จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๗ ประจำเดือน มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

Page 1

จดหมายขาว ปที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ LEK-PRAPAI VIRIYAPANT FOUNDATION

รวบรวม บันทึก ศึกษาขอมูลทางวัฒนธรรม สนับสนุนการอนุรกั ษเพือ่ พัฒนาเผยแพรการศึกษาของสาธารณชน

เมื่ออุตสาหกรรมยางพารา เปลี่ยนเมืองไชเชดถา แขวงอัตปอ พิพิธภัณฑท้องถิ่น ควรสร้างเพื่อใคร?? ภูมิวัฒนธรรมกับกรณีข้อพิพาท “ดอนสวรรค” ของไทสกล บ้านบ่อโพธิ์ : บ่อเกลือ ความเชื่อและวิถีชุมชน ในหุบเขานครไทย ร่องรอยวัฒนธรรมฮินดู–พุทธ ในดินแดนปาตานี สังคมท้องถิ่น ความสัมพันธ แบบเครือญาติที่หายไป

เปดประเด็น โดย

ศรีศักร วัลลิโภดม

พื้นที่วัฒนธรรม : การโต้กลับทางภูมปิ ญ  ญา ของคนใน


สารบัญ เปดประเด็น ๐๒ พื้นที่วัฒนธรรม : การโต้กลับทางภูมิปัญญาของคนใน

บันทึกจากท้องถิ่น ๐๗ เมือ่ อุตสาหกรรมยางพาราเปลีย่ นเมืองไชเชดถา แขวงอัตปือ

จับกระแสพิพิธภัณฑท้องถิ่น ๑๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรสร้างเพื่อใคร?

หมายเหตุจากผู้อ่าน ๑๓ ๑๕ ๑๗ ๑๙

ภูมิวัฒนธรรมกับกรณีข้อพิพาท “ดอนสวรรค์” ของไทสกล บ้านบ่อโพธิ์ : บ่อเกลือ ความเชือ่ และวิถชี มุ ชนในหุบเขานครไทย ร่องรอยวัฒนธรรมฮินดู–พุทธในดินแดนปาตานี สังคมท้องถิ่น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่หายไป

เปดประเด็น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

พื้นที่วัฒนธรรม : การโต้กลับ ทางภูมิปญญา ของคนใน

สั ง คม ท้องถิ่นแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย

ล้วนอยูบ่ นเส้นทางของความวิบตั ทิ างวัฒนธรรม นับแต่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแต่แลไม่เห็น สังคม มีแต่การเมืองแทนตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ทีบ่ กุ เบิกกระทรวง วัฒนธรรมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาเป็น กระทรวงการพั ฒ นาที่ ต่ อ มากลายเป็ น สภาพั ฒ นา เศรษฐกิจแห่งชาติ และมีแผนพัฒนาสืบมากว่าสิบแผน สิบฉบับในขณะนี้ ซึ่งล้วนเป็นแผนพัฒนาประเทศชาติ ที่เคยเป็นสังคมเกษตรกรรมแบบชาวนาให้เป็นสังคม อุตสาหกรรม โดยใช้อำนาจรวมศูนย์อันเกิดจากการ

จดหมายขาวมูลนิธเล็ ิ ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ ราย ๓ เดือน มีวัตถุประสงคเพือ่ เผยแพรขอ มูลขาวสารจากการดำเนินงานของมูลนิธฯิ และ ยินดีเปนเวทีตีพิมพประสบการณ ทรรศนะ ขอเสนอแนะ ฯลฯ จากหนวยงานดานสังคม วัฒนธรรม และผูสนใจทั่วไป อันจะนำไปสู เครื อ ข า ยความร ว มมือ ทาง วัฒนธรรม การ ศึกษา การ สราง และ พัฒนา องคความ รูเรื่อง เมือง ไทยให คงอยูตลอด ไป (หาก ตองการบอกรับเปนสมาชิกจดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ กรุณาสงชื่อที่อยูพรอมแสตมปดวงละ ๕ บาท ๒๐ ดวงตอป มายังที่อยูดานลาง) มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ lek_prapai@yahoo.com http://www.lek-prapai.org

ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์ / ตุ๊ก วิริยะพันธุ์ / รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม / ดร.ธิดา สาระยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ สุดารา สุจฉายา / วลัยลักษณ์ ทรงศิริ / ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร / รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ / นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป /พรพิมล เจริญบุตร / อรรถพล ยังสว่าง / มรกต สาตราคม / ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง / อภิญญา นนท์นาท / นพดล แก้มทอง / จตุพร ทองขันธ์ / วันชนะ ศีระพัฒน์ / สวรรยา ด้วงสำราญ


ปกครองแบบรวมศู น ย์ ที่ เ ป็ น มรดกมาแต่ ร ะบอบการปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็ น ระบอบประชาธิ ป ไตยแบบรั ฐ สภา โดยมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จาก พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนสมัย ปัจจุบัน ที่แท้จริงก็ไม่เคยเป็นประชาธิปไตยตามอุดมคติหากเป็น ระบอบเผด็จการของรัฐบาลทหารและตำรวจที่มีนายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนในเครื่องแบบกุมอำนาจในลักษณะทรราช แต่ในช่วงเวลาหลังราว ๒๐ ปีทผี่ า่ นมา ทรราชในเครือ่ งแบบ ลดน้ อ ยลง และเปิ ด ทางให้ บ รรดาพ่ อ ค้ า นายทุ น และนั ก ธุ ร กิ จ ข้ามชาติขึ้นมาจัดตั้งรัฐบาลทรราชเสียเอง โดยได้สยบข้าราชการ ทั้งในเครื่องแบบและไม่มีเครื่องแบบทั้งระดับสูงและระดับล่างให้ เข้ามาเป็นผูร้ บั ใช้อย่างซือ่ สัตย์ดว้ ยอำนาจเงิน ตำแหน่ง และโอกาส ในการทำงาน จนทำให้สถาบันทางสังคมวัฒนธรรมที่เคยจรรโลง สิ่งที่เป็นศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมจนหมดความหมายและ คุณค่าไป บังเกิดสิ่งชั่วร้ายในแผ่นดินที่ยากแก่การควบคุมป้องกัน และปราบปราม นั่ น คื อ การทุ จ ริ ต ฉ้ อ ราษฎร์ บั ง หลวงที่ แ พร่ ไ ป ทุกหนทุกแห่ง คล้ายกับการลุกลามของมะเร็งร้าย อาจกลาวไดวาทั้งประเทศชาติและสังคมไทยกำลังเปน มะเร็งระยะที่สี่ขั้นสุดทายก็วาได แต่ว่าความชั่วร้ายอย่างสุดๆ ที่เรียกว่าเป็นอนันตริยกรรม ของรัฐบาลเผด็จการทรราชของนายทุนในยุคโลกาภิวตั น์ทสี่ ามารถ คุมเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา สร้างนโยบายและการปฏิบตั กิ ารดำเนิน งานบริหารประเทศในลักษณะประชานิยมที่มักลงเอยด้วยการแจก เงินติดสินบนมอมเมาประชาชนที่ด้อยการศึกษาและไม่ทันโลก ให้กลายเป็นทาสน้ำเงิน รับรูก้ ารปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบ ซื้อเสียงขายเสียง และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสามานย์ที่แพร่มา จากมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและนายทุนข้ามชาติว่าเป็นของจริง ของแท้ที่สังคมอริยะทางโลกตะวันตกเขาทำกัน จนทำให้ ใ นทุ ก วั นนี้ประเทศไทยที่เป็นประเทศที่ มี ค วาม อุดมสมบูรณ์ท่สี ุดในโลกแห่งหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีที่ทำกิน มีอาหารอุดมสมบูรณ์ กำลังกลายเป็นประเทศเพื่อขาย เพื่ อ ประมู ล ของนายทุ น นานาชาติ ท่ี พ ร้ อ มเข้ า มาแทนที่ สั ง คม เกษตรกรรมแต่เดิมที่ผู้คนมีที่ทำกินที่บ้าน มีเมืองเป็นชุมชนมนุษย์ มาช้านาน ให้เปลี่ยนไปเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่นายทุนต่างชาติ เข้ามาเป็นเจ้าของแผ่นดิน เจ้าของกิจการอุตสาหกรรมหนักเกิด แหล่งที่อยู่อาศัยแบบบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียมนิคมอุตสาหกรรม ทีม่ คี นไทยแต่เดิมกลายเป็นแรงงานทีอ่ ยูไ่ ม่ตดิ ที่ ต้องโยกย้ายถิน่ ฐาน ไม่สามารถสร้างสิ่งที่มนุษยชาติพึงมีคือ ครอบครัวและชุมชน ส่วน คนที่ไม่เป็นแรงงานเป็นกรรมกรแม้จะไม่กลายเป็นคนพลัดถิ่นที่ ก็ ก ลายเป็ น ลู ก จ้ า งหรื อ ทาสติ ด ที่ ดิ น ให้ กั บ พวกนายทุ น และคน ต่างชาติไป ภายใต้รัฐบาลทรราชของนักธุรกิจการเมืองที่ชั่วร้ายในยุค โลกาภิวัตน์ที่ถูกครอบงำด้วยลัทธิและอำนาจเศรษฐกิจการเมือง จากประเทศมหาอำนาจทัง้ ทางตะวันตกและตะวันออก ประเทศไทย กลายเป็นประเทศเอาไว้ขาย [For sale] ทรัพยากรทั้งธรรมชาติ และวั ฒ นธรรม รวมทั้ ง ผู้ ค นที่ ถู ก บรรดานั ก วิ ช าการข้ า มชาติ ให้ความสำคัญว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ก็มีไว้เพื่อขายเพื่อเลหลัง

จนในไม่ ช้ า พื้ น ที่ แ ทบทุ ก ตารางนิ้ ว ของประเทศก็ ค งตกเป็ น กรรมสิทธิ์ของคนต่างชาติไปหมด โดยที่ผู้ที่เรียกว่าคนไทยคือทาส ติดที่ดิน นี่เป็นความรู้สึกนึกคิดของข้าพเจ้าที่มีมานานกว่าสาม ทศวรรษ และบุคคลผูเ้ ป็นกัลยาณมิตรอีกเป็นจำนวนมากทำให้เกิด การเคลื่อนไหวทางปัญญา [Intellectual movements] เกิดขึ้น เพื่อให้บรรดาผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศได้มี สติปัญญาและความรู้ทางสังคมวัฒนธรรมและความเป็นมนุษย์ ปลดแอกจากการลุกลามครอบงำทัง้ ในความคิด อุดมการณ์ ค่านิยม และการมองโลกแบบวัตถุนิยมและบริโภคนิยมออกจากการเป็น เหยื่อของลัทธิและระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยสาธารณ์ และเศรษฐกิจทุนนิยมสามานย์ที่ทำลายความเป็นสัตว์สังคมหรือ สัตว์มนุษย์ให้เป็นเพียงแค่สัตว์ปัจเจกเดรัจฉาน การเคลื่อนไหวของกลุ่มปัญญาชนดังกล่าวมีความแตกต่าง ทั้งในด้านแนวทางและรูปแบบ คือมีทั้งในแนวพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม เช่น พวกเน้นเศรษฐกิจ ชุมชน และสิง่ แวดล้อม ตลอดจน เรื่องของอาหาร ยารักษาโรค และสุขภาพของการเป็นอยู่กับ แนวทางฟื้นฟูชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งก็มีทั้งในรูปแบบของ การเข้าไปมีส่วนร่วมบ้าง หรือดำเนินโครงการเสียเองจนเป็นเหตุ ให้เกิดความขัดแย้งและถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกมือที่สามเข้าไป ปลุกปั่นยุยงให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐและคนภายนอก มูลนิธิเล็ก–ประไพ วิริยะพันธุ์ ก็อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหว ทางปั ญ ญาที่ ช่ ว ยเหลื อ สั ง คมชายขอบและสั ง คมที่ ด้ อ ยโอกาส ตามท้ อ งถิ่ น แต่ ไ ม่ ไ ด้ ล งไปยั ง ชุ ม ชนในลั ก ษณะของการดำเนิ น โครงการในการพั ฒ นาทางวั ต ถุ หากเป็ น การเข้ า ไปช่ ว ยเสริ ม และสนับสนุนให้ชุมชนรู้จักตัวเอง มีสติปัญญาในการเรียนรู้และ สร้างความรู้ทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาตนเองและปรับตัวให้ ทันโลกในกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ได้ทำลายชีวิตวัฒนธรรมของผู้คน นับแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงท้องถิ่นอยู่ในขณะนี้ งานของมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ในทุกวันนีจ้ งึ เป็นงาน ในลั ก ษณะเสริ ม ความรู้ แ ละสนั บ สนุ น ความเข้ ม แข็ ง ของชุ ม ชน [Em-powerment] เพื่ อ คนในชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ได้ มี ค วามรู้ ค วาม สามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยตนเองในลักษณะ ทีเ่ ป็นท้องถิน่ วัฒนา [Localization] ซึง่ เป็นการพัฒนาจากข้างล่าง ขึ้นบน [Bottom up] เพื่อต่อรองกับการพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง จากข้างบน คือจากรัฐบาลและจากทุนที่มาจากภายนอก แต่สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุดที่มูลนิธิฯ ได้ดำเนินงานมาก็คือ การสนับสนุนและแนะนำให้ผู้คนในชุมชนสร้างความรู้ ประวัติศาสตร์สังคมของผู้คนในท้องถิ่นในรูปของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คื อ เป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ เ รื่ อ งราวของชี วิ ต วั ฒ นธรรมของผู้ ค นใน ท้องถิน่ ทีม่ อี ยูห่ ลายชุมชน หลายครอบครัว หลายเหล่าหลายตระกูล หลายชาติพันธุ์และศาสนา ที่โยกย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน คือ “ท้องถิ่น” เกิดสำนึกร่วมกันว่าเป็นคนที่เกิดในถิ่นหรือพื้นที่ เดียวกัน เช่นในบรรดาผู้คนและชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลองก็จะมี ท้องถิน่ ทีเ่ รียกว่า บาง เช่น บางแม่หม้าย บางขันหมาก บางระมาด บางยี่ขัน อะไรทำนองนั้น หรือพื้นที่ซึ่งคนอยู่อาศัยร่วมกันในเขต เมือง เช่น กรุงเทพฯ ธนบุรี ก็เรียกว่า ย่าน เช่น ย่านพระโขนง ย่านบางลำภู ย่านแม้นศรี ย่านจักรวรรดิ เป็นต้น ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

3


ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดังกล่าวนี้ก็คือประวัติศาสตร์ของ ผู้คนในสังคมที่อยู่ในพื้นที่วัฒนธรรมเดียวกันนั่นเอง ปัจจุบันการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ-การเมืองของรัฐแบบจากบนลงล่างนั้น สร้าง พืน้ ทีท่ างเศรษฐกิจการเมืองลงไปแทนทีพ่ น้ื ทีว่ ฒ ั นธรรมของท้องถิน่ ด้วยการกำหนดเป็นเขตขึ้นแทนย่าน และเขตตำบลและอำเภอ อันเป็นพื้นที่การบริหารขึ้นแทน ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเป็น ชุมชนของคนที่อยู่ในพื้นที่วัฒนธรรมแต่เดิมหลายแห่งเกิดการ ล่มสลายตั้งแต่ครอบครัวไปถึงชุมชนท้องถิ่น และสิ่งที่คืบคลาน เข้ามาแทนที่ในยุคโลกาภิวัตน์ก็คือบรรดาบ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม สถานที่บริการการค้าต่างๆ นานาที่ไม่ใช่ชุมชน จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าและมูลนิธฯิ พบว่าท่ามกลาง การล่มสลายของครอบครัวและชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ของความ เป็นมนุษย์นั้น หลายแห่งหลายท้องถิ่นและชุมชนยังหาหมดสิ้นไป ไม่ แหล่งไหนที่ยังมีคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ยังรู้จักความเป็นมาของ ชุมชนตนเองก็มีการเคลื่อนไหวทางปัญญาเกิดขึ้น เพื่อยึดพื้นที่ วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นคืนมา ซึ่งถึงแม้จะเอาคืนมาไม่ได้ เหมือนเดิมก็เอาคืนทางด้านสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนในท้องถิ่นได้ รูจ้ กั ได้สำนึกและมีสติปญ ั ญาทีจ่ ะจัดการตนเอง นำความเป็นชุมชน และความเป็นมนุษย์คืนมา อย่างเช่นคนในชุมชนติดกันรวบรวมโบราณวัตถุทางชาติพันธุ์ของท้องถิ่นมาร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ วั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาในอดี ต หรื อ อนุ รั ก ษ์ พื้ น ที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อาคารบ้านเรือนเก่าๆ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างฟื้นฟูประเพณี พิธกี รรมทีย่ งั มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมขึน้ มาใหม่ ทัง้ หลาย แหล่ เ หล่ า นี้ ถื อ ได้ ว่ า เป็ น การดึ ง คนในชุ ม ชนโดยเฉพาะผู้ ที่ เ ป็ น เยาวชนได้เกิดสำนึกร่วมและความภูมิใจในท้องถิ่นอันเป็นแผ่นดิน เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นกลไกในการบูรณาการให้คนที่เข้ามาอยู่ใหม่ใน ท้องถิ่นได้รับรู้และกลายเป็นคนในท้องถิ่นขึ้น ในเรื่องนี้มูลนิธิฯ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการ ให้คำปรึกษา แนะนำในทางจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จนเกิดกระแส การสร้างพิพธิ ภัณฑ์ขนึ้ แพร่หลายไปในทีต่ า่ งๆ ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา แต่พพิ ธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ หลายแห่งทีเ่ กิดขึน้ ก็หาได้ประสบความสำเร็จ เหมือนกันไม่ เพราะมีเป็นจำนวนมากที่เป็นที่แสดงศิลปวัตถุเพื่อ ความสวยงาม เพื่อความเก่าแก่ที่หาดูยากอะไรทำนองนั้น หาได้ ให้ความหมายที่จะสื่อไปให้คนในท้องถิ่นเข้าใจไม่ เพราะมักเป็น พิพธิ ภัณฑ์ทจี่ ดั ตัง้ โดยคนนอกทีร่ บั ทุนจากราชการ จากมูลนิธฯิ และ กองทุนเอกชนที่มุ่งให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อให้ เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งสวนทางกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ของคนในเพื่อให้คนในชุมชนโดยเฉพาะ เยาวชนได้รู้จักตัวเองและมีความรู้ทางภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมา ช้านาน เพื่อการดำรงชีวิตรอดร่วมกัน มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ สนับสนุนการจัดพิพิธภัณฑ์ ที่มาจากความต้องการและความสำเร็จจากคนใน ด้วยการชักชวน และแนะนำให้คนในท้องถิน่ ทัง้ ผูร้ แู้ ละเยาวชนได้สร้างประวัตศิ าสตร์ สังคม วัฒนธรรมของท้องถิน่ ขึน้ เพือ่ เป็นผลงานวิจยั พืน้ ฐาน [Basic research] เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่จะนำไปกำหนดเรื่องราวและ เลือกเฟ้นสิ่งของที่มีความหมายมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เพราะ

