จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๐ ประจำเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๔

Page 1

ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๙๐ พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๔

เผยแพร่ ค วามรู้ เรื่ อ งสั ง คมวั ฒ นธรรม เพื่ อ สร้ างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก • โรงเรียนชุมชน : โรงเรียนทางเลือกกับปฏิบัติการโหดของกระทรวงศึกษาธิการ • หน้ หน้าา ๑ • ผักพื้นบ้าน/อาหารท้องถิ่น : จุดเปลี่ยนจากเกษตรอุตสาหกรรมสู่ฐานชีวิตยั่งยืน • หน้า ๔ • “ศรัทธาคนสองเล” ประเพณีตายายย่าน โนราโรงครู สู่ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่อยู่หัว • หน้า ๕ • ลมหายใจสุดท้ายของหลังคาตองตึงในเมืองปอน • หน้ หน้าา11๖ • • “ตลาดพลู” ไชน่าทาวน์ฝั่งธนฯ ในวันไร้พลู • หน้า ๗ • พิธีสุหนัตของบรรดาลูกหลานแขกมอญ ทุ่งครุ • หน้ หน้าา11๙ • • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดยะลา • หน้า ๑๑ • “กงไกรลาศ” แห่งลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัย • หน้า ๑๒ • • สรุปงานเสวนาเรื่อง ไตรภูมิ : จักรวาลทัศน์ของชาวพุทธ “ความเชื่อ” กับ “ภูมิวัฒนธรรม” • หน้า ๑๔

โรงเรียนชุมชน :

โรงเรียนทางเลือก กับปฏิบัติการโหด ของกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงรัฐบาลนี้

ล้วนโอ่ในเรื่องนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา โดยที่ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ชอบออกมาแสดงแนวคิดและวิสัยทัศน์เป็นประจำ เช่นนายกรัฐมนตรีคน ปัจจุบันที่มักพูดเสมอว่า ต้องทำให้การศึกษาของเยาวชนมีคุณภาพและ ทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน แต่เอาเข้าจริงทำไม่ได้ เพราะสิง่ ทีเ่ ป็นในทุกวันนี้ กระทรวงศึกษามาเฟียกลับแสดงพฤติกรรมโหด มากขึน้ ด้วยการยุบ และจะยุบโรงเรียนทีม่ าจากภาคประชาสังคมตามชุมชน ท้องถิน่ ต่างๆ ทัง้ ในเมืองและชนบทอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการวิง่ เต้น ขอร้อง ขัดขืน ต่อต้าน ทีจ่ ะนำไปสูก่ ารรวมตัวเพือ่ การประท้วงและประณาม รัฐบาลในเรื่องกดขี่และละเมิดสิทธิมนุษยชนในโอกาสต่อไป ข้าพเจ้าเป็นบุคคลหนึง่ ในคณะกรรมการปฏิรปู ฯ ซึง่ มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ทำงานอยู่ในกลุ่มอนุกรรมการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมี

ม.ร.ว.อคิน รพีพฒ ั น์ เป็นหัวหน้ากลุม่ ได้เข้าไปในหลายๆ ท้องถิน่ พบว่าความ เดือดร้อนของผูค้ นในสังคมท้องถิน่ ต่างๆ แทบทุกภูมภิ าคทัง้ ในเมืองและชนบท นัน้ นอกจากมีชาวบ้านชาวเมืองเป็นจำนวนมากทีไ่ ด้รบั ความไม่เป็นธรรมจากรัฐ ในเรื่องที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญ อีกเรือ่ งหนึง่ คือ การคุกคามและปฏิบตั กิ ารโหดของเจ้าหน้าทีข่ องรัฐในเรือ่ งการ ศึกษา ที่คนในชุมชนและภาคประชาสังคมจัดการขึ้นเพื่อพึ่งตนเอง เพราะไม่ สามารถจะอดทนรอการจัดการให้เข้าถึงและทั่วถึงของทางรัฐบาล โดยเฉพาะ


๒ ๒

จากทางกระทรวงศึกษาธิการได้ ความขั ด เคื อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น ในขณะนี้ ก็ คื อ แทนที่ ท างรั ฐ จะช่ ว ย สนับสนุนให้เกิดมีโรงเรียนที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น และเพื่อโอกาสแก่เด็ก มากขึ้น กลับทำในสิ่งตรงข้ามโดยปฏิบัติการโหดของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ในพื้นที่เขตการศึกษา ทำการคุกคามอ้างตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ ดำเนินการยุบบรรดาโรงเรียนชุมชนทีไ่ ม่ได้มาตรฐานตามตัวบทกฎหมาย อย่างไร้สำนึกการเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน มีหลายกรณีและหลาย คนที่ถูกเพ่งเล็งว่าส่อไปในทางทุจริต เรียกสินบาทคาดสินบน ความชัว่ ร้ายทีเ่ ขตการศึกษานำมาใช้เป็นกฎเหล็กเพือ่ จัดการกับ โรงเรียนชุมชนก็เช่น โรงเรียนมีพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะเป็นโรงเรียนตาม มาตรฐานในกฎหมายได้ และครูผู้สอนไม่มีคุณสมบัติพอเพียงตามกฎเกณฑ์ของกระทรวงที่จะให้ประกอบอาชีพในการเป็นครูได้ สองอย่ า งที่ ก ล่ า วมานี้ ก็ เ พี ย งพอแก่ ก ารปิ ด กั้ น การเกิ ด ของ โรงเรียนท้องถิน่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ นัน่ ก็เป็นการปิดโอกาสในการ เข้าถึงการศึกษาของคนในชุมชนอย่างแท้จริง โดยไม่รวมไปถึงความเสียหาย ของบรรดาเจ้าของโรงเรียนและผู้ที่อยากจะเป็นครูอีกต่างหาก ความ เดือดร้อนของโรงเรียนชุมชนและครูทกี่ ล่าวมานี้ ข้าพเจ้าพบเห็นด้วยตนเอง ทัง้ ได้ยนิ ได้สมั ผัส และได้เห็นทัง้ ในระดับเมืองและชนบท ในท้องถิน่ ทีเ่ ป็น ชนบทมีลกู ศิษย์ลกู หาหลายคนทีเ่ ป็น NGO ทีร่ กั เด็กและเข้าไปตัง้ หลักแหล่ง อยูใ่ นชุมชน ร่วมมือกับชาวบ้านทำโรงเรียนครอบครัว [Home school] ขึน้ เพื่อสอนกันเองโดยคนในชุมชนที่มีความรู้และความคิด เพราะนอกจาก เป็นการช่วยเด็กให้มีการศึกษาอยู่ภายในชุมชนโดยไม่ต้องเดินทางไป โรงเรียนที่ห่างไกล เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าอาหารการกินแล้ว เด็กยังได้รบั ความอบอุน่ อยูท่ า่ มกลางผูค้ นทีอ่ ยูใ่ นชุมชนเดียวกัน ได้เรียนรู้ และได้รับการอบรมทางชีวิตวัฒนธรรมไปด้วยในตัวเอง เหตุที่เกิดมีโรงเรียนระดับครอบครัวขึ้นมานั้น เป็นเพราะคนใน ชุมชนท้องถิน่ โดยเฉพาะคนรุน่ พ่อรุน่ แม่ปจั จุบนั มีการศึกษาดีขนึ้ มีความรู้ และสติปญ ั ญาพอทีจ่ ะจัดการสอนการเรียนให้กบั ลูกหลานตนเองได้ในท้อง ถิ่นที่ไม่มีโรงเรียนเพียงพอ และผู้ปกครองไม่มีทุนรอนที่จะส่งลูกไปเรียน ตามโรงเรียนทีห่ า่ งไกลออกไปได้ ในขณะเดียวกัน บางท้องถิน่ ทีค่ นมีฐานะ และมีเงินทุนก็ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนชุมชนทางเลือกใหม่ขึ้นมาช่วยคนที่ แลเห็นว่า โรงเรียนรัฐบาลที่มีอยู่นั้นไม่สามารถสอนลูกหลานของตนให้มี ความรู้และความคิดอย่างมีสติปัญญาได้ รวมทั้งขาดความเข้าใจในชีวิต ความเป็นอยูร่ ว่ มกันกับคนในสังคมท้องถิน่ ด้วยกัน เป็นการศึกษาเล่าเรียน ทีไ่ ม่แยกเด็กออกจากครอบครัวและชุมชนจนขาดรากเหง้าทางวัฒนธรรม โรงเรียนทางเลือกใหม่เช่นนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลาย มักเป็นโรงเรียนที่สร้างครูของตนเองขึ้นมาคนละแนวกับครูของ กระทรวงศึกษาธิการ คือเป็นครูทมี่ ใี จเป็นครู ทีน่ อกจากมีความรูท้ กี่ า้ วหน้า แล้ว ยังสามารถสอนให้เด็กคิดเป็นทำเป็น และมีประสบการณ์ในการทำงาน ค้นคว้ารวมกันอย่างเป็นกลุ่มเพื่อความสำเร็จในผลการงานร่วมกัน แต่ครูแบบใหม่รุ่นใหม่เหล่านี้เป็นจำนวนมากที่ไม่มีใบรับรอง วิทยฐานะให้เป็นครูได้ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าอยากจะ สอนจะเป็นครูกต็ อ้ งไปเรียนเพิม่ เติมวิชาครูให้ได้ปริญญา ต้องใช้เวลาไม่ตำ่ กว่า ๔-๕ ปี จนต้องเลิกล้มไปเป็นจำนวนมาก เพราะไม่มที นุ รอนและเวลาทีจ่ ะ ไปเรียนเพิ่ม ทำให้สังคมขาดครูที่มีหัวใจความเป็นครูที่สอนให้เด็กฉลาด รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมและรู้ทันโลกไปอย่างน่าเสียดาย และทีน่ า่ เสียดายเป็นอย่างยิง่ ก็คอื ปัจจุบนั คนทีเ่ ป็นครูดงั กล่าวนี้ เป็นจำนวนมากคือ คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาในวิชาชีพด้านต่างๆ ที่ออกไป ทำงานในที่อื่น ท้องถิ่นอื่นทั้งในและนอกประเทศ เพราะเบื่อหน่ายต่อการ ออกไปทำงานเพือ่ เงินทองตามกระแสบริโภคนิยมและวัตถุนยิ ม คนเหล่านี้ ต้องการกลับมาบ้านเกิดของตนและอยากเป็นครูสอนเด็กในชุมชนได้ เรียนรูแ้ ละทันโลก โดยไม่คำนึงถึงรายได้มากน้อยเพียงใด แต่กแ็ ก่เกินการ ทีจ่ ะกลับไปเรียนเป็นแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษาอีก หากพร้อมทีจ่ ะเป็นครู

ที่ดีให้กับโรงเรียนในชุมชนของตนเอง ถัดจากเรือ่ งครูกเ็ ป็นเรือ่ งพืน้ ทีข่ องโรงเรียนในมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการทีอ่ ยูใ่ นอำนาจของเขตการศึกษาว่าเพียงพอตามมาตรฐาน ทีจ่ ะรับรอง และอนุญาตให้เป็นโรงเรียนได้ตามกฎหมาย ทีเ่ ป็นปัญหาก็คอื โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาซึ่งต้องให้มีพื้นที่กว่า ๒ ไร่ขึ้นไป เป็นต้น นับเป็นเรื่องลำบากกับโรงเรียนชุมชนหลายแห่งที่มีพื้นที่จำกัด และโรงเรียนก็มขี นาดเล็ก รับเด็กนักเรียนไม่มากตามจำนวนของเด็กทีม่ ใี น ชุมชนท้องถิน่ แต่ทางกระทรวงศึกษาให้ความสำคัญแต่เฉพาะพืน้ ที่ ไม่ได้ดู ลึกลงไปถึงศักยภาพของโรงเรียนที่สามารถทำให้การเรียนการสอนมี คุณภาพที่เหมาะสมกับนักเรียนจำนวนน้อยเหล่านั้นไม่ เรือ่ งการควบคุมพืน้ ทีข่ องโรงเรียนดังกล่าวนี้ จึงมีผกู้ ล่าวหาและ ติเตียนเจ้าหน้าที่ของเขตการศึกษาที่รับผิดชอบว่าเป็นเครื่องมือหากินใน เชิงเรียกเงินใต้โต๊ะ มีโรงเรียนทีถ่ กู คุกคามจากเจ้าหน้าทีข่ องเขตการศึกษา หลายแห่งเล่าให้ฟังว่า เคยวิ่งเต้นร้องเรียนผู้ใหญ่ในกระทรวงซึ่งมีความ เข้าใจและพยายามช่วยเหลือ แต่ก็ทำไม่ได้ กลับถูกโต้กลับมาว่า ถึงเป็น กระทรวงก็ไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจและสิทธิ์ขาดเป็นของเขตการศึกษา โดยตรง มีผใู้ หญ่ในวงราชการท่านหนึง่ เล่าให้ขา้ พเจ้าฟังว่า เหตุทเี่ ขตการ ศึกษามีอำนาจเช่นนี้ก็เพราะกระทรวงศึกษานั่นแหละที่เลี่ยงการกระจาย อำนาจในการจัดการโรงเรียนทีจ่ ะต้องไปให้กบั องค์กรปกครองท้องถิน่ ด้วย การมอบอำนาจไปให้เขตการศึกษาของตนเอง ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ รักษาอำนาจรวม ศูนย์แบบเดิมไว้ ในคณะกรรมการปฏิรูปที่ข้าพเจ้ารวมอยู่ด้วย ก็มีการวิพากษ์ วิจารณ์การรวมอำนาจและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการไว้ มาก ถึงกับมีกรรมการท่านหนึง่ พูดขึน้ มาว่า ถ้าอยากจะเห็นเด็กไทยมีการ ศึกษาดีและทันโลก ก็ควรคืนการศึกษาให้กบั ประชาชนไปเสีย ซึง่ ข้าพเจ้า ก็เห็นด้วย เพราะประชาชนในปัจจุบนั ในหลายๆ ท้องถิน่ ไม่ใช่คนโง่อย่างที่ รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการคิดเช่นแต่ก่อน ครอบครัวและชุมชน มีความสามารถและมีสิทธิ์ในการจัดการศึกษาให้แก่ลูกหลานของตนได้ โรงเรียนชุมชนหลายแห่งมีศักยภาพในการเรียนการสอนให้มีคุณภาพดี กว่าโรงเรียนทีจ่ ดั การโดยกระทรวงศึกษาธิการด้วยซ้ำ ทัง้ อีกยังไม่ตอ้ งการ ความช่วยเหลือในเรื่องเงินทุนอุดหนุนแต่อย่างใด แต่เหนืออืน่ ใดในขณะนีก้ ม็ กี ารเคลือ่ นไหวของกลุม่ ปัญญาชนใน สังคมท้องถิ่นขึ้นหลายแห่ง ที่ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบสานภูมิปัญญา ท้องถิน่ ขึน้ มา เพือ่ อบรมและสนับสนุนเด็กนักเรียนในท้องถิน่ ให้เรียนรูแ้ ละ มีประสบการณ์ในการค้นคว้าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่นร่วม กัน เพือ่ ให้รจู้ กั สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในแผ่นดินเกิด การสืบสานภูมิ ปัญญาท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดังกล่าวนี้ ได้มีผู้เสนอให้เป็น


เนือ้ หาอย่างหนึง่ ในหลักสูตรของการศึกษาทางเลือก นับเป็นการเคลือ่ นไหว ทางสังคมทีส่ ำคัญ เพือ่ ต่อรองกับกระแสโลกาภิวตั น์ในรูปของท้องถิน่ วัฒนา [Localization] ซึง่ เป็นการพัฒนาตนเองจากข้างใน เป็นการต่อรองกับกระแส โลกาภิวตั น์ทคี่ รอบงำจากภายนอก [Globalization] จากอิทธิพลของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของทุนข้ามชาติที่เหนือรัฐและเหนือตลาด ในขณะนี้สังคมไทยในส่วนรวมกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็น สังคมอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว และมีพลังทีจ่ ะทำลายสังคมเกษตรกรรมซึง่ เคยมีมาแต่เดิมอย่างยั่งยืนให้สิ้นสลาย ดังเห็นได้จากการโยกย้ายถิ่นฐาน ของคนและแรงงานอุตสาหกรรมทั้งเกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรม หนัก ทีท่ ำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม แหล่งทีพ่ กั ของคนงาน บ้านจัดสรร เช่น ทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆ แหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยเหล่านีน้ อกจากทำให้ชมุ ชนเดิมล่มสลายไปแล้ว ในตัวเองก็ไม่มีความเป็นชุมชน เป็นแต่เพียงกลุ่มคนที่อยู่กันอย่างเป็น ปัจเจก ไม่มกี ารสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมให้เกิดมีสำนึก ร่วมของความเป็นชุมชนขึ้นมาได้ ความหมายความสำคัญของหลักสูตรทางเลือกในเรือ่ งภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่น อันเนื่องมาจากการ เคลือ่ นไหวทางปัญญาของคนในภาคประชาสังคมนัน้ ก็คอื การขับเคลือ่ นให้ เกิดศักยภาพในการบูรณาการทางวัฒนธรรมที่สามารถจรรโลงความเป็น ชุมชนมาแต่เดิม ให้อยู่ร่วมกันกับคนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาอยู่ในท้องถิ่นเดียว กันได้ ทำให้เกิดสำนึกร่วมว่า เป็นคนถิ่นเดียวกันและเป็นชุมชนยุคใหม่ที่ สามารถรักษาสิ่งที่ดีในอดีต และขานรับสิ่งใหม่มาปรับใช้ในการอยู่ร่วมกัน อย่างราบรื่นได้ ในทัศนะของข้าพเจ้า หลักสูตรทางภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ดังกล่าวนีม้ ี ความหมายมากกว่าการเป็นหลักสูตรทางเลือก หากเป็นส่วนหนึง่ ของหลักสูตรพื้นฐานของแต่ละท้องถิ่นทีเดียว เพราะคนในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความ แตกต่างและหลากหลายทางวัฒนธรรม และแต่ละแห่งย่อมมีสิ่งที่เป็น อัตลักษณ์ของตน ดังนัน้ หลักสูตรพืน้ ฐานแต่ละแห่งจึงเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งเรียนรู้ และสอนกันในโรงเรียนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ในการเรียนรู้ของข้าพเจ้ากับความเป็นมนุษย์นั้น การศึกษามี สองอย่างควบคู่กันไปในเวลาเดียวกัน คือการเรียนรู้ [Learning] กับการ ปลูกฝังทางวัฒนธรรม [Cultivation] ก่อนปฏิรูปการปกครองครั้งรัชกาลที่ ๕ การศึกษาทัง้ สองอย่างนีไ้ ปด้วยกันในสังคมไทยทัง้ ในเมืองและชนบท โดยมี ศูนย์รวมอยูท่ วี่ ดั ซึง่ เป็นแหล่งอบรมทางศีลธรรม จริยธรรม อันเป็นการอบรม ทางสังคมและวัฒนธรรม และวิชาชีพ เมือ่ รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา ทำให้ เกิดการตัง้ โรงเรียนขึน้ ในวัด การศึกษาทางโลกและทางวิชาชีพก็กลายเป็น การศึกษาหลักของบ้านเมืองและรัฐ แต่การอบรมทางสังคมและวัฒนธรรมก็ยงั ดำรงอยูภ่ ายในชุมชน และไม่เป็นทางการ เหมือนกันกับการศึกษาด้านอาชีพและทางโลก ต่อเมือ่ โรงเรียนออกจากวัดอย่างมีขอบเขตเป็นของตนเอง ภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาทางโลกทางอาชีพก็แยกตัวออกจากวัด และชุมชน โดยมีอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ ที่มอบอำนาจ ลงมาให้เป็นเรือ่ งของกรมกองทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ในส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าค และ ส่วนท้องถิน่ ในขณะทีก่ ารศึกษาทางธรรมและการอบรมทางสังคมวัฒนธรรม ก็ค่อยๆ คลายความสำคัญไป ทางวัดก็ไม่เอาใจใส่และทางบ้านก็ไม่มี เวลา ยิ่งความสัมพันธ์ทางสังคมภายในชุมชนก็ค่อยๆ หมดไป เกิดสภาพ ครอบครัวแตกแยก คนในชุมชนออกไปทำงานข้างนอกและมีคนใหม่จากภาย นอกย้ายเข้ามา ทำให้เกิดภาวะต่างคนต่างอยู่โดยที่ไม่มีกลไกที่จะสร้าง ความสัมพันธ์กนั ทางสังคม ดังทีเ่ ห็นตามบ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียม ยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์เช่นปัจจุบันด้วยแล้ว แทบไม่มีการรับรู้ในเรื่อง การอบรมทางสังคมและวัฒนธรรมเหลืออยู่เลยในสังคมของคนรุ่นใหม่ที่ ประกอบด้วยรุ่นพ่อแม่ ลูกหลาน ในปัจจุบัน ภาวการณ์ลม่ สลายทางสังคมของครอบครัวและชุมชนทีเ่ กิดขึน้

