จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๓ ประจำเดือน มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๕

Page 1

ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๕

ผู้มีบารมีผู้แพ้บารมี

อารยธรรมซายฟอง / Say Fong Civilization :

มรดกประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย

การค้นหาประวัติศาสตร์ทาง วัฒนธรรมปาตานี

ตามรอยความเชื่อในเรื่องของ ‘นาค’ ณ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง วันวานที่ย่าน บางลำพู

พูดถึงอีกสักที...เขาเห็นอะไรกัน หลังดูหนัง ‘ขุนรองปลัดชู’


สารบัญ เปดประเด็น ๐๒ ผู้มีบารมี-ผู้แพ้บารมี ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ๐๔ อารยธรรมซายฟอง / Say Fong Civilization : มรดก ประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม ๑๐ เก็บตกเสวนา : สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมปาตานี บันทึกจากทองถิ่น ๑๓ ตามรอยความเชือ่ ในเรือ่ งของ ‘นาค’ ณ ดินแดนแถบลุม่ แม่นำ้ โขง พระนครบันทึก ๑๕ วันวานที่ย่านบางลำพู ดูโขนดูหนัง ๑๘ พูดถึงอีกสักที...เขาเห็นอะไรกัน หลังดูหนัง ‘ขุนรองปลัดชู’ กางแผง ๒๒ LEK-PRAPAI DVD

--------------------------จดหมาย​ขา ว​มลู นิธเิ​ล็ก-ประไพ วิรยิ ะ​พนั ธุ ราย ๓ เดือน มีว​ ตั ถุประสงค​ เพือ่ เ​ผยแพรขอ มูลข​ า วสาร​จาก​การ​ดำเนินง​าน​ของ​มลู นิธฯ​ิ และ​ยนิ ดีเ​ปน เวทีต​ พ​ี มิ พ​ประสบการณ ทรรศนะ ขอเสนอ​แนะ ฯ​ลฯ จาก​หนวย​งาน​ดา น​ สังคม วัฒนธรรม และ​ผสู นใจ​ทวั่ ไป อันจ​ ะ​นำ​ไป​สเครื ​ู อข​ า ยความรวมมือ​ ทาง​วฒ ั นธรรม​การ​ศกึ ษา การ​สราง​และ​พฒ ั นา​องคความ​รเู รือ่ ง​เมือง​ไทย ให​คง​อยูตลอด​ไป (หาก​ตองการ​บอก​รับเ​ปน​สมาชิกจ​ ดหมาย​ขาว​มูลนิธิ​ เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ กรุณา​สง​ชื่อ​ที่​อยู​พรอม​แสตมป​ดวง​ละ ๕ บา​ท ๒๐ ดวงตอป มายังท​ ี่​อยูดาน​ลาง)

---------------------------

มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

๓๙๗ ถนน​พระ​สุเมรุ แขวง​บวร​นิเวศ เขต​พระนคร กรุง​เทพ​ฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ lek_prapai@yahoo.com http://www.lek-prapai.org

ประ​ธานกรรมการ ดร​.ไพโรจน พงศพิพัฒน รอง​ประธาน​กรรมการ อรพรรณ พงศพิพัฒน กรรมการ​และเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ วิริยะ​พันธุ / ตุก วิริยะ​พันธุ / รับ​พร วิริยะ​พันธุ ที่​ปรึกษา ศรี​ศักร วัลลิโภดม / ดร​.ธิดา สาระ​ยา เจาหนา​ที่มูลนิธิ​ฯ สุดา​รา สุจฉายา / วลัย​ลักษณ ทรง​ศิริ / ลาวัลย ธรรมนิรันดร / รัชนีบ​ ูล ตัง​คณะ​สิงห / นิยดา หวัง​วิวัฒน​ศิลป / เหมือน​พิมพ สุวรรณกาศ / พร​พิมล เจริญ​บุตร / อรรถ​พล ยัง​สวาง / มรกต สาตรา​คม / ณัฐวิทย พิมพทอง / อภิญญา นนทนาท / ภาพันธ รักษศรีทอง / นพดล แกมทอง / ตรีโรจน ไพบูลยพงษ / ใหมมณี รักษาพรมราช

2

จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

เปดประเด็น

โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

ผู้มีบารมี ผู้แพ้บารมี ในช่วงเวลา ๖-๗ ปีทผี่ า่ นมานี้ คนไทยทัว่ ไปมักได้ยนิ คำกล่าว

ทีค่ นุ้ ๆ ในเรือ่ งผูม้ บี ารมี อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการ เมือง โดยเฉพาะผู้ที่กำลังสูญเสียอำนาจทางการเมืองของ รัฐบาลในสมัยหนึง่ มักกล่าวหาว่าเหตุทตี่ นต้องเดือดร้อนนัน้ มี ที่มาจากการกระทำของผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าคิดว่านีเ่ ป็นเรือ่ งของการกล่าวหา [Accusation] เพราะไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ และที่สำคัญก็คือ ผู้กล่าวหาไม่กล้าที่จะระบุว่าใครคือผู้มีบารมี เลยทำให้เรื่อง บานปลาย มีการตีความไปต่างๆ นานาว่าใครคือผู้มีบารมี ข้าพเจ้าเห็นว่าในการรับรูข้ องคนไทยส่วนใหญ่นน้ั รูว้ า่ ผูท้ ี่ จะมีบารมีได้ในทางการเมืองทีเ่ กีย่ วข้องกับการกล่าวหาดังกล่าว นีม้ อี ยูส่ องท่านทีโ่ ดดเด่น ท่านแรกคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ท่านที่สองคือพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระประมุขของประเทศชาติ ผูก้ ล่าวหาซึง่ ข้าพเจ้าขอฟันธงในทีน่ วี้ า่ ผูแ้ พ้บารมี เพราะ เมือ่ มีผมู้ บี ารมีกค็ วรมีผไู้ ม่มบี ารมีเป็นคูต่ อ่ รองกัน ผูไ้ ม่มบี ารมี คือผูแ้ พ้ได้กล่าวหาในเชิงกล้าๆ กลัวๆ เลยเกิดความคลุมเครือ ในเรื่องว่าจะเป็นท่านใดแน่ เพราะจะโดนเอาผิดมิได้ แต่ใน ความคิดของผู้ที่เป็นวิญญูชนแล้วตระหนักว่า ผู้มีบารมีนั้น หมายถึงองค์พระประมุขอย่างไม่ต้องสงสัย แต่สร้างความ คลุมเครือให้เห็นว่าเป็นท่านประธานองคมนตรี แล้วเติมให้เต็ม ไปถึงองคมนตรีทงั้ คณะ ซึง่ แต่งตัง้ โดยองค์พระประมุข จึงคิดเห็น ว่าควรเลิกล้มไม่ให้มคี ณะองคมนตรีเสีย เพือ่ บ้านเมืองจะได้เป็น ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ การเคลือ่ นไหวของผูแ้ พ้บารมีและบริวารครัง้ นีด้ เู ข้าทาง บรรดานักวิชาการและนักศึกษาทีเ่ รียกว่ากลุม่ ไม่เอาเจ้า ทีม่ กี าร เคลื่อนไหวแบบกล้าๆ กลัวๆ มานานแล้ว มูลเหตุที่มาก็คือ คนเหล่านี้คือผู้ที่ได้รับทุนรัฐบาล รวมทั้งทุนพระราชทานจาก พระมหากษัตริยใ์ ห้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศทางตะวันตก โดย เฉพาะจากทางอเมริกา อังกฤษ และฝรัง่ เศส เช่นเดียวกันกับครัง้


(ซ้าย) ภาพสลักรูปจักรวาทิน [Cakravartin] สันนิษฐานว่าอาจจะเป็น พระเจ้าอโศกมหาราช อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๓ ศิลปะอมราวดี จากอุตตรประเทศ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (ขวา) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

รัชกาลที่ ๕ ทีส่ ง่ ออกไป ได้ถกู วิธกี ารคิดทางการเมืองเศรษฐกิจแบบ ประชาธิปไตยจากบ้านเมืองเหล่านัน้ มาครอบงำ จนมองไม่เห็นอดีต รากเหง้าของบ้านเมือง ความคิ ด ทางการเมื อ งและเศรษฐกิ จ แบบตะวั น ตกของ ประเทศดังกล่าวนี้คือ เห็นว่าสถาบันกษัตริย์นั้นเป็นสิ่งล้าสมัย ไม่ก้าวหน้าและไม่เสมอภาคตามอุดมคติในเรื่องประชาธิปไตย ที่ตนได้เล่าเรียนมา กลุ่มนักเรียนนอกที่ถูกส่งไปเรียนตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๗ แต่กย็ งั ดำรงสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริยใ์ น ลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระ ประมุ ข ซึ่ ง ตามกฎหมายรั ฐ ธรรมนู ญ นั้ น ก็ ไ ด้ ก ำหนดให้ พ ระมหากษัตริยอ์ ยูภ่ ายใต้รฐั ธรรมนูญ และไม่ทรงมีพระราชอำนาจทาง การบริหาร ซึ่งนับว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทย [Localization Democracy] ในเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงปฏิบัติตาม และไม่เคยแสดงพระองค์ว่าอยู่เหนือกฎหมายแต่อย่างใด แต่ความต่างกันระหว่างนักเรียนนอกรุน่ ก่อนคือสมัยรัชกาล ที่ ๕ กับนักเรียนนอกดอกเตอร์ดอ๊ กตีนในสมัยนีก้ ค็ อื นักเรียนนอก รุน่ ใหม่กลุม่ หนึง่ ไม่เอาสถาบันกษัตริยแ์ ละการเป็นประชาธิปไตยทีม่ ี พระมหากษัตริยท์ รงเป็นพระประมุขเป็นกลุม่ ทีไ่ ม่ใหญ่โตเท่าใด แต่มี อิทธิพลในเรื่องการถ่ายทอดและส่งต่อความคิดไปให้คนรุ่นเด็ก โดยเฉพาะบรรดานั ก ศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง ในส่ ว นกลาง และส่วนภูมิภาค เหตุที่คนเหล่านี้มีอิทธิพลทางความคิดก็คือมักเป็นผู้ที่เป็น อาจารย์ นักเขียน นักคิด ที่มีเครือข่ายสัมพันธ์กับนักวิชาการและ นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา และฝรัง่ เศส แถมบางคนยังมีอาจารย์ชาวต่างประเทศทีม่ ชี อื่ เสียง หลายคนเป็นพ่อทูนหัวสนับสนุนอบรมและเชื่อมโยงในการเป็น เครือข่ายให้ในต่างประเทศ ทำให้บรรดานักวิชาการและนักศึกษา กลุ่มไม่เอาเจ้านี้ดูเป็นคนทันสมัยและหัวก้าวหน้า และมีบทบาท ในทางสื่อเป็นประจำ

ข่าวคราวที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนักวิชาการกลุ่ม ไม่เอาเจ้านี้ เห็นจะเป็นกลุ่มนิติราษฎร์ที่ออกมาเรียกร้องให้แก้ไข รัฐธรรมนูญและกฎหมายมาตรา ๑๑๒ อันเป็นกฎหมายทีค่ วบคุมใน เรือ่ งการหมิน่ พระมหากษัตริยแ์ ละสถาบัน โดยมีรายละเอียดหลาย ประการที่ทำให้สังคมสงสัยเคลือบแคลง คนเหล่านี้อ้างสิทธิความ เป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่ตนเล่าเรียนมา ซึ่งก็ถูกต้องใน อุดมคติแบบตะวันตก ที่ทำให้ผู้คนเป็นจำนวนมากเห็นคล้อยตาม เเล้วเข้าทางของกลุ่มนักการเมืองและบริวารของผู้แพ้บารมี ผลที่ตามมา ถ้าหากสังคมขาดสติก็อาจกลายเป็นเรื่อง ขัดแย้งใหญ่ทรี่ นุ แรงได้ ถ้าหากคิดไตร่ตรองให้ดแี ล้ว พวกนักวิชาการ เด็กๆ ปากไม่สนิ้ กลิน่ น้ำนมเหล่านีค้ อื ผูท้ มี่ อี ตั ตาแรงและไม่รกู้ าลเทศะ แต่กล้าๆ กลัวๆ เพราะการเอาสิง่ ทีเ่ ป็นอุดมคติในเรือ่ งมาพูด ในยามทีม่ คี วามขัดแย้งนัน้ ก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนค้ำจุนกลุม่ คน อีกขั้วหนึ่งที่จะล้มเจ้า แต่เมืองไทยที่ผ่านมา ประชาธิปไตยไม่เป็นแบบตะวันตก เพราะถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากันกับสภาพแวดล้อมทางสังคมและ วัฒนธรรม เป็นประชาธิปไตยที่เกิดการปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบ ท้องถิน่ [Localization] คือ ประชาธิปไตยแบบทีม่ พี ระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข ข้าพเจ้าสะใจเป็นอย่างยิง่ เมือ่ มีการสนทนาถกกัน ของนักวิชาการกลุ่มไม่เอาเจ้ากับคนที่เป็นกลางและไม่เห็นด้วย ในรายการสถานีโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอสครั้งหนึ่งที่ว่า กลุ่มตนเอง ก็ เ ป็ น เช่ น เดี ย วกั น กั บ คณะรั ฐ ประหารสมั ย เปลี่ ย นแปลงการ ปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่ยังคงการเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหา กษัตริยท์ รงเป็นพระประมุข แต่กลับไม่ยอมรับว่าการเคลือ่ นไหวในการ ล้มกฎหมายมาตรา ๑๑๒ นัน้ คือการกระทำเพือ่ ไม่เอาการเป็นองค์ พระประมุขของพระมหากษัตริยอ์ ย่างทีว่ ญ ิ ญูชนทัง้ หลายเข้าใจกัน ที่น่าสมเพชก็คือต่อหน้าสื่อสาธารณะดูกล้าๆ กลัวๆ แต่พอ ลับหลังในการเสวนาทางวิชาการตามสถาบันการศึกษา กลับแสดง ความกร่างและโอหังถึงขนาดออกมาจาบจ้วงว่าจะต้องไม่ให้มีการ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชดำรัสในเรือ่ งเกีย่ วกับ ความเป็นไปของบ้านเมืองและประชาชนอย่างที่เคยทรงปฏิบัติมา โดยภาพรวมทีข่ า้ พเจ้าเห็นในขณะนีก้ ค็ อื กลุม่ นักวิชาการวิชา เกินที่ไม่เอาเจ้าเหล่านี้คือผู้ที่กำลังล้มเจ้าเข้าด้วยกับบรรดานัก การเมืองผูพ้ า่ ยบารมี เพราะทำหน้าทีเ่ ป็นนกต่อสองสถาน สถานแรก เป็นการสนับสนุนและให้แรงใจ [Empowerment] แก่บรรดานัก การเมื อ งว่ า ดำเนิ น การถู ก ต้ อ งตามหลั ก ประชาธิ ป ไตยแบบ ตะวันตกแล้ว โดยเฉพาะการที่ ผ่ า นการเลื อ กตั้ ง ที่ได้ เสียงจาก ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม โดยไม่ยอมรับรูแ้ ละรับฟังว่าการได้เสียง จากการเลือกตัง้ ดังกล่าวมาจากการซือ้ เสียงขายเสียงเป็นส่วนใหญ่ สถานที่สอง นักวิชาการเหล่านี้เป็นพวกคิดอะไรข้ามชาติ เป็นพวกนิยมโลกาภิวตั น์ คือคิดอะไรทำอะไรมักคล้อยตามอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศใหญ่ๆ ที่เป็นทุนนิยมที่มุ่งหวังเข้ามา ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

3


แย่งทรัพยากรในประเทศ โดยเฉพาะประเทศ ไทยที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ซึ่ง นักการเมืองและพรรคการเมืองผู้แพ้บารมี กำลั ง ขายทรั พ ยากรและประเทศให้ กั บ ประเทศนายทุนเหล่านั้น การเคลือ่ นไหวในกระบวนการล้มเจ้า ของบรรดานักการเมือง นายทุนข้ามชาติ และนักวิชาการข้ามชาติเหล่านี้กำลังใช้สื่อ แทบทุกรูปแบบในการที่จะสร้างมวลชนมา สนั บ สนุ น หาความชอบธรรม จึ ง เกิ ด การ ต่อต้านขึ้นโดยผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมที่รัก ชาติ (แผ่นดินเกิด) และเห็นชอบในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และเชื่อมั่นใน พระบารมีเป็นหลักความมั่นคงทางสังคม ของบ้านเมือง พระมหากษัตริย์แม้ว่าจะไม่มีพระราชอำนาจในการสั่ ง การบริ ห ารราชการ แผ่นดินภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ ยังทรงอำนาจทางบารมีที่เกิดขึ้นจากศรัทธา ของประชาชนผู้เห็นว่าพระองค์เป็นผู้มีบุญ และเป็ น บุ ค คลศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อ ยู่ เ หนื อ สภาวะ ความเป็นบุคคลธรรมดาทัง้ หลาย การกระทำ ใดๆ ทีเ่ ป็นการจาบจ้วงและมุง่ ร้ายต่อพระองค์ ถือเป็นความชั่วร้ายและอัปมงคลที่นำความ วิบตั มิ าสูผ่ คู้ นในส่วนรวม โดยเฉพาะคนรุ่ น เก่ า ที่ ยั ง มองว่ า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ถ้าหากทำร้ายพระมหากษัตริยก์ เ็ ท่ากับ เป็นการทำร้ายพระพุทธศาสนา จึงทำให้ สถาบันกษัตริย์และสถาบันศาสนาเป็นสิ่ง แยกกันไม่ออก และสถาบันทั้งสองนี้ก็แยก กั น ไม่ อ อกจากสถาบั น ชาติ ซึ่ ง หมายถึ ง แผ่นดินเกิดทีม่ กั เรียกว่า มาตุภมู ิ ปิตภุ มู ิ ชาติ แปลว่าเกิด ทีท่ ำให้เกิดสำนึกชาติภมู ริ ว่ มกัน หาได้หมายถึงเรื่องชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และ ชาตินิยมอย่างใดไม่ ความรักในแผ่นดินเกิด จนเกิ ด สำนึ ก ร่ ว มกั น นี้ ฝรั่ ง เรี ย กว่ า Patriotism เป็นสำนึกอย่างหนึ่งในความ เป็นมนุษย์ ซึ่งดูตรงข้ามกันกับพฤติกรรม ของกลุ่มคนข้ามชาติและขายชาติในกระแส โลกาภิวัตน์ขณะนี้ ​ 4 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ความหลากหลาย​ ทางสังคม​และ​วัฒนธรรม

อารยธรรมซายฟอง / Say Fong Civilization : มรดกประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

ไม่ใช่เฉพาะกรณีกัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียง

ฝ่ายเดียว หรือการนำมหรสพหนังใหญ่ การจีบนิว้ ในระบำราชสำนักไปขึน้ ทะเบียน เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับองค์การระหว่างประเทศแบบยูเนสโก แต่ การศึกษาประวัตศิ าสตร์ในระหว่างประเทศแบบรัฐสมัยใหม่ทฝี่ รัง่ เศสเจ้าอาณานิคมเคยวางรากฐานไว้ก็กำลังกลายเป็นปัญหาซับซ้อนที่หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ เพราะวิธีคิดโดยจินตนาการแบบการจำลองความเป็นเจ้าเหนือดินแดน ต่างๆ ในรัฐอารักขาสวมเข้าไปในวิธกี ารเขียนประวัตศิ าสตร์และสอนประวัตศิ าสตร์ ในยุคอาณานิคม โดยเฉพาะประวัติศาสตร์แห่งความยิ่งใหญ่ยุคเมืองพระนครได้ กลายเป็นระเบิดเวลาทีท่ ำให้ประเทศในดินแดนสุวรรณภูมจิ อ้ งจะตีกนั เองแบบที่ เกิดระหว่างกัมพูชากับไทยในช่วงนี้ ทั้งๆ ที่ดินแดนแห่งนี้ไม่เคยมีรูปแบบของรัฐ อาณานิคม [Colonialism] แต่เป็นเรื่องของการเกิดมณฑลแห่งอำนาจและรัฐ แบบหลวมๆ [Mandala, in term of historical, social and political sense] นัน่ เอง จากบทความของ Georges Maspero เรือ่ ง ‘ซายฟอง นครแห่งอดีต’ ใน วารสาร BEFEO เมือ่ ค.ศ. ๑๙๐๓ เขากล่าวถึงว่า มีการค้นพบเมืองร้างนีใ้ นเดือน มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๒ โดยบรรยายว่าเมืองนีอ้ ยูท่ างฝัง่ ซ้ายของแม่นำ้ โขง ตรงข้ามกับ เมืองคุกหรือเวียงคุกในปัจจุบัน และเรียกบริเวณนี้ว่า ‘ซายฟอง’ จากร่องรอยที่ เหลืออยู่ เขาสันนิษฐานว่า เคยเป็นเมืองทีใ่ หญ่มาก ประกอบด้วยย่านใหญ่ ๓ ย่าน คือ ย่านทีอ่ ยูต่ ดิ แม่นำ้ โขง ย่านทีส่ องขนานกับย่านแรก ย่านทีส่ ามตัง้ ฉากกับแม่นำ้ และ อยูต่ ดิ กับทัง้ สองย่านแรก ตรงกลางเมืองเป็นทีส่ งู กว่าพืน้ ทีโ่ ดยรอบ ชาวบ้านเรียก ว่า ‘สะพานเขมร’ เมืองโบราณได้รบั การดูแลดีกว่าทีอ่ นื่ ส่วนสุดทางด้านตะวันตกมี ทะเลสาบ ทีแ่ ห่งนี้ Maspero อ้างว่าเขาพบจารึก ๓ หลัก และรูปปัน้ ขนาดสูง ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓๐ เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบเดียวกับทีน่ ครวัด ทำจากหินทราย เนือ้ ละเอียด ซึง่ ไม่พบในแถบเวียงจันทน์ และพบว่าหลักแรกทัง้ สีด่ า้ นจารึกด้วย ภาษาสันสกฤต ข้อความสั่งให้สร้างโรงพยาบาลคล้ายกับที่เคยพบในกัมพูชา ซึง่ หมายถึงจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทีใ่ ห้สร้างอโรคยศาลหรือโรงพยาบาล ส่วน จารึกทีเ่ หลืออีก ๒ หลักจารึกด้วยภาษาลาว จารึกที่ Maspero อ้างว่าพบนี้ คือจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระบุศกั ราชราว พ.ศ. ๑๗๒๙ เมือ่ อ่านแล้วพบว่า รูปแบบหลักหินจารึกสลักลงทัง้ สีด่ า้ น ภาษาสันสกฤต อักษรขอมโบราณ และข้อความเรือ่ งการสร้างโรงพยาบาลหรืออโรคยศาลคล้ายคลึงกับจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึง่ พบทีเ่ มืองพิมาย, ด่านประคำ จังหวัดบุรรี มั ย์, ปราสาทตาเมียนโตจ, ที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และกู่บ้านหนองบัว


