หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด นครศรีธรรมราช

Page 1

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ ตุลาคม

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

http://www.nakhonforum.com

รั

ÊظÃÃÁ ªÂѹµìà¡ÕÂÃµÔ ªÇ¹¤Ô´ªÇ¹¤Ø ถึงท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ˹éÒ ô ¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑ­ญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ศิลปินถิ่นนคร รศ.วิมล ด�ำศรี àÅèÒàÃ×èͧàÁ×ͧà¡èÒ ¼È.©ÑµÃªÑ ÈØ¡ÃСҭญ¨น์ รักสุขภาพ นพ.อิสระ หัสดินทร์ มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

สัมภาษณ์พิเศษ

ราคา ๒๐ บาท

˹éÒ ò ˹éÒ ó ˹éÒ ñ๐ ˹éÒ ññ ˹éÒ ñ๒

เครดิตภาพ : ไพฑูรย์ อินทศิลา

˹éÒ ñ๓ ˹éÒ ñ๗ นายสุรโรจน์ นวลมังสอ

นายสุ ร โรจน์ นวลมั ง สอ ผู ้ อ� ำ นวยการ หนั ง สื อ พิ ม พ์ น ครโพสต์ ซึ่ ง เป็ น ผู ้ น� ำ คณะสื่ อ มวลชนและประชาชนรณรงค์ เ สนอพระบรม ธาตุ เ จดี ย ์ ฯ เป็ น มรดกโลกกลุ ่ ม แรก สมั ย นาย ภาณุ อุ ทั ย รั ต น์ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ ว ่ า ราชการ

ฐบาลเลือกเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สัญจร ในวันที่ ๒๑-๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ คณะ รั ฐ มนตรี มี ว าระพิ จ ารณาเห็ น ชอบให้ คื น ยศนามให้วดั พระมหาธาตุวรมหาวิหาร กลับ สู ่ ค วามยิ่ ง ใหญ่ อ ย่ า งในอดี ต ในโอกาสที่ องค์การยูเนสโกรับพิจารณาเข้าสู่บัญชีราย ชือ่ (TENTATIVE LISTS) เตรียมเป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลก ครั้ ง ที่ ๓๘ หรื อ ๓๙ ระหว่ า ง ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘

จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าตนได้พบ และพู ด คุ ย กั บ นายภาณุ อุ ทั ย รั ต น์ ที่ ป รึ ก ษา นายกรัฐมน-ตรีฝ่ายข้าราชการประจ�ำ สอบถาม เรื่องการประชุม ครม.สัญจรที่ก�ำลังจะมาถึง >> อ่านต่อหน้า ๘

รายงาน

นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์

โฆษณาประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการ ตลาด ชุด ‘นครศรีดี๊ดี’ ภายใต้ค�ำขวัญ “ที่เดียวเที่ยวครบเครื่อง เมืองเดียวเที่ยว ทั้งปี” แพร่ภาพทางโทรทัศน์ แผ่นป้าย และบิ ล บอร์ ด ตามย่ า นการค้ า และเส้ น ทางคมนาคมในกรุ ง เทพฯ ตั้ ง แต่ เ ดื อ น กรกฎาคม ๒๕๕๕ สร้างความรับรู้อย่าง กว้างขวาง

นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเมินว่าประสบ ความส�ำเร็จ จึงประชุมผลักดันโปรแกรมท่อง เทีย่ วเชิงรุกตลอดเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ตาม กระแสโฆษณา เริ่มจากวันที่ ๑-๘ ตุลาคม “เที่ยวป่า หน้าฝน ชิมผลไม้ ไหว้พระธาตุ เยือนเมือง ประวัตศิ าสตร์ เรียนรูด้ งู าน” >> อ่ า นต่ อ หน้ า


หน้า ๒

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

ภาพจาก : นครศรีดี๊ดี Nakhonsi Awesome@facebook

ดือนกันยายน ๒๕๕๕ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ หรื อ ยู เ นสโก ประกาศให้ ‘พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช’ ขึ้นบัญชี เบื้ อ งต้ น เสนอเป็ น มรดกโลกทางวั ฒ นธรรม ขั้ น ตอน ต่อไปคณะกรรมการของจังหวัดต้องจัดท�ำรายละเอียด ข้อมูล น�ำเสนอคุณสมบัติต่างๆ ของความโดดเด่นของ พระบรมธาตุเจดีย์ฯ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ส่งไปพิจารณาในการประชุมของคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๓๘ หรือสมัยที่ ๓๙ ระหว่าง ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ เพื่อประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก พระบรมธาตุเจดีย์ฯ มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ มรดกโลก ๓ ข้อใน ๑๐ ดังนี้ ข้อที่ ๑.มีลักษณะโครงสร้างต่างๆ สะท้อนถึงอดีต เช่น งานทางสถาปัตยกรรม ผลงานที่เป็นอนุสรณ์ในเชิง จิตรกรรม หรือประติมากรรม โครงสร้างทางธรรมชาติ ที่ เ ป็ น หลั ก ฐานทางโบราณคดี ถ�้ ำ ที่ ใ ช้ เ ป็ น ที่ อ ยู ่ ข อง มนุษย์ หรือลักษณะอื่นๆ ใกล้เคียงซึ่งมีคุณค่าและความ ส�ำคัญในระดับสากลในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือ วิทยาศาสตร์ ข้อที่ ๒. เป็นกลุ่มอาคารที่มีความกลมกลืนเป็น อันหนึ่งอัน เดียวกัน หรือลักษณะทางภูมิสถาปัตย์ ที่ มีคุณค่าหรือความส�ำคัญในระดับสากลไม่ว่าจะในทาง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ ข้อที่ ๓. มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ ความคิด หรือความเชื่อที่มีความส�ำคัญ และมีชื่อเสียง ในระดับสากล พระบรมธาตุเจดีย์ฯ ยังไม่ได้เป็นมรดกโลก ถ้า เป็นการประกวดนางงามจักรวาลอาจจะอยู่ในรอบ ๕ คน ซึ่งผู้เข้าประกวดทุกคนต้องตอบค�ำถามดูทักษะปัญญา คณะกรรมการฝ่ายเอกสารต้องทบทวนเนื้อหาของหลัก เกณฑ์ ๓ ข้อให้ถึงแก่นและยึดกุมให้มั่นว่าพระบรมธาตุ เจดีย์ฯ เป็นมรดกธรรม บุรพกษัตริย์ทรงก่อสร้างเพื่อเป็น เครื่องร�ำลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชน ได้สักการะ ไม่เคยมีจุดประสงค์ให้เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวแต่อย่างใด แม้ภายหลังมรดกโลกจะกลายเป็น ทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างส�ำคัญ แต่การจัดท�ำเอกสาร เพื่อตอบค�ำถามวัดทักษะปัญญา ฝ่ายจัดท�ำเอกสารอย่า หลงเดินออกไปจากมรดกธรรมอย่างเด็ดขาด

ตั้

งแต่ ป ลายเดื อ น กค.ต่ อ มาถึ ง ทุ ก วั น นี้ เ ชื่ อ ว่าชาวนครดอนพระทุกคนล้วนรับรู้ถึงการ ประชาสัมพันธ์ชุดใหญ่ให้เมืองนคร ในชื่อ นครศรี ดี๊ ดี N A K H O N S I A W E S O M E ที่ ยิ ง กระสุนทั้งทางอากาศ หนังสือพิมพ์ และ ป้ายประกาศต่างๆ รวมทั้งการแถลงข่าว และ จัดงานพิเศษขึ้นที่กรุงเทพ และ ที่นครแบบแรงมากๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผมเองก็รู้จากสรรพสื่อทั้งหลายที่กรุงเทพ ส่วนที่นคร นั้นไม่เห็นมีใครว่าอะไรกันสักเท่าไหร่ ป้ายในนครก็เพิ่งจะ มีมาในระยะหลัง วันก่อนพบคุณหมอรังสิต ทองสมัคร์ กับ คณะผู้รับงานนี้ที่ร้านติ่มซ�ำ ๕ ดาว บอกว่าก�ำลังออกไป ท�ำสกู๊ปให้นครศรีดี๊ดีที่ปากพนังกัน วันนี้ (๑๓ ก.ย.) ลอง ค้นดูค�ำ “นครศรีดี๊ดี” ในกูเกิ้ลเสิร์ช พบมีถึง ๒.๕ ล้านแฟ้ม เรื่องรวมๆ ซึ่งมีเรื่องอื่นๆ ด้วยนั้น เมื่อเจาะเฉพาะนครศรี ดี๊ ดี มี ๒๖๓,๐๐๐ แฟ้ ม ซึ่ ง ถื อ ว่ า มากที เ ดี ย วในแง่ ข อง การส่งข่าวและเกิดการรับรู้ เมื่อค้นต่อดู ๓ ไฟล์ที่คิดว่า น่าจะเป็นหลักของเรื่องนี้ ไฟล์แรกสุดคือสารคดีโฆษณา นครศรีดี๊ดี ความยาว ๖ นาทีเศษ รองมาก็เป็นงานแถลง ข่าวเปิดตัวที่สวนศรีธรรมาโศกราช ๑๘ นาทีกว่า และ ท้ายสุดคือในเรื่องเล่าเช้านี้ ของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ประมาณ ๕ นาที มีสถิติผู้เข้าชมแล้ว เรียงกัน ๑๙,๖๐๕ กดไล้ค์ ๓๘๓ คน / ๑,๑๗๖ และ ๘๕๓ ครั้ง โดยมีการ ท�ำฉบับภาษาใต้ด้วย มีคนเข้าชม ๓,๘๓๓ ครั้ง อ่านความ เห็นที่โพสต์เข้ามา ประมวลเอาเองแล้วรู้สึกว่าเหมือนจะ ไม่แรงอย่างที่ผู้จัดท�ำตั้งใจและทุ่มเทสรรพทรัพยากรลงไป ท�ำไม ? แล้วจะเอาอย่างไรกันดี ? ในหนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ฉบับที่แล้ว (กันยายน ๒๕๕๕) ที่ มี ค วามคิ ด เห็ น ไฮไลท์ ที่ สุ ด ของฉบั บ อยู ่ ที่ ๑๕ ทายาท/นั ก ธุ ร กิ จ รุ ่ น ใหม่ที่ ผ มไม่ ว ่ า งมาเข้ า ร่ ว มทั้ ง ๆ ที่ อยากรู ้ จั ก และรั บ ฟั ง อย่ า งยิ่ ง นั้ น มี ๔ ท่ า น (ทิ น กฤต เบ้าประเสริฐกุล, ศลิษา รุจิวณิชย์กุล, สุริยา ปัญจคุณาธร และ เอก ลิกอร์) เอ่ยถึงเรื่องนครศรีดี๊ดีนี้ ล้วนสะท้อนว่ายินดี แต่เสียดายที่ไม่ได้รับรู้และมีส่วนร่วม เมื่อตามดูทั้ง ๓ ไฟล์ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ทั้ง หลายเท่าที่ผมพอจะรู้ได้นั้น งานนี้น่าจะแรงได้กว่านี้หากมี การขับเคลื่อนจากภายในออกนอก อย่างที่พระเจ้าอยู่หัว ตรัสว่าให้ระเบิดมาจากข้างใน หรือที่นักนิยมมาร์กซิสต์ชอบ

บอกว่าปัจจัยภายในเป็นตัวชี้ขาด เช่นเดียวกับที่พระพุทธ ศาสนาบอกว่าทุกอย่างอยู่ที่เจ้าตัวเป็นหลัก ซึ่งจะเกิดเป็น พลังเสริมในการกระจายออก พร้อมกับการร่วมไม้ร่วมมือ ในการรองรับ สื่ อ ที่ อ อกไปว่ า นครศรี ดี๊ ดี นั้ น น่ า จะเน้ น กลุ ่ ม เป้ า หมายหนุ ่ ม สาวชาวไทยและต่ า งชาติ ด ้ ว ยการพากั น ไป เที่ยวหลายที่มากๆ ทั้งพระธาตุ ย่านหัตถกรรม ปากพนัง ทะเลขนอม เขาหลวงหลายที่ มีแถมเรื่องผลไม้ อาหาร ทะเลและพื้นบ้าน ด้วยสโลแกนประมาณว่า ชวนมาร่วม เป็นเจ้าบ้านดี๊ดี นครศรีเที่ยวได้ทั้งปี..นครศรีที่เดียวเที่ยว ครบเครื่อง...ทั้งประวัติศาสตร์ ย่านหัตถศิลป์ มีอากาศ ดี ทะเลสวย โลมาสีชมพู แล้วก็ ส้มโอทับทิมสยาม โดย หลายพื้นที่แทนที่จะให้ภาพกว้างเชิงพื้นที่เป้าหมาย กลับ เจาะระบุ บ อกแหล่ ง บริ ก ารจ� ำ เพาะไปเลย ครั้ น ตามไป ดู ง านแถลงข่ า วเปิ ด ตั ว ที่ ถ ่ า ยท� ำ มาลงอย่ า งยาวเกื อ บ ๒๐ นาที ที่มีท่านผู้ว่าวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ และ คุณสุทธิ ศิลมัย ผอ.ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเป็นพระเอก กับบท สัมภาษณ์ท่าน ผอ.ททท. นภสร ค้าขาย ด้วยนั้น ผมกลับ เห็นบรรยากาศเหงาๆ อยู่ในนั้น ไม่เห็นภาพผู้ประกอบ การและชาวนครที่ น ่ า จะเป็ น ตั ว จริ ง เสี ย งจริ ง ของงานที่ จั่ ว ว่ า “ร่ ว มเป็ น เจ้ า บ้ า นดี๊ ดี ต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว” ประกอบกับได้รับทราบความเห็นของน้องๆ ผู้น�ำนักธุรกิจ รุ่นใหม่ จึงถึงบางอ้อว่า งานนี้น่าจะยังไม่ได้ระเบิดออกมา จากข้างในเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นได้ไม่ยาก หาก จับกลุ่ม “คนที่ได้ชื่อว่าเป็นชาวนคร” ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่น่าจะน้อยกว่า ๒ ล้านคน ผมจึงตั้งหัวเรื่องตอนนี้แบบนี้ว่า “ชาวนครเรา เอา อย่างไรกันดี เพื่อ นครศรี ให้ดี๊ดี...ยิ่งๆ ขึ้น” ให้สมกับ ที่ทางจังหวัดทุ่มเทริเริ่มแล้ว และ ก่อนที่กระแสจะตกเสีย รวมทั้ ง อี ก ไม่ กี่ วั น ก็ จ ะถึ ง เทศกาลประเพณี เ ดื อ นสิ บ แล้ ว ยิ่งทราบว่าสภาพการธุรกิจการตลาดในนครสองสามเดือน มานี้ดูเหมือนว่าจะซบเซาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หากเห็น โอกาสจาก นครศรีดี๊ดี >> อ่านต่กหน้า ๑๕


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๓

จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร

มเคยเขียนถึง ‘ครูแมน’ ธีรภัทร์ มีเดช วาทยากรวง นครฯ เชมเบอร์ ออร์เคสตรา (Nakhon Chamber Orchestra) ใน ‘เนชั่นสุดสัปดาห์’ ต่อมาตีพิมพ์ความ เคลื่ อ นไหวของตั ว เขาและชมรมดุ ริ ย างค์ เ ยาวชนครศรี ธรรมราช ใน ‘รักบ้านเกิด’ และเขียนถึงกิจกรรมดีๆ ของ เขาอีกครั้ง ครูแมนของเด็กๆ มีใจรักดนตรีมาแต่เล็กๆ ได้รับทุน เรียนโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก จบปริญญตรีที่วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วเรียนต่อทางด้าน วาทยากรหรือการอ�ำนวยเพลงที่ University of Wisconsin-madison สหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์การควบคุม ดนตรีมาตั้งแต่ครั้งเรียนมหาวิทยาลัย และเป็นผู้ประพันธ์ ดนตรี ฝึกสอนขับร้องเพลงประสานเสียงและควบคุมวง ออร์เคสตรา โครงการละครเพลง ‘อิน-จัน เดอะมิวสิคัล’ ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ แขนงวิชาธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัย มหิดล ซึ่งประสบความส�ำเร็จอย่างสูง ครูแมนกลับบ้านเกิดมาก่อตั้ง ‘ชมรมดุริยางค์เยาวชน นครศรี ธ รรมราช’ โดยเดิ น เข้ า ไปหาครู ส อนดนตรี ใ น โรงเรียนต่างๆ อธิบายจุดประสงค์ ครูแมนอยากเห็นเมือง นครมีวงออร์เคสตราเป็นของตนเอง และขอความร่วมมือให้ ครูช่วยสรรหาเยาวชนที่มีความสามารถด้านการเล่นดนตรี มาร่วมฝึกฝน เรียนรู้ทักษะการเล่น การฟัง และการแสดง ดนตรีจากตัวเขา และนักดนตรีระดับชาติที่เชิญมาถ่ายทอด เทคนิคและประสบการณ์ ในฐานะนั ก ดนตรี ค รู แ มนเคยร่ ว มแสดงคอนเสิ ร ์ ต หน้าพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปลายปี ๒๕๕๔ ครูแมน น�ำ วงดุ ริ ย างค์ เ ยาวชนนครศรี ธ รรมราช แสดงคอนเสิ ร ์ ต เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา คีตราชัน ณ สนามหน้าเมือง สร้างความประทับใจแก่ชาวนครที่ไปร่วมแสดงความจงรัก ภักดีเป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ครูแมน เป็นวาทยากรในคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ณ สนามหน้าเมือง ครั้งนี้มีวงดุริยางค์กองทัพอากาศและวง ดุริยางค์มณฑลทหารบกที่ ๔๑ ร่วมแสดง ครู แ มนเป็ น คนน่ า รั ก อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตั ว มี ค วาม กระตื อ รื อ ร้ น ประสาคนหนุ ่ ม ผู ้ ป รารถนาดี ต ่ อ บ้ า นเกิ ด เขา ทุ่มเทให้กับการพัฒนาเยาวชน และยกระดั บ การฟั ง ดนตรี ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในหมู ่ เ ยาวชนและ ชาวนครศรี ธ รรมราช เมื่ อ ต้ น เดือนกันยายนที่ผ่านมา เขาแวะ เวี ย นมาเยี่ ย มและแจ้ ง ข่ า ว ว่ า วงนครฯ เชมเบอร์ ออร์ เคสตรา จะแสดงคอนเสิร์ต ใน

ธีรภัทร์ มีเดช

วาระครบรอบ ๒๐ ปีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักดนตรีก�ำลัง ฝึกซ้อมอย่างขะมักเขม้น ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง นักดนตรีที่ร่วมแสดงคอนเสิร์ตในวาระส�ำคัญนี้ ประกอบด้วย จ่าอากาศเอกสราวุธ ผลาชีวะ หัวหน้ากลุ่มวิโอล่า วงดุริยางค์เยาวชนไทย เคยได้รับการคัดเลือกไปร่วมแสดง กับวง Gunma International Youth Orchestra ในงาน World Expo ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ Department of Chamber Music Maladalen University of Sweden และร่วมก่อตั้งวงนครฯ เชมเบอร์ ออร์เคสตรา ชลัฐ ลิมปิศิริ หัวหน้าวงนครฯ เชมเบอร์ ออร์เคสตรา เป็นสมาชิกวง Dr.Sax Chamber Orchestra ที่ ดร.สุกรี เจริญสุข อธิการบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์เป็นผู้ก่อตั้ง เคย เดิ น ทางไปแสดงในเยอรมั น ออสเตรี ย อิ ต าลี แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และจีน และยังเป็นสมาชิกวง Thailand Philharmonic Orchestra จนถึงปัจจุบัน ฉัตรชัย สุขนิยม หัวหน้าเครื่องสาย และร่วมก่อตั้ง วงนครฯ เชมเบอร์ ออร์เคสตรา เคยร่วมวงดุริยางค์เยาวชน นานาชาติแห่งภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ เมื่อปี ๒๕๔๖ เป็น สมาชิกวงดุริยางค์เยาวชนไทย ระหว่างปี ๒๕๔๗ – ๒๕๔๙ ปัจจุบันเป็นสมาชิกวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ และนักดนตรี วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา กองทัพอากาศ ทวีศักดิ์ มีดคุ้ม เรียนจบภาควิชาดนตรีตะวันตก เครื่อง มือเอก Trombone จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็น สมาชิกวงเยาวชนนานาชาติภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ ปี ๒๕๔๖ – ๒๕๔๙ ปัจจุบันรับราชการทหารอากาศ และ จ่าอากาศ โทนิตินันท์ จันทร์รุ่งศรี หัวหน้าเครื่องไม้ วงนครฯ เชมเบอร์ ออร์เคสตรา รับรางวัลเหรียญทองในงานประกวดวงโยธวาทิต นั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษา ชิ ง ถ้วยพระราชทาน สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เ ป็ น หัวหนาวงดุริยางค์ RTAF Wind Symphony วงนครฯ เชมเบอร์ ออร์เคสตรา ก่อตั้งส�ำเร็จ ตามความฝันของธีรภัทร์ที่ อยากเห็นนครศรีธรรมราช

