หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ฉบับที่ 14 เดือนพฤศจิกายน 2555

Page 1

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

http://www.nakhonforum.com

ราคา ๒๐ บาท

สัมภาษณ์พิเศษ

¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑ­ญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย สุธรรม ชยันต์เกียรติ ศิลปินถิ่นนคร รศ.วิมล ด�ำศรี àÅèÒàÃ×èͧàÁ×ͧà¡èÒ ¼È.©ÑµÃªÑ ÈØ¡ÃСҭญ¨น์ รักสุขภาพ นพ.อิสระ หัสดินทร์ มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

˹éÒ ò ˹éÒ ó

เมืองนครก�ำลังขยายตัวและเติบโตแทบทุกๆ ด้าน ˹éÒ ๔ ยกเว้นระเบียบวินัยในการขับขี่ อุบัติเหตุเกิดขึ้น ˹éÒ ñ๐ ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ˹éÒ ññ ˹éÒ ñ๒

˹éÒ ñ๓

และชี วิ ต จ� ำ นวนมาก โศกนาฏกรรมครั้ ง นี้ จุ ด ประกายให้ พระบุญฤทธิ์ หงส์ประสาธน์ ประธานกรรมการมูลนิธิประชา ร่วมใจ อ.ขนอม จ.นครศรีฯ เปิดแผนกบรรเทาสาธารณภัย ณ วัดบูรณาราาม ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีฯ เพื่อช่วยเหลือ วั น ที่ ๒๒ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ จะครบวาระ ๒๔ ปี ผู้ประสบภัยต่างๆ ช่วยเหลือกิจการโรงพยาบาล การศาสนา โศกนาฏกรรมน�้ำป่าหอบโคลนพร้อมซุงถล่มหมู่บ้านใน ต.กะทูน สาธารณประโยชน์และสงเคราะห์ผู้ทุกข์ยาก อ.พิปูน จ.นครศรีฯ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ทรัพย์สิน >> อ่านต่อหน้า ๘

รายงาน

˹éÒ ñ๗

อธิการบดี มรภ.นครศรีฯ ประชุมชี้แจงรายละเอียด ‘พระบรมธาตุ สู่มรดกโลก’ ระบุปลายปี ๒๕๕๗ แฟ้มข้อมูลจะพร้อมยื่นให้คณะกรรมการมรดกโลก รัฐบาล ‘นายกฯ ยิ่งลักษณ์’ ร่วมรณรงค์

เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นักประวัติศาสตร์และหัวหน้าคณะจัดท�ำ ‘แฟ้มข้อมูล’ (Nomination Dossier/นอมิ เ นชั่ น โดซิ เ ย) ประชุ ม ชี้ แ จงแนวทางรณรงค์ และการจัดท�ำแฟ้มข้อมูลเสนอคุณสมบัติอันโดดเด่นของพระบรมธาตุ ฯ เสนอต่ อ คณะกรรมการมรดกโลกเพื่ อ พิ จ ารณา ตัดสินให้เป็นหรือไม่เป็นมรดกโลก >> อ่านต่อหน้า ๙ ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์


หน้า ๒

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

น าม-สี่เดือนมานี้ถนนหนทางในจังหวัดนครศรี ธรรมราชคับแคบลงไปอย่างมาก บนท้องถนน รถยนต์กับจักรยานยนต์ป้ายแดงเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น สัญญาณฉุกเฉินจากรถยนต์ของหน่วยกู้ภัยดังถี่ขึ้น เช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่น่ารับฟังนัก ถ้าไม่ ประสบเคราะห์กรรมด้วยตัวเอง ผู้ประสบเป็นญาติพี่ น้องหรือเพื่อนฝูง ขณะที่สังคมร้องหาถนนเพิ่มเพื่อ ความสะดวก ในหลายๆ ประเทศจ� ำ นวนยวดยานบนท้ อ ง ถนน ไม่ใช่สาเหตุของอุบัติเหตุ เพราะวิศวกรรมเกี่ยว กั บ การจราจร เช่ น มาตรฐานของถนน ที่ จ อดรถ พักข้างถนน ไฟสัญญาณ ป้ายบอกทาง กฎหมาย และข้อบังคับส�ำหรับผู้ขับขี่ ตลอดจนความเคารพ ต่อกฎหมาย และวินัยของผู้ขับขี่ ไม่เปิดโอกาสให้ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แม้ว่ายวดยานจะเนืองแน่น ท้องถนน สภาพดินฟ้าอากาศอาจเป็นต้นเหตุให้ขับขี่ยาก เช่น หมอกจัด ควันไฟปกคลุม มีสิ่งกีดขวาง ฝนตก ถนนลื่นและน�้ำท่วม แต่ไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดของอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปัจจัยหลักหรือสาเหตุหลัก ของอุบัติเหตุในประเทศไทย คือ ผู้ขับขี่เสพสุราและ เครื่องดื่มมึนเมา ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ การออก ใบขับขี่ไม่ถูกต้อง ผู้ขับขี่อายุน้อย ความประมาท ไม่รู้ และไม่เคารพกฎจราจร นครศรีธรรมราชก�ำลังย่างเข้าสู่ฤดูฝน สภาพดิน ฟ้าอากาศแปรเปลี่ยน ฝนตกถี่ขึ้น ภูเขาพัง น�้ำนอง หลากและท่วมขัง ความปลอดภัยในการขับขี่น้อย ลง ถ้าขับรถด้วยความประมาทและเมาขับ ความ ปลอดภัยในการขับขี่จะลดน้อยลงไปอีก สัญญาณ ของหน่วยกู้ภัยจะดังถี่ขึ้น ถ้าท่านก�ำลังใช้ถนนโปรด อย่ า ร� ำ คาญสั ญ ญาณและรี บ ให้ ท างอย่ า งรวดเร็ ว เพราะข้ า งหน้ า อาจมี ค นบาดเจ็ บ คนที่ ล มหายใจ สุ ด ท้ า ยก� ำ ลั ง จะมาถึ ง ถ้ า ผู ้ ป ระสบอุ บั ติ เ หตุ ที่ ยั ง มี ชี วิ ต ถึ งมื อ หมอเร็ ว เท่ า ไร โอกาสรอดก็ มี ม ากขึ้ น เท่านั้น แต่ผู้รอดชีวิตอาจอยู่ในสภาพที่ไม่น่าพอใจ ดังนั้น โปรดช่วยกันลดสัญญาณเสียงของหน่วยกู้ภัย

ครดอนพระเดือนนี้ ขอเริ่มด้วยค�ำขอบคุณทางจังหวัด นครศรีธรรมราชที่ส่งสรุปกิจกรรมนครศรีดี๊ดีมาให้ ซึ่ง โดยรวมก็ครบตามที่ผมเสนอแล้วในบทที่แล้ว และได้ทราบ ว่ า ถื อ เป็ น การบู ร ณาการครั้ ง ส� ำ คั ญ ของจั ง หวั ด ที่ มุ ่ ง สร้ า ง ภาพลักษณ์และการรับรู้ ยังไม่ได้ขยับอะไรในพื้นที่นอกจาก หลากหลายงานในเดือนตุลาที่ไม่รู้ข่าวคราวอะไรนัก โดย

ก�ำลังจะขยับใหญ่ในรอบปีงบประมาณใหม่ ทราบว่าในรอบ แรกนี้ได้ใช้งบประมาณไปแล้ว ๒๑ ล้านบาท ซึ่งเมื่อผมลอง ท่องเน็ตดู ยังไม่พบมีอะไรเพิ่มใหม่ ในจ�ำนวนแฟ้มเรื่องที่เพิ่ม เป็น ๖ แสนนั้น ๔ แฟ้มหลักเดิมมีจ�ำนวนคนเข้าชมไม่เพิ่มขึ้น มาก เช่นสารคดีหลักแนะน�ำนครศรีดี๊ดี ที่เดือนที่แล้ว (๑๓ ก.ย.) มีผู้เข้าชม ๑๙,๖๐๕ ครั้ง เพิ่มขึ้นมาเป็น ๒๑,๙๕๕ ครั้ง (๑๗ ต.ค.๕๕) รองมาก็เป็นงานแถลงข่าวเปิดตัว และท้ายสุด คือใน เรื่องเล่าเช้านี้ ของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ประมาณ ๕ นาที มีสถิติผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นจาก ๑,๑๗๖ และ ๘๕๓ ครั้ง เป็น ๑,๓๗๓ และ ๙๙๔ ครั้งตามล�ำดับ โดยฉบับภาษาใต้มีคน เข้าชมเพิ่มจาก ๓,๘๓๓ ครั้ง เป็น ๔,๔๕๖ ครั้ง มีของคุณหมอ รังสิต ทองสมัคร์ แซงคุณสรยุทธขึ้นมาเป็น ๑,๖๕๒ ครั้ง ใน ขณะที่เฟซบุ๊คซึ่งท�ำอย่างสวยงามนั้น มีผู้เข้าชมและกดไลค์ เพียง ๑,๗๓๓ รายอย่างเหลือเชื่อ หวังว่าท่านที่เกี่ยวข้อง คงจะได้ขบคิดในการขยับรอบใหม่เพราะเข้าใจว่าน่าจะใช้งบ กันไม่น้อย ซึ่งต้องให้คุ้มค่า ภาษีอากรของเราทุกคนทั้งนั้น เฉพาะที่ผมได้ตามดูคือ “งานเดือนสิบ ‘๕๕” เฉพาะ ในตัวเมืองมีถึง ๖ จุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน เริ่มจาก (๑) ที่ ทุ่งท่าลาดซึ่งเต็มไปด้วยร้านค้าสวนสนุก เวทีและนิทรรศการ น่าจะยังอยู่ท้ายปลายงานอย่างเหงาๆ เหมือนเดิม ในขณะที่ (๒) ในวัดหน้าพระบรมธาตุ นั้นจัดเป็นระบบแบบแผนค่อน ข้างลงตัวในลักษณะของตลาดย้อนยุคที่สวยสงบน่าเที่ยวมาก ยิ่งหากได้ข้ามถนนไปในวัดพระบรมธาตุด้วยแล้ว จะยิ่งวิเศษ สุด อีก ๓ แห่งที่เกิดใหม่ในปีนี้ เริ่มจาก (๓) หน้าศาลากลาง จังหวัด ตั้งเป็นเวทีภาคประชาชนเดี่ยวๆ เขียนป้ายประกาศ ชื่องานว่า “เปรต ๕๕” อย่างน่าตกใจส�ำหรับคนไม่เข้าใจที่ ได้เห็นอย่างนี้หน้าศาลากลางจังหวัด ในขณะที่ (๔) ในสนาม หน้าเมืองได้ยินประกาศการออกงานร้านค้าสวนสนุกยิ่งใหญ่ โดยภาคเอกชน ข้ามไป (๕) ที่สวนศรีธรรมาโศกราช ตั้งเป็น

สนามประชันแข่งขันหนังหรือโนรา ที่เคยเป็นต�ำนานงาน เดือนสิบเมื่อหลายสิบปีก่อนแล้วเพิ่งจะกลับมาปีนี้ ส่วน ที่แถวโลตัส ทราบว่า (๖) ตลาดลีที่ท�ำมาหลายปีก็ยังยืน หยัดจัดงานอีกปี ผมอยากชวนคิดตามทฤษฎีเชิงระบบ ซึ่งว่าไว้ว่า ณ จุดโกลาหลไร้ระบบที่สุด จะมีสิ่งบังเกิดอย่างหลาก หลาย ในนั้นจะมีนวัตกรรมริเริ่มและสร้างสรรค์ แล้วผ่าน การคัดเลือกรังสรรค์ของผู้คนให้พัฒนาต่อ ตามทฤษฎี บอกว่า สิ่งดีจะได้รับการเลือกสรรจรรโลงไว้ให้ยั่งยืนนาน แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าอย่างไรและเมื่อใด ? ได้แต่หวังและ มั่นใจอยู่เสมอว่าเมืองนครเรานั้นมีดี ในที่สุดสิ่งดีและงาม จะบังเกิดสมชื่อ นคร ศรี - ธรรม - ราชา นครอั น งามสง่ า แห่ ง ผู ้ ป กครองที่ ท รงธรรม หวังว่านครศรีและเดือน สิ บ เมื อ งนครเราจะดี๊ ดี ขึ้ น เรื่ อ ยๆ นะครั บ แม้ เ มื่ อ เช้ า นี้ ข ณะที่ นั่ ง แท็ ก ซี่ ม าขึ้ น เครื่องบินเที่ยวเช้ามาเมืองนคร ได้ยินคนอีสานที่มาท�ำงาน อยู่ชุมพรโทร.เข้าสายรายการวิทยุของคุณก�ำภู ภูริภูวดล บอกว่ า เพิ่ ง กลั บ มาจากงานเดื อ นสิ บ ที่ เ มื อ งนคร ไปกั น ๓ คน ถูกกรีดกระเป๋าขโมยเงินสูญไปตั้ง ๕,๐๐๐ กว่าบาท “ไม่น่าเลย ไปท�ำบุญให้แท้ๆ” เขาบ่นอย่างนั้น อีกอย่าง ก่อนหน้านี้ ระหว่างวันที่ ๒๗ กันยายน ๑ ตุลาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดีย โดยสถานเอกอัครราชทู ต อิ น เดี ย ประจ� ำ ประเทศไทย ได้ เ ชิ ญ ผมไปร่ ว ม ประชุม Buddhist Conclave กับผู้แทนจาก ๓๐ กว่า ประเทศทั่วโลกเรื่องการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ในอินเดีย ณ มหาโพธิวิหารแห่งการตรัสรู้ที่พุทธคยา ผม เห็นคนอินเดียจ�ำนวนมากแห่กันมาบูชาพระศรีมหาโพธิ์ ก็ พลอยปี ติ แต่ ถ ามไปถามมาได้ ค วามว่ า เป็ นประเพณี เดือนสิบของคนอินเดียที่นิยมท�ำบุญแก่บรรพบุรุษที่ล่วง ลับในช่วงเดือนสิบ โดยปีนี้พบปรากฏการณ์พิเศษ มีการ ยกขบวนมาจาริกแสวงบุญกันมากที่มหาโพธิวิหารแห่งนี้ ด้านหนึ่งก็ถือเป็นศูนย์รวมศรัทธามหาชน อีกด้านหนึ่ง มี คนเกรงว่าอาจมีการขับเคลื่อนอะไรหรือไม่ในหมู่ชาวฮินดู หลังจากยกพื้นที่ นี้ให้ชาวพุทธมากว่า ๕๐ ปี ตั้งแต่พุทธ ชยันตี เมื่อกึ่งพุทธกาล ๒๕๐๐ ปี งานนี้นอกจากได้พบรอย ประเพณีบุญเดือนสิบที่อินเดียแล้ว ยังได้เห็นอาการปนเป กันของพุทธและพราหมณ์ที่นั่น ชวนนึกถึงชาวพุทธไทย เราก็ประมาณกัน อันที่จริงผมได้คุยกับศาสตราจารย์แห่ง มหาวิทยาลัยนิวเดลีผู้ยกร่างการน�ำ เสนอมหาโพธิเจดีย์ที่ พุทธคยาให้รัฐบาลอินเดียจนได้เป็นมรดกโลกเมื่อ ๑๐ ปีที่ แล้วด้วย ไว้โอกาสหน้าจะเล่าให้ฟังครับ. ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๕


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๓

จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร

คยเขียนถึงเก๋งจีนภายในวัดประดู่พัฒนาราม อ�ำเภอ เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชไปแล้วครั้งหนึ่ง คราวลูก หลานผู้ศรัทธาต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชร่วมใจ จัดประกอบพิธีเช็งเม้ง (ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน) หลังเก๋ง จีนบูรณะเสร็จใหม่ๆ ผมเรียนมัธยมต้น สมัยนั้นเรียก ม.ศ.๑- ม.ศ.๓ ที่ โรงเรียนสุวรรณศิลป์วิทยา กินข้าวก้นบาตรพระเณรวัด ประดู่พัฒนารามพอได้แตกเลือดแตกเนื้อเป็นหนุ่ม ก่อน ไปเรียน ม.ศ. ๔-๕ ที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ‘แตกเลือด’ ถ้าใช้หูชาวบ้านหรือคนทั่วไปฟัง-- ค�ำ นี้จะเป็นค�ำหยาบ ทั้งๆ เป็นค�ำที่มีความหมายดี คือ ข้าว ปลาอาหารที่กินเข้าไป ถูกกลไกของร่างกายเปลี่ยนแปลง ให้เป็นเม็ดเลือดหล่อเลี้ยงร่างกายให้เติบโต เพราะอะไร

แตก(เม็ด)เลือดจึงกลายเป็นค�ำหยาบไปก็ไม่ทราบ ถอยกลับมาตอนอยู่วัดประดู่พัฒนาราม ที่หลบที่ ซ่อนหรือที่เล่นของเด็กวัดซนๆ บ่อยครั้งมักอาศัยเก๋งจีน เก่าแก่ทรุดโทรมขาดการบูรณะ บางค�่ำบางคืนกลายเป็น สถานที่ซุ่มเสพเฮโรอีนของปีศาจแปลกหน้า เด็กวัดไม่ ค่อยรู้ว่าภายในเก๋งบรรจุอัฐิของใคร แม้ครูน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนฯ หลายสมัย และอดีตรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการเคยไปบรรยายที่โรงเรียนให้ ฟัง แต่เรื่องราวดีๆ ไม่เคยเข้าหู กระนั้นก็ยังรู้สึกคุ้นเคย ใกล้ชิดกับเก๋งจีนหลังนี้ ลาออกจากวัดร่อนเร่พเนจรไปอยู่ที่ไหนๆ ร่วม ๔๐ ปี กลับมาพบอีกทีเก๋งจีนทรุดโทรมได้รับการบูรณะเสีย ใหม่เอี่ยม ส่วนจะเหมือนของเก่าดั้งเดิมหรือไม่ต้องไป ค้นหาภาพเก่าๆ ที่ส�ำนักศิลปากรที่ ๑๓ จังหวัดสงขลา หรืออาศัยค�ำบอกเล่าของผู้อาวุโส อ่านข่าวที่ ‘น้องอุไรวรรณ สุภาแดง’ ฝ่ายประชาสั ม พั น ธ์ ค นขยั น ของจั ง หวั ด ส่ ง มาทางจดหมายอิ เ ล็ ก ทรอนิกส์ เรื่องจังหวัดและสายสกุล ‘ณ นคร’ ประชุม เตรียมจัดกิจกรรมสมโภชเก๋งจีนวัดประดู่แล้วรู้สึกดี เรื่อง ที่ จั ง หวั ด ท� ำ แล้ ว ไม่ รู ้ สึ ก ดี ก็ มี แต่ ผ มเก็ บ แปะติ ด ไว้ ใ น เรือนใจ--บาปกรรมใดใครท�ำกับประชาชน อ�ำนาจแห่ง บาปกรรมจะตามเกาะกินลึกเกินหยั่งถึง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พูดไว้ท�ำนองนี้ ในข่าวระบุว่า เดชา กังสนันท์ ปลัดจังหวัด เป็น ประธานประชุมจัดเตรียมความพร้อมร่วมกับลูกหลานใน ‘สายตระกูล ณ นคร’ น�ำโดย คุณย่าสมใจ ณ นคร แล้ว

ก�ำหนดเอาวันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นวันสมโภช ย่ อ หน้ า นี้ บ อกกล่ า วกั บ เด็ ก ๆ ถึ ง ความเป็ น มาของ เก๋งจีนเก่าแก่ ซึ่งสมควรจัดการสมโภชและประกาศคุณค่า ให้ ท ราบโดยทั่ ว กั น ว่ า เก๋ ง จี น หลั ง นี้ เ ป็ น สถานที่ เ ก็ บ พระอัฐิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเจ้าพระยา นครศรีธรรมราช (น้อย) ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ โดย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) เจ้าเมืองนคร ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยานคร(น้อย) ผู้เป็นโอรสของสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชกับเจ้าจอมมารดาปราง ซึ่งเป็น ช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ กรมศิลปากรขึน้ ทะเบียนเป็นโบราณ สถานแห่งชาติ เมือ่ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศ ก�ำหนดเขตทีด่ นิ โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘ มีขนาดกว้าง ๖.๓๐ เมตร ยาว ๖.๔๐ เมตร เป็นผนังก่ออิฐถือปูนหนา ๔๕ เซนติเมตร เป็นผนังทึบสาม ด้าน เว้นแต่ด้านหน้าที่เป็นเครื่องไม้แกะสลัก เป็นลวดลาย มังกรคู่ และฉลุลวดลายสัตว์รปู หงส์รอ่ น รูปไก่ฟา้ ทองค�ำ รูป นกกระเรียนขาว และลายพรรณพฤกษา ลายดอกโบตั๋น คานและเสามีลักษณะเหลื่อมซ้อนกัน โดยใช้ตะปูไม้เป็นตัว ยึดและใช้การเจาะร่องเสา ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ ๑๒

