จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๑ ประจำเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๒

Page 1

ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๘๑ พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๒

จดหมายข่าว

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิ​ิริยะพันธุ์ LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION

ศรีศักร วัลลิโภดม

เผยแพร่ความรู้เรื่องสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก

จากกระรอกด่อนถึงปลาไหลเผือก ตำนานความวิบัติของบ้านเมือง

เวียงหนองหล่มหรือทะเสสาบเชียงแสน หนองน้ำใหญ่กำเนิดของบ้านเมืองสมัยโบราณ (ภาพโดย สำนักพิมพ์สารคดี)

จากการศึกษานิเวศวัฒนธรรมของข้าพเจ้าพบว่า “นิเวศทางธรรมชาติ” ที่เหมาะสมกับการสร้างบ้านแปงเมืองและ

ส า ร บั​ั ญ

นครรัฐในอดีตของดินแดนสยามประเทศหลายแห่งพัฒนาขึ้นในบริเวณรอบๆ หนองน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกในปัจจุบันว่า

แก้มลิง ตามคำนิยามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงในการพัฒนาแหล่งน้ำให้กับประชาชน ลักษณะของหนองน้ำหรือบึงใหญ่เช่นนี้ ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่าเป็น ทะเลสาบตามฤดูกาล [Seasonal lake] เป็นทะเลสาบภายในที่น้ำไม่นิ่งแบบซังกะตาย แต่มีการถ่ายเทตามฤดูกาล ในฤดูแล้งพื้นที่น้ำขังจะลดถอยและแห้งจนเหลือ พื้นที่น้ำขังเพียง ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔ ของบริเวณทั้งหมด อย่างในภาคอีสานจะเรียกพื้นที่แห้งรอบๆ ว่า ทาม ในขณะที่ พื้นที่ซึ่งยังมีน้ำอยู่เรียกว่า บุ่ง หรือ บึง นั่นเอง ซึ่งทำให้แลเห็นความต่างกันของบึงและหนองอย่างชัดเจน คือในกรณีนี้ บึง คือส่วนที่มีน้ำ ส่วนหนองหมายถึงพื้นที่ซึ่งมีทั้งทามและบุ่งหรือบึงในฤดูแล้ง เปิดประเด็น.................................................................. ๑ หมายเหตุจากผู้อ่าน.................................................... ๗ จากกระรอกด่อนถึงปลาไหลเผือก : “วัดคูเต่า” กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างมีส่วนร่วม ตำนานความวิบัติของบ้านเมือง วันรัฐธรรมนูญกับหลักหมุด...จุดเริ่มต้นประชาธิปไตย บันทึกจากท้องถิ่น........................................................ ๔ ในความเคลื่อนไหว .................................................... ๙ ทำงานแลกข้าววัด ประชาพิจารณ์ “ของแท้” คนขุนยวมกับประวัติศาสตร์ จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น....................................... ๕ และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ฟื้นพิพิธภัณฑ์วัดม่วงด้วยแนวทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น งานวั น เล็ ก -ประไพ รำลึ ก ครั้ ง ที่ ๗ การอบรมเรื่ อ ง

“พหุลักษณ์ทางสังคม/วัฒนธรรมในเมืองไทย” ข่​่าวประชาสัมพันธ์................................................... ๑๒


จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ร่องรอยของชุมชนโบราณที่ เป็นบ้านเมืองและตำนาน [Myth] พบว่ามีเมืองขนาดใหญ่ที่เป็นนครรัฐ เกิดขึ้นตามหนองใหญ่ๆ เช่นนี้มากมาย อย่างเช่นทะเลสาบคุนหมิงและ ทะเลสาบต้าลี่ในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ทะเลสาบคุนหมิงเป็น ที่ตั้งของเมืองสำคัญของอาณาจักรเทียน ที่เป็นแหล่งอารยธรรมแรกเริ่ม ของภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ใ นยุ ค วั ฒ นธรรมสำริ ด และเหล็ ก

ในขณะที่ทะเลสาบต้าลี่คือหนองแสในตำนานประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่ กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ตั้งแต่เชียงแสน เชียงราย ลงมาจนถึงปากน้ำโขงในประเทศเวียดนาม ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างนี้มีหนองใหญ่ดังกล่าวเป็นจำนวน มาก ที่เป็นแหล่งการเกิดบ้านเมืองใหญ่ๆ มากมาย เช่น หนองหล่ม ใน เขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กว๊านพะเยา ในเขตจังหวัดพะเยา หนองหานกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และ หนองหานหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร รวมทั้ง บึงราชนก ในเขตอำเภอ เมือง จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนั้นยังมีร่องรอยอีกหลายแห่งตามบึงใหญ่ หนองใหญ่ ที่ปัจจุบันตื้นเขินไป โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่บน ที่ราบสูง [Plateau] ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ แอ่ง คือ แอ่งโคราชและแอ่ง สกลนคร อันเป็นพื้นที่ดินเค็มที่มีหินเกลืออยู่ข้างใต้ การละลายของเกลือ ทำให้แผ่นดินยุบเกิดเป็นหนองบึง [Seasonal lake] ใหญ่น้อยในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะในแอ่งสกลนครและบริเวณใกล้เคียงเกิดหนองน้ำขนาด ใหญ่ เช่น หนองหานสกลนคร หนองหานน้อย และหนองหานกุมภวาปี ในเขตจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น หนองน้ ำ ที่ ก ล่ า วมานี้ เ ป็ น ที่ เ กิ ด ชุ ม ชนมาแต่ ส มั ย ก่ อ น ประวัติศาสตร์ ซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นเมืองใหญ่แต่สมัยทวารวดี-ลพบุรี มาจน ปัจจุบัน มีตำนานเมืองเล่าขานกันสืบมา เหตุที่เกิดชุมชนและเมืองขึ้นก็ เพราะเป็นนิเวศธรรมชาติที่ในฤดูแล้งพื้นที่ของท้องน้ำในหนองลดลง ประมาณ ๒-๓ เท่า แบ่งพื้นที่แห้งรอบๆ ของหนองให้เป็นพื้นที่ ทาม เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เพราะมีตะกอนทับถมตามฤดูกาล เหมาะแก่การ เพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่วนตรงที่มีน้ำขังนั้นเรียก บุ่ง กลายเป็น แหล่งเก็บน้ำ [Tank] เพื่อการอุปโภคบริโภคของคนเมือง ตำนานเมือง ของหนองใหญ่เหล่านี้สะท้อนให้เห็นการรับรู้ของผู้คนที่มีต่ออำนาจเหนือ ธรรมชาติที่เป็นเจ้าของหนองน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอันอำนวยความ สมบูรณ์พูนสุขแก่คนเมือง ว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของพญานาคอันพำนักอยู่ใต้ น้ำ ถ้าหากผู้คนประพฤติดีพลีถูกก็ดูแลคุ้มครองให้ แต่ถ้าหากประพฤติ เลวทรามก็ลงโทษ โดยเฉพาะถ้าคนเมืองประพฤติชั่วร้ายตั้งแต่เจ้าเมือง เจ้านาย จนถึงไพร่ฟ้าประชาชนก็จะบันดาลให้เมืองล่มจมและผู้คนล้ม ตาย ตำนานเมืองที่โดดเด่นและมีเนื้อหาเหมือนกันทุกหนองน้ำอัน เป็นที่ตั้งของบ้านเมืองก็คือ ตำนานผาแดง-นางไอ่ อันมีใจความโดยย่อ ว่า เมืองหนองหานนั้นเป็นเมืองพญานาคสร้าง กษัตริย์ผู้ครองเมืองมีธิดา ชื่อ นางไอ่ ในชาติก่อนนางเป็นคู่รักกับพังคีผู้เป็นลูกพญานาค แต่ในชาติ นี้นางไอ่มีคู่รักใหม่เป็นคนต่างเมืองชื่อ ผาแดง ในขณะที่พลอดรักกันอยู่ ในเมืองนั้น พังคีได้ขึ้นมาจากบาดาล แปลงเป็นกระรอกขาวที่คนอีสาน เรียกว่า กระรอกด่อน มาแอบดู เผอิญนางไอ่เหลือบเห็นกระรอกด่อนก็ อยากได้ ขอร้องให้ผาแดงไปจับมาให้ แต่ผาแดงให้คนของตนไปจับและ ยิงกระรอกตาย เมื่อตายกระรอกก็โตใหญ่ขึ้นหลายสิบเท่า เป็นที่สนใจ ของคนเมือง พากันมาแล่เนื้อกระรอกไปกิน ยกเว้นหญิงหม้ายกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ได้ไปแล่เนื้อมากินกับเขา พอตกกลางคืนพญานาคผู้เป็นบิดาของ

พังคีก็แสดงฤทธิ์ถล่มเมืองหนองหานจมลง ผู้คนที่กินกระรอกด่อนล้ม

ตายจนหมดสิ้น รวมทั้งผาแดงและนางไอ่ที่ควบม้าหนีตาย แผ่นดินก็ถล่ม ตามไปจนต้องตาย คนที่ไม่ตายก็คือบรรดาหญิงหม้ายที่ไม่ได้กินเนื้อ กระรอกด่ อ น จึ ง เกิ ด มี เ กาะแม่ ห ม้ า ยหรื อ ดอนแม่ ห ม้ า ยขึ้ น ในบริ เ วณ หนองน้ำในปัจจุบัน เรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่ากระรอกด่อนและการล่มจมของเมืองก็ เกิดเป็นชื่อของสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าลำน้ำ หนองบึง ที่สูง และชุมชนตาม ถิ่นต่างๆ ทั้งในพื้นที่หนองน้ำและรอบๆ หนอง เช่น บ้านเชียงแหง บ้าน ดอนสาย บ้านสีพันดอน เป็นต้น ความเชื่อในเรื่องพญานาคว่าเป็นเจ้าของท้องน้ำและแผ่นดินนี้ เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนล้านนาและล้านช้าง ซึ่งใน พื้นที่ล้านนาในภาคเหนือของประเทศไทยก็มีปรากฏตามหนองน้ำใหญ่ๆ อันเป็นพื้นที่ที่มีการสร้างบ้านแปงเมืองมาแต่โบราณ ดังเช่น บึงราชนก ในเขตเมืองพิษณุโลก กว๊านพระเยา จังหวัดพะเยา และหนองหล่มในเขต อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แต่ต่างจากทางภาคอีสานอันเป็นพื้นที่ ทางวัฒนธรรมล้านช้างในเรื่องสัตว์ต้องห้ามที่ไม่ใช่กระรอกด่อนซึ่งเป็น สัตว์บก แต่เป็น ปลา ซึ่งเป็นสัตว์น้ำแทน คือ บึงราชนกในเขตพิษณุโลก เป็น ปลาหมอ กว๊านพะเยาเป็น ปลาตะเพียน ซึ่งก็คล้ายๆ กันกับ ปลา นิล ทั้งปลาหมอและปลาตะเพียนเป็นปลามีเกล็ด แต่หนองหล่มอันเป็น หนองใหญ่ของเชียงรายเป็น ปลาไหลเผือก เป็นประเภทปลาหนังไม่มี เกล็ด ตำนานหนองหล่ ม มี ค นรู้ จั ก มากกว่ า ตำนานบึ ง ราชนกและ กว๊านพะเยา เพราะไปสัมพันธ์กับตำนานประวัติศาสตร์ชาติไทย ตำนาน นี้มีที่มาจากลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของ ความเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่สัมพันธ์กับความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือ ธรรมชาติประการหนึ่ง กับเรื่องการเคลื่อนย้ายของผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นบ้านเป็นเมืองอีกประการหนึ่ง ประการแรก คือ เหตุที่เรียกหนองใหญ่นี้ว่า หนองหล่ม คำว่า “หล่ม” ไม่ได้หมายถึงล่ม แต่หมายถึงบริเวณที่เป็นหล่มมีน้ำขัง และน้ำ นั้นมาจากน้ำใต้ดิน หาใช่ไหลมารวมจากผิวดิน หนองน้ำเช่นนี้เป็นหนอง น้ำศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นน้ำสะอาดใช้ในการดื่มกินและอุปโภคได้ คนลาว ไม่ว่าจะเป็นล้านนาหรือล้านช้างเชื่อว่าเป็นที่สถิตของพญานาคผู้เป็น

