นสพ รักบ้านเกิดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 31 เมษายน 2557

Page 1

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน ๒๕๕๗

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

อิสระ ว่องกุศลกิจ

¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑญ ­ ªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย สุธรรม ชยันต์เกียรติ ศิลปินถิ่นนคร รศ.วิมล ด�ำศรี àÅèÒàÃ×èͧàÁ×ͧà¡èÒ ¼È.©ÑµÃªÑ ÈØ¡ÃСҭญ¨น์ รักสุขภาพ พญ.ภัทริยา มาลัยศรี มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล ท่องเที่ยวเมืองนคร ทาร์ซานบอย มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

˹éÒ ò ˹éÒ ó ˹éÒ ๔ ˹éÒ ñ๐ ˹éÒ ññ ˹éÒ ñ๒ ˹éÒ ñ๓ ˹éÒ ñ๖ ˹éÒ ñ๗

สุทัศน์ เลิศมโนรัตน์

http://www.nakhonforum.com

ราคา ๒๐ บาท

สลิล โตทับเที่ยง

ดร.นพพงษ์ ธีระวร

วัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ

ที่ประชุมหอการค้าภาคใต้ตั้งเป้าผลักดันอ่าวไทยเป็น แหล่งท่องเที่ยว ราคายางพาราและปาล์มน�้ำมันตกต�่ำ ท�ำเศรษฐกิจชะลอตัว เสนอเร่งพัฒนาภาคเกษตร และ ร่วมคัดค้านน�ำเข้าน�้ำมันปาล์มของกระทรวงพาณิชย์ ปี ๒๕๕๘ ขยายการค้าชายแดนทะลุ ๒ ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗ คณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจภาคใต้หอการค้าไทย น�ำโดยนายอิสระ ว่องกุศลกิ จ ประธานกรรมการหอการค้ า ไทยร่ ว มประชุ ม พั ฒ นา ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ >> อ่านต่อหน้า ๘

รายงาน เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ มี น าคม ๒๕๕๗ นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน ประชุ ม คณะอนุ ก รรมการส่ ง เสริ ม จังหวัดนครฯประชุมหารือเรื่องการ การจัดสวัสดิการสังคมด้านผู้สูงอายุ ดู แ ลผู ้ สู ง อายุ ๘๖๔,๖๖๐ ครอบคลุ ม จังหวัดนครศรีธรรมราช ห้องประชุม พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ศรีปราชญ์ ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัด

นครศรีธรรมราช โดยนางเลขา ซื่อธานุวงศ์ นายกเหล่ า กาชาดจั ง หวั ด นครศรี ธรรมราช คณะอนุกรรมการส่งเสริมการ จั ด สวั ส ดิ ก ารสั ง คมด้ า นผู ้ สู ง อายุ จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช เข้าร่วมประชุม สาระส� ำ คั ญ ของการประชุ ม คื อ การ >> อ่านต่อหน้า ๙ ด�ำเนินงานโครงการ


หน้า ๒

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

-

๕ อโศก ในบ้าน กลางตลาดท่าวังเมืองนคร อโศกศรียะลา อโศกระย้า

รณี ไ ฟลุ ก ไหม้ บ ่ อ ทิ้ ง ขยะเอกชนขนาดใหญ่ ใ น จังหวัดสมุทรปราการ และหลายพื้นที่ของประเทศ ไทย อันเนื่องมาจากสภาพอากาศร้อนจัด ความร้อน สะสม หรือก๊าซติดไฟที่เกิดจากการหมักของสิ่งปฏิกูล จนควันไฟกับกลิ่นที่กระจายไปกระทบชุมชนใกล้เคียง ท�ำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ระคายเคืองสายตาและ คลื่นไส้เวียนหัว จนชาวบ้านต้องอพยพไปหาที่อยู่อาศัย ใหม่ บ้านเรือนถูกโจรกรรมทรัพย์สิน แต่เบื้องลึกไฟไหม้ บ่อขยะอาจไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศร้อนจริงๆ ก็ได้ สภาพอากาศเป็นเพียงแพะที่ไม่อาจพิสูจน์แก้ต่าง แม้ ก รมควบคุ ม มลพิ ษ (คพ.) ได้ ป ระสานไปยั ง กระทรวงมหาดไทย (มท.) ให้แจ้งเตือนไปยังองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศให้เฝ้าระวัง โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพหาขยะขายโรงงานรีไซเคิลที่อาจ ทิ้งก้นบุหรี่ลงกองขยะท�ำให้เกิดไฟไหม้ แต่จะแน่ใจได้ ว่า อปท. หรือเทศบาลต่างๆ จะให้ความสนใจต่อเรื่อง นี้ อ ย่ า งจริ ง จั ง เพราะปั ญ หาขยะเป็ น ปั ญ หาใหญ่ ข อง ประเทศซึ่งเกิดจากการบริโภค บรรจุภัณฑ์ที่สร้างขยะ อุ ป นิ สั ย ตลอดกระบวนการแก้ ไ ขปั ญ หาขยะ ตั้ ง แต่ ต้นธารถึงปลายธาร เทศบาลนครนครศรีธรรมราชมีบ่อขยะขนาดใหญ่ อยู ่ ห ลั ง สวนสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทร์ ต� ำ บลนาเคี ย น อ�ำเภอเมือง ช่วงฝนตกเกิดเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นและมี น�้ำเน่า ส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงและค่ายวชิราวุธ ปัจจุบันขยะในเขตเทศบาลนครนครฯ เพิ่มขึ้น นโยบาย ก� ำ จั ด ขยะจากชุ ม ชนต่ า งๆ ไม่ รั ด กุ ม เราไม่ เ คยเห็ น โครงการรณรงค์เกี่ยวกับปริมาณขยะหรือการรีไซเคิลใน ชุมชนใดๆ เลย ผู้บริหารเทศบาลชุดใหม่มักโยนความผิด และข้อสงสัยเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะไปให้ผู้ บริหารชุดก่อน ว่าไม่รู้ว่าเขาท�ำอะไรกันไว้อย่างไร แทนที่ จะก�ำหนดนโยบายของตนเอง แล้วเร่งด�ำเนินการให้ก้าว เดินไปข้างหน้า ไม่ปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปถึงสมัย หน้า ซึ่งผู้บริหารชุดใหม่จะกล่าวโทษผู้บริหารชุดก่อนวน เวียนอยู่อย่างนี้

ช่

วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ยาวมาจนสงกรานต์ ที่บ้าน ผมมีดอกไม้บานสะพรั่ง จนใครๆ ที่ผ่านไปมาต้องเหลียว มอง แม้กระทั่งลงมาถามไถ่ว่าต้นอะไร ดอกอะไรอยู่เสมอๆ ส� ำ หรั บ พวกเราในบ้ า นนั้ น มี พิ เ ศษอี ก อย่ า ง เพราะในบ้ า น นอกจากจะมี ก ลิ่ น กรุ ่ น หอมตระหลบแล้ ว ยั ง มี ห มู ่ ผี เ สื้ อ บิ น ว่อนไปมาทั้งวันเป็นร้อยๆ ตัว คล้ายกับอยู่ในสวนผีเสื้อสวรรค์ ประมาณนั้น ท่านเจ้าคุณวัดศรีทวีถึงกับสั่งให้หาไปปลูกในวัด ถวายไป ๒ ต้นแต่รอดต้นเดียว ตอนนี้ก็ให้ดอกสะพรั่งอยู่ที่ หน้าหอระฆังของวัด ๕ ภาพนี้เป็นช่ออโศกทั้ง ๕ ต้นที่ถ่ายไว้เมื่อต้นเดือน มีนาคม ๑) อโศกสปัน ต้นนี้ปลูกมานานตั้งแต่สร้างบ้าน ด้วย เม็ดที่ได้มาจากสวนพฤกษศาสตร์เพเรเดนิยา ในกรุงแคนดี ศรีลังกาจึงขึ้นสูงดอกอยู่ไกลไม่เห็นชัด ได้ดึงรูปจากเน็ตมา ให้ดู เป็นอโศกที่แพร่หลายมานาน นิยมปลูกในวัดโดยทั่วๆ ไป ดอกเป็นช่อเป็นพวงแน่นกลมอย่างที่เห็น แบบที่เป็นดอก แต่ละครั้งบานแต่ละทีได้แหงนคอตั้งตาดูอย่างเต็มตาและ สวยสมใจ แม้จะร่วงเร็ว แต่เวลาออกดอกก็ค่อยๆ ทยอยบาน อยู่ใต้พุ่มตรงนั้นดอกตรงนี้ดอกส้มแดงแจ๊ดแจ๋อยู่เป็นเดือนๆ ทีเดียว อโศกสปัน

๒) อโศกระย้ า ต้ น นี้ มี แ พร่ ห ลายในแทบทุ ก สวน พฤกษศาสตร์ ทั่ ว ทั้ ง โลกในฐานะ “ดอกไม้ ที่ ส วยที่ สุ ด ในโลก” แรกพบในพม่าแล้วน�ำไปปลูกที่อังกฤษ ได้ชื่อฝรั่งว่า “แอมเฮิร์ส เทีย” แต่ไทยเราเรียกว่าอโศกระย้าจากดอกที่ทิ้งช่อระย้ายาวลง มาด้วยกลีบสีชมพูม่วงที่สยายย้อย เผยปากดอกแต้มเหลือง และขาว ผมได้มาจากนักสะสมพันธุ์ไม้ตัวยงที่สวนจตุจักร บอก ว่าหากจะปลูกให้ได้ดอกนอกจากอากาศจะเหมาะสมและดินดี สภาพสมบูรณ์แล้ว ต้องปลูกเป็นคู่ ต้นนี้ให้ดอกมา ๒ ปีแล้ว แต่ ต้นคู่กันยังไม่ได้ดอก ๓) อโศกหลวงพระบาง ต้นนี้ผมขอปันมาจากแถบภูสีที่ หลวงพระบาง เมื่อคราวพาแม่ น้าและพี่น้องไปกันหลายปีก่อน ให้ดอกหลายปีแล้ว มีลักษณะเด่นคือช่อใหญ่ ดอกสีส้มนวล ที่

อโศกหลวงพระบาง

อโศก

ตูมก็ชูช่อ ที่บานก็สวยสยาย ให้ดอกที่ปลายยอดแทบตลอดทั้งปี คนรถที่มาจอดริมถนนหน้าบ้านชอบเด็ดเอาไปเสมอๆ น่าจะสวย จนเกินห้ามใจ ชื่ออโศกหลวงพระบางนี้ผมตั้งเรียกเอาเองเพราะ ที่นั่นเขาเรียกแต่ว่า “อโศก” เท่านั้น ๔) อโศกศรียะลา ต้นนี้เพาะจากเมล็ดที่ไปเก็บมาจาก เมืองยะลา ในฐานะเมืองพ่อ ปู่และย่าของผม เขาปลูกไว้ ๒ ข้าง ถนนสายหลักของเมืองพร้อมกับตั้งชื่อเรียกจนเป็นไม้คู่เมือง เวลาออกดอกบานท�ำให้ถนนทั้งสายสวยจนบอกไม่ถูก อโศก ยะลานี้มีจุดเด่นพิเศษคือแทงช่อใหญ่ยักษ์ออกมาจากแทบทุก ข้อของกิ่งและล�ำต้น แบบว่าเวลาหน้าดอก สะพรั่งไปทั่วทั้งต้น ทุกกิ่งทุกแขนง จนแม้กระทั่งตามโคน จนตลอดไปถึงยอดแทบ ทุกยอด แบบที่เรียกว่า “บ้าดอก” บอกไม่ถูก เป็นดอกทุกปี ปี ละหลายเดือนทีเดียว ต้นนี้คือต้นที่ตรึงตาตรึงใจใครๆ ที่ผ่านไป มา ที่หาไปถวายท่านเจ้าคุณวัดศรีทวีก็พันธุ์นี้ ๕) อโศก เฉยๆ ต้นนี้ยังไม่มีชื่อเฉพาะ อาจจะจัดเข้ากลุ่ม อโศกน�้ำทั้งหลายในสารบบก็ได้ ได้มาจากไหนจ�ำไม่ได้ แต่เด่น มากกับช่อดอกที่แม้ไม่ใหญ่มาก แต่ดกมาก ไล่สีตั้งแต่เหลือง ส้มแสด เวลาเป็นดอกหากยืนอยู่บนบ้านแล้วมองลงมาตาม เรือนยอด จะเห็นเป็นพรมเขียวที่แต้มด้วยช่อดอกส้มเหลืองเต็ม ไปหมดที่ส�ำคัญต้นนี้มีน�้ำหวานที่คงหอมหวนชวนผีเสื้อมาดื่ม กินแล้วบินว่อนเกาะเพาะพันธุ์เต็มไปทั้งบ้านแบบไม่ต้องไปเที่ยว สวนผีเสื้อที่ไหน ไหนๆ ก็เล่าเรื่องอโศกทั้ง ๕ แล้ว ก�ำลังนี้ยังมีไม้อีก ๖ - ๗ อย่างในบ้านที่ก�ำลังออกดอกดกให้สีสัน >> อ่านต่อหน้า ๑๙


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร ผมเขียนถึง ‘โกเลน’ โกวิทย์ เงาอัศวชัย อย่างคร่าวๆ ใน ‘เนชั่นสุดสัปดาห์’ เมื่อ ราวๆ มีนาคม ๒๕๕๖

กเลนเป็นเจ้าของท้องหยีแค้มปิ้ง ริม หาดท้ อ งหยี อ� ำ เภอขนอม จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช ชายวัยกลางเป็นลูกทะเล ตัวจริง เป็นนักอนุรักษ์ของแท้ แต่ไม่คุยโม้ อวดตนว่าเป็นนักอนุรักษ์ ไม่สอนให้ใคร อนุรักษ์ แต่ลงมือท�ำให้ดู เมื่ อ กลางๆ เมษายน ๒๕๕๖ หลั ง ทราบว่าเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ แม่ เ ต่ า ตนุ ตั ว หนึ่ ง คลานขึ้ น มาบนหาด ทรายอ่าวท้องหยี หน้าท้องหยีแค้มปิ้งของ โกเลน แล้วก้มหน้าก้มตาขุดหลุมวางไข่ คราวเดียว ๑๐๙ ฟอง วางไข่แล้วแม่เต่าก็ กลับสู่ท้องทะเล พอวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ ลูก เต่า ๒ ตัวแรกโผล่จากหลุมทรายมาดูโลก ภายนอก จากนั้ น ตั ว อื่ น ๆ ก็ ต ามออกมา รวม ๑๐๑ ตั ว อั ต รารอดชี วิ ต นั บ ว่ า สู ง มาก เด็กๆ แถวขนอมอยู่ระหว่างปิดเทอม ทราบว่าอ่าวท้องหยีมีข่าวใหญ่ก็ชวนกัน มาดูและลุ้นอย่างตื่นเต้น หลั ง ทราบข่ า วเจ้ า หน้ า ที่ ศู น ย์ วิ จั ย ทรั พ ยากรทางทะเลชายฝั ่ ง เข้ า มาดู แ ละ ตั ด ครี บ ไปศึ ก ษาวิ จั ย โกเลนแจ้ ง ความ ประสงค์ แ ก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ว ่ า แกจะขอเลี้ ย งดู ลู ก เต่ า ตนุ พ วกนี้ เ อง เพราะแกเคยเลี้ ย ง ตะพาบน�้ำมาก่อนคิดว่าพอมีประสบการณ์ ตอนผมเข้าไปดูลูกเต่าเหลืออยู่ ๙๙ ตัว โกเลนอนุบาลโดยแบ่งลูกเต่าใส่ถังใบ ใหญ่ๆ ๔ ใบ เหตุที่ต้องขอเลี้ยงเอง โกเลน อธิบายว่าถ้าปล่อยลูกเต่าลงทะเลช่วงตัว อ่อนๆ เนื้อเยื่อใต้ท้องที่ ยั ง เหลื อ งนุ ่ ม ก็ จ ะเป็ น อาหารของปู คิ ด ว่ า จะ ดูแลให้โตกว่านี้แล้วค่อย ปล่อยให้อยู่ในธรรมชาติ ดู แ ลเต่ า ๙๙ ตั ว ไม่ ใ ช่ ง ่ า ยๆ เลย โกเลน ต้ อ งสู บ น�้ ำ จากทะเลมา เปลี่ยนทุกวัน ซื้อปลามา

แล่เนื้อสับให้กิน บางวันเปลี่ยนมาให้กล้วย น�้ำว้าบ้าง มี น าคม - เมษายน ๒๕๕๗ ลู ก เต่ า เติบโตอย่างสมบูรณ์ ท้องหยีแค้มปิ้งกลาย เป็นศูนย์เรียนรู้เต่าทะเลปราชญ์ชาวบ้าน อ่ า วท้ อ งหยี ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ข้ า มาพั ก ได้ศึกษาชีวิตเต่าตนุ (Green Turtle) เมื่อ เร็วๆ นี้ ‘สโมสรเยาวชนเสียงเด็ก’ จัดค่าย เยาวชน น�ำโดย ยุทธนา กับ สุพินดา ไกรเสม น�ำเด็กๆ ประมาณ ๕๐ คน มาเข้าค่าย ศึกษาชีวิต อบรมการเขียนการ์ตูน โดย ‘ครู อ๋า’ นักเขียนการ์ตูนชื่อดังมาเป็นวิทยากร เรียนรู้การถ่ายท�ำวีดิโอ การเล่นละครใบ้ ศึ ก ษาชี วิ ต นกออก โลมาสี ช มพู ลิ ง แสม บริเวณปากอ่าวขนอมและเข้าร่วมกิจกรรม

ลูกเต่าตนุเพิ่งออกจากไข่

ณ ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ เ ต่ า ทะเลปราชญ์ ช าวบ้ า น อ่าวท้องหยี สุพินดาเล่าว่า “เด็กๆ ลงมือจับเต่า ออกจากบ่อ ล้างท�ำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อ ตามล�ำตัวของเต่า ก่อนลงมือทายาให้ตาม

