ฟาติมาสาร - สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา (03-08-2014)

Page 1

-1-

ฟาติมาสาร สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014 ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วัดแม่พระฟาติมา 4080 ถ. อโศก – ดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400 โทร. 02 - 245 - 1039, 02 - 642 - 9907, 02 - 247 - 5222, โทรสาร 02 - 246 - 6174 E-mail : fatimachurch13@gmail.com www.fatima.or.th สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-2-

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014 วันนี้พระศาสนจักรมีสาระให้ระลึกถึงสองเรื่อง ใหญ่ๆ คือ 1. ขอความร่วมมือรณรงค์วันต่อต้านการค้ามนุษย์สากล และ 2. วันสื่อมวลชน สากลครั้งที่ 48/2014 หัวข้อ “สื่อมวลชนในการรับใช้วัฒนธรรมแห่งการเผชิญหน้ากัน” ในหัวข้อที่ 1 การค้ามนุษย์ (Trafficking in persons) เนื่องจากในหลาย ประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย การค้ามนุษย์ ทวีความรุนแรง มีการกดขี่ เรื่องแรงงาน อพยพ ผู้หญิงและเด็ก เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2014 ถือเป็นวันการต่อต้านการค้ามนุษย์ ตามประกาศของสหประชาชาติ เพื่อปลุกจิตสานึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาการค้า มนุษย์และการกระทารุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก หน่วยงาน Caritas Thailand ขอความ ร่วมมือจากทุกวัด โรงเรียนและผู้เกีย่ วข้อง ขอให้มีการภาวนาเพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเพิ่มเติมในมิสซาวันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2557 หัวข้อที่ 2 วันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 48 วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ให้ไว้ ณ สานักวาติกัน วันที่ 24 มกราคม 2014 ความว่า ในทุกวันนี้โลกของเรายิ่งทียิ่งเล็กลง ทาให้การติดต่อสื่อสาร ท่องเที่ยว เพื่อนบ้านต้องพึ่ง พาอาศัยกันและกัน แต่เรามองเห็นความแตกแยกในครอบครัว สังคมคนรวยคนจน การ แบ่งแยกทางธุรกิจ การเมือง อุดมคติ แม้กระทั่งเรื่องศาสนา สื่อมวลชนสามารถช่วยให้ เรารู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น รู้จักกันดียิ่งขึ้น กาแพงที่แบ่งแยกเราจะถูกทาลายลงได้ก็ต่อเมื่อ เราพร้อมที่จะรับฟังและเรียนรู้จากกันและกัน การเสวนาพูดจากัน โลกของอินเตอร์เน็ตทา ให้เราสื่อสารถึงกันและกันแบบจริง อินเตอร์เน็ตเป็นของขวัญจากพระเจ้า เราได้รู้ได้ ประโยชน์มากมายจากสื่อมวลชน แต่บางทีอาจขาดการไตร่ตรองเหตุการณ์อย่างละเอียด เพื่อตัดสิน บางครั้งทาให้เราหลงทางออกห่างจากเพื่อนฝูงผู้คนมีโลกส่วนตัว แม้ว่าสิ่ง เหล่านี้มีอยู่จริง แต่ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะปฏิเสธสื่อมวลชน สิ่งใดช่วยให้เราเติบโตใน โลกดิจิตอล เช่นคนที่เห็นต่างไปจากเรา คนเราจะแสดงความเห็นของตนออกมาได้อย่าง เต็มที่ ก็ต่อเมื่อเขาได้รับความเพียรทนเท่านั้น เรารู้จักศึกษาการมองดูโลกในแง่มุมอื่น สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-3-

ดังนั้นทาอย่างไรจึงจะให้สื่อสารมวลชนรับใช้วัฒนธรรมแห่งการเผชิญหน้ากัน ดังตัวอย่าง นิทานเปรียบเทียบเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนด้วย ผู้ที่ติดต่อกันก็เป็น เพื่อนบ้านกัน ชาวสะมาเรียผู้ใจดีไม่เพียงเข้าใกล้ชิดผู้ที่เกือบจะสิ้นใจ เขารับผิดชอบในการ ดูแล ทาให้ตัวเราเป็นเหมือนผู้อื่น ถ้าสื่อมวลชนเน้นเพียงการบริโภคและควบคุมผู้อื่น ก็ หมายความว่าเรากาลังเผชิญหน้ากับการจู่โจมที่รุนแรง เหมือนบุคคลในนิทานเปรียบเทียบ ที่ถูกขโมยทุบตีทิ้งไว้ข้างถนน แปลว่าเราไม่สามารถมองผู้อื่นเป็นเพื่อนที่แท้จริงได้ ในโลก ดิจิตอลเราต้องเติบโตในการเผชิญหน้า เราจะอยู่โดดเดี่ยวหรือปิดตัวเราเองไม่ได้ โลกของ การสื่อสารต้องเห็นใจกับการเป็นมนุษย์ พระสันตะปาปาตรัสว่า ดังที่ข้าพเจ้าได้พิจารณาอยู่บ่อยๆ หากต้องเลือกระหว่าง พระศาสนจักรที่มีบาดแผลและออกไปตามถนน กับพระศาสนจักรที่ต้องทรมานอันเนื่อง มาจากการสนใจกับตัวเองมากเกินไป ข้าพเจ้าเลือกเอาแบบแรก การเปิดประตูวัดของเรา หมายถึงการเปิดในบรรยากาศของโลกดิจิตอลด้วย พระศาสนจักรเป็นบ้านของทุกคน สามารถตอบปัญหาให้ผู้อื่นได้ ขอให้ภาพของชาวสะมาเรีย ที่ล้างแผล แล้วเอาน้ามันกับ เหล้าองุ่นเทเหนือพวกเขา การสื่อสารขอให้เป็นเหมือนน้ามันที่ขจัดความเจ็บปวด เหล้า องุ่นอย่างดีที่ช่วยให้จิตใจชุ่มชื่น ให้เรากล้าเป็นหนึ่งเดียวกับประชาชนในโลกดิจิตอล พระศาสนจักรต้องสามารถเดินทางไปกับผู้อื่น ให้เราแสวงหาและแบ่งปันความงดงามของ พระเจ้าพร้อมกับผู้อื่น.....ด้วยโลกดิจิตอล..... คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์

สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-4-

พระวรสารประจาสัปดาห์ ( มธ 14:13-21 ) เมื่อพระเยซูเจ้าทรงทราบข่าวความตายของยอห์น บัปติสต์ ได้เสด็จออกจากที่ นั่น ลงเรือไปยังที่สงัดตามลาพังเมื่อประชาชนรู้ต่างก็เดินเท้าจากเมืองต่าง ๆ มาเฝ้า พระองค์ 14เมื่อเสด็จขึ้นจากเรือ ทรงเห็นประชาชนมากมายก็ทรงสงสาร และทรงรักษาผู้ เจ็บป่วยให้หายจากโรค 15เมื่อถึงเวลาเย็น บรรดาศิษย์เข้ามาทูลพระองค์ว่า “สถานที่นี้ เป็นที่เปลี่ยวและเป็นเวลาเย็นมากแล้ว ขอพระองค์ทรงอนุญาตให้ประชาชนไปตาม 16 หมู่บ้านเพื่อซื้ออาหารเถิด” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เขาไม่จาเป็นต้องไปจากที่นี่ ท่านทั้ง หลายจงหาอาหารให้เขากินเถิด” 17เขาทูลตอบว่า “ที่นี่เรามีขนมปังเพียงห้าก้อนกับปลา สองตัวเท่านั้น” 18พระองค์จึงตรัสว่า“เอามาให้เราที่นี่เถิด” 19พระองค์ทรงสั่งให้ประชาชน นั่งลงบนพื้นหญ้า ทรงรับขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัวขึ้นมา ทรงแหงนพระพักตร์ขึ้นมอง ท้องฟ้า ทรงกล่าวถวายพระพร ทรงบิขนมปังส่งให้บรรดาศิษย์ไปแจกแก่ประชาชน 20ทุก 21 คนได้กินจนอิ่ม แล้วยังเก็บเศษที่เหลือได้ถึงสิบสองกระบุง จานวนคนที่กินมีผู้ชาย ประมาณห้าพันคน ไม่นับผู้หญิงและเด็ก 13

