นสพ รักบ้านเกิด ฉบับที่ 52 เดือนมกราคม 2559

Page 1

ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๙

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

ศุภชัย สงประสพ

¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑญ ­ ªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย สุธรรม ชยันต์เกียรติ ทันโลกธุรกิจ ไพโรจน์ เพ็ชรคง รักสุขภาพ นพ.ทฏะวัฎร์ พิลึกภควัต มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล ท่องเที่ยวเมืองนคร ทาร์ซานบอย มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

˹éÒ ò ˹éÒ ó ˹éÒ ๔ ˹éÒ ๗ ˹éÒ ñ๒ ˹éÒ ñ๓ ˹éÒ ñ๖ ˹éÒ ñ๗

www.nakhonforum.com

ธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม

www.facebook.com/rakbaankerd

สุธรรม ชยันต์เกียรติ

ไพโรจน์ เพชรคง

ครบรอบ ๔ ปี 'รักบ้านเกิด' เชิญกูรูอาหาร และการตลาดร่วมสนทนา เจ้าของร้านกว่า ๔๐ คนเข้าร่วม 'รักบ้านเกิด' หนังสือพิมพ์แจกฟรี (free copy) ในจังหวัด นครศรีธรรมราชฉลองครบวาระ ๔ ปี สาธิต รักกมล เจ้าของ และบรรณาธิ ก าร จั ด ประชุ ม เสวนาหั ว ข้ อ 'การจั ด การร้ า น อาหารยุ ค ใหม่ ' ณ โรงแรมทวิ น โลตั ส เมื่ อ วั น พฤหั ส ฯ ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดยเชิญ ศุภชัย สงประสพ เกษตรและ สหกรณ์จังหวัดนครฯ สุธรรม ชยันต์เกียรติ เจ้าของร้านโกปี๊ และเครือลิกอร์ ธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม ผู้สร้างแบรนด์ ไก่ย่างห้าดาวและไพโรจน์ เพชรคง ที่ปรึกษาอาวุโสโมเดิร์นเทรด อดีตผู้บริหารเครือโรบินสันมาพูดคุยกับเจ้าของร้านอาหารใน จังหวัดนครฯ ประมาณ ๔๐ คน 'รักบ้านเกิด' เก็บสาระส�ำคัญมา


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๒

นครเมืองธรรม ก่อนสิ้นปี ๒๕๕๘ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรี ว่า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิด เผยอย่าง ตรงไปตรงมาว่า ปี ๒๕๕๙ ราคาสินค้าเกษตรหลาย ตัวอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วง สืบเนื่องจากสถานการณ์ เศรษฐกิจโลก ภาวะแล้งและราคาน�้ำมันตกต�่ำ อาจ ส่ ง ผลกระทบต่ อ ราคาสิ น ค้ า เกษตรซึ่ ง รายได้ ข อง เกษตรกรและรากหญ้าลดลง อาทิ ยางพารา น�้ำมัน ปาล์ม จึงขอให้เกษตรกรท�ำใจยอมรับความจริง เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ยอมรับสภาพ เสียแล้ว ความจริงที่พูดออกมาท�ำให้ เกษตรกรกับ รากหญ้าหดหู่และสิ้นหวังมองไม่เห็นแสงสว่าง บาง ครั้งประชาชนก็อยากรับฟังถ้อยค�ำโกหกบ้าง เช่น แจ้ง ว่าขณะนี้รัฐบาลก�ำลังหาทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรกับรากหญ้าจะล�ำบากน้อยลง โดยออกนโยบายเร่งด่วนเรื่องพักหนี้เกษตรกรไปสัก ระยะจนกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศจะ กระเตื้องขึ้น ทุกข์ที่แบกอยู่ก็พอบรรเทาลงบ้าง หน้าที่ จริงๆ ของรัฐบาลก็คือสร้างสุขและบรรเทาทุกข์ของ ประชาชน รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายใต้การสนับสนุนของ คสช. บริหารประเทศมาเกือบ ๒ ปี เรื่อง ส� ำ คั ญ ที่ ป ระกาศเอาไว้ คื อ สร้ า งความปรองดองดู เหมือนยังไม่คืบหน้าไปสักเท่าไร การแบ่งขั้วหรือฝัก ฝ่ายยังคงซ่อนตัวอยู่ในเงา ส�ำนึกเรื่องให้อภัยยังไม่ เกิดขึ้น มีแต่การซ�้ำเติมเวลาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี่ยง พล�้ำเสียรูป ความยุติธรรมถูกตั้งค�ำถาม หลายเรื่อง ประชาชนยอมอยู่ในความเงียบ รัฐบาลควรสืบหาความ จริงให้ได้ว่าประชาชนหุบปากเงียบเพราะอะไร อย่าได้ ปีติยินดีกับความเงียบที่น่าพรั่นพรึงเพราะยากล่อม ประสาทเลย

ตลอดปีที่ผ่านมาทั้งๆ ที่น่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นที่เมือง นคร ภายใต้การเร่งรัดรณรงค์และพัฒนาเรื่องพระธาตุ สู่มรดกโลก แถม ททท.ก็เสริมส่งเรื่องการท่องเที่ยวทาง ธรรมหลายประเด็นและมิติ ต้นปีนี้ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ มกราคมนี้ก็จะมีการจ�ำลององค์พระบรมธาตุเจดีย์และเสา ชิงช้าที่สวนลุมพินี ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยที่จะมี ผู้คนแห่เข้าชมในเรือนแสน ซึ่งจะส่งให้ "นครศรีธรรมราช" ที่เคยแปลว่า "นครอันงามสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" จากดั้ ง เดิ ม เคยมี ชื่ อ ว่ า "สิ ริ ธั ม มนคร" ซึ่ ง อาจแปลได้ ว่า "ถิ่นฐานบ้านเมืองของผู้คนที่มีธรรมเป็นศรีและสง่า" โดย ททท.ก� ำ ลั ง น� ำ เสนอว่ า คื อ "นครสองธรรม" ที่ ใ คร ก็ตาม "ต้องห้ามพลาด" และขอเชิญชวนมาร่วมกัน "ตาม รอยธรรม" พร้อมกับมาปฏิบัติธรรมกันที่เมืองนคร ซึ่งผม ถูกขอให้ช่วยและขอยกระดับความหมายให้เป็น "นคร - เมื อ งธรรม" สมนามของเมื อ ง อย่ า งถึ ง ที่ สุ ด เพื่ อ แก้ กรรมสิ่งรุงรังทั้งหลายที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ต่อองค์ พระบรมธาตุเจดีย์และวัดพระธาตุ ตลอดจนบ้านเมืองของ เราได้อย่างนี้

ซึ่งล้วนแล้วแต่ "ควรค่าต่อการพักผ่อน เพลิดเพลิน ดื่มด�่ำ ในรสแห่งธรรม" ที่มีอยู่ในทุกที่และวิถี ในขณะที่เล่ม "ชวน ไปปฏิ บั ติ ธ รรมที่ เ มื อ งนคร" เพื่ อ สนองแด่ ท ่ า นที่ ส นใจ ศึ ก ษาและปฏิ บั ติ ธ รรมซึ่ ง เป็ น กระบวนการส� ำ คั ญ หนึ่ ง ในการ "เข้าถึงธรรม" ตามที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะและ สั่งสอน ซึ่งใน "นครเมืองธรรม" มีสถานปฏิบัติธรรมเกิดขึ้น ในหลายลักษณะ จึงได้จัดท�ำเอกสาร "แนะน�ำสถานปฏิบัติ ธรรมที่เมืองนคร" ขึ้นส�ำหรับท่านที่สนใจในธรรม จะได้ใช้ เป็นเครื่องช่วยในการ "เข้าถึงธรรม" ตามสมควรแก่ธรรม

ฐานพุทธรรมของไทยอยู่ที่เมืองนคร

แม้ยังไม่พบหลักฐานจารึกที่เก่าแก่ถึงแต่ก่อน แต่ จากศิลาจารึกสุโขทัยของพ่อขุนรามค�ำแหง หลักที่ ๑ ใน ด้านที่ ๒ มีข้อความจารึกถึงสภาพการพระพุทธศาสนาใน กรุงสุโขทัยว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มั ก โอยทาน ... มี ศ รั ท ธาในพระพุ ท ธศาสนา ทรงศี ล เมื่อพรรษาทุกคน" และ "กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร ... มี ปู ่ ค รู นิ สั ย มุ ต ก์ มี เ ถรมี ม หาเถร เบื้ อ งตะวั น ตกเมื อ ง สุโขทัยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามค�ำแหงกระท�ำโอยทานแก่ มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว่าปู่ครู ในเมืองนี้ทุกคน ลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา" อาจถือว่าที่ เมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นก็ไม่ด้อยไปกว่ากัน สอดคล้ อ งกั บ ต� ำ นานและพงศาวดารต่ า งๆ ทั้ ง ในและต่ า ง ประเทศทีย่ กให้ "นครศรีธรรมราช" เป็น "ฐานแห่งพุทธรรม" ที่ส�ำคัญของภูมิภาค มีความสัมพันธ์ กับทัง้ อินเดีย ลังกา และ พม่า มาแต่ โ บราณกาล มี ก ษั ต ริ ย ์ ผู ้ เรืองนามมีสมญาว่า "พระเจ้า ศรีธรรมาโศกราช" เสมอเหมือน "พระเจ้ า อโศกมหาราช" องค์ เอกอัครศาสนูปถัมป์ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา แม้เมือ่ ร่วมวงศ์ไพบูลย์ ในราชอาณาจักรสยามแห่ง กรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราชยังด�ำรงสถานแห่งศูนย์กลางพระพุทธศาสนาสืบมา ดัง ที่เมื่อสมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ หรือ

ชวนตามรอยธรรมและปฏิบัติธรรมที่เมืองนคร ในหนังสือเล่มใหม่สุดที่ ททท.จะจัดพิมพ์เผยแพร่ เป็นการชวนท่านทั้งหลาย "ตามรอยธรรมที่ นครเมือง ธรรม" ให้ ส อดคล้ อ งกั บ "การท่ อ งเที่ ย ววิ ถี ไ ทย" และ "มี ธ รรม" ในครั้ ง นี้ โ ดย เริ่ ม ที่ "ดอนพระ" อั น เป็ น แดน ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ส ถาปนาองค์ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ ที่ เ ป็ น มรดก ธรรมส� ำ คั ญ ที่ สุ ด บนคาบสมุ ท รแห่ ง เอเซี ย อาคเนย์ แ ละ ก�ำลังอยู่ในระหว่างการน�ำเสนอสู่การขึ้นบัญชีเป็นมรดก โลกของ Unesco และครบวาระ ๑๐๐ ปี แห่ ง การ สถาปนาเป็นพระอารามหลวง (พ.ศ.๒๔๕๘ - ๒๕๕๘) ในขอบเขตที่กว้างกว่าเดิม สอดคล้องกับป้ายประกอบ การ "เรียนรู้บูชาพระบรมธาตุ" ที่ได้จัดท�ำและติดตั้งไว้ พร้อมส�ำหรับผู้สนใจ "เรียนรู้-บูชา" อย่างตั้งใจ ก่อนที่จะ น�ำท่านไปยัง "บุญสถาน" ต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งในตัว เมืองและรายรอบออกไปทั่วทั้งจังหวัด รวมไว้อย่างถ้วน ทั่วทุก "รอยธรรม" ทั้งพุทธ พราหมณ์ จีน อิสลาม คริสต์ ตลอดจนอื่นๆ รวมทั้งถิ่นพ�ำนักครูบาอาจารย์ของเมือง นคร "ประเพณีมีธรรม" กระทั่ง "ธรรมชาติที่เมืองนคร" หลวงพ่อทวด จะเข้ากรุงศรีอยุธยา

(อ่านต่อหน้า ๑๔)


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

บั

นทึ ก ไว้ เ ป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ พระบรมธาตุ เ จดี ย ์ ร ่ ว มสมั ย ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น คณะกรรมการ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ก� ำ ลั ง เร่ ง ผลั ก ดั น ให้ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ หรื อ วั ด พระมหาธาตุ วรมหาวิ ห าร (กั น แน่ ) เป็ น มรดกโลก

ถวายราชสั ก การะ และกล่ า วน� ำ ถวาย พระพรชั ย มงคล แด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว พระสงฆ์ ๘๙ รูป เจริญ พระพุทธมนต์ กิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมราว ๓,๐๐๐ คน เสร็จพิธี พล.อ.ประสูตร และคณะ เดิ น ทางไปกราบไหว้ อ งค์ พ ระบรมธาตุ เจดีย์ที่ปลียอดผูกนั่งร้านรอบูรณะซ่อมแซม ขณะจิ ม มี่ เ ดิ น ตาม พล.อ.ประสู ต ร รัศมีแพทย์ เข้าไปเขาได้ยินท่านปรารภ ถึงสภาพเสื่อมโทรมน่าหดหู่ขององค์พระ-

บันทึกว่า จิมมี่ ชวาลา ชาวไทยเชื้อสาย อิ น เดี ย เจ้ า ของร้ า นผ้ า 'จิ ม มี่ ' ใจกลาง ต�ำบลท่าวัง ย่านการค้าเก่าแก่ในอดีต

ของเมืองนครได้ตัดสินใจบริจาคเงิน ๒๘ ล้านบาท เพื่อซื้อทองค�ำบริสุทธิ์ไว้บูรณะ ปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ พล.อ.ประสู ต ร รั ศ มี แ พทย์ รองผู ้ บั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด เดิ น ทาง มาเป็ น ประธานในพิ ธี เ จริ ญ พระพุ ท ธมนต์ เ พื่ อ ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็น ประธานจุ ด ธู ป เที ย นบู ช าพระรั ต นตรั ย

บรมธาตุฯ และรู้สึกเสียใจ "สี ห น้ า ท่ า ทาง ตลอดจนค� ำ พู ด เรา มองเห็ น ความรั ก ชาติ รั ก ศาสนาในตั ว ท่ า น เรายื น อยู ่ ต รงนั้ น เราท� ำ ได้ เรามี ศั ก ยภาพ...ผมท� ำ เลย...กลายเป็ น ว่ า ทุ ก อย่างประจวบเหมาะ" จิมมี่พูดกับผม เขาว่าเป็นเหตุบังเอิญแท้ๆ “ผมไม่ ได้ปรึกษาครอบครัวเลย ครอบครัวยินดี... สนับสนุน ทุกคนยิ้ม ไม่ได้วิจารณ์อะไร... เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรต้องคิดมาก"

หน้า ๓ ปฏิบัติ ตลอดจนแนวทางบูรณะ ปลียอดทองค�ำ ในอนาคตใครๆ ก็ ไ ม่ สามารถท�ำนายว่า 'ทรัพย์อุทิศ' เพื่ อ บู ร ณะพระบรมธาตุ เ จดี ย ์ ที่ พ ระบรมสารี ริ ก ธาตุ ส ถิ ต อยู ่ ข้างในจะเดินทางตรงตามจุดมุ่ง หมายหรื อ เบี่ ย งเบนออกนอก ทิ ศ ทาง เพราะว่ า สิ น ทรั ย พ์ ที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนผู ้ ศ รั ท ธา เช่ น เพชร นิลจินดา แก้วแหวนเงิน ทองตลอดจนพระเครื่องล�้ำค่าที่ ฝากฝังไว้กับองค์พระบรมธาตุฯ ถูก 'มือบาป' หยิบฉวยเอาไปทุก คราวที่มีการบูรณะ ภาพ : พลกฤต จินะดิษฐ์ หลังบริจาคทรัพย์กอ้ นใหญ่ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา จิมมี่ไม่ได้ กังวลอะไรเลย "เมื่อได้ท�ำสิ่งที่ปรารถนาแล้ว ถาม ว่ า ได้ สู ญ เสี ย อะไรไปที่ ไ ด้ ม อบทองค� ำ

พนั ก งานทุ ก คนก็ ไ ม่ ท ราบ 'เหตุ บังเอิญ' ซึ่งร้อยปีข้างหน้าอาจไม่เกิดซ�้ำอีก บางคนเดินไปธุระในตลาดถูกซักถามจน จิมมี่ต้องอธิบายให้ทราบและเข้าใจ จิ ม มี่ คิ ด ว่ า อี ก ไม่ น านปลี ย อดพระบรมธาตุเจดีย์จะเหลืองอร่าม ไม่อับอาย แขกบ้านแขกเมือง ไม่อับอายชาวมาเลเซีย ชาวสิงคโปร์ ที่เดินทางมาสักการะอีกต่อ ไป นั้ น คื อ เจตนาบริ สุ ท ธิ์ ซึ่ ง เขาไม่ ไ ด้ คิ ด ล่วงหน้าเรื่องกฎระเบียบหรือธรรมเนียม

