จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๑๑๔ การศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อมทางสังคม

Page 1

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จดหมายข่าว

2

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เปิด ประเด็ น : ศรีศักร วัลลิโภดม การศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อมทางสังคม ESIA [Environmental Social Impact Assessment] กับการ สร้างถนนขนาบน�้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ–นนทบุรี ในช่วงรัฐบาล คสช. ร่วมสามปีมานี้ เกิดสิง่ ใหม่ทสี่ ะดุดความ คิดเป็นอย่างมากก็คือค�ำว่า “ประชารัฐ” กับ “การสร้างถนนขนาบน�้ำ เจ้าพระยา กรุงเทพฯ-นนทบุรี” ประชารัฐไม่เคยพบมาก่อนที่ ไหนในโลก แต่ที่มีคือความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม คือ รัฐก็อยูด่ า้ นหนึง่ สังคมอยูอ่ กี ด้านหนึง่ ไม่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างที่เรียกว่าประชารัฐ รัฐเป็นองค์กร คล้ายกันกับสมาคมที่ท�ำหน้าที่เพื่อความมั่นคงและอยู่รอดอย่างราบ รื่นร่วมกันของคนในสังคม ถ้าหากรัฐไม่ท�ำหน้าที่นี้และแปลกแยกกับ แตกแยกกับสังคม ในต�ำราทางสังคมวิทยาบอกว่า รัฐนัน้ เป็นรัฐทรราชย์ ค�ำว่าสังคมดูครอบจักรวาล เพราะคนทุกกลุ่มเหล่าไม่ว่าคน ชั้นล่าง ชั้นบน ชั้นกลาง เป็นขุนนาง ข้าราชการ และพ่อค้านายทุนที่ อยู่ในพืน้ ทีข่ องรัฐเดียวกันล้วนเป็นคนในสังคมเดียวกัน จึงต้องจ�ำแนก รายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น คือ “สังคม” ไม่ได้หมายถึงครอบครัวและ ชุมชน [Community] ชุมชนจึงกลายเป็นตัวแทนของคนทุกหน่วยเหล่า ทางชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีความสัมพันธ์กัน จนมีส�ำนึกร่วม ว่าเป็นผู้คนในพื้นที่เดียวกัน สังคมไทยในลุ่มน�้ำเจ้าพระยาตอนล่าง อันเป็นพื้นที่ลุ่มน�้ำ ล�ำคลอง เป็นสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่ท�ำนาท�ำสวน ล้วนตั้ง ถิน่ ฐานบ้านเรือนเป็นชุมชนเรียงรายอยูส่ องฝัง่ แม่นำ�้ ล�ำคลอง หันหน้า บ้านลงน�ำ้ ทีเ่ ป็นเส้นทางคมนาคม เพราะเดิมก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔ ราว ๑๒๐ ปีขึ้นไป ไม่มีถนน มีแต่ทางน�้ำ ต้องใช้เรือแพเป็นพาหนะ โดยโครงสร้างทางกายภาพของแหล่งที่อยู่อาศัย แม่น�้ำ เจ้าพระยาเป็นทางน�ำ้ สายใหญ่ เป็นเส้นทางคมนาคมหลักผ่านบริเวณ ทีเ่ ป็นบ้านเมืองตัง้ แต่ปากแม่นำ�้ ขึน้ ไปจนถึงพระนครศรีอยุธยาอันเป็น ราชธานีของสยามประเทศ สองฝัง่ แม่นำ�้ จะมีคลองขุดแยกจากล�ำน�ำ้ ที่ ไหลจากเหนือลงใต้ไปยังทุง่ กว้างทางตะวันตกและตะวันออก ตามสอง ฝั่งของล�ำคลองที่ขุดแยกจากแม่น�้ำใหญ่ก็เป็นถิ่นฐานที่ตั้งของชุมชน บ้านและเมือง เป็นการกระจายจากฝัง่ แม่นำ�้ ไปทัง้ ทางฝัง่ ตะวันตกและ ตะวันออก

จดหมายข่าว

3

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและชุมชนจากฝั่งแม่น�้ำไปตาม ล�ำคลองดังกล่าวนี้ เรียกชื่อเป็นที่รับรู้ของคนแต่โบราณว่า “บาง” คือ หมายถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนริมน�้ำ ชุมชนหมู่บ้านเรียงรายอยู่สอง ฝั่งคลองตั้งแต่ตรงปากคลองที่สบกับแม่น�้ำ มักจะเป็นชุมชนใหญ่ที่ เรียกว่า “เมือง” มีตลาดและศาสนสถานทัง้ ศาสนาพุทธ มุสลิม คริสต์ และลัทธิอื่นๆ เป็นศูนย์กลาง ผู้ใดก็ตามที่ลงเรือล่องขึ้นหรือลงตามล�ำแม่น�้ำเจ้าพระยา จะสังเกตได้วา่ เรือทีน่ งั่ มานัน้ ผ่านบรรดาคลองขุดทัง้ หลายสองฝัง่ แม่นำ�้ ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยค�ำว่าบางทั้งนั้น เช่น คลองบางพูด คลองบางขวาง คลองบางกรวย คลองบางใหญ่อะไรท�ำนองนี้ ดังเห็นตัวอย่างจาก วรรณคดีของสุนทรภู่ เช่น นิราศภูเขาทอง ที่ผ่านบรรดาชุมชนตาม ล�ำคลองทีเ่ รียกว่าบางมากมายหลายทีเ่ ป็นระยะๆ ไป ตามทีพ่ รรณนา มานีก้ เ็ พือ่ อธิบายว่า บางแต่ละบางทีเ่ ป็นล�ำน�ำ้ และถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยนัน้ คือ กลุ่มของชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันที่เรียกว่า “บาง” และบางก็ คือท้องถิน่ อันมีชมุ ชนตัง้ ถิน่ ฐานร่วมกันในลักษณะเป็นเครือข่ายทีค่ นมี ส�ำนึกร่วมกันว่าเป็นพื้นที่บ้านเกิดเมืองนอนของตน เครือข่ายของชุมชนแต่ละถิ่นแต่ละบางดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่ เรียกว่า “ประชาสังคม” [Civil Society] เพราะแลเห็นสังคมในลักษณะ ที่เป็นรูปธรรมมากกว่าค�ำว่าสังคมลอยๆ เท่าที่กล่าวมานี้ก็เพื่อท�ำความเข้าใจว่า รัฐกับสังคมหรือ ประชาสังคมนั้น ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นประชารัฐอย่างที่มีคนมโนขึ้นมา ในขณะนี้ รัฐคือองค์กรทีท่ ำ� หน้าที่ในการปกครองและบริหารสังคมให้ อยู่กันอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและราบรื่น หากมีเรื่องการขัดแย้งกัน เกิดขึ้นก็จะมีกระบวนการทางยุติธรรมและศีลธรรมขึ้นมาจัดการเพื่อ ให้เกิดความสงบสุข แต่ถ้ากระบวนการยุติธรรมนั้นไม่มีน�้ำหนักพอ ประชาสังคมก็สามารถรวมตัวกันออกมาคัดค้านแสดงพลังต่อรอง และขัดขืนอย่างมีส�ำนึกในทางศีลธรรมที่ ไม่อาศัยความรุนแรงเป็น สิ่งที่เรียกว่า “ประชาขัดขืน” [Civil Disobedience] ที่มีผู้ไปแปลว่า อารยะขัดขืนอะไรท�ำนองนัน้ เพราะดูเหมือนจะมีความคิดจินตนาการ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ไปเรื่องของอารยชนกับอนารยชนมากไปหน่อย ในความนึกคิดของ ข้าพเจ้าเห็นว่าคนในเมืองส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมและความคิดแบบ อนารยชนอยู่ โดยเฉพาะคนเมืองที่อยากจะเรียกว่าเป็นอนารยชน คนเมือง [Urban Barbarian] ทีเดียว เพราะไปเอา “ประชาชน” มาบวกกับ “รัฐ” เพื่อให้เป็นหนึ่ง เดียวเช่นนี้ ประชาสังคมจึงหมดไปและดูห่างไกลกับความเข้าใจของ ผู้มีอ�ำนาจในรัฐเพิ่มขึ้น ในการพัฒนาสังคมให้อยู่ดีกินดีมีสันติสุข ในความคิดของ ข้าพเจ้าอีกเช่นกันว่า ประชารัฐนัน้ ดูไม่เห็นประชาชนทีเ่ ป็นคนธรรมดา เห็นเป็นเพียงแต่ผถู้ กู ปกครอง ไม่มอี ำ� นาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ไปต่อรองอะไรกับรัฐในยามเกิดความขัดแย้งและเดือดร้อน เพราะ ประชารัฐคือการปกครองสมานฉันท์ของกลุ่มคนที่มีอ�ำนาจทางการ เมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น โดยย่อก็คือพวกขุนนาง ข้าราชการ และนายทุนซึ่งอาจจะ รวมทัง้ บรรดาปัญญาชนทีเ่ ป็นนักเรียนนอกที่ได้เล่าเรียนมาจากบรรดา ประเทศทุนนิยมของประชาธิปไตยทางตะวันตก คนเหล่านีค้ อื คนทีแ่ ล เห็นว่าบ้านเมืองต้องมีการพัฒนาให้สวยงามและมั่งคั่งที่มีมาแต่สมัย รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ ลงมา ที่มีการ สร้างแผนพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นอารยะแบบตะวันตก โดยชือ่ ของแผน เป็นแผนทางสังคม เศรษฐกิจ แต่โดยปฏิบัติในทางสังคมไม่มี กลับมี แต่เรือ่ งเศรษฐกิจทีต่ ามมากับการเมืองและการพัฒนาก็เป็นเรือ่ งของ ความรู้สึกนึกคิด เห็นดีเห็นประโยชน์ของคนภายนอกผู้มีอ�ำนาจเหล่า นี้ไป โดยทีค่ นในทีอ่ ยูร่ วมกันเป็นชุมชนในท้องถิน่ ไม่อาจหรือกล้าทีจ่ ะ

เรียกร้องการเข้ามามีส่วนร่วมได้ การพัฒนาที่เริ่มมาแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้น คือการเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมชาวนาของประชาชนที่อยู่กันเป็น ถิ่นฐานบ้านเมืองและบ้านเรือน ที่ส่วนใหญ่ตั้งหลักแหล่งอยู่สองฝั่ง แม่น�้ำล�ำคลองที่อาศัยล�ำน�้ำเป็นเส้นทางคมนาคม บ้านเรือนเหล่านั้น รวมทั้งบรรดาวัดวาอารามทางศาสนาก็หันหน้าลงแม่น�้ำล�ำน�้ำเป็นมา ชั่วนาตาปี พอมาเกิดเป็นสังคมอุตสาหกรรมตามแบบอย่างตะวันตก สังคมเกษตรกรรมก็เริ่มสลายอันเนื่องมาจากการสร้างเส้นทางถนน ขึ้นมาแทน ท�ำให้ทิศทางของบ้านเรือนของชุมชนต่างหันหลังให้แม่น�้ำ ล�ำน�้ำแล้วเอาหน้าบ้านรับถนน แม่น�้ำล�ำน�้ำในสังคมเกษตรกรรมนั้น เป็นยิ่งกว่าเส้นทางคมนาคมเดินเรือ หากเป็นเส้นชีวิตในการใช้น�้ำ อุปโภคบริโภคที่ผู้คนทั้งในท้องถิ่นและนอกถิ่นต่างใช้ประโยชน์ร่วม กันและแต่ละถิ่นก็ต้องรับผิดชอบในการดูแลความสะอาดสวยงาม ต่างถิ่นต่างช่วยกันดูแลจากต้นน�้ำถึงท้ายน�้ำเป็นระยะๆ ไป ก่อให้เกิด “ภูมทิ ศั น์ทางวัฒนธรรม” [Cultural Landscape] ทีห่ ลากหลายและต่อ เนือ่ งของชุมชนในแต่ละท้องถิน่ ทีล่ ว้ นมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และชาติพันธุ์ โดยเฉพาะสองฝัง่ น�ำ้ เจ้าพระยาตัง้ แต่เมืองพระนครศรีอยุธยา มาจนถึงกรุงเทพฯ-ธนบุรี ไปออกปากแม่น�้ำที่เมืองสมุทรปราการ บริเวณสองฝั่งน�้ำล้วนเป็นที่ตั้งของบ้านเมืองที่มีมาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เกิดอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ-ธนบุรี พระประแดง และสมุทรปราการปากน�้ำที่บรรดาเรือใหญ่น้อยทั้งจากโพ้นทะเลและ จากท้องถิน่ ต่างๆ ภายใน ต่างใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขึน้ ล่องเป็นประจ�ำ

ภาพจ�ำลองแนวคิดการสร้างทางเลียบแม่น�้ำเจ้าพระยาในอุดมคติที่เปิดเผยต่อสาธารณะแล้วส่วนหนึ่ง

จดหมายข่าว

4

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จนทิวทัศน์ที่เห็นของบ้านเมืองและชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนทั้งสองฝั่ง น�้ำซึมซับอยู่ในความทรงจ�ำของผู้ที่ผ่านไปมา ที่เป็นปราชญ์เป็นกวีได้ เขียนบทกวีและเรื่องราวเชิงสังวาสที่เรียกว่านิราศมาหลายยุคหลาย สมัย อาทิ ก�ำศรวลสมุทรที่ผู้รู้รุ่นเก่าๆ เรียกว่า ก�ำศรวลศรีปราชญ์ แต่ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นนิราศเริ่ม แรกของแม่น�้ำเจ้าพระยาแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา จนถึงสมัยธนบุรี กรุงเทพฯ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ บรรดา กวีในราชส�ำนักที่ส�ำคัญ เช่น สุนทรภู่ก็ได้เขียนบรรยายภาพพจน์ของ ชุมชนริมแม่นำ�้ ล�ำคลองสองฝัง่ น�ำ้ เจ้าพระยาได้อย่างละเอียด กล่าวถึง ถิ่นฐานของแต่ละท้องถิ่นแต่ละย่านล�ำคลองที่มีประชาชนที่หลาก หลายทางชาติพันธุ์ และชีวิตความเป็นอยู่อย่างนับได้ว่าเป็นหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์สังคมได้ชัดเจน ซึ่งกวีนิพนธ์เหล่านี้เป็นที่รับทราบ และเรียนรู้ของคนรุ่นหลังๆ ลงมาจนปัจจุบัน มีผลตามมาท�ำให้เกิด การท่องเทีย่ วทิวทัศน์บา้ นเมืองและชุมชนทัง้ สองฝัง่ น�ำ้ เจ้าพระยาจาก กรุงเทพฯ ถึงนนทบุรี และอยุธยากันเรื่อยมา สิ่งที่สร้างขึ้นทางวัฒนธรรมแลสังคมทั้งสองฝั่งของแม่น�้ำที่ สะสมและเปลี่ยนแปลงกันเรื่อยมาตลอดเวลากว่า ๕๐๐ ปีดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดทิวทัศน์ของความศักดิ์สิทธิ์ [Sacred Landscape] ขึ้น จน เป็นที่รับรู้ของผู้คนในท้องถิ่นและคนจากภายนอกทั้งคนไทยและคน ต่างชาติวา่ เป็นบ้านเมืองทางน�ำ้ ทีเ่ ก่าแก่และมีอตั ลักษณ์ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก ความพยายามของรัฐบาล คสช. ที่จะก่อสร้างถนนขนาบ น�้ำสองฝั ่ ง แม่ น�้ ำ เจ้ า พระยาจากเมือ งกรุง เทพฯ-ธนบุรี ไปจนถึ ง เมืองนนทบุรนี นั้ ได้กลายเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้คนเป็นจ�ำนวนมากตืน่ ตระหนก และเศร้าใจว่า รัฐบาลคิดได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นมา เพราะหลายสิ่ง หลายอย่างที่ผ่านมารัฐบาล คสช. เป็นเผด็จการที่ดี ได้ช่วยท�ำให้บ้าน เมืองดีขึ้นหลายๆ อย่างจากความพินาศฉิบหายที่ท�ำโดยนักการเมือง ชั่วร้ายที่อ้างการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือเพื่อความ ชอบธรรมถูกกฎหมายต่างๆ นานา รัฐบาล คสช. กู้วิกฤติของสังคม และบ้านเมืองอย่างสอบผ่านมาโดยตลอด แต่พอมาถึงโครงการสร้าง ถนนขนาบน�้ำดังกล่าวนี้ก�ำลังท�ำให้สอบตกขนาด D- ก็ว่าได้ ก็เพราะ ว่าการด�ำเนินการดังกล่าวทีจ่ ะสร้างถนนขนาบน�ำ้ นัน้ ส่งผลกระทบอย่าง มหาศาลในทางลบต่อภูมิวัฒนธรรมและทิวทัศน์ของความศักดิ์สิทธิ์ แห่งราชธานีสยามอันเป็นเมืองของน�้ำให้มลายไป แต่ที่ส�ำคัญที่สุดก็ คือการท�ำลายบรรดาชุมชนบ้านเมืองและชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนทั้ง สองฝัง่ แม่นำ้� ให้เกิดภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด โดยเฉพาะการไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย จึงอยากท�ำความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องนี้ว่า มนุษย์ นั้นหาใช่สัตว์เดรัจฉานที่เป็นปัจเจก [Individual] ที่จะไปอยู่ที่ไหนๆ ก็ได้ เช่น อยู่กันตามคอนโดมิเนียม หรือบ้านจัดสรรกันอย่างไม่มี หัวนอนปลายตีนและร้อยพ่อพันแม่อย่างทีท่ งั้ ทางรัฐและทางทุนจัดสรร ให้แบบไม่เป็นชุมชนในขณะนี้ เพราะชุมชนหาได้สร้างหรือบันดาลได้ใน