มีวงออร์เคสตราประจ�ำเมืองที่มีคุณสมบัติของวงอาชีพไว้ แสดงในวาระส� ำ คั ญ ๆ มี ก ารคั ด เลื อ กนั ก ดนตรี ที่ มี ค วาม สามารถมาร่ ว มวงเพื่ อ เป็ น แรงบั น ดาลใจแก่ เ ยาวชนชาว นครที่ ส นใจดนตรี และเป็ น ภาพลั ก ษณ์ ที่ ดี ข องจั ง หวั ด นครศรีธรรมราช ครูแมน บอกว่า นักดนตรีทุกคนซ้อมกันอย่างทุ่มเท เพื่อให้คอนเสิร์ตครบรอบ ๒๐ ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแรงจูงใจและผลักดันให้เยาวชนและผู้สนใจหันมาสนใจ ดนตรีที่เล่นด้วยวงออร์เคสตรา โดยเตรียมเพลงไว้ถึง ๑๙ เพลง ได้แก่ ตื่นเถิดไทย, จากยอดดอย, แด่ทหารหาญใน สมรภูมิ, แผ่นดินของเรา, สายทิพย์, บัวขาว, ลมหวน, ของ ขวัญจากก้อนดิน, ความฝันอันสูงสุด, Oh I Say, แสงเดือน, ดาวประดับใจ, ป่ารักน�้ำ, ในหลวงของแผ่นดิน และเพลง มาร์ชประจ�ำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น นักร้องรับเชิญ กันยารัตน์ กุยสุวรรณ, ดร.อภิชาต ดะลุณเพธย์, ณัฏฐ์ชวัล ภักดีวิจิตร, นคร วุฒิเสลา และ สมพร รุจิวณิชย์กุล คอนเสิร์ตจัดแสดง ณ อาคารไทยบุรี ในมหาวิทยาลัย วลั ย ลั ก ษณ์ ๒ รอบ ครู แ มนบอกว่ า อยากให้ นั ก เรี ย น นักศึกษามีโอกาสชม จึงเปิดแสดงรอบนักเรียนนักศึกษา เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. วันที่ ๒๗ ตุลาคม และรอบ บุคคลทั่วไป เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ รายได้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อทรงใช้สอยตามพระ ราชอัธยาศัย และ สมทบทุนกองทุนสร้างศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


หน้า ๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

โดย : นครา

ชวนคชวดิ นคยุ สุธรรม ชยันต์เกียรติ

nagara@nakhonforum.com

เรื่องและภาพประกอบ

๏ เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย

๏ จะเจ็บจ�ำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ฯ

วั

นเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑.๓๐ น. โลก ได้สูญเสียศิลปินคนส�ำคัญไป สยามประเทศก็ต้องสูญ เสียยอดกวีเอกของยุคสมัย ศรีธรรมราชนครก็ได้สูญเสีย จิตรกรผู้เป็นเลิศของแผ่นดินไปในเวลาเดียวกัน ใช่ครับผม หมายถึง ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ยอดคนของเมืองนคร ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ได้รับการยกย่องให้เป็น ทั้งยอดจิตรกรและยอดกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของ ยุคสมัยปัจจุบัน มีชาวนครจ�ำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักท่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ บางท่านเคยเห็นงานจิตรกรรมและ บทกวีของท่านอังคาร แต่ไม่รู้ว่าท่านเป็นชาวนครก็มีเช่น กัน เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยท่าน ผมจึงได้น�ำเรื่อง ราวของท่านมาพูดคุย แนะน�ำให้ท่านผู้อ่านหลายท่านที่ยัง ไม่ค่อยได้ติดตามชีวประวัติของท่าน เผื่อมีผู้คนจากบ้าน อื่นเมืองอื่นพูดคุยซักถามจะได้ไม่ใบ้กิน รู้ประวัติโอบาม่า รู้เรื่องคนส�ำคัญของโลก แต่คนส�ำคัญของโลกที่อยู่ในบ้าน เรากลับไม่รู้ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙ บ้านเกิดอยู่ที่หลังวัดจัน (จันทาราม) ต�ำบลท่าวัง อ�ำเภอเมือง นครศรีธรรมราช มีเกร็ดเรื่องเล่า ของท่านมากมายในวัยเด็ก เมื่อท่านคลอดใหม่ๆ ชาวบ้าน หลังวัดจันต่างร�่ำลือกันว่า ลูกของก�ำนันเข็บและนางขุ้ม เป็นพระอินทร์ลงมาเกิด เพราะแรกเกิดใหม่ตัวของท่านมี ปานสีเขียวแทบทั้งตัว ผู้คนจึงน�ำเรื่องไปโจษขานกันต่างๆ นานา ในวัยเด็กท่านฝึกหัดอ่านขีดเขียนในโรงเรียนวัดจัน หน้าบ้านท่านนั้นแหละ แต่ไปจบประถม ๔ ที่โรงเรียนวัด ใหญ่ไกลบ้านออกไปหน่อย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใหญ่กว่า จบ แล้วจึงไปเรียนมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียน ประจ�ำจังหวัดที่วัดท่าโพธิ์ปัจจุบัน สมัยเรียนท่านก็ฉายแววเป็นคนเก่งในเรื่องเจ้าบท

เจ้ากลอนแล้ว ด้วยความที่ต้องอ่านหนังสือสมุดข่อย เรื่อง จักรๆ วงศ์ๆ ให้คุณแม่ฟังอยู่เป็นประจ�ำ ท่านเป็นคน ซาบซึ้งในเรื่องราวที่อ่าน ถึงบทสนุกสนานก็มีอารมณ์ร่วม ถึงบทเศร้าก็ถึงกับอ่านไปร้องไห้ไป จนถูกแม่ดุเอาบ่อยๆ ว่ า ใส่ อ ารมณ์ ม ากไป ครั้ ง หนึ่ ง ตอนเรี ย นวิ ช าวรรณคดี คุณครูแพ แสงพลสิทธิ์ ให้ท่านอังคารออกไปอ่านท�ำนอง เสนาะหน้ า ชั้ น ได้ รั บ ค� ำ ชื่ น ชมจากคุ ณ ครู ว ่ า อ่ า นได้ ดี มีน�้ำเสียงอันสะเทือนอารมณ์ ถึงกับให้รางวัลพิเศษ คือ เลี้ยงข้าวแกงเนื้อและไอติมก่อนเวลาพัก ซึ่งภายหลังท่าน อังคารบอกว่า คุณครูไม่ได้เลี้ยงผมหรอก ท่านเลี้ยงพยาธิ ในพุงผมต่างหาก เพื่ อ นในห้ อ งเรี ย นท่ า นจะชื่ น ชอบมากเมื่ อ ท่ า น อังคารใช้กระดาษแข็งท�ำวาดรูปหนังตะลุง ตัดเสียบด้วย ไม้ไผ่ เล่นหนังให้ดู ว่าบทกลอนหนังอย่างคล่องแคล่วและ เต็มไปด้วยไหวพริบและปฏิภาณ งานด้านจิตรกรรมท่าน ก็ได้ซึมซับมาจากวัดจัน คือวัดช่างของเมืองนคร ซึ่งเป็น สถานที่วิ่งเล่นมาตั้งแต่เด็ก วัดจันนี้เคยมีผู้ผูกค�ำกลอนเอา ไว้ว่า “อยากเป็นปราชญ์ให้อยู่วัดโพธิ์ อยากกินหนมโคให้ อยู่วัดวัง ถ้าอยากเป็นช่างให้ไปอยู่วัดจัน” ท่านอังคารเคยเล่าให้ฟังถึงบรรพบุรุษของท่านว่า ท่านมีปู่เป็นช่างเขียนโบสถ์ ฝ่ายตาของท่านเป็นช่างทอง พ่อของท่านเป็นช่างไม้ ท่านมีเชื้อสายทางช่างมาแต่เดิม ท่านเองก็เคยกล่าวเสมอว่า ท่านเกิดมาเพื่อเป็นกวี และจะ เป็นกวีไปทุกชาติทีเดียว เมื่อท่านเรียนจบจากโรงเรียนเบญจมฯแล้ว ท่านก็ เดินทางสู่เมืองหลวง เข้าเรียนโรงเรียนเพาะช่างตามที่ ใฝ่ ฝ ั น แล้ ว เข้ า เรี ย นต่ อ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรในคณะ จิตรกรรม งานด้านกวีของท่านก็ไม่ได้ทอดทิ้ง แต่กลับ สูงส่งขึ้น ช่วงเรียนอยู่ปี ๑ บทกวีของท่านก็ได้รับการตี พิมพ์ในหนังสือต่างๆ มากมาย >> อ่านต่อหน้า ๑๐

หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือน ตุ ล าคม ๒๕๕๕ พรั่ ง พร้ อ มบทความ สารคดี รายงานและข่ า วสาร โดยคอลั ม นิ ส ต์ ที่ เ ป็ น นั ก วิ ช าการ นักบริหาร แพทย์ นักท่องไพร นักข่าว และช่างภาพมืออาชีพ พร้อมก้าวสู่ปีที่ ๒ ด้วยการยอมรับของผู้อ่าน เจ้าของธุรกิจ และบริการสินค้ามากขึ้น หน้า ‘ชุมชนคนนคร’ ผู้ อ่านและหน่วยงานต่างๆ กรุณาส่งภาพ-ข่าวกิจกรรมดีๆ มาเผยแพร่ เมื่ อ รวมกั บ ภาพ-ข่ า วของกองบรรณาธิ ก าร หน้านี้จะเข้มข้นหลากหลายยิ่งขึ้น เลือดเนื้อชาว ปากพนัง ดร.เลิศศักดิ์สิทธิ์ ศิริโกไศยกานนท์ (บิ๊กจุลพ์) อดีตนายต�ำรวจมือปราบอาวุโส Houston Police Department (Texas, U.S.A.) เข้าพบและมอบหมวกต�ำรวจเท็กซัส ให้ พล.ต.ท.สันติ เพ็ญสูตร ผู้บัญชาการต�ำรวจภูธรภาค ๘ และเข้าเยี่ยม นายสุรศักดิ์ ด่านกิตติกุล อธิบดีอัยการภาค ๘ ที่ส�ำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลูกหลานชาวขนอม...พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ จเรต�ำรวจ กับ สกล จันทรักษ์ นอภ.ฉวาง ร่วมเป็น ประธานจัดสร้างหลักเมืองขนอม ณ สวนสาธารณะพ่อตา คูระ พระพรหมจริยาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เป็นประธาน ในพิ ธี ว างศิ ล าฤกษ์ เพื่ อ ร� ำ ลึ ก ถึ ง บรรพบุ รุ ษ และเพื่ อ เป็ น เครื่ องยึ ด เหนี่ ย วทางจิ ต ใจของชาวขนอมให้ เกิ ด ความรั ก สามัคคี ความภาคภูมิใจ และความเป็นสิริมงคล

วันที่ ๒๕ สิงหาคม คณะกรรมการส่งเสริมกิจการ มรภ.นครศรีฯ ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๗ ที่พลตรีทันตแพทย์ ชัยนาท สวัสดีนฤนาท เป็นประธาน ประกอบพิธีเปิดศูนย์ แลกเปลี่ ย นวั ฒ นธรรมไทย-ญี่ ปุ ่ น ระดั บ ภาคใต้ เ พื่ อ แลก เปลี่ยนวัฒนธรรม ในวาระครบรอบ ๑๒๕ ปีความสัมพันธ์ ไทย – ญี่ปุ่น


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ผอ.ไพรัช วงศ์นาถกุล

วันที่ ๒๖–๒๘ สิงหาคม คณะผู้แทนจาก Nara Prefecture Seisho High School (Super Science High school :SSH) จ.นาระ (ญี่ปุ่น) ประกอบด้วย Mr.Yasuki Araki (ผู้อ�ำนวยการ) Mr.Tomichito Koda (ครูเคมี) Ms.Naoko Kazami (ครูภาษาอังกฤษ) มาเยี่ยมชม ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยนครศรีฯ ผอ.ไพรัช วงศ์นาถกุล และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับและร่วมประชุมด�ำเนินการ เพื่อยกระดับความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสองโรงเรี ย น และการก� ำ หนดกรอบความ ร่วมมือ (MOU) - ๑.แลกเปลี่ยนโปรแกรมเกี่ยวกับนักเรียน ๒.แลกเปลี่ยนกิจกรรมส�ำหรับผู้น�ำและครู ๓.ช่วยเหลือด้าน การสอนและการเรียนเฉพาะด้าน

ชูเกียรติ สุทิน

ปลายเดือนสิงหาคม ชูเกียรติ สุทิน รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ ว.ช่างศิลปนครศรีฯ เดินทางไปดูงานและแลก เปลี่ยนความรู้ด้านจิตรกรรมประเพณีที่เรียกว่า ‘นิงงงะ’ ณ ม.โทยามะ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เทอมหน้าจะเปิดสอน การวาดสีฝุ่นแบบญี่ปุ่นตามที่ไปฝึกฝนเรียนรู้กลับมา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ มรภ.นครศรีฯ ๙ คน เกษียณ ไปท� ำ สวนหรื อ เลี้ ย งหลานๆ ได้ แ ก่ อ.จิ ณ ฉิ ม พงษ์ , ผศ. ดิ เ รก ศรี ณ พงษ์ , ผศ.ยิ น ดี เจ้ า แก้ ว , ผศ.ดร.วี ร วรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล, ผศ.ศรีสุดา ธิติโสภี, สุชาติ ปิยะกาญจน์, ผศ.ดร.หัสชัย สิทธิรักษ์, จินตนา ภิรมยาภรณ์ (ข้าราชการ พลเรือน) และ อ.นพ กิตติกุล (เออร์ลี่ฯ) ‘ผู้ชราคือคนที่หมด ความกระตือรือร้นไปแล้วเท่านั้น’ เฮนรี่ เดวิด ธอโร่ ปราชญ์ อเมริกันกล่าวไว้ ตลอดตุลาคม ๒๕๕๕ คอนเสิร์ต ‘ครูเชาว์โชว์’ ของ ครูเชาว์ เขาทะลุ แทบไม่ว่าง เริ่มจาก ๒ ตุลาคม แสดงงาน ‘เปิดใจเมื่อภัยมา’ ณ สนามหน้าศาลา กลางจังหวัด หนังน้องเดียว ลูกทุ่งบันเทิง กับ ใบเตย อาร์ สยาม พร้อมขึ้นเวทีงานเทศกาลเดือนสิบ ณ สนามหน้าเมือง ๑๐ วัน ๑๐ คืน และ ๒๘ ตุลาคม – ๑ พฤศจิกายน แสดงงาน ชักพระและแข่งเรือที่ปากพนัง ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ พิเชษฐ์ กล้าสุคนธ์ นายกเทศมนตรีเมืองปากพนังจัดอย่างยิ่งใหญ่

นครศรีธรรมราช

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

หน้า ๕

หลวงปู่เอื้อม กตปุญฺโญ เจิมหน้าผากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

วันที่ ๑๔ กันยายน นางสาวยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายกรั ฐ มนตรี ให้ ก� ำ ลั ง ใจ ชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มดั บ ไฟป่ า ๘๐๐ นาย ที่กองอ�ำนวยการ ควบคุ ม ไฟป่ า พรุ ค วนเคร็ ง ศาลหลวงต้ น ไทร อ.เชี ย รใหญ่ จ.นครศรี ฯ ชาวบ้ า น นั ก เรี ย นและผู ้ น� ำ ศาสนา อิสลามให้การต้อนรับ วันที่ ๑๕ กันยายน อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดิ น ทางพร้ อ ม ส.ส.วิ ท ยา แก้ ว ภราดั ย ส.ส.เทพไท เสนพงศ์ ไปพบปะประฃาชนที่วัดบางเนียน อ.เชียรใหญ่ และเป็นประธานจุดธูปเทียนประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุ มงคลรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่เอื้อม กตปุญฺโญ หลังจากนั้น จึงกราบขอพรหลวงปู่พร้อมเจิมหน้าผากเป็นสิริมงคล ‘คุณต่อ ภัสสรสิริ’ ประกอบพิธีตอกเสาเข็ม ภัสสร สิริ คอนโดมิเนียม ที่สะพานยาว ก่อนตอก สมาน ลีละสุนทเลิศ จ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญทดสอบดินถึง ๒ ครั้ง เพื่อ เลื อ กเสาเข็ ม ที่ เ หมาะสมกั บ สภาพดิ น แต่ ล ะตึ ก ใช้ เ สา เข็มตึกละ ๑๐๓ เสา ตอกลึก ๑๗ เมตรเพื่อความมั่นคง ปลอดภั ย ปลายเดื อ นตุ ล าคมจะพาผู ้ จ องคอนโดฯ ช่ ว ง โปรโมชั่นไปเที่ยวเก็นติ้งฯ กัวลาลัมเปอร์ และปุตราจายา ตามสัญญา ลูกสาวคนเก่ง ภัสสร ลีละสุนทเลิศ ร่วมขบวน ไปดูแลลูกค้าด้วย

นครดีซี ร่วมกับเหล่ากาชาดจัง หวัดนครศรีฯ ชวน พนักงานและผู้ใจบุญบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลแก่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ชั้น ๒ ร้านนครดีซี วณี จิวะรังสรรค์ นายกเหล่ากาชาดมาเป็นก�ำลังใจ ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีฯ อาคม เหล่าธนถาวร รักษาการ ผอ.ส�ำนักการช่าง และ พรชัย พ้นชั่ว ผอ.โครงการส่งน�้ำและ บ� ำ รุ ง รั ก ษานครศรี ฯ ประชุ ม หารื อ เตรี ย มการป้ อ งกั น น�้ ำ ท่ ว มตั ว เมื อ งเทศบาล ก่ อ น แจ้งว่าสิ้นกันยายนจะเตรียม ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ ติดตั้งเครื่องสูบน�้ำและเครื่อง ผลักดันน�้ำป้องกันน�้ำท่วมให้เรียบร้อย พี่น้องประชาชนในเขต เทศบาลคลายกังวลใจได้ สโมสรเยาวชนส�ำนัก ข่ า วเสี ย งเด็ ก ของ ยุ ท ธนา ‘รักบ้านเกิด’ ฉบับนี้มีค่า ถ้าน�ำหน้าโฆษณา ‘ห้าง สุ พิ น ดา ไกรเสม อ.ขนอม เพชรซี ก วง’ ไปซื้ อ เพชร (เฉพาะรุ ่ น ) จะได้ ส ่ ว นลดทั น ที จัดงานวันคาร์ ฟรี เดย์ มีเด็กๆ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ โทร.คุณปาลิกา ๐๘๑-๕๙๗๕๕๓๕ น�ำจักรยานมาปั่นรณรงค์ลดโลกร้อนนับร้อยคน