หน้า ๓

ครี บ ของเต่ า ทั้ ง สี่ จุ ด และบริ เ วณหลั ง คอ ล้ า งท� ำ ความสะอาดบ่ อ เต่ า และเปลี่ ย น ถ่ายน�้ำ ซึ่งเป็นกิจวัตรประจ�ำวันของศูนย์ เรี ย นรู ้ เ ต่ า ทะเลปราชญ์ ช าวบ้ า น อ่ า ว ท้องหยี หนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ของค่าย เยาวชน ‘บ้านเรา...ก็บ้านเขา (ด้วย)’ ของ สโมสรเยาวชนส�ำนักข่าวเสียงเด็ก โดยมี โกเลน และป้ากุลเป็นครูภูมิปัญญาให้กับ เด็กๆ” เมื่อก่อนลูกเต่าตัวยังเล็กขนาดวาง ในฝ่ า มื อ ปี ก ว่ า ๆ ลู ก เต่ า ตั ว ใหญ่ ขึ้ น น� ำ้ หนั ก กว่ า กิ โ ลกรั ม ถ้ า โตเต็ ม ที่ หั ว ถึ ง ยาง จะยาวประมาณ ๑ เมตร น�้ำหนัก ๑๓๐ กิโลกรัม ปัจจุบันโกเลนสร้างบ่อเลี้ยง ๓ บ่อ ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก พื้นปูกระเบื้อง ที่ ส� ำ คั ญ ต้ อ งเปลี่ ย นน�้ ำ เกื อ บทุ ก วั น โดย ใช้เครื่องสูบจากชายหาดหน้าศูนย์ฯ วัน ไหนคลื่นจัดน�้ำขุ่นสูบไม่ได้ วิธีแก้ก็คือสูบ น�้ำมาเก็บไว้ก่อน เรื่องนี้ต้องดูลมดูฝนฟัง พยากรณ์อากาศอยู่เรื่อยๆ โกเลนมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าไฟค่อนข้าง สูง รวมทั้งค่าอาหารส�ำหรับลูกเต่าก�ำลังโต ๙๙ ตัว วันไหนถ้าออกเรือได้เองก็พอได้ ปลามาแล่ เ นื้ อ ถ้ า วั น ไหนออกเรื อ ไม่ ไ ด้ ต้องไปซื้อปลาหรืออาหารเม็ด ค่าอาหาร เฉลี่ ย วั น ละ ๕๐๐ บาท และจะเพิ่ ม ขึ้ น เรื่อยๆ ปลาที่ เ ต่ า ชอบจะเป็ น ปลาเนื้ อ ถ้ า เป็ น ปลามี ก ้ า งเต่ า ไม่ ช อบกิ น ชี วิ ต จริ ง ๆ ของเต่าตนุต้องกินสาหร่ายทะเลบ้าง ผม ยังไม่ถามว่าโกเลนไปหาสาหร่ายมาให้กิน บ้างหรือเปล่า จ� ำ ค� ำ พู ด ของโกเลน วั น ที่ เ ข้ า ไปดู ลูกเต่า “อ่าวขนอม ทะเลขนอมยังอุดม สมบูรณ์ครับ เต่าจึงเลือกมาไข่” กว่าเต่าจะโตเต็มที่ก็อีก ๓-๗ ปี อายุ ยืนยาวถึง ๘๐ ปี ถ้าไม่ทยอยปล่อยลงทะเล เสียบ้าง ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ผมเขียนมาถึงตรงนี้ ก็อยากบอกกับ ฝ่าย CSR ของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายให้ หันมาสนใจเรื่องนี้บ้าง สสส. ที่ ส นั บ สนุ น งบประมาณแก่ กลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ น่าจะเจียดงบฯ สนับสนุนศูนย์เรียนรู้เต่าทะเลปราชญ์ชาวบ้าน อ่ า วท้ อ งหยี สั ก ก้ อ น เพื่ อ เป็ น ก� ำ ลั ง ใจให้ ชาวบ้านนักอนุรักษ์ที่เห็นถึงความส�ำคัญ ของสิ่งแวดล้อมจริงๆ


หน้า ๔

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

ชวนชควดินคยุ สุธรรม ชยันต์เกียรติ

ดื อ นเมษานี้ จ ะมี กิ จ กรรมงานประเพณี ข องเมื อ งนครที่ มี สืบทอดกันมาหลายปี คืองานสงกรานต์แห่นางดานเมือง นคร แล้ ว ยั ง มี พิ ธี พุ ท ธาภิ เ ษกน�้ ำ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ มื อ งนคร และ สรงน�้ ำ พระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ ทั้ ง สี่ กิ จ กรรมล้ ว นมี ม าแต่ โ บราณ งานสงกรานต์ แ ละพิ ธี ส รงน�้ ำ พระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ เ พิ่ ง เริ่ ม เมื่ อ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพได้น�ำแบบอย่างมาจาก กรุงเทพมหานครมาเป็นแบบอย่างให้หัวเมืองนครปฏิบัติตาม แทนงานบุญเดือน ๕ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน เช่น วันเจ้าเมืองเก่า เจ้าเมืองใหม่ และวันว่าง แต่ผิดกันตรงของนครเรามีวันสรงน�้ำ พ่อท่าน (พระสงฆ์) และอาบน�้ำคนแก่ เปลี่ยนมาเป็นสรงน�้ำ พระพุทธสิหิงค์แทน และสาดน�้ำสงกรานต์กัน ไม่มีประเพณี ด�ำหัวอย่างภาคเหนือ แต่ก็มีบ้างทางราชการจัดให้ผู้สูงอายุ มานั่งหมอบประนมมือ แล้วให้ลูกหลานหรือผู้อาวุโสน้อยกว่า ไปรดน�้ำอวยพร จะยังคงประเพณีแบบเก่าอยู่บ้างก็เฉพาะใน ชนบท ซึ่งเหลือน้อยเต็มที แบบของภาคกลางดูจะเป็นทางการ กว่าเท่กว่า ส่วนพิธีพุทธาภิเษกน�้ำศักดิ์สิทธิ์เริ่มมาหลายร้อยปีแล้ว ใช้ในพิธีถือน�้ำพิพัฒน์สัตยามาแต่โบราณของเมืองนคร เพิ่ง มาเลิกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ส่วนพิธีแห่นางดานมีมานานนับพันปี เพราะเป็นพิธีของพราหมณ์ที่เรียกว่า “พิธีตรียัมปวาย” ใน พิธีมีการแห่แหนรูปไม้กระดานแกะสลักเป็นรูปพระอาทิตย์ พระจั น ทร์ พระนางคงคาและพระนางธรณี ชาวบ้ า นมิ ใ ช่ พราหมณ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า “แห่นางกระดาน” หรือเรียก สั้นๆ อย่างคนใต้ว่า “แห่นางดาน” พิธีแห่นางดานได้ยกเลิกไปเมื่อประมาณปี ๒๔๖๒ และ ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อปี ๒๕๔๕ โดย ททท.นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏและชมรมรักบ้านเกิด แต่เป็นการจ�ำลอง เพื่อน�ำมาแสดงและในปีต่อๆ มาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช รับเป็นเจ้าภาพตลอดมาจนถึงปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดี หลายอย่างได้บ่งชี้ว่าเหล่าพราหมณ์ได้เดินทางเข้ามาเมืองนคร หลายพวก กลุ่มที่มีอิทธิพลมากๆ ล้วนสืบสายมาจากอินเดีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๒ หลักฐานจากจารึกต่างๆ เทวรูป ที่พบในเทวสถานร้างหลายแห่งตามที่พราหมณ์เหล่านั้นมาตั้ง หลักแหล่ง เช่น ท่าศาลา สิชลและเมืองนคร เทวสถาน เช่น เขาคา ตุมปัง ฐานพระสยม เป็นต้น พราหมณ์เหล่านี้จะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านราชพิธี ต่างๆ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นชนชั้นสูงในทุกราชส�ำนัก ท�ำ พิธีต่างๆ ในราชส�ำนัก และพิธีทางศาสนาพราหมณ์เอง เช่น

โดย : นครา nagara@nakhonforum.com

พิธีโล้ชิงช้า ยัมปวาย และตรียัมปวาย หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ ที่ เ ห็ น อยู ่ ใ นปั จ จุ บั น ถู ก สร้ า งขึ้ น เมื่อ ๖๐๐ กว่าปีที่แล้ว ในสมัยพระนารายณ์รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสวยราชย์กรุงศรีอยุธยา ตามต�ำนานพราหมณ์ เมื อ งนครกล่ า วไว้ ว ่ า “พระเจ้ า รามาธิ บ ดี แ ห่ ง รามนคร” (อินเดียปัจจุบัน) ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ คือ “เทวรูปพระ นารายณ์” “รูปพระศรีลักษมี” “รูปพระอิศวร” “รูปหงส์ และชิงช้าทองแดง” มาถวายพระเจ้าอู่ทอง แต่เรือที่น�ำเครื่อง บรรณาการถูกคลื่นซัดเข้าปากน�้ำเมืองตรัง กรมการเมืองตรัง ก็รายงานมายังเมืองนครและน�ำมาไว้ที่เมืองนคร เจ้าพญา นครก็ได้ท�ำหนังสือถึง พญาโกษาให้มารับ เจ้าพญาโกษาให้ แต่งเรือ ๖ ล�ำมารับและจอดรออยู่ที่ปากน�้ำนครรถา (ปาก นคร) แต่เกิดเหตุอัศจรรย์ มีพายุพัด เมฆหมอกมืดด�ำ ๗ วัน ๗ คืน มิได้หยุด เจ้าพญาโกษาได้เกิดนฤมิตรว่า พระนารายณ์ เทวรูปว่า “เราเสด็จอยู่เมืองนคร” เพราะเหตุว่า “หาดทราย แก้วมีสาริกอิศรา” อยู่ “พญาโกษา” จึงแต่งเครื่องพลีกรรม ถวาย หากนฤมิตรเป็นจริงขอให้พายุสงบท้องฟ้าที่มืดมัวพลัน สว่างไสวพายุสงบลง “พญาโกษา” จึงแจ้งไปยังพระนารายณ์ รามาธิบดี ครั้นทรงทราบจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพญานคร จัดหาที่เหมาะสมสร้างหอพระอิศวร หอพระนารายณ์ และ โบสถ์พราหมณ์ (ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว) ตั้งแต่นั้นมาทุกปี ในวัน แรม ๑ ค�่ำ เดือน ๑ ก็จะมีพิธี “ยัมปวายและตรียัมปวาย” ร่วม กับฐานพระสยมสืบมา จนยกเลิกเสียเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๒ แต่จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ยังท�ำพิธีเล็กๆ ในหมู่พราหมณ์ อยู่พักหนึ่ง จนถูกรื้อโบสถ์พราหมณ์จึงเลิกโดยเด็ดขาด ส่วน กรุงเทพฯ ก็ยังท�ำเป็นพิธีภายในเว้นเสียในเรื่องการโล้ชิงช้า ในพิธีแห่นางดานที่นครศรีธรรมราช ก็คือพิธีตรียัมปวาย แต่เดิม แต่จัดเป็นการแสดงเป็นการสาธิต และมาจัดร่วมกับ งานบุญเดือน ๕ หรืองานสงกรานต์เมืองนคร ถือว่าเป็นเรื่องดี ที่เราได้อนุรักษ์ประเพณีโบราณของเมืองเอาไว้ ทั้งแห่นางดาน น�้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองนครและสรงน�้ำพระพุทธสิหิงค์ แต่ขอฝาก ให้อนุรักษ์ประเพณีโบราณ “เล่นว่างเดือน ๕” “สรงน�้ำพระ สงฆ์” และ “อาบน�้ำคนเฒ่าคนแก่” เอาไว้ด้วย จะเล่นสาดน�้ำ สงกรานต์อย่างภาคกลาง หรือด�ำหัวอย่างภาคเหนือก็ไม่ว่า ขอ ให้รักษาของเก่าเราเอาไว้ด้วยนะครับ

หนังสือพิมพ์ รักบ้านเกิด ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือน เมษายน ๒๕๕๗ หลังการเลือกตั้งวันที่ ๓๐ มีนาคมมา ถึงวันนี้ชาวเมืองนครคงทราบแล้วว่าประชาชนเลือกใคร มาเป็นสมาชิกวุฒิสภาท�ำหน้าที่ต่อจากสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ก่อนเลือกตั้ง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมว. ต่างประเทศ และอดีตเลขาธิการอาเซียนออกเดินพบปะ ประชาชนในตัวเมือง ขอเสียงสนับสนุน พ.ต.อ.ธรรมนูญ ไฝจู ที่ลาออกจากราชการมาสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าประสบ ความส�ำเร็จก็ขอแสดงความยินดี หากได้คะแนนน้อยกว่า ท่านอื่นก็เตรียมตัวไว้สู้ใหม่

วันที่ ๒๔ มีนาคม ที่ผ่านมาโนช เสนพงศ์ นายก อบจ.นครฯ แถลงนโยบาย ๘ ข้อต่อสภา อบจ. ได้แก่ นโยบายด้านบริหารงาน, การท่องเที่ยว, การกีฬา, การ ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, การอาชีพ, สาธารณสุข และคุ ณ ภาพชี วิ ต , การพั ฒ นทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม และการพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐาน ทั้ ง นี้ อ ย่ า ลื ม สานต่ อ โครงการต่ า งๆ ที่ พิ ชั ย บุ ณ ยเกี ย รติ อดี ต นายกด� ำ เนิ น การค้ า งเอาไว้ ใ ห้ คื บ หน้ า ด้ ว ย การก่ อ สร้ า งมั ส ยิ ด กลางประจ� ำ จั ง หวั ด นครฯ ‘นายกมาโนช’ ควรหารือกับ เอกชั ย ดารากั ย ประธานคณะกรรมการอิสลามประจ�ำจังหวัดฯ ว่าควรจะ เริ่มต้นอย่างไร ก่อนนี้ความสัมพันธ์ระหว่าง อบจ. กับเทศบาลนครนครฯ ไม่ค่อยราบรื่นเพราะเป็นคนละพวก กัน ปัจจุบัน นายก อบจ. กับ เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายก เทศมนตรีเป็นพี่น้องคลานตามกันมา อะไรที่เป็นอุปสรรค ขัดขวางความเจริญและประโยชน์ของท้องถิ่นน่าจะหารือ กันได้ แต่จะกีดกัน เทพไท เสนพงศ์ ไม่ให้รู้เห็นก็กระไร อยู่ เรื่องนี้ชาวนครต้องจับตา วัณโรครักษาหาย... นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผอ.ส�ำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ ๑๑ จ.นครฯ เป็นห่วงเรื่องการแพร่กระจาย


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ของเชื้อวัณโรค ซึ่งประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า ๘๐,๐๐๐ รายต่อปี ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับเชื้อผ่าน ทางการไอ จาม พูดคุย โดยไม่ปิดปาก ถ้าใครมีอาการไอ ติดต่อกันเกิน ๒ สัปดาห์ หรือไอปนเลือด มีไข้ตอนบ่ายๆ มี เ หงื่ อ ออกมากเวลากลางคื น น�้ ำ หนั ก ลด อ่ อ นเพลี ย เบื่ออาหาร เจ็บหน้าอก และเหนื่อยหอบง่าย ให้รีบพบ แพทย์ทันที วาริน ชิณวงศ์ ปธ.หอการค้านครฯ และคณะกรรมการแสดงความสามารถจั ด งาน ‘ก้ า ว สู ่ ท ศวรรษที่ ๔ หอการค้ า นครศรี ธ รรมราช’ ได้ อ ย่ า ง

วาริน ชิณวงศ์

กลินทร์ สารสิน

อิสระ ว่องกุศลกิจ

สลิล โตทับเที่ยง

มี เ นื้ อ หา ทั้ ง ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ อย่ า งดี จ ากผู ้ บ ริ ห าร หอการค้าฯ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ งานนี้ กลิ นทร์ สารสิ น กรรมการเลขาธิ ก ารหอการค้ า ไทยให้ เ กี ย รติ บรรยายเรื่ อ ง ‘นาวาน� ำ ทิ ศ เศรษฐกิ จ ไทย สู ่ ก ารปฏิ รู ป ’ อิ ส ระ ว่ อ งกุ ศ ลกิ จ ปธ.กรรมการหอการค้ า ไทยมาร่ ว ม ประชุ ม หาแนวทางสนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ของ ภาคใต้ อ ย่ า งเอาจริ ง เอาจั ง สลิ ล โตทั บ เที่ ย ง ปธ.หอการค้ า กลุ ่ ม จั ง หวั ด อั น ดามั น มาให้ ภ าพรวม เศรษฐกิ จ ของภาคใต้ ฝ ั ่ ง อั น ดามั น ได้ อ ย่ า งมี น�้ ำ มี เ นื้ อ ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ โ ดยตรงจากงานประชุ ม ของ หอการค้าฯ ครั้งนี้น่าจะเป็น บุ ญ ชั ย ศั ก ดาวุ ธ เจ้าของ ‘เฮงฮกกี่ ขนมเปี ๊ ย โกชั ย ปากพนั ง ’ อ.ปากพนั ง ใน ฐานะต้ น แบบโครงการ ‘๑ บริ ษั ท ดู แ ล ๑ ชุ ม ชน’ ที่ คณะกรรมการหอฯ ๑๔ จั ง หวั ด ภาคใต้ สมาชิ ก โครงการนั ก ธุ ร กิ จ รุ ่ น ใหม่ ไ ปเยี่ ย มชมการท� ำ ขนมเปี ๊ ย ะ แสนอร่อย พร้อมสื่อมวลชนนับสิบส�ำนัก

นครศรีธรรมราช

หน้า ๕

คณะผู ้ บ ริ ห ารโรงแรมทวิ น โลตั ส มอบกระเช้ า ดอกบัวคู่ แสดงความยินดี กับ นพ.สมชัย อัศวสุดสาคร ผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เนื่องในโอกาส รับรางวัลผู้บริหารโรงพยาบาลดีเด่นระดับประเทศ

กิ จ กรรมของฮอนด้ า ศรี น ครวั น ที่ ๒ มี น าคม ๒๕๕๗ ชักชวนญาติมิตรผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธรูปและร่วมบูรณะกุฏิโบราณ วัดโคกสะท้อน ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครฯ วันที่ ๑๓ - ๑๔ มีนาคม น�ำพรีเซ็นเตอร์ สาวสวยไปออกบู ธ ประชาสั ม พั น ธ์ ที่ ธ.กรุ ง ไทย สาขา ท่าศาลา ต่อมาวันที่ ๑๗ - ๑๘ มีนาคม ที่สาขาชะอวด เชิญเที่ยวงาน ‘เทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดาน’ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ เมษายน ณ สวนศรีธรรมาโศกราช, สนามหน้าเมือง และหอพระอิศวร จังหวัดนครฯ ชมขบวน แห่ น างดาน, ร่ ว มสรงน�้ ำ พระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ , ชมการแสดง ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและมหกรรมขนมพื้นบ้านอาหาร พื้นเมือง สงกรานต์ปีนี้สาดน�้ำเล่นน�้ำอย่างสุภาพ ผู ้ ว ่ า ฯ อภิ นั น ท์ ห้ า งเพชรทองซี ก วง โดย ปาลิ ก า จึ ง ไพศาล ซื่ อ ธ า นุ ว ง ศ ์ บรรยาย สั้ น ๆ เรื่ อ ง ‘พระบรมธาตุ มอบเงิ น สนั บ สนุ น เพื่ อ โครงการพั ฒ นาห้ อ งเรี ย น สู ่ ม รดกโลก’ ในงาน ๔ โรงเรี ย นเบญจมราชู ทิ ศ สู ่ ห ้ อ งเรี ย นคุ ณ ภาพ โดยมี ทศวรรษหอการค้านครฯ ผอ.ภั ก ดี เหมทานนท์ ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นเป็ น ผู ้ รั บ มอบ เมื่ อ เดื อ นมี น าคม ที่ผ่านมา รุ ่ น พี่ - รุ ่ น น้ อ ง กัลยาณีศรีธรรมราช พบ กั น โดยบั ง เอิ ญ จ� ำ ลอง ฝั ่ ง ชลจิ ต ร ถื อ โอกาส มอบรวมเรื่ อ งสั้ น เล่ ม ใหม่ ‘เรื่อง ผม เล่า’ แด่ ดร.สุ ริ น ทร์ พิ ศ สุ ว รรณ อดี ต รมว.ต่ า งประเทศ และอดีตเลขาฯอาเซียน

Not only you are contented with our fine diamond and gold jewels, but community also enjoys.