ปิดทอง ขนาดฐานกว้าง ๑.๗๐ เมตร สูง ๓.๑๐ เมตร ฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานสิงห์ มีฐานบัวซ้อนกันขึ้นไป ๒ ชั้น เป็นลายปูนปั้นบัวคว�่ำบัวหงาย ส่วนยอดท�ำเป็น ดอกบัวตูม ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นเป็นลายกนกไทย ลาย กระจั ง ตาอ้ อ ยและประดั บ ด้ ว ยกระจกสี บ นพื้ น สี แ ดง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ ๑ งาน ๒๘ ตารางวา และได้รับ การบูรณะครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยคุณพร้อม ณ นคร และสายสัมพันธ์ ร่วมกับกรมศิลปากร และบูรณะ ครั้งล่าสุดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๕ โดยกรมศิลปากร และพระครูปริยัติคุณาสัย (รั่น อริโย) เจ้าอาวาสวัดประดู่พัฒนาราม ปี ๒๕๕๕ ครบรอบ ๑๗๐ ปีแห่งการก่อสร้างพอดี กิ จ กรรมสมโภช นอกจากพิ ธี พ ราหมณ์ แ ละพิ ธี สงฆ์แล้ว ยังมีการขับเสภาสรรเสริญพระเกียรติคุณและ การแสดงร�ำชาตรีตะลุงบูชา ‘พระเจ้าตาก’ การจัดโรง ทานมหาบุญ การเชิดสิงโต และการแสดงงิ้วเรื่องสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชตีก๊กเจ้าพระยานคร (หนู) พิธีสมโภชครั้งนี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์และ เป็นปูมเมือง ทีแ่ สดงความเคารพยกย่องต่อดวงวิญญาณ ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้ชาติและเจ้าเมืองนคร ผู้วีระอาจหาญ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที เชื่อว่าช่วงสมโภชพี่น้องสายตระกูล ณ นคร หลาน เหลน ‘พระเจ้าตาก’ และสายสัมพันธ์จะเดินทางมาร่วม สมทบกับชาวนครอย่างล้นหลาม ประวัติศาสตร์เมืองนครหน้าใหม่จะเพิ่มขึ้นอีกนับ สิบหน้ากระดาษ


หน้า ๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

โดย : นครา

ชวนคชวดิ นคยุ สุธรรม ชยันต์เกียรติ

านเดือนสิบปีนี้อื้ออึงเป็นพิเศษ ที่บอกว่าอื้ออึงคือเดินทางเข้า มาในเขตเทศบาลรถจะติดกันเป็น ทิ ว แถว สองข้ า งทางล้ ว นมี ภ าพ โฆษณาติดหราชวนเชิญไปเที่ยวงานเดือนสิบ ทั้งรถแห่ ก็มีเสรีในการใช้เสียง งานเดียวกันมีรถแห่ ๕ คัน ทุกคัน ล้วนกระหน�่ำเสียงโฆษณาอย่างเต็มที่ สถานที่จัดงานหลัก คือ ทุ่งท่าลาด ปีนี้ขยายพื้นที่ให้ร้านรวงได้เปิดเพิ่มอีกนับ ร้อย สนามกีฬาก็จัดดนตรีมีนักร้อง จัดกันเต็มสนาม กีฬา ที่เคยจัดกันในทุ่งท่าลาดก็หลีกทางให้ร้านค้าเข้ามาจัดกัน ที่นี่ ดิ้นรนหาคนสนับสนุนกันเหนื่อย สนามหน้าเมืองพื้นที่ หย่อนใจของชาวเมือง ก็กลับมาแน่นเอี๊ยดไปด้วยร้านค้า อีกครั้ง หลังจากย้ายงานเดือนสิบไปจัดที่ทุ่งท่าลาดเสีย ๒๐ ปีพอดี สวนศรีธรรมาโศกราช จัดประกวดหนังตะลุงกัน ปี นี้ร้านค้าท้องถิ่นมาวางขายประปราย การจัดงานดูเหมือน จะขาดการเตรียมการ แม่งานเป็นวัฒนธรรมจังหวัด หัว เรือใหญ่เกษียณราชการพอดี คนอื่นต้องวิ่งมาช่วยกัน จ้าละหวั่น กว่าจะเป็นงานขึ้นมาได้ งบก็มีน้อยนิด ไฟฟ้า ทั้งประปาก็กระท่อนกระแท่น คืนแรกๆ บรรยากาศงาน มืดครึ้มวังเวงดี สมกับเป็นงานบุญสารทเดือนสิบจริงๆ บริเวณหอพระอิศวรก็มีพิธีของพราหม์จัดอยู่หลาย วัน ถัดไปศาลากลางก็มีงานและกิจกรรมประกวดเปรต ดู จะคึกคักขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี หน้าวัดพระบรมธาตุก็จัดงาน ย้อนยุครองรับคนมาท�ำบุญเดือนสิบ ผู้คนก็หนาแน่น ภาค เอกชนก็จัดที่หน้าตลาดลีอีกงาน เมืองนครช่วงเดือนสิบที่ ผ่านมาจึงอื้ออึงอย่างที่ผมว่า คนสูงอายุอย่างผม พยายาม หลีกเลี่ยงการขับรถในเขตเทศบาลช่วงนี้ เพื่อหลีกหนี ความวุ่นวาย ถามไถ่เพื่อนฝูง ตอบกันเป็นเสียงเดียวว่า ช่วงงานเดือนสิบ ต้องนอนพักผ่อนอยู่กับบ้าน ดีกว่าออก

nagara@nakhonforum.com

ไปเสี่ยงชีวิตบนท้องถนน สมัยก่อนบุญสารทเดือนสิบ ผู้คนจะคึกคักในวันจ่าย (แรม ๑๓ ค�่ำ เดือน ๑๐) วันบุญใหญ่ ๑๔ ค�่ำ หรือฉลอง หมฺรับส่งตายาย ๑๕ ค�่ำ เมืองจะเหงามาก ผู้คนไม่เดิน ทางเข้าเมือง แต่พอเสร็จงานบุญ ผู้คนจะเดินทางมาบูชา พระบรมธาตุเจดีย์จนมืดฟ้ามัวดิน และได้เที่ยวงานเดือน สิบกันจนรุ่ง ถึงจะเดินทางกลับบ้าน การจัดงานเดือนสิบแต่เดิมนั้น ผู้คนจะจัดกันที่วัด ในท้องถิ่นของตน ท�ำบุญกันที่วัดของตนจนเสร็จสิ้นถึง เดินทางมาบูชาพระบรมธาตุเจดีย์กัน การเดินทางด้วยเรือ ด้วยเกวียน ด้วยเท้าสมัยก่อนก็ต้องมาพักค้างอ้างแรมใน วัดต่างๆ จึงมีการจับจ่ายซื้อหากันใกล้ๆ วัดพระบรมธาตุ เป็นงานย่อยๆ ขึ้นมา ล่วงเข้าปี ๒๔๖๖ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด กับ พระยาภัทรนาวิกจ�ำรูญ ซึ่งเป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสมัยนั้น ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้ง แรก ด้วยเห็นปีก่อนจากนั้นวัดพระบรมธาตุได้จัดงานขึ้น มาเพื่อหาเงินสร้างอะไรสักอย่างผมจ�ำไม่ได้ แต่เป็นศาสนสถาน จึงคิดหาช่องทางหาเงินบ้าง สมัยก่อนเก็บค่าผ่าน ประตู ผู้ใหญ่ ๑๐ สตางค์ เด็ก ๕ สตางค์ จัดกันมายาวนาน ร่วม ๑๐ ปี ได้เงินมาสร้างสโมสรชื่อ ศรีธรรมราชสโมสร ปัจจุบันคืออาคารที่ท�ำการ ททท. เหลือเงินอีกหลายหมื่น ปี ๒๔๗๗ หลวงสรรพนิติพัทธ์ และ ส.ส.มงคล รัตนวิจิตร ขอมาจัดเอง เพื่อจะน�ำเงินมาสร้างสาธารณประโยชน์ แทนการหาเงินเข้ากลุ่มของตนอย่างเดียว ปี แรกที่ ดึ ง มาจั ด เกิ ด การขั ด แย้ ง อย่ า งรุ น แรง จนงานไม่ ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร ไม่แน่ใจว่าเกิดศึกปลดป้าย เหมือนปัจจุบันหรือเปล่า แต่ปีถัดๆ มาก็จัดได้ดีขึ้น งาน ก็เพิ่มจากจัด ๓ วันเป็น ๕ วัน เป็น ๗ และเป็น ๑๐ วัน จนถึงปัจจุบัน ปี ๒๕๐๔ นายสั น ต์ เอกมหาชั ย ดึ ง งานมาให้ จั ง หวั ด จั ด เอง โดยประกาศเรื่ อ งรายได้ น� ำ มาสร้ า ง สาธารณประโยชน์อย่างชัดเจน (แสดงว่าก่อนหน้านั้นคง ไม่ชัดเจน) สร้างรั้วสนามหน้าเมือง รื้อซุ้มประตูวัดแล้ว >> อ่านต่อหน้า ๑๐

หนังสือพิมพ์ ‘รักบ้านเกิด’ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คอลัมน์ ‘ชุมชนคนนคร’ เรื่อง/รูป หลากหลาย วันที่ ๒๑ ตุลาคม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานพิธีเปิดการณรณรงค์ ‘พระบรมธาตุฯ สู่มรดกโลก’ ที่วัดพระมหาธาตุฯ แล้วเดิน ทางพร้อมคณะไปเขาพลายด�ำ อ.สิชล เพื่อติดตามโครงการ ‘นครศรี ดี๊ ดี ’ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบ ธุรกิจการท่องเที่ยวทั้งในและนอกพื้นที่ หวังว่าการท่องเที่ยว เมืองนครจะส่งผลดีอย่างทั่วถึงในระยะยาว กระจายหอม หวาน ‘ดี๊ดี’ อย่างทั่วถึง

จากวัดพระมหาธาตุ ‘นายกฯยิง่ ลักษณ์’ แวะซือ้ เกีย๊ วทอดทีต่ ลาดท่าแพ

ดราม่าหน้าฝน...ฝ่ายสนับสนุนเล่าไปยิ้มไป...ทันทีที่ ‘นายกฯ ยิ่งลักษณ์’ ลั่นฆ้องฝนก็พรมลงมาเหมือนเทวดา อ�ำนวยพร พอขึ้นน�ำผ้าพระบฏไปห่มองค์พระบรมธาตุฯ ฝน หยุดตกไปเฉยๆ ฝนตก-ฝนหยุดเกิดขึ้นภายในเวลา ๑๐ นาที ตามมุมมองของฝ่ายราชการแคมเปญ ‘นคร ศรีดี๊ดี’ ประสบผลส�ำเร็จ รองผู้ว่าฯ ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ขยายผลต่ อ เนื่ อ งหวั ง ตอกย�้ ำ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วรู ้ จั ก และ จดจ�ำว่าจังหวัดนครศรีฯ เป็นนครแห่งการท่องเที่ยวของ แท้ โดยเปิดตัว ๔ เส้นทางท่องเที่ยวชูประเด็น ‘นครแห่ง วัฒนธรรม’ ใช้แนวคิดนครศรีธรรมราช : นครแห่งธรรม คือ ธรรมะ-ธรรมชาติ-วัฒนธรรม โดยมีวัดพระมหาธาตุฯ เป็น ศูนย์กลาง..มุมมองของผู้ประกอบการอาจไม่เห็นเช่นนั้น


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

พยัพ ค�ำพันธุ์ กับ แมว ทุ่งสง

นครศรีธรรมราช

ศ.ดร.นัสรูดนิ อับดุล ราฮิม กับ สมทรง ฝัง่ ชลจิตร คณะครู นักเรียน รร.จุฬาภรณ์ฯ

นั บ แต่ วั น นี้ จ นถึ ง สิ้ น ปี ๒๕๕๕ เมื อ งนครก� ำ ลั ง คึ ก คั ก ด้ ว ยกิ จ กรรมส� ำ คั ญ ๆ เริ่ ม ตั้ ง แต่ ๓-๔ พฤศจิ ก ายน พงษ์ ภักดี พั ฒนกุ ล (แมว ทุ่งสง) จัดงาน ‘มหกรรมการ ประกวดการอนุรักษ์ พระบูชา พระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องรางของหลัง’ ณ ห้องบงกชรัตน์ โรงแรมทวินโลตัส ผู้นิยมพระเครื่องและวัตถุมงคลจะหลั่งไหลสู่เมือง นครมาสักการะพระบรมธาตุเจดีย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขนาดเจ้า ภาพจัดเตรียมห้องพักไว้ ๔๐๐ ห้องยังไม่เพียงพอ การประกวดครั้งนี้ วรศักดิ์ อดิเทพวรพันธ์ (โกหว่า) ให้เกียรติ เป็นประธานจัดงาน พรัญชัย อดิเทพวรพันธ์ กับ สมพร ศรีเพชร เป็นรองประธาน พยัพ ค�ำพันธุ์ นายกสมาคม ผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยยืนยันว่าการประกวดครั้งนี้จะ ท� ำ ให้ พ ระเครื่ อ งเมื อ งนครเป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น มากยิ่ ง ขึ้ น ว่าที่ ร.ต. ฐิตวัฒน เชาวลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ เป็ น ประธานประชุ ม การสรรหาคณะกรรมการธรรมาภิ บ าล จังหวัด (ก.ธ.จ) และประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกชุดใหม่ ๑๙ คน ซึ่งมาจากภาคประชาสังคม ๑๑ คน ประกอบด้วย วีระ สุขไสย (อ.สิชล) สุทิน ทองไซร้ (อ.ชะอวด) วชิรพงศ์ สกุลรัตน์ (อ.ขนอม) สง่า ทองค�ำ (อ.ช้างกลาง) สมบูรณ์ กุลภักดี (อ.ทุ่งสง) อิสระ ตัวตั้ง (อ.เฉลิมพระเกียรติ) บรรจง นราอาจ (อ.ทุ่งใหญ่) ชาลี ชูโลก (อ.ฉวาง) วิภาวดี ชูช่วย (อ.จุฬาภรณ์) ปลื้ม เทอดเกียรติชาติ (อ.หัวไทร) และปรีชา เมืองเดิม (อ.ร่อนพิบูลย์) ภาคธุรกิจเอกชน ๔ คน ประกอบ ด้วย สมพร ศรีเพชร ตัวแทนสมาคมการค้าจังหวัด รุจาธิตย์ สุชาโต ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด จามร เจริญอภิบาล ตัวแทนสภาหอการค้าจังหวัด และสมนึก ศิวชานนท์ ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และภาคสมาชิกสภา ท้องถิ่น ๔ คน ประกอบด้วย พงษ์ศักดิ์ คงทอง ผู้แทนสภา เทศบาล มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ผู้แทนสมาชิก อบจ. ผู้แทน สมาชิก อบต. ๒ คน เลื่อนการสรรหาออกไปเนื่องจากอยู่ ระหว่างเลือกตั้ง คณะ ก.ธ.จ. มีหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะ การปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๐ ‘รักบ้านเกิด’ อยากเห็นและ เป็นก�ำลังใจให้ทุกท่านแสดงบทบาทที่เป็นประโยชน์ คนเก่ ง คนดี . .อนิ รุ ท ธ์ อมรแก้ ว (โอ๊ ต ) นั ก ศึ ก ษาชั้ น ปี ที่ ๔ มรภ. นครศรีฯ ปธ.สภาเด็กและเยาวชน จ.นครศรีฯและปธ.เครือข่ายสถาบัน ศึกษาภาคใต้ตอนบน ได้รับรางวัล เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ เนื่องในวัน เยาวชนแห่ ง ชาติ แ ละเป็ น ผู ้ แ ทน อนิรุทธ์ อมรแก้ว ประเทศไทย เข้ า ร่ ว มโครงการ

‘เยาวชน : สะพานแห่งมิตรภาพไทย-จีน : Youth Bridge of Friendship, China-Thailand’ ไปร่ ว มกิ จ กรรมที่ ก รุ ง ปั ก กิ่ ง ต้ น เดื อ นกั น ยายนที่ ผ ่ า นมา ระหว่ า งวั น ที่ ๑๘-๒๓ กันยายน สมทรง ฝั่งชลจิตร รอง ผอ.กลุ่มบริหาร วิชาการ โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย นครศรีฯ น�ำคณะครู ๗ คน นักเรียน ๓๐ คน ไปร่วมค่าย Science-Technology Innovation Co-operation Malaysia-Thailand ปี ๒๕๕๕ ณ โรงเรี ย นมั ธ ยมวิ ท ยาศาสตร์ เซรี ปุ ต รี กั ว ลาลั ม เปอร์ เพื่อศึกษาเรียนรู้สิ่งประดิษฐ์ใหม่และรับฟังการบรรยายเรื่อง ‘พลั ง งานทดแทน’ โดยผู ้ เ ชี่ ย วชาญจากปากี ส ถาน ศ.ดร. นัสรูดิน อับดุล ราฮิม อธิการบดี ม.มาลายาให้การต้อนรับ รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู ้ เ ขี ย นต� ำ ราเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาชุ ม ชนและการปกครอง ท้องถิ่น ไทยหลายเล่ม ออกจดหมายเปิดผนึกแสดงความ จ�ำนงขอสมัครแข่งขันเป็น ‘อธิการบดี’ มรภ.นครศรีฯ เพื่อ ผลั ก ดั น เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ชั้ น น� ำ เพื่ อ การพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น คนเก่าคนแก่ ผศ.สุรพล เรืองรอง เป็นอีกคนที่ เสนอตัวเข้าสู่การคัดสรรต�ำแหน่งอธิการบดี มรภ.นครศรีฯ

รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม

หน้า ๕

สรวิศ จันทร์แท่น (เสื้อสีเขียว) ทีมฟุตบอล ‘ดาราสิงห์ยูสตาร์’

มาโนช เสนพงศ์ มอบช่อดอกไม้ พล.ต.ชาญประดิษฐ์ แสงนิล

ข่าวจากผู้มีอุปการคุณ
..สรวิศ จันทร์แท่น ผู้บริหาร โรงแรมราวดี จัดที่พักต้อนรับทีมฟุตบอล ‘ดาราสิงห์ยูสตาร์’ น�ำทีมโดยสมชาย เข็มกลัด, จรณ์ บราโว, โด่ง สิทธิพร, สมจิตร จงจอหอ ฯลฯ มาโนช เสนพงศ์ เลขานุการ นายกเทศมนตรี น ครนครศรี ธ รรมราช น� ำ คณะมอบช่ อ ดอกไม้แสดงความยินดี แด่ พล.ต.ชาญประดิษฐ์ แสงนิล ผบ.มทบ.๔๑ ในวาระได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ ๔ ณ โรงแรมราวดี คู ่ วิ ว าห์ ที่ ซื้ อ เพชรหรื อ ทอง มู ล ค่ า ๓๐,๐๐๐ บาทขึ้ น ไปห้ า ง เพชรทองซีกวง BJ ก�ำนัลท่านด้วย รูปวิวาห์ของท่านเลเซอร์บนทองค�ำ แท้ ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์ในกรอบไม้ พร้อมกล่องผ้าไหม โดยคุณปาลิกา (บุ๋น) โทร.๐๘๑-๕๙๗-๕๕๓๕

ผศ.สุรพล เรืองรอง

ช่ ว งเทศกาลเดื อ นสิ บ ๑๒-๑๔ ตุ ล าคม ธนวั ฒ น์ ลีละพันธุ ผู้บริหารเครือนครดีซี จัดงานเปิดตัวและจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ความงามพานาโซนิค (Panasonic Beauty) รูป แบบเหมาะกับการพกพาเป็นแห่งแรกในภาคใต้ อีกข่าว... ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา บรรจง ชีวะพันธศักดิ์ ปลายเดือนนี้ นครดีซี In The Park ชุมชนการค้าแห่งใหม่ (ยืนกลาง) กรรมการบริหารจาก บริษัทฮอนด้าศรีนคร จ�ำกัด ติดถนนพัฒนาการคูขวาง ที่ร่มรื่นจะเปิดบริการ ได้รับการคัดเลือกจากเหล่ากาชาดจังหวัดนครศรีฯ เข้ารับ พระราชทานประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกา สภากาชาด ไทย ในนามสถาบันจัดหาผู้บริจาคโลหิตเป็นหมู่คณะเกิน กว่า ๑,๐๐๐ หน่วย ณ โรงแรมบีพีสมิหลา บีช สงขลา ใกล้ๆ ธันวาคมหลายคนเตรียมตัวเฉลิมฉลองปีใหม่ ๒๕๕๖ ล่วงหน้า สินค้าและบริการใดๆ มีโปรโมชั่นดีๆ สนใจ โฆษณา โทร.๐๘๑-๑๒๓-๒๘๒๒ สอบถาม ‘คุณก้อย รัก เปิดตัวผลิตภัณฑ์ความงามพานาโซนิค บ้านเกิด’


