ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐
พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช
www.nakhonforum.com
www.facebook.com/rakbaankerd
ดร.อุ ทั ย ดุ ล ยเกษม อดี ต อธิ การบดี ม.ศิ ล ปากร ชี้ ว ่ า การ ศึกษาศตวรรษที่ ๒๑ ต้องน�ำ ภูมิปัญญาฐานรากมาใช้ โลก เปลี่ยนไปทุกเวลา ไม่มีใครเก่ง คนเดียว การเรียนการสอนต้องท�ำร่วมกัน ยืนบนหลักธรรมชาติ ความปกติ และธรรมดา เฉลยอะไรคือทีม่ าของโลกยุค ๔.๐ ¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย สุธรรม ชยันต์เกียรติ มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล ชีวิตติดล้อ บัญญัติ ลายพยัคฆ์ มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์ โอลั่ลล้าพาชิม นภสร มีบุญ
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT) อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ 'เทคโนโลยีภาคใต้วิจัย' ครัง้ ที่ ๗ หัวข้อ 'โรงเรียนบันดาลใจ' (creative schools) โดยเชิญ ดร.อุทยั ดุลยเกษม นายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT) อดีตอธิการบดี
˹éÒ ò ˹éÒ ó ˹éÒ ๔ ˹éÒ ñ๓
รองผู้ว่าฯ ดนัย ประชุมกรรมการอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบ ปรามการค้ามนุษย์จังหวัดนครฯ ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๖๐ ขอให้ติดตามดูแลใกล้ชิด และให้ทำ� งานไปในทางเดียวกัน
˹éÒ ñ๖ ˹éÒ ñ๗ ˹éÒ ñ๘
นายดนัย เจียมวิเศษสุข
เมือ่ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้าน ศรีธรรมราช อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช เป็ น ประธาน ประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการ ป้ อ งกั น และปราบปรามการค้ า มนุ ษ ย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีคณะกรรม-
การฯ จากหลายหน่ ว ยงานทั้ ง ผู ้ แ ทน จากต� ำ รวจภู ธ รจั ง หวั ด อั ย การจั ง หวั ด ผู้แทนปลัดจังหวัด พัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์จังหวัด จัดหางานจังหวัด แรงงานจังหวัด ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อย่างพร้อมเพรียง >> อ่านต่อหน้า ๙
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๒
(bunchar.com การพระศาสนา, เพื่อแผ่นดินเกิด 20160520)
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นายสกล จันทรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน มอบอุปกรณ์ชว่ ยเหลือผูพ้ กิ ารทีป่ ระสบภัยจากการใช้รถ ใช้ถนน จังหวัดนครศรีธรรมราช ๕๕ ราย เป็นเงิน ๒,๔๕๙,๐๐๐ บาท โดยใช้ เ งิ น ประมู ล หมายเลข ทะเบียนรถ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ เงินซือ้ อุปกรณ์ได้มาจาก 'โครงการ Happiness for All : ความสุขทั่วไทยส่งความปลอดภัยให้ทุก คน ให้แก่ผู้พิการที่ประสบภัยจากการใช้รถใช้ถนน' ประชาชนจึงได้รับรู้ว่าเงินประมูลเลขทะเบียนบางส่วน กองทุนเพือ่ ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการ ขนส่งทางบก (กปถ.) น�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร นับตัง้ แต่ พ.ศ.๒๕๕๒ กองทุนฯ จัดสรรเงินเป็น ค่าอุปกรณ์ชว่ ยเหลือผูพ้ กิ ารทัว่ ประเทศ ๑๔,๐๐๐ ราย เป็นเงินกว่า ๖๕๘ ล้านบาท ผู้พิการจากการใช้รถใช้ ถนนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รบั ๒๖๑ ราย เป็น เงิน ๑๐,๒๑๐,๙๙๖ บาท เนื้อแท้ของโครงการคือการจ่ายเงินซับเลือดให้ แก่ผู้รอดชีวิตหลังเกิดอุบัติเหตุดูเหมือนเป็นการแสดง ความรั บ ผิ ด ชอบหรื อ การไถ่ บ าปของกรมการขนส่ ง ทางบก อาจเกิดความสุขแก่ผู้พิการช่วยเหลือตัวเอง ล� ำ บาก แต่ ถ ้ า เลื อ กได้ ห รื อ มี โ อกาสเลื อ กอี ก ครั้ ง ผู้พิการทุกคนคงเลือกความปลอดภัยบนท้องถนนแทน สภาพถูกตัดแขนขา หรือพิการลักษณะต่างๆ ทัง้ ๆ เคย เป็นคนปกติมาก่อน กองทุนฯ ไม่มโี อกาสช่วยเหลือผูเ้ สียชีวติ จากการ ใช้รถใช้ถนนที่แต่ละปีมีจ�ำนวนมากกว่าผู้พิการ ซึ่งทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถลดจ�ำนวนอุบัติเหตุ และการเสียชีวิตลงได้ ถ้าท�ำได้นอกจากบุคคลที่เป็น ทรัพยากรส�ำคัญของชาติจะยังมีโอกาสใช้ชีวิตให้เป็น ประโยชน์ เม็ดเงินอีกมหาศาลจะไม่ถกู ใช้ไปกับศพหรือ การรักษาพยาบาล อุบตั เิ หตุบนท้องถนนเกิดจากความ ไม่รับผิดชอบของผู้ขับขี่เป็นส่วนใหญ่ เช่น การใช้ โทรศัพท์มือถือขณะขับ และการจอดรถให้คนข้าม ทางม้าลาย น้อยคนทีม่ คี วามส�ำนึกอย่างแข็งขัน ความ ส�ำนึกทีเ่ กิดขึน้ เองเท่านัน้
ใ
นวันที่ ๓ มีนาคมนี้ สมเด็จพระเทพฯ จะเสด็จพระราชด�ำเนินพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ตรึงใจ บูรณะสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรผู้เป็น สถาปนิกคนส�ำคัญของชาติ เคยมีชวี ติ วัยเด็กอยูท่ เี่ มืองนคร กับบุพพการีและยังมาศึกษาบางประการในเมืองนคร โดย ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ ได้เอือ้ เฟือ้ ให้พวกเราร่วมสมทบพิมพ์ เพิม่ เพือ่ เมืองนคร พร้อมกับให้เขียนค�ำนิยม ซึง่ ผมได้รบี อ่าน รวดเดียวจบ แล้วบรรจงรจนาอย่างนี้ เป็ น ที่ น ่ า ยิ น ดี ยิ่ ง ที่ ช าวนครศรี ธ รรมราชตลอดจน ผู้ศรัทธาในองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชจะมี หนังสือเล่มใหม่อีกเล่มหนึ่งส�ำหรับการเรียนรู้และศึกษา ค้ น คว้ า เพื่ อ เสริ ม ศรั ท ธาและการบู ช าอย่ า งถู ก ถ้ ว นให้ ยิ่งๆ ขึ้น นอกเหนือจากเล่มเดิมๆ ที่ส่วนใหญ่ล้วนขยาย ความจาก “ต� ำ นานพระธาตุ น ครศรี ธ รรมราช” และ “ต� ำ นานเมื อ งนครศรี ธ รรมราช” โดยหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ที่ ผู ้ เ ขี ย น คื อ ดร.เกรี ย งไกร เกิ ด ศิ ริ แ ละคณะ แห่ ง คณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรได้ ใ ช้ วิ ธี วิ ท ยาการวิ จั ย ทางประวั ติ ศ าสตร์ ส ถาปั ต ยกรรมด้ ว ย
“แว่นตาที่หลากหลายประเภทในการมองหลักฐาน” ผ่าน ทัง้ “คติความเชือ่ จารีต แบบแผนในการก่อสร้าง เทคนิค วิธี วัสดุ เครื่องไม้เครื่องมือในการก่อสร้าง หน้าที่ใช้สอย ตลอดจนรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรม” กับยัง “ประยุกต์ใช้ เครื่องมือตลอดจนกรอบความคิดและทฤษฎีจากศาสตร์ ต่างๆ ทั้งมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ในลักษณะ “สหวิทยาการหรือบูรณาการ” ในการ “หาความหมาย และสร้างค�ำอธิบาย ตลอดจนชุดความรู้ใหม่หรือข้อเสนอ ใหม่ทางวิชาการเกี่ยวกับมรดกพุทธศิลปสถาปัตยกรรมวัด พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอย่างเป็นระบบ” ที่ผู้เขียน และคณะ ระบุบอกว่า “เชือ่ ถือได้” ในฐานะที่เป็นองค์กรสาธารณะในจังหวัดนครศรีธรรมราชทีใ่ ส่ใจต่อองค์พระบรมธาตุเจดียน์ ครศรีธรรมราช ร่วมกับชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชน ทั้งมวล และได้มีส่วนในการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เพื่อการเรียนรู้บูชามาอย่างต่อเนื่องสืบต่อจากที่บรรพชน ได้เคยจัดพิมพ์หนังสือชือ่ “นครศรีธรรมราช” ทีเ่ รียบเรียง โดยประทุม ชุม่ เพ็งพันธุ์ เพือ่ บรรณาการในงานพระราชทาน เพลิงศพรองอ�ำมาตย์ตรี ขุนบวร รั ต นารั ก ษ์ เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๑๕ และยังได้เรียบเรียงและ ประสานการจั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ “เรียนรู้บูชาพระบรมธาตุเมือง นคร” “ตามรอยธรรมที่ น คร เมืองธรรม” และ จัดท�ำ “ป้าย เพื่ อ การเรี ย นรู ้ บู ช าพระบรม ธาตุ น ครศรี ธ รรมราช” เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๔๗, ๒๕๕๕ และ ๒๕๕๘ ตามล�ำดับ และได้ รับความเอือ้ เฟือ้ (อ่านต่อหน้า ๑๑)