จดหมายข่าว

5

พริบตาตามใจของผูม้ อี ำ� นาจทัง้ ทางเศรษฐกิจและการเมือง ชุมชนบ้าน เมืองแต่ละแห่งล้วนมีพัฒนาการทางโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรม อันเนือ่ งจากการอยูร่ ว่ มกันในท้องถิน่ เดียวกันอย่างต่อเนือ่ งไม่นอ้ ยกว่า ๓-๔ ชั่วคนจึงเกิดขึ้นได้ และชุมชนทั้งสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาก็มีอายุ เกินกว่าชั่ว ๓-๔ อายุคนตามที่กล่าวมา หากมีมากว่า ๕๐๐ ปีแล้ว การสร้างถนนขนาบน�ำ้ มีผลทัง้ การเปลีย่ นแปลงทิวทัศน์ของ ความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละการไล่รอื้ ชุมชนบ้านเรือนทีอ่ ยูอ่ าศัยรวมทัง้ สถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ทางความเชื่อและศาสนาอีกมากมาย จะเกิดอันตรายอย่าง แน่นอนในโลกนี้ ความพินาศทางสังคมบ้านเมืองมีสองสาเหตุใหญ่ๆ คือ จาก ความอดอยากในเรื่องอาหารการกิน กับการไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งล้วนจะ ท�ำให้เกิดความโกรธแค้นและความเกลียดชังที่นำ� ไปสูค่ วามรุนแรงถึง ฆ่าฟันกันเองภายในสังคมไทย ไม่มภี ยั อันเกิดจากการอดอยากในเรือ่ ง อาหารการกิน ปิดประเทศห้าปีคนก็อยูไ่ ด้ แต่พวกนายทุนมีสทิ ธิล์ ม่ จม แต่ถา้ ผูม้ อี ำ� นาจทางการเมืองและเศรษฐกิจท�ำให้เกิดคนไร้ชมุ ชนทีอ่ ยู่ อาศัยแล้ว บ้านเมืองคงหนีความพินาศไม่พ้นเป็นแน่ เท่าที่ทราบมาโครงการสร้างถนนขนาบน�้ำเจ้าพระยาครั้งนี้ ยังไม่มกี ารศึกษาผลกระทบสิง่ แวดล้อมทีเ่ รียกว่า EIA [Environmental Impact Assessment] เลย แต่เริ่มการก่อสร้างแล้วอย่างค่อนข้าง เร่งรีบ ท�ำให้เกิดความกังวลและกังขาในการด�ำเนินการเป็นอย่างยิ่ง เพราะโครงการของรัฐบาลในอดีตจ�ำต้องมีการศึกษาผลกระทบ ซึ่ง ดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่ก็ยังมี

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พอมาในสมัยหนึ่งก็มีโครงการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ อนามัย หรือ EHIA [Environmental Health Impact Assessment] เพิ่มขึ้น เข้าใจว่าเป็นโครงการที่ริเริ่มและเกิดการเคลื่อนไหวทางฝ่าย นายแพทย์ประเวศ วะสี จึงท�ำให้ตอ้ งมีการศึกษาผลกระทบทาง EHIA เพิ่มขึ้น ก็นับว่าเป็นผลดีแก่ผู้คนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนึ่ง แต่ก็ยังไม่พอ จึงมีผู้เสนอให้มีการศึกษาผลกระทบทาง สังคม ESIA [Environmental Social Impact Assessment] เพิ่มขึ้น ผู้ที่ท�ำการเคลื่อนไหวก็คือ ดร.สุรพล สุดารา ซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งที่ เคยเข้าร่วมหารือกัน แต่โครงการดังกล่าวนี้เงียบไปและดูเหมือนจะ ถูกปฏิเสธในทางพฤตินัย เพราะอาจมีผลกระทบกับผลประโยชน์ของ รัฐและทุนผู้เป็นเจ้าของโครงการ เพราะในการท�ำการศึกษาในเรื่องนี้หลีกเลี่ยงการเข้ามามี ส่วนร่วมของผูค้ นในภาคประชาสังคมผูไ้ ด้รบั ผลกระทบอย่างหลีกเลีย่ ง ไม่ได้ ดูเหมือนทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการใน ประเทศไทยนี้ ไม่สนใจ ESIA แต่รฐั บาลไทยในยุคนีก้ ลับไม่ทำ� ทัง้ EIA, EHIA และ ESIA ซึ่งดูหนักเข้าไปใหญ่ การท�ำการศึกษาผลกระทบทางสังคมคือสิ่งเดียวเท่านั้น ที่ทางรัฐและผู้เกี่ยวข้องที่เป็นเจ้าของโครงการจะเข้าถึงความรู้สึก นึกคิดของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น ผู้ที่จะต้องได้รับผลกระทบไม่ใช่สิ่ง ที่หลีกเลี่ยง และถูกอ้างโดยรัฐว่าได้สอบถามความคิดเห็นของคน

ท้องถิ่นแล้ว โครงการอ้างบรรดานักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา ตามมหาวิทยาลัยได้ส�ำรวจและสอบถามความคิดเห็น สร้างภาพโน้ม น้าวให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชนเห็นพ้องด้วยกับโครงการ สิ่งเช่น นี้คือการจัดฉากเป็นประจ�ำของรัฐที่อ้างประชาธิปไตย ESIA คือเครือ่ งมือต่อรองทีส่ ำ� คัญในโครงการพัฒนาใดๆ ทัง้ หลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นเครื่องมือ ทีจ่ ะท�ำให้ประชารัฐทีป่ ระกอบไปด้วยผูม้ อี ำ� นาจทางการเมืองเศรษฐกิจ ของรัฐและบรรดานายทุน นักวิชาการ ข้าราชการ พบและต่อรองกับ คนที่มีส่วนได้เสียที่เป็นประชาสังคม สุดท้ายใคร่อา้ งความคิดเห็นของอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ผู้เป็นบุตรชายของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงความล้มเหลวของโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าที่เรียกว่า โฮปเวล [Hope Well] เมื่อหลายปีที่ผ่านมาว่า นอกจากท�ำไม่ส�ำเร็จแล้ว ยังคง เหลือแต่ซากตอหม้อไว้ให้เป็นอนุสรณ์ของความโง่จนในทุกวันนี้

ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย วัดญวนสะพานขาวกับการทบทวนเรื่องราวของชุมชนแออัดที่มีการ ศึกษาทางมานุษยวิทยาแห่งแรกของกรุงเทพฯ หลังเสียกรุงศรีอยุธยา การสร้างบ้านเมืองในช่วงกรุงธนบุรี และกรุงรั ต นโกสิ น ทร์ ถือ ว่า การรวบรวมประชากรทั้ง ผู ้ ค นจาก กรุงเก่า จากเหล่านานาชาติ กลุ่มผู้มีฝีมือทางงานช่างสารพัดเข้ามา อยู่ในพระนครและปริมณฑลถือเป็นสิ่งส�ำคัญควบคู่ไปกับการสร้าง พระราชวัง ศาสนสถาน ย่านการค้า ฯลฯ ในคราวที่บ้านเมืองร้างไร้ ผู้คนอันมีผลมาจากสงครามครั้งใหญ่ หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ส�ำคัญที่สืบเนื่องมาจากการสงคราม ครั้งรวบรวมพระราชอาณาเขตเข้าเป็นหนึ่งเดียวครั้งใหม่นี้คือ เหล่า ชาวญวนซึ่งอพยพเข้ามาอยู่แถบบ้านญวนและวัดญวนใกล้กับทาง ตะวันออกของวัดโพธิ์ที่ตั้งถิ่นฐานกันมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี อันสืบ เนื่องจากเหตุการณ์ไตเซินซึ่งเป็นการลุกฮือของผู้น�ำกลุ่มชาวนาต่อสู้

จดหมายข่าว

กับเจ้านายทัง้ ฝ่ายทางเหนือและทางใต้ ท�ำให้บา้ นเมืองญวนแตกออก เป็นกลุม่ ต่างๆ ความไม่สงบเกิดขึน้ มากพอๆ กับบ้านเมืองในสยามยุค เดียวกันนั้น องเซียงซุนมีศักดิ์เป็นอาขององเชียงสือ พาคนญวนกลุ่ม หนึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีฯ เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๒๐ สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้ชุมชนญวนรุ่นนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ฟากกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน และสร้างวัดขึ้น ๒ แห่ง คือ “วัดกามโล่ ตื่อ” หรือ “วัดทิพยวารีวิหาร” ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดแบบจีนแล้ว และ “วัดโห่ยคั้นตื่อ” หรือ “วัดมงคลสมาคม” ซึ่งเดิมตั้งอยู่หลังวังบูรพา ภิรมย์ แต่เมื่อตัดถนนพาหุรัดพาดผ่านจึงแลกที่ดินไปตั้งอยู่แถบถนน แปลงนาม ย่านเยาวราช 6

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พระอุโบสถวัดสมณานัมบริหารหรือวัดญวน สะพานขาว สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมือ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ขึน้ ครองราชย์ ปีเดียวกันนั้นองเชียงสือน�ำชาวญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ไตเซินในแถบภาคกลาง และอยู่อาศัย ที่กรุงเทพฯ อยู่นานถึง ๒๐ กว่าปีก่อนจะกลับไปกู้บ้านเมืองและ ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ยาลอง ในช่วง ระหว่างนีช้ มุ ชนชาวญวนสร้างวัดญวนขึน้ สองแห่งคือ “วัดกัน๋ เพือ๊ กตือ่ ” หรือวัดญวนบางโพ ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาไกลจากพระนครขึ้นไปทาง เหนือ และวัดญวนตลาดน้อยหรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า “วัดคั้นเยิงตื่อ” ริ ม แม่ น�้ ำ เจ้ า พระยาอี ก เช่ น กั น ชื่ อ เป็ น ทางการภายหลั ง คื อ “วัดอุภัยราชบ�ำรุง” เกิ ด ไฟไหม้ ใ หญ่ ใ นสมั ย รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ราว พ.ศ. ๒๔๔๑ ติดกันถึงสองครัง้ จึงใช้ทรัพย์ ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรตั น์ พระราชธิดาซึง่ ประสูตจิ ากสมเด็จพระศรีพชั ริน ทราบรมราชินนี าถ และสิน้ พระชนม์เมือ่ พระชันษา ๑๐ ปี ตัดถนนสาย ใหม่จาก “บ้านลาว” ไปจนถึง “สะพานหัน” เรียกว่า “ถนนพาหุรัด” ถนนพาหุรดั ตัดผ่านบ้านญวนจึงเรียกว่า “ถนนบ้านญวน” ใน ระยะแรกๆ ก็เพื่อให้เป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่ต่อเนื่องกับทางถนน เจริญกรุงที่ตัดขึ้นในคราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนตัดใหม่ทั้ง

จดหมายข่าว

เจริญกรุงและพาหุรดั จึงตัดผ่านทัง้ บ้านญวน บ้านลาวหรือบ้านกระบะ และบ้านหม้อหรือบ้านมอญ ซึ่งเป็นชุมชนที่เรียงรายนับจากฝั่งตะวัน ออกไปทางตะวันตก ซึ่งเป็นชุมชนที่ ไพร่พลทั้งอพยพและถูกอพยพ มาจากถิน่ ฐานบ้านเมืองเดิมและน�ำมาให้อยูอ่ าศัยในกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการตัดถนนก็กระจัดกระจายไปอยู่ในพื้นที่อื่นหรือแทรกไปกับ ชุมชนอื่นๆ ถูกบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม ท�ำอาชีพต่างๆ ทั้ง งานช่างฝีมือ งานหัตถกรรม ตลอดจนรับราชการต่างๆ จนกลายเป็น ผู้คนพลเมืองของสยามประเทศในกรุงเทพฯ ไปในที่สุด วัดญวน สะพานขาวหรือวัดสมณานัมบริหาร ชุ ม ชนที่ “วั ด ญวน สะพานขาว” เกิ ด ขึ้ น สื บ เนื่ อ งจาก ราว พ.ศ. ๒๓๗๖ รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า ฯ ใน ศึ ก ญวน เจ้ า พระยาบดิ น ทรเดชายกทั พ ได้ ค รั ว ญวนที่ ถื อ พุ ท ธ ศาสนาพวกหนึ่ง ก็ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัด กาญจนบุรี ส่วนพวกญวนที่ถือศาสนาคริสตังให้ไปตั้งบ้านเรือน อยู่ที่สามเสน ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พวกญวนบางกลุ่มที่เมืองกาญจนบุรีขอกลับคืน มายัง กรุงเทพฯ แต่ ในปัจจุบันก็ยังมีชุมชนวัดญวนที่กาญจนบุรีอยู่ จึง พระราชทานที่ดินพร้อมให้สร้างวัดกั๋นเพื๊อกตื่อในบริเวณริมคลอง ผดุงกรุงเกษมเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๑๘ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระ 7

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามว่า วัดสมณานัมบริหาร ส่วนชาวบ้านเรียกกันทั่วไปจนถึงปัจจุบันว่า “วัดญวน สะพานขาว” บริเวณทีต่ งั้ ของชุมชนคนญวนนีอ้ ยู่ใกล้กบั สีแ่ ยกมหานาค ซึง่ มีชาวมลายูมุสลิมและคนจามมุสลิมตั้งชุมชนอยู่ริมคลองมหานาคไม่ ไกลจากชุมชนวัดญวนนัก ย่านนี้ทั้งคนจาม คนมลายู และคนญวนใน ช่วงเวลานัน้ ล้วนอยู่ในก�ำกับของเจ้าคุณกลาโหมหรือเจ้าคุณทหารหรือ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผูเ้ ป็นหลานสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งทุกกลุ่มชาติพันธุ์น่าจะเป็น แรงงานในการช่วยขุดคลองคูเมืองรอบนอกคือคลองผดุงกรุงเกษม และคลองเปรมประชากร ที่นอกเหนือไปจากจ้างแรงงานชาวจีนขุด แล้ว โดยมีกลุม่ ตระกูลบุนนาคและขุนนางที่ได้รบั การสนับสนุนและต่อ มาได้เป็นเจ้ากรมคลอง เช่น พระยาชลธารวินจิ จัย (ฉุน ชลานุเคราะห์) ผู้ได้รับการศึกษาจากกองเรืออังกฤษคนแรกๆ ในช่วงเวลาราว พ.ศ. ๒๓๙๔ และช่วง พ.ศ. ๒๔๑๓ ซึ่งที่โบสถ์ของวัดสมณานัมบริหารยังคง มีภาพ “กัปตันฉุน” อยู่ภายใน

แผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ แสดงอาณาบริเวณของวัดญวน สะพานขาวหรือ วัดสมณานัมบริหารที่ยังเห็นแนวคูน�้ำล้อมรอบวัดอย่างชัดเจน รวมทั้งแนว คลองล�ำปักที่เป็นคลองย่อยเชื่อมคลองมหานาคและคลองผดุงกรุงเกษม

คณะสงฆ์ ช าวญวนนั้ นได้ น� ำวั ต รปฏิ บั ติ แ บบพุ ท ธศาสนา มหายาน โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะทรง ผนวชอยู่ได้สนพระทัยและสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับ “องฮึง” เจ้า อาวาสวัดญวน ตลาดน้อยจนเป็นที่พอพระทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ แล้วก็สนับสนุนให้ปฏิสังขรณ์วัดญวน ตลาดน้อยหรือวัดอุภัยราช บ�ำรุงต่อมา และโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าถวายพระพรในช่วงวันเฉลิม พระชนมพรรษา และเป็นพระสงฆ์อกี ฝ่ายในพิธสี งฆ์ของหลวงเรือ่ ยมา และได้รับเกียรติให้ประกอบพิธีกงเต๊กแบบญวนถวายเป็นครั้งแรก โดยกระท�ำครัง้ แรกในพระราชพิธพี ระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั จนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบตั ใิ นพระราชพิธพี ระบรมศพ และพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ซึ่งงานช่าง ฝีมือกงเต๊กหลวงยังสามารถสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมกับพิธี

จดหมายข่าว

องสุ ต บทบวร (บ๋ า วเอิ ง ) อดีตเจ้าอาวาสผู้ล่วงลับไป แล้ว ผูม้ ชี อื่ เสียงทางอัญเชิญ วิ ญ ญาณเพื่ อ การรั ก ษา แห่ ง วั ด ญวน สะพานขาว

กงเต๊กหลวงเผาเครื่องกระดาษแบบอนัมนิกาย แม้ช่างผู้ท�ำจะไม่ได้มี เชือ้ สายญวนแล้ว แต่กเ็ ป็นคนจีนและไทยผสมทีม่ ถี นิ่ ฐานอยู่ในละแวก วัดญวน สะพานขาว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจัดท�ำชุดกงเต๊กถวาย พระบรมวงศานุวงศ์ชนั้ ผูใ้ หญ่และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ ๙ เมื่อเร็วๆ นี้ด้วย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๙ เคยเสด็ จ พระราชด�ำเนินมาที่วัดสมณานัมบริหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ และฉลอง พระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ และได้พบกับเจ้าอาวาส องสุตบทบวร (บ๋าวเอิง) ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชื่อดัง เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน อย่างมาก นับว่าคณะสงฆ์อนัมนิกายที่มีวัดอยู่ทั่วประเทศได้รับพระ มหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไทยมาทุกยุคสมัยจนถึงรัชกาล ปัจจุบนั ซึง่ คณะสงฆ์อนัมนิกายนีเ้ ป็นหนึง่ ในคณะสงฆ์ทางพุทธศาสนา ที่มีการก�ำกับดูแลโดยกฎหมายของมหาเถรสมาคม มีการสวดแบบ ภาษาญวนเก่า ส�ำเนียงเดิมที่จดจ�ำต่อกันมา และจดคัดลอกบันทึก มาเป็นภาษาไทย มีการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๒-๓ แห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมา ทั้งแผนกสามัญศึกษาระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย โดยเป็นส่วนหนึ่งในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส�ำหรับคณะสงฆ์อนัมนิกาย การสืบพระศาสนาในคณะอนัมนิกายนี้ตัดขาดกับคณะสงฆ์ ทางพุทธศาสนาที่เวียดนามโดยเด็ดขาดด้วยเหตุผลทางการเมืองและ การต่อสู้ในประเทศเวียดนามที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ต�่ำกว่าสองร้อย ปี จนเพิ่งจะมีการริเริ่มสมาคมระหว่างสถานทูตเวียดนามและสงฆ์ ชาวเวียดนามในปัจจุบันเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทุกวันนี้นอกจากพระสงฆ์ในนิกายแบบอนัมนิกายแล้วก็มี เพียงฐานรอบเจดีย์ประดิษ ฐานรอยพระพุทธบาทที่มีร่องรอยการ บรรจุอฐั ขิ องคนเชือ้ สายญวนซึง่ ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ช่วงสงครามอินโดจีนและในช่วงสงครามเวียดนามเท่านัน้ และเป็นคน จากภาคกลางของประเทศเป็นจ�ำนวนมากกว่าพื้นที่อื่นๆ สอบถามคน ที่อยู่อาศัยในละแวกนี้กลับไม่พบคนเชื้อสายญวนแต่อย่างใด สาเหตุ น่าจะเนื่องมาจากการเมืองระหว่างประเทศในช่วงหนึ่งที่ท�ำให้คนไทย มองว่าพรรคคอมมิวนิสต์นั้นอันตราย ประเทศสังคมนิยมโดยเฉพาะ 8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ปริญญาเอกเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๒ ซึ่งต่อมาหลังจากชุมชนตรอกใต้ถูกไฟไหม้ เรื่องกรรมสิทธิ์ บริเวณนี้กลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างวัดญวน สะพานขาวและ ส�ำนักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ ซึง่ ทางวัดอ้างอิงเรือ่ งการรับ พระราชทานทีด่ นิ ในรัศมีของแนวคลองหรือคูนำ�้ ล้อมรอบกับทีภ่ ายนอก ตรอกใต้อยู่บนคูน�้ำที่ตื้นเขินพอดี พื้นที่นี้กลายเป็นที่วัด ปลูกตึกแถว ให้เช่า ส่วนด้านหน้าติดถนนก็เป็นที่ดินและตึกแถวของส�ำนักงาน ทรัพย์สินฯ ไป แต่คนที่อยู่อาศัยบางคนยังสืบเนื่องมาจากตรอกใต้มีอยู่อีก จ�ำนวนไม่นอ้ ย ทัง้ ทีก่ ระจายอยูด่ า้ นหลังตึกแถวของวัดในสถานทีด่ งั้ เดิม และกระจายเข้าไปอยูท่ างแถบริมคลองล�ำปักด้านทีต่ ดิ กับทางออกไป ถนนหลานหลวง คลองแห่งนีเ้ คยเป็นคลองจริงๆ กว้างราวเรือกลับล�ำ ได้ น�้ำเคยใสว่ายเล่นอยู่ข้างวัดญวน ซึ่งมีการบุกรุกพื้นที่ต่อมาและ ให้เช่าบ้านพักภายในตรอกชุมชนวัดญวน-คลองล�ำปัก จนกลายเป็น ย่านชุมชนแออัดขนาดใหญ่ ผู้คนมีจากหลากหลายที่มาต่อจากตรอก ใต้ และชุมชนรอบวัดญวนนี้ยังคงมีอาชีพเป็นช่างปูกระเบื้องที่คน ทัว่ ไปรูจ้ กั ดีและมักจะมาหาช่างเหล่านีท้ วี่ ดั ญวน สะพานขาวอยูเ่ ช่นเดิม อาจารย์ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์กล่าวว่า ครั้งหนึ่งตรอกใต้ได้ ชื่อว่าเป็นสถานที่เสื่อมโทรมที่สุดของกรุงเทพฯ ในยุคนั้นทีเดียว จาก การบรรยายดูเหมือนจะพอมีพื้นที่ส�ำหรับนั่งกินโอเลี้ยงกาแฟอยู่บ้าง แต่ทว่าบริเวณตรอกวัดญวน-คลองล�ำปักเดี๋ยวนี้แม้แต่พื้นที่จะหายใจ ยังอึดอัด ทางเดินทอดยาวและแคบเสียจนแทบจะต้องเบี่ยงตัวหลบ หากเดินสวนทางกัน และบางแห่งก็มดื มิดเพราะหลังคาทีท่ บั ซ้อน และ ที่ต่างกันมากคือตรอกใต้ในสมัยนั้นยังไม่มียาเสพติด งานของอาจารย์อคิน (ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์) ที่น�ำมาเขียน ย่อๆ แบบหลายชีวิต ถึงชีวิตคนตรอกใต้กลุ่มหนึ่งที่เป็นตัวแทนของ ผู้คนในตรอกดั่งนวนิยาย ในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๑๑ หลังไฟไหม้ใหญ่เมือ่ พ.ศ. ๒๕๑๑ คุณพณิฎา สกุลธนโสภณ หรือพี่ ใหญ่ของชาววัดญวน ผู้เป็นไวยาวัจกรและมีหน้าที่ดูแลหลาย กิจกรรมสารพัดอย่างที่วัดญวน สะพานขาว ซึ่งเป็นคนตรอกใต้แต่ ก�ำเนิดเล่าให้ฟังว่าตนเองและครอบครัวย้ายออกมาจากตรอกใต้ พ่อ ไปทาง แม่ไปทาง แม่พี่ใหญ่เป็นคนนครสวรรค์ทมี่ เี ชือ้ จีนผสมญวน แต่ มาพบพ่อคนเมืองนนท์ที่ตรอกใต้ ยายกับแม่พี่ใหญ่มาโดยเรือค้าข้าว ที่น�ำข้าวเปลือกมาขายโรงสีในคลองผดุงฯ คนที่ตรอกใต้หลายคนมา ด้วยวิธีนี้ บ้างก็มาจากเรือผลไม้ พวกแตงโม มาที่ตลาดมหานาคเป็น พื้น ถ้าขึ้นบกได้ก็มักจะอยู่กันแถบวัดญวนนี้ แต่แฟนพี่ใหญ่เป็นคนจีน ไหหล�ำหน้าวัดญวน พอแต่งงานกัน พี่ใหญ่ก็ย้ายกลับมาอีก แต่คราว นี้อยู่ข้างวัดที่ปลูกเป็นบ้านหลังๆ ติดกับแนวคลองล�ำปักที่เป็นทางน�้ำ ไปออกคลองผดุงกรุงเกษม ช่วงทีอ่ าจารย์ ม.ร.ว.อคินเข้าไปศึกษา พี่ใหญ่คงอายุไม่มาก แต่พี่ใหญ่ยงั ระลึกถึง “ความเป็นคนตรอกใต้” เสมอ หลังจากตรอกใต้ ไฟไหม้ คนก็เข้าไปจับจองพืน้ ทีท่ นั ทีเหมือนกัน หลังจากนัน้ อีกราวเป็น

ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทด้านบน ส่วนโดยรอบบริเวณฐานทางขึ้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของคนในชุมชนวัดญวน สะพานขาว ทั้งที่เป็นคนเชื้อสายญวน จีน และไทย ซึ่ง คนเชื้อสายญวนเท่าที่ปรากฏวันเดือนปีเกิดและแหล่งที่มา ส่วนใหญ่เป็นคนที่อพยพ เข้ามาในยุคสงครามเย็นและโดยมากมาจากทางจังหวัดในภาคกลางของประเทศ เวียดนาม

เวียดนามนั้นอันตรายจนท�ำให้คนไทยเชื้อสายญวนดั้งเดิมไม่กล้าที่จะ แสดงตน และกลืนกลายเป็นคนไทยทั้งชื่อนามสกุล หากไม่มีเหตุอัน ใด เช่น การท�ำบุญให้บรรพบุรุษหรือวันตรุษปีใหม่ก็จะมารวมตัวกัน และแทบจะไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะมากนัก บริเวณวัดญวน สะพานขาวแต่เดิมมีพ้ืนที่มีคูน�้ำล้อมรอบ ชัดเจนและมีต้นไม้ร่มครึ้ม เนื่องจากมีอาณาบริเวณมาก ภายหลัง กล่าวกันว่าดูเป็นป่ารก คนเข้ามาจับจองกันมาก โดยเฉพาะพวกช่าง ต่างๆ หรือช่างปูกระเบื้องตั้งแต่สมัยมาสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๕๙ ทั้งคนงานจากต่างจังหวัดและคน เรือค้าขายตลอดจนคนจีนไหหล�ำทีเ่ ข้ามาต่อตู้ โต๊ะ และเฟอร์นเิ จอร์ไม้ ต่างๆ จึงเข้ามาบุกรุกพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณริมคลองคูรอบวัด สร้าง บ้านเรือนอยู่ต่อกันมาและรับจ้างท�ำงานก่อสร้างอาคารส�ำคัญๆ เช่น โรงหนังทางวังบูรพาเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และอยู่สืบเนื่อง มาจนกลายเป็นย่าน “ชุมชนตรอกใต้” นั่นเอง งานศึกษาชุมชนทางมานุษยวิทยาในบริเวณทีเ่ รียกว่า “ตรอก ใต้” ของอาจารย์ ม.ร.ว.อคิน รพีพฒ ั น์ เป็นการศึกษาชุมชนแออัดหรือ สลัมแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร เป็นวิทยานิพนธ์ทางมานุษยวิทยา

จดหมายข่าว

9

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


สิบปี จึงท�ำข้อตกลงกับส�ำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อจะระบุแนวเขตที่ดิน แต่ภายหลังเห็นว่าตกลงกันได้ บริเวณตรอกใต้จงึ ปลูกเป็นตึกแถวเป็น แนวไป ด้านหน้าที่เป็นตึกของส�ำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ให้คนที่ตรอกใต้ เซ้งก่อน แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเซ้งได้ ก็เลยมาปลูกบ้านอยู่หลังตึก ที่สร้างนั่นเอง แต่อยู่บนแนวล�ำคลองที่เคยเป็นคูน�้ำใหญ่ล้อมรอบวัด ต่อมาบางครอบครัวที่พอเซ้งได้หรือโชคดีที่มีคนทิ้งไว้ให้ก็ออกมาอยู่ ที่ตึก ทุกวันนี้ยังมีคนท�ำมังกรจุ่มสี หลังจากสมัยที่อาจารย์อคิน เข้ามาแล้วคงมีหลายบ้านท�ำเลียนแบบ ท�ำตุ๊กตายืดหด ป๋องแป๋งเด็ก เล่น ยังมีคนท�ำอยูบ่ างบ้าน ทุกวันนีช้ าวตรอกใต้กย็ งั อยู่ เพียงแต่ไม่ได้ มีสถานะเป็นชุมชนเหมือนพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ทางฝัง่ เหนือทีเ่ ป็นชุมชนวัดญวนคลองล�ำปักก็เป็นชุมชนขึ้นทะเบียนของกรุงเทพมหานครไปแล้ว แต่ก็ ไม่สามารถรับการช่วยเหลือจากทางรัฐท้องถิน่ เพราะเป็นชุมชนบุกรุก ช่วงแรกๆ ในสมัย พล.ต. จ�ำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่าราชการออกเลขที่ บ้านให้เด็กเพื่อเรียนหนังสือ ต่อมาจึงถูกน�ำมาใช้สถานะอื่นๆ กลาย เป็นชุมชนและบ้านทีซ่ อื้ ขาย เปลีย่ นมือได้ เพราะบริเวณนีท้ งั้ ใกล้และ สะดวกทุกอย่างในการเลี้ยงชีพและด�ำเนินชีวิต ปัญหาหนักของคนในชุมชนแออัดทุกวันนี้ ไม่พ้นยาเสพติด ทั้งดมกาวไปจนถึงยาบ้าและยาไอซ์ ได้ทหารมาปรามไปบ้างก็ค่อยๆ ลดลง พี่ใหญ่ตั้งกลุ่มตั้งชมรมแอโรบิก กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข

มีพี่ๆ น้องๆ ผู้หญิงทั้งนั้นมาช่วยกันท�ำงานอาสาบ้าง ท�ำงานเรื่องเด็ก และเยาวชนบ้าง พี่ใหญ่ช่วยหาทุนสงเคราะห์กันบ้างก็ยังมีอาการน่า เป็นห่วง เด็กๆ หลังจากที่ชุมชนไม่ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อสองสามปีที่แล้ว การดูแลช่วยเหลือก็ยิ่งท�ำได้ยากขึ้น ส่วนเด็กวัย รุ่นท้องก่อนวัยอันควรก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ เรื่องเช่นนี้สมัยที่อาจารย์ ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ศึกษาชุมชนที่ตรอกใต้ ก็เห็นว่าไม่ค่อยมีเรื่อง อะไรแบบนี้ ส่วนคนจีนไหหล�ำที่เคยปลูกบ้านอยู่ใกล้ๆ กับคนตรอกใต้ ที่ เรียกว่าพวกโรงตู้ คือมีอาชีพท�ำพวกเฟอร์นิเจอร์ ตู้ เตียงต่างๆ หลัง จากไฟไหม้ส่วนใหญ่ย้ายไปอยู่แถวๆ ซอยประชานฤมิตรที่เป็นถนน สายไม้ในปัจจุบัน แต่ก็ยังเหลือเจ๊หย่ง เจ๊วา อยู่ตึกปากตรอกใต้แต่ เดิม หรือซอยลูกหลวง ๖ ขายขนมจีนไหหล�ำทั้งหมูทั้งเนื้อ ซึ่งขายมา ตั้งแต่อยู่ที่หน้าวัด เมื่อไฟไหม้และไม่ได้มีอาชีพด้านช่าง จึงไม่ได้ย้าย ตามพรรคพวกไปแต่ย้ายมาขายขึ้นตึกมีฐานะจนถึงปัจจุบัน พี่ใหญ่บอกว่า คนเชื้อสายญวนเก่าก็ไม่มีแล้ว แต่ทางชุมชน วัดญวนยังได้รบั มรดกทางวัฒนธรรมเป็นอาหารประจ�ำถิน่ อยูส่ องอย่าง คือ “ปอเปี๊ยะทอด” กับ “มะเหง่” ที่ใช้เส้นเหมือนขนมจีนไหหล�ำ แต่ เส้นใหญ่กว่าและหนานุ่มกว่า ซึ่งเป็นเส้นข้าวเปียกตามแบบโบราณ ใช้น�้ำซุปปลาแล้วแกะเนื้อปลาทูหรือเนื้อปลาช่อน เป็นข้าวเปียกปลา ที่หารับประทานได้ยากแล้วในปัจจุบัน

พระนคร บันทึก

: จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์

มรดกทางวัฒนธรรมจากวัดญวน สะพานขาว เครื่องกระดาษกงเต๊ก “เล็กวัดญวน” “กงเต๊ก” เป็นพิธกี รรมน�ำเครือ่ งกระดาษจ�ำลองสิง่ ของเครือ่ ง ใช้ตา่ งๆ มาเผาเพือ่ อุทศิ ส่วนกุศลให้แก่ผทู้ ลี่ ว่ งลับไปแล้ว แสดงให้เห็นถึง ความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษให้ได้มีความเป็นอยู่ ที่สุขสบายตามคติความเชื่อในเรื่องของโลกหลังความตาย ค�ำว่า “กง” หมายถึงการกระท�ำที่ดีงามและเป็นประโยชน์ ส่วน “เต๊ก” หมายถึงบุญหรือกุศล ความเชื่อการประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวนี้เป็นความเชื่อที่พบทั้งในวัฒนธรรมญวนและจีน ทุกวันนี้วัดญวน สะพานขาว ยังมีการสืบทอดช่างฝีมือแต่ ครั้งโบราณที่เคยมีช่างชาวญวนท�ำเครื่องกงเต๊กหลวงในพระราชพิธี สืบทอดส่งต่อให้คนแถบวัดญวนจนกลายเป็นช่างท�ำกงเต๊กทีม่ ชี อื่ เสียง ในระดับประเทศทีร่ จู้ กั กันในนาม “บ้านกระดาษ เล็ก วัดญวน สะพาน ขาว” รับท�ำทั้งกงเต๊กหลวงให้ตั้งแต่พิธีกรรมของเจ้านาย ราชวงศ์ชั้น สูงจนถึงกงเต๊กทั่วไปหรือแบบชาวบ้านที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม

จดหมายข่าว

เดิมไว้อยู่ โดยการจ�ำลองเรื่องราว ที่อยู่อาศัย กิจการ สิ่งของอัน เป็นที่รักของผู้ล่วงลับ หรือจินตนาการอาคารบ้านเรือนที่ใหญ่โตเน้น ความสะดวกสบาย โดยเชื่อว่ากงเต๊ก เครื่องกระดาษที่อุทิศไปให้นั้น จะสามารถส่งถึงผู้ที่รับได้โดยตรง ถึงแม้ว่าช่างเล็กจะเสียชีวิตลงไปแล้วแต่วิชาการท�ำกงเต๊ก หรือเครื่องกระดาษยังมีการสืบทอดรับช่วงงานฝีมือโดยภรรยาและ ลูกๆ ของช่างเล็ก ที่มีการรับช่วงและฝึกฝนกันเป็นอย่างดี คุณถนอมนวล องค์ศิริกุล ภรรยาช่างเล็กเล่าว่า ตนเป็นคน เชื้อสายจีนที่เติบโตในพื้นที่พลับพลาไชย ส่วนคุณเล็กมีพื้นเพเป็นคน จากจังหวัดอยุธยา แม้ทั้งคู่จะไม่ได้มีเชื้อสายญวนแต่อย่างใด แต่ได้ เข้ามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อบ๋าวเอิงที่วัดญวนแห่งนี้ ได้ร�่ำเรียน วิชาการท�ำกงเต๊ก เครือ่ งกระดาษนีเ้ รือ่ ยมาจากการเป็นลูกมือและลูก ศิษย์ช่างชาวญวนรุ่นเก่าๆ เทคนิคส�ำคัญของการท�ำกงเต๊กแบบช่างญวนคือการใช้ 10

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


คุณถนอมนวล องค์ศิริกุล

“ไม้ระก�ำ” ที่ต้องสั่งมาจากจังหวัดจันทบุรี เนื่องจากไม้ระก�ำนั้นเป็น ไม้ที่เหนียวแต่อุ้มน�้ำได้ดีในอุณหภูมิที่มีความชื้น ท�ำให้ดัดเป็นรูปร่าง ต่างๆ ได้ดีกว่าไม้ไผ่ที่นิยมใช้ในงานกงเต๊กแบบจีน และยังเป็นเชื้อ เพลิงที่ดี เผาไหม้เร็ว และมอดดับเร็ว ซึ่งจะเป็นข้อแตกต่างกับการ ใช้ไม้ไผ่ที่มีเนื้อเหนียวติดไฟยากกว่า มาถึงรุ่นลูกมีการเพิ่มเทคนิคการท�ำต่างๆ ขึ้นมา เช่น การ เพิ่มรายละเอียดขนาดเล็กๆ อย่างเสมือนจริงที่สุดโดยการใช้ดินญี่ปุ่น ปั้นตามแบบ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของงานกงเต๊กช่างเล็กที เดียว งานทีร่ บั ท�ำมีทงั้ ราคาสูงและย่อมเยาขึน้ อยูก่ บั ขนาดและวัสดุ ในการท�ำ หากเป็นไม้ไผ่จะมีราคาที่ถูกกว่าไม้ระก�ำ และมักจะไม่รับ งานซ้อนงาน เพราะใช้เวลานานเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น เนื่องจาก เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ถึง แม้ว่าจะมีช่างฝีมืออยู่ภายในครอบครัวจ�ำนวนหลายคนก็ตาม กรณีงานหลวงหรืองานของเจ้านายเริ่มมีการบันทึกตั้งแต่ ครั้งรัชกาลที่ ๔ ในงานพระราชพิธีพระบรมศพของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน โดยเจ้าภาษีนายอากร ชาวจีนเป็นเจ้าภาพและให้ใช้ช่างพระญวนเป็นผู้ท�ำเครื่องกงเต๊กและ ประกอบพิธี ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งคณะสงฆ์จีนนิกายและอนัมนิกาย จึงมีการแยกจัดการพิธีถวายทีละคณะสงฆ์ ทุกวันนีค้ รอบครัวช่างเล็กรับงานหลวงผ่านทางวัด โดยคณะ พระสงฆ์ญวนอนัมนิกาย หน้าที่ของช่างคือท�ำกงเต๊ก เครื่องกระดาษ โดยที่มีแบบจากการจ�ำลองพระราชวังหรือต�ำหนัก ที่ประทับของ พระองค์ตา่ งๆ งานใหญ่ในลักษณะนี้ใช้เวลานานและใช้ความละเอียด สูงและมีขนาดใหญ่ ขั้นตอนการท�ำเริ่มท�ำกันเป็นชิ้นภายในบ้านก่อน หลังจากนัน้ จึงน�ำไปประกอบยังพืน้ ทีจ่ ริงก่อนจะมีพธิ กี ารสวดโดยคณะ สงฆ์ ส่ ว นงานทั่ วไปนั้ น ลู ก ค้ า มี ทั้ ง ที่ เ ป็ น ญวนและจี น ทั้ ง ใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างจังหวัดส่วนใหญ่นั้นอยู่ทางแถบ จังหวัดนครพนม สกลนครเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีชาวญวนอาศัยอยู่

จดหมายข่าว

11

เป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งทางคุณถนอมนวลและลูกๆ ต้องเดินทางไปส่งเอง ถึงที่ เนือ่ งจากมีกรรมวิธกี ารยกหรือการประกอบทีซ่ บั ซ้อน เจ้าภาพไม่ สามารถท�ำเองได้และพิธกี รรมต่างๆ ซึง่ มีรายละเอียดไปจนถึงควบคุม การเผาส่งจนเรียบร้อย เป็นการจบภารกิจของช่างท�ำกงเต๊ก ปัจจุบนั การท�ำกงเต๊กยังเป็นอาชีพหลักของครอบครัวช่างเล็ก ที่เหลือแต่ภรรยาและลูกๆ สมาชิกของครอบครัวสิบกว่าคนต่างก็ช่วย กันท�ำกงเต๊กและเครือ่ งกระดาษ เป็นการสืบทอดงานฝีมอื ทีต่ กทอดมา จากช่างญวนเก่าทีว่ ดั ญวน สะพานขาวให้คงอยูส่ บื ไปและเพิม่ เติมโดย การคงลักษณะอันโดดเด่นของช่างฝีมอื วัดญวนในการเก็บรายละเอียด เรื่องราวทุกอย่างในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างเสมือนจริง นอกจากนัน้ ครอบครัวของช่างเล็ก แม้จะย้ายออกไปอยูน่ อก ชุมชนวัดญวน สะพานขาว เพราะพื้นที่การท�ำงานไม่สามารถท�ำได้ ในชุมชนอีกต่อไปแล้ว แต่ครอบครัวของคุณถนอมนวล องค์ศิริกุลก็ ยังช่วยเหลืองานกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนอย่างเข้มแข็งและสม�่ำเสมอ เพราะถือว่า “ที่นี่คือบ้านของเรา” สมาชิกในครอบครัวทุกคนยังมี ส�ำนึกความเป็นคนในชุมชนวัดญวน สะพานขาวอย่างแน่นแฟ้น

บรรยากาศการเผากงเต๊กฝีมือทายาทของช่างเล็ก วัดญวน สะพานขาว

“มะเหง่” อาหารท้องถิ่นย่านวัดญวน สะพานขาว กรุงเทพฯ ถือเป็นสังคม “พหุลักษณ์” ที่มีผู้คนหลากหลาย กลุ่มชาติพันธุ์ หลายศาสนาอาศัยอยู่ ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนกระจายไป ในพื้นที่ต่างๆ จึงพบความหลากหลายทางประเพณี วัฒนธรรม และ วิถีชีวิต ชาวญวนถือเป็นหนึง่ กลุม่ ชาติพนั ธุท์ ถี่ กู อพยพโยกย้ายถิน่ ฐาน เข้ามาอยูภ่ ายในกรุงเทพฯ ตัง้ แต่ตน้ กรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ครั้งเกิดเหตุการณ์กบฏไตเซินและมาเพิ่มเติมในการสงครามสมัย รัชกาลที่ ๓ แบ่งออกเป็นสองกลุม่ ใหญ่ๆ คือ กลุม่ ทีน่ บั ถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนสามเสน และอีกกลุ่มคือ กลุ่มชาวญวนที่นับถือพุทธศาสนาอาศัยอยู่ในบริเวณวัดญวน สะพาน ขาว ริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งนอก ทุกวันนี้แม้จะไม่พบว่ามีกลุ่มคนเชื้อสายญวนหลงเหลือตั้ง ถิน่ ฐานบ้านช่องอยูท่ วี่ ดั ญวน สะพานขาวอีกแล้วแต่อย่างใด แต่มรดก

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ทางวัฒนธรรมด้านอาหารชนิดหนึง่ ยังคงพบเห็นและสืบทอดการท�ำอยู่ ท�ำได้รสชาติอร่อยและถือเป็นอาหารประจ�ำย่านวัดญวน สะพานขาว ชั้นเยี่ยมได้ทีเดียว ชาวบ้านที่วัดญวนแห่งนี้เรียกชื่อกันว่า “มะเหง่” สมัยก่อน เป็นอาหารที่มีรับประทานกันในชุมชน โดยมีคนญวนใส่หาบขายกัน ตามบ้านและเป็นอาหารที่ทำ� รับประทานกันเองภายในครอบครัวตาม วาระ มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวไหหล�ำ แต่เส้นท�ำมาจากแป้งขนมจีน เพียงแต่มขี นาดอวบใหญ่กว่ามาก สามารถรับประทานได้ทงั้ แบบแห้ง และน�้ำ ส่วนน�้ำซุปท�ำจากน�้ำต้มกระดูกหมูที่ต้มนานได้รสชาติดีและ คอยดูแลให้น�้ำใส ใส่เนื้อสัตว์สองแบบคือหมูและปลา สูตรดั้งเดิมนั้น ใช้ปลาทู แต่เนื่องจากปลาทูมีกลิ่นคาวจึงได้ปรับมาเป็นปลาช่อน ความพิเศษของมะเหง่ทฟี่ งั ดูแล้วไม่คนุ้ เคยพอๆ กับชือ่ นัน่ คือ “น�ำ้ จิม้ มะม่วง” ที่ใช้ราดลงไปในมะเหง่แบบแห้งเพือ่ เพิม่ รสชาติ แถม ยังได้รับการยืนยันจากคนในท้องถิ่นว่า “มะเหง่อร่อยได้เพราะน�้ำจิ้ม หากไม่ใส่จะถือว่าไม่เป็นมะเหง่” น�ำ้ จิม้ มะม่วงดังกล่าวมีสว่ นผสมจาก น�้ำตาลปี๊บ น�้ำมะนาว กระเทียม พริกเหลืองหรือขี้หนูสวนและมะม่วง ดิบซอยทีม่ รี สเปรีย้ ว รสชาติคล้ายกับย�ำมะม่วงหรือกินมะม่วงน�ำ้ ปลา หวาน เมื่อราดน�้ำจิ้มลงบนมะเหง่แห้งแล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว ต้นหอม ผักชี คลุกให้เข้ากันแล้วรับประทานอร่อยหอมหวานอมเปรีย้ ว ทุกวันนี้อาหารประจ�ำถิ่นวัดญวน สะพานขาว มะเหง่ได้รับ การฟื้นฟูให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง คุณพณิฎา สกุลธนโสภณ หรือ ป้าใหญ่ วัย ๖๓ ปี เกิดและอยูท่ ตี่ รอกใต้มานาน มีเชือ้ จีนผสมญวนทาง นครสวรรค์ ย้ายออกมาจากตรอกใต้หลังไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ภายหลังมาแต่งงานกับสามีเป็นคนเชื้อจีนไหหล�ำซึ่งอาศัยเช่า ทีด่ นิ วัดสมณานัมบริหาร หรือรูจ้ กั กันในนามวัดญวนสะพานขาว อาศัย อยูบ่ ริเวณด้านหน้าวัดและเป็นโยมอุปฏั ฐากวัด ดูแลกิจกรรมภายในวัด และศาลเจ้าพ่อกวนอูต่อจากแม่ของสามีที่เคยท�ำหน้าที่นี้อยู่ ป้ า ใหญ่ เ กรงว่ า สิ่ ง เหล่านี้ที่เป็น มรดกตกทอดทาง วัฒนธรรมของชุมชนจะเลือน หายไปกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จึ ง ตั ด สิ น ใจเปิ ด การขาย มะเหง่ขนึ้ มาพร้อมทัง้ แนะน�ำ วิ ธี ก ารท� ำ ให้ กั บ ทายาท และผู้สนใจได้เรียนรู้ โดย ถื อ ว่ า การเผยแพร่ แ ละ ประชาสั ม พั น ธ์ คื อ วิ ธี ก าร อนุรกั ษ์อย่างหนึง่