4

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

ความเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องทางสังคมวัฒนธรรมที่ คนนอกไม่สามารถทำได้ ต้องเป็นเรื่องของคนในเท่านั้น องค์ความรู้ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในท้องถิ่นที่ ยังมีความเป็นชุมชนอยู่ และคนในท้องถิน่ ได้ใช้เป็นเครือ่ งมือในการ สร้างสำนึกร่วม สร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีความหมายและมีชีวิต แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการใช้เป็นสิ่งต่อรองเชิงอำนาจในลักษณะ ประชาพิจารณ์ในยามทีท่ อ้ งถิน่ ถูกคุกคามจากรัฐและนายทุนทีร่ กุ ล้ำ เข้ามาแย่งพื้นที่ยึดครองและแย่งทรัพยากร ข้าพเจ้าเรียกการ เคลื่อนไหวเพื่อการตอบโต้และการต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจจากรัฐและจากทุนอันมาจากภายนอกนี้ว่าการโต้กลับ ของคนในท้องถิ่นด้วยพลังทางสังคมวัฒนธรรม [Countervailing power] ซึ่งจะเป็นอำนาจทางสังคมในทางติชมและตรวจสอบ [Social sanction] ปัจจุบนั บ้านเมืองและท้องถิน่ ทีย่ งั มีรากเหง้าทางวัฒนธรรม เกือบแทบทุกภูมิภาคที่ถูกรุกรานและรุกล้ำจากภายนอกทั้งจาก ทางรัฐ ทางราชการ และกลุ่มทุนในทางเศรษฐกิจและการเมือง ได้มกี ารเคลือ่ นไหวโต้กลับทางวัฒนธรรมเพือ่ รักษาพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรม มากขึ้นเรื่อยๆ ในลักษณะที่เป็นการร่วมมือของผู้คนในภาคประชา สังคม [Civil society] ทีม่ ลี กั ษณะเป็นเครือข่าย มีการเรียนรูร้ ว่ มกัน และเข้าไปช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดั ง ตั ว อย่ า งเช่ น การเคลื่ อ นไหวของประชาคมคนเมื อ ง สกลนครที่ ออกมาต่ อ ต้า นที่ค ณะสงฆ์ธ รรมกายเข้า ยึดครองถือ กรรมสิทธิใ์ นพืน้ ทีเ่ กาะดอนสวรรค์ อันเป็นพืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิใ์ นตำนาน ทีค่ นหนองหารสกลนครถือว่าเป็นสมบัตริ ว่ มของท้องถิน่ ตามจารีต หาใช่กรรมสิทธิ์ของรัฐที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการออก เอกสารสิทธิ์ให้กลุ่มคนภายนอกเช่นคณะสงฆ์ธรรมกายไม่ การ รณรงค์ต่อต้านครั้งนี้เป็นผลให้ผู้รุกรานจากภายนอกต้องหยุดยั้ง และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ยอมเลิกถอนคำสั่ง หรือในย่านตลาดน้ำอัมพวา สมุทรสงคราม ที่มีนายทุน ต่างถิน่ เข้ามากว้านซือ้ ทีบ่ า้ นเรือนและร้านค้าของผูค้ นในชุมชนทีเ่ คย อยู่ กั น มาช้ า นาน เพื่ อ ก่ อ สร้ า งอาคารสู ง ทั น สมั ย ให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวเพื่อหารายได้และกำไรให้กับตนเองก็ได้รับการต่อต้าน ขับไล่ และไม่เห็นด้วยจากประชาคมคนแม่กลองที่ถือว่าพื้นที่ริมลำ คลองและย่านตลาดเป็นพื้นที่วัฒนธรรมของคนแม่กลอง ก็ทำให้ ผู้ที่เป็นนายทุนต้องเลิกราไปก่อนเหตุการณ์จะบานปลาย หรือทีอ่ ำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน มีนายกเทศมนตรี ที่เป็นคนต่างถิ่นคบกับนักธุรกิจในอำเภอ ทำโครงการเปลี่ยนพื้นที่ สาธารณะของเมืองที่อยู่หน้าวัดม่วยต่อซึ่งเป็นวัดมหาธาตุให้เป็น สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วในนามของญีป่ นุ่ น้อย [Little Japan] เพือ่ ดึงดูดให้ นักท่องเทีย่ วและนักลงทุนเข้ามาลงทุน โดยทีพ่ นื้ ทีด่ งั กล่าวเป็นลาน วัฒนธรรมหรือลานคนเมืองที่คนเมืองขุนยวมใช้ในงานประเพณี พิธีกรรมและเป็นแหล่งหย่อนใจ จึงเกิดการต่อต้านขึ้นโดยการ รวมตัวของคนเมืองที่นำเอาความรู้ในเรื่องความเป็นมาในชีวิต วัฒนธรรมทีเ่ คยมีมาแต่อดีตในรูปประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ขึน้ ต่อต้าน และต่อรองจนโครงการญีป่ นุ่ น้อยต้องระงับไป และเปิดโอกาสให้คน เมืองเข้ามาร่วมดูแลและจัดการในส่วนของประชาคม ตั ว อย่ า งที่ ย กมากล่ า วนี้ เ ป็ น เรื่ อ งของการที่ ทั้ ง ราชการ


นายทุน และองค์การจากภายนอกอ้างสิทธิแ์ ละอำนาจทางกฎหมาย ของรัฐเข้ามารุกล้ำพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม อันเป็นมรดกและสมบัตริ ว่ ม โดยจารีตของคนท้องถิ่นทั้งสิ้น แต่ในขณะนี้ก็มีหลายท้องถิ่นที่มี ความเป็นชุมชนทีท่ งั้ กลุม่ ประชาคม ฝ่ายบริหาร เช่น นายกเทศมนตรี นายอำเภอ และฝ่ายเศรษฐกิจ เช่น สภาหอการค้าร่วมกันพัฒนา วัฒนธรรมเพือ่ ปกป้องการรุกล้ำทางเศรษฐกิจการเมืองจากภายนอก เพื่อรักษาพื้นที่วัฒนธรรมของท้องถิ่นและชุมชนไว้ เช่นทีเ่ มืองแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทีอ่ ยูต่ ดิ ชายแดนประเทศ พม่าที่ตำบลท่าขี้เหล็ก ได้มีการฟื้นฟูตำนานและความเชื่อเรื่อง พระเจ้าพรหมมหาราชขึน้ มาเป็นผูน้ ำวัฒนธรรม แสดงอัตลักษณ์ของ คนชาติไทใหญ่ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ในท้องถิ่น ประดิษฐานอยู่ กลางลานหน้าที่ว่าการอำเภอแม่สายอันอยู่บริเวณใจกลางของ เมือง มีศาลหลักเมืองและหอพระพุทธรูปตั้งอยู่ในบริเวณนั้นด้วย พระเจ้าพรหมผู้สร้างเมืองเวียงพานคำซึ่งเป็นเมืองเก่าใน เขตอำเภอแม่สายเป็นพระมหากษัตริย์ในตำนานโยนกนาคพันธุ์ ที่ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหนึ่งเคยยกย่องว่าเป็นพระมหาราชองค์ แรกของชาติไทย ทรงเป็นเชื้อสายของพระยาสิงหนวัติกุมารผู้นำ ชนชาติไทยเคลือ่ นย้ายจากตอนใต้ของประเทศจีนมาสร้างบ้านแปง เมืองในแอ่งเชียงราย ทรงขับไล่พวกขอมที่เคยมีอำนาจในดินแดน มาก่อนและสร้างเมืองโยนกนาคพันธุ์ขึ้นเป็นเมืองหลวง ที่ต่อมา ตัวเมืองเชียงแสนในประวัติศาสตร์ไทยรุ่นก่อนยกย่องว่าพระเจ้า พรหมกุ ม ารทรงเป็ น ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เชียงราย ซึ่ง เป็ น ต้ น ราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองผู้สร้างพระนครศรีอยุธยาและขึ้นครองราชย์ในพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าพรหมกุมารจึง ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นมหาราชองค์แรกของชาติไทยในสมัย แรกๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ในการรับรู้และการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของกลุ่มคน ชาติพนั ธุไ์ ทยใหญ่ ซึง่ พระเจ้าพรหมกุมารคือผูน้ ำวัฒนธรรมของคน ยวนหรือโยนกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งสร้างบ้านแปงเมืองในแอ่ง เชียงราย โดยการเคลื่อนย้ายมาจากต้นน้ำสาละวินในพม่าตอน เหนือ ผ่านเขตอำเภอฝางมาตามลำแม่น้ำกกและเข้ามาตั้งรกราก อยู่ที่หนองหล่ม สร้างบ้านแปงเมืองขึ้นเป็นรัฐและอาณาจักร คนยวนหรือโยนกนีแ้ ท้จริงคือกลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ทยใหญ่เคลือ่ น ย้ายเข้ามาตัง้ หลักแหล่งบนทีร่ าบลุม่ และรังสรรค์กบั คนชาติพนั ธุล์ วั ะ บนทีส่ งู ซึง่ มีพฒ ั นาการสร้างบ้านแปงเมืองและลงมาตัง้ หลักแหล่ง ในที่ราบลุ่มเชียงรายในนามของคนชาติพันธุ์ลื้อ คนลื้อมีผู้นำวัฒนธรรมในตำนานที่สำคัญคือ ปู่เจ้าลาวจก ลวจักราช ลาวเก้าแก้วมาเมือง และขุนเจือง ที่เป็นกษัตริย์ยิ่งใหญ่ เสมอพระเจ้าพรหมกุมาร เมืองแม่สายเดิมในตำนานเป็นเมืองที่สร้างโดยลวจักราช ในนามหิรัญนครเงินยาง แต่เมื่อกลุ่มคนยวนเข้ามาครอบครองใน ระยะหลังเปลีย่ นมาเป็นเมืองพวนคำของพระเจ้าพรหมมหาราชไป ปัจจุบันคนไทใหญ่เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในเมืองนี้มานานหลาย ชั่วคนได้สร้างตำนานเมืองให้เป็นประวัติศาสตร์ถ่ายทอดให้คนรุ่น หลังๆ ที่แม้จะมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์เข้ามาตั้งถิ่นฐาน กลายเป็นคนแม่สาย ได้รับรู้เรื่อยมาทั้งในการถ่ายทอดจากการ บอกเล่าและการร่วมกิจกรรมทางสังคมในด้านประเพณี พิธีกรรม

ทัง้ ในพุทธศาสนาและการนับถือผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ ทำให้ เกิดชื่อบ้านนามเมืองและสถานที่ทั้งเก่าและใหม่ล้วนเกี่ยวข้องกับ ตำนานพระเจ้าพรหมกุมาร ปัจจุบันเมื่อเมืองแม่สายหรืออำเภอแม่สายในขณะนี้ตั้งอยู่ ติดชายแดนพม่า ได้กลายเป็นเมืองการค้าชายแดนที่มีการเติบโต ขยายตัวของการค้าชายแดนทีท่ งั้ หลายชาติพนั ธุแ์ ละทุนใหญ่นนั้ ทัง้ ในชาติและข้ามชาติเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเมือง แม่สาย เกิดสถานการค้า สถานทีบ่ ริการ และแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยของผูค้ น ร้อยพ่อพันแม่เกินกำลังที่โครงสร้างวัฒนธรรมและจารีตประเพณี จะบูรณาการให้คนที่เข้ามาใหม่กลายเป็นคนแม่สายและมีสำนึกใน บ้านเกิดแผ่นดินเกิดได้ กลุ่มผู้อาวุโสที่มีทั้งผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ ข้าราชการ และ นักธุรกิจ สภาหอการค้าซึ่งเป็นคนแม่สายร่วมกันรื้อฟื้นตำนาน พระเจ้าพรหมกุมาร ทีโ่ ดดเด่นคือรูปปัน้ ของพระเจ้าพรหมในลักษณะ ประทั บ ยื น ออกศึ ก เป็ น ประธานอยู่ ท่ า มกลางพื้ น ที่ ซึ่ ง เป็ น ลาน วัฒนธรรมของคนเมือง รูปปั้นของพระเจ้าพรหมมีลักษณะยกแท่น สูงแบบอนุสาวรีย์ที่เป็นสากล แต่เป็นอนุสาวรีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะ เป็นที่ผู้คนได้ไปกราบไหว้สักการะได้ตลอดเวลา แต่ที่สำคัญจะ กำหนดวันเวลาในการประกอบพิธกี รรมฉลองในรอบปี ซึง่ เรียกได้วา่ เป็นประเพณีสบิ สองเดือนทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ ทุกครัง้ ทีม่ ปี ระเพณีพธิ กี รรม เป็นงานฉลองสมโภชหรืองานประจำปี คนแม่สายจากถิ่นต่างๆ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และทุกวัยจะพากันออกมาจัดขบวนแห่ไปสักการะ รูปปั้นพระเจ้าพรหมร่วมกัน ไปยังลานวัฒนธรรมที่มีรูปปั้นผู้นำ วัฒนธรรมเป็นประธาน มีงานฉลอง มีงานแสดงต่างๆ นานา รวมทัง้ นำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท้องถิ่นมาจำหน่ายโดยคนท้องถิ่น แต่ที่ โดดเด่นก็คืออาหารพื้นเมืองแม่สายซึ่งเป็นอาหารแบบไทใหญ่ เช่น ข้ า วฟื ม แบบต่ า งๆ เป็ น ต้ น รวมทั้ ง บรรดาศิ ล ปะลวดลายและ สิ่งประดับต่างๆ ก็เป็นแบบที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมไทใหญ่ เกือบทั้งสิ้น สังคมไทยใหญ่เป็นสังคมที่มีลายลักษณ์ตัวอักษรเป็น สิ่งที่แสดงถึงการเป็นสังคมที่มีอารยธรรมมาแต่โบราณ การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับผู้นำวัฒนธรรมของ คนเมืองแม่สายนั้นมีความหมายทั้งในด้านบูรณาการวัฒนธรรมให้ คนที่อยู่แม่สายทั้งเก่าและใหม่ได้สังสรรค์กัน เกิดสำนึกร่วมถึงการ เป็นคนเมืองเดียวกัน นับเป็นการตอกย้ำอัตลักษณ์และการมีอยู่ ของพื้ น ที่ วั ฒ นธรรม และแสดงการตอบโต้ ก ารรุ ก ล้ ำ ของพื้ น ที่ เศรษฐกิจและการเมืองที่มาจากภายนอก ที่จะส่งผลไปถึงการ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่จะเกิดผลประโยชน์แก่คนเมืองอันเป็น ผลพลอยได้ที่ตามมา การเคลือ่ นไหวทางวัฒนธรรมในเรือ่ งผูน้ ำวัฒนธรรมนีก้ ำลัง แพร่หลายไปในชุมชนท้องถิน่ อีกหลายแห่ง ในภาคเหนือของประเทศ ไทยเช่ น ที่ จั ง หวั ด น่ า นเป็ น ต้ น นอกจากแม่ ส ายแล้ ว ก็ ยั ง มี ก าร เคลือ่ นไหวในเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมของเมือง เชียงของที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงให้เป็น “เมืองประวัติศาสตร์มีชีวิต” [Living historic city] โดยภาคประชาสังคมเมืองเชียงของซึ่งทั้ง ข้ า ราชการ เช่ น นายอำเภอและสภาหอการค้ า ซึ่ ง มี นั ก ธุ ร กิ จ อั น เป็ น คนท้ อ งถิ่ น กำลั ง ร่ ว มมื อ กั น เพื่ อ ป้ อ งกั น การรุ ก ล้ ำ ทาง เศรษฐกิจการเมืองที่จะมาจากคนจีนที่จะแห่กันมาทั้งเที่ยวและ ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖


ลงทุนที่เชียงของ และที่อื่นๆ ในลุ่มน้ำอิง แต่ ก ารเคลื่ อ นไหวรายสุ ด ท้ า ยในบทความนี้ ก็ คื อ “การ ประกาศพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรม” ของผูค้ นในชุมชนกะเหรีย่ งบ้านห้วยหินลาดใน เขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย คนกะเหรี่ยงเป็น กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ที่ เ ป็ น ชนชาติ เ ช่ น เดี ย วกั บ คนมอญที่ เ คลื่ อ นย้ า ย เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย อันเนื่องจากการรุกรานและกดขี่ ของพม่าในสมัยกรุงเทพฯ ตอนต้น แต่ไม่ได้เข้ามาแบบลี้ภัย หาก เข้ามาเป็นพลเมืองและเป็นทหารเป็นกำลังให้แก่ไทยในการสู้รบ ขับไล่กองทัพพม่าที่รุกรานไทยอย่างหนักแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึง สมัยรัชกาลที่ ๑ ทัง้ กะเหรีย่ งและมอญคือกำลังสำคัญทีข่ บั ไล่กองทัพพม่าจน พ่ายแพ้และเข็ดหลาบไม่กล้าเข้ามาอีก ทั้งรัชกาลที่ ๑ และสมเด็จ กรมพระราชวังบวรทรงปูนบำเหน็จให้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นชุมชน เป็นบ้านเมืองตามชายแดนด้านตะวันตกของประเทศ แต่งตัง้ หัวหน้า คนกะเหรี่ยงและมอญให้เป็นขุนนาง เป็นเจ้าเมือง มีศักดิ์มีตระกูล คนกะเหรีย่ งคือคนทีร่ กั สงบอยูก่ บั ธรรมชาติ รักป่ารักเขาและถิน่ ฐาน อยู่กันด้วยเศรษฐกิจแบบยังชีพและพอเพียง นับถือทั้งผีและพุทธ ดังเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ในพระมหากษัตริย์ และพระนิพนธ์ของ เจ้านายและขุนนางที่เสด็จประพาสและตามเสด็จประพาสป่าผ่าน ย่านที่อยู่อาศัยของคนกะเหรี่ยง มาถึงสมัยรัฐบาลเชือ้ ชาตินยิ มของจอมพล ป. พิบลู สงคราม และรัฐบาลประชาธิปไตยแบบทรราช ล้วนมองคนกะเหรีย่ งว่าไม่ใช่ คนไทยและเป็นพลเมืองอันดับสองหรือสาม มีการเคลื่อนย้าย ถิน่ ฐานทำไร่เลือ่ นลอย ตัดไม้ทำลายป่า ค้าของเถือ่ น ไม่ให้ประโยชน์ อันใดแก่ประเทศชาติ จึงเกิดการรุกล้ำถิ่นฐานของคนกะเหรี่ยง เข้าไปยึดครองทีด่ นิ ทำเกษตรกรรม อุตสาหกรรม สร้างพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรม จนคนกะเหรี่ยงที่อยู่กันเป็นชุมชนมาก่อนโดยโคตรเหง้าของ นายทุนและข้าราชการที่บุกรุกจะเกิดการรุกล้ำแบบทำลายโดยคน เมือง ข้าราชการ และนายทุนจากส่วนกลางนี้ เช่น การบุกเข้าไปล่าสัตว์ ในทุง่ ใหญ่นเรศวร ตัดไม้ทำลายป่า รวมทัง้ เกิดขบวนการค้าของเถือ่ น ยาเสพติดเหล่านี้ ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองก็มักจะโทษว่าเป็นคน กะเหรี่ยงทั้งสิ้น แต่คนกะเหรี่ยงก็ยังอยู่แบบรักสงบ มีขันติและสติปัญญา รวมทัง้ ต่อรองต่อต้านการรุกล้ำรังแกอย่างอหิงสา โดยสร้างเครือข่าย ของคนกะเหรี่ยงกระจายกันอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศ เช่น ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือให้รกั ษาความเป็นคนกะเหรีย่ งทีร่ กั ป่า อยู่กับป่า ไม่ทำลายป่า สื่อสารให้บรรดาปัญญาชนทั้งหลายที่ มีมนุษยธรรมได้รับรู้และเผยแพร่สังคมและวัฒนธรรมกะเหรี่ยงให้ รับรู้กันทั่วไป ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่รับรู้และเรียนรู้จักคนกะเหรี่ยง ทำให้ ได้เห็นว่าคนกะเหรีย่ งล้วนเป็นมนุษย์ทม่ี ชี มุ ชน มีวฒ ั นธรรมทีเ่ ข้มแข็ง และมีปัญญาเหนือชุมชนชาติพันธุ์อื่นๆ ควรที่คนในสังคมเมืองใน ยุคโลกาภิวตั น์ทกี่ ำลังอยูใ่ นภาวะวิบตั คิ วรได้เรียนรูใ้ ห้เกิดสติปญ ั ญา โดยเฉพาะเยาวชนซึ่ ง กำลั ง จะเป็ น พลเมื อ งคุ ณ ภาพต่ ำ ที่ สุ ด ใน ประเทศกลุ่มอาเซียนในอนาคต ควรได้ไปเรียนรู้ถึงชีวิตความเป็น อยู่ของคนกะเหรี่ยงที่บ้านห้วยหินลาดใน ชุมชนที่กำลังสร้างวาทกรรมเรือ่ งไร่เลือ่ นลอยทีท่ างรัฐทรราชและทุนข้ามชาติกล่าวว่าเป็น

6

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

การทำลายสิง่ แวดล้อมและทำให้โลกร้อนนัน้ แท้จริงคือไร่หมุนเวียน ที่เป็นอัตลักษณ์ของเศรษฐกิจแบบยังชีพและเพียงพอ หาใช่ไร่ เลื่อนลอยแบบที่กล่าวหา ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นวาทกรรมของบรรดา ข้ า ราชการและนายทุ น ที่ ชั่ ว ช้ า หมายบุ ก รุ ก ที่ ป่ า เขาทำไร่ ถ าวร เพื่อผลิตข้าวโพดให้กับโรงงานของบรรดานายทุนข้ามชาติ ไร่หมุนเวียนอันเป็นอัตลักษณ์ของคนกะเหรี่ยงเป็นสิ่งที่อยู่ ในพื้นที่ ซึ่งคนกะเหรี่ยงอยู่กันมานานกว่าร้อยปีหลายชั่วคนที่แล เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับ อำนาจเหนือธรรมชาติอย่างมีดุลยภาพ เป็นพื้นที่ที่เรียกว่า “นิเวศวัฒนธรรม” นั่นเอง คนกะเหรีย่ งบานหวยหินลาดในกำลังประกาศสิทธิธรรมใน การปกปองแผนดินเกิดในนามของ “พืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรม” เพือ่ ตอบโต “เขตวัฒนธรรมพิเศษ” ที่ทางรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงวัฒนธรรมที่กำหนดขึ้นมาโดยไมรูวาคืออะไร [What] ทำไม [Why] และจะทำอยางไร จัดการไดอยางไร [How] ใหเปนรูปธรรมขึน้ มา นอกจากประกาศออกมานานและก็เงียบไปจนทุกวันนี้


บันทึกจากท้องถิ่น

แขวง อัตปืออยู่เกือบใต้สุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตย

ประชาชนลาว และติดต่อกับสาธารณรัฐเวียดนามทางตะวันออก โดยมีทรี่ าบสูงบอละเวนซึง่ สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลีย่ กว่า ๑๐๐ เมตร กัน้ ขวางระหว่างแอ่งทีร่ าบอัตปือกับทีร่ าบลุม่ แม่นำ้ โขง ทำให้ อั ต ปื อ เป็ น ภู มิ ภ าคที่ ห่ า งไกลกั บ ศู น ย์ ก ลางของรั ฐ ที่ เ วี ย งจั น ทน์ หรือแม้กระทั่งจำปาสักด้วยระยะทางและสภาพภูมิศาสตร์ อัตปือจึงเป็นแอ่งพืน้ ทีร่ าบสุดท้ายก่อนจะข้ามเขาในเส้นทาง สำคัญผ่านไปยังบ้านเมืองริมฝัง่ ชายทะเลทีเ่ วียดนาม โดยเฉพาะที่ เมืองกุยเยินมาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ในเขตลาวตอนใต้ต่อจากจำปาสักก็คือเซกองและอัตปือ ทางด้านใต้มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงและที่ราบสูง มีแม่น้ำโขง ไหลผ่านไปยังสตรึงเตรงหรือเมืองเชียงแตงในอดีตต่อเขตกัมพูชา