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๓
เ
รื่ อ งดี ดี ป ระจ� ำ เดื อ นมี น าคม ๒๕๖๐ อยากเรียนท่านผูอ้ า่ น พ่อแม่ ผูป้ กครอง นักเรียนและผูส้ นใจใฝ่รู้ วั น ที่ ๑๔ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๖๐ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจัดนิทรรศการ 'ธ สถิตในดวงใจ ศิลป์ถวายอาลัย องค์อัครศิลปิน' ณ อุทยานการเรียนรู้ (CLP.) ภายในสนามหน้ า เมื อ ง เชิ ญ รองผู้ว่าฯ สกล จันทรักษ์ เป็นประธาน เปิดงาน เปิดแล้วเข้าไปชมนิทรรศการ เกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชและ
พระราชกรณียกิจ ภายในห้องชัน้ ล่าง ผู้สนใจงานจิตรกรรมภายในหอศิลป์ เมืองคอนบนชั้น ๒ ได้จัดแสดงงานภาพ เขี ย นและงานสื่ อ ผสม เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ 'ในหลวง' รัชกาลที่ ๙ ของจิตรกรชาวนคร และพ� ำ นั ก ในนครศรี ธ รรมราช อาทิ ปริทรรศ หุตางกูร, ชูเกียรติ สุทนิ , ช�ำนาญ นาครินทร์, ชัยยันต์ จงประเสริฐ, ธนรัตน์ คงสถิ ต ย์ , สมชาย สหวิ ศิ ษ ฏ์ , ศิ ริ พ ร
กลับแก้ว, วัชระ พงษ์ไพบูลย์, วาสนา โรจน์ดวง ฯลฯ นิทรรศการ 'ธ สถิตในดวงใจ ศิลป์ ถวายอาลัย องค์อคั รศิลปิน' จัดแสดงความ จงรั ก ภั ก ดี แ ละน้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ใ นพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช สามารถชมได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๔
โดย : นครา nagara@nakhonforum.com หนังสือพิมพ์รกั บ้าน ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐
สุธรรม ชยันต์เกียรติ
ผ
มเคยเขียนเรือ่ ง 'สถาปัตยกรรมถิน่ ' ลงในรักบ้านเกิด เมื่อปี ๒๕๕๕ ได้พูดถึงภูมิปัญญาของ 'สถาปนิก ท้องถิ่น' ที่ออกแบบบ้านเรือนให้สอดคล้องกับสภาพ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คน ซึง่ ต่างกับสถาปนิกยุคปัจจุบนั ซึง่ ออกแบบทีล่ อกเลียนมา จากบ้านเรือนฝรั่ง หรือไม่ก็ส่วนกลาง ซึ่งมันไม่ได้ตอบ สนองการใช้งานในท้องถิน่ ของเรา หรือรวมๆ ทัง้ ภาคใต้ที่ มี ฝ นตกชุ ก มี ล มมรสุ ม ทั้ ง ตะวั น ออกและตะวั น ตก มี พื้นดินที่ชื้นมดปลวกชุกชุม ประสบปัญหาสัตว์เหล่านี้ รบกวน ฝนสาดเข้าทางหน้าต่างประตู แสงแดดส่อง เข้าไปถึงในบ้าน อากาศไม่ไหลเวียน ในตัวบ้านร้อน อบอ้าวเมือ่ หน้าร้อน น�้ำไหลเข้าบ้านเมือ่ หน้าฝน การแก้ ปัญหาเหล่านี้ก็แก้โดยการติดแอร์แก้ร้อน ถมดินให้สูง เพื่อแก้น�้ำท่วม ฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อปราบมดปลวก แก้ ปัญหาตามสูตรฝรั่ง ผลการปลูกสร้างบ้านเรือนแบบใหม่ มีผลชัดเจนเมื่อเกิดภัยพิบัติครั้งล่าสุด บางท้องที่น�้ำท่วม แค่เข่าก็สร้างความเสียหายให้กบั ทุกบ้านเรือนเสียแล้ว หลังเกิดภัยพิบัติมีบ้านเรือนถูกน�้ำพัดพังเสียหาย หลายหลัง มีหน่วยงานทั้งภาคเอกชน ราชการเข้าช่วย เหลือ ก่อสร้างบ้านเรือนให้อย่างรีบด่วน เพราะเจ้าของ
บ้านเดือดร้อนไม่มีบ้านจะอยู่อาศัย ผมดูๆ แบบที่เขา สร้างให้โดยนักศึกษาอาสาบ้าง ทหารต�ำรวจบ้าง หรือ แม้แต่ช่างมืออาชีพต่างก็ต้องรีบเร่งในการก่อสร้างด้วย ความจ�ำเป็นทีก่ ล่าวแล้วข้างต้น แต่แบบสถาปัตย์เอาง่าย เข้าว่าเป็นหลัก น่าจะค�ำนึงถึงรูปแบบที่เข้ากับสภาพ ท้องถิ่นอย่างง่ายๆ ก็ได้ ปีต่อไปจะได้ไม่มีปัญหาซ�้ำสอง เหมือนเดิมอีกเมือ่ เกิดภัยน�ำ้ ท่วม และใช้เป็นตัวอย่างให้ ผู้คนที่จะมีการปลูกสร้างในโอกาสต่อไป เป็นการลดการ สูญเสียจากภัยพิบัติได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากถนน หนทางคูระบายน�้ำ สะพานที่พังพินาศเสียหายและสร้าง ใหม่เพือ่ รองรับภัยพิบตั คิ รัง้ ต่อไปได้ดขี นึ้ อีกระดับหนึง่ ผมได้ตระเวนดูบ้านเรือนเก่าๆ มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ ถ่ายรูปไว้บ้าง สเก็ตช์ภาพเอาไว้บ้าง เห็นงานสถาปัตยกรรมท้ อ งถิ่ น จากฝี มื อ สถาปนิ ก ประจ� ำ ถิ่ น ที่ ส ะสม ภูมิปัญญาสืบต่อกันมาน่าทึ่งมาก บ้านเรือนที่สร้างแถบ เชิงเขาเรียกกันว่า 'บ้านชาวเหนือ' (คนเหนือน�้ำ) แล้วก็ บ้านแถบทีร่ าบเชิงเขาจนถึงในเมือง เรียก 'บ้านชาวเมือง' และก็ บ ้ า นเรื อ นแถบที่ ร าบลุ ่ ม ริ ม ทะเล เรี ย ก 'บ้ า น ชาวนอก' บ้านเรือนทั้งสามภูมิประเทศที่แตกต่างกัน มี วัฒนธรรมการปลูกสร้างบ้านเรือนอยูอ่ าศัยแตกต่างกัน 'บ้านชาวเหนือ' จะนิยม ปลูกสร้างเรือนด้วยไม้ประจ�ำ ถิ่ น แล้ ว แต่ ฐ านะ ตั้ ง แต่ ป ลู ก สร้ า งด้ ว ยไม้ ไ ผ่ ไม้ กิ่ ง ไม้ ก ลม จนถึ ง ไม้ ต ้ น ใหญ่ ที่ ต ้ อ งเลื่ อ ย ออกมาเป็ น เสาเป็ น กระดาน โดยทั่ ว ไปจะมี ใ ต้ ถุ น สู ง เพื่ อ ป้องกันสัตว์ร้ายจะเข้าบ้านโดย ง่าย การหุงหาอาหารก็จะอยู่ บนเรื อ น ใต้ ถุ น สู ง ใช้ เ ป็ น ที่ ท�ำงาน พักผ่อนและรับแขกไป ในคราวเดี ย วกั น ที่ ย ากจน หน่อยก็สร้าง >> อ่านต่อหน้า ๑๑
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบพิ ธี ร ั บ มอบผ้ า พระบฏพระราชทานอั ญ เชิ ญ จาก อ.ปากพนัง ๕ ผืน ได้แก่ ผ้าพระบฏพระราชทานของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรบดินทรเทพยวรางกูร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในงาน วันมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ชาวนคร โดยผูว้ า่ ฯ จ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา เป็นประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ณ สนามหน้าเมือง