(ซ้าย) แบบจำลองอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรต่างๆ ในรูปแบบ มันดาลา [Mandala] ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลาง) จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรื่องอโรคยศาล เก็บรักษาไว้ที่หอพระแก้ว​ เวียงจันทน์ในปัจจุบัน เนื้อความในจารึกแทบจะเหมือนกับที่พบที่พิมาย บุรรี มั ย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ (ขวา) รูปสลักลอยตัว สันนิษฐานว่าเป็นรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พบที่พิมาย​

จังหวัดชัยภูมิ และเพิง่ พบอีก ๒ หลักทีจ่ งั หวัดร้อยเอ็ดเมือ่ ไม่กปี่ มี านี้ จารึกจากซายฟองปัจจุบนั เก็บรักษาไว้ทหี่ อพระแก้วในกรุง เวียงจันทน์ ส่วนรูปปัน้ นัน้ น่าจะหมายถึงรูปสลักจากหินทรายแบบ ลอยตัวทีเ่ ชือ่ ว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทีย่ งั คงสมบูรณ์กว่าทีพ่ บ แห่งอืน่ ๆ ในอีสาน และปัจจุบนั เก็บรักษาไว้ทวี่ หิ ารคดรอบพระธาตุ หลวง เวียงจันทน์ หลุยส์ ฟีโนต์ [Louis Finot] ผูอ้ ำนวยการคนแรกของสำนัก ฝรัง่ เศสแห่งปลายบุรพาทิศ เขียนบันทึกทีใ่ ห้ขอ้ สังเกตว่า จารึกหลักนี้ คือหลักฐานพยานสำคัญทีท่ ำให้เห็นถึงการมีอยูข่ อง ‘กัมพูชา’ ทีอ่ ยู่ ไกลเกินกว่าฐานข้อมูลของเอโมนิเยร์ (Étienne François Aymonier ผูเ้ ดินทางสำรวจโบราณสถานแบบเขมรในกัมพูชา ไทย ลาว และตอนใต้ ของเวียดนามอย่างเป็นระบบคนแรก และเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญการอ่าน จารึกโบราณด้วย งานของเขาพิมพ์เป็นชุด ๓ เล่ม เมือ่ ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๐๐๑๙๐๔) ซึง่ เอโมนิเยร์กล่าวว่า โบราณสถานแบบเขมรอยูเ่ หนือสุดที่ สกลนครทีร่ ะนาบ ๑๗ องศา ๑๐ ลิปดาเหนือ (น่าจะเป็นกูบ่ า้ นพันนา) อย่างไรก็ตามในบันทึกช่วงปีนั้น [BEFEO III, 1903.] เขาก็ยังไม่ ปักใจนัก เพราะจารึกแห่งเมืองซายฟองนี้อาจนำมาจากที่อื่นก็ได้ จากการค้นพบของ Maspero ดังกล่าว และการนำเสนอ บทความของ Finot ก็เพียงพอทีจ่ ะถูกสืบต่อมาเรือ่ ยๆ ว่า อำนาจทาง การเมืองของเขมรสามารถควบคุมลุม่ น้ำโขงทัง้ หมดได้ และอำนาจ จากอาณาจักรอันเข้มแข็งและยิง่ ใหญ่แผ่ขน้ึ มาเหนือสุดทีเ่ มืองซายฟอง การนำเสนอนีค้ อื ปัญหาทางวิชาการ เนือ่ งจากสร้างความ ชอบธรรมแก่ฝรั่งเศสที่ยึดครองลาวได้แล้ว และกัมพูชาซึ่งทาง พนมเปญและกำลังพยายามขอเสียมเรียบและจังหวัดอืน่ ๆ ทีส่ ยาม ครอบครองอยู่ ความเคลือบแคลงนี้มีการวิเคราะห์ต่อมาอย่าง มากมายถึงบทบาทดังกล่าว เพราะการเป็นนักสำรวจ นักวิชาการ

ของชาวฝรัง่ เศสนัน้ อยูใ่ นฐานะของเจ้าหน้าทีร่ ฐั ฝ่ายอาณานิคมด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แม้จะดูลึกลับ และมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยในช่วงแรก แต่การศึกษาและแปลความ จากจารึกปราสาทพระขรรค์ของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศ ทัง้ หลุยส์ ฟีโนต์ และ ลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์ [Lunet de Lajonquiere] ก็ระบุว่า มีเส้นทางสำคัญ ๕ สาย คือ จากเมืองพระนคร-พิมาย, พระนคร-วัดภู, พระนคร-สวายจิก, พระนคร-ปราสาทพระขรรค์ที่ กำปงสวาย และพระนคร-กำปงธม รวมทั้งเขียนแผนผังแนวถนน โบราณจากร่องรอยของจารึกและจำแนกลักษณะโบราณสถานใน แนวเส้นทางจากนครธมไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เมื่อประกอบกับหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุ ทั้งอโรคยศาล ธรรมศาลา จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระพุทธรูปนาคปรก พระไภสัชยคุรุ ฯลฯ ก็กลายเป็นแม่บทให้กบั นักศึกษารุน่ หลังเพื่ออ้างความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์พระองค์นี้ตามๆ กันมา โดย เน้นสร้างความยิง่ ใหญ่ให้เหนือจริง เพือ่ เหตุผลทางการเมืองทัง้ ในยุค อาณานิคมโดยฝรัง่ เศส ด้วยจินตนาการของประเทศแม่อาณานิคม ทีต่ อ้ งกอบกู้ บอกเล่าอาณาจักรเมืองพระนครทีส่ ญ ู สลายไป เป็นตัว แทนถึงประเทศฝรั่งเศสที่ยิ่งใหญ่ และสืบทอดสู่หลังยุคอาณานิคม โดยเฉพาะจากกัมพูชาด้วยเหตุผลในการสร้างชาตินิยมเพื่อความ เป็นรัฐชาติสมัยใหม่ (อ่าน Post / Colonial Discourses on the Cambodian Court Dance Sasagawa Hideo. Southeast Asian Studies, Vol.42, No.4, March 2005 / ฉบับแปล http://lekprapai.org/watch.php?id=466) อย่างไรก็ตามคงไม่อาจปฏิเสธถึงการมีอยู่ของกษัตริย์ผู้ ยิง่ ใหญ่พระองค์นไี้ ปได้ และโบราณสถานในรูปแบบอโรคยศาลหรือ สถานพยาบาลที่เป็นศาสนสถานด้วยมีอยู่ถึง ๒๓ แห่ง ไม่นับรวม ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

5


(ซ้าย) รูปสลักจากหินทรายลอยตัว น่าจะเป็นรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แต่รูปลักษณ์เป็นแบบท้องถิ่น อย่างชัดเจน (ขวา) เสมาหินที่เมืองไผ่หนามหรือ เวียงคำ ในวัฒนธรรมแบบทวารวดี ตอนปลาย บริเวณใกล้เขื่อนน้ำงึม

ธรรมศาลาอีกจำนวนหนึง่ ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ไทย แต่การกล่าวถึงอำนาจทางการเมืองโดยนัยของ ‘กัมพูชา’ ที่ ประกาศตามนักวิชาการชาวฝรัง่ เศสข้างต้นว่า อาณาจักรขอมแห่ง เมืองพระนครมีอำนาจกว้างไกลไปจรดบ้านเมืองต่างๆ ทีป่ รากฏชือ่ ใน จารึกปราสาทพระขรรค์นนั้ เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเหมือนการเป็นเจ้า อาณานิคมในยุคนัน้ ทีม่ ี ‘อำนาจทางการเมือง’ เหนือบ้านเมืองอืน่ ๆ เช่น จามปาในเวียดนาม ภาคกลางของประเทศไทย ไปจนถึง เวียงจันทน์ทซี่ ายฟอง โดยใช้หลักฐานศิลปกรรมแบบขอมทีป่ รากฏ ในศาสนสถานและวัตถุ ซึ่งดูจะเป็นการมองแบบหยุดนิ่งและผิดไป มาก เพราะรูปแบบของปริมณฑลอำนาจแบบมันดาลานั้นมีการ ศึกษาชัดเจนและยอมรับโดยแทนทีว่ ธิ กี ารศึกษาประวัตศิ าสตร์แบบ อาณานิคมแล้วในเวลาต่อมา (ศึกษาความสัมพันธ์ของบ้านเมืองใน ระยะเริม่ แรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากงานของ Wolters, O.W. History, Culture and Region in Southeast Asian Perspectives. Institute of Southeast Asian Studies, Revised Edition, 1999.) แต่สิ่งที่ยังเหลืออยู่คือ ‘มรดกการศึกษาทางประวัติศาสตร์ จากยุคอาณานิคม’ ซึง่ พบเห็นได้ทวั่ ไปในรายงานรูปแบบการศึกษา ประวัตศิ าสตร์ในประเทศอินโดจีนของฝรัง่ เศสในอดีต และถูกนำไปใช้ จนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง หรือแม้กระทัง่ การศึกษาประวัต-ิ ศาสตร์ในประเทศไทยตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เคยตก เป็นรัฐในอาณานิคมแต่อย่างใด ก็ยงั รับนำเอาอิทธิพลของการศึกษา แบบอาณานิคมมาใช้จนฝังรากลึกเสียจนยากจะแก้ไข กรณีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แม้จะผ่าน ช่วงเวลาแห่งการบีบคั้นในฐานะรัฐในอาณานิคมของฝรั่งเศสและ ต้องต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวลาวมาอย่างยาวนาน แต่สิ่งที่ยัง ปรากฏอยูอ่ ย่างเด่นชัดคือ การรับเอาแนวคิดการเขียนประวัตศิ าสตร์ [Historiography] แบบยุคอาณานิคมมาใช้ในปัจจุบนั เอกสารทาง การจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเรือ่ ง ‘ความเป็นมา ของนครหลวงเวียงจันทน์’ พิมพ์ในวาระเฉลิมฉลองเวียงจันทน์ ๔๕๐ ปี เมื่อไม่นานมานี้ แบ่งประวัติเวียงจันทน์เป็น ๕ ยุค คือ เวียงจันทน์ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบองหรือศรีโคตรบูรณ์ (คริสต์ศตวรรษที่ ๑-๑๐) เวียงจันทน์สมัยซายฟอง (เมืองหาดซายฟอง) 6

จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ เวียงจันทน์สมัยอาณาจักรลาวล้านช้าง (ค.ศ. ๑๓๕๓-๑๕๖๐) เวียงจันทน์ในสมัยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และเวียงจันทน์สมัยราชอาณาจักรลาว โดยนักวิชาการลาวเสนอว่า คนในเวียงจันทน์ในสมัยแคว้น ศรีโคตรบองเป็นเมืองส่วยของจามและเขมร หากเขมรมีความ ขัดแย้งภายในหรือมีสงครามกับพวกจาม แคว้นศรีโคตรบองก็ แข็งข้อต่อเขมร จนถึงยุคซายฟองจึงขึ้นต่อเขมรในยุคของพระเจ้า ชัยวรมันที่ ๗ เมือ่ อำนาจเขมรลดลง เวียงจันทน์จงึ เป็นอิสระจนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ แต่นกั วิชาการเช่น สุเนตร โพธิสาร เสนอว่า รูปแบบศิลปะแบบซายฟองนี้เป็นสิ่งที่พัฒนาการขึ้นในบริเวณนี้ มากกว่ารับอิทธิพลมาจากเขมร พัฒนาการของท้องถิ่นในช่วงรัฐ เริ่มแรกเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับวัฒนธรรมแบบเขมร และได้รับ อิทธิพลทัง้ แบบทวารวดีและเขมร ซึง่ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลการแบ่ง ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบบวิวัฒนาการ โดยมีอาณาจักรใหญ่ แห่งหนึง่ เป็นเจ้า และการเป็นบ้านเมืองในอำนาจทางการเมืองหรือ ในการอารักขา ดังที่ดินแดนแถบแม่น้ำโขงคือส่วนที่อำนาจทาง การเมืองจากอาณาจักรเขมรมีอยู่เหนือสุด และเป็นการเขียน ประวัติศาสตร์ในธรรมเนียมเดิมที่กล่าวได้ว่า รับอิทธิพลจากการ เขียนประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมมาอย่างชัดเจน การศึกษาประวัตศิ าสตร์ลาวยุคโบราณนอกเหนือไปจากงาน ของมหาสิลา วีระวงศ์ ในช่วงยุคอาณานิคมของฝรัง่ เศส ทีใ่ ช้ตำนาน พงศาวดารเป็นหลักฐานสำคัญ ก็จะมีผู้มีความสนใจในประวัติศาสตร์ เช่น มหาบุนมี เทบสีเมือง และมีนกั โบราณคดีทไี่ ด้รบั การศึกษา จากฝรัง่ เศสบางท่าน แต่สำหรับการศึกษาแบบประวัตศิ าสตร์สมัยใหม่ แล้ว นอกจากนักวิชาการต่างชาติจำนวนไม่นอ้ ย รวมทัง้ นักประวัต-ิ ศาสตร์ลาว สนใจประวัติศาสตร์ลาวในช่วงหลังอาณานิคมหรือ ช่วงหลังสงครามกูเ้ อกราช และส่วนใหญ่มกั ได้รบั อิทธิพลการเขียนงาน แบบตะวันตก เนือ่ งจากได้รบั การศึกษาในต่างประเทศ เน้นเรือ่ งราว การศึกษาเหตุการณ์สร้างชาติลาวสมัยใหม่หลังจากสงคราม เช่น ใน การตรวจสอบการค้นหาการสร้างอัตลักษณ์กลุม่ ชาติพนั ธุ์ การเมือง ของการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งก็เป็นการสร้างอุดมการณ์ ชาตินิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านการศึกษาในอดีตนั่นเอง


อย่างไรก็ตามในประเด็นละเอียดย่อย เช่น อิทธิพลของอำนาจ ทางการเมืองของเขมรในลาวนั้นก็ยังไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามี ทีม่ าทีไ่ ปอย่างไร เช่น งานประวัตศิ าสตร์ลาวของ Martin StuartFox ก็ยังคงใช้ข้อมูลเรื่องอำนาจของเขมรที่ซายฟองในการแบ่งยุค สมัยทางประวัติศาสตร์เป็นเรื่องปกติ เมื่อสงครามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มสงบลง สำนักฝรัง่ เศสแห่งปลายบุรพาทิศ (Ecole française d’ExtrêmeOrient [EFEO]) เริ่มกลับมาเปิดสำนักงานในภูมิภาคอินโดจีนแต่ เดิมตัง้ แต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๙ และเปิดสำนักงานทีล่ าวเมือ่ ค.ศ. ๑๙๙๓ สถาบันนี้สนใจศึกษาวิจัยในหัวข้อ เช่น จารึกและตำนาน รวมถึง เอกสารต่างๆ ทีพ่ บในลาว การศึกษาด้านวรรณกรรม การศึกษาทาง โบราณคดีและประติมานวิทยาพวกโบราณวัตถุและศิลปวัตถุทเี่ กีย่ ว เนื่องกับพุทธศาสนาในลาว รวมไปถึงการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ Michel Lorrillard นักวิจยั จากสำนักงาน EFEO ทีเ่ วียงจันทน์ ทำงานศึกษาในลาวมานาน และมีหนังสืองานวิจัยจำนวนไม่น้อย ตัง้ ข้อสังเกตถึงเรือ่ งอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรทีเ่ ข้าสูล่ าว โดยเฉพาะ เรือ่ งราวจากซายฟอง โดยกล่าวถึงการแบ่งยุคสมัยในประวัตศิ าสตร์ ลาว หรือเรียกชือ่ วัฒนธรรมเขมรแบบบายนซึง่ เชือ่ ว่าเป็นหลักฐาน อำนาจทางการเมืองจากเขมรทีข่ ยายมาจนเหนือสุดทีเ่ วียงจันทน์วา่ ‘อารยธรรมซายฟอง’ บ้าง ‘ยุคซายฟอง’ บ้าง หรือ ‘ศิลปะแบบซายฟอง’ บ้าง [Say Fong civilization, Say Fong period, Say Fong art] และเขาเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล่าหรือตำนานที่ไม่ควรเชื่อถือ แต่อย่างใด โดยเขียนบทความมาตัง้ แต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๑ เพราะเขาไม่พบ ร่องรอยโบราณสถานแบบเขมรแต่อย่างใดในเขตบริเวณบ้านซายฟอง แต่เขาเสนอว่า ทัง้ จารึกและรูปสลักลอยตัวพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ น่าจะนำมาจากอโรคยศาลที่ใกล้เวียงจันทน์ที่สุด คือที่ ‘กูบ่ า้ นพันนา’ ในอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครในปัจจุบนั ดังที่ เอโมนิเยร์สำรวจในช่วงต้นศตวรรษทีผ่ า่ นมา และฟิโนต์กย็ งั บันทึกใน บทความร่วมสมัยอย่างไม่มั่นใจว่าจารึกนั้นอยู่ที่บ้านซายฟองแต่ เดิมหรือไม่ Lorrillard ให้เหตุผลว่า จากการสำรวจทีบ่ ริเวณบ้าน ซายฟองไม่พบร่องรอยหลักฐานที่เป็นศาสนสถานแบบเขมรหรือ เก่าไปจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดังปรากฏอายุในจารึกแต่อย่างใด เขาเห็ น ว่ า น่ า จะมี ก ารขนย้ า ยมาจากอโรคยศาลที่ ใ กล้ ที่ สุ ด และเป็นปลายสุดของเส้นทาง ‘ราชมรรคา’ คือทีก่ บู่ า้ นพันนา เพราะ ที่บ้านพันนานั้นไม่พบโบราณวัตถุสำคัญที่มักเป็นส่วนประกอบ สำคัญของอโรคยศาล เช่น พระพุทธรูป จารึก ฯลฯ คงพบเพียงศาสนสถานแบบอโรคยศาลเท่านัน้ และควรจะนำมาเมือ่ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑-๒๒ ในช่วงที่เมืองซายฟองเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญคู่กับ เมืองเวียงคุกทีอ่ ยูฝ่ งั่ ตรงข้าม ซึง่ ก็ยงั คงใช้แนวทางสมมติฐานแบบ ฝรัง่ เศสในภูมภิ าคนีค้ อื “อำนาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ แผ่ขยายสูบ่ า้ นเมืองต่างๆ ตามเส้นทางราชมรรคา” กรมศิลปากร

โบราณสถานเป็นเจดีย์รุ่นพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ที่บ้านซายฟอง และฝั่งตรงข้ามคือเวียงคุก ยืนยันในการเป็นเมืองคู่สองฝั่งโขงในสมัยโบราณ

