รักบ้านเกิด ฉบับที่ 67 พฤษภาคม 2560

Page 1

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

www.nakhonforum.com

www.facebook.com/rakbaankerd

อธิการบดี ม.หอการค้าไทยบรรยายแนวโน้มใหญ่ของโลกอนาคต หรือ Mega Trends โลกเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เราต้องปรับตัวและ เตรียมรับมือถ้าอยากอยู่รอด ¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑ­ญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย สุธรรม ชยันต์เกียรติ มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล ชีวิตติดล้อ บัญญัติ ลายพยัคฆ์ มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

˹éÒ ò ˹éÒ ó ˹éÒ ๔ ˹éÒ ñ๓ ˹éÒ ñ๖ ˹éÒ ñ๗

‘กรกฎ’ เป็ น ปธ.หอการค้ า จั ง หวั ด ฯ คนใหม่ บอกจะผลักดันเศรษฐกิจตามแนว หอใหญ่ ขอชาวนครเร่งสร้างความร่วมมือ และสามัคคี แล้วบ้านเมืองจะไปได้ดี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ นายกรกฎ เตติ ร านนท์ ประธานหอการค้ า จั ง หวั ด นครศรี ธรรมราชคนใหม่ (วาระ ปี ๒๕๖๐ - ๖๑) เปิดเผยกับ 'รักบ้านเกิด' เกีย่ วกับบทบาท

เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ หอการค้ า จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชกั บ ส� ำ นั ก งานกี ฬ าและท่ อ งเที่ ย วจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช จั ด ประชุ ม สั ม มนา ณ โรงแรมราวดี ต.ปากพูน อ.เมือง เจ้าภาพ เชิญ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุง่ โรจน์ อธิการบดี ม.หอการค้าไทย บรรยายหัวข้อ 'ก้าวสูย่ คุ ... IDE' หรือ Innovation Driven Entre preneur แปลว่า วิสาหกิจทีข่ บั เคลือ่ นด้วย >> อ่านต่อหน้า ๘ นวัตกรรม


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๒

(bunchar.com การพระศาสนา, เพื่อแผ่นดินเกิด 20160520)

มื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ผมว่างพอที่จะตะลุยอ่าน หลายหนังสือที่ท�ำท่าจะท่วมหัวแล้วเอาตัวไม่รอดได้ใน ที่สุด รวมทั้งบทความบทที่ ๔ ว่าด้วยทรัพย์และอ�ำนาจ พุทธศาสน์กับการเมือง : วิธีคิดของคนใต้ ใน “ต�ำนานเมือง และพระธาตุนครศรีธรรมราช ในหนังสือ ชื่อ “ต�ำนานและ เรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้ : อัตลักษณ์ วัฒนธรรม อ�ำนาจ และการต่อต้านในประวัติศาสตร์ความเป็นไทย แล้วเกริ่นเล่นในเพจเฟสบุ๊ค คุยกับหมอบัญชาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ไปอย่างนี้

ราช

เล่มที่ ๒ ที่อ่านตลอดเมื่อวานนี้คือเล่มนี้ โดยไม่ ไ ด้ อ ่ า นหมดเล่ ม เลื อ กอ่ า นแต่ ที่ เ กี่ ย วกั บ ต�ำนานพระธาตุและต�ำนานเมืองนคร ก่อนที่จะผ่านตากับ เรื่องนางเลือดขาว โดยตลอดทางได้หมายเหตุเอาไว้เพื่อ ท�ำอะไรต่อได้เต็มไปหมด ผมทราบข่าวหนังสือนี้ที่ยิปซีส�ำนักพิมพ์พิมพ์ออกมา ตั้งแต่แรก และเดาว่าน่าจะมีอะไรเกี่ยวกับเมืองนคร เพราะ คุณพิเชฐนี้ก็เป็นคนนคร เพิ่งได้เมื่องานสัปดาห์หนังสือเดือนนี้ สงกรานต์นี้ก็เลยอ่านเสีย ก่อนที่จะลืมอีก ดู ผู ้ เ ขี ย นบทน� ำ และผู ้ ส อบวิ ท ยานิ พ นธ์ ก็ พ ออ่ า น ทางออกว่าจะแนวไหน ขออนุญาตถ่ายที่หมายเหตุออกมาแบบชวนให้คน นครไปซื้อหามาอ่าน เพราะบทวิเคราะห์ทั้งนั้นน่าสนใจ มากๆ ว่าใช่อย่างนั้นไหม ? หากใช่ ? เราจะช่วยกันอย่างไร ให้เมืองนครเราไปได้ดีกว่านั้น ? หรือว่าจะเพียงเชิดชูบูชา และท�ำสารพัดกับพระธาตุ เพียงเป็นการสร้างอ�ำนาจของ นครผู้อ่อนแอ ? กันต่อๆ ไป ? แล้วจะชวนคุณพิเชฐมาตั้งวงเสวนากันที่เมืองนคร สักคราครับ ๑๘ เม.ย.๖๐

เครดิตภาพ fb พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรม

รัฐบาลยกเลิกบัญชีรายชือ่ ผูม้ ีรายได้นอ้ ย (บัญชีคนจน) ที่ท�ำไปเมื่อปีที่แล้ว เพราะมีคนเห็นแก่ตัวแสร้งจนเข้า แถวลงทะเบียนเอาสิทธิ ทั้งๆ ที่มีบ้านช่อง เงินสะสม ทรัพย์สินและรายได้ร่วมแสนคน เมื่อรัฐบาลจับได้ว่าไม่ ยุ ต ิ ธ รรมจึ ง ประกาศยกเลิ ก ทะเบี ย นคนจนเก่ า แล้ ว ประกาศขึน้ ทะเบียนรอบทีส่ อง คนเห็นแก่ตัวเป็นเหตุให้เกิดการท�ำงานซ�้ำ รัฐสูญ เสียงบประมาณ เจ้าหน้าทีธ่ นาคารและคนไปขึน้ ทะเบียน เสียเวลาคน ลองค�ำนวณดูว่าครั้งก่อนมีผู้ขึ้นทะเบียน ๘ ล้านคน เฉพาะกระดาษสิน้ เปลืองไปเท่าไร การขึน้ ทะเบียนครัง้ ที่ ๒ เริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ ๓ เม.ย. ไปถึง ๑๕ พ.ค. ๒๕๖๐ ทัว่ ประเทศ รัฐบาลประกาศสิทธิ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนจะได้รับชัดเจน ได้แก่ บัตรประจ�ำตัวผู้มี รายได้น้อย ซึ่งสีจะแตกต่างกันตามระดับรายได้ของ แต่ละคนเตรียมพร้อมไว้รบั สวัสดิการทีท่ างรัฐบาลจะมอบ ให้ในอนาคต เช่น การลดค่าน�ำ้ -ไฟฟ้า การขึน้ รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี เป็นต้น ถ้าใช้บตั รดังกล่าวรูดกับเครือ่ งก็จะรูไ้ ด้ ทันทีวา่ ผูถ้ อื บัตรจะได้รบั สวัสดิการดังกล่าวหรือไม่ อีกอย่างทีส่ ำ� คัญก็คอื เรือ่ งการท�ำประกันชีวติ ให้ผู้ มีรายได้นอ้ ยโดยจ่ายค่าเบีย้ ประกันรายละ ๙๙ บาทต่อปี คุ้มครอง ๕-๖ หมื่นบาท และจ่ายชดเชยกรณีประสบ อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเท่ากับค่าแรงขั้นต�่ำ ๓๐๐ บาท ต่อวัน และยังเตรียมด�ำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพเพิ่มให้ผู้ สูงอายุทเ่ี ป็นผูม้ รี ายได้นอ้ ย สถานทีข่ นึ้ ทะเบียนเป็นธนาคารของรัฐ ๓ ที่ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) และส�ำนักงานคลังจังหวัด โดยน�ำบัตรประชาชนและหลักฐานการถือครองทรัพย์สิน ไปยืนยัน และเชือ่ ว่าพนักงานผูร้ บั ขึน้ ทะเบียนจะให้ความ เคารพผู้ไปขึ้นทะเบียนโดยอ�ำนวยความสะดวกอย่าง รวดเร็วและเต็มใจ ก่ อ นเปิ ด โครงการขึ้ น ทะเบี ย นคนจนครั้ ง ที ่ ๒ นักการเงินการคลังได้ขุดหลุมพรางไว้ว่าถ้าลงทะเบียนไว้ แล้วจะท�ำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารไม่ได้ บางคน อาจหวาดกลัวหลุมพรางจนไม่กล้ารับสิทธิที่พึงมีพึงได้ แต่คนจนไร้ที่พึ่งและไม่รู้จะกู้ยืมธนาคารไปท�ำอะไรคงไม่ กลัวหลุมพราง เพราะสิทธิดงั กล่าวมีประโยชน์จริง ใครรู้ตัวว่าเป็นคนจนจริงๆ รีบไปขึ้นทะเบียนไว้ วันไหนฐานะมั่นคงรัฐบาลเขายกเลิกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พ่วงมากับบัตรคนจนไปเอง เวลานั้นค่อยไปติดต่อท�ำ ธุรกรรมการเงินหรือเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารก็ได้

วั

นนี้ขอชวนอ่านเอาเรื่องกันอีกรอบ ในฐานะคนนครที่ ควรจะสนใจและใส่ใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษสักนิด หลัง จากเคยอ่านและใช้ ๒ ต�ำนานที่ว่ากันเรื่อยมา บทความนี้มี ๕๐ หน้า แบ่งเป็น ๒ ตอน ตั้งชื่อหัวข้อ ที่ชวนค้นคว้าหาค�ำตอบอย่างยิ่งว่า • “ความเงียบ” และ “เสียงดัง” และวัฒนธรรม การเมืองแบบอุปถัมภ์ กับ • พระธาตุ : การสร้างอ�ำนาจของนครผู้อ่อนแอ ในฐานะที่ตั้งใจจะอ่าน “เอาเรื่อง” แบบ “หาเรื่อง” คือ ค้นหาให้ได้เรื่อง ผมพบข้อที่ควรฉุกคิดในระหว่าง บรรทัดมากมายไปหมดตั้งแต่ย่อหน้าแรกเริ่มเลยทีเดียว ดังที่คุณพิเชฐ แสงทอง ตั้งต้นไว้ว่า “...ในหัวข้อนี้ ผู้เขียน จะได้ วิ เ คราะห์ ต� ำ นานกลุ ่ ม นี้ ใ นอี ก แง่ มุ ม หนึ่ ง คื อ การ พิจารณาว่า ต�ำนานกลุ่มต�ำนานนครศรีธรรมราช ได้เปิด เผยเนื้อหาสาระใดออกมาและปิดบังเนื้อหาสาระใดเอา ไว้บ้าง...” โดยระบุบอกต่อไว้ในวงเล็บว่า “...กลายเป็น สิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า ‘ความเงียบ’ ...กับ (อ่านต่อหน้า ๑๑)


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๓

ลายเดือนเมษา เมืองนครยังร้อน จัด ช่วงบ่ายๆ ฝนตกกลับอบอ้าว พี่น้องที่เดินวิ่งออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ เสี ย จั ง หวะ จะไปยื ด เส้ น ยื ด สายก็ ก ลั ว ป่วยไข้ บางคนเปลี่ยนมาเดินตอนเช้า แตกต่างจากนักปั่นจักรยานที่ไปได้เร็ว และเลือกเวลาได้ ผมอาศัยทุ่งท่าลาดเป็นสนามออก ก�ำลังกาย สภาพทางภูมิศาสตร์เหมาะ สมที่สุด เรามีพื้นที่กว้างใหญ่น่าเดินน่า วิ่ง บุคคลหรือครอบครัวไปพักผ่อนให้ เพลินใจ ช่วงนี้เทศบาลขุดอ่างน�้ำใหญ่โต ขุด ดินขึ้นมาถมขอบลาดเรียบ ฝั่งตะวันตก กลายเป็นแหล่งพักผ่อนของพี่น้องชาว นคร เอาอาหารมากิน พาลูกหลานมา เที่ยว ลมมาก็มาเล่นว่าว คนไปถึงไหน ขยะก็ไปถึงที่นั่น เทศบาลจัดหาถังไปวาง ขยะบางส่วนลงไม่ถึงก้นถัง ไม่ นั บ อ่ า งน�้ ำ ขุ ด ใหม่ อะไรๆ ใน ทุ ่ ง ท่ า ลาดก็ เ ก่ า พื้ น ถนนแตกร้ า วเป็ น

แนวยาว ต้นไม้โค่นล้มลงแอ่งน�้ำ ทางเดิน รอบนอกเฉอะแฉะพอยอมรับได้ว่าฝนตก ปั ญ หาแก้ ไ ม่ ต กก็ คื อ กลิ่ น จากกองขยะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกับคณะที่เข้าใจเรื่อง สิ่งแวดล้อมลงไปส�ำรวจ หาวิธีจัดการกับ

น�้ำเสียระบายลงล�ำธารสาธารณะ ถ้าเป็น มวยถือว่าต่อยถากๆ คือถูกตัว แต่ไม่ตรง เป้า เพราะเป้าก็คือขยะไม่ใช่น�้ำเสียจาก ขยะ จะสร้างโรงงานขยะหรือโรงแยกขยะ ท�ำเชื้อเพลิงส่งขายโรงปูนทุ่งสงที่เขารับ ซื้อจ�ำนวนมหาศาล ขยะที่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นต่างๆ น�ำมาทิ้งต้องเสียค่าใช้จ่าย

ทุ ่ ง ท่ า ลาดหรื อ สวนสมเด็ จ ศรี นคริ น ทร์ ๘๔ เป็ น ปอดของคนเมื อ ง เป็ น แหล่ ง พั ก ผ่ อ นหรื อ ออกก� ำ ลั ง กาย เป็นสวรรค์ของคนรักสุขภาพ เป็นพื้นที่ ดีๆ ขนาดใหญ่ ถ้าเห็นแก่ประโยชน์สุข ของชาวบ้าน ก็รีบฟื้นให้สวยงาม สะอาด และมีคุณค่าเถิด


หน้า ๔

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

โดย : นครา nagara@nakhonforum.com หนั ง สื อ พิ ม พ์ รั ก บ้ า นเกิ ด ปี ที่ ๖ ฉบั บ ที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐

สุธรรม ชยันต์เกียรติ

บับก่อนผมเขียนเรื่อง 'บุญเดือน ๕ อาบน�้ำคนแก่' ปรากฏว่ามีคน กลุ่มหนึ่งให้ความสนใจ จึงมาปรึกษา ผมว่ า เป็ น ไปได้ ห รื อ ไม่ ที่ จ ะรื้ อ ฟื ้ น ประเพณีบุญเดือน ๕ แบบบ้านเราแต่ เก่าก่อน ผมก็ท้วงติงไปว่า มันเหลือ เวลาอี ก ไม่ ถึ ง สิ บ วั น ก็ จ ะถึ ง งาน สงกรานต์ ที่ เ ขาจะจั ด กั น แล้ ว ทาง กลุ่มเขาบอกว่าอยากจะท�ำเฉพาะพิธี สรงน�้ำพระสิหิงค์ แต่มีพิเศษตรงที่จะ ท�ำ 'เบ็ญจา' แบบ 'แทงหยวก' ผมก็รีบตอบตกลงทันที แล้วเริ่มกันคิดงาน อันดับแรกคนแทงหยวกท�ำเบ็ญจา 'นายวันพระ สืบสกุลจินดา' เด็กหนุ่มไฟแรงทางสายวัฒนธรรมรับผิด ชอบไปหาคนมาท�ำ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่ผมก็รับจัดหาให้ โรงพิธีเพื่อครอบเบ็ญจาก็มีคนอาสาท�ำให้คือ 'คุณฉลอง' เจ้าของร้านตกแต่งสวนขอท�ำให้ เมื่อมีการสรงน�้ำพระ พุทธสิหิงค์ก็น่าจะมีน�้ำที่ใช้สรงพระพุทธสิหิงค์ที่ผ่านพิธี พุทธาภิเษกเสียหน่อยน่าจะดี กิจกรรมเริ่มแตกออกไป ว่าควรจะมีพิธี 'พุทธาภิเษกน�้ำพระพุทธมนต์' จึงมีการ คิดอ่านให้พิเศษออกไปว่า น่าจะนิมนต์พระครูกาทั้ง ๔ คือ ๑. พระครูกาแก้ว วัดหน้าพระลาน ประจ�ำทิศ

ตะวันตก ๒. พระครูการาม วัดวังตะวันตก ประจ�ำทิศใต้ ๓. พระครู ก าชาดวั ด ประดู ่ ห อม ประจ� ำ ทิ ศ ตะวั น ตก ๔. พระครูกาเดิม วัดเตาปูน ประจ�ำทิศเหนือ ก็ได้รับ เมตตารับนิมนต์จากพระคุณเจ้าทั้ง ๔ รูปมาเป็นเจ้าพิธี นั่ ง ปรกน�้ ำ พระพุ ท ธมนต์ ส่ ว นสถานที่ จั ด ศาสนพิ ธี 'คุ ณ เฉลิ ม จิ ต รามาศ' เจ้ า ของพื้ น ที่ ใ นฐานะประชาสั ม พั น ธ์ วั ด พระบรมธาตุ เ ป็ น ภาระช่ ว ยประสานงาน จัดหาจนครบขบวนพิธี ฉะนั้นกิจกรรมนี้ต้องแบ่งการจัดงานออกเป็นสอง วัน ดูมันจะโหรงเหรงเต็มที 'นายวันพระ' จึงเสนอหา คณะมโนราห์มาจัดแสดง คิดอ่านแบบใหม่วา่ รือ้ ฟืน้ การร�ำ 'โนราโรงดิน' ดูสักครั้ง แล้วก็เริ่มติดต่อโนราคณะต่างๆ มาร�ำ 'บูชาพระธาตุ' ภาษาโนราเขาเรียก 'ร�ำถวายมือ' เอาแสดงคืนละคณะ เริ่มติดต่อไปสุดท้ายคณะต่างๆ แจ้งความประสงค์มาแสดงให้ฟรีไม่คิดค่าตัวรวมสิบกว่า คณะ จึงวุ่นวายกับการจัดวางแผนงานให้แสดงทั้งภาค กลางวันและกลางคืน 'โนราโรงดิน' มีการปลูกโรงให้พื้น เวทีเรี่ยๆ กับพื้นดิน เวลาโนราเริ่มแสดงผู้คนตะโกน "นั่ง ลงโว้ ย นั่ ง ลงโว้ ย " ทุ ก คนก็ จ ะปู เ สื่ อ หรื อ นั่ ง ลงบนพื้ น ทรายอย่างโบราณแบบคนแต่แรก ส่วนภาคเย็นมีคณะ โนราโดยเฉพาะโนราชั้ น ครู จ ากจั ง หวั ด สงขลาและ จั ง หวั ด ตรั ง มาร� ำ 'บู ช าพระ ธาตุ' ด้วยศิลปะชั้นบรมครูสม ราคาจริ ง ๆ ส่ ว นการแสดง เต็ ม คณะก็ เ ป็ น ของเมื อ ง พัทลุงและจังหวัดนคร แสดง กันในรอบค�่ำ เมื่อมีกิจกรรมตรงลาน ทรายหาดทรายแก้ ว สิ่ ง ที่ น ่ า จะมี ขึ้ น ก็ คื อ การก่ อ เจดี ย ์ ทราย จะเริ่ม >> อ่านต่อหน้า ๙

สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยเชิญ เครื่องราชสักการะพระราชทานอุทิศถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องใน พระราชพิธสี งกรานต์ ประจ�ำปีพทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ณ พระบรม ธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ผู้ว่าฯ จ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา เป็นประธานในพิธเี ชิญเครือ่ งราชสักกา ระพระราชทานไปถวายเป็นพุทธบูชาพร้อมเหล่าข้าราชการ ได้แก่ ผูพ้ พิ ากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครฯ รองเสนาธิการกองทัพภาค ที่ ๔ หัวหน้าส่วนราชการประจ�ำจังหวัด ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ผูเ้ กีย่ วข้องร่วมในพิธี เครือ่ งสักการะประกอบด้วย ต้นไม้ทอง ๑ ต้น ต้นไม้เงิน ๑ ต้น เทียน ๑๘๐ แกรม ๒ เล่ม ธูปไม้ระก�ำ ๒ ดอก แพรแดงติดขลิบ ๑ ผืน และน�ำ้ หอม ๑ คณโฑ โดยมี พระเทพวินยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร/ รองเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ (ธรรมยุต)ิ เป็นประธานสงฆ์

วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น รางวัลชมเชย แก่ กิตติศกั ดิ์ คเชนทร์ ผูแ้ ต่งนวนิยาย 'บ้านใน โคลน' เรือ่ งราวเกีย่ วกับโศกนาฏกรรมน�ำ้ ท่วมภูเขาถล่มทีพ่ ปิ นู ปี ๒๕๓๑ กับ จ�ำลอง ฝัง่ ชลจิตร ผูแ้ ต่งรวมเรือ่ งสัน้ 'เมือง บ้าน ผม' และนักเขียนอีกหลายคนในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ วันที่ ๒๔ เมษายน ผูว้ า่ ฯ จ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา เป็นประธานและสักขีพยานการลงนามสัญญาโครงการสนับสนุนความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศภายใต้กลไก


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

ประชารัฐ งบประมาณกลุ่มจังหวัด (เพิ่มเติม) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จ.นครฯหรืองบกลุ่มจังหวัด ๕,๐๐๐ ล้านบาท เฉพาะของจ.นครฯ ๔๖ โครงการ ๒๘ หน่วยงาน เป็นเงิน ๑,๒๔๑,๒๙๔,๒๐๐ บาท รองผูว้ า่ ฯ ขจรเกียรติ รักพานิชมณี เป็นผู้รับมอบอ�ำนาจจากผู้ว่าฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างร่วม กับผูร้ บั จ้าง ท่ามกลางสักขีพยานจากหลายหน่วยงาน โครงการ กระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาลครัง้ นีป้ ระชาชนคาดหวังว่าการจัดซือ้ จัดจ้างจะเกิดความโปร่งใส มีคณ ุ ธรรมและสามารถตรวจสอบได้

วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ ผูว้ า่ ฯ จ�ำเริญ ทิพญพงศ์ ธาดา ชวน ไสว เขียวจันทร์ รองนายกเทศมนตรีนครนครฯ และ ผูเ้ กีย่ วข้องประมาณ ๒๐ คนไปดูบอ่ ก�ำจัดขยะเทศบาลบริเวณ สวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุง่ ท่าลาด) อ.เมือง ลงตรวจสอบจุดถูกร้องเรียนว่าลักลอบปล่อยน�้ำเสียสู่ล�ำคลอง สาธารณะและว่าเป็นจริงจึงสั่งปิดทางระบายน�้ำแล้วให้ขุดทาง ระบายน�้ำให้ไหลไปกักเก็บไว้ที่บ่อพักน�้ำก่อน ทั้งย�้ำว่า จะไม่ให้ ปล่อยลงล�ำน�ำ้ สาธารณะจนกว่าน�ำ้ จะได้คา่ มาตรฐานไม่สง่ ผลกระ ทบต่อสิง่ แวดล้อม รองผู้ว่าฯ ขจรเกียรติ รักพานิชมณี แถลงข่าวจัด งาน 'ชาวนครศรีธรรมราช ร่วมใจภักดิ์ อนุรกั ษ์มรดกไทย' เทิด พระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย Find Us On :

Page เพชรทองซีกวง

หน้า ๕

ระหว่าง ๕-๘ พฤษภาคม ณ สนามหน้าเมือง และสวนศรีธรรมโศกราช อ.เมือง โดยน�ำเสนอประวัตศิ าสตร์และศิลปวัฒนธรรม ทีม่ เี อกลักษณ์ของจังหวัดทีส่ บื ทอดและหวงแหนกันมายาวนาน กิจกรรมนีม้ นี ทิ รรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปิน ถิน่ เมืองคอน นิทรรศการมรดกล�ำ้ ค่า เมือง ๑๒ นักษัตร เช่น เครือ่ งถม ผ้าทอ จักสานย่านลิเภา จักสานกระจูด งานหัตถกรรม และการแสดงศิลปวัฒนธรรม เพลงบอก หนังตะลุง มโนราห์ ฯลฯ ลูกทุ่งรวมพลคนเพลงใต้การแสดง แสง สีเสียง เล่า เรือ่ งประวัตเิ มืองนคร มีรองนางสาวไทย อันดับ ๑ ปี ๒๕๕๙ น.ส.ปิน่ ทิพย์ วีเชียรชัย และ ไข่เหลีย่ ม วิเชียรศรชัย มาร่วมแสดง ชอบทานอาหารพืน้ บ้านอย่าพลาด

เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ทีมงาน ฮอนด้ า ศรี น ครได้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมบริ จ าคโลหิ ต ซึ ่ ง จั ด โดย ร้านโกปี๊ @คิวคูตอน นครโบราณ สภากาชาดไทยจังหวัด นครศรีธรรมราช และทีมงานพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช อิม่ บุญกันทัว่ หน้า ณ คิวคูตอน นครโบราณ ถนนอ้อมค่าย

ตัวเมืองนครคับแคบขยายตัวล�ำบาก รถราติดหนัก ขึ้นทุกวัน...ต้นเดือนที่ผ่านมา สุวิทย์ ยอดสุรางค์ ผอ.แขวง ทางหลวงชนบทนครฯ จัดประชุมประชาสัมพันธ์และรับฟังความ คิดเห็นโดย สมพงษ์ มากมณี นอภ.เมือง เป็นประธาน...ถนน เส้นใหม่จะช่วยแก้ปญ ั หาจราจรติดขัดในตัวเมืองให้คล่องขึน้

บริ ษั ท ฮอนด้ า ศรี น ครให้ ก ารสนั บ สนุ น การแข่ ง ขั น วอลเล่ ย ์ บ อลสานสั ม พั น ธ์ ส ตรี เ หล็ ก ครั้ ง ที ่ ๑ NRVC โดย ชมรมวอลเล่ ย ์ บ อลเพื ่ อ สุ ข ภาพ อ.เมื อ ง และ อ.ร่ อ นพิ บู ล ย์ จ.นครศรี ธ รรมราช (Nakhon & Ronpiboon Valleyball Club) ณ สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรม-ราช ระหว่างวันที่ ๘ - ๙ เมษายน ๒๕๖๐

ฮิตติดอันดับประเทศไปแล้ว...การแข่งขันจักรยาน 'Tour of Srivichai ๒๐๑๗ Nakhon Si Thammarat' ครัง้ ที่ ๔ ระยะทาง ๑๐๐ กม. พ.อ.ภาสกร ทวีตา รองเสธฯ กองทัพภาคที่ ๔ แจ้งว่าปีนจี้ ะจัดระหว่างวันที่ ๖-๗ ณ สนามบิน กองทัพภาคที่ ๔ ค่ายวชิราวุธ ใช้เส้นทางนครฯ - เขาช้างสี - คีรวี ง รายได้นำ� ช่วยเหลือครอบครัวทหาร ต�ำรวจทีเ่ สียชีวติ จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพือ่ ฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และเพื่อพัฒนาวงการกีฬา จักรยาน จ.นครฯ และส่งเสริมการท่องเที่ยว คาดว่าจะมี นักปัน่ เข้าร่วมทุกประเภทราว ๕,๐๐๐ คน รายละเอียดสอบถาม ที่ โทร. ๐๙๑-๐๓๔๕๔๕๑

เมือ่ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๐ ทีผ่ า่ นมา โครงการ พรีเมจคลับ ในเครือบริษทั บ้านซูกรุป๊ จัดกิจกรรมพรีเมจเจตนาดี ครัง้ ที่ ๖ ณ รร.วัดควนสมบูรณ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยการรวมพลคนเจตนาดี อาทิ กลุม่ จักรยานและคนในพื้นที่, กลุม่ Suzuki GD ๑๑๐ จากหาดใหญ่และนครศรีฯ และกลุม่ Suzuki Big Bike จากหาดใหญ่ เข้าไปช่วยเหลือท�ำกิจกรรมที่ โรงเรียน เนือ่ งจากช่วงมกราคม ๒๕๖๐ ทีผ่ า่ นมาเกิดอุทกภัย ท�ำให้ทางโรงเรียนได้รับความเสียหาย ทางกลุ่มเจตนาดีจงึ มอบ มอเตอร์เครื่องปั๊มน�้ำใหม่, ทุนการศึกษาให้นักเรียน ๑๐ ทุน, ปรับปรุงเครื่องเล่น ๑๒ ชิ้น ในสนามเด็กเล่น และน�ำยาง รถยนต์มาฝังดินพร้อมทาสี เพือ่ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ

Seekuang BJ

Line ID : @Seekuang

ถ.เนรมิต ท่าวัง หัวอิฐ www.facebook.com/BOONADA

Line ID : boonada

ชั้ น 1 โซนเพชรทอง ห้างโรบินสัน คูขวาง (หน้า ธ.SME) หัวถนน (หน้าตลาด)

099-195-6996

ชั้ น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ท่าม้า (ข้างศาลากลาง) ตลาดเสาร์อาทิตย์ (มุม ซ.ศรีนคร) สะพานยาว (ติดโลตัสเอ็กซเพรส) ชวนเฮง ใกล้ ธ.กสิกรไทย ถ.ศุภสารรังสรรค์ ช่ องเขา มอ. หาดใหญ่


หน้า ๖

กี่ยวกับการเสนอวัดพระมหาธาตุฯ จังหวัดนครฯ เป็น มรดกโลก ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ กล่าวกับ 'รัก บ้านเกิด' ว่า นับแต่ยเู นสโกยอมรับการเสนอชือ่ วันที่ ๒๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ การท�ำงานและรณรงค์ให้ได้ขึ้น ทะเบียนจะครบ ๔ ปี "ผมอยากประชุมเพื่อแถลงความคืบหน้าของการ ด� ำ เนิ น งานจั ด ท� ำ เอกสาร เรื่ อ งพระธาตุ เ จดี ย ์ ซึ่ ง เราได้ ประกาศเมื่ อ ปี ๒๕๕๖ ฉะนั้ นในวั นที่ ๒๑ มิถุ น ายนนี้ ผมคิดว่าเราอยากจะแสดงความคืบหน้าให้ประชาชนได้ เห็นว่ามันเดินทางไปถึงจุดไหน ความหวัง รูปแบบการ จัดกิจกรรมของงาน ยังไม่ได้วางแผน แต่เรื่องการประชุม เพื่อแจ้งแก่ผู้สนใจในสถานที่ไหนสักแห่ง ผมคิดว่าเรื่อง การน�ำเสนอจะท�ำให้เราได้ความรู้สึกเป็นเจ้าของพระบรม ธาตุฯ เพิม่ ขึน้ วัตถุประสงค์แรกของการน�ำเสนอ เมือ่ ครัง้ ที่ ผู้ว่าฯ ภาณุ อุทัยรัตน์ มาจุดประกายไว้ก็เป็นความคิดที่ เรายังไม่มีแผนด�ำเนินการ แต่เมื่อศึกษาในรายละเอียด ลงไปมันก็มีหลายอย่างที่ต้องท�ำควบคู่กันไป เช่น การ ปรับปรุงภูมทิ ศั น์ วางแผนในการอนุรกั ษ์" ผศ.ฉัตรชัยจัดการประชุมระดมความคิดเห็นหลาย ครั้ง รวมทั้งน�ำคณะไปดูงานมรดกโลกในต่างประเทศเพื่อ ประชาสัมพันธ์ในญีป่ นุ่ ศรีลงั กาหรือตุรกี "จุดประสงค์ของยูเนสโกในการขึ้นทะเบียนเราต้อง แสดงให้เห็นว่าตัวท่านหรือคนในเมืองของท่านใส่ใจใน เรื่องอนุรักษ์มรดกโลกอย่างไรบ้าง ขณะนี้เราปรับปรุง ภายในของวัด ปรับปรุงเส้นทางเข้าถึง โดยเฉพาะเส้นทาง เข้าถึง เพราะเมื่อได้รับการประกาศมันจะเป็นสากล เมื่อ เป็นสากลก็ต้องท�ำให้คนต่างถิ่นต่างชาติเข้ามาถึงองค์ พระบรมธาตุได้ เรื่องกายภาพมีหน่วยงานของเทศบาล ส�ำนักงานศิลปากรที่ ๑๒ นอกนัน้ อยูภ่ ายใต้การก�ำกับของ จังหวัด ท�ำให้มนั เคลือ่ นไปข้างหน้าตามสมควร แต่ประเด็น เรื่องการเข้าถึงกับประเด็นของความสวยงามของกายภาพ

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

มันมีคะแนนประมาณ ๓๐ เอกสาร ๖๐" ผศ.ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติม “การเข้าถึงมีอยู่ ๒ ส่วน ทางกายภาพ ได้แก่สถานที่กับเส้นทางคมนาคมเพื่อจะ เข้าถึง สิง่ ที่ ๒ ก็คอื การเข้าไปหา information หรือข้อมูล สารสนเทศของวัดของมรดกเป็นเรื่องส�ำคัญ เราต้องท�ำให้ คนที่ไม่รู้ภาษาไทยเข้าใจได้ ต้องออกไปในรูปของเอกสาร เว็บไซต์ สุดท้ายก็การอธิบายเพือ่ ให้เข้าถึงข้อมูล การเข้าถึง ข้อมูลว่าด้วยเหตุที่เราเสนอวัดพระมหาธาตุเป็นมรดกโลก ไม่ใช่องค์เจดีย์ แต่องค์เจดียเ์ ป็นประธานของแหล่ง" พระบรมธาตุเจดียเ์ กิดจากความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ทีเ่ ข้ามาเมือ่ ๘๐๐ ปีทแี่ ล้ว "พ.ศ.๑๗๑๙ ศาสนา พราหมณ์กับศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๒ ศาสนานี้มัน ตีคู่กันมาในอินเดีย แล้วก็มาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาบสมุทรบ้านเราท�ำให้เกิดการแข่งขัน ก่อนหน้านี้ ประมาณ พ.ศ.๑๖๐๐ ดินแดนแถบศรีวิชัยทั้งหมดจนถึง ปาเลมบัง...อินโดนีเซียถูกโจมตีโดยกองทัพของราเชนทร์โจระจากอิ น เดี ย ใต้ บ้ า นเมื อ งซบเซาไม่ มี สิ่ ง ยึ ด เหนี่ ย ว ทางใจ เป็นช่วงเวลาที่ลังกามีพุทธศาสนาแบบเถรวาท เราเลยรับเข้ามา เจ้าผู้ครองนครคือราชวงศ์ศรีธรรมโศก ไปรวบรวมเมืองทั้งหลายที่ถูกโจมตีหรือที่เราเรียกเมือง ๑๒ นักษัตรแล้วร่วมกันสร้างพระบรมธาตุฯ" อาจารย์ อ ธิ บ ายว่ า แกนหลั ก ในการสร้ า งเจดี ย ์ คื อ พุทธธรรมหรือธรรมะของพระพุทธเจ้า "เราเอาหลักธรรมมาสร้างพระธาตุ ผมก็ยังยืนหยัด ในสิง่ ทีม่ คี นเสนอไว้ ก็คอื มรดกธรรม มรดกโลก ซึง่ มีหวั ข้อ ธรรมส�ำคัญปรากฏอยูท่ พี่ ระเจดียก์ ค็ อื เรือ่ งของไตรภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ พระธาตุเจดีย์ถ้าแบ่งเป็นภูมิ ก็ ๓ ภูมิ กามภูมิตั้งแต่ฐานชั้นล่างขึ้นไปถึงลานที่มีเจดีย์ ทั้ง ๔ ทิศ กับซุ้มระฆังคว�่ำ ถือเป็นแดนกามภูมิที่มีความ รั ก ความลุ ่ ม หลง ความห่ ว งใย ความอิ จ ฉาริ ษ ยา หรื อ ดินแดนกิเลส ส่วนที่ ๒ ตัง้ แต่บลั ลังก์ขนึ้ ไปจนถึงปลายยอด

