จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๑๐๓ ประจำเดือน กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๗

Page 1

รวบรวม บันทึก ศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรม สนับสนุนการอนุรักษ์เพื่อพัฒนา เผยแพร่เพื่อการศึกษาของ สาธารณชน

กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๗

Lek-Prapai Viriyapant Foundation

ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑๐๓

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จดหมายข่าวรายสามเดือน

เปิด ประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

ภูมิวัฒนธรรมกับการจัดการน�้ำ

ในภาคประชาคม : กรณีอยุธยาและสุโขทัย

อาจารย์มานิต วัลลิโภดมและอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม  ที่สบกก สามเหลี่ยมทองค�ำ เชียงแสน

อนุสนธิจากการทีค่ ณะวิชาการเมืองโบราณได้ท�ำแผนทีภ่ มู วิ ฒ ั นธรรม ของเมืองประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเพื่อประกอบการน�ำชมเมืองโบราณ ที่สมุทรปราการให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่มาชมได้เรียนรู้อย่างเป็น รูปธรรม และได้น�ำภาพเมืองโบราณเหล่านั้น มาทยอยตีพิมพ์ในวารสาร เมืองโบราณอย่างต่อเนื่องนั้น  ได้เกิดผลดีเป็น ประโยชน์ตามมาต่อการ ท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ซึ่งท�ำให้ สามารถไปท่องเที่ยวศึกษาด้วยตนเองได้ เพราะแผนที่นั้นได้สร้างจากแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศและแผนทีเ่ ก่าๆ รวมทัง้ ต�ำแหน่งของสถานทีซ่ งึ่ เป็นชือ่ บ้าน นามเมืองและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจริงในท้องถิ่น

สารบัญ เปิดประเด็น ภูมิวัฒนธรรมกับการจัดการน�้ำ ในภาคประชาคม : กรณีอยุธยาและสุโขทัย ศรีศักร  วัลลิโภดม หน้า ๑ ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม เส้นทางข้ามคาบสมุทรเคดาห์-ปาตานี ความเป็นเมืองท่าและความส�ำคัญของ ทรัพยากรต่อบ้านเมืองภายใน วลัยลักษณ์  ทรงศิริ หน้า ๖ บันทึกจากท้องถิ่น เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น งามพล  จะปะกิยา หน้า ๑๑ พระนครบันทึก ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรสวรรค์ อภิญญา นนท์นาท หน้า ๑๓ บอกเล่าข่าวกิจกรรม - กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ Najib Bin Ahmad - การเสวนาเรื่อง สารทจีน ออกพรรษา ไหว้พระจันทร์ ศรัทธาที่สับสนในสังคมไทย - “ความทรงจ�ำจากภาพถ่าย” โครงการใหม่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ - ปัตตานีในความทรงจ�ำ Najib Bin Ahmad - เล่าด้วยภาพ หน้า ๑๖


พระยาโบราณราชธานินท์

โดยเฉพาะชือ่ บ้านนามเมือง วัดและวังทีเ่ ติมเต็มความเข้าใจ และการเข้าไปถึงต�ำแหน่งที่ตั้งให้แลเห็น ภาพรวมที่มีชีวิตในอดีต ได้ ซึ่งข้าพเจ้าเรียกสิ่งที่แลเห็นจากแผนที่เมืองโบราณดังกล่าวว่า เป็นภูมิวัฒนธรรมอันเป็นพื้นฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สังคม ที่ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์เข้าไปช่วยอบรมและแนะน� ำ ให้ ค นในท้ อ งถิ่ น สร้ า งประวั ติ ศ าสตร์ สั ง คมของตนขึ้ น  และเป็ น ประวัติศาสตร์ประชาสังคม [History of Civil Society] ที่แตกต่าง ไปจากประวัติศาสตร์ของรัฐที่สร้างโดยคนข้างนอกท้องถิ่นไม่ใช่คน จากข้างใน จนกระทั่งเมื่อวัน ที่ ๒๕ สิงหาคมที่แล้วมา มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้จัดให้มีการเสวนากันถึงเรื่องการจัดการ น�้ ำ ของเมื อ งอยุ ธ ยาเพื่ อ ป้ อ งกั นไม่ ใ ห้ เ กิ ด น�้ำ ท่ ว มขึ้ น อี ก ดั ง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่แล้ว เพราะปัญหาอยุธยาถูกคุกคามจากการมีน�้ำท่วม แทบทุกปีในขณะนี ้ อันเนือ่ งมาจากการเปลีย่ นแปลงธรรมชาติทที่ ำ� ให้ เกิดอุทกภัยกว่าแต่กอ่ น ข้าพเจ้าถูกเชิญให้เป็นวิทยากรคนหนึง่ ในการ เสวนาครั้ ง นี้ ใ นฐานะนั ก ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละโบราณคดี   ร่ ว มกั บ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายวิทยา ผิวผ่อง และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การจัดการน�้ำของโครงการหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดร.รอยล จิตรดอน ผู้ว่าราชการจังหวัดพูดถึงงบประมาณในการจัดการน�ำ้ ของ ทางจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบว่า การจัดการน�้ำในส่วน รวมที่มีนับแสนล้านบาทได้เจียดมาให้ทางจังหวัดจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งรวม แล้วกว่าหมื่นล้านขึ้นไป แต่ที่อยู่ ในความรับผิดชอบและสั่งการโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นมี ไม่กี่ร้อยล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นเรื่อง ของหน่วยราชการและองค์กรทีเ่ กีย่ วกับการจัดการน�ำ้ ในท้องถิน่ ใช้ใน

จดหมายข่าว

การศึกษารวบรวมข้อมูล ในขณะที่ ท างฝ่ า ยผู ้ เ ชี่ ย วชาญจากโครงการหลวงใน พระราชด�ำริก็เสนอให้เห็นปริมาณของมวลน�้ำและความเร็วของน�้ำ ที่ ท� ำให้ เ กิ ด อุ ท กภั ย ขึ้ น ในจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ปั ญ หาและ แนวทางในการแก้ไขป้องกัน ส่วนข้าพเจ้าพูดถึงการจัดการน�้ำในอดีต ของคนเมืองอยุธยาในภาคประชาสังคม โดยใช้หลักฐานข้อมูลทาง เอกสารโบราณ ความทรงจ�ำของคนในท้องถิ่นและประสบการณ์ ในส่วนตัวข้าพเจ้าที่เคยอยู่ที่อยุธยาในวัยเด็กร่วม ๖ ปี ยุคสมัยก่อน ที่ จ ะมี ก ารสร้ า งเขื่ อ นภู มิ พ ลและเขื่ อ นเจ้ า พระยา ซึ่ ง ความรู ้ แ ละ ภาพพจน์ของสิง่ เหล่านี้ได้น�ำมาสร้างเป็นภูมวิ ฒ ั นธรรมในแผนทีเ่ มือง ประวัติศาสตร์อยุธยาที่เมืองโบราณได้จัดท�ำขึ้น ข้ า พเจ้ าไม่ มี ข ้ อ สงสั ย และขั ด แย้ ง กั บ การจั ด การน�้ ำใน โครงการหลวงเพราะเป็นสิ่งที่แลเห็นชัดเจนในทางเทคนิคและวิธี การทางวิทยาศาสตร์ แต่มีข้อข้องใจและเห็นใจในเรื่องการจัดการน�้ำ ในระดับจังหวัดของผูว้ า่ ราชการจังหวัดทีว่ า่ ทางจังหวัดได้เงินมาจัดการ กว่าหมืน่ ล้านขึน้ ไป แต่ผวู้ า่ ราชการจังหวัดมีสทิ ธิ์ใช้ได้ราวร้อยกว่าล้าน บาทเท่านั้น นอกนั้นเป็นเรื่องของหน่วยราชการและท้องถิ่นไปจัดหา ข้อมูลและน�ำมาด�ำเนินการ โดยย่อก็คือเป็นเรื่องของท้องถิ่น นั่นเอง ข้อข้องใจของ ข้าพเจ้าก็คือค�ำว่า “ท้องถิ่น” นั้นหมายถึงใคร คงไม่ ใช่ คนท้องถิ่น เป็นแน่ เพราะน�้ำที่บ่าเข้ามาท่วมและถล่มอยุธยาทั้งนอกเมืองและ ในเมืองนั้น คนในชุมชนท้องถิ่น ที่อยู่ร่วมกัน มา ๗๐-๘๐ ปีที่ผ่าน มาย่อมรู้ทิศทางและระดับน�้ำได้ดี เพราะกรุงศรีอยุธยาเป็นเมือง ที่ อ ยู ่ กั บ แม่ น�้ำล� ำคลองมาร่ ว ม ๖๐๐ กว่ า ปี  จนชาวต่ า งประเทศ เรียกว่าเป็นเวนิชตะวันออก บางคนก็บอกว่าเป็นเมืองลอยน�้ำบ้าง หมู่บ้านลอยน�้ำบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีหลักฐานจากต�ำนานภูมิสถานอยุธยาจาก ค�ำให้การของคนอยุธยาทีถ่ กู พม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลยร่วมกับสมเด็จ พระเจ้าอุทมุ พรครัง้ เสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที ่ ๒ ร่วม ๒๕๐ ปีทแี่ ล้วมา ก็เพราะจดหมายของชาวกรุงเก่าทีเ่ กีย่ วกับภูมสิ ถานพระนครศรีอยุธยา นีเ้ องทีพ่ ระยาโบราณราชธานินท์ผเู้ ป็นผูร้ อื้ เมืองอยุธยาครัง้ รัชกาลที ่ ๕ ภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพน�ำ มาใช้เป็น หลักฐานในการค้น หาและขุดแต่งบรรดาโบราณสถาน ต่ า งๆ ทั้ ง พระราชวั ง  วั ด  ก� ำแพงเมื อ ง ถนนหนทางที่ หั ก พั ง และ จมอยู่ ในกองอิฐมากมายออกมาได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการศึกษา สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ อันได้แก่แม่น�้ำล�ำคลองและคูต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของผู้คน เส้น ทางคมนาคม โดยรอบของเกาะเมืองอยุธยาอันเป็นผลให้มกี ารสร้างแผนทีบ่ า้ นเมือง อยุธยาได้อย่างชัดเจนทั้งในบริเวณเมืองและรอบๆ เมือง ข้าพเจ้าเรียกภาพรวมทางภูมิศาสตร์ทั้งในบริเวณเกาะเมือง และบริเวณโดยรอบทุกทิศตามแม่น�้ำล�ำคลองที่มีการอยู่อาศัยและมี การคมนาคมว่า “ภูมิวัฒนธรรม” เพราะเต็มไปด้วยชื่อบ้านนามเมือง 2

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ตามล�ำน�้ำ แต่เมื่อเข้าทุ่งเข้าคลองเล็กๆ ก็มีสิ่งกีดขวางเช่นบรรดาผัก ตบชวาและกอหญ้าที่ลอยอยู่ตามน�้ำ

แผนที่ลายเส้นก่อนการขุดคูขื่อหน้าและคูเมืองด้านทิศเหนือ

แผนที่ลายเส้นหลังจากปรับทางเดินน�้ำและ ท�ำให้กลายเป็นเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาแล้ว

ชื่อสถานที่ ชื่อแม่น�้ำล�ำคลองที่มีหลักฐานทางพงศาวดารและต�ำนาน ประกอบ คุณูปการอันยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งของพระยาโบราณราช ธานินทร์ในฐานะปราชญ์ทางโบราณคดีประวัติศาสตร์ของแผ่นดิน ก็ คื อ การสอบค้ น ทางน�้ ำ และเส้ น ทางคมนาคมของบรรดาแม่ น�้ ำ ล�ำคลองทีเ่ กีย่ วข้องกับเมืองอยุธยาและบรรดาบ้านเมืองต่างๆ ริมแม่นำ�้ ในบริเวณตอนล่างของดินดอนสามเหลี่ยมเก่า [Old Delta] ตั้งแต่ จั ง หวั ด สิ ง ห์ บุ รี   ลพบุ รี   สุ พ รรณบุ รี   อ่ า งทองลงมาจนถึ ง อยุ ธ ยา ซึ่งก็เป็นประโยชน์อย่างมากที่ทางราชการใช้ในการเตรียมการเสด็จ ประพาสต้นของรัชกาลที่ ๕ และบรรดาเจ้านายต่างๆ สิ่ ง ที่ น ่ า สนใจก็ คื อ ทั้ ง รั ช กาลที่   ๕ และบรรดาเจ้ า นายที่ เสด็ จ ประพาสหรื อ ตรวจราชการตามเส้ น ทางน�้ ำ เหล่ า นี้   ได้ ท รง พระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์เล่าเรื่องที่ ได้ทรงเห็นความเป็นไป ของทางน�้ำ ทางคมนาคมที่สัมพันธ์กับการด� ำรงอยู่ของบ้านเมือง และผู้คนเป็นผลตามมา ข้าพเจ้าถือว่าพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์เหล่านี้คือหลักฐาน ส�ำคัญของประวัติศาสตร์สังคมอย่างหนึ่งส� ำหรับผู้ที่สนใจค้นคว้า ในยุคนี้ ความรู้และความเข้าใจเรื่องแม่น�้ำล�ำคลองที่เป็นโครงสร้าง ส� ำ คั ญ ของภู มิ วั ฒ นธรรมเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยาได้ รั บ การสาน ต่ อ จากบิ ด าของข้ า พเจ้ า คื อ อาจารย์ ม านิ ต วั ล ลิ โ ภดม ในฐานะ นั ก โบราณคดี ผู ้ เ ป็ น หั ว หน้ า แผนกส� ำ รวจของกองโบราณคดี กรมศิลปากร อาจารย์มานิตถูกย้ายให้มาประจ�ำเป็นหัวหน้าหน่วย อยู่ที่อยุธยาเพื่อควบคุมดูแลบรรดาโบราณสถานทั้งเมืองอยุธยา ลพบุรี อันเป็นเมืองเก่าที่ส�ำคัญ ในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับสภาพบรรดาโบราณสถาน ภายในเมืองโบราณนัน้ ดูไม่เป็นปัญหา เพราะเข้าถึงได้งา่ ย แต่บรรดา โบราณสถานนอกตัวเมืองนั้นเข้าถึงล�ำบากทั้งหน้าแล้งและหน้าน�้ำ ช่วงหน้าแล้งเต็มไปด้วยป่าและพงหญ้าอีกทัง้ ไม่มเี ส้นทาง ส่วนหน้าน�ำ้ นัน้ ดูเผินๆ สะดวกแต่ก็ไม่งา่ ยเพราะกระแสน�้ำแรงเชีย่ วในยามเดินทาง

แต่การเข้าส�ำรวจแหล่งโบราณสถานนอกเมืองในหน้าน�้ำ นั้นมีผลดีท�ำให้ได้เห็นและได้เรียนรู้ว่าน�้ำมาทางไหน ล�ำน�้ำไหนหรือ คลองไหนทีม่ กี ระแสน�ำ้ แรงและท�ำให้เกิดการท่วมหันเข้าบ้านเข้าเมือง รวมทั้งได้เรียนรู้ว่าชาวบ้านร้านถิ่นเขาจัดการป้องกันบ้านเรือนและ ชุมชนให้ไม่ประสบความล�ำบากในหน้าน�้ำท่วมด้วย ข้าพเจ้าชอบติดตามพ่อไปตรวจโบราณสถานนอกเมืองทีอ่ ยู่ ในทุ่งต่างๆ ล�ำน�้ำล�ำคลองต่างๆ ในหน้าน�้ำเพราะเป็นสิ่งที่ชอบมาก ในวัยเด็ก แลเห็นอยุธยาในฤดูน�้ำว่าเป็นฤดูที่รื่นรมย์ น�้ำท่วมบ้านไป ทุกแห่งทุกทุ่งและแทบทุกบ้านเรือน แต่ชาวบ้านไม่เดือดร้อนเพราะ ล้วนปลูกบ้านเรือนบนเสาสูงเหนือระดับน�้ำ และคมนาคมติดต่อกัน ด้วยเรือหลายขนาดทั้งเรือเล็กเรือใหญ่ที่ใช้ขนของ บรรดาวัวควายก็ ถูกน�ำไปไว้บนบริเวณโคกเนินมีลอมฟางข้าวสร้างไว้เพือ่ ให้มหี ญ้าแห้ง ได้ไว้กินอย่างเพียงพอ น�้ำที่ท่วมทุ่งท่วมบ้านนั้นสะอาดมีปลานานาชนิดแหวกว่าย และมี ให้จับกินเป็นอาหารทั้งกุ้งปูปลา โดยเฉพาะท่วมทุ่งที่เป็นนา ข้าวก็มผี กั น�ำ้ นานาชนิด เช่น ผักบุง้  สายบัว และสันตะวาให้นำ� มาเป็น อาหาร โดยเฉพาะข้าวนัน้ ไม่เน่าตายเพราะเป็นพันธุท์ สี่ นู้ �้ำปลูกพัฒนา ปรับปรุงมากันเป็นศตวรรษ คนอยุธยาสมัยข้าพเจ้ายังเป็นเด็กไม่เป็น โรคกลัวน�ำ้ แต่ชอบน�ำ้ และเล่นกับน�ำ้  เพราะรูว้ า่ น�ำ้ มาทางไหนแรงเชีย่ ว เป็นอย่างใด จะหลบหลีกและป้องกันอย่างไรเพราะน�ำ้ มาเร็วมาแรง มาแล้วก็ไป ไม่ขังแช่กันอย่างในปัจจุบัน จากประสบการณ์ที่ออกไปตามแม่น�้ำล�ำคลองและท้องทุ่ง รอบๆ อยุธยากับพ่อในวัยเด็กนัน้  ท�ำให้ขา้ พเจ้าได้เห็นได้รจู้ กั ชือ่ แม่น�้ำ ล�ำคลองและย่านชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ได้เห็น ทั้งฤดูน�้ำและฤดูแล้ง เมือ่ มาท�ำผังเมืองและแผนทีภ่ มู วิ ฒ ั นธรรมของเมืองอยุธยาและบรรดา เมืองโบราณต่างๆ ในแทบทุกภูมิภาคของประเทศแล้ว ก็พอพูดได้ อย่างเต็มปากว่าบรรดาผังเมืองในสมัยโบราณนั้นล้วนเป็นเรื่องการ จัดการน�้ำเป็นหลักใหญ่ทั้งสิ้น โดยมุ่งที่มีการจัดตั้งที่อยู่อาศัยร่วมกัน เป็นชุมชนให้มีน�้ำกินน�้ำใช้ตลอดปีและการหาทางป้องกันอุทกภัยใน ฤดูน�้ำและความแห้งแล้งในฤดูแล้งด้วยการก�ำหนดต�ำแหน่งที่ตั้งของ