ตลาดท่าม้า

ตลาดหัวอิฐ

ตลาดคูขวาง

ตลาดเสาร์อาทิตย์


หน้า ๖

สั

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

มพั น ธ์ กุ ้ ย เส้ ง เจ้ า ของ ปากพนั ง ปิ โ ตรเลี ย ม ปั ๊ ม น�้ำมันคุณภาพดีขนาดกะทัดรัด ริมถนนนครฯ - ปากพนัง และ สวนปาล์มขนาดเหมาะแก่ก�ำลัง ตน ‘รั ก บ้ า นเกิ ด ’ ติ ด ตาม ความเคลื่ อ นไหวของนั ก ธุ ร กิ จ หนุ ่ ม ลู ก ปากพนั ง คนนี้ ท างสื่ อ สั ง คมออนไลน์ ย อดนิ ย มมาปี กว่าๆ ได้รับรู้ทัศนคติ แนวคิด ทางธุ ร กิ จ ตลอดจนวิ ธี คิ ด ที่ อิ ง แนบกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างน่าสนใจ จึงติดต่อ ขอสัมภาษณ์ทางสื่อออนไลน์ยอดนิยม เขาตอบกลับมา ว่ายินดี สั ม พั น ธ์ กุ ้ ย เส้ ง เกิ ด ในครอบครั ว ชาวปากพนั ง ฝั่งตะวันตก ได้รับการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียน วัดเกาะจาก ต�ำบลเกาะทวด ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ระดับมัธยม ที่โรงเรียนโศภณคณาภรณ์ ระดับ ปวช. และ ปวส. สาขา

การตลาดจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา นครศรี ธ รรมราช “ตอนเรี ย นที่ อาชี ว ะผมเป็ น เด็ ก วั ด มเหยงคณ์ ตลอด ๕ ปี” จากนั้ น จึ ง ไปเรี ย นต่ อ ระดั บ ปริญญาตรี สาขาการตลาดที่มหาวิ ท ยาลั ย ทั ก ษิ ณ จั ง หวั ด สงขลา เขาเรี ย นภาคสมทบช่ ว งกลางวั น เขาออกหางานท� ำ “ผมไปอาศั ย บ้ า นเขาอยู ่ ก็ เ ลยเกรงใจ ได้ ง าน ท� ำ เป็ น พนั ก งานธุ ร กิ จ บริ ษั ท บ้านซอฟท์แวร์ จ�ำกัด ในอ�ำเภอ หาดใหญ่ วั น หนึ่ ง พนั ก งานขาย ลาออก ต�ำแหน่งนั้นว่างลง เขาก็ให้ ผมทดลองขายดู ผมเรียนภาคสมทบ กลางวันไปท�ำงาน ขาย Software และ Computer ปรากฏว่าปีนั้นผมเป็น พนักงานขายดีเด่น ผมเริ่มท�ำงานปี ๒๕๓๘” เขาน� ำ ความรู ้ ด ้ า นการตลาดที่ เ ล่ า เรี ย นมาไป ประยุกต์วางแผนการขาย “ผมท�ำอยู่สองปี แล้วย้ายไปท�ำที่ บริษัท หาดใหญ่

ประชุมชมรมชาวสวนปาล์มที่จังหวัดกระบี่

เวิลด์ ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ จ�ำกัด ซึ่งเป็นบริษัท รับประมูล คอมพิวเตอร์สถานศึกษา ทั้ง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ผมท�ำ ซองประมูลเองด้วย สนุกมากครับ ผมสนุกกับการท�ำงาน ท�ำเเหมือนเป็นบริษัทของตัวเองเลย” สัมพันธ์เปิดเผยว่า เขาท�ำยอดขายได้สูงมาก เพราะ เข้าใจแนวทางพัฒนาตลาดจนเป็นที่รักของหัวหน้าและ ผู้จัดการ ขณะเดียวกันเขาฝันถึงธุรกิจของตนเองหลัง เรียนจบ “ผมอยากเป็นเจ้าของธุรกิจแต่ไม่ค่อยมีทุน” เขาเล่ า ว่ า -- ท� ำ งานบริ ษั ท นี้ ไ ด้ ไ ม่ น านก็ ล าออก เพราะความเข้าใจผิดที่ท�ำให้เขาหมดก�ำลังใจ ลาออก แล้วอาศัยความสามารถไปสมัครที่บริษัทประมูลคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานต่างๆ ซึ่งเจ้าของตกลงว่าจะแบ่งหุ้น ให้เขา “แต่พออยู่ไปๆ เขาก็ไม่ให้ผมหุ้น เพราะผมไม่มี ทุนไปหุ้นกับเขา เขาว่าจะแบ่งหุ้นลมให้ ก็ไม่แบ่งให้ ก็ เสียใจ แต่ก็ยังเป็นเซลล์ ประมูลคอมพิวเตอร์ล็อตใหญ่ๆ สองสามล็อตผมก็ลาบวช” เขาบวชที่ วั ด เกาะจาก ได้ ฉ ายา-- พระสั ม พั น ธ์ จุลฺลปัณฑิโต แรกบวชตั้งใจจะอยู่ในผ้าเหลือง ๓๐ วัน เกิดความสุขขึ้นมาเลยอยู่ต่อ “ผมรู้สึกเสียดายถ้าลาสิกขา เพราะมีความสุขมาก ความสุขที่เกิดจากความสงบ ไม่วุ่นวาย แค่เดินบิณฑบาต ด้วยปลีน่องของตนเอง มีผ้ากาสายะคลุมกายก็สามารถ ออกหากินด้วยบาตรของตนเองได้แล้ว อีกอย่างหนึ่ง อยากทดแทนคุณพ่อแม่ซึ่งแก่มากแล้วด้วย” พรรษาแรกสั ม พั น ธ์ ส อบได้ นั ก ธรรมชั้ น ตรี และ ตั้งใจจะไม่ลาสิกขา ปีที่ ๒ สอบได้นักธรรมชั้นโท “ผม ได้ ส มั ค รเรี ย นในมหาวิ ท ยาลั ย มหามกุ ฏ ราชวิ ท ยาลั ย ด้วย (ป.ตรีพระ) แต่ลาออก เพราะเป้าหมายของพระที่ บวชเรียน มหาวิทยาลัยพระกับที่ผมเรียนไม่เหมือนกัน พระอยากได้วุฒิการศึกษา แต่ผมอยากได้ความรู้” เมื่ออยากได้ความรู้ก็ค้นคว้าต�ำราทางพระพุทธศาสนา และพระสงฆ์ ไทยกั บ การเมื อ ง จนได้ ค� ำ ตอบ อย่างแจ้งแก่ใจ เขาได้ธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ได้ค้นพบ ความวิเวกและเข้าใจความหมายของชีวิต “เรื่ อ งการเลื่ อ นสมณศั ก ดิ์ ท� ำ ให้ พ ระภิ ก ษุ ติ ด ใจ ในโลกธรรม ๘ จนแยกไม่ออก ว่าไหนพระไหนคฤหัสถ์ คฤหั ส ถ์ ติ ด ใจใน ลาภ ยศ สรรเสริ ญ บารมี อ ย่ า งไร พระบางรูปก็เป็นอย่างนั้น” บวชศึ ก ษาหาความรู ้ ค รบ ๓ ปี ก็ ล าสิ ก ขาออก มาดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้น และตั้งใจอยู่กับโลกให้ได้ “ผมออกมาท�ำงานกับคุณสุรินทร์ สิริชยานนท์ บริษัท วิชั่น อินเตอร์เน็ต จ�ำกัด และบริษัท วิชั่น พร๊อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด” เขาสารภาพว่าได้ประสบการณ์เกี่ยวกับการค้า ที่ดินจากบริษัทนี้อย่างมาก ไม่นานเขาก็ลาออกอีกครั้ง “คุ ณ สุ ริ น ทร์ แ นะน� ำ ให้ รู ้ จั ก คุ ณ สมพร ศรี เ พชร เรานัดพบกันครั้งแรกที่ ร้านอาหารในบวรบาซาร์ มุม พระเครื่อง ผมสอบถามคุณสมพร เรื่องการท�ำปั๊มน�้ำมัน ผมได้รับความรู้จากคุณสมพร ว่าการท�ำปั๊มน�้ำมันอิสระ นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ มีถังน�้ำมัน มีตู้จ่ายน�้ำมัน มีหลังคาคลุมตู้จ่ายน�้ำมัน และ ซื้อน�้ำมันมาขาย เท่านี้ก็จบ แต่ในโลกของความเป็นจริง มีการแข่งขันรุนแรงมาก ผมจึงขออนุญาตจดทะเบียน เป็นปั๊มน�้ำมันเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕” สัมพันธ์เล่าต่อ “ผมโชคดีที่มีพี่ชายที่รัก พ่อแม่ และรักครอบครัว ต้องขอบคุณพี่ชายคนนี้ของผมจริงๆ คุณสุพจน์ กุ้ยเส้ง ท�ำงานบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จ�ำกัด (อ่านต่อหน้า ๙) (มหาชน) เขามีเงินอยู่


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

มื่ อ วั น ที่ ๑๕ มี น าคม ๒๕๕๗ ผมได้ รับเกียรติเชิญไปเป็นวิทยากรในฐานะ นั ก ธุ ร กิ จ ท้ อ งถิ่ น ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลักษณ์ เรื่อง “งานวิจัยทางสังคมที่สังคม ต้องการ” มีผู้ร่วมเสวนา ศาสตราจารย์ สุ วิ ชั ย หวั น แก้ ว จากจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิทยาลัย คุณประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ ชาวบ้านรางวัลแมกไซไซ ด�ำเนินรายการ โดย อาจารย์ ดร.เลิศชาย ศิริชัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สืบเนื่องด้วยส� ำนัก วิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็ น เจ้ า ภาพการจั ด สั ม มนา เครื อ ข่ า ย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคม วิ ท ยาและมานุ ษ ยวิ ท ยาฯ ครั้ ง ที่ ๑๓ ปี การศึ ก ษา ๒๕๕๖ ระหว่ า งวั น ที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๗ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ อ ให้ ค ณาจารย์ แ ละนั ก ศึ ก ษาระดั บ บัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัย ภาคีเครือ ข่ า ยฯ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมแสดงความคิ ด เห็นแลกเปลี่ยนทัศนะและประสบการณ์ การท� ำ วิ จั ย อั น จะเป็ น การพั ฒ นาศั ก ยภาพของนั ก ศึ ก ษาสาขาสั ง คมวิ ท ยาและ มานุษยวิทยา รวมถึงสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยว ข้องให้มีความรู้ทางวิชาการเพิ่มขึ้น ประเด็นที่ทางคณะผู้จัดมีความเห็น ว่ า นั ก ศึ ก ษาที่ ม าน� ำ เสนอวิ ท ยานิ พ นธ์ ควรจะได้ ฟ ั ง เสี ย งสะท้ อ นจากสั ง คมถึ ง งานวิจัยที่สังคมต้องการ เพื่อให้นักศึกษา ซึ่ ง จะออกไปเป็ น นั ก วิ จั ย ในอนาคต ได้ ใคร่ ค รวญถึ ง ประเด็ น การท� ำ วิ จั ย ที่ มี

นครศรีธรรมราช

ท�ำอย่างไร? ให้ผู้ท�ำวิจัยเปิดโอกาสให้ตัวเขาเอง ลงไปหาพันธมิตรในภาคธุรกิจหรือภาคชุมชนรวมถึงภาคอื่นๆ เพื่อก�ำหนดประเด็นงานวิจัยร่วมกัน ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คม พู ด ให้ เ ข้ า ใจง่ า ยก็ คื อ ทางคณะผู ้ จั ด เชิ ญ ผมไปในฐานะนั ก ธุ ร กิ จ ท้ อ งถิ่ น มี ว ่ า ความเห็ น อย่ า งไรกั บ งานวิ จั ย ของนั ก ศึ ก ษา และต้ อ งการน� ำ เสนออะไรบ้ า งในฟากความเห็ น ของคน ท�ำธุรกิจ ส่วนของลุงประยงค์ รณรงค์ นั้น เป็นตัวแทนของภาคชุมชนที่เข้มแข็ง เป็น ภาคประชาสั ง คมในภาคเกษตรมี ค วาม ต้องการงานวิจัยอย่างไร? เพื่อไปช่วยให้ ภาคเกษตรเข้ ม แข็ ง และมี ก ารพั ฒ นาได้ อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยสรุปแล้วความ เห็นและข้อเสนอแนะจากภายนอกคือผม และลุงประยงค์ก็ไปในทิศทางเดียวกันคือ ท�ำอย่างไร? ให้ผู้ท�ำวิจัยเปิดโอกาสให้ ตัวเขาเองลงไปหาพันธมิตรในภาคธุรกิจ หรื อ ภาคชุ ม ชนรวมถึ ง ภาคอื่ น ๆ เพื่ อ ก�ำหนดประเด็นงานวิจัยร่วมกัน แทนที่ นั ก ศึ ก ษาจะเป็ น ผู ้ เ ลื อ กประเด็ น ขึ้ น มา ก่อน แล้วจึงลงไปท�ำงานวิจัยภาคสังคม เพราะในปัจจุบันนี้กระแสในการท�ำงาน วิจัยทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว “งาน วิจัยต้องสามารถตอบโจทย์ประเทศและ สังคมได้” ค�ำถามใหญ่และเป็นประเด็น ส� ำ คั ญ มากที่ ผ มถามนั ก วิ จั ย และผู ้ เ ข้ า ร่วมเสวนาในวันนั้น ก็คือ “ผู้วิจัยทราบ หรือไม่ว่าเป้าหมายของภาคเอกชนและ

เดือนเมษายน ๒๕๕๗ วันจันทร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นวันขึ้น ๘ ค�่ำ เดือน ๕ วันจันทร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันสงกรานต์ วันอังคารที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นวันแรม ๘ ค�่ำ เดือน ๕

วันจันทร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗ เป็นวันแรม ๑๔ ค�่ำ เดือน ๕

สังคมต้องการอะไร?” ตัวอย่างกรณี คณะ วิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ เ ปิ ด โอกาสให้ บ ริ ษั ท เอกชน ๓ แห่ ง ได้แก่ ทรูแลปของบริษัททรู คอร์เปเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทพรีเมียร์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จ�ำกัด (ไพรส์) เข้ามาจัดตั้งใน มหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ท� ำ หน้ า ที่ ช ่ ว ยพั ฒ นา และสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์ให้ มี มู ล ค่ า เพิ่ ม ตรงความต้ อ งการของภาค อุ ต สาหกรรมและได้ รั บ การสานต่ อ เชิ ง พาณิชย์ แต่งานวิจัยภาคสังคมและมานุษยวิ ท ยาก็ ถื อ ได้ ว ่ า เป็ น งานวิ จั ย เกี่ ย วกั บ วิ ถี ชีวิตของผู้คน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา ความเชื่อ ฯลฯ ซึ่ง เป็ น ผลงานที่ จ ะสร้ า งองค์ ค วามรู ้ - ความ เข้ า ใจต่ อ คุ ณ ค่ า ของความเป็ น มนุ ษ ย์ จ� ำ เป็ น ที่ ภ าคธุ ร กิ จ หั น มาให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ คุ ณ ค่ า ของทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ ส ร้ า ง มูลค่าให้กับองค์กรทางธุรกิจนั่นเอง ท�ำให้ ผมนึกไปถึงภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคม ชมรมต่างๆ ทั้งในภาคธุรกิจ และสั ง คมถ้ า ได้ มี ก ารจั ด เสวนาร่ ว มกั บ มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น เรื่องการท�ำงาน วิจัยของนักศึกษาทุกคณะเพื่อน�ำประเด็น

หน้า ๗

ของท้ อ งถิ่ น มาเป็ น งานวิ ท ยานิ พ นธ์ ข อง นั ก ศึ ก ษาระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาทุ ก สาขา วิชา นี่นับได้ว่าเป็นหน้าต่างแห่งโอกาส ที่จะท�ำให้การพัฒนาเกิดขึ้นจากการใช้ ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์มาก ขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และส�ำคัญมากท�ำให้ เป้าหมายการท�ำงานวิจัยของนักศึกษา อาจารย์ และสถาบั น การศึ ก ษา เป็ น เป้าหมายเดียวกันกับภาคสังคมทุกภาค ส่วน เท่ากับงานวิจัยสามารถตอบโจทย์ ท้องถิ่นประเทศชาติได้นั่นเอง แต่แน่นอน การใช้ ป ระโยชน์ จ ากงานวิ จั ย จะเกิ ด ผล เป็นจริงได้หรือไม่อย่างไร? ผู้มีส่วนเกี่ยว ข้องอาจต้องตอบค�ำถามตัวเองว่า ๑. งานวิจัยมีคุณค่าและดีพอส�ำหรับ เราหรือไม่? ๒. งานวิจัยที่ท�ำให้เกิดประโยชน์ใน การสร้ า งมู ล ค่ า และคุ ณ ค่ า ต่ อ ภาคธุ ร กิ จ –สังคม มีอยู่จริงหรือไม่? ๓. งานวิ จั ย จะสร้ า งโอกาสและ ความเป็ น ไปได้ ใ ห้ กั บ องค์ ก รภาคธุ ร กิ จ สังคม ได้อย่างไร? ผมขอชื่ น ชมกั บ คณะผู ้ จั ด ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ภ าคส่ ว นของสั ง คมและภาค ธุ ร กิ จ เข้ า ไปน� ำ เสนอข้ อ คิ ด เห็ น ในเวที เสวนาของนั ก ศึ ก ษาระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา และที่ จ ะขอเสนอต่ อ ไปจากนี้ จ ะท� ำ อย่างไร? ให้มีเวทีเสวนานี้โดยเปิดกว้าง ให้นักวิจัยได้มีโอกาสน�ำเสนองานวิจัยต่อ องค์ ก รภาคเอกชน และองค์ ก รภาครั ฐ รวมถึ ง องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และ ภาคประชาสั ง คม-สื่ อ มวลชนเพื่ อ ให้ ทุ ก ภาคส่ ว นเห็ น คุ ณ ค่ า ของงานวิ จั ย ที่ ผู ้ ท� ำ วิทยานิพนธ์ได้เพียรพยายามในการหาข้อ เท็จจริงมาน�ำเสนอต่อสาธารณะอันจะก่อ ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและ ประเทศชาติสืบไปครับ ไพโรจน์ เพชรคง


