จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๓ ประจำเดือน มีนาคม-เมษายน ๒๕๕๓

Page 1

ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๘๓ มีนาคม-เมษายน ๒๕๕๓

จดหมายข่าว

มูลนิธิเ ล็ ก -ประไพ วิ​ิ ริ ย ะพั น ธุ์

LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION

เผยแพร่ความรู้เรื่องสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก จดหมายข่าวมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ราย ๒ เดือน มีวตั ถุประสงค์เพือ่

เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารจากการดำเนินงานของมูลนิธฯิ และยินดีเป็นเวทีตพี มิ พ์ บทความ ประสบการณ์ ทรรศนะ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ จากหน่วยงานด้านสังคม วัฒนธรรมและผูส้ นใจทัว่ ไป อันจะนำไปสูเ่ ครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา การสร้างและพัฒนาองค์ความรูเ้ รือ่ งเมืองไทยให้คงอยูต่ ลอดไป

หากต้องการบอกรับเป็นสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

เปิ ด ประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

กรุณาส่งชื่อที่อยู่พร้อมแสดมป์ ๖ ดวงต่อปี มายังที่อยู่ท้ายฉบับ

“จากยศช้ า งขุ น นางพระ ถึ ง ยศพระขุ น นางพ่ อ ค้ า ” การเปลี่ ย นแปลงสั ง คมวั ฒ นธรรม ในรั ช กาลพระภู มิ พ ล* “ตัวตน” และ “ชนชั้น” ในสังคมไทย

ส า ร บั​ั ญ

แก่ น แท้ ข องวั ฒ นธรรมนั้ น ก็ คื อ เรื่ อ งของความคิ ด หรื อ ถ้ า

จะพูดให้กระชับขึ้นก็คือความคิดและวิธีคิดของกลุ่มชนที่อยู่รวมกันเป็น สั ง คม เป็ น สิ่ ง ที่ ท ำให้ เ กิ ด การแสดงออกร่ ว มกั น ทางพฤติ ก รรมที่ เ ป็ น

รูปแบบ ทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เป็นรูปแบบทางรูปธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ในขณะที่สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นสิ่งที่ค่อนข้างหยุดนิ่งเปลี่ยนแปลงได้ยาก และช้ า ความล่ า ช้ า ดั ง กล่ า วนี้ อ าจเป็ น สาเหตุ ใ ห้ สั ง คมที่ เ ป็ น เจ้ า ของ

วัฒนธรรมนั้นๆ อยู่ในภาวะที่เรียกว่า “ล้าหลังทางวัฒนธรรม” ก็ว่าได้

เปิดประเด็น “จากยศช้างขุนนางพระ ถึงยศพระขุนนางพ่อค้า” การเปลี่ยนแปลงสังคมวัฒนธรรมในรัชกาลพระภูมิพล................................................................... ๑ บันทึกจากท้องถิ่น อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช ศูนย์รวมศรัทธาของชาวแม่สาย........................................................................................................................... ๖ “ฝึกฟื้นใจเมือง” คนกรุงเทพฯ สวดมนต์ ฟังเทศน์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ........................................................................................................... ๘ จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การเกิดใหม่ของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านยาง....................................................................................................................................................... ๑๐ ข่​่าวประชาสัมพันธ์ ............................................................................................................................................................................................ ๑๒


ในโลกปัจจุบัน บรรดาประเทศโลกที่สามซึ่งแต่ก่อนนี้เรียกกันว่า ประเทศด้อยพัฒนาบ้างหรือกำลังพัฒนาบ้างนั้น นับเป็นกลุ่มประเทศที่ ประสบกับภาวการณ์ล้าหลังทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากไม่อาจปรับ เปลี่ ย นวั ฒ นธรรมทางจิตใจให้เข้ากับความเจริญทางวัตถุที่ได้อิทธิพล มาจากภายนอกได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าประเทศโลกที่สามจำนวนมากเหล่านั้น เป็นสังคมแบบประเพณีที่มีความเจริญเป็นอาณาจักรและมีอารยธรรม

มาช้านาน โดยเฉพาะประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี ประเทศไทยร่วมอยู่ด้วยประเทศหนึ่ง สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของความคิดที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “ค่านิยม” อันเป็นสิ่งที่คนในสังคมคิดและมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี มักเป็นสิ่งที่เกิดจากการสังสรรค์และการถ่ายทอดกันมาช้านานของผู้คนที่ อยู่ในสังคมเดียวกัน เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากมาก โดยเฉพาะในสังคม แบบประเพณีที่มีความเก่าแก่ เคยมีอารยธรรมมานั้น ดูจะยากกว่าสังคมที่ เกิดขึ้นใหม่ๆ มากทีเดียว ความขั ด แย้ ง เช่ น นี้ ท ำให้ ข้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า ประเทศที่ เ คยมี อารยธรรมเก่าแก่เช่นประเทศไทยอาจนับเป็นประเทศโลกทีส่ ามกับเขาได้ การที่มาถูกกล่าวหาหรือถูกกำหนดให้เป็นประเทศโลกที่สาม หรือประเทศด้อยพัฒนาดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่บุคคลใน สังคมนั้นเป็นอย่างมาก เลยทำให้มีการพัฒนาบ้านเมืองกันอย่างมากมาย เพือ่ ประกาศให้โลกรูว้ า่ ตนนัน้ ไม่ดอ้ ยพัฒนา ทว่าการพัฒนาดังกล่าวนั้นมักเป็นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นทางด้านวัตถุเสียมาก ผลที่ตามมาก็คือกลับยิ่งไปขยายช่องว่าง ระหว่ างความเจริ ญทางวัตถุกับค่านิยมซึ่งเป็นเรื่องของความคิดจิตใจ มากกว่าแต่เดิม จนเกิดคำกล่าวให้ได้ยินบ่อยๆ ว่า “modernization without development” คื อ ความทั น สมั ย แต่ ไ ม่ พั ฒ นา นั บ เป็ น ความขั ด แย้ ง ระหว่างภาวะทางวัตถุกับทางจิตใจนั่นเอง เมื่อเข้ากันไม่ได้ การปรับตัวให้ทันสมัยก็ไม่เกิดผล จึงดำรงอยู่ ในภาวะความล้าหลังเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นที่เขาปรับตัวเองได้ ผลของความล้าหลังที่เกิดขึ้นก็คือช่องว่างทางเศรษฐกิจและ สังคมที่เกิดขึ้น ระหว่างรัฐกับเอกชนจะเห็นว่าเกิดความเจริญเติบโตทาง องค์กรธุรกิจเอกชนอย่างมากมายที่สามารถเปรียบได้กับประเทศที่พัฒนา แล้ว แต่ในระบบราชการและองค์กรของรัฐยังอยู่ในสภาพล้าหลังที่ควบคุม และสร้ า งดุ ล ยภาพระหว่ า งกั น ไม่ ไ ด้ เท่ า กั บ ไม่ ส ามารถรั ก ษาบทบาท หน้าที่ของรัฐในการควบคุมองค์กรทางธุรกิจไม่ให้แสวงหาผลประโยชน์ จากสังคมถ่ายเดียวไม่ได้ ทำให้คนในสังคมเอารัดเอาเปรียบกัน คือคนที่มี การศึกษาดีกว่า ฉลาดกว่า ก็กลายเป็นผู้ฉวยโอกาสจากคนด้อยโอกาสที่มี เป็นจำนวนมาก สิ่ ง ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด เจนก็ คื อ คนถู ก มองเป็ น ทรั พ ยากรเรี ย กว่ า

“ทรัพยากรมนุษย์” มีค่าเท่ากับทรัพยากรธรรมชาติและอื่นๆ ในกรอบ ความคิดที่เป็นเศรษฐกิจไป ผลทีต่ ามมาก็คอื ทัง้ คนและสิง่ แวดล้อมธรรมชาติทถี่ กู มองว่าเป็น สิง่ ของทางเศรษฐกิจถูกทำลายอย่างย่อยยับ ดังทีแ่ ลเห็นภาพการล่มสลาย ของครอบครัวและชุมชน ตลอดจนภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติอย่างในทุกวันนี้ สิ่ ง ที่ โ ดดเด่ น อั น เป็ น ผลพวงมาจากการเปลี่ ย นแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยขณะนี้ก็คือ การเกิดชนชั้นกลุ่มใหม่

ที่เข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจาก ชนชั้นกลางที่เป็นพ่อค้า ซึ่งอาศัยช่องว่างทางการเมือง เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม ชนกลุ่มนี้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

บางคนกลายเป็ น สมาชิ ก ของบริ ษั ท ข้ า มชาติ ที่ เ ชื่ อ มโยงเข้ า กั บ ระบบ เศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ไปก็มี ดังนั้นสิ่งที่เห็นในสังคมไทยยุคใหม่ที่สำคัญก็คือ ความมั่งคั่งกับ อำนาจกลายเป็ น สิ่ ง เดี ย วกั น อย่ า งแยกไม่ อ อก และผู้ ที่ มี อ ำนาจทาง เศรษฐกิจก็คือผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองและการปกครองโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงนี้ถ้ามองอย่างเผินๆ ก็จะเห็นว่าประเทศไทย และสั ง คมไทยเปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งมาก แต่ นั่ น ก็ เ ป็ น ไปในมิ ติ ท าง เศรษฐกิ จ และสั ง คมเท่ า นั้ น ถ้ า หากนั บ วั ฒ นธรรมรวมเข้ า ไปด้ ว ยแล้ ว

