มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
จดหมายข่าว
2
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เปิด ประเด็ น : ศรีศักร วัลลิโภดม
ยศพระขุนนางพ่อค้าในสังคมปัจจุบัน ข้าพเจ้าเคยเขียนบทความทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมในความ เหลื่อมล�้ำทางสังคมของไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อราวยี่สิบปีที่ผ่านมา คือ “ยศพระขุนนางพ่อค้า” ในสมัยรัชกาลที่ ๙ อันเป็นสังคมไทยสมัย หลังเปลีย่ นแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกทีม่ พี ระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข ภายใต้รฐั ธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายทีม่ อี ำ� นาจสูงสุดในการบริหารและ ปกครองประเทศ แตกต่างจากสังคมยุคก่อนเปลีย่ นแปลงการปกครอง ทีเ่ รียกว่าสังคมศักดินา ทีม่ พี ระมหากษัตริยท์ รงมีพระราชอ�ำนาจสูงสุด ในสังคมศักดินา ความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคมสะท้อนให้เห็นจากความต่าง กันของระดับชั้นทางศักดินาที่เป็นยศถาบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ ลดหลั่นกันลงมาจากพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการใน ล�ำดับของหมื่น ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา และเจ้านาย ที่ทรงกรมในระดับต่างๆ ลงมาจนถึงไพร่ฟ้าประชาชนและข้าทาส ภายใต้พระราชอ�ำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ แม้แต่ สัตว์เลี้ยงที่ท�ำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองก็มียศถาบรรดาศักดิ์ เช่น เดียวกันกับพระสงฆ์จนมีค�ำพังเพยออกมาว่า “ยศช้างขุนนางพระ” แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว ยศช้างหายไป เพราะช้างเปลี่ยนสถานภาพจากการเป็นขุนนางมาเป็นข้าทาสทาง แรงงานแทน เช่น ถูกใช้ให้ลากซุง ฯลฯ ส่วนขุนนางข้าราชการยศถา บรรดาศักดิแ์ ต่เดิมหมดไป แต่ความเหลือ่ มล�ำ้ ในสถานภาพยังด�ำรงอยู่ ในล�ำดับชั้น เช่น ชั้นตรี โท เอก และชั้นพิเศษ ซึ่งมีเครื่องแบบมีขีด ขัน้ เป็นเครือ่ งแสดงออก เช่นเดียวกันกับยศชัน้ ของพวกทีเ่ ป็นทหารและ ต�ำรวจ โดยมีสัญลักษณ์ของความสูงต�่ำที่มาจากสังคมศักดินาที่เป็น เหรียญตราและสายสะพายแสดงออกในงานพระราชพิธีต่างๆ จนถึง งานศพที่มีโกศเกียรติยศประดับไว้ใกล้โลงศพ แต่ทางฝ่ายขุน นางพระไม่เปลี่ยนแม้จะไม่มีเครื่องแบบ เหรียญตราและสายสะพายแสดงเกียรติภูมิ แต่ก็มีบรรดาพัดยศตาม ล�ำดับชั้นขุนนางที่ยังไม่เปลี่ยนเช่นกัน เช่น ชั้นพระครู พระธรรม พระ เทพ และสมเด็จทีม่ รี าชทินนามก�ำกับ ขุนนางพระเหล่านีต้ ามล�ำดับชัน้ มีหน้าทีค่ วบคุมดูแลวัดและพระสงฆ์ เพือ่ การปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ละการงาน ในทางพระพุทธศาสนา เพือ่ พุทธศาสนิกชนในสังคมทัว่ ราชอาณาจักร ในนามขององค์กรสงฆ์ที่รู้จักกันว่ามหาเถรสมาคม อันมีสมเด็จพระ สังฆราชทรงเป็นผูม้ อี ำ� นาจสูงสุด รองลงมาจากพระมหากษัตริยผ์ ทู้ รง เป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
จดหมายข่าว
3
สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง องค์กรสงฆ์และขุนนาง สงฆ์ไม่ค่อยมาเกี่ยวข้องกับวัดและพระสงฆ์ในเรื่องของทางโลก เช่น ทรัพย์สนิ ทีด่ นิ และสมบัตวิ ดั ตามท้องถิน่ ต่างๆ เมืองต่างๆ ทัว่ ประเทศ เพราะบรรดาวัดทัง้ หลายเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน วัดแต่ละวัดจะมีคณะ บุคคลที่เป็นฆราวาสในท้องถิ่นเข้ามาบริหารจัดการในเรื่องชีวิตความ เป็นอยู่ของพระและสมบัติวัดในนามของมรรคทายกแทน ขุ น นางพระแต่ ร ะดั บ เจ้ า อาวาสก็ จ ะไม่ ม าเกี่ ย วข้ อ งกั บ กิจกรรมทางโลกเหล่านี้ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของมรรคทายก ขุนนาง พระเริม่ เข้ามามีบทบาทเกีย่ วข้องกับสมบัตวิ ดั เมือ่ มีการออกกฎหมาย สงฆ์ขนึ้ โดยทางรัฐบาลสมัยประชาธิปไตย ทีท่ ำ� ให้ขนุ นางพระในระดับ เจ้าอาวาสเข้ามามีสิทธิ์ในการรับผิดชอบอย่างเต็มที่ เลยเบียดหน้าที่ ของมรรคทายกชิดซ้ายไป การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดเป็นปัญหาภายในชุมชนก็ เกิดขึน้ ความเป็นชุมชนท้องถิน่ แต่เดิมแต่โบราณกาลก่อนเปลีย่ นแปลง การปกครองทีผ่ คู้ นยังไม่มกี รรมสิทธิท์ ดี่ นิ นัน้ วัดเกิดขึน้ จากทีผ่ คู้ นมีอนั จะกินในท้องถิน่ หรือพระมหากษัตริย์ เจ้านาย หรือขุนนาง ข้าราชการ พระราชทานที่ดินหรือวัดหาที่ดินสร้างวัด และกัลปนาผู้คนในท้องถิ่น เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ พาหนะ เช่น วัว ควายให้กบั วัด เพือ่ ผูค้ นเหล่านัน้ จะ กลายเป็นข้าพระ อาศัยทีด่ นิ ของวัดสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยและท�ำกิน ท�ำงาน ให้แก่พระและวัด โดยมีคณะบุคคลที่เรียกว่ามรรคทายกเป็นผู้ด�ำเนิน การ แต่เมื่อเกิดกฎหมายสงฆ์ขึ้นมา เจ้าอาวาสกลายเป็นผู้มีสิทธิ ในสมบัตติ า่ งๆ รวมทัง้ ทีด่ นิ ของวัดไป จึงเกิดการขัดแย้งขึน้ บ่อยๆ เช่น การที่เจ้าอาวาสไล่ที่อยู่อาศัยของบุคคลและครอบครัวที่อยู่ ในที่ดิน ของวัดมาแต่แรกเริ่มให้ออกไปไร้ที่อยู่อาศัยจนถึงมีการฟ้องร้องกัน ขึน้ การมีสทิ ธิ์ในเรือ่ งทีด่ นิ และสมบัตวิ ดั ดังกล่าวนี้ มีผลท�ำให้เกิดเป็น ประเพณีและศีลธรรมขึน้ กับบรรดาขุนนางพระตัง้ แต่ชนั้ เจ้าอาวาสขึน้ ไปที่ไล่ทอี่ ยูอ่ าศัยของชาวบ้านในชุมชนเพือ่ การขยายวัด สร้างสถานที่ อาคารใหม่ๆ รวมทั้งให้ที่ดินของวัดเช่าซื้อแก่บรรดาผู้ประกอบการที่ เป็นนายทุนทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เดิมการก่อสร้างใดๆ ดังกล่าว นี้พระจะไม่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของทางโลก แต่พอเปลี่ยนมาถึงสมัยนี้พระเกี่ยวข้องมากถึงขนาดเปลี่ยน ผลประโยชน์ของวัดเป็นของส่วนตัว พระทีม่ หี น้าทีแ่ ละอ�ำนาจทางการ บริหารถึงขนาดมีสมุดธนาคารส่วนตัวก็มาก นับวันพระก็ไม่เป็นพระ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
มีแต่ “ขุนนางพระ” และวัดก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนดังแต่ก่อน วัดหลายวัดเกิดขึน้ จากคนชัน้ กลางทีม่ าจากภายนอกชุมชน จากบุคคล ที่เป็นนายทุนพ่อค้าและนักการเมืองที่กลายเป็นชนชั้นศักดินาในสมัย ใหม่ที่เรียกว่า “ขุนนางพ่อค้า” แต่ก่อนขุนนางพ่อค้าไม่มี เพราะชนชั้นกลางเพิ่งเกิดขึ้นแต่ สมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมา เมื่อมีการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดขึ้น ก่อนหน้า นี้มีเพียงพวกกระฎุมพีที่ ไม่มีอาชีพทางเกษตรเป็นชาวนาหรือชาวไร่ แต่เป็นพวกค้าขายและพ่อค้าจากภายนอกที่เข้ามาสัมพันธ์กับบรรดา เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการเพื่อการประกอบอาชีพการงานจนเกิดมี ฐานะทางเศรษฐกิจและมีหน้ามีตาทางสังคม โดยย่อส่วนใหญ่ก็หากินกับบรรดาขุน นางข้าราชการที่มี อ�ำนาจ หลังสมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมาจนถึงสมัยเปลีย่ นแปลงการปกครอง คนเหล่านีก้ ลายเป็นกลุม่ คนทีม่ ที ดี่ นิ มีกจิ กรรมทางการค้าขาย มีบริษัท ร้านค้า รวมทั้งกลายเป็นเจ้าของที่ดิน แต่หลังจากสัมพันธ์ทางเครือ ญาติกับชนชั้นปกครอง เช่น เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการแล้วก็กลาย เป็นคนมีเหล่ามีสกุล ช่วยกิจกรรมของแผ่นดินจนได้รางวัลเหรียญตรา สายสะพายและเครือ่ งแบบทีเ่ รียกได้วา่ เป็นขุนนาง มีทงั้ ขุนนาง พ่อค้า รุ่นก่อนสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี อันเป็นยุค ของประชาธิปไตยแบบเผด็จการทหาร กับขุนนางที่เป็นนายทุนใหม่ หลังสมัยจอมพล สฤษดิ์ ความส� ำ คั ญ ของสมั ย รั ฐ บาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรั ช ต์ อย่างหนึ่งก็คือ การขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยที่เป็นสังคม เกษตรกรรม เปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมอย่างแบบตะวันตก เปิดประเทศให้มีการลงทุนจากภายนอก มีคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักธุรกิจ พ่อค้าและนักวิชาการต่างชาติเข้ามาลงทุนและตั้งถิ่นฐาน เกิดการ ขยายบ้านเมือง [Urbanization] และโรงงานอุตสาหกรรม [Industrialization] และการน�ำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์ มาผลิตเป็นสินค้าส่งออกที่ทำ� ให้นักลงทุนทั้งในประเทศและที่มาจาก ภายนอกเกิดความมัง่ คัง่ และยัง่ ยืนเป็นล�ำดับ ประชากรเพิม่ ขึน้ มากกว่า แต่เดิมครัง้ สังคมเกษตรกรรมถึง ๓ เท่าตัว มีทง้ั ผูค้ นทีเ่ ป็นนายทุนข้าม ชาติ และแรงงานที่เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาเป็นพลเมือง เกิดนายทุนรุ่นใหม่ ตระกูลใหม่ๆ มากมายที่มีความมั่งคั่งเข้ามาเล่น การเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก โดยอาศัยการเป็น ประชาธิปไตยแบบเสรีทุนนิยมแบบยุโรปและอเมริกา แต่โครงสร้างทางการบริหารปกครองเป็นแบบรวมศูนย์ อย่างเดิมแต่สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท�ำให้สังคมไทย กลายเป็นสังคมเผด็จการของกลุ่มนายทุนรุ่นใหม่ที่ลงแรงลงทุนสร้าง พรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อได้เสียงส่วนใหญ่ ในรัฐบาล และมีอ�ำนาจ ทางเศรษฐกิจและการเมืองในการปกครองประเทศ สังคมไทยภาย ใต้เผด็จการนายทุนนักธุรกิจการเมืองคือ สิ่งที่ผลักดันให้เกิดขุนนาง พ่อค้าขึ้นตั้งแต่ระดับบนจนระดับล่างในตามท้องถิ่น เมืองไทยในยุคสังคมอุตสาหกรรมในทุกวันนี้ เปลี่ยนผ่าน
จดหมายข่าว
จากสังคมเกษตรกรรมเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมในยุคใหม่อย่างเต็ม ตัว ด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดเป็นปัจเจกเพื่อตัวเองมากกว่าส่วนรวม มีความต้องการทางวัตถุนยิ มและบริโภคนิยมสูง แต่ยงั คงค่านิยมของ ความเหลื่อมล�้ำและความมีหน้ามีตาที่เป็นมรดกตกทอดมาแต่สมัย สังคมศักดินา เหตุนี้จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าขุนนางพ่อค้าขึ้นมาอย่างแพร่ หลาย ที่อาศัยเครื่องแบบและสัญลักษณ์ของความสูงต�่ำในสังคม ศักดินาเป็นเครือ่ งแสดงออก ในวาระทีเ่ ป็นงานประเพณีพธิ กี รรมตาม สถานที่ซึ่งเป็นสถาบัน เช่น วัด วัง และสถานที่ทางศิลปวัฒนธรรมที่ มีทั้งใหม่และเก่า โดยเฉพาะสถาบันทางความเชื่อและพิธีกรรม เช่น วัดวาอารามที่อยู่ในการดูแลของขุนนางพ่อค้า ท�ำให้เกิดกิจกรรมที่ เป็นระบบอุปถัมภ์กนั ระหว่างขุนนางพ่อค้าและขุนนางพระอย่างทีเ่ ห็น ในทุกวันนี้ เป็นกิจกรรมและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่น�ำไปสู่การ กระท�ำที่เรียกว่าทุจริตคอร์รัปชั่น ยกตัวอย่าง เช่น นักการเมืองใช้วัด และพระสงฆ์เพื่อการหาเสียงในการเลือกตั้ง ติดสินบนให้ขุนนางช่วย ขอเครื่องราชย์ให้ ฯลฯ หรือมีวัดใหม่ๆ เป็นจ�ำนวนมากที่เกิดขึ้นโดย ขุนนางพ่อค้าเป็นผู้สร้างเพื่อเกียรติภูมิของครอบครัวและวงศ์ตระกูล ซึ่งวัดเหล่านี้มักใหญ่โตโอ่อ่าสวยงามกว่าบรรดาวัดในอดีตที่เจ้านาย ขุนนาง คหบดี และผู้คนในชุมชนสร้างขึ้น วัดเกิดใหม่หลายแห่งมีรูป แบบและขนาดที่ผิดแผกไปจากวัดของชุมชนของบ้านเมืองที่มีมาแต่ เดิม เกิดความไขว้เขวขึ้นในเรื่องเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และพื้นที่ อเนกประสงค์ มีสถานที่เกิดใหม่ที่ไม่เคยมีในพื้นที่ของวัดมาก่อนใน สมัยสังคมศักดินา คือกุฏิพระที่เป็นขุนนางดูใหญ่โตรโหฐาน มีช่อฟ้า ใบระกายิ่งกว่าต�ำหนักของเจ้านายสมัยก่อน และเมรุเผาศพ ศาลา สวดศพ และอาคารอเนกประสงค์เพื่ออุทิศให้ผู้วายชนม์ที่เป็นนายทุน ปัจจุบนั เมรุเผาศพ ศาลาสวดศพ และลานประกอบพิธกี รรม ได้กลายเป็นอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของวัดใหญ่ๆ เกือบแทบทุก วัด เพราะเป็นแหล่งทีม่ าของรายได้เลีย้ งวัดทีอ่ ยู่ในการดูแลของขุนนาง พระผูเ้ ป็นเจ้าอาวาส ต่างเหมือนจะแบ่งกันว่าเมรุเผาศพใครจะใหญ่โต สวยงามกว่ากัน จนความสูงและความอลังการของสถานที่เผาศพเป็น สิง่ ทีแ่ ลเห็นได้แต่ไกลแทนโบสถ์ วิหาร และพระสถูปเจดีย์ ยิง่ ไปกว่านัน้ ยังเกิดวัดใหม่แบบไฮเทคทีด่ อู ลังการใหญ่โต มีสงิ่ ก่อสร้างสลับซับซ้อน ด้านรูปแบบและลวดลายสัญลักษณ์แบบใหม่ทพี่ ระและนักศิลปะคิดขึน้ และสร้างขึน้ เพือ่ ให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงความเชือ่ ใน ลัทธิสมัยใหม่ที่ระคนไปด้วยไสยศาสตร์ คัมภีร์และต�ำนานใหม่ๆ อีก มากมาย จนในที่สุดแล้วท�ำให้คิดได้ว่า บรรดาวัดทางพุทธศาสนาใน ปัจจุบนั เป็นเพียงแต่สถานทีป่ ระกอบประเพณีพธิ กี รรมเพือ่ การบริการ ให้กบั คนในสังคมยุคใหม่เท่านัน้ เอง โดยเฉพาะพิธกี รรมเผาศพทีแ่ สดง สถานภาพสูงมาทางสังคมของชนชั้นนายทุนและชนชั้นกลางเท่านั้น ในรอบขวบปีที่ผ่านมาสังคมไทยได้แลเห็นความขัดแย้งทาง สังคมที่เกิดจากขุนนางพระและขุนนางพ่อค้าเพิ่มขึ้น หลายเรื่อง ที่ ส�ำคัญก็คือ กรณีลัทธิธรรมกายกับการคอร์รัปชั่นเงินอุดหนุนของรัฐ ที่ให้กับวัดต่างๆ ในประเทศ เรื่องแรกเป็นการสร้างลัทธิศาสนาใหม่ 4
