย่าน พาหุรัดกันเป็นจ�านวนมาก กระดุมที่น�าเข้ามาขายรุ่นแรกๆ ส่วนใหญ่จะมาจากทางฝั่ง ยุโรป เช่น ประเทศออสเตรีย เยอรมนี หรือเชโกสโลวาเกีย ทั้งสาม ประเทศนี้จะมีการผลิตกระดุมเป็นจ�านวนมาก เพราะเป็นประเทศที่ มีวัตถุดิบในการท�ากระดุมเยอะ ส่วนล�าดับการน�าเข้ามาของกระดุม คุณกิตติพงษ์เล่าว่า “จะเริม่ จากกระดุมแก้วของเยอรมันและเชโกสโลวาเกียก่อน แล้วตามมาด้วยกระดุมคริสตัลสวารอฟสกีข้ องประเทศออสเตรีย และ กระดุมพลาสติกของประเทศไต้หวัน ส่วนกระดุมไฟเบอร์ของฝรัง่ เศส จะเป็นกระดุมแบบที่น�าแก้วคริสตัลไปหลอม กระดุมของไทยก็มี กระดุมพลาสติกของวีนัส”
จดหมายข่าว
กระดุมหลากหลายชนิด วางขายในตูไมสักแบบดั้งเดิมที่มีอายุมากกวา ๑๐๐ ป
การสั่งกระดุมสมัยแรกจะน�าเข้าโดยการสั่งทางจดหมาย ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๒-๓ อาทิตย์ต่อครั้ง ต่อมาพัฒนามาเป็นการใช้ เครื่องแฟกซ์ที่ช่วยย่นระยะเวลาในการสั่งกระดุมเข้ามาได้มาก และ ปัจจุบันจะสั่งของน�าเข้าด้วยอีเมลแทน ในการสั่งกระดุมน�าเข้าต่อครั้งต้องสั่งทีละหลายๆ กุรุส [Gross] ๑ กุรสุ ของกระดุมจะเท่ากับ ๑44 เม็ดหรือ ๑๒ โหล ส่วนการ ขนส่งกระดุมจะมีการน�าเข้ามา ๒ แบบด้วยกัน คือ ทางเรือ โดยเรือ เข้ามาเทียบท่าทีค่ ลองเตยและแหลมฉบัง จากนัน้ ชิปปิง้ จะน�าสินค้ามา ส่งให้ที่ร้านและทางเครื่องบิน ปัจจุบันจะมีการขนส่งสินค้าเข้ามาทาง เรือในกรณีที่สินค้ามีน�้าหนักมากและทางเครื่องบินหากมีน�้าหนักน้อย ราคาของกระดุมจะขึ้นอยู่กับประเภท ชนิด และวัสดุที่ท�า โดยกระดุมทีร่ าคาแพงทีส่ ดุ คือ กระดุมเพชรจากสวารอฟสกี้ มีราคาถึง ๕๐ บาท เป็นราคาทีย่ งั ไม่รวมค่าภาษี ในช่วงเวลาทีค่ า่ เงินดอลลาร์ตอ่ เงินบาทไทยอยูท่ ี่ ๒๕ บาทเท่านัน้ ส่วนกระดุมทีร่ าคาถูกทีส่ ดุ คือ กระดุม พลาสติกทีผ่ ลิตในไทยอย่างกระดุมวีนสั ซึง่ มีราคาไม่ถงึ ๑ บาทต่อเม็ด คนสมัยก่อนนิยมใช้กระดุมสวยงามท�าเสื้อผ้ากันมาก ไม่ว่า จะลูกค้าทัว่ ไปหรือลูกค้าเจ้าประจ�าของร้านไตเย็บใหม่อย่างร้านตัดเสือ้ หรือร้านบูติคที่มีชื่อเสียง เช่น ร้านไทยบูติคหรือร้านดวงใจบีส ที่เคย ตัดชุดถวายให้กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีมาแล้ว ถ้าตัดชุดหรูส่วนใหญ่ก็จะใช้กระดุมเพชรของ สวารอฟสกี้แบบออริจินัลของต่างประเทศกัน “การซื้อขายกระดุมสมัยก่อนที่สภาพเศรษฐกิจดีมีคนเข้า ร้านตลอด เพราะคนมีก�าลังซื้อมาก คนที่ ไฮโซหน่อยก็ ไปซื้อของ แบรนด์เนมกัน แม้แต่การ์เมนต์ของร้านเสื้อ New City ของไทยก็ยัง มารับกระดุมจากที่ร้านไป เขาก็ไปท�าเสื้อผ้าส่งออกต่างประเทศแล้ว คนไทยก็ซื้อกลับมาใส่อีก” ทุกวันนี้ความนิยมของการใช้กระดุมน�าเข้าลดน้อยลงตั้งแต่ ผู้คนเลิกนิยมการตัดชุดเสื้อผ้าสวมใส่เปลี่ยนมาเป็นการใช้เสื้อผ้า ส�าเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า ด้วยความสะดวกสบาย ราคาถูกกว่า และมีให้เลือกสรรได้หลายรูปแบบ ท�าให้ร้านตัดชุดเสื้อผ้าหลายร้าน ๑4
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ต้องทยอยปิดตัวลง เพราะคนตัดชุดน้อยลง กระดุมและลูกไม้ที่ผลิต ทางฝั่งยุโรปก็ผลิตได้น้อยลงรวมถึงกระดุมก๊อปปี้จากเมืองจีนมีเข้า มามากส่งผลให้กระดุมน�าเข้าค้าขายได้ล�าบากขึ้น แม้ตอนนี้จะมีคน เฉพาะกลุ่มที่ยังให้ความสนใจกระดุมเช่นนี้อยู่บ้าง เช่น ดี ไซเนอร์ ร้านบูติคต่างๆ แต่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้กระดุมแบบแฮนด์ เมดกันมากขึน้ และลูกค้าประจ�าหลายร้านทีเ่ ป็นการ์เมนต์สง่ ออกต่าง ประเทศตั้งแต่สมัยก่อนก็เหลืออีกเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น พาหุรัดยังคงเป็นแหล่งค้าปลีกผ้าของคนในย่านเก่าส�าหรับ คนทีต่ อ้ งการเลือกซือ้ ผ้าแบบเฉพาะทางและหาไม่ได้จากแหล่งขายผ้า อื่น การเกิดใหม่ของแหล่งค้าผ้าหลายๆ ที่เริ่มกระจายตัวอยู่ตามย่าน
คน
อืน่ หรือตามห้างสรรพสินค้าติดแอร์มากขึน้ ท�าให้คนมีทางเลือกในการ เดินทางและสามารถเลือกซือ้ ผ้าได้สะดวกขึน้ เกิดผลให้การค้าขายของ พาหุรดั เริม่ ซบเซาลงมากทัง้ การค้าผ้า อุปกรณ์การตัดเย็บชุดต่างๆ ไป จนถึงเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการย้าย กลุ่มร้านค้าบริเวณสะพานเหล็กไปตั้งที่อื่นแทนด้วย ท�าให้พาหุรัดใน วันนี้อาจจะกลายเป็นแค่ย่านการค้าที่รุ่งเรืองมากครั้งหนึ่งเท่านั้น ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล คุณกิตติพงษ์ วงศ์มีนา เจ้าของร้านไตเย็บใหม่, คุณสุเทพ ซิงห์ เลขาธิการสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา (วัดซิกข์ )
ยโดยานเก า วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
ฟง“พจนา ดุริยพันธุ ” เลา บ านดนตรีดุริยประณีตแห งบางลําพู
บ้านดนตรี “ดุริยประณีต” ตั้งอยู่ใกล้กับวัดสังเวชวิศยาราม เดิมหน้าบ้านเป็นล�าคลองเก่ามาก่อนสร้างกรุงเทพฯ ภายหลังถูกถม ท�าเป็นถนนล�าพู หรือ สามเสน ๑ ในปัจจุบัน วัดบางล�าพู (วัดสังเวช วิ ศ ยาราม) แต่ เ ดิ ม หั น หน้ า วั ด เข้ า ออกผ่ า นคลองเก่ า นี้ ล งแม่ น�้ า เจ้าพระยา เมื่อขุดคลองเมืองหรือคลองบางล�าพู-โอ่งอ่างขึ้นก็เปลี่ยน ทิศกลับหลังหันหน้าวัดเข้าสู่คลองเมือง ท�าให้ล�าคลองเก่าดั้งเดิม ตื้นเขินไปเพราะไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทุกวันนี้บ้านดุริยประณีตก็ยังตั้งอยู่ที่เดิมจากเมื่อร้อยกว่าปี ทีแ่ ล้ว และยังคงสืบทอดและถ่ายทอดวิชาดนตรีไทยให้แก่เยาวชนและ ผู้สนใจดังปณิธานของบรรพบุรุษสืบทอดกันมา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ชวนคุณพจนา ดุริยพันธุ์ บุตรชายของครูเหนี่ยวและครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์ นักร้องนักขับเสภา ชัน้ ครูแห่งกรุงรัตนโกสินทร์พดู คุยถึงความเป็นมาและเป็นอยูข่ องบ้าน ดนตรีดุริยประณีตตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ได้รับทราบข้อมูลจากกลุ่ม ตระกูลนักดนตรีไทยแห่งบางล�าพูทที่ า� ให้เข้าใจความส�าคัญของชุมชน บางล�าพู ชุมชนย่านเก่าในกรุงเทพฯ ทีก่ า� ลังหายใจรวยรินเพราะความ เป็นชุมชนสูญสลายไป ในขณะที่คนแปลกหน้าผู้ประกอบการและนัก ท่องเที่ยวเข้ามามีบทบาทแทนคนท้องถิ่น ฟงพจนา ดุริยพันธุเลาเรื่องราวบานดนตรีแหงบางลําพู บ้านดุริยประณีตในอดีตเป็นเรือนชั้นเดียว สภาพแวดล้อม ช่วงสิบปีก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่จดจ�าได้เหมือนกับชนบทริมคลองทั่วไป ข้างหน้าบ้านเป็นคลองและแถบไหล่คลองจะมีแผ่นคอนกรีตขนาดราว 8๐ เซนติเมตรวางไว้ให้เดินริมคลองจนกระทั่งไปออกถนนสามเสน
