จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๘ ประจำเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

Page 1

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๘๘ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION เผยแพร่ ค วามรู้ เรื่ อ งสั ง คมวั ฒ นธรรม เพื่ อ สร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก • สยามพ่ายเพราะไทยถ่อย • หน้ หน้าา ๑ • “ชาตินิยมเขมร” ในปาฐกถาความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้การเมือง • หน้ หน้าา11๕ • ครูบาบุ่นจางหมาย “เจ้าผ้าลาย” ตนบุญแห่งขุนยวม • หน้ หน้าา11๗ • ปกาเกอะญอห้วยหินลาดใน : การกู้ชาติภูมิของคนตัวเล็ก • หน้ หน้าา11๙ • ชาวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ • หน้ หน้าา11๑๑ • พิพิธภัณฑ์บ้านวังหาดและการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีของชาวบ้านวังหาด • หน้ หน้าา11๑๒ • สร้างพิพิธภัณฑ์เรือที่วัดศาลาแดงเหนือ • หน้ หน้าา11๑๓ • หน้ หน้าา11๑๕

สยามพ่าย เพราะไทยถ่อย

สถานการณ์ความขัดแย้งที่แผ่ซ่านทั่วสยามประเทศไม่ว่าทั้ง

บริเวณศูนย์กลางและชายขอบในทุกวันนี้ โดยรวมเป็นเหตุมาจากปัญหา ทางเศรษฐกิจการเมืองทีท่ ำให้เกิดผลกระทบมายังชีวติ วัฒนธรรมของ ผูค้ นในสังคมอย่างต่อเนือ่ ง ดังแลเห็นได้จากขบวนการของคนในสังคม กลุม่ ต่างๆ ระดับต่างๆ พากันมาเดินขบวนยึดพืน้ ทีใ่ นกรุงเทพมหานคร เพื่อต่อต้านและเรียกร้องรัฐบาลหรือล้มล้างรัฐบาล วิเคราะห์เป็นกลุม่ ใหญ่ๆ ได้คอื กลุม่ เสือ้ แดงซึง่ มีทงั้ แดงแท้ และแดงเทียม และทำกันอย่างต่อเนือ่ ง แม้จะถูกรัฐบาลปราบปรามไป บ้างแล้วก็ตาม กลุ่มเสื้อเหลือง ที่เปลี่ยนมาเรียกร้องในเรื่องการเสีย ดิ น แดนรอบปราสาทเขาพระวิ ห ารและชายแดนไทย-เขมรทาง ตะวันออก ส่วนกลุ่มสุดท้ายที่กำลังเคลื่อนเข้ามาจากหลายๆ ภาค คือ บรรดาราษฎรที่ได้รับการกดขี่จากรัฐและทุนในเรื่องที่ทำกิน ที่อยู่ อาศัย และการแย่งทรัพยากร ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าเชื่อว่า เหตุของความขัดแย้งที่ ทำให้ผู้คนในสังคมทั้งสามกลุ่มใหญ่เหล่านี้มาเรียกร้องและต่อต้าน

เรสสิเดนต์ กำปงธม และ เมอซิเออร์ ปามังติเอร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส รับเสด็จสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยที่เชิงบันไดทางขึ้นปราสาทพระ วิหารชักธงฝรั่งเศส

มีที่มาจากเหตุอันเดียวกันคือความไม่เป็นธรรมที่รัฐและกลุ่มทุนทั้งในชาติและ ข้ามชาติใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมกดขี่ข่มเหงและแบ่งทรัพยากร ที่อยู่อาศัย และ ที่ทำกินของคนในชาติที่ยังมีชีวิตความเป็นอยู่และความคิดแบบสังคมชาวนา [Peasantry]


ภาพถนนกำลังก่อสร้างทางขึ้นปราสาทพระวิหารทางฝั่งกัมพูชาในปัจจุบัน นับ เป็นถนนที่ลาดชันและรุกล้ำเข้าสู่พื้นที่ซึ่งยังไม่มีการตกลงปักปันเขตแดนโดย คณะกรรมการทั้งสองฝ่าย

๒ ๒

เพราะสังคมสยามในปัจจุบนั กำลังเปลีย่ นแปลงอย่างรุดหน้าจาก สังคมเกษตรกรรมแต่กอ่ นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นรัฐบาล มาเป็น สังคมอุตสาหกรรมที่เต็มตัวอย่างต่อเนื่องแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จนมาถึงยุคโลกาภิวตั น์ในปัจจุบนั พืน้ ทีห่ ลายแห่งในภูมภิ าคต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้นั้น พื้นที่ในสังคมเกษตรกรรมแทบไม่ เหลือและกำลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ทีจ่ อดเรือน้ำลึก โรงงานอุตสาหกรรม ซึง่ นอกจากทำลาย สภาพแวดล้อมธรรมชาติทั้งในพื้นที่ทางทะเล ชายทะเล และป่าเขาแล้ว ยังทำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม อันเป็นชุมชนอุตสาหกรรมขึน้ มาแทนทีช่ มุ ชน ดัง้ เดิมแบบชาวนาของคนในท้องถิน่ เช่น ชุมชนและชีวติ วัฒนธรรมของคน ชาวเลพวกอุรกั ลาโว้ยและมอแกนในท้องทะเลและชายฝัง่ ทะเลในเขตจังหวัด ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูลทางฝั่งอันดามันเป็นต้น ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้อาจวิเคราะห์ได้เป็นส่วนลึก และส่วนพื้นผิว ส่วนลึกคือความล่มสลายของศีลธรรมและจริยธรรมที่เป็น ผลของการอบรมจากสถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริยท์ มี่ มี าแต่ อดีต การศึกษาอบรมนับแต่ระดับอุดมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาและ ประถมศึกษาแบบตะวันตก โดยเฉพาะจากอังกฤษและอเมริกนั นัน้ ได้ทำลาย ความรูส้ กึ นึกคิดในมิตทิ างจิตวิญญาณมาเป็นเรือ่ งของวัตถุนยิ มและบริโภค นิยมของคนรุ่นใหม่คือ จากคนในรุ่นพ่อแม่กับลูกหลานนับเวลาร่วมครึ่ง ศตวรรษ ทำให้ความเป็นมนุษย์ในปัจจุบันถูกครอบงำอยู่กับเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองทีว่ า่ ด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี อันเน้นความเป็นปัจเจกบุคคลจนสุดโต่ง เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นที่มาของ เงินและอำนาจ ทำให้คนอยากเป็นนักการเมืองและเป็นนักลงทุนเพื่อจะได้ มีทั้งอำนาจและความมั่งคั่ง จึงเป็นที่มาของการปกครองแบบรวมศูนย์ การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรที่ทำให้เกิดการซื้อเสียงขายเสียง รัฐสภาเต็มไปด้วยนักการเมืองที่ เป็นพ่อค้าและนักธุรกิจทีเ่ ข้ามามีอำนาจเหนือรัฐและข้าราชการเพือ่ ดำเนิน กิจการอันเป็นประโยชน์สว่ นตัวและพวกพ้อง มากกว่าการจัดการบริหารและ การปกครองให้เป็นประโยชน์แก่ผู้คนในสังคมและบ้านเมือง จากการล่มสลายของศีลธรรมและจริยธรรมในส่วนลึกได้ส่งผล ขึน้ มายังพืน้ ผิวทีป่ รากฏการณ์คอื คอร์รปั ชัน่ ทีเ่ ป็นวิถชี วี ติ [Way of Life] ของ บุคคลทีเ่ ป็นนักการเมือง ขุนนาง และข้าราชการ แทบทุกกลุม่ ทุกแหล่งและ ทุกอาชีพ แม้แต่บรรดาครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาภายใต้กระแสโลกาภิวตั น์ทที่ นุ ข้ามชาติครอบครองโลก บรรดาอัปรียช์ นเหล่านีเ้ ห็นประเทศชาติ

เป็นสิง่ For Sale คือมองทุกสิง่ ทุกอย่างไม่วา่ ทีด่ นิ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ทีท่ ำกินของราษฎร ทรัพยากรธรรมชาติและอะไรต่างๆ ล้วนเป็นสินค้าไปหมด เน้นการลงทุนของ ต่างชาติจากภายนอกให้เข้ามาลงทุนในกิจกรรมด้านอุตสาหกรรม นับแต่เกษตรอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงระบบการเกษตรแบบ เดิม โดยมีเกษตรกรรายย่อยคือ ชาวบ้านและผูค้ นในท้องถิน่ ซึง่ มีทที่ ำกินมาสู่ เกษตรกรรายใหญ่ ซึง่ มีทงั้ นายทุนภายในมีอทิ ธิพลเหนือรัฐและนายทุนจาก ภายนอก และในขณะนีห้ ลายท้องถิน่ ในภูมภิ าคต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะ ภาคตะวั น ออกและภาคใต้ ก็ เ กิ ด โครงการอุ ต สาหกรรมหนั ก ที่ เ รี ย กว่ า Eastern Sea Board และ Southern Sea Board ทีก่ ำลังจะแย่งทีท่ ำกินและ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของคนท้องถิน่ ให้กลายเป็นนิคมอุตสาหกรรม อันเต็มไปด้วยคน กลุ่มใหม่จากถิ่นอื่นและต่างชาติเข้ามาแทนที่ ปัจจุบันความเดือดร้อนของคนท้องถิ่นทุกภูมิภาคกำลังคืบคลาน เข้าสูภ่ าวะถึงทีส่ ดุ เพราะถูกแย่งทีท่ ำกิน ทีอ่ ยูอ่ าศัย และทรัพยากร จึงเกิดการ เคลือ่ นไหวกันทัว่ ไป โดยคนหลายภาคส่วนทีเ่ ดือดร้อนต่างมุง่ เข้าสูก่ รุงเทพมหานครเพือ่ ยึดพืน้ ทีใ่ นการเรียกร้อง ประท้วงและต่อต้านกันอย่างมากมาย และต่อเนื่อง แต่การรวมกลุ่มประท้วงและต่อต้านซึ่งกำลังเกิดแนวร่วมและ ขยายตัวมากขึ้นในเวลานี้ก็คือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุม่ คนไทยหัวใจรักชาติ ทีอ่ อกมาถล่มรัฐบาลในเรือ่ งมรดกโลกปราสาท พระวิหาร และการไม่ยกเลิก MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ จนทำให้เกิดการเสียดินแดน บริเวณตะเข็บชายแดนให้กับเขมร การเรียกร้องของคนกลุม่ นีก้ ำลังสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งและ ความแตกแยกของคนในประเทศชาติอย่างทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน เพราะนอกจาก จะแตกแยกออกเป็นหลายกลุม่ หลายเหล่าแล้ว ยังลามไปถึงความแตกแยก และความแตกต่างทางความคิดระหว่างคนรุน่ เก่ากับคนรุน่ ใหม่อกี ด้วย คือ เกิดมีทั้งกลุ่มคนที่รักชาติรักแผ่นดินเกิดกับกลุ่มคนที่เป็นพวกข้ามชาติ ที่ มองว่าโลกในปัจจุบนั ไร้พรมแดนตามกระแสโลกาภิวตั น์ อันเป็นวิธคี ดิ ทีม่ า จากประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก คนพวกนีไ้ ม่สนับสนุนและยินดีกบั การ เรียกร้องเคลือ่ นไหวกดดันรัฐบาลของพวกรักชาติรกั แผ่นดิน และมักประณาม พวกรักชาติรกั แผ่นดินว่าเป็นพวกชาตินยิ ม คลัง่ ชาติ รวมทัง้ บางคนยังมอง เลยเถิดไปว่าเป็นพวกราชาชาตินิยมและเสนาอำมาตย์ชาตินิยมก็มี โดยเฉพาะคนกลุ่มหลังนี้มักเป็นพวกนักวิชาการและอาจารย์ ในมหาวิทยาลัย ที่กลุ่มคนรักชาติรักพระเจ้าอยู่หัวประณามว่าเป็นพวก ไม่เอาเจ้าไม่เอาพระมหากษัตริย์ หรือเป็นพวกคนรุน่ ใหม่ ไม่เอาการปกครอง แบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข คนกลุ่มหลังนี้รวมทั้งคนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่เป็นคนรุ่นใหม่ ในช่วง ๔๐ ปีมานี้ เป็นพวกไม่สนใจเรือ่ งปัญหาการเสียดินแดน และแสดงการ เพิกเฉยต่อการต่อสู้กดดันรัฐบาลของกลุ่มคนรักชาติรักแผ่นดิน แถมยัง เห็นดีเห็นงามกับทางรัฐบาลที่แสดงอาการอ่อนข้อกับเขมร คนเหล่านี้คือ กลุ่มที่นับอยู่ในจำนวนของคนในประเทศซึ่งแบบสำรวจวัดความนิยมของ คนไทยต่อรัฐบาลในเรื่องคอร์รัปชั่นว่ายอมรับรัฐบาลคอร์รัปชั่นได้ ถ้าหาก รัฐบาลนั้นทำให้พวกตนอยู่ดีกินดีได้อย่างไม่เดือดร้อน ข้าพเจ้าเป็นคนรุ่นเก่าที่เป็นคนรักชาติรักแผ่นดินเกิด และ เป็นคนแรกๆ หรือนักวิชาการรุ่นแรกๆ ที่ได้ออกมาประณามความรู้สึก ชาตินยิ มทีม่ มี าแต่สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบลู สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นชาตินิยมที่สุดโต่งในลักษณะที่เป็น “เชื้อชาตินิยม” ซึ่งทำให้ สังคมไทยเป็นสังคมแบบเอกลักษณ์ คือเป็นคนไทยจากสายเลือดที่สืบ เชื้อสายกันมาแต่สุโขทัยและอยุธยา ข้าพเจ้าเห็นว่าโดยประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงั คม ประเทศไทยทีแ่ ต่เดิมเรียกสยามประเทศนัน้ เป็นสังคมพหุลกั ษณ์ เช่นเดียวกันกับประเทศเพือ่ นบ้านอืน่ ๆ ไม่วา่ เขมร ลาว พม่า และเวียดนาม


รวมไปถึงมลายูบนคาบสมุทรและหมู่เกาะ ความเป็นพหุลักษณ์นั้นมาจาก การทีแ่ ต่ละประเทศต่างก็มคี นหลายชาติพนั ธุห์ ลายภาษาและศาสนาอยูด่ ว้ ย กัน เกิดและตายอยู่ในประเทศเดียวกัน ทำให้มีสำนึกในชาติภูมิเดียวกัน “ชาติ” แปลว่า “เกิด” และ “ภูมิ” คือ “แผ่นดิน” กลายเป็น “แผ่นดินเกิด” เป็นสำนึกของคนทีเ่ ป็นมนุษย์ผเู้ ป็นสัตว์สงั คมทัว่ ไปทีเ่ รียกว่า Homo Sapiens สำนึกรักแผ่นดินเกิดนี้คือสิ่งที่เรียกว่า Patriotism ข้าพเจ้าร่วมความรู้สึกกับบรรดากลุ่มคนรักชาติรักแผ่นดินทั้ง หลายที่ออกมาเรียกร้องกดดันรัฐบาลในเรื่องการจัดการกับเขมรในเรื่อง ดินแดนและเรือ่ งมรดกโลกปราสาทพระวิหาร และข้าพเจ้าก็เป็นนักวิชาการ คนหนึง่ ทีถ่ กู กล่าวหาว่าเป็นคนคลัง่ ชาติ โดยบรรดานักวิชาการข้ามชาติและ โลกไร้พรมแดน ทีช่ อบนำเอาคำพูดและข้อเขียนในบทสนทนาและบทความ ทางวิชาการไปตัดต่อบิดเบือนเพื่อเป็นประโยชน์ของตนเป็นประจำ ในกรณี ค วามขั ด แย้ ง เกี่ ย วกั บ เขตแดนและแหล่ ง มรดกโลก ปราสาทพระวิหารเท่าทีข่ า้ พเจ้าได้รบั รู้ ได้ศกึ ษาและติดตามตลอดมาตัง้ แต่ สมัย พ.ศ. ๒๕๐๕ ทีศ่ าลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของเขมรมา จนถึ ง คณะกรรมการมรดกโลกขึ้ น ทะเบี ย นตั ว ปราสาทเป็ น มรดกโลก เรื่อยมา จนถึงการจับคนไทยไปขึ้นศาลเขมรตัดสินจำคุกนั้น เมือ่ ประมวลและวิเคราะห์เหตุการณ์ตามขัน้ ตอนต่างๆ แล้ว อยาก จะสรุปอย่างง่ายๆ ให้บรรดาผู้รักชาติรักแผ่นดินเกิดทั้งหลายว่า “สยามพ่ายเพราะไทยถ่อย” เพราะการเสียเปรียบจนนำไปสูก่ ารเสียเขตแดนและแหล่งมรดก โลกให้กบั ทางกัมพูชานัน้ หาได้เป็นการกระทำของเขมรอันมีฮนุ เซ็นเป็นผูน้ ำ แต่อย่างใด หากเป็นการดำเนินงานที่บกพร่องในระยะแรกและฉ้อฉลขาย ประเทศขายดินแดนของบุคคลถ่อยๆ ในคณะรัฐบาลไทยทัง้ สิน้ โดยจะจาระไน ออกเป็น ๒ ช่วงตอนดังนี้ ช่วงแรกต้องนับแต่ ค.ศ. ๑๙๐๔ ในการตกลงระบบเขตแดนระหว่าง ฝรัง่ เศสกับไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ทีต่ กลงกันด้วยการใช้สนั ปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง เขตแดน พอถึง ค.ศ. ๑๙๐๗ ทีม่ กี ารตกลงเรือ่ งแผนทีซ่ งึ่ ทำโดยฝรัง่ เศส ผล ปรากฏออกมาก็คอื ฝรัง่ เศสโกงอย่างหน้าด้านๆ ในพืน้ ทีเ่ ขาพระวิหาร เพราะ ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตสันปันน้ำฝ่ายไทย น้ำที่ไหลจากพื้นที่ลาดเขา รอบๆ บริเวณปราสาทไหลไปลงลำห้วยสองห้วย คือ ห้วยตานีและห้วย ตามาเรีย ผ่านบริเวณสระบารายทีเ่ รียกว่าสระตราว ต่อลงตามลำตราวสูพ่ นื้ ที่ ราบลุ่มในเขตจังหวัดศรีสะเกษ โดยฝรั่งเศสลากเส้นเขตแดนผ่านห้วย ตามาเรียโดยแผนทีม่ าตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ทีม่ องพืน้ ทีจ่ ากระดับสูงจน แลไม่เห็นรายละเอียด ฝรั่งเศสโกงได้สำเร็จ เพราะอาศัยการเป็นประเทศ มหาอำนาจล่าอาณานิคมที่อาจจะใช้กำลังเข้ายึดครองประเทศไทยได้ทุก ขณะ ไทยยอมตามแผนที่และกฎเกณฑ์ที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายกำหนดก็ด้วย สามัญสำนึก [Common Sense] เพียงไม่ให้ถูกยึดครองประเทศ แต่ในมุมกลับในทางสามัญสำนึกเช่นเดียวกับคนทีเ่ ป็นมนุษย์รกั ความเป็นธรรม การทีฝ่ รัง่ เศสแย่งปราสาทพระวิหารไปจากพืน้ ทีใ่ นสันปันน้ำนั้นคือ การโกงดื้อๆ อย่างไร้ยางอายของพวกมหาอำนาจทางตะวันตก การโกงโดยใช้แผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ทีแ่ ย่งปราสาทพระวิหารไป อย่างขัดความเป็นจริงทางสันปันน้ำนี้ กลายเป็นมรดกตกทอดมายังรัฐบาล เขมรอันเป็นรัฐอารักขาของฝรัง่ เศส และเป็นเครือ่ งมือของเจ้าสีหนุผนู้ ำเขมร หลังการปลดแอกจากฝรั่งเศสสร้างความรู้สึกชาตินิยม ด้วยการนำเอา ประวัตศิ าสตร์สมัยเมืองพระนครทีน่ กั วิชาการฝรัง่ เศสเขียนไว้วา่ “กัมพูชา เคยเป็นมหาอาณาจักรที่มีอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่เมืองพระนคร ยุคนั้น ดินแดนทีเ่ ป็นประเทศเพือ่ นบ้านโดยรอบทัง้ ในลาวและเวียดนามก็เคยตก เป็นเมืองขึ้นของกัมพูชา” การเรียกร้องสิทธิก์ ารเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหารนัน้ หมายถึง การแสดงอำนาจเหนือผูค้ นในดินแดนประเทศไทยนัน่ เอง นับเป็นวาทกรรม

