จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๑๑๖ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

Page 1



พระราชพิธีอัญเชิญพระบรมโกศไปพระเมรุมาศ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ ขอบคุณภาพจาก www.kingrama9.net

ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อัญเชิญพระโกศทองใหญ่


เจ้าหน้าทีอ่ ญ ั เชิญพระโกศทองใหญ่ลงจากพระมหาพิชยั ราชรถโดยเกรินบันไดนาค ประดิษฐานพระโกศทองใหญ่บนราชรถปืนใหญ่ เพื่อตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศเข้าสู่ราชวัติ เวียนพระเมรุมาศโดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) ๓ รอบ แล้วเทียบราชรถปืนใหญ่ที่เกรินบันไดนาค พระเมรุมาศ เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐาน ณ พระจิตกาธาน

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

๑๔ พระราชวงศ์ร่วมพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ

การแสดงมหรสพสมโภช หน้าพระที่นั่งทรงธรรม ที่เรียกกันว่า โขนหน้าไฟ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระราม ข้ามสมุทร-ยกรบ-ร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ควันที่พวยพุ่งออกจากพระเมรุมาศ ในช่วงเวลา ๒๒.๐๐ น. ช่วงเวลาของพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง

จดหมายข่าว

4

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ ขอบคุณภาพจาก www.kingrama9.net

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประกอบพระราชพิธีเก็บ พระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศ โดยจะอัญเชิญ พระบรมอัฐิสู่พระบรมมหาราชวัง

ศพ

สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ร่วมเสด็จในริว้ ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ อัญเชิญพระโกศพระบรม อัฐิ และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ไปทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศล พระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสติ มหาปราสาท

จดหมายข่าว

5

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พระราชกุศลพระบรมอัฐิ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ ขอบคุณภาพจาก www.kingrama9.net

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสติ มหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

จดหมายข่าว

6

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ ขอบคุณภาพจาก www.kingrama9.net

ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ ้ า อ ยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทรเทพยวรางกู ร เสด็ จ พระราชด�ำเนินไปในพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้น ประดิษฐานในพระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง

ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ ๖ ขบวนกองทหารม้าโดยมี พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ในฐานะผู้ บังคับกองทหารม้าเกียรติยศ ทรงม้าน�ำ เตรียมอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระศรีรตั นเจดีย์ ในวัดพระศรีรตั นศาสดาราม โดยรถยนต์ พระที่นั่งไปประดิษฐาน ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

จดหมายข่าว

7

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เปิด : ศรีประเด็ น ศักร วัลลิโภดม

ประวัติพระเมรุมาศ และพระโกศ เพื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพ เนือ่ งในพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในวัน ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ นี้ จะเป็นการออกพระเมรุที่ใหญ่โตมโหฬาร ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีผู้สนใจอยากรู้ ความหมายความส�ำคัญของพระเมรุมาศมากมายทัง้ คนรุน่ เก่าและรุน่ ใหม่ ข้าพเจ้าจึงอยากเขียนเรือ่ งราวความเป็นมาของพระเมรุมาศและ พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ตามความรูท้ ี่ ได้ศึกษาและค้นคว้ามาทางมานุษยวิทยา ดังนี้ ประเพณี ก ารออกพระเมรุ ม าศเพื่ อ การถวายพระเพลิ ง พระบรมศพนั้นเริ่มมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนปลายในรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในพุทธศตวรรษ ที่ ๒๓ เป็นการสร้างพระเมรุมาศขึ้นถวายพระเพลิงในพื้นที่ก�ำหนดให้ เป็น “ทุง่ พระเมรุกลางกรุงศรีอยุธยา” ทางด้านตะวันออกของพระบรม มหาราชวังซึ่งปัจจุบันนี้คือ ที่ตั้งพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสถานที่ตั้งของวิหารพระมงคล บพิตรที่สร้างมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระไชย ราชาธิราช โดยย้ายวิหารพระมงคลบพิตรมาสร้างใหม่ทางด้านใต้ของ พระบรมมหาราชวังในต�ำแหน่งปัจจุบัน ก่อนรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง การถวายพระเพลิง พระมหากษัตริย์ก�ำหนดไว้อย่างกว้างๆ เพียงภายในก�ำแพงพระนคร ส่วนการเผาศพ ปลงศพ ของขุนนางข้าราชการและคนในเมืองต้อง

จดหมายข่าว

น�ำศพไปออกประตูผีเพื่อท�ำกันนอกเกาะเมือง ดังเช่น พระบรมศพ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) นั้นถวายพระเพลิงที่ “วัดพระราม” อันเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังการถวายพระเพลิงแล้ว พระบรมศพของสมเด็ จ พระนคริ น ทราธิ ร าชถวายพระเพลิ ง ที่ “วัดราชบูรณะ” รวมทั้งพระศพของเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาผู้ เป็นพระราชโอรส หรือพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ ถวายพระเพลิงที่ “วัดวรเชษฐาราม” อันเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศ รถสร้างถวาย ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิง เป็นต้น และยังมีวัดอื่นๆ ภายในเมืองอีกหลายวัดทีส่ ร้างขึน้ ภายในบริเวณทีถ่ วายพระเพลิงพระ มหากษัตริย์องค์อื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชพงศาวดาร การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ดังกล่าว นี้ ไม่มีหลักฐานว่าเป็นการออกพระเมรุแบบที่ท�ำกัน ต่อมาจากสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์ฯ จนกระทัง่ สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งก็ไม่รู้ว่ามีการสร้างพระเมรุมาศหรือไม่ อาจ จะเป็นการสร้าง “พระจิตกาธาน” หรือที่ตั้งศพเพื่อเผาบนฐานยกพื้น เช่นที่พบในเขตวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ ที่รู้จักกันในภาคเหนือว่า “เมรุ พระพิลก” อันเชือ่ ว่าเป็นทีถ่ วายพระเพลิงสมเด็จพระเจ้าติโลกราชแห่ง ล้านนาในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และเมรุเช่นเดียวกันนี้อีกหลาย แห่งในล�ำปาง ข้าพเจ้าเชื่อว่า การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหา กษัตริย์ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นลงมา ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ปราสาททองไม่มีคติทั้งความเชื่อและการสร้างพระเมรุมาศ รวมไป 8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ถึงการสร้างพระโกศขึน้ ในการประดิษฐานพระศพ และการน�ำไปถวาย พระเพลิง หลักฐานในเรื่องการสร้างพระโกศไม่มีเช่นเดียวกันกับ พระเมรุมาศ คงมีแต่โลงหรือหีบพระศพที่น่าจะสร้างด้วยไม้หอม เท่านั้น การสร้างพระโกศขึ้น มาคงมาพร้อมกันกับการสร้างพระ เมรุมาศนัน่ เอง เป็นการเปลีย่ นแปลงประเพณีการบรรจุศพในโลงแบบ นอนเหยียดยาวมาเป็นท่านัง่ ในแนวตัง้ เพือ่ ให้เข้ากันกับความสูงส่งของ บุคคลที่อยู่ใน วิมาน หรือปราสาท เช่น พระมหากษัตริย์และเทวดา อันการบรรจุศพแบบแนวตั้งนี้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จะพบเห็นแต่เพียงในประเพณีการฝังศพครั้งที่สองที่มีการน�ำเอา กระดูกคนตายที่เนื้อหนังมังสาเปื่อยเน่าหลุดไปแล้ว มาบรรจุใน หม้อ หรือผอบ อย่างเช่นที่ทุ่งไหหินในประเทศลาว และแหล่งก่อน ประวัติศาสตร์ในที่ราบสูงแอ่งโคราช เป็นต้น สมัยก่อนประวัติศาสตร์การปลงศพด้วยการเผามีน้อยมาก แต่เมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ที่มีการนับถือพุทธศาสนาและศาสนา ฮินดู-พราหมณ์แล้ว ก็เกิดประเพณีการน�ำเอากระดูกและอังคารที่มี การเผาแล้วไปเก็บไว้ในภาชนะที่เรียกว่า “ผอบ” ที่มีการปรุงแต่งให้ มียอดฝาผอบสูงเป็นทรงปราสาทอะไรท�ำนองนั้น พัฒนาการของพระโกศน่าจะมาจากเรือ่ งผอบทีบ่ รรจุพระอัฐิ ของพระมหากษัตริยห์ รือกระดูกของบุคคลทีม่ ฐี านะสูงกว่าคนธรรมดา ผอบบรรจุสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ เช่น อัฐิธาตุ หรือเครื่องประดับของ กษัตริยแ์ ละคนชัน้ สูง จะพบมากในสังคมฮินดูของกัมพูชาแต่สมัยเมือง พระนคร ดังเห็นได้จากรูปร่างลักษณะของเครือ่ งปัน้ ดินเผาเคลือบของ ขอมที่พบในกัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่ผอบทีบ่ รรจุอฐั ธิ าตุกเ็ ป็นของขนาดเล็กไม่ใหญ่ เช่น พระโกศทีบ่ รรจุ พระศพที่ยังไม่ได้ถวายพระเพลิง แต่ตั้งไว้ในปราสาทเพื่อท�ำพิธีกรรม และเก็บไว้รอเวลาถวายพระเพลิง ซึง่ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตัง้ แต่ตอน ต้นลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น เมื่อมีการถวาย พระเพลิงของกษัตริย์และเจ้านายแล้ว ก็จะสร้างวัดขึ้นอุทิศถวายไว้ ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงนั้น เช่นที่วัดพระรามและวัดวรเชษฐาราม ที่กล่าวมาแล้ว กรุงศรีอยุธยาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็น สมัยเวลาที่มีการน�ำเอาคติความเชื่อทางจักรวาลของฮินดูแบบขอม มาผสมผสานกับลัทธิความเชื่อของศาสนาพุทธเถรวาทมากกว่าสมัย ใดๆ โดยเฉพาะในเรื่องของพระมหากษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ ที่ได้ รับอิทธิพลลัทธิเทวราชาเข้ามาท�ำให้เกิดการสร้างสถาปัตยกรรมและ ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบขอมขึน้ จนคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบนั ยังเชือ่ ว่าพระมหากษัตริยท์ รงเป็นเทวราชาแบบขอมคือเป็น อวตารของพระ ผู้เป็นเจ้า เช่น พระวิษณุลงมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ แต่หลักฐานทางโบราณคดีทเี่ ป็นศิลปสถาปัตยกรรมและศิลป วัฒนธรรมอื่นๆ หาได้แสดงให้เห็นว่า ขอมในสมัยเมืองพระนครไม่ได้ แสดงว่ากษัตริยข์ อมทรงเป็นอวตารของพระผูเ้ ป็นเจ้า ไม่วา่ พระวิษณุ

