จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๔ ประจำเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๓

Page 1

ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๘๔ พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๓

จดหมายข่าว

มูลนิธิเล็ ก -ประไพ วิ​ิ ริ ย ะพั น ธุ์ LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION

เผยแพร่ความรู้เรื่องสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก จดหมายข่าวมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ราย ๒ เดือน มีวตั ถุประสงค์เพือ่

เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารจากการดำเนินงานของมูลนิธฯิ และยินดีเป็นเวทีตพี มิ พ์ บทความ ประสบการณ์ ทรรศนะ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ จากหน่วยงานด้านสังคม วัฒนธรรมและผูส้ นใจทัว่ ไป อันจะนำไปสูเ่ ครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา การสร้างและพัฒนาองค์ความรูเ้ รือ่ งเมืองไทยให้คงอยูต่ ลอดไป

หากต้องการบอกรับเป็นสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ กรุณาส่งชื่อที่อยู่พร้อมแสดมป์ ๖ ดวงต่อปี มายังที่อยู่ท้ายฉบับ

เ ปิ ดประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

รัฐใหม่หรือสังคมใหม่ การเปลีย่ นวิบตั ใิ ห้เป็นโอกาส ในกบฏเสือ้ แดง

กบฏเสื้อแดงที่ต่อต้านรัฐบาลและก่อความรุนแรงจนฆ่ากันตายและบาดเจ็บ

ส า ร บั​ั ญ

เป็นจำนวนมากตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายนที่ผ่านมา คือปรากฏการณ์ที่ทำให้เห็น ความล่มสลายทางศีลธรรมและจริยธรรม [Demoralization] ของคนในสังคมที่ มาสู่สภาวะความล่มสลายของความเป็นมนุษย์ [Dehumanization] ในขณะนี้ มีเหตุมาจากความละโมบ [Greed] และโมหะ [Angry] ของนักธุรกิจการเมืองที่ มอมเมาปลุกปั่นและจ้างวานให้ประชาชนด้อยโอกาสที่ไม่ได้รับสิทธิ์และความ เป็นธรรมจากการปกครองและบริหารงานของรัฐบาลแทบทุกยุคทุกสมัย เกิด อารมณ์ ค วามเกลี ย ดชั ง โดยแสดงออกด้ ว ยความรุ น แรงและไม่ ฟั ง เหตุ ผ ล แต่อย่างใด

เปิดประเด็น รัฐใหม่หรือสังคมใหม่ : การเปลี่ยนวิบัติให้เป็นโอกาสในกบฏเสื้อแดง...................................................................................................................... ๑ บันทึกจากท้องถิ่น ชุมชนป้อมมหากาฬ : ฟื้นพลังชุมชนจากเหตุความไม่สงบทางการเมือง................................................................................................................. ๕ หมายเหตุจากผู้อ่าน หลักมั่นหลักคง : เรื่องราวหลักประโคนเขตแดนสยาม-น่าน.................................................................................................................................. ๖ จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดงแม่นางเมือง แกนหลักแห่งการสร้างสำนึกและประวัติศาสตร์ของคนท้องถิ่น...................................................................................................... ๘ วัดขนอนมิใช่มีเพียงพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ แต่ชีวิตผู้คนล้วนน่าจดจำ................................................................................................................... ๑๐

กลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทางกับการอบรมยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง................................................................................ ๑๑ ข่าว กิจกรรม และความเคลื่อนไหว.................................................................................................................................................................. ๑๓


นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมเสรีอย่างทางตะวันตก ที่มี การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้ามานั่งในรัฐสภานั้น ถือเป็นการผ่องถ่าย อำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระมหากษัตริย์ อันเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ จากความเชื่อเบื้องบนมาสู่อำนาจสาธารณ์ข้างล่าง คือของปวงชนนั่นเอง อันอำนาจในการปกครองของพระมหากษัตริย์ในระบอบเดิมนั้น เป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจ แต่ก็ ไม่ได้ให้นำอำนาจไปใช้แบบเปล่าๆ ตามพระราชหฤทัย หากต้องใช้อยู่ใน กรอบและกติกาทางศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ นั้นต้องเรียนรู้และรับรู้ด้วยการผ่านการอบรมและผ่านการยอมรับตาม ขั้ น ตอนต่ า งๆ ในช่ ว งพระชนม์ ชี พ ล้ ว นเป็ น ขั้ น ตอนที่ ท ำให้ พ ระมหากษัตริย์ทรงพ้นจากความเป็นคนธรรมดามาเป็นพระสมมติเทพ คือเมื่อผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ต้องทรงอยู่เหนือ ความเป็ น ญาติ พี่ น้ อ งของใครและของพวกใด นอกจากของประชาชน ทั้งหมดในรัฐสีมา ทรงเป็นพระธรรมราชาที่จะยังความสงบสุขภายในแก่ ประชาชนด้วย “ทานบารมี” ที่ทำให้คนยากไร้ได้มีความสุขทั้งกายและใจ ทรงอุปถัมภ์ทุกพระศาสนาในราชอาณาจักรอย่างเสมอภาค แม้พระองค์ จะทรงเป็นพุทธศาสนิกก็ตาม นับเป็นการปกครองด้วยพระคุณ แต่ใน ขณะเดียวกันก็ทรงเป็นพระราชาธิราชในการใช้พระเดช เป็นจอมทัพเพื่อ ป้องกันภัยจากภายนอก และทรงปราบปรามความไม่สงบภายในด้วย ความยุติธรรม สังคมไทยสมัยพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศนั้น ประกอบ ด้วยสังคม ๒ ระดับ คือ ระดับบนและระดับล่าง ระดับบนคือสังคมของ เจ้าขุนมูลนาย หมายถึงพวกผู้ปกครองอันมีพระมหากษัตริย์อยู่สูงสุด และ ลดหลั่นกันลงมาด้วยเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ ส่วนระดับล่างเป็นสังคม ของคนธรรมดาที่ถูกปกครอง เรียกกันว่าพวกไพร่หรือไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ที่อยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ในราชอาณาจักร สังคมทั้งสองระดับนี้ต่างพึ่งพิงกันด้วยระบบอุปถัมภ์ [Patron and client relationship] นั่นก็คือคนระดับล่างที่เรียกว่า “ไพร่” อันเป็นผู้ ถูกปกครองจะมองคนในระดับบนเป็นที่พึ่งตลอดเวลา รวมทั้งมุ่งหวังที่จะ ให้ลูกเต้าของตนไต่ระดับไปเป็นเจ้าขุนมูลนายบ้าง โดยอาศัยการศึกษา จากการเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรมจากวัด เข้ามารับราชการ โดย ฝากตัวกับบรรดาขุนนางข้าราชการที่เป็นเจ้าขุนมูลนาย ส่วนคนระดับบน ก็พึ่งพิงแรงงานและการบริหารจากคนเบื้องล่าง ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองระดับนี้มีคุณธรรมที่มาจาก ศาสนาในเรื่องศีลธรรมและจริยธรรมควบคุม เพื่อไม่ให้เอาเปรียบ และกดขี่กัน ซึ่งก็รวมไปถึงพระราชอำนาจในทางทศพิธราชธรรม ของพระมหากษัตริย์ด้วย สั ง คมต่ า งระดั บ ที่ ป ระกอบด้ ว ยไพร่ แ ละเจ้ า ขุ น มู ล นายนี้ ใน ภาษาทางสังคมศาสตร์เรียกว่า “สังคมชาวนา” [Peasant society] กับ “สังคมกฏุมพี” [Bourgeois society] โดยทั่วไป กฎุมพี หมายถึงคนผู้ ประกอบการทางการค้า เป็น “คนชั้นกลาง” [Social middle class] ที่แฝง ตัวอยู่กับคนที่เป็น “ขุนนางข้าราชการ” [Bureaucrat] ในลักษณะ กินดอง [Cognatic relationship] เป็นเครือญาติ เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ อันเป็น สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เลียนแบบการปกครองแบบอาณานิคมจาก ทางยุโรปเข้ามาใช้ ได้มีการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดขึ้น ทำให้คนกฎุมพีที่ เป็นพวก “พ่อค้าผู้ประกอบการ” [Entrepreneur] แยกตัวเป็นคนชั้นกลาง โดยอิสระ การเกิ ด ชนชั้ น กลางดัง กล่ าวนี้ แ ลเห็น ชัดแต่ สมั ย รั ชกาลที่ ๕

ช่วงที่มีการปลูกข้าวเป็น พืชเศรษฐกิจ [Cash crop] อย่างกว้างขวาง มี การถางป่าปรับโคกดอนให้เป็นนาข้าว ขุดคลองชลประทานให้มีการขยาย ตัวของชุมชนหมู่บ้านจากเดิมริมลำน้ำลำคลองไปสู่ทุ่งโล่ง มีแหล่งสีข้าว โรงสีของคนชั้นกลางที่มักเป็นคนจีนหรือลูกหลานเชื้อสายจีนกระจายอยู่ ทั่วไป ซึ่งเห็นได้จากปล่องโรงสีแต่ไกลๆ ในขณะเดียวกันการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นครั้งรัชกาลที่ ๕ ที่ มี ก ารแบ่ ง เขตบริ ห ารและการปกครองออกเป็ น หมู่ บ้ า น ตำบล และ อำเภอ ก่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข องคนในสั ง คม ชาวนา [Peasant] แต่เดิมที่เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นอันประกอบ ด้วย “บ้านและเมือง” ให้เพี้ยนไป บ้านและเมืองเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม สร้างขึ้นโดยการอยู่ ร่วมกันของคนในที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เป็นพื้นที่ซึ่ง คนในชุมชนถือว่าเป็นแผ่นดินเกิด (ชาติภูมิ) ร่วมกัน ดังคำพังเพยที่ ว่า “บ้านเกิดเมืองนอน” การขยายพื้นที่ทำนาให้เกิดทุ่งนาขึ้นมากมาย การขุดคลองเพื่อ การชลประทานในการเกษตรและการสร้างทางรถไฟและถนนหนทางขึ้น มาแทนการใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำอย่างแต่เดิมนั้น ทำให้เกิดย่าน ชุมชนบ้านเมืองที่ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอไปตาม ท้องถิ่นต่างๆ มากมาย ที่เป็นไปตามรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมอบอำนาจในการปกครองให้แก่ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ การปกครองแบบอำนาจรวมศูนย์นี้แม้ว่าจะเกิดขึ้น มาแทนรูปแบบการปกครองบ้านและเมืองแบบเก่าในระบบพ่อบ้านและเจ้า เมืองก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีผลกระทบกับชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชน ท้องถิ่นเท่าใด เพราะผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวโยกย้ายถิ่นฐาน ไปมา แม้ว่าจะมีคนกลุ่มใหญ่เข้ามา แต่สังคมชาวนาเดิมก็ยังสามารถ บูรณาการให้คนใหม่กลายเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันกับคนรุ่นเก่าๆ ได้ ดัง เห็นได้ว่าคนชั้นกลางที่เข้ามาเป็นผู้ประกอบการค้าขายและตั้งโรงสีสีข้าว ซื้อข้าว และค้าข้าวนั้น มีการผสมผสานในการแต่งงานกับคนท้องถิ่น ทำ ให้เกิดตระกูลคนรวยคนจนขึ้น แต่ก็ยังไม่มีลักษณะของ “ชนชั้นหรือ Class” ซึ่งแลเห็นได้จากรูปลักษณะใน “การดำรงชีวิตหรือ Life style” ทำให้ชุมชนท้องถิ่นแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมานั้นเกิดเป็น ชุมชนชาวนา [Peasant] ที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมกสิกร [Farmer] อันมีทั้งวัฒนธรรมนายทุนผสมกับวัฒนธรรมชาวนาอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันนั้นมักเป็นคนในท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านรู้จักว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี มีโคตรเหง้าเหล่ากอเป็นเช่นใด คน เหล่านี้ถูกเลือกขึ้นมาโดยคนใน เพราะเห็นว่าเป็นคนใจกว้าง มีคุณธรรม เป็นทีพ่ งึ่ ของคนทัง้ หลายได้ รวมทัง้ สมัครใจขึน้ มาทำหน้าทีด่ ว้ ยความเสียสละ เพราะเงินทีไ่ ด้รบั เป็นเงินประจำตำแหน่งทีไ่ ด้มาจากรัฐไม่เพียงพอกับ การเลี้ ย งชี พ แต่ อ ย่ า งใด ทำให้ ค วามเป็ น ผู้ ใ หญ่ บ้ า นและกำนั น ยั ง คง พฤติกรรมของการเป็นพ่อบ้านและเจ้าเมืองแต่สมัยก่อนๆ อยู่ จนเมือ่ มีการ เปลีย่ นแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็น ต้นมา จนถึงสมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม ความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม นั้น เห็นได้จากความพยายามของผู้นำประเทศที่จะทำให้การ ปกครองเป็น “การปกครองของรัฐเผด็จการเชื้อชาตินิยม” ที่พยายาม ทำให้ความเป็นพหุสังคมของคนหลายชาติพันธุ์ในสังคมท้องถิ่นกลายเป็น สังคมเอกลักษณ์ที่มีคนเชื้อชาติไทยเป็นประชาชนที่มีสิทธิ์มากกว่าคน ชาติพันธุ์อื่นๆ ในขณะเดียวกันก็มีการเติบโตของนายทุนที่เป็นพ่อค้าและ