จดหมายข่าว

3

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนที่แสดงบริเวณเมืองอโยธยาศรีรามเทพนครและกรุงพระนครศรีอยุธยา

บ้านเมืองในทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมธรรมชาติให้เหมาะสม ลักษณะของภูมิวัฒนธรรม [Cultural Landscape] ของ กรุงศรีอยุธยาทีแ่ ลเห็นในปัจจุบนั นัน้ สะท้อนให้เห็นว่าอยุธยาเป็นเมือง ทีเ่ กิดขึน้ ในบริเวณเปลีย่ นผ่านจากปลายสุดของดินดอนสามเหลีย่ มเก่า [Old Delta] มาสู ่ ต อนบนสุ ด ของดิ น ดอนสามเหลี่ ย มใหม่ [Young Delta] ก่อนที่บรรดาล�ำน�้ำล�ำแพรกต่างๆ จากเมืองลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทองคือล�ำน�้ำเจ้าพระยา ล�ำน�้ำลพบุรี และล�ำน�้ำป่า สักจะไหลลงมารวมกันในบริเวณที่เกิดเมืองอยุธยาที่แบ่งได้เป็นสอง สมัยสองพืน้ ทีค่ อื อโยธยาศรีรามเทพนคร กับ กรุงพระนครศรีอยุธยา โครงสร้างที่แบ่งพื้นที่เมืองอโยธยาออกจากเมืองอยุธยา ก็คอื  คูขอื่ หน้าทีเ่ ป็นคูเมืองด้านตะวันออกของเมืองอยุธยาทีม่ ลี กั ษณะ เป็นเกาะเมือง ซึง่ ในขณะเดียวกันคูขอื่ หน้านีก้ เ็ ป็นคูเมืองด้านตะวันตก ของเมืองอโยธยาซึ่งมีร่องรอยให้เห็นว่าเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในบริเวณสองฝั่งน�้ำของแม่น�้ำหันตราหรือแม่น�้ำป่าสัก พื้นที่ของเมืองอโยธยาเกิดขึ้นในบริเวณน�้ำอ้อมของล�ำน�้ำ ป่าสักที่ไหลลงมาจากบริเวณต�ำบลนครหลวง เมือ่ ถึงบริเวณบ้านเกาะ ก็โค้งอ้อมไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไหลลงใต้บริเวณบ้านหันตราก่อน ที่จะวกลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ไปสบกับแม่น�้ำเจ้าพระยาที่บริเวณ ปากน�้ำแม่เบี้ย สภาพแม่น�้ำอ้อมเช่นนี้ท�ำให้เมืองอโยธยามีล�ำน�้ำธรรมชาติ โอบรอบเมืองถึง ๓ ด้าน คือด้านเหนือ ด้านตะวันออก และด้านใต้ เพื่อให้เป็นเมืองสมบูรณ์ที่มีคูน�้ำโอบรอบทางด้านตะวันตกอันเป็น ที่ราบลุ่มมีหนองโสนเป็นบึงใหญ่รับน�้ำจากแพรกน�้ำลพบุรี จึงได้มี

จดหมายข่าว

การขุดคูเมืองทีม่ ชี อื่ ว่า “คูขอื่ หน้า” จากล�ำแม่นำ�้ ป่าสักในบริเวณบ้าน เกาะก่อนจะไหลอ้อมโค้งลงไปเป็นแม่นำ�้ หันตราลงมาทางใต้จนจดเขต วัดพนัญเชิง ต่อจากนั้นก็มีการขุดคูเมืองชั้นในทางด้านตะวันออกจาก เหนือลงใต้ จากล�ำน�้ำหันตราผ่านหน้าวัดอโยธยา วัดกุฎีดาวมาจนถึง บริเวณวัดใหญ่ชัยมงคลและวัดพนัญเชิง พื้นที่ภายในเมืองอโยธยา ที่มีล�ำน�้ำหันตราโอบรอบ และมีคูขื่อหน้าเป็นคูเมืองด้านตะวันตกนี้ มีร่องรอยของคลองและคูขุดรอบเขตสถานที่วัง วัด และแหล่งที่อยู่ อาศัยมากมาย สะท้อนให้เห็นถึงการน�ำเอาดินมาถมและยกที่ ให้สูง ตลอดจนการใช้น�้ำและระบายน�้ำออกไปทางด้านตะวันตกเพื่อลงสู่ ที่ราบลุ่มต�่ำแต่เขตทุ่งหันตราไปถึงทุ่งพระอุทัย แต่ที่ส�ำคัญก็คือมีการขุดคลองใหญ่เรือเดินได้บริเวณกลาง เมืองจากคูขื่อหน้าซึ่งอยู่ทางตะวันตกผ่ากลางเมืองไปยังทุ่งหันตรา และทุ่งพระอุทัยไปเชื่อมกับล�ำแม่น�้ำป่าสักอีกแพรกหนึ่งที่ ไหลแยก จากล�ำน�้ำป่าสักในเขตต�ำบลพระแก้วลงมาเรียกว่า คลองบ้านสร้าง และคลองโพที่ ไปออกแม่น�้ำเจ้าพระยาตรงท้ายเกาะพระเหนือเกาะ บางปะอิน คลองใหญ่จากคูขื่อหน้าผ่ากลางเมืองอโยธยาไปยังทุ่งพระ อุทัยไปออกคลองบ้านสร้างดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกเป็นช่วงๆ ไปคือ คลองกะมัง คลองบ้านบาตร คลองหันตรา และคลองข้าวเม่าตาม ท้องถิ่นที่ล�ำคลองผ่านไป เป็นคลองที่มีชุมชนบ้านและวัดเรียงรายอยู่ ทั้งสองฝั่งคลอง เป็นคลองที่แบ่งเขตเมืองอโยธยาออกเป็นสองส่วน ส่วนบนที่เป็นเขตวัดกุฎีดาว วัดมเหยงค์ วัดอโยธยา ส่วนตอนล่างมี 4

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


วัดส�ำคัญ เช่น วัดใหญ่ชัยมงคลและวัดพนัญเชิง ส่วนพื้นที่ของเมืองกรุงศรีอยุธยานั้นคือที่ราบลุ่มของแม่นำ�้ ลพบุรีและแพรก เพราะเป็นพื้นที่มีบึงหนองโสนและบริเวณโดยรอบ เป็นที่รับน�้ำและมีล�ำน�้ำลพบุรีและแพรกไหลผ่านจากทางเหนือลงไป ทางตะวันออกไปรวมกับล�ำน�ำ้ ป่าสักในบริเวณบ้านเกาะอันเป็นจุดเริม่ ต้นของคูขื่อหน้า ซึ่งเมื่อมีการขุดคูขื่อหน้าแล้วได้ทำ� ให้น�้ำจากแม่น�้ำ ลพบุรีและแพรกกับแม่น�้ำป่าสักไหลผ่านหัวรอทางมุมเมืองด้านตะวัน ออกเฉียงเหนือของเมืองอยุธยาลงสูค่ ขู อื่ หน้าจนท�ำให้กลายเป็นล�ำน�ำ้ ใหญ่ที่เป็นกระแสหลักของแม่น�้ำป่าสักไป ซึ่งทุกวันนี้คนทั่วไปเรียกว่าแม่น�้ำป่าสัก แต่ไม่รู้จักคูขื่อหน้า ซึ่งเป็นคูเมืองร่วมกันระหว่างเมืองอโยธยาซึ่งเป็นเมืองเก่ากับเมือง อยุธยาซึ่งเป็นเมืองใหม่ ส่วนบริเวณเมืองอยุธยาเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีบึงน�้ำใหญ่อยู่ ตรงกลางที่มีล�ำน�้ำเจ้าพระยาไหลจากเหนือผ่านลงทางตะวันตกแล้ว วกลงใต้ไปบรรจบกับคูขอื่ หน้าบริเวณหน้าป้อมเพชรอันเป็นป้อมส�ำคัญ ของเมืองอยุธยา บริเวณอยุธยาจึงหามีน�้ำล้อมรอบเป็นเกาะเมืองไม่ เมื่อมีการสร้างเมืองจึงต้องมีการขุดคลองคูเมืองด้านเหนือ จากคู ขื่ อ หน้ า บริ เ วณหั ว รอ ผ่ า นวั ด แม่ นางปลื้ ม ไปพบกั บ แม่ น�้ ำ เจ้าพระยาที่บริเวณหัวแหลม คลองคูเมืองที่ขุดขึ้นที่เข้าใจผิดกันมา แต่เดิมรวมทั้งข้าพเจ้าเองว่าเป็นล�ำน�้ำลพบุรี จนกระทั่งได้มาทบทวน ความจ�ำและการลงพื้นที่เพื่อเขียนบทความเรื่องนี้ จึงได้พบความจริง ว่าน่าจะเป็นคลองขุดมากกว่าเป็นคลองล�ำน�้ำธรรมชาติ ล�ำคลองนีม้ คี วามหมายกับการจัดการน�ำ้ และป้องกันอุทกภัย ให้แก่เมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นคลองที่ ดึงกระแสน�้ำที่ ไหลลงมาจากทางทิศเหนือในเขตจังหวัดอ่างทอง ของแม่น�้ำเจ้าพระยา ส่วนหนึ่งให้ไหลเข้ามายังเกาะเมืองตรงต�ำบล หัวแหลม ณ จุดนี้กระแสน�้ำแยกออกเป็นสองส่วนใหญ่ไหลลงทาง ตะวั น ตกและทางใต้ ไ ปสบกั บ คลองขื่ อ หน้ า ที่ หน้ า ป้ อ มเพชรและ วัดพนัญเชิง ท�ำให้เกิดน�้ำวนใหญ่เรียกว่า น�้ำวนบางกะจะ จนเกิด ต�ำนานเพลงยาวว่า “ความรักลอยวนเหมือนน�้ำวนบางกะจะ” ส่วนกระแสน�้ำเจ้าพระยาส่วนน้อย ณ ต�ำบลหัวแหลมนั้น ถูกดึงเข้าคลองคูเมืองที่คิดว่าเป็นล�ำน�้ำลพบุรีผ่านไปทางตะวันออก คลองนีเ้ ป็นคูเมืองด้านเหนือของพระนครศรีอยุธยา ผ่านท่าวาสุกรีและ พระบรมมหาราชวัง วัดกุฎที อง วัดวงษ์ฆอ้ งมายังวัดแม่นางปลืม้ มาสบ กับล�ำน�้ำลพบุรีที่มีสองแพรกไหลลงมาจากทางเหนือ แพรกหนึ่งเรียก แม่น�้ำลพบุรีเก่า อีกแพรกหนึ่งคือแม่น�้ำลพบุรีใหม่ มวลน�้ำทั้งจากคูเมืองและแพรกน�้ำลพบุรีทั้งสองแพรกรวม กันไหลลงสู่คลองคูขื่อหน้า ณ ต�ำบลหัวรอท�ำให้คูขื่อหน้าที่ขุดแบ่ง น�ำ้ มาจากแม่นำ�้ ป่าสักหรือแม่นำ�้ หันตรากลายเป็นล�ำน�ำ้ ใหญ่ทเี่ รียกว่า “ล�ำน�ำ้ ป่าสัก” ที่ไปสบกับแม่นำ�้ เจ้าพระยาทีป่ อ้ มเพชรท�ำให้เกิดบริเวณ ทีเ่ รียกว่า “แม่นำ�้ ” ขึน้  ซึง่ ข้าพเจ้าคิดว่านีค้ อื แม่น�้ำเจ้าพระยาทีฝ่ รัง่ มัก ใช้ค�ำว่าแม่น�้ำ [Menam] ที่ปรากฏในจดหมายเหตุของฝรั่ง

จดหมายข่าว

5

ทั้ ง คลองคู เ มื อ งด้ า นเหนื อ ที่ เ รี ย กว่ า ล� ำ น�้ ำ ลพบุ รี แ ละ คลองคูขื่อหน้าทางด้านตะวันออกอันเป็นคลองขุดทั้งสองคลองนี้ คือสิ่งที่รังสรรค์ให้พระนครศรีอยุธยาเป็นเกาะเมืองและเป็นเกาะ ที่มนุษย์สร้างขึ้น [Manmade Island] เมื่อในยามน�้ำมากจนเป็นอุทกภัยทั้งคลองคูเมืองด้านเหนือ และคูขื่อหน้ามีหน้าที่ระบายน�้ำและกระจายน�้ำเข้าทุ่งเพื่อไม่ ให้น�้ำ เข้าไปยังข้างในพระนคร โดยกระจายน�้ำผ่านคลองขุดที่แยกออกจาก คูเมืองไปทางเหนือเข้าทุง่ ภูเขาทอง ทุง่ ขวัญ และทุง่ แก้ว คลองเหล่านี้ มีวัดอยู่บริเวณปากคลองทั้งสิ้น เช่น คลองสระบัวกับวัดหน้าพระเมรุ ฯลฯ ในขณะที่ทางคลองคูขื่อหน้าก็มีคลองใหญ่น้อยหลายคลอง แยกออกไปทางด้านตะวันออก ผ่านบริเวณเมืองอโยธยาเก่าไปออก ทุ่งหันตราและทุ่งพระอุทัยอันเป็นทุ่งรับน�้ำที่ส�ำคัญที่สุดของแม่น�้ำ ป่าสัก โดยเฉพาะคลองกระมัง คลองบ้านบาตร คลองหันตรา และ คลองข้าวเม่าที่เป็นคลองไขว่เดียวกันที่แยกออกจากคลองคูขื่อหน้า และแบ่งเมืองเก่าอโยธยาออกเป็นสองส่วนดังกล่าวแล้วในตอนต้น เหตุการณ์น�้ำท่วมอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ท�ำให้ข้าพเจ้า ได้แลเห็นความหมายความส�ำคัญของคลองกระมังนอกเหนือไปจาก การเป็นเส้น ทางคมนาคมติดต่อกับบรรดาชุมชนบ้านเมืองในเขต อยุธยา-อโยธยา จากแม่น�้ำป่าสัก แม่น�้ำหันตราไปยังแพรกน�้ำป่าสัก อีกแพรกหนึ่งที่ทุ่งพระอุทัย คือล�ำน�้ำที่เรียกว่า “คลองบ้านสร้างและ คลองโพ” ที่ไปออกแม่น�้ำเจ้าพระยาที่เกาะพระเหนือเกาะบางปะอิน คลองกระมังและทุ่งพระอุทัยเกี่ยวข้องกับการเป็นสถานที่ ประสูติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผู้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ ส�ำคัญในสมัยอยุธยาตอนกลาง คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๐๐ ลงมาอันเป็น เวลาทีอ่ ยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล คนอยุธยานอกจากอาศัย คลองกระมังเป็นคลองคมนาคมแล้วยังอาศัยในการระบายน�้ำกระจาย น�ำ้ จากคูขอื่ หน้า แม่นำ�้ หันตราไปออกทุง่ พระอุทยั ไปยังแพรกน�ำ้ ป่าสัก และพื้นที่รับน�้ำทางตะวันออกที่ผ่านอ�ำเภอวังน้อยลงไปทางใต้ สมัยข้าพเจ้ายังเด็กแลเห็นความกว้างใหญ่ไพศาลของทุ่ง พระอุทัยและทุ่งใหญ่วังน้อย แต่มาในปัจจุบันและราวยี่สิบปีที่ผ่านมา ทุง่ พระอุทยั และทุง่ วังน้อยกลายเป็นอาณานิคมของแหล่งอุตสาหกรรม ขนาดมหึมาในนามของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะที่ประสบภาวะวิบัติ อย่ า งมหาศาล เมื่ อ น�้ำ ที่ ไ หลบ่ า ลงมาจากแพรกน�้ำ ป่ า สั ก ทั้ ง จาก ทางเหนือ ทางตะวันตก และทางตะวันออกทีผ่ า่ นคลองกระมังออกมา ข้าพเจ้ารู้สึกสบายใจหลังจากที่ข้าพเจ้าพูดถึงคลองกระมัง และสภาพแม่นำ�้ ล�ำคลองเก่าๆ ของพระนครศรีอยุธยาจากความทรงจ�ำ ในวัยเด็ก เพราะท�ำให้ขา้ พเจ้าได้พบกับปัญญาชนคนเก่าอยุธยาหลาย คนที่มาถึงบางอ้อ พร้อมๆ กับข้าพเจ้าในเรื่องกรุงศรีอยุธยาแตกครั้ง ที่สามและความพินาศของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และขณะนีป้ ญ ั ญาชนคนอยุธยาทัง้ เก่าและใหม่กำ� ลังรวมตัวกันในการ จัดการน�้ำด้วยตนเองของคนในท้องถิ่น

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ความ หลาก งคมและวัฒนธรรม โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย ทางสั

เส้นทางข้ามคาบสมุทรเคดาห์-ปาตานี ความเป็นเมืองท่าและความส�ำคัญของทรัพยากรต่อบ้านเมืองภายใน

แผนที่แสดงเส้นทางข้ามคาบสมุทรยุคโบราณมาเลย์-สยาม

บริเวณแผ่นดินของคาบสมุทรมาเลย์-สยามตั้งแต่โบราณ กีดขวางการเดินทางระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก อันหมาย ถึงผู้คนทางฝั่งอินเดียที่เชื่อมต่อกับอาหรับ เปอร์เซีย และโรมัน ทางฝั่งตะวันตกกับจีนแผ่นดินใหญ่ทางฝั่งตะวันออก การเดินทาง ระยะไกลข้ามทวีป ในช่วงแรกเริ่มเหล่านี้มนุษ ย์ล้วนแต่ ใช้เรือเป็น พาหนะเดินทางต้องแล่นเรืออ้อมช่องแคบมะละกาที่มีขนาดเล็กหรือ เดินทางบกข้ามคาบสมุทรมาเลย์-สยามในหลายช่องทาง ในยุคหนึ่งช่องแคบมะละกามีปัญหาโจรสลัดชุกชุมและการ เดินทางที่อ้อมแหลมใช้เวลานาน ตลอดจนปัญหาเรื่องเวลาที่ต้อง พึง่ พาลมมรสุม จึงมีความนิยมขนส่งสินค้าหรือเดินทางข้ามคาบสมุทร จนท�ำให้เกิดบ้านเมืองชุมชนใหญ่น้อยที่ต้นทาง กลางทาง และปลาย ทางขึ้นหลายแห่ง ปรากฏหลักฐานโบราณคดีบริเวณเส้นทางข้ามคาบสมุทร หลายเส้นทางตั้งแต่บริเวณตอนต้นตั้งแต่มะริด–กุยบุรีและเพชรบุรี

