จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๕ ประจำเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๓

Page 1

ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๘๕ กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๓

จดหมายข่าว

มูลนิธิเล็ ก -ประไพ วิ​ิ ริ ย ะพั น ธุ์ LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION

เผยแพร่ความรู้เรื่องสังคมวัฒนธรรมเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก จดหมายข่าวมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ราย ๒ เดือน มีวตั ถุประสงค์เพือ่

เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารจากการดำเนินงานของมูลนิธฯิ และยินดีเป็นเวทีตพี มิ พ์ บทความ ประสบการณ์ ทรรศนะ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ จากหน่วยงานด้านสังคม วัฒนธรรมและผูส้ นใจทัว่ ไป อันจะนำไปสูเ่ ครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา การสร้างและพัฒนาองค์ความรูเ้ รือ่ งเมืองไทยให้คงอยูต่ ลอดไป

หากต้องการบอกรับเป็นสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

เ ปิ ดประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

กรุณาส่งชื่อที่อยู่พร้อมแสดมป์ ๖ ดวงต่อปี มายังที่อยู่ท้ายฉบับ

เอ็มโอยู ๔๓ กับ

มร

ดกโลก ดกโลภ

เรื่องร้อนทางเศรษฐกิจ-การเมืองในเมืองไทยที่ทำให้เกิด

ส า ร บั​ั ญ

ความขัดแย้งระหว่างคนในภาคประชาสังคมกับคนของรัฐใน ช่วงเวลานี้ก็คือ การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระ วิ ห าร ซึ่ ง คณะกรรมการมรดกโลกขององค์ ก ารยู เ นสโกมี ความโน้มเอียงที่จะขึ้นทะเบียนให้เป็นเอกสิทธิ์ของกัมพูชา ทั้งๆ ที่พื้นที่โดยรอบของตัวปราสาทนั้น ทางประเทศไทย

ยืนยันอ้างสิทธิ์ตามสันปันน้ำในการตกลงปักปันเขตแดนกับ ฝรั่ ง เศสแต่ ส มั ย รั ช กาลที่ ๕ เมื่ อ ค.ศ. ๑๙๐๔ แต่ ก าร ดำเนิ น การปั ก ปั น เขตแดนที่ สื บ ต่ อ มาจนเสร็ จ สิ้ น ใน ค.ศ. ๑๙๐๗ นั้น ฝรั่งเศสโกงอย่างหน้าด้านๆ ด้วยการถืออำนาจดัง

เปิดประเด็น เอ็มโอยู ๔๓ กับมรดกโลก–มรดกโลภ................................................................................................................................................................ ๑ บันทึกจากท้องถิ่น ฟื้นขุนยวม-เมืองปอน เมื่อพลังท้องถิ่นตั้งรับ...................................................................................................................................................... ๕ จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น “เรื่องเล่าชาวบางกอก” มิติที่ขาดหายในพิพิธภัณฑ์ของคนกรุง ......................................................................................................................... ๗ หมายเหตุจากผู้อ่าน เรื่องราวของวีรบุรุษทางวัฒนธรรม “เจ้าปู่ตาหมวกคำ” ที่อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์.................................................................................. ๙ ข่าว กิจกรรม และความเคลื่อนไหว.................................................................................................................................................................. ๑๑


ประเทศมหาอำนาจ สร้างแผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ด้วยการขีดเส้นเขตแดน ลงบนแผนที่ อ ย่ า งไม่ ต รงกั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง ในเรื่ อ งสั น ปั น น้ ำ เลยทำให้ ปราสาทพระวิหารตกอยู่ในเขตแดนประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐอารักขา ของฝรั่ ง เศส แต่ เ มื่ อ เหตุ ก ารณ์ ผ่ า นมาถึ ง สมั ย สงครามอิ น โดจี น ใน สงครามโลกครั้งที่ ๒ ไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ไทยก็อ้างสิทธิ์ในการ ครอบครองดินแดนเสียมเรียบและพระตะบองในกัมพูชามาอยู่ในเขตแดน ประเทศไทยอี ก วาระหนึ่ ง ครั้ ง เมื่ อ ญี่ ปุ่ น แพ้ ส งคราม ไทยก็ จ ำต้ อ งคื น ดินแดนกลับไปให้ฝรั่งเศสอีก แต่ก็ยังครอบครองพื้นที่บนเทือกเขาพนม ดงเร็กแทบทั้งหมดไว้ ซึ่งรวมทั้งปราสาทพระวิหารที่ฝรั่งเศสโกงเอาไป ด้วย เหตุที่ไทยอ้างสิทธิ์เช่นนี้ก็เพราะพื้นที่ในบริเวณสันปันน้ำแทบ ทั้งหมดอยู่บนที่ราบสูงโคราชในเขตไทย คนท้องถิ่นที่มีหลายชาติพันธุ์ซึ่ง อาศัยตั้งถิ่นฐานชุมชนและแหล่งทำมาหากินในป่าและเขาก็ล้วนเป็นคนใน พื้นที่ราบสูงโคราชแทบทั้งนั้น โดยผู้คนเหล่านี้มีการติดต่อกับคนในที่ราบ ต่ำเขมรโดยช่องเขาต่างๆ ในเทือกเขาพนมดงเร็ก โดยไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนสิ่งของและสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ โดยเฉพาะการกิน ดองกันทางการแต่งงาน รวมทั้งการเข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะตามป่าเขา ทั้งสองฟากของสันปันน้ำในการหาของป่า ทำมาหากินร่วมกัน คนทั้งสอง ฟากเขามักมีแหล่งศักดิ์สิทธิ์ในระบบความเชื่อมาประกอบพิธีกรรมด้วย กั น ควบคู่ ไ ปกั บ พื้ น ที่ ย่ า นตลาดและแหล่งที่อยู่อาศัยในลักษณะที่เป็น ชุมชนร่วมกันตามช่องเขาต่างๆ อันเป็นเส้นทางขึ้นลงระหว่างที่ราบสูง โคราชและที่ราบเขมรต่ำ พื้นที่บนสันปันน้ำที่มีคนท้องถิ่นทั้งสองดินแดนใช้ร่วมกันมา อย่างไม่มีความขัดแย้งใดๆ นั้น เริ่มกระทบกระเทือนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่รัฐบาลเขมรของสมเด็จพระนโรดมสีหนุฟ้องศาลโลกอ้างสิทธิ์ครอบครอง ปราสาทพระวิหารที่อยู่ในเขตสันปันน้ำของไทย โดยอาศัยสนธิสัญญาใน การแบ่งเขตแดนที่ฝรั่งเศสทำกับไทยในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ครั้งเขมรยังเป็นรัฐ ในอารั ก ขาของฝรั่ ง เศส ซึ่ ง เป็ น สนธิ สั ญ ญาที่ สั ม พั น ธ์ กั บ แผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ที่ฝรั่งเศสทำไว้ และบีบให้ไทยยอมรับในสมัยรัชกาลที่ ๕ ั ญาและแผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ทีแ่ สนชัว่ ของ ในความจริง สนธิสญ ฝรัง่ ถ่อยนัน้ ควรสิน้ สุดลงแล้วเมือ่ เขมรเป็นเอกราช รวมทัง้ ไทยเองก็ไม่ควร รับมาพิจารณาและไปอ้างสิทธิ์เหนือบริเวณเสียมเรียบและพระตะบอง ดังเช่นรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม ร่วมเป็นพันธมิตรกับญีป่ นุ่ ด้วย แต่เจ้าสีหนุนั้นกลับอ้างสนธิสัญญาและแผนที่สมัยอาณานิคมมา แสดง ดุจดังเคยเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสเช่นเดิม ซึ่งก็ดูน่าประหลาด เป็นนักหนา ในการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมทางมนุษยวิทยาชาติพันธุ์ของ ข้าพเจ้าที่เกี่ยวกับที่ราบสูงโคราชและเขมรต่ำในลุ่มทะเลสาบนั้น ข้าพเจ้า พบว่าประชาชนที่อยู่ในประเทศกัมพูชาประกอบด้วยคนสองกลุ่มในสอง พื้นที่มาช้านาน คือ คนที่อยู่บนพื้นที่สูงและพื้นที่ชายทะเล พวกที่อยู่ ในที่สูงเป็นมนุษย์ในตระกูลมอญ-เขมร อันเป็นตระกูลภาษาย่อยๆ ของ ตระกูลใหญ่ที่เรียกว่า ออสโตร-เอเชียติก [Austro-Asiatic] คนเหล่านี้ กระจายอยู่บนที่ราบสูงโคราชอันเป็นอนุภาคหนึ่งของลุ่มน้ำโขงตอนกลาง และที่ราบลุ่มรอบๆ ทะเลสาบเขมร ในจดหมายเหตุจีนเรียกคนเหล่านี้ว่า “เจนละบก” ส่วนคนที่อยู่ทางชายฝั่งทะเลคือแถวลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่เป็น ดินดอนสามเหลี่ยม [Mekong Delta] เป็นมนุษย์ในตระกูลมาเลย์-จาม ซึ่ ง เป็ น ตระกู ล ย่ อ ยของตระกู ล ภาษาใหญ่ ที่ เ รี ย กว่ า ออสโตรนี เ ซี ย น [Austronesian] หรือ มาลาโยโพลีนีเซียน [Malayo Polynesian] คนพวกนี้ ทำมาหากินตามชายทะเลและบนท้องทะเล เป็น นักเดินทางทะเลระยะ

ไกลที่เก่ง [Seafarer] มาแต่สมัยโลหะในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือแต่ราว ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาลลงมา ราวต้นคริสตกาลการค้าระยะไกลทางทะเลระหว่างอินเดียและ ตะวันออกกลางกับจีนทางตะวันออกไกลได้ทำให้เกิด กลุ่มรัฐชายทะเล [Port Polity] และ กลุ่มรัฐภายใน [Hinterland Polity] ขึ้น อันเนื่องมาจาก การแลกเปลี่ยนสินค้าที่เป็นของป่า [Jungle products] และโลหะธาตุ [Mineral resource] ของดิ น แดนภายในกั บ ผู้ ค นที่ ท ำการค้ า ขายทาง ชายฝั่งทะเล เป็นเหตุให้มีการแพร่อารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมือง โดยเฉพาะอารยธรรมอินเดียนั้นมี ผลให้เกิดนครรัฐที่มีศาสนาการเมืองในระบบกษัตริย์แบบจักรพรรดิราชใน ศาสนาพุทธ ฮินดู และพุทธมหายานขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ หรือคริสต์ศตวรรษที่ ๖-๗ เกิดกลุ่ม นครรัฐที่มีลัทธิศาสนาทางราชการที่เป็นพุทธเถรวาท พุทธมหายาน และ ฮินดูขึ้นมาตามดินแดนต่างๆ ทั้งชายทะเลและภายใน ในเดลต้าแม่น้ำโขง มี รั ฐ ฟู นั น อั น เป็ น รั ฐ ของคนมาเลย์ - จาม ร่ ว มสมั ย กั บ รั ฐ จามปาทาง เวี ย ดนามกลาง รั ฐ เจนละ ที่ อ ยู่ ใ นที่ ร าบสู ง โคราช รั ฐ ทวารวดีแ ละรั ฐ นครชัยศรี ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย กินไปถึง รัฐศรีเกษตร ของชนชาติ พะยู่ หรือ ผิ่ว ในแอ่งอิระวดีของพม่า ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา การเติบโตของการค้าระยะ ไกลทางทะเลมากขึ้น เกิดบ้านเมืองใหญ่ๆ และรัฐใหม่ๆ ที่เป็นนครรัฐ มากมาย มีทั้งแยกอยู่อย่างเป็นเอกเทศ มีทั้งการรวมกับรัฐเก่าเป็นรัฐใหม่ ขึ้นมา ในดินแดนเดลต้าของแม่น้ำโขงที่ที่ราบสูงโคราช การแผ่ขยายของ คนกลุ่มที่เรียกว่ามอญ-เขมร ลงมาทางเดลต้าแม่น้ำโขงทำให้รัฐฟูนันหมด ความสำคัญไป เกิดรัฐใหม่ขึ้นมาแทนที่คนจีนเรียกว่า รัฐเจนละน้ำ ทำให้เจนละแต่เดิมที่แบ่งออกเป็นสองเจนละคือ เจนละบก มี เมืองสำคัญอยู่ที่ เชิงเขาวัดพู ริมฝั่งแม่น้ำโขงในแคว้นจำปาสักของลาวกับ รัฐเจนละน้ำ ที่มีเมืองสำคัญอยู่ที่ เมืองสมโบร์ไพรกุก ในลุ่มน้ำโขงในเขต แขวงกัมปงจามในปัจจุบัน บริเวณที่เป็นเจนละน้ำเริ่มแต่ชายทะเลมาถึงพนมเปญและเรื่อย ขึ้นไปตามลำน้ำโขงจนถึง สตึงเตรง นั้น เป็นพื้นที่ของการผสมผสานของ ชนกลุ่มมอญ-เขมรกับกลุ่มจาม-มาเลย์ มีความเชื่อและวัฒนธรรมแตกต่าง ไปจากพวกเจนละบกที่ขยายตัวจากที่ราบสูงโคราชลงมายังลุ่มทะเลสาบ ในเขตเสียมเรียบและพระตะบอง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ลงมา เจนละ น้ำมักมีการขัดแย้งกับพวกจามที่ถอยร่นขึ้นไปรวมอยู่ทางตอนกลางของ เวี ย ดนามเป็ น ประจำ เกิ ด สงครามกั น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทำให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองเกิดขึ้น คือ เกิดนครรัฐของพวก เจนละบกขึ้นมาใหม่ที่ริมของทะเลสาบ โดยอาศัย เขาพนมกุเลน เป็นศูนย์ กลางของจักรวาล มี ลำน้ำโรราส และ ลำน้ำเสียมเรียบ ที่ไหลลงจาก เขาพนมกุเลนหล่อเลี้ยง การสร้างบ้านแปงเมืองในบริเวณนี้ รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นคือรัฐเมือง พระนครที่มีเมืองยโสธรปุระเป็นศูนย์กลางทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ การเกิดรัฐเมืองพระนครที่มีเมืองยโสธรปุระเป็นศูนย์กลางนี้ ดูคล้ายๆ กับ พระนครศรีอยุธยาที่ทำให้บรรดานครรัฐในเครือข่ายทั้งในพื้นที่เจนละบก ในที่ราบสูงโคราชกับเจนละน้ำที่อยู่ทางเดลต้าแม่น้ำโขง พยายามแย่งชิง กันเข้ามาปกครองอยู่เนืองๆ เกิดกษัตริย์ใหญ่ๆ ที่พยายามบูรณาการรัฐ และผู้ ค นทั้ ง สองเขตให้ เ ป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ในการปกครองและ วัฒนธรรม ความเป็ น หนึ่ ง เดี ย วของเมื อ งพระนครคื อ ทั้ ง เจนละบกและ เจนละน้ำนั้น เห็นเป็นรูปธรรมขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อพระเจ้า สุริยวรมันที่ ๑ ผู้มีเชื้อสายจาม-มาเลย์จากเจนละน้ำเข้ามามีอำนาจใน เมืองพระนคร ได้แบ่งวัฒนธรรมฮินดูของเมืองพระนครขึ้นไปยังดินแดน