หน้า ๘

เรือ่ งจากปก

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

<< ต่อจากหน้า ๑

ณ ห้ อ งบงกชรั ต น์ โรงแรมทวิ น โลตั ส ที่ ป ระชุ ม โดยสรุ ป สถานการณ์ เ ศรษฐกิ จ โดยรวมของภาค ใต้ ว่ า ต้ อ งพึ่ ง พาจากเศรษฐกิ จ ภาคการเกษตร อย่างยางพาราและปาล์มน�้ำมันเป็นหลัก เมื่อราคา ผลผลิตตกต�่ำการบริโภคและการลงทุนจึงชะลอตัว ส่วนการท่องเที่ยวบางจังหวัดไม่กระทบ นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่ม จังหวัดอันดามัน กล่าวว่า จังหวัดฝั่งอันดามันขับ เคลื่อนเศรษฐกิจด้วยยางพาราและปาล์มน�้ำมัน แต่ ปีนี้ราคาแย่กว่าปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวยังคงอยู่

ที่ตลาด ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มยุโรป สแกนดิเนเวีย ส่วน กลุ ่ ม เอเชี ย ลดลงอย่ า งมาก จั ง หวั ด ที่ ก ระทบหนั ก คือ ระนอง ตรัง ส่วนกระบี่ และภูเก็ต การท่องเที่ยว ยั ง ดี เ พราะมี เ ที่ ย วบิ น ตรงทั้ ง ในและต่ า งประเทศ พั ง งากระทบไม่ ม ากนั ก นั ก ท่ อ งเที่ ย วเอเชี ย โดย เฉพาะจีนชะลอการเดินทาง นักท่องเที่ยวไทย (ไทย เที่ ย วไทย) กระทบมาก คงต้ อ งรอดู ส ถานการณ์ ทางการเมืองว่าจะนิ่งเมื่อไหร่ แต่โดยรวมลดลงกว่า ไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ นายสุทัศน์ เลิศมโนรัตน์ ประธานหอการค้ากลุ่ม จังหวัดอ่าวไทย กล่าวว่า พืชเศรษฐกิจคือยางพารา และปาล์มน�้ำมันรายได้ลดลงมาก การใช้จ่าย การ บริโภคจึงลดลง การลงทุนจะชะลอตัว การแก้ปัญหา คือ ต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ ในเชิงลึก เช่นการเพิ่ม

ภาพโดย : ณัฐ ธีระกุล

วาริน ชิณวงศ์

ประสิ ท ธิ ภ าพด้ า นการ ผลิ ต ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ พืชผักปลอดภัย ลดสาร เคมี การแปรรูปเพื่อเพิ่ม มู ล ค่ า ท� ำ ให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ม าตรฐานคุ ณ ภาพให้ ตลาดยอมรับ ส่วนการท่องเที่ยว ปั จ จุ บั น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางทะเล อย่ า งเกาะสมุ ย เกาะพงัน และเกาะเต่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เต็ม ท�ำอย่างไรถึงจะกระจายนักท่องเที่ยวให้เดินทาง มาเที่ยวพื้นที่บนบก จังหวัดนครฯ มีแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นป่าเขามากมาย โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรมที่ส�ำคัญคือ วัดพระมหาธาตุฯ ที่ได้รับการ เสนอชื่ อ ให้ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลก เรื่ อ งอาหาร ทางฝั่งอ่าวไทยสมบูรณ์ที่สุด โดยรวมๆ ฝั่งอ่าวไทย ต้ อ งพั ฒ นาพื ช ผลทางการเกษตร การกระจายนั ก ท่ อ งเที่ ย วทะเลมาสู ่ บ ก และการเชื่ อ มโยงกั บ ฝั ่ ง อันดามันในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวไม่ตรงกันให้สลับมา เที่ยวทางฝั่งอ่าวไทย นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ภาคใต้ ห อการค้ า ไทย ระบุ ว ่ า

หอการค้ า ทั้ ง ๑๔ จั ง หวั ด ก� ำ ลั ง เร่ ง ขั บ เคลื่ อ น ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรสร้างโอกาสให้มาก ขึ้น ทั้งยังยืนยันถึงการคัดค้านโครงการน�ำเข้าน�้ำมัน ปาล์มของกระทรวงพาณิชย์อย่างเด็ดขาด เนื่องจาก จะส่งผลกระทบซ�้ำเติมราคาปาล์มภายในประเทศ พร้ อ มทั้ ง ขยายโอกาสทางด้ า นการท่ อ งเที่ ย วให้ มี ค วามเชื่ อ มโยงระหว่ า งฝั ่ ง อั น ดามั น และฝั ่ ง อ่ า ว ไทยให้มากขึ้น ขณะเดียวกันเห็นควรพัฒนาระบบ คมนาคมทางรางกระจายไปยังจังหวัดฝั่งอันดามัน รวมทั้งพัฒนาระบบจราจร ๔ ช่องจราจร ดร.นพพงษ์ ธี ร ะวร ประธานกลุ ่ ม การค้ า จั ง หวั ด ฯชายแดน กล่ า วว่ า การค้ า ชายแดนที่ ผ ่ า น มามีสินค้าผ่านระบบศุลกากรสูงถึง ๙๐๐,๐๐๐ ล้าน บาท แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาคใต้จะมีมูลค่าอยู่ในนี้ สูงถึง ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วยังมี ระบบการค้าที่ไม่ผ่านศุลกากรอยู่อีก โดยคาดว่าใน ปี ๒๕๕๘ จะเร่งผลักดันให้มีการขยายตัวสูงถึง ๒ ล้านล้านบาท นางสาววาริ น ชิ ณ วงศ์ ประธานหอการค้ า จังหวัดนครฯ กล่าวเน้น เรื่องภูมิศาสตร์เศรษฐกิจทั้ง การเกษตรและประมง ในมุมมองทางเศรษฐกิจโลก จะต้องสะท้อนภาพอ่าวไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท�ำให้ โลกรู ้ จั ก อ่ า วไทยที่ เ ชื่ อ ม โยง ๔ - ๕ จังหวัดซึ่งเป็น แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ ผู้ร่วมประชุมจากทุก จังหวัดมีความเห็นเหมือน กั น ว่ า จะร่ ว มกั น ผลั ก ดั น ให้พระบรมธาตุเจดีย์เป็น มรดกโลก เพราะพระ บรมธาตุฯ ไม่ได้เป็นสมบัติ ของชาวนครเท่ า นั้ น แต่ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม ของชาวไทยและเอเชีย


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

หน้า ๙

รายงาน ศู น ย์ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และส่ ง เสริ ม อาชี พ ผู ้ สู ง อายุ ปี ๒๕๕๗ ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ก�ำหนดให้มีกิจกรรมขับเคลื่อนศูนย์พัฒนา คุ ณ ภาพชี วิ ต ฯ ระดั บ จั ง หวั ด คณะกรรมการบริ ห าร ศูนย์ระดับพื้นที่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้รับทราบถึง แนวทางการด� ำ เนิ น งานโครงการฯ ซึ่ ง ในเบื้ อ งต้ น ได้ ก�ำหนดให้มีกิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อนหลายกิจกรรม อาทิ การปรับปรุง/ก่อสร้างอาคาร การติดตามนิเทศ งาน กิจกรรมด้านอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ กิจกรรม ด้ า นฝึ ก อาชี พ ด้ า นถ่ า ยทอดวั ฒ นธรรมภู มิ ป ั ญ ญา ท้ อ งถิ่ น ด้ า นนั น ทนาการ และด้ า นอื่ น ๆ นอกจากนี้ ยั ง ด� ำ เนิ น งานเพื่ อ ขยายผลโครงการอาสาสมั ค รดู แ ล ผู ้ สู ง อายุ ที่ บ ้ า น โดยมอบหมายให้ อ งค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหลักในการด�ำเนินงานร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในท้องถิ่น สร้าง ระบบงานอาสาสมั ค รดู แ ลผู ้ สู ง อายุ ที่ บ ้ า นให้ เ กิ ด ขึ้ น ทุ ก เขตองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ภายในปี ๒๕๕๖ ที่ ข ณะนี้ ส ามารถด� ำ เนิ น การได้ ค รบทุ ก เขตองค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ส่งผลให้มีอาสาสมัครดูแล ผู้สูงอายุที่บ้านจ�ำนวน ๘๑,๘๘๓ คน และมีผู้สูงอายุ ที่ ป ระสบปั ญ หาความทุ ก ข์ ย ากเดื อ ดร้ อ นที่ ไ ด้ รั บ การ ดูแลจากอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ๘๖๔,๖๖๐ คน

<< ต่อจากหน้า ๖ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าบาท เ ข า ใ ห ้ เ งิ น ผ ม ม า ลงทุ น ซื้ อ ตู ้ จ ่ า ย ซื้ อ อุปกรณ์ทุกอย่าง และ เราก็เริ่มถมที่ดินหน้า บ้านท�ำเป็นปั๊มน�้ำมัน เล็ ก ๆ ชื่ อ ปากพนั ง ปิโตรเลียม” สอง-สามปีแรกเขาเปิดปั๊มขายเอง และนั่งจดชื่อ ลูกค้ารายใหญ่ อย่างแพปลา นากุ้ง รถสิบล้อ รถบรรทุก ดิน และรถเมล์ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ต่อไปได้กลุ่มแพปลารายใหญ่ๆ ก็เข้ามาเป็นลูกค้า “ลูกค้ารายแรกๆ คือกลุ่มแท๊กซี่ปากพนัง เป็นรถ คันเก่าๆ ที่พร้อมจะเสี่ยงกับปั๊มน�้ำมันของผม—ผมขาย เฉพาะดีเซล ผมแจกเบอร์โทรพวกเขา บอกว่าถ้าพวก คุณเดือดร้อนตอนกลางคืน รถแพต้องไปมหาชัย แล้ว ไม่รู้จะเติมน�้ำมันที่ไหนให้โทรหาผม ผมจะเปิดปั๊มให้เขา ถูกใจกันมาก นั่นเป็นเหตุผลหลักๆ ที่ผมผูกใจรถแพไว้ได้ เกือบ ๕๐ คัน” ปั ๊ ม ของเขาเป็ น ที่ รู ้ จั ก มากขึ้ น กลุ ่ ม รถเมล์ รถ กะบะ รถบรรทุก เลี้ยวเข้าไปใช้บริการมากขึ้น “ผมยัง ใช้กลยุทธ์เดิม คือ การลดราคาให้ต�่ำกว่าปั๊มยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะรถเมล์ผมให้เครดิตพวกเขาด้วย พวกเถ้าแก่ รถเมล์เขาพอใจมากที่ผมช่วยจัดการเรื่องการทุจริตของ

ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม จนยากแก่การปรับตัว ประมาณร้อยละ ๓๐ เคยมีประสบการณ์ของการมีภาวะ ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาวะ อย่ า งยิ่ ง บุ ค คลทั่ ว ไปมั ก เข้ า ใจเป็ น เรื่ อ งธรรมดาจึ ง มั ก ละเลย ท�ำให้ผู้สูงอายุมีความทุกข์ทรมานมากขึ้น หาก ผู ้ สู ง อายุ ไ ด้ มี ก ารเตรี ย มความพร้ อ มทั้ ง ร่ า งกายและ จิตใจก่อนที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุก็สามารถหลีกเลี่ยงหรือ ป้องกันได้ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุทางพันธุกรรม การเสื่อมของเซลล์ประสาท หรื อ สมองฝ่ อ บางคนเป็ น โรคสมองเสื่ อ ม โรคหลอด เลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคต่อมธัยรอยด์ ฯลฯ สาเหตุ

ทางด้ า นจิ ต ใจที่ พ บบ่ อ ย ได้ แ ก่ การไม่ ส ามารถปรั บ ตัวต่อการสูญเสีย เหตุการณ์ที่ท�ำให้เกิดความผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ หรือมีความเครียดความทุกข์การสูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่าย จ�ำนวนมาก เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคข้อ โรคมะเร็ง หรือความขัดแย้งระหว่างลูกหลาน ผู้สูงอายุสามารถป้องกันโรคซึมเศร้า หรือความ ทุกข์ต่างๆ ให้ทุเลา โดยการรับประทานอาหารที่เหมาะ สมกับวัยให้ครบ ๓ มื้อในปริมาณที่เหมาะสม หมั่นออก ก�ำลังกายทุกวัน เข้ารับการตรวจสุขภาพประจ�ำปี ที่ ส�ำคัญคือหมั่นดูแลจิตใจและอารมณ์ตัวเองให้เบิกบาน อยู่เสมอ

พวกคนรถได้ส�ำเร็จ” สัมพันธ์ให้ความส�ำคัญกับคุณภาพน�้ำมันมาก เขาไม่ ค่อยเปลี่ยนซัพพลายเออร์ เขาวางแผนธุรกิจ และก�ำหนด ยุทธศาสตร์ ให้ซัพพลายเออร์ด้วย ประสบการณ์จากปั๊มน�้ำมันเล็กๆ ปัจจุบันเขายังเป็น ที่ปรึกษาให้ธุรกิจในเครือ หจก.ศรีเพชรปิโตรเลียม (สาม แยกสวนผัก) หจก.เกษมพร (แยกนาพรุ) และ บริษัท ศรีเพชรพร๊อพเพอร์ตี้ ในแบบให้ฟรีในฐานะเพื่อนที่ดี ต่อมาสัมพันธ์ลงทุนท�ำสวนปาล์ม “ระหว่างท�ำปั๊ม น�้ำมัน ผมมีที่ดินของพี่น้องที่ว่างๆ อยู่ประมาณ ๕๐ ไร่ เราได้วางแผนกับพี่ชาย (คุณสุพจน์ กุ้ยเส้ง) เพื่อพัฒนา เป็นแปลงปาล์มน�้ำมันเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากธุรกิจ น�้ ำ มั น ซึ่ ง ผั น ผวนมาก ปั ๊ ม น�้ ำ มั น ทั้ ง ใหญ่ เ ล็ ก ทยอยปิ ด ตัวมากมาย ปั๊มอิสระ ๑๐๐ ปั๊ม มีโอกาสรอดสัก ๕ ปั๊ม เท่านั้น ส่วนปั๊มใหญ่ๆ ต้องลงทุนสูง ถ้าแบงค์ไม่ปล่อยก็ จบ ถ้ามีปัญหามากก็จบเช่นกัน เราวางแผนโดยการเอา ก�ำไรจากน�้ำมันไปลงทุนเรื่องปาล์มและเราก็ท�ำได้ เป็น ของครอบครัว ๕๕ ไร่ และที่หุ้นกับญาติอีก ๒๕ ไร่ ครับ เมื่อวงการปาล์มน�้ำมันมีปัญหา คุณสมพร ศรีเพชร และ เพื่อนๆ ด�ำริที่จะจัดตั้งสมาคมชาวสวนปาล์มน�้ำมันจังหวัด นครศรีธรรมราช พวกเขาก็ชวนผมเข้าไปช่วยด้วย ซึ่ง ว่ากันตามจริงแล้ว เรามีเวลากันน้อยมาก แต่เราก็ตั้ง สมาคมปาล์มฯ ส�ำเร็จ และมีการขับเคลื่อนกันในระดับ ประเทศ มีการโทรถึงกันตลอดเวลา โดยผมรับหน้าที่สร้าง เฟซบุ๊คของสมาคมชาวสวนปาล์มน�้ำมันจังหวัดนครฯ เพื่อ อัพเดทข่าวสารให้สมาชิกได้รับทราบ เราได้รับเกียรติ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อเป็นที่ปรึกษางานวิจัย ต่างๆ เพื่อยกระดับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม เพื่อให้เกิด การบูรณาการกันระหว่างชุมชน ซึ่งเราก็ท�ำได้ดีในระดับ

หนึ่ง ผมอาจจะพูดมากไปหรือเปล่า เราท�ำสิ่งเล็กๆ กัน เท่านั้น ธุรกิจของผมก็เล็กนิดเดียว” ‘รักบ้านเกิด’ ถามว่า เขาน�ำหลักธรรมทางพระ พุทธศาสนามาปรับใช้อย่างไร เขาตอบว่ า “พระพุ ท ธเจ้ า สอนเรื่ อ งสั น ตุ ษ ฐี : สันโดษ ความยินดี ความพอใจ คือ ความรู้จักพอดี ความ รู้จักพอเพียง ผมยึดหลักความพอเพียง ไม่ท�ำอะไรเกินตัว และไม่หลอกตนเอง เราอยู่ในโลกของความเป็นจริง มอง โลกตามความเป็นจริงครับ แต่เมื่อมีโอกาสผมก็รุกฆาต เช่นกัน” ในมุมมองของนักธุรกิจก็ควรเป็นเช่นนั้น “อี ก ข้ อ หนึ่ ง ที่ ผ มยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ เ รื่ อ ยมาคื อ หลั ก ปฏิจจสมุปบาทซึ่งสอนเรื่อง การอิงอาศัยกัน สรรพสิ่ง อิงอาศัยกัน เราทุกคนบนโลกใบนี้ต้องอิงอาศัยกัน เรา จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ ใครท�ำอะไรทั้งดีและร้าย ก็ กระทบถึงกันหมด ผมเรียนรู้การจัดการความทุกข์ ความ ทุกข์เกิดที่ใด ก็ขอให้มันดับที่ตรงนั้น ผมจะไม่เป็นคน แบกทุกข์ เพราะสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ทั้ง ความสุข ความทุกข์ ต่างก็เป็นของไม่เที่ยง ผมเตือน ตนเองเสมอว่า โลกธรรม ๘ เป็นของไม่เที่ยง มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ เช่น นั้นเอง” สั ม พั น ธ์ ก ล่ า วอย่ า งถ่ อ มตนว่ า เขาไม่ ใ ช่ ค นเคร่ ง ศาสนา แต่สนใจเฉพาะแก่นแท้ ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ ตามหลักธุรกิจว่าโลกธุรกิจเป็นอย่างไร จะท�ำอย่างไรจึง จะทันโลกธุรกิจ” สั ม พั น ธ์ กุ ้ ย เส้ ง ยึ ด มั่ น อยู ่ กั บ ความเป็ น จริ ง ของโลก


หน้า ๑๐

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

๑.๒ นางสีดาเตือนทศกัณฐ์เรื่องความรัก เป็นกษัตริย์เชื้อพรหมอุดมศักดิ์ ไม่ควรรักเมียเขาเฝ้าถนอม ควรจะมีกรุณาเมตตาพร้อม สมควรยอมไปส่งจากลงกา ผัวยังห่วงเมียเขาเอาแล้วบาป เป็นการหยาบผิดกฎเสียยศฐา

รศ.วิมล ด�ำศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ตอนที่ ๓

๑.๓ บทพระรามรับพิเภกเข้าเป็นทหาร อวตาลนิ่งนั่งฟังพิเภก เป็นผู้เอกเปรื่องปราดฉลาดหลาย สมกับเป็นเชื้อเชาว์นี้เลาลาย ไม่เข้าฝ่ายคนพาลสันดานคด ควรรับไว้ใช้สอยคอยช่วยเหลือ จะแผ่เผื่ออารียินดีหมด ข้าราชการทุกชั้นเป็นหลั่นลด ได้ปรากฏมองเห็นเป็นตัวอย่าง