จดหมายข่าว

กระบุร-ี ชุมพร ตะกัว่ ป่าและกระบี–่ อ่าวบ้านดอนและนครศรีธรรมราช ตรัง–พัทลุง เคดาห์หรือไทรบุร–ี สงขลา และเคดาห์–ปัตตานี เป็นต้น ต่อมาเส้นทางเหล่านีถ้ กู ลดความส�ำคัญจากเส้นทางข้ามคาบสมุทรเป็น เส้นทางที่ ใช้ในท้องถิ่นเนื่องจากการเดินเรือนั้นสามารถเดินเรือผ่าน ช่องแคบได้สะดวกกว่าในอดีต จึงไม่มีความจ�ำเป็นต้องขนถ่ายสินค้า ขึ้นบกอีกต่อไป และเส้นทางส�ำคัญจากเคดาห์ในมาเลเซียสูย่ ะรังและปาตานี ซึ่งมีการพบกลุ่มเมืองโบราณส�ำคัญ ๓ กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเมืองโบราณที่ ยะรัง ปรากฏเมือง ๓ เมือง ได้แก่ บ้านวัด บ้านจาเละ และปราแว 2.กลุ่มเมืองบริเวณเขาหน้าถ�้ำ ที่ยะลา 3.กลุ่มเมืองบริเวณปากแม่น�้ำเมอบก บริเวณหุบเขาบูจังหรือหุบเขา แม่ม่ายซึ่งอยู่ในบริเวณเคดาห์ 6

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กลุ ่ ม เมื อ งทั้ ง สามแห่ ง นี้ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการท� ำ ให้ การติดต่อระหว่างจีนและอินเดียด�ำเนินไปได้โดยสะดวกโดยมีอายุ อยู ่ ใ นราวพุ ท ธศตวรรษที่   ๑๓-๑๔ ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ ก ารค้ า ระหว่ า ง ตะวันออกกลาง อินเดีย และจีนเติบโตเป็นอย่างมาก กลุ่มเมือง ดังกล่าวมีศูนย์กลางของบ้านเมืองขนาดใหญ่ที่เมืองโบราณยะรัง ซึง่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “ลังกาสุกะ” เมืองส�ำคัญในเอกสารโบราณ บทบาทของกลุ ่ ม เมื อ งยะรั ง ในขณะนั้ น คื อ  เป็ น เมื อ ง การค้าที่เป็นเมืองท่าภายใน [Entrepot] ตั้งอยู่ห่างจากอ่าวปัตตานี ราว ๑๖-๑๗ กิโลเมตร ร่องรอยที่ปรากฏคือคูน�้ำคันดินของเมือง ขนาดใหญ่และเล็ก ๓ แห่งเรียงจากทิศใต้ขยายไปยังทิศเหนือ ได้แก่ บ้านวัด บ้านจาเละ และบ้านปราแว เหตุผลทีเ่ มืองท่ายะรังอยูห่ า่ งจากชายฝัง่ ลึกเข้ามาในแผ่นดิน ถึง ๑๖-๑๗ กิโลเมตรนั้น เนื่องจากบ้านเมืองแรกเริ่มมักตั้งถิ่นฐาน ห่างไกลชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางที่เหมาะสม ไม่ไกลและใกล้เกินไป จากเหตุ ผ ลการท� ำ เกษตรกรรมที่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ที่ ร าบและน�้ ำ จื ด เพื่ อ สะดวกแก่ ก ารเดิ น ทางทั้ ง จากบ้ า นเมื อ งภายในแผ่ น ดิ น และ ภายนอก โดยรูปแบบการตั้งเมืองเช่นนี้ปรากฏในยุคสมัยเดียวกับ บริเวณอื่นๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองอู่ทอง เมืองคูบัว ฯลฯ ปรากฏหลั ก ฐานว่ า เมื อ งปราแวในกลุ ่ ม เมื อ งยะรั ง นี้ ใ ช้ เป็นที่อยู่อาศัยจนถึงยุคสมัยของรายากูนิง เมื่อย้ายบ้านเมืองมาตั้ง อยู่ที่ริมฝั่งทะเลแล้วและแม้กระทั่งเปลี่ยนมาเป็นยุคแบ่งออกเป็น ๗ หัวเมืองแล้วก็ยังคงมีผู้คนอาศัยอยู่เรื่อยมา กลุ่มเมืองโบราณที่ยะรังนี้มีการค้นพบเส้นทางน�้ำภายใน หลายเส้นทาง และมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เนื่องจากระยะ ทางจากภูเขาในเขตยะลาจนถึงปากน�้ำปัตตานีมีระยะทางไม่เกิน ๓๐ กิ โ ลเมตร อั น เป็ น ระยะทางไม่ ไ กลนั ก  ท� ำ ให้ เ ส้ น ทางน�้ ำ เปลี่ยนแปลงโดยง่ายเมื่อมีการจัดการน�้ำในรูปแบบท�ำนบหรือเขื่อน ขนาดเล็กในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น ในสมัยของรายาฮิเยาก็มี การบันทึกว่ามีการท�ำท�ำนบกั้นน�้ำเพื่อป้องกันน�้ำท่วม ซึ่งภายหลัง จากการสิ้นพระชนม์แล้วก็มีการรื้อออกเนื่องจากสร้างปัญหาในการ ท�ำนาเกลือ โดยท�ำนบโบราณนัน้ คงมีปรากฏร่องรอยให้เห็นถึงปัจจุบนั โบราณวัตถุทสี่ ำ� คัญทีพ่ บในกลุม่ เมืองยะรังนี ้ พบวัตถุโบราณ เกีย่ วกับศาสนาพุทธมหายาน เช่น สถูปจ�ำลองต่างๆ โบราณวัตถุของ ศาสนาฮินดู ได้แก่ โคนนทิและศิวลึงค์ในรูปแบบมุขลึงค์ แสดงให้เห็น ถึงการได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพุทธแบบมหายานด้วย กลุ่มเมืองบริเวณถ�ำ้ คูหาภิมุข ที่ยะลา เป็นพื้นที่ภูเขาหินปูน ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนผ่านการเดินทางจากน�้ำเป็นบกหรือเข้าเขตภูเขา จากเรือที่ล่องเข้ามายังแม่น�้ำปัตตานี ถ่ายสินค้าหรือเปลี่ยนรูปแบบ การเดินทางขึ้นเขาโดยมีช้างเป็นพาหนะและเดินทางสู่ปากอ่าวอีก ริมฝั่งทะเลหนึ่งเพื่อล่องเรือต่อ ในเขตถ�้ำคูหาภิมุขนี้ ได้พบพระพิมพ์ ดินดิบจ�ำนวนมาก โดยรูปแบบของพระพิมพ์เป็นพระพุทธรูปประทับ บนปัทมอาสน์ ซึ่งเป็นแบบมหายาน และยังค้นพบพระพิมพ์รูปแบบ

จดหมายข่าว

เส้นทางข้ามคาบสมุทรบริเวณบ้านเมืองจากฝั่งเคดาห์ ลังกาสุกะ และปาตานี

เดียวกันนี้ที่เคดาห์ ซึ่งสามารถแสดงถึงความร่วมสมัยและความเกี่ยว โยงกันได้อย่างชัดเจน กลุ ่ ม เมื อ งบริ เ วณหุ บ เขาบู จั ง ที่ เ คดาห์ นี้   มี ลั ก ษณะทาง ภูมิศาสตร์เป็นที่ราบส�ำหรับท�ำการเกษตร โบราณวัตถุที่พบในเขตนี้ เป็ น จารึ ก ส� ำ คั ญ  คื อ  “จารึ ก มหานาวิ ก ะ พุ ท ธคุ ป ต์ ”  อายุ ร าว พุทธศตวรรษที่ ๑๑ ซึ่งมีอายุรุ่นก่อนเมืองโบราณที่ยะรัง อีกทั้ง ปรากฏศาสนสถานของชาวฮิ น ดู ที่ เ รี ย กว่ า  “จั น ทิ ”  [Chandi] จ�ำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าจากอินเดียในช่วงเวลาร่วมสมัยและ ภายหลังจากเมืองโบราณที่ยะรังเจริญถึงขั้นสูงสุดแล้ว จากข้อมูลทางโบราณคดีดังกล่าว ท�ำให้เห็นว่า กลุ่มเมือง ทั้งสาม ต่างได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมหายาน ซึง่ มีความร่วมสมัยกับศรีวชิ ยั  และเห็นพ้องกับแนวคิดทีว่ า่  ศรีวชิ ยั ไม่มี ศูนย์กลางอย่างชัดเจน แต่เป็น “สหพันธรัฐเมืองท่า” [Port Politics] ที่ปรับตัวตามความเหมาะสม มีศูนย์กลางหลายแห่ง และเคลื่อนย้าย ไปตามช่วงเวลา การที่เมืองเริ่มย้ายตัวออกมาสู่บริเวณปากแม่น�้ำในเวลา ต่อมา ว่าเป็นเหตุผลของพัฒนาการด้านการค้ากับชาวตะวันตก เพื่อย่นระยะเวลาและเพิ่มความคล่องตัวในการติดต่อค้าขายที่มี การขยายตัวเพิม่ มากขึน้  ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ศาสนาอิสลามเผยแผ่ สู่ท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย เมืองปัตตานีเป็นเมืองที่มีบทบาทส�ำคัญมาก เนื่องจากมี แม่น�้ำปัตตานีเชื่อมต่อถึงปากอ่าวที่มีภูมิประเทศก�ำบังลมได้และมี ความปลอดภัยจากลมมรสุม อีกทัง้ ยังมีพนื้ ทีร่ าบลุม่ กว้างขวางเหมาะ แก่การเพาะปลูก โดยสินค้าทีส่ �ำคัญของปัตตานีคอื  เกลือ และสินค้า ของป่า, พวกแร่ธาตุ และช้าง ท�ำให้เมืองปัตตานีมบี ทบาทเป็นเมืองท่า ที่ส�ำคัญกับทั้งตะวันตกและพ่อค้าตะวันออก แม้ในยุคที่ตะวันตกเข้ามาท�ำการค้าโดยตรงปัตตานีก็ยังคง มีความส�ำคัญในฐานะเมืองท่าตลอดมา เนื่องจากมีการค้นพบเครื่อง 7

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนที่แสดงต�ำแหน่งที่ตั้งเมืองโบราณที่ยะรัง แม่น�้ำ และอ่าวปัตตานี

แผนผังบริเวณที่ตั้งกลุ่มเมืองโบราณที่ยะรังที่สันนิษ ฐานว่าน่าจะหมายถึง รัฐลังกาสุกะ

ถ้วยของดัตช์ในปัตตานีจ�ำนวนมาก จึงเป็นหลักฐานแสดงความเชื่อม โยงระหว่างปัตตานีและชาวตะวันตกและความเป็นเมืองท่าส� ำคัญ ในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี เรื่ อ งราวการเข้ า มาของศาสนาอิ ส ลามในดิ น แดนแถบ คาบสมุ ท รมลายู นี้ เ ป็ น อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ มี ห ลายแนวคิ ด โดยอ้ า งถึ ง บทความเรือ่ ง “สังเขปประวัตศิ าสตร์ปตั ตานี” ของนิธ ิ เอียวศรีวงศ์ ว่า การเผยแผ่ศาสนาอิสลามจะเผยแผ่สชู่ าวบ้านโดยผ่านโต๊ะครูเป็นหลัก ซึ่งเป็นการเผยแผ่สู่ฐานที่กว้างที่สุด  โดยมีลักษณะที่ต่างจากการ เผยแผ่ศาสนาฮินดูและพุทธ ซึ่งจะเริ่มที่ชนชั้นปกครองเป็นกลุ่มแรก ที่เริ่มรับศาสนาและสร้างศาสนสถาน อุปถัมภ์นักบวช ท�ำให้ศาสนา อิสลามมีความมัน่ คงเนือ่ งจากเกิดขึน้ มาจากฐานของประชาชนจ�ำนวน มาก นิธ ิ เอียวศรีวงศ์ยงั เสนอต่ออีกว่า กลุม่ อิสลามทีเ่ ข้ามาน่าจะเป็น นิกายซูฟี เนื่องจากนิกายนี้เชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ ท�ำให้ปรับตัวเข้า กับแนวคิด Animism ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไม่ยากนัก อีกทั้งมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า การเข้ามาของมุสลิมอาจเข้า มาพร้อมกับ เจิง้ เหอ ขันทีชาวมุสลิมจากกวางตุง้  ในรัชสมัยจักรพรรดิ หย่งเล่อ ราชวงศ์หมิง ที่เป็นแม่ทัพน�ำกองเรือออกสู่ดินแดนโพ้นทะเล เนื่องจากมีความร่วมสมัยกับรัชสมัยของเจ้าชายปรเมศวรผู้สถาปนา มะละกาด้วย

ปั ต ตานี ใ นยุ ค รั ฐ รายามี ค วามเป็ น ปึ ก แผ่ น และรุ ่ ง เรื อ ง มี วั ฒ นธรรมเป็ น ของตนเอง เช่ น  การให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สตรี โดยสัง เกตได้จ ากผู้ ป กครองมี จ�ำนวนหลายพระองค์ ที่เ ป็ น อิส ตรี เรื่องราวของช้างในปัตตานีมีความส�ำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ขนส่งสินค้าซึ่งจ�ำเป็นอย่างมากในยุคนั้น แม้ขบวนเสด็จก็ยังปรากฏ รูปช้างในขบวนด้วย รูปแบบของเมืองในคาบสมุทรนัน้ ทัง้ ในเคดาห์ ปัตตานี และ มะละกามีลักษณะไม่ยืนยาว เปลี่ยนแปลงไปตามปัญหาการเมือง ภายในและภายนอกของผู้ปกครอง อีกทั้งปัตตานีนั้น เป็นเมืองที่ อยู่ท่ามกลาง ๒ ภูมิวัฒนธรรม คือ สยามและมลายู โดยตอนแรก ปัตตานีอยู่ภายใต้การปกครองของนครศรีธรรมราช ต่อมาตกอยู่ใต้ อ�ำนาจของสงขลา จนเข้าสูก่ ารแบ่งเป็น ๗ หัวเมือง ท�ำให้ปตั ตานีและ สยาม เข้าใจบทบาทของตนไม่ตรงกัน กล่าวคือปัตตานีเข้าใจว่าตนเอง ด�ำรงสถานะรัฐสุลต่าน [Sultaness] โดยตลอด ในขณะที่สยามมอง ปัตตานีว่าเป็นรัฐเมืองในอารักขาที่ต้องส่งบุหงามาศ และมี บ ้ า นเมื อ งที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ภายในคาบสมุ ท รที่ ดู เหมือนจะหล่นหายไปในประวัตศิ าสตร์ในช่วงทีป่ าตานีถกู แบ่งออกเป็น ๗ หั ว เมื อ งแล้ ว  (ตั้ ง แต่ ส มั ย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า ฯ รั ช กาลที่   ๑ ในสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ )  และอยู ่ ใ นเส้ น ทางข้ า ม

จดหมายข่าว

8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


พระพิมพ์แบบมหายานดินดิบ พบที่ถ�้ำคูหาภิมุข จังหวัดยะลา

ต่วนลือบะห์ ลงรายา (หลวงรายาภักดี) บุตรเจ้าเมืองรามันผู้ถูกเรียกไปที่กรุงเทพฯ และหายสาบสูญไป

คาบสมุทรแต่โบราณที่ยังคงใช้ประโยชน์จากเส้นทางเชื่อมต่อและ ทรัพยากรธรรมชาติในแผ่นดิน ทั้งของป่าและเหมืองแร่มาอย่าง ต่อเนื่อง คือ “เมืองรามัน” ซึ่งเป็นเมืองภายในแผ่นดินที่ไม่มีพื้นที่ติด กับชายฝั่งทะเล การแยกหัวเมืองจากศูนย์กลางริมชายฝั่งทะเลท�ำให้เกิด เมืองภายใน เช่น ทีเ่ มืองยาลอซึง่ เป็นจุดเริม่ การเดินทางจากพืน้ ทีร่ าบ เป็นทีส่ งู ใกล้ฝง่ั น�ำ้ ปัตตานี เมืองระแงะทีต่ นั หยงมัสซึง่ อยูก่ งึ่ กลางของ ที่ราบระหว่างเชิงเขาบูโดและสันกาลาคีรีที่ยังไม่เคยมีหัวเมืองส�ำคัญ ใดตั้งขึ้นมาก่อน และเมืองรามันที่อยู่เชิงเขาใกล้กับล�ำน�้ำสายบุรี ซึ่งต่อมา กลายเป็นเมืองที่ถูกกล่าวขานและถูกจดจ�ำจากผู้คนในท้องถิ่นกลาย เป็นต�ำนานเรื่องราวต่างๆ จนท�ำให้เห็นภาพพจน์ว่าเมืองรามันในยุค รุง่ เรืองนัน้ มีอาณาเขตใหญ่โต เป็นต้นก�ำเนิดประเพณีและการละเล่น ในราชส�ำนักมลายูแบบโบราณหลายเรื่องรวมทั้งมีผู้นำ� ซึ่งผูกพันและ ใกล้ชดิ กับชาวบ้านในหลายท้องถิน่ ในการควบคุมแรงงานเพือ่ เก็บเกีย่ ว ผลประโยชน์จากทรัพยากร เช่น ช้างป่า การเลีย้ งสัตว์เพือ่ ใช้งาน เช่น ม้า วัว ควาย การท�ำนาแบบทดน�้ำและการท�ำเหมืองแร่ดีบุก เจ้าเมืองรามันตั้งแต่แรกเริ่มตั้งเมืองจนถึงท่านสุดท้าย สามารถคุมอ�ำนาจในการดูแลและท�ำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งเป็นสินค้าส่ง ออกทีส่ ำ� คัญในระยะนัน้ ท�ำให้เจ้าเมืองมีฐานะและอ�ำนาจจนมีต�ำนาน เรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าเมืองรามันทั้งเรื่องไปเที่ยวจับช้างป่าหรือออกรบ กับเมืองไทรบุรีหรือส่งคนไปควบคุมการปลูกข้าวปรากฏตามท้องถิ่น ต่างๆ ในแถบเทือกเขาบูโดและไกลไปจนข้ามสันปันน�้ำในฝั่งรัฐเประ ของมาเลเซีย เมืองรามันซึ่งมีเขตแดนกว้างไกลและบางครั้งไม่สามารถ ตกลงในเรื่องขอบเขตของผลประโยชน์และเหมืองแร่ดีบุกกับรัฐ เประทางเหนือเพราะเมืองรามันถือเอาดินแดนที่อยู่เลยสัน ปัน น�้ำ เข้าไปในดินแดนของเประเสมอ เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยแร่ดีบุกและสามารถส่งแร่ไปทางล�ำน�้ำมูดาออกสู่ชายฝั่งทะเล ฝั่งอันดามันได้สะดวกกว่า และรัฐปาตานีแต่เดิมก็ถือว่าเขตแดนที่