ที่ราบสูงโคราช ทำให้เกิดปราสาทขอมในศิลปะแบบปาปวนขึ้นทั่วไป ทำให้ความคล้ายคลึงกันทางรูปแบบศิลปวัฒนธรรมกลาย เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นอำนาจทางการเมืองไป ทั้งๆ ที่นัยซ่อนเร้น ทางการเมืองนั้นน่าจะเป็นพระเจ้าสุริยวรมันต้องการสร้างความ สั ม พั น ธ์ ใ นด้ า นกำลั ง คนจากที่ ร าบสู ง โคราชเพื่ อ ต่ อ ต้ า นกั บ การ รุกรานของพวกจามจากเวียดนามกลางมากกว่า รวมทั้งการที่ใช้ เมืองพระนครทีอ่ ยูร่ มิ ทะเลสาบเป็นทีม่ นั่ ในการสูร้ บกับพวกจามด้วย แต่กระนั้นก็ไม่อาจต้านทานการโจมตีและจู่โจมจากพวกจามได้ เพราะหลังรัชกาลสุริยวรมันที่ ๑ แล้ว อาณาจักรเมืองพระนครปั่นป่วนและ แตกแยก เปิดโอกาสให้พวกเจนละบกในที่ราบสูงโคราชที่มีนครรัฐอยู่ที่ พิมาย-พนมรุ้ง ในบริเวณที่เรียกว่า มูละเทศะ แต่เดิมเข้ามามีอำนาจแทน คือกษัตริย์ในราชวงศ์มหิธรปุระที่ทรงพระนามว่า สุริยวรมันที่ ๒ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ คือผู้ที่สร้างปราสาทนครวัดที่มีชื่อเรียก ในศิลาจารึกว่า วิษณุโลก เป็นสถานที่เพื่อการพระบรมศพของพระองค์ที่มี พระนามคล้ายพระวิษณุ (แต่ไม่เหมือน) ว่า พระบรมวิษณุโลก ภาพสลัก ในพระราชพิธีสนามก็คือการสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพ ขอมในระเบียงคดปราสาทนครวัด ที่ประกอบด้วยกองทัพจากบรรดาเมือง ขึ้นและเมืองที่เป็นพันธมิตรมากมายที่อยู่ในที่ราบสูงโคราชและกินมาถึง แคว้นสยามและละโว้ของสยามประเทศในลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย โดยเฉพาะละโว้ นั้ น ดู มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง กั บ เมื อ ง พระนครที่มีผลสืบเนื่องมายังสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีทีเดียว แต่เมื่อสิ้นพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แล้ว เมืองพระนครก็เกิดความ วุ่นวายอีกทั้งความขัดแย้งภายในและภายนอก เป็นเหตุให้พวกจามยก กองทัพมาปล้นเมืองพระนครจนอยู่ในภาวะระส่ำระสาย เป็นเหตุให้เกิด ผู้นำใหม่มาปราบยุคเข็ญ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ก็เป็นกษัตริย์ใน ราชวงศ์ ม หิ ธ รปุ ร ะเช่ น เดี ย วกั น กั บ พระเจ้ า สุ ริ ย วรมั น ที่ ๒ เพราะคื อ ราชโอรสของกษัตริย์ธรณินทรวรมัน ผู้ครองเมืองพิมายอันเป็นนครรัฐใน เครือข่ายของเมืองยโสธรปุระหรือเมืองพระนครนั่นเอง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สร้างเมืองนครธมทับที่เมืองพระนครเก่า ขึ้ น มา โดยมี ป้ อ มปราการแข็ ง แรงก่ อ ด้ ว ยศิ ล าแลง พร้ อ มกั น ก็ ส ร้ า ง ปราสาทบายนขึ้นเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธมหายานของราชอาณาจักร แล้วทรงเชื่อมความสัมพันธ์อันดีของเมืองพระนครไปตามบ้านเมืองต่างๆ ทั้งในที่ราบสูงโคราชและที่ราบลุ่มทะเลสาบ เลยไปจนถึงลุ่มน้ำโขงในเขต แคว้นที่แต่เดิมเป็นเจนละน้ำ เป็นการบูรณาการบ้านเมืองที่ต่างภูมิภาคและชาติพันธุ์เข้าไว้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในอาณาจักรเมืองพระนคร แต่ว่าการรวมกันทั้ง การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ก็ไปได้พักหนึ่ง เพราะเมื่อ สิ้นรัชกาลแล้ว บ้านเมืองก็แตกแยก กษัตริย์เมืองพระนครหลังรัชกาล พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หันมานับถือและอุปถัมภ์ศาสนาฮินดูแล้วทำลายล้าง พุทธมหายานของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในที่สุดอาณาจักรเมืองพระนครก็ แตกแยก พุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์จากรัฐในประเทศสยามแผ่ เข้ามาเป็นศาสนาราชการใหม่ ในยุคนี้ศูนย์กลางความเจริญใหม่เช่นอยุธยาก็เข้ามาแทนที่ ทาง อยุธยาขยายอำนาจมาผนวกเจนละบกที่เป็นคนชาติพันธุ์เดียวกันกับคน บนที่ ร าบสู ง โคราชให้ อ ยู่ ภ ายในราชอาณาจั ก ร โดยเฉพาะการตี เ มื อ ง พระนครหลวงและกวาดต้ อ นครั ว เขมรมาเป็ น คนสยามในสมั ย สมเด็ จ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยานั้นได้ทำให้ความสำคัญของรัฐ กัมพูชาเคลื่อนจากริมทะเลสาบไปยังพื้นที่เจนละน้ำในบริเวณจัตุรมุข อัน เป็นแหล่งสบกันของแม่น้ำ ทะเลสาบ คือ แม่น้ำบาสัคและแม่น้ำโขง เกิด เมืองสำคัญขึ้นมาแทนที่ ตั้งแต่เมืองอุดงมีชัย อันลองเวง และพนมเปญ

ตามลำดับ ความเป็นหนึ่งเดียวของกัมพูชาแต่สมัยเมืองพระนครก็ สิ้นสุดลง เข้าสู่สมัยหลังเมืองพระนครที่กัมพูชาแบ่งออกเป็นเจนละ บกและเจนละน้ำเหมือนเดิม เจนละน้ำมีความเจริญกว่ า เพราะอยู่ ใ กล้ ท ะเล มี พ่ อ ค้ า และ ชนต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนเข้ามาค้าขายตั้งหลักแหล่ง รวมทั้งมีชนจาม มุสลิมและอื่นๆ ที่เข้ามาทางทะเลเป็นที่รู้จักรับรู้ของคนภายนอกทั่วไป ใน ทำนองตรงข้าม พวกเจนละบกที่เมืองพระนครกลับไม่มีใครรู้จักและเชื่อว่า สูญหายไปหลังจากกองทัพไทยตีเมืองพระนครและกวาดต้อนผู้คนกลับไป เมืองไทย ก็เลยเป็นโอกาสของพวกฝรั่งเศสนักสำรวจล่าอาณานิคม เช่น อองเดร มูโอต์ อ้างตัวว่าเป็นผู้ค้นพบเมืองพระนครให้ทั่วโลกได้รับรู้ เรื่ อ งเช่ น นี้ ถ้ า เป็ น คนท้ อ งถิ่ น ที่ อ ยู่ กั บ ความจริ ง แล้ ว ก็ ค งนึ ก สมเพชในความโอ้อวดของฝรั่งที่พยายามแสดงตัวเองเป็นผู้ปลดปล่อย เสมอ ทั้งๆ ที่มีจิตใจที่โหดอำมหิตเสมอมา คนท้องถิ่นที่เป็นเจนละบกรู้ดี ว่าแม้เมืองพระนครจะโรยร้างไปเช่นเดียวกับพระนครศรีอยุธยานั้นก็เพียง แต่สิ่งก่อสร้าง ปราสาทราชวัง แต่ประชาชนที่เป็นคนเมืองนั้นยังอยู่อย่าง สืบเนื่อง เพียงเคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยมาสองฝั่งของลำน้ำเสียมเรียบ ลงไปจนถึงทะเลสาบ เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำกิน ทำนา จับปลา อยู่แล้ว เมืองเก่าและศาสนสถานหลายแห่งก็ยังคงมีการดูแลอยู่ ดังเห็น จากหลักฐานทางโบราณคดีสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ว่าปราสาท หลายแห่งถูกแปลงให้เป็นพุทธสถาน รวมทั้งมีการสร้างพระอุโบสถ สร้าง พระสถูปเจดีย์ อันแสดงให้เห็นความเป็นวัดวาอารามในทางพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์อย่างแจ่มแจ้ง โดยเฉพาะปราสาทนครวัดเองนั้น คนไทย สยามและพุทธศาสนิกชนอื่นๆ ก็รู้จักในนามของนครวัดแทนชื่อเก่าที่เรียก ว่า วิษณุโลก มีการสร้างพระสถูปและปรับเปลี่ยนพื้นที่ห้องปราสาทและ ระเบียงคดให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนับเนื่องกันไปหมด มีหลายยุค หลายสมัย เพราะการสร้างพระพุทธรูปถวายวัดนั้นเป็นการทำบุญที่สำคัญ ในการสืบพระศาสนา นครวัดนั้นหาได้เป็นที่รู้จักกันแต่เพียงคนในเสียมเรียบเท่านั้น หากแทบทุกสารทิศ เพราะเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญของคนทั่วภูมิภาค มี การสร้ า งตำนานขึ้ น มาอธิ บ ายต่ า งๆ นานา ยกเว้ น ไอ้ พ วกฝรั่ ง ถ่ อ ยๆ เท่านั้นที่มองไม่เห็น พระมหากษัตริย์แห่งพระนครศรีอยุธยาเองก็หาได้ลืม นครวัดนครธมไม่ ยังคงเห็นว่าเป็นแหล่งอารยธรรมทีม่ อี ทิ ธิพลในทางศิลปวัฒนธรรมเสมอมา ดังเช่นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งชื่อเมืองสอง แควอันเป็นเมืองสำคัญบนฝั่งน้ำน่านของสุโขทัยว่า “พิษณุโลก” ตามชื่อ เมืองพระนครที่ชื่อ “วิษณุโลก” เป็นเมืองที่ประทับเกือบตลอดรัชกาล การ สร้างพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญ ครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยอยุธยาตอนกลางมาจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองใน ยุ ค อยุ ธ ยาตอนปลายก็ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากศิ ล ปะสถาปั ต ยกรรมเมื อ ง พระนคร โดยมีการรับช่างและผู้รู้ไปถ่ายแบบมาปรับปรุงตลอดเวลา คนเจนละบกเองก็ มี ก ารขยั บ ขยายแหล่ ง ที่ อ ยู่ อ าศั ย ขึ้ น มายั ง ที่ราบสูงโคราช โดยข้ามเทือกเขาพนมดงเร็กมาตามช่องเขาต่างๆ เข้ามา หาถึ ง ถิ่ น ฐานสั ม พั น ธ์ กั บ พวกญาติ พี่ น้ อ งในเขตจั ง หวั ด นครราชสี ม า บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จนแยกไม่ออกในด้านชาติพันธุ์ของคนสองฟาก เขาพนมดงเร็กทั้งไทยและกัมพูชา ดูเหมือนการดำรงอยู่อย่างสืบเนื่องของคนเจนละบกนั้นเป็นที่ รู้ จั ก กั น ในปั จ จุ บั น ว่ า คนเสี ย มเรี ย บที่ แ ตกต่ า งจากพวกเขมรพนมเปญ ความแตกต่างกันนี้คนสยามในแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมารู้เป็นอย่างดี ดังเห็นจากการกล่าวถึงในตำนานพงศาวดารว่า ขอมแปรพักตร์ เมื่อเกิด ความขัดแย้งระหว่างอยุธยากับเมืองพระนครนั้น คือ ทางไทยเรียกคน เสียมเรียบว่าเป็น ขอม ส่วนคำว่าเขมรนั้นปรากฏในเอกสารว่าเกิด


บันทึกจากท้องถิ่น

ขึน้ แต่สมัยกัมพูชาย้ายเมืองสำคัญมาอยูท่ อี่ ดุ งมีชยั และต่อมาละแวก เมื่อเกิดสงครามขึ้นระหว่างอยุธยากับกัมพูชา คนไทยสยามจะเรียก คนทีอ่ ยูท่ างเมืองละแวกหรือต่อมาคือพนมเปญว่าเป็นพวกเขมร คนเหล่านี้แต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมาคือพวกเขมรน้ำที่สืบ ถิ่ น ฐานมาจากเจนละน้ ำ เป็ น กลุ่ ม ชนที่ ผ สมผสานกั น ของคนหลาย ชาติพันธุ์ทั้งจาม จีน และอื่นๆ เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งใกล้ทะเลติดต่อกับภาย นอก มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ จนมีความสำคัญทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ล้ำหน้าพวกเขมรบกหรือเสียมเรียบ ทำให้พวกเสียมเรียบเกือบถูกลืมไป พร้อมๆ กับความรุ่งเรืองทางอารยธรรมในสมัยเมืองพระนคร ข้าพเจ้าได้รับความกระจ่างแจ้งในเรื่องนี้จากนักประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นที่ล่วงลับไปแล้ว คือศาสตราจารย์เยเนโอะ อิชิอิ ครั้งพบกันในการ ประชุมสัมมนาได้บอกว่า พบเอกสารของชาวสเปนที่เข้าไปในกัมพูชาราว พุทธศตวรรษที่ ๒๓ ซึ่งระบุว่า กัมพูชาในช่วงเวลานั้นมีกษัตริย์ปกครอง สองถิ่น คือ กษัตริย์ของกลุ่มคนที่อยู่ทางภูเขา [King of the mountain] กับกษัตริย์ของคนที่อยู่ทางทะเล [King of the sea] ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความแตกต่างกันระหว่างเขมรเสียมเรียบกับเขมรพนมเปญดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้น เขมรทั้งสองพวกสองถิ่นนี้ยังมีความแตกต่างกันสืบมาจน ปัจจุบันก็ว่าได้ เพราะอาจสังเกตได้โดยไม่ยากสำหรับผู้ที่สนใจในทาง ชาติพันธุ์ของคนกัมพูชาในปัจจุบัน โดยเหตุที่ยังมีความแตกต่างกันเช่นนี้ จึงเป็นความพยายาม ของผู้นำทางการเมืองที่มีอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่พนมเปญในเขตเขมรน้ำที่ จะสร้างการยอมรับอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทาง พนมเปญ ความต้องการเช่นนี้เห็นได้จากการกระทำของเจ้าสีหนุแต่สมัย กัมพูชาเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส ได้ใช้การอ้างสิทธิ์ในปราสาทพระวิหาร เพื่ อ ประกาศความยิ่ ง ใหญ่ ข องกษั ต ริ ย์ เ ขมรโบราณว่ า เหนื อ ดิ น แดน ประเทศไทยเพื่อสร้างความภักดีจากคนเสียมเรียบต่อพนมเปญ มาครั้งนี้ ในกรณีมรดกโลกก็เช่นเดียวกัน นายกรัฐมนตรีฮุนเซนก็ต้องการเอาชนะ ใจคนเสี ย มเรี ย บและหาเสี ย งเพื่ อ สยบนั ก การเมื อ งฝ่ า ยค้ า นด้ ว ยการ ประกาศศักดิ์ศรีในอดีตที่สูญหายไปแล้วของกัมพูชาเหนือดินแดนที่ราบสูง โคราชของประเทศไทย โดยอาศัยช่องว่างทางการเมือง-เศรษฐกิจในเรื่อง เส้ น แบ่ ง เขตแดน ซึ่ ง ก็ นั บ ว่ า ได้ ผ ลดี อั น มาจากความไม่ เ อาใจใส่ ข อง รั ฐ บาลและความไม่ เ อาไหนของหน่ ว ยราชการที่ รั บ ผิ ด ชอบอั น ได้ แ ก่ กระทรวงการต่างประเทศและกรมแผนที่ทหารในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐบาลที่ว่านี้คือรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อันมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นรัฐมนตรีช่วย ว่าการฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการไปร่วมเซ็น MOU. ในการ ปันเส้นเขตแดนกับประเทศกัมพูชา ความผิดพลาดอย่างมหันต์ที่ไม่น่าให้ อภั ย ในการเซ็ น MOU. ครั้ ง นี้ ก็ คื อ การยอมรั บ ข้ อ เสนอของทางฝ่ า ย กัมพูชาในการใช้แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ แนบท้ายในการแบ่ง เส้นเขตแดน เรื่ อ งการใช้ แ ผนที่ นั้ น เป็ น เรื่ อ งทางเทคนิ ค เจ้ า หน้ า ที่ แ ละ หน่ ว ยงานที่ ต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบอย่ า งจริ ง จั ง ก็ คื อ กรมแผนที่ ท หารและ หน่ ว ยงานในกิ จ การด้ า นดิ น แดนของกระทรวงการต่ า งประเทศหาได้ เอาใจใส่อย่างรอบคอบแต่อย่างใดไม่ กลับทำความผิดพลาด ทำนองเดียว กันกับสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อครั้งมีข้อพิพาทขึ้นศาลโลก กับกัมพูชาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เพราะครั้งนั้น ก็ยอมรับในการใช้แผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ในการแบ่งเขตแดนที่ฝรั่งเศส ทำขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ซึ่งฝรั่งเศสขีดเส้นเขตแดนที่มี ปราสาทพระวิหารเข้าไปอยู่ในเขตแดนกัมพูชาแล้ว ทั้งแผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ และเส้นเขตแดนนั้นคือ ของการโกงที่ ชั่วร้ายของฝรั่งเศส แต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดันไปยอมรับ

แล้วยอมขึ้นศาลโลก ดังเป็นเรื่องที่มั่นใจว่าจะชนะกระมัง เพราะทางไทยมี ทนายความที่ดีระดับโลก เรียนจบมาแต่ฝรั่งเศส จึงลงเอยด้วยการแพ้และ เสียปราสาทพระวิหาร ซึ่งครั้งนั้นก็นับว่าทางฝ่ายทหารของรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ก็ยังไม่ยอมเสียดินแดนภายในเขตสันปันน้ำ เพราะถือว่าเขตแดน ยังเป็นของไทย ซึ่งศาลโลกเองก็หาได้ระบุถึงพื้นที่รอบพระปราสาท พระวิหารให้เป็นของกัมพูชาแต่อย่างใด ข้อบกพร่องอีกอย่างหนึ่งที่ สำคัญของรัฐบาลและกรมแผนที่สมัยจอมพลสฤษดิ์ก็คือ ไม่คิดจะใช้แผนที่ ๑ : ๕๐,๐๐๐ เป็นหลักฐานสำคัญในการกำหนดเขตแดน เพราะครั้งนั้น แผนที่ ๑ : ๕๐,๐๐๐ ก็มีใช้กันอยู่แล้ว เป็นแผนที่ซึ่งทหารอเมริกันทำขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั่นหมายถึงแผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ควรเป็นของ ล้าสมัยในความถูกต้องและชัดเจนไปแล้ว ความผิดพลาดที่ไม่อาจแก้ตัวได้โดยวิธีการอันใดก็ตาม ก็คือ การเซ็น MOU. 43 โดยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็ยังตะแบงใช้แผนที่ มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ อย่างมองไม่ออกว่า เป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจาก เส้นเขตแดนครั้งที่ฝรั่งเศสทำไว้แต่ดึกดำบรรพ์อย่างไร ก็เลยเข้าทางเป็น ผลประโยชน์ร่วมกันของรัฐบาลยุคพ่อค้าข้ามชาติครองแผ่นดินในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้ยินมาจากนายทหารรักชาติตัวเล็กๆ ที่ไม่ใช่ พวกนายพลข้ามชาติว่า รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาได้วางแผนร่วมกัน ในการประชุม เข้าใจว่าที่อุบลราชธานี ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจใน บริเวณตะเข็บชายแดนบนเทือกเขาพนมดงเร็ก แต่อุบลราชธานีที่มีเรื่อง สามเหลี่ ย มมรกต ผ่ า นเขาพระวิ ห ารและช่ อ งเขาต่ า งๆ ลงไปถึ ง เขต ชายทะเลเช่นถึงเกาะกงเป็นต้น เล่าว่าผู้เข้าร่วมประชุมก็มีทั้งหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องของทางรัฐบาล เช่น กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวง กลาโหม เป็นต้น นัยว่าเป็นการประชุมลับเสียด้วย เขาพระวิหารและ ปราสาทพระวิหารนับเนื่องเป็นแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่ง ซึ่งต่อมารัฐบาล กัมพูชาภายใต้จอมทรราชฮุนเซนหักหลังไปสมรู้ร่วมคิดกับคณะกรรมการ มรดกโลกในการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกปราสาทพระวิหารให้เป็นของ กัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว ในเรื่องนี้เห็นอย่างโล่งโจ้งจากขั้นตอนขึ้นทะเบียนที่ยอมขึ้นตัว ปราสาทพระวิหารก่อน ทั้งๆ ที่ความจริงในหลักการปกติเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ มี ท างสมบู ร ณ์ แ บบ แต่ ค ณะกรรมการมรดกโลกนั้ น คาดผิ ด เพราะเคยชินต่อการจะเสนอแนะอะไรแล้วทางรัฐบาลไทยมักจะยอมตาม ตลอดเวลา โดยเฉพาะในด้านวิชาการที่บรรดานักวิชาการฝ่ายไทยยอม เป็นลูกไล่ฝรั่งเสมอมา นี่ถ้าหากไม่มีการที่ทางภาคประชาสังคมออกมาโวยวายต่อต้าน กันอย่างต่อเนื่องดังเห็นกันในทุกวันนี้ แหล่งมรดกโลกพระวิหารก็คงเกิด ขึ้นภายใต้คำว่า แหล่งมรดกโลกเปรี๊ยะวิเฮียร์อันเป็นคำในภาษาเขมร ที่ศักดิ์ศรีอยู่ที่คนกัมพูชา ในขณะที่คนไทยเสียทั้งอำนาจอธิปไตยในเรื่อง ดินแดน ไร้ศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ ส่วนผู้ที่มีส่วนได้ผลประโยชน์อย่างแท้จริงก็คือ กลุ่มคนข้าม ชาติที่มีทั้งนักธุรกิจ นักการเมือง นักวิชาการข้ามชาติและข้ามเพศ ทั้งที่ เป็นคนไทย คนเขมร คนฝรั่ง คนจีน คนญี่ปุ่น และอื่นๆ หาใช่คนไทยใน ท้องถิ่นศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และคนเขมรเสียมเรียบที่ควรจะเป็นผู้มี ส่วนได้เสียอย่างแท้จริง [Local stakeholder] ในที่สุดความเป็นมรดกโลกอย่างแท้จริงก็คงหาบังเกิดไม่ แต่จะกลายเป็นมรดกโลกของคนข้ามชาติที่ทำให้เป็นมรดกแค้นที่ นำไปสู่ ค วามเป็ น ศั ต รู กั น ระหว่ า งคนสองชาติ คื อ ไทยและเขมร อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในบทความนี้ ข้าพเจ้าไม่คิดเรียกร้องขออะไรจากรัฐบาลซื่อบื้อ ที่ปกครองบ้านเมืองอยู่ในขณะนี้ เพราะสิ่งที่แถลงมาในเรื่องการไม่ยกเลิก แผนที่ ม าตรา ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ที่ เ ป็ น หลั ก ฐานสนั บ สนุ น เส้ น เขตแดนที่

ฝรั่งเศสทำไว้แต่ปางก่อนนั้น คือการแก้ตัวที่ขาดความกล้าหาญ ทางจริยธรรม คงจะต้องหันมายังภาคประชาชนที่ต้องรวมพลังกัน อย่ า งมหาศาลในการยกเลิ ก MOU. อั ป ยศที่ จ ะนำมาซึ่ ง ความ ฉิ บ หายอย่ า งผ่ อ นส่ ง กั บ ประเทศชาติ ใ นด้ า นดิ น แดน อำนาจ อธิปไตย ทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลในช่วงเวลาที่ ไม่นานเกินรอนี้ เมื่อมาถึงตอนนี้ข้าพเจ้าก็ใคร่เสนอข้อคิดใหม่ว่า ทำไม พวกเราที่เป็นคนไทยอันเป็นคนตะวันออกที่ก็นับว่ามีสติปัญญา มี ศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ทัดเทียมกันกับคนตะวันตก ไม่ลองตั้ง สติและทบทวนด้วยปัญญาแล้วพิจารณาว่า มรดกโลกที่กำลังเป็นมรดกโลภ และเส้นแบ่งเขต แดนที่เกี่ยวข้องกับ MOU. 43 นั้น เนื้อแท้ก็เป็นสิ่งที่สร้างขึ้น จากสติ ปั ญ ญาที่ ฉ้ อ ฉลของคนตะวั น ตกทั้ ง สิ้ น เป็ น อกุ ศ ลกรรม กลลวงที่ ท ำให้ ค นในท้ อ งถิ่ น ทั้ ง คนไทยในที่ ร าบสู ง โคราชและคนเสียมเรียบในพื้นที่เขมรต่ำ เกิดความขัดแย้งที่ นำไปสู่ความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่ ง ผิ ดกับแต่ ก่อนๆ ที่เคยอยู่ กัน อย่างเป็น ญาติ พี่น้ อง เป็นเสี่ยวเป็นสหายกัน คนทั้งสองฝ่ายต่างมีส่วนได้เสียในพื้นที่ แห่งการเปลี่ยนผ่าน เช่น บริเวณสันปันน้ำ บริเวณท้องน้ำเช่น

แม่น้ำโขงร่วมกัน แล้วยกให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทั้งสองฝ่ายช่วยกันสร้างขึ้น เช่นปราสาทพระวิหารบนเทือกเขา พนมดงเร็ก พระบรมธาตุพนมที่แม่น้ำโขง ให้เป็นที่ซึ่งคนทั้งสอง ฝ่ายและคนภายนอกที่มาจากที่อื่น ๆ ประเทศอื่นๆ ได้มาสักการะ และมาเที่ยวมาชม มาพักแรม มาซื้อขายสิ่งของที่เป็นผลิตผลที่ เกิดจากชีวิตวัฒนธรรมของคนท้องถิ่น อันนับเป็นการฟื้นฟูแหล่ง ประวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรม เช่ น ปราสาทพระวิ ห าร พระบรมธาตุพนม ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ มีชีวิตขึ้นมา แทนที่การเป็นมรดกโลก-มรดกโลภบ้าๆ บอๆ ของ ไอ้ พ วกฝรั่ ง ตะวั น ตกที่ ไ ม่ มี ป ระโยชน์ อั น ใดแก่ ค นท้ อ งถิ่ น ที่ เ ป็ น เจ้าของร่วมกันเลย เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่า เส้นแบ่งเขตแดนก็ ดี มรดกโลกก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นให้เป็นเครื่องมือ ของนั ก ธุ ร กิ จ การเมื อ งข้ า มชาติ ที่ ต อบสนองโดยรั ฐ บาล ทรราชจากกรุงเทพฯ และกัมพูชา โดยมีบรรดานักวิชาการไม่ มีชาติที่ชอบตามฝรั่งหมาไม่กัดเป็นพวกสนับสนุน อ้างความ ชอบธรรมในการแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากรของคนท้องถิ่น ของทั้งสองประเทศ ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อที่จะเสนอว่า ควรรวมพลังกันเลิกทั้ง MOU. 43 ที่เป็นเรื่องของเขตแดนและแหล่งมรดกโลกปราสาท พระวิหารเสีย แล้วคิดใหม่ทำใหม่ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ คนท้องถิ่นทั้งสองชายแดนร่วมกัน

ทุ่งนาเมื่อแรกตกกล้าดำนา

กลางเดือนกรกฎาคม ฝนที่ควรตกหนักเสียนานแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะมี

น้ำฟ้าน้ำฝนมากพอให้ชาวบ้านร่วมกันปักกล้าดำนา ในพื้นที่แบบเทือก เขาและหุบเขาของแม่ฮ่องสอน หากมีที่ราบเป็นช่องว่างพอจะทำนาได้ ผื น ดิ น เหล่ า นั้ น จะกลายเป็ น ที่ น าอั น มี ค่ า แก่ ห มู่ บ้ า น เราจึ ง ได้ เ ห็ น การ จัดการพื้นที่อย่างละเอียดยิบ แม้จะเป็นที่เนินสูงก็ถูกจัดแปลงทำเป็นนา ขั้นบันได ตามหุบตามช่องเขาน้อยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน หากมองจากฟ้าใน หน้าฝนก็จะเห็นภาพผืนนาเรียบเขียวแทรกอยู่เป็นหย่อมๆ อากาศปรวนแปรที่ ร้ อ นและแล้ ง นานเช่ น ปี นี้ ก ลั บ กลายเป็ น ทรัพย์ในดินแก่คนทั่วขุนยวม ตั้งแต่ฝนลงมาบ้าง เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ ตามแต่ท้องถิ่นไหนจะเรียกก็ผุดนอนยิ้มรออยู่ใต้ดินให้คนมาเก็บกันไป เป็ น รายได้ ก ว่ า ๓๐ ล้ า นบาทแล้ ว วั น เลี้ ย งผี เ จ้ า เมื อ งที่ ศ าลเจ้ า เมื อ ง ขุนยวม ท่านทำนายไว้ว่า จะมีเพชรมีคำโปรยอยู่ในไร่ในดอย แม่เฒ่า หลายท่านนึกถึงคำทำนายนี้และเห็นเห็ดเผาะที่ผุดตามธรรมชาติอย่าง มากมายในปีนี้ก็คือขุมทรัพย์จากแผ่นดินที่โปรยปรายให้แก่ชาวบ้านชาว เมืองนั่นเอง เห็ดเผาะทำรายได้งามแก่ชาวบ้าน บางคนตัง้ แต่ตน้ ฤดูหาเงินได้ หลายแสนบาท เดี๋ยวนี้มีโรงงานทำเป็นเห็ดเผาะกระป๋องกันแล้วจึงรับซื้อ ได้อย่างไม่อั้น แต่การที่ขึ้นโดยธรรมชาติใต้ดินจึงเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ราคาจึงขึน้ ลงตามตลาดว่าจะมีมากหรือน้อย แม้ผคู้ นจะถือว่าวิธเี ผาโคนไม้ จะทำให้เห็ดเผาะออกมาก จนถึงกับกล่าวว่าเมืองแม่ฮ่องสอนมีหมอกควัน ปกคลุมเพราะชาวบ้านเผาป่านีแ่ หละ แต่ปนี ฝี้ นแล้ง ร้อนนาน ธรรมชาติก็ ชดเชย ป่าเขาถือเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะ ใครขยันเก็บเท่าไหร่กไ็ ด้ แม้เริม่ จะมี คนจากต่างถิน่ เข้ามาบ้าง แต่กถ็ อื ว่ายังไม่มใี ครลุแก่อำนาจมาชีท้ ดี่ นิ ในเขต ขุนยวมให้ตกแก่กลุม่ และตนเองแบบถือสิทธิเ์ หมือนท้องถิน่ อืน่ ๆ ในบ้ า นเมื อ งที่ ตั้ ง อยู่ ต ามหุ บ เขา มี ล ำห้ ว ยสายเล็ ก สายน้ อ ย พื้นที่ราบดูเหมือนจะมีค่ามหาศาลแก่การเพาะปลูกทำกิน เมื่อตั้งบ้านตั้ง เมืองเป็นชุมชนขนาดใหญ่ จากหมู่บ้านเล็กๆ ที่ถูกห่อหุ้มด้วยจักรวาล ทัศน์หรือการมองโลกแบบเบ็ดเสร็จในตัวเองก็ดูเหมือนจะมีการติดต่อจาก โลกภายนอกเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยมากในปัจจุบัน การจัดการพื้นที่ภายใน ท้องถิ่นของตนเองที่มีหลักบ้านหลักเมืองรูปแบบท้องถิ่นโบราณชัดเจน ซึ่งเน้นใน “การแบ่งปันทรัพยากรส่วนรวม” ก็เปลี่ยนไปตามมูลค่าที่ดิน แบบปัจเจกที่ถือการออกโฉนดเอกสารสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ ทรัพยากรส่วนรวม [Common property] คือหัวใจของท้องถิ่น แบบดั้งเดิม การแบ่งสันปันส่วนของคนในท้องถิ่นต่างๆ มักขึ้นอยู่กับ สภาพนิเวศในแต่ละแห่งที่แตกต่างกันไป หากไม่มีการจัดสรรอย่างเป็น ธรรมและเป็นที่ยอมรับ ชาวบ้านชาวเมืองก็จะไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้มา


จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วงเสวนาบอกเล่า เรื่องเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ ขุนยวม

เด็กๆ ช่วยกันเสนอ งานเรื่อง “เฮือนไต” ที่เมืองปอน

นานหลายชัว่ อายุคนเช่นนี้ วิธคี ดิ แบบดัง้ เดิมเป็นทีย่ อมรับแพร่หลายมาเนิน่ นานก่อนที่ ทุนนิยม [Capitalism] ซึง่ เปลีย่ นวิธคี ดิ เป็นการใช้เอกสิทธิแ์ บบ ปัจเจก ให้สทิ ธิเ์ ฉพาะคนเข้าจัดการทรัพย์สนิ ทีอ่ าจเคยเป็นของส่วนรวมหรือ ของท้องถิ่นมาก่อนที่ชาวบ้านเคยยกให้เป็นพื้นที่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องตก ไปอยู่ในมือของเจ้าของทุนที่มีเงินมาก เป็นใครมาจากไหนไม่มีใครทราบ ก็ได้ และใช้อำนาจทางกฎหมายจัดการกับผูบ้ กุ รุกโดยไม่ทราบหรือไม่สนใจ อำนาจการจัดการทรัพยากรส่วนรวมแต่เดิมเหล่านัน้ ปัจจุบันนี้ “เมืองปอน” คือหมู่บ้านขนาดใหญ่ [Village] ในขณะที่ “ขุนยวม” คือเมืองขนาดเล็ก [Town] ชุมชนทั้งสองแห่งอยู่ใกล้กัน เป็นแอ่ง ที่ราบเล็กๆ มีเพียงภูเขากั้น ท่ามกลางเทือกเขาน้อยใหญ่ของแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่เลยจากเมืองแม่สะเรียงและแม่ลาน้อยมาไม่เท่าไหร่ คนส่วนใหญ่ ของพื้นที่เป็นกลุ่มคนไทใหญ่ พวกเขาพึงพอใจจะเรียกตนเองว่า “คนไต” มากกว่า ทุกวันนี้ผู้คนทั้งสองแห่งเกิดความสับสนของการเป็นบ้านเมือง ที่ ยั ง คงสื บ วั ฒ นธรรมเป็ น แบบจารี ต ชาวบ้ า นยั ง ศรั ท ธาในหลั ก บ้ า น หลักเมือง สงวนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้แก่ชุมชน เช่น วัด ศาลเจ้าเมือง ศาลา กลางบ้าน จนถึงที่ฝังศพและลานทำพิธีกรรมเผาศพของพระผู้ใหญ่ ซึ่ง เปรียบเสมือนผู้ศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่น แม้จะคลายความหมายสำหรับที่ดิน ส่วนรวมอื่นๆ เช่น ถนนหนทาง ป่าไม้ ที่ว่างอื่นๆ ที่ไม่เหมาะแก่การอยู่ อาศัยกลายเป็นเอกสิทธิ์ของคนที่สามารถซื้อหาได้ แต่พื้นที่เดิมแบบจารีต ที่ชาวบ้านถือว่าไม่ควรมีการใช้งานอย่างอื่น กลายเป็นว่ามีนโยบายจากผู้ บริหารซึ่งเป็นคนจากท้องถิ่นอื่นว่า ควรจะถูกนำไปใช้ทำสวนซากุระและ อนุสรณ์สถานความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้ คนขุนยวมลุกขึ้นมาทวงถามความเหมาะสมในนโยบายของรัฐในระดับ เทศบาลที่ควรจะเข้าใจและใกล้ชิดกับโลกทัศน์และความเชื่อของชาวบ้าน ชาวเมืองขุนยวมได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ การเคลื่ อ นไหวดั ง กล่ า วนำไปสู่ การอบรมฟื้ น พลั ง ความรู้ ท้องถิ่นอย่างที่เคยมีและเคยเป็นไปจากประสบการณ์การทำงานเรื่องการ ศึกษาท้องถิ่นต่างๆ ของคนภายนอก มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้รับ เชิญจากองค์กรชาวบ้านในท้องถิ่นเมืองปอนและขุนยวมให้ช่วยไปพูดไป คุยเรื่องราวเกี่ยวกับ “จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สร้างโดยชาวบ้านได้อย่างไร” วั ต ถุ ป ระสงค์ นั้ น ตั้ ง เรื่ อ งกั น ไว้ ว่ า เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจเรื่ อ ง ท้องถิ่นของตนเอง โดยเฝ้ามองและสังเกตการณ์จากภูมิวัฒนธรรม หรือ