ในนามชาวนครศรีธรรมราช การสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของผม คือผมสูญเสีย ความยึดติดว่านี่เป็นของผม ของเรา ที่ รู้สึกว่าเราเบาตัว" สิ น ทรั พ ย์ บ ริ สุ ท ธิ์ ที่ ผู ้ มี อุ ป การคุ ณ ซื้อผ้าจากร้านจิมมี่ ซึ่งเขารับด้วยมือข้าง หนึ่งแล้วถวายเป็นพุทธบูชาด้วยมืออีก ข้าง "ผมเป็นแค่บุรุษไปรษณีย์เท่านั้น" บุรุษไปรษณีย์ที่ศรีภรรยา-ปริศนา ชวาลา คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๔

โดย : นครา nagara@nakhonforum.com

สุธรรม ชยันต์เกียรติ

ารบู ร ณะองค์ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ นั้ น ได้ ก ระท� ำ กั น หลายครั้ง นับแต่มีการสร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้นตั้งแต่สมัย 'พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช' โดยหลักธรรมของพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นไปตามกฎของ 'อนิจจัง' มันไม่เที่ยง มี การเสื่อมสลาย จะให้คงทนถาวรตามความต้องการของ บุคคลไม่ได้ ย่อมเสื่อมทรุดไปตามกาลเวลา การบู ร ณะครั้ ง ส� ำ คั ญ ที่ ค นแก่ เ ล่ า ให้ ฟ ั ง พอจะ จดจ�ำได้ก็คือสมัยของ 'พระครูเทพมุนี' (ปาน) ท่านได้ เป็ น ประธานชั ก ชวนชาวไทย จี น มาลายู ซึ่ ง มี ค วาม ศรัทธาร่วมกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองสิ่งของต่างๆ มา ช่วยกันบูรณะทั้งองค์พระเจดีย์และศาสนสถานภายใน พระบรมธาตุในช่วง พ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๔๐ หลังจากนั้นก็ มีการบูรณะพระวิหารต่างๆ พระพุทธรูปที่ช�ำรุดอย่าง สม�่ำเสมอมิได้ว่างเว้น จวบจนถึงปี ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้ด�ำเนินการ บูรณะ 'กลีบบัวทองค�ำ' ที่อยู่ระหว่างปล้องไฉนและปลี ยอดทองค�ำ มีสภาพช�ำรุดเสียหายเป็นอย่างมาก สมัยนั้น 'พลเอกเปรม ติณสูลานนท์' เป็นนายกรัฐมนตรี 'นายชวน หลีกภัย' เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 'นาย สัมพันธ์ ทองสมัคร' เป็นรัฐมนตรีช่วยศึกษาฯ นายนิพนธ์ บุญภัทโร เป็นผู้ว่าฯ เมืองนคร การบูรณะครั้งนั้นได้มีการรื้อกลีบบัวใหม่ทั้งหมด

ลอกแผ่ น ทองที่ หุ ้ ม กลี บ บั ว ออก พบการช� ำ รุ ด เสี ย หายขาดแหว่ ง หลายส่ ว นน� ำ มาปรั บ แต่ ง รี ด แผ่ น ทอง ใหม่ ทั้ ง ยั ง น� ำ ทองที่ ป ระชาชนบริ จ าคเพิ่ ม เติ ม มา ซ่อมแซม จนสมบูรณ์สวยสดงดงามยิ่งขึ้น 'พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว' (ร.๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ 'สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร' เสด็จแทนพระองค์ทรงน�ำแผ่นทองค�ำที่จารึกข้อความ ขึ้นประดิษฐานบนองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ การขึ้ น ไปบู ร ณะกลี บ บั ว ทองค� ำ ครั้ ง นั้ น ก็ ไ ด้ พ บ ว่า ปลียอดทองค�ำที่ถัดขึ้นไปนั้นมีสภาพช�ำรุดทรุดโทรม จนบางส่วนอาจจะหักโค่นลงมาได้ ปี ๒๕๓๒ จึงเริ่มมี การส�ำรวจความเสียหายเบื้องต้น จนในปี ๒๕๓๗ จึง ตัดสินใจให้ 'บูรณะปฏิสังขรณ์' ( RECONSTRUCTION) ปลียอดทองค�ำ แต่ยุคสมัยนั้นมีกระแสการต่อต้านอย่าง รุนแรงจากกลุ่มมวลชนคณะต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการ บูรณะโดยมีการเสนอวิธีการต่างๆมากมายหลายวิธี จึงมี การน�ำเสนอวิธีการบูรณะด้วยวิธีต่างๆ เช่น ๑. ด้วยวิธี สงวนรักษา คือเปิดแผ่นทองค�ำออก เป็นจุดๆ แล้วอัดฉีดปูนทรายผสมน�้ำยาเพิ่มแรงยึดเหนี่ยว จนเต็มช่องว่างภายในยอดปลี แล้วซ่อมแผ่นดีบุกและ แผ่ น ทองแดงเป็ น อั น เสร็ จ ซึ่ ง วิ ธี นี้ เ ท่ า กั บ เพิ่ ม น�้ ำ หนั ก ยอดเจดีย์ขึ้นไปอีก และไม่ได้มีการเสริมโครงส่วนยอดให้ แข็งแรงขึ้น เสี่ยงกับการหักโค่นลงมา แต่ส่วนดีคือค่าใช้ จ่ายต�่ำ ๒. การบูรณะ คือการเปิดแผ่นทองค�ำและแผ่น ดีบุกออกทั้งหมด แล้วผ่าส่วนปูนบน >> อ่านต่อหน้า ๙

หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ปี​ีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือน มกราคม ๒๕๕๙ สวั ส ดี ป ี ใ หม่ ๒๕๕๙ ครั บ คุ ณ ผู้อ่านผู้มีอุปการคุณทุกท่าน 'รักบ้านเกิด' ขออาราธนาสิ่ง ศักดิ์ในสากลโลกอ�ำนวยอวยพรให้ทุกท่านประสบความสุข ความเจริญและคุ้มครองให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า เป็นประธานพิธีบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ที่ลานโพธิ์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครฯ พระเทพวินยาภรณ์ รองเจ้า คณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ แสดงพระธรรมเทศนา ท่ามกลาง พระภิ ก ษุ สามเณรข้ า ราชการ พ่ อ ค้ า ประชาชน นั ก เรี ย น นักศึกษา จ�ำนวนมากเข้าร่วมพิธี ถวายดอกไม้จันทน์ต่อหน้า พระรูปสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จ�ำนวนมาก

วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ผู้ว่าฯพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า เป็นประธานมอบบ้านตามโครงการสร้างบ้าน ๘๙ หลัง 'คืน ความสุขสู่ลูก สพฐ' เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงมี พระชนมายุ ๘๘ พรรษา ให้แก่ ด.ญ.สิริมา กรียลักษณ์ นร.รร. บ้านบางฉาง กับ ด.ญ.นิตยา ภูบาล นร.รร.บ้านทุ่งขันหมาก อ.สิชล บ้านที่มอบกับนักเรียนและครอบครัว สพฐ. สร้างให้ นักเรียนสังกัดตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่มีที่อยู่ อาศัย ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาสให้ได้ยกระดับคุณภาพ

รองผู้ว่าฯ พงษ์เทพ ไข่มุกต์ เป็นประธานเปิดโครงการ คลีนิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ ๑ ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ต่อ หน้าพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยาม มกุฎราชกุมาร ณ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชควนชะลิก อ.หัวไทร จ.นครฯ มีเกษตรกรลงทะเบียนใช้บริการคลินิกที่หน่วยงาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดให้บริการจ�ำนวนมาก


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๕

ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินฟุตซอลรายการ 'ดร.โจปาร์ค พรีเมียร์ลีก' จบฤดูกาล เมื อ งเก่ า เปิ ด ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ แล้ว ปีนี้ที่มีทีมเข้าร่วม ๒๘ ทีม แชมป์รุ่นประชาชนได้แก่ทีม การต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต จั ง หวั ด สิงห์ชาววัง แชมป์รุ่นอาวุโส...ทีมเทศบาลปากนคร นครฯ ณ สนง.จังหวัด (ศาลา กลาง) และการสั ม มนาเชิ ง ปฏิบัติการเพื่อสร้างองค์ความ รู้และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พร้อม บรรยายพิเศษ สร้างความเข้าใจและมาตรการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตของ สนง. ป.ป.ช. คสช. และรัฐบาล ให้แก่ ข้าราชการรับทราบและเข้าใจ เรื่องจากปกฉบับนี้เป็นเสมือนบทคัดย่อจากเวทีเสวนา เป็นข่าวใหญ่ปลายปี ในวาระครบรอบ ๔ ปีของ 'รักบ้านเกิด' ซึ่ง สาธิต รักกมล ๒๕๕๘ เมื่อ จิมมี่ ชวาลา นาย บรรณาธิการและเจ้าของตั้งใจจัดเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ห้างผ้าจิมมี่ ต.ท่าวัง อ.เมือง ด้ า นอาหารและตลาดอาหารแก่ เ จ้ า ของร้ า นอาหารและผู ้ จ.นครฯ บริจาคเงิน ๒๘ ล้าน ประกอบการตลอดจนผู้สนใจธุรกิจอาหาร อ่านดีๆ มีประโยชน์ บาทซื้ อ ทองค� ำ บริ สุ ท ธิ์ ๒๐ กิโลกรัม บูรณะปลียอดทองค�ำ พระบรมธาตุเจดีย์ให้สวยงาม ในนามชาวนคร ท�ำให้ผู้ศรัทธา จ� ำ นวนหนึ่ ง เดิ น ทางไปร่ ว ม อนุโมทนาบุญที่ร้านจิมมี่คนละสิบคนละร้อยเพราะอยากเห็นปลี ยอดทองค�ำที่สวยงามสมบูรณ์

สามารถ แต่งอักษร รองผอ.รร.กัลยาณีศรีธรรมราช มอบหนังสือ 'พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว' ให้พระต�ำหนักประทับแรม อ.ปากพนัง โดย ธีระนันท์ วัชราภิรักษ์ ผู้ดูแลพระต�ำหนัก เป็นผู้รับมอบน�ำไปมอบเป็นที่ระลึกให้ แก่ข้าราชการ ประชาชนที่มาร่วมลงนามถวายพระพรพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวัน เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

อดีตแหล่งแร่ที่มีคนเอาชีวิตมาทิ้งร่วม ๓,๐๐๐ คน ปัจจุบันภูเขาศูนย์ ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครฯ กลายเป็นแหล่ง ชมทะเลหมอกแห่งใหม่ และตอนเช้าอากาศหนาวเย็นสบาย จากสถานี ร ถไฟทานพอถึ ง ยอดเขาศู น ย์ ร ะยะทาง ๗ กิ โ ลเมตร ฝากนายก อบต.ไม้ เ รี ย ง ตรวจสอบเส้ น ทางพร้ อ ม ท�ำเครื่องหมายก�ำกับให้ชัดเจน และเตือนนักท่องเที่ยวห้าม ออกนอกเส้นทาง เพราะมีหลุมแร่ลึกจ�ำนวนมาก ต�ำรวจและ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยตรวจตราดูแลความปลอดภัยเพิ่ม ขึ้น อยากเรียนว่าเขาศูนย์จะเป็นแหล่งเงินทองและอนาคต ของชาวฉวาง

See Kuang BJ Diamond Gold

Page เพชรทองซีกวง

จี้ พ ระธาตุ ท องค� ำ แท้ สู ่ ม รดกโลก โดย Boonada ชุดที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและเทวาภิเษก เมื่ อ วั น เสาร์ ที่ ๑๙ ธั น วาคม ๒๕๕๘ โดยพระเกจิ อ าจารย์ หลายท่าน น�ำโดยท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมประศาสน์ เจ้าคณะ จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ วิหารทับเกษตร วัดพระบรมธาตุ วรมหาวิหาร เปี่ยมด้วยพุทธคุณและสิริมงคล พร้อมให้เช่าบูชา ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป Line ID : boonada, zineet โทร.ปาลิกา ๐๙-๙๑๙๕-๖๙๙๖ หรือที่ห้างเพชรทองซีกวง โดย ธิติ-ปาลิกา ถ.เนรมิต/แยกคูขวาง ข้างสหฟาร์ม/ตลาดเสาร์อาทิตย์/ท่าม้า ข้างศาลากลาง/หัวอิฐ ข้างไปรษณีย์/ชั้น ๑ สหไทยพลาซ่า

'โกจ้อง' ใจดี ผู้ บริหาร บ.ฮอนด้าศรีนคร น�ำสมาชิกท�ำบุญทอดกฐิน สามัคคี ณ วัดจันทาราม ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช งานนี้อิ่มบุญ กันทั่วหน้า

ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ต้อนรับคณะผู้แทนจาก จั ง หวั ด ฟุ กุ โ อกะ (ญี่ ปุ ่ น ) พร้ อ มหารื อ เรื่ อ งการแลกเปลี่ ย น ด้ า นการค้ า และการศึ ก ษา ซึ่ ง ขณะนี้ รร.มั ธ ยมยานากาวา จั ง หวั ด นครฯ ที่ ส มาคมพั ฒ นาบุ ค ลากร (ไทย-ญี่ ปุ ่ น ) โดย ดร.เชาว์ เต็มรักษ์ ลงนามความร่วมมือกับ Mr.Ken Koga ผอ.รร.ยานากาวา จั ง หวั ด ฟุ กุ โ อกะ ก� ำ ลั ง จะเปิ ด สอนในปี การศึกษา ๒๕๕๙

Find Us On :

นายปกรณ์ พิมลวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บจก.ปกรณ์ และเพื่อน ให้การต้อนรับ และมอบของที่ระลึกให้กับคณะผู้ แทนจ�ำหน่ายโทรศัพท์มือถือค่ายซัมซุงจากประเทศพม่า ที่ให้ เกียรติมาศึกษาดูงานเพิ่มเติมในประเทศไทย โดยเน้นตัวแทน ที่ดีที่สุดของภาคใต้

: Boonpalika

Seekuang BJ

boonada

ขอแสดงความเสี ย ใจกั บ อ.ลูกอิน หุตางกูร (ภรรยา) ปริทรรศ – ทินกร หุตางกูร ลูกๆ ต่อการจากไปของ นพ. ประทีป หุตางกูร

099-195-6996

WWW.SEEKUANG.COM

Not only you are contented with our fine diamond and gold jewels, but community also enjoys.