จดหมายข่าว

9

ตันปุ่ย หรือหลวงส�ำเร็จกิจกร จางวาง ต้นตระกูลคณานุรักษ์

เป็นบริเวณเหมืองดังกล่าวนั้นเคยอยู่ในดินแดนปาตานีซึ่งเมืองรามัน ก็ถอื ตามนัน้  และยังไม่ก�ำหนดใช้เส้นเขตแดนแบบรัฐสมัยใหม่หรือรัฐ อาณานิคมที่ใช้สันปันน�้ำเป็นเส้นก�ำหนดขอบเขตของบ้านเมือง เหมืองแร่ทางเขตสันปันน�ำ้ ฝัง่ เประ คือ เกลียนอินตัน บริเวณ ทีเ่ รียกว่า ฮูลเู ประ ในปัจจุบนั  เหตุทตี่ งั้ ชือ่ เช่นนีก้ เ็ พราะมีตวั แทนของ เมืองรามันที่ ไปคุมการขุดแร่ดีบุกที่นั่นชื่อ วันฮีตัม ผู้คนจึงเรียกว่า เกลียนวันฮีตัม หมายถึงเหมืองของวันฮีตัม ค�ำว่า ฮีตัม แปลว่า ด�ำ แต่เพื่อให้มีความหมายที่ดีจึงเปลี่ยนมาเป็น เกลียนอินตัน ซึ่งแปลว่า เหมืองเพชร กล่าวกันว่าเจ้าเมืองรามันซึ่งมีเชื้อสายเป็นญาติกับเจ้าเมือง ทางปัตตานีและยาลอมักไปดูเหมืองแร่บ่อยๆ เวลาไปแต่ละครั้งจะ มีช้างหลายร้อยเชือก บางครั้งถึง ๓๐๐ เชือกก็มี จึงไม่มีที่อาบน�้ำ ให้ ช ้ า ง วั น ฮี ตั น ในฐานะเป็ น ตั ว แทนของเจ้ า เมื อ งรามั น จึ งได้ ท�ำ ท�ำนบ เพือ่ ขังน�ำ้ ส�ำหรับให้เป็นทีช่ า้ งอาบน�ำ  ้ จึงเรียกว่า ท�ำนบวันฮีตนั หลังจากเกิดการขัดแย้งต่อต้านรัฐสยาม ต่วนมันโซร์ หรือ ต่วนโต๊ะนิ หรือส�ำเนียงท้องถิ่นว่าตูแวมาโซ เป็นเจ้าเมืองต่อไป และ รายได้ส�ำคัญที่สร้างความร�่ำรวยให้แก่เจ้าเมืองรามันในขณะนั้น คือ “ดีบุก”  โดยเฉพาะเหมืองแร่ที่ เกลียนอินตัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน เขตรัฐเประ ผลประโยชน์จากแร่ดบี กุ นีเ่ องท�ำให้เมืองรามันกับเประวิวาท กันจนถึงรบราฆ่าฟันเพราะสุลต่านเประส่งทหารไปยึดค่ายกูบกู าแปะห์ เกลียนอินตัน และกัวลากปายัง ต่วนโต๊ะนิ เจ้าเมืองรามันจึงเตรียม พลพรรคเพือ่ ยึดค่ายและเหมืองแร่ มีแต่กวั ลากปายังทีย่ ดึ ไม่ได้เพราะ ก�ำลังทหารจากเประมีมาก แต่เมื่อยึดภาคเหนือของเประที่ฮูลูเประ ได้แล้ว เจ้าเมืองรามันก็ถอยกลับโดยตั้งลูกสาวชื่อว่า โต๊ะนังซีกุวัต เป็นผู้คุมเหมืองที่เกลียนอินตันและโกระ ในราว พ.ศ. ๒๓๗๙ เมื่อ ต่วนโต๊ะนิ เจ้าเมืองรามันสิ้นชีวิต ศพของท่านถูกฝังไว้ ทีโ่ กตาบารู มีตำ� นานเกีย่ วกับโต๊ะนิปรากฏตามท้องถิน่ ต่างๆ ถือเป็นกุ โบร์ศกั ดิส์ ทิ ธิข์ องคนในหลายท้องถิน่ และหลายชาติพนั ธุท์ งั้ ไทยจีนและ มลายูซึ่งมีอยู่ ๓ แห่ง คือที่โกตาบารู ที่เบตง และที่โกระในฝั่งเประ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เจ้ า เมื อ งรามั น ผู ้ นี้ มี เ รื่ อ งเล่ า ลื อ สื บ ต่ อ กั น มามากมาย เช่น โต๊ะนิ เลี้ยงช้างหลายร้อยเชือกและเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องช้าง ขนาดช้างตกมันยังไม่กล้าท�ำร้ายและยังขึ้นไปขี่ได้อีก วิชานี้ถ่ายทอด ไปถึงเจ้าเมืองระแงะคนสุดท้าย กล่าวกันว่าถ้าช้างป่าเข้าไปท�ำลาย ไร่สวนของผูใ้ ด ถ้านึกถึงโต๊ะนิแล้วช้างป่าโขลงนัน้ จะไม่ทำ� ลายไร่หรือ สวนนั้นอีกเลย เป็นเวลากว่า ๑๐ ปีที่เมืองรามัน มีอ�ำนาจเหนือฮูลูเประ ต่อมาทางเประพยายามยึดคืนก็ไม่ได้ เมืองรามันสามารถป้องกันแต่ก็ มีผคู้ นล้มตายเป็นจ�ำนวนมากปรากฏเป็นกุโบร์ของทหารทัง้ สองฝ่ายที่ เขตต่อแดนระหว่างเมืองเประและรามันบริเวณใกล้ชายแดนในอ�ำเภอ เบตงในปัจจุบัน ซึ่งนักเดิน ทางชาวอังกฤษก็บัน ทึกถึงการเดิน ทางที่ผ่าน กูโบร์ของนักรบจากสงครามทีถ่ กู จดจ�ำได้ตลอดมา จากเหตุการณ์ครัง้ นี้ท�ำให้ฝ่ายเประไม่ได้ส่งคนไปรบกวนอีก แต่ตรงกันข้ามฝ่ายเมือง รามันรุกล�ำ้ เข้าไปเขตเมืองเประเรือ่ ยๆ จนได้ครอบครองฮูลเู ประเกือบ ทั้งหมด และมีหลักฐานของกุโบร์ที่ฝังศพแม่กองเดเลฮาจากการท�ำ สงครามนีแ้ ละถือเป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องเมืองเบตงจนกระทัง่ ปัจจุบนั หลังจาก ต่วนโต๊ะนิ สิ้นชีวิต ลูกชายคือ ต่วนนิฮูลู เป็นเจ้า เมืองแทน ซึ่งต่อมาท่านมีบุตรที่โดดเด่นสองท่านคือ ต่วนนิยากง หรือตงกูอับดุลกันดิสหรือพระยาจาวัง และ ต่วนนิลาบู ซึ่งเป็นหญิง ต่อมาเมื่อต่วนนิยากงเป็นเจ้าเมืองก็ส่งให้น้องสาวคือต่วนนิลาบูเป็น ผู้ดูแลเหมืองแร่ต่างๆ ที่เกลียนอินตันแทนโต๊ะนังซีกุวัต ซึ่งเป็นบุตร สาวของต่วนโต๊ะนิ ซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจการเหมืองมาก่อน ร�่ำลือกันว่าต่วนนิลาบูเป็นผู้หญิงเก่งและชาวบ้านเชื่อว่าเป็น บุคคลศักดิส์ ทิ ธิเ์ หนือคนธรรมดา ปรากฏในเอกสารว่าเมือ่ พ.ศ. ๒๔๓๑ ต่วนนิลาบูกับบริวาร ๖ คน เป็นทูตน�ำสาสน์ของเจ้าเมืองรามันไป ให้ข้าหลวงอังกฤษประจ�ำเประ เธอได้เดินทางท่องเที่ยวไปดูกิจการ ความทันสมัยของเมืองไทปิง เช่น พิพิธภัณฑ์ โรงพยาบาล เรือนจ�ำ โดยการโดยสารรถไฟซึ่งเป็นเรื่องทันสมัยมากในยุคนั้น ภรรยาของต่วนนิยากงเจ้าเมืองรามันมีนามว่า เจ๊ะนีหรือ เจ๊ะนิงเรียกตามภาษามลายูว่า รายาปรัมปูวัน เป็นผู้หญิงเก่งกล้า สามารถอีกเช่นกัน หลังจากสยามจัดระบบการปกครองเป็นมณฑล เทศาภิบาลและยกเลิกต�ำแหน่งเจ้าเมืองต่างๆ เธอสูญเสียสามีและ บุตรชายอั น เนื่ อ งมาจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงเหล่านี้แ ต่ ท� ำให้ กรรมสิทธิ์เหมืองแร่ที่เกลียนอินตันเป็นของเธอ จึงพาบริวารอพยพ จากโกตาบารูไปอยู่อาศัยที่เมืองโกระจนสิ้นชีวิต เมือ่ เมืองรามันรุกล�ำ้ เข้าไปในเประมากยิง่ ขึน้ เรือ่ ยๆ สุลต่าน เประจึงได้ร้องเรียนไปยังราชส� ำนักสยามผ่านทางเคดาห์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๕ โดยความร่วมมือของเจ้าเมืองสงขลาจึงมีการปักเขตแดน ระหว่างเประกับรามัน ที่  บูเก็ตนาซะ ซึ่งอยู่ระหว่างกือนายัตกับ ตาวาย แต่หลังจากปักหลักเขตแล้วก็ยงั มีการปะทะกันประปรายตลอด มาจนมีการท�ำสัญญากันระหว่างอังกฤษกับสยามที่เมืองโกระเมื่อ

จดหมายข่าว

วันที ่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ทีเ่ รียกว่า Anglo-Siamese Treaty 1909 เหตุการณ์จึงสงบลง ท�ำให้เขตแดนของเมืองรามันเหลือเพียงบริเวณเบตงและ ยะรม ส่วน อินตัน โกรเน บาโลน และเซะหรือโกระในอีกฝัง่ สันปันน�้ำ นั้นกลายเป็นของสหพันธรัฐมลายา พิธีการมอบดินแดนตามสนธิ สัญญานี้มีนายฮิวเบิร์ต เบิร์กลีย์ [Hubert Berkeley] เป็นผู้แทน ฝ่ายอังกฤษ การที่มีรายได้จากค่าสัมปทานการท�ำเหมืองแร่ ท�ำให้เจ้า เมืองรามันและยาลอซึง่ ตัง้ เมืองใหม่ทอี่ ยูล่ กึ เข้ามาภายในแผ่นดินและ อยู่ ในเส้นทางการเดินทางขนส่งสินค้าโดยเหมาะกับการท�ำเหมือง แร่ดีบุกมีบทบาทอาจจะมากกว่าหรือเทียบเท่าเจ้าเมืองที่อยู่ทางฝั่ง ทะเลซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ดั้งเดิมของรัฐปาตานี เส้นทางแม่น�้ำปัตตานี เมื่อจะไปออกปากอ่าวหรือชายฝั่ง ทะเล เรือแพที่ขึ้นล่องค้าขายกับเมืองยะลาและรามันต้องผ่านด่าน ภาษีของเจ้าเมืองหนองจิก เพราะเส้นทางออกทะเลสายเดิมนั้นออก ที่ปากน�้ำบางตะวาเมืองหนองจิก โดยเฉพาะภาษีดีบุก ท�ำให้เมือง ปัตตานีขาดผลประโยชน์ไปมาก “ตนกูสุไลมาน” เจ้าเมืองปัตตานี (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๔๒) จึ ง ขุ ด คลองลั ด หรื อ คลองสุ ไ หงบารู ห รื อ คลองใหม่จากหมู่บ้านปรีกีมายังหมู่บ้านอาเนาะบูลูดหรือชาวบ้าน เรียกว่าอาเนาะบูโละในอ�ำเภอยะรังระยะทาง ๗ กิโลเมตร อยู่ ใน เขตของเมืองปัตตานีโดยไม่ตอ้ งผ่านเมืองหนองจิกอีกต่อไปและท�ำให้ เมืองหนองจิกที่เคยอุดมสมบูรณ์ต้องกลายเป็นพื้นที่นาร้างเพราะน�้ำ กร่อยเนื่องจากล�ำน�้ำขาดเป็นช่วงๆ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อ ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ นี่เอง ดั ง นั้ น การเมื อ งระหว่ า งเจ้ า เมื อ งหนองจิ ก และเจ้ า เมื อ ง ปัตตานีจึงเป็นการแย่งชิงค่าภาคหลวงอากรดีบุกที่ปากน�้ำซึ่งสะท้อน ให้เห็นว่าผลประโยชน์ที่แย่งชิงกันจากดีบุกนั้นมีมูลค่ามหาศาล หลังจากสนธิสัญญาแองโกลสยาม พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็นต้น มาก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ก้าวเข้ามามีบทบาทรับสัมปทานการท�ำเหมือง แร่ดีบุกในเขตแดนเมืองยะลาแทนที่กลุ่มเจ้าเมืองรามัน ที่สูญเสีย เหมืองแร่ไปให้ทางฝัง่ เประแล้ว คือ ตระกูลชาวจีนทีม่  ี ปุย่  แซ่ตนั หรือ ตั น ปุ ่ ย  ขึ้ น ส� ำ เภามาอยู ่ ที่ จั ง หวั ด สงขลา ขายของช� ำ เป็ น อาชี พ ได้รว่ มเป็นอาสารบกับพวกไทรบุรแี ละกลายเป็นคนสนิทของเจ้าเมือง สงขลาซึง่ มีเชือ้ สายจีนอยูแ่ ล้ว เมือ่ บ้านเมืองทีป่ ตั ตานีเรียบร้อยดีแล้ว เจ้าเมืองสงขลาจึงให้ย้ายมาอยู่ที่เมืองปัตตานีเป็น  “กัปปีตันจีน” ปกครองผู้คนฝ่ายจีนรวมทั้งเป็นนายอากรเก็บส่วยภาษีโรงฝิ่นบ่อน เบี้ย ส่งไปให้เจ้าเมืองสงขลา ต่อมาเลื่อนยศเป็น ”หลวงส�ำเร็จกิจกร จางวาง” ตั้งบ้านเรือนอยู่ ใกล้แม่น�้ำปัตตานีที่เรียกว่าหัวตลาดหรือ ตลาดจีนต่อมาได้ขอสิทธิ์สัมปทานเหมืองแร่ดีบุกในเมืองยะลาหลาย แปลงหลายต�ำบล เป็นต้นตระกูลคณานุรักษ์คหบดีและกลายเป็น ชนชั้นน�ำในเมืองปัตตานีในเวลาต่อมา ภู มิ วั ฒ นธรรมของบ้ า นเมื อ งในคาบสมุ ท รรวมทั้ ง บริ บ ท 10

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ทางการเมืองในยุคสมัยต่างๆ ท�ำให้บ้านเมืองในปาตานี ไม่เคยโดด เดี่ยว ตั้งแต่เมื่อตั้งถิ่นฐานในลักษณะของการเป็นเมืองท่าภายในและ อยู่ในระหว่างเส้นทางสองฝั่งมหาสมุทรจนถึงการเป็นเมืองท่าริมอ่าว ท�ำให้เกิดการติดต่อค้าขายจากโพ้นทวีป รับส่งวัฒนธรรมและผู้คนใน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันจนกลายเป็นสังคมพหุลักษณ์ที่มิได้ แตกต่างไปจากบ้านเมืองในเขตอื่นๆ แต่อย่างใด

การท�ำความเข้าใจภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี ในเขตรัฐปาตานีหรือในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จึงต้องอาศัย ความเข้าใจในบริบททางภูมิศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมในทุกระยะ จึงจะเข้าใจประวัติศาสตร์แบบสัมพัทธ์ [Relativism] ที่ไม่ติดยึดอยู่กับภาพตัวแทนเพียงช่วงเวลาเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่ง ทางประวัติศาสตร์เท่านั้น

บันทึก จากท้องถิ่น งามพล จะปะกิยา

เรียนรู้จากแผนที่ เพื่อรู้จักท้องถิ่น

กูนงจูโจ๊ะ ภูเขาที่เป็นจุดสังเกตส�ำคัญที่อ�ำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

แผนที่ของคนท้องถิ่น

การศึกษาท้องถิน่ โดยพิจารณาความส�ำคัญของสภาพแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์จึงเป็น เรื่องส�ำคัญยิ่ง ค�ำกล่าวของ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

จดหมายข่าว

ส�ำหรับชุมชนท้องถิน่ ไม่มโี ลกทัศน์เกีย่ วกับแผนทีบ่ นกระดาษ ที่มีมาตราส่วน แต่แผนที่ของชาวบ้านเป็นโลกที่เห็นอยู่ตรงหน้า แล้วสร้างภาพในจินตนาการ สะท้อนความเข้าใจในลักษณะทางสภาพ แวดล้อมตามธรรมชาติแผนที่ในจินตนาการของชาวบ้านจะแตกต่าง ตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน 11

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ลูโบ๊ะจีนอ ชื่อของวังน�้ำที่มีปลามากในล�ำน�้ำสายบุรี