กับประวัติศาสตร์สมัยหลังเมืองพระนครที่กัมพูชาถูกยึดครองและเป็น เมืองขึน้ ของสยามมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าสีหนุทำเช่นนีเ้ พราะประจักษ์ แก่ใจว่า อาณาบริเวณเขมรต่ำของเทือกเขาพนมดงเร็กจนถึงทะเลสาบเขมรนัน้ เป็นพื้นที่ซึ่งทางสยามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ผนวกเข้าเป็นดินแดนของ สยามประเทศทีใ่ นระยะหลังๆ เรียกว่า เสียมราฐ หรือ เสียมรัฐ ซึง่ ทางคนเขมร ออกสำเนียงเป็น เสียมราบ ผูค้ นในอาณาบริเวณเสียมราฐนัน้ มีความใกล้ชดิ สนิทกับคนในเขมรสูง คือพืน้ ทีร่ าบสูงโคราชมาแต่โบราณก่อนสมัยเมืองพระนคร ว่าเป็นพวก เจนละบก ร่วมกัน เขมรสีหนุนน้ั คือพวกเจนละน้ำ หรือพวกเขมรต่ำ ซึ่ ง ทำตั ว เป็ น ปรปั ก ษ์ กั บ สยามมาแต่ ส มั ย รั ช กาลสมเด็ จ พระนเรศวร เพราะฉะนั้นทั้งพระยาละแวก เจ้าสีหนุ และสุดท้ายเขมรฮุนเซ็นก็คือพวก เขมรน้ำทีไ่ ทยเรียกว่า “เขมร” นัน่ เอง หาใช่พวก “ขอม” ไม่ ดังข้าพเจ้าเคยเขียน บทความอธิบายความขัดแย้งระหว่างเขมรบกกับเขมรน้ำไว้ในที่อื่นๆ แล้ว พอมาถึงสมัยทรราชฮุนเซ็นเป็นผู้นำจึงเอาเรื่องปราสาทพระวิหารมาปลุกระดมชาตินยิ มเพือ่ เอาใจเขมรเสียมเรียบหรือเขมรบกอีกทีหนึง่ เหตุทไี่ ทยแพ้คดีศาลโลกเรือ่ งปราสาทพระวิหารครัง้ พ.ศ. ๒๕๐๕ นัน้ เพราะ ทัง้ เขลาและหลงตะวันตก หรืออีกนัยหนึง่ คือ “บ้าฝรัง่ ” นัน่ เอง เพราะผูน้ ำไทย ทัง้ นักวิชาการล้วนคิดว่าตนเองทันสมัยทันโลกมากกว่าเขมร โดยเฉพาะผูท้ ี่ ออกไปทำหน้าทีว่ า่ ความและการจัดการเรือ่ งกฎหมาย โดยไม่ระแวงว่าพวก ฝรัง่ เข้าข้างกัน โดยเฉพาะฝรัง่ เศส แต่เมือ่ แพ้คดีแล้วจึงได้สติ จัดการออกโรง ในเรือ่ งยอมให้แต่ตวั ปราสาทไม่ยอมให้ดนิ แดน เพราะยึดในเรือ่ งสันปันน้ำ ซึง่ เขมรสีหนุก็ไม่กล้า แต่ไทยในสมัยต่อมาก็ยังเลินเล่อและสะเพร่าอยูเ่ ช่น เดิม เพราะความบ้าความเป็นสากลทันโลกแบบนิยมฝรัง่ จนได้ทำลายสามัญ สำนึกในเรือ่ งการแบ่งเขตแดนด้วยสันปันน้ำ หันมายอมรับการแบ่งเขตแดน ด้วยแผนที่ชุดที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นมาเพื่อโกงปราสาทพระวิหารไปจากไทย การเซ็น MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยรัฐบาลที่ไม่เอาไหนเช่นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์จึงเกิดขึ้น เพราะบ้าความคิดฝรั่งในเรื่องแผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ที่พวกฝรั่งเศสทำไว้ เลยเข้าทางรัฐบาลนักธุรกิจการเมืองยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทีฮ่ วั้ กับทรราชฮุนเซ็นและนักธุรกิจข้ามชาติทอี่ ยูท่ งั้ ในและนอกประเทศ ในการพัฒนาพืน้ ทีต่ ะเข็บชายแดนบริเวณสามเหลีย่ มมรกตในเทือก พนมดงเร็กตัง้ แต่อบุ ลราชธานีลงไปถึงจังหวัดตราดชายทะเล พืน้ ทีช่ ายแดน เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันของคนเหล่านี้ที่อยู่ เหนือรัฐทั้งไทยและกัมพูชา การทำลายพื้นที่ตะเข็บชายแดนของทั้งสอง ประเทศเพื่ อ กลุ่ ม นั ก ธุ ร กิ จ การเมื อ งทั้ ง สองชาติ เ ห็ น ได้ จ ากการสร้ า ง โครงสร้างพืน้ ฐาน [Infra-structure] เช่น การตัดถนนหนทาง แหล่งธุรกิจการค้า แหล่งอุตสาหกรรม ย่านตลาดและชุมชน เช่น เส้นถนนทีต่ ดั ข้ามช่องสะงำ และ ต่อมาที่ช่องตาเฒ่าเป็นต้น เมื่อรัฐบาลทักษิณมีอันเป็นไป โครงการธุรกิจ ข้ามชาติดังกล่าวนี้ก็หาได้สลายไปไม่ ยังคงสานต่อโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่ อยูใ่ นคณะรัฐบาลหลังๆ ต่อมา ซึง่ ก็รวมถึงรัฐบาลพรรคประชาธิปตั ย์ในยุคนี้ ด้วย ทีย่ งั กอด MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ อย่างเหนียวแน่น ทัง้ ยังไม่ยอมตัดไฟแต่ ต้นลมด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกและองค์กร UNESCO ปัญหาในเรือ่ งความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารและเขตแดน ในทุกวันนี้ หาใช่พนื้ ทีท่ บั ซ้อนหรือพืน้ ทีพ่ พิ าทอะไรไม่ หากเป็นเรือ่ งของ ผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างแท้จริง เพราะด้วย MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ การรุกล้ำบริเวณตะเข็บชายแดนจน กลายเป็นการยัว่ ยุจนเกิดความรูส้ กึ ชาตินยิ มด้วยกันระหว่างคนไทยกับคน เขมร แต่เขมรทำสำเร็จมากกว่า เพราะคนเขมรหือไม่ขึ้น เป็นประชาชน ที่น่าสงสารภายใต้ทรราชฮุนเซ็นที่ประสบความสำเร็จทั้งในการครอบงำ และกดขี่ แต่ทรราชฝ่ายไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีค่ วร เพราะความ เป็นชาตินยิ มแบบเชือ้ ชาตินยิ มนัน้ ได้ตายไปจากคนไทยยุคใหม่หมดแล้ว

๓ ๓


คณะรัฐมนตรีในเครื่องแต่งกายเต็มยศ (ที่มาภาพ http://manlgb.multiply.com)

คนไทยยุคใหม่แบ่งออกเป็นพวกไร้พรมแดน อันเป็นความคิดทีม่ า จากเรื่องโลกาภิวัตน์ของทางตะวันตก โดยมีหัวหอกเป็นพวกดอกเตอร์ที่ เรียนมาจากตะวันตกโดยเฉพาะและกลุม่ ทีม่ แี นวคิดแบบ Post Modernism บางกลุ่ม ที่กำลังถูกตรวจสอบและกล่าวหาโดยคนไทยที่มีสำนึกในเรื่อง พรมแดนว่าเป็นพวกขายชาติ ข้าพเจ้าคือคนหนึ่งที่มีสำนึกในเรื่องพรมแดน เพราะเป็นสำนึกที่ เรียกว่ารักแผ่นดินเกิด [Patriotism] เช่นมนุษย์ทเี่ ป็น Homo sapiens ทัง้ หลาย ข้าพเจ้าเรียกสำนึกนีว้ า่ สำนึกชาติภมู ิ หาใช่ความรูส้ กึ ชาตินยิ มแบบเชือ้ ชาติ นิยม ที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งกล่าวหาและปลุกปั่นเพื่อประโยชน์ในการ ทำมาหากินของกลุ่มตน แต่กอ่ นการมีพรมแดนระหว่างรัฐต่อรัฐหรือปัจจุบนั กลายมาเป็น รัฐชาติในระหว่างประเทศต่อประเทศนัน้ ไม่มเี ส้นเขตแดน แต่เมือ่ พวกฝรัง่ นักล่าอาณานิคมมาทำขึ้น คนไทยก็ยอมรับแต่กลับโดนโกง ซึ่งข้าพเจ้าใคร่ วิเคราะห์การแบ่งเขตแดนตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับเขมรอย่างกว้างๆ ตามลักษณะภูมปิ ระเทศเป็นสองเขต คือ บริเวณเทือกเขาพนมดงเร็กตัง้ แต่ จังหวัดอุบลราชธานีมาถึงจังหวัดบุรีรัมย์ กับบริเวณพื้นที่ราบลุ่มจนถึงชาย ทะเลตั้งแต่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี ลงไปถึงจังหวัดตราด เขตแรกบนเทื อ กเขาพนมดงเร็ ก อั น เป็ น บริ เ วณที่ มี ป ราสาท พระวิหารตัง้ อยูน่ นั้ คือพืน้ ทีซ่ งึ่ ต้องใช้สนั ปันน้ำกำหนดเขตก็ปรากฏว่า ส่วนที่ อยู่ปลายสุดแต่จังหวัดอุบลราชธานีมาถึงช่องสะงำในเขตจังหวัดศรีสะเกษ นัน้ เป็นบริเวณทีเ่ ห็นสันปันน้ำชัดเจน จึงไม่จำเป็นต้องปักเขตแดน ปราสาท พระวิหารตัง้ อยูใ่ นเขตนี้ แต่วา่ ตัง้ อยูบ่ นผาสูงทีเ่ ป็นจะงอยยืน่ ล้ำเข้าไปในพืน้ ที่ เขมรต่ำ นัน่ คือพืน้ ทีซ่ งึ่ ครอบคลุมทัง้ ตัวปราสาทและพืน้ ที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรที่อยู่รอบๆ ตัวปราสาท ฝรัง่ เศสโกงโดยขีดเส้นเขตแดนตัดตรงห้วยตามาเรียทีต่ อนปลาย สุดของพืน้ ที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร เพือ่ ให้ขนานกับแนวนอนอันเป็นเส้นตรง ตามเทือกเขาด้วยการอ้างแผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ลำห้วยตามาเรียนีค้ อื ลำห้วย ที่รองรับน้ำที่ไหลลงจากผาชะง่อนที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ แต่ลำห้วยนี้ก็ หาได้ไหลลงทางฟากเขมรต่ำไม่ กลับเป็นลำห้วย ๒ ห้วย คือ ห้วยตานีและ ห้วยตามาเรียที่ไหลผ่านสระตราวลงไปยังที่ราบลุ่มของจังหวัดศรีสะเกษ สันปันน้ำที่แลเห็นชัดนี้ทอดยาวตามแนวเขามาจนถึงช่องสะงำอันเป็น บริเวณทีแ่ ลไม่เห็นสันปันน้ำชัดเจนทีต่ อ่ ไปจนสิน้ สุดเขตจังหวัดบุรรี มั ย์ เลย เป็นเขตให้ตอ้ งมีการปักเขตแดนขึน้ และปักเรือ่ ยลงไปถึงพืน้ ทีร่ าบลุม่ ในเขต จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด รวมเป็นจำนวน ๗๓ หลัก บริเวณเขตแดนที่มีหลักเขตแสดงไว้เหล่านี้ดูเป็นที่ยอมรับกัน เรื่อยมาอย่างไม่มีปัญหา แม้จะมีการเคลื่อนย้ายอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่มีปัญหา เท่ากับพืน้ ทีบ่ นชะง่อนผาของปราสาทพระวิหาร โดยประชาชนทัง้ บนทีร่ าบสูง โคราชและพื้นที่เขมรต่ำทางกัมพูชารู้จักและขึ้นลงไปมาผ่านเขตแดนเป็น ประจำ โดยเฉพาะพืน้ ทีใ่ นเขตพรมแดนไทยนัน้ มีชาวบ้านตัง้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยและ ทำกินใกล้กับบริเวณเขตแดนเรื่อยมา แต่นับตั้งแต่เกิดโครงการพัฒนาตะเข็บชายแดนที่ร่วมมือกัน ระหว่างไทยกับกัมพูชาสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ปรากฏว่ามีคนเขมร

รุกเข้ามาตั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำกินประชิดเส้นแบ่งเขตแดน และบางคน บางกลุม่ ทีร่ กุ พืน้ ทีล่ ำ้ แดนเข้ามา โดยเฉพาะในสมัยการสูร้ บระหว่างเขมรแดง เขมรเฮงสัมริน ซึง่ เมือ่ สิน้ สงครามแล้วก็ไม่ได้ถอยหลังไป และทางฝ่ายไทย ก็ไม่ได้ผลักดันกันอย่างจริงจัง การล้ำพืน้ ทีเ่ ขตแดนดังกล่าวนีร้ วมทัง้ บนเทือก พนมดงเร็ก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรบนเขาพระวิหาร ครัน้ มาถึงสมัยรัฐบาลทักษิณ เมือ่ มีโครงการพัฒนาตะเข็บชายแดน ร่วมกันระหว่างทุนไทยกับทุนเขมรและทุนข้ามชาติ ก็เกิดการสมคบและการ ยินยอมในการใช้ประโยชน์ของพืน้ ทีแ่ ละทรัพยากรร่วมกัน โดยหาคำนึงถึง ความเดือดร้อนของคนในท้องถิน่ ทัง้ สองฟากคือฟากเขมรสูงและเขมรต่ำไม่ จึงแลเห็นได้จากการเอาปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก รวม ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนทัง้ ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผิดกฎหมายว่า เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ทขี่ ยายจากพืน้ ทีบ่ น เทือกเขาทีม่ สี นั ปันน้ำไปจนถึงเขตชายทะเลฝัง่ อ่าวไทยทีม่ ที รัพยากรทัง้ สิน้ ช่วงเวลานี้ละที่เห็นกระบวนการผิดกฎหมายที่ต้องพูดอย่างรวมๆ ว่า คอร์รปั ชัน่ พืน้ ทีป่ า่ เขาตามชายแดน มีทงั้ ออกเขตอุทยานทับพืน้ ทีท่ ำกินของ ชาวบ้านและปล่อยให้คนเขมรเข้ามาแย่งที่ทำกิน เกิดการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะป่าไม้พยุงอันเป็นไม้ชนั้ ดีราคาแพง ซึง่ หน่วยราชการทัง้ พลเรือน และทหารจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ พืน้ ทีบ่ นเทือกเขาสันปันน้ำนัน้ เป็น พืน้ ทีข่ องกองกำลังสุรนารี ทีเ่ คยมีทหารหาญรักชาติรกั แผ่นดินดูแลก็ถกู แทน โดยทหารทีม่ เี อีย่ วในการหาผลประโยชน์แทน ในขณะทีบ่ ริเวณชายแดนใน พืน้ ทีร่ าบลุม่ เช่นสระแก้วและจันทบุรี อันไม่มสี นั ปันน้ำ แต่มกี ารปักเขตแดน ไว้แต่เดิมอย่างเป็นทีย่ อมรับกันก็ถกู รุกล้ำโดยการอพยพเข้ามาของคนเขมร และเกิดแหล่งบ่อนการพนัน คาสิโน การลักลอบขนสิ่งผิดกฎหมาย กองกำลังบูรพาทีเ่ คยเข้มแข็งและห้าวหาญเป็นทีย่ ำเกรงของเขมร ก็เปลีย่ นมาอ่อนข้ออ่อนน้อม ผลทีต่ ามมาก็คอื คนในพืน้ ทีถ่ กู แย่งทีท่ ำกินให้ ไปเป็นของคนเขมร การยอมรับ MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ คือการใช้แผนที่ ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ เปลีย่ นเขตแดนแต่เดิมให้เป็นทีข่ องคนกัมพูชา จนนำไปสูก่ าร เข้ามายึดครองแผ่นดินของเขมรฮุนเซ็น ความชัดเจนในเรือ่ งการรุกเขตแดนโดยการอ้าง MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ เห็นชัดเจนในเหตุการณ์จับ ๗ คนไทยในเขตจังหวัดสระแก้ว คนพวกนี้ ถู ก เขมรจั บ ในพื้ น ที่ ใ กล้ กั บ หลั ก เขตแดนที่ เ คยปั ก ปั น ไว้ ใ นที่ ท ำกิ น ของ ชาวบ้านทีม่ เี อกสารสิทธิย์ นื ยันว่าเป็นทีท่ ำกินในดินแดนประเทศไทย แต่ถกู เขมรอ้างว่าล้ำเข้าไปอยูใ่ นเขตแดนประเทศกัมพูชา โดยทีท่ หารไทยกองกำลัง บูรพาปล่อยให้เขมรจับไปเข้าคุกต่อหน้าต่อตา มิหนำซ้ำรัฐมนตรีกลาโหมผูเ้ คย เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังบูรพา รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ช่วยกันกล่าวหาและยืนยันว่า คนไทยทัง้ ๕ คนรุกเข้าไปในดินแดนเขมร แต่ในทีส่ ดุ ได้มผี หู้ าหลักฐานมายืนยัน ว่าเป็นพืน้ ทีใ่ นเขตประเทศไทยอย่างพอเพียงก็ไม่ได้ออกมาแก้ไขแต่อย่างใด การรุกเข้ามาของเขมรในเขตแดนไทยนี้เดือดร้อนไปถึงพื้นที่ ทำกินในทีอ่ นื่ ๆ ของชาวบ้านอีกเป็นจำนวนมากตามตะเข็บชายแดนในจังหวัด สระแก้ว จันทบุรี และเลยขึน้ ไปบนเทือกเขาพนมดงเร็ก ข้าพเจ้าเห็นว่าในขณะ ที่รัฐบาลและทหารตอบคำถามและการกล่าวหาของกลุ่มคนรักชาติรัก


