จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๒ ประจำเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

Page 1

ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๘๒ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

จดหมายข่าว

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิ​ิริยะพันธุ์ LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION

เผยแพร่ความรู้เรื่องสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก

ร อ ง โ ล ก า ภิ วั ต น์ ต้ า น โ ล ก า วิ บั ติ

ศรีศักร วัลลิโภดม

ต้อ งขจัดโลกียวิสัย

เขาช้างผาด่าน ผาแดง ยามเช้าที่เมืองแพร่

ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นวิทยากรนำคณะท่องเที่ยวเพื่อทางเลือก

ส า ร บั​ั ญ

ของบริษัทสยามมิชลิน กรุ๊ป จำกัด อันมีผู้ใหญ่ของเครือซีเมนต์ไทยร่วมเดินทางไปด้วยเช่นทุกปี ไปที่จังหวัดแพร่และน่าน เพื่อเรียนรู้และสัมผัสสิ่งที่เป็นศิลปวัฒนธรรมและชีวิตวัฒนธรรมของคนเมืองแพร่และคนเมืองน่าน โดยทั่วไป การไปเที่ยวนั้นมักมุ่งแต่เรื่องศิลปวัฒนธรรมแต่โสดเดียว ซึ่งเป็นการแลเห็นและสัมผัสเพียงรูปแบบที่ สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจแต่เพียงอย่างเดียว หาให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นความหมายและสัญลักษณ์ที่เป็นเรื่องลึกลงไปถึง ชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนและสังคมไม่ การเลือกเดินทางไปเมืองน่านในครั้งนี้ได้แลเห็นทั้งศิลปวัฒนธรรมและชีวิตวัฒนธรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปของ ผู้คนปัจจุบันในแอ่งแพร่และแอ่งน่าน แอ่งแพร่เป็นแอ่ง [Basin] ของลำน้ำยม ในขณะที่แอ่งน่านเป็นแอ่งของลำน้ำน่าน อัน เปิดประเด็น.................................................................. ๑ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี : ต่อรองโลกาภิวัตน์ ต่อต้านโลกาวิบัติ ต้องขจัดโลกียวิสัย การขับเคลื่อนภาคประชาชนคนปราณบุรี.................... ๙ บันทึกจากท้องถิ่น........................................................ ๔ สามชุกกับรางวัลจากยูเนสโก : จามบานี : มุสลิมดั้งเดิมแห่งเวียดนาม ความสำเร็จบนทางแพร่ง........................................ ๑๐ จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น....................................... ๖ “สรุป” บรรยายสาธารณะมูลนิธิเล็ก-ประไพ พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยกับการพลิกฟื้น วิริยะพันธุ์ และเสวนาร้านริมขอบฟ้า....................... ๑๑ ตำรายาโบราณที่ “อภัยภูเบศร” บรรยายสาธารณะ : “พม่าเสียเมือง” เมืองพม่าหลัง ข่าว กิจกรรม และความเคลื่อนไหว ถูกยึดครองในยุคอาณานิคม มุมมองคนพม่าในไทย “อย่าลืม...โพธาราม” ชมรมของคนท้องถิ่น เสวนาร้านริมขอบฟ้า : “การท่องเที่ยวภาคประชาชน” กับการเคลื่อนไหวภาคสังคม....................................... ๘ ข่​่าวประชาสัมพันธ์................................................... ๑๒


อนุสาวรีย์เจ้าเมืองล้าที่บ้านดอนมูล ตั้งอยู่ริมน้ำน่าน ชาวบ้านจัดเรือน แบบไทลื้อให้เป็นตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ที่แสดงวิถีชีวิตแบบคนไทลื้อ

พระธาตุแช่แห้งที่เมืองน่าน

เป็นแควสำคัญที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง การเดินทางไปน่านต้องผ่านแอ่งแพร่ก่อน จึงต้องทำความรู้จัก กับแอ่งแพร่ในเวลาสั้นๆ ที่บริเวณวัดพระธาตุช่อแฮซึ่งคนล้านนาและ

คนไทยปัจจุบันเห็นว่าเป็นพระธาตุประจำปีขาลหรือปีเสือ พระธาตุช่อแฮ เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ของเมืองแพร่ มีพัฒนาการมาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลังกาวงศ์ทมี่ าจากสุโขทัย ในทางศิลปวัฒนธรรม พระธาตุชอ่ แฮคือ สิ่งสวยงามและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมืองที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทาง ศิลปกรรมและอารยธรรมที่คนนอกอยากมาเห็นและกราบไหว้ และคนใน พากันมาทำพิธกี รรมกราบไหว้และฉลองตามฤดูกาลทีก่ ำหนดในรอบปี ในปัจจุบันนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมือง แพร่จนมีการบูรณะและพัฒนาเพือ่ การท่องเทีย่ วของ ททท. อันเป็นโลกียวิสัย จนกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของจังหวัด แพร่ โดยเฉพาะบริเวณเขาอันเป็นเขตพุทธาวาสที่ภายในประดิษฐาน พระมหาสถูปที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ และเจดีย์อันเป็นพระวิหารได้ถูก รายล้ อ มไปด้ ว ยอาคารสมั ย ใหม่ ที่ เ ป็ น กุ ฏิ พ ระสงฆ์ ที่ เ ข้ า กั น ไม่ ไ ด้ กั บ บรรยากาศของความขรึ ม ขลั ง ศรั ท ธา ในขณะที่ เ บื้ อ งล่ า งก็ ก ลายเป็ น แหล่งตลาดค้าขายสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวที่ทำให้เกิดป่าคอนกรีตขึ้นมา แทนที่ความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ที่เคยมีมาแต่อดีต อันสภาพแวดล้อม และสิ่งก่อสร้างใหม่ดังกล่าวในปัจจุบันสร้างขึ้นเพื่อขานรับการท่องเที่ยว แบบล้างผลาญ [Mass tourism] ของ ททท. เช่นนี้ คือสิ่งที่บดบังและ ทำลายความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมของคนแพร่แต่ โบราณจนหมดสิ้น ผู้ที่เสียหายก็คือคนท้องถิ่น [Local stakeholder] ที่ ต้องเผชิญกับการล่มสลายทางสังคมแบบประเพณีที่มีมาช้านาน ข้ า พเจ้ า เรี ย นรู้ จ ากผู้ รู้ ข องเมื อ งแพร่ แ ละจากหลั ก ฐานทาง ประวั ติ ศ าสตร์ โ บราณคดี แ ละชาติ พั น ธุ์ ว่ า ตำแหน่ ง ที่ ตั้ ง ของพระธาตุ

ช่อแฮนั้นเป็นจุดสำคัญทางสังคมวัฒนธรรมของเมืองแพร่ เป็นบริเวณเชิง เขาที่ลาดลงมาจากทิวเขาทางตะวันออกของแอ่งแพร่ที่สัมพันธ์กับเขา ช้างผาด่านและผาแดง อันเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นต้นน้ำของลำห้วยที่ไหล

ผ่ า นที่ ร าบลุ่ ม เชิ ง เขาอั น เป็ น ที่ ตั้ ง ของวั ด พระธาตุ ช่ อ แฮลงสู่ ที่ ร าบลุ่ ม

สองฝั่งลำน้ำยม อันเป็นที่ตั้งของเมืองแพร่ ลำน้ำลำห้วยเหล่านี้คือต้นน้ำ ที่ ท ำให้ เ กิ ด การทำฝายและขุ ด เหมื อ งหล่ อ เลี้ ย งพื้ น ที่ ร าบลุ่ ม เพื่ อ การ เกษตรกรรมและเพื่อการมีน้ำกินน้ำใช้ของคนเมืองแพร่ทางฝั่งตะวันออก ของลำน้ำยม ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เมืองแพร่แต่เดิมตั้งอยู่ ณ บริเวณ พระธาตุช่อแฮ อันเป็นบริเวณที่คนจากที่สูงคือพวกลัวะซึ่งเป็นชนเผ่า ดั้งเดิมเคลื่อนย้ายลงมารวมกับกลุ่มคนไทยและลาวที่เป็นคนในที่ลุ่ม รู้จัก การชลประทานแบบเหมืองฝาย การผสมผสานของคนจากที่สูงและคน จากที่ลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นจากการมี ศาลขุนลัวะอ้ายก้อม อยู่หน้าดอย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุช่อแฮ สมัยก่อนบริเวณบันไดขึ้นสู่พระวิหาร บนดอยที่อยู่หน้าพระธาตุนั้นเป็นลานกว้าง มีศาลขุนลัวะอ้ายก้อมอยู่ ข้างๆ หันหน้าลงสู่ที่ราบลุ่มทางตะวันตกเฉียงเหนือและแลเห็นเขาช้าง ผาด่านและผาแดงอันเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นต้นน้ำแต่ไกล ลานกว้างนี้ เป็นแหล่งชุมนุมของผู้คนเมืองแพร่เผ่าต่างๆ ที่มาประกอบพิธีกรรมใน การไหว้พระบรมธาตุ แต่ปัจจุบันทางวัดและทางจังหวัดทำถนนเข้ามาให้ เป็นลานจอดรถสำหรับคนขึ้นไปเที่ยวไหว้พระธาตุ เลยไม่ไยดีกับศาลขุน ลัวะอ้ายก้อมที่ในอดีตคือแหล่งของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลพระบรมธาตุ และคนเมืองแพร่ การเกิดเมืองแพร่บนฝั่งน้ำยมที่มีการสร้างกำแพงเมืองและขุด คูเมืองอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการเคลื่อนย้าย ของผู้คนมาบริเวณชุมชนเก่าที่พระธาตุช่อแฮลงมาตามลำน้ำและเหมือง ฝาย เป็นผลมาจากการเรียนรู้ในการจัดการร่วมกันของการสร้างบ้าน แปงเมืองอย่างชัดเจน เพราะการจัดการในเรื่องการชลประทานเหมือง ฝายนั้น ทำให้สามารถควบคุมการตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัยบนที่ราบลุ่มที่ น้ำท่วมถึงได้ นั่นคือไม่เพียงแต่จะตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ สามารถทำการเพาะปลูกในพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงได้ดี แต่ยังสามารถ ควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณที่น้ำเอ่อท่วมในบริเวณที่ตั้ง เมื อ งได้ ดั ง เห็ น ได้ จ ากการดำรงอยู่ ข องเวี ย งแพร่ ที่ มี ก ำแพงดิ น เป็ น