ลักษณะนิเวศที่แตกต่างนี้เป็นสิ่งก�ำหนดให้แต่ละชุมชนท้อง ถิ่นมีภูมิปัญญาเรื่องการรู้จักเส้นทางรู้จักสภาพแวดล้อมต่างกัน เช่น ในท้องถิน่ เขตแม่นำ�้ สายบุร-ี เทือกเขาสันกาลาคีรนี นั้ ในโลกแผนทีข่ อง ชาวบ้านไม่มชี อื่ เทือกเขาสันกาลาคีรที รี่ ฐั และผูค้ นทัว่ ไปเรียกเทือกเขา ทัง้ เทือกตัง้ แต่ชายแดนมาเลเซียจรดชายทะเลจังหวัดสตูลและไม่มชี อื่ แม่นำ�้ สายบุรที ยี่ าว ๒๐๐ กิโลเมตรจากต้นน�ำ้ ภูเขาสูงชายแดนมาเลเซีย ถึงปากอ่าวที่อ�ำเภอสายบุรีในโลกแผนที่ของเขาเช่นกัน ส�ำหรับคนท้องถิ่นพวกเขารู้จักภูเขามีชื่อตามชื่อท้องถิ่นนั้น อาทิเขาอัยย์จูโจ๊ะ เขากาหลง เขาอัยย์กาแซ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเทือก เขาสันกาลาคีรี

ป่าของคนเขตแม่น�้ำสายบุรี-เทือกเขาสันกาลาคีรี

ป่าในภูเขาสูงมีสภาพแวดล้อมเป็นป่าทึบมี ไม้เล็กใหญ่ราย รอบมองไปทางไหนมีแต่ความมืดครึ้ม ลักษณะต้นไม้คล้ายๆ เหมือน กันไปหมดโดยเฉพาะป่าไม้ในเขตป่าดิบชื้น ที่มี ใบไม้เขียวตลอดปี การเดิน ทางตามแผนที่ ในจินตนาการของพวกเขานั้น มักมองหา ภูมิประเทศที่มีลักษณะแปลกหรือมีจุดเด่นง่ายในการมองเห็นเป็น วิธีการอ้างอิงในการก�ำหนดชื่อเพื่อเรียกชื่อให้เข้าใจตรงกัน แนวเทือกเขาสันกาลาคีรีที่ทอดยาวทางด้านตะวันตกของ คาบสมุทรมลายู ส�ำหรับคนท้องถิ่นต�ำบลศรีบรรพต อ�ำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาสนั้น พวกเขาจดจ�ำเพียงยอดเขารูปโหนกที่อยู่ปลาย สุดของเทือกเขาทางทิศใต้ทมี่ ชี อื่ เรียกท้องถิน่ ว่า “กูนงุ จอนอง” ทีแ่ ปล ว่ายอดเขาที่เป็นโขดหินใหญ่เอียงส่วนคนอีกด้านหนึ่งอย่างคนบ้าน ไอร์จูโจะ ต�ำบลศรีสาคร อ�ำเภอศรีสาครนั้นพวกเขาจ�ำเพียงยอดเขา “กูนุงจูโจะ” ที่มีลักษณะเป็นหน้าผาหินใหญ่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน นอกจากนั้นภูมิประเทศที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น สายน�ำ้ ไม้ใหญ่ ก้อนหินก้อนใหญ่ในป่า ก็ล้วนเป็นเครื่องมือในการสร้างโลก แผนที่ของชาวบ้าน สายน�้ำแต่ละสายมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นที่ถูก ใช้เป็นชือ่ บ้าน อาทิ บ้านไอร์จโู จะ บ้านไอร์มแี ญ บ้านไอร์บอื รา เป็นต้น เส้นทางการเดินในภูเขาในป่านั้นพวกเขาเดินตามทางสัตว์ เดินซึ่งคนมลายูเรียกว่า “เดอนา” สัตว์ป่ามีลักษณะการเดินที่เลือก

จดหมายข่าว

ความง่ายดายมาก่อน ระยะทางอาจจะไม่ไกลแต่ต้องเดินอ้อมไปอ้อม มา ไม่เดินตัดตรงเพราะเกรงจะเกิดอันตราย รอยทางเดินของช้างเป็น ร่องทางเดินที่คนภูเขาชอบที่สุดเพราะมีขนาดกว้างเดินง่าย รายละเอียดระหว่างทางเดินนีแ้ หละกลายเป็นแผนทีข่ องคน ท้องถิน่ ในการเดินทางในป่า เช่นเดียวกันกับแผนทีท่ อ้ งถิน่ ของคนเขต ชายฝัง่ ทะเลทีพ่ วกเขาบอกว่าในทะเลมีหมูบ่ า้ นซึง่ หมายถึงในท้องทะเล ที่แลเห็นเป็นสีฟ้ากว้างใหญ่นั้นชาวบ้านท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกต�ำแหน่ง แต่ละที่เฉพาะของท้องถิ่นที่คนในท้องถิ่นรู้กันแต่คนภายนอกไม่รู้ได้ ตัวอย่างชื่อเรียกต่างๆ ในเขตนิเวศภูเขา บูเกะ พืน้ ทีภ่ เู ขาทัง้ ลูกเป็นการระบุต�ำแหน่งภูเขาต่างๆ ทีอ่ ยู่ ในเทือกเขา เช่น บูเกะแบยอ บูเกะฮีเยา บูเกะมูนิง กูนุง ภูเขาที่มีลักษณะเป็น หินขนาดใหญ่หรือหน้าผาหิน เช่น กูนุงจูโจ๊ะ กูนุงจอ-นอง กูนุงฮาเวาะฮ ฆูวอ ถ�้ำหรือโพรงหินขนาดใหญ่ แด แนวสันเขา ที่ราบบนภูเขา เช่น แดลีแป แดกูบาฆูลิง

แม่น�้ำของคนเขตแม่น�้ำสายบุรี-เทือกเขาสันกาลาคีรี

เส้นแม่นำ�้ สายบุรีในเขตเทือกเขาสันกาลาคีรีในความคิดของ คนท้องถิ่นนั้นไม่ได้เป็นแม่น�้ำสายบุรีที่ยาวจากต้นน�้ำไปสุดปากอ่าว ลักษณะแม่น�้ำแตกต่างจากสายล�ำธารแต่พวกเขาเรียกชื่อแม่น�้ำว่า “ซูงา” ที่แปลว่าแม่น�้ำและที่หมายถึงแม่น�้ำที่มีอยู่เส้นเดียวในเขตนี้ แม่น�้ำสายบุรีเขตภูเขามีล�ำน�้ำสาขามากมายร่วมร้อยสาขา ช่วงฤดูร้อนน�้ำไม่สูงนักแต่ ในฤดูฝนมีน�้ำลึกและไหลเชี่ยวเอ่อท้น ตัวอย่างชื่อเรียกต่างๆ มีดังนี้ บาตู แก่งหินกลางล�ำน�้ำ บางพื้นที่เป็นเกาะแก่งหิน ตลอด เขตนีม้ แี ก่งหินเกือบ ๒๐ แห่ง เล็กบ้างใหญ่บา้ ง บริเวณนีม้ นี ำ�้ ลึกเป็น ที่อยู่ของกุ้งและปลาขนาดใหญ่ ปูลา เกาะกลางน�ำ  ้ เป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของทราย เป็นเวลานานจนมีต้นไม้งอกเติบโต เป็นที่แวะพักของคนหาปลาและ บริเวณร่องที่แคบเป็นพื้นที่วางเครื่องมือจับปลา ในหน้าแล้งคนใน ท้องถิ่นใช้เป็นพื้นที่พักผ่อน ปาเซ หาดทรายเกิดจากลักษณะเวิง้ โค้งของล�ำน�ำ้ ทีต่ รงข้าม ด้านที่เป็นตลิ่ง สายน�้ำจะพัดพาก้อนหินขนาดต่างๆ มาทับถมเป็นที่ ลาดเนิน ตื อ บิ ง  ตลิ่ ง ริ ม แม่ น�้ ำ ที่ ลั ก ษณะเป็ น ขอบสู ง เกิ ด จากการ กัดเซาะของกระแสน�้ำ จือบอ ร่องน�้ำล้น เป็นร่องล�ำน�้ำริมแม่น�้ำเมื่อมีน�้ำไหลหลาก เมื่อมีปริมาณน�้ำมากน�้ำส่วนหนึ่งจะไหลออกตามร่องน�้ำนี้ ปลาบาง ชนิดใช้เป็นพื้นที่วางไข่ มูโล๊ะกวาลอ บริเวณล�ำน�้ำสาขาบรรจบกับแม่น�้ำใหญ่ จือแฆ บริเวณทีส่ ายน�ำ้ ลดระดับลงอย่างกะทันหัน เป็นพืน้ ที่ อันตรายส�ำหรับคนหาปลา ที่อาจท�ำให้เรือคว�่ำ 12

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ลูโบ๊ะ  บริเวณที่มีระดับน�้ำลึก น�้ำมีลักษณะไหลวน เป็น บริเวณที่มีปลาชุก นอกจากนัน้ พวกเขายังระบุลกั ษณะของน�ำ้ ตามลักษณะอย่าง อื่นอีกด้วย อาทิ ไอร์ปาแซ  สายน�้ำที่เพิ่มระดับขึ้น ไอร์จือฆา  สายน�้ำที่ไหลเชี่ยว ไอร์ลีกู  สายน�้ำที่ไหลคดโค้งตามลักษณะภูมิประเทศ ไอร์กือโระ  สายน�้ำที่มีสีของน�้ำขุ่นมีสีแดง แสดงถึงน�้ำที่ ไหลมาจากภูเขา ไอร์จือนิห  สายน�้ำที่มีสีของน�้ำไม่ขุ่น ไอร์ฮานิง  สายน�้ำไหลนิ่ง ไอร์มูซิง    สายน�้ำที่มีกระแสน�้ำวน บางคนเรียก ลีปะสาโง หมายถึง ลักษณะการเกล้าผมของผู้หญิง ไอร์มาตี  สายน�้ำที่ถูกตัดขาดจากสายน�้ำเดิมในหน้าแล้ง แต่เมื่อถึงฤดูน�้ำหลากจะบรรจบกับสายน�้ำใหญ่ ไอร์สือโจ๊ะ สายน�้ำที่สัมผัสรู้สึกเย็น ไอร์ปานัส สายน�้ำที่สัมผัสรู้สึกอุ่น นอกจากการใช้ลกั ษณะเด่นทางธรรมชาติเป็นหมุดหมายใน การสร้างแผนที่ของคนท้องถิ่นแล้วคนท้องถิ่นยังใส่เรื่องเล่าผูกโยง กับเรื่องราวต�ำนานที่สอดคล้องกับความเชื่อ คุณค่าของท้องถิ่นนั้นๆ เรื่องเล่าต�ำนานที่ผูกโยงกับพื้นที่อาจเป็นกุศโลบายที่ให้คนในท้องถิ่น ให้ความเคารพต่อพื้นที่ เช่น เทือกเขากูนุงจอนองมีเรื่องเล่าที่ผูกกับ ตือรีสือดอง เจะมัสกูนิงฮันตูปารี จระเข้เผือก หรือคนแถบบ้านไอร์จู โจะมีตำ� นานเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับวาลี ผูช้ ายเครายาวสีขาวใส่ชดุ สีขาวคอย เฝ้าดูแลผืนป่า บางทีเ่ กีย่ วกับวาลีชดุ เขียว เรือ่ งเล่าต�ำนานท้องถิน่ ส่วน ใหญ่คนในท้องถิ่นเท่านั้นที่รู้

แผนที่ท้องถิ่นคือวัฒนธรรมเฉพาะห้ามเลียนแบบ

แผนที่ของคนท้องถิ่นเป็นนามธรรมและเป็นสิ่งที่ถ่ายทอด สืบต่อกันมาจากการเรียนรูส้ ภาพแวดล้อมจริงในธรรมชาติผา่ นการบอก เล่าของผูอ้ าวุโสหรือผูม้ ปี ระสบการณ์ ลักษณะเฉพาะในอาณาบริเวณ ท้องถิ่นนั้นๆ คนในท้องถิ่นอื่นหรือวัฒนธรรมอื่นอาจไม่ทราบข้อมูล หลายอย่างหรือตีความหมายผิดๆ เป็นเรื่องที่สำ� คัญที่ผู้ศึกษาเกี่ยว กับท้องถิ่นต้องศึกษาโลกแผนที่ของคนท้องถิ่นว่าเป็นอย่างไรและ เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยอย่างไร …ทีจ่ ริงฟากฟ้าและแผ่นดินแต่เดิมผนึกรวมเป็นหนึง่ เดียวกัน ต่อมาเราจัดการแยกมันทัง้ สองและเราได้บนั ดาลทุกสิง่ ทีม่ ชี วี ติ มาจาก น�้ำ ไฉนเล่าพวกเขาจึงไม่ศรัทธา อัลกรุอาน 21:30 หมายเหตุ ผมและคณะวิจยั โครงการภูมทิ ศั น์ทเี่ ปลีย่ นแปลงของการใช้ ทรัพยากรในนิเวศวัฒนธรรม ๓ จังหวัดชายแดนใต้  ที่ ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณโครงการวิจัยจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจยั (สกว.) ได้รบั โอกาสร่วมอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารเรือ่ ง การเรียน รูจ้ ากแผนทีเ่ พือ่ รูจ้ กั ท้องถิน่  เนือ่ งในวันเล็ก-ประไพ ร�ำลึก ครัง้ ที ่ ๑๐ โดยมี   มู ล นิ ธิ เ ล็ ก -ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์   ร่ ว มมื อ กั บ เมื อ งโบราณ สมุทรปราการ เป็นผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียน รู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น” เพื่อการสร้างแผนที่ของท้องถิ่นของ ตนเอง โดยปรับจากแผนที่ภูมิศาสตร์ผสานกับโลกแผนที่ของคนท้อง ถิ่นที่พวกเขาจินตนาการและจดจ�ำหมุดหมายในสภาพแวดล้อมต่อ หน้าพวกเขา ต�ำนานท้องถิ่นและค�ำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เพื่อ สร้างแผนที่ ซึ่งสามารถเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นของตนเองได้อย่างมี ลักษณะเฉพาะของตนเอง

พระนคร บัอภินญญาทึกนนท์นาท

ช่างแทงหยวก

สายวัดอัปสรสวรรค์ งานแทงหยวกเป็ น งานช่ า งที่ ใ ช้ ก ารสลั ก ลวดลายลงบน หยวกกล้วย เพื่อใช้ประดับอาคารชั่วคราวหรือปะร�ำพิธีในงานต่างๆ คนทั่วไปมักเข้าใจว่างานแทงหยวกจะใช้ในงานศพเท่านั้น แต่ความ เป็นจริงแล้วสามารถใช้ในงานมงคลได้ด้วย อาทิ ใช้ประดับปะร�ำใน งานโกนจุก งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เพียงแต่ว่าไม่ค่อยพบเห็นมาก นักในปัจจุบัน

จดหมายข่าว

13

งานแทงหยวกที่ใช้ในงานศพ (ที่มาภาพ : Facebook ช่างแทงหยวก สกุลวัดอัปสรสวรรค์)

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีกลุ่มช่างแทงหยวกกระจายอยู่ ตามย่านต่างๆ ทั้งในฝั่งธนบุรีและพระนคร เช่น ช่างแทงหยวก สายวัดสังเวช ย่านบางล�ำพู, ช่างสายวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม), ช่างสายวัดระฆังโฆษิตาราม, ช่างสายวัดจ�ำปา ย่านตลิ่งชัน, ช่างสาย วัดดงมูลเหล็ก วัดทองนพคุณ ฯลฯ แต่ทว่ากลุม่ ช่างแทงหยวกทีย่ งั หลง เหลือสืบทอดมาจนถึงปัจจุบนั เหลืออยูเ่ พียงไม่กแี่ ห่งแล้ว หนึง่ ในนัน้ คือ ช่างสายวัดอัปสรสวรรค์ ย่านภาษีเจริญ โดยมีครูเชิด สกุล คชาพงษ์ เป็นผู้ด�ำเนินการสืบทอดวิชาการแทงหยวก บ้ า นของครู เ ชิ ด ตั้ ง อยู ่ ใ นตรอกใกล้ กั บ วั ด อั ป สรสวรรค์ ต�ำบลปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นบ้านที่อยู่อาศัยและ แหล่งสืบทอดวิชาการแทงหยวกมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ครูเชิดเล่าให้ ฟังว่างานแทงหยวกของสายวัดอัปสรสวรรค์ในรุ่นปัจจุบันมีที่มาสืบ มาจากครูช่าง ๒ สาย ได้แก่ สายช่างวัดพลับ หรือวัดราชสิทธาราม ซึ่ ง ได้ สื บ ทอดมาจากฝั ่ ง ของปู ่ แ ละพ่ อ  คุ ณ ปู ่ ข องครู เ ชิ ด ชื่ อ ว่ า โพ ส่วนคุณพ่อชื่อว่า นายขันธ์ คชาพงษ์ ท่านทั้งสองมีพื้นเพเป็น คนบางกอกใหญ่ และได้ร�่ำเรียนวิชาการแทงหยวกมาจากช่างพระที่ วัดพลับ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นถือว่าเป็นแหล่งรวมของครูช่างหลาย ประเภท โดยเฉพาะงานแทงหยวกทีน่ บั ว่ามีความงามเป็นเลิศ นอกจาก นีย้ งั มีชา่ งแกะสลักไม้ ช่างแกะสลักเครือ่ งสด ผัก ผลไม้ ช่างท�ำหีบศพ และโกศ ช่างเขียนลาย ช่างลงรักปิดทอง เป็นต้น ส่วนอีกสายหนึ่งคือ สายวัดอัปสรสวรรค์ ได้รับสืบทอด มาจากฝั่งของตาท่าน ชื่อหมื่นสวัสดิ์ประชารักษ์  (จ้อย ม่วงนุ่ม) เป็นผู้ใหญ่บ้านและไวยาวัจกรอยู่ที่วัดอัปสรสวรรค์ ภายหลังเมื่อ ฝ่ายคุณพ่อแต่งงานจึงย้ายเข้ามาอยู่บ้านตรงที่วัดอัปสรสวรรค์แห่ง นี้ และรับช่วงต่องานแทงหยวกภายหลังจากที่คุณตาเสียชีวิต ท�ำให้ ลักษณะงานแทงหยวกของทัง้ สองสายผสมผสานสืบทอดมาถึงรุน่ ของ ครูเชิดในปัจจุบัน ในวัยเด็กครูเชิดมีโอกาสได้เห็นการท�ำงานของช่างแทงหยวก มาโดยตลอด ทั้งสายวัดพลับและวัดอัปสรสวรรค์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ เริ่มสนใจและฝึกฝนงานแทงหยวกในเวลาต่อมา “ตอนเด็กๆ ผมชอบตามไปด้วย เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินค่า ขนม เขามีข้าวเลี้ยง ดึกๆ ก็มีข้าวต้ม พอไปดูก็เริ่มติดตา ติดใจ ... ผมเริ่มฝึกแทงหยวกตอนอายุได้ ๑๐ ปี แต่ไปขลุกอยู่ตั้งแต่อายุ ประมาณ ๗ ปี พอย่างเข้าอายุ ๑๑–๑๒ ปี ก็ท�ำได้แล้ว พอรุ่นตา หมดไป รุ่นพ่อหมดไป ก็เข้ามารับช่วงต่ออยู่จนถึงปัจจุบัน” การฝึ ก ฝนงานแทงหยวกต้ อ งเริ่ ม จากการฝึ ก การเขี ย น ลวดลาย โดยฝึกเขียนบนกระดาษก่อน เมื่อเขียนได้แม่นย�ำดีแล้ว จึง ไปฝึกแทงลายลงบนกาบกล้วย บางคนในขัน้ แรกอาจใช้วธิ กี ารแทงลาย ตามกระดาษที่วางไว้แต่ช่างที่ช�ำนาญแล้วจะสามารถแทงลวดลาย ลงบนกาบกล้วยได้เลยโดยไม่ต้องร่างแบบ งานแทงหยวกจึงเป็น งานที่ช่างได้อวดชั้นเชิงฝีมือของตนเอง ทั้งยังเป็นงานที่ต้องใช้ความ ละเอียดอ่อนและความรวดเร็วแข่งกับเวลา ด้วยข้อจ�ำกัดเรื่องการใช้