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ที่อ้างว่าเป็นลั ทธิในทางพุทธศาสนาที่ ไม่อาจยอมได้ว่าเป็นพระพุทธ ศาสนาที่ นั บ ถื อ กั น ทั่ วไปในสั ง คม คณะผู ้ ก ่ อ ตั้ ง เป็ น พระสงฆ์ ที่ มี สมณศักดิ์เป็นขุนนางพระ ที่นอกจากแพร่ลัทธิใหม่ให้แพร่หลายแล้ว ยังมีการเรี่ยรายและบริจาคจากชนชั้นกลางภายใต้การอุปถัมภ์ของ ขุนนางพ่อค้าที่เป็นนักธุรกิจส�ำคัญๆ ของประเทศ แต่ที่ส�ำคัญก็คือ ผู้ก่อตั้งลัทธินี้เป็นที่ยอมรับของพระสงฆ์ส�ำคัญๆ ที่มีอ�ำนาจหน้าที่ใน องค์กรปกครองสงฆ์ของประเทศ จนมีการแสดงออกที่ท้าทายต่อ กฎหมายของบ้านเมือง จนถึงมีการปราบปรามและติดภาพจับกุมเพือ่ น�ำมาลงโทษที่ยังค้างคาอยู่จนบัดนี้ ความผิดของลัทธิความเชื่อใหม่นี้ก็คือ การอ้างและอวดตัว อวดอุตริว่าเป็นสถาบันทางพระพุทธศาสนาซึ่งคนที่เป็นพุทธศาสนิก ทัว่ ไปไม่ยอมรับ แต่ถา้ แสดงว่าเป็นลัทธิความเชือ่ ใหม่ที่ไม่ใช่พระพุทธ ศาสนาก็คงจะไม่มี ใครขัดข้อง เพราะบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยที่ ประชาชนสามารถเลือกนับถือลัทธิศาสนาของตนได้ ความผิดอย่าง มหันต์ของขุนนางพระรูปนี้และพวกสาวกก็คือ การละเมิดกฎหมาย บ้านเมืองและมีสว่ นร่วมในกิจกรรมทีเ่ ป็นคอร์รปั ชัน่ ทีศ่ าลตัดสินให้เห็น ว่าผิด เมื่อทางบ้านเมืองจะเข้าไปจับกุมมาด�ำเนินการก็ได้รับการดูแล คุม้ ครองจากบรรดาขุนนางพระ และขุนนางพ่อค้าหลายกลุม่ หลายหมู่ เหล่า จนกระทั่งการจับกุมผู้ท�ำผิดท่านนี้ไม่ประสบความส�ำเร็จ และ การกระท�ำและแสดงออกของขุนนางพระในองค์กรสงฆ์กส็ อ่ ไปในทาง แสดงอ�ำนาจบารมีที่อยู่เหนือกฎหมายและสังคม กรณีที่สองที่แสดงอ�ำนาจบารมีของขุนนางพระอันเป็นข่าว ใหญ่ในสังคมเป็นเวลานานพอสมควรก็คือ เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเงิน งบประมาณของรัฐที่รัฐบาลจัดให้ไปช่วยบ�ำรุงและพัฒนาวัด โดยผ่าน ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีวัดหลายวัดไม่ได้รับเงินอุดหนุน อย่างเต็มที่ตามจ�ำนวนเงินงบประมาณ เกิดพฤติกรรมที่ ไม่ถูกต้อง ที่ทางสื่อเรียกว่า “เงินทอน” คือเมื่อทางส�ำนักงานพระพุทธศาสนา ส่งเงินงบประมาณช่วยเหลือให้เต็มจ�ำนวนแล้ว ขอให้ทางวัดที่ได้รับ ส่งเงินอุดหนุนส่วนหนึง่ กลับไปยังส�ำนักงานพระพุทธศาสนา เงินทีต่ อ้ ง ส่งกลับคืนไปนี้เรียกว่า “เงินทอน” ซึ่งไม่มีระบุในทางการว่าเพื่ออะไร และไปให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใด ซึ่งในกรณีนี้ทั้งพระสงฆ์ของวัดที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเจ้า หน้าทีข่ องส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจะต้องรับรูร้ ะหว่างกัน ถ้าไม่ยอม กันก็จะต้องร้องเรียนกับทางรัฐบาล จึงมีเหตุการณ์ที่วัดบางวัดไม่เห็น ด้วยกับการทอนเงิน แต่บางวัดก็เงียบอยูโ่ ดยทีน่ า่ จะมีการรูเ้ ห็นเป็นใจ ด้วยกันทั้งพระและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทางองค์กรสงฆ์ที่มีอ�ำนาจเต็ม ดูเหมือนละเลยกับการที่จะตรวจสอบเอาผิดพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องใน การคอร์รปั ชัน่ นี้ ในขณะทีท่ างฝ่ายรัฐบาลได้สอบสวนเอาผิดเจ้าหน้าที่ ของส�ำนักพระพุทธศาสนาที่ท�ำผิดด้วยการย้ายผู้ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญ ในการบริหารออกไป โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบสูงสุดและได้แต่งตั้งเจ้า หน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จากกรมการสืบสวนคดีพิเศษมาท�ำหน้าที่แทน ท่านผู้ ด�ำรงต�ำแหน่งใหม่ท่านนี้เข้มแข็งและเอาจริงกับบรรดาผู้ที่กระท�ำผิด
จดหมายข่าว
5
จิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
ทีแ่ ม้วา่ จะจ�ำกัดอยู่ในหมูข่ า้ ราชการส�ำนักงานพระพุทธศาสนาในสังกัด ก็ตาม แต่ก็ดูกระทบกระเทือนไปถึงบรรดาขุนนางพระและบุคลากร ของทางวัดและองค์กรสงฆ์ด้วย ท�ำให้เกิดความขัดเคืองและไม่พอใจ แก่บรรดาขุนนางพระที่มีทั้งได้กระท�ำผิดและไม่ได้กระท�ำ แต่มีความ รู้สึกเสียหน้าเสียตาและศักดิ์ศรีของพระสงฆ์ผู้ควรเป็นที่เคารพบูชา ของฆราวาสทุกคน โดยเฉพาะขุนนางสงฆ์ในระดับผูใ้ หญ่ขององค์กรสงฆ์ทอี่ อก มาประกาศว่าการกระท�ำของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบที่เป็นสุจริตชนใน องค์กรของรัฐบาล ดูหมิ่นท�ำลายเกียรติภูมิของพระพุทธศาสนา โดย เฉพาะพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชน มิใยดีต่อค�ำรับรอง สนับสนุนของนายกรัฐมนตรีผู้เป็น หัวหน้ารัฐบาลที่ออกมารับรอง และเห็นชอบในการปฏิบัติงานที่กล้าแข็งของผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติคนใหม่ ได้เรียกร้องให้ทางรัฐบาลย้าย ผู้อ�ำนวยการท่านนี้ออกไปให้พ้นต�ำแหน่ง ด้วยการแสดงออกด้วยถ้อยวาจาของขุนนางสงฆ์ผู้ใหญ่ที่ ท�ำหน้าที่คล้ายๆ จะเป็นโฆษกขององค์กรสงฆ์ทั่วประเทศ ได้ท�ำให้ เกิดปฏิกิริยาของบรรดาวิญญูชนในสังคมที่ออกมาต�ำหนิและโต้ตอบ ขุนนางพระผู้มากด้วยอ�ำนาจบารมี ในลักษณะที่รุนแรงและเหยียด หยาม ในส่วนตัวของข้าพเจ้าคิดว่า ปรากฏการณ์ความขัดแย้ง ทางสังคมที่มีเหตุมาแต่ขุนนางพระทั้งในกรณีธรรมกาย และวัดกับ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาตามที่กล่าวมาแล้วนั้นคือ สิ่งที่สะท้อนให้ เห็นภาวการณ์มีรัฐซ้อนรัฐในสังคมไทย ซึ่งสมัยก่อนไม่มี เพราะทั้ง ศาสนจักรและอาณาจักรต่างต้องอยูภ่ ายใต้ผมู้ อี ำ� นาจสูงสุดผูเ้ ดียวกัน คือพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบนั แม้วา่ โดยองค์กรสงฆ์และขุนนางสงฆ์จะต้องอยู่ ภายใต้กฎหมายของรัฐตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ขุนนางข้าราชการ ของรัฐก็ยงั ไม่มอี ำ� นาจบารมีพอทีจ่ ะจัดการกับขุนนางพระและพระสงฆ์ ที่มีอิทธิพลได้
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย
สวนเมืองบางกอก
ตัง้ แต่เริม่ มีการตัง้ ถิน่ ฐานในสามเหลีย่ มปากแม่นำ�้ เจ้าพระยา ใหม่ [Young Chao Phraya Delta] เป็นต้นมา การตัง้ ถิน่ ฐานของชุมชน ต่างๆ ตั้งแต่ลัดเกร็ดน้อย ลัดเมืองนนทบุรี จนถึงลัดเมืองบางกอก มักอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา บริเวณนี้เต็มไปด้วยพื้นที่ เรือกสวนมากกว่าพืน้ ทีท่ ำ� นา การท�ำสวนผลไม้ซงึ่ ต้องอาศัยภูมปิ ญ ั ญา สะสมในการตั้งข้อสังเกตพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่เหมาะสมกับกระแสน�้ำขึ้น น�้ำลงและผืนดินที่ต้องอาศัย “ระบบน�้ำแบบลักจืดลักเค็ม” หมายถึง อาศัยระบบนิเวศแบบน�้ำกร่อยและน�้ำจืดที่ต้องพอดีกันเพื่อให้พืชพันธุ์ ได้ปยุ๋ จากตะกอนน�ำ้ พัดพาโดยธรรมชาติและน�ำ้ กร่อยทีด่ นั เข้ามาจาก ชายฝัง่ ทะเล อันเป็นระบบนิเวศธรรมชาติทผี่ คู้ นสามารถปรับตัวได้และ น�ำมาใช้ประโยชน์ในการด�ำรงชีวติ อยูอ่ าศัยมาตลอดโดยไม่จำ� เป็นต้อง สร้างท�ำนบหรือเขือ่ นกัน้ ระบบนิเวศแบบผสมผสานนีด้ งั เช่นในปัจจุบนั ที่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ทางฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้ เต็มไปด้วยเรือกสวนผลไม้ทอี่ ยูต่ ามล�ำคลองสายต่างๆ เรียงขนานแยก จากแนวล�ำน�ำ้ สายใหญ่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เมือ่ ลึกเข้าไปตาม ล�ำน�ำ้ จากสวนผลไม้กเ็ ปลีย่ นเป็นไร่นาปลูกข้าว โดยแบ่งพืน้ ทีก่ นั อย่าง ชัดเจน โดยทางตะวันออกของพืน้ ทีเ่ ป็นดินตะกอนชุดธนบุรี ซึง่ เป็นดิน ทีเ่ หมาะแก่การท�ำสวน ท�ำไร่ ส่วนด้านตะวันตกเป็นดินชุดบางเลนและ บางกอก ซึ่งเหมาะแก่การท�ำนา มีการขุดคลองและคลองธรรมชาติ เป็นเครือข่ายหนาแน่น ท�ำให้เคยเป็นเขตเพาะปลูกที่ส�ำคัญแห่งหนึ่ง ของประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐไม่มีนโยบายควบคุมการใช้พื้นที่เฉพาะ ที่เหมาะสมจนท�ำให้พื้นที่สวนและนากลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็วใน ระยะเวลาไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา การตัดถนนหนทางสายต่างๆ รุกเข้ามา อย่างรวดเร็ว ท�ำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นดี หมู่บ้าน จัดสรรขนาดใหญ่และหรูหราเกิดขึ้นมากมาย บริเวณนี้จึงกลายเป็น แหล่งที่พักอาศัยและเปลี่ยนจาก ที่นา ที่สวน ซึ่งมีธรรมชาติของดิน อันอุดมสมบูรณ์ไปอย่างสิ้นเชิง การพรรณนาถึงสภาพภูมิศาสตร์และภูมิวัฒนธรรมของคน สยามในเอกสารของชาวตะวันตกทีเ่ ข้ามาเนือ่ งจากเจริญสัมพันธไมตรี และเพื่อการค้า เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์เป็นภาพลายเส้นที่วาดอย่างละเอียดและพรรณนาตาม วิชาธรรมชาติวิทยา อธิบายลักษณะของต้นไม้และผลไม้เมืองร้อน เช่น ต้นหมาก กล้วย ขนุน มะพร้าว มะม่วง สับปะรด เงาะ ฯลฯ
จดหมายข่าว
ในประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยามที่ปรากฏใน สมัยอยุธยาตอนปลาย โดย ตุรแปง บันทึกไว้กล่าวถึง ของสวน ซึ่ง เป็นผลไม้อันหลากหลายมากชนิดทั้งกล่าวด้วยว่า ผลไม้ชนิดเลิศที่คน สยามชอบมากที่สุดคือ ทุเรียน และนับว่าคงเป็นที่นิยมกันมาจนถึง ทุกวันนี้อย่างแน่นอน ว่า พลู หมาก มะพร้าว ส้ม (มีราว ๓๐ ชนิด แต่ส้มแก้วรสดี ทีส่ ดุ เป็นส้มผลโตและมีจกุ เปลือกเขียว) ทุเรียน (คนสยามชอบผลไม้นี้ มาก เหลือก็เอามาท�ำทุเรียนกวน) ขนุน มังคุด เงาะ มะม่วงหิมพานต์ มะเดื่อ น้อยหน่า น้อยโหน่ง ฝรั่ง มะละกอ กล้วย มะขาม พริกไทย อ้อย สับปะรด มะม่วง ข้อสังเกตจากการผจญภัยของเฟอร์ดินัน เมนเดซ ปิน โต ที่เดินทางเข้ามาสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวชื่นชมผลไม้ใน สามเหลี่ยมปากแม่น�้ำเจ้าพระยาว่า
ภาพลายเส้นวัดและบ้านสวนริมคลองทีพ่ บได้ทวั่ ไปทางฝัง่ ธนบุรชี ว่ งต้นกรุงเทพฯ
6
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ผลไม้และพืชผักคุณภาพดีกว่าผลไม้ทเี่ บงกอลมาก นอกจาก นั้น ก็มีมังคุดและทุเรียน ซึ่งมีรสชวนรับประทานยิ่งนัก ช่วงเวลาที่ดี ที่สุดของผลไม้ต้องเริ่มจากเมษายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม มีส้มผล งามรสดีมากมายที่บรรจุในตะกร้าใบเล็ก มีลิ้นจี่ แต่พืชผักของสยาม นั้นดูจะมีคุณภาพด้อยกว่าผลไม้ และไม่ได้รับการดูแลบ�ำรุงเท่าที่ควร และอาหารนั้น ชาวจีนเป็นผู้น�ำในการผลิต เช่น เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๔ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่เดินทางเข้าไปภายในคลองสายในตาม สวนฝั่งธนบุรีที่สามารถเดินทางไปออกท่าจีน-แม่กลองและเพชรบุรี ได้ ก็พบว่าสองฝัง่ คลองแน่นขนัดไปด้วยเรือกสวนพรรณไม้นานาชนิด ทีเ่ ขียวขจีและหอมหวน อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืน้ ทีร่ อบๆ กรุงเทพฯ ทีม่ ผี ลไม้รสเยีย่ มและมีหลากชนิด ดังบันทึกของนักเดินทาง ชาวอังกฤษ เฟรเดอริก อาร์เธอร์ นีล ที่เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๔ “เมื่อเรามาถึงคุ้งที่สองในแม่น�้ำนั้น สองฝั่งแม่น�้ำก็มีแต่สวน หมากเต็มไปหมด มีกลิน่ หอมหวานของดอกไม้ตลบ ขณะทีเ่ ราผ่านมา ตามล�ำน�้ำนับเป็นไมล์” และคณะทูตจากอังกฤษที่เข้ามาในช่วงต้นกรุงเทพฯ และ เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด และตามล�ำดับว่า “ผลไม้ของสยามหรืออย่างน้อยก็โดยบริเวณรอบๆ กรุงเทพฯ เป็นเยี่ยมและมีหลากชนิด” สมัยก่อนมีคำ� กล่าวถึง สวนใน-สวนนอก “สวนใน” หมายถึง สวนตามล�ำน�้ำเจ้าพระยาตั้งแต่นนทบุรี ธนบุรีหรือบางกอก ลงไปจน พระประแดง ส่วน “สวนนอก” หมายถึง สวนตามล�ำน�้ำแม่กลอง เช่น ทีบ่ างช้าง (สมุทรสงคราม) โดยมีคำ� เรียกให้คล้องจองกันว่า “บางช้าง สวนนอกบางกอกสวนใน” หรือ “สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง” “สวนในบางกอก” ผู้คนทั้งในท้องถิ่นยังแบ่งเรียกกันเป็น “บางบน” กับ “บางล่าง” ซึ่ง “บางบน” เป็นชื่อเรียกเรือกสวนกลุ่ม ที่อยู่ในคลองบางกอกน้อยหรือจากปากคลองบางกอกน้อยขึ้นไป ซึ่ง อยู่ตอนบนหรือทางทิศเหนือของล�ำน�้ำเจ้าพระยา ไม้ผลที่มีชื่อเสียง ของบางบน ได้แก่ ทุเรียน เงาะ กระท้อน มังคุด ละมุด ส่วน “บาง ล่าง” เป็นชือ่ เรียกเรือกสวนกลุม่ ทีอ่ ยูป่ ากคลองบางกอกใหญ่ลงไปทาง ราษฎร์บูรณะหรือแถบดาวคะนองต่อบางขุนเทียน หรือซึ่งเป็นทางใต้ ของล�ำน�้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น�้ำ ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของ บางล่าง ได้แก่ ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน ส้มโอ หมากพลู กล้วย หอมทอง สวนฝัง่ ธนฯ เป็นพืน้ ทีส่ เี ขียวทีม่ คี วามหลากหลายทางชีวภาพ ซึง่ เป็นมรดกทางธรรมชาติทยี่ งั่ ยืนของสามเหลีย่ มปากแม่นำ�้ โดยทัว่ ไป สวนเก่าแก่ดงั้ เดิมในฝัง่ ธนบุรี เป็นสวนผสมทัง้ สิน้ ใช้ระบบการปลูกพืช ที่มีความสูงต่างระดับกัน โดยคัดเลือกพืชหลากหลายชนิดที่แตกต่าง กันในด้านต่างๆ มาปลูกรวมไว้ในสวนขนัดเดียวกันอันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะคือการยกร่องและท�ำคันดินกัน้ โดยรอบขนัด พืน้ ทีแ่ ต่ละ “ขนัด”