ก็บอกได้แต่เพียงว่า วัฒนธรรมบางส่วนบางเรื่องเท่านั้นที่เปลี่ยน แต่สิ่งที่ เป็นแก่นแท้ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม หาได้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว อย่างที่คิดไม่ ค่านิยมที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปนี้ก็มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเช่นที่แลเห็นได้ในปัจจุบัน ค่านิยมสำคัญที่ว่านี้มีสองอย่าง คือ ความเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่ ง ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลมาจากพุ ท ธศาสนาหิ น ยานหรื อ เถรวาทกั บ ความมี ตัวตนและชนชั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากระบบขุนนางหรือระบบศักดินา ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ค่านิยมทั้งสองอย่างนี้มีตัวตนอยู่ในระบบค่านิยมและโครงสร้าง ทางวัฒนธรรมของสังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัย แต่ในที่นี้จะวิเคราะห์เพียง ค่านิยมอย่างที่สอง คือเรื่องความมีตัวตนและชนชั้นเท่านั้น ขอกล่าวเพียงคร่าวๆ ว่า ความเป็นปัจเจกบุคคลที่ได้รับมาจาก พุทธศาสนาสอนให้คนเป็นที่พึ่งแห่งตนและรับผิดชอบต่อการกระทำของ ตนเองนั้น เข้ากันได้ดีกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีในปัจจุบัน ส่วน ค่านิยมในเรื่องความมีตัวตนและชนชั้นนั้น ถ้ามองในแง่มุมสังคมแบบ ประชาธิปไตยแล้วก็คือสิ่งที่ขัดขวางความเจริญอย่างชัดเจน และเป็น รากเหง้าของความแตกต่างระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เพราะค่ า นิ ย มในเรื่ อ งความเสมอภาคคื อ ผลิ ต ผลของสั ง คม ประชาธิปไตยในตะวันตก เป็นคุณธรรมที่ถ่วงดุลไม่ให้ค่านิยมในเรื่อง ความเป็ น ปั จ เจกบุ ค คลดำเนิ น ไปอย่ า งสุ ด โต่ ง และเป็ น สิ่ ง พื้ น ฐานที่ ผลักดันให้เกิดเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้น เมื่ อ สั ง คมไทยรั บ ระบอบประชาธิ ป ไตยเข้ า มาจึ ง เกิ ด ความ ขัดแย้งโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่กำจัดค่านิยมที่เกี่ยวกับชนชั้นและความไม่ เสมอภาคออกไปจากสำนึกและโครงสร้างในระบบราชการ ดังเห็นได้ ชัดเจนว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และยกเลิกฐานันดรศักดิ์ ยศชั้น ศักดินา แล้วก็ตาม ความรู้สึกในเรื่องยศชั้นก็ยังคงสิงอยู่ต่อไปในยศชั้นทหารและ ข้าราชการพลเรือน เช่น นายพัน นายพล หรือชั้นโท ชั้นเอก ชั้นพิเศษ สิ่งที่ตอกย้ำและกระตุ้นความรู้สึกสำนึกในเรื่องนี้ตลอดเวลาก็คือ การมีเครื่องแบบที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในลักษณะต่ำ-สูง เป็นการ ตอกย้ำทั้งในเวลาทำงานปกติและงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี สำนึ ก ในการมี ตั ว ตนและชนชั้ น ดั ง กล่ า วนี้ นั บ วั น ดู เ หมื อ น เพิ่มพูนขึ้นจนสังเกตได้ชัดเจนในการหาเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรแทบ ทุ ก ครั้ ง ทุ ก คราว เพราะผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง มั ก นิ ย มแต่ ง เครื่ อ งแบบใน ลักษณะโอ่กันว่าใครเด่นกว่ากันจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสายสะพาย ดูแล้วลานตาดี บางคนที่ไม่มีสายสะพายหรือรู้สึกด้อยกว่าเขา แต่มีดีกรี การศึกษาดีกว่าก็นำเอาครุยปริญญามาใส่อวด น้อยคนนักที่ไม่แต่งเครื่อง แบบ ที่โดดเด่นจนแปลกไปจากคนอื่นก็เห็นจะเป็นพลตรีจำลอง ศรีเมือง ท่านเดียวที่ใส่เสื้อหม้อห้อมถ่ายรูปหาเสียง พฤติกรรมเหล่านี้นับเป็นการแสดงออกที่เห็นชัดเจนในสำนึก และค่านิยมที่ตรงข้ามกับการเป็นประชาธิปไตย จนกระทั่งกลายเป็นความ

เวทีประท้วงที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

มุ่งหมายและต้องการอย่างหนึ่งของผู้สมัครเสียด้วย ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะมีพฤติกรรมที่เป็นผลพวงตามมาให้เห็นอยู่ เนืองๆ นั่นก็คือผู้แทนราษฎรเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีหรือบุคคล สำคัญมักนิยมนั่งรถที่โอ่อ่า เช่น รถเบนซ์ หรือรถอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติ

ใกล้เคียงกันเป็นสิ่งแสดงฐานะความร่ำรวย มีรถตำรวจนำ มีผู้ติดตามเป็น ขบวน สิ่งเหล่านี้ทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ความต้องการเข้าไป เป็นผู้แทนราษฎรก็คือต้องการที่จะเข้าไปเป็นนายประชาชน หาใช่ เสียสละเพื่อส่วนรวมและรับใช้ประชาชนไม่ ดูเหมือนความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้นคือ ความมุ่ ง หมายทั้ ง ที่ เ ป็ น รู ป ธรรมและนามธรรมชั้ น สุ ด ยอดของผู้ ส มั ค ร

รับเลือกตั้งส่วนมาก เพราะมีการตั้งเป้าหมายและวางแผนกันมาก่อน

การสมัคร และเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วก็เกิดความขัดแย้งชิงเก้าอี้กันเป็น ปกติวิสัย จนเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกและจ้องหาทางล้มล้างกันแทน การทำงานเพื่ อ รั บ ใช้ ส่ ว นรวมตามอุ ด มคติ ข องการปกครองแบบ ประชาธิปไตย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ดำรง มาถึง ๕๐ ปีในขณะนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของค่านิยมในเรื่อง การมีตัวตนและชนชั้นที่ไม่เสื่อมสลายไปจากอดีตแม้แต่น้อย เป็นการ ดำรงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดย แท้ นั บ เป็ น วั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ปลี่ ย นในขณะที่ สั ง คมมี ก ารเปลี่ ย นแปลง

เลยทำให้นึกถึงคำพังเพยในอดีตที่เกิดจากการนินทาและแดกดันสังคมใน สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ว่า “ยศช้างขุนนางพระ” แสดงให้เห็นถึง ความเข้มข้นในค่านิยมนี้ที่มีไปถึงช้างและพระด้วย มาบัดนี้การเปลี่ยนแปลงมีแต่เพียงยศช้างหายไป พระยังคงมีอยู่ แต่ว่าสิ่งที่เข้ามาแทนช้าง

ก็คือขุนนางพ่อค้า จึงใคร่วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและเหมือนกันของ ทั้งสองสมัย คือจากยศช้างขุนนางพระมาเป็นยศพระขุนนางพ่อค้าดัง ต่อไปนี้

“ยศช้างขุนนางพระ”

นวกรรมในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครั้งกรุงศรีอยุธยา คือการสร้างระบบศักดินาขึ้นเพื่อการปกครองประเทศและการบริหาร ราชการให้เป็นผลดี ทั้งนี้เพราะกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้นมีอาณาเขตกว้าง

ใหญ่ อั น เนื่ อ งมาจากการรวมหั ว เมื อ งและรั ฐ อิ ส ระหลายแห่ ง มาอยู่ ใ ต้ อำนาจ มีประชาชนมากมายหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาเป็นพลเมือง จำเป็น ต้ อ งยกระดั บ ขึ้ น เป็ น ราชอาณาจั ก ร และรวมอำนาจมาไว้ ที่ ศู น ย์ ก ลาง ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ สิ่งที่จะทำให้รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ดีนั้น จำเป็นต้องมี บูรณาการทางวัฒนธรรมและการเมืองที่จะทำให้ผู้คนซึ่งมีความแตกต่าง กันในทางชาติพันธุ์มีความรู้สึกร่วมกัน กลไกที่ทำให้เกิดสำนึกร่วมกัน ดังกล่าวนี้ก็คือภาษาและศาสนา ในด้านภาษานั้น รัฐได้เลือกเอาภาษาไทยเป็นภาษากลางและ เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญในราชอาณาจักร ความสำเร็จในเรื่องนี้เห็น ได้จากเอกสารของชาวยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสที่เข้ามาในรัชกาลสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชที่ระบุว่าชาวสยามเรียกตัวเองว่าเป็นคนไทย ส่วนในด้านศาสนา รัฐได้ยกพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นศาสนาหลัก ของราชอาณาจั ก ร พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงอุ ป ถั ม ภ์ แ ละยกย่ อ งมากกว่ า ศาสนาใด มีการสร้างวัดราษฎร์และวัดหลวงให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน บ้านและเมือง ผลที่ตามมาก็คือผู้คนแม้จะหลากหลายในด้านชาติพันธุ์และ ความเป็ น มา แต่ เ มื่ อ มาอยู่ ร วมกั น ในดิ น แดนนี้ ก็ เ ป็ น ชาวพุ ท ธร่ ว มกั น

ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกในด้านความจงรักภักดีเชื่อมโยงไปถึงพระมหากษัตริย์และบ้านเมืองด้วย นั่นคือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์และ บำรุ ง พระศาสนา หากใครมาทำอั น ตรายหรื อ คิ ด ร้ า ยก็ เ ท่ า กั บ ทำลาย พระพุ ท ธศาสนา เพราะเมื อ งไทยเป็ น เมื อ งพุ ท ธ หากมี ข้ า ศึ ก มาย่ ำ ยี

ก็หมายความว่าเป็นการย่ำยีทำลายพระศาสนาเช่นกัน ทั้งภาษาและศาสนานับเป็นกลไกที่สำคัญในการทำให้เกิดการ บูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ส่งทอดไปถึงการสร้าง ระบบศักดินาอันมีความหมายในเรื่องบูรณาการทางการเมืองด้วย นั่นก็คือ เป็นระบบที่กลั่นกรองและยกระดับผู้คนที่รัฐและพระมหากษัตริย์เห็นว่าจะ ทำหน้ า ที่ แ ละมี ป ระโยชน์ แ ก่ แ ผ่ น ดิ น ขึ้ น มาเป็ น ขุ น นางและข้ า ราชการ

โดยจัดอันดับสูงต่ำให้ลดหลั่นกันไปตามความสามารถและความดีความชอบที่พระมหากษัตริย์เห็นสมควร แม้ว่าในสายพระเนตรของพระมหากษัตริย์นั้นทุกคนเหมือนกัน หมด อาจได้รับการลงโทษได้เท่าๆ กัน เช่น พระองค์สามารถถอดคนที่ เป็นเสนาบดีให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้ตะพุ่นหญ้าช้าง เป็นเสนาบดีได้ในพริบตาเดียวก็ตาม คนส่วนใหญ่ในสังคมก็ยังคงยอมรับ พระราชอำนาจนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้มีโอกาสมีหน้ามีตาและมีความ สำคัญได้เท่าเทียมกัน นิยายเรื่องขุนศึกที่เคยฉายอยู่ในทีวีก็เป็นเรื่องที่ สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่คนที่มีฐานะเป็นทาสหรือไพร่ เช่น ไอ้เสมา ก็ สามารถก้าวข้ามบันไดสังคมไปเป็นขุนนางศักดินากับเขาได้ ระบบศักดินาไม่ได้หยุดนิ่งอย่างที่มีขึ้นแต่แรกในสมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถเท่านั้น หากยังได้รับการปรุงแต่งและส่งเสริมเรื่อย มา ดังสังเกตได้จากหลักฐานทางเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายตราสามดวงหรื อ พระราชพงศาวดารที่ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งยศ-ชั้ น ของขุ น นางผู้ ใ หญ่ กล่าวคือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้นคงมีแต่เพียงออกญาหรือ พระยาเป็นที่สุด แต่สมัยหลังลงมาเกิดมีเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าพระยานั้นน่าจะพัฒนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องแสดงยศถาบรรดาศักดิ์ เช่น ดาบ กระบี่ พานหมาก เสลี่ยง เรือ เป็นต้น ที่พัฒนามากเห็นจะเป็นตั้งแต่สมัยพระเจ้า ปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันเป็นสมัยที่มีของจาก ภายนอกเข้ามามาก และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพอสมควร ยุคนี้ เวลาเจ้านายและขุนนางตายก็จะมีการใส่โกศหรือใส่หีบทองพระราชทาน