ภูมิประเทศที่สัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ ทำความเข้าใจเรื่องพื้นที่ในเชิง จินตนาการที่เรียกว่า “ท้องถิ่น” ประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างไรบ้าง และมนุษย์อยู่ร่วมเป็นสังคมในท้องถิ่นนั้นอย่างไร และสร้างประวัติศาสตร์ ของตนเองในเรื่องต่างๆ ผ่านการบอกเล่าจากประสบการณ์ของผู้คนใน ท้องถิ่นในวัยและภูมิหลังที่แตกต่าง ต่อมาจึงเป็นการบันทึกความทรงจำเหล่านั้นด้วยการนำเสนอ ต่างๆ เช่น การเขียนบรรยาย การวาดภาพสื่อจินตนาการ การถ่ายทำ ว๊ดีโอดิจิตอล การตัดต่อเสียงสัมภาษณ์ หรือการเล่าเรื่องผ่านการเล่น ละคร การจัดแสดงนิทรรศการ การนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่อาจจะ เกิดขึ้น ตลอดจนนำความรู้ที่ได้ไปเป็นฐานความคิดเรื่องการจัดการการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนของตนเอง ชาวบ้ า นทั้ ง สองแห่ ง ได้ ง บประมาณสนั บ สนุ น จากสภา พัฒนาการเมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สถาบันพระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพ หลัก ในขณะที่ภาวะบ้านเมืองต้องการสร้างความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย กันอย่างขนานใหญ่ แต่หากพิจารณาแบบลึกซึ้ง รูปแบบประชาธิปไตย อย่างไรเล่าจึงจะเหมาะสมแก่ท้องถิ่นที่เคยมีระบบวิธีคิดยึดมั่นในพุทธศาสนา มีความเชื่อและจารีตแบบเดิมเป็นฐานสำคัญของชีวิต หากตัดยอด นำแต่หลักการประชาธิปไตยที่ไม่เคยประสบความสำเร็จให้ผู้คนรู้สึกมี ส่วนร่วมได้กับกิจกรรมของท้องถิ่น มีแต่จะถูกริบหรือผลักไสสิทธิ์และ เสียงของตนเองไปให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีสิ่งใดเป็นหลักประกันว่า จะได้อำนาจมาด้วยใจศรัทธา อำนาจทางการเมืองในประเทศไทยนิยมใช้อำนาจทางกฎหมาย แบบเบ็ดเสร็จ แตกต่างจากอำนาจบารมีของผู้นำชุมชนของเมืองหรือ หมู่บ้านแบบเดิมที่ใช้รูปแบบการต่อรอง ประนีประนอม พูดคุยทำความ เข้าใจในหมู่คนของตนในเรื่องต่างๆ และหากไม่สามารถตัดสินได้ก็มักใช้ “อำนาจผีหรือบารมีพระสงฆ์” เป็นเครื่องมือในการตัดสินให้เด็ดขาด คนที่มาฟังความรู้เหล่านี้ก็มีคนท้องถิ่นทั้งจากบ้านไกลๆ เช่น ตัวแทนคนปกากะญอ คนไต ที่เป็นพ่อหลวงเก่า กำนัน เจ้าหน้าที่จาก อบต. ครูอาจารย์ นักเรียน หลากหลายวัยตั้งแต่เด็กๆ ไปจนถึงผู้สูงอายุ ชาวบ้ า นจากเขตการปกครองตำบลเมื อ งปอนอั น หลากหลายเหล่ า นี้ กระตือรือร้นในการอบรมเชิงปฏิบัติการกันมาก เพราะได้ลงพื้นที่ไปคุยกับ คนเฒ่าคนแก่ในบ้านที่พวกเขาเลือกหัวข้อทดลองเก็บข้อมูลเอง มีการ เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างคนที่สูงกับคนที่ราบ รื้อฟื้นและเตรียมตัวเพื่อ นำเสนอประสบการณ์จากการเก็บข้อมูลภายในคืนเดียวด้วยการใช้สื่อโดย โปรแกรม “Power point” ที่เมืองปอนด้วยเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ โครงสร้างทางสังคมไม่ ซับซ้อนและยังคงพื้นฐานความเชื่อและสามารถสืบถึงระบบการจัดการ พื้นที่และทรัพยากรในท้องถิ่นตามแบบเดิมได้มากกว่าทางขุนยวม ที่ ปั จ จุ บั น กลายเป็ น เมื อ งไปแล้ ว และเป็ น ที่ ตั้ ง ของกลุ่ ม คนหลากหลาย ชาติพันธุ์และศาสนา เพราะเคยเป็นตลาดแต่ดั้งเดิมจนปรับเปลี่ยนกลาย เป็นตลาดอีกหลายรูปแบบในปัจจุบัน คนสูงอายุในขุนยวมดูจะเป็นผู้นำใน การบอกเล่าข้อมูลและกระตือรือร้นที่จะถ่ายทอดความทรงจำเรื่องต่างๆ แก่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาวและเด็กนักเรียนที่พยายาม ทำความเข้าใจเพื่อให้ต่อติดกับเรื่องราวที่ผ่านมาเหล่านั้น สำหรับบางกลุ่ม แล้ว ข้าวของเครื่องใช้ที่นำมาเสนอประกอบการบอกเล่าจากการออกไป เก็บข้อมูลดูจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและสนุกสนาน ยามเมื่อต้องหยิบยกมา ให้ดูทีละชิ้นและมีคนเฒ่าคนแก่คอยเล่าเสริมในสิ่งที่คาดว่าจะตกหล่นไป ที่ขุนยวมไฟฟ้าดับทั้งวัน กลายเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า เขียนบนแผ่นกระดาษและนำสิ่งของจริงๆ มาให้ดูกัน เทคโนโลยีก็ไม่ได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของเนื้อหาแต่อย่างใด คนเฒ่าคนแก่หลายท่าน บอกว่า เมื่อก่อนไม่เห็นต้องมีอะไรก็ยังเล่าเรื่องยังประชุมพูดคุยกันได้ และเหมาะสมดีเสียอีกกับเมืองขุนยวมที่ไฟฟ้าดับอยู่เรื่อยคราวละนานๆ

การอบรมที่เป็นไปโดยทั้งสองฝ่ายมีส่วนร่วมเช่นนี้ ทำให้ ได้แลกเปลี่ยนและรับรู้ความรู้ใหม่ๆ ได้มากมาย ที่ประทับใจเป็น พิเศษก็คือ ได้รับรู้ว่าการทำความเข้าใจเรื่องการศึกษาท้องถิ่นใน แบบภาพรวมๆ [Cosmology] นั้น กลุ่มที่เข้าถึงได้ไวและทำความ เข้าใจได้เร็วที่สุดน่าจะเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่ได้เรียนในระบบ การศึกษาอย่างเป็นทางการมากนัก และผู้เฒ่าผู้แก่ที่อายุล่วงพ้นวัย หกสิบกว่าปีมาแล้ว แม้จะเคยเป็นผู้อำนวยการเก่า ครูเก่า หรือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อื่นๆ หากอายุมากก็สามารถเข้าใจและต่อติด กับระบบความรู้แบบดั้งเดิมหรือแบบท้องถิ่นคนไตได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มที่เข้าใจได้ยากคือกลุ่มที่มีกรอบความรู้ของตนเอง แบบเคร่งครัดในระบบการศึกษาอยู่แล้ว เช่น ครูอาจารย์ในสถาน ศึกษา นักเรียนที่ถูกอบรมมาในระบบ และกลุ่มนักพัฒนาองค์กร เอกชนที่รับงานจากหน่วยงานต่างๆ และส่วนใหญ่มีพื้นฐานการ เรียนรู้มาจากนักวิชาการใหญ่ๆ ตามมหาวิทยาลัยอีกทีหนึ่ง แสดงถึงความรู้ท้องถิ่นนั้นถูกทำให้เลือนหายและ เข้าใจยากด้วยความรู้ในระบบการศึกษาแบบเป็นทางการเป็น สำคัญ เมื่อจะฟื้นพลังจากผู้คนในสังคม ความเข้าใจในท้องถิ่น ต้องมีไว้เป็นพื้นฐานเป็นอันดับแรก หากจะต่อสู้ในเชิงนโยบายเพื่อ อธิ บ ายต่ อ สั ง คมให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจให้ ถู ก ต้ อ ง ก็ ต้ อ งเข้ า ใจภู มิ วัฒนธรรมอันเป็นระบบความรู้จักรวาลทัศน์ของคนในพื้นที่เป็น สำคัญ การจัดการพื้นที่ซึ่งผสมผสานกับระบบการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่เป็นอันดับรองไปจากศาสนาหลัก จึงเป็นมุม มองที่จำเป็นต้องวางใจที่มีระบบวิธีคิดแบบทื่อๆ ไว้ก่อน แล้วปล่อย ให้ข้อมูลที่รับรู้นำทางไปสู่ความเข้าใจที่มนุษย์จะต้องสัมพันธ์ด้วย ทั้งสามประการ นั่นคือ ธรรมชาติแวดล้อม ความเชื่อและความ ศรัทธาตลอดจนในตัวเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง นักการเมืองท้องถิ่นอาจจะคิดว่า การล่วงล้ำเข้าไปใช้ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนเป็นสิ่งถูกกฎหมาย หรือคิดว่าชาวบ้านไม่ สามารถต้านทานอำนาจทางการเมืองได้ สิ่งเหล่านี้อาจกลับกลาย เป็นพลังมหาศาลที่ไปกระตุ้นให้ผู้คนในท้องถิ่นทลายกำแพงความ คิดและค้นหาพื้นฐานของชุมชนแบบดั้งเดิมที่เคยมีกฎเกณฑ์อยู่ร่วม กันมานานนับร้อยปี เพื่อที่จะนำมาอธิบายว่า “อำนาจทางการเมือง ไม่สามารถสั่งหรือละเมิดจารีตดั้งเดิมได้” หากทำผิดเสียแล้วก็จะ กลายเป็นการผิดกฎระเบียบที่ผู้กระทำและสังคมจะได้รับผลกระทบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชาวบ้านที่เมืองปอนและขุนยวมเริ่มฟื้นพลังทางสังคม จากความเข้าใจในธรรมชาติในสังคมของตนที่มีมาแต่เดิม โดยการ ฟื้นความรู้และการรับรู้แบบเดิมเพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังหรือพวก ที่เรียนมากได้เรียนรู้ สถานการณ์ของการท่องเที่ยวที่มาพร้อมกับทุนจำนวน มหาศาลและเศรษฐกิ จ จากการสร้ า งตลาดรู ป แบบใหม่ ที่ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในขุนยวมไปมาก จะเป็นข้อสอบใหญ่ ในการนำเสนอหาแนวทางร่ ว มกั น โดยมี พื้ น ฐานทางสั ง คมของ ตนเองเป็นต้นทุนทางความคิด เดือนกันยายนคงเป็นเดือนแห่งการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่ มูลนิธิฯ กับชาวบ้านที่เมืองปอนและขุนยวมร่วมปรึกษาหารือกันอีก ครั้ง ผลจากการทำงานในครั้งต่อไปน่าจะมีแง่มุมและเรื่องเล่าจาก ประสบการณ์ที่น่าสนใจไม่แพ้ในครั้งนี้ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

“เรือ่ งเล่าชาวบางกอก”

มิติที่ขาดหาย ในพิพิธภัณฑ์ของคนกรุง

หากกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยและเปิดตัวไปไม่นานมานี้ โดยเป็น

การซ่อมแซมตัวอาคารเก่าแก่หัวถนนราชดำเนินกลางติดกับลานมหา เจษฎาบดิ น ทร์ แล้ ว เสร็ จ และเปิ ด ประตู ต้ อ นรั บ ผู้ ม าเยื อ นในนาม “นิทรรศน์รัตนโกสินทร์” เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทั้งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์เอาไว้ในอาคารริมถนนสายประวัติศาสตร์ “ราชดำเนิน” นิทรรศน์รัตนโกสินทร์นำเสนอเรื่องราวกรุงรัตนโกสินทร์ ผ่าน ห้องจัดแสดง ๗ ห้อง ซึ่งตั้งชื่อไว้อย่างคล้องจองกัน คือ รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ เป็นการย้อนอดีตไปสู่ครั้งเริ่มสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ เกียรติยศแผ่นดินสยาม ให้ภาพจำลองของพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรื อ งนามมหรสพศิ ล ป์ บอกกล่ า วถึ ง มหรสพและการละเล่ น นานาชนิด อาทิ หนังใหญ่ โขน ละคร และหุ่น ที่พระมหากษัตริย์ทรง อุปถัมภ์และโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงในโอกาสต่างๆ ลื อ ระบิ ล พระราชพิ ธี พระราชพิ ธี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เมื อ ง ซึ่ ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ความหมายของการเสี่ยงทายผ้านุ่งและคำ ทำนายอาหารเลี้ ย งพระโคทั้ ง ๗ อย่ า ง เป็ น ต้ น พร้ อ มทั้ ง ชื่ น ชมเรื อ พระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สง่าศรีสถาปัตยกรรม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรม วัด วัง และบ้าน ซึ่งมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสมัยตามความเจริญที่ เข้ามา การรับเอาศิลปวัฒนธรรมจากจีนและชาติตะวันตกมาปรับใช้ ดื่มด่ำย่านชุมชน เป็นการชมผลงานการสร้างสรรค์จากชุมชน ต่างๆ จาก ๑๒ ชุมชน เยี่ยมยลถิ่นกรุง เพลิ ด เพลิ น กั บ การท่ อ งเที่ ย วบนเกาะรั ต นโกสินทร์ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต้องยอมรับว่านิทรรศน์รัตนโกสินทร์เป็นพิพิธภัณฑ์แบบใหม่ที่ สร้ า งความตื่ น ตาตื่ น ใจให้ กั บ ผู้ ช มได้ ไ ม่ น้ อ ย โดยเน้ น เล่ า เรื่ อ งผ่ า น ภาพยนตร์สื่อผสม ๔ มิติ ทั้งแสง สี เสียง และแบบจำลองต่างๆ โดยตัว บทจัดแสดงเน้นนำเสนอภาพกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์เป็นสำคัญ แต่หลังจากได้เดินดูจนจบแล้วก็เกิดมีคำถามขึน้ มาว่า กรุงเทพฯ คือใคร ? เพราะสิ่งที่นำเสนอผ่านภาพ เสียง และคำบรรยายต่างๆ เน้น ภาพวัด วัง เน้นศิลปวัฒนธรรมเป็นสำคัญ แต่สำหรับบ้านหรือย่านชุมชน ถูกลดทอนเหลือเพียงเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารอร่อยและผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ ของแต่ละชุมชน จนมองไม่เห็นชีวิตวัฒนธรรมว่าพวกเขาเป็นใคร และ ย่านดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไรกับนครหลวงแห่งนี้ จึงน่าเสียดายยิ่งที่ เรื่องราวแต่ละชุมชนไม่ถูกนำเสนอผ่านพิพิธภัณฑ์ของคนกรุงเทพฯ


