นสพ รักบ้านเกิด ฉบับที่ 37 เดือนตุลาคม 2557

Page 1

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๗

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

http://www.nakhonforum.com

ราคา ๒๐ บาท

กกต. จังหวัดหน้าใหม่ สวัสดิ์ สมัครพงศ์ เสนอโครงการพัฒนา พลเมืองจิตอาสาช่วยการเลือกตั้งทุกระดับ หวังเป็นก�ำลังถาวร สร้างส�ำนึกยุติธรรม โปร่งใส ลดการซื้อขายเสียง เผยโครงการ ใช้งบฯกว่า ๗ ล้าน ถ้าได้รับอนุมัติจะเกิดประโยชน์ระยะยาว

¹¤Ã´Í¹¾ÃР˹éÒ ò ¹¾.ºÑ­ญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ˹éÒ ó ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย ˹éÒ ๔ สุธรรม ชยันต์เกียรติ àÅèÒàÃ×èͧàÁ×ͧà¡èÒ Ë¹éÒ ๙ ¼È.©ÑµÃªÑ ÈØ¡ÃСҭญ¨น์ แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ วัดพระมหาธาตุสู่มรดกโลก ˹éÒ ๑๐ ส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ การออกแบบ ม.วลัยลักษณ์ เที่ยวเมืองมรดกโลก ˹éÒ ๑๐ โกแอ๊ด ความคืบหน้าพระธาตุสู่มรดกโลก ˹éÒ ๑๑ ¼È.©ÑµÃªÑ ÈØ¡ÃСҭญ¨น์ รักสุขภาพ ˹éÒ ñ๒ นพ.ทฏะวัฏร์ พิลึกภควัติ มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง ˹éÒ ñ๓ สุเมธ รุจิวณิชย์กุล ท่องเที่ยวเมืองนคร ˹éÒ ñ๖ ทาร์ซานบอย มองเมืองคอนผ่านเลนส์ ˹éÒ ñ๗ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

เมื่ อ วั น ที่ ๒๔ กั น ยายน ๒๕๕๗ นายสวั ส ดิ์ สมั ค รพงศ์ กรรมการการเลือกตั้งประจ�ำจังหวัดนครศรีธรรมราช (กกต.จังหวัด) เปิดเผยกับ ‘รักบ้านเกิด’ ว่าตนจัดท�ำ ‘โครงการปฏิบัติน�ำร่อง (สร้างตัวแบบ) สร้างพลเมืองอาสาประชาธิปไตยประจ�ำหมู่บ้าน ฺ(หรือหน่วยเลือกตั้ง) ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�ำจังหวัด นครศรีธรรมราช’ ต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�ำ >> อ่านต่อหน้า ๘ จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติ

สวัสดิ์ สมัครพงศ์

เชิญเที่ยวงานเรือเพรียวกลางแม่น�้ำปากพนัง ๗-๑๑ ตุลา ชิงถ้วยรางวัล ‘สมเด็จพระเทพฯ’ ๓ รุ่น

รายงาน

นายพิเชษฐ์ กล้าสุคนธ์

เมื่ อ วั น ที่ ๒๓ กั น ยายน ๒๕๕๗ นายพิ เ ชษฐ์ กล้ า สุ ค นธ์ นายกเทศมนตรี เ มื อ งปากพนั ง เปิดเผยว่า เทศบาลเมืองปากพนัง มี ก� ำ หนดจั ด งานประเพณี ล าก พระ และแข่ ง เรื อ เพรี ย วชิ ง ถ้ ว ย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ภายใต้แนวคิด >> อ่านต่อหน้า ๘


หน้า ๒

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

ลายเดื อ นกั น ยายน ๒๕๕๗ จั ง หวั ด นครศรี ธรรมราชมีฝนตกตอนเย็นเกือบทุกวัน กระจาย ไปตามแหล่งต่างๆ ทั้งซีกตะวันตกและซีกตะวันออก ของเทือกเขานครศรีธรรมราช บ้านเรือนที่หลังคาแห้ง กรอบหรือปูนยาแนวแตกสะเก็ดอาจกลายเป็นรอยรั่ว ให้น�้ำฝนไหลลงในห้องโถง ห้องนอน ห้องครัว น�้ำอาจ ไหลลงปลั๊กไฟอาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้ ไม่ว่าในชนบทหรือบ้านในเมือง ชนบท ป่าดง หรือในชุมชนแออัด น�้ำอาจขับไล่ สัตว์มีพิษ ไม่ว่าตะขาบ แมลงป่องตลอดจนงูต่างๆ ออกจากแหล่ ง อาศั ย ให้ ไ ปหาที่ อ ยู ่ ใ หม่ อาจเป็ น ใต้ ก องขยะข้ า งบ้ า นหรื อ บุ ก รุ ก เข้ า บ้ า นเรื อ น ขอให้ ระมัดระวังด้วยตนเองเป็นเบื้องแรก หากงูพิษหรืองู เหลือมตัวใหญ่เลื้อยเข้าบ้านให้รีบแจ้งหน่วยกู้ภัยที่มี อุปกรณ์และมีความช�ำนาญมาช่วยจัดการ ดังนั้น ทุก ครอบครั ว ควรมี ห มายเลขโทรศั พ ท์ ข องหน่ ว ยกู ้ ภั ย หรือหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยไว้ให้พร้อม ติ ด ตามข่ า วพยากรณ์ อ ากาศแม้ ว ่ า บางครั้ ง คลาดเคลื่อน แต่ส่วนใหญ่ถูกต้องแม่นย�ำ ส�ำหรับ ประเมินสภาพดินฟ้าอากาศถูกต้อง ส�ำหรับการเดิน ทางไปประกอบอาชีพโดยเฉพาะชาวประมง หรือคน เดินทางผ่านเส้นทางแถบป่าเขาซึ่งอาจน�้ำท่วมสะพาน เส้นทางขาดหรือดินถล่มต้นไม้โค่นขวางถนน หน่วย งานบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดในฐานะแม่ข่าย เร่งส�ำรวจความพร้อมทั้งคน อุปกรณ์ และซักซ้อม ประสานงานให้คล่องแคล่วฉับไว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึงแสดงให้เห็นว่า เป็นที่พึ่งของประชาชนได้จริงๆ แม้ว่าจะถูกเลิกหรือ เกิดอะไรขึ้นก็ตาม ขอให้อยู่เคียงข้างประชาชนและ เป็นที่พึ่งพิงได้ยามเดือดร้อน อาจจะช่วยชะลอการ ยุบเลิกให้ช้าลงได้ เพราะประชาชนจะช่วยเป็นปาก เสี ย งให้ ใ นที่ สุ ด ส่ ว นประชาชนก็ อ ย่ า ได้ นิ่ ง นอนใจ นั่ งรอความช่ ว ยเหลื อ เพราะแม้ อ งค์ ก รต่ า งๆ จะมี ความพร้อมมากเพียงใด แต่ไม่สามารถช่วยเหลือทุก ครอบครัวและทุกคนพร้อมกัน ดังนั้นจงช่วยตัวเองให้ เต็มที่ที่สุด ช่วงภัยพิบัติความช่วยเหลือมักจะมาถึงช้า กว่าปกติ เพราะตอนเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาต้องฝ่า ภัยพิบัติเข้าไปเช่นกัน

ามที่ได้เกริ่นไว้ว่าเมื่อคราวไปนิวยอร์ค เพื่ อ ตามรอยเมื อ งนครจนพบที่ ร ้ า น หนังสือเก่าที่ว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในโลก คือ ร้านหนังสือสแตรนด์ (Strand) และพบเล่ม The Geography ของ Claudius Ptolemy ที่ถือเป็นต�ำราภูมิศาสตร์โลกเล่มแรกเมื่อ ภาพของโตเลมีบนแผนที่แรกที่ปรากฏทวีปอเมริกา โดย Martin Waldseemuller (พ.ศ. ราวๆ พ.ศ.๗๐๐ ที่มีบทว่าด้วยแหลมทอง ๒๐๕๐) ในความครอบครองของ Library of Congress, Washington DC, สหรัฐอเมริกา

ที่หลายคนระบุว่าปรากฏเมืองนครอยู่ด้วยนั้น บุคคลที่ตีความ อย่างเป็นกิจลักษณะคือท่านจันทร์จิรายุ รัชนี ที่ในแวดวงปราชญ์ กวีก็คือ “ท่านจันทร์” ที่คู่กันกับ “ท่านอังคาร” ของพวกเรา ชาวนครนั้นเอง แผนที่ ภู มิ ศ าสตร์ โ ตเลมี นี้ ถื อ เป็ น ต� ำ ราภู มิ ศ าสตร์ แ ละ แผนที่ โ ลกแรกสุ ด เขี ย นโดยคลอดิ อุ ส โตเลมี ผู ้ มี อ ายุ ร ะหว่ า ง ปี พ.ศ.๖๓๓ - ๗๑๑ จากการศึกษาแม้ไม่ปรากฏประวัติส่วนตัว ว่าเกิดที่ไหนเป็นชาวอะไร แต่จากชื่อน่าจะเป็นคนเชื้อสายกรีก ในสังกัดโรมันผู้มีถิ่นพ�ำนักที่เมืองอเล็กซานเดรียบนปากแม่น�้ ำ ไนล์ในอียิปต์ ทวีปอาฟริกาสมัยโรมันเข้าครอง สรุปกันว่าเป็นนัก คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ (mathmatical-astronomical) แห่งราชส�ำนักหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรียผู้มุ่งมั่นอุทิศตนในการ ศึ ก ษาค้ น คว้ าและเรียบเรี ยงหนั งสือ ส� ำ คั ญว่ าด้ ว ยดาราศาสตร์ the Almagest และ Tetrabiblos และต�ำราภูมิศาสตร์กับแผนที่ โลก The Geographia เล่มนี้ ที่ถือกันว่า “หากต้องการสืบค้นถึง ถิ่นฐาน, ชาติและเป้าหมายการเดินทางของมนุษยสมัยโบราณแล้ว มีแต่จากหนังสือและแผนที่โตเลมีเท่านั้น” โดยตัวต�ำรานั้นลอก ต่อๆ กันมามีร่วม ๕๐ ส�ำนวน แต่แผนที่นั้นน่าจะหายสูญขาดตอน

ไปหลายร้อยปี ที่พบล้วนมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มา แล้ว คือเกือบ ๑,๕๐๐ ปีล่วงแล้ว โดยเล่มที่ผมเพิ่งได้จากร้าน สแตรนด์เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ จากต้นฉบับ ที่หอสมุดนครนิวยอร์คพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ในจ�ำนวนจ�ำกัด เพียง ๒๕๐ เล่มเท่านั้น และที่ส�ำคัญคือ เป็นฉบับแรกที่แปลเป็น ภาษาอังกฤษอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตลอดเล่มพร้อมภาพแผนที่ ประกอบ ต� ำ ราภู มิ ศ าสตร์ ข อโตเลมี เ ล่ ม นี้ มี ๘ บท ไล่ เ รี ย งจาก ยุโรป อาฟริกา มาจนถึงเอเซีย โดยในบทที่ ๗ ที่ว่าด้วยอินเดีย จีน และ เกาะลังกา ที่เรียกในขณะนั้นว่า India Intra Gangem, India Extra Gangem, Sina และ Taprobana นั้น มีตอนที่ระบุ ถึง “แหลมทอง” หรือ “Golden Chersonesus” พร้อมกับระบุ พิกัดเส้นรุ้งและเส้นแวงไล่เรียงตามล�ำดับประกอบด้วย Tacola Emporeum, mouth of Chrysoana river, Sabana emporium, mouth of Palanda river, Maleicolon promontory, mouth of Attaba river, Calipolis, Perimula, Perimulicus bay แล้วเข้าเขต Lestorum มี Samarada, Parasa, mouth of Sabanus river, river sources, Thipinobosti emporium, Acadra, Zabe city จนเข้ า เขต Great Bay มี Thagora, Balonga metropolis, Throana, mouth of Daona river, river sources, Cortatha metropolis, Sinda city, Paprasa ฯลฯ จนต่อ ไปถึง Sinae คือจีน ซึ่ง Golden Chersonesus นั้นชัดเจนว่าคือคาบสมุทร ไทย-มลายู และหมู ่ ป ระเทศเอเซี ย อาคเนย์ตั้งแต่พม่าถึงเขมร ลาวและ เวียตนามนั่นเอง โดยมี ๓ อ่าวใหญ่ ด้านตะวันตกคืออ่าว Besyngiti ที่น่า แผนที่อินเดียนอกแม่น�้ำคงคา หรือ เอเซียอาคเนย์ จาก The Codex Ebnerianus โดย Donnus จะคืออ่าว >> อ่านต่อหน้า ๑๙ Nicolaus Germanus (พ.ศ.๑๙๒๕) ในความครอบครองของ New York Public Library


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

หน้า ๓

จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร

ช้าวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ ทราบว่า รพ.นคร คริ ส เตี ย น นครศรี ธ รรมราช เชิ ญ นพ.ธวั ช ชั ย กาญจนะคช มาบรรยายเกี่ยวกับโรค NCDs ให้ผู้ สูงวัยฟัง สูงวัยอย่างผมอยากไปเก็บรับความรู้ พอ เป็ น แนวทางปฏิ บั ติ ใ ห้ สุ ข ภาพกายใจดี ส มวั ย แต่ ไปถึ ง ช้ า คุ ณ หมอบรรยายไปถึ ง อั น ตรายของขนม กรอบแกรบต่างๆ บะหมี่ส�ำเร็จรูป รวมถึงมันฝรั่งอบ กรอบที่มีเกลือเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก ผมเลย ต่อไม่ติด โชคดีที่ติดกล้องถ่ายรูปไปด้วย ผมเลยบันทึก ภาพจากป้ า ยนิ ท รรศการ ผู ้ สู ง วั ย ที่ เ ข้ า รั บ ฟั ง ราว ๗๐-๘๐ คน ทั้งผู้บริหารโรงพยาบาลอย่างคุณหมอ ปรีชา มิตรกูล คุณหมอจงดี มิตรกูล คุณหมอชัย นันท์ สวัสดีนฤนาท พยาบาล เจ้าหน้าที่ และ คุณ จิ ม มี่ ชวาลา ที่ไปบรรยายเกี่ยวกับการดูจิตใจให้ เป็นสุข NCDs ย่ อ มาจาก Non-communicable Diseases หรือ โรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ เป็นโรคที่ไม่ได้ เกิดจากเชื้อโรค ไม่ติด ต่อแม้มีการสั มผัส คลุก คลี หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ โรคกลุ ่ ม เกิ ด ขึ้ น และเกี่ ย วข้ อ งกั บ พฤติ ก รรม การด�ำเนินชีวิต โดยจะค่อยๆ สะสมอาการ ค่อยๆ

นพ.ธวัชชัย กาญจนะคช

รุนแรงขึ้นไป ถ้าไม่รักษาหรือไม่ใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง จะเกิดเรื้อรัง ใช้ชีวิตตามปกติล�ำบาก เสียเงินทอง คน รอบข้างพลอยล�ำบากไปด้วย คนไทยป่วยเป็นโรค NCDs ถึง ๑๔ ล้านคน เสีย ชีวิตปีละกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อน ๖๐ ปี โรคกลุ่มนี้มีอะไรบ้าง ตอบเป็นภาษาใต้บ้านเรา ก็ต้องบอกว่าเป็น ‘โรคหัวหิ้ง’ ทั้งนั้น เช่น โรคไต เบา หวาน ไขมันอุดตันเส้นเลือด ความดันโลหิต ตับแข็ง ถุงลมโป่งพอง/มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคสมองเสื่อม และ โรคหลอดเลือดหัวใจ จะเรียกว่า

‘โรคท�ำตัวเอง’ ก็ฟังขึ้น การรักษา ก็คือ ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยง กินอาหารที่มีประโยชน์ เรื่องอาหารมีรายละเอียด ยุ บ ยั บ ไปหมด กรุ ณ าหาความรู ้ เ พิ่ ม เติ ม และเลิ ก เหล้าเบียร์บุหรี่ถ้าท�ำได้ หมั่นยืดเส้นยืดสาย หรือ ออกก�ำลังกายให้ได้วัน ๓๐ นาที เพื่อสร้างความแข็ง แรงให้กับร่างกายและลดไขมันอันตรายออกไป แผ่ น ป้ า ยที่ น� ำ มาเป็ น รู ป ประกอบคงมี ป ระโยชน์บ้าง รพ.นครคริสเตียนน่าจะจัดกิจกรรมดีๆ อย่างต่อเนื่อง ต่อจากนี้ิผมจะดูว่าตัวเองจะลด ละ เลิก อะไรได้บ้าง


หน้า ๔

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

โดย : นครา nagara@nakhonforum.com

สุธรรม ชยันต์เกียรติ

ระเพณี อั น หนึ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ที่ วั ด พระ มหาธาตุ เป็นประเพณีที่เก่าแก่มา ช้านานของเมืองนคร คือประเพณี “สวด ด้าน” ซึ่งเป็นประเพณีที่ใช้สวดหนังสือ ใน “พระระเบียง” หรือที่คนนครเรียก ว่า “พระวิหารคด” ทั้งสี่ด้านในพระบรม ธาตุ ประเพณีอันนี้แสดงให้เห็นถึงความ เจริญในพระพุทธศาสนาของเมืองนครในอดีต จนกล่าวขาน กันว่าเมืองนี้เป็น “นครดอนพระ” ท่านอาจารย์พุทธทาส เคยกล่าวไว้ว่า “คนโบราณเขาเชื่อกันว่า ทรายทุกเม็ดของ เมืองนี้ล้วนผ่านการเหยียบย�่ำจากผู้คนที่ใฝ่ธรรมมาแล้วทั้ง สิ้น” ประเพณีสวดด้านเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรม ของคนเมื อ งนี้ เป็ น ผู ้ ที่ ร�่ ำ รวยในภาษาและวรรณกรรม ประเพณีอันนี้เริ่มด้วยผู้ที่มีความรู้หนังสือภาษามาอ่านร้อย แก้วร้อยกรองให้ผู้คนฟัง ซึ่งจะมาจากนิทานพื้นบ้านที่คน นครแต่งขึ้นเอง บ้างก็น�ำเรื่องราวจากนิทานชาดก หรือ วรรณกรรมชิ้นเยี่ยมจากส่วนกลางมาอ่านให้ผู้คนฟัง ลีลา การอ่านเป็นท�ำนองเสนาะจนคนนครเราเรียกว่า “การสวด หนังสือ” มีทั้งใช้ภาษากลางและภาษาถิ่นนครแต่ส่วนมาก จะเป็นภาษาถิ่น ค�ำว่า “สวดด้าน” มีที่มาที่ไปคือการอ่านหรือสวด หนั ง สื อ นี้ เ ริ่ ม ขึ้ น ที่ วิ ห ารคดหรื อ พระระเบี ย ง หรื อ ที่ ช าว บ้านเรียกว่า “พระด้าน” เพราะมีพระพุทธรูปประดิษฐาน เรี ย งเป็ น แถวทั้ ง สี่ ด ้ า น ๑๗๐ กว่ า องค์ ชาวบ้ า นจึ ง นิ ย ม เรียก “พระด้าน” มากกว่าชื่ออื่น การมานั่งสวดหนังสืออยู่ ที่พระด้าน คนจะเรียกว่า “สวดหนังสือที่พระด้าน” ตาม ธรรมเนียมคนนคร ชอบพูดลัดสั้นจึงเหลือเพียง “สวดด้าน” เป็นที่เข้าใจกันและเรียกกันเช่นนี้สืบมา แรกเริ่มเดิมทีการสวดด้านนี้จะมีขึ้นทุกวันพระ วัน ๘ ค�่ำ ๑๕ ค�่ำ ทั้งขึ้นทั้งแรม จะมีพระและสามเณรมาเทศนา กันรอบทั้ง ๔ ด้าน มีกันหลายธรรมมาสน์ มีนักเทศน์ทั้ง มือใหม่หัดใหม่จนถึงนักเทศน์ที่เก่งกาจมาเทศน์เป็นประจ�ำ ผู้คนในเมืองนี้ก็จะนิยมมากันเนืองแน่นเพื่อฟังธรรม จึงมี พระจากวัดต่างๆ มาจองเพื่อได้มีโอกาสมาเทศน์ที่พระด้าน กับเขาบ้าง ท่านอาจารย์ปัญญานันทภิกขุเคยเล่าให้ฟังว่า ท่าน มาอยู่ที่วัดหน้าพระธาตุสมัยยังเป็นพระหนุ่มมาเรียนธรรมที่ นี่ ท่านก็มาฝึกเทศน์ที่พระด้านด้วย ท่านเล่าว่า เมื่อมือใหม่ เทศน์ไม่เก่งก็ไปเลือกธรรมมาสน์ที่อยู่ไกลๆ คนฟังน้อยๆ ฝึกจนวิชาแก่กล้าขึ้นเก่งขึ้น ค่อยๆ เลื่อนมาเทศน์ในแถว ใกล้ทางเข้าซึ่งมีผู้ฟังมาก และการันตีว่าสอบผ่าน ท่านเล่า ต่อว่า ตอนที่ท่านมาฝึกเทศน์ก็มีคนมา “สวดด้าน” อยู่แล้ว เมื่อพระยังไม่ขึ้นธรรมมาสน์ ผู้คนมานั่งรอกันมากมายก็จะ