ขุดค้นทีก่ บู่ า้ นพันนาเมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๒ พบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น เศียร พระวัชรธร ชิ้นส่วนพระโพธิสัตว์วัชรปราณีทรงครุฑ พระยม ทรงกระบือ พระกรพระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร และไม่พบร่องรอยวัตถุ พวกจารึกหรือรูปสลักอืน่ ๆ แต่อย่างใด เป็นไปได้มากทีว่ ตั ถุอนื่ ๆ ทีม่ ี พร้อมกับอโรคยศาลถูกเคลื่อนที่นำไปไว้ในสถานที่อื่นๆ อย่างไร ก็ตามไม่ใช่เพียง Lorrillard ทีเ่ คยตามหา ‘เมืองซายฟอง’ เท่านัน้ นักวิชาการชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาเรื่องการจัดการมรดก วัฒนธรรมเมืองเวียงจันทน์ก็พยายามค้นหาเมืองซายฟองตาม ข้อมูลทีเ่ สนอโดย Maspero เช่นกัน ANNA KARLSTRÖM สำรวจและ ขุดหลุมทดสอบทางโบราณคดี [Test pit excavation] เมือ่ ปลาย ค.ศ. ๒๐๐๓ และเขียนรายงานไว้ในเอกสาร Preserving Impermanence the Creation of Heritage in Vientiane, Laos [Department of Archaeology and Ancient History Uppsala University, 2009] งานวิ จั ย ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การปกป้ อ งรั ก ษามรดกทาง วัฒนธรรมในเวียงจันทน์ สำหรับบริเวณบ้านซายฟองเหนือและใต้ มีการสำรวจทางโบราณคดี สัมภาษณ์ประวัติศาสตร์บอกเล่าจาก ชาวบ้าน และขุดค้นหลุมทดสอบทางโบราณคดี KARLSTRÖM รายงานว่า ที่ซายฟองสำรวจพบซากวัดร้าง ราว ๓๐ แห่ง แต่ชาวบ้านในท้องถิน่ ต่างเล่าว่าบริเวณนัน้ มีวดั อยูถ่ งึ ๓๐๐ แห่ง ทีฝ่ งั่ เวียงคุกแม้เรียกว่า ‘เมืองใหญ่ซายฟอง’ แต่มวี ดั ราว ๘๐ แห่ง ทีเ่ หลืออยูท่ ฝี่ งั่ นี้ และไม่มคี ำบอกเล่าใดเลยทีเ่ กีย่ วข้องกับเขมร แต่เรื่องราวนั้นสัมพันธ์กับท้องถิ่นในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เท่านั้น เธออ้างอิงถึงเอกสารจากพ่อค้าชาวดัชต์ที่มายังลาวในช่วง พ.ศ. ๒๑๘๔-๒๑๘๕ และกล่าวว่า ‘เวียงคุก’ เป็นสถานีใหญ่ในการ ขนถ่ายสินค้าจากลาวสู่เมืองโคราช ทำให้เป็นที่พักของพ่อค้าจาก ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

7


เทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก อิทธิพล วัฒนธรรมเขมร ภาพถ่ายจากการสำรวจ ของวารสารเมืองโบราณ พ.ศ. ๒๕๑๙

พระพุทธรูปปางสมาธิขนาดเล็ก ทำจาก​ หินทราย พระพักตรเ์ ป็นอิทธิพลวัฒนธรรม​ เขมร ฝีมือแบบท้องถิ่นอย่างชัดเจน

ต่างถิน่ มากมาย และเป็นเช่นนี้จนกระทั่งส่งต่อเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อราวทศวรรษที่ ๒๔๐๐ อีกเมืองที่สำคัญคือศรีเชียงใหม่ ที่อยู่ ตรงข้ามเวียงจันทน์ ทำให้ทราบว่าช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ เวียงคุก ท่าบ่อ ซายฟอง ศรีเชียงใหม่ เป็นเมืองการค้าที่สำคัญ มีตำนานเขียนเป็นภาษาบาลีและภาษาลาวโบราณในพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑ (ตำนานเมืองซายฟอง/ซึ่งมีอยู่ในรวมประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ ตำนานนี้เขียนขึ้นตามขนบราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ มีการกล่าวถึงกำเนิดบ้านเมืองต่างๆ และพระพุทธเจ้าเสด็จเลียบโลก) หลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นไม่อาจบอกได้วา่ มีเมือง หรือการอยูอ่ าศัยในวัฒนธรรมเขมร และไม่มรี อ่ งรอยของอโรคยศาล ทีน่ แี่ ต่อย่างใด มีการอยูอ่ าศัยเล็กน้อยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ สันนิษฐานจากใบเสมาซึง่ ก็ยงั ไม่อาจยืนยันได้แน่ชดั และวัดร้างส่วน ใหญ่น่าจะอยู่ในช่วงอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ เมือ่ เดินทางสำรวจทางโบราณคดีในแถบภูพานคำ พระบาท บัวบาน-บัวบก ทีก่ รมศิลปากรเรียกว่าภูพระบาท เมืองพานทีบ่ า้ น หนองกาลึมซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระครูหลวงโพนสะเม็กหรือญาคู ขีห้ อม และต่อเนือ่ งไปจนถึงท่าบ่อ พานพร้าว เวียงคุก เวียงจันทน์ จนถึง ทีร่ าบลุม่ น้ำงึม บริเวณทีเ่ รียกว่าเวียงคำหรือเมืองไผ่หนาม จนทำให้ เห็นข้อสังเกตพ้องกับนักวิชาการทีศ่ กึ ษาเรือ่ งเมืองเวียงจันทน์และ ลาวทั้งสองท่านดังกล่าว จนเดินทางไปสำรวจทีแ่ ถบบ้านซายฟอง ซึง่ อยูใ่ นระหว่างพืน้ ที่ คดโค้งของแม่น้ำโขง พื้นที่ทั่วไปมีสภาพของหนองบึงและที่ลุ่มอัน เกิดจากการตกตะกอนของแนวชายหาดโค้ง บริเวณนีจ้ งึ เป็นหมูบ่ า้ น ชนบทของเมืองเวียงจันทน์ เนือ่ งจากเมือ่ ข้ามสะพานไทย-ลาว จาก นครพนมก็วงิ่ ตัดตรงสูเ่ วียงจันทน์ โดยผ่านหมูบ่ า้ นริมชายฝัง่ เหล่านี้ ไป และไม่พบหลักฐานทีเ่ กีย่ วเนือ่ งจากการอยูอ่ าศัยในช่วงร่วมสมัย กับการสร้างอโรคยศาลแต่อย่างใด คงมีแต่วัดร้างและร่องรอยของ ชุมชนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ลงมา เอกสารในตำนานท้องถิน่ จากฝัง่ ไทย เช่นจากจารึกทีว่ ดั บางแห่ง ในอำเภอโพนพิสยั หรือเมืองปากห้วยหลวง ตำนานวัดในใบลานบางแห่ง 8

จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ชิ้นส่วนใบเสมาและพระพุทธรูปแบบนาคปรก เก็บรักษาไว้ตามวัดต่างๆ ในเวียงคุก

เรียกเมืองริมน้ำโขงทัง้ สองฝัง่ บริเวณนีเ้ ป็นเมืองคูว่ า่ ‘เมืองคุกชายฟอง’ เมืองท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ พานพร้าว ปะโค เมืองคุกชายฟอง จนถึงเมือง ปากห้วยหลวงหรือโพนพิสยั ในปัจจุบนั ซึง่ เป็นยุครุง่ เรืองทีส่ ดุ ของ บ้านเมืองแถบนีร้ ว่ มกับเมืองอืน่ ๆ ทีอ่ ยูร่ มิ แม่นำ้ โขง และปรากฏชือ่ บ้านนามเมืองในตำนานอุรงั คธาตุซง่ึ อยูใ่ นเขตสองฝัง่ โขงอีกหลายแห่ง การเป็นเมืองคู่นี้น่าจะเป็นธรรมเนียมปกติของบ้านเมือง ในแถบนี้ จารึกสุโขทัยเรียกชื่อ ‘เวียงจัน-เวียงคำ’ ซึ่งหลายท่านก็ สันนิษฐานว่า เวียงคำน่าจะเป็นเมืองไผ่หนามในตำนานและอยูท่ ตี่ น้ ทีร่ าบลุม่ แม่นำ้ งึม ช่วงก่อนจะเข้าเขตเทือกเขาสูงซึง่ เป็นเส้นทางเดินทาง สูห่ ลวงพระบาง และมีตำนานเรือ่ งพระบางและพระเจ้าฟ้างุม้ ก่อนจะ รวบรวมบ้านเมืองเป็นอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา คนในท้องถิ่นแถบเวียงจันทน์รับรู้เรื่องราวในตำนานเวียงคำนี้เป็นอย่างดี กรณีการเป็นเมืองคูน่ ี้ ในสมัยตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้น มา บ้านเมืองล้านช้างมีอาณาเขตทัง้ สองฝัง่ แม่นำ้ โขงและเป็นเมืองคู่ ตลอดมา ความสัมพันธ์ของคนสองฝัง่ โขงคือเครือญาติพนี่ อ้ ง อพยพ ข้ามไปข้ามมาจนเป็นเรื่องปกติ และเมืองเวียงจันทน์ก่อนที่จะถูก สยามข้ามไปเผาเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๓ นัน้ คูก่ บั เมืองพานพร้าวที่ ศรีเชียงใหม่ กระทั่งฝรั่งเศสเข้ามายึดครองลาวและทำสนธิสัญญา แบ่งเขตลากเส้นพรมแดนประเทศจนส่งผลถึงปัจจุบัน แต่ สิทธิพร ณ นครพนม นักวิชาการท้องถิน่ ทีเ่ ขียนเรือ่ งเมือง หนองคายเชื่อว่า ซายฟองคือเมืองเวียงคำที่เป็นเมืองในสมัยพระ เจ้าชัยวรมันที่ ๗ แต่ให้คู่กับเมืองเวียงคุก และสันนิษฐานว่าน่าจะ เป็นเมืองเดียวกัน เพราะพบหลักฐานการเป็นบ้านเมืองสำคัญใน บริเวณเมืองเวียงคุกมากมาย เพราะพบวัดร้างและโบราณสถานกว่า ๑๐๐ แห่ง มีอาณาเขตกว้างขวางและอุดมสมบูรณ์ รวมทัง้ พระธาตุ สำคัญของคนสองฝั่งโขงก็ประดิษฐานอยู่ที่นี่คือ ‘พระธาตุบังพวน’ ที่กษัตริย์ลาวทรงสร้างและปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่โตเรื่อยมาทั้ง สมัยพระเจ้าแสนหล้าและพระเจ้าไชยเชษฐา อย่างไรก็ตามเมือ่ เข้าไปสำรวจบริเวณเมืองเวียงคุกพบว่ามี หลักฐานร่องรอยของบ้านเมืองทีเ่ ก่ากว่ายุครุง่ เรืองในการเป็นศูนย์


กลางการค้าขายในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ วารสารเมืองโบราณ ไปสำรวจและถ่ายภาพที่สำคัญมากมายในปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ พบเทวรูป พระพุทธรูป ที่วัดยอดแก้ว วัดเทพพลประดิษฐานราม และเสนอว่าน่าจะอยู่ในช่วงลพบุรีตอนปลายต่อเนื่องกับล้านช้าง จากการสำรวจเพิม่ เติม ทำให้พบว่ามีหลักฐานทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กับแบบศิลปะลพบุรที ไี่ ด้รบั อิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรในช่วงหลัง พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ เป็นต้นมา ซึ่งน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับ วัฒนธรรมเขมรแบบบายนทีส่ ง่ อิทธิพลมาถึงบ้านเมืองสองฝัง่ โขงใน แถบเวียงจันทน์และหนองคายในบริเวณนี้ได้ บริเวณวัดเทพพลฯ นั้นมีร่องรอยของฐานศาสนสถานแบบ เขมรอยูแ่ น่นอน เช่น ก้อนศิลาแลงรูปสีเ่ หลีย่ ม สระน้ำขนาดเล็ก กลีบ ขนุนที่ทำจากหินทรายและนำไปใช้เป็นใบเสมาในปัจจุบัน แต่ถูก เปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่จนแทบไม่อาจสังเกตเห็น นอกจากนีพ้ ระพุทธรูปขนาดเล็กทีพ่ บยังปรากฏรูปแบบจาก ใบหน้าและการแกะสลักทีท่ ำให้เห็นว่าเป็นฝีมอื ช่างแบบท้องถิน่ เช่น เดี ย วกั บ ฝี มื อ ช่ า งของการแกะรู ป สลั ก จากหิ น ทรายลอยตั ว รู ป พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทีเ่ ก็บรักษาไว้ทรี่ ะเบียงคดรอบพระธาตุหลวง เวียงจันทน์ เมือ่ เปรียบเทียบจากรูปสลักทีพ่ บจากกีเมต์และพิมาย แล้ว จะเห็นฝีมือที่เกิดจากการเลียนแบบได้ชัด ทางฝั่งเวียงคุก พบหลักฐานที่เราเรียกว่าศิลปะแบบลพบุรี มากมายหลายชิ้น รวมทั้งโบราณสถานที่น่าจะเป็นรูปแบบเรื่องใน วัฒนธรรมเขมรแม้จะไม่ชดั เจนนัก แตกต่างจากฝัง่ ซายฟองทีแ่ ทบ ไม่พบร่องรอยอืน่ ใดแม้จากการสำรวจและขุดค้นหลุมทดสอบก็ตาม หากเราใช้วิธีหาข้อสรุปเพื่อกล่าวว่า ที่จริงแล้วศาสนสถาน เนือ่ งในวัฒนธรรมเขมรน่าจะอยูท่ เี่ วียงคุกฝัง่ ประเทศไทย ก็คงเป็น การเดินตามรอยการยือ้ แย่งความสำคัญหรือสร้างความเชือ่ ในเรือ่ ง ท้องถิน่ นิยมตามแบบประวัตศิ าสตร์ยคุ อาณานิคมทีส่ ร้างกับดักทาง ความคิดเช่นนี้เสมอ การจะไปกล่าวหาว่านักวิชาการชาวฝรัง่ เศสในยุคสมัยหนึง่ ‘ยกเมฆ’ เพือ่ เหตุผลในทางการเมืองใดๆ ก็ตาม ก็คงไม่สมควรเช่นกัน แต่กรณีเรือ่ งราวของเวียงคุกทีอ่ ยูใ่ นห้วยคุก บ้านเมืองริมโขง ทางฝัง่ ไทยทีห่ ว้ ยน้ำโมงซึง่ ต่อเนือ่ งไปจนถึงภูพานคำและหนองบัวลำภู จนกระทั่งถึงต้นน้ำชีซึ่งมีท้องถิ่นที่สำคัญและรับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมเขมร รวมทั้งวัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางนั้น เป็น เส้นทางทีส่ ำคัญทีจ่ ะถอดรหัสการมีอยูข่ องท้องถิน่ ทีม่ ชี มุ ชนในสมัย ทวารวดีตอนปลาย ชุมชนทีม่ ใี บเสมาและพระพุทธรูปยืนทีม่ อี ทิ ธิพล แบบทวารวดีร่วมสมัยกับอิทธิพลแบบเขมรอย่าง ‘พระบาง’ และ พระพุทธรูปในอีกหลายๆ แห่งทีพ่ บในเขตเวียงจันทน์และเหนือขึน้ ไป ในที่ราบลุ่มน้ำงึมดังกล่าว โดยเฉพาะ ‘ใบเสมา’ ที่อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ศึกษา และจัดกลุม่ ไว้อย่างชัดเจน จะขาดข้อมูลไปก็คอื ในพืน้ ทีท่ างอุดรธานี และหนองคายต่อเนือ่ งไปจนถึงทีร่ าบลุม่ น้ำงึม ซึง่ ในระยะก่อนหน้า

นัน้ ไม่สะดวกนักทีจ่ ะเดินทางเข้าไปสำรวจทีล่ าว ทำให้ยงั ไม่เห็นภาพ ชัดเจน หากนำข้อมูลเหล่านีม้ าพิจารณาทัง้ หมดใหม่ ก็จะเห็นภาพ ของพลวัตบ้านเมืองที่ห่างไกลศูนย์กลางอำนาจที่เมืองพระนคร แต่ได้รบั อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทัง้ เขมรและแบบทวารวดี จน กลายเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิน่ โดยทีไ่ ม่จำเป็นต้องกลายเป็นรัฐ ในอารักขาของเขมร เหมือนกับทีป่ ระวัตศิ าสตร์แบบอาณานิคมมัก จะวิเคราะห์ไปในทิศทางดังกล่าว เมืองซายฟองจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเขตอิทธิพลเหนือสุดของ อำนาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ดังทีเ่ กิด ‘ความเชือ่ ’ ที่ หวนกลับมาอีกครัง้ หนึง่ ในสำนึกทางประวัตศิ าสตร์ของชาวกัมพูชา ปัจจุบัน และหากกล่าวถึงเมืองซายฟองโดยหรี่ตาไม่นำเอาเมืองคู่ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามและยังคงมีหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากมา กล่าวด้วย ก็คงเป็นการเลือกปฏิบตั ใิ นประวัตศิ าสตร์แบบรัฐชาติสมัย ใหม่ ทีเ่ ลือกเฉพาะพืน้ ทีใ่ นขอบเขตเส้นแบ่งพรมแดน ทัง้ ๆ ทีธ่ รรมชาติ ของบ้านเมืองสองฝั่งโขงนั้นไร้พรมแดนตลอดมา แม้จนทุกวันนี้ ที่ผู้คนทั้งสองฝั่งยังคงเป็นเครือญาติ ไปมาหาสู่กันในบางกลุ่ม บ้านเมืองทีม่ คี วามเคลือ่ นไหวเหล่านีส้ มั พันธ์กบั ‘แคว้นศรีโคตรบูรณ์’ ซึง่ เป็นบ้านเมืองสองฝัง่ โขงก่อนสมัยพระเจ้าฟ้างุม้ และ ล้านช้าง โดยมีศนู ย์กลางอยูท่ แี่ ถบหนองหารสกลนคร อันเป็นเมือง ใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมเขมร ต่อเนื่องสัมพันธ์กับจามปาที่ริมทะเล ในแถบเวียดนามตอนกลางด้วย สิ่งเหล่านี้ปรากฏร่องรอยในตำนานอุรังคธาตุและโบราณสถานและวัตถุหลายแห่งในเขตอีสานตอนเหนือและสองฝั่งโขง

ชิ้นส่วนประดับโบราณสถานในอิทธิพลวัฒนธรรมแบบเขมร พบที่วัดเทพพลฯ เวียงคุก

ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

9


สืบเนื่องจากวันที่ ๒๗-๒๘ มกราคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ทาง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มูลนิธเิ อเชีย พิพธิ ภัณฑ์การเรียนรูแ้ ห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รว่ มกันจัดงานสัมมนาขึน้ ในหัวข้อ ‘สภาวะความเป็นสมัยใหม่อนั แตกกระจาย การค้นหาประวัตศิ าสตร์ ทางวัฒนธรรมปาตานี’ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ในแต่ละวันเริ่มต้นด้วยการปาฐกถาโดยนักวิชาการ ๒ ท่าน คือ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวหน้าภาควิชาการเมือง การปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร. Patrick Jory นักวิชาการด้านประวัตศิ าสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์

เก็บตกเสวนา :

สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมปาตานี ใหม่มณี รักษาพรมราช ศ.ดร.ชัยวัฒน์ได้เสนองานทีศ่ กึ ษาเรือ่ งมัสยิด ‘แดง’ : ทอน ความรุนแรงต่อพืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิใ์ นสังคมมนุษย์ โดยกล่าวว่า ความ ขัดแย้งด้านชาติพนั ธุม์ อี ยูท่ วั่ โลกนับแต่อดีตกระทัง่ ปัจจุบนั แต่เมือ่ ความรุนแรงได้ถกู ล่วงละเมิดเข้าไปยังพืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องอีกฝ่ายแล้ว ความรุนแรงจะยิง่ ก่อตัวเพิม่ มากขึน้ ดังกรณีตวั อย่างในประเทศไทย เมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๗ เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทีม่ สั ยิดกรือเซะ ส่งผลให้ มีมุสลิมจำนวนมากเสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐไทย (จำนวนหนึง่ เสียชีวติ ภายในมัสยิดกรือเซะ) แต่การตายดังกล่าวกลับไม่ ได้แสดงถึงความพ่ายแพ้ ในทางตรงกันข้าม กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ ของการเริม่ ต้นแห่งชัยชนะทีผ่ กู้ อ่ การร้ายบางกลุม่ ใช้เหตุการณ์การ สูญเสียเป็นชนวนในการติดอาวุธและก่อความรุนแรง ทั้งยังเพิ่ม จำนวนความเกลียดชังให้แก่มสุ ลิมทีเ่ ป็นชาวบ้านทัว่ ไปให้มากขึน้ ด้วย ปัจจุบนั ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้กลายเป็นเรือ่ ง ทีแ่ ก้ไขได้ยากมากขึน้ อาจารย์ได้ให้เหตุผล ๓ ประการว่า ๑. วาทกรรม ด้านความมั่นคงทางการเมืองที่มีตรรกะและระบบของมัน เช่น การทหารทีไ่ ม่สามารถใช้แก้ปญ ั หาได้จริง ๒. ด้านอุตสาหกรรมความ 10 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ไม่มนั่ คง เพราะยิง่ ไม่มคี วามมัน่ คง เงินทุนมหาศาลยิง่ ลงไปยังพืน้ ที่ มากขึน้ เอือ้ ประโยชน์ตอ่ ผูม้ อี ทิ ธิพลในท้องถิน่ บางกลุม่ ในขณะเดียว กัน วาทกรรมยังสามารถผลิตซ้ำขายออกได้เรื่อยๆ ๓. ทั้งสองสิ่ง ดังกล่าวอยูบ่ นพืน้ ฐานความลวงในสังคมไทย เช่น การสามารถหลอก ตัวเองว่าเป็นประเทศรักสันติ แต่จริงๆ แล้วไม่มเี ลย ความเชือ่ เช่นนี้ เวลาเจอความรุนแรงเลยไม่สามารถหาทางออกได้ อาจารย์ชยั วัฒน์ได้ตงั้ ข้อสังเกตว่า หากความรุนแรงทีป่ ะทะ กันระหว่างเจ้าหน้าทีร่ ฐั ไทยกับมลายูมสุ ลิมหยุดอยูท่ หี่ น้ามัสยิด จะ กลายเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับในพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม ซึง่ อาจ จะช่วยหยุดยั้งความรุนแรงได้ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐไทยเข้าไปล่วง ละเมิดในพืน้ ทีด่ งั กล่าว ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์ใดๆ เลย ทำให้เหตุการณ์ยิ่งบานปลายและยากจะทำให้สงบ ลงในอนาคตอันใกล้นี้ ด้าน ดร. Patrick Jory กล่าวปาฐกถาเรื่อง Problems of Modernity in Patani and Thailand : The Emergence of ‘the People’ in Patani’s Past and Present โดยได้มงุ่ ประเด็นสำคัญไปทีค่ วาม