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ พล.อ.ไพบูลย์ คุม้ ฉายา องคมนตรี เป็นผูแ้ ทนพระองค์ อัญเชิญถุงยังชีพพระราชทาน ต่ อ เบื้ อ งหน้ า พระบรมฉายาลั ก ษณ์ ส มเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร มอบแก่นายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครฯ และผู้ประสบ อุทกภัย ๕๐๐ ชุด ณ หอประชุม อ.ร่อนพิบลู ย์ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยผู้ประสบอุทกภัย มาก ทรงพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหา ตามแนวทาง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทัง้ ระยะ สัน้ และระยะยาว แก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ให้ดแู ลผูป้ ระสบ อุทกภัยทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การศึกษา การวางแผนบริหาร จัดการน�ำ้ การประกอบอาชีพ ขอให้ทกุ หน่วยงานช่วยกันดูแล วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ อภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน ประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา เด็กชนบท ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารรี ประกอบพิธมี อบทุนการศึกษา ๑๕ ทุน
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๕ จิมมี่ ชวาลา ให้ เกี ย รติ ไ ปร่ ว มพิ ธี เ ปิ ด งาน นิทรรศการ 'ธ สถิตในดวงใจ ศิลป์ถวายอาลัย องค์อัคร ศิลปิน' น้องๆ นักเรียนขอ ถ่ายรูปเป็นทีร่ ะลึก
ส ่ ง เ ส ร ิ ม สุ ข ภ า พ ต� ำ บ ล โรงพยาบาลรั ฐ และเอกชน ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอ และจั ง หวั ด ในพื้ น ที ่ ภ าคใต้ ทั้ ง วิ ท ยาลั ย ยั ง ร่ ว มสร้ า ง หลักสูตรกับสถานประกอบ การ เพื่อพัฒนาก�ำลังคนให้ ตรงตามความต้องการของ ตลาดแรงงาน
และถุงยังชีพ ๑๐๑ ถุง แก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทรหัวม้า ต.เคร็ง อ.ชะอวด
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ว่าที่ร้อยตรีชัชขจร เรียบร้อย จัดหางานนครศรีธรรมราช จัดประชุมนายจ้าง เจ้าของสถาน ประกอบการ ๓๕๐ คน ให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการจ้าง แรงงานต่างด้าว ตาม พรบ.การท�ำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ห้องบงกชรัตน์ โรงแรมทวินโลตัส วันที่ ๒๖ มกราคม ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี องค์ประธานโครงการ TO BE NUMBER ONE เสด็จฯ ถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช โดยมี รองผู้ว่าฯ ขจรเกียรติ รักพานิชมณี, ก�ำพล รุ่งรัตน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนคร, พล.ต.อาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๔๑ พ.ต.อ.ประสิทธิ์ เผ่าชู รองผู ้ บ ั ง คั บ การต� ำ รวจภู ธ รจั ง หวั ด นครฯ ข้ า ราชการ และ ประชาชนเฝ้ารับเสด็จ และประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไป ยังสนามชั่วคราวหน้าศูนย์ ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ เพื่อทรงเยี่ยมและพระราชทานถุงยังชีพ ให้แก่ราษฎรทีป่ ระสบอุทกภัย
วันที่ ๒-๓ รศ.วิมล ด�ำศรี อธิการบดี มรภ. นครศรีธรรมราช เปิดโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อปฏิรูปคุณภาพการศึกษาตามแนวนโยบายของ รัฐบาล ซึง่ เป็นการเรียนรูท้ ผ่ี เู้ รียนต้องลงมือปฏิบตั จิ ริงผ่านการ วิเคราะห์ การประเมิน การเชือ่ มโยงความคิดกับคุณธรรม ค่า นิยม การตัดสินใจเลือกผลปลายทาง การลงมือท�ำจริง และ การแก้ปญ ั หาจนท�ำงานส�ำเร็จด้วยตัวของผูเ้ รียนเอง
ช่วยเหลือคนอืน่ ๆ แต่พวกเขาก็ประสบอุทกภัย...ผูว้ า่ ฯ จ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา มอบถุงยังชีพแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐ ทีส่ ำ� นักงานตัง้ อยูใ่ นอาคารศาลากลาง สมาชิก อาสารักษาดินแดน (อส.) และสือ่ มวลชนร่วม ๔๐๐ คน
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ รองผูว้ า่ ฯ ดนัย เจียมวิเศษสุข เป็นประธานพิธเี ปิดงาน 'ตามรอยพ่อ สานต่อแนวทาง ลุม่ น�ำ้ ปากพนัง เมืองอูข่ า้ ว อูน่ ำ�้ ' ที่ ม.วลัยลักษณ์จดั ขึน้ ทีศ่ นู ย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีการเสวนาทาง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นายพลากร สุวรรณรัฐ วิชาการหลายหัวข้อ องคมนตรี เป็นประธานพิธปี ระสาทปริญญาบัตรแก่ผสู้ ำ� เร็จการ ศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT.) อ.ทุง่ สง ประจ�ำปีการ ศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๕๙ รองผูว้ า่ ฯ สกล จันทรักษ์ หัวหน้าส่วน ราชการในพื้นที่ ผู้ปกครอง และญาติมิตรมาร่วมเป็นเกียรติ และแสดงความยินดีแก่ผสู้ ำ� เร็จการศึกษา ดร.อุทัย ดุลยเกษม นายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยี ภาคใต้ (SCT.) กล่าวรายงานปีนมี้ บี ณ ั ฑิตปริญญาโท ๒๓ คน ปริญญาตรี ๑๙๑ คน วิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอนแบบเน้น วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ รองผู้ว่าฯ สกล จันทรักษ์ สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่นักศึกษา บูรณาการการท�ำงานเข้า เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ 'ธ สถิตในดวงใจ ศิลป์ถวาย กับการเรียนการสอนทุกหลักสูตรโดยร่วมกับสถานประกอบการ อาลัย องค์อคั รศิลปิน' ณ อุทยานการเรียนรูฯ้ สนามหน้าเมือง อาทิ โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาล ผูส้ นใจเข้าชมได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
Find Us On :
Page เพชรทองซีกวง
Seekuang BJ
Line ID : @Seekuang
ความร่วมมือระหว่างทหารกับเทศบาล...วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พล.ต.ปริยารณ มัชฌิมวงศ์ ผู้บัญชาการมณฑล ทหารบกที่ ๔๓ เปิดโครงการสร้างบ้าน ๓๔ หลัง ให้ผปู้ ระสบ ภัยในพืน้ ที่ ต.ถ�ำ้ ใหญ่ อ.ทุง่ สง ซึง่ เทศบาลต�ำบลถ�ำ้ ใหญ่จดั สรร ทีด่ นิ ๑๐ ไร่ เพือ่ การก่อสร้าง อีก ๒ เดือนชาวบ้านจะเข้าอยูไ่ ด้
ต้นกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศิริพร ผลชีวิน ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) และคณะเดินทางมาโรงเรียนบ้านหนองหนอน อ.เมือง เพื่อ มอบชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนจัดซื้อด้วยเงินบริจาค ๔๕๐,๐๐๐ บาท แก่โรงเรียน ๗ โรง รวมทัง้ ศูนย์พฒ ั นาเด็ก วันที่ ๑ ก.พ. ๖๐ นายธี ร ะ รั ต นพันธ์ ผอ.ส�ำนักควบคุม พืชและวัสดุการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ร่วมกับ นาย สาโรจน์ ลักษณวิลาส นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง หัวหน้า ด่านตรวจพืชแหลมฉบัง พร้อมด้วยข้าราชการด่านตรวจพืช ร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วม หมู่ ๕ หมู่ ๑๐ ต�ำบลป่าระก�ำ อ�ำเภอปากพนัง นครศรีธรรมราช
Line ID : boonada
099-195-6996
เพชรทอง 1. ถนนเนรมิต ท่าวัง 2. ชั้ น 2 โซนเพชรทอง ห้างโรบินสัน 3. ชั้ น 1 โซนเพชรทอง ห้างสหไทยพลาซ่ า ทอง 4. ชั้ น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา 5. ท่าม้า (ข้างศาลากลาง) 6. หัวอิฐ 7. คูขวาง (หน้า ธ.SME) 8. ตลาดเสาร์อาทิตย์ (มุม ซ.ศรีนคร) 9. สะพานยาว (ข้างโลตัสเอ็กเพรส) เพชรทองออนไลน์ 10. www.facebook.com/BOONADA ทอง (หาดใหญ่) 11. ชวนเฮง ใกล้ ธ.กสิกรไทย ถ.ศุภสารรังสรรค์ ช่ องเขา มอ. หาดใหญ่