หน้า ๖

นครศรีธรรมราช

ระบุญฤทธิ์ หงส์ประสาธน์ อายุ ๗๕ ปี พรรษา ๕๖ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิประชา ร่ ว มใจ กลั บ เมื อ งนครมาจั ด เตรี ย มงาน เทศกาลกินเจ ณ ส�ำนักงานมูลนิธิประชา ร่วมใจภายในวัดบูรณาราม บอกเล่าประวัติ และการท�ำงานกับ ‘รักบ้านเกิด’ อย่าง ละเอียด พระบุญฤทธิ์เป็นลูกชาวสวนอ�ำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีฯ เรียนจบชัน้ ประถม ต้ น ที่ โ รงเรี ย นชุ ม ชนบ้ า นบางโหนด ปี ๒๕๐๐ อุ ป สมบทที่ วั ด สุ ว รรณบรรพต แล้วมาอยู่วัดมุมป้อม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีฯ จากนัน้ จึงเข้ากรุงไปอยูว่ ดั ทองศาลางาม (ฝัง่ ธนบุร)ี เพือ่ เรียนปริยตั ธิ รรม ๒ พรรษา ปี ๒๕๐๓ ไปเรียนและประจ�ำ อยู ่ วั ด นิ โ รธสั ง ฆาราม อ.เมื อ ง จ.ยะลา ปี ๒๕๐๔ ไปเรียนมัธยมหลักสูตรภาษา อั ง กฤษที่ วั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม (วัดโพธิ์) “มีพระภิกษุและสามเณรเรียน กว่าร้อยรูป เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ขณะนั้นคือ สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณศิริ) ต่อมา โปรดเกล้าฯเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ อาตมามีความชอบด้านภาษา เพราะ

คิดว่าถ้ารูจ้ กั อีกภาษาจะเห็นโลกอีกโลก” ปี ๒๕๑๐ ไปเรียนต่อระดับมัธยมปลาย ที่ซุนวาน อิงลิช ค็อลเลจ ที่ฮ่องกง “ไปอยู่ วัดจีนกับพระจีนที่เขากันพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ อาตมาเป็นพระไทยรูปแรก เรียนกลางคืน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ อาตมาท�ำงานเพื่อ สั ง คม โดยสอนธรรมะ สนทนาธรรมให้ กับชาวจีน ชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย และ เยอรมัน เวลานั้นมหาเถรสมาคมยังไม่เปิด โครงการพระธรรมทู ต ฮ่ อ งกงก็ ยั ง อยู ่ ใ น ปกครองของอังกฤษ คนไทยมีนอ้ ยมาก” พระบุญฤทธิ์สามารถถ่ายทอดหัวข้อ ธรรมด้วยภาษาอังกฤษจนมีผู้สนใจเสวนา ธรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะอยู่ในฮ่องกงท่าน จึงฝึกพูดภาษาจีน (กวางตุง้ ) จนคล่องแคล่ว อีกด้วย เมื่ อ เรี ย นจบระดั บ มั ธ ยมปลายจึ ง เดิ น ทางไปศึ ก ษาต่ อ ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ มหาวิ ท ยาลั ย มะนิ ล า ประเทศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ โดยเลือกเรียนสาขาบริหารธุรกิจ “อาตมา ไปอยู ่ วั ด เซ็ ง กวน เรี ย นไปด้ ว ยเผยแพร่ ศาสนาไปด้วย อาตมาจัดตัง้ ศูนย์ศกึ ษาพุทธศาสนาและคริสตศาสนาในมหาวิทยาลัยโดย

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ การสนับสนุนของชาวจีนและชาวคริสต์” การก่อตั้งศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาและ คริ ส ตศาสนา (Buddhist & Christian Reading Center) ได้รับการสนับสนุนจาก อธิการบดีแ ละคณบดีอย่างน่า ปลาบปลื้ ม มหาวิ ท ยาลั ย มอบห้ อ งขนาดใหญ่ พร้ อ ม อุปกรณ์จ�ำเป็นต่างๆ พระจีนและพระคริสต์ พร้อมใจสนับสนุนเพราะเป็นศูนย์ฯแห่งแรก สมเด็จพระพุทธโกศาจารย์วัดสามพระยา กับอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ มอบหนังสือ ธรรมะฉบับภาษาอังกฤษจ�ำนวนมาก หนังสือเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาได้รับการสนับสนุน จากโบสถ์ ค าทอลิ ก รวมทั้ ง โต๊ ะ เก้ า อี้ ที่ นักศึกษาสามารถเข้าไปค้นหาความรู้ วัด เปิดศูนย์ฯ คณะทูตานุทูตจากอินเดีย ญี่ปุ่น ศรีลงั กาและไทยไปร่วมจ�ำนวนมาก” พระบุญฤทธิ์ใช้เวลา ๓ ปีกับ ๑ ภาค ฤดูร้อนเรียนส�ำเร็จปริญญาตรีสาขาบริหาร ธุรกิจ และถ่ายโอนหน่ว ยกิตบางวิ ชาเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาโท สาขารั ฐ ประศาสนศาสตร์ และปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ ที่สถาบันเดิมจนจบทั้ง ๒ สาขา ท่านต้อง เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ ๒ หัวข้อ สาขารัฐศาสตร์ เรื่อง ‘ค�ำสอนทางพระพุทธ ศาสนาเกีย่ วข้องกับการเมืองอย่างไร’ สาขา รัฐประศาสนศาสตร์ เรือ่ ง ‘การปกครองคณะ สงฆ์ไทย’ แต่ละเรื่องหนากว่า ๒๐๐ หน้า กระดาษ ท่านใช้เวลา ๕ ปีครึ่งในฟิลิปปินส์ ขณะศึกษาได้รับการคัดเลือกเป็นนักศึกษา ดีเด่นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “วิ ท ยานิ พ นธ์ ข องอาตมา อาจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ขอไปไว้ที่พุทธสมาคม แห่งประเทศไทย อีกเล่มอาจารย์ไสว สุทธิพิทกั ษ์ ขอไปไว้ทมี่ หาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อาจารย์สัญญาท่านบอกว่าวิทยานิพนธ์ทาง พุทธศาสนาทีเ่ ขียนเป็นภาษาอังกฤษหายาก.. อาตมาหมายถึงสมัยนั้นนะ” พระบุญฤทธิ์ ฟืน้ ความทรงจ�ำด้วยรอยยิม้ อย่างเป็นกันเอง ปี ๒๕๒๔ ขณะอยู่วัดทองศาลางาม พระบุ ญ ฤทธิ์ ร ะดมทุ น ก่ อ สร้ า งเรื อ นพั ก คนไข้ขนาด ๑๐ เตียงให้กับโรงพยาบาล อ� ำ เภอขนอมบ้ า นเกิ ด ปี ๒๕๒๕ ขอจดทะเบียน ก่อตั้งมูลนิธิประชาร่วมใจ บนที่ดินของครอบครัวที่ อ�ำเภอขนอม “อาตมามี ความรูส้ กึ ตัง้ แต่อยูฮ่ อ่ งกง แล้วว่าจะท�ำอะไรที่เป็น อิสระ เรามีต้นทุนที่เป็น ความรู ้ อ ยู ่ แ ล้ ว เราต้ อ ง จั ด หาที่ ที่ ส ามารถช่ ว ย เหลือประชาชนได้ทั่วถึง ตอนแรกก็ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กๆ ที่ขาดแคลน จั ด ประกอบพิ ธี ร ดน�้ ำ ท�ำบุญ” วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๖ คณะกรรมการ มู ล นิ ธิ ป ร ะ ช า ร ่ ว ม ใ จ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารส� ำ นั ก งานถาวร

ที่ ต.ท้องเนียน อ.ขนอม โดยนายอเนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ กับหลวงพ่อบุญเย็น ฐานธํมโม ร่วม เป็ น ประธาน การก่ อ สร้ า งแล้ ว เสร็ จ ใน ปี ๒๕๓๐ ด้วยงบฯ ๒.๕ ล้านบาท วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๐ พล.ต.จ� ำ ลอง ศรีเมือง ขณะด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครเป็นประธานในพิธเี ปิด ปี ๒๕๒๙ กรมราชฑั ณ ฑ์ ฮ ่ อ งกง คั ด เลื อ กพระบุ ญ ฤทธิ์ ใ ห้ เ ป็ น วิ ท ยากร พิเศษอบรมนักโทษในเรือนจ�ำต่างๆ (The Prisoner Visiter) มีหน้าที่เข้าอบรมนักโทษตามค�ำขอของนักโทษจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบนั พระบุญฤทธิ์ หงส์ประสาธน์ ได้รับเกียรติเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของ ฮ่องกง ถือบัตรประชาชนของฮ่องกงเดิน ทางเข้ า -ออก เพื่ อ ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ อย่ า ง สม�่ำเสมอ นับแต่ฮ่องกงอยู่ได้ปกครองของ อังกฤษจนกระทัง่ ได้รบั เอกราช ปี ๒๕๓๒ พระบุญฤทธิ์ เปิดมูลนิธิ ประชาร่วมใจแผนกบรรเทาสาธารณภัย เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่างๆ ใน จังหวัดนครศรีฯและจังหวัดใกล้เคียง รวม ถึ ง การให้ ทุ น การศึ ก ษาแก่ นั ก เรี ย นนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาที่ ข าดแคลนทุ น ทรั พ ย์ ทั้ ง สงเคราะห์ผู้ประสบภัยและฌาปนกิจศพ อนาถา “หลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี ๒๕๓๑ น�ำ้ป่าพัดโคลนถล่ม กะทูน มูลนิธิประชาร่วมใจเปิดรับบริจาค ข้าวของและอาสาสมัครไปช่วย ตอนจะ กลั บ ขนอมวั น หนึ่ ง อาตมากลั บ มาทาง นาสารมี อุ บั ติ เ หตุ ร ถชนสองผั ว เมี ย นอน เจ็บอยู่ข้างถนน ไม่มีใครกล้าช่วย..ไม่กล้า รับ เพราะกลัวเรื่องยุ่งต้องตอบข้อซักถาม ของต�ำรวจ กลัวจะมีความผิด คนเจ็บสอง คน ป่านนีล้ กู คงรอพ่อแม่ คนเป็นเมียหันไป มองผัว..‘หลวงลุงช่วยผมด้วย’ เหตุการณ์ นีจ้ ดุ ประกายให้เกิดแผนกนีข้ นึ้ มา..คิดในใจ ว่าถ้ามีใครให้รถสักคัน วันที่ ๓๑ ธันวาคม ชาวจีนฮ่องกงมาหาอาตมาบอกว่าจะถวาย รถกระบะสักคัน แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องท�ำ เป็นรถบรรเทาสาธารณภัย อาตมาจึงคัด เลื อ กเจ้ า หน้ า ที่ ส องคนไปฝึ ก อบรมกั บ มูลนิธปิ อเต๊กตึง้ ทีก่ รุงเทพฯ” วั น ที่ ๔ สิ ง หาคม ๒๕๓๒ แผนก บรรเทาสาธารณภัยเปิดอย่างเป็นทางการ “ตอนแรกอาตมาจะไปตั้งส�ำนักงานที่วัด มุมป้อม แต่ท่านเจ้าคุณพระราชไพศาลสาธุกิจ เจ้าอาวาสวัดบูรณาราม ซึ่งเป็น พระกรรมวาจารย์สมัยอาตมาบวชขอให้มา อยูท่ วี่ ดั บูรณาราม” ปี ๒๕๔๗ มูลนิธิฯซื้อที่ดิน ๑๐ ไร่ มูลค่า ๕.๒ ล้านบาท ริมถนนเถลิมพระเกียรติ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีฯ เพื่อ ก่อสร้างส�ำนักงานถาวรของมูลนิธิฯ สถาน ปฏิ บั ติ ธ รรม และศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ข อง เยาวชน พร้อมประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม สัมฤทธิ์ หนัก ๑ ตัน โดยปฏิมากรชาวจีน ชือ่ หลิว ต้า ไหว่ ขอเชิญผูม้ จี ติ ศรัทธาร่วมบริจาค


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๗

ากฉบับที่แล้วผมเปิดประเด็นปัญหา อะไร? ไม่ใช่เรื่องยากเพราะคนนคร ส่วนใหญ่ก็รู้กันดีอยู่แล้ว แต่ความส�ำคัญ มันอยู่ที่เราต้องท�ำอย่างไร? และใครต้อง ท�ำอะไรบ้างจะเริ่มต้นกันอย่างไร? เป้าหมายนั้นมีแล้วคือ “นครศรีดี๊ดี” ถ้าเรา แยกให้เห็นเป้าหมายเฉพาะหน้าภายใน ๑ ปีนี้ นครศรีดี๊ดี มีอะไรดีขึ้นบ้าง นั่น ก็คือการท�ำให้ดีกว่าเดิมเพื่อให้นักท่อง เที่ ย วได้ สั ม ผั ส กั บ การเปลี่ ย นแปลงที่ เกิดขึ้นด้วยตัวเขาเอง จากการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดชุด “นครศรีดี๊ดี” ภายใต้ค�ำขวัญ “ที่เดียว เที่ ย วครบเครื่ อ ง เมื อ งเดี ย วเที่ ย วทั้ ง ปี” ค�ำถามใหญ่ก็คือได้เวลาแล้วหรือยัง ที่จะท�ำให้การท่องเที่ยวนครศรีธรรมราช เติบโตอย่างยั่งยืนขึ้นอยู่กับ ๔ ขา คือ ๑.ภาครั ฐ ๒.ภาคเอกชนผู ้ ป ระกอบ การ ๓.องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ๔. ชุมชน จะต้องมาท�ำยุทธศาสตร์การ ท่องเที่ยวรวมกัน อย่างน้อยก็คือการน�ำ เอาผลลัพธ์จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ได้น�ำเสนอไปมาตรวจสอบจากสถาน ที่จริงว่าแต่ละพื้นที่ได้เริ่มมาแล้วตลอด เดือนตุลาคมที่ผ่านมา “เที่ ย วป่ า หน้ า ฝน ชิมผลไม้ไหว้พระธาตุ เยือนเมือง ประวั ติ ศ าสตร์ เรี ย นรู ้ ดู ง าน” “งาน ประเพณีเดือนบุญสารทเดือนสิบ” และ “งานเทศกาลอาหารทะเลและของดี ปากพนั ง ” “เยื อ นคี รี ว งหลงเสน่ ห ์ ลานสกา สู ด อากาศบริ สุ ท ธิ์ ” “มหกรรมท่ อ งเที่ ย วเขาพลายด� ำ -สิ ช ล” “มหัศจรรย์กรุงชิง พิชิตยอดเขาหลวง” และ “สวรรค์พระจันทร์สุก เยือนถิ่น โลมาสีชมพู” กิ จ กรรมต่ า งๆ ที่ จั ด ขึ้ น ในแต่ ล ะ พื้ น ที่ ป ระสบผลส� ำ เร็ จ อย่ า งไรบ้ า ง? มี อะไรต้ อ งปรั บ เปลี่ ย นแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ท� ำ ให้ ดี ก ว่ า เดิ ม เพราะเราไม่ ใ ช่ จ ะจั ด แค่เดือนตุลาคมเดือนเดียว เราต้องอยู่ ต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้และปีต่อๆ ไป ผมขอ อนุญาตน�ำเสนอแนวคิดเป็นเบื้องต้นคือ ให้แต่ละพื้นที่โดยเฉพาะสถานประกอบ การเอกชนร่ ว มกั บ สมาคมธุ ร กิ จ การ ท่องเที่ยวนครศรีธรรมราชร่วมเป็นเจ้า

ภาพจัดท�ำการประเมินผลจากกิจกรรม ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ให้ใช้ เวที ก ารประชุ ม สรุ ป ความคิ ด เห็ น จาก ผู้ประกอบการต่างๆ ในพื้นที่น�ำเสนอออก เป็นรายงานสรุปผลการท่องเที่ยวในมุม มองของผู้ประกอบการส่งต่อให้กับภาค รัฐ-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-ชุมชน แต่แน่นอนครั บการเริ่ ม ต้ นท� ำ กิ จกรรม ต่างๆ ต้องมีงบประมาณสนับสนุน ขอ เสนอให้ ท างภาครั ฐ โดยการท่ อ งเที่ ย ว และกีฬาจัง หวั ดหรื อ ททท. สนั บสนุ น จั ด ท� ำ เวที ส รุ ป ผลการท่ อ งเที่ ย วเมื อ ง นครศรีธรรมราชในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ เพื่ อ จะได้ เ ป็ น การประเมิ น ผลถึ ง ความ เป็นไปได้ในอนาคตที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชให้พัฒนา ไปอย่างยั่งยืนและท�ำให้ภาคีการมีส่วน ร่วมของทุกภาคส่วนเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้ผลพวงของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว “นครศรี ดี๊ดี” อยู่ในกระแสอย่างต่อเนื่อง จึงจ�ำ เป็นต้องต่อยอดจากที่ได้ลงทุน-ลงแรงกัน ไปมากพอสมควร ผมขอชื่นชมแนวคิด ในการเริ่มต้นท�ำโครงการ “นครศรีดี๊ดี” และต้ อ งบอกว่ า ทุ ก ท่ า นท� ำ ได้ ดี ม ากใน การประชาสัมพันธ์ได้สร้างผลสะเทือนได้ ในวงกว้าง กลั บ มาที่ ค� ำ ถามใหญ่ ว ่ า ต้ อ งท� ำ อย่างไร? เวลาที่เหลืออีก ๒ เดือน คือ เดื อ น พ.ย.-ธ.ค. ๕๕ ผมขอเสนอให้

สมาคมธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย วฯ, หอการ ค้าฯ, สภาอุตสาหกรรมจังหวัด, ชมรม ธนาคารและสมาคมผู้ประกอบการร้าน อาหาร ชมรมต่ า งๆ จั ด เวที ป ระเมิ น ผลการท่ อ งเที่ ย วและรั บ ฟั ง ความเห็ น ของทุ ก ภาคส่ ว นในภาคเอกชนทุ ก พื้ น ที่ ก ารท่ อ งเที่ ย ว เปิ ด เวที ใ ห้ ก ว้ า ง เพื่ อ ท� ำ ความเข้ า ใจถึ ง เป้ า หมายใน ปี ๒๕๕๖ ว่ า แนวทางการท่ อ งเที่ ย ว นครศรีธรรมราชจะเป็นอย่างไร มีทิศทาง ไปทางไหน ท�ำไมผมให้ความส�ำคัญกับ ภาคเอกชน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วน เสี ย โดยตรงกั บ การส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย ว เวที นี้ เ ป็ น เวที แ รกเพื่ อ จั ด ท� ำ ข้ อ สรุปต่างๆ ต่อไปก็เปิดเวทีร่วมกับชุมชน +องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับ ทราบเพื่อจะได้ท�ำงานร่วมกันในอนาคต ต่อไป จากนั้นจะมีเวทีใหญ่ระดับจังหวัด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดเวทีภาคเอกชน +ชุ ม ชม+องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง งานนี้ จ ะเป็ น งานใหญ่ ขึ้ น ทางการ

ท่องเที่ยวและกีฬาเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ททท. แต่ ก ารจะเปิ ด เวที ใ หญ่ ไ ด้ นั้ น ก็ หมายความว่าต้องมีการพูดคุยหาข้อสรุป ร่วมกันในเบื้องต้นระหว่างสมาคมธุรกิจ การท่องเที่ยวนครศรีฯ กับการท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช+การ ท่องเที่ยว (ททท.) จะจัดท�ำแผนการสรุป ประเมินผลการท่องเที่ยว “นครศรีดี๊ดี” เพื่อจัดท�ำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวนคร ศรีฯในปี ๒๕๕๖ และแผนระยะยาวใน อีก ๕ ปีข้างหน้า ผมขออนุ ญ าตเปิ ด ประเด็ น ไว้ ใ ห้ พิ จ ารณาจึ ง อยากขอความเห็ น จากทุ ก ท่านที่อ่านบทความนี้ให้ลองขยายความ คิดเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ที่มีมากขึ้นตามแต่ท่านเห็นว่า “ต้องท�ำ อย่างไร? และท�ำต่อไปอย่างไร? มากกว่า ท�ำแล้วไม่เห็นได้อะไร?” นายไพโรจน์ เพชรคง Pairotpetkong784@gmail.com ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕


หน้า ๘

นครศรีธรรมราช

เรือ่ งจากปก

<< ต่อจากหน้า ๑

พระบุญฤทธิ์ เปิดเผยกับ ‘รักบ้านเกิด’ ว่า ตอน แรกชาวจีนจากฮ่องกงถวายรถกระบะ ๑ คัน ก�ำชับว่า ให้ ใ ช้ ใ นกิ จ การบรรเทาสาธารณภั ย เท่ า นั้ น ท่ า นจึ ง ส่ ง เจ้าหน้า ๒ ที่ไปฝึกอบรมการท�ำงานกับมูลนิธิปอเต๊กตึ้ง ที่ ก รุ ง เทพฯ ปั จ จุ บั น มู ล นิ ธิ ป ระชาร่ ว มใจยกระดั บ ตั ว เองเป็นองค์การและเป็นศูนย์ประสานงาน มีเจ้าหน้าที่ ๒๐ คน จั ด เวรยามเฝ้ า ระวั ง ภั ย ประสานงานมู ล นิ ธิ ใต้ เ ต็ ก เซี ย งตึ้ ง หน่ ว ยกู ้ ชี พ ไต้ เ ต็ ก ตึ้ ง มู ล นิ ธิ กู ้ ภั ย นคร (เต็กก๋าจีกุงเกาะ) ประสานงานกับเครือข่ายอาสาสมัคร กู ้ ภั ย อื่ น ๆ ด้ ว ยอุ ป กรณ์ ทั น สมั ย ที่ มู ล นิ ธิ ป ระชาร่ ว มใจ