JEWELS OF

NAKHON SI THAMMARAT

Diamond & Gold 1. Naeramit Road (Tawang) 2. Sahathai Plaza Gold 3. Ta Ma 4. Hau It 5. Ku Kwang(Near Shell Gas Station) 6. Weekend Market On-line Shop 7. www.facebook.com/BOONADA Gold (HTY) 8. Chuan Heng Hat Yai


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๖

วันพระรู้จักกับปาลิกา จึงไพศาล (บุ๋น) แห่งห้าง เพชรทองซีกวง เมื่อแจ้งให้ทราบเรื่องโครงการอนุรักษ์ พระไตรปิฎกและตู้พระธรรม ปาลิกาไม่ลังเลที่จะช่วย เหลื อ โดยเฉพาะบอกบุ ญ ไปยั ง เพื่ อ นนั ก ธุ ร กิ จ และมิ ต ร สหาย ได้ เ งิ น มาซื้ อ ผ้ า ยกเมื อ งนครที่ ขึ้ น ชื่ อ มาห่ อ พระ ไตรปิ ฎ กโบราณที่ จ ารึ ก ด้ ว ยภาษาบาลี แ ละภาษาขอม ๘๔ เล่ม (เล่มเก่าแก่ที่สุดสร้างปีพุทธศักราช ๒๓๘๐) ให้ อยู่ในสภาพดีเก็บรักษาไว้ใบโบสถ์วัดบูรณาราม วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ ปาลิกา กับวันพระ และ ผู ้ ร ่ ว มบริ จ าคจั ด งาน 'อิ่ ม บุ ญ สุ ข ใจ ชวนกั น แต่ ง ไทย สมโภชพระไตรปิฎก' โดยชักชวนครอบครัวที่สนับสนุน ผ้ายกมาชื่นชมและถวายผ้าห่อพระไตรปิฎก ณ โบสถ์วัด บูรณารามมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๖๐ คน หรือจะเป็นวัน ฉลองพระไตรปิฎกก็ได้ ปาลิกากล่าวว่า "จะเรียกว่าการนัดหมายคนที่ร่วม สนับสนุนโครงการซึ่งเป็นเพื่อนๆ กับคู่สามีภรรยาที่น่า

อลัมน์ 'เรื่องดีดีที่เมืองนคร' ใน 'รักบ้านเกิด' ประจ�ำ เดื อ นตุ ล าคม ๒๕๕๘ รายงานเรื่ อ งการอนุ รั ก ษ์ พระไตรปิฎกวัดบูรณาราม โดย วันพระ สืบสกุลจินดา คนรุ่นใหม่ที่ชอบวัดวาอารามและโบราณวัตถุ เขาพบตู้ พระธรรมและคัมภีร์ใบลานจ�ำนวนมากในวัดบูรณาราม ห่อเก็บไว้ระหว่างบูรณะโบสถ์ ใบลานเก่าแก่บางส่วน ช�ำรุดและบางส่วนสภาพดี แต่ผ้าห่อใบลานเก่าขาดจน จ�ำเป็นต้องจัดหาผ้าไทยอย่างดีมาห่อใหม่

สนใจโครงการนี้เพราะมีใจรักผ้าไทยและผ้ายกเมืองนคร จึงตอบรับท�ำบุญกับน้องๆ ทันที และคิดแบ่งปันบุญให้กับ เพื่อนๆ ท่านอื่นด้วยจึงแจ้งรายละเอียดลงในเฟซบุ๊คและ ไลน์กลุ่ม ซึ่งมีผู้จองทันทีครบ ๘๔ ผืน" ปาลิกาเปิดเผยว่าบางครอบครัวท�ำบุญ ๕ ผืน ๔ ผืน และ ๓ ผืนครบ ๘๔ ผืนภายใน ๓ วัน ระหว่างด�ำเนินการ อนุรักษ์ตลอด ๔ เดือน วันพระได้แจ้งความคืบหน้าตลอด เวลา “เราทราบขั้นตอนจัดระเบียบ การท�ำความสะอาด การทอผ้ายกผืนใหม่และปักค�ำอนุโมทนาบนผ้าแต่ละผืน เราโชคดีที่คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ให้ความสนใจ โครงการนี้ โดยแนะน�ำให้ศึกษาวิธีการเก็บรักษาผ้าหุ้ม พระไตรปิ ฎ กชุ ด เก่ า และควรท� ำ ทะเบี ย นก� ำ กั บ ไว้ คุ ณ หมอบอกว่าสุดยอดแห่งผ้าคือผ้าหุ้มพระไตรปิฎก ทั้งยัง แนะน�ำแหล่งความรู้เกี่ยวกับผ้าไทย คุณหมอจุดประกาย ให้ดิฉันอยากค้นคว้าศึกษาเรื่องผ้าไทยอย่างลึกซึ้งควบคู่ ไปกับการอนุรักษ์และการแต่งไทยในวาระที่เหมาะสม การฉลองเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคมเป็นไปอย่างราบรื่น ดิฉัน ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านที่มาร่วม" ปาลิกาเปิดเผยว่าเธอได้ก�ำลังใจและการสนับสนุน

เคารพแต่ ง ไทยมาชื่ น ชม โครงการอนุรักษ์พระไตรปิ ฎ ก และตู ้ พ ระธรรมที่ อาจารย์วันพระ สืบสกุลจินดา ด�ำเนินงานมาหลาย เดื อ น กิ จ กรรมนี้ นิ ม นต์ พระสงฆ์ ๙ รู ป มาสวด พระพุทธมนต์ด้วย"

วันพระ สืบสกุลจินดา, ปาลิกา จึงไพศาล และ ธิติ ตระกูลเมฆี

ปาลิ ก าเล่ า ย้ อ นกลั บ ไป "ดิฉันเป็นแค่สะพานบุญ ในโครงการอนุ รั ก ษ์ พ ระ ไตรปิ ฎ กใบลานที่ เ ริ่ ม จาก กลุ ่ ม เยาวชนที่ อ าจารย์ วั น พระมาเล่ า เรื่ อ งการหา ปัจจัยซื้อผ้าห่อใบลาน ดิฉัน

จากสามี - -ธิ ติ ตระกู ล เมฆี (โจ) จึ ง ได้ ร ่ ว มสนั บ สนุ น โครงการอนุรักษ์ผ้าห่อพระไตรปิฎกวัดวังตะวันตก ๕๐ ผื น และได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากผองเพื่ อ นโดยไม่ มี ใ คร ลังเล ขณะนี้ผ้ายกส�ำหรับห่อชุดใหม่อยู่ระหว่างทอให้ เสร็จสวยงาม การฉลองครั้งต่อไปก�ำหนดไว้ราวๆ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๗

วั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู ้ อ ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ “รักบ้านเกิด” (นครศรีธรรมราช) ผมขอถื อ โอกาสนี้ อ วยพรให้ ทุ ก ท่ า น มี ค วามสุ ข ทั้ ง ทางด้ า นการเงิ น -เวลาสุขภาพ มีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่าง ที่ท่านต้องการนะครับ เพื่อเป็นการย้อน อดีตในปี ๒๕๕๘ และแนวโน้มปี ๒๕๕๙ ที่จะมาถึง ซึ่งนับว่าเป็นปีที่มีความหมาย ต่อประชาชนชาวไทย และภูมิภาคนี้เป็น อย่างยิ่ง เพราะเป็นการเริ่มต้นเปิดเขต เศรษฐกิจเสรีอาเซียน (AEC) อย่างเป็น ทางการในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ผม ขอใช้ พื้ น ที่ห น้ า “ทั น โลกธุร กิ จ” ฉบั บ นี้ น�ำเอาบทวิเคราะห์ของ นายเกียรติอนั น ต์ ล้ ว นแก้ ว ผู ้ ช ่ ว ยรองอธิ ก ารบดี สายงานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า “จากการส�ำรวจความคิดเห็น เกี่ ย วกั บ ผลประกอบการของเอสเอ็ ม อี ปี ๒๕๕๘ และการคาดการณ์ผลประกอบ การในปี ๒๕๕๙ จากผู ้ ป ระกอบการ เอสเอ็มอี ๕๘๐ ตัวอย่างทั่วประเทศ พบ ว่าส�ำหรับผลประกอบการในปี ๒๕๕๘ ความคิ ด เห็ น ส่ ว นใหญ่ ๖๓.๒% ระบุ ว่ าต�่ ำ กว่าที่ คาดหวัง ไว้ สะท้อ นให้เห็ น ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแต่ยังไม่ดีเท่าที่ควร รองลงมา ๒๒.๔% ระบุว่าใกล้เคียงกับ ที่คาดหวังไว้และ ๑๔.๔% ระบุว่าดีกว่า ที่คาดหวังไว้ ส่วนแนวโน้มผลประกอบ การในปี ๒๕๕๙ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่

๕๒.๕% ระบุว่าใกล้เคียงกับปี ๒๕๕๘ รอง ลงมา ๓๔.๖% ระบุว่าดีขึ้น เนื่องจากยอด ขายเพิ่มขึ้น ๑๖.๓% และ ๑๒.๙% ระบุว่า แย่ลง เนื่องจากยอดขายลดลง ๑๐.๘%” และที่น่าสนใจก็คือ ผมอยากแลกเปลี่ยน กับท่านผู้อ่านเรื่องการวิเคราะห์แนวโน้ม ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี ๒๕๕๙ ครับ

เดือนมกราคม ๒๕๕๙ วันเสาร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๙ แรม ๘ ค�่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะแม วันศุกร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๙ แรม ๑๔ ค�่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะแม วันเสาร์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๘ ค�่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๙ แรม ๘ ค�่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม

นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว กล่าวว่า “ส�ำหรับธุรกิจที่เป็นดาวรุ่ง ๑๐ อันดับใน ปี ๒๕๕๙ ประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กั บ ไลฟ์ ส ไตล์ ข องคนรุ ่ น ใหม่ ที่ เ น้ น ความ สะดวกสบายและความรวดเร็ว การขยาย ตัวของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ๔ จี ส่ง ผลให้ ธุ ร กิ จ ออนไลน์ ข ยายตั ว และการ นิยมท่องเที่ยวแบบราคาประหยัด ได้แก่ ๑. อาหารเพื่อสุขภาพ ๒. บูติคโฮเทล-โฮม สเตย์-โรงแรมราคาประหยัด ๓. สายการ บิ น ต้ น ทุ น ต�่ ำ ๔. ร้ า นขายอุ ป กรณ์ กี ฬ า ออนไลน์ ๕. การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ ๗. การสอนภาษาอั ง กฤษ ๘. จั ก รยาน และอุปกรณ์ ๙. การดูแลสุขภาพ-ฟิตเนสโรงพยาบาล ๙. แอพพลิเคชั่นบนมือถือ และ ๑๐. การขนส่ ง ระยะสั้ น รถไฟฟ้ า บีทีเอส และเอ็มอาร์ที ส่วนธุรกิจที่เป็น ดาวร่วง ๑๐ อันดับได้แก่ ๑. รถทัวร์และ รถไฟ ๒. ร้านกาแฟสด ๓. ร้านบุพเฟต์ราคา ถูกอาทิ หมูกระทะ ๔. ร้านอินเตอร์เน็ต ๕. เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก ๖. ร้านโชว์ห่วย ๗. อาหารทะเลแปรรูป ๘. สายการบิน ระดับกลาง ๙. ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ และ ๑๐. ร้านขายโทรศัพท์มือถือมือสอง

ท่ า นผู ้ อ ่ า นก็ ต ้ อ งส� ำ รวจดู น ะครั บ ว่าเป็นอย่างไร? ประเด็นที่ผมอยากแลก เปลี่ยนคือ เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลง นี้อย่างไร? ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ กลุ่ม แรกมองเห็ น แล้ ว ปรั บ ตั ว กลุ ่ ม ที่ ส อง มองเห็ น แล้ ว รอดู ส ถานการณ์ ไ ปก่ อ น พู ด ให้ ง ่ า ยๆ ก็ คื อ ถ้ า อยู ่ ไ ม่ ไ ด้ ก็ ต ้ อ ง เปลี่ ย น กลุ ่ ม ที่ ส าม มองไม่ เ ห็ น การ เปลี่ ย นแปลงนี้ ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ก ลุ ่ ม ไหน ไม่ มี ผิ ด มี ถู ก ครั บ มี แ ต่ ว ่ า เราเลื อ กที่ จ ะ เป็นอย่างไรมากกว่า สังคมไทยเราข้าม ผ่านยุคปฏิวัติ การเกษตร-อุตสาหกรรม เข้ า สู ่ ยุ ค “ปฏิ วั ติ อิ น เตอร์ เ น็ ต ” ส่ ง ผล ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงประสบการณ์ ผู้บริโภคอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในแง่ ผู้ประกอบการจะ “ขี่กระแส” อย่างไรให้ ชนะใจผู้บริโภค ภาพรวมของ “๒ เทรนด์ ธุรกิจ” มาแรงเริ่มเปิดฉากให้เห็นภาพ ชัดเจนมากขึ้น คือ ผู้ประกอบการขนาด ใหญ่ จ ะรุ ก ขยายธุ ร กิ จ “แข่ ง ขั น ด้ า น ราคา” ในขณะที่อีกกลุ่ม เป็นการรวม พลังของผู้ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) จะเน้นผนึกก�ำลัง “สร้างคุณค่า” สิ่ ง ที่ ท ้ า ทายมากของธุ ร กิ จ “เอส เอ็มอี” การไม่เข้าร่วมการแข่งขันด้าน ราคา แต่จะเน้นสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ ได้อย่างไร? เป็นโจทย์ที่ต้องสร้างขึ้น ให้ได้เพื่อสร้างความแตกต่าง -โดนใจ ผู้บริโภค โมเดลตลาด เปลี่ยนโลกธุรกิจ การตลาดที่มาแรงจะอยู่ในรูปผสมผสาน ทั้ ง ออนไลน์ แ ละออฟไลน์ เข้ า ด้ ว ยกั น เรียกว่า ออมนิชาแนล (Omni Channel) เป็นการหล่อหลอมธุรกิจร้านค้า เข้ากับออนไลน์ และที่ส�ำคัญอนาคต เมื่อ ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงผู้บริโภค (B2C) ได้ โดยตรงอย่างรวดเร็ว “พ่อค้าคนกลาง” จะเริ่ ม ถู ก ลดบทบาทและเทรนด์ ใ หม่ ที่ น่ากลัวก็คือ กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ๆ เริ่ม กระโดดเข้ามาในธุรกิจออนไลน์ เป็นการ ผนึกก�ำลังระหว่างผู้ค้าออนไลน์กับบริษัท ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่ เป็นการผสมผสานช่องทางจ�ำหน่ายใหม่ กับช่องทางเก่าให้ลงตัวมากที่สุด... ไม่ ว ่ า ท่ า นจะชอบหรื อ ไม่ ช อบ เห็ น ด้ ว ยหรื อ ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย แต่ นี่ คื อ การ เปลี่ยนแปลงที่ก�ำลังเกิดขึ้นและเป็นไป แล้ว ซึ่งเราไม่อาจมองข้ามได้อยู่ที่การ เลือกครับ.. นายไพโรจน์ เพชรคง ๒๐/๑๒/๕๘


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๘

เรือ่ งจากปก

<< ต่อจากหน้า ๑

ภาพ : กิษรา คงเรือง

บอกกล่าว เผื่อเป็นประโยชน์แก่เจ้าของร้านอาหาร ผู้ผลิต อาหารรายย่อย พ่อค้าแม่ค้าริมทาง ตลอดจนผู้บริโภค ที่สนใจใคร่รู้ว่าแนวโน้มของอาหารหรือวัฒนธรรมการ บริโภคในยุคโลกาภิวัตน์เคลื่อนไหวไปทางไหน ตลอด เวลา ๖ ชั่วโมง ผู้บรรยายมอบความรู้และประสบการณ์ ที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียด ได้หมด ศุภชัย สงประสพ เป็นข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ผู้เป็นเจ้าของ 'โครงการร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือก ใช้สินค้า Q' (Q Restaurant) ซึ่งมุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนรู้จักร้านอาหารคุณภาพ ในจั ง หวั ด ที่ เ ลื อ กใช้ วั ต ถุ ดิ บ มาตรฐานโดยไม่ ใ ช้ ส ารเคมี หรื อ จ� ำ กั ด การใช้ ส ารเคมี ตามระบบ GAP (Good Agriculture Practices)

หมายถึง "แนวทางในการท�ำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิต ที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่ก�ำหนด ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่าการลงทุนและกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อ เกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์ สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ท�ำให้เกิด มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการก�ำหนดโดย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)” ซึ่ ง กรมวิ ช าการการเกษตรเป็ น ผู ้ ดู แ ลผลผลิ ต และ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปศุสัตว์กับพืช กรมประมงดูแลเกี่ยว กับสัตว์น�้ำเพื่อให้ได้มาตรฐาน ซึ่งกรมวิชาการการเกษตร ก� ำ หนดหลั ก เกณฑ์ ก ารตรวจรั บ รองไว้ ๓ ประการ ได้ แ ก่ (๑) กระบวนการผลิ ต ที่ ไ ด้ ผ ลิ ต ผลปลอดภั ย

โกแอ๊ด-สุธรรม ชยันต์เกียรติ, สาธิต รักกมล, ธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม และ ไพโรจน์ เพชรคง