“มะเหง่” ของดีของชาวชุมชนวัดญวน สะพานขาว

ที่จะสามารถท�ำได้ด้วยตนเอง เมื่อไม่นานมานี้มีชาวเวียดนามได้บังเอิญผ่านเข้ามาเจอป้า ใหญ่ก�ำลังลงมือปรุงมะเหง่อยู่บริเวณร้านอาหารของป้าใหญ่ที่ตั้งอยู่ บริเวณหน้าวัดญวน สะพานขาว จนมีความสนใจและได้พูดคุย แลก เปลีย่ น บอกเล่าเรือ่ งราวทางวัฒนธรรมกันได้ความว่า ในทางเวียดนาม ตอนเหนือแถบฮานอยมีอาหารทีม่ ลี กั ษณะคล้ายมะเหง่ โดยมีชอื่ ภาษา ถิ่นว่า “บุ๋นจ่าก้า” [Bun, Cha, Ca] ถือเป็นความรู้ใหม่ให้กับชาวชุมชน เพราะไม่เคยทราบสิง่ เหล่านีม้ าก่อน รูเ้ พียงแค่วา่ นีค่ อื อาหารทีส่ บื ทอด กันมายาวนานของผู้คนในชุมชนเพียงเท่านั้น ในปัจจุบันถึงแม้ว่าผู้คนที่มีเชื้อสายญวนนั้นแทบจะหายไป จากชุมชนทัง้ หมดแล้ว แต่ “มะเหง่” ยังเป็นร่องรอยวัฒนธรรมทีย่ นื ยัน และสามารถบอกเล่าเรื่องราวในชุดความรู้ของประวัติศาสตร์สังคม ของชาวญวนทีค่ รัง้ หนึง่ เคยมีกลุม่ คนชาวเวียดนามเก่าแก่ตงั้ แต่ยคุ ต้น กรุงฯ กลุ่มหนึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่แห่งนี้ และส�ำหรับท่านที่สนใจต้องการลองรับประทาน “มะเหง่” ของดีของชุมชนวัดญวน สะพานขาว สามารถแวะไปได้ที่ “ร้านมะเหง่ ป้าใหญ่วดั ญวน สะพานขาว” บริเวณหน้าลานจอดรถวัดสมณานัมบริหาร หรือวัดญวน สะพานขาว ในวันอังคาร วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา ๑๑.๐๐-๑๖.๐๐ น. หรือโทร. ๐๖๒-๕๑๗-๔๗๖๕

แผนที่ร้านมะเหง่ของป้าใหญ่ บริเวณหน้าวัดญวน สะพานขาว

าว 12หรือป้าใหญ่ มูลนิธิเล็ก-ประไพ คุณจดหมายข่ พณิฎา สกุลธนโสภณ

วิริยะพันธุ์


บันทึก จากท้องถิ่น

กิตติคุณ โพธิ์ศรี พชรพงษ์ พุฒซ้อน นิสิตฝึกงานภาควิชาประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

น�้ ำ -ข้าว-วิถีชีวิต

และการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านทะเลน้อย เมืองแกลง

ชุมชนบ้านทะเลน้อยเป็นชุมชนขนาดเล็กตั้งอยู่ในต�ำบลทาง เกวียน อ�ำเภอเเกลง จังหวัดระยอง มีความหลากหลายของทรัพยากร เพราะมีบริเวณติดล�ำน�้ำประแสที่อยู่ ในบริเวณน�้ำกร่อยเพราะใกล้ ปากน�้ำ ห่างจากชายฝั่งทะเลไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มี พื้นที่ท�ำการเกษตรเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะการท�ำนา ส่วนการ ท�ำประมงในแม่น�้ำประแสท�ำในช่วงว่างจากการท�ำนา และมีบางคน ที่มีความสามารถก็ออกหาจับสัตว์น�้ำชายฝั่งด้วยเรือประมงขนาดเล็ก พื้นที่ของชุมชนบ้านทะเลน้อยตั้งอยู่ตอนปลายของแม่น�้ำ ประแส มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกยาวจนถึงทิศใต้ติดกับแม่น�้ำ

จดหมายข่าว

13

ประแส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอ�ำเภอแกลง ห่างจากตัวอ�ำเภอ แกลงประมาณ ๗ กิโลเมตร พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นทีร่ าบลุม่ แวดล้อมด้วย น�้ำกร่อย มีพื้นที่ทั้งหมด ๙,๓๔๖ ไร่ ความพิเศษเฉพาะของหมู่บ้านทะเลน้อยได้สั่งสมภูมิปัญญา ของการหาอยู่หากินในภูมิประเทศเช่นนี้ที่ต้องเป็นทั้งชาวนาและชาว ประมงในเวลาเดียวกัน ท�ำให้สภาพความเป็นอยูไ่ ม่อดอยากแต่อย่างใด “ลุงบุญมี จ�ำเนียร” อายุ ๗๑ ปี คนในชุมชนทะเลน้อยเล่าว่า “สมัยก่อนหมู่บ้านนี้ ไม่มี ใครที่ท�ำนาเป็นแต่หาปลาไม่เป็น ชายหญิงทุกคนต้องหาปลาเป็นหมด”

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เริ่มแรก การปลูกข้าวที่บ้านทะเลน้อยต้องพึ่งพาน�้ำฝนแต่ เพียงอย่างเดียว จึงใช้วิธีปลูกปักกล้าด�ำนาและเลือกพันธุ์ข้าวที่ทนต่อ พื้นที่ดินเค็มและน�้ำกร่อยเข้าท่วมในช่วงน�ำ้ ทะเลหนุน ซึ่งน�ำ้ ท่วมเป็น บริเวณกว้างในช่วงน�้ำทะเลหนุนดังกล่าวเป็นที่มาของชื่อบ้าน “ทะเล น้อย” พันธุข์ า้ วพืน้ บ้านของคนในชุมชนมีหลากหลายพันธุ์ แต่พนั ธุ์ ที่นิยมใช้เพาะปลูกมากที่สุดคือ “พันธุ์ขาวมะแขก” เพราะเป็นพันธุ์ที่ ทนต่อน�้ำเค็ม ให้ผลผลิตเร็วก่อนฤดูน�้ำทะเลหนุนสูง และการเลือก พันธุ์ข้าวต้องเลือกตามพื้นที่ในการปลูกข้าวว่าติดหรือห่างจากแม่น�้ำ ประแสแค่ไหน เพราะข้าวแต่ละพันธุ์มีความทนน�้ำเค็มต่างกัน ฉะนั้น คนในบ้านทะเลน้อยต้องรู้และเข้าใจในฤดูกาลที่ส่งผลให้ระดับน�ำ้ ขึ้น ลงในแม่น�้ำประแสด้วย การขึ้นลงของน�้ำทะเลเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คนใน ชุมชนใกล้ชายฝั่งทะเลเข้าใจเป็นอย่างดี คนที่บ้านทะเลน้อยเรียกช่วง เวลาน�้ำขึ้นและน�้ำลงว่า “หัวน�้ำ หางน�้ำ” ตามล�ำดับ โดยแบ่งลักษณะ การหากินตามช่วงเวลาเรียกว่า “น�้ำเป็น น�้ำตาย” โดยความแตกต่าง ของน�ำ้ เป็นน�ำ้ ตายคือ น�ำ้ เป็น เป็นช่วงทีเ่ วลาน�ำ้ ขึน้ น�ำ้ ลงเป็นระยะเวลา สม�ำ่ เสมอ มีการไหลทีต่ อ่ เนือ่ งในช่วงขึน้ ลงของน�ำ้ แต่ น�ำ้ ตาย จะเป็น ช่วงระยะเวลาที่น�้ำนิ่งไหลช้า น�้ำขึ้นลงไม่เป็นเวลา ซึ่งการไหลขึ้นลง เป็นช่วงเวลา เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามข้างขึ้นข้างแรมและฤดูกาลแต่ละ ช่วงเวลา ส่งผลให้การจับสัตว์นำ�้ ในแต่ละวันและช่วงระยะเวลาต่างกัน ใช้อุปกรณ์ต่างกัน โดย น�้ำเป็น จะเป็นช่วงที่เหมาะแก่การจับสัตว์น�้ำ ที่สุดเพราะมีลักษณะเป็นน�้ำไหล

การประมงสัตว์น�้ำของชาวบ้านในแม่น�้ำประแส

จุดเปลี่ยนวิถีชีวิตคนหมู่บ้านทะเลน้อยเริ่มจากการเข้ามาตั้ง โรงสีข้าวที่บริเวณท่าน�้ำทางใต้ของหมู่บ้าน หรือที่เรียกติดปากของ คนในชุมชนว่า “โรงสีเจ๊กจุน่ ” เป็นโรงสีชาวจีน สันนิษฐานตามค�ำบอก เล่าว่าเข้ามาก่อตั้งโรงสีในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นต้นมา โดยรับซื้อ ข้าวจากคนในชุมชนไปขายที่ปากน�้ำประเเส แล้วรับเอาสินค้าอุปโภค บริโภคทีจ่ ำ� เป็นมาขายในชุมชน เช่น น�ำ้ มันตะเกียง ขนม ไม้ขดี ฯลฯ ซึง่ ตามค�ำบอกเล่าของคนในชุมชนว่า “หากท�ำนา ๔๐ ไร่ เก็บไว้กนิ ๑ ปี ๑๐ ไร่ อีก ๓๐ ไร่ทเี่ หลือเอาไปขายให้โรงสีเจ๊กจุน่ ” ถือว่าเป็นการผลิตเพือ่

จดหมายข่าว

ขายทวีมาก ขึ้ น เมื่ อ มี โ รงสี ในช่วงเวลานั้น จากการผลิ ต กึ่งยังชีพกึ่งขายกลายเป็น การท� ำ การเกษตรเพื่ อ ขาย ทั้ ง หมดเริ่ ม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เกษตรต�ำบลได้นำ� พันธุข์ า้ วทีร่ ฐั ส่งเสริม ให้ชาวนาปลูกคือ ข้าวพันธ์ุ กข ที่ ให้ ลุงบุญมี จ�ำเนียร คนหมู่บ้านทะเลน้อย ผลผลิตที่ดีกว่า และมีความทนทานน�้ำ ที่ ให้ค�ำแนะน�ำในเรื่องวิถีชีวิตของคน ในชุมชนทะเลน้อย เค็มเทียบเท่าข้าวขาวมะแขกที่เป็นข้าว พันธุ์ท้องถิ่น อีกทั้งยังขายได้ราคาดีกว่า คนในชุมชนทะเลน้อยจึงหันไปปลูกข้าวพันธุ์ กข กันหมดหมู่บ้านในปี ถัดไป แต่การปลูกข้าวพันธุ์ กข จ�ำเป็นต้องพึ่งการใช้สารเคมีในการ ปลูก และมีศัตรูพืชที่เข้ามาแพร่พันธุ์ชนิดใหม่คือ หอยเชอร์รี่ ท�ำให้ ต้องใช้สารเคมีฆา่ ศัตรูพชื เปรียบเทียบกับการปลูกข้าวสมัยก่อน คนใน ชุมชนใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าว ศัตรูพืชมีเพียงปูด�ำกับหอยโข่ง ที่ ไม่มีผลกระทบมากนัก ท�ำให้เมื่อปลูกข้าวพันธุ์ กข เริ่มมีผลกระทบ ตามแหล่งน�้ำและพื้นที่ป่าโกงกาง ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ เป็นต้นมา เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงวิถี ชีวิตครั้งส�ำคัญของคนในชุมชนบ้านทะเลน้อยหลายด้าน เพราะราว พ.ศ. ๒๕๓๐ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เข้ามากว้านซื้อที่ดินของคนใน ชุมชน เพือ่ ท�ำบ่อกุง้ ขนาดใหญ่ มีคนในหมูบ่ า้ นเองปรับตัวเป็นนายหน้า ขอซือ้ ทีด่ นิ จากคนในชุมชน คนในชุมชนบ้านทะเลน้อยส่วนมากตัดสิน ใจขายที่ของตนเพราะต้องการน�ำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว และทาง บริษั ทก็ให้ราคาดี มักช่วยขนน�้ำจืดไปให้ชาวบ้านทุกวันเพื่อเป็นการ ซื้อใจ ชาวบ้านไม่ต่อต้านและเต็มใจที่จะขายที่ดินให้ และในเวลานั้น ยังมีอีกหลายบริษัทที่เข้ามากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านเช่นกัน จนชาวบ้านขายที่ดินไปทั้งหมดราวๆ ๑,๘๐๐ ไร่ ภายใน ระยะเวลา ๒ ปี มีการซื้อที่ดิน ไถหน้าดิน ขุดบ่อ ใช้เครื่องจักรและ คนงานกว่า ๕๐๐ คน ที่บริษัทน�ำเข้ามา ภาพเดิมของบ้านทะเลน้อย เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่เวลานั้น เช่น สภาพแวดล้อม จากทุง่ นากลายเป็นบ่อเลีย้ งกุง้ แทน ทีน่ าจาก เดิมทั้งหมด ๙,๓๔๖ ไร่ ภายในระยะเวลาอันสั้นกลายเป็นบ่อกุ้ง ซึ่งมี พื้นที่เกินครึ่งของพื้นที่นาเดิมทั้งหมดในหมู่บ้าน สภาพป่าไม้ของชุมชนหายไปมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ รถก่อสร้างเข้ามาในพื้นที่ได้กวาดไถพื้นที่ป่าเพื่อเตรียมสร้างบ่อกุ้ง 14