****************************************

ข้อคิดจากบทพระวรสาร(โดย คพ.ชัยยะ กิจสวัสดิ์) หลังจากยอห์นผู้ทาพิธีล้างถูกกษัตริย์เฮโรดสั่งตัดศีรษะ “บรรดาศิษย์ของยอห์น ได้มารับศพไปฝัง แล้วแจ้งข่าวให้พระเยซูเจ้าทรงทราบ” (มธ 14:12) ซึ่งนอกจากจะทาให้ พระองค์เสียพระทัยกับการจากไปของยอห์นแล้ว ยังทาให้พระองค์อดหวั่นพระทัยในชะตา กรรมทานองเดียวกันที่กาลังรอคอยพระองค์อยู่เบื้องหน้าไม่ได้ การหลบจากประชาชนไปหาที่สงัดตามลาพังเพื่อพักกาย พักใจ และเพื่อวอนขอ ความช่วยเหลือและพละกาลังจากพระบิดาเจ้า จึงเป็นสิ่งที่พระองค์ปรารถนาอย่างยิ่ง ! แต่การจะแสวงหาที่สงัดในแคว้นกาลิลีสาหรับบุคคลผู้มีชื่อเสียงอย่างพระองค์คง ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะโยเซฟุส นักประวัติศาสตร์ชาวยิว บันทึกไว้ว่าด้วยขนาดเพียง 80 กิโลเมตรจากเหนือจดใต้และ 40 กิโลเมตรจากตะวันออกจดตะวันตก กาลิลีสมัยพระเยซู สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-5-

เจ้าประกอบไปด้วยเมืองและหมู่บ้านมากถึง 204 แห่ง แต่ละแห่งมีพลเมืองไม่น้อยกว่า 15,000 คน รวมแล้วจึงมีประชากรหนาแน่นมากกว่าสามล้านคน หากต้องการอยู่ตามลาพังจึงเหลือเพียงหนทางเดียว นั่นคือ ลงเรือข้ามทะเลสาบ กาลิลีไปอีกฟากหนึ่งซึ่งมีประชากรเบาบางกว่ากันมาก แต่เมื่อเสด็จลงเรือประชาชนก็คาดเดาได้ทันทีว่าพระองค์กาลังไปที่ใด พวกเขาจึง เร่งรีบเดินเลียบไปตามชายฝั่งทะเลสาบด้านเหนือเพื่อดักรอเฝ้าพระองค์ (มธ 14:13) ด้วยเหตุนี้ เมื่อเสด็จขึ้นจากเรือ พระองค์จึงทรงพบเห็นประชาชนมากมาย กระนั้นก็ตาม พระองค์ “ทรงสงสารและทรงรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายจากโรค” (มธ 14:14) ครั้นตกเย็นยังทรงตรัสสั่งบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงหาอาหารให้เขากินเถิด” (มธ 14:16) เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เผยแสดงความจริงหลายประการเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า 1. พระองค์ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตาสงสาร ทั้ง ๆ ที่เสด็จมาเพื่อแสวงหาความสงัดตามลาพัง แต่เมื่อขึ้นจากเรือ พระองค์กลับพบประชาชนมากมายเฝ้ารออยู่ พระองค์จะทรงปฏิเสธพวกเขาก็ได้ พวกเขามีสิทธิอะไรมาก้าวก่ายความ เป็นส่วนตัวของพระองค์ด้วยการเรียกร้องขอความช่วยเหลือแบบไม่รู้จักจบสิ้นเช่นนี้ พระองค์ไม่มีสิทธิพักผ่อนหรือมีเวลาส่วนตัวบ้างเลยหรือ ? กระนั้นก็ตาม แทนที่จะรู้สึกว่าถูกกวนใจ พระองค์กลับ “ทรงสงสาร และทรงรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายจากโรค” (มธ 14:14) “สงสาร” ตรงกับคากริยากรีก “สพรากค์นีซอมาย” (splagchnizomai) อันมีรากศัพท์เดียวกันกับคานาม “สพรากค์นา” (splagchna) ซึ่งหมายถึง “ตับไตไส้พุง” “สพรากค์นีซอมาย” จึงหมายถึงความรู้สึกเมตตาสงสารที่ถูกขับเคลื่อน ออกมาจากส่วนลึกที่สุด นั่นคือตับไตไส้พุงซึ่งอยู่ลึกกว่าหัวใจของเรามนุษย์เสียอีก เท่ากับว่านอกจากจะไม่ทรงโกรธหรือราคาญใจแล้ว พระองค์ยังทรง สงสารพวกเขาอย่างสุดซึ้งอีกด้วย พระองค์ทรงทาให้ประชาชนได้ประจักษ์ว่า “พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่ ทุกคน” !!! สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-6-

เช่นเดียวกัน หากจะประกาศข่าวดีของพระองค์ เราจาต้องให้ “เวลา” แก่ทุกคน หากเราแสดงอาการเหนื่อยล้า หมดความอดทน เร่งรีบ หรือทาราวกับถึงเวลา รับประทานอาหารแล้ว กลุ่มเป้าหมายของเราจะทยอยหายไป และจะไม่มีวันหวนกลับมา อีก ดังนั้น เราจะประกาศข่าวดีโดยที่ตาข้างหนึ่งจับจ้องอยู่ที่นาฬิกาไม่ได้ ! และที่ร้ายไปกว่านาฬิกาก็คือความเป็นคนเจ้ายศ เจ้าอย่าง และเจ้า ระเบียบซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งใหญ่กว่าอีก อิสวาร์ จันดาร์ วิทยสักกะ บัณฑิตชาวอินเดียผู้ก่อตั้งวิทยาลัยฮินดูใน กัลกัตตา เป็นนักปฏิรูปสังคม นักเขียนและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงของอินเดีย ท่านได้รับ มอบหมายจากชาวฮินดูในเมืองกัลกัตตาให้มาสร้างความสัมพันธ์กับชาวคริสต์ แต่ต้อง ผิดหวังกลับไปเพราะพระสังฆราชไม่ยินยอมให้พบเว้นแต่จะได้นัดหมายไว้ล่วงหน้า ท่าน จึงรวบรวมชาวฮินดูเพื่อต่อต้านพระศาสนจักรนับแต่นั้นมา หาไม่แล้ว คริสตศาสนาคงได้งอกงามในเบงกอลมากกว่านี้สักเพียงใด ! 2. พระองค์ทรงกตัญญูรู้คุณ หลังจากรับขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัวจากศิษย์แล้ว พระองค์ “ทรง แหงนพระพักตร์ขึ้นมองท้องฟ้า ทรงกล่าวถวายพระพร” (มธ 14:19) คาถวายพระพรที่พระองค์และชาวยิวทุกครอบครัวใช้ก่อนรับประทาน อาหารคือ “ขอถวายพระพรแด่พระยะโฮวาห์ พระเจ้าของเราและกษัตริย์แห่งสากล จักรวาล พระองค์ทรงประทานขนมปังจากผืนแผ่นดิน” ซึ่งบ่งบอกว่า “ขนมปัง ปลา และทุกสิ่งที่พระองค์ทรงนามามอบแก่ มนุษย์ล้วนเป็นของประทานจากพระเจ้า” แม้แต่พระเยซูเจ้ายังทรงขอบพระคุณพระเจ้าด้วยความกตัญญูรู้คุณ แต่ น่าเสียดายที่ลาพังความกตัญญูรู้คุณต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองเราก็มีน้อยมากอยู่แล้ว แต่ ความกตัญญูรู้คุณต่อพระเจ้าเรายิ่งมีน้อยกว่าอีก ! 3. พระองค์ทรงต้องการเราทุกคน หลังจากกล่าวถวายพระพรแล้ว “พระองค์ทรงบิขนมปังส่งให้บรรดาศิษย์ ไปแจกแก่ประชาชน” (มธ 14:19) สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-7-

