จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๑ ประจำเดือน กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๔

Page 1

๑๖ ขึน้ ปีท่ี

“ต้องสร้าง

พลังประชาสังคม ต่อรองอำนาจรัฐ และทุนเหนือรัฐ” เพื่อการอยู่รอดของ สังคมไทย

บันทึกเดินทาง “รอบทะเลสาบสงขลา” กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ลิเกเรียบ จากการสรรเสริญพระเจ้าสู่มหรสพ ภูมิวัฒนธรรมภาคใต้ตอนกลาง

จากตำนานนางเลือดขาว


สารบัญ เปิดประเด็น ๐๒ “ต้องสร้างพลังประชาสังคมต่อรองอำนาจรัฐ และทุนเหนือรัฐ” เพื่อการอยู่รอดของสังคมไทย ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ๐๙ ภูมิวัฒนธรรมภาคใต้ตอนกลางจากตำนานนางเลือดขาว ๑๓ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จากประวัติศาสตร์สู่ตำนานที่มีชีวิต บันทึกจากท้องถิ่น ๑๕ บันทึกเดินทาง “รอบทะเลสาบสงขลา” กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม พระนครบันทึก ๑๙ ลิเกเรียบ จากการสรรเสริญพระเจ้าสู่มหรสพ แนะนำหนังสือ ๒๑ ประวัติศาสตร์ปาตานี / Tarikh Patani ผู้แต่ง ชัยค์ ฟากิฮฺ อะลี แปลเป็นภาษาไทยโดย ตึงกู อารีฟิน ตึงกูจิ

จดหมายข่าวมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ราย ๓ เดือน มีวตั ถุประสงค์ เพือ่ เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารจากการดำเนินงานของมูลนิธฯิ และยินดี เป็นเวทีตีพิมพ์ประสบการณ์ ทรรศนะ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ จาก หน่วยงานด้านสังคม วัฒนธรรม และผู้สนใจทั่วไป อันจะนำไปสู่ เครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมการศึกษา การสร้างและพัฒนา องค์ความรู้เรื่องเมืองไทยให้คงอยู่ตลอดไป (หากต้องการบอกรับ เป็นสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ กรุณาส่ง ชื่อที่อยู่พร้อมแสตมป์ดวงละ ๕ บาท ๔ ดวงต่อปี มายังที่อยู่ ด้านล่าง)

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ lek_prapai@yahoo.com http://www.lek-prapai.org

ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์ เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ พรพิมล เจริญบุตร อรรถพล ยังสว่าง มรกต สาตราคม ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง ทรงพร ตั้งพิบูลย์เวช

2

จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

เปิดประเด็น โดย ศรีศกั ร วัลลิโภดม

ต้องสร้าง พลังประชาสังคม ต่อรองอำนาจรัฐ และทุนเหนือรัฐ เพื่อการอยู่รอด ของสังคมไทย

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาตราบจนปัจจุบัน อิทธิพลของ

โลกาภิ วั ต น์ ที่ ค รอบงำและมี ผ ลกระทบอย่ า งร้ า ยแรง แก่ผู้คนในสังคมไทยก็คือ อำนาจของทุนเหนือรัฐและ เหนือตลาดของกลุม่ นักธุรกิจข้ามชาติ อำนาจทุ น ดั ง กล่ า วนี้ เ ป็ น อำนาจของเงิ น ตั ว เดี ย ว หาได้มีตัวอื่นไม่ และเป็นอำนาจที่ใช้ได้กับรัฐไทย โดยผ่านรัฐไทย ลงสู่สังคมข้างล่างได้ดีกว่ารัฐอื่นๆ ในโลก เพราะรัฐไทยเป็นรัฐรวม ศูนย์ทที่ ำให้การจัดการทุกอย่างในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครองกำหนดมาจากศูนย์กลางแต่ฝ่ายเดียว รั ฐ ไทยนั บ ว่ า เป็ น รั ฐ ในระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยเช่นเดียวกับหลายประเทศในโลก โดยเฉพาะประเทศ ทางตะวันตก แต่ความเป็นประชาธิปไตยของรัฐไทยนั้นเป็น ประชาธิปไตยจากข้างบนแบบผูกขาด โดยผู้ที่มีอำนาจและมี ความรูจ้ ากศูนย์กลางเป็นผูก้ ำหนด ตามความเคยชินของคนจาก ข้ า งบนที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ จากคนข้ า งล่ า งมาแต่ ส มั ย ก่ อ น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงต่างกันกับสังคมในประเทศที่ เป็นประชาธิปไตยในที่อื่นๆ ที่ความเป็นประชาธิปไตยนั้นเริ่มมา จากข้างล่าง จากประสบการณ์ในความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของผูค้ นหลายท้องถิน่ หลายชาติพนั ธุ์ และ หลายศาสนา เป็นประชาธิปไตยทีอ่ บุ ตั ขิ น้ึ ในลักษณะทีเ่ ป็นเอกภาพ ท่ามกลางความหลากหลายและความขัดแย้ง แต่ที่สำคัญเป็นประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสและพื้นที่ให้ คนจากข้ า งล่ า งในภาคประชาชนมี อ ำนาจในการต่ อ รองและ ตรวจสอบอำนาจรัฐที่มาจากเบื้องบนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยพลังประชาสังคม [Civil society] ที่เป็นกลุ่มก้อนและเครือข่าย อำนาจต่อรองของกลุ่มประชาสังคมนั้น โดยหลักการหาได้


เป็นอำนาจในการบังคับใช้ [Authoritative power] เช่นของรัฐ ไทยไม่ หากเป็นอำนาจของการต่อรองและตรวจสอบ [Sanction] รวมทั้งการต่อต้านด้วยสันติวิธี เช่นการเดินขบวนเรียกร้อง และที่ เข้มข้นก็คือ อารยะขัดขืน [Civil disobedience] เช่น การไม่ยอม เสียภาษี ถ้าหากทางรัฐไม่รับฟังและใช้อำนาจบังคับจนขาดความ ชอบธรรมก็อาจเป็นเหตุให้เกิดการจลาจลและสงครามกลางเมือง อันเป็นการปฏิวัติจากข้างล่าง [Civil war] ในที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นยุคของสงครามเย็นที่มีการ แบ่งขั้วกันระหว่างประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทุนนิยมเสรีกับประเทศประชาธิปไตยสังคมนิยมที่คนทั่วไปเรียกว่า คอมมิวนิสต์ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส คือกลุ่มแกนนำของฝ่าย ระบอบประชาธิปไตยทุนนิยมเสรี ในขณะที่รัสเซียและจีนคือแกนนำ ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นการขับเคีย่ วกันระหว่างขัว้ ประชาธิปไตยขัว้ คอมมิวนิสต์ ได้แบ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออก เป็นฝ่ายประชาธิปไตย เช่น ไทยและมาเลเซีย กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ได้แก่ เวียดนาม ลาว และเขมร ส่วนพม่าเป็นการปกครองแบบเผด็จ การทหาร อเมริกาใช้ประเทศไทยเป็นปราการสำคัญในการต้านคอมมิวนิสต์จากทางจีน รัสเซีย และเวียดนาม โดยการให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และการศึกษาที่จะอบรมบ่มสอนให้ไทย เป็นประเทศประชาธิปไตย อเมริกาประสบความสำเร็จในการอบรม ความเป็นประชาธิปไตยให้แก่ไทยได้อย่างสำเร็จเบ็ดเสร็จ เพราะทำให้ เกิดคนไทยรุ่นใหม่ขึ้นที่แตกต่างไปจากคนไทยรุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง เป็นคนไทยรุ่นที่เป็นพ่อแม่และคนรุ่นลูกในขณะนี้ท่รี ับรู้และยกย่อง ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ความคิดและวัฒนธรรมอเมริกันอย่าง สุดโต่ง จนเรียกว่าถูกทำให้เป็นคนอเมริกัน [Americanization] ก็ ว่าได้ โดยหาตระหนักถึงความเป็นจริงไม่ว่า เป็นเพียงอเมริกันแบบ ต่อยอดเท่านั้น หาได้มาจากกระบวนการอบรมทางประสบการณ์ที่ มาจากรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมไม่ เพราะฉะนั้นความเป็นประชาธิปไตยแบบต่อยอดที่รับ เข้ามา จึงเป็นประชาธิปไตยข้างบนที่ห่างไกลกับความเข้าใจและ ประสบการณ์ของคนจากข้างล่าง ประชาธิปไตยของคนจากข้างบน จึงเป็นประชาธิปไตยของกลุ่มปัญญาชน เช่น พวกนักวิชาการที่เป็น ดอกเตอร์ดอกตีน ลูกศิษย์ลูกหาที่ได้รับการอบรมปลูกฝังมาจาก อเมริกาพวกหนึ่ง กับพวกนักธุรกิจการเมืองร้อยพ่อพันแม่ที่มุ่งหวัง จะเข้ า มาหาผลประโยชน์ เ พื่ อ ตนเองและพรรคพวกในการเป็ น นักการเมือง โดยผ่านการเลือกตั้งเพื่อให้เข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในสภา และเป็นรัฐบาลคุมอำนาจในการบริหารประเทศในลักษณะธุรกิจ การเมือง การตลาด แล้วก็แบ่งออกเป็นฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พลัดถิ่นเข้ามาทำมาหากินกันในการเป็นรัฐบาล ข้าพเจ้าเรียกประชาธิปไตยจากข้างบนนี้ว่า “ประชาธิปไตย สามานย์” ตามอย่างทุนนิยมสามานย์ของอาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ นักเศรษฐศาสตร์ทร่ี เิ ริม่ คำว่า “ทุนสามานย์” เพราะเป็นประชาธิปไตยจากข้างบนที่เกิดจากอำนาจทุนของพวกนักธุรกิจข้ามชาติ ข้ามพรมแดน ถ้ามองย้อนทางประวัติศาสตร์ ประชาธิปไตยแบบนี้ฟักตัว ขึ้นเป็นรูปเป็นร่างแต่สมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้น มา เพราะเป็นยุคที่มีนักธุรกิจและนักวิชาการที่เป็นพลเรือนเข้ามา

บริหารประเทศแทนกลุ่มเผด็จการทหาร และเป็นรัฐบาลเริ่มต้นของ สิ่งที่เรียกว่า “ประชานิยม” ที่เห็นได้จากการผันเงินลงสู่ชนบท จน ทำให้ชุมชนไม่อยากจะพึ่งตนเองอย่างแต่ก่อน หันมาหวังเงินผันจาก ทางรัฐแทน สืบเนื่องมาจนถึงรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และทุนรับ โครงการทางอุตสาหกรรมและการลงทุนจากภายนอก เป็นผลให้คน ข้างล่างขายที่ดิน เลิกทำการเกษตร หันมาขายที่ตนเองไปเป็น แรงงาน ทิ้งถิ่นฐานและไปทำงานในที่ต่างๆ เกิดสภาวะบ้านแตกขึ้น ในหลายท้องถิ่นแทบทุกภูมิภาค ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสินค้าหมด แม้แต่ลูกเมียและตนเอง การสิ้นสุดของสงครามเย็นในสมัยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อ เป็นเหตุให้เปลี่ยนระเบียบโลก [World order] เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ ทุนนิยมข้ามชาติ ทำให้อเมริกามีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองอย่าง ล้นหลาม ที่จะดลบันดาลให้ประเทศใดๆ ร่ำรวยหรือยากจนก็ได้ด้วย เล่ห์กระเท่ห์ทางเศรษฐกิจและการทหาร การสงครามและการค้า อาวุธ หลายๆ ประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์แต่ไม่ทันโลกก็อาจเป็น เหยื่อของการเข้ามาแย่งทรัพยากรธรรมชาติของชาติมหาอำนาจ เช่นประเทศไทยยุคฟองสบูแ่ ตกทีท่ ำให้นกั ธุรกิจและนักลงทุนชาวต่าง ประเทศเข้ามาลงทุนทำกิจการ ใช้ทรัพยากรของประเทศไปเป็นสินค้า เพื่อเอากำไรส่วนใหญ่เป็นของตนเอง ในที่สุดยุคของการจัดระเบียบ โลกก็เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคของประเทศมหาอำนาจและ บรรษัทลงทุนข้ามชาติครอบครองโลกด้วยการสื่อสาร ด้วยการเทียบ ระบบคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตนี้สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้ แทบทุกมุมโลกอย่างไร้พรมแดน ทำให้เกิดอำนาจทุนเหนือรัฐเหนือ ตลาดขึ้น อันเป็นยุคใหม่ที่เรียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ (โลกาพิบัติ?) อย่างแท้จริง ทุนเหนือรัฐดังกล่าวคือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่ไปผูก ติดกับการปกครองแบบประชาธิปไตย เลยทำให้เกิดระบบประชาธิปไตยในระบบทุนนิยมเสรีขึ้น เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยในลักษณะ นีจ้ งึ สามารถนิยามได้วา่ เป็นประชาธิปไตยสามานย์ เป็นประชาธิปไตย

ห้องเรียนจากสถานที่สำคัญเพื่อสร้างความรู้ในท้องถิ่น

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔

3


แบบซื้อเสียงขายเสียงที่สร้างขึ้น และกำหนดมาจากกลุ่มทุนเหนือ ตลาดที่ไม่มีพรมแดนนั่นเอง ประเทศไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกภิวัตน์เมื่อเกิด รัฐบาลใหม่ขึ้นในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่มีนักธุรกิจข้ามชาติเข้ามาบริหารประเทศ ได้นำเอาความ คิดประชานิยมมาพัฒนาอย่างสุดโต่งในลักษณะที่เป็นการตลาด เปิด รับการลงทุนจากภายนอกที่ให้โอกาสคนต่างประเทศเข้ามาดำเนิน กิจกรรมได้อย่างกว้างขวาง เปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพของบ้าน เมือง ไม่ว่าการคมนาคม แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอุตสาหกรรม และ แหล่งทรัพยากรเพื่อการลงทุน ที่ทำให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมทั้งหนักและเบาขึ้นทั้งประเทศ อันทำให้พน้ื ฐานการเป็นสังคม เกษตรกรรมแบบเดิมแทบหมดไป ประเทศไทยเป็นสังคมอุตสาหกรรม อย่างเต็มตัว การเคลื่อนย้ายของผู้คนทั้งภายนอกภายในเข้าไปทำงาน และอยู่ อ าศั ย ตามแหล่ ง ทรั พ ยากรของท้ อ งถิ่ น ในภู มิ ภ าคต่ า งๆ ของประเทศอย่างรวดเร็ว และไม่เคยคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม และวัฒนธรรมนั้นได้ทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมเดิม ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน และสภาพแวดล้อมทางนิเวศวัฒนธรรมของ ท้องถิ่น จนเกิดสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งการ สร้างสำนึกการมองโลกและค่านิยมที่เน้นความเป็นปัจเจกบุคคลที่ มองและแสวงหาในเรื่องของความต้องการทางวัตถุเพื่อตนเองและ พวกพ้อง แทนการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทางสังคม เช่น การรวมกลุ่ม แบบครอบครัวและชุมชนในลักษณะเป็นสังคมมนุษย์แต่เดิม สั ง คมไทยในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ จึ ง เป็ น สั ง คมที่ เ จ็ บ ปวด เพราะกำลังขาดความเป็นมนุษย์ อาจวิเคราะห์ออกได้เป็น ๒ ระดับ ระดับบนคือระดับของ พวกนักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการ นักวิชาการและคนในสังคม เมืองส่วนใหญ่ เป็นระดับทีก่ ำลังขาดความเป็นมนุษย์ เพราะถูกครอบ โดยกระแสโลกาภิวัตน์ คนเหล่านี้นอกจากเน้นตัวตนที่เป็นปัจเจก แล้ว ยังขาดสำนึกในเรื่องบ้านเกิดเมืองนอน เพราะถูกทำให้กลาย เป็นคนของโลกเดียวกันที่ไร้พรมแดน ส่วนคนระดับล่างแม้ว่าจะอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรก ขาดจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองในกระแสโลกาภิวัตน์ก็ตาม ก็ยงั มีหลายกลุม่ หลายแห่งในหลายๆ ท้องถิน่ ทีย่ งั คงความเป็นมนุษย์ อยู่ คือยังมีความคิดที่จะอยู่ติดที่เป็นกลุ่มเหล่า ให้ความสำคัญกับ การทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงที่ทำเพื่อกินก่อนขาย ยังรักษาบ้าน เรือนและถิ่นฐานไว้ได้ ตลอดจนยังให้ความสำคัญกับวัดวาอาราม และระบบความเชื่อ คือยังคงเป็นคนมีศาสนาอยู่ และมีสำนึกในเรื่อง ชาติภูมิ ที่คนไร้ชาติจากข้างบนมักจะกล่าวหาว่าเป็นพวกคลั่งชาติ อะไรทำนองนั้น คนเหล่านี้ยังมีอยู่และทวนกระแสต่อรองกับโลกาภิวัตน์ แต่การดำรงอยู่ของคนเหล่านี้มักถูกมองข้ามไปจากคนระดับ บนที่สยบกับโลกาภิวัตน์ และมักถูกกล่าวหาว่าการเคลื่อนไหวเรียก ร้องสิทธิทางการเมืองและสังคมของคนเหล่านีจ้ ดั เป็นการกระทำของ ชนชั้นกลาง อันมีคนเสื้อเหลืองที่เคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาลเผด็จการ รัฐสภาของนายกรัฐมนตรีทักษิณให้พ้นอำนาจ แต่รฐั บาลพรรคประชาธิปตั ย์ทเ่ี ข้ามามีอำนาจในการบริหาร ราชการแผ่นดินต่อจากรัฐบาลทักษิณและนอมินีก็หาได้มีแนวคิดและ พฤติกรรมในการปกครองประเทศแตกต่างไปจากรัฐบาลทักษิณไม่ กลับเป็นรัฐบาลของคนระดับบนที่ขาดความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับ

4

จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

รัฐบาลทักษิณ และดูจะเลวร้ายกว่า เพราะแทนที่จะทำให้บ้านเมือง ดีขึ้นกลับเลวลงจนเกิดความแตกแยกมากกว่าเดิม ก็เพราะนอกจากเป็นรัฐบาลที่รวบอำนาจไว้ศูนย์กลางแล้ว ตามแบบรัฐบาลเดิมในเรื่องประชานิยม มอมเมาชาวบ้านชาวเมือง ด้วยทุนอุดหนุนและการคอร์รัปชั่นนานาประการ ดู เ หมื อ นความเลวร้ า ยของทั้ ง สองรั ฐ บาลที่ ผ่ า นมาที่ ใ ช้ ลัทธิประชานิยมเหมือนกันก็คอื การแย่งและแข่งกัน มอมเมาประชาชน เพือ่ การขายทรัพยากรและขายประเทศ ได้เกิดการแตกแยกออกเป็นก๊ก เป็นเหล่าของกลุ่มผลประโยชน์ [Factions] ที่ต่างอ้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยที่เน้นเสียงข้างมากว่าเป็นสิ่งชอบธรรม โดยไม่ ยี่หระกับการซื้อเสียงขายเสียงแม้แต่น้อย ใครมีเงินมาก แจกมาก ซื้อมาก ก็มีสิทธิ์ชนะการเลือกตั้ง อีกทั้งถ้าหากมีการกระทำใดที่ตน ต้องเสียประโยชน์และเสียอำนาจก็มักมีการออกมาคุกคามประณาม ความยุติธรรมและแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนรัฐธรรมนูญกลายเป็นกฎหมายสามานย์ไปกับประชาธิปไตยสามานย์ เพราะพอใครได้มามี อำนาจก็แก้กฎหมายเพิ่มกันไม่หยุดหย่อนหลายตลบ มาบัดนี้ รัฐบาลนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้ง และกำลังจะกลับมามีอำนาจ ก็ยังคงใช้นโยบายประชานิยมอย่างเดิม แต่ดูเข้มข้นกว่า เพราะสามารถมอมเมาคนให้เป็นพวกอมนุษย์ได้ มากกว่า อีกทั้งดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากบรรดาประเทศ มหาอำนาจ เช่น อเมริกาและพันธมิตร ทีม่ งุ่ หวังจะครอบครองดินแดน และทรัพยากรด้วยกระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมข้ามชาติ ดังเห็นได้จากการศึกษาเพื่อการปฏิรูปการปกครองของ คณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน สังคมเกษตรแบบเดิมที่ประกอบด้วยเกษตรรายย่อยที่มีที่ทำกินเป็น ของตนเอง ปลูกพืชนานาชนิดแบบ กินก่อน เหลือขาย มาเป็นเกษตรกรรมแบบพันธสัญญาที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อขายอย่างเดียว โดยมี นายทุนเป็นผู้กำหนด จนปัจจุบันคนไทยในประเทศที่เป็นเกษตรกร จำนวน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ มีที่ทำกินเพียง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ บรรดานายทุนทัง้ ในชาติและข้ามชาติถอื ครอบครองหมด นอกจากนั้นแล้ว ตามท้องถิ่นต่างๆ แทบทุกภูมิภาคของ ประเทศ คนท้องถิ่นที่อยู่ในชุมชนมาแต่เดิมก็ถูกคุกคามแย่งที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และทรัพยากรจากคนข้างนอกที่เป็นนายทุน เกิดแหล่ง ที่อยู่อาศัยและทำกินแบบใหม่ที่ไม่เป็นชุมชนมนุษย์ขึ้นมากมาย เช่น คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ และนิคมอุตสาหกรรม การรุกล้ำและคุกคามของกลุ่มทุนที่มีต่อคนข้างล่างที่เป็น เกษตรกรมาแต่เดิม ในขณะนี้รุนแรงถึงขั้นกดขี่ [Oppression] ทำให้ คนไร้ที่อยู่อาศัย ไร้ที่ทำกิน และถูกจองจำในคุกตะราง จนถึงภายใน คุกก็มมี าก โดยทีก่ ระบวนการยุตธิ รรมไม่สามารถช่วยอะไรได้ ดังเช่น ชาวบ้ า นในเขตจั ง หวั ด ลำพู น ที่ มี เ อกสารสิ ท ธิ์ ใ นที่ ท ำกิ น มา กว่าชัว่ คน ถูกรัฐออกเอกสารสิทธิท์ บั ทีใ่ ห้นายทุนมีสทิ ธิต์ ามกฎหมาย ถูกจับและศาลตัดสินลงโทษให้จำคุกจนตายไปหลายคน ซึ่งบางคนมี อายุถึง ๗๐ และ ๘๐ ปี รวมทั้งในเขตจังหวัดลำพูนก็มีการปล่อยให้ นายทุ น ได้ สิ ท ธิ์ ค รอบครองพื้ น ที่ เ พื่ อ ทำโรงงานอุ ต สาหกรรมราว ๔,๐๐๐-๓,๐๐๐ ไร่ก็มี ลักษณะเช่นนี้แผ่ซ่านไปทั่วราชอาณาจักร จนกล่าวได้ว่าทั่วทั้งประเทศเต็มไปด้วยราษฎรที่ถูกกดขี่ ข่มเหงจากอำนาจรัฐและทุนเหนือรัฐ จนกลายเป็นคนเสือ้ แดงไปหมด การกลายเป็นคนเสื้อแดงนั้นเพราะคนเหล่านี้ไม่มีที่พึ่ง ต้องหนีไปพึ่ง อำนาจนอกรัฐ เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งสงครามเย็นที่ชาวบ้านหันไป