กำแพงเมืองแบบที่ไม่ก่ออิฐ มีใบเสมารับทางปืน มีป้อมปราการแบบ ตะวันตกเช่นเดียวกับเวียงร่วมสมัยในที่อื่นๆ เหตุที่กำแพงเวียงแพร่ไม่ เปลี่ยนแปลงก็เพราะยังคงทำหน้าที่ในการป้องกันน้ำท่วมเมืองได้อย่าง ที่เคยเป็นมาแต่อดีต เพราะฉะนั้นการมาที่พระธาตุช่อแฮได้แลเห็นตำแหน่งที่ตั้งและ ภูมิประเทศ ตลอดจนการเรียนรู้ประวัติความเป็นมานั้นจะทำให้เข้าใจถึง กระบวนการสร้างบ้านแปงเมืองของเมืองแพร่ ที่เกิดจากการเคลื่อนย้าย ของกลุ่มชนเผ่าลัวะบนที่สูง บริเวณเทือกดอยช้างผาด่าน ผาแดง ลงสู่ ที่ราบลุ่มบริเวณพระธาตุช่อแฮ ผสมผสานกับกลุ่มชนในที่ราบลุ่มที่มี ความรู้ในเรื่องการสร้างฝายและขุดเหมือง อันเป็นกลไกในการจัดการน้ำ ทั้งเพื่ออุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก ขยายแหล่งที่ทำกิน และแหล่งที่อยู่อาศัยลงสู่ที่ราบลุ่ม จนมีการสร้างเมืองแพร่ริมฝั่งน้ำยมขึ้น ในที่สุด เขาช้างผาด่าน ผาแดง คือภูศักดิ์สิทธิ์อันเป็นแหล่งผีต้นน้ำ ของบรรดาลำน้ำลำห้วยที่ไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม ทำให้เกิดการสร้างฝายและ เหมืองและสร้างบ้านแปงเมืองจากบริเวณพระธาตุช่อแฮมายังเมืองแพร่ เหมืองฝาย คือการจัดการน้ำอันเป็นทรัพยากรร่วมของคนเมืองแพร่ใน อดีตที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งที่ลงมาจากที่สูงและคนจาก ที่ราบซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการขยาย

ที่ทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้น เหมืองฝายเป็นภูมิปัญญาของผู้คนที่มีสำนึกร่วมกันของคน เมืองแพร่ เป็นการจัดการน้ำที่แลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนที่จะ ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหล่า ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ อัน ได้แก่ น้ำ ดิน และสภาพแวดล้อมในลักษณะที่เป็นนิเวศวัฒนธรรมและ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับอำนาจเหนือธรรมชาติในทางศาสนา ผีและ พุทธอันรวมศูนย์อยู่ ณ บริเวณพระธาตุช่อแฮที่เชื่อมโยงระหว่างลำน้ำ ลำห้วยจากเขาศักดิ์สิทธิ์ช้างผาด่านมายังที่ราบลุ่มพระธาตุช่อแฮและ ลงสู่ที่ราบลุ่มริมน้ำยมอันเป็นที่ตั้งของเมืองแพร่ เหมืองฝายเป็นการจัดการน้ำที่เป็นชลประทานราษฎร์ ของผู้คนในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันแอ่งแพร่และบ้านเมืองได้ถูกทำลายจนเกิดภาวะ

น้ำท่วมและดินถล่ม [Landslide] จากการจัดการน้ำและที่ดินของรัฐอัน เป็น ชลประทานหลวง ที่เป็นเทคโนโลยีมาจากภายนอก การจัดการน้ำ แบบชลประทานหลวงคือการข่มขืนธรรมชาติ เป็นการตัดความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับธรรมชาติ คือการขุดคลองชลประทานและทำเขื่อนตัดทาง น้ำที่เป็นลำน้ำลำห้วยแล้วเบนน้ำไปใช้ตามพื้นที่การเพาะปลูกหรือพื้นที่ ทางอุตสาหกรรมของบรรดานายทุนและผู้ประกอบการที่มาจากภายนอก หรือไม่ก็เอาไปกระตุ้นการผลิตแบบละเมิดฤดูกาลธรรมชาติ เช่น การทำ นาปรัง เป็นต้น ในขณะที่การจัดการน้ำแบบชลประทานราษฎร์แบบเหมือง ฝายของคนแพร่และคนล้านนาโดยทั่วไปแต่โบราณนั้น คือการจัดการ ทรัพยากรร่วมของคนท้องถิ่น [Common property] มีความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับคน คือไม่ทำเพื่อปัจเจกบุคคล หากเป็นการทำเพื่อการอยู่ ร่วมกันเป็นกลุ่มทางสังคม มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในเรื่องการทำกิน แหล่งทำกินที่สัมพันธ์กับชุมชนทั้งในระดับบ้านเมือง และมีความสัมพันธ์ กับสิ่งเหนือธรรมชาติทางศาสนาและระบบความเชื่อที่ควบคุมให้คนอยู่ ร่ ว มกั น ทำงานร่ ว มกั น ในกรอบของกติ ก าทางสั ง คม ศี ล ธรรม และ จริยธรรมเพื่อมีชีวิตรอดร่วมกันอย่างราบรื่น แต่ ก ารจั ด การชลประทานหลวงของรั ฐ นั้ น เป็ น การจั ด การ

แบบโลกีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการทางวัตถุที่ไม่มีมิติทางความ

สัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ แม้ แ ต่ น้ อ ย ผลที่ ต ามมาก็ คื อ เมื อ งแพร่ ถู ก ทำลายโดยการทำเกษตร อุตสาหกรรมแบบไม่มีฤดูกาล อย่างเช่นเมื่อสองปีที่แล้วมา พื้นที่ทาง ตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุช่อแฮซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขาจากดอย ศักดิ์สิทธิ์เช่น เขาช้างผาด่าน ผาแดง ถูกโคลนดินถล่ม [Landslide] เรือกสวนไร่นาถูกทำลาย รวมทั้งบ้านช่องเสียหายยับเยิน คนแพร่ในปัจจุบันที่เป็นการผสมผสานของคนรุ่นใหม่ที่เคลื่อน ย้ายจากถิ่นต่างๆ เข้ามาพร้อมกับอำนาจการจัดการแบบเศรษฐกิจการ เมื อ งของรั ฐ คนเหล่ า นี้ คื อ คนที่ คิ ด เป็ น ปั จ เจก ยุ่ ง แต่ เ รื่ อ งวั ต ถุ ที่ เ ป็ น โลกียวิสัย จึงยากที่จะแก้ไขและบูรณาการเศรษฐกิจสังคมให้มีดุลยภาพ ดังเช่นอดีตได้ ยิ่ ง ในกระแสโลกาภิ วั ต น์ ข องปั จ จุ บั น ที่ แ ผ่ โ ครงสร้ า ง เดรัจฉานที่มากับเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่เน้นคนเป็นปัจเจกหรือ เดรัจฉานนั้นคือพาหะสำคัญที่บรรดานักการเมือง นักธุรกิจการ เมือง ข้าราชการและนักวิชาการที่เป็นทาสของระบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบตะวันตก และระหว่างเศรษฐกิจแบบเดรัจฉาน ลงสู่และครอบงำผู้คนในท้องถิ่นนั้น ผลที่ตามมาก็คือโลกาวิบัติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อข้าพเจ้าและคณะเดินทางข้ามเขาจากแอ่งเมืองแพร่มาสู่ แอ่งเมืองน่านก็แลเห็นความแตกต่างระหว่างคนน่านกับคนแพร่ แอ่งน่านและคนน่านยังไม่อยู่ในลักษณะการครอบงำของโลกาภิวัตน์อย่างเมืองแพร่ เพราะแอ่งน่านอยู่ไกลกว่า การคมนาคม เช่น ถนนขนาดใหญ่ แ ละการลงทุ น จากพวกเดรั จ ฉานยั ง ไม่ เ คลื่ อ นเข้ า มา เท่าใดนัก ทำให้เมืองน่านยังเป็นสังคมที่ผู้คนยังมีหัวนอนปลายตีนอยู่ เพราะสืบเนื่องกันมาอย่างมีรากเหง้า ยังมีภูมิปัญญาทางความคิดและ เทคโนโลยี ที่ ยั ง พึ่ ง ตนเองได้ ใ นการทำให้ เ กิ ด การทำมาหากิ น ที่ เ ป็ น เศรษฐกิจแบบพอเพียง ที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คน กับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติในลักษณะที่ต่อรองกับโลกาภิวัตน์อยู่ โลกของคนน่านจึงเป็นโลกของคนที่เป็นมนุษย์ ทั้งในสังคม ชนบทและสังคมเมือง ในสังคมชนบทผู้คนยังมีที่ทำกิน ทำเกษตรแบบ พอเพียง บ้านเรือนแม้จะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ไม่ดูใหม่อย่างฟุ่มเฟือย แบบที่อื่นๆ ในสังคมเมืองยังไม่มีตึกสูงในรูปของคอนโดมิเนียมและบ้าน จัดสรร วัดวาอารามทั้งวัดประจำบ้านและประจำเมืองยังเป็นวัดที่เรียบ ง่าย สะอาด มีการจัดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และสาธารณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ เต็มไปด้วยป่าคอนกรีตที่แออัดแบบวัดในเมืองใหญ่ที่มีพวกขุนนางพระที่ เป็นเจ้าอาวาสเป็นเจ้าของ ข้าพเจ้าแลเห็นสิ่งที่ต่างกันราวฟ้ากับดินระหว่างวัดพระธาตุ แช่แห้งซึ่งเป็นวัดพระบรมธาตุแห่งเมืองน่านกับวัดพระธาตุช่อแฮของ เมืองแพร่ แต่ที่สำคัญเมืองน่านมีการเคลื่อนไหวทางภูมิปัญญาของคนรัก เมื อ งน่ า นทั้ ง คนรุ่ น เก่า และคนรุ่ น ใหม่ ใ นการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาสั ง คม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในภาคประชาชน ที่แตกต่างไปจากกระบวนการ พัฒนาของรัฐ วิธีคิดและกระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม และชี วิ ต วั ฒ นธรรมของคนรั ก เมื อ งน่ า นนั้ น มี ลั ก ษณะเป็ น องค์ ร วมที่ แลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คือไม่ใช่เป็นปัจเจก แต่เป็นการ ร่วมกันของคนในชุมชนท้องถิ่นระดับบ้านและเมืองที่มีสำนึกร่วมในบ้าน เกิดเมืองนอนเดียวกัน ดังเช่นคนในบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา ที่ได้จัดการอนุรักษ์ ลำน้ ำ น่ า นและสภาพแวดล้ อ มในท้ อ งถิ่ น ให้ เ ป็ น ของส่ ว นรวมด้ ว ยภู มิ ปัญญาที่มีมาแต่เดิม ผสมผสานกับแนวคิดและการใช้เทคโนโลยีแบบ


ใหม่ ชาวบ้านดอนมูลและชุมชนใกล้เคียง ล้วนเป็นลูกหลานของคนเมืองล้า อันเป็น คนไทลื้อที่เคลื่อนย้ายมาจากลุ่มน้ำโขงใน แดนประเทศลาว หั น มาพึ่ ง อำนาจเหนื อ ธรรมชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันและการจัดการ ทรัพยากรร่วมกันจากเจ้าหลวงเมืองล้าซึ่ง เป็นผู้นำทางวัฒนธรรม ด้วยการฟื้นฟูศาลผี เมื อ งซึ่ ง เป็ น ศาลมเหสั ก ข์ แ ละการปั้ น รู ป เจ้ า หลวงขึ้ น กราบไหว้ เป็ น ประธานใน พิธีกรรมทางความศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน สร้าง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น และประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น อั น เป็ น ที่ ร วมของความรู้ แ ละภู มิ ปัญญาในการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมร่วม กัน เพื่อให้คนทั้งรุ่นปัจจุบันและรุ่นหลังได้ เรียนรู้รากเหง้าของตนเอง ในขณะเดียวกัน ก็อนุรักษ์วัดวาอารามที่เป็นศิลปกรรมแบบ ไทลื้ อ อั น เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมให้ มี ความงดงามเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องพวกตน อย่างน่าภูมิใจ ทั้งหมดนี้เป็นทั้งการอนุรักษ์ และพัฒนาจากคนใน อันเป็นการดำเนินการ ของภาคประชาชนที่สามารถต่อรองกับการ รุ ก ล้ ำ ท รั พ ย า ก ร แ ล ะ ก า ร พั ฒ น า ท า ง เศรษฐกิจการเมืองที่มาจากภาครัฐได้อย่าง ดียิ่ง การเคลือ่ นไหวจากภาคประชาชน โดยคนในเพื่อประโยชน์ของคนในท้องถิ่น เช่นนี้ คือสิง่ ทีท่ ำให้เมืองน่านกลายเป็นเมือง ที่น่าอยู่และดูเหมือนจะขานรับความสนใจ ของคนนอก โดยเฉพาะจากแดนมิคสัญญีใน กรุ ง เทพฯ ด้ ว ยการโยกย้ า ยถิ่ น ฐานและ สำมะโนครัวมาเป็นคนเมืองน่านกัน ก็ เ ลยอดวิ ต กไม่ ไ ด้ ว่ า ถ้ า ท่ า น เหล่านั้น มาด้วยน้ำใสใจจริงแล้วก็ดีไป แต่ ถ้าหากยังมากับความคิดที่เป็นวัตถุนิยมที่ เป็ น โลกี ย วิ สั ย ดั ง เช่ น คนกรุ ง เทพฯ แล้ ว ก็นับว่า น่าเสียใจสำหรับเมืองน่านทีเดียว