เจ้ า ของที่ ดิ น ที่ มี อิ ท ธิ พ ลขึ้ น นำความขั ด แย้ ง ในเรื่ อ งที่ ท ำกิ น และการ ประกอบการที่เอาเปรียบชาวบ้านขึ้น ในยุคนี้จึงเกิดการรวมตัวของบรรดา “นั ก เลงโต” (ผู้ มี ใ จคอกว้ า งขวางและรั ก ท้ อ งถิ่ น ) ขึ้ น เป็ น พวกนอก กฎหมายในรู ป แบบของพวกเสื อ หรื อ โจร ออกปล้ น ฆ่ า พวกนายทุ น คนร้าย และพวกพ้อง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้นำไปสู่การพัฒนากรมตำรวจขึ้น ให้มี อำนาจปราบปรามเด็ดขาด ที่มีผลไปถึงการทำลายระบบการไกล่เกลี่ยกัน ในเรื่องความขัดแย้งในสังคมท้องถิ่น ที่แต่เดิมเป็นการจัดการโดยคนใน ที่ มีพ่อบ้านเจ้าเมืองและผู้อาวุโสดำเนินการกันเอง เมื่อไกล่เกลี่ยกันไม่ได้จึง ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล พึ่งตำรวจในขั้นสุดท้าย ตำรวจกลายเป็นหนึ่งในบรรดา คนนอกที่เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงเวลานี้ ซึ่ง ได้ แ ก่ พ วก “ตำรวจ ลิเก เรือเมล์ รถไฟ” เพราะตำรวจไม่ ไ ด้ เ ข้ า ไปใน ท้องถิ่นเพียงทำหน้าที่รักษากฎหมายเท่านั้น หากยังมีสถานภาพของ ความเป็นข้าราชการที่มีอำนาจให้คุณและโทษแก่คนธรรมดาที่เป็นชาว บ้านชาวเมืองได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีคดีความ จึงมีการเข้าหาตำรวจ เพื่อพึ่งพิงและติดสินบน อันเป็นที่มาของการคอร์รัปชั่นกินบ้านกินเมือง กรมตำรวจครั้งพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีนั้น มี สภาพและสถานภาพเที ย บเท่ า กองทั พ ที่ เ ปลี่ ย นให้ รั ฐ ไทยในระบอบ ประชาธิปไตยกลายเป็นรัฐตำรวจ มียศศักดิ์และศักดิ์ศรีเท่ากับกองทัพ ทหาร และเป็นทั้งกลไกและเครื่องมือของรัฐที่รวมศูนย์มากกว่าการรวม ศูนย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครั้งรัชกาลที่ ๕ เสียด้วยซ้ำ การสร้างตำรวจให้เป็นกองทัพคือสิ่งที่ทำให้รัฐไทยแต่สมัย จอมพล ป. พิบลู สงคราม เป็นต้นมากลายเป็นรัฐทรราชย์ [Tyranny] เพราะเป็นกลไกที่ทำให้รัฐมีอำนาจเหนือสังคมและไม่เป็นอัน หนึ่งอันเดียวกับสังคม เปิดโอกาสให้คนชั่ว คนขาดศีลธรรม ทั้งที่เป็น นายทุนและข้าราชการอันเป็นพวกพ้องของตำรวจประพฤติสิ่งที่ทุจริต คอร์รปั ชัน่ เกิดความโลภ ความต้องการด้านวัตถุและเงินทอง จนขาดศีลธรรม และจริยธรรม แต่ก่อนกลุ่มคนที่อยู่นอกกฎหมายที่สร้างความไม่สงบขึ้น ในชุมชนและสังคมคือพวกโจรพวกเสือ แต่มาถึงสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พวกโจรพวกเสือหมดไป กลายเป็นกลุม่ ของพวกเจ้าพ่อขึน้ มาแทน พวกเจ้าพ่อก็คือกลุ่มพวกมาเฟียที่มีในสังคมเมืองทางตะวันตก พวกนี้เป็นมิตรกับตำรวจ มีตำรวจเป็นพวกพ้อง คนพวกนี้มีเป็นจำนวน มากตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ กลายเป็นผู้มีอิทธิพลทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมืองที่ได้พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ใช้ระบบการ เลือกตั้งแบบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนเข้ามามีอำนาจในการปกครอง ท้องถิ่นในรูปของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อบต. และกลายเป็นผู้แทนของ ท้องถิ่นเข้าไปนั่งในรัฐสภา การพั ฒ นาประเทศในยุ ค สงครามเย็ น สมั ย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เจ้าของคำขวัญที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” นั้น ได้ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอันเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มั่งคั่งด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมเช่นที่เห็นกัน ในทุกวันนี้ เป็นสังคมที่พัฒนาขึ้นจากความโลภความอยากของบรรดาผู้ ประกอบการที่มีความสัมพันธ์กับตำรวจ ทหาร ข้าราชการแทบทั้งสิ้น ซึ่ง แต่เดิมนั้นเริ่มแต่พึ่งพิงบรรดาผู้มีอำนาจทางราชการเหล่านี้ก่อน ด้วยการ ติ ด สิ น บนให้ เ กิ ด การคอร์ รั ป ชั่ น ขึ้ น ในรั ฐ บาลเผด็ จ การที่ เ ป็ น ทหาร แต่ ปัจจุบันคนชั่วร้ายนายทุนเหล่านี้ได้พัฒนาตนเองขึ้นเป็นนักธุรกิจการเมือง ที่ มี อ ำนาจควบคุ ม เศรษฐกิ จ ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ในลั ก ษณะที่ เ ป็ น เจ้ า พ่ อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อบต. อบจ. บ้าง ตลอดจนถึงในระดับประเทศ เข้าไปมีที่นั่งในรัฐสภาในฐานะผู้แทนสังกัดในพรรคการเมืองที่ล้วนแต่ต่อสู้

บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๓

ช่ ว งชิ ง กั น เข้ า มาเป็ น รั ฐ บาล เพื่ อ มี ต ำแหน่ ง และอำนาจหน้ า ที่ ใ นการ บริหารเป็นรัฐมนตรี ที่สามารถควบคุมบรรดาข้าราชการทั้งทหารและ พลเรือนให้มาเป็นพวกพ้องในการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและ พรรคพวก การเข้ามามีอำนาจหน้าที่ในการปกครองและบริหารประเทศ ของคนเหล่านี้มักอ้างว่าเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมในระบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย เพราะเป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้เลือกตั้งตนเข้ามา แต่ ความเป็ น จริ ง บรรดาผู้ แ ทนเหล่ า นี้ โดยเฉพาะพวกที่ มี อ ำนาจและ ประพฤติชั่วร้ายในการคอร์รัปชั่นโกงกิน ล้วนเป็นนักธุรกิจที่ขาดศีลธรรม และจริยธรรม ที่ซื้อเสียงให้ประชาชนเลือกตั้งตนเข้ามาทั้งสิ้น หาได้มี อุดมคติในเรื่องความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่ การมีรัฐเป็นประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนหรือมีผู้แทนนั้น เป็น ประเพณีวัฒนธรรมของทางตะวันตกที่เป็นสังคมที่คนในระดับล่างที่เรียก ว่าไพร่ฟ้าประชาชนในสังคมไทยนั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้มแข็งเป็นตัว ของตัวเอง อันเกิดจากการเรียนรู้และการอบรมทางสังคมให้อยู่กันได้ด้วย การพึง่ พิงซึง่ กันและกัน โดยมีสำนึกร่วมของประโยชน์ของส่วนรวมร่วมกัน ซึ่งต่างกับสังคมไพร่ของไทยที่คนข้างล่างถูกอบรมบ่มนิสัยให้ คอยพึ่งผู้อื่นที่มีความสามารถ มีสติปัญญาและมีคุณธรรมในระบบอุปถัมภ์ ทำให้เกิดความเคยชินและยอมรับการกระทำของบุคคลที่เป็นผู้นำและ ผู้แทนเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เปลี่ยนประเทศให้ เป็นสังคมอุตสาหกรรมนั้น ได้ทำให้บรรดาคนที่มีสติปัญญาเป็นผู้ประกอบ การทางเศรษฐกิ จ ได้ เ ข้ า ถึ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ ข องท้ อ งถิ่ น ดำเนิ น กิจกรรมทางเกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมแบบแปรรูป กลายเป็น เศรษฐี นายทุน และนักการเมืองในท้องถิ่นขึ้นนั้น คนเหล่านี้ล้วนเป็น ผู้แทนที่มีความสามารถทางเศรษฐกิจ แต่ขาดคุณธรรมทางด้านศีลธรรม และจริยธรรม ได้มอมเมาและชี้แนะให้คนที่เป็นชาวบ้านที่หวังพึ่งตนเกิด ความโลภในทางวัตถุ เป็นเหยื่อของเศรษฐกิจ ทุ น นิ ย มที่ เ น้ น ความเป็ น ปั จ เจกอั น ขาดสำนึ ก ในเรื่ อ งของ ประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันอย่างที่เคยมีมา ทำให้สังคมของคนรุ่นใหม่ที่ ปัจจุบันอยู่ในรุ่นพ่อและรุ่นลูกที่ถูกอบรมมอมเมาและชี้แนะให้เกิดความ ต้องการทางวัตถุและความโลภเพื่อตนเองและพรรคพวก พัฒนาขึ้นตาม ขั้นตอนดังต่อไปนี ้ ขั้นแรก เกิดขึ้นแต่สมัยรัฐบาลพรรคกิจสังคมครั้ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ผันเงินลงสู่ชนบทเพื่อแก้ไขเศรษฐกิจของ


บันทึกจากท้องถิ่น ชาวบ้าน ได้ทำลายประเพณีของการร่วมแรงร่วมมือกันของคนในชุมชน ท้องถิ่น ที่จัดการดูแลตนเองในกิจการสาธารณูปโภค เช่น สร้างถนน ลอกคู ค ลอง และสร้ า งทำนบเพื่ อ การชลประทานและการคมนาคมให้ สิ้นสุดลง โดยที่ชาวบ้านต่างรอคอยเงินจ้างที่รัฐบาลผันมาให้เพื่อเป็น รายได้ เงินเหล่านี้มักผันลงมายังกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งรัฐมอบอำนาจให้ เป็นผู้ปกครองท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในตำแหน่งเหล่านี้โกงกิน ทำให้ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านและกำนันกลายเป็นตำแหน่งที่มีการเลือกตั้ง หาเสี ย งและซื้ อ เสี ย ง ที่ ท ำให้ ค นนอกเข้ า มามี อิ ท ธิ พ ลเป็ น เจ้ า พ่ อ และ นักการเมืองท้องถิ่นได้ การผั น เงิ น ในลั ก ษณะนี้ ท ำให้ รั ฐ บาลในสมั ย ต่ อ มาใช้ เ ป็ น แนวทางและเลียนแบบ เช่น การแจกช่วยเหลือในโครงการมิยาซาว่าและ อื่นๆ ที่สืบทอดมายังการให้เงินกองทุนอุดหนุนหมู่บ้านในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้ชาวบ้านคาดหวังและรอคอยแบบขอทาน อย่างไม่ตั้งใจในการทำมาหากิน ขั้นที่สอง คือ การซื้อขายที่ดินและปั่นหุ้นปั่นที่ดินในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ทำกินในการเกษตร แบบพอเพี ย ง ผั น ตั ว เป็ น แรงงานติ ด ที่ ดิ น ในแหล่ ง อุ ต สาหกรรมของ นายทุ น ทั้ ง ในชาติ แ ละข้ า มชาติ หรื อ ไม่ ก็ โ ยกย้ า ยถิ่ น ฐานเข้ า ไปเป็ น แรงงานในเมืองและท้องถิ่นต่างๆ และ ขั้นที่สาม คือ การยกระดับการปกครองท้องถิ่นที่เห็น ว่ามีศักยภาพในการปกครองตนเองให้เป็น อบต. และ อบจ. โดยมี การเลือกตั้งผู้แทนเข้ามา ผู้ที่เสนอระบบนี้ขึ้นมามักอ้างว่าเป็นการ กระจายอำนาจ แต่แท้จริงแล้วก็คือ การมอบอำนาจของระบบรัฐ รวมศูนย์ในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้เกิดนายทุนท้องถิ่น นักธุรกิจการเมืองท้องถิ่นที่คุมอำนาจทาง เศรษฐกิจการเมืองแต่ระดับท้องถิ่นที่มีเครือข่ายโยงไปถึงรัฐสภาใน ส่วนกลางนั้นเอง รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีถึงสอง สมัยนั้น เป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของรัฐประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนที่ กลายเป็ น รั ฐ เผด็ จ การทางรั ฐ สภา ซึ่ ง มี อ ำนาจทั้ ง ในการปกครองและ บริหารอย่างเบ็ดเสร็จที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การปกครองแบบ ประชาธิปไตยของประเทศ ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ก็เพียงรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยรัชกาลที่ ๕ เท่านั้น อาจกล่ า วได้ ว่ า เป็ น รั ฐ ของอำมาตย์ แ ละไพร่ ที่ ช อบพู ด กั น พล่อยๆ ในเวลานี้ แต่ความต่างอยู่ที่อำมาตย์และไพร่ครั้งรัชกาลที่ ๕ นั้นเป็นรัฐที่ อยู่ในศีลธรรมและจริยธรรม ทั้งบุคคลที่เป็นอำมาตย์และไพร่ก็อยู่ในระบบ อุ ป ถั ม ภ์ ที่ จ รรโลงความเป็ น มนุ ษ ย์ ร่ ว มกั น แต่ อ ำมาตย์ แ ละไพร่ ใ นยุ ค รัฐบาลเผด็จการทางรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนนั้น เป็นรัฐ และการปกครองที่ให้เกิดภาวะความเป็นเดรัจฉานทั้งคนที่เป็นอำมาตย์ และไพร่ สภาวะและปรากฏการณ์ของความขัดแย้ง ความรุนแรงที่ ฆ่าฟันกันอย่างขาดความเป็นมนุษย์ในขณะนี้ คือสิ่งที่เกิดจากการที่ รัฐเป็นทรราชย์และสังคมเป็นทรชนอย่างเสมอกัน อันธรรมดาเหตุของความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงและล้าง เผ่าพัน ธุ์กัน ของมนุ ษ ยชาติ ในที่อื่นๆ นั้น มักมาจากความหิวโหยและ ยากไร้ที่พัฒนาไปสู่ความโกรธแค้นและความเกลียด อันเป็นเรื่องของ อารมณ์จนทำให้เกิดการฆ่าฟันกัน แต่เมืองไทยเป็นสังคมที่อุดมสมบูรณ์ ในเรื่ อ งความหลากหลายทางชี ว ภาพ มี อ าหารการกิ น และมี ค วาม