เป็นคอมมิวนิสต์ เพราะเป็นระบบการปกครองที่เป็นทางเลือกได้ดี กว่าระบบประชาธิปไตยสามานย์รวมศูนย์ของรัฐบาลในยุคนั้น ปัจจุบันประวัติศาสตร์กำลังซ้ำรอยที่ประชาชนขาดที่ พึ่ ง จึงหันไปหารัฐบาลทักษิณซึง่ ฉลาดแกมโกง ใช้เล่หก์ ลมอมเมาชาวบ้าน ด้วยโครงการประชานิยม จนทำให้เกิดความเชือ่ มัน่ ใน พ.ต.ท.ทักษิณ สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลนอมินี ก็ คื อ ตั ว แทนของรั ฐ บาลทุ น นิ ย มสามานย์ แ ละประชาธิ ป ไตย รวมศูนย์ รวมอำนาจ และเป็นเผด็จการรัฐสภายิ่งกว่าสมัยใดๆ ใน ระบบประชาธิปไตยของประเทศไทย เพราะคนเสือ้ แดงทีเ่ ป็นสมุนและ ผู้ตามทักษิณ ได้มอมเมาหลอกลวงชาวบ้านชาวเมืองที่ถูกกดขี่โดย อำนาจรัฐให้มาเป็นพวก ระดมคนเหล่านี้ก่อความจลาจลวุ่นวาย เผาบ้านเผาเมืองถึงสองปีซ้อนในสมัยที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ บริหารแผ่นดิน ขณะนี้รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้สิ้นสุดลง และรัฐบาลนอมินี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็กำลังเข้ามาแทนที่ ก็ยังใช้นโยบายประชานิยม (ฉิบหายนิยม) มอมเมาประชาชนอีก โดยประเดิมแต่แรกการหา เสียงจะขึ้นค่าแรงงานให้กรรมกรเป็นวันละ ๓๐๐ บาท นักศึกษาที่ เรียนจบปริญญาตรีจะได้เงินเดือนขั้นแรก ๑๕,๐๐๐ บาท และประกัน ข้าวเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท เป็นต้น การให้คำมั่นสัญญาตั้งแต่การหาเสียงและซื้อเสียงเช่นนี้ คือการจุดประกายแห่งความหวังให้กับคนที่ขาดความรู้และสติ ปัญญาและมักง่ายมักได้โดยแท้ เพราะดูดีและโน้มน้าวได้ พวก ปัญญาชนที่เห็นใจประชาชนในเรื่องความไม่เป็นธรรมในเรื่องเงิน ค่าจ้างและเงินเดือน เห็นพ้องด้วยในลักษณะเข้าข้างคนด้อยโอกาส โดยหาคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของบรรดากลุ่มบุคคลที่เป็นนายทุน ผูจ้ า้ งไม่ ซึง่ ถ้าหากให้คอ่ ยเป็นค่อยไปแล้วก็จะเกิดการยอมรับด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง อันเป็นความสมดุลในความ สัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจของคนทั้งสองกลุ่มที่เกี่ยวข้อง แต่ดูเหมือนนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าจ้างและแรงงาน ดังกล่าวนี้ น่าจะมีสิ่งซ่อนเร้นมากไปกว่านั้นในเรื่องที่จะเป็นการเปิด ทางให้กับการลงทุนจากภายนอก ที่มีกำลังเงินทุนในการให้ค่าจ้าง แรงงานได้มากกว่าคนที่เป็นนายทุนภายในประเทศ ซึ่งนั่นก็จะเป็น การนำไปสู่การขายประเทศ ขายที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และทรัพยากร ให้แก่ต่างชาติโดยตรง เพราะฉะนั้นสภาพการทางเศรษฐกิจการเมืองของสังคม ไทยในยุคโลกาภิวัตน์ โดยรัฐบาลประชาธิปไตยสามานย์ที่รวมศูนย์ อำนาจ ทั้งอำนาจบังคับใช้และใช้เงินงบประมาณของทุกรัฐบาลมา จนถึงสมัยนี้ จึงกำลังเดินหน้าในการทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของ คนในสังคมแทบทุกท้องถิ่นในระดับล่างอย่างโหดร้าย เร่งสร้างภาวะ ของความไร้ศีลธรรม จริยธรรม และมนุษยธรรม [Demoralization] ขึ้นแก่ผู้คนในสังคมส่วนรวม ดั ง เห็ น ได้ จ ากโพลที่ อ อกมาว่ า คนส่ ว นใหญ่ ไ ม่ รั ง เกี ย จ คนชั่วครองแผ่นดิน ถ้าหากว่าคนชั่วเหล่านั้นให้คนอยู่ดีกินดีได้ ข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งที่เรียกว่า ประชานิยมนั้นคือฉิบหายนิยม ที่ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ของทุ น และรั ฐ ที่ ฉ้ อ ฉลกำลั ง สร้ า งความแตกแยก และความไม่เป็นธรรม รวมทั้งความเหลื่อมล้ำที่กำลังนำพาไปสู่การ ทำลายล้างชีวิตมนุษย์ด้วยกันเอง [Dehumanization] ในสังคม ในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน และประเทศชาติในส่วนรวมก็จะกลายเป็น อาณานิคมทางเศรษฐกิจและปัญญาของพวกมหาอำนาจข้ามชาติ

การเรียนรูเ้ รือ่ งราวท้องถิน่ ทีก่ กู่ าสิงห์ อำเภอเกษตรวิสยั จังหวัดร้อยเอ็ด

ทางเศรษฐกิจอย่างไม่ต้องสงสัย ในฐานะที่ข้าพเจ้าเคยเป็นคนหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่มีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ที่เห็นพ้องต้องกันว่า การ แก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมของประเทศนั้น ความจำเป็น ที่ยิ่งยวดก็คือรัฐต้องจัดการให้มีการกระจายอำนาจการปกครองลงสู่ ท้องถิน่ โดยให้องค์การปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) เป็นผูด้ ำเนินการ ในการบริหารท้องถิ่นแทน ตัดหรือลดความสำคัญของส่วนภูมิภาค ลงมติและความเห็นเช่นนี้ไม่ได้รับการขานรับทั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ และรัฐบาลพรรคเพือ่ ไทยทีก่ ำลังจะเข้ามามีอำนาจ แถมยังเลือกปฏิบตั ิ ด้วยการสนับสนุนแต่คณะกรรมการปรองดองโดยมีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน เพราะดูมีประโยชน์แก่คนเสื้อแดงที่ออกมาเผาบ้าน เผาเมืองและทำความผิด การไม่ยอมกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นให้กับ อปท. เช่นนี้ คื อ การแสดงออกของความต้ อ งการที่ จ ะใช้ ค วามเป็ น ศู น ย์ ก ลาง ในการใช้ อ ำนาจและเงิ น อย่ า งไม่ มี ท างโปร่ ง ใสได้ ใ นการบริ ห าร ประเทศ และขณะเดียวกันก็ยอมสยบต่ออำนาจของทุนเหนือรัฐที่จะ มาจากประเทศมหาอำนาจและบรรษัทข้ามชาติ ในขณะนีก้ ม็ ปี รากฏการณ์บางอย่างทางเศรษฐกิจ การเมือง ระหว่างประเทศทีส่ ง่ ให้เห็นการสมยอมหลายๆ อย่างในการทีจ่ ะทำให้ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเครือข่ายเข้ามาครอบครองประเทศ ไทย นับแต่เรื่องศาลโลกตัดสินให้มีการถอนกำลังทหารของทั้งไทย และเขมรออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งทางฝ่ายไทยเสีย เปรียบนานาประการ เช่นกำหนดให้ทางฝ่ายไทยยอมให้ฝา่ ยพลเรือน ของเขมรไปทำการบูรณะจัดการปราสาทพระวิหารและพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ทีอ่ ยูใ่ นเขตประเทศไทยได้ แถมยังกำหนดให้พน้ื ทีถ่ ดั จากบริเวณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณสระตราว ผามออีแดง และภูมะเขือเป็นพื้นที่ปลอดทหาร เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ทาง ฝ่ายมรดกโลกเคลื่อนขยับเข้าผนวกเป็นเขตพื้นที่มรดกโลกปราสาท พระวิหารได้ในอนาคต ทั้งๆ ที่ทางไทยได้ถอนตัวออกจากการเป็น สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว เพราะเบือ้ งหลังของคณะกรรมการ ชุดนี้นั้นล้วนมีฝรั่งเศส อเมริกา และประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ล้วน หนุนหลังอยู่ทั้งสิ้น แต่ประการสำคัญทีเ่ ห็นในเวลานีก้ ค็ ือ การทีร่ ัฐบาลเยอรมนี ยกเลิกการประกาศห้ามไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษของ รัฐบาลไทยเข้าประเทศเยอรมนีได้ นับเป็นการทำลายและท้าทาย อำนาจตุลาการอันเป็นเสาหลักทีส่ ำคัญของการปกครองของประเทศ

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔

5


อย่างชัดเจน และในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็น เซลล์แมนในการขายแผ่นดินและทรัพยากรของประเทศไทยแทน ข้าพเจ้าคิดว่า ประเทศไทยและสังคมไทยกำลังอยู่ในภาวะ ที่โดดเดี่ยว พึ่งภาครัฐก็ไม่ได้ พึ่งภาคธุรกิจก็ไม่ได้ พึ่งความยุติธรรม จากต่างประเทศก็ไม่ได้ ก็คงต้องพึ่งตนเองเพื่อความอยู่รอด นั่นคือ ในหมูภ่ าคประชาชนหรือภาคสังคมนัน่ เอง ทีจ่ ะต้องมีการจัดตัง้ กลุม่ ที่เป็นองค์กรประชาสังคมขึ้น [Civic group] ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทาง รัฐและ อปท. (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) แต่เดิมกลุ่มเหล่านี้มีอยู่ในรูปขององค์กรเอกชนที่เรียกว่า NGO กลุ่มเหล่านี้มีอยู่ในรูปมูลนิธิและกลุ่มอิสระที่ได้รับทุนอุดหนุน จากองค์กรต่างๆ ทางธุรกิจ หรือสมาคมเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา องค์กรเอกชนเหล่านี้ประกอบด้วยคนรุ่นหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ที่มี ความรักมนุษย์ อยากหาความรูแ้ ละสนใจในการทำงานอย่างเสียสละ เพื่อสังคม การดำเนินงานขององค์กรอิสระเหล่านี้ ที่ผ่านมาเป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ประสบทั้งผลสำเร็จและล้มเหลว แม้ว่าในระยะ หลังจะถูกอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกก็ตาม แต่กไ็ ด้วางรากฐาน ของการเคลื่อนไหวเพื่อสังคมไม่น้อย แต่ ที่ ส ำคั ญ นั้ น ได้ มี บุ ค คลที่ ท ำงานเป็ น จำนวนไม่ น้ อ ย ที่ขณะนี้อยู่ในวัยกลางคน และบางคนก็กลายเป็นผู้อาวุโสนั้น มี ประสบการณ์ที่ดีทางสังคม เป็นผู้รู้จริงและมีจิตใจที่เสียสละและไม่ ท้อถอยที่จะดำเนินการต่อไป คนเหล่านี้ได้ทำการผลักดันและขับ เคลื่อนกระบวนการทางสังคม เพื่อให้มีการต่อรองกับอำนาจรัฐและ อำนาจทุนในภาคประชาชนในหลายๆ ท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่ทยี่ งั ไม่ได้ผลดีเท่าทีค่ วรนัน้ เพราะเมือ่ เวลามีการรวมตัว กันของคนในภาคประชาชนในการต่อสู้และต่อรองกับอำนาจรัฐและ อำนาจทุนนั้น กลุ่ม NGO มักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกมือที่สาม ที่เข้า ไปยุแหย่ชาวบ้านให้มีการแตกแยก และทำให้ความเข้มแข็งและพลัง ต่อรองทางภาคประชาชนอ่อนแอไป ดังนั้นเพื่อความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการที่จะต้อง ช่วยตนเองเพือ่ ต่อรองกับอำนาจรัฐและอำนาจทุนนัน้ ก็มกี ารเคลือ่ นไหวกันขึ้นใหม่ในการจัดตั้งกลุ่มประชาสังคม คือต้องประกอบด้วย กลุ่มหรือองค์กรที่เป็นตัวแทนของคนในชุมชนท้องถิ่นที่เป็นผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียจากผลกระทบจากการเข้ามารุกล้ำและจัดการในทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของท้องถิ่น กลุ่มหรือองค์กรนี้ต้อง เป็นตัวยืน โดยมีกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มองค์กรอิสระ [NGO] และ มูลนิธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเครือข่ายที่จะร่วมกันสร้างพลังต่อรอง ข้าพเจ้าเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มประชา สังคมที่มีอยู่แล้วนี้ ยังขาดความชัดเจนในเรื่องกลุ่มองค์กรที่เป็นตัว แทนของคนในชุมชนท้องถิ่น เพราะเท่าที่เข้าใจกันนั้นเห็นว่า องค์กร ของชุมชนนั้นอยู่ในพื้นที่ทางการบริหารที่เรียกว่า หมู่บ้านและตำบล ภายใต้การควบคุมของอำเภอ รวมทั้งในหลายๆ แห่งก็อยู่ภายใต้ อบต. และ อบจ. ในปัจจุบัน องค์กรชุมชนดังกล่าวนี้ไม่อาจนับได้ว่า เป็นองค์กรทางประชาสังคม เพราะเป็นการจัดตั้งโดยอำนาจรัฐ เรื่อง องค์กรชุมชนในพื้นที่การบริหารเช่นนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่แม้แต่คณะ กรรมการปฏิรูปการปกครองก็ยังเข้าใจสับสน เพราะยังหยุดอยู่กับ การกระจายอำนาจจากส่วนกลางมายังองค์การปกครองท้องถิ่น หรือ อปท. แต่เพียงอย่างเดียว โดยคิดว่า อปท. คือตัวแทนของ ประชาชนในการบริหารปกครองตนเองและต่อรองกับอำนาจรัฐ ดังเห็นได้จากการแสดงความคิดเห็นของศาสตราจารย์

6

จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

นายแพทย์ประเวศ วะสี ที่ให้ความสำคัญกับปลัด อบต. เป็นอย่าง มาก ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าและผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านคิดว่า อปท. ก็คอื องค์กรของรัฐท้องถิน่ ทีม่ อี ำนาจในการบริหารและปกครอง ถ้าหากบุคคลที่ดำรงหน้าที่ต่างๆ ในองค์กรนี้ รวมทั้งผู้ที่เป็นกำนัน และผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนก็ตาม เป็นคน ฉ้อฉลมาทำงานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ก็คงไม่ต่างอะไรกันกับ บรรดานักการเมืองและข้าราชการในรัฐบาลกลางปัจจุบัน เพราะ เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ในคณะกรรมการของ อบต. และ อบจ. เอง ในหลายๆ ท้องถิ่นก็อยู่ในลักษณะที่เต็มไปด้วยการทุจริตเป็นประจำ เช่นรายได้ก็ใช้ไปในงานกับสร้างที่ทำการ หรือกิจกรรมเพื่อให้มีค่า ตอบแทนเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก เพราะฉะนั้นถ้ายังปล่อยให้สภาพการณ์เช่นนี้ดำรงอยู่ การ กระจายอำนาจจากส่ ว นกลางลงสู่ ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ก็ ค งไม่ บั ง เกิ ด ประโยชน์ ใ นเรื่ อ งความเป็ น ธรรมและความมั่ น คงทางสั ง คมแต่ อย่างใด แต่ถ้าผลทำให้เกิดมีองค์กรประชาสังคมของชุมชนที่ผู้คนใน ชุมชนท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ต่อรองและตรวจสอบการดำเนิน งานของทางฝ่าย อบต. และ อบจ. แล้ว ก็จะทำให้มีการควบคุมจาก ภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมัยก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยเฉพาะการ ปกครองท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีการแบ่งเขตการบริหาร ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอดังเช่นทุกวันนี้ แต่มีแต่ชุมชน ธรรมชาติที่เรียกกันว่า บ้านและเมือง เป็นชุมชนสองระดับที่ตั้งอยู่ บนพื้นที่ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นหนึ่งๆ ทั้งบ้านและเมืองเป็นสองสิ่ง ที่แยกกันไม่ออก เพราะสังคมในภูมิภาคนี้พัฒนาขึ้นจากกระบวนการ สร้างบ้านแปงเมือง คือในท้องถิ่นหนึ่งซึ่งเป็นนิเวศวัฒนธรรมนั้นจะ มีหลายบ้าน [Village] แต่ละบ้านก็จะมีวัดเป็นศูนย์กลาง ซึ่งวัด และชื่อบ้านมักมีชื่อเดียวกัน คนในชุมชนเท่านั้นที่จะรู้ว่าบ้านของตน เองมีขอบเขตและขนาดของชุมชนเป็นอย่างใด บ้านเป็นชุมชนที่คนเกิด โต และตาย อีกทั้งคนในชุมชน ต่างมีความสัมพันธ์กันทางการแต่งงาน หรือการเป็นพี่น้องร่วมบ้าน แม้ว่าคนเหล่านั้นอาจจะมีความเป็นมาทางเผ่าพันธุ์และศาสนา ที่แตกต่างกันก็ตาม บ้านเป็นชุมชนที่ผู้อยู่อาศัยอยู่ร่วมกันมาไม่น้อย กว่า ๓ ชั่วคน ซึ่งอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า บ้านเกิด ความเป็น บ้านเกิดในทางโครงสร้างกายภาพ แลเห็นได้จากการมีอยู่ของบ้าน วัด และแหล่งเผาศพหรือฝังศพ ชื่อบ้านและวัดเป็นชื่อเดียวกัน ตั้งขึ้นกำหนดขึ้นโดยคนในชุมชน โดยดูตามลักษณะภูมิประเทศและ สภาพแวดล้อมธรรมชาติเป็นสำคัญ วัดเป็นของคนในชุมชนช่วยกัน สร้าง อนุรักษ์ และพัฒนาปฏิสังขรณ์ ในขณะที่แหล่งฝังศพ ป่าช้า และเชิ ง ตะกอนเป็ น สิ่ ง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า คนในชุ ม ชนอยู่ อ าศั ย ได้ จนถึงตาย อย่างเช่นชุมชนบ้านหลายแห่งในภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคใต้ ยังมีการรักษาสถานที่และประเพณีการฝังศพและเผาศพของ คนในบ้านเกิดของตนอยู่ หลายคนที่ออกไปทำงานข้างนอกอยากจะ กลับมาตายและเผาศพทีบ่ า้ นเกิดของตน ดูเหมือนชุมชนอิสลามแทบ ทุ ก แห่ ง ยั ง คงรั ก ษาโครงสร้ า งของชุ ม ชนในเรื่ อ งวั ด หรื อ มั ส ยิ ด กับแหล่งฝังศพที่เรียกว่า กูโบร์ ได้ดีกว่าที่อื่นๆ นอกจากโครงสร้างทางกายภาพดังกล่าว ก็ยังมีขนบธรรมเนียมและประเพณี และกฎข้อห้ามต่างๆ ทีส่ มั พันธ์กบั เวลาและสถานที่ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า จารีต เป็นกลไกที่สร้างความเกาะเกี่ยวให้คนใน ชุมชนต้องปฏิบัติร่วมกัน และรู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ดังเช่น


ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตและประเพณีสิบสองเดือนเป็นต้น คนในชุมชน ได้รับการเรียนรู้ในเรื่องจารีตและประเพณีเหล่านี้จากการอยู่ร่วมกัน และจากการถ่ายทอดของคนรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ในรูปแบบที่เรียกว่า การปลูกฝังทางวัฒนธรรม [Enculturation] อันนับเป็นการศึกษา อย่างหนึ่งเพื่อให้รู้จักความเป็นมนุษย์ เป็นการศึกษาทางด้านสังคม วัฒนธรรมทีท่ ำให้คนได้รจู้ กั ตนเอง รูจ้ กั ครอบครัว เครือญาติ เพือ่ นบ้าน ก่อนทีจ่ ะไปเรียนรูเ้ รือ่ งราวจากภายนอกทางเศรษฐกิจและการเมือง การอยูร่ ว่ มกันมาหลายชัว่ คนและการรับรูใ้ นเรือ่ งความเป็นมา ของชุมชน และการยอมรับกติกาในการอยู่ร่วมกันนี้ จะทำให้เกิด สำนึกร่วมกันว่าเป็นคนเกิดในบ้านเดียวกันและเป็นพวกเดียวกัน [Consciousness of the kind] และความผูกพันในท้องถิ่น [Sense of belonging] ที่เรียกว่า เมืองนอน ท้ อ งถิ่ น เป็ น พื้ น ที่ ท างวั ฒ นธรรมที่ แ ลเห็ น ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างคนกับคนในท้องถิน่ เดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติในนิเวศธรรมชาติเดียวกัน และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความ สั ม พั น ธ์ ทั้ ง สามมิ ติ นี้ ท ำให้ท้องถิ่นกลายเป็นนิเวศวัฒนธรรมที่ ใ น ทางสังคมและการเมืองเรียกว่า บ้านและเมือง หรือพูดย่อๆ ว่า บ้าน เมือง แต่ถา้ พูดได้มคี วามหมายลึกลงไปก็เป็นบ้านเกิดเมืองนอนนัน่ เอง บ้ า นและเมื อ งเป็ น สิ่ ง ที่ แ ยกกั น ไม่ อ อกในกระบวนการ บูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรมขึน้ เป็นรัฐและประเทศชาติ เพราะ แต่ละท้องถิ่นหรือในนิเวศวัฒนธรรมหนึ่งๆ นั้นจะมีชุมชนที่เรียกว่า บ้านหลายชุมชน ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตามสถานการณ์ทางสังคมในแต่ละสมัยเวลา แต่จะมีชุมชนที่เป็นเมืองอยู่เพียง แห่งเดียวเพื่อรวมศูนย์ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพราะชุมชนบ้านแต่ละแห่งไม่อาจอยู่ได้ตามลำพัง หากมีความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมตลอด เวลา ซึ่งก็ต้องอาศัยเมืองเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะสถานที่และย่าน ที่เป็นตลาดที่ทำให้ชุมชนเมืองมีขนาดใหญ่ มีคนหลายชาติพันธุ์ หลายภาษา หลายศาสนา และหลายอาชีพ ที่อาจมีความเป็นมาทาง ประวัติศาสตร์แตกต่างกัน บ้านและเมืองเป็นชุมชนที่ต้องพึ่งพิงกันเพื่อการอยู่รอด ความต่างกันระหว่างบ้านกับเมืองในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ยุวมัคคุเทศก์จากพิพธิ ภัณฑ์จนั เสนและพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ บ้านเขายีส่ าร