นคร จันทรมณี

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

อุดร เกิดมี

มีอยู่ ได้แก่ รถกู้ภัย ๒ คัน กระบะ ๑ คัน รถพยาบาล ๓ คันและชุดเครื่องตัดถ่าง เมื่อรวมกับอุปกรณ์กู้ภัยของ มูลนิธิอื่นๆ การกู้ภัยสะดวกกว่าเมื่อ ๒๐ ปีก่อนอย่างมาก แต่อุบัติเหตุอุบัติภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถ

ปี ๒๕๓๙ ครั้งแรกเป็นคนขับรถฉุกเฉิน ปัจจุบันขับรถ พยาบาล “ผมท�ำงานนี้ด้วยใจรัก เคยผ่านหลักสูตร FR จากโรงพยาบาลมหาราช ได้เรียนรู้ว่าเราจะยกจะดาม ขาผู ้ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ อย่ า งไรไม่ ใ ห้ บ าดเจ็ บ เพิ่ ม หรื อ เป็ น อันตราย” อุ ด รบอกว่ า ยั ง ไม่ เ บื่ อ และจะท� ำ งานช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ประสบภัยไปอีกนาน บุณนที ใบมิเด่น บ้านอยู่ ต.ท่าวัง ท�ำงานมา ๑๐ ปี “ผมท�ำดีกับคนไม่ขึ้น เขาไม่อยากให้ช่วยแต่เราไปช่วย เขาอาจไม่พอใจ แต่กับอุบัติภัยถึงเขาไม่อยากให้ช่วยเรา ก็ เ ต็ ม ใจช่ ว ย ผมขอปิ ด ทอง หลังพระดีกว่า ผมอาจจะชิน กับภาพที่คนไม่อยากดู แต่ถ้า ช่ ว ยให้ เ ขาปลอดภั ย ในท้ า ย ที่สุด ผมก็มีความสุข” บุณนที ผ่านการอบรม FR และ EMT-B สิทธิพล มาลากาญจน์ หนุ่มวัย ๒๗ ปี จบวิทยาลัย บุณนที ใบมิเด่น สิทธิพล มาลากาญจน์ (อุ้มทารก) เทคนิ ค ดอนเมื อ ง ผ่ า นงาน เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะตัวเมืองก�ำลังขยายเติบโตทุก กู้ภัยมา ๘ ปี ตั้งแต่เป็นอาสาสมัครเพราะชอบช่วยเหลือ ทิ ศ ทาง ยวดยานพาหนะเพิ่ ม จ� ำ นวนมากขึ้ น แต่ ถ นนมี เพื่อนมนุษย์ เคยเดินขอบริจาคสิ่งของน�ำไปช่วยเหลือ จ�ำกัด ประกอบกับผู้ขับขี่ขาดวินัยจราจร ทั้งคนต่างจังหวัด ผู้เดือดร้อน อาสาไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ฝั่ง อันดามันแต่ยังเด็กเกินไป ผ่านหลักสูตรกู้ชีพและช่วย และคนในจังหวัด อุบัติเหตุจึงไม่ได้ลดลง นคร จั น ทรมณี เด็ ก - งานหนักๆ มีความสามารถในการใช้เครื่องตัดถ่างซึ่งเป็น หนุ่มชาวหัวไทร ปัจจุบันเป็น เครื่องมือชุดใหญ่ที่สุด ส�ำหรับอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น ประชาสั ม พั น ธ์ มู ล นิ ธิ ฯ ผ่ า น รถชนอัดก็อปปี้ รถพลิกคว�่ำหรือถุงลมระเบิด “ชุดตัดถ่าง ประสบการณ์กู้ภัยมาร่วม ๑๐ ชุดใหญ่ราคาล้านกว่าบาท เมื่อคืนผมน�ำไปใช้ตัดเอาคน ปี ผ่ า นการอบรมหลั ก สู ต รผู ้ ออกจากรถยนต์ชนต้นไม้ เลือดยังติดกรังอยู่เลย” ล่าสุดหน่วยกู้ภัยประชาร่วมใจกับพยาบาลช่วยกัน ปฏิการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้อง ต้น (First Rescue /FR) และ ท�ำคลอดฉุกเฉินแก่แรงงานพม่า ซึ่งแสดงถึงความพร้อม หลั ก สู ต รเวชกรฉุ ก เฉิ น เบื้ อ ง และขีดความสามารถในการช่วยเหลือ ทั้งความรู้และ ต้น (Emergency Medical ความเมตตา พระบุญฤทธิ์ กล่าวว่าท่านไปดูกิจการกู้ภัยหลาย Technician Basic /EMT-B) เล่าว่า ประชาร่วมใจเป็นศูนย์ ประเทศ รวมทั้งฝรั่งเศสและนอร์เวย์ “ของนอร์เวย์ระบบ วิทยุประสานงานไปยังลูกข่าย กู้ภัยดีมาก อยากให้บ้านเราได้ระดับนั้น” เจ้าหน้าที่ของประชาร่วมใจได้รับการคัดเลือกมา ภายใน ๕ นาที หลังจากรับ แจ้งจากต�ำรวจหรือได้รับโทร- อย่างพิถีพิถันด้วยตัวพระบุญฤทธิ์ ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิ ศั พ ท์ หน่ ว ยไหนอยู ่ ใ กล้ จ ะ ทุกคนต้องไม่ขี้เหล้าเมายาและความประพฤติดีเสมอต้น ไปให้ ถึ ง ก่ อ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เสมอปลาย ทุ ก คนได้ รั บ การอบรมและพั ฒ นาทั ก ษะ ผู ้ ป ระสบภั ย และน� ำ ผู ้ ไ ด้ รั บ ความสามารถอยู่เสมอ.. แม้ ห น่ ว ยกู ้ ภั ย จะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง และมี ค วาม บาดเจ็บส่งให้ถึงโรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด “การท�ำงานของ พร้อม แต่สามารถหลีกเลี่ยงบริการฉุกเฉินของหน่วยกู้ภัย หน่ ว ยกู ้ ภั ย อยู ่ ใ นความดู แ ล ได้มากเท่าไรจะดีที่สุด ยกเว้น เหตุสุดวิสัยจริงๆ ถึงท่าน ของกระทรวงสาธารณสุ ข ไม่ต้องการ พวกเขาก็จะไปให้ถึงท่านโดยเร็วที่สุด ด้วย ความเชื่อว่า “การช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ ๑ คน ได้ ครับ” งานกู ้ ภั ย ต้ อ งอยู ่ กั บ อานิสงส์มากกว่าการสร้างเจดีย์ ๗ ชั้น” โทร. ๐๗๕-๓๔๕-๕๙๙, ๐๗๕-๓๑๘-๘๓๓ และ ความเจ็บและความตาย บาง คนแม้แต่มองก็ยังไม่กล้า อุดร ๐๘๑-๑๗๓ ๔๖๓๓ ถ้าถึงคราวจ�ำเป็น เกิดมี ชาว อ.เฉลิมพระเกียรติ ท�ำงานที่ประชาร่วมใจตั้งแต่


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๙

รายงาน

<< ต่อจากหน้า ๑

ผศ.ฉัตรชัย กล่าวย้อนว่า องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ แ ละวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ (ยู เ นสโก) ได้ ป ระกาศรั บ รองให้ อ งค์ พระบรมธาตุ เ จดี ย ์ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช ขึ้ น ‘บั ญ ชี เ บื้ อ งต้ น ’ หรื อ ‘บั ญ ชี ชั่วคราว’ (Tentative List) เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ ตามหลักเกณฑ์มรดกโลก ๓ ข้อ จาก ๑๐ ข้อ ข้อที่ ๑. มีลักษณะโครงสร้างต่างๆ สะท้อนถึง อดีต เช่น งานทางสถาปัตยกรรม ผลงานที่เป็นอนุสรณ์ ในเชิ ง จิ ต รกรรม หรื อ ประติ ม ากรรม โครงสร้ า งทาง ธรรมชาติที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดี หรือลักษณะ อื่ น ๆ ซึ่ ง มี คุ ณ ค่ า และความส� ำ คั ญ ในระดั บ สากลทาง ประวัติศาสตร์ ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์กรณีที่พระบรมธาตุเจดีย์เป็นผลงานชิ้นเอก ที่จัดท�ำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ ข้อที่ ๒. เป็นกลุ่มอาคารที่มีความกลมกลืนเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน หรือลักษณะทางภูมิสถาปัตย์ ที่มี คุณ ค่ าหรือความส� ำ คัญ ในระดับสากลไม่ว่ าจะในทาง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ และข้ อ ที่ ๖. มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งโดยตรงกั บ เหตุ การณ์ ความคิด หรือความเชื่อที่มีความส�ำคัญ และมีชื่อ เสียงในระดับสากล หลังจากนั้นฝ่ายไทย คือจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้การสนับสนุนของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จะเตรียมแฟ้มข้อมูล “คณะกรรมการผลักดัน พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลกได้ก�ำหนดเขต พุทธาวาสไว้ตั้งแต่วิหารหลวงถึงพระพุทธบาทจ�ำลอง เราไม่ไปถึงบริเวณที่แม่ค้าขายของ ซึ่งกันไว้เป็นพื้นที่ กันชน” ผศ.ฉัตรชัยตอบค�ำถามที่หลายฝ่ายกังวล และ ให้ ข ้ อ มู ล ต่ อ ว่ า วั ด พระมหาธาตุ ฯ มี ผื น ทรายที่ ก ว้ า ง ขวางสวยงาม อั น แสดงให้ เ ห็ น อดี ต ที่ รุ ่ ง เรื อ งในการ ก่อสร้างเจดีย์และเมืองนครศรีธรรมราชบนหาดทราย แก้ว จากการส�ำรวจโดยกรมศิลปากรยืนยันว่า พบว่า พื้นดินใต้ฐานองค์พระบรมธาตุยังเหนียวแน่นมั่นคง ไม่ ยุ บ หรื อ ทรุ ด อย่ า งแน่ น อน ยกเว้ น ได้ รั บ แรงกระทบ กระเทือนที่เกิดจากพลังงานจลน์ (Kinetic Energy) คือพลังงานที่เกิดจากวัตถุเคลื่อนที่ในระนาบหรือแนว ดิ่งในรูปการพัด การหมุน เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือ แรงอั ด ของพลุ แ ละดอกไม้ ไ ฟก็ ส ่ ง ผลกระทบต่ อ องค์ พระบรมธาตุฯ แนวทางป้องกันคือห้ามรถยนต์ขนาด ใหญ่เข้าใกล้และห้ามจุดพลุในบริเวณใกล้เคียง เกี่ยว กับการประชาสัมพันธ์เรื่องการเสนอพระบรมธาตุฯ สู่ มรดกโลก หน่ ว ยงานต่ า งๆ และสื่ อ มวลชนต้ อ งร่ ว ม กันให้ความรู้แก่ประชาชนถึงความส�ำคัญของการเป็น มรดกโลก พร้ อ มความหมายและภู มิ ป ั ญ ญาปริ ศ นา ธรรมที่บรรพบุรุษผู้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์แฝงเอาไว้ ตั้งแต่ฐานถึงปลียอด “คณะกรรมการผลักดันพระบรม ธาตุนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลก ส�ำนักงานพระพุทธ ศาสนา และส�ำนักศิลปากรที่ ๑๔ จะร่วมกันจัดท�ำพื้นที่ ภายใน ซึ่งไม่เป็นงานยากจนเกินไป การเคลื่อนย้าย

บางสิ่ ง บางอย่ า งจากสี่ แ ยกพานยมถึ ง สี่ แ ยกประตู ชั ย สิ่ ง ก่ อ สร้ า งหรื อ สิ่ ง ที่ มี ทั ศ นะอุ จ าดต้ อ งเปลี่ ย น..ต้ อ งมี คณะกรรมการก� ำ กั บ ควบคุ ม วั ด ที่ อ ยู ่ ร ายรอบทั้ ง ๔ ได้แก่ วัดหน้าพระบรมธาตุ วัดหน้าพระลาน วัดพระนคร และวัดสระเรียง ต้องเลือกว่าจะท�ำอะไรให้เป็นจุดเด่น ให้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ละสามารถเชื่ อ มโยงกั น ส่ ว นเรื่ อ ง ต�ำแหน่ง ๔ กา ที่ท�ำหน้าที่ปกป้องดูแลพระบรมธาตุฯ มา ตั้งแต่สมัยโบราณปัจจุบันเหลือเพียง ๒ กา คือ พระครู กาชาด กับ พระครูกาแก้ว ต�ำแหน่งพระครูการาม กับ พระครูกาเดิม ก�ำลังจัดท�ำเรื่องขอแต่งตั้งผ่านทางส�ำนัก พระพุ ท ธศาสนา” ผศ.ฉั ต รชั ย ชี้ แ จงรายละเอี ย ดและ เพิ่มเติมว่าคณะท�ำงานจะรับฟังความเห็นจากประชาชน สร้างความเข้าใจ ขอความเห็นร่วมอันจะเกิดความกลมเกลียว อยากให้ภาพที่ปรากฏออกไปเป็นภาพเชิงบวก “มรดกโลกอื่ น ๆ ในประเทศไทยเสนอโดยส่ ว น ราชการ แต่ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ เ ป็ น การน� ำ เสนอโดย ประชาชน นับว่าเป็นโมเดลที่แปลกที่สุดจะเป็นตัวอย่าง ให้ท้องถิ่นอื่นๆ จะเป็นเกียรติยศ เป็นประวัติศาสตร์ เรา จะยกย่องพระบรมธาตุฯ อีกมิติ ซึ่งทั่วโลกไม่มีโมเดล ลักษณะนี้” คณะท� ำ งานจะได้ ว างแผนจั ด ท� ำ เอกสารฉบั บ สมบู ร ณ์ ทั้ ง ฉบั บ ภาษาไทยและฉบั บ ภาษาอั ง กฤษไป พร้ อ มๆ กั น ให้ เ สร็ จ สมบู ร ณ์ ภ ายในเดื อ นธั น วาคม ๒๕๕๗ “เราจะจัดหานักแปลที่มีความสามารถในการ

ใช้ภาษาอังกฤษที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องราวมาก ที่ สุ ด มาแปลแฟ้ ม ข้ อ มู ล ” ผศ.ฉั ต รชั ย กล่ า วเพิ่ ม เติ ม อีกว่า “ก่อนเสนอแฟ้มข้อมูลเข้าสู่การพิจารณาคณะ กรรมการฯ จะจั ด ประชุ ม สั ม มนาโดยเชิ ญ นั ก วิ ช ากร ผู้เชี่ยวชาญจากอินเดีย ศรีลังกา พม่า และชาวยุโรป รวม ๑๗ คน มาแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับแก้แฟ้ม ข้อมูลให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด” ทั้งนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดท�ำแผนแม่บท การน�ำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นทะเบียน เป็ น มรดกโลก ปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๙ เพื่ อ จั ด ท� ำ งบประมาณและใช้เป็นแนวทางทางในการจัดท�ำปฏิทิน ล�ำดับความส�ำคัญเร่งด่วนของการด�ำเนินการต่อไป เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธี เปิดการรณรงค์สนับสนุนพระบรมธาตุเจดีย์เป็นมรดก โลก ในนามของรัฐบาลและชาวไทยทั้งประเทศ โดย ร่วมโบกสะบัดธงชัยและปล่อยลูกโป่ง ๒,๖๐๐ ลูก มีการ ลั่นระฆังและกังสดาลประมาณ ๕ นาที จากนั้นนายก รั ฐ มนตรี แ ละคณะตั ว แทนกลุ ่ ม พลั ง มวลชนร่ ว มกั น อัญเชิญผ้าพระบฏจากลานโพธิ์ไปยังวิหารพระทรงม้า เพื่ อ น� ำ ขึ้ น ห่ ม องค์ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ ก่ อ นเดิ น ทาง ไปประชุ ม ครม.สั ญ จร ณ อ� ำ เภอเกาะสมุ ย จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี

เลขที่ ๖/๑๐ อาคารพาณิชย์หน้าโรงแรมทวินโลตัส โทร. ๐๘๗-๒๙๔-๐๖๗๓


หน้า ๑๐

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

รศ.วิมล ด�ำศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ชี

วิตศิลปินเพลงบอกอาชีพ ของเพลงบอก สร้ อ ย ด� ำ แจ่ ม ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จนกระทั่ ง ถึงแก่กรรม (พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๕๔๙) เป็นระยะ ๑. ช่วงอายุ ๑๗ - ๓๐ ปี ว่าเพลงบอกเดือนละ ๕ - ๑๐ ครั้ง เวลายาวนาน นับเนื่องกันเกินกึ่งศตวรรษ เป็น ๒. ช่วงอายุ ๓๑ - ๕๐ ปี ว่าเพลงบอกเดือนละ ๒๐ - ๒๕ ครั้ง ที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง ที่อาชีพศิลปินเพลงบอกของ ๓. ช่วงอายุ ๕๑ - ๒๕๔๙ ว่าเพลงบอกเดือนละ ๕ - ๑๐ ครั้ง ท่านเจริญมั่นคงตลอดมา ท่านได้ประมวลปริเหตุผลที่รับงานว่าเพลงบอกน้อยลง ไม่ใช่ไม่มีแหล่งประกอบ มาณ การว่าเพลงบอกอาชีพ ณ แหล่งประกอบ การในรูปลักษณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งใน การ หรือไม่มีขันหมาก แต่เป็นเพราะสุขภาพ อันเป็นธรรมชาติ เขตพื้ น ที่ น ครศรี ธ รรมราช ต่ า งจั ง หวั ด และ ของสั ง ขาร ซึ่ ง ท่ า นได้ พ รรณนาเรื่ อ งสั ง ขารของท่ า นไว้ เ ป็ น ประเทศเพื่อนบ้านตามช่วงอายุต่างๆ ของท่าน บทเพลงบอก ว่า ดังนี้ ไว้ดังนี้

ตอนที่ ๔

“ชีวิตตอนแก่”

พอตกตอนแก่มันแย่ยับ ทั้งเสียงทั้งศัพท์ของสร้อย ทั้งเสียงก็แห้งทั้งแรงก็น้อย จึงขืนไม่ค่อยไหว ทั้งตับทั้งปอดทั้งหลอดลม มีแต่ระทมข้างภายใน เหมือนเครื่องขยายไม่มีไฟ มันจะเอาอะไรดัง แต่แรกยังหนุม่ กระชุม่ กระชวย ศัพท์เสียงก็สวยเกินเหลือ พอสิ้นลายเสืออดสู ต้องกลายเป็นมูสัง

บรรดาแฟนแฟนทีเ่ คยรักชอบ แต่มาตอนหลังผมคิด อีกทั้งรูปโฉมโนมพรรณ เพราะว่าเป็นเรื่องสังขาร ฟันก็หักหัวก็หงอก อีกทั้งหัวใจก็พากลัว ไม่เหมือนเมื่อเราเก่าก่อน พอเลยเกษียณแล้วเปลี่ยนผัด แสนรันทดให้อดสู จะแลเนื้อหนังทั้งนี้ ฝ่ายข้างลูกก็ว่ามากะเดี่ย แต่ข้างเจ้างานพึมพ�ำ ทั้งความขัดสนจนทรัพย์ จึงเล่นลองแลยามจน เมื่อมั่งมีมิตรมากมาย เมื่อมัวหมางหมิ่นเมินหมอง พีแล้วหอมผอมแล้วสาบ ไม่มั่งมีหมูหมีหมา ตกตื่นตัวต�่ำต้อย มิดมืดมุดมัวหมองหมาง จึงยืดเอาธรรมมาร�ำลึก เอาธรรมมาครองใจกาย ดาวโชติช่วงยังร่วงหล่น พอตกมาคลุกดิน ธรรมชาติอาจจะเวียน เสาะส�ำแดงประกาศิต

ท่านที่เคยชอบเคยฟัง ว่าท่านคงไม่ติดใจ เนื้อหนังของฉันหย่อนยาน แล้วใครจะทานทน ใครรับเพลงบอกไม่ใคร่ไป กับหัวไม่ค่อยมี การเล่นกาพย์กลอนเด่นชัด ท�ำให้บัดสี แล้วอีกทั้งหูไม่อยากจะดี ยู่ยี่แล้วยอแย มันชวนกันเชียร์ให้นอนบ้าน เขาหาว่าเราท�ำแส สิ่งนี้บังคับให้ลืมแก่ จึงได้มาสนทนา มวลมิตรมุ่งหมายมามอง มิตรมองเหมือนหมูหมา ใครใครก็ทราบกันมา หมันไม่มามอง เสกสรรเศร้าสร้อยสิ้นสุด หมิ่นเหมินหมางหมอง สมควรจะนึกแลมอง เป็นสิ่งไม่ร้ายแรง ลงมาจากบนฟากฟ้า ถึงดาวก็สิ้นแสง สิ่งนี้ย่อมเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องอนิจจัง ฯลฯ