จามบานี : องก์กูรูจากหมู่บ้านวัน ลัม

มุสลิมดั้งเดิม แห่งเวียดนาม

ภาคกลางของเวียดนามเป็นบริเวณที่มีรัฐแรกเริ่มพัฒนาขึ้นจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้ง

อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยรวมเรารู้จักกันในนาม วัฒนธรรมแบบซาหวิ่งห์ [Sa Hyunh Culture] ซึ่งวัตถุ ทางวัฒนธรรมให้อิทธิพลต่อรูปแบบซึ่งคล้ายคลึงแพร่หลายอยู่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งภายในภาคพื้นและหมู่เกาะ ทำให้เห็นว่าผู้คนในวัฒนธรรมซาหวิ่งห์นั้นเป็นกลุ่มชำนาญในการ เดินเรือที่ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์หรือเดินเรือเลียบชายฝั่งเข้ามาในพื้นที่ภาคกลางของ ประเทศไทย และยังใช้เส้นทางเดินทางบกข้ามเทือกเขาเข้ามาสู่อีสานเหนือในวัฒนธรรมแบบบ้าน เชียงและในบริเวณทุ่งกุลา ที่มีร่องรอยของสิ่งของเครื่องประดับและรูปแบบวัฒนธรรมการฝังศพครั้ง ที่สองในยุคเหล็กลงมา หลังจากนั้นบริเวณเทือกเขาและที่สูงในบริเวณภาคกลางของเวียดนามก็เป็นบริเวณที่มี ชุมชนบ้านเมืองที่เราเรียกว่า “จามปา” ในเวลาต่อมา “คนจาม” นั้นจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา ออสโตรนีเซียน ความเป็น “คนจาม” รวมเอากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น กลุ่ม Cham, Rhade, Jarai, Chru, R’glai, K’ho, Sdiang, Hroy, Bahnar, Sedang เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นชาวเขา ในเขตที่สูงและปัจจุบันก็ยังดำรงอยู่ บ้านเมืองของจามปาในระยะแรกตั้งอยู่ในเขตหุบเขาภายใน ไกลชายฝั่งทะเลก่อนที่จะ กลายมาเป็นกลุ่มพ่อค้าที่ใช้การเดินเรือทะเลออกไปไกลในภูมิภาคต่างๆ ทั้งสองฝั่งอารยธรรมคือจีน และอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗-๘ เป็นต้นมา พัฒนาการของบ้านเมืองชาวจามเข้าสู่การเป็น นครรัฐโดยการรับศาสนาฮินดูซงึ่ มีอยูห่ ลายเมืองตัง้ แต่ดานัง (อินทรปุระ) จาเกีย้ ว (สิงหปุระ) อมรปุระ กุยเญิน (วิชยั ) ญาจาง (เกาธระ) ฟานรัง (ปันฑุรงั คะ) ฟานเทียต เมืองทั้งหลายเหล่านี้ล้วนมีศาสนสถานสำคัญอยู่บนภูเขา โดยเฉพาะที่หุบเขาหมี่เซิน [My Son] ใกล้กับดานัง ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนสถานบนภูเขาขนาดใหญ่ ส่วนปราสาทจามทางชายฝั่งซึ่งเป็น เมืองท่าสำคัญทีญ ่ าจางคือปราสาทโปนาคา [Po Nagar Tower] ซึง่ ถือเป็นปราสาทสำคัญของคนจาม อุทิศให้แก่ Yan Po Nagar เทพสตรีผู้เป็นแม่แห่งแผ่นดิน ปราสาทโปนาคานี้มีรูปเคารพสำคัญใน ศาสนาฮินดูทเี่ ป็นศักติของพระศิวะในภาคของมหิศวรมธินหี รือนางทุรคาอยูเ่ หนือประตูปราสาทกลาง นอกจากนี้ยังมีปราสาทต่างๆ ที่อยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ใกล้กับชุมชนที่อยู่เลียบชายฝั่งทะเล อีกหลายแห่งตลอดเรื่อยจนมาถึงแถบนครโฮจิมินห์ โดยที่การสร้างปราสาทบนภูเขาและการนับถือ เทพสตรีถือเป็นแนวคิดที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมในกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นแถบนี้อย่างชัดเจน นอกจากปราสาทจามซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เด่นของบ้านเมืองในอดีต “คนจาม” ยังเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์ใหญ่ในเวียดนามตอนกลางโดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดบิงห์ถ่วนและนิงห์ถ่วน [Binh Thuan, Ninh Thuan] ที่มีคนจามอยู่ราว ๘๖,๐๐๐ คน จากจำนวนคนจามราว ๑๓๐,๐๐๐ คนทั่ว ประเทศเวียดนาม ถือว่าคือลมหายใจที่สืบเนื่องตกทอดมาจากวัฒนธรรมจามปาอย่างน่าสนใจและ อาจจะมากกว่าตัวปราสาทที่เป็นเพียงศาสนสถานด้วยซ้ำ คนจามที่ฟานรังในจังหวัดนิงห์ถ่วน [Ninh Thuan] แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ จามบาลามง [Cham Balamon] และ จามบานี [Cham Bani] ซึ่งมีจำนวน ๒๒ หมู่บ้าน แต่ละกลุ่มแยกกลุ่มบ้าน กันอย่างเด็ดขาด ไม่ยุ่งเกี่ยวกันและไม่นิยมแต่งงานข้ามกลุ่ม ทำให้ผู้คนในแต่ละกลุ่มไม่มีโอกาส เรียนรู้หรือใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กันแต่อย่างใด คนจามกลุ่มใหญ่คือ คนจามบาลามง ที่นับถือพราหมณ์ ๑๕ หมู่บ้านและมีพิธีกรรมทาง ศาสนาโดยใช้พื้นที่ปราสาทโป-กลงกาไร [Po Klong Garai] และปราสาทโปโรเม [Porome] ใน

บันทึกจากท้องถิ่น ท้องถิ่น นับถือกษัตริย์ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นเทพ เช่น กษัตริย์โป-กลงกาไร และกษัตริย์โปโรเมซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจามปาก็กลายเป็นเทพ ในปราสาทที่ชาวจามปัจจุบันเข้าไปทำพิธีกรรมบูชา คนจามมุ ส ลิ ม ที่ ฟ านรั ง นั้ น ทั้ ง น่ า สนใจและน่ า แปลกใจ สำหรับผูท้ รี่ จู้ กั ชุมชนมุสลิมจากท้องถิน่ อืน่ ๆ เพราะความเป็นอิสลาม [Islamization] นัน้ เข้ามามีสว่ นในชีวติ ของคนจามบานีนอ้ ยมาก อิสลามเริ่มเข้ามาในจามปาเมื่อใดไม่แน่ชัด มีการสันนิษฐานว่า นำมาโดยพ่อค้าอาหรับที่เข้ามาแวะพักเมื่อเดินทางผ่านเมืองท่าแถบนี้และ กำหนดอายุจากแผ่นหินทีจ่ ารึกเหนือหลุมฝังศพเมือ่ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในตำนานกล่าวว่า แม้ในระยะเริ่มแรกการมีศาสนาใหม่เข้ามาสู่ กลุ่มคนจามที่เป็นพราหมณ์จะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่กษัตริย์จามก็ทำ ให้ศาสนาอิสลามผสมผสานเข้าสู่ความเป็นท้องถิ่นที่นับถือกษัตริย์เป็น เทพและกำหนดสถานภาพของกลุ่มคนในฐานะต่างๆ โดยยกให้นักบวช หรือกูรูเป็นกลุ่มที่มีสถานภาพสูงเช่นเดียวกับกลุ่มจามที่เป็นพราหมณ์ รวมทั้งมีส่วนร่วมในพิธีฉลองปราสาทโปโรเมตามตำนานร่วมกัน มีการ บูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับชาวจามท้องถิ่นกลุ่มอื่นๆ ซึ่งแตกต่างไปจาก คนมุสลิมที่เคร่งครัด แต่พวกเขาก็ถือว่าตนเองเป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลามและ ถือตนว่าเป็น “อิสลามดั้งเดิม” ที่ต่างจากกลุ่ม “อิสลามใหม่” ซึ่งนำเอาการ ประพฤติปฏิบัติแบบศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่จากแถบสามเหลี่ยมปากแม่ น้ำโขงที่ได้อิทธิพลมาจากคนมาเลย์มุสลิมทางคาบสมุทรมลายูมาอีกทอด หนึ่ง เนื่องจากมีโต๊ะครูผู้สอนศาสนาจากเมืองเจาด๊ก [Chau Doc] ซึ่งอยู่ ติดชายแดนกัมพูชาเข้ามาสอนศาสนาและเสียชีวิตที่ฟานรังเมื่อราว ๕๐ ปี ที่แล้ว ปัจจุบันมีมัสยิดของกลุ่มศาสนาอิสลามในกลุ่มนี้ราว ๔ แห่งใน จังหวัดนิงห์ถ่วน และมีผู้นับถือปฏิบัติอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ราว ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ของคนจามบานี คนจามไม่ ว่ า จะเป็ น กลุ่ ม ใดต่ า งฝั ง ศพไว้ ใ นสถานที่ เ ดี ย วกั น บริเวณเนินทรายขนาดใหญ่ที่มีพื้นทรายละเอียดและสะอาดไม่ไกลจาก ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ฝังศพกันมาแต่ดั้งเดิม โดยแบ่งพื้นที่แยกเป็น กลุ่มจามบาลามงซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด กลุ่มจามบานีซึ่งมีขนาดรองลงมา และกลุ่มจามบานีซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่เคร่งครัดตามหลักศาสนาซึ่งยังมีไม่ มากนัก และกลุ่มจามที่นับถือผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ รูปแบบการฝัง ศพนั้นจะมีหินรูปทรงกลมสองก้อนวางที่หัวและเท้าเช่นเดียวกันทุกกลุ่ม ส่วนหินของคนจามบานีที่เป็นกลุ่มใหม่จะเริ่มมีการเขียนจารึกวันเกิดและ

บริเวณเนินทรายที่ฝังศพของคนจามแห่งเมืองฟานรัง

ตาย รวมทั้งชื่อเป็นภาษาอาหรับ ภาษายาวี และภาษาเวียดนาม คนจามในภาคกลางของเวี ย ดนามไม่ ว่ า จะเป็ น จามบาลามง