เหมาะสมในการดำรงชีวิตอย่างราบรื่นมาแต่อดีตนั้น แทบจะกล่าวได้ว่า ทุ ก เผ่ า พั น ธุ์ ม นุ ษ ย์ ใ นผื น แผ่ น ดิ น ไทยมี กิ น มี อ ยู่ อ ย่ า งไม่ อ ดอยากและ หิวโหยตลอดเวลา แต่สาเหตุของการฆ่าทำลายล้างกันในครั้งนี้มีที่มาแต่เพียงอย่าง เดียวคือ ความโลภ ความต้องการทางวัตถุ อำนาจและเงินทอง จนขาด ดุลยภาพของความเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม โดยเหตุที่มีหน้ากระดาษจำกัดในที่นี้ ข้าพเจ้าใคร่ตั้งข้อสังเกต ถึงความล่มสลายของรัฐที่มีผลกระทบถึงความวิบัติทางสังคมในขณะนี้ว่า ประการแรกมาจากระบอบประชาธิ ป ไตยแบบมี ตั ว แทน ที่ ผู้ น ำ ประเทศลอกเลียนแบบมาจากฝรั่ง แต่ผู้แทนแบบไทยๆ นั้น หาใช่ผู้แทน แบบฝรั่งที่มีสำนึกในความเสมอภาค ความยุติธรรม และสนใจในเรื่อง สิทธิมนุษยชน หากเป็นผู้แทนที่มีสำนึกของการเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ ที่ใช้ อำนาจหน้าที่ทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเองและพวกพรรค ทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้แลเห็นได้จากการกระทำและคำพูดทั้งในรัฐสภาและนอก รัฐสภาของคนเหล่านี้ ดังเห็นได้ในปัจจุบันว่าเกิดพรรคกบฏขึ้น ที่มีการ ยืนยันจากคำพูดของแกนนำคนหนึ่งของผู้ก่อการร้ายที่ต่อต้านรัฐบาลเมื่อ วันที่ ๑๐ เมษายนที่ผ่านมาว่า บัดนี้ขบวนการได้มีครบแก้วสามประการ แล้ว คือ พรรคการเมืองที่ต่อสู้ในสภา พวกมวลชน และกองกำลังติดอาวุธ นิรนาม ทำให้มีพลังพอที่จะทำลายล้างและล้มรัฐบาลได้ ในบรรดาแก้ ว สามดวงนี้ ข้ า พเจ้ า ให้ ค วามสำคั ญ กั บ พรรค การเมืองที่เป็นกบฏนี้มากกว่า เพราะคือต้นเหตุที่แท้จริงของความชั่วร้าย โดยมีแก้วอีกสองดวงเป็นเพียงวิธีการและเครื่องมือทางเทคนิคที่นำไปสู่ การบรรลุผลสำเร็จด้วยความรุนแรงที่ผิดมนุษย์ และจะนำไปสู่การทำลาย ล้างกันเองของมนุษย์ [Dehumanization] อันเป็นความวิบัติที่ยิ่งใหญ่ใน ประวัติศาสตร์ของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากได้ชัยชนะจาก การล้ ม ล้ า งรั ฐ บาลแล้ ว พรรคกบฏแบบนี้ ก็ ค งต้ อ งยึ ด มั่ น ในการ จรรโลงประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนที่มาจากอเวจีเช่นเดิม และอาจ เหิมเกริมไปถึงการสร้างรัฐใหม่ที่ล้มล้างการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในเวลาอันเหมาะสม ซึ่ ง เมื่ อ ขาดสั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง คุ ณ ธรรมแล้ ว รั ฐ ใหม่ ก็ ค งเป็ น รั ฐ ทรราชย์ที่อาจได้รับการยอมรับจากบรรดาประเทศมหาอำนาจที่มุ่งหาผล ประโยชน์จากประเทศไทยก็ได้ ปั จ จุ บั น มี ก ารเคลื่ อ นไหวของปั ญ ญาชน [Intellectual movement] ของผู้คนที่มีสำนึกในชาติภูมิที่กำลังมีพลังขึ้นมาเรียกร้องหา การเมืองใหม่และรัฐประชาธิปไตยใหม่ ที่เน้นการเป็นประชาธิปไตยแบบมี ส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งก็น่าจะเป็นหนทางที่ถูกต้องและเหมาะสมใน เชิ ง อุ ดมคติ ที่ ต อบสนองได้แ ต่ เ พี ย งเรื่ อ ง “Why” แต่ ยั ง ไม่ มี ใ ครพู ดกั น เท่าใดในเรื่อง “How” แม้แต่การหาทางออกใหม่ที่ทำให้แลเห็นทิศทางที่ดีได้ คือเรื่อง “การปฏิรูปสังคม” ที่จะทำให้กระบวนการทางเลือกดูดีขึ้น คือต้องปฏิรูป สังคมก่อนแล้วนำไปสู่รัฐใหม่ แล้วจึงถึงการเมืองใหม่ เพื่อจะให้สังคมไทย พ้นความวิบัติจากการล่มสลายของความเป็นมนุษยชาติในทุกวันนี้ สิ่งที่ผู้มีปัญญาและมีศีลธรรมต้องช่วยกันคิดและร่วมใจกัน ในขณะนี้ก็คือ “ทำอย่างไร” เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคมใหม่ขึ้นได้

ชุมชนป้อมมหากาฬ ฟื้นพลังชุมชนจากเหตุ ความไม่สงบทางการเมือง สะพานผ่านฟ้าลีลาศและย่านชุมชนป้อมมหากาฬ

หากบทความนี้ จ ะมี คุ ณ งามความดี ใ ดๆ แล้ ว ขออุ ทิ ศ ให้ แ ก่ ป ระชาชนไทยทุ ก คนที่ สู ญ เสี ย และ เจ็บปวดจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในปี ๒๕๕๓ นี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคมจนถึง ๑๔ เมษายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ได้เกิด

การชุ ม นุ ม ทางการเมื อ งของกลุ่ ม “แนวร่ ว มประชาธิ ป ไตยต่ อ ต้ า น เผด็จการแห่งชาติ” หรือ นปช. ตลอดบริเวณถนนราชดำเนิน รวมทั้ง บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ จนถึงวันที่ ๑๔ เมษายน กลุ่ม นปช. จึงย้าย เวที จ ากถนนราชดำเนิ น ไปสมทบกั บ กลุ่ ม ผู้ ชุ ม นุ ม ที่ แ ยกราชประสงค์ จนถึงแยกศาลาแดง ระหว่างการชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินและสะพานผ่านฟ้าลีลาศเกิดความตึงเครียดและเหตุการณ์รนุ แรงหลายครัง้ มีการควบคุม ความปลอดภัย การเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหารและ ตำรวจ การลอบยิงวัตถุระเบิด โดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมือ่ วันที่ ๑๐ เมษายน ซึง่ เจ้าหน้าทีท่ หารและประชาชนเสียชีวติ หลายคน พื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินมีชุมชนอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ยาวนานหลายแห่ ง เนื่ อ งจากเป็ น พื้ น ที่ เ ก่ า แก่ ข องกรุ ง เทพฯ รวมทั้ ง ชุมชนป้อมมหากาฬที่มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ซึ่ง อยู่บริเวณหลังเวทีปราศรัยของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ หรือ นปช. จึงเป็นที่น่าสนใจว่าชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ใกล้ชิดกับ พื้นที่ความรุนแรงทางการเมืองเช่นนี้ ได้ใช้พลังอันยาวนานของตนที่จะ รับมือกับสถานการณ์นี้จนอยู่รอดอย่างเข้มแข็งมาได้อย่างไร ป้อมมหากาฬเป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้าง พระนครระหว่ า งปี พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๒๘ ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก ตั้ ง อยู่ บ ริ เ วณแยกคลองรอบกรุ ง และคลอง มหานาค ต่ อ มาพระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดเกล้ า ฯ พระราชทานที่ดินหน้าป้อมให้แก่ขุนนางข้าราชบริพาร ในระยะต่อมา พื้นที่บริเวณนี้จึงพัฒนามาเป็นย่านชุมชน โดยชาวบ้านอยู่อาศัยในบารมี ของขุนนางข้าราชการ ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็นระบบการเช่าที่ ลักษณะของชุมชนสมัยนั้นจะเป็นชุมชนอิงกำแพงพระนคร มี ตรอกซอยเพื่อเชื่อมการติดต่อภายในชุมชน และเนื่องจากบริเวณนี้เป็น จุ ด ตั ด คลอง รวมทั้ ง เป็ น ชุ ม ทางคมนาคมสำหรั บ ด้ า นตะวั น ออกของ พระนคร เนื่องจากคลองมหานาคที่อยู่หน้าป้อมมหากาฬนี้เป็นคลองเส้น

เดียวกับคลองแสนแสบ ซึ่งต่อเนื่องไปถึงแม่น้ำบางปะกง จึงมีเรือมาจอด มากจนเป็นย่านค้าขายสำคัญแห่งหนึ่ง เช่น มีเรือขายถ่าน เรือขายผลไม้ โดยมีวัดสระเกศ วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และป้อมมหากาฬ ซึ่ง ชาวบ้านเชื่อว่ามีเจ้าพ่อปู่สถิตอยู่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนจนถึง ทุกวันนี้แวดล้อม ถือเป็นย่านสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมเก่าแก่ของ พระนครแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ ใ นย่ านชุ ม ชนแห่ ง นี้ ไ ด้ ส ร้ า งมรดกทางวั ฒ นธรรม สำคัญๆ ได้แก่ ลิเกพระยาเพชรฯ เครื่องดนตรีไทยสายวังหลวง (รัชกาล ที่ ๔) กรงนก (คนที่มาจากปักษ์ใต้ได้ถ่ายทอดวิชาเอาไว้) เครื่องปั้นดินเผา การนวดคลายจุด การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ฯลฯ ด้วยความเป็นชุมชนที่อยู่สืบทอดมานาน จึงทำให้รู้จักกันแทบ ทุกครัวเรือน มีอะไรก็แบ่งกัน มีงานธุระทุกคนก็ร่วมแรงร่วมใจจนสำเร็จ ลุล่วง แม้ในระยะต่อมาความเป็นย่านชุมชนดั้งเดิมของป้อมมหากาฬจะ ลดบทบาทลงก็ตาม เนื่องเพราะผู้คนเคลื่อนย้ายออกไป คนใหม่ๆ เข้ามา โดยในปัจจุบันนี้มีประชากร ๓๑๗ คน ๖๖ ครอบครัว บ้าน ๕๕ หลังคา เรือน จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางราชการได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน ชุมชนริมป้อมมหากาฬเพื่อสร้างสวนสาธารณะ โดยกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับผิดชอบ แต่ชาวบ้านในชุมชนไม่สามารถที่จะย้ายออกไปได้ เนื่องจากไม่ได้รับค่าชดเชยที่สามารถไปตั้งหลักฐานในที่อยู่อาศัยใหม่ได้ และด้วยความรู้สึกรักและผูกพันกับชุมชนที่อยู่อาศัยมานาน จึงได้มีการ ต่อสู้และต่อรองกับทางกรุงเทพมหานครจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลุ่ม นปช. ได้ประกาศตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ว่าจะ ชุมนุมในวันที่ ๑๒ มีนาคม ทางชุมชนป้อมมหากาฬจึงได้ประชุมร่วมกัน เพื่อหาแนวทางที่จะป้องกันรักษาตนเอง โดยจัดเตรียมอุปกรณ์สิ่งของที่มี ในท้องที่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยวางมาตรการสำคัญได้แก่ ๑) การวางเวรยามจากที่เคยมีเฉพาะกลางคืนให้เป็นเวรยามตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยกลุ่มแม่บ้านจะทำหน้าที่ในตอนกลางวัน ส่วนกลุ่มชายฉกรรจ์ จะทำหน้าที่ในตอนกลางคืน รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มวัยรุ่นเฉพาะกิจสำหรับ ดูแลการดับเพลิงและการอพยพคนชราและเด็กเล็ก ๒) ตั้งแผงสังกะสี