จดหมายข่าว
7
จะเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า ถือทางน�ำ้ เป็นหลักใหญ่จงึ มักจะมีดา้ นใดด้าน หนึง่ ติดคลอง รอบสวนจะมีคนั ดินหรือถนนล้อมรอบเขตสวนของตนซึง่ ถือว่าเป็นทางเดินสาธารณะ สามารถเดินผ่านสวนทะลุไปได้ตลอด คัน ดินนีช้ ว่ ยป้องกันน�ำ้ ท่วม แต่ไม่ปอ้ งกันน�ำ้ เค็มทีซ่ มึ ขึน้ มาจากใต้ดนิ พืช ที่ปลูกในแต่ละสวนแต่ละขนัดมีหลายชนิดต่างระดับกันบางสวนเลี้ยง ปลาในท้องร่อง เช่น ปลานิล ปลาจีน ปลาตะเพียน ปลาแรด เพื่อ ช่วยก�ำจัดแหนและวัชพืชน�ำ้ สร้างสมดุลทางธรรมชาติ สามารถน�ำมา บริโภคในครอบครัวและน�ำออกขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างสวนทุเรียนที่บางระมาดในอดีตใช้พื้นที่อกร่องปลูก ทุเรียนเป็นหลัก ริมร่องสองข้างปลูกทองหลาง ซึ่งเป็นพืชโตเร็วให้ร่ม เงากับทุเรียนได้ดี และท�ำให้ดินเย็น ชื้น ช่วยยึดดินไม่ให้ร่องพังทลาย และยังเป็นค้างให้พลูเกาะ ใบทองหลางซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วเมื่อหล่น ลงในท้องร่องเน่าสลายแล้วกลายเป็นปุย๋ ชัน้ ดี ใต้รม่ เงาของทองหลาง ปลูกข่า ตะไคร้ บนคันล้อมสวนปลูกมะพร้าว มะม่วง กล้วย ซึ่งล้วน เป็นพืชทีข่ นึ้ ง่ายช่วยบังลมพายุ เป็นระบบทีเ่ กือ้ กูลพืชโตช้าอย่างทุเรียน และยังใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ชาวสวนมีประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการท�ำสวน เช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ไว้ที่สวน เมื่อเก็บผลผลิตแล้วครั้งหนึ่ง ชาวสวนจะคัดทุเรียนลูกที่ดีถวาย ๑ ลูก และบนบานศาลกล่าวให้ ผลผลิตในปีต่อไปดกกว่าเดิม เป็นการหาที่พึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือ ธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเสี่ยงของชาวสวนอย่างเห็นได้ชัด
ภาพลายเส้นภาพต้นไม้และผลไม้จากเอกสารของเดอ ลาลูแบร์ ที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ตาม พื้นที่สวนผลไม้เขตฝั่ง ธนบุรีและนนทบุรีก็ยังมีสวนที่รุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ผลไม้ หลักที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือ ทุเรียน รองลงไปมีส้มเขียวหวานและส้มโอ มังคุด ส่วนพวกสับปะรดมักจะปลูกแซมระหว่างต้นไม้หลัก พวกละมุด มะปราง มะม่วง มะพร้าว มะนาว และกล้วย ก็มักปลูกตามคันสวน เอกสารเก่าก็จะมีเรือ่ งเกีย่ วกับทุเรียนเขียนไว้มากมายเพราะ ทุเรียนเป็นเสมือนผลไม้ทิพย์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันมากที่สุด และทุเรียนดีมักมีราคาแพง เป็นพืชทีต่ ลาดนิยม สามารถสร้างรายได้ ดี ให้แก่ชาวสวน แถวธนบุรี นนทบุรี และกรุงเทพฯ เมื่อประมาณ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
๑๐๐ ปีก่อนปลูกทุเรียนกันมากเรียกว่า ทุเรียนสวน ถือว่าเป็นทุเรียน ที่มีคุณภาพดีและมีราคาค่อนข้างแพง บันทึกในต�ำราท�ำสวนของ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ไว้วา่ ทุเรียนบางบน ในคลองบางกอกน้อยทีบ่ าง ผักหนาม และแถบต�ำบลบางขุนนนท์ บางขุนศรี คลองชักพระ ตลิง่ ชัน เป็นทุเรียนดีมีชื่อจ�ำเพาะต้นนั้นพันธุ์นั้น ผลโตงามพูใหญ่สีเนื้อเหลือง แต่หยาบ รสมันมากกว่าหวาน ซื้อขายกันได้ราคา... ครั้นภายหลังมา ในถิน่ บางบนนีม้ นี ำ�้ ท่วมบ่อยๆ ต้นทุเรียนทนน�ำ้ ไม่คอ่ ยไหวล้มตายเสีย แทบหมด ส่วนทุเรียนบางล่าง เนือ้ ละเอียดแต่บาง สีเหลืองอ่อนมักจะ เป็นสีลาน แต่รสหวานสนิทดีกว่าบางบนคนชอบใจกินมาก จากหนังสือ “พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน” ของพระยาศรี สุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งไว้ราว พ.ศ. ๒๔๒๗ กล่าวถึง ชือ่ ทุเรียนเป็นค�ำกลอนไว้ถงึ ๖๘ พันธุ์ ต่อมามีการขยายพันธุแ์ ละเกิด พันธุใ์ หม่ๆ เพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เคยส�ำรวจพันธุท์ เุ รียนทีป่ ลูกอยูท่ วั่ ไปในช่วง ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สามารถระบุชื่อพันธุ์ได้ ๑๒๐ พันธุ์ แต่มีชื่อเสียงอยู่ ในวงการค้าประมาณ ๖๐-๘๐ พันธุ์ ซึ่งโดยมากปลูกอยู่ทางฝั่งธนฯ และนนทบุรี เฉพาะในฝั่งธนฯ ที่ส�ำรวจพบขณะนั้น และเป็นพันธุ์ที่ได้ รับความนิยมมีประมาณ ๔๐ พันธุ์ สวนทุเรียนหลายขนัดเคยล่มเมื่อครั้งน�้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. ๒๔๖๐ และ พ.ศ. ๒๔๘๕ มาแล้ว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ น�้ำ ท่วมใหญ่และท่วมสูงติดต่อกันหลายเดือน สวนผลไม้ในเขตกรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี เสียหายอย่างหนักยืนต้นตายเกือบหมดสิ้น จากนั้น จึงมีการปลูกทดแทนขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งแม้จะต้องเสีย เวลาบ�ำรุงรักษานับสิบปี แต่เนื่องจากเป็นไม้ผลราคาดี ชาวสวนจึง นิยมปลูกใหม่กันทั่วไป ดังนั้น จึงยังคงมีสวนทุเรียนหลงเหลืออยู่ แต่ สันนิษฐานว่าหลังปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มีผนู้ ำ� ทุเรียนจากทีน่ ี้ไปปลูกยังจันทบุรี อยู่เรื่อยๆ ต่อมาพันธุ์ดีๆ เหล่านี้ได้แพร่หลายไปในจังหวัดต่างๆ เช่น ตราด ระยอง นครนายก ปราจีนบุรี ความนิยมในการบริโภคทุเรียนสมัยนั้นราว พ.ศ. ๒๕๐๐ นิยมกันที่ ทุเรียนที่มีผลใหญ่ เปลือกบาง เนื้อมาก เมล็ดเล็ก ไม่ฉุน รุนแรง เนื้อสวย ไม่เปียกแฉะ ท้องตลาดนิยมสีนาก (สีเหลืองปนแดง แบบสีจ�ำปา) รองลงไปก็เป็นสีเหลืองแก่ สีเหลือง จนกระทั่งสีลาน (คล้ายสีใบลาน) ตามล�ำดับ ส่วนลักษณะเนื้อนั้นนิยมเนื้อที่ละเอียด ไม่มีเสี้ยน รสหวานมัน ความนิยมของตลาดผู้บริโภคทุเรียนปัจจุบัน จะเห็นว่าเหลือ เพียงไม่กี่พันธุ์เท่านั้น เช่น พันธุ์หมอนทอง ที่ยังขายได้ราคาดีทั้ง ในตลาดภายในและภายนอกประเทศ ส่วนพันธุ์ชะนี แม้จะยังเป็นที่ นิยมทั่วไป แต่ราคาในตลาดถูกกว่าหมอนทองหลายเท่า ชาวสวนจึง หันไปปลูกหมอนทองมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนพันธุ์อื่นๆ ที่เคยเป็นที่นิยม อย่างพันธุ์ก้านยาวกลายเป็นพันธ์ุหายากและมีราคาแพง ทุเรียนจาก บางขุนนนท์ที่กลายเป็นแม่พันธุ์ขยายไปสร้างชื่อเสียงให้เมืองนนทบุรี นอกจากปลูกด้วยเมล็ดซึ่งใช้เวลานาน ชาวสวนทุเรียนใช้วิธีตอนกิ่ง ปลูก เพาะเมล็ดน้อยลง ก็คงเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ดีและมีคนชอบ พันธุ์
จดหมายข่าว
เก่าๆ คงสูญหายไป ในสวนแถบฝั่งธนบุรีพืชพันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นไม้ผลไม้ ยืนต้นที่สร้างรายได้ พืชเหล่านี้ปลูกกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถจ�ำแนกตามชนิดและพันธุ์ต่างๆ ที่ส�ำคัญได้ ดังนี้ มะพร้าวใหญ่ (ส�ำหรับแกง) กระท้อน พันธุ์ทับทิม พันธุ์ล่าหรืออีล่า มะไฟ พันธุ์ครูถิน พันธุ์ยายเพาะ พันธุ์ไข่เต่า พันธุ์ปุยนุ่น พันธุ์ตาเจือหรือเหรียญทอง พันธุ์น�้ำตาลทราย พันธุ์ชะอม มะม่วง พันธุ์พราหมณ์ขายเมีย พันธุ์เขียวไข่กา พันธุ์เขียว เสวย พันธุ์อกร่อง ชมพู่ พันธุส์ นี าก พันธุม์ ะเหมีย่ ว พันธุแ์ ขกด�ำ พันธุน์ ำ�้ ดอกไม้ พันธุ์แก้มแหม่ม
ผลไม้ดารดาษจากสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำเจ้าพระยา
ทุเรียน พันธุ์กบแม่เฒ่า พันธุ์ตาข�ำ พันธุ์ชะนี พันธุ์ขั้วสั้น พันธุ์ก้านยาว พันธุ์กะเทย ละมุด พันธุ์สีดา พันธุ์ไข่ห่าน พันธุ์มะกอก ส้ม พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ส้มจี๊ด พันธุ์ส้มโอ กล้วย กล้วยน�้ำหว้า กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยตานี กล้วยนาก รวมทัง้ หมาก มะปราง ขนุน มะกรูด มะนาว เป็นต้น นอกจาก นั้นยังมีพืชไม้ป่าทั้งชนิดยืนต้นและชนิดเลื้อยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ช�ำมะเลียง มะกอกน�้ำ จิกน�้ำ ตะลิงปลิง มะหวด มะขวิด มะตาด ไทร บอระเพ็ด ฟักข้าว ไผ่ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคนจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในฝั่งธนบุรียึดอาชีพ ท�ำสวน เริ่มแรกเข้ามาถือสวนจากชาวสวนไทยแต่คนจีนมักปลูกพืช ที่ขายได้ก�ำไรหรือเป็นพืชเศรษฐกิจตามสมัยนิยม สวนของคนจีนจึงมี ทัง้ สวนหมาก สวนพลู และสวนผักทีช่ าวจีนนิยมปลูกกันพวกหัวไชเท้า ผักกาด พร้อมกับเลี้ยงหมูควบคู่ไปด้วย ดังเห็นได้จากบันทึกของชาวยุโรปที่เข้ามาบางกอกในสมัย 8
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
รัชกาลที่ ๓ กล่าวถึงสวนของคนจีนที่อยู่ลึกเข้าไปจากแม่น�้ำเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๙ ว่า “มีการท�ำสวนกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก อาจจะพูด ไม่ได้วา่ เป็นสวนทีม่ คี ณ ุ ภาพดีเลิศ แต่ทว่าเป็นสวนทีง่ อกงามดี….มีรอ่ ง ถั่ว….ผักกาดหอม หัวไชเท้า (หัวผักกาด) ใบพลู และหมาก ซึ่งปลูก กันเป็นส่วนใหญ่ในสวน ชาวสวนอยู่อาศัยในกระต๊อบสกปรกเล็กๆ ภายในอาณาบริเวณไร่สวนของตน มีสนุ ขั เฝ้าสวนเป็นจ�ำนวนมาก และ มีเล้าหมูส่งกลิ่นตลบอบอวล” วิธีท�ำสวนของคนจีนแตกต่างไปจากสวนคนไทย เพราะท�ำ ควบคูก่ บั การเลีย้ งสัตว์ ใช้มลู สัตว์และปลาเน่าเป็นปุย๋ ชีวภาพ ช่วยท�ำให้ พืชผักงอกงาม ขายได้ราคา ในยุคแรกๆ คนไทยส่วนหนึ่งก็ไม่นิยม กินผักจากสวนของคนจีนเพราะเห็นว่าสกปรก โดยเฉพาะความเชื่อที่ ว่ามีการน�ำมูลคนไปรดผักและเชื่อเช่นนั้นอยู่เป็นเวลานาน แต่ผักจาก สวนของคนจีนเน้นปลูกจ�ำนวนมากและราคาไม่แพง ด้วยความขยัน อุตสาหะ สวนผักของคนจีนจึงกลายเป็นพืชผักหลักในการบริโภคใน ส�ำรับอาหารและแทนที่ผักท้องถิ่นที่ออกผลตามฤดูกาลและมีจำ� นวน หลากหลายกว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ มีการขุดคลองมหาสวัสดิ์เชื่อมคลองบางกอกน้อยออกแม่น�้ำท่าจีน สองฝั่งคลองขุดใหม่ก็เริ่มมีชาวจีนเข้ามาเช่าที่ตั้งรกรากปลูกผักขาย ทั้ง คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ฯลฯ จนบริเวณริมฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ ด้านใต้กลายเป็นพื้นที่ยกร่องท�ำสวนผักของคนจีน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อ สายจีนแต้จิ๋วเกือบทั้งนั้น และบริเวณนี้เรียกว่า “สวนผัก” มาจนถึง ปัจจุบัน การท�ำสวนของคนจีนท�ำรายได้ดี ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ชาวจีนจ�ำนวนหลายพันในเมืองใกล้เคียงกรุงเทพฯ ได้พากันไปรับจ้าง ท�ำสวนผักและสวนพลู กับเลี้ยงหมู ท�ำให้การท�ำสวนและเล้าหมูแพร่ หลายยิ่งขึ้น ในหนังสือ “ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ” ที่กล่าวถึง “เรื่องสวน” ของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) (พ.ศ. ๒๓๙๒-๒๔๖๓) เป็นอดีตอธิบดีกรมพระคลังสวน อธิบดีจัดการกรมภาษีร้อยชักสาม ที่ปัจจุบันคือกรมศุลกากร ท่านกล่าวถึงการท�ำสวนว่า “เป็นสิ่งส�ำคัญอันสมควรที่จะให้รู้ธรรมชาติของที่แผ่นดิน อันจะได้ขุดร่องยกคันโก่นสร้างที่แผ่นดิน จะได้หว่านเพาะต้นไม้มีผล ที่เป็นต้นไม้ยืนนาน และต้นไม้ล้มลุกเพราะหว่านตามฤดูสมัยให้ได้ ผลอันดีมีราคามาก และต้องยากล�ำบากที่จะต้องลงแรงลงทุน และ เปลื้องเวลาแต่น้อย ในการประสงค์จะให้ผลดังนี้ มีการอยู่ ๔ อย่างที่ ชาวสวนควรจะมีทรงไว้ ความคาดหมายประโยชน์จึงจะเป็นอันส�ำเร็จ ได้ คือว่าจะต้องมีทุนคือเงินที่จะได้ออกใช้สอยในสิ่งที่ควรต้องการ ๑ แรงหรือมือเพือ่ ทีจ่ ะได้ทำ� งานทีต่ อ้ งการ ๑ ความรูใ้ นทางทีด่ ที สี่ ดุ แห่ง การงานที่จะท�ำ ๑ และความฉลาดเพื่อที่จะได้บัญชาใช้ทุนและแรงที่ จะต้องออกท�ำ ๑ คุณสมบัติ ๔ อย่างนี้มีอยู่ในชาวสวนผู้ใดแล้ว ความ มาดหมายที่จะให้เกิดประโยชน์ ก็คงเป็นผลส�ำเร็จอย่างดียิ่ง รวมเป็น
จดหมายข่าว
9