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๖
ณ วัดธาตุน้อย (วัดพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) ต.หลักช้าง อ.ช้างกลาง "นักปั่นตัวแทนทั้งหมดร่วมปั่นจักรยานเดิน ทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่กรุงเทพฯ แล้วจะเดินทาง กลับโดยรถไฟทุกอย่างส�ำเร็จตามเป้าหมาย" ประสบการณ์ปั่นจักรยานกลายเป็นจุดเริ่มกิจกรรม 'ปั่นเปิดเมืองพ่อท่านคล้าย' หลังประชุมหารือร่วมกันที่ บ้านพักนายอ�ำเภอ การประชุมหารือและระดมความคิด ธีระพงศ์ได้รบั รูเ้ ขาต้องท�ำงานส�ำคัญๆ อีกหลายอย่าง เช่น การจัดงานพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างมณฑปอนุสรณ์ สถานและเททองหล่อรูปเหมือนพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เพื่อประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจา สิทธิ์ (รพ.อ.ช้างกลาง), การปรับภูมิทัศน์ที่ว่าการอ�ำเภอ ช้างกลางให้สวยงามน่าชื่นชม, ปรับปรุงศาลาประชาคม ที่ว่าการอ�ำเภอช้างกลาง, ปรับปรุงศาลาเอนกประสงค์ ประจ� ำ โรงพยาบาลพ่ อ ท่ า นคล้ า ยวาจาสิ ท ธิ์ , ส่ ง เสริ ม เทคโนโลยีผู้ป่วยติดเตียง 4.0, ส่งเสริมความทันสมัยให้ โรงเรียน ในอ�ำเภอช้างกลาง 4.0 และกิจกรรมที่จะช่วย ระดมทุนทรัพย์ไปท�ำสิ่งเร่งด่วน คือ งานปั่นเปิดเมือง พ่อท่านคล้ายในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ “พื้ น ที่ อ� ำ เภอช้ า งกลางเป็ น พื้ น ที่ ที่ อ ากาศดี และ
กิ
จกรรมสร้างสรรค์ 'ปั่นเปิดเมืองพ่อท่านคล้าย' ก�ำลัง กลายเป็นกระแส นักปั่นทั่วทุกสารทิศสมัครเข้าร่วม กิจกรรมทางฟากตะวันตกของเทือกเขาหลวง แผ่นดินที่ บารมี 'พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์' แผ่คลุมดินทุกเม็ด อริยสงฆ์รูปนี้เป็นผู้พัฒนาแผ่นดินฝั่งตะวันตกระดมชาวบ้าน ผู้ศรัทธาสร้างถนนและสะพานไว้มากมาย ให้ชาวพิปูน ฉวาง ทานพอ จันดีและช้างกลางได้มีเส้นทางติดต่อกับ ภายนอก ธีระพงศ์ ช่วยชู นายอ�ำเภอช้างกลางคนใหม่ เข้าถึงจิตวิญญาณของแผ่นดินพ่อท่านคล้าย หลังเข้ารับ
ต�ำแหน่งนายอ�ำเภอไม่นาน เขาเริ่มเดินตามแนวทางที่ 'พ่อท่าน' ท�ำให้ดู คือพัฒนาโดยอาศัยบารมีของพ่อท่าน น�ำทาง 'รักบ้านเกิด' สนทนากับนายอ�ำเภอหนุม่ ผูป้ ลุกเมือง พ่อท่านคล้ายให้ตนื่ และเปิดประตูให้ผคู้ นเข้าไปท่องเทีย่ ว ธีระพงศ์ ช่วยชู คนคุน้ เคยมักเรียก 'ปลัดกุง้ ' ลุกจาก เก้าอี้ป้องกันจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปรับต�ำแหน่งนาย อ�ำเภอช้างกลางปลายปี ๒๕๕๙ ฟากตะวันตกกับตะวันออก ของเทือกเขาหลวงต้องข้ามเขาธง เส้นทางสายเก่าที่ชาว บ้านฟากโน้นหาบข้าวของข้ามเขามา 'นอนทาง' หรือ นอนพักค้างระหว่างทาง เขาธงปัจจุบันมีถนนตัด มีศาลา และบ่อน�้ำ 'พ่อท่าน' แต่สภาพป่าสองข้างถูกโค่นจนเตียน นายอ�ำเภอคนใหม่น�ำชาวบ้านร่วมฟื้นชีวิตป่าสองข้างเขา ธง "ผมจัดกิจกรรมเมืองสวยด้วยมือเรา ใครมีเครื่องตัด หญ้า เอาไป มีมีดพร้า เอาไป มีสองมือกับหัวใจ ก็เอาไป แล้วเจอกัน มีคนช้างกลางไปร่วมถากถางท�ำความสะอาด บริเวณเขาธงให้สวยงาม พวกเราใช้หนังสติก๊ ยิงเมล็ดพืชทิง้ ไว้หลังจากนัน้ พอได้นำ�้ ได้ฝน เมล็ดพันธุจ์ ะงอกขึน้ เอง บน เขาธงจะเป็นจุดพักของนักเดินทาง และนักปั่นจักรยานที่ สวยงาม เป็นประตูเข้าเมืองพ่อท่านคล้าย" ธีระพงศ์ ช่วยชู เล่าอย่างมีความหวัง ถนนหนทางที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมามีจุดเสี่ยงและ อาจเกิดอุบัติเหตุหลายจุด นายอ�ำเภอท�ำงานแบบบูรณาการโดยอาศั ย การพู ด จาประสานขอรั บ การสนั บ สนุ น คนงาน วัสดุจากหมวดการทางฯ อ�ำเภอช้างกลาง ขอรถ แบ็คโฮเล็กจากวิทยาลัยเกษตรฯ ช้างกลาง จัดหาขอท่อปูน ซิเมนต์ ๘ ท่อ "เราได้ รั บ การสนั บ สนุ น ทรายกั บ ดิ น ถมจากคุ ณ ส่งเสริม มณีฉาย เราจัดการวางท่อและขยายทางเข้าโรง พยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์อ�ำนวยความสะดวกแก่ ประชาชนและผูป้ ว่ ยทีเ่ ดินทางเข้ามารักษาตัว เพราะว่าเดิม ช่องจราจรคับแคบจะเกิดอันตรายแก่ผู้สัญจรไป-มา ท่าน ที่เคยใช้เส้นทางถนนนครศรีฯ-จันดี จะเห็นว่าเส้นทางคับ แคบ เวลานีเ้ ดินทางสะดวกแล้วครับ โชคดีผมได้เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจ พ.ต.ท.ปิตฑิ กั ณ์ อนันญลักษ์ รอง ผกก.ฝ่ายปราบปราม รอง สภ.ช้างกลาง สมาชิก อส.อ.ช้างกลาง ร่วมให้การสนับสนุนและอ�ำนวยความ สะดวก การพัฒนาเมืองพ่อท่านคล้ายจึงไปได้อย่างรวดเร็ว"
ช้างกลางแม้เป็นเมืองบนภูเขา แต่เกิดเหตุฝนแล้ง น�ำ้ ท่วมเหมือนอ�ำเภอร่อนพิบลู ย์และอ�ำเภอในลุม่ น�ำ้ ปากพนัง นายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ ด�ำเนินการแก้ไขปัญหาทีท่ า้ ทาย นายอ�ำเภอหนุม่ ประสาน กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายกเทศมนตรีต�ำบลหลักช้าง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน�้ำตกโยง ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อส.อ.ช้างกลาง ลงส�ำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าควนพลอง ในท้องที่ ต.หลักช้าง ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง "เรา ต้องการหาพื้นที่กักเก็บน�้ำหรือท�ำแก้มลิงจากคลองมิน (น�้ำไหลจากเทือกเขาหลวง - เขาเหมน) และคลองจันดี (ไหลจากเทือกเขาหลวง - เขาเหมน) เพื่อแก้ไขปัญหา น�้ำท่วมซ�้ำซากในฤดูฝนและขาดแคลนน�้ำในฤดูแล้งที่เกิด มากว่า ๒๐ ปี ไม่เฉพาะช้างกลางเท่านั้น น�้ำแล้งน�้ำท่วม ยังส่งผลกระทบถึง อ�ำเภอฉวาง อ�ำเภอนาบอน อ�ำเภอ ถ�้ำพรรณรา และพื้นที่ใกล้เคียง ต่อมาคณะเดินส�ำรวจได้ ประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหา ผลการส�ำรวจเราพบ พื้นที่ ๑,๑๘๕ ไร่ เสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาให้ช่วย เหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านอย่าง ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๙ ต่อไป" ธีระพงศ์เป็นนักปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ เมื่อ ๒ ปีที่ แล้วเขาไปร่วมปั่นจักรยานที่กระบี่ จึงมีเพื่อนพ้องนักปั่น อยู่มากมาย วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เขาจัดกิจกรรม และเป็นประธานปล่อยขบวนตัวแทนนักปัน่ จักรยาน ๑๒๐ คนมาจากหลายอ�ำเภอในจังหวัดนครฯ และต่างจังหวัด
มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ซึ่งยังไม่ได้น�ำเสนอสู่สายตา มหาชนให้รับทราบอย่างจริงจัง ทุกปีที่ผ่านมาช้างกลาง มีพิธีแห่ผ้าบูชาพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ พื้นที่แห่งนี้เป็น พืน้ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิก์ ว็ า่ ได้ แต่เราไม่ได้ชว่ ยกันคิดทีจ่ ะให้คนรูจ้ กั ช้างกลางอีกมุมหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยได้เห็น....” ธีระพงศ์ บอกเล่าสภาพ อ.ช้างกลาง “การปั่นครึ่งแรกทุกคนคิด เหมือนกันว่าเราสมควรเปิดต�ำนานคล้องช้างบนแผ่นดิน อันศักดิส์ ทิ ธิ์ กิจกรรมปัน่ ก�ำหนดวันที่ ๒๖ มีนาคม นีก้ เ็ ป็น ส่วนหนึ่งของการเปิดเมืองพ่อท่านคล้ายซึ่งเป็นประตูบาน แรกที่จะเปิดต้อนรับพี่น้องประชาชนทุกคนที่เข้ามาเที่ยว ทีน่ ี่ ประกอบกับช้างกลางเป็นเมืองน่าอยูต่ ามนโยบายของ ท่านผูว้ า่ ฯ จ�ำเริญ ด้วยจึงจัดปัน่ เปิดเมืองพ่อท่านคล้ายซึง่ ท่านจะเห็นจุดส�ำคัญๆ ที่มีอยู่ เช่น อากาศที่มีความเย็น ประมาณ ๒๐ กว่าองศาตอนเช้าๆ ทุกวันจะเป็นแบบนี้ และเหมาะทีจ่ ะอยู"่ ธีระพงศ์เล่าต่อไป “คณะจัดงานได้รว่ มกันปัน่ ส�ำรวจ เส้นทางมาแล้วสองสามครั้ง ทุกคนต่างพึงพอใจ เราได้ ก�ำหนดเส้นทางไว้อย่างนี้ เวลา ๗ โมง ๓๐ นาที เรา ออกจากที่ ว ่ า การอ� ำ เภอปั ่ น ไปทางทิ ศ ตะวั น ออกซึ่ ง มี วัดมะนาวหวานที่เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เคยเสด็จฯ ซึ่งเหมือนตามรอย ประพาสในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผ่านวัดควนส้าน ซึง่ มีลกู ศิษย์ พ่อท่านคล้ายเป็นเจ้าอาวาส อันเป็นจุดที่มีคนมาสักการะ กราบไหว้ หลังจากนั้นเราก็จะไปวัดสวนขันซึ่งเป็นวัดเก่า >> อ่านต่อหน้า ๙ แก่ของพ่อท่านคล้าย
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
จดหมายข่าว
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นบัญชีสู่มรดกโลก เรียบเรียงโดย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ ในคณะกรรมการมรดกโลก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ก่อนจะกล่าวถึง 'อาณาจักรนครศรีธรรมราช' อันเป็นศูนย์กลาง พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในดินแดนคาบสมุทรมลายู เห็นจะต้อง กล่าวถึงอาณาจักรใหญ่ในคาบสมุทรนีเ้ สียก่อน นัน่ คือ 'อาณาจักรศรีวชิ ยั ' 'ศรีวิชัย' เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ เป็นสมาพันธ์ ที่ท�ำการค้าทางทะเลในคาบสมุทรมลายู เริ่มต้นที่เกาะสุมาตราแล้วเข้าควบคุมช่องแคบ มะละกา อ� ำ นาจและรายได้ ส� ำ คั ญ ขึ้ น กั บ การควบคุ ม อ� ำ นาจด้ า นการค้ า ทางทะเล กับนานาชาติ เหตุนี้จึงมีความสัมพันธ์กับจีนและอินเดีย ท�ำให้มีเครือข่ายทางการ ค้าครอบคลุมพื้นที่บริเวณคาบสมุทรในน่านน�้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้กล่าวถึงอ�ำนาจการค้าทางทะเลของศรีวิชัยไว้ว่า อยู่ทาง ตอนล่างของทะเลจีนใต้หรือทะเลใต้ (ซึ่งเอกสารจีนเรียกว่า 'หนานไห่') ตั้งแต่ช่องแคบ มะละกาถึงช่องแคบซุนดาครอบคลุมตลอดฝั่งทะเลของคาบสมุทรมลายู สุมาตรา กาลิ มันตัน การควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างอินเดียและจีน น�ำมาซึง่ ศาสนาอย่าง น้อยสองศาสนาคือ ศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา พุทธศาสนาที่แพร่หลายเวลานั้นคือ พุทธศาสนาลัทธิมหายานแบบตันตระ 'ศรีวิชัย' จึงรับเอาพุทธศาสนาลัทธินี้มาเผยแผ่ อย่างกว้างขวาง จนท�ำให้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาในช่วงเวลานัน้ ขณะ เดียวกันอิทธิพลทางวัฒนธรรมอินเดียยังท�ำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมไปทั่วดินแดนศรี วิชยั ด้วย ดังเช่นการใช้อกั ษร เช่น อักษรปัลลวะ และค�ำศัพท์สนั สกฤต เป็นต้น พัฒนาการของศรีวชิ ยั ถือได้วา่ เป็นประวัตศิ าสตร์ของชาวน�ำ้ บริเวณคาบสมุทร เกาะ และกลุ่มเกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช่แต่เป็นเพียงแค่อาณาจักรที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อม ลงเท่านั้น แต่การล่มสลายของ ศรีวิชัยกลับก่อให้เกิดเมืองการ ค้ า อี ก หลายเมื อ งในกลุ ่ ม เกาะ และคาบสมุทรการค้า บางเมือง เกิดเป็นรัฐ เช่น นครศรีธรรมราช บางเมื อ งเป็ น แว่ น แคว้ น หรื อ เมื อ งท่ า ในอาณาจั ก รรุ ่ น ใหม่ ช่ ว งพุ ท ธศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ เหนื อ อื่ น ใด หลายเมื อ ง ได้บ่ายโฉมหน้าไปเป็นรัฐพุทธ ศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกา วงศ์ที่แผ่ขยายอิทธิพลในช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ วันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ขึ้น ๘ ค�่ำ เดือนสี่ (๔) ปีวอก วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๐ ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือนสี่ (๔) ปีวอก วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ แรม ๘ ค�่ำ เดือนสี่ (๔) ปีวอก วันจันทร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๐ แรม ๑๕ ค�่ำ เดือนสี่ (๔) ปีวอก
หน้า ๗ การน�ำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึน้ บัญชีเป็นมรดกโลก ขณะนีค้ ณะกรรมการ ฝ่ายต่างๆ ได้ด�ำเนินการคืบหน้าจนถึงขั้นตอนจัดท�ำเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination Dosier) แล้ว และเห็นสมควรที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านสื่อมวลชน จึง ได้จัดท�ำเป็นจดหมายข่าวทั้งข้อมูลความรู้และกิจกรรมให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
ภายหลั ง การล่ ม สลายของอาณาจั ก รศรี วิ ชั ย ในคาบสมุ ท รมลายู และสุมาตราเมื่อ พ.ศ.๑๕๖๘ เพราะถูกทัพเรือราเชนทรโจฬะแห่ง อินเดียโจมตี หนึ่งร้อยปีถัดมาพระเจ้าจันทรภาณุซึ่งเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรตามพร ลิงค์อันเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธรัฐศรีวิชัย (หรือเครือข่ายการค้าศรีวิชัย) ก็ประกาศ ความเกรียงไกรทางการปกครองในดินแดนคาบสมุทรมลายูตอนบน ด้วยการรวบรวมหัว เมืองในคาบสมุทรนี้ โดยเฉพาะเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกได้ถึง ๑๒ หัวเมือง เรียกว่า 'เมืองสิบสองนักษัตร' ท�ำให้ตามพรลิงค์มีอาณาเขตและเครือข่าย ทางการค้าเพิ่มขึ้น และขยายการค้าโพ้นทะเลกับจีนราชวงศ์ซ่ง ท�ำให้ฐานเศรษฐกิจ และการเมืองของตามพรลิงค์รุ่งเรืองรวดเร็วพร้อมกับการเติบโตของราชวงศ์ปทุมวงศ์ ที่มีพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและพระเจ้าจัทรภาณุเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเป็น 'นครศรีธรรมราช' ต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราชและ ต� ำ นานพระบรมธาตุ น ครศรี ธ รรมราช กล่าวถึงชุมชนใหม่ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใน นครศรีธรรมราชภายหลังการโจมตีของ โจฬะ ว่ า มี ส ามกลุ ่ ม กลุ ่ ม แรกมาจาก ลังกา โดยเฉพาะคณะสงฆ์ กลุม่ ทีส่ องย้าย ถิน่ ฐานมาจากดินแดนในคาบสมุทร (ซึง่ ใน ต�ำนานเมืองกล่าวว่ามาจากเมืองหงสาวดี) กลุ่มที่สามเป็นคนพื้นเมืองกับคนเชื้อสาย อินเดียหรือทมิฬที่เคยตั้งถิ่นฐานแต่เดิม คนสามกลุม่ นีไ้ ด้ผสมผสานกันบริเวณเมืองพระเวียงและพืน้ ทีข่ า้ งเคียง โดยมีพทุ ธศาสนา เป็นศาสนาหลักประจ�ำกลุม่ ชนเหล่านี้ รศ.