ที่เป็นปล้องไฉนปล้องสุดท้าย ตรงนี้เป็นแดนรูปภูมิ เป็น รูปแต่เริ่มสละกิเลสเราจะเห็นเจดีย์เรียวๆ ขึ้นไป ส�ำหรับ คนบ� ำ เพ็ ญ ตนให้ ล ดละกิ เ ลสก็ ค ่ อ ยๆ ขยั บ สู ง ขึ้ น แดน สุดท้ายก็คอื เลยทองค�ำขึน้ ไปข้างบน เป็นแดนอรูปภูมมิ แี ต่ จิตวิญญาณเหมือนพระอรหันต์ นี่คือตัวตนของพระธาตุ เจดีย์ในทัศนคติของชาวพุทธ ประโยชน์ที่ได้อย่างยิ่งก็คือ เป็นตัวแทนธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เรือ่ งรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมซึง่ อันนัน้ เป็นเรือ่ งรองลงไป" ถามว่าตอนนี้เอกสารที่จะยื่นไปยังคณะกรรมการ มรดกโลกของยูเนสโกด�ำเนินไปถึงจุดไหน อาจารย์ตอบ ว่าเราต้องท�ำเอกสารภาษาอังกฤษให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้ คณะกรรมการศูนย์มรดกโลกเห็นชอบ และเอกสารนั้น ต้องแสดงให้เห็นว่าพระบรมธาตุฯ มีความโดดเด่นมีคณ ุ ค่า เพียงไร นักวิชาการทีป่ รึกษาแนะน�ำว่าควรเชิญผูเ้ ชีย่ วชาญ ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ศาสนาและประเพณีมาร่วม แสดงความคิดเห็นเพือ่ เติมเต็ม "ผมหาได้เกือบครบแล้ว" การท�ำงานตลอด ๓ ปี อาจารย์เปิดเผยข้อมูลส�ำคัญ ทีเ่ พิง่ ทราบ “ผมมองข้ามไปเรื่องหนึ่ง คือเรืองเจดีย์สวรรค์ที่อยู่ ในวิหารธรรมศาลา ข้างในจะมีเจดีย์เราเรียกว่าเจดีย์แก้ว บางทีเรียกเจดีย์สวรรค์ ความเป็นจริงคือเจดีย์จุฬามณี ค�ำว่ามณี แปลว่าแก้ว สร้างขึ้นมาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ แสดงให้เห็นว่าความคิดเกี่ยวกับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่ใน ความสนใจของคนนคร แล้วทีย่ อดทองค�ำบนยอดพระบรม ธาตุฯ กรมศิลปากรถอดลงมาอ่านทีอ่ า่ นข้อความบางแผ่น ที่จารึกว่าขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงว่าดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ชั้นที่ชาวพุทธขอไปถึงแม้ชั้นนี้จะเป็นระดับ ล่างเป็นสวรรค์ที่พอไปให้ถึงได้ ชาวนครของเราเอาแต่ชั้น ๒ คือดาวดึงส์ก็เลยสร้างเจดีย์เอาไว้ เจดีย์นี้ แสดงให้เห็น ถึงความใฝ่ฝันของคนแต่แรก ว่าได้ท�ำบุญกับพระธาตุฯ แล้วไปปฏิบตั ติ วั ดี โอกาสทีจ่ ะได้ขนึ้ สวรรค์ชนั้ ดาวดึงส์" อาจารย์ให้ข้อมูลเชื่อมโยง "เจดีย์สวรรค์ที่บรรจุ อั ฐิ ข องสมเด็ จ พระนางสิ ริ ม หามายา คื อ พุ ท ธมารดาที่ พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปโปรดสามเดือน พอถึงวันแรม ๑ ค�่ำ ก็เสด็จลงทางบันไดที่เทวดาเนรมิต ซึ่งเป็นที่มาของ การตักบาตรหน้าล้อและประเพณีชักพระที่เกี่ยวโยงกับ พระบรมธาตุเจดีย์มานาน ซึ่งเกี่ยวโยงกับพระพุทธเจ้าที่ ประทับอยูบ่ นหาดทรายแก้ว เรือ่ งนีอ้ าจารย์ภธู ร ภูมะธน เป็นคนบอกผมและย�ำ้ ว่าต้องเอาตรงนีเ้ ติมเข้าไป" ความคื บ หน้ า ผู ้ ส นใจต้ อ งติ ด ตามไปรั บ ฟั ง ด้ ว ย ตัวเอง ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ส่วนสถานที่จัดกับ นักวิชาการทีจ่ ะมาพูดเป็นใครบ้างโปรดติดตาม


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

จดหมายข่าว

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นบัญชีสู่มรดกโลก เรียบเรียงโดย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ ในคณะกรรมการมรดกโลก จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดเก่ารายรอบวัดพระมหาธาตุฯ สันทรายที่สองของเมืองนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาล นครนครศรีธรรมราช) มีวัดเก่าแก่อยู่เป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะภายในก�ำแพงเมือง โบราณนครศรีธรรมราชและพืน้ ทีด่ า้ นทิศเหนือของก�ำแพงเมืองโบราณ ซึง่ เรียกว่า “หาด ทรายแก้ว” วัดเหล่านีส้ ว่ นใหญ่สร้างขึน้ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐ ได้แก่ ๑. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (หรือ “วัดพระธาตุ”) เป็นปูชนียสถานใน พระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ สร้างขึ้นบนหาดทรายแก้ว (อันเป็นศูนย์กลางของ อาณาจักรนครศรีธรรมราช) เริม่ สร้างเมือ่ พ.ศ.๑๗๑๙ และเติบโตขึน้ มาโดยล�ำดับ ตาม ยุคสมัยและความศรัทธาของผูค้ นในอาณาจักรนี้ ปัจจุบนั มีฐานะเป็น “พระอารามหลวง” และเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒. วัดพลับ ตั้งอยู่บนหาดทรายแก้ว ติดกับลานพระบรมธาตุเจดีย์ (ทางทิศ เหนือ) มีประวัติมาว่า พระมหาเถรมงคลได้อัญเชิญต้นศรีมหาโพธิ์ใส่อ่างทอง ลงเรือ ส�ำเภาอพยพญาติโยมมาจากลังกามาสร้างวัดที่หาดทรายแก้ว เรียกว่า “วัดพลับ” ได้ ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ฝ่ายอุดรพระมหาธาตุ โดยปลูกทั้งอ่างทอง แล้วก่ออาสน์ล้อมรอบ ก่ อ พระพุ ท ธรู ป สามด้ า น ฝ่ า ยปั จ ฉิ ม ก่ อ พระบรรทมองค์ ห นึ่ ง ท� ำ ระเบี ย งรอบเป็ น ๑๘ ห้อง ชื่อว่า “วิหารโพธิมณเฑียร” ต่อมาได้ผนวกกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (ปัจจุบนั คือวิหารโพธิล์ งั กา) ๓. วัดพระเดิม ตั้งอยู่บนหาดทรายแก้วเช่นเดียวกับวัดพลับ (ทางทิศเหนือ) มีประวัตมิ าว่าพระมหาเปรียญทศศรี ผขาวอริยพงษ์ และนายแวงได้นิมนต์พระมหาเถรพุทธสาครซึ่งเป็นเจ้าคณะป่าแก้ว ตัง้ ชือ่ ว่า “วัดพระเดิม” ดังนัน้ วัดพระเดิมจึงเป็นทีจ่ ำ� พรรษาของพระ มหาเถรพุทธสาครคณะป่าแก้วตามพระบรมราชโองการ ต่อมาได้ ผนวกกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบนั ใช้เป็นเขตสังฆาวาส ๔. วัดมังคุด ตัง้ อยูบ่ นหาดทรายแก้วเช่นเดียวกับวัดพลับและ วัดพระเดิม แต่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่าวัดทั้งสอง มีประวัติมาว่าพระ มหาเถรสุทธิชาติ น�ำญาติโยมมาจากเมืองขนอม นายผ่องเจ้าพันคุม ไพร่สว่ ย พันไกรพลด่าน มาสร้าง “วัดมังคุด” ต่อมาได้กลั ปนาทีด่ นิ เข้าเป็นส่วนหนึง่ ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และวัดได้อนุญาต ให้กระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นทีต่ งั้ โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ ๕. วั ด ศรี ธ ามา ตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ข อง พระบรมธาตุเจดีย์ จึงเรียกอีกชือ่ ว่า “วัดอาคเนย์พระธาตุ” มีประวัติ มาว่าพระมหาเถรสรรเพชรมาแต่โองพตาน อพยพญาติไพร่ส่วย พันศรีชนา มาร่วมสร้างชื่อว่า “วัดศรีธามา” ต่อมาเป็นวัดร้าง กรมการศาสนาจึงให้เช่าที่เพื่อสร้างโรงเรียนนครวิทยา (ขณะนี้เป็น ทีต่ งั้ บ้านขุนรัฐวุฒวิ จิ ารณ์)

เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ วันพุธที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ขึ้น ๘ ค�่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา

วันพุธที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา วันวิสาขบูชา

วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ แรม ๘ ค�่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา วันอัฏฐมีบูชา วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ แรม ๑๕ ค�่ำ เดือนหก(๖) ปีระกา

หน้า ๗ การน�ำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึน้ บัญชีเป็นมรดกโลก ขณะนีค้ ณะกรรมการ ฝ่ายต่างๆ ได้ด�ำเนินการคืบหน้าจนถึงขั้นตอนจัดท�ำเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination Dosier) แล้ว และเห็นสมควรที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านสื่อมวลชน จึง ได้จัดท�ำเป็นจดหมายข่าวทั้งข้อมูลความรู้และกิจกรรมให้ประชาชนทราบเป็นระยะ

๖. วัดหลังพระ ตัง้ อยูท่ างทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า “วัดหรดีพระธาตุ” มีประวัตมิ าว่าพระมหาเถร มังคลาจารย์อพยพญาติโยมมาจากกุฎหี ลวง (ชือ่ “กุฏหี ลวง” ยังไม่ทราบชัดว่าเป็นสถาน ทีแ่ ห่งใด) ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดหลังพระ” หรือ “วัดแม่ช”ี ต่อมาเป็นวัดร้าง กรมการ ศาสนาจึงอนุญาตให้ใช้พนื้ ทีว่ ดั ร้างแห่งนีจ้ ดั ตัง้ “มัสยิดบ้านสวนมะพร้าว” ๗. วัดโตนด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระบรมธาตุเจดีย์ มีประวัติ มาว่ า พระมหาเถรพงษา อพยพญาติ โ ยมจากเพชรบุ รี ม าสร้ า งวั ด พระปลั ด เลี่ ย ม อาสโย เล่าว่าเดิมมีต้นตาล (ต้นโหนด) อยู่มาก ต่อมาเมื่อสร้างพระประธานในอุโบสถ ช่างได้ท�ำสังฆาฏิไว้เฉพาะด้านหน้าพระประธาน (ไม่ได้ท�ำสังฆาฏิด้านหลัง) ชาวบ้าน จึงเรียกว่าพระประธานองค์นี้ว่า “พระขอน, (พระคอน)” เมื่อเปลี่ยนชื่อวัดก็กลายมา เป็น “วัดพระนคร” ๘. วัดฝาง ตัง้ อยูท่ างทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมธาตุเจดีย์ มีประวัตมิ า ว่าพระมหาเถรโชติบาลมาจากปัดโวก กับนายปันทสุรมิ าจากเขาพระบาทได้รว่ มกันสร้าง ค�ำว่า“ปัดโวก” เป็นชื่อหมู่บ้านในต�ำบลหินตก อ�ำเภอร่อนพิบูลย์ วัดที่สร้างขึ้นนี้น่าจะ เป็นวัดชมพูพล ต่อมาร้างไป กรมการศาสนาจึงให้เอกชนเช่าสร้างเป็นห้างสรรพสินค้า ชือ่ “ห้างสหไทย” ถนนศรีปราชญ์ ต�ำบลคลัง อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ๙. วัดชะเมา ตัง้ อยูท่ างทิศเหนือ ของพระบรมธาตุเจดีย์ มีประวัติมาว่า พระมหาเถรเพชร มาจากบ้านยายคลัง อพยพญาติ โ ยม ไพร่ ส ่ ว ยพั น ศรี ช นา ร่วมกันสร้างเป็นวัดชือ่ “วัดจันทเมาลี” ชาวบ้านมักเรียกว่า “โมฬี” ล่วงมาใน สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนชื่อเป็น “วัด บรม” ปัจจุบนั เป็น “วัดชะเมา” ต�ำบล ท่าวัง อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช วัดพระนคร ๑๐. วั ด ประดู ่ ตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ เหนือของพระบรมธาตุเจดีย์ มีพื้นที่ ติ ด กั บ วั ด ชะเมา มี ป ระวั ติ ม าว่ า พระ มหาเถร อนิ รุ ท ธ์ อพยพญาติ โ ยม จากเมื อ งยโสธรมาสร้ า ง เข้ า ใจว่ า แต่เดิมมีต้นประดู่อยู่มาก จึงเรียกว่า “วัดประดู่” ปัจจุบันเรียก “วัดประดู่ พัฒนาราม” ต�ำบลท่าวัง อ�ำเภอเมือง นครศรีธรรมราช วัดชะเมา


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๘

เรือ่ งจากปก

<< ต่อจากหน้า ๑

รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุง่ โรจน์ นอกจากเป็นอธิการบดี ยังเป็นคณะท�ำงานของหอการค้าไทยทีท่ ำ� งานอยูเ่ บือ้ งหลัง ทีมเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ ก้าวหน้า หรือมีสว่ นผลักดันแนวคิด Thailand ๔.๐ รศ.ดร.เสาวณีย์ เริมต้นบรรยายเรื่องแนวโน้มใหญ่ ของโลก หรือ Mega Trends ซึง่ เป็นทิศทางทีโ่ ลกจะเปลีย่ น ไปในอนาคตและประเทศไทยจะหมุนตามไปด้วยจึงจะ อยูร่ อดในโลกทีเ่ ปลีย่ นอย่างรวดเร็ว 'รักบ้านเกิด' เก็บความโดยย่อๆ เกี่ยวกับ Mega Trends ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม วัฒนธรรมและชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม นับแต่ พ.ศ.๒๕๖๘ เป็นต้นไปเราจะมีหุ่นยนต์คนใช้ราคา ถูกท�ำงานในบ้าน และจะพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ ขณะที่มือถือท�ำงานสารพัดอย่างรวดเร็ว เงินกระดาษ กลายเป็นของเก่า เราจะใช้เงินทีเ่ รียกว่า Crypto Currency ในยุโรปและอเมริกาพัฒนารถยนต์นั่งแค่ตั้งโปรแกรมรถ จะพาไปเองโดยไม่ต้องใช้คนขับ ระบบการพิมพ์ใหม่จะ เปลีย่ นกระดาษเป็นของใช้และจะมีขบวนรถไฟเชือ่ มโลก ลักษณะสังคมหรือชุมชนจะเป็น 'โลกมีเดือย' (world is spikly) คือโตในแนวตัง้ เป็นเมืองใหญ่ Mega city หรือ Mega cities หลายๆ เมืองรวมกันเป็นภูมิภาคมหึมา-Mega Regions แล้วเป็น Mega Corridor เมืองมหึมา เชื่อมเป็นแนวยาว และทุกเมืองเป็น Smart City ที่ให้ ความส�ำคัญมากกว่าเป็นเมืองสีเขียว มีตลาดซื้อขายด้วย เทคโนโลยีใหม่ๆ ขายบ้านโดยไม่มีบ้าน แค่พาผู้ซื้อไปอยู่ ในสถานที่ก่อสร้างแล้วระบบดิจิตัลที่สร้างภาพจะจัดการ ให้เห็นบ้านหรือตึกที่จะก่อสร้าง เทคโนโลยีดูแลสุขภาพ ก้าวหน้าโดยมีระบบดูแลบุคคลที่คอยเตือนให้ระมัดระวัง พลาสเตอร์ยาปิดแผลจะหลุดเองทันทีที่แผลหาย อาจารย์ ว่าในประเทศจีนจะเกิดสมาร์ทซิตกี้ อ่ นอืน่ เพราะประชากร มากและเทคโนโลยีก้าวหน้า ขณะที่อ�ำนาจการซื้อจะอยู่ที่ คนชั้นกลาง อินเดียเป็นประเทศที่มีคนชั้นกลางมากที่สุด เทรนด์ทางสังคมบางประเทศจะเกิดสมองไหลกลับหรือ คนมีปัญญาความสามารถจะกลับถิ่นฐานเดิม (Reverse Brain Drain)

รายงาน ของหอการค้าจังหวัดฯ ในการ ผลักดันเศรษฐกิจของจังหวัดให้ ก้าวหน้า ขอให้ชาวนครมีความ ร่วมมือและความเป็นน�้ำหนึ่งใจ ในอนาคตอันไม่นานนัก Gen Y อายุ ๑๔ - ๓๐ จะมี เดียวกันเพราะจะสร้างพลังให้ จังหวัดอย่างมาก อ�ำนาจในโลก โดยเฉพาะอ�ำนาจด้านการซื้อ คนหนุ่มสาว นายกรกฎ เตติรานนท์ เพิ่งได้รับการเลือกตั้งจาก คนวัยกลาง คนสูงอายุจะอยูร่ ว่ มกัน อาจารย์บอกว่าจะเป็น สมาชิกหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราชให้ดำ� รงต�ำแหน่ง ยุค She Economic ผู้น�ำเพศหญิงจะเพิ่มมากขึ้นดูอย่าง ประธานฯ ต่อจากนางสาววาริน ชิณวงค์ ทีด่ ำ� รงต�ำแหน่งมา กลุ่มสแกนดิเนียเวีย หรืออเมริกาที่บอร์ดบริษัทเป็นหญิง ๒ สมัย ซึง่ ประธานหอฯ คนใหม่เริม่ ท�ำงานวันแรกเมือ่ วันที่ มากขึ้น ผู้หญิงมีรายได้ มีอ�ำนาจเงินและบงการการตลาด ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ ในฐานะประธานคนที่ ๑๐ และก้าวขึน้ ได้ ถ้าดูอนิ สตาแกรมหรือเฟซบุค๊ เวลาไปร้านอาหารผูห้ ญิง ไปเป็นกรรมการหอการค้าไทย นายกรกฎกล่าวว่า "ผมเรียนตรงๆ ผมไม่รจู้ กั หอการ เป็นคนถ่ายรูป เป็นคนโพสต์และแชร์ ในอนาคตเราซื้อของโดยร้านสแกนใบหน้าแล้วตัด ค้าฯ พีๆ่ เห็นว่าท�ำงานอยูใ่ นนครฯ ตลอด คิดว่ามาร่วมกัน เงิ น ในบั ญ ชี เสี ย งหรื อ อารมณ์ ส ามารถเปิ ด ปิ ด รี โ มท- แชร์ความคิดร่วมกันท�ำงาน ผมท�ำงานในหอการค้ามา ๗ ปี คอนโทรลได้ ประตู บ ้ า นหรื อ กุ ญ แจเปิ ด ด้ ว ยการแสดง แผนงานใหม่ทเี่ ราจะท�ำเราล้อกับหอการค้าไทยทีเ่ ราท�ำงาน ท่ า ทางเฉพาะที่ ท� ำ ไว้ กั บ ระบบความจ� ำ ของอุ ป กรณ์ ร่วมกันเราขายไอเดียร่วมกัน ทางหอการค้าไทยวางนโยบาย ไว้ ตั้งแต่สมัยคุณวาริน ชิณวงศ์เป็นประธาน ๔ ปี ถือว่า ปิดเปิด เป็นยุคใหม่ของนครฯ และของไทยด้วยทีไ่ ด้ทำ� งานร่วมกัน ด้ า นเทรนด์ ท างสั ง คมและวั ฒ นธรรมก็ เ ปลี่ ย น อย่างเป็นระบบ หอการค้าไทยมองว่าท�ำอย่างไรให้เศรษฐกิจ ประเทศไทยต้องปรับตัวเพราะความเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศดีขึ้น ก้าวผ่านเศรษฐกิจรายได้ปานกลางเข้า ต่อขยับจาก ๒ ไปสู่ ๔-๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี สินค้าต่างๆ สูโ่ หมดทีม่ รี ายได้สงู ได้อย่างไร มันเป็นช่วงเวลาทีป่ ระธาน จ�ำต้องน�ำเอานวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่า ก้าวสู่ยุค IDE คือ Innovation Driven Entrepreneur (IDE) แปล อยากท่องเทีย่ วตลอดเวลา ผูป้ ระกอบการต้องจัดกิจกรรม ว่า วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งผู้ประกอบการ solf adventure ให้ได้ออกก�ำลังกาย ได้ทา้ ทาย ท�ำให้พวก ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ เขารูส้ กึ อ่อนวัย (feeling young) ขณะพวก Gen Y - Z ซึ่งมีอายุ ๑๔ - ๓๕ ปี ซึ่งมี ใหม่ๆ โดยเริ่มจากการมีความคิดหรือไอเดียในการผลิต สินค้า หรือบริการทีผ่ บู้ ริโภคต้องการอย่างแท้จริง จากนัน้ จ�ำนวนมากจะเป็นคนซื้อเร็วจ่ายเร็วเพราะใช้เงินพ่อแม่ ก็ต้องหาแหล่งเงินทุน (Venture Capital) เพื่อสนับสนุน ผู้ประกอบการต้องมีข้อมูลของพวกเขา เขาต้องการคน เงินทุนให้ผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญ เห็นความส�ำคัญและพยายามให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรม คอยช่วยเหลือในด้านต่างๆ ช่วยพัฒนาสินค้าก่อนน�ำเข้าสู่ อีกพวกเป็น Middle Income Tourism หรือรายได้ปาน กลาง เป็นกลุม่ เห็นคุณค่าของเงิน ทุกบาทจ่ายออกไปต้อง ตลาดผูบ้ ริโภคต่อไป แนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคต กลุ่มนักท่องเที่ยว คุม้ ค่าและช่างต่อรอง ผูป้ ระกอบการต้องตอบสนองเขาให้ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผู้สูงอายุ (Silver-Haired Tourism) อายุ มากกว่าทีเ่ ขาอยากได้ โดยการลดแลกแจกแถม ๖๕ ปีขึ้นไป ซึ่งมีจ�ำนวนมาก คนวัยนี้มีเงินสะสม และ