สิง่ ซึง่ เป็นวิชาส�ำหรับชาวสวนทีค่ วรต้องศึกษาและประพฤติไปด้วยกัน” อันหมายถึงการท�ำสวนนั้นจ�ำเป็นต้องใช้ทุนรอนและความ อดทนสติปญ ั ญาในการปรับสภาพพืน้ ดินให้เข้ากับพืชพันธุท์ ต่ี อ้ งมีการ คัดเลือกและสร้างพันธุใ์ หม่อยูเ่ สมอ งานท�ำสวนจึงเป็นงานหนักแต่นา่ จะท�ำให้ชาวสวนนั้นเป็นกลุ่มที่มีรายได้ดีกว่าอาชีพอื่นๆ หมากเคยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นก�ำให้ แก่ชาวสวนเป็นอันมากและรัฐก็มรี ายได้จากการเก็บอากร สร้างความ มั่งคั่งและมั่นคงให้แก่รัฐ เช่นเดียวกับพลูซึ่งต้องเคี้ยวคู่กับหมาก ภาษี หมากจึงเข้าอยู่ในอากรสวนใหญ่ที่ปลูกโดยยกร่องสวน โดยมีพิกัด อัตราอากรอย่างเป็นหลักเกณฑ์ ครั้นภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริงก็ ปรับปรุงเพิ่มขึ้น เช่น หมากเอก (สูง ๓-๔ วาขึ้นไป) แต่เดิมเสียอากร ต้นละ ๕๐ เบี้ย ภายหลังสนธิสัญญาขึ้นเป็น ๑๓๘ เบี้ย และหมากผาก รายออกดอกประปรายเคยเสียต้นละ ๔๐ เบี้ย ภายหลังสนธิสัญญา แล้วขึ้นเป็น ๑๒๘ เบี้ย รายได้จากการเก็บภาษีของชาวสยามนัน้ แสดงให้เห็นชัดเจน ว่า ภาษีอากรที่เรียกเก็บมากที่สุดคือผลิตผลการเกษตรจ�ำพวกหมาก มะพร้าวผลไม้และพืชผักต่างๆ มากกว่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ภาษี เหล้าในทุกจังหวัดรวมกัน ภาษีการจับปลา ภาษีซุงและไม้สัก ดังที่พบ ว่ามีการเก็บภาษีไม้ซงุ และไม้สกั ทีอ่ ยู่ในเขตเทือกเขาทางภาคเหนือ ซึง่ ยังไม่ได้รายได้มากเท่ากับภาษีจากพืชผลไม้จากการเกษตร อาจจะเป็น เพราะไม้ซงุ หรือไม้สกั อยู่ในหัวเมืองห่างไกลและใช้ระบบสัมปทานโดย เจ้าผู้ครองนครกับชาวตะวันตก แม้จะอยู่ ในช่วงที่ประเทศสยามในขณะนั้นก้าวเข้าสู่ความ ทันสมัยในการเป็น ประเทศสมัยใหม่แล้วก็ตาม ภาษีจากผลิตผล การเกษตรจากหมาก มะพร้าว และผลไม้ยังเป็นอันดับต้นๆ จะเป็น รองเพียงภาษีโรงเหล้า รายได้ของรัฐจึงพึ่งพาภาษีจากสวนในและ สวนนอกตลอดจนพื้นที่ ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำใหม่มากกว่าพื้น ที่อื่นๆ สิ่งเหล่านี้คือช่วงเวลาก่อนที่การอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ จะเข้า
แม่ค้าเรือพายในย่านตลิ่งชันเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๒
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
มาท�ำกิจการในสยามประเทศ บันทึกจากเอกสารทั้งจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในสมัย อยุธยาและเอกสารการเก็บอากรสวนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ในช่วง รัชกาลที่ ๕ ท�ำให้เห็นความส�ำคัญของสวนผลไม้ในบริเวณฝัง่ ตะวันตก ของแม่น�้ำเจ้าพระยาและสวนผลไม้แถบสมุทรสงครามว่า มีการปลูก ไม้ผลที่ส�ำคัญๆ คือ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมาก พลูคา้ งทองหลาง ๗ พันธุน์ สี้ ามารถเก็บอากรใหญ่ บริเวณใดมีจำ� นวน ไม้ผลชนิดนั้นมากก็เรียกว่าสวนสิ่งนั้น ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พืชเศรษฐกิจ ๗ ชนิดที่รัฐจัดเข้า อากร สวนใหญ่ คือ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมาก และ พลูค้างทองหลาง จะเสียค่าอากรสูงกว่าไม้ล้มลุกซึ่งเสียเป็นอากรสม พัตสร ที่ก�ำนันจะเป็นผู้เดินส�ำรวจนับจ�ำนวนต้นผลไม้ ซึ่งแล้วแต่จะ ก�ำหนดว่าต้นไม้ชนิดใดเก็บเท่าใด แต่ต่อมามีปัญหาการนับต้นไม้ที่ ตายไปบ้างมากและชาวสวนก็ไม่ยอมเสียอากร ต่อมารัฐได้ตราพระ ราชบัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร พ.ศ. ๒๔๘๑ ขึ้นมา จึงได้ ยกเลิกอากรสมพัตสรไป ความผันแปรของการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาจนไปถึงเขื่อน ภูมพิ ล รวมทัง้ การขุดลอกสันดอนปากน�ำ้ และนโยบายการชลประทาน แบบแยกส่วนระหว่างบริเวณที่เป็นน�้ำจืดและน�้ำเค็ม ท�ำให้รูปแบบน�้ำ แบบลักจืดลักเค็มด้อยไปเพราะเป็นการบิดเบือนธรรมชาติและรูปแบบ การใช้น�้ำในท้องถิ่นสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำใหม่ ท�ำให้สวนทุเรียนและ สวนผลไม้ทรุดโทรมไปตามล�ำดับ การเปลี่ ย นแปลงโครงสร้ า งของการใช้ ที่ ดิ น และน�้ ำใน สามเหลี่ยมปากแม่น�้ำเจ้าพระยาและการขยายตัวของมหานคร เกิด ขึ้นจากโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทันสมัยจน เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลกระทบต่อชุมชนดั้งเดิมที่เกิด ขึน้ อย่างถาโถมและรุนแรงมากเสียจนการแก้ปญ ั หาเฉพาะส่วนเฉพาะ ตัวเช่นแต่ก่อนก็ไม่สามารถต้านทานได้
ชาวสวนชาวสยามที่เคยมีชีวิตอยู่อย่างสงบร่มเย็นในอดีต และเมืองได้เข้ามารุกไล่ จนชาวสวนดั้งเดิมต้องมีชีวิตเงียบๆ ในสวน ลึกๆ ห่างจากถนนใหญ่และชาวสวนบางคน บางตระกูลก็ต้องละเลิก หายหน้าไปเนื่องจากการสร้างถนน สวนที่กลายเป็นเมืองในปัจจุบัน นอกจากจะหาทางออกเรื่องแก้ไขสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้แล้ว ยังท�ำได้เพียงพยุงความรู้สึกของการเป็นคนริมน�้ำและใช้ ชีวิตท่ามกลางต้นไม้และผืนดินไว้เท่าที่การท่องเที่ยวที่สร้างตลาดน�้ำ หรือตลาดบกขึ้นมาใหม่จะท�ำได้ ทั้งที่นา สวนผลไม้ และสวนผัก ถือ เป็นเพียงเรื่องราวติดที่ของอดีต ที่เคยรุ่งเรืองในการเป็นพื้นที่ซึ่งผลิต ผลไม้รสชาติดีที่สุดแห่งหนึ่ง หากผูใ้ ดเคยไปท่องเทีย่ วในพืน้ ทีส่ ามเหลีย่ มปากแม่นำ�้ ต่างๆ ในเขตร้อน โดยเฉพาะสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำโขงในเวียดนามก็พอจะ มองเห็นว่าพืชผัก ผลไม้ต่างๆ ล้วนมีพันธุ์ใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่ รสชาติอันเนื่องมาจากความช�ำนาญที่สั่งสมในการคัดเลือกสายพันธุ์ และสร้างสายพันธุ์ใหม่ของชาวสวนที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจจะเรียก ว่าภูมิปัญญาก็ได้ การสั่งสมและการถ่ายทอดนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ต้องศึกษาทดลองบางทีอาจจะหลายชั่วคน ชาวสวนของเราถูกบังคับโดยปริยายให้ละทิ้งสิ่งเหล่านี้ ไป และน�ำเอาถนนสายใหญ่ตึกรามบ้านช่องสวยสง่าใหญ่โตและ สนามหญ้าหน้าบ้านเข้ามาแทนที่ บทสรุปก็คือ เราละทิ้งมรดกที่มี ค่าไว้เบื้องหลัง แต่กลับถูกยัดเยียดโครงสร้างทางกายภาพและชีวิต วัฒนธรรมใหม่ๆ ทีฉ่ าบฉวยและท�ำลายพืน้ ทีส่ ามเหลีย่ มปากแม่นำ�้ ใหม่ [Young Delta] มาแทนที่
ความเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น แนะน�ำพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อ�ำเภอเมืองฯ จังหวัดตราด เดิมสถานที่แห่งนี้เป็นศาลากลางจังหวัดหลังเก่า สร้าง ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ ลักษณะเป็นอาคารไม้ เสาปูน ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา ต่อมาอาคารทรุดโทรมลง ทางจังหวัดจึงได้ก่อสร้าง อาคารหลังใหม่ อาคารหลังเก่านี้จึงถูกปิดตัวลงเป็นเวลานาน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนศาลากลางหลังเก่าให้เป็นโบราณสถานของชาติ แต่ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๗ อาคารหลัง นี้ถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหมด ทางเทศบาลเมืองตราดได้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมศิลปากรเพื่อบูรณะอาคารตามรูปแบบเดิม แล้ว เสร็จในอีก ๒ ปีต่อมา และกรมศิลปากรได้ใช้งบประมาณของตัวเองเพื่อปรับปรุงภายในอาคารให้เป็น “พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด” แล้ว เสร็จจึงส่งมอบให้เทศบาลเมืองตราด เมื่อวันที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๖ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล ที่นี่จึงเป็นแห่งแรกที่ใช้เป็นชื่อ
จดหมายข่าว
10
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานเมืองตราดในต�ำแหน่งที่เคยเป็นอาคารศาลากลางจังหวัดตราดมาก่อน
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จังหวัดตราด โดยไม่มีค�ำว่า “แห่งชาติ” หากได้ยินชื่อ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” จะเห็นภาพของ การเป็น พิพิธภัณฑ์ของหัวเมืองใหญ่ หรือเมืองที่มีสถานที่ส�ำคัญ ทางประวัติศาสตร์ ด้วยกระแสการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มี มากขึ้น จึงเกิดการปรับตัวของการจัดท�ำพิพิธภัณฑ์ที่น�ำความรู้ใน เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมกับประวัติศาสตร์ภาพใหญ่จัดท�ำเป็น “พิพิธภัณฑ์เมือง” โดยพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จัดได้ว่าเป็น พิพิธภัณฑ์ที่น�ำความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อแสดงให้เห็น วิถีชีวิตคนเมืองตราด ไม่เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมเพียงวัตถุ โบราณ อีกทั้งพิพิธภัณฑสถานเมืองตราดยังเป็นฐานข้อมูลในเรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นส�ำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของ คนเมืองตราด และเป็นตัวกลางในการประสานระหว่างชุมชนกับนัก ท่องเที่ยวที่สนใจในการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม วิถีชุมชน การทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานเมืองตราดเป็นตัวกลางในการประสาน งานหรือให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อกระจายไปท่องเที่ยววิถีชุมชน สู่ชุมชนในจังหวัดตราด ก็เพราะจังหวัดตราดเป็นเมืองท่องเที่ยว มี สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติงดงาม เป็นเเหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้ทางพิพธิ ภัณฑ์ตอ้ งเป็นศูนย์กลางในการสร้างองค์ ความรู้เผยแพร่สู่คนเมืองตราดให้เข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของ ตน เพราะจังหวัดตราดไม่ได้มีเพียงเกาะหรือทะเลที่งดงามแต่เพียง อย่างเดียวเท่านั้น แต่มีเสน่ห์ของวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในจังหวัด ที่ยังคงด�ำรงอยู่ในปัจจุบันด้วย
จดหมายข่าว
11
การปรับตัวในการพัฒนาความเป็น “พิพิธภัณฑ์เมือง” ของ พิพธิ ภัณฑสถานเมืองตราด มีความเคลือ่ นไหวและพัฒนาอยูต่ ลอดเพือ่ ไม่ให้ข้อมูลที่รวบรวมเป็นข้อมูลเก่าหรือไม่ได้วิเคราะห์เพิ่มเติม จาก การน�ำชมของเจ้าหน้าทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ทดี่ ลู กั ษณะของผูเ้ ข้าชมว่าต้องการ ท่องเที่ยวในลักษณะใด เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดความ รู้ รวมถึงการจัดแสดงเนื้อหาที่ ไม่มากและยากเกินไปถ่ายทอดผ่าน เทคโนโลยีทันสมัย ห้องจัดแสดงบางห้องสามารถท�ำให้ผู้เข้าชมรับรู้ หรือเกิดอารมณ์รว่ มในเนือ้ หาทีน่ ำ� เสนอซึง่ เป็นเรือ่ งน่าสนใจอย่างมาก ในยุคสมัยที่พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่เน้นการจัดแสดงโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เป็นสถานที่ถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิตของคนเมืองตราด โดยแผนผังการจัดแสดง มีห้องจัดแสดง นิทรรศการหลัก แบ่งออกเป็น ๖ ห้อง ประกอบไปด้วย ห้องที่ ๑ มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมเมืองตราด จัดแสดง เรื่องภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมของ จังหวัดตราด ตราดเป็นจังหวัดสุดท้ายชายแดนตะวันออกของไทย ลักษณะ รูปร่างคล้ายหัวช้างหันหน้าไปทางประเทศกัมพูชา มีเทือกเขาบรรทัด เป็นพรมแดนธรรมชาติ ด้านใต้ติดทะเลอ่าวไทยประกอบไปด้วยเกาะ น้อยใหญ่จ�ำนวนมาก เหล่านี้ยังช่วยบังลมมรสุมอีกด้วย ตราดมีฝนชุกจังหวัดหนึง่ ของไทย มีปา่ ดิบชืน้ ผืนใหญ่ในภาค ตะวันออก ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ป่าเมืองตราดถือว่าเป็น แหล่งผลิตสินค้าป่าส่งออกที่สร้างรายได้ให้แก่ราชอาณาจักร ผืนป่า เหล่านี้ยังเป็นต้นก�ำเนิดของแม่น�้ำหลายสาย เช่น แม่น�้ำเวฬุ แม่น�้ำ
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ตราด คลองบางพลัด ส่วนพืน้ ดินอุดมแร่ธาตุจากดินตะกอนปากแม่นำ�้ ท�ำให้ในอดีตตราดเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก และเป็นแหล่งรัตนชาติสูงค่าคือ “ทับทิมสยาม” นอกจากนี้ตราดยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน สละ ลองกอง แตงโม โดยเฉพาะสับปะรดตราดสีทอง ผลไม้เหล่านีส้ ร้างรายได้และชือ่ เสียงให้จงั หวัดไม่นอ้ ยกว่าจันทบุรแี ละ ระยอง การที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีชัยภูมิที่ดีเหล่า นีส้ ามารถเดินเรือค้าขายได้อย่างสะดวก เพราะน่านน�ำ้ ทะเลตราดเป็น จุดจอดเรือส�ำเภามาตั้งแต่โบราณ ห้องที่ ๒ ผู้คนเมืองตราด จัดแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัด ตราด ห้องนี้จัดแสดงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของผู้คนใน จังหวัดตราดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย ชาวชองคนพื้น เมืองจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษามอญ-เขมร มักอาศัยอยู่แถบ อ�ำเภอ เมืองฯ อ�ำเภอบ่อไร่ และอ�ำเภอเขาสมิง กลุม่ คนไทยทีค่ าดว่ามาตัง้ แต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา กลุ่มคนจีนที่คาดว่ามาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี กลุ่ม คนเวียดนามที่เข้ามาหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยองค์เชียงสือในรัชกาล ที่ ๑ สุดท้ายคือกลุ่มคนมุสลิมกัมพูชา หรือที่เรียกว่าแขกจาม จังหวัด ตราดจึงประกอบไปด้วยผูค้ นหลายชาติพนั ธุ์ แต่ปจั จุบนั นอกจากการ นับถือศาสนาที่ชัดเจน ความแตกต่างทางภาษา วัฒนธรรม ประเพณี แทบจะแยกออกได้ยาก เพราะมีการผสมผสานกลมกลืนเข้าด้วยกัน มาโดยตลอด ห้องที่ ๓ ล�ำดับทางโบราณคดีและประวัติเมืองตราด จัด แสดงเรือ่ งราวของจังหวัดตราดตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ต้นสมัย ประวัติศาสตร์ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ ๑-๔) เมืองตราดเป็นเมืองที่เก่ามาก มีการค้นพบขวานหินโบราณ ซึ่งมีอายุประมาณ ๔,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว และพบกลองมโหระทึก ส�ำริด ๓ ใบ สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีอายุประมาณ ๑,๗๐๐-๑,๙๐๐ ปีมาแล้ว คาดว่าเป็นการแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมกัน ค้าขายกัน นอกจาก นั้นยังมีเครื่องปั้นดินเผารูปแบบต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งน�ำขึ้นมา จากเรือที่จมในท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวประวัติศาสตร์ใน สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เมืองตราดมีฐานะเป็นหัวเมืองชายทะเล ตะวันออกที่ส�ำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเป็นเมืองท่า และ หลังเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒ เมืองตราดยังเป็นฐานก�ำลังและแหล่งสะสม เสบียงอาหาร ยุทโธปกรณ์ ของพระเจ้าตากสินฯ ที่ใช้ในการกอบกู้ กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ห้องที่ ๔ เหตุการณ์ส�ำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จัดแสดงเรื่องการรับมอบเมืองตราดคืนจากฝรั่งเศส การ พระราชทานพระแสงราชศาสตราประจ�ำเมือง และการเสด็จประพาส เมืองตราด ห้องนี้จัดแสดงเหตุการณ์ส�ำคัญที่เล่าเรื่องราว ร.ศ ๑๑๒ จนถึงการเสียเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลทีี่ ๕ รัฐบาล