นีก้ ำลังอยูใ่ นลักษณะทีเ่ ปลีย่ น [Transform] มนุษย์ในฐานะสัตว์สงั คมที่ ต้องมีชวี ติ รอดร่วมกันในครอบครัวและชุมชน มาเป็นสัตว์เศรษฐกิจและ การเมืองที่เอาแต่ตัวรอดโดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมดังเห็นได้ในทุกวันนี้ ปรากฏการณ์ทางสังคมทีแ่ ลเห็นนัน้ อยูใ่ นลักษณะทีเ่ ป็นความล่ม สลายทางศีลธรรมและจริยธรรม [Demoralization] ทีท่ ำให้ทงั้ รัฐและสังคม ยอมรับว่าการทุจริตคอร์รปั ชัน่ เป็นวิถชี วี ติ [Corruption is a Way of Life] กันไป หมด สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าในขณะนี้ก็คือสภาวะความล่มสลายของความเป็น มนุษย์ [Dehumanization] ที่หลายๆ คนเรียกว่าเป็นวิกฤติทางมนุษยธรรม [Humanitarian Crisis] ทว่าท่ามกลางการล่มสลายทางสังคมและวัฒนธรรม อันมีเหตุมา จากการครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองทีม่ าจากอำนาจรัฐและทุนเหนือ รัฐเหนือตลาดที่เปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในความเป็นมนุษย์ให้กลายเป็น สินค้า โดยเฉพาะความคิดว่ามนุษย์เป็นทรัพยากร [Human resource] เป็นต้น ก็มีปัญญาชนทั้งในเมืองและชนบทไม่น้อยที่แลเห็นความล่มสลาย ในความเป็นมนุษย์ดังกล่าว ได้แลเห็นความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูความเป็น มนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมให้กลับคืนมา หลายคนมาตัง้ คำถามในลักษณะเดียวกันว่าเด็กไทยรุน่ ใหม่ๆ นัน้ ไม่เคยได้รบั การศึกษาอบรมให้รจู้ กั ตนเอง รูจ้ กั ครอบครัว และการอยูร่ ว่ มกัน ในชุมชน ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครแลเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่ จะต้องอบรมให้เด็กได้เรียนรูแ้ ละรับรูใ้ นสิง่ เหล่านี้ จึงเกิดการเคลือ่ นไหวขึน้ ทั้งในกลุ่มคนภายในชุมชนท้องถิ่นและระหว่างท้องถิ่น ในรูปเครือข่าย ทางภาคประชาสังคม เพราะไม่คิดจะพึ่งพิงและอาศัยรัฐแต่อย่างใด จนหลายๆ คนมีความคิดว่า รัฐควรเลิกผูกขาดการศึกษาและ คืนอำนาจในการจัดการให้แก่ประชาชน ซึง่ หมายถึงชุมชนท้องถิน่ นัน่ เอง การเคลือ่ นไหวทางการศึกษาในภาคประชาสังคมทีแ่ ลเห็นในขณะ นีก้ ค็ อื การกระตุน้ ให้คนในชุมชนทัง้ ผูใ้ หญ่และเด็กศึกษาค้นคว้าในเรือ่ งภูม-ิ ปัญญาท้องถิน่ และทำให้เกิดการสืบสานกันระหว่างคนรุน่ เก่ากับคนรุน่ ใหม่ ขึน้ การเคลือ่ นไหวดังกล่าวนีม้ อี ยูใ่ นหลายท้องถิน่ ทัง้ เมืองและชนบทในทุก ภูมภิ าค มีการสร้างพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ และประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เพือ่ เรียนรู้ และถ่ายทอดกันเป็น โดยมีหน่วยราชการบางหน่วย องค์กรอิสระ เช่น ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรนิ ธรและมูลนิธใิ นเครือข่ายขององค์กรเอกชนสนับสนุน แต่ที่ เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือ เรื่องการตั้งโรงเรียน ครอบครัวและโรงเรียนชุมชนขึ้น ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึ้นมาก็ด้วยวัตถุประสงค์ ๒ ประการ ประการแรก เพื่อชี้ให้สาธารณชนเห็นและเข้าใจว่า กระทรวงศึกษาธิการ ในทุกรัฐบาลทุกสมัย แม้กระทัง่ ในคณะรัฐบาลยุคนีย้ งั คุมอำนาจในการศึกษา ของคนในสังคมไว้อย่างผูกขาดและหยุดนิง่ ด้วยกฎหมาย ทีท่ ำให้เจ้าหน้าทีผ่ ู้ รับผิดชอบทัง้ ในส่วนกลางและท้องถิน่ ดำเนินการปิดกัน้ เสรีภาพและโอกาส ของผู้คนในชุมชนท้องถิ่นจัดการศึกษาของตนเอง เพื่อให้เด็กที่ด้อยโอกาส ได้เข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงและอย่างมีการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดสติปัญญา รู้จักตนเองอย่างทันโลกได้ การกระทำของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรได้รับ การประณามและต่อต้านจากผูค้ นทุกหมูเ่ หล่าในภาคประชาสังคม อีกทัง้ เพือ่ เป็นการเสนอแก่นักการเมืองและพรรคการเมืองที่เสนอตัวมาว่าจะแก้ไข ปัญหาการศึกษาของประเทศในรัฐบาลต่อไปได้ว่า ควรมีการทบทวนและ แก้ไขกฎหมายที่ทั้งล้าสมัยและทุเรศนี้อย่างใด และประการสุดท้ายก็คอื เพือ่ กระตุน้ และขับเคลือ่ น [Empowerment] ผูค้ นและองค์กรในภาคประชาสังคม มูลนิธิ และองค์กรอิสระทีเ่ คลือ่ น ไหวในด้านภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ และ หลักสูตรทางเลือก ได้รวมพลังกันจัดตั้งเวทีประชาพิจารณ์เพื่อสื่อสารแลก เปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน และขับเคลื่อนให้มีทาง กระจายอำนาจในการจัดการศึกษาลงสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง


ผักพื้นบ้าน/อาหารท้องถิ่น จุดเปลี่ยนจากเกษตรอุตสาหกรรม สู่ฐานชีวิตยั่งยืน จังหวัดฉะเชิงเทรามีภูมินิเวศทั้งแบบป่าเขา

ภายในจนถึงเขตน้ำกร่อยชายฝั่งทะเล การที่มี สภาพแวดล้อมที่หลากหลายเช่นนี้ ทำให้เป็น แหล่งผลิตอาหารทีส่ ำคัญและเพือ่ การส่งออกมา แต่อดีต เช่น เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง พันธุด์ ี เป็นแหล่งสวนผลไม้ รวมถึงหมาก เร่ว และ กระวาน ซึ่งเป็นสินค้าจากสวนและป่าเขาสำคัญ ของบ้านเมืองในอดีต แต่ไม่ถงึ ร้อยปีทผ่ี า่ นมา การให้สมั ปทาน เพื่อตัดไม้ทำเป็นซุงเพื่อขายไปจนถึงการทำถ่าน จากไม้เบญจพรรณ การใช้ทรัพยากรอย่างสุรุ่ยสุร่ายในยุคหนึ่ง ไม่ได้คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตทำให้ป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารสูญหายไป อย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การบุกเบิกพื้นที่เพื่อทำ พืชเศรษฐกิจในยุคของการส่งเสริมการปลูกมัน สำปะหลังตามนโยบายของรัฐบาล เพราะเป็นพืช เศรษฐกิจ นำไปแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด หรือ ผลิตภัณฑ์แป้งมันเพือ่ ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ หลากหลาย เช่น อาหารสัตว์ อาหาร กระดาษ และ พลังงานจากเอทานอล ดังนัน้ มันสำปะหลังจึงเป็น พืชที่ได้รับการประกันราคาจากรัฐบาล การปลูกพืชเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อ การใช้ทดี่ นิ และแหล่งอาหารอย่างรวดเร็ว เพราะ ขยายการใช้ ที่ ดิ น เข้ า ไปในพื้ น ที่ ร าบและป่ า ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ซึ่ง เป็นแหล่งอาหารสำคัญ จากเดิมที่เคยเป็นแหล่ง ปลูกข้าวและสวนผลไม้กเ็ ปลีย่ นจากผืนดินทีอ่ ดุ ม สมบูรณ์มาเป็นสภาพดินเสื่อมโทรมจากการใช้ สารเคมีอย่างหนัก แต่สำหรับรัฐแล้ว ในช่วงไม่กปี่ ที ผี่ า่ นมา ยิ่งเห็นว่าการปลูกพืชเศรษฐกิจควรส่งเสริมให้มี มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นฐานการผลิตพืชน้ำมันเพื่อ การเอาพลังงานเอทานอลผสมในเบนซิน และ ปลูกปาล์มในพืน้ ทีฝ่ นตกชุก โดยส่งเสริมในพืน้ ที่ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีแนวโน้มรุกเข้าไปในที่นาและที่ดินของรัฐและพื้นที่ ชุ่มน้ำต่างๆ นโยบายการเกษตรเช่นนีแ้ ม้จะมีมลู ค่า มหาศาลแก่ ผู้ ป ระกอบการและรายได้ ข องรั ฐ มวลรวม แต่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิต ของผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกรเป็นอย่างมาก พืชผัก ในท้ อ งถิ่ น อั น หลากหลายที่ เ คยเก็ บ กิ น เป็ น

อาหารถู ก เปลี่ ย นมาเป็ น พื้ น ที่ เ พื่ อ ปลู ก ไม้ ยูคาลิปตัส มันสำปะหลัง และยางพารา ชาวบ้าน หลายคนไม่ปลูกข้าวอีกแล้ว ต้องซือ้ ข้าวราคาแพง แหล่งน้ำตามธรรมชาติลดน้อยลง สัตว์นำ้ ก็แทบ จะจับไม่ได้ มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารเพิ่มขึ้น มีปญ ั หาหนีส้ นิ เพิม่ ขึน้ จากการปรับเปลีย่ นระบบ การผลิตทีต่ อ้ งลงทุน เช่น ปุย๋ เคมีและยามากขึน้ พืน้ ทีเ่ พาะปลูกลดลง เพราะขายทีด่ นิ แล้วไปเป็น แรงงานรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า การปรับเปลีย่ นวิถกี ารผลิตจากเกษตร ที่หลากหลายและผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง [self– sufficient society] มาเป็นเกษตรเชิงเดีย่ ว ทำให้ ต้องสูญเสียพันธุกรรมพืชและสัตว์ ความหลาก หลายทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนทาง ชีวภาพล้วนหายสาบสูญไป การทำการเกษตรยุค ปัจจุบันเน้นการจ้างแรงงาน เป็นเถ้าแก่นาบ้าง เถ้าแก่สวนต่างๆ บ้าง แต่เมือ่ หักต้นทุนแล้วแทบ ไม่เหลือรายได้แต่อย่างใด กลับกลายเป็นการเพิม่ ผลผลิตให้ประเทศหรือการคำนวณค่า GDP ที่ เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่เกิดจากการขายผลผลิต เพียงชนิดเดียว และการกำหนดราคาสินค้าขึ้น กับตลาดต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงขาดทุน มีหนีส้ นิ ต้องซือ้ อาหารกินตลอดเวลา จากทีเ่ คย สามารถผลิตได้ในครัวเรือน การล้มละลาย ขาย ที่ดินเพื่อปลดหนี้สิน ถูกยึดที่ดินทำกิน เกิดขึ้น ตลอดช่วงระยะ ๕๐ ปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ตั้ ง แต่ ฉ บั บ แรกเป็ น ต้ น มา การเคลื่อนย้ายอพยพเข้าเมืองใหญ่ เพื่อขายแรงงานทำให้เกิดเกษตรกรทิ้งถิ่นกลาย เป็นคนจนเมือง ส่วนชาวบ้านที่ยังอยู่กับงาน เกษตรกรรมต้องใช้สารเคมีมากขึน้ สุขภาพแย่ลง ผลิตภัณฑ์ดอ้ ยคุณภาพขึน้ กลายเป็นผลกระทบ แบบลูกโซ่ที่แก้ไขปัญหาให้หมดไป ยากพอๆ กับเข็นครกขึ้นภูเขา การตัดวงจรการผลิตพืชเชิงเดี่ยวเช่น นี้ไม่อาจทำแล้วเห็นผลกระทบในทางที่ดีขึ้นได้ หากทำเฉพาะปัจเจก หากต้องการความร่วมมือ กันเป็นกลุม่ ใหญ่เพือ่ พลิกฟืน้ แผ่นดินให้กลับคืน ซึ่งพบได้ในกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกซึ่งกลาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการอย่างยิ่ง โดย เฉพาะชาวเมืองที่กังวลต่ออันตรายของสารเคมี

และผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว การปรับเปลีย่ นทีค่ อ่ ยเป็นค่อยไป โดย ไม่ได้ปฏิเสธการปลูกพืชเชิงเดีย่ ว แต่ชาวบ้านซึง่ ในปัจจุบันมีที่ดินไม่มากก็ควรทำการเกษตรเพื่อ เลี้ยงตนเองก่อนเป็นอันดับแรก ใช้วิธีการทำ เกษตรกรรมแบบยัง่ ยืน เพราะได้มกี ารพิสจู น์มา อย่างยาวนานนับ ๑๐ ปีแล้วว่า สุขภาพดีขึ้น มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ ลดหนี้สิน พึ่งตนเองได้ อยูเ่ ป็นครอบครัวพร้อมหน้าพ่อแม่ลกู ปูย่ า่ ตายาย และให้ความสำคัญแก่สุขภาพของทั้งตนเองและ ผู้บริโภคได้อย่างไร ชาวบ้ า นแถบ “คู้ ย ายหมี ” อำเภอ สนามชัยเขตและอีกหลายแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาสภาพแวด ล้อม มีการรื้อฟื้นสภาพป่าธรรมชาติขึ้นมาตาม หัวไร่ปลายนา และปลูกเสริมพันธุ์พืชจนมีความ หลากหลายขึ้น ทั้งชนิดของไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ ใช้สอย เช่น ไม้ยาง ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ต้นไผ่ป่า และพืชผักพื้นบ้านที่เป็นอาหาร เช่น ชะอม แต้ว ชะมวง เสม็ด ดอกดิน (กระเจียว) หวาย ผักหวานป่า ข่าป่า ฯลฯ และยังคงมีพันธุ์ ข้าวพื้นเมืองของท้องถิ่น เช่น พันธุ์ตะเภาแก้ว พันธุเ์ หลืองประทิว พันธุห์ อมจันทร์ พันธุข์ วัญชัย มีการเพาะปลูกและเก็บรักษาพันธุ์ไว้ ทุกวันนีพ้ วกเขามีรายได้เพิม่ ขึน้ ไม่มาก นัก เพราะไม่ได้ผลิตเพือ่ ขายเพียงเท่านัน้ แต่เน้นที่ การมีพืชผักและพันธุ์ข้าวที่สามารถกินใช้ได้บาง ส่วน ส่วนที่เหลือก็ขายในตลาดสินค้าแบบทาง เลือก ดูจะเป็นทางเลือกและทางออกสำหรับ เกษตรกรทีไ่ ม่อาจฝากความหวังไว้ทพี่ ชื เชิงเดีย่ ว ที่ไม่อาจเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้อย่างยั่งยืน เกษตรกรรมธรรมชาติ นั้ น อาจเป็ น คำตอบแก่วิถีชีวิตของชาวบ้านในสังคมชาวนา [Peasant society] ทีผ่ า่ นช่วงเวลาของความตกต่ำ มาจนถึงที่สุดแล้ว และกำลังก้าวไปสู่การเป็นผู้ ประกอบการ [Entrepreneur] ผลิ ต อาหาร คุ ณ ภาพแก่ พ ลเมื อ งโลก อั น เป็ น ทางเลื อ กที่ ชัดเจนในความมุง่ หวังเพือ่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ได้ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ


ประเพณีตายายย่าน โนราโรงครูสคู่ วามศักดิส์ ทิ ธิ์ ของเจ้าแม่อยู่หัว งานพิธีสมโภชสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัวและงานตายายย่านที่วัดท่าคุระ ตำบล

คลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ถูกกำหนดขึน้ ทุกวันพุธแรกข้างแรมใน เดือนหกของทุกปี หากเป็นปฏิทนิ ปกติของปีนกี้ ค็ อื วันพุธที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ พระครูพิพัฒน์ ธรรมจารี เจ้าอาวาสวัดท่าคุระบอกว่า แต่ละปีมี คนเข้าร่วมพิธีมากขึ้นทุกที ไม่ว่าใกล้หรือไกล ลูกหลานจะกลับมาไหว้ เจ้าแม่อยู่หัวกันเป็นประเพณีกึ่งพิธีกรรม คำว่า “งานตายายย่าน” หมายถึง งานรำลึกถึงบรรพบุรษุ เทือกเถา เหล่ากอของวงศ์ตระกูล โดยเฉพาะ “แม่เจ้าอยู่หัว” ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละบรรพบุรษุ ของคนท่าคุระด้วย ทุกคนในครอบครัวรวมทัง้ ทีย่ า้ ย ภูมลิ ำเนาไปยังถิน่ อืน่ จะกลับมาชุมนุมพร้อมกัน ร่วมทำบุญอุทศิ ส่วนกุศลแก่ บรรพบุรษุ จะกลับมาหรือแก้บนสร้างสิรมิ งคลให้เกิดแก่ชวี ติ และครอบครัว ในปัจจุบัน ที่วัดท่าคุระมีการเปิดเต็นท์ขายสินค้าพื้นเมือง ขายขนมท้องถิ่น ตั้งแต่ขนมลา (ขนมพอง) ขนมโค กะละแม ข้าวเหนียว (แดง) กวน ฯลฯ เต็มพืน้ ทีว่ ดั และสิง่ ทีเ่ ป็นหัวใจของงานก็คอื “การรำโนราโรงครู” หรือมโนราห์ โรงครูแก้บนถวายแม่เจ้าอยู่หัวนั่นเอง งานตายายย่าน สรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว เริ่มทำตั้งแต่บ่ายวันพุธจน ย่ำค่ำของวันพฤหัสบดี (๑๘-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔) ผู้คนจากทุกสารทิศ เข้าแถวเพื่อรอสรงน้ำทั้งหนุ่มสาวไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ ในมือถือแก้วน้ำลอย ดอกไม้ประพรมน้ำอบ แม้วา่ อากาศเดือนพฤษภาคมจะร้อนอบอ้าวจนเหงือ่ ไหลไคลย้อย แต่ทุกคนต่างอดทนด้วยแรงศรัทธา การสรงน้ำจัดขึน้ ในโบสถ์วดั ท่าคุระ หลังจากเจ้าอาวาสและพระผู้ ประกอบพิธอี ญ ั เชิญเจ้าแม่อยูห่ วั ออกมา ประชาชนต่างเบียดเสียดรอสรงน้ำ เจ้าแม่อย่างใจจดใจจ่อ เจ้ า แม่ อ ยู่ หั ว เป็ น พระพุ ท ธรู ป ทองคำขนาดเล็ ก ปางสมาธิ ตามตำนานเล่าว่า เจ้าแม่อยูห่ วั เป็นตัวแทนของ “พระหน่อ” ซึง่ เป็นทีน่ บั ถือ ของคนลุม่ ทะเลสาบสงขลา ตัง้ แต่ระโนด สทิงพระ จนถึงกระแสสินธุ์ ทีส่ มั พันธ์ กับตำนานเรื่องเล่าในท้องถิ่นอันเกี่ยวพันกับวัดพะโคะ ซึ่งเป็นวัดสำคัญใน สมัยอยุธยาที่มีสมเด็จพระเจ้าพะโคะหรือหลวงปู่ทวด พระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ แห่งคาบสมุทรอยู่ที่นั่นเอง องค์เจ้าแม่วางอยูบ่ นพานเงินล้อมองค์ดว้ ยดอกไม้สด ข้างเคียงเป็น พระพี่เลี้ยงวางอยู่ในหีบเหล็กที่วัดท่าคุระจัดไว้บนฐานปูน ต่อท่อให้น้ำไหล ลงไปยังสระนอกโบสถ์สำหรับชาวบ้านนำกลับไปบูชา ถือเป็นน้ำมนต์ศกั ดิ-์ สิทธิท์ ชี่ ว่ ยให้เกิดความสุขกายสบายใจ ระหว่างสรงน้ำเจ้าแม่อยูห่ วั พระสงฆ์ จะสวดให้พรและแก้บนด้วยการรำมโนราห์ถวายหรือด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น การบวชพระและสามเณร บวชชี หรือถวายข้าวตอกดอกไม้และบริจาคทาน เพื่อสร้างอุโบสถวัด การแก้บนที่สำคัญซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งที่เจ้าแม่โปรดปรานที่สุด คือการรำมโนราห์ถวาย เรียกกันว่า การรำโรงครู ตามแบบฉบับดั้งเดิม เล่ากันว่าหากไม่รำถวาย จะเกิดเหตุไม่ดีแก่ตนเองและครอบครัว การเบิกโรงของมโนราห์เริม่ ด้วยการตัง้ เครือ่ งโหมโรงประกาศราช

ครู รำเบิกโรง-รำแม่บท ออกพราน รำคล้องหงส์ แทงจระเข้ เฆีย่ นพราย ดังนัน้ คณะมโนราห์ที่ออกโรงในงานประเพณีตายายย่านจะต้องมีความเจนจัดใน นาฏศิลป์แขนงนี้เป็นพิเศษ ปีนี้มโนราห์คณะสมพงษ์น้อย ศ. สมบูรณ์ศิลป์ จังหวัดพัทลุง เป็นคณะเบิกโรงในงานพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์แก่คนลุ่มทะเล สาบสงขลา ระหว่างการแสดง ลูกหลานเจ้าแม่อยู่หัวที่เข้าร่วมพิธีจะสลับขึ้น มารำถวายตลอดทั้งวัน ในวัย ๒๔ ปี ครูแอน หรือ จิราวรรณ ชะนีทอง ครูอนุบาลโรงเรียน บ้านท่าคุระ ผูด้ แู ลคณะมโนราห์เด็กบอกว่า งานตายายย่าน บ้านท่าคุระ เป็น งานประเพณีท้องถิ่นที่เธอมีความภาคภูมิใจ ความศรัทธาต่อเจ้าแม่อยู่หัว ทำให้คณะครูโรงเรียนบ้านท่าคุระก่อตัง้ คณะมโนราห์ขนึ้ มา โดยคัดสรรเด็ก นักเรียนตัง้ แต่ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ ๓-๖ มารำผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันทุกปี โดยมีครูมโนราห์จริงๆ เป็นผู้สอน การฝึกมโนราห์เด็กโรงเรียนบ้านท่าคุระถูกจัดอยูใ่ นรายวิชานาฏศิลป์พนื้ บ้าน แต่การรำมโนราห์แก้บนในงานตายายย่านยังแฝงไว้ดว้ ยความ ศรัทธาในเจ้าแม่อยู่หัว เด็กๆ ที่เข้ารับการฝึกฝนมีความเต็มใจและภาคภูมิ ที่ได้รำถวายเจ้าแม่อยู่หัว รวมถึงครอบครัวของพวกเขาเอง ครูแอนเล่าว่า ความศักดิส์ ทิ ธิข์ องเจ้าแม่เป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วจิตใจ และศรัทธาแก่คนในชุมชน ไม่ว่าคนในชุมชนจะออกไปทำงานไกลแค่ไหน เมื่อถึงงานประเพณีในแต่ละปี ลูกเจ้าแม่อยู่หัวจะกลับบ้านเพื่อร่วมสรงน้ำ และรำมโนราห์ถวาย ความศักดิส์ ทิ ธิข์ องเจ้าแม่อยูห่ วั ขจรขจายสูจ่ ติ ใจคนลุม่ ทะเลสาบ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธา การรำมโนราห์ถวายมีทั้งรำมโนราห์ทรงเครื่อง รำออกพราน ร่วมกับบนบวชนาค บวชชี รำกระบีก่ ระบอง ใครบนอย่างไร รำถวายอย่างนัน้ และมีธรรมเนียมกันว่า หากมีลูกชายคนหัวปีอายุเข้า ๑๔-๑๕ ปี ให้จัดทำ ขนมพอง (ขนมลา) ๑ สำรับ ถ้าเป็นลูกผู้หญิงหัวปีให้ทำขนมโค ขนมขาว ขนมแดง ถวาย หากไม่ทำจะทำให้ประสบเหตุเภทภัยและทุกขเวทนาต่างๆ สิง่ ทีส่ ำคัญคือ สำนึกในสายเลือดของคนทีถ่ อื ตนว่าเป็นลูกหลาน เจ้าแม่อยูห่ วั การกลับมาร่วมพิธถี อื เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีตอ่ สิง่ ศรัทธา นอกจากนีท้ กุ ปีในช่วงเวลานี้ เครือญาติสนิทมิตรสหายต่างกลับมา ชาวบ้านผู้ขึ้นมารำ แก้บนถวาย ตั้งแต่ เช้าจรดบ่ายถึงย่ำค่ำ ของวันพฤหัสบดี หมุนเวียนไม่ขาดสาย

ผู้เฒ่าวัย ๗๐ ปีเศษ ก้มกราบเจ้าแม่อยู่หัว ศีรษะจรดพื้นด้วย ความนบนอบและ นับถือ


พบหน้าค่าตา เป็นความผูกพันโดยมีเจ้าแม่อยูห่ วั เป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ ว และ รักษาสืบทอดการรำมโนราห์ให้เป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานทีค่ รูแอนภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง การบนบานหรือ “เหมรย” ในภาษาพืน้ ถิน่ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ เหมรยปาก อันเป็นการสัญญากันด้วยวาจา และ เหมรยห่อ หมายถึงการสัญญา โดยมีห่อเครื่องสังเวย เมื่อประสบผลแล้วจึงมาแก้ห่อแล้วรำมโนราห์ถวาย ลูกหลานเจ้าแม่อยู่หัวทุกคนเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ การบนบาน ศาลกล่าวนั้น ใครขออะไรแล้วทำความดีร่วมจะสมดังความปรารถนา ใคร บนบานอะไรไว้แล้วรำมโนราห์ถวายจะประสบความสำเร็จ ไม่เกิดเหตุการณ์ ร้ายในชีวิต เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคนสองฝั่งทะเลสาบสงขลามานับร้อยปี การรำโนราเป็นศิลปะที่อ่อนช้อยและเป็นที่นิยมของคนลุ่มทะเล สาบ กินพื้นที่ตั้งแต่สงขลาถึงพัทลุง ซึ่งถือตนว่าเป็นลูกหลานของโนรา เครือ่ งดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับ ฉิง่ โหม่ง และปี่ เร้าอารมณ์ผทู้ รี่ ำถวาย เจ้าแม่อยู่หัวราวกับต้องมนต์สะกด

ช่างกำลังมุงหลังคาด้วยใบตองตึงแบบ เฮือนไต

ป้าคำหลู่กำลังสาธิตวิธีการ เย็บไพใบตองตึง

บ้านเมืองปอนอยูใ่ นอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน ตัง้ อยูใ่ นแอ่งทีร่ าบ

น้ำปอน วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ขนาดราว ๑๓ × ๔ กิโลเมตร ห่างจากเมือง ขุนยวมมาทางทิศใต้ไม่ไกลนัก เมืองปอนเป็นชุมชนสำคัญทีม่ วี ดั หลายแห่ง เช่น จองเมืองปอน จองธรรมเจดีย์ ส่วนทางเหนือและใต้ของแอ่งทีร่ าบเมือง ปอนยังมีเขาขนาดย่อมทีค่ นเมืองปอนไปสร้างพระธาตุไว้ทงั้ สองแห่งเรียกว่า “กองมูเหนือ” และ “กองมูใต้” เล่ากันว่า นายน้อยศรีหรือพญาไพศาล คนไต หรือคนไทใหญ่เป็นผู้นำสร้างบ้านเรือนตั้งถิ่นฐานเมื่อราวทศวรรษ ๒๔๐๐ ทำการเกษตร ล่องแพนำสินค้าไปขายต่างถิ่น และการค้าวัวต่าง บ้านเรือนในเมืองปอนดูจะไม่ต่างไปจากบ้านคนไทใหญ่ทั่วไปใน จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน คือเป็นบ้านไม้จริงยกพืน้ ส่วนมากปลูกด้วยไม้กระยาเลย ขนาดใหญ่เล็กตามการใช้สอยหรือฐานะ หากเป็นผู้ที่ประกอบการค้าจะมี บ้านขนาดใหญ่กว่าชาวบ้านที่ทำนาอย่างเดียว และบริเวณใต้ถุนจะทำเป็น เรือนติดพื้นสำหรับจำหน่ายสินค้า อย่างไรก็ตาม ไม่วา่ จะเป็นบ้านเล็กหรือบ้านใหญ่กต็ อ้ งมุงหลังคา

นอกจากนีย้ งั มีการเหยียบเสน เป็นการบำบัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งจะกระทำโดยโนราใหญ่ที่ผ่านพิธีกรรมและกระทำพร้อมกับการร่ายรำ โนราโรงครู ผู้เข้ารับการเหยียบเสนจะต้องเตรียมถาดรองน้ำ หมากพลู รวงข้าว หญ้า ธูปเทียน โนราใหญ่จะเริม่ ร่ายรำพร้อมมีดหมอในมือ ก่อนใช้ ฝ่าเท้าจุม่ น้ำโดยมีผชู้ ว่ ยจับหัวแม่เท้าของโนราใหญ่องั กับเทียนไขพออุน่ ก่อน ร่ายรำอีกครั้งแล้วนำไปแตะที่บริเวณศีรษะ ฝ่าเท้า หรืออวัยวะต่างๆ ของ ร่างกาย เชื่อว่าเป็นการปัดเป่าโรคภัยและช่วยให้รอดพ้นจากวิบัติต่างๆ ความเชื่อเหล่านี้ฝังรากลึกอยู่ในสำนึกร่วมของชุมชนมานานนับ ร้อยปี และไม่วา่ ใครจะเชือ่ เหตุผลใด ประเพณีตายายย่านหลอมละลายหัวใจ คนลุม่ ทะเลสาบสงขลาเป็นหนึง่ เดียว ฝังลงในแผ่นทองขององค์เจ้าแม่อยูห่ วั โดยมีมโนราห์เป็นสื่อแสดงออกซึ่งความศรัทธา จนถึงปีหน้า คนสองเลจะกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง… กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

ด้วยใบตองตึงหรือใบต้นพลวง หลังคาตองตึงจะให้ความเย็นแก่บา้ นทีอ่ าศัย การใช้ตองตึงนับเป็นการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศใกล้ตวั ไม่รบกวนหรือ เป็นพิษแก่ธรรมชาติแวดล้อม เมื่อกลุ่มบ้านหลังคาใบตองตึงรวมกันหลายหลังดูสวยสงบและ อบอุน่ ร่มรืน่ นำไปสูค่ วามรูส้ กึ ทีเ่ ป็นมิตรกับชุมชนและผูค้ นในพืน้ ที่ การใช้ ตองตึงนี้นับเป็นภูมิปัญญาวิเศษในการที่จะพึ่งตนเองด้วยการอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติ และยังรักษานิเวศธรรมชาติไว้อย่างยั่งยืน บ้านที่มุงหลังคาด้วยใบตองตึงจะมีอายุการใช้งานประมาณ ๓ ปี หากเทียบกับหลังคากระเบือ้ ง สังกะสี แป้นเกล็ด (กระเบือ้ งไม้) ความคงทน ของหลังคาตองตึงน้อยกว่า การเปลีย่ นหลังคาจะช่วยกันระหว่างเพือ่ นบ้าน และญาติพนี่ อ้ ง ทุกบ้านจะต้องลงมือลงแรงช่วยกันหาเก็บใบตองตึงในพืน้ ที่ ป่ารอบหมูบ่ า้ นในช่วงเดือน ๒–๔ หรือเดือนมกราคมถึงมีนาคม อันเป็นช่วง เวลาที่ใบตองตึงหรือใบพลวงร่วงหล่นและมีอุณหภูมิที่ทำให้ใบตองตึงแห้ง เหมาะสมแก่การมุงหลังคาบ้าน ส่วนหนึง่ ต้องเตรียมไม้ไผ่เพือ่ จักตอกเย็บใบตองตึง ช่วยกันเย็บใบ ตองตึงด้วยเส้นตอกให้เป็น ไพ หรือ ตับ ในภาษาไทยกลางจนได้จำนวน ตามทีต่ อ้ งการ สุดท้ายจึงรือ้ หลังคาเก่าแล้วเปลีย่ นหลังคาใหม่ให้ได้ภายในวัน เดียว การลงมือลงแรงเช่นนี้ เจ้าของบ้านจะต้องจัดเตรียมอาหารเลี้ยงผู้ที่ มาช่วยเหลือเปลี่ยนหลังคาซึ่งเป็นงานใหญ่และเร่งรัด หลังจากทางหลวงสาย ๑๐๘ ตัดราวทศวรรษ ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ชีวติ วัฒนธรรมของคนเมืองปอนก็เปลี่ยนแปลงไป คนจำนวนมากได้เปลี่ยนวิถี การผลิตจากการผลิตพึง่ ตนเองไปสูก่ ารผลิตเพือ่ ขาย คนจำนวนหนึง่ ได้เข้าสู่ วิถกี ารศึกษาระบบโรงเรียน แล้วเข้าสูร่ ะบบงานราชการและเอกชน คนเมือง ปอนจึงไม่มีเวลาว่างที่จะร่วมกันทำกิจกรรมในสังคมท้องถิ่น ทั้งมีวัสดุมุง หลังคาอื่นๆ ที่คงทนกว่าใบตองตึง เช่น สังกะสี กระเบื้อง เข้าถึงท้องถิ่น การมุงหลังคาบ้านด้วยใบตองตึงจึงเริม่ สูญหายอย่างช้าๆ จนหมดไปในทีส่ ดุ อย่างไรก็ตามบ้านจำนวนน้อยในเมืองปอนบางหลังยังคงรักษา บ้านหลังคาตองตึง ส่วนหนึง่ เป็นบ้านทีไ่ ม่มกี ำลังทีจ่ ะเปลีย่ นหลังคาบ้านเป็น กระเบือ้ งหรือสังกะสี ในขณะทีบ่ างบ้านได้ดำเนินกิจการโฮมสเตย์หรือบ้าน พักนักท่องเทีย่ ว จึงรักษาบ้านในวิถไี ทใหญ่ดงั้ เดิมทีส่ ามารถดึงดูดผูม้ าเยือน จำนวนมากให้ประทับใจ เช่น บ้านของ ป้าคำหลู่ เติกอ่อง ซึง่ เป็นบ้านทีค่ ณะ เจ้าหน้าทีม่ ลู นิธเิ ล็ก–ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ พักอาศัยทุกครัง้ เมือ่ มาทำงานภาค สนามที่เมืองปอนก็เป็นบ้านหลังหนึ่งในประเภทหลัง