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


การขุดบ่อขนาดใหญ่กั้นทางน�้ำหรือมือคลองหรือคลองย่อย จากล�ำน�้ำใหญ่ที่มีมาตั้งแต่อดีตสูญหายไป ท�ำให้ภาพวิถีชีวิตเดิมของ คนในชุมชนที่พึ่งพามือคลองเป็นท่าจอดเรือหรือแหล่งหาสัตว์น�้ำหาย ไปด้วย สภาพวิถีชีวิตของคนบ้านทะเลน้อยเปลี่ยนแปลงจากมีที่นา ปลูกข้าวไว้กินและขาย แต่หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา เงินที่ ได้มาบางคนก็ได้น�ำเงินไปปรับปรุงพื้นที่ท�ำกิน บางคนก็หนีหายออก จากหมู่บ้าน หรือไปซื้อที่ดินในหมู่บ้านอื่นเพื่อท�ำสวนยางพารา บ้างก็ ออกไปรับจ้างทั่วไป การท�ำธุรกิจกุ้งของบริษั ทเอกชนเริ่มส่งออกซื้อขายกุ้งได้ ก�ำไรมาก ซึ่งคนในบ้านทะเลน้อยให้ความสนใจพากันลงทุนเพื่อที่จะ ท�ำตามในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมา ช่วงแรกๆ ขายได้ก�ำไรดีมาก มี พ่อค้าคนกลางมาซือ้ กุง้ ถึงบ้าน เหมาทัง้ บ่อ และขายเป็นกิโลกรัม ส่วน พันธุก์ งุ้ ก็มพี อ่ ค้ามาเร่ขายตามหมูบ่ า้ น รายได้ในการขายกุง้ ดีกว่าการ ท�ำนามาก ต่อมาในระยะหลังเกิดปัญหากุง้ ทีเ่ ลีย้ งนัน้ เกิดโรค เพราะบ่อ ทีเ่ ลีย้ งกุง้ หลายครัง้ เริม่ มีสารเคมีตกค้าง น�ำ้ ทีส่ บู เข้ามาในบ่อปนเปือ้ น จากน�ำ้ เสียทีถ่ า่ ยออกมาจากบ่ออืน่ ๆ ด้วย คูและคันคลองทีบ่ ริเวณเลีย้ ง บ่อกุ้งเริ่มมีน�้ำเสีย รวมไปถึงกุ้งเกิดโรคระบาดจนบริษัทและชาวบ้าน เริ่มขาดทุน การปล่อยลูกกุ้งใหม่ในบ่อเดิมแต่ละครั้งจึงเป็นการสุ่ม เสี่ยงว่ากุ้งจะติดโรคระบาดหรือไม่ โรคที่ติดเชื้อท�ำให้ผลผลิตกุ้งเสีย หายอย่างรุนแรง บริษัทจึงไม่สามารถเลี้ยงกุ้งขายได้ ถึงแม้จะมีการ ว่าจ้างนักวิชาการมาตรวจสภาพบ่อควบคุมคุณภาพน�้ำและดิน แต่ก็ แก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ท้ายที่สุดบริษั ทจึงตัดสินใจยุติการ ท�ำบ่อกุ้งในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ บ่อกุ้งถูกทิ้งร้างไว้อยู่นาน จนประมาณปี

พ.ศ. ๒๕๔๐ บริษัทจึงได้ให้คนในหมู่บ้านเช่าบ่อเลี้ยงกุ้ง ราคาค่าเช่า บ่อละ ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี ในช่วงนีเ้ ป็นต้นมาผูค้ นจึงได้เริม่ กลับมาเลีย้ งกุง้ อีกครัง้ มีการ เลี้ยงแบบยังชีพ แรกๆ ชาวบ้านได้ผลส�ำเร็จจากการขายกุ้ง เนื่องจาก ได้เปลี่ยนพันธุ์กุ้งจากกุ้งกุลาด�ำมาเป็นกุ้งขาว เพราะเลี้ยงง่าย เจริญ เติบโตรวดเร็ว หลายคนหันมาเลี้ยงกุ้งขาวกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังชาวบ้านเริ่มมีปัญหาการเลี้ยงกุ้ง เหมือนเดิม คือปัญหากุง้ ติดโรคไม่สามารถน�ำออกไปขายได้เท่าทีค่ วร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็ยงั เลีย้ งกุง้ เป็นอาชีพหลักต่อไป แม้บางคน จะขาดทุนในการเลีย้ งกุง้ ติดต่อกันหลายครัง้ เพราะต้นทุนในการลงทุน สูง ทั้งค่าไฟ ค่าเครื่องมือ ค่าเปลี่ยนน�้ำ ค่าอาหาร เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีบริษัทเข้ามาใหม่เพื่อท�ำบ่อกุ้ง โดยเข้า มาซือ้ พืน้ ทีบ่ อ่ กุง้ เดิมของบริษัทเก่า ก็ยงั ไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าทีค่ วร เพราะการเลี้ยงกุ้งยังประสบปัญหาเช่นเดิมคือกุ้งที่เลี้ยงเกิดโรค การ ส่งออกเมื่อเทียบก�ำไรกับต้นทุนแล้วอยู่ในปริมาณที่คงตัว ปัจจุบันแม้ว่าการเลี้ยงกุ้งจะประสบปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ต้นทุนสูง กุง้ เกิดปัญหาติดเชือ้ โรค แต่คนในชุมชนส่วนใหญ่รวมถึง คนภายนอกที่เข้ามาอยู่ใหม่ก็ยังท�ำการเลี้ยงกุ้งเป็นอาชีพหลัก เพราะ วิถีชีวิตถูกเปลี่ยนไปแล้วไม่สามารถกลับไปเป็นอย่างเดิมได้ ในปัจจุบนั สภาพพืน้ ทีข่ องหมูบ่ า้ นทะเลน้อยซึง่ เหลือพืน้ ทีเ่ พือ่ ท�ำการเกษตรน้อยมาก และสภาพนิเวศตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่ซึ่งไม่เหมือนเดิมแล้ว

ข่าวและความเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ความก้าวหน้าพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม บ้านทะเลน้อย วัดราชบัลลังก์ฯ เป็นวัดทีม่ คี วามเก่าแก่อยูค่ กู่ บั ชุมชนบ้านทะเลน้อย พร้อมทัง้ ยังมีความเชือ่ ในเรือ่ งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยูอ่ ย่างแน่นหนา กล่าวคือ ชาวบ้านเชือ่ ว่าบ้านทะเลน้อยเคยเป็นพืน้ ทีต่ งั้ ฐานทัพในเส้นทางการกูช้ าติของสมเด็จพระเจ้าตากสิน จากต�ำนานการ บอกเล่าสืบกันมาของผูค้ นในหมูบ่ า้ นและหลักฐานทีพ่ บคือแท่นรองพระบาท ทีเ่ ชือ่ กันว่าเป็นของทีอ่ ยูค่ กู่ บั บัลลังก์ของพระเจ้าตากฯ ซึง่ ปัจจุบนั แท่นรองพระบาทดังกล่าวถูกจัดแสดงไว้ทพี่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีลวดลายแบบจีนผสมอยูท่ กุ ส่วน ลงรักปิดทองด้วยฝีมอื ช่างชัน้ สูง โดยพื้นฐานแล้วบ้านทะเลน้อย เป็นชุมชนที่มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมและดูงานอยู่ตลอดอย่างไม่ขาดสาย ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยว เรื่องการดูงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ และการมาสักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดราชบัลลังก์ฯ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ร่วมประชุมกับชาวบ้านทะเลน้อย ต�ำบลทางเกวียน อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นที่วัดราชบัลลังก์ฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ส�ำหรับผู้ที่สนใจในงานด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิถีชีวิต ของผู้คนในท้องถิ่น และเป็นพื้นที่ส�ำหรับคนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดราชบัลลังก์ บ้านทะเลน้อย” เพราะชาวบ้านต้องการให้ชอื่ ของพิพธิ ภัณฑ์นนั้ ประกอบไปด้วยวัด ผูค้ น และความเชือ่ ในเรือ่ งของสมเด็จพระเจ้าตากสินทีช่ าว

จดหมายข่าว

15

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


สัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องที่ และน�ำข้อมูลดังกล่าวนั้นมาเผยแพร่ประกอบ กับการจัดแสดงวัตถุ ให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนี้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ รากเหง้าทางวัฒนธรรมและเป็นพื้นที่ของคนในชุมชนอย่างแท้จริง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดส�ำโรง

วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวรารามหรือวัดบ้านทะเลน้อย อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง

บ้านทะเลน้อยและผู้คนโดยรอบให้ความศรัทธา ภายในวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานคือ พระอุโบสถ หลังเก่าซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์หวาย เจดีย์ท่ีสันนิษฐานว่า มีอายุร่วมในสมัยอยุธยาตอนปลาย และใบเสมาหิน นอกจากนั้นยังมี วัตถุทเี่ ป็นข้าวของเครือ่ งใช้ของชาวบ้านในอดีต จ�ำพวกเครือ่ งถ้วยลาย จีน เครือ่ งลายคราม เครือ่ งทองเหลือง รวมไปถึงต�ำรายาโบราณ สมุด ไทยและคัมภีรใ์ บลาน เป็นต้น สามารถเป็นหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ บอกเล่าถึงความส�ำคัญ วิถชี วี ติ ประเพณี วัฒนธรรมของวัดและชุมชน บ้านทะเลน้อย รวมไปถึงเป็นหลักฐานในการเชือ่ มโยงความส�ำคัญกับ พื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียง กระบวนการท�ำงาน ทางมูลนิธิฯ ได้จัดทีมงานเจ้าหน้าที่ มูลนิธิฯ พร้อมด้วยนิสิตฝึกงานรวมจ�ำนวน ๕ คน ใช้เวลาในการ ท�ำความสะอาด ท�ำทะเบียน และบันทึกภาพวัตถุ โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ ๒-๓ เดือน คือช่วงปลายเดือนมกราคมจนถึงปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งได้รับความร่วมมือทั้งจากชาวบ้านและพระ สงฆ์ที่ให้การต้อนรับ ช่วยเหลือในการท�ำงาน การบันทึกข้อมูลทะเบียน วัตถุดังที่กล่าวมา โดยใช้โปรแกรม “ทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์” ที่ทาง มูลนิธิฯ จัดท�ำขึ้นมา เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน ในขณะนี้ทางมูลนิธิฯ ก�ำลังท�ำการศึกษาหาข้อมูล เพื่อ วิเคราะห์ตามหลักการทางวิชาการ โดยการออกส�ำรวจและท�ำการ

คณะท�ำงานพิพิธภัณฑ์วัดส�ำโรง อ�ำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ได้เข้าประชุมเป็นทีป่ รึกษาในการจัดการพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ วัดส�ำโรง อ�ำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ร่วมกับทางคณะสงฆ์ ชาวบ้าน และบุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่น ซึ่งโดยสรุปมีความเห็นร่วมกันในที่ประชุมว่า การจัดท�ำ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนั้นควรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยมีการน�ำ ข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบของ ประวัติศาสตร์บอกเล่า ที่เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ การผสม ผสานระหว่างวัฒนธรรมในสังคมชาวนาและกลุม่ ทีเ่ คยเป็นอดีตพ่อค้า คนกลางชาวจีน ทีป่ จั จุบนั คลีค่ ลายและเปลีย่ นแปลงผสมผสานร่วมกัน อย่างกลมกลืนแล้ว ในส่วนของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เห็นควรว่าให้สอดรับ กับข้อมูล วิถีชุมชน โดยเน้นข้าวของเครื่องใช้ที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อไม่ ให้เกิดความสับสนในเรื่องของการตีความทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้ หลักฐานเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ของผู้คนในชุมชนแห่งนี้ และ ควรมีสถานทีเ่ ฉพาะงานพิพธิ ภัณฑ์ เพือ่ ให้เกิดความน่าสนใจ เนือ่ งจาก สภาพแวดล้อมที่อยู่ริมแม่น�้ำสะท้อนเรื่องราวการค้าทางเรือและวิถี ชีวิตของผู้คนกับแม่น�้ำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ดี หากประเมินจากการประชุมในครั้งแรกพบว่าชุมชนนั้นมี ความเข้มแข็ง มีความร่วมมือร่วมใจที่ดีทั้งผู้น�ำทางจิตวิญญาณอย่าง ฝ่ายสงฆ์และผู้น�ำชุมชน รวมไปถึงเครือข่ายชุมชน ชาวบ้าน มีความ พร้อมทีจ่ ะสามารถขับเคลือ่ นการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ให้เกิดขึน้ ได้โดยเร็ว ถือเป็นชุมชนตัวอย่างในการร่วมมือที่เข้มแข็งแห่งหนึ่งทีเดียว

วัตถุที่น�ำมาท�ำทะเบียน

จดหมายข่าว

16

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรม เสวนาทางวิชาการ โดยที่ปรึกษาและนักวิชาการจากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ : จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์

ศรีอโยธยา : อดีตราชธานีสยามประเทศ “สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา” เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เชิญทีป่ รึกษาและนักวิชาการจากมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ศรีอโยธยา : อดีตราชธานีสยามประเทศ” ซึง่ เป็นการเผยแพร่ความรูจ้ ากมูลนิธฯิ สูส่ าธารณะทัง้ ในเรือ่ งบ้านเมือง เก่าแก่ยคุ แรกเริม่ ของลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา ตลอดจนความส�ำคัญของแม่นำ�้ เจ้าพระยาจนถึงปัจจุบัน โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมเป็นวิทยากร และด�ำเนินรายการโดยวลัยลักษณ์ ทรงศิริ ณ บริเวณโถงกลาง อาคาร มติชนอคาเดมี ซึ่งงานเสวนาดังกล่าวตลอดช่วงเวลาราว ๓ ชั่วโมง มีผู้ให้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ความสนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจ�ำนวนมาก มูลนิธฯิ ขอสรุปเนือ้ หาหลักๆ การศึกษาที่ผ่านมานั้นได้แบ่งออกเป็น หลายภาคเพราะ น�ำเสนอดังต่อไปนี้ แต่ละภูมิภาคมีพื้นที่ที่ต่างกัน เช่น ในภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบระหว่าง ภูเขามีการใช้น�้ำที่เป็นระบบเหมืองฝาย ภาคอีสานเป็นแหล่งที่มีที่ราบ ภูมิวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา การศึกษาอยุธยาของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นั้น ไม่ได้ มาก แล้งน�้ำ เป็นท้องทุ่งขนาดใหญ่ต้องมีการจัดการน�้ำจึงใช้ระบบที่ ศึกษาอยุธยาแบบนักโบราณคดีหรือนักประวัติศาสตร์แต่เพียงอย่าง เป็นอ่างเก็บน�้ำ การใช้น�้ำภาคกลางตั้งแต่สุโขทัยเป็นท้องทุ่ง ตั้งแต่ เดียว แต่ศึกษาเชิงมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์โบราณคดีที่เน้น นครสวรรค์ลงมาเป็นเขตของดินดอนสามเหลี่ยม ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ เรื่องของภูมิศาสตร์ ที่สัมพันธ์ต่อการตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง เห็นถึง เขต คือ ดินดอนสามเหลี่ยมเก่าตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงอยุธยา และ พัฒนาการ วิถีชีวิตของผู้คน ไม่ใช่เพียงแต่ศิลปวัฒนธรรมหรือปัญหา ดินดอนสามเหลี่ยมใหม่ตั้งแต่อยุธยามาจนถึงกรุงเทพฯ พบว่าการตั้ง ถิ่นฐานบ้านเมืองนั้นเกิดขึ้นตามแม่น�้ำล�ำคลองทั้งสิ้น ทางประวัติศาสตร์เท่านั้น ความเป็นสหพันธรัฐเมืองท่า [Port Polity] ในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา “หากพูดถึงการเป็นราชธานีนั้นมีเพียง ๒ แห่งเท่านั้น คือ อยุธยา ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ เพราะถือเป็นการเกิดขึ้นของอาณาจักร และอีกแห่ง คือ กรุงเทพฯ” ซึ่งเป็นสหพันธรัฐเมืองท่าเช่นเดียวกับเมืองนครปฐม โบราณ เมืองนครปฐมมีความแตกต่างจากเมืองใหญ่ในภูมภิ าคเอเชีย อาคเนย์ เพราะเป็นเมืองชุม่ น�ำ้ โอบล้อมไปด้วยล�ำน�ำ้ ขนาดใหญ่และมี น�ำ้ ผ่ากลางเมือง การขุดคลองพระประโทณนัน้ เพือ่ ทีจ่ ะสามารถให้เรือ เชือ่ มได้ทงั้ ทางฝัง่ ตะวันออกและตะวันตก รอบๆ ประกอบไปด้วยเรือที่ สัญจร ซึง่ สามารถผ่านไปยังแม่กลองได้ นครปฐมถือเป็นเมืองชุมทาง

บรรยากาศการเสวนา

จดหมายข่าว

17

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ภาพวาดจากจินตนาการ เมืองอโยธยา จากการสันนิษฐานของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