จดหมายข่าว
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
ไทยได้ท�ำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส โดยยอมยกเมืองตราดและเกาะ ทัง้ หลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูดตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรี เขตต์ (เกาะกง) เพือ่ แลกกับเมืองจันทบุรคี นื มา ฝ่ายฝรัง่ เศสยอมถอน ทหารออกจากจังหวัดจันทบุรีโดยกองทหารฝรั่งเศสออกจากจันทบุรี ตามสัญญาในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ต่อจากนั้นรัฐบาลไทย ได้มีการมอบจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองแทน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ เรสิดังกัมปอร์ตข้าหลวงฝรั่งเศสเคยปกครองที่กัมพูชา เมื่อ ครัง้ มาปกครองทีต่ ราดได้นำ� คนฝรัง่ เศสมาไม่มากนักแต่ได้นำ� พาพวก ทีเ่ ป็นข้าราชการเวียดนามและกัมพูชาทีฝ่ รัง่ เศสให้มาดูแลเสียมากกว่า โดยการน�ำการปกครองในกัมพูชามาใช้กับที่ตราดเช่นเดียวกัน ต่อมา วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ฝรั่งเศสได้ท�ำสัญญา คืนเมืองตราดให้ไทยดังเดิม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ที่ทรงด�ำเนินท�ำทุกวิถีทางจนได้เมืองตราดกลับคืนมา และวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ฝรั่งเศสจึงท�ำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็น ทางการให้กับประเทศสยาม นับว่าจังหวัดตราดต้องสูญเสียอิสรภาพ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา ๒ ปี ๖ เดือน ๗ วัน จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่ ร.๕ เสด็จประพาสบ่อยที่สุด ใน การประพาสทั่วประเทศ ๒๔ ครั้ง เสด็จประพาสตราดถึง ๑๒ ครั้ง โดยเสด็จเกาะช้างทุกครั้ง จังหวัดตราดจึงถือว่ามีความส�ำคัญอย่าง มากในช่วงข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พระองค์ทรงยอมแลก ดินแดนในฝั่งกัมพูชาทั้งหมดเพื่อให้จังหวัดตราดคืนมา กล่าวกันว่า หากไม่รกั ษาตราดไว้ อ่าวไทยในปัจจุบนั คงไม่ได้มพี นื้ ทีท่ างทะเลกว้าง เหมือนปัจจุบัน ห้องที่ ๕ เหตุการณ์ยทุ ธนาวีเกาะช้าง จัดแสดงเรือ่ งราวตาม ล�ำดับเหตุการณ์ยุทธนาวี โดยจ�ำลองห้องจัดแสดงเป็นเรือรบ ห้องนี้มีการท�ำรูปแบบต่างจากห้องอื่นคือ พื้นทางเดินเป็น ไม้เปรียบเสมือนเรือประมงที่นั่งไปแล้วบังเอิญเห็นการรบระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศส เหตุการณ์เป็นช่วงสมัยรัชกาลที่ ๘ ฝรั่งเศสก�ำลังจะ ไปรบกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ฝรั่งเศสกลัวว่าไทยจะ ไปรุกรานอินโดจีนจึงให้รัฐบาลไทยท�ำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลม 12
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
อินโดจีน รัฐบาลไทยได้ตอบฝรั่งเศสไปว่าไทยยินดีจะรับตกลงตามค�ำ ของฝรั่งเศส แต่ขอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน และคืนดิน แดนฝั่งขวาแม่น�้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปคืนให้ไทย จึงปรากฏว่าไม่เป็น ที่ตกลงกัน ฝรั่งเศสไม่พอใจจึงส่งเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดที่จังหวัด นครพนมก่อน และฝรั่งเศสยังได้ส่งเรือรบเข้ามาทางเกาะช้างเพื่อ หมายทีจ่ ะระดมยิงหัวเมืองชายทะเลตะวันออกของประเทศไทยเมือ่ วัน ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงเกิดเหตุการณ์ยุทธนาวีที่เกาะช้างขึ้น เป็นเหตุการณ์รบทางเรือระหว่างทหารเรือไทยกับทหารเรือฝรั่งเศส ซึ่งสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนในครั้งนี้ ห้องที่ ๖ ตลาดเมืองตราด จัดแสดงเรือ่ งราวการค้าในตลาด เก่าและสภาพปัจจุบันของตลาดเมืองตราด จ�ำลองการค้าขายของตลาดเก่าเมืองตราดโดยมุง่ หวังให้เป็น แหล่งการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ภายในห้องจัดแสดงจ�ำลองเรื่องราวการค้าในตลาดเก่า และสภาพของตลาดเมืองตราด เป็นการเดินทางย้อนกลับสู่อดีตอัน เฟือ่ งฟูของย่านการค้าส�ำคัญแห่งนี้ จังหวัดตราดมีตลาดเก่าหลายแห่ง อาทิ ตลาดริมคลอง ตลาดท่าเรือจ้าง แต่ละแห่งมีของขายเบ็ดเตล็ด หลายอย่าง เช่น ยารักษาโรคจนถึงเครือ่ งมือจับปลา ปัจจุบนั บางตลาด ก็ยังมีอยู่ บางตลาดก็หายไปตามการเปลี่ยนแปลง พิพธิ ภัณฑสถานเมืองตราด ได้รวบรวมและน�ำเสนอ เรือ่ งราว เหตุการณ์ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต วัฒนธรรม จากการ สืบต่อและถ่ายทอดรุน่ สูร่ นุ่ โดยการมีเครือข่ายการเเลกเปลีย่ นข้อมูล ข่าวสารกับชุมชนในจังหวัดตราดมาโดยตลอด อีกทัง้ การน�ำเสนอผ่าน ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการแบ่งส่วนในการจัดแสดงเนื้อหา ที่ลงตัว ท�ำให้ผู้เข้าชมรู้สึกไม่เบื่อหน่ายกับข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และ วัตถุโบราณ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราดได้เเสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ เมือง สามารถเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทมี่ ชี วี ติ โดยรวบรวมข้อมูลประวัตศิ าสตร์ ท้องถิน่ ผสมผสานกับเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ภาพรวมอย่างลงตัว ไม่ใช่ เพียงสถานที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณ ตามที่พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ได้ กลายเป็นเช่นนัน้ พิพธิ ภัณฑสถานเมืองตราด จึงถือได้วา่ เป็นพิพธิ ภัณฑ์
เมืองที่ประสบความส�ำเร็จในการน�ำความรู้ท้องถิ่นมาผสมผสานกับ ประวัติศาสตร์ชาติ เกิดเป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ที่ยังมีชีวิต แต่น่าเสียดายด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ใน จังหวัดตราดจึงมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีส่ วยงามดึงดูดนักท่องเทีย่ ว จนได้ ละเลยการเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ เราจึงขอเชิญชวนแนะน�ำทุกท่านเข้า มารับชมพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เพราะการเริ่มจุดท่องเที่ยวจาก พิพิธภัณฑสถานเมืองตราดเป็นที่แรกจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าใจ และเพิ่มมุมมองใหม่ๆ ในการท่องเที่ยวจังหวัดตราด อีกทั้งการเข้าใจ ในสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดตราดเเละจังหวัดใกล้เคียง ข้อคิดเห็นจากผู้เข้าชม พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จากที่ได้มาดูพิพิธภัณฑ์ มีความรู้สึกชื่นชมการเสียสละของ ทุกคนที่ต่อสู้ปกป้องพื้น ที่ของประเทศไทยจากผู้รุกรานอย่างชาติ มหาอ�ำนาจตะวันตก และอยากให้ทที่ างภาคใต้มพี พิ ธิ ภัณฑ์แบบนีด้ ว้ ย นายณัฐวรณ์ หมื่นหนู นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการจัดแสดงที่ดีและมีความเป็นสมัยใหม่ การจัดเป็นห้องตั้งแต่อดีตไปถึงปัจจุบัน มีของและเนื้อหาที่น่าสนใจ ครบองค์ประกอบ ซึ่งการพานักศึกษามาเยี่ยมชมหลายๆ ที่ก็เพื่อจะ ให้เด็กๆ ได้เห็นภาพและสามารถน�ำไปพัฒนาได้ อาจารย์ศิริอร เพชรภิรมย์ สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประทับใจในการจัดแสดงและวิทยากรทีพ่ ดู แนะน�ำผูเ้ ยีย่ มชม ได้ความรู้และเข้าใจเป็นอย่างดี จากที่ได้มาเยี่ยมชมจะน�ำความรู้และ ประสบการณ์ไปแนะน�ำน้องๆ ที่เรียนรายวิชาพิพิธภัณฑ์ต่อไป นางสาวอนิษฐา ศรีเกตุ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด วัน เวลา และการให้บริการ วันอังคาร-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๓๐ น. (หยุดวันจันทร์) อัตราค่าเข้าชม พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ๑. เด็ก ส่วนสูงเกินกว่า ๑๐๐ เซนติเมตรขึ้นไป ๕ บาท ๒. ผู้ใหญ่ ๑๐ บาท ๓. เด็กต่างชาติ ส่วนสูงเกินกว่า ๑๐๐ เซนติเมตรขึ้นไป ๑๐ บาท ๔. ผู้ใหญ่ต่างชาติ ๓๐ บาท
คุณรุ่งโรจน์ แสวงกาณจน์ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ ผู้ให้ข้อมูลและจัดการน�ำชมภายในพิพิธภัณฑ์
จดหมายข่าว
13
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
พระนคร บันทึก
: จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์
สนทนาเรื่องศาสนาพราหมณ์ที่โบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า กับพราหมณ์ตรัณ บุรณศิริ เทวสถานหรือโบสถ์พราหมณ์พระนครรวมทัง้ เสาชิงช้า สร้าง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗ หลังจากการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพฯ ได้ ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาล ที่ ๑ ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมส�ำคัญ ส�ำหรับพระนคร สังเกตได้วา่ พืน้ ในโบสถ์พราหมณ์แห่งนีจ้ ะต�ำ่ กว่าพืน้ ถนน เพราะพื้นของตึกทั้งหมดสร้างขึ้นด้วยท่อนซุงขัด ไม่มีการตอก เสาเข็มลงไป ฉะนั้นจึงไม่สามารถดีดพื้นขึ้นมา หากเข้าไปอ่านในหนังสือพระราชพิธสี บิ สองเดือน จะเห็นว่า โบสถ์พราหมณ์มบี ทบาทในการประกอบพิธกี รรมทัง้ สิบสองเดือน หลัง จากเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจึงได้ลดบทบาทลงเหลือเพียงพระ ราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เชิญพระอิศวรและพระนารายณ์มาสู่โลกมนุษย์ ท�ำในช่วงพิธีปี ใหม่ ของพราหมณ์ มีการท�ำพิธโี ล้ชงิ ช้า ซึง่ ปีนจี้ ะตรงกับวันที่ ๒๖ ธันวาคม นี้ ศาสนาพราหมณ์ที่แผ่อิทธิพลในไทย เริ่มต้นเมื่อ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปี ก่ อ น พุ ท ธกาล เรี ย ก ว่ า “สนาตนธรรม” คือ ธรรม อันเป็น นิตย์ ไม่สิ้นสุด ท�ำ อยู ่ ต ลอดเวลา นั่ น คื อ ชื่ อ ที่ ใช้เริ่มแรก หลังจากนั้น มา ประมาณ ๒,๐๐๐ ปี ได้เปลี่ยนเป็น
“ไวทิกธรรม” คือ ธรรมที่นับถือพระเวทเป็นใหญ่ หลังจากนั้นอีก ๑,๐๐๐ กว่าปี เปลีย่ นมาเป็น “พราหมณธรรม” คือ ธรรมทีม่ พี ราหมณ์ เป็นผู้เผยแผ่ ตั้งแต่น้ันเป็นต้นมานิกายต่างๆ ก็ ได้เกิดขึ้นมากมาย เพราะในอินเดียนัน้ มีพราหมณ์เป็นใหญ่จงึ น�ำเอาความเชือ่ ของตนเอง ออกมาเผยแผ่สร้างเป็นนิกายแบบต่างๆ ท�ำให้พราหมณ์ยคุ โบราณรูส้ กึ ว่าเป็นการกระท�ำทีผ่ ดิ แบบแผนจารีตและธรรมะของพราหมณ์ นัน่ คือ พระเวททั้งสี่เล่มได้แก่ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท จากนั้นพราหมณ์รู้สึกว่ามีนิกายต่างๆ มาก จึงมีการขยาย ออกมา ทางอินเดียใต้ล่องเรือออกมาทางชวา มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมไปถึงอาณาจักรจามในเวียดนาม แผ่อิทธิพลเข้ามาในขอบเขต เล็กๆ แห่งหนึ่งที่เป็นเอกเทศนั่นคือ “อาณาจักรศรีวิชัย” เมื่อเผยแผ่ ศาสนาเข้ามายังภูมิภาคต่างๆ แล้ว เกิดการรวมวัฒนธรรมระหว่าง พราหมณ์เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงเกิดความเชื่อต่างๆ ขึ้นมา เช่น ศาลพระภูมิ ที่ไม่ใช่วฒ ั นธรรมพราหมณ์หรือพุทธเพียงอย่างเดียว แต่ เกิดจากการรวมกันทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เกิดเป็นสิ่งเฉพาะ ผ่าน ผู้ที่มีความรู้ความสามารถอยู่แล้วน�ำมาผนวกเข้ากับความรู้ท้องถิ่น พราหมณ์จึงมีบทบาทตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา เกือบสองพันปี พราหมณ์ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาเรื่อยๆ ทาง เหนือได้เข้ามาผ่านทางจีน ทางภาคกลางเข้ามาทางทวาย ทางด่าน เจดียส์ ามองค์ และเมือ่ ประมาณช่วงทศวรรษที่ ๒๕๑๐ ได้มกี ารจัดตัง้ ศาสนิกสัมพันธ์เนือ่ งจากทางรัฐมีการหวาดระแวงของภัยคอมมิวนิสต์ กรมการศาสนาจึงจัดตั้งศาสนาในประเทศเกิดขึ้น มีพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู เรื่องราวต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์ในสังคมไทยที่คนส่วน ใหญ่ยังไม่ทราบ พระครูพราหมณ์ตรัณ บุรณศิริ เล่าว่า “ในสมัยอยุธยาหลังจากที่ราชวงศ์คองบองของพม่าเข้ามาตีอยุธยา พระเจ้ามังระได้น�ำศิลปะวิทยาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฏศิลป์หรือ แม้แต่ความรูต้ า่ งๆ เพราะต้นตระกูลคองบองเป็นพรานป่าต่างกับพระ เจ้าอโนรธาเมงสอในอาณาจักรพุกามที่ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์จาก มอญมามาก ในสุวรรณภูมถิ อื ว่าชนชาติมอญคือชนชาติทฉี่ ลาด รองลง มาคืออาณาจักรหงสาวดีซึ่งพระเจ้าบุเรงนองเป็นกษัตริย์ที่ได้ร�่ำเรียน