ก็คือ บ้านเป็นชุมชนที่ผู้คนมีความใกล้ชิดสนิทกัน เช่น เป็นญาติ พี่น้องกันหรือเป็นเพื่อนบ้านเดียวกัน มีอาชีพไม่ต่างกัน เช่นเป็น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ทำให้มีวิถีชีวิตและความคิดเห็นที่เหมือนกัน คล้องจองกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นสำนึกร่วมกัน คล้ายๆ กับ กลไกของเครื่องจักรเครื่องยนต์ [Mechanical solidarity] ในขณะที่ เมืองเป็นชุมชนที่มีคนหลายอาชีพ หลายที่มา หลายชาติพันธุ์ แต่ ต้ อ งอยู่ ร่ ว มกั น เพื่ อ มี ชี วิ ต รอดร่ ว มกั น ในลั ก ษณะที่ ต้ อ งพึ่ ง พิ ง กั น เสมือนอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้มสี ำนึกร่วมกันในลักษณะ ที่เป็นอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิต [Organic solidarity] โครงสร้ า งและความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมของชุ ม ชนบ้ า น และเมืองดังกล่าวคือ โครงสร้างพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ อันเป็น สัตว์สังคมที่พัฒนาขึ้นในสังคมเกษตรกรรมที่เรียกว่า สังคมชาวนา [Peasant society] อันมีเวลายาวนานมากว่าพันปีในดินแดนประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เป็นโครงสร้างที่บูรณาการคนที่หลาก หลายทางชาติพนั ธุแ์ ละความเป็นมา ทัง้ จากข้างนอกและข้างในให้เป็น กลุ่มเหล่าเดียวกันหลายยุคหลายสมัย ปัจจุบันกำลังอยู่ในสภาพ เปลีย่ นแปลง อันเนือ่ งมาจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองทีม่ าจาก ภายนอก โดยเฉพาะจากทางตะวันตกทีท่ ำให้เกิดการเปลีย่ นผ่านเป็น สังคมอุตสาหกรรมมาในยุคโลกาภิวัตน์ของทุกวันนี้ ความเป็นชุมชนบ้านและเมืองอันเป็นชุมชนทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมกำลังอยู่ในสภาพล่มสลาย เพราะการครอบงำจาก อำนาจในการบริหารและการปกครองของรัฐในเรื่องการปกครอง ท้องถิ่นที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ต่อมาจนถึงสมัยปัจจุบันใน รัฐบาลประชาธิปไตยสามานย์ที่รวมศูนย์และทุกสิ่งทุกอย่างต้องมา จากศูนย์กลางและเบื้องบน ในระบบอำมาตย์เจ้ามาถึงอำมาตย์ไพร่ในรัฐบาลนอมินี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ การล่มสลายของสังคมชาวนาอันเป็นสังคม มนุษย์มาเปลี่ยนสภาพ [Transform] เป็นสังคมอุตสาหกรรมทุน นิยมอันเป็นสังคมเดรัจฉานนั้น เหตุใหญ่มาจากการเคลื่อนย้ายและ โยกย้ายถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนไปสู่แหล่งทำงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยว บริการเขตเมืองและแหล่ง เกษตรอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา โดยแทบไม่มีโอกาสปักหลักให้อยู่ ติดที่เป็นหลักแหล่ง ผู้ที่เคลื่อนย้ายถิ่นฐานเหล่านี้แทบไม่มีหัวนอน ปลายตีน และไม่ยอมรับกติกาทางจารีตประเพณีของชุมชนในท้องถิ่นที่ตนเข้าไปอยู่ บางคนเป็นนายทุน เป็นคนมีเงิน กว้านซื้อที่อยู่ อาศัย แย่งทรัพยากรและที่ทำกินของคนที่อยู่มาก่อน เกิดเป็นเจ้าพ่อ เจ้าแม่ เป็นกำนัน อบต. จนกลายเป็นนักธุรกิจการเมืองในท้องถิ่นไป กล่าวได้ว่ามาในปัจจุบันนี้แทบไม่มีชุมชนเก่าแก่ในท้องถิ่น ใดเลย ที่สามารถบูรณาการให้คนที่มาจากข้างนอกกลายเป็นคนใน ท้องถิ่นได้ แถมยังถูกเบียดเบียนให้ออกไปอยู่ในที่อื่นๆ เสียด้วย โดย เฉพาะคนในท้องถิ่นที่ขายไร่นาและที่ดิน เลิกทำเกษตรกรรมแล้วผัน ตัวมาเป็นแรงงานให้กับแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งประกอบการ ของบรรดานายทุน ในท้องถิน่ ใดทีม่ อี ตุ สาหกรรมหนักเข้าไปดำเนินการ ก็จะมีการจัดการสร้างแหล่งที่อยู่ใหม่ให้กับคนทำงานร้อยพ่อพันแม่ เหล่านี้ในนามของนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ของบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อะไรต่ออะไรอีกมากมายภายใต้สงั คม อุตสาหกรรม มนุษย์กลายเป็นปัจเจกชนทีม่ ตี วั ตนหรืออัตตาสูง เน้นความ สำคัญทางวัตถุ เห็นอะไรก็อยากได้อยากเอา ถึงแม้จะมีการรวมกลุ่ม

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔

7


ก็เป็นเพียงเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน และมีการขัดแย้งกันจนเป็น ปรปักษ์ (faction) และไม่เห็นความสำคัญระหว่างคนกับคน และไม่ เห็นคนกับธรรมชาติ เพราะมุ่งหน้าทำลายสภาพแวดล้อมแต่เพียง อย่างเดียว และไม่เห็นคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติในทางที่ดีงาม เช่น การยึดมัน่ และสยบในอำนาจความเชือ่ ทางพระศาสนา อันเป็นสถาบัน ที่จรรโลงมนุษยธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม นอกจากการพึ่งแต่ เพียงความเชื่อทางไสยศาสตร์เพื่อเอาตัวรอดแต่เพียงอย่างเดียว สังคมอุตสาหกรรมทีเ่ ป็นอยูใ่ นขณะนีค้ อื สังคมไร้ราก ไร้แผ่นดินเกิด กำลังอบรมสั่งสอนให้คนรุ่นใหม่ที่เป็นเยาวชนถูกครอบงำไป ด้วย ไม่ว่าการศึกษาตั้งแต่เด็กชั้นประถมถึงมัธยม และขั้นอุดมศึกษา ตามมหาวิทยาลัยก็กำลังผลิตคนรุน่ ใหม่ทไ่ี ร้พรมแดนและไร้รากเช่นนี้ เพราะฉะนั้นการอยู่รอดของสังคมมนุษย์ในประเทศไทยจึง หลีกเลียงไม่ได้ที่จะต้องหันกลับไปทบทวนพื้นฐานความเป็นมนุษย์ ในสังคมที่มีมาในอดีตก่อน [Go back to the basic] นั่นคือหันกลับ ไปทบทวนสังคมชาวนาและชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนว่าเคย มีความราบรื่นและมีดุลยภาพในการต่อรองกับอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมืองที่มาจากภายนอกอย่างไร ชุมชนที่ว่านั้นคือชุมชนบ้านและเมือง ซึ่งตั้งขึ้นโดยคนใน สังคมท้องถิ่น เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม ไม่ใช่พื้นที่การบริหารที่ กำหนดโดยรัฐในรูปแบบหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ชุมชนบ้านจะ ต้องมีองค์กรชุมชนที่คนในจัดตั้งขึ้น ประกอบด้วยบุคคลอาวุโสที่มี ความรู้ มีคุณธรรม เห็นโลกมามาก ผู้นำทางศาสนา เช่น พระเจ้าอาวาส บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่บ้านที่ชาวบ้านเลือกกันเองโดยอาศัย พื้ น ฐานของการเป็ น คนภายในที่ มี ค วามประพฤติ แ ละมาจาก ครอบครัวหรือตระกูลที่คนยอมรับ รวมทั้งบุคคลที่ดีมีความเสียสละ มีพฤติกรรมที่เห็นได้ เช่น ครู และคนที่มีความสามารถในกิจกรรม ต่างๆ มาเป็นกรรมการชุมชน องค์กรดังกล่าวนี้ในสังคมมุสลิมเรียก ว่า สุเหร่า มีสถานที่พบปะประชุมกันที่มัสยิด ในขณะที่องค์กรของ ชุมชนทางพุทธประชุมกันที่วัด เช่นที่ศาลาการเปรียญ เป็นต้น หลายบ้านกลายเป็นเมือง เพราะต้องอยู่ในภูมินิเวศและ นิเวศวัฒนธรรมเดียวกัน การจัดการเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น ก็จะมีสภาผู้อาวุโส อันประกอบด้วยผู้อาวุโสของแต่ละบ้านมาพบปะ หารือกันในเรือ่ งการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การจัดการกิจกรรมสาธารณะ การป้องกันอุทกภัย พายุ อัคคีภัย โรคระบาด รวมไปถึงความขัดแย้ง พิพาทระหว่างกัน สภาอาวุโสดังกล่าวนี้ในสังคมมุสลิมเรียกสภาซูรอ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านชาวเมืองให้ความเคารพและแลเห็นคุณค่า ทั้งองค์กรชุมชนบ้านและสภาผู้อาวุโสของเมืองดังกล่าวนี้ คือกลุ่มประชาสังคม อันเป็นพลังในการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ร่วม กันของคนในสังคมเกษตรกรรม กลุ่ ม พลั ง ดั ง กล่ า วนี้ จ ะต้ อ งได้ รั บ การฟื้ น ฟู จ นมี ก าร ยอมรับ [Institutionalization] ให้เป็นสถาบันที่มีอำนาจแทรกแซง [Sanction] ในการต่อรองจากอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองที่มา จากรัฐและจากทุนเหนือรัฐ องค์กรประชาสังคมทั้งบ้านและเมือง ดังกล่าวนี้ คือพืน้ ฐานของการสร้างขึน้ โดยประชาชนภายในชุมชนเพือ่ การอยู่รอดร่วมกันอย่างเสมอภาค ที่มีการจัดการการเลือกตั้งโดย คนภายในร่วมกัน นับเป็นองค์กรแบบประชาธิปไตยโดยธรรมชาติ ข้าพเจ้าสังเกตว่า ในการประชุมหารือกันในเรือ่ งการกระจาย อำนาจจากศูนย์กลางมายังท้องถิ่นนั้น ดูเหมือนจะไม่เห็นและไม่ ยอมรับในองค์กรประชาสังคมทีว่ า่ นี ้ แต่มกั จะมองว่าเป็นสิง่ เบ็ดเสร็จ

8

จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ที่มีอยู่ใน อบต. และ อบจ. หมดแล้ว เพราะคิดว่าบุคคลที่เข้ามาปฏิบัติ การใน อปท. นั้น คือบุคคลที่คนในชุมชนเลือกเข้ามาเป็นกรรมการก็ พอแล้ว ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ถ้าคนที่เลือกเข้ามาเป็นคนไม่ดี ได้รับเลือก มาจากการหาเสียงจากสมัครพรรคพวกที่มีอิทธิพลหรือการซื้อเสียง ก็จะได้คนที่ทุจริตเข้ามาทำงาน และเบียดเบียนประชาชนอย่างที่แล เห็นอยู่ใน อบต. หรือในคณะกรรมการตำบลที่มีกำนันเป็นผู้มีอำนาจ อย่างในขณะนี้ แล้วใครหรือองค์กรใดๆ ในภาคสังคมจะควบคุมและต่อรอง กับ อบต. หรือกำนันในขณะนี้เล่า เพราะแม้แต่อำนาจรัฐที่มาจาก ส่วนกลางก็ไม่อาจจะจัดการได้ อันเนื่องมาจากคนที่เป็น อบต. และ กำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น ล้วนเป็นฐานเสียงสำคัญของนักการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยสามานย์ของทุกวันนี้ องค์ ก รบ้ า นและเมื อ งอั น เป็ น พลั ง ของภาคประชาชน หรือภาคสังคม มักถูกมองข้ามไปจากบรรดานักวิชาการและนัก การเมืองที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการอบรมมาจากทางตะวันตก โดยเฉพาะจากอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส คนเหล่านี้เห็นว่าเป็น สิ่งล้าหลังหมดยุคไปแล้ว มักเป็นการปฏิเสธที่ควบคู่ไปกับการไม่ ยอมรับเศรษฐกิจเพียงพอของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทีเดียว แต่คนเหล่านี้ก็ไม่เคยสนใจว่า คนในท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่ หันมาทบทวนและทำการเคลื่อนไหว อย่างเช่นชุมชนท้องถิ่นในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่จัดการให้มีเบี้ยกุดชุมขึ้นมาใช้ในการจัดการ เศรษฐกิจภายในของตนเอง จนเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักวิชาการแบบ ตะวันตกมีการวิพากษ์วิจารณ์ไปในทำนองไม่ดี ในทุกวันนี้องค์กรบ้านและเมืองอันเป็นการจัดตั้งขึ้นโดย คนในท้องถิ่นยังจะไม่เป็นที่ตระหนักของคนในชุมชน อันเนื่องมาจาก การครอบงำของความคิดที่ว่า ชุมชนคือหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ก็ตาม แต่ก็มีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มคนผู้รู้ในภาคประชาชนหรือ ภาคสังคมอีกมากมาย เช่น กลุ่มของ NGO และบรรดามูลนิธิต่างๆ ทั้งจากภายในประเทศและนอกประเทศ ก็ได้ทำให้เกิดการตื่นตัวขึ้น ของคนในชุมชนในหลายๆ ท้องถิ่นเกือบแทบทุกภูมิภาค ส่วนมากก็ เป็นชุมชนที่มีรากเหง้ามาแต่เดิม ที่ยังแลเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง คนในสังคม คนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือ ธรรมชาติในทางศาสนาและพิธีกรรม แต่ที่สำคัญยังสืบเนื่องทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คนรุ่นใหม่ๆ ยังรับรู้และเห็นคุณค่า การเคลื่อนไหวและตื่นตัวของคนในท้องถิ่นที่ว่านี้ คนระดับ ขุนที่เป็นฝ่ายปกครอง ฝ่ายบริหาร นักวิชาการ และนักธุรกิจมัก มองข้ามไปว่าล้าหลัง ด้อยพัฒนา แต่มองออกไปในระดับข้ามชาติ สนับสนุนให้คนจากภายนอกเข้ามาลงทุน มาตั้งหลักแหล่ง อันเป็น การนำคนจากภายนอกทั้ ง ระดั บ ชนชั้ น กลางและระดั บ แรงงาน เข้ามา ทำให้การเพิ่มประชากรในประเทศหาได้มาจากการเกิดไม่ หากเป็นการโยกย้ายถิ่นฐานจากภายนอกเข้ามา ซึ่งมีมานานไม่ต่ำ กว่า ๒๐ ปีทผ่ี า่ นมา จนทำให้ประชากรรุน่ ใหม่ เด็กรุน่ ใหม่ ไม่ได้เรียนรู้ หรือรับรูค้ วามเป็นมาของบ้านเมืองแต่อย่างใด ขาดความรูท้ างสังคม และวัฒนธรรม มุ่งแต่เรียนรู้สิ่งที่ห่างตัวในทางเศรษฐกิจ การเมือง จนมีสำนึกเป็นปัจเจกเดรัจฉาน ผิดแผกความเป็นมนุษย์ไป ความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในทุกวันนี้ก็คือ ทำอย่างไรจะฟื้น ความเป็นมนุษย์ที่เคยอยู่ร่วมกันในชุมชนแบบบ้านและเมืองที่เคยมี กลับมา โดยไม่จำเป็นต้องถอยหลังเข้าคลองเป็นแบบเดิมแบบเก่า แต่เป็นแบบใหม่ที่ยังคงความเป็นมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมอยู่ เพราะ


แม้แต่บรรดาประเทศทางตะวันตกไม่ว่าอเมริกาและอังกฤษ ก็ยังมี ชุมชนท้องถิ่นดังกล่าวนี้อยู่เป็นชุมชนทางวัฒนธรรมที่แลเห็นทั้งใน เขตเมืองและชนบท แต่ประเทศไทยมีแต่เพียงชุมชนทางราชการหรือ ชุมชนแบบบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเท่านั้น จากประสบการณ์ ข องข้ า พเจ้ า ในการทำงานทางด้ า น มานุษยวิทยา โบราณคดี และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การฟื้นฟูชุมชน ธรรมชาติในท้องถิ่นท่ามกลางความล่มสลายของชุมชน ครอบครัว และสิ่งแวดล้อมในขณะนี้ไม่ยาก เพราะยังมีรากเหง้าของอดีตอยู่ใน แทบทุกภูมภิ าค แต่ตอ้ งเริม่ ต้นด้วยการปลุกสำนึกร่วมของความเป็น คนที่เกิดในท้องถิ่น คือบ้านเกิดเมืองนอนกลับมา โดยใช้การขับเคลือ่ นให้มกี ารศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ การจัดการให้มพี พิ ธิ ภัณฑ์ ท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นเอง เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดความรู้และ สำนึกร่วมไปยังเด็กที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ ด้วยการทำให้เกิดหลักสูตร ขั้นพื้นฐานของท้องถิ่นและการอบรมยุวมัคคุเทศก์ให้กับเยาวชนเพื่อ เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ โดยคนท้องถิน่ คือการถ่ายทอดความรู้ ทางชีวิตวัฒนธรรม อันเป็นชีวิตร่วมของคนในบ้านเกิดเมืองนอน เดียวกัน จากคนรุ่นเก่า รุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย มายังคนชั​ั้นลูกหลาน

และเหลน เป็นประวัติสังคมที่มีชีวิตที่สร้างให้เกิดสำนึกร่วมจะเป็น สิ่งนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรชุมชนที่เป็นพลังของประชาสังคมโดย คนใน ทำให้เกิดการเลือกเฟ้นและเลือกตั้งคนที่ดี มีความรู้และ เสียสละในชุมชนเข้ามาทำงานในองค์กร โดยเฉพาะบุคคลที่ทำหน้าที่ ปกครองเป็นผูใ้ หญ่บา้ น จะต้องเป็นคนทีส่ งั คมท้องถิน่ รูจ้ กั และแลเห็น คุณสมบัติเหมาะสม ไม่ใช่คนจากที่อื่นที่เข้ามาหาเสียง ซื้อเสียง และ ผ่านการเลือกตัง้ เข้ามาเป็นผูน้ ำ เพราะถ้าหากไม่ได้คนในทีด่ แี ล้วก็อาจ เป็นพิษเป็นภัยได้ เมือ่ คนเหล่านีถ้ กู คัดเลือกเข้าไปเป็นตัวแทนทำงาน ในองค์การบริหารท้องถิ่น เป็น อบต. และ อบจ. เป็นต้น การทำให้เกิดองค์กรชุมชนทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้ จะทำ ให้เกิดกลุ่มพลังจากภายใน อันเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยตรงจากผลกระทบทางเศรษฐกิ จ และการเมื อ งจากภายนอก กลุม่ พลังนีจ้ ะรวมพลังกับกลุม่ ประชาสังคมทีเ่ ป็นเครือข่าย ร่วมมือและ ประสานกันกับกลุม่ อืน่ ๆ ในท้องถิน่ อืน่ กับกลุม่ NGO และบรรดามูลนิธติ า่ งๆ เพือ่ ให้เกิดอำนาจต่อรองกับฝ่ายบริหาร ไม่วา่ จะเป็น อปท. หรือจากรัฐ หรือจากทุนขนาดใหญ่ เพือ่ ความอยูร่ อดของผูค้ นในแต่ละ ท้องถิ่น

ความหลากหลาย ทางสังคมและวัฒนธรรม

ภูมิวัฒนธรรมภาคใต้ ตอนกลางจากตำนาน นางเลือดขาว วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

“นางเลือดขาว”

ตายายทวด บรรพบุรุษของคุณพิกุล ไชยชนะ ผู้รักษา พระเพลาที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขอมาไว้ ณ หอสมุดวชิรญาณ

คือตำนานเรื่องเล่าสืบต่อกันมาและผูกพัน กับสถานที่สำคัญและประเพณีพิธีกรรมตามท้องถิ่นต่างๆ บริเวณ คาบสมุทรภาคใต้ตอนกลางทั้งสองฝั่งทะเล บอกเล่าปากต่อปาก แพร่กระจายในเรื่องเล่าที่เหมือนและต่างกัน จนกลายเป็นตำนาน ท้องถิ่นในแถบจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา ตรัง และภูเก็ต ไปจนถึงเกาะลังกาวีในมาเลเซีย สะท้อนภูมวิ ฒ ั นธรรมของ เส้นทางการเดินทางติดต่อของบ้านเมืองต่างๆ สมัยโบราณตลอดจน ถิ่นที่อยู่ ผู้คน ญาติวงศ์ ความศรัทธาในศาสนา ตลอดจนบารมีและ อำนาจในท้องถิ่น ตำนานนางเลื อ ดขาวนอกจากเป็ น การบอกเล่ า ปากต่ อ ปากแล้ว ยังถูกบันทึกไว้ใน “เพลา” หรือ “หนังสือเพลา” จากธรรม-

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔

9


ห้องพระที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนเสมือนยังคงรักษาพระเพลาไว้ แม้จะไม่มีเอกสารสำคัญนั้นแล้วก็ตาม

เนียมในบ้านเมืองทางคาบสมุทร หมายถึงสมุดข่อยหรือสมุดโผจีน เย็บเล่มแบบฝรั่งและจารเรื่องราวของวัด ตำนาน สถานที่ พระ กัลปนาวัด เป็นสมุดพระตำราหรือเพลาพระตำราซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชทานสำหรับวัดนัน้ ๆ คนทัว่ ไปจะนำหนังสือเพลาหรือกัลปนาวัด มาอ่านโดยพลการไม่ได้ ผู้ที่อ่านได้คือ ผู้ที่ถือเพลาหรือผู้รักษาเพลา เท่านั้น การอ่านเพลา ผู้อ่านต้องนุ่งขาวห่มขาวเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ใน ศีลธรรม ก่อนอ่านจะต้องจำลองรูปช้างเผือกขึ้นมาแล้วให้ผู้ถือเพลา นั่งอ่านเพลาบนหลังช้าง การเก็บรักษาหนังสือเพลา นิยมเก็บรักษา ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถป้องกันแมลง ดูแลรักษาง่าย และสามารถสะพายติดตัวได้สะดวก เนื้อหาหลักของการบอกเล่าในตำนานนางเลือดขาว กล่าว ถึงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของนางเลือดขาวและกุมารผู้สามีที่ได้ สร้าง กุฏิ วิหาร อุโบสถ พระธรรมศาสนา พระพุทธรูป และพระมหาธาตุ ไว้ตามท้องถิ่นต่างๆ มากมาย จนเกิดคำร่ำลือถึงความ ดีงามในศรัทธาต่อพระศาสนาของเธอ เมื่อเดินทางไปที่ใดก็มีเรื่อง เล่าติดพื้นที่ในทุกแห่งที่นางเลือดขาวเดินทางไปถึง และอุปถัมภ์ พระศาสนาและสาธารณูปโภคท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ เวลาในตำนานมั ก เกี่ ย วพั น อยู่ กั บ เวลาในตำนานทาง ศาสนาที่ย้อนกลับไปไกลโพ้น ช่วงเวลาในเพลานางเลือดขาวจะเล่า เรื่องย้อนกลับไปถึงต้นพุทธกาล หลังสงครามที่พระเจ้าอโศกฆ่าฟัน ชาวชมพูทวีปจนทำให้ผู้คนในถิ่นนั้นอพยพหนีลงเรือมาตั้งบ้านเรือน ในแถบคาบสมุทรเป็นอันมาก กล่าวถึงศักราชในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๕ และการเกิดบ้านเมืองที่ฝั่งทะเลนอกเขตสทิงพระก่อนที่จะมี การตั้งมั่นบ้านเมืองที่พัทลุง เหตุการณ์และสถานทีใ่ นตำนานนางเลือดขาวนัน้ สัมพันธ์กบั ความทรงจำที่เกี่ยวเนื่องกับการสืบพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา การตั้งมั่นพระศาสนาวงศ์ลังกาที่พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และการสร้างพระพุทธสิหิงค์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ซึ่งร่วม สมั ย กั บ ศาสนาพุ ท ธแบบลั ง กาวงศ์ ท่ีแ พร่ เ ข้ า สู่บ้า นเมื อ งภายใน ทวีปที่หัวเมืองมอญ เช่น สะเทิมและเมาะตะมะไปสู่แคว้น “สุโขทัยศรีสัชนาลัย” ในช่วงพญารามคำแหงและพญาลิไท และที่พระบรมธาตุเมืองนครฯ จึงเกิดคณะสงฆ์เฝ้าพระบรมธาตุรูปทรงแบบลังกา ทั้ง ๔ ทิศ คือ คณะกาแก้ว คณะกาเดิม คณะกาชาด และคณะการาม (กาที่มาจากคำว่าลังกา)