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

อิสระ ว่องกุศลกิจ ขึน้ ด�ำรงต�ำแหน่ง จังหวัดนครฯ คุณวาริน ขึน้ ไปพอดี ช่วงนัน้ จากทีผ่ มได้ทำ� งานร่วมมาเรามองเรือ่ งการ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ต่อเนือ่ งมาจากอดีต ถ้าเราลดความเหลือ่ ม ล�ำ้ ได้มนั จะเป็นการยกระดับแบบยกทัง้ กระดาน ไม่ได้ยกกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ พยายามรณรงค์เรือ่ ง หนึง่ ผลิตภัณฑ์หนึง่ ชุมชน หนึ่งหอการค้าหนึ่งสหกรณ์พยายามจะท� ำให้เกิดการคิด อย่างเป็นระบบ คือจุดไหนทีท่ างองค์กรภาคเอกชนสามารถ ถ่ายทอดความรูเ้ พือ่ ยกระดับชุมชน หรือว่ายกระดับวิสาหกิจ ได้เราจะเข้าไปดูแลจุดนัน้ ในลักษณะเป็นพีเ่ ป็นน้อง" นายกรกฎ เปิดเผยต่อไปว่านายอิสระชูประเด็น ๓ เรือ่ ง คือน�ำเศรษฐกิจสูพ่ นื้ ถิน่ และสามารถท�ำให้สนิ ค้าพืน้ ถิน่ มีมลู ค่าสูงขึน้ ทัง้ การเกษตร การค้าการลงทุนในพืน้ ถิน่ และ การท่องเที่ยว กรรมการหอการค้านครฯ เราเห็นพ้องต้อง กันว่าการท่องเที่ยวสามารถน�ำรายได้เข้าสู่เมืองนครมาก ที่สุด จะพยายามผลักดันอย่างเต็มที่ "คนส่วนใหญ่จะมอง ว่าการท่องเที่ยวนี่ผู้ประกอบการโรงแรมได้ประโยชน์ จริง อยู่ แต่ผู้ประกอบการโรงแรมได้ประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ของตัวเลขทั้งหมด การท�ำงานคมนาคมขนส่งและบริการ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ชุมชนถ้าเปลี่ยนความคิดนิดหนึ่งแล้วปรับ เข้ามาร่วมจะมีสว่ นได้รบั อีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ทางยุโรปบอก ว่าการท่องเที่ยวคือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในช่วงเวลา

หน้า ๙

หนึง่ กับพืน้ ทีๆ่ นัน้ เขาไม่ได้ตอ้ งการมองเห็นเมืองนครแบบ เมืองศิวไิ ลซ์ในยุโรป เขาต้องการมาเห็นพืน้ ทีท่ เี่ ป็นธรรมชาติ มีอตั ลักษณ์เอกลักษณ์ของนครฯ ทางอาจารย์มหาวิทยาลัย หอการค้าฯ และทีมงานทีท่ ำ� วิจยั เขาให้ความคิดแล้วต่อยอด กันลงมาว่า การท่องเทีย่ วเชิงอัตลักษณ์ การท่องเทีย่ วเชิงวิถี ไทยและการกระจายรายได้จะต้องเชือ่ มโยงกัน มันจะท�ำให้ มันต่อเนือ่ งกัน เพราะฉะนัน้ ๓ เรือ่ งทีเ่ ราเข้าไปจับในวันนี้ การเกษตร การค้าการลงทุน และท่องเทีย่ ว" นายกรกฎอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้สังคมจะกลายเป็น เมืองมากขึน้ แต่ภาคการเกษตรมีประชากรประมาณ ๕๐-๖๐ เปอร์เซ็นต์ของประเทศ "แต่พื้นที่ของเราที่บรรพบุรุษมอบ ไว้ให้ ที่เป็นทุนเดิมยังพึ่งพาดินฟ้าอากาศ แผ่นดินที่ดีอุดม สมบูรณ์ น�ำ้ ฝนดี ปริมาณมากเพียงพอ เพราะฉะนัน้ เราจึงคิด ว่าถ้าเป็นนักธุรกิจเรามองเป็นทุน แล้วเราจะไม่ทงิ้ ทุนนี้ ในมิติ ของการเกษตรเราใช้คำ� ว่าสมาร์ทมาจับ ในยุค ๔.๐ อะไรที่ ไม่สมดุล อะไรทีม่ ากเกินไป ปรับลดลงมา อะไรทีน่ อ้ ยเกินไป เราเติมให้ สิง่ ทีเ่ ราไม่เข้าใจในเรือ่ งขององค์ความรูเ้ ราเติมให้ อะไรทีเ่ ราผิดใช้พลาด เราลดการใช้งานลงมา เราลดปริมาณ การใช้ปยุ๋ นีค่ อื เป้าหมายของเรา ลดต้นทุนการผลิตในทุกมิติ นีค่ อื เป้าหมาย สิง่ ทีเ่ ราต้องท�ำคือการเพิม่ ผลผลิต แล้วก็อยาก เพิม่ ความรูแ้ ละความเป็นอัตลักษณ์ ส่วนการค้าการลงทุน

ยุคนีป้ ฏิเสธไม่ได้ ทุกคนมองว่าเราจะก้าวข้ามกับดักรายได้ ปานกลาง โหมดทีเ่ ราจะข้ามไปให้ได้" ประธานหอการค้าจังหวัดนครฯ มีความปรารถนา อย่างแรงกล้าที่จะท�ำงานเพื่อบ้านเกิด "ภาพของนครฯ ทุกคนมองนครฯ ในหลายมิติ แต่มิติหนึ่ง ที่ผมอยากให้ เกิดขึน้ ก็คอื ความร่วมมือ และความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน ซึ่งผมจะเอาเป็นหัวใจของการท�ำงานในช่วงสมัยของผม ของคณะกรรมการบริหารชุดนี้หรือชุดที่ ๑๗ ผมมองว่า ยุคสมัยมันเริ่มส่งผ่าน เราพูดถึงการส่งมอบ การสืบทอด แต่เราลืมไปว่าขบวนการการส่งมอบมีผใู้ ห้และผูร้ บั เราต้อง เอาตัวเองเข้าไปร่วมคุณวารินบอกเราในกลุ่มหอการค้าฯ ว่าถ้าเราอยูส่ ระขนาดหนึง่ การทีเ่ รากวักน�ำ้ เข้าหาตัวเอง เรา จะได้นำ�้ เท่าวงแขนเราเอือ้ มถึง แต่ถา้ เราผลักน�ำ้ ออกจากตัว น�ำ้ จะวนกลับมาในทุกๆ ทาง อันนีเ้ ราพยายามจะท�ำให้เป็น วัฒนธรรมองค์กร องค์กรจะแข็งแกร่งไม่ได้เลยถ้าทุกคน ไม่ได้ให้ความร่วมมือ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นมาเรารู้ว่าเรา เข้ามาแล้วเราให้ คนแรกให้คนทีส่ องเข้ามาเห็นว่าคนแรก ให้เขาก็ให้ คนทีส่ ามสีก่ อ็ ยากจะให้ ในส่วนของน้องๆ เรา บอกว่านครฯ เรามองเรื่องความร่วมมือ ในภาพของหอฯ ต้องชัดเจน สิ่งที่เกิดขึ้นเราไม่ท�ำเองด้วยตัวคนเดียว เรา ร่วมกันท�ำ ตอนนี้ในมุมนี้มุมมองว่าเรามีเวลาเป็นต้นทุน ถ้าเราดีเฉพาะเราหรือองค์กรเล็กๆ มันก็ไม่เพียงพอ เรา จะไม่ท�ำ...กับส่วนราชการเขามองว่าหอการค้าฯ ท�ำงาน ความร่วมมือกับส่วนราชการค่อนข้างดีมาก นับเป็นก้าว กระโดดก้าวใหญ่ ทีจ่ บั ต้องได้" นายกรกฎสรุป

ไม่ขาดปาก ส่วนที่ท�ำไม่ส�ำเร็จก็คืออาบน�้ำพ่อท่าน เพราะเตรียม การไม่ทัน ปีหน้าจะเชิญ 'รูปเหมือน' พระอริยสงฆ์ส�ำคัญ ของเมืองมาให้คนไว้สรงน�้ำกันด้วยน่าจะดี ปีนี้ได้คิดอ่าน เตรียมการกันต่อไป ขณะที่เราก�ำลังเตรียมงานโดยมีเด็กๆ เยาวชนจาก 'โรงเรียนบ้านศรีธรรมราช' มาช่วยกันท�ำ 'เปรียง' เพื่อ ประดับงาน เปรียงนีท้ ำ� ด้วยเปลือกหอยอย่างโบราณ หยอด เทียนใส่ไส้แต่งสีสวยงามท�ำแจกผู้คนน�ำไปประดับเปรียง ทั้งทิวธงกระดาษคนมาเที่ยวงานช่วยกันไปปักบนเจดีย์ ทราย สร้างสีสนั กับลานทรายหาดทรายแก้วให้สวยงามใน ยามค�ำ่ คืน ขณะทีเ่ ด็กๆเตรียมงานกันมีพระคุณเจ้ารูปหนึง่ ท่านได้เดินมาดู นัง่ ดูการท�ำงานของเด็กๆ ด้วยเมตตา ท่าน ถามถึงกิจกรรมทางศาสนา เรารีบตอบและนิมนต์พระคุณ เจ้าให้ชว่ ยคิดอ่าน ท่านก็ได้ให้ความเมตตากับคณะท�ำงาน โดยช่วยเป็นภาระจัดการแสดงธรรมเทศนาและนั่งสมาธิ

ภาวนาทุกคืน และยังมาแสดงปาฐกถาธรรม ณ ลานทราย ด้วยทุกเย็นช่วงพลบค�ำ่ ท�ำให้งานสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ก็วงิ่ เข้ามาสนับสนุนท�ำ ให้งานสนุกสนานอีกแบบหนึง่ มีทงั้ อบจ. ททท.นครศรีธรรมราช ชมรมถ่ายภาพหลายชมรม สือ่ มวลชนทีไ่ ม่ตอ้ ง ไปเชิญมาก็กระวีกระวาดมาเก็บภาพมาท�ำข่าว กวีน้อย เมืองนครก็เข้ามาขับกล่อมสร้างบรรยากาศโดยไม่มีการ เตรียมการมาก่อน นี่เป็นค�ำตอบอย่างหนึ่งที่เราจะพบได้ที่เมืองนคร ไม่จ�ำเป็นต้องมีค่าจ้าง มโนราห์สิบกว่าคณะก็มาแสดงได้ หน่วยงานต่างๆ ยืน่ มือมาช่วยทัง้ ๆ ทีไ่ ม่มหี นังสืออย่างเป็น ทางการไปเชิญไปขอ องค์กรเอกชนให้ทั้งอาหาร น�้ำดื่ม เลีย้ งคณะท�ำงานและคณะตลุงมโนราห์ ส่วนผูม้ าร่วมงาน ก็ยังบริจาคทรัพย์ซื้อทรายซื้อน�้ำโดยไม่ได้ร้องขอ ใครว่า คนเมืองนี้เป็นอย่างไรผมไม่รู้ แต่สิ่งที่ประสบมาย่อมเป็น เครื่องพิสูจน์ ถ้า 'คุณลงมือท�ำจริง' ถ้า 'คุณจริงใจไม่เอา ประโยชน์ตนเป็นทีต่ งั้ ' ทุกคนยินดีสนับสนุนคุณและยืนอยู่ ข้างคุณเสมอ

<< ต่อจากหน้า ๔

ชักชวนคนในเมืองมาก่อเจดีย์ทรายนั้น มันไม่ใช่วิถีชีวิต ของคนในเมืองที่ประเพณีนี้ไม่มีในวัดในเมือง จึงต้องหา ที ม มาสาธิ ต ติ ด ต่ อ วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค นครศรี ธ รรมราช วิทยาลัยศิลปะ กลุ่มยุวชนมัคคุเทศก์ จัดทีมมาก่อเจดีย์ ทรายกัน—ผลคนเห็นตัวอย่างช่วยกันก่อเจดีย์ทรายนับ พันองค์เต็มลานพระบรมธาตุ จนดูหาดทรายแก้วเรา เหมือนกับ 'ทุ่งเจดีย์เมืองพุกาม' ในเมืองพม่าทีเดียว เป็นอันว่ากิจกรรมครบทั้งสามวัน สิ่งที่ขาดไปคือ 'อาบน�ำ้ คนแก่' และ 'สรงน�ำ้ พ่อท่าน' เวลาก็เหลืออีกสอง วันจะเริม่ งาน ผมจึงวิง่ ไปหาผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่คนส�ำคัญของเมือง เรา เสียเวลาไปหนึ่งวันเพราะเตรียมรายชื่อแล้วไปเชิญ ท่าน ทราบข่าวเอาเมื่อไปถึงบ้านว่าสองท่านเสียชีวิตไป แล้วเมื่อสามเดือนก่อน อีกสองท่านป่วยมาไม่ไหว บาง ท่านลูกหลานไม่ยอมอนุญาตให้--เอาไว้อาบน�้ำกันเฉพาะ ในหมูญ ่ าติในครอบครัวลูกหลาน คงเหลือเพียง ๕ ท่านที่ รับปากมาร่วมงาน สถานทีอ่ าบน�ำ้ ก็กนั้ ด้วยไม้ไผ่สานด้าย ทางมะพร้าว เตรียมโอ่งมังกรสองใบ ได้ขนั เงินมาหลายลูก ใส่น�้ำอบน�้ำปรุงหอมคลุ้งด้วยกลิ่นดอกมะลิและกุหลาบที่ โรยอยู่บนน�้ำ ผลัดเปลี่ยนผ้าถุงอาบน�้ำ เตรียมสบู่ตรา นกแก้ว แป้งหอมอัมรารุน่ เก่าได้อารมณ์ทเี ดียวแหละ เมื่อเริ่มพิธีนายก อบจ. ผ่านมาก็เชิญเข้าไปอาบน�้ำ คนแก่ดว้ ย คือเข้าไปอาบให้คนแก่เพราะผมเลือกคนแก่ที่ แก่ จ ริ ง และแน่ จ ริ ง คื อ อยู ่ จ นอายุ ๘๐ ปี ขึ้ น ถึ ง จะใช่ 'คุณลดาวัลย์ ช่วยชาติ' ผอ.ททท.นครอาสาเข้ามาช่วยอาบ น�ำ้ ถูตวั เปลีย่ นเสือ้ ผ้าใหม่ให้คนแก่ ซึง่ ชุดเสือ้ ผ้าก็ได้รบั การ อนุ เ คราะห์ จ ากห้ า งผ้ า โชคดดี ใ ห้ ม าเปลี่ ย นผ้ า ใหม่ ใ ห้ ช่วยๆ กันครับ คนแก่กป็ ลืม้ อกปลืม้ ใจอวยพรให้ศลี ให้พร


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๐

(ต่อจากฉบับทีแ่ ล้ว)

วิ

หารพระกัจจายนะชาวบ้านทั่วไปเรียก 'วิหารพระ แอด' มีความเป็นมาอย่างไรจึงได้เรียกชือ่ นีย้ งั ไม่มหี ลัก ฐานใดปรากฏชัด บางท่านตัง้ ข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก ค�ำเรียกท่ากึง่ นัง่ กึง่ นอนนีว้ า่ 'พระเอกเขนก' คือท่านัง่ นอน ตามสบาย แล้วเพี้ยนมาเป็น 'พระแอด' ตามลิ้นชาวบ้าน จะจริงเท็จอย่างไรต้องสืบค้นต่อไปอีก ค�ำว่า 'พระกิจจายนะ' เป็นภาษาบาลี คนทัว่ ไปนิยม เรียกเป็นภาษาไทยว่า 'พระสังฆจายย์' เราจึงได้ยินการ เรียกชือ่ ทีต่ า่ งกันอยู่ มีประวัตเิ ล่าว่า 'พระมหากัจจายนะ' เป็นพระภิกษุครัง้ พุทธกาล เดิมชือ่ 'กัจจะนะ' เป็นบุตรของ พราหมณ์ในตระกูลกัจจายนะ มีรปู ร่างสง่างาม เมือ่ ได้บวช เรียนเข้ามาเป็นภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับ การยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านการ อธิบายธรรมโดยย่อได้อย่างพิสดาร ใช้ภาษาในการพูดให้ ผูอ้ นื่ เข้าใจธรรมง่าย ๆ มีไหวพริบปฏิภาณแก้ไขสถานการณ์ เฉพาะหน้าได้ดี รวมความแล้วท่านเป็นผู้มีปัญญาเป็น ชัน้ เลิศ ด้วยความที่ท่านมีรูปงามผิวพรรณผุดผ่องดั่งทอง จนท�ำให้โสรายะหลงใหลจนเกิดเรื่องใหญ่โต เหล่าภิกษุ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อได้เห็นพระมหากัจจายะ

ภิ

กษุ ทั้ ง หลาย ! มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่ อ ม ปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจักเป็นผู้อัน บุรุษร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไป ในหมู่บ้าน นิคมและราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่น เบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่น เผาผลาญ สมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือ พั น หนึ่ ง แวดล้ อ มแล้ ว เที่ ย วไปในหมู ่ บ ้ า น นิ ค มและ ราชธานี เบี ย ดเบี ย นเอง ให้ ผู ้ อื่ น เบี ย ดเบี ย นตั ด เอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรม วินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่ อ ไรหนอเราจึ ง จั ก เป็ น ผู ้ อั น ภิ ก ษุ ร ้ อ ยหนึ่ ง หรื อ พั น หนึ่งแวดล้อมแล้วเที่ยวจาริกไปในหมู่บ้าน นิคมและ ราชธานี อั น คฤหั ส ถ์ แ ละบรรพชิ ต สั ก การะ เคารพ นับถือ บูชา ย�ำ เกรง ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สมัยต่อมาเธอเป็นผู้อันภิกษุ ร้ อ ยหนึ่ ง หรื อ พั น หนึ่ ง แวดล้ อ มแล้ ว เที่ ย วจาริ ก ไปใน หมู ่ บ ้ า น นิ ค มและราชธานี อั น คฤหั ส ถ์ แ ละบรรพชิ ต สั ก การะ เคารพ นั บ ถื อ บู ช า ย� ำ เกรงแล้ ว ได้ จี ว ร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้ง หลาย.