ป้าคำหลู่ เติกอ่อง เป็นลูกหลานไทใหญ่ที่ตั้งถิ่นฐานในบ้านเมือง ปอนมาอย่างน้อยสามชั่วคน หรือราว ๑๐๐ ปีเศษ คุณปู่ของป้าคำหลู่คือ พ่อเฒ่าเติกอ่อง ผูเ้ ป็นพ่อค้าวัวต่างและพ่อค้าข้าวล่องแพน้ำยวม รวมทัง้ เปิด ร้านค้าขายทีบ่ า้ นในเมืองปอน ปัจจุบนั ป้าคำหลูอ่ ายุ ๕๖ ปี ทำกิจการซือ้ ขาย ของเก่าและโฮมสเตย์ในลักษณะรักษาวิถวี ฒ ั นธรรมไทใหญ่ เน้นการรักษา บ้านเรือนแบบเฮินไตที่ตกทอดมาจากคนรุ่นพ่อ สิ่งแวดล้อมโดยรอบ และ อาหารไทใหญ่แท้ๆ บ้านป้าคำหลู่หลังนี้เป็นหนึ่งในบ้านสามหลังของพ่อเฒ่าเติกอ่อง ที่สร้างไว้ให้ลูกหลานเมื่อประมาณ ๘๐ ปีที่แล้ว เป็นบ้านขนาดใหญ่ สำหรับค้าขาย บริเวณใต้ถนุ จะมีมมุ หนึง่ ทีส่ ร้างห้องติดพืน้ ไว้สำหรับค้าขาย บ้านป้าคำหลูก่ ลายเป็นบ้านของตระกูลเติกอ่องทีย่ งั คงเหลือเพียงหลังเดียว ปีนคี้ รบรอบสามปีทบี่ า้ นป้าคำหลูจ่ ะต้องเปลีย่ นหลังคาตองตึงชุด เดิม แต่ชีวิตที่เปลี่ยนไปจนไม่อาจจะเอามื้อเอาแรงชาวบ้านมาร่วมช่วยทำ หลังคาบ้านได้เช่นสมัยก่อน ป้าคำหลูจ่ งึ ต้องจ้างช่างก่อสร้างเฉพาะ ผูเ้ ขียน มีโอกาสเดินทางไปร่วมเปลี่ยนหลังคาบ้านร่วมกับคณะอาจารย์ ผศ.วิวัฒน์ เตมียะพันธุ์ อาจารย์พเิ ศษแห่งสถาบันอาศรมศิลป์ และอาจารย์ธรี พล นิยม รองอธิการบดีสถาบันฯ และนักศึกษาปริญญาโทสถาปนิกชุมชนและสิง่ แวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์ เพือ่ เก็บรายละเอียดของเหตุการณ์เปลีย่ นหลังคา บ้านที่ไม่อาจพบเห็นได้ง่ายๆ อีกแล้ว ป้าคำหลู่ ลุงประจวบผูเ้ ป็นสามี และลุงทิพย์สกุ าญจน์ อ่อนสด พา ผูเ้ ขียนและคณะนักศึกษาจากสถาบันอาศรมศิลป์ไปในป่าบริเวณใกล้บา้ นป่า ฝางเพือ่ เก็บใบตองตึง ทีจ่ ริงช่วงเวลานีถ้ อื ว่าพ้นฤดูทจี่ ะเก็บใบตองตึงแล้ว รวม ทัง้ ป้าคำหลูก่ จ็ า้ งช่างเย็บไพใบตองตึงเรียบร้อยแล้ว แต่ปา้ คำหลูเ่ ห็นว่าควรให้ คณะอาจารย์และนักศึกษาอาศรมศิลป์ได้มโี อกาสเข้าใจสภาพในการเตรียม การจริง จึงให้คณะเข้าป่าไปเก็บใบตองตึงด้วย โดยออกเดินทางราว ๗ โมง เช้า ซึ่งปกติควรเป็นเวลาตีห้า เพราะอากาศจะไม่ร้อนจนเกินไป เมื่อไปถึง คุณลุงทั้งสองได้พาพวกเราไปเลือกใบตองตึงแห้งที่ร่วงหล่นใต้ต้นพลวง การคัดเลือกใบตองตึงเพือ่ มุงหลังคาบ้านจะต้องมีเส้นใยละเอียด และแน่นหนา เพราะแข็งแรงทนทาน ชนิดทีไ่ ม่นำมามุงหลังคาบ้านเรียกว่า ตองตึงดิน เพราะเป็นใบที่มีเส้นใยหยาบและห่าง เมื่อเก็บใบตองตึงแล้วต้องสับก้านใบออกให้หมด เพื่อสะดวกแก่ การเย็บไพ เช้าวันต่อมา ช่างมุงหลังคาตองตึงที่ป้าคำหลู่ว่าจ้างมาถึงพร้อม ลูกมืออีกห้าคน มีทงั้ คนไทใหญ่ในบ้านเมืองปอนทีท่ ำอาชีพเกษตรและรับจ้าง ทัว่ ไป คนเมือง และคนปกาเกอะญอทีม่ าจากภายนอก เมือ่ มาถึงพวกเขาได้ ขึ้นหลังคาและไล่รื้อหลังคาตองตึงเก่า จากนั้นจึงเอาไพตองตึงใหม่ที่เย็บไว้ ก่อนแล้วขึน้ มุงหลังคา ทัง้ การรือ้ ของเก่าและมุงของใหม่ใช้เวลาทัง้ วันตัง้ แต่ เช้าจรดเย็นจึงสำเร็จ โดยป้าคำหลู่ได้เลี้ยงอาหารกลางวันแก่พวกช่างด้วย การมุงหลังคาตองตึงครัง้ ใหม่นี้ ป้าคำหลูเ่ สียค่าใช้จา่ ยต่างๆ เช่น ค่าไพหลังคาตองตึงรวมค่าเก็บและเย็บใบตองตึงจำนวน ๗๐๐ ไพ เป็นเงิน ๒,๘๐๐ บาท ค่าแรงช่างห้าคน ๑,๐๐๐ บาท ค่าอาหารและอื่นๆ ๔๐๐ บาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๔,๒๐๐ บาท การเปลี่ยนหลังคาบ้านป้าคำหลู่ เติกอ่อง นี้ นับเป็นการสืบสาน “ภูมิปัญญา” หรือมรดกวิถีชีวิตจากบริบทของอดีต ท่ามกลางโลกสมัยใหม่ ของบ้านเมืองปอน ด้วยวิถที เี่ ปลีย่ นไป เป้าหมายของบ้านจาก “การอยูอ่ าศัย ในชีวิตจริง” ไปสู่ “การท่องเที่ยว” ระบบวิธีที่เปลี่ยนแปลงจากการเอามื้อ เอาแรงไปสู่การว่าจ้าง การเปลี่ยนหลังคาใบตองตึงของบ้านป้าคำหลู่จึงกลายเป็นการ รักษารูปแบบวัฒนธรรมในบริบททีเ่ ปลีย่ นแปลงไปแล้ว ทัง้ ในทางโครงสร้าง สังคมและการดำเนินชีวิต วันใหม่ นิยม

“ตลาดพลู”

ไชน่าทาวน์ฝั่งธนฯ ในวันไร้พลู ขณะทีส่ ำเพ็งคือศูนย์กลางการค้าของชาวจีนฝัง่ พระนคร ทางฝัง่ ธนบุรี

ก็มี “ตลาดพลู” ทีย่ นื นานและยืนยงมาจนถึงปัจจุบนั ในอดีตย่านนีเ้ ป็น ตลาดค้าพลูและปลูกพลูมาก จนกลายเป็นที่มาของชื่อบ้านนามเมือง แทนชื่อเดิมคือ ย่านบางยี่เรือ ดังหลักฐานสมัยรัชกาลที่ ๕ ทีอ่ ธิบายว่า แหล่งปลูกพลูสำคัญ คือย่านบางไส้ไก่และย่านบางยี่เรือ ซึ่งเหลือร่องรอยเรียกชื่อวัดสำคัญ ๓ แห่งในย่านนี้คอื วัดอินทาราม (วัดบางยี่เรือบน) วัดจันทาราม (วัด บางยี่เรือกลาง) และวัดราชคฤห์ (วัดบางยี่เรือใต้ หรือบ้างก็เรียกวัด บางยี่เรือมอญ) ขอบเขตตลาดพลูดา้ นกายภาพมีความหมายเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑) หมายถึงสถานทีท่ เี่ ป็น ตัวตลาด ๒) หมายถึง ย่านตลาด ซึง่ พืน้ ที่ จะมีความยืดหดไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา สำหรับคนในพื้นที่มองว่า ย่านตลาดพลูกินพื้นที่ริมคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวงฝั่ง ซ้าย นับแต่วัดเวฬุราชินเรื่อยไปจนจรดวัดขุนจันทร์ ริมคลองด่านหรือ คลองสนามชัย ส่วนตลาดพลูเริม่ ตัง้ แต่สะพานช้างตรงคลองวัดราชคฤห์ ถึงบริเวณสะพานรัชดาภิเษก ซึง่ มีถนนตอนในเรียกว่า ถนนตลาดพลู ไม่ เรียกตลาดวัดกลางว่าตลาดพลู แต่ตลาดวัดกลางจัดอยูใ่ นย่านตลาดพลู ขณะที่คนนอกพื้นที่กลับมองว่า ย่านตลาดพลูเริ่มตั้งแต่หัว เลี้ ย วโรงพั ก บางยี่ เ รื อ เรื่ อ ยไปตามแนวถนนเทอดไทถึ ง แยกถนน วุฒากาศ สิน้ สุดตรงบริเวณวัดขุนจันทร์ ส่วนตัวตลาดพลูอยูใ่ ต้สะพาน รัชดาภิเษก ในท้องถิ่นย่านตลาดพลูมีศาสนสถานสำคัญ ๆ หลายแห่ง ทั้งวัดในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาลเจ้า และมัสยิดของอิสลาม เนื่องจากบริเวณย่านตลาดพลูเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำลำคลอง

ขนมกุยช่ายเจ้าดั้งเดิมของตลาดพลู


ตลาดสดวัดกลางในปัจจุบัน

สำคั ญ พาดผ่ า น โดยเฉพาะเป็ น เส้ น ทางสั ญ จรที่ อ อกสู่ อ่ า วไทย และ สามารถติดต่อไปยังหัวเมืองตะวันตกและทางตอนใต้ได้ จึงทำให้ผู้คน จากท้ อ งถิ่ น ดั ง กล่ า วนำสิ น ค้ า ในพื้ น ที่ ม าขายแลกเปลี่ ย นกั บ คนกรุ ง ได้ สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านตลาดพลูที่มีตลาดท้องน้ำตั้งอยู่ในจุด ที่สบกันของคลองใหญ่ ๓ สาย คือ คลองบางหลวง คลองสนามชัย และคลองภาษีเจริญ (ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔) อีกทั้งยังอยู่ใกล้ด่าน เก็บภาษีอากรขนอนตลาดตรงปากคลองด่าน จึงเป็นศูนย์กลางการค้าทั้ง สินค้าขาเข้าและขาออก สินค้าที่แลกเปลี่ยนค้าขายในท้องน้ำบริเวณนี้จึง หลากหลาย ไม่เพียงพืชผัก ส้มสูกลูกไม้ตามสวนในคลองซอยต่างๆ ของเมืองบางกอก แต่ยังมีเรือข้าวจากสุพรรณบุรี อ่างทอง เรือเกลือ เรือ ปลาทู กะปิ น้ำปลา ปลาเน่า ไม้แสม และของทะเลแห้งจากเพชรบุรี และเมืองสมุทร เรือพริก หอม กระเทียม จากบางช้าง เรือขนไม้รวกจาก เมืองกาญจน์ เรือบรรทุกโอ่งอ่าง หม้อไห จากราชบุรี เรือน้ำตาลจาก เพชรบุรีและแม่กลอง เพื่อมาค้าขายแลกเปลี่ยนกับสินค้าสำคัญที่เป็นที่ ต้ อ งการในทุ ก ถิ่ น ที่ นั่ น คื อ พลู แ ละหมากที่ ป ลู ก กั น มากในสวนเมื อ ง บางกอก อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในเรื่องรสชาติ โดยเฉพาะพลูเหลืองที่ปลูก กันเป็นขนัดใหญ่ในแถบบางยี่เรือ ตั้งแต่คลองสำเหร่ คลองบางน้ำชน และ คลองบางสะแก ซึ่งชาวสวนจะนำมาวางจำหน่ายกันริมคลองบางหลวง ในย่านนี้ จนเป็นศูนย์กลางของการค้าหมากพลู อันกลายเป็นชือ่ ตลาดและ คำเรียกขานย่านไปในที่สุด แม้เมื่อหมดยุคการค้าพลูไปแล้วก็ตาม ตลาดท้ อ งน้ ำ ในย่ า นนี้ กิ น พื้ น ที่ ก ว้ า งตั้ ง แต่ ป ากคลองด่ า นไป จนถึงหน้าวัดเวฬุราชิน แต่ที่หนาแน่นจะอยู่แถบหน้าวัดอินทาราม วัด จันทาราม และวัดราชคฤห์ ซึ่งชาวบ้านเรียกออกเป็นสองตลาดใหญ่ๆ คือ ตลาดวัดกลางกับตลาดพลู โดยขอบเขตพืน้ ทีข่ องตลาดวัดกลางและตลาดพลู ปรากฏชัดเจนขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทีร่ ะบุวา่ ตลาดพลูกนิ พืน้ ทีบ่ ริเวณตัง้ แต่ ปากคลองบางน้ำชนไปถึงปากคลองบางสะแก ส่วนตลาดวัดกลางนั้นเริ่ม ตั้งแต่วัดอินทารามเรื่อยมาถึงวัดราชคฤห์ การเติบโตของย่านตลาดพลูนอกจากปัจจัยในเรือ่ งเส้นทางน้ำแล้ว การพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกก็มสี ว่ นสำคัญ คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มี การสร้างทางรถไฟสายท่าจีนจากคลองสาน จังหวัดธนบุรี ถึงมหาชัย จังหวัด สมุทรสาคร ทำให้สะดวกต่อการขนส่งอาหารทะเลขึน้ มาขาย ทำให้ตลาดพลู มีความคึกคักยิง่ ขึน้ ด้วยมีสถานีรถไฟเกิดขึน้ ในย่านนี้ สินค้าทะเลสามารถ ส่งมาขายในตลาดได้รวดเร็วขึ้น และย่านตลาดพลูได้กลายเป็นชุมทาง ของการสัญจรทีค่ นในท้องทีส่ วนด้านในจากหนองแขม บางแค บางแวก บางขุนเทียน ที่มีแต่เส้นทางเรือสัญจรจะมาขึ้นย่านตลาดแห่งนี้เพื่อต่อเรือเมล์ หรือรถไฟเข้าไปในพระนครหรือเมืองแม่กลองและหัวเมืองทางใต้ ประกอบ กับย่านตลาดพลูมีโรงบ่อนเบี้ยหลวง ซึ่งเป็นบ่อนการพนันที่ถูกกฎหมาย ของรัฐ ตลอดจนโรงหนัง โรงงิว้ โรงยาฝิน่ ไว้ให้บริการแก่ชาวจีนทีน่ ยิ มเสพ