อย่างไรก็ตามชีวิตศิลปินเพลงบอกอาชีพ ของเพลงบอก สร้อย ด�ำแจ่ม เป็นกรณีตัวอย่างที่ยืนยัน ให้เป็นที่ประจักษ์ แก่วงการศิลปินว่า “การเป็นศิลปินเป็นอาชีพได้จริง” และ “เป็นอาชีพที่มั่นคงถาวรอาชีพหนึ่ง” ภรรยา ลูกสาว หลานสาว และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ

ชวนคชวดิ นคยุ << (ต่อจากหน้า ๔)

สร้างให้ใหม่เหมือนกันหมดทั้ง เมื อ ง ตั้ ง มู ล นิ ธิช ่ วยเหลือการ ศึกษา ในงานเริ่มมีบริษัทห้างร้านจากกรุงเทพมาออก ร้าน เงินทองก็ไหลมาเทมา จนสร้างโรงเรียนขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดได้ถึง ๕ โรง ปี ๒๕๒๑ ศูนย์วัฒนธรรมของวิทยาลัยครูนครฯ ได้จัดให้มีการแห่หมฺรับ ประกวดหมฺรับกันขึ้น ททท.ก็เริ่ม เข้ามามีบทบาท ผังงานก็เริ่มเปลี่ยนแบ่งพื้นที่ให้ร้านค้า แยกออกไป หน่วยราชการโรงเรียนอยู่อีกฝั่ง เวทีกลางก็ สนุกขึ้น ปี ๒๕๒๘ ผู้ว่าฯ เอนก สิทธิประศาสน์ ตั้งงบให้ทุก อ�ำเภอส่งเข้าประกวดเป็นงานระดับประเทศขึ้นมาทันที

การเปลี่ ย นแปลงครั้ ง ส�ำคัญของงานเดือนสิบเกิด ขึ้นเมื่อ ๒๕๓๑ สมัยผู้ว่าฯ นิพนธ์ บุญภัทโร ได้ริเริ่มให้ มีการเหมางาน ประมูลงาน ให้เอกชนมาท�ำแทนทั้งหมด ก� ำ ไรเอาไป แบ่ ง ค่ า เหมา งานมาให้จังหวัดเป็นตัวเลข ชัดเจน ตั้งแต่นั้นมา ร้านค้า กิจกรรมของโรงเรียน หน่วยราชการ ก็ถูกยกเลิกไป เหลือ ไว้เพียงกองประกวดเล็กๆ โรงหนังตะลุงมโนราห์ จัดให้อยู่ ในพื้นที่ไม่ท�ำเงิน เวทีกลางก็เริ่มเน้นประกวดนางงาม แสดง ดนตรีสมัยใหม่แทน ปี ๒๕๓๕ ได้ย้ายงานไปจัดที่ทุ่งท่าลาด ตามเสียงเรียก ร้องของสื่อมวลชนและผู้คน จากปัญหาการจราจรติดขัดทั้ง เมือง และทางจังหวัดต้องการปรับปรุงสนามหน้าเมืองให้ เป็นพื้นที่โล่งของเมือง เป็นปอดของเมือง ให้ผู้คนได้ใช้เป็น ที่พักผ่อน โดยท�ำเป็นสวนสาธารณะเพื่อน้อมเกล้าถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระชนมายุ

ครบ ๕ รอบ ได้มีการตกแต่งสนามเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ สวยงาม ไม่มีการจัดงานอีกต่อไป ปี ๒๕๔๔ สมาคมธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย วนคร ได้ เข้าไปแก้ปัญหาการจัดเหมางานในวัดพระมหาธาตุ ที่มี การจัดงานที่ไม่เหมาะสมในวัด โดยจัดเป็นตลาดย้อนยุค แทน ก็ได้รับค�ำชื่นชมจากสื่อมวลชนทั่วทั้งประเทศ และ เป็นต้นแบบของการจัดงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งได้ริเริ่มการ จัดงานตลาดย้อนยุค ร�ำวงเวียนครก ประกวดเปรตเดือน สิบ เมื่อสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเลิกจัดงานในปี ๒๕๕๐ งานก็กร่อยลง และได้มีการห้ามไม่ให้มีการจัดงานในเขต พุทธาวาสอีกต่อไป ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี ที่ เ ขี ย นเสี ย ยื ด ยาว เพราะมี สื่ อ มวลชนรุ ่ น ใหม่ สอบถามมา อยากจะแก้ปัญหาสภาพเดือนสิบบ้านเรา เลยเล่าให้ฟังเรื่องความเป็นมา ต่อไปข้างหน้าจะว่ากัน อย่างไรก็ตรองกันดู งานเดือนสิบยุคก่อนรายได้เป็นหมื่น ก็แย่งกันจัดจนมีเรื่องมีราวมาแล้ว ปัจจุบันรายได้เป็นร้อย ล้าน มันจึงไม่ใช่งานง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนแปลง อยากที่จะ ดึงอ้อยออกจากปากช้าง แต่ขอเชียร์และให้ก�ำลังใจกับคน รุ่นใหม่ครับ


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ (ตอนที่ ๕)

ารบู ร ณะปฎิ สั ง ขรณ์ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ แ ละวิ ห ารต่ า งๆ ในวัดพระบรมธาตุตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๑ รวม ๕ ปี ได้เสร็จสิ้นลงท่ามกลางความปลาบปลื้มโสมนัสของ พุ ท ธศาสนิ ก ชนชาวปั ก ษ์ ใ ต้ ทั่ ว ไป นั บ เป็ น อานุ ภ าพอั น น่ า อัศจรรย์ของท่านปานภิกษุวัยกลางคนชาวนครโดยแท้ อย่ า งไรก็ ดี ชี วิ ต ท่ า นปานในช่ ว งเสร็ จ สิ้ น การบู ร ณะ พระบรมธาตุเจดีย์แล้ว ก็มีอาการ “ร้อนผ้าเหลือง” จึงตัดสิน ใจลาสิกขาแล้วแต่งงานกับหม่อมแข ซึ่งสมเด็จกรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพทรงจัดให้ ดังที่ “นาครภัฏ” บรรยายไว้ว่า “ต่อจากนั้นบรรดาอานุภาพ เหมือนถูกสาปบ�ำเพ็ญไม่เห็นผล ครั้นความเสื่อมเอื้อมเงาจะเผาตน จึงรีบลนกราบถวายบังคมลา กรมพระยาด�ำรงทรงนุมัติ ไม่อุธัจผ่อนตามความปรารถนา จึงลาศีลคืนสงฆ์องค์สภา เป็นอุบาสกสวยสาวงวยงง ที่เกี่ยวข้องคราวเมื่อครองกาสาวพัสตร์ บรรจงจัดโภชนาน�ำมาส่ง ทั้งสาวแก่แม่หม้ายหลายอนงค์ นั่งล้อมวงเลียนล่อพูดตอแย แต่ผิดหวังนั่งเสมือนมดเฝ้ามะม่วง ด้วยกระทรวงกรมด�ำรงส่งหม่อมแข มาเป็นคู่ชูขวัญลั่นประแจ พวกหม้ายแม่แพลอยสร้อยเศร้าใจ”

ส�ำนวนกลอน ระดับอุดมศึกษา รอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันกลอนเดือนสิบ ประจ�ำปี ๒๕๕๕ หมายเหตุ : ตัวเน้นหนาเป็นชื่อญัตติ

หน้า ๑๑

หลังจากลาสิกขาเป็น “ทิดปาน” แล้ว สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานวัด พระบรมธาตุ ได้รับเงินเดือนเดือนละชั่ง ทิดปานได้ออกไป ปลูกบ้านอยู่บริเวณหน้าวัดหน้าพระลาน และมีชีวิตอยู่ต่อมา ได้เพียง ๓ ปีก็ถึงแก่กรรม ส่วนหม่อมแขยังคงอยู่ที่บ้านเดิม ประกอบอาชีพเลี้ยงมา ได้ถึงแก่กรรมเมื่อปีใดไม่แน่ชัด จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าชีวิตของท่านปานส่วนใหญ่ ผูกพันอยู่กับการซ่อมแซมพระบรมธาตุเจดีย์ และศาสนสถาน ในวัดพระบรมธาตุ ท่านเป็นผู้บากบั่นบ�ำเพ็ญให้งานใหญ่จน ส�ำเร็จได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยไม่ใช้เงินของราชการแม้แต่ น้อย ตรงข้ามท�ำด้วยแรงศรัทธาและด้วยความเพียรพยายาม เป็นที่ตั้ง เกียรติคุณเหล่านี้เห็นจะไม่มีข้อความใดจะมีน�้ำหนัก ความน่าเชื่อถือเท่ากับพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสแหลมมลายู เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ซึ่งได้ทรงกล่าวถึงเกียรติคุณของท่านปาน ว่า “พระครูเทพมุนี (ปาน) เป็นพระธรรมยุติกาชั้นเก่าในเมือง นครศรีธรรมราช มีคุณวิเศษในการที่ตั้งใจปฏิสังขรณ์พระบรม ธาตุ มีความสามารถเป็นอัศจรรย์ เปิดเรี่ยรายตลอดทุกหัว เมืองในแหลมมลายู จนเมืองแขกและเมืองสิงคโปร์” และ อีกตอนหนึ่งว่า “...ได้เห็นการที่ท�ำและได้เห็นคนที่มีใจเลื่อมใส มาท�ำงาน และความนับถือเชื่อฟังพระครูเทพมุนีก็เป็นที่น่า พิศวง ในกรุงเทพฯไม่มีพระรูปใดรูปหนึ่งจะท�ำได้เหมือน ทั้ง ไม่มีอาการที่อวดคุณวิเศษในทางเวทมนตร์ อย่างใดอย่าง หนึ่งเลย ผู้ที่มาท�ำการก็ท�ำด้วยความตั้งใจจะเอาบุญ และด้วย ความพอใจในความคิดกะการงาน และบังคับบัญชาของพระครู ที่ เ ป็ น ข้ อ ส� ำ คั ญ ไม่ ป รากฏว่ า พระครู นั้ น คิ ด เพื่ อ ประโยชน์ ตนเลย ถือเป็นคนแข็งงานอย่างยิ่ง...”

“นับแต่เริ่มรู้ค�ำจ�ำความได้ ภาพตรึงตาตรึงใจที่ได้เห็น ประทับภาพความสุขทุกประเด็น ประหนึ่งเป็นอมตะนิรันดร์กาล” ภาพทรงจ�ำล�้ำค่าศรัทธาก่อ ภาพของพ่อแห่งแผ่นดินเยือนถิ่นฐาน บ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขทุกดวงมาน ฉ�่ำสายธารน�้ำพระทัยใจชุ่มเย็น ได้นอนอุ่นกินอิ่มยิ้มแย้มได้ ความพอเพียงน�ำชัยไร้ทุกข์เข็ญ ภาพทรงงานพระองค์ทรงบ�ำเพ็ญ นั้นยังเป็นขวัญแห่งบ้านสานสุขใจ (มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา) ความรู้สึกเมื่ออ่านกลอน “ผมตื่นเช้า – แต่สายแล้ว หดหู่ใจส�ำนึกได้ก็สายแล้ว เวลาแคล้วยากเปลี่ยนปรับย้อนกลับหลัง เป็นข้อคิดเตือนใจให้ระวัง สติตั้งจ�ำไว้ให้ตื่นเช้า มีโอกาสรีบคว้าไว้ได้โอกาส ก่อนจะพลาดสิ่งดีที่ย่างเข้า ตนเตือนใจรู้วิถีที่เป็นเรา ฉันจึงเอาบทเรียนกลอนสอนใจตน (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช) กาย-ใจ-ร้อง-ฝัน กายของตาหมอบกราบภาพข้างฝา ก่อนไปนาขอแรงใจจากในหลวง ใจสุขล้นนาเหลืองเข้มข้าวเต็มรวง เวลาล่วงหวังขายได้ก�ำไร ร้องฟ้าร้องฝ่าลม-ฝนเคยทนสู้ ตายืนดูผืนนาน�้ำตาไหล ฝันที่วาดแว่วรักษาผืนนาไทย น่าเสียใจนาผืนนี้เจ้าหนี้จอง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)


หน้า ๑๒

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็น ๕ ข้อ และผลการตรวจเลือดเพื่อวัด ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งปัจจุบัน สามารถท� ำ การเจาะเลื อ ดน� ำ ไปตรวจได้ ง่ายๆ แพทย์ก็จะสามารถให้การวินิจฉัยโรค นี้ได้แม่นย�ำมากขึ้น

นพ.อิสระ หัสดินทร์ eitsara@gmail.com

ราได้ยินเรื่องผู้หญิงวัยหมดประจ�ำเดือน หรือเมนโนพอสบ่อยๆ หรืออาจจะได้ยิน พูดกันบ่อยๆ ว่า เลือดจะไป ลมจะมา ใน ขณะที่ ผู ้ ห ญิ ง มี เ อสโตรเจนเป็ น ฮอร์ โ มน เพศหญิ ง ผู ้ ช ายก็ มี เ ทสโทสเตอโรนเป็ น ฮอร์ โ มนเพศชาย และเมื่ อ อายุ ม ากขึ้ น ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย จะถดถอยลงเป็นธรรมดา แต่ ในผู้ชาย มันจะค่อยๆ ลดระดับลงช้าๆ ไม่ ได้ลดลงตามอายุของรังไข่ ซึ่งในผู้หญิง จะ หยุดท�ำงาน ไม่มีไข่ตก ก็จะไม่มีประจ�ำเดือน เป็นตัวบ่งชี้ว่ารังไข่หยุดท�ำงานแล้ว ดังนั้น อาการเปลี่ ย นแปลงในผู ้ ช ายจึ ง เกิ ด ขึ้ น ที ละเล็กทีละน้อย บางคนไม่รู้สึกตัวเลย แต่ บางคนก็รู้สึกถึงสมรรถนะทางเพศที่ลดลง พลังงานลดน้อยลง อารมณ์จิตใจไม่เบิกบาน หรือเรียกภาษาทันสมัยว่า “จิตตก”

ผู้ชายวัยทองคืออะไร

แอนโดรพอส (andropause) คือ กลุ่มอาการถดถอยทางร่างกายและจิตใจ ที่เกิดขึ้นกับผู้ชายวัยมากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป โดยมี ความสั ม พั น ธ์ กับ การที่ฮอร์โมนเพศ ชาย (Testosterone) ในร่างกายลดลง

เนื่องจากอาการเหล่านี้ มักจะมาเกิด ขึ้นในวัยที่ผู้ชายเริ่มตั้งค�ำถามเกี่ยวกับความ หมายในชีวิตของตัวเอง หรือเริ่มมองเหลียว หลังและระทดระท้อกับชีวิตที่ผ่านมาโดย ไม่ส�ำเร็จอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน จึงเป็นการ ยากที่ จ ะบอกให้ ไ ด้ ว ่ า อาการเหล่ า นี้ เ กิ ด จากฮอร์โมนในร่างกายลดลง หรือเกิดจาก เหตุ ภ ายนอกเช่ น ความล้ ม เหลวในหน้ า ที่ การงาน หรือการเสียจังหวะในชีวิตกันแน่ เพราะหากว่าจะโทษฮอร์โมนล้วนๆ ผู้ชาย อายุเกือบร้อยปี ก็คงไม่สามารถมีลูกได้ ใน ขณะที่ ผู ้ ห ญิ ง วั ย หมดประจ� ำ เดื อ น ค่ อ น ข้างชัดเจนว่าไม่สามารถมีลูกได้ เนื่องจาก ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนเพศหญิง

อาการของแอนโดรพอส

ในคนที่ มี อ าการจากฮอร์ โ มนลดต�่ ำ อาการอาจรวมถึ ง ความต้ อ งการทางเพศ ลดลง เป็นหมัน อวัยวะเพศแข็งตัวเองน้อย ลง (เช่นเคยแข็งตัวตอนกลางดึกหรือตอน ตื่นนอนเช้าเป็นประจ�ำก็ไม่แข็งตัวอีกเลย) เต้านมตึงคัด ขนในที่ลับร่วง ลูกอัณฑะเล็ก และเหี่ยว กระดูกบางยิ่งขึ้น ความสูงของ ร่างกายลดลงเนื่องจากกระดูกสันหลังยุบ

บนหน้ า ตั ด ซุ ง เรี ย บร้ อ ย พร้ อ มทั้ ง ท� ำ บั ญ ชี ไ ม้ ข อง กลางก่อนน�ำความไปแจ้ง กั บ พนั ก งานสอบสวน สภ.นบพิต�ำในช่วงค�่ำมืด ของวันเดียวกัน ส่วนท่อน ซุงทั้งหมดนั้นไม่สามารถ น� ำ ลงมาจากเขาสู ง ชั น ได้ เพราะซุงมีขนาดใหญ่ หนทางล�ำบากเครื่องจักร เครื่องกลเข้าไปไม่ถึง คล้อยหลังไปไม่กี่วัน

กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล

jkrisana@hotmail.com Twitter@Krit­_nnasouth

ลายวั น ก่ อ นเสี ย งเรี ย ก เข้าในโทรศัพท์มือถือดัง ขึ้ น ขณะที่ ผ มก� ำ ลั ง คิ ด ถึ ง บาง เรื่องอยู่แบบเพลินๆ เมื่อผมรับสายเสียง บอกกล่าวมาว่า “ลักไม้ซุงท่อนเติบกันแล้ว น้องเห้อ” เมื่อตั้งสติได้ผมจึงถามกลับไป ยังปลายสายที่คุยด้วยว่า “ลักปรือพี่ซุงมัน ท่อนเติบหั้น” หลังจากนั้นถ้อยกระบวน ความเป็นมาจึงได้ถูกขยายจนรู้ที่ไปที่มา เรื่องมีอยู่ว่าตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ ชุ ด เฉพาะกิ จ ปราบปราม การลั ก ลอบตั ด ไม้ แ ละท� ำ ลายทรั พ ยากรธรรมชาติ น ครศรี ธ รรมราช ของนาย วิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรี ธ รรมราช เข้ า ไปตรวจยึ ด หลั ง

ตัวลง กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ร้อนวูบวาบตาม ตัวและเหงื่อออก พลังงานเสื่อมถอย แรง บันดาลใจและความมั่นใจลดลง รู้สึกเศร้า หรือซึม สมาธิเสื่อม ความจ�ำเสื่อม มีปัญหา เกี่ยวกับการนอน หากคุ ณ ผู ้ ช ายรู ้ สึ ก ว่ า เรี่ ย วแรงพละ ก� ำ ลั ง ถดถอยลงไปกว่ า เดิ ม หรื อ สั ง เกต ว่ า ความสามารถในการเล่ น กี ฬ าหรื อ การ ออกแรงได้น้อยกว่าเดิม ร่วมกับอาการเหล่า นี้อีกอย่างน้อย ๔ ข้อ (รวมเป็น ๕ ข้อ) คือ ๑. มีความต้องการทางเพศน้อยลง ๒. รู้สึกเศร้า หรือหงุดหงิด มากกว่า แต่ก่อน ๓. ส่วนสูงลดลงกว่าเดิม ๔. มีความรื่นเริงบันเทิงใจกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตลดลง ๕. ท�ำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ๖. อวัยวะเพศไม่แข็งตัวตอนตื่นขึ้น มากลางดึกหรือตอนตื่นนอนเช้า ๗. มักจะม่อยหลับหลังอาหารเย็น ๘. กล้ามเนื้อลีบลงกว่าเดิม หรือลงพุง (รอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว หรือ 90 ซม.) หากใครมีอาการตามข้อ ๑ - ๘ รวม ๔ ข้อ ร่วมกับอาการหลักดังกล่าวแล้ว รวม

จากพบว่าไม้ไข่เขียว อายุ หลายร้อยปีอยู่ในป่าสงวน แห่งชาติป่ากรุงชิง หมู่ ๘ ต�ำบลกรุงชิง ถูกลักลอบโค่น เจ้าหน้าที่ชุดนี้ จึงเข้าไปจับกุม แต่วันนั้นไม่พบตัวผู้กระท�ำ ผิดพบเพียงของกลางเป็นไม้ไข่เขียวขนาด หลายคนโอบถูกล้มแล้วตัดไว้เป็นท่อนซุง ขนาด ๔ เมตรรวมทั้งหมด ๕ ท่อน จากต้น เดียวกันนั้น หมายความว่าไม้ต้นนี้มีความ สูงกว่า ๒๐ เมตรจากพื้นดิน กระบวนการ ตรวจยึ ด เป็ น ไปตามขั้ น ตอนเจ้ า หน้ า ที่ ไ ด้ ตรวจยึ ด ตี ต ราเลขหมายการตรวจยึ ด ไว้