จดหมายข่าว

วัสดุธรรมชาติ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานแทงหยวก ได้แก่ มีดขนาดต่างๆ ส�ำหรับใช้แทง หยวกและแกะสลักเครื่องสด แม่พิมพ์แบบต่างๆ ที่ ใช้กดพิมพ์ลงบน ผลฟักทองหรือมะละกอ ส�ำหรับทีน่ ชี่ า่ งทุกคนจะมีเครือ่ งมือประจ�ำตัว และต้องท�ำกันเองเพราะส่วนมากไม่มีขาย อีกทั้งความถนัดของช่าง แต่ละคนไม่เหมือนกัน วัสดุที่ส�ำคัญที่สุดคือหยวกกล้วย ต้องใช้กล้วยตานีเท่านั้น เพราะมีช่องน�้ำเลี้ยงกว้าง เก็บน�้ำเลี้ยงได้มาก ท�ำให้ไม่เหี่ยวง่าย ทั้งยังมีความเหนียว ไม่กรอบแตกง่ายเหมือนกล้วยชนิดอื่นๆ และ กาบมีสีขาว เรียบเนียน ไม่มีรอยด่าง ถ้าเป็นสมัยก่อนกล้วยตานีหา ไม่ยาก อย่างที่วัดอัปสรสวรรค์คุณตาของครูเชิดปลูกต้นกล้วยตานี เอาไว้จ�ำนวนมากที่บริเวณป่าช้า เวลาจะใช้ก็ไปตัดมา แล้วไปนั่งท�ำ กันที่หน้าวัด แต่ในปัจจุบันหยวกกล้วยตานีต้องสั่งมาจากต่างจังหวัด เท่านั้น เช่น นนทบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ และมีราคาสูงมากขึ้น เช่ น เดี ย วกั บ พวกพื ช ผลอื่ น ๆ ที่ ใ ช้ ป ระกอบกั บ งานแทงหยวก เช่น ฟักทอง มะละกอ เผือก มัน ก็มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน การท�ำงาน แทงหยวกในปัจจุบันจึงถือว่าเป็นงานที่ ใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ซึ่งอาจ เป็นเหตุผลหนึง่ ทีท่ ำ� ให้คนนิยมใช้งานแทงหยวกในพิธตี า่ งๆ ลดน้อยลง งานแทงหยวกของช่างแต่ละสายต่างมีเอกลักษณ์เป็นของ ตนเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับฝีมือช่างที่สืบทอดกันมา รวมถึงระเบียบแบบแผน ของการใช้งานแทงหยวกในพิธีต่างๆ ที่มักจะมีข้อแตกต่างเล็กน้อย ระหว่างงานมงคลและงานอวมงคล ซึ่งช่างสายวัดอัปสรสวรรค์ก็มี แบบแผนเช่นเดียวกัน งานแทงหยวกที่ ใช้ในงานศพเป็นงานที่ช่างได้แสดงฝีมือ ทั้ ง การออกแบบลวดลายและการประดั บ งานเครื่ อ งถม ซึ่ ง ก็ คื อ การกดพิมพ์รูปต่างๆ ลงบนผลไม้เนื้อแข็ง เช่น มะละกอ ฟักทอง ท�ำเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ เพื่อประดับบนกาบกล้วย ส�ำหรับช่างสาย วั ด อั ป สรสวรรค์ นั้ น  การใช้ ง านเครื่ อ งถมจะท� ำ กั น เฉพาะในงาน อวมงคลเท่านั้น การสร้างปะร� ำพิธีเพื่อใช้ในงานศพ จะท� ำลักษณะเป็น อาคารชั่วคราว มีฐาน เสา และเครื่องบน โดยทั้งหมดจะประดับด้วย งานแทงหยวกที่ฉลุเป็นลวดลายรองด้วยกระดาษสีต่างๆ ประดับด้วย งานเครื่องถม และงานแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้แก่ พุม่ ดอกไม้ สิงสาราสัตว์ในเทพนิยาย เช่น นรสิงห์ มังกร และประเภท รูปบุคคล เช่น เทวดานางฟ้า ตัวละครจากวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ สังข์ทอง ฯลฯ รวมไปถึงสัญลักษณ์ตามปีนักษัตรของผู้ที่เสียชีวิต ซึ่ง งานแกะสลักเครื่องสดเหล่านี้จะใช้ประดับบริเวณฐาน เสา และส่วน ยอด งานแกะสลักเครือ่ งสดเป็นรูปตัวละครต่างๆ นิยมใช้ฟกั ทอง เป็นวัสดุหลัก เช่น ตัวหนุมานจะใช้ฟักทองมาแกะสลักอย่างเดียว หนุมานหนึ่งตัวจะใช้ฟักทอง ๔ ลูก ส่วนโค้งของลูกฟักทองจะใช้ท�ำ แขนและขา ส่วนหัวใช้ฟักทองประมาณครึ่งลูก  ซึ่งการเลือกฟักทอง 14

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เพื่อน�ำมาแกะสลักนั้น ถ้ายังอ่อนเกินไปจะใช้ไม่ได้ หรือลูกที่แบน จนเกินไปก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน ส่วนพวกมะละกอ เผือก และหัวไชเท้า จะนิยมใช้สลักเป็นดอกไม้และใบไม้  ครูเชิดกล่าวว่าการประดับ ดอกไม้และใบไม้ประกอบกันเป็นช่อใหญ่ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดด เด่นอย่างหนึ่งของงานแทงหยวกสายวัดอัปสรสวรรค์ เพราะบางแห่ง มักจะติดดอกไม้ประกอบกับใบไม้เพียง ๒–๓ ใบ แต่ไม่ได้จัดรวม กันเป็นช่อขนาดใหญ่ นอกจากนี้ลักษณะของลวดลายของช่างสาย วัดอัปสรสวรรค์มีความคมชัดและมีรายละเอียดมาก นอกจากนี้การใช้งานแทงหยวกในพิธีศพยังมีรายละเอียด ของการประดับและสีสัน ที่มากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมของสถานะและความอาวุโสของผู้ตายเป็นส� ำคัญ ถ้าเป็นงานศพของพระภิกษุ ช่างสายวัดอัปสรสวรรค์จะท�ำให้แตก ต่ า งจากบุ ค คลทั่ ว ๆ ไปคื อ  จะใช้ ก ารแกะสลั ก หยวกกล้ ว ยล้ ว นๆ ไม่มีการลงสีที่หยวกกล้วย หรือติดดอกไม้ใบไม้จ�ำนวนมาก และ กระดาษสีที่น�ำมารองหยวกที่ฉลุลายจะใช้กระดาษสีทองเท่านั้น ส่วนงานแทงหยวกในประเภทงานมงคล สมัยก่อนนิยมท�ำ กันมากทั้งในงานโกนจุก งานสรงน�้ำพระ แห่พระพุทธรูป เป็นต้น งานประเภทนี้เรียกว่างานเบญจา คือจะท�ำการตั้งเบญจาหรือแท่น เพื่อประดิษ ฐานพระพุทธรูป อ่างน�้ำมนต์ เป็นต้น โดยเบญจาจะ ประดับด้วยงานแทงหยวก เช่น เบญจาโกนจุก ใช้เป็นที่ตั้งของอ่าง น�้ำมนต์ที่จะใช้อาบตัวเด็กที่เข้าพิธีโกนจุก เบญจาพระเจดีย์ทราย ในงานขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งงานเหล่านี้ปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือแล้ว รูปแบบของงานแทงหยวกที่ ใช้ในงานมงคลของช่างสาย วัดอัปสรสวรรค์ จะแตกต่างจากที่ใช้ในงานอวมงคลอย่างสิ้นเชิง คือ ใช้การแกะสลักหยวกกล้วยเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการตกแต่งด้วย เครื่องถมและรูปดอกไม้ใบไม้ แต่จะแต้มสีสันลงบนหยวกกล้วยเพื่อ ความสวยงามได้ และจะใช้หยวกกล้วยประดับเฉพาะส่วนฐานเท่านั้น โดยจะท�ำซ้อนกัน ๒–๓ ชัน้ ก็ได้ ส่วนเสาและหลังคาจะไม่นำ� กาบกล้วย ไปประดับเลย แต่จะประดับด้วยผ้าขาวและงานร้อยดอกไม้ พวงมาลัย พวงอุบะ ซึ่งลวดลายแทงหยวกที่นิยมใช้ในงานมงคลคือ ลายบัวกลุ่ม ท�ำเป็นลักษณะอย่างดอกบัว มีกา้ นบัว กลีบบัว และเกสรบัว แต้มด้วย สีเขียว สีเหลือง และชมพู เรียงซ้อนเป็นชัน้ ประกอบเข้ากับลายฟันห้า ครูเชิดเล่าว่า ในอดีตงานแทงหยวกถือว่ามีงานชุกมาก ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล โดยเฉพาะงานศพที่สมัยก่อนยังไม่มี เตาเผาศพ จึงต้องจัดท�ำเมรุขึ้นกลางแจ้ง เวลามีงานแต่ละครั้งกลุ่ม ช่างแทงหยวกจะน�ำวัสดุอปุ กรณ์ตา่ งๆ ขนลงเรือเอีย้ มจุน๊ ไปยังวัดต่างๆ ในแถบฝั่งธนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงเพราะยังไม่มีถนนหนทางมากนัก ช่างที่ท�ำงานแทงหยวกได้ต้องมีความอดทนสูงและต้องมี ความช�ำนาญมาก เนื่องจากต้องท�ำงานแข่งขันกับเวลา การเตรียม งานแทงหยวกจะมีขึ้นก่อนวันงานจริงหนึ่งวัน โดยช่างจะต้องดูสถาน ที่เพื่อออกแบบให้มีความเหมาะสม ทั้งความกว้าง ความสูง แล้วจึง เริม่ ท�ำงานตัง้ แต่ตอนเย็นไปจนตลอดทัง้ คืนเพือ่ ให้ทนั วันงานทีจ่ ะมีขนึ้

จดหมายข่าว

15

ครูเชิด สกุล คชาพงษ์ ผู้สืบทอดงานแทงหยวกสายวัดอัปสรสวรรค์

ในวันรุ่งขึ้น โดยจะมีช่างฝีมือหลายๆ คนแบ่งกันท�ำงาน ทั้งช่างแทง หยวก ช่างแกะสลักเครื่องสด ช่างท�ำเครื่องถม ติดดอกติดใบ และ ช่างร้อยดอกไม้ ปัจจุบันกลุ่มช่างสายวัดอัปสรสวรรค์ยังรับท�ำงานแทงหยวก อยู่ทั้งในพื้น ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมากจะเป็นงานศพ รวมถึงงานประเภทอื่นๆ เช่น งานท�ำบุญกระดูก งานตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ซึ่งครูเชิดยังคงเป็นหัวแรงหลักในการท�ำงานแทงหยวก ขณะ เดียวกันก็ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานและช่างรุ่นใหม่ๆ “ทุกวันนี้เวลามีงานผมยังไปเอง ถึงมีลูกศิษย์แต่ยังไปก�ำกับ ด้วยตนเอง แล้วยังมีลูกชายและหลาน แล้วมีเด็กๆ พาไปฝึกด้วย อีก ๒–๓ คน ให้ได้รู้ได้เห็นเพราะกลัววิชานี้จะสูญไป ... ทางสายผม ก็เหลือแค่ผมทีถ่ อื หางเสืออยูเ่ ท่านัน้ อย่างผมทุกวันนีเ้ ริม่ มีปญ ั หาเรือ่ ง สายตา แกะตอนกลางคืนไม่ได้แล้ว ต้องท�ำกลางวัน ซึง่ การแกะหยวก กล้วยยังพอไหว แต่ว่าให้แกะพวกมะละกอไม่ได้แล้ว” ในอนาคตครูเชิดหวังว่างานช่างแทงหยวกของช่างสายวัด อัปสรสวรรค์จะคงอยู่และสืบทอดไปในอนาคต ไม่สิ้นสูญไปเหมือน อย่างช่างแทงหยวกสายฝั่งธนฯ ที่ค่อยๆ ล้มหายไปจนแทบไม่เหลือ อยู่อีกแล้วในปัจจุบัน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


บอกเล่า

ข่NajibาวกิBinจAhmad กรรม

กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ ที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ

อาจารย์ศรีศักร กับกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนใต้ที่เดินทางมาเรียน รู้และศึกษาแนวคิดวิธีการเพื่อความเข้าใจภูมิวัฒนธรรมในสังคมแม่น�้ำล�ำคลองที่ พระนครศรีอยุธยา

“กลุม่ นิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้” เป็นกลุม่ ทีร่ วบรวมผูส้ นใจ ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ผลกระทบ และความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ทีช่ ายแดนใต้ เป็นกลุม่ ทีร่ ว่ มกัน ท�ำงานเก็บข้อมูลประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ต�ำนานเรือ่ งเล่า ส�ำรวจสภาพ แวดล้อมและผลกระทบจากนโยบายของรัฐทีม่ ตี อ่ ท้องถิน่ ต่างๆ จนถึง กระแสการเปลีย่ นแปลงทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดน ใต้ ภายใต้การส่งเสริมของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ตลอดระยะเวลา ๓ ปีที่ก่อตั้งกลุ่มขึ้นมา มีการจัดอบรม เรียนรู้ร่วมกันหลายครั้งให้กับสมาชิกที่เป็นแกนหลักของกลุ่มนิเวศ วัฒนธรรมชายแดนใต้และมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ ์ มีการท�ำงาน วิจัยในท้องถิ่นรวมทั้งผลิตหนังสือ บทความ เปิดเวทีเสวนา และเปิด บรรยายสาธารณะเผยแพร่ข้อมูลความรู้ในหลากหลายเรื่องที่ค้นพบ ในพื้นที่ซึ่งมีการท�ำงานร่วมกันมาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว กลุ ่ ม นิ เ วศวั ฒ นธรรมชายแดนใต้ ท� ำ งานโดยน� ำ วิ ธี คิ ด ของอาจารย์ ศ รี ศั ก ร วั ล ลิ โ ภดม ในเรื่ อ ง “ภู มิ วั ฒ นธรรม” [Cultural Landscape] อัน หมายถึงพื้น ที่ทางวัฒนธรรมที่ ไ ม่ได้ จ�ำกัดตามการแบ่งพื้นที่ตามเขตการปกครองของรัฐ เช่น ต�ำบล  อ�ำเภอ จังหวัดหรือขอบเขตของประเทศ แต่ ใช้พื้นที่ที่มีวัฒนธรรม

จดหมายข่าว

แบบเดียวกันเป็นตัวก�ำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยศึกษาผ่าน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์บอกเล่า ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น อาชีพ การตั้งถิ่นฐาน โครงสร้างทางสังคม และเครือญาติ ทรัพยากร ภาษา ภูมิปัญญา เป็นต้น เพื่อรวบรวม ความรู้ในเรื่องท้องถิ่นอันเป็นความรู้กระแสรองที่ ไม่มีการกล่าวถึง ในแบบเรียนหรือในที่อื่นๆ มากนัก ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจในเรื่องท้อง ถิ่นต่างๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างของสังคมแบบพหุลักษณ์ ทีม่ อี ย่างมากมายในประเทศไทย เพือ่ ให้คนในท้องถิน่ ได้เรียนรู้ เข้าใจ ภาคภูมิและรักษ์ในถิ่นเกิดหรือมาตุภูมิในที่สุด อันจะน�ำไปสู่ส�ำนึกใน การอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจและสงบสุขภายในชาติหรือมีส�ำนึกในชาติ ภูมิเป็นล�ำดับต่อไป สมาชิกของกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้เป็นเครือข่าย การท�ำงานของคนในท้องถิ่นที่มีภูมิล�ำเนากระจายกันทั้งสามจังหวัด คื อ  ยะลา ปั ต ตานี   และนราธิ ว าส โดยมี ส มาชิ ก กลุ ่ ม แบ่ ง เขต การท�ำงานทั้งในพื้นที่ ชายฝั่งทะเล และเขตเทือกเขาของแผ่นดิน ตอนในตามแนวเขตเทือกเขาสันกาลาคีรแี ละเขาบูโด รวมทัง้ การแบ่ง พื้นที่ตามเขตลุ่มน�้ำที่ส�ำคัญตามแม่น�้ำสองสายหลักของสามจังหวัด ชายแดนใต้ คือ เขตลุ่มน�้ำของแม่น�้ำปัตตานีและแม่น�้ำสายบุรี นอกจากนีส้ มาชิกของกลุม่ ยังแยกกันท�ำงานในเขตพืน้ ทีข่ อง แต่ละกลุ่ม เป็นกลุ่มย่อยๆ ออกไปอีก เช่น กลุ่มอ่าวปัตตานี กลุ่ม ยาลอ กลุม่ เทือกเขาสันกาลาคีรี กลุม่ แว้งทีร่ กั กลุม่ พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ขุนละหาร กลุ่ม Saiburi Looker และกลุ่มบ้านเญาะ (เขื่อนบางลาง) ซึง่ เป็นการท�ำงานแบบเจาะลึกเรือ่ งราวต่างๆ ทีแ่ ตกต่างกันไปในแต่ละ พื้นที่ เพื่อที่จะน�ำมาร้อยเรียงข้อมูลในภาพใหญ่ในขั้นต่อไป ตลอดเวลาของการท�ำงานของกลุม่ นิเวศวัฒนธรรมชายแดน ใต้เพิ่งเริ่มต้นเมื่อสิบปีก่อน ในขณะที่ยังเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ยังไม่ เปิดตัวในสังคม Social Media กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้ มีแกนหลักที่ ดอเลาะ เจ๊ะแต, มะอีซอ โซมะดะ, งามพล จะปะกิ ยา และทรัยนุง มะเด็ง พร้อมด้วยทีมผู้ช่วยไม่กี่คน ก็ได้เริ่มท�ำงาน วิจัยท้องถิ่น โดยการสนับสนุนงบประมาณจากส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจยั (สกว.) ภายใต้การดูแลให้คำ� แนะน�ำจากทีมงานของ 16