โดยเฉพาะกุลชี าวจีนตามโรงสี โรงเลือ่ ย คานเรือ ทีม่ ดี าษดืน่ ริมสองฝัง่ คลอง บางหลวง จึงทำให้ย่านตลาดพลูคลาคล่ำไปด้วยผู้คนเกือบตลอดทั้งวัน นับแต่รชั กาลที่ ๔ จนถึงก่อนสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ เป็นช่วงเวลาทีม่ ี คนจีนอพยพเข้ามายังสยามอย่างต่อเนือ่ ง ชาวจีนบางส่วนพากันมาตัง้ ถิน่ ฐาน ในย่านตลาดพลู ทำให้การค้าในพืน้ ทีน่ เ้ี ติบโตกลายเป็นตลาดใหญ่สดุ ในย่าน ฝัง่ ธนฯ ทีใ่ คร ๆ ก็ตอ้ งเดินทางมาจับจ่ายซือ้ ของ ด้วยมีของอุปโภคบริโภค บริบรู ณ์ ทัง้ ผลิตในประเทศและจากเมืองจีน อาทิ เครือ่ งโต๊ะ เก้าอี้ ตูเ้ ตียง ถ้วยชาม เต้าเจีย้ ว ซีอว๊ิ น้ำปลา ลูกพลับ ลูกไหน ลิน้ จีด่ อง ใบชา เหล้าจีน เครือ่ ง อัฐบริขาร เครือ่ งจันอับ ตลอดจนขนมและข้าวของเซ่นไหว้นานาชนิดของคนจีน กระทัง่ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐ มีการตัดถนนเทอดไทผ่านเข้ามาในย่าน ตลาดพลู ส่งผลให้การคมนาคมสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นไปอีก ทำให้ชาว ตลาดพลูเกิดการปรับเปลีย่ นจากการทำการเกษตรอย่างเดียวมาทำการค้า โชห่วย เปิดร้านอาหาร และธุรกิจอย่างอืน่ เช่น โรงงานยาหม่องตราถ้วยทอง ยาหอมตรา ๕ เจดีย์ โรงทำเต้าเจี้ยว โรงนึ่งปลาทู โรงน้ำปลา เป็นต้น เกิดการจ้างงานของชาวจีนจำนวนมาก ช่วงเวลานี้ตลาดพลูนับเป็นช่วงที่มี ความเจริญสูงสุด รวมทั้งการค้าพลูก็ยังคงมีความคึกคักเช่นเดิม เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น การทิ้งระเบิดของฝ่าย สัมพันธมิตรทำให้ผู้คนฝั่งพระนครพากันอพยพหลบหนีเข้ามาอยู่ในสวน ประกอบกับเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ส่งผลให้สวนล่ม และรัฐบาล จอมพล ป. พิบลู สงคราม ได้มนี โยบายให้ยกเลิกการกินหมากพลู ส่งผลกระทบ ให้มกี ารทำลายต้นหมากพลูและการค้าพลูหยุดลง ชาวสวนทีส่ วนล่มจึงเห็น ลู่ทางให้เช่าที่ปลูกบ้านแก่คนที่อพยพเข้ามาหลังสงคราม ประจวบกับในราว พ.ศ. ๒๕๐๐ เมือ่ รัฐบาลมีแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยขยายเมืองและสร้างสาธารณูปโภคด้านต่างๆ รองรับ ส่งผลให้ ตลาดพลูมกี ารเติบโตด้านเศรษฐกิจอย่างมาก พร้อม ๆ กับเกิดความเปลีย่ น แปลงภายในพืน้ ทีด่ ว้ ย เนือ่ งจากมีการถมคลอง สร้างบ้านเช่าห้างร้านมากขึน้ ทำให้พนื้ ทีส่ วนลดน้อยลงเรือ่ ยๆ ผูค้ นจำนวนมากต่างเลิกทำสวน และเนือ่ ง จากความสะดวกสบายทีเ่ อือ้ ต่อการทำมาหากินในย่านนี้ ส่งผลให้ยา่ นตลาด พลูมปี ญ ั หาแรงงานอพยพ พืน้ ทีต่ ามชุมชนต่าง ๆ เริม่ แออัดมากขึน้ พืน้ ทีก่ าร เกษตรถูกปรับเปลีย่ นเป็นย่านทีอ่ ยูอ่ าศัย พืน้ ทีก่ ารค้าหลักของย่านถูกถนน ตัดคร่อม จากท่าพระถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ กอปรกับตัดเส้นทางรถไฟ สายแม่กลองมาสิ้นสุดที่วงเวียนใหญ่ จึงทำให้ย่านวงเวียนใหญ่พัฒนาเป็น ศู น ย์ ก ลางทางการค้ า ขึ้ น มาแทนที่ คนมาจั บ จ่ า ยซื้ อ ขายสิ น ค้ า ในย่ า น ตลาดพลูลดลง จนในที่สุดก็ซบเซาลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันย่านตลาดพลูมีตลาดวัดกลางเป็นตลาดใหญ่ที่ยังคงขาย อาหารสดและอาหารแห้ง รวมถึงของอุปโภคบริโภค โดยภายในตลาดมีทั้ง แผงขายของและเรือนแถวไม้กับตึกแถว ส่วนแนวทางเดินริมเขื่อนที่เป็น ถนนในมีรา้ นขายยา ร้านขายอาหาร เครือ่ งดืม่ เครือ่ งจักสาน ไปจนถึงหลัง วัดราชคฤห์ ตลาดวัดกลางจะคึกคักตัง้ แต่เช้าตรูไ่ ปจนสายตลาดก็จะวาย ขณะ เดียวกันร้านค้าบริเวณสองฝัง่ ถนนเทอดไทยังมีคลินกิ ร้านค้าเปิดขายอยูใ่ น บริเวณที่ใกล้กับสถานีรถไฟตลาดพลูไปจนจรดใต้ถนนรัชดาภิเษกจะค่อน ข้างคึกคัก เพราะเป็นตลาดขายอาหาร มีร้านก๋วยเตี๋ยว หอยทอด ผัดไท ข้าวราดแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังมีร้านขายขนมหวานขึ้นชื่อ เช่น ร้านขนมหวาน ตลาดพลู ร้านหมี่กรอบจีนหลี ร้านขายกุยช่าย ร้านข้าวหมูแดงหมูกรอบ เป็นต้น ตลาดริมทางรถไฟเปิดขายตัง้ แต่เช้าและปิดในเวลา ๔-๕ โมงเย็น พอ ตกค่ำจะมีตลาดช่วงเย็นมาเปิดแทน หรือเรียกว่าตลาดโต้รงุ่ ปัจจุบนั ตลาด วัดกลางบริเวณริมคลองวัดจันทารามเป็นแผงขายของสด เช่น ผักสด ผักดอง ผลไม้ตามฤดูกาล ปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็ม หมู เนือ้ เป็นต้น ส่วนบริเวณแนวซอย ถนนเทอดไท ๑๒ จะเป็นร้านขายของชำของคนจีน ของอุปโภคบริโภค บริเวณนี้ มีลกั ษณะเป็นเรือนไม้และตึกแถว โดยชัน้ ล่างเปิดเป็นร้านขายของ ตลาดวัด กลางตั้งแผงตั้งแต่เช้ามืดและวายในตอนสายๆ ราว ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. ตลาดพลูเป็นตลาดทีม่ กี ารพัฒนามาจากตลาดชุมชน ซึง่ เป็นตลาด


ขายพลูและผลหมากรากไม้ จนพัฒนากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าของฝัง่ ธนบุรี ที่มีทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคนานาชนิด ตลอดจนเป็นแหล่งบันเทิงที่มี โรงมหรสพต่างๆ ไว้บริการ กระทั่งเจริญถึงขีดสุดก็ทรุดโทรมลงในเวลา ต่อมา เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนผ่านไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ดีย่านการค้าเก่าแก่อย่างตลาดพลูจะเงียบเหงาลงมาก ในปัจจุบัน หากแต่มิได้สิ้นสูญไป กลับปรับเปลี่ยนไปสู่ตลาดขายอาหารที่ เป็นต้นทุนเดิมของชาวตลาดพลู ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชาวจีนที่ยังสามารถ ธำรงเอกลักษณ์ความเป็นชุมชนชาวจีนและกลิน่ อายของความเป็นตลาดพลู ในอดีตไว้ได้เช่นเดิม

เอกสารอ้างอิง กวี รักษ์พลอริยะคุณ. การเปลีย่ นแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ย่านตลาดพลู. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบัน ราชภัฏธนบุรี. ๒๕๔๖. พวงร้อย กล่อมเอี้ยง และคณะ. โครงการวิจัยประวัติศาสตร์วิถีชีวิตท้อง ถิ่นย่านตลาดพลู. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กลุ่ม โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคกลาง. ๒๕๔๖. ์

ปิลันธน์ ไทยสรวง

ในบรรดากลุม่ ชนมุสลิมในกรุงเทพฯ

และเขตปริมณฑล ชาวมลายูมสุ ลิม จัดเป็นกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ม่ี อี ยูม่ ากกว่ากลุม่ ชาติพนั ธุอ์ น่ื ด้วยเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐาน หลายครั้งหลายช่วงเวลา ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ได้สง่ กองทัพไปตีหวั เมืองปัตตานี อยูเ่ นืองๆ ชาวมลายูทเ่ี ข้ามาส่วนใหญ่ได้รบั โปรดเกล้าฯ ให้ตง้ั ถิน่ ฐานบ้านเรือน อยูร่ อบนอกพระนคร ทัง้ ปทุมธานี นนทบุรี พระโขนง มีนบุรี หนองจอก ปากลัด ไปจนถึงนครนายก ฉะเชิงเทรา ฯลฯ ตามประวัตกิ ล่าวว่ามุสลิมปากลัดทีน่ ครเขือ่ นขันธ์ (พระประแดง สมุทรปราการ) ได้มาตัง้ ถิน่ ฐานแต่ตน้ รัตนโกสินทร์ โดยอาจมีชาวมุสลิม ดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้ว และต่อมามีชาวมลายูมุสลิมจากแหล่งอื่นทยอยมาตั้ง ถิน่ ฐานบ้านเรือนร่วมด้วย จนเป็นชุมชนใหญ่ทอ่ี ยูร่ ว่ มกับกลุม่ ชนชาวมอญ ซึง่ โปรดเกล้าฯ ให้มาตัง้ บ้านแปงเมืองแต่ครัง้ สร้างนครเขือ่ นขันธ์ นานวันเข้า เกิดการผสมผสานถ่ายเททางวัฒนธรรมระหว่างกัน เมือ่ ชาวมุสลิมปากลัด ขยายตัวออกมาทำนาทำสวนในเขตทุง่ ครุ จนทีส่ ดุ ก็กระจายตัวมาตัง้ ถิน่ ฐาน อยูอ่ ย่างถาวร จึงทำให้มสุ ลิมในเขตทุง่ ครุสว่ นใหญ่มคี วามสัมพันธ์เป็นเครือ ญาติกบั ทางปากลัด และยังสืบวัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นต่างๆ จาก

เด็กๆ ได้รับการเอาใจให้กินไก่ย่างคนละตัว ข้าวเหนียวสามสีคนละถาด แต่ก่อนกินก็ต้องสวดขอพรเสียก่อน การกินครั้งนี้ในระยะหลังมีการนำ ไปสัมพันธ์กับการทำนายอุปนิสัยใจคอของเด็กว่าเป็นอย่างไร

พิธีสุหนัตของบรรดาลูกหลานแขกมอญ ทุ่งครุ ปากลัดมายังพืน้ ทีท่ ำกินแหล่งใหม่ดว้ ย สำหรับเด็กชายชาวมุสลิมต้องผ่านการเข้าสุหนัต หรือทีค่ นมลายู เรียก มาโซะยาวี อันเป็นการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกโดยหมอ ผูก้ ระทำพิธี ซึง่ เป็นมุสลิมทีม่ คี วามรูค้ วามชำนาญในการขลิบ อาจไม่ใช่แพทย์ โดยตรง แต่มวี ชิ าความรูด้ า้ นนีแ้ ละมักตกทอดต่อกันในสายตระกูล การเข้า สุหนัตไม่ได้กำหนดเรือ่ งอายุ แต่มกั นิยมทำในวัยเด็กช่วงระหว่าง ๔-๑๐ ปี โดยมี จุดประสงค์เพือ่ สุขอนามัยส่วนตัว และรวมถึงสุขอนามัยในการดำเนินชีวติ ภายภาคหน้า และเป็นการป้องกันการเกิดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ หลังช่วงการถือศีลอดผ่านไปไม่นาน ที่กลุ่มบ้านหนึ่งริมคลอง ทางควาย ไม่ไกลจากสุเหร่าอาจารย์เซ็งหรือมัสยิดอัลอิสติกอมะห์ ในค่ำคืน วันศุกร์ (หมายถึงคืนวันพฤหัสบดี โดยการกำหนดปฏิทนิ ทางจันทรคติของ

มุสลิมทีถ่ อื เป็นการเข้าสูว่ นั ศุกร์แล้ว) ทีช่ าวมุสลิมถือว่าเป็นวันมงคลในรอบ สัปดาห์ ภายในบ้านแน่นไปด้วยผูค้ นทีม่ าช่วยกันตระเตรียมอาหารทีจ่ ะใช้ เลี้ยงบรรดาแขกเหรื่อซึ่งจะมาร่วมยินดีกับบรรดาเด็กๆ ที่กำลังจะเข้าสู่พิธี สุหนัต เพือ่ แสดงถึงความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ พิธีสุหนัตหนนี้เจ้าของบ้านบอกว่าจัดขึ้นตามแบบดั้งเดิมของ มุสลิมมลายูปากลัดและทุง่ ครุ ทีจ่ ะมีการตัง้ น้ำดุอาอฺ ทำซะละมะตี และขึน้ เบญจา รวมทั้งมีการเล่นกระบี่กระบอง อันเป็นสัประยุทธ์ศิลป์ของชาว ปากลัด-ทุง่ ครุ ทีเ่ หลืออยูเ่ พียงไม่กค่ี ณะในปัจจุบนั แม้วา่ การปฏิบตั ดิ งั กล่าว มุสลิมบางกลุม่ บางคณะอาจเห็นว่าไม่ใช่วถิ ที างของมุสลิม แต่บรรดาผูจ้ ดั งาน เห็นว่าเป็นจารีตทีม่ ไิ ด้ขดั ต่อหลักการของศาสนา แต่เป็นรากเหง้าทางสังคม ของมุสลิมมลายูท่ปี ฏิบัติกันมานาน และวิถีการปฏิบัติเช่นนี้ยังช่วยให้เกิด


ระหว่างรอการขลิบ ลูกมะกรูดจะถูกแจกให้เด็กไว้ดมกันเป็นลม ด้วยบางคนกลัวและเริ่มวิตกกังวล พ่อแม่ญาติพี่น้องจึงมักเข้ามา ปลอบขวัญด้วยเงินทองและสิ่งของ

๑๐

ความสามัคคี รวมทั้งเกิดสำนึกในอัตลักษณ์ของความเป็นมลายูมุสลิมอีก ด้วย การประกอบพิธจี ะมีการเชิญผูม้ คี วามรูท้ างศาสนามาเป็นอิหม่าม ผูท้ ำพิธี ซึง่ จะเริม่ ตัง้ แต่การตัง้ น้ำดุอาอฺ คือ การนำน้ำทีจ่ ะใช้ชำระล้างร่างกาย ของบรรดาเด็กๆ ที่จะเข้าพิธี โดยสวดขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าให้เป็นสิริมงคล มีการนำกริชประจำตระกูลของเด็กแต่ละคน รวมถึงข้าวตอก แป้ง น้ำ ข้าวสาร หมากพลู ใส่ถาด มาร่วมทำพิธดี ว้ ย เช่นเดียวกับเด็กๆ ก็จะต้องจัด เตรียมถาดใส่ผา้ ขาว หมากพลู บุหรี่ ด้ายดิบ ผลมะกรูด และเงินจำนวนหนึง่ มา ให้อหิ ม่ามเพือ่ ประกอบพิธี เมื่อเสร็จการทำน้ำดุอาอฺสำหรับเด็กแต่ละคนที่จะเข้าสุหนัตแล้ว น้ำนั้นจะถูกนำไปอาบให้แก่เด็กๆ ตั้งแต่ตอนเช้า เพื่อจะได้เกิดความเป็น สิรมิ งคล หลังจากนัน้ ผูเ้ ป็นอิหม่ามจะนำข้าวสารทีผ่ า่ นพิธไี ปซัดรอบบ้านทีจ่ ะ ใช้เป็นทีท่ ำพิธี เรียกว่า การทำซะละหว่า (หมายถึง การกล่าวสรรเสริญท่าน ศาสดาในศาสนา) โดยการทำเพือ่ ซะละมะตี (ขอพรจากพระผูเ้ ป็นเจ้า) อันมี ทีม่ าจากคำอาหรับว่า ซะละมัต ทีแ่ ปลว่า ความสันติ การทำเช่นนีก้ เ็ พือ่ ขจัดสิง่ อัปมงคลและสร้างขวัญกำลังใจ และป้องกันอันตรายทีจ่ ะเกิดขึน้ แก่เด็กๆ ด้วย ในอดีตการทำสุหนัตมิได้มยี าหรือเครือ่ งมือแพทย์ทท่ี นั สมัยเช่นปัจจุบนั ความ เสีย่ งในการกระทำจึงมีอยูไ่ ม่นอ้ ย คืนวันเสาร์กอ่ นจะสูเ่ ช้าของวันทำสุหนัต จะมีบรรดาญาติพน่ี อ้ งและ แขกเหรือ่ มาร่วมแสดงความยินดีและอวยพรแก่เด็กๆ โดยเฉพาะค่ำคืนนีจ้ ะ มีการฉลองให้เด็กทีจ่ ะเข้าสุหนัต โดยครัง้ นีม้ เี ด็กทีจ่ ะทำสุหนัตเพียง ๔ คน ทัง้ หมดจะแต่งตัวตามแบบวัฒนธรรมมลายู พร้อมเหน็บกริชราวกับเจ้าชาย องค์นอ้ ยๆ เพือ่ แห่แหนรอบๆ บ้านก่อนขึน้ เบญจาชมการแสดงกระบีก่ ระบอง เพือ่ ให้เด็กเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน ไม่วติ กกังกลกับการเข้าสุหนัต ในวันรุง่ ขึน้ การเข้าสุหนัตในอดีตจะทำกันตามบ้านเมื่อมีเด็กถึงวัยอันควร กระทำ และทุกงานฉลองก็จะมีการเล่นกระบีก่ ระบองเสมอๆ ซึง่ วันหนึง่ ๆ คณะ กระบีก่ ระบองอาจต้องรับหลายงาน แต่มาปัจจุบนั มักรวมเด็กๆ มาประกอบพิธี ร่วมกันเพือ่ ลดค่าใช้จา่ ย โดยทางมัสยิดหรือหน่วยงานราชการในพืน้ ทีม่ กั รับ เป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ ซึง่ จะมีเด็กๆ เข้าร่วมจำนวนมาก และนิยมจัดในช่วง ปิดภาคการศึกษา เพือ่ เด็กจะได้มเี วลาพักรักษาตัวโดยมิตอ้ งขาดเรียน พ่อแม่ของเด็กทีเ่ ข้าพิธจี ะเลือกเสือ้ ผ้า เครือ่ งประดับ มาแต่งตัวให้ ลูกๆ ของตนอย่างเต็มที่ แม้ผา้ ไหมจะถือเป็นข้อห้ามสำหรับสวมใส่ของผูช้ าย มุสลิม แต่กบั เด็กๆ ในพิธนี ด้ี จู ะไม่เคร่งครัดมากนัก ผ้าโสร่งจึงเป็นไหมสีสด โดดเด่น แถมยังสะพายแล่งผ้าไหมสีเดียวกันทีบ่ า่ ทัง้ สองข้างทับเสือ้ อีกด้วย ส่วนศีรษะโพกผ้าสะระบัน่ แบบแขก แถมสวมสร้อยปะวะหล่ำ กำไลทองอย่าง งดงาม ยิง่ กว่านัน้ หน้าตาของเด็กน้อยทุกคนจะได้รบั การแต่งเติมสีสนั และ