การรักษาโรคแอนโดรพอส

มี ห ลั ก ฐานเพิ่ ม มากขึ้ น ว่ า ระดั บ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ต�่ำลง จะเพิ่ม ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและอาจเพิ่ม ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด จึงเป็น เรื่องที่ผู้ชายวัยทองจ�ำเป็นต้องหันมาสนใจ แอนโดรพอสและการรักษาโดยใช้ฮอร์โมน ทดแทน แม้ผู้ชายจะทราบว่าฮอร์โมนเพศชาย จะลดลงตามอายุที่สูงขึ้น แต่ยังคงมีความ ไม่มั่นใจว่าการใช้ฮอร์โมนทดแทนอาจจะไม่ ดีหรืออาจจะมีผลเสียกับร่างกาย ก็มีวิธีที่ จะช่วยทดแทนการใช้ยาได้ เช่น กินอาหาร ให้ถูกต้องครบทั้ง 5 หมู่ คือคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ การ ใช้ชีวิตแบบกระตือรือล้น หรือสู้ชีวิต ออก ก�ำลังกายสม�่ำเสมอ บริหารจิตใจ-อารมณ์ ให้เบิกบาน ก็จะช่วยด�ำรงสมรรถภาพของ ร่ า งกาย ด� ำ รงพละก� ำ ลั ง ด� ำ รงมั ด กล้ า ม เนื้อเอาไว้ไม่ให้ลีบ ก็จะสามารถต้านทาน ความถดถอยของสรีระร่างกายเอาไว้ได้ แต่ หากเห็นท่าไม่ดีก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่ง ฮอร์โมนทดแทนครับ การข่าวจากการสืบสวนกระบวนความมา ถึงชุดเฉพาะกิจชุดนี้ว่าซุงทั้งหมดหายไป แล้ว แม้กระทั่ง “ตอ” ที่เหลืออยู่กลับถูก ขุดขึ้นมาพาหายไปด้วย เจ้าหน้าที่ชุดนี้จึง ขึ้นไปดูร่องดูรอยว่าการโจรกรรมท่อนซุง ชุดนี้ไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เครื่องกล หนักเข้าไปขนย้ายเท่านั้นจึงจะท�ำได้ คน โจรกรรมไปนั้นไม่ใช่ธรรมดาแน่ๆ ร่องรอย ที่ เ ห็ น คื อ การใช้ ร ถแบ๊ ค โฮตั ด ไหล่ เ ขาท� ำ ทางลัดเลาะขึ้นไปจนถึงจุดที่ตัดโค่น ท่อน ซุ ง ที่ ถู ก ยึ ด ไว้ จึ ง ไม่ เ หลื อ ถู ก โจรกรรมไป แบบเรียบวุธ ตอก็ไม่เว้นทิ้งไว้แค่กิ่งก้าน สาขาของไม้ที่เอาไปใช้การไม่ได้ แน่นอนว่าท�ำเอาผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช ไม่สบอารมณ์กับเรื่องนี้ ชุดเฉพาะกิจชุดนี้จึงตามร่องรอยของไม้ซุง ไป ตามคาดคะเนถึงกระบวนการและการ ข่าวนั้นพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย ๓ คนรู้เห็นเป็นใจน�ำซุงของกลางไปขายใน ราคาไม่น้อยกว่า ๓ แสนบาท และกลุ่มคน ที่มีขีดความสามารถในการใช้เครื่องกลตัด ไหล่เขาขึ้นไปในกรุงชิงมีน้อยรายนัก การ ตามหา “ซุ ง และตอ” ที่ ห ายไปจึ ง ไม่ ใ ช่ เรื่องยาก >> อ่านต่อหน้า ๑๕


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

ตั้งใจและรู้จักวิธีการจัดการ ท่ า นรองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด นครฯ ทรงพล สวาสดิ์ ธ รรม ได้ โ ทรศั พ ท์ ถึ ง ผม ถามไถ่ถึงการปรับปรุงสวนศรีธรรมโศกราช เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรณรงค์

สุเมธ รุจิวณิชย์กุล

sumet_arch@hotmail.com

ากฉบั บ ที่ แ ล้ ว ที่ ผ มพาเที่ ย วเส้ น ทาง ต� ำ นานพระเจ้ า ศรี ธ รรมโศกราชแล้ ว วกกลับเข้าสู่เมืองนคร ฉบับนี้ก็ขออนุญาต เล่าบางเรื่องที่ชาวนครควรรับทราบเกี่ยวกับ สวนสาธารณะอันเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระบรมรูปของพระองค์ท่าน ซึ่งสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯได้ทรงเสด็จมาเปิด อย่ า งเป็ น ทางการเมื่ อ หลายปี ก ่ อ นแล้ ว หลายท่ า นคงทราบความเป็ น มาของการ ได้มาของสถานที่แห่งนี้ว่าเดิมเป็นเรือนจ�ำ กลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และที่ท�ำการ ส� ำ นั ก งานการไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคที่ เ ลิ ก ใช้ มานานแล้ว ต่อมาชาวเมืองได้ขอให้มีการ ใช้สถานที่เป็นสวนสาธารณะใจกลางเมือง และมี ก ารประสานงานจากหลายหน่ ว ย งานจนได้มีการมอบหมายให้เทศบาลนคร นครศรีธรรมราชเป็นผู้ดูแลด�ำเนินการ ซึ่ง สมั ย นั้ น ท่ า นสมนึ ก เกตุ ช าติ เ ป็ น นายก เทศมนตรี จ�ำได้ว่ามีรายการตั้งวงเสวนา ในเรือนจ�ำออกอากาศรายการวิทยุชุมชน กันสดๆ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในคุกและ นอกคุกมาร่วมคุยกันหลายท่าน โดยสรุป พอจั บ ใจความได้ ว ่ า เมื่ อ เรื อ นจ� ำ อายุ ร ้ อ ย กว่าปีย้ายออกไป สถานที่แห่งนี้ก็จะเป็น โบราณสถานแห่งหนึ่งที่ยังอยู่ในความทรง จ�ำ ก็ขอให้มีสิ่งก่อสร้างบางส่วนเหลือให้ ชมกันบ้าง วันที่ทางเทศบาลฯประกาศรื้อ ก�ำแพงเรือนจ�ำ ผมติดประชุมที่หาดใหญ่ ทราบข่าวจากพรรคพวกทางนครฯก็รีบบึ่ง รถกลับทันทีเพื่อให้ทันเห็นภาพที่จะมีการ เปลี่ยนแปลง ในที่สุดก็เหลือป้อมปราการ ด้านหน้าถนนราชด�ำเนิน และอาคารครึ่งตึก ครึ่งไม้ที่ใช้เป็นเรือนขังหนึ่งหลัง ส่วนอีก หลังหนึ่งที่ตั้งขนานเป็นคู่ถูกรื้อออกไปซึ่ง ผมก็ขอไม่วิจารณ์เรื่องที่ผ่านไปแล้ว เมื่อ ทางเทศบาลฯได้รับมอบสถานที่ให้จัดสร้าง เป็นสวนสาธารณะก็ได้ขอความคิดเห็นจาก ชาวเมืองว่าจะให้สร้างในแนวไหนและมีราย ละเอียดอะไรบ้าง จุดที่มีการตัดสินใจก็คือ การหาสถานที่ ที่ จ ะประดิ ษ ฐานพระบรม รูปของพระเจ้าศรีธรรมราชอันเป็นกษัตริย์ บรรพบุรุษของชาวนครที่กรมศิลปากรได้ ปั้นเสร็จนานแล้ว แต่ยังไม่ลงตัวว่าจะใช้

www.nakhonforum.com

หน้า ๑๓

....สวนศรีธรรมโศกราช บางเรื่องที่ชาวนครยังไม่เคยทราบ สถานที่ ใ ดเนื่ อ งจากมี ห ลายแห่ ง ให้ เ ลื อ ก ประจวบเหมาะกับการได้สถานที่เรือนจ� ำ กลางมาจึงมีผู้เสนอให้ใช้ที่นี่ซึ่งเป็นเขตวัง เก่าริมก�ำแพงเมืองสามารถสร้างบรรยากาศ ที่ ส อดคล้ อ งกั น ได้ แต่ ก็ มี ผู ้ ท ้ ว งติ ง ว่ า จะ เป็นการน�ำพระองค์ท่านอยู่ในเขตเรือนจ�ำ การอภิปรายได้สรุปว่าเรือนจ�ำมีอายุเพียง ร้อยกว่าปี แต่เรื่องราวพระองค์ท่านมีอายุ ร่วมพันปีคงไม่เป็นประเด็นส�ำคัญ ผมได้ เสนอแนวทางออมชอมที่ จ ะก� ำ หนดที่ ตั้ ง พระบรมรูปพระองค์ท่านบนถนนระหว่าง เรือนจ�ำกับการไฟฟ้า ซึ่งอยู่นอกเขตก�ำแพง เรือนจ�ำ แต่ยังอยู่ในบริเวณพื้นที่เรือนจ�ำ และการไฟฟ้าฯที่รับมอบมา เมื่อได้ที่ตั้ง แล้วจึงได้ตกลงก�ำหนดแนวคิดที่จะเป็นเป็น สวนเฉลิมพระเกียรติต่อไป นี่เป็นเรื่องราว ที่ ม าของสวนศรี ธ รรมโศกราชที่ ช าวเมื อ ง นครควรทราบ ผมเข้าใจว่าในฐานะเป็นสถาปนิกชาว นคร ผมจึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้วาง ผังแม่บทสวนสาธารณะแห่งนี้ โดยมีโจทย์ ใหญ่ ห ลายข้ อ จากที่ ตั้ ง พระบรมรู ป ที่ มี ข ้ อ ห้ามข้อจ�ำกัดหลายเรื่อง (ซึ่งผมอนุญาตไม่ เล่ารายละเอียด) โจทย์จากก�ำแพงเรือน จ� ำ ที่ ห ลงเหลื อ จากการรื้ อ ลง และโจทย์ จากเรือนขังไม้ที่ยังมีสภาพดีที่แสดงถึงการ ก่อสร้างสมัยนั้น เช่นพื้นไม้ความหนาขนาด ๒ นิ้ว เป็นต้น ซึ่งโจทย์เหล่านี้จะต้องน�ำมา คิดว่าจะออกแบบให้อยู่ร่วมกับสิ่งก่อสร้างที่ มีภาพความน่ากลัวในอดีตให้เป็นสถานที่ใช้ งานและพักผ่อนในปัจจุบันได้อย่างไร โชค ดีที่คณะผู้บริหารเทศบาลฯได้เข้าใจในหลัก การออกแบบและการแก้ปัญหาต่างๆ จึง ออกมาเป็นผังแม่บทที่จะสร้างเป็น”สวน เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งได้มีการก่อสร้างและ

พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ประมาณ ๗๐-๘๐ % ของแบบที่ก�ำหนดไว้ แต่ยังไปไม่ถึงจุด แนวคิดที่จะเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติตาม ที่ตั้งใจไว้ ผมได้ เ คยเขี ย นถึ ง สวนสาธารณะ หลายรูปแบบที่มีลักษณะแตกต่างกันจาก วัตถุประสงค์ เช่นสวนสาธารณะเพื่อการ พักผ่อนหย่อนใจ (Recreation Park) สวน สาธารณะเป็นทางการศึกษาเรื่องพืชพันธุ์ (Botanic Park) สวนสาธารณะเพื่อร�ำลึก ถึงเรื่องราว (Memorial Park) ฯลฯ เป็นต้น ส� ำ หรั บ สวนสาธารณะศรี ธ รรมโศกราช ซึ่ ง เป็ น ชื่ อ ที่ ตั ด ทอนมาจากพระนาม โดย ความจงใจที่จะให้เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ (Royal Honor Park) ที่ ใ ห้ ช าวเมื อ งได้ ทราบความเป็นมาและร่วมกันภูมิใจ ดัง นั้นแนวทางการออกแบบก็ดี กิจกรรมที่ จะใช้ส ถานที่ก็ดี จึงต้องมีแ บบแผนและ ข้อก�ำหนดไว้ มิฉะนั้นอาจจะเกิดความ ไม่ เ หมาะสมและไม่ บั ง ควรในหลายกรณี เพราะบางกิ จ กรรมไม่ มี ค วามจ� ำ เป็ น ใดๆ ที่ต้องใช้ส ถานที่แ ห่งนี้ซึ่งจ� ำ เป็น จะต้ อ งมี การดูแลและตกแต่งต้นไม้ให้สวยงามตลอด เวลาเพื่ อ ให้ ส มพระเกี ย รติ มี ค วามเป็ น ได้หรือไม่ว่าจังหวัด นครศรีธรรมราชจะ มี ส วนสาธารณะสั ก แห่ ง ที่ ส วยงามที่ มี ไ ม้ ดอกไม้ประดับให้ผู้คนได้เข้ามาเยี่ยมชมและ ถ่ายรูปที่ระลึกกัน หลายจังหวัดเขาใช้เป็น สถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวกัน เช่น ที่ สวน สามพราน สวนนงนุช สวนแม่ฟ้าหลวง ฯลฯ ชาวเมืองคงไม่อยากฟังว่าเราไม่มีงบ ประมาณ อากาศไม่เหมาะสม ดูแลไม้ดอก คงยากล�ำบาก หรือไม่อยากเอาไปเปรียบ เทียบกับเมืองอื่นๆ มุมมองของผมเห็นว่า ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้ามีความ

การท่องเที่ยวเมืองนคร ผมเองก็ยังไม่ได้ เสนอแนวคิดอะไรให้ท่านหรอกครับ เพียง แต่ อ ยากตั้ ง ประเด็ น ว่ า เราอยากเห็ น ภาพ ของสวนสาธารณะนี้ไปในแนวไหน ถ้ายังไม่ มั่นใจก็จัดวงเสวนากันใหม่สักรอบก็ได้ แล้ว ดึงคนรุ่นใหม่ๆได้มีส่วนร่วมอาจจะได้ความ คิดอะไรใหม่ๆก็ได้ เมื่อได้ภาพที่ชัดเจนแล้ว จึงค่อยว่ากันในรายละเอียดต่อไป ฉบับ หน้ า ผมจะน� ำ แนวความคิ ด เดิ ม เมื่ อ ครั้ ง มี การสรุปผังแม่บทสวนสาธารณะแห่งนี้มาให้ ท่านได้อ่านเพื่อช่วยกันคิดต่อ ถ้าสนใจคอย ติดตามเอาเองนะครับ ฉบับที่แล้วเห็นภาพเขียนด้วยดินสอ “อั ง คาร กั ล ยาณพงศ์ ” ของคุ ณ สุ ธ รรม ชยันต์เกียรติ โกแอ๊ดของพวกเราแล้วต้อง ยกมือคารวะในฝีไม้ลายมือ และนึกได้ก่อน จบฉบับนี้ว่าอยากเสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “เทพอังคาร” (ท่านอังคารได้พูดถึงตัวท่าน เองว่าเป็นเทพเมื่อครั้งผมและดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ร่ ว มเป็ น พิ ธี ก รด� ำ เนิ น รายการ เสวนากั บ ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แห่งชาติ จังหวัดนครฯเมื่อหลายปีก่อน และ ผมก็ เ ห็ น ว่ า ท่ า นเป็ น ศิ ล ปิ น ขั้ น เทพจริ ง ๆ) ว่ า ท่ า นเป็ น ชาวนครที่ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ ง สูงสุดระดับประเทศ เมื่อท่านจากไปควร มี อ งค์ ก รใดที่ จ ะจั ด แสดงประวั ติ แ ละผล งานของให้ให้ชาวนครให้รับรู้กันบ้าง เช่น วั ฒ นธรรมจั ง หวั ด หรื อ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ นครศรี ธ รรมราช หรื อ จะร่ ว มกั น เป็นเจ้าภาพจัดก็ตามแต่ ส่วนสถานที่จัดมี หลายแห่งที่ผมเห็นว่าเหมาะสมเช่น ศูนย์ การเรียนรู้ หรือพิพิธภัณฑ์เมือง เทศบาล นครนครศรีธรรมราช และควรจัดก่อนพิธี พระราชทานเพลิงศพซึ่งผมเองก็ยังไม่ทราบ ว่าวันใด คนนครที่ได้รับการยกย่องเช่น นี้ ผมจึ ง อยากเห็ น ชาวนครได้ รับ รู ้ เ รื่ อ งดี๊ ดี ในทุกๆด้านครับ


หน้า ๑๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

การปรับเปลีย่ นบริบทห้องเรียน สูห่ อ้ งเรียน

ตอนที่

ณรงค์ หิตโกเมท

หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา สพป. นศ.๓

สื่

อและบทเรี ย นในแท็ บ เล็ ต มี คุ ณ ค่ า ต่ อ การพั ฒ นาการเรี ย นรู ้ ต ่ อ นั ก เรี ย นมากที เดียว ซึ่งมี ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ นอกนั้นยังมีสื่อมัลติมิเดีย แอพพลิเคชั่น และนอกนั้นยังสามารถเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนักเรียนและครู สามารถสืบค้นข้อมูลอื่นๆ ได้อีกมากมาย นับ ว่ามีคุณค่ามากทีเดียวหากครูผู้สอนได้มีการ วิเคราะห์และวางแผนในการจัดการเรียนรูอ้ ย่าง เป็นระบบ ดั ง นั้ น ในการรองรั บ การเตรี ย มความ พร้ อ มในการใช้ แ ท็ บ เล็ ต ในการยกระดั บ คุณภาพการศึกษา โรงเรียน ห้องเรียนจ�ำเป็น ต้องปรับเปลี่ยนบริบทให้มีความพร้อมส�ำหรับ การให้บริการ ส่วนผูบ้ ริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู นักเรียน และสายสนับสนุนต้อง ปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับบริบทดัง กล่าวด้วย อาทิ

บกันอีกครั้งกับ...เทศกาลภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ ๘ โดยสถาบันเกอเธ่ ประเทศเยอรมัน ได้ริเริ่ม จั ด เทศกาลภาพยนตร์ วิ ท ยาศาสตร์ เ พื่ อ การเรียนรู้ เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นั บ เป็ น กิ จ กรรมที่ โ ดดเด่ น และมี ลั ก ษณะ เฉพาะ ในเทศกาลมีการน�ำเสนอภาพยนตร์ ที่ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ แก่ ผู้ชมจ�ำนวนมาก โดยใช้การน�ำเสนอนี้ ในการกระตุ ้ น การสร้ า งสรรค์ ภ าพยนตร์ ทางวิ ท ยาศาสตร์ ซึ่ ง เป็ น การรวมกั น ของ การศึ ก ษาและความบั น เทิ ง เพื่ อ แสดง ให้ เ ห็ น ว่ า การสื่ อ สารและการเรี ย นรู ้ ท าง วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก นอกจากนี้เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ยั ง เปรี ย บเสมื อ นเวที เ พื่ อ การแลก เปลี่ ย นความคิ ด เห็ น จากหลายวั ฒ นธรรม ซึ่งท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองของโลก แห่งการเรียนรู้ มีการเน้นความส�ำคัญของ

การปรั บ เปลี่ ย นบริ บ ทโรงเรี ย นสู ่ โ รง EAS, ETV, DLF, Teacher TV, Truevision, STOU-TV เรียนแท็บเล็ตเพือ่ การศึกษา

ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการเป็นจุดรับ ปลายทางของการใช้แท็บเล็ต เพราะเป็นจุดที่ นักเรียนจะต้องเข้าถึงความรู้และประสบการณ์ มากที่สุด ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการจึงต้อง ปรับเปลีย่ นบริบทดังนี้ ๑) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานในห้องเรียน กล่าวคือ (๑) มี Wi-Fi เพียงพอ (๒) มีเครื่อง รับสัญญาณดาวเทียม (๓) จัดห้องเรียนทางไกล เพือ่ ให้มปี ฏิสมั พันธ์ผา่ นเครือข่าย ๒) จัดสื่อการเรียนการสอนส�ำหรับกิจ กรรมแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ได้แก่แท็บเล็ต เครื่องฉายภาพ LCD กระดานอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ๓) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของ ห้องเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ (๑) โต๊ะครู (๒) ศูนย์ควบคุมการเรียนการสอน (๓) โต๊ะนักเรียน และสิง่ อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ตูแ้ ละหิง้ เก็บแท็บเล็ต และเครื่องมือราคาแพง และหิ้ง เก็บเอกสาร และวัสดุทางการศึกษา ๔) จัดให้มี Server และ จุดแพร่สญ ั ญาณ (Access Point) เพือ่ ถ่ายทอดสัญญาณให้รบั ได้ ขัดเจนในห้องเรียนโดยอาจจัดเป็นบริการแพร่ ภาพและเสียงในวงจ�ำกัด (Narrow Cast)