ล้อมชุมชนเพื่อป้องกันบุคคลภายนอกรุกล้ำ พร้อมกับประกาศห้ามคนภายนอกเข้า ๓) เตรียมอพยพหากเกิดเหตุอนั ตรายกับชุมชน โดยกำหนดให้อพยพไปทีโ่ รงเรียนสงฆ์ธรรมวิลาส วัดเทพธิดาราม ซึง่ ตัง้ อยูใ่ กล้เคียงกับพืน้ ทีช่ มุ ชน มีกลุม่ วัยรุน่ เฉพาะกิจทำหน้าทีน่ ี้ เมื่อเกิดการชุมนุมบนถนนราชดำเนินตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการ จัดตั้งเวทีปราศรัยบนสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งจะต้องมีการใช้เครื่องขยายเสียงให้ได้ยิน ทั่วทั้งถนนราชดำเนิน และมีกลุ่มกำลังรักษาความปลอดภัยหรือ “การ์ด นปช.” ควบคุม ความปลอดภั ย ทั้ ง ในและรอบพื้ น ที่ ดั ง นั้ น จึ ง เกิ ด ผลกระทบต่ อ ผู้ ค นในชุ ม ชนป้ อ ม มหากาฬอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเสียงการปราศรัยสลับกับเสียงดนตรีการแสดงที่ดัง กึกก้องตลอดทั้งคืน ทำให้คนในชุมชนไม่สามารถพักผ่อนได้ในเวลากลางคืน ทำให้ สุขภาพทางกายของคนในชุมชนหลายคนต้องทรุดโทรมลง โดยเฉพาะคนชราที่สุขภาพ ไม่ดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว และด้วยมาตรการการรักษาความปลอดภัยของทางกลุ่ม นปช. ชาวบ้านที่จะ เข้าออกบ้านของตัวเองจึงต้องถูกตรวจค้นแทบทุกครั้ง และถูกห้ามไม่ให้เอารถเข้าออก เขตชุมชน ต้องจอดข้างนอก แม้บางรายจะพาคนเฒ่าคนแก่ไปรักษาพยาบาลก็ถูกห้าม ไม่ให้เรียกรถไปรับในตำแหน่งที่ใกล้บ้าน ต้องไปเรียกรถที่แยกสำราญราษฎร์ (ประตูผี) เพราะผิดวินัยความปลอดภัย นอกจากนี้หน่วยงานและห้างร้านในพื้นที่รอบข้างชุมชนต่างพากันปิดทำการ ระยะหนึ่ง ชุมชนจึงขาดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาในชุมชน เช่น กรงนก เครื่องปั้นดินเผา กระเพาะปลา ฯลฯ แทบจะไม่สามารถทำงานใดๆ เพื่อเลี้ยงปากท้อง อย่างจริงจังได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างการชุมนุม ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬได้เจรจากับ ตัวแทนกลุ่ม นปช. ว่าชุมชนนี้เป็นกลุ่มชาวบ้านที่อยู่มาแต่เดิม ทำมาหากินด้วยอาชีพ สุจริตโดยตลอด ไม่ได้เป็นกองกำลังที่จะทำร้ายใคร จึงขอให้ทางกลุ่ม นปช. อย่าได้ ระแวงสงสัยและทำอันตรายอย่างใดแก่ชุมชน ซึ่งทางกลุ่ม นปช. ก็ตกลงด้วยดี จากสภาวะอัมพาตของชุมชนที่เกิดขึ้นนี้ “...เหมือนกับชีวิตตัวตนของพวกเรา ได้ขาดหายไป เพราะไม่สามารถดำเนินวิถีชีวิตตามปกติได้...” และในเวลาต่อมาเมื่อ หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ได้เข้ามาตรวจสุขภาพชาวบ้านในพื้นที่ ปรากฏว่าทุกคนมีโรค เครียดจากสภาวะที่ตนเองประสบมาเป็นระยะเวลา ๑ เดือนเศษ ส่วนใหญ่ต้องได้รับการ บำบัดจากจิตแพทย์จึงจะคลายจากอาการดังกล่าว จนกระทั่ ง เกิ ดเหตุการณ์ในวันที่ ๑๐ เมษายน เมื่อมีสิ่งบ่งชี้ว่าจะเกิดเหตุ รุนแรง ทางชุมชนป้อมมหากาฬจึงได้ดำเนินการระวังป้องกันชุมชน โดยส่งชาวบ้านเข้า ร่วมชุมนุมเพื่อดูท่าทีและรายงานสถานการณ์ให้ชุมชนทราบตลอดเวลา คนส่วนที่เหลือ เตรียมถังดับเพลิงรวมไว้ในจุดเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีเด็กวัยเรียนชั้นประถมช่วยกัน เตรียมถังน้ำไว้สำหรับล้างแก๊สน้ำตา โดยที่ไม่มีผู้ใหญ่คนไหนสั่งให้ทำ เมื่อเกิดการสลาย การชุมนุมในวันนั้น ปรากฏว่ามีแก๊สน้ำตาตกลงมาในพื้นที่ชุมชน ชาวบ้านจึงรีบเอา ถังน้ำครอบไว้ก่อนที่จะระเบิดออกมา จากพลังความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชนป้อมมหากาฬในการฝ่าฟันช่วง วิกฤติของชุมชนครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความผูกพันอันแน่นแฟ้นของ ชุมชนที่ยังทรงพลังอยู่ คุณธวัชชัยซึ่งเป็นผู้นำชุมชนได้กล่าวว่า ที่ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีความผูกพันจนก่อเกิดเป็นพลังชุมชนเช่นนี้ได้ เป็นเพราะความรู้สึกอบอุ่นจาก ความผูกพันฉันเครือญาติที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลานาน รวมทั้งความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ ร่วมกัน เนื่องมาจากทุกคนได้เคยช่วยเหลือทำงานทำบุญร่วมกันมาแต่อดีต ผู้นำชุมชนป้อมมหากาฬได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า พลังชุมชนที่ร่วมกันปกป้อง ดูแลและต่อสู้อย่างอดทนต่อความเครียดและความหวาดกลัวต่างๆ นับแรมเดือน ซึ่งเกิด ขึ้นจากการชุมนุมของ นปช. ในครั้งนี้ จะเป็นฐานพลังอันเข้มแข็งที่จะใช้ต่อสู้กับการ ขับไล่เพื่อเอาพื้นที่ของชุมชนทำสวนสาธารณะโดย กทม. ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน วันใหม่ นิยม ขอขอบคุณ คุณธวัชชัย วรมหาคุณ ผู้นำชุมชนป้อมมหากาฬ

หมายเหตุจากผู้อ่าน

หลั มั่น หลั คง

เรื่องราวหลักประโคนเขตแดนสยาม-น่าน

เมื่ อ ครั้ ง ที่ ผู้ เ ขี ย นศึ ก ษาอยู่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย

นเรศวร และเป็ น หั ว หน้ า กลุ่ ม ประวั ติ ศ าสตร์ สองข้างทาง สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบัน ยกฐานะเป็นภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับมอบหมาย จากรองศาสตราจารย์ ดร.จิ ร าภรณ์ สถาปนะวรรธนะ พาสมาชิกกลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทางลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดีลมุ่ น้ำน่าน น้ำปาด และน้ำตรอน ในเขต หุ บ เขาทางด้ า นตะวั น ออกของจั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ ในบริเวณอำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอ ฟากท่า อำเภอบ้านโคก และอำเภอทองแสนขัน ระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๕๓ ในการเดินทางครั้งนั้นได้ค้นพบข้อมูล ประวัติศาสตร์โบราณคดีและเรื่องราวใหม่ๆ ใน ท้ อ งถิ่ น ดั ง กล่ า วมากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น โบราณสถาน ชุมชนโบราณ ตำนานเรื่องเล่าและความ เชื่ อ ของท้ อ งถิ่ น ในที่ นี้ จ ะได้ น ำเสนอเรื่ อ งราว เกี่ยวกับ “หลักมั่นหลักคง” หรือ “หลักสาม แสน” ที่บ้านผาเต่า ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ หลั ก มั่ น หลั ก คง หรื อ หลั ก สามแสน เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกหลักหินสองหลักซึ่งปักไว้ ติดกันอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน ในเขตบ้าน ผาเต่า บริเวณดังกล่าวมีศาลไม้ทั้งหลังเล็กและ หลั ง ใหญ่ ข นาดเท่ า บ้ า นเรื อ นจริ ง ก็ มี ชาวบ้ า น สร้างให้เป็นที่สถิตของวิญญาณปู่ตาเจ้ามั่นเจ้าคง หลักหินหนึ่งมีขนาดใหญ่ สูงราว ๑.๒๐ เมตร กว้างราว ๔๐ เซนติเมตร ชาวบ้านเรียก

“หลักมั่น” อี ก หลั ก มี ข นาดเล็ ก กว่ า สู ง ราว ๕๐ เซนติเมตร เป็นแผ่นหินธรรมชาติ ชาวบ้านเรียก “หลักคง” ชาวบ้ า นเชื่ อ ว่ า เป็ น เขตแดนระหว่ า ง เมื อ งน่ า นกั บ เมื อ งอุ ต รดิ ต ถ์ ณ จุ ด นี้ ทั้ ง สองฝั่ ง แม่ น้ ำ น่ า นมี ห้ ว ยไหลมาลงน้ ำ น่ า นตรงกั น พอดี คือ ห้วยสามแสน อยูฝ่ งั่ ขวา และห้วยไหวตามอย อยู่ฝั่งซ้าย จึงน่าจะเหมาะแก่การแบ่งเขตแดน ชื่อหลักมั่นหลักคงสืบเนื่องมาจากความ เชื่อว่า มีการฝังร่างของเด็กชายชื่อมั่นกับชื่อคงไว้ ใต้หลักทั้งสองนี้ เพื่อให้วิญญาณคอยปกปักรักษา ทำให้ เ กิ ด ความมั่ น คงแก่ ทั้ ง สองเขตแดน ส่ ว น ที่มาของชื่อหลักสามแสนนั้น มาจากคำบอกเล่าที่

ว่ า ตอนปั ก หลั ก เขตแดนได้ มี ก ารเกณฑ์ ค น ทั้งสองเมืองมาร่วมเป็นสักขีพยาน ชาวบ้านเชื่อ ว่าบริเวณนี้เป็นที่สถิตของวิญญาณเจ้าปู่เจ้ามั่น เจ้าคง โดยในวันที่ ๑๘-๑๙ เมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะมาทำพิธีบวงสรวง นำควายเผือกมา เชือดแล้วเอาเลือดให้ร่างทรง ต่อมาควายเผือก หายากจึงเปลี่ยนมาเป็นควายดำ พอเกิดสงสาร ควายจึ ง เปลี่ ย นเป็ น หมู ปั จ จุ บั น นี้ ใ ช้ ไ ก่ เ ป็ น เครื่ อ งสั ง เวยแทน นอกจากวั น ดั ง กล่ า วแล้ ว วันอื่นๆ ก็ยังมีชาวบ้านนำหมากพลู พวงมาลัย มากราบไหว้บูชาอยู่เนืองๆ สำหรับหลักมั่นหลังคงอีกนัยหนึ่งของ ชาวตำบลผาเลื อ ดเป็ น เสมื อ นหลั ก บ้ า นหลั ก เมือง ที่สิงสถิตของดวงวิญญาณเจ้าปู่ตาหรือ บรรพบุรุษที่ชาวบ้านเชื่อถือ ซึ่งจะเห็นได้จาก การบวงสรวงที่ชาวบ้านจัดเป็นประจำทุกปี เมื่ อ นำข้ อ มู ล ทั้ ง จากคำบอกเล่ า ลั ก ษณะเสาหิ น และสภาพภู มิ ป ระเทศมา วิเคราะห์ร่วมกัน ก็เป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะเป็น หลั ก แดน เพราะในเขตบ้ า นผาเลื อ ด ผู้ ค นมี วัฒนธรรมแบบล้านนา (เมืองน่าน) ในขณะที่ ใต้ลงไปเป็นวัฒนธรรมลุ่มน้ำภาคพื้นหัวเมือง เหนื อ (อุ ต รดิ ต ถ์ ) ซึ่ ง มี ลั ก ษณะต่ า งกั น อย่ า ง ชัดเจน อีกอย่างบ้านผาเลือดอยู่ในเขตแขวง เมื อ งน่ า นใต้ ม าก่ อ น ต่ อ มาจึ ง ขึ้ น กั บ อำเภอ ท่าปลา ซึ่งอดีตก็ขึ้นอยู่กับจังหวัดน่าน ก่อนที่ จะถู ก โอนย้ า ยมาขึ้ น กั บ จั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ ด้ ว ย เหตุผลทางด้านการติดต่อคมนาคม ผู้ เ ขี ย นได้ ล องเปิ ด ดู แ ผนที่ เ ก่ า สมั ย อยุ ธ ยา-รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น ซึ่ ง พิ ม พ์ อ ยู่ ใ น หนังสือ ROYAL SIAMESE MAPS : War and Trade in Nineteenth Century Thailand ของ Santanee Phasuk and Philip Stott หน้า ๑๓๐ พบแผนที่ระบุถึงเส้นทางโบราณจากพิษณุโลก ขึ้นมาตามลำน้ำน่าน ผ่านเมืองพิชัย บางโพ และปากปาดไปจนสุดน้ำปาด พบว่าจากเมือง บางโพหรือตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันไปถึง ปากน้ำปาดนั้นผ่านสถานที่ ๒ แห่ง คือ บ้าน ด่ า นและหลั ก ประโคน โดยจากบางโพมาถึ ง หลั ก ประโคนใช้ เ วลา ๑ วั น และจากหลั ก ประโคนถึงปากน้ำปาดใช้เวลา ๑ วัน บ้านด่าน