เถระเดินมาแต่ไกล ต่างก็กล่าวว่าพระพุทธศาสดาเสด็จแล้ว เพราะท่านมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพระพุทธองค์ ผู้คน ต่างกราบไหว้สกั การะด้วยคิดว่าเป็นพระพุทธองค์ พระกัจจายนะพิจารณาเห็นโทษดังนีแ้ ล้ว จึงอธิษฐานจิตให้รปู ร่าง เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รูปร่างจึงย่นย่อน่าเกลียดต�่ำเตี้ย ท้องป่องจนหมดความสวยงาม แต่ทา่ นก็ดใี จตรงทีผ่ คู้ นจะ ได้ไม่หลงใหลในความงามจนลืมใส่ใจพระธรรม

'วิหารพระแอด' แต่เดิมนั้นเป็น ศาลาอยู่นอกระเบียงคตใกล้ๆ กับวิหาร ธรรมศาลา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ย้ายเข้า มาอยูเ่ สียภายในระเบียงคต แต่ยงั เป็นลักษณะศาลาโปร่ง เหมือนเดิม รูปองค์พระไม่เหมือนปัจจุบัน เป็นปูนปั้นรูป ทรงเทอะทะ ศีรษะเล็กนอนเอกเขนกแหงนหน้ามองฟ้า เคยมีคนแก่ยุคก่อนเล่าว่าบนหลังคาเป็นกระเบื้องเอาไว้ ช่องใหญ่ เพือ่ ให้พระรูปได้แหงนมองท้องฟ้า นัยว่ามีการ ท�ำพิธขี อฝนให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ แทนการมีปญ ั ญาเป็น เลิศอย่างทีท่ า่ นมี เมื่อถึงสมัยท่านพระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถุปมาภิบาล (ท่านปาน) ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ได้มกี ารบูรณะครัง้ ใหญ่ โดยสร้างเป็นพระวิหาร ต่อจากนัน้ ท่านเจ้าคุณม่วงก็มกี าร ปรับแต่งองค์พระให้งดงามยิง่ ขึน้ โดยทาเป็นสีทองอร่ามทัง้ องค์ ไม่แหงนหน้าแบบเดิมดังทีเ่ ห็นในปัจจุบนั 'พระแอดหรือพระกัจจายนะ' ในวัดพระมหาธาตุนี้ จะมีความแตกต่างจาก 'พระสังฆจายน์' ในที่อื่น ซึ่งส่วน มากเป็นนิกายมหายาน ผู้คนมักนับถือไปในแง่เป็นพระ ที่มีเมตตาและความอุดมสมบูรณ์ของสุขภาพ ใบหน้าจะ ยิม้ แย้ม ส่วนทางบ้านเราแต่เดิมเชือ่ ถือในเรือ่ งของการขอ ฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน แต่ต่อมาก็เชื่อใน เรื่องการอธิษฐานให้หายจากโรคภัย โดยเฉพาะปวดหลัง ปวดเอวดังเห็นด้านหลังมีชอ่ งส�ำหรับเอาไม้ไปวางค�ำ้ ลอง เข้าไปดูเผือ่ ปะเหมาะเคราะห์ดหี ายปวดขึน้ มาจริง จะได้ไม่ ต้องไปหาหมอก็เป็นได้

ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ! นี้ เ ป็ น มหาโจรจ�ำพวกที่ ๒ มีปรากฏ อยู่ในโลก. ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ! อี ก ข้ อ หนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูป ในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามก�ำจัด เพื่ อ นพรหมจารี ผู ้ ห มดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็น ข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้. ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ! นี้ เ ป็ น มหาโจรจ� ำ พวกที่ ๓ มี ปรากฏอยู่ในโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบาง รูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อารามวิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อ โลหะ อ่างโลหะ กะถางโลหะ กะทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกะต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน. ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ! นี้ เ ป็ น มหาโจรจ� ำ พวกที่ ๔ มี ปรากฏอยู่ในโลก. ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ! ภิ ก ษุ ผู ้ ก ล่ า วอวดอุ ต ตริ ม นุ ส ส ธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหา โจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมหาโจรจ�ำพวกที่ ๑ มีปรากฏ เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นฉันก้อนข้าวของชาวแว่น แคว้นด้วยอาการแห่งคนขโมย. อยู่ในโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูป บาลี มหา. วิ. ๑/๑๖๙/๒๓๐. ในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมอวดอ้างว่าเป็นของตน.


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ

<< ต่อจากหน้า ๒

ที่การค้านั้นมีต่อโครงสร้างภายในของชุมชน...” แถมยัง ท้าแรงไว้ด้วยว่า “...ท�ำให้สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับไปหาค�ำ ‘เสียงดัง’...” ที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่ง “หล่อหลอมให้ อธิบายทางภูมิศาสตร์ที่จนตรอก...” แล้วจึงชี้ประเด็นที่ผู้ นครศรีธรรมราชมีอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่น่าสนใจ ซึ่ง เขียน(น่าจะคิดว่า)ไม่จนตรอก ชี้ให้เป็นประเด็น “การค้า อาจสามารถตอบค�ำถามที่น่าสนใจได้ว่าเหตุไฉนนครศรี- ของป่ามากกว่าการเกษตรกรรม” จากนานาหลักฐานที่ ธรรมราชและพื้นที่อื่นๆ ใก้ลเคียงที่เคยถูกควบคุมอย่าง ใกล้ชิดกับนครศรีธรรมราชจึงสามารถหลอมตัวเองเข้า กั บ วาทกรรมความเป็ น สยาม/ไทยได้ อ ย่ า งกลมกลื น ตลอดมา ไม่เหมือนกับปัตตานีที่ยังคงกลายเป็น “ชน กลุ่มน้อย” หรือชายขอบของความเป็นไทยอยู่กระทั่งทุก วันนี้” “ความเงียบ” และ “เสียงดัง” และวัฒนธรรม ผมก็ชอบและติดตามศึกษาค้นคว้าเสมอมา ก่อนที่จะเน้น เสนอเรื่อง “การเกษตร” ที่พัฒนาอย่างมากจนผู้เขียน การเมืองแบบอุปถัมภ์ สรุปว่า คือ “...เสาหลักสองอย่างของนครศรีธรรมราช ในบทนี้ที่เริ่มจากข้อสังเกตว่าต�ำนานทั้งสองเพิ่ง คือ เศรษฐกิจการค้าและการกัลปนา” แล้วตอกย�้ำไว้ว่า ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองสถานการณ์ทางการเมืองบาง “แต่ต�ำนานในกลุ่มต�ำนานเมืองสองฉบับหลัก...เหมือน อย่างซึ่งนครศรีธรรมราชอ่อนแอและเพลี่ยงพล�้ำ เป็น จะตั้งใจหลงลืมตัวตนทางโลกย์เช่นนี้ไป โดยเฉพาะตัวตน เพียงการสร้างเหตุผลให้กับกิจกรรมทางการเมืองของ ทางด้านเศรษฐกิจการค้านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับฮิกายัต เมืองนคร โดยเลือกที่จะ “ไม่จดจ�ำ” และ “ส่งเสียงดัง” ในวัฒนธรรมมลายูมุสลิมแล้ว...” และ “...กลายเป็นความ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบหลายประการ เช่น ๑การเป็นเมืองท่าที่ยิ่งใหญ่ มีฐานอยู่ที่การเกษตรกรรม เงียบที่ผู้บันทึกต�ำนานไม่ยอมเปล่งเสียง ในบทความนี้ คุณพิเชฐได้คน้ คว้าหลายเรือ่ งทีล่ ว้ นน่า แต่ “...ถูกอธิบายทิ้งค้างไว้อย่างโดดเดี่ยวให้เป็นเพียง สนใจเอามาประกอบการสนับสนุนสมมุติฐานนี้ โดยเฉพาะ กิ จ กรรมของชาวต่ า งประเทศและชนชั้ น ผู ้ ป กครอง เรื่องการค้าของป่านานาชาติ การกัลปนาต่างๆ จนกระทั่ง เท่านั้น ขาดความพยายามเชื่อมโยงให้เห็นถึงอิทธิพล ต�ำนานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่งเรื่อง สลัดนคร เงินตรา นอโม เก้าเส้ง เคร็ง พังพการ พร้อมกับชี้หลายประเด็นที่ ผมต้องใส่ดาวเอาไว้ตามต่อ เช่น “...หากมองจากมโนทัศน์ ทางพุทธศาสนาปัจจุบัน ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของ ๒ เมืองที่พยายามสถาปนาตัวตนขึ้นมาในฐานะศูนย์กลาง แห่งพุทธศาสนาดูจะขัดแย้งกันไม่น้อย อาจชวนสงสัยว่า พร้อมๆ กับที่มั่งคั่งขึ้นในฐานะเมืองท่าการค้าที่มีอ�ำนาจ ควบคุมเมืองท่าอื่นๆ อยู่ด้วยเป็นครั้งคราว นครศรีธรรมราชจะกลายเป็นเมืองพุทธศาสนาไปได้อย่างไร เพราะ พุทธศาสนากับการค้าก�ำไรดูจะเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้... เป็นที่น่าสังเกตว่าการที่ต�ำนานเงียบเสียงที่จะกล่าวถึงราย ละเอียดเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า...”

อาจารย์แก้ว

หน้า ๑๑

พระธาตุ : การสร้างอ�ำนาจของนครผู้อ่อนแอ

ในตอนท้ายของบทความที่คุณพิเชฐใช้ นิพพานสู ต ร ซึ่ ง เมื อ งนครมี ห ลายฉบั บ มาก และสรุ ป ว่ า นิ ย ม มากในช่ ว งต้ น จนถึ ง กลางรั ต นโกสิ น ทร์ มาสนั บ สนุ น สมมุติฐานว่าเป็นความ “...พยายามสร้างความทรงจ�ำ ใหม่เกี่ยวกับพระธาตุ” ซึ่งเป็น “ ‘ผล’ ของวัฒนธรรม การเมื อ งแบบอุ ป ถั ม ภ์ นี้ . ..ที่ เ มื อ งนครศรี ธ รรมราชนี้ อ่อนแอมากแล้ว...” และเป็นการถ่ายโอน “ภาระต่อ พระธาตุจึงตกมาถึงมือของประชาชน...ส่งเสียงเรียกร้อง ประชาชนให้เข้ามาอุปถัมภ์พระธาตุ พร้อมกับสถาปนา พระธาตุให้เป็นตัวตนใหม่ของนครศรีธรรมราช...สร้าง ความทรงจ� ำ ใหม่ แ ก่ ป ระชาชนเกี่ ย วกั บ การสู ญ เสี ย สถานะทางการเมืองที่เคยเป็นรัฐอิสระ...ท�ำหน้าที่ชี้แจง กับประชาชนว่าความพ่ายแพ้ของนครศรีธรรมราชนั้น แท้จริงแล้วคือชัยชนะ...” รีบไปหามาอ่านกันนะครับ ผมชอบหลายอย่างใน นั้น แม้ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด มี แ ต่ พ วกเราคนนครทั้ ง หลายที่ จ ะต้ อ งคลี่ ค ลาย และให้ความหมายกันเองต่อไปนะครับ เพราะเราทั้งนั้น คือผู้สร้างประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะค่อยๆ ถูกเอาไปเล่า ขานจนกลายเป็นต�ำนาน. ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐

(ต่อจากหน้า ๑๕)

ระบบที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ ส�ำคัญๆ มีดงั นี้ ๑. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ท�ำหน้าที่ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็น ไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) มีการน�ำ แผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถวหรือ เป็นชุด (Solar Array) เพือ่ ให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตาม ทีต่ อ้ งการ ๒. เครือ่ งควบคุมการประจุ (Charge Controller) ท�ำหน้าที่ประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสง อาทิตย์เข้าสูแ่ บตเตอรี่ และควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า ให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้ งานของแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจาก แบตเตอรีด่ ว้ ย

๓. แบตเตอรี่ (Battery) ท�ำหน้าทีเ่ ป็นตัวเก็บพลังงาน ไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เวลาทีต่ อ้ งการ เช่น เวลาทีไ่ ม่มแี สงอาทิตย์ เวลากลางคืน ๔. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ท�ำหน้าที่ แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ทีผ่ ลิตได้จากแผง เซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่ง เป็น ๒ ชนิด คือ Sine Wave Inverter ใช้ได้กบั อุปกรณ์ ไฟฟ้ากระแสสลับทุกชนิด และ Modified Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ไม่มีส่วน

ประกอบของมอเตอร์และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็น Electronic ballast ๕. ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection) ท�ำหน้าทีป่ อ้ งกันความเสียหายทีเ่ กิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเมือ่ ฟ้าผ่า หรือเกิดการเหนี่ยวน�ำท�ำให้ความต่างศักย์สูง ใน ระบบทั่วไปมักไม่ใช้อุปกรณ์นี้ จะใช้ส�ำหรับระบบขนาด ใหญ่และมีความส�ำคัญเท่านัน้ รวมถึงต้องมีระบบสายดิน ทีม่ ปี ระสิทธิภาพด้วย ด้วยความปรารถนาดี อาจารย์แก้ว


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๒

“ห

มอ....หลังผ่าตัดมะเร็งที่ลิ้นและ ได้รับการฉายรังสีไปตั้งปีมาแล้ว ลุงยังกินอะไรไม่อร่อยเลย ปากแห้งตลอด เวลาอ้าปากก็ตึง แถมยังรู้สึกว่าคอฟันผุ กร่อนพร้อมจะหักตลอดเวลา” นี่ คื อ ผลในด้ า นที่ ไ ม่ ดี นั ก ส� ำ หรั บ ผู ้ ป่วยซึ่งเป็นมะเร็งช่องปากในระยะที่ ๓ หรือ ๔ หากผู้ป่วยคนเดียวกันเป็นมะเร็ง ช่องปากในระยะที่ ๑ หรือ ๒ การรักษา อาจเป็ น เพี ย งการผ่ า ตั ด โดยไม่ ต ้ อ งรั บ การฉายรั ง สี และหากผู ้ ป ่ ว ยเป็ น เพี ย ง รอยโรคสีขาวหรือแดงชนิดก่อนเป็นมะเร็ง ช่องปาก การรักษาอาจเป็นเพียงการตัด ชิ้นเนื้อเล็กๆ ไปส่องกล้องตรวจ แล้วนัด ติดตามดูอาการของโรคทุก ๖ เดือน หรือ ดีที่สุดถ้าผู้ป่วยมีแนวโน้มจะเป็นมะเร็ง ช่องปาก แต่สามารถหยุดปัจจัยเสีย่ ง เช่น เหล้า บุหรี่ หมาก ได้อย่างถาวร มะเร็ง ช่องปากก็อาจจะหนีไปไกลแสนไกลตาม ชือ่ เรือ่ งเป็นแน่ สั ป ดาห์ ที่ นั่ ง เขี ย นบทความนี้ คื อ สั ป ดาห์ ที่ เ ตรี ย มไปให้ ค� ำ แนะน� ำ น้ อ งๆ ทันตแพทย์และทันตบุคลากรอืน่ ๆ ในเขต สุขภาพที่ ๑๑ (นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ ธานี ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา) เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็ง ช่องปากให้กบั ประชาชนกลุม่ เสีย่ งในพืน้ ที่ แต่ละจังหวัดของตน สถิตชิ ายไทยภาคใต้ครองแชมป์ มารู้จักมะเร็งช่องปากกันสักหน่อย มะเร็งช่องปากมีหลายชนิด แต่ชนิดที่พบ มากที่สุด มากกว่าร้อยละ ๙๕ คือมะเร็ง ที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า สควัวมัส เซลล์ (Squamous cell carcinoma) เป็นมะเร็งของเยื่อบุช่องปากในต�ำแหน่ง ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นลิน้ พืน้ ช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ริมฝีปาก การ ศึกษาในระดับประเทศพบว่าผู้ชายไทยได้ รับเกียรติให้เป็นมะเร็งช่องปากมากเป็น ล�ำดับที่ ๗ (ล�ำดับที่ ๑ คือมะเร็งตับ ล�ำดับ ที่ ๒ คือมะเร็งปอด) ส่วนผู้หญิงไทยโชค ดีหน่อยที่พบบ่อยเพียงล�ำดับที่ ๑๑ หรือ ๑๒ (ล�ำดับที่ ๑ คือมะเร็งเต้านม ล�ำดับที่ ๒ คือมะเร็งปากมดลูก) การศึกษาเปรียบ เทียบในระดับภูมภิ าคของไทย พบว่าชาย ไทยภาคใต้ ค รองแชมป์ ม ะเร็ ง ช่ อ งปาก ตัวนี้ เราชาวใต้จึงต้องให้ความสนใจ แม้ ตนเองจะไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ตาม ควรช่วยกันเผื่อแผ่ความรู้ในการป้องกัน ตนเองไปยั ง ผู ้ ค นรอบด้ า นที่ ยื น อยู ่ บ น ความเสีย่ งต่างๆ