มีผู้คนมานั่งเล่าเรื่องราวต่างๆ ผู้ที่มีความรู้ก็จะอ่านหนังสือ เล่าเรื่องจากหนังสือให้ฟัง คนยุคนั้นรู้หนังสือน้อยจึงสนใจฟัง คนอ่านที่เป็นเจ้าบทเจ้ากลอนหน่อย ก็จะอ่านได้ไพเราะเป็น ที่ติดใจของผู้คน คนสนใจสวดด้านเพราะสนุกสนานได้ความ รู้เพลิดเพลิน ก่อนจะได้ฟังธรรมค�ำสอนของพุทธองค์ “การสวดด้าน” มักจะเป็นผู้ทรงความรู้ที่เคยบวชเคย ร�่ำเรียนมาก่อนเป็นคนรู้หนังสือ พวกนายหนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก หมอท�ำขวัญ ครูมาลัย บุคคลเหล่านี้ล้วนมีความ ช� ำ นิ ช� ำ นาญหนั ง สื อ และบทกลอน มี ลี ล าส� ำ นวนน�้ ำ เสี ย ง การอ่าน การขับกลอนแม้แต่การออกท่าทาง จนเป็นที่ถูก อกถูกใจของผู้คนเหมือนกับติดใจนักร้องดาราในยุคนี้ เมื่อ มีแฟนติดตามประจ�ำก็ต้องมากันทุกวันพระ คนสวดด้านก็ ตื่นตัวจัดเตรียมจัดหาเรื่องเด็ดๆ มาอ่าน ผู้คนได้ทั้งความรู้ ความบันเทิงและได้ฟังพระธรรมเทศนา มีความรู้ทางธรรม อีกด้วย หนังสือที่น�ำมา “สวดด้าน” นั้น นอกเหนือจากนิทาน ชาดกแล้ว ยังมีหนังสือบทกวี บทกลอนของชาวนคร เช่น เรื่องที่คนนครยุคโน้นคุ้นเคยคือ เรื่องทินวงศ์ เรื่องวันคาร เรื่องสุบิน เรื่องรถเสนนายเรือง เรื่องเสือโคของพระมี เรื่อง ชัยชาย ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนในหนังสือบุดเก่าๆ มากมาย ทั้งหมดนี้ผมเคยได้ยินเพียงเรื่องเดียว คือเรื่องชัยชาย คุณ ยายเล่าให้ฟังสมัยเด็ก คนเฒ่าคนแก่ทั้งหญิงชายที่มีความรู้หนังสือ เมื่ออยู่ บ้านจะชอบอ่านหรือขับกลอนเสียงดัง ผู้คนจะได้ยินเสียง เจื้อยแจ้วอยู่ทุกบ้านเรือน คนเก่งบทกลอนจะอ่านหรือขับ บทกลอนกล่อมลูกหลานเหมือนเพลงร้องเรือ ส่วนคนที่อ่าน ไม่ออก-เขียนไม่ได้ เมื่อได้ฟังบทกลอนเป็นประจ�ำ ก็จะท่อง และร้องได้เหมือนคนรู้หนังสือ ท่องได้เป็นเล่มๆ ทีเดียว สมัย เด็กอยู่ในชนบทผมได้ยินบ่อยๆ ปัจจุบัน “ประเพณีสวดด้าน” ก�ำลังได้รับการฟื้นฟู ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากจางหายไปหลายสิบปี ปราชญ์ของ บ้านเมืองหลายท่านก�ำลังค้นหาหนังสือบุดเก่า หรือหนุ่มสาว จะมาแต่งใหม่ลองดู สืบทอดประเพณีอันเก่าแก่นี้ให้คงอยู่ เป็นมรดกให้ลูกหลาน ให้คนนคร ให้คนไทยและเป็นมรดก โลกคู่กับวัดพระมหาธาตุของเราสืบไป

หนังสือพิมพ์ รักบ้านเกิด ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ ก้าวสู่ปีที่ ๔ รักบ้านเกิด ยังก้าวเดินต่อไปในโลกดิจิตัลที่ข่าวสารวิ่งเข้าสู่สมาร์ท โฟนในก�ำมือ รวดเร็วฉับไวโดยไม่เปิดโอกาสให้หนังสือ รายสัปดาห์-รายเดือนตั้งตัว แต่หนังสือสองวาระดังกล่าว ก็ยังเป็นที่ต้องการ ข้อเขียนแนวธุรกิจของไพโรจน์ เพชร คง มีมุมมองที่เฉียบแหลมส�ำหรับนักธุรกิจที่ต้องการมุม คิดเชื่อมกับโลกปัจจุบันและไม่ตกสมัย ข้อเขียน ทางวั ฒ นธรรม ประวั ติ ศ าสตร์ ของ นพ.บั ญ ชา พงษ์ พานิช, ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์, รศ.วิมล ด�ำศรี, สุ ธรรม ชยันต์เกียรติ และ สุเมธ รุจิวณิชย์กุล ท�ำให้รู้จัก ตัวตนของเมืองนครในหลายมิติ ภาพงามๆ ของ นพ.รังสิต ทองสมัคร์ กับทาร์ซานบอย ยังอยู่ครบครัน รวมถึงคอลัมนิสต์ท่านอื่นๆ ก็ยังอยู่คู่รักบ้านเกิดต่อไป ขอ ขอบพระคุณผูม้ อี ปุ การคุณทีส่ นับสนุนโฆษณาเป็นค่าจัดท�ำ

ครบรอบ ๒๐ ปี รพ.นครินทร์ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนรับเชิญมาพูดกับแขกผู้ มีเกียรติ และก่อนขึ้นเวทีได้นั่งสนทนาแลกเปลี่ยนความ คิดกับจิมมี่ ชวาลา ที่คบหากันมานับสิบปีอย่างออกรส เจ้าของร้านผ้า ‘จิมมี่’ มอบหนังสือแสนหวง Satyagarah หลั ง เกษี ย ณอายุ วรชาติ ศรี เ ปารยะ สปก. จังหวัดนครฯ แจ้งแก่เพื่อนพ้องว่าจะกลับไปดูแลบ้าน สวนที่พิปูน ๓ ปี รอน้องชาย วรวุฒิ ศรีเปารยะ ปัจจุบัน เป็ น รองอธิ บ ดี ก รมธนารั ก ษ์ เ กษี ย ณกลั บ มาเฝ้ า บ้ า ง ลูกศิษย์ได้เข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาชั้น น�ำทุกปีและความสามารถด้านอื่นๆ อ�ำนวย นวลอนงค์ จึ ง ได้ รั บ เลื อ กให้ เ ป็ น ผู ้ อ� ำ นวยการวิ ท ยาลั ย ช่ า งศิ ล ป นครศรี ธ รรมราชสมั ย ที่ ส อง.. สุ ร พล แก้ ว ภราดั ย ผบ.เรือนจ� ำกลางนครฯ แจ้งว่าขณะนี้มีิผลิตภั ณ ฑ์ ร าชทั ณ ฑ์ ข องผู ้ ต ้ อ งขั ง ที่ เ ข้ า โครงการฝึ ก วิ ช า ชี พ เพื่ อ สร้ า งอาชี พ ติ ด ตั ว หลั ง ออกไปใช้ ชี วิ ต ตามปกติ เช่ น เฟอร์ นิ เ จอร์ ไ ม้ แ ละงานประดิ ษ ฐ์ จ� ำ หน่ า ยที่ ศู น ย์ จ�ำหน่ายฯ หลังเรือนจ�ำกลางนครฯ เดิม ใกล้กับโรงเรียน นานาชาติ (หลั ง สนามหน้ า เมื อ ง) สนใจสอบถาม ที่ ๐๙๒-๖๔๑๘๒๖๓ โทร หรื อ ๐๘๖-๗๒๔๓๓๖๓


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

วิ ท ยา อาคมพิ ทั ก ษ์ เชิ ญ ชวนนั ก ศึ ก ษาระดั บ ธิติ ตระกูลเมฆี (เพชรทองซีกวง) เข้าอบรมบ่ม อุ ด มศึ ก ษา และประชาชนร่ ว มประกวดออกแบบตรา เพาะการขยายเครือข่ายมวลชน หลักสูตร ‘ไทยส�ำนึกไทย สัญลักษณ์ของมูลนิธิต่อต้านการทุจริตชิงเงินรางวัลชนะ คนดีรักแผ่นดิน’ รุ่นที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ ที่ เลิศ ๕๐,๐๐๐ รองฯ ๓๐,๐๐๐ และ ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อ หอประชุมกองทัพบก กทม. รณรงค์ต่อต้นการทุจริต ปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมและ จริยธรรม ส่งรายละเอียดผลงานได้ที่ สถาบันการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nacc.go.th)

รองผู้ว่าฯ ศิริพัฒ พัฒกุล เป็นประธานเปิดศูนย์ เรี ย นรู ้ ค วามปลอดภั ย ทางถนนต้ น แบบ ๔ ภู มิ ภ าค ณ เมืองจราจรจ�ำลองแห่งที่ ๔ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ ม.วลัยลั ก ษณ์ วุ ฒิ ก ร สุ ริ ย ะฉั น ทนานนท์ ผู ้ ช ่ ว ยกรรมการ ผู ้ จัดการใหญ่อาวุโส บ.โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) กับ ดร.กี ร ์ รั ต น์ สงวนไทร อธิการบดี ร่วมเปิด บ.โตโยต้า เมืองคอน น�ำเจ้าหน้าที่กับนักเรียนไปร่วมงานจ�ำนวนมาก

ขอบพระคุณประธาน และกรรมการสภาอุตสาหกรรม จังหวัดนครศรีธรรมราชทุกท่านที่เลือกจี้พระธาตุ ทองค�ำแท้ มรดกไทยสู่มรดกโลก จาก BOONADA@ SeeKuang ซึ่ ง ผ่ า นการพุ ท ธาภิ เ ษกครบถ้ ว นสมบู ร ณ์ ณ วิ ห ารหลวง วั ด พระธาตุ ม หาวรวิ ห าร มอบเป็ น ที่ ระลึกในวันเกษียณอายุราชการ แด่รองผู้ว่าราชการ ว่าที่ ร.ต.ฐิติวัฒน เชาวลิต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๗

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ดิฐลดา วิชัยดิษฐ ลูกสาว คนเก่งของ ประพงษ์ - พวงรัตน์ วิชัยดิษฐ มารายงาน ข่ า วแห่ ห มฺ รั บ งานเทศกาลเดื อ นสิ บ ปี ๒๕๕๗ ทาง ไทยรัฐทีวี ทีวีดิจิตัลช่อง ๓๒ ได้สาระครบถ้วน แล้วรีบไป รายงานข่าวเทศกาลกินเจที่ภูเก็ตต่อ

ธิติ ตระกูลเมฆี

ฮอนด้าศรีนคร Big Sale ฉลองเทศกาลเดือน สิบที่ทุ่งท่าลาด ๑๐ วัน ๑๐ สิบคืน โปรโมชั่น ดาวน์เริ่ม ต้ น ที่ ๑๐ บาท ออกรถได้ พร้ อ มแถมทะเบี ย น+พรบ. มูลค่า ๑,๐๐๐ บาท บัตรก�ำนัลโลตัสมูลค่า ๒๐๐ บาท ประกันชั้น ๑ และของอื่นๆ มูลค่ากว่า ๒,๐๐๐ บาท ได้รับ ความสนใจจากคนรักฮอนด้าล้นหลาม ยืนยันว่าสโลแกน ‘โกจ้องใจดี เจ๊เป็ดใจถึง’ คือของจริง

หน้า ๕

วั น ศุ ก ร์ - เสาร์ ที่ ๑๐-๑๑ ตุ ล าคม ๒๕๕๗ รชฏ ไพบูลย์ ปธ.จนท.บริษัท สยามอันดามัน อินเตอร์ เนชั่นแนล บิซิเนซฯ จัดอบรมหัวข้อ ‘เคล็ดลับสู่การเป็น เลขานุ ก ารและเจ้ า หน้ า ที่ ธุ ร การมื อ อาชี พ ’ ณ โรงแรม ทวินโลตัส นครศรีธรรมราช ค่าลงทะเบียนและเอกสาร ๓,๖๐๐ บาท สนใจติดต่อที่ ๐๗๖-๖๘๘๑๒๙ หรือ ๐๙๑๘๒๕๐๐๘๖ ในเวลาท�ำการ ขอแสดงความยินดี กับ ‘โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ’ วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี น ครศรี ธ รรมราช ที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ การ ประกวดโครงการดี เ ด่ น จั ง หวั ด ประจ� ำ ปี ๒๕๕๗ ด้ ว ย คุณลักษณะ คือ มีความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการ ที่ดี มีประโยชน์สูงสุดและประชาชนพึงพอใจสูง..ผู้บริหาร เข้ารับรางวัลจาก ผู้ว่าฯ อภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ไปแล้ว รศ.พิน นวลศรีทอง คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ม.เทคโนโลยี ร าชมงคลศรี วิ ชั ย นครศรี ธ รรมราชฯ กั บ ยรรยง วัฒนศรี เกษตรจังหวัดพังงา ลงนามท�ำบันทึก ความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือภายใต้โครงการ อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารการจั ด การสวนปาล์ ม น�้ ำ มั น ซึ่ ง น่ า ผลิตงานวิชาการที่มีประโยชน์ออกมาได้ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดจะผุดขึ้นใกล้สี่แยกหัว ถนน จ.นครฯ ขณะนี้ชาวบ้านรู้สึกวิตกว่าจะได้รับผลกระทบ อะไรบ้างและผู้เกี่ยวข้องจะวางมาตรการแก้ไขอย่างไร เช่น ห้างใช้ไฟฟ้าจ�ำนวนมาก ระบบปล่อยน�้ำเสีย การใช้น�้ำใน การจราจรและเสียง ซึ่งประชาชนยังไม่ได้รับข้อมูลอะไรเลย

เจ้ า ของภั ส สรสิ ริ คอนโดมิเนียม (สะพานยาว) ซื้ อ ห้ อ งแถว ๒ ห้ อ งหน้ า โครงการแล้วทุบท�ำถนนและ สวนหย่ อ มทางเข้ า คอนโดฯ และมีความประสงค์จะมอบ ให้เป็นทางสาธารณะ แต่ติด ปั ญ หาที่ ดิ น ริ ม ถนนซึ่ ง เป็ น แนวตะเข็บหน้าอาคารพาณิชย์โครงการหมู่บ้านสัมฤทธิ์ ประสงค์ ส�ำนักงานที่ดินแจ้งว่า ถ้าจะยกถนนหน้าภัสสร สิ ริ ค อนโดฯ ให้ เ ป็ น ทางสาธารณะจะต้ อ งได้ รั บ ความ ยินยอมจากเจ้าของบ้านในหมู่บ้านสัมฤทธิ์ประสงค์เสีย ก่อน สมาน ลีละสุนทเลิศ อยากขอความกรุณาพี่น้องใน หมู่บ้านสัมฤทธิ์ประสงค์กรุณาเซ็นยินยอม เพราะโครงการ ของเขาจะน�ำความเจริญมาสู่ชุมชนสะพานยาวในอนาคต ขอต้อนรับผู้เกษียณอายุสู่โลกคนธรรมดา ปล่อย วาง ใช้ ชี วิ ต บั้ น ปลายอย่ า งมี ค วามสุ ข สงบ--อยู ่ กั บ ลู ก หลาน อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาของตน


หน้า ๖

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

องเดือนก่อน วงศ์วชิร โอวรารินทร์ (เอส) คนหนุ่มเพิ่ง เลยวัย ๔๐ อดีตรองนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เสนอตั ว ผ่ า นแผ่ น ไวนิ ล ขึ ง ไว้ ต ามตรอกซอยในเขต เทศบาลนครนครฯ ว่ า ‘มี ค วามพร้ อ ม’ ที่ จ ะลงสมั ค รชิ ง ต�ำแหน่งนายกเทศมนตรี ช่วงเลือกตั้งปลายปี ๒๕๕๘ ถ้า คณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ (คสช.) มี ค� ำ สั่ ง อนุ ญ าตให้ จัดการเลือกตั้ง หลังประกาศเจตนารมณ์มีผู้เข้ามากดถูกใจในเฟซฯ ร่วม ๑,๐๐๐ คน “ผมว่าถึงเวลาที่คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความพร้อมซึ่ง เป็นคนรุ่นใหม่จริงๆ มาท�ำงานการเมือง-- การเมืองต้องการ คนดี การเมืองที่เป็นอุดมการณ์ คนดีในความหมายที่เรา นึกถึงมันหายากครับ คนที่มีความพร้อมอย่างลูกเถ้าแก่ท่า

วังเพื่อนผมเยอะแยะ ผมชวนแต่ไม่มีใครรับสักคน ทั้งๆ ที่มี ความพร้อม ฐานะดี พึ่งตนเองได้ มีความรู้ระดับหนึ่ง มีจิต สาธารณะ คนที่พร้อมหายาก เขามองว่าการเมืองคือการ ลงทุน มันต้องเสี่ยง แล้วมีการโจมตีกันอย่างสกปรก ท�ำให้ไม่ อยากมาแปดเปื้อน ถูกด่าทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องครอบครัว ผม เองพูดกับคนหลายคน คนวัย ๔๐ - ๕๐ เหมาะสมที่จะมา ท�ำงานการเมือง” วงศ์วชิร มีความพร้อมทั้งฐานะ ความรู้และประสบการณ์ “ผมเป็นที่ปรึกษาบริษัทนับสิบบริษัทที่ฮ่องกงเงิน เดื อ นเป็ น แสนๆ เคยสอนหนั ง สื อ ก็ ล าออก กลั บ มาช่ ว ย งานการเมืองที่นครฯ เพราะหวังว่ามันจะดีขึ้นเพราะนโยบาย ‘เปลี่ยน’ แต่ก็ไม่เป็นไปอย่างที่เราคิด สิ่งที่มันเกี่ยวกันไม่ว่า ระบบราชการ นักการเมือง หรือพ่อค้าบางคนที่ร่วมมือกับ ข้าราชการและนักการเมือง มันคือสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องมานั่ง คิดกัน” เอสเป็นศิษย์เก่าศรีธรรมราชศึกษา เบญจมราชูทิศ ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต ม.กรุงเทพ ปริญญาโทด้าน กฎหมายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (LL.M. In International Business and Trade Law จาก The John Marshall Law School เมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐฯ และ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ ม.รามค�ำแหง เป็นรองคณบดีคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี ท�ำงาน สนง. กฎหมายที่ดูแลการฟื้นฟูกิจการ ช่วงปี ๒๕๔๐ เป็นทนาย รับว่าความต่างประเทศโดยเฉพาะศาลทรัพย์สินทางปัญญา และร่วมดูแลฟาร์มหมูที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของครอบครัว เขาลาออกมาท�ำงานการเมือง แต่กลับผิดหวัง “ตอนไปเรียนที่จอห์น มาร์แชล ฯลฯ ในห้องเรียนวิชา Legal ethics หรือจริยธรรมทางกฎหมายนักเรียนต่างชาติ ๑๐ คน นั่งเรียนด้วยกันในห้องเดียว อาจารย์พูดถึงการทุจริต คอร์รัปชั่น แล้วยกตัวอย่างเมืองไทยโดยชี้มาที่ผมว่าคุณอยู่ เมืองไทยคุณรู้ดี แม้จราจรยังเรียกรับเงิน เขายกตัวอย่าง เพื่อนร่วมห้องมีอเมริกา ปอร์โตริโก เกาหลี ญี่ปุ่น โคลัมเบีย” ประสบการณ์เป็นผู้ช่วย ส.ส. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช หลายปีและเกือบ ๓ ปี บนเก้าอี้รองนายกเทศมนตรี เขาพบว่า ข้าราชการระดับหัวหน้าหรือผู้อ�ำนวยการเป็นตัวหลักที่ร่วม