เป็ น สมั ย ใหม่ จ ากภายนอกที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ พั ฒ นาการของงาน ประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์ ซึง่ ในอดีตงานการศึกษาในเรือ่ งนีม้ อี ยูน่ อ้ ยมาก แต่หลังเหตุการณ์ความไม่สงบใน พ.ศ. ๒๕๔๗ ทำให้งานเขียนเสนอ ด้านความรุนแรงเผยแพร่ออกมาอย่างหลากหลาย ทว่ากลับยัง ขาดงานวิจยั ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ อย่างจริงจัง แต่เมือ่ ๒-๓ ปีให้หลัง มานี้ งานประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น ปาตานี ไ ด้ ถู ก นำเสนอในด้ า น ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมมากขึ้น โดยพัฒนาการการศึกษาประวัตศิ าสตร์มผี ลมาจากการแพร่ ขยายของลัทธิการปกครองแบบใหม่จากตะวันตก ไม่วา่ จะเป็นประชา ธิปไตยหรือแม้แต่คอมมิวนิสต์ ต้องยอมรับว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยในยุคเริ่มแรกได้รับอิทธิพลมาจากสกุลอันนาลซ์ ประเทศฝรัง่ เศส ซึง่ เป็นการเขียนประวัตศิ าสตร์ในรูปแบบของราชา ชาตินิยม ซึ่งเชื่อว่าปัจจัยทางการเมืองนำไปสู่การกำหนดวิถีทาง ประวัตศิ าสตร์ ตัวอย่างนักประวัตศิ าสตร์ผบู้ กุ เบิกคนสำคัญในไทยคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ต่อมาในยุคหลังแนวคิด ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์เฟื่องฟู ทำให้หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ งานเขียนประวัตศิ าสตร์สกุลมาร์กซิสเฟือ่ งฟูมากขึน้ เช่น งานของจิตร ภูมศิ กั ดิ์ และนำไปสูก่ ารมุง่ เน้นสนใจด้านเศรษฐกิจ เกิดประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจในสมัยหลัง เช่น งานเขียนของอาจารย์ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เป็นต้น สืบเนือ่ งจากกระแสความเป็นประชาธิปไตยแพร่กระจายไป อย่างกว้างขวางในสังคมไทย ในยุคหลังจึงนำไปสูก่ ารสนใจประวัต-ิ ศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม โดยการเข้าไปศึกษาประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ซึ่งผู้ที่บุกเบิกในยุคเริ่มแรกที่สำคัญคือ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และอาจารย์ธดิ า สาระยา ดังนัน้ ดร. Patrick จึงเห็นว่า การศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ควรได้รบั การสนใจ เพราะจะทำให้ เห็นภาพหลากหลายด้านในการทำความเข้าใจพื้นที่ นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมยังเป็นการลดภาพด้านความ เลวร้ายของปัตตานีในการรับรูจ้ ากคนนอกอีกด้วย แต่ปญ ั หาคืองาน ส่วนใหญ่ยงั เป็นการศึกษาจากคนภายนอก ซึง่ งานการศึกษาจากคน ภายในยังมีอยู่น้อยนั่นเอง สำหรับงานวิจยั ชิน้ ต่างๆ ทีน่ ำมาเสนอในงานนีก้ ไ็ ด้นำเสนอ สภาวะความเป็นสมัยใหม่ในมลายูปาตานี เช่น ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๙ เป็นช่วงทีส่ งั คมตะวันตกมีการปฏิวตั วิ ทิ ยาศาสตร์และอุตสาหกรรม ทำให้ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่สนใจแก่ชาว ตะวันตกเพื่อเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนทรัพยากรและศึกษา เรียนรูท้ อ้ งถิน่ เอเชียอาคเนย์ ดังนัน้ งานศึกษาเรือ่ ง“ปาตานีผา่ นแว่น ของจักรวรรดิและดวงตาสมัยใหม่ : การสำรวจทางมานุษยวิทยาของ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในรัฐมลายูของสยาม ค.ศ. ๑๘๙๙-๑๙๐๐” โดย พุทธพล มงคลวรวรรณ ซึง่ เป็นการศึกษาเรือ่ งราวการเดินทาง เข้ามาของชาวอังกฤษ เพือ่ เข้ามาศึกษาทางมานุษยวิทยาและชาติพนั ธุ์ วิทยาในมลายูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ แม้ในยุคนัน้ จะไม่ประสบ

ความสำเร็จเท่าทีค่ วร แต่ขอ้ มูลของนักปราชญ์ชาวอังกฤษเหล่านีก้ ก็ ลาย มาเป็นข้อมูลในการศึกษาด้านมานุษยวิทยาในมลายูกระทัง่ ปัจจุบนั งานวิจยั ของพุทธพลตัง้ ข้อสังเกตว่า ดินแดนปาตานีมลี กั ษณะ เป็นเมืองท่าทีส่ ำคัญมาก่อน จึงทำให้คนในท้องถิน่ มีความคุน้ เคยกับ ความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์ ความเชือ่ และวัฒนธรรม และมีการรับ เอาความเป็นสมัยใหม่จากภายนอกมาปรับใช้ในท้องถิน่ โดยทีย่ งั รักษา ความเป็นท้องถิน่ มลายูปาตานีทม่ี คี วามหลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ ว่าสมัยราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นยุคจารีตของปาตานี แต่พอเข้าสูย่ คุ ทีม่ แี นวคิดความเป็นรัฐชาติ ทำให้รฐั ไทยส่วน กลางได้ผนวกดินแดนมลายูปาตานีเข้าเป็นส่วนหนึง่ และได้ถา่ ยทอด ความเป็นสมัยใหม่จากรัฐส่วนกลางมายังปาตานี ซึง่ ความเป็นสมัยใหม่ นีร้ ฐั ไทยก็รบั มาจากตะวันตกอีกทอดหนึง่ ดังเห็นจากความเปลีย่ น แปลงในหลายๆ ด้าน และสะท้อนออกมาผ่านงานวิจยั เรือ่ ง “เส้นทาง สูค่ วามทันสมัย : ประวัตศิ าสตร์สงั คมของถนนทางหลวงสายใหม่สู่ ปาตานี” โดย นิยม กาเซ็ง ซึง่ เป็นการศึกษาเรือ่ งราวเกีย่ วกับถนน ทางหลวงทีต่ ดั ผ่านมายังปาตานี ซึง่ ถือว่าเป็นหนึง่ ในสัญลักษณ์ของ ความเป็นสมัยใหม่ และยังนำมาซึ่งผลดีและผลร้ายในด้านต่างๆ แก่ท้องถิ่นด้วย ยังมีงานอีกหลายชิ้นที่น่าสนใจและให้ภาพของสังคมมลายู ปัตตานี เช่น “ณ ระหว่างพืน้ ที่ : ประสบการณ์ อัตลักษณ์ มุสลิมมะฮฺ ปาตานี บนเส้นทางการศึกษาสมัยใหม่” โดย ทวีลกั ษณ์ พลราชม, วารชา การวินพฤติ เป็นการนำเสนอเรือ่ งราวของหญิงชนชัน้ สูงพืน้ ถิน่ ทีเ่ ดินทางไปศึกษายังปีนงั อันแสดงถึงการปรับตัวตามสภาวะความ เป็นสมัยใหม่จากตะวันตก “เปลีย่ น ‘ป่าดิบ’ ให้เป็น ‘บ้าน’ : ชุมชน ในฝัน ณ ทัณฑนิคมธารโต พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๐” โดย ดร. ภมรี สุรเกียรติ การศึกษาทัณฑนิคมธารโต มรดกทางความคิดของคณะราษฎร์ ซึง่ ทำ ตามแผนเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ที่รับกระแส แนวคิดมาจากตะวันตก แม้วา่ ทัณฑนิคมธารโตจะไม่เป็นดังทีค่ ดิ นัก หรือ “ตำรวจมลายู : ลูกผสมของความสมัยใหม่แบบอาณานิคม ประวัตศิ าสตร์ บาดแผล และความรุนแรง” โดย อสมา มังกรชัย ก็ได้ ให้ภาพสภาวะการผนวกกันระหว่างคนของรัฐส่วนกลางกับคนของ ท้องถิ่นและผลที่ตามมา สำหรับงานวิจัยบางชิ้นยังได้สะท้อนถึงกระแสแนวคิดทาง การเมืองใหม่แบบตะวันตกจากชนกลุ่มน้อยส่วนกลางอีกขั้วที่แผ่ เข้ามายังปาตานี จนนำมาสู่การเคลื่อนไหวภายใน เช่นงาน “กอง ทหารปลดแอกประชาชนมุสลิมไทย : เรือ่ งเล่าทีห่ ายไปของความ สัมพันธ์ระหว่าง พคท. และองค์กรติดอาวุธมลายู” โดย เจริญพงศ์ พรหมศร ซึง่ ศึกษาเรือ่ งราวการเข้ามาของกลุม่ คอมมิวนิสต์ทมี่ แี นว คิดทางการเมืองแบบใหม่และพยายามเปลีย่ นแปลงประเทศ โดยป่า ที่ปาตานีเป็นอีกพื้นที่ที่ถูกเลือกเป็นแหล่งที่เคลื่อนไหว และเลือก กลุม่ มุสลิมชนกลุม่ น้อยเป็นแนวร่วมในการสนับสนุนอุดมการณ์ของ กลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

11


นอกจากนีย้ งั มีการนำเสนอเรือ่ งความเป็นสมัยใหม่เมือ่ เข้า มากระทบกับขนบจารีตท้องถิน่ เดิม ก็นำมาสูค่ วามคิดและคำอธิบาย ของท้องถิน่ ต่อสิง่ ใหม่ งาน “การตีความความเป็นสมัยใหม่ : ต่วนกูรู อิสมาแอล สะปันยัง (๒๔๙๘-) อูลามาอ์สายจารีต ในสังคมปาตานี สมัยใหม่” โดย มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง ที่ได้เข้าไปศึกษาแนว ความคิดของต่วนกูรูอิสมาแอล สะปันยัง ซึ่งเป็นอูลามาอ์ (ผู้มี ความรูท้ างศาสนาอิสลาม) สายจารีต และถือว่ามีอทิ ธิพลทางความ คิดในท้องถิน่ ดังนัน้ อูลามาอ์จงึ เป็นหนึง่ ตัวอย่างสำคัญในการพยายาม อธิบายแนวคิดสมัยใหม่ เช่น ประชาธิปไตย ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน สังคมพหุนยิ ม และบทบาทของผูห้ ญิงในพืน้ ทีส่ าธารณะ เข้ากับหลักมัสลาฮะและอัดดูรอเราะฮ ซึ่งเป็นการต่อสู้กับการแผ่ ขยายเข้ามาของความเป็นสมัยใหม่ ที่ยกมาเป็นเพียงบางส่วนของงานวิจัยที่นำเสนอในสองวัน เท่านั้น ซึ่งยังมีงานที่น่าสนใจอีกหลายชิ้น งานศึกษาวิจัยครั้งนี้จะ ทำให้ผสู้ นใจสามารถปะติดปะต่อภาพของพัฒนาการความเป็นสมัย ใหม่ด้านประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมได้หลากหลายมุมมอง อันจะนำไปสู่การเข้าใจอัตลักษณ์ท้องถิ่นมลายูปาตานีมากขึ้น ในตอนท้ า ย ศ.ดร.Craig Reynolds ได้ ก ล่ า วแสดง ความเห็นต่อโครงการและงานวิจัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ๑. การวิพากษ์เนือ้ หาภายนอกจากชิน้ งานโดยรวม หากมอง ชิน้ งานโดยรวมถือได้วา่ มีความหลากหลาย ไม่วา่ จะเป็นด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัตศิ าสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรวมไปถึง ด้านศาสนาอิสลาม แต่อาจยังขาดการนำเสนอประเด็นพุทธศาสนา ในพืน้ ที่ ซึง่ มีความน่าสนใจไม่แพ้กนั ในส่วนของเนือ้ หานัน้ มีทง้ั ทฤษฎี และข้อมูล แต่ในบางชิน้ ก็มเี ฉพาะด้านใดด้านหนึง่ มากเกินไป ลักษณะ ของการเสนอข้อมูลมีลกั ษณะคล้ายนักโบราณคดีทขี่ ดุ ค้นพบข้อมูล ใหม่ๆ แต่การนำเสนอประเด็นยังไม่ลมุ่ ลึก และตัวเนือ้ หาของงานเขียน ออกไปในทิศทางทีม่ คี วามหวังต่ออนาคต (Optimistic) ไม่ได้สนิ้ หวัง ๒. การวิพากษ์เนือ้ หาจากภายในของชิน้ งาน จากบริบททาง สังคมของดินแดนแถบปาตานีมคี วามแตกต่างจากภูมภิ าคอืน่ ๆ เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ทีถ่ งึ แม้จะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่กย็ งั มีสงิ่ รวมกันนัน่ คือ ศาสนาพุทธ ในขณะทีป่ ตั ตานี คนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม รวมไปถึงความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม ดังนัน้ จึงทำให้เกิดความรูส้ กึ ว่าเป็นผูถ้ กู กระทำ นอก จากนี้ บ ริ บ ททางสั ง คมภายในพื้ น ที่ ข องแต่ ล ะยุ ค สมั ย ก็ มี ค วาม แตกต่างกัน โดยยุคหนึง่ เป็นแบบหนึง่ และยุคต่อมาเป็นอีกแบบหนึง่ ๓. ชื่อโครงการสภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย น่าจะใช้คำว่า ความเป็นภาวะความเป็นสมัยใหม่ที่หลากหลาย (Alternative) มากกว่าคำว่าความแตกกระจาย (Fragmented) ในขณะที่ความเป็นสมัยใหม่นั้นเกิดมาจากภายนอก และการที่เรา ไม่สามารถเห็นความเปลีย่ นแปลงของพลวัตความเป็นสมัยใหม่จาก ภายใน เพราะความเป็นสมัยใหม่ได้แพร่มาจากภายนอกก่อน และ 12 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

กลายเป็นตัวเลือกให้เราเลือกสิ่งที่คิดว่าดี ๔. ความเป็นสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะเฉพาะ ทำให้บุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกต่างๆ ทีป่ ระสบได้ เช่น ทำไมชาวปาตานี ถึงปรับตัวได้ดใี นอดีต โดยมีขอ้ น่าสังเกตว่าปาตานีเคยเป็นท่าเรือมา ก่อน จึงน่าจะคุ้นเคยวิถีสังคมในรูปแบบการต่อรองมากกว่าการ ต่อต้าน และมีโอกาสพบเจอคนหลายชาติหลายภาษา โดยปาตานี ได้ถูกเชื่อมเข้ากับโลกมลายูมากกว่ารัฐส่วนกลาง ๕. ความเป็นสมัยใหม่ทำให้ปาตานีมีทางเลือกในการสร้าง ตัวเอง ทำให้เกิดวิธีการแสวงหาตัวเองได้ชัดเจนขึ้นว่าเราคือใคร ในเมื่อเราเป็นอื่นในพื้นที่นี้ เป็นอื่นในพื้นที่อื่น หรือเป็นอื่นใน พื้นที่แปลกๆ ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเองมากขึ้น แม้บางครั้ง เนื้อหาความทันสมัยอาจไม่เข้ากับหลักความเชื่อของศาสนา ๖. ความเป็นสมัยใหม่ด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดการค้นพบ พลังทางการผลิต ทำให้คน้ พบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้มองเห็นอัตลักษณ์ของ ปัตตานีว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และเทคโนโลยีได้ สร้างอัตลักษณ์ใหม่ ซึ่งเป็นทั้งในรูปแบบพื้นที่สาธารณะ (public space) และพื้นที่ส่วนตัว (private space) สุดท้าย ศ.ดร. Craig Reynolds ได้กล่าวปิดท้ายว่า “สำหรับคนมลายูปาตานีนนั้ ต้องการเพียงแค่ก่ ารได้รบั การปฏิบตั ิ แบบเท่าเทียมกัน เช่นเดียวกับชาวพุทธที่เป็นคนส่วนใหญ่ของ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนาหรือสังคมก็ตาม” หมายเหตุ : สามารถอ่านงานเขียนฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์รุไบยาต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ http://rubaiyat.wu.ac.th/main/index.php


บันทึกจาก​ทองถิ่น

ตามรอยความเชือ่ ในเรือ่ งของ ‘นาค’ ณ ดินแดนแถบลุม่ แม่นำ้ โขง ตรีโรจน์ ไพบูลย์พงษ์

เนื่ อ ง ในวาระที่จดหมายข่าวฉบับนี้

ย่างเข้าสู่ พ.ศ. ๒๕๕๕ อันเป็นปี ‘มะโรง’ หรือ ‘งูใหญ่’ ตามคติการนับปีแบบ ‘นักษัตร’ โดย ‘งูใหญ่’ ก็คือ ‘พญานาค’ ตามทัศนะ ความเชื่อของคนไทย กอปรกับผู้เขียนได้มี โอกาสเดินทางลงสำรวจพื้นที่จังหวัดแถบ อีสานเหนือ คือ ‘หนองคาย’ และ ‘นครพนม’ ที่มีอาณาบริเวณที่ติดกับแม่น้ำโขง ผู้เขียน จึงถือโอกาสอันดีนเี้ ขียนถึง ‘พญานาค’ หรือ ‘นาค’ สัตว์ในตำนานทีช่ าวไทยยกย่องว่าเป็น สัตว์ศักดิ์สิทธิ์และมีอิทธิพลทางความเชื่อ มากในภูมภิ าคอุษาคเนย์ ซึง่ พบเห็นได้จาก การแสดงออกผ่านประเพณี ศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะแถบดินแดนลุม่ แม่นำ้ โขงทั้ ง สองฝั่ ง แม้ จ ะแบ่ ง พรมแดนเป็ น ระหว่างไทยกับลาว หรือยิงยาวต่อเนือ่ งไปถึง กัมพูชา เราก็สามารถพบเห็นสัญลักษณ์ท่ี สะท้อนความเชือ่ นีไ้ ด้ทว่ั ไป ‘นาค’ หรือ ‘พญานาค’กล่าวกันว่ามี ลักษณะเป็น ‘งูที่มีขนาดใหญ่และมีหงอน’ เป็ น สั ต ว์ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความยิง่ ใหญ่และอุดมสมบูรณ์ โดยได้รบั การ ยกย่องจากกลุม่ ชนดัง้ เดิม เป็นสิง่ ลีล้ บั เหนือ ธรรมชาติ ท่ี ส ามารถดลบั น ดาลให้ เ กิ ด ธรรมชาติอย่างภูเขา ห้วย หนอง บึง และ แม่นำ้ (ตามตำนานการเกิดแม่นำ้ สายสำคัญ ต่างๆ ในภาคอีสานของไทย) รวมถึงมีส่วน เกี่ยวข้องกับการ ‘สร้างบ้านแปงเมือง’ ให้ มนุษย์ผู้คนอาศัยอยู่อย่างอาณาจักรหรือ บ้านเมือง (ตำนานพระทองกับนางนาคหรือ พงศาวดารกรุงกัมพูชา) คอยทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนรุ่งเรือง (ตำนาน นาคปรกคุ้ ม แดดคุ้ ม ฝนให้ พ ระพุ ท ธเจ้ า )

หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ทำให้ บ้ า นเมื อ งของผู้ ค น เกิดความ ‘วิบตั วิ ายฉิบหายไป’ (เช่นตำนาน กระรอกด่อน) ก็ได้ ดังนัน้ ‘นาค’ จึงถือว่ามีอทิ ธิพลความ เชื่ อ ต่ อ ผู้ ค นในแถบดิ น แดนสองฟากฝั่ ง น้ำโขงและมีความสำคัญต่อชุมชนในพื้นที่ แถบนี้ ม าตั้ ง แต่ อ ดี ต จวบจนปั จ จุ บั น ใน หลายๆ พืน้ ทีใ่ นดินแดนแถบนี้ นาคมีบทบาท หลักๆ อยู่ ๒ ด้านด้วยกัน คือ ‘นาคทีม่ คี วาม เกีย่ วข้องกับด้านพระพุทธศาสนา’ และ ‘นาค ทีเ่ ป็นผูด้ ลบันดาลให้เกิดสถานทีท่ างธรรมชาติ’ หรือเรียกได้วา่ เป็น ‘เจ้าแห่งดินและน้ำ’ โดยเฉพาะบทบาทที่มีความเกี่ยวพันต่อ ‘พุทธศาสนา’ ซึง่ เป็นรากฐานความเชือ่ ของ ผู้คนและชุมชนในลุ่มแม่น้ำโขง โดยบทบาทของ ‘นาคทีม่ คี วามเกีย่ ว ข้องกับพุทธศาสนา’ ในดินแดนสองฝั่งลุ่ม แม่น้ำโขงนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึง “ชัย ชนะของศาสนาใหม่ (พุทธศาสนา) ทีม่ ตี อ่ นาคที่ เ ป็ น ตั ว แทนของระบบความเชื่ อ ดัง้ เดิม” (อ.ศรีศกั ร วัลลิโภดม) แต่ทว่าระบบ ความเชื่อดั้งเดิมเรื่องนาคนี้ก็มิได้หายไป กลับได้รบั การผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของ พุทธศาสนา ในฐานะสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ผู้ทำนุ บำรุงรักษาศาสนา รวมถึงกลายเป็นส่วน ประกอบที่สำคัญของสถาปัตยกรรมไทย อย่างวัดวาอาราม อันจะเห็นได้จาก ช่อฟ้า ใบระกา บันไดพญานาค พระพุทธรูปปาง นาคปรก เป็นต้น ซึง่ จะเห็นได้จากการทีว่ ดั เกือบทุกวัดที่ติดอยู่ฝั่งริมแม่น้ำโขงจะมี รูปปั้นนาคหรือพระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐานหันหน้าออกไปสูแ่ ม่นำ้ โขง อาทิ เช่นที่ ‘วัดจอมนาง’ อำเภอโพนพิสยั จังหวัด

(บน) ‘นาค’ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กับ สังคมลุ่มน้ำโขงมาเนิ่นนาน (ล่าง) นาคกับบทบาทการเป็น ผู้ปกปักรักษาพระพุทธศาสนา

หนองคาย ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางลง พื้นที่สำรวจมา นอกจากนีย้ งั พบบทบาทของนาคใน งานบุญประเพณีทางพุทธศาสนาต่างๆ อาทิ เช่น ประเพณีการบวช ทีจ่ ะเรียกผูค้ นก่อนที่ จะเข้ารับการบวชเป็นบรรพชิตว่า ‘นาค’ และ โดยเฉพาะประเพณี ‘บุญบั้งไฟ’ อันเป็น ประเพณีหนึ่งที่สำคัญใน ‘ฮีตสิบสองเดือน’ ซึง่ เป็นแนวทางวิถปี ฏิบตั ขิ องผูค้ นในดินแดน สองฟากฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยการจุดบั้งไฟ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นรูปนาคเพือ่ ขอฝนให้ตกต้อง ตามฤดูกาล รวมไปถึงยังมีบทบาทความเชือ่ ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

13


พระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐานที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณวัดสองนาง อำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ในปรากฏการณ์ ‘บัง้ ไฟพญานาค’ ทีเ่ กิดขึน้ เฉพาะบริเวณจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ ผู้คนแถบสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อว่าเป็น ปรากฏการณ์ที่ ‘พญานาค’ จุดเฉลิมฉลองที่ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ โดย ทัง้ หมดนีถ้ อื ได้วา่ นาคนัน้ ได้รบั การถูกเชือ่ ม โยง ถูกผนวกให้มีความเกี่ยวพันกับพุทธศาสนาอย่างลึกล้ำ ในส่วนบทบาทอีกด้านหนึง่ ของนาค ทีเ่ ป็น ‘ผูด้ ลบันดาลให้เกิดสถานทีธ่ รรมชาติ’ ตำนานความเชื่อที่มีความสำคัญกับสังคม และผู้ ค นในดิ น แดนลุ่ ม แม่ น้ ำ โขงศรั ท ธา อย่าง ‘ตำนานอุรังคธาตุ’ ได้บ่งชี้ระบุว่า สถานที่หรือพื้นที่ทางธรรมชาติหลายแห่ง อย่างแม่นำ้ ห้วย หนอง บึง และภูเขา ทีใ่ ห้ เกิ ด เป็ น ภู มิ ศ าสตร์ ที่ ส ำคั ญ ของพื้ น ที่ ใ น บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงในปัจจุบันนั้น เกิดจากการกระทำของนาค ซึ่งเรื่องราว เหล่านีเ้ ป็นเรือ่ งของอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็น สัญลักษณ์หรือตัวแทนของหลักความเชื่อ ของศาสนาดั้งเดิม อย่าง ‘วิญญาณนิยม’ (Animism) ทีน่ บั ถือและเชือ่ ว่าสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ลี้ลับที่มีอิทธิปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาตินั้น สิงสู่อยู่ในพื้นที่ทางธรรมชาติ อย่างป่าเขา ลำธาร เป็นต้น ดังเห็นได้จากข้อความตอนหนึ่งใน ตำนานอุรังคธาตุที่เล่าถึงต้นกำเนิดแม่น้ำ สายสำคัญในดินแดนแถบสองฝัง่ โขงนัน้ เกิด จากการทะเลาะวิวาทของนาคสองตนที่ อาศัยอยูใ่ นหนองแส (ปัจจุบนั ตัง้ อยูใ่ นมณฑล ยูนนานของจีน) นามว่า ‘พินทโยนกวตินาค’ อาศัยอยูห่ วั หนอง กับ ‘ธนะมูลนาค’ ทีอ่ าศัย อยูก่ บั ‘ชีวายนาค’ ผูเ้ ป็นหลาน โดยสาเหตุ ของการทะเลาะวิวาทครั้งนี้เกิดจากความ 14 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ไม่พอใจในการแบ่งปันอาหารระหว่างนาคทัง้ สองตน จึงทำให้เกิดการต่อสูข้ นึ้ การปะทะ นี้สร้างความเดือดร้อนจนพระอินทร์ต้อง บัญชาให้พระเวสสุกรรมมาขับไล่นาคทั้ง สองหนีออกไปจากหนอง การหนีของนาค ทั้งสองทำให้เกิดเป็นแม่น้ำสองสาย คือ ‘แม่น้ำอู’ ที่ไหลอยู่ใกล้เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และ ‘แม่น้ำพิง’ (หรือ ปิง) อันไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ นอกจากนีแ้ ม่นำ้ หรือสถานที่ที่เกิดจากการกระทำของนาค ไม่ได้มีเฉพาะแค่ในข้อความที่หยิบยกมา เพียงเท่านัน้ ยังมีแม่นำ้ หลายต่อหลายสาย ทีม่ คี วามสำคัญต่อผูค้ นในแถบลุม่ แม่นำ้ โขง ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของนาคเช่นกัน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล เป็นต้น ซึ่ ง แม่ น้ ำ เหล่ า นี้ ล้ ว นแต่ เ ป็ น พื้ น ที่ อั น อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่กลายมาเป็น แหล่งอารยธรรมที่มีความเจริญทั้งในด้าน วัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณี รวมถึง เป็นแหล่งหล่อเลีย้ งชีวติ อย่างแหล่งน้ำและ อาหาร พืน้ ทีท่ ำมาหากินทีม่ คี วามสำคัญต่อ ผู้ ค นในแถบลุ่ ม แม่ น้ ำ โขงมาตั้ ง แต่ ส มั ย โบราณจวบจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ พื้ น ที่ ท างธรรมชาติ ที่ น าค สามารถดลบั น ดาลได้ อี ก แห่ ง หนึ่ ง อย่ า ง ภูเขา ก็มคี วามสำคัญต่อผูค้ นในพืน้ ทีแ่ ถบนี้ เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในด้านวิถกี ารหลอม รวม ‘ความเชื่อทางศาสนา’ ที่จะสามารถ เห็นถึงแนวคิด ‘ภูเขาศักดิ์สิทธิ์’ อันเป็นคติ ความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม ที่ ผู้ ค นนั บ ถื อ กั น สากล หลอมรวมกับคติความเชื่อสมัยใหม่อย่าง ‘พุทธศาสนา’ ตำนานอุ รั ง คธาตุ ไ ด้ เ ล่ า ถึ ง การที่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด

สัตว์ยงั สถานทีต่ า่ งๆ ระหว่างทางได้ประทับ ยังภูเขาต่างๆ ทีเ่ ป็นทีอ่ ยูข่ องพวกนาค อาทิ ภูกเู วียน (ภูพาน) แห่งสุวรรณนาค ภูหลวง (ปัจจุบนั อยูท่ พ่ี ระธาตุบงั พวนจังหวัดหนองคาย) แห่ ง ปั พ พารนาค ดอยกั ป ปนคี รี (พระธาตุพนม จังหวัดนครพนมแห่งธนะมูลนาค และดอยนันทกังรี (เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว) ซึง่ ต่อมาจนถึงทุกวัน นี้ ภูเขาต่างๆ ที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นล้วนแต่ เป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข ององค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างพระบรมสารีริกธาตุและรอยพระพุทธบาท ซึ่ ง ทุ ก วั น นี้ ห นึ่ ง ในศาสนสถานที่ สำคั ญ มากในดิ น แดนลุ่ ม แม่ น้ ำ โขงอย่ า ง ‘พระธาตุพนม’ ได้มีการจัดงาน ‘วันสัตตนาคารำลึก’ เพื่อเป็นการถวายผลบุญแด่ นาคเจ็ดตนทีท่ ำหน้าทีป่ กปักรักษาพระธาตุ โดยในงานมีการจัดพานบายศรีใบตองเป็น รูปเศียรนาคอย่างวิจติ รสวยงาม และมีผคู้ น มาร่วมงานอย่างล้นหลาม อันเป็นการแสดง ให้เห็นถึงความเชือ่ เรือ่ งนาคทีย่ งั คงมีอทิ ธิพลต่อผู้คนในดินแดนแถบนี้อย่างชัดเจน

‘พระธาตุพนม’ พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง นครพนม ที่มีตำนานเกี่ยวเนื่องกับ ‘นาค’ อย่างลึกล้ำ


การที่ แ ต่ เ ดิ ม ภู เ ขาเหล่ า นั้ น เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของเหล่านาคทัง้ หลาย ถือได้ว่าเป็น ‘ภูเขาศักดิ์สิทธิ์’ ตาม ระบบความเชื่ อ แบบดั้งเดิมอยู่แล้ว เมื่ อ ได้ รั บ การผนวกหลอมรวมกั บ พุ ท ธศาสนาที่ ร ะบบความเชื่ อ สมั ย ใหม่ จึงทำให้นาคกลายเป็นสัญลักษณ์ ทีส่ ำคัญของพุทธศาสนา แต่กระนัน้ ก็ ยั ง ถื อ ได้ ว่ า เป็ น สั ต ว์ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต าม ระบบความเชื่อแบบดั้งเดิม จึงทำให้ ผูค้ นในดินแดนสองฝัง่ แม่นำ้ โขงมีความ รู้สึกว่านาคเป็นสัตว์ที่อยู่ ‘ร่วมสมัย’ ที่โลดแล่นอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดั ง นั้ น เรื่ อ งราวความเชื่ อ เกี่ยวกับนาคจึงยังคงมีอิทธิพลและ ความผูกพันกับผู้คนสองฝั่งแม่น้ำโขง อย่ า งลึ ก ล้ ำ ไม่ ว่ า จะเป็ น ทางด้ า น ประเพณี วิถชี วี ติ ศิลปะ สถาปัตยกรรม รวมถึงทางด้านศาสนาความเชื่อ ซึ่ง พบได้ทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ อย่าง วั ด วาอารามและงานประเพณี ใ น ดินแดนแห่งนี้ จึงสวนทางกับคำกล่าว ที่มักได้ยินว่า “โลกทุกวันนี้นับวันจะ ก้าวไปไกล ความเชื่อแบบเก่าก็ยิ่ง นับวันค่อยๆ ลบเลือนหายและตาย ไปตามกาลเวลา”

พระนครบันทึก

วันวานที่ย่านบางลำพู อภิญญา นนท์นาท

ปัจจุบนั บางลำพูเป็นย่านธุรกิจทีส่ ำคัญของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะด้านการท่องเทีย่ ว หาก

ย้อนกลับไปเมือ่ ราว ๗๐-๘๐ ปีกอ่ น บางลำพูกเ็ ป็นย่านการค้าทีค่ กึ คักมากแห่งหนึง่ ในเวลา นัน้ ตลาด ห้างร้าง แหล่งบันเทิงต่างๆ เกิดขึน้ จำนวนมาก เพือ่ รองรับผูค้ นหลากหลายฐานะ ตัง้ แต่เจ้านาย ข้าราชการ ชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูร่ ว่ มกันในย่านนี้ บรรยากาศการค้าในวันวานของย่าน บางลำพูจงึ เป็นหนึง่ สีสนั ทีแ่ ต่งแต้มภาพประวัตศิ าสตร์ของบางลำพูให้มชี วี ติ ชีวา ทัง้ ยังสะท้อน วิถีชีวิตอันหลากหลายของผู้คนที่ก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละยุคสมัย บางลำพูเริม่ เติบโตเป็นย่านการค้าจากการค้าขายตามลำคลองในยุคแรกๆ ผ่านทาง คลองสำคัญของย่านคือ คลองบางลำพู จนกระทัง่ สมัยรัชกาลที่ ๕ บางลำพูได้รบั ผลจากการ เปลีย่ นแปลงไปสูค่ วามศิวไิ ลซ์ตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกไม่ตา่ งจากย่านอืน่ ๆ มีถนนหลายสาย ตัดผ่าน พร้อมการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขนึ้ บนสองฟากถนน การคมนาคมรูปแบบใหม่อย่าง รถรางรถเมล์ก็เดินทางมาถึง บางลำพูจึงกลายเป็นทำเลทองในการขยายกิจการร้านค้า มี ตลาดและห้างร้านเกิดขึน้ มากมาย เรียกได้วา่ มีครบสมบูรณ์ ตัง้ แต่ของกินไปถึงของใช้ ทัง้ ทีม่ รี าคา ถูกหรือของฟุ่มเฟือยราคาแพง ใครอยู่ย่านบางลำพูแทบไม่ต้องไปหาซื้อของจากที่อื่นเลย ตลาด ๓ แบบของคนบางลำพู ทีว่ า่ มีตลาด ๓ แบบทีบ่ างลำพูนนั้ เพราะย่านนีม้ ตี ลาดสดถึง ๓ ตลาด ซึง่ มีลกั ษณะ แตกต่างกัน คือ ตลาดเช้า ตลาดผลไม้ และตลาดของกินยามค่ำคืน ตลาดทัง้ สามอยูใ่ กล้กบั สะพานนรรัตน์--สะพานโค้งข้ามคลองบางลำพู อันเป็นจุดเด่นของย่านบางลำพูสมัยนั้น ตลาดยอด เป็นตลาดเช้า ตัง้ อยูบ่ ริเวณเชิงสะพานนรรัตน์ฝงั่ ทิศใต้ ปัจจุบนั คือทีต่ งั้ ห้าง นิวเวิลด์ (ปิดตัวไปแล้ว) ตรงสีแ่ ยกบางลำพู ถือเป็นตลาดใหญ่ทสี่ ดุ ในสมัยนัน้ ตลาดแห่งนีม้ มี า ตัง้ แต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนขยายใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทีม่ กี ารปรับปรุงตลาดเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ลักษณะของตลาดยอดเป็นอาคารโรงสูง ทำด้วยไม้มงุ หลังคากระเบือ้ ง ซึง่ เป็น แบบแผนเดียวกันกับตลาดในยุคนัน้ ภายในมีแผงสินค้าตัง้ เรียงรายกัน มีทางเข้าออก ๔ ช่อง ทาง คือ เข้าทางถนนพระสุเมรุ ๒ ช่อง ทางถนนจักรพงษ์ ๒ ช่อง แล้วยังมีตรอกทีเ่ ป็นทางเดิน ไปออกทางถนนสิบสามห้างและทางถนนตานี (แต่ก่อนเรียกถนนบ้านแขก) พ่อค้าแม่คา้ มาเปิดแผงขายกันตัง้ แต่ตอนเช้ามืด ส่วนใหญ่เป็นพวกของสดประเภท ต่างๆ เช่น เนือ้ สัตว์ กุง้ หอย ปู ปลา ทัง้ แบบสดและแบบแห้ง ผักผลไม้ ตามแบบตลาดเช้า ทัว่ ไป ไม่ใช่แค่คนฝัง่ พระนครเท่านัน้ ทีม่ าซือ้ ขายสินค้ากันทีต่ ลาดยอด ชาวสวนจากฝัง่ ธนฯ ก็นำผลผลิตจากสวนใส่เรือมาขายด้วยเช่นกัน “พวกทางฝัง่ ธนฯ จะต้องไปตลาดทีบ่ างลำพู ไปขายใบตอง ขายผัก ขายอะไรต่างๆ เรียกว่า​ เป็นตลาดใหญ่พอสมควร มีทง้ั ของสด ของเค็มก็อยูท่ า้ ยตลาด... เด็กๆ ฉันอยูก่ บั ตายาย​ ก็จะนัง่ หัวเรือ พายเรือเอาชมพูไ่ ปขาย เอาเงาะไปขายทีต่ ลาดยอด ถ้าของสวยหน่อยก็จะขาย​ ได้ราคาดี บางทีรอ้ ยละบาท ห้าสลึง แต่ถา้ ไม่คอ่ ยสวยขายได้แค่ ๕๐ สตางค์ เราขายเป็นร้อย​ ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

15


(ซ้าย) ภาพคลองบางลำพู ตอนล่างของภาพคือสะพานนรรัตน์ ทางฝั่งขวา ของคลองคือตลาดทุเรียน ส่วนฝั่งตรงข้ามกันเป็นตลาดนานา (บน) ภาพลายเส้นตรงสะพานนรรัตน์ ซึง่ ในอดีตมักเรียก บางลำพูประตูใหม่

ไม่ได้ชง่ั กิโลเหมือนสมัยนี้ แต่วา่ จะขายคนอืน่ นะ พวกร้านทีเ่ ขายกแผง​ เขาไม่ซอ้ื เราหรอก เพราะเขาซือ้ แต่ของสวยๆ แล้วไปขาย ๑๒ ใบ​ ราคา ๑ เฟื้อง ถ้าเหลือนะเขาเททิ้งลงคลองตรงเชิงสะพานนรรัตน์​ ปัจจุบนั ” คุณยายสังวาลย์ สนุ ทรักษ์ วัย ๙๕ ปี ผูเ้ คยอาศัยอยูใ่ นสวน แถบบางยีข่ นั ฝัง่ ธนบุรี ก่อนย้ายมาอยูท่ บี่ างลำพู เล่าเรือ่ งราวเมือ่ ครั้งนำของจากสวนที่บ้านมาขายที่ตลาดยอด พอตกบ่ายร้านของสดประเภทต่างๆ เริม่ ปิดแผง แต่บรรดา ของแห้ง อาหาร ขนม และของใช้ชนิดต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นกระบุง ตะกร้า ถ้วยโถโอชาม เครือ่ งหนัง เครือ่ งประดับ ฯลฯ ยังคงมีขายตลอดจนถึง ช่วงเย็น ร้านหนึง่ ทีม่ ชี อื่ เสียงมากในตลาดยอดคือ ร้านบัวสอาด เป็น ร้านขายน้ำอบไทย ธูปเทียนชนิดต่างๆ เช่น ธูปเทียนแพ เทียนพรรษา เทียนอบขนมกลิ่นกำยาน รวมไปถึงดอกไม้ พวงมาลัย พอตกค่ำ ตลาดยอดก็มขี า้ วต้มกุย๊ เป็นอาหารแบบ ‘ยองยองเหลา’ ซึง่ เป็นคำ เรียกล้อกับอาหารเหลาหรืออาหารทีข่ ายในภัตตาคารหรู ซึง่ เริม่ มีขนึ้ ตัง้ แต่ชว่ งรัชกาลที่ ๗ เพราะเป็นอาหารทีน่ ง่ั กินกันข้างทางและมีราคาถูก ตรงข้ามกับตลาดยอดทางด้านถนนพระสุเมรุเป็นที่ตั้งของ ตลาดขายผลไม้ คือ ตลาดทุเรียน คุณยายอรุณศรี รัชไชยบุญ เกิดเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ มาอยูท่ บี่ างลำพูตงั้ แต่อายุ ๑๐ ปี บอกเล่า ความทรงจำเกี่ยวกับย่านบางลำพูที่เกี่ยวกับตลาดทุเรียนไว้ใน หนังสือพิมพ์ ‘ข่าวบางลำพู’ ของประชาคมบางลำพู ตอนหนึ่งว่า “ในหน้าทุเรียน ทุเรียนจะมาขึ้นที่คลองบางลำพู โดยขนมา​ จากเมืองนนท์ เขาเอาไม้ระแนงมากัน้ เป็นคอก กว้าง x ยาวประมาณ ๒​ เมตร ทุเรียนจะตัง้ เป็นกองๆ สมัยนัน้ มีแต่ทเุ รียนนนท์และบางยีข่ นั ​ ทุเรียนเมืองจันท์ยังไม่มี ทุเรียนที่แพงที่สุดจะเป็นทุเรียนก้านยาว​ ลูกละ ๑-๑๐ บาท อีรวงเป็นทุเรียนชั้นต่ำ ลูกละไม่ถึง ๑ สตางค์​ ถ้าเป็นทุเรียนกบจะแพงนิดหน่อย คนจึงชอบหลอกว่าอีรวงเป็นกบ”​ ทุเรียนในสมัยนัน้ จัดเป็นผลไม้ทม่ี รี าคาสูงอย่างหนึง่ โดยเฉพาะ ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ สวนเมืองนนท์ล่ม ทำให้ราคา 16 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ทุเรียนยิง่ แพงขึน้ มาอีก คนทีไ่ ด้ลมิ้ รสทุเรียนอย่างดีสว่ นใหญ่จงึ เป็น กลุม่ คนมีเงิน แต่กใ็ ช่วา่ ตลาดทุเรียนจะมีแค่ทเุ รียนขายเพียงอย่างเดียว ยังมีผลไม้นานาชนิดทีช่ าวสวนฝัง่ ธนฯ แถบบางยีข่ นั แจวเรือข้ามฟาก มาขาย เช่น เงาะบางยี่ขัน ชมพู่สาแหรก มังคุด กระท้อน เป็นต้น นอกจากนี้ มีอาหารขายอยูห่ ลายร้าน ทัง้ ข้าวแกง ก๋วยเตีย๋ วผัด หมูสะเตะ๊ หอยแครงลวก ขนมเบือ้ งไทยและญวน ล้วนแต่มรี าคาย่อมเยา คน ทัว่ ไปจึงนิยมมาหาของกินทีน่ ี่ ทางด้านหลังตลาดริมคลองบางลำพู มีอาคารห้องแถวขายของจิปาถะ ส่วนใหญ่เป็นของใช้ราคาถูก เมือ่ ข้ามคลองบางลำพูมาฝัง่ ตรงข้ามกับตลาดทุเรียน มีตลาด อีกแห่งหนึง่ คือ ตลาดนานา เจ้าของตลาดคือคุณเล็ก นานา มุสลิม ย่านคลองสาน ในตอนกลางวันตลาดนานามีบรรยากาศเงียบเหงา ผิดกับยามค่ำคืนที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน เพราะใกล้บริเวณตลาดมี โรงหนังและวิกลิเกตัง้ อยู่ จึงมีรา้ นอาหารต่างๆ ขายกันจนถึง ๒ ยาม พอดีกบั ตอนโรงหนังและลิเกเลิก ร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นพวกหาบเร่ แผงลอย มีทง้ั ข้าวแกง บะหมี่ เย็นตาโฟ ซึง่ กลุม่ ลูกค้าขาประจำ เป็นคอหนังคอลิเก หรือพวกวัยรุน่ ทีจ่ บั กลุม่ เทีย่ วเตร่กนั ตอนกลางคืน ทุเรียนตั้งขายเป็นกอง อยู่ภายในตลาดทุเรียน