แผ่นดินเกิดไม่ได้ว่า ทำไมไม่รู้และไปยอมรับการเข้ารุกที่เขตแดนและจับ คนไทยในพื้นที่ของประเทศไทย ถ้าแม้ว่าจะเป็นพื้นที่พิพาทในกรณีที่อ้าง MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเขมรละเมิด MOU ในการให้ กองกำลังเข้ามาในพื้นที่พิพาทและจับคนไทยไปขังคุก ซึ่งนับเป็นการรุกล้ำ อธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การเข้ามาละเมิดพืน้ ทีข่ อ้ พิพาทตาม MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ นีไ้ ม่จำกัด อยู่แต่เพียงพื้นที่ในเขตจังหวัดสระแก้ว พื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรรอบ ปราสาทพระวิหารที่นับเนื่องเป็นพื้นที่ข้อพิพาทซึ่งไม่ควรมีกองทหารเขมร และคนเขมรเข้าไปอยูอ่ าศัยและสร้างวัด แต่ทางไทยโดยเฉพาะกระทรวงการ ต่างประเทศและทหารไม่ประท้วงและผลักดัน ที่น่าอัปยศและอดสูใจอย่าง สุดๆ ก็คอื ฝ่ายทหารไทยกลับปล่อยให้เขมรสร้างถนนขึน้ มายังพืน้ ทีข่ อ้ พิพาท และเข้าไปยึดพืน้ ทีใ่ นเขตภูมะเขือ อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ทสี่ ำคัญ จนในทีส่ ดุ ฝ่ายเขมรก็ใช้เป็นฐานกำลังยิงเข้ามาทำลายบ้านเรือนราษฎร แต่รฐั บาลไทย เพียงบอกว่าตอบโต้อย่างพอประมาณเพื่อมุ่งหวังการเจรจาแต่อย่างเดียว ทั้งๆ ที่ประชาชนเป็นจำนวนหมื่นต้องเดือดร้อนย้ายที่อยู่หนีตาย

การละเมิด MOU พ.ศ. ๒๕๔๓ ของเขมรดังกล่าวนี้ ทางฝ่ายไทย สามารถใช้เป็นข้ออ้างยกเลิก MOU และตอบโต้เพือ่ ปกป้องดินแดนและประชาชนได้สบายมาก รวมทัง้ ยกเลิกการเป็นสมาชิกมรดกโลกปราสาทพระวิหาร อันเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งและเดือดร้อนได้อย่างสมเหตุสมผลเช่นกัน ทัง้ หมดนีค้ อื หลักฐานข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ทชี่ ใี้ ห้เห็นว่า การ เสี ย เปรี ย บในเรื่ อ งดิ น แดนที่ น ำไปสู่ ค วามเดื อ ดร้ อ นของประชาชน ในท้องถิ่นนั้น หาได้มาจากเขมรแต่ฝ่ายเดียวไม่ หากมีสาเหตุมาจาก ผลประโยชน์ทับซ้อนที่มาจากทุนข้ามชาติ ที่ทำให้คนในรัฐบาลและ นักวิชาการบางกลุ่มเหล่าช่วยกันขายบ้านขายเมือง ขายชีวิตประชาชน ให้กับต่างชาติอย่างไม่ต้องสงสัย ข้าพเจ้าจึงให้ชอื่ บทความนีว้ า่ “สยามพ่ายเพราะไทยถ่อย” อย่าไป โทษเขมร อย่าไปโทษต่างชาติเลย หากสยามจะอยู่ยั้งยืนยง ก็ต้องขจัด กระบวนการคอร์รปั ชัน่ ของคนเหล่านีท้ เี่ ป็นนักการเมือง ข้าราชการทัง้ ทหาร พลเรือน และนักวิชาการขายตัวเสียก่อน

วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ทีม่ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการเชิญเอกอัคร-

ราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย ฯพณฯ ยู ออย ขึน้ กล่าวปาฐกถาเนือ่ งใน งานสัมมนาวิชาการอุษาคเนย์ครัง้ ที่ ๘ จนเป็นทีว่ พิ ากษ์วจิ ารณ์ในสังคมข่าวสาร และกลุม่ ผูป้ ระท้วงเรือ่ งเขาพระวิหารอยูร่ ะยะสัน้ ๆ แล้วก็เงียบหายไปเหมือน สายลมจางของฤดูร้อน ไม่มปี ฏิกริ ยิ าจากห้องเรียนประวัตศิ าสตร์สำนักใดในประเทศไทย ราวกับการปาฐกถาเชิงสั่งสอนเช่นนี้ได้รับการยอมรับโดยดุษฎีและไม่เห็น เป็นประเด็นปัญหาใดๆ นอกเสียจากเสียงก่นด่าจากกลุม่ ผูป้ ระท้วงแถวๆ รอบ ทำเนียบรัฐบาล หรือคนที่อยู่ในสำนักเรียน กลุ่มปัญญาชนอะไรต่างๆ กำลังเกรง กลัวการถูกสักหน้าผากยีห่ อ้ “คลัง่ ชาติ” เสียจนไม่อยากวิจารณ์อะไรให้มนั มีมากเรื่อง บรรยากาศทางวิชาการที่เคยเปิดกว้างด้วยการถกเถียงอย่าง สร้างสรรค์บา้ งไม่สร้างสรรค์บา้ งในทศวรรษทีผ่ า่ นมาเงียบหายไปพร้อมๆ กับ ความวุ่นวายของบ้านเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเสียแล้ว นางยู ออย กล่าวถึงโบราณสถานที่สร้างด้วยหินในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทยหลายแห่ง เช่นวัดพระพายหลวงที่สุโขทัย พนมรุ้ง พิมาย สะท้อนความรูส้ กึ นึกคิดเปรียบเทียบกับประวัตศิ าสตร์ยคุ สร้างปราสาทหิน ในประเทศตนเองอยูต่ ลอดเวลา โดยการเปรียบเทียบอายุทเี่ ก่าแก่นอ้ ยกว่า และทุกแห่งล้วนสร้างโดยกษัตริย์แห่งกัมพูชา หรืออีกนัยหนึ่ง สถานที่ซึ่งปราสาทหินเหล่านั้นปรากฏก็คือ ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรกัมพูชา โดยทำให้เห็นความเข้าใจของเธอว่า อิทธิพลศิลปะสถาปัตยกรรมก็คืออำนาจทางการเมืองนั่นเอง ในปาฐกถาดังกล่าว โดยสรุปแม้จะไม่เจาะจงอย่างตรงไปตรงมา ตามภาษาเยินยอแบบทูต แต่ก็สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ทางประวัติศาสตร์ ของชาวกัมพูชาว่าอาณาจักรโบราณแห่งเมืองพระนครมีบา้ นเมืองในปกครอง อยูม่ ากมาย ภายใต้ยคุ อันรุง่ เรืองและพระมหากษัตริยผ์ พู้ ชิ ติ ได้ทง้ั ดินแดนใน เวียดนามและสยามประเทศ คือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้สร้างถนนและ อโรคยศาลา ตลอดจนธรรมศาลาในเส้นทางทีถ่ กู กล่าวขานกันในปัจจุบนั ว่า คือ “ราชมรรคา” จนบางคนขนานนามว่าเป็น “ทางหลวงแห่งอินโดจีน” เสียด้วยซ้ำ ซึง่ สิง่ เหล่านีร้ องรับการมีอยูด่ ว้ ยงานวิจยั ของนักโบราณคดีฝา่ ย ไทยและกัมพูชา รวมทั้งอีกบางประเทศกันอย่างคึกคัก ทั้งๆ ที่ยังมีข้อ

“ชาตินิยมเขมร”

ในปาฐกถาความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา ประวัตศิ าสตร์ เพือ่ รับใช้การเมือง

ฯพณฯ ยู ออย กำลังแสดง ปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บกพร่องอีกมากมายทีท่ ำให้ไม่สามารถเชือ่ ได้วา่ จะมีการสร้างถนนในระดับ ใหญ่โตทอดยาวไปสูบ่ า้ นเล็กเมืองน้อยในอาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่ ง เป็ น ความนึ ก คิ ด แบบชาติ นิ ย มเขมรที่ มี ศู น ย์ ก ลางอยู่ ที่ ประวัติศาสตร์แบบการสร้างปราสาทหินเพื่อสร้างชาติ หรือประเทศ กัมพูชาในยุคปัจจุบันนั่นเอง ความภาคภูมใิ จนีก้ ำเนิดโดยรับมาจากประวัตศิ าสตร์ยคุ อาณานิคม ทีฝ่ รัง่ เศสมอบให้ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแบบสำเร็จรูป การสร้างความรูส้ กึ ร่วมสืบเชือ้ สายเขมรอันยิง่ ใหญ่หลังจากยุคอาณานิคมผ่านพ้นไปแล้ว เป็นสิง่ จำเป็นของรัฐชาติสมัยใหม่ทผ่ี า่ นความลำบากยากเข็ญมาอย่างยาวนานเช่น ประเทศกัมพูชาในทุกวันนี้ กระบวนการเคลือ่ นไหวชาตินยิ มเพือ่ สร้างเอกภาพในระหว่างผูค้ น ในพื้นที่รัฐชาติท่ีถูกกำหนดเขตแน่นอน ซึ่งประเทศยุคหลังอาณานิคมใน


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กใ็ ช้อตั ลักษณ์ดา้ นต่างๆ สร้างความรูส้ กึ เป็นหนึง่ เดียว เมือ่ ใดก็ตามที่ต้องต่อสู้กับปัญหาต่างๆ เช่นประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย โดยเฉพาะเมือ่ หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ เป็นต้นมา และประเทศไทยเองก็ไม่ได้ อยู่ในข้อยกเว้นประวัติศาสตร์แบบมหาอาณาจักรไทยหรือไทยใหญ่ไทยโต ก็เลยเป็นมรดกตกค้างทางประวัตศิ าสตร์ตอ่ มาอีกหลายทศวรรษ แม้กระทัง่ ปัจจุบัน ท่านทูตยู ออย ยังเสนออีกว่า ความขัดแย้งบริเวณชายแดนระหว่าง ไทย-กัมพูชานัน้ ล้วนเกิดขึน้ ด้วยประเด็นการแย่งชิงปราสาทพระวิหารนัน่ เอง โดยเน้นประเด็นทีอ่ ายุเมือ่ เริม่ สร้างปราสาทพระวิหารนัน้ เกิดขึน้ ก่อนสร้าง กรุงสุโขทัย ตามแบบเรียนประวัตศิ าสตร์ชาติไทยทีเ่ ราถูกให้เรียนประวัตศิ าสตร์ แบบท่องจำ อันเป็นผลผลิตมาจากยุคอาณานิคมนัน่ เอง ซึง่ อนุมานแล้วเธอก็คง อยากจะบอกว่า ปราสาทพระวิหารมีมาก่อนประเทศไทยจะถือกำเนิดขึน้ เสียอีก อีกส่วนหนึง่ ก็คอื แผนทีเ่ จ้าปัญหาในระวางหยาบๆ แบบมือเขียน โดยเดินสำรวจไม่ละเอียดอย่างแน่นอนในยุคร้อยกว่าปีมาแล้ว มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ชือ่ ระวางดงเร็ก ซึง่ ถือโอกาสลากเส้นเว้าเข้ามาต่ำกว่าขอบ สันปันน้ำในดินแดนสยาม ผิดไปจากสนธิสญ ั ญาทีเ่ คยยึดถือกัน แต่ดว้ ยไม่ได้ ยืนยัน แผนทีน่ จี้ งึ ถูกใช้เพือ่ เคลมเอาดินแดนในสันปันน้ำไปเสีย และพยายาม อย่างยิง่ เพือ่ ให้รบั รองแผนทีโ่ บราณทีไ่ ม่ได้ทำขึน้ โดยเทคโนโลยียคุ ปัจจุบนั ที่ โดยปกติทงั้ สองประเทศควรรือ้ ฟืน้ การทำเส้นเขตแดนตามข้อตกลงเจบีซนี นั้ สามารถใช้ได้ในโลกยุคที่ทั้ง GPS หรือระบบดาวเทียมเครือข่ายสามารถ ใช้งานได้ง่ายนิดเดียวในการสำรวจพื้นที่หลักฐานเพื่อสร้างภาพแผนที่ให้ ถูกต้องตามสนธิสัญญา ทัง้ หมดคือความคิดแบบหลุดโลก เข้าข้างชาติตนเองโดยไม่สนใจ กระบวนการอยู่ร่วมกันตามแบบแผนของอาเซียนที่ตนเองก็กล่าวถึงไว้ใน ช่วงท้ายๆ ไม่ทราบว่าผูค้ นในเมืองไทยจะรูบ้ า้ งไหม แผนทีน่ นั้ ยิง่ มาตราส่วน มากเท่าไหร่กจ็ ะมีความหยาบและมัว่ มากเท่านัน้ การใช้แผนทีเ่ พือ่ การสำรวจ ทีด่ นิ และทรัพยากรในปัจจุบนั จึงใช้มาตราส่วนเพียง ๑ : ๔,๐๐๐ หรือต่ำกว่า เท่านั้น เรือ่ งของแผนทีน่ บั เป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีค่ นไทยเสียโอกาสเรียนรู้ เพราะ ถูกเก็บงำเก็บเงียบอยู่ในกรมแผนที่ทหารมากว่า ๕๐ ปี และเพิ่งถูกใช้งาน หนังสือเรื่อง Cambodge The Cultivation of the Nation,1860-1945 โดย Penny Edwards ควรที่คนไทยหลายคนจะหา มาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ชาตินิยมเขมรให้มากขึ้น

มากขึน้ เมือ่ มีองค์กรอย่าง Google และเครือ่ งมืออย่าง GPS สำหรับนำทาง โดยบุกมาขอร่วมใช้โดยกลุ่มธุรกิจที่ฝ่ายทหารก็ไม่กล้าพูดอะไร แม้จะยัง ไม่ได้แก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติอันเก่าแก่ฉบับนั้น จนทุกวันนี้แผนที่ กลายเป็นของเล่นของคนมีเงินไปแล้ว แต่ก็ถือว่ายังไม่ได้ถูกนำมาเปิดเผย เพื่อเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์กันแต่อย่างใด ดังนั้นคนไทยจึงรู้เรื่องภูมิศาสตร์และแผนที่กันน้อย จนถึงอ่าน แผนทีก่ นั ไม่เป็นเลยทีเดียว ซึง่ มีผลต่อเนือ่ งไปจนถึงการเรียนรูเ้ รือ่ งประวัต-ิ ศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมแบบบกพร่องกันอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ ข้อถกเถียงพืน้ ฐานในการเรียนการสอนประวัตศิ าสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เบือ้ งต้นตามมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ตา่ งๆ ล้วนชี้ ให้เราเข้าใจว่า สิง่ ทีท่ า่ นทูตยู ออย กล่าวถึงนัน้ เป็นประวัตศิ าสตร์ทถี่ กู เขียนขึน้ โดยได้รบั อิทธิพลแบบวิคทอเรียน ซึง่ กล่าวถึงอำนาจจากจุดศูนย์กลาง ณ ทีใ่ ด ทีห่ นึง่ และบ้านเมืองทีเ่ หลือก็คอื เมืองขึน้ ซึง่ ต้องอยูภ่ ายใต้การปกครองและ รับอิทธิพลทั้งศาสนา ความเชื่อ การเมืองการปกครองแบบผู้รับหรือผู้ด้อย กว่าโดยระบบขุนนางตามลำดับ โดยไม่ให้ความสำคัญของพลวัตภายใน เช่น ปรากฏในงานของศาสตราจารย์เซเดส์ในเรือ่ ง “The Indianized State of South East Asia” ซึง่ งานทีม่ กี าร Dialogue ในเวลาต่อมาก็คอื งานของ ดี.จี.อี.ฮอลล์ เรือ่ ง “A History of South East Asia” ส่วนงานทีใ่ ช้เอกสารท้องถิน่ และเข้า ถึงประวัตศิ าสตร์โบราณมากขึน้ จนเสนอแนวคิดเรือ่ ง Mandala หรือมณฑล ของบ้านเมืองต่างๆ ในรูปแบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติมากกว่าการทำ สงครามครอบครอง และมีอาณาจักรอันไพศาลเพียงแห่งเดียวแบบที่เป็น ความคิดต้นแบบอาณานิคมของนักวิชาการฝรั่งเศส คือการศึกษาของ ศ.โอ ดับเบิล้ ยู วอลเตอส์ เรือ่ ง “History, culture, and region in Southeast Asian Perspectives” ซึ่งได้รับการขานรับและยอมรับในการเป็นแนวคิดศึกษา ประวัติศาสตร์โบราณของบ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบที่ นักศึกษาอุษาคเนย์ทุกแห่งต้องอ่านมากว่า ๒๐-๓๐ ปีแล้ว การฝังหัวทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนจากปาฐกถาของทูตชาว กัมพูชาผู้นี้ทำให้เข้าใจว่า ชาตินิยมเขมรนั้นอาการหนักกว่าชาตินิยมไทย มากนัก และอาจไม่เป็นไปตามทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์กลุม่ หนึง่ เกรงกลัวมากว่า การตอบโต้ปฏิบตั กิ ารรุกพืน้ ทีเ่ ขาพระวิหารจะทำให้คนไทยคลัง่ ชาติจนถึงขัน้ ทำอะไรที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติและดูล้าหลังกว่าชาติอื่นๆ ได้ เพราะหากรับฟังสารทีส่ อ่ื ดีๆ และไม่เอียงเข้าข้างตนเอง สารทีส่ อ่ื ออกมานีด้ ลู า้ หลังคลัง่ ชาติเขมรเสียยิง่ กว่าทีก่ ล่าวหาคนไทยกันเองเป็นไหนๆ การนำเอาประวัติศาสตร์ที่ตายไปแล้วและทำให้มีชีวิตเฉพาะ นำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ คนเล็กคนน้อยที่อยู่ในพื้นที่พิพาท หรือสร้างโลกนี้ให้เกิดสันติสุขตามที่คน ส่วนหนึง่ คิดหยาบๆ เพ้อเจ้อและฝันเฟือ่ งแต่อย่างใด กลับแต่จะสร้างเหตุผล เข้าทางผลประโยชน์เฉพาะตนหรือกลุ่มตนเท่านั้นเอง ความคิดเช่นนีไ้ ม่เคยดำรงอยูไ่ ด้อย่างยัง่ ยืน มีแต่จะเสือ่ มถอยไป เพราะไม่ยุติธรรมต่อคนที่อยู่นอกวงรอบของผลประโยชน์ ในบทความของอาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม เรือ่ ง “มรดก (รก) โลก กับ “คน” พระวิหาร” ซึ่งเขียนลงในจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ฉบับที่ ๗๓ เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑ สามปีกว่าทีผ่ า่ นมา บทความนี้ยังทันสมัยและล่วงสมัยเสมอ อาจารย์กล่าวถึงประวัติศาสตร์ที่ เป็นมรดกมาจากยุคอาณานิคมว่า คนท้องถิ่นมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาแต่ดั้งเดิมและยังคงอยู่ อย่างต่อเนือ่ ง แม้เวลาจะเปลีย่ นแปลงและล่วงเลยมานับหลายศตวรรษ ก่อนจะมีการแบ่งเขตแดน อันเป็นผลผลิตของประวัตศิ าสตร์อาณานิคม ของฝรัง่ เศสและประวัตริ ฐั ชาติของไทยและเขมรทีม่ อี ายุรอ้ ยกว่าปีมานีเ้ อง ประวัตศิ าสตร์อาณานิคมของฝรัง่ เศสไม่เคยเอือ้ อาทรกับคนท้องถิ่นสองฟากพนมดงเร็ก แต่กลับอ้างพระราชอำนาจของกษัตริย์วรมันแห่ง