หนังตะลุง

ถึงแม้หนังตะลุงสมัยก่อน ทุกคนจะแสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว แต่การ แสดงของทุกคณะก็จะน�ำเอาศีลธรรม สังคม การเมือง เข้าสอดแทรกในการแสดง ด้วยตามความถนัด และความรู้ของผู้แสดง เช่น บางคณะ มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาดี ก็จะน�ำเอาพิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาเข้าสอดแทรกในตัวละคร ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ การเมืองก็จะน�ำเอาหลักการเมืองการปกครองเข้าไปใช้ในการแสดงอย่างกลมกลืน กับตัวละครในท้องเรื่องจนเป็นที่พออกพอใจของผู้ชม

๑. หนังตะลุงในสมัยโบราณ

๑.๑ บททศกัณฐ์แต่งตัว เมื่อตรองตรึกนึกได้ขึ้นเช่นนั้น ใส่เสื้อนวมสร้อยประสานสังวาลรัตน์ ทั้งตาบทับอุระการะเม็ด สอดฉลองบาทาหัตถ์คว้าจักร

จอมมารันแต่งองค์ทรงเครื่องเพชร สารพัดเลิศแล้วซึ่งแก้วเก็จ มงกุฎเก็จกนกตลอดดับยอดครุฑ อันเรืองศักดิ์ฤทธิ์เลิศประเสริฐสุด

๑.๔ บทกุมภกรรณลักหอกโมกขศักดิ์ กุมภกรรณวันทาลาเจ้าพี่ จัดโยธีดังแซ่แลสลอน มุ่งไปยังนทีสีทันดร จากนครโห่ดังตั้งไชโย ตัดว่าสามวันครึ่งถึงริมฝั่ง มีค�ำสั่งให้ตัดต้นรุกโข ปลูกขึ้นเป็นพลับพลาหลังคาโต พักกาโยจอมมารผู้ชาญฤทธิ์ สั่งท�ำบายศรีมีเครื่องหอม คาวหวานพร้อมมากมายไหว้ศักดิ์สิทธิ์ เครื่องบวงสรวงเทวาอัฎฐทิศ อีกศักดิ์สิทธิ์ในสถานย่านนที บายศรีเสร็จเจ็ดชั้นเกลากลั่นสอด กลางมียอดแวววับระยับสี ให้ผู้เฒ่าเข้านั่งตั้งพิธี หมอคนดีเลยนั่งตั้งสักเค หมูข้าวเหล้าเป็ดไก่ใส่พร้อมสรรพ เพื่อต้อนรับศักดิ์สิทธิ์จิตไม่เห บวงสรวงเสร็จเจ้าจอมหม่อมมาเร ตั้งสักเคชุมนุมเทวดา แล้วยกหอกตั้งจิตอธิษฐาน เดชะท่านพรหมสวรรค์ชั้นเวหา ศีลธรรมกับสังคมและการเมืองเป็นของคู่ศิลปินหนังตะลุงมาตั้งแต่โบราณ ค�ำ กลอนข้างต้นเพียงไม่กี่บท ถ้าถอดความออกมาบางตอนมีเหตุผลในการปกครอง บาง ตอนมีคุณค่าทางศีลธรรม และบางตอนท�ำให้เราทราบถึงประเพณีวัฒนธรรม ของ จังหวัดนครศรีธรรมราชในสมัยโบราณได้ดี

ค�ำกลอนทศกัณฐ์แต่งกายเพียงไม่กบี่ ท ท�ำให้ผชู้ มเข้าใจเครือ่ งทรงสมัยโบราณได้ดี

พิกุล พลิ้วไกว แกว่งใบแผ่ว ตะวันใส เหมือนแก้ว ตระการใส แสงส่อง ประสบ อบอุ่นไพร หวั่นใจ ไหวหวั่น วันตื่นตา สงบ ซึ้งวัน แห่งสันติ ปีกขน งามผลิ เพื่อบินกล้า แต่วัน นี้มี แม่คอยมา ป้อนเหยื่อ กายา ลูกสองตัว เพื่อผก ผินได้ บินผันผก เกิดเป็นนกถวิล บินไปทั่ว ทั้งดง พงไพร ใจระรัว ทั้งกลัว เกรงภยันตรายราย ฯ สุรชาติ เกตุประสิทธิ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

(อ่านต่อฉบับหน้า)


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๑

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์

อกจากเมื อ งไชยา เมื อ งกาญจนดิ ษ ฐ์ และเมื อ ง ท่าชนะ อันเป็นเป็นเมืองเก่าของดินแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว ยังมีอีกเมือง หนึ่งซึ่งมีอายุความเป็นชุมชนเก่าแก่ในจังหวัดดังกล่าว อีก นั่นคือ “เมืองเวียงสระ” ก่ อ นจะมี ฐ านะเป็ น “อ� ำ เภอใหม่ ” ของจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี อดี ต ของอ� ำ เภอนี้ มี ค วามเก่ า แก่ แ ละ ยืนยาวไปร่วม ๑,๒๐๐ ปี พอๆ กับชุมชนเก่าแก่หลาย แห่ ง ในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช จากการศึ ก ษาและ รวบรวมข้อมูลของนักโบราณคดีแห่งกรมศิลปากร เรา ได้ทราบว่าที่นี่มีเทวรูปศิลาเก่าแก่ถึงสามองค์ องค์แรก เป็ น พระวิ ษ ณุ (เหมื อ นพระนารายณ์ ) ยื น สวมหมวก ทรงกระบอก สูง ๑๔๘ ซม. พิจารณาตามรูปแบบศิลปกรรมแล้ ว เห็ น ได้ ว ่ า เป็ น ศิ ล ปะสกุ ล ช่ า งปั ล ลวะ อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ องค์ที่สอง เป็นพระวิษณุ สูง ๕๐ ซม. และองค์สุดท้ายเป็นพระศิวะ (หรือพระอิศวร) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ เทวรูปทั้งสามนี้สะท้อน

ต�ำบลเวียงสระและต�ำบลทุ่งหลวงมาตั้งเป็น “กิ่งอ�ำเภอ เวียงสระ” และสามปีต่อมาคือ พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ได้รับการ ยกฐานะเป็นอ�ำเภอ เรียกว่า “อ�ำเภอเวียงสระ” เวียงสระเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับนครศรีธรรมราชอยู่มาก โดยเฉพาะในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนกลางเป็นต้นมา เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัย นั้น (ราว พ.ศ.๒๒๐๙) ซึ่งมีชื่อ “พระพนมวัง” ได้บุกเบิก ชุ ม ชนที่ นี่ ขึ้ น มี ก ารสร้ า งวั ด ในพระพุ ท ธศาสนาหลาย

ว่าท้องที่แห่งนี้เคยมีผู้คนซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์เข้า มาอยู่อาศัย และอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาร่วม ๕๐๐ ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นชุมชนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในภาคใต้ ที่ได้ รับอารยธรรมอินเดียเข้ามา ในยุ ค แรกเริ่ ม ก่ อ ตั ว ชุ ม ชน ท้ อ งที่ นี้ จ ะมี ชื่ อ เรี ย ก ว่ากระไรก็ไม่มีหลักฐานชี้ชัด แต่ในช่วงราว พ.ศ.๒๒๐๙ (ตรงกั บ สมั ย สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชแห่ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา มี ห ลั ก ฐานบ่ ง บอกว่ า มี ชื่ อ เรี ย ก “จรุ ง สะ” บ้าง “จรงสะ” บ้าง และ “จงสระ” บ้าง ซึ่งทั้งสาม ชื่อนี้ ปรากฏอยู่ในเอกสารชื่อ “ต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราช” ต่ อ มาในสมั ย รั ช กาลที่ ๒ แห่ ง กรุ ง รั ต นโกสินทร์ ช่วง พ.ศ. ๒๓๕๔ ชื่อเมืองได้เปลี่ยนไปเป็น “เมืองเวียงสระส้องห้วยมะนาว” ภายหลังทางราชการ ได้ ร วมท้ อ งที่ ต� ำ บลเวี ย งสระกั บ ต� ำ บลส้ อ งห้ ว ยมะนาว เข้าด้วยกัน ชื่อนี้เป็นชื่อทางราชการ ซึ่งปรากฏอยู่ใน “ท� ำ เนี ย บข้ า ราชการเมื อ งนครศรี ธ รรมราช พ.ศ. ๒๓๕๔” จนกระทั่ ง ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้ แ ยกท้ อ งที่

ศูนย์การเรียนรู้เมืองโบราณเวียงสระ

ซากพระพุทธรูปปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่

สระน�้ำโบราณที่มาของชื่ออ�ำเภอเวียงสระ

แห่ ง เมื่ อ พระพนมวั ง ถึ ง แก่ ก รรม บุ ต รทั้ ง สาม (เจ้ า ศรีราชา เจ้าสินตรา และเจ้ากุมาร) ได้น�ำอัฐิธาตุของ พระพนมวังไปประดิษฐานที่ถ�้ำแห่งหนึ่งในเมืองเวียงสระ ถื อ เป็ น จุ ด แจกจ่ า ยอั ฐิ ธ าตุ แ ก่ ญ าติ ว งศ์ เพื่ อ น� ำ ไปเป็ น เสมือนศูนย์รวมใจญาติวงศ์ ให้เกิดความสมานสามัคคี และจรรโลงท้ อ งที่ ใ ห้ เ ติ บ โตและรุ ่ ง เรื อ งขึ้ น เหตุ ดั ง นี้ ชุมชนเวียงสระจึงกลายเป็นเมือง ที่มีสายสัมพันธ์ทาง เครือญาติกับนครศรีธรรมราชสืบมา นอกเหนื อ จากการเป็ น เขตอิ ท ธิ พ ลอารยธรรม อิ น เดี ย แล้ ว ในเวลาต่ อ มาเวี ย งสระยั ง เป็ น เมื อ งเก่ า ที่ ได้รับอิทธิพลจากจีนและอาหรับ จากการขุดค้นได้พบ ภาชนะดิ น เผาของจี น สมั ย ราชวงศ์ ถั ง อายุ ร าวพุ ท ธ ศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ภาชนะดิ น เผาสมั ย ราชวงศ์ ซุ ่ น หรือซ้อง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ รวมทั้งพบเหรียญ อาหรับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๙ ซม. สองเหรียญ และเหรียญยุคกาหลิบอุไมญาด (Umriyaard Kaliph ate) อายุ ร าว พ.ศ. ๑๓๒๕ (ตรงกั บ สมั ย ศรี วิ ชั ย ใน ดินแดนภาคใต้) ซึ่งสะท้อนว่าเมืองเวียงสระเป็นชุมชน การค้าระหว่างชาติอยู่ด้วยเช่นกัน เรื่ อ งราวของเมื อ งเวี ย งสระท� ำ ให้ เ รามองเห็ น สัจธรรมแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ข้อหนึ่ง คือ “อนิจจัง” ความไม่ เ ที่ ย งแท้ ข องสรรพสิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่ และ ดั บ ไปได้ ต ลอดเวลา เมื่ อ ดั บ ไปแล้ ว ก็ เ กิ ด ขึ้ น ใหม่ ไ ด้ วนเวียนเป็นสังสารวัฏเช่นนี้มิรู้จบ


หน้า ๑๒

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

พญ.ภัทริยา มาลัยศรี.

อายุ ร ศาสตร์ โ รคข้ อ และรู ม าติ ซั ่ ม รพ.มหาราช นครศรี ธ รรมราช

กาต์เป็นสาเหตุที่พบเป็นอันดับหนึ่งของโรคข้ออักเสบ อุบัติการณ์ประมาณ ๕ ใน ๑๐๐๐ ของประชากรที่มี อายุมากกว่า ๑๕ ปี นับเป็นโรคข้ออักเสบเพียงชนิดเดียว ที่มียารักษาจ�ำเพาะรักษาง่ายและได้ผลดี แต่เป็นที่น่า เสียดายว่าผู้ป่วยโรคเกาต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้ รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง กลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ที่ มี ภ าวะทุ พ พลภาพและมี ไ ตพิ ก ารแทรกซ้ อ นมากกว่ า ร้อยละ ๕๐ เกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึก ของกรดยูริก ในข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เป็น ผลสืบเนื่องจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง อยู่เป็น เวลานานนับสิบปี จากการติดตามในระยะยาวพบว่าเพียงร้อยละ ๓๐ ของผู ้ ที่ ต รวจพบว่ า มี ร ะดั บ กรดยู ริ ก ในเลื อ ดสู ง จะเกิ ด มี ข ้ อ อั ก เสบจากโรคเกาต์ ใ นอนาคต ที่ เ หลื อ อี ก ร้ อ ยละ ๗๐ ไม่มีอาการใดๆ ตลอดชีวิต สรุปได้ว่าส่วนใหญ่ของ ผู้ที่บังเอิญตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงไม่เป็น โรคเกาต์ ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเกาต์ ได้แก่ ๑. พั น ธุ ก รรม ถ้าตรวจพบว่ามีระดับ กรดยูริกใน เลือดสูงร่วมกับมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเกาต์จะเสี่ยงต่อ การเกิดโรคเกาต์ในอนาคต ๒. เพศ มากกว่าร้อยละ ๙๐ ของผู้ป่วยโรคเกาต์เป็น ผู้ป่วยชายที่อายุมากกว่า ๓๕ ปีขึ้นไป ในเพศหญิงจะเสี่ยง ต่อการเป็นโรคเกาต์น้อยมากยกเว้นวัยหลังหมดประจ�ำ เดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อระดับกรดยูริก ในเลือด ๓. ระดับกรดยูริกในเลือด ผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับ กรดยูริกในเลือดสูง > ๙ mg% จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เกาต์มากกว่าผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเล็กน้อย ๔. อาหาร ??? ประชากรส่วนใหญ่เข้าใจว่าการกิน อาหารที่มีระดับกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีกหรือเครื่องใน สัตว์จะท�ำให้เป็นโรคเกาต์ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ท�ำให้เกิด โรคเกาต์ในคนปกติ แต่อาจกระตุ้นให้ข้ออักเสบก�ำเริบ ขึ้นได้ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์อยู่แล้ว การมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากๆ เป็นผลจากความผิด ปกติของเมตาโบลิซึ่มของกรดยูริก ที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย มากกว่าที่จะเกิดจากการได้รับกรดยูริกจากอาหารที่มี พิว รีนสูง ผลจากการกินอาหารที่มีพิวรีน สูงจะท�ำให้ระดับ กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นจากเดิมได้ไม่เกิน ๑ - ๒ mg %

ข้อ ไม่เคยหายขาด ข้ออักเสบก�ำเริบรุนแรงขึ้นมากบ้าง น้อยบ้างสลับกันไป มีการท�ำลายของกระดูกข้อต่อเพิ่ม มากขึ้ น มี ก ้ อ นโทฟั ส (จากการสะสมของผลึ ก กรดยู ริ ก ใต้ผิวหนัง) เกิดขึ้นบริเวณข้อศอก เท้าแขน ตาตุ่ม นิ้วมือ และนิ้วเท้า ถ้าก้อนนี้แตกออกจะเห็นของเหลวขาวข้น คล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกจากก้อน เป็นระยะสุด ท้ายของโรคเกาต์ที่มักจะตรวจพบภาวะไตพิการร่วมด้วย

๓. นิ่วทางเดินปัสสาวะ พบประมาณร้อยละ ๑๐ ๒๕ ของผู้ป่วยโรคเกาต์ ผู้ป่วยร้อยละ ๔๐ เกิดอาการของ นิ่วไตก่อนที่จะเกิดข้ออักเสบ อุบัติการณ์ของการเกิดนิ่ว ไตจะสูงขึ้นตามระดับกรดยูริกในเลือด ถ้ามีระดับกรดยูริก ในเลือดมากกว่า ๑๐ mg% จะมีโอกาสเกิดนิ่วไตได้สูงถึง ร้อยละ ๕๐ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ ในทางเดินปัสสาวะ การวินิจฉัยอาจต้องอาศัยการส่งตรวจ อุลตราซาวด์ การวินิจฉัย ต้องเจาะตรวจน�้ำไขข้อ : จะวินิจฉัยว่าข้ออักเสบนั้น เกิดจากโรคเกาต์ได้แน่นอนก็ต่อเมื่อ ตรวจน�้ำไขข้อพบผลึก รูปเข็มภายในเม็ดเลือดขาวหรือตรวจพบผลึกรูปเข็มจาก สารสีขาวที่ดูดได้จากก้อนโทฟัส ไม่ควรวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์จากการตรวจพบ ว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงแต่เพียงอย่างเดียว โรคที่มักพบร่วมกับโรคเกาต์ ๑. โรคความดันโลหิตสูง ๒. ภาวะไขมันในเลือดสูง (hypertriglyceridemia) ๓. เบาหวาน ๔. ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก premature artherosclerosis เช่ น กล้ า มเนื้ อ หั ว ใจขาดเลื อ ดตายเฉี ย บพลั น หลอดเลือดสมองอุดตัน ทั้งหมดนี้เป็นโรคที่พบร่วมกัน แต่ไม่ได้สัมพันธ์กันใน แง่พยาธิก�ำเนิด

อาการแสดง ๑. เกิ ด ข้ อ อั ก เสบอย่ า งเฉี ย บพลั น ขึ้ น มาทั น ที โ ดย ก่อนหน้านี้สบายดีมาตลอด มักเกิดตอนเช้าหลังตื่นนอน ส่วนใหญ่เป็นที่ข้อเท้าหรือนิ้วหัวแม่เท้า แต่จะเป็นที่ข้อ อื่นๆ ก็ได้ อาการปวดจะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลาเป็นชั่วโมงกระทั่งขยับหรือเดินไม่ได้ สร้างความ ทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยมากกระทั่งต้องมาพบแพทย์ตั้งแต่วัน การรักษา แรก บางครั้งอาจมีไข้ร่วมด้วย ๑. การรั ก ษาข้ อ อั ก เสบเฉี ย บพลั น จากโรคเกาต์ : ๒. เป็นระยะที่กลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังหลายๆ รักษาด้วย colchicine หรือ NSAIDs