(๒) กระบวนการที่ ไ ด้ ผ ลิ ต ผลปลอดภั ย และปลอดภั ย จากศัตรูพืช (๓) กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศั ต รู พื ช และคุ ณ ภาพเป็ น ที่ พึ ง พอใจของผู ้ บริโภค นอกจากช่วยประชาสัมสัมพันธ์ร้านอาหาร (ได้ รับแผ่นป้าย Q) ยังเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตอาหารปลอดภัย เข้ า สู ่ ต ลาดอาหารและสร้ า งแรงจู ง ใจแก่ ผู ้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งสินค้า Q จะต้องผ่านการตรวจสอบ และรั บ รอง โดยเจ้ า หน้ า ที่ จ ะเข้ า ไปตรวจสอบหรื อ สุ ่ ม ตรวจ ส่วนสินค้ารับรองตนเอง (claim) หรือสินค้าผลิต โดยกลุ่มผู้ผลิตและจ�ำหน่ายโดยไม่ต้องการเข้าสู่ระบบ มาตรฐานหรือการรับรอง อธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นสินค้าที่ ผู้ผลิตลด ปฏิเสธหรือจ�ำกัดการใช้สารเคมี จนเป็นที่รู้จัก และยอมรับในชุมชนระดับหนึ่ง (เฉพาะพืชผักและผลไม้) สินค้าเหล่านี้จะถูกสุ่มตรวจและเก็บตัวอย่าง ผักพื้นบ้านก็ ถูกสุ่มตรวจซึ่งก็พบสารเคมีตกค้างในน�้ำหรือดิน สารเคมี บางชนิดอยู่ได้ ๕๐-๑๐๐ ปี อย่าดีใจว่ากินพืชผักพื้นบ้าน แล้วปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การสุ่มตรวจสามารถ ตามสอบแหล่งผลิตได้ ปลาที่ประมงพื้นบ้านจับได้ก็ใช่ว่า จะปลอดภัยทุกตัว เพราะปลาอาจเจริญเติบโตในแหล่ง ปนเปื้อนสารเคมีตามชายฝั่ง ไม่ต่างจากปลาแช่ฟอร์มาลิน จากเรืออวนลาก ซึ่งการตรวจเป็นหน้าที่ของกรมประมง แต่สัตว์น�้ำจากฟาร์มมักผ่านการตรวจสอบและได้รับความ ไว้เนื้อเชื่อใจเสมอ การตรวจสอบไม่ ไ ด้ มุ ่ ง แต่ วั ต ถุ ดิ บ เท่ า นั้ น หาก มุ่งดูสถานที่จัดเก็บ การแยกสัดส่วน การวางสูงต�่ำจาก พื้น การระบายอากาศ การแยกพืชผักเน่า เนื้อหมูปลา หมดอายุ อุณหภูมิของตู้เย็นและการตรวจสอบแหล่งที่ มาของวัตถุดิบ ร้านอาหารที่ขอแผ่นป้าย Q จะต้องสมัครใจเข้า รวมโครงการ โดยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจะส่งเจ้า หน้าที่ไปร่วมตรวจสอบ กรณีนี้อาจไปโดยเปิดเผยหรือ แอบไปทดสอบวัตถุดิบที่ใช้ประกอบรายการอาหารต่างๆ ทั้งอาหารปรุงแล้วและดูความสะอาดโต๊ะโดยบูรณาการ ร่วมกับส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และขอให้ทราบว่า ร้านที่ได้แผ่นป้าย Q สอบผ่านไม่ทุกเมนู ซึ่งเขาก�ำหนดไว้ ว่าวัตถุดิบปลอดภัยต้องไม่น้อยกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของ ปริมาณวัตถุดิบต่อ ๑ เมนู (ซึ่งอาหารควรจะปลอดภัย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์) 'โกแอ๊ ด ' หรื อ สุ ธ รรม ชยั น ต์ เ กี ย รติ เจ้ า ของ


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ร้านอาหารหลายร้านในจังหวัด นครฯ บอกว่ า ร้ า นอาหาร ของตนซื้อพืชผลักจากแหล่ง ผลิ ต ที่ ไ ด้ คุ ณ ภาพโดยตรง และให้ ค วามส� ำ คั ญ เรื่ อ ง ความสะอาดมาก พนั ก งาน ในเครือกว่า ๓๐๐ คนได้รับการ ก� ำ ชั บ เรื่ อ งนี้ ทุ ก วั น ร้ า นอาหารในเครื อ ของตนยึ ด เอา วัฒนธรรมเป็นหัวใจของการบริการหรือเอาวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ทั้งรูปแบบอาหารและการบริการ โกแอ๊ด ยอมรับว่าอาหารในเครือของตนไม่อร่อยทุกเมนู แต่การ จัดร้านให้นั่งสบายและพนักงานเป็นมิตรเป็นหัวใจส�ำคัญ ทั้งแนะน�ำร้านอาหารของครอบครัวให้ท�ำบัญชี เพราะ จะได้รู้รายรับรายจ่ายหรือรับรู้ต้นทุนที่แท้จริง 'ร้านแบบ กงสี' ต้องตั้งเงินเดือนให้พี่น้องทุกคนอย่าปล่อยให้หยิบ ไปใช้ตามใจชอบ ซึ่งจะน�ำไปสู่จุดจบ ร้านของตนร้านไหน ขาดทุนหรือยอดขายลดไปมากก็จะปิดทันที โดยไม่กลัว ขายหน้า

หน้า ๙ ซีพี. ที่เปิดขายตามร้านใหญ่ๆ เขาว่ามีจุดอ่อน คือการ คดโกง ต้ น ทุ น สู ง และอุ ป กรณ์ ก็ เ ก็ บ เคลื่ อ นยาก เขา เสนอเลิกไก่ย่าง ซีพี. และเสนอไก่ย่างตัวใหม่ที่ต้นทุน ต�่ ำ โดยตระเวนชิ ม ไก่ ย ่ า งทั่ ว ประเทศและค้ น พบสู ต ร น�้ำจิ้มเฉพาะตัว แรกเปิดเขาย่างให้พนักงานในบริษัทชิม และขายภายในองค์กร เมื่อเห็นว่าส�ำเร็จจึงคิดชื่อแล้วมา คลิกที่ 'ไก่ย่างห้าดาว' คือได้คะแนนเต็ม เบื้องต้นก็ออก ไปตั้ ง ตามปากซอยหรื อ ข้ า งถนน เริ่ ม ที่ ซ อยข้ า งห้ า ง อิมพีเรียล ลาดพร้าว วันแรกขายดีเกินเป้าโดยประชาสัมพันธ์แจกใบปลิวมีส่วนลดแผ่นละ ๓ บาท และติดต่อ เช่าร้านตามปากซอย ร้านไหนขายไม่ได้ก็ย้ายไปหาที่ใหม่ เขาเป็นวิศวกร ออกแบบอุปกรณ์ย่างตัวใหม่ที่เคลื่อนย้าย ง่าย เมื่อสินค้าขายดีเขาจึงย�้ำว่าการควบคุมต้นทุนได้ และ ความรับผิดชอบของพนักงานเป็นสิ่งส�ำคัญ

ธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม ผู้สร้างแบรนด์ ไก่ย่างห้าดาว เล่าว่าเขา ถู ก จ้ า งให้ เ ข้ า ไปแก้ ไ ข ปั ญ หาขาดทุ น ของไก่ ย ่ า ง

ไพโรจน์ เพชรคง กล่าว ว่ า ในอนาคตธุ ร กิ จ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของมนุ ษ ย์ เ กี่ ย วกั บ สุขภาพกับอาหาร (Health & Food) หมายถึงเราต้อง วุ่นวายกับการดื่มกินและการ ดูแลสุขภาพ ห้างโรบินสันโอเชียน ลดพื้ น ที่ ดี พ าร์ ท เม้ น ต์ ส โตร์ ล งและไปเพิ่ ม พื้ น ที่ ใ ห้ ภัตตาคารและร้านอาหาร ส่วนห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล นครศรีธรรมราชที่จะเปิดในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ ให้ พื้นที่หลายหมื่นตารางเมตรกับภัตตาคารและร้านอาหาร เขาอ้างผลการวิจัยของเครือเซ็นทรัลพบว่าไลฟ์สไตล์ของ ผู้บริโภคเปลี่ยนไป เขาเปิดเผยพฤติกรรมของผู้บริโภค ยุคปัจจุบันว่า "ผู้บริโภคซื้อเพราะความอยาก มากกว่า ซื้อเพราะความจ�ำเป็น" ซึ่งหมายความว่า ผู ้ บ ริ โ ภคไม่ ไ ด้ ซื้ อ หรื อ กิ น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง คุณประโยชน์ แต่ขอให้ได้ซื้อหรือกินแล้ว ได้หน้าได้ตาและต้อง 'เช็คอิน' ผ่านไลน์ หรือเฟซบุ๊คให้คนอื่นรับรู้ว่า "ฉันได้มานั่ง ที่นี่แล้ว" เจ้ า ของร้ า นอาหารที่ ร ่ ว มฟั ง เสวนาได้ มุ ม มองมุ ม คิ ด ไปปรั บ แต่ ง ธุรกิจและบริการของตนเองคุ้มกับเวลา ที่เสียไป

<< ต่อจากหน้า ๔

ปลี ย อดตั้ ง แต่ โ คนถึ ง ปลาย แล้ ว ผู ก เหล็ ก เทคอนกรี ต จนเต็มช่องว่างเป็นแกน ฉาบปูนผิวนอกใหม่ ปิดแผ่น ดีบุกและแผ่นทองค�ำเป็นอันส�ำเร็จวิธีที่สอง ผลดีก็คือ มั่นใจได้ว่ายอดเจดีย์จะมั่นคงแข็งแรง แต่ปลียอดจะมี น�้ำหนักเพิ่มขึ้น ช่วงการผ่าส่วนปูนเจดีย์ ยอดเจดีย์อาจ พังคลืนลงมาได้ ๓. การปฏิสังขรณ์ คือการเปิดแผ่นทองค�ำออก แล้วลอกแผ่นดีบุกชั้นในออก เมื่อถึงผิวปูนใช้วิธีกระเทาะ ผิวปูนออก น�ำ 'เหล็กไร้สนิม' รัดปลียอด หุ้มด้วย 'ตะแกรง สแตนเลส' หนา พ่นทับด้วย 'เฟโร่ซีเมนต์' ( FERROCEMENT) จึงฉาบปูนใหม่ปิดทับ บุแผ่นดีบุกและแผ่น ทองค�ำเข้าที่เดิมเป็นอันเสร็จ วิ ธี ที่ ส ามนี้ ไ ด้ ย อมรั บ กั น ทุ ก ฝ่ า ยเป็ น อั น ยุ ติ ค วาม ขัดแย้งลงเพราะยอดเจดีย์จะมั่นคงขึ้น ไม่เพิ่มน�้ำหนัก ปลี ย อด การท� ำ งานง่ า ยไม่ เ สี่ ย งเรื่ อ งการหั ก โค่ น ของ ปลียอด เมื่อถึงขั้นตอนการเตรียมการบูรณะภาคส่วนต่างๆ ก็ คั ด เลื อ กบุ ค คลที่ ไ ว้ ว างใจมาเป็ น ที ม งาน ทั้ ง ต� ำ รวจ ทหาร (สห.) ตชด. ครูอาจารย์ ข้าราชการ ผู้ทรงคุณ นักวิชาการ ช่างแขนงต่างๆรวมแล้วประมาณ ๒๐๐ คน มีการฝึกอบรมก่อนการท�ำงานเป็นชุดๆ แบ่งหน้าที่เป็น หน่วยรักษาความปลอดภัย คณะท�ำงาน คณะตรวจสอบ คณะสังเกตการณ์ โดยเฉพาะคณะสงฆ์และสื่อมวลชน คอยติดตามดูตลอดการท�ำงาน มีการกั้นบริเวณห้ามเข้า โดยเด็ดขาด ห้องนิรภัยใช้เก็บแผ่นทองค�ำและศิลปะวัตถุ

ที่มีค่า เจ้าหน้าที่จดบันทึกชั่งน�้ำหนักทองค�ำ นับจ�ำนวน ศิลปะวัตถุ เมื่ อ ถึ ง การบู ร ณะก็ มี ก ารกั้ น บริ เ วณแน่ น หนา คน งานสวมเสื้อผ้าไร้กระเป๋า ตรวจค้นเข้าออกอย่างละเอียด ทุกขั้นตอน เจ้าหน้าที่พร้อมพระสงฆ์ขึ้นปลดแผ่นทองที่ หุ้มปลียอด เคลื่อนย้ายผ่านการนับจ�ำนวนและน�้ำหนัก อย่างละเอียด จนถึงห้องนิรภัยที่ใช้เก็บบันทึกเป็นหลักฐาน รื้อเครื่องประดับยอดเจดีย์คือ ส่วน 'พุ่มข้าวบิณฑ์' 'บาตร ทองค�ำ' พบความเสียหายแทบทุกส่วน หลังจากลอกแผ่น ทองบนปลียอดหมดแล้ว บนยอดสุดมีรูปกรวย เจ้าหน้าที่ พบสลักโดยรอบ จึงถอดสลักออกดู พบว่ากรวยนั้นครอบ 'เครื่องสักการะ' พระบรมธาตุอยู่ภายใน มีค่าและงดงาม ยิ่ง ประกอบเป็นพุ่มสักการะทองค�ำ ลูกแก้ว ลูกปัด แหวน ทองนพเก้า เพชร พลอยและดอกไม้ทองค�ำ ดอกไม้ทองค�ำ ปักคู่บนถ้วยแก้ว บางท่านก็สันนิษฐานว่าจะเป็น 'พระบรม สารีริกธาตุ' ก็เป็นได้ แต่ไม่มีการยืนยันจากนักโบราณคดี แต่ อ ย่ า งใด เครื่ อ งประดั บ เครื่ อ งบู ช าเหล่ า นี้ ไ ด้ รั บ การ ตกแต่งด้วยช่างสิบหมู่ของกรมศิลป์และช่างของเมืองนคร จนสวยสดงดงามวิจิตรตระการตามาก ขั้นตอนการบูรณะได้รับการดูแลตรวจสอบจากทุก ฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยแต่ต้นจนคลายใจ 'สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ' ได้ เ สด็ จ ทอดพระเนตรการบูรณะงานประณีตศิลปกรรมปลียอด ทองค�ำพระบรมธาตุเจดีย์นี้ด้วยความสนพระราชหฤทัยยิ่ง ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๓๗ หลั ง จากการบู ร ณะปฏิ สั ง ขรณ์ เ สร็ จ สิ้ น ไปหลายปี ทางกรมศิลปากรก็ได้มีการท�ำความสะอาดตกแต่งส่วนที่ เป็นปูนขององค์เจดีย์และมีการทาสีเป็นสีขาว ซึ่งทางกรม

ศิลปากรยืนยันว่าเป็นสีดั้งเดิมของพระบรมธาตุ ก่อนที่ จะเป็นสีด�ำเพราะตะไคร่น�้ำในภายหลังทาสีเสร็จไม่นาน ก็เกิดคราบสีเหลืองขึ้น บางคนว่าเพราะตะปูและลวดที่ ผูกเป็นสนิม ซึ่งความจริงตะปูนั้นถูกรีดขึ้นใหม่ด้วยเงิน และทองเป็นส่วนใหญ่ มีขนาดไม่เหมือนในท้องตลาด และไม่ได้ซื้อชั่งเป็นกิโลจากร้านค้ามาแน่นอน แต่จะด้วย เหตุผลใดนั้นขั้นตอนการบูรณะปลียอดเจดีย์พระบรม ธาตุที่ผมเล่ามาพอจะเป็นข้อมูลตัดสินใจได้บ้าง ที่มีการ กล่าวถึงเรื่องทองสูญหายหลายกิโลจริงหรือไม่ แต่เท่า ที่รู้มีการบริจาคทองเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเก่า ทองที่ผสม ด้วยเงินด้วยทองแดงถูกหลอมออกไป ใส่ทองบริสุทธิ์ เข้าไปแทน ส่วนที่แหว่งก็เติมเต็มยิ่งขึ้น ทองอร่ามยิ่งขึ้น หาสาเหตุคราบเหลืองให้พบแล้วรีบรายงานให้ชาวนคร ทราบด้วยนะครับ


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๐

ให้เป็นผู้หนักแน่น และไม่กล่าวมุสา

ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันเป็นบาปหน่อยหนึ่ง ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จจะท�ำไม่ได้หามีไม่. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงส�ำเหนียกใจไว้ว่า

“เราทั้งหลายจักไม่กล่าวมุสา แม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น”

ราหุล ! เธอทั้งหลายพึงส�ำเหนียกใจไว้อย่างนี้. ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน (ปฐวี) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน�้ำลายบ้าง ทิ้งหนองบ้าง ทิ้งโลหิตบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น นี้ฉันใด

“ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน”

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยน�้ำ (อาโป) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน�้ำอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาล้างของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ล้างคูถบ้าง ล้างมูตรบ้าง ล้างน�้ำลายบ้าง ล้างหนองบ้าง ล้างโลหิตบ้าง ลงในน�้ำ น�้ำก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น นี้ฉันใด

“ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยน�้ำเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน�้ำอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน” (ในกรณีแห่งไฟ ลม และอากาศ ก็ได้ตรัสไว้ในลักษณะคล้ายคลึงกัน) -บาลี ม. ม. ๑๓/๑๒๕/๑๒๗. , -บาลี ม. ม. ๑๓/๑๓๘-๔๐/๑๔๐-๔.