เมืองพระนครทีเ่ สียมเรียบ ว่าสร้างปราสาทพระวิหารขึน้ เพือ่ ประกอบ พระเดชานุภาพเหนือผู้คนและดินแดนทั้งสองฟากพนมดงเร็ก คนพนมเปญอาศัยความใกล้ชิดกับฝรั่งเศสในยุคอาณานิคม ก็เลยสานต่อความยิง่ ใหญ่ของเขมรด้วยการอ้างความชอบธรรม ของกษัตริยว์ รมันทีส่ ญ ู หายไปช้านานแล้ว ว่าดินแดนทีร่ าบสูงโคราช และแม้แต่ดินแดนภาคกลางของประเทศไทยก็เคยอยู่ในแผ่นดิน เขมรมาก่อน ทุกวันนี้นักวิชาการรุ่นใหม่ของเขมรและคนเขมรเป็น จำนวนมากที่มีปมด้อยในความเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจก็มักจะ แสดงอาการคลั่งชาติเขมรด้วยความเชื่อเช่นนี้ ในขณะเดียวกัน นักประวัติศาสตร์โบราณคดีของฝรั่งยุค อาณานิคมก็เขียนประวัติศาสตร์ชนชาติไทยว่าเป็นพวกที่ถูกขับไล่ จากดินแดนประเทศจีนเข้ามาในดินแดนขอมสมัยกษัตริย์วรมัน มาเป็นขีข้ า้ คนขอม ต่อมาจึงตัง้ ตัวเป็นอิสระทีส่ โุ ขทัย ซึง่ นักปราชญ์ และนักประวัตศิ าสตร์แต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมาก็เชือ่ เช่นนัน้ จึงเกิด การสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยแบบไทย-ไทย ไทยใหญ่ ไทยโต ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงหาจุดเด่นและ เหตุการณ์ทางการเมืองสมัยอยุธยากับสมัยกรุงเทพฯ มาอธิบายข่ม พวกขอม เขมร บ้าง ในช่วงเวลาทีเ่ ขมรต้องมาเป็นเมืองขึน้ และขีข้ า้ ไทยบ้าง ทำให้เกิดการขัดแย้งและตอบโต้กนั บ่อยๆ ดงั เช่นกรณีปราสาท พระวิหารในขณะนีท้ ท่ี างเขมรไม่ทวงเฉพาะปราสาทพระวิหารเท่านัน้ แต่ทวงภาคอีสานทั้งหมดเลย เพราะหลายๆ พื้นที่มีปราสาทขอม มีจารึกขอมแสดงหลักฐานให้เห็น เพราะทางเขมรเห็นว่ากษัตริย์วรมันยังเรืองอำนาจอยู่ใน ลักษณะอมตะนิรนั ดร์กาล ส่วนทางไทยก็ตอบโต้ดว้ ยประวัตศิ าสตร์ สมัยกรุงเทพฯ ที่เขมรเคยอยู่ในราชอาณาจักรไทยและข่มขู่จะรุก เข้าไปยึดเสียมราฐ พระตะบอง คืนมา อาการคลัง่ ชาติจงึ เกิดด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย เราศึ ก ษาชาติ นิ ย มไทยกั น มามากและบั ญ ญั ติ ศั พ ท์ ต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย แต่เราไม่เคยเข้าใจกัมพูชาว่าทำไมทุกวันนี้ นักการเมืองในฝ่ายรัฐบาลของประเทศนี้จึงแสดงปฏิกิริยาในการ เห็น “คนไทยเป็นคนอื่น” จนถึงขั้นเกลียดชัง ความเข้าใจในชาตินยิ มเขมรจึงสำคัญมากพอๆ กับความ เข้าใจในตนเองจากกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารนี้ อาการคลัง่ ชาติทงั้ สองฝ่ายไม่ได้นำไปสูก่ ารแก้ปญ ั หาอย่าง ถาวร การแตะเพียงประเด็นการคลัง่ ชาติฝา่ ยไทยจึงกลายเป็นเลือก เฉพาะประเด็น เพือ่ ชีน้ วิ้ สาดโคลนกล่าวหาผูใ้ ดผูห้ นึง่ ให้เป็นคนคลัง่ ชาติหรือพวกล้าหลังไม่ทันโลกยุคชุมชนจินตนาการที่คงมีความไม่ ชอบมาพากลบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ ในบรรทัดฐานทางจริยธรรมของนักวิชาการ ความกล้าหาญ ในวิชาชีพก็คอื การนำเสนอข้อมูลทีว่ เิ คราะห์วจิ ยั อย่างรอบด้านและ สม่ำเสมอ ไม่เอนเอียงไปในทางเสือ่ มเสีย และยืนยันในสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ฤดูกาล อันหมายถึงแรงกดดันรอบทิศอย่างไร ก็ตาม และในความกล้าหาญนั้น ผลประโยชน์ของส่วนรวมต้องมา ก่อนประโยชน์ส่วนตนเสมอ ปาฐกถาของทูตยู ออย ในครั้งนี้จึงกลายเป็นมาตรวัด จริยธรรมของนักวิชาการไทยได้อย่างทั่วถึง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

ครูบาบุน่ จางหมาย

“เจ้าผ้าลาย” ตนบุญแห่งขุนยวม

ครูบาผ้าลายเมื่อยังครองผ้าเหลือง

วันที่ ๒๖–๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ทีผ่ า่ นมา ชาวขุนยวมนำโดยคณะสงฆ์

จองขุ่ม (วัดขุ่ม) ร่วมฉลองบุญใหญ่สมโภชและพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรูป ครูบาคำหมาย ภทฺทิโย หรือในภาษาไทใหญ่ขนานนามท่านว่า “บุ่นจาง -หมาย” (“บุน่ จาง” หมายถึงพระสงฆ์ “หมาย” คือชือ่ ของท่าน “คำหมาย”) บ้างเรียกท่านว่า “อูปัตติโย” ฉายาในทางสงฆ์ที่ตรงกับคำว่า “ภัททิยะ” แต่คนในท้องถิ่นมักเรียกท่านว่า “หวุ่นเจ้าผ้าลาย” ที่หมายถึง ครูบาเจ้าผ้าลาย อันเนื่องมาจากการนับถือว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ สามารถละซึ่งกิเลสทุกอย่างได้ แม้แต่ผ้าเหลืองอันเป็นเครื่องนุ่งห่มของ สงฆ์ ท่านก็ยังถอดมาใส่ชุดชาวบ้านเพศหญิงแทน ความแปลกที่ร่ำลือใน เรื่องการละวางดังกล่าวทำให้ได้รับการนับถือไปทั่วประเทศ นอกเหนือไป จากในอำเภอขุนยวมและพื้นที่ใกล้เคียง ท่านเกิดเมือ่ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๒ โยมบิดามารดาเป็นชาว ไทใหญ่ที่ข้ามมาจากพม่า ตามใบสุทธิระบุว่า บวชเณรที่วัดคำใน ในอำเภอ ขุนยวมแล้วไปเรียนต่อทีพ่ ม่า อุปสมบทเมือ่ อายุ ๒๐ ปี ณ วัดกานกี อำเภอ หย่องส่วย เมือ่ กลับมาขุนยวมได้จำพรรษาอยูท่ วี่ ดั ขุม่ แต่ในเอกสารประวัติ ครูบาผ้าลายระบุวา่ เมือ่ อายุได้ ๗ ปี บรรพชาเป็นสามเณรทีว่ ดั บ้านเกิดโยม บิดามารดาในพม่า ฝึกเจริญอานาปานสติ และ สติปฏั ฐาน ๔ ต่อมากลับมา ขุนยวมโดยจำพรรษาที่วัดจองขุ่มหรือวัดขุ่ม เดิมครูบาผ้าลายท่านครองผ้าสีกรักเช่นเดียวกับพระภิกษุทั่วไป แต่มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านได้เห็นเหตุการณ์ผัวเมียทะเลาะกัน ฝ่ายผัว ฆ่าเมียตายต่อหน้าท่าน ด้วยความสะเทือนใจ จึงหันมานุ่งผ้าลายผัดหน้า ทาแป้งแบบผู้หญิง ในขณะที่อาจารย์ธำรง บุญพิทักษ์ ลูกชายของอดีตโยมอุปัฏฐาก ผูอ้ ยูร่ ว่ มสมัยเล่าในทัศนะของตนว่า เดิมครูบาเคยห่มผ้าเหลืองมาก่อน แต่ ปรากฏว่าพระสงฆ์ห่มผ้าเหลืองโดยทั่วไปมักทำผิดเสื่อมเสียมาก จึงเลิก ครองผ้าเหลืองเพือ่ จะได้ไม่ตอ้ งร่วมสังฆกรรมกับคณะสงฆ์ โดยหันมาครอง ผ้าขาวก่อนแล้วจึงนุ่งผ้าถุงที่มีลักษณะผ้าลาย ส่วนพระเกษม ปิยธมฺโม เจ้าอาวาสวัดขุ่มองค์ปัจจุบันซึ่งเคย เป็นเณรลูกวัดสมัยที่ครูบาผ้าลายยังไม่ละสังขารกล่าวว่า ท่านต้องการ “ออกจากโลก” คือการละภาระติดข้องต่างๆ ของสงฆ์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามวัตรปฏิบตั ดิ า้ นอืน่ ๆ ของท่านยังคงเป็นไปตามแนว ทางสติปฏั ฐาน ๔ หรือการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมในปัจจุบนั ขณะ โดย ไม่มกี ารสมมติถงึ การเป็นของเขาและเรา การชอบหรือชัง และให้เห็นถึงการ


ครูบาผ้าลายในเครื่องแต่งกายแบบผู้หญิงกำลังตักน้ำ ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวัน ของท่าน

เกิดขึน้ ตัง้ อยู่ ดับไปของสภาวะทัง้ สี่ ชาวบ้านเชือ่ ถือว่า ท่านหลุดพ้นจากการ ติดข้องในรูปนามและพระวินัย โดยเฉพาะอุปนิสัยเป็นผู้ที่อยู่ในพระธรรม วินัยทางศาสนา เป็นผู้ประพฤติดี สมถะ อ่อนโยน ไม่แสดงตนต่อสายตา บุคคลภายนอกมากนัก เป็นที่เล่าขานกันว่า ครูบาผ้าลายจะไม่สอนธรรมะด้วยคำพูด แต่จะสอนด้วยการปฏิบัติให้เป็นปริศนาธรรม เช่น เมื่ออาจารย์ศรีสะอาด แสวงศรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลขุนยวม โยมอุปัฏฐากของวัด จะเดินทางไปปฏิบตั ธิ รรมทีส่ ำนักคุณแม่สริ กรินชัย ครูบาเจ้าได้ให้กระจก แก่อาจารย์ ซึ่งมีความหมายถึงการพิจารณากายจิตของตัวเอง อันเป็นกิจ หลักในการปฏิบัติ ไม่ต้องไปดูอย่างอื่นหรือผู้อื่น หรือกับพระเกษม ปิยธมฺโม เจ้าอาวาสวัดจองขุ่มรูปปัจจุบัน เมือ่ ครัง้ ยังบวชเป็นเณร ท่านได้สอนให้ทำความสะอาดวัดทัง้ นอกและในกุฏิ หลายรอบอย่างประณีต ซึง่ เป็นปริศนาหมายถึงการชำระทัง้ กายและจิตให้ สะอาดเสมอ โดยเจ้าอาวาสวัดขุ่มได้อธิบายว่า ครูบาผ้าลายเคยสอนด้วย คำพูดมาก่อน แต่คนไม่ให้ความสนใจมากนัก ท่านจึงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ การสอนด้วยการกระทำให้เป็นปริศนาธรรมนีจ้ ะเป็นประโยชน์แก่ผทู้ สี่ นใจ พระธรรมให้ลึกซึ้งมากกว่า และเป็นสิ่งที่ติดตัวมากกว่าคำพูด นอกจากนีท้ า่ นยังเป็นผูท้ ไี่ ด้ชอื่ ว่าหยัง่ รูส้ ภาวะจิตของคนได้ เช่น เคยมีพระสงฆ์รูปใหม่ซึ่งเป็นอดีตนักโทษจากเรือนจำมาบวชที่วัดจองขุ่ม และอยากฝากตัวเป็นศิษย์ทา่ น แต่เกรงว่าครูบาจะรังเกียจ จึงไม่กล้าขอเป็น ศิษย์ เมื่อพระภิกษุรูปนั้นกำลังเดินจงกรม ครูบาได้เรียกให้ไปหาดอกไม้ ธูปเทียนมาหาท่าน จากนั้นท่านได้รับเป็นศิษย์ราวกับรู้ถึงจิตใจ วัตรปฏิบตั หิ นึง่ ทีพ่ ดู ถึงกันมากคือการตักน้ำละลายแป้งรดตัวโยม เมือ่ ท่านจะต้อนรับโยมจะเตรียมถังน้ำละลายแป้ง ๒-๓ ถัง แล้วจะคอยเอาน้ำ รดตัวโยมทีม่ าเยือน กล่าวกันว่า ท่านรดน้ำมากน้อยตามกิเลสทีม่ ากน้อยของ บุคคลนัน้ ๆ จึงปรากฏว่ากิจวัตรเฉพาะตัวของท่านอีกอย่างหนึง่ คือการตักน้ำ ใส่ถังอยู่เสมอ ท่านจะรับสิ่งของที่มีผู้ถวายเท่าที่จำเป็น หากสิ่งใดมีอยู่แล้วก็จะ ไม่รบั ของถวายนัน้ หรือหากมีสงิ่ ทีต่ อ้ งการจะแจ้งให้เอามาถวายเอง หากของ ที่ถวายเกินจำนวนที่ต้องการ ท่านจะเทหรือโยนลงทางหน้าต่างกุฏิ ในแต่ ละวันท่านจะฉันอาหารมื้อเดียวคือมื้อเพล และมักจะไม่ออกไปธุดงค์หรือ รับกิจนิมนต์ที่ไหน เพราะท่านครองผ้าต่างจากพระสงฆ์ทั่วไป ยกเว้น ครั้งหนึ่งที่อาจารย์ธำรง บุญพิทักษ์ ได้นิมนต์ท่านไปงานศพคนที่ท่าน

คุ้นเคย โดยท่านไม่ต้องร่วมพิธีสงฆ์กับพระภิกษุรูปอื่นๆ เมือ่ ครูบาผ้าลายยังไม่ละสังขาร ผูค้ นในขุนยวมและพืน้ ทีใ่ กล้เคียง จำนวนมากต่างนับถือท่านโดยไม่มขี อ้ สงสัยหรือรังเกียจทีท่ า่ นปฏิบตั ติ า่ งไป จากพระภิกษุทั่วไป ด้วยพื้นฐานของคนไตเมืองขุนยวมที่ผูกพันกับพุทธศาสนาอันเป็นชีวติ วัฒนธรรมมากกว่าคนกลุม่ อืน่ ๆ มีความนิยมเข้าวัดทุกวัน พระเพือ่ ฟังธรรม ปฏิบตั สิ มาธิ และวิปสั สนา การจำลองพระพุทธเจ้าในแทบ ทุกงานบุญ รวมทั้งการดำรงศีล ๕ เป็นกิจวัตรหลัก อย่างไรก็ตามมีผคู้ นจำนวนหนึง่ ตัง้ ข้อสงสัยถึงจริยวัตรของครูบาผ้าลาย โดยมองท่านเป็นผีบา้ ผีบญ ุ ดังนัน้ สถานะของครูบาผ้าลายเมือ่ ยังไม่ละ สังขารจึงเป็นอาจารย์สำคัญเฉพาะในพืน้ ทีว่ ดั ขุม่ และมีผนู้ บั ถืออย่างเงียบๆ เท่านั้น ครูบาผ้าลายมรณภาพเมือ่ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ ปรากฏว่าเมือ่ ปลงศพแล้ว อัฐิท่านมีสภาพเป็นผลึกใสเช่นเดียวกับธาตุของพระอริยสงฆ์ ปรากฏการณ์อัฐิธาตุดังกล่าว กระแสการนับถือครูบาผ้าลายจึง แพร่หลาย แม้แต่ผทู้ ไี่ ม่เคารพศรัทธามาก่อน การร่ำลือบอกกล่าวจากหมูน่ กั ปฏิบัติท้องถิ่นไปสู่ชาวบ้านผู้หวังพึ่งพุทธคุณและนักเลงพระภาคเหนือ สถานะของครูบาผ้าลายจึงกลายเป็นบุคคลสำคัญหรือ “ตนบุญ” แห่งขุนยวม และภาคเหนืออย่างไร้ข้อกังขา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ทางวัดขุม่ จึงดำริรว่ มกับชาวขุนยวม ทัง้ วัด ใกล้เคียง สถานศึกษา กำนันผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล หน่วยงานราชการ และ ประชาชนทัว่ ไป สร้างมณฑปพิพธิ ภัณฑ์ครูบาคำหมาย ภทฺทโิ ย หรือครูบาผ้าลายขึน้ ณ บริเวณทีเ่ คยเป็นทีต่ งั้ กุฏซิ งึ่ ครูบาได้จำพรรษาอยูใ่ นวัดจองขุม่ เพือ่ เป็นอนุสรณ์สำหรับตนบุญอริยสงฆ์แห่งท้องถิน่ โดยจะมีการประดิษฐาน อัฐิธาตุและเครื่องบริขารของท่าน ทางวัดขุม่ ได้สร้างวัตถุมงคลครูบาผ้าลายขึน้ เพือ่ ให้สาธุชนได้เช่า เพือ่ เป็นทุนสำหรับการจัดสร้างพิพธิ ภัณฑ์ โดยท่านเจ้าอาวาสได้ยำ้ ว่าไม่ได้ เป็นการสร้างวัตถุมงคลเพื่อธุรกิจ และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์จึงจัดให้มีพิธี พุทธาภิเษกและพิธีวางศิลาฤกษ์ตั้งแต่วันที่ ๒๖-๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยพระเครือ่ งจะมีรนุ่ ต่างๆ ได้แก่ พระทอง พระเงิน พระผง ล็อกเก็ต และ ภาพถ่ายครูบาผ้าลาย โดยพระเครือ่ งทุกรุน่ และล็อกเก็ตจะมีมวลสารทีเ่ จือ ด้วยอัฐิธาตุ เส้นเกศา และผ้าที่ครูบาเคยนุ่งห่ม ลักษณะของพิธีกรรมจะมีการจุดเทียนชัยสวดคาถาพุทธาภิเษก พระเครื่องรางและวัตถุมงคลสามวัน ในวันแรกคือวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เริม่ จากการประกาศเทวดาในบริเวณทีจ่ ะก่อสร้างพิพธิ ภัณฑ์ในเวลา ประมาณบ่ายโมง จากนั้นบ่ายโมงครึ่งจึงทำพิธีจุดเทียนชัยและเริ่มสวด พุทธาภิเษกรอบมณฑลพิธใี นศาลาการเปรียญ ซึง่ ได้ประดิษฐานพระเครือ่ งรางและวัตถุมงคลที่จะปลุกเสกคาถาพุทธาภิเษกไว้ บนเพดานศาลาการเปรียญช่วงมณฑลพิธีขึงสายสิญจน์และผ้ายันต์ ประมาณบ่ายสามโมงครึ่ง จึงสวดเสร็จ ในวันรุง่ ขึน้ ยังคงสวดพุทธาภิเษกในลักษณะและช่วงเวลาเดียว กับวันแรก ซึ่งสองวันนี้ปรากฏว่ามีญาติโยมประมาณ ๒๐๐ คนมาร่วมพิธี ส่วนมากเป็นสีกาในวัย ๖๐ ปีขึ้นไป ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายนซึ่งเป็นวันสุดท้ายมีพิธีวางศิลาฤกษ์ราว ๐๙.๐๐ น. ในช่วงบ่ายสวดพุทธาภิเษกเช่นเดียวกับวันที่ ๒๖ จากนัน้ จึงเป็นพิธี ดับเทียนชัยและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ หลังจากเสร็จพิธพี ทุ ธาภิเษกแล้ว จึงนำพระเครือ่ งรุน่ ต่างๆ แจกจ่ายให้แก่ผทู้ สี่ งั่ จอง ในขณะทีญ ่ าติโยมหลายคน ได้แบ่งแยกธง ผ้ายันต์ และสายสิญจน์นำกลับไปที่บ้าน พระภิ ก ษุ ส งฆ์ ที่ เ ข้ า ร่ ว มพิ ธี น อกจากคณะสงฆ์ วั ด ขุ่ ม และวั ด ใกล้เคียง เช่น วัดคำใน วัดม่วยต่อ วัดโพธาราม วัดต่อแพ วัดเมืองปอน แล้ว ยังมี พระสงฆ์ระดับเกจิจากวัดสำคัญในประเทศ ได้แก่ พระครูนิสัยสรนาถ วัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ครูบาพระมหาทองสุข สิรวิ ชิ โย เจ้าอาวาส วัดบวกครกน้อย จังหวัดเชียงใหม่ (เป็นญาติชั้นเหลนของครูบาศรีวิชัย