นานาห้างร้าน แหล่งสินค้า ‘มีระดับ’ นอกจากแผงขายของในตลาดสด ย่านบางลำพูมหี า้ งร้านทีจ่ ดั ว่ามีระดับอยูห่ ลายร้าน ร้านค้าเหล่านีเ้ ป็นร้านตึกแถวตัง้ อยูท่ ร่ี มิ ถนน ต่างๆ ทีส่ ำคัญคือถนนพระสุเมรุ ถนนจักรพงษ์ ถนนสิบสามห้าง มีทงั้ ร้านตัดเสือ้ ผ้าอาภรณ์ รองเท้า เครือ่ งประดับ รวมไปถึงของฟุม่ เฟือย ประเภทต่างๆ ทีส่ งั่ นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น สบู่ น้ำหอม ของเล่น อันถือเป็นของนำสมัยและค่อนข้างมีราคาสูง ลูกค้าจึงเป็นกลุม่ ผูด้ ี มีฐานะที่มีอยู่มากในย่านบางลำพู ร้านทีม่ ชี อื่ เสียงในสมัยก่อนก็เช่น ห้าง ต. เง็กชวน อยูร่ มิ ถนน พระสุเมรุ เป็นร้านจำหน่ายสินค้าหลากชนิด ตัง้ แต่เครือ่ งประดับ ของใช้ ของเล่น สินค้าทีก่ ล่าวขานกันมากคือสร้อยและกำไลทองชุบ เรียกว่าเป็น ทองวิทยาศาสตร์ มีราคาถูก จึงเป็นทีน่ ยิ มกันมาก นอกจากนี้ ต. เง็กชวน เป็นร้านบันทึกเสียงในยุคแรกๆ ด้วย ปัจจุบนั ร้าน ต. เง็กชวน เปลีย่ นมา ขายขนมเบือ้ งไทย ซึง่ เป็นของอร่อยขึน้ ชือ่ อย่างหนึง่ ในย่านบางลำพู ร้านเครือ่ งแต่งกายก็มอี ยูห่ ลายร้าน ขายเสือ้ ผ้าทันสมัยในยุค นัน้ เช่น ร้านนพรัตน์ ขายพวกเสือ้ ผ้าสำเร็จรูป ร้านสมใจนึก เดิมเป็น ร้านขายของใช้ทวั่ ๆ ไป ต่อมาจึงเปิดรับจ้างตัดเสือ้ ผ้าและผลิตเสือ้ เชิต้ สำเร็จรูปยีห่ อ้ Seamaster ก่อนจะผลิตชุดนักเรียนจนมีชอื่ เสียงมา ถึงปัจจุบนั ร้านไทยประณีต ขายเสือ้ ผ้า ผ้าไหม ร่ม ห้างแก้วฟ้า ร้าน ตัดรองเท้าหนังทีม่ ชี อื่ เสียงมากในหมูข่ า้ ราชการและนักศึกษา นอก จากนีย้ งั มีรา้ นไทยไพรัช ปัจจุบนั คือทีต่ งั้ ของห้างสรรพสินค้าตัง้ ฮัว่ เส็ง ร้านนีข้ ายหุน่ โชว์เสือ้ อุปกรณ์เย็บปักถักร้อย และรับสอนเย็บจักร ซึง่ สะท้อนการเป็นแหล่งผลิตเสือ้ ผ้าชัน้ นำของบางลำพูได้เป็นอย่างดี ส่วนย่านทันสมัยทีส่ ดุ ในบางลำพูตอ้ งยกให้ สิบสามห้าง เดิม เป็นห้องแถวไม้ ยาวจากถนนบ้านแขกถึงมุมถนนพระสุเมรุ มีร้าน ขายของโปเกหรือของเก่า ร้านขายเสือ้ ผ้า เครือ่ งประดับ ต่อมาห้องแถวไม้นโ้ี ดนไฟไหม้จงึ สร้างเป็นตึกแถวสองชัน้ ช่วงหลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา สิบสามห้างโด่งดังเรื่องความล้ำสมัย มีของแปลกใหม่ หลายอย่างบริการลูกค้า เป็นทีน่ ยิ มในหมูว่ ยั รุน่ เช่น ร้านขายไอศกรีม บางร้านมีบริการโทรทัศน์ แผงขายหนังสือ ฯลฯ ในอีกด้านหนึง่ สิง่ ทีเ่ ป็น สัญลักษณ์ของสิบสามห้างคือกลุ่มจิ๊กโก๋หรือนักเลงวัยรุ่นชายที่มี รสนิยมตามอย่างวัฒนธรรมอเมริกันที่เข้ามาในรูปแบบภาพยนตร์ ทั้งในด้านการแต่งกายและกิริยาท่าทางเลียนแบบดาราดังสมัยนั้น อดีตย่านบางลำพูมนี กั เลงทำนองนีอ้ ยูห่ ลายพวก ตัง้ ตนเป็นเจ้าถิน่ อยู่ตามตรอกซอกซอยต่างๆ ซึ่งหลายคนในยุคปัจจุบันคงคุ้นเคย ภาพนักเลงเหล่านีจ้ ากภาพยนตร์ชอื่ ดังเรือ่ ง ‘๒๔๙๙ อันธพาลครอง เมือง’ ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ดี

เลือกชมกันตามรสนิยม ยุคทีก่ จิ การภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ กำลังเฟือ่ งฟู บางลำพูมี โรงหนังเกิดขึ้นด้วย โรงหนังบุศยพรรณตั้งอยู่ที่เชิงสะพานนรรัตน์ ฝัง่ เหนือ เดิมชือ่ ตงก๊ก ภาพยนตร์ทฉี่ ายส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ โดยมีนกั พากย์ชอ่ื ดังคือทิดเขียว หรือนายสิน สีบญ ุ เรือง แต่ละรอบฉาย มีคนมาออซือ้ ตัว๋ กันทีห่ น้าโรงเป็นจำนวนมาก นายสมัคร สุนทรเวช ผูเ้ คยใช้ชวี ติ อยูต่ รอกหลังวัดสังเวชฯ บางลำพู ได้เล่าภาพของโรงหนัง แห่งนี้ไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือ ‘จดหมายเหตุกรุงเทพฯ’ ว่า “โรงหนังบุษยพรรณมีหลังคาโค้ง มี ๒ ชั้นตามแบบโรงหนัง​ ทั่วไป ชั้นล่างเป็นที่ตั้งเก้าอี้เป็นแถวยาว นั่งได้แถวละ ๗-๘ คน ตั้ง​ เรียงกันตัง้ แต่หน้าเวทีเรียงถอยหลังไปเป็นล็อกๆ ส่วนชัน้ บนทำเป็น​ เฉลียงอยูบ่ นหลังคาของห้องฉาย ยืน่ ออกไปทัง้ ซ้ายขวาเติมทีน่ งั่ ได้​ ทัง้ สองด้าน ทีน่ งั่ ด้านหลังยกสูงเป็นอัฒจันทร์ ดา้ นนอกโรงเป็นห้อง​ ขายตัว๋ มีทใี่ ห้คนมาชมภาพตัวอย่างหนัง เรียกกันว่า ‘หนังแผ่น’ คนที​่ บอกว่าได้ไปดูแค่หนังแผ่น คือคนที่ไม่มีเงินไปดูหนังจริงๆ ใน​ โรงหนังแห่งนี้เคยมีฉายตอนกลางวัน โดยต้องใช้ผ้าดำมาบุโรง บุ​ หน้าต่างให้มืดพอจะฉายได้ เหตุที่ฉายหนังกลางวันเพราะต้องการ​

(บน) ด้านหน้าห้าง ต. เง็กชวน ประดับรูปครุฑ เนื่องด้วยได้รับ พระบรมราชานุญาตจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็น ผู้จำหน่ายสินค้าประเภทเครื่อง หีบเสียงและจานเสียงในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม (ล่าง) แผ่นใบปลิวของห้าง ต. เง็กชวน โฆษณาขายสินค้า นานาชนิด

โรงหนัง โรงละคร วิกลิเก แหล่งบันเทิงยามค่ำคืน ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ ส่ ง ผลให้ บ างลำพู ส มั ย ก่ อ นคึ ก คั ก ตลอดทั้ ง กลางวันกลางคืน คือแหล่งบันเทิงต่างๆ ทีเ่ ริม่ เกิดมากขึน้ ตัง้ แต่ชว่ ง สมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ไม่วา่ จะเป็นโรงหนัง โรงละคร วิกลิเก มีให้ ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

17


เอาสตางค์แดงที่ทำด้วยทองแดงไปทำหัวลูกปืน ส่วนราคาตั๋วนั้น​ ถ้ากลางคืน คนละ ๕ , ๑๐ หรือ ๑๕ สตางค์กแ็ ล้วแต่ แต่ตอนกลางวัน​ ประกาศว่าเอาแค่สตางค์แดงเดียวเท่านั้น...” เมื่อข้ามฟากคลอง บางลำพูไปที่ตลาดทุเรียนก็มีอยู่อีกหนึ่งโรงคือ โรงหนังน่ำแช ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ศรีบางลำพู มีคนดูมากไม่แพ้กัน ตรงริมคลองบางลำพูใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบนั เป็น ที่ตั้งของ โรงละครแม่บุนนาค ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗ แสดง ละครร้อง ซึ่งเป็นมหรสพที่เริ่มแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เรือ่ งทีน่ ำมาแสดงละครร้องส่วนใหญ่มกั เป็นวรรณกรรมทีม่ เี นือ้ หา ร่วมสมัยหรือวรรณกรรมแปล เช่นเรือ่ งสาวเครือฟ้า ละครร้องจึงเป็น ความบันเทิงที่ถูกรสนิยมชนชั้นสูงในสมัยนั้น ตรงกันข้ามกับลิเกหรือยีเ่ ก มหรสพทีน่ ยิ มแพร่หลายกันมาก ในหมูช่ าวบ้าน แต่เป็นทีเ่ หยียดหยามของหมูผ่ ดู้ มี ฐี านะ จนเกิดบท ดอกสร้อยที่ว่า “อันยี่เกลามกตลกเล่น รำเต้นสิ้นอาย ขายหน้า” แต่ดว้ ยเนือ้ หาทีเ่ ป็นเรือ่ งราวแบบชาวบ้าน ดำเนินเรือ่ งรวดเร็ว สอด แทรกความตลกขบขัน ลิเกจึงเป็นทีน่ ยิ มในหมูค่ นทัว่ ไป วิกลิเกชือ่ ดัง ในย่านบางลำพูคอื วิกลิเกหอมหวล มีชอื่ เสียงมากในทศวรรษ ๒๔๙๐ ตัง้ อยูใ่ นตลาดทุเรียน ทางฝัง่ ตลาดนานาก็มวี กิ ลิเกอยูเ่ ช่นกัน โดยเริม่ เล่นกันตัง้ แต่ ๒ ทุม่ เลิกตอน ๒ ยาม สิง่ ทีข่ าดไม่ได้ทดี่ า้ นหน้าโรงลิเก คือหาบขายของกินสารพัดอย่าง ตัง้ คอยบริการผูช้ มทีม่ ารอดูลเิ กกัน แน่นขนัดในทุกคืน โฉมหน้ า ของบางลำพู ย่ อ มแปรเปลี่ ย นไปตามกาลเวลา ปัจจุบนั ตลาดทัง้ สามแบบของบางลำพู คือ ตลาดยอด ตลาดทุเรียน และตลาดนานา ไม่เหลือร่องรอยใดๆ ไว้นอกจากในความทรงจำ ตลาดยอดหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เจ้าของได้ สร้างเป็นห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ต่อมา แต่อยู่ได้ไม่นานก็มีคำสั่ง จาก กทม. ให้รอื้ ทิง้ เนือ่ งจากมีความสูงเกินกำหนดของอาคารทีอ่ ยู่ ใกล้กบั เขตกรุงรัตนโกสินทร์ชนั้ ใน ปัจจุบนั จึงเหลือเพียงอาคารร้าง ที่ยังรื้อถอนไม่เสร็จตรงสี่แยกบางลำพู ตลาดทุเรียนเริ่มซบเซาลง เพราะมีการตัดถนนเข้าถึงเมืองนนทบุรี ปัจจุบันจึงเหลือเพียง ตลาดสดขายของเล็กๆ น้อยๆ เรียกกันว่า ตลาดนรรัตน์ ส่วนตลาด นานากลายสภาพเป็นโรงแรม ห้างร้านเก่าแก่ต่างๆ ที่เคยคึกคัก เริ่มทยอยปิดตัวลง ที่ยังเปิดอยู่ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่นเดียวกับแหล่งบันเทิงต่างๆ ที่เลิกราตามๆ กันไป เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวขยายตัว อย่างรวดเร็ว ภาพจำของบางลำพูจึงกลายเป็นภาพนักท่องเที่ยว นานาชาติเดินขวักไขว่กันตามท้องถนน มีสถานเริงรมย์ยามค่ำคืน แต่อย่างไรก็ดี ‘บางลำพู’ ยังไม่ทิ้งภาพย่านการค้าที่รุ่งเรือง เพราะ ยังคงเป็นแหล่งรวมอาหารอร่อย ห้างร้านหลายระดับราคาเปิด บริการอยู่มากมาย และคนจำนวนมากยังแวะเวียนมาสร้างความ ทรงจำใหม่ๆ ที่ย่านบางลำพูแห่งนี้

18 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ดูโขนดูหนัง พูดถึงอีกสักที...เขาเห็นอะไรกัน หลังดูหนัง ‘ขุนรองปลัดชู’ นายหนัง

นับเป็นมิติใหม่ของวงการ ‘หนังไทย’ และ ‘ประวัติศาสตร์’

เมือ่ การปรากฏตัวของ ‘ขุนรองปลัดชู วีรชนคนถูกลืม’ แหวก ม่านประเพณีการทำหนังอิงประวัตศิ าสตร์ตามกรอบเดิมออก มา ทำให้เกิดเป็นกระแสพูดถึงมากมาย โดยเฉพาะความโดดเด่น ในด้านรูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาที่สอดแทรกมุมมอง ปัจจุบนั เข้าไปในอดีตแต่ดไู ม่ขดั เขิน หากจะยังนำไปสูก่ ารตีความ ต่อได้ ซึง่ ส่วนทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ของการทำหนังเรือ่ งนีก้ ค็ อื การชีช้ วน ให้ผดู้ ู คิด วิเคราะห์ และตีความถึงเรือ่ งราวหรือบริบททีซ่ กุ ซ่อน อยู่เบื้องหลังการเขียนประวัติศาสตร์ ทั้งนี้รูปแบบการนำเสนออันโดดเด่นที่กล่าวถึงก็คือ การเปิดวงสนทนาผ่านการตั้งประเด็นต่างๆ โดยมีผู้รู้ ผู้สนใจ หรือผูศ้ กึ ษาในแขนงนัน้ ๆ มาพูดคุยถึงมุมมองหลังการชม แล้ว นำทัศนะเหล่านี้มาเสนอเป็นช่วงเป็นตอนทางสถานีโทรทัศน์ TPBS เมือ่ อารมณ์ความรูส้ กึ ประสานเข้ากับหลักเหตุผล จึงทำ ให้ประวัตศิ าสตร์ไม่กบี่ รรทัดในพงศาวดารของ ‘ขุนรองปลัดชู’ กลายเป็น Talk of the town ในบ้านเมืองเพียงชั่วข้ามคืน ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดความคิดความเห็นใหม่ๆ จากผู้ติดตามดู ได้สะท้อนออกมาสู่สาธารณะอีกไม่น้อย ดังนั้นคำถามที่ว่าพวกเขาเห็นอะไรกันบ้างหลังดูหนัง เรือ่ งนี้ ตรงนีก้ เ็ ป็นอีกประเด็นทีน่ า่ สนใจ บทความนีจ้ งึ ขอรวม เอาความเคลือ่ นไหวเล็กๆ ในแวดวงประวัตศิ าสตร์มาบอกเล่า