๑.๑ colchicine เป็นยาที่จ�ำเพาะเจาะจงส�ำหรับ การรักษาข้ออักเสบจากเกาต์ ได้ผลดี อาการข้างเคียงไม่ รุนแรง เหมาะส�ำหรับผู้ป่วยที่เริ่มปวดข้อมาไม่เกิน ๖ - ๑๒ ชั่วโมง ให้กิน ๑ เม็ด (๐.๖ มก.) ๓ เวลาหลังอาหารในวัน แรก ถ้าอาการดีขึ้นให้ลดขนาดลงเหลือ ๑ เม็ด ๒ เวลา กระทั่งหายสนิทจึงหยุดยา โดยทั่วไปมักกินยาไม่เกิน ๑ สัปดาห์ อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือท้องเดินโดยเฉพาะ ในวันแรกๆที่กินในขนาดสูง อาการจะหายได้ถ้าลดขนาด ยาลงหรือหยุดยา ๑.๒ NSAID เป็นยาที่ไม่จ�ำเพาะเจาะจง ระงับการ อักเสบในโรคเกาต์ได้ดีมาก เหมาะส�ำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ มานานกว่า ๑ - ๒ วัน ในวันแรกๆให้กินในขนาดสูง ลด ขนาดยาลงถ้าอาการดีขึ้น และหยุดยาเมื่อหายสนิท โดย ทั่วไปผู้ป่วยจะหายได้ภายใน ๑ สัปดาห์ ก่อนใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยโรคเกาต์ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะไตพิการ ร่วมด้วย เพราะการใช้ NSAID ในขนาดสู ง อาจท� ำ ให้ ไ ตวาย เฉียบพลันได้ ๒. การป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ข ้ อ อั ก เสบก� ำ เริ บ ผู ้ ป ่ ว ยที่ มี ข ้ อ อั ก เสบเป็ น ๆ หายๆ เกื อ บทุ ก เดื อ น ควรป้ อ งกั น โดยให้ กิ น colchicine วันละ ๑ เม็ดหรือ ไม่เกิน ๒ เม็ดต่อวันต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลานาน แต่ส�ำหรับ ผู้ที่เป็นปีละ ๑ - ๒ ครั้งอาจไม่ จ�ำเป็นต้องกินยาป้องกัน ๓. การลดระดับกรดยูริก ในเลือด : ไม่ควรเริ่มยาขณะที่ ยั ง มี ข ้ อ อั ก เสบเพราะจะท� ำ ให้ การอักเสบรุนแรงขึ้นและหายช้าลงต้องรอให้ข้ออักเสบ หายสนิทก่อนจึงพิจารณาเริ่มยา ควรเริ่มยาในขนาดต�่ำ แล้วค่อยปรับยาขึ้นเป็นระยะๆ ตามระดับกรดยูริกในเลือด จนกว่าจะได้ระดับที่ต้องการคือ ๕.๕ mg% ยาที่ใช้มีอยู่ ๒ กลุ่ม คือ ๓.๑ ยาที่ เ ร่ ง การขั บ กรดยู ริ ก ออกทางปั ส สาวะ (uricosuric drugs) ได้แก่ probenecid และ benzbromarone ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วไต มีภาวะไตวาย หรือมี การขับกรดยูริกออกทางไตมากอยู่แล้ว (hyperexcretor) ๓.๒ ยาที่ ช ่ ว ยยั บ ยั้ ง การสร้ า งกรดยู ริ ก ในเลื อ ด (xanthine oxidase inhibitor) ได้แก่ allopurinol ๔. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ท�ำให้ข้ออักเสบก�ำเริบ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระวังเรื่องการใช้ยาบางชนิด ระหว่างที่ก�ำลังปรับยาเพื่อควบคุมระดับกรดยูริกในเลือด แนะน�ำให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารที่มีพิวรีนสูงชั่วคราวก่อน แต่ถ้าควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดได้ดีแล้วให้กินอาหาร ตามปกติได้ ๕. การรั ก ษาอื่ น ๆ แนะน� ำ ให้ ผู ้ ป ่ ว ยดื่ ม น�้ ำ มากๆ ประมาณ ๒ - ๓ ลิ ต รต่ อ วั น ออกก� ำ ลั ง กายสม�่ ำ เสมอ งดสุรา ถ้าอ้วนให้ควบคุมอาหารและลดน�้ำหนัก อาจให้ กิ น sodium bicarbonate เพื่ อ ปรั บ ให้ ป ั สสาวะเป็ น ด่าง (pH ~ ๗) เพื่อลดการตกตะกอนของเกลือกยูเรตใน เนื้อไต วิธีการนี้เหมาะในการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามี กรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ ๖. ให้การรักษาโรคที่พบร่วมด้วย เช่น ความดัน โลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน นิ่วไต การติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ ไตพิการหรือไตวาย ต้องให้ความส�ำคัญ กับโรคเหล่านี้และให้การรักษาควบคู่ไปกับการรักษาโรค เกาต์ เนื่องจากเป็นสาเหตุการตายที่ส�ำคัญที่สุดในผู้ป่วย โรคเกาต์


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

เนื่ อ งจากธรรมชาติ ทุ ก อย่ า งเกี่ ย วข้ อ ง สัมพันธ์กันไปหมดแม้คิดว่าสิ่งที่เราท�ำไป เป็ น สิ่ ง เล็ ก น้ อ ยเท่ า นั้ น แต่ ถ ้ า ทุ ก คนท� ำ พร้ อ มๆ กั น ก็ ย ่ อ มเป็ น มวลใหญ่ ที่ มี พ ลั ง ท�ำลายความสมดุลได้ ดั่งค�ำอุปมาว่า

สุเมธ รุจิวณิชย์กุล

sumet_arch@hotmail.com

“เคลื่อนย้ายหินหนึ่งก้อน สะท้อนสะเทือนทั้งปฐพี”

มษายนเดื อ นร้ อ นครั บ ทั้ ง เรื่ อ งดิ น ฟ้ า อากาศทั้ ง เรื่ อ งการเมื อ งประเทศไทย ดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจให้เย็นลงกันเอง นะครับ ผมเห็นบรรยากาศที่คนไทยตื่นตัว กับความต้องการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ซึ่งผมก็เห็นด้วยจึงได้เสนอเรื่องร้อนๆ ไป ๒ ฉบับที่ผ่านไปแล้ว (เรื่องขยะและเรื่อง แหล่ ง น�้ ำ บริ โ ภคของเมื อ ง) เดื อ นนี้ ก็ ข อ เสนอเรื่องร้อนอีกสักเรื่องให้ครบองค์ ๓ ในด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ท�ำไม่ได้แล้ว เพื่อ อนาคตของเมืองเรา ค�ำถามแรกๆ ของเจ้าของโครงการ บ้านจัดสรรที่มักถามผมในฐานะผู้วางผัง ว่า จะต้องถมดินสูงจากถนนหน้าโครงการ เท่าไหร่ แน่นอนครับว่าคงไม่มีสถาปนิกคน ใดแนะน�ำให้ที่ดินของโครงการอยู่ต�่ำกว่า ถนน เพราะเท่ากับเจ๊งตั้งแต่ไม่ได้เริ่มต้น แล้ว จึงเป็นโจทย์ที่ผมต้องถามตัวเองว่า ท�ำไมการจัดสรรที่ดินจะต้องลงทุนซื้อดิน มาถมที่ทุกครั้งด้วยมูลค่ามหาศาล อาจจะ สูงกว่ามูลค่าซื้อที่ดินด้วยซ�้ำ และผมเองก็ เชื่อว่าเจ้าของโครงการก็คงไม่ได้มีความสุข นักกับต้นทุนนี้ เมืองนครอาจโชคดีหน่อยที่ มีบ่อดิน (ความจริงเป็นภูเขาเสียส่วนใหญ่) ไม่ไกลจากตัวเมืองนักจึงมีต้นทุนที่ไม่สูง เท่ า กั บ เมื อ งที่ ไ ม่ มี แ หล่ ง ดิ น ถมเลย เมื่ อ แกะรอยหาความจริงก็พบว่าต้นตอใหญ่ เรื่องหนึ่งอยู่ที่การก่อสร้างถนนของทาง ราชการไม่ว่าเป็นถนนหลวงแผ่นดิน หรือ ถนนในเขตการดูแลขององค์กรบริหารส่วน ท้องถิ่นที่มีการยกระดับให้สูงกว่าระดับดิน เดิมที่ตัดผ่าน และบางพื้นที่สูงกว่าระดับ บ้ า นที่ ป ลู ก สร้ า งริ ม ถนนอยู ่ ก ่ อ นถึ ง ครึ่ ง อาคารก็ มี ชาวบ้ า นหมดสิ ท ธิ์ แ ย้ ง หรอก ครับเพราะจะมีค�ำอธิบายเหตุผลทางด้าน เทคนิคต่างๆ นานาออกมามากมาย และ การสร้างถนนยกระดับสูงมากนี้ได้เคยก่อ ให้เกิดน�้ำท่วมใหญ่ในตัวเมืองหลายแห่งมา แล้ว เช่นเมื่อครั้งการสร้างถนนทางหลวง ด้ า นทิ ศ ใต้ ข องเมื อ งหาดใหญ่ (เส้ น ทาง หาดใหญ่-ปัตตานี) ปีที่มีฝนตกหนักช่วง เดือนพฤศจิกายน (ปีพ.ศ.ใดจ�ำไม่ได้ครับ

www.nakhonforum.com

หน้า ๑๓

เครดิตรูป www.thaimtb.com/forum

ไม่มีเวลาสืบค้น) น�้ำหลากมาจากอ�ำเภอ สะเดามารวมตัวหยุดที่ถนนสายนี้ที่ก�ำลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ถนนจึงเหมือน เขื่อนดินที่สูงเมื่อมีมวลน�้ำมากเข้าจนถนน ทานไม่ไหวจึงพังทลายลงมาและไหลเข้า สู่ตัวเมืองที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะโดย ทั น ที น�้ ำ ท่ ว มปี นั้ น ผมติ ด อยู ่ ที่ ห าดใหญ่ พอดีเกือบเอาชีวิตไปทิ้งเหมือนกัน เพราะ น�้ ำ ท่ ว มถึ ง ระดั บ ชั้ น สองของอาคารใน เมือง มีคนเสียชีวิตจากน�้ำท่วมและไฟฟ้า ดูดมากมาย ปัจจุบันถนนสายนี้มีอาคาร ใหญ่ๆ ขึ้นเต็มไปหมดและการถมดินก็สูง กว่ า ระดั บ ถนนซึ่ ง คาดคะเนด้ ว ยสายตา คงไม่ต�่ำกว่า ๒ - ๓ เมตร และผมก็เชื่อ ว่าตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปีที่หาดใหญ่ มี ก ารถมดิ น สร้ า งอาคาร จะต้ อ งมี ภู เ ขา ถู ก ขุ ด ไปใช้ ห มดไปหลายลู ก แล้ ว ผมจึ ง ตั้งค�ำถามว่า ถนนทางหลวงทั้งหลายมี ความจ�ำเป็นต้องยกสูงมากไหม เพราะนี่ เป็นระดับอ้างอิงของทุกโครงการที่มีการ ก่ อ สร้ า งจะต้ อ งถมสู ง เท่ า กั บ ระดั บ ถนน เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้าย ดินจากแหล่งหนึ่งมายังอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่ง แน่นอนว่ามีส่วนในการท� ำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย แล้วนครเรา มีกรณีแบบนี้มากไหมหนอ ? ในมุมมองของผมเกี่ยวกับระดับถนน ที่ต้องยกสูงนั้นมีความจ�ำเป็นครับ แต่ไม่ เห็นว่าจะต้องสูงขนาดกินไปครึ่งบ้าน (ยัง เห็ น ในถนนสายท่ า ศาลา-สิ ช ล) อยาก ยกตั ว อย่ า งเมื อ งนอกที่ น ่ า อยู ่ ใ กล้ บ ้ า น

เราก็ได้ เช่นเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ มาเลเซีย สร้างอยู่เชิงเขาที่มีความลาดสูงๆ ต�่ำๆ ไม่ได้ถมเกลี่ยดินให้เป็นที่ราบไปทั้ง เมืองดูแล้วมีเสน่ห์สวยงาม ถนนของเขา ยกระดับไม่สูงจากดินเดิมมากนัก แต่จะมี คูระบายน�้ำกว้างใหญ่ระบายน�้ำได้สะดวก คู่ขนานไปกับถนน นครศรีธรรมราชเรา มี เ ชิ ง เขาสวยงามมากหลายแห่ ง เช่ น อ�ำเภอลานสกา อ�ำเภอพรหมคีรี และอีก หลายๆ อ�ำเภอที่ผมผ่านไปเห็นภูเขาถูกตัด แหว่งเหวอะหวะไปหมด ด้วยเหตุขุดดิน ไปถมในที่ราบตัวเมืองกันมากมายเหมือน กัน ในตัวเมืองนครเป็นที่ราบ หากมีการ ส�ำรวจท�ำแผนที่ระดับ (contour map) ก็จะทราบความสูงต�่ำของดินเดิมที่จะไป ก� ำ หนดระดั บ ของถนนและทิ ศ ทางการ ไหลของท่อระบายน�้ำได้ เราอาจไม่ต้องใช้ ปริมาณดินมาถมที่มากเกินความจ�ำเป็น และหากเราไปแก้ที่ต้นเหตุได้ (ซึ่งความ เห็นของผมอาจไม่ได้ครอบคลุมทุกสาเหตุ) อาจช่ ว ยให้ แ หล่ ง ต้ น น�้ ำ และธรรมชาติ ที่ สวยงามคงอยู่ได้ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวด ล้อมใดๆ โดยขาดองค์ความรู้ หรือรู้แล้วไม่ ท�ำอะไรสักอย่างเพื่อปกป้องก็น่าเสียดาย

ความจริ ง มี ข ้ อ กฎหมายที่ นั ก ธุ ร กิ จ นักจัดสรรต้องรู้คือ พระราชบัญญัติการขุด ดินและถมดิน พ.ศ.๒๕๔๓ ที่ได้ตราขึ้นมา เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกด�ำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้าน ธรณีวิทยา และสิทธิของประชาชนที่อาจ ได้ ผ ลกระทบจากการขุ ด ดิ น ถมดิ น เช่ น การไปขุดดินหรือถมดินใกล้ที่ดินหรือบ้าน เรือนของบุคคลอื่นที่เกินกว่าข้อก�ำหนด จะมี ข ้ อ บั ง คั บ หลายขั้ น ตอนและหากไม่ ปฏิบัติก็มีโทษปรับหรือจ�ำคุกได้ นอกจาก นี้จังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีการประกาศ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมฉบับ ใหม่ พ.ศ.๒๕๕๖ กันแล้ว มีรายละเอียด ข้ อ บั ง คั บ ในการใช้ ที่ ดิ น คลุ ม ทั้ ง จั ง หวั ด ใครจะท�ำโครงการอะไร ที่ไหนก็ขอให้ดู กันให้ดีว่าขัดต่อผังเมืองหรือเปล่า ผมจึง ขอแนะน�ำให้ไปศึกษาดู หรืออาจแวะไป ขอข้อมูลจากคุณวิชัย คัมภีรปรีชา โยธาธิ การและผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช คนบ้ า นเราที่ ย ้ า ยกลั บ มาเป็ น หั ว หน้ า ส�ำนักงาน และท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความ สามารถด้านผังเมืองมากคนหนึ่งที่จะช่วย แนะน�ำได้ แต่ในฝ่ายทางราชการด้วยกัน ก็ ฝ ากให้ ช ่ ว ยพิ จ ารณาปั ญ หาตามที่ น� ำ เสนอมาในตอนต้นแล้ว โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเรื่องระดับถนนหลวงทั้งหลายรวมทั้ง การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งช่วงนี้เป็นระยะ ก�ำลังร้อนในการคิดแก้ปัญหาบ้านเมืองใน มิติต่างๆ หากทิ้งไว้จนเย็นไม่มีใครหยิบยก ขึ้นมาดูแลอย่างจริงจัง อนาคตเมืองนคร ที่วาดฝันจะเป็นเมืองน่าอยู่ก็คงเอวังด้วย ประการฉะนี้


หน้า ๑๔

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

พื่ อ นเรี ย นรู ้ ฉ บั บ นี้ ขอพั ก เรื่ อ งกิ จ กรรมในค่ า ยกิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ วิทยาศาสตร์ไว้ก่อนนะคะ ขอคั่นด้วย กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เป็น รายการพิเศษในรูปแบบท่องเที่ยวเรียน รู้ ที่ก�ำลังจะจัดขึ้นในเดือนเมษายนนี้... นั่นคือ ทริปดูผีเสื้อเขาหลวง เขาขุนพนม ค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่า “ดู ผีเสื้อไปท�ำไม?” การดูผีเสื้อแตกต่างจากการสะสม ผี เ สื้ อ ในอดี ต การศึ ก ษาผี เ สื้ อ จะเน้ น การเก็ บ รวบรวม ตั ว อย่ า งผี เ สื้ อ จาก พื้ น ที่ ต ่ า งๆ เพื่ อ น� ำ ไปศึ ก ษาอนุ ก รมวิ ธ าน สั ณ ฐานวิ ท ยาและพั น ธุ ก รรม

ความเชื่อมโยง เกี่ยวพันกันของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ เพราะผีเสื้อมีส่วนส�ำคัญต่อ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มากมาย นับตั้งแต่ท�ำ หน้าที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้ ให้พืชพันธุ์ ต่างๆ ด�ำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ และในช่วง ชีวิตที่เป็นหนอน หรือว่าตอนที่เป็นผีเสื้อ ก็ยังเป็นอาหารแก่สัตว์นานาชนิด ไม่ว่า จะเป็น นก กบ กิ้งก่า ตั๊กแตน แมงมุม

๒๐ ชนิ ด โดยที่ เ ราไม่ ต ้ อ งเดิ น ไปไหน นอกจากนี้ เ ราสามารถที่ จ ะล่ อ ให้ ผี เ สื้ อ ออกมาให้เราเห็นได้ด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น ดอกไม้ น�้ำผลไม้เน่า (สัปปะรด มะละกอ ฯลฯ) สิ่งที่เน่าเปื่อย (ปลาเน่า ปูเน่า กะปิ ฯลฯ) หรือการใช้น�้ำปัสสาวะ เทลงบน พื้ น ที่ มี ทั้ ง โคลนและทราย ทิ้ ง ไว้ สั ก พั ก ผีเสื้อก็จะลงมาดูดกิน หรือแม้แต่เหงื่อ ของเราเองก็ใช้ได้ นอกจากนี้ “ความดังของเสียง นั้น ไม่รบกวนผีเสื้อ” ดังนั้นการดูผีเสื้อจึงไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งระวั ง เรื่ อ งเสี ย งมากนั ก แต่ ถึงอย่างไรเมื่อเราเข้ามาอยู่ในธรรมชาติ

การส่ ง เสี ย งดั ง เกิ น ควร ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ควรกระท� ำ และอาจท� ำ ให้ เ ราพลาด โอกาสที่จะได้พบเห็นสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ...เริ่มจะน่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ? ถ้ า เช่ น นั้ น ชวนมาดู ผี เ สื้ อ ด้ ว ยกั น ค่ ะ ศู น ย์ วิ ท ย์ เ มื อ งคอน ก� ำ ลั ง จะจั ด ทริ ป พาไปดู ผี เ สื้ อ เขาหลวง ป่ า ฝนแดนใต้ Tropical Rainforest ที่มีความอุดมสมบู ร ณ์ ที่ สุ ด ในเมื อ งไทย พร้ อ มผู ้ เชี่ ย วชาญมื อ หนึ่ ง เรื่ อ งผี เ สื้ อ เมื อ งไทย คุ ณ เกรี ย งไกร สุ ว รรณภั ก ดิ์ ผู ้ เ ขี ย น หนังสือแมลง / ผีเสื้อเมืองไทยหลาย เล่ม คอลัมนิสต์และนักเขียนอิส ระ / ผู้เชี่ยวชาญผีเสื้อ ซึ่งกิจกรรมโดยรวม จะเป็นรูปแบบ...กลางคืนดูดาว เช้าดู นก สายดูผีเสื้อ วาดภาพบันทึกธรรมชาติ สั ม ผั ส วั ฒ นธรรมชุ ม ชน ในวั น ที่ ๒๘ – ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗ ผู ้ ส นใจสามารถสอบถามราย ละเอี ย ดในการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมได้ ที่ อ.ทานตะวั น เขี ย วน�้ ำ ชุ ม โทร. ๐๘๑ ๘๒๔ ๘๘๘๐ หรือ e-mail : jangtawan@hotmail.com รี บ หน่อยนะคะ รับสมัครสมาชิกจ�ำนวน จ�ำกัดค่ะ !!