หมายเหตุจากผู้อ่าน จึ ง ขอยกตั ว อย่ า งย่ า นสำคั ญ และอยู่ ไ ม่ ไ กลจากนิ ท รรศน์ รัตนโกสินทร์เท่าไรนัก เช่น ย่านบางลำพู ที่ถือเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของกรุงเทพฯ จากหนังสือ ร้อยแปด (ที่) กรุงเทพฯ ของ ส.พลายน้อย ได้ กล่าวถึง บางลำพู ว่า เป็นย่านตลาดการค้าสำคัญ แต่ในสมัยก่อนยังเป็น ทุ่งนาวัดชนะสงคราม ในสมัยเก่าก่อนบริเวณดังกล่าวมีชาวมอญอยู่อาศัย เป็ น จำนวนมากจึ ง ได้ ส ร้ า งวั ด ขึ้ น คื อ วั ด ตองปุ ต่ อ มารั ช กาลที่ ๑ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เหตุที่เรียก บางลำพู เป็นที่เข้า ใจว่าน่าจะมีต้นลำพูมาก ดังเช่นหนังสือนิราศโบราณได้กล่าวถึงต้นลำพู แม้แต่วัดสังเวชวิศยารามก็มีชื่อเดิมว่าวัดบางลำพูมาก่อน แต่เดิมเขียน บางลำภู นั้นเขียนตามตำราภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ในราว พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๐ มีผู้แสดงความเห็นว่าควรแก้เป็น บางลำพู และสถานที่แห่งแรกที่แก้เป็นบางลำพูคือ ที่ทำการไปรษณีย์บางลำพู ถนนสิบสามห้าง ย่านบางลำพูเริ่มเจริญขึ้นเมื่อตัดถนนจักรพงษ์ต่อมาจากถนน เจ้าฟ้าขึ้นไปถึงสะพานนรรัตนสถาน และตัดถนนต่อไปถึงสามเสนขึ้นไป ถึงถนนนครชัยศรี ทำให้เกิดมีบ้านเรือนสองฝั่งถนน และเมื่อมีผู้คนมาก เข้าก็มีตลาดเกิดขึ้นตามมามีชื่อว่า ตลาดบางลำพู หรือ ตลาดยอด ใน หนังสือนิราศพระราชวังสวนดุสิตได้กล่าวถึงตลาดนี้ไว้เช่นกัน ต่อมาบาง ลำพูได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากเกิดไฟไหม้ สำหรับตลาดบางลำพูถือเป็นแหล่งจับจ่ายซื้อของที่ได้รับความ นิยมมาก โดยในสมัยนั้นแหล่งค้าขายที่รู้จักกันดีคือ เยาวราช พาหุรัด และบางลำพู และร้าน “นพรัตน์” ร้านขายเสื้อเชิ้ตแห่งแรกของเมืองไทยก็ เป็นหนึ่งในร้านค้าที่สำคัญของย่านนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ย่ า นบางลำพู ยั ง ถื อ เป็ น แหล่ ง รวมศิ ล ปวั ฒ นธรรม เพราะในย่านนี้เป็นที่ตั้งของสำนักนาฏศิลป์และดนตรีไทยหลายสำนัก ทั้งโรงละครร้อง วิกลิเก และโรงหนังพากย์ ฯลฯ อีกทั้งด้วยบรรยากาศ ของบ้านขุนนางเก่าแก่บนถนนพระอาทิตย์ ทำให้เมื่อเวลามีการจัดงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม หรืองานศิลปะต่างๆ ถนน พระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ของผู้จัดเสมอ มิใช่แค่เพียงเรื่องราวในอดีตที่แสดงถึงความเก่าแก่ของย่าน ดังกล่าวเท่านั้น แต่เรื่องราวของชุมชนยังมีพลวัตของตนเองไปตามกาล เวลา คือ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อาจารย์สมปอง ดวงไสว อาจารย์ประจำ

ส่วนของนิทรรศการบอกเล่าเรื่องต่างๆ ในกรุงเทพฯ

โรงเรียนวัดสังเวช ได้เขียนบทความ “ลำพูต้นสุดท้ายที่บางลำพู” เพื่อยืน ยันที่มาของชื่อ “บางลำพู” ซึ่งอาจารย์สมปองและชาวชุมชนบางลำพูได้ ออกค้นหาจนพบต้นลำพูต้นสุดท้ายตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาบริเวณสวน สันติชัยปราการ ซึ่งปัจจุบันลำพูต้นนี้แตกลูกแตกหลานออกมาอีกจำนวน หลายต้น อีกสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นชุมชนของชุมชนบางลำพูที่รวมตัว กันเป็น “ประชาคมบางลำพู” จุดเริ่มต้นของประชาคมเริ่มมาจากการจัด งานถนนคนเดินบนถนนพระอาทิตย์ครั้งแรก คนในชุมชนได้มีการร่วม ประชุมกันหลายครั้งจนงานเสร็จ มีความสนิทสนมกันจึงพูดคุยกันว่าน่าจะ รวมตั ว กั น เป็ น ประชาคมขึ้ น โดยงานของประชาคมก็ คื อ การส่ ง เสริ ม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ และผลงานหนึ่งที่มาจากความร่วมมือของ ชาวประชาคมบางลำพูก็คือ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ได้มีการ รวมตัวกันต่อต้านการรื้อโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่อยู่ข้างป้อม พระสุเมรุ ตามอายุก็สมควรแก่การอนุรักษ์ อีกทั้งยังเป็นโรงเรียนสอน พิมพ์แห่งแรก ผลจากการเคลื่อนไหวของประชาคมฯ ช่วยให้อาคารเก่า แก่หลังหนึ่งยังคงอยู่ต่อไปเคียงคู่ย่านบางลำพู ภาพจากประวั ติ ชุ ม ชนย่ า นบางลำพู เ ป็ น เพี ย งส่ ว นหนึ่ ง ของ ความเป็นกรุงเทพฯ ซึ่ง “นิทรรศน์รัตนโกสินทร์” ควรเป็นพื้นที่บอกเล่า เรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนที่สร้างบ้านเรือน รวมตัวเป็นชุมชน ย่านต่างๆ ผู้คนซึ่งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ควรมีตัวตนและร่องรอยมากกว่าที่เป็นอยู่ สิ่ ง สำคั ญ คื อ การบอกเล่ า อั น เที ย มเท่ า พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ มื อ งหรื อ พิพิธภัณฑ์ของนครหลวงแห่งนี้ ไม่ควรเน้นเพียงความทันสมัยของการจัด แสดง แต่ควรมีพื้นที่สำหรับผู้คนอันหลากหลายกลุ่มเหล่าและชาติพันธุ์ที่ รวมตัวกันขึ้นมาเป็นคนกรุงเทพฯ แม้ในย่านเก่าแก่ของเมืองก็เต็มไปด้วย ชีวิตของคนที่อยู่อาศัยในเมืองประวัติศาสตร์อันสำคัญของชาติไทยที่ยังมี ตั ว ตนและลมหายใจ แต่ ถู ก ผลั ก ดั น ให้ ก ลายเป็ น ย่ า นเก่ า ใช้ เ พื่ อ การ ท่องเที่ยวและแสวงหาอาหารอร่อยเสียเท่านั้น ปกรณ์ คงสวัสดิ์

ชีวิตผู้คนชาววังเมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตชาวบ้านในย่านต่างๆ แล้วให้ความสำคัญมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เรื่องราวของวีรบุรุษ ทางวัฒนธรรม

“เจ้าปู่ตาหมวกคำ” ที่อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

อนุสาวรีย์เจ้าปู่หมวกคำ

เมื่ อ ครั้ ง ที่ ผู้ เ ขี ย นศึ ก ษาอยู่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย

นเรศวรและเป็นหัวหน้ากลุ่มประวัติศาสตร์สอง ข้างทาง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับมอบหมาย จากรองศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ ให้พาสมาชิกกลุ่มประวัติศาสตร์สอง ข้างทางลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีลุ่มน้ำน่าน น้ำปาด และน้ำตรอน ในเขตหุ บ เขาทางด้ า นตะวั น ออกของจั ง หวั ด อุตรดิตถ์ ในเขตอำเภอท่าปลา น้ำปาด ฟากท่า บ้ า นโคก และทองแสนขั น ราวปลายเดื อ น มกราคม ๒๕๕๓ ครั้งนั้นเราได้พบข้อมูลประวัติศาสตร์ โบราณคดี แ ละเรื่ อ งราวใหม่ ๆ ในท้ อ งถิ่ น ดั ง กล่ า วมากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น โบราณสถาน ชุ ม ชนโบราณ ตำนานเรื่ อ งเล่ า และความเชื่ อ ของท้องถิ่น ในที่ นี้ ผู้ เ ขี ย นขอนำเสนอเรื่ อ งราว เกี่ยวกับ “เจ้าปู่ตาหมวกคำ” ที่อำเภอบ้านโคก จั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ ซึ่ ง มี ทั้ ง ข้ อ มู ล ทางด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ แ ละความเชื่ อ รวมอยู่ ด้ ว ยกั น สิ่ ง ที่ น่าสนใจคือ เจ้าปู่ตาหมวกคำเป็นวีรบุรุษทาง วัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ถูกปรับเปลี่ยนจากผี เมืองมาเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของ ท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งศาลและอนุสาวรีย์ที่ระลึก ศาลเจ้ า ปู่ ห มวกคำเป็ น เรื อ นขนาด ใหญ่สองหลังเชื่อมต่อกัน หลังหนึ่งเป็นที่ประกอบพิธีบนบานศาลกล่าวและแก้บน เชื่อว่าเป็น ที่สถิตของดวงวิญญาณเจ้าปู่หมวกคำ อีกหลัง เป็นที่พักของนายเปลี่ยน สิงห์ทอง หรือที่ชาว บ้านเรียกกันจนติดปากว่า “ลุงสวย” ผู้ประกอบ พิ ธี ติ ด ต่ อ สื่ อ สารกั บ เจ้ า ปู่ ห มวกคำ ซึ่ ง มี โ ทรทัศน์ ตู้เย็น และสิ่งของอื่นๆ เหมือนบ้านทั่วไป ที่จริงแล้วลุงสวยก็มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ว่า ทำหน้าที่เป็น “จ้ำ” หรือผู้ทำพิธีติดต่อกับเจ้าปู่ หมวกคำ จึงย้ายจากบ้านมาอยู่ที่นี่เพื่อความ

สะดวกของผู้มาแก้บน ในวันที่ผู้เขียนและคณะ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็มีผู้คนมาแก้บนหลายคณะ ใช้ทั้งหมู ไก่ และเหล้าในการแก้บน จากการสอบถามชาวบ้ า นที่ อ ยู่ ใ กล้ กับศาลเจ้าปู่หมวกคำและชาวบ้านที่มาแก้บน ได้ความว่า เจ้าปู่หมวกคำศักดิ์สิทธิ์มาก เชื่อ ว่าท่านปกป้องคุ้มครองลูกหลานที่มาบนบาน ศาลกล่ า วทุ ก คน มี ค นมาทำพิ ธี แ ก้ บ นจาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก หรือจากทางภาคอีสานก็ มาเป็นจำนวนมาก เมื่อสมหวังดั่งใจหมายแล้ว ก็นำเครื่องเซ่นไหว้มาแก้บน ซึ่งมีลุงสวยเป็น ผู้ประกอบพิธีติดต่อสื่อสารกับเจ้าปู่หมวกคำ บริเวณที่ตั้งศาลและอนุสาวรีย์เจ้าปู่ ตาหมวกคำเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ต้นยางและต้นตะเคียนใหญ่ขนาด ๒–๓ คนโอบ หลายต้น ลักษณะเป็นดอน มีลำน้ำสุ่มแวดล้อม สามด้าน นอกจากเจ้าปู่หมวกคำจะถูกบูชาใน รูปของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีศาลและพิธีกรรมแก้บน แล้ว ชาวบ้านยังปั้นเจ้าปู่ตาหมวกคำเป็นรูปปั้น ในท่ายืนสะพายดาบ สวมหมวกกะโล่ สวมเสื้อ ราชปะแตน นุ่ งโจงกระเบนมีผ้าคาดเอว หัน หน้าไปทางทิศตะวันตก ตามประวัตขิ องท่านนัน้ เชือ่ ว่าเป็นเจ้า เมืองเก่า ดังปรากฏในจารึกทีฐ่ านอนุสาวรียว์ า่ “ประวั ติ เ จ้ า ปู่ ต าหมวกคำ จากคำ สันนิษฐานกล่าวว่า เป็นเจ้าเมืองมาจากภูเงิน ภูคำในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำทัพไปปราบฮ่อที่เมืองเส้า (หลวงพระบาง) ได้กวาดต้อนผู้คนมาเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีเจ้าเมืองภูเงินภูคำมา ด้วย ครั้นพอถึงเขตบ้านโคก เห็นเป็นทำเลที่ เหมาะสม แม่ ทั พ จึ ง สั่ ง ให้ เ จ้ า เมื อ งภู เ งิ น ภู ค ำ สร้างค่ายคูประตูหอรบที่ภูเวียง ซึ่งปัจจุบันเป็น ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านโคก และอีกค่ายหนึ่ง อยู่ที่ภูโพง ต่อมาเจ้าเมืองภูเงินภูคำสิ้นชีวิตลง

ศาลที่เป็นอาคารเรือนไม้เจ้าปู่หมวกคำ

ชาวบ้านเห็นว่าเป็นบุคคลสำคัญต่อบ้านเมือง จึงร่วมใจกันสร้างศาลเพื่อดวงวิญญาณของท่าน ได้สิงสถิตอยู่ชื่อว่า เจ้าปู่ตาหมวกคำ” สำหรั บ ภู เ วี ย ง ปั จ จุ บั น คื อ เนิ น เขา บริเวณที่ว่าการอำเภอบ้านโคก ชาวบ้านเล่าว่า เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านหรือบ้านเรือนของผู้คนที่ อพยพมาพร้อมกันกับพ่อปู่หมวกคำ บนเนินยัง มีต้นไทรขนาดใหญ่พอเห็นเป็นหลักฐานได้บ้าง มีการทำกำแพงไม้ล้อมเนินเขาลักษณะคล้าย ป้อมค่ายทั่วไป เวลาใช้น้ำก็ลงมาตักที่ลำน้ำสุ่ม ซึ่งอยู่ตีนเนินทางทิศใต้ใกล้ศาลพ่อปู่หมวกคำ ภูโพง นั้นเป็นภูเขาขนาดย่อมอีกลูก หนึ่ง อยู่ห่างจากภูเวียงไปราว ๑-๒ กิโลเมตร สูงจากพื้นราบประมาณ ๖๐-๑๐๐ เมตร ชาว บ้ า นเชื่ อ ว่ า เป็ น ที่ ตั้ ง ป้ อ มค่ า ยสอดแนมข้ า ศึ ก ของเจ้าปู่หมวกคำ หากมีข้าศึกยกทัพมาตีก็จะ อพยพผู้ ค นไปอยู่ ที่ ภู โ พง จากการสั ม ภาษณ์ ชาวบ้านทำให้ได้ข้อมูลว่าบนยอดภูโพงมีร่อง รอยแนวคันดินที่ขุดขึ้นเป็นคูค่าย สนามเพลาะ ด้วย เรื่องราวของเจ้าปู่หมวกคำมีความน่า สนใจไม่น้อย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์และความ เชื่อของท้องถิ่น หากมีโอกาสมาเยี่ยมชม ช่อง ภูดู่ ด่านการค้าชายแดนไทย-ลาว ที่ตำบลม่วง เจ็ดต้น อำเภอบ้านโคกแล้ว ผู้เขียนอยากจะ แนะนำให้ท่านเดินทางมาที่ตัวอำเภอบ้านโคก ซึ่งห่างจากช่องภูดู่ราว ๒๐ กิโลเมตร ท่านจะ ได้เห็นความศรัทธาของชาวบ้านโคกที่มีต่อเจ้า ปู่หมวกคำ และเห็นวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายของ ชาวบ้านโคก ผู้เขียนรับรองว่าเสน่ห์แห่งที่ราบ ลุ่ ม ลำน้ ำ สุ่ ม ท่ า มกลางหุ บ เขาแห่ ง นี้ จ ะสร้ า ง ความประทับใจให้แก่ท่านอย่างแน่นอน ธีระวัฒน์ แสนคำ


ข่าว กิจกรรม และความเคลื่อนไหว ข่าวจากหนังสือพิมพ์ “เสียงเชียงใหม่” ประจำ

เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ กล่าวถึงกรณีเทศบาล แม่ ล าน้ อ ยก่ อ สร้ า งพระเจดี ย์ ใ หม่ ค รอบเจดี ย์ แบบไทใหญ่ ที่ เ ป็ น พระเจดี ย์ ป ระจำท้ อ งถิ่ น ขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่โตกว่าสองเท่า โดยไม่ ได้แจ้งหรือประกาศแก่ชาวบ้านหรือเจ้าหน้าที่ จากกรมศิลปากรซึ่งมีหน้าที่ดูแลโบราณสถาน เนื้ อ ข่ า วความว่ า “ชาวบ้ า นไม่ รู้ คุ ณ ค่ า โบราณวั ต ถุ ย อมให้ ท้ อ งถิ่ น ก่ อ อิ ฐ ครอบเจดี ย์ อ งค์ เ ดิ ม เหมื อ นกั บ ฝั ง ทั้ ง เป็ น กรมศิ ล ป์ ล งมาฟั น ผิ ด หลั ก การบู ร ณะ แต่ โดนม็ อ บต้ า นทำอะไรไม่ ไ ด้ แ ค่ ห้ า มสร้ า ง เพิ่มเติม” นายตระกูล หาญทองกูล หัวหน้ากลุ่ม