เจ้ า น้ ำ และแผ่ น ดิ น เช่ น คนล้ า นช้ า งจะเชื่ อ ว่ า หนองน้ ำ เช่ น นี้ เ ป็ น

รูพญานาค ในขณะที่ตำนานการสร้างบ้านแปงเมือง เช่น เวียงจันทน์ หนองหาน และเวียงหนองหล่ม แสดงให้เห็นว่าพญานาคมาสร้างเมืองให้ แก่คน ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองใหม่ ความเชื่อในเรื่อง นาค เป็นเจ้าของแผ่นดินและน้ำในท้องถิ่นนี้ ข้าพเจ้าคิดว่ามีที่มาจากทางโลกหิมาลัยที่ผ่านมาทางแม่น้ำโขง หาใช่เป็น ความเชื่อเช่นนาคของทางอินเดียไม่ ส่วน ประการที่สอง อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของ ผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่หนองหล่มนั้น ปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนวัติที่กล่าว ว่า เจ้าสิงหนวัติผู้เป็นพระโอรสของกษัตริย์ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ จีน เคลื่อนย้ายผู้คนอพยพมาแต่ลุ่มน้ำพางที่อยู่เหนือลุ่มน้ำอิระวดี ผ่าน ลำน้ำสาละวินเข้ามายังลุ่มน้ำกก ผ่านเชียงรายลงมาถึงหนองหล่มในเขต อำเภอเชียงแสน ที่มีพญานาคตนหนึ่งชื่อ พันธุ์นาคราช มาเนรมิตบ้าน เมืองให้ เจ้าสิงหนวัติจึงขนานนามเมืองว่า โยนกนาคพันธุ์ หรือเรียกว่า โยนก คำว่า โยนก จึงกลายมาเป็นชื่อของผู้คนที่เป็นชาวเมือง อัน เพี้ยนมาเป็น ยวน เกิดคำว่า ไทยวน ที่หมายถึงคนเมืองในเขตแคว้น ล้านนาประเทศ เจ้าสิงหนวัติเป็นกษัตริย์ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ มีลูกหลาน

ภาพลายเขียนสีบนภาชนะดินเผาแบบ บ้านเชียง รูปที่เคยสันนิษฐานว่าเป็นลายงู แต่เมื่อพิจารณาอีกครั้งก็สามารถหมายถึง ปลาไหลได้เช่นกัน

สืบมาหลายชั่วคน จนถึงยุคหนึ่งผู้คนพลเมืองไม่ประพฤติธรรม เกิด ความชั่วร้าย เวียงโยนกก็เลยเกิดภัยพิบัติล่มจมไปเป็นบึงหนองหล่ม อย่างที่เห็นในทุกวันนี้ ตำนานบอกว่าเหตุที่เมืองล่มเพราะผู้คนในเมือง จับปลาไหลเผือกแล้วนำมาแล่แจกกันกิน พอตกกลางคืนก็เกิดพายุ น้ำ ท่วมเมืองจมไป ผู้คนรวมทั้งเจ้านายในราชวงศ์กษัตริย์หนีตายไปตั้ง ถิ่นฐานใหม่ในที่อื่น เกิดเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่ง เช่น เวียงไชยนารายณ์ ไชยปราการ เวียงปรึกษา และเวียงพานคำ โดยเฉพาะเวียงพานคำนั้น อยู่ริมแม่น้ำสายในเขตอำเภอแม่สาย ติดกับอำเภอท่าขี้เหล็กของพม่า เป็นที่ประสูติของพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้เป็นมหาราชองค์แรกของ ชนชาติไทในตำนานประวัติศาสตร์ เรื่องของคนกินปลาไหลเผือกที่หนองหล่มเผอิญเข้ามาในความ สนใจของข้ า พเจ้ า อี ก วาระหนึ่ ง เมื่ อ ปลายเดื อ นกั น ยายนที่ ผ่ า นมา ข้าพเจ้าได้รับเชิญจากคุณเล็ก นครเชียงราย บรรณาธิการหนังสือนคร เชี ย งรายให้ ไ ปร่ ว มเสวนาเรื่ อ ง ตำนานเวียงพางคำ ตามรอยพระเจ้า พรหมมหาราช ที่อำเภอแม่สายกับบรรดาผู้รู้ของเมืองแม่สาย เผอิญใน ตอนเช้าก่อนเดินทางกลับได้แวะไปเที่ยวตลาดแม่สายที่มีของพื้นเมือง นานาชนิดที่คนหลายชาติพันธุ์เข้ามาขาย มีพ่อค้าปลาคนหนึ่งนำปลา ไหลเผือกประมาณ ๗-๘ ตัว มาวางขายรวมกับปลาไหลและปลาอื่นๆ ทำ ให้ประหลาดใจและสนใจว่าปลาไหลเผือกนั้นหาใช่ปลาไหลที่สมมติขึ้นใน ตำนานหนองหล่มไม่ หากเป็นสัตว์ที่มีจริงในท้องถิ่น คนขายปลาไหลเล่า ให้ฟังว่า ปลาไหลเผือกที่เห็นบ่อยๆ แล้วเคยนำมาออกโทรทัศน์ คนที่ซื้อ

ไปนั้ น ไม่ ไ ด้ น ำไปกิ น แต่ น ำไปเลี้ ย งและปล่ อ ยเป็ น การทำบุ ญ บ้ า ง ลักษณะของปลามีทั้งสีขาว สีทองอมแดง และกระขาวกระดำ มีทั้งตัว ใหญ่และตัวเล็ก แต่ที่เตะตาที่สุดคือ หัวของปลาไหลเหล่านี้ค่อนข้างใหญ่ ดู คล้ายอวัยวะเพศชาย ทำให้หวนรำลึกถึงภาพเขียนสีประดับหม้อบ้าน เชียงและลายนูนต่ำของภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ที่หลายคน เห็นว่าเป็นงูนั้นน่าจะเป็นปลาไหลมากกว่า เพราะตรงหัวดูกลมคล้ายๆ กัน ข้าพเจ้าคิดว่าทั้งปลาไหลและงูนั้นคล้ายกันในลักษณะที่เป็น สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก นับเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความอุดม สมบูรณ์ในการรับรู้และความเชื่อของคนมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปลาไหลต่างจากงูในลักษณะนี้ เพราะเป็นสัตว์ไม่มีพิษมีภัย ไม่มีอำนาจ แต่งูมี จึงเกิดมีคนนิยมงูมากกว่า โดยเฉพาะในสมัยประวัติศาสตร์ลงมา งู จึ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ทั้ ง ทางอำนาจและความอุ ด มสมบู ร ณ์ แต่ ค นยุ ค ประวัติศาสตร์มักให้ความสำคัญต่อพิธีกรรมในเรื่องความอุดสมบูรณ์เป็น สำคัญ จึงมักเน้นพิธีกรรมที่มองสัตว์ที่มีความคล้ายคลึงกับอวัยวะเพศ มากกว่ า ซึ่ ง นอกจากปลาไหลแล้ ว ก็ มี พ วกปลาช่ อ น ปลาชะโด ที่ มี ลักษณะในเรื่องนี้ โดยเฉพาะปลาช่อนนั้นมีการทำพิธีสวดคาถาปลาช่อน ในการขอฝนขอน้ำกันในหมู่ชาวบ้านเรื่อยมาจนทุกวันนี้ เพราะปลาไหลเผือกเป็นสัตว์หายาก ผิดปกติไม่ใช่ธรรมดา จึง ทำให้คนเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้า หากเกี่ยวข้องด้วยไม่ดีแล้วจะนำไปสู่ความโชคร้ายและวิบัติได้ จึงกลาย เป็นสัตว์ต้องห้าม [Taboo] ตามตำนาน การรับรู้ดังกล่าวรวมทั้งการเป็น สั ต ว์ ที่ มี จ ริ ง ในธรรมชาติ จึ ง น่ า จะเป็ น เหตุ ผ ลหนึ่ ง ที่ ค นในท้ อ งถิ่ น เชียงแสน-เชียงราย นำเอาไปสร้างเป็นตำนานเพื่อปรามคนในสังคมไม่ ให้ประพฤติผิดศีลธรรม เช่นเดียวกับตำนานกระรอกด่อนของคนอีสาน ทั้งตำนานกระรอกด่อนและปลาไหลเผือกต่างเป็นตำนานที่ สะท้อนให้เห็นความเป็นนิเวศวัฒนธรรมของสังคมท้องถิ่น อันเป็นเรื่องที่ สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ในลักษณะที่ต้องอยู่รวมกัน เป็นบ้านเป็นเมือง ความสัมพันธ์ของคนกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ตั้งแต่การกำหนดรากเหง้าที่อยู่อาศัย แหล่งทำกิน แหล่งสาธารณะอัน เป็นของส่วนรวมและแหล่งศักดิ์สิทธิ์ที่สัมพันธ์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ รวมทั้งการเกี่ยวข้องกับสัตว์ พืชพันธุ์ ที่เป็นอาหารการกินและยารักษา โรค ความสัมพันธ์ที่ขาดไม่ได้ก็คือคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่ ถู ก สร้ า งให้ เ ห็ น ระบบความเชื่ อ และสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ มี อ ำนาจในการ ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม [Social sanction] เพื่อการอยู่ ร่วมกันอย่างราบรื่นและสันติสุข


บันทึกจากท้องถิ่น

จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

ทำงานแลกข้าววัด

ฟื้นพิพิธภัณฑ์วัดม่วง ด้วยแนวทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น

ผมได้มีโอกาสติดตามคณะทำงานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ไปจัดงานเสวนา “คนขุนยวมกับการจัดการมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น” ซึ่งจัดขึ้น ณ วั ด โพธาราม อำเภอขุ น ยวม จั ง หวั ด แม่ ฮ่ อ งสอน เมื่ อ วั น ที่ ๑๘ ตุ ล าคม ๒๕๕๒ โดยคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนผมติดตามไป ในภายหลัง แต่บังเอิญว่าระหว่างทางฝนตกหนัก ทำให้ผมเดินทางไปถึงก่อน

เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และต้องรอเกือบทั้งวัน ระหว่างรอผมได้เดินสำรวจชุมชนขุนยวมและพบวัดแห่งหนึ่งซึ่งเป็น วัดไทใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ มีพระสถูปเจดีย์เป็นศรีสง่าและมีการประดับตกแต่งวัด โดดเด่นสวยงาม คิดในใจว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดสำคัญของชุมชน และก็จริงดังคาด เพราะวัดนี้ชื่อ “วัดม่วยต่อ” ภายในวัดมีอาณาบริเวณค่อนข้างกว้างขวาง หลักของวัดคือพระ เจดีย์สีขาวทรงพม่า-ไทใหญ่ มีพระสถูปน้อยรายล้อม ถัดจากพระเจดีย์ด้านหนึ่ง เป็นพระอุโบสถขนาดย่อม ฝีมือช่างพื้นเมืองอันงดงาม ส่วนอีกด้านหนึ่งของพระ เจดีย์เป็นศาลาขนาดใหญ่ น่าจะเป็นศาลาทำใหม่ มีหลังคาซ้อนลดหลั่นแบบ