ปเที่ ย วประเทศญี่ ป ุ่ น ทุ ก ครั้ ง มี สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ป ระทั บ ใจก็ คื อ อาหารญี่ ป ุ่ น ธรรมชาติ ความมีระเบียบวินัยของชาว เมืองเขา เมืองไทยและนครศรีธรรมราช เราก็มีชื่อเสียงในเรื่องของอาหาร โบราณ สถานและธรรมชาติเป็นที่ประทับใจของ แขกผู ้ ม าเยื อ นเสมอ เว้ น แต่ เ รื่ อ งของ ระเบี ย บวิ นั ย ของสั ง คมชาวเมื อ งเรา ก็ ต้องใช้เวลาในการท�ำให้มันมีท�ำให้มันเป็น ญี่ปุ่นเขาได้ขอให้อาหารเขาได้ขึ้น ทะเบียนมรดกโลก ใช้เวลาน�ำเสนออยู่

ไม่ กี่ ป ี ก็ บ รรลุ ผ ล องค์ ก ารยู เ นสโก้ ก็ ไ ด้ ประกาศให้ อ าหารญี่ ป ุ่ น แบบดั้ ง เดิ ม ได้ เป็ น มรดกโลกเมื่ อ เดื อ นธั น วาคม ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๖) การตัดสินก็ไม่ได้ ใช้วิธีการประกวดการท�ำอาหาร หรือเมนู อาหารแต่อย่างใด ตัดสินจากเรื่องของ วิถีชีวิตวัฒนธรรมของอาหารและการกิน

แบบดั้งเดิม โดยยึดหลักการพิจารณาใหญ่ ๔ ข้อคือ ความสดใหม่ของอาหาร หลัก โภชนาการ ความสวยงามบวกบรรยากาศ และสุดท้าย เรื่องของวัฒนธรรมประเพณี ในการกินของชาวญี่ปุ่น เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ข้อแรกเรื่องความ สดใหม่ ข องอาหารญี่ ป ุ่ น กุ ้ ง หอยปู ป ลา สดๆ ไม่ต้องไปปรุงอะไรอีก ธรรมชาติที่สุด แต่เขาก็ท�ำด้วยกรรมวิธีในการเลี้ยงพิเศษ

เลียนแบบธรรมชาติ ผักสด สาหร่ายไร้สาร เคมี ข้อแรกจึงได้คะแนนเต็ม ข้อสองด้าน โภชนาการ ข้าวบวกกับอีกสามอย่างที่ครบ ถ้วนตามที่องค์การอนามัยโลกระบุรับรอง คือข้าวสวยหนึ่งถ้วย ซุปหนึ่งถ้วย ผักและ เนื้อสัตว์อีกอย่างละชามก็ครบสูตร อาหาร หลักนอกจากข้าวเหมือนคนไทยแล้ว เนื้อ สั ต ว์ โ ดยเฉพาะปลามี ทุ ก มื้ อ อาหาร ผั ก สดถั่ ว เหลื อ งท� ำ เป็ น เต้ า หู ้ อ าหารยอด นิยม จนชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีอายุยืน อยู่ในแถวหน้าของโลก เรื่องที่สาม ความ สวยงามของอาหาร บรรยากาศห้องหับที่ ทานอาหาร รูปแบบการเสิร์ฟ การจัดจาน อาหาร ความประณีตสวยงามของอาหาร

ทั้ ง ชุ ด ถ้ ว ยชาม ช้ อ นตะเกี ย บพิ ถี พิ ถั น เป็นพิเศษ สุดท้ายรูปแบบทางวัฒนธรรม ประเพณี ใ นการกิ น อาหาร ฤดู ไ หนควร กินอาหารประเภทอะไร มีผลผลิตประจ�ำ ฤดูเป็นอย่างไรก็ท�ำมาเป็นเมนูในช่วงนั้น ชนะใจกรรมการตัดสินอย่างท่วมท้น หันมาดูอาหารไทยเราบ้าง ความ สดใหม่ในข้อแรกในน�้ำมีปลาในนามีข้าว ผักสดพืชไร่สวนครัวเรามีจนแทบไม่ต้อง ใช้วิธีถนอมอาหารอย่างหลายประเทศอยู่ แล้ว รสชาติก็เป็นธรรมชาติของเหล่าพืช สมุนไพรที่ปรุงอาจชนะใจกรรมการได้บ้าง ข้อสองหลักโภชนาการ หมูเห็ดเป็ดไก่ปลา ปูกุ้งหอยพร้อมด้วยพืชผักที่หลากหลาย กว่าชาติใดๆในโลก หากน�ำมาเรียงเป็น เมนูอาหารพร้อมข้าวหอมมะลิ ข้าวไข่มด ริ้น ข้าวสังหยด ใครจะมาเทียบได้ ความ สวยงามและบรรยากาศการกินถ้ารักษา ความเป็ น ไทย ตั ด การกิ น แบบฝรั่ ง แบบ จี น ออก ความละเอี ย ดอ่ อ นเราก็ พ อตั ว สุดท้ายวัฒนธรรมประเพณีการกินหมฺรับ กินส�ำรับแบบไทยก็ไม่เป็นรองใคร ขนาด ไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็ยังดังขนาด ไหน หากได้อาหารไทยเป็นมรดกโลก เป็น ครัวอาหารโลก เศรษฐกิจของเราก็ไม่ต้อง ไปพึ่ ง พาอุ ต สาหกรรมด้ า นอื่ น เป็ น หลั ก เอาเศรษฐกิจทางด้านอาหารเป็นหลักก็พา ประเทศรอดได้เหมือนกัน


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๑

รายงาน จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร (แทน)

ภาพ : ส�ำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

สื

บเนื่ อ งมาจาก พิ ธี บ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ล ถวายพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริ ณายก เนื่องในพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ที่ ลานโพธิ์ วั ด พระมหาธาตุ ว รมหาวิ ห าร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ที่ ท่านผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และ พระเทพวินยาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗๑๘ แสดงพระธรรมเทศนา มีพระภิกษุ สามเณร ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน

นักเรียน นักศึกษา จ�ำนวนมากเข้าร่วม พิธี ถวายดอกไม้จันทน์ต่อหน้าพระรูป สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระ สั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริ น ายก ด้ ว ย ความอาลั ย ภายในงานมี ก ารจั ด แสดง นิทรรศการพระประวัติของสมเด็จพระ ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก สื่ อ สาธารณะออนไลน์ แพร่ ภ าพ ผู ้ ว ่ า ฯ พี ร ะศั ก ดิ์ รั บ โทรศั พ ท์ การจั ด ที่ ท างให้ ฆ ราวาสข้ า ราชการชั้ น ผู ้ ใ หญ่ นั่ ง บนพื้ น ที่ ย กสู ง ปู พ รม ขณะพระสงฆ์ สมณศักดิ์สูงนั่งเก้าอี้พลาสติก เท้าลาก พื้นทรายหาดทรายแก้ว ซึ่งมีการวิพากษ์ วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม เป็ น ความรู ้ ห รื อ ความไม่ รู ้ ผมไม่ ทราบ แต่ถาวรวัฒน์ คงแก้ว ปลัดจังหวัด ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง จากผู ้ ว ่ า ฯ ให้ เ ป็ น ผู ้ ตรวจติดตามการจัดสถานที่ในการจัดพิธี ถวายดอกไม้จันทน์ ณ ลานโพธิ์ วัดพระ มหาธาตุ ว รมหาวิ ห าร ธี ร ะพงศ์ ช่ ว ยชู ป้องกันจังหวัด กับกิตติพงษ์ รองเดช จ่า จังหวัด ร่วมติดตามตรวจสอบ พิธีการอันยิ่งใหญ่และเป็นทางการ

อย่างนี้ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก พระพุ ท ธศาสนาจั ง หวั ด หรือวัฒนธรรมจังหวัดเป็น ผู้รับผิดชอบ หรือประธาน ฝ่ า ยสงฆ์ เ ป็ น ผู ้ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบโดยตรงตามสายงาน เรื่ อ งการจั ด ที่ นั่ ง ถื อ ว่ า พลาดน่าต�ำหนิ แต่พิธีการ ก็ผ่านไปด้วยดี มีประชาชน และข้าราชการเข้าร่วมส่ง เสด็จนับพันคน วิทยุชุมชน และเคเบิ ล ที วี ทุ ก สถานี ในจั ง หวั ด รั บ สั ญ ญาณ ถ่ า ยทอดสดจากสถานี วิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งแห่ ง ประเทศไทยและโทรทัศน์ รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยอย่าง พร้อมเพรียง อ� ำ เภอต่ า งๆ รอบนอกจั ด เตรี ย ม สถานที่ ก� ำ หนดจั ด พิ ธี ว างดอกไม้ จั น ทน์ อ� ำ เภอละ ๑ วั ด ดั ง นี้ อ.ทุ ่ ง สง วั ด เขา ปรี ดี , อ.ปากพนั ง วั ด รามประดิ ษ ฐ์ , อ.ท่ า ศาลา วั ด เสนาราม, อ.ขนอม วั ด กระดั ง งา, อ.ร่ อ นพิ บู ล ย์ วั ด ศรี พิ บู ล ย์ , อ.ชะอวด วัดดิษฐวราราม (วัดท่าเสม็ด), อ.ฉวาง วัดวังม่วง, อ.สิชล วัดศิลาชลเขต, อ.เชี ย รใหญ่ วั ด ปากเชี ย ร, อ.พิ ปู น วั ด โพธิ์ ธ าราม, อ.ทุ ่ ง ใหญ่ วั ด ควนสระบั ว , อ.หั ว ไทร วั ด หั ว ไทร, อ.ลานสกา วั ด ไทรงาม, อ.พรหมคี รี วั ด พรหมโลก, อ.นาบอน วั ด อั ม พวั น , อ.บางขั น วั ด ไสยาสน์, อ.จุฬาภรณ์ วัดส�ำนักขัน, อ.ถ�้ำ พรรณรา วัดควนกอ, อ.เฉลิมพระเกียรติ วัดสระใคร, อ.พระพรหม วัดพระพรหม, อ.นบพิต�ำ วัดใหม่ไทยเจริญ และ อ.ช้าง กลาง วัดมะนาวหวาน ภาพพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์นั่งเก้าอี้ พลาสติกเท้าติดพื้นทราย บางรูปยืดเท้า เพราะขบเมื่ อ ยดู ข าดส� ำ รวมซึ่ ง อนุ โ ลม กันได้ แต่ภาพผู้ว่าฯ นั่งใช้มือถือ (ไม่ใช้

ค�ำว่า-'เล่น) ถือเป็น 'dead moment' หรือนาทีเป็นนาทีตายอย่างแท้จริง ในยุค โซเชี่ยลมีเดียมีบทบาท และบั น ทึ ก ภาพมาเผยแพร่ ใ ห้ สาธารณะติเตียนเอาตามความรู้และไม่รู้ ความตรึกตรองหรือไม่ตรึกตรอง ผมมองโลกในแง่ดีและเป็นกุศล ผม เชื่ อ ว่ า ผู ้ ว ่ า ฯ พี ร ะศั ก ดิ์ รู ้ ก าลเทศะ แต่ ต�ำแหน่งผู้ว่าฯ มีความรับผิดชอบใหญ่โต ทั้งงานราชการและเรื่องส่วนตัว สัญญาณ

มือถือเข้ามาถ้าปล่อยไว้กจ็ ะดังอยูอ่ ย่างนัน้ ดั ง จนหยุ ด แล้ ว ดั ง ใหม่ ตั ด สิ น ใจรั บ เสี ย ก่อน ดูว่าเป็นใคร ส�ำคัญหรือไม่ส�ำคัญก็ กดปิดไป ถ้ามีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ผู้ว่าฯ ต้ อ งใช้ อ� ำ นาจตั ด สิ น ใจเร่ ง ด่ ว นเกิ ด ขึ้ น กรณีเกิดภัยพิบัติ น�้ำท่วมดินถล่มเพราะ อยู่ในช่วงหน้าฝนจ�ำเป็นต้องยกขึ้นมาดู ก็ เ หมื อ นญาติ โ ยมทั้ ง หลายที่ ม าร่ ว มพิ ธี หากมี อ ะไรฉุ ก เฉิ น ก็ ต ้ อ งเอาขึ้ น มาดู 'วินาที' ที่ผู้ว่าฯ ยกมือถือขึ้นมาดูนั่นแหละ 'วินาที' นั้นเองมือถือหรือกล้องถ่ายรูปอีก ตัวที่พร้อมใช้ก็กดบันทึก ภาพจะยืนยัน ความไม่ รู ้ ก าลเทศะของผู ้ ว ่ า ฯ แต่ ต อน ยกขึ้นพูดก็ไม่ปรากฏให้เห็น ผมว่าสังคม ต้องการเห็นภาพนั้นมากกว่า จะบอกว่า ท่านก�ำลัง 'เล่นไลน์' ก็ไม่ชัดแจ้ง เราไม่รู้ ว่าท่านรูดหน้าจออยู่กี่นาที สังคมขาดสติ คนทั่วไปอย่างเราๆ ท่ า นๆ แม้ ใ ช้ ชี วิ ต ส่ ว นตั ว ตามปกติ ห รื อ ชีวิตการงาน ถ้ามีมือ 'แอบถ่าย' ลักษณะ 'one movement' หรือ 'just a movement' ก็เสียหายได้ทุกคน ภาพผู้ว่าฯ กุมมือถือขณะฟังเทศน์ ถ้ า มองย้ อ นกลั บ ไปยั ง ผู ้ ถ ่ า ยหรื อ ผู ้ จ ้ อ ง บันทึก เราก็จะเห็น 'just a movement' ของเขาเหมือนกัน


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๒

เรียบเรียงโดย นพ.ทฎะวัฏร์ พิลึกภควัต จิ ต แพทย์ เ ด็ ก และวั ย รุ ่ น

ช่วงสิ้นปีและปีใหม่ เป็นช่วงที่เรามักจะได้ระลึกย้อนเรื่องราวต่างๆ ในปีที่ผ่านมา ทบทวนเรียนรู้ และเริ่มต้นตั้งเป้าหมายที่จะท�ำสิ่งต่างๆ ในปีต่อไป ท่านผู้อ่าน คาดหวัง ตั้งเป้าหมาย หรือเริ่มต้นอะไรดีๆ ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ อย่างไรบ้างครับ

มี

ข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงผลส�ำรวจประชาชน จ�ำนวน ๑,๐๔๐ คน ในหั ว ข้ อ "ท่ า นอยากให้ ครอบครัวเป็นอย่างไร" พบประชาชนร้อย ละ ๖๔.๒๑ อยากให้ครอบครัวมีความสุข และสิ่ ง ที่ อ ยากท� ำ ให้ ค รอบครั ว มากที่ สุ ด คือ การคิดดี ท�ำดี และเป็นคนดี ซึ่งสวน ทางกับการเก็บข้อมูลสถานการณ์ข่าวทาง สังคมที่เกิดขึ้น จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ เว็บไซต์ และส�ำ นักข่าวออนไลน์ พบว่า สถานการณ์ความรุนแรง ทั้งความรุนแรง ทางสั ง คมและการเมื อ ง ความรุ น แรง ในชายแดนใต้ ความรุนแรงต่อสตรีและ เด็ก ความรุนแรงในครอบครัวและความ รุนแรงของเด็กและวัยรุ่น ถูกน�ำเสนอผ่าน สื่อต่างๆ เพิ่มขึ้น มากกว่า ๒๕,๐๐๐ ครั้ง ต่อปี ทั้งหมดเป็นตัวสะท้อนถึงภาวะทาง อารมณ์ ข องคนที่ ข าดการจั ด การอย่ า ง ถูกต้องเหมาะสม ความรุนแรงและความ สูญเสียจึงเกิดขึ้นได้ง่าย คงจะเป็นการเริ่มต้นดีๆ หากเรามี แนวทางสร้างสุขภาพจิตดี เพื่อรับมือกับ สภาพสังคมความรุนแรงในปัจจุบัน

เป็นชิ้นเล็กๆ และเป็นบันไดต่อเนื่องกัน ขึ้นไป ก็จะท�ำให้พบความสมหวังได้เป็น ระยะๆ และถ้าผิดหวังก็จะไม่รุนแรง รู้จัก ปลดล็อกอารมณ์ทางลบให้ได้ ทั้งอารมณ์ โกรธ กลัว วิตกกังวล โดยจับที่สัญญาณ เตือนการเริ่มเกิดให้ได้เร็วที่สุด เช่น หัวใจ เต้ น แรง กล้ า มเนื้ อ เริ่ ม เกร็ ง เหงื่ อ ไหล หน้าเริ่มร้อน หรือ เริ่มซีด เมื่อรู้ถึงอาการ ที่เกิดขึ้น ก็ควรหยุดนิ่งสักพัก หลีกเลี่ยง สถานการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่อาจกระตุ้นให้ เกิดอารมณ์โกรธ หากเลี่ยงไม่ได้ให้จัดการ อารมณ์อย่างถูกวิธี อาทิ นับเลขถอยหลัง ๓ แนวทางสร้างสุขภาพจิตดี รับปีใหม่ จาก ๑๐ ถึง ๑ สูดลมหายใจลึกๆ กล้า แสดงออกถึงความรู้สึกแต่ไม่ก้าวร้าว สร้าง อธิ บ ดี ก รมสุ ข ภาพจิ ต เผยแนวทาง บรรยากาศความไว้วางใจและใช้อารมณ์ สร้างสุขภาพจิตที่ดีรับปีใหม่ง่ายๆ เพียง ขันเพื่อสร้างความอบอุ่น ๓ ข้อ ท�ำใจ ท�ำกาย และท�ำบุญ ชีวิตดี "การท�ำกาย" สามารถท�ำได้หลาย แน่นอน "การท�ำใจ" หมายถึง การควบคุม อย่าง เช่น การออกก�ำลังกายอย่างต่อเนื่อง ความคาดหวัง โดยอย่าตั้งความคาดหวังที่ อย่างน้อย ๓๐ นาที อาทิตย์ละ ๓ ครั้ง ต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความส�ำเร็จ หรือวันเว้นวัน ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ หรือเป็นไปไม่ได้ ควรตั้งความคาดหวังที่ มี ผ ลต่ อ สุ ข ภาพกายและสุ ข ภาพจิ ต เป็ น