เจดียก์ ลางบ้านทีแ่ ม่ลาน้อย ก่อนการก่ออิฐถือปูนสร้างเจดีย ์ ขนาดใหญ่กว่าสองเท่าครอบ

องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

กับ การทำลายมรดกทางวัฒนธรรม ของคนแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน งานอนุรักษ์โบราณสถาน กรมศิลปากร ภาค ๘ เดิ น ทางมาตรวจสอบเจดี ย์ ก ลางบ้ า นในตั ว เทศบาลตำบลแม่ ล าน้ อ ย อำเภอแม่ ล าน้ อ ย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามหนังสือร้องเรียนจาก วั ฒ นธรรมอำเภอแม่ ล าน้อย ว่าองค์เจดีย์ดังกล่าวคงสร้างมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ถูกทาง เทศบาลนำงบไทยเข้ ม แข็งมาบูรณะองค์พระ เจดี ย์ แต่ ไ ม่ ท ำตามหลั ก การอนุ รั ก ษ์ โ บราณ สถาน มี ก ารก่ อ อิ ฐ ถื อ ปู น ครอบองค์ เ จดี ย์ เ ดิ ม เหมือนฝังองค์เจดีย์ทั้งองค์ไว้ในองค์เจดีย์ใหม่ที่ ว่าเป็นการบูรณะ ทางกรมได้รั บ หนังสือร้องเรียนและ สั่งการมายังสำนักภาค ๘ เชียงใหม่ ได้ส่งเจ้า-

หน้าที่ลงมาดูครั้งแรก ทางช่างสำรวจให้หยุด การก่อสร้างบูรณะเอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีการ ปรับปรุงแบบแปลน จากนั้นทางสำนักภาค ๘ ได้ มี ห นั ง สื อ สั่ ง การมายั ง สำนั ก งานเทศบาล ตำบลแม่ ล าน้ อ ย ให้ ร ะงั บ การก่ อ สร้ า งบู ร ณะ พระเจดีย์องค์นี้เอาไว้ก่อน จนกว่าทางเทศบาล จะนำแบบแปลนที่ ก่ อ สร้ า งมาแก้ ไ ขเปลี่ ย นแปลงใหม่ และทางเทศบาลยังอ้างว่าแบบแปลน ที่นำมาปรับปรุงบูรณะก็มาจากกรมศิลปากรที่ นำมาสร้างให้วัดแม่ปาง นายตระกูลยอมรับว่า ใช่เป็นแบบแปลนของกรมศิลป์ แต่ไม่ได้ออก แบบมาสร้างในลักษณะนี้ ใช้พื้นที่ผิดกัน เขาใช้ นำมาสร้างในที่โล่งแจ้ง เช่น ทุ่งนา กลางสนาม

การก่ออิฐล้อมรอบเจดียโ์ ดยไม่มกี ารแจ้งแก่ ทัง้ กรมศิลปากรและชาวบ้านชาวเมือง อันเป็นประสงค์เฉพาะนักการเมืองท้องถิน่ ของเทศบาลแม่ลาน้อยผูม้ ภี มู ลิ ำเนาถิน่ เกิด จากภาคกลางและไม่เข้าใจท้องถิน่ ความเป็น คนไทใหญ่แม่ฮอ่ งสอน อันเห็นได้ชดั จากกรณี การสร้างเจดียข์ นาดใหญ่ครอบเจดียศ์ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ของชุมชนดังกล่าว

๑๐

ที่ราบเรียบ วันนี้ที่กรมศิลปากรให้มาดูว่าตามที่ ยังมีผู้ร้องเรียนเข้ามาว่า ทางการก่อสร้างยังไม่ หยุดและดำเนินการก่อสร้างไปเรื่อยๆ อยู่ กรม จึ ง มอบหมายหน้ า ที่ ใ ห้ ม าดู ว่ า เป็ น ไปตามผู้ ร้องเรียนไหม เมื่อตนมาเห็นแล้วรู้ว่าเป็นความ จริ ง ตามผู้ ร้ องเรี ย น ตนจึง เข้ าดำเนิ น การร้ อ ง ทุกข์แจ้งความกับเจ้าพนักงานสอบสวน ดำเนิน คดีกับผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดครั้งนี้ และในขณะที่ เ จ้ า หน้ า ที่ จ ากกรม ศิลปากรกำลังเข้าร้องทุกข์แจ้งความอยู่นั้น ได้มี ชาวบ้านจำนวนเกือบ ๒๐๐ คน มารวมตัวกัน หน้าสถานีตำรวจภูธรแม่ลาน้อย ไม่พอใจเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรที่สั่งระงับการก่อสร้าง และแจ้ ง ความดำเนิ น คดี กั บ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งการ ก่อสร้างบูรณะเจดีย์ในครั้งนี้ ทำให้พันตำรวจเอก กิตติพันธุ์ คงทวีพันธ์ ผู้กำกับการสถานี ตำรวจภูธรแม่ลาน้อยต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยกับ ชาวบ้ า นที่ ม าประท้ ว งเจ้ า หน้ า ที่ จ ากกรม ศิลปากร และพยายามบังคับเจ้าหน้าที่ให้เปิดเผยชื่ อ ผู้ ร้ อ งเรี ย นไปทางกรมศิ ล ปากร ทาง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเปิดเผยรายชื่อเจ้าหน้าที่ วัฒนธรรมอำเภอให้กับชาวบ้านที่มาชุมนุมเพื่อ ลดการกดดัน นอกจากให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ถ อนการร้ อ ง ทุกข์แจ้งความให้เป็นเพียงบันทึกข้อตกลง โดย

ให้ ท างเทศบาลนำแบบแปลนเข้ า ไปเสนอต่ อ อธิ บ ดี ก รมศิ ล ปากรเพื่ อ แก้ ไ ขแบบแปลน ก่อสร้างนี้ต่อไป นายตระกูล หาญทองกูล ยังได้ เปิดเผยถึงกรณีนี้ว่าตนได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากร ภาค ๘ เชียงใหม่ ให้ ม าทำข้ อ ตกลงใหม่ กั บ ทางเทศบาลตำบล แม่ลาน้อยว่า โดยมีข้อที่หนึ่งให้หยุดดำเนินการ ใดๆ ทั้งสิ้นในโบราณสถานแห่งนี้ ข้อที่สอง ให้ ทางเทศบาลดำเนิ น การยื่ น แบบรายละเอี ย ด เพื่อขออนุมัติรูปแบบต่ออธิบดีอีกทีหนึ่ง ข้อที่ สาม คือให้ยุติและกระทำใดๆ ทั้งสิ้นกับโบราณ สถานแห่งนี้ และเมื่อท่านขัดคำสั่งเมื่อไหร่จะ ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์อีกครั้งหนึ่ง หากจะกล่ า วว่ า ชาวบ้ า นไม่ รู้ คุ ณ ค่ า โบราณสถานก็อาจจะไม่ถูกต้อง เพราะผู้ที่เป็น แกนนำต่ อ ต้ า นนั้ น เป็ น คนในแม่ ล าน้ อ ยที่ ม า ทราบกั น ก็ ต่ อ เมื่ อ มี ก ารสร้ า งอาคารรู ป แบบ คล้ายเจดีย์เดิม แต่ตามแบบมีขนาดใหญ่กว่า ราวสองเท่า ซึ่งทั้งชาวบ้านแม่ลาน้อยในจังหวัด แม่ฮ่องสอนและเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรได้ พยายามเข้าไปทัดทาน แต่ก็ยังมีปัญหาในการ จั ด การที่ ไ ม่ ส ามารถทำให้ เ ทศบาลทำตาม กฎหมายโบราณสถานได้ เจดี ย์ ก ลางบ้ า นองค์ นี้ อ ายุ เ กิ น กว่ า ร้ อ ยปี ทั้ ง ยั ง มี ห ลั ก เกณฑ์ ห รื อ ข้ อ ห้ า มในการ สร้ า งเจดี ย์ ค รอบโดยไม่ มี เ หตุ ผ ลเพี ย งพอ เพราะเพียงเจดีย์องค์เล็กแต่ก็ยังไม่ได้มีสภาพ ทรุดโทรมมากจนต้องสร้างครอบแต่อย่างใด แต่ การกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นตัวอย่างของการ เข้ามามีอำนาจในการจัดการท้องถิ่นของผู้แทน ซึ่งเป็นนักการเมืองในสำนักงานเทศบาล และ เป็นคนจากท้องถิ่นอื่นที่ไม่เข้าใจรากเหง้าและ ความคิดความรู้สึกของคนในท้องถิ่น การใช้ อ ำนาจบริ ห ารคนในสั ง คม วัฒนธรรมท้องถิ่นเช่นนี้กำลังสร้างปัญหาไปทุก หย่อมย่าน เพียงเพราะคาดหวังจากการใช้งบ ในการก่ อ สร้ า งซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ นั ก การเมื อ งถนั ด และเมื่อเข้าไปแตะต้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ใช่ ถนนหนทาง จึงเกิดปัญหาการยอมรับได้ยาก อย่างยิ่งจากคนในพื้นที่ สิ่ ง เหล่ า นี้ ก ลายเป็ น ปั ญ หาใหญ่ ที่ ระบาดไปทัว่ ทุกหนแห่งในประเทศไทย ตราบใด ที่ อ ำนาจสาธารณ์ รุ ก ล้ ำ อำนาจศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ โ ดย ธรรมชาติ ปัญหาก็ต้องเกิดตามมาอย่างไม่จบ สิ้น และที่แม่ลาน้อยเมืองเล็กๆ ในหุบเขา การต่อสู้นี้ก็ยังดำเนินต่อไป…

การนำเสนอ “การพัฒนาผลงานวิจยั ท้องถิน่ เพือ่ นำไปใช้เป็นประโยชน์ ต่อชุมชน หมู่ ๔ ตำบลแหลมโพธิ ์ อำเภอยะหริง่ จังหวัดปัตตานี”

กรณีบา้ นดาโต๊ะ

สืบเนื่องจากโครงการ “วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาท้องถิ่นในสามจังหวัด

ภาคใต้” โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เป็น หัวหน้าโครงการ และมีอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ ๒ ระยะ โดยในระยะที่ ๑ ได้ร่วมกับคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับทุนสนับสนุนหลังจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ และในระยะที่ ๒ ต่อเนื่องหลังจากนั้นอีกราวสองปี การทำงานในระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ มุ่ ง เน้ น เพื่ อ การสร้ า งนั ก วิ จั ย ท้ อ งถิ่ น ที่ สามารถทำงานในกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการภายนอกและคนในพื้นที่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบการทำงานนี้เริ่มจากจัดประชุมในกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่น ซึ่งเป็นการ ทำงานในกลุ่มขนาดเล็ก โดยแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มย่อย มีคณะหัวหน้าโครงการฯ และที่ ปรึกษาโครงการฯ ช่วยให้คำแนะนำเบื้องต้น และอธิบายแนวคิดในการมองประเด็นปัญหาที่ กำหนดไว้ ร่ ว มกั น และการกำหนดพื้ น ที่ พู ดคุ ย นอกเขตสามจั ง หวั ด ภาคใต้ ทำให้ ผู้ เ ข้ า ประชุมมีทีท่าผ่อนคลายและลดความวิตกกังวลในสถานการณ์รุนแรงประจำวันไปได้มาก และการประชุมที่มีกลุ่มคนจำนวนไม่มากนัก ทำให้มีการแลกเปลี่ยนแนะแนวความคิดกัน อย่างเข้มข้นและละเอียดในแต่ละกลุ่ม ในระยะแรก นักวิจัยท้องถิ่นต้องกลับไปทบทวนและเก็บข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งมีข้อมูล ที่น่าสนใจและสามารถนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมจากข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่นักวิจัยท้องถิ่น สามารถเก็บรวบรวมมาได้ โครงการฯ ยังได้เปิดโอกาสให้นักวิจัยท้องถิ่นเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการที่จัด ขึ้นโดยสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับงานแบบวิจัยท้องถิ่น และสร้างให้เกิดวิธี คิดในการมองภาพปัญหาแบบเปรียบเทียบโดยเฉพาะในท้องถิ่นอื่นๆ โดยไม่จำกัดอยู่แต่ ปัญหาภายในของตน อีกทั้งสร้างความคุ้นเคยในการพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้งในทางส่วนตัวและ ในที่ประชุม เพื่อให้นักวิจัยท้องถิ่นสามารถนำเสนอผลงานของตนเองได้อย่างชัดเจนต่อไป ในอนาคต เมื่อได้ข้อมูลตามแนวทางที่กำหนดพอสมควรแล้ว ทางโครงการฯ ได้เดินทาง เข้าไปศึกษาและถ่ายรูป ตลอดจนมีการสังเกตการณ์ในพื้นที่ศึกษา กระบวนการทำงานต่อจากนั้นคือ การทำ Work shop เพื่อเขียนรายงานการวิจัย อย่างเข้มข้น เรียบเรียงความคิดเพื่อเขียนรายงาน การวาดรูปเพื่อแสดงภาพจินตนาการใน อดีต แสดงรูปแบบและเรื่องราวของการดำเนินชีวิตในพื้นที่ทำวิจัย นอกจากนี้ยังได้เพิ่มพูน ประสบการณ์ ใ นการเรี ย บเรี ย งความคิ ด หาเหตุ ผ ลรองรั บ ข้ อ สมมติ ฐ านต่ า งๆ ซึ่ ง เป็ น หลักการสำคัญในกระบวนการวิจัย สามารถสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่สามารถมองเห็นภาพรวม

๑๑


และเสนอรายละเอียดของงานวิจัยได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน หลังจากนั้นจึงมีการนำเสนอรายงานการวิจัยเบื้องต้นที่ เป็นรายงานข้อมูลจากท้องถิ่น โดยนักวิจัยท้องถิ่น และมีอาจารย์ ผู้ใหญ่ ผู้วิจารณ์ ซึ่งได้พบข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะเพื่อนำไป ปรับปรุงและเพิ่มเติมผลรายงานการวิจัย กระบวนการวิจัยครั้งนี้สามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ เป็นนักวิจัยท้องถิ่นเพื่อที่จะสามารถไปทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการใน กลุ่มชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ หรือในหมู่บ้านของตนเองได้อย่าง ลุ่มลึกและมีแนวทางที่ชัดเจน เนื่องจากสามารถตั้งคำถามหรือโจทย์ วิจัยในแนวทางของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ ด้วยตนเอง สามารถจัดลำดับความคิด วิเคราะห์ และเรียบเรียง จนกระทั่งนำเสนอทั้งในงานการเขียนและการบรรยายได้ชัดเจน มากกว่านักวิจัยชาวบ้านหรือนักวิจัยท้องถิ่นแต่เดิม พัฒนาการของนักวิจัยท้องถิ่นเหล่านี้เป็นที่น่าสนใจอย่าง ยิ่ง เพราะจะสามารถนำไปใช้ทำงานโดยการพึ่งตนเอง สามารถเข้า ถึงปัญหาในชุมชนและวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น นำไปสู่การ นำเสนอประเด็นที่ถูกต้องในท้องถิ่นของตนเองและสามารถตรวจ สอบข้อมูลของนักวิชาการหรือผู้สื่อข่าวเพื่อการนำเสนอที่ถูกต้อง และมีการตรวจสอบมากขึ้น และกระบวนการเหล่านี้ช่วยให้เกิด ความสมดุลของ “เสียง” ที่ส่งมาจากท้องถิ่น ซึ่งนักวิจัยจากภายนอก ยังไม่สามารถเข้าถึงปัญหาเหล่านี้ได้โดยง่าย ดังนั้นทางคณะที่ปรึกษาโดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จึงให้การสนับสนุนการทำงาน ซึ่งมีนายมะรอนิง สาและ ชาวบ้าน ดาโต๊ ะ เป็ น หั ว หน้ า โครงการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง การ พัฒนาผลงานวิจัยท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน กรณี บ้านดาโต๊ะ หมู่ ๔ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยมีหลักการแนวคิดในการต่อยอดนำความรู้จากงานวิจัยไปใช้ ประโยชน์ในท้องถิ่นและชุมชนของตนเอง สร้ า งให้ เ กิ ด ความตระหนั กในการดูแ ลและอนุ รั กษ์ อ่ าว ปัตตานีให้คงอยู่ต่อไปเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักวิถีชีวิตของชาวบ้านใน การหล่อเลี้ยงชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบันและได้รู้จักการทำงานของ คนในท้องถิ่นและให้รักในอาชีพสุจริต จนสามารถพัฒนายกระดับ ชุ ม ชนให้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง และยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนใน ท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยคณะผู้ วิ จั ย ยิ น ดี เ ป็ น วิ ท ยากรให้ ค วามรู้ กั บ เด็ ก นักเรียนเกี่ยวกับท้องถิ่นต่อไปด้วย ในเมื่อได้มาหลักสูตรท้องถิ่น โดยปฏิบัติการในพื้นที่หมู่บ้านรอบอ่าวปัตตานีส่วนหนึ่ง คือ บ้าน ดาโต๊ะ บ้านตันหยงลูโล๊ะ บ้านตะโล๊ะสะมีแล และบ้านบูดี โดยการทำงานดำเนินการเรื่อยมาจนถึงบทสรุปโครงการ โดยจัดการนำเสนอการรายงานที่โรงเรียนบ้านดาโต๊ะในวันที่ ๘ สิ ง หาคม ๒๕๕๓ นี้ (ส่ ว นกรณี วั น ที่ ๗ สิ ง หาคม ๒๕๕๓ เป็ น รายการ “เรียนรู้รอบอ่าว-ความทรงจำในอ่าวปัตตานี”) การส่ ง ทอดความรู้ ค วามเข้ า ใจในอ่ า วปั ต ตานี จ ะถู ก นำ เสนอในรู ป แบบต่ า งๆ ทั้ ง ทางที ม งานและเด็ ก เยาวชนที่ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการ นับเป็นการนำความรู้จากงานวิจัยไปสร้างเนื้อหาสาระ และการรู้จักท้องถิ่นของตนเองแก่คนในหมู่บ้านรอบอ่าวและผู้สนใจ ทั่วไป