(บน) ลานตากกาแฟของชาวบ้านซึง่ อพยพเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานริมถนนสายหลัก แขวงสาละวันทีร่ าบสูงบอละเวน

เมื่ออุตสาหกรรมยางพารา เปลี่ยนเมืองไชเชดถาแขวงอัตปอ ส่วนด้านตะวันออกเฉียงใต้คือที่ราบสูง “บอละเวน” ชาวลาวเรียก พืน้ ทีก่ ว้างใหญ่ทงั้ สูงและหนาวนีว้ า่ “ภูเพียงบอละเวน” ปัจจุบนั เป็น ที่ ป ลู ก กาแฟชั้ น ดี และผั ก ที่ ป ลู ก ในอากาศหนาวเย็ น เช่ น พวก ยอดผักซาโยเต้ มีทั้งเห็ดปลวกหรือเห็ดโคนตามฤดูกาล เมื่อผ่าน ที่ราบสูงนี้ก็จะถึงแอ่งที่ราบของอัตปือ สมัยสงครามเวียดนามเครื่องบินอเมริกันทิ้งระเบิดอย่าง หนักเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงของกองทัพเวียดกงในบริเวณ อัตปือ เซกอง และสาละวัน เพื่อนำไปสู่สมรภูมิในเวียดนาม และ เส้นทางนี้เรียกว่า “เส้นทางสายโฮจิมินห์” [Ho Chi Minh Trail] ที่ แ ขวงอั ต ปื อ มี เ มื อ งสามั ค คี ไ ชหรื อ เมื อ งใหม่ เ ป็ น เมื อ ง เอก นอกจากนัน้ ก็ประกอบด้วย เมืองไชเชดถา เมืองสนามไช เมือง สานไช และเมืองภูวง ผู้คนคือชนเผ่ากลุ่มต่างๆ รวมทั้งคนลาวลุ่ม ซึ่งพูดกลุ่มตระกูลภาษาไท-กะได ชาวข่ากลุ่มต่างๆ เช่น ตะโอย ตาเลียง แงะ ละเวน ละแว ทีพ่ ดู กลุม่ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร และกลุ่มชาวม้ง เป็นต้น และชาวกูยหรือกวยในท้องถิ่นทางอีสานใต้มักอ้างตำนาน ของตนเองว่าอพยพมาจากเมือง “อัตปือแสนปาง” ซึ่งเป็นถิ่นของ ชนเผ่าหลากหลายมากมาย นอกจากนี้ในเมืองยังเต็มไปด้วยคน เวียดนามที่ข้ามเข้ามาค้าขายและมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างสูง ทุกวันนี้ สภาพแวดล้อมมีขุนเขาโอบล้อมและมีแม่น้ำเซกองและ เซกะมานไหลผ่านเป็นแม่น้ำสายหลัก หมู่บ้านริมฝั่งน้ำเซกองและ เซกะมานมักเป็นถิน่ ฐานของลาวลุม่ มาแต่เดิม ส่วนบนพืน้ ทีห่ า่ งไกล บนภูเขาก็จะเป็นลาวเทิง แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายย้ายกลุ่ม ลาวเทิงมาไว้ในเมืองและริมถนนสายหลัก ทั้งเป็นหมู่บ้านเพื่อการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะการทอผ้าและขายผ้าทอ และการพัฒนาจาก

รัฐที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เล่ากันว่า “อัตปือ” มา จากคำ “อิดกระบือ” ที่แปลว่า ครอบครัวของชาวตะโอย “ขี้ควาย” ซึ่งมีร่องรอยมาจาก คำในภาษาเขมรเพราะมี ฝู ง ควายป่าจำนวนมาก ชาวบ้าน ไปที่ใดก็จะพบแต่ขี้ควาย ในคำ ให้การเมืองอัตปือ พ.ศ. ๒๔๓๔ ก็ยังกล่าวถึงชื่อนี้อยู่ แต่เมื่ อ ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงเรียกกันว่า “อัตปือ” จนถึง ปัจจุบัน การไปเยีย่ มเยือนอัตปือเมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๙ ยังพบเห็นสภาพ บ้านเมืองที่อัตปือเป็นไปอย่างเรียบๆ เมืองเหมือนกำลังตื่นและ ตั้งต้นใหม่ มีขนาดไม่ใหญ่โตอะไร เหมือนหัวเมืองอื่นๆ ที่ห่างไกล ในประเทศลาวทั่วไป เมืองสามัคคีไชเป็นเมืองใหม่ แต่เมืองดั้งเดิม และมีความสำคัญมาแต่โบราณคือ “เมืองไชเชดถา” เมื อ งสามั ค คี ไ ชอยู่ ฝั่ ง ตรงกั น ข้ า มกั บ เมื อ งเก่ า ไชเชดถา (ไชยเชษฐา) แต่มีการสร้างสะพานเซกองเชื่อมทำให้เดินทาง สะดวกขึน้ ส่วนตลาดประจำเมืองอยูก่ อ่ นถึงสะพานเซกองเป็นศูนย์ รวมการค้า มีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มากมาย เดินได้สนุกทีเดียว เมืองไชเชดถาตัง้ ชือ่ ตามพระนามของกษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่ของชาวลาว แต่ทำไมจึงมาอยูท่ เ่ี มืองอัตปือในดินแดนของชาวข่าอันห่างไกล รัชกาลพระเจ้าไชเชดถาธิราชถือเป็นยุครุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ลาว ชาวลาวล้วนนับถือพระองค์ว่าทรงเป็นมหาราชและ ทรงเป็นวีรกษัตริยพ์ ระองค์สำคัญ แต่ในปลายรัชกาลอำนาจของพม่า ในช่วงนัน้ ยึดครองล้านนาได้สำเร็จแล้วและกำลังมุง่ โจมตีเวียงจันทน์ และเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า พระเจ้าไชเชดถาจึงนำกำลังพล ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

7


(บน) ครอบครัวทีเ่ พิง่ กลับจากงานในไร่กาแฟของตนเอง (ล่าง) สายน้ำเล็กใหญ่ภายในทีร่ าบสูงบอละเวน

มุ่งสู่ดินแดนทางใต้ที่ไกลกว่า ๘๐๐ กิโลเมตร ในเอกสารประวัตศิ าสตร์ลาวบางเรือ่ งกล่าวว่า ในตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระไชเชดถาเสด็จปราบการแข็งเมือง ณ เมือง รามรักโองการหรือเมืองอัตปือในเวลาต่อมา แต่เนือ่ งจากถูกกลลวง จึงทำให้กองทัพของพระองค์ต้องตกอยู่ในวงล้อมระหว่างช่องเขา และถูกโจมตีจนแตกพ่าย ส่วนตัวพระองค์นั้นก็เสด็จหนีเข้าป่าแล้ว หายสาบสูญไปเมือ่ ราว พ.ศ. ๒๑๑๔ ในเวลานัน้ พระองค์ทรงมีพระโอรสองค์เดียวคือพระหน่อแก้วกุมารซึง่ เพิง่ ประสูตจิ ากบาทบริจาริกา อี ก กระแสหนึ่ ง กล่ า วว่ า เป็ น ปั ญ หาในราชสำนั ก เพราะ ถูกเสนาอำมาตย์ชื่อท้าวพระยานครและพระสังฆราชลวงให้ไป ปราบกบฏที่เมืองโองการเพื่อลอบปลงพระชนม์แล้วประกาศว่า พระเจ้าไชเชดถาหายสาบสูญไป ส่วนหนังสือ “ความเป็นมาชนชาติลาว เล่ม ๒” หนังสือ ประวัติศาสตร์ลาวกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า พระเจ้าไชเชดถาออกมา จากนครเวียงจันทน์ ต่อมาถูกคนในท้องถิ่นจับตัวเรียกค่าไถ่ แต่ ชาวเมืองอิดกระบือนำทองไปไถ่ถอนมาได้ แต่ร่างกายอ่อนแอมาก จึ ง ไม่ อ าจยกทั พ ไปตี เ อาเมื อ งเวี ย งจั น ทน์ คื น จากพม่ า ในที่ สุ ด ก็สิ้นพระชนม์ที่อัตปือ ก่อนสิ้นพระชนม์ได้สร้างวัดหลายแห่งทิ้งไว้ โดยมีพระครูหูยาวจุบ่า พระสหายเป็นผู้ช่วยดำเนินการต่อ แต่ในตำนานเมืองอัตปือที่ราชสำนักกรุงเทพฯ จดจากคำ ให้การของเจ้าเมืองอัตปือเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ ก่อนที่จะตกเป็นของ ฝรั่งเศสกล่าวอ้างว่า พวก “ข่า” ช่วยพระเจ้าไชเชดถาที่หนีการ เผชิญหน้ากับพม่ามาจากเวียงจันทน์ ตามตำนานกล่าวว่าท่าน หายไปที่อัตปือแต่ไม่ได้ตาย เพราะพวกข่าช่วยไว้ได้ และพวกเขา ยอมรับให้เป็นหัวหน้า

8

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

และกล่าวถึง “พระไช” คนลาว แต่จะเป็นคนลาวเมืองไหน ไม่ปรากฏ ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านอิดกระบือ ปลายเขต แดนเมืองนครจำปาสัก พระไชเที่ยวเกลี้ยกล่อมข่าขัดชาติข่านาที่ ตั้ ง บ้ า นเรื อ นอยู่ ใ นบ้ า นอิ ด กระบื อ เข้ า มาตามชายภู ห ลวงทิ ศ ตะวันตก ได้ขา่ ขัดชาติขา่ นารวม ๑๔ ตำบลบ้าน ไปข้างทิศตะวันออก ได้ ๒๐ ตำบลบ้าน เป็นเวลาราว ๖-๗ ปี พระไชก็ป่วยถึงแก่กรรม “พระไช” ในคำบอกเล่าจะเป็นพระองค์เดียวกับพระเจ้า ไชเชดถาหรือไม่ แต่สามารถกล่าวได้วา่ การรวมตัวของกลุม่ ข่านาซึง่ อยูใ่ นพืน้ ทีร่ าบลุม่ นัน้ มีกลุม่ ชาวลาวลุม่ ตัง้ ตนเป็นหัวหน้า และต่อมา จึงเป็นเมืองขึน้ กับเมืองจำปาสัก และทำทองส่งส่วยปีละ ๓ ชัง่ ทอง แต่ในตำนานวัดธาตุ (วัดธาตุจุลมณี) ซึ่งเชื่อว่าเป็นวัดที่มี ธาตุบรรจุพระบรมอัฐขิ องพระไชเชดถากลับอ้างว่า พระเจ้าไชเชดถา มีพระมเหสีอยู่ ๓ พระองค์ มเหสีองค์สุดท้ายคือ นางสามสี เป็น ธิดาของพระยาเมืองโองการซึ่งเป็นชื่อบ้านเมืองในอัตปือในอดีต เมือ่ ราว พ.ศ. ๒๑๒๒ ต่อมาท้าวพะไชซึง่ เป็นพระโอรสของพระเจ้า ไชเชดถาที่เกิดจากนางสามสีค้นพบพระบรมอัฐิของพระบิดา จึงได้ สร้างวัดหลวงขึ้นเพื่อนำเอาพระอัฐิของพระเจ้าไชเชดถาบรรจุไว้ใน ธาตุองค์เล็กภายในวัด ภายหลังประสงค์จะสร้างพระธาตุองค์ใหม่ซึ่งมีขนาดใหญ่ กว่ า แต่ ท้ า วพะไชเสี ย ชี วิ ต ก่ อ นที่ จ ะสร้ า งธาตุ อ งค์ ใ หม่ เ สร็ จ ชาวบ้านจึงนำเอาอัฐิของท้าวพะไชบรรจุไว้ในธาตุหลังใหญ่ และ เก็บพระอัฐิของพระเจ้าไชเชดถาไว้ในธาตุองค์เล็กดังเดิม เรื่องเล่าสุดท้ายจากตำนานวัดธาตุฯ เล่าสืบต่อกันมาจน กระทั่งชาวบ้านผู้สนใจในตำนานก็นำมาเล่าให้ผู้ไปไหว้พระธาตุ พระเจ้าไชเชดถาฟังเป็นประจำ จนถือว่าเป็นผู้รู้หรือมัคคุเทศน์ ท้องถิ่นประจำวันธาตุที่เมืองไชเชดถา นอกจากนี้ชาวบ้านที่นี่ยัง เชื่ออีกว่า พระเจ้าไชเชดถาจมน้ำตายในแม่น้ำเซกะมานหน้าเมือง ไชเชดถาแถววัดธาตุ ไม่ได้เจ็บป่วยจนสวรรคตแต่อย่างใด จากเอกสารดั ง กล่ า วพระเจ้ า ไชเชดถาถื อ เป็ น ผู้ น ำทาง วัฒนธรรมของชนเผ่าข่าต่างๆ ด้วย พวกเขายังรอการกลับชาติมา เกิดใหม่ [Reincarnation] มีบันทึกไว้ว่าราว พ.ศ. ๒๑๒๒ ชน พื้นเมืองที่อัตปืออ้างว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ เป็นพระเจ้าไชเชดถา กลับชาติมาเกิดใหม่ มีพลังอำนาจ มีฤทธิ์ จึงมีผคู้ นติดตามมากมาย ซึ่งอาจจะหมายถึง “พะไช” ผู้อ้างว่าเป็นบุตรที่เกิดจากนางสามสี แล้วสร้างเจดียบ์ รรจุอฐั ธิ าตุของพระองค์ไว้ทวี่ ดั ธาตุฯ ทีบ่ า้ นฝัง่ แตง ส่ ว นวั ด ที่ คู่ กั น บนฝั่ ง น้ ำ เซกะมานตรงข้ า มคื อ วั ด หลวงเมืองเก่า วราราม

แม่คา้ ชาวเวียดทีข่ า้ ม พรมแดนโดยการ ขีจ่ กั รยานยนต์มาจาก ทางฝัง เวียดนาม เพือ่ ขายของเร่ตาม หมูบ่ า้ นทีแ่ ขวงสาละวัน


กล่าวกันว่าในสมัยสงครามเวียดนาม อเมริกาพยายามทิ้ง ระเบิดแบบปูพรม แต่วัดทั้งสองฝั่งนี้ไม่เสียหาย ทำให้ชาวบ้าน ยิ่งนับถือศรัทธาเพิ่มขึ้นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามร่องรอยของการสร้างเมืองไชเชดถาที่อยู่ใน วัฒนธรรมของชาวลาวลุ่มกลุ่มใหญ่ในหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำนั้นมี ดงหอใหญ่หอเล็ก ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ใหญ่สำหรับทำพิธีกรรมเมือง แบบวัฒนธรรมล้านช้างหลวงพระบางอย่างเห็นได้ชัด และโบราณสถานรูปแบบวิหารแบบล้านช้างผสมล้านนาที่วัดหลวงซึ่งเป็น ร่องรอยทีช่ ดั เจนของวัฒนธรรมในยุคพระเจ้าไชเชดถาธิราช กษัตริย์ ลาวผู้ยิ่งใหญ่ และต่อมาคือผู้นำของชาวข่าที่นี้ และทั้งหมดนี้ อยู่ในท้องถิ่นแผ่นดินของชาวข่ากลุ่มต่างๆ ที่มีเพียงช่องทางติดต่อ ไปสู่ บ้ า นเมื อ งริ ม ชายฝั่ ง ทะเลทางแถบเวี ย ดนามตอนกลางได้ ง่ายกว่าเดินทางไปสู่เมืองหลวงพระบางและเวียงจันทน์ แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันบังเกิดเมื่อรัฐบาล ลาวยิ น ยอมเซ็ น สั ญ ญากั บ กลุ่ ม บริ ษั ท ทำพื ช ไร่ ข นาดใหญ่ จ าก เวียดนามคือ Hoang Anh Gia Lai Group ซึ่งเติบโตรวดเร็วมาก มาจากบริษัททำเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ แล้วเข้าสู่ การทำบริษัทเรียลเอสเตทและเข้าตลาดหลักทรัพย์ในระดับโลก ในเวลาต่ อ มา เมื่ อ ได้ รั บ โครงการสร้ า งหมู่ บ้ า นนั ก กี ฬ าซี เ กมส์ ในลาวในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และได้ผลตอบแทนเป็นการเซ็นสัญญา ในพื้นที่ปลูกยางพาราขนาดใหญ่ในเขตลาวหลายแห่งไม่ต่ำกว่า ๒๕,๐๐๐ เฮกตาร์ หรือประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ ไร่ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ส่วนอีก ๑๕๐,๐๐๐ ไร่เช่นกันได้สมั ปทานในกัมพูชา เพื่อใช้ไม้ยางพาราในการทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนแผ่นยางพารานั้น บริษัทใหญ่ที่รับซื้อคือมิชลินที่เพิ่งเข้าไปทำโรงงานในเวียดนาม ไม่กี่ปีมานี้ นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ที่แขวงเซกอง และที่อัตปือ ยั ง ขยายจากสวนยางพาราไปปลู ก อ้ อ ยเพื่ อ ทำโรงงานผลิ ต เอทานอลด้วย เมือ่ ต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ทีผ่ า่ นมา มีโอกาสได้เข้าไปลาวใต้ทาง แถบสาละวัน เซกอง อัตปือ อีกครั้งหนึ่ง จึงเห็นความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของเมืองอัตปือที่เปลี่ยนไปอย่าง รวดเร็วจนเหลือเชื่อ เพราะการปลูกพืชไร่ยางพารานับแสนไร่จาก กลุ่มบริษัท Hoang Anh Gia Lai Group พื้นที่เหนือเมืองไชเชดถาซึ่งเป็นที่ราบต่อเนื่องไปจนจรด เขตภูเขาที่จะเข้าสู่ชายแดนลาว-เวียดนามทั้งหมดนั้นเป็นสวนยาง พาราสุดหูสุดตา รวมทั้งโรงงาน หมู่บ้านพักของคนงาน แน่นอนว่า พื้นที่ทำกินที่เป็นนาข้าวของชาวบ้านที่ถูกเวนคืนโดยอ้างว่าจะ ได้งานทำทดแทน ค่าตอบแทนจากการทำงานในสวนยางพารา ที่ได้รายวันเพียงวันละ ๖๐-๗๐ บาท จึงเปลี่ยนจากครอบครัวที่ ทำนาปลูกข้าวมาเป็นซื้อข้าวกินตลอดช่วงปีหลังๆ มานี้ แต่ทุกคน ก็ไม่ได้มีงานทำทุกวัน เพราะจะมีงานมากในช่วงแรกๆ และในช่วง ต่อมาก็ต้องรอให้ต้นยางเติบโตพอกรีดยางได้ จึงจะเพิ่มแรงงาน ในการทำงานอีกครั้งหนึ่ง ถนนหนทางเต็มไปด้วยรถบรรทุกใหญ่ๆ ทั้งบรรทุกแร่และ บรรทุกไม้ซุงสารพัดชนิดไม้จากฝั่งลาว วิ่งเข้าสู่เวียดนามอย่าง รวดเร็ ว ทุ ก วั น รถโดยสารประจำทางหลายสายวิ่งประจำจาก เมื อ งปากเซจนถึ ง เมื อ งกุ ย เยิ น ที่ ใ ช้ ร ะยะทางกว่ า ๓๐๐-๔๐๐

กิโลเมตรทุกวัน รวมทั้งแม่ค้าขายของเร่ที่เดินทางเข้าออกที่ด่าน ชายแดนอย่างกล้าหาญอยู่ตลอดเวลา ในเมืองอัตปือขยายถนนหนทางใหม่ ตัดผังเมืองคล้ายคลึง กั บ เมื อ งในเวี ย ดนาม รวมทั้ ง โรงแรมที่ พั ก ของรั ฐ ที่ แ ขวงเคย จัดการเป็นอาคารพักเล็กๆ ก็เปลี่ยนเป็นโรงแรม Hoang Anh ที่ใหญ่โตมโหฬาร พร้อมๆ กับพ่อค้าแม่ค้าชาวเวียดนามที่เพิ่ม จำนวนทั้งในเขตเมืองต่างๆ และตามรายทางมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงหลัง ชีวิตของชาวบ้านในเมืองไชเชดถาเปลี่ยนไปจนเห็นได้ชัด ชาวบ้ า นจำนวนมากกำลั ง รื้ อ บ้ า นเดิ ม ที่ เ ป็ น อาคารเรื อ นไม้ ใต้ถนุ สูงทีค่ งสร้างมาแล้วไม่ตำ่ กว่าร้อยปี เพือ่ สร้างเป็นอาคารตึกก่อ อิ ฐ ถื อ ปู น ชั้ น เดี ย วดู ทั น สมั ย และมี รู ป แบบเดี ย วกั น โรงเรี ย น ชั้ น มั ธ ยมก็ ม าเปิ ด สอนและมี อ าคารใหม่ เ อี่ ย มบริ จ าคให้ เ ปล่ า โดยกลุ่มบริษัทฯ ผู้ปลูกยางพาราดังกล่าว อาณาบริเวณโดยรอบของชุมชนวัดธาตุซึ่งมารดาของท่าน ประธานประเทศลาว “จูมมะลี ไชยะสอน” เป็นคนเมืองไชยะบุรี เคยอยู่อาศัยริมแม่น้ำใกล้ๆ วัด จึงรื้อบ้านเก่าและสร้างบ้านตึก หลังใหญ่โตริมน้ำเซกะมานให้กับแม่ของท่าน แต่ก็ไม่ทันได้อยู่ เพราะเสียชีวิตไปเสียก่อน วัดธาตุฯ นั้นปรับเปลี่ยนทางกายภาพ ทัง้ สร้างเสริมกุฏสิ งฆ์ สร้างวิหารใหม่ ปรับปรุงเพือ่ รับการท่องเทีย่ ว อย่างเห็นได้ชัด กลุ่ม Hoang Anh Gia Lai Group นี้ถือว่ารุกเข้าสู่พื้นที่ ป่าดิบชืน้ ซึง่ กินพืน้ ทีท่ งั้ พืน้ ทีร่ าบสูงตอนกลางของเวียดนาม ป่าดิบ ในกัมพูชา ป่าบนที่ราบสูงของแขวงเซกอง สาละวัน และอัตปือ ที่มีพื้นที่ติดต่อกับเวียดนาม จนมีข่าวเมื่อราวปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ ผ่ า นมาว่ า รั ฐ บาลลาวได้ ป รั บ เปลี่ ย นนโยบายจำกั ด การให้ ประทานบั ต รในการทำเหมื อ งแร่ ป ลู ก ยางพาราและยู ค าลิ ป ตั ส การลงทุนของชาวต่างชาติ โดยไม่ยินยอมให้นำเอาแร่ที่ยังไม่ได้ แต่งออกนอกประเทศด้วย ทำให้มผี ลกระทบโดยตรงต่อกลุม่ บริษทั Hoang Anh Gia Lai Group อย่างชัดเจน เพราะนักธุรกิจ ผูล้ งทุนจะต้องร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเวียดนามเพือ่ การ