อีกครั้ง อย่างน้อยก็เพื่อบันทึกเป็นหมุดหมายชัดๆ ว่า วันนี้หนัง ไทยและภูมิทัศน์ทางการศึกษาประวัติศาสตร์ของเรากำลังก้าว เท้ า อี ก ก้ า วหนึ่ ง ออกจากหล่ ม ‘ราชาชาติ นิ ย ม’ ที่ ย่ ำ ซ้ ำ เป็ น กระแสหลักมานานก่อนหน้านี้แล้ว ‘ขุนรองปลัดชู’ กับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับความจริงเหมือนกันว่าหนัง เรือ่ ง ‘ขุนรองปลัดชู’ ยังมีอกี เท้าทีย่ ำ่ อยูบ่ นอุดมการณ์ความ ‘รักชาติ’ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะประเด็นการประดิษฐ์สร้างศัตรูรว่ มทีร่ บั บท โดย ‘พม่า’ เพือ่ นบ้านเจ้าประจำของเรา เพราะเขาเป็นเสมือนดาวข่ม กันมาตัง้ แต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยา (และกำลังเนือ้ หอมมากในเวทีโลก ณ ขณะนี)้ แต่ขอ้ ทีแ่ ตกต่างออกไปก็คอื หนังเรือ่ งนีไ้ ด้นำเสนอความรัก ‘ท้องถิน่ ’ หรือการมีตวั ตนอยูข่ องชุมชนเล็กๆ ให้เป็นประเด็นใหญ่และ สอดแทรกเข้าไปในชาตินั้นด้วย หนังเรื่องนี้จึงไม่ใช่งานยอยศพระเกียรติหรือสะท้อนพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริยเ์ ป็นสำคัญ ในด้านกลับกัน หนังยังมุง่ วิพากษ์ไปทีค่ วามผุพงั จากภายใน อันมาจากอำนาจส่วนกลางหรือทีร่ าชสำนักกรุงศรีอยุธยา ซึง่ กำลัง อ่อนแอและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง (หลังการผลัดแผ่นดินพระเจ้า อยูห่ วั บรมโกศ) ทัง้ จากในหมูร่ าชนิกลู เอง และการช่วงชิงแสวงหาผล ประโยชน์ของบรรดากลุม่ ก๊วน ขุนนางต่างๆ และดูเสมือนตัง้ ใจจะสะท้อน ความคล้ายคลึงกับสภาพของสังคมปัจจุบนั ไปในขณะเดียวกัน ภายใต้ ภาวะการณ์ดงั กล่าวยังมีแรงกระทำอันมาจากภายนอกด้วย นัน่ คือ การขึน้ มามีอำนาจเด็ดขาดเหนือลุม่ น้ำอิระวดีของพระเจ้า ‘อลองพญา’ ซึง่ ต้องการตอบโต้อทิ ธิพลทางการค้าของกรุงศรีอยุธยาทีม่ ตี อ่ มะริด ตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญ อีกทั้งหากยึดกรุงศรี อยุธยาได้ยงั เสมือนการประกาศความเป็น ‘จักรพรรดิราช’ ทีเ่ ทียบได้ กับเมือ่ ครัง้ พระเจ้าบุเรงนองเคยแสดงแสนยานุภาพเอาไว้เป็นต้นขนบ เงือ่ นไขของหนังจึงอยูท่ ก่ี ารเลือกตัดสินใจของ ‘ขุนรองปลัดชู’ ในฐานะผูน้ ำท้องถิน่ เล็กๆ อย่าง ‘วิเศษไชยชาญ’ ทีอ่ ยูท่ า่ มกลางระหว่าง ปัจจัยภายในกับภายนอก ซึง่ ทางเลือกสามารถเป็นไปได้ทงั้ ตัง้ รับใน ท้องถิน่ แบบชาวบ้านบางระจัน การเข้าไปลีภ้ ยั ในพระนคร การหลบ หนีซอ่ นตัวในป่า การยอมสวามิภกั ดิแ์ ก่ขา้ ศึก รวมทัง้ การอาสาเข้า ร่วมสงครามกับส่วนกลาง ซึง่ ประการหลังสุดนีเ้ ป็นทางทีถ่ กู เลือกใน เวลาต่อมา โดยขุนรองปลัดชูได้นำลูกน้อง ๔๐๐ คนเศษ เข้าร่วมเป็น กองอาสากับทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ ซึง่ ต้องเดินทางไปรับศึกถึง กุยบุรี และได้รบในสมรภูมหิ ว้าขาว ตรงนีเ้ องก็คอื ต้นตำนานทีก่ ลาย เป็นบทหนังเรื่องนี้ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั่นเอง จากต้นเรื่องดังกล่าวจึงนำมาสู่การสอบทานหลักฐานและ พูดคุยกันถึงตัวตน รวมทั้งบริบทรายรอบขุนรองปลัดชู ซึ่งข้อมูล เอกสารหลักๆ ที่ใช้น่าจะมีดังนี้ คำให้การขุนหลวงวัดประดูท่ รงธรรม เอกสารจากหอหลวง เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่ชำระขึ้นจากการสอบทาน

ข้อมูลจากฝ่ายราชวงศ์บา้ นพลูหลวง กล่าวถึงเหตุการณ์ทเี่ กีย่ วกับ ขุนรองปลัดชูว่า “ครั้นพระอุทุมพรราชาอนุชาธิราชนิราศจากบรรพชิตก็ ช่วยกันคิดกันบ้านเมืองกับพระบรมเชษฐาทีจ่ กั ต้านพม่า จึง่ กะเกณฑ์ ขุนนางทีจ่ กั ตัง้ ให้เปนนายทับทีจ่ กั ต้านทานพม่า จึง่ เกณฑ์ให้พระยา สงครามนามชือ่ ปลัดชู แลพระยารัตนาธิเบศร พระยาราชวังสมเสนี พระจุลา หลวงศรียศ หลวงราชพิมล ขุนศรีวนดน แลทหารอันมี ชื่อออกมาอาษาที่จักแทนพระเดชพระคุณ” พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ชำระในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์กล่าวว่า “พระยาธารมาจึงเกณฑ์ไพร่ห้าร้อย เข้าบรรจบกองปลัดชู ให้ยกไปตั้งตำบลว่าข่าวริมทะเล ฝ่ายทัพหน้าพม่ายกขึ้นมาตีกอง ปลัดชูก็แตกพ่าย” พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม ชำระขึ้นในปลาย รัชกาลที่ ๑ ปรากฏข้อความว่า “พม่ายกขึน้ มาตีทพั พระยายมราช ณ แก่งตุม่ แตกแล้วยกแยก ไปตีกองปลัดชู ซึง่ ตัง้ อยูต่ ำบลอ่าวขาวริมทะเล จึง่ แบ่งไพร่ ๕๐๐ ยก ไปช่วยกองปลัดชู รบกันอยูป่ ระมาณกึง่ วันกองปลัดชูกแ็ ตกพ่ายมา” พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏความว่า “ขณะนั้นขุนรองปลัดชู เป็นกรมการเมืองวิเศษชัยชาญ เข้ามารับอาสากับไพร่สี่ร้อยเศษ ขอไปรบกับพม่าด้วย จึงโปรดให้ เป็นกองอาจสามารถกองหนึ่ง ให้ไปในกองทัพพระยารัตนาธิเบศ” อาจพออนุมานได้วา่ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาพ้อง เข้ากับตำนานของชาวบ้านมากที่สุด นั่นคือที่ ดำรงศักดิ์ บุญสู่ ปราชญ์ทอ้ งถิน่ อ่างทอง เล่าผ่านรายการ ‘วีรชนคนถูกลืม’ ทางช่อง TPBS ว่า เรือ่ งราวของขุนรองปลัดชูนนั้ มีหลักฐานอยูท่ ี่ ‘วัดสีร่ อ้ ย’ ตามทีช่ าววิเศษฯ เล่ากันมาก็ตรงกับทีข่ นุ รองปลัดชูพาลูกน้องสีร่ อ้ ย คนไปเสียชีวติ ทีห่ าดหว้าขาว จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ตำนานก็เหมือน กับในพงศาวดาร โดยวัดสีร่ อ้ ยตามประวัตวิ ดั คือสร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๓๑๔ “ถามว่ามีจริงไหม เกิดไม่ทนั แต่พงศาวดารบอกไว้อย่างนี้ ชาวบ้านเชื่อกันอย่างนี้ มีหลักฐานเป็นวัดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จะให้พูดตามประสาชาวบ้านว่าไม่จริงหรอก เป็นเรื่องสมมติขึ้น ผมว่าพูดไม่ได้” ดำรงศักดิ์กล่าว เปิดประเด็น ‘ตัวตน’ ขุนรองปลัดชู หากถอดความจากพงศาวดารและตำนาน หลังปรากฏการณ์หนังขุนรองปลัดชู ทำให้เห็นการวิเคราะห์ออกไปในหลายทาง ตัง้ แต่มแี ละไม่มตี วั ตนอยูจ่ ริง เฉพาะในแง่ทมี่ ตี วั ตนจริงยังสามารถ ตีความออกไปอีกหลายแบบ อย่างเรือ่ งศักดิฐ์ านะของขุนรองปลัดชู ที่แตกต่างไปจากหนัง ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล นักวิชาการคณะศิลปศาสตร์และ ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

19


วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แสดงความเห็นทีค่ อ่ นข้างให้นำ้ หนักกับคำให้การขุนหลวงวัดประดูท่ รงธรรม เนือ่ งจากเป็น หลักฐานทีไ่ ม่ได้ชำระโดยฝ่ายราชสำนักธนบุรหี รือรัตนโกสินทร์ จึงไม่มี อคติหรือการตำหนิกษัตริยใ์ นราชวงศ์บา้ นพลูหลวง ผิดกับพระราชพงศาวดารที่ชำระกันในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ดังนั้นการที่มี บันทึกประโยค “จง กณฑ งค น ช ป ดช”เขาได้ วิเคราะห์เรือ่ งนีล้ งในสยามรัฐรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ว่า “แนวโน้มน่าทีจ่ ะเป็นได้คอื ปลัดชู รับราชการเป็นมูลนายชัน้ สูงในระดับพระยา อนึง่ ทีส่ ำคัญการรบทีห่ าดหว้าขาวนัน้ ก็เป็นเรือ่ งราวที่ถูกเพิ่มมาในปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ ในขณะเดียวหลักฐานใน มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่ามีการพูดถึงเรื่องราวการรบข้างเมือง มะริดเหมือนกัน แต่ไม่เอ่ยถึงแม่ทัพที่มีชื่อใกล้เคียงกับพระยาราช สงครามแต่ประการใด” สาเหตุทมี่ กี ารเพิม่ เติมรายละเอียดทีเ่ กีย่ วกับสงครามครัง้ นี้ ก็คงจะเพราะต้องการทำให้เนือ้ ความสมบูรณ์ขนึ้ หรืออีกนัยหนึง่ คือ การอธิบายสาเหตุทตี่ อ้ งเสียทัพ ทัง้ นีเ้ พราะจากข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมได้กล่าวว่า “ที่จริงนั้นพม่ายกมาแต่ข้างมะริดทางเดียว พระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงทราบแน่ กต็ กพระทัย ดว้ ยมิได้มวี จิ ารณ์พระเชาวญาณ ก็พาล เขลาทรงเชื่อเอาทั้ง ๓ ทาง” ดงนนก น น ตน ก นท ง ตก งค ท ง ง ดก ดจ จ กท น ท งข ด จ ณญ ณ ซงกด น ปนก ต นก ต น ชง บน ง สมมติฐานนีย้ งั สอดคล้องกับ ปรามินทร์ เครือทอง ทีส่ ะท้อน ผ่านบทความ ‘ ง ขน งป ดช ต น น บ ตถกขง ถก ด ... ปน ค ที นกน น’ (ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔.) โดยเฉพาะในประเด็น ‘พระยาพิชยั สงคราม’ เขาได้ สืบค้นขยายความต่อจากกฎหมายตราสามดวงลักษณะ ‘พระไอยการ ตำแหน่งนายทหารหัวเมือง’ มีกล่าวถึงตำแหน่งพระพิชัยสงคราม สองท่าน ท่านหนึง่ คือ “พระพิไชยสงคราม เจ้ากรมอาษาซ้าย ตราพาลี ถือพระขรรคนา ๕,๐๐๐” ส่วนอีกท่าน คือ “ ก ช กดี ี ทธงค งก ขนป ดง นปญญ ซ ” และตัง้ เป็นประเด็น ว่า ขน งป ดช จ ปน จ งก บ ี ก บนีจง ปน ก กณฑท ก งต ง ด ดนท ง จ ก น นอกจากนีย้ งั มีการตีความอีกทางหนึง่ โดยวิเคราะห์จากบริบท ทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึง่ มีการชำระพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวตนของขุนรองปลัดชู มากที่สุด ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (ตำแหน่งวันที่ออกรายการวีรชนคนถูกลืม 20 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

ทางช่อง TPBS) ตั้งข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า “ที ดกน ง ด ี ค ถ ค ข จ ก นบ ก ดนี งขน น . . ี กฐ นทีชดขน ดนน ท ที งคน กฐ นด ป ตที บจ น ช ง ด ฉบบ ช ตถ ข ซง ขี นขน ชก ที ด ง ที ปน ด ทง นฉบบนี ซง ธีคด บบ ฐช ต (Nation State) นข ทีด น นต ธีคด ง นดน ช ธีคดข งคน ธ ต ข ง น น ก ง น จ ธ ต ข ี นก น นดนที ดง ก งนน นช ง ี ก งค งที ต ข ง ฐ กกน ง ด น น จ ปนช ต คด ด ี ปน ดที งขน ตนน นท งถน ด กคน ช ชญ ข กบคนที ก งท ด น ตก ณ ี ก งค งที ง ด กน ค งก ง ท ขน เชือ่ ว่ารัชกาลที่ ๔ อาจดึงเรือ่ งนีม้ า ขยายเพือ่ ดึงคนรอบๆ ของกรุงเทพฯ ทีส่ มั พันธ์กบั คนอยุธยาและ กำลังเข้ามาเป็นกรุงเทพฯ ซึง่ แนวคิดเรือ่ งชาติเป็นเรือ่ งทีใ่ หม่มากๆ” อาจไม่ใช่เรื่องของ ‘วิเศษชัยชาญ’ เท่านั้น “ขน งป ด น จ ง กี กบ ช ช ญ ต ปน ง ข ง งช ท จต งด กี ข งคนต งถน ข คน ถ นน จ ข ปตงถนฐ น ถ ช ท กก น ปน นท ง ก งท ง ก ี น นท งด น งข ค ก จ กต น ี นด น กก บ ี จง ป ณบ ี ปน ง ญที ปนทง งท ฐ นท คนที ข ต งนีต งถ ค ค” เป็นอีกประเด็นที่ตั้งขึ้นผ่านวงเสวนาทางช่อง TPBS โดย จ ีก ด นักโบราณคดีและมานุษยวิทยา ทีส่ นั นิษฐานผ่านมุมมองทางภูมวิ ฒ ั นธรรมของพืน้ ที่ ซึง่ ทัศนะนีก้ ไ็ ปสอดรับ กับที่ ป นท ค ท ง สันนิษฐานว่า พระยาสงครามนามปลัดชู คือเจ้าเมืองกุยบุรี และตามที่พงศาวดารหลายฉบับระบุเพียงแตก พ่าย แต่ไม่ได้ตายในทีร่ บ จึงเป็นทีม่ าของข้อสงสัยว่าอาจถูดลดยศ และมองไปถึงการที่ ชื่อขุนรองปลัดชูกลับมาอีกครั้งในแผ่นดิน พระเจ้าตาก ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับบริติซมิวเซียม (และสอดคล้องกับฉบับพันจันทนุมาศ) ว่า “ณ น ค ด น กก บต งช น ท ก บท หลวงพลขุนรองปลัดชู ไปสืบข่าวราชการ ณ เมืองกำแพงเพชรเห็นค่ายพม่า ณ บ น นน ค บ นถ กบ ดค นง” ปรามินทร์มองว่า ข้อความนีบ้ ง่ ชีถ้ งึ การทีข่ นุ รองปลัดชูนา่ จะ มีหน้าทีร่ าชการใหม่ในกองอาทมาต แผ่นดินพระเจ้าตาก ส่วนจะสังกัด กรมการเมืองชัยนาทตามพระราชพงศาวดารฉบับนี้ (และฉบับพันจันทนุมาศ) หรือจะสังกัดเมืองวิเศษไชยชาญตามฉบับพระราชหัตถเลขานั้น ยังไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ได้ และหากขุนรองปลัดชูจะ กลายเป็นคนเมืองวิเศษไชยชาญก็คงเริม่ ตัง้ แต่ตอนนี้ และสมัยหลัง


เมื่อมีการชำระพงศาวดารจึงหยิบตำแหน่งสุดท้ายมากำกับชื่อ ส่วนเรือ่ งตำนานวัดสีร่ อ้ ย ปรามินทร์วเิ คราะห์วา่ เป็นเรือ่ งเล่า ท้องถิน่ ทีว่ า่ สร้างเพือ่ เป็นทีร่ ะลึกให้กบั ทหารทีเ่ สียชีวติ จากสมรภูมิ หว้าขาว และประวัติวัดของกรมการศาสนาที่ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ จึงอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตาก ซึ่งขุนรองปลัดชู น่าจะรับราชการตำแหน่งสุดท้ายอยู่ที่นี่ และอาจสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อ เป็นที่ระลึกสมรภูมิหว้าขาวก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามในประเด็นนีย้ งั มีอกี ทัศนะหนึง่ ทีบ่ ง่ ชีค้ วามเป็น คนวิเศษไชยชาญจริงๆ ของขุนรองปลัดชูได้เช่นกัน เรือ่ งนี้ ดร.รุง่ โรจน์ วิเคราะห์วา่ จากหลักฐานเอกสารทีเ่ รามีอยู่ ไม่สามารถยืนยันได้วา่ ปลัดชูอยูท่ วี่ เิ ศษไชยชาญ นอกเสียจากตำนาน บอกเล่าในท้องถิ่น แต่สมมติว่าถ้าปลัดชูเป็นคนวิเศษไชยชาญจริง มันจะเป็นอย่างไร “จากข้อมูลในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า หลังจากเสร็จศึก พระเจ้าอลองพญาแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทมุ พรก็เสด็จกลับออกไป บรรพชาดังเก่า และได้เสด็จไปประทับทีต่ ำหนักคำหยาด ซึง่ ปัจจุบนั อยูท่ อี่ ำเภอโพธิท์ อง พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ เมือ่ ครัง้ เสด็จลำน้ำ มะขามเฒ่าได้มีข้อพระราชวินิจฉัยว่า สาเหตุที่พระเจ้าอุทุมพรมา ประทับทีต่ ำหนักคำหยาดก็เพราะเป็นคนในพืน้ ที่ เป็นพระญาติวงศ์ ของพระราชมารดา ผูค้ นกำลังในสังกัดของพระองค์กค็ งจะมีอยูม่ าก ในท้องถิ่นนี้ และในขณะเดียวสมเด็จพระเจ้าบรมโกศก็เสด็จมาที่ อ่างทองบ่อยครัง้ ซึง่ ก็แสดงความสัมพันธ์บางประการต่อท้องถิน่ นี้ ขณะเดียวกันอำเภอโพธิ์ทองก็ติดกับอำเภอวิเศษไชยชาญ

จึงอาจจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าปลัดชูก็เป็นมูลนายประเภท พวกข้าหลวงเดิม คืออาจจะมีตำแหน่งเป็นปลัดกรมของสมเด็จ พระเจ้าเอกทัศน์ หรืออาจจะเป็นของสมเด็จพระอุทมุ พร ดังนัน้ ใน พระราชพงศาวดารจึงออกนามว่า ปลัดชู ดังนั้นเราจึงไม่ควรมามุ่งเน้นเรื่องสำนึกรักชาติของปลัดชู จะเหมือนกับในปัจจุบันหรือไม่ แต่เป็นเพราะปลัดชูอยู่ในฐานะ มูลนายชั้นสูงที่มีหน้าที่ อยู่ในอุดมคติเรื่องแทนคุณเจ้า และผล ตอบแทนหลังชนะสงคราม แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของปลัดชู ในปัจจุบันเราไม่อาจที่จะสามารถยืนยันว่ามีความจริงมากน้อย ขนาดไหน หากแต่เรื่องราวที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นสะท้อนให้เห็น ทัศนคติของผู้ชำระพระราชพงศาวดารในแต่ละยุคสมัย” ทัง้ นี้ ดร.รุง่ โรจน์ ยังตอบประเด็นทำไมเรือ่ งราวของปลัดชูจงึ ถูกลืมอย่างทีเล่นทีจริงว่า หนึง่ เพราะคนไทยไม่อา่ นพระราชพงศาวดาร นอกจากตำราประวัติศาสตร์ที่ครูสั่งให้อ่าน และอีกประการคือ สงครามที่ปลัดชูออกไปรบนั้นไม่ใช่สงครามคราวเสียกรุง ดังนั้น รัฐบาลสมัยชาตินยิ มจอมพล ป. พิบลู สงคราม จึงมุง่ เชิดชูหมูบ่ า้ น บางระจันมากกว่า เพราะสงครามครั้งนั้นมีผลต่อการเสียกรุง ประวัตศิ าสตร์เรือ่ งนี้ บางทีจงึ อาจเป็นเรือ่ งทีค่ นไทยไม่ได้ลมื เสียทีเดียว แต่เป็นที่ จอมพล ป. หัวขบวน ‘ชาตินยิ ม’ นัน่ เองทีล่ มื !! ดังคำหนัง...ไม่ใช่บทสรุป แต่เป็นจุดเริ่มต้น หนังมีพลังในการสือ่ สารทางสาธารณะ ในอดีตจึงคล้ายอยูใ่ น มือของชนชั้นนำทางการเมือง เพราะมีเรื่องของเทคนิคและทุน เข้ามาเกีย่ วข้อง ซึง่ ในยุคของจอมพล ป. พิบลู สงคราม เคยผลักดัน ให้มหี นังอย่าง ‘เลือดทหารไทย’ ‘บ้านไร่นาเรา’ ‘สงครามเขตหลัง’ และ ‘บินกลางคืน’ เพื่อปลุกอุดมการณ์นิยมทหารและชาตินิยม แต่ใน ช่วงเวลาคาบเกีย่ วกันก็มหี นังเรือ่ ง ‘พระเจ้าช้างเผือก’ ทีอ่ ำนวยการ สร้างโดยนายปรีดี พนมยงค์ ออกมา และมีเนื้อหาที่กึ่งวิพากษ์กัน อยู่ในที นั่นคือ การปฏิเสธสงครามที่ดึงเอามวลราษฎรเข้าไปเกี่ยว ข้อง แต่จำกัดให้เป็นเรื่องระหว่างกษัตริย์ต่อกษัตริย์ที่ไม่เน้นการ ‘พิชติ ’ แต่พดู ถึง ‘สันติภาพ’ ในความหมายใหม่ นัน่ คือ การทีค่ ขู่ ดั แย้ง กลับประกาศสันติภาพทีป่ ระชาชนไม่ได้เป็นศัตรูแก่กนั แต่เป็นศัตรู กับกษัตริย์ที่โหดเหี้ยมและปล่อยทหารศัตรูกลับไป ในยุคต่อมา ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของไทยได้เน้นใน แนวลักษณะ ‘กูช้ าติ’ หรือ ‘พลีชพี ’ เป็นหลัก ซึง่ ก็ได้รบั การตอบรับจาก กระแสสูง และตอบสนองความรูส้ กึ ทางอารมณ์มากกว่าการมองหา บริบทต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ จนกระทั่งกลายเป็นการผลิตซ้ำ ความเกลียดชังกันไป แต่หมุดหมายใหม่ในเรื่องนี้อาจเริ่มที่หนังเรื่อง ‘สุริโยไท’ ที่ผลิตโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หนังแนวนี้จึงเริ่มให้ความ สำคัญกับบริบททางประวัติศาสตร์และมีมมุ มองทีก่ ล่าวถึง ‘รัฐ’ ใน จินตนาการใหม่ที่ไม่ใช่ ‘ชาติ’ อันเป็นเนื้อเดียวกันมาแต่เดิม ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