เท่ากับว่าบรรดาศิษย์มีบทบาทสาคัญในงานของพระเยซูเจ้า เพราะ พระองค์ทรงแจกจ่ายขนมปังโดยผ่านทาง “มือ” ของพวกเขา เป็นความจริงที่บรรดาศิษย์ไม่อาจทาอะไรได้หากปราศจากพระเยซูเจ้า แต่ในเวลาเดียวกันพระองค์ก็ไม่อาจทาอะไรได้หากปราศจากบรรดาศิษย์ ทุกวันนี้พระองค์ยังทรงต้องการ “ศิษย์อย่างเรา” ให้ร่วมมือกับพระองค์ ดังเดิมใครล่ะจะอบรมสั่งสอนเด็กๆ หรือจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ขัดสนหากไม่ใช่ “เรา” ? พระองค์ทรงต้องการ คนที่พระองค์สามารถมอบความจริงและความรัก ให้ เพื่อนาไปมอบแก่ผู้อื่นต่อไป ทาไมคน ๆ นั้นจะเป็นเราไม่ได้ ? อย่าวิตกกังวลว่าผู้ที่รอคอยความจริงและความรักจากเรามีอยู่มากมาย ลาพังเราคนเดียวจะไปทาอะไรได้ ลืมไปแล้วหรือว่าบรรดาศิษย์เคยทูลพระองค์ว่า “ที่นี่เรามีขนมปังเพียง ห้าก้อนกับปลาสองตัวเท่านั้น” จะพอเลี้ยง “ผู้ชายประมาณห้าพันคน ไม่นับผู้หญิงและ เด็ก” ได้ละหรือ ? (มธ 14:17, 21) แต่อาศัยสิ่งของเล็กน้อยที่พวกเขานามามอบแด่พระองค์นี้เอง พระองค์ ทรงทาให้เกิดอัศจรรย์อันยิ่งใหญ่ ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าพระองค์มิได้ทรงเรียกร้องความยิ่งใหญ่เก่งกาจ มากมายจากเรา ขอเพียงเรามอบสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีแด่พระองค์ พระองค์ก็สามารถทา กิจการใหญ่หลวงผ่านทางเราได้แล้ว 4. พระองค์ไม่ทรงฟุ่มเฟือย เมื่อ “ทุกคนได้กินจนอิ่มแล้วยังเก็บเศษที่เหลือได้ถึงสิบสองกระบุง” (มธ 14:20) สาหรับพระเยซูเจ้าแล้ว ต้องไม่มีการทิ้งขว้างให้เสียของเด็ดขาดเพราะแม้ พระเจ้าจะทรงประทานทุกสิ่งแก่เราด้วยพระทัยกว้างขวาง แต่การฟุ่มเฟือยโดยเปล่า ประโยชน์เป็นสิ่งที่ผิดเสมอ ความใจกว้างของพระเจ้าจึงต้องควบคู่ไปกับการใช้อย่างชาญฉลาดของ มนุษย์ ! สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-8-

พระเยซูเจ้าทรงทาอัศจรรย์อย่างไร หลักการที่เราทุกคนควรยึดถือเมื่อศึกษาอัศจรรย์ของพระเยซูเจ้าก็คือ อัศจรรย์ ไม่ใช่สิ่งที่ “ได้เกิดขึ้น” เพียงครั้งหนึ่งในอดีต แต่เป็นสิ่งที่ “เกิดขึ้น” ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะอัศจรรย์คือการเผยแสดงอานาจแห่งความรักของพระเจ้าชั่วกัปชั่วกัลป์ เกี่ยวกับการเลี้ยงอาหารประชาชนจานวนมาก มีความเป็นไปได้ 3 แนวทางคือ 1. เป็นการทวีขนมปังและปลา แนวทางนี้เป็นความเชื่อที่ง่ายแต่อธิบายให้ เข้าใจได้ยาก อีกทั้งเป็นการจากัดให้การทวีขนมปังและปลาเป็นอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเพียง ครั้งเดียวเมื่อสองพันปีก่อนและยังไม่เคยเกิดซ้าอีกจนถึงปัจจุบัน 2. เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ แนวทางนี้ถือว่าประชาชนได้รับขนมปังหรือปลาเพียงชิ้น เล็กๆ ที่เป็นเสมือนอาหารฝ่ายวิญญาณจากพระเยซูเจ้าและทาให้พวกเขามีพลังเดินทางกลับ บ้านเหตุการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่เราร่วมพิธีบูชามิสซาและรับศีลมหาสนิท 3. เป็นการแบ่งปัน แนวทางนี้มองว่าด้านหนึ่งเป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นอัศจรรย์จริง ๆ และมีคุณค่าอย่างยิ่งยวด ตามแนวทางนี้ สันนิษฐานว่าเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนจะเดินทางไกลจาก เมืองต่าง ๆ (มธ 14:13) โดยไม่มีอาหารติดตัวมาด้วย แต่สาเหตุที่ทาให้พวกเขาหิวคือ “ความเห็นแก่ตัว” ไม่ยอมนาอาหารออกมากิน เกรงว่าจะต้องแบ่งปันแก่ผู้อื่นจนเหลือไม่ พอสาหรับตนเอง ต่อเมื่อพระเยซูเจ้าทรงนาอาหารที่พระองค์และบรรดาศิษย์นาติดตัวมา ออกมาแบ่งปันแก่ผู้อื่นนั่นแหละ พวกเขาจึงเริ่มแบ่งปันกันจนทุกคนอิ่มหนาและมีอาหาร เหลืออีกด้วย หากแนวทางนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง อัศจรรย์นี้ก็ไม่ใช่การทวีขนมปังและ ปลา แต่เป็นการเปลี่ยนมนุษย์ที่เห็นแก่ตัวให้เป็นมนุษย์ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นอัศจรรย์แห่งการเกิดขึ้นของความรักในหัวใจของคนที่ตระหนี่ถี่ เหนียว ! เหตุว่าเมื่อได้สัมผัสพระเยซูเจ้า ความเห็นแก่ตัวก็กลับกลายเป็นความรัก ไม่ว่าเราจะเข้าใจอัศจรรย์นี้อย่างไร สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ“ที่ใดมีพระเยซู เจ้า ที่นั่นมีการพักผ่อนสาหรับผู้เหน็ดเหนื่อยและความอิ่มหนา สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-9-