มือกับนักการเมืองเพื่อให้ได้ก้อนเงิน เขามองว่าเมืองนครน่า จะเจริญกว่านี้ เอกสารบางชิ้นแม้ไม่อยากเซ็นก็จ�ำเป็นต้องเซ็น ซึ่งขัดกับความรู้สึก ตอนเป็ น รองนายก เอสดู แ ลกองสวั ส ดิ ก ารสั ง คมมี โอกาสเข้าถึงชุมชนมาก เขารับรู้ปัญหาและข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับชุมชน โดยเฉพาะเรื่องชาวบ้านไม่ได้รับความรู้จากผู้ บริหาร จึงไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการที่มีเม็ดเงินจากส�ำนัก นายกรัฐมนตรีสู่ชุมชนโดยตรง เทศบาลมีแต่หน้าที่ก�ำกับดูแล “ความขัดแย้งในชุมชน บางชุมชนทะเลาะกันเรื่องเงินเป็นหลัก เราปล่อยปละละเลยให้เขาได้ฉ้อโกง ท�ำโครงการทุกโครงการ ผู้น�ำต้องคิดถึงประชาชน ต้องคิดว่าประชาชนจะได้อะไรบ้าง ผู้น�ำคิดถึงตัวเองก่อน การจัดโครงการมันไม่ได้ ‘เปลี่ยน’ จริง” ช่วงดูแลชุมชนเขาอยากท�ำโครงการเกี่ยวกับเยาวชน แต่ มีอุปสรรคยุบยับจนไม่สามารถท�ำได้ เมื่อออกจากรองนายก ชาวบ้านในชุมชนรับรู้อยู่แล้วว่าเขาต้องสมัครชิงต�ำแหน่งนายก เทศมนตรีแน่ ปัญหาส�ำคัญๆ ของเทศบาลนครนครฯ ที่วงศ์วชิรเห็นว่า ต้องแก้ไขเร่งด่วนหากได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี เช่น ปัญหาระบบจัดการน�้ำ ถนน และปัญหาขยะ “เรื่องน�้ำปัจจุบันเราให้ไปทาง อบต. ข้างเคียง บ้าน จัดสรร รวมทั้งคอนโดฯ เชื่อมท่อเมนของเทศบาล ผมเคยเป็น กรรมการจัดสรรที่ดินของจังหวัด พอนั่งประชุมการขออนุญาต น�้ำต้องให้หัวหน้ากองประปาเทศบาลยินยอม ท�ำไมเทศบาล จึงไม่ไปประชุมในคณะกรรมการจัดสรรที่ดินว่าหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดฯ ที่เกิดขึ้นควรมีแหล่งน�้ำส�ำรองของตัวเองในฤดู ร้อน อย่างมีนา - เมษา - พฤษภา ๓ เดือน คุณขายบ้าน คุณ ท�ำธุรกิจ ค่าบ้านอาจจะแพงขึ้นหลังหนึ่ง ๒๐,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ บาท คุณเอาท�ำแท้งค์ส�ำรองน�้ำ ผมพูดอย่างนี้เพราะในฟาร์ม หมูเรามีแหล่งน�้ำส�ำรอง หมูผม ๒๐,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ ตัว กิน ได้ทุกวัน แต่เรามีน�้ำผิวดินที่ขุดไว้ มีแท้งค์น�้ำส�ำรอง ในหมู่บ้าน ร้อยหลังคาเรือนท�ำไมไม่ท�ำแหล่งน�้ำส�ำรอง ท�ำไมเทศบาลไม่ ไปก�ำกับ ท�ำไมเทศบาลไม่ท�ำข้อตกลงว่าในฤดูแล้งผมปิดวาล์ว

นะ หรือแม้ อบต.ข้างเคียงก็เหมือนกัน ให้เขาตั้งงบฯ แล้ว เราเชื่อมต่อให้ หน้าแล้งท�ำไมไม่ไปบอก อบต.ข้างเคียงว่า กุมภา - มีนา - เมษา เราขอปิดน�้ำนะ เพราะเราไม่มีน�้ำ นี่คือ การจัดการเบื้องต้น” เอสย�้ำว่านายกต้องกล้าก�ำหนดนโยบายให้ชัดเจน “ถนนหนทางในเขตเทศบาลถนนควรเทคอนกรีตหรือ ลาดยางทั้งหมด อย่าให้มองว่าเป็นถิ่นกันดาร แต่บางเขต แทนที่จะท�ำผ่านหน้าบ้านชาวบ้าน แต่ไปท�ำหน้าบ้าน สท. ถนนความยาวระดับเดียวกันบอกว่าบ้านชาวบ้านไม่กี่หลังแต่ ไปท�ำหน้าบ้าน สท. หลังเดียว ชาวบ้านล�ำบาก นี่คือสิ่งที่เห็น ได้ชัด นักการเมืองหาประโยชน์ ผู้น�ำต้องลงมานั่งร้านน�้ำชา ให้ชาวบ้านได้ต่อว่าบ้าง” เรื่องไฟฟ้าเอสยอมรับว่าท�ำดีอยู่แล้วถ้าไม่พูดเรื่องผล ประโยชน์ แต่ยังมีถนนที่ไม่มีไฟฟ้าอยู่หลายสาย “เรื่ อ งขยะ เรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มผู ้ น� ำ เทศบาลต้ อ งกล้ า ตัดสินใจแล้วเหมือนกันว่า ขยะจะไม่เอาจากท้องถิ่นอื่นๆ แล้ว ต�ำบลนาเคียน ต�ำบลนาทราย เป็นเพื่อนๆ เราอาจรับ แต่จากพิปูน ขนอม หัวไทร เราไม่เอาได้มั้ย” เทศบาลนครนครฯ รับขยะวันละไม่ต�่ำกว่า ๔๐๐ ตัน “คุ ณ ต้ อ งบอกเขา เวลาประชุ ม กรอ.จั ง หวั ด หรื อ ประชุ ม หัวหน้าส่วนจังหวัดก็บอกว่า พวกท่านต้องหาที่ทิ้งขยะในต่าง อ�ำเภอแล้วนะ เพราะเทศบาลรับไม่ไหวแล้ว อีก ๒ ปีข้างหน้า คุณตั้งงบฯ แก้ปัญหาขยะหรือหาที่ทิ้งของคุณเอง ผมจะพูด อย่างนี้ เพราะว่าเรารับไม่ได้แล้วจริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่” ส่วนโรงพยาบาลเทศบาลเอสบอกว่าอดีตนายกสมนึก เกตุชาติ ดูแลดี แต่ควรลดจ�ำนวนลงเหลือ ๕,๐๐๐ เพราะ คนไข้ไม่ได้มากถึง ๓๐,๐๐๐ “การไปเยี่ยมชาวบ้านต้องมีเหมือนเดิม สมัยท่านนายก สมนึกท�ำไว้ดีอยู่แล้ว ต้องรักษาให้เหมือนเดิม ความจริงมันมี งบอยู่ตัวหนึ่ง คืองบ สป.สช. ๖-๗ ล้าน เทศบาลไม่ยอมเอา มาใช้ประโยชน์” บริการส�ำคัญที่เอสอยากท�ำให้เป็นจริง “ผมอยาก community center หรือศูนย์ธุรกิจชุมชน แต่ต้องเป็นที่หลวง ที่เทศบาลหรือชาวบ้านยกให้ตั้งที่ท�ำการ เช่น ซอยนาวัดที่ท�ำการชุมชนที่ชาวบ้านซื้อใช้เป็นส่วนกลาง เทศบาลช่วยงบประมาณได้มั้ย เราท�ำห้องคอมพิวเตอร์ ช่วง อยู่อเมริกาเวลาว่างๆ ผมจะไปใช้ห้องคอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์ ผม ไปใช้เครื่องคอมฯ ฟรีอย่างซีแอลพี แต่เราย่อยมาลงในชุมชน เพราะเด็กวัย ๑๒ - ๑๔ ติดเกมมาก ถ้ามีศูนย์ในชุมชนพ่อ แม่ตามหาลูกได้ หรือมาอยู่กับลูกได้ มี ๕ - ๖ ที่เป็นที่หลวง อย่างบุญพาสันติ นาวัด ทวดทอง บขส. มีที่ทวดทองมีความ พร้อมมาก หลักๆ ที่ต้องนั่งคิดนั่งคุยกับชาวบ้านให้ได้” ปัญหาการบริการบนเทศบาลควรปรับปรุง มีพนักงาน คอยสอบถามว่ า มาท� ำ อะไร ควรขยายพื้ น ที่ ใ ห้ ก ว้ า งขวาง ส�ำหรับผู้มารอติดต่อ และติดเครื่องปรับอากาศ “ควรเอางบ สป.สช.มาใช้ประโยชน์ เช่น จัดเก้าอี้เอนให้นั่งรอ เรื่องนี้ต้อง ปรับปรุง” เอสมีแผนการสร้างรายได้ให้ชุมชน เช่น งานเทศกาล เดือนสิบจะเปิดบูธให้ชาวบ้านขายของฟรี โดยสนับสนุนเรื่อง สันทนาการ ค่าเต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้เราหาให้ เรื่องนี้ก็ต้องคุยกัน ว่ารูปแบบจะเป็นอย่างไร ไวนิลเวอร์ชั่นอื่นๆ จะค่อยๆ ทยอยออกมา ๒ เดือน ครั้ง หลังจาก ‘มีความพร้อม’ ต่อไปก็เป็น ‘มีความรู้’ - ‘มี ประสบการณ์’ - ‘มีอุดมการณ์’ และ ‘พอเพียง’ แม้จะมีทีมงานพร้อม แต่วงศ์วชิร โอวรารินทร์ ก็อยาก เชิญชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความพร้อมมาท�ำงานการเมือง โดย เอาประโยชน์ชาวบ้านเป็นตัวตั้ง อยากให้เข้ามาท�ำการเมือง เพื่อสังคม เอสเปิดเผยว่าขณะนี้มีนักการเมืองอาวุโสท่านหนึ่ง สนใจแนวทางของเขาและพร้อมสนับสนุน


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

นเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๔ ราคา ยางพาราไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ด้วยราคา ๑๗๔.๔๔ บาทต่อกิโลกรัม จนถึง ปัจจุบันราคาลดลงเหลือ ๕๐ กว่าบาทต�่ำ กว่าต้นทุนการผลิตที่ระดับ ๖๔.๙๐ บาท ต่ อ กิ โ ลกรั ม จึ ง เป็ น ค� ำ ถามของชาวสวน ยาง ท�ำไมราคายางพาราจึงตกต�่ำ? จะ มีใครเข้ามาช่วยเหลือชาวสวนยางได้หรือ ไม่? รัฐบาลใหม่โดย คสช. จะแก้ปัญหานี้ อย่างไร? ทุกฝ่ายก็พยายามร่วมกันค้นหา ทางออกจากปัญหาราคายางพาราตกต�่ำ ผมมีค�ำถามที่จะน�ำเสนอ ๑. สาเหตุที่ราคายางตกต�่ำ เกิดความ ต้องการยางในตลาดโลกมีแนวโน้มเติบโต ไม่ถึง ๒% ในขณะที่ผลผลิตยางขยายตัว เฉลี่ย ๕.๑% พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ กลุ่ม ประเทศผู้บริโภคยางมีแนวโน้มคงที่และ เพิ่มขึ้นไม่มากตามภาวะเศรษฐกิจของเขา แต่ พื้ น ที่ ก ารปลู ก ยางได้ ข ยายตั ว เพิ่ ม ขึ้ น อย่างมากหลังจาก ๑๐ ปีที่ผ่านมา ผลผลิต เริ่ ม ออกมามากขึ้ น จนล้ น ตลาด นี่ เ ป็ น ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุม ไม่ได้ ๒. แนวโน้มราคายางพาราในอนาคต มีทิศทางอย่างไร? ราคายางพาราจะกลับ มาสูงถึงระดับ ๑๐๐ บาทในอีก ๒-๓ ปี ข้างหน้า คงเป็นไปได้ยาก เพราะปริมาณ ผลผลิ ต ยั ง มี ม ากกว่ า ความต้ อ งการใช้ ประกอบกั บ แนวโน้ ม เศรษฐกิ จ โลกโดย เฉพาะประเทศผู ้ บ ริ โ ภครายใหญ่ อ ย่ า ง ยุโรป อเมริกา จะอยู่ในสภาพซึมยาว ๒-๓ ปี ต่อไป ซึ่งมีปัจจัยจากหลายสาเหตุ แต่ หลักก็คือ ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศ เหล่านี้ แรงเฉื่อยการบริโภคของประชาชน

ในกลุ่มประเทศ G3 อย่างเช่นการเพิ่มขึ้น ของประชากรผู้สูงอายุที่มากขึ้น กลุ่มนี้จะ บริโภคลดลง ความอิ่มตัวของการบริโภค เทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตไม่เหมือน ๑๐ ปีที่ผ่านมา มาถึงช่วงของการผ่อนคันเร่ง เพราะวิ่งมาเร็วเกินไป อาจรวมถึงปัจจัย ทางการเมือง ความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ใน หลายพื้นที่ ท�ำให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อย่างยุโรป อเมริกา ต้องทุ่มงบประมาณ การเข้าไปปราบปรามการก่อการร้ายทั่ว โลก เมื่อมาฟังความเห็นของคุณชโย ตรังอดิ ศั ย กุ ล เลขาธิ ก ารกลุ ่ ม อุ ต สาหกรรม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าง สภาอุ ต สาหกรรมแห่ ง ประเทศไทย (สอท.) “ขณะนี้ความต้องการ ยางตลาดโลกมี ๑๒ ล้านตันต่อปี ปริมาณ การผลิ ต ก็ อ ยู ่ ที่ ๑๒ ล้ า นตั น ต่ อ ปี ซึ่ ง ใน ฐานะที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับ ๑ ของโลก แต่ในอนาคตอีก ๕ ปีข้างหน้ามี ความเสี่ ย งที่ ร าคายางพาราตลาดโลกจะ ตกต�่ำต่อเนื่องจากไทยจะเพิ่มผลผลิตจาก ๔ ล้านตันต่อปีเป็น ๕ ล้านตันต่อปี และ อินโดนีเซียก็ก�ำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง

เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ วันพุธที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันพระขึ้น ๘ ค�่ำ เดือน ๑๑ วันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันพระขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันพระแรม ๘ ค�่ำ เดือน ๑๑ วันพุธที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันพระแรม ๑๔ ค�่ำ เดือน ๑๑ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ วันพระขึ้น ๘ ค�่ำ เดือน ๑๒

ประสิทธิภาพการผลิต คาดว่าจะมีปริมาณ เพิ่มจาก ๓ ล้านตันเป็น ๖ ล้านตันต่อปี รวมทั้งยังมียางพาราจากประเทศอื่นๆ ที่ ได้ เ พิ่ ม ก� ำ ลั ง การผลิ ต จะท� ำ ให้ ป ริ ม าณ ผลผลิตเกินความต้องการของตลาดอยู่มาก และจะฉุดให้ราคายางพาราต�่ำกว่าราคา ในปัจจุบันที่ ๕๐ บาทต่อกิโลกรัม” เป็น ไงครับพอเห็นภาพความยุ่งยากในอนาคต แล้วใช่มั้ยครับว่าชาวสวนยางพาราไทยอยู่ ในจุดเปลี่ยนหรืออย่างไร? ๓. ประเทศไทยผลิตยางส่งออกขาย มากกว่ า ๘๕% เมื่ อ ตลาดรั บ ซื้ อ ไม่ ต อบ สนองต่อผลผลิตจะท�ำอย่างไร? จากข้อมูล ล่าสุดไทยผลิตยางได้ ๔ ล้านตัน น�ำไปแปร รูปเพียง ๑๓% ที่เหลือส่งออกในรูปวัตถุดิบ ซึ่งท�ำให้เราสูญเสียโอกาสการสร้างมูลค่า เพิ่ม คือ เราส่งออกสินค้ายางขั้นต้นมาก เกินไปท�ำให้ต้องพึ่งพาความต้องการใช้ยาง จากตลาดโลก เมื่อโจทย์เป็นแบบนี้ก็มีการ เสนอทางแก้ที่พอเห็นช่องทางบ้างก็คือ ๓.๑ เพิ่มความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศแทนการส่งออกสนับสนุน

หน้า ๗

ให้ เ กิ ด อุ ต สาหกรรมผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าง เช่ น ล้อยาง ถนนลาดยาง พื้นสนามกีฬา อื่นๆ ๓.๒ ส่งเสริมการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่า ยางพารา ๓.๓ มีการบริหารจัดการพื้นที่ปลูก ยางพาราให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ๔. การช่ ว ยเหลื อ ชาวสวนยางราย ย่ อ ยจะท� ำ อย่ า งไร? จะมี แ ผนระยะสั้ น เฉพาะหน้ า -ระยะกลางอย่ า งไร?- ระยะ ยาวอย่างไร? ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และ ที่ส�ำคัญแล้วใครจะเป็นเจ้าภาพในการแก้ ปัญหาความเดือดร้อนของชาวสวนยางราย ย่อย นี่คือค�ำถามใหญ่ การช่วยเหลือเพื่อ แก้ไขความเดือดร้อนด้วยการจ่ายเงินให้ไร่ ละ ๒,๕๒๐ บาทนั้นก็แค่ผ่อนคลายความ กดดันของชาวสวนยาง ส่วนการที่นายก รั ฐ มนตรี เ ห็ น ชอบ ๔ แนวทางแก้ ป ั ญ หา ยางพารา ก็ ต ้ อ งดู กั น ต่ อ ไปว่ า ผลจะเป็ น อย่างไร? ถ้ า เรายอมรั บ ความจริ ง ว่ า บนวิ ถี ของการพึ่ ง พาการส่ ง ออกดั ง อดี ต ย่ อ ม ไม่เป็นผลดีทั้งในวันนี้ และอนาคต แต่ ก็ อ าจจะมี ค นเห็ น แย้ ง ก็ เ ป็ น ได้ แ ล้ ว ถ้ า หากเศรษฐกิจโลกเติบโตขึ้นความต้องการ ยางพารามี โ อกาสจะได้ ร าคาสู ง ตามมา ดังเช่นในอดีต เราไม่เสียโอกาสไปหรือ? ค�ำถามที่ส�ำคัญก็คือ แล้วเมื่อไร? ใครตอบ ได้? ถ้าอย่างนั้นเรามาเริ่มปรับเปลี่ยนด้วย การเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ของแต่ละคน-การ หารายได้ เ สริ ม -การหาช่ อ งทางอื่ น ๆ มา ทดแทนรายได้ที่หายไป เกือบครึ่งหนึ่งของ ที่เคยได้ รายย่อยที่เคยจ้างคนตัดก็มาตัด เอง ไม่ต้องแบ่งท�ำได้มั้ย และเปิดพื้นที่การ เรียนรู้ใหม่ๆ ในการปรับตัว แทนที่จะมา นั่งรอคอยความช่วยเหลือซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะได้ หรือไม่ได้ กลับมาลงมือท�ำด้วยตัวเอง ใช้ วิ ก ฤติ ค รั้ ง นี้ เ ป็ น โอกาสในการหาหนทาง ใหม่ๆ ดีกว่ามั้ย? ไพโรจน์ เพชรคง ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗


หน้า ๘

เรือ่ งจากปก

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

<< ต่อจากหน้า ๑

นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ กล่าวถึงรายละเอียดว่า โครงการนี้มุ่งพัฒนาจิตอาสาและส่งเสริมพลเมือง เพื่อการเผยแพร่ประชาธิปไตยของกกต.จังหวัด ใน ฐานะที่ตนเป็นกรรมการคนหนึ่ง ซึ่งเป็นโครงการ เชิ ง รุ ก โดยเตรี ย มโครงสร้ า งพื้ น ฐานการจั ด การ เลือกตั้ง มุ่งสร้างพลเมืองอาสาประจ�ำหมู่บ้าน หรือ แกนน�ำ กกต. หมู่บ้านละ ๑๐ - ๑๕ คน เพื่อรณรงค์ ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องสิทธิในการเลือกตั้ง ขณะเดี ย วกั น ก็ เ ร่ ง ขั บ เคลื่ อ นประชาชนในจั ง หวั ด นครศรีธรรมราชให้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการเลือก ตั้งให้มีความยุติธรรม เที่ยงธรรม โปร่งใสและสุจริต โดยจัดท�ำเป็นโครงการต่อเนื่อง ๔ ปี ใช้งบประมาณ ๗,๒๕๖,๐๐๐ บาท ลักษณะโครงการมี ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. คัดเลือกอาสาสมัครหมู่บ้านๆ ละ ๑๐ - ๑๕ คน รวบรวมให้ได้ ๑๐ หมู่บ้าน หรือประมาณ ๑๐๐ - ๑๕๐ คน เข้าอบรมและฝึกปฏิบัติในพื้นที่ต�ำบล นั้นๆ เดือนละ ๑ รุ่นๆ ละ ๑ ต�ำบล ๒. จัดการอบรม โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ๓. ประสานความร่วมมือ ในการคัดเลือกพลเมืองหรือเยาวชนเข้าอบรมร่วม กับหน่วยงานต่างๆ เช่นสถาบันหรือองค์กรเอกชน ๔. ฝ่ายต่างๆ ของส�ำนักงาน กกต. จังหวัดเข้าร่วม คัดเลือกบุคคลที่ผ่านการอบรมเพื่อน�ำลงไปปฏิบัติ

เกี่ยวกับการเลือกตั้งทุกระดับทุกฝ่ายงานตามความ เหมาะสม และ ๕. การประเมินผลโครงการโดยใช้ รู ป แบบการวิ จั ย ปี ล ะครั้ ง หรื อ พลเมื อ งจิ ต อาสาที่ ปฏิบัติงานแล้วระยะหนึ่งตามความเหมาะสม นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ เปิดเผยว่า “แนวความ คิดนี้ผมเสนอตอนแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาคัดเลือกบุคคลเป็น กกต.จังหวัด จุดประสงค์ เพื่อให้มีก�ำลังคน เราต้องแสวงหาความร่วมมือจาก บุคคลอื่นๆ ที่มีจิตอาสามาเป็นผู้ช่วยในการจัดการ เลือกตั้งทุกระดับ กกต. จังหวัดเป็นแค่องค์กรจัดการ แต่ไม่มีองค์กรปฏิบัติการเพราะไม่มีก�ำลังคน คนที่ได้ มาก็ท�ำเป็นครั้งคราว ผมเสนอโครงการนี้ในยุคปฏิรูป ประเทศไทย การด�ำเนินการต้องสร้างคนสร้างอาสา สมัครมารองรับเพราะวันนี้มาพูดกันเรื่องซื้อเสียงขาย เสียงซึ่งมันเป็นแค่ปลายเหตุ วันนี้เราต้องสร้างกอง ก�ำลังอาสาที่มีส�ำนึกเที่ยงธรรม และสุจริตไปผลักดัน ในชุมชนลดการซื้อขายเสียง โดยเราใช้งบฯของ กกต. จั ด ท� ำ โครงการในช่ ว งที่ ยั ง ไม่ มี ก ารจั ด การเลื อ กตั้ ง

ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว” นายสวัสดิ์ เปิดเผยต่อไปว่า ต่อจากนี้ไปเจรจา กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผ่านท้องถิ่น จังหวัด โดย กกต.จังหวัดจะเชิญ อปท. มาร่วมโดย ใช้รูปแบบของจังหวัดราชบุรีในการพัฒนาคน ซึ่ง เขาเดินหน้าไปไกลแล้ว ทุก อบต. ได้งบฯ ไปกว่า ๒๐ ล้ า นบาทในการพั ฒ นาคน ผมจะผลั ก ดั น ให้ โครงการนี้เป็นโครงการต้นแบบน�ำร่องในอนาคต ซึ่ง วันที่ ๑๖-๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ จะมีการประชุม กกต. ทั่วประเทศที่จังหวัดชลบุรีผมจะน�ำเสนอโครงการนี้ ต่อที่ประชุมใหญ่ด้วย” หมายเหตุ : คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�ำ จังหวัดนครศรีธรรมราชชุดใหม่ ด�ำรงต�ำแหน่งเมื่อ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ประกอบด้วย นายธงชัย วรรธนะพิศิษฐ์ เป็นประธานฯ นายมานพ บุญประเสริฐ, นายวินัย ทิพย์สุวรรณ, นายศุภชัย สกุลแก้ว และนายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ ปฏิบัติหน้าที่สมัยละ ๔ ปี

รายงาน ‘อารยธรรมแห่ ง สายน�้ ำ เอกลั ก ษณ์ ง ามเมื อ ง ปากพนัง’ ระหว่างวันที่ ๗- ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ ริมเขื่อนแม่น�้ำปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นประเพณีจัดสืบทอดกันมานานในช่วง

เทศกาลออกพรรษา ปีนี้ จะจัด เป็น ครั้ งที่ ๓๑ โดย มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ส่ ง เสริ ม และอนุ รั ก ษ์ ข นบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และส่งเสริมการ ท่องเที่ยวของ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งงานประเพณี

ลากพระและแข่งขันเรือเพรียวของ อ.ปากพนัง เป็น เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมประจ� ำ ถิ่ น ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ทั้ ง ในด้ า นระยะเวลาที่ สื บ ทอดมายาวนาน เทศบาล เมื อ งปากพนั ง ได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันเรือ เพรียว ทั้ง ๓ รุ่น คือ รุ่นเล็ก รุ่นกลาง และรุ่นใหญ่ ซึ่งมีเรือสมัครแข่งหลายสิบล�ำ จึงขอเชิญชาวนคร และชาวจังหวัดใกล้เคียงเดินทางไปชมการแข่งเรือ เพรียวที่ตื่นเต้นสนุกสนาน ท่องเที่ยวปากพนังชม บ้านนกแอ่น รับประทานรังนกปรุงสด และอาหาร ทะเลอร่อยๆ ชื่นชมความสวยงามของ ‘บ้านพ่อ’ ที่ ชาวปากพนังพร้อมใจสร้างถวาย


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์

อกเหนื อ จากวิ ห ารหลวงและวิ ห าร ธรรมศาลา ซึ่ ง ได้ น� ำ เสนอไปใน ฉบั บ ก่ อ นหน้ า นี้ แ ล้ ว ในวั ด พระมหาธาตุ วรมหาวิหาร (หรือวัดพระธาตุ) ยังมีวิหาร ขนาดใหญ่ อ ยู ่ อี ก หลั ง หนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น วิ ห าร ที่ ค ่ อ นข้ า งแปลก และมี คุ ณ ค่ า ทั้ ง ทาง ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละทางมรดกวั ฒ นธรรม วิหารนี้ก็คือ “วิหารเขียน” “วิ ห ารเขี ย น” เป็ น วิ ห ารเก่ า แก่ ที่ สร้างคู่กับพระบรมธาตุเจดีย์ แต่เดิมเป็น วิ ห ารโล่ ง ไม่ มี ผ นั ง อยู ่ ท างทิ ศ เหนื อ ของ พระบรมธาตุ เ จดี ย ์ ตรงกั บ บั น ไดทางขึ้ น องค์พระบรมธาตุเจดีย์ สมัยแรกมีความยาว ๕ ห้ อ งเสา (ช่ ว งเสา) มี ห ลั ง คาคลุ ม ทอด เดียว (ไม่มีมุขลดเช่นปัจจุบัน) ใช้เป็นสถาน ที่ ป ระกอบพิ ธี ก รรมทางพุ ท ธศาสนา ต่ อ มาใน พ.ศ. ๑๙๑๙ (หลังจากสร้างพระบรม ธาตุ เ จดี ย ์ แ ล้ ว ๒๐๐ ปี ) หลวงศรี ว รวงศ์

พระพุ ท ธรู ป ทั้ ง สองสร้ า งโดยเจ้ า พระยา นครศรีธรรมราช (น้อย) พระประธานองค์ นี้ ล งรั ก ปิ ด ทองเฉพาะพระวรกาย ส่ ว น จีวรทาสีชาด (สีแดง) นอกจากนี้พระเกศ มาลาที่อยู่บนอุษณีษะเหนือเศียรขึ้นไป มี ลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปอื่นๆ ใน วัด สิ่งนี้สะท้อนถึงอิทธิพลของศิลปกรรม ด้านพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลจากลังกา นอกจากนี้ในวิหารยังมีพระพุทธรูปยืนอีก สององค์ (ตรงข้ามพระประธาน) องค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) เป็นผู้สร้างถวายเป็นพุทธ บูชา และอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน ทองค�ำ (มักเรียกว่า “พระลากทองค�ำ”) หลวงพรหมเสนาเป็นผู้สร้างถวายเป็นพุทธบูชาเช่นกัน โดยเหตุ ที่ วั ด พระมหาธาตุ ว รมหาวิหารเป็นศูนย์กลางศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีพุทธศาสนิกชน ทั่วทั้งภาคใต้นิยมน�ำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่ ง ของมี ค ่ า และสิ่ ง ของหายาก มาถวาย

เครดิตภาพ : www.culture.go.th/culturemap

ซึ่ ง เป็ น ข้ า ราชการจากกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาที่ ม า ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เจ้ า เมื อ งนครศรี ธ รรมราช (ภายหลั ง นครศรี ธ รรมราชรวมอยู ่ ใ นราช อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาแล้ว) ได้มาบูรณะ โดยการท� ำ ผนั ง ก่ อ อิ ฐ ถื อ ปู น ไว้ ร อบทั้ ง สี่ ด้ า น ภายในวิ ห ารได้ ฉ าบปู น และเขี ย น ภาพจิ ต รกรรมไว้ ที่ ผ นั ง และเสา จึ ง ให้ ชื่ อ ว่า “วิหารเขียน” เมื่อเข้าไปในวิหารเขียน จะเห็นพระ ประธานปู น ปั ้ น ปางมารวิ ชั ย แบบอู ่ ท อง สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อปีใดไม่ทราบแน่ชัด หน้า พระประธานองค์ นี้ มี พ ระพุ ท ธรู ป ยื น ทรง เครื่องปางห้ามญาติสององค์ ท�ำด้วยทองค�ำ เนื้อหก (มักเรียกกันว่า “ทองลู ก บวบ”)

เพื่ อ เป็ น “พุ ท ธบู ช า” เมื่ อ รวมกั น จึ ง มี เป็นจ�ำนวนมาก พระรัตนธัชมุนี (รตนธัช เถร-ม่วง-เปรียญ) หรือที่คนในสมัยนั้นเรียก ติดปากว่า “เจ้าคุณท่าโพธิ์” ในฐานะเจ้า คณะมณฑลนครศรีธรรมราช และผู้อ�ำนวย การจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้ด�ำเนินการจัด ตั้ ง “พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ” ของวั ด พระมหาธาตุ วรมหาวิหาร โดยน�ำศิลปวัตถุดังกล่าวมา จัดหมวดหมู่ เพื่อน�ำออกแสดงโดยใช้วิหาร เขียนเป็นสถานที่จัดแสดง ขณะเดียวกันก็ ประกาศเชิญชวนประชาชนที่มีของเก่าและ มีความประสงค์จะถวายเป็นพุทธบูชา น�ำ สิ่งของโบราณไปถวาย โดยมีคณะกรรมการ

นครศรีธรรมราช

ลงบั ญ ชี รั บ ไว้ เ ป็ น หลั ก ฐาน ผลจากการ นี้ ท� ำ ให้ ค ณะกรรมการสามารถรวบรวม พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ถ้วยชาม เครื่องลายคราม เครื่องประดับเช่น สร้อย คอ สร้อยข้อมือ เข็มขัด ก�ำไล ปิ่นปักผม ต่างหู และกระจับปิ้ง ได้เป็นจ�ำนวนมาก รวมมูลค่าตามราคาทองค�ำและเงิน ในสมัย นั้นเป็นเงินหลายแสนบาท ความส�ำเร็จของ การรวบรวมศิลปวัตถุครั้งนั้นถือเป็นผลงาน เด่ น อี ก งานหนึ่ ง ของท่ า นเจ้ า คุ ณ ท่ า โพธิ์ โดยแท้ ภายหลั ง ท่ า นเจ้ า คุ ณ ท่ า โพธิ์ สิ้ น บุ ญ แล้ว เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุฯ รูปต่อ มา คื อ พระรั ต นธั ช มุ นี (คณฺ ฐ าภรณเถรแบน-เปรี ย ญ) ก็ ไ ด้ ด� ำ เนิ น การรวบรวม ศิ ล ปะโบราณวั ต ถุ สื บ ต่ อ มา โดยใช้ วิ ห าร เขี ย นเป็ น สถานที่ จั ด แสดง ผลจากการ รวบรวมและจัดแสดงนี่เอง กรมศิลปากร จึงได้ประกาศรับพิพิธภัณฑ์วิหารเขียน ให้ เป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราช มีชื่อว่า “ศรี ธ รรมราช พิพิธภัณฑ์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้มีการ จั ด ตู ้ แ สดงศิ ล ปะโบราณวั ต ถุ ขึ้ น ด้ ว ยงบ ประมาณของกรมศิลปากรส่วนหนึ่ง และ เงินท�ำบุญของพุทธศาสนิกชนอีกส่วนหนึ่ง โดยเหตุ ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ นวิ ห ารเขี ย นได้ รั บ ความสนใจเพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับมีผู้มี จิตศรัทธาทั้งจากจังหวัดภาคใต้ และจาก รัฐ ตอนเหนือของประเทศมาเลเซี ย (เช่ น เคดาห์ กลันตัน และปะลิส) เป็นเหตุให้ต้อง จัดการขยายพิพิธภัณฑ์ออกไปยังวิหารโพธิ์ ลังกาในเวลาต่อมาด้วย ศิลปะโบราณวัตถุชิ้นส�ำคัญในวิหาร เขียน ที่นักโบราณคดีมักกล่าวถึง โดยเฉพาะ เมื่ อ กล่ า วถึ ง เรื่ อ งร่ อ งรอยการตั้ ง ถิ่ น ฐาน ของพราหมณ์ในภาคใต้ก็คือ “เทวรูปพระ นารายณ์ ” เป็ น เทวรู ป พระวิ ษ ณุ ก� ำ หนด อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ พบที่บริเวณ ใกล้วัดพระเพรง อ�ำเภอพระพรหม จังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่งถือเป็นเทวรูปรุ่นเก่าแก่ ที่สุดในประเทศไทย เข้าใจว่าพวกพราหมณ์

หน้า ๙

น�ำมาจากอินเดียตอนใต้ รูปลักษณะเป็น เทวรูปที่มีพระหัตถ์ขวาทรงถือดอกบัวตูม พระหัตถ์ซ้ายทรงถือสังข์อยู่ข้างพระโสณี (สะโพก) ส่วนพระหัตถ์หลังหักหายไปทั้ง สองข้าง บนพระเศียรมี “กิรีฏมกุฏ” (หมวก ทรงกระบอก) ภูษาเป็นผ้านุ่งโจงยาว มีผ้า คาดพระโสณีซึ่งห้อยอยู่ด้านหน้าพระเพลา เป็นรูปครึ่งวงกลม ทิ้งชายลงมาทั้งสองข้าง นอกเหนือจากศิลปะโบราณวัตถุและ พระพุทธรูปองค์ส�ำคัญที่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและขุนนางในอดีตสร้างถวายเป็น พุทธบูชาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นงานชิ้น เอกในพิพิธภัณฑ์วิหารเขียนก็คือ “ดอกไม้ เงิน ดอกไม้ทอง” และ “ต้นไม้เงินและ ต้นไม้ทอง” ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า “เครื่องบูชา พระธาตุ” ดอกไม้และต้นไม้บูชาพระธาตุ เหล่านี้มีจ�ำนวนหลายพันชิ้น ล้วนเก็บรักษา และจัดแสดงในวิหารเขียน ท�ำจากทองค�ำ ก็มี ท�ำจากเงินแท้ก็มี ท�ำด้วยกระดาษสีเงิน สีทองก็มี หรือท�ำด้วยวัสดุอื่นแล้วย้อมหรือ ทาด้วยสีเงินสีทองก็มี คติการท�ำเครื่องบูชา เหล่านี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า การได้สักการ บู ช าพระบรมสารี ริ ก ธาตุ เ ป็ น สิ ริ ม งคลแก่ ตนเองและครอบครั ว อย่ า งหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ โดยเฉพาะการบูชาด้วยดอกไม้และต้นไม้ ซึ่ ง ท� ำ ด้ ว ยทองหรื อ เงิ น ถื อ เป็ น นิ มิ ต แห่ ง ความเจริญงอกงาม ก่อให้เกิดความสดชื่น เบิ ก บานแก่ ชี วิ ต จิ ต ใจและได้ บุ ญ กุ ศ ลอั น สู ง ส่ ง ผลบุ ญ จากการบู ช าพระธาตุ จ ะดล บั น ดาลให้ ต นเองไปถึ ง ชาติ แ ละภพใหม่ ที่ ดีกว่า และเป็นปัจจัยให้ได้เกิดในยุคพระศรี อ าริ ย เมตไตรย หรื อ เป็ น ปั จ จั ย ให้ ถึ ง ซึ่ ง พระนิ พ พาน ดั ง ความภาษาบาลี ที่ ว ่ า นิพพาน ปัจจโย โหตุ เครื่ อ งบู ช าพระธาตุ ห รื อ เครื่ อ งพุ ท ธ บู ช าอั น มากมายในวิ ห ารเขี ย น จึ ง เป็ น สิ่ ง บ่งบอกความศรัทธา ปสาทะของชาวพุทธ ในภาคใต้อันเหนียวแน่นและลุ่มลึก ที่มีต่อ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชอย่าง แท้จริง และยากที่จะหาปูชนียสถานแห่งใด ในประเทศนี้เสมอเหมือน