ในแผนที่ปัจจุบันคือบ้านด่านที่อยู่เหนือวัดพระ ฝางมาเล็กน้อย ส่วนหลักประโคนนั้นก็น่าจะ หมายถึงบริเวณ “หลักมั่นหลักคง” ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า “ประโคน” ในพจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถานหมายถึ ง เสา ใหญ่ ปั ก หมายเขตแดนระหว่ า งประเทศหรื อ เมือง นอกจากนี้ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้ อธิบายว่า ประโคน คือ “เสาปักหมายเขตแดน ไว้, คนสองฝ่ายแบ่งที่กัน ปักเสาใหญ่หมายไว้ เป็นสำคัญว่าเสาประโคน” และ เสาประโคน, หลักประโคน หมายถึง “เสาที่เขาปักไว้ที่แดน ต่อแดน, เปนที่สังเกตปันที่กันว่าข้างนี้เปนส่วน ข้างนี้ ข้างโน้นเปนส่วนข้างโน้น” (จาก เอนก นาวิ ก มู ล , หลั ก -ฐาน-บ้ า น-เมื อ ง, ๒๕๕๒, หน้า ๑๐๕.) แสดงว่า หลักมั่นหลักคง ก็คือ หลัก ประโคน ที่ปรากฏในแผนที่เก่า และเป็นเขต แดนระหว่างล้านนา (เมืองน่าน) กับบ้านเมือง ทางใต้ ซึ่งอาจจะมีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่ที่ แน่ น อนคื อ อาณาจั ก รอยุ ธ ยาคงเป็ น เขตเมื อ ง น่านกับเมืองพิชัย หรือไม่ก็เมืองสวางคบุรีหรือ ไม่ก็เมืองบางโพ สำหรับผู้เขียนแล้ว การค้นพบครั้งนี้ ถือว่าเป็นการค้นพบใหม่และน่าตื่นเต้นสำหรับ ตนเอง โดยอาศั ย ข้ อ มู ล จากหลั ก ฐานทาง ประวัติ ศาสตร์ชาติประกอบกับข้อมูลประวัติศาสตร์ ท้ อ งถิ่ น และสภาพภู มิ ศ าสตร์ ทำให้ เข้ า ใจถึ ง การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น ว่ า

หลักประโคน (หลักมั่นหลักคง)

ต้องอาศัยความเชื่อท้องถิ่นและเอกสารต่างๆ ทางส่ ว นกลางที่ เ กี่ ย วข้ อ งประกอบการศึ ก ษา ด้วย จึงจะเข้าใจและได้ความรู้ที่เชื่อมโยงและ ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ได้เสมอ ธีระวัฒน์ แสนคำ ที่ปรึกษากลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เอกสารอ้างอิง หวน พินธุพนั ธ์. อุตรดิตถ์ของเรา. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พิษณุโลก, ๒๕๒๑. เอนก นาวิกมูล. หลัก-ฐาน-บ้าน-เมือง. กรุง-

เทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, ๒๕๕๒. อัจฉรา อ่อนจันทร์. “พัฒนาการทางประวัติ- ศาสตร์ เอกลักษณ์ วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญา” อำเภอท่าปลา จังหวัด อุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : สำนักศิลป-

วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์,

๒๕๔๔. Santanee Phasuk and Philip Stott. ROYAL SIAMESE MAPS : War and Trade in Nineteenth Century Thailand. Bangkok : River Books, 2004.

แผนที่โบราณซึ่งแสดงตำแหน่ง หลักประโคนปรากฏอยู่


จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

ผู้รู้ในท้องถิ่นนำชมแหล่งโบราณคดี เมืองโบราณดงแม่นางเมือง

แหล่งหลุมศพที่พบใต้ฐานพระสถูปแบบทวารวดี ในเขตดงแม่นางเมือง

ดงแม่นางเมือง

แกนหลักแห่งการสร้างสำนึกและประวัติศาสตร์ของคนท้องถิ่น “ดงแม่นางเมือง” เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัด

นครสวรรค์ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงทางทิศตะวันตกกับแม่น้ำยมและแม่น้ำ น่านทางทิศตะวันออก ในพื้นที่รอยต่อของตำบลบรรพตพิสัย ตำบลตาสัง และตำบลเจริญผล ในอำเภอบรรพตพิสัย เป็นเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า ขนาด ๕๐๐ x ๖๐๐ เมตร มีคลองคดซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขากะล่อน ที่อยู่ในอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร ไหลผ่านตัวเมือง ทางด้านเหนือมาลงคลองตะเคียนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนไปออก แม่น้ำเกรียงไกรหรือแม่น้ำเชิงไกรในอดีต แล้วจึงไหลไปบรรจบกับแม่น้ำ น่านที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เมืองโบราณดงแม่นางเมืองจึง อยู่ในภูมินิเวศของลุ่มน้ำเกรียงไกร-น่านตอนปลาย ที่มีลำน้ำ หนองบึง มาบ เช่น หนองปลาไหล มาบมะขาม คลองคด รวมทั้งเขากะล่อนเป็น องค์ประกอบหลัก ปัจจุบันสภาพพื้นที่ของอาณาบริเวณเมืองโบราณแห่งนี้ เป็นท้องไร่ท้องนาสลับกับทุ่งร้างและป่าละเมาะ จากซากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ขุดพบบ่งบอกว่า เมือง โบราณแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยทวารวดีและสมัยลพบุรีตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ ดังปรากฏหลักฐานที่พระสถูปที่เพิ่งขุดพบใหม่ เป็นพระสถูปสมัย ทวารวดี และใต้ฐานพระสถูปไม่ลึกนัก พบโครงกระดูกจำนวนมากฝังอยู่ ในท่านอนหงายเหยียดยาว และท่านอนหันข้างงอเข่า อันเป็นวัฒนธรรม ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปและพระพิมพ์สมัย ทวารวดีตอนปลายต่อสมัยลพบุรี ไหขอม เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ที่สำคัญคือ บริเวณนี้เคยพบจารึกหินชนวนเขียนด้วยอักษร อินเดียและขอม ซึ่งกรมศิลปากรกำหนดให้เป็นจารึกหลักที่ ๓๕ ระบุนาม เมื อ งแห่ ง นี้ ว่ า “ธานยปุ ร ะ” อี ก ทั้ ง กล่ า วถึ ง กษั ต ริ ย์ ศ รี ธ รรมาโศกราช (องค์ที่ ๒) โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าสุนัติแห่งธานยปุระกัลปนาที่ดิน ผู้คน สั ต ว์ แ รงงาน และพื ช ผล ถวายแด่ พ ระสถู ป อั น บรรจุ พ ระบรมอั ฐิ ข อง

“กมรเตงชคตศรีธรรมาโศก” (องค์ที่ ๑) ผู้เป็นพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ. ๑๗๑๐ อันแสดงให้เห็นว่า เมืองธานยปุระหรือดงแม่นางเมืองเคยเป็น บ้านเมืองมาแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แล้ว อีกทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตอนบนมีรัฐอิสระ รับนับถือพุทธศาสนาเถรวาท ดังเห็นได้จากการเรียก นามพระมหากษั ต ริ ย์ ว่ า ศรี ธ รรมาโศกราช อั น เป็ น ประเพณี นิ ย มใน วั ฒ นธรรมพุ ท ธศาสนาแบบเถรวาท แตกต่ า งจากที่ เ คยปลู ก ฝั ง ตาม ประวัติศาสตร์กระแสหลักมาแต่เดิมว่า ดินแดนสยามประเทศก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั้นตกอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรขอม ทั้งเมือง ธานยปุระน่าจะสัมพันธ์กับเมืองเจนลีฟูที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนใน พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ รวมถึงมีการติดต่อสัมพันธ์กับเมืองโบราณหลาย แห่งที่พบในเขตนครสวรรค์ เช่น เมืองบน (เขาโคกไม้เดน) เมืองล่าง (หางน้ำสาคร) เมืองท่าตะโก เมืองไพศาลี ฯลฯ ซึ่งเมืองเหล่านี้เกาะกลุ่ม กันในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำน่าน รวมถึงลุ่มน้ำเกรียงไกรที่เป็น สาขาหนึ่งของแม่น้ำน่านด้วย บรรดาเมืองโบราณในเขตนี้มีร่องรอยแสดงถึงการติดต่อกับ บ้านเมืองในดินแดนภาคอีสานตอนบน ดังปรากฏประเพณีการปักหินตั้ง หรือเสมาแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถาน เช่นที่รอบพระสถูปของ ดงแม่นางเมือง บริเวณท้องถิ่นนี้เป็นแหล่งที่อุดมด้วยแร่เหล็กอันเป็น ทรั พ ยากรสำคั ญ ทางการค้ า จึ ง พบตะกรั น ที่ ห ลงเหลื อ จากการถลุ ง แร่ กระจายอยู่ทั่วไป เมืองธานยปุระมีพัฒนาการสืบเนื่องเป็นเวลานานกว่า ๒,๐๐๐ ปี ก่อนร้างราไปในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จนเกิดการตั้งชุมชนใหม่รอบดง อีกครั้งเมื่อไม่เกิน ๑๐๐ ปีลงมานี้ โดยเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากอุทัยธานี และชาวลาวอีสาน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๖ คณะเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร นำ โดยอาจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้มาสำรวจขุดค้นที่ดงแม่นางเมือง พบ

หลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ จึงมีการทำผังเมืองโบราณไว้เป็นเบื้องต้น แต่ยังขาดการขุดสำรวจและ บูรณะอย่างจริงจัง ทำให้โบราณสถานหลายแห่งถูกปกคลุมด้วยดงไม้ใน เวลาต่อมา และมีไม่น้อยที่ถูกลักลอบขุดทำลายเพื่อหาโบราณวัตถุ จนเมื่ อ ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ผู้ น ำองค์ ก รท้ อ งถิ่ น นำโดยนาย มานิตย์ ผาสุขขี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเจริญผล นายสุเมธ นภาพร นายกเทศมนตรีตำบลบรรพตพิสัย นายนัทธี พุคยาภรณ์ ประธาน สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ นายชัยวัฒน์ วงษ์ขมทอง ประธานสภา อำเภอบรรพตพิสัย และกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อ วางแผนในการอนุรักษ์เมืองโบราณดงแม่นางเมือง โดยมีการสำรวจพื้นที่ รวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ที่ชาวบ้านพบมาเก็บรักษาไว้ ดำเนินการขุด แต่ ง และอนุ รั ก ษ์ โ บราณสถานเองในบางส่ ว น เก็ บ ข้ อ มู ล ท้ อ งถิ่ น จาก เอกสาร หลักฐานทางโบราณคดี และคำบอกเล่าของชาวบ้านเบื้องต้น ยื่น เสนอต่อกรมศิลปากรให้เข้ามาดำเนินการขุดค้นและบูรณะเมืองโบราณ แห่งนี้อย่างจริงจัง เพื่อจะนำไปสู่การจัดทำพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ รวมถึงการ ก่อสร้างสถูปตามรูปแบบที่ได้หลักฐานจากการขุดค้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวม จิตใจและศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนั้น พร้อมกันนั้นในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ได้เชิญอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ์ ไปให้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเรื่ อ งเมื อ งโบราณดงแม่ น างเมื อ ง ตลอดจนข้อเสนอแนะในการจัดทำพิพิธภัณฑ์และแนวทางการทำงานร่วม กันในอนาคต หลังจากสำรวจพื้นที่ดงแม่นางเมืองร่วมกับบรรดาผู้นำองค์กร ท้ อ งถิ่ น อาจารย์ ศ รี ศั ก รซึ่ ง เคยมาร่ ว มสำรวจกั บ บิ ด า (อาจารย์ ม านิ ต วัลลิโภดม) เมื่อ ๔๗ ปีที่แล้ว มีความเห็นว่า แม้พื้นที่เมืองโบราณดังกล่าว จะเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนหมู่บ้านและไร่นาของราษฎรไปแล้ว แต่เนินดิน ที่เป็นแหล่งโบราณสถานในหลายๆ ที่ยังไม่ถูกทำลาย และชาวบ้านซึ่ง จับจองเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นก็พร้อมจะสละอาณาบริเวณที่มีโบราณสถาน ให้เป็นสมบัติของส่วนรวม หากมีการขุดค้นและจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ ของท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมและความภาคภูมิใจต่อมรดก ทางวัฒนธรรมของชาวบ้าน ซึ่งผู้นำในท้องถิ่นยิ่งจะต้องมีบทบาทสำคัญ ในการสร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจต่ อ เรื่ อ งราวของดงแม่ น างเมื อ งและ ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดสำนึกร่วมที่จะรักษ์และ พัฒนาเมืองโบราณดงแม่นางเมือง ตลอดจนท้องถิ่นของตนเอง นอกจากนี้ในการจัดประชุมเสวนา “กรุงเก่าดงแม่นางเมือง” ที่ สภาวัฒนธรรมอำเภอบรรพตพิสัย ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัด นครสวรรค์ จัดขึ้น ณ วัดสี่แพ่ง ตำบลเจริญผล เพื่อระดมความคิดเห็น ของชาวบ้านต่อแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์เมืองโบราณดงแม่นางเมือง อาจารย์ศรีศักรยังได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ไม่ควรศึกษาเพียง ประวัติศาสตร์โบราณคดีของดงแม่นางเมืองเท่านั้น แต่ควรจะขยายการ ศึ ก ษาไปสู่ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น อั น เป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ บ อกเล่ า ถึ ง พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่วัฒนธรรมเดียวกัน ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่ในลักษณะเขตปกครองของทางการเท่านั้น เช่น พื้นที่ เก้าเลี้ยว บรรพตพิสัย ชุมแสง เกยไชย ฯลฯ โดยทำการศึกษาลักษณะภูมิ ประเทศของบ้านเมืองหรือท้องถิ่นนั้น ๆ อันจะแลเห็นได้จากการกำหนด ชื่อภูเขา แม่น้ำลำคลอง ลำห้วย หนองบึง ศึกษาภูมิปัญญาในการปรับตัว เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ มธรรมชาติ จนเกิ ด เป็ น องค์ ค วามรู้ ใ นการใช้ แ ละ จัดสรรแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน รวมไปจนถึงกำหนดแบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณีในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมร่วม กัน นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญต่อโครงสร้างสังคม ความเป็น