มีเครื่องประดับยศหรูหราเป็นรูปธรรมขึ้น พอมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาขุนนางตายมีโอกาสได้เผา ศพในเมรุมาศคล้ายกันกับพระมหากษัตริย์ทีเดียว แต่ ที่ โ ดดเด่ น ทั น สมั ย และเข้ า ใจว่ า สมบู ร ณ์ ที่ สุ ด นั้ น ก็ คื อ สมั ย รัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ที่มีการรับอิทธิพลการแต่งกายมาจากฝรั่ง

มีการให้เหรียญตราและสายสะพายขึ้น กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม

ชมชอบ เป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป แม้แต่คนที่เป็นสมเด็จเจ้าพระยาก็ ยังต้องการ คือในสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่าง พระพุ ท ธเจ้ า หลวงกั บ สมเด็ จ เจ้ า พระยาบรมมหาศรี สุ ริ ย วงศ์ ใ นเรื่ อ ง

วันฉัตรมงคล เพื่อยุติความขัดแย้ง รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ตราจุลจอมเกล้าขึ้นพระราชทานในวันฉัตรมงคล ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ได้รับพระราชทานด้วย ความขัดแย้งจึงหมดไป แต่สิ่งนี้จะมองในลักษณะที่มอมเมาไม่ได้ เพราะทั้งผู้ให้และผู้รับ นั้นอยู่ในระบบคุณธรรมเสมอกัน พระเจ้าแผ่นดินนั้นหาได้อยู่ในฐานะที่จะ เห็นใครชอบใครแล้วพระราชทานให้ไม่ แต่ต้องมีกฎเกณฑ์และมีกรอบ คุณธรรมที่เรียกอย่างกว้างๆ ว่า “ทศพิธราชธรรม” ควบคุมอยู่ ถ้ามองอย่างเจาะจงแล้ว จะเห็นว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นสุขุมาลชาติ ทรงมีความละเอียดอ่อน รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ ไม่หักหาญกับสมเด็จ เจ้าพระยาฯ ในขณะเดียวกันสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็โอนอ่อน แลเห็นความ หมายของกุศโลบายของตราจุลจอมเกล้าที่มุ่งเชิดชูผู้ทำคุณประโยชน์

ให้กับแผ่นดินที่สืบทอดไปถึงลูกหลาน นั่นก็คือ การสร้างสำนึกในเรื่อง ตระกู ล วงศ์ ขึ้ น ตระกู ล วงศ์ จ ะดำรงอยู่ อ ย่ า งได้ รั บ การยกย่ อ งก็ ต่ อ เมื่ อ บุคคลในตระกูลนั้นมีคุณธรรม มีความซื่อตรงต่อแผ่นดิน เพราะฉะนั้นระบบศักดินาจึงไม่ใช่ระบบที่เป็นกลไกในการ สร้างบูรณาการทางการเมืองและการปกครองอย่างโดดๆ หากมี ความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของระบบคุณธรรมในยุค นั้นสมัยนั้นทีเดียว เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับจากชนทุกชั้นในสังคม จนกลายมาเป็นค่านิยมที่ฝังอยู่ในสำนึกของคนไทยมาช้านาน คำว่ า “ยศช้างขุน นางพระ” นั้ น จึ ง หาได้ เ ป็ น คำพั ง เพยแบบ

แดกดันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ หากมีนัยของระบบคุณธรรมแอบแฝงอยู่ อย่างเช่นคำว่า “ยศช้าง” คือแม้แต่ช้างก็มียศ มีราชทินนาม เช่น เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นต้น ก็เพราะช้างในสมัยนั้น เป็นสัตว์มีคุณ เป็นพาหนะที่ใช้ทำศึกสงคราม เปรียบได้กับรถเกราะหรือ รถถังในปัจจุบัน การให้ยศนั้นคือการแสดงออกถึงการให้คุณค่า และที่ สำคัญก็คือความกตัญญูรู้คุณช้าง ดูแล้วผิดกับคนสมัยนี้ที่ไม่มีคุณธรรม เอาช้างมาลากซุงทรมาน เอามาเป็นพาหนะรับใช้นักท่องเที่ยว และเอามา แสดงปาหี่ต่างๆ จนเกือบจะสูญพันธุ์อยู่แล้ว ส่วนเรื่องขุนนางพระนั้นก็มีความจำเป็นที่พระมหากษัตริย์ต้อง เกี่ยวข้องด้วย พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของทางธรรม ไม่นิยมให้พระสงฆ์ มาเกี่ยวข้องกับทางโลกโดยไม่จำเป็น พระมหากษัตริย์จึงต้องเป็นองค์ อัครศาสนูปถัมภกบำรุงศาสนาและจัดตั้งองค์กรสงฆ์ที่แยกออกจากทาง โลกโดยเฉพาะ และให้พระสงฆ์ควบคุมกันเองภายใต้การดูแลของพระ มหากษัตริย์ จึงเกิดตำแหน่งขุนนางพระขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าพระสงฆ์ไม่ ประพฤติในทางที่ถูกที่ควรก็จะถูกลงทัณฑ์ได้ ยกตัวอย่างเช่นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้มีการถอดยศและลงทัณฑ์ พระเถระที่ประพฤติผิดหลายรูป รวมทั้งมีการกำหนดพระสงฆ์ขึ้นควบคุม ดูแลด้วย ความชั่วดีและการได้ยศศักดิ์นั้นอยู่ที่พระสงฆ์เอง แต่สำหรับ พระสงฆ์ที่เป็นพระจริงๆ แล้ว ท่านก็มักไม่ยึดติดกับยศถาบรรดาศักดิ์

ดั ง เช่ น ท่ า นพุ ท ธทาส เป็ น ต้ น ทั้ ง ที่ โ ดยฐานะและตำแหน่ ง ท่ า นคื อ

เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา และมียศเป็นชั้นธรรม แต่ท่านไม่ติดกับสิ่ง

เหล่านี้ กลับแยกไปสร้างสวนโมกข์และปฏิบัติธรรมอย่างเป็นเอกเทศ ในขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธและขัดขืนความต้องการของแผ่นดิน ผิดกับ พระอีกเป็นจำนวนมากในสมัยนี้ที่ต้องการได้พัดยศ ได้ตำแหน่ง และยุ่งใน ทางโลกจนเป็นที่ติฉินนินทาของคนทั่วไป เท่าที่กล่าวเรื่องยศช้างขุนนางพระมานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ความรู้สึกอยากมีตัวตนและชนชั้นที่เป็นค่านิยมของคนไทยทุกวันนี้นั้น เป็นสิ่งที่มีมากับโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมแต่เดิม และตกทอดมาจน ทุกวันนี้

“ยศพระขุนนางพ่อค้า”

สมัยยศช้างขุนนางพระเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับโครงสร้างสังคม และวัฒนธรรมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อำนาจและความชอบ ธรรมในการปกครองแผ่นดินมาจากเบื้องบน คือศาสนาและพระมหากษัตริย์ ซึ่งในช่วงเวลานั้นสังคมยังไม่มีขนาดใหญ่โตซับซ้อนดังที่เห็น ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ สยามมีประชากรเพียง ๕ ล้าน คน พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็เพิ่มเป็น ๗ ล้านคน การดูแลความประพฤติ ของขุนนางข้าราชการยังทำได้ทั่วถึง เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจในการปกครองแผ่นดินมาจากประชาชนที่อยู่ เบื้องล่างนั้น แท้จริงก็คือการเปลี่ยนแปลงเพียงที่มาของอำนาจ ไม่เป็น กลุ่มเผด็จการทหารเท่านั้น โครงสร้างและค่านิยมแต่เดิมยังคงดำรงอยู่ สิ่งที่ตามมาและเห็นได้ชัดเพียงอย่างเดียวก็คือการเล่นพรรคเล่นพวกและ การคอร์รัปชั่น เพราะอำนาจกระจายไปยังผู้คนต่างๆ มากกว่าแต่เดิม และระบบคุณธรรมที่เคยควบคุมความประพฤติแต่เดิมก็สั่นคลอน กระนั้นก็ดียังแลเห็นว่าใครเป็นใคร เพราะประชาชนน้อยและ ขุนนางรุน่ เก่ายังมีอยูม่ าก เช่นในสมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม มีประชากร ๑๘ ล้านคน และจอมพล ป. เองก็มีสำนึกเรื่องประชาธิปไตยอยู่มิใช่น้อย สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา เป็นการเปลี่ยนรุ่นของข้าราชการ พวกที่เคยเป็นขุนนางมาแต่เดิมก็หมด ไป เกิ ด คนรุ่ น ใหม่ เ ป็ น จำนวนมากที่ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาจากต่ า งประเทศ เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญทางราชการแทน ทำให้เกิดการพัฒนาระบบ ราชการ มีสถาบันสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิชาศึกษาศาสตร์ และให้ ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่ จนเกิดแผนพัฒนา ขึ้นมาหลายฉบับ เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์เป็นต้นมาอาจนับเป็นยุค ใหม่ของระบบราชการก็ว่าได้ ความเป็นยุคใหม่นี้ที่เห็นชัดเจนก็คือ ระบบ คุณธรรมที่เคยมีมาแต่เดิมได้หมดไปโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ค่านิยมในการมี ตัวตนและชนชั้นยังคงดำรงอยู่อย่างสืบเนื่อง แต่เป็นการสืบเนื่องชนิดที่ไม่ มีระบบคุณธรรมควบคุมอย่างแต่ก่อน สิ่งที่โดดเด่นที่ทำให้คนมีหน้ามีตาและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่โต ทางราชการที่สำคัญก็คือการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ามักเป็นการศึกษาเฉพาะด้าน และ เน้ น ในเรื่ อ งเศรษฐศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี เ ป็ น สำคั ญ เพราะถื อ ว่ า เป็ น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ผลที่ ต ามมาก็ คื อ มี ค นรุ่ น ใหม่ จ บปริ ญ ญาโท-เอก จากต่ า ง ประเทศเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่ไปโดยทุนส่วนตัว ทุนราชการโดยมูลนิธิ ต่างๆ ไปจนถึงทุนต่างประเทศ ได้กลับมารับราชการ มีตำแหน่งและความ ก้าวหน้าทางฐานะอย่างรวดเร็ว ทำให้คนส่วนใหญ่แลเห็นว่าการศึกษา เป็นหนทางไต่เต้าไปสู่การมีฐานะและความมีหน้ามีตา ครอบครัวเป็น