ไทใหญ่ และมีคนจำนวนหนึ่งเข้าออกเป็นระยะๆ เมื่อเข้าไปในศาลาพบว่ามีกลุ่มชาวบ้านในวัย ๖๐-๗๐ ปีนั่งทำงาน ฝีมือโดยการใช้กระดาษสีติดเสาไม้ไผ่อย่างขะมักเขม้น พูดจากันด้วยภาษาที่ผม ฟั ง ไม่ อ อก แต่ จ ากที่ ไ ด้ ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ขุ น ยวมก่ อ นที่ จ ะเดิ น ทางมา ผมจึ ง

เดาว่าเป็นภาษาไทใหญ่ซึ่งเป็นภาษาของคนกลุ่มหลักในขุนยวม ผมมองพวก เขาทำงานเป็นเวลานานจนอยากถ่ายรูปและพูดคุยด้วย แต่เกรงว่าตนเองเป็น คนมาจากภายนอก ไม่เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของคนในชุมชน หากจะเป็นฝ่ายเริ่ม บทสนทนาก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะไม่ตอบ ซึ่งจะทำให้ตัวเองกระดาก อายยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่พูดอะไรก็คงไม่รู้เรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับขุนยวม ในที่สุดผมจึงรวบรวมความกล้าก่อนจะขออนุญาตถ่ายรูป ปรากฏว่า ง่ายกว่าที่คิด หญิงชาวบ้านผู้หนึ่งพูดกับผมด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนแฝงความ เมตตาว่า “คุณอยากถ่ายภาพอะไรก็เชิญตามสบายเลยค่ะ” น้ำเสียงที่เป็นมิตร ทำให้ผมกล้าที่จะพูดคุยซักถามคุณป้าว่ากำลังทำอะไร แล้วทำเพื่อใช้ในงาน อะไร หลายคนช่วยกันตอบข้อสงสัยของผมว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นการพัน กระดาษสีกับเสาไม้ไผ่สำหรับแขวนโคมกระดาษที่จะแห่ในอีกสองวันข้างหน้า ซึ่งเป็นวัน “งานปอยอองจ๊อด” คืองานปอยหรือประเพณีแห่โคมถวายพระในวัน แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลออกพรรษา ซึ่งงานนี้เป็น งานปอยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่โดยเฉพาะ พอพูดคุยได้สักพักก็มีคนนำขนมมาให้คนที่มาช่วยงานรับประทาน พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยชวนผมให้ทานขนมด้วยกัน พอทานแล้วผมรู้สึกว่าเมื่อได้รับความ เมตตามากขนาดนี้ก็ไม่ควรกินโดยไม่ตอบแทนน้ำใจไมตรี อีกอย่างหนึ่งจะได้ เป็นการสร้างความคุ้นเคยเพื่อที่จะได้ซักถามข้อมูลของท้องถิ่น จึงเอ่ยปากขอ พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยช่วยงานบุญด้วยการพันกระดาษสีเสาแขวนโคม ซึ่งพวกท่านก็ อนุญาตพร้อมกับบอกว่า “ทำบุญด้วยกันนะ” ผมกะว่าจะทำสักสองต้นแล้วจะไป ที่วัดแห่งอื่นๆ ต่อ แต่เพราะความยาวของเสาประมาณ ๓-๔ เมตร บวกกับ

วัดม่วยต่อ

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม บอกเล่าถึงปัญหาการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจากประสบการณ์

บรรยากาศการทำ เสาโคมเหงจอง

ความไม่ชำนาญในการประดิษฐ์ ทำให้ผมต้องใช้เวลาตั้งแต่ ๑๐.๓๐ น. จนถึง ประมาณ ๑๖.๐๐ น. กว่างานจะเสร็จตามที่ตั้งใจไว้ ในช่วงเวลาอันยาวนาน ผมได้พูดคุยสอบถามชาวบ้านจนได้รับข้อมูล ต่ า งๆ เช่ น การทำมาหากิ น ในสมั ย ต่ า งๆ ปั๊ บ หรื อ คั ม ภี ร์ ไ ทใหญ่ โ บราณ เหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น ประเพณีสำคัญต่างๆ รวมทั้งมีโอกาสได้ทำความ รู้จักบุคคลที่ผมเห็นว่าเป็นบุคคลสำคัญ เช่น คุณลุงจอริยะ อุประ ชาวบ้านซึ่ง เป็นผู้รู้ในพื้นที่ ผู้คน ความเป็นมา วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของขุนยวมเป็นอย่างดี และ คุ ณ ลุ ง อิ น แปง นั น ทศิ ริ นั ก การโรงเรี ย นซึ่ ง เป็ น ผู้ รู้ ห นั ง สื อ ไทใหญ่ นอกจากนี้ตุ๊เจ้าและชาวบ้านในวัดยังเมตตาให้ผมได้ทานอาหารกลางวันและ อาหารเย็นในวัด และให้ผมได้อาศัยนั่งพักผ่อน อ่านหนังสือ รอคณะเจ้าหน้าที่ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ในวัดได้ แม้หลังเลิกทำงานแล้ว สิ่งที่ผมได้เรียนรู้และถือเป็นบทเรียนสำคัญก็คือ ในการทำงานศึกษา ท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น การสื่อถึงจิตใจ ความเมตตา และความปรารถนาดีของ คนในพื้นที่นับว่ามีความสำคัญมาก เพื่อที่จะทำให้คนในท้องถิ่นและผู้ศึกษามี ความรู้สึกพร้อมและเต็มใจที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถเข้าใจถึงจิตใจ ของคนในท้องถิ่น อันเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่พฤติกรรมและปรากฏการณ์ในท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่ผู้ที่เข้าไปศึกษาท้องถิ่นด้วย สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารด้วยน้ำใจและความปรารถนา ดีย่อมนำไปสู่ความไว้วางใจที่จะแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งเกิด ความผูกพันรักใคร่ นับเป็นการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่จะต้องพึ่งพาอาศัย และมีน้ำใจให้กัน จนสามารถรวมกลุ่มกลายเป็นชุมชนและท้องถิ่นต่อไปได้ ซึ่ง เบื้องหลังของน้ำใจก็คือ “ความเมตตา” นั่นเอง เมื่อนึกย้อนถึงเรื่องเล่าเก่าๆ จึงทำให้เข้าใจว่า การที่ตนเองมีโอกาส ไปช่วยงานในวัดเช่นนี้ ก็คงเหมือนกับคนไทยและคนเอเชียในยุคก่อนที่เดินทาง ไปต่างถิ่นเพื่อค้าขายหรือหาของป่า ซึ่งต้องขออาศัยพักพิงในศาสนสถานซึ่ง เป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่น โดยจะแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ช่วยงานใน ศาสนสถานหรืองานอื่นๆ ในท้องถิ่น โดยเจ้าของถิ่นจะต้อนรับเลี้ยงดูด้วยความ เอื้อเฟื้อ หากมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็จะถามสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ของ แต่ละฝ่าย สิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ ฯลฯ ความเอื้ออาทรเช่นนี้เป็นสิ่งที่จะร้อยรัดคนในท้องถิ่นต่างๆ เข้าด้วย กัน รวมทั้งรักษาและสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน แม้ว่าปัจจุบันความเอื้ออาทร จะห่างหายไปจากสังคมไทย แต่อย่างน้อยครั้งหนึ่งผมก็ได้สัมผัสที่ “ขุนยวม” การแสดงพลังของชาวบ้านในงานเสวนาชุมชนเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ที่ผ่านมา สะท้อนถึงความเข้มแข็งและสำนึกร่วมในท้องถิ่นขุนยวมได้อย่างวิเศษ นับเป็นผลที่งอกงามมาจากคุณธรรม ความเมตตา ความเอื้ออาทรอย่างแท้จริง และเชื่อว่าขุนยวมจะรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ได้อย่างยั่งยืน แม้จะอยู่ในยุคที่ไม่มีใคร สนใจใครเช่นชีวิตคนเมืองในทุกวันนี้ วันใหม่ นิยม

พิพิธภัณฑ์วัดม่วง

ริมน้ำแม่กลอง ในอำเภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ เกิ ด ขึ้ น ตามเจตนารมณ์ ร่ ว มกั น ของมหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรกั บ ชาวบ้ า นม่ ว ง ซึ่ ง ต้ อ งการสร้ า งพิ พิ ธ ภัณฑ์ที่มีความหมายต่อคนท้องถิ่น โดยเน้นให้เห็น ถึ ง ชี วิ ต วั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาของชาวบ้ า นที ่ สั่งสมสืบทอดต่อมา นับตั้งแต่เปิดพิพิธภัณฑ์เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ พิพิธภัณฑ์วัดม่วง แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นแม่แบบให้ผู้นำทางปัญญาใน ท้องถิ่ น อื่น และถิ่ น ใกล้ เ คีย งได้คิดและดำเนิ น การ

จัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ขึน้ ในทีต่ า่ งๆ อีกหลายแห่ง ทว่าวันนี้พิพิธภัณฑ์วัดม่วงที่เคยคึกคัก มีผู้คนไปเยี่ยมชมดูงานไม่ขาด กลับเงียบเหงาและ อ่อนแรงจนน่าวิตก หลังจากพระครูวรธรรมเสนีย์ หรือพระอาจารย์ลม เจ้าอาวาสวัดม่วง ซึ่งเป็นศูนย์ รวมจิตใจของชาวบ้านและเป็นกำลังสำคัญในการ ผลั ก ดั น สร้ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ ม รณภาพลง

คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย ศิ ล ปากรและคณะคณาจารย์ ผู้ ร่ ว มโครงการสร้ า ง พิพิธภัณฑ์วัดม่วงมาแต่แรก จึงมีความเป็นห่วงและ หาวิธีการที่จะฟื้นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มิให้กลายเป็น ภาพนิ่ ง แต่ มี ก ารเคลื่ อ นไหว มี ชี วิ ต ชี ว าด้ ว ย กิ จ กรรมทั้ ง ทางวั ฒ นธรรมและที่ จ ะก่ อ ผลทาง เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคนท้องถิ่นเองมีส่วน ร่วมและมีสำนึกร่วมอย่างเต็มภาคภูมิ แต่ ก ารจะสร้ า งให้ เ กิ ด สำนึ ก ร่ ว มและมี ส่วนร่วมพลิกฟื้นให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตได้นั้น อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิฯ และ หนึ่งในผู้ร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์วัดม่วงมาแต่ต้น เห็น ว่ า ต้ อ งอาศั ย กระบวนการอบรมประวั ติ ศ าสตร์ ท้องถิ่นให้กับเยาวชนและชาวบ้านที่สนใจ ซึ่งการ จะอบรมได้ก็จำเป็นต้องมีการสร้างประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นของคนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่นเองเสียก่อน “ขบวนการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือการ คืนประวัติศาสตร์ให้กับคน คืนสังคมให้คนท้องถิ่น เ พ ร า ะ หั ว ใ จ ข อ ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ท้ อ ง ถิ่ น คื อ ประวัติศาสตร์สังคม ไม่ใช่ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมแบบของรัฐ แต่เห็นชีวิต วั ฒ นธรรม เห็ น คน เห็ น เจ้ า ของวั ฒ นธรรม เป็ น