หน้า ๖

นครศรีธรรมราช

School โรงเรียนของรัฐบาลบนเกาะเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นโรงเรียนประเภท โฮมสเตย์มีนักเรียนจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย ครอบครัวที่เมย์ไป อยู่มีนักเรียนภาคฤดูร้อนชาวเกาหลีใต้กับ ญีป่ นุ่ อยูด่ ว้ ย จึงรูจ้ กั และคบหาเป็นเพือ่ นกัน ปัจจุบันเธอกับอาลิซ่า นามากูระ นักเรียน จาก Tokyo High School ยังติดต่อและไป มาหาสูก่ นั “เมย์เลือกไปเกาะเหนือเพราะอากาศ อบอุ่นกว่าเกาะใต้ บ้านอยู่ห่างจากโรงเรียน ราว ๔ กิโลฯ บางวันเมย์เดิน เพราะอากาศ ดี รถก็ไม่พลุกพล่าน บางวันนัง่ รถเพือ่ นบ้าน ละแวกนัน้ เมือ่ ก่อนเมย์ไม่ชอบเล่นกีฬา แต่ พอไปเรียนทีน่ ตี่ อ้ งเรียนพละและได้เกรด จะ ต้องสอบให้ผา่ น--เรียนสนุกมาก จะเล่นอะไร ก็ได้ เพื่อนๆ เล่นฟุตบอลเท้าเปล่าก็ได้ ได้

รั

บปริญญาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) จาก The University of Nottingham ประเทศอังกฤษ เมือ่ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ภัสสร ลีละสุนทเลิศ กลับบ้านมาช่วยงาน พ่อสมานกับแม่พิมล รัตน์ หรือ ‘คุณต่อ ภัสสรสิร’ิ ทันที สมานเป็นลูกจีนชาวจันดี ออกจาก

บ้านไปเผชิญชีวิตตั้งแต่อายุ ๑๕-๑๖ ปี เพราะเป็นคนขยัน หนักเอาเบาสู้ เขาท�ำ งานในโรงเชือดไก่ ขายอาหารกุง้ รับจ้างจับ กุง้ เปิดร้านเกมในห้างโลตัสสุราษฎร์ธานี สมานกั บ ภรรยาท� ำ งานหนั ก มาก ขณะเมย์ อ ยู ่ ชั้ น ม.๑ โปรแกรมภาษา อังกฤษ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี พ่อกับแม่ ขายน�ำ้ ชา-กาแฟข้างถนนทีบ่ า้ นดอน สมาน แอบฝันลึกๆ ว่าจะให้ลกู ไปเรียนหนังสือใน ต่ า งประเทศ แม้ ไ ม่ ใ ช่ ค นร�่ ำ รวยแต่ จ ะ พยายาม เพราะครอบครัวไม่เคยมีใครเรียน ต่างประเทศมาก่อน พ่อแม่ย้ายมาท�ำงานที่นครศรีธรรมราช เมย์ยา้ ยมาเรียน ม.๒ โปรแกรมภาษา อังกฤษทีโ่ รงเรียนเบญจมราชูทศิ เมย์เรียน พิเศษภาษาอังกฤษอย่างทุ่มเท เรียนขิม จนเล่นได้ ขณะเรี ย น ม.๒ เมย์ ส มั ค รสอบชิ ง ทุนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ไปเรียนต่อที่ Darfield High School ในเมืองดาร์ฟิลด์ ที่เงียบสงบชายฝั่งเกาะใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ “ดาร์ฟิลด์เป็นชนบทมาก ต้นไม้ เยอะ วั ว กั บ แกะก็ เ ยอะ ชาวบ้ า นใจดี

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

เมย์ไปอยู่กับครอบครัวบาทหลวงใจดี การ เรียนก็สนุก เด็กๆ ได้ท�ำกิจกรรม เรียนจาก กิจกรรม ไม่น่าเบื่อ ครูเป็นกันเองเหมือน เพือ่ น ท�ำให้กล้าถาม กล้าพูดคุย” จบภาคฤดูร้อนเมย์เก็บประสบการณ์ กลับบ้าน เธอตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะกลับ ไปเรียนต่อระดับมัธยมปลายทีน่ วิ ซีแลนด์อกี ครัง้ เมือ่ กลับถึงบ้านจึงค้นหาข้อมูลศึกษาต่อ ในประเทศนิวซีแลนด์ “เราต้องให้เอเยนซี่ ประสานให้ บ้านทีเ่ ราไปอยูจ่ ะต้องเป็นบ้าน ที่ท�ำสัญญากับโรงเรียนเรื่องรับนักเรียนไป อยู่ ทีน่ นั่ เขาท�ำเป็นอาชีพ ส่วนใหญ่เป็นบ้าน เกษตรกรเลี้ยงวัวเลี้ยงแกะ ที่ลูกๆ แยกไป อยู่ที่อื่น พ่อแม่เปิดบ้านรับนักเรียน ท�ำห้อง พักเฉพาะ ๑ ห้อง ๑ คน ถ้าเราอยากอยูก่ บั ครอบครัวลักษณะไหน เช่น ไม่ตอ้ งการบ้าน ที่ มี เ ด็ ก ทารกก็ บ อกเอเยนซี่ เ ขาจะหาให้ . . เมย์ไปตอนอยู่ ม.๓ เทอม ๑ อยากบอกว่าถ้า ใครตัง้ ใจไปเรียนไม่ตอ้ งรอให้จบ ม.๓ ทีบ่ า้ น เรา เพราะมันจะช้า แต่อายุตอ้ งครบ ๑๕ ปี” เมย์ ไ ปเรี ย นที่ Cambridge High

กับแม่-พิมลรัตน์ หรือ ‘คุณต่อ ภัสสรสิริ’ และ พ่อ-สมาน ลีละสุนทเลิศ

กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลือกเรียนวิศวกรรมเคมีที่หลงใหล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงการความร่วม มื อ ที่ เ รี ย กว่ า Twining Engineering Program กับ The University of New South Wales ประเทศออสเตรเลียกับ The University of Nottingham ประเทศ อังกฤษ พอขึ้นปีที่ ๓ เมย์ไปศึกษาต่อที่ น็อตติง้ แฮมเพือ่ เป็นวิศวกรเคมี หรือวิศวกร ผูร้ อบรูเ้ รือ่ งวิทยาศาสตร์เคมี เมย์เล่าบรรยากาศการเรียนที่น็อตติง้ แฮม “ทีอ่ งั กฤษเมย์เรียนวิชาเคมีทสี่ เกล ใหญ่ขนึ้ เช่น การวางระบบการผลิตอาหาร การผลิตสารเคมี ออกแบบเครือ่ งจักร ตอน เรียนปี ๔ ต้องท�ำโปรเจ็คสร้างเครื่องมือ ส� ำ หรั บ โรงงานเครื่ อ งหนึ่ ง -- คิ ด หาวิ ธี บริหารโรงงานให้ผวู้ า่ จ้าง โจทย์คอื ท�ำอย่าง ไรให้ ป ระหยั ด ค่ า แรง ต้ น ทุ น ต�่ ำ คุ ้ ม ทุ น ก�ำไรมาก การท�ำโปรเจ็คท�ำให้เกิดแนวคิด เกิดกระบวนการคิด ท�ำให้ทำ� งานเป็น--เมย์ ท�ำทั้งปีจนได้รับรางวัลจากอาจารย์ นอก นั้ น ก็ ยั ง เรี ย นวิ ช าเลื อ ก เช่ น บั ญ ชี การ บริหารด้านวิศวกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริหารโครงการ” เรียนจบเมย์สมัครงานไว้ ๒-๓ แห่ง เช่น โรงงานเบียร์ บริษัทพีแอนด์จี และ เนสเล่ท์ ทีม่ สี ญ ั ญา ๔-๕ ปี วันรับปริญญา พ่อกับแม่บินไปร่วมงานรับปริญญา ช่วย กั น พู ด จาหว่ า นล้ อ มให้ ล ะทิ้ ง เงิ น เดื อ นๆ ละหลายแสน แล้วกลับมาช่วยดูแลธุรกิจ ครอบครัว โดยเฉพาะคุณพ่อที่คิดถึงและ ต้องการลูกสาวมาอยูใ่ กล้ๆ เมย์จงึ ตัดสินใจ กลับบ้าน “นครเปลีย่ นไปเยอะ ไม่นา่ เชือ่ ว่าจะ มาถึงจุดนี้” เมย์หมายถึงการขยายตัวของ เมื อ ง และการเกิ ด คอนโดมิ เ นี ย มที่ คุ ณ พ่อคุณแม่มีโอกาสเป็นเจ้าของโครงการ ภัสสรสิริ คอนโดมิเนียม “คิดว่าจะมีแต่ใน เมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ พัทยา หรือ ภูเก็ต” เมย์กลับมาดูแลระบบการเงินให้แก่ ธุรกิจของครอบครัว ทั้งช่วยคิดวางระบบ งานด้านต่างๆ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ ศึกษาและฝึกฝนมาอย่างดี ขณะเดียวกัน ก็เรียนรู้งานจากคุณพ่อคุณแม่อย่างถ่อม ตน เมย์ฝากบอกผู้ปกครองชาวนครว่า ถ้า ต้องการทราบข้อมูลเกีย่ วกับการศึกษาของ ลูกๆ ในนิวซีแลนด์ เธอยินดีให้ค�ำปรึกษา ด้วยความยินดี ภัสสรหรือเมย์ ภัสสรสิริ เป็นหญิง สาวที่ เ รี ย บร้ อ ย น่ า รั ก มี ค วามเป็ น มิ ต ร ขยันค้นคว้าหาความรู้อยู่ตลอดเวลาและ รักการอ่าน เธอพูดและเขียนภาษาอังกฤษ จีน และสนใจภาษาญีป่ นุ่ อีกด้วย กลับบ้าน ยังไม่ครบ ๓ เดือน เธออ่านหนังสือไปแล้ว นับสิบเล่ม ทัง้ นิยายฝรัง่ จีน และญีป่ นุ่

สร้างทักษะ ได้ออกก�ำลังกาย จนเมย์เปลีย่ น ทัศนคติกับกีฬาไปเลย จากไม่ชอบเป็นชอบ ได้สนิทสนมกับเพื่อน กีฬาท�ำให้คุยกันได้ มากขึน้ แล้วชวนกันเข้าทีม” เมย์ ช อบฟิ สิ ก ส์ เคมี ชี ว วิ ท ยา ได้ ทดลองปฏิบัติจริง ได้ผ่ากบ ผ่าแกะ ลูกตา แกะ ครู ส อนตามหนั ง สื อ เรี ย นฟิ สิ ก ส์ ไ ด้ ทดลองอุปกรณ์จริง เคมีกไ็ ด้ทำ� น�ำ้ อัดลม ท�ำ เบียร์ขิง และรู้สึกตื่นเต้นกับการสังเกตปฏิกิริยาเคมีของยีสต์ ตลอดจนปฏิกิริยาที่เป็น ฟองฟูแ่ คลเซียมคาร์บอเนต จนเกิดค�ำถาม-ท�ำไมถึงเป็นอย่างนี้ แล้วน�ำมาคิดต่อ “เรียนในห้องแล็บ สนุกมากค่ะ ได้ทดลอง สังเกต ตั้งค�ำถาม ตอบ ค� ำ ถามด้ ว ยตั ว เอง ไม่ เน้นท่องจ�ำ ทุกคนสนุก ไม่เบื่อ เวลามีแล็บเด็กๆ จะตื่ น เต้ น การเรี ย นที่ นั่นเมย์ได้เรียนรู้การพึ่ง ตนเองมากขึ้ น --ท� ำ เอง มากขึ้น กล้าแสดงออก กว่ า เดิ ม มี อ ะไรสงสั ย รี บ ถาม รู ้ จั ก เคารพ ผู ้ อื่ น และการเดิ น ไป โรงเรี ย นเมย์ พ ยายาม เดิน ที่นั่นรถไม่ติด เดิน ไปด้วยกันหลายๆ คน-เมย์ เ ป็ น ความสุ ข และความภาค ปลอดภัยมาก” เมล์ ก ลั บ จากนิ ว - ภูมิใจของคุณพ่อคุณแม่ และเป็นแบบ ซีแลนด์ ปี ๒๕๕๑ สอบ อย่างให้น้องชายที่ก�ำลังเรียนระดับมัธยม เข้าศึกษาต่อคณะวิศว- ทีน่ วิ ซีแลนด์


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๗

ภาพจาก : www.siamfreestyle.com

มเขียนถึงเรื่องโฉมหน้าใหม่เมืองคอน สู่ยุคทองเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ฉบับนี้ขอต่อเรื่องการท่องเที่ยวบนแนวคิด ใหม่ เพียงเราเปลี่ยนโจทย์ตั้งค�ำถามใหม่ เพื่ อ ค้ น หาค� ำ ตอบร่ ว มกั น คุ ณ อยากให้ อะไรกั บ ผู ้ ม าเยื อ นและต้ อ งท� ำ อย่ า งไร? จากการเปิ ด เผยผลการวิ จั ย ของบริ ษั ท ยูเรก้า คอนซัลติ้ง จ�ำกัด เพื่อการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ในหัวข้อ “ภาพ ลักษณ์” ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ในสายตาของนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งชาติ เก็ บ ตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมาย ๑๔ ประเทศ รวมกว่ า ๓,๖๔๐ ตั ว อย่ า ง จากกลุ ่ ม นั ก ท่องเที่ยว มาเลเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สหรั ฐ อเมริ ก า สหรั ฐ อาหรั บ เอมิ เ รตส์ ออสเตรเลี ย จี น เกาหลี อิ น เดี ย รั ส เซี ย เยอรมนี สวีเดน และอิตาลี พบว่าชาวต่างชาติ ที่ เ ดิ น ทางมาไทยทั้ ง หมดมี ๗๒.๙% ที่ ม าเพื่ อ การพั ก ผ่ อ นขณะที่ ก ลุ ่ ม เดิ น ทาง มาเยี่ยมเพื่อน ญาติ มี ๑๔.๑% และเดินทาง มาท�ำธุรกิจและประชุม ๘.๖% ผลส�ำรวจ ชี้ชัดว่านักท่องเที่ยวมองไทยเป็นประเทศ พุ ท ธศาสนาแต่ ป ั จ จั ย ที่ ดึ ง ดู ด ที่ แ ท้ จ ริ ง ๕ อันดับมาจาก การต้อนรับ (Welcoming) การมีมนุษยสัมพันธ์ (Friendly) ความตื่นตา ตื่ น ใจ (Amazing) ประเทศที่ มี ค วามสุ ข (Happy) และมี ค วามน่ า ตื่นเต้น (Exciting) ส่วนปัจจัยลบที่ท�ำให้นักท่องเที่ยวไม่ ตั ด สิ น ใจเดิ น ทางมาไทย ๓ เรื่ อ งหลั ก คื อ ภาพลักษณ์เชิงลบจากวิกฤติการเมือง ภัย ธรรมชาติ การค้ า ประเวณี นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ให้ ค ะแนนความปลอดภั ย (Safety and Security) ในเกณฑ์ต�่ำสุด ทั้งการส�ำรวจสุ่ม ครั้งแรก (First Visitor) และกลุ่มเดินทางซ�้ำ (Repeated Visitor) มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน โดยเห็นว่าชีวิตยามราตรีไม่มีความปลอดภัย นั ก และยั ง รู ้ สึ ก ว่ า ยั ง ขาดเรื่ อ งการบริ ก าร สายด่ ว นที่ นั กท่ องเที่ ย วสามารถติดต่อได้ ๒๔ ชม. รวมถึงความปลอดภัยของระบบ คมนาคม ด้านรูปแบบการท่องเที่ยวที่ต่างชาติ ชื่ น ชอบมากที่ สุ ด ในแต่ ล ะด้ า นพบว่ า ชายหาดที่ ส วยงาม (Beautiful Beach) มี ค ะแนนเฉลี่ ย มากที่ สุ ด ๓.๒๙ คะแนน หมวดหมู่กิจกรรมที่นิยมยกให้ สปาและการ บริการทางด้านสุขภาพ (Variety of Spa and Wellness Offers) ๓.๑๓ คะแนน

ด้านอาหารนักท่องเที่ยวยกให้ความหลาก หลายของผลไม้ตามฤดูกาล (Variety of Tropical Fruits) เป็นจุดเด่นที่สุด ๓.๓๔ คะแนน ตามมาด้วยอาหารตามท้องถนน (Street Food) ที่ได้ ๓.๒๕ คะแนน ด้าน คุ้มค่าเงิน (Value for Money) ยกให้เรื่อง ที่ พั ก อาศั ย เป็ น บริ ก ารที่ คุ ้ ม ค่ า เงิ น จ่ า ยไป มากที่สุด ๓.๑๔ คะแนน จากข้อมูลข้างต้น ของงานวิจัยท�ำให้ เราเห็นภาพความต้องการของนักท่องเที่ยว ต่ า งชาติ ที่ ม าเมือ งไทย ผมคิ ดว่า นักท่ องเที่ยวต่างชาติและคนไทยก็คิดไม่ต่างกันมาก นัก อาจมีความต้องการที่หลากหลายกว่านี้ แต่ถ้าเราตั้งโจทย์ว่า เราอยากให้อะไร? กับ ผู้มาเยือนก็พอหาค�ำตอบได้ว่าอะไรที่เรายัง ไม่ได้ให้พวกเขาบ้าง นั่นก็คือสิ่งที่ยังไม่เป็น ที่พึงพอใจ มันมีอยู่ ๒ ค�ำถามก็คือ ๑. เรา อยากให้เขาจริงๆ หรือเปล่า? แต่ถ้าเป็นเพียง ความอยากที่จะให้แต่ยังไม่ลงมือท�ำก็เท่า กับศูนย์ก็คือเขาไม่ได้รับอยู่ดี ดังนั้นความ อยากอย่างเดียวไม่พอต้องลงมือท�ำให้เป็น รูปธรรมจับต้องได้สัมผัสได้โดยผู้มาเยือน ได้รับ จริง ๆ ๒. เรากล้าที่จะท�ำเพื่อผู้มา เยือน (นักท่องเที่ยว) ให้เขาได้รับผลจาก การกระท�ำของเรา ก็ต้องมีค�ำถามต่อไป เรา จะท�ำอย่างไร? หลังจากได้ค�ำตอบแรกคือ เราต้องท�ำอะไร? และเราในความหมายนี้ เป็นใครกันบ้าง คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย (สทท.) ได้ให้มุมมองที่น่าคิด ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเหมือนเก้าอี้ ที่ต้องมี ๔ ขา ๑. ภาครัฐ ๒. ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ๓. องค์กรปกครองท้องถิ่น ๔. ชุมชน “การท่องเที่ยวจะเติบโตยั่งยืน หรือไม่ ๔ ขานี้ต้องไปด้วยกัน ถ้าขาใดขา หนึ่งไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วยความส�ำเร็จก็ไม่ เกิด” ความยากมันอยู่ตรงนี้เอง ก็คือ คน ใน เรา ๔ ขานี่แหละที่อยากให้เหมือนกันหรือ เปล่า อยากท�ำให้ผู้มาเยือนหรือไม่? ปัญหาท�ำอะไร? ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะ ส่วนใหญ่เรารู้กันดีอยู่แล้ว ใครเปิดประเด็น

เรื่องจุดอ่อนการท่องเที่ยวก็จะมีคนแสดง ความคิ ด เห็ น เข้ า มามากมาย ไปถามนั ก ท่องเที่ยวค�ำตอบก็มีมาให้เราได้รู้แล้วว่าคือ อะไร? หากเราจับประเด็นงานวิจัยข้างต้น มาตั้ ง เป็ น โจทย์ เช่ น เรื่ อ งความปลอดภั ย เรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับคน ๔ ฝ่าย อย่าง เรื่อง การคมนาคม การเดินทาง ก็มีผู้มา เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ตั้งแต่ สนามบิน สถานี ขนส่ง คิวรถโดยสารประจ�ำทาง รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถนนหนทาง ป้ายบอกทาง การ ใช้รถของผู้ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนตร์ ไฟจราจร ต�ำรวจจราจร ด่านตรวจ สถานี บริการน�้ำมัน จุดพักรถ ห้องน�้ำ ร้านอาหาร เด็กปั๊ม สัตว์เลี้ยงวิ่งข้ามถนน รถบรรทุก ดินไปถมที่ปล่อยดินไว้บนถนน ฝนตกถนน ลื่ น น�้ ำ ท่ ว มทาง สะพาน ทางแยก และ อื่นๆ อีกมากมาย เรื่องการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย เป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายคือ ภาครัฐ ผู้ ประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนต้องมีเป้าหมายร่วมกันว่าเราอยากให้ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่บ้านเราหรือเปล่า? หรื อ ใครท� ำ ธุ ร กิ จ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย วก็ ไ ป ท�ำเอาเองฉันไม่ได้อะไร? ฉันไม่เกี่ยว หรือ เรามองเห็นภาพการท่องเที่ยวกันคนละมุม และยังไม่มีความเห็นร่วมกันว่าเราต้องท�ำ อย่างไรกันบ้าง และใครจะแบ่งงานความ