จดหมายข่าว
๑๕
พจนา ดุริยพันธุ แหงบานดุริยประณีต
รถยนต์เข้าไม่ได้เพราะมีห้องแถวไม้ขวางยาวตลอด ซึ่งเว้นช่องไว้ใต้ ห้องหนึ่งส�าหรับคนเดินลอดเข้าออกเท่านั้น เมื่ อ คลองแห้ ง ดิ น แข็ งได้ ถ มพื้ น ที่ เ ทคอนกรี ต เป็ น ถนน พื้นบ้านเคยสูงจากพื้นดินเดิมเกือบ ๒ เมตร จากหน้าบ้านไปเป็น สะพานไม้ระแนงตียาวยกสูงพ้นน�้าที่ท่วมขัง อ้อมวัดสังเวชไปออก สะพานฮงอุทิศ ฤดูน�้าหลากผูกเรือมาดไว้ขนส่งเครื่องดนตรี ๒-๓ ล�า หน้าแล้งวิ่งเล่นใต้ถุนบ้านได้ ใช้ท�ากิจกรรมท�าเครื่องดนตรีต่างๆ หลังถูกถมท�าถนน ๒ ครั้ง เหลือพื้นบ้านสูงจากพื้นดินไม่ถึงเมตร ใช้ ประโยชน์ไม่ได้อีกต่อไป ครั้งหลังถมราว พ.ศ. ๒4๙๕-๙๖ ตัดถนน ใหม่กว้างราว ๓-4 เมตร เป็นคอนกรีตที่เห็นปัจจุบัน เมื่อเล่าถึงต้นตระกูลทางสายบิดา กล่าวว่า “ครูโนรี ดุริยะ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปูศุขและยาแถม ดุริยประณีต
พันธ์” เป็นปูข่ องครูเหนีย่ ว ดุรยิ พันธุ์ ผูเ้ ป็นพ่อของพจนา ดุรยิ พันธุ์ ท�า ปี่พาทย์อยู่ข้างวัดทองนพคุณ เรียกกันว่าวงบางล�าพูล่าง และเคยอยู่ ในวังบางขุนพรหมยุคแรกๆ มีครูแช่ม สุนทรวาทิน ขณะบรรดาศักดิ์ ที่ขุนเสนาะดุริยางค์ เป็นครูผู้ดูแลและจัดหานักดนตรีเข้าไปร่วมวง หลังเกษียณราชการ พระยาเสนาะดุริยางค์เดินทางไปสอน ให้บ้านปี่พาทย์เอกชน ๒ แห่ง ช่วงเช้าสอนที่บ้านบางล�าพู หลังกิน ข้าวกลางวันแล้วลงเรือแจวเดินทางไปที่บ้านปี่พาทย์บางล�าพูล่างของ ครูโนรี เมือ่ ครูเหนีย่ วอายุได้ ๑๐ ปี เห็นแววดีจงึ ขอจากครูโนรีไปสอน ทางร้องใหม่ซึ่งท่านคิดปฏิรูปโดยให้ความส�าคัญที่การสอดใส่อารมณ์ มีชีวิตชีวาและความไพเราะ มากกว่าร้องเอื้อนท�านองเชิงเล่าความ อย่างที่ร้องมาแต่โบราณ หลังจากครูโนรี ดุริยะพันธ์ ถึงแก่กรรม รวมทั้งลูกๆ ล้วน อายุสนั้ วงดนตรีบางล�าพูลา่ งถึงกาลยุตกิ จิ การลงและขายเครือ่ งดนตรี ทัง้ หมด ครูเหนีย่ ว ดุรยิ พันธุ์ ผูเ้ ป็นลูกชายครูเนือ่ งหลานปูค่ รูโนรี ถอน ตัวออกจากบ้านข้างวัดทองนพคุณข้ามฝั่งมาแต่งงานเป็นเขยเข้าบ้าน ดุริยประณีตกับ แช่ม ดุริยประณีต ที่บ้านบางล�าพูซึ่งเป็นศิษย์ร่วม ส�านักพระยาเสนาะดุริยางค์ด้วยกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามสกุล “ดูรยประณีต” ให้ครูศุขเมื่อ พ.ศ. ๒4๕๗ ข้าราชการกรมมหรสพ ปีพ่ าทย์หลวง หลายนามสกุลทีข่ นึ้ ต้นด้วยเป็น ภาษาสันสกฤตเป็น “ดูรย” ต่อมาเปลี่ยนเป็นบาลีว่า “ดุริย” เกือบทั้ง สิ้น บางท่านให้ความเห็นว่าแรกๆ ผู้ใหญ่บางท่านเห็นว่าค�า “ดูรย” เป็นสันสกฤตที่พราหมณ์ใช้ ผู้คนไม่เข้าใจเท่าค�าว่า “ดุริย” ที่เป็น บาลี ในพุทธศาสนาจึงได้ขอพระราชทานแก้ไขให้เป็นตามนิยมโดย ความหมายไม่เปลี่ยน คนเข้าใจง่าย ภายหลังโปรดเกล้าฯ อนุญาต ผูท้ ี่ได้รบั พระราชทานนามสกุลทีข่ นึ้ ต้นด้วย “ดูรย” ถึงกล้าเปลีย่ นเป็น “ดุริย” ตามกันมา เช่น ดุริยประณีต ดุริยางกูร ดุริยประกิจ ฯลฯ นายศุขผู้เป็นตารับราชการสังกัดกรมพิณพาทย์มหาดเล็ก ใต้ความดูแลของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ปี ๒44๖ ถึงปี ๒4๕4 ต้องโอนย้ายมายังกรมมหรสพที่ตั้งขึ้นใหม่ใน
จดหมายข่าว
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่ยังคงท�า หน้าที่ตีระนาดเอกสลับกับพระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) ขุนฉลาด วงฆ้อง (ส่าน ดูรยาชีวะ) และตีระนาดทุ้มเหล็กเมื่อมีการแสดงละคร ดึกด�าบรรพ์เหมือนครั้งอยู่วังบ้านหม้อ ครูศุขเป็นผู้สร้างบ้านดุริยประณีตหลังนี้ แถบนี้มีหลายบ้าน หลายตระกูลทีเ่ ป็นนักดนตรีและขุนนาง เช่น พระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล) ผู้เคยดูแลกรมปี่พาทย์หลวงในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ส่วนบ้านที่ ติดกับบ้านดุริยประณีตที่เพิ่งขายไปกลายเป็นทาวน์เฮาส์ คือบ้านของ นายคล้อย เชยเกษ เป็นเครือญาติและเป็นครูปี่ชวากลองแขกของวัง หน้ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมือ่ พระยานรรัตนราชมานิตมีบา้ น เรือนอยูบ่ างล�าพูทา� ให้แถวนีม้ นี กั ดนตรีเข้ามาอยูม่ าก และมีครูเครือ่ ง สายจ�านวนไม่น้อยอยู่บริเวณวัดใหม่อมตรส เช่น ครูมนตรี ตราโมท และกลุม่ นักดนตรีกรมมหรสพที่ได้รบั ราชทินนามสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่กันที่บางล�าพูหลายสิบคนเพราะ ใกล้ที่ท�าการกรมมหรสพ ที่วังจันท์ (คุรุสภาในปัจจุบัน) เมื่อนายคล้อย เชยเกษ อยู่กินกับ นางลิ้นจี่ ซึ่งค้าขายข้าวสารขึ้นล่อง กรุงเทพฯ-ปากน�้าโพ-ตาคลี แต่ชอบละครร�าจนต่อมาตั้งคณะละคร นอกละครชาตรีขนึ้ มาโรงหนึง่ ทัง้ ร�าเองเล่นเอง พอขาขึน้ เรือว่างก็ขน คณะละครไปรับงานตามวัดสองฝั่งล�าน�้าเจ้าพระยา ภายหลังเลิกค้า ข้าวสาร มีบุตรีคือ “นางแถม” ซึ่งเป็นยายของพจนา ดุริยพันธุ์ จึงเป็น ลูกจีนค้าข้าวสารรู้เรื่องกิจการค้าขายและเป็นละครร�าวังเจ้าเจ็กด้วย แม่แถมมีน้องชายอีกคนหนึ่งชื่อ ชิต เชยเกษ สืบทอดวงปี่พาทย์คณะ เชยเกษของนายคล้อยสืบมา ส่วนคุณตาศุข ดุริยประณีต นอกจาก เป็นคนปี่พาทย์แล้วยังมีฝีมือทางช่างท�าเครื่องดนตรีด้วย ละครวังเจ้าเจ็กเป็นคณะละครทีเ่ ปิดโรงแสดงในวังกรมหมืน่ มเหศวรศิววิลาส ซึ่งหม่อมเจ้าเจ็ก นพวงศ์ เป็นพระโอรสล�าดับ ๗ ซึ่ง รับสืบทอดวังจากกรมหมืน่ มเหศวรศิววิลาส พระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นหนึ่งในผู้สร้างวัดตรีทศเทพ โรง ละครนีอ้ ยูบ่ ริเวณตลาดนานา บางล�าพู สถานทีซ่ งึ่ เคยเป็นท้องพระโรง วังของกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ๑๖