เครือญาติ ชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ลาว (อีสาน) ไทย จีน ฯลฯ การรวบรวม เรื่องเล่า ตำนาน นิทานท้องถิ่น ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน พื้นที่ และความเชื่อ เช่น ตำนานดงแม่นางเมือง รวมถึงท้องถิ่นอาจสร้าง พื้นที่เพื่อสร้างสำนึกร่วม ดังเช่น การฟื้นฟูพระมหาธาตุแห่งดงแม่นางเมือง การสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อสร้างสำนึกร่วมของคนในท้องถิ่น ให้เกิดความรู้สึกหวงแหนและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง อันเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนนำพาสังคมท้องถิ่นให้สามารถอยู่รอด และพัฒนาอย่างยั่งยืน หัวใจสำคัญในการสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดงแม่นางเมืองให้มีชีวิตชีวาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยแรงผลักดันจากคนใน ท้องถิ่นเป็นหลัก เพราะคนในท้องถิ่นจะเป็นตัวสำคัญในการเข้าถึง เรื่องราวความสัมพันธ์กันในสังคมท้องถิ่น รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน รู้จักว่าใครเป็นใคร รวมถึงเรื่อง เล่ า ตำนานของชุ ม ชนในท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง จะทำให้ ค นในท้ อ งถิ่ น เกิ ด สำนึกร่วมและอยากปกป้องหวงแหนในสิ่งที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมา “หากจะสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเก่าดงแม่นางเมืองให้เป็น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ มี ชี วิ ต ทุ ก คนต้ อ งมี ส่ ว นร่ ว ม มี ส ำนึ ก ร่ ว ม การสร้ า ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น ต้ อ งอาศั ย ความค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป เริ่ ม จากการเก็ บ รวบรวมข้อมูลจากคนในท้องถิ่น แล้วจึงนำมาสังเคราะห์เชื่อมโยงระหว่าง คนในชุมชนรอบๆ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วย เกิดความภาคภูมิใจใน ท้องถิ่นของตน และสามารถถ่ายทอดสืบต่อไปยังรุ่นหลัง ก็จะช่วยให้เป็น พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างยั่งยืน” หลั ง จบการประชุ ม เสวนา ผู้ เ ขี ย นมี โ อกาสได้ เ ข้ า ไปพู ด คุ ย สอบถาม คุ ณ โภษี ขวั ญ ตา อดี ต ประธานองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบล เจริญผล (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๑) ซึ่งกล่าวถึงสภาพโดยรวมของท้องถิ่น ดงแม่นางเมืองว่า ชาวบ้านให้ความร่วมมือกับ อบต. เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะ เป็นการเอาใจใส่ดูแลและรู้สึกหวงแหนเมืองโบราณดงแม่นางเมือง หรือ ช่วยบริจาคเงินเพื่อจะสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้คุณโภษี ยังเสนออีกว่า ควรมีการขยายองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ดงแม่นางเมืองให้ กว้างขวางมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงตำบลเจริญผลหรืออำเภอบรรพตพิสัย แต่ให้ขยายไปถึงเมืองโบราณอื่น ๆ ที่พบทั่วทั้งจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้ คนเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับบ้านเมืองตนเอง อย่างไรก็ตาม การจะสร้างประวัติศาสตร์หรือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ขึ้นมาให้มีชีวิตชีวาและมีความมั่นคงยั่งยืนนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินความ สามารถ หากให้พื้นที่แก่คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความทรง จำและภูมิปัญญาของพวกเขาสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน อันสามารถนำ มาสู่การต่อรองเพี่อกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ สโรชา สิรวิชยกุล นักศึกษาฝึกงาน ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำแห่งนี้เคยมีวันคืนที่น่า

จดจำ ความสุขช่วงวัยหนุ่มสาวยังคงแจ่มชัดใน ใจของคนเฒ่ า คนแก่ ห ลายๆ คนในชุ ม ชนวั ด ขนอน แม้ว่าวันนี้แม่กลองจะเป็นเพียงลำน้ำที่ นิ่งเงียบและไม่มีชีวิตหลากสีสันที่ใช้ชีวิตอยู่กับ แม่น้ำอีกแล้วก็ตาม ชุมชนวัดขนอนอยู่ในตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ห่างตัวอำเภอ ราว ๔ กิโลเมตร ชาวบ้านเล่าสืบกันมาว่า ริม น้ำหน้าวัดเคยมีด่านเก็บภาษีหรือด่านขนอนตั้ง

ชาวบ้านแข่งขันเรือ ในยุคปัจจุบัน ในช่วงออกพรรษา งออกพรรษา

วัดขนอน มิใช่มีเพียงพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ แต่ ชีวิตผู้คน ล้วนน่าจดจำ อยู่ ในช่วงที่มีการเก็บเงินรัชชูปการส่งเข้ารัฐก็ เก็บจากชาวบ้านที่เป็นชาย ๓ บาทต่อคนต่อปี เพื่อไม่ต้องเข้าเดือนไปเป็นทหาร พื้นที่แห่งนี้หลากหลายด้วยกลุ่มคน แต่ อ ยู่ ร่ ว มกั น ได้ พึ่ ง พาช่ ว ยเหลื อ กั น จนมอง ข้ า มความแตกต่ า ง เมื่ อ ช่ ว งต้ น กรุ ง รั ต นโกสินทร์ เมืองราชบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นในที่ อยู่ ติ ด กั บ ชายแดนพม่ า ด้ า นตะวั น ตก จึ ง มี กลุ่มคนตามรอยต่อแนวชายแดนอพยพเข้ามา อาศัยอยู่เป็นระยะๆ ได้แก่ มอญและกะเหรี่ยง คนเหล่ า นี้ เ ป็ น กองลาดตระเวนหาข่ า วให้ กั บ สยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ หลากหลายคือ คนไทย คนมอญ คนจีน และมี คนลาวอยู่บ้าง ที่สำคัญมีการแต่งงานระหว่าง กลุ่มจนกลายเป็นเครือญาติกันแทบทั้งหมด คนไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ละแวกวัด ขนอนและใกล้เคียง ทำนาทำไร่เป็นอาชีพหลัก คนมอญ ตั้ ง ชุมชนหนาแน่นอยู่ทาง ทิศใต้ของวัดขนอน ตั้งแต่หมู่ที่ ๑ จนถึงหมู่ที่ ๒ และทางทิศเหนือของวัดขึ้นไป อาชีพหลักไม่ ต่างจากคนไทย ส่วนใหญ่ทำนาทำไร่เช่นกัน แต่มอญบางกลุ่มอย่างชุมชนบ้านหม้อที่อยู่ทาง เหนือวัดขนอนเป็นมอญใหม่ หมายถึงคนมอญ ที่เพิ่งอพยพเข้ามาแถบลุ่มน้ำแม่กลองมาจาก ปากเกร็ด สามโคก อาชีพดั้งเดิมเป็นช่างปั้น หม้อขาย คนจีน แรกตั้งชุมชนมีคนจีนรุ่นแรกๆ

๑๐

อยู่ ท างทิ ศ ใต้ ข องวั ด ขนอน ชาวบ้ า นแถวนั้ น เรียกว่า บ้านสวนขวัญ อพยพเข้ามาจากการ ล่ อ งเรื อ ตามลำน้ ำ แม่ ก ลอง บางส่ ว นเดิ น เท้ า ส่วนใหญ่ค้าขาย ทำสวนทำไร่ คนลาว เป็ น ชุ ม ชนเก่ า แก่ ตั้ ง บ้ า น เรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง บริเวณวัดสร้อยฟ้ า ที่ ตั้ ง อยู่ ท างทิ ศ เหนื อ ของวั ด ขนอน แต่ ปัจจุบันคนลาวได้ย้ายเข้าไปอยู่ตอนในของริม ฝั่งแม่น้ำ แถบบ้านหนองหูช้าง บ้านหนองหญ้า -ปล้อง บ้านมะขาม บ้านเลือก เป็นต้น ส่วน มากทำนาทำสวน การทำเกษตรกรรมเป็ น อาชี พ หลั ก ของคนที่นี่ ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นข้าว ถั่วเขียว งา ใช้น้ำจากแม่น้ำที่มักเอ่อล้นเข้ามาตามคลอง ต่างๆ เช่น คลองแชะ คลองจัน ตามช่วงฤดูกาล เข้าสวนไร่นาของชาวบ้าน นอกจากนี้ชาวบ้าน ต่ า งพึ่ ง พาสายน้ ำ ทั้ ง การสั ญ จรไปมาหาสู่ กั น และยังเป็นชุมทางการค้า ชาวบ้านนำผลผลิตส่วนเกินจากการ บริโภคไปแลกเปลี่ยนกัน เช่น อ้อยและมะพร้าว จากคนจีนในหมู่บ้านสวนขวัญ ตำบลสร้อยฟ้า และตำบลชำแระ แลกอ้อยและผักกาดหัวจาก คนลาวที่ตำบลบ้านเลือก เป็นต้น นอกจากนี้ยัง มี ค นจากอั ม พวานำของทะเลทั้ ง ปลาทู กะปิ น้ ำ ปลา มาแลกเปลี่ ย น ทำให้ ห น้ า วั ด ขนอน กลายเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญ เมื่อย่างเข้าเดือน ๑๑ มหกรรมท้อง ทุ่งเริ่มเบาลงและเป็นช่วงวันออกพรรษา คน

กลุ่มต่างๆ จะร่วมกันทำบุญที่วัดขนอนกันอย่าง คึกคัก พบปะพูดคุยซักถามสารทุกข์สุกดิบกัน ในช่ ว งเช้ า พอตกบ่ า ยชาวบ้ า นจะร่ ว มกั น แข่งขันเรือยาว ซึ่งจริงๆ แล้วงานจะเริ่มตั้งแต่ กลางเดือน ๑๐ วัยรุ่นจะนัดหมายกันมายกเรือ จากใต้ ถุ น ศาลาการเปรี ย ญไปไว้ ใ นที่ โ ล่ ง แจ้ ง เพื่อซ่อมแซมเรือ หลังจากนั้นในยามเย็นของ ทุ ก วั น จะร่ ว มกั น ซ้ อ มพายเรื อ เพื่ อ แข่ ง ขั น กั น ระหว่างหมู่บ้านในวันออกพรรษาหรือวันทอด กฐิน การแข่งขันเรือยาวจะผลัดเปลี่ยนกัน เป็นเจ้าภาพ หลังออกพรรษา วัดต่างๆ จะทอด กฐิ น และจั ด การแข่ ง ขั น เรื อ ยาวทยอยกั น ไป จนถึงกลางเดือน ๑๒ เป็นอันสิ้นสุดประเพณี มี รางวัลเป็นผ้าสีผูกหัวเรือ น้ำมันก๊าด นาฬิกา ขันน้ำพานรอง แล้วแต่จะตกลงกัน วัดที่เป็น เจ้าภาพจะแจกข้าวห่อ เหล้าขาว ให้กับผู้เข้า ร่วมแข่งขัน หากวันนี้ ภาพเช่นในอดีตแทบไม่มี ให้เห็นอีกแล้ว เมื่อใช้เกวียนเป็นพาหนะและมี คันดินเป็นถนน จากถนนลูกรังกลายเป็นถนน ลาดยางบริ เ วณหน้ า วั ด เช่ น ปั จ จุ บั น ถื อ เป็ น เส้นทางสัญจรหลักของประชาชนในแถบนี้ที่จะ ใช้ ติ ด ต่ อ ระหว่ า งอำเภอ ตำบล และหมู่ บ้ า น ต่างๆ เรื่อยมา ส่วนการเดินทางทางน้ำได้ลด ความสำคั ญ ลงตามลำดั บ ทำให้ วิ ถี ชี วิ ต และ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านเปลี่ยนแปลง ชาวบ้านเปลี่ยนมาใช้น้ำประปาแทน