จดหมายข่าว

9

และพระศิวะ หากความเป็นเทวราชานั้นหมายเพียงการจุติของผู้ที่เป็น เทพเจ้าลงมาเกิดมากกว่า ดังเห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์องค์ส�ำคัญ เช่น พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ ผูส้ ร้างนครหริหราลัย ทีม่ ปี ราสาทบากองเป็น ศูนย์กลาง และสร้างขึน้ เพือ่ อุทศิ ให้พระองค์หลังสิน้ พระชนม์แล้ว มีรปู เคารพศิวลึงค์เป็นตัวแทนในพระนามของพระองค์หลังสวรรคตแล้วว่า “อินทเรศวร” หรือในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่มีการถวาย พระนามว่า “พระนิพพานบท” (พระบาทบรมนิพพานบท-วฺรบาทบรม นิวฺวานบท) และที่ส�ำคัญก็คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ที่มีพระนามว่า “พระบรมวิษณุโลก” ที่มีการสร้างปราสาทนครวัดขึ้นมาอุทิศถวาย เป็น ปราสาทที่แลเห็นชัดเจนว่าสร้างถวายพระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒ หลังสวรรคตแล้ว เพราะเป็นปราสาทที่หันหน้าไปทางตะวันตก และ ตัวปราสาทเองคือรูปจ�ำลองของพระเมรุมาศที่เป็นปราสาทห้าหลังที่ เปรียบเหมือนเขาพระสุเมรุที่มีเขาส�ำคัญรายรอบสี่ทิศ ปราสาทนคร วัดนี้มีนามแต่ครั้งนั้นว่า “วิษณุโลก” ที่สัมพันธ์กับ “กมรเตงอัญปรมวิษณุโลก” อันเป็นพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ปราสาทหลัง นี้แสดงความหมายของพระราชพิธีส�ำคัญของลัทธิเทวราชาที่เรียกว่า “อินทราภิเษก” ที่หมายถึงพระราชพิธีราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ที่ สวรรคตแล้วคืนเข้าวิมานที่เขาพระสุเมรุ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็น พระราชพิธีอินทราภิเษก ก็คือภาพแกะสลักการกวนเกษียรสมุทร บนผนังรอบปราสาทนครวัดนั่นเอง สังคมราชส�ำนักสยามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ น�ำเอาแนวความคิดในเรื่องการสร้างปราสาทราชวังและพิธีกรรมดัง กล่าวของลัทธิเทวราชาที่อยู่ในศาสนาฮินดูแบบขอมเข้ามาผสมผสาน

ลานท้องสนามไชยหน้าพลับพลาฐานจตุรมุข เป็นแนวยาวราว ๓๕๐ เมตร สูง จากพื้น ๓ เมตร ผนังสลักเป็นรูปช้างและครุฑ มีมุขยื่นออกมาทั้งสองด้าน ใช้ เป็นสถานทีส่ ำ� หรับพระมหากษัตริยน์ งั่ ทอดพระเนตรพระราชพิธสี นามและการ เฉลิมฉลองต่างๆ ภาพถ่ายเมื่อกว่า ๕๐ ปีมาแล้ว ภาพของอาจารย์มานิต วัลลิโภดม

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนผังแสดงบริเวณลานสนามไชยหน้าพระราชวังเมืองพระนคร

กับความเป็นพระมหากษัตริยใ์ นพุทธเถรวาทในกรุงศรีอยุธยาทีม่ กี าร สร้างพระราชวังใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรสยามทีเ่ กิดขึน้ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงสามารถพูดได้ว่า พระราชวังหลวง ปราสาท สถานที่ ส�ำคัญทางศาสนาและสถาบันกษัตริย์นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งน�ำเอาแนวคิด รูปแบบ และแผนผัง มาจากพระราชวังหลวงเมืองพระนครอันเป็นพระราชวังที่เกิดขึ้นราว สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ลงมา ทีส่ ามารถน�ำมาเปรียบเทียบกันได้คอื พระราชวังหลวงทีอ่ ยูต่ ดิ กันกับวัดพระศรีสรรเพชญ กับพระราชวังขอมทีต่ ดิ กับปราสาทบาปวน หรือปราสาททองของขอม ที่มีฉนวนต่อถึงกันกับพระราชวังชั้นใน พระราชพิธอี นิ ทราภิเษกของขอมได้รบั การน�ำมาปรุงแต่งให้ เป็นพระราชพิธอี นิ ทราภิเษกของไทยทีเ่ น้นไปถึงการปราบดาภิเษก ที่ แสดงออกโดย “พิธีกรรมชักนาคดึกด�ำบรรพ์” หรือกวนเกษียรสมุทร ทีส่ ำ� คัญอีกอย่างหนึง่ ก็คอื การเอาชือ่ ปราสาทนครวัดทีเ่ รียก ว่า “วิษณุโลก” มาเป็นชือ่ เมืองสองแควใหม่ทสี่ ร้างขึน้ เมือ่ ครัง้ สงคราม กับอาณาจักรล้านนาในนามของ “พิษณุโลก” นับเป็นราชธานีทาง เหนือของกรุงศรีอยุธยาที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปประทับเพื่อ การท�ำสงครามและเสด็จลงมาผนวช ณ เมืองนี้ แต่สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถไม่ทรงมองว่าพิษณุโลกเป็นเมืองทีเ่ กีย่ วกับการตายอย่าง ของขอม แต่เป็นเมืองในทางพระพุทธศาสนาทีส่ ะท้อนให้เห็นจากการ ให้นามของวัดทีเ่ สด็จออกผนวชว่า “วัดจุฬามณี” เพือ่ ตอกย�ำ้ ให้เห็นใน คติจักรวาลของทางพุทธศาสนาที่หมายถึงยอดเขาพระสุเมรุ คือ พระ มหาสถูปจุฬามณีที่พระมหากษัตริย์ไทยและลาวให้ความส�ำคัญ เมื่อ เสด็จสวรรคตจะต้องไปไหว้พระจุฬามณีที่ยอดเขาพระสุเมรุ