หน้า ๑๐

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

เสนอโดย ส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ตอนที่ ๒) และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนวคิดในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สภาพภูมิศาสตร์ เมื อ งนครศรี ธ รรมราชเป็ น เมื อ งหนึ่ ง ซึ่ ง มี ที่ ตั้ ง เริ่ ม แรกอยู ่ ริ ม ทะเลชายฝั่งตะวันออกของแหลม มาลายู มี ลั กษณะทางภู มิ ศ าสตร์ ที่ ตั้ ง อยู ่ บ นแนวสั น ทรายที่ เ กิ ด จากการทั บ ถมของตะกอนทราย และการกระท� ำ ของน�้ ำ ทะเลเป็ น ระยะเวลายาวนาน แนวสันทราย ที่ ท อดตั ว เป็ น แนวยาวจากเหนื อ ถึ ง ใต้ มี ค วามยาวประมาณ ๑๐ กิ โ ลเมตร มี ค วามกว้ า งจากแนว ตะวั น ออกถึ ง แนวตะวั น ตกประมาณ ๑ - ๑.๕ กิโลเมตร เป็นที่ ดอน น�้ ำ ไม่ ท ่ ว ม พื้ น ที่ ร อบนอก ตั ว เมื อ งด้ า นตะวั น ออกและด้ า น ตะวั น ตกมี ส ภาพเป็ น ที่ ลุ ่ ม มี น�้ ำ ท่ ว มถึ ง ลั ก ษณะของพื้ น ที่ มี ก าร ลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านตะวันออก และมี ล� ำ น�้ ำ ต่ า งๆ ที่ ไ หลผ่ า นตั ว เมืองจากด้านตะวันตกไปยังด้าน ตะวันออก ได้แก่คลองท่าวัง คลอง นครน้อย (คลองหน้าเมือง) คลอง ป่าเหล้า คลองคูพาย (ภาพที่ ๑)

องฉบับก่อนผมพาท่านไปเที่ยว เมื อ งมรดกโลกลี่ เ จี ย งของจี น และเมืองหลวงพระบางของลาว วัน นี้ผมจะน�ำกลับไปเที่ยวประเทศจีน อี ก ครั้ ง ประเทศนี้ เ ขามี เ มื อ งหรื อ แหล่งมรดกโลกมากมาย คงจะเขียน ถึ ง กั น อี ก หลายเมื อ ง เรามาดู แ ละ รู้จักกับเมืองมรดกโลกของเขา เพื่อ ศึกษาข้อดีข้อเสีย จะได้ป้องกันหรือ ส่งเสริมของเราให้ดยี งิ่ ขึน้ ช่ ว งที่ ผ มไปเที่ ย วเมื อ งลี่ เ จี ย ง ก็ได้เที่ยวเมืองมรดกโลกถึงสามแห่ง

ภาพที่ ๑ แสดงสภาพภูมิศาสตร์ ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช

ผังเมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช มีรูปแบบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้าง ประมาณ ๔๕๐.๐๐ เมตร ความ ยาวประมาณ ๒๒๓๘.๐๐ เมตร มี เ นื้ อ ที่ ป ระมาณ ๖๓๘.๐๐ ไร่ เมื อ งมี ลั ก ษณะแคบยาวที่ เ ป็ น เอกลักษณ์ เนื่องจากเมืองนครศรีธรรมราชตั้ ง อยู ่ บ นสั น ทรายและ ระนาบด้วยที่ลุ่มทั้งสองข้าง จากผั ง เมื อ งที่ มี รู ป ร่ า งสี่ เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาวนี้ พบว่าใน อดีตได้แบ่งย่านออกเป็น ๓ ส่วน คื อ ส่ ว นเหนื อ หรื อ ส่ ว นหน้ า เมื อ ง เรี ย กว่ า ต� ำ บลประตู ชั ย เหนื อ

ป่ า หิ น ซึ่ ง เป็ น มรดกโลกอยู ่ ใ นเมื อ ง คุนหมิง ไม่ห่างไกลจากประเทศไทย เท่ า ใดนั ก อุ ท ยานป่ า หิ น นี้ มี พื้ น ที่ กว้ า งใหญ่ ป ระมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ สถานที่นี้เดิมเคยเป็นมหาสมุทรมา ก่อน ก้นทะเลลึก มีภเู ขาใต้ทะเลเป็น ชั้นหินปูน เมื่อเกิดมีการแปรเปลี่ยน ของพื้ น ผิ ว โลก น�้ ำ ทะเลแห้ ง เหื อ ด หายไป จึงกลายเป็นอุทยานที่มีแต่ ภูเขาหินสุดสายตา ซึ่งคงต้องใช้เวลา ยาวนานนับร้อยปีขึ้นไป ธรรมชาติ ของป่าหินมีทั้งสวยงามและรูปร่าง

และส่ ว นใต้ ข องเมื อ งเป็ น ศาสนสถานที่ ส� ำ คั ญ โดยส่ ว นกลาง ของเมื อ งปั จ จุ บั น เป็ น ศาลากลาง จั ง หวั ด และในอดี ต เคยเป็ น จวน เจ้ า เมื อ งเก่ า โดยมี แ กนเมื อ งคื อ ถนนราชด� ำ เนิ น เป็ น ตั ว เชื่ อ มทุ ก ส่วนเข้าด้วยกัน จากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่ ว น โดยมี ถ นนราชด� ำ เนิ น เป็ น แกนกลางของเมืองและเชื่อมส่วน ต่างๆ ของเมืองนั้น จะเน้นความ ส�ำคัญไปที่พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่ง จะเห็ น ได้ ว ่ า ถนนราชด� ำ เนิ น เป็ น แกนกลางของเมื อ งจะพุ ่ ง จากทิ ศ

เหนือเข้าโอบล้อมวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารซึ่ งตั้งอยู ่ด้านใต้ของ เมือง โดยมีศาสนสถานในศาสนา พราหมณ์เป็นองค์ประกอบส�ำคัญ เช่ น ด้ า นเหนื อ มี ห อพระอิ ศ วร และหอพระนารายณ์ ด้านใต้มีศาล พระเสื้ อ เมื อ ง ส่ ว นกลางเมื อ งซึ่ ง เป็ น ที่ ตั้ ง ของหอพระสิ หิ ง ค์ และ เป็นที่ตั้งของจวนเจ้าเมืองเก่ามา ก่ อ นนั้ น แม้ ต� ำ แหน่ ง จะอยู ่ ใ น สถานที่ ส� ำ คั ญ แต่ อ งค์ ป ระกอบ อื่ น ๆ ของเมื อ งก็ มิ ไ ด้ ส ่ ง เสริ ม ให้ เป็ น องค์ ป ระกอบประธานแต่ อย่างใด (แผนที่ ๑)

ใช้ความเด็ดขาดกับพวกเห็นแก่ตัว มี ตั้งแต่รื้อถอนโรงแรมที่ไปบดบังภูมิ ทัศน์ออกไปหลายโรง รื้อถอนร้านค้า บ้านเรือน จ�ำนวนมาก ให้ย้ายออก ไปนอกเขตแหล่งท่องเที่ยว จัดเป็น แหล่งอยู่อาศัย เหลือไว้แต่บ้านเรือน รุ ่ น เก่ า สภาพท้ อ งถิ่ น เดิ ม จั ด แหล่ ง ร้านค้าไว้ในต�ำแหน่งที่ผู้คนผ่าน จัด รถโดยสารเป็นระเบียบทั้งรถทั้งคน เป็นมาตรฐานเมืองท่องเทีย่ ว ห้องน�ำ้ ทันสมัยและเพียงพอ อยู่ในมุมที่ไม่ ท�ำลายธรรมชาติ จนบางที่ท�ำซ่อน ไว้ ใ ต้ ดิ น แต่ ส ะอาดปลอดภั ย และ ทันสมัยมาก จัดแหล่งท่องเที่ยวน� ำ ปศุ สั ต ว์ ที่ ช าวบ้ า นมาเลี้ ย งไว้ ใ นป่ า หินไปอยู่ที่จัดขึ้นเฉพาะให้ปลอดภัย กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว น�้ ำ ท่ า หญ้ า ฟาง อุดมสมบูรณ์ ในเขตป่าหินที่ใช้เป็น แหล่งท่องเที่ยวก็ปรับต้นไม้ต้นหญ้า สวยงาม การขีดเขียนลงบนหินต่างๆ ก็ ถู ก ลบออกมี ลั ก ษณะดั้ ง เดิ ม มาก ขึ้ น จั ด ท� ำ ทางเดิ น เข้ า ป่ า หิ น อย่ า ง สวยงามร่มรื่น จัดร้านค้ามาอยู่ตลอด สองข้างทางไม่มีการวิ่งเร่ไล่ล่าลูกค้า อีกต่อไป ทราบว่ามาตรการเด็ดขาด

ถึงขัน้ ฝ่าฝืนติดคุกกันทีเดียว ผมแวะเวียนดูร้านค้าผลไม้ ส่ง ภาษาจีนทีร่ เู้ ล็กๆ น้อยๆ จับความได้ ว่าผลไม้ยอดนิยมของคนจีนคือผลไม้ ไทย โดยเฉพาะ ทุเรียน มังคุด มะม่วง และกล้วย เมือ่ เขารูว้ า่ เราเป็นคนไทย เขาก็กล่าวชื่นชมในหลวงกับสมเด็จ พระเทพฯอย่ า งเคารพ โดยเฉพาะ สมเด็ จ พระเทพเป็ น ที่ ชื่ น ชอบของ ชาวจีนทีน่ มี่ าก พระบรมธาตุ ข องเราก� ำ ลั ง ลุ ้ น เป็ น มรดกโลกอยู ่ หากผ่ า นเราคง ต้ อ งเตรี ย มตั ว รั บ รองนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ที่จะน�ำเงินมาใช้จ่ายในบ้านเราอีก มหาศาล ก่อนอื่นเราต้องพร้อมที่จะ ปรับในส่วนที่เราเกี่ยวข้องให้เป็นคุณ กั บ บ้ า นเมื อ ง เป็ น คุ ณ กั บ การท่ อ ง เที่ยวบ้านเรา อย่าเห็นแก่ตัว อย่า เห็นแก่ได้ มองภาพรวมของบ้านเมือง ตั้งแต่พืชผักผลไม้ ร้านค้าร้านอาหาร ห้องพักโรงแรมก็จะเฟื่องฟู รถขนส่ง โดยสารก็จะมั่นคง อย่าให้การท่องเที่ยวมาท�ำลายเมือง คนที่จะท�ำลาย และจะรักษาก็คือ คนนครเราเองนั่น แหละครับ

ส่ ว นกลางต� ำ บลเรี ย กกว่ า ต� ำ บล พระเสื้ อ เมื อ ง และส่ ว นใต้ เ รี ย ก ว่ า ต� ำ บลประตู ชั ย ใต้ การแบ่ ง ดั ง กล่ า วนี้ สั น นิ ษ ฐานว่ า ชาวเมื อ ง นครศรี ธ รรมราชในอดี ต คงจะมี ภาพที่ ๒ แสดงแผนที่เมืองเก่านครศรีธรรมราช ความต้ อ งการที่ จ ะให้ ส ่ ว นเหนื อ เขียนภาพโดย วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อเดอลามาร์ (La Marre) เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๐

แปลกประหลาด ผู ้ ค นก็ ตั้ ง ชื่ อ ตาม รูปที่จินตนาการไปต่างๆ นานา ผู้คน เดิมในท้องถิ่นเดิมซึ่งเป็นชนเผ่า คือ ชนเผ่าซาหนี อาศัยอยู่ในอุทยานป่า หิ น มาแต่ ดึ ก ด� ำ บรรพ์ อาชี พ แต่ ดั้ ง เดิมคือการเลี้ยงสัตว์ แกะ แพะ วัว จามรี ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้น เมื อ งก็ ยั ง มี อ ยู ่ ม าก และถื อ เป็ น จุ ด ขายอย่างหนึง่ ของการท่องเทีย่ วด้วย แรกมี ก ารประกาศเป็ น มรดก โลกก็ได้รับค�ำชื่นชมกันทั่วไปว่า เป็น แหล่ ง มรดกโลกที่ ส มบู ร ณ์ ไ ปด้ ว ย ธรรมชาติ ไม่ มี สิ่ ง ก่ อ สร้ า งอะไรที่ แปลกปลอมมาปะปน ผู้คนจึงหลั่ง ไหลมาอย่างเนืองแน่น ป่าหินจึงเริ่ม เปลีย่ นไป โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ของที่ระลึกก็ผุดขึ้นมาราวดอกเห็ด บ้านเรือนที่อยู่อาศัยแบบคนพื้นเมือง ก็ เ ริ่ ม ปรั บ เปลี่ ย นเป็ น ทั น สมั ย ขึ้ น คนขายของที่ระลึก ไกด์ คนขับรถ โดยสารสร้างความวุ่นวายจนทางยูเนสโกมีค�ำตักเตือนจะเพิกถอนการ เป็นมรดกโลก ดังนั้นทางรัฐบาลจีน ต้องเข้ามาจัดการจัดระเบียบใหม่ คง จะคล้ายๆ กับบ้านเราปัจจุบัน ต้อง


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

(ตอนที่ ๓)

บับเดือนกันยายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ได้น�ำเสนอความคืบ หน้าของการน� ำ เสนอเอกสารเข้าสู่ บั ญชีเพื่อ ขอรับการ พิจารณาเป็นมรดกโลก (Nomination Dossier) ซึ่งเป็นสาระ ส�ำคัญที่ศาสตราจารย์ ดร.โรแลนด์ ซิลวา และ ดร.นันทนา ชุ ติ ว งศ์ ได้ เ สนอไว้ ใ ห้ เ มื่ อ คราวไปประชุ ม สั ม มนาที่ จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๔ - ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ฉบับนี้เป็นบทความต่อจากฉบับที่แล้ว ๑. การบูรณาการส่วนหน้าของอาคาร การน�ำเสนอ การลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผล (The Re-integration of Facades. Proposal- Implementation) จากขั้นตอนต่างๆ ที่น�ำไปสู่การน�ำเสนอวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิ ห ารขึ้ น อยู ่ ใ นรายชื่ อ เพื่ อ น� ำ เสนอเป็ น แหล่ ง มรดก โลก จะมีผู้เก็งก�ำไรหรือนักลงทุน ที่จะพยายามซื้อที่ดินที่อยู่ ในเขตคุ้มครอง เพื่อสร้างโรงแรม หรือเปลี่ยนอาคารที่มีอยู่ไป เป็นโรงแรมที่สงบและเป็นธรรมชาติ (Boutique Hotel) หรือ ภัตตาคาร หรือร้านค้า ในขณะที่การเคลื่อนไหวเหล่านั้น อาจ จะเป็นผลดีทางเศรษฐกิจของประชาชน ความสนใจเหล่านี้ ต้องได้รับการแนะน�ำไปในทางที่พึงประสงค์ตรงวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาศักยภาพของเมืองมรดก และการบูรณาการส่วน หน้าของอาคารและลักษณะของอาคาร ควบคู่ไปกับการริเริ่ม ทางด้านเศรษฐกิจ จะต้องมีคณะบุคคล (Animators) ที่จะเผย แพร่ประชาสัมพันธ์วัตถุประสงค์ของโครงการลงทุนมรดก โดย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวางแผนแนะแนวทางให้ปฏิบัติในการ บูรณาการ เป็นที่คาดหวังว่า มิใช่ผู้ตั้งถิ่นฐานทุกคนจะต้องมา ลงทุน จึงควรมีสิ่งจูงใจที่เหมาะสม (Appropriate incentives) เพื่อน�ำไปสู่วัตถุประสงค์ของการบูรณาการใหม่ที่พึงประสงค์ โดยพิจารณาอาคารที่อยู่ ใกล้ Core Area มากที่สุดเป็นอันดับ แรก สิ่งจูงใจที่เสนอ อาจจะเป็นการลงมือท�ำเพื่อให้บรรลุผล เป็นระยะๆโดยให้เงินสนับสนุนจากกองทุนบูรณปฏิสังขรณ์วัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร (Restoration Fund) ๕๐% และ จากเทศบาล ๒๕% ที่เหลืออีก ๒๕% เจ้าของอาคาร อาจจะกู้ ยืมจากธนาคารด้วยดอกเบี้ยต�่ำ และผ่อนส่งในระยะยาว การ บูรณาการใหม่นี้ จ�ำเป็นต้องจัดให้มี “ห้องสุขา”(Room and Toilet) โดยผู้เข้าใช้บริจาคเงินค่าบริการ โดยวิธีการเช่นนี้ เจ้าของบ้านสามารถรักษาบ้านให้คงสภาพไว้ได้ ๒. ปู ช นี ย สถาน/วั ด อื่ น ๆ ที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบ ส่ ง เสริ ม /สนั บ สนุ น วั ด พระมหาธาตุ ว รมหาวิ ห าร (Other Subsidiary Shrines at Wat PhraMaha That Woramaha Wiharn) มี วั ด อื่ น ๆ จ� ำ นวนหนึ่ ง ที่ ส ่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น วั ด พระ มหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมีคุณูปการเป็นพิเศษ และเคยมี ความสัมพันธ์ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะ บางวัด เป็นสถาบันสาขาของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือแยก เป็นอิสระจากสัมพันธภาพดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม วัดทั้งหมดนี้ (เช่นวัดสระเรียง ซึ่งเจ้าอาวาสเล่าว่า ในสมัยก่อน ได้ขุดดินจาก วัดสระเรียงไปถมบริเวณที่สร้างวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จึงเกิดเป็นสระน�้ำเรียงกัน จึงได้ชื่อว่าวัดสระเรียง) ควรได้รับ การกล่าวถึงไว้ใน โครงการอนุรักษ์ และธ�ำรงรักษาลักษณะ