21


จนมาถึงขุนรองปลัดชูกไ็ ด้เปิดวิธกี าร มองประวัตศิ าสตร์ขน้ึ มาอีกชุดใหญ่เช่นกัน ดังคำอาจารย์ศรีศกั รทีก่ ล่าวว่า การ ทีเ่ ราพูดถึงขุนรองปลัดชูในฐานะทีเ่ ป็นวีรชน ที่ถูกลืม มันเป็นวิธีสื่ออย่างหนึ่ง ขุนรองฯ อาจจะเป็นสิง่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ เมือ่ เกิดวิกฤติขน้ึ กับบ้านเมือง เมือ่ ถูกรุกราน สังคมแตกแยก และจะมีตวั ตนจริงหรือไม่...ไม่รู้ แต่ทส่ี ร้าง ขึน้ มาทำให้เห็นภาพ เป็นสัญลักษณ์ของสังคม และจากโมเดลของขุนรองปลัดชูจะทำให้เรา สามารถไปหาวีรชนในท้องถิน่ ทีถ่ กู ลืม ไม่ได้ ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์ แต่รบั รูก้ นั ผ่านคำ บอกเล่า ซึง่ แต่ละท้องถิน่ มี Culture Hero (ผู้นำวัฒนธรรม) ของเขาเอง ซึ่งมันจะ สะท้อนความรูส้ กึ นึกคิดของคนในท้องถิน่ ที่ ถูกรังแก และสะท้อนว่าพวกเขาต่อต้าน อำนาจรัฐอย่างไร ซึง่ ไม่ใช่เพือ่ ลบล้างแต่เป็น การสู้เพื่อจะดำรงอยู่ อาจารย์ศรีศกั รยังเน้นว่า ควรเอาเรือ่ ง เหล่านี้มาเป็นตัวตั้งในการทำความเข้าใจ สังคมมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่งๆ อย่างมีสติ ปัญญา เพราะเวลาเราฟืน้ เรือ่ งเก่าๆ เรามัก ฟืน้ เป็นนวนิยาย มีความตืน่ เต้น แต่ไม่ได้เห็น ความลุม่ ลึกทีอ่ ยูต่ รงนัน้ อะไรต่างๆ เหล่านี้ แม้แต่ตำนานเขาไม่ได้สร้างขึน้ ให้เป็นนิยาย เริงรมย์ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่สื่ออะไรหลาย อย่าง ที่เข้าถึงความเป็นมนุษย์ในมิติของ ความเชื่อ “...คุ ณู ป การอยู่ ต รงนี้ ประวั ติ ศาสตร์ไม่ได้สอนให้คนจำ ให้คนท่อง แต่ให้ คนคิด หัวใจของมันคือการให้วิพากษ์...” สำหรับหนังเรือ่ งขุนรองปลัดชู เวลา นี้สามารถบอกได้เต็มความภาคภูมิว่า ได้ สร้างบทสนทนาใหม่ๆ ขึ้นมาแล้ว และบท สนทนาแบบนีย้ งิ่ เยอะยิง่ ดี เดีย๋ วนีเ้ ทคโนโลยี ยังล้ำหน้า หนัง ‘ขุนรองปลัดชู’ จึงหาดูได้ ไม่ยาก หากมีโอกาสจึงขอชวนให้ลองผ่านตา อย่ า งน้ อ ยก็ น่ า จะทำให้ มี บ ทสนทนากั บ ตัวเองบ้างว่า ดูหนังแล้ว...ตัวเราล่ะ เห็นอะไร ?!

22 จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

กาง​แผง L​E​K​​-​​P​R​A​P​A​I​​DVD​

พอเพียงเพื่อแผนดิ​ินเกิ​ิด เมือ่ ผูค้ นในโลกแบบ ‘โลกาภิวตั น์’ ต้องอยูใ่ นภาวะไร้รฐั ไร้เส้นแบ่งพรมแดน

และไร้สังคมมากขึ้น ความเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จึงผสมแนวคิดเรื่อง ‘ชาตินิยม’ จนกลายเป็นเหตุผลในการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มที่มีความหมายมากกว่า ‘ชาติ’ หรือ ‘บ้านเกิดเมืองนอน’ หรือ ‘มาตุภมู ’ิ อันเป็นพืน้ ที่ ทางสังคมวัฒนธรรมและการเมืองทีก่ ำลังถูกลิดรอน สิง่ ที่ ‘ประเทศไทย’ กำลัง เผชิญอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นภาวะที่สับสนว่าจะสามารถดำรงสภาพความเป็น ‘สังคมพหุลักษณ์’ ได้อย่างไร จึงจะให้โอกาสผู้คนในกลุ่มต่างๆ ได้แสดงออก หรือต่อรองในสังคมได้อย่างเท่าเทียมไปพร้อมๆ กับรักษาความมัน่ คงในความ รู้สึกรักชาติรักมาตุภูมิ รักถิ่นฐานบ้านเกิด โดยไม่ยอมให้กลุ่มผลประโยชน์ ทางการเมืองใช้โอกาสที่คนในสังคม ‘ต่างคนต่างอยู่’ เข้ามาทำลายฐาน ทรัพยากร สภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งมาตุภูมิอันเป็นราก ฐานของชีวิตของคนในสังคม รายการพอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด จึงเกิดขึ้น และเดินทางไปทั่วประเทศไทย เพื่อเข้าไปแง้มบานประตูเปิดที่ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ชุมชน และท้องถิ่น ได้เดินออกมา เราจะนำเรื่องราวอัน หลากหลายกลับมาบอกเล่าแก่สังคม เพราะอาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องมอง หาความแตกต่างหลากหลายเพื่อสร้างจุดยืนอย่างมีเอกภาพร่วมกัน

รายการพอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด เคยออกอากาศทางช่อง E-BIZ และ NEWS 1 ครบแล้วจำนวน ๕๒ ตอน สามารถรับชม และสั่งซื้อ ในรูปแบบ DVD ย้อนหลังได้แล้ว วิธีสั่งซื้อ ๑. โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า ชื่อบัญชี น.ส.พรพิมล เจริญบุตร เลขที่บัญชี ๑๖๙-๐-๖๓๐๓๓-๘ เมื่อท่านทำการโอนเงิน เรียบร้อยแล้ว กรุณาส่งสำเนาใบโอนเงิน พร้อมระบุชื่อนามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และใบสั่งซื้อของท่านมาที่ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ (ที่อยู่ตามจดหมายข่าว) ๒. เงินสด ในกรณีมารับสินค้าด้วยตัวเอง ๓. ธนาณัติ ท่านสามารถชำระเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ โดยสั่งจ่าย ในนาม “น.ส.พรพิมล เจริญบุตร” ปท.ราชดำเนิน ๑๐๒๐๐ พร้อมแนบใบสั่งซื้อ (Download : www.lek-prapai.org) ของท่านมาที่มูลนิธิฯ *** ฟรีค่าจัดส่ง


ตอนที่ ๑ สยามมาตุภมู .ิ ..เพือ่ แผ่นดินเกิด ตอนที่ ๓๙ พระเจ้าพรหมมหาราช จากวีรบุรุษในตำนาน ตอนที่ ๒ ราชประสงค์ : ปูมหลังพืน้ ทีว่ งั พืน้ ทีจ่ ติ วิญญาณ สู่อารักษ์เมืองแม่สาย จุดตัดแห่งทุนนิยม ตอนที่ ๔๐ บวงสรวงเจ้าหลวงเมืองล้า พลังหมูบ่ า้ นลือ้ “ท่าวังผา” ตอนที่ ๓ พิพธิ ภัณฑ์วดั ม่วง สำนึกแห่งชุมชนมอญ ตอนที่ ๔๑ สมเด็จเจ้าพะโคะ วีรบุรุษทางวัฒนธรรมแห่งเมืองใต้ ตอนที่ ๔ หนังใหญ่วดั ขนอน มรดกวัฒนธรรมของชุมชนในมือ ตอนที่ ๔๒ ตำนานนางเลือดขาวและภูมวิ ฒ ั นธรรมของคนคาบสมุทร คนรุน่ ใหม่ ตอนที่ ๔๓ ย่านการค้าเก่าแก่ใน กทม. ตอนที่ ๕ คุง้ พยอม-บ้านโป่ง-โพธาราม ชุมชนจีนในเมืองราชบุรี ตอนที่ ๔๔ อาหารในป่าชายเลนยี่สาร ตอนที่ ๖ วิกฤติบา้ นเมืองในสามจังหวัดชายแดนใต้ ตอนที่ ๔๕ ปลาแม่น้ำแห่งลุ่มน้ำยม ตอนที่ ๗ ปัญหาการรุกล้ำทรัพยากรในสามจังหวัดภาคใต้ ตอนที่ ๔๖ ผักพื้นบ้าน ฉะเชิงเทรา ตอนที่ ๘ วิกฤติคนรุน่ ใหม่ในสามจังหวัดภาคใต้ ตอนที่ ๔๗ ท่องเที่ยวอัมพวาและเสียงสะท้อนจากคนแม่กลอง ตอนที่ ๙ มอญศาลาแดง ชีวติ สงบงามริมน้ำเจ้าพระยา ตอนที่ ๔๘ ตลาดสามชุกวันนี้ ตอนที่ ๑๐ เกาะเกร็ด ความโกลาหลของชุมชนมอญทีถ่ กู ท่องเทีย่ ว ตอนที่ ๔๙ อาหารในชาติพันธุ์ กทม. ตอนที่ ๑๑ เสียงรามัญของคนมอญรุน่ ใหม่ ตอนที่ ๕๐ หันหน้าลงคลอง...คืนชีวิตให้เวนิสตะวันออก ตอนที่ ๑๒ พิพธิ ภัณฑ์จนั เสน สร้างคน สร้างความรู้ ตอนที่ ๕๑ ภูมิวัฒนธรรมและการศึกษาท้องถิ่น ตอนที่ ๑๓ ยุวมัคคุเทศก์แห่งจันเสน ตอนที่ ๕๒ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือหัวใจของสังคม ตอนที่ ๑๔ ฟืน้ ตัวตนคนยวน นอกล้านนา ตอนที่ ๑๕ คนลาวแห่งท้องทุง่ ภาคกลาง ​D​V​D ตอนที่ ๑ สยามมาตุภูมิ ตอนที่ ๑๖ ชุมชนบ้านช่างในสังคมเมือง ​​R​e ​c​om​ ​m​e​n ตอนที่ ๑๗ กุฎจี นี รกรากชาวกรุงเก่าริมเจ้าพระยา ​ed​ ตอนที่ ๑๘ ยานนาวา : ย่านประวัตศิ าสตร์ทก่ี ำลังเลือนหาย ร​ าคา ​๙๙ ​บาท ตอนที่ ๑๙ “เปลีย่ น” หนองหาร : ผลกระทบต่อชีวติ แตกต่างในสังคมเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็น และสังคมคนสกลนคร กลุ่มคนมุสลิม ชาวเขาเผ่าต่างๆ กระทั่งชีวิตลูกหลานจีนในเมือง ตอนที่ ๒๐ คนกับป่าภูพาน หลวง ภาพแห่งความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง ตอนที่ ๒๑ พรานปลาน้ำโขงแห่งธาตุพนม ความเป็น ‘พหุลักษณ์’ (Pluralism) ที่ผสมปนเปกันในสังคมไทยมา ตอนที่ ๒๒ ภูมปิ ญ ั ญาและร่องรอยสวนในทีเ่ หลืออยู่ ช้านาน และเป็นบทเริ่มต้นของสารคดีชุด ‘พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด’ ตอนที่ ๒๓ บ้านสวนตลิง่ ชัน ตอนที่ ๒๔ สวนส้มบางมด...ถึงเวลาลาลับพับไป ตอนที่ ๒๕ ไหว้พระธาตุ ฟังเทศน์งานบุญหลวง : ​D​V​D​​R ​e​c​o ตอนที่ ๖ วิกฤตบ้านเมืองในสาม m​ ​m อัตลักษณ์ของคนด่านซ้าย ​e​n​e จังหวัดชายแดนภาคใต้ ​d ตอนที่ ๒๖ เข้าถึงชีวติ วัฒนธรรมคือยารักษาโรค ตอนที่ ๒๗ พ่อใหญ่แห่งทุง่ กุลา “เจ้าพ่อศรีนครเตา” ​ราคา ​๙๙ ​บาท ตอนที่ ๒๘ คนทุง่ กุลาไม่รอ้ งไห้ ุแห่งความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ มิได้เกิดขึ้นจากความ ตอนที่ ๒๙ เลีย้ งชีพในบุง่ ทาม “กุดขาคีม” ต้องการแบ่งแยกดินแดนในอดีตเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีที่มาจากนโยบายและ ตอนที่ ๓๐ ชาติพนั ธุใ์ น กทม. การดำเนินงานบริหารและปกครองของรัฐบาล โดยบางครั้งก็เข้าไปแก้ปัญหา ตอนที่ ๓๑ ความเป็นมอญในสังคมเมือง อย่างยุ่งเหยิงเกินกว่าจะควบคุม ทั้งยังมีผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลทาง ตอนที่ ๓๒ แขกมิใช่คนแปลกหน้า เศรษฐกิจและการเมืองในเรื่องอุตสาหกรรม ที่รุกคืบเข้าไปบีบคั้นชีวิตทาง ตอนที่ ๓๓ ชาติพนั ธุจ์ นี สังคมชาวนาแบบดั้งเดิม จนชาวบ้านเกิดปัญหาในการปรับตัว การ ตอนที่ ๓๔ ชาติพนั ธุใ์ หม่ใน กทม. แก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ ตอนที่ ๓๕ ปกาเกอะญอ ห้วยหินลาดใน จึงต้องให้ความสำคัญกับการเข้าถึงคนใน ซึ่งเน้นในเรื่องราว ตอนที่ ๓๖ รักษ์เชียงของ ทางศาสนาและวัฒนธรรมของผู้คนที่มีความหลากหลาย ทางชาติพันธุ์ เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้เข้าใจในความ ตอนที่ ๓๗ มนต์รกั แม่กลอง ของคนรักแม่กลอง เป็นสังคมพหุลักษณ์ที่เคยมีมา ตอนที่ ๓๘ “ฮักเมืองน่าน” พลังจากศรัทธาและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่

ความ

เหต

ป​ที่ ๑๖ ฉบับ​ที่ ๙๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

23


​D​V​D

ตอนที่ ๑๒ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ‘จันเสน’ สร้างคน สร้างความรู้ ​co​ ​m

​​R​e

​m​en​

​e​d

​ราคา

​๙๙ ​บาท

พิพิธภัณฑ์จันเสนเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกๆ ของประเทศไทย

ตอนที่ ๑๗ กุฎีจีน รกรากชาวกรุงเก่า ​D​VD​ ​​R​e ริมเจ้าพระยา ​co​ ​mm​

​e​n​e

​d

ที่จัดสร้างตามแนวคิดว่า “ต้องการให้มีพื้นที่สำหรับความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่นเป็นเจ้าของความรู้ จัดสร้างและดูแลด้วยตนเอง” ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จมากในการเผยแพร่ความรู้ตามเจตนารมณ์ให้แก่เยาวชน และคนทั่วไปในเขตภาคกลางแถบจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ ที่มีมานาน นับทศวรรษแล้ว จากวัดที่เคยทำหน้าที่เพียงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมกลายมาเป็น การใช้พื้นที่เพื่อการศึกษา สิบกว่าปีที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์จันเสนปลุกหมู่บ้านที่กำลัง หลับใหลให้กลายมาเป็นชุมชนแห่งการศึกษา ที่ผู้คนนับพันนับหมื่นต่างเข้ามาแสวง หาความรู้ และเป็นการพลิกวิกฤตสร้างโอกาสให้กับชาวบ้านรอบๆ ที่มีกิจกรรมการ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน และเด็กๆ เยาวชนได้อยู่ใกล้แหล่งความรู้และใกล้วัด ทั้งยังสร้างความหมายใหม่ๆ จนวัดจันเสนกลายเป็นสถานที่ให้โอกาสในการ สร้างคนและความรู้มากมาย บัดนี้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสนยังกลาย เป็นแม่แบบให้แก่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งอื่นๆ ให้มาเรียนรู้ กระบวนการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ของการศึกษา ท้องถิ่นผ่านพิพิธภัณฑ์ในระดับหมู่บ้านหรือ ​ราคา ๙ ​ ๙ ​บาท ตำบลในประเทศไทยทีเดียว

‘กุฎีจีน’ ย่านเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่บรรดาพ่อค้าวาณิช

ชาติต่างๆ ต้องมาจอดแวะให้ราชการไทยตรวจตราสินค้าก่อนผ่านด่าน เข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ครั้นหลังกู้บ้านเมืองหลังเสียกรุงได้แล้ว ย่านกุฎีจีนได้ขยาย ตอนที่ ๔๑ เติบโตจากการที่ชาวกรุงเก่าพากันอพยพติดตามพระยาตากเข้ามาตั้งถิ่นฐานยัง ‘สมเด็จเจ้าพะโคะ’ วีรบุรุษ ราชธานีแห่งใหม่ และเหตุด้วยตั้งอยู่ตอนใต้ของพระราชวังในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ​D​V​D ทางวัฒนธรรมแห่งเมืองใต้ จึงมีขุนนางพ่อค้าหลากเชื้อชาติศาสนาเข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยกระจายกันอยู่ในย่านนี้ ​​R​e ​c​om​ ความหลากกลุ่มชนหลากศาสนาที่อยู่รวมกันในพื้นที่แห่งนี้ เป็นภาพสะท้อนของสังคม ​m​e​n ​e​d ไทยที่เป็นสังคมพหุลักษณ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มชนยังดำรงตัวตนและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของตนไว้ ขณะเดียวกับที่ได้หลอมรวมเป็นคนสยามที่อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาทร coming แต่เมื่อกรุงเทพฯ พัฒนาเมืองเป็นมหานครใหญ่ ศาสนสถานซึ่งเคยแนบแน่นกับ ชุมชนก็เปลี่ยนแปลงด้วยลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ที่ทำให้พระภิกษุที่เคย soon เป็นลูกหลานในชุมชนกลายเป็นพระภิกษุจากถิ่นอื่นๆ ความผูกพันต่อ ​ราคา ​๙๙ ​บาท ชุมชนจึงจางหาย วัดจึงกลายเป็นแหล่งพัฒนาของเจ้าอาวาสที่ ขาดการฟังเสียงของชุมชน อันนำไปสู่การทำลายวัตถุสถานที่ เสียงของ ‘หลวงพ่อทวด’ มักปรากฏคำต่อท้ายว่า เป็นความทรงจำร่วมของคนในชุมชน ทั้งยังเกิดการ ‘วัดช้างไห้’ หรือต่อด้วยเหตุสร้างอภินิหารจากการ ‘เหยียบ ขัดแย้งที่ชาวบ้านไม่ทำศาสนพิธีกรรม น้ำทะเลจืด’ เน้นเพียงบูชาวัตถุมงคลรูปเหมือนท่านั่งสมาธิ มีไว้ ร่วมกับวัดของตน เพื่อปกป้องคุ้มครองตน แต่น้อยคนนักที่จะทราบถึงความสำคัญของ

ชื่อ

ท่านต่อท้องถิ่นของบ้านเมืองในคาบสมุทรสทิงพระ ทั้งนี้หลวงพ่อทวด สำหรับผู้คนในท้องถิ่นคือวีรบุรุษทางวัฒนธรรม [Culture Hero] นอกเหนือ ที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณแล้ว ยังปรากฏแน่ชัดว่าท่านเป็นผู้นำทางการปกครอง ผู้คนข้าพระที่มีเหนือผู้ปกครองฆราวาสในแถบคาบสมุทรสทิงพระ และเรื่อยไปถึง อีกฟากฝั่งของทะเลสาบด้วย เหตุนี้ตำนานในความอัศจรรย์ในชีวประวัติที่มีอภินิหาร ปรากฏ จึงเป็นการบอกเล่าตำนานของผู้มีบุญ มิใช่ผู้คนธรรมดา กลายเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อเสียงขจรไกลไปจนถึงบ้านเมืองของชาวมลายูที่ปาตานู และยังพบตำนานจาก ท้องถิ่นบางแห่งในเขตหัวเมืองมลายูทั้งฝั่งเคดาห์และกลันตันที่ท่านไปสร้างวัดในหมู่ ชาวพุทธไว้หลายแห่งอีกด้วย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.