จดหมายข่าว

ความต่างกันทางจักรวาลของพุทธเถรวาทแบบไทยกับฮินดู แบบขอมก็คอื ทางไทยถือว่ายอดเขาพระสุเมรุ คือ “พระเจดียจ์ ฬุ ามณี” แต่ขอมให้ความส�ำคัญกับปราสาทที่เรียกว่า “ไพชยนต์ปราสาท” อัน เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในการดูแลโลก แต่แนวความคิดในเรื่องพระสุเมรุแบบขอมนี้ ได้ส่งอิทธิพล กับไทยสมัยอยุธยาอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ผู้ทรงฟื้นฟูและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมด้านศาสนา และราชส�ำนักแบบใหม่ๆ ขึ้นมา ทรงรับเอาความคิดทางจักรวาล แบบฮินดู และเทวราชาของขอมสมัยเมืองพระนครเข้ามาปรุงแต่ง ให้เป็นศิลปวัฒนธรรมไทยของยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายนี้ โดย เฉพาะความคิดในเรือ่ งการสร้างศิลปสถาปัตยกรรมให้ได้สดั ส่วนตาม เรขาคณิตแบบอินเดียและขอม โดยเฉพาะผังพระสุเมรุที่น�ำมาใช้ในการสร้างพระมหาธาตุ เจดีย์วัดไชยวัฒนาราม อันเป็นบริเวณที่ปลงพระศพพระราชมารดา ท�ำให้ผังของพระมหาธาตุเจดีย์ที่เป็นทรงพระปรางค์แบบเดียวกันกับ บรรดาพระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น ดูได้สัดส่วนทางเรขาคณิต เป็นรูปแบบพระสุเมรุมาศที่แวดล้อมไปด้วยปรางค์สี่ทิศ ซึ่งไม่เคยมี ปรากฏในกรุงศรีอยุธยามาก่อน และรูปแบบพระบรมธาตุทรงพระ ปรางค์มีเมรุรายสี่ทิศดังกล่าวนี้ก็สืบทอดมายังพระปรางค์วัดอรุณ ราชวรารามที่ รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขึ้น แต่สงิ่ ทีเ่ ป็นนวัตกรรมใหม่ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองก็ คือ การสร้างพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ให้มีรูปแบบและกระบวนการที่โอ่อ่าและวิจิตรกว่าสมัยใดๆ การตั้ง พระศพบนพระจิตกาธานหมดไป แต่ก่อสร้างพระเมรุมาศที่หมายถึง เขาพระสุเมรุมาตั้งแทน เป็นรูปปราสาทที่มีเมรุรายสี่ทิศเทียบได้กับ ปราสาทนครวัด ต่างกันแต่เพียงปราสาทนครวัดเป็นเพียงทีป่ ระดิษฐาน พระบรมศพเพื่อการประกอบพระราชพิธีอินทราภิเษก ไม่เป็นที่ถวาย พระเพลิงเฉกเช่นพระเมรุมาศของไทย อีกสิ่งหนึ่งที่ขอมเมืองพระนครไม่มีก็คือ “พระโกศ” บรรจุ พระบรมศพ ขอมไม่มีพระโกศแต่มีหีบพระศพที่ท�ำด้วยหิน ไม่พบที่ ปราสาทนครวัดแต่พบเห็นในที่อื่น เช่น ที่ปราสาทบึงมาลาอันเป็น ปราสาทร่วมสมัยกับนครวัด ฯลฯ พระเมรุมาศใช้เพื่อการถวายพระ เพลิง แต่การตั้งพระบรมศพนั้นไปตั้งที่ “ปราสาทสุริยาศน์อมรินทร์” อันเป็นปราสาทจตุรมุขที่สร้างขึ้นภายในก�ำแพงพระราชวังชั้นนอก ไม่ได้อยู่ในพระราชวังชั้นที่ ๒ เหมือนกับ “พระที่นั่งสรรเพชญ” และ “พระที่นั่งวิหารสมเด็จ” อันเป็นพระที่นั่งเพื่อออกว่าราชการ รับแขก เมืองและพระราชพิธีส�ำคัญต่างๆ ของราชอาณาจักร แต่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์นั้น สร้างเพื่อการตั้งพระบรม ศพเป็นส�ำคัญ เพื่อให้คนทั้งภายนอกและภายในเข้าถวายบังคม พระบรมศพได้ทั่วถึงกัน และเป็นสถานที่ซึ่งสัมพันธ์กับการอัญเชิญ พระบรมศพออกมาตั้ ง ขบวนแห่ ม าตามสนามไชยภายในก� ำ แพง พระราชวังชั้นแรก จากพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์มาทางตะวันออก 10

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนผังแสดงบริเวณลานสนามไชยหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์และบริเวณทุ่งพระเมรุกลางเมือง พระบรมมหาราชวัง กรุงศรีอยุธยา

จดหมายข่าว

11

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ผ่านปราสาทตรีมุขที่อยู่บนก�ำแพงพระราชวังชั้นที่ ๒ ชื่อ “พระที่นั่ง จักรวรรดิ์ไพชยนต์” เป็นพระทีน่ งั่ โถงทีป่ ระทับของพระมหากษัตริยใ์ น พระราชพิธีสนามตามฤดูกาลต่างๆ แต่ในงานถวายพระเพลิงนั้นพระ มหากษัตริย์เสด็จออกเป็นประธาน เมื่อริ้วขบวนพระบรมศพเคลื่อน ผ่านหน้าพระที่นั่งออกยังประตูพระราชวังทางทิศตะวันออกสู่พื้นที่ซึ่ง ก�ำหนดให้เป็น “ทุง่ พระเมรุ” ยังบริเวณซึง่ ก�ำหนดให้เป็นพืน้ ทีเ่ พือ่ การ ถวายพระเพลิงโดยเฉพาะ การมีท้องสนามไชยและประเพณีการเชิญพระบรมศพผ่าน พระที่นั่งโถงที่พระมหากษัตริย์ประทับทอดพระเนตรนั้น มีรูปแบบอยู่ แล้วทีพ่ ระราชวังเมืองพระนคร ทีแ่ ลเห็นจากปราสาทจตุรมุข โถงหน้า พระราชวังทีต่ ง้ั อยูบ่ นฐานยกพืน้ เหนือบริเวณสนามไชย ปราสาทตัง้ อยู่ ตรงกลาง ทางปีกขวาของฐานมีภาพสลักช้างเป็นช่องๆ ไป บริเวณนี้ คงเป็นที่รับแขกเมืองที่มาร่วมพระราชพิธี ในขณะที่ทางปีกซ้ายเป็น ฐานยาวที่ตอนปลายฐานมีร่องรอยของฐานจิตกาธาน แต่สงิ่ ทีบ่ ง่ ได้วา่ น่าจะเป็นต�ำแหน่งทีถ่ วายพระเพลิงพระมหา กษัตริย์ ก็คือการมีรูปปั้นศิลาของพระยมในลักษณะที่เปลือยเปล่านั่ง อยู่ ในคติทางฮินดูพระยมคือพระธรรมราชาผูท้ จี่ ะมาน�ำพระวิญญาณ ของกษัตริย์ไปสรวงสวรรค์

พระยมบริเวณที่เรียกว่าลานพระเจ้าขี้เรือน ซึ่งจะเป็นพื้นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพกษัตริย์ ภาพของอาจารย์มานิต วัลลิโภดม

ขอมเมืองพระนครไม่มีการสร้างพระเมรุมาศเพื่อถวายพระ เพลิงแน่นอน แต่ขบวนการแห่พระบรมศพจากปราสาทที่ตั้งพระศพ คือสิ่งที่ทางไทยได้รับความคิดมา คือมีขบวนแห่พระบรมศพผ่านหน้า พระที่นั่งจตุรมุขจากทางปีกขวาของฐานยกพื้น อันเป็นที่ชุมนุมของ แขกเมือง เจ้านาย และขุนนางผ่านพระที่นั่งจตุรมุขไปทางปีกซ้าย ของฐานยกพื้น ที่เป็นที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงบนฐาน จิตกาธานที่มีรูปปั้นพระยมเป็นสัญลักษณ์ เทวปฏิมากรรมรูปนีค้ อื สิง่ ทีค่ นทัว่ ไปเรียกว่า “พระเจ้าขีเ้ รือ้ น” แต่สิ่งที่ยืนยันให้เห็นได้ว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเอาแนวคิด และรูปแบบการมีขบวนแห่พระบรมศพผ่านหน้าพระที่นั่งจตุรมุข ก็คอื ภาพสลักรูปครุฑทีป่ ระดับรอบฐานทีพ่ บเห็นเช่นเดียวกับทีป่ ราสาท

จดหมายข่าว

ภาพปูนปั้นรูปครุฑที่ประดับฐานพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ของพระราชวัง กรุงศรีอยุธยา ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของแบบแผนทีร่ บั มาจากเมืองพระนครหลวง

พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ของพระราชวังกรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงท้ายสุดนี้ ใคร่สรุปว่า พระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพที่แลเห็นในกรุงรัตนโกสินทร์ทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใน สมัยอยุธยาตอนปลายคือราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยได้อทิ ธิพลความคิดทางด้านจักรวาล ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางจากปราสาทนครวัด หรือวิษ ณุโลก ของขอม แต่ขอมไม่มีการตั้งพระเมรุมาศ รวมทั้งไม่มีพระโกศบรรจุ พระบรมศพ ทั้ง ๒ อย่างนี้จึงเป็นนวัตกรรมของไทยโดยเฉพาะ เป็น สัญลักษณ์และเกียรติภูมิของพระมหากษัตริย์ไทยที่ ได้รับการรักษา อนุรักษ์และต่อเนื่องมาจนสมัยปัจจุบัน ในทางสังคมและวัฒนธรรมทัง้ พระเมรุมาศและพระโกศคือ สัญลักษณ์ของความสูงต�่ำทางบรรดาศักดิ์ของสังคมที่มีความเหลื่อม ล�ำ้ ทีเ่ ป็นค่านิยมเรือ่ ยมาจนปัจจุบนั เพราะหาได้หมดสิน้ ไปกับการหมด ไปของสังคมศักดินาสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ ในสังคม สมัยใหม่ทมี่ ชี นชัน้ กลางมากมายนัน้ ทุกคนต้องการเผาศพตนเองอย่าง มีเกียรติ จึงเกิดการสร้างเมรุหรือพระเมรุมาศเผาศพแทนการเผาทีเ่ ชิง ตะกอนตามป่าช้าของวัดกันไปทุกแห่งทุกวัด จนเมรุเผาศพกลายเป็น จุดเด่นจุดสูงของวัดแทนหลังคาโบสถ์ และพระสถูปเจดีย์กัน เมรุเผาศพจึงกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ของวัดไทยหลังยุค สังคมศักดินา ในส่วนโกศนั้นยังไม่แพร่หลายทั่วไป ยังคงสงวนไว้ ส�ำหรับเจ้านายและขุนนางข้าราชการที่ ได้สายสะพาย โดยเฉพาะ บรรดาขุนนางพ่อค้าที่เป็นนักธุรกิจมั่งคั่ง และนักการเมือง

12

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย

สนามไชย-ทุ่งพระเมรุ-ท้องสนามหลวง การใช้พื้น ที่โล่งว่างเพื่อประกอบกิจกรรมสาธารณะของ ชุมชนเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปนับเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึง เมืองและนครรัฐ การใช้พื้นที่สนามเพื่อประกอบพิธีกรรมของเมือง ในรัฐโบราณโดยเฉพาะในดินแดนประเทศไทยนั้นเห็นชัดเจนในสมัย อยุธยา ทีร่ บั อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรเมืองพระนครอย่าง มากต่อบ้านเมืองในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะกับรัฐละโว้ที่สืบ ต่อมาเป็นอาณาจักรพระนครศรีอยุธยา โดยรัชกาลสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยาเสด็จยกกองทัพไปตีกัมพูชาและยึด เมืองพระนครหรือกรุงศรียโสธรปุระจนบ้านเมืองทางฝั่งกัมพูชาต้อง ย้ายนครหลวงไปยังที่อื่นและปล่อยเมืองพระนครทิ้งร้างไว้ หลักฐานจากเมืองพระนครที่น่าจะเป็นตัวอย่างได้ชัดเจน ๒ ประการ คือ หลักฐานทางโบราณสถานวัตถุ และ จดหมายเหตุของทูต จีนที่ชื่อว่าโจวต้ากวาน ซึ่งกลางเมืองยโสธรปุระหรือนครธม พบซาก พระราชวังขนาดใหญ่ทสี่ ร้างด้วยหินและเครือ่ งไม้ ตรงหน้าพระราชวัง มีพระทีน่ งั่ ส�ำหรับกษัตริยเ์ สด็จออกเป็นประธานงานพระราชพิธสี นาม ตรงลานทีป่ จั จุบนั เรียกว่า “ลานช้างเผือก” พืน้ ทีต่ รงนีค้ อื “สนามไชย” ในขณะที่บันทึกของโจวต้ากวานในจดหมายเหตุเมื่อเข้ามา

ฐานปีกด้านขวาที่แกะสลักช้างของพลับพลาฐานจตุรมุข เมืองพระนครหลวง กัมพูชา

จดหมายข่าว

13

เป็นทูตที่เมืองพระนครเมื่อตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้น ได้เล่าถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขมรโบราณ บรรยายถึงพระราชพิธีสนาม ของราชส�ำนัก รวมถึงประเพณีราษฎร์บางอย่างด้วย บ้านเมืองในสยามประเทศในสมัยลพบุรีคือตั้งแต่ราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๖ ลงมานั้น ประกอบด้วยแคว้นใหญ่ๆ ๒ กลุ่ม คือ “กลุ่ม ละโว้” ทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั อาณาจักรขอมเมืองพระนครเป็นพิเศษ กับ “กลุม่ สยาม” ทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั กลุม่ ชุมชนทีร่ บั อิทธิพลจากขอมเมือง พระนคร แต่อยู่ห่างเมืองพระนคร ทางละโว้มกี ารนับถือพุทธศาสนามหายาน เถรวาท และฮินดู ผสมปนเปกัน อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับราชส�ำนักเมืองพระนคร ได้รับ ประเพณีและความคิดในเรือ่ งการเป็นเทวราชของกษัตริยม์ ากกว่าทาง กลุม่ สยาม ในขณะทีท่ างกลุม่ สยามกษัตริยแ์ ละผูค้ นส่วนใหญ่เป็นการ ผสมผสานของคนหลายเผ่าพันธุท์ เี่ คลือ่ นย้ายมาจากทีต่ า่ งๆ โดยเฉพาะ ทางตอนใต้ของประเทศจีนและพวกมอญในเขตพม่า เป็นแว่นแคว้นที่ นับถือพุทธศาสนาเถรวาทสืบต่อมาจากรัฐทวารวดี และให้ความส�ำคัญ กับกษัตริย์ในระบบสมมติราช เมื่อกรุงศรีอยุธยาสืบต่อในฐานะรัฐ ศูนย์กลางในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิมีอ�ำนาจเหนือกลุ่ม ราชวงศ์อู่ทองตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนครินทราธิราชเป็นต้นมา ความชัดเจนที่มีการปรับพื้นที่รอบพระบรมมหาราชวังใน กรุ ง ศรี อยุ ธยาเห็ นได้ ชั ดเจนในสมั ย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ ราชส�ำนักได้น�ำแนวความคิดในเรื่องการสร้างปราสาทราชวังตาม ลัทธิเทวราชาที่อยู่ในศาสนาฮินดูแบบขอมเข้ามาผสมผสานกับความ เป็นพระมหากษัตริย์ในพุทธเถรวาทในกรุงศรีอยุธยา น�ำเอาแนวคิด รูปแบบ และแผนผังมาจากพระราชวังหลวงเมืองพระนคร เช่น การสร้าง วัดพระศรีสรรเพชญ์ติดกับพระราชวังหลวง ซึ่งพระราชวังขอมนั้นติด กับปราสาทบาปวน และการสร้างปราสาทตรีมุขที่อยู่บนก�ำแพงพระราชวังคือ “พระทีน่ งั่ จักรวรรดิ์ไพชยนต์” เป็นพระทีน่ งั่ โถงทีป่ ระทับของพระมหา กษัตริยใ์ นพระราชพิธสี นามตามฤดูกาลต่างๆ ซึง่ ในงานถวายพระเพลิง จะเสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์เป็นประธานให้ริ้วขบวน พระบรมศพเคลื่อนผ่านสู่พื้นที่ “ท้องสนามไชย” ซึ่งก�ำหนดให้เป็น “ทุง่ พระเมรุ” เป็นพืน้ ทีถ่ วายพระเพลิง ซึง่ รับมาจากรูปแบบพระราชวัง เมืองพระนคร

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ลานท้องสนามไชยหน้าพลับพลาฐานจตุรมุขกลางเมืองพระนครหลวง กัมพูชา

งานพระราชพิธสี นามทัง้ ในเขมรโบราณและสืบเนือ่ งมาจนถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา หลายพระราชพิธีเป็นเรื่องแสดงความมั่นคงของ พระมหากษัตริยแ์ ละราชอาณาจักร บางพระราชพิธเี ป็นงานสวนสนาม ซึ่งปรากฏอยู่ ในภาพสลักบนผนังของปราสาทนครวัดในรัชกาลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และภาพสลักบนผนัง ปราสาทบายนในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งบ้านเมืองในยุคเดียวกัน ที่มีการสร้างเมืองในผังรูป สีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั แบบเมืองพระนคร คือ เมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ กรณีของเมืองสุโขทัยไม่พบซากพระราชวังทีส่ ร้างด้วยวัตถุคงทนถาวร แบบพระราชวังขอมเมืองพระนคร หากคงเป็นพระราชวังขนาดเล็กที่ สร้างด้วยเครือ่ งไม้ ซึง่ สันนิษฐานว่าอยูบ่ ริเวณทีเ่ รียกว่า “เนินปราสาท” ตรงข้ามกับวัดมหาธาตุทางทิศตะวันออก และยังไม่มรี อ่ งรอยของลาน ประกอบพระราชพิธีสนามที่เรียกว่า “สนามไชย” สันนิษฐานว่าการ ประกอบพระราชพิธีตามประเพณีที่ส�ำคัญน่าจะไปอยู่ที่วัดส�ำคัญๆ มากกว่า ส่วนเมืองเชียงใหม่พบร่องรอยที่เรียกว่า “ข่วงหลวง” ใกล้ กับหอค�ำ “คุ้มหลวงเวียงแก้ว” ที่ถูกปรับเป็นพื้นที่สร้างเป็นเรือนจ�ำ กลางเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมีวดั หัวข่วงอยู่ใกล้เคียง ซึง่ ยังยืนยัน แน่ชดั เด็ดขาดไม่ได้วา่ จะสืบเนือ่ งมาตัง้ แต่สมัยสร้างเมืองเชียงใหม่ใน ยุคแรกๆ หรือไม่แต่กเ็ ห็นว่ามีรปู แบบเช่นเดียวกันในการจัดพืน้ ทีส่ นาม ให้ใกล้ชิดกับศูนย์กลางอ�ำนาจ โดยยังมีร่องรอยของคณะผู้บริหาร ราชการงานเมืองร่วมกันเรียกว่า “เค้าสนามหลวง” ซึ่งอาจจะได้รับ ชื่อ “สนามหลวง” จากกรุงเทพฯ ในราวช่วงรัชกาลที่ ๔-๕ จากชื่อ นั้นก็มีความหมายไปในทางให้เห็นความใกล้ชิดของการใช้พื้นที่ทั้ง สองเช่นเดียวกัน และแม้หัวเมืองในล้านนาหลายแห่งจะไม่มีรูปแบบ ผังเมืองเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มแบบสมมาตรดังเช่นเมืองเชียงใหม่ แต่กม็ กั จะ มี “สนาม” หรือ “ข่วงหลวง” อยู่ใกล้กบั หอค�ำซึง่ เป็นศูนย์กลางอ�ำนาจ