๑๒

สรุ ป บรรยายสาธารณะมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ รายงานการบรรยายสาธารณะเรือ่ ง

“เมืองลอง ประวัตศิ าสตร์ของ บ้านเมืองขนาดเล็กในรัฐล้านนา” โดย อาจารย์ภเู ดช แสนสา วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓

มู ล นิ ธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้เรียนเชิญอาจารย์ภูเดช แสนสา

อาจารย์พิเศษแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเป็นคนเมืองลองหรือ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และเคยทำวิทยานิพนธ์ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นเมืองลอง บรรยายเรื่อง “เมืองลอง ประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ขนาดเล็กในรัฐล้านนา” อาจารย์ ภู เ ดชได้ แ บ่ ง ยุ ค สมั ย ของเมื อ งลองออกเป็ น สามยุ ค ได้แก่ เมืองลองยุครัฐจารีต (ก่อนล้านนาจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๒) ยุคการรวม เมืองลองสู่ศูนย์กลางของรัฐสยาม (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จนถึงปัจจุบัน) และยุคการฟื้นฟูความทรงจำเมืองลอง (พ.ศ. ๒๔๙๕ จนถึงปัจจุบัน) ยุคที่ ๑ เมืองลองยุครัฐจารีต (ก่อนสมัยอาณาจักรล้านนา-พ.ศ. ๒๔๔๒) เมืองลองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบลุ่มน้ำยมตอนบน มีขุนเขาโอบล้อม เป็นแอ่งกระทะ นิยมเรียกแอ่งที่ราบนี้ว่า “แอ่งลอง” ในพื้นที่นี้มีลำน้ำสาขา ของลุ่มน้ำยม เช่น น้ำต้า ห้วยสลอบ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแอ่งลอง มีเขาลูกหนึ่งซึ่งอุดมด้วยแร่เหล็ก จึงเรียกกันว่า บ่อเหล็ก ซึ่งบ่อเหล็กแห่ง นี้เป็นฐานทรัพยากรสำคัญของเมืองลองและรัฐหริภุญไชยหรือรัฐล้านนา ในเวลาต่อมา และพื้นที่แอ่งลองนี้มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถติดต่อกับ เมืองแพร่ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ในลุ่มน้ำเดียวกัน เมืองลำปางในลุ่มน้ำวัง รวม ทั้งบ้านเมืองในลุ่มน้ำยมตอนล่าง เช่น สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ในแอ่งเมืองลองเริ่มมีการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยยุค หินตอนปลายต่อมาจนยุคโลหะตอนต้น (ประมาณ ๓,๐๐๐ ปีลงมา) จนถึง ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จึงเริ่มขยายตัวเป็นเมืองโดยรับการขยายอิทธิพล ของเมืองเขลางค์นครหรือลำปาง อันเป็นเมืองสำคัญของรัฐหริภุญชัย มี เมืองลองเป็นศูนย์กลาง มีเมืองตรอกสลอบเป็นเวียงบริวาร จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อเข้าสู่สมัยอาณาจักรล้านนาแล้ว เมืองลองจึงได้ขยาย ตัวโดยมีการวางระบบเวียงบริวารภายในเมืองลองตามระบบหน้าที่ ได้แก่ เวียงศูนย์กลาง คือ เวียงลอง เวียงบริวารหรือเวียงหน้าด่าน เช่น เวียง ลัวะ เวียงเหล่าเวียง เวียงพระธาตุ คือ เวียงพระธาตุแหลมลี่ นอกจากนี้ยังมีเมืองบริวารในพื้นที่แอ่งลอง เช่น เมืองตรอกสลอบ เมืองต้า เมืองช้างสาร ฯลฯ โดยที่เมืองลองมีฐานะเป็นเมืองขึ้นต่อ ลำปางอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ได้มีการย้ายเมืองลอง จากบ้ า นไฮสร้ อ ยไปยั ง บ้ า นนาหลวงหรื อ เวี ย งเหล่ า เวี ย งจนถึ ง พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๔ หลังจากขับไล่พม่าจากเชียงใหม่จึงย้ายเมืองมาอยู่ที่ห้วย อ้อจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งเวียงดังกล่าวยังคงอยู่ในแอ่งลอง ระบบเมืองน้อยขึ้นต่อเมืองใหญ่ดังกล่าวนี้ เป็นลักษณะร่วมใน การสร้างบ้านแปงเมืองของรัฐในหุบเขาหรือแอ่งที่ราบต่างๆ เช่น ล้านนา รัฐฉาน สิบสองปันนา ฯลฯ ในขณะที่เมืองเมืองหนึ่งจะหมายความถึง ชุ ม ชนไม่ ว่ า ขนาดเล็ ก หรื อ ใหญ่ ไม่ มี ข อบเขตที่ แ น่ น อน ส่ ว นเวี ย งจะ หมายความถึงชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ดังนั้นในหนึ่งเมืองอาจมีเวียง

อาจารย์ภเู ดช แสนสา บรรยายเรือ่ ง เมืองลอง ประวัตศิ าสตร์ของบ้านเมืองขนาดเล็กในรัฐล้านนา

เดียวหรือหลายเวียงประกอบกันก็ได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ในการสร้างบ้านแปงเมืองได้อาศัยโลกทัศน์ตามคติ พุทธและผีในการสร้างปริมณฑลศักดิ์สิทธิ์เพื่อคุ้มครองบ้านเมือง โดยใน เวียงได้แบ่งพื้นที่เป็นหัวเวียง กลางเวียง และหางเวียง พื้นที่หัวเวียงเป็น ที่ตั้งวัดหัวเวียงหรือวัดสำคัญอื่นๆ หอไชยผีเมือง (ผีเจ้าเมืองเก่าที่สิ้นชีวิต ไปแล้ว) คุ้มเจ้าเมือง ฯลฯ กลางเวียงเป็นที่ตั้งเวียงพระธาตุ โดยจะสร้าง ซ้อนทับกับไม้ใจเวียงอันเป็นคติการถือผีดั้งเดิมก่อนการรับพระศาสนา ส่วนพื้นที่ท้ายเวียงเป็นพื้นที่ชุมชนบ้านเรือนและในบริเวณสี่มุมเมืองจะมี วัดประจำทิศ ในขณะที่นอกเมืองด้านทิศใต้เป็นป่าช้าและแดนประหาร ส่วนบริเวณบ่อเหล็กอันเป็นทรัพยากรสำคัญก็ได้มีการสถาปนา ผียักษ์บ่อเหล็กเพื่อควบคุมปริมาณการขุดเหล็กขึ้นมาใช้ และเนื่องจาก เมืองลองได้สร้างมาหลายยุคสมัยและได้ย้ายศูนย์กลางมาหลายแห่ง จนมี พระธาตุสำคัญถึงห้าองค์ จึงได้มีการอาศัยตำนานในการอธิบายตัวตน ของเมืองว่าเป็นเมืองแห่งพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ในความรับรู้ของบ้าน เมืองล้านนาจึงถือว่าเมืองลองเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ที่แม้เมืองลำปางในบาง สมัยซึ่งเป็นต้นสังกัดของเมืองลองก็ต้องให้ความเคารพด้วยการยกเว้น ส่วยจากเมืองลอง รวมทั้งการเกิดพิธีกรรมเพื่อบูชาพระธาตุและการเลี้ยง ผีสำคัญเพื่อสร้างสำนึกร่วมในความเป็นคนลอง เนื่องจากเมืองลองมีเส้นทางที่สามารถติดต่อกับบ้านเมืองอื่นๆ เช่น แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ พิชัย สุโขทัย ฯลฯ รวมทั้งสามารถเดินทาง ระยะทางไกลไปติดต่อบ้านเมืองต่างๆ ได้ จึงเป็นชุมทางการค้าสำคัญ เช่น การค้าเหล็กจากบ่อเหล็กเมืองลอง โดยมีกลุ่มพ่อค้าเงี้ยว (ไทใหญ่) และจีนฮ่อ เป็นกลุ่มพ่อค้าวัวต่างม้าต่างที่สำคัญ ยุคที่สอง เมืองลองยุคการเข้ามาของรัฐสยาม/รัฐไทย (พ.ศ. ๒๔๔๒ จนถึ ง ปั จ จุ บั น ) รั ฐ สยามเริ่ ม พยายามเข้ า มามี อ ำนาจควบคุ ม ดินแดนประเทศราชล้านนาตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ ๒๔๒๐ รวมทั้งที่ เมืองลอง จนสามารถเข้าควบคุมได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ โดยได้ ยกเลิ ก ตำแหน่ ง เจ้ า เมื อ งท้ อ งถิ่ น ที่ สื บ สกุ ล มานั บ ร้ อ ยปี แล้ ว จั ด ตั้ ง เป็ น อำเภอลองขึ้นกับจังหวัดแพร่ พร้อมส่งข้าราชการสยามเข้ามาปกครอง ท้องที่แทน การปกครองจากส่วนกลางนี้ได้ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นภาค เหนือเป็นอย่างสูง เพราะสยามได้ควบคุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม จนเกิดผลกระทบต่อผลประโยชน์และความรู้สึก ของท้องถิ่นภาคเหนือโดยทั่วไป เช่น การควบคุมไม่ให้พระสงฆ์ในท้องถิ่น ดูแลบริหารวัดและวัฒนธรรมในท้องถิ่นโดยตรง การห้ามไม่ให้ค้าขายข้ามเขตแดนกับพวกเงี้ยว (ไทใหญ่) จึง เกิดความไม่พอใจต่ออำนาจของสยามจนเกิดการจลาจลโดยพวกเงี้ยวเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ตามหัวเมืองสำคัญในภาคเหนือ เช่น แพร่ ลำปาง พะเยา

ซึ่งเรียกเหตุการณ์นี้โดยทั่วไปว่า “กบฏเงี้ยวเมืองแพร่” แต่น้อยคนที่จะ ทราบว่าจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เมืองลอง โดยเมืองลองเป็น พื้นที่ซึ่งถือว่าห่างจากการปกครองของสยาม เพราะข้าราชการสยามไม่ สามารถมาประจำท้องที่ได้จริง รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับผลิต อาวุธ เช่น เหล็ก ดินประสิว รวมทั้งมีเส้นทางที่สามารถติดต่อเมืองสำคัญ เช่นลำปางและแพร่ได้ แต่รัฐบาลสยามสามารถปราบการจลาจล ทว่าหลัง จากเกิดเหตุการณ์จลาจลดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวหาคนจากเมือง ลองเลย ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสังเกต แต่หลังจากนั้นไม่นานได้เกิดการ สังหารเจ้าเมืองลองท่านสุดท้ายอย่างลึกลับ หลังจากเหตุการณ์จลาจลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ทางรัฐบาลสยาม ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้พยายามผนวกภาค เหนือรวมทั้งเมืองลองเข้าสู่ส่วนกลางอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งด้านการศึกษา การคมนาคม เช่ น รถไฟ ถนนทางหลวง การขยายสาธารณู ป โภค เศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย ม ตั้ ง แต่ ก ารผลิ ต เพื่ อ ขายไปจนถึ ง การปลู ก พื ช เชิงเดี่ยว สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะตั้งแต่ ทศวรรษ ๒๕๐๐ ลงมา จึงทำให้วิถีชาวบ้านต้องสัมพันธ์และเกิดสำนึกที่ ใกล้ชิดกับส่วนกลางของไทย ทั้งรัฐและในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ คนเมืองลองได้เข้าถึงระบบทุนนิยมและบางส่วนออกจากท้องถิ่นไปทำมา หากินหรือศึกษาเล่าเรียนในเมืองใหญ่มากขึ้น ซึ่งในอีกทางหนึ่งทำให้เกิด ชนชั้นกลางในเมืองลองมากขึ้นอีกด้วย ยุคที่ ๓ การฟื้นฟูจิตสำนึกเมืองลอง (พ.ศ. ๒๔๙๕-ปัจจุบัน) แม้ หลังจากการเข้ามาปกครองของสยามหรือไทยในดินแดนล้านนาตั้งแต่ ทศวรรษ ๒๔๔๐ รัฐบาลได้สร้างจิตสำนึกและวิถีใหม่ในความเป็น “ชาติ ไทย” ให้แก่คนเมืองลอง แต่ด้วยประเพณีพิธีกรรมดั้งเดิมตามคติพุทธและ ผีที่ไม่ได้ถูกยกเลิก สำนึกของความเป็น “เมืองลอง” จึงยังคงอยู่ แต่ความ เป็น “เมืองลอง” ได้ปรับเปลี่ยนจากเมืองลองอิสระหรือเมืองลองในฐานะ เมืองขึ้นของลำปางมาเป็นเมืองลองที่สวามิภักดิ์กับกษัตริย์ไทย เมื่อบวกกับการเติบโตของชนชั้นกลางในเมืองลอง หลังจากการ แพร่กระจายทางการศึกษาและเศรษฐกิจของรัฐไทย จึงเกิดพลังอย่างดีใน การขับเคลื่อนทางจิตสำนึก “เมืองลอง” ด้วยการบูรณะศาสนสถานดั้งเดิม การเขียนประวัติพระธาตุและเจ้าเมืองลอง โดยส่วนหนึ่งได้ชูความจงรัก ภักดีที่มีต่อสยามโบราณ จนต่อมาได้เกิดการสร้างอนุสาวรีย์และบูรณะ หอไชยเดิมให้ยิ่งใหญ่ รวมทั้งเกิดการสร้างวัตถุมงคลอันเนื่องจากคติผี เช่น ผีเมือง ผีบ่อเหล็ก ฯลฯ ซึ่งการฟื้นฟูจิตสำนึกร่วมขึ้นมานี้ในทางหนึ่ง ก็สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง แต่ในอีกทาง หนึ่งก็เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วย วันใหม่ นิยม

๑๓


รายงานการบรรยายสาธารณะเรือ่ ง

“ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ กับผูน้ ำทางวัฒนธรรม” โดย อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม

“ฝึกฟืน้ ใจเมือง”

ความ หมายของ “ผู้ น ำทางวั ฒ นธรรม” ในที่ นี้ คื อ บุ ค คลใน

วันที่ ๑๘ มิถนุ ายน ๒๕๕๓

บริเวณอนุสาวรียพ์ ระเจ้าพรหมมหาราช อำเภอแม่สาย จังหวัด เชียงราย มีการจัดงานฉลองใหญ่โต นับเป็นวีรบุรษุ ผูส้ ร้าง บูรณาการในระหว่างกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ นั หลากหลายในปัจจุบนั