อะไรเป็ น ปั จ จั ย สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด มะเร็ ง ช่องปาก ผู ้ ป ่ ว ยมะเร็ ง ช่ อ งปากมี อ ายุ เ ฉลี่ ย ประมาณ ๖๐ ปี ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วย ที่ มี อ ายุ ต�่ ำ กว่ า ๔๕ ปี ซึ่ ง คาดว่ า เป็ น ผลมาจากยี น ส์ ที่ ผิ ด ปกติ ไ ป ปั จ จั ย เสี่ ย ง ที่ ส นั บ สนุ น ให้ เ กิ ด มะเร็ ง ตั ว นี้ มี ห ลาย ประการ ประการแรกก็ คื อ พฤติ ก รรมที่ เรารณรงค์กันมามากมายแต่ยังไม่ประสบ ความส�ำเร็จซะที การดื่มสุราและสูบบุหรี่ ยิ่ ง บริ โ ภคร่ ว มกั น ทั้ ง สองชนิ ด ยิ่ ง ส่ ง เสริ ม การเป็นมะเร็งช่องปากได้ดีนักแล เพราะ ล้ ว นแต่ มี ผ ลต่ อ การเปลี่ ย นแปลงของ เซลล์เยื่อบุช่องปาก เช่นเดียวกับการเคี้ยว หมาก เป็นความโชคดีที่ผู้คนทันสมัยเลิก เคี้ ย วหมาก ยั ง คงห่ ว งแต่ คุ ณ ย่ า คุ ณ ยาย อีกหลายๆ ท่าน ที่นอนไม่หลับหากปาก ขาดพลูและหมาก ปูนที่ใช้ผสมหมากสร้าง ความระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากเสียนี่ กระไร ช่วยกันจ�ำให้ขนึ้ ใจ บุหรี่ เหล้า และ เคีย้ วหมาก เลิกได้แล้วจ้า ลูกขอบิณฑบาต ก็ใช่วา่ คนทีไ่ ม่สบู บุหรีแ่ ละไม่ดมื่ เหล้า จะไม่เป็นมะเร็งช่องปาก ปัจจัยด้านการ ขาดสารอาหารโดยเฉพาะวิตามินเอที่มา จากผักผลไม้ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเพิ่มอนุมูล อิสระให้ร่างกายมีพลังในการต่อต้านมะเร็ง ช่องปาก ปัจจัยนี้จึงท�ำให้พบว่ามะเร็งช่อง ปากมักพบในผู้คนที่มีระดับเศรษฐานะไม่ ดีนกั ทัง้ สูบ ทัง้ ดืม่ แล้วยังไม่มเี วลาสรรหา อาหารที่เป็นประโยชน์ให้กับร่างกาย คุณ พระคุณเจ้าก็ไม่รจู้ ะช่วยลูกช้างได้อย่างไร การติ ด เชื้ อ ไวรั ส บางชนิ ด มี ส ่ ว น สนับสนุนให้เกิดมะเร็งช่องปากหรือมะเร็ง ภายในโพรงจมูกและมะเร็งภายในคอ เรา จึงควรร่วมกันดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็ง แรงเสมอ ดูแลสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้านให้ ถูกสุขอนามัย มุ่งสร้างพฤติกรรมที่ดีให้กับ ชีวิต เพื่อจะได้มีแรงต่อต้านกับเชื้อไวรัส มากมายหลายชนิด สุ ข ภาพช่ อ งปากที่ ไ ม่ ดี ก็ เ ป็ น อี ก ปั จ จั ย ที่ ส นั บ สนุ น ให้ เ กิ ด มะเร็ ง ช่ อ งปาก การมีขอบฟันคมๆ ฟันปลอมหมดสภาพ และหลวมโคลกเคลก ท�ำให้เกิดการบาด เจ็บต่อเนื้อเยื่อช่องปากอย่างเรื้อรัง และ กลายเป็นมะเร็งช่องปากได้ การละเลยการ ดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดและแข็งแรง

อย่างสม�ำ่ เสมอ ก็หมายถึงการพลาดโอกาส ในการมองเห็นความผิดปกติของเนือ้ เยือ่ ใน ช่องปากของตนเอง ตั้งแต่รอยโรคนั้นยังมี ขนาดเล็กๆ เป็นเพียงรอยขาวหรือรอยแดง ไม่ใช่แผลเหวอะใหญ่ๆ รังสีอุลต้าไวโอเลตจากแสงแดด มี ส่ ว นกระตุ ้ น ให้ เ กิ ด มะเร็ ง ของริ ม ฝี ป าก ชาวไร่ชาวนาก็คงต้องหาผ้าขาวม้ามาปิด ริ ม ฝี ป ากในยามที่ ก ร� ำ งานกลางแดดจ้ า ปัจจัยสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงคือ ความผิด ปกติทางกรรมพันธุ์ของยีนส์บางตัว เรา จึงอาจพบมะเร็งช่องปากในผู้คนที่ไม่ได้มี ปัจจัยเสีย่ งดังทีก่ ล่าวข้างต้น และยังเป็นคน ที่อายุน้อยๆ น้อยกว่า ๔๕ ปี แต่ปัจจัยใน กรณีสดุ ท้ายนีพ้ บได้ไม่มากนัก

(รูปที่ ๑)

บริเวณคางหรือคอ เนื่องจากเซลล์มะเร็ง ชอบที่จะกระจายไปยังต่อมน�้ำเหลื อ งที่ อยูใ่ กล้เคียง มะเร็งช่องปากยังอาจกระจาย ไปยังปอด ตับ และกระดูกอืน่ ๆ ของร่างกาย ต�ำแหน่งที่พบมะเร็งช่องปากในคน ไทยได้มากเรียงล�ำดับดังนี้ ลิ้น พื้นช่อง ปากใต้ลิ้น และกระพุ้งแก้ม การตรวจ วินิจฉัยมะเร็งช่องปากจากลักษณะต่างๆ ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว จ� ำ เป็ น ต้ อ งแยกแยะ ออกจากรอยโรคอื่นที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน ทางที่ดีควรรีบแวะ ไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ การวินิจฉัย ที่แน่นอนได้จากการตัดชิ้นเนื้อของรอย โรคเพี ย งเล็ ก น้ อ ยไปส่ อ งกล้ อ งตรวจดู เซลล์ ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อ ดูการกระจายไปยังต่อมน�้ำเหลืองบริเวณ คอ ภาพเอกซเรย์ ป อด และตรวจการ ท�ำงานของตับ ฯลฯ

(รูปที่ ๒)

ลักษณะของมะเร็งช่องปาก ลักษณะของมะเร็งช่องปากที่พบได้ บ่อยที่สุด คือ แผลเรื้อรังที่มีขอบแผลยก สูงเล็กน้อย (รูปที่ ๑) มักเป็นมานานกว่า ๒ สัปดาห์ หรือเป็นเดือน โดยแผลจะไม่ เคยหายหรือทุเลาเล็กลง แต่การพบแผล เรื้อรังในช่องปากก็อาจเป็นโรคอื่นๆ ได้อีก มากมาย ซึง่ ทันตแพทย์จะต้องวินจิ ฉัยแยก โรคให้ได้ ลักษณะถัดมาคือ การหนาตัวของ เนื้อเยื่อในช่องปาก อาจหนายกตัวเป็น ก้อนออกมาด้านนอก (รูปที่ ๒) หรือหนา และดันเข้าไปยังเนือ้ เยือ่ ด้านใต้ พบลักษณะ เช่นนี้ได้บ่อยบริเวณลิ้น การตรวจมะเร็ง ช่องปากบริเวณลิน้ จึงต้องคล�ำความหนาตัว ของลิ้น ยิ่งหนาลึกเข้าไปมากก็ยิ่งบอกว่า ความเป็นมะเร็งในระยะที่ ๓ หรือ ๔ มากขึน้ ลักษณะที่ดูจะเบาที่สุดคือ รอยขาว หรือรอยแดง ของเนื้อเยื่อช่องปาก รอย ขาวต้ อ งขู ด ไม่ อ อก (รู ป ที่ ๓) อาการที่ รุนแรงน้อยทีส่ ดุ คือ รอยขาวบางๆ ผิวเรียบ สม�่ำเสมอ ส่วนรอยแดงเป็นชนิดที่รุนแรง มากที่ สุ ด ในกลุ ่ ม ที่ มี อ าการใกล้ เ คี ย งกั น รอยขาวและรอยแดงของเนื้อเยื่อช่องปาก ยั ง อาจเป็ น เพี ย งรอยโรคที่ พ ร้ อ มจะเป็ น มะเร็ง (precancerous lesion) การตัดชิน้ เนือ้ เล็กๆ ไปส่องกล้องตรวจก็สามารถบอก ได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ทั้งรอยขาวที่ขูดไม่ ออกและรอยแดงในช่องปากยังอาจเป็น รอยโรคอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งช่อง ปากได้เช่นกัน อย่าเพิง่ รีบตกใจ มะเร็งช่องปากในระยะที่ ๓ หรือ ๔ เรา อาจตรวจพบการบวมโตของต่อมน�้ำเหลือง

(รูปที่ ๓)

ตรวจให้ พ บรอยโรคก่ อ นมะเร็ ง (precancerous lesion) รอยโรคก่อนมะเร็งมักเป็นรอยโรค สี ข าวชนิ ด ขู ด ไม่ อ อกบนเนื้ อ เยื่ อ ช่ อ ง ปาก หรืออาจเป็นรอยโรคสีแดง ตั้งแต่ ขนาดเล็กๆ ถึงขนาดโต ผลการตัดชิน้ เนือ้ ไปส่องกล้องตรวจไม่พบความเป็นมะเร็ง ช่องปาก เราอยากให้ประชาชนทุกๆคน โดยเฉพาะผู้ที่อยู๋ในกลุ่มเสี่ยง แม้จะไม่ สามารถ ลด ละ เลิ ก การดื่ ม สุ ร า สู บ บุหรี่ และเคีย้ วหมาก ได้มที างเลือกให้กบั ตนเอง เพียงแค่การอ้าปากส่องกระจก ทุกสัปดาห์ (รูปที่ ๔) เพือ่ มองหารอยขาว รอยแดงของเนื้อเยื่อช่องปาก เริ่มจากริม ฝีปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิน้ และพืน้ ช่องปากใต้ลนิ้

(รูปที่ ๔)

ยามใดก็ตามที่ท่านมีรอยขาวขูดไม่ ออก รอยแดง การหนาตัว แผล หรือมี อาการระคายเคืองเจ็บแสบในช่องปาก ท่านไม่ควรรีรอที่จะไปรับการตรวจจาก แพทย์หรือทันตแพทย์ หมั่นดูแลรักษา สุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ รับ ประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ รวบรวม ก�ำลังใจอันเข้มแข็งเพื่อลด ละ เลิกปัจจัย เสี่ยงต่างๆ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดี ห่างไกลจากมะเร็งช่องปาก


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

“ท่

านผูโ้ ดยสารโปรดทราบ รถไฟก�ำลัง เข้าตัวเมืองนครแล้ว กรุณาเตรียม ตัวเก็บสัมภาระด้วยครับ” เสียงเตือนจาก พนักงานบนโบกีร้ ถไฟ แสงอาทิตย์ยามสาย สาดเข้ามาในรถชวนให้เรามองไปยังหน้าต่าง ที่ผ่านท้องนา มองไปไกลๆ เห็นยอดเจดีย์ พระธาตุสีทองเปล่งแสงสวยงามอยู่เหนือ ยอดต้นไม้ ผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านบนรถต่าง ยกมือพนมขึ้นเหนือศีรษะท�ำการสักการะ องค์พระบรมธาตุทกี่ ลายเป็นวัฒนธรรมของ ชาวเมืองนี้ไปแล้ว รถไฟได้วิ่งตีคู่ขนานกับ ถนนสายหนึง่ ก่อนเข้าตัวเมืองทีด่ เู หมือนเพิง่ ตัดใหม่ จึงยังเห็นภาพทิวทัศน์สบายตาและ ไม่มบี า้ นเรือนสิง่ ก่อสร้างมากนัก ถนนสายนี้ แหละครับ “ถนนพุทธภูม”ิ ผมได้เขียนบทความเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ เรื่อง “ถนนพุทธภูมิ...เส้น ทางสู่มรดกโลก” พูดถึงโครงการปรับปรุง และก่อสร้างถนนสายนีใ้ นปีนนั้ เพือ่ รองรับ การน�ำเสนอวัดพระบรมธาตุขนึ้ ทะเบียนเป็น มรดกโลก โดยสถาปนิกกรมโยธาธิการฯ ได้ มารับข้อมูลเจตนารมณ์ของการสร้างถนน นี้ จึงมีการออกแบบถนนให้มอี งค์ประกอบ ของเส้นทางรถจักรยาน และจัดภูมทิ ศั น์ให้ มีงานตกแต่งถนน (street furniture) อย่าง สวยงาม แม้วา่ ตอนนีถ้ นนได้สร้างเสร็จช่วง หนึง่ และเปิดใช้งานแล้วก็ตาม แต่ยงั ไม่เสร็จ สมบูรณ์ตามทีอ่ อกแบบไว้ ผมได้เคยพูดถึงโครงการถนนพุทธภูมิ นี้จะเป็นต้นแบบในกระบวนการคิดอย่าง มี ส ่ ว นร่ ว มของทุ ก ภาคส่ ว น โดยการจุ ด ประกายความคิดจากการน�ำพระบรมธาตุสู่ มรดกโลก ที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ ชาวนครและนักท่องเทีย่ ว กระบวนการนีจ้ งึ ควรให้ประชาชนได้เรียนรู้และเปิดใจกว้าง รับฟังซึง่ กันและกันอย่างปัญญาชน ซึง่ ผมจะ ให้ขอ้ มูลเบือ้ งต้นเพือ่ ท่านจะได้เห็นภาพก่อน และแนะน�ำท่านทีไ่ ม่เคยผ่านถนนเส้นทางนี้ ลองไปสัมผัสด้วยตัวท่านเองสักครัง้ ถนนสายนี้เริ่มจากจุดตัดถนนเลียบ ทางรถไฟ ซึง่ เป็นการปรับปรุงแนวถนนเดิม ตัดผ่านทีด่ นิ ของชาวเมืองทีไ่ ด้บริจาคให้เป็น ส่วนเชื่อมต่อถนนไปยังถนนท่าชีที่อยู่ใกล้ ถนนด้านหลังวัดพระบรมธาตุเพียง ๒๐๐ เมตรเท่านัน้ มีระยะทาง ถนนช่วงนี้ ๒,๑๐๐ เมตร เป็นถนนผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาบ ๒ ฝัง่ คลองส่งน�ำ้ ชลประทานข้างละ ๗.๕๐ เมตร ด้วยงบประมาณของจังหวัดใน ปี ๒๕๕๗ เป็นเงิน ๗๐ ล้านบาท ริมถนน สองฝั่งยังเป็นพื้นที่โล่ง เป็นที่นา และสวน ของชาวบ้าน รองศาสตราจารย์ ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ท่านได้เบิกโรงกิจกรรมริมถนนสายนี้แล้ว โดยได้น�ำประเพณีการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม ของนครทีม่ พี ธิ กี รรมทางความเชือ่ โบราณมา ท�ำนาในแปลงสาธิต และได้ผลเก็บเกีย่ วเป็น ทีเ่ รียบร้อยไปรอบหนึง่ แล้ว ปัจจุบนั ถนนสาย นี้ได้ช่วยลดความแออัดของการจราจรที่จะ ออกสูน่ อกเมืองได้อกี เส้นทางหนึง่ ประกอบ กั บ การออกแบบถนนส� ำ หรั บ รถจั ก รยาน ควบคู่กันไป จึงมีคนมาปั่นจักรยานกันที่นี่ มากขึน้ ด้วย มีอากาศและสิง่ แวดล้อมทีด่ ี โดย เฉพาะอย่างยิง่ มองเห็นทิวทัศน์ทสี่ วยงามทัง้ ยามเช้าและยามเย็น แต่นนั่ แหละครับ การ มองเห็นพื้นที่ท�ำธุรกิจในถนนสายนี้ของนัก ลงทุน ก็มากว้านซื้อที่ดินแปลงใหญ่ไปมาก แล้ว และคาดว่าในอนาคตคงจะมีโครงการ ก่อสร้างตามกันมาอีกมากมาย ซึง่ อาจมีผลก ระทบต่อเจตนารมณ์ของการสร้างถนนสาย นี้ หากยังไม่มกี ารสร้างความเข้าใจและมีการ ก�ำกับโดยกฎหมาย ก็ไม่แน่ใจว่าภาพของ ถนนสายนีอ้ นาคตจะเป็นอย่างไร ผมขอแสดงความคิดเห็นน�ำร่องก่อนใน การออกแบบถนนพุทธภูมิให้เห็นภาพกว้าง ก่อน โดยน�ำเอาแนวคิดจากทีป่ ระชุมโครงการ นี้มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งมีเจตนารมณ์พอสรุปได้ ดังนี้ ๑. เพือ่ เป็นการระบายความคับคัง่ ของ การจราจรในตัวเมือง และเป็นเส้นทางส่ง เสริมการท่องเทีย่ วทีจ่ ะมายังวัดพระบรมธาตุ ๒. เพือ่ เป็นถนนทีแ่ สดงออกถึงกิจกรรม ทางวัฒนธรรมประเพณี ศิลปกรรม และ สถาปัตยกรรมท้องถิน่ ๓. เพื่อเป็นถนนที่ใช้ส�ำหรับการออก ก�ำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง ๔. เพื่อเป็นถนนสายที่มีการออกแบบ ตกแต่งทางภูมทิ ศั น์อย่างสวยงาม เป็นทีเ่ ชิด หน้าชูตาของจังหวัด จากโจทย์ดังกล่าว ผมลองออกแบบ จินตนาการดูในมุมมองของผมนะครับ... ....เช้าตรูว่ นั หนึง่ ได้ปน่ั จักรยานจากบ้าน