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ครูศขุ ยังท�ำงานอยูท่ วี่ งั บ้านหม้อ ช่วงค�ำ่ หา รายได้พิเศษรับตีระนาดตามโรงละครแถวบางล�ำพู ถึงพบรักคุณยาย แถมซึง่ เป็นละครร�ำตัวพระสังข์ทองของวังเจ้าเจ็ก และแต่งงานอยูก่ นิ กันต่อมาปลูกเรือนสร้างครอบครัวทีน่ ตี่ ลอดมา ไม่ได้ยา้ ยไปที่ไหนอีก แม่ลิ้นจี่มีทั้งคณะละคร มีวงปี่พาทย์ของครูคล้อยผู้สามี ได้ คนระนาดของตนเองเพิม่ อีกคนหนึง่ คือนายศุขลูกเขย รับงานแสดงทัง้ กรุงเทพฯ และหัวเมือง มีหลานสาวที่เกิดจากนางแถมก็เป็นละครกัน ทั้งบ้าน ต้องเล่นต้องเป็นลูกคู่ร้องละครของแม่ลิ้นจี่มาตั้งแต่จ�ำความ ได้ ลูกชายอีก ๓ คน คือ “โชติ-ชื้น-ชั้น” เก่งทางปี่พาทย์ทั้งหมด เป็นศิษย์เรียนกับพระยาเสนาะดุรยิ างค์ “ครูโชติ” ทัง้ เป่าปี่ ตีเครือ่ งหนัง ขับเสภา “ครูชนื้ ” ตีระนาดเอกยุคนัน้ ไม่มีใครเทียบ แต่งเพลงไว้จำ� นวน ไม่น้อย “ครูชั้น” เป็นคนฆ้องวงที่เก่งพอตัว ได้เพลงมากกับเขียนโน้ต สากลได้ ทั้งสามท่านมีฝีมือชั้นน�ำพร้อมประชันได้เสมอ “พจนา ดุริยพันธุ์” เล่าว่าบ้านดุริยประณีตมีชื่อเสียงในเรื่อง ประชันเพราะมีลกู ชาย ๓ คนเป็นหลัก คนปี่ คนฆ้อง คนระนาด แล้วก็ ลูกผูห้ ญิง ๕ คนเป็นนักร้อง ทัง้ เล่นปีพ่ าทย์ได้มาช่วยประกอบเป็นคณะ ที่แข็งแกร่ง ประชันได้ทั่วประเทศ มีชื่อเสียงมากตรงนี้ พอมีชื่อเสียง คนที่อยู่ต่างจังหวัดที่ชอบประชันแถบอยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง ก็ นิยมส่งคนมาเรียนทีบ่ า้ นดุรยิ ประณีตจนมาถึงชัน้ ลูกๆ ได้กลายเป็นครู สอนให้ต่อมา การประชันขันแข่งสมัยก่อนถือว่าสร้างงานศิลปะขึ้นมาใหม่ เช่น สมัย พ.ศ. ๒๔๖๖ มีการประชันที่วังบางขุนพรหม ก�ำหนดเพลง ที่จะเล่นคือเพลงพม่าห้าท่อน ห้ามซ�้ำกับทางเดิมที่เคยมีอยู่ พระยา เสนาะฯ ต้องไปแปลงแต่งอัตราสามชั้นใหม่ เถาใหม่ เป็นทางของ พระยาเสนาะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะก็ท�ำทางของท่าน เรียกทาง บ้านบาตร ส่วนจางวางทั่ว ท�ำทางฝั่งธนคือทางวัดกัลยาณ์ แล้วมา บรรเลงหน้าพระทีน่ งั่ เพลงเดียวกัน ท�ำนองเดียวกัน แต่แต่งแต้มระบาย สีไม่เหมือนกัน สร้างอารมณ์ลกู เล่นต่างกัน เพลงพม่าห้าท่อนจึงมีเพิม่ เป็น ๓ ทางใหม่ ภายหลังมีครูอื่นๆ มาแต่งกันเป็นทางที่สี่ ทางที่ห้า เฉพาะบ้านดุริยประณีตท�ำกันประมาณ ๖-๗ ทาง นั่นเป็นส่วนดีของ การประชันวงในสมัยก่อน แต่การประชันของชาวบ้านจะไม่มีแบบแผนเช่นนี้ เล่นกัน แบบลูกทุง่ คือใช้ชนั้ เชิงเกทับกันด้วยเพลง ส่งเพลงเริม่ แต่เพลงง่ายก่อน และพยายามหาเพลงทีว่ งตรงข้ามเล่นไม่ได้ ถ้าเล่นได้กเ็ ล่นทับ พอเล่น ทับวงนัน้ สลับเป็นวงตัง้ บ้างก็เล่นขึน้ มาอีกเพลงเพือ่ ให้อกี วงทับกันดูวา่ จะบรรเลงได้ไหม จะแพ้กันเป็นเพลงๆ ไป และประชันสู้กันอย่างน้อย สองวันสองคืนขึ้นไป ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอยู่ มาสู้กันดึกๆ เพลงเดี่ยว ระนาดต่อ ระนาด ฆ้องกับฆ้อง ทุ้มกับทุ้ม ต่างคนต่างมาพัฒนาฝีมือ ท�ำเพลง ใหม่ขึ้นมา นี่คือสิ่งที่ดีของการประชัน แต่ที่ไม่ค่อยดีนักคือ นักดนตรี ไทยนิสยั ค่อนข้างไม่คอ่ ยยอมแพ้ ต้องมาวัดศักดิศ์ รีเอาเป็นเอาตายกัน วิธีตัดสินมีหลายแบบ ถ้าเป็นประชันกันในวังจะมีกรรมการ
จดหมายข่าว
17
เป็นเชื้อพระวงศ์ มีครูผู้ใหญ่เก่งๆ นับสิบคนให้คะแนน แต่ถ้าต่าง จังหวัดจะมีอยูส่ องสามแบบ คือ หนึง่ เอากรรมการมาจากกรมศิลปากร นั่งฟังแล้วให้ชี้ขาด อีกอย่างหนึ่งคือตั้งกระถางเหมือนทอดกฐินแล้วมี ธงสองสีปกั ไว้ พอเล่นเพลงจบคนทีฟ่ งั ก็ไปปักธงให้ฝา่ ยทีต่ นชอบหรือ เห็นว่าเล่นดีกว่า สุดท้ายก็มานับสีธง สีไหนมากกว่าก็ชนะ ซึ่งวงชนะ จะได้รับค่าจ้างมากกว่าตามที่ตกลงกัน มาช่วงหลังจะไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว แพ้ชนะกันด้วยความรู้ เพราะคนปี่พาทย์จะรู้กันเองว่า เล่นเพลงนี้ได้ไหม ถ้าวงนี้ตั้งมาแล้ว วงนั้นเล่นไม่ได้ก็แพ้ ๑ เพลง หรือบรรเลงเพลงหนึ่งแล้วอีกวงเลี่ยง ไปเล่นเพลงอื่นก็แพ้ ๑ เพลงเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องมาสู้กันที่ เดี่ยวระนาดเอก รุ่งสางแล้วยังไม่รู้แพ้รู้ชนะก็ต้องวัดความไหวเร็วกัน ที่เดี่ยวเพลงเชิดต่อตัวอย่างที่เห็นในหนังเรื่องโหมโรงนั่นเอง เพราะ ระนาดเอกถือว่าเป็นแม่ทัพ ย้อนมาทีเ่ พลงพม่าห้าท่อน เมือ่ วงจางวางทัว่ บรรเลงทีว่ งั บาง ขุนพรหมแล้วก็จะน�ำไปสอนในส�ำนัก ถ่ายทอดต่อมารุ่นลูก เช่น ครู เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ส่งต่อไล่เรียงมารุ่นหลาน รุ่นศิษย์จะได้ กันไปไม่หวงเพลง บ้านพาทยโกศลเป็นบ้านดนตรีที่เปิดกว้างมาก ส่วนพม่าห้าท่อนทางพระยาเสนาะดุรยิ างค์กจ็ ะถ่ายทอดตกมาสูร่ นุ่ ลูก ครูศุข รุ่นหลานและศิษย์หาในบ้านเช่นกัน นักดนตรีบา้ นหนึง่ ก็อาจเป็นลูกศิษย์ครูหลายบ้านอย่างครูชนื้ ลูกชายคนทีส่ องของบ้านดุรยิ ประณีต อยู่ในกองปีพ่ าทย์และโขนหลวง รัชกาลที่ ๗ มาแต่ปี ๒๔๖๙ เป็นศิษย์พระยาเสนาะดุริยางค์ ตีระนาด เก่งมาก ไหวจัด แต่เมื่อหลวงประดิษฐไพเราะมาเป็นหัวหน้างานกอง ปี่พาทย์และโขนหลวง ครูชื้นก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ ด้วย พอถึงเวลาทีส่ ำ� นักบ้านบาตรมีงานไหว้ครู บ้านดุรยิ ประณีตทัง้ วง ก็ต้องไปบรรเลงถวายมือให้ที่นั่นด้วยความเคารพในฐานะท่านเป็นครู คุณยายแถมมีความคิดกว้างไกล ในช่วงรัชกาลพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงมอญยังไม่ดัง แต่เมื่อมีงาน พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระศรีพชั รินทราบรมราชินนี าถมีปพ่ี าทย์ มอญ น�ำเอาเครือ่ งดนตรีปดิ ทองสวยงามมาตัง้ เจ้านายหลายองค์ชอบ เครือ่ งมอญซึง่ แต่เดิมคนมอญเล่น ท�ำให้เป็นทีน่ ยิ มเจ้านายหลายๆ วัง จึงอยากมีปี่พาทย์มอญในงานศพบ้าง เพราะมีเชื้อมอญ คุณยายแถมจึงส่งลูกชาย ๓ คนไปเรียนที่ปากเกร็ดไปอยู่ไป กินนอนบ้านครูเพลงมอญเหมือนทีส่ ง่ มาเรียนบ้านดุรยิ ประณีต ครูชนื้ ไปอยูป่ ากเกร็ดกินนอนอยูท่ นี่ นั่ ไปเรียนหลายบ้าน ส่วนครูชนั้ เรียนกับ มอญสามโคก ครูโชตินี่ไปเรียนกับมอญพระประแดง บางกระดี่ ตัง้ แต่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๗๑-๗๒ เพลงมอญแม้ทำ� นองคล้ายกันแต่มอื ทีต่ ตี า่ งกัน ลูกสามคนได้ มาสามทาง ครูโชติแต่งงานกับภรรยาท่านเป็นคนมอญพระประแดง ครูชื้นแต่งงานกับแม่มณเฑียรเป็นมอญร�ำทางปากเกร็ด แม้ได้เพลง มาเยอะแต่ไม่ได้หยุดแค่นั้น ทั้งสามท่านเก่งมาก เพลงมอญสมัยก่อน ไม่มีการร้องมีแต่บรรเลงดนตรี ครูโชติ ครูชื้น ครูชั้น แต่งทางร้อง