ธาตุบรรจุอฐั ขิ องพระเจ้าไชเชดถาและพะไชทีว่ ดั ธาตุ เมืองไชเชดถา เมือ่ ป พ.ศ. ๒๕๔๙ และพ.ศ. ๒๕๕๖ ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖


จับับนกระแสพิ ทึกจากท้พอิธงถิ ภัณ ่น ฑท้องถิ่น

ในราว

บ้านเรือนของชาวบ้านทีเ่ มืองไชเชดถาก่อนทีจ่ ะมีการ เปลีย่ นแปลงเป็นบ้านตึกชัน้ เดียวซึง่ นิยมสร้างใหม่กนั ทุกวัน

ตกลงและต่อรองอย่างเคร่งครัดเพื่อแก้ปัญหาที่อาจ เกิดขึ้น เพราะมูลค่าการลงทุนของเวียดนามในลาว มีมูลค่าประมาณ ๓.๔๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ จากอุตสาหกรรม การปลูกยางพารานี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าจะมี ผลกระทบต่อนักลงทุนชาวเวียดนามอย่างไรบ้าง แต่การใช้อิทธิพลจากรัฐบาลต่อรัฐบาลในการสร้าง ข้อตกลงให้เป็นไปตามพันธสัญญาตามข้อตกลงที่ เกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ของแขวงอัตปือยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และสร้าง ความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในทางลบต่อวิถี ชี วิ ต ของชาวบ้ า นในลาวอย่ า งน่ า ติ ด ตามถึ ง ผล กระทบที่กำลังเกิดขึ้น

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

ดงหอหลวงทีม่ สี ภาพ เป็นป่าครึม้ สำหรับ ทำพิธกี รรมเลีย้ งผีเมือง ของเมืองไชเชดถา

1๐

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

ต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ยังคงเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผู้คนยังไม่คุ้นเคย แต่เริ่มมีการเสวนาพูดคุย กันถึงการรวบอำนาจการจัดการพิพิธภัณฑ์ของรัฐไทยที่ผูกขาด เรือ่ งราวของประวัตศิ าสตร์แห่งชาติเอาไว้ทตี่ นเองฝ่ายเดียว กระแส การจัดการความรู้ในอดีตของชาติเช่นนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ในแวดวงคนทำงานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนหนึ่ง ในขณะนั้นเองก็มีการกล่าวถึงวิธีการจัดแสดงและนำเสนอ เนื้อหาเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในต่างประเทศ ที่ไม่จำเป็นจะ ต้องมีเพียงโบราณวัตถุหรือวัตถุอื่นใดเป็นข้อกำหนดในการศึกษาที่ ตายตัวและหยุดนิ่งเท่านั้น มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็นองค์กรหลักแรกๆ ในการ สนับสนุนการทำงานเรื่องพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยมี ที่ปรึกษาของมูลนิธิฯ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้นำในการ เผยแพร่แนวคิดตามสถาบันการศึกษาทัว่ ประเทศ และตามท้องถิน่ ทีม่ กี ารจัดโดยองค์กรของชาวบ้าน มูลนิธฯิ จัดสัมมนาขึน้ หลายครัง้ รวมทั้งจัดทำพิพิธภัณฑ์เป็นตัวอย่างเพื่อนำร่องขึ้นหลายแห่ง ซึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ถือเป็นการเริ่มต้น และตื่ นตั ว อย่ า งยิ่ งในช่ ว งทศวรรษต่ อ มา ๒๕๔๐ และ กระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเลื่อนไหลไปตามจังหวะของ บริบทในแต่ละพื้นที่และสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น จากการเฝ้าดูการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์กลายเป็นพื้นที่ความรู้ที่ไม่ได้ถูกผูกขาดโดยรัฐส่วนกลาง เท่านั้นอีกต่อไปแล้ว แต่แตกกอต่อยอดไปอีกมากมาย ทั้งที่ได้รับ อิทธิพลหรือแรงกระเพื่อมจากการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นยุคแรกๆ ที่เน้นการสร้างความรู้ที่เป็นของคนท้องถิ่นเพื่อสร้างพลังในการ รู้จักตนเองและเท่าทันสังคมระดับชาติและระดับประเทศ หรือบาง แห่งทีไ่ ม่ได้ทราบแนวคิดดังกล่าว แต่ทำเพราะเป็นกระแสความนิยม จนมีหน่วยงานราชการและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นต่างๆ เห็น เป็นช่องทางในการใช้งบประมาณอีกทางหนึง่ จึงเกิดบริษทั รับเหมา จัดทำพิพิธภัณฑ์ตามท้องถิ่นต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย จนกลายเป็น ธุรกิจเชิงวิชาการที่ทำรายได้ให้กลุ่มคนจำนวนมากเช่นกัน การจัดพิพธิ ภัณฑ์ท้องถิ่นแต่ละแห่งหากไม่ใช่หน่วยราชการ ก็ยังคงพบความยากลำบาก เพราะใช้งบประมาณจำนวนมาก เป็น เรื่องที่ไม่ง่ายเลยที่ชุมชนเล็กๆ จะมีเงินทองมาใช้จ่ายในกรณีเช่นนี้ ได้ แต่ก็พบว่ามีหลายแห่งที่จัดสร้างโดยทุนท้องถิ่น บริหารด้วย คนท้องถิน่ และสร้างกิจกรรมทัง้ ให้ความรูแ้ ละการท่องเทีย่ วท้องถิน่ ได้อย่างประสบผลสำเร็จ โดยไม่มีคนของรัฐหรือเงินของรัฐเข้าไป เกี่ยวข้องมากนัก ทุกวันนี้มีองค์กรท้องถิ่นที่สามารถนำงบประมาณจำนวน มากมาใช้เพื่อการจัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์” ประจำเมืองหรือประจำ จังหวัดหลายแห่ง ก็นับว่าเป็นความสำเร็จก้าวใหญ่ของการศึกษา นอกระบบสำหรับประเทศนีม้ ใิ ช่หรือ? เพราะมีงบประมาณมากพอ และศักยภาพของหน่วยงานและจำนวนบุคลากรรองรับไม่ใช่น้อย แต่หลายปีทผี่ า่ นมานัน้ มูลนิธฯิ กลับพบเห็นว่าเป็นไปในสิง่ ที่ตรงกันข้าม การจัดการสร้างพิพิธภัณฑ์ด้วยงบประมาณมหาศาล แทบจะทั้งหมดนี้ขาดมิติของเรื่องราวจากท้องถิ่น กลายเป็นความ


พิพิธภัณฑท้องถิ่นควรสร้างเพื่อใคร?

ด้านหน้าของพิพธิ ภัณฑ์ภพู านตัง้ อยูต่ ดิ กับหนองหารหลังโรงเรียนอนุบาลสกลนคร

บกพร่องของเนือ้ หาการจัดแสดงทีข่ าดความรับผิดชอบต่อสังคมไป อย่างสิ้นเชิง เพราะใช้วิธีคัดลอก ตัดแปะข้อมูลที่น่าจะเกิดจากการ ทำงานศึกษาอย่างจริงจังเพื่อนำเสนอแง่มุมและรายละเอียดของ เรือ่ งเล่าภายในทีค่ นท้องถิน่ เป็นเจ้าของ และสมควรทีจ่ ะภาคภูมใิ จ ในอัตลักษณ์ตัวตนของพวกเขาอย่างเต็มที่ กลับต้องมาสูญหายไป ระหว่างทางในการจัดแสดงอย่างน่าเสียดาย ในขณะทีช่ าวบ้านซึง่ มีศกั ยภาพสูง แต่ไม่มโี อกาสและเงินทอง ยังคงมีอยู่อย่างมากมาย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จึงเบี่ยง แนวทางจากการมุ่งศึกษาค้นคว้าและสนับสนุนการจัดพิพิธภัณฑ์ ท้ อ งถิ่ น มาเป็ น การสนั บ สนุ น ให้ ช าวบ้ า นเป็ น นั ก วิ จั ย ท้ อ งถิ่ น โดยเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ เป็นพี่เลี้ยงและร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อ ศึกษาท้องถิ่นของตนเอง และผลที่ได้นั้นนอกจากจะได้นักศึกษาที่เป็นชาวบ้านที่มี ประสิทธิภาพในการตั้งคำถามแล้ว ยังได้ข้อมูลท้องถิ่นมากมาย หลากหลายที่อาศัยทำโดยชาวบ้านเอง และสามารถนำไปใช้เพื่อ กิจกรรมในชุมชนโดยที่ไม่ต้องหวังพึ่งพาการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น แต่เพียงอย่างเดียว นำไปใช้ทั้งการสร้างหลักสูตรสำหรับเด็กๆ ในโรงเรี ย น การจั ด กิ จ กรรมเสริ ม เพื่ อ ทำความเข้ า ใจท้ อ งถิ่ น การสร้างยุวมัคคุเทศน์ การทำหนังสือเผยแพร่ การจัดนิทรรศการ กลางแจ้ง การท่องเที่ยว หรือการสร้างเครือข่ายพลังประชาคม ท้องถิ่นเพื่อรักษาดูแลท้องถิ่นของตนเอง ทีส่ กลนครก็มกี ารจัดสร้าง “พิพธิ ภัณฑ์ภพู าน” ใช้งบประมาณ รัฐไปหลายสิบล้านบาท ตั้งอยู่ริมหนองหารด้านหนึ่งของตัวเมือง สกลนครบริเวณหลังโรงเรียนอนุบาลสกลนคร พิพธิ ภัณฑ์ภพู านเปิด

อย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ และได้ทดลองเปิด พิพิธภัณฑ์ภูพานอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่เดือนเมษายนแล้ว เอกสารจากข่าวต่างๆ อ้างอิงข้อมูลที่ตัวแทนจากจังหวัด ซึ่งเป็นฝ่ายหรือองค์กรรับผิดชอบโครงการมาแต่แรกเริ่ม ชี้แจง วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์ภูพาน วัตถุประสงค์ส่วนใหญ่รองรับ “การท่องเที่ยว” ในกลุ่มจังหวัดที่เรียกกันว่า “สนุก” และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวม เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของจังหวัดสกลนครที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากเส้นทาง กลุ่มจังหวัด “สนุก” (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์) ให้ แ วะเข้ า มาเที่ ย วชมเพื่ อ รั บ ทราบข้ อ มู ล การท่ อ งเที่ ย วผ่ า น นิทรรศการที่นำเสนอผ่านสื่อแบบ Interactive ก่อนจะเดินทาง ต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ และเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นจากการ ขายสินค้า การให้บริการด้านต่างๆ ภายในอาคารและด้านนอกจัดแสดง ๙ โซน ได้แก่ ห้องโหมโรง ห้องแสดงนิทรรศการ “มหัศจรรย์ภพู าน” ห้องป่าบุง่ ป่าทาม ป่าพรุ อีสาน ห้องหนองหารกับการตัง้ เมืองสกลนคร ห้องคนสกลนคร ห้อง อาศิรวาทองค์ราชัน องค์ราชินี ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ห้องดินแดนแห่งธรรมและการแสดงประติมากรรมลานกลางแจ้ง แสดงวิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ สะท้อนความเป็นสกลนคร ใน นิยามเมืองแห่ง ๔ ธรรม ประกอบด้วย ธรรมะ ธรรมชาติ วัฒนธรรม และอารยธรรม และเปิดให้เข้าชมฟรีจนถึงปัจจุบัน ทั้งเด็กนักเรียน ครู และผูใ้ หญ่เข้าชมกันมากมายล้นหลาม แสดงถึงความขาดแคลน สถานที่ให้ความรู้ในเชิงพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างชัดเจน โดยมี เ จ้ า หน้ า ที่ จ ากสำนั ก งานวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด ดู แ ล ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

11


(ซ้าย) การประชุมร่วมกับผูใ้ หญ่ นักวิชาการ และภาคประชาสังคม โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครเป็นเจ้าภาพในประเด็นเรือ่ ง “การปรับปรุงพิพธิ ภัณฑ์ภพู าน” (กลาง, ขวา) การจัดแสดงภายในพิพธิ ภัณฑ์ภพู าน

ในเบื้องต้นพร้อมเจ้าหน้าที่เกือบสิบท่าน แต่ก็ยังไม่มีแนวทางที่ ควรจะวางแผนล่วงหน้าก่อนการเปิดมานานแล้วว่า การจัดการ พิพิธภัณฑ์ซึ่งถือได้ว่า “เป็นงานบริการชุมชนที่จัดการให้ประสบ ความสำเร็จได้ยากทีส่ ดุ ในโลก” งานหนึง่ จะเดินต่อไปอย่างไร ฝ่ายใด จะมีหน้าทีบ่ ริหารจัดการสิง่ เหล่านีใ้ ห้เปิดบริการได้ตอ่ ไป และควรมี กิจกรรมเสริมเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ผู้คนในสกลนครและจังหวัด อื่นๆ ใช้ได้อย่างต่อเนื่องไปได้อย่างไร กล่าวกันว่าพิพธิ ภัณฑ์ภพู านแห่งนีใ้ ช้เวลาจัดสร้างนานมาก และพบอุปสรรคปัญหาหลายประการ และเมือ่ เข้าไปชมนิทรรศการ จริงก็พบว่าปัญหาและอุปสรรคใหญ่เหล่านั้นก็ยังไม่เท่ากับการ สื่อสารของพิพิธภัณฑ์ที่น่าจะพูดได้ว่า แม้จะใช้เทคโนโลยีการจัด แสดงแบบมัลติมีเดียหลายรูปแบบเพื่อดึงดูดใจให้สนุก ดูไม่น่าเบื่อ แต่เนื้อหาที่จัดแสดงนั้นถึงขั้นย่ำแย่หรือไม่สามารถสื่อข้อเท็จจริง ทั้งของเทือกเขาภูพานและความเป็นเมืองสกลนครได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง หรือน่าสนใจค้นหาความรู้อย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวในการสื่อสารสำหรับพิพิธภัณฑ์ที่ ลงทุนลงแรงมหาศาลสถานที่หนึ่งทีเดียว จากเทศบาลนครสกลนครผู้ดูแลเบื้องต้นเพราะเป็นพื้นที่ สถานที่ตั้ง ปรับมาให้อยู่ในการดูแลขององค์กรบริหารส่วนจังหวัด สกลนคร จนเป็นที่มาของการประชุมเมื่อไม่นานมานี้ ที่มูลนิธิฯ ได้ รับเชิญให้เข้าร่วมให้ความเห็น โดยมีอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิฯ และนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดี อาจารย์เสรี พงศ์พศิ นักพัฒนาจากบ้านท่าแร่ สกลนคร วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ร่วมกับผู้อาวุโสและนักวิชาการในเมือง สกลนคร รวมทั้งเครือข่ายจากท้องถิ่นสกลนคร เช่น องค์กรที่ต้อง เข้ามาทำงานร่วมกัน หอการค้า กลุ่มเครือข่ายรักษาดอนสวรรค์ เพื่อไทสกล รวมทั้งองค์กรการศึกษาที่สนใจในกิจกรรมพิพิธภัณฑ์ จำนวนหนึ่ง เพื่อพิจารณาหารือร่วมกันระหว่างองค์กรทางวิชาการจาก ภายนอกและเครือข่ายภาคีภายในท้องถิน่ สกลนคร และหาแนวทาง ในการปรับปรุงการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ปรับปรุงโครงสร้าง การจัดการพิพธิ ภัณฑ์เพือ่ ท้องถิน่ ตลอดจนวางแผนการจัดกิจกรรม ต่อเนือ่ งเพือ่ สร้างและเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับแอ่งวัฒนธรรมอีสาน เหนือและเมืองสกลนครแก่เยาวชนและคนในท้องถิ่นให้ได้ประสิทธิภาพที่มากขึ้น อาจจะเป็นไปได้ที่การเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ ภูพานนี้เป็นผลมาจากการรวมตัวของคนท้องถิ่นไทสกลที่เกิดขึ้น เนื่องจากปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะดอนสวรรค์ที่ผ่านมา ซึ่ง

1๒

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

เป็ น การรวมตั ว และปลุ ก วิ ญ ญาณของความเป็ น คนท้ อ งถิ่ น ที่ ต้ อ งการเห็ น บ้ า นเมื อ งปรั บ เปลี่ ย นและพั ฒ นาไปในทิ ศ ทางที่ ข้าราชการทั้งประจำและฝ่ายการเมืองคงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อ รับฟังความคิดเห็นของคนท้องถิ่นให้มากขึ้น ไม่ใช่เป็นเช่นการกระทำอย่างที่เคยผ่านมา ซึ่งไม่ได้ร่วม ปรึกษาหารือกับใคร และใช้งบประมาณสร้างในสิ่งที่ไม่สามารถนำ ไปใช้ให้คุ้มค่าได้เช่นนี้ การปรึกษาหารือรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายต่างๆ ที่ เป็นคนภายในสกลนครผสมผสานกับผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองให้ ข้อคิดเห็นมากมาย สิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดการต่อต้านจากคนภายใน ก็ได้ เพราะอยูใ่ นช่วงเริม่ ต้นพูดคุย แต่บรรยากาศทีม่ กี ารแสดงความ คิดเห็นหลากหลายและร่วมกันขบคิดเพื่อกิจกรรมสาธารณะเช่นนี้ ในเมื อ งสกลนครที่ เ ริ่ ม จะมองเห็ น ความหวั ง ในการปรั บ ปรุ ง เปลี่ยนแปลงอยู่บ้างแล้ว ก็น่าติดตามว่า ในอนาคตพิพิธภัณฑ์ภูพานที่ชาวบ้านชาวเมืองขอให้ปรับ มาเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชน และผู้คนทั่วไปมากกว่าจะเป็นเพียงสถานที่เพื่อรองรับกิจกรรม การท่องเที่ยวนั้นจะเปลี่ยนไปได้อย่างไร สถานที่เพื่อการศึกษานอกระบบเช่นนี้จะสามารถกลายมา เป็นพื้นที่ให้ความรู้สาธารณะที่มีคุณภาพได้หรือไม่ ทั้งมูลนิธิฯ และ ไทสกลนครทั้งมวลกำลังสังเกตการณ์อยู่เช่นกัน เพราะพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรสร้างเพื่อคนท้องถิ่น ไม่ใช่เพื่อ ข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง หรือพ่อค้าผู้รับเหมา บางกลุ่มบางคน การศึกษาท้องถิน่ อันมีการจัดสร้างกระบวนการทำพิพธิ ภัณฑ์ ท้องถิ่นเป็นเป้าหมาย ยังมีความสำคัญต่อสังคมไทยในอนาคต อย่างมาก ก็เพื่อเรียนรู้สังคมอื่น เพื่อการรู้จักสังคมของตนเอง อย่างถ่องแท้ และเข้าใจในโลกและสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปโดย ไม่ตกเป็นเหยื่ออำนาจของฝ่ายใด แม้เวลาจะผ่านไปกว่ายี่สิบปี สิ่งเหล่านี้กลับเคลื่อนที่ไปได้ อย่ า งช้ า ๆ บางครั้ ง ก็ เ หมื อ นจะถอยหลั ง กลั บ อย่ า งน่ า ฉงนจน เหน็ดเหนื่อยหัวใจ ถ้าพิพิธภัณฑ์ที่สกลนครปรับเปลี่ยนได้ ความหวังในใจของ คนมูลนิธิฯ ที่มีต่อกิจการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นซึ่งช่วยกันเริ่มต้นและ ร่วมใจกันทำงานมาอย่างยาวนานไม่นอ้ ยก็อาจพองฟูขน้ึ มาบ้างก็ได้ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ


หมายเหตุจากผู้อ่าน

ภูมวิ ฒ ั นธรรมกับกรณีขอ้ พิพาท “ดอนสวรรค์” ของไทสกล (บนขวา) การรวมพลังของชาวไทสกลคัดค้านการออกโฉนดที่ดอนสวรรค์เพื่อทำเป็นธรณีสงฆ์ โดยมีองค์กรของธรรมกายมีส่วนร่วมในการขอใช้พื้นที่สาธารณะ ผ่านทางคณะสงฆ์ของจังหวัดสกลนคร

ปกติ แ ล้ ว ผู้เขียนตอบคำถามเรื่องราวทุกระยะต่อกรณี

“ข้อพิพาทเกาะดอนสวรรค์”* ในฐานะหนึ่งในผู้เริ่มเปิดประเด็นนี้ สู่สาธารณะแบบเปิดเทปม้วนเก่าอย่างเป็นอัตโนมัติ แต่ มี ค ำถามหนึ่ ง ที่ ผู้ เ ขี ย นต้ อ งใช้ ค วามคิ ด อย่ า งมาก ในการตอบคือคำถามที่ว่า “อะไรที่ทำให้คนสกลทุกหมู่เหล่าลุกขึ้นมาต่อสู้ในเรื่องนี้ กันมากมายกว้างขวางขนาดนี้?” หากจะตอบแบบดูดีดูเท่ทันสมัยก็คงต้องตอบว่า “เพราะ ชาวสกลนครเป็นผู้เข้าถึงการใช้สิทธิชุมชน” และก็คงต้องถูกถาม ต่อไปอีกว่า “อะไรที่ทำให้เชื่ออย่างนั้น กรุณาอธิบายขยายความ หน่อย” ถึงตอนนีผ้ เู้ ขียนก็คงต้องอึง้ และต้องแอบคิดในใจว่าพีน่ อ้ ง ผมเข้าถึงจริงหรือ? หรือเขาลุกขึ้นมาเพราะอะไรกันแน่ เพราะสิทธิชมุ ชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๖-๖๗ นัน้ มิใช่ ว่าแค่อ่านกฎหมาย อ่านตำรา หรือฟังบรรยายแล้วจะทำความ เข้าใจและเข้าถึงในเวลาไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงได้ ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ ทีช่ าวสกลนครเข้าใจกฎหมายรัฐธรรมนูญมากกว่าหรือไม่ แต่อยูท่ ี่ เขามีสงิ่ เร้านำพวกเขาเข้าสูก่ ระบวนการลุกขึน้ มาปกป้องเรียกร้อง ในการจัดการดอนสวรรค์ตามสิทธิข์ องเขา ด้วยเหตุปจั จัยทีก่ อ่ ตัว ขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า แล้วอะไรคือสิ่งเร้า คงต้องตอบว่าน่าจะเป็น “สำนึกแห่ง ความเป็นเจ้าของร่วม” ปกติแล้วความเป็นเจ้าของร่วมของคนสกลนครก็เห็นมีอยู่ มากมายที่ถูกละเมิด ถูกลิดรอนจากหลายฝ่าย เช่น การรุกพื้นที่ สาธารณะ หนองน้ำ หรือทีป่ า่ สงวน หรือแม้แต่หนองหารเองก็ถกู

สัญลักษณ์ของ “เครือข่ายรักษาดอนสวรรค์เพือ่ ไทสกล” การรวมกลุม่ ของภาคประชาชนในจังหวัดสกลนครเพือ่ คัดค้านการนำพืน้ ทีส่ าธารณะ ในหนองหารไปเป็นกรรมสิทธิข์ ององค์กรสงฆ์

ทั้งราชการและราษฎรบุกรุกทำลาย แต่ไม่เห็นมีการเคลื่อนไหว เรียกร้องกันถึงขนาดนี้ ฉะนั้นจึงต้องมีอะไรที่มากกว่าความรู้สึก เป็นเจ้าของร่วมกันต่อดอนสวรรค์ เป็นสิ่งที่พิเศษมากกว่ากรณี อื่นๆ เมื่อมานั่งพิจารณาดูแล้ว ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีองค์ประกอบ สำคัญ ๔ ประการ ๑. ดอนสวรรค์เป็นสัญลักษณ์พเิ ศษ ด้วยหนองหารมีพนื้ ที่ กว่า ๗๖,๐๐๐ ไร่ มีเกาะเล็กเกาะน้อยกว่า ๓๐ เกาะ มีดอนสวรรค์ เป็นเกาะใหญ่สุดที่มีพื้นที่ ๑๐๐ ไร่เศษ มีสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ ถึงแม้จะถูกแผ้วถางไปแล้วเกือบครึ่ง และถูกน้ำท่วมกลืนชายฝั่ง ไปจากการสร้างประตูควบคุมน้ำสุรสั วดีทตี่ น้ น้ำก่ำ ทำให้ระดับน้ำ ไม่ได้ลดลงมากในหน้าแล้งเหมือนในอดีต ด้วยคุณลักษณะพิเศษนีท้ เี่ กาะอืน่ ๆ ไม่มี ดอนสวรรค์จงึ เป็น เสมือนสวนสาธารณะธรรมชาติกึ่ง “ดอนปู่ตา” (หมายถึงพื้นที่ ศักดิส์ ทิ ธิใ์ นการทำพิธกี รรมร่วมกันของชาวบ้านโดยเฉพาะในพืน้ ที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่ประชาชนคนสกลนครใช้ประโยชน์ ร่วมกันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ เป็นส่วนหนึง่ ของวิถชี วี ติ ชุมชนคนรอบ หนองหาร มีเรือ่ งราวทีเ่ กีย่ วข้องกับตำนาน ความเชือ่ และถือเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้ทำพิธีกรรมทั้งทางศาสนาและความเชื่ออื่นๆ มาโดยตลอด โดยไม่มีใครคณะใดคณะหนึ่งแสดงกรรมสิทธิ์ในการ เป็นเจ้าของ ด้วยองค์ประกอบทีว่ า่ นีจ้ งึ ทำให้ดอนสวรรค์เป็นเสมือน สัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณอันลึกซึง้ ของคนสกลนคร แม้บางคนอาจ จะไม่เคยเดินทางขึ้นไปบนดอนสวรรค์เลยในชีวิต เพียงมองเห็น จากฝั่ง แต่ก็ผูกพันเสมือนเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ๒. คู่กรณีเป็นคนนอก ตามพยานหลักฐานเชิงประจักษ์ ชาวสกลนครได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ชาวพุ ท ธศาสนิ ก ที่ ใ กล้ ชิ ด พระสาย วิปสั สนากรรมฐานตามแนวปฏิบตั ขิ องหลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต เห็นว่า ผูท้ ต่ี อ้ งการให้ออกเอกสารสิทธิเ์ ป็นทีธ่ รณีสงฆ์คอื พระสายธรรมกาย ทีถ่ อื ว่าเป็นคนนอก เข้ามาอยูอ่ าศัยในสกลนครเสมือนแขกมาบ้าน ในอดีตที่ผ่านมาชาวสกลนครไม่ได้แสดงออกถึงความรังเกียจ กีดกันแต่อย่างใด แต่ก็เฝ้ามองด้วยความระแวงสงสัยในแนวทาง ปฏิบัติที่แตกต่าง ๓. องค์กรภาคประชาชนเข้มแข็ง ชาวสกลนครไม่มีนัก การเมืองระดับชาติทมี่ ตี ำแหน่งใหญ่โตในทุกรัฐบาลเหมือนจังหวัด ข้างเคียงมานานมาก จึงต้องพยายามพึง่ พิงตัวเองไว้กอ่ น ทำให้เกิด องค์กรภาคประชาชนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ไม่ว่าหอการค้าจังหวัด ชมรมสมาคมต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ตลอดจนร่วมมือ

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

13


กับเครือข่ายที่ไม่ใช่ราชการ [NGO] ข้างนอกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อ เกิดเหตุการณ์นี้ทุกองค์กรจึงรวมตัวกันได้อย่างรวดเร็ว และพร้อม เดินไปด้วยกันภายใต้ชื่อ เครือข่ายรักษาดอนสวรรค์เพื่อไทสกล (รดส.) มีการคัดเลือกกรรมการและประธานกันเอง ว่าจะให้ใครมี ตำแหน่งและทำหน้าที่ในช่วงใด สถานการณ์ใด หรือจะให้องค์กรใด นำ เพราะต่างไม่ได้ถือเอาประโยชน์ส่วนตนหรือคณะตนเป็นที่ตั้ง ๔. สิ่งเหนือธรรมชาติ กรณีนี้ดูจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ สามารถนำมาเรียบเรียงและอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลจับต้อง หรือคิดคำนวณเป็นตัวเลขได้ ประกอบกับข้อจำกัดของผูเ้ ขียน แต่ก็ ด้วยกำลังใจจากคำสอนของอาจารย์ผใู้ หญ่ทเี่ คารพนับถือเป็นอย่าง ยิ่งคือ ท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่พูดเสมอมาว่า “ภูมิวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ” ประเด็นนีเ้ ป็นเช่นนัน้ จริงๆ เพราะมีอะไรทีเ่ หนือความคาดหมาย เหมือนจักรวาลจัดสรร เหมือนสวรรค์กำหนด หรือโชคชะตา บารมีของสิ่งที่มองไม่เห็น กำหนดให้สรรพสิ่งต้องเป็นไปตามนั้น ผู้เขียนจะไม่เล่าอะไรให้คิดตามหรือขัดแย้ง เพียงแค่อยากบอกว่า เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นนั้นได้เกี่ยวข้องกับผู้คนและ สถานการณ์ตา่ งๆ มากมาย เมือ่ มานัง่ คิดย้อนหลังก็เกิดคำถามขึน้ มา ทันทีวา่ ทำไมจึงมีคำว่า “บังเอิญหรือเผอิญ” เกิดขึน้ บ่อยมาก นับตัง้ แต่ วันแรกที่รู้ว่าจะมีการแจกโฉนดดอนสวรรค์มาจนถึงปัจจุบัน มี หลายสิ่งหลายอย่างและหลายคนที่เข้ามาสอดรับกันอย่างพอดีที่ ทำให้การคัดค้านดำเนินมาได้ด้วยดีโดยตลอด กล่าวโดยสรุป กรณีดอนสวรรค์กับการเรียกร้องสิทธิชุมชน เป็นกรณีพิเศษที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยไม่ได้เตรียมการหรือวาง รูปแบบองค์กรตายตัวไว้เพือ่ เคลือ่ นไหวตัง้ แต่ตน้ แต่อย่างใด ทุกอย่าง เป็นการเรียนรูไ้ ปพร้อมๆ กัน โดยอาศัยความจริงใจในการขับเคลือ่ น มีวตั ถุประสงค์ทชี่ ดั เจนร่วมกันของภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น (เทศบาลนครสกลนครและองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสกลนคร) แม้เบื้องต้นการจัดขบวนต้องอาศัยระบบจัดตั้งจากองค์กร บริหารส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก แต่พอต้องขับเคลื่อนต่อเนื่องนาน มากขึน้ เครือข่ายก็ได้ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีการ ประชุมกรรมการเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเป้าหมาย ๔ ข้อ เป็นตัวกำหนดชัดเจน ได้แก่ ๑. คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดอนสวรรค์เพื่อให้เป็นที่ สาธารณสมบั ติ ข องแผ่ น ดิ น ประเภททรั พ ย์ สิ น สำหรั บ พลเมื อ ง ใช้ร่วมกันสืบไป ๒. เพื่อดำเนินการให้มีการเพิกถอนชื่อ “วัดดอนสวรรค์ (ร้าง)” ออกจากสารบบทะเบียนวัดร้างของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๓. ปลูกจิตสำนึกรักท้องถิน่ และหวงแหนผืนแผ่นดินอันเป็น สาธารณสมบัติของชาวสกลนคร ๔. สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาดอนสวรรค์เชิงอนุรักษ์และ ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าดึกดำบรรพ์ให้ยั่งยืน

14

จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

หากถามว่ า รู ป แบบการขั บ เคลื่ อ นเพื่ อ สิ ท ธิ ชุ ม ชนคน สกลนครจะเป็นแบบอย่างให้แก่ที่อื่นได้หรือไม่ ผู้เขียนเชื่อว่า “ทั้งเป็นแบบได้และเป็นแบบไม่ได้” ที่เป็นแบบได้ก็อย่างเช่น ภาคประชาชนหลายๆ องค์กรมา รวมตัวกันทำกิจกรรมตามความถนัดความชอบหรือตามปัญหาร่วม ของสมาชิกองค์กรนั้นๆ โดยมีองค์กรอื่นๆ ให้การสนับสนุนหรือให้ กำลังใจตามสมควร และอย่างน้อยปีละครัง้ ก็มาร่วมกันทำกิจกรรม ในเทศกาลหรื อ ในสถานการณ์ อ ย่ า งหนึ่ ง อย่ า งใดที่ มี ผ ลกระทบ ร่วมกันทั้งจังหวัด ส่ วนที่ว่ าจะเป็ นแบบไม่ ได้ นั้น เพราะองค์ ประกอบทั้ง ๔ ประการทีก่ ล่าวข้างต้น ไม่ใช่กรณีปกติทจี่ ะเกิดขึน้ ได้บอ่ ยๆ และเมือ่ เกิดแล้วจะหล่อเลีย้ งกันต่อไปอย่างไร ด้วยประเด็นหรือภารกิจใดบ้าง สำหรับผู้เขียนแล้วกรณีดอนสวรรค์จะเป็นบททดสอบที่ยากที่สุด และหากทำสำเร็จตามเป้าหมายได้ทั้ง ๔ ข้อ ก็คงไม่มีเรื่อง อื่นใดที่ชาวสกลนครจะทำไม่สำเร็จ ภายใต้คำว่า “สิทธิชมุ ชนคนสกลนครใครจะละเมิดมิได้” เป็น สิทธิทเี่ หนือกว่าความเชือ่ ทางการเมือง เหนือความเป็นเชือ้ ชาติ และ เหนือความเชื่อในลัทธิซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องส่วนตนหรือพวกตน หากกรณีดอนสวรรค์จะกลายเป็น “สกลนครโมเดล” หรือ รูปแบบการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวบ้านและชุมชนแบบสกลนคร อันเป็นเหตุการณ์สำคัญของชาวจังหวัดสกลนครให้ลูกหลานได้ ภาคภู มิ ใ จในมาตุ ภู มิ ก็ น่ า จะเป็ น การบรรลุ เ ป้ า หมายสู ง สุ ด ทีไ่ ม่มใี ครคาดคิดมาก่อน ชาวสกลนครมักมีกจิ กรรมทางศาสนาโดยเฉพาะการทำบุญ ทำทาน มีชมรมสมาคมของผูม้ จี ติ อาสาต่างๆ มากมาย ล้วนแต่เป็น องค์การที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อ “ให้” เกือบทั้งนั้น และทีม่ แี ปลกกว่าทีอ่ นื่ ก็เห็นจะเป็นการจัดเวทีไทบ้านอย่าง “เวทีโสเหล่กนั วันเสาร์” ของชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล ทีจ่ ดั ร่วมกับ เทศบาลนครสกลนครติดต่อกันมากว่าขวบปีแล้ว เพื่อเปิดพื้นที่ให้ “ไทสกล” ได้ออกมาพูดคุยแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องราวต่างๆ ใน ท้องถิน่ และในบางครัง้ ก็เชิญวิทยากรจากทีต่ า่ งๆ มาร่วมเวทีพดู คุย กันอย่างชาวบ้านกับชาวบ้าน เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน การจัด กิจกรรมต่างๆ ลักษณะนี้ของภาคประชาชนเป็นเสมือนการเตรียม ความพร้อมเบื้องต้นของการก้าวย่างไปสู่การเรียกร้องปกป้อง สิทธิชุมชนโดยไม่รู้ตัว ผู้เขียนเข้าใจว่าความอุดมสมบูรณ์ของเมืองสกลนครที่มี มาตัง้ แต่ในอดีตกาล จึงทำให้ผคู้ นทีอ่ ยูท่ นี่ มี่ อี ปุ นิสยั โอบอ้อมอารีตอ่ แขกผูม้ าเยือน ความเข้าใจเช่นนีห้ าได้เกิดจากการคิดเองเออเองของ ผู้เขียนไม่ แต่อย่างน้อยที่สุดก็มีคนนอกที่มองเห็นและยืนยัน โดย เฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ได้ยืนยันบ่อยครั้ง ความคุ้นเคย ความเชื่อถือซึ่งกันและกันในทุกภาคส่วนทั้ง คนในและคนนอกเป็นหัวใจสำคัญยิ่งของการขับเคลื่อนองค์กรภาค ประชาชน คนสกลนครอาจจะมีความต่างทางเชือ้ ชาติ ประเพณี และ ความเชื่ อ แต่ ก็ อ ยู่ ร่ ว มกั น ได้ อ ย่ า งสงบสุ ข บนพื้ น ดิ น ที่ มี ค วาม หลากหลายทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ทั้งแหล่งน้ำ ป่าเขา และภูมิ-


อากาศทีด่ ที ส่ี ดุ เพียงไม่กแ่ี ห่งในประเทศไทย องค์ประกอบเหล่านี้ ล้วนมีความสัมพันธ์กนั จนทำให้ “ไทสกล” มีอตั ลักษณ์พเิ ศษ กว่าทีอ่ น่ื หรือจะบอกว่ามีภมู วิ ฒ ั นธรรมพิเศษกว่าทีอ่ น่ื ก็คงไม่ผดิ ความพิเศษนี้จะหมดไป หากไทสกลปล่อยให้กระแส ต่างๆ จากภายนอกมาทำลายความสัมพันธ์ของคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ และเมื่อนั้น “ไทสกล” ก็จะเป็นเพียงตำนานที่ผู้คนรุ่นหลังแค่เล่าขานใน สิ่งที่ผู้ฟังไม่มีวันจะเข้าใจ แล้วก็ค่อยๆ ลืมเลือนไปในที่สุด ประเด็ น สุ ด ท้ า ยที่ ท้ า ทายยิ่ ง กว่ า การต่ อ สู้ รั ก ษา ดอนสวรรค์ในวันนี้ คือทำอย่างไรลูกหลานของคนสกลนครจะ ได้เรียนรูซ้ มึ ซับสิง่ ทีค่ นยุคนีท้ ำไว้อย่างเห็นคุณค่า นีแ่ หละจะเป็น ปัญหาสุดท้ายทีค่ นยุคนีจ้ ะต้องดำเนินการก่อนทีพ่ ลังจะหมดไป ประสาท ตงศิริ ราษฎรอาวุโสเมืองสกลนครและผู้ประสานงาน “เครือข่ายรักษาดอนสวรรค์เพื่อไทสกล”

“ข้อพิพาทเกาะดอนสวรรค์”* เริ่มจาก มีความพยายามของฝ่ายคณะสงฆ์ของจังหวัด สกลนครขึน้ ทะเบียนสถานทีบ่ นดอนสวรรค์ให้เป็น วัดร้างโดยสมบูรณ์ และเมื่อเข้าพรรษาในปีที่ผ่าน มา คณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากวัด ธรรมกายนำพระเข้าไปจำพรรษาอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะในหนองหารจำนวนหนึ่ง และมีความ พยายามรังวัดที่ดินขอออกโฉนดจากทางภาครัฐ ผ่านการเร่งรัดจากกรรมาธิการทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผูแ้ ทนราษฎร และดำเนินการ โดยหน่ ว ยงานภายในจั ง หวั ด สกลนครหลาย หน่วยงาน จึงเป็นที่มาของกรณีพิพาทกับภาค ประชาสังคมของชาวสกลนคร มีผคู้ นจำนวนมาก แสดงเจตจำนงไม่ต้องการให้มีการออกโฉนดที่ผิด กฎหมายเช่นนี้เกิดขึ้น นำไปสู่การร่วมคัดค้านใน โซเชียลมีเดียและการรวมกลุม่ ประท้วงเป็นระยะๆ จนทำให้รฐั ไม่สามารถออกโฉนดทีด่ นิ ดังทีต่ อ้ งการ ได้ แต่กย็ งั อยูใ่ นการดำเนินการหาข้อยุตเิ พือ่ พิสจู น์ ข้อมูลว่ากรณีดอนสวรรค์เคยมีวัดร้างตามกฎหมายหรือไม่ โดยประชาชนชาวสกลนครเสนอ ข้อมูลอีกด้านในทางประวัติศาสตร์บอกเล่าจาก ความทรงจำและเอกสารหลักฐานต่างๆ ว่าพื้นที่ ดอนสวรรค์นั้นไม่เคยมีศาสนสถานในฐานะการ เป็น “วัด” อย่างสมบูรณ์แต่อย่างใด (มูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์)