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๑

ศาสตราจารย์ ดร.โรแลนด์ ซิลวา และ ดร.นันทนา ชุติวงศ์ : เรียบเรียง ดร.สายสวาท เกตุชาติ : แปล ของวัดส�ำคัญ และกรอบความคิดในการบูรณาการอาคารของ Si Thammarat as a Naval Hub) ที่ ตั้ ง ทางภู มิ ศ าสตร์ ข องนครศรี ธ รรมราชและการมี เมืองมรดก สถานะเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ๓. การด�ำเนินการเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา วัฒน- ด้วยเหตุนี้อิทธิพลทางด้านความเชื่อทางศาสนา การติดต่อทาง ธรรม ประเพณี รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และประจ�ำปี เชื้อชาติ และเทคนิคความรู้ความช�ำนาญหรือฐานความรู้ด้าน (Daily, weekly, monthly, and Annual Rituals carried อื่นๆ จึงหลั่งไหลเข้ามาสู่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช ดังนั้นจึง ต้องมีโครงการศึกษาสืบสาวร่องรอยของเส้นทางค้าขายที่มาสู่ out) วั ด พระมหาธาตุ ว รมหาวิ ห ารมี พิ ธี ก รรมทางประเพณี นครศรีธรรมราช และอิทธิพลที่อาจมาถึงศูนย์กลางค้าขายที่ และทางศาสนาหลากหลายเป็นจ�ำนวนมากร่วมกันก่อให้เกิด ส�ำคัญแห่งนี้ การค้าขายระหว่างจีนและประเทศทางตะวันตก มรดกที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage)ของปูชนียสถาน อาจจะมาหยุดชะงักการเดินทางที่ท่าเรือเหล่านี้ และศรีลังกา อันมีอายุเก่าแก่แห่งนี้ ในขณะที่จ�ำเป็นต้องจัดท�ำเอกสาร เป็นท่าเรือเป้าหมายที่จะไปต่อ จึงจ�ำเป็นต้องศึกษาถึงเส้น เกี่ยวกับพิธีกรรมแต่ละพิธีเพื่อให้ข้อมูลและความรู้แก่ชาว ทางการค้าขายที่เรือเข้ามาและออกไปจากท่าเรือแห่งนี้ โดย เมืองและผู้มาเยือน นับเป็นการเหมาะสมที่จะจัดพิธีกรรม อาจจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในบริเวณใกล้เคียง เหล่านี้ให้เป็นแบบแผน มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่าง หรือจากกรุงเทพมหานครมาด�ำเนินการศึกษาเรื่องนี้ ภายใน เป็นทางการ จากทางฝ่ายศาสนาและฝ่ายฆราวาส เพื่อยืนยัน กรอบเวลา ๙ เดือนโดยมีสิ่งจูงใจที่เหมาะสม ถึงการมีความต่อเนื่อง และเพื่อยกสถานะของกิจกรรมเหล่า ๖. การเข้ามาของพุทธศาสนานิกายเถรวาทสู่ประเทศ นี้ให้เป็นพิธีกรรมที่ก่อให้เกิดจิตวิญญาณของปูชนียสถานอัน ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เป็นที่แน่นอนว่า เอกสารที่ปรับให้เหมาะสม ไทย (Introduction of Theravada Buddhism to Thaiและรวบรวมอย่างดีเกี่ยวกับพิธีกรรมเหล่านี้อย่างละเอียด land) เป็นที่ยอมรับมาแต่ดั้งเดิมว่า พุทธศาสนานิกายเถรวาท จะท�ำให้มีข้ออ้างอิงที่ส�ำคัญที่แนบไปกับ Dossiers ด้วยเพื่อ สนับสนุนการเสนอชื่อปูชนียสถานแห่งนี้ เป็นอนุสรณ์สถาน เข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๗ หรือ ๘ สมัย ที่มีชีวิต (Nomination of the site as a Living Monu- ทวาราวดี แต่เป็นที่รู้กันว่า คณะแม่ชีพุทธจาก ศรีลังกาได้มา ment ) บั น ทึ ก เกี่ ย วกั บ วิ ถี ชี วิ ต ที่ แ ตกต่ า งกั น ของพระสงฆ์ ถึงประเทศจีนและได้ก่อตั้งคณะแม่ชีขึ้น ในคริสศตวรรษที่ ๔ ในแต่ละวิหารที่แตกต่างกันที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (AD) และยังคงอยู่เรื่อยมา คณะภิกษุณี ซึ่งได้เดินทางเข้าสู่ ระหว่างฤดูกาลทางศาสนาที่มีเป็นจ�ำนวนมากตลอดปี จะเป็น ประเทศจีนน�ำโดย Theri Devasara ไม่ว่าจาก Thuparama เอกสารที่มีค่ายิ่งต่อนักการศึกษาในยุคปัจจุบัน และในอนาคต หรือจาก Abhayagiri nunnery (Silva, R., Environment, Town Village and Monastic Planning, Colombo, 2006, p.213, ๔. หลั ก ฐานทางด้ า นค� ำ จารึ ก (Inscriptional note 101) เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า นครศรีธรรมราช

Evidence) มี ห ลั ก ฐานทางด้ า นข้ อ มู ล แผ่ น จารึ ก จากศตวรรษที่ ๑๗ บนแผ่นทองค�ำที่ติดไว้บนยอดพระธาตุ (พระสถูปเจดีย์) และมีแผ่นจารึกมากกว่า ๕๐ แผ่น จากบริเวณเจดีย์เดียวกัน ซึ่งอาจจะเก่าแก่กว่า ควรมีโครงการที่ระบุแน่นอนในการที่ จะรวบรวม แผ่นจารึกเหล่านี้จากพระสถูปเจดีย์ รวมทั้งจาก ภายในและบริเวณใกล้เคียง Core Area และ Buffer Zone ซึ่งจ�ำเป็นต้องคัดลอก ถอดความ และระบุยุคสมัยของจารึก เหล่านี้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะโดยใช้วิธี Paleaogaaphically หรื อ วิ ธี อื่ น ใด และบั น ทึ ก เนื้ อ หาไว้ ควรท� ำ โครงการ นี้ ภ ายในกรอบเวลา ๑ ปี หรื อ วั น ที่ ๓๐มิ ถุ น ายน ๒๕๕๗ เนื่องจากข้อมูลนี้จ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับเอกสาร (Dossiers) ที่ จะส่งไปเพื่อพิจารณา อาจจะแบ่งส�ำเนาของแผ่นจารึกให้ผู้ เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยใกล้เคียง หรือส่งไปยังสถาบันศึกษา ในกรุงเทพมหานครจัดท�ำ และควรมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้แต่ เนิ่น เนื่องจากข้ อ มู ล เหล่ า นี้ จ ะเป็ น ที่ ย อมรั บ ของผู ้ เ ชี่ ย วชาญในการพิจารณาเอกสาร (dossiers) นอกจากนี้นัก ประวัติศาสตร์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่จ�ำเป็นเกี่ยวกับวัดพระ มหาธาตุวรมหาวิหาร ต้องการข้อมูลเหล่านี้เพื่อเน้นย�้ำความ มีคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Property) ๕. เส้นทางการค้าขายและนครศรีธรรมราชในฐานะ เป็นศูนย์รวมการค้าทางทะเล (Trade Routes and Nakhon

และท่าเรือทางทะเลอยู่ภายในเส้นทางเดินเรือระหว่างศรีลังกา และจีน มีความเป็นไปได้ว่ามีการติดต่อทางศาสนาระหว่าง ศตวรรษที่ ๔ และ ศตวรรษที่ ๑๑ โดยผ่านทางทะเลศรีลังกา และจีน ซึ่งนครศรีธรรมราชอยู่ในระหว่างเส้นทางนี้ ถ้ามีการ ตั้งสมมติฐานกันดังกล่าว แสดงว่า พุทธศาสนานิกายเถรวาท คงจะมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนหน้านี้ และโดยทาง ท่าเรือใกล้นครศรีธรรมราช ที่ซึ่งปรากฏหลักฐานมากมายเกี่ยว กับศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาพี่น้อง (sister religion) จากฝั่ง ทะเลตะวันออกของอันดามัน หลักฐานเหล่านี้ได้ถูกรวบรวม และวิเคราะห์ไว้เพื่อที่จะพิจารณาตรวจสอบหาข้อเท็จจริงนี้ เป็นการดีที่จะขอให้ผู้รู้ ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ในท้องถิ่น หรือจากกรุงเทพมหานคร วิจัยเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน หากผลการวิจัยออกมาในเชิงบวก ( positive) ความส� ำคัญ ของนครศรีธรรมราช จะได้รับการเน้นย�้ำยิ่งขึ้นในฐานะที่พุทธ ศาสนานิกายเถรวาทเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยผ่าน ทางแหล่งประวัติศาสตร์แห่งนี้ และนครศรีธรรมราชจะได้รับ ความสนใจยิ่งขึ้นทางด้านความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ผู้ วิจัยควรต้องได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน ผลการวิจัย จะ ช่วยเพิ่มพูนความน่าเชื่อถือให้แก่เอกสารมากยิ่งขึ้น ซึ่งเอกสาร (Dossiers) นี้ จะต้องเสร็จในช่วง ๓ เดือนหลังของปี ๒๕๕๘ (The dossiers need to be final in the fourth quarter of 2015) (ต่อฉบับหน้า)


หน้า ๑๒

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

๖. ท�ำงานไม่เรียบร้อย ไม่รอบคอบ ๗. ไม่มีสมาธิในการท�ำงาน หรือท�ำได้เพียงช่วงสั้นๆ ๘. ท�ำงานช้า ท�ำงานไม่เสร็จ แต่ถ้ามีคนประกบจะ ท�ำได้เร็วขึ้น ๙. รอคอยไม่ได้ ๑๐. ใจร้อน ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ (ที่มา: แบบสังเกตพฤติกรรมส� ำหรับเด็กสมาธิสั้น ๖-๑๒ ปี พัฒนาโดยสถาบันราชานุกูลและ สสค.)

น้

องปอนด์ อายุ ๘ ขวบ หน้าตาน่ารัก พูดเพราะ แต่ ท�ำให้คนรอบข้างรู้สึกเบื่อหน่ายกับความที่น้องกานต์ พูดมาก พูดไม่หยุด ชวนเพื่อนคุยตอนเรียน แถมอยู่ไม่นิ่ง ลุกเดินตอนครูสอนในห้องเรียนบ่อยๆ ซุ่มซ่ามเป็นที่หนึ่ง มี ความสามารถเฉพาะตัวในการที่จะท�ำให้โลกที่อยู่รอบๆตัว เกิดความโกลาหล วุ่นวายโดยมิได้ตั้งใจ เวลาท�ำการบ้าน แม่ต้องนั่งเฝ้า เพราะไม่อย่างนั้นน้องกานต์จะนั่งเหม่อลอย หรือลุกจากที่ไปท�ำนั่นท�ำนี่อยู่เสมอ....อย่างนี้คือสมาธิสั้น หรือเปล่าหนอ?

โรคสมาธิสั้น คืออะไร? โรคสมาธิ สั้ น (ADHD หรื อ Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เป็นภาวะความบกพร่องใน การท�ำงานของสมอง ซึ่งความบกพร่องนี้มีอาการแสดง คือ ขาดสมาธิ (inattention) พฤติกรรมซุกซน อยู่ไม่นิ่ง และ วู่วาม หุนหันพลันแล่น (hyperactivity & impulsivity) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง โดยอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นก่อนอายุ ๑๒ ปี และมีความรุนแรงมากพอที่ท�ำให้ เกิดปัญหาในการเรียน การเข้าสังคม ปัญหาอารมณ์และ พฤติกรรมตามมา

Credit ภาพจาก http://www.medicinenet.com/adhd_pictures_slideshow_parenting_tips/article.htm

โรคสมาธิสั้น..ท�ำไมต้องรักษา ถึงโรคสมาธิสั้น ไม่ได้มีอันตรายโดยตรงต่อชีวิต แต่ เป็นอันตรายต่อ “คุณภาพชีวิต” ทั้งต่อตัวเด็กเองและ คนรอบข้าง เด็กส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาที่ดี แต่เมื่อมี ปัญหาสมาธิ ท�ำให้ศักยภาพที่แท้จริง ถูกลดทอนไปอย่าง น่ า เสี ย ดาย ส่ ง ผลต่ อ ความรู ้ สึ ก ด้ อ ยคุ ณ ค่ า และนั บ ถื อ ตนเองของเด็ก นอกจากนี้โรคสมาธิสั้น ยังเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดปัญหาทางอารมณ์ปัญหาพฤติกรรม และการใช้ สารเสพติด เมื่อโตขึ้น ไฮเปอร์ หรือสมาธิสั้น? โรคสมาธิสั้น..รักษาอย่างไร เด็กซนหรือไฮเปอร์ เป็นค�ำเรียกตามอาการ ต่าง การรั ก ษาหลั ก ที่ ไ ด้ ผ ลดี และมี ก ารรั บ รองการใช้ กับเด็กที่เป็น “โรค” สมาธิสั้น ตรงที่ความสามารถใน อย่างปลอดภัย คือ การใช้ยากระตุ้นสมาธิ นอกจากนี้ คือ การควบคุมตนเอง เช่น เมื่อถึงเวลาต้องนิ่ง นั่งเรียนใน การปรับพฤติกรรม เช่น การให้แรงเสริมทางบวก การฝึก ห้องเรียน เด็กก็สามารถคุมตัวเองให้นิ่งเป็นได้ ท�ำให้ไม่มี ระเบียบวินัย และการช่วยเหลือเรื่องการเรียน ผลกระทบในทางลบตามมา ในขณะที่เด็กเป็นโรคสมาธิ สั้น จะมีอาการจนเกิดผลกระทบ และเป็นกับสถานการณ์ อย่างน้อย ๒ แห่ง เช่น ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เมื่อไหร่จะสงสัยสมาธิสั้น หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยๆ อย่างน้อย ๖ ข้อ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ๑. ซนมาก อยู่ไม่นิ่ง ยุกยิก ตลอดเวลา ๒. พูดมาก ๓. ชอบลุกจากที่นั่งเวลาอยู่ในห้องเรียน ๔. เหม่อบ่อยๆ ใจลอย ต้องคอยเรียก ๕. ขี้ลืม ของใช้ส่วนตัวหายบ่อยๆ


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

มี

หลายท่ า นที่ อ ่ า นคอลั ม น์ ผ มได้ ถ าม ว่า สนามหน้าเมืองมีความส�ำคัญอะไร มากนักหรือ จึงมีคนพูดถึงกันมาก ผมเอง ไม่ ทราบถึ ง โครงการของทางราชการเช่น เดี ย วกั น คนอื่ น ๆ แหละครั บ แต่ บั ง เอิ ญ ผมเคยเขี ย นถึ ง เรื่ อ งนี้ ฉ บั บ เดื อ นเมษายน ๒๕๕๕ ชื่ อ เรื่ อ ง “สนามหน้ า เมื อ ง..ห้ อ ง รับแขกเมืองนคร” ที่ได้กล่าวถึงความส�ำคัญ ในมิ ติ ต ่ า งๆ ของสนามหน้ า เมื อ ง จึ ง ขอ น� ำ ความเดิ ม มาเล่ า ซ�้ ำ เป็ น ตอนๆ ในบาง ประเด็นครับ “ถ้ า จะเที ย บเคี ย งสนามหน้ า เมื อ ง ของนครศรี ธ รรมราชกั บ สนามหลวงของ กรุงเทพฯก็น่าจะมีอะไรที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือในอดีต ใช้ ใ นกิ จ กรรมเหมื อ นกั บ สนามหลวงที่ มี เ ฉพาะเมื อ ง ระดั บ พระนครเท่ า นั้ น และบริ เ วณโดยรอบล้ ว นแต่ มี โบราณสถานที่ ค นต่ า งถิ่ น มาแวะชมกั น เพราะเป็ น พื้ น ที่ ประวัติศาสตร์.....” การพัฒนาสนามหน้าเมืองควรให้เป็นไปอย่างมีหลัก การและแบบแผน โดยควรมองในทุกมิติที่จะไม่เป็นการ ท�ำลายภาพของลานกิจกรรมที่มีชีวิตชีวาของเมือง..... มิติในความเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีเฉพาะ เมืองใหญ่ๆ ที่เก่าแก่เท่านั้นที่จะมีลานเมืองเช่นนี้ ดังนั้น การมีสิ่งก่อสร้างใดๆ ลงไปจะเป็นการลดทอนพื้นที่ที่มีอยู่ อย่างจ�ำกัดให้เล็กลงไปอีก และอาจจะไปลดความส�ำคัญ ของลานที่มีประวัติศาสตร์ มิติในความเป็นพื้นที่นันทนาการ เสน่ห์ของสนาม หน้าเมืองเรื่องหนึ่งที่คนมักกล่าวขวัญก็คือ การเห็นภาพ ของชาวเมืองมาออกก�ำลังกายกันมากมายในตอนเช้าและ ตอนเย็ น ไปจนถึ ง พลบค�่ ำ ....รวมทั้ ง เห็ น คนที่ ม ากั น เป็ น ครอบครัวปูเสื่อนั่งสนทนาหรือกินอาหารกัน เด็กๆ อาจ เล่นว่าวกันในฤดูร้อนที่ปิดเทอม เป็นภาพที่แสดงถึงความ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีของชาวเมือง ดังนั้นสนาม หน้ า เมื อ งจะต้ อ งคงไว้ ใ นการมี ส นามหญ้ า เพื่ อ ลดความ ร้อนทั้งจากแสงแดดและความร้อนจากดิน การคิดจะท�ำ เป็นพื้นคอนกรีตเป็นส่วนใหญ่เพื่อวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม ต้ อ งตระหนั ก ให้ ม าก เพราะจะท� ำ ให้ ค วามเป็ น พื้ น ที่ นันทนาการหายไป มิ ติ ใ นความเป็ น พื้ น ที่ รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ ม คงทราบดี แล้ ว ว่ า ปั จ จุ บั น คนทั้ ง โลกตระหนั ก ถึ ง มลภาวะและสิ่ ง แวดล้อม ชาวนครโชคดีที่มีพื้นที่สนามหน้าเมืองเป็นปอด

www.nakhonforum.com

ของเมื อ ง อย่ า งน้ อ ยเป็ น พื้ น ที่ ร ะบายอากาศที่ เ กิ ด การ ไหลเวี ย น จะเป็ น ภู มิ ป ั ญ ญาของบรรพบุ รุ ษ ของเราหรื อ ความบังเอิญหรือไม่ก็ตาม เมื่อเราได้มาแล้วก็ต้องพยายาม รักษาไว้ และต้องเพิ่มต้นไม้ร่มเงาให้มากขึ้นและลดพื้น คอนกรี ต ลงเพื่ อ ลดภาวะโลกร้ อ นได้ อี ก ทางหนึ่ ง เลี่ ย ง การน�ำพื้นที่เป็นลานจอดรถ จัดสร้างห้องน�้ ำสะอาดให้มี มากขึ้นเพียงพอกับจ�ำนวนผู้ใช้ และไหนๆ ก็ยอมให้พ่อค้า แม่ขายสร้างเพิงขายของขายอาหารกันแล้ว ก็ออกแบบ ศาลาขายของแบบเคลื่อนย้ายได้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไปเลย จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมน่าดูขึ้น มิ ติ ใ นความเป็ น พื้ น ที่ กิ จ กรรมของเมื อ งนครของ เราเป็นเมืองที่มีประเพณีวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็น อารยธรรมตั้ ง แต่ อ ดี ต สื บ ทอดมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น และเรา สามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดกันทั้งปี แต่บางครั้ง การจัดงานในรูปแบบของการปลูกสร้างโรงเรือนขายของ จิปาถะที่มีขายทั่วไปเหมือนตลาดนัดในกิจกรรมประเพณี เพียงเพื่อต้องการรายได้ โดยบางกิจกรรมมีระยะเวลานาน นับเดือนนั้น ควรพิจารณาผลได้ผลเสียที่คุ้มหรือไม่ โดย เฉพาะอย่างยิ่งการไปรบกวนวิถีชีวิตประจ�ำวันของชาวเมือง ที่ต้องหยุดหรือย้ายสถานที่ออกก�ำลังกาย อันเป็นความ