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เพลงขึน้ มา ปีพ่ าทย์มอญทีเ่ คยประโคมศพ ประโคมยาม ครูโชติกบั ครู ชืน้ แต่งทางร้องใส่ในเพลงเป็นเพลงดาวกระจ่าง เพลงบางนางเกร็ง ให้ ทางคนมอญเขียนเนือ้ ร้องภาษามอญให้ ต่อมาจึงเอาเนือ้ ภาษาไทยใส่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็แต่งตับลาวแก่นท้าวตัดนิ้ว จากเรื่องราชาธิราช เป็นเพลงมอญ ถือว่าเป็นคนริเริ่มเอาทางร้องเข้าไปใส่ในเพลงมอญ บ้านนีจ้ งึ รับงานปีพ่ าทย์มอญได้มากกว่าแห่งอืน่ ถือว่ามีรายได้สงู มาก ในช่วงเวลานัน้ แม่แถมผูเ้ ป็นนักบริหารมืออาชีพ กล้าได้กล้าเสีย ส่วน ที่เหลือเก็บหอมรอมริบด้วยการลงทุนซื้อบ้านซื้อที่ดิน ซื้อเพชรทองใน ช่วงที่ธนาคารยังไม่มีบทบาทหรือเป็นที่นิยมน่าเชื่อถือ คุณตาศุขเมื่อรู้จักกับพระยาเสนาะดุริยางค์ ซึ่งเป็นผู้ที่เก่ง มากในการท�ำเครื่องดนตรีด้วย สามารถกลึงปี่ได้เอง ท�ำรางท�ำผืน ระนาดเสียงดี จึงได้ความรูจ้ ากพระยาเสนาะในเรือ่ งนีแ้ ละน�ำมาฝึกฝน สร้างเครื่องดนตรีด้วยฝีมือท�ำงานไม้ละเอียดประณีต ต่อมาจ้างช่าง ชาวจีนเป็นลูกมือ เพราะรู้ว่าต้องโค้งแบบนี้ ต้องบางขนาดนี้ เสียงถึง จะอุ้มดีจึงท�ำขาย ผลิต ซ่อมให้พ่อตาอยู่ก่อน ภายหลังจึงตั้งโรงงาน ผลิตเองในปี ๒๔๖๑ มีคนรอจองคิวถึงขั้นผูกเรือหน้าบ้านรอซื้อกันที เดียว ส่วนร้านดุรยิ บรรณตรงสีแ่ ยกคอกวัวเปิดปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เริม่ จ�ำหน่ายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย พวกซอ จะเข้ ขิม หย่อง คันชัก ขายเครื่องปี่พาทย์บ้าง ช่วงเวลาหลังจากนั้นใกล้เคียงกัน ครูศุข ดุริยประณีต ผลิตเครื่องปี่พาทย์ที่บ้านขายที่บ้าน เช่น ระนาด ฆ้อง กลอง ซึง่ ก็ถอื ว่าเป็นสุดยอดเพราะหูเทียบเสียงของครูศขุ แม่นย�ำ ที่สุด ไม่มีเพี้ยน ถ่วงด้วยตะกั่วคือเอาผงตะกั่วมาผสมขี้ผึ้งแล้วค่อยๆ ปาดไล่ระดับเสียง ต้องรู้จักใส่ เวลาสร้างเครื่องดนตรีรางระนาดที่ เราเห็นมันเหมือนกับตรงๆ จะมีกระพุ้งแล้วตรงนี้มันจะอุ้มเสียงได้ดี ระนาดมโหรีก็ต้องอุ้มเสียงลักษณะหนึ่ง ระนาดประชันที่ใหญ่ขึ้นอีก หน่อยส�ำหรับตีไม้แข็งต้องถากเกลาอีกอย่างหนึ่ง เครื่องปี่พาทย์ของพวกนี้ซื้อครั้งเดียวแล้วใช้ได้ตลอดอายุ หลังจากนั้นมาราว ๒๐ ปี ความต้องการเริ่มอิ่มตัวเลยเลิกผลิตเหลือ งานช่างเล็กๆ น้อยๆ และเลิกไป “วิมล อังสุนันทวิวัฒน์” เขียนถึงร้านขายเครื่องดนตรีไทย “ร้านดุริยบรรณ” ว่าเป็นสัญลักษณ์ของพื้น บ้านดนตรีหรือชุมชน คนดนตรีไทยของบางล�ำพู กล่าวถึง “ปราณี (ดุริยางกูร) พุ่มพวง” ทายาทรุน่ สุดท้ายทีส่ บื ทอดกิจการเล่าว่า ร้านก�ำเนิด “สาย ดุรยิ างกูร” ซึง่ สืบเชือ้ สายจาก “ครูมแี ขก” ต้นตระกูลดุรยิ างกูร ผูเ้ ป็นบรมครูทาง ดนตรีไทยโดยเฉพาะปี่และซอสามสาย ได้รับราชการเป็นครูปี่พาทย์ ในกรมปีพ่ าทย์ฝา่ ยพระบวรราชวังหรือวังหน้าเป็นพระประดิษฐ์ไพเราะ ครูมแี ขกมีบตุ รชายชือ่ “ถึก” มีความสามารถในการสีซอด้วง แต่ไม่ได้รบั ราชการ ต่อมานายถึกมีบตุ รชายชือ่ “สาย” มีความสามารถ ในซอด้วงและซอสามสายและไม่ได้รับราชการเช่นกัน นายสายได้ก่อ ตั้ง “ร้านดุริยบรรณ” ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งเป็นชื่อที่สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงพระกรุณาตั้ง
จดหมายข่าว
ชื่อประทาน เป็นร้านที่ขายทั้งหนังสือและเครื่องดนตรี เน้นการผลิต เครือ่ งดนตรีทมี่ คี ณ ุ ภาพ ประมาณปลายรัชกาลที่ ๖ นายสายได้รว่ มมือ กับ “ขุนเจริญดนตรีกาล” (นายดาบเจริญ โลหิตโยธิน) คิดโน้ตตัวเลข บันทึกเพลงไทยแทนนิ้วซอ นิ้วจะเข้ และขลุ่ย พิมพ์ออกจ�ำหน่ายเป็น ครัง้ แรก เมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๔ ใช้ชอื่ ว่า “เลขา สังคีตย์” ได้รบั ความนิยมมาก กิจการตกทอดมาถึงยุคของ “เปี่ยมศรี” ผู้เป็นมารดาของ “ปราณี” ได้พัฒนาร้านจนเฟื่องฟูสูงสุด โดยมีหลานชายช่วยที่โรงงาน ทางร้านได้ฝึกฝนช่างจนช�ำนาญหลายคน ร้านดุริยบรรณจะขายปลีก หน้าร้านและขายส่ง โดยมีคนมารับไปขาย หรือส่งขายไปตามโรงเรียน ทั่วประเทศ กิจการรุ่งเรืองมาโดยล�ำดับ จนกระทั่ง “เปี่ยมศรี” ถึงแก่ กรรมไม่นานก็เกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ทางร้าน ขาดทุนมาโดยตลอด จึงตัดสินใจขายร้านบริเวณสีแ่ ยกคอกวัวแล้วย้าย กิจการไปอยู่แยกถนนสุโขทัย หลังจากนั้นไม่นานก็ปิดกิจการถาวร การท�ำเครื่องดนตรีของกรมมหรสพในรัชกาลที่ ๖ ก็จะมี พระยาวิสุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นวิศวกรที่เก่งเรื่องการ ก่อสร้างคุมการผลิตจึงเป็นเครื่องดนตรีชั้นเลิศ ของชาวบ้านความ ประณีตตามแต่จะคิดท�ำ แต่ของคุณตาศุขมีคุณภาพสูงมีเสียงอุ้ม นุ่มนวลซึ่งขึ้นอยู่กับตอนขุดให้มีปริมาตรอุ้มเสียงอย่างไรเป็นความ สามารถเฉพาะตัว ช่างท�ำจะเข้เก่งต้องที่เขาบางทราย ชลบุรี จนลูกหลาน ปัจจุบันก็ยังอยู่ ทั้งขิมและอื่นๆ สืบทอดส่งต่อกัน แม้แต่บ้านดุริย ประณีตในยุคก่อนๆ ก็ต้องไปซื้อเครื่องสายถึงที่นั่น คุณสมชัย ช�ำพาลี ท�ำอยู่ในบริเวณวัดยาง ก่อนถึงสามแยก ไฟฉาย มีโรงงานใหญ่ที่กาญจนบุรี เคยมาเรียนรู้อยู่ที่นี่แล้วไปท�ำขาย จนร�่ำรวย ส่วนขลุ่ย “บ้านลาว” ยังอยู่ได้ ขลุ่ยปี่ท�ำขายกันทั่วไป แต่ถ้า นักดนตรีไทยที่ฝีมือเยี่ยมแล้วกลึงเองหมด ครูรุ่นเก่าจะใช้เท้าเหยียบ คันชักสายรอกเครื่องกลึงมือ ปี่ขลุ่ยที่ท�ำจากงาหรือไม้ชิงชันจะคว้าน ข้างในขนาดไหน จะเทียบเสียงนิว้ ไหน จะวางจะเพีย้ นตรงไหน คนเล่น ดนตรีจะเก่งกว่าช่างทั่วไปมาก อย่างครูเทียบ คงลายทอง ท่านท�ำเอง หมด แม้กระทั่งลูกชาย ครูปี๊ป คงลายทอง ยังกลึงปี่เอง เป็นงาน ช่างที่ได้รับสืบทอดมา “ลูกฆ้อง” ต้องใช้ทองม้าล่อ เป็นโลหะส�ำริดทีท่ ำ� จากทองแดง ผสมกับดีบกุ ในอัตราส่วนเฉพาะท�ำมาจากเมืองจีน คนจีนใช้โลหะแบบ นีม้ าตีเป็นฉาบ ม้าล่อ คนไทยน�ำมาหลอมต่อ เทหล่อเป็นลูกกลมๆ แล้ว มาตีไล่ให้เป็นรูปทรง เป็นลูกฆ้อง ความหนาบางต้องใช้ความช�ำนาญ จึงจะได้เสียงทีต่ อ้ งการ ซึง่ ไม่ใช้วธิ หี ล่อส�ำเร็จรูปเพราะเสียงจะจาวไม่ น่าฟัง แหล่งที่ผลิตเช่นบ้านอยู่ด้านหลังรั้วติดกันเป็นโรงงานตีลูกฆ้อง ชือ่ “แม่พนู ” ปัจจุบนั ย้ายไปแล้ว ส่วนแถวบ้านเนินมีของ “จ่าผูก” ตรง สถานีรถไฟบางกอกน้อย อีกแห่งคือวัดแจ้งแถวกุฎีจีน แต่ขายไม่ได้ มากนักเพราะลูกฆ้อง ๑๖ ลูกเดี๋ยวนี้ราคาหลายหมื่นบาท “พจนา ดุริยพันธุ์” เล่าว่าวัดสังเวชวิศยารามเป็นวัดมหา 18