10 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

อีกทั้งตำนานเพื่อการกัลปนาบำรุงวัดและพระสงฆ์ท้องถิ่น ในยุคต่อมาสะท้อนรูปแบบของคณะสงฆ์เช่นนี้ไปในบ้านเมืองที่ตั้ง มั่นคงแล้ว เช่นในลุ่มทะเลสาบสงขลา การไปสืบทอดพุทธศาสนา เถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยการอัญเชิญพระบรมธาตุ การไปนมัสการ พระเขี้ยวแก้วโดยพระสงฆ์และคณะผู้มีจิตศรัทธาแรงกล้าในเขต คาบสมุทร ถือสืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาล หลังสมเด็จพระนารายณ์ฯ ลงมา มาจนกลายเป็นคณะป่าแก้วขึ้นมา อีกคณะหนึ่ง เหตุการณ์และสถานที่ในตำนานยังปรากฏเป็นชื่อบ้านนาม เมือง ตลอดจนการบอกเล่าสืบทอดแบบมุขปาฐะอยู่ตลอดมาและ สืบเนือ่ งจนถึงปัจจุบนั แม้สถานทีต่ า่ งๆ จะมีการเปลีย่ นแปลงสภาพ แวดล้อมไปไม่น้อยก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง คือ การ บอกเล่าเส้นทางเดินทางสมัยโบราณ สภาพแวดล้อมแบบป่าเขาที่ มีการล้อมจับช้างป่ามาเป็นช้างใช้งานและส่งขาย อันเป็นการสร้าง ฐานะและอำนาจบารมีให้กบั นายกองส่วยช้างผูท้ รงภูมิ จนกลายเป็น บุคคลสำคัญของสังคมในพืน้ ทีล่ มุ่ ทะเลสาบ การทำมาหากินและการ นับถือผูท้ ป่ี ฏิบตั งิ าม ประพฤติชอบ สนับสนุนสืบทอดพระพุทธศาสนา เกียรติยศตามคำร่ำลือดังกล่าว เมือ่ ไปปรากฏทีใ่ ดก็มแี ต่ผคู้ นสรรเสริญ และบันทึกไว้ในความทรงจำ จนกลายเป็นคำบอกเล่าสืบต่อเรื่อยมา สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ยังไม่มีผ้วู ิเคราะห์กันมากนัก ในตำนานนางเลือดขาว คือ การสะท้อนภูมิวัฒนธรรมของเส้นทาง การเดินทางติดต่อกับบ้านเมืองต่างๆ สมัยโบราณในคาบสมุทรสยามมลายูทั้งสองฝั่งทะเล ตลอดจนถิ่นที่อยู่ ผู้คน ญาติวงศ์ และความ ศรัทธาในศาสนา โลกทัศน์ดังกล่าวนี้ เมื่อถูกวิเคราะห์ค้นหาความหมายก็จะทำให้คนในยุคปัจจุบันเข้าใจความเป็นมาและการที่มนุษย์ ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิศาสตร์แวดล้อม สังคม ขนบประเพณีในแถบ คาบสมุทรรอบทะเลสาบ เมื่อแรกเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นเมือง จากตำนานดังกล่าว ตำนานหรื อ เพลาในแถบนี้ ที่ ถู ก รวบรวมไว้ มี ส ำนวน แตกต่างกัน เพราะมีการคัดลอกต่อมาหลายฉบับ ปรากฏในเอกสาร ของรัฐส่วนกลางคือ “ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา” จัด พิมพ์โดยสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๐ ถือเป็นเอกสารที่มีการ ลงตราประทับเพื่อยืนยันเอกสิทธิ์ที่ท้องถิ่นต่างๆ ได้รับจากการเป็น “ข้าพระโยมสงฆ์” หรือ “ข้าโปรดคนทานพระกัลปนา” โดยพระมหา กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระราชทานกลุ่มคนเหล่านี้เพื่อดูแลรับใช้ วัดในท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่ควรมีผู้ใด ใคร แม้จะเป็นขุนนางหรือเจ้าเมืองจะล่วงละเมิดถือสิทธิ์เพื่อประโยชน์ในชาวข้าพระส่วนตนมิได้ และในเวลาต่อมา เมื่อเพลาหรือพระตำราต่างๆ ถูกส่งทอด เก็บรักษาไว้ในชุมชนต่างๆ คนทัว่ ไปจะนำหนังสือเพลาหรือกัลปนาวัด มาอ่านโดยพลการไม่ได้ ผู้ที่อ่านได้คือ ผู้ที่ถือเพลาหรือผู้รักษาเพลา เท่านั้น การอ่านเพลา ผู้อ่านต้องนุ่งขาวห่มขาว เป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่ใน ศีลธรรม จนเมื่อระบบการกัลปนาเริ่มหายไปจากสังคม ชาวบ้าน ผู้รักษานั้นก็ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามที่เคยปฏิบัติมา เช่น ห้ามฝ่าย หญิงแตะต้อง หากจะนำมาเปิดต้องเป็นผู้ชายผู้เป็นที่เคารพ ใน ปัจจุบนั ชาวบ้านที่สืบเชื้อสายมาจากผู้รักษาเพลาในอดีตยังคงมีการ จัดพิธีสมโภชเพลา หรือ “สมโภชทวดเพลา” ในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ที่พบและได้พูดคุยคือ คุณพิกุล ไชยชนะ บ้านอยู่ห่างจากวัด เขียนบางแก้วไม่ไกลนัก สืบทอดคำบอกเล่าของการเก็บพระเพลา


มาทางสายแม่ เริ่มทำพิธีบูชาหลังเลิกราไปหลายปี คุณพิกุลเพิ่ง กลับบ้านหลังจากไปทำงานในเมืองมานาน และริเริ่มรื้อฟื้นประเพณี ในกลุ่มสายตระกูลผู้ดูแลรักษาพระเพลาขึ้นมาใหม่ ถือเอาวันสมโภช ปู่เพลานี้เป็นงานรวมญาติและทำบุญให้แก่บรรพบุรุษ เช่นเดียวกับ กลุ่มตระกูลที่เป็นครูหมอโนราและจัดพิธีสมโภชโนราโรงครูเช่นกัน คุณพิกุลสร้างห้องแยกทวดเพลาไว้ต่างหาก ในอดีตกล่าว ว่าจะต้องไม่รวมกับพื้นที่ใดๆ ในบ้าน แต่ปัจจุบันไว้รวมกับห้องพระ ปูที่นอนกางกลดไว้ให้เสมือนพระเพลาฉบับเดิมนั้นยังคงอยู่ คุณพิกุล ทราบเพียงแต่ว่ามีผู้นำพระเพลาฉบับจริงนั้นไปไว้ที่อื่น แต่ก็ไม่เคย เห็นว่าหน้าตาเป็นเช่นไร ดังนั้นในจินตนาการ “พระเพลา” คือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ของตระกูล เสมือนปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษที่จากไปแล้ว มากกว่าจะเป็นเอกสารสำคัญใดๆ ตาและยายทวดของคุ ณ พิ กุ ล คื อ ผู้ รั ก ษาพระเพลาคน สุดท้าย ก่อนที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนำไป มอบให้หอสมุดวชิรญาณ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ เพลานางเลือดขาวจากวัดเขียนบางแก้วถือว่าเป็นสำนวน สำคัญ เพราะถูกนำมาเขียนขึ้นใหม่ในพงศาวดารเมืองพัทลุงฉบับ พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) ใช้ต้นฉบับจาก วัดเขียนบางแก้วนี้เขียนเป็นภาคเมืองพัทลุงยุคดึกดำบรรพ์ เพลานางเลือดขาว ฉบับวัดเขียนบางแก้ว นี้เป็นกระดาษ เพลาจารหรือเขียนด้วยเส้นดินสอดำ อักษรไทยย่อและอักษรขอม ภาษาไทยจำนวน ๓๐ หน้า ๑๗๑ บรรทัด ใช้คำประพันธ์ประเภท ร้อยแก้ว น่าจะเริ่มบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในราวแผ่นดินสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา เพราะพระครูอินทเมาลี เจ้า คณะป่าแก้ว บูรณะวัดเขียนบางแก้ว วัดสทัง และวัดสทิงพระ ช่วง พ.ศ. ๒๑๐๙-๒๑๑๑ และคงมีการคัดลอกต่อกันมาอีกหลายฉบับ จน ฉบับสุดท้ายราว พ.ศ. ๒๒๗๒ ในรัชสมัยพระเพทราชา ซึ่งเป็นฉบับที่ ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน เนื้อหาแบ่งออกเป็นสองตอน คือเล่าเรื่อง นางเลือดขาวช่วงหนึ่ง และตำนานพระราชูทิศของพระมหากษัตริย์ การกัลปนาอุทิศที่ดินไร่นา ถวายข้าพระโยมสงฆ์ให้เป็นประโยชน์ของ วัดอย่างเด็ดขาดเรื่องหนึ่ง เนื้ อ เรื่ อ งกล่ า วถึ ง เมื อ งพั ท ลุ ง เริ่ ม จากมี บ้ า นเมื อ งทาง ฝัง่ ตะวันออกฝัง่ สทิงพระชือ่ “กรุงสทิงพาราณศรี” เจ้าเมืองชือ่ พระยา กรงทอง ส่วนตาสามโมกับยายเพชร สองสามีภรรยา ตั้งบ้านเรือน อยูท่ ต่ี ำบลปละท่า ทางฝัง่ ตะวันตกของทะเลสาบสงขลา บริเวณบ้าน พระเกิด อำเภอปากพะยูนทุกวันนี้ เป็นหมอสดำหรือนายกองส่วย ช้าง ต้องจับช้างส่งส่วยพระยากรงทองปีละเชือก วันหนึ่งหมอช้างสองคนผัวเมียไปเจอเด็กทารกที่เกิดใน กระบอกไม้ไผ่ เด็กชายได้จากไม้ไผ่เสรียง มีเลือดสีเขียว ขาว เหลือง ดำ แดง ส่วนเด็กหญิงได้จากไม้่ไผ่ตงเลือดสีขาว จึงเรียกกันว่านาง เลือดขาว หมอช้างนำเด็กทั้งสองมาเลี้ยงจนโต ได้แต่งงานอยู่กินกัน สืบต่อมา หลังจากที่ตายายหมอช้างตาย ก็นำอัฐิไปไว้ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ เมืองพัทลุงปัจจุบันนี้ นางเลือดขาวและกุมารได้มรดกเป็นนายกองช้างแทนตา สามโมและยายเพชร มีฐานะดีมากขึน้ จึงเรียกบริเวณนัน้ ว่า “พระเกิด” และเป็น “ที่คช” ต่อจากนั้นก็อพยพผู้คนมาอยู่ที่ “บางแก้ว” สละ ทรั พ ย์ ส ร้ า งพระพุ ท ธรู ป และพระอุ โ บสถไว้ ที่ วั ด สทั ง และวั ด เขี ย น บางแก้ว สร้างพระมหาธาตุทว่ี ดั สทิงพระร่วมกับพระยากรงทองในเวลา เดียวกัน

นางเลือดขาวและพระกุมารได้จาริกแสวงบุญไปอีกหลาย เมือง เช่นที่เมืองตรังและนครศรีธรรมราช เมื่อเดินทางถึงที่ใดก็ สร้างวัดที่นั่น เช่น เดินทางไปลังกากับคณะทูตเมืองนครศรีธรรมราช ก็ ไ ด้ อั ญ เชิ ญ พระบรมสารี ริ ก ธาตุ ม าบรรจุ ไ ว้ ที่ วั ด เขี ย นบางแก้ ว สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ วัดพระงาม วัดถ้ำพระพุทธที่เมืองตรัง สร้าง วัดแม่อยู่หัวที่อำเภอเชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช สร้างวัดเจ้าแม่ (ชะแม) วัดเจดีย์งาม วัดท่าคุระ ทางฝั่งสทิงพระ เป็นต้น ความใจบุญของนางร่ำลือไปถึงสุโขทัย มีรับสั่งให้นำตัวนาง เลือดขาวเข้าไปอยู่ในวัง แต่บังเอิญนางตั้งครรภ์เสียก่อนจึงไม่ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นสนม ต่อมาเมื่อนางเลือดขาวคลอดกุมารแล้ว เจ้า กรุงสุโขทัยขอกุมารนั้นไว้ นางจึงทูลลากลับมาอยู่กับกุมารผู้สามีดัง เดิมจนถึงแก่กรรมเมื่อวัยชรา ภายหลังบุตรนางเลือดขาวได้กลับมา เป็นคหบดีอยู่ที่บ้านพระเกิด เมืองพัทลุง ชาวเมืองเรียกว่า เจ้าฟ้า คอลาย เพราะสักแบบทางเมืองเหนือไปถึงคอ ส่วนต่อที่เกี่ยวกับเรื่องการกัลปนากล่าวถึง เมื่อเวลาผ่าน ไปกว่าพันปี วัดวาอารามต่างๆ ที่นางเลือดขาวสร้างไว้ก็ทรุดโทรม กล่าวถึง “เจ้าอินท์” ชาวบ้านวัดสทัง ที่ต่อมาเป็น “พระครูอินทเมาลี” ดูแลวัดต่างๆ ในเขตรอบทะเลสาบ นครฯ ไปจนถึงเมืองตรัง และ กล่าวถึงการกัลปนาที่ดิน ผู้คน สิ่งของ ซึ่งน่าจะร่วมสมัยกับการ เขียนข้อความในพระเพลา ฉบับวัดเขียนบางแก้ว ที่ขอพระราชทาน การกัลปนาแก่วัดเขียนอีกครั้งหนึ่งในช่วง พ.ศ. ๒๑๐๙-๒๑๑๑ แต่ตำนานคำบอกเล่าที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กลับแพร่ กระจายไปทั่วบ้านเมืองทั้งสองฟากสมุทร และกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีความเชื่อของชาวบ้านตามท้องถิ่นต่างๆ อีกหลายแห่ง เช่น นางเลือดขาวอีกสำนวนหนึง่ ทางแถบนครศรีธรรมราช นางเป็นบุตรีของคหบดีย่านบ้านป่าล้อ ปัจจุบันอยู่ในตำบลแม่เจ้า อยู่หัวอำเภอเชียรใหญ่ เป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี อุปนิสัยเยือกเย็นสุขุม มีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมี จิตใจเป็นกุศล ชอบการทำบุญทำทาน ช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลต่างๆ ต่อมาได้เป็นมเหสีเอกของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ตำแหน่งเป็น “แม่อยู่หัว” และเดินทางแสวงบุญร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป สำคัญต่างๆ ปรากฏเป็นชื่อนามสถานที่และเส้นทางต่างๆ มากมาย ส่วนตำนานนางเลือดขาวที่เกี่ยวกับเมืองภูเก็ตนั้นเล่ากันว่า นาง เลือดขาวเป็นมเหสีของเจ้าเมืองหนึ่ง ถูกเสนาบดีใส่ร้ายว่ามีชู้กับ มหาดเล็ก จึงถูกให้ประหารชีวิต แม้จะแสดงความบริสุทธิ์อย่างไรก็ ไม่เป็นผล นางจึงขอร้องว่า ก่อนตายขอให้ได้เดินทางไปนมัสการพระ บรมสารีรกิ ธาตุทล่ี งั กา ระหว่างทางในทะเลพบภยันตรายต่างๆ แทบ เอาชีวิตไม่รอด จึงตั้งจิตอธิษฐานว่าหากมีบุญวาสนาได้ไปนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุอย่างที่ตั้งใจ กลับมาจะสร้างวัดก่อนที่จะรับ โทษทัณฑ์ ในทีส่ ดุ ก็ไปถึงลังกา ขากลับแวะทีเ่ กาะภูเก็ต เห็นเป็นชุมชน มีผู้คนอาศัยจึงสร้าง “วัดพระนางสร้าง” ขึ้นเป็นแห่งแรก พร้อมทั้ง ปลูกต้นประดูแ่ ละต้นตะเคียนไว้เป็นเครือ่ งหมาย เมือ่ กลับถึงบ้านเมือง ของตน จึงได้รับข่าวการสูญเสียพระสวามีในการแย่งชิงราชสมบัติ ภายในเมืองนั้น นางจึงคิดจากไป โดยตั้งใจว่า ชีวิตที่เหลือจะสร้างวัด ให้มากเท่าที่จะทำได้ แต่ยังไม่ทันหนี ก็ถูกเจ้าเมืองใหม่จับไปประหาร ชีวิตเสียก่อน เลือดของนางที่ไหลออกมาเป็นสีขาว จึงเป็นที่มาของ ชื่อ “นางเลือดขาว” ตำนานที่ เ กาะภู เ ก็ ต นี้ มี เ ค้ า โครงคล้ า ยคลึ ง กั บ ตำนาน

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 11


“นางมะซูรี” ที่เกาะลังกาวี เพียงแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา ของเจ้าเมืองชาวมุสลิมและนางมะซูรีผู้เป็นคนภูเก็ต เป็นเรื่องเล่า เกี่ยวกับผู้หญิงที่มีเลือดเป็นสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงความ บริสทุ ธิข์ องเธอ และคำสาปทีต่ กแก่ทอ้ งถิน่ จนกลายเป็นความเชือ่ ทีแ่ ม้ คนรุ่นปัจจุบันก็ยังนำมาปรุงแต่งจนกลายเป็นคำสาปและการพัฒนา เกาะลังกาวีให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ วหลังจากคำสาปนัน้ หมดสิน้ ลง นอกจากนี้ยังมีตำนานนางเลือดขาวที่บ้านท่าคุระ ในตำบล ชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เล่ากันว่า นางเลือดขาวกับ กุมารสามีไปเทีย่ วเมืองสทิงพาราณสีทางเรือ โดยขึน้ ฝัง่ ทีบ่ า้ นท่าทอง หรือบ้านท่าคุระในปัจจุบัน แล้วสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งคือ วัดท่าคุระ และ ประดิษฐานพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัวหนึ่งองค์ ตามตำนานว่า หล่อ ขึ้นที่วัดท่าคุระ ตรงกับวันพุธแรกของเดือน ๖ ข้างแรม ซึ่งวันนี้ ชาวบ้านท่าคุระถือเป็นวันรวมญาติ ชาวบ้านท่าคุระและผู้ที่ย้าย ภูมิลำเนาไปยังถิ่นอื่นจะกลับมาชุมนุมพร้อมกัน ร่วมทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ เป็นวันชุมชาติหรือชุมนุมญาติ แสดงความ กตัญญูต่อเจ้าแม่อยู่หัว ทำพิธีแก้บนต่างๆ ตามที่ได้บนไว้ การแก้บน ที่นิยมทำคือ บวชพระ บวชสามเณร หรือบวชชีถวาย นอกจากนี้ยังมี การถวายข้าวตอก ดอกไม้ ปัจจัยไทยทาน หรือ “รำโนราถวายมือ” การแสดง “โนรา” เนือ่ งจากชาวบ้านเชือ่ กันว่าเป็นการแสดง ที่เจ้าแม่อยู่หัวโปรดปรานเป็นพิเศษ ในงานประเพณีตายายย่านทุกปี จะต้องมีการรำโนราโรงครูต่อเนื่องกันสามวันสามคืน เริ่มวันพุธ ไปสิ้นสุดวันศุกร์ แต่งานประเพณีตายายย่านจะเสร็จตอนบ่ายวัน พฤหัสบดี ส่วนชาวบ้านที่รำแก้บน เพียงแต่รำเป็นพิธี เช่น บนว่ารำ เป็นตัวใดก็ให้รำตัวนั้นคนละท่าสองท่า มีธรรมเนียมของชาวบ้านท่า คุระว่า ลูกชายหัวปีของครอบครัวและมีอายุเกิน ๑๔-๑๕ ปี ต้อง ทำขนมโคมาถวายวัดและเลี้ยงญาติมิตร แต่ถ้าเป็นลูกสาวคนหัวปี ต้องทำขนมพองหรือขนมลา หากไม่ปฏิบัติตาม เจ้าแม่อยู่หัวจะให้ โทษถึงเป็นบ้า ง่อยเปลี้ยพิกลพิการหรือประสบทุกข์ต่างๆ

ในตำนานนางเลือดขาวที่เล่าสืบต่อกันมาในท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มักกล่าวถึง วัด หมู่บ้าน ที่ แสดงถึงเส้นทางติดต่อต่างๆ เมืองพัทลุงและสงขลาน่าจะนับเนื่องว่า เป็นเขตภูมิวัฒนธรรมเดียวกันได้ สภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นมี เทือกเขาบรรทัดอยูท่ างตะวันตก และทะเลสาบสงขลาทางตะวันออก ก่อนจะถึงชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย การเดินทางข้ามไปสู่ฝั่งอันดามัน จากตำนานนางเลือดขาว ใช้เส้นทางสองสามทาง คือ เส้นทาง ด้านบนผ่านควนขนุน เข้าเขตชะอวดไปออกห้วยยอดที่ชายฝั่งทะเล เมืองตรัง แม้จะสะดวกแต่ระยะทางไกล ท่าเรือนี้เป็นท่าเรือทางฝั่ง อันดามันของเมืองนครศรีธรรมราชใช้เป็นประจำ อี ก เส้ น หนึ่ ง ต้ อ งข้ า มเขาทางช่ อ งเขาบริ เ วณเทื อ กเขา บรรทัดซึ่งเป็นเทือกเขาสูง มีช่องเขาตัดผ่านไปสู่บ้านเมืองทางฝั่ง ตะวันตกติดกับฝั่งทะเลอันดามัน ผ่านคลองปะเหลียนออกทะเลที่ ปากน้ำกันตัง ดังนั้นบ้านเมืองทั้งสองฟากฝั่งทะเลจึงสามารถติดต่อ ข้ามผ่านกันได้ โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ และช่องทางไปออกทางไทรบุรี โดยเดินทางผ่านสงขลาโดยไม่ต้องผ่านภูเขาสูง ตำนานนางเลือดขาวจึงสามารถชี้ให้เห็นสภาพแวดล้อม และการตั้งถิ่นฐานของผู้คนแต่แรกเริ่มได้อย่างเข้าใจ และเห็นความ เคลื่อนไหวติดต่อของบ้านเมืองทั้งสองฟากทะเลและสองฟากเขาใน อดีตอันห่างไกลของบ้านเมือง ทั้งที่คาบสมุทรสทิงพระต่อเนื่องจนถึง เมืองนครฯ และแผ่นดินภายในใกล้เทือกเขาบรรทัดของเมืองพัทลุง ได้อย่างชัดเจน ตำนานนางเลือดขาวจึงกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของ ชาวบ้านตามท้องถิ่นต่างๆ ที่ยังเล่าลือถึงความดีงาม ความใจบุญมี กุศลในการบำรุงศาสนาของหญิงผู้มีบุญ โดยเปรียบเทียบความดี ความบริสุทธิ์ของเธอกับการมีเลือดเป็นสีขาวแตกต่างจากผู้อื่น จน กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนหมู่บ้านและท้องถิ่นต่างๆ ตลอดทั่ว คาบสมุทรภาคใต้ตอนกลางทั้งสองฝั่งทะเลทีเดียว