แต้มด้วยแป้งกระแจะเป็นดอกดวง ดูคล้ายกับบวชลูกแก้วของชาวไทใหญ่หรือ ไม่กพ็ อ่ นาคของชนชาวมอญ ซึ่งการแต่งแต้มเช่นนี้ในหมู่มุสลิมมลายูทางใต้ไม่มีให้เห็น หรือ แม้แต่กลุม่ มุสลิมมลายูในกรุงเทพฯ ก็มไิ ด้ทำเช่นกัน เว้นแต่กลุม่ ปากลัดหรือ บางบัวทองทีม่ ชี มุ ชนอยูเ่ คียงใกล้บา้ นมอญ อาจเป็นการผสมผสานวัฒนธรรม บางอย่างเข้าด้วยกันก็เป็นได้ เมือ่ แต่งตัวเสร็จ เด็กๆ จะมารับการเจิมขวัญจากอิหม่ามผูท้ ำพิธี แล้วจึงถูกแห่แหนไปรอบๆ ลานแสดงกระบีก่ ระบอง โดยมีการขึน้ เบญจาเพือ่ ใช้ทำพิธซี ะละมัตก่อนจะสัประยุทธ์กนั จากนัน้ จึงนำเด็กทัง้ สีเ่ ข้านัง่ รอบเบญจา เพือ่ ชมการเล่นกระบีก่ ระบอง ทีเ่ ต็มไปด้วยลีลาการปะทะแลกเปลีย่ นเชิงยุทธ์ อย่างดุดนั ไม่วา่ จะเป็นฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย ค่ำคืนนีเ้ ป็นช่วงเวลาอันสนุก สนานทีเ่ ด็กทัง้ สีจ่ ะปรากฏรอยยิม้ อันเบิกบานบนใบหน้า ผิดกับในสายวันถัด มาทีเ่ ด็กบางคนเริม่ มีสหี น้ากังวล เมือ่ ถูกเรียกให้ไปอาบน้ำแต่งตัว โดยเปลีย่ น เป็นผ้าโสร่ง เพือ่ เตรียมรอหมอทีจ่ ะมาทำสุหนัต ในอดีตการทำสุหนัตจะทำโดยหมอชาวบ้านทีส่ บื ทอดต่อกันมาเป็น สายตระกูล เพราะนอกจากจะต้องมีเทคนิค ความชำนาญในการทำแล้ว ยังต้อง ปฏิบตั ใิ ห้ถกู หลักการในศาสนาอีกด้วย ปัจจุบนั มีมสุ ลิมส่วนใหญ่ทไ่ี ปคลอด ตามโรงพยาบาลแล้วมักขอให้คณ ุ หมอทำการขลิบทารกแต่แรกเกิดเพือ่ ความ สะดวก แต่มาระยะหลังมีปญ ั หาด้วยหมออาจทำไม่ถกู วิธคี รบถ้วนตามหลัก ศาสนา มุสลิมบางส่วนจึงหันกลับมาทำพิธตี อนเด็กโตขึน้ แล้ว และนิยมให้หมอ ทีเ่ ป็นมุสลิมเป็นผูท้ ำมากกว่า ครัง้ นีก้ เ็ ช่นกัน หมอพิธที ม่ี าทำเป็นมุสลิมและยังเป็นผูส้ บื ทอดวิชา จากบิดาซึง่ เป็นหมอผูท้ ำสุหนัตให้กบั บรรดาลูกหลานมุสลิมกำปงต่างๆ มานับ ไม่ถว้ น ช่วงเวลาทีห่ มอตระเตรียมเครือ่ งมือ บรรดาพ่อแม่และเครือญาติของ เด็กจะเข้ามาปลอบโยน เรียกขวัญกำลังใจของเด็กๆ บ้างก็มกี ารตบรางวัลเป็น ธนบัตรใบเขียว ใบแดง คนแล้วคนเล่า จากนัน้ เด็กแต่ละคนจะถูกเรียกไป ให้หมอพิธตี รวจดูอวัยวะว่าสามารถทำการขลิบได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ หาก ยังไม่พร้อมก็ตอ้ งเลือ่ นไปทำในปีถดั ไป เด็กทุกคนเมือ่ ผ่านตรวจสอบแล้ว หมอพิธจี ะเรียกเข้าไปทีละคน ซึง่ ตอนนีเ้ ด็กน้อยต่างผลักไสให้เพือ่ นนำหน้าไปก่อน และทีส่ ดุ ก็มผี กู้ ล้าหาญ ซึง่ หมอพิธจี ะเลือกเด็กทีเ่ ห็นว่ามีความเข้มแข็งอดทน เพราะหากคนแรกร้องไห้ ก่อนแล้ว ก็จะทำให้รายต่อๆ ไปเสียขวัญตามไปด้วย... ซึง่ เป็นไปตามคาด เด็กคนแรกยังไม่ทนั ร้องหรือรูต้ วั ก็ถกู เข็มฉีดยาชาเข้าไปแล้ว เพราะหมอพิธี จะใช้วิธีการพูดคุยหลอกล่อจนเด็กเผลอไผลไปกับเรื่องที่พูดคุยเหล่านั้น เด็กแต่ละคนจะถูกฉีดยาทิง้ ไว้ เพียงครูเ่ ดียวยาเริม่ ออกฤทธิจ์ งึ เริม่ การขลิบ เด็กผู้เข้าสุหนัต จะได้รับการแต่งตัว ราวกับเจ้าชายน้อยๆ พร้อมเหน็บกริชของ บรรพบุรุษ และแต่ง หน้าเป็นดอกดวง อย่างสวยงาม


และเย็บจนเรียบร้อย โดยหมอพิธจี ะให้กนิ ยา แก้ปวดทันทีก่อนจะหมดฤทธิ์ยาชา เพื่อ ป้องกันไม่ให้เด็กเจ็บแผลมากนัก หลังจากนัน้ เด็กที่ถูกขลิบจะต้องนอนพักรักษาตัวราว สัปดาห์ ก็จะกลับมาวิง่ เล่นได้เหมือนเดิม พิธสี หุ นัตทีท่ งุ่ ครุครัง้ นี้ นอกจาก จะเห็นความศรัทธาทีม่ ตี อ่ พระผูเ้ ป็นเจ้าแล้ว ยังเห็นอัตลักษณ์และประเพณีของชาวมลายู มุสลิมทีแ่ สดงออกถึงตัวตนและความสามัคคี ร่ ว มแรงกายแรงใจมาช่ ว ยกั น ลงแขกใน งานบุญเฉกเช่นครั้งอดีต โดยไม่ต้องมีการ ว่าจ้างให้ทำงานแต่ละอย่างเหมือนที่นิยม ทำกันในปัจจุบนั รวมทัง้ ยังเห็นการผสมผสาน ทางวั ฒ นธรรมระหว่ า งแขกกั บ มอญที่ กลมกลื น จนยากจะแยกแยะว่ า ใครเป็ น เจ้าของวัฒนธรรม และนีก่ ค็ อื ความงดงามของสังคม พหุลกั ษณ์ ทีม่ ที ง้ั ความแตกต่างและการผสม ผสานจนก่อเกิดเป็นพลวัตทางวัฒนธรรม ใหม่ๆ ในสังคม สุดารา สุจฉายา ขอขอบคุณ : คุณศักดา บินซาเล็ม คณะสะเลมาน ลูกปีกกา ทุง่ ครุ และบรรดาเจ้าภาพ ในวันงานทุกท่าน

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่น จังหวัดยะลา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่น โดยสำนักวัฒนธรรมจังหวัดยะลา

การ จัดโครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ

จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสำนักวัฒนธรรม จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมแกรนด์พาเลซ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความ สำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ความเป็นมา ของความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรม อันเป็น การแสดงถึงอัตลักษณ์ซงึ่ นำไปสูก่ ารสืบค้นอย่าง มีส่วนร่วม และนำมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่น เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เวที แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ใ นครั้ ง นี้ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้รับเชิญให้เป็น วิ ท ยากรร่ ว มกั บ ผู้ มี ป ระสบการณ์ ใ นการจั ด พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น สภาวัฒนธรรมอำเภอ ธารโต ผู้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์คุกธารโต รวมทั้ง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด ยะลา งานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้ง พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ แบ่งช่วงเวลาการนำเสนอออก เป็น ๒ ช่วงหลัก คือ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ กับแนวทางการ สื บ ค้ น ประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น และการจั ด ตั้ ง พิพธิ ภัณฑ์ โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ตัวแทนจาก มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ให้ความเห็นเอาไว้ อย่างน่าสนใจ การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ข องสั ง คม ไทยส่ ว นใหญ่ จ ะเน้ น ไปที่ ก ารศึ ก ษาประวั ติ ศาสตร์ชาติเป็นหลัก การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท้ อ งถิ่ น เท่ า กั บ เป็ น การทำความรู้ จั ก ตั ว เอง อย่างไรก็ตามการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ถูก นำไปใช้หลายทาง เช่น ถูกนำไปปลุกระดมให้เกิด ความรุนแรง ดังนั้นการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ถือเป็นสิ่งที่อ่อนไหวและต้องจัดการอย่างรอบคอบ เพือ่ ไม่กอ่ ให้เกิดประวัตศิ าสตร์ทมี่ บี าดแผล หากคิ ด จะจั ด ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้จะต้องไม่แยก พื้ น ที่ ศึ ก ษาออกจากกั น แต่ ต้ อ งศึ ก ษาอย่ า ง เชื่อมโยงในทั้งสามจังหวัด ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส เพราะเป็นพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมทีเ่ ชือ่ ม โยงและสื บ เนื่ อ งกั น อี ก ส่ ว นคื อ จะต้ อ งแยก

ความเชือ่ ตำนาน ออกจากข้อเท็จจริงทางประวัต-ิ ศาสตร์ ดั ง นั้ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น ที่ ดี จ ะต้ อ ง ไม่ เ ป็ น พื้ น ที่ ปิ ด แต่ ต้ อ งผู ก พั น กั บ วิ ถี ชุ ม ชน ขั้ น ตอนที่ ส ำคั ญ ในการจั ด ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ อ ย่ า ง ยัง่ ยืน ได้แก่ คนในท้องถิน่ จะต้องร่วมสืบค้นข้อมูล ร่วมระดมสมอง และร่วมกันรักษา พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ของความทรงจำ และการแสดงตัวตน ทำความเข้าใจถึงรากเหง้า วิถีชีวิตตัวเอง เป็นการสื่อสารเพื่อเกิดการตีค่า ความหมายที่งดงามทั้งทางด้านวัฒนธรรมและ ศิลปะ ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จะต้ อ งเป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ไ ม่ ถื อ ดี แต่ เ ป็ น การเชื่ อ มโยงของกระบวนการเรี ย นรู้ ร่ ว มกั น เพือ่ ศึกษาอดีต มองอนาคต และกำหนดปัจจุบนั พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ คุ ก ธารโตเป็ น หนึ่ ง ใน ตัวอย่างของการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์อย่างมีสว่ นร่วม กับชุมชน คุณปัตติกาญจน์ บรรดาศักดิ์ นักวิชาการ วั ฒ นธรรมจากสภาวั ฒ นธรรมอำเภอธารโต เล่าถึงขั้นตอนในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์คุกธารโต ว่า สภาวัฒนธรรมร่วมมือกับชุมชนและโรงเรียน ธารโตวัฒนวิทย์ในการทำงาน โดยชุมชนเข้ามา มี ส่ ว นร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น และให้ ข้ อ มู ล โรงเรียนธารโตวัฒนวิทย์จัดพื้นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ ในภาคงานวิชาการได้ประสานไปยังกรมศิลปากร เชือ่ มเครือข่ายในการจัดทำงบประมาณทัง้ จากใน และนอกพื้นที่ เวที แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ก ารจั ด ตั้ ง พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ จังหวัดยะลา เป็นดัง่ สัญญาณ ที่ดีของการเริ่มต้นระดมสมองเชื่อมโยงทุกภาค ส่วน ทัง้ หน่วยงานราชการ เอกชน และนักวิชาการ เข้าด้วยกัน ความเข้าใจประวัติศาสตร์ช่วยสร้าง ความศรัทธาและวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่าง หลากหลายท่ามกลางความตึงเครียดของความ รุนแรง แต่กลับจะช่วยเสริมการเรียนรูเ้ พือ่ อยูร่ ว่ ม กันอย่างสันติสุขและยั่งยืน กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

๑๑


“กงไกรลาศ”

แห่งลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัย

แม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายสำคัญจากภาคเหนือ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขา

ในเขตจังหวัดพะเยาแล้วไหลผ่านเขตจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และ พิจิตร มาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ปากน้ำเกยไชยในเขตอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ “กงไกรลาศ” เป็นบ้านเมืองขนาดเล็กทีอ่ ยูใ่ นลุม่ น้ำยม เดิมชือ่ “บ้าน กงธานี” เป็นชุมชนโบราณมาตัง้ แต่สมัยอยุธยา ต่อมากลายเป็นเมืองร้างใน สมัยกรุงธนบุรี ครั้นเมื่อถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีผู้คนกลับเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานและได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองกงไกรลาศ ขึ้นกับเมืองสุโขทัย ภายหลังได้เปลีย่ นการปกครองเป็นอำเภอกงไกรลาศ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๓๗ โดยมี พระกงไกรลาศดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก และมีทวี่ า่ การอำเภอตัง้ อยู่ บนเกาะเล็กๆ กลางแม่น้ำยม พ.ศ. ๒๔๖๐ หลวงบุรไี ทยพิทกั ษ์ นายอำเภอขณะนัน้ ย้ายทีว่ า่ การ อำเภอไปตัง้ บนฝัง่ ตะวันออกของแม่นำ้ ยม ห่างจากทีว่ า่ การอำเภอเดิมประมาณ ๑๕ เส้น เนื่องจากน้ำท่วมเกาะ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นายเอื้อน รงค์ทอง ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ พิจารณาเห็นว่าบริเวณทีว่ า่ การอำเภอเดิมคับแคบ ขยายไม่ได้ ทั้งยังมีน้ำท่วมถึง อาคารที่ว่าการอำเภอเริ่มชำรุดทรุดโทรม จึงให้ขออนุญาตย้ายไปสร้างทีแ่ ห่งใหม่ บริเวณริมถนนสิงหวัฒน์ (ถนนสาย พิษณุโลก-สุโขทัย) หลักกิโลเมตรที่ ๒๑ ในเขตตำบลบ้านกร่าง ทีต่ งั้ ของทีว่ า่ การอำเภอกงไกรลาศแต่เดิมซึง่ เป็นเกาะนัน้ ชาวบ้าน เรียกว่า “เกาะกง” คุณครูเคียง ชำนิ แห่งโรงเรียนไกรในวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก นักปราชญ์ท้องถิ่นอำเภอกงไกรลาศอธิบายความหมายของคำว่า “กง” ว่า “มาจากการสร้างบ้านเรือนอยูบ่ นพืน้ ทีท่ มี่ นี ำ้ ล้อมรอบ หรือบริเวณ ที่ลำน้ำโค้งจนเกือบเป็นวงกลม ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการขุดคลองลัดให้ เป็นลำน้ำโอบเมืองไว้ ทำให้ชมุ ชนมีลกั ษณะเป็นเกาะ เพราะชุมชนบ้านกง

๑๒

เดิมตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เป็นเกาะเป็นกง เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดลำแม่น้ำยม ตั้งแต่ตอนใต้ของเมืองสุโขทัยลงมา สามารถพบพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นกง อย่างนี้หลายแห่ง เช่น กงบริเวณบ้านบางปะและกงบริเวณบ้านวังสะดือ และในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีชุมชนระดับเมืองสองเมืองที่ชื่อคล้ายกันว่า เมืองกงครามและเมืองกงพราน ซึง่ เป็นเมืองขึน้ ของเมืองสุโขทัยด้วย ทัง้ นี้ คงได้รบั การยกฐานะมาจากหมูบ่ า้ นขนาดใหญ่ทมี่ ลี กั ษณะเป็นเกาะเป็นกง เช่นเดียวกับกงไกรลาศ” เกาะกงที่เป็นเกาะอยู่กลางแม่น้ำยม เดิมมีพื้นที่กว้างขวางจน สามารถใช้เป็นทีต่ งั้ ทีว่ า่ การอำเภอกงไกรลาศได้ แต่นำ้ ท่วมบ่อยครัง้ กระแส น้ำกัดเซาะทำให้เกาะมีขนาดเล็กลง ปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุให้ชาวบ้านเช่า เป็นที่ตั้งบ้านเรือนราว ๑๐ หลังคาเรือน และบ้านเรือนบนเกาะกงมักถูก น้ำท่วมในฤดูฝน จึงสร้างบ้านที่มีเสาเรือนสูงจากพื้นดินมาก มีสะพาน ขนาดเล็กเชื่อมต่อกับริมฝั่งแม่น้ำ ในฤดูฝนชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้เรือเป็น พาหนะ ส่วนรถยนต์ รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ก็จะจอดไว้ที่วัดกงไกรลาศ เมื่อข้ามฝั่งมาแล้วจึงจอดเรือไว้และใช้รถเป็นพาหนะในการ คมนาคมติดต่อกับชุมชนอื่น อีกฝัง่ หนึง่ ของเกาะกงคือ “บ้านกง” ชุมชนเก่าแก่แรกเริม่ ขนาด ใหญ่และเป็นทีต่ งั้ ของ วัดกงไกรลาศ วัดสำคัญของชุมชนบ้านกงและอำเภอ กงไกรลาศในปัจจุบัน ภายในวัดประดิษฐาน “หลวงพ่อโตวิหารลอย” พระ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะ ฝีมอื ช่างท้องถิน่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตัง้ แต่สมัยอยุธยา เพราะเดิมนัน้ วัด กงไกรลาศเป็นวัดร้าง ต่อมาจึงมีการบูรณะองค์พระและวิหารใหม่ เหตุที่ได้ชื่อว่าหลวงพ่อโตวิหารลอย เนื่องจากว่าบริเวณวิหาร หลวงพ่อโตที่อยู่ในวัดกงไกรลาศซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำยม น้ำไม่ท่วมเข้าไปใน วิหารเมือ่ ครัง้ ทีเ่ กิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และ พ.ศ. ๒๕๒๓ ทัง้ ทีอ่ ยู่


ในระดับเดียวกับสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ในวัด ชาวบ้านจึงเชื่อว่าวิหารหลวงพ่อโต สามารถลอยน้ำได้ ทำให้เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกงไกรลาศศรัทธา ยิ่งนัก ในอดีตวัดนี้มี “พระครูไกรลาศสมานคุณ (หลวงพ่อย่น ติสฺสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัด และเป็นเจ้าคณะอำเภอกงไกรลาศด้วย พระครูไกรลาศสมานคุณเป็นพระเกจิอาจารย์รปู สำคัญของอำเภอกงไกรลาศ มีคาถาอาคม ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงด้านการหุงน้ำมันสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ทำให้ ชาวบ้านเลือ่ มใสศรัทธาท่านมาก และถือได้วา่ พระครูไกรลาศสมานคุณเป็น “ผูน้ ำทางวัฒนธรรม” ทีส่ ำคัญ เนือ่ งจากท่านเป็นผูร้ เิ ริม่ นำพาชาวบ้านในเขต บ้านกงทำพิธที อดผ้าป่าทางเรือไปยังวัดต่างๆ ทีอ่ ยูร่ มิ แม่นำ้ ยมทางตะวันออก และตะวันตกของบ้านกง ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สุดในละแวกนี้เมื่อราว ๔๐ ปีที่ผ่านมา คุณตาพิศาล บุญผล อดีตข้าราชการครูและมีเชื้อสายตระกูล ขุนนางเมืองกงไกรลาศเก่า ปัจจุบนั มีบา้ นเรือนอยูบ่ นเกาะกง ได้เล่าเรือ่ งการ ทอดผ้าป่าทางเรือของวัดกงไกรลาศให้ฟังว่า “ช่ ว งฤดู อ อกพรรษา หลวงพ่ อ พระครู ไ กรลาศสมานคุ ณ พร้ อ มชาวบ้ า นจะนำผ้ า ป่ า ไปยั ง วั ด ท่ า ฉนวนและวั ด น้ ำ เลื่ อ งที่ อ ยู่ ท าง ตะวันตก แล้วล่องเรือลงมายังวัดวังแหล่และวัดวังแก้วที่อยู่ทางตะวันออก จะมีการจัดขบวนเรือ โดยมีเรือหมูลำใหญ่ๆ ทีใ่ ช้ลำเลียงข้าวออกจากนามา ผูกติดกันเป็นแพ แล้วก็ตกแต่งให้สวยงาม มีตน้ หมากต้นกล้วยประดับเรือ มีมโหรีปี่พาทย์ ตีกลองตุ้ม...ตุ้ม... ร้องรำทำเพลงกันออกจากท่าวัดกง ไกรลาศ แล้วก็ไปทอดผ้าป่ายังวัดต่างๆ ตั้งแต่เช้าจรดเย็นจึงกลับบ้านกง เรือผ้าป่าจะลอยเต็มทั้งแม่น้ำ เรือจะไม่ห่างกัน เพราะจะไม่สนุก” นอกจากนีพ้ ระครูไกรลาศสมานคุณยังริเริม่ ให้มกี ารจัดแข่งเรือใน หน้าน้ำหลากด้วย โดยเป็นการตกลงและนัดวันกันของชาวบ้าน ปีหนึง่ จะมี ครัง้ หนึง่ มักจัดตรงกับวันพระ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะมาทำบุญทีว่ ดั และ ว่างงาน ชาวบ้านก็จะนำเรือของตนมาร่วมแข่ง เรือใครเรือมัน แข่งกันที่ ท่าน้ำหน้าวัด ส่วนรางวัลนั้นเป็นข้าวของต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาทำบุญ ซึ่ง พระเณรได้แบ่งมาเพือ่ มอบให้ชาวบ้าน ใครทีไ่ ม่ได้แข่งก็จะร้องรำทำเพลงอยู่ บนฝัง่ สร้างความครึกครืน้ ให้แก่งานในวันนัน้ ได้เป็นอย่างดี โดยทีไ่ ม่มกี ารดืม่ สุราหรือของมึนเมาเลย บ้านกงมีผคู้ นหลากหลายเชือ้ ชาติเข้ามาตัง้ บ้านเรือน อาทิ คนไทย พืน้ ดัง้ เดิม คนลาว และคนจีน เพราะนอกจากบ้านกงจะเป็นพืน้ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ แล้ว ยังเป็นชุมทางการค้าทีส่ ำคัญแห่งหนึง่ ในสายน้ำยมเมือ่ ราว ๕๐-๑๐๐ ปี ทีผ่ า่ นมา เรือสินค้าจากเมืองกรุงเทพฯ จะมาเทียบท่าค้าขายแลกเปลีย่ นสินค้า และรับซื้อข้าวจากชาวบ้าน จึงทำให้มีกลุ่มชาวจีนเข้ามาจอดเรือค้าขาย และขึ้นฝั่งตั้งบ้านเรือนในเวลาต่อมา ในอดีตลักษณะการตั้งบ้านเรือนของ ชาวบ้านกงมีทั้งตั้งบ้านเรือนบนบกและเป็นเรือนแพริมฝั่งแม่น้ำ การที่มีกลุ่มคนจีนจึงมี “ศาลเจ้าพ่อดาบทอง” อายุราว ๒๐๐ ปี สันนิษฐานว่าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขายในสมัยแรกได้รวมตัวกันก่อตั้ง ขึ้น เดิมท่าเรือขึ้นสินค้าจะอยู่ตรงหน้าศาลพอดี พ่อค้าที่เดินเรือมาเพื่อส่ง สินค้าหรือผ่านหน้าศาลจะต้องให้ความเคารพหรือบนบานศาลกล่าว เพื่อ ขอให้การเดินทางเรือให้เป็นไปโดยสวัสดิภาพและปราศจากภยันตราย ทั้งปวง เพราะบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อดาบทองจะมีกระแสน้ำเชี่ยวยากต่อ การเดินเรือ ทุกปีสมาคมชาวจีนในอำเภอกงไกรลาศจะทำพิธีฉลองศาลเจ้า ในวันไหว้พระจันทร์ ศาลเจ้าพ่อดาบทองไม่เพียงแต่เป็นทีน่ บั ถือของชาวไทย เชื้อสายจีนเท่านั้น ชาวไทยที่อยู่ในชุมชนแห่งนี้ก็ยังให้ความนับถือเช่นกัน เห็นได้จากวันไหว้พระจันทร์ก็จะมีกลุ่มชาวไทยเข้าร่วมพิธีด้วยจำนวนไม่ น้อย อาชีพที่สำคัญของชาวบ้านกงในอดีตก็คือ หาปลามาขาย มาทำ น้ำปลาและปลาร้า เนื่องจากบริเวณบ้านกงเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมในช่วงฤดู

น้ำหลากราวเดือนกรกฎาคม-ธันวาคมแทบทุกปี สำหรับวิธกี ารทำปลาร้านัน้ ได้รับการเรียนรู้และถ่ายทอดจากกลุ่มชาวลาวที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน บริเวณบ้านกงเป็นพื้นที่ที่มีปลาชุกชุมมาก ปลาที่จับได้มีทุก ประเภททั้งขนาดใหญ่และเล็ก ในอดีตชาวบ้านกงจะทำปลาร้าและน้ำปลา ไปขายหรือแลกข้าว เพราะพื้นที่ในการทำนามักถูกน้ำท่วม อัตราการแลก เปลีย่ นโดยปกติ น้ำปลา ๑ ปีบ๊ สามารถแลกข้าวเปลือกได้ประมาณ ๒ ถัง หาก ปีไหนข้าวแพงก็ต้องใช้น้ำปลาแลกมาก ทุกวันนีช้ าวบ้านส่วนใหญ่ยงั มีอาชีพหาปลาในฤดูนำ้ หลากเช่นเดิม เพราะปลายังคงมีมาก เนือ่ งจากแม่นำ้ ยมยังคงเป็นลำน้ำสายเดียวทีย่ งั ไม่มี เขือ่ นกัน้ ขนาดใหญ่เช่นลำน้ำสายอืน่ ๆ แต่มกั เป็นปลาขนาดเล็ก และการผลิต แบบครัวเรือนลดน้อยลง กลายเป็นการหาปลาเพือ่ ส่งขายมากขึน้ โดยจะมี พ่อค้าในชุมชนทำการรับซื้อปลาที่ชาวบ้านนำมาขาย แล้วส่งไปขายหรือมี พ่อค้าต่างถิน่ มารับซือ้ ตลอดฤดูกาลจับปลา ในครัวเรือนมีการทำเพียงปลาร้า ไว้บริโภคเฉพาะสำหรับปีตอ่ ปีเท่านัน้ และยังมีผทู้ ำธุรกิจปลาร้าส่งขายด้วย ส่วนการผลิตน้ำปลานัน้ กลายเป็นรูปแบบการรวมกลุม่ ผลิตของกลุม่ แม่บา้ น แทน ปัจจุบันนี้สภาพนิเวศวัฒนธรรมได้แปรเปลี่ยนไปจากเดิมตาม สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมดั้งเดิมเช่นการทอดผ้าป่าทางเรือ ก็ไม่มกี ารสืบทอดอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นีก้ เ็ พราะมีการใช้เรือน้อยลง ในระยะหลัง หน่วยงานราชการในท้องถิ่นก็พยายามเข้ามาฟื้นฟูและสนับสนุนการทำ กิจกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตลุ่มน้ำยมมากขึ้น มีการจัดงานแข่งเรือและกีฬา พืน้ บ้านทางน้ำชนิดต่างๆ ในช่วงใกล้ออกพรรษา มีการจัดงานปิดทองสมโภช หลวงพ่อโตวิหารลอย จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อชมวิถีชีวิต ย้อนรอยประวัติศาสตร์และชมธรรมชาติ จัดงาน “เทศกาลกินปลาและ มหกรรมของดี ก งไกรลาศ” ที่ ห น้ า ที่ ว่ า การอำเภอกงไกรลาศในช่ ว ง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพือ่ ส่งเสริม อาชีพของชาวบ้านและตอบสนองนโยบายทางการท่องเทีย่ วในระดับท้องถิน่ แม้จะมีความเห็นว่าการจัดกิจกรรมลักษณะดังกล่าวส่งผลกระทบ ต่อวัฒนธรรมดัง้ เดิมของท้องถิน่ อย่างมาก แต่กจิ กรรมเช่นนีอ้ าจเป็นสิง่ หนึง่ ทีช่ ว่ ยรักษาวัฒนธรรมท้องถิน่ เอาไว้ ถึงแม้วา่ รูปแบบหรือแนวคิดจะเปลีย่ น ไปจากเดิมก็ตาม ดีกว่าจะไม่มีการรักษาสืบทอดเอาไว้เลย ธีระวัฒน์ แสนคำ ที่ ป รึ ก ษากลุ่ ม ประวั ติ ศ าสตร์ ส องข้ า งทาง ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตลาดรับซื้อปลาริมน้ำยม

๑๓


สรุปงานเสวนา ณ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า

เมือ่ วันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ร่วมกับ

ร้านหนังสือริมขอบฟ้า จัดกิจกรรมเสวนาประจำเดือนในหัวข้อ ไตรภูมิ : จักรวาลทัศน์ของชาวพุทธ “ความเชื่อ” กับ “ภูมิวัฒนธรรม” โดยมีอาจารย์ รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล จากภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมคณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมเสวนา กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ โดยมีคุณสุดารา สุจฉายา เป็นผู้ดำเนินรายการ เริม่ แรกคุณสุดารากล่าวเปิดประเด็นว่า ทีผ่ า่ นมาเรารูจ้ กั “ไตรภูม”ิ เพียงผิวเผิน จากภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ หรือจากวรรณกรรม สมัยสุโขทัยคือ ไตรภูมพิ ระร่วง อันมีเนือ้ หาเกีย่ วกับโลกสัณฐานตามความ เชื่อของชาวพุทธ สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตมาแต่ครั้ง โบราณ จากนั้นอาจารย์รุ่งโรจน์ได้กล่าวถึงความเชื่อในเรื่องไตรภูมิและ จักรวาลว่า เป็นองค์ความรูท้ มี่ าจากชมพูทวีปหรืออินเดียในพืน้ ทีส่ ว่ นใดส่วน หนึง่ มิใช่ครอบคลุมทัง้ หมด ปรากฏอยูใ่ นคัมภีรพ์ ระเวทของศาสนาพราหมณ์ แล้วจึงแพร่หลายมายังดินแดนอื่น เช่นในแถบอุษาคเนย์ ที่หมายรวม ถึงดินแดนไทยด้วย อันมีพระพุทธศาสนาประดิษฐานเป็นหลักใหญ่ สำหรับในเรื่องของจุดกำเนิดโลกและจักรวาลนั้น แม้ว่าศาสนา พราหมณ์จะอธิบายว่ามีจุดกำเนิดจากการสร้างของเทพเจ้าก็ตาม แต่ ศาสนาพุทธจะอธิบายต่างออกไป โดยมีความเชื่อว่าโลกและจักรวาลเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดขึ้นและอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่มีใครสร้างขึ้น สำหรับ สัณฐานโลกตามความเชือ่ ของชาวพุทธหรือคนทัว่ ไปในยุคนัน้ มีลกั ษณะกลม แต่แบน ทีผ่ า่ นมาเรามักเข้าใจว่าเรือ่ งราวเกีย่ วกับโลกและจักรวาลจะปรากฏ อยูแ่ ต่เพียงพุทธศาสนานิกายเถรวาทเท่านัน้ แต่ความเป็นจริงแล้ว เรือ่ งราว ดังกล่าวได้แพร่หลายอยู่ในพุทธศาสนานิกายต่างๆ ด้วย หมายความว่ามี ความเก่าแก่และมีมาก่อนการแตกออกไปของแต่ละนิกาย เห็นได้จากใน คัมภีรก์ ถาวัตถุ ซึง่ เป็นคัมภีรท์ เี่ กิดขึน้ เมือ่ ครัง้ ชำระพระไตรปิฎกสมัยพระเจ้า อโศกมหาราช หรือราว พ.ศ. ๒๐๐ ได้ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับโลกอยู่ด้วย สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งโลกเป็นส่วนต่างๆ พระพุทธศาสนาได้จำแนกเอาไว้เป็น ๓ ส่วน ซึ่งเรียกว่า “ไตรภูมิ” อันประกอบด้วย ๑) กามภูมิ ๒) รูปภูมิ และ ๓) อรูปภูมิ การแบ่งโลกเช่นนีไ้ ด้ปรากฏอยูใ่ น นิกายต่างๆ เช่นกัน การแสดงออกของโลกในพระพุ ท ธศาสนาที่ ป รากฏในพระ ไตรปิฎกนั้นบรรยายใน ๒ ลักษณะ คือ เชิงนามธรรม กล่าวในเชิงความดี ความชั่ว ส่วนเชิงรูปธรรม ก็มีบ้างที่ว่ามหาสมุทรมี ๔ ทวีป แต่ไม่บอก ในรายละเอียด ความคิดเรือ่ งโลกในเชิงนามธรรมพัฒนาลงไปสูว่ รรณคดีกลุม่ พระ อภิธรรมปิฎกในสมัยหลัง ส่วนโลกในรูปธรรมพัฒนาไปสู่การตีความในรูป แบบศิลปะต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ต่อมาเรือ่ งราวของโลกในพระไตรปิฎกมักออกมา

๑๔

ค่อนข้างคลุมเครือ ในลังกาทวีปเมือ่ พระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งคัมภีรก์ ลุม่ อรรถกถา เกิดขึ้น จึงได้นำเอาเนื้อหาเกี่ยวกับโลกในพระไตรปิฎกมาขยายความ โดย พระไตรปิฎกบอกว่ามหาสมุทรมี ๔ ก็มาขยายความว่ามีอะไรบ้าง หรือภูเขาทัง้ ๗ มีอะไรบ้าง เช่น ๑) ทิวเขายุคนธร ๒) ทิวเขากรวิก ๓) ทิวเขาอีสินธร ๔) ทิวเขาสุทัสสนะ ๕) ทิวเขาเนมินธร ๖) ทิวเขาวินตกะ และ ๗) ทิวเขาอัสกัณ เป็นต้น น่าสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกาประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ มี แนวโน้มแต่งเติมเนื้อหาดังกล่าวโดยอาจอิงกับคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ ด้วย เห็นได้จากการกล่าวถึงภูเขาเป็นศูนย์กลางของโลก ซึง่ ศาสนาพราหมณ์ ก็มีการกล่าวถึงเช่นเดียวกัน และเรื่องราวที่พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวถึง มีการบรรยายอยู่ในพุทธศาสนานิกายอื่นเยอะอยู่แล้ว ซึ่งคัมภีร์เหล่านี้มัก ตกค้างอยู่ในทิเบต และบางเรื่องก็เกิดขึ้นปรากฏอยู่เฉพาะในพุทธศาสนา เท่านัน้ เช่นเรือ่ งสระอโนดาตทีศ่ าสนาพราหมณ์ไม่มกี ารกล่าวถึงแต่อย่างใด ราวปี พ.ศ. ๑๗๐๐ ในลังกาทวีป พระสารีบตุ รเถระได้แต่งคัมภีร์ “สารัตถทีปนี” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกขึ้นมาใหม่ โดยนำเอาเนื้อความใน สมันตปาสาทิกาซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งเอาไว้มาอธิบายขยายความ และอาจกล่าวได้วา่ คัมภีรส์ ารัตถทีปนีฉบับนี้ เป็นคัมภีรซ์ งึ่ มีเรือ่ งราวเกีย่ วกับ โลกทีส่ มบูรณ์ทสี่ ดุ ตัง้ แต่เคยมีมา โดยจะว่าไปแล้วไม่ใช่สงิ่ ทีแ่ ต่งใหม่ แต่ไป เอาเนื้อหาที่กระจายตัวอยู่ในคัมภีร์อรรถกถามารวมใหม่อีกครั้ง เหมือน วรรณกรรมตัดแปะ สำหรับวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไทนั้น แปลมาจากกลุม่ คัมภีร์ ดังนัน้ ก็ไม่แตกต่างไปจากวรรณคดีในอรรถกถาฎีกา เป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์ชนิ้ เดียวทีแ่ ปลเป็นไทย คนจึงฝังจิตฝังใจเหมาว่า อะไรๆ ก็มาจากไตรภูมิพระร่วง ทั้งที่อาจจะไม่จำเป็น จิตรกรรมบางเรือ่ งทีเ่ ขียนขึน้ ก็มไิ ด้มาจากไตรภูมพิ ระร่วง เช่นนรก ในไตรภูมิพระร่วงเน้นนรกขุมย่อย แต่ในจิตรกรรมหลังพระประธานเวลา เขียนกลับเน้นนรกขุมใหญ่มากกว่า และไตรภูมโิ ลกวินจิ ฉัยมี ๒ สำนวน คือ สำนวนต้นรัชกาลที่ ๑ กับสำนวนปลายรัชกาลที่ ๑ ของพระยาธรรมปรีชา ทัง้ ไตรภูมิพระร่วงและไตรภูมิโลกวินิจฉัยได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ ความรับรูเ้ รือ่ งจักรวาลทัศน์ในทางศาสนาน่าจะเป็นทีร่ บั รูใ้ นหมูช่ น ชั้นสูงกับพระ ส่วนผู้คนทั่วไปอาจรับรู้เพียงเรื่องเวรกรรมเท่านั้น เรือ่ งรูปแบบในงานศิลปกรรมทีเ่ กีย่ วกับศูนย์กลางโลกไม่ปรากฏ เฉพาะในประเทศไทยเท่านัน้ เช่น ทีญ ่ ปี่ นุ่ หรือทิเบตก็มจี ดั แสดงเรือ่ งจักรวาล เหมือนกัน สำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุม่ ทีเ่ ก่าทีส่ ดุ มีหลักฐานเก่า สุดในลุม่ น้ำอิระวดี ซึง่ น่าจะรับคติมาจากเบงกอล จิตรกรรมพม่ากับทิเบตมี ความเหมือนกัน มีการแสดงเรือ่ งราวเกีย่ วกับโลก แต่ไม่ตอ้ งการบอกว่าเป็น แผนทีท่ างภูมศิ าสตร์ เพียงบอกว่าโลกเป็นส่วนประกอบหนึง่ ในพุทธประวัติ เท่านัน้ ฉากสำคัญเกีย่ วกับโลกในจิตรกรรมพม่าจึงเกีย่ วพันกับการเสด็จลง


จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก ต่อมาอาจารย์ศรีศักรได้อธิบายเรื่องของไตรภูมิในมิติของภูมิวัฒนธรรมว่า โดยทั่วไปเรามักมองสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์แยก ต่างหากกับวัฒนธรรม แต่ภมู วิ ฒ ั นธรรมคือการมองภูมปิ ระเทศ สภาพแวดล้อมทีม่ กี ารตีความของมนุษย์ ตัง้ ชือ่ ทีท่ างต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร อย่างมนุษย์ เข้าไปสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ภูมิประเทศหนึ่ง เขาจะให้ชื่อสถานที่เพื่อทำ ความรู้จักกับมัน ดังนั้นภูมิวัฒนธรรมจึงสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง ๑) คนกับคนทีอ่ ยูก่ นั เป็นชุมชน มีการสร้างบ้านแปงเมืองเป็นกลุม่ เหล่า ๒) คนกับธรรมชาติ หมายถึงการทีเ่ รามีความสัมพันธ์กบั ดินฟ้าอากาศ อย่างไร เพือ่ จะมีชวี ติ รอดร่วมกัน เช่น การตัง้ ถิน่ ฐานใกล้ทรี่ าบ ใกล้แหล่งน้ำ อันเป็นการพึ่งพาธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ อย่างไรก็ตามความ สัมพันธ์ทั้งสองอย่างข้างต้นยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีความสัมพันธ์ระหว่าง ๓) คนกับสิง่ เหนือธรรมชาติ โดยผ่านทางธรรมชาติ เหตุเพราะมนุษย์ตอ้ งอยู่ กับธรรมชาติและต้องการที่จะควบคุม แต่เมื่อควบคุมไม่ได้ก็เกิดปัญหา มนุษย์จะจินตนาการเป็นเรือ่ งความเชือ่ ซึง่ อำนาจเหนือธรรมชาติดงั กล่าวนี้ นับเป็นผลดีที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ในสังคมไทยโบราณนั้น เราให้ความสำคัญกับเรื่องความเชื่อที่ เกี่ยวพันกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าปัจจุบัน เห็นได้จากในยุคต้นของกรุง รัตนโกสินทร์ บางพืน้ ทีม่ กี ารกันเอาไว้เป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ โดยมีการสร้าง ธาตุเจดียข์ นึ้ เพือ่ เป็นหลักของบ้านเมือง เช่น พระเจดียภ์ เู ขาทอง ทีส่ ะท้อน แนวคิดเกี่ยวกับไตรภูมิ อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล การ สร้างบ้านเมืองตัง้ แต่รชั กาลที่ ๑-๓ ยังคงให้ความสำคัญในเรือ่ งมิตวิ ญ ิ ญาณ อยู่ พระบรมธาตุเป็นสิง่ ทีส่ งู ส่ง เราพบในวรรณกรรมนับแต่อดีต เช่น นิราศ หริภุญไชย เป็นการจาริกแสวงบุญ อย่างไรก็ตามก่อนยุคที่มีไตรภูมิก็มีมนุษย์ที่มองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใน เรือ่ งจักรวาลอยูแ่ ล้ว พบว่าจะมองภูเขาสูงเป็นเขาศักดิส์ ทิ ธิ์ ซึง่ มีมานานแล้ว แล้วมนุษย์ทกุ ชาติทกุ ภาษามี ทุกแห่งในอาณาจักรโบราณจะมีเขาศักดิส์ ทิ ธิ์ ทัง้ นัน้ เช่นทีเ่ ปรูมเี ขามาชูปกิ ชู (Machu Picchu) เป็นประธาน หน้าเขาเป็น วิหาร เป็นบ้านเป็นเมือง หรือทีอ่ ยี ปิ ต์เป็นมหาวิหารของพระนางฮัทเชปสุต (Temple of Queen Hatshepsut) ข้างหลังเป็นเขารูปปิรามิด มหาวิหารนี้ อยู่ในหุบเขากษัตริย์ สะท้อนถึงสภาพภูมิประเทศที่กว้างมาก อำนาจ ศักดิ์สิทธิ์ผ่านมาตรงนั้น อียิปต์เป็นชาติที่มองเรื่องเขาศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะ มาสร้างปิรามิดขึน้ กลางทะเลทราย เป็นเขาทีม่ นุษย์จำลองขึน้ มาเป็นรูปกรวย มนุษย์รับอำนาจจากพระอาทิตย์ สัมพันธ์กับจักรวาล มาช่วงหลังอียิปต์ไม่

การเสวนาเรื่อง ไตรภูมิ : จักรวาลทัศน์ของชาวพุทธ “ความเชื่อ” กับ “ภูมิวัฒนธรรม”

สร้างปิรามิด แต่อาศัยภูมิประเทศของเขารูปกรวยนี้ ความเชือ่ เรือ่ งภูศกั ดิส์ ทิ ธิน์ เ้ี ป็นสากล อย่างอินโดนีเซียเป็นประเทศ ทีเ่ ป็นภูเขาไฟทัง้ เกาะ แกนกลางของอินโดนีเซียคือภูเขาไฟ และเป็นทีเ่ คารพ บูชามาก ภูเขาไฟสำคัญคือเมราปี เข้าไปถึงชวาตะวันออก มีเขาสุ-เม-รุ-กำลัง พ่นควันอยู่ ลาวาทีไ่ หลออกมาจากภูเขาไฟไหลย้อยออกมาเป็นแฉกเหมือน กลีบมะเฟือง ลาวาทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ อันนี้เห็นถึงความคิดเรื่องไตรภูมิ มาเกีย่ วข้อง ชือ่ สุ-เม-รุ อินโดนีเซียรับคติจากอินเดีย เป็นสุเมรุแบบฮินดู ไม่ใช่ พุทธ และเขตเดียนเพลโต้ก็เป็นแหล่งกำเนิดของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่สำคัญของศรีวิชัย เขมรก็รับคติจากไศเลนทร์มาใช้เช่นกัน ภู เ ขาที่ เ ป็ น แกนหิ น ธรรมชาติ พ บที่ เ วี ย ดนามกลางเรี ย ก “ลิงคบรรพต” คือยอดเขาคล้ายศิวลึงค์ ความแปลกของรูปลักษณ์มกั ถูกดึง ไปสัมพันธ์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ สร้างตำนานขึ้นมาอธิบาย ถือเป็น ศิวลึงค์ธรรมชาติ กลายเป็นภูศกั ดิส์ ทิ ธิข์ นึ้ มา คติความเชือ่ นีม้ าจากพวกจาม ไม่ใช่เขมร เพราะลิงคบรรพตเกิดขึ้นในจาม ที่วัดภู กษัตริย์ของจามก็สร้าง บ้านเมืองขึน้ ตรงนี้ เพือ่ เป็นเส้นทางการค้าขาย แล้วเจนละก็เข้ามายึดครอง สร้างปราสาทด้านล่าง คติของฮินดูถอื ว่าหินธรรมชาติทเี่ กิดเป็นสยัมภูศวิ ลึงค์ มีความศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนเขาไกรลาศอันเป็นที่สถิตของพระศิวะ ในดินแดนไทยมีภูศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เช่นที่เพชรบูรณ์มีเขา ถมอรัตน์ อันเป็นเขาใหญ่สูงตระหง่านสุดในแถบศรีเทพ และด้านทิศ ตะวันออกของเขาเป็นที่ตั้งของเมืองศรีเทพ ที่พระปรางค์เมืองศรีเทพ รุน่ ลพบุรี หันหน้าไปทางตะวันตก ปรากฏถ้ำศักดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นของพุทธมหายาน ภูศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เป็นศูนย์กลางของภูมิวัฒนธรรม เปรียบเสมือนเขา พระสุเมรุที่มีผู้คนไปกราบไหว้ และเป็นที่ที่คนจะไปจาริกแสวงบุญ เพราะ ความเชือ่ เรือ่ งจักรวาลเป็นการแสดงออกในเรือ่ งพิธกี รรมในฤดูกาล แต่โดย ปกติก็เป็นที่พำนักของฤาษี พระสงฆ์ ในเชียงใหม่มดี อยหลวงเชียงดาว นับเป็นภูศกั ดิส์ ทิ ธิอ์ กี แห่งหนึง่ ทีม่ ตี ำนานเกีย่ วกับเจ้าหลวงคำแดง ผูเ้ ป็นกษัตริยซ์ งึ่ เดินทางจากพะเยาตาม เนือ้ ตามกวางมายังทีน่ ี่ ตามความเชือ่ แล้ว เจ้าหลวงคำแดงนับเป็นผีใหญ่ใน ล้านนาที่กลุ่มคนไตต้องตั้งศาลให้ ดอยหลวงเชียงดาวสำคัญ เพราะอยู่ บริเวณต้นน้ำปิง อันเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของชาวเชียงใหม่ ธารน้ำทีไ่ หลลง จากภูเขามีการใช้อย่างทะนุถนอม พนมกุเลนก็เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นภูศักดิ์สิทธิ์ของเมือง พระนคร น้ำจากพนมกุเลนไหลมาหล่อเลีย้ งเมืองเสียมเรียบทัง้ หมด บางส่วน ถูกดึงเข้าสูก่ ารใช้นำ้ ในเมืองพระนครในบารายตะวันตกและตะวันออก ระบบ การสร้างบารายก็คอื ระบบการสร้างเขาพระสุเมรุของฮินดู เพราะหัวใจสำคัญ ของเขาพระสุเมรุของฮินดูพดู ถึงนทีสที นั ดร แล้วภาพของเขาพระสุเมรุกไ็ ป ปรากฏที่ปราสาทนครวัด คือการชักนาคระหว่างยักษ์กับเทวดาเพื่อให้เกิด น้ำทิพย์ขนึ้ พิธกี รรมอันนีเ้ รียกว่า “อินทราภิเษก” เป็นการอภิเษกพระอินทร์ เข้าสูเ่ ขาพระสุเมรุมาศ อันมีความหมายถึงการอภิเษกกษัตริยเ์ ข้าสูเ่ มรุมาศ แต่เป็นกษัตริย์ที่ตายไปแล้ว ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุของฮินดูทำให้ ปราสาทนครวัดเป็นปราสาทที่เกี่ยวกับความตายของพระมหากษัตริย์ ระบบเทวราชาของฮินดูไม่ได้หมายถึงกษัตริย์เป็นอวตารของ พระนารายณ์ เพราะไม่ มี ใ ครอาจเอื้ อ มเป็ น อวตารของพระเป็ น เจ้ า แต่เป็นเทพมาจุติเท่านั้น พิธีนี้ไทยรับมาสู่การนำพระศพขึ้นเมรุมาศของ ไทย ซึง่ น่าจะรับในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แสดงความเป็นจักรพรรดิราช ของพระเจ้าปราสาททองในแนวพุทธ เป็นสมมุติราชไม่ใช่เทวราช และ กษัตริย์จากสามัญชนมักสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องเพื่อแสดงความเป็น จักรพรรดิราช เช่น รัชกาลที่ ๓ พระเจ้าปราสาททอง เป็นต้น ทีเ่ ชียงรายมีดอยนางนอนหรือเรียกว่า “ภูสามเส้า” เป็นภูศกั ดิส์ ทิ ธิ์ อันประกอบไปด้วย ๓ ดอย คือ ๑) ดอยจ้อง ๒) ดอยปูเ่ ฒ่า และ ๓) ดอยตุง เศียรของนางนอนคือดอยจ้อง เป็นประธานของเมืองแม่สาย คือเวียงพางคำ

๑๕


ดอยปูเ่ ฒ่าอยูต่ รงกลาง สุดท้ายคือดอยตุง เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมธาตุ ดอยตุง เกิดตำนานถิ่นที่อยู่ของปู่เจ้าลาวจก ต้นราชวงศ์ลวจักราช พวกลัวะโบราณถือว่าหินสามก้อนหรือภูสามเส้าเป็นภูศกั ดิส์ ทิ ธิ์ การเกิดของราชวงศ์มงั รายจึงเกิดขึน้ ทีน่ ี่ ปูเ่ จ้าลาวจกอยูด่ อยตุง ใช้เสียมตุน่ เป็นเครื่องมือทำกิน ภายหลังลูกหลานลงมาสร้างเมืองริมแม่น้ำสาย สร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมา ซึ่งดอยตุงเป็นสถานที่สำคัญของพวกลัวะ ภูสามเส้าอันเป็นแหล่งกำเนิดของผู้นำสำคัญคือพญามังราย อีกทั้งน้ำจากดอยตุงลงมาหล่อเลี้ยงที่ราบ เกิดการสร้างบ้านแปงเมือง ภูศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นประธานของภูมิประเทศที่มาอธิบายถึงภูมิวัฒนธรรม ในการสร้างบ้านแปงเมือง เมื่อรับพระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์เข้ามา จึงมีการสร้าง พระบรมธาตุขึ้นบนดอยตุง เขาลูกนี้จึงเปลี่ยนความศักดิ์สิทธิ์จากดอย สามเส้ามาอยู่ที่ดอยตุง คนไปกราบไหว้จาริกแสวงบุญ แต่ปัจจุบันกลาย เป็นแหล่งท่องเที่ยว ไม่มีมิติเรื่องความเชื่อดังกล่าว จนเปลี่ยนไปสู่ดอย นางนอนอันเป็นเรื่องนิทานรักไป การศึกษาภูมวิ ฒ ั นธรรมเรือ่ งภูสามเส้านีส้ ามารถย้อนไปถึงยุค หินตั้ง มนุษย์มองสิ่งรอบตัวแล้วมีวิวัฒนาการ จนแบ่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ออกจากพืน้ ทีส่ าธารณ์ จึงเกิดระบบหินตัง้ ขึน้ ซึง่ แต่ละพืน้ ทีม่ วี วิ ฒ ั นาการ ไม่เท่ากัน หินตัง้ จะเกีย่ วข้องกับพืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ และ ๑) มักเป็นสถานทีฝ่ งั ศพ ของผู้นำ ผู้มีบุญ ๒) เป็นแหล่งที่สัมพันธ์กับจักรวาลและดวงดาวต่างๆ เช่น แนวพระอาทิตย์ลอดทุกช่องประตูที่พนมรุ้ง เมือ่ ย้อนไปดูเรือ่ งภูศกั ดิส์ ทิ ธิใ์ นชมพูทวีปในโลกหิมาลายัน ด้าน เหนือของลำน้ำทีเ่ ป็นด้านภูเขา ก่อนแม่นำ้ คงคา ยมนา เป็นเขาสูงไปทาง เนปาล ภูฏาน สิกขิม เป็นเขตเขาสูงในเทือกเขาหิมาลัยที่มีหิมะปกคลุม

ผู้คนในเขตนี้จินตนาการสวรรค์นรกจากตรงนั้น ในกลุม่ เขาหิมาลัยมีหลายกระจุก กระจุกหนึง่ พวกฮินดูนบั ถือคือ เขาไกรลาส ซึง่ ยอดมีลกั ษณะมน เป็นทีไ่ ปจาริกแสวงบุญ กราบไหว้ มีเขา บริวารล้อมรอบ เขาไกรลาสเป็นทีก่ ำเนิดของลำน้ำยมนา ขณะทีบ่ างคนมองเขา เอเวอเรสต์เป็นเขาพระสุเมรุ เพราะยอดสูงกว่า มีรูปทรงเป็นกรวย เป็น ปิ ร ามิ ด เขาพระสุ เ มรุ ใ นพุ ท ธศาสนาน่ า จะเอาแบบมาจากยอดเขา เอเวอเรสต์ ซึง่ มีเขาย่อยๆ ล้อมรอบ และมีธารน้ำไหลตามธรรมชาติเหมือน นทีสีทันดร พื้นที่รอบๆ เป็นป่าอันคล้ายกับป่าหิมพานต์ ซึ่งมนุษย์มี จินตนาการที่จะสร้างขึ้น ส่วนในเขตทิเบตซึ่งเป็นแหล่งพุทธศาสนามหายานที่สำคัญ หลายแห่งถือเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ อย่างไตรภูมิ ไทยจะมองเขาไกรลาสเป็น บริวาร เป็นหิมพานต์ แต่ฮินดูถือว่าเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแหล่ง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นแหล่งพิธีกรรม เกิดการสร้างสถูปเจดีย์ วิหารขึ้นประกอบ พิธีกรรม ลานด้านหน้ามีการจัดการพื้นที่เพื่อใช้ทำพิธีกรรมร่วมกัน ถึงฤดูกาลไปกราบไหว้ เรียกว่าจาริกแสวงบุญ ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุมีจุดกำเนิดอยู่ที่ชมพูทวีป และ ในส่วนของภูศักดิ์สิทธิ์นับเป็นความเชื่อที่มีทุกแห่งในโลก สัมพันธ์กับ การสร้างบ้านแปงเมืองของผู้คนในคติความเชื่อทั้งฮินดูและพุทธทั่วไป ทั้งยังเป็นความเชื่อที่มีตำนานและพิธีกรรมเป็นตัวอธิบายสิ่งต่างๆ ที่อยู่ รอบตัวมนุษย์ ทำให้เกิดความเข้าใจโลก และเป็นเครือ่ งมือหรือกฎเกณฑ์ ในการบูรณาการผู้คนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ e-mail : lek_prapai@yahoo.com website: http://www.lek-prapai.org ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร กันธร ทองธิว รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง มรกต สาตราคม ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์ ทรงพร ตั้งวิบูลย์เวช

๑๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.