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
นิกาย ส่วนวัดสามพระยาเป็นวัดมหานิกายแปลงเป็นกึง่ ธรรมยุต สร้าง ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เจ้านายที่พัฒนา พระองค์แรกคือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระสนมของ ท่านเชือ้ สายเขมรเป็นรูปชีไม่สกึ อยูท่ นี่ ี่ วัดบางล�ำพูหรือวัดสังเวชนีเ้ ป็น วัดประจ�ำตระกูลดุริยประณีตมาแต่เดิม ลูกผู้ชายบวชที่วัดนี้ทั้งนั้นแต่ น�ำอัฐิไปไว้วัดสามพระยา เพราะรักใคร่เคารพนับถือสมเด็จพระพุฒ โฆษาจารย์ (ฟื้น) องค์ก่อน บริเวณบางขุนพรหมเรียกว่าบ้านลาน เพราะมีชาวมอญสอง คนชื่อ ตรุษ ได้รับพระราชทินนามเป็น หลวงวิสุทธิโยธามาตย์ และ สารท ได้รับพระราชทินนามว่า ขุนพรหม ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ผูกขาดค้าใบลานจนกระทั่งน้อง ชายชื่อสารทหรือขุน พรหมตาย ผู้เป็น พี่ก็เลยถวายที่ดินและบ้าน ทั้งหมดของขุนพรหมอยู่เหนือปากคลองวัดสามพระยาถวายขึ้นสร้าง วัด เดิมชื่อ วัดสารท แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ วัดบางขุนพรหม พอถึงสมัย รัชกาลที่ ๓ มีพระยาสามคนซึ่งเป็นหลานบูรณะวัดขึ้นมาใหม่และ น้อมเกล้าฯ ถวายจึงพระราชทานนามว่า วัดสามพระยา บริเวณถนนวัดสามพระยาในปัจจุบัน เคยเป็นคลองขนาด พอๆ กับคลองหน้าวัดบางล�ำพูเดิม ทอดลงแม่น�้ำเจ้าพระยาผ่านบ้าน เจ้าพระยารามราฆพทีบ่ ริเวณท่าเกษม ซึง่ ปัจจุบนั เป็นพืน้ ทีข่ องธนาคาร แห่งประเทศไทย ส่วนบริเวณริมคลองเป็นบ้านของพระยาพายัพพิรยิ กิจ (เป้า จารุเสถียร) บิดาของจอมพลประภาส จารุเสถียร ปัจจุบัน บ้านหลังนี้ยังคงอยู่ ซึ่งคลองวัดสามพระยาถูกถมกลายเป็นถนนคือ สามเสน ๕ ภายหลังสามเสน ๑ นานหลายปี ครูสุเทพ วงศ์ก�ำแหง ก็อยู่ตรงตรอกกลางถนนนี้ เดิมมี ต้นไทรขวางคลอง เข้าไปข้างในอยู่ซ้ายมือ ท่านอยู่ในนี้มาตั้งแต่สมัย ที่ดังเพลงรักคุณเข้าแล้ว เพื่อนรุ่นพี่ที่สนิทกันคือ รงค์ วงษ์สวรรค์ มาแต่งงานกับลูกคหบดีค้าลอตเตอรีรายใหญ่ในสมัยนั้นอยู่ปากซอย และเป็นช่างภาพอยู่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีครั้งเยาว์วัยอยู่ถนนพระอาทิตย์ เพราะวังเดิม ของพระองค์เจ้าค�ำรบเป็นที่ตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการในทุกวันนี้ เมื่อ เกษียณจากอธิบดีกรมต�ำรวจก็ยงั อยูแ่ ถวซอยรามบุตรี ส่วนครู ป.ชื่น ประโยชน์ นักแต่งเพลง อยู่ข้างวัดเอี่ยมวรนุช นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเล็กคุณพ่อท่านก็อยู่ที่นี่ ต่อมาคุณยายแถมก็ ซื้อบ้านหลังนั้นเก็บไว้อีกเช่นกัน “บ้านดนตรี” ครบวงจรต้องมีครูผู้ใหญ่ มีนักดนตรีเก่งๆ อยู่ มีทกี่ นิ อยูห่ ลับนอนเหมือนกับครอบครัว คนทีเ่ ข้ามาเรียนบางคนก็มพี นื้ ฐาน บางคนไม่มีพื้นฐานมาเลยก็มาเริ่มต้น จากเพลงสาธุการ รัวสาม ลา เข้าม่าน จนครบเพลงโหมโรง ครูจะมองเห็นว่าคนนี้มีแววอะไร แล้วแต่พรสวรรค์ บางครั้งคนที่เป็นหัวหน้าวงปี่พาทย์ไปประชันเห็น คนระนาดฝีมือดีก็เอามาเป็นศิษย์ที่บ้านก็มี สมัยก่อนเรียกครูสอนปี่พาทย์ว่าพ่อแม่ หมายถึง “พ่อครู แม่ครู” เพราะเคารพครูบาอาจารย์ที่สอนและเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็กจน
จดหมายข่าว
19
โต ถือเป็นบุพการีต่อจากพ่อแม่ที่ให้ก�ำเนิด ระบบเลี้ยงดูมายุติลงเมื่อ สงครามโลกเกิดขึน้ หลังจากนัน้ การมาอยูก่ นิ เป็นส�ำนักดนตรีแบบเดิม ก็ค่อยๆ หมดลงไป เมือ่ ลิเกเป็นทีน่ ยิ ม วิกพระยาเพชรปาณี เริม่ แรกเป็นลิเกทรง เครือ่ ง ท่านย้ายมาหลายแห่ง แรกๆ เล่นอยูต่ รงเฉลิมกรุง พาหุรดั แล้ว ย้ายมาแถวป้อมมหากาฬ ซึง่ เคยมีโรงละครอยูแ่ ล้ว เป็นโรงละครของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ชื่อ “พิมานเนรมิต” อยู่ก่อน เมื่อถูกไฟ ไหม้แล้วจึงมาตัง้ ต้นใหม่ทโี่ รงละครปรีดาลัย แสดงละครร้อง เช่น สาว เครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียรนัย ฯลฯ ส่ ว นลิ เ กมี ห ลายคณะ เช่ น นายเลื่ อ น ตาเหล่ หมื่ น สุ ข ส� ำ เริ ง สรวง ก่ อ นรุ ่ น หอมหวล ซึ่ ง คณะหอมหวลมาเล่ น เป็ น ที่ นิ ย มภายหลั ง น�้ ำ ท่ ว มใหญ่ พ.ศ. ๒๔๘๕ มี วิ ก ลิ เ กทั้ ง สองฝั ่ ง คลองบางล� ำ พู ซึ่ ง บ้ า นดุ ริ ย ประณี ต ก็ ท� ำ ลิ เ กด้ ว ย บริ เ วณ ตลาดทุ เ รี ย นมี ลิ เ กเป็ น หลั ก ส่ ว นโรงหนั ง บุ ษ ยพรรณเดิ ม เป็ น ของโรงละครวั ง เจ้ า เจ็ ก ภายหลั ง จึ ง เป็ น พื้ น ที่ ข องตลาดนานา สมัยก่อนละครร้องทีแ่ ม่จติ ต์หรือครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต น�ำ มาเล่นยุคหลังถือว่าดังมาก ตั้งแต่ริมคลองบางล�ำพูทั้งหมดจนกระทั่ง ถึงเทเวศร์มโี รงละครร้องเยอะมาก ตัง้ แต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ทีโ่ รง หนังศรีบางล�ำพูอยูต่ ลาดทุเรียนกับทีโ่ รงหนังบุศยพรรณเดิมก็เป็นโรง ละคร และบริเวณปั๊มน�้ำมันที่อยู่ตรงข้ามตรอกไก่แจ้ติดกับพิพิธบาง ล�ำพูเคยเป็นโรงละครที่แม่บุนนาคเปิดแสดงชื่อ ฉันทส�ำเริง เจ้าของที่ เขาสร้างโรงละครมาใครจะมาเช่าเล่นก็ได้ นาครบันเทิงก็มีโรงละคร ของตนเอง คณะแม่ชม้อยก็ไปเช่า หมุนเวียนเช่าโรงเล่นกันไป ตาม บ้านส�ำนักดนตรีต่างๆ ก็ปรับตัวกัน หันไปเล่นเป็นละครร้อง เป็นลิเก เป็นละครชาตรี ละครนอก เป็นเพลงเหมือนกัน เพลงท�ำนองเดียวกัน ก็สามารถเล่นได้ทั้งหมด