หน้า ๑๓

จ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อการดูแลสุขภาพของคนส่วนใหญ่ไม่ต้อง ไปพึ่งการรักษาพยาบาล.... ครับ เรื่องเก่าที่มาเล่าใหม่นี้ผมอาจจะไม่มีค�ำตอบ ว่าต้องท�ำอะไร หรือห้ามท�ำอะไรลงในสนามหน้าเมือง แต่ เราก็ไม่เคยเห็นสิ่งก่อสร้างถาวรใดๆ ในสนามหลวงของ กรุงเทพมหานคร และผมคิดว่าเป็นเรื่องดีที่จะต้องมีการ ทบทวนกันโดยชาวเมืองมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด เห็น เพื่อที่มรดกของเมืองชิ้นนี้จะไม่ถูกแบ่งออกเป็นแปลงๆ เพื่อสร้างอะไรตามใจชอบให้ผิดวัตถุประสงค์ของบรรพบุรุษ ที่สร้างไว้ให้เรา ก่ อ นจบก็ ข อออกปากชมการจั ด งานเดื อ นสิ บ ของ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เมื่อเดือนที่แล้วว่าได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มี การตั้งเต้นท์ขนาดใหญ่คร่อมถนนคอนกรีตท�ำให้การเดิน เที่ยวสะดวกและไม่เปียกแฉะเวลาฝนตก และดูมีความเป็น ระเบียบเรียบร้อยขึ้น แต่ก็ขอเสนอบางเรื่องคือ การวาง เต้นท์ขายของตั้งแต่ทางเข้าสวนสมเด็จฯ ถ้ามีการถอยร่น ไปให้เลยบริเวณลานหน้าพุทธภูมิก็จะเป็นการเปิดมุมให้ เห็นองค์พระพุทธรูปที่สวยงามและจะเป็นสถานที่สักการะ บูชาของชาวพุทธที่มาท�ำบุญเดือนสิบ ไม่ไปหลบมุมอยู่หลัง พื้นที่ปิด ถนนด้านหน้าลานพุทธภูมิถ้าจะเป็นลานจอดรถ ของคนมาเที่ยวงานก็ไม่ไปบดบังทัศนียภาพมากจนเกินไป น่าจะดีกว่าไปใช้พื้นที่บริเวณสวนสุขภาพที่อยู่ทางเข้าซึ่งมี การปลูกดอกไม้สวยงาม ให้คนเช่าท�ำเป็นที่จอดรถเก็บเงิน ซึ่งท�ำให้สวนเสียหายต้องใช้เงินภาษีไปฟื้นฟูบ�ำรุงต้นไม้กัน ใหม่ทุกปี ส�ำหรับห้องน�้ำมีความจ�ำเป็นมากที่ต้องจัดสร้าง กระจายในพื้นที่ต่างๆ ให้มีจ�ำนวนมากพอและดูแลความ สะอาดเป็นอย่างดี ผมขอเอาใจช่วยให้การจัดงานในครั้ง ต่อไปเป็นที่ชื่นชมของผู้ที่มาเที่ยวงาน และขอยืนยันว่ามุม มองประเด็นต่างๆ ของผมเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจใน ฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ต้องการเห็นบ้านเมืองเรามีความ น่าอยู่น่าเที่ยวเหมือนเมืองอื่นที่พัฒนาแล้ว และชาวเมือง ควรร่วมกันคิดที่จะเสนอแนวทางพัฒนาในช่วงสถานการณ์ การเมืองแบบนี้ที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วที่สุด โดย เราได้เห็นตัวอย่างการจัดระเบียบคืนทางเท้าให้คนเดินได้ อย่างเป็นรูปธรรมในเวลาอันรวดเร็วแม้ว่าบางคนอาจไม่ ชอบใจก็ตาม ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับประเทศสิงคโปร์ ช่วงเริ่มต้นตั้งประเทศที่ผู้น�ำใช้กฎหมายเข้มข้นไปสู่การเป็น ประเทศที่มีวินัยมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง “บ้านเมืองน่าอยู่ ชาวเมืองต้องมีวินัย”

Facebook : https://www.facebook.com/rakbaankerd.news


หน้า ๑๔

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

ดูคล้ายรังนกมาก เกิดเป็นดอกเดี่ยวๆ แต่ อยู่กันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มหนึ่งจะพบดอก ขึ้ น อยู ่ ติ ด กั น ประมาณ ๘๐ ดอก ขึ้ น บน กองเศษซากไม้ทับถม เมื่อสืบค้นข้อมูล จากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติม จึงได้ทราบว่า จะ พบในเขตป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและ ป่าดิบแล้ง บริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ ๓๐°C ความชื้นสัมพัทธ์ ๙๔% pH 4 ความเข้ม

ขาขุ น พนม..ภู เ ขาลู ก เล็ ก ลู ก โดดๆ ตั้ ง อยู ่ บ ริ เ วณที่ ร าบลุ ่ ม ในอ� ำ เภอพรหมคี รี ลักษณะที่น่าสนใจคือ เป็นภูเขาหินปูน อยู่ ทางทิศตะวันออกระหว่างเทือกเขาหลวง และทะเลอ่าวไทย ซึ่งเทือกเขาหลวงนั้น เป็นหินอัคนีโดยส่วนใหญ่ นั่นท�ำให้เรา สันนิษฐานได้ว่า เขาขุนพนมนี้เคยอยู่ใต้ ท้องทะเลมาก่อนในอดีต ปัจจุบันมีชุมชน ดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่รายรอบ มีเรื่องราว ทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ น ่ า สนใจ มี ส ายน�้ ำ ไหลลอดใต้ภูเขา มีถ�้ำมากมายหรือที่เรา เรี ย กว่ า ถ�้ ำ น�้ ำ ลอด มี ส ายน�้ ำ คลองนอก ท่าไหลอยู่เคียงข้าง มีระบบนิเวศพันธุ์ไม้ และพันธุ์สัตว์อยู่อย่างหลากหลาย และ ที่ส�ำคัญมีศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา นครศรีธรรมราชตั้งอยู่ติดภูเขาแห่งนี้....เรา จึงมีเรื่องราวของเขาขุนพนมให้ได้เรียนรู้ใน หลากหลายมิติด้วยกัน ฉบับนี้ ขอน�ำเรื่องราวเล็กๆ ตีนเขา ขุนพนม บริเวณใต้ถุนส�ำนักงานของชาว ศูนย์วิทย์เมืองคอนมาเล่าให้ฟังค่ะ ที่จริง ก็ต้องสารภาพว่า ตัวเองไม่เคยได้รู้จักสิ่ง มี ชี วิ ต สิ่ ง นี้ ม าก่ อ น จนกระทั่ ง เมื่ อ เดื อ น เมษายนที่ ผ ่ า นมา ได้ เ ดิ น ส� ำ รวจพื้ น ที่

จั ด กิ จ กรรมดู ผี เ สื้ อ กั บ วิ ท ยากรรั บ เชิ ญ อาจารย์เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์ ท่านได้ สังเกตเห็นและชี้ชวนให้ชมกันค่ะ สิ่งมีชีวิต เล็กๆ ที่ว่า คือ “เห็ดรังนก (Bird’s Nest fungi)” ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyathus striatus (Huds.) Hoffm. อยู่ในวงศ์ Agaricaceae เป็นดอกเห็ดรูปถ้วยทรงกรวยแหลม

ขนาด ๗-๘ มิลลิเมตร ขอบปากถ้วยจะมี ความกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร ถ้วยสูง จากพื้นประมาณ ๑ เซนติเมตร ด้านล่าง ของขอบถ้วยจะสอบแคบลงไปเป็นก้าน ดอกหรือก้นถ้วย ผิวด้านนอกมีขนหยาบ สีน�้ำตาลแดง ด้านในมีร่องในแนวตั้ง เป็น มันเงาเรียบสีเทาหรือน�้ำตาลอมเทา และ มีก้อนกลมๆ (peridioles) คล้ายไข่กว้าง ๐.๘-๑.๕ มิลลิเมตร รูปเลนส์ สีเทาอ่อน ยึ ด ติ ด กั บ ถ้ ว ยด้ ว ยเส้ น ด้ า ยเล็ ก ๆ ภาย ในไข่มีสปอร์รูปทรงรี ผนังเรียบ ไม่มีสี จ�ำนวนมาก ทั้งดอกเห็ดและที่เก็บสปอร์

แสง ๒๖๕ Lux หลังฝนตกและอากาศร้อน อบอ้าว ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะเป็น ประสบการณ์ใหม่ของชีวิตเลยก็ว่าได้ ไม่ เคยได้สังเกตเห็นมาก่อนทั้งๆ ที่ได้ท�ำงาน เดินผ่านไปมา และท�ำกิจกรรมอยู่เสมอมา ตลอดหกปีท�ำงาน ท�ำให้เกิดแรงบันดาล ใจที่จะสังเกตสิ่งเล็กๆ น้อยๆ รอบเขาขุน พนมมากยิ่ ง ขึ้ น และน� ำ มาสื บ ค้ น ข้ อ มู ล ต่อเพื่อจะได้น�ำเรื่องราวน่าสนใจมากฝาก กัน...ติดตามอ่านกันนะคะ

ขอขอบคุณภาพและข้อมูล : อาจารย์เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์ https://www.facebook.com/thanaliwrungruang https://www.lumphaya.stkc.go.th, http://www.ifarm.in.th

เทศบาลนครนครฯ เจ้าภาพพร้อมจัดกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นรอบคัดเลือกภาคใต้ ‘ลิกอร์เกมส์’ คาดเงินสะพัด ๑,๐๐๐ ล้านบาท เมื่ อ วั น ที่ ๒๖ กั น ยายน ๒๕๕๗ ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรี นครศรีธรรมราช กล่าวถึงกรณี เทศบาล นครนครศรีธรรมราช ได้รับมอบให้เป็น เจ้ า ภาพจั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ านั ก เรี ย น องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รอบคั ด เลื อ กภาคใต้ ระหว่ า งวั น ที่ ๒๒-๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ว่าเทศบาลพร้อมเต็ม ที่ ใ นจั ด การแข่ ง ขั น และต้ อ นรั บ คณะ นักกีฬาผู้มาเยือน โดยทุ่มงบประมาณ กว่า ๑๓ ล้านบาท ปรับปรุงซ่อมแซม สนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท เช่น ปู หญ้าใหม่สนามกีฬาจังหวัด ซ่อมแซม ลู ่ วิ่ ง และตรวจสอบมาตรฐานความ ปลอดภัยในทุกตารางนิ้วของพื้นที่การ จัดการแข่งขัน ป้องกันนักกีฬาบาดเจ็บ

ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์

ระหว่างการแข่งขัน และยังปรับปรุงภูมิ ทัศน์ให้สวยงามเพิ่มขึ้น ด้ า นสถานที่ พั ก ของทั พ นั ก กี ฬ า ทางเทศบาลนครนครฯจัดเตรียมสถาน ศึ ก ษาในสั ง กั ด เทศบาลกว่ า ๑๐ แห่ ง

เป็ น สถานที่ พั ก ให้ แ ก่ นั ก กี ฬ าทุ ก ๆ จังหวัด รวมถึงสถานที่พักของนักท่องเที่ ย วในตั ว เมื อ งและใกล้ เ คี ย ง โดย ประชุ ม หารื อ เตรี ย มความพร้ อ มกั บ

ผู้ประกอบการ เรื่องความปลอดภัยได้ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ ทหาร จัดก�ำลัง อ�ำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ให้กับผู้มาเยือนตลอดช่วงจัดการแข่งขัน ทั้งได้ประสานไปยังผู้ประกอบการธุรกิจ การท่องเที่ยวให้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ ดี และสร้ า งความประทั บ ใจให้ กั บ นั ก ท่องเที่ยวทุกคน ร้านอาหารทุกร้านต้อง เข้มงวดเรื่องความสะอาดถูกสุขลักษณะ เน้ น อาหารประจ� ำ ถิ่ น ให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น อย่างกว้างขวาง ตนคาดว่าการแข่งกีฬา ครั้งนี้จะน�ำเม็ดเงินเข้าจังหวัดไม่ต�่ำกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช หน้า

๑๕

อาจารย์แก้ว สายสัญญาณ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs) สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) สายใยแก้วน�ำแสง (Fiber Optic) สายสั ญ ญาณแต่ ล ะประเภทก็ จ ะมี ข้อดีและข้อเสียต่างกัน และความเหมาะ สมในการน� ำ ไปใช้ ง านที่ แ ตกต่ า งกั น ด้ ว ย นอกจากนี้ ยังมีผลกับความเร็วในการรับส่ง สัญญาณอีกด้วย

ารสื่ อ สารของข้ อ มู ล บนเครื อ ข่ า ย คอมพิ ว เตอร์ ที่ ดี ที่ สุ ด ก็ คื อ ไม่ พ ้ น การ สื่อสารผ่านสายถึงแม้ว่าระบบไร้สายจะเป็น ที่นิยมก็ตาม แต่ถ้าระบบใดต้องการความ เสถียร สายสัญญาณคือทางเลือกที่ดีที่สุด ของปั จ จุ บั น และอนาคต คุ ณ ทราบหรื อ ไม่ ว ่ า สายสั ญ ญาณที่ นิยมใช้กันมากที่สุด ในปัจจุบันมีอะไรบ้างเชื่อว่า หลายคนรู้จัก สายคู่เกลียวบิด (TWISTED PAIRS) สายประเภทนี้ ถื อ ได้ ว ่ า ยอดฮิ ต มาก หลายคนเคยเห็น แต่อาจไม่ทราบว่า สาย สัญญาณแต่ละชนิดเรียกว่าอะไรและแตก ที่สุด เราจะเห็นตามบ้าน ตามส�ำนักงาน ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ มีราคาถูก สายมี ต่างกันอย่างไร ลักษณะเป็นสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน ๒ เส้นและมีการบิดเป็น ประเภทสายสัญญาณที่นิยมใช้งาน เกลี ย วภายใน ส� ำ หรั บ ตัวอย่างสายคู่เกลียวบิด ก็คือ สายโทรศัพท์ (มี สายทองแดง ๒ คู่) หัวที่ ใช้ต่อเรียกว่า RJ-11 สายแลน (มีสายทองแดง ๔ คู่) หัว ที่ใช้ต่อเรียกว่า RJ-45 เป็นสายที่ใช้เชื่อม ต่อบนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต(Ethernet) เรียก สายนี้อีกอย่างหนึ่งว่า UTP (Unshielded Twisted Pair)

(๒๖/๘/๒๕๕๗) นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว และกี ฬ า เปิ ด เผยว่ า การหารื อ ร่ ว มกั บ คณะผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของสมาคมผู ้ ประกอบการธุรกิจน�ำเที่ยวญี่ปุ่น (Jada) และบริ ษั ท น� ำ เที่ ย วรายใหญ่ ข องญี่ ปุ ่ น เพื่ อ สร้ า งความเชื่ อ มั่ น หลั ง การเมื อ ง ไทยกลั บ สู ่ ภ าวะปกติ บริ ษั ท น� ำ เที่ ย ว รายใหญ่ ข องญี่ ปุ ่ น เห็ น ตรงกั น เกี่ ย วกั บ ยุ ท ธศาสตร์ เ จาะกลุ ่ ม เดิ น ทางซ�้ ำ ญี่ ปุ ่ น ของททท. ในการส่งเสริมการเดินทางไป ยังเมืองรอง ๑๒ เมือง เช่น ล�ำปาง น่าน สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช ซึ่งผู้ ประกอบบริษัทน�ำเที่ยวยังมีความกังวลใน ความไม่ปลอดภัยและต้องการให้รัฐบาล ไทยออกค�ำแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ เพื่อยืนยันว่า แม้ประเทศไทยยังประกาศ ใช้ ก ฎอั ย การศึ ก แต่ มี ค วามปลอดภั ย ส�ำหรับนักท่องเที่ยว

นางกอบกาญจน์ กล่ า วเพิ่ ม เติ ม ว่ า การได้พบและเข้าหารือกับผู้ประกอบการ ญี่ ปุ ่ น เป็ น การตอกย�้ ำ ให้ ค นญี่ ปุ ่ น มี ค วาม มั่นใจ ซึ่งต่อจากนี้ประเทศไทยจะเร่งผลัก ดันแผนการท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์กลุ่ม นักท่องเที่ยวให้เดินทางมากขึ้นด้วย นางนภสร ค้าขาย ผอ.ททท. ส�ำนักงาน นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ศักยภาพของ นครฯ มีจุดขายทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่ ก ารดู แ ลความปลอดภั ย ของนั ก ท่ อ งเที่ยว ประชาชนในพื้นที่มีความส�ำคัญเป็น อย่างยิ่ง โดยช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบจุด ไหนไม่ปลอดภัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือ สื่อมวลชน ทุกฝ่ายพร้อมด�ำเนินการเพื่อให้ นักท่องเที่ยวเข้ามาและพักอยู่ด้วย ความ อบอุ่นใจ ประทับใจ และกลับมาเยือนอีก (๒๖/๘/๒๕๕๗)

สายโคแอ็กเชียล (COAXIAL CABLE) มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวีที่เรา ใช้กันตามบ้าน มีแกนกลางเป็นทองแดงเช่น เดียวกันกับสายคู่เกลียวบิด มีฉนวนห่อหุ้ม เช่นเดียวกัน ที่พิเศษคือจะมีตาข่ายโลหะหุ้ม อีกด้วย ถึงแม้ว่าสายประเภทนี้จะไม่ค่อยได้ เห็นมากนักในปัจจุบัน แต่ก็ควรรับทราบไว้ เช่นกัน ลักษณะของหัวข้อของสายโคแอ็ก เชียล จะเป็นหัวต่อแบบ BNC มีการน�ำสายใยแก้วน�ำแสง มาท�ำเป็นลิงค์ หลัก (Backbone) ของระบบเครือข่ายตาม สายใยแก้วน�ำแสง (FIBER OPTIC) อาคารสูงๆ หรือสถานที่ที่ต้องการเดินสาย เป็นสายสัญญาณที่ดีที่สุด และราคา สัญญาณในระยะทางไกลๆ แพงที่สุดเช่นกัน ลักษณะของสาย จะมีแก้ว หรือพลาสติกใสเป็นสื่อในการน�ำสัญญาณ ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แทนทองแดง ซึ่งข้อดีก็คือ ไม่ ถู ก รบกวน เนื่ อ งจากระบบเครื อ ข่ า ยมี ก ารแบ่ ง จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แถมยังส่งสัญญาณ แยกออกได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบ่ง ได้ไกลกว่ามากด้วย จุดอ่อนอย่างเดียวก็ ตามขนาดของทางกายภาพ แบ่งตามหน้าที่ เห็นจะเป็นเรื่องของการติดตั้งที่ต้องอาศัย การท�ำงาน หรือแม้กระทั่งแบ่งตามระดับ ผู้ช�ำนาญโดยเฉพาะ และใช้อุปกรณ์ในการ ความปลอดภัย เข้าหัวเป็นพิเศษ ประเภทของระบบเครื อ ข่ า ยที่ แ บ่ ง สายใยแก้ ว น� ำ แสง เหมาะอย่ า งยิ่ ง ตามหน้าที่ ส�ำหรับเครือข่ายที่ต้องการรับส่งความเร็ว เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-toสูง หรือมีการส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ peer Network) ตั ว อย่ า งเช่ น การให้ บ ริ ก ารอิ น เตอร์ เ น็ ต เครือข่ายแบบผู้ให้บริการและผู้ใช้ ความเร็ ว สู ง ส� ำ หรั บ ส� ำ นั ก งานขนาดใหญ่ บริการ (Client/Server Network) โรงเรียน โรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้เรายัง (อ่านต่อฉบับหน้า)

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร

นายศิ ริ พั ฒ พั ฒ กุ ล รองผู ้ ว ่ า ราชการจังหวัดนครฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน จังหวัดนครฯ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ�ำนวน ๑,๒๒๒ กลุ่ม จากการประเมินปี ๒๕๕๗ พบว่าอยู่ในระดับดี ๓๖๖ กลุ่ม ปานกลาง ๖๑๖ กลุ่ม และต้องปรับปรุง ๒๔๐ กลุ่ม จุดประสงค์ของการประเมินคือการน�ำมา วางแผนขั บ เคลื่ อ น และพั ฒ นาให้ อ ยู ่ ใ น ระดับที่สูงขึ้นไป เพราะวิสาหกิจชุมชนเป็น รากฐานส�ำคัญในการส่งเสริม ความรู ้ แ ละ ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น การสร้ า งรายได้ และ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ศิริพัฒ พัฒกุล

นายนิพนธ์ สุขสะอาด อนุกรรมการ และเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ เปิด เผยผลวิเคราะห์พบว่ากลุ่มวิสาหกิจส่วน ใหญ่ มี จุ ด อ่ อ น เช่ น เจ้ า หน้ า ที่ ยั ง ขาด ความรู้ ความเข้าใจ กลุ่มยังไม่เข้มแข็ง จริง กลุ่มมากด้วยปริมาณ และตั้งขึ้นเพื่อ ขอรับการช่วยเหลือ เป็นต้น ซึ่งสามารถ พัฒนาโดยถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ การจริง เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจชัดเจน เรี ย นรู ้ ร ่ ว มกั น สร้ า งแรงจู ง ใจและมอบ รางวั ล ด้ ว ยการจั ด ประกวด/แข่ ง ขั น ใน ทุกระดับ