หรือจามบานีจะถือลำดับตามสายตระกูลที่นับถือเครือญาติทางฝ่ายแม่ อย่ า งเคร่ ง ครั ด คนจามในเขตภาคกลางยั ง คงถื อ เครื อ ญาติ ส ายแม่ [Matrilineal] และให้สมบัติและพื้นที่ทางฝ่ายหญิงทั้งหมด [Matrilocal]

ลู ก สาวคนเล็ ก ซึ่ ง เป็ น ผู้ ดู แ ลพ่ อ แม่ จ ะได้ บ้ า นและที่ ดิ น เป็ น มรดกแทบ ทัง้ หมด ส่วนฝ่ายชายนัน้ แม้แต่ฝงั ศพก็ยงั กลับไปฝังทีพ่ นื้ ทีท่ างฝ่ายแม่ของ ตน และไม่มสี ทิ ธิใ์ นบ้านเรือนและสมบัตทิ หี่ าไว้ในการแต่งงานแต่อย่างใด คนจามดั้งเดิมที่นับถือพราหมณ์แบบท้องถิ่นไม่มีปัญหาทาง ศาสนากับกลุ่มจามบานีซึ่งเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ทั้งสองกลุ่มนี้ไม่มีส่วนที่ ต้องสัมพันธ์กนั ในชีวติ ประจำวัน ต่างคนต่างอยูใ่ นชุมชนของตนเอง ในกลุ่มนักบวชหรือที่พวกเขาเรียกว่า “กูรู” นั้นมีสถานภาพ พิเศษ ในหมู่บ้านแต่ละแห่งมีจำนวน ๑๐-๑๒ คน มักจะสวมชุดยาวสีขาว และมีถุงใบเล็กๆ สามใบเป็นสัญลักษณ์ โกนผมและโพกผ้า ไม่กินเหล้า และหมู มีการจัดเตรียมอาหารพิเศษเสมอ สามารถอ่านภาษาอาหรับจาก คัมภีร์อัลกุรอ่านได้ แม้จะไม่เข้าใจก็ตาม มีการจัดลำดับอาวุโสลดหลั่นกัน ถึง ๖ ระดับ ผู้ที่อยู่ในลำดับสูงสุดเรียกว่า “องก์กูรู” [Ong Guru] ชาวบ้าน จะให้ ค วามเคารพสู ง สุ ด และเชื่ อ ฟั ง องก์ กู รู ซึ่ ง มั ก เป็ น ผู้ อ าวุ โ สที่ มี ประสบการณ์ชีวิตและมีครอบครัวที่ดี เป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้าน ถือว่าเป็น ผู้มีบารมีสูงสุดของชุมชน คนจามบานีต้องให้กูรูทำพิธีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต และมีพิธีต่างๆ มากมาย ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่กูรูเสมอ ถ้าหมู่บ้านใด ไม่มีองก์กูรูก็จะทำพิธีกรรมพิเศษบางอย่างไม่ได้ ดังนั้นคนจามบานีจึง ต้องใช้เงินสำหรับจ่ายให้กูรูไม่น้อยขึ้นอยู่กับความสำคัญของพิธีกรรม ต่ า งๆ มี ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล เป็ น ตั ว อย่ า งว่ า ในงานแต่ ง งานอาจจะต้ อ งให้ ค่ า ตอบแทนเป็นทองแก่องก์กรู รู าว ๒ สลึงทีเดียว คนจามบานีเรียกเดือนรอมฎอนว่า “รามาวัน” [Ramuwan] ซึ่ง อยู่ ใ นช่ ว งเดี ย วกั น กั บ มุ ส ลิ ม ทั่ ว โลก แต่ จ ะแปลกไปกว่ า คนมุ ส ลิ ม อื่ น ๆ เพราะกูรูหรืออาจารย์จะเป็นกลุ่มที่ไปค้างคืนในมัสยิด เสมือนเป็นตัวแทน ชาวบ้านซึ่งไม่จำเป็นต้องถือศีลอดกันทุกคนตามแบบธรรมเนียมของชาว มุ ส ลิ ม ทั่ ว ไป พวกเขาจะแยกจากครอบครั ว ไปถื อ ศี ล อดที่ มั ส ยิ ด อย่ า ง เคร่งครัดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกในช่วง ๕ วันแรก และทำ ละหมาด ๕ ครั้ ง ต่ อ วั น ตลอดทั้ ง เดื อ น เมื่ อ ละศี ล อดก็ จ ะมี ผู้ ห ญิ ง ใน ครอบครัวนำสำรับกับข้าวมาส่งให้ โดยอาหารในสำหรับนั้นจะจัดอย่างดี

ถาดครอบอาหารที่นำมาให้แก่นักบวชหรือกูรูที่มัสยิดในช่วง เดือนรามาวันหรือรอมฎอน (ภาพจากโปสการ์ด)


จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

ที่สุด ทุกวันนี้กลุ่มมุสลิมใหม่ในหมู่บ้านของคนจามบานีที่ถือศาสนา แบบเคร่งครัดก็แยกออกไปมีมัสยิดของตนเอง ทำละหมาดวันละ ๕ ครั้ง และถือศีลอดในเดือนรอมฎอนกันทุกคน และมีความใฝ่ฝันที่จะไปทำพิธี ฮัจญ์​์ที่เมกกะ และมักอยู่ในเครือญาติเดียวกัน ในขณะที่บ้านของคนจาม บานีดั้งเดิมที่ปลูกบ้านอยู่ในรั้วติดกันนั้นไม่เคร่งครัดเท่า เพราะแต่ละบ้าน มักเลี้ยงสุนัขและไปมัสยิดเพียงปีละครั้งเท่านั้น กลุ่มประเทศมุสลิมที่เข้า มาให้เงินบริจาคช่วยสร้างมัสยิดร่วมกับชาวบ้านมาจากแอฟริกาใต้และให้ ทุนนักศึกษาไปเรียนทางศาสนาในตะวันออกกลางด้วย นอกจากนี้ยังมี กลุ่มอิสลามแบบเคร่งครัดแบบดั้งเดิม [Orthrodox] หรือที่มุสลิมในเมือง ไทยเรียกกันง่ายๆ ว่า กลุ่มสายใหม่ ที่เคร่งครัดกว่ากลุ่มที่เข้ามาใหม่เริ่ม เข้ามาในชุมชนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มสายใหม่ทาง เจาด๊กที่เรียกกันในชุมชนว่ามัสยิดเล็กที่แตกต่างจากกลุ่มท้องถิ่นแบบสาย เก่าที่เรียกว่ามัสยิดใหญ่ กลุ่มคนจามบานีที่รับการปฏิบัติทางศาสนาเหมือนกับคนจาม มุสลิมที่ทางภาคใต้ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะถือว่านี่คือแนวทาง ที่ควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้ถูกต้อง และเมื่อสังเกตพบจากการพูดคุยใกล้ชิดก็ พบว่าพวกเขาค่อนข้างขบขันต่อเพื่อนบ้านที่ยังประพฤติปฏิบัติแบบเดิม เพราะถือว่าคนในกลุ่มนี้คือผู้ไม่เข้าใจศาสนาอิสลามอย่างแท้จริง คนจามมุสลิมในแถบเมืองเจาด๊ก [Chau Doc] ที่อยู่ติดชายแดน กั ม พู ช าถื อ ว่ า ตนเองมี ค วามใกล้ ชิ ด กั บ กลุ่ ม ชาวมาเลย์ มุ ส ลิ ม ในแถบ คาบสมุทรมากกว่าคนจามจากทางภาคกลางที่ถือว่าตนเองสืบทอดมาจาก บรรพบุ รุ ษ ผู้ เ คยครอบครองอาณาจั ก รจามปาในอดี ต และมี ค วามเป็ น เอกภาพในความเป็น “คนจาม” ร่วมกันมากกว่าการเป็นคนมุสลิมเหมือน กับที่คนจามทางภาคใต้นึกคิด ผู้คนอาจจะคิดไปเองว่าคนจามบานีที่เป็นมุสลิมแบบดั้งเดิมของ เวียดนามนี้อาจจะไม่รู้จักโลกอิสลามหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโลกภายนอก เพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ห่างไกลและปิดตนเอง แต่กลับเป็นว่าคนจาม บานี เ หล่ า นี้ เ ป็ น จำนวนมากที่ มี ก ารศึ ก ษาในขั้ น สู ง มี อ าชี พ เป็ น หมอ วิศวกร พยาบาล หรือนักวิชาการโดยเฉพาะทางมานุษยวิทยาก็ไม่ใช่น้อย เพียงแต่เขาเลือกจะเป็นมุสลิมแบบที่เคยเป็นมา เลือกที่จะไม่ไปฮัจญ์ แม้จะมีเงินทองมากพอ และเลือกที่จะปฏิบัติแบบที่ปู่ย่าตายายเคยทำมา เช่น ไปละหมาดที่มัสยิดในวันศุกร์เพียงเดือนละครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มกูรู ทั้งหลายก็ไม่เคยสนใจที่จะเปลี่ยนแปลง สถานภาพในทุกวันนี้ของพวก เขาทำให้มีบารมีมากพอที่จะปฏิเสธศาสนาอิสลามใหม่ อาจเพราะเป็นการ กระทบกระเทือนต่อตนเองและสังคมของคนจามบานีตามที่พวกเขาคิด แม้จะมีคลื่นแห่งโลกอิสลามโถมเข้ามาสู่พวกเขาไม่หยุดยั้งก็ตาม ทั้งรัฐของเวียดนามเองก็ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในกระแสความ เคลื่ อ นไหวหรื อ การรั ก ษาอั ต ลั ก ษณ์ ท างสั ง คมและวั ฒ นธรรมของกลุ่ ม ชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ถูกแบ่งออกเป็นทางการรวม ๕๔ กลุ่มชาติพันธุ์ (แม้อาจ จะมีข้อถกเถียงในการแบ่งกลุ่มแบบเคร่งครัดเช่นนี้จากนักวิชาการภายใน ประเทศและจากภายนอกก็ตาม) นอกจากการให้โอกาสคนกลุ่มต่างๆ สามารถสอนหนั ง สื อ ภาษาจามทั้ ง ภาษาพู ด และภาษาเขี ย นอย่ า งเป็ น ทางการในโรงเรียนแล้ว ก็จะมาเพียงเยี่ยมเยียนเคารพผู้นำศาสนาใน เทศกาลสำคัญของท้องถิ่นและจัดการให้เคารพกฎหมายของรัฐเท่านั้น ดังนัน้ ลักษณะโครงสร้างทางสังคมแบบดัง้ เดิมจึงเปลีย่ นแปลงช้า และไม่ได้ถกู กระทบจากการเปลีย่ นแปลงโดยอำนาจรัฐมากนัก วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

ตึกเจ้าพระยา อภัยภูเบศร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ การแพทย์แผนไทย อภัยภูเบศร

พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยกับการ พลิกฟื้นตำรายาโบราณที่ “อภัยภูเบศร” หากกล่าวถึง “อภัยภูเบศร” หลายท่านคงนึกถึงผลิตภัณฑ์และยา