หน้า ๑๓ มาจุดนัดพบเพือ่ นๆ ทีส่ วนเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ยืดเส้นยืดสายบนลานจอดรถยนต์พอ สมควรก็ชวนกันปั่นกันต่อไปตามถนนพุทธ ภูมิที่อยู่ติดสวนสาธารณะแห่งนี้ ยามเช้า ลมโชยเย็นสบายผ่านท้องทุง่ ท่ามกลางแสง แดดอ่อนๆ ทั้งๆ ที่ดวงอาทิตย์ยังไม่โผล่ พ้นยอดไม้ พยายามสูดอากาศให้เต็มปอด ตุนเอาไว้เพราะเมือ่ กลับบ้านทีอ่ ยูใ่ นตัวเมือง หาได้มีอากาศดีเช่นนี้ ไปสักพักก็เจอกลุ่ม นักวิ่งออกก�ำลังกายโบกไม้โบกมือทักทาย กัน เรารับรู้ได้ถึงมิตรภาพแม้ไม่รู้จักกัน...มี รถยนต์ผา่ นมาบ้างแต่ไม่มากนัก และเรารูส้ กึ ปลอดภัยด้วยถนนสายนีไ้ ด้มชี อ่ งถนนส�ำหรับ รถจักรยานโดยเฉพาะ กลุ่มของพวกเราปั่น ไปเรื่อยๆ อย่างไม่รีบร้อนเพราะเราไม่ได้ มาแข่งขันกัน มองข้างทางมีหมู่บ้านจัดสรร สร้างใหม่ริมถนน แต่ดูดีมากเลยด้วยบ้าน หลังคาทรงปั้นหยาแบบสถาปัตยกรรมไทย

แต่ผมเชื่อว่าท่านก็อาจมองเห็นไม่เหมือน กัน นี่เป็นเสน่ห์ของการจินตนาการที่ไร้ ขอบเขตของมนุษย์ แต่ความเป็นจริงภาพ เหล่านีม้ ขี อบเขตและเงือ่ นไขมากมายทีอ่ าจ ท�ำให้ไปไม่ถึงฝัน ด้วยเหตุเจ้าหน้าที่รัฐไม่ สามารถปฏิเสธการขออนุญาตต่างๆ ได้หาก ไม่มีข้อกฎหมายเขียนห้ามหรืออนุญาตไว้ ถนนพุทธภูมิสายนี้มีกฎหมายที่ก�ำกับดูแล หลายหน่วยงาน อาทิ ๑. การอนุญาตให้ใช้พนื้ ทีต่ ามผังเมือง รวมจังหวัดนครศรีธรรมราช (พื้นที่นี้ยัง ก�ำหนดเป็นพืน้ ทีส่ เี ขียว ) ๒. การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร ตามพระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร (อยูใ่ น เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช) ๓. การถอยร่นอาคารเว้นระยะจาก เขตทาง และการขอเชือ่ มทาง (อยูใ่ นความ ดูแลของทางหลวงชนบท)

ภาคใต้ และอาคารไม่ได้สร้างติดถนนใหญ่ แต่ถอยร่นเป็นลานหรือถนนหน้าบ้าน ปลูก ต้นไม้ใหญ่เป็นแนวดูรม่ รืน่ มาก แนวถอยร่น นีด้ แู ล้วน่าจะถึง ๑๐ เมตร ท�ำให้ถนนสายนี้ ดูกว้างออกไปอีกจนมองไปเห็นต้นไม้ใหญ่ที่ ซ้อนอยูเ่ ป็นหลังฉาก ...ปั่นไปพอเหนื่อยก็ชวนกันจอดแวะ บนสะพานที่ออกแบบไว้สวยงามด้วยลาย ตกแต่งแบบงานศิลปะไทย ประดับประดา ด้วยไม้ดอกไม้ประดับในกระบะริมสะพาน มี รูปประติมากรรมปูนปั้นลอยตัวเป็นรูปสัตว์ ขนาดตัวเขื่อง ประดับไว้บนหัวราวสะพาน แบบประยุกต์งานศิลปะมุมละตัว เดาว่า น่าจะสื่อถึงสัญลักษณ์ ๑๒ นักษัตร ตาม ข้อเสนอของอาจารย์ทวี พลายด้วง ที่เคย บอกไว้ว่านครคือแหล่งศิลปินแห่งชาติ น่า จะสร้างผลงานฝากเอาไว้ให้ผู้คนได้ชม จาก มุมสะพานนี้เห็นชาวบ้านลงไปจับปลาด้วย อุปกรณ์ทำ� ด้วยไม้ไผ่สาน ไม่ไกลกันนักเห็นคน กลุ่มใหญ่ลงไปเก็บเกี่ยวข้าวกันด้วยอุปกรณ์ อะไรสักอย่างทีค่ าบในปาก เป็นภาพวิถชี วี ติ ที่ไม่เห็นกันบ่อยนัก เราผลัดกันถ่ายรูปด้วย กล้องโทรศัพท์มือถือเป็นที่ระลึกและส่งต่อ ให้แก่กัน การแพร่ภาพในระบบสื่อสารทาง โทรศั พ ท์ ยุ ค ใหม่ มั ก สร้ า งความสนใจให้ เพือ่ นๆ ทีไ่ ม่เคยมาได้ถามไถ่กนั เสมอว่าถ่าย ทีไ่ หน ต้องบอกเขาว่า ทีน่ คี่ อื “ถนนพุทธภูม”ิ เมืองนคร... พรรณนาภาพที่ทุกคนอ่านเหมือนกัน

๔. การขอใช้หรือปรับปรุงคลองส่งน�ำ้ ให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์ (อยู่ในความดูแล ของกรมชลประทานฯ) ข้อก�ำหนดกฎหมายต่างๆ มีไว้สำ� หรับ การควบคุมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ วางไว้ แต่กม็ กี ารแก้ไขปรับปรุงได้ยคุ สมัยที่ เปลี่ยนไปตามบริบทของบ้านเมือง หน่วย งานที่ท�ำหน้าที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ต้องรับ ฟังความต้องการและเหตุผลจากประชาชน ส่วนรวมทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีน่ นั้ ๆ แต่กระบวนการ ดังกล่าวล้วนแล้วมีขั้นตอนในภาวะปกติที่ ยาวนาน จึงต้องอาศัยการสร้างภาพและ สร้างความเข้าใจต่อผูท้ เี่ กีย่ วข้องทุกฝ่าย เช่น เจ้าของทีด่ นิ ริมถนนทีอ่ ยากสร้างอาคารทัน สมัยโดยไม่ได้สนใจในภาพรวมของถนนสาย นี้ แต่หากได้ทราบภาพรวมทีค่ วรเป็น ผมก็ เชื่อว่าคนนครก็พร้อมที่จะยินยอมเสียสละ บางเรือ่ ง (ดังเช่นมีผบู้ ริจาคทีด่ นิ ให้ตดั ถนน ผ่านได้เป็นพุทธบูชา โดยไม่ได้ขอค่าเวนคืน) โดยไม่ ต ้ อ งรอการเปลี่ ย นแปลงแก้ ไ ขข้ อ กฎหมายให้เสร็จก่อน เพือ่ ให้สอดคล้องกับ เจตนารมณ์การเป็นเส้นทางไปสูว่ ดั พระบรม ธาตุทกี่ ำ� ลังยืน่ เอกสารฉบับสมบูรณ์แก่คณะ กรรมการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดก โลกของ UNESCO ในเร็ววันนี้ นี่คือเหตุผลที่ผมอยากเชิญชวนชาว เมือง “มาออกแบบถนนพุทธภูมิกันเถอะ” ในแง่มมุ ต่างๆ เพราะผมไม่อยากให้เมืองเรา เสียโอกาสทีจ่ ะได้มถี นนสายทีส่ วยทีส่ ดุ ไปสู่ ดินแดนพุทธภูมิ


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๔

ทานตะวัน เขียวน�้ำชุม (ครูแจง) ห้องเรียนธรรมชาติบ้านลมฝน

ที่

ห้องเรียนธรรมชาติบ้านลมฝน หรือ Lomfon Nature Camp เราจัด กิจกรรมสัมผัสธรรมชาติที่มีความหลาก หลายในผืนป่าบริสุทธิ์ ช่วงปิดเทอมนี้มี กิ จ กรรมสั ม ผั ส ธรรมชาติ แ บบวั น เดี ย ว เป็นกิจกรรมสัมผัสธรรมชาติแบบง่ายๆ เหมาะส�ำหรับเด็กๆ ที่เริ่มต้นเข้าสู่เรื่อง ราวธรรมชาติกนั ด้วยค่ะ ครูแจงใช้ศาสตร์ การสื่ อ ความหมายธรรมชาติ อ ย่ า งเต็ ม รู ป แบบเปิ ด ประสาทสั ม ผั ส การเรี ย นรู ้ โลกธรรมชาติให้แก่เด็กๆ อย่างมีความ สุ ข ธรรมชาติ นั้ น เป็ น ต้ น ทางของทุ ก สาขาวิชาทั้ง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ สังคมและวิชาอื่นๆ อีกมากมาย โดยกระบวนการกิ จ กรรมจะท� ำ ให้ เ ด็ ก ได้สัมผัสตรงกับธรรมชาติ ฝึกทักษะการ ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง การตั้งค�ำถาม การตัง้ สมมติฐาน การสังเกต การจ�ำแนก การแก้ไขปัญหา กระบวนการกลุ่มที่ฝึก ทักษะทางสังคม การคิดวิเคราะห์ ลงความ เห็นร่วมกัน การสรุปประเด็นบันทึกผล

และการแบ่ ง ปั น สื่ อ สารเรื่ อ งราวอย่ า ง อิ ส ระ...ซึ่ ง ทั ก ษะต่ า งๆ เหล่ า นี้ จ ะท� ำ ให้ เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วย ตัวเอง นอกเหนือไปจากการเรียนรู้จากผู้ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากโรงเรียน หรือ จากต�ำราเท่านั้น...One Day Nature จัด ไปแล้ว ๒ ครัง้ ด้วยกัน ครัง้ แรกเมือ่ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๐

กั บ เด็ ก ๆ ๑๖ คน ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เด็ ก ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เรานัดพบกันที่ น�ำ้ ตกวังลุง (สองรัก) หมูบ่ า้ นวังลุง ต.ทอน หงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เมื่อ สมาชิกมากันครบแล้ว ก็เข้าห้องเรียนบน ลานหินริมน�ำ้ ตก แนะน�ำตัวกันด้วยการวาด ภาพธรรมชาติที่ใช้แทนตัวเองพร้อมเล่าให้ ฟังว่าท�ำไมถึงคิดว่าตัวเองเป็นสิ่งนั้น จาก นัน้ เด็กๆ จับกลุม่ กันเป็น ๔ กลุม่ แล้วได้รบั กระดาษสีไปกลุ่มละ ๒๐ สี เพื่อออกตาม หาสีใบไม้ในธรรมชาติที่ตรงกับกระดาษสี ที่แจกไป เด็กๆ ตื่นเต้นมากที่เห็นสีใบไม้ มีหลากหลายมากกว่าที่เคยเข้าใจว่าใบไม้ มีสีเขียวเท่านั้น เราพูดคุยกันถึงการเกิดสี ต่างๆ และรูปทรงของใบไม้ เท่านีก้ ห็ มดไป ครึ่งวันแล้วได้เวลาอาหารกลางวัน แล้วต่อ ด้วยการลงมือขย�ำดอกอัญชันและใบเตย เพือ่ คัน้ สีออกมาผสมกับแป้ง นวด และปัน้ ท�ำขนมบัวลอย ท�ำกันเอง กินกันเอง อร่อย เหลือเกิน ช่วงบ่ายได้เวลาสนุกแล้ว ให้เด็กๆ เปลี่ยนชุดลงเล่นน�้ำตกกันอย่างสนุกสนาน แต่ก็แอบมีโจทย์ให้เด็กๆ เก็บก้อนหินมา คนละหนึง่ ก้อน เล่นน�ำ้ กันได้ทแี่ ล้วก็มาเล่น เกมก้อนหินกัน ให้เด็กๆ ส�ำรวจ สัมผัส สังเกตหินของตัวเองให้ละเอียดที่สุดแล้ว น�ำหินมารวมกันในถุงที่ปิดไว้ไม่ให้ใครมอง เห็นได้ เด็กๆ ต้องใช้มือล้วงเข้ามาสัมผัส หินทีละคน และคว้าหินที่คิดว่าใช่ของตัว เองออกมาให้ได้..แล้วปิดท้ายด้วยการพูด ถึงลักษณะของก้อนหินแต่ละก้อนว่าเป็น หินชนิดใด มีแร่อะไรอยู่ในน�้ำ และท�ำไม จึ ง มี ลั ก ษณะแบบนั้ น เด็ ก ๆ ตั้ ง อกตั้ ง ใจ

ฟังกันถ้วนหน้า เป็นอันว่าจบหนึ่งวันใน ธรรมชาติอย่างมีความสุข รอบที่ ส อง วั น ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ เรานัดพบกันที่เดิม ทั้งหมด ๑๔ คน ครั้งนี้พาเด็กๆ ลงน�้ำกันก่อนเลย ให้ เวลาหนึ่งชั่วโมงเต็ม พร้อมกับตั้งค�ำถาม เกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ ส ายน�้ ำ นี้ เท่ า ที่ เ ห็ น เท่าทีส่ มั ผัส เท่าทีร่ สู้ กึ และหาก้อนหินมา คนละก้อน เด็กเล่นน�้ำอย่างสนุกสนาน แต่ก็ไม่ลืมโจทย์ ทีแรกเด็กๆ อึดอัดที่จะ ตั้งค�ำถามเพราะเกรงว่าจะถามไม่ถูกใจ ครู พอบอกว่าถามอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับ เรื่องตรงนี้ที่เราอยากรู้ ไม่มีผิดถูก จากที่ ตั้งค�ำถามคนละหนึ่งข้อ บางคนชักสนุก ตั้งเพิ่มได้อีกหลายข้อ หลังจากเปลี่ยน ชุ ด แห้ ง แล้ ว ก็ ไ ด้ เ วลาอาหารกลางวั น มื้อง่ายๆ ผ่านไป เราก็ได้ลงมือท�ำขนม บัวลอยกันอีก รสชาติอร่อยถูกใจเด็กตาม ระเบียบ จากนั้นก็มาช่วยกันตอบค�ำถาม กั น ทั้ ง ยี่ สิ บ ข้ อ ช่ ว ยกั น ตั้ ง สมมติ ฐ าน คาดเดาค�ำตอบ และคิดวิเคราะห์ ได้ค�ำ ตอบบ้าง ไม่ได้บ้างก็ไม่เป็นไร แค่ได้ฝึก สังเกต ฝึกถาม ฝึกคิด ก็นบั ว่าเยอะแล้ว... เสร็จแล้วให้เด็กๆ ท�ำกิจกรรมความงาม เล็กๆ ฝึกสังเกตความงามสองข้างทางใน ธรรมชาติ ความชอบและรายละเอี ย ด ที่แต่ละคนบันทึกแตกต่างกันออกไป มี รางวัลส�ำหรับคนทีง่ านละเอียดด้วย ก่อน ที่ ฝ นจะตก เราได้ เ ล่ น เกมก้ อ นหิ น อี ก หนึ่งเวอร์ชั่น เป็นการฝึกจินตนาการและ ท�ำงานเป็นกลุ่ม ฝึกให้รู้จัก รู้แพ้ รู้ชนะ การให้โอกาสผูอ้ นื่ ได้รางวัลกันไปอีก ตบ ท้ายด้วยการเล่นน�้ำฝนอย่างเริงร่า..แค่ครู บอกว่า น�ำ้ ฝนในธรรมชาติสะอาดบริสทุ ธิ์ เล่ น สนุ ก สบายตั ว กว่ า ในเมื อ ง เท่ า นั้ น แหละ..สนุกสุดๆ หยุดไม่อยูเ่ ลย กิจกรรมสัมผัสธรรมชาติรอบต่อไป ในเดือนพฤษภาคม เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม พิเศษเพราะมีวิทยากรมาพาเด็กๆ ดูนก กั น ด้ ว ย ใครสนใจให้ เ ด็ ก ๆ ได้ สั ม ผั ส ธรรมชาติแบบง่ายๆ ใกล้ๆ ตัว ติดต่อ ครู แ จง ได้ ที่ ๐๘๑-๘๒๔-๘๘๘๐ หรือติดตามข่าวสารได้ในเฟสบุ๊ค กลุ่ม Lomfon Nature Camp ค่ะ


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๕

อาจารย์แก้ว

ารน�ำพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar Cell ซึง่ เป็นพลังงานจากธรรมชาติมา ทดแทนพลังงานรูปแบบอื่นๆ ได้รับความ สนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น สามารถน�ำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายใน การด�ำรงชีวติ และยังไม่เป็นการท�ำลายสิง่ แวดล้อม หลายๆ ธุรกิจเริม่ น�ำมาประยุกต์ ใช้กับองค์กรของตัวเองเพื่อความทันสมัย และประหยั ด ค่ า กระแสไฟฟ้ า อี ก ทาง หนึ่ง ส่วนภาคธุรกิจการผลิตพลังงานเพื่อ จ�ำหน่ายก็เริม่ จริงจังกับการสร้างโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์กนั มากขึน้ วันนีเ้ รามา ท�ำความรู้จักกับ เซลล์แสงอาทิตย์นี้กันว่า มีหลักการท�ำงานอย่างไร ถึงสามารถแปลง แสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าให้เราใช้ งานได้ ความหมายของเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์ มีชื่อเรียกหลาย อย่าง เช่น Solar Cell, เซลล์สุริยะ หรือ PV ซึง่ ต่างก็มที มี่ าจากค�ำว่า Photovoltaic โดยแยกออกเป็น Photo หมายถึง แสง และ Volt หมายถึง แรงดันไฟฟ้า เมือ่ รวม แล้วหมายถึง กระบวนการผลิตไฟฟ้าจาก การตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความ สามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็น พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง แนวความคิดนี้ ได้ถูกค้นพบมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๘๓๙ แต่ เซลล์แสงอาทิตย์กย็ งั ไม่ถกู สร้างขึน้ มา จน กระทัง่ ใน ปี ค.ศ. ๑๙๕๔ จึงมีการประดิษฐ์ เซลล์แสงอาทิตย์ และได้ถูกน�ำไปใช้เป็น แหล่ ง จ่ า ยพลั ง งานให้ กั บ ดาวเที ย มใน อวกาศ เมือ่ ปี ค.ศ. ๑๙๕๙ เซลล์แสงอาทิตย์ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ ท�ำจากสารกึง่ ตัวน�ำ เช่น ซิลคิ อน (Silicon), แกลเลีย่ ม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) เป็นต้น ซึง่ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงก็จะเปลี่ยน เป็นพาหะน�ำไฟฟ้า และจะถูกแยกเป็น ประจุไฟฟ้าบวกและลบเพื่อให้เกิดแรงดัน ไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อน�ำขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อ เข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง ก็สามารถ ท�ำงานได้

ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งตามวัสดุทใี่ ช้เป็น ๓ ชนิดหลักๆ คือ ๑. เซลล์แสงอาทิตย์ทที่ �ำจากซิลคิ อน ชนิดผลึกเดีย่ ว (Single Crystalline Silicon Solar Cell) หรือทีร่ จู้ กั กันในชือ่ Monocrystalline Silicon Solar Cell และชนิดผลึก รวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นแผ่นซิลคิ อนแข็งและบางมาก ๒. เซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ที่ ท� ำ จากอะ มอร์ ฟ ั ส ซิ ลิ ค อน ( Amorphous Silicon Solar Cell) ลัก ษณะเป็ นฟิ ล์ ม บางเพีย ง ๐.๕ ไมครอน (๐.๐๐๐๕ มม.) น�ำ้ หนักเบา มาก และประสิทธิภาพเพียง ๕-๑๐% ๓. เซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ที่ ท� ำ จากสาร กึ่งตัวน�ำอื่นๆ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์, แคดเมี ย ม เทลเลอไรด์ และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ เป็นต้น มีทงั้ ชนิดผลึก เดี่ยว (Single Crystalline) และผลึกรวม (Polycrystalline) เซลล์แสงอาทิตย์ทที่ ำ� จาก แกลเลีย่ ม อาร์เซไนด์ จะให้ประสิทธิภาพสูง ถึง ๒๐-๒๕%

คอนทีม่ ขี นาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ นิว้ จะให้ กระแสไฟฟ้าประมาณ ๒-๓ แอมแปร์ และให้ แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดประมาณ ๐.๖ โวลต์ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสง อาทิตย์ไม่มากนัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ก�ำลัง ไฟฟ้ามากเพียงพอส�ำหรับใช้งาน จึงมีการ น�ำเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกัน เป็น เรียกว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Modules) ลักษณะการต่อแผงเซลล์แสง อาทิตย์ขึ้นอยู่ว่าต้องการกระแสไฟฟ้าหรือ แรงดันไฟฟ้า การต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบบขนานจะท�ำให้ได้กระแสไฟฟ้าเพิม่ มาก ขึ้น ส่วนการต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบ อนุกรมจะท�ำให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงขึน้

ขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง • เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และ ไม่ มี ชิ้ น ส่ ว นใดที่ มี ก ารเคลื่ อ นไหวขณะ ท�ำงาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ • ต้องการการบ�ำรุงรักษาน้อยมาก • อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่ • มีน�้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อน ย้ายสะดวกและรวดเร็ว • เนื่องจากมีลักษณะเป็นโมดูล จึง สามารถประกอบได้ตามขนาดทีต่ อ้ งการ • ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซ ต่ า งๆ ในบรรยากาศ เช่ น คาร์ บ อนมอนอกไซด์ , ซั ล เฟอร์ ไ ดออกไซด์ ,

หลั ก การท� ำ งานของเซลล์ แ สง อาทิตย์ เมื่ อ มี แ สงอาทิ ต ย์ ต กกระทบเซลล์ แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะน�ำไฟฟ้า ประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอน และ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะท�ำ หน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อ แยกพาหะน�ำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ ขั้วลบ และพาหะน�ำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้ว บวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวน�ำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้าน รับแสงใช้สารกึ่งตัวน�ำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้า จึงเป็นขั้วลบ) ท�ำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบ กระแสตรงทีข่ วั้ ไฟฟ้าทัง้ สอง เมือ่ ต่อให้ครบ วงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึน้ ปกติแล้วเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิ-

ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์ • ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสง อาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิรยิ าทีจ่ ะท�ำให้สงิ่ แวดล้อมเป็นพิษ • เป็ น การน� ำ พลั ง งานจากแหล่ ง ธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมด ไปจากโลกนี้ • สามารถน�ำไปใช้เพื่อผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่บนโลก และได้พลังงาน ไฟฟ้าใช้โดยตรง • ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจาก แสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มกี ารเผาไหม้ จึงไม่กอ่ ให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน�ำ้ • ไม่เกิดของเสียขณะใช้งาน จึงไม่มี การปล่อยมลพิษท�ำลายสิง่ แวดล้อม • ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหว

ไฮโดรคาร์ บ อน และก๊ า ซไนโตรเจน ออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงจ�ำพวกน�้ำมัน ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ท�ำให้โลกร้อนขึน้ เกิดฝนกรด และอากาศ เป็นพิษ ฯลฯ อุปกรณ์ส�ำคัญของระบบการผลิต กระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ากระแส ตรง จึงน�ำกระแสไฟฟ้าไปใช้ได้เฉพาะ กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น หาก ต้ อ งการน� ำ ไปใช้ กั บ อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า ที่ ใ ช้ ไฟฟ้ากระแสสลับหรือเก็บสะสมพลังงาน ไว้ใช้ตอ่ ไป จะต้องใช้รว่ มกับอุปกรณ์อนื่ ๆ (อ่านต่อหน้า ๑๑) อีก โดยรวมเข้าเป็น


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๖ บัญญัติ ลายพยัคฆ์ ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา นครศรีธรรมราช

รั้ ง นี้ เ ป็ น ครั้ ง ที่ ๔ แล้ ว ที่ ร ายการ แข่ ง ขั น จั ก รยานทางไกลนครศรี ธรรมราช จั ด ขึ้ น โดยชมรมจั ก รยาน นครศรีธรรมราช ร่วมกับกองทัพภาคที่ ๔ และหน่วยงานต่างๆ จัดขึ้นในวันที่ ๖-๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ กองทัพภาคที่ ๔ รายการนี้ จั ด ขึ้ น ครั้ ง แรก เมื่ อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ โดยใช้เส้นทาง ค่าย วชิราวุธ - ท่าศาลา - นาเหรง - พรหมคีรี - น�้ำแคบ - ท่าแพ และเข้าเส้นชัยที่สนาม บินกองทัพภาคที่ ๔ คราวนั้นมีหลากหลาย รุ่นให้เลือกตามถนัด ทั้งเสือภูเขา และเสือ หมอบ ในฐานะเป็ น เจ้ า บ้ า น ผมก็ ล งแข่ ง รายการนี้เหมือนกัน ซึ่งบรรยากาศ สถาน ที่ ที่เราเคยไปสัมผัส ต่างกันสิ้นเชิง กับวัน ที่เราขี่จักรยานเพื่อแข่งขัน ได้อรรถรสครบ ทุกอย่าง ร้อน เหนื่อย หิว แต่ที่ส�ำคัญคือ

มิตรภาพบนหลังอาน ถึงแม้ว่าทุกคนหวัง ให้ถึงเส้นชัยก่อนคนอื่น แต่ตลอดระยะ ทาง ก็มีการเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน ซึ่งมีให้ เห็นตลอดเส้นทาง นี่ซิ เป็นเสน่ห์ของคนที่ ขี่จักรยานจริงๆ ครั้ ง ที่ ๔ คนที่ รั ก การขี่ จั ก รยาน ทุกท่าน คงไม่พลาดนะครับ ติดตามราย ละเอี ย ดต่ า งๆ จากใบโฆษณาเลยครั บ ๖-๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พบกันนะครับใน รายการ “ทัวร์ออฟศรีวิชัย”

สาวก MSX125 ชาวใต้ ห้ามพลาด ดดดด....!! ครั้ ง แรกกั บ การรวมตั ว ครั้ ง ยิ ่ ง ใหญ่ของ MSX125 และ MSX125SF กับ คาราวานชาว The Clutcher นักบิดหัวใจ ฮอนด้ า เดิ น ทางสู ่ AREA125 ที ่ จ ะท� ำ ให้ คุณมีความสุข สนุกตลอดค�่ำคืน.. พบกัน ลานสกามาราธอน นานาชาติ ครัง้ ที่ ๑๓ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ๖-๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ค่ายลูกเสือ ระยะทาง ๓/๑๐/๔๒ สมัครทางออนไลน์ได้ที่ http://www.lansadadistrict.go.th/ หรือ ไทยเฉลิ ม พระเกี ย รติ จ.ตรั ง สิ ท ธิ พ ิ เ ศษ สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ท่ี ทีว่ า่ การอ�ำเภอลานสกา โทร.๐๗๕-๘๐๙๙๐๐ เฉพาะผูข้ บั ขีร่ ถจักรยานยนต์ MSX125 และ MSX125SF เท่านัน้ สมาชิกท่านใดทีส่ นใจสามารถสมัครเข้าร่วมสนุกได้ทฮ่ี อนด้าศรีนคร สาขา ตลาดหัวอิฐ โทร ๐๗๕-๓๑๖๓๒๔ หรือ โทร ๐๘๖-๔๗๘๒๗๘๒ **รับจ�ำนวนจ�ำกัดนะคะ รายละเอียดอืน่ ๆ จะแจ้งให้ทราบในภายหลังค่ะ

ขอเชิญศิษย์เก่าร่วมงาน คืนสูร่ ม่ จันกัลยาณีฯ ครัง้ ที่ ๑๕ วันเสาร์ท่ี ๓ มิถนุ ายน ๒๕๖๐

โดดคลอง ล่องแพ แลธรรมชาติ สัมผัสน�้ำเย็นชื่นใจ มาล่องแพบ้านวังหอน แพไม้ไผ่ "เจ้าแรกในอ�ำเภอชะอวด" คลอง น�้ำใสจากป่าต้นน�้ำ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คนต้นน�ำ้ บ้านวังหอน เครือขายท่องเทีย่ วโดย ชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เที่ยววังลับแล ล่ อ งแพบ้ า นวั ง หอน ติ ด ต่ อ สอบถามและ จองล่วงหน้า โทร.๐๖๓-๑๙๑๖๕๙๑, ๐๘๐๖๙๕๕๖๕๖ (http://www.cha-uat.com)


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

นพ.รังสิต ทองสมัคร์ ถนนสายพุทธภูมิ ถนนสายใหม่ที่ตัดมาทางด้านหลัง จากเส้นทางรถไฟสู่วัดพระธาตุ เป็นถนนสายที่ยังเป็นธรรมชาติอยู่มาก ผมเก็บภาพเหล่านี้ไว้เพื่อให้กลายเป็นภาพอดีตที่มีคุณค่า บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงสู่ความเจริญทางวัตถุ อย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน แต่องค์พระธาตุจะยังคง เป็นแหล่งรวมศูนย์พุทธศาสนิกชนไม่เสื่อมคลาย ตราบนานเท่านาน

หน้า ๑๗


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๘

วัสดีค่ะหลังปีใหม่ไทย ช่วงความสุข ยาวๆ ของเทศกาลมหาสงกรานต์ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ กับท่านผู้อ่านทุกท่านนะคะ สุข สนุกสนาน และหายเหนื่อยกันหรือยัง คะ กับการเดินทางใช้ความสุขอยูก่ บั บุคคล อันเป็นที่รัก ไม่ว่าจะเป็นการกลับบ้านไป กราบรดน�้ำขอพรพ่อแม่ที่เปรียบเสมือน พระในบ้ า น พระสงฆ์ , ญาติ ผู ้ ใ หญ่ แ ละ บุคคลอันเป็นที่รักเคารพของทุกครอบครัว หลังจากนั้นก็พบปะเพื่อนฝูง งานเลี้ยงรุ่น งานเลี้ยงหลายรุ่น เรียกได้ว่าเดินสายกับ งานพบปะยาวๆ กันไปในช่วงเทศกาลที่มี แต่เสียงหัวเราะ สรวลเสเฮฮา .. แม้เป็นเวลา ช่วงสั้นๆ ก็ท�ำให้เกิดเงินสะพัด การท่องเที่ยวคึกคัก หนาแน่นกันทั้งบนถนน เส้น ทางเดินทางถ้วนทุกภาค แบบไม่น้อยหน้า กันเลย .. ร้านอาหาร ร้านค้า แหล่งท่องเทีย่ ว ทั้งท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก และ ท่องเที่ยวชุมชน ก็ล้วนคึกคักรับนักท่องเที่ ย วกั น แบบแทบไม่ ทั น ... หลั ง จากที่ เศรษฐกิจเงียบเหงามายาวนาน .. คอลัมน์ โอลั่ลล้าฉบับนี้ ก็ขอรวมภาพกิจกรรมดี๊ดี ของเมื อ งนครฯ ภายใต้ มหาสงกรานต์ ของสิบสองเมืองต้องห้ามพลาด ในหลากหลายกิ จ กรรม และหลากหลายสถานที่ ท่องเที่ยว เรียกว่ามานครเมืองเดียวเที่ยว ได้ครบค่ะบอกเล่ากันฟัง ให้ได้รับความ สุขไปด้วยกัน เผื่อว่าด้วยเวลาท่องเที่ยว ระยะสั้นๆ บางท่านยังท่องเที่ยวได้ไม่ครบ ทุกจุด .. จะได้กลับกันมาเทีย่ วใหม่ กิจกรรมมงคลอันดับแรกในตัวเมือง คือการที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ อัญเชิญพระพุทธสิหงิ ค์หนึง่ ในสามองค์ของ ประเทศไทย มาประดิษฐาน ณ สนามหน้า เมือง ให้ประชาชนและนักท่องเทีย่ วได้รว่ ม กันสรงน�้ำเพื่อเป็นสิริมงคลในวันสงกรานต์ (วั น ปี ใ หม่ ไ ทย) และตั ก บาตรพระสงฆ์

จ�ำนวน ๔๙ รูป หลังจากนัน้ ร่วมกันสรงน�ำ้ พระ และรดน�้ำขอพรผู้สูงอายุ และช่วงค�่ำ ชมการแสดง Light & Sound แสง เสียง สื่อผสม อลังการกับประเพณีแห่นางดาน (แห่นางกระดาน) ประเพณีเก่าแก่ ตาม ความเชื่ อ ของศาสนาพราหมณ์ เรื่ อ งที่ พระอิศวรเสด็จลงมาเยี่ยมโลก ซึ่งบรรดา พราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราช และ ชาวบ้านทีน่ บั ถือ ปฏิบตั สิ บื กันมา ในวันแรม ๑ ค�่ำ เดือนยี่ของทุกปี นับตั้งแต่มีชุมชน พราหมณ์เกิดขึน้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จนเมื่อพราหมณ์ได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา จึงได้เกิดพิธีโล้ชิงช้า ไปเผย แพร่ พิ ธี โ ล้ ชิ ง ช้ า จึ ง เกิ ด มาต่ อ เนื่ อ งเป็ น ล�ำดับจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กระทั่ง ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ ๗ และใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ชาวนครศรีธรรมราชจึงได้ร่วมกัน รือ้ ฟืน้ พิธแี ห่นางดาน (แห่นางกระดาน) ซึง่ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย ประเพณี ของศาสนาพราหมณ์ กลับมาอีกครั้งเพื่อ ให้ลูกหลานชาวนครฯ ประชาชน และนัก ท่องเที่ยวได้มาสัมผัสเรียนรู้ประเพณีอัน

ดีงามในอดีตสืบไป นอกจากนีก้ จ็ ะเป็นการ เปิดโอกาสให้สนุกสนาน เล่นน�้ำสงกรานต์ กันแบบวัยรุน่ ในสองสถานที่ คือ ร่วมเล่น น�้ำสงกรานต์พร้อมความบันเทิงแบบสุดๆ โดยหลุดจากแอลกอฮอล์ และสารเสพติด ทุกประเภท กับกิจกรรมสงกรานต์มหาสนุก ณ ถนนประตูลอด และ บริเวณด้านหน้า ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เรียกได้ว่า สนุกแบบ Non Stop โดนใจวัยรุน่ กันเชียวค่ะ นอกจากกิจกรรมที่น่าสนใจหลักๆ แล้ ว กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย วแบบสั ม ผั ส กั บ บรรยากาศ ชิลล์ ชิลล์ ตามมาด้วยการ เลือกชิมอาหารพืน้ บ้าน ขนมพืน้ เมือง การ แสดงศิ ล ปวั ฒ นธรรมไทย ดนตรี ใ นสวน และวิถพี นื้ บ้าน กับแหล่งท่องเทีย่ วทีห่ ลาก หลาย อาทิ ตลาดริ ม น�้ ำ เมื อ งลิ ก อร์ ริ ม สนามหน้าเมือง อ.เมือง, ตลาดย้อนยุค ปากพนัง ทุกวันอาทิตย์ อ.ปากพนัง รวม ไปถึง โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ (บ้านพ่อ), หลาดริมน�้ำเชียรใหญ่ ทุกวัน เสาร์ อ.เชียรใหญ่, ตลาดน�ำ้ คลองแดน ทุก วันเสาร์ อ.หัวไทร ฯลฯ ล้วนแต่มอี ตั ลักษณ์

และวิถีชาวบ้านให้ทุกท่านได้สัมผัส ตาม ความชื่ น ชอบ .. ส่ ว นใครที่ รั ก เขา ชอบ บรรยากาศท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ น�้ำตก ใสๆ น�้ ำ ไหลชุ ่ ม เย็ น เห็ น ตั ว ปลา ก็ ไ ม่ ควรพลาดการท่องเที่ยวแบบสไตล์ลึกซึ้ง กั บ วิ ถี ชี วิ ต ของชุ ม ชน ของหมู ่ บ ้ า นคี รี ว ง อ.ลานสกา, เขาเหมน (หยิบหมอกหยอก เมฆ) อ.ช้างกลาง, อ่างเก็บน�้ำขนาดใหญ่ พิ ปู น (ฉายา สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ เ มื อ งไทย) อ.พิปนู , ทะเลสวยใส หาดทรายขาว อ.สิชล อ.ท่าศาลา และชมโลมาสีชมพู อ.ขนอม, เรี ย กได้ ว ่ า เมื อ งนครฯ เมื อ งเดี ย วเที่ ย ว ได้ครบรส จริงนะคะ .. อ่านแล้ว อย่าลืม วางแผน หาเวลาจัดกระเป๋า เดินทางมา เยือน นครศรีดี๊ดี นครศรีดีกว่าเดิม กันนะ คะ อยากบอกว่า ต้องห้ามพลาดจริงๆ ค่ะ ขอขอบคุณภาพสวย ๆ จาก

- ประชาสัมพันธ์จงั หวัดนครศรีธรรมราช - เทศบาลนครนครศรีธรรมราช (น้องต๋อย เกศแก้ว) - ภาพจากทุกกล้อง จากช่างภาพที่น่ารักในจังหวัด นครศรีธรรมราช


ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

หน้า ๑๙


หน้า ๒๐

ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.