จดหมายข่าว

ของเมืองและเป็นทั้งบ้านพักอาศัยและว่าราชการเมืองพร้อมกัน ส�ำหรับการใช้พื้นที่ “สนามไชย” ในสมัยอยุธยา น่าจะอยู่ บริเวณลานหน้าพระทีน่ งั่ จักรวรรดิ์ไพชยนต์ทสี่ ร้างรูปแบบและระเบียบ สมมาตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและน่าจะเคยมีแนวถนน ที่น�ำไปสู่ประตูไชยเฉกเช่นเดียวกับผังจากพระราชวังเมืองพระนคร และยังคงชื่อถนนหอรัตนไชยในปัจจุบัน มีข้อมูลกล่าวถึงพระราชพิธี สนามต่างๆ ซึ่งท�ำในเดือน ๕ ซึ่งเป็นเดือนขึ้นปีใหม่ที่พระมหากษัตริย์ ต้องเสด็จออกทอดพระเนตรคล้ายการตรวจก�ำลังพลสวนสนาม เพื่อ เป็นสิริมงคลแก่แผ่นดินและเป็นที่ครั่นคร้ามแก่บ้านเมืองอื่นๆ ที่อยู่ รายรอบ คือ “การพระราชพิทธีเผดจ์ศกลดแจตรออกสนาม” ซึ่งเป็น พระราชพิธีออกสนามใหญ่ มีกระบวนกองทัพช้าง ม้า กองก�ำลังทุก หน่วยทั้งหัวเมือง พลเรือน และไพร่ และรวมถึงการใช้เป็นพื้นที่สร้าง พระเมรุมาศตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองลงมา ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ให้ความส�ำคัญแก่พระราชพิธสี นาม เช่นกันคือ “การพระราชพิธีทอดเชือก ดามเชือก” คงเป็นพิธีสืบเนื่อง ในการบูชาครูเพื่อการหัดช้าง และ “การพระราชพิธีแห่สระสนาน ใหญ่” ซึ่งต้องใช้ก�ำลังคนแห่เป็นขบวนใหญ่จากเช้าจนถึงบ่าย ท�ำกัน เพียงรัชกาลละครั้ง และไม่ได้ท�ำอีกหลังจากรัชกาลที่ ๓ แล้ว “พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน” เป็นพระราชพิธีที่เพิ่งเริ่ม มี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเพิ่มเอาพิธีทาง พุทธศาสนาเข้าไป ท�ำปีละ ๒ ครั้งเพื่อเจริญสวัสดิมงคลแก่ช้างและ ม้าซึ่งเป็นราชพาหนะและเป็นก�ำลังแผ่นดินและบ�ำบัดเสนียดจัญไรใน ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ในการช้างทั้งปวง มีการแห่ขบวนช้างพราหมณ์และ ราชบัณฑิตจะเป็นผู้ประพรมขบวนช้าง มีการจัดริ้วขบวนผู้คนจ�ำนวน มากเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนครและเป็นที่เกรงขามแก่ศัตรู ดังปรากฏในประกาศพระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน ตอนหนึ่งว่า ..ศรีสัจปานกาล สนานคเชนทรัศว์ สมพัจฉรถึงสองคาบ ทราบโบราณ สารสืบมา อยุทธยาเป็นศุขชื่น รื่นประชาชน การชุมพล พยุหะ สระสนานนรสันนิบาต ราชกะรีดุรงค์รถ บทจรพลพิไชยยุทธ อตมาณึกในมงคล ผลภูลสวัสดี แด่วาหนะ สระไข้เข็ญ เย็นไพร่ฟ้า ข้าขอบเขตร เหตุคเชนทรัศวสนาน… ประกาศพระราชพิธีส่วน “พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์” ที่จัดผสมผสานระหว่างศาสนา พราหมณ์และศาสนาพุทธ เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร พระเจ้า แผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนราษฎรทั่วไปใน ตรุษเดือน ๔ มีมหรสพเอิกเกริกสมโภชบ้านเมือง เป็นการนักขัตฤกษ์ จัดตั้งขบวนเป็น ๕ หมู่ ทหารแต่งกายใส่เสื้อหมวกสีต่างๆ ถือธงฉาน ธงชาย เชิญพระพุทธปฏิมาและอาราธนาพระมหาเถรสถิตยานราชรถ ประพรมนํ้าพระพุทธมนต์และโรยทรายรอบพระราชนิเวศน์ รอบ พระนคร ตามท้องสถลมารคนั้น ๔ กระบวน เมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ ให้รวม “พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เถลิงศกสงกรานต์ 14

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เรียกจาก “ทุง่ พระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ว่า “ทีท่ อ้ งนาหน้าวัดมหาธาตุนนั้ คนอ้างการซึง่ นานๆ มีครัง้ หนึง่ แลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชือ่ ต�ำบลว่า “ทุง่ พระเมรุ” นัน้ หาชอบ ไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า “ท้องสนาม หลวง”

บริเวณท้องสนามไชย ถ่ายจากหอกลอง เห็นป้อมและก�ำแพงพระบรมมหาราชวังทางซ้าย ก่อนที่จะสร้างสวนและพระราชวังสราญรมย์ในครั้งรัชกาลที่ ๔

พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน�้ำพิพัฒน์สัตยา” อันเป็นพระราชพิธี เนื่องในการสิ้นปีและขึ้นปีใหม่เข้าด้วยกัน เรียกว่า “พระราชพิธีตรุษ สงกรานต์” โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม จนถึงวันที่ ๓ เมษายน การพระราชพิธีเกี่ยวกับความเป็นสิริมงคลของแผ่นดินเกี่ยวกับการ พระราชพิธีสนามในช่วงสิ้นปีและขึ้นปีใหม่จึงหมดไป ต่อมาวันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคมเพื่อตรงกับ สากลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และต่อ มาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช มีการเสด็จ บ�ำเพ็ญพระราชกุศลโดยจัดเป็นการส่วนพระองค์ การพระราชพิธี สนามและการสวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่แผ่นดิน พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และราษฎร ในคราวตรุษสิ้นปีก็ไม่มีการปฏิบัติ สืบต่อไป พระราชพิธสี นามในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึง เป็นพระราชพิธีส�ำคัญที่รวมเอาความเป็นสิริมงคลแก่แผ่นดินหลายๆ ประการเข้าด้วยกัน พื้นที่ ในการพระราชพิธีสนามในกรุงเทพฯ ก็ คือ “สนามไชย” ซึ่งเป็นลานกว้างติดกับตึกดิน คือบริเวณที่เป็น สวนสราญรมย์และพระราชวังสราญรมย์ทเี่ ริม่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ และพื้นที่ด้านหน้ากระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ถัดจาก “สนามไชย” จึงเป็นบริเวณ “ทุ่งพระเมรุ” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากใช้ เป็นทีถ่ วายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุ วงศ์ชั้นผู้ใหญ่ซึ่งแต่เดิมนั้นมีขนาดเพียงครึ่งเดียวจากด้านวังหลวง มา สิ้นสุดตรงกึ่งกลางสนามเท่านั้น ส่วนนอกจากนั้นเป็นเขตของวังหน้า ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น มา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ เช่น เป็นที่ตั้ง พระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็น ที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้ทำ� พระราชพิธที ำ� นาทีส่ นามหลวง ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระ ราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์เช่นกัน และโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อ