จำนวนมากสนับสนุนให้ลูกหลานเรียนจบไวๆ เพื่อให้ได้ปริญญาตั้งแต่ อายุน้อยๆ จะได้มีความก้าวหน้ารวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดโรงเรียนกวดวิชา ขึ้นเป็นดอกเห็ด ขาดการควบคุมมาตรฐานการเรียน เรียนกันแบบท่องจำ คิดไม่เป็น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้เกียรตินิยม มีหน้ามีตา ฯลฯ คนรุ่นใหม่ นักวิชาการรุ่นใหม่ และข้าราชการรุ่นใหม่เหล่านี้คือผู้ ที่ทิ้งระบบคุณธรรมและความรู้ต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาของแผ่นดินที่เคย จรรโลงบ้านเมืองให้อยู่สืบเนื่องมาแต่เดิมเสียสิ้น แต่หาได้ทิ้งค่านิยมแห่ง การมีหน้ามีตาและยึดถือในชนชั้นที่มีมาแต่เดิมไม่ ยังคงรับไว้เพื่อเป็น ประโยชน์ แ ก่ ต นเอง เลยกลายเป็ น สิ่ ง ที่ ท ำลายจรรยาของวิ ช าชี พ และ จริยธรรมอันดีงามของสังคมไป เกิดการทำงานแบบเอารัดเอาเปรียบ ไม่ ร อบคอบ และมองอะไรแต่ เ ฉพาะเพื่ อ ตนเองและผลประโยชน์ ข อง กลุม่ ตน โดยเฉพาะเกิดกลุ่มผลประโยชน์มากมาย เพราะวิชาที่เรียนมาก เป็นวิชาเฉพาะหรือวิชาที่เน้นเทคโนโลยี ไม่ช่วยยกระดับจิตใจให้กว้างขวางแต่อย่างใด ทำให้สังคมไทยมีความซับซ้อนด้วยกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ที่ มี บ ทบาทในทางลบมากกว่ า ทางบวก สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น พื้ น ฐานที่ ท ำให้ วัฒนธรรมไทยมีทิศทางไปในเรื่องวัตถุนิยมและปัจเจกบุคคลนิยมอย่าง สุดโต่ง สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม้ว่าจะไม่รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ก็ตาม แต่ก็เป็นยุคที่มีการเพาะคนรุ่นใหม่ที่สานไม่ติดกับอดีต และในขณะ เดียวกันก็สร้างโครงสร้างภายใน เช่น ถนน เขื่อน ชลประทาน เพื่อรองรับ การขยายตัวของบ้านเมืองเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งก็ทำ ให้เกิดผลในสมัยต่อมา เช่นในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร แต่เป็นผลของ ความเจริญทางเศรษฐกิจเชิงทำลาย เพราะป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ เริ่มหมดไป เกิดเผด็จการทหารที่ร่วมกับพวกพ่อค้านายทุนสร้างความ เดือดร้อนให้กับบ้านเมือง จนเป็นเหตุให้เกิดกลุ่มปัญญาชนและขบวนการ รักชาติขึ้น จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นขบวนการที่ต่อต้านเผด็จการและ พวกนายทุนโดยตรง เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ทำให้เกิดการถ่วงดุลระหว่างฝ่าย รัฐบาลที่อยู่ในเมืองซึ่งประกอบด้วยนายทุนเป็นจำนวนมากกับขบวนการ รั ก ชาติ ที่ อ ยู่ ใ นป่ า ซึ่ ง เป็ น พวกสั ง คมนิ ย ม ก็ นั บ ว่ า ยั ง โชคดี ที่ บ รรดา ทรัพยากรหลายๆ แห่งในประเทศ โดยเฉพาะป่าไม้ไม่ถูกทำลาย แต่แล้วก็ เป็นไปได้ไม่นาน เพราะหลังจากที่มีการประนีประนอมกันในสมัยรัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แล้ว ขบวนการรักชาติออกจากป่าก็เกิด การเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ การเติบโตของเศรษฐกิจ และสังคมเชิงวิบัติก็กลับมามีอำนาจดังเดิม แต่สิ่งที่กลับร้ายยิ่งกว่าเดิมก็คือการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่ เติบโตและร่ำรวยขึ้นภายหลังจากขบวนการรักชาติออกจากป่านั้น มีการ ตัดไม้ทำลายป่า แสวงหาทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิดควบคู่ไปกับการ ค้าของเถื่อน และกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปทั่วทุกท้องถิ่น เกิด ระบบเจ้าพ่อและผู้มีอิทธิพลโยงใยกันเป็นเครือข่ายจากระดับท้องถิ่นถึง รัฐสภา สิ่ ง ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ก ลุ่ ม คนเหล่ า นี้ เ ข้ า มามี อ ำนาจก็ คื อ คำว่ า “ประชาธิปไตย” และอาจกล่าวได้ว่าเป็น “เปลือกนอกของประชาธิปไตย” นั่นเอง เพราะเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มเหล่าเข้ามาเลือกตั้งได้ พวกนายทุนและพ่อค้าที่ไม่มีคุณธรรมก็เข้ามาได้โดยอาศัยช่องว่างของ คำว่าประชาธิปไตยและพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ่อค้านายทุนสามารถใช้อิทธิพลทั้งอำนาจและ การเงินซื้อเสียงให้ชาวบ้านเลือกตนเข้ามานั่งในสภาได้ และจากสภาก็เข้า

สู่การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่มีอำนาจในการปกครองและบริหารประเทศ เต็มที่ เมื่อนำระบอบประชาธิปไตยมาใช้อย่างผิวเผินก็เป็นเหตุให้อำนาจ การปกครองเปลี่ยนมือจากพระมหากษัตริย์และจากเผด็จการทางทหาร มาเป็นเผด็จการพ่อค้าและนายทุนแทน ปัจจุบันพวกพ่อค้านายทุนไม่จำเป็นต้องติดสินบนข้าราชการ หรือกราบไหว้ข้าราชการเพื่อให้อำนวยประโยชน์แก่ตนอีกต่อไป เพราะ พวกพ่อค้าสามารถเข้ามาเป็นขุนนางและเสนาบดีที่อยู่เหนือหัวบรรดา ข้ า ราชการอยู่ แ ล้ ว ฉะนั้ น ระบอบราชการที่ เ คยดำรงอยู่ ใ นการทำคุ ณ ประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมก็กลายมาเป็นระบบที่ล้าหลัง และเป็นเครื่องมือ ของพวกพ่อค้านายทุนไป แต่ที่ร้ายที่สุดที่ทำให้พวกพ่อค้านายทุนมีอำนาจยิ่งใหญ่ก็คือ ค่านิยมในเรื่องการมีตัวตนและชนชั้นที่ยังดำรงอยู่ เพราะนอกจากทำให้ พวกพ่ อ ค้ า ที่ เ ป็ น ขุ น นางมี ห น้ า มี ต าแล้ ว ยั ง มี อ ำนาจที่ จ ะแต่ ง ตั้ ง และ ช่วยเหลือข้าราชการที่รับใช้ตนให้มีอำนาจ มีหน้ามีตาด้วย สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นจากการมีเครื่องแบบ มีเครื่องประดับยศศักดิ์ทั้งสิ้น เมืองไทยจึงเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่เต็มไปด้วยเครื่องแบบและความเหลื่อมล้ำของชนชั้นที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้ ค่านิยมในเรื่องการมีตัวตนและชนชั้นเป็นสิ่งที่มีมานานแต่สมัย ราชอาณาจักรอยุธยา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากระบบศักดินาแต่ครั้งสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยศักดินาหรือในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ค่ า นิ ย มนี้ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู่ อ ย่ า งโดดๆ หากเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในระบบคุ ณ ธรรมที่ มี ค่านิยมอื่นหรือองค์ประกอบอื่นคอยถ่วงดุลไม่ให้มีลักษณะที่เกินเลยไปจน เป็นผลร้ายต่อสังคม ดั ง เช่ น การมี ห น้ า มี ต าก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ค วบคู่ ไ ปกั บ การอั บ อาย ขายหน้าเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ผู้ที่อยากเป็นคนเด่นคนดังก็จำเป็นต้อง ระมัดระวัง มีการตรวจสอบจากเบื้องบนคือพระมหากษัตริย์และขุนนาง ผู้ใหญ่ ดังเช่นที่สมเด็จพระบรมราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวัง บวรสถานมงคล ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงนิพนธ์ไว้ในเพลงยาวรบพม่าว่า “...สุภาษิตทานกล่าวเป็นราวมา จะแต่งตั้งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อัครฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา เสียยศเสียศักดิ์นคเรศ เสียทั้งพระนิเวศน์วงศา เสียทั้งตระกูลนานา เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร สารพัดจะเสียสิ้นสุด...” นับเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การให้ยศถาบรรดาศักดิ์แก่คนนั้น ถ้าไม่ดีอาจทำให้บ้านเมืองพินาศได้ ส่วนสิ่งที่ควบคุมขึ้นมาจากเบื้องล่างอันดับแรกก็คือตระกูลของ ผู้ที่ได้รับยศศักดิ์นั่นเอง การเป็นคนที่อยู่ในตระกูลนั้นจะต้องผ่านการ อบรมทางด้านศาสนา ศีลธรรม และคุณธรรม อันเป็นสิ่งที่ชอบในสังคม ด้วย ถ้าประพฤติไม่ดี ไม่เหมาะสม ตระกูลก็เสียหายขายหน้า นำไปสู่การ ติฉินนินทาของคนทั่วไป เพราะฉะนั้นการนินทาก็นับเนื่องเป็นกลไกในการควบคุมจาก เบื้องล่างอีกระดับหนึ่งเหมือนกัน ดังในวรรณคดีเรื่องกฤษณาสอนน้อง กล่าวว่า “...ความดีก็ปรากฏ กฤติยศฦๅชา ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร...”