สมุนไพรของไทย รวมถึงชื่อของโรงพยาบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมู่ ประชาชนที่ต้องการทางเลือกในการรักษาสุขภาพ โดยเห็นได้จาก ยาสมุนไพรที่โรงพยาบาลผลิตออกสู่ท้องตลาด กลายเป็นสินค้าใน ตลาดยาสมุนไพรไทยที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีกรรมวิธีในการแปร รูปยาสมุนไพรไทยที่รับประทานยากมาบรรจุในแคปซูลที่ทันสมัย ง่ายต่อการบริโภค ความนิยมในตัวยาสมุนไพรของที่นี่ นอกจากมี แหล่งจำหน่ายทั่วประเทศแล้ว ทุกวันก็จะมีกลุ่มนักท่องเที่ยวแวะมา ซื้อสมุนไพรถึงภายในโรงพยาบาลเลยทีเดียว นอกจากสินค้าและความรู้เรื่องยาสมุนไพร ที่นี่ยังมีความ สำคัญในด้านประวัติศาสตร์และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม เพราะมี สถานที่สำคัญในพื้นที่โรงพยาบาลคือ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ศิลปะแบบบาร็อค [Baroque] ของ ยุโรป สง่าและสวยงาม สร้างโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่ในปัจจุบันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ โรงพยาบาลแห่งนี้

กว่ าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ ที ่ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้ว่าจ้างบริษัท โฮวาร์ด เออร์สกิน จำกัด สร้างตึกหลังนี้เพื่อใช้เป็นที่ประทับแรม ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ในคราวที่พระองค์จะ เสด็จฯ มายังมณฑลปราจีนบุรี แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน กระทั่ง ๓ ปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ มาประทับเมื่อคราวเสด็จฯ มณฑลปราจีนบุรี เมื่อเจ้าพระยาอภัย ภูเบศรถึงแก่อนิจกรรม ตึกแห่งนี้ได้ตกเป็นมรดกของพระนางเจ้า สุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ (พระนามเดิมคือ คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์) ผู้เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงค์) จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงมอบตึกหลังนี้ให้แก่ทางราชการ และใน พ.ศ. ๒๔๘๔ นั บ จากเกิ ด สงครามอิ น โดจี น ระหว่ า งไทยกั บ ฝรั่ ง เศสจนถึ ง ช่ ว ง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ตึกหลังนี้ได้กลายเป็นโรงพยาบาลสำหรับ ทหารที่ทำการรบในเขตเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ จนกระทั่งในช่วงหลังสงครามก็ยังถูกใช้เป็นโรงพยาบาลเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงย้ายส่วนของการรักษาพยาบาลออกไปยัง ตึกผู้ป่วยที่สร้างขึ้นใหม่ และตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้เปลี่ยน มาเป็นอาคารสำนักงานของโรงพยาบาลอภัยภูเบศรนับแต่บัดนั้น ด้ ว ยสถาปั ต ยกรรมที่ ง ดงามและความเก่ า แก่ ข องตั ว อาคารที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญของประเทศหลายท่าน

ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยา อภัยภูเบศรเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ตึกเจ้าพระยา อภัยภูเบศรได้กลายเป็นพิพธิ ภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บ รวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่สำคัญแห่ง หนึ่งของประเทศ โดยมีการเก็บรวบรวมและจัดแสดงตัวอย่างสมุนไพร เครื่องมือยาสมัยโบราณ รวมไปถึงตำรายาโบราณ ที่ส่วนใหญ่ได้รับมา จากมูลนิธิหมื่นชำนาญแพทยา (พลอย แพทยานนท์) และบางส่วนมาจาก การบริจาคของประชาชนทั่วไป ตำรายาโบราณดังกล่าวส่วนใหญ่จะเขียน ด้วยลายมือเป็นภาษาบาลี สันสกฤต และไทย จำนวนทั้งหมด ๒๓๓ เล่ม ประกอบด้วย หนังสือใบลาน ๑๖ ผูก สมุดข่อย ๑๓๐ เล่ม และหนังสือ หายาก ๘๗ เล่ม ซึ่งในปัจจุบันทางโรงพยาบาลอภัยภูเบศรได้ร่วมมือกับ ผู้ เ ชี่ ย วชาญและนั ก วิ ช าการหลายสาขาวิ ช าชี พ เพื่ อ สั ง คายนาตำรายา โบราณ พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่และแปลตำราเผยแพร่ให้นำไปสู่การใช้ ประโยชน์จากการแพทย์แผนไทยให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ปริวรรต พลิกฟื้นตำรายาโบราณ... พลิกฟื้นใบลานสู่การรักษา

นับจากการสร้างตึกแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จนถึงปัจจุบัน ตึก เจ้ า พระยาอภั ย ภู เ บศรก็ จ ะมี อ ายุ ค รบ ๑๐๐ ปี ด้ ว ยเหตุ นี้ ใ นวั น ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา โรงพยาบาลอภัยภูเบศรจึงได้จัดงาน “เสวนา ตำรายาโบราณเนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ตึกเจ้าพระยาอภัย ภูเบศร และฉลองพระชนมายุ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” ขึ้น โดยเชิญนักวิชาการ ในหลายสาขา อาทิ ศ.พิเศษ ศรีศกั ร วัลลิโภดม ทีป่ รึกษามูลนิธเิ ล็ก–ประไพ วิริยะพันธุ์ ดร.สุรสิทธิ์ ไทยรัตน์ และ ผศ.ดร.จักร แสงมา จากหน่วย ปฏิบัติการเคมีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุ ณ กี ร ติ ว จน์ ธนภั ท รธุ ว านั น ท์ จากศู น ย์ จ ารึ ก และเอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คุณเกริก อัครชิโนเรศ จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.อุษา กลิน่ หอม จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีอาจารย์ ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร รองผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินรายการ และเภสัชกรหญิง ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นผู้สรุปและบันทึกการเสวนา ผู้ร่วมเสวนาได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหา ของตำรายาที่อยู่ในคัมภีร์ใบลานซึ่งมีความเชื่อและคติแฝงอยู่ด้วย ทั้งที่ เป็นคัมภีร์ใบลานที่เก็บไว้ในวัด เช่น แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ที่มีเนื้อหา ประกอบด้วย คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์พรหมปุโรหิต คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ว่า ด้วยธาตุพิการตามฤดู และคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญใน

ห้องจัดแสดงยา สมุนไพรของ หมื่นชำนาญแพทยา (พลอย แพทยานนท์)

การวินิจฉัยโรคและประกอบตัวยา ซึ่งในหนึ่งหน้ามีตัวยาแก้โรคหลาย ชนิด ในศาสนาอิสลามพบว่าได้มีการบัญญัติวิธีการรักษาโรคไว้ใน คัมภีร์อัลกุรอ่าน นอกจากนี้ในกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ เช่น ไทใหญ่ มอญ ก็มี การบันทึกสูตรยารักษาโรคไว้ในคัมภีรใ์ บลานเช่นเดียวกัน ซึง่ กระบวนการ สำคัญของการศึกษาตำรายาโบราณดังกล่าว คือการปริวรรตคัมภีร์ใบลาน ที่ต้องอาศัยการถอดรหัสและตีความภาษาที่เป็นปริศนาเกี่ยวกับสูตรยา ซึ่งต้องใช้ความรู้และเวลายาวนานในการศึกษา เมือ่ ผ่านการปริวรรตจนได้สตู รยาต่างๆ แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ จะนำเอาพืชสมุนไพรที่ถูกระบุว่าเป็นองค์ประกอบของสูตรยานั้นๆ ไป ศึ ก ษาหาสารเคมี ป ระกอบของตั ว ยาที่ มี ผ ลต่ อ อาการของโรค ว่ า มี สรรพคุณทางยาเป็นอย่างไร จึงเรียกได้ว่าเป็นการระดมสรรพวิชาทั้ง ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการถอดรหัสและ ตี ความเพื่อนำไปสู่การทำความเข้ า ใจและศึ ก ษาอย่ า งมี ร ะบบระเบี ย บ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์

รวม-แลกสู ตรยา เพื ่อร่วมพัฒนาตำรายาไทย

นอกจากการศึกษาเรื่องตำรายาโบราณที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของ ตนเองแล้ ว โรงพยาบาลอภั ย ภู เ บศรยั ง ใช้ วิ ธี ก ารแลกเปลี่ ย นสู ต รยา ระหว่างกัน โดยหากมีผู้สนใจจะมาขอสูตรยาของโรงพยาบาลก็จะต้องมี สูตรยาของตนมาแลกเปลี่ยนด้วย ซึ่งหลังจากที่โรงพยาบาลได้สูตรยา เหล่านั้นก็จะรวบรวมแล้วนำไปศึกษาและพัฒนาให้เป็นสูตรยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรคต่างๆ ให้ได้ผลดีต่อไป ในวั น นี้ ผ ลของการแบ่ ง ปั น องค์ ค วามรู้ เ รื่ อ งตำรายาของโรง พยาบาลอภัยภูเบศรได้ส่งผลให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเข้ามามีส่วน ร่ ว มในการพั ฒ นายาแผนไทยให้ ก้ า วหน้ า มากขึ้ น ซึ่ ง เห็ น ได้ จ ากกลุ่ ม สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมในการเสวนาในครั้งนี้ต่างมาจากหลากหลาย ท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง นั บ ว่ า เป็ น แนวโน้ ม ที่ ดี ใ นการพลิ ก ฟื้ น ตำรายาโบราณให้ กลับมามีคุณค่ามากกว่าจะถูกเก็บไว้ในตู้โชว์เพียงอย่างเดียว ภาณุพงษ์ ไชยคง


ข่าว กิจกรรม และความเคลื่อนไหว

“อย่าลืม... โพธาราม” ชมรมของคนท้องถิ่นกับ การเคลื่อนไหวภาคสังคม

เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ไปเยี่ยม “ชมรมอย่าลืม...โพธาราม” ซึ่งเป็นชมรมของคนท้องถิ่นในตลาด โพธาราม ซึ่ ง สมาชิ ก ของชมรมฯ กรุ ณ าให้ ค วามรู้ น ำชมและอธิ บ าย เกี่ยวกับความสำคัญของตลาดโพธารามแต่ครั้งเก่า ชมรมอย่าลืม...โพธาราม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑๐, ๑๒ และ ๑๔ ถนนโพธาราม ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี บริเวณ “ตลาดบน” หั ว มุ ม ถนนท่ า นั ด ตั ด กั บ ถนนโพธาราม กลุ่ ม สมาชิ ก ของ ชมรมฯ เป็นคนในตลาดโพธารามทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่อาศัย อยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิดจนปัจจุบัน จากการพูดคุยกับประธานชมรม อย่าลืม...โพธาราม คือ คุณอภิชาติ ศิ ริ อุ ด มเศรษฐ ถึ ง แรงบั น ดาลใจในการตั้ ง กลุ่ ม เกิ ด จากการเดิ น ทาง ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศ ญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาไปไกลในด้านเทคโนโลยี แต่ก็ไม่ลืม อดีตของตนเอง สังเกตได้จากการที่ตึกสูงระฟ้าถูกสร้างเคียงคู่กับบ้าน เก่าแก่ ช่างเป็นภาพที่ชินตาและอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่ขัดเขิน การจั ด ตั้ ง ชมรมฯ อยู่ ภ ายใต้ แ นวคิ ด วั น วาน คื อ อนาคต