จดหมายข่าว

15

ลานสนามไชย หน้ากระทรวงกลาโหม ภาพราว พ.ศ. ๒๔๗๕

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด เกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิมไปยังพื้นที่วังหน้าจนมีขนาดเท่าที่ เห็นในปัจจุบนั รือ้ พลับพลาต่างๆ ปลูกต้นไม้รอบสนามหลวงที่ได้แบบ อย่างมาจากสนามที่เรียกว่า “Alun Alun” เหนือ-ใต้พระราชวังหรือ Kraton ของสุลต่านเมืองย็อกยาการ์ตาและเมืองโซโล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ ถูกปรับปรุงให้สวยงามในช่วงเวลายุคอาณานิคม และในสมัยโบราณ ใช้ส�ำหรับสุลต่านออกพระราชพิธีสนามเช่นเดียวกัน จึงน�ำแบบอย่าง มาปรับปรุงทุง่ พระเมรุในพระนครและได้ใช้สนามหลวงเป็นทีป่ ระกอบ พิธีหลวงมาโดยตลอด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ ประกอบพระราชพิธตี า่ งๆ รวมทัง้ ใช้เป็นพืน้ ทีอ่ เนกประสงค์ เช่น เป็น สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ การ พระราชพิธตี า่ งๆ เกีย่ วกับการศาสนาตกไปเป็นภารกิจของรัฐบาล ซึง่ ได้กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงธรรมการเป็นฝ่ายจัดการ ส่วนการ พระราชพิธีประจ�ำเดือนซึ่งเคยถือปฏิบัติสืบต่อมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น พระราชพิธีสนามต่างๆ พระราชพิธีตรียัมพวาย พระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ ก็ถึงกับหยุดชะงักลง บางพระราชพิธีสูญสิ้น ไปไม่น�ำมาปฏิบัติต่อไปอีก และบางพระราชพิธีได้รับการฟื้นฟูขึ้นมา ใหม่ ใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีส�ำคัญๆ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช รัชกาลที่​ ๙ ได้มีการใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงในการก่อสร้างพระเมรุ กลางเมืองมาแล้ว ๗ ครั้ง รวมทั้งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชครัง้ ทีเ่ พิง่ ผ่านมา นี้ด้วย

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ก่อนที่จะมีการขยายสนามหลวงเข้าไปในพื้นที่ของพระบวรมหาราชวังหรือวังหน้า ส่วนพื้นที่ ท้องสนามไชยถูกปรับเล็กลง เนื่องจากการสร้างสวนสราญรมย์และอาคารยุทธนาธิการซึ่งต่อมาคือกระทรวงกลาโหม

แผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๗๕ แสดงพื้นที่สนามหลวงที่ถูกปรับแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมี ขอบเขตขยายกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

16

จดหมายข่าว


เนื่องในวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ มรดกทางภูมิปัญญาฝังไว้ในแผ่นดิน วีดิทัศน์เผยแพร่ทาง ช่อง Youtube : VLek-Prapai Channel

จดหมายข่าว

17

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จุดเริ่มต้นครอบครัวและธุรกิจ พ.ศ. ๒๔๕๗ นายชีเซ็งและนางเต่ง เจ้าของร้านขายยาร้าน ขายยาเทียนแซตึ๊ง ได้ให้ก�ำเนิดบุตรชายชื่อเล็ก ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ให้แผ่นดินสยาม และยังฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความคิดไว้ให้กับคนรุ่นหลัง อีกมากมาย ในวัยเด็กคุณเล็ก วิรยิ ะพันธุ์ มีโอกาสไปศึกษาต่อประเทศจีน ที่นครเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความเจริญรุ่งเรืองของตะวันออก จนได้ชอื่ ว่าเป็นปารีสแห่งโลกตะวันออก ท�ำให้คณ ุ เล็กได้รบั วัฒนธรรม ของวิถีคนสองโลก ทั้งโลกสมัยใหม่ที่รุดหน้าไปกับเทคโนโลยี กับ ภูมปิ ญ ั ญาของบรรพชนทีล่ มุ่ ลึกทางจิตวิญญาณ แต่ดว้ ยเส้นทางชีวติ ที่เปลี่ยนผันคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ต้องเดินทางกลับมารับช่วงต่อกิจการ ร้านขายยาของคุณพ่อในวัยเพียงยี่สิบปีต้นๆ และต้องฝ่าฟันอุปสรรค เผชิญปัญหาจนเป็นที่ยอมรับและประสบความส�ำเร็จในที่สุด และใน ช่วงนั้นเองท�ำให้คุณเล็กได้รู้จักกับคุณประไพ วิริยะพาณิชย์ ธิดาคน เล็กของคุณวิจารณ์ พานิช คหบดีชาวแปดริ้ว และได้แต่งงานกันใน เวลาต่อมา การเริ่มต้นชีวิตคู่ของทั้งสองท่านเป็นไปพร้อมกับการสร้าง เรื่องราวความเป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัว คุณเล็กเป็นผู้คิดริเริ่ม บุกเบิก คุณประไพคอยดูแลควบคุมในวิถีปฏิบัติ สนับสนุนตามแบบ อย่างของภรรยาที่ดี ไม่ว่าคุณเล็กจะท�ำอะไรจะมีคุณประไพอยู่เคียง ข้างเสมอ ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จอย่างสูงในด้านธุรกิจตัวแทน จ�ำหน่ายรถยนต์ และธุรกิจประกันภัย

คุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ จุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการท�ำสิ่งที่ตัวเองรัก ได้เปลี่ยนคุณเล็ก จากนักธุรกิจชั้นน�ำของประเทศมาเป็นผู้สร้างผลงานที่เป็นที่กล่าว ขานมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีในวันหยุดคุณเล็กและ ครอบครัวจะออกเดินทางส�ำรวจไปทัว่ ประเทศ และมีคณะนักวิชาการ มาร่วมท�ำการศึกษาเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและพิมพ์เผยแพร่ในรูป แบบวารสารทีเ่ รียกว่า วารสารเมืองโบราณ และยังคงด�ำเนินงานอย่าง ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

มรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ฝากไว้ ในช่วงที่เป็นนักธุรกิจความสนใจของคุณเล็กเกี่ยวกับศิลปะ เริ่มต้นจากการอ่าน สะสมวัตถุโบราณ และน�ำปรัชญามาปรับใช้ใน การด�ำรงชีวิต เมื่อศึกษาและค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง จึงเป็นแรงผลักดัน ในการสร้างสถานที่ ให้เป็นที่เรียนรู้อดีตของสยามประเทศ บนที่ดิน กว่า ๖๐๐ ไร่ รูปร่างคล้ายประเทศไทย ริมถนนสุขมุ วิทสายเก่า บางปู สมุทรปราการ ได้ถูกสร้างขึ้นในชื่อว่า เมืองโบราณ

จดหมายข่าว

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ 18

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


มูลนิธิฯ เป็นสื่อกลางเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางสังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นต่างๆ พร้อมทั้งสร้างนักวิจัยท้องถิ่นรุ่นใหม่ๆ ในช่วงแรกได้จัดพิมพ์จดหมายข่าวเพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ และ แจกฟรี ให้กับหน่วยงานและบุคคลทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างความรู้โดยน�ำข้อมูลที่ ได้จดบันทึกไว้จัดท�ำเป็นหนังสือสะท้อนถึงท้องถิ่นและเป็นคู่มือการ ศึกษาออกจ�ำหน่าย อีกทั้งน�ำมาท�ำเป็นสารคดีเพื่อให้เข้าใจง่าย และ ทันสมัยผ่านรายการ พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด และบันทึกเทปงาน บรรยายสาธารณะต่างๆ และน�ำมาเผยแพร่ทางช่อง VLek-Prapai Channel ทางยูทูบ เว็บไซต์ www.lek-prapai.org เป็นอีกหนึ่งช่อง ทางที่สามารถไปค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งข่าวความเคลื่อนไหว บทความ จดหมายข่าวออนไลน์ ได้รวบรวมไว้ให้เข้าถึงได้อย่างง่ายขึ้น พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาทที่เมืองโบราณ จากการทุม่ เทในการก่อสร้างอาคารโบราณสถานต่างๆ และ ได้เรียนรูโ้ ครงสร้างและสัดส่วนของสถาปัตยกรรมไทยจนถึงขัน้ เป็นผู้ เชี่ยวชาญ ปราสาทสัจธรรม จึงเกิดขึ้นที่ริมทะเลพัทยาเพื่อสื่อให้เห็น ถึงศาสนาและปรัชญาที่จรรโลงโลกให้มีสันติสุขและคุณค่าทางจิต วิญญาณ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุและศิลป วัตถุที่คุณเล็กสะสมไว้ กิจกรรมทางปัญญาที่คุณเล็กลงมือท�ำอย่าง ต่อเนื่อง คือความสุขที่ได้เห็น ได้สร้าง และส่งต่อ จนเมล็ดพันธุ์แห่ง ความคิดนี้ได้เติบโตแตกกิ่งก้านสาขาอีกมากมาย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ตั้งขึ้นเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ ทีค่ ณ ุ เล็กได้ตงั้ ไว้ โดยมีรองศาสตราจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม ผูท้ ที่ ำ� งาน ใกล้ชิดคุณเล็กมาเป็นที่ปรึกษา อีกทั้งเห็นว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นไม่ได้มีการศึกษาและเก็บรวบรวม องค์ความรู้ไว้อาจสูญหายและไม่สามารถสืบค้นได้ในอนาคต เริ่มต้น จึงมีการศึกษาเอกสารและออกส�ำรวจ สัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้น�ำทางปัญญา ในท้องถิ่นต่างๆ อย่างจริงจัง มีการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยน สืบทอด ความรู้ความเข้าใจในสังคมวัฒนธรรมพื้นบ้านระหว่างปราชญ์ต่างถิ่น และได้จัดท�ำเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ โดยมีกลุ่มเป้า หมายเป็นเยาวชนในชุมชน รวมทั้งยังสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเห็นคุณค่า รักท้องถิ่นที่เป็น มาตุภูมิ และรู้จักรากเหง้าวัฒนธรรมอันหลากหลายของตนเอง โดย น�ำร่องการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ๓ แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดม่วง หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมค�ำ และพิพิธภัณฑ์จันเสน จนเป็นผล ส�ำเร็จตามเป้าหมายสามารถผลิตเยาวชนผ่านกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์ หลายพื้นที่ เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานให้ กับชุมชนอีกหลายแห่ง และปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้าง รายได้ให้กับชุมชน