โรงเรี ย นต้ อ งปรั บ เปลี่ ย นบริ บ ทเพื่ อ เตรียมรับการเรียนการสอน ดังนี้ ๑) ปรั บ เปลี่ ย นองค์ ป ระกอบโรงเรี ย น ประกอบด้วย สถานที่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน โครงสร้างพื้น ฐาน เครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียนให้ เหมาะสมกับการเรียน ๒) จัดองค์กรรองรับ คือ หน่วยการเรียน ภควัตภาพ (Ubiquitous Learning UnitULU) มีนกั เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา ประจ� ำ อย่ า งเพี ย งพอกั บ การให้ บ ริ ก ารตาม ระดับชัน้ ๓) การจัดเตรียมโครงสร้างพืน้ ฐาน (วัสดุ อุปกรณ์ เครือ่ งมือ บุคลากร) ในโรงเรียน ๔) การจัดตั้งหน่วยทรัพยากรการเรียน การสอนในรู ป หน่ ว ยความรู ้ อ อนไลน์ Online Knowledge Unit (OKU), บทเรี ย น คอมพิ ว เตอร์ บทเรี ย นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (EBooks) ทัง้ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วและทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ใหม่ ๕) การจัดตัง้ เครือ่ งรับสัญญาณดาวเทียม เพือ่ การศึกษา เพือ่ เชือ่ มโยงรายการความรูจ้ าก

๖) การจัดตั้งเว็บไซต์โรงเรียนเพื่อการ เรี ย นการสอน น� ำ บทเรี ย นขึ้ น เว็ บ ไซต์ เช่ น ตามPrachoom Model ๗) การจัดตั้งเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ การประชุมทางไกล เช่น Skype, Tango, LINE เชื่ อ มต่ อ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาและ โรงเรียนในเครือข่าย ๘) พั ฒ นาหลั ก สู ต ร ระบบการเรี ย น การสอนและการนิเทศ และวิธีการสอนผ่าน แท็บเล็ต ที่สัมพันธ์กับระบบการสอนผ่านเครือ ข่ายสังคม เช่น Google and Youtube Learning with Facebook-GULF Model; Social Media Experience-Based Approach-SMEBA) ; Virtual Experience-Based ApproachVEBA เป็นต้น ๙) การจั ด ตั้ ง ศู น ย์ บ ริ ก ารICT ประจ� ำ โรงเรียน (School Area ICT Service Center) ๑๐) จั ด ระบบการประกั น คุ ณ ภาพ ระดับโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อด�ำเนินการ ติดตามและประเมินการใช้แท็บเล็ต เพื่อการ อ่านต่อฉบับหน้าถึงบทบาทของผู้บริหาร ศึกษาในโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู และสายสนับสนุนครับ

จุดประสงค์ด้วยการจัดงานในระดับภูมิภาค ด้วยเป้าหมายที่ต้องการกลุ่มผู้ชมที่เป็นเด็ก และเยาวชน ท�ำให้มีการพากย์ภาพยนตร์ทุก เรื่องเป็นภาษาตามประเทศนั้นๆ เพื่อให้ผู้ชม เข้าใจเนื้อหาของภาพยนตร์อย่างถ่องแท้ หั ว ข้ อ ส� ำ หรั บ เทศกาลภาพยนตร์ วิ ท ยาศาสตร์แห่งอาเซียนในปี ๒๕๕๕ นี้ คือ น�้ำ! น�้ำเป็นส่วนประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของ โลกเรา ซึ่งปรากฏออกมาเป็นสสารสามรูป แบบ ได้แก่ ของเหลว ของแข็ง และก๊าซ อีก ทั้ ง ยั ง เป็ น สิ่ ง จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ สิ่ ง มี ชี วิ ต ทุ ก รู ป แบบ ของเหลวประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ใน ร่ า งกายมนุ ษ ย์ ป ระกอบไปด้ ว ยน�้ ำ และน�้ ำ ยั ง คลอบคลุ ม พื้ น ที่ บ นโลก ของเราถึ ง ๗๐ เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน น�้ำคือหนึ่งในแหล่ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของเรา เป็นหนึ่งในหัวข้อส�ำคัญด้านระบบนิเวศและ สังคมในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยข้อจ�ำกัดด้าน แหล่ ง น�้ ำ คุ ณ ภาพและการอุ ป โภคบริ โ ภค

ทรัพยากรน�้ำจืด ซึ่งมีอยู่เพียงแค่ ๓ เปอร์เซ็นต์ของโลก องค์การสหประชาชาติระบุว่า ในแต่ ละปี มนุษย์มากกว่า ๑ พันล้านคนอุปโภค และบริโภคน�้ำจากแหล่งน�้ำที่ไม่สะอาดและ ประชากรจ� ำ นวนมากถึ ง ๑.๘ พั น ล้ า นคน อาจจะต้องอาศัยอยู่ในสภาวะภัยแล้งอย่าง แน่นอนก่อนปี ๒๕๖๘ และสองในสามของ ประชากรโลกนั้ น เป็ น ไปได้ ที่ จ ะตกอยู ่ ใ น สภาวะขาดแคลนน�้ำ ตัวอย่างเช่นสภาวะภัย แล้งในแหลมแอฟริกา หรือมหาอุทกภัยใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะไรบ้างที่จะได้ รับผลกระทบจากน�้ำอย่างรุนแรงท่ามกลาง รูปการณ์ของสภาวะโลกร้อนที่ก�ำลังเปลี่ยน ไป ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะน�ำเสนอเรื่อง ของน�้ำทั้งในด้านที่เป็นสสารทาง ธรรมชาติ ที่น่าอัศจรรย์และเป็นทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ขั้นพื้นฐานด้วย

ภาพยนตร์ที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ๑๑๑ เรื่องจาก ๒๐ ประเทศทั่วโลก ได้รับคัด เลือกเหลือเพียง ๒๔ เรื่อง จาก ๘ ประเทศ จะจั ด ฉายช่ ว งเวลาเดี ย วกั น ทุ ก ประเทศ ส�ำหรับประเทศไทย จัดฉายตั้งแต่วันที่ ๒๔ พ.ย. - ๑๐ ธ.ค.๕๕ นี้ ภาคใต้มาชมได้ที่ศูนย์ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด...ภาพยนตร์ทุกเรื่อง พากย์ ไ ทย และมี ก ารจั ด กิ จ กรรมวิ ท ยาศาสตร์แบบสนุกสนานเสริมการเรียนรู้ใน ระหว่างการชมภาพยนตร์ทุกเรื่อง พบกั บ โปรแกรมภาพยนตร์ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเรื่ อ งย่ อ รวมถึ ง การจองรอบ ชมภาพยนตร์ ไ ด้ ที่ www.nakhonsci. com หรือ www.facebook.com/ NSC Science Film Festival สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.ทานตะวัน ๐๘๑๘๒๔-๘๘๘๐


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

อาจารย์แก้ว

บั บ นี้ จ ะขอพู ด ถึ ง เทคโนโลยี เ กี่ ย วกั บ เครื่ อ งรั บ โทรทั ศ น์ หรื อ ที่ เ ราเรี ย ก ติดปากว่า “ทีวี” ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้ มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นจนตาม แทบไม่ทัน เราอาจคุ้นเคยกับรูปทรงของ เครือ่ งรับโทรทัศน์ทเี่ ป็นกล่องสีเ่ หลีย่ มหนาๆ และก็ถือว่าเป็นรูปทรงอมตะที่อยู่คู่กับคน เรายาวนานที่สุด ก่อนที่จะแปลงโฉมเป็น แผ่นบางๆในฟอร์แมตของ PLASMA, LCD, LED และ OLED ในปัจจุบนั

ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ของเครื่องรับโทรทัศน์

นับตัง้ แต่ที่ Philo Farnsworth สร้าง เครือ่ งรับโทรทัศน์เครือ่ งแรก (ทีใ่ ช้งานได้จริง ไม่นับรวมก่อนหน้านั้นที่อยู่ในช่วงทดลอง จากบุคคลอืน่ ๆ) ในปี ๒๔๗๐ (น�ำออกแสดง จริงในวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๑) ถึงวันนี้ ก็เบ็ดเสร็จ ๘๕ ปี การพัฒนา ในช่วงแรก มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเทียบกับ ปัจจุบนั หลังจากที่ Philo Farnsworth น�ำ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้งานได้จริงออกแสดง ครั้ ง แรกแล้ ว ในปี ถั ด มา หรื อ ปี ๒๔๗๒ เครื่องรับโทรทัศน์ก็ได้น�ำมาใช้งานจริงใน เชิงปฏิบัติ โดยมีการออกอากาศอย่างเป็น ทางการเป็ น ครั้ ง แรกในประเทศเยอรมั น และหลังจากนั้น ในปี ๒๔๗๙ การแข่งขัน กีฬาโอลิมปิกในกรุงเบอร์ลิน โทรทัศน์เริ่ม มีบทบาทด้วยการถ่ายทอดสดให้ได้ชมกัน ในกรุงเบอร์ลินและเลียบซิก (Leipzig) โดย เครื่องรับโทรทัศน์ในยุคแรกนี้จะผลิตโดย Telefunken ของเยอรมัน แต่ถึงกระนั้น ก็ ต าม การผลิ ต และBraun H1 ที วี ใ นปี ๑๙๕๘ จ�ำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ยังไม่ได้ เข้าสู่ระบบการตลาดอย่างแท้จริง และใน ปี ๑๙๓๖ ปี เ ดี ย วกั บ ที่ แ ข่ ง ขั น โอลิ ม ปิ ก

เครื่องรับโทรทัศน์ได้น�ำออกงาน World’s Fair เพื่อเปิดตัวสู่สาธารณะในเชิงพาณิชย์ เป็นเครือ่ งแรก แต่เนือ่ งจากเกิดสงครามโลก ครั้งที่สองเสียก่อน ดังนั้น โครงการผลิตเชิง พาณิชย์ในปริมาณมากๆ เลยต้องสะดุดลง จนต้องรอสงครามสิ้นสุดลง โดยมีตัวเลขที่ คาดการณ์วา่ จ�ำนวนเครือ่ งรับโทรทัศน์กอ่ น เกิดสงครามโลกครั้งที่สองมีเพียง ๑๙,๐๐๐ เครื่องในอังกฤษ ๑๖๐๐ เครื่องในเยอรมัน และอีกประมาณ ๗๐๐๐-๘๐๐๐ เครื่องใน อเมริกาเท่านั้น และกว่าจะฟื้นตัวมาได้ก็ ปาเข้าไปถึงปี ๑๙๔๘ เมื่ออเมริกาเริ่มสร้าง ระบบเครื อ ข่ า ยโทรทั ศ น์ เ ชิ ง พาณิ ช ย์ ขึ้ น และ Arturo Toscanini นักดนตรีที่สร้าง ต�ำนานให้แก่วงการโทรทัศน์ของโลกด้วย การปรากฏตัวบนหน้าจอโดยการแสดงทาง สถานีโทรทัศน์ NBC จนกลายเป็นรายการ ยอดฮิตของผูร้ บั ชมในสมัยนัน้ หลั ง จากนั้ น การพั ฒ นาเทคโนโลยี เครื่องรับโทรทัศน์เริ่มต้นอีกครั้ง แต่กลาย เป็นต่างคนต่างคิดค้นต่างคนต่างมาตรฐาน โดยเฉพาะด้านความละเอียด (จ�ำนวนเส้น) ทีม่ ที งั้ ๔๔๑ เส้นของเยอรมัน และตอนหลัง พัฒนาเพิ่มเป็น ๘๑๙ ซึ่งเป็นความละเอียด สูงสุดส�ำหรับทีวอี ะนาล็อก (Analog ) ๔๐๕ เส้นของอังกฤษ ซึง่ ยังไม่มมี าตรฐานอันเป็นที่ ตกลงยอมรับกันจนถึงยุคเครื่องรับโทรทัศน์ สี จึงได้มีการก�ำหนดมาตรฐานเป็น ระบบ PAL ส�ำหรับยุโรปตะวันตก ระบบ SECAM ส�ำหรับสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก และระบบ NTSC ส�ำหรับอเมริกาเหนือ และ ในยุคแรกนั้น เครื่องรับทีวีสีมีคุณภาพค่อน

ข้างต�่ำอันเนื่องจากข้อจ�ำกัดด้านการผลิต เนือ่ งจากในยุคทศวรรษปี ๑๙๖๐ นัน้ เครือ่ ง รั บ ที วี ต ้ อ งใช้ ห ลอดสู ญ ญากาศจึ ง ท� ำ ให้ มี ขนาดใหญ่ หนัก และคุณภาพไม่คงที่ จนถึง ยุคทศวรรษปี ๑๙๗๐ เมื่อการพัฒนาโซลิต สเตทมีความก้าวหน้าและมีคุณภาพ และ ในปี ๑๙๗๑ เป็นปีแรกที่ยอดขายทีวีสีก้าว ล�้ำแซงหน้าทีวีขาวด�ำในตลาดอเมริกา เมื่อ วัตถุดิบดีมีคุณภาพ ก็เท่ากับติดปีกให้พยัคฆ์ แล้ว เครือ่ งทีวที เี่ คยต้องบิดๆ หมุนๆ ก็เริม่ มี รีโมทใช้ควบคุม และในปี ๑๙๘๘ เครือ่ งรับ ทีวี LCD เครือ่ งแรกก็ได้ถอื ก�ำเนิดขึน้ ตลอดนั บ ทศวรรษที่ ที วี จ อบางวาง ตลาดนั้น ในด้านของการพัฒนาก็ ไ ม่ ไ ด้ มี อะไรที่คืบหน้ามากไปกว่าการพัฒนาด้าน ความละเอียดเพิ่ม และในระหว่างของการ แข่งขันกันพัฒนาด้านเทคโนโลยีนั้น ก็เกิด มีผู้ท้าชิงอย่างพลาสมาเข้ามาผสมโรงเป็น ระยะ หลายครั้งก็สามารถก้าวน�ำแซงหน้า LCD ไปได้ จากเดิมเครือ่ งรับโทรทัศน์ทเี่ คยมี ราคาเป็นแสนก็ลดลงมาเรื่อยๆจนถึงถึงหลัก หมื่นและหลักพัน และ ปี ๒๐๐๗ เป็นครั้ง แรกทีย่ อดขายทีวี LCD แซงหน้าทีวี CRT ได้ ส�ำเร็จ ในยุคต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ เริ่มมีการ แนะน� ำ ระบบโทรทั ศ น์ ค วามละเอี ย ดสู ง สู ่ ทวีปยุโรป และวันที่ ๑ มกราคม ๒๐๐๔ สถานีโทรทัศน์แบบไฮเดฟ (High Definition :HDTV) เริ่มออกอากาศครั้งแรกใน ประเทศเบลเยี่ ย ม และถึ ง เดื อ นธั น วาคม ๒๐๐๙ อังกฤษก็ได้ออกอากาศคอนเทนต์ที่ เป็นไฮเดฟส�ำหรับฟรีทวี เี ป็นครัง้ แรก อนิจจัง

กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล

jkrisana@hotmail.com Twitter@Krit­_nnasouth

<< ต่อจากหน้า ๑๒

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นซุงทั้งหมดที่ หายไปกลั บ มาตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ข องเอกชน รายหนึ่ ง ที่ อ ยู ่ ไ ม่ ห ่ า งจากจุ ด ซุ ง หายมาก นัก ตัวเลขตีตราตรวจยึดบนหน้าตัดของ ซุงหลายที่เป็นหลักฐานส�ำคัญที่ดิ้นไม่หลุด และไม่สามารถปัดความรับผิดชอบไปได้ เสียงที่ตอบมาจากผู้ที่มีส่วนในการรับผิด ชอบเพียงว่า

แต่อย่างใด แต่ที่น�ำมานั้นเพื่อแปรรูปน�ำ ไปใช้ ใ นการสาธารณประโยชน์ เ ช่ น วั ด และโรงเรี ย นในพื้ น ที่ เ ท่ า นั้ น ” ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบพื้นที่รายนี้บอก แต่เหตุผลที่ใช้เป็นข้ออ้างนั้นผู้ที่ท�ำ ธุรกิจใหญ่โต คงจะรู้ดีว่าฟังขึ้นหรือไม่ ไม้ ซุงท่อนใหญ่กว่า ๔๐ ลูกบาศก์เมตร และ “ยิ น ดี ที่ จ ะให้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ เจ้ า - ยิ่งถูกตีตราตรวจยึดไว้กลับน�ำเคลื่อนย้าย หน้าที่ทุกด้าน ในส่วนของไม้ทั้งหมดนั้นไม่ มาแปรรูปในสถานที่ซึ่งอยู่ในความรับผิด ได้มีเจตนาที่จะน�ำมาแปรรูปเพื่อท�ำธุรกิจ ชอบ มันคือ “ไม้เถื่อน” มิใช่หรือ

หน้า ๑๕

บ้ า นเรายั ง คงพู ด ถึ ง แผ่ น บลู เ รย์ เ ถื่ อ นที่ มี ความละเอียดเพียง 720p. โดยที่ยังไม่รู้ว่า เมื่ อ ไรเราจะได้ เ ห็ น รายการที่ เ ป็ น ไฮเดฟ จริงๆเสียที นอกจากสมาชิกทรูวิชั่นที่เริ่มได้ สัมผัสเมื่อครั้งการแข่งขันฟุตบอลโลกที่อัฟ ริกาใต้เป็นต้นมา บ้านเรา สถานีโทรทัศน์แบบไฮเดฟ ไม่ เกิดแต่กระแส 3D ก็ถกู โหมกระพือจนกลาย เป็ น กระแสที่ แ รงสุ ด ในปี ๒๐๑๒ แต่ ล ะ ค่ายแทบจะเข็นทีวีสามมิติของตนเองออก มาอวดชาวบ้านไม่ทัน แม้ยังไม่พร้อมวาง จ�ำหน่ายก็ขออวดไว้ก่อน แต่ว่ากระแสนี้ จะสามารถติดลมบนได้นานหรือไม่ก็คงอยู่ ที่คอนเทนต์ที่ป้อนตลาดซึ่งปัจจุบันยังมีไม่ มากนัก แต่ดูเหมือนวงการมายาก็เริ่มสร้าง ภาพยนตร์ ๓ มิติมากขึ้น จากที่เคยสร้างปี ละเรื่อง ก็ได้เห็นประมาณไตรมาสละเรื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่กระแสที่สร้างขึ้นมา แต่ เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติที่มาพร้อมกับเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตคือ อินเทอร์เน็ตทีวี และ ออนไลน์ดิจิตอลคอนเทนต์ ดังที่พวกเราจะ สังเกตเห็นว่าเครื่องรับทีวีรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมีช่องอีเธอร์เน็ต (Ethernet :LAN) มาด้วย ซึ่งท�ำให้เราสามารถรับชม คลิปวิดีโอ ข่าว ภาพข่าวพยากรณ์อากาศ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ศึกการแย่งชิงตลาดจึง เกิดขึ้นหนักทุกวันการเปิดตัวของ LG ร่วม กับ MThai และ Nation Channel เพื่อ ให้คนไทยสามารถเสพคอนเทนต์ภาษาไทย ผ่านผู้ให้บริการสองรายดังกล่าว แม้ว่าจะ เป็นปริมาณที่น้อยนิด แต่ก็ถือว่าเป็นการ เริ่มต้นที่นี้ และเป็นแนวโน้มที่ดี ซึ่งเชื่อว่า จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตรายอื่นๆต้องสรรหาและ ป้ อ นคอนเทนต์ ภ าษาไทยและแข่ ง ขั น กั น ด้านนีม้ ากขึน้ อี ก กระแสหนึ่ ง ที่ น ่ า สนใจยิ่ ง ก็ คื อ Google TV ที่ปัจจุบันนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แล้ว และผู้ผลิตบางรายก็ได้ติดตั้งอุปกรณ์ ส� ำ หรั บ ใช้ บ ริ ก ารนี้ ไ ว้ ใ นเครื่ อ งรั บ ที วี ข อง ตนแล้ว เมื่อไรที่เทคโนโลยีนี้แพร่หลาย เรา คงได้ เ ห็ น การพลิ ก โฉมหน้ า ในเครื่ อ งรั บ โทรทัศน์อกี ครัง้ ฉบับหน้ามาต่อเรื่องหลักการท�ำงาน ของเครือ่ งรับโทรทัศน์แต่ละรูปแบบครับ


หน้า ๑๖

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

Tarzanboy

ย่างที่เกริ่นไว้ในฉบับที่แล้ว ผมอยาก จะน� ำ บรรยากาศของการท่ อ งเที่ ย ว ผจญภัย และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับป่า มาให้ ท่านผู้อ่านได้รับรู้รับฟัง และได้จินตนาการ พร้อมกันไปด้วย โดยมองผ่านสายตาของ พรานป่าสองคน นักท่องเทีย่ วอีกสองคน ซึง่ สมัครใจเข้าอบรมเรียนรู้หลักสูตรวิชาพราน ที่เรียกว่า “ถอดรหัสป่า” แต่ก็ยังอยากจะ เน้นย�้ำให้ชัดเจนว่า นี่ไม่ใช่นิยายหรือเพียง จิ น ตนาการของผู ้ เ ขี ย น เรื่ อ งราวทั้ ง หมด เกิดขึ้นจริง เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวผจญ ภัยรูปแบบหนึ่งจริงๆ ที่มีประวัติยาวนาน ร่วมสิบกว่าปี และที่ส�ำคัญ เราได้พูดถึงผืน ป่าที่ดิบด�ำ หลงส�ำรวจ และอุดมสมบูรณ์ อย่างที่สุดนี้ มันคือผืนป่าที่อยู่ในเทือกเขา นครศรีธรรมราชบ้านของพวกเราเอง ผืนป่า แห่งหลังคาแดนใต้