อย่างมาก ระวังอาหารการกิน หลีกเลี่ยง เครื่องดื่มที่มีผลต่อจิตประสาท เช่น คาเฟ อี น หรื อ เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ ที่ ร บกวน การท�ำงานของสมอง และการฝึกหายใจ คลายเครียด โดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ นับ ๑ - ๔ แล้วกลั้นไว้ นับ ๑ - ๔ แล้ว หายใจออกยาวๆ ช้าๆ นับ ๑ - ๘ ซึ่งเวลา หายใจเข้านั้นท้องต้องพองออกเต็มที่ ขณะ ที่หายใจออกท้องต้องแฟบลง จึงจะช่วย ผ่อนคลายความเครียดได้ ส่วน "การท�ำบุญ" เป็นวิทยาศาสตร์ ทางสมองขั้ น สู ง ซึ่ ง ได้ มี ก ารวิ จั ย รวมทั้ ง การพิ สู จ น์ แ ล้ ว ว่ า การท� ำ บุ ญ หรื อ การ ช่วยเหลือผู้อื่นที่ประสบความยากล�ำบาก ท� ำ ให้ มี ค วามสุ ข อย่ า งลึ ก ซึ้ ง กว้ า งขวาง และยาวนาน มี คุ ณ ค่ า มากกว่ า ความสุ ข ประเภทอื่นแต่ท�ำยาก ทั้งนี้ การท�ำใจ ท�ำกาย และท�ำบุญ สามารถเลือกปฏิบัติได้ตามความสะดวก ของแต่ละคน นอกจากนี้ ควรฝึกพูดดีๆ ต่อกัน ค�ำ

พูดที่ดีสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขึ้นได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นค�ำพูดที่เต็มไป ด้วยความรัก ความห่วงใย ความเห็นอก เห็นใจ ให้อภัย ที่ช่วยสร้างความสุข สร้าง ก� ำ ลั ง ใจ ปราศจากศั ต รู ได้ รั บ มิ ต รภาพ มากมาย ซึ่งค�ำพูดที่ง่ายที่สุดที่เราทุกคน สามารถจะท�ำได้ ก็คือ ค�ำพูดที่แสดงถึง ความชื่นชม ซึ่งจะท�ำให้ ผู้ได้รับค�ำชมเห็น คุณค่าของตัวเอง เกิดพลังใจ มีความเชื่อ มั่น ในการท�ำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นต่อไป ขณะ ที่ ผู้พูดหรือกล่าวชื่นชมผู้อื่นก็ย่อมเป็นผู้ มีเสน่ห์ ได้รับความเมตตา ที่ส�ำคัญ ช่วย สร้างความสุขให้กับคนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ชิดได้ ส�ำหรับในครอบครัว การดุด่าว่ากล่าว โต้เถียง หรือพูดจาด่าทอ เสียดสีกันแม้ เพี ย งเล็ ก น้ อ ย แต่ ห ากเกิ ด ขึ้ น บ่ อ ยและ สะสมเป็ น ระยะเวลานานจะกลายเป็ น ความรุ น แรงที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด แผลในใจให้ กั บ สมาชิกในครอบครัว ท� ำให้สูญเสียความ มั่ น ใจ สู ญ เสี ย คุ ณ ค่ า ความเป็ น คน เกิ ด ความเศร้า เบื่อหน่าย เป็นปัญหาสุขภาพ จิ ต น� ำ ไปสู ่ ค วามรุ น แรงต่ อ ตนเองและ คนในครอบครัวได้ ดังนั้น เพื่อสร้างความ สุ ข ให้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ตนเอง ครอบครั ว และ สังคมไทย ทุกคนจึงควรหันมาพูดดีต่อกัน โดยเริ่ ม ต้ น ที่ ค รอบครั ว จากการมองหา ด้านบวกหรือด้านดีของอีกฝ่ายและกล่าว ชมเชย ซึ่งต้องเป็นการชื่นชมจากใจจริง และชื่นชมในด้านดีของอีกฝ่ายหนึ่งจริงๆ แม้จะเป็นความดีที่ผ่านมานานแล้วก็ตาม ที่ส�ำคัญ อย่าลืมที่จะชื่นชมตัวเอง ชื่นชม ในข้อดีของตัวเอง เพื่อช่วยสร้างก�ำลังใจ และพลังใจในการพูดดี ท�ำดีให้กับตนเอง และสังคมต่อไป ....ปีใหม่ขอให้เป็นจุดเริ่มต้นในการ ค่อยๆ พัฒนาตัวเราให้เติบโตทางจิตใจ มองโลกตามความเป็นจริง ยอมรับและ ภูมิใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ เราจะมีความสุข อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องหาซื้อที่ไหนครับ


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๓

ขึ้

นปี ใ หม่ พ.ศ.๒๕๕๙ ผมขออาราธนาอ� ำ นาจคุ ณ พระศรีรัตนตรัย คุณพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ท ่ า นนั บ ถื อ จงดลบั น ดาลให้ ทุ ก ท่ า น ประสบความส�ำเร็จในสิ่งดีๆ ที่ตั้งใจไว้ทุกประการ.... แทบจะทุกปีที่ขึ้นศักราชใหม่ ผมตั้งใจที่จะพยายาม ค้ น หาสิ่ ง ดี ๆ ในบ้ า นเรามาคิดต่อและน�ำมาเขียนเพื่อให้ จิตใจผ่องแผ้วตั้งแต่ต้นปี โดยคาดหวังว่าจะส่งผลที่ดีต่อ บ้านเมืองไปตลอดทั้งปี เหมือนผู้เฒ่าผู้แก่มักสอนลูกหลาน ว่าตื่นเช้าขึ้นมาอย่าอารมณ์บูด การงานมันจะเสียทั้งวัน ผมก็คงอาศัยแนวทางนี้ที่จะเริ่มเรื่องในปีใหม่นี้ครับ ผมอาจโชคดีหน่อยที่เป็นคนเมืองรู้จักคนหลากหลาย ทั้งทางธุรกิจและทางสังคม ผมค้นพบความจริงเรื่องหนึ่ง ว่าทุกสังคมมีมุมมองของตัวเองที่อยากเห็นบ้านเมืองน่าอยู่ จะเห็นได้จากวงกาแฟวิพากษ์งานหรือกิจกรรมของผู้อื่น ทั้งที่ตนเองมีผลกระทบและไม่เกี่ยวข้องกันก็มี มีแนวคิด เห็นต่างๆ ล�้ำเลิศกันมากมาย ถ้าสนิทเป็นเพื่อนฝูงกันก็ด่า ส่งกันฟังในเรื่องที่ตนเองไม่ถูกใจ ส่วนเรื่องที่จะชมกันก็ไม่ แน่ใจนักจะมีมากน้อยเพียงใด ท่านอาจคิดว่าผมเริ่มเรื่อง ในสิ่งที่เป็นอคติกับคนคิดหรือพูดเช่นนั้น มิได้ครับ...ผม กลับคิดว่าถ้าคนสามารถวิจารณ์งานหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ ไม่ว่าถูกหรือผิดก็ตาม ต้องมีความคิดที่อยากให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแน่นอน เพียงแต่การน�ำเสนอความ คิดออกไปอาจใช้ค�ำพูดตามลักษณะนิสัยหรือจริตส่วนตัว ความเห็นต่างมิได้เป็นสิ่งผิด แม้กระทั่งท่านที่เขียนเรื่องลง หนังสือพิมพ์นี้ก็หาได้มีความคิดตรงกันทุกเรื่อง และเราก็ เคารพความคิดส่วนตัวซึ่งกันและกัน แต่แน่นอนครับก็ต้อง มีตัวชี้วัดตัดสินเรื่องถูกผิดในกรณีที่ต้องเลือกทางใดทาง หนึ่งซึ่งล้วนแล้วแต่มีกระบวนการที่แตกต่างกันไป ในเดือนที่แล้วส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมา ผมได้รับรู้เรื่อง ราวต่างๆ เกี่ยวกับเมืองนคร (ผมไม่ขอก้าวล่วงออกไปนอก เมืองนี้ ต้องยอมรับว่าไม่อาจแสดงความคิดเห็นใดๆได้ เพราะไม่รู้ข้อมูล) ในมุมมองของแต่ละคนที่ออกในสื่อสังคม แล้ว ท�ำให้ทราบว่าบางเรื่องผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมองให้ครบ ทุกมิติ หรือจะต้องให้สังคมได้รับรู้รายละเอียดข้อมูลกัน ก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดความเข้าใจผิด หรือเกิดอาการ “คิด ไปเอง” ซึ่งการประชาสัมพันธ์ออกไปก่อนที่จะมีกิจกรรม หรือจะมาแก้ตัวชี้แจงกันภายหลังก็แล้วแต่ ผลลัพธ์ทาง ความรู ้ สึ ก อาจแตกต่ า งกั น เอาเรื่ อ งตั ว อย่ า งงานแถวๆ โครงการที่จะเสนอวัดพระบรมธาตุเป็นมรดกโลก เช่น การปิดถนนหน้าวัดเพื่อปูแผ่นซีเมนต์อัดแรงให้เป็นถนนที่มี ลวดลายสวยงามอันเป็น นวัติกรรมใหม่ของเมืองนี้ ท�ำเอา คนที่อยู่ละแวกนี้วุ่นวายอยู่หลายเดือนจึงมีค�ำอธิบายจากผู้ ที่เกี่ยวข้อง การมีน�้ำท่วมขังบริเวณลานทรายภายในวัดใน ช่วงฝนตกหนักที่น�้ำไหลไม่ทันจากการก่อสร้างปรับปรุงภูมิ ทัศน์ที่ยังไม่ครบถ้วนวงจรการไหลของน�้ำ หรือกิจกรรม งานพิธีถวายดอกไม้จันทน์พระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ วัดพระบรมธาตุมีข่าวการจัดสถานที่ไม่เหมาะสม จนมีการ

ออกสื่อดังไปทั่วประเทศ ท�ำให้ต้องมีการชี้แจงกันภาย หลัง.. อย่างนี้เป็นต้น มุมมองผมนะครับว่า ความก้าวหน้า ของวิทยาการสื่อสารที่เรียกว่า Social Media มันเร็วก็ ไปได้กว้างไกลมากอย่างน่าตกใจ การส่งออกในลักษณะ ที่สร้างความน่าเชื่อถือมากจนแทบจับผิดไม่ได้ว่าเป็นของ จริงหรือไม่ จะมีการโจมตีกล่าวหากันซึ่งผมขอเรียกว่า เป็นยุค “สังคมจับผิด” ที่ต้องรู้เท่าทัน หรืออย่าเพิ่งด่วน ตัดสินว่าถูกผิดจริงแล้วส่งต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นเครือข่ายที่ สร้างความเสื่อมเสียที่ป้องกันยากมาก ผมเลยต้องกลับมา ที่ผู้รับผิดชอบงานหรือกิจกรรม คงต้องถือเอาเป็นบทเรียน หรือต้องประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าให้ทราบกันอย่างกว้าง ขวาง มีหลายครั้งที่เจ้าของเรื่องบอกว่าได้ประชาสัมพันธ์ กันแล้วไม่สนใจดูกันเอง ท�ำให้ผมแปลกใจว่าปัญหามาจ่อ หน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านจะไม่ทราบเรื่องหรือ คราวต่อ ไปก็คงต้องใช้วิธีการขอเข้าไปนั่งคุยในบ้านเลยก็น่าจะดี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ เขา) ผมว่านี่เป็นจุดอ่อนของหน่วยงานราชการในการให้ ประชาชนได้เข้าถึงเรื่องราวที่ต้องการสื่อให้ทราบนะครับ จากการสัมผัสกับสังคมคนนคร ผมว่ามีความสนใจ เรื่องบ้านเมืองกันมาก รวมทั้งการที่เข้าไปช่วยกิจกรรมใน ฐานะขององค์กรต่างๆ เช่น หอการค้าจังหวัด สมาคม และสโมสรต่ า งๆ ที่ เ ป็ น คนรุ ่ น ใหม่ เ ข้ า มาแทนที่ ค นรุ ่ น อาวุโสได้อย่างน่าชื่นชม มีกลุ่มที่รวมตัวในทางวิชาชีพ และทางสังคม เช่น กลุ่มสื่อสารมวลชนที่เหนียวแน่นและ สร้างสรรค์ กลุ่มสภาพัฒนาเมืองนครฯ ที่รวมพลเมือง เฝ้าติดตามงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส กลุ่ม ชมรมรั ก บ้ า นเกิ ด ที่ ตั้ ง วงเสวนาคิ ด เชิ ง บวกให้ บ ้ า นเมื อ ง ฯลฯ สมัยก่อนเราอาจไม่ทราบว่ามีกลุ่มอะไรบ้าง แต่ ในปัจจุบันสามารถเข้าถึงข่าวสารได้ทุกขณะ ท�ำให้ต้องมี ความระมัดระวังตัวกันในการที่จะท�ำอะไรต้องรอบคอบกัน มากขึ้น และข้อดีที่ระบบสื่อสารกว้างขวางเรื่องหนึ่งคือ

ท�ำให้รับทราบว่ามีคนที่มีความคิดอ่านดีๆ คนที่เสียสละ เพื่อสังคมหรือบ้านเมืองซึ่งท�ำในฐานะส่วนตัวมากมายและ มักเป็นคนดีที่ปิดทองหลังพระ อาจเป็นคนที่มีฐานะดี คน ที่มีความเชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะเรื่อง หรือคนที่ทุ่มเท เวลาให้ในสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าท�ำให้สังคมดีขึ้น ซึ่งกว่าจะมีคน รู้จักก็ต้องรอเวลาให้ได้ยศได้ต�ำแหน่งอะไรสักอย่าง เช่น เป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นคนดีศรีเมืองนคร อะไรประมาณ นี้ แต่ผมก็เชื่อว่าบุคคลท่านที่ผมกล่าวถึงนี้จริงๆ คงไม่ได้ สนใจเรื่องลาภยศ (หรือผมคิดแทนท่านก็ไม่รู้ซี) ถ้าผมเอ่ย ชื่อขึ้นมาทุกท่านที่ผมรู้จัก คงไม่มีเนื้อที่พอที่จะเขียนใน ฉบับนี้ ในโอกาสปีใหม่นี้ ผมจึงอยากน�ำเรื่องดีๆ โดยการ ขอเลือกสักหนึ่งท่านเป็นตัวอย่างคนดีของชาวนคร แม้ท่าน นี้จะถึงพร้อมทั้งด้านความคิด ด้านฐานะ ด้านความเสีย สละมากมาย ท่านก็เป็นคนที่ถ่อมเนื้อถ่อมตัวไม่เปิดเผย ตัวเองตลอดเวลา ผมจะไม่เสียเวลาในการพูดประวัติของ ท่านให้ยืดยาว เพราะสื่อต่างๆ ได้เผยแพร่ออกมามากมาย อย่างละเอียดแล้ว ขอให้ท่านหาอ่านจากหนังสือต่างๆ ที่ มีเรื่องราวของท่าน (เช่น pocket book เรื่อง “สิทธา เศรษฐี” เขียนโดย จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร นักเขียนรางวัลรพีพร ปี ๒๕๕๓) และล่ า สุ ด ท่ า นก็ บ ริ จ าคเงิ น ก้ อ นโตที่ จ ะร่ ว ม บูรณะยอดเจดีย์ทองค�ำขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งอาจ มีกระแสข่าวที่ไม่ตรงข้อเท็จจริงบางประการก็ขอให้เป็น เรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะประชาสัมพันธ์ให้สังคม ทราบต่ อ ไป บุ ค คลที่ ผ มกล่ า วถึ ง และผมสามารถรั บ รอง ความดีและความเสียสละของท่านได้อย่างสนิทใจ เพราะ ได้สัมผัสจริงด้วยตัวเองโดยมิได้เป็นเพียงรับฟังเขาว่ามา เท่านั้น เขามีชื่อที่เรียกทางสังคมว่า “จิมมี่” แขกขายผ้า ชาวนครที่ส�ำนึกในรักบ้านเกิด เพื่อให้คนนครท่านอื่นๆ ได้ ดูเป็นตัวอย่างและเข้ามาช่วยกัน ไม่ว่าท่านจะมีทุนเดิมเป็น อะไรก็ตามทั้งทุนทรัพย์ ทุนการคิดดี การพูดดี หรือ การ ท�ำดี ให้เป็น “สังคมจับถูก” ไปเผยแพร่ต่อไป