บันทึกจากท้องถิ่น หรือจะกล่าวอย่างย่อๆ ว่า การมีตัวตน มีหน้ามีตา เป็น ชนชั้นของคนสมัยก่อนนั้น กว่าจะมีได้ก็ต้องผ่านการอบรมทางสังคม และวัฒนธรรมที่มีกลไกต่างๆ ทางคุณธรรมและจริยธรรมคอยดูแล ควบคุมไว้นั่นเอง ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบทางตะวันตก แต่ค่านิยมใน เรื่องการมีตัวตน มีหน้ามีตา และชนชั้นนั้นก็มิได้เสื่อมลงไปด้วย กลับ ดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นการดำรงอยู่ในระบบค่านิยมและ วัฒนธรรมแบบใหม่ที่ไม่มีกลไกทางคุณธรรมรองรับหรือคอยถ่วงดุล อย่างแต่ก่อน ระบอบประชาธิปไตยแบบผิวเผินนี้ทำให้พวกพ่อค้าที่มีโลกทัศน์และแนวคิดเพียงแต่กำไร-ขาดทุน มีโอกาสเข้ามาเป็นขุนนาง ทำให้ค่านิยมในเรื่องชนชั้นดังกล่าวยิ่งส่งเสริมให้เกิดความมั่งคั่งใน เรื่องเงินตราและอำนาจ โดยเฉพาะอำนาจในการปกครองและการ บริหารราชการแผ่นดินก็กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไป ข้าราชการที่แต่ก่อนนี้เคยเชื่อว่า “สิบพ่อค้าก็ไม่เท่าหนึ่ง พระยาเลี้ยง” ก็ต้องสยบให้กับพวกพ่อค้าที่เข้ามาเป็นเสนาบดีเพื่อจะ ได้เลื่อนตำแหน่งยศศักดิ์และมีหน้ามีตา ถึ ง ตอนนี้ ก็ อ ดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะอั ญ เชิ ญ พระนิ พ นธ์ ข องกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทอีกตอนหนึ่งว่า “...ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา ครั้นทัพเขากลับยกมา จะองอาจอาสาก็ไม่มี แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ จนเมืองคร่ำเป็นผุยยับยี่ ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี เมืองยับอัปรียจ์ นทุกวันฯ...ฯ ทุ ก วั น นี้ ก รุ ง เทพฯ ก็ คื อ อยุ ธ ยาดั ง ที่ ว่ า นี้ วั ฒ นธรรมแบบ พ่อค้าได้ทำลายคุณธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นกลไกคอยควบคุมไม่ให้ค่า นิยมในเรื่องการมีตัวตนและชนชั้นเป็นไปในทางที่เสียหายให้หมดไป อย่างสิ้นเชิง คุณธรรมที่ว่านี้คือ “หิริโอตตัปปะ” หรือความละอายและ เกรงกลัวต่อบาป เป็นสิ่งที่ทำให้คนแต่ก่อนไม่หน้าด้านเอาแต่ได้ เมื่อ มาหมดไปเช่นนี้ ความหน้าด้านเอาแต่ได้ก็เข้ามาแทนที่ และเป็นสิ่ง ส่งเสริมการมีหน้ามีตาของคนในสังคมปัจจุบัน ทีน่ า่ สลดใจก็คอื แม้แต่ชมุ ชนทางวิชาการเช่นในมหาวิทยาลัย ก็ได้รับผลกระทบดังกล่าว ซึ่งเห็นได้จากการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์เป็นต้น ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มและถูกครอบงำจากผู้บริหาร ที่มีคุณสมบัติเป็นนักธุรกิจ นับเป็นการทำลายความมีหิริโอตตัปปะที่ เป็นคุณสมบัติและคุณธรรมของครูบาอาจารย์โดยแท้ ถ้าจะมองให้กระชับลงไปกว่านี้ก็อาจกล่าวได้ว่า การ ดำรงอยู่ของค่านิยมในเรื่องการมีตัวตน มีหน้ามีตา และชนชั้น ก็ คื อ สิ่ ง ที่ ขั ด แย้ ง อย่ า งยิ่ ง กั บ อุ ด มการณ์ ข องความเป็ น ประชาธิปไตย เพราะเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้ค่านิยมในเรื่องความ เสมอภาคและความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันอย่างเรียบง่ายเกิด ขึ้นในสังคมนี้ *เคยตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๓๙

อนุ ส าวรี ย์ พ ระเจ้ า พรหมมหาราช ศู น ย์ ร วมศรั ท ธาของชาวแม่ ส าย

ชาวแม่สายต่างนำดอกไม้ธูปเทียนมาร่วมพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช

อำเภอแม่สาย เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงราย และยัง

เป็ น พื้ น ที่ เ หนื อ สุ ด ของประเทศไทย ตั้ ง อยู่ ติ ด กั บ ชายแดนรั ฐ ฉาน สหภาพพม่า มีลำน้ำแม่สายไหลผ่านเป็นพรมแดนธรรมชาติอยู่ทาง ทิศเหนือของตัวอำเภอ ด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่สายมีเทือกเขา ดอยนางนอนเป็นฉากหลัง ซึ่งประกอบด้วยดอยสามเส้าคือ ดอยจ้อง ดอยปู่เฒ่า และดอยตุง ตั้งติดต่อกันมองดูคล้ายกับคนนอนทอดตัวอยู่ โดยเปรียบดอยจ้องเป็นศีรษะ ดอยปู่เฒ่าเป็นอก และดอยตุงที่มีความ สูงสุดเป็นสะโพก ทำให้ที่ตั้งของอำเภอแม่สายที่อยู่ติดกับแนวเขา ดังกล่าวมีสภาพเป็นพื้นที่ราบลาดเทลงไปทางทิศตะวันออกจนถึงเขต อำเภอเชียงแสนจรดลำน้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ อันเป็นบริเวณที่ เต็มไปด้วยการทำนาปลูกข้าวด้วยระบบเหมืองฝาย จากสภาพที่ ตั้ ง ดั ง กล่ า วถื อ ได้ ว่ า อำเภอแม่ ส ายเป็ น พื้ น ที่ สำคัญทัง้ ในด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเป็นศูนย์การค้า ด่านชายแดนที่ทำให้อำเภอแห่งนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ขณะเดียวกันในด้านสังคมวัฒนธรรม อำเภอแม่สายยังเป็นที่อาศัยของ ผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน เย้า อีก้อ อาข่า ฯลฯ

ย้อนอดีตแม่สายจากเวียงศรีทวง เวียงพานคำ ถึงพระเจ้าพรหมมหาราช พรหมมหาราช

หากย้อนไปในอดีต ที่ตั้งของอำเภอแม่สายเดิมเป็นที่ตั้งของ เวี ย งศรี ท วง ซึ่ ง ในประชุ ม พงศาวดารภาคที่ ๖๑ ตำนานสิ ง หนวั ติ กล่าวว่า เป็นเวียงที่พระเจ้าพังคราช กษัตริย์องค์ที่ ๔๒ แห่งเวียง โยนกนคร ได้มาสร้างขึ้นคราวถูกพระยาขอมดำรุกรานและขับไล่ให้ ออกจากเวียงโยนกนคร ในปี พ.ศ. ๑๔๖๔ ณ เวียงศรีทวงแห่งนี้ มเหสีของพระองค์ได้มีประสูติการพระโอรสองค์ที่ ๒ คือ “พระเจ้า พรหม” ซึ่ ง ต่ อ มาได้ เ ป็ น กำลั ง สำคั ญ ในการกอบกู้ เ วี ย งโยนกนคร กลับมาถวายคืนแก่พระเจ้าพังคราช เรื่องราวของพระเจ้าพรหมตามตำนานระบุว่า พระองค์มี อดีตชาติเป็นสามเณรชาวศรีทวงที่เคยถูกพระยาขอมดำซึ่งครองเวียง โยนกดู ถู ก ดู แ คลนจนเกิ ด ความแค้ น ใจ จึ ง ตั้ ง จิ ต อธิ ษ ฐานให้ ต นจุ ติ มาเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าพังคราชเพื่อจะได้ปราบพระยาขอมดำ ส่วนในด้านวีรกรรมของพระองค์นั้นทรงเป็นผู้มีความกล้าหาญและมี บุญญาธิการมาก สามารถคล้องช้างวิเศษ ๑ ใน ๓ เชือกที่ลอยมาใน ลำน้ำโขงได้ และให้ชื่อว่า “ช้างพานคำ” ตามพานคำหรือฆ้องทองที่ใช้

ตีเชิญให้ช้างเชือกนั้นขึ้นมาจากแม่น้ำโขง นอกจากนี้พระเจ้าพังคราชยังใช้ชื่อของช้างเชือกนี้เป็นนามใหม่ ที่ใช้เรียกเวียงศรีทวงหลังจากพัฒนาเวียงให้มีคูน้ำคันดินเป็นที่มั่นอันแข็งแรงมั่นคงแล้วว่า “เวียงพานคำ” ซึ่งถือเป็นฐานที่มั่นสำคัญก่อนที่พระเจ้า พรหมจะทำสงครามขับไล่พระยาขอมดำออกจากเวียงโยนกนครให้ถอย ร่นลงไปจนถึงเขตลวรัฐหรือแคว้นละโว้ที่อยู่ทางใต้ได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. ๑๔๗๙ หลั ง มี ชั ย ชนะพระองค์ ไ ด้ ท รงยกไพร่ พ ลลงไปสร้ า งเวี ย งไชย ปราการซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเวียงโยนกนครใกล้ลำน้ำกกและครองเวียงนั้น สืบมา จนถึงสมัยพระเจ้าไชยศิริผู้เป็นพระราชโอรสได้ถูกพระสุธรรมวดี เจ้าเมืองสะเทิมรุกราน จนต้องอพยพลงไปทางใต้ตามเส้นทางที่พระเจ้า พรหมเคยขับไล่พระยาขอมดำลงไปถึงลวรัฐและตั้งเวียงอยู่ที่นั้นเรียกว่า เมืองกำแพงเพชร เรื่ อ งราวของพระเจ้ า พรหมและการอพยพลงมาสร้ า งเมื อ ง กำแพงเพชรของพระเจ้าไชยศิริในตำนานสิงหนวัติมีส่วนสำคัญต่อการ เขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวัน วลิต ซึ่ง วัน วลิต (Jeremias van Vliet) สันนิษฐานว่า บรรพบุรุษของพระเจ้าอู่ทองผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา มี เ ชื้ อ สายมาจากพระเจ้ า พรหม ทำให้ ภ ายหลั ง มี นั ก วิ ช าการบางกลุ่ ม ยกย่องพระเจ้าพรหมว่าทรงเป็น “มหาราช” และปฐมกษัตริย์พระองค์แรก ของชาติ จนนำมาสู่การถกเถียงในวงวิชาการอยู่ระยะหนึ่ง

จากวีรบุรุษในตำนาน สู่วีรบุรุษแห่งศรัทธาของชาวแม่สาย

แม้เรื่องราวของพระเจ้าพรหมจะไม่อาจหาข้อสรุปที่ชัดเจนใน ทางวิชาการได้ แต่ถึงอย่างไรพระเจ้าพรหมก็ถือเป็นวีรบุรุษในตำนานที่ ชาวแม่ ส ายเคารพและศรั ท ธา โดยเห็ น ได้ จ ากการร่ ว มกั น ก่ อ สร้ า ง อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นับแต่นั้นมาในวัน คล้ายวันประสูติของพระองค์ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมี หน่ ว ยงานต่ า งๆ ทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชน รวมถึ ง ประชาชนชาวอำเภอ แม่สายร่วมกันประกอบพิธีบวงสรวงพระเจ้าพรหมมหาราช เพื่อเป็นการ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงสร้างเวียงพานคำซึ่ง เป็นที่ตั้งของอำเภอแม่สายในปัจจุบัน กิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในการบวงสรวงพระเจ้าพรหมมหาราชมีทั้ง พิธีทางพุทธศาสนาและพิธีกรรมตามความเชื่อในท้องถิ่น โดยจะเริ่มจาก การทำพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์หรือพิธีสะเดาะเคราะห์ในช่วงค่ำก่อนทำ พิธีบวงสรวงหนึ่งวัน ซึ่งพระภิกษุและชาวบ้านจะร่วมกันทำกระทงจาก