ประทีป ชุมพล ได้กล่าวไว้วา่ การสร้างบ้านแปงเมืองของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและพระเจ้าจันทรภาณุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ไม่มกี ารสืบทอดพระพุทธศาสนา แบบอินเดียทีเ่ มืองนครศรีธรรมราชแต่เดิม แต่สบื ทอดทางพุทธศาสนาสายใหม่ทมี่ าจาก ลังกา เพราะในสมัยนั้นเชื่อกันว่าความบริสุทธิ์และความศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนานั้น อยูท่ ลี่ งั กา และเชือ่ อีกว่าลังกาเป็นแม่บททางพุทธศาสนา ประกอบกับความคิดเกีย่ วกับ พุทธศาสนาแบบอินเดียได้คลายอิทธิพลลงมามากตัง้ แต่เริม่ ต้นชุมชนใหม่ โดยมีพระวงฆ์ ชาวลังกาเป็นผู้น�ำชาวพุทธแทน และมีคนในคาบสมุทรเป็นผู้น�ำทางการเมือง เข้าใจว่า น่าจะตัง้ แต่สมัยพระเจ้าวิกรมพาหุที่ (พ.ศ.๑๖๕๔-๑๖๗๕) หรือหลังจากนัน้ ไม่นานนัก ควบคู่กับการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นเป็น 'อาณาจักรนครศรีธรรมราช' ในช่วง ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช (ปทุมวงศ์) ก็ได้จัดสร้างสถูปบน 'หาดทรายแก้ว' อันเป็นสันดอนทรายริมฝั่งทะเลอ่าวไทย (ซึ่งก็คือสถูปพระบรมธาตุ เจดียน์ ครศรีธรรมราชปัจจุบนั )
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๘
เรือ่ งจากปก
<< ต่อจากหน้า ๑
จากสั ต ว์ ที่ ท� ำ ทุ ก อย่ า ง ตามสั ญ ชาตญาณ ช้ า ง อาจฝึกวาดรูปได้ ลิงขึ้น มะพร้าวได้ แต่สัตว์สอง ชนิดที่กล่าวมาไม่สามารถ สร้ า งระบบความเชื่ อ ความศรั ท ธาหรื อ ระบบ คุณค่า ส่วนการจะท�ำหรือ ศ.ดร.นิตย์ศรี แสงเดือน ไม่ท�ำอะไรของมนุษย์ยึด มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะบดีส�ำนักศิลปศาสตร์ โยงกับศาสนาและระบบคุณค่า ความรู้ ความเชื่อ ความรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มาพูดหัวข้อ 'ปฏิรูปการศึกษา และระบบคุณค่า ระบบต่างๆ เหล่านี้ท�ำให้มนุษย์สามารถ ไทยจากภูมิปัญญาฐานราก' หนังสือพิมพ์ 'รักบ้านเกิด' ไตร่ตรองและมีความยับยั้งชั่งใจ "แต่กระนั้นทุกวันนี้การ ขออนุญาตน�ำสาระส�ำคัญของการบรรยายมาถ่ายทอด ยับยัง้ ชัง่ ใจในมนุษย์ลดน้อยถอยลง ผมเองก็ไม่ทราบว่าเป็น ไว้ ณ ทีน่ ี้ เพราะอะไร" ดร.อุทัย ดุลยเกษม ให้ค�ำนิยามของ 'ภูมิปัญญา ดร.อุทัย กล่าวต่อไปว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่คล่องฐานราก' อาจหมายถึงความรู้เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ แคล่ว (active being) คือสามารถคิดและตัดสินใจได้เอง ที่ดึงเอาธรรมชาติรายรอบและธรรมชาติของมนุษย์มาใช้ "เราต้องกล้าปล่อยให้เด็กรุน่ ใหม่ตดั สินใจเองได้ คนรุน่ ก่อน โดยตัวอย่างธรรมชาติพื้นฐาน คือความอยากรู้อยากเห็น ของเล่นต้องท�ำเองจึงได้ฝกึ ฝนทักษะการท�ำ และภูมใิ จเมือ่ ซึ่งเด็กๆ มีความคิดเชิงสร้างสรรค์มาแต่ก�ำเนิด เด็กๆ ท�ำได้ท�ำเป็น ทุกวันนี้ของเล่นซื้อหามาหมด ถ้าจะปฏิรูป จะสงสัยหรือประหลาดใจ (wonder) ความสงสัยหรือ อาศัยภูมิปัญญาฐานรากเราต้องไม่มองข้ามการเรียนรู้จาก ประหลาดใจแสดงออกโดยค�ำถาม พอไป ถามพ่อแม่พวกท่านก็ร�ำคาญ ไปถามครูๆ ก็ติว่าโง่ แรงจูงใจจากความสงสัย ความ ประหลาดใจถู ก บ้ า นกั บ โรงเรี ย นท� ำ ลาย จนไม่กล้าคิดไม่กล้าถาม "การวิจัยท�ำให้ เราเข้ า ใจธรรมชาติ พื้ น ฐานของมนุ ษ ย์ กว้างขวางขึ้นก็จริง แต่ระบบโรงเรียนหรือ การเรียนรูม้ ปี ญ ั หา" ดร.อุทัย กล่าวต่อไปว่า มนุษย์เป็น สั ต ว์ ป ระเสริ ฐ คื อ สามารถเรี ย นรู ้ ไ ด้ โ ดย ไม่จ�ำกัด การเรียนรู้ท�ำให้มนุษย์แตกต่าง
การลงมือท�ำ" ดร.อุทัย ตอกย�้ำว่าภูมิปัญญาฐานรากคือ ธรรมชาติ ความเป็นปกติและธรรมดา "ขอให้ยอมรับว่าธรรมชาติมี ความหลากหลาย ถูกไม่ได้มอี นั เดียวข้อ ก. หรือ ข. ข้อใด ข้อหนึ่งอีกต่อไป แล้วเราต้องเข้าใจเพิ่มเติมว่าธรรมชาติ พึง่ พาอาศัยกันและกัน เกือ้ กูลกัน เก่งคนเดียว ถูกต้องอยู่ คนเดียวไม่ได้อกี ต่อไป กฎเกณฑ์สำ� คัญอีกอย่าง คือธรรมชาติเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรืออาจเรียกว่ากฎอนิจจัง ที่ขึ้นกับเหตุปัจจัยต่างๆ ทุกอย่างต้องเปลี่ยน เวลานี้โลก เปลี่ยนเร็วมาก ต�ำราที่เขียนไว้ว่า ๕ ปีให้เปลี่ยนครั้งหนึ่ง สมัยนีต้ ำ� ราปีเดียวก็เก่าแล้วโดยเฉพาะเกีย่ วกับเทคโนโลยี ดร.อุทยั พูดถึงโลกยุค ๔.๐ ทีค่ นจ�ำนวนมากไม่เข้าใจ ว่ามันมาจากไหน ประเทศไทยก็พูดว่าจะเป็น ๔.๐ "คือ โลกถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่โดยเริ่มต้นที่เทคโนโลยี ๑.๐ หลั ง การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมครั้ ง แรกเมื่ อ เจมส์ วั ต ต์ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน�้ำ ยุค ๒.๐ โธมัส อัลวา เอดิสัน ประดิษฐ์หลอดไฟ ๓.๐ คือยุคคอมพิเตอร์ และ ๔.๐ คือการ เชื่อมต่ออย่างลงตัวของดิจิทัล ฟิสิกส์และไบโอเทคโนโลยี ซึ่งเป็นยุคที่อาชีพเกือบทุกอาชีพเปลี่ยนแปลง เช่น นัก กฎหมายในอเมริ ก าที่ แ ทบไม่ มี ง านเพราะคนสามารถ ปรึกษาและเรียนรู้กฎหมายจากอินเทอร์เน็ทโดยไม่ต้อง หารือทนายความอีกต่อไป หรือหุ่นยนต์เข้ามาแย่งงาน มนุษย์ คนทีจ่ ะอยูไ่ ด้กค็ อื คนทีส่ ามารถน�ำองค์ความรูท้ มี่ อี ยู่ มาประยุคเลีย้ งชีพ เราต้องคิดแบบใหม่และบางคนต้องคิด สร้างนวัตกรรม (innovation) ภูมิปัญญาฐานรากต้องน�ำ เรื่องที่กล่าวแล้วมาคิดโดยยึดโยงกับการปฏิรูปการศึกษา ต่อไปภายหน้าอย่าไปสกัดกั้นความอยากรู้ของเด็กๆ อย่า มุง่ ให้เขาเชือ่ หรือท�ำตาม การเรียนรูไ้ ม่มจี ดุ สิน้ สุด ไม่ใช่จบ ปริญญาโทคือจบ ไม่ตอ้ งเรียนรูอ้ กี ต่อไป แล้วอย่าเรียนคน เดียว ร่วมกันเรียน ร่วมกันตั้งค�ำถาม อย่าไปหัวเราะเยาะ คนถามผิดถามถูก" ดร.อุทัย อธิบายเพิ่มเติมว่าการปฏิรูปตามแนวคิด นี้ต้องวางปรัชญาใหม่ อ�ำนาจบริหารจัดการต้องเปลี่ยน หลักสูตรเปลี่ยนไม่ต้องเหมือนกันทุกโรงเรียนและเปลี่ยน ระบบการเรียนการสอน โดยยึดหลักความเป็นธรรมชาติ เน้นความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดวิเคราะห์และรู้เท่าทัน ข้อมูล อย่าให้ถกู หลอกโดยข้อมูล การปฏิรปู จะเป็นไปไม่ได้เพราะรัฐต้องการกุมอ�ำนาจ การจัดการความรู้ กุมความรู้เอาไว้ที่ส่วนกลาง กระนั้น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดเทศบาล หรือ อบจ. สามารถ สร้างโรงเรียนแรงบันดาลใจให้แก่โรงเรียนในสังกัด ซึง่ ไม่ผดิ พรบ.การศึกษา ปี ๒๕๔๒ แต่ประการใด ศ.ดร.นิ ต ย์ ศ รี แสงเดื อ น อธิ ก ารบดี วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีภาคใต้ กล่าวกับ 'รักบ้านเกิด' ว่าการประชุม สัมมนาทางวิชาการครัง้ นีท้ ำ� ให้นกั วิชาการมีเวทีนำ� เสนอผล งาน มีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วม ๒๔ สถาบัน นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เสนองานวิจัยต่อ ทีป่ ระชุม ๕๙ หัวข้อ และโปสเตอร์ ๔๒ หัวข้อ ซึง่ งานวิจยั หัวข้อต่างๆ สามารถน�ำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนา ประเทศต่อไป