ตนบุญแห่งล้านนา) พระครูสริ ศิ ลี สังวร (ครูบาน้อย เตชปญฺโญ) เจ้าอาวาส วั ด ศรี ด อนมู ล จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ หลวงพ่ อ พยนต์ วั ด หล่ า ยหนองหมี จังหวัดพิจิตร เป็นต้น แม้ครูบาผ้าลายจะก้าวสู่สถานะศักดิ์สิทธิ์หลังจากละสังขารจนมี พิธกี รรมอันยิง่ ใหญ่ แต่มผี ทู้ ศี่ กึ ษาพระศาสนาอย่างลึกซึง้ บางท่านในท้องถิน่ เห็นต่างไปว่า ครูบาผ้าลายไม่นา่ จะใช่พระอริยะ โดยมีเหตุผลว่าไม่เคยมีพระ อริยะองค์ใดละทิง้ ผ้าเหลืองอันเป็นสัญลักษณ์แห่งหมูค่ ณะของสงฆ์ และไม่ ประพฤติตนนอกเหนือจากวินัยสงฆ์อย่างสงบ ตั้งแต่พระอรหันตสาวกใน สมัยพุทธกาล แม้พระอริยะในระยะเวลาอันใกล้ เช่น พระอาจารย์มั่น ภูรทิ ตฺโต พระอาจารย์ชา สุภทฺโท ท่านก็ไม่ละทิง้ ผ้าเหลืองและไม่แยกตัวจาก คณะสงฆ์ เว้นเสียแต่พระภิกษุบางรูปที่ถูกภัยต่างๆ บังคับ ทั้งนี้เพราะวิถี แห่งสงฆ์ยอ่ มเป็นหนทางทีส่ อดคล้องกับจิตระดับพระอรหันต์หรือพระอริยะ มากทีส่ ดุ แล้ว รวมทัง้ เป็นการรักษาพุทธบริษทั สี่ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา) อันเป็นรากฐานค้ำจุนพระพุทธศาสนา ต่างจากครูบาผ้าลายทีล่ ะทิง้ ผ้าเหลืองเพื่อแยกตัวจากคณะสงฆ์และมีพฤติกรรมที่แปลกแยกอื่นๆ เช่น ผัดหน้า ไว้มุ่นผมอย่างผู้หญิง หรือคอยตักน้ำเป็นกิจวัตรแทนที่จะเจริญ พระกรรมฐาน ส่วนทีว่ า่ เมือ่ เผาศพแล้วอัฐมิ สี ภาพเป็นผลึกใสอาจเป็นเพราะ ครูบาบรรลุฌานสมาบัตบิ างประการ ซึง่ ฤๅษีหรือพราหมณ์ทไี่ ม่ได้อยูใ่ นพระพุทธศาสนาก็สามารถบรรลุได้เช่นกัน และการบรรลุเพียงฌานก็ไม่ใช่การ

ยกระดับจิตไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ ในส่วนความเห็นเกีย่ วกับพิธพี ทุ ธาภิเษกนัน้ มีวา่ หากครูบาผ้าลาย สามารถบรรลุสู่ความเป็นอริยบุคคลได้จริง ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งที่จะจัดพิธี พุทธาภิเษก ทัง้ นีร้ วมถึงการสร้างพระพุทธรูปและพระเครือ่ งอืน่ ๆ ด้วย แม้แต่ พิธีเบิกเนตรก็ไม่สมควรจัดขึ้น เพราะพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ต่างได้ พุทธาภิเษกพระองค์เองด้วยการบรรลุอริยผลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามไม่วา่ ครูบาเจ้าผ้าลายจะดำรงสถานะพระอริยะหรือ ไม่ หากสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ แก่ชมุ ชนขุนยวมไปจนถึงจังหวัดใกล้เคียงก็คอื การเรียนรู้ และสะท้อนถึงความศรัทธาแบบท้องถิ่นและสำนึกร่วมในการเคารพครูบาผ้าลาย ผูถ้ กู มอบความศรัทธาให้เป็นตนบุญ ซึง่ พิธพี ทุ ธาภิเษกและการสร้าง พิพธิ ภัณฑ์อฐั ธิ าตุครูบาผ้าลายในครัง้ นี้ ย่อมเป็นประจักษ์พยานถึงการสร้าง ความศรัทธาแบบท้องถิน่ ขุนยวมเพือ่ สืบสานความทรงจำในครูบาผ้าลายไปสู่ ลูกหลานต่อไป วันใหม่ นิยม ขอขอบพระคุณ พระเกษม ปิยธมฺโม เจ้าอาวาสวัดขุ่ม พ่อครูธำรง บุญพิทักษ์

ปกาเกอะญอห้วยหินลาดใน : การกูช้ าติภมู ขิ องคนตัวเล็ก มนุษย์ทกุ คนมี “ชาติ” หรือ “ชาตะ” ทีห่ มายถึงการได้เกิด มนุษย์ทกุ คนมี “ภูม”ิ คือแผ่นดิน

หมู่บ้านห้วยหินลาดในท่ามกลางผืนป่าชุมชนและสวนชา

ชาตะและภูมคิ อื “ชาติภมู ”ิ จึงหมายถึง แผ่นดินถิน่ เกิดของตน ชาวปกาเกอะญอแห่ง ห้วยหินลาดในคือตัวอย่างหนึง่ ของการต่อสูก้ อบกูช้ าติภมู คิ อื แผ่นดินถิน่ เกิดของพวกเขา กลุม่ บ้านห้วยหินลาดประกอบด้วย บ้านห้วยหินลาดใน บ้านห้วยหินลาดนอก บ้านผาเยือง อยูใ่ นเขตตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนทีอ่ ยู่ ท่ามกลางหุบเขาสลับซับซ้อนในบริเวณต้นน้ำแม่ลาวที่ไหลลงสู่น้ำแม่โขง ประชากรหนึง่ ร้อยคนของหมูบ่ า้ นห้วยหินลาดในเป็นชาวปกาเกอะญอผูน้ บั ถือ พุทธศาสนา นับถือสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิใ์ นธรรมชาติ มีการประกอบพิธกี รรมเลีย้ งผีปา่ ผีนำ้ ผีไร่ การผูกข้อมือสูข่ วัญ และยังคงยืนหยัดต่อสูเ้ พือ่ แสดงความรักต่อแผ่นดินถิน่ เกิดของตน ที่สืบทอดมากว่าศตวรรษ และเมื่อมีผู้รุกราน พวกเขาจะนิ่งเฉยไม่ไยดีได้อย่างไร

การรุกราน

การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ไม่ใช่ปกาเกอะญอ

ท่ามกลางวัฒนธรรมประเพณี ชาวปกาเกอะญอห้วยหินลาดในมีวถิ ชี วี ติ ผูกพัน กับทรัพยากรธรรมชาติ กระบวนการรุกรานยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ความ ชอบธรรมของกฎหมาย แม้จะรูก้ นั ดีวา่ ฐานทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิง่ สำคัญในการดำรง ชีวติ การใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นและไม่รบั ผิดชอบย่อมทำให้เกิดความเสือ่ มโทรม อย่างรวดเร็ว ปัจจุบนั พบว่าสองข้างทางถนนสายเชียงใหม่-เชียงรายนัน้ ปรากฏภูเขาโล่ง เตียนซึง่ ถูกแผ้วถางเพือ่ ทำไร่กนั อย่างกว้างขวาง และพืน้ ทีภ่ าคเหนือส่วนอืน่ ๆ อีกจำนวน มากก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน


เมือ่ มีการบุกรุกพืน้ ทีเ่ พือ่ ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดีย่ ว เช่น ข้าวโพด ไร่ขิง ยาสูบ บนป่าเขาที่สูง ป่าก็ถูกทำลายมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตและ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป สายสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าก็ตัดขาด จากกัน กระบวนการดังกล่าวกินเวลานับกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ราว พ.ศ. ๒๕๑๗ ถนนเชือ่ มต่อระหว่างแอ่งทีร่ าบเมืองพร้าวและ แอ่ ง ที่ ร าบเวี ย งป่ า เป้ า ตัดผ่านป่าเขาอันสูงชันผ่านเข้ามายังหมู่บ้านอัน ห่างไกล ซึ่งไม่เพียงทำให้คนเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ได้ง่ายเท่านั้น แต่ที่สำคัญ ถนนยังนำระบบคิดต่างๆ เข้ามา ถูกโปรยหว่านตามรายทาง การลักลอบตัด ไม้ปา่ มากขึน้ การปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดีย่ วทีม่ งุ่ หวังแต่ผลกำไร โดยเฉพาะ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๒ ซึ่งทางราชการได้ให้สัมปทานป่าแก่บริษัท เชียงรายทำไม้ ทำให้ป่าที่ชุมชนห้วยหินลาดในรักษาไว้ถูกทำลายจำนวน มาก และคนจากภายนอกก็เข้ามาหาหน่อไม้ขายอย่างไม่รบั ผิดชอบ ก่อความ เสียหายแก่ปา่ อย่างมหาศาล เป็นระบบคิดทีไ่ ม่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ เพราะ เข้าไปควบคุมและกอบโกย จึงมีลกั ษณะของการใช้ประโยชน์แบบทำลายล้าง การเข้ามาของถนน ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์ เทคโนโลยีตา่ งๆ และ คนแปลกหน้าอันเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย มีกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง จำนวนมากทีใ่ ช้ชวี ติ ในหลุมพรางดังกล่าว สิง่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปคือหลายกลุม่ หลายชุมชนต้องทำงานหนักเพื่อขายแรงงาน เป็นเบี้ยล่างเพื่อหาเงินส่งให้ ลูกหลานเรียนหนังสือ ผ่อนสินค้า จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าปัจจัยการผลิต และใช้หนี้ ปัจจุบนั ความหวังใหม่ของชาวเขาและชาวพืน้ ราบคือพืชเศรษฐกิจ ตัวใหม่ เช่น ยางพารา กำลังรุกขึน้ ให้เห็นบนผืนไร่นาเก่าแก่ ทุกวันนีย้ างพารา กิโลกรัมละ ๑๓๐-๑๖๐ บาท (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) นับว่าเป็นพืช เศรษฐกิจแห่งความหวังที่เกษตรกรในหลายพื้นที่อยากนำเข้ามา โดยเห็น แพร่หลายมากแล้วในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับในอำเภอเวียงป่าเป้าพบว่ามีเกษตรกรบางรายโค่นลำไยหลายสิบไร่ทงิ้ เพือ่ สร้างฝันให้แก่ ตนเองด้วยยางพารา บางรายนำร่องในการกรีดยางไปบ้างแล้ว และอีก หลายรายพร้อมกรีดในอีกสองสามปีข้างหน้า การรุกรานดังกล่าวยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าว่า จะรามือลง ผู้คนยังคงสาละวนอยู่กับการหาเงินด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจ เชิงเดีย่ วทีม่ ที งั้ คิดหาปลูกกันเองและนายทุนเข้ามาสนับสนุนให้ปลูก โดยไม่มี เวลามานัง่ คิดทบทวนอนาคตของตนทีจ่ ะต้องอยูต่ อ้ งกินในแผ่นดินถิน่ เกิดนี้ ไปอีกนานเพียงไร ลูกหลานในรุน่ ต่อไปจะอยูก่ นั อย่างไร การหาเงินให้ได้ใน แต่ละวันคือความจำเป็นของแต่ละครอบครัว

การกอบกู้

๑๐

“เราไปช้าๆ ถ้าคนใจร้อนจะเห็นว่าไม่ทันกินเขา ปัญหาหลายอย่างสะสมเป็นร้อยๆ ปี แก้ไขก็เป็นเรื่องยาก ต้องใช้เวลา” ด้วยความกังวลต่อสถานการณ์ขา้ งต้น ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ ชาวปกาเกอะญอห้วยหินลาดในเพียงหยิบมือหนึ่งได้ร่วมกันดูแลจัดการควบคุมป่า อย่างเข้มงวดเพือ่ ไม่ให้ถกู รุกราน จนสามารถรักษาป่าไว้ได้ถงึ ๑๐,๐๐๐ ไร่ และเป็นแหล่งอาหารให้แก่ชุมชนอย่างอุดมสมบูรณ์ โดยชุมชนกำหนด ขอบเขตไว้เป็น “ป่าชุมชน” ซึง่ แตกต่างจากชุมชนอืน่ ๆ ก่อนทีจ่ ะเข้ามาสูห่ ว้ ย หินลาดในอย่างสิ้นเชิง แต่ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางราชการเข้ามาบอกว่าจะประกาศพืน้ ทีเ่ ป็น เขตอุทยาน แต่ราชการก็หาได้คดิ ก่อนไม่วา่ ป่าทีเ่ หลืออยูน่ นั้ คือป่าทีช่ าวปกาเกอะญอห้วยหินลาดในดูแลรักษาเอาไว้ ดังนัน้ จึงทำให้ชาวบ้านกลัวกันมาก แต่ก็มีการประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนแจใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัญหา เช่นเดียวกับความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐทีม่ ใี ห้เห็นทัว่ ประเทศ เพราะ

ไปประกาศเขตทับที่ทำกินของชาวบ้าน ชาวบ้านมีความกังวลต่อชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ จึงเข้าร่วมเรียกร้องกับสมัชชาคนจนทีห่ น้าทำเนียบรัฐบาล รวมเวลา ๙๙ วัน เพื่อบอกว่า “ได้ไม่ได้เราก็จะอยู่อย่างนี้ เราจะดูแลรักษา ของเราต่อไปอย่างนี”้ ซึง่ เป็นการยืนยันและทวงหาความยุตธิ รรมในฐานะ ผู้ดูแลรักษาป่าและผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินถิ่นเกิดมานับศตวรรษ ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ได้รบั การคลีค่ ลายมาโดยตลอดด้วยการ ต่อสู้ของแกนนำชุมชน กลุ่มเยาวชนและทุกคนในหมู่บ้านร่วมปรึกษา หารือถึงแนวทางการต่อสู้ ถกปัญหากันอย่างจริงจังรอบ “สภากองไฟ” ท่ามกลางค่ำคืนอันหนาวเหน็บ แกนนำกล่าวว่า “เราไม่อยากเรียกว่า ‘ต่อสู’้ เราจะใช้คำว่า ‘อธิบายให้เข้าใจ” สถานการณ์ต่อจากนั้นจึงกลายเป็นว่า เมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว เจ้าหน้าทีบ่ างคนยังเสนองบประมาณในการดูแลรักษาป่าให้ ซึง่ แสดงให้เห็น ว่าวิธีคิดที่ชัดเจนและท่าทีที่สุภาพและนิ่มนวล เป็นการพิสูจน์ถึงความเป็น มิตรต่อธรรมชาติและต้องการเป็นอยู่อย่างสันติโดยไม่สร้างปัญหา การดูแลรักษาป่าของชุมชนห้วยหินลาดในนัน้ ถือเป็นวิถชี วี ติ แบบ ดัง้ เดิมของชาวปกาเกอะญอทีผ่ กู พันและอยูก่ บั ป่าแบบพึง่ พาอาศัย เป็นการ จัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือ ธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นแบบแผนอันเป็นขนบจารีตในการทำมาหากิน คือมี พืน้ ทีไ่ ร่ขา้ วหมุนเวียนอยูบ่ ริเวณหนึง่ สวนชา ทีน่ า พืน้ ทีบ่ า้ นเรือน และมีการ ทำแนวกันไฟรอบหมูบ่ า้ นตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะเดียวกันก็มกี ฎเกณฑ์ทรี่ ว่ ม กันเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร มีการทำแผนที่จำลองภูมิประเทศ มีการ จัดตั้งคณะกรรมการดูแลป่าชุมชน มีการทำฐานข้อมูลป่าชุมชน มีการ ประสานภาคีภายนอกทัง้ ภาครัฐและเอกชน และมีกระบวนการสร้างความ เข้าใจให้กบั สังคมภายนอกด้วยท่าทีสภุ าพถ่อมตนเป็นตัวของตัวเอง เช่น การ บวชป่า การสืบชะตาป่า เลีย้ งผีนำ้ ทำขวัญป่า เป็นต้น โดยมีแกนนำและกลุม่ เยาวชนเป็นเรี่ยวแรงสำคัญ ตลอดทั้งมีการทำงานด้านเครือข่ายด้วยหลัก แนวคิดของวิถีชีวิตแบบพอเพียงที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างรู้จักประมาณตน ทุกวันนีค้ ลืน่ การรุกรานแบบทำลายล้างจากภายนอกยังคงเคลือ่ น ตัวไปอย่างต่อเนือ่ งและเชีย่ วแรง ชาวปกาเกอะญอตัง้ รับโดยการคงรูปแบบ วิถขี นบประเพณีเดิม แม้จะมีการปรับปรุงเปลีย่ นแปลง แต่กอ็ งิ แอบสอดคล้อง กับธรรมชาติอย่างเชือ่ มัน่ ด้านหนึง่ ก็เพือ่ รองรับประชากรทีเ่ พิม่ มากขึน้ ชุมชน จึงมีการปรับปรุงการทำสวนชา การพัฒนาคุณภาพการทำชาอบ การแปรรูป เพิม่ มูลค่าของผลผลิตจากหมูบ่ า้ น การแก้ปญ ั หาอุทยานทับทีท่ ำกินและการ ออกพระราชบัญญัติป่าชุมชนฉบับประชาชน เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนสามารถอยู่กับป่าได้ด้วยการจัดระบบความสัมพันธ์อย่างมีดุลยภาพ ในปัจจุบนั แม้รฐั บาลมีนโยบายออกโฉนดทีด่ นิ ชุมชน แต่ในพืน้ ที่ หมูบ่ า้ นห้วยหินลาดในก็ยงั ติดปมปัญหาอยูท่ วี่ า่ เป็นพืน้ ทีใ่ นเขตอุทยานแห่ง ชาติ แม้ชาวบ้านจะแสดงให้เห็นถึงอายุการดำรงอยู่มานับร้อยปีหรือก่อน ที่จะประกาศเขตอุทยานก็ตาม การสืบต่อวิถปี กาเกอะญอแต่ดงั้ เดิมด้วยวิสยั ทัศน์อนั ยาวไกลของ ผูใ้ หญ่ในหมูบ่ า้ นทีเ่ น้นการพัฒนาแบบช้าๆ แต่มนั่ คงในจิตวิญญาณของปกาเกอะญอ ซึ่งดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ การใช้ชีวิตจึงมิใช่การ ปรุงแต่งเสแสร้ง เพราะชัยชนะที่แท้จริงคือการหยัดยืนด้วยตนเอง อยู่อย่างคนมี รากเหง้า เพื่อกอบกู้ชาติภูมิของตนไว้ให้ลูกหลาน พลธรรม์ จันทร์คำ