หน้า ๑๖

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

Tarzanboy

ป็ น การสร้ า งแอพพิ เ คชั่ น ให้ แ ก่ เ ด็ ก ๆ ครับ และหวังว่าวันหนึ่งข้างหน้า เขา จะได้ ใ ช้ มั น เป็ น ประโชนน์ ใ นการเรี ย น รู ้ ชี วิ ต ในอนาคต บางเรื่ อ งของวั น นี้ จะ เปรี ย บเสมื อ นเป็ น การฝั ง ชิ ฟ ความรู ้ ความเข้าใจธรรมชาติและชีวิต เราก�ำลัง จะเริ่มท�ำโครงการถอดรหัสป่าจูเนียร์ ซึ่ง เป็นการน�ำเด็กตั้งแต่ ๗ ขวบถึง ๑๒ ขวบ เข้ า สู ่ ก ารเดิ น ป่ า จริ ง ๆ จั ง ๆ เรี ย นรู ้ ก าร ด�ำรงชีพในป่า เรียนรู้การอยู่ร่วมกับป่า มัน ดูออกจะห่ามๆ ดิบๆ หรือหนักไปหน่อย ส�ำหรับการให้เด็กวัยนี้ เรียนรู้การใช้ชีวิต แบบพราน แต่ ผ มมองว่ า ...นั่ น แหละ ส�ำคัญยิ่ง การที่เด็กๆ ของเราจะได้สัมผัส

ภู เ ขาจริ ง ๆ ป่ า จริ ง ๆ ในพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกใดๆ ยิ่ ง ส� ำ คั ญ มาก เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ ...การ ช่วยเหลือตนเอง การอดทน การปรับตัว การน� ำ สิ่ ง รอบข้ า งมาประยุ ก ต์ ผมใช้ ห ลั ก สู ต ร แ บ บ เ ดี ย ว กั บ ผู้ใหญ่ เพราะมองว่าการท�ำ ได้ ห รื อ ไม่ ไ ด้ นั้ น ไม่ ส� ำ คั ญ เท่า ...เขาได้ท�ำ “ถอดรหัสป่าจูเนียร์” จะสอนการใช้ ชี วิ ต ในป่ า จริงๆ ครับ แน่นอนว่า ย่อม มีอันตรายอยู่บ้าง มีความ เสี่ยงพองาม มียุง มีแมลง มี พิ ษ มี ใ บไม้ มี พิ ษ มี สั ต ว์ ป่าอันตราย หรือมีความไม่ สะดวกอยู่เป็นส่วนมาก ... ไม่ว่าในเมืองหรือในป่า เรา ต่ า งก็ ต ้ อ งสอนเขาให้ รู ้ จั ก อั น ตรายทั้ ง นั้ น แหละครั บ ...การให้เขาได้เห็นอันตราย นั้นก่อน ย่อมเป็นแอพพลิเคชั่ น ที่ ดี ที่ สุ ด ดี ก ว่ า การ ห้ามหรือหลบหลีกโดยเขา

ไม่ได้เข้าใจเหตุผล ในป่าเราจะสอนให้เขา ก่อไฟ หุงข้าว ท�ำอาหาร อาจจะมีตัดไม้ มาใช้ประโยชน์ หาพืชผักจากป่า จับปลา หรือเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ จริงๆ นี่ไม่ใช่ค่ายเยาวชนรักษ์ธรรมชาติ ครับ แต่เป็นการปรับตัวเองให้เป็นส่วน หนึ่งของธรรมชาติ เข้าใจว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองหลายๆ ท่านกังวล เป็นห่วง หรือไม่ แน่ใจในเรื่องต่างๆ ...จงแน่ใจเถอะครับว่า ไม่ว่าเราหรือเด็กๆ จะค้นพบค�ำตอบหรือ สร้างภูมิคุ้มกัน หรือเข้าใจความสูงชันของ ภูเขา ความรกทึบของป่า และนั่นก็เมื่อ ..เราได้อยู่ด้วยกันตรงนั้น บทเรียนต่างๆ ไม่ส�ำคัญเท่า ...เรา ได้ อ ยู ่ ด ้ ว ยกั น ตรงนั้ น ครั บ ยิ น ดี ต ้ อ นรั บ สมาชิก “ถอดรหัสป่าจูเนียร์” รุ่น ๑

“นาทาม” คือชื่อของเธอ ๗ ขวบคือ อายุของเธอขณะนั้น ! คุณพ่อเป็นชาวอังกฤษ คุณแม่เป็น คนไทย ...และนี่ อ าจจะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ เ ธอพู ด ไทยได้ ชั ด เปรี๊ ย ะ! คะ ขา

ต่อท้ายทุกประโยค ...เธอและครอบครัว สมั ค รเข้ า เรี ย นหลั ก สู ต ร “ถอดรหั ส ป่ า แอดวานซ์” ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินป่า เรียนรู้วิชาพรานเป็นระยะเวลา ๑๐ วัน ...เป็นสิบวันที่ต้องอยู่ท่ามกลางป่าดิบ ดง ลึ ก ไร้ ผู ้ ค น ต้ อ งเรี ย นรู ้ ทุ ก อย่ า งเกี่ ย วกั บ ป่าที่ต้องพบเจออยู่ ณ ขณะนั้น ..เธอต้อง แบกสัมภาระเอง ต้องเดินป่าเอง บ่อยครั้ง ที่ เ ธอหกล้ ม ลื่ น และหน้ า นิ่ ว คิ้ ว ขมวด บ่งบอกถึงอาการ “เจ็บ” พ่อกับแม่เธอจะ ยืนมองนิ่ง ไม่ช่วยไม่พยุง ไม่ปลอบ ..ไม่ พูดอะไร แม้ยามนั้นเธอจ้องมองอ้อนวอน และร้ อ งขอการโอบกอด ..แต่ ดู เ หมื อ น เป้าประสงค์ต้องการให้เธอ “ลุกขึ้นเอง” และยอมรับในความผิดพลาดของเธอเอง นั้นด้วย ในสิบวันของการเรียนรู้ เหตุการณ์ แบบนี้เกิดบ่อยครั้ง และเกิดไปพร้อมๆ กับ


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

เสียงหัวเราะ กระโดดโลดเต้น ยิ้ม และ ฉงนพร้ อ มกั บ การตั้ ง ค� ำ ถามต่ อ ความ เป็ น “ป่ า ” ในหลายๆ ครั้ ง เธอลงมื อ ก่อไฟเอง หุงข้าวเองทุกขั้นตอน เจียวไข่ ท�ำอาหารอื่นๆ ...เธอพยายามเดินแกะรอย พิจารณารอยเท้าสัตว์ป่า เรียนรู้อะไร อันตรายยังไง ทั้งหมดที่กล่าวมา ..มันเกิดขึ้น ณ ผืนป่าที่นักเดินป่าทั่วประเทศการันตีว่า “หฤโหด” ที่สุดในเมืองไทย เดินยากสุด ต้องใช้ก�ำลังกายก�ำลังใจสูงสุด มีทั้งการ ปี น ป่ า ย มุ ด ลอดคลาน ฝนกระหน�่ ำ ได้ ทุกฤดูกาล ทากยุบยับ และอากาศหนาวเหน็บเกินจะเชื่อว่า นี่คือภาคใต้..มันคือ เส้นทางเดินป่าเขาหลวง นครศรีธรรมราช ป่าฝนต้นน�้ำอันเป็นหลังคาของทักษิณคเณย์ “นาทาม” อยู่กับพวกเรา ๑๐ วัน เต็ ม ครั บ แม้ จ ะมี พ ่ อ แม่ อ ยู ่ ด ้ ว ย แต่ ก็ เหมือนพี่เลี้ยงที่ดูแลห่างๆ เท่านั้น สรรพสิ่ ง รอบตั ว อั น ตรายครั บ ทว่ า มั น ก็ เ ป็ น เหมือนภาพฝัน เป็นเหมือนเทพนิยายที่ เจ้ า หญิ ง ตั ว น้ อ ยได้ โ ลดแล่ น เคล้ า เคลี ย สายหมอกขาว เธอเหมื อ นเทพธิ ด าใน จินตนิยาย ต่างกันตรงที่ตรงนั้นคือของ จริง !! ....วิชาพรานที่เรียกว่า “ถอดรหัส ป่ า ” อาจจะมี ห ลายบทหลายตอน แต่ บทหนึ่งที่เรียกว่า “โหด” คือการเรียน แอดวานซ์ ซึ่ ง ต้ อ งใช้ ชี วิ ต อยู ่ ท ่ า มกลาง ดงลึกร่วม ๑๐ วัน ต้องเรียนรู้ไปพร้อม กั บ ฤดู ก าล ต้ อ งดู แ ลชี วิ ต ของตั ว เองทุ ก ย่ า งก้ า ว มั น ควรเป็ น หลั ก สู ต รส� ำ หรั บ ผู ้ ใ หญ่ ไม่ ใ ช่ ส าวน้ อ ยวั ย ๗ ขวบ ..แต่ หลั ง จากจบทริ ป คราวนั้ น ทั ศ นคติ ข อง ผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง มันสรุปคร่าวๆ ง่ายๆ ได้ว่า ไม่มีเหตุผลใดที่เราจะสอนตี กรอบขีดความสามารถของใคร เพียงมอง ว่า เขา หรือ เธอ อายุเพียง ๗ ขวบ และ ไม่มีเหตุผลใดที่เราจะเลือกเอาความกลัว ความวิตกกังวล เป็นก�ำแพงที่ถูกก่อขึ้น สูง บวกกับความรักอันมากเกินมากด้วย แล้ว ก�ำแพงนี้ยิ่งสูงเกินกว่า “เด็ก” จะปีน ป่ายออกไปได้ ...เด็กหลายคนสามารถปีน ก�ำแพงนี้ได้ครับ ทว่าบ่อยครั้งที่หลายคน ไม่ยอมปีนกลับมาอีกเลย เพราะก�ำแพง แห่งรักนี้สูงเกินป่าเทือกเขาใดๆ ในหล้า ! “นาทาม” คือชื่อของเธอครับ และ ณ ขณะนั้นเธออายุเพียง ๗ ขวบ !!

นครศรีธรรมราช

นพ.รังสิต ทองสมัคร์

ช่วงนี้เมืองคอนคึกคัก นอกจากคนคอนหลบบ้านแล้ว ยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาในนครกันมาก เฉพาะทีมถ่ายภาพก็มีหลายกลุ่มเหลือเกิน ที่เข้ามาเก็บภาพในช่วงเดือนสิบนี้ บางวันฝนฟ้าไม่เป็นใจให้นักถ่ายภาพ แต่เมื่อฝนเจิ่งนองลาดหาดทรายแก้ว มุมที่น่าอัศจรรย์ของวัดพระธาตุก็ปรากฏ ให้เราได้รุมถ่ายภาพกันแบบนี้

หน้า ๑๗


หน้า ๑๘

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นภสร มีบุญ

บับนี้ ขอพูดคุยเกี่ยวกับประเพณีบุญ สารทเดือนสิบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ ของคนเมืองคอน การจัดงานประเพณีบุญ สารทเดื อ นสิ บ ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๐ นั บ จนถึ ง บั ด นี้ เ ป็ น ปี ที่ ๙๑ แล้ ว ส� ำ หรั บ การจั ด ประกวดหฺ มฺ รั บ จั ด ให้ มี ขึ้ น ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นต้น มา และเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ จังหวัด นครศรีธรรมราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลหมฺรับ ทองค�ำ ส�ำหรับกลุ่มอ�ำเภอที่ชนะเลิศการ ประกวดหมฺรับ เป็นต้นมา ประเพณี บุ ญ สารทเดื อ นสิ บ ซึ่ ง ชาว จังหวัดนครศรีธรรมราช เชื่อว่า วันแรม ๑ ค�่ำเดือน ๑๐ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จะ ได้รับอนุญาตจากนายนิรยบาล ให้ขึ้นมาสู่ โลกมนุษย์ เพื่อมารับส่วนบุญส่วนกุศลจาก ลูกหลาน และจะกลับสู่เปตภูมิในวันแรม ๑๕ ค�่ำเดือน ๑๐ วันดังกล่าว ลูกหลานจะ จัดพิธีท�ำบุญส่งตายาย ส� ำ หรั บ กิ จ กรรมแห่ ห มฺ รั บ ปฏิ บั ติ สื บ ทอดกั น มาช้ า นาน ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ร่ ว มกั น รั ก ษาประเพณี ข องชาวนครฯ ให้ ค งอยู ่ สืบไป ขบวนหมรับต่างๆ ของทุกปี ล้วน มี ก ารตกแต่ ง หมฺ รั บ และขบวนแห่ อ ย่ า ง สวยงาม ยิ่งใหญ่ตระการตา อันประกอบ ด้วยการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงประเพณี ศิ ล ปวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น พร้ อ มหุ ่ น เปรต ขบวนช้าง ขบวนม้า ซึ่งยกขบวนกันมาเป็น พิเศษในปีนี้ โดยริ้วขบวนหมฺรับเริ่มเคลื่อน ตั ว จากบริ เ วณถนนราชด� ำ เนิ น หน้ า ศาลา ประดู่หก สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช

ไปสิ้นสุดที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มี การถ่ า ยทอดสดผ่ า นที วี ใ นท้ อ งถิ่ น หลาย สถานี ทั้ ง เคเบิ ล ที วี ที วี ด าวเที ย ม ฟรี ที วี และสถานีวิทยุกระจายเสียง และในเวลา ๑๙.๐๐ น. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีพิธีทางศาสนาสมโภชหมฺรับ ณ ศาลา ๑๐๐ ปี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัลชนะ การประกวดหมฺรับและขบวนแห่หมฺรับด้วย ดั ง นั้ น นอกจากนั ก ท่ อ งเที่ ย วจะได้ ชื่ น ชม ความสวยงามของขบวนแล้ว ยังมีโอกาส ได้สัมผัสกลิ่นไอวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ที่ได้

สื บ ทอดกั น มาจากอดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ซึ่ ง นอกจากอั ต ลั ก ษณ์ ข องประเพณี ท ้ อ งถิ่ น ดังกล่าวแล้ว จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ยัง มีของดีอีกมากมายที่พร้อมจะอวดสายตา นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ไม่ ว ่ า จะเป็ น อาหารรสเด็ ด เลื่ อ งชื่ อ ผลไม้ ร สชาติ แ สนหวานอร่ อ ย หัตถศิลป์อันประณีตงดงามสมราคา ไม่ว่า จะเป็ น จั ก สานย่ า นลิ เ ภา ถมเงิ น ถมทอง สร้อย-แหวนนะโม ฯลฯ รวมไปถึงสถานที่ ท่องเที่ยวอีกมากมาย ที่พร้อมรอนักท่อง เที่ ย วมาสั ม ผั ส อย่ า งใกล้ ชิ ด ดั ง ค� ำ กล่ า ว ที่ ว ่ า นครเมื อ งเดี ย วเที่ ย วได้ ต ลอดปี ที่

พู ด มานี่ . .ไม่ มี โ ม้ น ะคะ เพราะการั น ตี ไ ด้ จาก ๑๓ รางวั ล กิ น รี จ ากการท่ อ งเที่ ย ว แห่งประเทศไทยที่เทใจให้คะแนนไว้กับคน เมืองคอน .. ปีหน้าฟ้าใหม่ อย่าพลาดนะคะ หาโอกาสมาท่องเที่ยวกันให้ได้ นครศรีฯ ดี๊ ดี ..ยินดีต้อนรับทุกท่านเสมอค่ะ ขอบคุณภาพจาก .. - ส.ปชส.นครศรีธรรมราช - คุณสิวะ พันธภาค นสพ.ไทยรัฐ - ททท.นครศรีธรรมราช - ภาพจากเฟสบุ๊ค

ด�ำเนินการโดย..บริษัท เอส.พี.เอ.คอมพิวเตอร์ จ�ำกัด และ บริษัท เพชรไพลิน ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนักธุรกิจรุ่นใหม่ ติดต่อเช่าพื้นที่ โทร.082-2922437 (คาดว่าจะแล้วเสร็จราวกลางปี 2556)


ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

นครศรีธรรมราช

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ

<< ต่อจากหน้า ๒

เมาะตะมะที่ต่อมาจากอ่าวเบงกอล ในขณะที่ ด้านตะวันออกมี ๒ อ่าวคือ อ่าวเพอริมูลิคัส กับ Magnus Sinus หรืออ่าวใหญ่ที่น่าจะคือ อ่าวตังเกี๋ย จึงท�ำให้ได้ข้อสรุปว่าอ่าวเพอริมูลิคัสนั้นน่าจะคืออ่าวไทยซึ่งสอดคล้องกับการ ระบุไว้ที่ก้นอ่าวว่ามีเมืองชื่อ Samarada ที่ใคร จะอ่านว่าอย่างไรไม่ทราบ แต่ผมอ่านได้ว่าคือ สามรัฐ ที่อาจจะสอดคล้องกับแดน “เสียน” ที่ ต่อมารวมกับ “หลอหู” เป็น “เสียนหลอ” ใน อีกหลายร้อยปีต่อมาจนเกิดเป็น “สยาม” และ กลายมาเป็น “ไทย” ในทุกวันนี้ ในแผนที่นี้ มีการตีความกันหลายกระแส ตะโกลานั้ น เชื่ อ กั น ว่ า คื อ ที่ ก ลายมาเป็ น ตะกั่วป่าในทุกวันนี้ ปะลันดา มีบางท่านว่าคือ ปะเหลียน แต่มีปัญหาตรงที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร

แผนที่โลก Ptolemy’s World Map ในความครอบครองของ Vatican Library, Rome อิตาลี

ลงไป โดยที่ เพอริมูลานี้เองที่มีการตีความว่า น่ า จะคื อ เมื อ งนครเมื่ อ สมั ย นั้ น พร้ อ มกั บ การ ตีความด้วยว่าอ่าวเบอริมูลิคัสนั้นอาจจะหมาย ถึงอ่าวนครที่กว้างยาวไปไกลก่อนที่จะเรียกกัน ว่าอ่าวไทยเสียด้วยซ�้ำ ซึ่งถึงขณะนี้ยังไม่มีการ ศึกษาค้นคว้าหาค�ำตอบได้ชัดเจนเป็นที่ยุติ จึง

ขอน�ำแผนที่มาลงไว้ให้ช่วยกันดูและขบคิดค้นหา กันต่อไป ทั้งนี้ขอน�ำแผนที่โลกโตเลมีฉบับหอสมุด แห่งนครรัฐวาติกันที่วาดไว้เมื่อประมาณ พุทธ ศควรรษที่ ๑๙ มาแสดงในที่นี้ ตรงกลางภาพ คื อ อ่ า วเปอร์ เ ซี ย ต่ อ ลงทางใต้ เ ป็ น มหาสมุ ท ร

หน้า ๑๙

อิ น เดี ย มี เ กาะลั ง กาขนาดใหญ่ ก ่ อ นที่ จ ะถึ ง “แหลมทอง” หรือ Golden Chersonesus ที่มี ๒ อ่าวใหญ่ทางตะวันออกสุดล้อมรอบด้วย แผ่นดินใหญ่ของ “จีน” ที่อ้อมลงมาต่อเป็นผืน แผ่นดินเดียวกับอาฟริกา ด้วยในยุคนั้นยังไม่รู้ จักทั้งมหาสมุทรแปซิฟิค ทวีปออสเตรเลียและ อเมริกา โดยแผนที่นี้มีระบุต�ำแหน่งต่าง ๆ ทั้ง เมืองท่า มหานคร แม่น�้ำ ภูเขาไว้ตามต�ำราของ โตเลมีร่วม ๘.๐๐๐ ต�ำแหน่ง หาก “เพอริมูลา” คือเมืองนครจริง ก็ น่าจะที่ภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนครของเรา ขอได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้ากันต่อหรือท่านใด มีข้อมูลที่มากกว่านี้ก็กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย ครับ. ๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ อ้างอิง ๑) Ptolemy, 2 nd cent. The Geography / Claudeus Ptolemy ; New York : New York Public Library, 1932. ๒) Jerry Brotton. Greatmaps: the world’s masterpieces explored and explained; London, Dorling Kindersley Limited, 2014


หน้า ๒๐

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.