วั ฒ นธรรมที่ มี ชี วิ ต ซึ่ ง คนนอกไม่ ส ามารถสร้ า ง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ เพียงแต่มาช่วยแนะนำ คนในต้องสร้างเป็นหลัก เพราะสามารถเห็นความ สัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดการเกี่ยวดองกันของผู้คน จากข้างใน รู้ว่าใครเป็นใคร รู้ว่าอยู่อย่างไร อะไรดี ไม่ ดี และหากจะเปลี่ ย นแปลง สามารถเลื อ กและ ตัดสินด้วยตัวเอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงให้พลัง แก่คนท้องถิ่น ให้ความมั่นใจ ซึ่งจะเกิดอำนาจใน การต่อรองขึ้น แต่ไม่ใช่การเผชิญหน้า ประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น ก็ คื อ ฐานในการ พั ฒ นาจากข้ า งใน เป็ น ฐานของความรู้ โดยใช้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น เป็ น คลั ง และเป็ น เวที ใ นการ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เชื่อมโยงร่วมกันระหว่าง คนในท้องถิ่นกับคนจากภายนอก พร้อมๆ ไปกับ การอบรม ถ่ายทอดความรู้นี้จากคนรุ่นเก่ามายังคน รุ่นใหม่อย่างสืบเนื่อง ก็จะทำให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และสามารถสร้างความเป็น ปึกแผ่นและความมั่นคงทางสังคมให้แก่คนท้องถิ่น ได้” ดังนั้นโครงการฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์วัดม่วง ด้วยแนวทางการอบรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงเกิด ขึ้น โดยหมวดประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร รับผิดชอบดำเนินงาน

มี รศ.สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ ผู้เคยทำข้อมูลวิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง เมื่อครั้งสร้าง พิพิธภัณฑ์วัดม่วงเป็นหัวหน้าโครงการฯ การอบรมประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น ครั้ ง นี้ แม้เริ่มต้นจะมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์วัดม่วง หากแต่ในการดำเนินงาน คณะทำงานได้ขยายการ ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งลุ่มน้ำแม่กลองตอน ล่างนับแต่บ้านโป่งถึงบ้านโพธาราม ด้วยเห็นถึง ความสัม พั น ธ์อ ย่ างใกล้ ชิดของผู้ คน ทั้ง กลุ่ ม ไทย มอญ ลาว รวมทั้ ง บริ เ วณนี้ ไ ด้เ กิ ดพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ขึ้ น หลายแห่งในช่วงระยะหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน พิพิธภัณฑ์วัดคงคา ราม และอีกหลายวัดหลายแห่งในพื้นที่ก็กำลังสนใจ จะจัดทำพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างจึงน่าจะเป็นกระบวนการ

เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจ ความภู มิ ใ จ และเกิดเครือข่ายที่จะร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เข้ม แข็ง ตลอดจนเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้งานพิพิธภัณฑ์และการท่องเที่ยวเป็นไปได้อย่างยั่งยืน ด้วย เมื่ อ แหล่ ง ใดแหล่ ง หนึ่ ง ประสบปั ญ หายั ง สามารถ อุดหนุนช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนการทำงานหรือ บุคลากรระหว่างกันได้ โครงการอบรม “ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง : กระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนา” ระยะที่ ๑ จึงเริ่ม ดำเนิ น การตั้ ง แต่ เ ดื อ นตุ ล าคม ๒๕๕๑ ถึ ง เดื อ น กันยายน ๒๕๕๒ โดยขั้นแรกได้นำนักศึกษาหมวด ประวั ติ ศ าสตร์ คณะโบราณคดี ลงพื้ น ที่ ส ำรวจ ข้ อ มู ล ทุ ก ด้ า นในพื้ น ที่ เพื่ อ ค้ น หาศั ก ยภาพของ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ตลอดจนประสานงานกับ ทุ ก ภาคส่ ว นในพื้ น ที่ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจและ ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่าง “คนใน กับ “คนนอก” ซึง่ ปรากฏว่าตลอดสองฝัง่ น้ำแม่กลอง ตั้ ง แต่ บ้ า นโป่ ง -โพธาราม ยั ง มี เ รื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ค วามทรงจำ กิ จ กรรม ประเพณี

ภูมปิ ญ ั ญา และความเชือ่ ของคนกลุม่ ต่าง ๆ อยูม่ าก อีกทั้งยังคงยึดถือสืบเนื่องถึงปัจจุบันอย่างเหนียวแน่น หากแต่ความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ค่อยตื่นตัวนัก อาจด้วยอยู่ใน พื้นที่และรับรู้อยู่แล้วจนไม่เห็นความสำคัญ เหตุนี้คณะทำงานจึงจุดประกายด้วยการ จั ด กิ จ กรรมอบรม “การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ท้องถิ่นโดยคนใน” ให้กับครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ ใน พื้นที่วัดม่วงเพื่อเป็นการนำร่อง ปรากฏว่าได้รับ ความสนใจอย่างมาก และหลังจากการอบรม ผู้เข้า ร่วมได้เสนอประเด็นเพื่อทำวิจัยด้านประวัติศาสตร์ ท้ อ งถิ่ น ด้ ว ยตนเองถึ ง ๑๑ หั ว ข้ อ อาทิ วิ ถี ชี วิ ต วัฒนธรรมมอญจากจิตรกรรมฝาผนัง นาฏศิลป์ของ ชาวมอญที่บ้านม่วง อาหารมอญในพิธีกรรม เพลง กล่อมเด็กมอญ เป็นต้น ซึ่งโครงการย่อยนี้จะได้มี การอบรมในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ยั ง จั ด ให้ พ ระสงฆ์ ชาวบ้ า น

ผู้นำชุมชน ครูอาจารย์ จากหลายพื้นที่บนสองฝั่ง


หมายเหตุจากผู้อ่าน น้ ำ แม่ ก ลองไปศึ ก ษาดู ง านเพื่ อ แลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ วิธีการจัดการพิพิธภัณฑ์และพื้นที่ ทางวัฒนธรรม ณ ชุมชนบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุ ง เทพฯ ซึ่ ง เป็ น ชุ ม ชนชาวมอญเก่ า แก่ ที่ ตั้ ง ถิ่ น ฐานในพื้ น ที่ ป่ า ชายเลนของเขตบางขุ น เที ย น

ซึ่งยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของ กลุ่ ม ชนมอญไว้ ไ ด้ ท่ า มกลางการเปลี่ ย นแปลง

และความเจริญของสัง คมเมื องหลวงในวั น ที่ ๒๐ กันยายน ที่ผ่านมา จากนั้นในวันที่ ๒๒ กันยายน ได้มีการ ประชุมร่วมระหว่างชาวบ้านทุกภาคส่วนของสองฝั่ง น้ำแม่กลองตอนล่างกับคณะทำงานและที่ปรึกษา โครงการฯ ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านม่วง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันอีกครั้งถึง ความสำคัญของการศึกษาประวัติ ศาสตร์ท้องถิ่ น โดยคนท้องถิ่นเพื่อคนท้องถิ่น และเมื่อได้องค์ความ รู้ร่วมกันแล้ว จะมีวิธีการจัดการนำไปสู่การพัฒนา ท้องถิ่นของตนอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่ ง การประชุ ม ครั้ ง นี้ อาจารย์ ศ รี ศั ก ร วัลลิโภดม ที่ปรึกษาโครงการฯ นอกจากจะย้ำให้ เห็นถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เน้น คน กับพื้นที่ทางวัฒนธรรม มิใช่พื้นที่ทางการบริหาร การปกครองแบบราชการที่ เ ป็ น หมู่ บ้ า น ตำบล อำเภอ ก็จะทำให้เข้าใจและบูรณาการเรื่องราวของ ท้องถิ่นได้ มากกว่าจะติดในเรื่องเส้นแบ่งเขตหรือ งบประมาณ อาจารย์อธิบายถึงการรับรู้ในเรื่องพื้นที่ วัฒนธรรมซึ่งใช้ร่วมกันของคนภายในนั้นสามารถ แบ่ ง ออกเป็ น ๓ ระดั บ คื อ ระดั บ แรกมี พื้ น ที่ ขอบเขตกว้างขวาง ถูกกำหนดเป็นภูมิวัฒนธรรม หรือ Cultural landscape อันหมายถึงลักษณะภูมิ ประเทศทางภูมิศาสตร์ในอาณาบริเวณใดบริเวณ หนึ่ ง ซึ่ ง สั ม พั น ธ์ กั บ การตั้ ง ถิ่ น ฐานของผู้ ค นใน ท้องถิ่นจนเป็นที่รู้จักร่วมกัน และทราบว่าพื้นที่ตรง ไหนถูกกำหนดใช้เป็นอะไร เช่น เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็ น ที่ ส าธารณะ ฯลฯ เกิ ด ชื่ อ เรี ย กสถานที่ นั้ น ๆ หรื อ สร้ า งตำนานอธิ บ ายความเป็ น มาและความ หมายเพื่อสื่อสารถึงกัน ดังเช่นเมื่อกล่าวถึง “คน

แม่กลอง” ไม่เป็นของใครหรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง แต่หมายถึงคนทั้งลุ่มน้ำแม่กลองที่มีสำนึกร่วมกัน ระดับถัดมา คือ นิเวศวัฒนธรรม หรือ Cultural ecology ซึ่งจะจำกัดพื้นที่ลงมาในท้องถิ่น ที่ ผู้ ค นหลายกลุ่ ม หรื อ หลายชาติ พั น ธุ์ เ ข้ า มาตั้ ง ถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นเมืองเกิดขึ้น นิเวศวัฒนธรรม ทำให้แลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับ ธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งนี่คือ หั ว ใจของความเป็ น มนุ ษ ย์ หั ว ใจของการเข้ า ใจ วัฒนธรรม เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่คนในพื้นที่ นี้สร้างขึ้นก็เพื่อมีชีวิตรอดร่วมกัน ส่วนระดับเล็ก ที่สุด คือ ชุมชนบ้านเดียวกัน ซึ่งแลเห็นคนและวิถี ชีวิตในการอยู่ร่วมกัน ที่เรียกว่า ชีวิตวัฒนธรรม หรือ Cultural life ดังนั้นการจะศึกษาหรือเข้าใจ สังคมไทย จึงไม่สามารถหยุดที่ชุมชนหรือหมู่บ้าน เดียวได้ แต่ต้องมองท้องถิ่น

พร้ อ มกั น นี้ อ าจารย์ ศ รี ศั ก รยั ง สรุ ป การ ทั ศ นศึ ก ษาชุ ม ชนบางกระดี่ ว่ า แม้ บ างกระดี่ จ ะมี พิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ แต่ยังขาดการ ให้ ค วามหมายที่ ดี ทว่ า กลั บ มี จุ ด เด่ น ที่ ผู้ ใ ห้ ค ำ อธิ บ ายบอกเล่ า ข้ อ มู ล ทำได้ อ ย่ า งมี ชี วิ ต ชี ว า สามารถใช้ตัวหมู่บ้านทั้งหมดเป็นพิพิธภัณฑ์กลาง แจ้งที่บอกเล่าเรื่องราว วัฒนธรรม ความเชื่อของ ชุมชนมอญบางกระดี่ได้ สะท้อนให้เห็นถึงการมี ส่วนร่วมของคนในชุมชนและการสืบทอดความรู้ให้ กั บ เยาวชน จนเกิ ด ความภู มิ ใ จและมั่ น ใจในการ ถ่ายทอดสู่คนภายนอก ก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ บอกเล่าความทรงจำบางมิติของคนลุ่มน้ำแม่กลอง ตอนล่าง อาจารย์สุภาภรณ์ได้เสนอแนวทางการ พัฒนาท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างซึ่งน่าจะเกิด ขึ้นในอนาคต หลังจากมีการรวบรวมองค์ความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมนำ ไปพิจารณา ซึ่งแนวทางการพัฒนาดังกล่าวเกิดขึ้น จากการนำองค์ความรู้ทุกมิติมาเป็นพื้นฐานในการ วางแผน เพื่ อ นำไปสู่ ก ารเข้ า ใจและเข้ า ถึ ง ผู้ ค น ท้องถิ่น ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชนอย่าง สมดุลและยั่งยืน คณะผู้ทำการศึกษาจึงเสนอ “การท่องเที่ ย วแบบยั่ ง ยื น ” เป็ น กลยุ ท ธ์ ห นึ่ ง ในการพั ฒ นา ด้ ว ยการจั ด เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วเรี ย นรู้ เ ชิ ง ประวั ติ ศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาขึ้นถึง ๗ เส้นทาง

โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับภาพรวม คือ มองทั้ ง บริ เ วณสองฝั่ ง ตั้ ง แต่ บ้ า นโป่ ง ถึ ง โพธาราม ระดับท้องถิ่นย่อย คื อ การพั ฒ นาแต่ ล ะจุ ด แต่ ล ะ ชุมชน โดยมีความสัมพันธ์เชือ่ มโยงกันเป็นเครือข่าย ระดับเจาะลึกที่บ้านม่วง ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบและ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาแบบเครือข่าย แต่ต้อง พัฒนาภายในบ้านม่วงรองรับก่อน ซึ่งในการนี้ได้มี การวางแผนปรั บ ปรุ ง กลุ่ ม อาคารเรี ย นเก่ า ของ โรงเรียนวัดม่วงและอาคารโรงครัวเก่าให้เป็นแหล่ง เรี ย นรู้ แหล่ ง ทำกิ จ กรรม และแหล่ ง ขายอาหาร สินค้าหัตถกรรมของคนในท้องถิ่นร่วมกัน โดยคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ได้ประสาน ขอความช่วยเหลือจากอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัญชา ชุ่มเกษร มาพิจารณา ปรับปรุงอาคารทั้งสองหลัง อย่างไรก็ตาม อาจารย์สุภาภรณ์เน้นย้ำ ว่ า แนวทางการพั ฒ นาที่ น ำเสนอนั้ น เป็ น เรื่ อ งที่ คนในท้ อ งถิ่ น หรื อ ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งต้ อ งเป็ น ผู้ พิจารณา เพราะกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องมี การรวมตัวเป็นเครือข่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ในการพั ฒ นาที่ จ ะนำไปสู่ ป ระโยชน์ แ ละความสุ ข โดยรวมของคนท้ อ งถิ่ น ทั้ ง สองฝั่ ง ลุ่ ม น้ ำ แม่ ก ลอง ตอนล่าง สุดารา สุจฉายา

ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ่ า ยทอดความทรงจำเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต วัฒนธรรมของคนลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง

ธวัชพงษ์ มอญดะ คนหนุ่มที่มีความสนใจ ในประวัติศาสตร์ วั ฒ นธรรม ของชุ ม ชน ตนเอง เป็ น วิ ท ยากรบอกเล่ า ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ความเชื่อของชาวมอญบางกระดี่

“วัดคูเต่า” กับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูอย่างมีส่วนร่วม

วัดคูเต่า ตั้งอยู่ริมคลองอู่ตะเภา อำเภอบางกล่ำ จังหวัด

สงขลา เป็ น วั ด เก่ า แก่ ที่ มี ป ระวั ติ ค วามเป็ น มาตั้ ง แต่ ส มั ย อยุธยา ภายในอาณาบริเวณของวัดประกอบไปด้วยอาคาร เสนาสนะต่ า งๆ ถื อ เป็ น มรดกทางสถาปั ต ยกรรมและ ศิลปกรรมอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะอุโบสถวัดคูเต่าได้รับ การขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรแล้ว

วัดคูเต่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ แต่เดิมวัดตั้งอยู่ที่บ้านคลองหิน ต่อมาจึง

ได้ย้ายเสนาสนะมาสร้างขึ้นริมคลองอู่ตะเภา วัดคูเต่าได้รับพระราชทานวิสุง-

คามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ และเปิดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๓ นอกจากนี้มีการตั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษาของทางราชการอยู่ ในบริเวณวัดด้วย ส่วนประวัติศาสตร์จากตำนานและการบอกเล่าของคนในชุมชนสรุป ได้ว่า เดิมทีวัดคูเต่ามีชื่อว่า “วัดสระเต่า” เนื่องจากมีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในบริเวณสระน้ำของวัด แต่เดิมวัดสระเต่าตั้งอยู่ตรงข้ามกับป่าช้าหนองหิน เหตุที่ต้องย้ายสถานที่ตั้งวัดเพราะบริเวณเดิมเป็นที่ราบลุ่มมักมีน้ำหลากและ ท่วมวัดในฤดูฝน พระภิกษุและชาวบ้านต่างได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก สภาพแวดล้ อ มของบริ เ วณนี้ มี ช าวจี น ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ มี อ าชี พ ในการทำสวนส้ ม ต้องการไม้เพื่อเป็นวัสดุอุปกรณ์สำหรับค้ำยันต้นส้ม และเพราะดินน้ำดี ผลส้ม ลูกใหญ่จึงต้องใช้ไม้ค้ำจำนวนมาก แต่เมื่อทำสวนส้มมากขึ้น ไม้ที่นำมาใช้ค้ำ ยันหมดลง ชาวบ้านจึงต้องเดินทางไปตัดไม้เสม็ดที่บริเวณทุ่งเกาะไหล การ เดินทางและขนไม้ยากลำบาก บางคนเล่าว่าตอนขากลับมักเจอสัตว์ร้ายต่างๆ และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เคยมี “เสือสมิง” ทำร้ายสามเณรมรณภาพ จาก ปัญหาต่างๆ ทำให้ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจขุดคูทอดยาวไปยังสถานที่ตั้งวัดใน ปัจจุบัน เต่าที่เคยอยู่ที่วัดเดิมก็เคลื่อนย้ายมาอยู่ที่คูใหม่ และเมื่อสร้างวัดขึ้นใหม่ จึงให้ชื่อว่า “วัดคูเต่า” ผลพลอยได้จากการขุดคูเต่านอกจากจะได้ที่ตั้งวัดใหม่ที่น้ำไม่ท่วม เหมือนวัดเดิมแล้ว ยังทำให้เกิดภูมิทัศน์ที่งดงามขึ้นอีกด้วย ดังข้อมูลที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็ น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ภาณุ รั ง ษี ส ว่ า งวงศ์ ทรงบั น ทึ ก ไว้ เ มื่ อ เสด็ จ มาถึ ง เมื อ ง สงขลาในปี ร.ศ. ๑๒๖ ในพระนิพนธ์เรื่อง “ชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่างๆ ภาค ๗” ว่า “...ที่ฝั่งตะวันออกท้ายเกาะยอทางตะวันตกเฉียงใต้ มีคลองแห่งหนึ่ง ชื่อคลองอู่ตะเภา ปากคลองกว้างประมาณ ๔ วา น้ำลึกประมาณ ๒ ศอก ในลำ คลอง ๒ ฟาก มีต้นไม้เป็นชายเฟือย ต้นเหงือกปลาหมอ ปรงไข่ เป็นต้น ในลำ คลองน้ำลึกประมาณ ๕-๖ ศอก คลองลดเลี้ยวไปประมาณ ๑๐๐ เส้นเศษ มีสวน มะพร้าว สวนผลไม้ต่างๆ มีสวนส้มเป็นสวนวิเศษตลอดไปทั้ง ๒ ฟากคลอง ประมาณ ๒๐ สวนเศษ เป็นส้มจุกซึ่งชาวกรุงเรียกส้มตรังกานู สวนเหล่านี้เป็น สวนไทยสักส่วนหนึ่ง สวนจีนสัก ๒ ส่วน มีบ้านเรือนตั้งประจำอยู่ที่สวนเป็นอัน มาก ในคลองระหว่างสวนส้มนั้น มีวัดแห่งหนึ่งชื่อวัดสระเต่า มีศาลาที่พัก ๒ หลัง มีพระสงฆ์ ๑๗ รูป...” อี กสิ่ ง หนึ่ ง ที่ ต ามมาจากการขุ ดคูก็ คือ ตลาดน้ ำ คูเ ต่ า ซึ่ ง ได้รั บ การ ตกทอดมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน ตลาดน้ำในยุคแรกๆ ราวปี พ.ศ. ๒๒๙๙ ถือว่ามี

ความเจริญรุ่งเรืองในระดับหนึ่ง และรุ่งเรืองสูงสุดในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑๒๕๐๕ ซึ่งมีพระครูสุคนธศีลาจาร (หลวงพ่อหอม ปุญฺญาโน) เป็นเจ้าอาวาส

ถื อ เป็ น ศู น ย์ ก ลางตลาดน้ ำ ที่ ใ หญ่ เ ป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆ ของจั ง หวั ด สงขลา แต่ ใ น ปัจจุบันตลาดได้ถูกย้ายขึ้นบกเป็นตลาดริมน้ำแล้ว ข้อความในตอนต้นได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ ความสมบูรณ์ และ ความงามในอดีตของวัดคูเต่าและพื้นที่โดยรอบ จนประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เริ่ม มีการใช้รถยนต์ในการคมนาคมมากขึ้น การค้าขายในตลาดน้ำคูเต่าเริ่มซบเซา ลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่มากนักในปัจจุบัน อาคารในวัดบางหลัง

ก็ไม่ได้ใช้งาน ขาดการดูแลรักษา เนื่องจากศรัทธาที่ลดลง รวมถึงการปิดตัวลง ของโรงเรียนในพื้นที่ เนื่องจากค่านิยมที่เปลี่ยนไป ทำให้คุณค่าทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลดน้อยลง สถาบันอาศรมศิลป์ ได้มีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาภาคสนามในบริเวณ ลุ่มทะเลสาบสงขลาเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่ในครั้งนั้นทำให้พวก เราได้พบกับสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมที่งดงามของวัดคูเต่า แม้ว่าใน ปัจจุบันอาคารบางหลังจะมีสภาพเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาก็ตาม หลังจากได้ สอบถามความคิดเห็นพบว่า ชุมชนต้องการดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซมอาคาร ต่างๆ ในพื้นที่วัดคูเต่าไว้เพื่อให้อาคารคงอยู่และใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อให้ลูก หลานได้ดูได้ศึกษาถึงอดีตของท้องถิ่นตนเอง แต่เนื่องจากทางวัดขาดความรู้ ความชำนาญในการอนุรักษ์อย่างถูกต้อง จึงยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในขณะ เดียวกันทางสถาบันฯ มีความสนใจที่จะนำโครงการนี้มาใช้เป็นงานเรียน เพื่อให้ นักศึกษาได้เรียนรู้งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน และให้ งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเป็นเสมือนเครื่องมือในการฟื้นฟูสิ่งดีๆ ที่มีในชุมชน โดยไม่ปิดกั้นโอกาสทางเศรษฐกิจใดๆ หากการพัฒนานั้นไม่ส่งผลเสียต่อคุณค่า ที่มีอยู่ในพื้นที่ ทางสถาบันฯ และแกนนำชุมชนเห็นว่าควรดำเนินการซ่อมแซมศาลา หลังแรกก่อน เนื่องจากมีอายุถึง ๘๖ ปี และอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ซึ่งศาลา หลังนี้มีคุณค่าทางด้านจิตใจต่อคนท้องถิ่น เพราะเป็นอาคารเรียนหลังแรกใน ท้องถิ่นและเป็นพื้นที่รองรับงานประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถี ชีวิต จากแนวทางและเป้าหมายดังกล่าว ในช่วง ๘ เดือนที่ผ่านมา ทาง สถาบันฯ และชุมชนจึงดำเนินการโดยร่วมกับหลายกิจกรรม โดยเริ่มต้นจาก (๑) การอยู่กับชาวชุมชนอย่างเป็นลูกเป็นหลาน (๒) ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ของ พื้นที่ ประวัติศาสตร์ของวัด และคุณค่าของชุมชน โดยศึกษาจากการบอกเล่า ของชาวบ้าน (๓) การร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานบุญวันว่าง เพื่อกระตุ้นให้ เกิดการหวนระลึกถึงสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ (๔) การเชิญผู้รู้ในด้านต่างๆ มาพูด