Pope Report อนาคตพระศาสนจักรคาทอลิกเอเชีย สดใสมากๆ ย้อนกลับไปช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา “อิล เมสซาจเจโร” หนังสือพิมพ์ของ กรุงโรม ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ที่ประทานสัมภาษณ์แก่ ฟรังก้า จานโซลดาติ ในโอกาสวันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล สองนักบุญ องค์อุปถัมภ์ของกรุงโรม โดยนับเป็นครั้งที่ 4 ในสมณสมัยที่พระสันตะปาปาประทาน การสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ บทสัมภาษณ์นี้น่าสนใจมาก มีทั้งประเด็นศีลธรรม, ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, นักการเมืองฆ่าตัวเองด้วยการโกง, คากล่าวหาพระสันตะปาปาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ เน้นแต่ความยากจน, บทบาทสตรีในพระศาสนจักร, การเยือนเอเชียและการเผยว่า ยังไม่ รู้จักกรุงโรมมากเท่าที่ควร และยังไม่เคยเข้าไปในพิพิธภัณฑ์วาติกันเลย ... ว่าแต่เรื่องราว จะเป็นอย่างไร เราไปติดตามกันเลย ฟรังก้า จานโซลดาติ (FG): มีคนนินทากันเยอะมากว่า พระสันตะปาปาเป็น พวกหัวคอมมิวนิสต์ ทุกอย่างที่สอนเอาแต่พูดเรื่องความยากจนเป็นหลัก พระองค์ทรง คิดเห็นอย่างไรกับคากล่าวหานี้ พระสันตะปาปา: พ่อพูดได้อย่างเดียวว่า คอมมิวนิสต์ขโมยอัตลักษณ์ของพวกเรา ไป อัตลักษณ์แห่งความยากไร้คือศาสนาคริสต์ ความยากจนคือหัวใจของพระวรสาร เรา จะไม่มีวันเข้าใจพระวรสาร ถ้าหากยังไม่เข้าใจความยากจนที่แท้จริง ในเวลาเดียวกัน มันยังมีความงดงามของจิตวิญญาณแห่งความยากจน การเป็นคนยากจนคนยากไร้ในสาย พระเนตรของพระเจ้า พระองค์จะเติมเต็มเราให้ครบครัน ในความเป็นจริงแล้ว พระวรสาร ไม่ได้ถูกประกาศออกไปแบบแบ่งแยกว่าใครเป็นคนรวยหรือคนจนพ่อขอย้าว่าพระวรสาร ไม่เคยประณามคนรวย แต่พระวรสารประณามคนรวยที่เป็นพวกบูชาเงินเป็นพระเจ้า FG: พระองค์คิดว่า ความท้าทายของนักการเมืองยุคนี้คืออะไร พระศาสนจักร จะตอบสนองความท้าทายนี้ด้วยการปกป้องความดีส่วนรวมอย่างไรบ้าง สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-10-

พระสันตะปาปา: การปกป้องความดีส่วนรวม รวมไปถึงการปกป้องชีวิตมนุษย์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จัดเป็นกระแสเรียกของนักการเมืองทุกคน ปัญหาของ การเมืองทุกวันนี้อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นปัญหาระดับโลกแล้ว นั่นคือ การเมืองถูกลด คุณค่าและถูกทาลายด้วยการคดโกง ทั้งเกิดการติดสินบนกันไปทั่ว การเสื่อมสลายทาง ศีลธรรมแบบนี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะในวงการการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวงการธุรกิจ การเงินและแวดวงสังคม ทั้งหมดถูกขับเคลื่อนด้วยการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยซึ่งเรา กาลังประสบในทุกวันนี้ นี่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอีกด้วย FG: แล้วพระศาสนจักรของแบร์โกโญ่ (CHURCH OF BERGOGLIO … แบร์ โกโญ่ คือนามสกุลของพระสันตะปาปา) จะมุ่งหน้าไปในทิศใดล่ะ พระสันตะปาปา: ขอบคุณพระเจ้า พ่อไม่มีพระศาสนจักรใดๆ ทั้งสิ้น เพราะพ่อ ติดตามพระคริสตเจ้า พ่อไม่ได้ก่อตั้งพระศาสนจักรใดๆ ทั้งนั้น การตัดสินใจใดๆ ของพ่อ ล้วนเป็นผลมาจากการประชุมของคณะพระคาร์ดินัลก่อนการเลือกตั้งพระสันตะปาปา พ่อ ไม่ได้ทาสิ่งใดตามใจตัวเองเลย FG: พระสันตะปาปาคิดอย่างไรกับพระศาสนจักรคาทอลิกในเอเชียบ้างล่ะ พระสันตะปาปา: สดใส! พระศาสนจักรคาทอลิกในเอเชียจัดเป็นความสดใส และความหวังมากๆ อย่างที่ทราบกัน พ่อจะไปเยือนเอเชีย 2 ครั้งในระยะเวลาห่างกัน 6 เดือน เดือนสิงหาคม พ่อจะไปพบกับเยาวชนเอเชีย ส่วนเดือนมกราคม 2015 พ่อจะ ไปศรีลังกาและฟิลิปปินส์ พูดถึงพระศาสนจักรคาทอลิกในเกาหลีใต้ ประวัติศาสตร์ พระศาสนจักรที่นี่จัดว่ายิ่งใหญ่มากๆ พวกเขาเคยถูกเบียดเบียนจนไม่มีสงฆ์คาทอลิก กว่า 200 ปี แต่คาทอลิกก็ยังแผ่ขยายไปเรื่อยๆ เราต้องขอบคุณบรรดาฆราวาส คาทอลิกเกาหลี พวกเขาทางานได้อย่างเข้มแข็งมากๆ FG: แล้วพระศาสนจักรคาทอลิกในจีนล่ะ พระองค์คิดเห็นอย่างไร พระสันตะปาปา: นี่คือความท้าทายทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตาม พ่อ อยากบอกว่า คุณพ่อมัตเตโอ ริชชี่ สงฆ์เยสุอิตซึ่งเป็นมิชชันนารีที่จีน ทางานแพร่ธรรมได้ดี มากๆ ในช่วงศตวรรษที่ 17 FG: อยากทราบมุมมองของพระองค์ที่มีต่อสตรีในพระศาสนจักร สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-11-

พระสันตะปาปา: พ่อยังย้าเหมือนเดิมนะเหมือนที่เคยพูดไปหลายครั้งว่า ถ้าเรา ไม่เข้าใจความเป็นผู้หญิง เราก็จะไม่เข้าใจพระศาสนจักร ผู้หญิงคือสิ่งที่สวยงามที่สุดที่ พระเจ้าทรงสร้าง พระศาสนจักรคือผู้หญิง (เวลาเรียกพระศาสนจักร เราจะใช้ศัพท์เรียก เป็นเพศหญิง อาทิ SHE, HER) FG: ตอนนี้ พระองค์รู้จักกรุงโรมดีหรือยัง พระสันตะปาปา: ยัง! ลองคิดดูนะ พ่อเพิ่งเคยเห็นวัดน้อยซิสตินเป็นครั้งแรก ก็ตอนมาร่วมการเลือกตั้งพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ตอนปี 2005 นั่นแหละ พ่อ อยากบอกว่า จนถึงทุกวันนี้ พ่อยังไม่เคยไปวาติกันมิวเซี่ยมเลย! สมัยที่เป็นพระคาร์ดินัล พ่อก็ไม่ได้มากรุงโรมบ่อยนัก พ่อรู้จักมหาวิหารซานตา มารีอา มาจจอเร่ พ่อจึงไปที่นั่น บ่อยๆ และพ่อก็รู้จักวัดนักบุญลอว์เร็นซ์ นอกกาแพงกรุงโรม พ่อรู้จักปิอัซซ่า นาโวน่า เพราะพ่อชอบไปพักแถวนั้น ปัญหาเดียวที่พ่อยังไม่รู้จักโรมดีพอก็คือโรมเป็นเมืองที่ใหญ่ มากๆ AVE MARIA ******************************