๑-๒ พิธีกรรมโนราโรงครูและการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แม่เจ้าอยู่หัวที่วัดท่าคุระ คาบสมุทรสทิงพระ ฝั่งสงขลา ๑

12 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จากประวัติศาสตร์สู่ตำนานที่มีชีวิต ทรงพร ตั้งพิบูลย์เวช รูปเคารพและพื้นหินที่เชื่อว่าเป็นรอยเท้าหลวงปู่ทวด ชาวบ้านกราบไหว้และศรัทธาตามตำนานที่วัดพะโคะ

เรือ่ งราวของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเล

จืด คงเป็นที่รู้จักของชาวไทยทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิมไม่นอ้ ย โดยเฉพาะในพืน้ ทีบ่ ริเวณ ภาคใต้ของไทยตั้งแต่พัทลุง สงขลา ปัตตานี เลยไปถึงไทรบุรีในประเทศมาเลเซีย หลวง ปู่ทวดถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนาน ที่ มี ผู้ ศ รั ท ธาจำนวนมากรู ป สำคั ญ หนึ่ ง ใน สองรู ป ของเมื อ งไทยคู่ กั บ สมเด็ จ พระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือหลวงปู่โตที่ มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เรื่ อ งของหลวงพ่ อ ทวดสามารถ แยกได้เป็นสองเรื่องราว คือ เรื่องราวตาม ประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏนามว่า “สมเด็จ เจ้าพะโคะ” จากเอกสารท้องถิ่น และเรื่องราวตามตำนานซึ่ ง เป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ในนาม “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” เรื่องสมเด็จเจ้าพะโคะนั้น ปรากฏ อยู่ในคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของท้องถิ่น ต่างๆ แล้วบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวบรวมไว้ใน “พระตำราบรมราชูทิศเพื่อ กัลปนา” ทีพ่ ระมหากษัตริยท์ รงพระราชูทศิ พระราชทานที่ดินไร่นาอันเป็นของหลวงให้ แก่พระสงฆ์แห่งพุทธศาสนา ใช้บำรุงรักษา วัดวาอารามรวมทัง้ ผูค้ นชายหญิงซึง่ เรียกว่า ถวายข้าพระโยมสงฆ์ให้แก่วดั (ตำราประชุม พระตำราบรมราชูทศิ เพือ่ กัลปนา สมัยอยุธยา ภาค ๑ จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการจัดพิมพ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและ โบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๐) เขาพะโคะเดิมชื่อ “เขาภีพัชสิง” หรือ “พิเพชรสิง” คำว่า “เขาพะโคะ” สันนิษฐานว่าเป็นเสียงเพี้ยนมาจากพระพุทธรูป ปางไสยาสน์ที่เรียกว่า “พระโคตมะ” บริเวณ โดยรอบเป็ น แหล่ ง ชุ ม ชนโบราณมาตั้ ง แต่ อดีต เป็นบริเวณทีม่ คี วามเจริญรุง่ เรืองจาก การทำการค้า ทำให้บา้ นเมืองแถบนีถ้ กู โจมตี

จากโจรสลัดมลายูบอ่ ยครัง้ วัดพะโคะกลาย เป็นเมืองถูกปล้นและเผาบ้านเมืองครั้งใหญ่ โดยบันทึกไว้ว่าราวปลายสมัยสมเด็จพระ นเรศวรบ้านเมืองระส่ำระสาย ไม่สามารถฟืน้ ตัวได้ โดยเจ้าอาวาสวัดพะโคะซึ่งเคยอยู่ที่ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาและน่ า จะเป็ น พระสงฆ์ ผู้ มี บารมีพอสมควรในฐานะพระผู้ใหญ่ จึงขอ พระราชทานการบู ร ณะวั ด ครั้ ง สำคั ญ ใน สมัยของพระเอกาทศรถเมือ่ พ.ศ. ๒๑๕๓ พระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยา โดยพระราชทานพระบรมราชูทิศกัลปนาวัด ต่างๆ ตั้งแต่บริเวณปากทะเลสาบสงขลาที่ หัวเขาแดงจนถึงเขาพังไกร ทั้งหมดราว ๖๓ วัด ขึ้นกับวัด หลังจากนั้นอีกราวสิบกว่าปี ต่อมา โจรสลัดจากปลายแหลมมลายูก็เข้า ปล้นบ้านเมืองอีกครัง้ ต่อจากนัน้ ก็ไม่ปรากฏ เรือ่ งสมเด็จเจ้าพะโคะในเอกสารอืน่ ใดอีกเลย อย่างไรก็ตาม วัดพะโคะ มีการ บูรณะขึ้นใหม่และมีชื่อแบบเมืองหลวงว่า วัดราชประดิษฐาน อีกทั้งมีการขอกัลปนา ไร่นาข้าพระขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง พบเอกสาร ที่ถูกรวบรวมไว้ที่หอสมุดวชิรญาณอีกเช่น กัน คือ แผนที่ภาพกัลปนาวัดพะโคะ อำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา มีขนาดยาวมาก นับรวมได้ถึง ๓๘ คู่ แผนที่ฉบับนี้เขียนขึ้น ภายหลัง พ.ศ. ๒๒๒๓ แต่ก่อน พ.ศ. ๒๒๔๒ เขียนขึ้นหลังจากปราบขบถเมืองสงขลาได้ แล้ว และเจตนาในการเขียนก็เพื่อบอกเขต หัวเมืองพัทลุงฝ่ายตะวันออก ซึง่ ตรงกับสมัย ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งทำให้ เห็นความหนาแน่นของวัดวาอาราม อนั แสดง ถึ ง ความมั่ น คงทางศาสนาและชุ ม ชนที่ เป็นอิสระจากรัฐท้องถิ่นและส่วนกลางมาก พอที่ จ ะมี อิ ส ระในการทะนุ บ ำรุ ง ชุ ม ชน หมู่บ้านและวัดของพวกตนให้รุ่งเรือง ดัง ภาพจิตรกรรมเพื่อการกัลปนานั้นแสดงไว้

การกัลปนาที่ดินและข้าพระโยม สงฆ์นั้นน่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการ ปกครองบ้านเมืองในขณะนั้น ยามที่บ้าน เมืองระส่ำระสาย อำนาจบารมีของพระมหา กษั ต ริ ย์ ไ ม่ ส ามารถแผ่ ล งไปทั่ ว แผ่ น ดิ น ได้ การอาศัยพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องค้ำจุน ความมัน่ คงย่อมเป็นไปได้งา่ ยกว่า ด้วยความ ใกล้ชิดระหว่างพระศาสนากับบรรดาผู้คน ในท้องถิ่น การยกศาสนสถานเป็นศูนย์รวม จิ ต ใจให้ เ ป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ที่ ท ำให้ สร้ า งความสามั ค คี ไ ด้ ไ ม่ ย ากลำบากนั ก สมเด็จเจ้าพะโคะกลายเป็นผู้นำทางศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายให้ความเคารพ นับถือ กลายเป็นผู้นำท้องถิ่นที่มีบทบาท อำนาจเหนือบรรดา ขุนนาง อำมาตย์ และ วัดพะโคะกลายเป็นปราการสำคัญที่คอย ต้านอำนาจของศาสนาอิสลามและป้องกัน การโจมตีของโจรสลัด ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้ราชอาณา จักร ในอีกแง่มุมหนึ่งตามตำนานของ หลวงพ่อทวดทีส่ บื ทอดกันมาในท้องถิน่ แถบ สทิงพระ ชีวประวัติที่เต็มไปด้วยอภินิหาร เล่ากันว่า “หลวงพ่อทวด” เกิดในราว พ.ศ. ๒๑๒๕ ณ บ้านสวนจันทร์ เมืองสทิงพระ มีชื่อว่า “ปู่” หรือ “ปู” บิดาคือ ตาหู มารดา คือ นางจันทร์ ปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้ หนึ่งไว้ชื่อ ปาน ตาหูและนางจันทร์เป็นคน ในอุปภัมถ์ของเศรษฐีปาน ระหว่างที่พ่อแม่ กำลั ง เกี่ ย วข้ า วอยู่ ไ ด้ ผู ก เปลให้ ลู ก นอน นางจันทร์กเ็ ห็น “งูใหญ่” มาพันทีเ่ ปลลูกแล้ว ชูคอแผ่แม่เบีย้ นายหูและนางจันทร์พนมมือ บอกเจ้าที่เจ้าทาง ขออย่าให้ลูกน้อยได้รับ อันตราย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อย งู ใหญ่ จึ ง คลายลำตั ว ออกจากเปลเลื้ อ ย หายไป ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับ

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 13


แผนทีภ่ าพกัลปนาวัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นสมุดไทยขาวเขียนด้วยเส้นหมึก เนือ้ หาเฉพาะส่วนทีเ่ ป็นแผนทีภ่ าพนับรวมได้ ๗๖ หน้า เขียนด้วยอักษรไทยย่อซึง่ นิยมแพร่หลายในราวสมัยปลายอยุธยา ระบุได้วา่ เขียนขึน้ ภายหลัง พ.ศ. ๒๒๒๓ แต่กอ่ น พ.ศ. ๒๒๔๒

สบายเป็นปกติ และมีลูกแก้วกลมส่องเป็น ประกายอยู่ข้างตัว ตาหูนางจันทร์มีความ เชื่อว่ า เทวดาแปลงกายเป็ น งู ใ หญ่ น ำดวง แก้ววิเศษมามอบให้กบั ลูกของตน นับแต่นนั้ มาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวก็ดีขึ้น เรื่อยๆ เมื่ อ เด็ ก ชายปู่ เ ติ บ โตได้ ไ ปศึ ก ษา วิชาความรู้กับสมภารจวง และไปอุปสมบท ที่สำนักพระครูกาเดิม วันหนึ่งในขณะที่เดิน ทางไปกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสำเภา ท้องทะเล ฟ้าวิปริตเกิดพายุ ทอดสมออยู่หลายวันจน น้ำจืดหมด เจ้าของเรือจึงไล่พระภิกษุปู่ลง เรือเล็กส่งฝั่งหมาย ระหว่างที่ภิกษุปู่นั่งใน เรื อ เล็ ก ได้ ห ย่ อ นเท้ า ลงในน้ ำ ทะเลและ บอกให้ตักชิมดู ปรากฏเป็นน้ำจืดอย่างน่า อัศจรรย์ ภิกษุปู่ได้เดินทางออกธุดงค์ตาม สถานที่ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ จนมาถึงวัดพะโคะที่มีความทรุด โทรมมาก จึงได้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาเพือ่ ขอพระราชทานพระกัลปนา นายช่างหลวง จึงบรรทุกศิลาแลงลงเรือสำเภามาบูรณะ ซ่อมแซมวัดพะโคะ และได้รับพระทานที่ดิน นาถวายเป็ น กั ล ปนาขึ้ น แก่ วั ด พั ท สิ ง ห์ บรรพตพะโคะ ในตำนานกล่าวว่าท่านหายไป จากวัดพะโคะ ส่วนอีกตำนานหนึ่งซึ่งชาวพุทธใน จังหวัดปัตตานีเชื่อว่าหลวงปู่ทวดคือพระ รู ป เดี ย วกั บ ตำนานพระสงฆ์ ที่ เ ดิ น ทาง จาริ ก แสวงบุ ญ เผยแผ่ ศ าสนาแถบอำเภอ

หนองจิกไปจนถึงไทรบุรี คนทั่วไปเรียกว่า ท่านลังกา จนเมื่อมรณภาพที่เมืองไทรบุรี เส้ น ทางที่ น ำศพท่ า นกลั บ มาที่ วั ด ช้ า งให้ ชาวบ้านยังจดจำระลึกถึงสถานที่ต่างๆ ที่ ท่านลังกาเดินทางผ่าน และต่อมาในราว พ.ศ. ๒๔๙๗ ทางวัดช้างให้จดั สร้างพระเครือ่ ง หลวงปูท่ วดเป็นวัตถุมงคลจนมีชอื่ เสียง โดย เขี ย นตำนานท่ า นลั ง กาองค์ ด ำคื อ หลวง ปู่ ท วดเหยี ย บน้ ำ ทะเลจื ด องค์ เ ดี ย วกั บ สมเด็จเจ้าพะโคะทีว่ ดั พะโคะ จึงกลายเป็นที่ รู้จักว่าในนาม “หลวงปู่ทวด วัดช้างให้” และ ผู้คนก็ลืมเลือนหรือไม่รู้จักสมเด็จเจ้าพะโคะ ในตำนานท้ อ งถิ่ น ของชาวสทิ ง พระคาบ สมุทรสงขลาไป การผนวกกันระหว่างบันทึกทาง ประวัติศาสตร์และตำนาน ทำให้เรื่องของ หลวงพ่อทวดยังเป็นที่เล่าต่อมาจนปัจจุบัน สถานทีท่ ปี่ รากฏในตำนาน และสถานทีเ่ กีย่ ว ข้องกับหลวงพ่อทวดถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี เช่น ต้นเลียบขนาดใหญ่ทเ่ี ชือ่ กันว่า ฝังรกของ หลวงปู่ทวดไว้ ที่ได้รับการดูแลรักษาเป็น อย่างดี ถือเป็นตัวแทนของหลวงปูท่ วด มีการ สร้างศาลาตาหู-ยายจันทร์ โยมบิดามารดา ของหลวงปูท่ วดไว้ในบริเวณใกล้เคียงกัน สถูปสมภารจวง พระอาจารย์องค์ แรกของหลวงปู่ทวดที่วัดดีหลวง เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ทำให้ตำนานของหลวงพ่อ ทวดยังคงโลดแล่นในความทรงจำ เรื่องราวเหล่านี้ทำให้สถานะของ สมเด็จเจ้าพะโคะ หลวงปูท่ วดเหยียบน้ำทะเล

14 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

จืด นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีคุณูปการต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นผู้ มี บ ทบาทนำในการปกป้องประชาชนจาก การปล้นของโจรสลัดมลายูแล้ว ยังเป็นผูน้ ำ ทางวัฒนธรรมที่ ส่ ง ผ่ า นมาสู่ ช นรุ่ น หลั ง ได้ เรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่น มีสิ่งยึดเหนี่ยว ร่วมกันที่ทำให้ท้องถิ่นมีความเป็นหนึ่งเดียว ดังเห็นได้จากครั้งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้คนบริเวณใกล้เคียงต่างพากัน ละทิ้งบ้านเรือนขึ้นไปวัดพะโคะ บ้างร้องไห้ บ้างโศกเศร้า กราบไหว้ขอให้บารมีของสมเด็จ เจ้าพะโคะคุ้มครองท่ามกลางความสิ้นหวัง เรื่องของหลวงพ่อทวดนี้ยังคงเกิด เรื่องราวใหม่ๆ ตามแต่ที่ผู้คนได้ประสบพบ เจอตามความเชื่อของตน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่จะต้องไปตามพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่เพียงใด แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่หลวงพ่อทวดยังเป็นที่พึ่ง ทางใจของชาวบ้าน เมื่อเขาเหล่านั้นได้รับ ความทุกข์ยากและไม่ได้รับการเยียวยาจาก ใคร หลวงพ่อทวดเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงให้คนใน ท้องถิ่นมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะตั้งรับ แรงปะทะใหม่ๆ จากภายนอกในอนาคตได้ อย่างมีสติ และไม่หลงทางไปกับการเปลี่ยน แปลงที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว


พระบรมธาตุ วัดเขียนบางแก้ว

บันทึกจากท้องถิ่น ก่อนออกเดินทางสำรวจศึกษาภูมิวัฒนธรรมในพื้นที่ ต่างๆ เพื่อให้ผู้ติดตามเข้าใจในพื้นที่และความเป็นมา โดยสังเขป อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ถือเป็น ธรรมเนียมจะต้องอธิบายภูมินิเวศและประวัติศาสตร์ ของลุ่มทะเลสาบสงขลาประกอบแผนที่โดยสังเขป เพื่อให้เข้าใจสภาพภูมิประเทศกันเสียก่อน

บันทึกเดินทาง “รอบทะเลสาบสงขลา”

กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม วันที่ ๑๖–๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ วันใหม่ นิยม ทะเลสาบสงขลามีพนื้ ทีส่ ำคัญ ๓ ส่วน ส่วนแรกคือ ทะเลสาบ อันเป็นบริเวณทะเลน้ำเค็มที่ต่อเนื่องกับทะเลอ่าวไทย กินบริเวณ ตั้งแต่จังหวัดสงขลาที่แหลมสน หัวเขาแดง เกาะยอ ไปจนถึงบ้าน ปากรอ ส่วนที่สองคือ ทะเลหลวง อันเป็นบริเวณทะเลน้ำกร่อย กินพื้นที่ตั้งแต่บ้านปากรอ ปากพะยูน คาบสมุทรสทิงพระ บางแก้ว พัทลุง ระโนด และส่วนที่สามคือ ทะเลน้อย ซึ่งเป็นส่วนที่แยกออก ไปเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอีกส่วนหนึ่ง พื้นที่รอบทะเลสาบประกอบด้วยสองฝั่งคือ ฝั่งตะวันออก เดิมน่าจะเป็นเกาะทีท่ อดตัวขนานกับพืน้ ทีฝ่ ง่ั ตะวันตก ต่อมาเกิดการ ทับถมของดินตะกอนทางตอนเหนือ จนเกาะเชือ่ มกับแผ่นดินจนกลาย เป็น “คาบสมุทรสทิงพระ” หรือทีค่ นในท้องถิน่ เรียกว่า “แผ่นดินบก” มีบ้านเมืองสำคัญเช่น ระโนด วัดพะโคะ สทิงพระ สิงหนคร อีกฝั่งคือ ตะวันตก มีบ้านเมืองสำคัญเช่น บางแก้ว พัทลุง บนพื้นที่ทั้งฝั่ง ตะวันออกและตะวันตกเป็นที่ราบชายฝั่งและที่ราบท้องทุ่ง บางพื้นที่ เป็นที่สันทรายอันสูงพ้นจากน้ำท่วม จึงมีการตั้งบ้านเมืองและอาศัย น้ำจากบ่อหรือลำธารสายต่างๆ จากเทือกเขาบรรทัด เมื่อพ้นจากแนวที่ราบชายฝั่งและที่ราบท้องทุ่งไปทางทิศ ตะวันตก มีเทือกเขาบรรทัดอันเป็นแหล่งต้นน้ำที่ก่อความอุดมสมบูรณ์ให้กบั พืน้ ที่ จนพัทลุงได้เป็นอูข่ า้ วอูน่ ำ้ สำคัญแห่งหนึง่ ของประเทศ และมีชอ่ งเขาต่างๆ ซึง่ สามารถติดต่อกับบ้านเมืองริมฝัง่ อันดามัน เช่น ปะเหลียน ตรัง กันตัง ทำให้เกิดเส้นทางข้ามคาบสมุทรเพื่อติดต่อ ระหว่ า งบ้ า นเมื อ งชายฝั่ ง อ่ า วไทยและบ้ า นเมื อ งชายฝั่ ง ทะเล อันดามัน อันเป็นพืน้ ทีท่ างประวัตศิ าสตร์อกี แห่งหนึง่ โดยทีบ่ า้ นเมือง

ในทะเลสาบสงขลา เช่น พัทลุง–ลำปำ เขาชัยบุรี บางแก้ว สทิงพระ เป็นบ้านเมืองที่อยู่ปลายเส้นทางข้ามคาบสมุทรด้านอ่าวไทย สมั ย แรกที่ ป รากฏหลั ก ฐานเกี่ ย วกั บ บ้ า นเมื อ งในพื้ น ที่ ทะเลสาบสงขลาจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๘ คือสมัยทีเ่ รียกว่า “ศรีวชิ ยั ” โดยเฉพาะในพืน้ ทีน่ ้ี ปรากฏการตัง้ บ้าน เมื อ งที่ เ ป็ น สถานี ก ารค้ า อยู่ บ ริ เ วณศาสนสถานพุ ท ธมหายานที่ ถ้ำคูหาในตัวเมืองพัทลุงและบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งปรากฏ เทวสถานฮินดูทถี่ ้ำคูหาใกล้กับวัดพะโคะ บ้านเมืองในช่วงเวลานี้น่า จะเป็นชุมชนเกษตรและทำการค้าทางทะเลระหว่างอ่าวไทยกับบ้าน เมืองชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งการค้าข้ามคาบสมุทร โดยมี ความสัมพันธ์กับเครือข่ายบ้านเมืองสำคัญได้แก่ ตามพรลิงค์ ไชยา ปาเล็มบัง ย็อกยาร์ (บูโรพุทโธ) ซึ่งเป็นบ้านเมืองใหญ่ที่นับถือพระ พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู และเป็นนายหน้าการค้าทาง ทะเลระหว่างจีนและอินเดียที่จะต้องผ่านภูมิภาคอุษาคเนย์ เมือ่ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ จีนได้ขยายการค้าทางทะเล โดยส่งกองเรือมาค้าขายกับบ้านเมืองในอุษาคเนย์โดยตรง ไม่ตอ้ งผ่าน รัฐนายหน้าเช่นรัฐในเครือศรีวชิ ยั บ้านเมืองต่างๆ ในอุษาคเนย์จงึ เริม่ เติบโตขึน้ ในคาบสมุทรภาคใต้เมืองนครศรีธรรมราชหรือตามพรลิงค์ เดิมได้ขยายแว่นแคว้นครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรปักษ์ใต้ทั้งหมด แล้วผนวกตัวเข้ากับกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา มีการติดต่อทางสังคม วัฒนธรรมกับดินแดนใหม่ๆ เช่น ลังกา อโยธยา กัมพูชา จึงเกิดการ นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์อย่างกว้างขวาง ในสมัยนี้บ้านเมืองบนแผ่นดินบกหรือคาบสมุทรสทิงพระ