ในความเคลื่อนไหว คุยในเวทีชาวบ้าน (๕) เปิดเวทีพูดคุยกับชาวชุมชน เพื่อกำหนดรูปแบบในการซ่อมแซมศาลา และ (๖) ร่วมกับแกนนำทำเสื้อขายเพื่อหาทุนเริ่มต้นในการ ซ่อมแซมศาลาและเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังได้จัด “ค่าย การเขียนแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น วัดคูเต่า” เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายงานอนุรักษ์ให้เกิดขึ้นใน ท้องถิ่น โดยประสานงานไปยังสถาบันการศึกษา ท้ อ งถิ่ น ๒ แห่ ง ที่ มี ก ารเรี ย นการสอนสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ได้แก่ โรงเรียนสงขลาเทคโนโลยีและ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลศรี วิ ชั ย นอก

จากนี้ทางมูลนิธิสถาบันทักษิณคดีก็ได้เข้ามาร่วม เป็ น เครื อ ข่ า ยโดยให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ า นการ ประสานงานและงบประมาณบางส่วน กิจกรรมนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๑๔ วัน จาก คำสะท้อนของผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ผจู้ ดั ได้ทราบถึงประโยชน์ของ VERNADOC ว่า ในระยะ เวลาเพียงสองสัปดาห์ พวกเราสามารถร่วมกันสร้าง งานศิลปะ สามารถปลูกจิตสำนึกและสร้างเครือข่าย ในงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน เกิดความ กลมเกลี ย วและความสนุ ก สนานร่ ว มกั น จากคน

ที่ ไ ม่ เ คยรู้ จั ก กั น มาก่ อ น และยั ง ได้ ฝึ ก สติ สมาธิ

ในระหว่างการเขียนงาน มากไปกว่านั้น งานเขียน แบบทุ ก แผ่ น ก็ ยั ง ใช้ เ ป็ น หลั ก ฐานและบั น ทึ ก ทาง ประวัติศาสตร์ของอาคารก่อนทำการบูรณะได้อีก ด้ ว ย นอกจากนี้ ท างสถาบั น การศึ ก ษาท้ อ งถิ่ น ทั้งสองแห่งก็ได้เห็นถึงคุณค่า และจะนำกิจกรรมนี้ ไปดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นกิจกรรมประจำปี ด้วย อย่างไรก็ตาม โครงการการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูวัดคูเต่ายังอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ และยังจะต้องเกิดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอีก หากผู้ใด

สนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือต้องการเสนอความเห็นที่ เป็นประโยชน์ต่อโครงการ สามารถแสดงความเห็น ได้ที่สถาบันอาศรมศิลป์ E-mail: arch@arsomsilp. in.th หรือที่อาจารย์ธิป ศรีสกุลไชยรัก โทรศัพท์

๐-๒๘๖๗-๐๙๐๓-๔ ต่อ ๑๒๓ ธิป ศรีสกุลไชยรัก อาจารย์ประจำหลักสูตร สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันอาศรมศิลป์ ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก คุณคุณาพร ไชยโรจน์ และ ชาวชุมชนวัดคูเต่าทุกท่าน, ภาพเก่าจาก คุณอเนก นาวิกมูล, ผศ.สุดจิต สนั่นไหว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, คุณสมเกียรติ อรัญดร, มูลนิธิสถาบันทักษิณคดี, อาจารย์กานต์ เพียรเจริญ โรงเรียนสงขลาเทคโนโลยี, อาจารย์จเร สุวรรณชาติ และอาจารย์จามิกร มะลิซ้อน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และน้องๆ นักศึกษาทุกคนที่ ได้ทำสิ่งดีๆ ร่วมกัน

วันรัฐธรรมนูญกับหลักหมุด จุดเริ่มต้นประชาธิปไตย

ประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นของชาวบ้าน บรรยากาศการเสวนา ณ วัดโพธาราม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

หลั ก หมุ ด ณ พระบรมรู ป ทรงม้ า (ภาพโดย ภาณุพงษ์ ไชยคง)

“ณ ที่นี่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ” ข้อความข้างต้นปรากฏอยู่บนหมุดซึ่งฝังเป็นสัญลักษณ์ให้ระลึกถึงพื้นที่ที่พระยาพหลพลพยุหเสนา

หัวหน้าคณะราษฎร ยืนอ่านแถลงการณ์ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๗๔ เวลา ๖.๐๐ น. ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมากว่า ๗๗ ปี และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น ๑๘ ฉบับ ประชาชนมีความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญที่พัฒนามาสู่ความเป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ ผ่านการทำประชามติ หรือประชาชนมีอิสรเสรีที่จะแสดงความคิดเห็นในระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็ม ที่ เป็นการให้โอกาสประชาชนทุกชนชั้น ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา แสดงความคิดเห็นโดยไม่ปิดกั้น แม้ใน ช่วงที่รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อ ความสงบเรียบร้อยในการบริหารประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ภายหลัง การอภิวัฒน์เพียง ๓ วัน โดยมีลายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงในท้ายพระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามว่า “ชั่วคราว” ในวันที่ประกาศใช้ธรรมนูญฉบับนี้ การ เฉลิมฉลองจึงมีเพียงผู้ร่วมก่อการร่วมดื่มแชมเปญฉลองความสำเร็จเท่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวถูกยกเลิกเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งร่างโดยคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญ ๙ ท่าน โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยเป็นประธาน จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา วันที่ ๑๐ ธันวาคมถือเป็นวันฉลองรัฐธรรมนูญซึ่งมีการจัด งานอย่างยิ่งใหญ่ เริ่มจากจัดงานเพียงสามวันจนถึงครึ่งเดือน เป็นงานเฉลิมฉลองที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อให้ ราษฎรรำลึกถึงการที่ประเทศก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันมีเพียงกิจกรรมของหน่วยงาน ของรัฐและข้าราชการ ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมให้ประชาชนเข้าร่วมเหมือนในอดีต ในโอกาสที่วันรัฐธรรมนูญเวียนมาอีกครั้งในเดือนธันวาคม จึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า จะมี ประชาชนชาวไทยสักกี่มากน้อยที่จดจำเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยได้ โดยเริ่มจากวันที่ ๒๔ มิ ถุ น ายน ๒๔๗๕ ซึ่ ง มี ห ลั ก หมุ ด เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของประชาธิ ป ไตย จนถึ ง การสร้ า งอนุ ส าวรี ย์ ประชาธิปไตยบนถนนราชดำเนิน วันรัฐธรรมนูญจึงควรเป็นวันที่ประชาชนชาวไทยเห็นถึงความสำคัญของประชาธิปไตย ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แทนที่จะลดความสำคัญเป็นเพียงวัน หยุด มิฉะนั้นวันหนึ่งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยคงกลายเป็นเพียงวงเวียน เหมือนกับหลักหมุดที่ถูก

ลืมเลือน... กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล นักวิจัยอิสระ

ประชาพิจารณ์ “ของแท้”

คนขุนยวมกับประวัติศาสตร์และ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ วัดโพธาราม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนขุนยวมกับมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาในหัวข้อ เรื่อง “คนขุนยวมกับประวัติศาสตร์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ท้องถิ่น” ถือเป็นการประชุมแบบประชาพิจารณ์ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นมีส่วนร่วม เสนอแนะความเห็นต่อโครงการพัฒนาของรัฐอย่างแท้จริง โดยถือแนวทางแลก เปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ แนวคิดและทิศทางการพัฒนาของอำเภอขุนยวมบน ฐานวัฒนธรรมของตนเอง และถือว่ายังไม่ใช่ข้อยุติ การช่วงชิงพื้นที่ความทรงจำของชุมชน จากข่าวตามสื่อต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน ขุนยวมกับเทศบาลเกี่ยวกับการใช้ที่ดินสาธารณะของชุมชนเพื่อก่อสร้างอนุสรณ์ สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเพื่อพัฒนาให้ขุนยวมเป็น ที่พักของชาวญี่ปุ่นที่พ้นจากวัยทำงานแล้ว ทางเทศบาลเชื่อว่า “Little Japan” ในขุ น ยวมจะกลายเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ ส ำคั ญ และดึ ง ดู ด คนญี่ ปุ่ น ให้ เ ข้ า มา

ใช้จ่ายในขุนยวมได้ดีที่สุด การเน้นเรื่องราวของการท่องเที่ยวจากการเป็นพื้นที่ค่ายทหารสมัย สงครามโลกครั้งที่ ๒ และเน้นการเป็นที่พักอาศัยของคนญี่ปุ่น โดยการสร้างและ ออกแบบอาคารอนุสรณ์สถานให้มีการสื่อสารในประเด็นดังกล่าว และใช้สวน ซากุระขนาดใหญ่ พื้นที่ทั้งหมดนั้นถูกจัดวางกินอาณาบริเวณพื้นที่สาธารณะ ของชุมชนคือสนามกีฬา และบริเวณที่เคยใช้ในการแห่ศพพระผู้ใหญ่ของเมือง ขุนยวม ในขณะที่ชาวบ้านหลายคนได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ที่บ่งบอก ความเป็นคนขุนยวมว่า ควรเป็นสิ่งที่ชาวบ้านได้ร่วมกันขบคิดและตกผลึกแล้ว มิใช่แค่เพียงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้กำหนด เริ่มตั้งแต่ชื่ออาคารจัดแสดงที่ต้อง บ่ ง บอกความเป็ น มาของคนขุ น ยวม โดยมี ผู้ เ สนอชื่ อ หลากหลาย เช่ น พิพิธภัณฑ์คนขุนยวม ศูนย์วัฒนธรรมพื้นเมือง ศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่ารวมใจ

เป็นต้น พร้อมทั้งเสนอแนะการจัดแสดงภายในอาคารให้มีกิจกรรมที่แสดงถึง ความเป็นท้องถิ่นที่มิใช่แค่คนไทใหญ่ แต่ต้องแบ่งพื้นที่ให้กับทุกกลุ่มชนของคน ขุนยวม ทั้งคนม้ง คนไต คนเมือง และคนกะเหรี่ยง รวมทั้งเรื่องราวความเป็นมา ของแต่ละกลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อยกับชาวบ้านทำให้ทราบว่า ชุมชนขุนยวมมีสิ่ง สำคัญและน่าสนใจหลายด้าน เริ่มจากวิถีการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน ภาษา ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงถึงความหลากหลายของกลุ่มชน มิใช่แค่ความเป็น “ไทใหญ่” แต่ยังมีกลุ่มชนอื่นๆ ทั้งคนเมือง คนปกาเกอะญอ คนม้ง ที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน เช่น งาน