บ้านบ่อโพธิ์ : บ่อเกลือ

ความเชือ่ และวิถชี มุ ชน ในหุบเขานครไทย

ลำน้ำเฟีย้ มีตน้ กำเนิดในเขตเทือกเขาบริเวณรอยต่อ

ระหว่างอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย กับอำเภอนครไทย จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก ไหลผ่ า นพื้น ที่ต ำบลบ่ อ โพธิ์ ตำบล ยางโกลน และรวมเป็นส่วนหนึง่ ของแม่นำ้ แควน้อยในเขต ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย ความยาวประมาณ ๓๐ กิ โ ลเมตร ลำน้ ำ เฟี้ ย มี ค วามสำคั ญ มาตั้ ง แต่ส มัยก่อ น ประวัติศาสตร์ เนื่องจากว่าบริเวณต้นน้ำมีการพบแหล่ง เกลือสินเธาว์กระจายอยู่หลายแห่ง “บ้านบ่อโพธิ”์ เป็นหมูบ่ า้ นทีอ่ ยูใ่ นหุบเขาริมน้ำเฟีย้ ดังกล่าว มีบา้ นเรือนกว่า ๑๕๐ หลังคาเรือน ตัง้ กระจายอยู่ ตามไหล่เขาสองฝัง่ ลำน้ำเฟีย้ ทีต่ งั้ ของหมูบ่ า้ นอยูห่ า่ งจาก ตัวอำเภอนครไทยประมาณ ๓๐ กิโลเมตร และอยู่ห่าง จากตัวอำเภอด่านซ้ายประมาณ ๑๕ กิโลเมตร บ่ อ โพธิ์ เ ป็ น หมู่ บ้ า นที่ อ ยู่ ช ายขอบของจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก และภาคเหนื อ ตอนล่ า งที่ ติ ด ต่ อ กั บ อำเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นอำเภอชายขอบของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ทีม่ าของชือ่ หมูบ่ า้ นก็มาจากชือ่ ของ บ่อเกลือโบราณซึ่งเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นแห่งนี้เป็นอย่างดี สภาพทางภูมิศาสตร์ของบ้านบ่อโพธิ์ลักษณะเป็น พื้นที่หุบเขา อาณาเขตของหมู่บ้านถูกล้อมรอบด้วยภูเขา ทุกด้าน มีลำน้ำเฟีย้ ไหลผ่านกลางหมูบ่ า้ น แต่ในฤดูหนาว ทีบ่ า้ นบ่อโพธิจ์ ะหนาวมาก บางปีกเ็ กิดปรากฏการณ์นำ้ ค้าง แข็งหรือแม่คะนิ้งด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่ามีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ในหมูบ่ า้ นไม่มกี ารใช้นำ้ ประปาจากใต้ดนิ แต่มกี าร ใช้นำ้ จากระบบประปาภูเขา ซึง่ จุดรวมน้ำซับอยูท่ ว่ี ดั บ้าน บ่อโพธิ์ ก่อนที่จะมีการต่อท่อน้ำลงมายังบ้านเรือนของ ชาวบ้าน การที่ บ้ า นบ่ อ โพธิ์ ตั้ ง อยู่ ใ นบริ เ วณหุ บ เขาจึ ง มี ความเสีย่ งต่อการเกิดภัยธรรมชาติ ทางราชการจึงได้ตดิ ตัง้ หอเตือนภัยไว้ที่หมู่บ้านนี้ด้วย บริเวณใกล้เคียงทีต่ งั้ บ้านบ่อโพธิม์ กี ารพบร่องรอย การอยู่ อ าศั ย ของมนุ ษ ย์ ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ที่ บ ริ เ วณ ผาประตูเมืองซึง่ อยูท่ างทิศใต้หา่ งจากหมูบ่ า้ นประมาณ ๑ กิโลเมตร และมีการพบขวานหินขัดกระจายอยู่ทั่วไปตาม หุบเขาต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกกัน ว่า “เสียมตุ่น” สำหรับประวัติการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของ ชุ ม ชนในปั จ จุ บั น จากคำบอกเล่ า ของคุ ณ ปู่ สุ ข กั ญ หา

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

1๕


สภาพบ่อเกลือบ่อโพธิ์ ศาลเจ้าปูห่ ลวงบ่อเกลือ และวิถชี วี ติ ในการ ทำเกลือของชาวบ้าน บ่อโพธิ์

ชาวบ้านบ่อโพธิใ์ น ปัจจุบนั ยังมีการ สืบทอดการทำเกลือ แบบโบราณอยู่

ซึง่ เป็นผูอ้ าวุโสของหมูบ่ า้ นและเป็นสมาชิกของตระกูลแรกๆ ทีอ่ พยพ เข้ามาอาศัยทีห่ มูบ่ า้ นบ่อโพธิ์ พอสรุปความได้วา่ บรรพบุรษุ ของคุณปู่ สุขได้อพยพมาจากอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตัง้ แต่เมือ่ ครัง้ ทีพ่ อ่ ของคุณปู่สุขยังเป็นเด็ก การอพยพครั้งนั้นปรากฏว่ามีชาวบ้านตั้ง บ้านเรือนอยูแ่ ล้วราว ๑๐ ครอบครัว และตระกูลทีอ่ พยพมาในระยะ แรกและยังคงสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ตระกูลกอพิมพา ตระกูลกัญหา และตระกูลราชอินตา ดังนั้นผู้คนที่อาศัยอยู่ที่บ้านบ่อโพธิ์นี้ส่วนใหญ่เป็นผู้คนที่ อพยพมาจากอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึง่ สามารถสังเกตได้จาก ภาษาที่คนในชุมชนใช้สื่อสาร โดยจะใช้ภาษาไทย-อีสาน มีสำเนียง เหมือนกับชาวอำเภอด่านซ้าย หมูบ่ า้ นแห่งนีไ้ ม่ได้มที รี่ าบทีเ่ หมาะแก่การเพาะปลูกเลย แต่ที่ ชาวบ้านเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานและดำรงชีวติ อยูใ่ นหมูบ่ า้ นบ่อโพธิ์ เนือ่ งจาก ว่าในอดีตหมูบ่ า้ นแห่งนีม้ ี “แหล่งเกลือสินเธาว์” พบบ่อเกลือโบราณ จำนวน ๓๒ บ่อกระจายอยู่ริมฝั่งลำน้ำเฟี้ย ทำให้ชาวบ้านสามารถ ผลิตเกลือเพือ่ ไปแลกข้าวมาบริโภคในครัวเรือนได้ แต่ปจั จุบนั เหลือ เพียงบ่อเดียวคือ “บ่อโพธิ”์ เท่านัน้ ทีย่ งั สามารถนำน้ำเกลือมาต้มผลิต เกลือได้ บ่อเกลือแห่งนี้อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ปากบ่อมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕๐ เมตร ลึกประมาณ ๓ เมตร จากการศึกษาทางโบราณคดีรอบๆ บ่อเกลือโบราณของ รองศาสตราจารย์ปราณี แจ่มขุนเทียน อาจารย์ประจำภาควิชา ประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี สถาบันราชภัฏพิบลู สงคราม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ค้นพบเศษเครื่องสังคโลก เศษภาชนะดินเผาแบบเผาแกร่ง และหอยเบีย้ กระจายอยูจ่ ำนวนหนึง่ สันนิษฐานว่าในสมัยสุโขทัยคง มีชมุ ชนตัง้ อยูบ่ ริเวณบ่อเกลือแห่งนีเ้ พือ่ ทำเกลือส่งไปยังชุมชนต่างๆ ใช้บริโภค และคงมีการทำเกลือจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ชาวบ้านบ่อโพธิ์มีความเชื่อว่าบ่อเกลือที่อยู่ในหมู่บ้านเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มี “เจ้าปู่หลวง” คอยปกปักรักษาบ่อเกลือ

16

จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

เพื่อแสดงความเคารพเจ้าปู่ ผู้ที่จะเข้าไปในบริเวณบ่อเกลือ ระยะ ๑๐ ศอกห่างจากปากบ่อจะต้องไม่ใส่รองเท้า ไม่สวมหมวก ไม่แต่งกายในชุดสีแดง (เพราะถือว่าไม่เป็นมงคล) ไม่ใช้นิ้วแตะ น้ำเกลือในบ่อมาชิม ไม่บว้ นน้ำลายและไม่สงั่ น้ำมูกลงไปในบริเวณบ่อ มีเรือ่ งเล่าว่าเคยมีหญิงสาวคนหนึง่ มาตักน้ำทีบ่ อ่ เกลือ ใช้นวิ้ แตะน้ำชิมแล้วบ้วนลงในบ่อ ปรากฏว่าขณะเดินกลับบ้านก็ลมจับ หน้ามืด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ดั ง นั้ น เพื่ อ เป็ น การแสดงความเคารพต่ อ เจ้ า ปู่ ที่ รั ก ษา บ่อเกลือ ก่อนที่จะตักน้ำในบ่อเกลือมาต้มเพื่อการบริโภคและแลก เปลีย่ น ชาวบ้านบ่อโพธิจ์ ะมีประเพณีทสี่ ำคัญคือ พิธบี วงสรวงเจ้าปู่ บ่อเกลือ ตรงกับวันอังคารแรกของเดือนยี่ (ประมาณเดือนมกราคม) ประเพณีบุญปราสาทผึ้งเดือน ๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ และประเพณีเลี้ยงเจ้าปู่ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ จัดเป็นพิธี ที่สำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านบ่อโพธิ์ และการนำน้ำเกลือจากบ่อเกลือบ่อโพธิ์มาใช้นั้นต้องมีการ ทำพิธีบวงสรวงเจ้าปู่บ่อเกลือทุกปี โดยมีเจ้ากวนน้อยซึ่งเป็นผู้นำ ทางความเชื่อของหมู่บ้านเป็นผู้ทำพิธีบวงสรวง ซึ่งจะทำกันในช่วง เดือน ๑๒ นอกจากนีย้ งั มีพธิ ศี กั ดิส์ ทิ ธิซ์ งึ่ มีความเกีย่ วเนือ่ งกับความ เชือ่ เรือ่ งบ่อปูบ่ อ่ เกลือนีอ้ กี หลายพิธี เช่น พิธขี อขมา ประเพณีเลีย้ ง เจ้าปู่หรือประเพณีเลี้ยงหอ เป็นต้น ในการทำพิธแี ต่ละครัง้ เจ้ากวนน้อยซึง่ เป็นคนทรงเจ้าจะเป็น ผู้ริเริ่มและเป็นผู้ทรงไว้ซ่ึงอำนาจสิทธิ์ขาด โดยที่ชาวบ้านไม่กล้า ขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น ประกอบกับพิธีกรรมส่วนใหญ่มีข้ันตอนตาม ระเบียบประเพณีทป่ี ฏิบตั กิ นั มาทุกปี จึงไม่มคี วามขัดแย้งใดๆ เกิดขึน้ และสิ่ ง หนึ่ ง ที่ ส ำคั ญ คื อ ทุ ก คนมี ค วามเชื่ อ มั่ น และเคารพ ศรัทธาในเจ้าปูห่ ลวง ชาวบ้านบ่อโพธิจ์ ะมีลกั ษณะความเชือ่ ร่วมกัน เกี่ยวกับเจ้าปู่หลวงซึ่งเป็นเทวดาหรือผีเฝ้าและดูแลรักษาบ่อเกลือ เป็นผูท้ คี่ อยปกปักรักษาหมูบ่ า้ น มีศาลตัง้ อยูใ่ กล้กบั บ่อเกลือบ่อโพธิ์ เมื่อมีของหายก็จะมีการมาทำพิธีบอกกล่าวขอให้เจ้าปู่หลวงช่วย เกลือสินเธาว์ที่ผลิตได้จากที่นี่ในอดีตจะถูกชาวบ้านนำไป ค้าขายหรือแลกเปลีย่ นข้าวในเขตเมืองนครไทย เมืองหล่มสัก เมือง หล่มเก่า และเมืองด่านซ้าย โดยอาศัยเส้นทางคมนาคมโบราณ โดยเฉพาะการเดินทางไปเมืองหล่มสัก เมืองหล่มเก่า และเมือง ด่านซ้ายนั้นต้องเดินทางลัดเลาะไปตามทางเดินตามไหล่เขาและ หุบเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน ผ่านบ้านโคกคล้าย (โคกค่าย) ซึ่งเป็นชุมชนโบราณ ก่อนที่จะเข้าสู่เขตเมืองหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ การขนส่งเกลือในอดีต ชาวบ้านบ่อโพธิจ์ ะหาบเกลือไปแลก ข้าวตามชุมชนต่างๆ เช่น อำเภอด่านซ้าย ถ้าใครมีฐานะดีหน่อยก็จะนำเกลือต่างลาต่างวัวแทนการ หาบ โดยมีอตั ราการแลกเปลีย่ น ๒ ต่อ ๑ ส่วน กล่าวคือหากชาวบ้าน จากบ้านบ่อโพธิน์ ำเกลือไปแลกข้าวก็จะได้ปริมาณข้าวมากกว่าเกลือ ที่นำไปแลก ๒ เท่า ซึ่งสาเหตุที่ได้ข้าวมากกว่านั้นก็จะถือว่าเป็น ค่าเดินทาง จากบ้านบ่อโพธิม์ าถึงอำเภอด่านซ้ายจะใช้เวลาเดินทาง สองวัน (โดยการเดินเท้า) ในทางกลับกัน หากชาวบ้านจากอำเภอ


ด่ า นซ้ า ยเป็ น ผู้ เ ดิ น ทางมาแลกเองก็ จ ะได้ เ กลื อ ในปริมาณที่มากกว่าข้าวสองเท่าเช่นกัน สำหรับสภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านบ่อโพธิ์ ในปัจจุบนั ยังผูกพันอยูก่ บั วิถชี วี ติ แบบดัง้ เดิม ในการ ควบคุ ม ทางสั ง คมของหมู่ บ้ า นยั ง ใช้ ร ะบบจารี ต ระบบเจ้า ระบบผี ปกครองกันอยู่ จากการสอบถาม คุณลุงขยัน แพทย์ไชโย ผู้ใหญ่บ้านบ่อโพธิ์ พบว่า ปั ญ หาเรื่ อ งการลั ก ขโมยแทบจะไม่ ป รากฏเลย ชาวบ้านบอกว่าถ้าขโมย เจ้าปูห่ ลวงจะลงโทษ หรือ ใครทำผิดกฎจารีตต่างๆ ก็เช่นกัน ที่นี่จึงเป็นชุมชนที่ใช้ระบบจารีตปกครองที่ เข้มแข็งอยู่ ในขณะที่บทบาทของพระสงฆ์ก็มีอยู่ บ้างในการทำพิธีทางศาสนา ชาวบ้านก็ใส่บาตร พอขบฉันตามสมณะ บริโภคไม่มาก แต่กไ็ ม่ขาดเขิน แต่ทนี่ จี่ ะนับถือเจ้าปูห่ ลวงมากกว่าพระ หากมีอะไร เกิดขึน้ ก็จะมีการทำพิธขี อร้องเจ้าปูห่ ลวง โดยมีเจ้ากวนน้อยเป็นผูท้ ำพิธี และชาวบ้านยังคงปฏิบตั ติ าม จารีตประเพณีอย่างเคร่งครัด การดำรงชีวิตนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้มี อาชีพทำนา เพราะทีร่ าบมีนอ้ ยมาก หากมีการทำนา บ้างก็เป็นแบบขั้นบันได ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำไร่ ข้าวโพดและไร่ถั่วเขียวตามไหล่เขาและหุบเขาข้าง เคียงกับหมูบ่ า้ น นำเงินรายได้จากการทำไร่ไปซือ้ ข้าวสารจากตลาดมาบริ โ ภคแทน มี ก ารจั บ สั ต ว์ น้ ำ ขนาดเล็กในลำน้ำเฟีย้ มาประกอบอาหารในครัวเรือน ครั้นเสร็จฤดูการทำไร่ ต้นปีใหม่ก็จะมีการ ทำบุญบ่อเกลือเพือ่ นำเกลือมาต้มไว้ใช้ในรอบปี บาง คนก็ตม้ ขายหรือนำไปแลกข้าวกับหมูบ่ า้ นใกล้เคียง บ้านทีอ่ ยูร่ มิ ทางหลวงก็จะมีการนำเกลือมาบรรจุถงุ วางขายสำหรับผูท้ สี่ ญ ั จรผ่านไปมา วิธกี ารต้มเกลือ ยังคงเป็นแบบโบราณและยึดถือข้อปฏิบัติดั้งเดิม แม้ว่าสภาพสังคมทั่วไปจะเปลี่ยนไปมากตามการ เข้ามาของเทคโนโลยีและวัฒนธรรมสมัยใหม่ แต่ที่ บ้านบ่อโพธิ์ก็ยังคงรักษารากเหง้าแห่งวัฒนธรรม ของชุมชนเอาไว้ได้ ปัจจุบันบ้านบ่อโพธิ์ได้รับการส่งเสริมจาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นหมูบ่ า้ น ท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรูท้ างวัฒนธรรมทีส่ ำคัญของจังหวัด ชาวบ้านบ่อโพธิพ์ ร้อมให้ การต้อนรับผู้ที่มาเยือนทุกคนด้วยความโอบอ้อม อารี แ ละมิ ต รภาพ หมู่บ้านในหุบเขาแห่งนี้ยังมี อะไรอีกมากมายที่น่าสนใจและแตกต่างจากสังคม ภายนอก ธีระวัฒน์ แสนคำ

ร่องรอยวัฒนธรรมฮินดูพุทธ ในดินแดนปาตานี นอกเหนือจากกลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ-ประแว อำเภอยะรัง

จังหวัดปัตตานี และกลุม่ บ้านท่าสาป-บ้านหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัด ยะลาแล้ว พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้หรือในเขตดินแดนของเมือง ปาตานีกไ็ ม่ปรากฏว่ามีรอ่ งรอยของแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานที่ เกีย่ วเนือ่ งด้วยวัฒนธรรมฮินดู-พุทธ อันเป็นวัฒนธรรมทีม่ มี าก่อนการ เปลี่ยนมาเป็นศาสนาอิสลามในดินแดนนี้เลย จึงค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เพราะพื้นที่อื่นที่ล้อมรอบ ดินแดนนีล้ ว้ นแล้วแต่มกี ารพบเจอแหล่งโบราณคดีทเ่ี กีย่ วกับวัฒนธรรม ฮินดู-พุทธกระจัดกระจายอยู่ไปทั่วบริเวณตลอดทั้งคาบสมุทรมลายู ไม่วา่ จะเป็นทางตอนใต้ของปาตานี ในรัฐ Kedah, Perak, Selangor, Johor, Terengganu, Kelantan ในประเทศมาเลเซีย และมีอย่างกระจัดกระจายในดิ น แดนตอนเหนื อ ของปาตานี คื อ นครศรี ธ รรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง ก็ล้วนเคยพบเจอร่องรอยแหล่งโบราณคดี ในวัฒนธรรมฮินดู-พุทธทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าร่องรอยในวัฒนธรรมฮินดู-พุทธที่เป็นโบราณสถาน และแหล่งโบราณคดีพบเห็นได้น้อยในสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่ ร่องรอยของวัฒนธรรมฮินดู–พุทธเหล่านี้สามารถที่พบเห็นได้ไม่ ยากนักในวิถชี วี ติ และประเพณีตา่ งๆ ตลอดทัง้ ชือ่ บ้านนามเมืองของคน มลายูปาตานี ชือ่ บ้านนามเมืองหลายๆ ทีก่ ส็ ะดุดหูชวนสงสัยว่าจะเกีย่ วเนือ่ ง หรือเป็นมรดกที่หลงเหลือของวัฒนธรรมฮินดู–พุทธหรือเปล่า เช่น “ภูเขาบูโด” [Bukit Budur] หรือบูกิตบูโด ซึ่งคำว่า “บูกิต” ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา เป็นคำที่ใช้เรียกภูเขาลูกนี้มานมนาน คำว่า “บูโด” นี้หาความหมายในภาษามลายูไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็น ภาษาอะไรแน่ แต่ชวนให้นึกถึง โบโร บูโด หรือ โบโร โบโด ที่เมือง Yogyakarta บนเกาะชวา ซึง่ เป็นศาสนสถานของพุทธทีอ่ ยูท่ า่ มกลาง อารยธรรมของวัฒนธรรมพราหมณ์ เทือกเขาทีใ่ ครๆ รูจ้ กั กันดีในนามเทือกเขา “สันกาลาคีร”ี ก็เช่น เดียวกัน เทือกเขาสันกาลาคีรีนี้ชาวมลายูเรียกกันว่า “ซังฆาลาฆีรี” [Sang Gala Giri] ซึ่งก็ไม่ใช่ภาษามลายู แต่เป็นภาษาสันสกฤต คำว่า Sang ภาษาไทยใช้คำว่า “สัน” นั้นทำให้ความหมาย เปลี่ยนไปมาก คำว่า “สัน” ทำให้นึกถึงสันเขา แต่คำว่า Sang ใน ความหมายของชาวมลายูเป็นคำโบราณที่ใช้เป็นคำนำหน้าเรียกผู้ที่ อยูใ่ นสถานะทีส่ งู เช่น กษัตริยห์ รือเทวา คำนีม้ ปี รากฏในหนังสือโบราณ ของมลายูทมี่ อี ายุมากกว่า ๕๐๐ ปี ในตำนานของฮังตูเวาะฮ์ [Hikayat Hang Tuah : Empat Orang Fakil] ที่กล่าวถึงกษัตริย์เชื้อสายเทวา หรืออสัญเดหวา [Asal Dewa] Asal หรือ อาสัน เป็นคำภาษามลายู แปลว่า ดั้งเดิม ชื่อ ซังเปอตาลาเดวา [Sang Pertala Dewa] Gala หรือ กาลา ในภาษามลายูทอ้ งถิน่ ปาตานีเรียกว่า “กาลอ”

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

17


(บน) หลักหินในสุสานของชาวมลายูมสุ ลิมทีร่ ปู ทรงเหมือนโกศบรรจุ ศพคนชัน้ สูงของชาวพุทธ