น้ำจากแม่น้ำ ส่วนการเพาะปลูกได้น้ำจากการ ชลประทาน หลังจากสร้างเขื่อนท่าม่วงเป็นต้น มา น้ำที่เคยท่วมในหน้าน้ำหลากทุกปีแทบไม่ เคยเกิดขึ้น คลองไม่มีความสำคัญจึงถูกถมดิน เหลื อ เพี ย งแต่ ชื่ อ ยามใดน้ ำ เกิ ด ท่ ว มขึ้ น มา กลับกลายเป็นภัยพิบัติ ท่วมขังนานจนเน่าเสีย คนเก่าคนแก่กล่าวว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะทาง ระบายน้ำถูกปิดกั้นจากถนนบ้าง ทางรถไฟ บ้าง คลองชลประทานบ้าง และที่สำคัญคลอง ที่เคยระบายน้ำก็ถูกถมจนหมด งานรื่ น เริ ง หลั ง ฤดู เ ก็ บ เกี่ ย วอย่ า ง การแข่งเรือแบบชาวบ้านๆ เน้นความสนุกสนานกลั บ จื ด จางหลั ง จากมี เ งิ น เข้ า มา เกี่ยวข้อง เน้นผลแพ้ชนะเพื่อรางวัลและการ พนันขันต่อ จนบางครั้งทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งน่ า เศร้ า ที่ เ ทศกาลแห่ ง ความ สมานฉันท์ในวันวานกลับสร้างความร้าวฉาน ในวันนี้ ท่ามกลางสายธารของการพัฒนาที่ ไหลบ่าเข้าสู่ชุมชน แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ได้ เป็นอย่างที่รัฐเคยอวดอ้างว่า “จะกินดีอยู่ดี” เพราะความจริงกลับตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง นี้ เป็ น เพี ย งเศษเสี้ ย วของการเปลี่ ย นแปลงที่ ชุมชนต้องเผชิญ นั่นเป็นเพราะชุมชนไม่เข้าใจ ตนเองว่าเป็นใคร หวั ง เพี ย งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น วั ด ขนอนที่กำลังเกิดขึ้น จะเป็นเครื่องมือในการ ถ่ า ยทอดความรู้ ความทรงจำที่ ง ดงามของ ผู้คนในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อสะท้อนความมั่นคง ในชีวิตวัฒนธรรมแต่อดีต และสร้างบทเรียน แก่คนรุ่นหลัง นำไปสู่การเรียนรู้และเข้าใจใน พื้นที่ทางวัฒนธรรม และสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและทรัพยากร ของตนเองต่อไป ปกรณ์ คงสวัสดิ์

หมายเหตุจากผู้อ่าน

กลุม่ ประวัตศิ าสตร์ สองข้างทาง กับ การอบรม ยุวมัคคุเทศก์ทอ้ งถิน่ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

ในเขตภาคเหนือตอนล่างมีท้องถิ่นหลายแห่งที่พยายามอนุรักษ์และสร้างแหล่งเรียนรู้

ทางด้านประวัติศาสตร์ในชุมชน ในรูปแบบการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านตามวัดวาอารามและโรงเรียนในเขตชุมชน พิพิธภัณฑ์จันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น แห่งแรกๆ ที่มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์และประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง จึงจุดประกายและ เป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่นๆ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง รวมถึงชุมชนอื่นทุกภูมิภาคได้มา ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นในชุมชนของตนเอง ขณะนี้ มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเกิดขึ้นแทบทุกอำเภอในเขต ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พร้อมกับ โครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนของรัฐบาล ที่มีส่วนในการสนับสนุนและ ส่งเสริมให้เกิดการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง สังกัดสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยนิสิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลใน หมู่คณะผู้มีความรักในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี และการท่ อ งเที่ ย ว สมาชิ ก ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น นิ สิ ต หลั ก สู ต รประวั ติ ศ าสตร์ กั บ หลั ก สู ต ร ประวัตศิ าสตร์และการท่องเทีย่ ว (คูข่ นาน) โดยได้รบั ความอนุเคราะห์จากรองศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ หัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ที่ส่งเสริมให้ความรู้และ คำปรึกษา รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนทางด้านทุนทรัพย์ที่ใช้ในการเดินทางและ จัดทำหนังสือได้จากการอดออมของสมาชิกเองส่วนหนึ่ง และจากผู้มีอุปการคุณอีกส่วน หนึ่ง เป้าหมายของกลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทางคือใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในเขตใกล้ กับมหาวิทยาลัยนเรศวร แล้วอดออมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางลงพื้นที่ศึกษา สภาพการณ์ต่างๆ ยังพื้นที่จริง ในระหว่างการเดินทางได้ศึกษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ สภาพวิถีชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน และวัฒนธรรมประเพณี มีการพบปะสนทนาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์กับภูมิปัญญาในท้องถิ่นนั้นๆ หลังจากกลับมาที่มหาวิทยาลัย จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อที่จะนำมาเขียนบอกเล่าเรื่องราวที่พบเจอ เขียนบทความนำ เสนอหรือเขียนงานเชิงวิชาการในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดของแต่ละคน เป็นการ ฝึกฝนทักษะด้านการใช้ภาษาไทยไปในตัวด้วย จากนั้นก็จะมีการตรวจสอบและรวบรวม จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยใช้ชื่อว่า ท้องถิ่นศึกษา ซึ่งแล้วแต่กรณีสถานที่ศึกษา (อัดสำเนา เผยแพร่เฉพาะกลุ่มบุคคลใกล้ชิดเท่านั้น เนื่องจากขาดงบประมาณ) สิ่งหนึ่งที่เราได้พบในระหว่างการลงพื้นที่ก็คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่

๑๑


จัดทำโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างพระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่น ข้าราชการ ครู และชาวบ้าน ช่วยกันคิดและจัดทำขึ้นตามความรู้ความสามารถและงบ ประมาณเท่าที่มี เมื่อจัดขึ้นมาแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการดูแลหรือสานต่อ งานอย่างเป็นระบบ ทำให้บางพิพิธภัณฑ์มีลักษณะไม่ต่างไปจากอาคาร เก็บของเก่า ไม่มีบุคคลภายนอกให้ความสนใจ ชาวบ้านเองก็เริ่มหมด แรงใจที่จะทำ กลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทางเห็นว่าควรที่จะเข้าไปร่วม เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ในเขตบริ ก ารของมหาวิ ท ยาลั ย ประยุ ก ต์ ค วามรู้ เ พื่ อ บู ร ณาการช่ ว ยเหลื อ ชุ ม ชน โดยร่ ว มมื อ กั บ หลาย ชุมชนจัดโครงการอบรมยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ได้ร่วมมือกับโรงเรียนวัด พระฝาง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จัดโครงการอบรมยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ประจำวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ และพิพิธภัณฑ์วัดพระฝาง โดยได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐหลายหน่วยงาน โดยให้สมาชิกใน กลุ่มจำนวน ๕ คนเป็นวิทยากร แบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน-โบราณวัตถุ และคุณสมบัติของยุวมัคคุเทศก์ ใช้ เวลาในการอบรมและฝึกปฏิบัติสามวัน มีชาวบ้านและนักเรียนร่วมอบรม ทั้งสิ้น ๓๗ คน ผลปรากฏว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และ สามารถเป็นยุวมัคคุเทศก์อธิบายข้อมูลต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวฟังได้กว่า ร้อยละ ๗๐ ซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จ ยุวมัคคุเทศก์เหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่มี ผลงานสร้างชื่อให้แก่ชุมชนและจังหวัดมากพอสมควร ในการต้อนรับนัก ท่องเที่ยวและการแข่งขันทางทักษะวิชาการ ครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ ได้รับการประสานงานมา จากพิพิธภัณฑ์วัดจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อร่วมเป็นวิทยากรในการ ให้ข้อมูลทางด้านทักษะของการเป็นยุวมัคคุเทศก์ที่ดี ดำเนินกิจกรรม นันทนาการและเป็นมัคคุเทศก์ในระหว่างการเดินทางไปทัศนศึกษานอก สถานที่ ในขณะที่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดีนั้นมีเจ้าหน้าที่จาก สำนักโบราณคดีที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นวิทยากร ที่จันเสนต้องยอมรับว่า นักเรียนมีพื้นฐานความรู้ความสามารถอยู่แล้ว และเคยผ่านการอบรมมา แล้ว ๑๒ รุ่น จึงแนะนำเฉพาะสิ่งที่ควรเพิ่มเติมเท่านั้น ใช้เวลาอบรมหนึ่ง วันและทัศนศึกษาหนึ่งวัน มีนักเรียนเข้าร่วมอบรมประมาณ ๔๕ คน ผล สำเร็จเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม เพราะอย่างที่กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า ที่ นี่ถือว่าเป็นต้นแบบแห่งหนึ่งในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและฝึกยุวมัคคุเทศก์

ครั้งที่ ๓ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ ทางกลุ่มได้เป็นผู้ริเริ่ม โครงการอบรมยุวมัคคุเทศก์ประจำศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบล นครชุม วัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร โดยเจ้าคุณพระศรี วชิราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม และ โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบล นครชุ ม และวั ด พระบรมธาตุ วั ด นี้ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ โบราณสถานและ โบราณวั ต ถุ ส ำคั ญ ที่ น่ า สนใจหลายอย่ า ง สมาชิ ก ในกลุ่ ม สองคนเป็ น วิทยากรหลัก แบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณสถานโบราณวัตถุในเมืองนครชุม และคุณสมบัติของยุวมัคคุเทศก์ สมาชิกอีก หกคนเป็นผู้ช่วยวิทยากร ใช้เวลาในการอบรมและฝึกปฏิบัติสองวันหนึ่ง คืน มีนักเรียนเข้าร่วมอบรม ๓๒ คน ผลปรากฏว่านักเรียนที่เข้าร่วม โครงการได้รับความรู้และสามารถเป็นยุวมัคคุเทศก์อธิบายข้อมูลต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวฟังได้ผลมากกว่าที่ทางวิทยากรและผู้จัดงานคิดไว้ ซึ่งถือ ว่าประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง และยุวมัคคุเทศก์เหล่านี้ได้รับคำชมเชยเป็น อย่างมากจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่วัดพระบรมธาตุ สิ่งที่น่าภูมิใจ ตามมาก็คือ ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุมได้รับรางวัล จากการประเมินศูนย์ฯ อันดับที่ ๑ ของภาคเหนือด้วย หลังจากที่ได้อบรมยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นทั้งสามแห่งนี้แล้ว ก็มี อีกหลายแห่งที่ติดต่อประสานงานมาทั้งในเรื่องให้ช่วยเป็นวิทยากรในการ อบรมยุวมัคคุเทศก์ และช่วยจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น แต่เนื่องจากว่าพวก เราเป็นนิสิต ต้องศึกษาเล่าเรียนและทำงานตามที่อาจารย์ในรายวิชา มอบหมาย ภายหลั ง จึ ง มี ภ าระงานในชั้ น เรี ย นมากขึ้ น การอบรมยุ ว มัคคุเทศก์ก็ต้องพักไว้ก่อน โดยได้แจ้งเหตุผลกับผู้ประสานงานจากทุก แห่ง แต่ก็พยายามที่จะหาเวลาว่างในการจัดอบรมยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้ ได้ ม ากที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะทำได้ เพราะเชื่ อ ว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น การกระตุ้ น ให้ ท้องถิ่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง ลุกขึ้นมาอนุรักษ์และเรียนรู้ ชุมชนของตน เยาวชนเกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิด เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริ ย ธรรมไปด้ ว ย สิ่ ง ที่ ท้ อ งถิ่ น จะได้ รั บ ไม่ เ พี ย งเท่ า นี้ ยั ง มี เ รื่ อ งของ เศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจะเป็นการ กระจายรายได้เข้าสู่ท้องถิ่น หากท้องถิ่นใดสนใจจะจัดโครงการลักษณะนี้และต้องการกำลัง สนับสนุนจากนิสิต สามารถติดต่อได้ที่ “กลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง” สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด พิษณุโลก ธีระวัฒน์ แสนคำ กลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สรุป บรรยายสาธารณะ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