จดหมายข่าว

19

เว็บไซต์ www.lek-prapai.org ตลอดการท�ำงานของมูลนิธิฯ กว่า ๒๐ ปี เพื่อให้เป็นแหล่ง ข้อมูลทางปัญญาและพัฒนาโลกให้ทันสมัยใหม่โดยที่ยังคงรักษาวิถี แบบแผนการท�ำงานตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งไว้ดังเดิม ถึงวันนี้ การเดินทางเพื่อค้นหาค�ำตอบของคุณเล็กที่ว่าทุกเวลาคือสิ่งที่ต้อง ผ่านไปอย่างมีประโยชน์ มีความสุข ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ผลงานศิลป วัฒนธรรมทีท่ รงคุณค่า รวมถึงการปลูกฝังความคิดนัน้ ยังคงท�ำหน้าที่ สร้างสรรค์ เป็นเหมือนกงล้อที่หมุนผ่านข้ามกาลเวลา เป็นมรดกให้ คนรุ่นหลังสืบไป

ยุวมัคคุเทศก์ ที่พิพิธภัณฑ์จันเสน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรมเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เรื่อง “ข้อสังเกตเส้นทางออกจากกรุงฯ สู่หัวเมืองตะวันออกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ” : ประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดาร โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการ มูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ ที่ร้านหนังสือสุนทรภู่ Be blossom book & tea อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๐ จิราพร แซ่เตียว กิจกรรมเผยแพร่ความรู้นี้จัดขึ้น ที่ร้านหนังสือขนาดเล็ก ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านหนังสืออิสระ คุณรัสรินทร์ กิจชัยสวัสดิ์ เจ้าของ ร้านสุนทรภู่ซึ่งเอื้อเฟื้อสถานที่ ในการจัดเสวนาครั้งนี้ด้วยเป็นกันเอง และพยายามเชื้อเชิญผู้คนในละแวกใกล้เคียงและในท้องถิ่นเข้าร่วม กิจกรรม และก็น่าชื่นชมที่มีผู้เดินทางมาจากไกลๆ เช่น ฉะเชิงเทรา เมืองจันทบุรี เมืองระยอง และกลุ่มเยาวชนรักษ์เขาชะเมาจากอีกฝั่ง หนึ่งของล�ำน�้ำประแส ลุ่มน�้ำเดียวกันกับเมืองแกลง คุณรัสรินทร์ กิจชัยสวัสดิ์เปิดร้านหนังสือที่บ้านเกิด ถือว่า เป็นพื้นที่ทางเลือกอันดับต้นๆ ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ในการเลือกสร้างพื้นที่ความรู้ทางประวัติศาสตร์-โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์-สังคมให้กับท้องถิ่น อันเนื่องมาจากกระบวนการจัด ตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อยที่วัดราชบัลลังก์ฯ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกล จากที่ตั้งร้านหนังสือในตัวเมืองแกลงหรือ “สามย่าน” นัก ทีว่ ดั ราชบัลลังก์ฯ ชาวบ้านเมืองแกลงเชือ่ ว่าเป็นสถานทีผ่ า่ น ทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คราวยกทัพไปตีเมืองจันท์เพือ่ รวบรวมไพร่พลกลับไปกูก้ รุงศรีอยุธยา เมือ่ สงครามครัง้ ใหญ่กบั พม่า พ.ศ. ๒๓๑๐ หลักฐานที่ยืนยันเรื่องราวได้ไม่น้อยคือ “แท่นบัลลังก์” ที่ สร้างและแกะสลักงานไม้ดว้ ยความประณีตงดงาม ตัวบัลลังก์ถกู น�ำไป

คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์

จดหมายข่าว

เก็บรักษาไว้ ปัจจุบนั อยูท่ พี่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ โดยสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรณาณวงศ์ ส่วนแท่นฐานรองเท้า รูปแบบฝีมือช่างเดียวกันยังอยู่ที่วัดราชบัลลังก์ฯ การจัดเสวนานี้ก็เนื่องในวาระโอกาสที่ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นการเสียกรุงศรีอยุธยาปีที่ ๒๕๐ และสถาปนาเริ่มต้นกรุงธนบุรี ในช่วงเวลาปีเดียวกัน และเป็นการเปิดพื้นที่เผยแพร่ข้อมูลส�ำคัญทาง ประวัติศาสตร์ที่นักวิชาการจากมูลนิธิฯ ค้นคว้าไว้จ�ำนวนมากให้แพร่ หลายมากขึ้นกว่าภายในชุมชนบ้านทะเลน้อย มูลนิธิฯ จึงจัดกิจกรรม นี้ขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และหาความร่วมมือในการสืบค้น ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อไป นักวิชาการมูลนิธิฯ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เริ่มเปิดประเด็นว่า ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อความทรงจ�ำ ความรู้สึกที่คนใน พื้นที่ภาคตะวันออกมีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในลักษณะของการ มองพระองค์ทา่ นเป็นวีรบุรษุ ทางวัฒนธรรม [Culture Hero] ซึง่ สะท้อน จากประวัติศาสตร์ความทรงจ�ำของผู้คนในดินแดนภาคตะวันออกที่ ยกย่องท่านเป็นผู้น�ำศักดิ์สิทธิ์ที่มีต�ำนานเรื่องเล่า และการแสดงออก ทางพิธีกรรม ผ่านระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเคารพบูชาสมเด็จ พระเจ้าตาก และบุคคลที่เชื่อว่าเป็นทหารเอกสมเด็จพระเจ้าตาก ตลอดเส้นทางการส�ำรวจ เช่น การนับถือสักการะศาลเจ้าพ่อพญาเร่ เจ้าพ่อเขากา ในพื้นที่ป่าดงของเขตรอยต่อป่าในจังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี ความรู้สึกร่วมของคนในพื้นที่กับความภาคภูมิใจในการ เป็นลูกหลานพระเจ้าตาก ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการกู้ชาติ การ มองตนเองเป็นคนจีนแต้จวิ๋ กลุม่ ชาติพนั ธุเ์ ดียวกันกับพระเจ้าตาก ฯลฯ การยกย่องสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นผู้น�ำศักดิ์สิทธิ์เช่น นี้ ท� ำ นองเดี ย วกั น กั บ ที่ ค นไทยยกย่ อ งบู ช าพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังที่รู้จักกันดีกับลั ทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.๕ ซึ่ง พระองค์ทา่ นเป็นตัวแทนของความทันสมัย การพัฒนาประเทศสูค่ วาม ก้าวหน้า หรือเช่นเดียวกันกับความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในความเป็น 20