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๙
รายงาน การประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ครัง้ ที่ ๒ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ จุดประสงค์อยูท่ กี่ ารติดตาม การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของจังหวัด นครศรี ธ รรมราช และติ ด ตามผลการด� ำ เนิ น งานจาก กรณีผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ของจังหวัด นครศรีธรรมราช ๑๐ ราย ซึ่งผลการติดตามและการ ช่วยเหลือเยียวยา ส�ำนักงานพัฒนาสังคมและความมัน่ คง ของมนุ ษ ย์ จั ง หวั ด ฯ ได้ ป ระสาน หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งให้ ก ารช่ ว ย เหลือเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พูด คุยถึงกรณีพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับ ที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ว่า ปัจจุบัน พระราชบัญญัติป้องกันและปราบ ปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มีบทบัญญัตบิ างประการ มนุษย์ ที่มีความรุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สมควร ที่ ไ ม่ เ หมาะสมต่ อ การป้ อ งกั น และปราบปรามการค้ า ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ
ค้ามนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการด�ำเนินมาตรการ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยแก้ไขบทนิยาม ค�ำว่า 'แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ' และ 'การบังคับใช้ แรงงานหรือบริการ' ให้ชดั เจนยิง่ ขึน้ ปรับปรุงบทบัญญัติ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเรียกสินไหมทดแทน อันเนื่อง มาจากการกระท�ำความผิดฐานค้ามนุษย์ และก�ำหนด ฐานความผิดซึ่งได้กระท�ำต่อเด็กที่มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ให้ท�ำงาน หรือให้บริการอันเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง และมีผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจ หรือพัฒนาการ ของบุคคลนั้น รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติม บทก�ำหนดโทษให้ เหมาะสมยิง่ ขึน้ ด้วย โอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ฝากคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์จงั หวัดนครศรีธรรมราช ในการ ท�ำงานและการลงพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ านตรวจสอบสถานบริการ สถานบันเทิงต่างๆ ขอให้บรู ณาการท�ำงานร่วมกับทุกส่วน ทัง้ ฝ่ายปกครอง ต�ำรวจ ทหาร และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน
<< ต่อจากหน้า ๖ จุดนี้ท่านจะได้ชมพระอุชเชนทร์หรือพระพิฆเณศกว่า พันปี" พระอุชเชนทร์แกะสลักด้วยหินทรายแดง เป็นพระ คู่บารมีของพ่อท่านคล้าย ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ยาวนาน ๖๕ ปี “หลังจากนั้นเราจะไปที่วัดราษฎร์บ�ำรุงที่นั่นมีรูป ปั้นพ่อท่านคล้ายองค์ใหญ่ที่สุดในโลก หลายท่านอาจไม่ เคยรับรู้ หรือไม่เคยมา แต่วนั นีช้ า้ งกลางก�ำลังจะเปิด วัด นีเ้ ป็นวัดเก่าแก่ของพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ"์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บ�ำรุงเล่าว่า ก่อนนี้พื้นที่วัด ลุ่มต�่ำน�้ำท่วม พ่อท่านคล้ายอยู่วัดสวนขัน พอปี ๒๕๐๕ พ่อท่านไปบุกเบิกวัดธาตุน้อย องค์พ่อท่านที่วัดราษฎร์ บ�ำรุงสร้างเสร็จแล้ว เหลือแต่ต่อบันไดขึ้นไปและต่อ ระเบียงรอบข้าง งบฯ ก่อสร้าง ๒๐ กว่าล้าน ใช้เงินจาก การทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และรับบริจาค ธีระพงศ์บอกเล่าสภาพเส้นทางปั่นต่อไป “เส้นทาง ต่อไปที่ท่านจะได้ชมก็คือไชน่าทาวน์เมืองจันดี ซึ่งอยู่ ในพื้นที่อ�ำเภอฉวาง เป็นจุดส�ำคัญอีกจุดหนึ่งที่ท่านจะ ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวจันดี ผ่านจันดีท่านจะได้พบกับ สะพานรถไฟอายุกว่าร้อยปี ซึง่ ตกแต่งภูมทิ ศั น์สวยงาม เรา จะปัน่ ลอดสะพานไปเจอวัดธาตุนอ้ ย ซึง่ สรีระของพ่อท่าน คล้ายวาจาสิทธิอ์ ยูท่ นี่ นั่ ท่านกราบไหว้บชู า ค�ำว่าพ่อท่าน คล้ายวาจาสิทธิ์นี่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของคนมาช้า นานว่าท่านพูดอะไรเป็นอย่างนัน้ เหมือนเทวดาองค์หนึง่ ของภาคใต้ เมื่อมาที่วัดธาตุน้อยวันนั้นหลังแข่งเสร็จที่ ช้างกลางจะมีการแข่งขันอาหารห้ามพลาดของ ททท. ด้วย จะมีการแข่งขันแกงขมิน้ ๓๖ หมูบ่ า้ น และแข่งขัน
สุดยอดเมนูผักกูดผักพื้นบ้าน ท่านจะได้ชิมอาหารอร่อยๆ ของช้างกลาง" รายได้จากค่าสมัครและสปอนเซอร์จะน�ำไปใช้จ่าย อย่างไร “รายได้จะแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ส่วนแรก น�ำไปสร้าง มณฑปพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์หน้าโรงพยาบาลพ่อท่าน คล้าย ซึ่งโรงพยาบาลเพิ่งเปิดอาจจะยังไม่มีความพร้อม เราพยายามจะพัฒนาตรงนี้ ส่วนที่ ๒ น�ำไปปรับภูมิทัศน์ ทีว่ า่ การอ�ำเภอช้างกลางตามนโยบายของท่านผูว้ า่ ฯ จ�ำเริญ ทิพยพงศ์ธาดา เพื่อให้ช้างกลางเป็นเมืองน่าอยู่ตามแนว ทางที่รัฐบาลก�ำหนดไว้ เราจะปั้นช้างสัญลักษณ์ไว้ที่ซุ้ม หน้าอ�ำเภอ ๒ ตัว ให้ทกุ คนทราบว่าทีน่ คี่ อื ช้างกลาง" นายอ� ำ เภอเป็ น ลู ก ชาวบ้ า นได้ เ ติ บ ใหญ่ เ พราะมี โอกาสได้ รั บ การศึ ก ษาและอยากเห็ น ชาวบ้ า นทุ ก คน สุขภาพดี "ส่วนที่ ๓ เราจะสร้างโรงเรียน ๔.๐ ทุกท่านจะเห็น ว่าการติวของเด็กที่นี่จะออกไปไกล รอบนี้สมาคมวิชาชีพ ครูน�ำโดยท่านวันชัย พงษา ได้ชวนกันคิดว่าเราจะจัด อาจารย์ติวให้โดยนักเรียนไม่ต้องไปเสียสตางค์ เราจะติด ตั้งเทคโนโลยีออนไลน์ให้อาจารย์มาติวให้นักเรียนพร้อม กัน ๑๖ โรง ส่วนที่ ๔ ระบบการติดตามผู้ป่วย ๔.๐ ของ โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายเอง ซึง่ ทางสาธารณสุขอ�ำเภอกับ