ชาวไทใหญ่ซึ่งกลุ่มคนไทยบางกลุ่มเรียกว่า

เงีย้ ว แต่เป็นคำทีค่ นไทใหญ่ไม่ชอบเพราะส่อไปใน ทำนองดูถกู หรือบางครัง้ ในบางแห่งก็เหมาเรียก คน กุลา หรือ กุหล่า โดยเข้าใจผิด เพราะเป็นคำ ที่เรียกคนต่องซู่ ซึ่งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งในพม่าที่ อาศัยอยู่ใกล้ชิดไทใหญ่ในรัฐฉาน จนบางครั้ง ไทใหญ่กพ็ ลอยถูกเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกัน เป็น กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นอาศัยในเขตภาคเหนือ ของประเทศพม่าตอนใต้ของประเทศจีน และภาค เหนือของประเทศไทย โดยนักวิชาการบางท่านลง ความเห็นว่า คำว่า ชาน หรือ ฉาน มีทมี่ าจากคำว่า สยาม นั่นเอง เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวไทใหญ่ คือความศรัทธาอย่างลึกซึ้งต่อพุทธศาสนา โดยเฉพาะในการทำบุญทำทาน จนถึงกับมีคำกล่าวว่า ”อย่ากินอย่างม่าน (พม่า) อย่าตาน (ทำทาน) อย่างไท” เพราะคนไทใหญ่ให้ความสำคัญต่อการ บำเพ็ญทานบารมี ใครทำทานให้กับวัดกับพุทธศาสนามาก ก็จะได้รับเกียรติได้รับการยกย่อง จากสังคมของคนไทใหญ่ ปัจจุบันชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเขต พม่าประสบปัญหาความไม่สงบในบ้านเมืองตน เอง ทำให้ชาวไทใหญ่บางกลุม่ ต้องการอิสระจาก การปกครองของรัฐบาลพม่า จึงพยายามต่อสูเ้ พือ่ ความสงบสุขและความเป็นธรรมให้กับกลุ่มชน ของตน บางส่วนอพยพหลบหนีเข้าสูป่ ระเทศไทย โดยเฉพาะเข้ามาทางอำเภอปางมะผ้า จังหวัด แม่ฮอ่ งสอน และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ เนือ่ งจากรัฐบาลไทยไม่มนี โยบายจัดการทีช่ ดั เจน กับกลุม่ ชนนี้ ทำให้กลุม่ ชาวไทใหญ่รสู้ กึ ถึงความ ไม่มั่นคงทั้งในเรื่องความปลอดภัยและที่พักพิง ส่งผลให้ชาวไทใหญ่จำนวนมากย้ายถิน่ ทะลักเข้า สู่เมืองใหญ่ต่างๆ รวมถึงกรุงเทพมหานครที่ เปรียบเสมือนแหล่งรวมชาติพนั ธุห์ ลากหลายซึง่ หลั่งไหลเข้ามาทำมาหากิน คนไทใหญ่ อ พยพเข้ า มากรุ ง เทพฯ ตัง้ แต่ชว่ งต้นรัตนโกสินทร์ โดยมี วัดดอนหรือวัด ดอนกุหล่า เป็นศูนย์กลางสำคัญ การตัง้ บ้านเรือน ของชาวไทใหญ่มักไม่ไกลจากวัด เนื่องจากชาว ไทใหญ่ผูกพันกับวัด เพราะถือว่าเป็นแหล่งรวม จิตใจทีส่ ำคัญ กระทัง่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เกิดไฟไหม้ ครั้งใหญ่ที่วัดดอนกุหล่า ทำให้กลุ่มคนไทใหญ่ ในกรุงเทพฯ ขาดศูนย์รวมจิตใจไปขณะหนึง่ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวไทใหญ่ได้พยายามสร้าง ศูนย์ปฏิบตั ธิ รรมของกลุม่ ตนขึน้ ใหม่ในเขตสาธุประดิษฐ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวไทใหญ่ใน กรุงเทพฯ อีกครั้ง การเข้ามาของชาวไทใหญ่ชว่ งแรกเพือ่ มาทำการค้าขาย โดยเฉพาะชาวกุหล่าหรือชาว ไทใหญ่ในเขมรทีเ่ ชีย่ วชาญด้านการทำพลอย อาจ

ชาวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ

การรำกิ่งกะหล่าที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสาธุประดิษฐ์ ในซอยสาธุประดิษธุ์ ๔๔/๑

กล่าวได้ว่ามีแหล่งอัญมณีที่ไหนมีชาวไทใหญ่อยู่ ที่นั่น รวมถึงบ่อไพลินที่เขมร ต่อมาชาวไทใหญ่ ประสบปัญหาความไม่สงบในบ้านเมืองของเขมร ทำให้ต้องแยกย้ายไปทำกินที่อื่นๆ ส่วนหนึ่งได้ ข้ามเข้ามาทำพลอยในจังหวัดจันทบุรีและกาญจนบุรขี องไทย บางส่วนเข้ามาเป็นช่างทำพลอยใน กรุงเทพฯ ปัจจุบนั ช่างพลอยชาวไทใหญ่เหลืออยู่ น้อยมาก ยังพบเห็นอยูบ่ า้ งในแถบสีลม การอพยพ ย้ายถิน่ ของชาวไทใหญ่มเี ข้ามาเรือ่ ยๆ โดยระยะ หลังชาวไทใหญ่ที่อพยพเข้ามามีทั้งต้องการเข้า มาประกอบอาชีพและผลจากปัญหาทางการเมือง ปัจจุบันชาวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ มี ๒ กลุม่ คือ พ่อค้านักธุรกิจและลูกจ้างแรงงาน ส่วน ใหญ่ คื อ กลุ่ ม ชนชั้ น แรงงานที่ ป ระกอบอาชี พ ลูกจ้างทัว่ ไป เช่น ช่างทาสีและทำงานในโรงงาน ใน ขณะที่ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทใหญ่ในปัจจุบัน คือ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสาธุประดิษฐ์ในซอยสาธุประดิษธุ์ ๔๔/๑ ศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้เป็น สถานที่ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจทางศาสนา ของพระสงฆ์และกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน ที่ศูนย์ฯ มีพระสงฆ์หมุนเวียนมาจำพรรษาในแต่ละปีไม่นอ้ ยกว่า ๑๐ องค์ พระสงฆ์ที่ จำพรรษาทั้งหมดเป็นชาวไทใหญ่หรือมีเชื้อสาย ไทใหญ่ นอกจากนีช้ าวไทใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้รว่ ม มือกันก่อตัง้ มูลนิธพิ ระแสงธรรมขึน้ เมือ่ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เพื่อเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือ ชาวไทใหญ่ เช่น การเรียกร้องสิทธิต์ า่ งๆ เมือ่ เกิด อุบัติเหตุ การถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง สงเคราะห์ผู้ยากไร้ เป็นต้น รวมทั้งร่วมมือกับ องค์กรการกุศลอืน่ ๆ โดยไม่เกีย่ วข้องกับเรือ่ งการเมืองทุกประการ

หนุ่มวัยฉกรรจ์ชาวไทใหญ่ออกแสดงศิลปะ ร่ายรำร่างกายหรือเรียกว่าการลายมือ

มู ล นิ ธิ พ ระแสงธรรมได้ จั ด กิ จ กรรม ต่างๆ ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติธรรมสาธุประดิษฐ์ ทั้ง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องทางศาสนาและสังคม ชาว ไทใหญ่ในกรุงเทพฯ มีการประกอบกิจกรรมในวัน สำคัญต่างๆ ทัง้ ๑๒ เดือนคล้ายกับประเพณีของ ไทย เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา อาสาฬหบูชา มาฆบูชา วิสาขบูชา สงกรานต์ และวันขึ้นปีใหม่ ชาวไทใหญ่หลากหลายอาชีพจะเข้ามาร่วมทำบุญ ประกอบพิธที างศาสนาในศูนย์ปฏิบตั ธิ รรมสาธุประดิษฐ์อย่างหนาแน่น ในวันสำคัญอย่างเช่นวันออกพรรษา วันขึ้นปีใหม่ ชาวไทใหญ่ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่ แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีของกลุม่ ตน เช่น การ รำกินนรกินรี (การรำกิ่งกะหล่า) การรำโตหรือ ก้าโต ฯลฯ ในงานชาวไทใหญ่ทงั้ ชายหญิงทุกเพศ วัยจะเข้าร่วมชมการแสดงอย่างสนใจ หลังจาก ทำบุญและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเรียบร้อยแล้ว เมื่อมีผู้คนเข้าร่วมงานมากขึ้น หนุ่มวัย ฉกรรจ์ชาวไทใหญ่จะออกแสดงศิลปะร่ายรำร่าง กายหรือเรียกว่า การลายมือ อันเป็นศิลปะการ ป้องกันตัวอย่างหนึง่ ผูช้ ายทีเ่ ริม่ เข้าสูว่ ยั หนุม่ จะ มีการฝึกและร่วมแสดงเป็นกลุ่มเหมือนการเข้า สังคม ในวันงานตลอดซอยสาธุประดิษฐ์ ๔๔/๑ จะมี พ่ อ ค้ า แม่ ค้ า เข้ า มาขายสิ น ค้ า ทั้ ง อาหาร หนังสือ เสือ้ ผ้าของชาวไทใหญ่ รวมทัง้ เทปและซีดี เพลงของนักร้องจากรัฐฉานด้วย แสดงให้เห็นว่า ชาวไทใหญ่ยังผูกพันกับวิถีดั้งเดิมของตน แม้จะ อยู่ไกลในบ้านเมืองอื่นก็ตาม ปิลันธน์ ไทยสรวง

๑๑


พิพิธภัณฑ์ บ้านวังหาด

และการอนุรกั ษ์แหล่งโบราณคดี ของชาวบ้านวังหาด

แหล่งโบราณคดีบา้ นวังหาดอยูใ่ นเขตบ้านวังหาด ตำบลตลิง่ ชัน อำเภอบ้าน

ด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นกลุม่ ชุมชนทีม่ พี นื้ ทีท่ งั้ ทีเ่ ป็นแหล่งตัง้ ถิน่ ฐาน อยูอ่ าศัย การทำกิจกรรมต่างๆ กระจายอยูใ่ นบริเวณกว้างขวางทัง้ ในเขตภูเขา หุบเขา และทีร่ าบลุม่ ลำน้ำซึง่ เป็นต้นน้ำแม่ลำพัน เช่น ปางเด่นห้าง ห้วยแม่กองค่าย เด่นของเก่าและเด่นปางควาย เป็นต้น มีการพบหลักฐานทางโบราณคดี หลายประเภท เช่น ขวานหิน ภาชนะดินเผา เครือ่ งมือเหล็ก โครงกระดูกมนุษย์ ลูกปัดหิน เครื่องประดับที่ทำจากทองคำและเงิน รวมทั้งการถลุงเหล็กที่มี ชิ้นส่วนตะกรันเหล็กมากมาย การค้นพบแหล่งโบราณคดีได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญเมื่อราว ๓๐ ปี ที่ผ่านมา เพราะน้ำฝนกัดเซาะหน้าดินตามเส้นทางล้อเกวียนในเขตภูเขา ที่เป็นเส้นทางเชื่อมจากบ้านวังหาดไปยังหมู่บ้านในเขตอำเภอเถิน จังหวัด ลำปาง ซึง่ เป็นถิน่ ฐานดัง้ เดิมของชาวบ้านวังหาดก่อนทีจ่ ะอพยพเคลือ่ นย้าย ถิ่นฐานมาอยู่ที่บริเวณวังกวาวใกล้กับห้วยแม่กองค่ายเมื่อประมาณ ๘๐ ปี มาแล้ว และย้ายมาตั้งอยู่ริมห้วยแม่ลำพันในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านวังหาด ในปัจจุบัน พบเศษภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ ลูกปัดสี รวมทั้งชิ้นส่วน เครื่องมือที่ทำจากเหล็กและโลหะอื่นปรากฏอยู่ตามเส้นทางดังกล่าว ตอนแรกชาวบ้านก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะเห็นว่า ไม่มคี ณ ุ ค่าหรือราคาค่างวดอะไร ต่อมาเมือ่ เรือ่ งการพบโบราณวัตถุดงั กล่าว ได้ยินไปถึงหูพ่อค้าและนักสะสมของเก่าในตัวเมืองสุโขทัย จนมีการติดต่อ รับซือ้ โบราณวัตถุจากชาวบ้านในราคาทีไ่ ม่สงู นัก ทัง้ นีก้ ข็ นึ้ อยูก่ บั วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ ผลิตโบราณวัตถุเหล่านัน้ ด้วย ทำให้มชี าวบ้านส่วนหนึง่ เดินทางเข้าป่าเสาะ แสวงหาแหล่งทีม่ ลี กู ปัดสีปรากฏอยูต่ ามพืน้ ดิน จนนำไปสูก่ ารลักลอบขุดหา โบราณวัตถุใต้ดนิ ซึง่ ทำให้มกี ารพบโครงกระดูกมนุษย์ทมี่ โี บราณวัตถุรวมอยู่ ด้วย ทัง้ ทีเ่ ป็นภาชนะดินเผา เครือ่ งประดับทีท่ ำด้วยทองคำ เงินและลูกปัดสี รวมทั้งเครื่องมือเหล็กและโลหะอื่นรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของบรรดา พ่อค้าและนักสะสม เกิดการกำหนดราคารับซือ้ โบราณวัตถุในราคาทีส่ งู ขึน้ ตามลำดับ ราว พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๔๐ เป็นช่วงทีช่ าวบ้านวังหาดและชาวบ้าน การจัดแสดงโบราณวัตถุภายใน พิพธิ ภัณฑ์โบราณคดีชมุ ชนบ้าน วังหาด สะท้อนให้เห็นถึงความ พยายามของชาวบ้านทีจ่ ะอนุรกั ษ์ โบราณวัตถุเหล่านีไ้ ด้เป็นอย่างดี ถึงแม้วา่ จะขาดทัง้ งบประมาณ และผูใ้ ห้คำปรึกษาในการจัด พิพธิ ภัณฑ์กต็ าม

๑๒

ใกล้เคียงในเขตตำบลตลิง่ ชันได้เข้าไปในบริเวณพืน้ ทีป่ า่ ต้นน้ำห้วยแม่ลำพัน และห้วยแม่กองค่าย เพือ่ ลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและของมีคา่ ต่างๆ มีการ เตรียมเสบียงและทำเพิงทีพ่ กั ชัว่ คราวในการขุดเป็นจุดๆ โดยพบว่ามีแหล่งที่ พบโบราณวัตถุตา่ งๆ กระจายอยูใ่ นป่าบริเวณทิศตะวันตกและทิศใต้ของบ้านวังหาดกว่า ๑๐ จุด การลักลอบขุดของชาวบ้านครั้งนี้นับว่าเป็นการค้นพบ แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์กลุม่ ใหญ่มากทีส่ ดุ กลุม่ หนึง่ ในเขต ภาคเหนือตอนล่างเลยทีเดียว ต่อมาเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ คุณสิงห์ วุฒชิ มภู ชาวบ้านวังหาดทีไ่ ป ทำงานยังเมืองหลวงได้เดินทางกลับมายังหมูบ่ า้ น พบการลักลอบขุดหาของ มีค่าที่กระจายอยู่หลายจุด จึงเริ่มให้ข้อมูลและทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ ชาวบ้านในเรื่องการลักลอบขุดหาของมีค่าว่าเป็นการทำลายป่าและทำลาย สมบัตขิ องชาติ ในขณะเดียวกันก็เริม่ มีนกั ประวัตศิ าสตร์และนักโบราณคดี หลายท่านเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด เช่น อาจารย์ สุรพล นาถะพินธุ จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ธิดา สาระยา จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ รวมทั้งการเข้ามาสำรวจของเจ้าหน้าทีส่ ำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ทำให้มกี ารเผยแพร่ผลการศึกษาออกไป จน ทำให้แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่รู้จักของนักวิชาการและบุคคลทั่วไป มากขึ้น หลังจากที่มีการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุมานานกว่า ๒๐ ปี นักวิชาการส่วนใหญ่สนั นิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีบา้ นวังหาดมี อายุอยูใ่ นช่วงยุคเหล็ก มีการกำหนดอายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปี และคาบเกีย่ ว มาจนถึงสมัยทวารวดีตอนต้น โดยความสำคัญของชุมชนโบราณยุคเหล็กที่ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่มคี วามเห็นตรงกันว่า เป็นชุมชน ก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ผลิตเครื่องมือเหล็ก เนื่องจากมีการถลุง กระจายอยูต่ ามพืน้ ทีต่ า่ งๆ หลายจุดและเป็นบริเวณกว้าง น่าจะมีการติดต่อ กับชุมชนภายนอกที่ร่วมสมัยกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนทวารวดีใน ที่ราบลุ่มน้ำภาคกลาง เมือ่ หน่วยงานทางภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลพืน้ ที่ ป่าไม้และทำความเข้าใจกับชาวบ้านในเรือ่ งการลักลอบขุด ทำให้ในปัจจุบนั มีการลักลอบขุดลดน้อยลง แต่หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงก็ ไม่ได้เข้ามาจัดการแหล่งโบราณคดีเหล่านีอ้ ย่างจริงจัง ทำให้คณ ุ สิงห์รว่ มกับ พระภิกษุและชาวบ้านบางส่วนที่มีความเห็นว่าต้องร่วมกันอนุรักษ์แหล่ง โบราณคดีและโบราณวัตถุได้จัดตั้ง “เครือข่ายนักอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี ชุมชนบ้านวังหาด” ขึน้ เพือ่ ให้เกิดการอนุรกั ษ์และสร้างแหล่งเรียนรูท้ มี่ นั่ คง และยั่งยืนของชุมชน พระปลัดสมบัติ สมาจาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดวังหาด ได้ขอบิณฑบาต โบราณวัตถุจากชาวบ้านและขอให้หยุดการลักลอบขุด โบราณวัตถุที่ได้รับ การบริจาคนำมาจัดแสดงไว้ภายในวิหารวัดวังหาด เพื่อให้นักวิชาการได้ ศึกษาค้นคว้า พร้อมทัง้ เปิดให้นกั เรียนนักศึกษาและผูส้ นใจเข้าชม ชาวบ้าน ส่วนใหญ่ต่างให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ต่อมาชุมชนและคณะกรรมการเครือข่ายนักอนุรกั ษ์แหล่งโบราณคดีชมุ ชนบ้านวังหาด มีมติให้ดำเนินการจัดสร้างอาคารพิพธิ ภัณฑ์ถาวร แม้ ไม่มที นุ ทรัพย์เริม่ ต้นเลยก็ตาม โดยช่วยกันจัดผ้าป่าและรับบริจาค ในทีส่ ดุ ก็ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายภาค ส่วนในการจัดสร้างพิพธิ ภัณฑ์ซงึ่ ดำเนินการจัดสร้างในพืน้ ทีว่ ดั วังหาด เป็น อาคารคอนกรีตชัน้ เดียวขนาดย่อม ภายในเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุทพี่ บในแหล่งโบราณคดีบา้ นวังหาด เช่น ขวานหินขัด เครือ่ งมือทีท่ ำจาก เหล็กและโลหะรูปทรงต่างๆ เครือ่ งประดับทีท่ ำจากทองคำ เงิน และลูกปัดสี รวมทัง้ ข้าวของเครือ่ งใช้ของชาวบ้านวังหาดในอดีต เช่น ตำรายา คัมภีรค์ าถา อาคม หีบผ้า ไม้ตะพดซ่อนดาบ เป็นต้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม


คณาจารย์และนิสติ สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถ่ายภาพ เป็นทีร่ ะลึกหน้าพิพธิ ภัณฑ์ ในวันเปิดพิพธิ ภัณฑ์โบราณคดีชมุ ชนบ้านวังหาด

๒๕๕๐ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยมีอาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์ รองคณบดีฝา่ ยกิจการนิสติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธาน และมีชาวบ้านวังหาด คณาจารย์และนิสิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วม ในพิธีอย่างคับคั่ง ชาวบ้านวังหาดได้รว่ มใจกันตัง้ ชือ่ พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีว้ า่ “พิพธิ ภัณฑ์ โบราณคดีชมุ ชนบ้านวังหาด” เพือ่ แสดงให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกันของ ชุมชนในการต่อลมหายใจในการอนุรกั ษ์แหล่งโบราณคดีในพืน้ ทีช่ มุ ชนของ ชาวบ้านวังหาด ถึงรูปแบบการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์จะเป็นแบบตาม

มีตามเกิดหรือตามประสาชาวบ้านก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านและกลุ่มเครือข่ายนักอนุรักษ์แหล่ง โบราณคดีชุมชนบ้านวังหาดกำลังเห็นว่ามีผลกระทบต่อแหล่งโบราณคดี อย่างมากก็คอื การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่กองค่ายทีด่ ำเนินการไปแล้วกว่า ร้อยละ ๙๐ และการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่รำพันทีก่ ำลังจะดำเนินการสร้าง ซึ่งพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่งจะทำให้น้ำท่วมแหล่งโบราณคดีหลายแห่งที่ อยูร่ มิ ลำห้วยทัง้ สองในเขตหุบเขา อาจทำให้แหล่งโบราณคดีบา้ นวังหาดเหลือ เพียงแต่ชื่อเท่านั้น สิ่งเดียวที่ชาวบ้านและกลุ่มเครือข่ายนักอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี ชุมชนบ้านวังหาดตกลงกันจะทำในขณะนี้ก็คือ ร่วมมือกันขุดโบราณวัตถุ บางส่วนตามแหล่งโบราณคดีทคี่ าดว่าน้ำจะท่วมออกจากพืน้ ทีป่ า่ แล้วนำมา เก็บรักษาและจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์โบราณคดีชมุ ชนบ้านวังหาด เพือ่ ให้เป็น แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนต่อไป สิง่ ทีช่ าวบ้านวังหาดกำลังคิดจะทำ ไม่มชี าวบ้านคนใดทราบว่าเป็น การกระทำทีถ่ กู หรือผิดกฎหมาย แต่เป็นสิง่ ทีช่ าวบ้านวังหาดพยายามทุม่ เท เสียสละแรงกายแรงใจและจิตวิญญาณเพื่อปกป้องสมบัติชาติและสมบัติ ชุมชนไว้ให้อนุชนรุน่ หลังอย่างไม่หวังสิง่ ตอบแทน หน่วยงานภาครัฐควรเข้า ไปให้คำแนะนำกับชาวบ้านเพือ่ สร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้อง และทีส่ ำคัญคือ ใคร จะให้คำตอบกับชาวบ้านวังหาดได้ว่า การต่อลมหายใจการอนุรักษ์แหล่ง โบราณคดีในพื้นที่ชุมชนของชาวบ้านวังหาดครั้งนี้ถูกหรือผิดกฎหมาย ธีระวัฒน์ แสนคำ ที่ปรึกษากลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สร้างพิพิธภัณฑ์เรือที่วัดศาลาแดงเหนือ ที่บ้านศาลาแดงเหนืออันเป็นชุมชนเชื้อสายมอญในตำบลเชียงราก-

น้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กำลังทอดกฐินเพือ่ สมทบทุนสร้าง พิพธิ ภัณฑ์เรือซึง่ ชาวบ้านเคยใช้เป็นพาหนะเพือ่ ค้าขายและใช้สอยใน ชีวติ ประจำวันในอดีต เพราะเป็นหมูบ่ า้ นริมแม่นำ้ เจ้าพระยา คุณมาณพ แก้วหยก ผูเ้ ป็นกำลังสำคัญในการศึกษา รวบรวม และมีความพยายาม อย่างยิง่ ทีจ่ ะสร้างพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ มาอย่างสม่ำเสมอกว่า ๒๐ ปีแล้ว เขียนเรือ่ งราวเกีย่ วกับเรือและการใช้เรือของชาวบ้านในหมูบ่ า้ นศาลาแดงเหนือและใกล้เคียง จากความทรงจำและคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ ที่เล่าให้ฟังมาแต่ครั้งยังเป็นเด็ก และเขียนมาบอกเล่าสู่กันฟังดังนี้

ประวัติการเดินเรือในอดีต

เรื อ เป็ น พาหนะเก่ า แก่ คู่ กั บ มนุ ษ ย์ ม าช้ า นานแล้ ว ในแม่ น้ ำ เจ้าพระยาและแม่นำ้ สายอืน่ มีเรือคนไทยค้าขายอยูก่ อ่ น เมือ่ คนมอญอพยพ มาอยูเ่ มืองไทยและตัง้ ถิน่ ฐานอยูส่ องฝัง่ แม่นำ้ ลำคลอง และประกอบอาชีพ ตามความถนัดทีเ่ คยอยูเ่ มืองมอญดัง้ เดิม เช่น ทำนา ทำอิฐ เครือ่ งปัน้ ดินเผา และรับราชการ แต่คนมอญสามโคก เช่น บ้านศาลาแดงเหนือ บ้านกลาง (วัด สองพีน่ อ้ ง) บ้านวัง (วัดพลับสุทธาวาส) บ้านเมตารางค์ บ้านท้ายเกาะ บ้าน

เรือจ้างบรรทุกโอ่งของชาวบ้านศาลาแดงเหนือ

เจดียท์ อง บ้านสามเรือน (วัดสามัคคียาราม) บ้านตากแดด (วัดจันทน์กะพ้อ) บ้านสวนมะม่วงเหนือและบ้านสวนมะม่วงใต้ (วัดอัมพุวราราม) บ้านบางเตย ส่วนมากประกอบอาชีพค้าขายทางเรือ โดยมีเรือสำปั้นพายขายกับข้าวใน ละแวกบ้าน บางบ้านมีเรือจ้างขนาด ๕-๘ มือลิง บรรทุกโอ่ง อ่าง ครกเตาที่ เกาะเกร็ด หม้อดินบางตะนาวศรี ครกเตา แจวเรือขายในจังหวัดปทุมธานี อยุธยา ลพบุรี สระบุรี ต่อมามีเรือลำใหญ่ขนึ้ ขนาดของเรือ ๒๐-๓๐ เกวียน เช่น เรื อ มอญไปบรรทุ ก ฟื น ที่ ค ลองเชิ ง กรายและคลองบางประมุ ง จั ง หวั ด

๑๓


เรือกระแชงไปบรรทุกโอ่งทีร่ าชบุร ี

๑๔

นครสวรรค์ เรือข้างกระดาน เรือกระแชงบรรทุกโอ่ง อ่าง หม้อดิน ครกเตา และ เต้าเจีย้ ว ปูเค็ม ไตปลา เกลือ กระเทียมดอง ลูกอินทผลัม หมากแห้งกับพลูนาบ ปูนแดง พริก หอม กระเทียม น้ำตาลทราย ถ้วย ชาม แก้ว ชามเคลือบและผ้า และอีกหลายอย่างโดยกางใบ ถ้าไม่มีลมต้องแจวเรือและถ่อเรือ และเรือ ค้าขายสินค้าทางแม่น้ำน่านแถบจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ คนมอญบ้านศาลาแดงเหนือเป็นหมู่บ้านขายโอ่งทางภาคเหนือ เจ้าแรก และคนมอญบ้านท้ายเกาะเป็นเจ้าทีส่ องในแม่นำ้ ยม จังหวัดสุโขทัย คนมอญวัดสองพีน่ อ้ งขายโอ่งแม่นำ้ ยมนีก้ นั มาก และไปทางแม่นำ้ ปิง จังหวัด กำแพงเพชร แม่นำ้ สะแกกรัง จังหวัดอุทยั ธานี และแม่นำ้ ป่าสัก จังหวัดสระบุรี และเพชรบูรณ์ คนมอญบ้านศาลาแดงเหนือไปขายสินค้าทางแม่น้ำนี้ด้วย รวมทัง้ ทางนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ส่วนคนมอญบ้านสวนมะม่วง เหนือและสวนมะม่วงใต้ไปค้าขายโอ่งทางแม่น้ำบางปะกงกันมาก ในสมัยก่อนถ้าขายทางภาคเหนือปีละประมาณ ๑ เทีย่ ว ประมาณ ๓ เดือน เพราะน้ำแห้งไปไม่ได้ ต้องซือ้ ข้าวทีพ่ ษิ ณุโลก พิจติ ร นครสวรรค์ มาขาย ทีบ่ างกอก บางครัง้ แจวเรือจ้างขายกระบุงทีค่ ลองรังสิต ไปถึงหนองจอก มีนบุรี คนมอญบ้านสวนมะม่วงเหนือและสวนมะม่วงใต้ และคนมอญบ้านวังไปขาย กระบุงมากที่สุด บ้านศาลาแดงเหนือและหมู่บ้านอื่นก็ขายกระบุงด้วย ส่วนคนมอญบ้านเสากระโดง (วัดทองบ่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)มีอาชีพค้าขายใบจากมุงหลังคาทางเรือ และคนมอญวัดโพธิ์แตงเหนือ และใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอาชีพขายมะพร้าวทางเรือด้วย ลักษณะ เรือกระแชงหรือเรือข้างกระดานทีใ่ ช้ถอ่ แจวและกางใบมีรปู ทรงเรือสวยงาม ยาวเพรียวและมีขยาบเรือ ราว พ.ศ. ๒๔๘๐ การค้าขายทางเรือโดยใช้เรือยนต์โยงเรือสินค้า ของคนมอญไปภาคเหนือแล้ว เรือยนต์เป็นเรือกลไฟใช้ฟืนและถ่านเป็น เชือ้ เพลิง หรือเรือยนต์ใช้นำ้ มันโซล่า ขนาดเครือ่ งประมาณ ๓๐-๕๐ แรงม้า การใช้เรือยนต์โยงเรือสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปถึงนครสวรรค์ และไปเปลีย่ น เรือยนต์จากนครสวรรค์โยงเรือสินค้าไปทางแม่น้ำน่าน เรือสินค้าบางลำ เปลี่ยนเรือยนต์ไปทางแม่น้ำยมที่ปากคลองเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัด นครสวรรค์ ในสมัยสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ราว พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๘ เรือมอญ บ้านศาลาแดงเหนือและเรือคนไทยได้รับจ้างบรรทุกทหารญี่ปุ่นและเสบียง สัมภาระทีก่ รุงเทพฯ ไปทางจังหวัดพิษณุโลกและกาญจนบุรี ค่ารับจ้างบรรทุก เดือนละ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ราคาทองคำในสมัยนัน้ บาทละประมาณ ๒๕๐ บาท ราว พ.ศ. ๒๕๐๘ การค้าขายทางเรือของคนมอญโดยใช้เครื่อง หางยาวตัง้ บนแอกท้ายเรือแล้วขับเรือไปขายสินค้าทีจ่ งั หวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๑๐ อาชีพทางแม่นำ้ เจริญรุง่ เรือง เพราะ ประเทศไทยส่งข้าวและข้าวโพดไปขายต่างประเทศจำนวนมาก ประเทศ เพือ่ นบ้าน เช่น เกาหลี เวียดนาม ลาว เขมร เกิดสงครามในประเทศ ประชาชน ไม่มเี วลาทำเกษตร จึงมีอตู่ อ่ เรือกระแชงและเรือยนต์เพิม่ ขึน้ เช่น อูต่ อ่ เรือ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อูต่ อ่ เรือคอวัง จังหวัดสุพรรณบุรี และอูต่ อ่ เรือ

คลองบางหลวงที่กรุงเทพฯ มีคานเรือใช้ในการซ่อมแซมเรือเพิ่มขึ้นหลายที่ เช่น คานเรือทีอ่ ยุธยา คานเรือวัดป่างิว้ คานเรือบ้านกลาง คานเรือวัดเจดียท์ อง คานเรือคลองบางเตย คานเรือวัดสำแล อยูใ่ นเขตจังหวัดปทุมธานี และคาน เรือสามเสนทีก่ รุงเทพฯ และยังมีคานเรือในแม่นำ้ เจ้าพระยาอีกหลายแห่งจน นับไม่ถ้วน ชาวบ้านต่อเรือยนต์ขนาดเครือ่ งยนต์ ๕๐-๑๒๐ แรงม้าโดยใช้นำ้ มัน โซล่า ราคาน้ำมันโซล่าในขณะนัน้ ลิตรละ ๔๐ สตางค์ และต่อเรือกระแชงขนาด ๓๕-๙๐ เกวียน รับจ้างบรรทุกข้าวเปลือกข้าวสารที่คลองรังสิต คนมอญ บ้านเจดีย์ทอง บ้านตากแดด และบ้านสามเรือน บรรทุกข้าวกันมาก ส่วน คนมอญบ้านเจดีย์ทองไปบรรทุกข้าวโพดที่ลพบุรีเป็นหมู่บ้านเจ้าแรก คนมอญบ้านศาลาแดงเหนือ บ้านวังและบ้านกลางไปบรรทุกปูนซีเมนต์ที่ท่าหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปูนซีเมนต์ที่บางซื่อ กรุงเทพฯ และบรรทุกหินทีส่ ระบุรมี าขึน้ ทีส่ ะพานแก้ว คลองรังสิต เพือ่ ไปสร้าง สนามบินดอนเมือง นอกจากนี้ยังบรรทุกทรายที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ท่าทรายวัดเชิงท่า จังหวัดปทุมธานี และลานเท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรือบางลำบรรทุกขี้ค้างคาว น้ำตาลทราย ถ่าน แกลบ รำข้าว ไม้ อิฐมอญ แตงโม และสินค้าตามท้องถิน่ ต่างๆ อีกหลายอย่าง และการค้าขาย ทางน้ำไม่ใช่มแี ต่เรือมอญ เพราะมีเรือคนจีนด้วย ส่วนมากบรรทุกข้าวเปลือก และข้าวสารมาจากภาคเหนือ ส่วนเรือข้างกระดานของคนแขกอยุธยา (มุสลิม) ขายถ้วยชาม เครื่องใช้ในครัวเรือนบริเวณภาคกลาง ลักษณะเรือกระแชงทีใ่ ช้เรือยนต์โยง รูปทรงสัน้ และป่องกลางลำ ไม่มีขยาบเรือเป็นส่วนมาก ส่วนเรือกระแชงมีขยาบซึ่งเป็นเรือรุ่นเก่า ส่วนเรือยนต์มีอยู่ ๒ แบบ คือ เรือสำปั้นและเรือเมล์ ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กอ่ ตัง้ โรงเรียนสงเคราะห์ บางกรวยทีอ่ ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๔ มีจดุ ประสงค์ เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ลูกหลานชาวเรือที่เร่ร่อนให้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน เสมอหน้าคนบนบก ลูกหลานชาวบ้านศาลาแดงเหนือ บ้านวัง บ้านกลาง และ หมู่บ้านอื่นจึงไปศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนสงเคราะห์บางกรวยกันส่วนมาก ในระยะหลังเมื่อถนนหนทางมีมากขึ้น บางคนขายเรือกระแชง ขายโอ่งมาซื้อรถหกล้อบรรทุกโอ่งเคลือบราชบุรีไปขายแถบภาคอีสาน คนมอญบ้านเจดียท์ องเป็นหมูบ่ า้ นขายโอ่งทางบกเจ้าแรก เจ้าของเรือขายโอ่ง มีเรือขนาด ๒๐-๓๕ เกวียน ต้องขายเรือมาซือ้ เรือกระแชงขนาด ๕-๘ เกวียน บรรทุกโอ่งเคลือบราชบุรีและใช้เครื่องหางยาวไปขายสินค้าแถบจังหวัด สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครชัยศรี ฉิมพลี ศาลายา ภาษีเจริญ บางแค บางใหญ่ บางกรวย ส่วนบางรายก็ขายเรือกระแชงมาต่อเรือดูดทราย หรือเรือเหล็กบรรทุกทรายขนาด ๑๐๐ ตัน ซึง่ ต่อมาเปลีย่ นเรือเหล็กให้ใหญ่ ขึ้นเพื่อบรรทุกของกลางน้ำ คือรับทอดจากเรือสินค้าที่มาจากต่างประเทศ จอดทีค่ ลองเตยหรือเกาะสีชงั ปัจจุบนั นีเ้ รือเหล็กเหล่านีม้ รี ะวางบรรทุกสินค้า ถึง ๒,๐๐๐ ตันขึ้นไป ทุกวันนี้เมืองไทยเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และได้ สร้างถนนเชือ่ มโยงทุกหมูบ่ า้ น ตรอกซอกซอย และได้สร้างสะพานข้ามคลอง ต่ำมาก เรือลอดผ่านไม่ได้ ในแม่น้ำลำคลองมีผักตบชวา ผักบุ้ง และวัชพืช เกิดขึน้ ทำให้ลำคลองตืน้ เขิน เรือสัญจรไปมาไม่ได้ และกรมชลประทานทำ ประตูเปิด-ปิดป้องกันน้ำท่วมแทบทุกคลอง ทำให้เรือเข้าออกลำบาก เป็นผล กระทบต่ออาชีพเดินเรือ และชาวบ้านย้ายถิน่ ฐานไปอยูร่ มิ ถนนกันมาก ทำให้ อาชีพเดินเรือค้าขายในอดีตมีน้อย ปัจจุบนั เรือไม้บรรทุกสินค้าและอูต่ อ่ เรือไม้ในภาคกลางไม่ได้เห็น ในท้องน้ำแล้ว เช่น เรือมอ เรือข้างกระดาน เรือสามเก้า และเรือยนต์กลไฟ แต่ ยังมีเรือกระแชงวิง่ แล่นในท้องน้ำ นับจำนวนเรือกระแชงได้มไี ม่กลี่ ำ ในขณะที่ สมัยก่อนมีเรือไม้จอดหน้าบ้านทุกหมูบ่ า้ น ในวันสงกรานต์เรือเป็นพันๆ ลำ จอดเป็นตับ และท่าเรือแถวสามเสนในกรุงเทพฯ เป็นแหล่งจอดพักเรือไม้