ตานก๋วยสลาก ณ วัดโพธาราม ซึ่งเป็นวัดของคนเมือง ที่ปรากฏภาพคนเมือง คนม้ง คนไต คนปกาเกอะญอ เดินทางมาร่วมงานบุญเดียวกัน เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับอดีตของขุนยวม ทั้งในด้านแหล่งโบราณคดี ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาอันเนิ่นนาน โดยเฉพาะแถบลุ่มน้ำปาย-ขุนยวม มีกลุ่มคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยยุคหิน จนกระทั่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดอีก ครั้งในสมัยอาณาจักรล้านนาที่แสดงว่าเมืองในแถบนี้มีความสำคัญกับอาณาจักร ล้านนาในด้านเศรษฐกิจ เพราะพื้นที่ของเมืองอยู่ในเขตป่า มีทรัพยากรจำพวก ของป่าและแร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำผึ้ง งาช้าง นอแรด เป็นต้น หากขยับเข้ามาใกล้ตัวของคนขุนยวมมากขึ้นที่เกี่ยวข้องกับความ ทรงจำของคนในท้องถิ่น สามารถบ่งบอกได้ว่าขุนยวมมีความสำคัญในหน้า ประวัติศาสตร์ เริ่มจากเป็นเส้นทางการค้าไม้ เมื่อครั้งรัฐไทยเปิดป่าทำสัมปทาน ไม้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนของบริษัทบอมเบย์เบอร์มา จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่า

ผู้แก่หลายท่านทำให้สามารถเชื่อมโยงการทำไม้ การเลี้ยงช้างในชุมชนเพื่อนำ ไปชักลาก พร้อมทั้งการว่าจ้างแรงงานคนไตที่บ้านต่อแพ อำเภอขุนยวม เพื่อ ข้ า มไปทำไม้ ที่ ฝั่ ง พม่ า การทำไม้ ต้ อ งอาศั ย ช้ า งเป็ น ตั ว ชั ก ลากไม้ จึ ง ทำให้ เจ้าของกิจการต้องเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นคนไต แต่หากเป็น ควาญที่ มี ห น้ า ที่ เ ลี้ ย งหรื อ จั บ ช้ า งมาขายให้ กั บ คนไต ส่ ว นมากเป็ น ตองสู กะเหรี่ยง ลัวะ การทำไม้ในอดีตจะล่องซุงไปตามแม่น้ำสาละวินเพื่อนำไปขายที่


ย่างกุ้งและมะละแหม่ง นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น อย่างการค้าวัวต่างที่มักทำกันในช่วงหลังฤดูกาล เก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ่อค้า วัวต่างจะรวมกลุ่มให้ได้วัวประมาณ ๑๐๐ ตัว แล้ว ออกเดินทางไปซื้อสินค้าที่สำคัญ เช่น เกลือและ ปลาทูเค็มที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นประจำทุกปี ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นต้องการเดิน ทั พ เข้ า สู่ ป ระเทศพม่ า โดยใช้ เ ส้ น ทางเชี ย งใหม่ บ้านห้วยต้นนุ่น จึงตั้งค่ายไว้ตลอดเส้นทาง ศาลา วัด ศาลากลางบ้าน ในอำเภอขุนยวมกลายเป็นที่ตั้ง ของหน่วยทหาร เช่น วัดขุ่มเป็นหน่วยสื่อสารกลาง วัดม่วยต่อเป็นหน่วยพยาบาล วัดต่อแพเป็นสถาน พยาบาล ในปัจจุบันยังปรากฏร่องรอยชิ้นส่วนซาก รถยนต์และสุสานทหารญี่ปุ่น จากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเสวนาที่ เป็นชาวขุนยวมเกี่ยวกับอนุสรณ์สถานนั้น ชาวบ้าน ส่ ว นหนึ่ ง นอกจากไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ สถานที่ ส ร้ า ง อนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ในพื้นที่สนาม กีฬาของชุมชนแล้ว หลายคนมีความเห็นว่าความ ทรงจำของคนขุนยวมไม่ใช่มีเพียงแค่ “ทหารญี่ปุ่น” แต่ความเป็นคนขุนยวมมีทั้งวัฒนธรรมในแบบฉบับ ของตนเอง และมีประวัติศาสตร์ชุมชนที่ยาวนาน หลายชั่วคน ความทรงจำที่ แ ตกต่ า งกั น ของคน ท้ อ งถิ่ น และผู้ มี อ ำนาจทางการเมื อ งในอำเภอ ขุนยวมจึงกลายเป็นประเด็นความเห็นที่แตกต่าง กัน เพราะเลือกที่จะใช้ความทรงจำต่างกัน “แต่ความทรงจำนั้นสัมพันธ์กับเรื่องของ “อำนาจ” ที่ เ ป็ น ผลมาจากการเลื อ กสรรของผู้ มี อำนาจเพื่อเป็นตัวแทน เป็นพื้นที่ของการต่อสู้ใน การนิยามความหมายและสร้างปฏิบัติการทางสังคม แบบหนึ่ ง เพื่ อ ค้ ำ จุ น ความทรงจำนั้ น ให้ ค งอยู่ ” (Pierre Nora, Realms of memory, New York : Columbia University Press ,1996.) ดังนั้นหากสังคมจะดำรงอย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืนก็ต้องมีการถกเถียงและเลือกสรรความ ทรงจำซึ่ ง เป็ น ธรรมชาติ แ ละเป็ น อำนาจของการ เรียกร้องจากคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนในท้องถิ่น การ เสวนาครั้งนี้ถือเป็นการจุดประกายทางความคิดที่ สำคั ญ ของคนขุ น ยวม เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจว่ า ตนเองคือใคร และหาแนวทางในการจัดการชุมชน จาก “คนใน” ก่อนก้าวเดินต่อไปในอนาคต ปกรณ์ คงสวัสดิ์

๑๐

งานวันเล็ก-ประไพ รำลึก ครั้งที่ ๗

การอบรมเรื่อง

“พหุลักษณ์ทางสังคม/ วัฒนธรรมในเมืองไทย” การอบรมเรื่อง “พหุลักษณ์ทางสังคม/วัฒนธรรมในเมืองไทย” ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๓ พฤศจิกายน

๒๕๕๒ ณ ค่ า ยริ ม ขอบฟ้ า และเมื อ งโบราณ สมุ ท รปราการ โดยมี นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ าก มหาวิ ท ยาลั ย ในภู มิ ภ าคต่ า งๆ อาทิ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี ๑๑ คน มหาวิ ท ยาลั ย ทั ก ษิ ณ ๒ คน ซึ่ ง เป็ น คนมุ ส ลิ ม และพุ ท ธจากจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ นั ก ศึ ก ษาจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๕ คน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๖ คน และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ๒ คน เป็น โอกาสหนึ่งที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จะได้สืบต่อเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเมืองโบราณ เพื่อเผยแพร่ แนวคิดและความเข้าใจถึงลักษณะของสังคมพหุลักษณ์ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่อยู่ภายใต้ระบบการเมืองเดียวกันในสยามประเทศหรือประเทศไทยทุกวันนี้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อสร้างความเข้าใจในตนเอง เรียนรู้ในผู้อื่น และส่งเสริมความคิด ทางวัฒนธรรมและความเชื่อแบบสายกลางที่ไม่สุดโต่ง เพื่อที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขและ สร้างสังคมไทยในส่วนรวมให้มีความสุขกว่าที่เป็นอยู่ เวลา ๓ วัน ๒ คืนดูเหมือนจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว การอบรมเริ่มต้นในบรรยากาศเย็นสบาย บริเวณศาลาแปดเหลี่ยมภายในเมืองโบราณ อาคารโล่งโปร่งริมน้ำเป็นพื้นที่พูดคุยระหว่างที่ปรึกษา มูลนิธิฯ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และนักศึกษาที่มีพื้นเพแตกต่างตั้งแต่เหนือสุดจรดใต้สุดของประเทศ อาจารย์ ศรี ศักรซึ่ ง เป็น วิ ทยากรหลั กได้อธิบ ายวางพื้น ฐานถึ ง ความเข้ าใจเรื่ องโครงสร้ างสัง คมและ ธรรมชาติในการอยู่อาศัยของมนุษย์ในกลุ่มสังคมและความสัมพันธ์ของมนุษย์กับระบบนิเวศ ธรรมชาติ แวดล้อม ระบบความเชื่อ และระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง นอกจากอาจารย์ศรีศักรแล้ว มีวิทยากรที่กรุณาให้ความรู้เพิ่มเติมอีก ๓ ท่าน คือ คุณสุรพงษ์ กองจั น ทึ ก อนุ ก รรมาธิ ก ารพิ จ ารณาศึ ก ษาปั ญ หาชนกลุ่ ม น้ อ ยและกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ใ นประเทศไทย กรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา คุณสนิทสุดา เอกชัย จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และคุณ

สุ ร จิ ต ชิ ร เวทย์ สมาชิ ก วุ ฒิ ส ภาจั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม ซึ่ ง แต่ ล ะท่ า นนำเอาประสบการณ์ จ ากการ สังเกตการณ์ในธรรมชาติรอบตัวและการทำงานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมมาอย่างยาวนานมา ถ่ายทอดให้ฟังอย่างลึกซึ้ง และเป็นเนื้อหาที่คงหาไม่ได้ง่ายๆ จากห้องเรียนในมหาวิทยาลัย การอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในลักษณะพหุลักษณ์ ตั้งแต่สังคมแรกเริ่มจนถึงสังคม ในยุคปัจจุบันที่อยู่ภายใต้รัฐชาติสมัยใหม่ ที่ยังคงความเป็นกลุ่มต่างๆ ไว้โดยการธำรงอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมและประเพณีในสังคมของตนเองมากขึ้น และนิยามความหมายของ “มาตุภูมิ” ซึ่งมีความ หมายเดียวกับความเป็นบ้านเกิดเมืองนอน “สยามประเทศ” นั้นคือบ้านเกิดเมืองนอน ความรักใน ถิ่นฐานเป็นสิ่งที่ช่วยดำรงรักษาความเป็นกลุ่มไว้ท่ามกลางสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ความรักถิ่นฐานหรือมาตุภูมิท่ามกลางความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมในยุคนี้ มี ความหมายในทิศทางเดียวกับ “ชาตินิยม” ในทางบวก เป็นสิ่งจำเป็นในรัฐชาติสมัยใหม่ที่ทำให้เกิด ความเข้าใจในความเป็นพหุลักษณ์ของผู้คนที่มีวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนรูปแบบการดำเนิน ชีวิตที่แตกต่างกันอย่างเข้าใจ และมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถูก เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นการรังเกียจคำว่า “ชาตินิยม” ดังที่นักวิชาการสมัยใหม่พยายามปลูก ฝังว่า ชาตินิยมนั้นมีแต่เรื่องลบเพียงด้านเดียว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน หากเข้าใจพื้นฐานความเป็น กลุ่ม ความเป็นสังคม มาแต่แรกเริ่มก็จะทราบว่า เราควรใช้ชาตินิยมในพหุวัฒนธรรมอย่างไร เพื่อให้ เกิดความรู้สึกร่วมของคนในพื้นที่ทางการเมืองเดียวกัน ที่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และ เข้าใจถึงสังคมและวัฒนธรรมของคนในกลุ่มอื่น และรู้ว่าสิทธิของคนทุกคนเป็นสิ่งที่เท่าเทียมกัน และนี่ คือแนวคิดพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะกลายเป็นปัจเจกนิยมที่ถูกย่อยสลายไปกับสังคมโลกาภิวัตน์ ไร้กลุ่ม ไร้

ถิ่นฐานบ้านเกิด และไร้สภาพของความเป็นมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และนี่คือจุดเริ่มต้นของความล่มสลายของสังคมและการเมืองในการเป็นชาติ ที่ หมายถึงพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของความเป็นกลุ่มเดียวกันที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ในความรักที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตน ซึ่งหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า “ท้องถิ่น นิยม” ก็ได้ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องทำให้เกิดความรักและมีความสำนึกอย่างเข้าใจ โดยไม่หลงจนดูถูกเหยียดหยามคนอื่นๆ ที่ไม่เข้ากลุ่มเข้าพวกกับตน กดดันให้ กลุ่มคนที่ไม่เหมือนตนออกไปอยู่ชายขอบของสังคม ไม่มีสิทธิเท่าเทียมสมาชิก คนอื่นๆ ในสังคม ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในกลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ รสนิยม ทางเพศ ความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากการพู ดคุย ทางทฤษฎีแ ละการบอกเล่ าประสบการณ์ แ ล้ ว