พระเยซูเจ้าประจักษ์พระวรกาย (6 สิงหาคม) สาหรับพระศาสนจักรตะวันออก วันที่ 6 สิงหาคมเป็นวันฉลองปัสกาของฤดูร้อน เพราะเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรงประจักษ์พระวรกายของพระองค์ ดังที่ ได้มีเล่าไว้ในพระวรสาร 3 ฉบับแรก สาหรับพวกเขาแล้วเหตุการณ์นี้มีความสาคัญมาก ส่วนการฉลองการประจักษ์พระวรกายขององค์พระเยซูคริสตเจ้าในพระศาสนจักร ตะวันตกนั้น เป็นพระสันตะปาปากัลลิสตุส ที่ 2 ได้ทรงนาเข้ามาในปี 1456 เพื่อเป็นการ ราลึกถึงชัยชนะของพระศาสนจักรที่มีต่อพวกอิสลาม สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-12-

ในการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าบนภูเขาทาบอร์นั้น พระองค์ได้ทรง แสดงพระองค์เองในพระสิริรุ่งโรจน์ทั้งหมดแห่งชีวิตพระที่มีอยู่ในพระองค์ให้อัครสาวกที่ ใกล้ชิดทั้งสามท่านได้แลเห็น พระสิริรุ่งโรจน์นี้เป็นเพียงแต่บทนาของพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระองค์ในคืนวันปัสกาเท่านั้น คืนที่พระองค์ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และที่พระองค์จะ ทรงประทานให้แก่เราโดยบันดาลให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า...ดังนั้นชีวิตคริสตชนของเรา จึงเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ ดาเนินไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ในพระคริสต เจ้า จนกว่าจะถึงรูปแบบของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูคริสตเจ้าอย่างรุ่งเรือง สุกใส การประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าเป็นเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกไว้ใน เฉพาะพระวรสารสหทรรศน์ คือใน มธ 17: 1-9 มก 9: 2-8 และ ลก 9: 28-36 แต่ก็มีการ อ้างอิงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในบทจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 (2 ปต 1: 16-18) และในพระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน 1: 14) ด้วยเหมือนกัน เหตุการณ์ของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้า เป็นเหตุการณ์เดียวพิเศษ เฉพาะซึ่งเกิดขึ้นในช่วงชีวิตบนแผ่นดินโลกของพระองค์ โดยยอมให้พระสิริรุ่งโรจน์แห่ง ความเป็นพระเจ้าของพระองค์ได้ฉายแสงเจิดจ้าโดยผ่านทางมนุษยภาพของพระองค์ เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นภายในสัปดาห์เดียวกับที่พระเยซูเจ้าก่อนหน้านั้น ได้ให้คามั่นสัญญา ที่จะประทานตาแหน่งประมุขแห่งพระศาสนจักรของพระองค์ให้กับนักบุญเปโตร (มธ 1617: 1-13) ในเหตุการณ์ของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าบนภูเขาทาบอร์ สานุศิษย์ทั้งสามที่ใกล้ชิดกับพระเยซูเจ้ามากที่สุดคือเปโตร ยากอบและยอห์น ก็ได้เป็น ประจักษ์พยานในเหตุการณ์นี้ของพระองค์ ซึ่งต่อมาภายหลังท่านทั้งสามจะต้องเป็น ประจักษ์พยานในเหตุการณ์ที่ตรงข้าม กัน คือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดอย่าง เหลือร้ายจาก “การเข้าตรีทูตในสวนมะกอกจนกระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ที่ไม้กางเขนบน เขากัลวารีโอ” ในห้วงเวลาของการอธิษฐานภาวนาของพระเยซูเจ้าบนภูเขาทาบอร์ พระวรสาร ของนักบุญลูกาได้เล่าว่า พระเยซูเจ้าได้ประจักษ์พระวรกายของพระองค์ให้อัครสาวกทั้ง สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-13-

สามได้แลเห็นเป็นพระสิริรุ่งโรจน์แห่งพระเทวภาพของพระองค์ซึ่ง“พระองค์ได้สละจนหมด สิ้น” (ฟป 2:7) พระสิริรุ่งโรจน์นี้ได้ฉายแสงออกมาผ่านทางพระพักตร์ของพระองค์ที่ เปลี่ยนไป และทาให้ฉลองพระองค์มีสีขาวเจิดจ้า ความเปลี่ยนแปลงของพระวรกายของ พระเยซูเจ้าที่เปลี่ยนไปนี้ ก็เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ไม่ช้าไม่นานก็จะผ่านพ้นไป เนื่องจากว่า การเปลี่ยนไป ของพระวรกายและการได้รับเกียรติรุ่งโรจน์ของพระองค์ จะเกิดขึ้นอย่าง ถาวรโดยผ่านทางพระทรมานของพระองค์เท่านั้น อันเป็นเรื่องของการสนทนาระหว่าง พระเยซูเจ้ากับแขกผู้มาเยี่ยมจากสวรรค์สองท่านและนี่เป็นสิ่งที่นักบุญเปาโลเน้นย้าและให้ ความสาคัญอย่างมากในจดหมายของท่านถึงชาวฟิลิปปี ที่กล่าวว่า “(พระเยซูเจ้า)ทรงถ่อม พระองค์จนถึงกับทรงยอมรับ แม้ความตายเป็นความตายบนไม้กางเขน เพราะเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงเทิดทูนพระองค์ขึ้นสูงส่ง” (ฟป 2: 5-11) บรรดาผู้นิพนธ์พระวรสารต่างก็ ชี้ให้เห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างพระทรมานของพระคริสตเจ้ากับการได้รับ เกียรติรุ่งโรจน์ของพระองค์ เพราะว่าการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้า ได้รับการ วางไว้ในบริบทของการทานายครั้งแรกถึงพระทรมานและการสิ้นพระชนม์และการกลับคืน พระชนมชีพของพระองค์ (มธ 16: 21-23; มก 8: 31-33; ลก 9: 22) จุดสุดยอดของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้า อยู่ที่พระสุรเสียงของ พระบิดาเจ้า ดังที่เคยได้ยินมาแล้วเวลาที่พระองค์รับพิธีล้างจากท่านยอห์น แบปติสต์ ที่กล่าวว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรสุดที่รักของเรา เราพึงพอใจยิ่งนัก จงฟังท่านเถิด” เมฆที่สุกใสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นมาตรฐานของการเผยแสดงของพระเจ้าในพระ ธรรมเก่า เป็นสัญลักษณ์ของการสถิตอยู่ของพระเจ้า (อพย 19: 16-18; 24: 15-16) และ การที่พระเยซูเจ้าได้รับการประกาศว่า “ท่าน ผู้นี้เป็นบุตรสุดที่รักของเรา” ก็เพราะว่า พระบุตรองค์นี้ได้เป็นผู้ทาให้น้าพระทัยของพระเจ้าได้สาเร็จเป็นไป จึงเป็นที่พึงพอใจยิ่งนัก สาหรับพระบิดาเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระวจนาตถ์ (ยน 1: 1) และถูกส่งมาเพื่อประทาน พระวาจาของพระเจ้าให้กับมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงมีข้อผูกมัดว่าจะต้องฟังพระองค์ ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษยชาติ การประจักษ์พระวรกายของ พระเยซูเจ้า จะชี้แสดงไปยังการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในอนาคตของคริสตชนในองค์ พระคริสตเจ้า โดยการพบปะกันทางศีลศักดิ์สิทธิ์กับพระบุคคลของพระผู้ได้กลับคืน สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-14-