รั บ ผิ ด ชอบอะไรกั น ไปท� ำ ให้ เ กิ ด เป็ น ผล อย่างแท้จริง ผลลัพธ์ก็มีค�ำตอบอยู่แล้ว ถ้า อยากเห็นสิ่งใหม่ ก็ท�ำสิ่งใหม่ๆ หากยังคง ท�ำแบบเดิมผลลัพธ์ก็เหมือนเดิม พอมองเห็ น ภาพกั น แล้ ว ใช่ ไ หมครั บ อันที่จริงเรารู้ว่าต้องท�ำอะไรบ้าง ปัญหาการ ท่ อ งเที่ ย วของเรามี อ ะไรบ้ า งที่ ต ้ อ งให้ กั บ นักท่องเที่ยว แต่เรายังหาข้อยุติที่จะตกลง กันในพวกเรา ๔ ขา คือ ภาครัฐ ผู้ประกอบ การ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ชุ ม ชน ว่าตกลงเราจะท�ำอย่างไร? ท�ำอะไรได้บ้าง ท�ำอะไรก่อนหลัง เราต้องวางแผนลงมือท�ำ กั น อย่ า งไร? เราจะจั ด หางบประมาณมา สนับสนุนได้อย่างไร? ใครต้องท�ำอะไรบ้าง? และส� ำ คั ญ เราต้ อ งเปลี่ ย นมุ ม มองใหม่ ในหมู่พวกเราเหมือนกันแทนที่เราจะมัว แต่ฝากให้ขาใดขาหนึ่งท�ำมันก็เป็นไปไม่ ได้ หรือเรามัวแต่จะโทษขาใดขาหนึ่งก็ไม่ ได้เช่นกัน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องมีใคร ลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพจัดเวทีพูดคุยกันใหม่ ด้วยมุมมองใหม่ เราอยากให้อะไร? แทนที่ เราจะได้อะไร? นายไพโรจน์ เพชรคง Pairotpetkong784@gmail.com ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕


หน้า ๘

เรือ่ งจากปก

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

<< ต่อจากหน้า ๑

นายภาณุ อุทัยรัตน์ กล่าวว่าในวาระส� ำคัญนี้จะ ฑิ ฆั ม พร กรมหลวงลพบุ รีราเมศวร์ อุ ป ราชปั ก ษ์ ใ ต้ ทรง เตรี ย มร่ า งกฤษฎี ก าเรื่ อ งคื น ยศนามแก่ วั ด พระมหา- ให้พระสงฆ์จากวัดเพชรจริกมาดูแลรักษา ปีพุทธศักราช ธาตุฯ ให้กลับมาใช้วัดพระบรมธาตุเหมือนเดิม ซึ่งนางสาว ๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสเมืองนคร ทรงพระกรุณา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี น่าจะมีความเห็นชอบใน เรื่องนี้ วิกิพีเดีย พจนานุกรมเสรี บันทึกว่า วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ ถนนราชด�ำเนิน ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น พระอารามหลวงชั้นเอกชนิด วรมหาวิหาร เนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๒ งาน ในสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ วัด ไม่มีพระสงฆ์จ�ำพรรษา พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคล

โปรดเกล้ า ฯ พระราชทานนามใหม่ ว ่ า วั ด พระมหาธาตุ วรมหาวิหาร เท่ากับเป็นการลดยศชั้นจากวัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ของวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มี เอกราชและมีพระมหากษัตริย์ปกครองมาก่อน นายสุรโรจน์ นวลมังสอ กล่าวว่า ถ้าร่างกฤษฎีกาเข้า สู่วาระการประชุม การคืนยศนามแก่วัดพระมหาธาตุฯ มีความเป็นไปได้สูง และสร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก

“Romantic Destination” วันที่ ๒๐ ตุลาคม “มหกรรมท่องเที่ยวเขาพลายด�ำสิชล” ณ เขาพลายด�ำ เที่ยวหาดสิชล หาดหินงาม หรือ หาดปิติ ภายใต้แนวคิด “The Land of Rock” มีกิจกรรม ส�ำคัญเช่น มหกรรมดนตรีร็อค คาราวานบิ๊กไบค์ ขบวนรถ คลาสสิค การแข่งขันพารามอเตอร์ และเรือแคนนู วันที่ ๒๑-๒๒ ตุลาคม “เปิดมหัศจรรย์กรุงชิง พิชิต ยอดเขาหลวง” ที่เน้นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และ ผจญภัย เช่น เดินป่า ดูนก ชมทะเลหมอก เที่ยวน�้ำตกกรุง ชิง ถ�้ำหงส์ บ่อน�้ำร้อน ล่องแก่ง และการแสดงดนตรี เพื่อ ชีวิต เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วันที่ ๒๗ ตุลาคม เทศกาล “สวรรค์พระจันทร์สุก

เยือนถิ่นโลมาสีชมพู” ชมการแสดงดนตรี “เร็กเก้” และ “สกา” ภายใต้แนวคิด “Party Under the Moon” ที่ ชายหาดหน้าด่าน และกิจกรรมท่องเที่ยว “รักษ์โลมา รักษ์สิ่งแวดล้อม” ที่อ่าวขนอม และอ่าวเตล็ด แหล่งอาศัย ของโลมาสีชมพู ภายในอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่ เกาะทะเลใต้ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ย�้ำว่า กิจกรรมและแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วของเมื อ งนคร เคยได้ รับ รางวั ลอุ ต สาหกรรม ท่องเที่ยวไทย หรือ รางวัลกินรี ถึง ๑๔ รางวัล จึงเป็น หลักประกันในเรื่องของมาตรฐานและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ‘รั ก บ้ า นเกิ ด ’ สอบถามความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ โปรแกรมเที่ยวตลอดเดือนตุลาคมจากชาวนคร ส่วนใหญ่ ตอบว่าน่าสนใจ แต่ที่เป็นกังวลคือความปลอดภัย ความ ไม่ซื่อสัตย์ของร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ มักฉวยโอกาสขูดรีดราคา และความไม่สะดวกในการใช้ จ่ายด้วยบัตรเครดิต เพราะร้านค้าและบริการส่วนใหญ่ รับเฉพาะเงินสด ซึ่งไม่สนับสนุนการท่องเที่ยวตามหลัก สากล

รายงาน << ต่อจากหน้า ๑ กลุ่มเป้าหมายคือครอบครัว นักเรียน นักศึกษา ซึ่ง ปิดภาคเรียน และผู้เกษียณอายุที่ต้องการพักผ่อนไปไหว้ พระท�ำบุญ สัมผัสธรรมชาติ ในช่วงผลไม้เริ่มสุก วันที่ ๙ - ๑๘ ตุลาคม “งานประเพณีบุญสารทเดือน สิบและกาชาด ประจ�ำปี ๒๕๕๕” ใช้แนวคิด “มหกรรม วิ ถี ชี วิ ต และวั ฒ นธรรมคนนคร” ณ สวนสมเด็ จ พระ ศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) มีการประกวดหมฺรับ ขบวน แห่หมฺรับและการแสดง แสงเสียงสื่อผสม “กินหมฺรับดับ ที่” นั่งรถชมเมืองเล่าเรื่องลิกอร์ การตั้งเปรตและชิงเปรต การประชันหนังตะลุง มโนราห์ภาคใต้ และการประกวด สาวงาม งานเทศกาลอาหารทะเลและของดีปากพนัง “The Paradise of Seafood” บริเวณองค์การสะพานปลา อ� ำ เภอปากพนั ง มี ก ารออกร้ า นจ� ำ หน่ า ยอาหารทะเล ทั้งสด ปรุงสุก แปรรูป และสินค้าโอทอปของปากพนัง จากชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มเกษตรกร ชมตลาดน�้ำ การ แข่งขันยกยอยักษ์ การล่องเรือชมป่าชายเลน และแม่น�้ำ ปากพนัง วั น ที่ ๑๓ ตุ ล าคม “เยื อ นคี รี ว ง หลงเสน่ ห ์ ล าน สกา สู ด อากาศบริ สุ ท ธิ์ ” ชิ ม ผลไม้ จ าก “สวนสมรม” โดยเฉพาะ “มั ง คุ ด ภู เ ขา” เกรดส่ ง ออก และเลื อ กซื้ อ สิ น ค้ า ชุ ม ชนคุ ณ ภาพดี พั ก ผ่ อ นสู ด อากาศที่ ดี ที่ สุ ด ของ ประเทศไทย ชมความงามของภูเขา ป่าประ น�้ำตก ล�ำธาร ม่านหมอก และดนตรีแห่งความรักภายใต้แนวคิด

เครดิตภาพ Tat Nakhon Si Thammarat


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

หน้า ๙

มีอยู่ มีกิน มีใช้ วิถีพอเพียงเปี่ยมสุข ที่เพียงพอส�ำหรับชีวิตและชุมชน

กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล

jkrisana@hotmail.com Twitter@Krit­_nnasouth

เดียวกัน จนกลายเป็นชุมชน ชนต้นแบบ ด้วยวิธีคิดที่ว่า “มี อ ยู ่ มี กิ น มี ใ ช้ ” โดยไม่ เป็ น หนี้ เป็ น สิ น และด้ ว ย วิธีคิดแบบนี้ท�ำให้ลูกหลาน ของครอบครัวในชุมชนแห่ง นี้หลายคนกลับบ้านมาเพื่อ ด�ำรงชีวิตด้วยวิถีที่พอเพียง

บ้

านหั ว ล� ำ ภู หมู ่ ที่ ๔ ต.หั ว ไทร อ. หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช หนึ่งใน นั บ พั น ชุ ม ชนของนครศรี ธ รรมราช ที่ มี ประวัติศาสตร์เป็นมายาวนานกว่า ๓๐๐ ปี เป็ น ชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม ขนาดใหญ่ มี ก าร ด� ำ รงชี วิ ต ค่ า นิ ย มในการครองชี พ ปรั บ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่นเดียวกับเกือบ ทุ ก ชุ ม ชนในประเทศไทยที่ อ ยู ่ ใ นวิ ถี ชี วิ ต แบบทุ น นิ ย ม และแน่ น อนว่ า ปั ญ หาได้ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตามมาเยือนแต่ละ ครอบครัวของชุมชนไม่เว้นหลังคาเรือนใด มากน้อยแตกต่างกันไป ชุ ม ชนแห่ ง นี้ จึ ง ได้ ริ เ ริ่ ม รวมตั ว กั น จั ด การยุ ท ธศาสตร์ ขั บ เคลื่ อ นชุ ม ชนเพื่ อ จัดการกับปัญหาโดยแบ่งออกเป็นมิติของ ปัญหาที่ส�ำคัญคือ มิติด้านสุขภาพ ด้าน จิตใจ และด้านสังคม ได้ถูกก�ำหนดออกมา เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาตามล�ำดับ จนน�ำไปสู่ทางออกของปัญหาคือ “สังคม

นครศรีธรรมราช

ดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องช่วยกันสร้าง” ทุกครอบครัวจึงช่วยกันริเริ่มแก้ปัญหาด้าน สุขภาพด้วยการเริ่มจากการบริโภคอาหาร ที่ ป ลอดจากสารพิ ษ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะ แก้ ปั ญ หาจิ ต ใจด้ ว ยการละเลิ ก อบายมุ ข ส่ ง เสริ ม วั ฒ นธรรมประเพณี ที่ ดี ง ามประจ� ำ ถิ่น และด้านสังคมด้วยการสร้างศูนย์เรียน รู้ รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างความเข้ม แข็ง เชื่อมโยงทั้งชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอัน

และมีความสุขที่ล้นเหลือ โดยยอมทิ้งเงิน เดื อ นหลายหมื่ น บาทต่ อ เดื อ นมาท� ำ งาน ของครอบครัวที่บ้านด้วยวิถีชีวิตที่เป็นสุข วันเฉลิม คงเล่ห์ อายุ ๒๘ ปี หนึ่ง ในลูกหลานของครอบครัวในชุมชนนี้ เมื่อ กว่า ๑ ปีก่อนเคยเป็นพนักงานบริษัทยักษ์ ใหญ่ด้านการเกษตรชื่อดัง ซึ่งมีเงินเดือน สูงถึงเกือบ ๕ หมื่นบาทต่อเดือน ได้ตัด สินใจทิ้งเงินเดือนและลาออกมาใช้ชีวิตที่ บ้านท่ามกลางครอบครัวที่อบอุ่นและเริ่ม ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงบนเนื้อที่เพียง ๔ ไร่ เศษสามารถสร้างรายได้ให้กว่า ๘๐๐ บาท ต่อวัน “ผมคิดว่าสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นของเรา เองคือสิ่งที่มีคุณค่า เมื่อดึงเอามาใช้ย่อมที่ จะได้ประโยชน์สูงสุด ยิ่งได้เอาเทคโนโลยี มาประยุ ก ต์ ใช้ ค วามคิ ด วางแผน และ จัดการตามขั้นตอน มีปัญหาก็เอามาเป็น โจทย์ในการปรับปรุงแก้ไข” เป็นวิธีคิดที่ วันเฉลิมได้น� ำมาจัดการพื้นที่ดินของเขา เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด >> อ่านต่อหน้า ๑๒

๖/๑๐ อาคารพาณิชย์หน้าโรงแรมทวินโลตัส โทร. ๐๘๗-๒๙๔-๐๖๗๓


หน้า ๑๐

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

การว่าเพลงบอกให้ถูกใจคน นอกจากจะช่วยให้คนท�ำบุญกับวัด ช่ ว ยเพิ่ ม ปริ ม าณยอด เงิ น ท� ำ บุ ญ ให้วัดมากยิ่งขึ้นแล้ว ในบางโอกาส เพลงบอกยังได้รับเงินรางวัลพิเศษ ส่วนตัว เป็นการเฉพาะเจาะจง จาก บุ ค คลที่ เ พลงบอกกล่ า วสรรเสริ ญ เยินยอ เป็นกรณีพิเศษอีกด้วย เพลงบอกสร้อย ด�ำแจ่ม เล่า ให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งเมื่อท่านอายุได้ ประมาณ ๓๐ ได้ ไ ปว่ า เพลงบอก ให้ ช าวจั ง หวั ด ตรั ง ฟั ง ท� ำ ให้ ช าว จังหวัดตรังได้ความรู้ว่า พวกเขาหา กิ น กั บ ยาง (พารา) จนมี ฐ านะพอ ที่ จ ะส่ ง บุ ต รหลานให้ เ รี ย นหนั ง สื อ ในระดั บ สู ง ได้ สอนให้ ช าวบ้ า นที่ ประกอบอาชี พ กรี ด ยางพาราอย่ า ลื ม บุ ญ คุ ณ ยางพารา อย่ า ลื ม นายกุ ๊ ด เยี ย ร์ (เล่ า ประวั ติ น ายกุ ๊ ด เยี ย ร์ ใ ห้ ฟ ั ง โดยละเอียด) ผู้เป็นต้นคิดประดิษฐ์ยางให้เกิดประโยชน์ แก่ ม นุ ษ ยชาติ เพื่ อ จารึ ก คุ ณ งามความดี ข องเขา จึ ง ได้ ตั้งชื่อยางกุ๊ดเยียร์ ปรากฏให้โลกรับรู้อยู่จนทุกวันนี้ ชาว จั ง หวั ด ตรั ง พอใจมาก ประกอบอาชี พ กรี ด ยางพาราจน ร�่ำรวย แต่เพิ่งรู้ว่าใครเป็นผู้ผลิตคิดค้นยาง การณ์ครั้งนั้น ปรากฏว่ า มี ค หบดี ท ่ า นหนึ่ ง ได้ ใ ห้ ร างวั ล เป็ น เงิ น ส่ ว นตั ว ๑,๐๐๐ บาท ชี วิ ต ศิ ล ปิ น เพลงบอกอาชี พ นอกจากจะมี วั ด เป็ น แหล่งประกอบการส�ำคัญหลัก ดังกล่าวแล้ว ยังมีแหล่ง ประกอบการมี “งาน” อื่นๆ อีกหลายรูปลักษณ์ ดังเช่น งานบวชนาค ว่าเพลงบอกกล่อมเจ้านาค อบรมสั่ง สอนเจ้านาคให้รู้จักบุญคุณของบิดามารดา กตัญญูกตเวที

ต่อผู้มีพระคุณ รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักบ�ำเพ็ญตนให้ สอดคล้องต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและค่า นิยมของสังคม ฯลฯ งานเฉลิมฉลอง อันเนื่องด้วยประเพณีตามเทศกาล และงานมหกรรมทางวัฒนธรรม ว่าเพลงบอกให้สาระ และบันเทิง โดยใช้เนื้อหาสาระคติธรรม นันทนาการ อย่างเหมาะสมกับเอกลักษณ์ของงานนั้น ๆ ฯลฯ งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ รายการและกิจกรรม ต่ า งๆ ทั้ ง ของภาครั ฐ เอกชนและส่ ว นบุ ค คล ว่ า เพลง บอกประชาสัมพันธ์กิจกรรม ทางการเมื อ ง ทั้ ง ระดั บ ท ้ อ ง ถิ่ น แ ล ะ ร ะ ดั บ ช า ติ ประชาสัมพันธ์โครงการทาง ด้านการศึกษา สาธารณสุข การปกครองของรั ฐ ประชาสั ม พั น ธ์ ก ารจั ด รายการ ประชั น ขั น แข่ ง หนั ง ตะลุ ง โนรา เพลงบอก ประชาสัมพันธ์การจัดรายการสวน สนุก ประชาสัมพันธ์การชน โคนัดพิเศษฯลฯ งานประชุ ม สั ม มนา ทางวิ ช าการ ว่ า เพลงบอก ในงานประชุ ม สั ม มนาทาง วิ ช าการในฐานะวิ ท ยากร หรือการต้อนรับคณะวิทยากรและสัมมนาสมาชิกฯลฯ งานท�ำบุญและเลี้ยงสังสรรค์ในโอกาสต่างๆ ว่า เพลงบอกในงานท� ำ บุ ญ ขึ้ น บ้ า นใหม่ งานฉลองความ ส�ำเร็จภายในครอบครัว สถาบันหรือองค์กร งานเกษียณ อายุ ร าชการ งานบุ ญ ครบรอบปี งานเลี้ ย งสั ง สรรค์ รุ ่ น ฯลฯ งานรั บ แขกบ้ า นแขกเมื อ งระดั บ ต่ า งๆ ว่ า เพลง บอกในการรั บ เสด็ จ ฯ เจ้ า นายชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ต้ อ นรั บ แขก ส�ำคัญของผู้ใหญ่ ในอ�ำเภอ จังหวัด ทั้งฝ่ายคฤหัสถ์และ บรรพชิต ฯลฯ งานบั น ทึ ก เสี ย งให้ แ ก่ บ ริ ษั ท ห้ า งร้ า นต่ า งๆ ว่ า เพลงบอกบันทึกลงแถบบันทึกเสียง ให้แก่บริษัทห้างร้าน ต่างๆ เพื่อน�ำไปผลิตและจ�ำหน่ายให้แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป ฯลฯ (อ่านต่อฉบับหน้า)

สุโขทัย อยุธยา ศรีสัชนาลัย เพชรบุรี ทั้งงานเขียน งานปูน ปั้น เป็นงานอันวิจิตรของคนโบราณมากมายเหลือคณานับ งานศิลปะเหล่านี้ท่านได้ซึมซับเอาไว้ แล้ววันหนึ่งมันก็กลั่น ออกมาอันเป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉพาะ ทางของท่าน ไม่เหมือนใครไม่มีใครเหมือน เป็นตัวตนของ อังคาร กัลยาณพงศ์ ผมรู้จักท่าน อังคาร จากบทกวีในช่วง พ.ศ.๒๕๑๔ โดยเฉพาะบท “วักทะเล” อันเลื่องชื่อ ทั้งร้อยกรองเรื่อง “หมาเน่า” ชอบเอามากๆ ทั้งที่แต่งบทกลอนบทกวีไม่เป็น สักบทเดียว ยิ่งเมื่อรู้ว่าท่านเป็นคนนครก็ถึงกับหลงใหลเอา ทีเดียว จนเมื่อช่วงปี ๒๕๔๘ ผมมีโอกาสได้พบปะตัวจริง ต้องตกตะลึงพรึงเพริดกับความเป็นศิลปินของท่าน หลัง