น�้ำที่ส�ำคัญ เมืองร่วมสมัยต่อมาคือคูบัวและศรีมโหสถ เรือสามารถ เชือ่ มเข้าได้ทงั้ ทางตะวันตกและตะวันออก เป็นเมืองท่าทีส่ ำ� คัญเกิดขึน้ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ลงมา ร่วมสมัยกับศรีวิชัย ซึ่งมีเรือจากต่าง ประเทศเข้ามาถึงได้ แต่ก่อนหน้านั้นไม่มีเรือใหญ่เข้ามาเพราะเส้น ทางจากอินเดียข้ามมายังคาบสมุทรมาทางทวายมาลงบริเวณอู่ทอง บ้านเมืองก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพลมีแม่น�้ำล�ำคลองที่อุดม สมบูรณ์และคนในยุคก่อนจะเข้าใจภูมิประเทศ การใช้แม่น�้ำล�ำคลอง เป็นอย่างดี เพราะเมื่อถึงหน้าน�้ำ น�้ำจะมาแล้วก็ไป ไม่ใช่มาแล้วเป็น น�้ำท่วมขังเช่นในปัจจุบัน ผู้คนใช้แม่น�้ำล�ำคลองในการสัญจรและท�ำการค้า การเกิด เมืองอยุธยานั้นมีความคล้ายคลึงกับการเกิดเมืองนครปฐมและเมือง

จดหมายข่าว

กรุงเทพฯ คือการเป็นคลองรอบเมืองและมีผู้คนอาศัยอยู่บริเวณโดย รอบเช่นกัน การเกิดขึ้นของชุมชนต่างๆ ตามแม่น�้ำล�ำคลองมีทั้งเกิด ขึ้นตามล�ำน�้ำธรรมชาติและตามคลองขวาง คลองขุดต่างๆ การเกิดขึ้นของอยุธยา จากการติดตามอาจารย์มานิต วัลลิโภดม (บิดา) ไปศึกษา และอาศัยอยู่ ในอยุธยามาเป็นเวลาหลายปี ท�ำให้เข้าใจถึงสภาพ ภูมศิ าสตร์ของเมืองอยุธยาเป็นอย่างดี คนอยุธยาจะทราบดีวา่ อยุธยา มีเมืองเก่าอยูท่ ฝี่ ง่ั ตะวันออกบริเวณทีเ่ รียกว่า “วัดเดิม” หรือวัดอโยธยา อาจารย์มานิต ยืนยันว่าเมืองอโยธยาอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จากการศึกษา จากภาพถ่ายทางอากาศพบว่าเป็นเมืองที่ไม่สมบูรณ์ เพราะถูกท�ำลาย 18

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ก�ำแพง แต่คูน�้ำนั้นยังคงอยู่คือ “คูขื่อหน้า” และคลองขุดที่มีมาจนถึง ปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นถึงร่องรอยของการตั้ง ถิน่ ฐานบ้านเมืองเก่า กลุม่ วัด พบศิลปะต่างๆ ทีเ่ ป็นแบบเดียวกับทีพ่ บ ในเกาะเมือง ซึ่งท่านอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ เรียกว่า “ศิลปะแบบ อโยธยา-สุพรรณภูมิ” สัมพันธ์กับต�ำนานต่างๆ เช่น ต�ำนานเจ้าแม่ สร้อยดอกหมากทีว่ ดั พนัญเชิง และการสร้างพระพุทธรูปประธานก่อน การสถาปนากรุงศรีอยุธยาหลายปี “คูขื่อหน้า” น่าจะเป็นร่องรอยของเมืองเก่า ส่วนทางด้าน ตะวันออกไม่มีร่องรอยอะไร เพียงแต่พบแนวคลอง ๒-๓ แห่ง เช่น คลองวัดกุฎีดาว จึงเห็นว่านี่คือเมืองเก่าก่อนการสร้างอยุธยา เมือ่ อาจารย์ศรีศกั รขยายขอบเขตงานศึกษาของเมืองอยุธยา ไปตามล�ำน�้ำต่างๆ อย่างละเอียดทั้งแม่น�้ำลพบุรี แม่น�้ำป่าสัก และ แม่นำ�้ น้อย จึงพบว่าเมืองอโยธยาเกิดขึน้ ในบริเวณแม่นำ�้ ป่าสัก ซึง่ ไม่ได้ เกีย่ วกับแม่นำ�้ ลพบุรแี ละแม่นำ�้ น้อย เพราะบริเวณอยุธยาเป็นปลายของ ดินดอนสามเหลีย่ มเก่า บริเวณตัง้ แต่ชยั นาทนัน้ แม่นำ�้ ได้แตกออกเป็น หลายแพรก แต่ละแพรกนั้นสามารถเป็นเส้นทางคมนาคม แต่ก็ไม่ใช่ ทุกแพรก และตรงไหนที่มีการขุดคลองขวางขึ้นมาตรงนั้นคือแหล่ง ที่ตั้งของชุมชนเมืองใหญ่ และมีชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่โดยรอบ เมืองอโยธยาเกี่ยวข้องกับแม่น�้ำป่าสัก เพราะแม่น้�ำป่าสัก เกิดขึ้นในเขตหัวรอ แล้วเบนออกไปทางแม่น�้ำหันตราออกไปทางวัด พนัญเชิงซึ่งบริเวณนี้เรียกว่า “คลองสวนพลู” มีการจัดการขุดคูคลอง เป็นจ�ำนวนมาก คูขอื่ หน้าคือบริเวณด้านตะวันตก เพราะเมืองอโยธยา หันหน้าสูแ่ ม่นำ�้ หันตราและล�ำน�ำ้ หันตราคือแม่นำ�้ ป่าสัก ซึง่ ผ่านตัวเขต อยุธยาไปออกวัดพนัญเชิงไปสมทบกับล�ำน�ำ้ น้อยและล�ำน�ำ้ เจ้าพระยา ซึ่งรวมกัน ผ่านบริเวณหัวแหลมจึงกลายเป็นล�ำน�้ำขนาดใหญ่ ล�ำน�้ำหันตราออกจากวัดพนัญเชิงเรียกว่าคลองสวนพลู คูขื่อหน้าคือคูคลองด้านหลัง ส่วนด้านหน้าลงสู่แม่น�้ำหันตรา และ แม่น�้ำหันตราคือล�ำน�้ำป่าสักซึ่งไหลผ่านตัวเขตอยุธยา ผ่านวัดพนัญ เชิงไปสมทบกับแม่นำ�้ น้อย การรวมตัวกันระหว่างแม่นำ�้ น้อยกับแม่นำ�้ เจ้าพระยากลายเป็นล�ำน�้ำขนาดใหญ่ที่ฝรั่งเรียกกันว่า “แม่น�้ำ” ใน แผนที่โบราณต่างๆ อาจารย์ศรีศักรเห็นว่าแม่น�้ำเจ้าพระยาในบริเวณป้อมเพชร และวัดพนั ญ เชิ ง ที่ เรื อ ต่า งประเทศเข้า มาถึง และลงไปถึ ง ปากน�้ ำ เจ้าพระยา คือ “แม่น�้ำเจ้าพระยา” เดิมก่อนหน้านี้ไม่ได้เรียกว่าล�ำน�้ำ เจ้าพระยา เพราะไม่มีการเรียกชื่อแม่น�้ำตลอดทั้งสาย หากแต่เรียก เป็นช่วงๆ ตามท้องถิ่นต่างๆ แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาก็ให้ รวมเรียกว่าแม่น�้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งสาย เหนืออยุธยาขึ้นไปมีคลองลพบุรี ซึ่งมีแพรกแยกออกไป ๒ แพรกคือล�ำน�ำ้ ลพบุรเี ก่าและใหม่ เขตพืน้ ทีต่ ำ�่ ของอยุธยาเป็นหนองน�ำ้ ขนาดใหญ่เรียกว่า “หนองโสน” การสร้างกรุงศรีอยุธยาในระยะแรก จะอยู่เพียงรอบๆ หนองโสนหรือบึงพระรามเพราะการเกิดเมืองใน อดีตจะเกิดขึ้นรอบหนองน�้ำขนาดใหญ่ ฉะนั้นวัดเก่าๆ จึงอยู่รอบบึง

จดหมายข่าว

19

พระรามทั้งสิ้น และมีชุมชนเกิดขึ้นอย่างหนาแน่นสมัยพระเจ้าอู่ทอง มาจนถึงพระมหาธรรมราชา บริเวณคูขื่อหน้าเป็นที่โล่ง และมีเพนียด วัดซอง ใกล้กบั วังจันทรเกษมซึง่ เดิมเคยเป็นคุก ในสมัยพระมหาธรรม ราชาจึงได้ขยายเมืองเข้ามาประชิดล�ำน�้ำ เกิดเป็นก�ำแพงเมืองและมี ชาวนานาชาติอยู่อาศัยโดยรอบ แม่น�้ำป่าสักเมื่อไหลผ่านเข้ามายังเขตจังหวัดสระบุรีคด เคี้ยวไปจนถึงนครหลวง คลองจากล�ำน�้ำลพบุรีมาเชื่อมล�ำน�้ำป่าสัก คือคลองบางพระครู ท�ำให้นครหลวงเป็นแหล่งที่มีผู้คนสัญจรไปมา สามารถผ่านล�ำน�ำ้ ป่าสักมายังฝัง่ อยุธยาได้ และยังมีชมุ ชนลาวเกิดขึน้ มาในบริเวณอีกแพรกหนึ่งที่แยกออกจากแม่น�้ำป่าสักเรียกว่า “คลอง พระแก้ว” ซึ่งมีต�ำนานเรื่องเล่าการเคลื่อนย้ายพระแก้วมรกตจาก เวียงจันทน์มาประดิษฐานยังกรุงเทพฯ คลองพระแก้วนั้นผ่านที่ราบลุ่มที่ด้านหลัง ผ่านอ�ำเภออุทัย ไปยังบ้านสร้าง ออกไปคลองโพที่บางปะอิน เส้นทางน�้ำดังกล่าวคือ เส้นทางน�ำ้ เก่าทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั อยุธยา ผ่านถิน่ ฐานบ้านเมืองทีม่ มี า ตัง้ แต่สมัยทวารวดีและลพบุรเี พราะด้านตะวันตกของคลองบางแก้วมี การพบร่องรอยของเมืองโบราณ เช่น พระฉาย เมืองอูต่ ะเภา เมือ่ ผ่าน อโยธยามี “คลองกระมัง” หรือ “คลองบ้านบาตร” และในลิลิต ยวนพ่ายมีการกล่าวถึงการประสูตขิ องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ณ ทุ่งพระอุทัย แดนต�ำบลอุทัยทุ่งกว้าง ด้านตะวันตกของคลองพระแก้วมีเมืองเก่าในสมัยทวารวดี อยู่เมืองหนึ่งคือ “อู่ตะเภา” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายเทือกเขาที่ต่อมา จากแนวเขาใหญ่ มีพระพุทธฉายและพระพุทธบาทเป็นสิ่งส�ำคัญและ มีความเก่าแก่ เป็นบริเวณที่ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน เข้ามาทางปากช่อง เส้นทางดังกล่าวพบชุมชนทวารวดีที่เขาโพธิสัตว์ และมีร่องรอยเมืองเก่ามาจนถึงบริเวณของพุทธฉาย และพุทธฉาย อาจสร้างขึ้นในสมัยลพบุรีตอนปลายเพราะร่องรอยพระพุทธบาทที่ อยู่ด้านบนนั้นเป็นรอยที่ขุดลงไปกับพื้นหิน ท�ำเป็นธรรมจักรไม่มีลาย มงคลร้อยแปดประการและบริเวณเขาพุทธฉายเป็นบริเวณทีส่ ำ� คัญมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เพราะเป็นเขาหินแกรนิตมีเพิงหินขนาด ใหญ่ ซึ่งเพิงหินดังกล่าวนั้นคือพื้นที่ที่มีคนมาจาริกแสวงบุญ มนุษย์ ก่อนประวัติศาสตร์ใช้ท�ำพิธีกรรมเนื่องจากพบภาพเขียนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ด้วยและต่อมาในสมัยอโยธยาก็มีความสัมพันธ์มีความ เชื่อมโยงกันกับพื้นที่แห่งนี้ทั้งสิ้น บริเวณวัดพระฉายมีล�ำน�้ำอยู่ ๒ สาย สายแรกคือล�ำน�้ำพระ แก้ว และล�ำน�้ำร่องแซงหรือหนองแซง ที่ออกไปยังนครนายก ส่วน บริเวณหนองแคเป็นเวิ้งอ่าวจากดงละครมาจนถึงศรีมโหสถเข้าคลอง บ้านบาตรมาอยุธยา หรือคลองโพ ลงมายังกรุงเทพฯ อยุธยาไม่ใช่เฉพาะพื้นที่เกาะเมือง โดยรอบน�้ำมีพื้นที่เข้าไป ในทุ่งที่ท�ำนาและเป็นทุ่งรับน�้ำ บริเวณกลางทุ่งจะมีเจดีย์ส�ำคัญ เช่น เจดียภ์ เู ขาทอง เจดียว์ ดั วรเชษฐ์ ฯลฯ เจดียภ์ เู ขาทองคือเจดียท์ เี่ ป็นจุด เริม่ ต้นของอยุธยาตอนกลาง เป็นเจดียย์ อ่ มุมไม้สบิ สอง ตัง้ อยูบ่ นฐาน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


สูงแต่ฐานนัน้ เป็นฐานแบบพม่า ซึง่ เจดียแ์ บบนีม้ อี ยูท่ วี่ ดั ใหม่ประชุมพล วัดญาณเสน เจดีย์ภูเขาทองนั้นเคยปล่อยให้รกร้าง สันนิษฐานว่าช่วง ที่เสียกรุงให้กับพม่าครั้งแรกนั้น น่าจะถูกปรับปรุงซ่อมแซมโดยพระ เจ้าบุเรงนอง ที่มีความเชื่อในระบบจักรพรรดิราช การทะนุบ�ำรุงพุทธ ศาสนาแม้ในต่างถิ่นจึงเป็นเหตุใหญ่ที่สมควรท�ำ รูปแบบของเมืองอโยธยาเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งคล้ายคลึง และร่วมสมัยกับ คูบัว สุพรรณภูมิ ซึ่งบางแห่งมีพระราชวังอยู่ เช่น เมืองเสมา ซึ่งจะแตกต่างจากพม่าเพราะของเราต้องมีคูเมืองเพื่อกัก น�้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และด้านหนึ่งของเมืองจะเป็นล�ำน�้ำธรรมชาติ และ วัดใหญ่ๆ จะอยู่นอกเมือง กรุงเทพฯ และอยุธยามีความเหมือนกันตรงที่สร้างเส้น ทางน�้ำที่มีประตูปิด เปิด และใช้คลองเมืองเป็นตัวผันน�้ำเข้าไปใช้ใน พระบรมมหาราชวัง รวมทั้งมีระบบจัดการน�้ำที่มีความก้าวหน้าและ ซับซ้อน