ตรัณ บุมูรณศิ จดหมายข่พราหมณ์ าว 14 ลนิธริ ิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เรา และไม่ว่าจะแก้ปัญหาโดยวิธีการใดก็ตาม แต่สุดท้ายก็ใช้ปัญญา ในการแก้เพื่อให้หลุดพ้น” “งา” พระพิฆเนศมีปัญญามากมายแต่งาพระพิฆเนศที่หัก นั้นเหตุใดจึงไม่ต่อให้ดีอย่างเดิม ? ค�ำตอบคือ “การไม่ยึดติด” นี่คือ ปรัชญาของการใช้ชีวิตเพื่อหลุดพ้นจากค�ำสอนต่างๆ ที่แฝงอยู่ในรูป เคารพ “หนู” พาหนะของพระพิฆเนศ หนูกับช้างซึ่งไม่ถูกกันโดย ธรรมชาติ แต่ค�ำสอนจากรูปเคารพของพระพิฆเนศสอนว่า ไม่ว่า อย่างไรคนเราไม่สามารถหนีจากปัญหา หรือสิง่ ทีต่ นไม่ชอบได้ ฉะนัน้ แล้วต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน
ศาลพระพรหมภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ต�ำราพิชัยสงคราม ท�ำสงครามชนะก็เก็บไว้เป็นเมืองขึ้น ไม่ท�ำลาย วิชาต่างๆ รวมถึงพราหมณ์ก็น�ำกลับไปด้วยกลายเป็นนักรบบ้าง สมัย ทีพ่ ระเจ้าตากไปอยูท่ นี่ ครศรีธรรมราชเห็นชุมชนพราหมณ์และเห็นว่า พราหมณ์ท่ีอยุธยาหายไปหมดแล้ว จึงน�ำกลุ่มพราหมณ์เหล่านี้กลับ มาสร้างเมืองใหม่ด้วย การเป็นพราหมณ์นั้นต้องมีการสืบเชื้อสายกัน มาทางสายเลือด องค์ความรู้ต่างๆ จะถูกถ่ายทอดกันภายในตระกูล” ความเชื่อของการเคารพเทวรูป ศาสนาพราหมณ์คอื ศาสนาแห่งปรัชญา การเรียนรูเ้ รือ่ งราว จากเทวรูปต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นปรัชญา เช่น เทวรูปองค์ทอี่ ยู่ในโบสถ์ พราหมณ์แห่งนี้ เป็นศิลปะแบบสุโขทัย ซึ่งในสมัยนั้นเทวสถานหรือ โบสถ์พราหมณ์ต่างๆ เหล่านี้จะอยู่ในวัง หรือติดกับวัง เพื่อประกอบ พิธกี รรมต่างๆ ให้กบั พระมหากษัตริย์ เช่นนัน้ เองบุคคลธรรมดาทัว่ ไป จึงไม่คอ่ ยได้เข้ามากราบไหว้ ทัง้ พระพิฆเนศและพระนารายณ์ลว้ นแล้ว แต่เป็นศิลปะแบบไทยแท้ๆ ที่ไม่มีเขมรมาปะปน โบสถ์พราหมณ์แห่ง นี้คือ “ไศวนิกาย” สืบมาจากอินเดียตอนใต้ นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ทางตอนเหนือจะนับถือไวษณพนิกายซึ่งนับถือ พระวิษ ณุหรือพระ นารายณ์เป็นเทพเจ้าองค์สูงสุด ตัวอย่างโบสถ์พระแม่อุมาคือ ศักติ นิกาย ซึ่งหมายถึงการนับถือพระแม่เป็นใหญ่ และตันตระนิกาย ซึ่ง ปัจจุบันยังมีอยู่ที่อินเดียแต่ไม่มีในไทย เทวรูปต่างๆ ในโบสถ์พราหมณ์น�ำมาจากสุโขทัยครั้งชะลอ พระศรีศากยมุนี พระประธานวัดสุทัศน์ฯ มาจากวัดมหาธาตุ สุโขทัย คราวเดียวกัน ปัจจุบันพราหมณ์หลวงมีอยู่แค่ ๑๕-๑๖ ท่าน และพราหมณ์ ไทยจะบวชได้คือที่นี่ที่เดียวซึ่งบวชได้เพียงปีละครั้งคือช่วงพิธีตรียัมพ วาย เมื่อเข้าไปเทวสถานแห่งใดก็ตามสิ่งแรกที่ควรกระท�ำคือ การเคารพพระพิฆเนศก่อน เพราะเชื่อว่าพระพิฆเนศคือสัญลักษณ์ ของการก�ำจัดอุปสรรคและการก�ำจัดอุปสรรคนั้นต้องเริ่มจากปัญญา สัญลักษณ์ของเศียรรูปช้างนั่นคือสิ่งสูงสุด “หากสังเกตเห็นว่าเวลาเข้าไปกราบไหว้เทวรูปต่างๆ จะเห็น ว่าท่านก�ำลังมองเรา นัน่ คือสิง่ ทีโ่ บราณสร้างไว้ เพราะปัญหานัน่ คือตัว
จดหมายข่าว
15
บรรยากาศของกิจกรรมพระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๕
แก่นแท้ของพราหมณ์ การก�ำหนดวรรณะตามคติของพราหมณ์ถือเป็นสิ่งที่ ไม่ผิด พราหมณ์ต้องอยู่กับพราหมณ์ เพราะพราหมณ์มีหน้าที่ต้องสอนสั่ง และเผยแพร่ความรู้ แต่พราหมณ์ที่ขึ้นมาเป็นวรรณะกษัตริย์ก็มี คือ โกณธัญญะ [Kaundinya] เป็นผู้สร้างอาณาจักรฟูนันที่มีความเจริญ เป็นอาณาจักรแห่งแรกในสุวรรณภูมิ ศาสนาพราหมณ์เชือ่ ว่าความหลุดพ้นคือ “ปรมาตมัน” คล้าย กับการนิพพานแต่ตา่ งกันตรงทีป่ รมาตมันคือการกลับไปหาองค์พรหม หมายถึงจักรวาลผู้ให้ก�ำเนิด องค์พรหมนั้นคู่กับพระแม่สรัสวดีซึ่งเป็น พระแม่แห่งศาสตร์และความรูท้ งั้ ปวงโดยใช้ “ยชุรเวท” [Yachuraveda] หมายถึงการร่ายมนต์หรือการสั่งสอน การคู่กันของพระพรหมและ พระแม่สรัสวดีในทีน่ หี้ มายถึงการสร้างสมดุล เพือ่ ให้เกิด “ปรมาตมัน” คือการกลับไปสู่จักรวาลหรือการกลับคืนสู่ความว่างเปล่า ศาสนาพุทธจะมีการนั่งนับลูกประค�ำส่วนของพราหมณ์จะ นั่งนับเมล็ดรุทรักษะคือผลไม้ หากเปรียบกับชีวิตของมนุษ ย์เราคือ ย่อมมีการดับสูญและเน่าเปื่อยกลับไปสู่ธาตุทั้งห้า เมล็ดรุทรักษะคือ จิตวิญญาณในการหลุดพ้น ขอบคุณ : พราหมณ์ตรัณ บุรณศิริ จากกิจกรรม “พระนคร ๑๐๑” ครั้งที่ ๕
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ย่ า นเก่ากับชีวิตจริง กิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจท่องเที่ยว ความเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพในย่ า นเก่ า ของ กรุงเทพมหานครเริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการปรับเปลี่ยนอาคาร ร้านค้าและบ้านเรือนไม้ที่มีอายุไม่น้อยให้กลายเป็นที่พักแรมจ�ำพวก บูติค โฮเทล หรือ โฮสเทลที่เป็นแบบห้องนอนรวมและกลายเป็นร้าน กาแฟ เบเกอรี่น่านั่งอย่างมากมายภายในเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมานี้ ความเปลีย่ นแปลงดังกล่าวเพือ่ รองรับกระแสการท่องเทีย่ ว ในย่านเมืองเก่าที่นักท่องเที่ยวต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการเคยนิยม พักแรมตามโรงแรมชั้นดี แต่ห่างไกลจากชีวิตผู้คนท้องถิ่น ตลอด จนความต้องการท่องเที่ยวเรียนรู้ชีวิตวัฒนธรรมของคนปกติในชีวิต ประจ�ำวันที่ไม่ได้มีการจัดสร้างหรือเสแสร้งมากนัก อย่ า งไรก็ ต าม ในช่ ว งเวลาที่ ผู ้ ค นอยู ่ อ าศั ย ภายในย่ า น เมืองเก่าน้อยลงๆ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐที่ ต้องการจัดแต่งให้เมืองในย่านเก่ามีการจัดระบบระเบียบและสวยงาม จึงควบคุมการใช้พื้นที่ของชาวบ้านที่ท�ำมาหากินริมถนนหรืออยู่ ใน ย่านพื้นที่ซึ่งอาจจะท�ำให้เมืองดูไม่งาม ทั้งย้ายหน่วยราชการแทบจะ ทั้งหมดออกไป สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ผู้คนที่ใช้ชีวิตเป็นประจ�ำในเมืองเก่า แห่งนี้น้อยลงเรื่อยๆ จนน่าใจหาย แม้ยา่ นธุรกิจดูเหมือนก�ำลังจะลดถอยลงเรือ่ ยๆ เช่น การค้า ในย่านบางล�ำพูกต็ าม แต่ในบริเวณถนนบ�ำรุงเมือง ย่านเสาชิงช้า และ ย่านแพร่งทีม่ ฐี านธุรกิจการค้าเรือ่ งของอาหารการกินทีอ่ ดุ มมากมาแต่ อดีตในย่านที่เป็นแหล่งกระทรวงทบวงกรมหลายแห่งตั้งอยู่ รวมทั้ง กิจการค้าเครื่องหมายของข้าราชการและนักเรียน ตลอดจนการค้า เครือ่ งสังฆภัณฑ์ทดี่ เู หมือนร้านสองประเภทหลังนัน้ สามารถค้าขายได้ เรือ่ ยๆ อันเป็นส่วนหนึง่ ของสังคมไทยทีย่ งั มีความนิยมในเครือ่ งหมาย ยศศักดิ์ที่ดูจะเป็นค่านิยมหลักในสังคมไทยอย่างยิ่ง รวมทั้งความเชื่อ ในวัตถุประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถหาได้ครบทุกสิ่งในย่าน เสาชิงช้า ถือเป็นธุรกิจเก่าแก่ของย่านเก่าทีย่ งั สามารถด�ำรงอยูไ่ ด้ แม้ สถานการณ์จะเปลีย่ นแปลงไป จากเมืองทีเ่ คยใช้อยูอ่ าศัย ท�ำงาน และ ใช้ชีวิตปกติประจ�ำวันมาเป็นเมืองเก่าเพื่อการท่องเที่ยว และมีธุรกิจ เพือ่ การท่องเทีย่ วเกิดขึน้ อย่างรวดเร็ว แข็งขันสูงเพือ่ นักท่องเทีย่ วโดย เฉพาะชาวต่างประเทศ ซึง่ ความเปลีย่ นแปลงเหล่านีย้ งั ไม่มหี น่วยงานทัง้ การจัดการ เมืองประวัติศาสตร์ และองค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนการท่องเที่ยว ตระหนักหรือเริม่ ศึกษาผลกระทบต่างๆ ทีม่ ตี อ่ ผูค้ น ประชาชนธรรมดา ที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตในย่านเมืองเก่าแต่อย่างใด
จดหมายข่าว
“ข้าวเสียโป เฮียหลอ” ของอร่อยในตรอกช่างทอง แพร่งสรรพศาสตร์ ป้ามาลีหรือคุณสุธิสา สุชิน ภรรยาของเฮียหลอผู้เสียชีวิต ไปแล้วท�ำข้าวเสโปมาตั้งแต่อายุ ๒๙ ปี เมื่อแต่งงานเข้ามาอยู่กับ ครอบครัวเฮียหลอทีบ่ า้ นตรอกช่างทอง ก็เริม่ ช่วยกิจการในครอบครัว สามี ได้รับช่วงสูตรการท�ำมาจากเตี่ยของเฮียหลอซึ่งเป็นคนจีน เคย ท�ำงานภัตตาคารแล้วออกมาขายผลไม้ แล้วมาท�ำข้าวหมูแดงขายที่ สะพานพุทธเป็นรถเข็น พอเลิกจากขายรถเข็นพ่อของเฮียหลอก็ไปขาย ทีโ่ รงเรียนรุจเิ สรีแถวสะพานควายโดยท�ำจากทีบ่ า้ นตรอกช่างทองแล้ว เอาไปขายที่โรงเรียน ส่วนแม่ของเฮียหลอมาขายตรงหน้ากระทรวง กลาโหม ป้ามาลีจะเป็นคนช่วยท�ำของและช่วยขาย เมื่อพ่อกับแม่เฮีย หลอเสียชีวิตลง เฮียหลอกับป้ามาลีจึงมาเช่าร้านขายที่ย่านแพร่งนรา ข้างโรงเรียนตะละภัฏ เปิดขายอยู่ประมาณ ๗ ปี โดยเฮียหลอเป็นคน หาลูกค้าเพราะรูจ้ กั คนเยอะ เมือ่ คุณสันติ เศวตวิมลหรือแม่ชอ้ ยนางร�ำ ได้มาถ่ายท�ำรายการ จึงเรียกชื่อว่า ข้าวเสโปเฮียหลอ พ่อเฮียหลอเคยเล่าให้ป้ามาลีฟังว่า ข้าวเสโปก็คือข้าวของ คนที่เสียโปที่เป็นการพนัน เมื่อไม่มีเงินก็มากินข้าวที่เขาหาบขายสมัย ก่อน แถวหน้าโรงโปที่เยาวราชจะมีคนแก่เขาหาบมาขายตอนดึกจะมี ตะเกียงดวงหนึ่งติดอยู่ข้างหน้าแล้วก็ร้องเสียโปๆ แล้วไปหยุดขายที่ หน้าโรงโป คนทีม่ าเล่นโปก็มาซือ้ กิน จะมีพวกเครือ่ งในเป็นไส้เป็ด ไส้ หมู หูหมู กระเพาะหมู ข้าวเสโปป้ามาลีนั้น ถ้าอยากกินทุกอย่างก็ใส่ เครื่องรวมกัน มีหมูแดง เป็ดย่าง กุนเชียง ไส้เป็ด ไข่ ผักและขิงดอง เป็นแบบเฉพาะข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมูแดง ก็ได้ ป้าจะท�ำให้ตามความ ชอบของคนกิน ถ้าไม่สั่งพวกเครื่องในก็ไม่ใส่ให้เพราะบางคนไม่ชอบ กิน
ข้าวเสียโป
16
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ป้ามาลีขายข้าวเสโปอยู่ที่ร้านค้าที่แพร่งนราประมาณ ๗ ปี จึงเลิกขายลูกน้องกลับบ้านหมด ป้ากลับมาอยู่บ้านที่ตรอกช่างทอง (แพร่งสรรพศาสตร์) อยู่เหงาๆ ก็เลยท�ำขายที่บ้านแบบไม่ท�ำมาก แต่ เพราะลูกค้าตามมาบอกกันปากต่อปาก ถึงบ้านจะคับแคบไม่ค่อยมีที่ นัง่ เขาก็สงั่ เป็นห่อเป็นกล่องทีละมากๆ ไปรับประทานกัน ป้ามาลีบอกว่า ถ้าป้าเลิกท�ำก็ไม่มีใครท�ำต่อแล้วเพราะลูกไม่มีใครรับช่วงต่อ เพราะ เป็นงานที่เหนื่อยและมีขั้นตอนการท�ำยุ่งยาก หลังจากป้ามาลีกลับมาขายข้าวเสโปที่บ้านพักตนเองใน ตรอกช่างทอง ก็ท�ำให้ในซอยนี้คึกคักขึ้น เพื่อนบ้านก็เริ่มมาช่วยและ ขายขนมอื่นๆ ด้วย โดยจะขายเฉพาะวันธรรมดา ไม่ขายในวันหยุด ราชการทุกอย่างตั้งแต่เวลา ๗ โมงเช้าจนถึงบ่าย ๓ โมงก็หมดแล้ว ขอบคุณคุณสุธิสา สุชิน (ป้ามาลี) : อายุ ๖๔ ปี ร้านขายเครื่องหมาย “ร้านสุวรรณประดิษ ฐ์” ร้านนี้ตั้งขึ้นสมัยคุณปู่ของผม ท่านชื่อเศียร คุณย่าชื่อเติม พื้นเพเป็นคนกรุงเทพฯ แต่คุณปู่มาจากนครราชสีมา เป็นคนจีนมา ค้าขายในกรุงเทพฯ ตอนแรกๆ ขายหลายอย่าง มาอยู่ตรงตลาดเสา ชิงช้าก่อน แต่รื้อไปหมด แต่ก่อนเป็นเทศบาลนครกรุงเทพฯ แล้วจึง ย้ายมาซือ้ ทีอ่ าคารห้องแถวเป็นห้องๆ ทีต่ งั้ อยูบ่ ริเวณหัวโค้งต่อกับถนน บ�ำรุงเมืองในปัจจุบนั ท�ำเป็นร้านขาย เป็นลักษณะขายชุดเครือ่ งหมาย พวกเข็มขัดนาค สมัยก่อนชอบท�ำเข็มขัดนาค เครื่องชุบทอง ภายหลัง เริม่ มีเงินก็ทำ� เป็นเข็มขัดทอง เข็มขัดนาค แล้วก็เอาไปขายต่างจังหวัด บ้าง เอาไปฝากห้างแผ่นเสียง ต.เง็กชวน ที่บางล�ำพูเพราะว่าเขาไป ต่างจังหวัดก็เลยรับไปขายด้วย เราก็ไม่ต้องไปไกล มีคนรับงานไปท�ำที่บ้าน เป็นวัตถุดิบมา เราก็มาชุบแบบ โบราณ ไม่ต้องเป็นโรงงานอะไร ซื้อทองมาแล้วก็กัดให้เป็นน�้ำแล้วก็ ต้ม ที่ผมเคยท�ำกับคุณย่าผมตอนที่มาอยู่นี่แล้ว เอาผูกแล้วก็ลงไปชุบ อย่างที่ข้างถนนท�ำนั่นแหละ น�้ำทองแท้ๆ ซื้อทองมาทีก็สลึงหนึ่งบ้าง บาทหนึ่งบ้าง เป็นทองแบบบางๆ เอามาตัดฝอยแล้วก็กัดด้วยน�้ำกรด เป็นน�้ำหมด แล้วไปต้มในหม้อ ลงทุนตามที่เราซื้อทอง แต่ก่อนบาท ละ ๔๐๐ ก็ซื้อบาทหนึ่ง แล้วก็มาต้มก็ได้หม้อใหญ่ๆ เราก็ชุบไปแล้วก็ คิดไปว่าควรจะขายเท่าไหร่ รุ่นใหม่ก็ท�ำแบบเป็นโรงงานใหญ่ก็เลยเป็นธุรกิจใหญ่โตไป ถ้าเป็นสมัยโบราณก็ท�ำแบบข้างถนนตรงหัวมุม แต่ของเรามีทั้งชุบ เงิน ชุบทอง ชุบนาค เรื่องทองชุบไม่แพง ก็ตามราคาทอง แต่สมัยนี้ ชุบก็แพงทองเป็นหมืน่ ก่อนทีจ่ ะมาเป็นเครือ่ งชุบนีเ่ ป็นโลหะทองเหลือง ทองแดง แต่อะลูมิเนียมชุบไม่ได้ ชุบได้แต่ ทอง เงิน ทองแดง ทอง เหลืองเป็นตัวหลัก ซึ่งเข็มขัดโดยมากก็ท�ำด้วยทองแดงเพราะเนื้อมัน อ่อนท�ำง่าย ขัดก็เงาดี แล้วก็มาชุบ สมัยก่อนไม่น่าจะมีมาก เท่าที่รู้ก็ที่ร้านผมก็คงจะมีย่อยๆ ไม่ใช่รา้ นเดียว แต่วา่ ต่างคนต่างท�ำ ก็เป็นร้านพวกร้านช่างทองนีแ่ หละ จะท�ำกันมากกว่า เราไม่ได้ทำ� ทองแบบคนละแวกนี้ แต่รบั ชุบ ร้านทีท่ ำ�
จดหมายข่าว
17
ทองหรือสร้อยทองนีแ่ หละถึงจะต้องมีการชุบด้วย เขาจะต้องมีความรู้ แบบนี้ แต่ที่เรามาชุบเนื้อโลหะโดยเฉพาะ แล้วพอมาอยูน่ กี่ เ็ ริม่ ท�ำเครือ่ งหมายข้าราชการตอนนีต้ อ้ งเริม่ ท�ำเอง เริม่ มีชา่ งมาช่วยงาน ก่อนจะท�ำเป็นเครือ่ งหมายก็ตอ้ งมีแม่พมิ พ์ เป็นก้อนเหล็กแล้วก็เอาแผ่นทองเหลืองที่เขารีดเป็นบางๆ มาวางแล้ว ก็มเี ครือ่ งปัม้ ลงไปออกมาก็เป็นรูป เครือ่ งหมายก็เริม่ ท�ำทีน่ ี่ ท�ำเครือ่ ง แบบ ท�ำหมวกมีช่างตัดอยู่ข้างบนมีจักร เพราะจะไปจ้างใครก็ไม่ค่อย มีเราก็ต้องเริ่มท�ำเอง
เครื่องหมายต่างๆ ของร้านสุวรรณประดิษฐ์
ส่วนใหญ่ต้องเริ่มท�ำของเราเอง และให้ช่างรับไปท�ำ ไม่ จ�ำเป็นต้องมาที่นี่ อย่างงานปักดิ้นมีคนรับไปท�ำตามบ้านไม่ต้องมาที่ ร้าน อยู่ทางสามแยกไฟฉายอยู่ตามบ้านสวน พ่อแม่ก็ท�ำสวนแต่ตัว เขาก็มคี วามชอบทางเย็บปักถักร้อยงานปักพวกนีเ้ ขาก็สนใจมา แต่ตน้ ตอจริงๆ คือช่างวังหลวงที่ออกจากวังแล้วกลับบ้านก็เข้ามารับงานไป ท�ำในช่วงเริ่มแรก ช่วงนี้ช่างน้อยลง ช่างเก่าๆ ตายไปบ้าง ออกมาท�ำ เองบ้าง มารับงานทางร้านเราด้วยท�ำเป็นส่วนตัว แต่ส่วนรับราชการ อยู่ในส�ำนักราชวังก็เป็นช่างปักอยู่ทางท้ายวัง ยุคจอมพล ป. ให้ใส่หมวก ขายดีมาก ย่านนี้สมัยใหม่แล้ว แต่งเครื่องแบบกันมโหฬารเครื่องหมายก็ขายตามปกติ มีครบหมด ออกแบบมาเราท�ำหมดเพราะเป็นลักษณะเครื่องแบบแล้ว ทหาร ต�ำรวจ มีทุกกระทรวง แหวนรุ่นผมก็ท�ำ โรงเรียนจะท�ำแหวนรุ่น ราชการแหวนรุ่น เราก็ท�ำได้ไม่ยาก ช่างท�ำงานพวกเครื่องหมาย เป็นช่างท�ำพวกนี้ได้ ผมเรียนอัสสัมชัญ เรียนเสร็จก็มาท�ำงานอย่างนี้ แล้วก็มา เรียนธรรมศาสตร์ไปไกลไม่ได้ ส่วนน้องเรียนแบบต่างคนต่างเรียน มี โอกาสได้ไปไม่ได้มาท�ำต่อ ของผมเป็นรุ่นที่ ๔ แล้ว หลานๆ ผมไม่รู้ จะเอาหรือเปล่า เมื่อก่อนอาศัยอยู่ที่นี่ ผมเกิดที่นี่แต่วันนี้ไม่ไหวแล้ว ต้องออกไปอยู่บ้านที่พระโขนง ขอบคุณคุณสรรพสุข นัยสวัสดิ์ : อายุ ๘๒ ปี
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
“เจริญชัยการช่าง” ร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์และพระพุทธรูปอายุ กว่า ๕๐ ปี ร้านสังฆภัณฑ์เก่าแก่ที่อยู่คู่กับถนนบ�ำรุงเมืองตั้งแต่ยุคแรก เริ่ม คุณวารี จิวารุ่งเรือง เล่าให้ฟังว่า “ตอนเด็กแถวนี้ (ชุมชนหลังโบสถ์พราหมณ์ที่ถูกเทศบาลรื้อ เรือนไม้บา้ นแต่เดิมออกไปแล้วท�ำเป็นอาคารให้เช่าและขายทีส่ ว่ นใหญ่ เป็นคนเชือ้ สายจีน) เป็นดินขรุขระฝนตกก็จะเฉอะแฉะ เมือ่ ถึงประเพณี ไหว้พระจันทร์จะมีการเล่น “เต็งลัง้ ” จะเป็นโคมและเป็นกระดาษแก้ว ท�ำเป็นรูปทรงเครื่องบิน โคม ดาว ตะเกียง ดอกไม้ ตรงกลางจะเป็น เทียนไขวาง พอพระอาทิตย์ตกดิน เด็กก็จะถือโคมที่เรียกว่าเต็งลั้งนี้ ออกมาเดินตามซอย จะเดินกันเป็นกลุ่มประมาณเกือบ ๑๐ คน เป็น กลุ่มเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย เด็กบางคนไม่มีสตางค์ก็จะใช้กระป๋องนม เอามาเจาะรูเล็กๆ ตรงก้น เพือ่ ให้แสงสว่างพอมีออกซิเจนเข้าได้เทียน ไม่ดับ แล้วเอาไม้เสียบร้อยด้ายกับไม้ส�ำหรับถือยาวๆ เด็กจะเดินทุก ซอย มีจื่อก้วย ตือฮวน เกี่ยมฉ่าย ไข่เป็ดอบมาเป็นตู้ ไอติมตัด แบก หาบขายไปมาซึ่งมันเป็นสีสันที่ต่อมาได้เลือนหายไป” ก่อนหน้านี้ครอบครัวคุณวารีอยู่ในซอยจะขายพวกจานชาม ข้างบ้านขายไม้กวาด มีการตัดถนนในย่านหลังโบสถ์พราหมณ์ ทุก คนก็ออกมาขายของริมถนน สมัยคุณพ่อคือคุณเจริญชัยซึ่งเป็นเพื่อนกับคุณลุงชื่อจรูญ (ร้านจรูญการช่าง) ชวนกันมาหุ้นเปิดร้านขายสังฆภัณฑ์ ปรากฏว่า ขายดีมาก ต่อมามีคนทักว่าเป็นเพื่อนที่ดวงดีด้วยกันทั้งคู่ ถ้าท�ำคู่กัน จะไม่เติบโต แต่ถ้าแยกกันท�ำจะร�่ำรวย ทั้งคุณเจริญชัยและคุณจรูญ จึงตัดสินใจแยกกันเปิดร้านค้า ซึ่งต่อมาก็คือ “ร้านเจริญชัยการช่าง” และ “ร้านจรูญการช่าง” ทั้งสองร้านเติบโตคู่กันมา แต่ร้านจรูญการช่างจะเป็นที่รู้จัก มากกว่า เมื่อคุณจรูญเสียชีวิตลูกหลานก็แยกย้ายกันไปร้านจรูญการ ช่างเดิมก็กลายเป็นร้านธรรมเจริญ เครื่องสังฆภัณฑ์ของร้านเจริญชัยไม่ได้ท�ำเองทั้งหมดจะท�ำ เพียงบางส่วน แต่พระพุทธรูปจะหล่อเอง แต่ช่วงหลังพบปัญหาเรื่อง
ของการจ้างช่าง คุณพ่อจึงตัดสินใจเปิดโรงหล่อพระเพือ่ ลดปัญหาเรือ่ ง ช่างและรักษาฐานลูกค้าเอาไว้จนถึงปัจจุบัน การหล่อนั้นจะประกอบ เป็นชิ้นมาแล้วส่งเข้าหน้าร้านเพื่อให้หน้าร้านเป็นตัวจ�ำหน่าย และ ยังมีย่าม ตาลปัตร งานประดิษฐ์ดอกไม้ ซึ่งร้านเจริญชัยถือได้ว่าท�ำ ครบวงจรและมีข้าวของประกอบเครื่องพิธีกรรมครบทุกอย่างและมี ให้เลือกเป็นจ�ำนวนมาก ต่อมาคุณเจริญชัยได้มาซื้อที่ดินแปลงปัจจุบันราว ๑ ไร่ เพราะพื้นที่กว้างขวางประกอบกับการลงทุนที่สูงขึ้นจึงท�ำให้ต้องขาย ร้านเดิมทีอ่ ยูด่ า้ นหน้าถนนบ�ำรุงเมืองให้กบั ร้านขายกระเป๋าไป ซึง่ เมือ่ ๓ ปีทผี่ า่ นมาทางร้านกระเป๋าก็ได้ขายคืนร้านเดิมให้ นับเป็นความภูมใิ จ ที่เราได้สิ่งที่เป็นก้าวแรกของร้านเจริญชัยการช่างกลับมารักษาไว้ ขอบคุณคุณวารี จิวารุ่งเรือง “อ๋องอิวกี่” แห่งสี่กั๊กเสาชิงช้า : จากต�ำนานสู่ความร่วมสมัย จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์ ชาเป็นวัฒนธรรมการดื่มที่ถูกถ่ายทอดมาจากประเทศจีนมี มายาวนานกว่า ๔,๐๐๐ ปี เป็นสิ่งส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ของครอบครัว ส�ำหรับเลี้ยงรับแขกและดื่มเพื่อพักผ่อน นอกจากนั้นยังเป็นเครื่อง ประกอบพิธกี รรมการเซ่นไหว้เพือ่ แสดงความเคารพต่อบรรพบุรษุ เมือ่ ชาวจีนอพยพโยกย้ายมาตัง้ ถิน่ ฐานในต่างแดนย่อมน�ำวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านี้ติดมาด้วย ในระยะที่กรุงเทพฯ เฟื่องฟูในด้านของเศรษฐกิจ การค้าบริเวณสีก่ กั๊ เสาชิงช้า เพราะเป็นย่านการค้าทีค่ กึ คัก รถรางสอง สายมาบรรจบกันตรงแยกแห่งนีซ้ งึ่ ถือเป็นจุดใหญ่ ตรงกลางมีวงเวียน ส�ำหรับรถยนต์ จึงกลายเป็นย่านการค้าที่เป็นย่านคนจีนที่หลากหลาย มีทั้งห้างร้าน สินค้าน�ำเข้า รวมไปถึงของกินอีกมากมาย ว่ากันว่า เป็นย่านจีนที่เกิดมาก่อนเยาวราช บริเวณโค้งด้านแพร่งภูธรของสีก่ กั๊ เสาชิงช้ามีรา้ นชาทีเ่ ก่าแก่ อยู่ร้านหนึ่งชื่อ “ห้างใบชาอ๋องอิวกี่” ซึ่งเปิดกิจการยาวนานกว่า ๕๐ ปี มีสัญลักษณ์ยี่ห้อเป็นตรามังกรและตราปั้นชา ตัวอาคารมีลักษณะ เป็นตึกแถว ๓ ห้องเหมือนร้านค้าทั่วไปแต่ภายในร้านมีการออกแบบ ที่พิเศษประตูร้านลึกเข้าไปยังด้านหลัง มีช่องเพดานที่เปิดส�ำหรับใช้ รอกดึงรับ-ส่งใบชาและตู้ที่ติดเป็นผนังถูกออกแบบส�ำหรับเป็นที่เก็บ ชาที่มีอุณหภูมิที่คงที่เรียกว่า “ถ�้ำชา” ใบชามีดว้ ยกันหลากหลายชนิดแต่ละชนิดก็มลี กั ษณะการดืม่ ที่ไม่เหมือนกัน ชาบางประเภทต้อง “กินเก่า” เพราะยิ่งเก่ายิ่งมีราคา สูง ส่วนประเภทต้อง “กินใหม่” เช่น ชาหอม ชาดอกไม้ ชามะลิไม่ สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน ต้องรีบชงก่อนกลิ่นจะหายไป ชาขึ้น อยู่กับรสนิยมของแต่ละบุคคล บางคนชอบชาหอมหวานดื่มง่าย บาง คนอาจจะชอบความขมของชา
พระพุทธรูป ร้านเจริญชัยการช่าง
จดหมายข่าว
18
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
บางตัวอาจจะให้มีรสชาติน�ำกินเข้าไปแล้วชุ่มคอกลิ่นตาม แต่บางตัว จะให้กลิ่นน�ำรสตาม แล้วแต่จะให้คนผสมที่เรียกว่า “เถ่าชิ้ว” สมัย ก่อนจะมีความรู้มากว่าชาแต่ละเบอร์ควรจะผสมออกมาอย่างไรจึง จะได้รสชาติแบบใด ชาแต่ละร้านก็จะคิดสูตรของตนออกมา สูตรที่ชาฝรั่งใช้อยู่ ในปัจจุบันนี้ในการผสมชาเอิร์ลเกรย์ [Earl Grey Tea] ผสมชาดาร์จี ริ่ง [Darjeeling Tea] ผสมชาอิงลิช เบรกฟาสต์ [English Breakfast] คือชาที่อาศัยสูตรจะใช้วิธีซื้อชาจากศรีลังกาหรือจีน ซึ่งเป็นชาซึ่งเป็น แบล็กที น�ำแต่ละตัวและน�ำมาผสมสูตรออกมา บางทีเขาก็เอาไปอบ กับสมุนไพรต่างๆ เช่น เบอร์กามอต เปลือกส้ม เพราะฉะนั้นชาฝรั่ง จะมีกลิ่นที่แตกต่างออกไปจากกลิ่นดั้งเดิมของชา แต่ชาจีนถึงแม้จะ ผสมไม่ได้ผสมกับสมุนไพร ด้วยความที่คนจีนกินชากันมาแต่ดั้งเดิม คนจีนจะกินชาเก่งมากไม่จ�ำเป็นต้องอาศัยกลิ่นอะไรมาผสมกินเสร็จ ห้างใบชาอ๋องอิวกี่ที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ก็จะรู้เลยว่ารสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ถึงจะผสมชาก็ผสมแต่ ภาพจาก Facebook : Ong Tea By Bee เนื้อชากันเองล้วนๆ ยุคก่อตั้ง “สมัยพ่อต้องมีหน่วยรถวิ่งต่างจังหวัดส่งไปท่าเตียนเพื่อ คุณนพพร ภาสะพงศ์ ทายาทห้างใบชาอ๋องอิวกี่บอกเล่า กระจายสินค้าไปตามจังหวัดต่างๆ เมือ่ เกิดบริษัทการค้าใหญ่ทา่ เตียน เรื่องราวของครอบครัวให้ฟังว่า “ก๋งเป็นคนจีนฮกเกี้ยน บรรพบุรุษ ก็เงียบไป ซึ่งร้านค้าใหญ่เครดิตนานมาก...ไม่คุ้ม” ของก๋งเป็นตระกูลที่ท�ำชามาแต่ดั้งเดิม ออกมาจากเมืองจีนตอนอายุ ๑๗-๑๘ ปี มาถึงเมืองไทยตอนแรกยังไม่ได้ท�ำใบชาขาย สักพักท่าน ก็กลับทีเ่ มืองจีนท�ำใบชามาจากอ�ำเภออันเค่ย ซึง่ เป็นสถานทีม่ ชี อื่ เสียง เรื่องของการท�ำใบชามากและน�ำใบชากลับมาขายที่เมืองไทย โดยก๋ง ได้มาเช่าตึกนี้และต่อมาก็ได้ซื้อเป็นของตัวเอง” การน�ำเข้าสินค้าสมัยยุคที่จีนเกิดปัญหาทางการเมืองเมื่อ จีนปิดประเทศ จึงได้มีการน�ำเข้าชาจากไต้หวันอยู่พักใหญ่จนจีนเปิด ประเทศอีกครัง้ จึงได้ชาจากเมืองจีนกลับเข้ามาขาย ซึง่ ในขณะเปิดประ เทศใหม่ๆ ชาที่จีนราคาถูกมาก สั่งชามาจากทั้งสองประเทศซึ่งเป็นชา จีนเหมือนกันแต่รสชาติแตกต่างกัน เป็นรสชาติตามรสนิยมของแต่ละ ประเทศ สาธิตการชงชาโดยน้องชายคุณนพพร ภาสะพงศ์ “ยุคที่เฟื่องฟูที่สุดของร้านคือยุคของก๋ง ซึ่งวิธีการขายสมัย นั้นขายหน้าร้านอย่างเดียว” ยุคการดื่มชาร่วมสมัย เมือ่ ถึงรุน่ คุณนพพรหลังจากเรียนจบจากไต้หวันแล้วกลับมา ช่วงการขยายรากฐานธุรกิจใบชาในไทย พบว่าวิธีขายที่บา้ นตามยี่หอ้ ของแต่ละร้านลูกค้าเก่ามีทเี่ คยกินชารูอ้ ยู่ เมื่อมาถึงรุ่นของคุณพ่อคุณ นพพร ท่านได้รับต�ำแหน่ง แล้ว แต่รุ่นใหม่ไม่รู้จัก คิดว่าจะท�ำอย่างไรให้เป็นที่รู้จัก จึงได้เปิดขาย เป็นนายกสมาคมใบชา คุณนพพรเล่าว่า “คุณพ่อขึ้นไปดูงานไร่ชาที่ ตามเชลฟ์ของซูเปอร์ทหี่ า้ งเยาฮันก่อนเป็นห้างแรกและสยามพารากอน เชียงใหม่ต้องขี่ลาเข้าไปในพื้นที่เพื่อเอาชาลงมาขายตั้งแต่ก่อนที่บ้าน เป็นที่ต่อมา ชื่อร้าน “อ๋องที” [Ong Tea] ที่เปิดเป็นร้านมีเคาน์เตอร์ เราจะนิยมการปลูกชา และได้รับการช่วยเหลือจากคนไต้หวันที่ปลูก ชา จัดท�ำตู้และอุปกรณ์ชงชาสวยงาม ตั้งขายและให้ความรู้บอกเล่า ชาอูหลงมาช่วยสอนซึง่ คนไทยก็ทำ� ได้ดชี ามีคณ ุ ภาพและรสชาติทดี่ ขี นึ้ ” เรื่องราวของชาแต่ละชนิดซึ่งจะมีต�ำนานของชาบอกไว้ ซึ่งได้รับการ ชาที่น�ำเข้ามาในสมัยคุณพ่อกับก๋งของคุณนพพร มีสูตรชาที่น�ำเข้ามา ตอบรับจากเด็กรุ่นใหม่ๆ เป็นอย่างดี คือ ชาที่น�ำเข้ามา ๕๐๐ ลัง มีเบอร์ ๑ มา ๕๐ ลัง เบอร์ ๒ มา ๕๐ ลัง เบอร์ ๓ มา ๑๐๐ ลัง เบอร์ ๔ มา ๖๐ ลัง แต่ละเบอร์รสชาติจะ การให้ความรู้เกี่ยวกับชาจีน แตกต่างกัน น�ำมาเป็นสูตรผสมชาออกมาเป็น ๑ ตัว เมื่อได้สูตรชา ในช่วงการท�ำตลาดใหม่ทางห้างใบชาอ๋องอิวกี่ ได้เลือกชา ๔
จดหมายข่าว
19
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ชนิดที่จะมาท�ำตลาด คือ อูหลง ทิกวนอิม จุยเซียน ชาดอกไม้ เพราะ เป็นชาที่มีบุคลิกแตกต่างกันและเป็นชาที่สามารถแยกประเภทคนกิน ชาได้ชัดเจน เช่น ชอบกลิ่น ชอบรสชาติ การแยกประเภทชาสามารถ ท�ำได้หลายอย่างแต่จ�ำง่าย คือการแยกตามสีของน�้ำ เช่น ชาเขียว ชา ขาว ชาแดง ชา เป็นต้นไม้ที่แบ่งอยู่ในกลุ่ม Camellia sinensis var. sinensis ถึงจะเรียกว่าชา นอกเหนือจากนี้ เช่น ชาใบหม่อน ชากุหลาบ ชาตะไคร้ พวกนี้ไม่ใช่ชา อย่างชากุหลาบถือเป็น Flower ใบหม่อน ชาตะไคร้ ถือเป็น Herb วิธีการกินชงเป็นน�้ำดื่มเขาก็เรียกชาหมด แต่ถ้าชาแท้ๆ ที่มาจากต้นชาจริงๆ ต้องเป็นกลุ่ม Camellia sinensis var. sinensis เท่านัน้ ตรงนีค้ นจะงงคือทุกอย่างทีช่ งมาดืม่ เป็นชาหมด แต่ถ้าจะเป็นชาจริงๆ ของจีนเป็น Camellia sinensis var. sinensis ของศรีลังกาเป็นชาอัสสัม [Assam Tea] Camellia sinensis var. assamica คือเป็นกลุ่มของชาอัสสัมที่ชงดื่มเหมือนกัน ซึ่งกลุ่มชาจีน ที่อธิบายว่าจะมี สีขาว สีเขียว สีแดง จะมีชาเหลืองด้วยแต่ไม่โดดเด่น คนกินน้อย พอถึงชาดอกไม้ถ้านับจริงๆ ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Camellia sinensis var. sinensis กลุ่มนี้ แต่มีคนกิน ถ้าเราอธิบายตามสีของ น�้ำ เราก็มีชาดอกไม้อีกตัวที่อบกับดอกมะลิ อบกับดอกกุหลาบ ดอก พุทธ พวกนี้เวลาอบเสร็จเขาก็ร่อนเอาดอกไม้ออกเหลือแต่ชาซึ่งเป็น กลุ่ม Camellia sinensis var. sinensis เพียงแต่ไม่หอมต้องอาศัย กลิ่นดอกไม้มาอบให้หอม ชามะลิที่เมืองจีนจะปลูกมะลิไว้ส�ำหรับอบชา ต้องน�ำเอาชา แห้งเทออกมาทั้งลังโดยเอาผ้าใบปูก่อน เทชา ๑ ตุย แล้วเอามะลิสด วางข้างบนอีก ๑ ตุย เกลี่ยให้เสมอกัน แล้วก็เทชากับมะลิซ้อนกันขึ้น ไปแบบนี้แล้วพ่นน�้ำคลุมผ้า มะลิเป็นดอกไม้เมื่อโดนความร้อนจาก ผ้าใบก็จะบานกลิ่นจะออกใบชาแห้ง จะเริ่มดูดกลิ่นมะลิเข้าไป พอรุ่ง เช้าเปิดผ้าใบออก เกลี่ยผสมกันแล้วเอาไปอบให้แห้ง แล้วแยกใบชา กับมะลิออกจากกันเหลือเพียงใบชาอย่างเดียว ลักษณะของใบชาแต่ละอย่างจะไม่เหมือนกัน เช่น มี ใบ เหยียด ใบม้วนขอดเป็นก้อนกลม วิธกี ารดมชา คือเอาจมูกดมเข้าไปที่