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ท�ำการวิจัยและพิมพ์หนังสือที่เป็น ผลพวงจากงานวิจัยออกมาหลายเล่ม อาทิ เล่าขานต�ำนานใต้, เราคือ ปอเนาะ, เสียงสะท้อนจากหมูบ่ า้ นชาวประมงอ่าวปัตตานี, ความทรงจ�ำ ในอ่าวปัตตานี, จากยอลอเป็นยะลา และเรื่องเล่าจากเชิงเขาบูโด กรณีบา้ นตะโหนด เป็นต้น รวมทัง้ ผลิตสารคดีบางตอนในชุดพอเพียง เพื่อแผ่นดินเกิด และการบรรยายสาธารณะในเรื่องสถาปัตยกรรม มลายูในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนใต้ ตามข้อมูลที่ ได้จากการ ลงพื้นที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อน�ำเสนอแง่มุม ข้อมูลใหม่ที่ค้น พบ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมและประเด็นปัญหา หรือผลกระทบที่ ชาวบ้านได้รับจากการพัฒนาของหน่วยงานรัฐอย่างไร้ทิศทางเพราะ ขาดข้อมูลพื้นฐานที่ตรงกับข้อเท็จจริงในท้องถิ่น ช่วงวัน ที่ ๒๕-๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา กลุ ่ ม นิ เ วศวั ฒ นธรรมชายแดนใต้ มี โ อกาสแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ กั บ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมและมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์อีกครั้ง ซึ่ ง ครั้ ง นี้ แ ตกต่ า งจากการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร [Workshop] ที่ ก ลุ ่ ม นิ เ วศวั ฒ นธรรมชายแดนใต้ เ คยได้ รั บ การส่ ง เสริ ม จาก มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เหมือนเช่นที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลา หลายปีที่มีการอบรมเชิงปฏิบัติการกับมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ นั้น มักจะจัดในช่วงปลายปี ในงานวันเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และ เป็นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มอื่นๆ จากหลายพื้น ที่ ทั่วประเทศไทยที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ให้การสนับสนุน แต่ ในครัง้ นีก้ ลับเป็นการแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม เฉพาะกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้เท่านั้น และเป็นการแลก เปลี่ยนเรียนรู้เป็นการเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับพื้นที่ของสามจังหวัด ชายแดนใต้ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่อาจารย์ศรีศักร วัลลิโ ภดม ให้ ค วามกรุ ณาต่ อ กลุ ่ ม นิ เ วศวั ฒ นธรรมชายแดนใต้ ม ากที เ ดี ย ว ทีเ่ ปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุม่ นิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้ โดยเฉพาะ สมาชิกใหม่ๆ ทีเ่ พิง่ ได้มโี อกาสมาเรียนรูไ้ ด้มโี อกาสซักถามในประเด็น ที่อยากรู้ และได้เรียนรู้ถึงปรัชญาแบบนิเวศวัฒนธรรมได้โดยตรงกับ อาจารย์ศรีศักร ผู้ที่น�ำแนวคิดนี้มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคม ในช่วงเช้าของวันแรกที่เดินทางไปถึง สมาชิกกลุ่มนิเวศ วัฒนธรรมชายแดนใต้ ได้มีโอกาสฟังอาจารย์ศรีศักรในงานเสวนา เรื่องการจัดการน�้ำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในช่วงบ่าย ถึงเย็น อาจารย์ศรีศักร ก็ ได้บรรยายเพิ่มเติมแก่สมาชิกกลุ่มนิเวศ วั ฒ นธรรมชายแดนใต้ ใ นเรื่ อ งระบบคู เ มื อ ง ก� ำ แพงเมื อ ง และ คลองขวางต่างๆ ภายในเกาะอยุธยา ซึง่ เป็นระบบที่ใช้รบั มือกับภาวะ น�้ำหลากซึ่งมีมาทุกปี ท�ำให้เข้าใจว่าชาวอยุธยาเมื่อครั้งโบราณมีวิธี รับมือกับปัญหาน�ำ้ เหนือทีห่ ลากมาอย่างไร ที่ไม่ทำ� ให้เกิดภาวะน�ำ้ ท่วม อย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อาจารย์ศรีศักรยังได้อธิบายถึงความส�ำคัญของแม่น�้ำทั้ง ๓ สายรอบเกาะอยุธยา การค้า และการตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติ

จดหมายข่าว

17

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ขณะบรรยายแบบเป็นกันเอง ในเรื่องแนวคิดในการศึกษาภูมิวัฒนธรรมที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ

รอบๆ บริเวณป้อมเพชรและหน้าวัดพนัญเชิงต่อเนือ่ งตลอดแม่นำ�้ อันมี ชุมชนของชาวญีป่ นุ่  ฮอลันดา และชุมชนมุสลิมอยู่ในละแวกใกล้เคียง  ท�ำให้เข้าใจได้ถงึ วิวฒ ั นาการของการสร้างเมืองอยุธยาในอดีต จวบจน กระทัง่ มีการเปลีย่ นแปลงเมืองอยุธยาในปัจจุบนั มาสูเ่ มืองทีม่ กี ารสร้าง โรงงานและนิคมอุตสาหกรรม มีการย้ายแรงงานจากต่างถิน่ มาอาศัย และมีการพัฒนาเมืองไปสู่ความเจริญสมัยใหม่โดยที่ ไม่เข้าใจสภาพ ทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติหรือโครงสร้างเดิมของเมืองอยุธยาที่น�ำ ไปสู่การเกิดสภาวะน�้ำท่วมขังอย่างหนักในปีที่ผ่านๆ มา ในสองวันให้หลังคือวันที่ ๒๖ และ ๒๗ สิงหาคม สมาชิก กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้ มีโอกาสสนทนาเรียนรู้กับอาจารย์ ศรีศักรเพิ่มเติมอีกที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการ ติวเข้มจากอาจารย์ศรีศักรเลยทีเดียว การเรียนรู้ที่ทางกลุ่มฯ ได้รับในสองวันนี้ อัดแน่นไปด้วย เนื้อหาที่อาจารย์ศรีศักรได้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการเก็บข้อมูล กระบวนการท�ำงาน และแนวคิดในเรื่องภูมิวัฒนธรรม ซึ่งความรู้ที่ ได้รับมาในครั้งนี้จะเป็นฐานความคิดเบื้องต้นให้กับสมาชิกในกลุ่ม นิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้ในการท�ำงานในพื้นที่ต่อไป การท�ำงานของกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมชายแดนใต้ที่จะเดิน ทางต่อไปในอนาคต พวกเรามีการวางโครงการกันไว้ว่า จะศึกษา เรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่ในรายละเอียด เพื่อน�ำเสนอให้คนนอกพื้นที่ ได้รับรู้ให้มากขึ้นกว่าที่เคยท�ำ เช่น การค้นคว้าในเรื่องที่เกี่ยวกับ “โต๊ะกูแช” หรือหมอช้างมลายูเพือ่ เปรียบเทียบกับต�ำนานเรือ่ งช้างใน เขตภาคใต้ตอนกลางที่ติดต่อกับเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้ง การผลิตบทความ สารคดี และการปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อที่สามารถ จะน�ำเสนอเรื่องราวและใช้เป็นคลังข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิงเนื้อหาที่ สามารถสืบค้นและเผยแพร่ทงั้ ในทางวิชาการและมอบให้แก่สาธารณะ เพื่อความเข้าใจในสังคมวัฒนธรรมของชายแดนใต้ต่อไป

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


การเสวนาเรื่อง

สารทจีน ออกพรรษา ไหว้พระจันทร์ ศรัทธาที่สับสนในสังคมไทย

กิจกรรมที่ร้านริมขอบฟ้า งานเสวนา “สารทจีน ออกพรรษา ไหว้พระจันทร์ ศรัทธาที่สับสนในสังคมไทย”

วันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “สารทจีน ออกพรรษา ไหว้ พระจันทร์ ศรั ทธาที่สับสนในสังคมไทย” ขึ้นที่ร้านหนังสือริมขอบ ฟ้า วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมี คุณดนัย ผลึกมณฑล เจ้าของนามปากกา “แปลงนาม” เป็นวิทยากรให้ความรู้ร่วมกับ ดร.ศิรเิ พ็ญ อึง้ สิทธิพนู พร จากสถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปการเสวนาโดยคุณดนัย ผลึกมณฑลกรุณา ตรวจทานได้ดังนี้ ค�ำว่า “สารท” นอกจากสารทจีน ที่ ได้ยินกัน บ่อยๆ แล้ว ยังมีวันสารทเดือน ๑๐ ของคนปักษ์ใต้ซึ่งจะอยู่ในราวเดือนกันยายน หรือตุลาคมของทุกปี โดยมีความเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ จะกลับมาเยี่ยมลูกหลานปีละ ๑๕ วัน คือตั้งแต่วันแรม ๑-๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๐ ซึ่งจะมีการจัดพิธี ไหว้โดยใช้ขนม ๕ อย่าง มีขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเจาะรู และขนมเทียน ส่วน สารทไทย จะอยู่ ในราวเดือนตุลาคม ประเพณีทสี่ ำ� คัญของวันสารทเดือน ๑๐ ของคนปักษ์ใต้กค็ อื การไหว้ผีหรือชิงเปรต ซึ่งคล้ายกับประเพณีซีโกว ( ) ของจีนที่ท�ำ กันตัง้ แต่วนั ขึน้  ๑ ค�ำ่ เดือน ๗ ไปจนตลอดทัง้ เดือน ค�ำว่า “ซี” แปลว่า บริจาค ส่วนค�ำว่า “โกว” แปลว่า อนาถา

จดหมายข่าว

ในการท�ำพิธกี รรมไม่เพียงแต่อทุ ศิ บุญกุศลให้กบั ผี แต่ยงั รวม ถึงการแบ่งปันให้กบั ผูท้ ยี่ ากไร้ดว้ ย ส่วนสารทของจีนจะตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๗ ในวันนีล้ กู หลานชาวจีนจะท�ำพิธีไหว้บรรพบุรษุ ในช่วงเช้า หลัง ) ซึ่งในปัจจุบัน จากนั้นในเวลาบ่ายโมงจะมีการไหว้ ฮอเฮียตี๋ ( คนทัว่ ไปเข้าใจว่าหมายถึงการไหว้ผพี เนจร ผีไร้ญาติ แต่ในความหมาย ดัง้ เดิม “เฮียตี”๋  หมายถึงพีน่ อ้ งร่วมสมาคมร่วมบ้านเดียวกัน ซึง่ การจะ เข้าสมาคมได้นนั้ จะต้องก้าวข้ามวัยจนกระทัง่ โตเป็นผูใ้ หญ่และตัง้ สัตย์ สาบานว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะในอดีตชายชาวจีนมักจะ เดินทางโดยส�ำเภาเข้ามาขายแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึง ต้องมีเฮียตี๋หรือคนที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันร่วมเดินทางมาด้วยเพื่อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อผ่านความล�ำบากทุกข์ยาก บ้างร่างกาย ทรุดโทรมและเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิตในระหว่างเดิน ทางหรือ ประกอบอาชีพ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และพอมีฐานะจึงท�ำพิธี ไหว้เฮียตี๋ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยความระลึกถึง เป็นความเอื้ออาทรของ คนยุคหนึ่งที่มาจากเมืองจีน พิธีกรรมการไหว้นอกจากวันเพ็ญเดือน ๗ แล้ว ในชุมชน คนจีนจะมีการไหว้ตลอดทั้งเดือน ๗ ด้วยวิธีการต่างๆ กัน แต่มี จุดมุง่ หมายเดียวกัน คือไหว้ผพี เนจรที่ไม่ใช่ญาติ ในระดับชาวบ้านอาจ เพียงแค่นัดคนมาร่วมกันไหว้ เสร็จแล้วก็แจกจ่ายของไหว้ระหว่างกัน และแจกให้คนขัดสนที่ต้องการ ส่วนสมาคมจีนต่างๆ อาจมีการรวม ตัวกันของพวกเก็งซือ ( ) หรือนักบวช ซึ่งจะมีพิธีกรรมการไหว้ผี ในแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ในพิธกี รรมของคนจีนทีด่ ำ� เนินพิธโี ดยพระจีน ถ้าจะเห็นพระ ที่สวดในพิธีซีโกวหรือบุญเดือน ๗ จะมีท่ามือต่างๆ ซึ่งเป็นสาระของ พิธีกรรมเรียกว่า “มุทรา” โดยมีมนตราก�ำกับ การสวดอุทิศกุศลของ ฝ่ายอาจาริยวาทในบ้านเรานัน้ ได้รบั อิทธิพลจากลัทธิตนั ตระที่ให้ความ ส�ำคัญกับการท่องมนตราและการท�ำท่ามือทีเ่ รียกว่ามุทรา ด้วยมีความ เชือ่ พืน้ ฐานว่า การอุทศิ เชือ่ มโยงกันระหว่างจิต พุทธ และดวงวิญญาณ ที่จะโปรด ซึ่งจะต้องมีการส่งผ่านเชื่อมโยงกัน ความเป็นพุทธปรากฏ ผ่านการท่องสวดมนตราและการแสดงการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ท่าสอดประสานฝ่ามือและนิ้วที่เรียกว่า มุทรา มุ ท ราแรกๆ คื อ การอั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธเจ้ า ในพระสู ต ร เพื่ออาศัยบุญบารมีของท่านขับไล่สิ่งชั่วร้าย ซึ่งในพระสูตรจะมี พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ที่จะถูกอัญเชิญมาเพื่อโปรดและแผ่บุญ 18

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กุศลให้กับดวงวิญญาณ จากนั้นจะมีการเชิญดวงวิญญาณต่างๆ มารับส่วนบุญที่อุทิศ ระหว่างท�ำพิธีกรรมพระที่นั่งเป็นประธานในพิธี จะพรมน�้ำที่เรียกว่า “น�้ำทิพย์” เป็นการแผ่บุญบารมีให้กับเหล่าดวง วิญญาณที่ถูกอัญเชิญมาให้ได้รับส่วนกุศล จากนั้นก็จะโปรยเงินและ ซาลาเปาลูกย่อมๆ รวมทั้งซาลาเปารูปมือที่เรียกว่า “หุกชิ่ว” สังเกต ได้วา่ พิธกี รรมโปรยทานในโถงพิธสี วดจะสัมพันธ์กบั พฤติกรรมอันหนึง่ ทีเ่ ราเรียกว่า “ทิง้ กระจาด” ซึง่ เป็นช่วงจังหวะทีจ่ ะมีการทิง้ ข้าวของให้ ทันกับพระที่ก�ำลังท�ำพิธีโปรย เมื่อพระสวดจบของที่ทิ้งลงมาจะต้อง หมดพร้อมกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นการโปรยติ้วแล้วน�ำ มาแลกข้าวของเพื่อป้องกันการเหยียบย�่ำจนเสียหาย ในสมัยยุคราชวงศ์ชิงช่วงก่อนวันเพ็ญคือวันขึ้น ๑๔ ค�่ำหาก เป็นพิธีทางจีนเหนือจะมีการลอยกระทง ซึ่งการลอยกระทงที่ว่านี้ จะไม่มกี ารจุดธูปอย่างเช่นการลอยกระทงในบ้านเรา เพราะไม่ได้มจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ การบูชา แต่เป็นการจุดประทีปเพือ่ น�ำทางดวงวิญญาณให้ รับรู้ว่าในวันเพ็ญ เดือน ๗ จะมีการไหว้ใหญ่บนพื้นโลก โดยกระทง จะท�ำด้วยไม้แผ่น เปรียบดั่งเรือให้ดวงวิญญาณได้พึ่งพิงเกาะเกี่ยว เพื่อข้ามโอฆสงสาร คนจี น ในบ้ า นเราชอบจะเรี ย กพิ ธี ก รรมทิ้ ง กระจาดนี้ ว ่ า อูลั้งเซ่งหวย ที่มาจากพระสูตรชื่อ อุลลัมพนสูตร อันเป็นพระสูตรที่ อธิบายเกี่ยวกับการท�ำบุญในวันออกพรรษาของทางฝ่ายอาจาริยวาท ในวันเพ็ญ เดือน ๗ ทีบ่ า้ นเราชอบจะเรียกโดยส�ำคัญผิดว่า วันสารทจีน ในพระสูตรกล่าวว่า เมื่อพระโมคคัลลานะบรรลุธรรมและมี ฌานรับรู้ถึงนรกภูมิ ท่านเห็นมารดาได้รับทุกขเวทนาจึงแผ่บุญบารมี เอาข้าวทิพย์ไปให้มารดา แต่พอมารดาจะหยิบข้าวมากินก็เกิดไฟลุก ขึ้น ท�ำให้พระโมคคัลลานะเศร้าใจมาก เมื่อท่านถามกับพระพุทธ องค์ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า แม้ญาณบารมีของพระโมคคัลลานะ จะบรรลุแล้ว แต่กย็ งั ไม่มากพอทีจ่ ะช่วยมารดา จะต้องอาศัยคณะพระ สงฆ์ที่สะสมบุญบารมีในช่วงเข้าพรรษาที่มารวมตัวกันในวันปวารณา ซึ่งถ้าหากท�ำบุญในวันนั้นจะเกิดอานิสงส์มากสามารถเผื่อแผ่ไปถึง มารดาที่อยู่ในนรกภูมิได้ ทางฝ่ายอาจาริยวาทช่วงเข้าพรรษาเริ่มตั้งแต่หลังวันเพ็ญ เดือน ๔ จนถึงออกพรรษาในวันเพ็ญ เดือน ๗ ซึ่งตรงกับ “ฤดูร้อน“ เนื่องจากภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือแตกต่างจากบ้านเรา ในช่วงฤดู ร้อนเป็นช่วงที่ฝนตกชุก จึงถูกก�ำหนดให้เป็นช่วงเวลาจ�ำพรรษาของ ทางฝ่ายอาจาริยวาท พิธีกรรมในวันเพ็ญ เดือน ๗ ของจีนแต่โบราณ เป็นงานอุทิศเนื่องในวันออกพรรษา ที่มีสาระส�ำคัญคือการท�ำบุญ ที่วัดเพื่ออุทิศกุศลให้กับญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว มิใช่การจัดงานสารท ในสมัยราชวงศ์ถงั ถังไต้จงฮ่องเต้รบั เอาการประกอบพิธกี าร อุทิศในวันออกพรรษาเป็นพระราชพิธี พระองค์ทรงด�ำริให้อัญเชิญ ป้ายบูชาของบูรพกษัตริย์และพระราชชนนีมาร่วมในพิธีออกพรรษา ที่วัดอันกั๋ว พระราชพิธีนี้สืบมาจนถึงราชวงศ์ซ่ง จึงปรากฏว่าราษฎร ท� ำ เลี ย นแบบพระราชพิ ธี ด้ ว ยการเซ่ นไหว้ บ รรพชนในวั น เพ็ ญ