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรมเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ กษัตริย์นักพัฒนาซึ่งเป็นต้นแบบความพอเพียง และเป็นศูนย์รวมใจ ของคนไทยทั้งประเทศ ในการศึกษาประวัติศาสตร์จากมุมมองของคนท้องถิ่นนั้น หากมองแยกขาดจากกันด้วยหน่วยพืน้ ที่ในลักษณะเขตปกครองแต่ละ จังหวัดก็อาจจะไม่ครอบคลุมเพียงพอ แนวทางในการศึกษาครั้งนี้จึง เป็นการศึกษาในลักษณะของการมองผ่านภูมิวัฒนธรรม [Cultural Landscape] คือภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของภูมิภาค ตะวันออกผ่านการส�ำรวจเส้นทางเดินทัพและรวบรวมไพร่พลเพื่อกู้ ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากพระนครศรีอยุธยาจนถึง เมืองตราด (ติดตามรายละเอียดได้ที่ lek-prapai.org/home/view. php?id=5123) จากการส�ำรวจเส้นทางเดินทัพดังกล่าว โดยวิเคราะห์ความ เป็นไปได้ของข้อมูลจากชือ่ บ้านนามเมือง กลุม่ ชาติพนั ธุ์ หลักฐานทาง โบราณคดี และร่วมกับข้อมูลจากพงศาวดาร และเอกสารแวดล้อม วิทยากรได้น�ำเสนอข้อมูลทั้งข้อสันนิษฐานใหม่ต่อเส้นทางเดินทัพใน อดีต การท�ำงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมกับชุมชน การพัฒนาอย่างมี รากเหง้าที่เข้าใจอดีต ปัจจุบัน และวางแผนในอนาคตที่ต้องท�ำความ เข้าใจภูมวิ ฒ ั นธรรม การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิน่ ด้วยการ มีวีรบุรุษทางวัฒนธรรมร่วมกัน ดังที่ได้กล่าวว่า “ในกรณีนี้พระเจ้า ตากทรงเป็นตัวแทนของวีรบุรษุ ทางวัฒนธรรม [Iconic Culture Hero conic] ทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ ในประเทศไทย” โดยผูเ้ ข้าฟังเสวนาต่างร่วมเสริม ข้อมูล และแสดงทัศนะแลกเปลี่ยนเป็นระยะๆ นอกจากนี้ยังเสนอว่าในการศึกษาประวัติศาสตร์นั้นควรให้ ความส�ำคัญกับแหล่งข้อมูลหลักฐานทั้งจากพงศาวดาร หลักฐานทาง โบราณคดี รวมถึงหลักฐานอืน่ ซึง่ มักจะเป็นส่วนทีข่ าดหายไปคือข้อมูล ความรูค้ วามเข้าใจจากชาวบ้าน ผูร้ ใู้ นท้องถิน่ ซึง่ ต้องอาศัยการส�ำรวจ ภาคสนาม และหัวใจส�ำคัญคือจะประเมิน ตีความ ท�ำความเข้าใจ กับประวัติศาสตร์ชาติ ซึ่งศึกษาตีความผ่านพงศาวดารโดยรัฐ และ คนนอกท้องถิ่นอย่างไร เช่นเดียวกันกับจะประเมิน ตีความ ท�ำความ

จดหมายข่าว

21

เข้าใจประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ซึง่ ศึกษาและสร้างข้อมูลโดยการลงพืน้ ที่ ฟังการบอกเล่าของคนในชุมชนผ่านความทรงจ�ำในรูปแบบของต�ำนาน การประกอบพิธีกรรม หลักฐานทางวัตถุในพื้นที่อย่างไร และการ ศึกษาคงไม่หยุดที่เพียงภาคตะวันออก แต่ต้องมองอย่างเชื่อมโยง และครอบคลุมไปถึงสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำโขง รวมถึงบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองระดับภูมิภาคและระดับสากล ทั้งนี้ต้อง มองประวัติศาสตร์ในฐานะวิชาที่ต้องเรียนรู้เพื่อคิดและต่อยอด เป็น ประวัติศาสตร์ปลายเปิดที่ไม่ยุติที่ข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง แต่เป็นการ ร่วมพูดคุยเพื่อสร้างและต่อยอดความรู้ร่วมกัน ในช่วงหลังของการเสวนาวลัยลักษณ์ได้เล่าถึงโบราณวัตถุ โบราณสถานทีพ่ บทีว่ ดั ราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม ชุมชนบ้านทะเลน้อย อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง เช่น เครื่องถ้วยจีน เครื่องลายคราม ภาชนะเครื่องทองเหลืองจากจีน ต�ำรายาโบราณ พระอุโบสถหลังเก่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแท่นรองพระบาท ที่เชื่อกันว่าเป็นหลักฐานชิ้น ส�ำคัญซึง่ อยูค่ กู่ บั บัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึง่ ปัจจุบนั บัลลังก์ นีถ้ กู จัดแสดงไว้ทพี่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และจากหลักฐาน นีน้ ำ� ไปสูก่ ารอธิบายเชือ่ มโยงความสัมพันธ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน กับชุมชนบ้านทะเลน้อย และเส้นทางเดินทัพและรวบรวมไพร่พลเพื่อ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อมูลในรายละเอียดอีกมากมายที่น่าสนใจ เช่น เรื่อง เกี่ยวกับชาวจีนฮกเกี้ยนที่มีบทบาทส�ำคัญในประวัติศาสตร์สังคมใน พืน้ ทีภ่ าคตะวันออก ความส�ำคัญของเมืองขนาดเล็กในท้องถิน่ บ้านค่าย กับสมเด็จพระเจ้าตากสิน และความส�ำคัญและรูปแบบของนิเวศ วัฒนธรรมภาคตะวันออก สามารถติดตามฟังงานเสวนาฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https:// www.facebook.com/Vlekprapaifoundation/ ทั้งนี้ ขณะนี้มูล นิธิฯ ได้เข้าไปร่วมด�ำเนินงานในส่วนของการจัดท�ำพิพิธภัณฑ์วัดราช บัลลังก์ฯ ดังกล่าว และก�ำลังทยอยน�ำข้อมูลมาเผยแพร่ตามล�ำดับ เชิญติดตามในโอกาสต่อไป

บรรยากาศที่ร้านหนังสือสุนทรภู่

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ค่ายเยาวชน “ชวนเด็กแกลงตามรอยพระเจ้าตากฯ ที่กรุงธนบุรี” กิจกรรมเนื่องในงานวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก ปีที่ ๑๕ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ วันที่ ๒๔-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ นี้ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ร่วมกับโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” และชาวบ้านทะเลน้อย อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ โดยการเน้น ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เชื่อมการเรียนรู้ท้องถิ่นย่านเมืองแกลง กับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคตะวันออกและกรุงธนบุรี เรียนรู้เส้น ทางสร้างชาติสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๕๐ ปีการเสียกรุงศรีอยุธยา และ ๒๕๐ ปี ในการสถาปนากรุงธนบุรี เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยเฉพาะใน พื้นที่อ�ำเภอแกลงซึ่งมีชุดข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่าในท้องถิ่นและ ความเชือ่ เกีย่ วกับเรือ่ งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะของ พระมหากษัตริยแ์ ห่งกรุงธนบุรแี ละความเป็นผูน้ ำ� ทางวัฒนธรรม [Culture Hero] ของผูค้ นชายฝัง่ ทะเลตะวันออกรวมถึงท�ำความเข้าใจเกีย่ ว กับกรุงธนบุรีอดีตราชธานีของไทย ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เด็กและเยาวชนในเมืองแกลงนัน้ สามารถท�ำความ เข้าใจประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ในพืน้ ทีม่ ากยิง่ ขึน้ เห็นถึงคุณค่าและความ ส�ำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดส�ำนึกรักษ์และ หวงแหน รวมไปถึงการศึกษาที่มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้นนอกจากการ เรียนการสอนในต�ำราเรียน การอบรมให้ความรูใ้ นครัง้ นีม้ วี ทิ ยากรซึง่ เป็นนักวิชาการของ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ คือ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ที่ได้ท�ำการ ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทัพของพระเจ้าตากสินฯ และศึกษา เรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์สงั คมในภูมภิ าคตะวันออก รวมทัง้ วิทยากร ท้องถิน่ มาสร้างความรู้ ความเข้าใจและร่วมพูดคุยแลกเปลีย่ นในฐานะ “คนใน” เพื่อให้เกิดความหลากหลายในทางการเรียนรู้ ในระยะยาวได้มีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าการสร้าง

จดหมายข่าว

กระบวนการการเรียนรู้ท้องถิ่นของค่ายเยาวชนครั้งนี้จะสามารถต่อ ยอดไปได้อีก เด็กและเยาวชนในพื้นที่สามารถท�ำการศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของบ้านตนเองได้และการบริหารจัดการต่อ แหล่งเรียนรู้ใกล้บ้านหรือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่วัดราชบัลลังก์ฯ หรือ วัดบ้านทะเลน้อยที่ก�ำลังอยู่ ในช่วงของการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อ ประกอบการจัดแสดงวัตถุนั้นคงจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ของผู้คน ทั้งในการเป็นผู้ที่เข้ามาท�ำการศึกษาและเป็นผู้ให้ความรู้ อาจจะโดยชาวบ้านหรือผู้คนใกล้เคียงที่ให้ความสนใจ

22

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


จดหมายข่าว

23

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.