ส่วนละครเวทียคุ หลังเป็นโรงละครเวทีอย่าง “ศาลาเฉลิมไทย” ซึ่งมาฟื้นกันใหม่หลังสงครามโลกปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลังจากสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามมาถึงสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกอยู่พักหนึ่งก็ยกเลิกหมดประกาศฯ ทั้ง ๑๒ ฉบับ เพลงไทยชื่อต่างด้าวเพลงลาว เพลงเขมร ถูกเลิกไป ๕๙ เพลง ถึงยุคสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ราวช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๔-๘๖ ชาวดนตรีถือเป็นยุคมืด ความเป็นรัฐนิยมมีผลกระทบมาก ดนตรี ชาวบ้านเดือดร้อนมหาศาล ถูกจ�ำกัดไปเล่นที่ ไหนก็ไม่ได้ ถ้าไม่ได้ ใบอนุญาตจากกรมศิลปากร ปี่พาทย์ชาวบ้านจะเดือดร้อนหมด เพราะถูกห้ามเล่นถ้าไม่มีบัตรศิลปิน เมื่ อ อยู ่ ที่ บ ้ า นบรรเลงเล่ น ได้ ทุ ก อย่ า ง แต่ เ มื่ อในเจ้ า สังกัดคือกรมศิลปากรให้เล่นอะไรก็ต้องเล่น เมื่อตั้งกรมศิลปากร ใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พอปี พ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงวิจิตรวาทการ มาเป็ น อธิ บ ดี ก รมศิ ล ปากรก็ ส ร้ า งละครปลุ กใจมากมาย ให้ ค รู มนตรี ตราโมท ช่วยแต่งเพลง ให้ครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ ร้องเพลง ปลุ กใจและต้ อ งไปบรรเลงให้ ส มาชิ ก สภาผู ้ แ ทนราษฎรฟั ง นั ก ดนตรี ต ่ อ ต้ า นไม่ ไ ด้ แต่ ล ะครชาวบ้ า นเหนื่ อ ยเพราะเขาต้ อ งอยู ่
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ด้วยตัวเขาเอง ปรับตัวยากกว่า ของเราไม่ค่อยเดือดร้อนอะไร คุณตาศุข ดุริยประณีต มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม คนเลยมองว่ารอดได้เพราะมีเส้นสาย บ้านเดิมอยู่ ที่เดียวกันตรงบริเวณย่านบ้านลุ่ม นนทบุรี เชิงสะพานพระรามหก ที่ บ้านลุม่ ทีต่ าศุขเคยอยูเ่ มือ่ เด็กก็มสี ำ� นักปีพ่ าทย์วงครูหงส์อยูท่ นี่ นั่ ผูน้ ำ� ในยุคต่อมาอย่างเช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พล.ต.อ. เผ่า ศรียา นนท์ จอมพลผิน ชุณหะวัณ นายควง อภัยวงษ์ เป็นคนที่ชอบดนตรี ไทย ชอบโขนละคร มีแต่ช่วยสนับสนุน คุณชาติชายเองก็ยังถึงยุคแม่ สุดจิตต์ ดุริยประณีต ก็ไปเล่นดนตรีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่คุณพ่อ จึงดู เหมือนเป็นกลุ่มที่มีเส้นมีสาย บ้านดุริยประณีตไม่ค่อยเดือดร้อนนัก การออกบัตรประจ�ำ ตัวศิลปินต้องผ่านกรมศิลปากร ที่บ้านดุริยประณีตมี โชติ ชื้น ชั้น เชื่อม แช่ม อยู่กรมศิลปากร บ้านบาตรของคุณครูหลวงประดิษฐ์ฯ เป็นข้าราชการกรมศิลปากรหลายคน ก็ยังพอช่วยดูแลได้บ้างเหมือน กับเส้นสายเกี่ยวไว้เป็นครึ่งหลวงครึ่งราษฎร์ ทางบ้านจางวางทั่ว พาทยโกศล ก็มีเช่นกัน แต่บ้านปี่พาทย์เล็กๆ เรียบร้อยหมด เมื่ อ เปิ ด สถานี โ ทรทั ศ น์ แ ห่ ง แรกเมื่ อ ๒๔ มิ ถุ น ายน พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มแพร่ภาพสถานีช่อง ๔ บางขุนพรหม ผู้น�ำคือนาย จ�ำนง รังสิกุล เป็นผู้อ�ำนวยการฝ่ายจัดรายการ ได้น�ำเอาศิลปะดนตรี ไทยเข้าไปแสดง ให้เวลามาก มีรายการ “เพลินเพลงนฤพนธ์” โดย ให้นฤพนธ์ ดุริยพันธุ์ ขับร้องน�ำแล้วเอาวัยรุ่นมาร้องเพลงไทย สร้าง ละครนาฏศิลป์สัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ ครูสัมพันธ์ พันธุ์ มณี หัวหน้าคณะเก่งเรื่องร�ำและสอน ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ ดูแลเรื่อง สอนขับร้องให้กับดารารุ่นใหม่ ครูสุพจน์ โตสง่า เข้าไปเป็นนักดนตรี ไทยประจ�ำวงช่อง ๔ บางขุนพรหม เป็นต้น ดนตรีไทยและละครไทยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทกุ วัน ดนตรี ลูกทุง่ ลูกกรุงเกิดทีท่ วี ชี อ่ ง ๔ บางขุนพรหมนี้ เปิดโอกาสให้คนรุน่ ใหม่ สร้างคนรุ่นใหม่ สายเพลงดนตรี ไทยสากลเริ่มต้นมาจากละครเวที ของเฉลิมไทย จนเริ่มมีโทรทัศน์สีซึ่ีงถือเป็นจุดเปลี่ยน เพราะนโยบาย การเมืองไม่เอา ยุบช่อง ๔ บางขุนพรหม ยุบบริษัทไทยโทรทัศน์ ไป ตั้งองค์กรใหม่ ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท. ดนตรีและนาฏศิลป์ที่ก�ำลังพัฒนาก็ หมดพื้นที่ไปจากสังคมไทย แหล่งนักดนตรีและแหล่งบันเทิงของบาง ล�ำพูก็หายไปด้วย สมัยก่อนนักดนตรีจะมีแหล่งที่มาจับกลุ่มกันยาม ว่าง ครูตายไป ลูกหลานโตขึน้ ก็ยา้ ยไปอยูท่ อี่ นื่ พอกรมประชาสัมพันธ์ ถูกเผาปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ย้ายออกไปอีกบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ยิ่งเปลี่ยนไปมาก ในครอบครัวดนตรี เช่น ตระกูลดุริยประณีต บุตรหลาน ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีอาชีพการงานอื่นที่ดี รับราชการก็มี ที่ท�ำอาชีพ ดนตรีจริงๆ มีราว ๒๐ กว่าคน เวลาที่รวมญาติในช่วงไหว้ครูก็จะมา กันครบทุกคนถือเป็นครอบครัวใหญ่ มีนามสกุล ดุริยประณีต ดุริย พันธุ์ เขียววิจิตร พิณพาทย์ รุ่งเรือง ชุ่มชูศาสตร์ เวลารวมญาติน่า จะถึงกว่า ๑๐๐ คน หากเป็นลูกผู้หญิงเขยมักแต่งเข้าบ้านและเป็นนัก
จดหมายข่าว
ดนตรีดว้ ย เมือ่ พืน้ ทีค่ บั แคบก็ไปซือ้ ทีเ่ ช่าทีป่ ลูกบ้านขยับขยายอยู่ใกล้ๆ ในละแวกนี้ ขณะนีม้ สี ามสีบ่ า้ นอยู่ใกล้ๆ กัน เชือ่ มกันด้วยดนตรีเพราะ อายุ ๘-๙ ขวบถูกจับไหว้ครูหัดปี่พาทย์กันแล้วทุกคน เป็นวัฒนธรรม ในตระกูลอย่างหนึ่ง แนวคิ ด ของบ้ า นดุ ริ ย ประณี ต เปลี่ ย นเพราะครู สุ ด จิ ต ต์ ดุ ริ ย ประณี ต หลั ง จากคุ ณ ยายแถมตาย ครู สุ ด จิ ต ต์ ดู แ ลแทน สมัยก่อนยังเน้นหนักทางประชันปีพ่ าทย์ เมือ่ ได้เห็นพระจริยวัตรสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ บ่อยครั้งก็ประทับใจ ท่านทรงโปรดทรง สนับสนุนดนตรีไทยด้วยน�้ำพระหทัยแท้จริง ก็เลยเบนเข็มลดบทบาท จากบ้านปี่พาทย์ประชัน หันมาส่งเสริมการเผยแพร่และสอนแทนเพื่อ ให้ผู้คนหันมาสนใจขับร้องบรรเลงดนตรี ไทยให้มากที่สุดเท่าที่ท�ำได้ ท่านกล่าวว่า “ประชันก็แค่นั้น เก่งกาจเอาชนะกันแค่วงสอง วง รูก้ นั วงแคบๆ คนอืน่ ก็ไม่มีใครได้เข้าร่วมนัก เราเปลีย่ นเสียใหม่ไม่ ดีหรือ เอาคนทีเ่ ขาหันมาสนใจดนตรีไทยเข้าไว้มากๆ จะได้กว้างกว่าที่ เราจะประชันอย่างที่เป็นอยู่” เบนเข็มมาเปิดสอนที่นี่ เพลงที่เคยเก็บ ไว้เป็นไม้เด็ดไม้ตายก็เปิดหมด ใครอยากได้เข้ามาก็ให้ บ้านปี่พาทย์ เป็นวัฒนธรรมแข็ง ไม่ค่อยยอมใครง่ายๆ พอเปิดตรงนี้ก็กล้าเดินเข้า มาขอความรู้แลกเปลี่ยนกัน เพลงละครร้องสูญไปเกือบหมดแล้ว แม่ จิตต์กฟ็ น้ื ขึน้ มานับพันเพลง ทัง้ เป็นกรรมการของราชบัณฑิตยสภาด้วย หลังจากครูสุดจิตต์ ดุริยประณีตเสียไป มูลนิธิดุริยประณีต ก็มีลูกสาวคือ ชยันตี อนันตกุล สืบต่อแทน กิจกรรมไม่มีการ เปลี่ยนแปลง มีพี่น้องลูกหลานมาช่วยกันเปิดสอนดนตรี ไทยทุกวัน เสาร์ และสอนร�ำทุกวันอาทิตย์ เด็กมาเรียนที่นี่เดือนละ ๕๐๐ บาท ไม่มีก็ไม่ต้องจ่ายขอให้มาเรียน พยายามท�ำกิจกรรมให้ได้มากที่สุด เพื่อรักษาชุมชนเก่าไว้ ทุกคนมีอาชีพเลี้ยงตัวกันอยู่พอสมควรแต่จะ รักษาสิ่งที่เป็นทรัพย์สมบัติอันเป็นสัญลักษณ์บางล�ำพู อยากให้บ้านดนตรีไทยยังอยู่บางล�ำพูให้ได้ บ้านเครือญาติ เพื่อนพ้องอื่นๆ ตอนนี้กลายเป็นเกสต์เฮาส์ไปหมด เมื่อก่อนมีแค่ ถนนข้าวสารลามมาซอยรามบุตรี แล้วข้ามมาฝั่งนี้หมดแล้ว ไม่มีการ ควบคุมและการจัดการที่ดี จิตใจของเขามันไม่ได้มามีจิตใจที่เห็นอก เห็นใจระหว่างกัน เขาก็ท�ำการค้ากันไป เอาเงินไว้ก่อน ที่ดินแถวนี้ ส่วนใหญ่จะขาย บ้านแม่พูนที่ตีลูกฆ้องพื้นที่แปลงเล็กประมาณ ๓๐ ตารางวา ซื้อกันถึง ๑๘-๑๙ ล้าน แต่บ้านดนตรีไทยคือบ้านบางล�ำพู หลังนี้ต้องอยู่ให้ได้ เพื่อนที่เดือดร้อนอยู่คือที่วัดกัลยาณ์ บ้านจางวาง ทั่วก�ำลังจะถูกรื้อเพราะเป็นที่วัดก็ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร “พจนา ดุริยพันธุ์” สรุปว่า ท�ำอย่างไรบ้านดุริยประณีตจะอยู่ให้ได้สัก ใกล้ ๑๕๐ ปีเป็นอย่างน้อย นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ตอนนี้ ๑๑๑ ปีแล้ว ซึง่ ทุกวันนีย้ งั มีลกู หลานเชือ้ สายตรงเก่งหลายคน อย่างน้อยคงรักษาได้อกี ๓๐-๔๐ ปี หากไม่ขายทีด่ นิ ก็อยูไ่ ด้ เราต้องมีวฒ ั นธรรมดนตรี ในสภาพ แวดล้อมอันเป็นสัญลักษณ์ของย่านบางล�ำพูทคี่ อ่ ยๆ ลบเลือนไป เดีย๋ ว นี้ไม่รจู้ กั กันว่าใครเป็นใคร ย่านบางล�ำพู ตลาด โรงมหรสพ หรืออะไร ก็ตามทีค่ นเคยกินเทีย่ วเมือ่ ก่อน เดีย๋ วนีแ้ ทบจะไม่มี ไม่เหลืออะไรเลย 20
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
กิจกรรม เสวนาสาธารณะ
โดย จารุวรรณ ด้วงค�าจันทร์ นิสิตฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สรุปเสวนาสาธารณะของคนยานเกาเมืองกรุงเทพฯ ที่ปอมมหากาฬ
เรื่อง “ฟ นพลังยาไทย บํารุงชาติสาสนายาไทย” เช้าวันอาทิตย์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้จัดเวทีเสวนาสาธารณะขึ้นเป็นครั้งที่ ๙ ณ ชุมชนป้อม มหากาฬ หัวข้อเสวนาเรื่อง “ฟื้นพลังยาไทย บ�ารุงชาติสาสนายาไทย” โดยมีผรู้ ว่ มเสวนาด้วยกัน 4 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์รงุ่ ระวี เต็ม ศิริฤกษ์กุล อาจารย์ประจ�าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล คุณภาสินี ญาโณทัย ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านหมอหวาน “บ�ารุง ชาติสาสนายาไทย” คุณจุฑามาศ เรืองยศจันทนา ภัณฑารักษ์ และ คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็น ผู้ด�าเนินรายการ ผู้คนในเขตพระนครสมัยนั้น หรือแม้แต่ ในยุคสมัยนี้โดย เฉพาะผู้สูงอายุจะทราบถึงชื่อเสียงของร้านยาหมอหวานเป็นอย่างดี เพราะยาเป็นหนึง่ ในปัจจัยสีท่ คี่ นเราขาดไม่ได้ เป็นสิง่ จ�าเป็นทีท่ กุ บ้าน ต้องใช้ ราวช่วงปี พ.ศ ๒4๖๖ ที่การแพทย์การสาธารณสุขตราพระ ราชบัญญัตกิ ารแพทย์ขนึ้ เป็น พระราชบัญญัตกิ ารแพทย์ เพือ่ จะท�าให้ การแพทย์การสาธารณสุขของประเทศไทยในยุคนัน้ มีความเป็นสากล ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศฝัง่ ตะวันตก จึงมีการออกกฎหมายฉบับ นีม้ าเพือ่ ยกระดับมาตรฐานของการแพทย์ของไทยให้มคี วามทัดเทียม กับตะวันตก เจตนารมณ์ของหมอหวานคือต้องการที่จะต่อสู้กับกระแส โลกตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลสูงในระยะนั้นจึงได้สร้างบ้านหลังนี้ ขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒4๖๗ หลังจากการออกกฎหมายฉบับดังกล่าว ๑ ปี ซึ่งระยะทางจากที่เดิมและที่ใหม่ก็ไม่ไกลกันมากนัก โดยจะมี ตราสัญลักษณ์ของร้านเป็นรูปดาวหรือตราเฉลว โดยมีรูปแบบของ อาคารเป็นแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก [Colonial Style] หมอหวานมี ความพยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้จาก การสร้างอาคารในแบบฝรัง่ แม้วา่ จะปรุงยาไทย นอกจากนัน้ ยังมีบล็อก พิมพ์ซึ่งเป็นอีกหลักฐานหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงการปรับตัว ขวดยาใน แบบตะวันตก และมีการน�าการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาผนวกในการ
จดหมายข่าว
๒๑
การเสวนา “ฟนพลังยาไทย บํารุงชาติสาสนายาไทย” ณ ลานชุมชนปอมมหากาฬ
ตรวจรักษา แต่ยังคงตัวยาเป็นยาแผนไทยเช่นเดิม หมอหวานเกิ ด ในช่ ว งต้ น รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นรูปถ่ายของท่านจะมี เพียงแต่รูปปั้นที่ปั้นขึ้นมาหลังจากที่ท่านเสียแล้ว ยาที่ท่านปรุงเด่นๆ คือ ยาหอม ซึ่งมีมากมายหลายต�ารับมีทั้งยาถ่าย ยากวาดคอ ยาเด็ก ยาสตรี ยาแก้ไข้และถือเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงยุคปัจจุบนั นอกจาก นั้นยังพบหลักฐานที่กล่าวอ้างถึงหมอหวานว่ามีความเก่งทัดเทียมกับ ด็อกเตอร์วิลเลียม ออสเลอร์ ซึ่งเป็นบิดาของการแพทย์แผนตะวัน ตกในยุคนั้น “ฟนพลังยาไทย”มรดกวัฒนธรรมสูการผลิตเพื่อคนยุคใหมและการ เผยแพรความรูเรื่องยาไทยแบบพิพิธภัณฑ จากค�าบอกเล่าของท่านรองศาสตราจารย์รุ่งระวี เต็มศิริ ฤกษ์กุล ว่าตัวท่านเองก็เป็นหนึ่งคนที่มีความคิดในแบบของตะวันตก จึงได้พยายามเรียนรู้และศึกษารูปแบบในการดัดแปลงสมุนไพรไทย ต่างๆ นานา แต่ก็ได้พบว่า เราได้ละเลยสิ่งเก่าสิ่งเดิมที่เรามีกันอยู่ โดยที่ใช้ชุดความรู้ของตะวันตกเข้ามาตัดสิน ที่ส�าคัญคือคนไทยเพิ่ง