(บน) หลักหินในสุสานของชาวมลายูมสุ ลิมในยุคแรกๆ จะมีรปู ทรง เหมือนใบเสมา ทีแ่ สดงถึงความเชือ่ มโยงในรูปทรงของวัฒนธรรม ทางพุทธศาสนาอยูบ่ า้ ง (ซ้าย) Gunungan เหนือบานประตูและช่องอาคารในสถาปัตยกรรม มลายูที่เหมือนหน้ากาล-มกรในสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีที่มาจาก อินเดียเช่นเดียวกัน

ในพจนานุกรมมลายูอธิบายว่า Sang Gala คือ The black king of the demons. Occasionally called Sang Gala Raja Jin, Sangkara or Sangkara. ซึ่งก็หมายถึง “พระกาฬ” นั่นเอง ส่วนคำว่า Giri ก็คือ “คีรี” แปลว่า ภูเขา ดังนั้นคำว่า “สันกาลาคีร”ี ทีถ่ กู ต้องแล้ว ควรเป็น “สังกาลาคีร”ี [Sang Gala Giri] ที่แปลว่า “ภูเขาพระกาฬ” นั่นเอง ทัง้ ภูเขาบูโดและสันกาลาคีรลี ว้ นมีชอื่ ทีม่ าจากวัฒนธรรม ฮินดู-พุทธ และภูเขาทัง้ สองแห่งนีก้ เ็ ต็มไปด้วยเรือ่ งเล่าทีเ่ กีย่ วกับ สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ [Sakti] ทีไ่ ม่มใี นวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม มีเรือ่ งเล่า ทีเ่ กีย่ วกับงูใหญ่หรือ “นาฆา” [Naga] และเป็นสถานทีท่ เี่ หล่าศึกษา ศาสนาสายตารีกัตในลัทธิซูฟี ซึ่งนิยมจำศีลในถ้ำเพื่อบำเพ็ญ ภาวนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผมเคยเห็นรูปที่เพื่อนถ่ายมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ เชิงเขาบูโด เป็นแผ่นศิลาที่ชาวบ้านใช้ปูเป็นทางเดินก่อนขึ้น บันไดบ้าน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจากรูปถ่ายเห็นว่าน่าจะ เป็นฐานของศิวลึงค์ มีหมูบ่ า้ นหนึง่ ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจาก บ้านตะโหนดประมาณ ๕ กิโลเมตร ชื่อบ้าน “บาโงกือเต๊ะ”

18

จดหมายขาว​มูลนิธิ​เล็ก-ประไพ วิริยะ​พันธุ

คำว่า “กือเต๊ะ” สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นกับคำมลายูโบราณจะเข้าใจว่า หมายถึง “กัด” แต่คำนี้มีที่มาจากคำว่า “เกอเต็ก” ที่แปลว่าวัด อาจจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า กูติก หรือ กุฏิ นั่นเอง ผมเคย ได้รับการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าเมื่อก่อนเคยมีวัดร้างอยู่ที่ หมู่บ้านแห่งนี้ แต่ปัจจุบันถูกทำลายจนหาซากไม่เจอเสียแล้ว และหมู่ บ้ า นแห่ ง หนึ่ ง ในตลาดตั น หยงมั ส จั ง หวั ด นราธิวาส เป็นหมู่บ้านที่ไม่มีชื่อปรากฏป้ายบอกทาง แต่คน มลายูทอ้ งถิน่ เรียกว่า “บูกติ สามิง” หรือ “บูกติ สามี” คำว่า บูกติ [Bukit] แปลว่าภูเขา ส่วนคำว่า “สามี” ไม่ได้แปลว่า สามี หรือ Husband ของหญิงใด แต่เป็นคำมลายูโบราณแปลว่าพระ หรือเทวรูป พื้นที่แห่งนี้มีเสียงซุบซิบและเล่าลือว่ามีวัตถุโบราณที่ ถูกฝังอยู่ใต้เนินดินขนาดใหญ่ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ลักลอบขุดและ บรรทุกใส่รถขนไปกรุงเทพฯ แล้ว บ้างก็เล่าลือว่าที่ลักลอบขุด ไปคือทองคำ ซึ่งคงไม่มีผู้ใดพอที่จะให้ข้อมูลในเรื่องนี้ได้อย่าง จริงจังและมีหลักฐาน เพียงแต่เป็นเสียงซุบซิบดังๆ เท่านั้น น่าเสียดายที่ไม่มีการสืบค้นและศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ อย่างจริงจัง จนทำให้น่ากังวลใจว่า ต่อไปภายหน้าการที่จะ ย้อนรอยเพื่อสืบหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีก่อนยุคปาตานีคงทำได้ยาก หรือทำได้ก็คงไม่เหลืออะไร ให้ศึกษาอีกเลย Najib Bin Ahmad


สังคมท้องถิน่

ความสัมพันธ์แบบเครือญาติทห่ี ายไป สังคมมลายูทคี่ นทัว่ ไปสนใจใคร่รจู้ กั หลังจาก

เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดน ใต้ ซึง่ รัฐพยายามแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ แต่ระยะเวลา ผ่านไปเกือบ ๑๐ ปีแล้ว ใช้งบประมาณเป็นแสนล้าน ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการสูญเสียชีวิตของผู้คนอย่าง ต่อเนื่องเกินกว่าจะประเมินค่าได้ แต่ดูเหมือนรัฐยัง “ไม่ถึง” และไม่เข้าใจ เพี ย งพอเพื่ อ ที่ จ ะพยายามแก้ ไ ขปั ญ หา เพราะ (บน) ชายชราชาวมลายู (ขวา, ขวาบน) รถและปายหาเสียง เหตุการณ์ความไม่สงบยังเกิดขึ้นไม่หยุดแต่อย่างใด ภายในท้องถิน่ สามจังหวัดชายแดนใต้ สังคมมลายูทคี่ นทัว่ ไปรับรูส้ ว่ นใหญ่เป็นสังคม ทีอ่ ยูแ่ ถบฝัง่ ตะวันออกติดทะเลด้านอ่าวไทย ส่วนสังคม โดยเอาผู้ที่สายตระกูลเสนอมา รัฐได้ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ดำรง มลายูทอ่ี ยูฟ่ ากตะวันตกทีม่ ลี กั ษณะภูมปิ ระเทศเป็นภูเขาสูง ตำแหน่งนี้อย่างมาก เพื่อให้คนในท้องถิ่นยอมรับโครงสร้างใหม่นี้ ป่าดิบทึบ มีพน้ื ทีร่ าบเป็นหุบเล็กๆ ระหว่างเทือกเขาเป็นทีต่ ง้ั บ้านจากโครงสร้ า งความสั ม พั น ธ์ แ บบเครื อ ญาติ ที่ เ ป็ น เรือนชุมชนท้องถิ่นภายในที่อดีตมีอุปสรรคความยากลำบาก ในการเดินทางเข้าถึง เป็นดัง่ สังคมปิด ไม่คอ่ ยเป็นทีร่ บั รู้ แต่มหี ลักฐาน โครงสร้างแนวราบค่อยๆ เปลีย่ นแปลงเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ การก่อบ้านสร้างเรือนกว่า ๑๐๐ ปี เป็นสังคมทีร่ บั การเปลีย่ นแปลง แนวดิ่ง ที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ซึ่งคือสมาชิกเครือญาติของตน จากการพัฒนาของรัฐสมัยใหม่ไม่ถึง ๓๐ ปีหลังมานี้เอง ตำแหน่ ง ตั ว เชื่ อ มระหว่ า งรั ฐ กั บ ชาวบ้ า นนั้ น ได้ อ ำนวย สังคมมลายูภายในเหล่านีส้ ว่ นใหญ่มพี ฒ ั นาการมาจากการ ประโยชน์ แก่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้อย่างมาก เพราะได้ประโยชน์จาก รวมกลุม่ ชักชวนสมัครพรรคพวก ญาติพนี่ อ้ ง สำรวจพืน้ ทีใ่ หม่ เพือ่ หาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อาหาร สัตว์ป่า สมุนไพร การจัดสรรงบประมาณจากรัฐ ประโยชน์จากการเข้าถึงทรัพยากร บุกเบิกเปิดพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูก ลงหลักปักฐาน ก่อบ้าน ที่รัฐกำกับดูแลก่อนคนอื่น ประโยชน์จากกลุ่มทุนภายนอกต่างๆ ที่จะเข้ามา สร้างเรือนจนเกิดเป็นสังคมชุมชนท้องถิ่นต่างๆ จากองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เกิดโครงสร้างแบบใหม่ซ้อน จากรากพัฒนาการดังกล่าวทำให้สงั คมมลายูเขตภายในนัน้ ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเครือญาติเป็นสำคัญ โครงสร้างแบบเดิมทั้งสองแบบ คือโครงสร้างจารีต เครือญาติอยู่ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ ภายในโครงสร้างแบบรัฐซึ่งสมาชิกใหม่ที่ประกอบด้วยตัวแทน เครือญาติ รัฐ นายทุน แต่โครงสร้างแบบใหม่มงี บประมาณมากกว่า หรือมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันเป็นพืน้ ฐาน มีการไปมาหาสูก่ นั ช่วยเหลือกัน ลงแรงกันในการทำงาน โดยมีผอู้ าวุโสในตระกูลเป็น เดิม แต่มขี ดี จำกัดการจัดสรรผลประโยชน์ทไี่ ปไม่ถงึ ชาวบ้านทุกคน จนมีคำพูดในร้านน้ำชาว่ากำนันอยูห่ มูบ่ า้ นไหน หมูบ่ า้ นนัน้ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทุกคนให้ความเคารพนับถือ สมาชิกในเครือญาติมี เจริญ เพราะกำนันจะจัดสรรงบประมาณ ถนน ไฟฟ้า ประปา ทีห่ มูบ่ า้ น ความรักสามัคคีกัน มีสำนึกความเป็นพี่น้องสูง พวกเขาสร้างสำนึกร่วมในการเป็นเครือญาติเพือ่ เป็นพลัง ตนเองก่อน ญาติพนี่ อ้ งกำนันจะได้ทำงานดีๆ ตามสถานทีร่ าชการ ในการต่อสูเ้ อาชนะอุปสรรคต่างๆ ในการดำรงชีวติ เพราะอาศัยอยู่ เป็นต้น มาดู ตั ว อย่ า งประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น แบบตั ด ขวางของ ในภูมปิ ระเทศทีม่ อี นั ตรายจากสัตว์รา้ ยในป่า โรคภัยไข้เจ็บ และมี ชุมชนท้องถิ่นมลายูในเขตภูเขาแห่งหนึ่ง ช่วงประมาณ พ.ศ. การบุกเบิกสูง จึงต้องใช้วิธีร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน วิ ถี ชี วิ ต เหล่ า นี้ี ท ำให้ เ กิ ด วั ฒ นธรรมและประเพณี แ บบ ๒๕๓๕-๒๕๔๐ นั้น เขตภูเขาภายในเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มอิทธิพล เฉพาะถิ่นขึ้นมา โดยมีผู้อาวุโสเป็นผู้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ต่างๆ ในท้องถิ่นทั้ง PULO, BRN, BNPP COMMUNISMALAYA ต่างหมดพลังลง เหลือเพียงอำนาจกำนันผู้ใหญ่บ้านในท้องถิ่น แก่สมาชิกในเครือญาติ ผลประโยชน์ตา่ งๆ เช่น การตัดไม้ตะเคียน การเปิดป่าจับจอง ต่อมาเมื่อรัฐมาจัดหน่วยปกครองในท้องถิ่น มีโครงสร้าง การปกครองแบบใหม่ มีตำแหน่งผูน้ ำแบบรัฐ คือ กำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น ทีด่ นิ ธุรกิจซือ้ ผลไม้ ลองกอง เงาะ ทุเรียน ธุรกิจไม้ยางพารา ทุกอย่าง เป็นตัวแทนของรัฐในการปกครองท้องถิ่น แรกเริ่มรัฐได้แต่งตั้ง ต้องเสียค่าผ่านทางแก่ผมู้ อี ทิ ธิพลในท้องถิน่ แต่ละวันมีเงินถูกจ่าย

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

1๙


ข่าว ประกาศ ประชาสัมพันธ ออกไปเป็นจำนวนมากเพื่อการคุ้มครองเหล่านี้ มีเรื่องเล่าว่าหากใครมายะลาแล้วตกรถกลับบ้านไม่ได้ ก็ให้ไป ดั ก รอคนรู้ จั ก หน้ า โรงแรม เป็นต้องพบคนในท้องถิ่นที่ รู้ จั ก ขอติ ด รถ กลับบ้านได้ บางคืนพวกเขาแข่งกันให้ทปิ นักร้องคืนละหมืน่ สองหมืน่ แต่กม็ ี บางคนนำเงินไปลงทุนซือ้ ทีด่ นิ ในตลาด ซือ้ สวนยางพาราบ้าง เป็นตัวอย่าง ผู้นำท้องถิ่นแบบรัฐที่มีเงินมากในสมัยนั้น และผลผลิตข้ามวัฒนธรรมอีกอย่างคือชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลนี้ มีสะใภ้เป็นคนจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ที่พวกเขาไปรู้จักที่ห้องอาหาร ในตัวเมือง พฤติกรรมของผูน้ ำสมัยนัน้ ได้เกิดผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว สถาบันเครือญาติ และสถาบันสังคม เปลี่ยนวิธีการเคารพนับถือผู้นำใน ท้องถิน่ เปลีย่ นความเชือ่ เดิมๆ ในอดีตทีส่ งั่ สมมาว่าเครือญาติเป็นเสมือน พี่น้องกัน ต้องช่วยเหลือกัน มีอันสั่นคลอนหายไป ประโยชน์ทเี่ ห็นได้ของการดำรงตำแหน่งกำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น ผูน้ ำแบบ รัฐ ทำให้คนรุน่ ต่อไปมีความปรารถนาต้องการดำรงตำแหน่งทีใ่ ห้ประโยชน์ อย่างนั้นด้วย จึงเกิดการแข่งขันในหมู่พี่น้องเครือญาติอย่างรุนแรง บ้าง พี่น้องกัน บ้างนามสกุลเดียวกัน บ้างลูกพี่ลูกน้องกัน สะท้อนถึงความ แตกแยกต่อความสัมพันธ์แบบเดิมที่เคยเป็นฐานการขับเคลื่อนสังคม ชุมชนท้องถิ่น คนในสั ง คมเริ่ มลังเลสงสัยต่อความหมายของผู้ น ำแบบรั ฐ ใน ท้องถิ่นว่าคือใคร ผู้ที่เป็นตัวแทนคนในท้องถิ่นต่อรัฐหรือผู้ที่เป็นตัวแทน ของรัฐต่อท้องถิน่ หรือผูท้ เี่ ป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสายตระกูลทีม่ กี าร สืบทอดตำแหน่งทางสายเลือด การเลือกตั้งทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่ง พวกในท้องถิ่นอย่างรุนแรง สังคมท้องถิ่นที่มีทุนทางปัญญาสูงก็สามารถ ก้าวข้ามความขัดแย้งเหล่านั้นได้ แต่ในสังคมท้องถิ่นที่มีทุนทางปัญญา ต่ำ คนในท้องถิ่นก็ต้องทนอยู่ในวังวนวิถีอำนาจที่ครอบงำสังคมท้องถิ่น ต่อไป สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นจากสังคมท้องถิ่นที่ใช้เป็นปัญญาในการก้าว ข้ามความขัดแย้งนัน้ ได้คอื การสร้างสำนึกใหม่ตอ่ คนในท้องถิน่ ไม่ใช่สำนึก เครือญาติที่ไม่สามารถสร้างความกลมเกลียวอยู่ได้ในสมัยปัจจุบัน ไม่ใช่ สำนึกอุดมการณ์ที่คนในท้องถิ่นตีความไม่เหมือนกัน แต่เป็นสำนึกชุมชนท้องถิ่นที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน มีเป้าหมาย การขับเคลื่อนสังคมท้องถิ่นที่ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นตัวอย่าง หลายๆ ท้องถิ่นที่ผู้นำมาจากผู้ที่มีความเสียสละ สร้างความสัมพันธ์กับ คนทางแนวราบ จากตัวอย่างความสำเร็จในการก้าวข้ามความขัดแย้งดังกล่าว น่าจะเป็นหนทางหนึ่งสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบต่อการ แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ควรศึกษาทำความเข้าใจ ต่อสังคมมลายูอย่างแท้จริงมากกว่าหยิบยกข้อความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาพูดกันอย่างลอยๆ “...โดยที่พวกเขามีหัวใจ ซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันทำความเข้าใจ และ พวกเขามีตาซึ่งพวกเขาไม่ใช้มอง และพวกเขามีหูซึ่งพวกเขาไม่ใช้ฟัง ชน เหล่านี้แหละประดุจปศุสัตว์...” อัลกรุอาน ๗ : ๑๗๙ งามพล จะปากิยา

๒๐

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

! ! ง ้ ั ร ค ก ี อ า กลับม

วันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เรือ่ ง “ความก้าวหน้าทาง โบราณคดีเรือ่ งมโหระทึกสองฝัง่ โขง สวันนะเขต-มุกดาหาร” โดย สุกัญญา เบาเนิด นั ก โบราณคดี ช ำนาญการประจำหน่ ว ย ศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี กรมศิลปากร คุณสุกัญญาทำงานที่เขตอีสานมา ราว ๑๕ ปี และมีความแตกต่างไปจาก นักโบราณคดีของกรมศิลปากรทั่วไปคือ ใช้เวลาศึกษางานทางวิชาการโบราณคดี อย่างจริงจัง และผลิตงานวิชาการทั้งจาก การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี และ งานศึกษาทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับกลุ่ม ชาติ พั น ธุ์ ม อญออกมาอย่ า งสม่ ำ เสมอ ผลงานสำคัญคือ การศึกษาวิจยั โบราณคดี ในพืน้ ทีท่ งุ่ กุลาร้องไห้ การส่งเสริมการจัดทำ พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น และปัจจุบันทำ การสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีเพือ่ ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งผลิตกลองมโหระทึก ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลใหม่ๆ ทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง


กางแผง เชิงวิชาการ กับกิจกรรมบรรยายไพ วิริยะพันธุ์ ระ -ป ก ็ ล เ ิ ธ ิ น ล ู งม ขอ

“บรรยายสาธารณะ ประจำป ๒๕๕๖” วันพุธ เดือนเว้นเดือน เวลาบ่ายโมงถึงบ่ายสี่โมง ติดธุระหรืออยู่ไกล ไม่ต้องมา เพราะทุกวันนี้รถติดเหลือใจ เพราะสามารถรับชมถ่ายทอดสดได้ จากทางเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ www.lek-prapai.org

เริ่มเวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. รับผู้ฟังบรรยายครั้งละไม่เกิน ๑๕ ท่าน จองก่อนมีสิทธิ์ฟังสดๆ ก่อนใคร ติดต่อได้ที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ โทร. ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ หรือสำรองที่นั่งได้ทาง https://www.facebook.com/lekfound

วันพุธที่ ๕ มิถนุ ายน ๒๕๕๖ เรือ่ ง “สถาปัตยกรรมมลายู ในท้องถิน่ สามจังหวัดภาคใต้” โดย ณายิบ อาแวบือซา สถาปนิกและผู้สนใจศึกษาเรื่องราวทาง นิเวศวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้

วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ เรือ่ ง “ความรูท้ างภูมศิ าสตร์และ วัฒนธรรมกับการทำความเข้าใจ ในประเทศเพือ่ นบ้าน” โดย ศรัณย บุญประเสริฐ นักเขียนสารคดี นักบุกเบิก และ ผู้ เ ชี่ ย วชาญในกิ จ กรรมการท่ อ งเที่ ย ว ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุ ณ ศรั ณ ย์ มี พื้ น ฐานมาจาก นักเรียนภูมิศาสตร์และเสริมด้วยความ สนใจส่วนตนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน มีผลงานสารคดีท่องเที่ยวมากมายกับ สำนักพิมพ์ชอื่ ดังต่างๆ เป็นอาจารย์พเิ ศษ เป็นมัคคุเทศก์รับเชิญให้กับคณะท่องเทีย่ วกลุม่ พิเศษขนาดเล็กทีเ่ น้นคุณภาพ งานของคุณศรัณย์เน้นการให้ความสำคัญ กั บ สภาพภู มิ ป ระเทศที่ สั ม พั น ธ์ กั บ วิ ถี ชีวติ ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิน่ ต่างๆ ดังนัน้ ความรูท้ างภูมศิ าสตร์จงึ เป็น เรื่องที่นักเดินทางทุกท่านหรือนักศึกษา ทางด้านสังคมวัฒนธรรมทุกคนควรทำ ความเข้าใจก่อนออกเดินทางเพือ่ เรียนรู้ ผู้คนและจุดหมายปลายทางเพื่อความ เข้าใจผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง

พืน้ เพของ “คุณณายิบ อาแวบือซา” อยูท่ อี่ ำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ ได้ รั บ การศึ ก ษาในระบบที่ ก รุ ง เทพมหานครตั้งแต่ชั้นมัธยม ชั้นอาชีวศึกษา ที่อุเทนถวาย ใช้ชีวิตทำงานในบริษัท ต่างชาติอยู่หลายปี ภายหลังเมื่อกลับ บ้านเกิดก็ศึกษาต่อเนื่องที่จังหวัดยะลา พร้อมๆ ไปกับทำงานธุรกิจส่วนตัว เพราะเกิดในครอบครัวของผู้มี ฐานะและรากเหง้าทั้งของฝ่ายบิดาและ มารดาที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากนักรบ และเชื้อสายเจ้าเมืองปัตตานีที่ได้รับการ ศึกษาจากตะวันออกกลางในยุคแรกๆ จน กระทั่งเป็นพื้นฐานในการเปิดโรงเรียน ในระบบของรัฐไทยเป็นกลุ่มแรกในพื้นที่ สามจังหวัด ทำให้ณายิบสามารถเข้าถึง ผู้คนและข้อมูลแบบลึกซึ้งได้ไม่ยาก ความสนใจในเรื่องราวของภูมิวัฒนธรรมบ้านเกิดเมืองนอน โดยเฉพาะ งานทางสถาปัตยกรรมแบบมลายูที่เริ่ม สูญหายไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการมี โอกาสเดินทางไปสำรวจเยี่ยมชมชุมชน ชาวมลายูในประเทศเพือ่ นบ้านหลายแห่ง ทำให้การศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม มลายูทณ ี่ ายิบกำลังทำอยูน่ เี้ ป็นสิง่ ทีค่ วร นำมาบอกเล่า เผยแพร่ เพราะในสถานการณ์ปจั จุบนั งานศึกษาเช่นนีท้ ำได้ยาก และที่มีอยู่ก็มีเรื่องราวอยู่ไม่มากนัก

หนังสือใหม่ ของมูลนิธฯิ

หนังสือชุด เพื่อแผ่นดินเกิด

มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ จัดทำ หนังสือชุด “พอเพียงเพื่อแผนดินเกิด” จากเนื้ อ หาในสารคดี ชื่ อ ชุ ด เดี ย วกั น ที่ อ อกอากาศเป็ น ประจำทุ ก สั ป ดาห์ เป็นเวลา ๕๒ สัปดาห์ทางสถานีโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม ASTV ผู้จัดการ หนังสือ “ชุดพอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด” นี้มี ๔ เล่ม ประกอบด้วย ๑. เพื่อแผ่นดินเกิด ๒. ผู้นำทางวัฒนธรรม ๓. นิเวศวัฒนธรรมในการเปลีย่ นแปลง ๔. “ฟื้นพลัง” ความหลากหลาย ในสังคมสยาม

เพื่อแผ่นดินเกิด

ผู้เขียน ศรีศักร วัลลิโภดม, วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เรียบเรียง ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ออกแบบปก ตวงพร วิชญพงษ์กุล ออกแบบรูปเล่ม วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ภาพประกอบ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, กฤณกรรณ สุวรรณกาญจน์ พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ISBN 978-616-91559-1-1 ราคา ๒๒๕ บาท

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

๒1


ผู้นำทางวัฒนธรรม

มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างให้เกิด

ความเข้าใจในหลักการทางสังคมและวัฒนธรรมที่เคยเป็นเสาหลัก ของสังคมไทยมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนมีทั้งที่ปรับตัวได้และปรับตัวไม่ได้ และต้อง เผชิญภาวะสับสนในสังคมไทยที่ยุ่งเหยิงวุ่นวาย มีความรุนแรง และไร้ซึ่งรากฐานทางชีวิตวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างน่าตกใจ การปลูกฝังความเป็นวัฒนธรรม “สยาม” ตัง้ แต่สมัยเปลีย่ นแปลงการปกครองนั้น หาได้เน้นความสำคัญของวัฒนธรรมส่วน กลางเช่นจากกรุงเทพฯ เป็นหลักไม่ หากเอื้ออาทรต่อวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ด้วย ดังเห็นได้จากการมองคนท้องถิน่ ผ่านพืน้ ทีซ่ ง่ึ เป็นบ้านเป็นเมืองแทน แต่การเน้นการบูรณาการด้วยวัฒนธรรมของส่วนกลางที่ เรียกว่า วัฒนธรรมไทย ตัง้ แต่สมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม มาจน ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม เป็นการเน้นในด้าน “ศิลปวัฒนธรรม” ใน ลักษณะที่เป็น “อารยธรรม” ที่เข้าไม่ถึงความเป็นคนและอัตลักษณ์ ทางชาติพันธุ์แต่อย่างใด และเป็นการเน้นแต่วัฒนธรรมหลวงที่เข้า ไม่ถึงวัฒนธรรมราษฎร์อันเป็นชีวิตวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น “ชีวิตวัฒนธรรม” หรือ “สังคมวัฒนธรรม” นั้นคือ วัฒนธรรมที่คนในแทบทุกสังคมในโลกต้องปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ กระทรวงวั ฒ นธรรมจึ ง น่ า จะทำหน้ า ที่ ใ ห้ เ ต็ ม ที่ ใ นการส่ ง เสริ ม วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ผู้คนในท้องถิ่นได้ใช้ในการปลูกฝังวัฒนธรรม แก่เยาวชนของตน เพื่อแบ่งเบาภาระของกระทรวงศึกษาธิการ ในการสนับสนุนการศึกษาที่เน้นการเล่าเรียนเป็นสำคัญ แต่ถ้า ทำไม่ได้ก็นับเป็นการสิ้นหวังของคนในสังคมที่จะต้องพึ่งพารัฐบาล และจะนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น เพราะความจริงในโลกทีเ่ ป็นโลกาภิวตั น์ในทุกวันนี้ เป็นโลก ของ “สังคมพหุลักษณ์” ที่แทบทุกชาติพันธุ์ต่างเรียกร้องความเป็น ตัวตนทางอัตลักษณ์ ท่ามกลางการอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและ มีเสรีภาพของโลกประชาธิปไตย แต่ความเป็นประชาธิปไตยของคนไทยนัน้ มีแต่การปลูกฝัง กันแบบจากข้างบนลงล่าง ทีอ่ า้ งแต่ “ความเชือ่ ” เท่านัน้ ซึง่ เกิดจาก “การ ลอกเลียนแบบประชาธิปไตยจากทางตะวันตก” มาแต่เพียงอย่างเดียว เพราะประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากการเขียนกฎหมายและ ข้อบังคับโดยคนนั้น “ไม่อาจควบคุมศีลธรรมและจริยธรรม” ได้ ดังเห็นได้จากผู้มีอำนาจทางการเมืองละเมิดสิทธิมนุษยชน แก้รัฐธรรมนูญ หรือเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของพวก ตนเองกันเรื่อยมา ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ตอ้ งอาศัยธรรมาธิปไตย อันมีอยู่ในพระพุทธศาสนา จึงจะรักษาความเป็นมนุษย์และ สิทธิมนุษยชนได้ สารคดี “พอเพียงเพื่อแผ่นดิน” จึงผลิตขึ้นมาเพื่อสะท้อน “ชีวติ วัฒนธรรม” ของท้องถิน่ ต่างๆ ทีม่ อี ยูอ่ ย่างมากมาย และเคยมี ธรรมาภิบาลคอยกำกับอยู่เสมอมา เพื่อให้เห็นความหลากหลายที่ เรี ย กว่ า พหุ ลั ก ษณ์ ท างสั ง คมที่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ความมั่ น คงใน แนวคิดประชาธิปไตยแบบอุดมคติทส่ี งั คมไทยยังคงเดินทางไปไม่ถงึ

๒๒

จดหมายขาวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ

ผู้เขียน วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บทนำโดย ศรีศักร วัลลิโภดม เรียบเรียง ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ออกแบบปกและรูปเล่ม ตวงพร วิชญพงษ์กุล ภาพประกอบ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, กฤณกรรณ สุวรรณกาญจน์ พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ISBN 978-616-91559-2-8 ราคา ๒๑๕ บาท

มาบัดนี้สังคมท้องถิ่นต่างๆ ที่หลากหลายเกือบทั่วประเทศ

ได้ถูกรุกล้ำและทำลายจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ มาจากรัฐและจากภายนอก อันเป็นโครงสร้างของสังคมอุตสาหกรรมทีค่ วบคูก่ บั คตินยิ มในเรือ่ งการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกา ทำให้คนต่างถิน่ ทีเ่ ป็นนายทุน ทัง้ จากภายในและภายนอกประเทศเข้ามาแย่งทีท่ ำกิน แย่งทรัพยากร และทำลายสภาพแวดล้อม รวมทั้งมอมเมาคนรุ่นใหม่ให้กลายเป็น ทาสแรงงานติดที่ดิน รวมทั้งละเมิดกติกา กฎเกณฑ์และจารีตของ ท้องถิ่นด้วยการเอาอำนาจรัฐมาอ้างอิงต่างๆ นานา หลายๆ แห่งใช้อำนาจรัฐเป็นเครือ่ งมือในการออกเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน ทรัพยากรทั้งบนดินและใต้ดินให้แก่ นายทุนจากภายนอก ทำให้สงั คมเกษตรกรรมแบบชาวนาเหลือคน กับพืน้ ทีโ่ ดยประมาณเพียง ๑ ใน ๓ ของประเทศเท่านัน้ อีกทัง้ นับวัน ก็จะลดน้อยลงตามจำนวนของคนรุ่นใหม่ที่อยู่ภายใต้การครอบงำ ของโลกานุวัตร แม้ว่าสังคมเกษตรกรรมแบบเดิมจะถดถอยลดน้อยลงใน ภาพรวมเพียงหนึ่งส่วนสามของประเทศก็ตาม แต่หลายๆ ท้องถิ่น ก็ยังมีคนที่มีสำนึกเหลืออยู่และยังมีสติปัญญาที่รู้ทันความชั่วร้าย ของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสามานย์และประชาธิปไตยสาธารณ์ได้ คนเหล่านีซ้ งึ่ มีทงั้ คนรุน่ ปูย่ า่ ตายายและลูกหลาน มีการทบทวนอดีต และรากเหง้าทางภูมปิ ญ ั ญาของตนขึน้ แล้วสร้างเป็นความรูท้ จี่ ะนำ ไปพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของตน ต่อรองกับการรุกล้ำและการ แย่งทรัพยากร พืน้ น้ำและแผ่นดิน อันเป็นสมบัตริ ว่ มของคนในสังคม ท้องถิ่น กิจกรรมที่โดดเด่นที่เป็นการริเริ่มในการสร้างพลังและจิต สำนึกร่วมของตนก็คือ การสร้างความสัมพันธ์กับอำนาจเหนือ ธรรมชาติที่เคยมีอยู่ในวิถีของคนตะวันออกแต่เดิม นั่นก็คือความ สัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือ ธรรมชาติ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาตินี้ได้ ลบเลือนหายไปจากความเป็นมนุษย์ของคนทางตะวันตก โดยเฉพาะ คนอเมริกันนานมาแล้ว ในความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งคนกั บ สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ นั้ น คนในสังคมท้องถิ่นเห็นสิ่งเหนือธรรมชาติคืออำนาจที่ทรงพลัง


เหนือจิตใจและยิ่งใหญ่กว่าอำนาจในกฎหมายรัฐธรรมนูญและ กฎหมายลักษณะต่างๆ ของทางรัฐ เป็นอำนาจทีแ่ ยกไม่ออกจาก สิง่ ทีเ่ ป็นธรรมชาติ เช่น ท้องน้ำ ท้องทุง่ ป่าเขา หรือต้นไม้ใหญ่ๆ มั ก มี ผี มี วิ ญ ญาณและเทวดาอารั ก ษ์ ดู แ ลและเป็ น เจ้ า ของ หรือในชุมชนทัง้ ระดับครอบครัว บ้านและเมือง ต่างก็มสี ง่ิ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ที่มีอำนาจที่ให้คุณและโทษแก่ผู้คนในท้องถิ่นในนามของผีเรือน ผีบ้านและผีเมือง เมื่อเวลาใดที่มนุษย์หรือคนในชุมชนที่อยู่กัน เป็นหมู่เหล่าเป็นกลุ่มก้อนทางสังคมเกิดปัญหาความขัดแย้งที่ นำไปสูค่ วามไม่มนั่ คงทางสังคมและทางจิตใจ เมือ่ นัน้ ผูร้ ใู้ นชุมชน ที่เป็นปราชญ์และผู้อาวุโส รวมทั้งผู้ปกครองก็จะนำพาให้เกิด การทบทวนภูมิหลังของความสัมพันธ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกัน มากว่าชั่วคน และการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน เพื่อทำให้เกิด การประนีประนอมกันขึ้น ซึ่งเป็นการยุติความขัดแย้งภายใน โดยไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลหรือพึ่งพาตำรวจดังในปัจจุบัน อำนาจเหนือธรรมชาติของท้องถิ่นที่ผู้คนอ้างอิงเพื่อ เป็นที่พึ่งในการขจัดการขัดแย้งในสังคมนั้นมีหลายระดับ นับแต่ ผีบ้านผีเรือนถึงผีเมืองและเทพเจ้าบนท้องฟ้า เป็นสิ่งที่ผู้คนใน ท้องถิน่ รับรูแ้ ละเชือ่ มัน่ จากตำนาน คำสอนทางศาสนา และการ ประกอบประเพณีพธิ กี รรมร่วมกันของคนตัง้ แต่รนุ่ เด็ก รุน่ พ่อแม่ จนถึงปู่ย่าตายาย แต่อำนาจเหนือธรรมชาติทโี่ ดดเด่นในแต่ละท้องถิน่ ทีม่ ี ลักษณะเป็นอัตลักษณ์ทางสังคมของแต่ละถิ่น หรือแต่ละบ้าน เมืองก็คอื ผูน้ ำวัฒนธรรม [Culture hero] เป็นสิง่ ทีม่ มี าเก่าแก่ คู่ กั บ ความเป็ น มาทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมของมนุ ษ ยชาติ ก็ว่าได้…

เมืองหนองหารหลวง และภูพานมหาวนาสี ผู้เขียน ศรีศักร วัลลิโภดม, วลัยลักษณ์ ทรงศริ, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ บรรณาธิการ, ออกแบบปกและรูปเล่ม วลัยลักษณ์ ทรงศิริ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๕๕ ภาพประกอบ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, ภาพเก่าเมืองสกลนครของพระดุลยภาณสรประจักษ์ (บุญมาก ตังคณะสิงห์) ราคา ๒๐๐ บาท

หนังสือเล่มนี้จัดทำแบบเฉพาะกิจเพื่อสร้างความเข้าใจ

ในรากเหง้าและความเป็นมาของบ้านเมืองขนาดใหญ่และสำคัญ ที่สุดในเขตอีสานเหนือ “เมืองหนองหารหลวง” ที่ต่อมาได้

กลายเป็นเมืองสกลนคร และมีความสำคัญในฐานะที่เป็น “ถิ่น พุทธธรรม” อันเป็นที่มั่นของพระอริยสงฆ์สายพระป่าที่ใช้การ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นพื้นธรรม จนกลายเป็นอัตลักษณ์ ของความเป็นมหาวนาสีแห่งภูพาน กรณี ก ารคั ด ค้ า นการออกโฉนดทั บ ซ้ อ นลงบนพื้ น ที่ สาธารณะ โดยฝ่ายประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นำไปสู่กระบวนการเรียกร้องเพื่อการกระทำที่ถูกต้องเมื่อต้น เดือนกันยายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา เพื่อรักษาสมบัติสาธารณะ [Common property] “ดอนสวรรค์” ดอนทีส่ มบูรณ์ในเชิงนิเวศ และมีความหมายต่อชีวิตและสังคมของคนสกลนครทั้งมวล มูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ จึงถือโอกาสอันดีทพี่ นี่ อ้ ง ชาวสกลนครสร้างปรากฏการณ์ “รักษาบ้านเกิดเมืองนอน” จัด พิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์และใน การเป็นเมืองโบราณที่เป็นถิ่นฐานอันเก่าแก่ในการประดิษฐาน พระพุทธศาสนาแบบอรัญวาสี เพื่อสืบทอดรากเหง้าและรักษา อัตลักษณ์ในความเป็นเมืองริมหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่และ ถิ่นมั่นในพุทธธรรมให้คงอยู่เป็นขวัญของบ้านเมืองสืบไป

DVD เสวนาสัญจร คนค่อนศตวรรษ ส่องซอด สอดส่อง เมืองสกล ฟงความผูห้ ลักผูใ้ หญ่ในบ้านเมือง ฝกฟน ใจเพือ่ อนาคต เมือ่ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๕

ณ เทศบาลเมืองสกลนคร เปิดประเด็นโดย รศ.ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพฒ ั น์ อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม และพ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว ผลิตเพือ่ ผูส้ นใจรับรูก้ ารเสวนาในเมืองสกลนคร โดยอาจารย์ผหู้ ลักผูใ้ หญ่และปราชญ์อาวุโสชาวสกลนคร และผูเ้ ข้าร่วมเสวนาหลากหลาย รวมทัง้ สารคดีสมั ภาษณ์ ประกอบการเสวนาตลอดกว่า ๓ ชัว่ โมง แผ่นแรกสีฟา เข้ม เป็นรายการเสวนาและสารคดี แบ่งเป็นตอนย่อย ๕ ตอน ในประเด็นต่างๆ ๕ ช่วง ทีจ่ ะนำท่านไปรูจ้ กั ‘เมืองสกลนคร’ ให้ลกึ และกว้างกว่าทีเ่ คย แผ่นสีบานเย็นเป็นบันทึกการ เสวนาอย่างเดียวราว ๓ ชั่วโมง

ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๙๗ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

๒3


ไล่รื้อชุมชน ความขัดแย้งระหว่าง กรรมสิทธิ์โดยกฎหมายและสิทธิชุมชน… ภาวะล้าหลังทางวัฒนธรรมในเมืองไทย

พบกับบันทึกการเสวนาฉบับเต็ม เปิดประเด็นโดย ศ.ดร.เสน่ห์ จามริก, รศ.ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ และอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ณ หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร ส่วนอีกแผ่นนำเสนอ สารคดีสั้น ความผูกพันของผู้คนย่านบ้านเมืองและการรื้อ ทำลาย บันทึกการเสวนาพร้อมสารคดีประกอบสัมภาษณ์ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียจากกรณีไล่รื้อหลายแห่ง ได้แก่ ๑. ย่าน...ความเป็นชุมชน ๒. สิทธิชุมชน ๓. ความขัดแย้ง

เสวนาและสารคดีมีสองชุด หนึ่งชุดมีสอง แผ่น สั่งซื้อได้ในราคาแผ่นละ ๖๐ บาท และจัดส่ง ทั่วประเทศ “ฟรี” ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ ๑. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ E-mail : vlekprapaifoundation@gmail.com หรือ https://www.facebook.com/lekfound โทร. ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ ๒. ร้านหนังสือริมขอบฟ้า วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โทร. ๐-๒๖๒๒-๓๕๑๐ หมายเหตุ : มูลนิธฯิ ไม่มวี ตั ถุประสงค์ในการแสวงหา กำไร หากแต่มุ่งเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์สู่ สาธารณะ อัตราค่า DVD นี้ เป็นเงินสนับสนุนในการ จัดทำข้อมูลและเป็นต้นทุนในการผลิตเท่านั้น

สมัครสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธฯิ สัง่ ซือ้ หนังสือ และ DVD เฉพาะของมูลนิธฯิ ลดราคาทุกปกทุกชิน้ ผู้สนใจสมัครสมาชิกจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เพียงเขียนรายละเอียดใน ใบสมัครสมาชิกส่งกลับมายังที่อยู่หรืออีเมลของมูลนิธิฯ ท่านจะได้รับสิทธิพิเศษทันที

๒๐% ทันที

•ส่วนลด ๒๐% ในการสัง่ ซือ้ หนังสือและ DVD เฉพาะของมูลนิธฯิ ไม่วา่ ใหม่หรือเก่าทุกปกทุกชิน้ (สงวนสิทธิเ์ ฉพาะสัง่ ซือ้ โดยตรงกับทางมูลนิธิฯ เท่านั้น) •ฟรี! รับสิทธิ์ในการรับจดหมายข่าว (แบบรายปี/จำนวน ๔ ฉบับ) ในแบบออนไลน์ หรือสมัครรับจดหมายข่าวแบบ สิ่งพิมพ์ค่าใช้จ่ายเพียงปีละ ๑๐๐ บาท (ส่งแสตมป ๕ บาท จำนวน ๒๐ ดวง มายังมูลนิธิฯ) •รับรหัสสมาชิกเพื่ออ่านจดหมายข่าวแบบออนไลน์ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ ถึงฉบับปัจจุบันฟรี และสามารถ Download จดหมายข่าวในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ทุกฉบับ •รับข่าวสารกิจกรรมของมูลนิธิฯ ได้ก่อนใคร หรือสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้ก่อนผู้อื่นในราคาพิเศษ

งานสารคดีพอเพียงเพือ่ แผ่นดินเกิด จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของเมืองโบราณ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ และบริษัท เอเชีย แซทเทิลไลท์ ทีวี จำกัด เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้สาธารณะ ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อโดย •โอนเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า ชื่อบัญชี มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เลขบัญชี 169-0-484850 เมื่อท่านโอนเงินเรียบร้อยแล้ว กรุณาส่ง SMS มายังหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๐๘๖-๖๔๔-๔๓๒๑ พร้อมระบุ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และใบสั่งซื้อของท่านมาที่โทร. ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ (ไม่รวมค่าจัดส่ง) •หรื หรือติดต่อสั่งซื้อได้ที่ร้านหนังสือริมขอบฟ้า (วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิไตย) โทร. ๐-๒๖๒๒-๓๕๑๐ *** หมายเหตุ ค่าจัดส่ง ๑-๑๐ แผ่น ราคา ๕๐ บาท ๑๑ แผ่นขึ้นไป ราคา ๑๐๐ บาท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.