จดหมายข่าว

19

เดือน ๗  และมีพัฒนาการไปสู่การไหว้ผีพเนจรที่ไม่ใช่ญาติด้วย “สารท” เป็นชื่อของฤดูใบไม้ร่วง ภาษาจีนใช้ค�ำว่า “ชิว” วันสารทของคนจีนก็คือตงชิว ( ) ดังนั้นการก�ำหนดว่าวันสารทอยู่ ในเดือน ๗ ซึ่งเป็นฤดูร้อนจึงไม่ถูกต้อง แต่อาจเป็นเพราะพิธีกรรม ที่คนจีนไหว้ผีคล้ายคลึงกับพิธีไหว้ในวันสารทไทย จึงเกิดการสอนลูก หลานว่าลักษณะวันแบบนีเ้ รียกว่า วันสารทของจีน ซึง่ ในความเป็นจริง วันสารทของจีนก็คือวันไหว้พระจันทร์นั่นเอง วันไหว้พระจัน ทร์เป็น พระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณ โดย พระมหากษัตริย์ หรือองค์จกั รพรรดิ เป็นผูท้ ำ� พิธี ซึง่ จะจัดเฉพาะเมือง ที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับอาณาจักรใด โดยจะจัดพระราชพิธีในวันชิวเฟิน ( ) หรื อ วั น ศารทวิ ษุ วั ต  ที่ ก ลางวั น กั บ กลางคื น เท่ า กั น ใน ฤดูใบไม้ร่วง (ตรงกับวัน ที่ ๒๓, ๒๔ กันยายน) ซึ่งพิธีกรรมนี้ ได้ แพร่ออกมาสู่ชาวบ้านด้วย และธรรมเนียมโบราณก�ำหนดไว้ว่าถ้า กษัตริย์หรือจักรพรรดิท�ำสิ่งใด ชาวบ้านจะไม่ท�ำตาม ถือเป็นข้อห้าม ดังนัน้ เมือ่ กษัตริยท์ ำ� พิธีไหว้พระจันทร์ในวันชิวเฟิน ชาวบ้านจึงมีการไหว้ โดยถือเอาวันเพ็ญ เดือน ๘ เป็นสารทของชาวบ้าน การไหว้พระจันทร์หรือไหว้สารทของจีนนั้น เพื่อเป็นการ แสดงความขอบคุณต่อดวงจัน ทร์ ที่เป็น หมายแจ้งบอกวันเวลาที่ จะเพาะปลูกพืชผลให้ตอ้ งกับธรรมชาติและสภาพอากาศของปี เพือ่ ให้ ได้ผลเก็บเกี่ยวที่ดี  ดังนั้นใครเพาะปลูกอะไรก็จะฉลองวันสารทด้วย การเอาสิ่งนั้นมาไหว้พระจันทร์และบรรพบุรุษ ซึ่งมักจะเป็นธัญพืช จีนแถบทางใต้มีเผือกขึ้นก็เอาเผือกมาไหว้  แต้จิ๋วเป็นแหล่งปลูกอ้อย และผลิตน�้ำตาล เขาก็น�ำเอาอ้อยมาไหว้ และเป็นค�ำตอบว่าท�ำไม เวลาไหว้พระจันทร์จะต้องมีอ้อยอยู่ด้วย ส่วนการไหว้ด้วยขนมไหว้ พระจันทร์นั้น เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นแต่ละคนมีอาชีพแตกต่างกัน อย่างชาวไร่ชาวนาก็จะเอาผลิตผลหรือสิง่ ทีป่ รุงจากผลิตผลของตนเอง มาไหว้ ส่วนคนเมืองที่ไม่ได้เพาะปลูกก็จะเอาเงินไปแลกซื้ออย่างอื่น มาไหว้ การเฉลิมฉลองในแต่ละถิ่นจึงแตกต่างกัน ส่วนธรรมเนียม การไหว้พระจันทร์นั้น สมัยโบราณผู้หญิงจะเป็นคนไหว้ เพราะถือว่า พระจันทร์เป็นพลังหญิง นารีเพศ ส่วนผู้ชายจะไม่ไหว้พระจันทร์ พิธีเกิด พิธีตาย และพิธี ไหว้มีการสืบทอดในสังคมจีนมา นับพันปี การไหว้บุพการีที่ล่วงลับไปแล้วไม่ใช่เรื่องของความกตัญญู แต่เป็นจารีต ส่วนความกตัญญูคือการเลี้ยงดูพ่อแม่ และสูงสุด ของความกตัญญูคือการจัดงานศพให้ท่านอย่างสมฐานะที่เราท�ำได้ การปฏิบัติตามจารีตในลัทธิหยูหรือที่เรียกกันว่าขงจื้อ ก็คือการสร้าง ความกลมเกลียว ผู้ที่มาร่วมในพิธี ไหว้คือเครือญาติที่เป็นสายเลือด เดียวกัน เป้าหมายก็คือการสร้างความกลมเกลียวและช่วยเหลือกัน เป็นจารีตที่ต้องรักษาไว้

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ความ จากภาพถ่าย ทรงจ�ำ โครงการใหม่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ การท�ำงานทางประวัตศิ าสตร์ มานุษยวิทยา และโบราณคดี โดยเน้นการส�ำรวจศึกษาจากท้องถิ่นต่างๆ ที่ผ่านมาในระยะเวลากว่า ๔๐ ปีของทั้งวารสารเมืองโบราณและมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้บนั ทึกความทรงจ�ำและความเข้าใจในภูมวิ ฒ ั นธรรมอันหลากหลาย ในประเทศของเรามาไม่น้อย โดยเฉพาะผลงานภาพถ่ายจากงาน ของอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะจากวารสารเมืองโบราณ และอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ผู้เป็นทั้งบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณและที่ ปรึกษาของมูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ ถือว่าเป็นมรดกที่สะท้อนภาพของสังคมไทยทางวัฒนธรรม ในช่ ว งเวลาเปลี่ ย นผ่ า นจากสั ง คมแบบเกษตรกรรมมาเป็ น กึ่ ง อุตสาหกรรมซึ่งท�ำให้เข้าใจพื้นฐานความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ในปัจจุบันได้มากมาย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริะพันธุ์ ถือเป็นหน้าที่ ในการแบ่งปัน ความรู้แก่สังคม จึงท�ำงานจัดระบบภาพ ฟิล์ม สไลด์เก่าจากการ ท�ำงานของผู้ใหญ่ท่านต่างๆ ที่ทำ� งานมาตลอดมากกว่า ๔๐-๕๐ ปี โดยการดู แ ลรั ก ษา จั ด เก็ บ อย่ า งเป็ น ระบบและผลิ ต ส� ำ เนาเป็ น

ปัตตานี ในความทรงจ� ำ Najib Bin Ahmad ผมมีโอกาสไปร่วมอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารกับมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในระหว่างการบรรยาย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ ได้ฉายภาพถ่ายขาวด�ำที่ถ่ายจากกล้องฟิล์ม ชุดหนึ่ง ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นภาพของอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ หรือ น. ณ ปากน�้ำ ที่ถ่ายเมื่อครั้งลงพื้น ที่ ในสามจังหวัดภาคใต้ เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีก่อน นอกเหนือจากความตืน่ ตากับภาพถ่ายเก่าๆ และอารมณ์ของ ภาพขาวด�ำที่ดูขรึมขลังแล้ว ภาพแห่งความทรงจ�ำในวัยเยาว์ของผม ก็ได้ย้อนกลับมาอีกครั้ง เรื่องราวและสถานที่ต่างๆ ที่เคยพบเห็นและ ลืมเลือนไปแล้วตามกาลเวลา ก็ได้ถูกสะกิดให้หวนคืนมาอีก และเมือ่ หันมาดูรปู ภาพเหล่านัน้ อย่างพินจิ ถีถ่ ว้ น สิง่ ทีพ่ บเห็น อย่างสามัญในโมงยามที่ภาพถูกบันทึกนั้น กลับไม่สามารถพบเห็นได้ แล้วในปัจจุบนั ภาพชาวบ้านทีเ่ ทินสิง่ ของไว้บนหัวอย่างสามัญดาษดืน่

จดหมายข่าว

ไฟล์ดิจิทัล ศึกษาภาพและท�ำค�ำส�ำคัญ [Keyword] เพื่อสะดวกใน การค้นหาต่อไป จากการท�ำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มาเป็นระยะ เวลาหนึง่ พบเห็นเรือ่ งราวผูค้ นและสภาพแวดล้อมในบรรยากาศต่างๆ และเมื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับภาพเก่าที่มีอยู่ ในโครงการฯ ที่คณะ วารสารเมื อ งโบราณน� ำโดย อาจารย์ ป ระยู ร  อุ ลุ ช าฎะ อาจารย์ ศรีศกั ร วัลลิโภดม และคุณสุวพร ทองธิว ไปส�ำรวจ พูดคุย ถ่ายภาพ ทั้งสามจังหวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ หลังจากเริ่มท�ำวารสารเมืองโบราณ ฉบับแรกมาแล้วประมาณ ๕ ปี มูลนิธิฯ ได้เชิญคุณณายิบ อาแวบือซา หรือที่ ใช้นามใน การเขียนว่า Najib Bin Ahmad ผู้ที่เกิดและเติบโตในสภาพแวดล้อม ใกล้วังจะบังติกอในปัตตานีเป็นผู้เขียนบอกเล่ารายละเอียด ความ ทรงจ�ำและบรรยากาศของอดีตในช่วงวัยที่เขายังเป็นเด็กชายอยู่ที่ เมืองปัตตานี มาช่วยเติมและแบ่งปันความทรงจ�ำและรายละเอียด จากภาพในชุดนี้

น่าจะเป็นเรือ่ งทีค่ นอายุไม่เกิน ๒๐ ปี ไม่เคยได้เห็นมาก่อน สภาพบ้าน เรือน การแต่งกาย วิถชี วี ติ ทีด่ ำ� เนินอย่างเชือ่ งช้า เหมือนอย่างทีป่ รากฏ ในภาพถ่าย ก็คงเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากจินตนาการของผู้คนในยุคนี้ อารมณ์แรกในยามที่เห็นภาพถ่าย นอกเหนือจากการย้อน คืนความทรงจ�ำของชีวิตวัยเด็กที่เติบโตในสังคมมลายูปาตานีอันเป็น ความทรงจ�ำส่วนตัวแล้ว ผมกลับกระหายที่จะเล่าเรื่องราว อยากแบ่ง ปันบรรยากาศแบบ มลายูปาตานี ที่ผมเติบโตมาให้กับคนรุ่นใหม่และ คนนอกสังคมมลายูปาตานีที่ไม่มีโอกาสได้เห็น มีโอกาสได้สัมผัสถึง เรื่องราวเหล่านั้นบ้าง รวมไปถึงอยากสืบค้นถึงภาพหลายๆ ภาพที่ผม มองไม่ออก จ�ำไม่ได้แล้วว่า เป็นภาพที่ถ่ายจากที่ไหนในสามจังหวัด ชายแดนใต้ ผมอยากจะถ่ายภาพในสถานที่เดียวกัน มุมเดียวกันกับภาพ เหล่านั้น เพื่อที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผ่านกาลเวลาช่วง หนึ่งและบอกเล่าถ่ายทอดเท่าที่ผมจะสามารถท�ำได้ และจะน�ำเสนอ บอกเล่าผ่านภาพถ่ายเก่าและการเปลีย่ นแปลงในบรรยากาศใหม่รว่ ม กับมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ต่อไป 20

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เล่า

ด้วยภาพ

มัสยิดกรือเซะ มัสยิดเก่าแก่ของเมืองปาตานี สร้างในสมัย สุลต่านมุซอฟฟัร ชาห์ แห่ ง ราชวงศ์ ศ รี วั ง ษา หลั ง จากที่ พ ญาอิ น ทิ ร า หรื อ สุ ล ต่ า น อิสมาแอล ชาห์ ต้นวงศ์ เปลี่ยนมารับศาสนาอิสลามไม่นานนัก มัสยิดกรือเซะเป็นสถาปัตยกรรมทีก่ อ่ ซุม้ ประตูโค้งแบบเปอร์เซียเอเชียกลาง ก่อด้วยอิฐ รกร้างมานาน และกรมศิลปากรประกาศ ให้เป็นโบราณสถาน ปัจจุบันได้มีการบูรณะและใช้งานเป็น มัสยิด (ศาสนสถานของศาสนาอิสลาม)

จดหมายข่าว

21

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กุโบร์โต๊ะอาเยาะห์ เป็นกุโบร์หรือสุสานที่ตั้งใกล้กับมัสยิดรายาปัตตานี ตั้งอยู่ที่จะบังติกอและไม่ห่างจากวังของเจ้าเมืองปัตตานีมากนัก กุโบร์โต๊ะอาเยาะห์เป็นที่ฝังศพของสุลต่านสุไลมาน ชารีฟุดดีน เจ้าเมืองปัตตานีและบรรดาญาติวงศ์ในสายตระกูลของสุลต่านมูฮ�ำหมัดหรือตนกูเปาะสา รวมทั้งเป็นที่ฝังศพ ของขุนนางเมืองปัตตานีตั้งแต่ย้ายเมืองจากบ้านบานามาตั้งยังที่ใหม่ที่บ้านจะบังติกอ ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ภายในอาณาเขตกุโบร์ที่กว้างขวางแห่งนี้ ยังแบ่งพื้นที่โดยการสร้างก�ำแพงแก้ว มีซุ้มทางเข้าตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมของจีน เพื่อฝังศพแยกเป็นสายตระกูลต่างๆ และ สะดวกในการดูแลรวมทั้งการอ่านบทขอพร (ดุอาร์) ให้ผู้ล่วงลับ

จดหมายข่าว

22

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตั้งอยู่ติดกับมัสยิดกรือเซะ ทางด้านทิศตะวันตก มีต�ำนานเล่าว่า ลิ้มกอเหนี่ยว หญิงชาวจีน เดินทางมาตามหาพี่ชายที่มาสร้างมัสยิดกรือเซะ ให้กลับบ้านที่เมืองจีน แต่ลิ้มเต้าเคี่ยนผู้เป็นพี่ชายไม่ยอมกลับ นางจึงน้อยใจและผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ด้านหลังมัสยิด ชาวจีนจึงตั้งฮวงซุ้ยให้นางในบริเวณนั้น จนมีการสร้างศาลเจ้าแม่ลิ้ม กอเหนี่ยวในชุมชนชาวจีนที่เมืองปัตตานี

สุสานสุลต่านสุไลมาน ชารีฟุดดีน เจ้าเมืองปัตตานี ตัวสุสานท�ำด้วยหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ แกะสลักลวดลายเครือเถาแบบมลายู จารึกข้อความเป็นภาษามลายูอักษรยาวี หลักบนสุสานหรือที่เรียกในภาษามลายูว่า Batu Nisan ซึ่งท�ำจากหินอ่อนแกะสลักได้ถูกโจรกรรมไป ปัจจุบันมีหลักที่สร้างใหม่มาทดแทน ภาพนี้ถ่ายในช่วงที่หลักบนสุสานถูกโจรกรรมไปแล้ว จึงไม่ปรากฏ Batu Nisan ให้เห็นในภาพ

จดหมายข่าว

23

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ท้องทุ่งข้างทางและละแวกบ้านในท้องถิ่น ภาพท้องทุ่งริมทางเป็นที่โล่งที่ชาวบ้าน ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงเล็ม หญ้า โดยการปล่อยสัตว์เลี้ยงในตอนเช้าและจะมาต้อนให้เข้า คอกในตอนเย็น ส่วนเจ้าของสัตว์เลี้ยงก็จะไปท�ำงานอย่างอื่น ในสมัยนั้นไม่มีปัญหาการลักขโมยมากนัก เรือนไม้ เรือนไม้ในรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นปาตานีเป็นเรือนที่ อยู่แถบบ้านกรือเซะและอยู่ไม่ห่างจากมัสยิดกรือเซะมากนัก ปัจจุบนั คงถูกรือ้ ไปแล้ว เป็นเรือนไม้ประเภทเรือนเครือ่ งสับยก ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ฝากระดานลูกฟัก และใช้ปั้นลมตาม ลักษณะของท้องถิ่นมลายู ปัจจุบันแทบจะไม่สามารถพบเห็น เรือนลักษณะนี้ในท้องถิ่น

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์, ตุ๊ก วิริยะพันธุ์, รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม, ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่ สุดารา สุจฉายา, ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร, ศรีสมร ฉัตรแก้ว, มรกต สาตราคม, วลัยลักษณ์ ทรงศิริ,

จดหมายข่าว

สมนึก กิจเจริญผล, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์, อรรถพล ยังสว่าง, พรพิมล เจริญบุตร, ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง, อภิญญา นนท์นาท มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ุ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ Email : Vlekprapaifoundation@gmail.com www.lek-prapai.org

24

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.