พระชนมชีพ คริสตชนก็จะมีส่วนร่วมในธรรมล้าลึกแห่งการสิ้นพระชนม์และการกลับคืน พระชนมชีพของ “บุตรคนแรกในบรรดาสิ่งสร้างทั้งปวง” (คส 1: 15) อันเป็นธรรมล้าลึก ซึ่งได้รับการเผยแสดงล่วงหน้าในการประจักษ์พระวรกายขององค์พระเยซูเจ้า เราสามารถ เรียกการรับศีลล้างบาปของคริสตชนว่า เป็นธรรมล้าลึกแห่งการเกิดใหม่ครั้งแรกของ คริสตชน ส่วนในการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์ก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นธรรม ล้าลึกแห่งการเกิดใหม่ครั้งที่สองของคริสตชน “ข้าแต่พระบิดา ผู้ที่พระองค์ประทานให้ ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าปรารถนาให้เขาอยู่กับข้าพเจ้าทุกแห่งที่ข้าพเจ้าอยู่ เพื่อเขาจะได้เห็น พระสิริรุ่งโรจน์ซึ่งพระองค์ประทานแก่ข้าพเจ้า” (ยน 17: 24) สาหรับเวลานี้ ชีวิตของคริสตชนถูกบังซ่อนอยู่กับพระคริสตเจ้าในองค์พระเจ้า แต่เมื่อพระคริสตเจ้าจะทรงปรากฎมา ณ วันสุดท้าย แล้วนั้นคริสตชนก็จะปรากฎพร้อม กับพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ด้วยและพระเจ้าจะเป็นทุกสิ่งในทุกๆ คน แล้วเราก็จะได้ สรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ (ให้ดู คส 3: 3-4; 1 คร 15: 28; อฟ 1: 12) สาหรับพวกเรา ทุกๆ ครั้งที่เรามาร่วมถวายบูชาขอบพระคุณ “เราก็ได้แลเห็น พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า” โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเข้าไปรับองค์พระเยซูเจ้าใน ศีลมหาสนิท เช่นเดียวกับที่โมเสสได้แลเห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระยาห์เวห์ที่พุ่มหนาม อันลุกโชติช่วงหรือบนภูเขาซีนัยหรือเช่นเดียวกับการที่ประชากรผู้รับเลือกสรรที่กาลัง เดินทางอยู่ภายใต้กลุ่มเมฆที่สว่างโชติช่วง หรือการที่ประกาศกเอลียาห์ได้ถูกดึงตัวให้ ขึ้นไปบนรถม้าเพลิงหรือการที่ผู้เฒ่าซีเมออนได้แลเห็นองค์ความสว่างส่องนานาชาติที่ พระวิหารกรุงเยรูซาเลม หรือว่าเช่นเดียวกับเปโตร ยากอบและยอห์นบนภูเขาทารบอร์ หรือว่าเหมือนกับพวกอัครธรรมทูตกับพระนางมารีย์ในห้องประชุมสวดในวันพระจิตเสด็จ ลงมา หรือเหมือนกับนักบุญเปาโลที่กาลังเดินทางมุ่งหน้าไปยังกรุงดามัสกัส...โดยมี ความหวังและรอคอยว่า เราจะได้รับการไขแสดงให้เป็นเหมือนกับ“บุตรแห่งพระสิริ รุ่งโรจน์” ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองสวรรค์ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าจะทรงเป็น “ทุกๆสิ่งใน ทุกๆคน” จาก www.shb.or.th

สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-15-

มาดูแลสุขภาพกันเถอะ ( โดย ดร.วรรณีย์ ลิขิตธรรม) บทอ่านและพระวรสารประจาวันอาทิตย์นี้พูดถึงความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ “ทรงเห็นประชากรมากมาย ก็ทรงสงสารเขาและทรงรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายจากโรค” จากนั้นพระเยซูเจ้าได้ทรงทวีปังและปลา เลี้ยงคนหลายพันคน แสดงว่าพระเจ้าทรงเอา พระทัยใส่ไม่เฉพาะฝ่ายวิญญาณของเราเท่านั้นแต่ยังทรงต้องการให้เราได้มีกินและมี สุขภาพดีอีกด้วย ผู้เขียนเคยไปร่วมสัมนาเรื่องสุขภาพและได้เรียนรู้ “วิธีดื่มน้ารักษาโรคแบบจีน” ซึ่งคุณหมอโรงพยาบาลรามาฯเป็นผู้นามาเผยแพร่โดยมีหลักฐานยืนยันว่า มหาวิทยาลัย ของมณฑลต่างๆ ในประเทศจีน ได้ผ่านการทดลอง ได้ประกาศเปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน ว่าวิธีนี้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้คือ ท้องผูก ปวดหัว เวียนศีรษะ โลหิตจาง โรคประสาท ความดันโลหิตสูง อัมพาตทั้งกาย เป็นลม ปากเบี้ยว โรคปวดตามข้อ โรคอ้วนพี ปวดใน กระดูกเส้นเอ็น ปวดเมื่อย หูอื้อ ใจเต้น มือเท้าอ่อนเพลีย โรคไอ โรคหืดหอบ หลอดลม อักเสบ วัณโรค เยื่อสมองอักเสบ โรคตับ โรคไต กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอืด กระเพาะอาหารเป็นแผลเน่าเรื้อรัง โรคบิด โรคริดสีดวงทวาร โรคเบาหวาน สายตาอ่อน แรง โรคตาต่างๆ เลือดออกทางตา สตรีประจาเดือนไม่ปกติ ระดูขาว มะเร็งในมดลูก มะเร็งเต้านม จมูกอักเสบ เจ็บคอและโรคผิวหนังต่างๆ ต่อไปนี้เป็นคาบอกเล่าของผู้ผ่าน การทดลองดื่มน้ามาแล้ว 1.ชายชราท่านหนึ่งเล่าว่าหลายสิบปีมาแล้วที่เขาไม่เคยป่วยเลย แต่ตอนอายุ 20 ปี เขาเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังจนถึงเน่า เขานอนอยู่กับที่เป็นเวลา 10 ปี ได้ ผ่านการตรวจจากแพทย์ 5 ท่าน รักษาฉีดยา รับประทานยาไม่เป็นผล ต่อมามีนายแพทย์ ท่านหนึ่งแนะนาว่า คุณควรทดลองดื่มน้าสุกอย่างนี้ ตื่นแต่เช้าไม่ล้างหน้า ไม่บ้วนปาก ดื่ม น้าสุก 5 แก้วทุกๆ วัน อย่าได้ขาดตอน และไม่ให้รับประทานอาหารก่อนเข้านอน นายแพทย์สั่งเสร็จไม่ให้ยาก็กลับไป วันรุ่งขึ้นเขาก็ทาตาม นายแพทย์สั่งดื่มน้า 5 แก้วรวด เดียว ภายใน 1 ชั่วโมง เขาปัสสาวะ 3 ครั้ง หลังจากนั้นก็รับประทานข้าวต้ม รู้สึกรสชาติ ของข้าวต้มอร่อยกว่าที่แล้วๆ มา วันที่สองดื่มน้า 5 แก้วอีก ถ่ายอุจจาระออกมามีเลือดปน อยู่มาก ต่อจากนั้นสามเดือนน้าหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม เวลานี้เขาอายุ 64 ปีแล้ว นับแต่ได้ปฏิบัติดื่มน้ามา ยังไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยเลย แม้แต่เป็นหวัดก็ไม่เคยเป็น สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-16-