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 15


ได้เติบโตขึน้ จนเกิดเป็นเมือง “สทิงพาราณสี” มีวดั สทิงพระ วัดพระงาม เป็นศาสนสถานสำคัญ ในขณะที่บางแก้วอันเป็นชุมชนเลี้ยงช้าง ตามตำนานนางเลือดขาวก็ได้ขยายตัวจนเป็นเมืองบางแก้ว มีวัด เขียนบางแก้วเป็นพระบรมธาตุสำคัญ เนื่องจากช้างเป็นสัตว์สำคัญ ในการค้าข้ามคาบสมุทร เมือ่ การค้าข้ามคาบสมุทรขยายความสำคัญ ชุมชนเลี้ยงช้างจึงได้ขยายตัว เนื่องจากพื้นที่รอบทะเลสาบเป็นพื้นที่การค้า จึงได้มีภัย คุกคามจากกลุ่มโจรสลัดชาวมลายูในแถบปลายคาบสมุทรไปจน ถึ ง เกาะสุ ม าตราที่ ค อยปล้ น โจมตี เ มื อ งท่ า สำคั ญ อย่ า งนครศรี ฯ พัทลุง ปัตตานี ฯลฯ โดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เกิดการโจมตี และเผาเมืองสทิงพระ ต่อมาพระสงฆ์สำคัญรูปหนึ่งคือ หลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นพระใกล้ชิดกับสมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหากษัตริย์แห่ง กรุงศรีอยุธยา ได้รวบรวมผู้คนบนแผ่นดินบกจนกลายเป็นชุมชน ขนาดใหญ่ที่บริเวณวัดพะโคะ และได้ขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ชมุ ชนใหม่นจ้ี ากสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์จงึ โปรดเกล้าฯ พระราชทานกัลปนาผู้คนและพื้นที่บนแผ่นดินบกให้อยู่ในสิทธิ์ขาด ของหลวงปูท่ วด ซึง่ ได้รบั พระราชทานสมณศักดิเ์ ป็นที่ “สมเด็จพระราชมหาสามีลงั กาชาด” ไม่ให้เจ้าเมืองหรือขุนนางทีเ่ ป็นฆราวาสเรียก เกณฑ์เรียกส่วยภาษี หรือสัง่ การใดๆ แก่ผคู้ นหรือข้าพระของหลวงปูไ่ ด้ ผูค้ นจึงมาสมัครอยูใ่ นแผ่นดินบก เป็นข้าพระของหลวงปู่ ดังนัน้ แผ่นดินบกในยุคนี้จึงเป็นเมืองใหญ่ที่เข้มแข็งสามารถต้านทานโจรสลัดได้ อย่างไรก็ตามภัยคุกคามจากโจรสลัดยังคงมีอยู่ ต่อมาพระ มหากษัตริยอ์ ยุธยาแห่งราชวงศ์ปราสาททอง (สมเด็จพระเจ้าปราสาท ทองและสมเด็จพระนารายณ์) โปรดเกล้าฯ ให้ตง้ั ขุนนางมุสลิมอาหรับ ผู้ เ ชี่ ย วชาญการทหารเรื อ และการค้ า มาปกครองบ้ า นเมื อ งในลุ่ ม น้ำทะเลสาบสงขลา โดยให้ตั้งเมืองที่ปลายแผ่นดินบกหรือคาบสมุทร สทิงพระ ปากทะเลสาบสงขลา ซึง่ เรียกกันทัว่ ไปว่า “หัวเขาแดง” หรือ เมืองสงขลาเก่า (ปัจจุบันย้ายเมืองข้ามฟากไปเมืองสงขลาปัจจุบัน) พวกโปรตุเกส ดัตช์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ เจ้าเมืองในรุ่นนี้จึงสามารถ ป้องกันบ้านเมืองจากกลุ่มโจรสลัดได้ จนกระทั่ ง เจ้ า เมื อ งสงขลาได้ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง กั บ เมื อ ง ปัตตานี หัวเมืองการค้าทีส่ ำคัญอีกแห่งหนึง่ รวมทัง้ เป็นเมืองคูแ่ ข่ง จึง ได้ก่อสงครามกันระหว่างสองเมืองนี้จนกลายเป็นความเสียหาย อย่างหนักแก่ผู้คน บ้านเมือง และการค้านานาชาติ กรุงศรีอยุธยาจึง ต้ อ งปราบปรามเมื อ งสงขลาและปั ต ตานี ด้ ว ยความร่ ว มมื อ ของ ชาวดัตช์และให้เจ้าเมืองกลับมารับราชการที่กรุงเทพฯ ในสมัยต่อมา เมื่อบุตรของเจ้าเมืองสงขลาเติบโตขึ้นในราชสำนักอยุธยา ได้รับ ราชการทหารเรือเป็นที่ พระยาราชบังสัน (ตะตา) และโปรดเกล้าฯ ให้มาเป็นเจ้าเมืองแถบทะเลสงขลา โดยให้ตั้งเมืองบริเวณเขาไชยบุรี อันเป็นพื้นที่ตอนในแผ่นดินของลุ่มน้ำทะเลสาบ มีภูเขาล้อมรอบ สามารถใช้เป็นชัยภูมิตรวจตราและป้องกันข้าศึกหรือโจรสลัด ใน

๑ วังเก่าเจ้าเมืองพัทลุง ที่ปากคลองลำปำ ถ่ายจากเขาเมืองชัยบุรี ๒ ทุ่งข้าวเมืองพัทลุงและทะเลสาบสงขลา ๓ เขาอกทะลุ สัญลักษณ์ของเมืองพัทลุง ๔ ชาวบ้านทำประมงที่ทะเลน้อย ๕ ทุ่งตาลโตนด สัญลักษณ์ของเมืองพัทลุงและสงขลา

16 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ยุคนี้เริ่มปรากฏชื่อ “พัทลุง” ซึ่งน่าจะมีความสืบเนื่องมาจากคำว่า “ตลุง” อันหมายความถึงเสาหลักช้าง เนื่องจากเมืองนี้เป็นแหล่ง เลี้ยงช้างอันเป็นสัตว์สำคัญสำหรับการค้าข้ามคาบสมุทร เมื่อถึงสมัยกรุงเทพฯ เจ้าเมืองพัทลุงยังคงเป็นลูกหลาน พระยาราชบังสัน (ตะตา) แต่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา สืบ สกุลมาเป็นตระกูล ‘ณ พัทลุง’ ในปัจจุบัน และย้ายเมืองไปตั้งบริเวณ ปากคลองลำปำ อันเป็นที่ออกทะเลหลวง ในระยะประมาณรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ตระกูลนีไ้ ด้เกีย่ วดองกับตระกูล ‘จันทโรจวงศ์’ ร่วมกันปกครอง เมืองพัทลุงที่ลำปำ มีวัดสำคัญคือ วัดวัง และมีจวนเจ้าเมืองที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศ ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๓๐ จึงได้ยกเลิกระบบกินเมืองในท้องถิ่น โดยส่ง ข้าราชการจากส่วนกลางมาปกครองเมือง และเมื่อทางรถไฟตัดผ่าน เมืองพัทลุงบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ จึงได้ย้ายเมืองพัทลุงมายังบริเวณ นี้จนถึงปัจจุบัน บริเวณปากน้ำลำปำจึงเรียกเมืองพัทลุงเก่า หลังทบทวนภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์กันแล้ว การสำรวจ ในวันแรก อาจารย์ศรีศักรเริ่มต้นที่ บ้านตะโหมด หมู่บ้านในพื้นที่ป่า ชายเขาบนเส้นทางผ่านของขบวนช้างค้าขายข้ามคาบสมุทรในยุค ก่อน มีคลองตะโหมดอันมาจากเทือกเขาหล่อเลี้ยงชุมชน มีวัด ตะโหมดเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบนั ชุมชนนีย้ งั คงมีความเข้มแข็งของพลัง ภายใน คลองตะโหมดยังคงใสสะอาด การเดินทางของคณะเป็นไป ตามเส้นทางข้ามคาบสมุทรโบราณ ผ่านบ้านโละจังกระ เขารูปช้าง บ้านกงหราและพัทลุง เส้นทางนีห้ ากลงสูค่ ลองบางแก้วและเขาชัยสน และเดินทางต่อไปจะข้ามช่องเขา สามารถเดินทางไปถึงพื้นที่จังหวัด ตรังที่มีท่าเรือไปจากฝั่งอันดามัน คณะของเราได้เดินทางต่อไปยัง เมืองเก่าเขาไชยบุรี พื้นที่นี้ เป็นแนวทุ่งนาชายเขา โดยจะมีภูเขาทอดสลับเป็นแนว มีเขาสำคัญ คือเขาไชยบุรี (ที่ตั้งเมืองเก่า) เขาอ้อ (ที่ตั้งสำนักวิชาสำคัญ) ฯลฯ บริเวณเขาไชยบุรีนี้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓–๒๔ เป็นพื้นที่ ซึ่งพระยาราชบังสัน (ตะตา) ตั้งเมือง บนเขาหน้าเมืองมีพระสถูป บรมธาตุโบราณสมัยอยุธยาตอนปลายที่เจ้าเมืองรุ่นต่อมา (ซึ่งอาจ เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา) ได้สร้างเอาไว้เป็นพระบรมธาตุ หลักของเมืองไชยบุรี บริ เ วณที่ ร าบรอบเขาไชยบุ รี มี ก ารขุ ด คู คั น ดิ น และก่ อ กำแพงเมือง ในปัจจุบันยังปรากฏซากโบราณสถานดังกล่าวอยู่ใกล้ กันนั้นมีศาลพระยาราชบังสัน (ตะตา) บริเวณตอนกลางของเมือง โบราณมีศาลหลักเมืองโบราณ ในปัจจุบันบริเวณเมืองเก่าไชยบุรี บางส่วนเป็นพืน้ ทีว่ ดั ไชยบุรี และอีกส่วนหนึง่ เป็นพืน้ ทีข่ องวนอุทยาน แห่งชาติเขาไชยบุรี วันต่อมาคณะเดินทางไปยัง วัดเขียนบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง พื้นที่วัดเขียนบางแก้วนี้เป็นพื้นที่ในตำนานนางเลือดขาว เป็นชุมชนเลี้ยงช้างเพื่อส่งให้กับเจ้าเมืองสทิงพาราณสีหรือ สทิงพระ เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ในเส้นทางข้ามคาบสมุทรซึ่งต้องอาศัย ช้ า งเป็ น สั ต ว์ พ าหนะหลั ก ในการบรรทุ ก สิ น ค้ า และเดิ น ทางทั่ ว ไป ชุ ม ชนเลี้ ย งช้ า งจึ ง ได้ ท วี ค วามสำคั ญ โดยเฉพาะในระยะตั้ ง แต่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา หลังจากที่การค้าสำเภา จากจีนได้ขยายตัว มีพระบรมธาตุวัดเขียนเป็นศูนย์กลางเมือง ต่อเนื่องจากพื้นที่วัดเขียนบางแก้วเป็นพื้นที่โคก มีต้นไม้ เก่ามาก ค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในระดับชุมชนเมือง

มีซากฐานอาคารโบราณซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวิหารหรือศาลาสำหรับทำ พิธีถือน้ำ อย่างไรก็ตามพื้นที่นี้ในปัจจุบันกำลังถูกสวนปาล์มของผู้มี อิทธิพลในท้องถิ่นและนายทุนรุกพื้นที่ ทำให้พื้นที่โบราณสถานกำลัง ถูกทำลาย จึงได้มีประชาคมคนในท้องถิ่นอีกส่วนหนึ่งที่กำลังต่อสู้ และต่อรองในเรื่องนี้ คณะเดินทางต่อเนือ่ งไปยัง วัดพะโคะ อันเป็นศูนย์กลางของ เกาะทัง้ ในทางโลกและทางธรรม เนือ่ งจากเป็นทัง้ สถานทีส่ ง่ั สอนเรียน วิชาทางโลกและทางธรรม เป็นที่พิพากษาความในชุมชน เป็นศูนย์ กลางการปกครองวัดและชุมชนต่างๆ ในคาบสมุทรสทิงพระ และเป็น ศูนย์บญ ั ชาการป้องกันกองเรือโจรสลัด การไปวัดพะโคะจะต้องข้ามฟาก ทะเลสาบไปคาบสมุทรสทิงพระ ระหว่างทางได้วง่ิ รถผ่านพืน้ ทีร่ อบวัด ตลอดจนทัว่ ท้องทุง่ สองฝัง่ ทะเลสาบสงขลา เป็นทุง่ นาทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีดงตาลโตนดสลับกับทุง่ นา ใน พืน้ ทีใ่ กล้เทือกเขาบรรทัดจะมีหย่อมเขาลูกโดดเรียงรายกันอยู่ ในส่วน พืน้ ทีค่ ลองจะมีไม้รมิ น้ำ ทีส่ ำคัญอย่างหนึง่ คือต้นสาคูอนั เป็นเครือ่ งชีว้ ดั คุณภาพน้ำทีส่ ะอาด แต่ปจั จุบนั กำลังโดนสวนปาล์มรุกพืน้ ทีท่ น่ี าเช่นกัน เพราะมีการแพร่ขยายของกลุ่มทุนในพื้นที่ท่สี ่งเสริมให้ชาวนาได้ปรับ เปลีย่ นเป็นชาวสวนปาล์ม โดยอาศัยราคาน้ำมันปาล์มเป็นแรงจูงใจ ชุมชนบริเวณวัดพะโคะ ปรากฏว่า มีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดยปรากฏถ้ำคูหาใกล้วัดเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าถ้ำแรกเป็นเทวสถานถวายพระศิวะ อีกถ้ำหนึง่ เป็นเทวสถานถวายพระวิษณุ แสดงว่าจะต้องมีการตัง้ ชุมชน ที่มีการติดต่อกับอินเดีย และมีการสร้างศาสนสถานให้เป็นศูนย์รวม จิตใจของชุมชน นอกจากนีใ้ นบริเวณใกล้เคียงตลอดจนทัว่ คาบสมุทร สทิงพระปรากฏการสร้างตระพังเก็บกักน้ำสำหรับชุมชนต่างๆ ในพืน้ ที่ ในสมัยต่อมาพระพุทธศาสนามหายานและพระพุทธศาสนาเถรวาท จึงได้เข้ามาเป็นหลักในพืน้ ทีน่ ้ี วันต่อมาอาจารย์ศรีศกั รพาคณะเดินทางไปยัง เมืองพัทลุงที่ ปากคลองลำปำ เมืองพัทลุงเก่านีต้ ง้ั ขึน้ ในสมัยกรุงเทพฯ ตอนต้น คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ จากนั้นได้เดินทางเข้าตัวเมืองพัทลุง ปัจจุบนั ใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์จากเมืองเก่าทีล่ ำปำประมาณ ๑๕ นาที บริเวณเมืองพัทลุงปัจจุบัน มีภูมิประเทศสำคัญของตัวเมือง คือ เขาอกทะลุ เป็นเขาหินปูนทีม่ รี อยทะลุกลางเขาและเขาถ้ำคูหาสวรรค์ แม้วา่ เมืองพัทลุงใหม่นจี้ ะตัง้ ขึน้ เมือ่ ไม่เกิน ๑๐๐ ปีทผี่ า่ นมา แต่ปรากฏหลักฐานการตัง้ ชุมชนมาตัง้ แต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ หรือสมัยศรีวิชัย ซึ่งที่ถ้ำคูหาสวรรค์คาดว่ามีการสถาปนาเป็นพุทธสถานนิกายมหายาน เพราะปรากฏการตั้งรูปเคารพ เช่น พระพิมพ์ ดินดิบสมัยศรีวิชัย ในสมัยต่อๆ มา คือสมัยอยุธยาและกรุงเทพฯ ปรากฏการสลักและการประดิษฐานพระพุทธรูปที่ผนังและในถ้ำ รวมทั้งยังมีผู้คนเข้ามาสักการะและประกอบพิธีกรรม จนถึงกับสร้าง วัดคูหาสวรรค์ไว้ด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏมีการนำตำนานทรพีใน วรรณคดีรามเกียรติ์มาเกี่ยวข้องกับถ้ำคูหา โดยปรากฏว่ามีแง่ง หินปูนส่วนหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายเขาควาย ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็น ศีรษะทรพี จึงเชื่อว่าทรพีได้ถูกพาลีสังหารที่ถ้ำนี้ อีกพื้นที่สำคัญของลุ่มทะเลสาบคือ ทะเลน้อย เป็นบริเวณ เหนือสุดของทะเลสาบ น้ำทะเลสาบช่วงนี้จะเป็นน้ำจืด แต่แผ่นดิน ในแถบนี้คือช่วงรอยต่อระหว่างจังหวัดพัทลุงกับจังหวัดนครศรีธรรมราชได้งอกจนล้อมปิดทางเชือ่ มทะเลน้อยกับทะเลสาบ จนกำลัง จะเป็นที่ชุ่มน้ำหรือ “พรุ” บางส่วนเป็นทุ่งหญ้าสามารถเลี้ยงวัวได้

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 17


ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยทำประมงสัตว์น้ำจืด ปัจจุบันมีการสร้างถนน ทางหลวงตามแนวแผ่นดินงอกนี้ จากนั้นได้เดินทางผ่าน คลองระโนด ซึ่งเคยเป็นแนวทะเลที่ ล้อมรอบ “เกาะ” แผ่นดินบกหรือสทิงพระมาก่อน เมื่อประมาณไม่ เกิน ๑๕๐ ปีมานี้ แผ่นดินใหญ่และแผ่นดินบกได้งอกขยายจนเชื่อม ติดกัน เกาะแผ่นดินบกเดิมได้กลายเป็นคาบสมุทรสทิงพระ แนว ทะเลที่ล้อมเกาะแผ่นดินบกด้านเหนือมาก่อนจึงกลายเป็น “คลอง ระโนด” มีชุมชนเมืองระโนดตั้งอยู่ โดยคลองระโนดนี้อีกด้านหนึ่งจะ ไปออกที่ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากระโนดไปสู่อำเภอสทิงพระอันเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่ สมัยศรีวิชัย ต่อมาขยายเป็นเมืองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในการ เดินทางนี้รถผ่านวัดสทิงพระ มีพระบรมธาตุเจดีย์ของเมือง ใกล้วัด มีคูน้ำโบราณ ปัจจุบันอยู่ในสภาพรกร้างไม่มีการขุดลอก ฝั่งคูน้ำตรง ข้ามวัดมีโรงเรียนแห่งหนึ่งสร้างทับชุมชนโบราณโดยที่ไม่มีการขุด แต่งหรืออนุรักษ์แนวชุมชนโบราณให้ศึกษาแต่อย่างใด การเดินทางครั้งนี้คณะเลือกพักที่รีสอร์ท แหลมจองถนน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ริมทะเลสาบสงขลาช่วงทะเล หลวง พร้อมกับได้รับฟังเรื่องราวของคนที่นี่จาก ลุงนวม รอดชุม อายุ ๗๐ ปี ชาวแหลมจองถนนซึ่งเป็นเจ้าของที่พัก คุณลุงเกิดในบ้าน แหลมจองถนน แต่คณ ุ แม่ยา้ ยมาจากเกาะใหญ่ฝงั่ สทิงพระ ส่วนคุณปู่ คุณย่าย้ายมาจากเมืองเก่าเขาไชยบุรี ระหว่างคนแหลมจองถนน และคนเขาไชยบุรใี นยุคคุณปูค่ ณ ุ ย่าของลุงนวมจะไปมาหาสู่ ดองญาติ และย้ายถิ่นข้ามไปมาเสมอ อย่างตอนคุณลุงอายุ ๑๒ ปี เกิดฝีดาษ ระบาดที่บ้านแหลมจองถนน ครอบครัวได้อพยพไปอยู่ที่บ้านเขา ไชยบุรีชั่วคราว หรือคุณปู่ของคุณลุงนวมชื่อรอด คุณย่าชื่อชุม ซึ่งเดิม นามสกุลเพชรหลัก แต่เนือ่ งจากคุณปูไ่ ด้กอ่ คดีฆา่ คนตายเพราะการแย่ง “หัวนา” หรือทีน่ า จึงได้เอาชือ่ ตนเองและภรรยามารวมเป็นนามสกุล ใหม่คือ “รอดชุม” เพื่อหลบคดีแล้วอพยพมาอยู่ที่บ้านแหลมจองถนน คุณลุงบอกว่า คนรุ่นปู่ย่าและพ่อแม่ยังถือเป็นผู้อพยพใหม่ ไม่มที ท่ี ำกินของตัวเองจึงทำไร่หมุนเวียน เมือ่ คุณลุงเติบโตเข้าวัยหนุม่ ได้ออกเรือหาปลาในย่านน้ำทะเลสาบซึ่งถือเป็นพื้นที่สาธารณะ โดย คุณลุงเป็นเจ้าของเรือ มีลกู น้อง ๑๕ คน ล้วนแต่เป็นเครือญาติหรือคน บ้านเดียวกัน เรือของคุณลุงเป็นเรือหาปลาด้วยอวน เป็นลักษณะการ ทำประมงทั่วไปในทะเลหลวงซึ่งแตกต่างจากพวกประมงแถบเกาะ หมาก ปากรอ ปากพะยูน ทีจ่ ะทำโพงพางดักปลาเนือ่ งจากเป็นทีแ่ คบ ในทะเลหลวงดั้งเดิมจะเป็นน้ำลักจืดลักเค็มส่วนมากและ กระแสไม่แรงมาก จึงสามารถเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์น้ำ ทั้งที่มา จากปากพนังผ่านคลองระโนดที่จะออกไปทางปากพะยูน และออก อ่าวไทยที่ปากทะเลสาบ กับสัตว์น้ำอีกพวกที่เข้ามาทางปากทะเลสาบ สัตว์น้ำจึงได้หลากหลาย เช่น กุ้งหัวมันต่างๆ (กุ้งกุลา กุ้ง ก้ามกราม ฯลฯ) ปลาท่องเที่ยว ปลาขาว ในพื้นที่นี้มีแหล่งน้ำจืดซึ่งจะขุดเป็นบ่อน้ำเอาไว้สำหรับ การอุปโภคบริโภค เนื่องจากเป็นน้ำที่สะอาดกว่าน้ำในทะเลสาบ คุณลุงบอกว่าเห็นและหมายตามาตัง้ แต่ยงั เป็นหนุม่ ต่อมาจึงสามารถ ซื้อที่ดินนี้ได้และกลายเป็นรีสอร์ทในปัจจุบัน ลุงนวมเล่าอีกว่า ได้เรียนทั้งวิชาธรรมะ ไสยศาสตร์ เช่น คาถากันภัยลมพายุต่างๆ รวมทั้งเรียนหนังสือจากวัดแหลมจองถนน ศูนย์รวมใจสำคัญของชุมชน ที่นี่มีประเพณีพิธีกรรมที่ต้องทำ ร่วมกันอย่างน้อยคือ ประเพณีชิงเปรต เป็นพิธีกรรมงานบุญสำหรับ