กำหนดการ บรรยายสาธารณะ

การเสวนาทีร่ า้ นหนังสือริมขอบฟ้าเรือ่ ง

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓

ประวั ติ ศ าสตร์ ห รื อ ตำนานที่ อ ยู่ ใ นความทรงจำร่ ว มของสั ง คม ท้องถิ่น ซึ่งสามารถสร้างบูรณาการให้กับคนในท้องถิ่น โดยอยู่ เหนือความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มคน ตลอดจนความขัดแย้ง ในท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถรวมพลังเพื่อขับเคลื่อนสังคมของ ตนร่วมกันได้ เช่น การควบคุมความขัดแย้ง การรักษาคุณธรรม และจริยธรรม เป็นต้น อย่างที่กฎหมายหรือหลักวิชาการต่างๆ ใน โลกปัจจุบันไม่สามารถสร้างพลังได้เท่า ซึ่งผู้นำทางวัฒนธรรมนี้ แต่ละท้องถิ่นอาจสื่อสารผ่านพิธีกรรม ตำนาน หรือชื่อสถานที่ใน ท้องถิ่น ดังกรณีพระเจ้าพรหมซึ่งเป็นวีรกษัตริย์แห่งแคว้นโยนก ในตำนาน ที่ได้แปรสถานะไปสู่ความเป็นวีรบุรุษในความทรงจำที่มี ผู้ ค นในท้ อ งถิ่ น เชี ย งแสน-เชี ย งราย ทุ ก กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ใ ห้ ค วาม เคารพนั บ ถื อ จนมี พิ ธี ก รรมบวงสรวงในทุ ก ปี หรื อ กรณี เ จ้ า พ่ อ ขุนตานซึ่งเป็นผีศักดิ์สิทธิ์แห่งดอยขุนตานอันเป็นสันปันน้ำแม่ตาน และลำน้ำอื่นๆ ที่หล่อเลี้ยงจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน รวม ทั้งถ้ำทางรถไฟขุนตาน ต่อมาเมื่อเกิดความขัดแย้งว่าด้วยการใช้ ทรัพยากรระหว่างเขตการปกครอง แต่อยู่ในเขตอิทธิพลเจ้าพ่อ ขุนตานร่วมกัน ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้เสนอให้คืนอำนาจให้เจ้าพ่อ ขุนตาน คนในเขตการปกครองทั้งสองจึงเกิดสำนึกในเจ้าพ่อองค์ เดียวกัน จนสามารถตกลงการแบ่งใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ด้วยดี วันใหม่ นิยม

๑๔

สรุปการเสวนาที่ร้านหนังสือริมขอบฟ้า

โดย อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม

อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม ในงานเสวนาทีร่ า้ นริมขอบฟ้า

ประเด็ น ของรายการเสวนาคือ ความเป็นกรุงเทพฯ ที่มาจากการ

สร้างราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา ไปสู่ความรุ่งเรืองของบ้านเมืองใน ทางศีลธรรม ความเข้มแข็งของย่านชุมชนในกรุงเทพฯ อันเนื่องมาจาก จิตสำนึกร่วมของคนกรุงเทพฯ จนกระทั่งกรุงเทพฯ ได้ล่วงเข้าสู่ภาวะบ้าน แตกสาแหรกขาดอันเนื่องจากความล่มสลายของชุมชนหลายแห่ง และ การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากต่างจังหวัดที่ไม่ได้มีสำนึกแบบท้องถิ่นเข้ามา ในเมืองไร้ซึ่งความสัมพันธ์ในชุมชน รวมทั้งความล่มสลายทางศีลธรรมจน เมื่ อ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ รุ น แรงทางการเมื อ งเมื่ อ วั น ที่ ๑๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ หลายพื้นที่จึงไม่สามารถปกป้องพื้นที่ของ ตัวเองได้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เริ่มต้นเรื่องการสร้างกรุงเทพฯ ใน ฐานะการฟื้นฟูความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ ด้วยการอ้าง วรรณคดีประเภทนิราศ ตั้งแต่นิราศกำศรวลสมุทร นิราศท่าดินแดง นิราศ นรินทร์ (อินทร์) เพื่อสะท้อนถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมืองตามโลกทัศน์ ของคนในยุคโบราณที่ยึดถือเอาศาสนสถานกลางพระนคร เช่น พระบรมธาตุหรือพระพุทธรูปสำคัญ เช่น พระศรีสรรเพชญ์และพระแก้วมรกตเป็น หลักใจ และถือเอาความคับคั่งของชุมชนย่านตลาด ภูมินิเวศธรรมชาติใน ท้องถิ่นเป็นหลักประกันความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ เป็นพลังความเข้มแข็ง ของสังคมเมือง และเป็นความร่มรื่นสวยงามของบ้านเมือง โดยที่อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงสิ่งแรกในการสร้างกรุงเทพฯ เพื่อเป็นอยุธยาแห่งใหม่จะต้องฟื้นสองสิ่งหลัก อย่างแรกคือหลักใจของ บ้านเมืองอันได้แก่การสร้างศาสนสถานสำคัญ เช่น วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ การสั ง คายนาพระไตรปิ ฎ ก การชำระกฎหมายสงฆ์ หลั ก ต่ อ มาคื อ กฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นการชำระจากกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูพลังทางศีลธรรมและพลังจิตใจ และเพื่อให้บ้านเมืองมีขื่อ มีแป หลังจากที่สังคมประสบกับสภาวะอันยุ่งเหยิง ความเสื่อมทรามทาง ศีลธรรม และความสูญเสียในช่วงเสียกรุง สมกับคำโบราณที่ว่า “บังอบาย เบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง” แม้ ต่ อ มาสั ง คมกรุ ง เทพฯ จะได้ ผ่ า นความเปลี่ ย นแปลงสมั ย รัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๕ และหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่กรุงเทพฯ ก็ยังคงรักษาความเป็นสังคมย่านหรือสังคมตรอกไว้ ได้ อันหมายถึงสามารถรักษาพลังความเป็นเจ้าของถิ่นฐานบ้านเกิดไว้ได้ ย่านในกรุงเทพฯ ที่สำคัญในช่วงเวลานี้ ได้แก่ ย่านเสาชิงช้า ย่านราชดำเนินกลาง (กองสลากจนถึงเฉลิมไทย) ย่านสามแพร่ง ตรอกบวรรังษี ตรอกจักรพงษ์ ย่านตลาดบางลำพู ย่านนางเลิ้ง ฯลฯ โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เติบโตในสังคมย่านตรอกบวรรังษี โดยอาศัยพลังความเป็น เครือญาติและเพื่อนบ้านเป็นสิ่งหลักในการรักษาท้องถิ่นเอาไว้ รวมทั้งยัง คงยึดถือวัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์เป็นหลักทางจิตใจ เช่น วัดพระแก้ว วัด

บรรยายสาธารณะมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ ์ รอบ ๖ เดือนหลัง

๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ อรุณ วัดสุทัศน์ ภูเขาทอง ฯลฯ ในสมั ย ต่ อ มาตั้ ง แต่ ท ศวรรษ ๒๕๐๐ หรื อ ตั้ ง แต่ ส มั ย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีจนมาถึงปัจจุบัน กรุงเทพฯ ได้สูญเสีย ความเป็นสังคมย่านแล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นเมืองที่อาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร คอนโด สลัม รวมทั้งเกิดการเคลื่อนย้ายของคนต่างถิ่นเข้ามา ในกรุงเทพฯ อย่างล้นหลาม อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง ของประเทศที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ผลจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม กรุงเทพฯ ดังกล่าวนี้ได้ทำให้สังคมกรุงเทพฯ อยู่ในสภาวะสับสน เพราะ คนกรุงเทพฯ กลายเป็นคนที่แปลกแยกและว้าเหว่ มีวิถีชีวิตที่ต้องแข่งขัน เร่งรีบ จนเกิดการละเลยและความล่มสลายในทางศีลธรรม และในอีกทาง หนึ่ ง ได้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก ไม่ มั่ น คงต่ า งๆ รวมทั้ ง ความไม่ มั่ น คงทางจิ ต ใจ ดังนั้นคนกรุงเทพฯ รุ่นใหม่จำนวนมากจึงเกิดความผันแปรในเรื่องความ เชื่อ เช่น การนับถือเทพเจ้า มหาเทพฮินดู เจ้าพ่อเจ้าแม่ไทยและจีนต่างๆ ฯลฯ อย่างเน้นหนักไปในทางขอพรเฉพาะตน ไม่ได้เป็นในลักษณะสำนึก ความเชื่อร่วมเช่นในสังคมกรุงเทพฯ ก่อนทศวรรษ ๒๕๐๐ ด้ ว ยความล่ ม สลายของชุ ม ชนเมื อ งกรุ ง เทพฯ จึ ง ทำให้ เ มื่ อ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ จ ลาจลในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ กลุ่ ม ผู้ ชุ ม นุ ม แนวร่ ว ม ประชาธิ ป ไตยต่ อ ต้ า นเผด็ จ การแห่ ง ชาติ หรื อ นปช. จึ ง สามารถเข้ า แทรกแซงพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่ไม่มีพลังชุมชนมาปกป้องพื้นที่ได้ เช่นที่ แยกราชประสงค์ แยกเพลินจิต ฯลฯ หากในหลายพืน้ ทีย่ งั คงพลังความเข้ม แข็งของชุมชนเมืองก็สามารถป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง เช่นที่บ่อนไก่ ดินแดง แยกคอกวัว แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ ๑๙-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ได้สร้างจิตสำนึกรัก กรุงเทพฯ ในหมู่คนกรุงเทพฯ ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้จากการช่วย กันทำความสะอาดกรุงเทพฯ การทำบุญอุทศิ ส่วนกุศลให้กบั ผูส้ ญ ู เสีย ฯลฯ ดังนั้นการฟื้นฟูกรุงเทพฯ จึงควรจะมุ่งไปที่จิตสำนึกของคน กรุงเทพฯ เป็นหลัก เช่นการสร้างการเรียนรู้เรื่องราวในชุมชนท้องถิ่นของ ตนเอง แต่ในขณะนี้ทางภาครัฐกลับไม่เห็นมิติทางจิตสำนึกหรือมิติในทาง สังคมวัฒนธรรมมากนัก กลับมุ่งเน้นที่จะฟื้นฟูกรุงเทพฯ ทางเศรษฐกิจ การเมืองซึ่งได้สร้างความอ่อนแอให้กับกรุงเทพฯ เช่นที่เคยเป็นมา อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม จึงได้เชิญชวนให้คนกรุงเทพฯ ใน ท้องถิ่นต่างๆ ตั้งชมรมหรือกลุ่มบันทึกเรื่องราวท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้ง ค้นหาความหมายของการมีอยู่ของท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งอาจใช้พลังทาง พิธีกรรมและวรรณกรรมเป็นการสื่อสารเพื่อสร้างสำนึกของการรักบ้าน เกิดเมืองนอนให้เกิดขึ้นได้ วันใหม่ นิยม

ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ กับผูน้ ำ ทางวัฒนธรรม ศรีศกั ร วัลลิโภดม

เมื่อมีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกันมากขึ้น วีรบุรุษหรือผู้นำ

ท้องถิ่น [Culture Hero] ก็มักถูกอ้างอิง เพราะมีความสำคัญควบคู่ มากับความเป็นมาของท้องถิ่น “ตำนานผู้นำทางวัฒนธรรม” นั้น หากไม่เข้าใจก็อาจนำไปสู่การตีความที่ผิดพลาดหรือความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มชนในต่างวัฒนธรรมได้ ทุกวันนี้ในท้องถิ่นต่างๆ มีการ สร้างเพื่อฟื้นบทบาทของผู้นำทางวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นศูนย์รวม จิตใจของผู้คนกันอยู่ตลอดเวลา และบทบาทเหล่านี้เกี่ยวพันกับ ความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของทางพื้นที่วัฒนธรรมและการเมือง ท้องถิ่นอยู่ไม่น้อย ฟั ง อาจารย์ ศ รี ศั ก ร วั ล ลิ โ ภดม อธิ บ ายถึ ง ความหมาย ความสำคัญ และวิธีศึกษาประวัติศาสตร์และผู้นำทางวัฒนธรรม ท้องถิ่นในสังคมไทยปัจจุบัน

๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓

ประวัตศิ าสตร์เมืองลำพูนจากภาพถ่าย นเรนทร์ ปัญญาภู

ลำพูนเป็นเมืองเก่าแก่เกิดขึ้นก่อนเมืองเชียงใหม่ แม้จะกลายเป็น

เมืองบริวารของเชียงใหม่ในระยะต่อมา แต่ลำพูนก็มีเอกลักษณ์เป็น ของตนเอง สังคมเมืองลำพูนเคยรุ่งเรืองจากการค้าขาย เพราะอยู่ ในเส้นทางเดินทางผ่านไปสู่ภาคกลางทั้งทางน้ำและทางบก ทำให้ เศรษฐกิจรุ่งเรืองรุดหน้ากว่าหัวเมืองอื่นๆ ในล้านนา รับรู้เมืองลำพูนจากมุมมองของความทรงจำจากภาพถ่าย ที่รวบรวมโดยคนลำพูนของแท้ นเรนทร์ ปัญญาภู

๑๕


๑๕ กันยายน ๒๕๕๓

๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

วลัยลักษณ์ ทรงศิร ิ ชุมชนและบ้านเมืองในเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งอันดามัน

แก้วตา จันทรานุสรณ์

โบราณคดีบนเส้นทางข้ามคาบสมุทร เคดาห์-ปัตตานี

มายังฝั่งอ่าวไทยบริเวณหัวเมืองมลายูตอนบน ถือเป็นเส้นทาง สำคัญที่เชื่อมระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับตะวันออก ปรากฏ ร่องรอยหลักฐานทั้งโบราณวัตถุและโบราณสถานของบ้านเมืองที่ รุ่งเรืองขึ้นมาจากการค้าขายแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ในสมัย ศรีวิชัย จากฝั่งอันดามันบริเวณลำน้ำเมอร์บกในหุบเขาบูจังมาสู่ ชุมชนที่ท่าสาปใกล้เทือกเขายาลอและหน้าถ้ำ จนถึงเมืองลังกาสุกะและเมืองปาตานี เรื่องราวประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ไกลโพ้นจากความ ทรงจำของผู้คนชาวมลายูมุสลิมในท้องถิ่นปัจจุบันจะเป็นอย่างไร วลั ย ลั ก ษณ์ ทรงศิ ริ นำเสนอข้ อ มู ล จากการรวบรวม ศึกษาในพื้นที่ดังกล่าว

๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

ความทรงจำจากหนองหาน สังคมคนเมืองสกลนคร ประสาท ตงศิร ิ

อดีต ประธานหอการค้าเขต ๑๑ และอดีตประธานหอการค้า

จังหวัดสกลนคร ประธานชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล จากตระกูล ชาวจีนโพ้นทะเลเก่าแก่ที่สุดของเมืองสกลนครและบุตรชายของ ส.ส. หญิงคนแรกแห่งจังหวัดสกลนคร ทำให้ถูกปลูกฝังถ่ายทอด ความรักแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนและมีความทรงจำเกี่ยวกับ เมืองสกลอย่างลุ่มลึก จนกลายเป็นนักเขียนและผู้ค้นคว้าเรื่องราว เกี่ยวกับท้องถิ่นคนสำคัญของเมืองสกลนครในปัจจุบัน

สังคมอีสานในความเปลีย่ นแปลง เสียงบอกเล่าจากวรรณกรรม

ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์ เป็นอาจารย์ด้านไทศึกษาและสอน

ภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันสนใจทำวิจัยเพื่อเรียน รู้เกี่ยวกับวรรณกรรมอีสานในบริบทของการพัฒนาท้องถิ่นและ ผลกระทบจากโลกาภิ วั ต น์ วั น นี้ ค นทั่ ว ไปอาจรั บ รู้ สั ง คมอี ส าน ในภาพที่หยุดนิ่ง แต่คนอีสานทุกวันนี้เคลื่อนไหวไปกับกระแสโลก และเกิดความเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น เพื่อเข้าใจคนอีสานเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ทุกมิติแง่มุม ภาพสะท้อนจากงานวรรณกรรมที่ถูกศึกษา นั้นน่าสนใจไม่น้อย

๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓

คนมลายูในโลกที่เปลี่ยนแปลง ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมท้องถิ่น

กัณหา แสงรายา

ในความขมุกขมัวของสังคมคนมลายูมุสลิมท้องถิ่นชายแดนใต้

ผู้คนรับรู้เพียงปัญหาแห่งความรุนแรง ต่างบาดเจ็บล้มตายเป็น ใบไม้ร่วง วรรณกรรมจากพื้นที่แม้จะมีไม่มากนัก และส่วนใหญ่ เขียนขึ้นจากคนนอกที่เฝ้ามองเหตุการณ์ แต่ก็พอตอบคำถามให้ เห็นถึงเลือดเนื้อและจิตใจของคนในพื้นที่แห่งความขัดแย้ง กัณหา แสงรายา นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้ชีวิต และศึกษาวรรณกรรมและภาษาศาสตร์ในสังคมมลายูอย่างลุ่มลึก นับเป็นผู้รู้สำคัญคนหนึ่งของจังหวัดชายแดนใต้ มุมมองที่สะท้อน ปัญหาทางสังคมวัฒนธรรมจากบทความทุกชิ้นควรค่าแก่การนำ มาขบคิดเพื่อแสงสว่างแห่งปัญญาต่อไป

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ รอบรู้ วิริยะพันธุ์ กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร เศรษฐพงษ์ จงสงวน กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ตวงพร วิชญพงษ์กุล นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง ปกรณ์ คงสวัสดิ์ มรกต สาตราคม ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง ปิลันธน์ ไทยสรวง วันชัย คนไทย ภัชราภรณ์ สาคำ

๑๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.