ใหญ่ทสี่ ดุ ในเมืองไทย ปัจจุบนั ทีบ่ า้ นศาลาแดงเหนือมีเรือเหล็กบรรทุกทราย ขนาด ๓๐๐ ตัน ๕ ลำ เรือยนต์ ๒ ลำ ซึ่งบ้านกลางมีเรือเหล็กมากที่สุด ในละแวกกลุ่มบ้านคนมอญด้วยกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชาวมอญบ้านศาลาแดงเหนือจึงมีความ คิดเห็นพ้องกันว่า ควรจัดอาคารพิพธิ ภัณฑ์สามชัน้ บริเวณทีด่ นิ ในวัดศาลาแดงเหนือ เพื่อเก็บเรือและเครื่องมือการเดินเรือ เล่าเรื่องราววิถีชีวิตของ บรรพบุรษุ ชาวมอญบ้านศาลาแดงเหนือและคนมอญหมูบ่ า้ นอืน่ ด้วย ว่าการ ประกอบอาชีพค้าขายทางเรือมีความยากลำบากอย่างไร เพือ่ เป็นแหล่งศึกษา ในอดีต ให้คนรุน่ ใหม่ได้เรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์เพือ่ ต่อยอดการศึกษาในอนาคต ทุ ก วั น นี้ มี นั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาและบุ ค คลทั่ ว ไปเข้ า มาเยี่ ย มชม หมูบ่ า้ นศาลาแดงเหนือเป็นจำนวนมาก และทีว่ ดั มีพพิ ธิ ภัณฑ์เรือของวัดหนึง่ หลัง แต่ไม่เพียงพอในการเก็บข้อมูล จึงต้องสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลังใหม่ โดยรูปแบบอาคารพิพิธภัณฑ์เรือที่ออกแบบไว้กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๓.๒๐ เมตร สูงประมาณ ๙ เมตร แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ จัดแสดงเรือกระแชงขนาดบรรจุ ๕ เกวียน และเป็นเรือ บรรทุกสินค้าลำสุดท้ายของบ้านศาลาแดงเหนือมาตั้งตรงกลางในอาคาร พิพิธภัณฑ์ จัดแสดงนิทรรศการเล่าเรื่องการค้าขายทางเรือของมอญบ้านศาลาแดงเหนือและมอญหมูบ่ า้ นอืน่ ในอดีต และเรียนรูโ้ ครงสร้างของเรือ เช่น กระดูกงู กงเรือ ทวนหัว ทวนท้าย แม่ยา่ นาง กระดานเลียบ ราโท แอกเรือ ดาดฟ้าเรือ และช่างต่อเรือต้องใช้ภมู ปิ ญ ั ญาคำนวณโครงสร้างของเรือไม่ให้ ผิด เรือลงไปในน้ำแล้วไม่เอียงซ้ายหรือขวา ทางทิศเหนือชั้นที่ ๑ จัดแสดงเรือลำเล็กของวัดศาลาแดงเหนือ

ซึ่งมีอยู่หลายลำ ทางทิศใต้ชนั้ ที่ ๑ จัดแสดงเครือ่ งมือการเดินเรือ เช่น ถ่อ แจว ฉาก พาย หลักไม้ เชือก สมอเรือ รอกชักผ้า กางใบเรือ ชันยาเรือ น้ำมันยาง ทาเรือ ฯลฯ ชัน้ ที่ ๒ ด้านทิศเหนือจัดแสดงสินค้าการค้าขายทางเรือของหมูบ่ า้ น มอญศาลาแดงเหนือในอดีต เช่น โอ่งดินเกาะเกร็ดและโอ่งเคลือบราชบุรี หม้อดินบางตะนาวศรี อ่าง กระถาง และกระทะขนมครก เตาและครก หม้อ อะลูมิเนียมรุ่นแรก กะละมังรุ่นแรก ฯลฯ ทางทิศใต้ ชั้นที่ ๒ จัดแสดงประวัติวัดและหมู่บ้านมอญศาลาแดงเหนือ ประวัตบิ อ่ บำบัดน้ำเสีย และประวัตเิ ตาเผาขยะของหมูบ่ า้ น ฯลฯ ชั้นที่ ๓ ซึ่งเป็นชั้นลอยจัดแสดงรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสวัด ศาลาแดงเหนือและรูปภาพเก่า เช่น ภาพเรือค้าขายในอดีต ภาพเรือกระแชง ขายโอ่ง เรือดูดทราย เรือเหล็ก และรูปปริศนาธรรม หากผูใ้ ดเห็นชอบและอยากร่วมกันสืบต่อความรูเ้ พือ่ คนรุน่ หลังที่ ไม่เคยรู้หรือรับทราบชีวิตทางน้ำในอดีตของผู้คนในภาคกลาง โดยเฉพาะ กลุม่ ชาวมอญทีเ่ คยมีอาชีพค้าขายทางเรือ ร่วมทำบุญกับกองผ้าป่าเพือ่ สร้าง พิพธิ ภัณฑ์เรือทีว่ ดั ศาลาแดงเหนือ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัด ปทุมธานี ในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๔ โดยสามารถติดต่อผ่านทางมูลนิธเิ ล็กประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป มาณพ แก้วหยก บ้านศาลาแดงเหนือ จังหวัดปทุมธานี

สรุปงานเสวนา ณ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า

หนังสือพิมพ์จีน

เวทีความคิดและกระบอกเสียงของจีนสยาม? วันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ร่วมกับ

ร้านหนังสือริมขอบฟ้า จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “หนังสือพิมพ์จีน เวที ความคิดและกระบอกเสียงของจีนสยาม?” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ๓ ท่าน คือ คุณปนัดดา เลิศล้ำอำไพ นักเขียนและเป็นลูกสาวของอูจ๋ เี้ ยียะ อดีตนักหนังสือพิมพ์จนี ชือ่ ดัง อาจารย์มติ รชัย กุลแสงเจริญ อาจารย์ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซึง่ เคยทำวิจยั ในหัวข้อ หนังสือ พิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้า : ภาพสะท้อนสังคมไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๖) และ คุณสุเทพ ศุภภัทรานนท์ ผูอ้ ำนวยการ หนังสือพิมพ์ซนิ จงเหยียน โดยมี คุณสุดารา สุจฉายา เป็นผูด้ ำเนินรายการ เริม่ แรกคุณสุดาราเปิดประเด็นว่า หนังสือพิมพ์จนี ในปัจจุบนั มีมาก ถึง ๖ ฉบับ ทัง้ หมดมีจดุ กำเนิดทีย่ าวนาน กล่าวกันว่าหนังสือพิมพ์จนี ยุคแรกๆ เกิดขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เวลาผ่านเลยร่วม ๑๐๐ ปี หนังสือพิมพ์จนี มีความ

เปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด และยังคงเป็นกระบอกเสียงให้กับจีนสยาม อยู่หรือไม่ คุณปนัดดาได้อธิบายเบื้องต้นว่า หนังสือพิมพ์จีนในไทยมีส่วน เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีนอยู่มาก อาจกล่าวได้ว่าเมื่อเรามองประวัติศาสตร์จีน เราก็จะเห็นชุมชนจีนในไทยด้วย และหนังสือพิมพ์จีนถือเป็น ส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์นี้ ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์จีนในไทยเริ่มมีขึ้นให้หลังหนังสือพิมพ์จนี ในจีนแผ่นดินใหญ่ไม่นานนัก หนังสือพิมพ์จนี ฉบับแรกในไทยปรากฏ ขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ในชื่อ “หั้นจิ้งเยอะเป้า” หนังสือพิมพ์ยุคแรกมีวัตถุประสงค์เพือ่ เป็นกระบอกเสียงทางการเมือง เนือ่ งด้วยในขณะนัน้ จีนแผ่นดิน ใหญ่ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์ชิง แต่เกิดปัญหาการปกครองขาดประสิทธิภาพ จึงมีฝ่ายต่อต้านที่ต้องการโค่นล้มราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นแมนจูและ

๑๕


กอบกูช้ อื่ เสียงของชาวฮัน่ อันเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจีนกลับคืนมา แต่ปรากฏว่าได้มฝี า่ ยสนับสนุนหรือฝ่าย “นิยมเจ้า” อยูไ่ ม่นอ้ ย อย่างไรก็ ตามทัง้ ฝ่ายต้องการโค่นล้มซึง่ ขณะนัน้ มีผนู้ ำคือ ดร.ซุนยัดเซ็น และฝ่าย ปกป้องราชวงศ์ชงิ จะมีหนังสือพิมพ์จนี เป็นกระบอกเสียงให้กบั ฝ่ายตนเอง หนังสือพิมพ์จนี ในขณะนัน้ แบ่งเป็นสองขัว้ สำหรับหนังสือพิมพ์ ฝ่ายต้องการโค่นล้มราชวงศ์ชงิ มีชอื่ ว่า “หวาเซียมซินเป้า” หรือชือ่ ไทยคือ “หนังสือพิมพ์จนี โนสยามวารศัพท์” วางจำหน่ายใน พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมี เซียวฮุดเสง สีบญ ุ เรือง ซึง่ เดิมอยูฝ่ า่ ยนิยมเจ้าเป็นหัวเรีย่ วหัวแรงสำคัญ ภายหลังราชวงศ์ชิงถูกโค่นอำนาจ ดร.ซุนยัดเซ็นได้ขึ้นเป็น ประธานาธิบดีรฐั บาลจีนใต้ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ ส่งผลให้หนังสือพิมพ์จนี ฝ่าย นิยมเจ้าได้ปิดตัวลงโดยปริยาย ส่วนหนังสือพิมพ์ฝ่ายสนับสนุนโค่นล้ม ราชวงศ์ชิงก็เปลี่ยนนโยบายจากเสนอข่าวสนับสนุนขั้วทางการเมือง มาเป็นการเสนอข่าวสารในจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่วา่ จะเป็นข่าวอุทกภัย ข่าว การสู้รบระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ด้วยต้องการให้เกิดความสามัคคีเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน จนกระทั่งหมดยุคของดร.ซุนยัดเซ็น ได้ปรากฏความขัดแย้ง ระหว่างพรรคก๊กมินตัง๋ กับพรรคคอมมิวนิสต์ หนังสือพิมพ์จนี ในไทยช่วง เวลานี้ทำหน้าที่เสนอข่าวโจมตีฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ทว่า เมือ่ พรรคคอมมิวนิสต์ได้ปกครองจีนใน พ.ศ. ๒๔๙๒ หนังสือพิมพ์จนี ใน ไทยทุกฉบับจึงหยุดเสนอข่าวเกี่ยวกับการเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่ และ หันมานำเสนอข่าวด้านอื่นแทน โดยอาจารย์มติ รชัยอธิบายต่อว่า หลังจากจีนแผ่นดินใหญ่ถกู ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ หนังสือพิมพ์จีนในไทยได้หยุดนำเสนอ ข่าวด้านการเมืองทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านั้นคือในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการควบคุมหนังสือพิมพ์จีนไม่ให้นำเสนอข่าวการเมือง ต่อต้านญีป่ นุ่ ซึง่ เป็นคูส่ งครามกับจีน แต่เป็นพันธมิตรกับไทยช่วงสงคราม มหาเอเชียบูรพามาแล้วครัง้ หนึง่ ดังนัน้ สิง่ ทีห่ นังสือพิมพ์จนี ได้ทำในช่วงนี้ ก็คือเป็นกระบอกเสียงให้กับคนจีนในไทย เพื่อส่งผ่านเรื่องราวความ เดือดร้อนความเป็นอยูไ่ ปยังรัฐบาล และรัฐบาลเองก็ใช้สอื่ กลางนีส้ ง่ ผ่าน ข่าวสารมายังคนจีนด้วย จะเห็นว่าหน้าที่ของหนังสือพิมพ์จีนในช่วงคาบเกี่ยว พ.ศ. ๒๕๐๐ มีความสำคัญต่อการรับรู้เรื่องราวในสังคมภายนอกของคนจีน อย่างมาก เพราะการรับรูข้ า่ วสารทัง้ ไทยและจากจีนแผ่นดินใหญ่ขนึ้ อยู่ กับหนังสือพิมพ์จีนและประกาศเสียงตามสายเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนจีนสมัยก่อนอ่านหนังสือไทยไม่ออก จึงจำเป็นต้องพึ่งพาสื่อ กลางดังกล่าวข้างต้น

แต่ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นต้น มา หนังสือพิมพ์จนี เกือบทุกฉบับถูกสัง่ ปิด แม้วา่ ช่วงเวลาดังกล่าวหนังสือพิมพ์จีนจะไม่ได้เสนอข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองแล้วก็ตาม แต่ด้วยความ หวาดระแวงในลัทธิคอมมิวนิสต์ทอี่ าจส่งผ่านเข้ามาทางกลุม่ คนจีน คนจีน ในไทยและหนังสือพิมพ์จนี จึงถูกควบคุมและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ แม้ทผ่ี า่ นมา ทางรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้หนังสือพิมพ์จีนนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเมืองจีน ทีไ่ ม่ใช่ขา่ วการเมืองได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมือ่ หนังสือพิมพ์จนี นำเสนอ ข่าวใดๆ เกีย่ วกับจีนเพียงเล็กน้อยก็จะถูกสัง่ ปิดทันที อย่างไรก็ตามสถานการณ์ดงั กล่าวเริม่ คลีค่ ลายลงภายหลังการหมดอำนาจของรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ อีกทัง้ หลัง พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐบาลไทยได้เปิดความสัมพันธ์กบั รัฐบาลจีน แผ่นดินใหญ่ ส่งผลให้ความตึงเครียดเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์เบาบางลง ส่วนคุณสุเทพซึง่ คลุกคลีอยูก่ บั วงการหนังสือพิมพ์จนี มากว่า ๕๐ ปี ได้อธิบายว่า ในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิเ์ ป็นต้นมา แม้หนังสือพิมพ์จนี จะ ถูกควบคุมอย่างหนัก แต่อกี ด้านหนึง่ กลับเป็นช่วงทีธ่ รุ กิจหนังสือพิมพ์จนี เฟือ่ งฟูมากขึน้ เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ หันมาแข่งขันด้านธุรกิจ แทนที่จะเน้นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองเช่นที่แล้วมา โดยช่วงนี้มีการ พัฒนาและปรับปรุงหนังสือพิมพ์ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น พัฒนาให้ หนังสือพิมพ์ออกจำหน่ายในตอนเช้า มีหน้าข่าวเพิม่ ขึน้ มีการนำเข้าเครือ่ ง พิมพ์หนังสือพิมพ์สี่สี รวมทั้งการนำเสนอข่าวที่เที่ยงตรงและแม่นยำ นับเป็นจุดขายหนึ่งที่มีการแข่งขันอย่างกว้างขวาง อย่างทีท่ ราบกันก่อนหน้านีว้ า่ หนังสือพิมพ์จนี ในไทยมีทงั้ หมด ๖ ฉบับ รวมทุกฉบับจำหน่ายได้ราว ๒๐,๐๐๐ ฉบับ สำหรับกลุม่ ผูอ้ า่ นเกือบ ทั้งหมดจะเป็นสมาชิก มีซื้อตามแผงหนังสือบ้างแต่ก็น้อย สำหรับปัญหา สำคัญของวงการหนังสือพิมพ์จนี ในทุกวันนี้ คือกลุม่ ผูอ้ า่ นมีอายุอยูร่ ะหว่าง ๖๕-๘๕ ปี ซึง่ นับวันจะลดจำนวนลงเรือ่ ยๆ ส่วนคนรุน่ ใหม่มกั เสพข่าวสาร ออนไลน์กนั มาก จึงน่าเป็นห่วงว่าหนังสือพิมพ์จนี จะต้องปิดตัวลงในไม่ชา้ อาจจะราว ๑๐-๑๕ ปีข้างหน้านี้ คำถามจึงมีอยูว่ า่ หนังสือพิมพ์จนี จะมีทางรอดในยุคโลกาภิวตั น์ หรือไม่ ทางรอดหนึ่งที่เป็นไปได้คือ หนังสือพิมพ์จีนจะต้องเปลี่ยนตัวเอง จากที่เคยเป็นช่องทางเสนอข่าวสารทั่วไป มาเป็นสื่อสัญลักษณ์นำเสนอ ภาพลักษณ์หน้าตาในแวดวงคนจีน ในรูปของกลุม่ องค์กร สมาคม มูลนิธิ ซึง่ ทัง้ หมดล้วนให้การสนับสนุนหนังสือพิมพ์จนี อยูแ่ ต่เดิม ทีก่ ล่าวมานีอ้ าจ เป็นทางรอดของหนังสือพิมพ์จีนในไทยได้ แม้ตัวตนที่แท้จริงจะเปลี่ยน รูปไป แต่อย่างน้อยอาจทำให้ชื่อ “หนังสือพิมพ์จีน” คงอยู่ต่อไปได้ ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ รอบรู้ วิริยะพันธุ์ กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร เศรษฐพงษ์ จงสงวน กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ตวงพร วิชญพงษ์กุล นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง มรกต สาตราคม ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง ปิลันธน์ ไทยสรวง วันชัย คนไทย พลธรรม์ จันทร์คำ

๑๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.