2. รายนี้เล่าว่าเมื่อเขายังเป็นเด็กเคยเป็นเยื่อสมองอักเสบ นายแพทย์สั่งให้ดื่มน้า 5 แก้วทุกวัน ไม่นานเยื่อสมองอักเสบก็หายไปเอง ภรรยาของเขาเมื่อ 10 ปีก่อนเป็น โรคหัวใจและโรคอ้วนเกินไป ร่างกายสูงไม่เกิน 5 ฟุต น้าหนักตัว 120 กิโลกรัม พอดื่มน้า ได้ 15 วัน โรคหัวใจ โรคประสาท โรคเข็ดเมื่อยค่อยๆ ดีขึ้น ดื่มน้าได้ 2 เดือน น้าหนักตัว ลดลงไป 16 กิโลกรัม เมื่อกอนพวกเขาต้องใช้ยาเป็นประจา นวดไฟฟ้า และรักษาด้วยวิธี ฝังเข็ม เวลานี้โรคหายหมดแล้ว 3. กระเพาะที่เป็นแผลเน่า ดื่มน้า 1 สัปดาห์ ก็เห็นผล โรคความดันโลหิตสูงดื่มน้า 1 เดือนเริ่มเห็นผล กระเพาะบิด 3 เดือนเริ่มเห็นผล ท้องเป็นบิดกับปัสสาวะกลางคืน บ่อยๆ ดื่มน้า 1 สัปดาห์ก็เห็นผล ปวดเมื่อยตามข้อ 3 เดือนก็เห็นผล ผู้สูงอายุปวดเมื่อยทั้ง ร่างกาย ดื่มน้า 2 เดือนก็เห็นผล โดยเฉพาะผู้ที่โลหิตคั่งอยู่ในสมอง เกิดเป็นลมขึ้น เป็นมา ยังไม่เกิน 3 เดือน ดื่มน้าเพียงสัปดาห์เดียว ก็หายเหมือนเดิม ไม่พิการหรือเป็นอัมพาต วิธีดื่มน้ารักษาโรคต่างๆ ตามที่ได้ทดสอบมาแล้วได้ผลคือ ตื่นเช้าลุกขึ้น ไม่ล้าง หน้า ไม่บ้วนปาก แล้วดื่มน้าสุก 5 แก้ว รวดเดียว จะรู้สึกหายใจเหนื่อยอึดอัดไปหน่อย หลังจากนั้นจะปัสสาวะบ่อยๆ การปฏิบัติยากลาบากเช่นนี้ หากผู้ที่ไม่มีความเชื่อมั่นอาจจะ เลิกเสียกลางคัน ผู้ที่ใช้สมองทั้งวันทั้งคืน ในธุรกิจการค้า ถ้ามีความเครียด ต้องหาเวลา ออกกาลังกายและปฏิบัติการดื่มน้าทุกวันควบคู่กัน จะทาให้ร่างกายสดชื่น แจ่มใส สาหรับ ผู้ที่ไม่เคยชินกับการดื่มน้ามากๆ รวดเดียว อาจจะฝึกดื่มสัก 2 แก้วก่อน วันต่อมาก็เพิ่ม เป็น 3 แก้ว ค่อยๆ เพิ่มจนดื่มได้รวดเดียว 5 แก้ว เราควรต้มน้าเตรียมไว้ก่อน เพื่อว่าใน ตอนเช้าพอตื่นขึ้นมาก็มีน้าสุกไว้พร้อมดื่ม เวลารับประทานอาหาร ดื่มน้าได้ตามปกติ แต่ หลังอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มอีก ก่อนเข้านอนไม่ควรรับประทานอาหาร โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ห้ามรับประทานน้าส้มคั้นและจาพวกแอปเปิ้ล ดื่มน้าวันแรกภายใน 1 ชั่วโมง จะปัสสาวะ 3 ครั้งติดๆ กัน แต่ต่อไป 3-4 วัน การ ถ่ายท้องจะเป็นปกติ ภายใน 7-8 วัน การปัสสาวะเป็นเพียงครั้งเดียว นับแต่นั้นไปจะรู้สึก ร่างกายสบาย เวลารับประทานอาหารจะรู้สึกอร่อยเป็นพิเศษ นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า กระเพาะ ลาไส้ได้ถูกชาระสะอาดแล้ว ผู้ที่หมดหวังแล้วจะรอดตายด้วยวิธีดื่มน้ารักษาโรค ต่างๆ นี้ ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านให้มีสุขภาพดี สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-17อา.3 สค. 14

07.00 น. คพ.สุชาติ

09:00 น. คพ.สุรชัย

17.30 น. คพ.ศรีปราชญ์

จ. 4 สค. 14 06.15 น. คพ.สุชาติ

19.00 น. คพ.สุรชัย

รายการมิสซาประจาสัปดาห์ อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา (วันสื่อมวลชนสากล) โมทนาคุณพระมารดานิจจานุเคราะห์ ขอพร คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ขอพร วันเกิด เทเรซา จรรยา อ่อนคาหล้า ขอพร วันเกิด อันนา ดีน่า แก้วพิลา ขอพร แคทรีน ไอยศรา ขอพร วันเกิด อันนา สุวิมล อุตสาหจิต ขอพร สุขภาพ อักแนส จินตนา อุกฤษฏ์ ขอพร ครอบครัวกาญจนา สงวนสุข ขอพร เทวดาอารักขา พี่น้อง 12 คน “ว่องวิไลกุล” ขอพร หน้าที่การงานลูกทั้ง 5 ขอพร ผู้ที่อยู่ในอันตรายฝ่ายวิญญาณ ขอพร ครอบครัว เทเรซา พิมลวรรณ นาคเสน่ห์ อุทิศ เปโตร ประจวบ เจริญทรัพย์ อุทิศ มารีอา กุย้ หงส์ แซ่ลิ้ม , หลุย ยู้ฉั่ว แซ่อึ้ง อุทิศ ลูซีอา อังเจลา วัลลา ทวีสิน อุทิศ มารีอา หงส์, มารีอา มุย้ ยิ้ง แซ่ตั้ง อุทิศ คุณสมศักดิ์ สงวนสุข อุทิศ ยอแซฟ สุวิทย์ ตั้งสุรกิจ อุทิศ เบเนดิก ณรงค์ ผิ้วเกลีย้ ง อุทิศ มารีอา ศิริวรรณ ชัยพรแก้ว อุทิศ ยอแซฟ กิ้มง้วน แซ่อึ้ง อุทิศ วิญญาณทีต่ ้องการความช่วยเหลือ ขอพร สาหรับพี่น้องสัตบุรุษทุกท่าน ทุกครอบครัว โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระ ขอพร สุขภาพ อันตน ชาญศักดิ์ วงศ์ชนะกุล ขอพร ครอบครัว หมดมลทิน ขอพร สุขภาพ เทเรซา สมสวาท วงศ์ชนะกุล อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ เปโตร โง้ว เคียมย้ง, เปาลา เต้ย เซียวเง็ก อุทิศ แบร์นาแด๊ต ชญานิษฐ์ สีหพล อุทิศ ยวงบัปติสตา ก้าน - มารีอา วิไลลักษณ์ อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ ยอแซฟ บัว, ยอห์น บอสโก ทวีรัตน์ อุทิศ พี่น้องตระกูล “แก้วพิลา” อุทิศ คุณแม่ มารีย์ ต้ายไถ่ แซ่โฮ่ อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง ระลึกถึง น. ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์ โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระ ขอพร แอกแนส ลัดดาวรรณ รจิตรังสรรค์ ขอพร แคทรีน ไอยศรา ขอพร มารีอา ภาวิณี อภิชยั ไพศาล อุทิศ เฮเลนา กาญจนา อุทิศ ผู้มีพระคุณต่อวัดและโรงเรียน อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง โมทนาคุณพระเป็นเจ้า ขอพร สุขภาพ คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ขอพร พ.ต.อ.วิฑูร โพธิปัสสา ขอพร ยอแซฟ สุรเสียง - แคทธิรีน จินดารัตน์ อุทิศ มารี หลุยส์ บังอร เวชบุล* อุทิศ เซซีลีอา แน่งน้อย, ยวงบัปติสตา หวล อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ เทเรซา อานวย โพธิปัสสา อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-18อ. 5 สค. 14 06.15 น. คพ.สุรชัย