ใช้วิธีการอนุรักษ์และสร้างคุณค่าให้กับประวัติศาสตร์ เพื่อชักชวนผู้คน จากภายนอกให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเยี่ยมเยือน กิจกรรมที่สำคัญของ กลุ่ ม คื อ การอนุ รั ก ษ์ ง านสถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น โดยเฉพาะห้ อ งแถวไม้ อาคารโบราณอายุนับร้อยปีที่ยังคงหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากภายใน ตลาดโพธาราม พร้อมทั้งอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม เช่น อาหารการกิน หรืองานช่างแขนงต่างๆ ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา กิจกรรมของชมรมฯ อยู่ในขั้นตอนดำเนิน งาน เริ่มต้นจากการปรับภูมิทัศน์ชุมชนและเก็บข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ เกี่ยวกับชุมชนทั้งในส่วนประวัติความเป็นมาของอาคารเก่าแก่ในชุมชน และวิถีชีวิตชาวบ้านแต่ครั้งอดีต และพื้นฟูประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณี การตามประทีปบูชารอยพระพุทธบาทของชาวมอญ เป็นต้น เพื่อนำไป พัฒนาเป็นกิจกรรมในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป หากกล่าวถึงความสำคัญของตลาดโพธารามถือว่าเป็นย่านการ ค้าที่เจริญรุ่งเรืองมาเนิ่นนาน เพราะจากบันทึกพระราชหัตถเลขาในสมัย รัชกาลที่ ๕ กล่าวว่า “ตำบลโพธารามนี้เป็นที่ตลาดอย่างสำเพ็ง ยืดยาว มาก ผู้คนหนาแน่น จำนวนคนในโพธารามมีถึง ๔๐,๐๐๐ มากกว่าอำเภอ ราชบุรีเสียอีก” พืน้ ทีต่ ลาดโพธารามแต่ดงั้ เดิมแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน แต่ละส่วนก็ มีความต่างกันไป เช่น ตลาดบน ในอดีตเป็นชุมชนทีผ่ ลิตฟูกและทีน่ อนเพือ่ ส่งขาย หลักฐานที่ยังพอพบเห็นเหลือเพียงป้ายนามร้านค้า “ที่นอนราชา” คือ ป้ายของร้านทำทีน่ อนทีม่ ชี อื่ เสียงของตลาดโพธาราม คนในท้องถิน่ ต่าง

ร่ำลือถึงความประณีตในการทำทีน่ อนจนชาววังต้องมาสัง่ ทำกัน ตลาดกลาง เป็นตลาดสดที่ยังคงคึกคัก มีชาวโพธารามและ คนในพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาจับจ่ายซื้อของกัน พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของ สถานนีรถไฟโพธาราม ภายในตลาดยังมีกลิ่นอายของความเป็นชุมทาง รถไฟในอดีต อย่างเช่น ตรอกจับกัง จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ได้ ความว่า ตรอกดังกล่าวเป็นห้องเช่าที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนจีนที่อพยพเข้ามา แบบ “เสื่อผืนหมอนใบ” มาหางานที่สถานีรถไฟซึ่งต้องการแรงงานจำนวน มากขนสินค้าไปส่งตามร้านค้าในละแวกตลาดและพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนสุดท้ายคือ ตลาดล่าง อาคารส่วนใหญ่เป็นเรือนแถวไม้ที่ กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบนถนนโชคชัยและถนนศรีสวัสดิ์ ในพื้นที่ ตลาดล่างในอดีตมักทำน้ำปลาขายเป็นส่วนใหญ่ ปลาที่ใช้เป็นปลาน้ำจืดที่ หาได้ จ ากท้ อ งถิ่ น แต่ ที่ นิ ย มนำมาทำน้ ำ ปลามากที่ สุ ด คื อ ปลาสร้ อ ย ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่รายที่ยังคงสืบทอดกิจการต่อจากบรรพบุรุษ ภายในตลาดโพธารามประกอบไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีนเป็น ส่วนใหญ่ รอบนอกออกไปบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองจะมีคนมอญอาศัย อยู่อย่างหนาแน่น ถัดไปบริเวณทุ่งราบริมฝั่งแม่น้ำ คนลาวตั้งรกรากผสม ผสานกับคนไทย ในอนาคตทางชมรมฯ จะรณรงค์ให้ชาวชุมชนตลาดโพธาราม ปลูกต้นไม้และปรับภูมิทัศน์ พร้อมทั้งกระตุ้นให้คนโพธารามเกิดความรัก และหวงแหน ภูมิใจใน “บ้านเกิดเมืองนอน” ของตนเอง เช่น ปลูกฝังให้ เยาวชนเกิดสำนึกรักท้องถิ่น ด้วยการให้เด็กในชุมชนปั่นจักรยานไปเที่ยว ชมศิลปะตามวัด พาเดินย่านห้องแถวเก่า ให้อาคารโบราณเป็น “พระเอก” บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม ต่างๆ ของชมรมฯ ผ่านเอกสาร หนังสือ หรือเว็บไซต์ กำหนดกิจกรรมดึง คนรุ่นใหม่จากภายในและนอกชุมชนเข้ามาช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของ ชมรมฯ ต่อไป ชมรมอย่าลืม...โพธาราม เป็นการทำงานของชาวบ้านที่เกิดจาก การมองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับท้องถิ่น ถือเป็นการร่วมไม้ ร่วมมือกันระหว่างคนในกับคนนอก จึงถือเป็นมิติในการเคลื่อนไหวทาง สั ง คมที่ เ กิ ด ขึ้ น และที่ ส ำคั ญ เป็ น ความเคลื่ อ นไหวที่ ค ำนึ ง ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต วัฒนธรรม และความเป็นไปของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ปกรณ์ คงสวัสดิ์

รอยพระพุทธบาทที่มีเก๋งจีน เป็นมณฑปครอบอยู่ ณ วัดไทรอารี รักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

การตามประทีปบูชา รอยพระพุทธบาทในวิหาร ที่ชมรมฯ ฟื้นฟูขึ้น

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี : การขั บ เคลื่ อ น

ภาคประชาชนคนปราณบุ รี

การประชุมประชาคมคนปราณบุรีว่า ด้วยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ วัดปากคลองปราณ ตำบลปากคลองปราณ อำเภอปราณบุ รี จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ ซึ่ ง อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เล็ ก –ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ์ มี โ อกาสได้ ร่ ว ม กระบวนการเรียนรู้ภูมิวัฒนธรรมปราณบุรีกับ กลุ่ ม คนปราณบุ รี พบว่ า ระบบนิ เ วศอั น เป็ น พื้ น ฐานสำคั ญ ของภู มิ วั ฒ นธรรมคนปราณที่ สั่งสมมาหลายชั่วคนคือ ป่าชายเลน เพราะเป็น แหล่ ง อนุ บ าลสั ต ว์ น้ ำ มี ค วามหมายต่ อ อาชี พ ประมงของคนปราณอย่างยิ่ง และยังเป็นแนว กันการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งช่วยให้แผ่นดิน งอก เป็นแหล่งไม้ใช้สอยและเป็นแหล่งอากาศ บริสุทธิ์ของท้องถิ่น แต่ ป่ า ชายเลนที่ ป รากฏในท้ อ งถิ่ น ปราณบุ รี ปั จ จุ บั น ส่ ว นหนึ่ ง ไม่ ใ ช่ ป่ า ชายเลน ธรรมชาติ หากเป็ น ป่ า ชายเลนที่ ฟื้ น ฟู ขึ้ น มา ใหม่ ด้วยพลังของท้องถิ่นร่วมกับการสนับสนุน จากภายนอกที่ เ ข้ า ใจท้ อ งถิ่ น หลั ง จากที่ ท าง ราชการได้เคยนำพื้นที่ป่าชายเลนธรรมชาติผืน นี้ไปทำสัมปทานนากุ้งนานถึง ๑๕ ปี ในระหว่ า งปี พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๓๙ กระแสการทำนากุ้งกำลังโลดแล่นในสังคมธุรกิจ ไทย เกิ ด การเปิ ด ป่ า ชายเลนให้ สั ม ปทานแก่ กลุ่มธุรกิจนากุ้ง รวมทั้งในพื้นที่ป่าชายเลนใน ตำบลปากคลองปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัด ประจวบคี รี ขั น ธ์ จำนวน ๘๔๘ ไร่ นอกเขต วนอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ป ราณบุ รี ดั ง นั้ น พื้ น ที่ ป่ า ชายเลนปราณบุ รี จึ ง หายไปอย่ า งรวดเร็ ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า “ป่า ชายเลนของฉันหายไปไหน?” ดังนั้นทางกรม ป่าไม้จึงได้สนองพระราชปรารภโดยได้ยกเลิก สัมปทานนากุ้ง ทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามารับช่วงในการดำเนินงานฟื้นฟูป่า ชายเลนร่วมกับท้องถิ่นอย่างจริงจัง ในการฟื้นฟูป่าชายเลนจะต้องฟื้นฟู สภาพพื้นที่นากุ้งร้าง ๘๔๘ ทั้งชาวปราณบุรี และเจ้าหน้าที่ ปตท. ได้ร่วมกันเรียนรู้ ทำความ เข้าใจและลองผิดลองถูกในการปลูกป่า หากพบ

ว่ามีความไม่เข้าใจหรือไม่สามารถแก้ปัญหาใน จุดใดก็จะไปหานักวิชาการสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และชักชวนบุคคลหรือองค์กรที่มีความรู้มา ร่ ว มกั น ทำงาน รวมทั้ ง ลงมื อ ลงแรงชำระล้ า ง หน้าดินนากุ้งร้างให้สามารถปลูกต้นไม้ได้ การ ปรับพื้นที่เพื่อถ่ายเทน้ำทะเล การปลูกไม้ป่า ชายเลน และยังได้ร่วมกันศึกษาวิถีชีวิตคนใน ท้องถิ่นและวางแผนร่วมที่จะใช้ทรัพยากรป่า ชายเลนโดยที่ไม่ให้ป่าชายเลนถูกทำลายมาก เกินไป โดยที่คนในท้องถิ่นยังสามารถรักษาภูมิ วัฒนธรรมของตนไว้ได้ ดังปรากฏในงาน วิจัยเรื่อง “ป่าชายเลนปราณ-บุรี” ว่ามีจำนวน คนปราณ ๔๑ ครัวเรือน จาก ๙๙ ครัวเรือนที่ เข้าไปมีส่วนร่วมปลูกป่าครั้งใหม่นี้ จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงปลูกป่าสำเร็จ แล้วทำพิธี ถวายป่าแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย พระองค์เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุ ด าฯ สยามบรมราช-กุ ม ารี เพื่ อ ทรงรั บ ถวายป่าชายเลนในปีนั้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ ชุมชนท้องถิ่นได้ใช้ป่าชายเลนต่อไป นอกจากวั ฒ นธรรมในการทำมา หากินแล้ว การฟื้นป่าครั้งนี้ยังนำไปสู่การเรียนรู้ จิตสำนึกในการเสียสละแรงกายปลูกป่าให้ลูก หลาน หรือจิตสำนึกใน “การให้” ชาวบ้านที่ได้ ร่ ว มปลู ก ป่ า บอกว่ า การปลู ก ป่ า เหมื อ นได้ ทำบุญและได้คลายความเห็นแก่ตัวลง เพราะ การปลู ก ป่ า ครั้ ง นี้ มิ ใ ช่ เ พื่ อ ให้ ต นได้ ตั ด ไม้ ใ น อนาคต แต่เป็นไปเพื่อให้ลูกหลานมีป่าชายเลน คู่วิถีชีวิตอย่างยั่งยืน ชาวบ้านคนอื่นๆ กล่าวว่า การที่ป่า ได้ฟื้นกลับมานี้ ทำให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหาร อันอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง รวมทั้งคนที่ไม่มีรายได้ ประจำก็ ส ามารถพึ่ ง ตนเองได้ อ ย่ า งมี ศั ก ดิ์ ศ รี รวมทั้งถ้าจะให้พวกเขาเลือกระหว่างป่ากับนา กุ้ง พวกเขาเลือกป่า เพราะแม้ป่าจะไม่ทำให้ พวกเขามีรายได้รวดเร็ว แต่ป่าได้สร้างความ มั่ น คงทางอาหารในระยะยาว ผิ ด กั บ นากุ้ ง แม้จะได้เงินเร็ว แต่ก็เสี่ยงกับการขาดทุนหรือ หนี้สินเช่นกัน กระบวนการปลูกฝังทางวัฒนธรรมให้