จากนั้นได้มีโอกาสพบท่านอีกสองครั้ง ท่านได้ให้โอกาส พู ด คุ ย ด้ ว ยครั้ ง ละนั บ ชั่ ว โมง ได้ เ ห็ น ความเป็ น อั ง คาร กั ล ยาณพงศ์ มากขึ้ น เห็ น ความเป็ น ยอดกวี ข องท่ า น มากขึ้น ก่อนหน้านี้ เคยได้ยินเหล่าพวกกวี พวกปราชญ์ ราชบัณฑิต ต่างยกย่องให้ท่านเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผมว่าดูจะมากไปหน่อย แต่เมื่อได้สัมผัสท่าน เพียงน้อยนิด ถึงคิดว่าเขายกย่องน้อยไป เรื่องราวของท่านอังคาร ที่ผมน�ำมาพูดคุยเล่าเรื่อง ให้ฟังเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเท่านั้นเอง ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง ท่านคงมีผู้คิดอ่านเขียนเรื่องราวให้เราได้ฟังอีกไม่ช้า เรา จะต้องใช้เวลาอีกกี่สิบกี่ร้อยปี จึงจะมีคนเช่นนี้มาเกิดใน แผ่นดิน และเป็นแผ่นดินของคนนครด้วย

รศ.วิมล ด�ำศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ลวิธีว่าเพลงบอกให้คนสนใจท�ำบุญ มีหลักอยู่ว่าต้อง “ว่าให้เขาชอบใจ” ให้ได้ ในกองเพลงบอกจะต้องมี คนคนหนึ่งซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนั้นๆ และเป็นผู้กว้างขวาง รู้จักคนมาก คอยท�ำหน้าที่ต้อนรับ สอบถามชื่อ ที่อยู่ อาชีพ ของคนที่ทยอยกันเข้ามาในวัด ถ้าคนไหนรู้จักก็ ไม่ต้องถาม แล้วจดรายละเอียดลงในเศษกระดาษเล็กๆ เท่าที่ตนรู้ ส่งให้เพลงบอกตลอดเวลา เริ่มแรกเพลงบอก จะไหว้ครูเล่าความเป็นมา แล้วว่าพรรณนาถึงบุญกุศล แห่ ง การท� ำ บุ ญ ให้ ท าน ตามเรื่ อ งในพุ ท ธศาสนา จาก นั้นจะวกเข้าจับจุดทักทายปราศรัยกับพ่อแม่พี่น้องชาว บ้าน ที่เข้ามาในงาน ออกชื่อคนโน้นคนนี้ พร้อมชมเชย คุณงามความดี ความมีชื่อเสียง เป็นการให้เกียรติพร้อม กับวิงวอนเชิญชวนให้เข้าท�ำบุญ โดยอิงหลักพระพุทธ ศาสนา และใช้ตัวอย่างเหตุการณ์ทางโลกใกล้ตัว ยกมา ประกอบให้เขาเชื่อ ให้เขาศรัทธาเห็นจริง คราวนี้พอมี ใครมาท�ำบุญก็จะว่าเพลงบอกออกชื่อนามสกุล ถิ่นที่อยู่ ตลอดจนอาชีพ และเรื่องครอบครัวของคนนั้นๆ ทันที โดยการร้ อ งสรรเสริ ญ เยิ น ยออวยชั ย ให้ พ ร อ้ า งถึ ง สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระจ� ำ ท้ อ งถิ่ น ทั้ ง หลายทั้ ง ปวง ที่ ช าวบ้ า น เคารพนับถือยกย่องให้เกียรติผู้บริจาคประกาศโฆษณา ให้ ค นที่ ม าในงานได้ รู ้ ไ ด้ ยิ น ทั่ ว กั น คนที่ ไ ด้ ยิ น โฆษณา อยากให้มีชื่อประกาศโฆษณา หรืออยากให้เขาร้องชม บ้าง โดยเฉพาะถ้าเป็นเพลงบอกชม ถือว่ามีเกียรติและ เกิ ด ความภู มิ ใ จ เมื่ อ อยากมี ชื่ อ ประกาศโฆษณาก็ ต ้ อ ง เข้ า ไปบริ จ าคท� ำ บุ ญ บางคนพอถู ก เพลงบอกร้ อ งชม รู้สึกพอใจ กลับมาบริจาคใหม่อีกครั้ง อีกอย่างหนึ่งพวก มีเครื่องไฟเครื่องขยายเสียงให้เช่าตามท้องถิ่น มักจะอัด เทปบันทึกเสียงบอกเอาไว้ด้วยเสมอ เพื่อเอาไปใช้เปิด แทนแผ่นเสียงในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะเพลงบอกที่ มีชื่อเสียงใครๆ ก็อยากฟัง ดังนั้นชื่อเสียงของผู้บริจาค ก็มิได้รับประกาศโฆษณาออกไปเพียงครั้งเดียว แต่มีชื่อ ประกาศให้ผู้คนได้ยินชื่อมาจากที่ไหน ก็เอามาบอกเล่า ให้เป็นที่ภูมิใจกันอยู่เสมอ

ชวนคชวดิ นคยุ << (ต่อจากหน้า ๔) แต่ท่านก็เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยศิลปากร คือเรียนได้ปีที่ สามก็เกิดมรสุมชีวิตมากมาย ต้องออกจากมหาวิทยาลัย มาบวชเรียนอยู่เป็นปี ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิตก็ได้เริ่มขึ้นอีก ครั้ง เมื่ออาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ได้มาชักชวนไปท�ำงาน คั ด ลอกรู ป งานเขี ย นในโบราณสถานต่ า งๆของเมื อ ง

ตอนที่ ๓


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๑

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ (ตอนที่ ๔)

ารบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุฯ ในคราว ขณะที่งานบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ก�ำลังด�ำเนินการไปอย่างราบรื่น ที่ท่านปานด�ำเนินการมี ๑๒ รายการคือ นั้น ก็มีข่าวเล่าลือไปยังกรุงเทพฯว่า ท่านปานซึ่งเป็นแม่กองในการบูรณะ พระบรมธาตเจดีย์น่าจะคิดการใหญ่เป็นกบฏต่อแผ่นดิน อาจจะเป็นเหมือน (๑) วิหารทับเกษตร กรณีพระสงฆ์บางรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกระท�ำการแข็งเมืองอย่าง (พระระเบียงรอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์) ที่เรียกว่า “กบฏผีบุญ” ก่อนหน้านี้ดังกลอนที่ “นาครภัฏ” ได้กล่าวไว้ว่า (๒) วิหารพระม้า “สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าชีวี ทรงตรองตริหวาดระแวงแคลงพระทัย (๓) วิหารเขียน เกรงพระปานจะท�ำการปฏิวัติ แม้ซื่อสัตย์ก็ควรจะปราศรัย (๔) วิหารธรรมศาลา ท�ำซ่อนมือใต้ผ้าดูกระไร กลบรอยไข่เช่นกระตุ้นเอาบุญบัง (๕) วิหารธรรมรูจี งูอัคคีมีพิษแม้นิดหน่อย หากวางปล่อยยิ่งจะร้ายเมื่อภายหลัง (๖) วิหารสามจอม ทรงบัญชากรมพระยาด�ำรงวัง ให้ออกไปสังเกตดูเหตุการณ์” (๗) วิหารโพธิ์ลังกา (๘) วิหารพระสังกัจจายน์ (๙) พระระเบียงรอบนอก (๑๐) ศาลารายริมก�ำแพงชั้นนอก ข้างประตูด้าน ตะวันออก (๒ หลัง) (๑๑) ก�ำแพงรอบนอกด้านตะวันออก (๑๒) พลั บ พลาประทั บ รั บ เสด็ จ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ สิ่ ง ของและเงิ น ทุ น ที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนน� ำ มาร่ ว ม ปฏิสังขรณ์ที่ท่านปานได้จ่ายไปมีดังนี้ (๑) ไม้เหลีย่ ม ๘,๐๐๐ เหลีย่ ม (ราคา ๘,๐๐๐ บาท) (๒) ปูนขาว ๓๐๐ เกวียน (ราคา ๔,๕๐๐ บาท) (๓) อิฐก่อสร้าง ๑,๐๐๐ แผ่น (ราคา ๗๕ บาท) (๔) อิฐอย่างดี ๔,๐๐๐ แผ่น (ราคา ๑๒๐ บาท) (๕) กระเบื้อง ๘๗๐,๐๐๐ แผ่น (ราคา ๕,๐๗๕) (๖) กระเบื้องหน้าวัว ๔,๐๐๐ แผ่น (ราคา ๓๓๓ บาท ๑๖ อัฐ) (๗) น�้ำรัก ๖ หาบ ๑ ขอน (ราคา ๘๕๘ บาท) (๘) กระจกประดับ ๑๕ หาบ (ราคา ๕๗๕ บาท) (๙) ดีบุก ๗ หาบ (ราคา ๕๓๖ บาท) (๑๐) ทองเหลืองแผ่น ๒๐๐ แผ่น (ราคา ๓๓ บาท ๑๖ อัฐ) (๑๑) เครื่องมือต่างๆ (ราคา ๖๖๖ บาท ๔๐ อัฐ) (๑๒) ตะปู ๗๐ หาบ (ราคา ๑,๓๑๒ บาท ๘ อัฐ) (๑๓) น�้ำมันยาง ๑๐,๐๐๐ กระบอก (๕๘ บาท ๓๘ อัฐ) (๑๔) น�้ำตาลประสมปูน ๒๕๐ พะเนียง (ราคา ๒๕๐บาท) (๑๕) ทองค�ำเปลว ๑๐,๐๐๐ แผ่น (ราคา ๒,๖๐๐ บาท) (๑๖) ของเบ็ดเตล็ดและค่าเลี้ยง (ราคา ๓๓,๖๖๖ บาท ๔๐ อัฐ) เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๑๖๓,๖๕๙ บาท ๓๐ อัฐ

วันหนึ่งสมเด็จฯกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพได้เสด็จตรวจราชการ หัวเมืองปักษ์ใต้ใน พ.ศ.๒๔๔๐ และได้เข้ามาสังเกตการณ์เรื่องนี้ แต่เมื่อ ได้พิจารณาโดยถ่องแท้แล้วเห็นว่าท่านปานมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เมื่อเสด็จ กลับไปได้ไม่นาน กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ-ปัจจุบัน) ก็ได้ ถวายสมณศักดิ์เป็น “พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปาภิบาล” พระยาสุขุมนัยวินิตเคยกล่าวถึงท่านปานไว้ว่า การที่พระครูเทพมุนีฯ ได้ท�ำการใหญ่โตได้ถึงเพียงนี้ ก็อาศัยความเลื่อมใสศรัทธาของราษฎร ไทย จีน แขกแหลมมลายู ต่อองค์พระธาตุเจดีย์อย่างหนึ่ง ด้วยความ เลื่อมใสในตัวพระครูเทพมุนีฯ ซึ่งเป็นผู้เฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความ ประพฤติ มั ก น้ อ ยสั น โดษและมั่ น คงในอุ ต สาหะยิ่ ง อย่ า งหนึ่ ง และเป็ น ผู ้ เ ห็ น ประโยชน์ ข องส่ ว นรวมอย่ า งหนึ่ ง ดั ง เห็ น ได้ จ ากกรณี ที่ ส ามารถ ระดมคนไปขุ ด ลอกคลองท่ า ดี จากจุ ด แยกที่ บ ้ า นหั ว ท่ า ไปทางทิ ศ ใต้ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “คลองป่าเหล้า” สามารถขุดลอกส�ำเร็จใน ๗ วัน ชาวบ้านจึงเรียกคลองนี้ว่า “คลองทิดปาน” อีกชื่อหนึ่ง และสามารถ ระดมคนไปสร้างสะพานข้ามคลองหน้าเมืองแล้วเสร็จภายใน ๑๐ วัน ชาวบ้านจึงเรียกสะพานนี้ว่า“สะพานเทพมุนี” (ปัจจุบันคือสะพานนครน้อย) หลั ง จากที่ ง านบู ร ณะพระบรมธาตุ เ จดี ย ์ แ ละวิ ห ารแล้ ว เสร็ จ ในปี พ.ศ.๒๔๔๑ รวมเวลาบูรณะถึง ๕ ปี ก็มีงานสมโภชเฉลิมฉลองถึงเจ็ดวัน เจ็ดคืน มีคนมาร่วมงานเนืองแน่นทุกวัน หลังจากนั้นพุทธศาสนิกชนต่าง ก็แยกย้ายกันกลับไปยังถิ่นฐานด้วยความอิ่มเอมในเนื้อนาบุญอันสูงยิ่ง ภาพโดย : ณัชญ์ คงคาไหว

เสียเจ้า ๏ เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย ๏ จะเจ็บจ�ำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ๏ หากเจ้าอุบัติบนสรวงสวรรค์ ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้ สูเป็นไฟเราเป็นไม้ ให้ท�ำลายสิ้นถึงวิญญาณ ๏ แม้แต่ธุลีมิอาลัย ลืมเจ้าไซร้ชั่วกาลปาวสาน แม้นชาติไหนเกิดไปพบพาน จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ๏ ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า เพื่อจดจ�ำพิษช�้ำนานา ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย กวีนิพนธ์ อังคาร กัลยาณพงศ์

ชาวกวีศรีนครขอแสดงความอาลัย ต่อการจากไปของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์


หน้า ๑๒

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นพ.อิสระ หัสดินทร์ eitsara@gmail.com [ฮิ ปโปเครตี ส บิ ดาแห่งการแพทย์ กล่าวไว้ว่า “To cure sometimes (รักษา โรคที่ ส ามารถรั ก ษาได้ ) , to relieve often (บรรเทาความเจ็ บ ปวดในโรค ที่ท�ำได้เพียงยืดชีวิตให้ยาวออกไป), to comfort always. (ปลอบประโลมใน โรคที่ ห มดหนทางที่ แ พทย์ จ ะช่ ว ยเหลื อ เยียวยา)” นั่นเป็นค�ำพูดที่หมอประทับใจ และยึดถือ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเสมอ มา โดยเฉพาะวลีสุดท้ายที่ว่า comfort always แม้ บ างครั้ ง ผู ้ ป ่ ว ยเป็ น โรคที่ สามารถรักษาหรือบรรเทาความเจ็บป่วย ได้ แต่ สิ่ ง ที่ แ พทย์ พึ ง ปฏิ บั ติ ทุ ก ครั้ ง ก็ คื อ ปลอบโยนและช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดี]

ทั้

งหมดในวงเล็บ[ ]คือข้อความที่หมอ ยกมาจาก Blog ของคุณหมอท่านหนึ่ง ซึ่งขออนุญาตไม่เอ่ยนามของท่าน เพราะ ต้องการสื่อในเรื่องมุมมองของแพทย์ หรือ แม้กระทั่งคนทั่วไปต่อการดูแลผู้ป่วยในชีวิต ประจ�ำวันของแพทย์ และที่ส�ำคัญมันอาจ จะไม่ตรงกันเป๊ะในทางตัวหนังสือ (เพราะ ค้นดูแล้วมีหลายท่านอิงตัวหนังสือคล้ายกับ ของคุณหมอ ที่หมอได้แอบยกข้อความมา อ้างอิงข้างต้น) แต่เนื้อหาตรงกันครับ หมอเองจ�ำไม่ได้ว่าฮิปโปเครตีส กล่าว ไว้อย่างนี้ แต่ชอบที่จะจ�ำ ๓ C คือ Cure sometimes, Comfort often & Care always และจะท�ำงานโดยอาศัยหลักใน ๓ บริบทนี้อยู่เสมอ ประการแรกคือรักษาโรค ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ (Cure) อาจ จะโดยตัวหมอเอง หรือโดยทีมงานที่ท�ำงาน ด้วยกัน หรือโดยการส่งต่อ อันได้แก่โรค

กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล

ติดเชื้อทั้งหลาย ในทุกระบบของร่างกาย เช่นวัณโรคขึ้นสมอง ฝีในตับ ปอดบวม โรค ทางระบบเมตาโลลิซึมและระบบต่อมไร้ท่อ โรคที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด เช่น ความพิการแต่ก�ำเนิด ไส้ติ่งอักเสบ ล�ำไส้ อุดตัน เนื้องอกในอวัยวะต่างๆ ฯลฯ หมอ ส่ ว นใหญ่ ล ้ ว นอยากรั ก ษาโรคที่ ส ามารถ รักษาให้หายขาดได้ เพราะนอกจากสบายใจ ภูมิใจแล้ว คนไข้ที่รักษาจนหายขาด ๑ คน จะบอกต่ อ คนอื่ น ๆ อี ก เป็ น สิ บ เป็ น ร้ อ ย เรียกว่าปากต่อปาก ต่อๆ กันไปไม่จบไม่ สิ้นทีเดียว จะมีคนไข้ตามมาให้รักษากันจน รักษาไม่ทันทีเดียว ประการที่ ๒ Comfort คือการปรับ เปลี่ ย นสถานการณ์ จ ากหนั ก ให้ เ ป็ น เบา (Relieve) จากทุกข์ทรมาน สู่ภาวะทุกข์พอ ทน พอยิ้มสู้ได้อย่างมีหวังในชีวิต (หมอเอง จึงไม่ขอแปล Comfortว่า ปลอบประโลม ในโรคที่หมดหนทางที่แพทย์จะช่วยเหลือ เยี ย วยา) ลดภั ย คุ ก คามที่ จ ะแทรกซ้ อ น ซ�้ำเติมจนบั่นทอนอายุขัยให้สั้นลง มีชีวิต ยืนยาวจนเกือบเท่าคนปรกติ และห่างไกล ความพิการเช่นอัมพฤกษ์ อัมพาต ตาบอด หูหนวก ตับแข็ง ไตวาย ล�ำไส้พิการ ออกไป ได้ ยกตัวอย่างเช่น การรักษาโรคเรื้อรัง ไม่ ว่าจะเป็นเบาหวาน ไขมัน ความดัน เอสแอลอี (SLE =โรคระบบภูมิต้าน ทานท� ำ ลายเนื้ อ เยื่ อ ตนเอง) COPD (โรค ถุงลมปอดโป่งพอง) โรคไตวาย โรคตับแข็ง ทั้งที่เกิดและไม่ได้เกิดจากเหล้า Alzheimer (โรคความจ�ำเสื่อมอย่างรุนแรง) Parkinson (โรคความเสื่อมของระบบควบคุมการ เคลื่อนไหวของร่างกาย) ปวดข้อรูมาตอยด์

Thalassemia (โรคเลือดจางที่มีสาเหตุมา จากความผิดปกติทางพันธุกรรม) ต่อมลูก หมากโต โรคข้อเสื่อม-กระดูกพรุน เป็นต้น โรคพวกนี้ไม่หายขาด (Cure) แพทย์จึงท�ำได้ โดยการ Comfort และสื่ อ สารให้ ค นไข้ เข้าใจทั้งเรื่องการปฏิบัติตน อาหารการกิน การออกก�ำลังกาย และการพบแพทย์อย่าง สม�่ำเสมอ เป็นโรคที่อาจจะอธิบายเรื่องหมอ เลี้ยงไข้ ที่เราอาจจะได้ยินอยู่บ่อยๆ ได้เป็น อย่างดีครับ งานวิจัยหลายๆ แห่งนะครับ บอกตรงกันว่าการพบแพทย์อย่างสม�่ำเสมอ (Regular follow up) ถือเป็นปัจจัยบวก ๑ ในหลายข้อ ต่อผลการรักษาโรคเรื้อรัง หากสนใจลองค้นดูด้วยหัวข้อ Prognostic factor in chronic disease ครับ ประการที่ ๓ คือ Care หมายถึงการ ดูแล เอาใจใส่เยี่ยงวิญญูชนพึงปฏิบัติต่อกัน อันนี้จึงน่าจะหมายถึงการ ปลอบประโลม และให้ความช่วยเหลือจนนาทีสุดท้าย แม้ รู้ว่าเป็นโรคที่หมดหนทางที่แพทย์จะช่วย เหลือเยียวยา อย่างกรณีร้อนๆ ที่เพิ่งเกิด กั บ คุ ณ แม่ ที่ ต ้ อ งเสี ย ชี วิ ต พร้ อ มกั บ ลู ก ใน ครรภ์ ระหว่างรอคลอดที่รพ.ล�ำลูกกาและ เกิดหยุดหายใจกระทันหัน เนื่องจากน�้ำคร�่ำ หลุดเข้าไปอุดเส้นเลือดใหญ่ในปอด ได้รับ การช่วยเหลือจนถึงที่สุด แม้จะถูกวิพากษ์