๑๒

ชารีฟ บุญพิศ บรรยายเรื่องความ สำคัญของ “ปอเนาะ” ใน “สังคม มุสลิมท้องถิ่น” ชายแดนใต้

ความสำคัญของ “ปอเนาะ” ใน “สังคมมุสลิมท้องถิน่ ” ชายแดนใต้ โดย ชารีฟ บุญพิศ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓

การบรรยายเรื่อง ความสำคัญของ “ปอเนาะ” ใน “สังคมมุสลิมท้องถิ่น”

ด้วย กล่าวคือ วิถีชีวิตในแบบอิสลามจะหายไป เพราะโดยทั่วไปการ ศึกษาในแบบอิสลามต้องพึ่งพิงสถาบันการศึกษาที่สามารถผลิตบุคลากร ไปยังส่วนต่างๆ ของสังคมได้ ระบบการศึ ก ษาของชาวมุ ส ลิ ม ในพื้ น ที่ ที่ เ กี่ ย วพั น กั บ ศาสนา อิสลามมีด้วยกัน ๔ ประเภท คือ ตาดีกา (โรงเรียนสอนศาสนาให้เด็กเล็ก) ปอเนาะ มัสยิด และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (โรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามที่มีต้นกำเนิดมาจากปอเนาะ และแบ่งเวลาเพื่อเรียน วิชาสามัญควบคู่กันไปด้วย) และหากไม่มีปอเนาะ สถานศึกษาเช่นมัสยิดก็จะหายตามไป ด้วย เพราะแต่ละมัสยิดจะประกอบไปด้วยโต๊ะอิหม่าม ผู้อ่านบทบรรยาย ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว คนเหล่านี้ต้องผ่านการเรียนไม่จากปอเนาะก็ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ปพิชญา ปภังกร นักศึกษาฝึกงาน ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภูเก็ตภูมิ [Phuket Scape] ความเคลือ่ นไหวทางสังคมและ วัฒนธรรมของคนเมืองภูเก็ต

การบรรยายเรื่องภูเก็ตภูมิ [Phuket Scape] ความเคลื่อนไหวทางสังคม

ชายแดนใต้ โดย คุณชารีฟ บุญพิศ ในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอความสำคัญ ของปอเนาะสำหรั บ คนท้ อ งถิ่ น ปอเนาะเป็ น ภาษามลายู ห รื อ ภาษา อินโดนีเซียแปลว่า กระท่อมหรือที่พักคนเดินทาง แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบ กันดีว่า ปอเนาะ เป็นสถาบันศึกษาศาสนาอิสลามที่จำลองวิถีชีวิตของ อิสลามตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนให้อยู่ในสังคมที่เรียกว่า สังคม มุสลิม ในรูปแบบพ่อแม่พี่น้อง การถือกำเนิดของปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วน ใหญ่มี ๒ ลักษณะ คือ จากผืนป่าเป็นปอเนาะแล้วขยายไปสู่หมู่บ้าน และ จากหมู่บ้านแล้วก็มีปอเนาะ ในส่วนของระบบการศึกษาของปอเนาะนั้นจะ เป็นแบบตามอัธยาศัย โดยที่โต๊ะปาเก (ผู้เรียน) จะต้องควบคุมตัวเอง ทั้งนี้นักเรียนชายจะมีบาบอ (เจ้าของปอเนาะ) เป็นต้นแบบให้ปฏิบัติตาม ส่วนมามาหรือภรรยาของบาบอจะเป็นต้นแบบให้กับนักเรียนหญิงในการ ปฏิบัติตามหลักของอิสลาม จากมุมมองของคุณชารีฟ บุญพิศ ซึ่งเคยเป็นนักเรียนปอเนาะ ได้ให้มุมมองในเรื่องความสำคัญของ “ปอเนาะ” ใน “สังคมมุสลิมท้องถิ่น” ว่า ถ้าไม่มีปอเนาะ การใช้ชีวิตในแบบศาสนาอิสลามก็จบตามไป

โดย อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓

การอบรมยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน รุ่นที่ ๑๓ สมาชิก “กลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง” หกคนนั่งอยู่ แถวแรกทางซ้ายมือ

ข่าว กิจกรรม และความเคลื่อนไหว

การบรรยายของ อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

และวัฒนธรรมของคนเมืองภูเก็ต โดย อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ นักวิชาการท้องถิ่นชาวภูเก็ตและผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กระทู้ ท่าน ได้อธิบายถึงชื่อบ้านนามเมืองของภูเก็ตว่า เพี้ยนมาจากคำว่า “บูกิต” ใน ภาษามลายูที่แปลว่าภูเขา แต่เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นเขียนว่า “ภูเก็จ” ซึ่ง แปลว่า เมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมของชาวทมิฬที่เรียกว่า มณิครัม (มณีคราม) ตามหลักฐานที่ปรากฏศักราชราว พ.ศ. ๑๕๖๘ ทั้งนี้ “ภูเก็จ” ที่สะกดด้วย “จ” ได้เปลี่ยนเป็น “ภูเก็ต” ที่สะกดด้วย “ต” เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ ภู เ ก็ ต เป็ น ที่ รู้ จั ก ของนั ก เดิ น เรื อ ที่ ใ ช้ เ ส้ น ทางระหว่ า งจี น กั บ

อิ น เดี ย ที่ ต้ อ งผ่ า นแหลมมลายู หลั ก ฐานที่ เ ก่ า สุ ด เห็ น จะเป็ น หนั ง สื อ ภู มิ ศ าสตร์ แ ละแผนที่ เ ดิ น เรื อ ของคลอดิ อุ ส ปโตเลมี กล่ า วถึ ง การ เดิ น ทางจากแหลมสุ ว รรณภู มิ ล งมาจนถึ ง แหลมมลายู ต้ อ งผ่ า นแหลม JUNKCEYLON (จังซีลอน) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า SILAN (สิลัน) อาจารย์สมหมายไม่ได้อธิบายเพียงชื่อเมืองเท่านั้น ท่านยังได้ กล่าวถึงความเป็นเมืองภูเก็ตที่มีความหลากหลายของทรัพยากร ไม่ว่าจะ เป็นทรัพย์ในดินซึ่งหมายถึงแร่ดีบุกและสินในน้ำ มีการทำประมง เลี้ยง

๑๓


หอยมุก จึงเป็นเหตุให้เชื้อเชิญผู้คนจากต่างถิ่นเข้าอยู่อาศัยและทำกิน จน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์เช่นทุกวันนี้ หากจะพูดถึงความเป็นภูเก็ตในทุกวันนี้ ย่อมที่จะเห็น ผู้คน ชาวภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นลูกผสม (จีนและคนพื้นเมือง) และ ถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่มีทุนและแรงงานในการทำเหมืองแร่ และ เหมืองแห่งแรกเกิดขึ้นที่อำเภอกระทู้ นอกจากนี้ยังมีจีนบ้าบ๋าย่าหยา ซึ่ง เป็นคนจีนผสมกับคนพื้นเมือง ส่วนกลุ่มคนเลยังมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอุลักลาโว้ยและมอแกน ซึ่งผู้คนต่างๆ เหล่านี้ได้ก่อเกิดวัฒนธรรมและ ประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของภูเก็ต ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ที่ชัดเจนคือ ประเพณีกินผัก หรือที่รู้จักกันในประเพณีกินเจ เป็นการบูชาอ้านหรือศาลเจ้าที่ชาวบ้าน นับถือ และประเพณีลอยเรือของชาวเลซึ่งเป็นการบูชาน้ำ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ทุกเดือน ๖ และเดือน ๑๑ ซึ่งในประเพณีการลอยเรือจะมีการร้อง รองเง็งหรือที่คนภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า ตันหยง สถาปัตยกรรม ที่ภูเก็ตเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโนโปรตุกิส” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างจีนกับตะวันตก

อาหาร ถื อ เป็ น อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ขึ้ น ชื่ อ ของภู เ ก็ ต เช่ น สั บ ปะรด ขนมจีน หมี่ฮกเกี้ยน อิ่วจ่าโกย (ปาท่องโก๋) รวมถึงสมุนไพรที่มีตาม ท้องถิน่ และสามารถนำมาปรุงกับอาหารต่างๆ ได้ ภาษา ถือเป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง เพราะสำเนียงการพูด และการเขียนของคนภูเก็ตจะต่างจากที่อื่นๆ ในภาคใต้ อาจารย์สมหมายเสนอว่า หลักสูตรการศึกษาจากส่วนกลางเป็น ตัวทำลายความเป็นท้องถิ่น ทำให้เยาวชนลืมเรื่องราวของท้องถิ่น คน ท้องถิ่นจึงควรที่จะหันกลับมาทำหลักสูตรท้องถิ่นและเรื่องราวของท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่นจะได้เข้าใจท้องถิ่นยิ่งขึ้น เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ

ภาพจากงานสัมมนาภูภูมิวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้ พร้อมการเปิดตัวหนังสือจากงานวิจัย ชุดการศึกษาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

กำหนดการงานเสวนาร้านริมขอบฟ้า

พ่อค้ามุสลิมกับการค้าผ้าอินเดีย โดย ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง

วันศุกร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น.

คนสยามไม่เพียงใช้ผ้าทอพื้นเมือง แต่ยังนุ่งห่มผ้า

จากต่างประเทศมานานนับศตวรรษ โดยเฉพาะ แพรพรรณจากแดนภารตะ เกิ ด เป็ น ตำนาน

แขกขายผ้า ของเหล่านักกุด่า ซึ่ง ประภัสสร

โพธิ์ ศ รี ท อง นั ก วิ ช าการอิ ส ระ จะมาไข

เรื่องราว... พ่อค้ามุสลิมกับการค้าผ้า

อินเดีย และวิธีการทำผ้าลายอัน

ลือลั่นของห้างมัสกาตี

๑๔

๑๕


แนะนำหนังสือจากงานวิจัยชุด

“การศึกษาท้องถิน่ อย่างมีสว่ นร่วม”

ลำดับที่ ๑ เล่าขานตำนานใต้ : ตำนานเหตุการณ์สำคัญ ทางการเมือง สถานที่ และบุคคลสำคัญของท้องถิ่น พบกับข้อมูล ข้อเท็จจริง และความจริงในความคิดของคนในที่ทำให้เห็นความเป็นมาของความขัดแย้งในพื้นที่ สามจังหวัดภาคใต้ จากเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ และสถานที่ซึ่งคนในท้องถิ่นถ่ายทอดสู่กันมาจนถึงปัจจุบัน

โดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม อุดม ปัตนวงศ์ และ ศรีศักร วัลลิโภดม ราคาปกติ ๒๑๐ บาท ราคาพิเศษเฉพาะสั่งซื้อกับมูลนิธิฯ เหลือ ๑๗๐ บาท (ค่าจัดส่งฟรี)

ลำดับที่ ๒ ความทรงจำในอ่าวปัตตานี พบกับภาพลักษณ์ของสังคมปัตตานีที่เป็น “สังคมพหุลักษณ์” สู่วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาที่ทำให้คนใน ท้องถิ่นเกิดสำนึกรักแผ่นดินเกิด โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนาของคนในแต่ละชุมชน

โดย ดอเลาะ เจ๊ะแต มะรอนิง สาและ และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ราคาปกติ ๒๕๐ บาท ราคาพิเศษเฉพาะสั่งซื้อกับมูลนิธิฯ เหลือ ๒๑๐ บาท (ค่าจัดส่งฟรี)

ลำดับที่ ๓ ยาลอเป็นยะลา : ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง และคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา พบกับประวัติศาสตร์ “บ้านและเมือง” ยะลา และการนำเสนอข้อมูลทางสังคมที่ทำให้แลเห็นคนแต่ละรุ่นแต่ละกลุ่ม อย่างโดดเด่น โดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาวที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงในสมัยปัจจุบัน

โดย ทรัยนุง มะเด็ง อับดุลเร๊าะมัน บาดา และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ราคาปกติ ๒๔๕ บาท ราคาพิเศษเฉพาะสั่งซื้อกับมูลนิธิฯ เหลือ ๒๐๐ บาท (ค่าจัดส่งฟรี)

ลำดับที่ ๔ เรื่องเล่าจากหมู่บ้านเชิงเขาบูโด กรณีบ้านตะโหนด พบกับเรื่องราวของนิเวศวัฒนธรรมรอบเขาบูโดและการทำสวนผสมแบบ “ดูซง” ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ของคนใน ท้องถิ่น รวมถึงปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินและการประกาศเขตอุทยานฯ ของรัฐที่ทำให้ชาวบ้านต้องกลายเป็นผู้บุกรุก ที่ดินของตนเองและทำผิดกฎหมายมากว่า ๑๐ ปี

โดย มะอีซอ โซมะดะ งามพล จะปากิยา และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ราคาปกติ ๒๓๐ บาท ราคาพิเศษเฉพาะสั่งซื้อกับมูลนิธิฯ เหลือ ๑๙๐ บาท (ค่าจัดส่งฟรี)

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ รอบรู้ วิริยะพันธุ์ กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร เศรษฐพงษ์ จงสงวน กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ตวงพร วิชญพงษ์กุล นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง ปกรณ์ คงสวัสดิ์ มรกต สาตราคม นิลุบล ศรีอารีย์

๑๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.