กับเยาวชนในท้องถิ่นเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการ เรียนรู้ของผู้ใหญ่ เช่น การพาเด็กนักเรียนไป ศึกษาและทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเรียนรู้ต่างๆ ครูอาจารย์ประจำโรงเรียนในท้องถิ่นกล่าวว่า ในป่าชายเลนหนึ่งแห่งสามารถบูรณาการกับ การเรี ย นวิ ช าต่ า งๆ ได้ ทั้ ง วิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาสารสนเทศ การเรียนรู้จากคนท้องถิ่น ฯลฯ ขณะที่กลุ่ม นักเรียนสะท้อนความคิดว่า การฟื้นป่าทำให้ พ ว ก เ ข า ไ ด้ พื้ น ที่ ที่ แ ล ดู ส ด ชื่ น พ ร้ อ ม กั บ อากาศบริสุทธิ์ และได้แหล่งอาหารที่คนท้องถิ่น สามารถเข้าไปใช้ได้ ไม่มีผู้ใดหวงห้าม ต่างจาก นากุ้งที่มีคนเฝ้า ต่ อ มาท้ อ งถิ่ น ปราณและ ปตท. ได้ ร่วมกันเปิดศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนในบริเวณ ป่า เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดทำนิทรรศการถาวร ว่ า ด้ ว ยระบบนิ เ วศป่ า ชายเลนและวิ ถี ชี วิ ต ที่ ผูกพันกับป่า เป็นที่สำหรับเข้าไปศึกษาในพื้นที่ ป่าและเป็นที่สำหรับอบรมหรือประชุมสัมมนา ทั้งผู้ใหญ่และเด็กสามารถเข้าร่วมเรียนรู้จากป่า ชายเลนได้ ซึ่ ง ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ แ ห่ ง นี้ ไ ด้ เ ปิ ด อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อแก่ศูนย์แห่งนี้ว่า “ศูนย์ศึกษา เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี” ทั้งหมดนี้คือกระบวนการทำงานและ เรียนรู้ร่วมกันของสังคมท้องถิ่น ในการฟื้นฟู ทรัพยากรในท้องถิ่น โดยอาศัยความเข้าใจใน ภูมิวัฒนธรรมที่สั่งสมมาแต่ในอดีตเป็นพื้นฐาน ในขณะที่ทุนจากภายนอกเช่น ปตท. รวมทั้ง องค์กรพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาสนับสนุ น ท้ อ งถิ่ น ด้ ว ยการแสวงหาความรู้ วิ ธี ก าร เครื่องมือ และเงินทุน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้สามารถ เข้าถึงได้มากกว่าท้องถิ่นและได้เรียนรู้ร่วมกับ ท้องถิ่นอย่างเท่าเทียม จึงนับว่าเป็นบทบาทอันเหมาะสมยิ่ง และนับเป็นเรื่องที่ไม่อาจพบได้ทั่วไปในสังคม ไทยที่ทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะร่วมเรียนรู้ และพัฒนากับท้องถิ่น ที่สำคัญด้วยบารมีแห่ง สถาบันพระมหากษัตริย์ที่จุดประกายเรื่องการ รักษาป่าเพื่อวิถีชีวิตแบบพอเพียงในท้องถิ่น วันใหม่ นิยม อ้างอิง ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และคณะ (บรรณาธิการ), “พลิกป่าฟื้นสู่ศูนย์ฯ สิรินาถราชินี” และ “ป่าชายเลน ปราณบุ รี . ..การเกื้ อ กู ล สรรชี วิ ต ชายฝั่ ง ”, บริ ษั ท ปตท. จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.


“สรุป” บรรยายสาธารณะมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และเสวนาร้านริมขอบฟ้า

สามชุกกับ รางวัลยูเนสโก : ความสำเร็ จ บนทางแพร่ ง

ปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ได้รับข่าวน่ายินดีว่า สามชุก ตลาดเก่าร้อยปี ได้รับรางวัล โครงการ อนุรักษ์ชุมชนสามชุกและตลาดเก่าร้อยปี ชนะรางวัลดี (Award of Merit) จากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมใน ภู มิ ภ าคเอเชี ย แปซิ ฟิ ก จากองค์ ก ารยู เ นสโก โดยมี ผู้ ส่ ง ผลงาน ๔๘ โครงการ จาก ๑๔ ประเทศ รางวัลดังกล่าวถือเป็นกำลังใจแก่คนทำงาน พัฒนาพื้นที่สามชุก เมื่อราว ๑๐๐ กว่าปีก่อน ครั้งที่ถนนหนทางยังมาไม่ถึงและไม่ เป็ น ที่ นิ ย ม แม่ น้ ำ สุ พ รรณบุ รี ห รื อ แม่ น้ ำ ท่ า จี น คื อ เส้ น ทางการเดิ น ทาง สายหลักในแถบตะวันตกของภาคกลาง เปรียบเสมือนประตูเชื่อมตลาด สามชุกกับพื้นที่ต่างๆ ทั้งใกล้และไกล นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการ ค้าขายและขนส่งสินค้าที่ชาวกะเหรี่ยง ลาว ละว้า และคนทางเหนือนำ สินค้าของป่า เช่น ฝ้าย หนังสัตว์ น้ำมันยาง น้ำผึ้ง สมุนไพร และแร่ ขนเป็นกองคาราวานมาขายให้กับพ่อค้าในตลาดสามชุก และล่องไปขาย ยังกรุงเทพฯ ต่อไป พร้อมกันนั้นยังได้ซื้อและแลกเปลี่ยนสินค้าจำพวก ข้าวสาร เกลือ ปูน และของใช้ที่จำเป็นกลับไปยังชุมชน ท่าเรือและตลาด สามชุกจึงเจริญรุ่งเรือง คึกคักไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายสินค้านานาชนิด พ่อค้าแม่ขายมีทั้งไทย จีน มอญ และอีกหลากหลายชาติพันธุ์ แต่ที่มีเป็น จำนวนมากสืบมาจนปัจจุบันคือชาวจีน ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อความเจริญทางถนนเข้ามาก็มีการ เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ การค้าริมน้ำลดความสำคัญลง ตลาดสามชุก เริ่มซบเซา สภาพอาคารร้านค้าทรุดโทรมตามกาลเวลา เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวสามชุกจำนวนหนึ่งที่ยังเห็นถึงความ สำคัญของตลาด ไม่อยากให้กลายเป็นตลาดติดแอร์หรือปรับสภาพจาก

แม่นำ้ สุพรรณบุรี ทางเลือกหนึง่ ทีจ่ ะช่วยลดปัญหาความแออัด ของพืน้ ทีต่ ลาด หากมีการกระจายแหล่งท่องเทีย่ วให้อยูท่ งั้ สองฝัง่ แม่นำ้

๑๐

บรรยายสาธารณะ

นายกรัฐมนตรีเดินทางไปตลาดสามชุก เพื่อทำพิธีมอบรางวัลอย่างเป็นทางการ

ตลาดเดิม จึงหันหน้ามาร่วมมือกันฟื้นตลาดสามชุกให้กลับมามีชีวิตชีวา อีกครั้ง พร้อมคงรูปแบบอาคารและสถาปัตยกรรมแบบเดิมให้มากที่สุด จึงเกิดขึ้น การฟื้นตลาดสามชุกเริ่มจากจัดระเบียบตลาด ทำความสะอาด และจัดระเบียบหน้าบ้านของตนเองให้เข้าที่เข้าทาง ทำให้พื้นที่ตลาดโดย รอบสะอาดและดูดขี นึ้ จากนัน้ คณะทำงานจึงฟืน้ ฟูอาหารพืน้ บ้านของชุมชน ทำทางเดินริมน้ำ ปรับปรุงอาคารให้สวยงาม เพราะลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านทีต่ ลาดสามชุกจะติดกันทุกหลังคา จัดทำพิพธิ ภัณฑ์ขนุ จำนงจีนารักษ์ เพือ่ บอกเล่าเรือ่ งราวของเจ้าของบ้านและวิถชี วี ติ ชาวสามชุก เป็นต้น การดำเนินงานของชาวสามชุกเริ่มจากไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหน ทำ แบบลองผิดลองถูก แต่มีการพูดคุยและประสานงานของคนภายในชุมชน ที่เป็นชาวบ้าน โรงเรียน วัด และกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ จากภายนอกบ่อยครั้ง จึงทำให้ตลาดสามชุกกลับมามีชีวิตชีวา เมื่อส่ง ประกวดจึงได้รับรางวัลจาก UNESCO ประจำปีนี้ การเปิดเวทีประชาคมในหัวข้อ “บทบาทของชุมชนในการพัฒนา ตนเองอย่างยั่งยืน” เนื่องในโอกาสรับมอบรางวัลยูเนสโก [UNESCO] เมื่ อ วั น ที่ ๑๑ ธั น วาคม ๒๕๕๒ ที่ ผ่ า นมา เวที ดั ง กล่ า วเท้ า ความถึ ง กระบวนการเกิดและการจัดการตั้งแต่แรกเริ่มของตลาดสามชุก มีการแลก เปลี่ยนทัศนคติร่วมกันของชุมชนต่างๆ ข้อที่น่านำมาขบคิดคือ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้กล่าวถึง สภาพของสามชุกว่า “สามชุกกำลังเผชิญปัญหาใหม่ คือเป็นตลาดท้องถิ่นที่จะ พังไม่พังแหล่ เกิดความแออัดเกินจะรองรับ จนกระทั่งท้องถิ่นไม่ สามารถควบคุมได้” เพราะตลาดสามชุกต้องเผชิญแรงกดดันและถูกรุกเร้าจากข้าง นอก ไม่วา่ จะเป็นนักท่องเทีย่ วหรือพ่อค้าต่างถิน่ หากปล่อยให้มกี ารขยาย พื้นที่กว้างกว่านี้ ตลาดสามชุกอาจจะพังเพราะควบคุมไม่ได้แล้ว โดยได้ เสนอแนะทางออกคื อ การสร้ า งเครื อ ข่ า ยตลาดให้ ก ระจายไปทั้ ง เมื อ ง สุพรรณบุรี เช่น ตลาดเก้าห้อง ตลาดศรีประจันต์ ฯลฯ รวมถึงตลอดสอง ฟากฝั่งน้ำสุพรรณบุรี โดยใช้ตลาดสามชุกเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เน้น ความสำเร็จที่เกิดจากการจัดการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยตนเองจนเกิด สำนึ ก ร่ ว มของชุ ม ชน เป็ น การรื้ อ ฟื้ น ความทรงจำเก่ า ๆ เมื่ อ ครั้ ง อดี ต เกีย่ วกับวิถชี วี ติ ของคนสุพรรณบุรแี ละชุมชนริมฝัง่ น้ำด้วย คนสามชุกจึงมาถึงทางแพร่งแห่งความสำเร็จที่ท้าทายว่าจะทำ ให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวในอนาคต หากไม่สามารถควบคุมความ ใหญ่โตและแออัดของตลาดดังเช่นที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ได้ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ

เสวนาร้านริมขอบฟ้า

“พม่าเสียเมือง” เมืองพม่าหลัง ถูกยึดครองในยุคอาณานิคม มุมมองคนพม่าในไทย

“การท่องเที่ยวภาคประชาชน” อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม คุณพงษ์วิน ชัยวิรัตน์ และคุณมิคกี้ ฮาร์ท ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓

คุณมิคกี้ ฮาร์ท

๑๓ มกราคม ๒๕๕๓

การบรรยายนี้เป็นการนำเสนอมุมมองของคนพม่าต่อการสูญเสีย

เอกราชแก่ ม หาอำนาจอั ง กฤษในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่ ต่ า งไปจาก นักวิชาการชาวตะวันตกและชาวไทยที่รับรู้กันว่า การเสียเอกราชของ พม่าเป็นเรื่องของความแตกแยกและล้มเหลวจากการบริหารประเทศ ของราชสำนักพม่าเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วการเสียเอกราชของ พม่ า เป็ น ผลมาจากการวางแผนอั น แยบยลของอั ง กฤษที่ ต้ อ งการ ครอบครองพื้นที่พม่า เพราะมีฐานทรัพยากรอันมีค่าและเพื่อขยาย อำนาจไปยังจีน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอลองพญา อังกฤษเริ่มเข้ามาแทรกแซง และยึดพื้นที่พม่าทีละเล็กทีละน้อย ยุยงชนชั้นปกครองให้เกิดการแตก แยก ใช้วิธีแบ่งแยกเพื่อปกครอง ขณะเดียวกันก็ขยายอิทธิพลเข้า ครอบครองแหล่งทรัพยากรทีส่ ำคัญของพม่า ไม่วา่ จะเป็นป่าไม้ อัญมณี น้ำมัน ตลอดจนสิทธิการค้า การทูต และเส้นทางการค้าสู่จีนทั้งทางบก และทางเรือ ทำให้ราชสำนักของพม่าไม่พอใจและเกิดข้อพิพาทกัน เรื่อยมา จนในสมั ย พระเจ้ า ธี บ อหรื อ สี ป่ อ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๒๘) อังกฤษใช้อำนาจทางทัพเรือบังคับเพื่อเป็นผู้ควบคุมการค้าของพม่า ทั้งหมด ทางราชสำนักพม่าไม่ยอม อังกฤษจึงยกกองทัพเรือมาปิดล้อม พระราชวัง บังคับให้พม่ายอมในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์ในราชสำนักพม่า เกี่ยวเนื่องกับพระนางศุภลยัต มเหสีของพระเจ้าสีป่อที่คนไทยเข้าใจว่า เป็ น สตรี ผู้ โ หดร้ า ยแห่ ง ราชสำนั ก เป็ น ความเข้ า ใจผิ ด อย่ า งชั ด เจน เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจให้แก่คนพม่าที่ต้องสูญเสีย สถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภลยัตถูกจับ และถูกบังคับให้ไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองจนสวรรคตในต่างแดน เป็น เหตุ ใ ห้ พ ม่ า เสี ย เอกราชและกลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง อาณานิ ค มอิ น เดี ย ภายใต้การปกครองของอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (สอบถามซีดีวิดีโอบันทึกการบรรยายได้ที่มูลนิธิฯ) เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เปิดประเด็นเกี่ยวกับปัญหาด้านการ

ท่องเที่ยวซึ่งที่ผ่านมามักเน้นเพียงหลักการตลาดเพื่อการขายสถานที่ ท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว จนถึงกับจัดการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรม อีกแขนงหนึ่ง โดยไม่ได้เปิดทางเลือกสำหรับการท่องเที่ยวในรูปแบบ อืน่ “การท่องเทีย่ วภาคประชาชน” ถือเป็นทางเลือกหนึง่ ทีจ่ ะช่วยให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยวทั้งเรียนรู้ท้องถิ่นและตัวเองไป พร้อมกัน ขณะที่คุณมิคกี้ ฮาร์ท ซึ่งเป็นมัคคุเทศก์ที่ผ่านการท่องเที่ยว ในหลายพื้นที่ทั้งในและต่างประเทศได้เสนอแนวทางในการจัดการ ท่องเที่ยวว่า รัฐหรือท้องถิ่นไม่ควรมุ่งหวังเพียงผลตอบแทนเป็นตัวเงิน อย่างเดียว จนต้องยอมเอาใจนักท่องเที่ยวเสียทุกเรื่อง ซึ่งจะทำให้ วัฒนธรรมที่เป็นเสน่ห์ของท้องถิ่นนั้นๆ อาจสูญหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน หากรัฐหรือท้องถิ่นมีความเข้มแข็งก็จะสามารถตั้ง กฎระเบียบในการปฏิบัติตัวของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมของตนได้ ที่ผ่านมา กรณีของตลาดสามชุกถือเป็นตัวอย่างของการที่ ท้องถิ่นก้าวเข้ามาจัดการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง โดยคุณพงษ์วินได้เล่า ประสบการณ์ในการฟื้นฟูตลาดสามชุก จากตลาดเก่าที่ไม่ค่อยเป็นที่ รู้จักมาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวรางวัลยูเนสโกที่นักท่องเที่ยวจำนวน มากต่างมุ่งเข้ามาจนเกิดความแออัดในปัจจุบัน โดยในกระแสการรุก เข้ า มาของการท่ อ งเที่ ย วนั้ น หากกระบวนการรวมกลุ่ ม ชุ ม ชนไม่ มี ความเข้มแข็งแล้ว การจะรักษาพื้นที่และรูปแบบของตลาดก็ไม่อาจจะ ทำได้ ซึ่งสามชุกได้อาศัยกระบวนการภาคประชาชนในการพัฒนา ตลาดแห่งนี้อยู่เสมอ ในช่วงท้ายผู้ร่วมเสวนาทั้งสามท่านมีข้อสรุปถึงแนวทางการ พัฒนาการท่องเที่ยวภาคประชาชนว่า อยากให้ก้าวไปเป็นทางเลือก ของประชาชน กระบวนการสำคั ญ ที่ ต้ อ งเริ่ ม ต้ น คื อ การศึ ก ษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้กับคนในท้องถิ่นได้รู้จัก ตนเองและสร้างกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง สามารถอยู่ได้ ในกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบทุนนิยม ตลาดสามชุกควรเป็น ศู น ย์ ก ลางการเรี ย นรู้ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย วภาคประชาชนแก่ ชุ ม ชนที่ ต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวในแนวนี้ และในอนาคตตลาดสามชุกอาจ พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ผู้คนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ต่อไป ภาณุพงษ์ ไชยคง

๑๑


ข่าวประชาสัมพันธ์ เสวนาทีร่ า้ นหนังสือริมขอบฟ้า

“เรื่องเล่าชาวคลอง ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์”

โดย นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล คุณปทุม สวัสดิ์นำ ชาวบ้านริมคลองมหาสวัสดิ์

วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น. ณ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า มุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

คลองมหาสวัสดิ์ถือได้ว่าเป็นคลองสำคัญที่ถูกขุดขึ้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓ เพื่อเชื่อมต่อ เส้ น ทางคมนาคมทางน้ ำ จากกรุ ง เทพฯ ออกไปยั ง หั ว เมื อ งฝั่ ง ตะวั น ตก อย่ า งเช่ น เมื อ งนครปฐม นอกจากนี้ บ ริ เ วณสองฝั่ ง คลองเส้ น นี้ ยั ง เป็ น พื้ น ที่ เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งเป็นสวนผลไม้ สวนผัก และนาข้ า ว ซึ่ ง ถู ก พัฒนาขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕

ลงมาจนถึงปัจจุบัน คลองมหาสวัสดิ์ได้มีอายุครบ ๑๕๐ ปี สภาพความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะถูก ถ่ายทอดโดยปากคำของคนในผู้สนใจศึกษาเรื่องราว ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง

บรรยายสาธารณะ ปี ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

“คนไทใหญ่ขนุ ยวม” ขอจัดการท่องเทีย่ วอย่าง ยัง่ ยืน อนุสนธิจาก “คนขุนยวมไม่เอา Little Japan” สมจิต สุวรรณบุษย์

วันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

การเสนอโครงการสร้าง “อนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น” ซึ่งใช้พื้นที่สาธารณะของ

คนขุนยวม เน้นเรื่องราวของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และใฝ่ฝันจะจัดการ ท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ เชิ ญ ชวนชาวญี่ ปุ่ น สู ง อายุ ม าพั ก อาศั ย ในขุ น ยวมเป็ น หลั ก ดู จ ะเป็ น โครงการจากรัฐที่ต้องการจัดการท่องเที่ยวโดยไม่สนใจฟังเสียงคนท้องถิ่น อาจารย์ สมจิต สุวรรณบุษย์ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศน์ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด แม่ฮ่องสอน คือคนไทใหญ่ขุนยวมที่อาสาเป็นแกนนำเพื่อขอการจัดการท่องเที่ยวแบบ ยั่งยืนด้วยฐานของสังคมวัฒนธรรมและวิธีคิดแบบคนขุนยวม นำเสนอโดยคนท้องถิ่น

“ภูเก็ตภูมิ [Phuket Scape]” ความเคลือ่ นไหวทาง สังคมและวัฒนธรรมของคนเมืองภูเก็ต สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓

พื้นที่เมืองภูเก็ตคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ในอดีตคือเมืองอุตสาหกรรมดีบุกที่เต็มไป ด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์มาผสมผสานทำให้เกิดเอกลักษณ์แบบภูเก็ต สิ่งเหล่านี้ ถูกจัดการสร้างกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของคนภูเก็ตในปัจจุบัน ทั้งพิพิธภัณฑ์ เอกสารสิ่ ง พิ ม พ์ กิ จ กรรมเพื่ อ การเรี ย นรู้ แ ละการท่ อ งเที่ ย ว สร้ า งความคึ ก คั ก ทาง วัฒนธรรมแก่คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวทั้งจากคนไทยและต่างชาติ บอกเล่าโดย ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ราย ๒ เดือน

มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสารจากการ ดำเนินงานของมูลนิธิฯ และยินดีเป็นเวทีตีพิมพ์บทความ ประสบการณ์ ทรรศนะ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ จากหน่วยงาน ด้ า นสั ง คมวั ฒ นธรรมและผู้ ส นใจทั่ ว ไป อั น จะนำไปสู่ เครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา การสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้เรื่องเมืองไทยให้คงอยู่ตลอดไป หากต้องการบอกรับเป็นสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ กรุณาส่งชื่อที่อยู่พร้อมแสดมป์ ๖ ดวง ต่อปี มายังที่อยู่ด้านล่าง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ รอบรู้ วิริยะพันธุ์ กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วิลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร เศรษฐพงษ์ จงสงวน กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ตวงพร วิชญพงษ์กุล นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง ปกรณ์ คงสวัสดิ์ ภาณุพงษ์ ไชยคง นิลุบล ศรีอารีย์

๑๒


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.