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เม็ดอมชื่นจิตต อีกรูปแบบหนึ่งของยาหอมไทย ยุคปจจุบันที่เปนผลิตภัณฑยุคใหมสําหรับคนรุนใหม
จะมาตระหนักถึงความส�าคัญต่อสมุนไพรตามฝรั่งที่ในระยะหลังมานี่ ทางตะวันตกเองก็เริม่ สนใจในเรือ่ งของสรรพคุณของสมุนไพร สุดท้าย ผลของการศึกษานัน้ เพียงเพือ่ จะมาตอบค�าถามทีต่ งั้ กันขึน้ เองว่าทีเ่ รา มีและใช้กันอยู่นั้นสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ การใช้ยาไทยมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของไทย กล่าว คือ มีการผสมผสานในตัวยาที่มีทั้งตัวที่ออกฤทธิ์รุนแรงกับตัวที่ช่วย ผ่อนผันการออกฤทธิ์ ท�าให้มีสรรพคุณที่ช่วยในการรักษาโรคได้ไม่ แพ้ยาตะวันตก นอกจากนั้นยาไทยยังช่วยในการรักษาสภาพจิตใจให้ ดีขึ้น ซึ่งจะเรียกการรักษาในลักษณะนี้ว่า “การรักษาแบบองค์รวม” เป็นการรักษาสมดุลของร่างกายและจิตใจได้พร้อมๆ กัน ซึ่งจะแตก ต่างจากยาของฝรั่งที่ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นสักระยะ ด้วยข้อจ�ากัดหลายอย่างทั้งในส่วนของวัตถุดิบที่หาได้จาก ธรรมชาติเริ่มร่อยหรอลงทุกวัน เป็นความยากและความท้าทาย ของผู ้ ป ระกอบการที่ จ ะต้ อ งหาวั ต ถุ ดิ บ มาปรุ ง ยาเพราะหายาก จึงน�ามาสูร่ าคาทีส่ งู มหาศาล เช่น คุรกิ า่ หญ้าฝรัน่ เห็ดน�า้ นมเสือ ฯลฯ ท�าให้ผู้ประกอบการหลายรายจ�าเป็นต้องดัดแปลงและคิดค้นส่วน ผสมที่ ใช้ทดแทนกันได้ เพื่อลดต้น ทุนการผลิต ทว่าทางร้านยา หมอหวานยังคงรักษาความเป็นยาโบราณ มีกรรมวิธีการปรุงแบบ เดิมที่ ได้ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จากค�าบอกเล่าของ คุณ ภาสินี ญาโณทัย คือมีเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์สิ่งเก่าที่มีอยู่ เพราะนั่นคือคุณค่าทางจิตใจที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาไว้ เพียงแค่คน รุ่นใหม่นั้นสืบทอดให้สิ่งเหล่านั้นคงอยู่สืบไป คนโบราณจะมีค่านิยมในการใช้ยาหอม กล่าวคือการให้ยา หอมเปรียบเสมือนการส่งต่อความปรารถนาดี ยาหอมจึงเป็นที่นิยม มากในอดีต แต่ปัจจุบันยาหอมถูกมองว่าเป็นของโบราณใช้กันเพียง ในกลุ่มของผู้สูงอายุ และสรรพคุณไม่ชัดเจนเทียบเท่ายาฝรั่ง ในปั จ จุ บั น ร้ า นยาหมอหวานเปิ ด กิ จ การขายยาหอม ขึ้ น มาใหม่ แ ละมี ก ารเผยแพร่ ม ากขึ้ น ในกลุ ่ ม ของคนรุ ่ น ใหม่ ที่ เริ่มสนใจและมีแนวคิดที่จะเริ่มหวนหาอดีตผนวกกับตัวร้านที่มีความ
จดหมายข่าว
งามของสถาปัตยกรรมที่น่าดึงดูดใจจนได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะ สถาปัตยกรรมดีเด่นประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ประเภทอาคารพาณิชย์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และด้วยกรรมวิธี การผลิตที่ประณีตสวนกระแสทุนนิยมที่ได้เข้ามาทุกหย่อมหญ้า เป็น ส่วนส�าคัญที่ท�าให้ร้านบ�ารุงชาติสาสนายาไทย (บ้านหมอหวาน) เป็น ที่สนใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์นั้นมีอยู่มากมาย ทั้ง ในส่วนของทางภาครัฐและเอกชน บ้านหมอหวานหรือร้านบ�ารุงชาติ สาสนายาไทย ก็เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นเอกชน มีการบริหารจัดการกันเอง โดยมีทั้งชุดความรู้ที่ได้ลงมือศึกษา และ มีภัณฑารักษ์ที่ดูแลและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยมีจุดประสงค์หลัก คือเพื่อต้องการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้ให้ไว้ คุณจุฑามาศ เรืองยศจันทนา กล่าวว่าการจัดการพิพิธภัณฑ์ บ้ า นหมอหวานยากเพราะโครงสร้ า งเดิ ม ของตึ ก นั้ น เป็ น บ้ า น มีจุดประสงค์หลักในการสร้างคือเป็นที่อยู่อาศัย ท�าให้ระบบการจัด การวางเป็ น เรื่ อ งล� า บากและข้ อ มู ล ก็ ค ่ อ นข้ า งจะมี น ้ อ ยเพราะ การบอกเล่ามี ไ ม่เพียงพอ โดยเฉพาะจุดเปลี่ยนของการโยกย้าย จากถนนอุ ณากรรณมายั ง ถนนตี ท อง แต่ ข ้ อ ดี ที่ บ ้ า นหมอหวาน มีนั้นเป็นส่วนส�าคัญที่ท�าให้กิจการปรุงยาและการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อการเรียนรู้สามารถอยู่ได้แบบยั่งยืนคือ สิ่งต่างๆ ที่นี่มีเป็นของ เก่า ของเดิม และของจริง ทั้งองค์ความรู้ กระบวนการการถ่ายทอด และมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาสู่คนรุ่นหลังในรูปแบบของวัตถุ ท�าให้ที่นี่แตกต่างไปจากที่อื่น ท�าได้โดยไม่จ�าเป็นต้องน�าสิ่งอื่นเข้า มาจับ ไม่จ�าเป็นต้องประดิษฐ์ข้อมูลขึ้นมาใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจ เพียงแค่ศกึ ษาของเดิมทีม่ อี ยู่ให้ได้ชดุ ข้อมูลทีเ่ ป็นข้อเท็จจริงก็เพียงพอ และในส่วนของคุณภาสินี ญาโณทัย ฐานะทายาทรุ่นที่ 4 ของร้าน หมอหวานกล่าวว่า สิ่งที่ท�าให้ต้องทุ่มเทท�าสิ่งนี้เพราะเป็นสิ่งมีค่า เป็นความรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นมา และยังเชื่อว่า มีอีกหลายกลุ่มคนที่เห็นค่าความส�าคัญของการอนุรักษ์และสืบสาน สิ่งเหล่านี้เช่นกัน จากเรื่องราวของร้าน “บ�ารุงชาติสาสนายาไทย” หรือ บ้ า นหมอหวาน ท� าให้ ฉุ ก คิ ดในประเด็ น ของสั ง คมย่ า นเก่ า เมื อ ง กรุงเทพฯ ได้ว่า หากเอกชนไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้เองจนมีความเข้มแข็ง เช่นนี้ มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ก็จะค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม ไม่มกี ารบอกเล่า ไม่มกี ารถ่ายทอดจากผูร้ ทู้ แี่ ท้จริง คงจะมีให้เห็นเพียง ต�านานทีเ่ ล่าขานสูล่ กู หลานฟังก่อนนอน เพราะทางรัฐเองไม่เข้าใจหรือ สนับสนุนตามที่ควรจะเป็น มิหน�าซ�้านโยบายการพัฒนาเมืองที่ไร้การ ให้ความส�าคัญของผู้คนในชุมชนคือตัวการส�าคัญที่ท�าลายวัฒนธรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
๒๒
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
จดหมายข่ จดหมายข่าวาว ๒๓๒๓ มูมูลลนินิธธิเล็ิเล็กก-ประไพ -ประไพวิวิรริยิยะพัะพันนธุธุ์ ์
จดหมายข่าว
๒4
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์