19.00 น. คพ.สุชาติ

พ. 6 สค.14

06.15 น. คพ.สุรชัย

วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระ ขอพร ครอบครัว เทเรซา พิมลวรรณ นาคเสน่ห์ ขอพร แคทรีน ไอยศรา ขอพร การเดินทางของ ชลาลัย ชมจันทร์ อุทิศ เฮเลนา กาญจนา อุทิศ บาทีเมอาส นุกรณ์ อุทิศ ลูซีอา อังเจลลา วัลลา ทวีสิน อุทิศ คาโลมุส เต้ย โลหะกุล อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระมารีอา ขอพร คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ขอพร ครอบครัว เลาหไทยมงคล ขอพร ครอบครัว ปัณฑวังกูร, ลิ้มประยูร ขอพร สุขภาพ เปโตร ศิลา ชมภูจันทร์ ขอพร สุขภาพ มารีอา สมหมาย ชมภูจันทร์ อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ พระสงฆ์ นักบวช ที่ล่วงลับ อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ ยอแซฟ พันธุ์ณรงค์ อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ ผู้ล่วงลับที่ไม่มีใครคิดถึง ฉลองพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกายต่อหน้าอัครสาวก โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระ ขอพร คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ขอพร แคทรีน ไอยศรา ขอพร ครอบครัว รุขพันธ์เมธี ขอพร ความสงบสุขของประเทศไทย ขอพร ครอบครัว เทเรซา พิมลวรรณ นาคเสน่ห์ อุทิศ อากาทา เลี่ยงเฮียะ แซ่ลมิ้ อุทิศ ผู้ล่วงลับ ตระกูล “รุขพันธ์เมธี” อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง

19.00 น.

งดมิสซา พระสงฆ์เข้าเงียบ

พฤ.7 สค.14

น. ซิกส์โต ที่ 2 พระสันตะปาปาและเพื่อนมรณสักขี น. กาเยตาน พระสงฆ์

06.15 น.

งดมิสซา พระสงฆ์เข้าเงียบ

19.00 น. คพ.สุชาติ

ขอบคุณพระสาหรับชีวติ ทีด่ ีงาม ขอพร เทเรซา บุษรา บุญเกื้อ ขอพร โรซา เพ็ชรา ระดมวิวัฒน์ อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ เทเรซา ประเทือง พูลศิริ อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ

ขอพร ขอพร ขอพร อุทิศ อุทิศ อุทิศ อุทิศ

คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ยอแซฟ สุรเสียง - แคทธิรีน จินดารัตน์ สุขภาพ คุณแม่ สิริการต์-คุณพ่อธนกฤต เปโตร ซ้งฮี้ แซ่อึ้ง– อักแนส กิมสี แซ่แต้ ยอแซฟ จินเหงี่ยน - มารีอา สมถวิล เปาโล หยงเกีย แซ่โง้ว วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง

สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-19ศ. 8 สค. 14 06.15 น. คพ.สุรชัย

19.00 น. คพ.สุชาติ

ส. 9 สค. 14 06.15 น. คพ.สุรชัย

19.00 น. คพ.สุชาติ

ระลึก น. โดมินิก พระสงฆ์ โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระฟาติมา ขอพร แคทรีน ไอยศรา ขอพร มารีอา ดวงใจ, มารีอา อารยา ขอพร ยาโกเบ เสรี, อักแนส จันทร์ตรี พรวิไลกุล อุทิศ นพ.สมาน – พญ.ภักดี ตระกูลทิม อุทิศ ยวงบัปติสตา จิ้งซุง - เทเรซา ง้อ อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและพระแม่ ขอพร คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ขอพร ยอแซฟ พอล, ยอแซฟ พิสิษฐ์ ขอพร แพททริเซีย จารุภรณ์, อักแนส ณัฐพัชร์ อุทิศ ยอแซฟ จินเหงี่ยน - มารีอา สมถวิล อุทิศ ผู้ล่วงลับจากความขัดแย้ง/การสู้รบ อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง น. เทเรซา เบเนดิกตา แห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระ ขอพร แคทรีน ไอยศรา, เทเรซา จิราภรณ์ ขอพร วันเกิด มัทธิว วิวัฒน์ อุตสาหจิต ขอพร วันเกิด อันนา พิมรดา อุตสาหจิต ขอพร สัตบรุษวัดแม่พระฟาติมา ขอพร ครอบครัว เทเรซา พิมลวรรณ นาคเสน่ห์ อุทิศ ฟรังซิส ทวน อุทิศ เฮเลนา กาญจนา อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง โมทนาคุณพระเป็นเจ้าและแม่พระ ขอพร คพ.อเล็กซิส สุรชัย กิจสวัสดิ์ ขอพร วินเซนต์ สุรินทร์ และครอบครัว ขอพร ครอบครัว คุณวิฑิต อาภาพาส ขอพร ครอบครัว คุณทัศนัย อาภาพาส ขอพร บุคคลใน ตระกูล “อาภาพาส” ขอพร เทเรซา ปิยกานต์ ,หลุยส์ ธนพงศ์ ขอพร มารีอา สุทธินยี ์, เทเรซา วินิตา อุทิศ ยวง ยรรยง วูวงศ์ อุทิศ ฟรานซิสโก ชวลิต ชัยวิสุทธิ์ อุทิศ ยอแซฟ แม้น ชัยวิสุทธิ์ อุทิศ ยอแซฟ อ๊อน - มารีอา เง็กเอ็ง แซ่ฉวั่ อุทิศ ยอแซฟ ถนอม สุหฤทดารง อุทิศ ทอมัส ธวัช, เทเรซา จู ศรีสวัสดิ์ อุทิศ ผู้ล่วงลับ ตระกูล “เตชจงนาชัย” อุทิศ เทเรซา สุทิรัตน์ เตชจงนาชัย อุทิศ วิญญาณในไฟชาระ อุทิศ วิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึง

สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


-20-

ประชาสัมพันธ์ 1. อาทิตย์ต้นเดือนรบกวนพี่น้องบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือคนจนประจาเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่วินเซนเดอปอลรอรับอยู่หน้าวัด 2. พระสงฆ์กรุงเทพฯ เข้าเงียบประจาเดือน วันพุธที่ 6 -วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม ของดมิสซาค่าวันพุธที่ 6 และมิสซาเช้าวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 3. ขอเชิญพี่น้องร่วมเทิดเกียรติแห่แม่พระวันพุธที่ 13 สิงหาคม 2014 15.00 น. สวดถวายตัวแด่แม่พระ สวดพระเมตตา 15.30 น. อ่านพระวาจา แบ่งปันพระวาจา 16.30 น. แบ่งปันประสบการณ์ความเชื่อโดยคุณพ่อออกัสติน ไพบูลย์ อุดมเดช 17.30 น. รับประทานอาหาร 18.00 น. สวดสายประคาโลก โดย คุณพ่อ ชวลิต กิจเจริญ 19.00 น. มิสซาแห่แม่พระ โดย คุณพ่อออกัสติน ไพบูลย์ อุดมเดช เป็นประธาน

สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา , วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2014


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.