สธ.ยันป่วยไข้หวัดตาย ๒ ราย ที่นครศรีธรรมราชไม่ใช่ไข้หวัดนก แต่เป็นหวัด ๒๐๐๙ ยอมรับน่าเป็นห่วง เหตุปีนี้ระบาดสูงขึ้น ไม่ถึง ๓ เดือน พบผู้ป่วยทั่ว ประเทศกว่า ๑๖,๐๐๐ ราย ตาย ๙ ราย สั่งทุกจังหวัดเร่งหามาตรการป้องกัน

บางประการ แต่ ตั ว อย่ า งที่ ต ายแล้ ว ไม่ ส ามารถให้ ข ้ อ มู ล เราได้ ทั้ ง หมด ปั จ จุ บั น แนวความคิ ด ในการศึ ก ษา ธรรมชาติได้เปลี่ยนไป จากการสะสม ตั ว อย่ า งเป็ น การเฝ้ า ดู พ ฤติ ก รรมใน ธรรมชาติ เป็ น การศึ ก ษาธรรมชาติ โดยไม่ ท� ำ ลาย เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่เหลืออยู่ น้อยแล้วให้ยั่งยืนขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ความ เพลิ ด เพลิ น และเป็ น การพั ก ผ่ อ นที่ มี คุ ณ ค่ า ได้ สั ม ผั ส กั บ ความสวยงาม ความรื่นรมย์ของธรรมชาติ อากาศที่ บริ สุ ท ธิ์ ท� ำ ให้ เ รารู ้ จั ก และเข้ า ใจใน

ปลา ฯลฯ ดั ง นั้ น การเรี ย นรู ้ ชี วิ ต ของ ผี เ สื้ อ จะท� ำ ให้ เ ราตระหนั ก ในความ ส�ำคัญ และเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ใน ธรรมชาติ ม ากยิ่ ง ขึ้ น เพราะคนเรานั้ น เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การดู ผี เ สื้ อ นั้ น คล้ า ยๆ กั บ การดู นกจะแตกต่างกันก็ตรงที่ การดูนกจะมี กิจกรรมหลักในตอนเช้าตรู่และบ่าย แต่ การดู ผี เ สื้ อ กิ จ กรรมหลั ก จะอยู ่ ใ นตอน กลางวัน (พูดกันเล่นๆ ได้ว่าน่าจะเป็นอีก ทางเลือกส�ำหรับคนที่ชอบนอนตื่นสาย) ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งเวลาที่ น กหลายชนิ ด เข้ า ซุ ้ ม นอน และเรายังพบเห็นผีเสื้อได้ง่าย ซึ่ง ในบางครั้งเราอาจพบเห็นผีเสื้อมากกว่า

พ.ณรงค์ สหเมธาพั ฒ น์ ปลั ด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าว ถึงกรณีข่าวพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เสี ย ชี วิ ต ๒ ราย ที่ จ.นครศรี ธรรมราช และ รพ.มหาราชนครศรี ธรรมราชรั บ ผู ้ ป ่ ว ยไข้ ห วั ด ไว้ รั ก ษาตั ว ในโรงพยาบาล ๑๒ ราย ว่าจากผลการ ตรวจวิ เ คราะห์ เ ชื้ อ อย่ า งละเอี ย ดใน ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารพบว่ า ผู ้ เ สี ย ชี วิ ต ทั้ ง ๒ ราย เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่ง เป็นไข้หวัดประจ�ำฤดูกาล ไม่ใช่ไข้หวัด นกแต่ อ ย่ า งใด และจากการประสาน เครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกใน พื้ น ที่ ได้ ต รวจสอบไปยั ง รพ.มหาราช นครศรีธรรมราชแล้ว พบว่า ขณะนี้โรง

พยาบาลได้ รั บ ผู ้ ป ่ ว ยที่ มี อ าการไข้ ห วั ด ใหญ่ H1N1 รักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง ๔ รายเท่านั้น โดย ๒ ราย อาการหายดี กลับบ้านแล้ว ทั้งนี้ โรคที่น่าเป็นห่วงขณะ นี้คือ ไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มี แนวโน้มพบผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากติดต่อ กั น ง่ า ยผ่ า นระบบทางเดิ น หายใจ และ ประชาชนยังขาดการป้องกันตนเอง จาก การติ ด ตามของ สธ.ยั ง ไม่ พ บเชื้ อ กลาย พันธุ์ แต่ในปี ๒๕๕๗ ตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค. พบว่าผู้ป่วยทั่วประเทศ ๑๖,๐๖๕ ราย เสียชีวิต ๙ ราย ส่วนใหญ่อยู่ในวัยท�ำงาน และผู้สูงอายุ ขณะที่ปี ๒๕๕๖ พบผู้ป่วย ๔๓,๗๙๑ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ได้สั่งก�ำชับให้ ทุ ก จั ง หวั ด คุ ม เข้ ม ๔ มาตรการป้ อ งกั น และรักษา ได้แก่ ๑. รณรงค์ประชาชน


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช หน้า

๑๕

อาจารย์แก้ว (ต่อจากฉบับที่แล้ว) ก็ อ ปปี ้ ขึ้ น รู ป ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งขึ้ น มาได้ คล้ า ยกั บ ใน ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ที่ก�ำลังจะกลายเป็นความ จริงแล้วนั่นเอง

๑๐. Pebble Steel

๘. Samsung Galaxy Note Pro 12.2 ‘Pro’ จะกลายเป็นค�ำส�ำคัญที่โผล่มาในแท็บเล็ต รุ่นใหม่ๆ ของ Samsung Galaxy รุ่นปี ๒๐๑๔ แค่ เฉพาะในงาน CES ก็ มี เ ปิ ด ตั ว ไปแล้ ว ถึ ง ๔ รุ ่ น ด้ ว ย กัน แต่รุ่นที่เราสนใจมากที่สุดก็เห็นจะเป็น Samsung Galaxy Note Pro 12.2 ในมุ ม มองของเราแล้ ว นี่ แหละคือแท็บเล็ต Android ระดับท็อป หน้าจอขนาด ๑๒.๒ นิ้ว มาพร้อมปากกา S Pen และชุดซอฟท์แวร์ ของตระกูล Note ที่คราวนี้มาในรูปของแท็บเล็ตขนาด ใหญ่ยักษ์จนเกือบจะเกินพกพา ด้านสเปคหน้าจอขนาด ๑๒.๒ นิ้ ว ให้ ค วามละเอี ย ด HD ที่ ๒๕๖๐x๑๖๐๐ พิกเซล, ซีพียู quad-core Snapdragon 800, แรม 3GB, ระบบปฏิบัติการ Android 4.4 KitKat, เพิ่มหน่วยความ จ�ำได้ด้วย microSD, รองรับ 4G และกล้องหน้า-หลัง

ล้างมือบ่อยๆ ซึ่งให้ผลดีมากป้องกันได้ทั้งไข้หวัดใหญ่และ ท้องเสีย ๒. เมื่อป่วยให้ใส่หน้ากากอนามัย ๓. ให้หยุดงาน หรือหยุดเรียนเมื่อป่วย และ ๔. ให้แพทย์ให้การรักษา ด้วยยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ตามแนวทางการรักษา อย่างเคร่งครัด เชื้อยังไม่มีการดื้อยา ขณะนี้โรงพยาบาล ในสังกัดทุกแห่งส�ำรองยาไว้อย่างเพียงพอและให้องค์การ เภสั ช กรรม (อภ.) ผลิ ต ยานี้ เ พิ่ ม อี ก จ� ำ นวน ๓.๕ ล้ า น แคปซูล ในสัปดาห์หน้า และให้โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยที่ เข้าข่ายสงสัยไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากผิดปกติให้จัดจุดตรวจ ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแยกผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจจาก ผู้ป่วยอื่นและแจกหน้ากากอนามัยทุกราย เพื่อป้องกันไม่ ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่น พร้อมทั้งให้ กรมการแพทย์ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อทางเดิน

ในงาน CES 2013 ปีที่แล้ว นาฬิกาอัจฉริยะ Pebble กลายเป็นแก็ดเจ็ทสุดฮิต ที่ได้รับทั่งความนิยมและ เสียงวิจารณ์ไปในทิศทางที่ดีอย่างล้นหลาม แต่ถึงแม้ จะดีแค่ไหน ก็ยังมีช่องว่างเหลือให้พัฒนาต่อได้อีกไกล โดยเฉพาะในแง่ ข องดี ไ ซน์ ด้ ว ยเหตุ ผ ลนี้ เ องท� ำ ให้ ใ น ๙. Intel RealSense 3D ในอนาคตคุ ณ ไม่ ต ้ อ งเดิ น เข้ า ร้ า นไอที เ พื่ อ หาซื้ อ ปีนี้จึงมีการเปิดตัวอัพเกรดรุ่นใหม่ในชื่อของ Pebble กล้องเว็บแคมแล้ว เพราะ Intel RealSense 3D โดย Steel แทนที่ จ ะใช้ วั ส ดุ พ ลาสติ ก เชยๆ ถู ก ๆ Pebble RealSense จะกลายเป็นเทคโนโลยี ส�ำหรับกล้องเว็บแคมขั้นเทพ และ มันก็น่าจะมีขนาดเล็กพอที่จะติดตั้ง อยู่บนโน้ตบุ๊คได้ด้วยเทคโนโลยี RealSense ช่วยให้กล้องสามารถถ่าย และสร้างภาพบรรยากาศเสมือน ๓ มิติขึ้นมาในคอมพิวเตอร์ได้ แล้วคุณ ยังสามารถแปลข้อมูล ๓ มิติในคอม ให้ ก ลั บ มาเป็ น วั ต ถุ จ ริ ง ๆ ได้ ด ้ ว ย เครื่องพิมพ์ ๓ มิติ เอาจริงๆ แล้ว นี่ ก็ คื อ หนึ่ ง ในเทคโนโลยี ที่ ส ามารถ หายใจและปอดจาก สธ.และมหาวิทยาลัยให้ค�ำปรึกษา แพทย์ที่ท�ำการรักษากรณีที่พบผู้ป่วยมีอาการหนัก ด้ า น นพ.โสภณ เมฆธน อธิ บ ดี ก รมควบคุ ม โรค (คร.) กล่าวว่า ได้ให้ส�ำนักควบคุมโรคทั้ง ๑๒ เขต ร่วมกับ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เฝ้าระวังผู้ป่วยโรค ทางเดินหายใจที่ไปรับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรง พยาบาลทุกแห่ง เพื่อตรวจจับสัญญาณผิดปกติได้อย่าง รวดเร็วและปรับระบบบริการให้เหมาะสม และจัดให้มี การประชุมผู้เชี่ยวชาญทุกสัปดาห์ ประเมินสถานการณ์ ทั้งในและต่างประเทศ และให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่ เร็วลงพื้นที่ควบคุมโรคทันทีหากพบผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิต จากไข้หวัดใหญ่ “ขอย�้ำเตือนประชาชนที่ที่มีอาการป่วย ได้แก่ ไข้ สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ขอให้นึกถึง ไข้หวัดใหญ่ ขอให้หยุดงานหรือหยุดเรียน ผู้ใหญ่ควรใส่ หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ ผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กๆ หรือลูกหลานที่อยู่ในบ้าน หากไม่ ดีขึ้นใน ๒ วันให้รีบพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง สูงจากอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต�่ำกว่า ๒ ขวบ ผู้ที่มีโรคประจ�ำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจอุดตัน โรคเบาหวาน โรค หัวใจ ให้พบแพทย์ทันที” อธิบดี คร. กล่าว ที่มา : เว็บไซด์กระทรวงสาธารณสุข

Steel เปลี่ยนมาใช้โลหะสมชื่อ ทั้งบริเวณหน้าปัดและ สายข้อมือ ที่ท�ำให้ดูเหมือนนาฬิกาที่เราสามารถหยิบ มาใช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น ได้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น ภายในยั ง คงเป็ น ระบบ Pebble OS และหน้าจอสัมผัส เหมือนเดิมกับ ที่เคยประสบความส�ำเร็จจากรุ่นก่อน กระจกรุ่นใหม่ได้ รับการปกป้องโดย Gorilla Glass กันน�้ ำได้ลึก ๕ ม. สนนราคาที่ราวๆ ๘,๓๐๐ บาท เตรียมวางขายในต่าง ประเทศภายในเวลาอี ก ไม่ กี่ สั ป ดาห์ ข ้ า งหน้ า หรื อ ใน ที่สุดก็จะมีสมาร์ทวอท์ชที่ทุกคนเลือกหามาสวมใส่ และ ใช้งานกันจริงๆ แล้วสักที ท้ า ยนี้ อ ย่ า ลื ม นะครั บ ว่ า เทคโนโลยี ใ หม่ ๆ ที่ ทั น สมั ย ย่ อ มมาพร้ อ มกั บ ราคาที่ สู ง เอาการ เพราะ ฉะนั้นเราๆ ทั้งหลายก็ควรจะใช้มันแต่พอดีตามก�ำลัง ที่ เ รามี อย่ า ให้ ถึ ง ขั้ น เดื อ ดร้ อ นตนเองและครอบครั ว เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เปลี่ยนแปลง ไวมากจริงๆ ครับ ด้วยความปรารถนาดี อาจารย์แก้ว


หน้า ๑๖

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

Tarzanboy

งหุบนี้ก่อน ข้ามนั่น มุดไปตรงนั้น ดู ก็ไม่น่าไกลน่ะพี่ แต่คราวก่อน ผมต้องถอดใจมาแล้ว” ผมร่ายแผนการ ใหญ่ ฉ บั บ เดิ ม ให้ ส มาชิ ก ฟั ง ตั้ ง แต่ เ ช้ า ตรู ่ กาแฟกรุ่นผ่านล�ำคอ นี่แก้วที่สองของเช้านี้ “ไป ไม่ต้องคิดแล้ว ถึงไหนถึงกัน” พยักหน้ารับพร้อมกันแล้ว มีดข้างเอวผม เริ่มท�ำงานหนักอีกครั้ง ไผ่ ที่แห้งการตัดฟันนั้นยากยิ่งกว่า ไม้สด บ่อยครั้งที่เราจ�ำต้องมุดไปตามทาง ของเจ้าเลียงผา หากโชคดีหน่อยก็จะได้ ทางใหญ่ ข องเจ้ า สมเสร็ จ แต่ บ างครั้ ง ก็ เทรลหายไปในหมู่ไม้รกทึบนั่นเอาดื้อๆ เนิ น แล้ ว เนิ น เล่ า ผ่ า น ผาการุ ณ ย์ ชื่ อ ที่ เ พิ่ ง เกิ ด หมาดๆ ด้ ว ยเจ้ า ของชื่ อ คื อ พี่ ก อล์ ฟ หรื อ มิ ส เตอร์ ก ารุ ณ ย์ เ กื อ บต้ อ ง เอวังลงเหวเอาตรงหน้าผาถล่มที่ไหลหลาก ยาวหายไปในแนวดิ่งร่วมกิโลเมตร ข้ามต่อ ไป ใกล้ตาแต่ไกลฝ่าเท้านั้นคือ ยอดพรหมโลก หนาเหลือเกิน ผมหมายถึง หนามไผ่ และดงทึบ มันหนาเกินมีดด้านๆ ของผม จะตัดฟันออก มุดขวาดีกว่า “เฮ้ย บอย ถึงยังยอดพรหมโลก” ใคร บางคนทันความคิด “รอบหน้าแล้วกันพี่ เลี้ยวขวาลงหุบ นี่ดีกว่า ส�ำคัญไฉนยอดนั่นยอดนี่” คือ ผม ไปไม่ถึงแล้วล่ะ คิดว่านะ “อ่า เคยเดินในแนวดิ่ง ๘๙ องศามั้ย ครับ แบบว่าหุบปีกได้เลย” ประสบการณ์ บอกว่างั้น เสียงวู้ๆ อยู่เหนือหัว ใครบางคนคง ยังไม่ชินกับการแกะรอย..ก้น ที่ครูดกับดิน เป็นทางนั่นลงจากเขา ทางเลียงผาไปทาง ซ้าย ผมน�ำไปซ้าย แป๊ปเดียวมันวนขวาอีก ผมไปขวา นี่รอบที่สี่แล้ว รอยเท้าก็น่าจะ

เป็นตัวเดิม อ๋อ เล่นงี้เหรอ รอบห้าผมตัด ดิ่งลงตรงกลางที่คิดว่าต้องเป็นร่องล�ำธาร อะเจ้ย !!! ดงหนามชุดใหญ่ ขวา ครับขวา รอยเลียงผาอีก อืมน่าจะสองตัวมีรอยเล็ก ด้วยน่าจะเป็นลูกมัน เอ้า ขวาก็ขวา “วู้ ขวาโว้ยครับ !!” มันแหงอยู่แล้ว ตรงไปนั่ น ตามแนวล� ำ ธารที่ ผ มแหกคอก มันหน้าผาชัดๆ ผมหักขวาสุดคราวนี้จ�ำ ต้องงัดวิชาแกะรอยออกมาใช้อย่างจริงๆ จังๆ นั่นมันรอยสมเสร็จ ใช่แล้ว ผมต้อง ตามรอยนี้ เจ้านี่ต้องลงหาน�้ำแน่นอน ถึง กล้าลงดิ่งแบบนี้ เจ้าเลียงผามันชอบเล่น หวาดเสียว ตามมันไม่ได้ สุดทางขวามีรอย เท้าวนไปซ้ายและข้ามไปอีกสันเขา แนวไม้ ใหญ่เริ่มมี ตามดิ่งลงไปเข้าหุบทึบนั่น อืม เต่าร้างยักษ์ โขดหิน ใช่แน่แล้ว แนวล�ำธาร นั่นๆ เสียงน�้ำไหล