อย่างรุนแรงโดยพระเอกทั้งในจอ และนอก จอท่ า นหนึ่ ง จนโด่ ง ดั ง ในทางลบในเครื อ ข่ายสังคม Facebook สู่จอทีวี แต่เมื่อทุก ฝ่ายได้ทราบความจริง ท้ายที่สุดทีมแพทย์พยาบาลรพ.ล�ำลูกกาก็พ้นโทษทางเครือข่าย สังคม (นอกจอทีวี) อย่างหวุดหวิด ก็เพราะ ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่อง Care ครับ วลีที่ว่า Cure Sometimes หมายความว่ า การรั ก ษาแบบหายขาด เกิ ด ขึ้ น เพียงบางโอกาส (Sometimes) ครับ เทียบ สัดส่วนแล้วไม่บ่อยครับ ที่บ่อยมาก (Often) คือบริบทที่เป็นการ Comfort ไงครับ ถือ เป็นงานหลักของแพทย์เลยครับ ส่วน Care always คือเสมอต้นเสมอปลาย (always) ครับ เอาใจเขามาใส่ใจเรา (อัตตานัง อุปมัง กะเร) ทั้ ง กรณี ผ ป.ประเภท Cure หรื อ Comfort และกรณีผป.ที่หมดหวังแล้ว จึง หมายถึง ผป.ทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ครับ สอดคล้องกับค�ำสอนของสมเด็จพระ ราชบิดาที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็น กิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตก แก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพ ไว้ ให้บริสุทธิ์” เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงพระองค์ ท่ า นเนื่ อ งในวโรกาส “วั น มหิ ด ล” ๒๔ กันยายนครับ

ไร้สารพิษ ที่เหลือส่งขายสร้างรายได้ให้ทุก วันจนมีเงินเหลือเก็บ วีรพงศ์ เกรียงสินยศ กรรมการส�ำนัก สร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส. บอก ว่าชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มจากการแก้ไขปัญหา ด้ า นสุ ข ภาพ แต่ ไ ด้ ลึ ก ซึ้ ง ไปกว่ า นั้ น คื อ

การรวมกลุ่มกันท�ำให้เกิดการท�ำงานร่วม กันจากสุขภาพ และพัฒนาไปสู่การเกษตร และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความ สุข

<< ต่อจากหน้า ๙

jkrisana@hotmail.com Twitter@Krit­_nnasouth

ส่วนหนึ่งนอกจากเขตบ้านแล้วได้ ถูกแบ่งสร้างเล้าเลี้ยงหมู ท�ำบ่อปลา ท�ำ บ่อกบ และธนาคารกุ้งนา ท�ำแปลงปลูก ผั ก ทุ ก อย่ า งหมุ น เวี ย นสามารถน� ำ มาบ ริโภคในครัวเรือนได้อย่างสบาย และยัง น�ำไปขายได้ทุกวัน วันนี้ชีวิตของคนที่มีมี ลักษณะเช่นเดียวกันกับผมคือ มีอยู่ มีกิน มีใช้ ไม่มีหนี้ไม่ต้องไปห่วงเศรษฐกิจที่มัน ขึ้นๆลงๆ วันเฉลิมอธิบาย เช่นเดียวกับบุญธรรม สังผอม ใน วัย ๕๐ ปี บอกว่าชีวิตของเขาต้องระเห เร่ร่อนไปนอกภูมิล�ำเนาหาเช้ากินค�่ำ ถึง ขั้นไม่มีกินต้องตระเวนขอข้าวเขากิน วัน

หนึ่งตัดสินใจกลับมาบ้านจัดการที่ดินของ บรรพบุรุษโดยเริ่มจากการขุดบ่อ ยกแปลง แล้วไปรับจ้างด้านนอกมาซื้อพันธ์ุปลา พันธุ์ หมู ปลูกผัก เลี้ยงกบ เพาะเห็ด ปลูกข้าว จน มีผลผลิตออกมา กินเองได้อย่างปลอดภัย


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

สุเมธ รุจิวณิชย์กุล

sumet_arch@hotmail.com

มขอเกาะกระแสโครงการรณรงค์การ ท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชของ ท่านผู้ว่าฯวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ภายใต้ชื่อว่า “นครศรีดี๊ดี ที่เที่ยวครบเครื่อง” แค่ชื่อฟัง ดูแล้วค่อนข้างเป็นวัยรุ่นมากๆ ก็ต้องขอ ยอมรับทีมงานของท่านที่ไปปลุกกระแสนี้ ทั่ ว ประเทศทางสื่ อ ต่ า งๆ ถึ ง กั บ คนที่ อ ยู ่ กรุงเทพฯ ส่งข่าวถามไถ่กันมากพอสมควร ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นจุดเด่นสถานที่ท่องเที่ยว ในด้านต่างๆ แต่ก็ต้องยอมรับให้การท่อง เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เป็นพระเอกในเที่ยว นี้ก่อน เนื่องด้วยคงไม่มีจังหวัดไหนในภาค ใต้ที่มีหลักฐานในการตั้งถิ่นฐานของเมือง ยาวนับพันปีนานเท่าเมืองนคร ส่วนจุดขาย ด้านอื่นๆ ที่จังหวัดอื่นก็มีเหมือนๆ กับเรา เช่นทะเล ภูเขา ก็ต้องตกแต่งสร้างเรื่องราว ให้น่าสนใจแข่งกับคนอื่นต่อไป มุมมองของ ผมเห็ น ว่ า จากประวั ติ ศ าสตร์ แ ละต� ำ นาน ต่างๆ ยุคสร้างเมืองในสมัยพระเจ้าศรีธรรม โศกราชที่ปกครองอาณาจักร ๑๒ นักษัตร ได้ ต กทอดมาทั้ ง ด้ า นสิ่ ง ก่ อ สร้ า ง วั ด วาอารามต่างๆ ประเพณีวัฒนธรรม ที่สืบต่อ กันมาเป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวที่น่า สนใจทั้งสิ้น เหล่านี้จะต้องน�ำมาขัดเกลา เสริมแต่ง อย่างน้อยให้ร้อยเรียงเป็นเรื่อง ราวเดียวกันโดยไม่ขัดเขินในเนื้อหา ผมได้รู้จักกับผู้ใหญ่บ้าน ชะลอ เอี่ยมสุทธิ์ ต�ำบลแม่เจ้าอยู่หัว อ�ำเภอเชียรใหญ่ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชมาหลายปี แ ล้ ว เนื่องจากท่านได้ชวนผมไปดูวัดแม่เจ้าอยู่หัว เพื่อออกความเห็นในด้านก่อสร้าง ความ จริงชื่อวัดนี้ผมก็เคยขับรถผ่านมาหลายครั้ง แล้วก็ยังสงสัยในความเป็นมา จนกระทั่งได้ ความกระจ่างในต�ำนานของแม่เจ้าอยู่หัว (พระนางเลือดขาว) อันเป็นอัครมเหสีของ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช จากการบอกเล่า และเอกสารรายงานวิจัยของคณะปราชญ์ ท้องถิ่นที่ได้ท�ำการค้นคว้าเรื่องราวความ สัมพันธ์กับสถานที่ต่างๆ เช่นสถานที่จัดงาน บ�ำเพ็ญกุศลพระศพแม่เจ้าอยู่หัว ที่ทหาร

www.nakhonforum.com

ไม่ ส ามารถขุ ด บ่ อ น�้ ำ ใช้ ง านได้ เ นื่ อ งจาก พื้นเป็นทราย ซึ่งพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงปรึกษาพ่อท่านขรัว (เจ้าอาวาสพี่ชาย ของแม่เจ้าฯ) แล้วโปรดให้ใช้ถอดล้อเกวียน ขบวนเสด็จวางทับซ้อนกันหลายชั้นในบ่อ จนสามารถกั้นทรายได้ดีจนใช้น�้ำได้ ปัจจุบัน คือที่มาของชื่อวัดบ่อล้อ ต�ำบลแม่เจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยั ง มี ส ถานที่ มี ม ากมายที่ มี เ รื่ อ ง ราวสืบเนื่องกันมา เช่น บ้านสระไคร (บ้าน สระช้างไคร่) วัดพังยอม อันเป็นเรื่องราว erotic ของช้ า งขบวนเสด็ จ (ใครอยากรู ้ ก็ ติ ด ตามกั น เองนะครั บ ) และมี อี ก หลาย วัดหลายสถานที่ที่มีการเรียกชื่อจากเหตุการณ์ส�ำคัญในอดีต แม้ว่าบางเรื่องจะเป็น เพียงต�ำนานก็ตาม แต่ผมเชื่อว่าคนโบราณ ตั้งชื่อโดยมีที่มาเป็นส่วนใหญ่ เหตุ ที่ ผ มยกเรื่ อ ง “ตามเส้ น ทาง พระเจ้าศรีธรรมโศกราช” ก็เนื่องจากเรา ก� ำ ลั ง รณรงค์ เ สนอวั ด พระบรมธาตุ อั น อยู ่ ในยุ ค สมั ย ของพระองค์ สู ่ ม รดกโลก ซึ่ ง ประโยชน์ ที่ ไ ด้ ใ นด้ า นการอนุ รั ก ษ์ โ บราณ สถานและด้านท่องเที่ยวสู่ระดับสากล เราคง ไม่ ม องบริ เ วณนี้ เ พี ย งจุ ด เดี ย วที่ ค นจะมา ท่องเที่ยวกัน ในเมื่อเรามีเรื่องราวต่อเชื่อม ไปยังสถานที่อื่นๆ ให้ได้อานิสงส์ด้วย ผมได้ รับเชิญจากท่านมหาบัญญัติ เจ้าอาวาสวัด บ่อล้อให้ไปช่วยออกแบบภูมิทัศน์ในวัดนี้ แต่เมื่อผมไปดูสถานที่แล้วเห็นว่าสามารถ พั ฒ นาโยงไปสู ่ เ ส้ น ทางการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง ประวัติศาสตร์ได้ นอกเหนือจากเป็นสถาน ที่ปฏิบัติธรรมที่เป็นภารกิจหลัก และผมได้มี โอกาสพบและร่วมประชุมกับผู้หลักผู้ใหญ่ ของท้องถิ่นนี้ ๒ ครั้ง โดยเสนอแนวคิดดัง กล่าวนี้ เช่น การจัดสร้างบ่อน�้ำโดยใช้วงล้อ เกวียนและการจารึกเรื่องราวของพระเจ้า ศรี ธ รรมโศกราชที่ เ คยมาประทั บ ที่ นี่ จะ เป็นจุดแวะชมของนักท่องเที่ยวที่ชาวบ้าน สามารถน�ำสินค้าท้องถิ่นมาขายได้ เป็นต้น ปรากฏว่าได้รับการขานรับเป็นอย่างดีจนมี

นครศรีธรรมราช

การตั้งคณะกรรมการเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ผมเชื่ อ เรื่ อ งความคิ ด ของคนท้ อ งถิ่ น ว่ า สามารถคิ ด ในรายละเอี ย ดได้ ดี ก ว่ า คน ภายนอกที่อาจรู้เพียงผิวเผิน แต่ก็คงต้องมี หลักการในการคิดอย่างเป็นระบบและเป็น เหตุ เ ป็ น ผลซึ่ ง ต้ อ งอาศั ย หลั ก วิ ช าการกั น บ้าง ผมคิดว่าจะเป็นแบบอย่าง (model) ให้กับสถานที่อื่นๆ ที่จะเป็นแนวร่วมให้เกิด เส้ น ทางการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ อย่างต่อเนื่อง และฝ่ายรัฐก็ลงมาสนับสนุน ในเรื่องที่เป็นภารกิจ เช่น การก่อสร้างปรับปรุงถนน และสาธารณูปโภค (เช่นไฟฟ้า แสงสว่าง ประปา) ปัจจุบันถนนสายอ�ำเภอ หัวไทร มายังอ�ำเภอเชียรใหญ่ และเข้าสู่ อ�ำเภอเมือง อันเป็นเส้นทางที่เกี่ยวข้องกับ การเสด็จของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มี การปรับปรุงขยายถนนกว้างขวาง เหมาะ กั บ การเดิ น ทางให้ ค วามปลอดภั ย แก่ นั ก ท่องเที่ยว โดยอาจใช้ชื่อเส้นทางท่องเที่ยว นี้ว่า “ตามรอยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช” แต่จะเริ่มต้นจากด้านทิศไหนก่อนก็ได้ เช่น ในช่ ว งเช้ า เริ่ ม ต้ น ไปสั ก การะพระเจ้ า ศรี ธรรมโศกราชและพระบรมธาตุ แล้ ว เดิ น ทางไปทางด้านทิศใต้ (หัวถนน) เข้าสู่เส้น ทางวัดต่างๆ ตามต�ำนานพระเจ้าศรีธรรม โศกราช และ ผ่ า นไปชมคลองและเขื่ อ น ในโครงการพั ฒ นาพื้ น ที่ ลุ ่ ม น�้ ำ ปากพนั ง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริและกินอาหาร เที่ ย งที่ อ� ำ เภอปากพนั ง (ถ้ า มี เ วลาก็ อ าจ ไปดูวิถีชีวิตเมืองเก่าและหาซื้อรังนกแอ่น คุณภาพดีจากแหล่งต้นก�ำเนิด) เสร็จแล้ว ช่วงบ่ายกลับเข้าสู่ตัวเมืองนครโดยเส้นทาง ปากพนัง-นครศรีธรรมราช ที่มีส้มโอพันธุ์ ทับทิมสยามอันลือชื่อขายริมทาง น่าจะถึง ตั ว เมื อ งช่ ว งเย็ น พอดี ที่ จ ะพาไปซื้ อ สิ น ค้ า พื้ น เมื อ งย่ า นหลั ง สนามหน้ า เมื อ งก็ ค งจะ

หน้า ๑๓

พอไหว นี่เป็นแนวคิดเส้นทางส�ำหรับกลุ่มที่ นิยมด้านนี้ครบหนึ่งวงจรท่องเที่ยว (Loop Tour) ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างไรคนที่ท�ำ ธุรกิจท่องเที่ยวก็คงคิดต่อกันเองนะครับ กลับมาสู่เรื่อง “นครศรีดี๊ดี” ที่ออก สื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ นิตยสารต่างๆ และป้ า ยโฆษณาที่ ก รุ ง เทพฯ ซึ่ ง ผมต้ อ ง แสดงความชื่ น ชมที่ ท� ำ กั น อย่ า งมื อ อาชี พ ผมก็ ข อเสริ ม เรื่ อ งดี ดี แ บบนี้ เ พิ่ ม เติ ม คื อ อยากเห็ น ป้ า ยโฆษณาแบบนี้ ที่ เ มื อ งนคร ด้วย หากท�ำแล้วคนนครที่บ่นว่าไม่รู้ว่ามี โครงการแบบนี้ ก็ ค งช่ ว ยไม่ ไ ด้ แ ล้ ว ครั บ ส�ำหรับโครงการน�ำเสนอวัดพระบรมธาตุสู่ มรดกโลกที่ทางจังหวัดก�ำลังด�ำเนินการอยู่ ในขณะนี้ ถ้าคิดรายละเอียดจนตกผลึกแล้ว แจ้ ง ข่ า วให้ ช าวเมื อ งทราบก็ จ ะเป็ น การดี โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมที่เป็นเทศกาล งานเดือนสิบ เพราะจะได้ช่วยกันคนละไม้ คนละมือเท่าที่ท�ำได้ เช่น การช่วยกันดูแล ความสะอาดของเมื อ ง ความร่ ว มมื อ ใน การจัดระเบียบสถานที่ค้าขายริมถนน การ มีวินัยทางจราจร ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ คนต่ า งถิ่ น แห่ กั น มาเยี่ ย มชมเมื อ งตามค� ำ ชักชวนแล้วจะเกิดความประทับใจ หรือใน ทางกลับกันอาจติดลบหากชาวเมืองไม่ให้ ความร่วมมือ ส่วนการพัฒนาเขตวัดพระ บรมธาตุ แ ละปริ ม ณฑลเพื่ อ ให้ เ ข้ า หลั ก เกณฑ์การเป็นมรดกโลกนั้น ก็คงไม่ต้องรอ ให้คณะกรรมการพิจารณาฯ เขามาบอกก่อน ว่าต้องท�ำอะไร แต่ควรด�ำเนินการไปได้เลย ตามภูมิปัญญาของชาวเมือง (ซึ่งคิดว่ามีมาก มายทั้ ง เป็ น องค์ ก รและตั ว บุ ค คล) เพราะ ไม่ว่าเขาจะพิจารณาอย่างไร เราก็จ�ำเป็น ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่แล้ว และวัดพระบรม ธาตุก็ยังคงเป็นพระเอก (high light) ของ นครศรีธรรมราชตลอดกาล


หน้า ๑๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

ณรงค์ หิตโกเมท

หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา สพป. นศ.๓

รั

ฐบาลชุ ด ปั จ จุ บั น ได้ แ ถลงนโยบายต่ อ รัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ด้ า นการจั ด การศึ ก ษาโดยก� ำ หนดแนว นโยบายชั ด เจนเพื่ อ เร่ ง การพั ฒ นาการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็น เครื่ อ งมื อ ยกระดั บ คุ ณ ภาพและกระจาย โอกาสทางการศึ ก ษาให้ มี ร ะบบการเรี ย น แบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเป็นกลไกปรับ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้โดยเน้น ผู ้ เ รี ย นเป็ น ศู น ย์ ก ลางและเอื้ อ ให้ เ กิ ด การ เรียนรู้ตลอดชีพ พัฒนาเครือข่ายและระบบ “ไซเบอร์โฮม (Cyber Home)” ที่สามารถส่ง ความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับ ชั้นใช้อุปกรณ์แท็บเล็ต ตามแนวนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้น

ที่จะใช้แท็บเล็ตให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ โดย ก� ำ หนดเป็ น โครงการ One Tablet Per Child (OTPC) ในช่วงแรกของโครงการจะ มุ่งเน้นไปนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ทั่ ว ประเทศจ� ำ นวนประมาณ ๕๘๘,๙๖๗ คนเป็นกลุ่มเป้าหมายน�ำร่องที่ส�ำคัญของ การน�ำแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ โรงเรียนประมาณร้อยละ ๔๘ จะได้ รับจัดสรรแท็บเล็ตในภาคเรียนแรกของปี การศึกษา ๒๕๕๕ และในขณะเดียวกันทาง ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น

สอน

ฐานได้ จั ด อบรมศึ ก ษา นิเทศก์ ผู้บริหารสถาน ศึกษาและครูผู้สอนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ เพื่อ ให้มีทักษะ ความรู้ความ เข้าใจในการใช้แท็บเล็ต ในการจัดการเรียนการ

ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ ใน ภาคเรียนแรกปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้ รับ จัดสรรจ�ำนวน ๘๐ โรงเรียน รวม ๑,๘๗๒ เครื่อง และโรงเรียนเอกชนอีก ๖ โรงเรียน จ�ำนวน ๕๖๐ เครื่อง รวมทั้งสิ้น ๒,๔๓๒ เครื่ อ ง พร้ อ มกั น นี้ ไ ด้ จั ด อบรมให้ แ ก่ ค รู ผู ้ สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และผู้บริหาร สถานศึกษา เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ และก� ำ หนดแล้ ว เสร็ จ ในวั น ที่ ๒ อ่ า นกั น ต่ อ เรื่ อ งสื่ อ และบทเรี ย นใน ตุลาคม ๒๕๕๕ แท็บเล็ตมีคุณค่าอย่างไรฉบับหน้าครับ