18 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

อุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติผู้ล่วงลับ อีกงานหนึ่งคือพิธี ชักพระออกพรรษา คุณลุงบอกว่าได้แต่งงานอยู่กินกับลูกสาวของผู้ใหญ่ในท้อง ถิ่น จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของท้องถิ่นอย่างเต็มตัวและมีพรรค พวกมาก เพราะวงศาคณาญาติฝั่งภรรยาเป็นคนหมู่มากในท้องถิ่นนี้ ในวัยกลางคน ลุงนวมได้ขึ้นมาเป็นผู้นำชุมชน เป็นผู้ใหญ่บ้าน ส่วน ปัจจุบันเป็นสมาชิก อบต. แหลมจองถนน บทบาทของคุณลุงยังปรากฏในเรือ่ งการต่อรองกับทางราชการเพื่อท้องถิ่น เมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ทางราชการได้สร้างเขื่อน ชลประทานทีร่ ะโนดเพือ่ ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าว แต่กลับทำให้วงจร ปลาจากปากพนังถูกปิด และน้ำจืดตอนบนของทะเลสาบถูกกักจนไม่ มีนำ้ จืดไล่นำ้ เค็ม น้ำเค็มจึงรุกขึน้ มา คุณลุงเคยเป็นแกนนำของชุมชน ในการต่อรองเรื่องนี้กับชลประทานและนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ในการเปิดประตูน้ำในบางเวลา เพื่อให้น้ำกร่อยและปลาได้เข้า มาบ้าง อีกทัง้ ยังเคยต่อสูก้ บั ชาวประมงประเภทช็อร์ตหรือระเบิดปลา ปัจจุบันคุณลุงนวมยังคงร่วมกิจกรรมทางสังคมอยู่เสมอ กรณีการขยายสวนปาล์มรุกที่โคกเมืองบางแก้วเก่าในบริเวณวัด เขียนบางแก้ว คุณลุงก็ได้ร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยอีกครั้งจนทุกวันนี้ เรื่องเล่าผ่านชีวิตของคุณลุงนวม รอดชุม เป็นข้อมูลอีกชุด หนึง่ ทีท่ ำให้คณะฯ เข้าใจถึงวิถวี ฒ ั นธรรมทีส่ มั พันธ์กบั ธรรมชาติแวดล้อมของผูค้ นรอบทะเลสาบสงขลาเพิม่ ขึน้ ในอีกระดับหนึง่ นัน่ คือการ ทำประมงในพืน้ ทีน่ ำ้ กร่อยของทะเลหลวง การพัฒนาปฏิสมั พันธ์จาก สถานะคนต่างถิน่ มาสูก่ ารเป็นเครือญาติ การก้าวขึน้ เป็นผูน้ ำท้องถิน่ และต่อรองเมื่อต้องข้องเกี่ยวกับภายนอก ทั้งนี้คุณลุงและผู้คนใน ท้องถิน่ มีศนู ย์รวมใจคือวัด และร่วมพิธกี รรมประเพณีทบ่ี รู ณาการผูค้ น เข้าด้วยกัน การเดินทางศึกษาเรียนรูภ้ มู วิ ฒ ั นธรรมรอบทะเลสาบสงขลา พัทลุง–สทิงพระ ทำให้เข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นิเวศรอบลุ่ม ทะเลสาบสงขลา อันมีทง้ั พืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลและทะเลสาบ พืน้ ทีร่ าบ และ ที่สันทราย พื้นที่ชายเขาและช่องเขา จนทำให้เกิดพื้นฐานการทำนา การประมง การเลี้ยงช้าง และการค้าข้ามคาบสมุทร จนเป็นพื้นฐาน ของการตั้งบ้านเมืองในยุคต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมาย ทางวัฒนธรรมกับพืน้ ที่ โดยเฉพาะพืน้ ทีเ่ ขา ทัง้ ความหมายทางความ เชื่อและศาสนา เช่น การสร้างวัดพะโคะ ถ้ำเทวสถานใกล้วัดพะโคะ พุทธสถานถ้ำคูหาสวรรค์ หรือศาสนสถานบนที่ราบสำหรับชุมชน เช่น วัดสทิงพระ วัดเขียนบางแก้ว และการให้ ความหมายทางวัฒนธรรมในเชิงภูมิทัศน์ เช่นการให้ชื่อเขารูปช้าง และด้วยความ เป็นมาที่ยาวนานจึงได้เกิด ผู้นำทาง วัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น หลวงปู่ทวด หรือนางเลือดขาว กลายเป็นศูนย์รวม จิตใจในท้องถิ่นที่ยึดโยงกับคนถิ่นอื่น และสามารถสะท้อนเรื่องราวความ เป็นมาในท้องถิ่นให้สามารถ สืบสาวกันได้ถึงปัจจุบัน ลุงนวม รอดชุม นักสู้แห่งแหลมจองถนน


พระนครบันทึก

ลิเกเรียบ จากการสรรเสริญพระเจ้าสู่มหรสพ สุดารา สุจฉายา

การเล่นลิเกเรียบต้องอาศัยความพร้อมเพรียง ทัง้ ในการร้อง ตีกลอง และปรบมือ ซึง่ ต้องคอยดู สัญญาณจากหัวหน้าวงเป็นสำคัญ หัวหน้าวงคณะทับช้างนาลุม่ ก็คอื ฮัจญีฮาวัง มะหะหมัด ตาเฮด (คนคล้องผ้าสีดำในภาพ)

ลิเกเป็นมหรสพการแสดงที่ชาวบ้านภาค

กลางนิยมไม่แพ้ลำตัด ซึง่ ทัง้ สองอย่างมีทม่ี า จากการสวดของพวกแขกมุสลิม ซึง่ นักวิชาการอธิบายว่า “ลิเก” หรือ “ยี่เก” เพี้ยนมา จากคำเปอร์เซียว่า ซิกุร [Zikr] หรือ ซิเกรฺ หมายถึงพิธสี วดของพวกซูฟ ี ซึง่ ร่องรอยของ แหล่งทีม่ ายังปรากฏในการแสดงลิเกทุกวันนี้ นัน่ คือการเบิกโรงด้วยการ “ออกแขก” ทีต่ อน หลังมาปรับปรุงเป็น “การออกภาษา” ไป ในเรื่อ งนี้ส มเด็ จ ฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้กล่าวถึงไว้ในหนังสือ ระเบียบ ตำนานละคร ว่า “คำว่า ดิเก เป็นภาษามลายู แปลว่า ขับร้อง เดิมนั้นเป็นแต่การสวดบูชาพระใน ทางศาสนาของพวกแขกอิสลาม สำรับหนึ่ง มีนักสวดตีรำมะนาประมาณ ๑๐ คน สวด เพลงแขกเข้ากับจังหวะรำมะนา... ผู้เล่น ลิเกหรือดิเกในขั้นต้นนั้น นั่งตีรำมะนาล้อม กันเป็นวงหลายๆ คน ปากก็ร้องเพลงภาษา แขกและมือก็ตีรำมะนากันไปด้วย คำร้อง ต่างๆ ทีพ่ วกลิเกร้องนัน้ รวมเรียกว่า ‘บันตน’

คำว่า บันตน นี้มาจากคำว่า ‘บันตุน’ ของ ชาวมลายู และชาวสุนดา ซึ่งเรียกชื่อกวี นิพนธ์และเรื่องเล่าชนิดหนึ่ง เมื่อพวกลิเก ได้ร้องบันตนและตีกลองรำมะนาไปสุดสิ้น กระบวนความ ก็เริม่ แยกการแสดงพลิกแพลง ออกไปได้เป็น ๒ สาขา สาขาหนึ่งเรียกว่า ‘ฮันดาเลาะ’ แสดงเป็นชุดต่างๆ เช่นชุดต่าง ภาษาบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง อีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า ‘ละกูเยา’ เป็นการแสดงว่ากลอน ด้นแก้กัน อันเป็นต้นทางของ ‘ลิเกลำตัด’ หรือลำตัด” ในช่วงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาล ที่ ๓ มุสลิมมลายูหัวเมืองภาคใต้อพยพเข้า มาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯ จำนวนมาก ได้นำ เอารูปแบบการสวดสรรเสริญพระเจ้ามาดัด แปลงขับเล่น พร้อมกับการตีกลองรำมะนา จนกลายเป็นเอกลักษณ์การแสดงของชาว มลายูในกรุงเทพฯ และภาคกลาง เรียกกัน ว่า ลิเกเรียบ หรือ ลิเกกลอง เพราะนั่ง เรียบเสมอไปกับพื้น ไม่ได้ลุกขึ้นมายืนหรือ เต้นอย่างลิเกทั่วไป อีกทั้งเครื่องดนตรีที่ใช้

คือ กลองรำมะนา อย่างเดียว จากประวัติลิเกเรียบของ “คณะ ทับช้างนาลุ่ม” ในคลองประเวศม์ ที่บอก เล่าต่อ ๆ กันมากล่าวว่า เริ่มเล่นตั้งแต่ราว ต้น พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยมีโต๊ะครูดามัน ซึ่งเป็น ชาวมลายูปตั ตานีจากวัดตึก (วัดชัยชนะสงคราม) พาหุรัด พายเรือมาพักยังบ้านโต๊ะกีมดุ ที่บ้านทับช้าง แล้วมาร้องเล่นกันที่นั่น เริ่มจากบ้านสองบ้าน ต่อมาโต๊ะกีซีนซึ่งมี ลูกศิษย์ลกู หามากได้สอนให้คนอืน่ ๆ เล่นจน เผยแพร่กันไปทั่ว ลิ เ กเรี ย บมี ต้ น เค้ า มาจากลิ เ ก เมาริดหรือการสวดสรรเสริญนบีของชาว มลายูภาคใต้ โดยการนำเอาคำโคลงคำกลอน ภาษาอาหรับในหนังสือ บัรซันญี ของ อะบูซิดนี มาแปลงเป็นละฮูกลองหรือเพลงกลอง คือ ร้องเป็นทำนองและตีกลองด้วยการด้น สดเป็นภาษาไทย ซึง่ จะแต่งขึน้ เอง เป็นเรือ่ ง สนุกสนานทัว่ ไป แต่ถา้ จะร้องสรรเสริญพระเจ้าก็จะใช้คำโคลงของอะบูซิดีน ร้องเป็น ภาษาอาหรับด้วยท่วงทำนองของมลายู การเล่ น ลิ เ กเรี ย บจะนำคั ม ภี ร์ อัลกุรอ่านมาร้องไม่ได้เลย ใช้ได้แต่คำกลอน ในหนังสือ บัรซันญี ที่แต่งโดยอะบูซิดีน เท่านัน้ หนังสือเล่มนีม้ หี ลายบท ทัง้ บททีเ่ ล่า เรื่องราวประวัติของท่านศาสดามะหะหมัด บทที่ว่าด้วยการรักษาโรค บทที่ว่าด้วยการ ป้องกันหรือขับไล่สง่ิ อัปมงคล ภัยพิบตั ติ า่ งๆ บทร้องสรรเสริญสดุดีที่สนุกสนาน ซึ่งลิเก เรียบจะเลือกบทที่เป็นการสรรเสริญสดุดี มีความครึกครื้น ไม่ใช่บทที่โศกเศร้าหรือไล่ สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ การแสดงลิ เ กเรี ย บนอกจากจะ ต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการด้นเพลงสด แล้ว สิ่งสำคัญก็คือ ท่วงทำนองการร้องต้อง ร้องเสมอกัน ทั้งกลองที่ตีก็ต้องพร้อมกัน เสียงเสมอกัน ไม่มีเสียงเพี้ยนหรือโดดออก มา ดังนัน้ การฝึกซ้อมให้ได้จงั หวะพรักพร้อม จึงเป็นเรือ่ งสำคัญ ถ้าคนไหนไม่ฝกึ ซ้อม ไม่มี ทางทำได้ การร้องการตีกลองทุกอย่างต้อง ดูหัวหน้าวงเป็นสำคัญ เพราะจะเป็นผู้ให้

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 19


สัญญาณในการเปลีย่ นทำนองเปลีย่ นจังหวะ “เวลาเล่นประชันวง การตัดสินเขาใช้วิธีฟังจาก หนึ่ง เสียง กลอง มันพร้อมเพรียงกันไหม สอง เสียงร้อง ต้องร้องเรียบเสมอ กัน ไม่มีเสียงโดดออกมา เวลาเล่นลิเกเรียบ ขั้นตอนร้องแรกๆ จะช้า แล้วจึงกระชั้นขึ้นเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ว่า ลิเกครึ่งท่อน ภาษาลิเกเรียบ ว่า ‘ยืน’ หรือ ‘องค์’ หนึ่ง ยืนหนึ่ง ก็ชั่วโมงหนึ่ง หมายความว่ายกหนึ่ง มีหลายทำนอง ร้องช้าท่อนแรก พอไปสักครึ่งก็เร็วหน่อยผู้ตัดสินจะ ฟังว่า ใครเสียงดี ใครจะแหบดัง ใคร (เสียง) จะเรียบร้อย แพ้กันตรง นี้แหละ” ฮัจญีฮาวัง หัวหน้าวงทับช้างนาลุ่มขยายความให้ฟัง ลิเกเรียบหนึ่งวงนั้นต้องมีผู้แสดงเต็มที่ไม่เกิน ๑๕ คน จะ น้อยกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ควรต่ำกว่า ๙ คน เพราะจะเสียเปรียบเมื่อมี การเปรียบวงกัน ด้วยเสียงกลองตีอาจไม่ถึง เสียงเบาไม่มีใครอยาก เปรียบด้วย เพราะหากเปรียบแล้ว ปรากฏว่าวงที่มีกลองน้อยเป็น ฝ่ายชนะ วงที่ไปเปรียบด้วยก็จะเสียชื่อ จำนวนคนเล่นเท่าใดก็ต้อง มีจำนวนกลองเท่านั้น เพราะลิเกเรียบตัดสินกันด้วยกลอง แม้จะว่า จ้างหรือหาไปแสดง ผู้ว่าจ้างก็จะคิดราคาตามจำนวนกลอง ไม่ได้คิด ตามจำนวนคนที่ไป ซึ่งจะเอาไปผลัดกันตีกี่คนก็แล้วแต่ หากมีกลอง ๑๐ ใบ ก็คิดราคาหมื่นหนึ่ง และผู้แสดงลิเกเรียบมีข้อกำหนดเลยว่า ต้องเป็นชายเท่านัน้ จะมีผหู้ ญิงร่วมเล่นอย่างดิเกร์ฮลู ไู ม่ได้ เพราะเสียง ผู้หญิงคนละโทนกับเสียงผู้ชาย หากร้อง เสียงไม่เสมอเป็นอันใช้ไม่ได้ และที่สำคัญการตีกลองถือว่าหนัก ต้องใช้พละกำลังมากในการตีให้ เสียงดังกระหึ่ม ขนาดที่ว่าหากตีในห้องแล้วไม่เปิดประตูหน้าต่าง เสียงกลองทำให้กระจกแตกได้ หรือแม้แต่ลำโพงฉีกขาดก็เคยเกิดมา แล้ว ลักษณะเช่นนี้กระมังที่คนไทยโบราณมักมีคำติดปากห้ามลูก หลานว่า “อย่าฟังกลองแขก มันมักใจแตก” ซึง่ ชาวคณะทับช้างนาลุม่ ต่างเห็นพ้องกับคำกล่าวนี้ ด้วยพวกเขาบอกว่า คนเล่นเป็น เขาจะไม่ มาดูมาฟัง เพราะของจะขึน้ มันจะคันไม้คนั มือ อยากโดดลงไปเล่นด้วย ปัจจุบันลิเกเรียบแม้ยังมีสืบต่อกันหลายวงในกรุงเทพฯ แต่ก็น่าเป็นห่วง ด้วยผู้เล่นและผู้ฟังล้วนเปรียบเหมือนไม้ใกล้ฝั่ง ต่าง สูงวัยกันทั้งสิ้น บรรดาเยาวชนไม่ให้ความสนใจต่อมหรสพดังกล่าว จึงไม่ต้องหวังว่าจะมีการรับช่วงสืบต่อ อีกทั้งการทำกลองรำมะนาใน ปัจจุบัน ใบหนึ่งตกราคาเป็นหมื่น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะหาใครมา สนับสนุนมรดกวัฒนธรรมการแสดงประเภทนี้ของชาวมลายู กลองรำมะนาปัจจุบันมีราคา แพงมาก ไม้ที่ทำเป็นหุ่นกลอง ต้องใช้ไม้มะค่าหรือไม้เต็ง ไม้แดง เขียงหนึ่งราคา (ราว ๑๐๐ ปีก่อน) ตกประมาณ ๘ บาท จัดว่าแพงมาก แต่ ปัจจุบันตกราคา ๘,๐๐๐๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อกลึงเป็น รูปร่างแล้ว และยังต้องใช้ หนังควายและหวายตะคร้า อีกด้วย ดังนั้นการดูแลรักษา กลองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อ เล่นเสร็จทุกครั้งต้องจัดใส่ถุงผ้า ให้เรียบร้อย

20 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

แนะนำหนังสือ

ประวัติศาสตร์ปาตานี/ ผู้แต่ง : ชัยค์ ฟากิฮฺ อะลี วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ประกอบด้วยเนื้อหา ๓ ภาษา คือ ภาษามลายูดั้งเดิม (ยาวี) ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ต้นฉบับดั้งเดิมเป็นภาษายาวี แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย ตึงกู อิสมาแอล ตึงกูจิ และ ดร.เมสัน ฮาร์ดเลย์ แปลเป็นภาษาไทยโดย ตึงกู อารีฟิน ตึงกูจิ สนับสนุนการจัดพิมพ์ โดย มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๒๐ บาท สามารถสั่งซื้อได้ที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และร้านหนังสือริมขอบฟ้า

หนังสือเล่มนีแ้ บ่งออกเป็น ๓ ส่วน แยกออกเป็น ๓ ภาษา คือ

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษามลายูดง้ั เดิม (ยาวี) ต้นฉบับ เดิมนั้นเป็นภาษามลายูอักษรยาวี ก่อนที่จะแปลเป็นภาษา อังกฤษและภาษาไทย อีกทัง้ เคยมีการแปลเป็นภาษามลายูอกั ษร รูมเี พือ่ เผยแพร่ในมาเลเซียและอินโดนีเซียเมือ่ ค.ศ. ๑๙๘๙ ด้วย ต้นฉบับตาริค ปาตานี หรือประวัติศาสตร์ปาตานี เขียนเป็นภาษามลายูอกั ษรยาวี สันนิษฐานว่าน่าจะเขียนขึน้ ก่อน ค.ศ. ๑๔๐๐ (หรือราว พ.ศ. ๑๙๔๓) หรือก่อนรายาศรีวังสาจะ สถาปนารัฐปาตานีที่ริมอ่าวปัตตานีใกล้ชายฝั่งทะเลเล็กน้อย อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการรับศาสนาอิสลามเข้าสู่บ้าน เมืองของปาตานี ผู้เขียนคือ ชัยค์ ฟากิฮฺ อาลี บินวันมูฮัมหมัด บิน ชัยค์ ศอฟียูดิน อัล-อับบาส ผู้หลานของ ชัยค์ ศอฟียูดิน อัลอับบาส โต๊ะราชาฟากิฮฺ ที่เดินทางเข้ามาสู่ปาตานีในฐานะผู้เผยแผ่ ศาสนาอิสลามราว ค.ศ. ๑๔๐๐ และต่อมา ชัยค์ ดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟาฎอนี ได้คัดลอกขึ้นมาใหม่ (นักปราชญ์ชาว ปาตานีผู้นี้เกิดที่ “กรือเซะ” ติดกับบ้านปาเร๊ะ ในตำบลบราโหม เมื่อประมาณปี ฮ.ศ. ๑๑๘๓ หรือ ค.ศ. ๑๗๖๓ และเดินทางไป ศึกษาทีเ่ มกกะแทบตลอดช่วงชีวติ ตำราทุกเล่มเขียนเป็นภาษา ยาวี แต่ชอ่ื ส่วนใหญ่เป็นภาษาอาหรับไม่นอ้ ยกว่า ๓๐ เล่ม ครอบ คลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเตาฮีด ฟิกฮ์ ตะเซาวุฟ อัลฮาดิษ หรือ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ จนไม่สามารถบอกจำนวนตำราของ ท่านทีแ่ น่นอนได้ แม้บางคนคาดว่ามีถงึ ๘๙ เล่ม หรือ ๑๒๐ เล่ม) เอกสารทีถ่ กู คัดลอกต่อกันมานี้ นายเสนีห์ มะดากะกุล เป็นผู้ค้นพบ และออกสำรวจท้องถิ่นตามชื่อบ้านนามเมืองที่ ปรากฏพร้อมกับนักวิจัยชาวตะวันตก นำมาเขียนเผยแพร่ใน วารสารรูสะมีแลเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๙ สำเนาเอกสารชิ้นหนึ่ง อาจารย์อับดุลลอฮฺ บินอับดุลเราะมาน หรือ อับดุลลอฮฺ


/Tarikh Patani

ลออแมน หรือ อ.บางนรา นักวิชาการท้องถิน่ ผู้ล่ว งลั บ มอบให้ ผู้แ ปลภาษาไทยไว้ ศึก ษา ร่ ว มกั บ ต้ น ฉบั บ คำแปลของอาจารย์ วั น มโรหบุตร เมื่อรวมกับต้นฉบับภาษามลายู อักษรรูมที ม่ี กี ารแปลในปี ค.ศ. ๑๙๘๙ จึงแปล ร่วมกับชีวประวัติ ชัยค์ดาวูดฯ พิมพ์เผยแพร่ ในงานวัฒนธรรมอาเซียนเมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๐ การพิ ม พ์ ค รั้ ง นี้ ผู้ แ ปลภาษาไทย รวบรวมต้นฉบับภาษามลายูอักษรยาวีจาก การคัดลอกของ ชัยค์ ดาวูดฯ และฉบับภาษา ไทย รวมทัง้ ต้นฉบับทีแ่ ปลเป็นภาษาอังกฤษ เข้าด้วยกัน โดยตรวจสอบข้อความ อักขระ อย่างเคร่งครัดจากต้นฉบับต่างๆ มากขึ้น เนื้ อ หาจากคำนำของผู้ คั ด ลอก ต้นฉบับ คือ ชัยค์ ดาวูด ซึง่ มีชว่ งชีวติ อยูเ่ มือ่ ๒๐๐ กว่าปีที่แล้วกล่าวถึง “ตารีค ปาตานี” ว่าเป็นเอกสารเก่าแก่อันบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ ข องปาตานี ซึ่ ง ไม่ มี ใ ครรวบรวมไว้ นอกจากต้นฉบับของ ชัยค์ ฟากิฮ์ อาลีฯ ที่ได้ เรียบเรียงไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อได้รับรู้เกี่ยว กับชาวมลายูสมัยก่อนที่อาศัยบนแผ่นดิน ปาตานี อันมีเมืองเก่าแก่คือ กือดะห์ (เคดาห์) ปาตานี สงขลา ลือกอร์ (นครศรีธรรมราช รวมทั้งเมืองไชยาที่อยู่ตอนเหนือก่อน ที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาจนเกิดรัฐสุลต่าน หรือรัฐอิสลาม อันแสดงถึงช่วงเวลาการรับรู้ อย่างร่วมสมัยของผู้เขียนที่มีอายุอยู่ในช่วง หัวเลีย้ วหัวต่อระหว่างการรับศาสนาอิสลาม