...ร่วมชั่วโมงที่ผมน�ำดิ่งลงจากปลาย สุดด้านตะวันตกของยอดพรหมโลก มุด ลงสู ่ ก ้ น หุ บ รอยต่ อ ที่ ผ มจ� ำ ได้ ว ่ า มี สั น ต่ อ เชื่อมกันเพียงสันเดียวที่จะข้าม ไปสู่แนว ต่อกับสันปันน�้ำปลายอวน และต่อไปยอด พันแปด “เอ้า ไหนล่ะน�้ำ” ใครบางคนท�ำหน้า งงๆ ตามผม “มันไหลใต้หินครับ” กลางหุบแนว ดิ่งเสียงน�้ำไหลจ๊อกๆ ที่ได้ยินนั้นกลับเป็น ว่า มันไหลอยู่ใต้หมู่หิน พยายามล้วงหา ก็ไม่เจอสักหยดเดียว ผมหันไปแกะรอย เพื่ อ นเก่ า สมเสร็ จ ตั ว เดิ ม แทะกิ น ยอด บิ โ กเนี ย สี เ ขี ย วหมู ่ นั้ น แล้ ว ข้ า มต่ อ ไปอี ก สั น หนึ่ ง ด้ า นซ้ า ย ผมเอาบ้ า ง หั ก ก้ า น ที่ เ หลื อ ของบิ โ กเนี ย ใส่ ป ากเคี้ ย ว ความ เปรี้ยวจี๊ดจ๊าด เรียกน�้ำลายออกมาได้บ้าง พลางบอกใบ้ให้หลายคนที่มายืนงงๆ อยู่ ท�ำตาม “ผมเจอน�้ำแล้ว” “ไหน อยู่ไหน” ผมบอกพร้ อ มชี้ มื อ ไปบนฟ้ า นั้ น เพราะ มั น คื อ เมฆก้ อ นมหึ ม าที่ จู ่ โ จมเรา แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เรามัวแต่มุดดินอยู่ใน พุ่มไม้ทึบๆ โดยไม่รู้ว่า มันทึบจนแทบต้อง เปิดไฟหน้านั้นเพราะว่า เมฆก้อนนั้น คราว นี้ผมไม่ลังเลแล้ว เมื่อเห็นลมหุบพัดไหว สวนทางขึ้นมา ข้างหน้านั้นคือแนวล�ำธาร แน่นอน และก็จริงดั่งคาดเราสามารถมอง

เห็นน�้ำได้จากจุดนี้ แต่ก็ไม่เร็วไปกว่าน�้ำ จากฟ้าที่พร้อมใจกันหล่นตูมลงมาก่อนเรา จะได้ทันตั้งหลัก “ตรงมาทางนี้ ยึดแนวห้วยที่ราบนั่น เราจะพักกันตรงนี้” ผมปล่อยเกียร์ว่างลง เนิน ดิ่งไปหาร่องล�ำธารที่มีน�้ำไหลเอื่อยๆ ที่เห็นแว๊บๆ นั่น ปลดเป้ งัดอุปกรณ์ส�ำหรับ ตั้งแค้มป์ออกมาอย่างรีบเร่ง “กางฟลายชีตใหญ่ก่อน อย่าๆ คน อื่นๆ ช่วยกันยกเป้เข้ามาหลบฝนก่อน ช่วย กางกันสองสามคนพอ” บ่ อ ยส� ำ หรั บ การรี บ เร่ ง กางหลั ง คา หากพร้ อ มๆ กั น มั น กลั บ ไม่ เ สร็ จ หรื อ เรียบร้อยสักที มันต้องค่อยๆ ผูกให้ตึงที ละด้านถึงจะส�ำเร็จ ชุดแรกเสร็จ เป้ทยอย เข้ามา คนทยอยเข้ามา ชุดที่สองเริ่มออก ไปกองท่ า มกลางสายฝนที่ ก ระหน�่ ำ ชนิ ด ลื ม หู ลื ม ตาไม่ ขึ้ น เราเลื อ กกางริ ม น�้ ำ นั้ น เพราะเห็นว่าค่อนข้างโปร่งและไม่น่าจะอยู่ ในแนวกระแสน�้ำ แต่ที่ไหนได้ !!! “ยกเป้ขื้น ยกขึ้นวางบนก้อนหินเร็ว” แทบไม่มีใครทันสังเกตว่า สายน�้ำที่เล็กจน แทบหาไม่เจอนั้น บัดนี้เริ่มเอ่อล้นและแตก สายเข้ามาที่แค้มป์อย่างรวดเร็ว ผมออก ไปยืนนอกแค้มป์ ล�ำธารสายใหม่จากรอบ ทิ ศ ทางของไหล่ เ ขาเกิ ด ขึ้ น โดยฉั บ พลั น เราอยู่กลางหุบ !!! น�้ำจากทุกทิศทุกทางจึง ต้องไหลผ่านโตรกนี้ “นอนได้เหรอพี่บอย” ใครบางคน กังวล ผมไม่ได้ตอบแต่ก้าวเดินออกไปกลาง ล�ำธารเชี่ยว ฝนยังกระหน�่ำและดูหนาเม็ด ขึ้น นี่บ่ายสาม ผมคิดพลางขยับปีนขึ้นเนิน เป้าหมายนั้น หากไม่พลาด นั่นมันสันเขา


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

รอยต่อ ไม่น่าจะมีเนินสูงกว่านี้อีก น�้ำนี้น่าจะเพียง น�้ำฝน ไม่ใช่ล�ำธารใหญ่ “ได้ นอนเนี่ยแหละ สวยดี ฮ่ะๆ” ผมพูดพลาง แลบลิ้นกินน�้ำฝนไปพลาง เปลคอนโด ถูกผูกขึ้นเพื่อเก็บของก่อน ข้าว ที่ต้องหุงด้วยแก๊สสนามยกเปลี่ยนที่อยู่บ่อยเพราะ น�้ำเอ่อท่วมเข้ามาเรื่อยๆ ที่นอนเสร็จ ข้าวสุก ฝน ก็หยุดตกพอดี เราจึงเห็นว่าน�้ำก็ลดลงหลังจากนั้น ไม่นาน ความมืดเข้ามาเยือน ผมไม่รู้ว่าเปลใครเปียก บ้างแต่เห็นทุกคนก็หลับสนิทกันดี ฝนตกอีกรอบ ตอนใกล้รุ่ง น�้ำเอ่อล้นขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่มีใครสนใจ จะลงไปทะเลาะด้วย คืนที่สี่นี้ก็อีกรสชาติหนึ่งของ เจ็ดชีวิต “....ตื่นสายได้มั้ย อยากอยู่บ้านกะลมฝน...ไม่ อยากออกไปไหน” ในฝันผมอยากตื่นสาย รอยยิ้ม แรกของลูกชายความจริงคือแสงตะวันที่ส่องทแยง เข้ามาปลุกถึงเปล ....เช้าแล้ว ผืนป่าเขียวสด ไม้ใหญ่ยืนตรงแผ่กิ่งก้านที่มี มอสเฟิร์นห้อยระย้าเต็มต้น มองไปตามแนวล�ำธาร สายน�้ำอารมณ์ดีไหลนิ่งลัดเลาะสลับแนวก้อนหิน สีมอส หมู่ไม้เล็กบ้างใหญ่บ้างแน่นขนัด พื้นล่างก็ เต็มไปด้วยไม้ชุ่มน�้ำ ....สวยอะไรเช่นนี้ ผมดึงถุงเท้าออก ก่อนคลี่ ตัวเองออกจากถุงนอน หย่อนเท้าลงจรดพื้นดิน เมื่อ สองขามั่นแล้วก็ก้าวย�่ำเพียงเท้าเปล่าออกไปสู่แนว ล�ำธารนั้น แสงวันใหม่ลอดผ่านใบไม้ แมลงเริงร่า นกร้องเพลง ขอนั่งอยู่ตรงนี้ด้วยน่ะ...ผมเอ่ยทักทาย “สวยจัง !!! ถ่ายรูปๆ ” เสียงเบิร์ดเจ้าเก่า อ้อ เกือบลืม ผมไม่ได้มาคนเดียว เสียงไม้ประทุไฟส�ำหรับกาแฟมื้อเช้า แค่เสียง... กรุ่นกลิ่นก็ล่องลอยมา เราเริ่มส�ำรวจกันตอนเช้านี้ จึงเห็นว่า ...มันเป็นล�ำธารสายมรกตจริงๆ หินทุก ก้อนเขียวพรืดไปหมด ป่าทึบแต่ไม่รกจึงมองออก ไปได้สุดตา เหนือล�ำธารขึ้นไปคือละลอกขาวของ สายน�้ำตกเล็กๆ เราค่อยๆ ลัดเลาะไปที่นั่น ใครบาง คนจึงบ่นเสียดายว่า ฟิล์มที่เอามาน้อยไปรึเปล่า “ขึ้นเนินนี้ ข้ามไปนั่น มีแนวสันเขาทางซ้าย ทอดตัวยาวไปจรดยอดพันแปด แต่ต้องมุด ลอด คลาน ทะเลาะกับหนามหวายตลอดทาง” ผมแจ้ง แผนการคร่าวๆ ที่เหลือสองวันข้างหน้า “พี่บอยเคยมากี่ครั้งแล้วแถวนี้” บางคนถาม ยิ้มแบบคาดหวังค�ำตอบ “ครั้งแรก !!” ผมตอบแบบหน้าตาเฉย

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๗

นพ.รังสิต ทองสมัคร์ พาช่างภาพอาเซียนจากประเทศกัมพูชาสองท่านไปบันทึกภาพ อ�ำเภอปากพนัง เพื่อเผยแพร่ออกสู่สายตาชาวโลก.... ปากพนังทุกวันยังมีวิถีที่งดงาม อบอุ่น ดูง่ายๆ แต่มีเสน่ห์อยู่ในตัว ผมไปทุกครั้งก็ประทับใจทุกครั้ง


หน้า ๑๘

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นภสร มีบุญ

ดี ใ นหั ว ใจจากคุ ณ พ่ อ มา อย่างเต็มที่แล้ว เธอยังสวม วิ ญ ญาณของนั ก ปฏิ บั ติ การเพราะนอกจากจะฝึ ก อบรมพนักงานด้วยตนเอง แล้ ว ก็ ยั ง ปฏิ บั ติ ต นเช่ น พนักงานท�ำทุกอย่าง สอน โดยการลงมื อ ท� ำ ให้ เ ห็ น เป็ น ตั ว อย่ า งถื อ เป็นการสอนที่ดีที่สุด เรียกได้ว่าเป็นผู้น� ำ ที่กุมหัวใจลูกน้องได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ จริงๆ ส่วนเรื่องรสชาติอาหารยิ่งไม่ต้อง กังวลค่ะ ทุกเมนู ทุกรายการอาหารจะได้ รั บ การดู แ ลเอาใจใส่ อ ย่ า งดี ทั้ ง วั ต ถุ ดิ บ ที่ น�ำมาประกอบ และปรุง รวมไปถึงการจัด จานให้น่าลองลิ้มชิมรส มาตรฐานระดับ โรงแรมการันตีไม่มีผิดหวัง และด้วยความ

..โ

อ ลั่ลล้าฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่าน มาท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ ที่ พั ก หรู ห รา สไตล์ บู ติ ค โฮเต็ ล ที่ โ รงแรมเมื อ งลิ ก อร์ โรงแรมที่ แ สนจะลงตั ว กั บ การออกแบบ ตั ว อาคาร เป็ น สถาปั ต ยกรรมแบบไทย ปักษ์ใต้ประยุกต์ ซึ่งแม้จะดูเป็นไทย แต่ ก็ ยั ง มี ค วามทั น สมั ย ควบคู ่ กั น อย่า งลงตั ว ที เ ดี ย ว โรงแรมเมื อ งลิ ก อร์ เ ปิ ด บริ ก าร มากว่ า ห้ า ปี แ ล้ ว ประกอบด้ ว ยห้ อ งพั ก ทั้ ง หมด ๘๐ ห้ อ งแยกเป็ น ห้ อ งซู พี เ รี ย ร์ ๓๘ ห้อง ดีลักซ์ ๓๔ ห้อง และห้องสวีทอีก ๘ ห้อง ห้องพักที่นี่ตกแต่งแบบเรียบ หรู แต่ดูอบอุ่น สบายตา เอกลักษณ์ของที่นี่ นอกจากจะมีความสวยงามแบบทันสมัย ยั ง แฝงไปด้ ว ยการน� ำ เอาศิ ล ปวั ฒ นธรรม ของเมืองนครศรีธรรมราช เข้ามาประยุกต์ ให้ เ กิ ด ความกลมกลื น และลงตั ว กั น ได้ อย่ า งประณี ต ไม่ ว ่ า จะเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ หั ว นะโม ซึ่งตามความเชื่อความศรัทธาของ

คนเมืองคอน คือรักษาคุ้มครองให้พ้นภัย ได้ ส ร้ า งเป็ น โดมกระจกแก้ ว ณ บริ เ วณ และยังเสริมสิริมงคล ให้กับผู้ที่น�ำมาเป็น ล็อบบี้ เครื่องประดับ หรือจะเป็นสัญลักษณ์ของ โรงแรมเมื อ งลิ ก อร์ เน้ น ด้ า นการ จังหวัดคือรูป ๑๒ นักษัตร ซึ่งทางโรงแรม บริการ การเอาใจใส่กับความต้องการ ของลูกค้า ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม ซึ่ ง เป็ น คอนเซ็ ป ของทั้ ง ท่ า นประธาน กรรมการ คุณมงคล อ่อนแสงแก้ว และ คุ ณ ศิ ริ ก มล อ่ อ นแสงแก้ ว (คุ ณ อุ ้ ม ) ผู ้ จั ด การทั่ ว ไป เพราะนอกจากคุ ณ อุ ้ ม จะได้ รั บ และซึ ม ซั บ การเป็ น นั ก บริ ห ารที่

มุ่ งมั่ นของทั้ งคุ ณพ่อ และคุณ ลูก จึง ท� ำ ให้ โรงแรมเมืองลิกอร์ ได้สยายปีกเพิ่มเติมใน อนาคตเพื่อรองรับบริการจัดเลี้ยงส�ำหรับ ผู้ใช้บริการ ๕๐๐ คนขึ้นไป การก้าวย่างทีละก้าวแม้ไม่เร่งรีบแต่ มั่นคง นับเป็นข้อพิสูจน์ของความเป็นมือ อาชีพระดับโรงแรมจริงๆ ค่ะ อย่าลืมนะ คะ “มาเมืองคอน นอนที่นี่ โรงแรมเมือง ลิกอร์”

ส�ำรองห้องพักได้ที่ : ๐๗๕-๓๑๒๕๕๕ www.ligourcityhotel.com/gmligor001@gmail.com www.facebook.com/โรงแรมเมืองลิกอร์ สิทธิพิเศษส�ำหรับผู้อ่าน นสพ.รักบ้านเกิด ห้องพักราคาพิเศษสุดๆ พร้อมส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% (ส�ำรองห้องพักล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน) ขอขอบคุณ : คุณมงคล แก้วแสงอ่อน ประธานกรรมการ โรงแรมเมืองลิกอร์ คุณศิริกมล แก้วแสงอ่อน ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเมืองลิกอร์

ด�ำเนินการโดย..บริษัท เอส.พี.เอ.คอมพิวเตอร์ จ�ำกัด และ บริษัท เพชรไพลิน ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนักธุรกิจรุ่นใหม่ ติดต่อเช่าพื้นที่ โทร.082-2922437 (คาดว่าจะแล้วเสร็จราวกลางปี 2556)


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๙

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ

<< ต่อจากหน้า ๒

ช่อดอกแคแสด

ศรีตรัง สุพรรณิการ์ กาสะลอง และ แคแสด ร่วงบนพื้นทราย

ช่อดอกสุพรรณิการ์ซ้อน

และส่งกลิ่ นไปทั่ ว ทั้ งย่ า น จึ ง ขอบอกเสี ย ใน ตอบว่าก็เขาไม่ปลูกกันตามชื่อว่าโศกว่าเศร้า คราวเดี ย วกั น เพื่ อ ท่ า นจะได้ ส นุ ก ไปกั บ ผม ผมจึงถามกลับว่าชื่ออะไรแน่เล่า อโศกนั้น ด้ ว ย โดยทั้ ง ๗ อย่ า งนี้ มี ด อกอยู ่ ที่ ป ลาย ยอดสู ง ลิ่ ว ทิ้ ง ดอกร่ ว งหล่ น ลงมาแต้ ม พื้ น เป็นระยะ ทั้ง แคแสด ศรีตรัง สุพรรณิการ์ และ กาสะลอง สีแสด ม่วง เหลือง ขาว ตาม ล�ำดับ แทบทั้งนั้นเป็นไม้จากเมืองนอกที่ถูก ทยอยน�ำมาปลูกจนแพร่หลาย เฉพาะแคแสด นั้ น ผมจ� ำ ชื่ อ นอก เขาเรี ย กว่ า African ดอกพยอมบนต้นที่มุมบ้าน Tulip หรือ Flame of the Forest เพราะสี ดอกที่ ดู เ หมื อ นเปลว เพลิ ง อยู ่ ก ลางป่ า ทึ บ ในแอฟริกาใต้โน่น ใน ช่อดอกพยอม ช่อกาสะลอง (ปีป) ขณะที่สุพรรณิการ์ก็มี หลายชื่อ เช่น ฝ้ายค�ำ และมีหลายพันธุ์ รวม ถึงที่ดอกซ้อนสวยงามมาก ยกเว้นกาสะลอง ซึ่งเป็นไม้ไทย สีขาวและมีกลิ่นหอมตามเรือน ยอดตลอดปี ส่ ว นพยอมต้ น ใหญ่ ใ นตระกู ล ยูงยางนั้น ให้ดอกปีละครั้งเป็นพวงห้อยพราว ไปทั้งต้น ร่วงหล่นขาวเต็มพื้นทุกเช้าหลังให้ กลิ่ น ระรวยในตอนกลางดึ ก แล้ ว ทั้ ง นี้ ยั ง มี จันทร์กะพ้ออีกต้นหนึ่งที่ก�ำลังชูช่อดอกน้อยๆ หลังจากปีที่แล้วให้ดอกมาแล้วรอบหนึ่ง หอม เย็นอย่างที่ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ บอกให้ ปลูกไว้ในบ้านอย่างยิ่ง สุดท้าย หลายคนชอบทักว่าท�ำไมปลูก อโศกในบ้าน ผมจึงถามว่าท�ำไมถาม ได้รับค�ำ ถนนสายศรีตรัง ไม่ทราบว่าที่ไหน ชวนคิดถึงถนนสายศรีนครสักเส้น

แปลว่ า ไม่ โ ศกไม่ เ ศร้ า ต่ า งหาก ผมปลู ก ไว้ รอบบ้านเพื่อเป็นเครื่องเตือนตนว่ายังไงๆ จะ ไม่โศกไม่เศร้า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้เยอะ แยะในเรื่องเหล่านี้ สุดท้ายนี้ขอชวนคิดสัก นิ ด ว่ า เมื อ งนครของเราน่ า จะหาต้ น ไม้ อ ะไร มาปลู ก เป็ น สั ญ ญลั ก ษณ์ บ ้ า งไหม หรื อ เอา มาตั้ ง ชื่ อ เป็ น ศรี เ มื อ ง อย่ า งที่ เ ขามี ศ รี ต รั ง ศรียะลา หากจะมีศรีนครสักต้นน่าจะดี แล้ว เอามาปลูกถนนสักสายให้สวยอย่างรูปถนน ต้นศรีตรังเส้นนี้ที่ไม่ทราบว่าที่ไหน หรือจะเอา กลิ่นให้หอมไปทั้งเมืองก็ยังได้นะครับ. ๑ มีนาคม ๒๕๕๗


หน้า ๒๐

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.