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๔

ด็กๆ อยากเป็นอะไร ๙ มกราคม ๒๕๕๙ นี้ มาเป็น อย่ า งที่ อ ยากเป็ น ที่ ง านวั น เด็ ก ศู น ย์ วิ ท ย์ เ มื อ งคอน กันเลยค่ะ ที่นี่เตรียมสร้างฝันให้เด็กอย่างสุดสนุกกับ บทบาทอาชีพในฝัน พาเด็กๆ มาสวมบทบาทเป็นอาชีพ ต่างๆ อาทิ แพทย์, พยาบาล, นักบิน, แอร์โฮสเตส, นักร้อง, นักดนตรี, ต�ำรวจ และอาชีพอื่นอีกมากมาย อยากให้เด็กๆ... มีอิสระทางความคิดอย่างสร้างสรรค์... มางานวันเด็กศูนย์วิทย์เมืองคอน ได้ต่อยอดจินตนาการ... มางานวันเด็กศูนย์วิทย์เมืองคอน มีแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพ... มางานวันเด็กศูนย์วิทย์เมืองคอน มีพัฒนาการและความภาคภูมิใจ... มางานวันเด็กศูนย์วิทย์เมืองคอน เด็กๆ จะได้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีใน สังคมต่อไป แล้วพบกันในวันเด็กแห่งชาติ ๒๕๕๙ “ณ ศูนย์วิทย์เมืองคอน อ�ำเภอพรหมคีรี พื้นที่ เล็กๆ ความสุขแห่งการเรียนรู้” นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ << ต่อจากหน้า ๒ ยังมาแวะพักเล่าเรียนอยู่ที่เมืองนคร หรือ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์จะส่งคณะสงฆ์ น�ำโดยพระอุบาลีไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ลังกาก็มาแวะพ�ำนัก ณ เมืองนคร จนกระทั่ง หลั ง เสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาครั้ ง ที่ ส อง สมเด็ จ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงอาราธนานิมนต์ สมเด็ จ พระสั ง ฆราชสี ที่ ห ลี ก สงครามมา พ� ำ นั ก ที่ เ มื อ งนคร กลั บ ไปฟื ้ น ฟู พ ระพุ ท ธ ศาสนาพร้อมกับพระไตรปิฎกฉบับของเมือง นคร สืบเนื่องถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กระทั่ง ถึ ง กึ่ ง พุ ท ธกาล หลวงพ่ อ ปั ญ ญานั น ทะ แม่ ทั พ ธรรมรู ป ส� ำ คั ญ ของสั ง คมไทยก็ ม า พ�ำนักร�่ำเรียนที่เมืองนครนี้เช่นกัน ในขณะที่ เมืองนคร ก็มีพระภิกษุสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ผู ้ ท รงศี ล -ทรงธรรม ท� ำ หน้ า ที่ สื บ สานงาน พระพุทธศาสนาทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ ตลอด จนการศึกษา ประเพณี วัฒนธรรมและการ พัฒนาบ้านเมือง เป็นที่เคารพอยู่มากมาย

ยุคแห่งพุทธศาสนาก�ำลังมีหวัง ที่เมืองนคร ?

เฉพาะในรู ป ของสถานปฏิ บั ติ ธ รรมใน จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังการก่อเกิดสวน โมกขพลารามที่ อ� ำ เภอไชยา สุ ร าษฎร์ ธ านี ๒ ปี และ พุทธธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ๑ ปี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๗ ได้มีคณะบุคคล กลุ ่ ม หนึ่ ง ก่ อ ตั ว เป็ น พุ ท ธธรรมสมาคมสาขา จัง หวั ดนครศรี ธ รรมราชขึ้น มีวั ต ถุป ระสงค์ เพื่อการส่งเสริมการบ�ำเพ็ญปฏิบัติธรรมของ ภิกษุสามเณรด้วยการอาราธนาพระภิกษุจาก สวนโมกขพลารามเป็ น ผู ้ น� ำ พร้ อ มกั บ จั ด หา สถานที่วิเวกส�ำหรับพระภิกษุสามเณรปฏิบัติ ธรรมขั้นสูง โดยใช้วัดร้างแห่งหนึ่งในเมือง คือ วัดชายนา ตั้งเป็นสวนปันตาราม อีกแห่งหนึ่ง คือที่วัดถ�้ำเขาแดงที่อ�ำเภอร่อนพิบูลย์ ตั้งเป็น ป่ า ปั น ตวั น แล้ ว อาราธนานิ ม นต์ พุ ท ธทาสภิกขุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติธรรม ณ สวนโมกขพลารามของคณะธรรมทาน เป็นผู้แสดงธรรม เทศนาในการเปิดสถานวิปัสสนาธุระแห่งนั้น

๒ ครั้ง เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ณ โคนมะม่วงแห่งสวนปันตาราม และ ณ พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยนอกจากการแจกแจงว่าวิปัสสนา ธุระหรือการปฏิบัติธรรมคืออะไร และ ส่งเสริม ได้อย่างไรแล้ว ยังแสดงถึงเหตุผลที่ต้องส่งเสริมกันแล้วในยุคนี้ มีหลักของการส่งเสริม อย่างไร ให้อานิสงส์อย่างไร โดยการส่งเสริม นั้ น พุ ท ธทาสภิ ก ขุ เ สนอแนะเป็ น ๓ องค์ ที่ ต้องเป็นไปอย่างกลมเกลียวอย่างไม้สามขาอิง กันอยู่จึงจะได้ผลถึงที่สุด ประกอบด้วย การ ปฏิ บั ติ ดี เ อง การสอนให้ ป ฏิ บั ติ ดี ด ้ ว ย และ การช่วยเหลือเหลือเมื่อมีผู้ปฏิบัติดี คือ มีทั้ง ผู้ปฏิบัติดี มีผู้สอน และมีผู้ช่วยทั้งสามพวก ร่วมมือกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเสียมิได้คือ หัวใจส�ำคัญ ทั้งนี้ด้วยหลักแห่งพระพุทธศาสนา ทั้ ง ฝ่ า ยทฤษฎี (theory) และการกระท� ำ (practice) ไม่ว่าจะหลักการตัดสินการเชื่อ

(กาลามสูตร) หลักตัดสินธรรม (โคตมีสูตร) หลั ก พึ่ ง ตนเอง หลั ก แห่ ง ความชนะ และ หลักเรื่องความต่างกับศาสนาอื่น หลักกรรม อนัตตา อริยสัจ โลกิยะ-โลกุตตระ ตลอดจน หลักความเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ และ ความเป็นศาสนาสากล โดยพุทธทาสภิกขุ ได้ชี้ไว้ในครั้งนั้นที่เมืองนครว่า "เป็นที่มั่นใจ ว่ า พุ ท ธศาสนาได้ ถู ก ทวี ก ารส่ ง เสริ ม ส่ ว น วิปัสสนาธุระก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ยุค แห่งพุทธศาสนาก�ำลังมีหวังที่จะย้อนหลังไป หายุคแห่งอริยมรรคอริยผล อันเป็นความ สุ ข ภายในใจแท้ จ ริ ง ... สมกั บ ที่ ไ ด้ ยึ ด เอา พระพุทธศาสนาเป็นของประจ�ำชาติมานาน แล้ว วิปัสสนาธุระจะดาษดื่นเช่นเดียวกับ ครั้งพุทธกาล"

หลายสถานปฏิบัติธรรมที่เมืองนคร

ในจ� ำ นวน ๕๕๐ กว่ า วั ด ในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชที่ ก ระจายอยู ่ ทั่ ว จั ง หวั ด ทั้งมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีการ สื บ สานพระพุ ท ธศาสนาในมิ ติ แ ละระดั บ ต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเชิงศาสนพิธี ประเพณี ข้อ วัตร การส่งเสริมการศึกษา ศีลธรรมจรรยา ศาสนสงเคราะห์ ตลอดจนการปฏิ บั ติ จิ ต ภาวนา ที่มีการ >> อ่านต่อหน้า ๑๙


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๕

อาจารย์แก้ว

หากผู้ชนะการประมูลหวังจะแย่งส่วนแบ่ง การตลาด ก็ไม่สามารถขายแพงกว่า 4G ใน ปัจจุบันได้อย่างแน่นอน

ข่

อะไรที่อาจจะกระทบผู้บริโภค

าวใหญ่ ที่ ส ร้ า งความฮื อ ฮาและเป็ น กระแสก่ อ นสิ้ น ปี คื อ การประมู ล คลื่ น ความถี่ 900 MHz ซึ่งใช้เวลาไป ๔ วัน ๔ คืน โดยมีใบอนุญาต ๒ ใบ ใบแรกผู้ชนะ คือ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จ�ำกัด หรือ JAS ที่ราคา ๗๕,๖๕๔ ล้านบาท และ ใบที่สอง ผู้ชนะคือ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด หรือ True ที่ราคา ๗๖,๒๙๘ ล้านบาท รวมเป็นเงินเข้า รัฐ ๑๕๑,๙๕๒ ล้านบาท เรียกว่าท�ำลาย สถิ ติ โ ลกมู ล ค่ า การประมู ล คลื่ น ความถี่ ใ น ต่างประเทศที่เคยสูงสุดประมาณ ๖๘,๐๐๐ ล้านบาท ที่สร้างความประหลาดใจคือมีผู้ ให้บริการรายใหม่สามารถแทรกเข้ามาท�ำ ธุรกิจได้ มีค�ำถามหรือข้อสงสัยต่างๆ เกิด ขึ้นมากมายในระหว่างการประมูล และหลัง สิ้นสุดการประมูล ผู้บริโภคอย่างเราจะได้ ประโยชน์อะไรบ้างจากการประมูลในครั้งนี้ เรามาหาค�ำตอบไปพร้อมๆ กันครับ

ท�ำไมผู้ให้บริการที่มีคลื่นความถี่ย่านอื่นอยู่ แล้ว จึงยังร่วมประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ในปั จ จุ บั น และอนาคตบริ ก ารหลั ก บนโทรศัพท์เคลื่อนที่คือบริการบรอดแบนด์ ผ่านมือถือ ซึ่งต่างจากเดิมซึ่งเน้นเพียงการ โทร.ออกรับสาย ความเร็วของบริการนี้ขึ้น กับปริมาณคลื่นที่ใช้งาน อีกทั้งปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถน�ำคลื่นย่านต่างๆ มาผสม ผสานให้บริการได้อย่างลงตัว เราจึงมักจะ เห็นผู้ให้บริการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ ทุกแถบย่าน เพื่อช่วงชิงการเป็นผู้น�ำบริการ นั่นเอง

ท�ำไมราคาคลื่นความถี่ 900 MHz ถึง แพงกว่าคลื่นความถี่ 1800 MHz คลื่นความถี่ 900 MHz มีคุณสมบัติ เดินทางได้ไกลกว่าคลื่นความถี่ 1800 MHz การตั้งเสาสถานี ๑ ต้น จึงครอบคลุมพื้นที่ เที ย บเท่ า กั บ เสาสถานี ข องคลื่ น ความถี่ 1800 MHz ประมาณ ๓ ต้น ท�ำให้ใช้งบ ประมาณในการขยายโครงข่ า ยต�่ ำ กว่ า ใน พื้ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารขนาดเดี ย วกั น ราคาคลื่ น ความถี่ 900 MHz เฉลี่ยต่อหน่วยทั่วโลก จึ ง สู ง กว่ า ราคาคลื่ น ความถี่ 1800 MHz ประมาณ ๒ เท่าตัว

ท�ำไมราคาคลื่นชุดที่หนึ่งถึงถูกกว่าคลื่นชุด โทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ และรายเก่ า บางราย ที่สอง ทั้งที่เป็นคลื่นความถี่ 900 MHz จ�ำเป็นต้องได้คลื่นความถี่ซึ่งเคยถือครองตาม สัมปทานเดิมเพื่อไม่ให้คุณภาพบริการลดต�่ำ เหมือนกัน

ลง ในขณะที่ บ างรายต้ อ งการคลื่ น ความถี่ เพื่อลดความเสี่ยงของการสิ้นสุดสัมปทานใน อนาคต และที่ส�ำคัญบางรายต้องการช่วงชิง ส่วนแบ่งการตลาดโดยเพิ่มปริมาณคลื่นที่ถือ ครอง ซึ่งในขณะเดียวกันก็เท่ากับการแย่งชิง คลื่นมาจากมือของคู่แข่ง จนอาจส่งผลให้คู่ แข่งบางรายต้องออกจากตลาดไปในอนาคต ด้ า นการแบ่ ง งวดช� ำ ระเงิ น : ในการ ประมู ล คลื่ น ความถี่ อื่ น กสทช. ก� ำ หนดให้ ผู้ชนะช�ำระเงินงวดแรก ๕๐% ของราคาที่ ชนะ และงวดที่สองและสามงวดละ ๒๕% ยิ่งประมูลในราคาที่สูงขึ้นก็ยิ่งต้องหาเงินมา ช�ำระงวดแรกเพิ่มขึ้น แต่ในการประมูลครั้ง นี้ กสทช. ก�ำหนดให้ช�ำระงวดแรกประมาณ ๘,๐๐๐ ล้ า นบาท และงวดที่ ส องและสาม งวดละประมาณ ๔,๐๐๐ ล้านบาท ส่วนที่ เหลือทั้งหมดจึงน�ำมาช�ำระในงวดที่สี่ ท�ำให้ การเพิ่มราคาประมูลอย่างต่อเนื่องไม่มีผลต่อ ภาระทางการเงินในสามงวดแรก การแบ่งงวด ท�ำไมราคาชนะประมูลจึงสูง ราคาชนะประมูลที่สูงสะท้อนถึงความ การช�ำระเงินแบบนี้ หากสามารถน� ำคลื่นที่ ต้องการชนะที่สูงเช่นกัน ปัจจัยที่ท�ำให้เกิด ชนะประมูลไปสร้างรายได้ในสี่ปีแรก แล้วน�ำ ความต้องการสูงขนาดนี้ มีหลายด้าน ได้แก่ รายได้ดังกล่าวมาช�ำระในงวดสุดท้าย ก็จะไม่ ด้านเทคนิค : คลื่นความถี่ 900 MHz เป็นการเพิ่มภาระหนี้และดอกเบี้ยในระยะสั้น ประหยั ด งบประมาณการขยายโครงข่ า ย และที่ส�ำคัญประเทศไทยมีคลื่นย่านนี้เหลือ ราคาชนะประมู ล ที ่ สู ง จะท� ำ ให้ บ ริ ก าร 4G ส�ำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียง 20 MHz แพงขึ้นหรือไม่ การประมูลคลื่นความถี่เปรียบเสมือน ที่น�ำมาจัดประมูลครั้งนี้เท่านั้น ไม่มีคลื่นเหลือ อีกแล้ว ในขณะที่ในหลายประเทศ ไม่ว่าจะ การเซ้งสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ ไม่ว่าเราเซ้ง เป็นอินเดียหรือเยอรมนี มีการประมูลคลื่น ปั๊มน�้ำมันมาแพงเพียงใด เราก็ต้องขายน�้ำมัน ความถี่ย่านนี้ในปริมาณมากกว่าไทย เมื่อเป็น ในราคาลิตรละไม่เกินราคาของปั๊มคู่แข่ง ไม่ สินค้าที่ขาดแคลนและมีความต้องการสูง จึง เช่นนั้นจะไม่มีคนมาเติมน�้ำมันกับปั๊มเรา การ ผลั ก ภาระค่ า เซ้ ง จึ ง เป็ น เรื่ อ งยาก ในขณะ ไม่น่าแปลกใจว่าราคาจะสูงไปด้วย ด้านส่วนแบ่งการตลาด : มีผู้ให้บริการ เดียวกัน แม้กลุ่มเอไอเอสและดีแทคจะไม่ชนะ รายใหม่ ต ้ อ งการแจ้ ง เกิ ด ในตลาดบริ ก าร การประมูลครั้งนี้ แต่ก็มีบริการ 4G เช่นกัน คลื่ น ชุ ด ที่ ห นึ่ ง เป็ น แถบที่ ติ ด กั บ คลื่ น ความถี่ย่าน 850 MHz ซึ่งค่ายดีแทคเปิดให้ บริการ 3G อยู่ ท�ำให้อาจเกิดปัญหาสัญญาณ รบกวนกั น ได้ ในอดี ต จึ ง มี ก ารกั น คลื่ น ไว้ ประมาณ 3.5 MHz เพื่อเป็นพื้นที่กันชนหรือ การ์ดแบนด์ (guard band) ท�ำให้เหลือคลื่น ความถี่ 900 MHz ส�ำหรับให้บริการเพียง 17.5 MHz แต่ในการประมูลครั้งนี้ กสทช. ลด ขนาดการ์ดแบนด์ลงอีก 2.5 MHz เพื่อน�ำมา รวมกับคลื่นที่หมดสัมปทานจนสามารถเพิ่ม ปริมาณคลื่นในการประมูลเป็น 20 MHz ใน ทางเทคนิคผู้ชนะการประมูลชุดนี้จึงอาจต้อง ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์จัดการปัญหาสัญญาณ รบกวนเพิ่ม ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้อาจ สูงถึงประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ในขณะที่ คลื่นชุดที่สองไม่ประสบปัญหานี้ จึงไม่มีค่าใช้ จ่ายส่วนเพิ่ม