กาบกล้วยพับมุมให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านล่างทำเป็นฐานรองด้วยใบตอง เรียกว่า “กบาล” หรือ “สะตวง” เพื่อใช้สำหรับใส่เครื่องบูชา อันได้แก่ ดอกไม้ธูปเทียน หมาก เมี่ยง บุหรี่ ขนม ตุงจ้อหรือธงสามชายที่ทำด้วย กระดาษสีต่าง ๆ รวมทั้งรูปเทวดากับสัตว์ประจำดาวนพเคราะห์ปักอยู่ริม ขอบสะตวง ในพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์ ชาวแม่สายที่เข้าร่วมพิธีจะนุ่งขาว ห่มขาวกันอย่างพร้อมเพรียง หลังจากวางเครื่องบูชาในสะตวงประจำ เทวดานพเคราะห์ของตนแล้ว ต่างพากันจับจองพื้นที่ว่างบริเวณลานหน้า อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมเพื่อนั่งฟังพระภิกษุทำพิธีสวดนพเคราะห์และ เทศนาธรรม พร้อมทั้งจุดธูปเทียนบูชาขณะประกอบพิธีสงฆ์ด้วย คุณสุนันทา ผุดผ่องพรรณ ชาวอำเภอแม่สายวัย ๗๓ ปี เล่าว่า มาร่ ว มพิ ธี นี้ เ พราะนั บ ถื อ ในองค์ พ ระเจ้ า พรหมผู้ เ ป็ น วี ร บุ รุ ษ ของชาว แม่ ส ายในอดี ต โดยได้ ท ำติ ด ต่ อ กั น มา ๗ ปี แ ล้ ว นั บ จากการสร้ า ง อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหม ในพิธีนพเคราะห์ปีนี้ ตนตั้งใจจะมาขอพรต่อ พระองค์ พร้อมทั้งนำผลไม้ต่างๆ มาถวายเพื่อความเป็นมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว อย่างเช่นมะพร้าวหมายถึงความบริสุทธิ์ มะขามหมายถึง ความน่าเกรงขาม สับปะรดหมายถึงการลดเคราะห์ เป็นต้น ในวันรุ่งขึ้นชาวอำเภอแม่สายจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้จัด ขบวนแห่เครื่องสักการะไปยังลานอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราชบริเวณ หน้ า ที่ ว่ า การอำเภอเพื่ อ ทำพิ ธี บ วงสรวง โดยมี ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด เชียงรายเป็นประธานในพิธี หลังจากอ่านโองการบวงสรวงจะเป็นพิธีสืบ ดวงชะตาหลวงซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไป โดยพิธีนี้ชาวแม่สายเชื่อกันว่า เป็นการต่ออายุของผู้คนและบ้านเมืองให้ยืนยาว ทั้งยังก่อให้เกิดขวัญและ กำลังใจในการดำเนินชีวิตอีกด้วย ส่วนในภาคกลางคืนมีการแสดงแสง สี เสียง เกี่ยวกับประวัติ พระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งเป็นการนำเรื่องราวของพระเจ้าพรหมที่ถูก กล่าวถึงในตำนานมาถ่ายทอดให้ชาวแม่สายและนักท่องเที่ยวรับรู้ได้ง่าย ขึ้น การแสดงชุดนี้เป็นฝีมือของคนในท้องถิ่นอำเภอแม่สายซึ่งสร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก

พระเจ้าพรหม ความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

นอกจากจะมี พิ ธี ก รรมและการแสดงเกี่ ย วกั บ ประวั ติ พ ระเจ้ า พรหมแล้ว ในงานบวงสรวงพระเจ้าพรหมในครั้งนี้ยังมีการจัดเสวนาเรื่อง “เมืองเวียงพางคำและพระเจ้าพรหมมหาราช” ในการเสวนา อาจารย์


ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ตั้งข้อ สังเกตว่า ภาพรวมของกิจกรรมการบวงสรวงอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหม มหาราชระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น เห็นได้ว่าชาว แม่ ส ายต่ า งเคารพและศรั ท ธาในองค์ พ ระเจ้ า พรหมเสมื อ นเป็ น ผี มเหศักดิ์หรือผีประจำเมืองผู้ปกป้องคุ้มครองเมืองแม่สายและชาวเมือง ให้อยู่เย็นเป็นสุข เนื่องจากวีรกรรมในตำนานของพระองค์ที่มีส่วนใน การสร้างเวียงพานคำและสามารถทำสงครามขับไล่พระยาขอมดำจน ถอยร่นลงไปถึงเขตลวรัฐได้ ซึ่งตำนานดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่เชื่อม โยงสำนึ ก ร่ ว มของชาวแม่ ส ายที่ ป ระกอบด้ ว ยกลุ่ ม คนหลากหลาย ชาติพันธุ์ให้เชื่อมั่นในพลังศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งพิธี บูชาเทวดานพเคราะห์และสืบชะตาหลวงที่ถูกจัดขึ้นในช่วงดังกล่าว

น่าจะสะท้อนภาพความศรัทธาของชาวแม่สายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นนอกจากแม่สายจะเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่บนที่ราบใกล้ แนวเขานางนอนที่ประกอบด้วย ดอยจ้อง ดอยปู่เฒ่า และดอยตุงโอบ ด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกของเมื อ ง ส่ ว นทางทิ ศ เหนื อ เป็ น ลำน้ ำ สายที่ กั้ น ระหว่างพรมแดนไทยกับพม่าแล้ว บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่อยู่ของคน หลากหลายชาติพันธุ์ นับเป็นความสัมพันธ์ในทางภูมิวัฒนธรรมที่เกิด จากคนกับคน คนกับธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องพระเจ้าพรหมอาจเรียก ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งความสัมพันธ์ ทั้งสามรูปแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงให้สังคมแม่สายซึ่งมีความเป็น พหุลักษณ์ดำรงอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ ภาณุพงษ์ ไชยคง

“ฝึกฟื้นใจเมือง”

คนกรุงเทพ ฯ สวดมนต์ ฟังเทศน์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ ทุ ก คื น ตั้ ง แต่ เ วลา ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. ที่ พ ระวิ ห ารหลวง

วัดสุทัศนเทพวรารามฯ จะมีการสวดมนต์ทำวัตรเย็น เจริญสมาธิ ภาวนาและฟังพระธรรมเทศนา โดยในแต่ละคืนจะมีคณะสงฆ์แห่ง วัดนี้ผลัดเปลี่ยนกันนำสวดมนต์ ทำสมาธิรูปหนึ่งและแสดงพระ ธรรมเทศนาเรื่ อ งราวในพระไตรปิ ฎ กอี ก รู ป หนึ่ ง ผู้ เ ขี ย นได้ มี โอกาสไปร่วมกิจกรรมนี้มาแล้วสองคืน โดยใช้เวลาหลังเลิกงาน เดิ น จากที่ ท ำงานตรงสะพานวั น ชาติ ไ ปยั ง พระวิ ห ารหลวงวั ด สุทัศน์ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก เมื่อไปถึงที่พระวิหารหลวงในเวลาย่ำค่ำได้แลเห็นว่ามี ผู้คนที่เข้าไปนั่งรอสวดมนต์อยู่เบื้องหน้าพระศรีศากยมุนีเต็มพระ วิ ห าร จนต้ อ งมี ผู้ อ อกมาตั้ ง เก้ า อี้ นั่ ง สวดมนต์ อ ยู่ บ ริ เ วณพระ ระเบียง ในมือของผู้ร่วมสวดมนต์ทุกคนมีหนังสือสวดมนต์ที่ทาง วัดจัดเตรียมไว้พร้อม จนถึงเวลา ๑๙.๐๐ น. จึงเริ่มบททำวัตรเย็น เช่นเดียวกับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป เมื่อรวมกับทำสมาธิภาวนาแล้ว ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงฟังพระธรรมเทศนา ประมาณ ๔๕ นาที เป็นเรื่องชาดกในนิบาต (๕๕๐ ชาติ) จนเวลา ประมาณ ๒๐.๕๐ น. จึงเสร็จกิจกรรมในคืนวันนั้น และญาติโยม ส่วนมากจะเป็นคนในวัยทำงาน แม่บ้าน หรือผู้ที่เกษียณอายุ ราชการ จากการสั ม ภาษณ์ พ ระราชวิ จิ ต รปฏิ ภ าณ (อดี ต พระ พิพิธธรรมสุนทร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามฯ ซึ่งเป็น ผู้ริเริ่มกิจกรรมการสวดมนต์และฟังเทศน์ที่พระวิหารหลวงวัด สุทัศน์ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า แต่แรกนั้นเมื่อท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุใหม่ๆ ในช่วงที่ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่ า นและที ม งานพระสงฆ์ รุ่ น หนุ่ ม ของวั ด ได้เริ่มต้นทำให้วัดสุทัศน์เป็นวัดที่เปิดทุกวัน จากที่เคยเปิดเฉพาะ วันพระ เพื่อให้ญาติโยมที่ต้องการที่พึ่งทางใจได้มีโอกาสเข้าวัด พร้อมกับทำให้วัดสุทัศน์เป็นที่รู้จักทั้งในด้านความงาม ประวัติ และคุณค่าของวัดต่อสังคมวัฒนธรรมกรุงเทพฯ ต่อมาในช่วง ๒-๓ ปี ก่อนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านได้มีโอกาสไปที่วัดสามพระยา (บางขุนพรหม) พบว่าที่นั่นมีการสวดมนต์และฟังเทศน์เป็นประจำทุกวันในตอน เย็น โดยพระสงฆ์ผู้ใหญ่ของวัดสามพระยาได้อธิบายให้ท่านฟังว่า การสวดมนต์และฟังเทศน์เป็นประจำทุกวันเป็นประเพณีโบราณ สำหรั บ วั ด ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงสร้ า งในเขตกำแพงพระนคร แต่ มี เ พี ย งวั ด สามพระยาที่ ยั ง คงรั ก ษาประเพณี นี้ ไ ว้ พระราชวิจิตรฯ เห็นว่าวัดสุทัศน์ก็เป็นวัดหลวงขนาดใหญ่ในพระนครที่

พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงสร้ า ง และจากคำบอกเล่ า ของคนรุ่ น เก่ า ทำให้ ทราบว่าในอดีตเมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดสุทัศน์จะมีการ เทศน์ตั้งแต่หัวค่ำยันย่ำรุ่ง ซึ่งน่าจะฟื้นประเพณีโบราณนี้ นอกจากนี้ ในพระพุ ท ธศาสนายั ง มี ก ารกล่ า วถึ ง สวรรค์ ชั้ น ดาวดึ ง ส์ ว่ า มี ป ระเพณี ฟังเทศน์ตลอดช่วงเข้าพรรษาในเมืองมนุษย์ โดยจะมีพระอริยบุคคลหรือ เทวดานั กเทศน์ น าม “สนั งการกุมาร” มาเทศน์ ตลอดช่วงเข้าพรรษา ซึ่งชื่อ “วัดสุทัศน์” ก็พ้องกับ “สุทัสสนคร” ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสวรรค์ ชั้ น ดาวดึ ง ส์ นอกจากนี้ พ ระราชวิ จิ ต รฯ ยั ง เห็ น ว่ า ในตอนกลางคื น คนกรุงเทพฯ ไม่มีที่ไป ทำให้เกิดความเคว้งคว้างทางจิตวิญญาณ ด้วย ไม่มีวัดที่เปิดรับคนในยามกลางคืน ด้วยเหตุดังที่กล่าวมา พระราชวิจิตรฯ และคณะสงฆ์ ตลอดจน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงจัดโครงการกิจกรรมเปิดพระอารามสวดมนต์ใน เวลา ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. และฟั ง เทศน์ ใ นเวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. นอกจากนั้นในวันพระจะมีการสวดมนต์ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. ณ พระวิ ห ารหลวง วั ด สุ ทั ศ นเทพวรารามฯ เมื่ อ เริ่ ม ต้ น โครงการนี้ มี ญาติโยมเข้าร่วมเพียง ๓๐-๔๐ คนเท่านั้น ต่อมาเพิ่มขึ้นเป็นคืนละ ๒๐๐๓๐๐ คน บางคืนมีถึง ๕๐๐ คน จนกระทั่งปัจจุบันนับเป็นเวลา ๑๕ ปี แล้ว นอกจากนี้กิจกรรมลักษณะนี้ได้เผยแพร่ไปยังวัดใกล้เคียง เช่น วัดมหรรณพารามและวัดเทพธิดาราม ซึ่งพระราชวิจิตรฯ เห็นว่า นี่คือ ความภูมิใจที่วิถีพุทธ วิถีไทย ได้รับการฟื้นฟูอย่างมีความหมายและมี การกระทำอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ทำไมคนวัยทำงานในกรุงเทพฯ จึงหันมา สวดมนต์ฟังเทศน์ เพราะธรรมชาติของการทำงานในปัจจุบันทำให้คน ห่างเหินจากศาสนา โดยเริ่มตั้งแต่ยุคสมัยนิกส์ สมัยต้มยำกุ้ง สมัยประชา นิยม จนมาถึงสมัยบ้านเมืองแตกแยกอย่างทุกวันนี้ จากหนังสือ “มองอนาคต” อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้กล่าว ถึงภาวะสังคมที่ถอยห่างจากศาสนาซึ่งสามารถจับความตอนหนึ่งได้ว่า วิถีชีวิตสมัยใหม่ที่ส่งเสริมให้บุคคลเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะตนหรือปัจเจก จนละเลยประโยชน์ ส่ ว นรวมอั น เป็ น พื้ น ฐานความอยู่ ร อดของมนุ ษ ย์ รวมทั้ ง หั น หลั ง ให้ กั บ ศาสนาอั น เป็ น หลั ก พื้ น ฐานที่ น ำไปสู่ ศี ล ธรรม จริยธรรม ตลอดจนความเข้าใจชีวิตและโลกทัศน์ และความสัมพันธ์ ระหว่างชีวิตตนเองกับชีวิตผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นมนุษย์เงินเดือนใน กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่ขาดจากศาสนาในระยะ ๒๐ ปีลงมานี้ จึงขาดความ มั่นคงทางจิตใจ ดังเช่นที่พระราชวิจิตรปฏิภาณได้กล่าวถึงคนกรุงเทพฯ ที่ “เคว้งคว้างทางวิญญาณ” จนทำให้สภาพสังคมกรุงเทพฯ และเมือง ใหญ่หลายแห่งที่ไม่อยู่ในทำนองคลองธรรมจนกลายเป็นความสับสน โดยทั่ ว ไป คนส่ ว นใหญ่ จึ ง หั น ไประบายความรู้ สึ ก ด้ ว ยการเที่ ย วห้ า ง

การสวดมนต์และฟังเทศน์ภายในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวรา- รามฯ ซึ่งมีการปฏิบัติเป็นประจำ

สรรพสินค้า เที่ยวผับ บาร์ คาราโอเกะ ในขณะที่ ค นจำนวนมากหั น ไปหาห้ า งสรรพสิ น ค้ า คนอี ก จำนวนหนึ่งหันไปหาศาสนา เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกที่กระแสของ ศาสนาได้แพร่หลายในสังคมชนชั้นกลางตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมา เช่น การออกสื่อของพระภิกษุสงฆ์สำคัญหลายรูป การเกิดกิจกรรมอบรม ธรรมะอย่างแพร่หลาย รวมทั้งกิจกรรมสวดมนต์ฟังเทศน์ที่พระวิหาร หลวงวัดสุทัศนเทพวรารามฯ แห่งนี้ พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวรารามฯ เป็นที่ประดิษฐานพระ ศรีศากยมุนี พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้ชะลอมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุที่สุโขทัย เพื่ อ ให้ เ ป็ น พระพุ ท ธรู ป กลางพระนคร เคี ย งคู่ กั บ เทวสถานโบสถ์ พราหมณ์และเสาชิงช้าในย่านเดียวกัน ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคต ไม่นาน นับเป็นการสืบทอดความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปโบราณให้เป็น สิ ริ ม งคลแก่ บ้ า นเมื อ งใหม่ ต ามธรรมเนี ย มของบ้ า นเมื อ งโบราณ เช่ น สุโขทัย อยุธยา น่าสังเกตว่าการกำหนดให้พระวิหารหลวงเป็นหลักของวัดนั้น เป็ น สิ่ ง ที่ ผิ ด แปลกไปจากคติ ข องการสร้ า งวั ด ในภาคกลางของสยาม ประเทศราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ หรือปลายกรุงศรีอยุธยาลงมา ที่กำหนด

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ขณะร่วมเสวนาเรื่อง “เมืองเวียงพางคำ และพระเจ้าพรหมมหาราช”


จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หมายเหตุจากผู้อ่าน ให้พระอุโบสถเป็นหลักของวัด หากเป็นสิ่งที่พ้องกับคติของ การสร้างวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในลังกา พม่า ลาว ล้านนา แม้แต่ในภาคกลางและภาคใต้ของสยามประเทศ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นอย่างน้อย ดังจะเห็นได้จากพระ วิ ห ารหลวงในวั ด มหาธาตุ เ มื อ งลพบุ รี สุ พ รรณบุ รี อยุ ธ ยา สุโขทัย ฯลฯ (ซึ่งพระศรีศากยมุนีเป็นพระประธานของพระ วิ ห ารหลวง วั ด มหาธาตุ เ มื อ งสุ โ ขทั ย ในยุ ค สมั ย นี้ ) โดย ประชาชนจะมาประกอบพิ ธี ก รรมสำคั ญ หรื อ สั ก การบู ช า พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองในพระวิหาร ส่วนพระอุโบสถมีความ สำคัญรองลงมา คือเป็นที่สำหรับพระสงฆ์ประกอบพิธีกรรม เท่านั้น หากคติเช่นนี้ได้หายไปจากสังคมภาคกลางในช่วง ปลายกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า ยังคงสืบทอดคติ เกี่ยวกับพระวิหารหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นวัดสุทัศนเทพวรารามฯ ที่ยังคงรักษาธรรมเนียมดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด อาจเป็ น ไปได้ ว่ า การสร้ า งพระวิ ห ารหลวง วั ด สุ ทั ศ นเทพวรารามฯ เป็ น เพราะแต่ เ ดิ ม พระศรี ศ ากยมุ นี ประดิษฐานในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัยมา ก่อน เมื่อชะลอองค์พระมาไว้ที่พระนครแห่งใหม่จึงได้สืบทอด ธรรมเนียมเดิมไว้ จากการสัมภาษณ์พระมหาพงษ์นรินทร์ ฐิตวงฺโส พระภิกษุปัญญาชนแห่งวัดสุทัศน์อีกองค์หนึ่ง ท่าน ได้ สั น นิ ษ ฐานว่ า อาจเป็ น เพราะความตั้ ง ใจของผู้ ป กครอง สยามในช่ ว งแรกที่ ช ะลอพระศรี ศ ากยมุ นี ม าจากหั ว เมื อ ง ซึ่งต้องการจะประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญอยู่กลางพระนคร เท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะให้เป็นพระอาราม จึงสร้างพระ วิหารหลวงถวาย การฟื้นฟูประเพณีสวดมนต์ ฟังเทศน์ ที่พระวิหาร หลวง วั ด สุ ทั ศ นเทพวรารามฯ โดยคณะสงฆ์ แ ห่ ง วั ด นั้ น นับเป็นการดำเนินตามแนวทางที่พระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ทรงสร้างไว้สำหรับพระนคร ในการสืบทอดบทบาท ของพระวิหารหลวงต่อสังคมวัฒนธรรมภาคกลางของประเทศ ไทยที่มีมาอย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ และสืบทอด ความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระศรีศากยมุนีอย่างสอดคล้องกับจิต วิญญาณของชาวพระนครในยุคปัจจุบัน ซึ่งยังคงต้องการที่พึ่ง เป็นสรณะในโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความสับสนไม่แน่นอน อยู่ทุกเวลา วันใหม่ นิยม ขอขอบพระคุณ พระราชวิจิตรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด สุ ทั ศ นเทพวราราม ราชวรมหาวิ ห าร และพระมหาพงษ์ นรินทร์ ฐิตวงฺโส วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

๑๐

การเกิดใหม่ของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านยาง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านยางในปัจจุบัน

ในอำเภอ เสาไห้ จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

พื้นบ้านขึ้นมาใหม่เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีลุงพิเนตร น้อยพุทธา อดีตครู ภาษาไทยวัย ๗๐ เศษ ซึ่งเคยสอนอยู่ที่โรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยานุกูล เป็นผู้ผลักดันให้พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แต่ในความ เป็นจริงแล้ว ข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ๖๐ ที่จัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ได้นำมาจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งเดิมที่เคยอยู่ ภายในโรงเรียนเสาไห้ฯ แต่ได้ปิดตัวลงไปพร้อมๆ กับการปลดเกษียณ อายุราชการของลุงพิเนตร น้อยพุทธา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐

จุดกำเนิดความคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์

ลุ ง พิ เ นตร น้ อ ยพุ ท ธา ได้ เ ล่ า ให้ ฟั ง ว่ า ในช่ ว งที่ เ ป็ น ครู อ ยู่ ที่ โรงเรียนเสาไห้ฯ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางโรงเรียนได้ส่งลุงพิเนตรไป อบรมเกี่ ย วกั บ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่ โ รงเรี ย น ประเทียบวิทยาทาน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมร่วมจังหวัดเดียวกันกับโรงเรียนเสาไห้ฯ การอบรมในครั้งนี้ทำให้ลุงพิเนตรรู้จักวิธีการและคุณค่าของ การอนุ รั กษ์ ศิล ปวั ฒ นธรรมท้อ งถิ่ น ภายหลั ง ที่ ลุ ง พิ เ นตรเดิน ทางกลั บ มายังโรงเรียนเสาไห้ฯ จึงได้ทำเรื่องขอใช้พื้นที่ภายในโรงเรียนเพื่อเป็น สถานที่รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ในอดีต เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน และผู้ ที่ ส นใจ ซึ่ ง ในเวลาต่ อ มา ผอ.สุ ร ทิ น เวี ย งสารวิ น ผู้ อ ำนวยการ