นักศึกษายังมีโอกาสนั่งรถรางและขี่จักรยานชมเมืองโบราณ โดยมีตัวแทนของ แต่ละภาคพูดถึงอัตลักษณ์หรือลักษณะทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน เช่นที่ พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช เขาพระวิหาร วิหารเชียงของ หรือพระที่นั่ง สรรเพชญปราสาท ในช่วงกลางคืนเป็นเวทีแสดงความคิดจากโจทย์ที่คณะทำงานของ มูลนิธิฯ ตั้งประเด็นให้ทดลองนำเสนอ คือ ให้เสนอประเด็นของความขัดแย้ง หรือความเข้าใจในเรื่องความต่างของกลุ่มคน ความคิด แนวทางการประพฤติ ทางความเชื่อ การเมือง หรือการดำเนินชีวิตประจำวันที่อยากจะศึกษา โดยผ่าน ประสบการณ์ของตนเองในท้องถิ่นหรือสังคมที่ตนอยู่ นักศึกษามีโอกาสได้เสนอ ข้อมูล ความคิดเห็น การตอบโต้ และความเห็นต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาใน

วงล้อมของความคิดที่หลากหลายจากนักศึกษาที่มีภูมิหลังทางชาติพันธุ์ ความ เชื่อ ตลอดจนการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ทุกคนมีโอกาสพูดและฟังอย่างเท่าเทียม สิ่งที่สำคัญที่สุดของการ อบรมในครั้งนี้คือ การสนทนาหรือ Dialogue ซึ่งไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนกัน แต่สามารถโต้แย้งกันด้วยเหตุผลที่อยู่บนฐานของการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน เพราะความเข้าใจในสังคมพหุลักษณ์นั้น ผลสรุปไม่ใช่การหาข้อยุติเพื่อทำให้ สังคมสงบสุข แต่จะต้องพยายามสร้างสังคมที่มีการรับฟังจุดยืนของผู้อื่นและ มองเห็นความแตกต่าง เป็นความก้าวหน้าและความงดงามที่ไม่สมควรจะถูก ทำลาย ในขณะเดียวกันก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพื่อหาจุดร่วมในการอยู่ ร่วมกันของผู้คนที่มีความแตกต่างนั่นเอง นักศึกษาจากภาคอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในภาคใต้สนใจรับฟังข้อมูลของ เพื่อนจากปัตตานีด้วยความประหลาดใจ และน่าจะเป็นครั้งแรกที่ได้รับรู้และ เข้าใจตัวตนที่จริงแท้ของเพื่อนๆ ที่อยู่ห่างไกลในสภาพแวดล้อมอันตรายของ สามจังหวัดภาคใต้ ทุกคนได้เริ่มทำความเข้าใจในความเป็นมุสลิมในวิถีชีวิตที่ แตกต่าง ในความเป็นมุสลิมที่มีความแตกต่างของกลุ่ม และเริ่มรู้ว่ากระแสของ ความเป็นมุสลิมนั้นมีความเคลื่อนไหว สับสน หลากหลาย และศาสนาที่สัมพันธ์ กับการเมืองทำให้เกิดความซับซ้อนในปัญหาของภาคใต้อย่างไร ชีวิตของนัก ศึกษาคนพุทธหรือคนมุสลิมจากท้องถิ่นอื่นๆ ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมของชีวิตนักศึกษามุสลิมที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ในมหาวิทยาลัย ส่วนนักศึกษาจากอีสานบางคนที่พ่อเป็นทหารและลงไปประจำการ ในชายแดนภาคใต้ก็บอกเล่าความรู้สึกและข้อมูลที่คนในพื้นที่อาจจะไม่เคยรับ รู้มาก่อน ความเห็นของผู้ที่รักชาติใกล้ชายแดนศรีสะเกษเป็นอย่างไร ปัญหา ของการอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในมุกดาหาร หรือแม้แต่ความเชื่อของคน รุ่นใหม่ที่พวกเขายึดถือว่าเปรียบเสมือนศาสนาที่เข้ากับ Life style ของคนรุ่น ใหม่มากที่สุดเป็นอย่างไร นักศึกษาจากภาคเหนือก็เป็นกลุ่มที่เห็นปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อม การอยู่ร่วมกันกับชุมชนคนเมืองเชียงใหม่ของชาวเขาที่ไร้ที่ทำกิน และปัญหา ของการไร้ตัวตนของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในเมืองเชียงใหม่ที่กลายเป็นเมือง เพราะถูกรุกที่ไปหมดแล้ว ตลอดจนความต่างในเรื่องเพศสภาพระหว่างหญิง ชาย และการเข้ามาของกลุ่มคนจากภาคอีสานในบางท้องถิ่นที่ปรับตัวเข้ากับ ชุมชนดั้งเดิมอย่างไร การอบรมครั้ ง นี้ น อกจากจะได้ รั บ ทราบฐานข้ อ มู ล จากน้ อ งๆ นั ก ศึกษาอย่างหลากหลายแล้ว ยังได้เห็นการสนทนาเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน อย่ า งสุ ภ าพและมี ก ารรั บ ฟั ง ผู้ อื่ น สมดั ง เจตนารมณ์ เ บื้ อ งต้ น ของมู ล นิ ธิ ฯ

ที่ต้องการให้เกิดการขบคิดในฐานความรู้ของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งตำราหรือ ทฤษฎีหนักๆ ที่เข้าใจยาก ความเข้าใจเรื่องสังคมพหุลักษณ์ไม่ใช่เรื่องยาก หากเพียงเปิดใจรับ ฟังผู้อื่นและพยายามคิดตามสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับ อ่ า นประสบการณ์ จ ากท้ อ งถิ่ น ต่ า งๆ รวมถึ ง แนวคิ ด พื้ น ฐานที่ ต้ อ งเข้ า ใจ พัฒนาการของสังคมแต่ละยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ น้องๆ นักศึกษามีการบ้านที่จะต้องส่งในอีก ๓ เดือนข้างหน้า คือการ กลับไปเขียนบทความที่ผ่านการเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์และสอบถาม เพื่อบอกเล่าประเด็นของพหุลักษณ์นิยมทั้งทางบวกและลบในสังคมของตนเอง ซึ่งทางมูลนิธิฯ จะจัดพิมพ์ในภายหลัง รวมทั้งหากมีประเด็นที่น่านำเสนอจาก ผลงานเหล่านี้ ก็คงต้องเชิญน้องๆ กลับมาเสนอบทความในเชิงวิชาการกันอีก สักครั้ง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ชมพระที่นั่ง สรรเพชญปราสาท

สนทนา เรียนรู้ รับฟัง ข้อมูลจากเพื่อนๆ ในท้องถิ่นต่างๆ

ถ่ายภาพร่วมกับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

๑๑


ข่าวประชาสัมพันธ์ เปิดรับบทความในคอลัมน์ใหม่

บรรยายสาธารณะครัง้ สุดท้าย ของปี พ.ศ. ๒๕๕๒

ศรีโคตรบูร : บ้านเมืองสองฝั่งโขง ก่อนสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม

“หมายเหตุจากผู้อ่าน”

โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

วันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชัน้ ๒ อาคารพัฒนาธุรกิจโบรกเกอร์ (ใกล้ห้องอาหารดรรชนี เชิงสะพานวันชาติ) แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

ศรีโคตรบูร คือ กลุ่มบ้านเมืองในรัฐโบราณสองฝั่งโขงจาก

ตำนานอุรงั คธาตุ มีหลักฐานการตัง้ ถิน่ ฐานและชุมชนโบราณ มากมายที่ อ ยู่ ท างฝั่ ง ลาวในที่ ร าบลุ่ ม น้ ำ งึ ม และริ ม น้ ำ โขง และทางฝั่งไทยตั้งแต่เขตอุดรธานี หนองคาย สกลนคร และ นครพนม เป็นรากฐานของบ้านเมืองก่อนที่จะเกิดขึ้นเป็น เมืองเวียงจันและเวียงคำทางฝัง่ ลาว และก่อนทีพ่ ระเจ้าฟ้างุม้ จะสถาปนาเวียงจันในพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ พบแนวคิดใหม่และหลักฐานใหม่ๆ ที่ให้ข้อคิด เกี่ ย วกั บ บ้ า นเมื อ งสองฝั่ ง โขงในช่ ว งก่ อ นพุ ท ธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙

เนื่องจากจดหมายข่าวฉบับที่ ๘๐ เป็นต้นไป ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้เพิ่ม คอลัมน์ใหม่โดยใช้ชื่อว่า “หมายเหตุจากผู้อ่าน” เปิดโอกาสให้กับผู้อ่านที่มีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ หรือเหตุการณ์ร่วม สมัย สามารถนำเสนอแนวคิด มุมมอง หรือประสบการณ์ของท่านได้ โดยเขียนเป็นบทความ ความยาวไม่เกิน ๓ หน้ากระดาษ A4 พร้อมรูปภาพประกอบ ส่งมาที่ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. ๑๐๒๐๐ หรือ E-mail: lek_prapai@yahoo. com เพื่อจะได้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นสาธารณประโยชน์ต่อไป

แก้ไขคำผิด

ในบทความเรือ่ ง “คนลาวในหมูค่ นเมือง : การอพยพของชาวอีสานในพืน้ ทีบ่ า้ นปางมดแดง ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา” ซึง่ ตีพมิ พ์ในจดหมายข่าวมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๐ กันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๒ มีคำผิดสองแห่ง ซึง่ ขอแก้ไขดังนี้ ๑. ชื่อบทความในหน้า ๔ แก้จาก “วังขอนแดง” เป็น “ปางมดแดง” ๒. คำอธิบายภาพในหน้า ๔ แก้จาก “วังขอนแดง” เป็น “ปางมดแดง”

CD และ DVD บรรยายสาธารณะ สามารถเปิดฟังพร้อมภาพประกอบได้จากโปรแกรม Window Media Player หรือโปรแกรม Winamp ท่านใดสนใจสามารถส่งแสตมป์ดวงละ ๓ บาท จำนวน ๒๐ ดวง (ต่อ ๑ แผ่น) เป็น การแลกเปลี่ยน โดยส่งมาตามที่อยู่ของมูลนิธิฯ หรือซื้อได้ที่สำนักงานของมูลนิธิฯ ในราคา แผ่นละ ๖๐ บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ หรือ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘

จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ราย ๒ เดือน

มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสารจากการ ดำเนินงานของมูลนิธิฯ และยินดีเป็นเวทีตีพิมพ์บทความ ประสบการณ์ ทรรศนะ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ จากหน่วยงาน ด้ า นสั ง คมวั ฒ นธรรมและผู้ ส นใจทั่ ว ไป อั น จะนำไปสู่ เครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา การสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้เรื่องเมืองไทยให้คงอยู่ตลอดไป หากต้องการบอกรับเป็นสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ กรุณาส่งชื่อที่อยู่พร้อมแสดมป์ ๖ ดวง ต่อปี มายังที่อยู่ด้านล่าง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ รอบรู้ วิริยะพันธุ์ กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วิลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร เศรษฐพงษ์ จงสงวน กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ตวงพร วิชญพงษ์กุล นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง ปกรณ์ คงสวัสดิ์ ภาณุพงษ์ ไชยคง นิลุบล ศรีอารีย์

๑๒


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.