กสทช. ได้ ก� ำ หนดเงื่ อ นไขเกี่ ย วกั บ อั ต ราค่ า บริ ก ารเฉลี่ ย ที่ ต ้ อ งลดต�่ ำ กว่ า ค่ า บริการเฉลี่ยในปัจจุบัน แต่เป็นไปได้ว่า หาก ผู้ชนะการประมูลเน้นการประคับประคอง ผลประกอบการ จะพบการลดค่ า บริ ก าร อย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละเล็กน้อย และหาก ผู้ชนะการประมูลขาดแคลนงบประมาณใน การขยายโครงข่ า ย ก็ จ ะกระทบต่ อ อั ต รา การครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ อย่างไรก็ ตาม กสทช. มีหน้าที่ต้องติดตามผลกระทบ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในทุ ก ด้ า น และหากจ� ำ เป็ น อาจต้องก�ำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อการ คุ้มครองประโยชน์ของสาธารณะ

อนาคตการแข่งขันในตลาดมือถือ หลัง การประมูลของแต่ละรายจะเป็นอย่างไร ส� ำ หรั บ ค่ า ยเอไอเอสและค่ า ยดี แ ทค แม้จะไม่ชนะการประมูล แต่ระดับราคาทีย่ ืน หยัดสู้ในการประมูลที่ไม่ต�่ำกว่า ๗๐,๐๐๐ ล้านบาททั้งสองค่าย สะท้อนให้เห็นว่า ทั้ง สองค่ายสู้เต็มที่และไม่ได้ส่งสัญญาณแม้แต่ น้อยว่าจะถอนตัวออกจากตลาดมือถือเมือง ไทย โดยแต่ละค่ายเองยังมีคลื่นความถี่ย่าน อื่นที่จะให้บริการได้อยู่ ในปัจจุบันทั้งสอง ค่ายมิได้ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์คับขันแต่ อย่ า งใด เพี ย งแต่ ต ้ อ งก� ำ หนดกลยุ ท ธ์ เ พื่ อ รักษาคุณภาพบริการและส่วนแบ่งการตลาด ให้ได้ ส�ำหรับค่ายทรูนั้น การมุ่งมั่นเอาจริง เพือ่ ชนะการประมูลทัง้ คลืน่ ความถี่ 900 และ 1800 MHz แสดงให้เห็นถึงความต้องการ ก้าวสู่อันดับ ๑ ของตลาดมือถือในไทย การ ครอบครองคลื่นหลายย่านความถี่ในปริมาณ มากจะเป็นผลดีต่อคุณภาพบริการและความ ครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ ในส่วนน้อง ใหม่ ใ นตลาดมื อ ถื อ คื อ ค่ า ยแจส ซึ่ ง เดิ ม มี บริการบรอดแบนด์แบบมีสายและบริการ ไวไฟอยู ่ แ ล้ ว การเพิ่ ม บริ ก ารบรอดแบนด์ ผ่ า นมื อ ถื อ จะท� ำ ให้ ส ามารถบริ ก ารลู ก ค้ า บรอดแบนด์ได้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การ ที่มีผู้ให้บริการรายใหม่เกิดขึ้น น่าจะกระตุ้น ให้เกิดการแข่งขันเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค อย่างเราอีกครัง้ หนึง่ ด้วยความปรารถนาดี อาจารย์แก้ว


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๖ Tarzanboy


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

นพ.รังสิต ทองสมัคร์

วิถีแห่งอิสลามที่งดงาม ท่ามกลางกลิ่นอายแห่งทะเล ของหมู่บ้านประมงปากน�้ำคลองท่าสูง ชีวิตผู้คนด�ำเนินตามครรลอง แห่งองค์อัลเลาะห์ สงบสุข และง่ายงาม

หน้า ๑๗


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้า ๑๘

วามสุ ข เล็ ก ๆ .. ที่ อ ยู ่ ใ กล้ แ ค่ เ อื้ อ ม กับคอลัมน์ โอลั่ลล้า พากินพาเที่ยว ปิดท้ายปลายปีฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่าน ลั ด เลาะไปย้ อ นเวลาความสุ ข ในวั ย เด็ ก วั ย ที่ เ ราเต็ ม ไปด้ ว ยรอยยิ้ ม และเสี ย ง หัวเราะ และความสนุกสนานท่ามกลาง เพื่อนฝูง ความสุขแค่เราได้กินอิ่ม นอน หลับ และมีเวลาวิ่งเล่น ... กับอาหารแสน โปรดในวัยซุกซน ไอศกรีม รสนุ่มละมุน ลิ้น ที่เด็กๆ ทุ ก คนไม่ มี ท างปฏิ เ สธในการลิ้ ม ลอง วันนี้เราขอน�ำเสนอร้านเล็กๆ แต่ แสนจะอบอวลไปด้ ว ยความสุ ข ของทุ ก คนที่เข้าใช้บริการค่ะ ร้าน "ภู่ไอศกรีม โฮมเมด" ร้ า นเล็ ก ๆ ที่ น ่ า รั ก นี้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ จ ากการไปฝึ ก อาชี พ จากจั ด หางาน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย อาจารย์ ดวงเดื อ น สงฤทธิ์ ในการสาธิ ต การท� ำ ไอศกรีมกะทิสด และการเรียนรู้เพิ่มเติมที่ Miss Icecream รวมถึงสัดส่วนของการ ตลาดที่ยังพอมีพื้นที่ให้แบ่งปัน ท�ำให้ร้าน เป็นที่รู้จักและมีลูกค้าประจ�ำเพิ่มขึ้นใน เวลารวดเร็ว ธุรกิจครอบครัวเล็กๆ จึงได้ เติบโตมาทุกวันนี้ จุดเด่นของทางร้านคือ เน้นท�ำเอง คัดสรรวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพ เราชอบทานแบบไหน ก็ท�ำให้ลูกค้าทาน อย่างนั้น เน้นไอศกรีมผลไม้ โดยใช้ผลไม้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาลที่เราคัดสรร มาได้ จากแหล่งที่ให้ผลิตผลเกรดเอ ซึ่ง ในขณะนี้ ท างร้ า นมี ไ อศกรี ม ไว้ ใ ห้ เ ลื อ ก

กว่ายี่สิบชนิด ให้ได้ลองลิ้มชิมรสกันอย่าง ถูกใจ ลูกค้าส่วนใหญ่ของร้านมักจะเป็น ลูกค้าครอบครัว หรือ ลูกค้าวัยใส กลุ่มวัย รุ่น กลุ่มเพื่อนฝูงเป็นส่วนใหญ่ ไอศกรีม ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย ม คื อ ไอศกรี ม ทุ เ รี ย น, เสาวรส, มะม่วงเบา, กระท้อน, สละ ซึ่ง ล้ ว นถู ก ใจผู ้ ที่ ชื่ น ชอบรั บ ประทานผลไม้ ส่วนรสชาติสากล ก็จะมี ไอศกรีมชาเขียว, ช็อคโกแลต, คุ้กกี้แอนด์ครีม, เชอร์รี่เบอร์ รี่, นมญี่ปุ่น, คุ้กกี้โอริโอ้แอนด์ครีม ฯลฯ ซึ่งจะมีทั้ง Take Home และสามารถนั่ง รับประทานที่ร้านได้ ส่วนเมนู สมูทตี้ ก็จะ เน้นไม่หวานมาก อาศัยความหวานจากผล ไม้ที่เราคัดสรร ความนุ่ม ละเอียด ละมุน ลิ้นอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นจริงๆ ค่ะ เสน่ห์

ของร้านอีกหนึ่งอย่างคือลูกค้าส่วนใหญ่ที่ เข้าใช้บริการแล้วจะช่วยกันบอกต่อ ปาก ต่ อ ปาก ดั ง นั้ น สมาชิ ก ของร้ า นเราจึ ง มี ครอบคลุม ทุกวัย และเน้นอิ่มอร่อยแบบ ราคามิ ต รภาพ บอกได้ เ ลยว่ า มี เ งิ น สิ บ บาทก็สามารถอิ่มอร่อยได้ ส�ำหรับที่นี่ที่ เดียว ร้าน "ภู่ไอศกรีมโฮมเมด" ร้านเปิด บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๙.๐๐ น. ปิดทุกวันพฤหัสนะคะ ส�ำหรับ การเดินทาง มาที่ร้านสามารถเข้าออกได้ ถึงสองทางค่ะ ร้านตั้งอยู่ในซอยวัดมุมป้อม หรือ ชื่อเดิมซอยรามราชท้ายน�้ำซึ่งตอน นี้เปลี่ยนเป็นถนนพัฒนาการคูขวาง ๔๘ เส้นทางเข้าได้ทั้งสองฝั่ง ถ้ามาจากห้าง สรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน มุ่งหน้าสู่ห้าง

โลตัส ผ่านซอย ๔๘ ซึ่งด้านหน้าซอยมี รูปปั้นไดโนเสาร์เข้ามาเจอสามแยกเลี้ยว ขวาเจอป้ายร้านเลยค่ะ แต่ถ้าใครเข้ามา ทางวัดมุมป้อมขับตรงมาเรื่อยๆ เจอสาม แยกทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายก็จะเจอร้าน เช่นกัน เพราะซอยเข้าร้านเป็นซอยตัน .. รีบๆ หาเวลาแวะเวียนกันไปชิมนะคะ ขอบอก พลาดแล้วจะเสียดาย .. .. หลัง จากได้ชิมแล้วจะรู้ว่า ความสุขอยู่ใกล้ตัว มีจริงค่ะ สอบถามหรือโทร.สั่งได้ที่ โทร. ๐๗๕-๓๔๕-๔๐๐ ขอบคุณ : เพื่อนภู่ และทีมงานทุก คนค่ะ .. แล้ ว พบกั น ปี ห น้ า ฟ้ า ใหม่ กั บ หัวใจที่สดใสร่าเริงรับปีวอกค่ะ..


ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ

<< ต่อจากหน้า ๑๔

ประกาศเป็นส�ำนักปฏิบัติธรรมประจ�ำจังหวัด แล้วมี ๔ แห่ง คือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และ วัดศรีทวี ในคณะธรรมยุติกนิกาย กับวัดชายนา และ วัดประดู่พัฒนาราม ใน คณะมหานิ ก าย ทั้ ง หมดอยู ่ ใ นเขตตั ว เมื อ ง นครศรีธรรมราช มีลักษณะการจัดกิจกรรม ปฏิบัติธรรมตามวิถีของแต่ละแห่ง ทั้งที่เป็น ระบบและเป็นครั้งคราว ตามที่วัดจัดขึ้นหรือ มีหมู่คณะมาขอจัดหรือขอให้จัด ตลอดจนที่ เชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายการปฏิบัติในระดับ ประเทศ สามารถเลือกเข้าร่วมปฏิบัติธรรมได้ หลากหลายลักษณะตลอดทั้งปี นอกจากวัดแล้ว ในระยะไม่นานมานี้ ได้เกิดสถานปฏิบัติธรรมที่ก่อตั้งขึ้นโดยคณะ บุคคล มูลนิธิ ทั้งระดับท้องถิ่นและในเครือ ข่ายระดับชาติขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างน่าสนใจ เฉพาะอย่างยิ่งท�ำเลที่ตั้งอยู่ ในพื้นที่พิเศษ สงบสัปปายะอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะ เป็นตามป่าเขาตลอดจนชายทะเล โดยมีแนว โน้มการขยายตัวและก่อตั้งเพิ่มขึ้นในอนาคต แม้ ค รู บ าอาจารย์ ข องท้ อ งถิ่ น ในสมั ย นี้ ยั ง ไม่เป็นที่โดดเด่นก็ตาม แต่ด้วยความทุ่มเท จริงจังอย่างต่อเนื่องของพระภิกษุและคณะ บุคคลผู้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการส่ง เสริมการปฏิบัติธรรม รายละเอียดประกอบ เหล่านี้ นอกจากเพื่อการเลือกและเข้าร่วม ปฏิ บั ติ ธ รรมแล้ ว ยั ง จะเป็ น อี ก ขั้ น จั ง หวะ หนึ่งของการยกระดับพัฒนา ขยายวง และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาที่ เมืองนคร และถือเป็นส่วนของ "ธรรม" อัน เป็นหัวใจส�ำคัญของ "นครเมืองธรรม" หรือ

"สิริธรรมนคร - นครอันมีธรรมเป็นศรีสง่า" หรือ "นครศรีธรรมราช - นครอันงามสง่าแห่งราชา ผู้ทรงธรรม" ที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะหลักสู ต รครู ส มาธิ ของสถาบั น พลั ง จิ ต ตานุ ภ าพ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลักสูตรของเครือ ข่ายยุวพุทธิกสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อาจารย์ ป ระเสริ ฐ อุ ทั ย เฉลิ ม ) หลั ก สู ต ร ของเครื อ ข่ า ยของมู ล นิ ธิ คุ ณ แม่ สิ ริ กริ น ชั ย ตลอดจนหลั ก สู ต รท่ า นอาจารย์ โ กเอ็ น ก้ า ของมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระ สั ง ฆราชู ป ถั ม ภ์ ในเบื้ อ งต้ น ขอเลื อ กสรรมา แนะน�ำเป็น ๓ กลุ่ม คือ วัดที่จัดเป็นระบบ และหลักสูตรการฝึกฝนอบรมและปฏิบัติธรรม สถานปฏิบัติธรรมที่จัดโดยคณะบุคคล มูลนิธิ และ วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมอื่น ๆ วัดที่จัดเป็นระบบและหลักสูตรการ ฝึกฝนอบรมและปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย วัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดศรีทวี วัดชายนา และ วัดประดู่พัฒนาราม สถานปฏิบัติธรรมที่จัดโดยคณะบุคคล มู ล นิ ธิ อ ย่ า งเป็ น ระบบ ประกอบด้ ว ย ศู น ย์ วิปัสสนากรรมฐานธรรมโปราโณ อ�ำเภอลานสกา ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนยินดีทะเล อ�ำเภอ สิชล สถานปฏิบัติธรรมพรหมสิริธรรมสถาน อ�ำเภอพรหมคีรี วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมอื่นๆ อาทิ เช่น วัดป่าระก�ำใต้ อ�ำเภอปากพนัง วัดท้ายส�ำเภา อ�ำเภอเมือง ส�ำนักปฏิบัติธรรมพุทธจาริก (บ้านห้วยเตง) อ�ำเภอพรหมคีรี ส�ำนัก สงฆ์ร่มแก้วกัลยา สถานปฏิบัติวิปัสสนาธรรม อ� ำ เภอหั ว ไทร สถานปฏิ บั ติ ธ รรมชื่ น ฤทั ย ใน

หน้า ๑๙

ธรรมและลงมือปฏิบัติธรรมเพื่อให้นครของ เราฟื้นคืนสู่ "เมืองธรรม" ที่มีองค์พระบรม ธาตุเป็น "มรดกธรรม" ส�ำคัญของพวกเราสืบ มา หากต้องการรายละเอียด กรุณาติดต่อที่ ธรรม อ�ำเภอเมือง สถานปฏิบัติธรรมห้วยเขา ททท.นครศรีธรรมราชนะครับ แก้ว อ�ำเภอพรหมคีรี รวมถึงธุดงคสถานนคร ธรรม อ�ำเภอพระพรหม วัดหินหมากเป้ง ศรีเชียงใหม่ หนองคาย ขอเชิญชวนรับปีใหม่นี้ด้วยการตามรอย ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘


หน้า ๒๐

ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.