โรงเรี ย นเสาไห้ ฯ ในขณะนั้ น ได้ ม อบห้ อ งเรี ย นหนึ่ ง ห้ อ งไว้ เ ป็ น แหล่ ง รวบรวมข้ า วของเครื่ อ งใช้ ใ นท้ อ งถิ่ น โดยลุ ง พิ เ นตรได้ ตั้ ง ชื่ อ ห้ อ งนี้ ว่ า “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน” โรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยานุกูล ภายหลังที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านภายในโรงเรียนเสาไห้ฯ แห่งนี้ เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ลุงพิเนตรได้บันทึกไว้ในหนังสือเกษียณอายุ ราชการว่า มีทั้งเพื่อนครู ชาวบ้าน และพระสงฆ์ได้ร่วมกันช่วยจัดหา สิ่งของเครื่องใช้เก่าๆ บ้างอยู่ในสภาพผุๆ พังๆ ที่คนทั่วไปคิดว่าไม่มีค่า นำมามอบให้กับลุงพิเนตรเพื่อจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นจำนวน มาก ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์ใบลาน สมุดไทยขาวไทยดำ หม้อไห หรือแม้แต่ รถสามล้ อ เก่ า ๆ ที่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ ง านแล้ ว อย่ า งไรก็ ต ามหลั ง จากลุ ง พิ เ นตร เกษียณอายุราชการ ห้องพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ไม่มีใครดูแลและสานต่อจน ต้องปิดตัวลงในที่สุด แต่นับว่ายังโชคดีที่ข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ยังคง อยู่ ไม่ได้สูญหายไปไหน

จุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านยาง

ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีคณะบุคคลเดินทางมาจากเทศบาลตำบล บ้านยางซึ่งเป็นพื้นที่ที่ลุงพิเนตรอาศัยอยู่ ได้มาทาบทามให้ลุงพิเนตรลง สมั ค รเลื อ กตั้ ง เป็ น นายกเทศมนตรี ต ำบลบ้ า นยาง ซึ่ ง ลุ ง พิ เ นตรก็ ไ ม่ ขัดข้อง ลุงพิเนตรได้ถ่ายทอดความรู้สึกและเป้าหมายในอนาคตเอาไว้ใน เอกสารเย็บเล่มในชื่อ “ประวัติส่วนตัว พิเนตร น้อยพุทธา” ใจความตอน หนึ่งกล่าวว่า หากได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศบาลตำบลบ้านยางแล้ว นอกจากจะบริหารท้องถิ่นให้มีความสงบเรียบร้อย ยังจะสร้างพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านไว้ที่ตำบลบ้านยางแห่งนี้ เมื่อลุงพิเนตรได้รับเลือกเป็นนายก เทศมนตรี ต ามที่ ไ ด้ ค าดหวั ง เอาไว้ จึ ง ได้ เ ริ่ ม ดำเนิ น การก่ อ สร้ า ง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านทันที

ชาวบ้านจะนำสิ่งของมาให้กับทางพิพิธภัณฑ์อยู่เสมอ หรือไม่ก็มาเอา กลับไป แล้วนำสิ่งของชิ้นอื่นมาให้แทนก็มี และเป็นเช่นนี้อยู่ตลอด ซึ่งก็ เป็ น เรื่ อ งปกติ เพราะพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ค วรจะเป็ น ของทุ ก คน ประชาชนใน ท้องถิ่นควรมีส่วนร่วม การตั้งกฎระเบียบที่หนาแน่นจนเกินไปอาจก่อให้ เกิดผลเสียได้ ดังนั้นบางสิ่งบางอย่างพวกเราทุกคนจึงควรที่จะเรียนรู้ร่วม กันและปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม สำหรับการดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ลุงพิเนตรได้จัดหาและฝึก อบรมคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นที่มีความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์และรักษา วัฒนธรรมท้องถิ่นไว้หลายคน เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลในอนาคต ซึ่งลุง พิเนตรให้เหตุผลว่า หากเป็นคนในท้องถิ่นจะมีความรักและหวงแหน สมบัติในท้องถิ่นของเขามากกว่าคนภายนอกมากมายนัก ในปั จ จุ บั น การก่ อ สร้ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พื้ น บ้ า นแห่ ง นี้ ไ ด้ เ สร็ จ สมบูรณ์พร้อมกับการหมดวาระของลุงพิเนตรในตำแหน่งนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่ได้บริหารงานมา ครบ ๔ ปี อย่ า งไรก็ ต าม ลุ ง พิ เ นตร น้ อ ยพุ ท ธา ยั ง คงเข้ า มาดู แ ล พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ เ พิ่ ง เกิ ด ใหม่ แ ห่ ง นี้ อ ยู่ เ สมอ พร้ อ มกั บ ความคาดหวั ง ว่ า ที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนที่มีความสนใจใคร่รู้ถึงวิถีชีวิต และภูมิปัญญาบรรพบุรุษของพวกเขาต่อไป ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง ๒ หมู่ ๘ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านยางในปัจจุบัน

เริ่ ม แรกลุ ง พิ เ นตรได้ ป ระสานงานไปยั ง กรมโยธาธิ ก ารและ ผังเมืองให้มาออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งได้ติดต่อไปยังโรงเรียน เสาไห้ฯ เพื่อจะนำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ยังคงเก็บรักษาเอาไว้ตั้งแต่ ครั้งมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นภายในโรงเรียนย้ายมาจัดแสดงใน พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้ ซึ่งทางโรงเรียนเสาไห้ฯ ก็ให้ความร่วมมือเป็น อย่างดี การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่เกิดขึ้นภายในบริเวณที่ ทำการเทศบาลตำบลบ้านยาง และใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ๓ ปี

จึงแล้วเสร็จ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์มีการแบ่งสัดส่วนการจัดแสดงข้าว ของเครื่องใช้เป็นมุมต่างๆ เช่น มุมเครื่องใช้สอยในครัวเรือนของคน ในอดีต มุมเครื่องดนตรีพื้นบ้าน มุมการทอผ้าของคนไทยวน มุมอาวุธ มุมเอกสารโบราณ มุมบุคคลสำคัญในท้องถิ่น ซึ่งหากมุมใดมีสิ่งของ เครื่องใช้ไม่ครบองค์ประกอบ ลุงพิเนตรก็จะจัดหามาเพิ่มเติม ทั้งโดยการ ขอรั บ บริ จ าคและการซื้ อ หา เพื่ อ ที่ จ ะให้ มุ ม นั้ น ๆ มี ข้ า วของเครื่ อ งใช้ ครบถ้วนสมบูรณ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาวิถีชีวิต ของคนท้องถิ่นตำบลบ้านยางและอำเภอเสาไห้ในอดีต เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนวัตถุสิ่งของ ลุงพิเนตรอธิบายว่า ในช่ ว งเริ่ ม แรกนี้ ยั ง ไม่ ไ ด้ ด ำเนิ น การทำทะเบี ย นแต่ อ ย่ า งใด เพราะ

ลุงพิเนตร น้อยพุทธา กับท่าทางสบายๆ ภายใน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านยาง

๑๑


ข่าวประชาสัมพันธ์ เปลีย่ นสถานทีบ่ รรยายสาธารณะ โดย มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ “Lek-Prapai Viriyapant Foundation public lecture series”

จากห้องประชุมชั้น ๒ บริษัทป๊อปปูล่า โบรกเกอร์

(เชิ ง สะพานวั น ชาติ ใกล้ ห้ อ งอาหารดรรชนี ) มาเป็ น ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารที่ทำการมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ สี่แยกสะพานวันชาติ ถนนพระสุเมรุ แขวง บวรนิ เ วศ เขตพระนคร กรุ ง เทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘

¶¹¹´Ô¹ÊÍ

¶¹¹ ͹ØÊÒÇÃÕ ÃÒª´Óà¹Ô¹¹Í¡ »ÃЪҸԻäµÂ ä»Ê¹ÒÁËÅǧ

ÃÃ. ʵÃÕÇÔ·ÂÒ

ºÃÔÉÑ·»ˆÍº»ÙÅÒ‹ âºÃ¡à¡ÍÃ

ÊоҹÇѹªÒµÔ

¶¹¹¾ÃÐÊØàÁÃØ

ÁÙŹԸÔàÅç¡-»ÃÐä¾ ÇÔÃÔÂоѹ¸Ø

บรรยายสาธารณะ ครั้งที่ ๔ ปี ๒๕๕๓

ความสำคัญของ “ปอเนาะ” ใน “สังคมมุสลิมท้องถิน่ ” ชายแดนใต้ บรรยายโดย ชารีฟ บุญพิศ

วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.

สถานศึกษาทางศาสนาที่เรียกกันว่า “ปอเนาะ” ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นที่รู้จักมาก

ขึ้นตามลำดับ พร้อมๆ กับช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ แต่ก็มักถูกนำเสนอเชิงอุดมคติ ปัจจุบันปอเนาะยังคงถูกมองอย่างเคลือบแคลงสงสัยใน ฐานะที่เป็นแหล่งบ่มเพาะความคิดทางศาสนาที่อาจเกินเลยนอกแนวทางได้ อย่างไรก็ ตามสถานศึกษาแบบปอเนาะยังมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อชีวิตของคนมุสลิม ท้องถิ่นในพื้นที่ห่างไกล อดีตนักเรียนปอเนาะ “ชารีฟ บุญพิศ” จะมาบอกเล่าถึงปอเนาะ ในฐานะที่เป็นโอกาสในการศึกษาโลกธรรมและการสร้างชีวิตให้ดีกว่าเดิม

บรรยายสาธารณะครั้งที่ ๓ ปี ๒๕๕๓ เลื่อนจากวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๔๓ เนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง บริเวณถนนราชดำเนิน เป็นในวันพุธที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓

“ภูเก็ตภูมิ [Phuket Scape]” ความเคลือ่ นไหว ทางสังคมและวัฒนธรรมของคนเมืองภูเก็ต

บรรยายโดย สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ พื้นที่เมืองภูเก็ตคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ในอดีตคือเมืองอุตสาหกรรมดีบุกที่เต็มไป ด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์มาผสมผสาน ทำให้เกิดเอกลักษณ์แบบภูเก็ต สิ่งเหล่านี้ ถูกจัดการสร้างกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของคนภูเก็ตในปัจจุบัน ทั้งพิพิธภัณฑ์ เอกสารสิ่ ง พิ ม พ์ กิ จ กรรมเพื่ อ การเรี ย นรู้ แ ละการท่ อ งเที่ ย ว สร้ า งความคึ ก คั ก ทาง วัฒนธรรมแก่คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวทั้งจากคนไทยและต่างชาติ บอกเล่าโดย ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ รอบรู้ วิริยะพันธุ์ กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร เศรษฐพงษ์ จงสงวน กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ตวงพร วิชญพงษ์กุล นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง ปกรณ์ คงสวัสดิ์ ภาณุพงษ์ ไชยคง นิลุบล ศรีอารีย์

๑๒


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.