คุณนพพร ภาสะพงศ์
ใบชาแล้วสูดหายใจเข้าและหายใจออกท�ำซ�ำ้ สองถึงสามครัง้ จะได้กลิน่ ชาแท้ๆ ออกมาเป็นกลิน่ ลึกไม่ใช่กลิน่ ทีล่ อยอยู่ในอากาศ หากอยากได้ กลิ่นชาแท้เราก็ต้องดม แต่เวลาซื้อไม่ใช่ทุกร้านที่จะให้เราดมแบบนี้ การดื่มชานั้นต้องเคลียร์ลิ้นก่อนดื่มจึงจะได้กลิ่นจางๆ และรสชาติ หวาน กลิ่นชาคุณภาพดีจะหอมเหมือนดอกไม้ ใบชาเป็นใบไม้ชนิด เดียวที่ ไม่เหม็นเขียว การดื่มชาให้อมชาไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนกลืน จมูกจะได้กลิ่นชาหอมฟุ้งขึ้นมา ปกติการดื่มชาต้องลวกใบชาก่อนน�้ำ ทีห่ นึง่ จะยังไม่ออกกลิน่ และรส ต้องดืม่ น�ำ้ ทีส่ องรสและกลิน่ จะออกมา สมัยก่อนเถ่าชิว้ จะต้องผสมชากันเวลาชิมชาเสร็จได้รสได้กลิน่ เขาก็จะ บ้วนทิ้งไม่กลืนลงไปเป็นวิธีการทดสอบชาเพราะในชามีคาเฟอีนหรือ เตอิน ชาก็คอื “เต๊” ซึง่ ในกาแฟและชาจะมีพอกัน ดืม่ มากท�ำให้นอนไม่ หลับ การดืม่ ชานัน้ คนจะคิดว่าชาจีนก็เหมือนกันหมดแตกต่างกันทีย่ หี่ อ้ เท่านั้น แต่ส�ำหรับนักดื่มชาจะดื่มตามความชอบที่มีต่อชาแต่ละชนิด การชงชาที่ส�ำคัญต้องลวกภาชนะในการประกอบชาด้วย ปั้นชาแต่ละ ปั้นที่ท�ำจากวัสดุที่แตกต่างกัน ถึงจะชงชาชนิดเดียวกันรสชาติของน�้ำ ชาที่ได้กจ็ ะแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ฉะนัน้ แล้วภาชนะก็เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญ มากๆ ในการดื่มชา ชาจึงเป็นวัฒนธรรมการดื่มที่ถือว่าเป็นศิลปะชั้น สูงส�ำหรับผู้ที่สนใจ ปัจจุบันการดื่มชาเป็นที่สนใจมากส�ำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจ กลับหวนเข้าหาวัฒนธรรมแบบเก่า เกิดการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าวิธกี าร ดืม่ ทีถ่ กู วิธี สะสมภาชนะและอุปกรณ์ในการปรุงชา การเปิดตลาดใหม่ ของห้างใบชาอ๋องอิวกีท่ คี่ วบคูก่ บั การให้ความรูส้ ำ� หรับลูกค้าถือเป็นวิธี การแบบใหม่ที่ทันสมัยและน่าสนใจ เป็นพื้นที่ส�ำหรับผู้สนใจหน้าใหม่ ได้สัมผัสถึงการดื่มด�่ำชา ส่งเสริมท�ำให้การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมร่วม สมัยที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น สัมภาษณ์คุณนพพร ภาสะพงศ์ : ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐
ชาชนิดต่างๆ ในร้าน “อ๋องอิวกี่”
จดหมายข่าว
20
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
กิจกรรม เพื่อสาธารณะของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๕ : จารุวรรณ ด้วงค�ำจันทร์
พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๕ “พระนครยุคสมัยใหม่ย่านถนนการค้าบ�ำรุงเมือง-เฟื่องนคร”
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับย่านเก่าของกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง จนถึงครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๕ โดยรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากคนใน พื้นที่และผู้สนใจทั่วไปครั้งละประมาณ ๕๐ ท่าน ใช้เวลาระหว่างวัน เสาร์-อาทิตย์ ๒ วัน โดยในวันแรกเป็นการน�ำเสนอข้อมูลพื้นฐานใน เรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สังคมในย่าน เก่าของกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลความ รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นเมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ในมิติ ของอดีต ความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงตลอดจนปัญหาและ สภาพการณ์ในปัจจุบนั ทีเ่ มืองประวัตศิ าสตร์กรุงเทพฯ ก�ำลังเผชิญอยู่ กิจกรรมที่จัดครั้งแรกเป็นการลงพื้นที่เดินตรอกเพื่อศึกษา สภาพสังคม วัฒนธรรมของผู้คนในย่านบางล�ำพู วัดสามพระยา บ้าน พานและบ้านบาตร “ชุมชนเก่าย่านวังหน้าย่านการค้าส�ำคัญของ พระนคร บ้านดนตรีและย่านหัตถกรรม”, ครั้งที่ ๒ เรื่อง “การขยาย ตัวพระนครและย่านการค้า (นางเลิ้ง)” , ครั้งที่ ๓ เรื่อง “ความส�ำคัญ ของป้อมค่ายคูประตูเมือง และชุมชนชานพระนครจากป้อมมหากาฬ ประตูผี ถึงชุมชนชาวตรอกศิลป์ ตรอกตึกดิน ตรอกบวรรังษี และ มัสยิดบ้านตึกดิน”, ครั้งที่ ๔ เรื่อง “สองฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ย่าน ถนนกรุงเกษม ถนนลูกหลวงถึงสี่แยกมหานาค” และครั้งที่ ๕ นี้คือ “พระนครยุคสมัยใหม่ย่านถนนการค้าบ�ำรุงเมือง-เฟื่องนคร” ในวันเสาร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ เริ่มต้นกิจกรรม ณ
พระนครชวนชม วันอาทิตย์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ กับกิจกรรม “พระนคร ชวนชม” ภายใต้ “พระนคร ๑๐๑” ครั้งที่ ๕ พระนครยุคสมัยใหม่ ย่านถนนการค้าบ�ำรุงเมือง–เฟือ่ งนคร หลังจากทีว่ นั แรกของกิจกรรม เป็นการบรรยายภาคทฤษฎี ท�ำความเข้าใจพื้นฐานของเรื่องราว ประวัติศาสตร์สังคมของเมืองกรุงเทพฯ แล้ว จากนั้นจึงมีกิจกรรม ลงพื้นที่สังเกตการณ์ร่วมพูดคุยกับผู้คนในพื้นที่เพื่อให้เข้าใจ เข้าถึง ความเป็นชุมชนมากยิ่งขึ้น
บรรยากาศการบรรยายในภาคทฤษฎี “พระนคร ๑๐๑” ครั้งที่ ๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (หอศิลป์เจ้าฟ้า)
จดหมายข่าว
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า เป็นการบรรยายโดยมีคุณ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็น วิทยากร จากการศึกษาโดยเริ่มจากการตั้งค�ำถามว่า ประวัติศาสตร์ สังคมของคนกรุงเทพฯ คืออะไร ? กรุงเทพฯ มีประวัติศาสตร์สังคม อย่างแท้จริงหรือไม่ ? เพราะแท้จริงแล้วย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ นั้น ล้วนแล้วแต่มีประวัติศาสตร์สังคม มีเรื่องราวที่น่าสนใจของผู้คน มี ประวัตศิ าสตร์การบอกเล่า การอพยพโยกย้าย การตัง้ ถิน่ ทีท่ ำ� ให้เกิด สังคมแบบ “พหุลักษณ์” หรือความหลากหลายทางวิถีชีวิต ชาติพันธุ์ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม อย่างที่เราเห็นกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เพราะการสร้างบ้านเมืองนั้น หาใช่เพียงชนชั้น ปกครองเท่านั้น ที่มี บทบาท ทว่ายังมีผู้คนหลากหลายหน้าที่ หลากหลายอาชีพปะปนอยู่ ด้วยกัน จึงเกิดเป็นสังคมโดยมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แม่น�้ำ ล�ำคลอง ตลาด ฯลฯ เกิดเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นบนความหลากหลายที่ว่ามานี้ หลายท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดจึงใช้ชื่อ กิจกรรมว่า “พระนคร ๑๐๑” ความหมายของรหัส ๑๐๑ นั้น หมาย ถึงรหัสวิชาเบื้องต้นหรือการท�ำความเข้าใจพื้นฐาน เช่น รหัสวิชา เรียนในระดับอุดมศึกษาที่มักใช้เลขรหัส ๑๐๑ ดังนั้น “พระนคร ๑๐๑” คือการท�ำความเข้าใจเรื่องราวพื้นฐานของย่านต่างๆ ความ เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของพื้นที่เมืองเก่ากรุงเทพฯ ในฐานะ เมืองประวัติศาสตร์ที่อาจจะไม่มีการเรียนการสอนหรือการท�ำความ เข้าใจที่มาที่ ไปและการเปลี่ยนแปลงอันเป็นเรื่องราวที่ควรรู้เป็น อันดับแรกและเป็นข้อมูลพื้นฐานเสียก่อนที่จะไปสนใจแต่เฉพาะเรื่อง สถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยเฉพาะทางดังที่ นิยมกันในปัจจุบันนี้
21
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ช่ ว งแรกเป็ น การอธิ บ ายเรื่ อ งราวของพื้ น ที่ ต ่ า งๆ ของ กรุงเทพฯ ผ่านแผนที่ ณ บริเวณลานหน้าวัดสุทัศนเทพวรารามราช วรมหาวิหาร โดยมีคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ เป็นวิทยากรบรรยาย และมีวิทยากรท้องถิ่น บรรยายบรรยากาศและความเปลี่ยนแปลง ของพื้นที่บริเวณชุมชนหลังโบสถ์พราหมณ์โดย คุณสุมาลี พฤกษาขจี กรรมการชุมชนหลังโบสถ์พราหมณ์ แนะน�ำพื้นที่เพื่อท�ำความเข้าใจ ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนและบริเวณโดยรอบที่เป็นพื้นที่ย่านการ ค้า เศรษฐกิจที่คึกคักมาตั้งแต่อดีต หลังจากที่ออกจากวัดสุทัศน์ฯ ข้ามฝั่งมายังโบสถ์พราหมณ์ พูดคุยและรับความรูจ้ ากท่านพราหมณ์ประจ�ำโบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า อย่างละเอียดกับพราหมณ์ตรัณ บุรณศิริ ก่อนจะเดินเข้าชมชุมชนหลัง โบสถ์พราหมณ์ ระหว่างทางเข้าแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั ผูร้ ว่ มกิจกรรมใน ฐานะคนในพื้นที่ คุณนพพร ภาสะพงศ์ ทายาทร้านใบชาอ๋องอิวกี่ ที่ น�ำเข้าใบชาจีนเก่าแก่แห่งสี่กั๊กเสาชิงช้า ก่อนจะรับประทาน “ข้าวเสีย โป” อาหารกลางวันในตรอกช่างทอง ช่วงบ่ายเป็นการเยี่ยมชมร้านยาหมอหวาน เป็นตึกสวย ออกแบบตามสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก น่าจะโดยนายช่างฝรั่งใน
ศึกษาซึ่งกล่าวกันว่าเดิมเคยเป็นโรงละครปรีดาลัย ตั้งอยู่ในบริเวณ วังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แหล่ง ก�ำเนิดของละครร้อง ก่อนจะมีการเวนคืนเพื่อสร้างถนนตัดผ่าน จาก นัน้ เดินทางต่อไปยังบริเวณแพร่งภูธร พบกับประธานชุมชนคุณอภิชาญ วัลลา บอกเล่าเรื่องราวทั้งในอดีตและในปัจจุบันของพื้นที่ ช่วงสุดท้ายเป็นการสรุปปิดกิจกรรมโดยการตั้งวงเสวนาใน เรื่องของการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมืองเก่า การปรับตัวของผู้อยู่ อาศัยและพื้นที่ท�ำมาหากิน นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองในการใช้สอยพื้นที่ย่านเมืองเก่าระหว่างผู้ร่วมกิจกรรมและ วิทยากร ณ แพร่งภูธร
ในวงเสวนาที่มีผู้คนหลากหลายอาชีพมาร่วมแลกเปลี่ยนได้ ข้อสรุปว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ที่เข้ามาเที่ยวในเมือง ไทยนั้นต้องการที่จะพบและสัมผัสกับวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นจริงๆ มากกว่าการท่องเที่ยวที่ฉาบฉวยหรือการอ�ำนวยความสะดวกที่เกิน ความจ�ำเป็น และเริ่มกลายเป็นปัญหาของการจัดการท่องเที่ยวใน เมืองเก่าที่เริ่มมีความต้องการท่องเที่ยวในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ และได้สมั ผัสชีวติ ผูค้ นในย่านเมืองจริงๆ แต่ปจั จุบนั ไม่สามารถหาพืน้ ที่ รองรับหรือตอบสนองความต้องการนี้ ได้อย่างชัดเจนและเต็มที่ จน เป็นปัญหาใหญ่ของมัคคุเทศก์ทเี ดียว นอกจากนีส้ ำ� หรับในมุมมองของ คนในพืน้ ทีก่ ต็ อ้ งการทีจ่ ะรักษาธรรมชาติของสังคมไว้ดว้ ยเช่นเดียวกัน การจัดการเมืองสมัยใหม่ควรทีจ่ ะควบคุมดูแลรักษาความสะอาดและ ความปลอดภัยมากกว่าจะหาสิ่งที่เกินความต้องการ ซึ่งถือว่าเป็นผล บรรยากาศศึกษาพื้นที่บริเวณชุมชนหลังโบสถ์พราหมณ์ กระทบจากการจัดการเมืองเพื่อการท่องเที่ยวโดยรัฐต่อความมั่นคง ยุครัชกาลที่ ๖ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ มีอักษรเขียนว่า “บ�ำรุงชาติ ของความเป็นชุมชนในย่านเมืองเก่าที่ก�ำลังถูกพัฒนาให้เป็นแหล่ง สาสนายาไทย” พบกับคุณภาสินี ญาโณทัย ผู้สืบทอดร้านยาหมอ ท่องเที่ยวอย่างยิ่ง หวานในปัจจุบนั คุณภาสินี ญาโณทัยและคณะ ศึกษาและค้นคว้าหลัก ฐานจากสมบัตติ กทอดสืบกันมาภายในบ้าน พบว่ามีฉลากยาเก่าเขียน ว่า “ร้านขายยาไทยตราชะเหลว” ของหมอหวานตั้งอยู่มุมถนนอุณา กรรณ แสดงให้เห็นว่าหมอหวานน่าจะมีกิจการปรุงยามาตั้งแต่ก่อน สร้างบ้านหมอหวานหลังนี้ แรกเริ่มหมอหวานตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ แยกถนนอุณากรรณ ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ถนนตีทองที่อยู่ทิศตะวันตก ใกล้กบั ถนนบ�ำรุงเมือง ซึง่ เป็นสามแพร่งเหมาะตามหลักฮวงจุย้ เหมาะ กับการประกอบอาชีพที่ใช้ของมีคม การท�ำยาแผนโบราณจ�ำเป็นต้อง ใช้ของมีคมดังกล่าวนัน้ จึงสร้างบริเวณด้านหน้าให้เป็นร้านขายยาและ ด้านในเป็นที่อยู่อาศัย เส้นทางพระนครชวนชม ครั้งที่ ๕ เดินทางต่อไปยังชุมชนสามแพร่ง เข้าชมโรงเรียนตะละภัฏ
จดหมายข่าว
22
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
จดหมายข่าว
23
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์