เตรียมพร้อมทุกที่...ทุกเวลา ใ

นโลกปั จ จุ บั น นี้ ภั ย พิ บั ติ ต ่ า งๆ เริ่ ม ทวี ค วามรุ น แรงยิ่ ง ขึ้ น ทั้ ง ที่ เ กิ ด ตาม ธรรมชาติและจากน�้ำมือมนุษย์ ดังนี้เรา ควรเตรียมความพร้อมทุกที่ทุกเวลา ในการ ตั้งรับและเอาชีวิตรอด บางท่านอาจเข้าข้าง ตัวเองว่าจะสามารถจัดการรับมือได้ แต่เมื่อ ถึงเวลาภัยมาประชิดตัวจริงๆ ก็อาจจะไม่ เป็นไปตามที่คาดคิด ความไม่ประมาทใน ชีวิตและทรัพย์สินคงไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไร เสียเวลาไม่มาก จัดเตรียมข้าวของและสิ่ง จ�ำเป็นส�ำคัญให้พร้อมไว้เสมอดีกว่าค่ะ กระเป๋ายังชีพฉุกเฉิน...ควรมีอะไร บ้าง กระเป๋ า ยั ง ชี พ ฉุ ก เฉิ น ชุ ด ที่ เ ตรี ย ม ไว้ ใ นที่ พั ก อาศั ย ส� ำ หรั บ ยามเกิ ด ภั ย พิ บั ติ ประเภทต่างๆ โดยรวมสิ่งของที่จ�ำเป็นไว้ใน เป้สามารถคว้าได้ทันที ส�ำหรับด�ำรงชีพใน เวลา ๓-๗ วัน หรือในระยะยาวกว่านั้น

การเตรียมการก่อนภัยพิบัติ การป้ อ งกั น ตั ว เองและความเสี ย หาย จากภัยพิบัติ ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้ มี ก ารเตื อ นภั ย เวลามั ก ไม่ เพียงพอ ควรท�ำรู้จักกับภัยพิบัติ สอบถาม หน่ ว ยงานที่ มี ก ารจั ด การภั ย พิ บั ติ ให้ รู ้ ประวัติการเกิดภัยพิบัติในละแวกใกล้เคียง ลั ก ษณะการเตื อ นภั ย เพื่ อ ที่ จ ะได้ ส ามารถ คาดคะเนและรับมือกับภัยพิบัติได้ ทั้งนี้ควรมี การเตรียมการ ดังนี้ ๑. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้น กับทรัพย์สินเมื่อเกิดภัยพิบัติ ๒. ท�ำความคุ้นเคยกับระบบการเตือน ภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนการ อพยพ ๓. เรี ย นรู ้ เ ส้ น ทางการเดิ น ทางที่ ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ ปลอดภัย

จากที่ พ ยายามศึ ก ษา และติ ด ตามแท็ บ เล็ ต หรื อ เรียกชื่ออีกอย่างว่า “คอมพิวเตอร์พกพา” หมายถึงอะไรมี ลักษณะเป็นอย่างไร ในที่นี้ขอ น�ำท่านผู้อ่านมาดูความหมายของแท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์พกพา หมายถึงอะไร มี ลักษณะเป็นอย่างไร แท็ บ เล็ ต หรื อ คอมพิ ว เตอร์ พ กพา หมายถึ ง คอมพิ ว เตอร์ ข นาดเล็ ก รู ป ร่ า ง เป็ น แผ่ น บาง มี ห น้ า จอแบนอยู ่ ใ นเครื่ อ ง เดียวกัน ออกแบบให้ท�ำงานได้โดยระบบ สัมผัสหน้าจอ (Touch Screen) แป้นพิมพ์ เสมือนจริง (Virtual Keypad) และดินสอ เขียนบนจอ (Stylus) เพื่อให้สามารถท�ำงาน ได้เหมือนกับกระดานชนวนหรือแผ่นจารึก ที่อยู่ในรูปแผ่นหิน แผ่นไม้ แผ่นดินเหนียว แผ่นไม้เคลือบขี้ผึ้งที่เคยมีใช้ในอดีตที่เรียก เป็นภาษาอังกฤษว่า Tablet (ภาษาอังกฤษ ออกเสียง “แท็บ-หลิต” แต่คนไทยนิยมออก เสียง “แท็บ-เหล็ต)

๔. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ท�ำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและ ไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่ส�ำรอง ๕. ปรึกษาและท�ำข้อตกลงกับบริษัท ประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย ๖. บั น ทึ ก หมายเลขโทรศั พ ท์ ส� ำ หรั บ เหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จ�ำง่าย ๗. ท� ำ บั น ทึ ก รายการทรั พ ย์ สิ น มี ค ่ า ทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน และเก็บเอกสารส�ำคัญและของมีค่าอื่นๆ ใน สถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้าน เช่น ตู้เซฟที่ ธนาคาร หรือไปรษณีย์ ๘. ท�ำแผนการรับมือภัยพิบัติ และถ่าย เอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภัยพิบัติที่เหมาะ สมกับบ้าน การเตรียมความพร้อมของครอบครัว

๑. ท�ำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตร หลาน ท�ำความคุ้นเคยกับสัญญาณเตือนภัย ฉุกเฉิน การปฏิบัติตัวในช่วงเกิดภัยพิบัติ เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยง การเล่นน�้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน�้ำ ๒. ต้ อ งรู ้ ห มายเลขโทรศั พ ท์ ฉุ ก เฉิ น ของหน่วยงานท้องถิ่น ๓. ต้องรู้แผนฉุกเฉินส�ำหรับ โรงเรียน ที่บุตรหลานเรียนอยู่ ๔. เตรี ย มแผนการอพยพส� ำ หรั บ ครอบครัว รายชื่อสถานที่ ๒ แห่งที่สมาชิก ในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัด หลง โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณบ้าน และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ภัยพิบัติ ๕. ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผน การรับสถานการณ์ภัยพิบัติของครอบครัว และของโรงเรียน การแจ้งเหตุและแหล่งข้อมูลข่าวสาร กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. ๑๑๘๒ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th สายด่วนนิรภัย โทร. ๑๗๘๔ ศู น ย์ เ ตื อ นภั ย พิ บั ติ แ ห่ ง ชาติ www. ndwc.go.th ศูนย์ประสานงานเหตุฉุกเฉิน โทร. ๑๙๒

ขออภัย ‘รักบ้านเกิด’ ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๕๕ ชื่อ-นามสกุลบุคคล และกิจการผิดพลาด

- คุณปิ่นนภา เพชรชูช่วย ศูนย์สินค้าโนเกีย และร้านไอบีท (i beat) - คุณพริมรส นนทภักดิ์ เจ้าของโรงเรียนกวดวิชา ไอเดียเซ็นเตอร์ - คุณอุทาร ล่องชุม - คุณเธียรศักดิ์ เค้าไพบูลย์

ปิ่นนภา เพชรชูช่วย

พริมรส นนทภักดิ์

อุทาร ล่องชุม

เธียรศักดิ์ เค้าไพบูลย์


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

อาจารย์แก้ว

บั บ ที่ แ ล้ ว ผู ้ อ ่ า นคงได้ รู ้ จั ก กั บ GPS TRACKING กันแล้วหลายท่านอาจจะ ยังไม่เคยเห็นของจริงหรืออาจจะยังไม่เคยใช้ ฉบับนี้ผมจะน�ำเสนอ GPS อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ใกล้ตัวผู้อ่านมากขึ้นเพราะสินค้าใหม่ๆ ใน ตลาดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีส่วนใหญ่น�ำสิ่งนี้ มาเป็นจุดขายหลักด้วย เช่นโทรศัพท์สมาร์ท โฟน หรืออย่างรถยนต์ค่ายโตโยต้ารุ่นฉลอง ครบรอบ ๕๐ ปี ในชื่ อ Toyota smart G-BOOK ตอนนี้อยากทราบแล้วใช่ไหมครับ ว่ามันคืออะไร ดีแค่ไหน และท�ำงานอย่างไร GPS แบบ Navigator คืออะไร คือระบบน�ำทางซึ่งในปัจจุบันเราจะ พบมากทั้งในมือถือ และในรถยนต์ที่มีการ เสริ ม ในส่ ว นของระบบน� ำ ทางเข้ า ไป ซึ่ ง ระบบ GPS แบบ Navigator นั้นมีวิธีการ โดยทั่วๆ ไปเหมือนกัน คือ ใช้ดาวเทียมใน การส่งค่าเพื่อค�ำนวณต�ำแหน่งและพิกัดโดย ใช้ตวั รับสัญญาณ GPS เป็นตัวบอกต�ำแหน่ง ที่อยู่บนพิกัดโลกซึ่งใช้ในการค�ำนวณจาก ต�ำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันไปยังจุดหมายปลาย ทางซึง่ จะใช้งานร่วมกับ “ระบบแผนที”่ โดย การใช้วิธีจับคู่ต�ำแหน่งต่างๆ ที่อ่านได้จาก ดาวเทียมกับค่าพิกัดในระบบแผนที่ ทั้งนี้

อาจอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ ช่วยในการค�ำนวณ ระยะทาง เช่น เซนเซอร์ เพื่อให้เกิดความ แม่นย�ำมากขึน้ การท�ำงานของ GPS แบบ Navigator GPS แบบ Navigator นัน้ จะใช้ Software เป็นตัวขับเคลื่อนพื้นฐานในตัวของ GPS ท�ำงานร่วมกับระบบแผนที่ ซึ่ง Software หลักๆ ในการประมวลผลนัน้ มีดงั นี้ - GPS receiver & positioning system - Map drawer - Address search - Route calculator - Voice guidance - On Board/Off board Navigation

GPS receiver positioning system เป็ น ระบบที่ รั บ ค่ า พิ กั ด ของโลกจาก ดาวเทียม ซึ่งต้องอาศัยดาวเทียมอย่างน้อย ๓ ดวงในการประมวลผล เพื่อที่จะสามารถ บอกพิ กั ด แบบละติ จู ด และลองติ จู ด ของ ตัวน�ำทางในการหาต�ำแหน่งและน�ำค่าพิกัด มาแสดงผลในระบบน�ำร่อง Map drawer คือแผนที่ ทีป่ รากฎอยูใ่ นระบบน�ำทาง

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๕

ซึ่ ง ได้ ม าจากบริ ษั ท ที่ ผ ลิ ต อุ ป ก ร ณ ์ G P S แต่ ล ะบริ ษั ท ก็ อ าจจะ มี สั ญ ลั ก ษณ์ แ ละความ ละเอียดแตกต่างกันไป Address search คือ software ที่ ใช้ในการค้นหาต�ำแหน่ง ต่างๆ ทีเ่ ราสนใจ (User Location) รวมถึงใช้หา จุด POI (Point of Interest) ซึ่งข้อมูลต่างๆ นั้ น เป็ น ข้ อ มู ล พื้ น ฐาน ที่บริษัทจัดท�ำแผนที่ท�ำ ไว้ โดยซอฟต์แวร์จะท�ำการค้นหาที่อยู่และ POI จากระบบ Database ทีไ่ ด้เก็บข้อมูลไว้ ในตัว GPS เพือ่ ใช้ในการประมวลผล ซึง่ แยก กันอยูค่ นละส่วนกับ Map drawer และอาจ จะเสนอเป็นฟังก์ชั่นในรูปแบบต่างๆ กันใน แต่ละบริษัท เช่น ฟังก์ชั่นการค้นหาอย่าง ฉลาด เป็นต้น *** POI จะเป็นจุดที่แสดงบนแผนที่ อยูแ่ ล้ว เช่น วัด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วน User Location นัน้ จะเป็นจุด ที่ผู้ใช้งานสนใจหรือก�ำหนดไว้เป็นจุดเริ่มต้น หรือ จุดหมายปลายทาง Route calculator คือ Software ที่ใช้ค�ำนวณระยะทาง จากจุดเริม่ ต้น ไปยังต�ำแหน่งทีผ่ ใู้ ช้กำ� หนด Voice guidance คือ เสียงพูดที่คอยบอกทางซึ่งจะแตก ต่างกันในแต่ละยีห่ อ้ ของ GPS เช่น “อีก 50 เมตร เลีย้ วขวา” On Board/Off Board Navigator On Board Navigator เป็น Software ทีช่ ว่ ยในการตรวจสอบเส้นทาง เช่น เมือ่ เรา ได้ท�ำการก�ำหนดจุดเริ่มต้นและจุดหมายให้

กับ GPS แบบ Navigator แล้ว ภายในตัว GPS จะท�ำการจดจ�ำเส้นทาง เมื่อเราขับรถ ออกนอกเส้นทางที่ได้ท�ำการค�ำนวณไว้ On Board จะท�ำการส่งเสียงเตือนและหาเส้น ทางใหม่โดยอัตโนมัติจะใช้ในระบบน�ำทาง ในรถยนต์ (Car Navigator System) ซึง่ เป็น ระบบ Real time Off Board Navigator จะแตกต่าง จาก On Board เล็กน้อยเพราะระบบ Off Board ไม่ใช่ระบบ Real time แอปพลิเคชัน่ เท่าที่ปรากฎให้เห็นคือ ระบบน�ำทางที่ใช้ใน มือถือ ผ่านระบบ GPS ซึ่งไม่มีความจ�ำเป็น ต้องใช้แบบ Realtime นัน่ เอง นอกจาก Software ต่างๆ แล้ว อีก สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยในระบบ GPS แบบ

ตรัสรู้มาแล้ว ขณะนี้มีแฟนเพจของเฟ๊สบุ๊ค อยู่ ๗๐,๐๐๐ ราย แต่ละเดือน มีคนเข้าชม และส่งต่อข้อความงานธรรมของหอ เดือน ละร่วม ๑๐ ล้านคน/ครัง้ และก�ำลังขยายวง เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุด ก็อยากมาร่วมด้วยช่วย กัน เพียงแต่วา่ เราไม่รอู้ ะไรเท่านัน้ เองครับ. อ้อ ผมเพิ่งค้นหาข่าวเพิ่มเติมและได้ รับทราบจากหนังสือพิมพ์ว่าเดือนตุลาคม นี้ท่านผู้ว่าแถลงจะจัดหนักเป็นงานการ ท่องเที่ยวแทบทั้งเดือน เริ่มตั้งแต่ ๑ – ๘ ตค. มีกจิ กรรม “เทีย่ วป่าหน้าฝน ชิมผลไม้ ไหว้ พ ระธาตุ เยื อ นเมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ เรียนรูด้ งู าน” วันที่ ๙- ๑๘ ต.ค. จัดกิจกรรม “งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ” พร้อม กับ “งานเทศกาลอาหารทะเลและของดี ปากพนัง” ระหว่างนั้น วันที่ ๑๓ ต.ค. มี

งาน “เยือนคีรวี ง หลงเสน่หล์ านสกา สูด อากาศบริสทุ ธิ”์ ต่อด้วยวันที่ ๒๐ ต.ค.จัด “มหกรรมท่องเทีย่ วเขาพลายด�ำ - สิชล” ขึน้ เป็นปีแรก วันที่ ๒๑-๒๒ ต.ค. งาน “เปิด มหัศจรรย์กรุงชิง พิชิตยอดเขาหลวง” วันที่ ๒๗ ต.ค. เทศกาล “สวรรค์พระจันทร์ สุก เยือนถิน่ โลมาสีชมพู” ภายในอุทยาน แห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ซึ่ง ทั้งหมดนี้อยู่ในช่วงหน้าฝน ซึ่งถือว่ามาก เอาการอย่างยิง่ เอายังไงกันดีครับ ? หรือว่ากว่าบทความนี้จะออกเผยแผ่ ในเดือนตุลาคม ทุกอย่างก็เรียบร้อยลงตัว ด้วยดี ก็ขอพลอยชื่นชมยกย่องและยินดี ยิง่ ครับ. บ้านบวรรัตน์ นครศรีธรรมราช ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕

Navigator คือ “ระบบแผนที”่ ระบบแผนที่ คือ แผนที่ที่ใช้ในระบบน� ำทางหรือ GPS แบบ Navigator ซึง่ ในปัจจุบนั ยังไม่มี มาตรฐานอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่แผนที่ ที่นิยม ใช้กันโดยทั่วไปจะมาจาก ๒ บริษัท ยักษ์ใหญ่ คือ แผนที่จากบริษัท NavTeq และจากบริษทั Tele Atlas ถึ ง ตอนนี้ ผู ้ เ ขี ย นหวั ง ว่ า ความรู ้ เกี่ยวกับ GPS ที่น�ำเสนอมาทั้งหมด จะ มีส่วนช่วยผู้อ่านในการตัดสินใจเลือกใช้ เทคโนโลยีได้อย่างคุม้ ค่าและเกิดประโยชน์ สูงสุด

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ << ต่อจากหน้า ๒ ที่ ท างการจั ด ให้ น่ า จะลองรั บ ลู ก ที่ คุ ณ ไพโรจน์ เพชรคงบอกในบทความที่นคร จะมีโฉมหน้าใหม่สู่ยุคทองเศรษฐกิจและ การท่องเที่ยวว่าน่าจะเข้าไปร่วมแรงใน สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวให้มากอย่าง ก้าวกระโดดทั้งแบบเป็นทางการและไม่ เป็นทางการ ใช้โซเชียลมีเดียช่วยเหลือกัน และกัน หยุดการต�ำหนิ ว่ากล่าวหรือโทษ ผูอ้ นื่ หรือทีค่ ณ ุ สุเมธ รุจวิ ณิชย์กลุ ถึงกับตัง้ เรือ่ งว่าได้เวลาฝากเมืองให้ผเู้ ยาว์แล้ว เริม่ กันประมาณนีด้ ไี หมครับ ๑) ขอทางจังหวัดช่วยบอกเล่าแผน การทั้งหมดที่จะท�ำในชุด “นครศรีดี๊ดี” พร้อมการประเมินผลที่ได้ท�ำไปแล้วและ แผนทีจ่ ะท�ำต่อไป ๒) รวมตัวกันเข้าไปร่วมด้วยช่วย

กันอย่างเต็มที่และสมค่าแห่งการร่วมเป็น เจ้าบ้านตามก�ำลังและความถนัด บนฐาน สติปญ ั ญาบทบาทหน้าทีแ่ ละธุรกิจการงาน ต่างๆ อย่างเช่นทุกวันนี้ ผมก�ำลังช่วยงาน หอจดหมายเหตุพทุ ธทาส อินทปัญโญ หรือ สวนโมกข์กรุงเทพ ได้ให้ความส�ำคัญกับ เมืองนครในฐานะแดนธรรม จัดกิจกรรมมา มากมาย ตัง้ แต่รว่ มกับเทศบาล อบจ.จังหวัด และ วัดพระธาตุ กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พลิกฟื้นประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุสู่นานาชาติ เมื่อปี ๒๕๕๓ – ๕๔, จัดเที่ยวทั่วไทยหัวใจ ถึงธรรม กับ ททท. และ ท�ำเอกสารแนะน�ำ ตามรอยธรรมที่ เ มื อ งนคร กั บ ททท.นศ. รวมทั้งสนับสนุน อบจ.ในการจัดกิจกรรม ส�ำคัญฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการ


หน้า ๑๖

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

Tarzanboy

บับนี้ขออนุญาตกล่าวค�ำสวัสดี และ ทักทายท่านผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ‘รัก บ้ า นเกิ ด ’ กั น ก่ อ น ในฐานะนั ก เขี ย นมื อ ใหม่คนหนึ่ง กับหนังสือพิมพ์ฉบับคุณภาพ ผมถือว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้มีส่วนใน ต�ำนานของหนังสือพิมพ์ที่เข้มข้นด้วยสาระ และแน่ ว แน่ ใ นเจตนา นั่ น คื อ ความเป็ น เมื อ งคอน คนคอน ที่ ท ่านนัก เขียนผู้ท รง คุณวุฒิหลายท่านได้น�ำเสนอความเป็นเมือง นครศรีธรรมราช ในหลากหลายแง่มุม ผ่าน มาหลายฉบั บ เมื่ อ มองย้ อ นกลั บ ไป แม้ กระทั่งตัวผมเอง ก็ได้รับความรู้และอรรถรส ความมีชีวิตชีวาของเมืองคอน และยิ่งเน้น ย�้ำให้รู้สึกส�ำนึกรักบ้านเกิดแห่งนี้มากมาย ขึ้นอีกหลายเท่า ที่ เ กริ่ น มานี้ แ ค่ อ ยากจะออกตั ว ว่ า ผมเองค่อนข้างประสบการณ์น้อยในเรื่อง องค์ความรู้ในท้องถิ่นบ้านเกิด แต่อาจจะ ช�ำนาญในสาขาเฉพาะด้านเท่านั้น และด้วย หั ว ข้ อ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย คือ “การท่ อ งเที่ ย วเมื อ งนคร” สิ่ ง ที่ น� ำ เสนอมาหลาย ฉบับ เป็นมุมมองและทัศนคติส่วนตัว ผ่าน ประสบการณ์จริงและอาจจะเพียงเกี่ยวข้อง กั บ ค� ำ ว่ า “การท่ อ งเที่ ย ว” เพี ย งส่ ว น เดียวเท่านั้น นั่นคือ การท่องเที่ยวรูปแบบ ธรรมชาติ ส�ำหรับทัศนคติส่วนตัวแล้ว ผม คิดเอาเองว่า การท่องเที่ยวในความหมาย ของผม ไม่ใช่รูปแบบของการท�ำธุรกิจ หรือ ธุรกรรมใดๆ ในลักษณะที่หลายคนคุ้นชิน กั น มาก่ อ น แต่ ก ารท่ อ งเที่ ย วหรื อ การน� ำ เที่ยวที่ผมปฏิบัติมาตลอด ๑๖ ปีคือ การพา

เพื่อนเที่ยวบ้าน การให้ความอบอุ่น ความ มั่นใจกับผู้มาเยือน ไม่มีลูกค้า ไม่มีบริการ มีเพียงมิตรภาพระหว่างผู้มาเยือนและเจ้า บ้านเท่านั้น ผลประโยชน์ใดๆ ที่ตกอยู่ใน มื อ ตนเอง ในท้ อ งถิ่ น ผมมองว่ า คื อ ผล ของความสิเน่หา ผลของความสุข มันจึงมี ความหมายมากกว่ า ค� ำ ว่ า เงิ น หรื อ ธุ ร กิ จ การท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียง ทัศนคติส่วนตัวนะครับ สิ่งที่ผมอยากจะกล่าวถึงอีกอย่างหนึ่ง คือ สิ่งที่คนบ้านเราอาจจะไม่ทราบ ไม่แน่ ใจ หรื อ ไม่ รู ้ ม าก่ อ นเลยว่ า นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ภายนอกอาจจะรู้จักเมืองนครนี้ ดีกว่าคน นครเองซะอีก รู้ว่าบ้านเมืองนี้สมบูรณ์ไป ด้วยวัฒนธรรมเก่าแก่ ผู้คนอัธยาศัยดี และ โดยเฉพาะมีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ผมคิดว่า หนังสือพิมพ์ฉบับนี้สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ ได้ดี เพราะหลากหลายเรื่องราวที่น�ำเสนอ เป็นหลากหลายส่วนที่ลึกลงไปในความเป็น เมืองนครศรีธรรมราช ถึงตอนนี้ผมอยากจะ ขออนุญาตน�ำเสนอเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่น้อย

คนจะทราบความ น้อยคนจะได้สัมผัส และ น้อยคนจะรับรู้ว่านี่คือทรัพยากรของเมือง คอน แต่ที่น่าแปลกใจคือ นักท่องเที่ยวโดย เฉพาะด้านธรรมชาติรู้จักกันดี และกล่าว ขวัญถึงกันอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งใน วงการสื่ อ มวลชน สิ่ ง นั้ น คื อ หั ว เรื่ อ งที่ ผ ม จั่วหัวไว้กับค�ำว่า “ถอดรหัสป่า” ใครๆ เรียกผมว่า “ทาร์ซานบอย” หากจะพู ด ถึ ง ว่ า อาชี พ ผมนั้ น ท� ำ อะไร ผม ขออธิบายสั้นๆ เพียงว่า ผมเป็นพรานป่า เป็นพรานน�ำทาง ไม่ใช่เจ้าของบริษัททัวร์ ...นี่ คื อ ส� ำ หรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ นิ ย มป่ า เขา ล�ำเนาไพรรู้จักกัน แต่ที่พิเศษกว่านั้น และถือ เป็นเกียรติประวัตินั่นคือ ผมเป็นครูสอนการ เดินป่า ที่เรียกว่า “โปรแกรมถอดรหัสป่า” ถอดรหัสป่าคืออะไร เกิดเป็นหลักสูตร การเรียนรู้ได้อย่างไร อาจจะเป็นสิ่งที่ท�ำ ให้หลายๆ ท่านงุนงงสงสัย จะขยายความ ต่อว่า จากการเดินป่ามาหลายปี ผมได้มี โอกาสศึ ก ษาความรู ้ จ ากผู ้ เ ฒ่ า ผู ้ แ ก่ หรื อ พรานป่าตัวจริงหลายท่าน ได้รับการถ่าย ทอดศาสตร์ วิ ถี พ รานและได้ ร วบรวมภู มิ ความรู้เหล่านั้น เรียบเรียงขึ้นมาเป็นหลักสูตร หรือจะเรียกกันง่ายๆ ว่า เป็น “วิชา พราน” หรือจะเรียกให้เป็นกลางๆ หน่อย ก็ จ ะเรี ย กว่ า เทคนิ ค การด� ำ รงชี พ ชั้ น สู ง วิชาพรานสอนอะไร ...สิ่งที่เราถ่ายทอด

ให้ผู้ที่สนใจหลักสูตรนี้คือ การใช้ชีวิตท่าม กลางธรรมชาติ ปรับตัวให้กลมกลืนกับป่า ปล่อยวางเรื่องเทคโนโลยี และหันมาใช้สัญชาตญาณเดิมที่เรามี ใช้ลิ้นชิมรส ใช้จมูก ดมกลิ่น ใช้หูฟังเสียง และใช้ใจสัมผัสความ บริสุทธิ์ของป่า ในรายละเอียดปลีกย่อยลง ไป จะสอนเทคนิคการด�ำรงชีพแบบพราน ป่าให้ด้วย เช่น การเดินป่า การจัดเตรียม สัมภาระเข้าป่า การหุงหาอาหาร การก่อ กองไฟ การแกะรอย การนั่งห้าง ฯลฯ โดย ไม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การล่ า สั ต ว์ ป ่ า แต่ เ น้ น ที่ การอยู่ร่วมกับป่าแบบพึ่งพาอาศัยกันตาม สมควร ๑๐ ปี คือที่มาของหลักสูตรนี้ มีลูก ศิ ษ ย์ ห รื อ คนที่ จ บหลั ก สู ต รนี้ ไ ปหลายรุ ่ น หลายคน มีทั้งอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน บริษัท เจ้าของกิจการ และนักศึกษา หลาย


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๗

นพ.รังสิต ทองสมัคร์

ตั้

งแต่เด็กเริ่มจ�ำความได้…ความสุขตาม ประสาเด็ ก บ้ า นนอกกั บ เครื่ อ งเล่ น หลายๆ ชนิดในงานเดือนสิบ เป็นสิง่ ทีไ่ ม่เคย จางหายไปจากความทรงจ�ำ

คนเรียกมันว่า “Survival Thailand” หรือ “Jungle Secret Trip” นั่ น คื อ การผจญภั ย และร่ ว มกั น ไข ความลับของผืนป่า การออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง การ ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสตามธรรมชาติที่เรามีอยู่เดิม และถือเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ....ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผมอยากจะบอกว่า ตลอด ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมามันเกิดขึ้นที่นี่ ที่ผืนป่าของ นครศรีธรรมราช ที่ที่ใครๆ ต่างก็ขนานนามว่า ผืนป่า มรกต หลังคาสีเขียวแห่งแดนใต้ ป่าแห่งขุนน�้ำ ป่าแห่ง จิตนาการ และเป็นผืนป่าที่ดีที่สุดในเมืองไทย ใช่ครับ! ที่นี่แหละ บ้านเกิดของผมและท่านทั้งหลาย และผม อยากจะบอกกล่าวอีกว่า “หลักสูตรถอดรหัสป่า” ได้ รับการรันตีด้วยรางวัลกินรี ประจ�ำปี ๒๐๐๘-๒๐๐๙ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน กิจกรรมเดินป่ายอดเยี่ยมจากกระทรวงกีฬาและการ ท่องเที่ยว และนี่เองที่ผมกล่าวไว้ตอนต้นว่า คนนคร น้อยคนนักที่รู้ ส� ำ หรั บ ผมเองคิ ด ว่ า แหล่ง ท่องเที่ยวหรือกิจ กรรมท่องเที่ยวในบ้านเรามีมากมาย หลายคนพูดว่า มั น อาจจะมากซะจนกลายเป็ น จุ ด ด้ อ ย แต่ ผ มกลั บ มองว่า คนพูดอาจจะคิดไม่ถึงว่า เรามีของดีมากกว่า ที่คนทั่วไปรู้มากนัก และค�ำว่ามากกรณีหลังนี้ อาจจะ ท�ำให้จุดด้อยกลายเป็นจุดเด่นที่ชัดเจนขึ้น ผมจึงอยาก น�ำเสนอสิ่งแปลกใหม่ในสายตาของคนนครให้ได้เห็น ให้ได้ประจักษ์ และให้ได้เห็นคุณค่ามากกว่าที่เคยเป็น จึงอยากน�ำทุกท่านร่วมเดินทางผจญภัยไปกับหลักสูตร “ถอดรหัสป่า” วิชาพรานที่เปิดสอนที่เดียวในโลก ถ้าจะขอพูดให้ระทึกเข้าไปอีกว่าหากท่านเคย อ่ า นนิ ย ายประเภทผจญภั ย อย่ า งเพชรพระอุ ม า ล่องไพร หรือนิยายที่เกี่ยวข้องกับป่าเขาล�ำเนาไพร ทั้ ง หลาย อาจจะคิ ด ว่ า ผมก� ำ ลั ง เล่ า นิ ย ายให้ ห ลาย ท่านฟัง อยากให้แน่ใจว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ เป็น ประสบการณ์จริง เป็นสิ่งที่สัมผัสได้จริง มีอยู่จริง และ ทั้งหมดเกิดขึ้นที่นี่ “นครศรีธรรมราช” โปรดติ ด ตามฉบั บ ต่อไป กับ บันทึก ฉบับ พิเ ศษ การผจญภัยในป่าดิบด�ำ หลงส�ำรวจที่มีเหล่าสัตว์ป่า นานาชนิด สัมผัสสิ่งลี้ลับในดงลึก ป่าในจินตนิยายที่มี อยู่จริง มีเพียงการใช้สัญชาติญาณและเคารพเท่านั้น ถึงจะสามารถไขความลับนี้ได้ พบกับ “ถอดรหัสป่า” ในฉบับต่อไปครับ

ผมสัมผัสกับสวนสนุกครั้งสมัยงานเดือนสิบ ยังยึดหลักปักฐานที่สนามหน้าเมือง ทุกๆ ปี คุณพ่อผมมีสญ ั ญาต้องเหมารถแท็กซี่ พาลูก สามคนเข้ามาเที่ยวงานเดือนสิบ โดยมีกระ ป๋องโอวัลตินสีแดงยักษ์เท่าตึกสองชั้นตรง ประตูทางเข้าหลัก เป็นจุดนัดพบถ้าเผื่อหลง จากกัน สวนสนุกงานเดือนสิบในสมัยก่อนค่อนข้าง คึกคักและสนุกมากมาก คนแย่งกันเดิน แย่ง กั น เล่ น แทบจะเหยี ย บกั น ตาย การได้ นั่ ง ชิงช้าสวรรค์ดูวิวร้านรวงงานเดือนสิบจาก มุมสูงสักสองรอบ (ก่อนจะถูกปล่อยลงอย่าง รวดเร็วเพื่อเป็นการท�ำรอบสูงของเจ้าของ ชิงช้าสวรรค์) นับเป็นสิง่ ทีน่ า่ ภูมใิ จทีจ่ ะไปโม้ กับเพือ่ นในชัน้ เรียนได้อกี หลายวัน

ปัจจุบันสวนสนุกในงานเดือนสิบเปลี่ยนไปมาก บอกตามตรง แค่เดินห่าง ระยะไกลยังหวาดเสียวลูกหลงจากกลุม่ เด็กวัยรุน่ หน้าลานรถบัม๊ พ์เลยครับ ปีนี้ผมตั้งใจเข้าไปเก็บภาพมาไว้ในสต๊อคอีกครั้งหนึ่ง อยากเก็บภาพที่ต่อไป จะกลายเป็นภาพประวัตศิ าสตร์อกี ชุดหนึง่ … ใครจะไปกับผมบ้างครับ ...ฝากหยิบหมวกกันน็อคไปเผือ่ ผมสักใบด้วยนะครับ


หน้า ๑๘

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

นภสร มีบุญ

เรา..ต้องการฟ้าสวยและน�้ำใส ต้องการลมหายใจไร้ฝุ่นฝ้า ของทะเล เป็นที่อยู่ ของปูปลา สวนไร่นาอุดมสมบูรณ์ทวี .. ...................................... ........................................ เราต้องการบ้านเมืองที่น่าอยู่ เยี่ยงบรรพชนเคยสู้ สร้าง เสริมส่ง เป็นแผ่นดินที่งดงามน�้ำใจจง สุขมั่นคง ณ ถิ่นที่ท่าศาลา

กุ้งซอสมะขาม

ปลาจาระเม็ดราดพริก

แกงส้มปลากระพง

(จาก..ปณิธานท่าศาลา โดย อ.บุญเสริม แก้วพรหม) ฉบั บ นี้ คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ของเนื้ อ เพลงประจ� ำ อ�ำเภอท่าศาลา ที่ผู้มีค วามรู้แ ละปราชญ์ ในชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันแต่งเนื้อร้อง อ ลั่ลล้า ฉบับนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศ และใส่ท�ำนองค่ะ สู้อุตส่าห์เดินทางตรงไม่ มาบอกเล่าเรื่องราวกิจกรรมดีๆ ของ หลงโค้งไหน ไม่แวะทักทายใคร แต่ถ้าไม่ คนเมืองคอนกันให้กระหึ่ม ส�ำหรับผู้ร่วมก่อ ได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวอันเลื่องชื่อ การดีทั้งหลายที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยช่วย ของชาวอ�ำเภอท่าศาลาก็คงเสียดายแย่นะ กันกับกิจกรรมครั้งแรก ของงาน “รวมพล คะ น�้ำตกสุนันทา น�้ำตกเล็กๆ แต่ก็เปี่ยม คนกินปลา ของดีท่าศาลาเมืองน่าอยู่” ครั้ง ไปด้วยเสน่ห์ความงามของธรรมชาติที่ยังคง ที่ ๑ ..อ�ำเภอท่าศาลาเป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ อุดมสมบูรณ์ ด้วยการดูแลรักษาของคนใน มีประวัติศาสตร์การสร้างบ้านสร้างเมืองมา ท้องถิ่น และอีกหนึ่งสถานที่ที่อดกล่าวถึง ยาวนานนับพันปี ..ด้วยเป็นแผ่นดินที่ถูก ไม่ได้คือโบราณสถานอันส�ำคัญยิ่งของคนใน ร�่ ำ ลื อ ว่ า เป็ น ผื น ดิ น ที่ มี ค วามเหมาะสม ท่าศาลา “โมคลาน” เดินทางสะดวกค่ะ สมบู ร ณ์ โ ดยภู มิ ป ระเทศ อุ ด มไปด้ ว ย จากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทาง ทรั พ ยากรธรรมชาติ น�้ำตกสุนันทา ทั้ งทะเล, อ่ า วทองค� ำ และเรื อ กสวนไร่ น า แสดงว่ า จากอดี ต ถึ ง ปัจจุบัน ..ท่าศาลาก็ยัง คงเป็นบ้านทีน่ า่ อยู่ ของ ผูค้ นทีน่ า่ รักเสมอมา . . ภ า ษ า ก วี อั น ไพเราะด้านบนที่ได้น�ำ มาขึ ้ น ต้ น คอลั ม น์ยงใ น บรรยากาศริ มระเบี

กั้งผัดพริกไทยด�ำ

ทางหลวงหมายเลข ๔๐๑ นครศรีธรรมราช -ท่าศาลา กิโลเมตรที่ ๙.๕ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ทางหลวงหมายเลข ๔๑๔๑ บ้านหน้าทับ บ้านดอนคา สภาพถนนลาดยาง ถึงบ้าน สี่แยกวัดโหนด เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสาย สี่ แ ยกวั ด โหนด-บ้ า นในเขี ย ว สภาพเป็ น ถนนลาดยางใช้ระยะทาง ๑ กิโลเมตร ก็ถึง บ้านโมคลานโดยสวัสดิภาพ “ตั้งดิน ตั้งฟ้า

ปลัดเบนซ์

ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมือง คอนตั้ ง หลั ง ” บทกลอนนี้ แ สดงให้ เ ห็ น ความเก่าแก่ของบ้านโมคลานซึ่งเป็นชุมชน โบราณ ที่มีอายุประมาณกว่าพันปีมาแล้ว และพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่อง กับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย จึงอาจสันนิษฐานว่าบ้านโมคลานอาจ เป็นชุมชนเมืองท่าที่ส�ำคัญแห่งหนึ่งมาตั้งแต่ สมัยโบราณ เดินชมโบราณสถานกันเหนื่อย แล้ว ท้องเริ่มส่งเสียงเตือน (ฮ่าๆ) ไปกันค่ะ อย่าได้เกรงใจคันเร่ง เพียงอึดใจเดียวก็ขับ รถมาถึง “ริมเลซีฟดู้ ” ทีห่ าดด่านภาษี บ้าน ในถุ้ง ด้วยความรวดเร็ว “เรือนไม้เรือเก่า ..เรื่องเล่าคลองบอด สุดยอดอาหารทะเล เข่เปลแลหาดทราย จิบกาแฟสดยามบ่าย ที่..ริมเล ซีฟู้ด” กลอนสดๆ ที่กุ๊กตุ๊กติ๊กน�ำ มาเรียกน�้ำย่อยก่อนจะเสิร์ฟอาหารจานเด็ด ให้กับเรา ...ส่วนอาหารจานเด็ดของเราวันนี้ มีครบสิ้นปลา กุ้ง กั้งค่ะ เรียกว่าพอยกออก มาก็นำ�้ ลายสอทันที..ประเดิมจานแรกด้วยย�ำ เส้นแก้ว สาหร่ายกรอบหวานรสชาติจดั จ้าน ได้ใจค่ะ ต่อด้วยปลาจาระเม็ดตัวโตราดพริก ที่เนื้อทั้งสดทั้งหวาน ตามมาด้วยกั้งผัดพริก ไทยด�ำ และที่ขาดไม่ได้แกงส้มปลากะพง ยอดมะพร้าวทีม่ าคูก่ นั กับกุง้ ซอสมะขาม อิม่ ไปถึงวันรุ่งขึ้นได้เลย บรรยากาศริมทะเล สายลม เสียงคลื่น และอาหารทะเลสดๆ ที่ ราคาไม่แพง รวมไปถึงมิตรภาพทีแ่ สนดีของ คนท่าศาลา ในคราที่ลงไปสอบถามเส้นทาง ท�ำให้อดไม่ได้ที่จะหลงเชื่อว่าคนท่าศาลาน่า รักจริงๆ ขอบคุณ ร้านริมเลซีฟดู้ โดยกุก๊ ตุก๊ ติก๊ ส�ำหรับอาหารอร่อยๆ และบริการที่แสน ประทับใจ รั บ จั ด เลี้ ย ง - สั ม มนา จองงานได้ ที่ โ ทร. ๐๘๑๐๘๒-๓๐๙๐ หรือที่ www. facebook ตุก๊ ติก๊ ริมเลซีฟดู้ ขอขอบคุณปลัดเบนซ์ เจ้าบ้านทีแ่ สนดีคะ่


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๙

เปิดบริการมื้อกลางวันและมื้อค�่ำทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 332 ถ.ราชด�ำเนิน เชิงสะพานสวนหลวง ใกล้พิพิธภัณฑ์ โทร.084-734-4583


หน้า ๒๐

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.