เป็นศาสนาหลักของชาวนครปาตานีในยุค เมื่อราว ๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ส่วนผู้แต่งคือ ชัยค์ ฟากิฮฺ อาลีฯ อ้างว่า ได้รับกระแสรับสั่งจากสุลต่านที่พระ ราชทานคำบอกเล่ามากมายและบันทึกจาก ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ทผี่ า่ นมา สุลต่านประสงค์ให้เรียบ เรียงเป็นประวัตศิ าสตร์ปาตานี โดยเรียบเรียง จากข้อมูลทั้งสามภาษาคือ ภาษาที่เกี่ยวพัน กับการใช้ภาษาในทางพุทธศาสนา โดยมีคน จากนครฯ ซึ่งนับถือพุทธศาสนาเป็นผู้แปล ความให้ โดยพระราชทานทีด่ นิ ทีย่ ะลาให้อยู่ อาศัยพร้อมครอบครัว ภาษาอาหรับทีบ่ นั ทึก โดยปูข่ องเขาส่วนหนึง่ และเขาเข้าใจได้ดี ใน ขณะที่ข้อความหรือบันทึกในภาษาชวานั้น มีคนจากโบเกอร์ในชวาเป็นผู้ช่วยเหลือ ผู้เขียนเรียบเรียงซึ่งน่าจะเป็นสาย เลือดของผู้สอนศาสนาชาวต่างแดนในรุ่น หลาน ตั้งแต่เมื่อศาสนาอิสลามเริ่มเข้ามาสู่ ดินแดนนี้กล่าวถึง อิทธิพลของศาสนาฮินดู และพุ ท ธที่ เ คยมี อ ยู่ ใ นดิ น แดนนี้ ใ นขณะที่ อิสลามยังมาไม่ถงึ และทำให้เขาไม่เข้าใจ และ การเรียบเรียงจากคำบอกเล่าไม่ได้บันทึกขึ้น มาจากช่วงเวลาที่แท้จริง จนอาจเกิดความ เข้าใจคลาดเคลื่อนขึ้นได้ เนื้อหาของตารีค ปาตานี กล่าวถึง ประวัตขิ อง “ราชาลังกาสุกะ” ผูน้ บั ถือศาสนา ฮินดู ตัง้ เมืองหลวงอยูท่ ก่ี อื ดะห์หรือทีเ่ คดาห์ ทางฝัง่ ตะวันตกของคาบสมุทรและค้าขายกับ ชาวฮินดีหรืออินเดีย มีอาณาเขตไปจนถึง ลือกอร์ (นครฯ) สงขลา และมีท่าเรือสำคัญ อยูท่ ป่ี าตานี โดยราชาทีป่ าตานีมอี ำนาจเหนือ เมืองทั้งสองและมีอำนาจปกครองบ้านเมือง ชายทะเลฝั่งตะวันออกเพื่อติดต่อค้าขายกับ จีน เขมร บูกิส ชวาและบาหลี มีราชาเมือง เล็กๆ เช่นที่ตือมาเสก (สิงคโปร์) มาสวามิภักดิ์ ทีน่ น่ั ก็มที า่ เรือค้าขาย ผูค้ นต่างชาติจงึ มารวมตัวกันที่เมืองท่าปาตานีมากมายเพื่อ ค้าขาย เช่น คนอาหรับทางอ่าวเปอร์เซีย ชาว ฮัทรามุทที่อยู่ในเยเมนทุกวันนี้ ชาวจีนและ ฮินดี ส่วนคนชวานั้นมีความสามารถในการ เดินเรือ มีคนป่าซาไกตามภูเขา บ้างก็ขา้ มเขา ไปยังกือดะห์ การใช้ช้างเดินทางในเวลา ๑ เดือน ๒๕ วัน คนฮินดีที่เข้ามาเป็นที่นับถือมาก พวกเขานำพระพุทธรูปเข้ามาขายและกราบ ไหว้บชู า พวกเขาจะเล่นกลและเป็นหมอรักษา โรค คนมลายูจำนวนหนึ่งก็ไปนับถือศาสนา พุ ท ธด้ ว ยความเกรงกลั ว แกมฉงนในการ ประพฤติทางศาสนาของพวกเขา จนราชาใน

อดีตก็กราบไหว้บชู ากันทุกองค์ จนทำให้พระ พุทธรูปถูกสร้างขึ้นมามากมายในลังกาสุกะ ผูค้ นแต่งกายด้วยสีเหลืองมากมาย การเผยแผ่ศาสนาพุทธเข้ามาทำให้มีการใช้ภาษา สันสกฤตและบาลี โดยเฉพาะชื่อของราชา และชาวเมื อ งก็ ยั ง ใช้ ภ าษามลายู ใ นการ สือ่ สาร โดยจะผสมภาษาฮินดีในเริม่ แรกและ ปะปนด้วยภาษาชวาในภายหลังจากการเข้า มาปกครองของราชาศรีวชิ ยั ในทำนองเดียวกัน เมือ่ ศาสนาอิสลามแพร่เข้ามา ผู้คนก็รับนับถืออิสลามเป็น ระยะๆ มีการผสมผสานผูค้ นระหว่างคนฮินดี คนจีน และคนมลายู แต่คนอาหรับและคน เปอร์เซียนั้นเพียงผสมกับคนมลายูเท่านั้น นอกจากนี้ ยั ง เล่ า ถึ ง เรื่ อ งราชา ศรีวิชัยมาจากปาเล็มบังได้ปกครองปาตานี ในยุคของราชามหาบังสา ชาวปาเล็มบัง มีความเก่งกาจในการทำสงครามทางทะเล เมื่อพระองค์ต้องการหาสถานที่เหมาะสม สำหรับผู้คนสองประการคือ จับปลาในทะเล และทำการเพาะปลูกบนบก พบกับ “โต๊ะตานี” ผู้เป็นผู้นำในหมู่บ้านที่เหมาะสมนั้นจึงสร้าง ตำหนักทีน่ ี่ ในหมูบ่ า้ นของโต๊ะตานีทเี่ รียกว่า “เปาะตานี” และกลายมาเป็นปาตานีในภาย หลัง ยังเล่าอีกว่าราชาจากชวาองค์นี้ยังล่อง ลำน้ำไปที่กือดะห์ จึงเรียกว่าสุไหงปาตานี พระราชาสร้างเมืองทัง้ ทางตะวันตกเพือ่ ติดต่อกับชาวฮินดี และทิศตะวันออก เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่โต สินค้า สำคัญคือ ทองคำ ปลา หวาย ไม้ซุง สำหรับ ต่อเรือ มะพร้าว ครั่ง ต่อมาก็ไปตีเมืองเขมร และสร้างเมืองไชยา บ้านเมืองต่างๆ ก็พ่าย แพ้แก่ราชาศรีวิชัย โดยมีมเหสีเป็นธิดาของ เจ้าเมืองไชยา และเมื่อมีบตุ รชายก็ปกครอง ปาตานีสืบมา เมื่ออภิเษกกับธิดาเจ้าเมือง สงขลามีการละเล่นสนุกสนาน ผู้คนเข้าร่วม มากมาย มีช้างมาร่วมจำนวนมากมายจน ตึงกูอบั ดุลกอเดร์ กามารูดดีน เจ้าเมืองปาตานี คนสุดท้าย (พ.ศ. ๒๔๔๒๒๔๔๕) และครอบครัว ได้รบั พระราชทาน บรรดาศักดิจ์ ากสยาม เป็นพระยาวิชติ ภักดี ศรีสรุ วังษารัตนาเขตประเทศราช

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 21


กางแผง

22 จดหมายข่าว มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

LEK-PRAPAI DVD จากเสวนาริมขอบฟ้า หนังสือพิมพ์จีน เวทีความคิด และกระบอกเสียง ของจีนสยาม หาก ‘มวลชน’ คือผู้ชี้ขาดในความสำเร็จ ‘กระบอกเสียง’ ย่อมเป็นเครื่องมือชั้นดีที่ใช้ เพื่อช่วงชิงชัยชนะ !

ร้านหนังสือ ‘ริมขอบฟ้า’ เปิดประเด็นบทบาท ความสำคัญ และ

สะท้อนพลังของสื่อสารมวลชนในอดีตที่คล้ายดังเป็นคันฉ่องส่อง ปัจจุบัน รับชมเสวนาประจำเดือนได้อีกครั้งผ่านเก็บตกบันทึกลงแผ่น หน้าประวัติศาสตร์เล็กๆ ที่เคยซ่อนตัวในสังคมสยามสามารถเป็นอีก หนึ่งปัจจัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน อันยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ย้อนความทรงจำโดย ‘ปนัดดา เลิศล้ำอำไพ’ นักเขียนและลูกสาวของอู๋จี้เยียะ อดีตนักหนังสือพิมพ์จีนชื่อดัง ‘มิตรชัย กุลแสงเจริญ’ นักวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ผู้ทำวิจัยหัวข้อ ‘หนังสือพิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้า : ภาพสะท้อนสังคมไทยในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๖)’ และ ‘สุเทพ ศุภภัทรานนท์’ ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ซินจงเหยียน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์นับแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ ถึงปัจจุบัน จะได้พูดกันอีกครั้ง ที่นี่ !

ed

DVD

R ec

หลุดออกมาหนีเข้าป่าเขา ทำลายเรือกสวนไร่นาและบ้านเรือนชาว บ้าน จึงต้องเรียก “หมอช้าง” มาช่วย หมอช้างนั้นเป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไปและเป็นผู้ ใกล้ชิดราชา อาศัยในราชวัง หญิงใดได้เป็นภรรยาหมอช้างก็ถือว่า มีความสะดวกสบายและมีเกียรติอย่างยิง่ และไม่วา่ เขาจะไปทีใ่ ดก็จะ ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ทำให้เห็นว่าช้างเป็นสัตว์ที่สำคัญและ จำเป็นในขณะนั้น และผู้มีวิชาควบคุมช้างก็กลายเป็นคนสำคัญมาก ในสังคมไปด้วย การค้าที่ปาตานีมีชื่อเสียงไปทั้งที่อาหรับ เมืองจีน อินเดีย ชวา เรือเข้ามาแวะจอดมากมายทั้งกลางวันกลางคืน หากมองดู ทะเลยามค่ำก็เหมือนเห็นแสงดาวบนท้องฟ้า คนอาหรับและเปอร์เซียชอบเข้าป่าล่าสัตว์บนภูเขา และมี ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดคนปาตานี เรื่องหมูป่าทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างคนมลายูอิสลามและคนมลายูพุทธ อีกประการหนึ่งการ แต่งกายของคนสองกลุ่มก็ต่างกัน คนมลายูอิสลามจะนุ่งผ้าและ เหน็บขวาน ส่วนคนพุทธจะห้อยพระพุทธรูปทำจากโลหะ ในช่วงท้ายกล่าวถึงราชาลังกาสุกะและการไปสัมพันธ์กับ กือดะห์โดยมีเชื้อสายไปปกครอง พระโอรสได้ปกครองเมืองนครฯ การสงครามที่ไชยากับเขมรหรือที่น่าจะเป็นจามปาทางเวียดนาม กล่าวถึงการเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ชาวเปอร์เซียและอาหรับมาซื้อ กลับไป การเรียนรูก้ ารค้าขายจากชนชาติทง้ั สอง การแต่งงานระหว่าง ธิดาเจ้าเมืองสงขลากับพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่ชื่อ สุไลมาน ชาห์ จนถึงการขึ้นครองราชย์ของราชาอินทิรา เดวา วังสา และ การเปลีย่ นศาสนาของคนจำนวนมากจากศาสนาพุทธเป็นอิสลาม อัน เป็นเวลาเดียวกันกับที่ไชยาและนครฯ สู้รบกับชาวชวาและสุมาตรา ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาโดยการก่อสร้างพระเจดีย์ที่ยิ่ง ใหญ่จนชาวชวานั้นหลบหนีมายังปาตานี ข้อความในเอกสารจบลงเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามเอกสารฉบับนี้มีความสำคัญในการสะท้อน ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนา พุทธมาเป็นศาสนาอิสลามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ และความ ทรงจำของชาวเมืองเกี่ยวกับสงครามจากชวาและการเป็นบ้านเมือง ในระหว่างอำนาจทางการเมืองของเมืองไชยาและเมืองนครฯ ส่วน เมืองสงขลาช่วงเวลานั้นคงยังไม่มีบทบาทเท่าใดนัก จนถึงช่วงการ ปกครองสุลต่านสุไลมาน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติของราชาที่เคดาห์และเส้นทาง เดินทางข้ามคาบสมุทร ตลอดจนสภาพแวดล้อมของการให้ความ สำคัญกับช้างและหมอช้าง ตลอดจนการค้าขายของเมืองปาตานีใน ยุครุ่งเรือง ความทรงจำเหล่านี้ไม่ได้เรียงลำดับอย่างเรียบร้อยเท่าใด นัก และส่วนหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า คงมีการเล่าเรื่องมาจากแหล่ง ข้อมูลทีใ่ กล้เคียงกันในฮิกกายัตปาตานีและฮิกกายัต มะโรง มหาวังสา เป็นความภาคภูมิใจที่ได้นำเสนอหนังสือที่จะช่วยเสริมความเข้าใจ ในจารีตของการเล่าเรื่องในอดีต และรอยต่อในช่วงที่ศาสนาอิสลาม เผยแผ่เข้ามา ขนบของการเขียนนั้นเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกัน โดย เรื่องราวในอดีตของลังกาสุกะดูจะเป็นตำนานที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ กับช่วงเวลาทีแ่ น่นอนตายตัว แตกต่างกับขนบการเขียนประวัตศิ าสตร์ ของชาวอาหรับและการเขียนเนื่องในศาสนาอิสลามอย่างเด่นชัด

om m e n d

ศรัทธา บนความอ่อนไหว ศรัทธาบนความอ่อนไหว ปรากฏการณ์ศรัทธาผี นิยมเทพ ที่มี

ให้เห็นเกลื่อนเมืองในเวลานี้ ทั้งศาลผี ศาลเจ้าพ่อ ศาลเทพฮินดู อีกทั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้แปลกตา เช่น ไก่ ม้าลาย ยีราฟปูน หรือ แม้แต่เครื่องบินจำลอง สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และบอกอะไร กับเรา อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และ สุดารา สุจฉายา จะมา อธิบายและวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์เหล่านี้ให้เราได้ทราบกัน


DVD พอเพียง เพื่อแผ่นดินเกิด

(สนใจสั่งซื้อย้อนหลัง)

พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด เมื่อผู้คนในโลกแบบ ‘โลกาภิวัตน์’ ต้องอยู่ในภาวะไร้รัฐ ไร้เส้นแบ่ง พรมแดน และไร้สังคมมากขึ้น ความเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จึงผสม แนวคิดเรื่อง ‘ชาตินิยม’ จนกลายเป็นเหตุผลในการรักษาผลประโยชน์ของ กลุ่มที่มีความหมายมากกว่า ‘ชาติ’ หรือ ‘บ้านเกิดเมืองนอน’ หรือ ‘มาตุภูมิ’ อันเป็นพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมและการเมืองที่กำลังถูกลิดรอน สิ่งที่ ‘ประเทศไทย’ กำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นภาวะที่สับสนว่า จะสามารถดำรง สภาพความเป็น ‘สังคมพหุลักษณ์’ ได้อย่างไร จึงจะให้โอกาสผู้คนในกลุ่ม ต่างๆ ได้แสดงออกหรือต่อรองในสังคมได้อย่างเท่าเทียมไปพร้อมๆ กับรักษา ความมั่นคงในความรู้สึกรักชาติ รักมาตุภูมิ รักถิ่นฐานบ้านเกิด โดยไม่ยอมให้ กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองใช้โอกาสที่คนในสังคม ‘ต่างคนต่างอยู่’ เข้ามา ทำลายฐานทรัพยากร สภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งมาตุภูมิ อันเป็นรากฐานของชีวิตของคนในสังคม รายการ พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด จึงเกิด ขึ้นและเดินทางไปทั่วประเทศไทย เพื่อเข้าไปแง้มบานประตู เปิดที่ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ชุมชน และท้องถิ่นได้เดินออกมา เราจะนำเรื่องราวอันหลากหลายกลับมาบอกเล่าแก่สังคม เพราะอาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องมองหาความ แตกต่างหลากหลายเพื่อสร้างจุดยืนอย่างมีเอกภาพร่วมกัน

DVD New

ราคา ๙๙ บาท ตอนที่ ๒๑ พรานปลาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐

สยามมาตุภูมิ ราชประสงค์ มอญบ้านม่วง หนังใหญ่วัดขนอน คุ้งพยอม วิกฤติบ้านเมือง ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาการรุกล้ำทรัพยากร ในสามจังหวัดภาคใต้ วิกฤติคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดภาคใต้ มอญศาลาแดง เกาะเกร็ด เสียงรามัญของคนมอญรุ่นใหม่ พิพิธภัณฑ์จันเสน ยุวมัคคุเทศก์จันเสน ฟื้นตัวตนคนยวน คนลาวแห่งท้องทุ่งภาคกลาง บ้านบุ บ้านช่างย่านบางกอก กุฏีจีน ยานนาวา เปลี่ยนหนองหาน คนกับป่าภูพาน พรานปลาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ภูมิปัญญาและร่องรอยสวนในที่เหลืออยู่ บ้านสวนตลิ่งชัน สวนส้มบางมด...ถึงเวลาลาลับพับไป ไหว้พระธาตุ ฟังเทศน์งานบุญหลวง : อัตลักษณ์ของคนด่านซ้าย เข้าถึงชีวิตวัฒนธรรมคือยารักษาโรค พ่อใหญ่แห่งทุ่งกุลา “เจ้าพ่อศรีนครเตา” คนทุ่งกุลาไม่ร้องไห้ เลี้ยงชีพในบุ่งทาม “กุดขาคีม” กลุ่มชาติพันธุ์ใน กทม.

ลบพรมแดนจินตนาการ แล้วมาทำความรู้จักกับวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง-น้ำก่ำ-เซบั้งไฟ สายสัมพันธ์ของ คนสองฝั่งน้ำไทย-ลาว กับความเป็นพี่เป็นน้องร่วมทางประวัติศาสตร์สังคมเดียวกัน ด่านเขตแดน จุดต่างๆ อาจแยกแม่น้ำโขงเป็นสองฝั่งประเทศ แต่คงไม่อาจขวางกั้นความเป็นเครือญาติพี่น้อง มาตั้งแต่ครั้งสร้างองค์ ‘พระธาตุพนม’ เป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของคนลุ่มน้ำโขงมาแต่ก่อน มองผ่านชีวิตและลำน้ำที่จะทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้น จะได้ไม่เกลียดชัง เหยียดหยาม และทะเลาะกันเหมือนอดีต ที่ผ่านมา

ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๔ 23


LEK-PRAPAI BOOK ชุดพิพิธภัณฑ์ (๓ เล่ม)

พิเศษ ราคา ๕๑๐ บาท

ทั้งชุดเพียง ๔๓๔ บาท

พิพิธภัณฑ์ของคนธรรมดา ผู้แต่ง/แปล วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ราคา ๑๙๕ บาท พิเศษ ๑๗๕ บาท รวมงานเขียนขนาดสั้นเกี่ยวกับการศึกษา ในท้องถิน่ หลายแห่ง ทีม่ งุ่ เน้นบอกเล่า เนือ้ หา จากการศึกษาทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์สังคม และปกิณกะคดีต่างๆ ซึ่งเป็น ผลจากการจั ด สร้ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น ตลอดระยะเวลากว่ า สิ บ ปี ตั้งแต่เริ่มทำงานในราว พ.ศ. ๒๕๓๘ ของ ‘วลัยลักษณ์ ทรงศิริ’ ในการ อุปถัมภ์ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จนถึงปัจจุบัน

ประสบการณ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้แต่ง/แปล มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ราคา ๑๗๐ บาท พิเศษ ๑๕๓ บาท รวมบทความเกี่ ย วกั บ ประสบการณ์ ง าน บุ ก เบิ ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น และการศึ ก ษา ท้องถิ่นในที่ต่างๆ ของเจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ ที่เคยเผยแพร่ในจดหมายข่าวมูลนิธิฯ อาทิ พิพิธภัณฑ์จันเสน พิพิธภัณฑ์ยี่สาร พิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาส พิพิธภัณฑ์บา้ นหนองขาว ฯลฯ ซึง่ การลงพืน้ ทีแ่ ต่ละแห่งนัน้ คือประสบการณ์อนั มีคุณค่ากว่า ๑๐ ปีในการทำงาน ทางมูลนิธิฯ หวังให้หนังสือเล่มนี้เป็นดังสื่อกลาง ในการทำความเข้าใจท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่น รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เปิดรับ สมาชิกจดหมายข่าว ๑. รูปแบบ E-book ปีที่ ๑๖ ในรูปแบบ เป็นการรับจดหมายข่าวผ่าน E-mail ใหม่ ดังนี้ (ไม่เสียค่าใช้จา่ ยใดๆ) แจ้ง E-mailของท่าน

วิธีสั่งซื้อ

๑. โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า ชื่อบัญชี น.ส.พรพิมล เจริญบุตร เลขที่บัญชี 169-0-63033-8 เมื่อท่านทำการโอนเงินเรียบร้อยแล้ว กรุณาส่งสำเนา ใบโอนเงิน พร้อมระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และใบสั่งซื้อของท่านมาที่ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ (ที่อยู่ตามจดหมายข่าว) ๒. เงินสด ในกรณีมารับสินค้าด้วยตัวเอง ๓. ธนาณัติ ท่านสามารถชำระเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ โดยสั่งจ่ายในนาม “น.ส.พรพิมล เจริญบุตร” ปท.ราชดำเนิน 10200 พร้อมแนบใบสั่งซื้อ (Download : www.lek-prapai.org ) ของท่านมาที่มูลนิธิฯ *** ฟรีค่าจัดส่ง

พิพิธภัณฑ์และ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้แต่ง/แปล ศรีศักร วัลลิโภดม ราคา ๑๔๕ บาท พิเศษ ๑๓๐ บาท รวมบทความเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และมุมมองที่ได้ จากประสบการณ์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและ จัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ไม่เน้นทฤษฎี แต่มุ่งถึงข้อเท็จจริงของข้อมูล และ ความเป็นไปได้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์แต่ละท้องถิ่น ทั้งยังเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง นักวิชาการจากข้างนอกและคนในท้องถิ่น จนสามารถสร้างนักวิจัยท้องถิ่น อันเป็น แกนหลักในการพัฒนาท้องถิ่นทั้งด้าน ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นได้

เพื่อรับจดหมายข่าวแบบ E-book มาที่ lekprapai_magazine@hotmail.com ๒. รูปแบบ จุลสารปีละ ๔ ฉบับ ผู้สนใจโปรดส่งแสตมป์ ดวงละ ๕ บาท จํานวน ๔ ดวง หรือเทียบเท่า/ต่อปี พร้อมแจ้งชื่อและที่อยู่สําหรับจัดส่งจุลสาร มาที่ “มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐”

ทางมูลนิธิฯ ยินดี สนับสนุนจุลสารแก่หน่วยงาน การศึกษา ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ หากต้องการให้มูลนิธิฯ จัดส่งจุลสาร โดยระบุชื่อ หน่วยงานและที่อยู่มาทางที่อยู่หรืออีเมล์ข้างต้น ทางมูลนิธิฯ ยินดีเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่เรื่องราว ในท้องถิ่นของท่านแก่สาธารณชน ผู้ใดสนใจหรือมี เรื่องราวท้องถิ่นที่ต้องการบอกเล่า รวมถึง จดหมายแนะนําติชมข้อเสนอแนะต่างๆ ติดต่อมาได้ที่ http://www. lek-prapai. org หรือ Facebook มูลนิธิฯ “มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” ท่านสามารถรับชมจดหมายข่าวฉบับย้อนหลังได้ทาง http://www.lek-prapai.org/letter.php


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.