ที่มีก�ำแพงเมืองล้อมรอบเป็นเวียงที่มีอยู่ทั่วไป เรื่องพระบรมธาตุเป็นเรื่องโบราณ เพราะอย่างน้อยก็พบ ว่าเมืองนครปฐมมีพระประโทณเป็นศูนย์กลางและมีพระบรมธาตุอยู่ กลางเมือง แต่ที่ส�ำคัญอีกอย่างคือ เป็นแหล่งจาริกแสวงบุญนั่นคือ “พระปฐมเจดีย์” ส่วนเมืองหริภุญชัยนั้นก็มีพระบรมธาตุกลางเมือง สิ่งเหล่านี้อยู่ร่วมสมัยกัน นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่เรียกว่า อโยธยาดังกล่าว มีความ สัมพันธ์กับจีน เพราะถือเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทั้งเรื่องของ การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม หากได้รับการยอมรับจากจีนนั่น คือเครื่องมือตีตราเป็นหลักประกันความมั่นคงให้แก่รัฐที่อยู่ห่างไกล ได้ และในส่วนของระบบเศรษฐกิจ จีนเป็นเมืองที่รับซื้อของป่ามาก ทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ฉะนัน้ การค้ากับจีนจึงมีความส�ำคัญอย่างยิง่ จึงเกิดการ “จิ้มก้อง” หรือระบบบรรณาการ การค้นพบสิ่งของเครื่องทองต่างๆ จากกรุพระปรางค์วัด ราชบูรณะทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนครินทราธิ อโยธยาศรีรามเทพนคร ราช ทีส่ นั นิษฐานว่าเป็นพระร่วงไปเมืองจีนในต�ำนาน จึงมีความส�ำคัญ จารึกวัดส่องคบกล่าวถึงนคร ๒ นคร คือ “ศรีสุพรรณภูมิ” ที่ท�ำให้เห็นว่า มีความมั่งคั่งของเครื่องราชูปโภค เครื่องทองต่างๆ และ “ศรีอโยธยา” จะเห็นได้ว่าทั้งสองเป็นรัฐร่วมสมัยกัน ในช่วงรุ่น ภาพจิตรกรรม ล้วนพบศิลปกรรมและภาพสะท้อนอิทธิพลทางการค้า ก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนัน้ มีรปู แบบของนครรัฐร่วมสมัย ของความเป็นจีนอยู่อย่างมากมาย ที่ไม่ได้ขึ้นต่อกัน นอกจากนัน้ ยังพบจารึกวัดเขากบของสุโขทัยทีก่ ล่าวถึง มหา ความส�ำคัญของแม่น�้ำเจ้าพระยา รากฐานบ้านเมืองในปัจจุบัน เถรฯ สร้างพระธาตุเจดีย์ที่ “อยุธยาศรีรามเทพนคร” แสดงให้เห็นว่า ทั้งอยุธยาและกรุงเทพฯ ทั้งสองเป็นเมืองที่มีรากฐานของ เป็นเมืองส�ำคัญ ซึ่งตรงกับจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวถึง ความเป็นชุมชนลุม่ น�ำ้ ผูค้ นมีวถิ ชี วี ติ วัฒนธรรมอยูก่ บั แม่นำ�้ ล�ำคลอง การ “หลอฮกก๊ก” และ “เสียมหลอฮกก๊ก” ที่มีความสัมพันธ์กันและหมาย ขยายตัวของชุมชนล้วนมีล�ำน�้ำเป็นปัจจัยในการตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง ถึง “สยาม” และ สยามคือเมืองสุพรรณภูมิ ไม่ใช่อยุธยาเพราะอยุธยา “การพัฒนา” อาจจะเป็นสิ่งเดียวกับการท�ำลายรากเหง้า อยู่ในกลุ่มละโว้ ของสังคมลุม่ น�ำ้ และอัตลักษณ์ของความเป็นเมืองลุม่ น�ำ้ ทัง้ อยุธยาและ หากพูดถึงรูปแบบทางภูมิศาสตร์ อโยธยาคือส่วนหนึ่งของ กรุงเทพฯ การพัฒนาควรเริ่มจากข้างใน เน้นชุมชน ต้องเริ่มหนุนให้ ละโว้และสุพรรณภูมมิ เี มืองลูกหลวงคือเมืองแพรกศรีราชา และเมือง ชาวบ้านรู้จักพื้นที่ตัวเอง แพรกศรีราชาคือเมืองหนึ่งซึ่งมีความส�ำคัญ การพัฒนาอยุธยาสิ่งที่จะช่วยได้คือการท�ำพิพิธภัณฑ์ ไม่ใช่ ความเป็นสหพันธรัฐนัน้ ความส�ำคัญอยูท่ ตี่ วั กษัตริยค์ อื การ การแสดงโบราณวัตถุแต่แสดงความเป็นบ้านเมือง วัตถุจะเป็นเพียงสิง่ กินดองหรือการแต่งงาน บารมีของกษัตริย์หาใช่การรบทัพจับศึกไม่ หนึ่งที่เข้ามาช่วยประกอบ ต้องศึกษาประวัติศาสตร์เมืองแล้วจะช่วย เพราะฉะนั้นกษัตริย์ที่อยู่ ในรัฐรูปแบบของสหพันธรัฐ ซึ่งอาจเรียก ในการพัฒนา หากในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเมืองสมัยใหม่เกิดขึ้น ได้ว่าเป็น Mandala หรือ มณฑล นั้น ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพในตัว โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงรากฐานของบ้านเมือง ไม่เข้าใจพื้นที่ จะท�ำให้การ กษัตริย์ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ใช้ นั่นคือบารมีไม่ใช่ ให้ความหมายและความส�ำคัญของแม่น�้ำเปลี่ยนไป ดังเช่นโครงการ มีเพียงอ�ำนาจไปปกครองแต่ต้องขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยทั้งการเป็น เรื่องแม่น�้ำเจ้าพระยาที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน เครือญาติ ความเป็นจักรพรรดิราช เป็นต้น ส่วนเมืองสุพรรณภูมิเป็นแหล่งที่คนภายนอกเข้ามาจึงเกิด ต�ำนานท้าวอู่ทอง และหากมองในเชิงมานุษยวิทยา แปลความได้คือ การเข้ามาของพ่อค้าซึง่ เป็นคนกลุม่ ใหม่ทมี่ คี วามผสมผสานและท�ำให้ เกิดบ้านเมือง โครงสร้างของนครหมายถึงเป็นพืน้ ทีซ่ งึ่ มีผคู้ นอยูเ่ ป็นจ�ำนวน มาก และมีความซับซ้อนทางสังคม หากเป็นเมืองเล็กเรียกว่า “ปุระ”

จดหมายข่าว

20

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรม เพื่อสาธารณะของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๔ : จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์

“สองฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ย่านถนนกรุงเกษม ถนนลูกหลวงถึงสี่แยกมหานาค” การเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากวัง วัด และบ้านพระราชทานสู่ย่านตลาด และชุมชนแออัด ที่มีการศึกษาแห่งแรกของประเทศฯ และชุมชนมุสลิมดั้งเดิมนอกพระนคร วันเสาร์ที่ ๒๙ เมษายน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า (เชิงสะพานปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า) ในภาคทฤษฎี ท�ำความเข้าใจพื้นฐานของย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ที่ทางมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ได้ท�ำการศึกษาวิจัย จากการตั้งค�ำถาม ว่า “เมืองกรุงเทพฯ มีประวัติศาสตร์ของผู้คนอยู่หรือไม่ ?” และ ได้พบว่า ที่จริงแล้วกรุงเทพฯ นั้นยังมีโครงสร้างของความเป็น ชุมชน โดยมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง มีพื้นที่สาธารณะที่ ใช้ร่วม กันของชุมชนต่างๆ อยู่ไม่น้อย แม้จะไม่เห็นโดยชัดเจนนัก เพราะ สภาพการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเมืองของรัฐและสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นยังมีแนวคิดทางประวัติศาสตร์สังคมที่ แตกต่างไปจากประวัติศาสตร์ที่รับรู้หรือเรียนกันในสถานศึกษา แต่

กิจกรรมพระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๔ บรรยากาศภาคแนวคิดและเนื้อหาในวันแรก

เป็นประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับสถานที่ กลุ่มผู้คน การเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองและกายภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลง บรรยายโดย วลั ย ลั ก ษณ์ ทรงศิ ริ นั ก วิ ช าการมู ล นิ ธิ เ ล็ ก -ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์ การศึกษาประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ โดยผ่านแผนที่ สามารถ เห็นถึงสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตของผู้คนผ่านสิ่งต่างๆ รวมไปถึงการตั้ง ถิ่นฐาน ซึ่งอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ใช้ค�ำว่า “ภูมิวัฒนธรรม” มีความส�ำคัญคือการมองถึง ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับ สิง่ เหนือธรรมชาติ ความส�ำคัญสามสิง่ ทีก่ ล่าวมานีค้ อื ความเป็นชุมชน และความเป็นชุมชนดังกล่าวนัน้ สามารถพบได้ในกรุงเทพฯ เช่น ชุมชน บ้านบาตร คือตัวอย่างชุมชนทีม่ รี ปู แบบโครงสร้างของความเป็นชุมชน แบบเก่าของกรุงเทพฯ พบการใช้บ่อน�้ำและศาลากลางบ้านส�ำหรับ

จดหมายข่าว

21

ประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชน และยังสืบทอดมา ได้ถึงปัจจุบัน และได้พบว่าในกรุงเทพฯ นั้นมีการเข้ามาของกลุ่มคนกลุ่ม ต่างๆ หลากหลาย ที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เช่น กลุ่ม

กิจกรรมพระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๔ บรรยากาศภาคแนวคิดและเนื้อหาในวันแรก

ชาติพันธุ์ลาว กลุ่มคนญวนทั้งเป็นญวนคริสต์ที่อยู่ทางชุมชนมิตรคาม และญวนทีเ่ ป็นพุทธในบริเวณวันญวนสะพานขาว กลุม่ ชาวมุสลิมทาง ภาคใต้ และกลุม่ อืน่ ๆ ทีเ่ ข้ามาตัง้ แต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เรือ่ ยมา แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแบบ “พหุลักษณ์” มีความหลาก หลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม พระนครชวนชม วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ ครัง้ ที่ ๔ นี้ เป็นการลงพืน้ ทีจ่ ริงเพือ่ ท�ำความเข้าใจเพิม่ เติมจากในภาคทฤษฎีเบือ้ งต้น ส�ำหรับจุดนัดพบแรก คือบริเวณอนุสาวรียพ์ ลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พบกับคุณ วรรณชัย วราศิรกิ ลุ ชาวชุมชนนางเลิง้ บอกเล่าเรือ่ งราวความสัมพันธ์ ของชุมชนนางเลิง้ ทีม่ ตี อ่ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และชมเรือนหมอพร ที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร แล้วเดินทาง ต่อไปยังย่านทีเ่ คยเป็น “ตรอกใต้” ชุมชนแออัดทีม่ กี ารศึกษาแห่งแรก ของประเทศฯ และวัดสมณานัมบริหารหรือวัดญวน สะพานขาว ซึ่ง เป็นวัดมหายานในสังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกาย ได้พบกับ “พี่ใหญ่” หรือ คุณพณิฎา สกุลธนโสภณ ผู้น�ำชุมชนและเป็นโยมอุปัฏฐากที่วัดญวน แห่งนี้ พี่ ใหญ่บอกว่า “คนญวนก็ไม่มีแล้ว แต่ทางวัดญวนยังเหลือ อาหารประจ�ำถิ่นอยู่สองอย่างคือ ปอเปี๊ยะทอด กับมะเหง่ ที่บอกว่า

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พระนครชวนชม กิจกรรมการเดินสังเกตการณ์ชุมชนปัจจุบัน เพื่อท�ำความเข้าใจอดีตและอนาคตของกรุงเทพฯ

ใช้เส้นเหมือนขนมจีนไหหล�ำ” พักรับประทานอาหารกลางวันคือ “มะเหง่” ของดีของชาว ชุมชนวัดญวนสะพานขาวเป็นอาหารทีป่ ระยุกต์ระหว่างอาหารไทยกับ เวียดนาม มีจุดเด่นคือน�้ำพริกมะม่วง ที่มีส่วนผสม ได้แก่ น�้ำตาลปี๊บ มะนาว กระเทียม พริกขี้หนู และมะม่วงดิบซอย ราดได้ทั้งมะเหง่แห้ง และน�้ำ ส่วนเส้นมีส่วนผสมชนิดเดียวกับขนมจีนเพียงแต่มีเส้นที่ใหญ่ กว่ามาก และได้พบกับคุณถนอมนวล องค์ศิริกุล หรือพี่นุช ผู้สืบทอด วิชาการท�ำกงเต๊กญวนจากช่างเล็ก หิรัญชัย (เล็ก ช่างกระดาษ วัด ญวน สะพานขาว) ผู้เป็นสามี ซึ่งในปัจจุบันยังรับท�ำกงเต๊กทั้งที่เป็น งานหลวงและงานทั่วไป พืน้ ทีส่ ดุ ท้ายคือชุมชนมัสยิดมหานาค ชุมชนมุสลิมดัง้ เดิมนอก พระนคร ได้พบกับวิทยากรในพื้นที่คือคุณหริน สิริคาดีญา ได้พาชาว คณะเดินชมรอบๆ ดูความเป็นอยูข่ องชาวมุสลิมในชุมชน บ้านเก่า รวม ไปถึงบ้านข้าราชการที่เคยอยู่ในชุมชน ซึ่งน่าเสียดายที่ชาวคณะไม่ได้ ชมความงดงามของมัสยิด เนื่องจากปิดปรับปรุงซ่อมแซม แต่บริเวณ ด้านในสามารถเข้าไปเพื่อท�ำกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ บางส่วน จากนั้นเดินข้ามฝั่งคลองเข้ามายังวังสะพานขาว “พระนคร ๑๐๑” ครั้งที่ ๔ ถือเป็นโอกาสดีที่ทางกลุ่ม “พระนคร ๑๐๑” เป็น กลุ่มคนภายนอกกลุ่มแรกที่ได้เข้าเยี่ยมชมวังสะพานขาว ในปัจจุบัน คือกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ จากนัน้ เดินทางศึกษาพืน้ ที่ “กุโบร์” คนมุสลิมในเมืองทัง้ จาก มัสยิดบ้านตึกดินและมัสยิดจักรพงษ์กต็ อ้ งน�ำศพไปฝังทีก่ โุ บร์มหานาค ซึง่ ถือว่าเป็นกุโบร์ขนาดใหญ่ทอี่ ยูก่ ลางเมืองก็วา่ ได้ และกุโบร์มหานาค แห่งนีย้ งั เคยเป็นทีฝ่ งั ศพของพีช่ ายตนกูอบั ดุล เราะห์มานผูน้ ำ� การเรียก ร้องเอกราชและนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย บรรยากาศด้านในกุโบร์คอ่ นข้างสงบหากเทียบกับพืน้ ทีด่ า้ น นอกที่ผ่านมา มีผู้คนในชุมชนใช้พื้นที่ส�ำหรับการนั่งเล่น พูดคุย ที่ นอกเหนือจากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นอกจากมีคุณหรินที่ ให้ความรู้ในฐานะการเป็นเจ้าบ้านแล้ว เรายังได้ร่วมพูดคุยกับผู้ร่วม

จดหมายข่าว

กิจกรรมที่เป็นมุสลิมจากพื้นที่ปากลัด พระประแดง บอกเล่าเรื่องราว ที่หลายๆ ท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมอาจจะยังไม่ทราบ และปิดท้ายด้วย การสรุปกิจกรรมโดยผูร้ ว่ มกิจกรรมและวิทยากร ส�ำหรับการร่วมแลก เปลี่ยนเรียนรู้ เส้นทางพระนครชวนชม ๑. จุดนัดพบแรกคือบริเวณอนุสาวรียพ์ ลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ๒. เข้ามายังเรือนหมอพรภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร ๓. เดินทางเข้าสู่ “ตรอกใต้” ชุมชนแออัดที่มีการศึกษาแห่งแรกของ ประเทศฯ ๔. มายังภายในวัดสมณานัมบริหารหรือวัดญวน สะพานขาว ๕. รับประทานอาหารกลางวันบริเวณวัดสมณานัมบริหาร ๖. เดินทางข้ามคลองผดุงกรุงเกษมเข้าสู่วังสะพานขาว ภายในกรม พัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ ๗. เดินทางต่อไปยังมัสยิดมหานาค ๘. ชมภายในชุมชนมัสยิดมหานาค ๙. เข้าไปยังพื้นที่กุโบร์มัสยิดมหานาค ๑๐. สรุปกิจกรรมภายในมัสยิดมหานาค

แผนที่แสดงเส้นทางการเดินเท้า “พระนครชวนชม” ครั้งที่ ๔

22

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จดหมายข่าว

23

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.