“ต่อเดียว เราไปจัดของกันก่อน” เป็นส�ำเนียงภาษาถิ่นเมืองนคร ที่ผม ใช้สื่อสารกันน้องมิลล์ถึงล�ำดับถัดไปส�ำหรับ วันแรกที่เราเจอกัน เพราะเธอมีสายเลือด คนนครฯ เต็มเปีย่ ม ทริปนีผ้ มมีสาวน้อยสอง คน มีดีกรีเป็นพยาบาลวิชาชีพอยู่ในเมือง หลวง ที่ส�ำคัญไม่ได้มีประสบการณ์ใดๆ ใน ป่ามาเลย และสิง่ ส�ำคัญในหลักสูตรการเรียน รูน้ ี้ คือการรับการถ่ายทอดเกร็ดความรูต้ า่ งๆ จากพรานป่าโดยตรง ถ่ายทอดแลกเปลี่ยน ในสถานการณ์จริงๆ เท่านั้น ในทริปนี้จึงมี ผมกับเอ็กซ์ พรานป่ารุ่นน้องเป็นครูพราน ผู้สอน ส่วนพยาบาลสองสาวถือเป็นผู้เรียน และเราต่างก�ำลังเตรียมตัวเข้าสู่โปรแกรม การเดินป่าทีเ่ ข้มข้น นัน่ คือจะมีเพียง ๔ คน เท่านั้นที่ต้องไปผจญภัยในดงลึกเบื้องหน้า นัน่ ตลอด ๑๐ วันเต็ม “...นี่เราต้องเอาถุงใบใหญ่เปล่าๆ ใส่ ลงไปในเป้ก่อน เราต้องเอาของลงเป้แบบ นี้ เอาเสื้อผ้าหรือของที่อาจเปียกได้ลงถุง

ให้หมด แยกออกเป็นชุดๆ เซ็ตๆ ถ้าหยิบ ใช้อะไร เช่น ชุดนอน ก็จะได้ทั้งเซ็ตนั้นเลย แล้วเอารวมเข้าถุงใหญ่อีกที” ดูเธอสองคน ยังงงอยู่ “...นี่ แล้วก็เอาของใหญ่ๆ เช่นถุงนอน ไว้ก้นเป้ด้านล่าง และอื่นๆ ตามล�ำดับ และ หากมีของหนักก็ไว้บน จะท�ำให้ไม่กดสะโพก และหลัง ท�ำให้หลังเราจะตัง้ ตรง แล้ว...มีถงุ หิว้ ถุงด�ำกันมามัย้ ” “หึ ไม่...” สองสาวส่ายหน้าตอบได้ พร้อมเพรียงกัน “ถุงกันทาก...” “มิลล์มแี ต่...พีต่ อ๊ บ !!??” “หึ ไม่ ไม่มสี กั ถุง มีแต่นี่ ..” เธอเลือก ใส่สนับแข้ง และถุงเท้าหนาๆ แทน ก็โอเค! ส�ำหรับการลุยดงลึกนัน่ “เอานี่ ถุง...แพคทุกอย่างให้หมด และ เอาของที่กะว่าจะใช้ระหว่างทางไว้ด้านบน ทีห่ ยิบง่าย หรือไว้ชอ่ งเหลือบข้างนอก จ�ำไว้ ป่าบ้านเราเป็นป่าเขตร้อน มีโอกาสฝนตกได้

ตลอดทุกที่ จะเดินทางไปไหนสิง่ ส�ำคัญเล็กๆ น้อยๆ คือถุงพลาสติก! เอาล่ะไม่เป็นไรอะไร ไม่มกี ็ ...ไปว่ากันในป่า เดีย๋ วก็ร”ู้ เธอทั้งสองปรับตัวได้ดี แม้จะมือใหม่ และนี่เป็นครั้งที่สองของการเดินป่าหนักๆ ผม เอ็กซ์ และสาวน้อยนอกวงการทั้งสอง พร้อมด้วยสาคนขับรถ ก็เข้าสู่เส้นทางนครนบพิต�ำ มุ่งหน้าสู่หุบเขากรุงชิง จุดเริ่มเดิน เท้าของเราอยูท่ ตี่ นี เขาสีนำ�้ เงินเข้มลูกนัน้

ทิศเหนือ ล่างคือขาคือทิศใต้ คราวนี้หากรู้ เพียงทิศเดียว ก็ปรับต�ำแหน่งกากบาทนี้ให้ ตรงสักทิศ ที่เหลือก็ตามนั้น แต่ส�ำคัญว่า... เวลาเดินป่าน่ะ เส้นทางมันไม่ตรงทิศ หรือ ตรงเทรลหรอก ....เราต้องจ�ำทุกจุดที่เบี่ยง องศาไปตามทิศหลักๆ อย่าไปสนใจว่า ก�ำลัง จะเลี้ยวซ้ายรึขวา ...ต้องคิดเป็นเลี้ยวตะวัน ออกหรือตก แทน” “แล้วเราจะรู้ได้งัยพี่ว่า ...เราก�ำลังจะ ไปทิศไหน” ใช่นสี่ ำ� คัญมาก “จริงๆ เราต้องล�ำดับเป็นวันๆ ไปว่า เป้ า หมายแต่ ล ะวั น จะหยุ ด ตั้ ง แค้ ม ป์ ประมาณไหน แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ภาพใหญ่ ว่า เป้าหมายหลักๆ อยูท่ ศิ ไหน ต้องคิดไว้ใน สมองตลอดเวลา เอาล่ะๆ ล้างความจ�ำอืน่ ๆ ทิ้งหมดเหลือไว้แต่เรื่องเดินป่า แล้วใส่การ์ด ใหม่นเี่ ข้าไป” ล�ำดับในขั้นแรกนี้ส�ำคัญมากส�ำหรับ คนเดินป่า หากใจไม่อยู่กะป่า และคิดแต่ เรื่ อ งอื่ น ๆ ข้ า งนอกที่ ตั ว เองค้ า งคา หรื อ ใจลอยไปอื่ น ก็ จ ะท� ำ ได้ เ พี ย งเดิ น ตามคน น�ำทางเท่านัน้ เท่ากับจะเป็นเพียงภาระและ ตัวถ่วง แต่แน่นอนว่า จะเข้าหลักสูตรนี้ คุณ ต้องมีวิญญาณคนน�ำทางหรือเข้าใจวิถีของ พรานป่าจริงๆ ให้ได้ “นี.่ ..เป้าหมายเรา คือสันเขาตอนหนึง่ ฟากตะวันตก หากเจอทิวนั้นแล้ว เราจะ เบี่ยงขึ้นป่าบนด้านทิศเหนือ...และสุดท้าย เราจะวกลงมาตะวั น ออก น่ า จะโผล่ แ ถว นัน้ ..” ผมหยิบเศษกิง่ ไม้แล้วขีดเขียนคร่าวๆ ลงไปบนพืน้ ดินตรงหน้า แบ่งเป้าหมายหลัก เป็นสามตอนใหญ่ๆ ตอนสุดท้ายชี้ไปยังทิว เขาข้างๆ ทีห่ า่ งจากจุดนีไ้ ม่เกินสามกิโลเมตร

“พักนี่ก่อน...แป็บหนึ่ง นี่ๆ เศษยางพารา เก็บไว้ท�ำเชื้อไฟ เพราะทริปนี้เราไม่มี แก๊ส ต้องใช้การก่อไฟเพียวๆ ตลอดทริป” บทเรียนแรกเริ่มแล้ว ตั้งแต่แพคของ ถัดจากนี้คือการที่เราต้องค่อยๆ เปิดไปทีละ หน้าทีละบท ช่วงหนึง่ ของการไต่ทางชันผ่าน สวนยางพาราตีนเขา เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ก็ ค่อยๆ เริม่ ไปตามวิถี “...คื อ เราต้ อ งจ� ำ ต้ อ งสั ง เกต และ ต้องรู้ว่าอะไรคืออะไรตลอดรายทาง ...เอา เฉพาะที่เราดูและเตะตา หรือเฉพาะที่มันมี ประโยชน์ตอ่ การด�ำรงชีพน่ะ เช่น ผ่านอะไร ที่กินได้มั่ง ต้นไม้แต่ละต้น แหล่งน�้ำอยู่แถว ไหน และก�ำลังจะไปทางทิศไหน” “ไม่มีเข็มทิศ เราจะดูทิศอย่างไรพี่” หนึง่ ในนัน้ ตัง้ ค�ำถาม “คือเริ่มแรกไม่ว่าไปไหน ให้เราหาทิศ หรือจ�ำไว้ในใจทุกครั้ง ไหนตะวันออก ไหน ตะวันตก...บนโลกนีม้ นั มีหลักๆ อยูแ่ ค่นไี้ ม่วา่ กลางวัน กลางคืน ในป่า หรือในถ�ำ้ และหาก หาได้หนึง่ แล้ว ทีเ่ หลือก็ใช้วธิ นี .ี้ ...” ผมยืนขึน้ กางมือกางแขนสาธิตการปรับทิศทางให้เป็น แกนทิศทางเดียวกับโลก โดยเลือกตะวันยาม สายเป็นหลักของการจ�ำทิศตะวันออก “หา!!! พี่ ใกล้แค่เนีย๊ ไปท�ำไมตัง้ หลาย “บนเหนือ ...ล่างใต้...ซ้ายตะวันตก... ขวาตะวันออก มองในแนวระนาบน่ะ หัวคือ วันฮ่ะๆ” ต๊อบท�ำหน้าตาตืน่


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๗

นพ.รังสิต ทองสมัคร์

“ไปดูวา่ เราจะรอดมาถึงตรงนัน้ มัย้ ...เอิกกกก” เราไต่ทางชันขึ้นสันเขาที่ทอดยาวสู่ทิวเขาทมึนทึบข้างหน้า บางสิง่ ทีน่ า่ สนใจ เป็นประโยชน์ และควร ท�ำความรูจ้ กั ถูกหยิบยกขึน้ มาพูดคุย เดินไป พักไป คุย กันไป ไม่ได้จะรีบเร่งอะไร เพราะเรามีเวลาถึง ๑๐ วัน “ความจริงเวลาเดินป่า พรานเค้าไม่เงยหน้าดู ต้นไม้ว่าอันไหนต้นอะไรให้เมื่อยคอหรอก เค้าก้มดู พื้นดิน ใบมันที่ร่วงหล่นเนี่ยและบอกว่าอะไรเป็นอะไร นี่ ใ บกะท้ อ นนั่ น มะปริ ง ป่ า ...เค้ า เรี ย กว่ า สั น ปริ ง ๆ เพราะมันมีเยอะบริเวณนี”้ เส้นทางที่ผมใช้ครั้งนี้คือ แนวสันเขาที่ชาวบ้าน เรียกสันปริง ที่มีจุดเริ่มต้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ ๓ ต�ำบลกรุงชิง อ�ำเภอนบพิตำ� ในระหว่างทางนัน้ ดอกไม้ ป่า กลิน่ ชะมด เถาวัลย์นำ�้ ริมทาง กอไผ่ และเสียงน�ำ้ ใน หุบเล็กๆ ถูกหยิบยกขึน้ มาถ่ายทอด ซึง่ เป็นบทส�ำคัญใน รูป รส กลิน่ เสียง ทีพ่ รานใช้สำ� หรับด�ำรงชีพ “นี.่ ...ไม้กฤษณา” ผมดึงไบไม้เล็กๆ ทีใ่ บมันขลับ มาให้ดู พร้อมชีไ้ ปยังต้นมัน “อ๋อ ไม้ทำ� น�ำ้ หอมนัน่ เหรอ” สองสาวชักสนใจ “อืม โน่น ต้นมันถูกพรานโค่นลงไปกองเป็นปุ๋ย อยู่นั่น เดี๋ยวเราสับโคนที่มีสารน�้ำมันนี่เอาไปหน่อย” ผมกะเอ็กซ์เฉาะเอารากต้นกฤษณาเลือกเฉพาะที่มี เสีย้ นน�ำ้ มัน “เอาไปท�ำอะไรพี่...ขายเหรอ” มิลล์ยังให้ความ สนใจ “เปล่า คือเวลาเราอยู่ในป่า แล้วกลางคืนยุง ริ้น ไรเยอะ ก็เอาอันนีแ้ หละใส่ไปในกองไฟ ไล่แมลงได้ดนี กั กลิน่ หอมด้วย เหมือนก�ำยาน” ผมส่งไปให้ดม “เอ เหมือนมะม่วงมันแฮะ” คนบางกลุ่มจะมี สัมผัสจมูกไม่เหมือนกัน “เออ ผมก็ว่ากลิ่นมันเหมือนมะม่วงนะพี่บอย เนี่ยผมเคยเจอคนที่สองนะว่า กลิ่นเหมือนธูปก�ำยาน” เอ็กซ์พรานป่ารุ่นน้องผู้ช่วยของผม ซึ่งถือเป็นเด็กหนุ่ม ทีม่ ฝี มี อื และประสาทสัมผัสไวคนหนึง่ “แต่...พีไ่ ด้กลิน่ ก�ำยาน” “พี่ ก ะพี่ ริ น ได้ ก ลิ่ น เหมื อ นกั น เนอะ.... อ้ อ ! อาจารย์พี่บอยเขาน่ะ เป็นอาจารย์ปู่ผมอีกที” เอ็กซ์ กับมิลล์ชว่ ยกันเก็บกฤษณาใส่เป้ พร้อมกับการพยายาม ต่ อ สู ้ กั บ ทางชั น ของสั น ปริ ง กั น ต่ อ ด้ ว ยวิ ธี ก ารของ หลักสูตรถอดรหัสป่า ทุกอย่างจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน และการไขปริศนาหรือการถ่ายทอดระหว่างกันนี้ คือ เป้าหมายของการ “ถอดรหัสป่า”

วัดพระมหาธาตุ มุมมองจากทางด้านหลัง วัด(ทิศตะวันตก) เห็นถนนซอยทีร่ ายรอบวัด ฉบับรับออกพรรษา ฝนฟ้าเริ่มรั่วหลั่งไหลลงสู่บ้านเรา ผมพาเหินฟ้า เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก มองมุมเมืองจากสายตาของนกบ้าง

พระต�ำหนักประทับแรมปากพนัง อยูท่ างด้านทิศใต้ของเมืองปากพนัง มองเห็นแม่น�้ำปากพนังทางด้านหลัง อนุสาวรีย์ปล่องสีไฟสีทองและ พิพธิ ภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติอยูท่ างด้านหน้า น�้ำตกกรุงชิง อยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นน�้ำตกขนาดใหญ่ แหลมตะลุมพุก แหลมทีย่ นื่ ยาวกว่า ๒๕ กม. สวยงามมาก ชัน้ ทีส่ วยทีส่ ดุ คือ ชัน้ “ฝนแสนห่า” ซึง่ ไปปรากฏเป็นภาพ เป็นแหลมที่มีชีวิต เพราะงอกยาวขึ้นทุกปี ลายน�ำ้ บนธนบัตรฉบับ ๑๐๐๐ บาท รุน่ แรกด้วย


หน้า ๑๘

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นภสร มีบุญ

าพร้ อ มกั บ ความคิ ด ถึ ง กั น อี ก ครั้ ง ใน ฉบับนี้ค่ะ ... มาเติมความหวานให้กับ ชีวิต ในช่วงหลังเทศกาลงานบุญประเพณี อั น ยิ่ ง ใหญ่ ของเราชาวนครศรี ธ รรมราช งานเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ ที่ญาติสนิท มิ ต รสหาย และลู ก หลานได้ เ ดิ น ทางกลั บ บ้าน เพื่อลงมาท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ท่ามกลางกลิ่น ไอของความรักความอบอุ่นในครอบครัวที่ ยังคงละมุนในหัวใจ เหนื่อยล้ากันมากับการ เดินทางและการท่องเที่ยวในช่วงงานท�ำให้ อดนึกถึงสมัยเด็กๆ เวลาที่ร่างกายใกล้จะ หมดแรง หลายๆ คนคงเคยแอบประทับใจ ในรสชาติของการได้ลิ้มรสปุยน�้ำแข็งแสน นุ่ม รสหวานราดด้วยน�้ำหวานสีสวยสด .. พู ด แล้ ว ก็ ใ ห้ นึ ก ถึ ง และอยากทานขึ้ น มา ทันที ชีพจรลงเท้าครั้งเบาๆ สไตล์หวานๆ คราวนี้ เลยต้องขอพาไปลั่ลล้า ให้ก�ำลังใจ ธุรกิจครอบครัวของแม่และ ลูกๆ ครอบครัว หนึ่ ง หลั ง จากที่ ไ ด้ นั่ ง พู ด คุ ย จึ ง ท� ำ ให้ รู ้ ว ่ า แม้จะดูเป็นธุรกิจ ร้านเล็กๆ แต่เงินทุนที่ ลงทุนก็ไม่ได้เล็กตามนะคะ เบ็ดเสร็จก็เกือบ ล้าน ดีใจมากมายค่ะที่ได้มาเป็นก�ำลังใจให้ กับรรยากาศริ บผู้ประกอบการรายใหม่ ในวันนี้ ...ชื่อร้าน มระเบียง

และการตกแต่งเน้นแนววัยหวาน น่ารักๆ ซึ่ ง สไตล์ ก ารตกแต่ ง โดยฝี มื อ ของพี่ อ ้ อ ย (คุณแม่คนสวย) “Twist” เป็นร้านขายน�้ำ แข็งปุยหิมะที่ซื้อแฟรนไชส์มาจากไต้หวัน โดยมี ร ้ า นต้ น ฉบั บ ตั้ ง อยู ่ ที่ อ� ำ เภอทุ ่ ง สง ชั้น ๒ ห้างสหไทยสรรพสินค้า ..ก้าวแรก ที่ได้เข้าไปสัมผัสกับบรรยากาศในร้าน ขอ กระซิบไว้ก่อนเลยนะคะ ว่าน่ารักมากมาย ส�ำหรับสาวๆ วันหวานและสาวๆ ที่หัวใจยัง มีความหวาน ไม่วา่ จะเป็นโทนสีอบอุน่ และ ของตกแต่งร้านทีด่ แู ล้วน่ารัก กระจุม๋ กระจิม๋ งานตกแต่ ง ประเภทงานผ้ า ตั ด เย็ บ ลาย หวานๆ ตุ๊กตาที่น�ำมาวางตกแต่ง รวมไป ถึง หมอน และกล่องกระดาษทิชชู ม่าน โปร่งหวาน ตัดกันกับเก้าอี้สีส้มสดใส ท�ำให้

หัวใจชุ่มชื่นขึ้นมาทันที ยิ่งถึงเวลาที่น�้ำแข็ง ปุยหิมะทยอยมาเสิร์ฟ สีสันหวานบาดใจ น่าลิ้มลองจริงๆ เริ่มถ้วยแรกที่ น�้ำแข็งปุย หิ ม ะช็ อ คโกแลตกล้ ว ยสด เพิ่ ม ก� ำ ลั ง โดย เฉพาะ แล้วตามมาด้วยน�้ำแข็งปุยหิมะรส มะม่วงสดพร้อมข้าวเหนียว ท้ายสุดน�้ำแข็ง ใสปุยหิมะสตรอเบอร์รี่สดหวานหอม และ ปิดการชิมด้วยโกโก้เย็น เครื่องดื่มกระตุ้น ต่อมความหวานให้กับหัวใจ ..หรือถ้าเกรง จะเพิ่มน�้ำหนักก็มีชามะนาวรสกลมกล่อม ไว้ดบั กระหายเช่นกัน แค่นกึ ถึงก็อมิ่ ความสุข ไปแล้วค่ะ ยิ่งพอตักเข้าปากรสชาติของ น�้ ำ แข็ ง ปุ ย หิ ม ะ ก็ ล ะลายสิ้ น ในปากทิ้ ง ไว้ เพียงความหวานหอมที่ได้ลิ้มรส ...ถ้าไม่ได้ ไปลองชิมชีวิตนี้คงเสียดายความหวานไป นานเชียวค่ะ อิม่ ได้ทงั้ บรรยากาศ อิม่ ได้ทงั้ รสชาติของน�ำ้ แข็งปุยๆ และยังอิม่ ได้ในหัวใจ ไปนานแสนนาน ... เมื่อหัวใจได้ โอ ลั่ลล้า ชีวติ ก็มคี วามสุขมากมายแบบนีล้ ะ่ ค่ะ... แล้ว ฉบับหน้าเรามาล้อหมุนไปด้วยกันอีกครั้ง นะคะ


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๙


หน้า ๒๐

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.