โรงพยาบาลร่วมมือกัน เราจัดหาทุนซื้อ smart watch ในการติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียงที่ระบบการ เต้นของหัวใจและระบบความดันผิดปกติ สัญญาณจะ ยิงไปที่โรงพยาบาลแล้วโรงพยาบาลก็จะส่งเข้าไปยังชุด เผชิญเหตุ ชุดแรกคือ อสม. ชุดต่อไปก็ รบสต. หลังจาก นั้นเป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลในการดึงผู้ป่วยเพื่อการ สู ญ เสี ย ตอนนี้ บ ริ ษั ท ควิ้ ง ส์ คอร์ เ ปอเรชั่ น ได้ เ ตรี ย ม smart watch ไว้บริการ ชุดแรกเราได้กองทุนเข้าไปซื้อ ๑๖ เครื่อง ตอนนี้บริษัทควิ้งส์ได้สนับสนุนมาอีก ๓๐ เครื่อง ครั้งนี้เราสามารถขยายผลให้ประชาชนที่มีภาวะ ความเสีย่ งทีอ่ ยูใ่ นหมูบ่ า้ นสามารถส่งเข้ามาทีโ่ รงพยาบาล แล้วโรงพยาบาลสามารถเชื่อมต่อให้ชุดเผชิญเหตุเข้าไป ช่วยเหลือได้ทนั ที ตอนนีเ้ ริม่ ต้นที่ ๕๐ รายครับ" วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ อ�ำเภอช้างกลาง จะเต็มไปด้วยนักปั่นและคณะที่มากับนักปั่นนับพันคน ตอนนี้ที่พักในอ�ำเภอช้างกลางกับจันดีเต็มหมดแล้ว นาย อ�ำเภอเตรียมพื้นที่ส�ำหรับกางเต็นท์ ไว้ที่สนามหน้าที่ ว่าการอ�ำเภอและวิทยาลัยเกษตรฯ ไว้รองรับ หลังจาก วันนัน้ รูปถ่ายสวยๆ ทัง้ สวนยาง ป่าเขา ล�ำธาร ชุมชน จะ ปรากฏออกสูส่ ายตานักท่องเทีย่ วให้เดินทางมาเทีย่ วเมือง ในหุบเขา ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ที่นายอ�ำเภอและนักปั่น นับพันช่วยกันเปิดประตูเมืองไว้แล้ว
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๐
(ต่อจากฉบับทีแ่ ล้ว)
๗
วิ ห ารพระทรงม้ า หรื อ เรี ย กอย่ า ง เป็ น ทางการว่ า 'วิ ห ารมหาภิ เ นษ กรมณ์' เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่าง 'ฐาน พระบรมธาตุเจดีย์' กับ 'พระวิหารเขียน' สั น นิ ษ ฐานว่ า แต่ เ ดิ ม เป็ น วิ ห ารหลั ง เดียวกันแต่ไม่มีผนังกั้น เมื่อมีการกั้นฝา ผนังขึ้นในภายหลัง จึงถูกแบ่งออกเป็น สองวิหารดังกล่าว 'วิหารพระทรงม้า' คือวิหารที่อยู่ติด กับฐานเจดีย์พระบรมธาตุในส่วนทางขึ้น สู ่ ล านประทั ก ษิ ณ ครอบคลุ ม ตี น บั น ได ทั้งหมด มีภาพปูนปั้นเป็นเรื่องพระพุทธ ประวัติที่ส�ำคัญ ตอน 'มหาภิเนษกรมณ์' จึงเรียกชื่อวิหารนี้อย่างเป็นทางการว่า 'วิ ห ารมหาภิ เ นษกรมณ์ ' มี ภ าพปู น ปั ้ น รูปเจ้าชายสิทธัตถะก�ำลังทรงมากัณฐกะ ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกพระวิหารนี้อีกชื่อ หนึ่ ง ว่ า 'วิ ห ารพระทรงม้ า ' ในภาพปู น ปั้นเจ้าชายสิทธัตถะก�ำลังทรงม้ากัณฐกะ ที่ แ วดล้ อ มด้ ว ยหมู ่ เ ทวดาและท้ า วจตุ โลกบาลช่วยกันรองรับเท้าม้า บ้างก็คอย ปิดปากม้ากัณฐกะมิให้สง่ เสียงร้อง เทวดา คอยกั้นฉัตรให้เจ้าชาย มีภาพของ 'ท้าว วัสวดีมาร' ชูมือห้ามมิให้เจ้าชายสิทธัตถะ
ได้ออกบวช เป็นภาพปริศนาธรรมไว้สอน ผู ้ ค นเรื่ อ งมารผจญ งานปู น ปั ้ น ชิ้ น นี้ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งว่ า เป็ น ประติ ม ากรรมที่ งดงามมากชิ้นหนึ่งของชาติ สภาพของงาน ประติมากรรมชิ้นนี้ได้รับการดูแลให้อยู่ใน สภาพสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย มุมด้านล่างมี รูป 'พระนางยโสธราพิมพา' บรรทมอยู่กับ 'พระราหุลกุมาร' พร้อมกับเหล่าสาวสนม
กรมในบรรเลงดนตรีแวดล้อมอยู่ นอกจาก ภาพปูนปั้นทางตะวันออกของบันไดแล้ว ทางด้านตะวันตกก็ยังมีงานประติมากรรม อยู่อีกภาพหนึ่งด้วย ภาพเรื่องราวก็ล้อมา เหมือนกัน คาดหมายว่าคงมีการสร้างภาย หลัง เพราะฝีมือต่างกัน อาจเป็นช่างฝีมือ ท้องถิ่นนคร รูปม้าหันหน้ามาทางทิศเหนือ เหมือนกัน เป็นการสร้างภาพให้สลับกัน
วั
จฉะ ! ภิ ก ษุ ผู ้ ส าวกของเรา บรรลุ เ จโตวิ มุ ต ติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลาย ได้กระท�ำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่ สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่ มากกว่ามาก โดยแท้. วัจฉะ ! ภิกษุณี ผูส้ าวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมตุ ติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ได้กระท�ำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอัน ยิง่ เอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยูไ่ ม่ใช่รอ้ ยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สรี่ อ้ ย ไม่ใช่หา้ ร้อย มีอยูม่ ากกว่ามาก โดยแท้. วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์, เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกิด นัน้ ไม่เวียนกลับจากภพนัน้ เป็นธรรมดา, เพราะความสิน้ ไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต�่ำห้าอย่าง ก็มีอยู่ไม่ใช่
ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่หา้ ร้อย มีอยูม่ ากกว่ามาก โดยแท้. วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ท�ำตามค�ำสอน เป็นผู้สนอง โอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าวด้วย ความสงสัยว่า นี่อะไรๆ เป็นผู้ปราศจากความครั่นคร้าม ไม่ใช่ผตู้ อ้ งเชือ่ ตามค�ำของผูอ้ นื่ อยูป่ ระพฤติพรหมจรรย์ใน ศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่
ภายในวิหารยังมีภาพปั้นเป็นงาน ลอยตัวอีกหลายชิ้น ท�ำหน้าที่เหมือนคอย ปกปักรักษาพระบรมสารีรกิ ธาตุ อันมีนาค ๕ เศียร ชื่อ 'ท้าวทตรฐมหาราช' และ 'ท้าวทตตรราช' มียักษ์คู่ถือตะบองแยก เขี้ยวอยู่ชื่อ 'ท้าวเวฬุราช' และ 'ท้าวเวสสุวรรณ' เหนือขึ้นไปด้านบมีพญาคุรฑชื่อ 'ท้าววิรุฬปักษ์' และ 'ท้าววิรุฬหก' ที่เชิง บันไดด้านบนมีปนู ปัน้ 'ท้าวขัตตุคาม' และ 'ท้าวรามเทพ' อันเป็นทีม่ าของจตุคามราม เทพอันโด่งดังของเมืองนคร บันไดชั้นบนสุดมีบานประตูคู่หนึ่ง เป็นบานไม้ขนาดใหญ่และหนามาก แกะ สลั ก เป็ น รู ป 'พระพรหม' และ 'พระ นารายณ์' ประดับด้วยกระจกสีงดงาม เป็น งานไม้แกะสลักที่งดงามอีกชิ้นหนึ่ง มีอายุ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนรูปอื่นๆ ในวิหารนีย้ งั มีรปู สัตว์ปา่ หิมพานต์ลกั ษณะ เหมือนเสือและสิงห์อกี สามคู่ ฝาผนังวิหาร ยังมีรปู ประกอบเล็กๆ อีกจ�ำนวนมาก เช่น รูป 'พระหลักเมือง' 'พระทรงเมือง' รอย พระพุทธบาทจ�ำลองเป็นต้น เมื่อลงมาสุดบันไดจะมีพระพุทธรูป ปูนปั้นขนาดใหญ่มากองค์หนึ่ง เป็นพระ พุทธรูป 'ปางห้ามญาติ' และมีพระพุทธสาวกอีกสององค์ คือ 'พระโมคคัลลานะ' และ 'พระสารี บุ ต ร' พระพุ ท ธรู ป ใหญ่ องค์นี้ยืนหันหลังพิงก�ำแพง ซึ่งอีกฝั่งของ ก�ำแพงด้านโน้น คือ 'พระวิหารเขียน' ทีถ่ กู สร้างก�ำแพงแบ่งกันในยุคหลัง
ห้าร้อย มีอยูม่ ากกว่ามากโดยแท้. วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิง คฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์, เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพที่ ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา, เพราะ ความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต�่ำห้าอย่าง ก็มี อยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้. วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิง คฤหัสถ์นงุ่ ขาว ยังบริโภคกาม เป็นผูท้ ำ� ตามค�ำสอน เป็น ผู้สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้อง กล่าวด้วยความสงสัยว่า นี่อะไรๆ เป็นผู้ปราศจากความ ครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามค�ำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อย เดียว ฯลฯ ไม่ใช่หา้ ร้อย มีอยูม่ ากกว่ามากโดยแท้. ม. ม. ๑๓/๒๕๑-๒๕๔/๒๕๕-๒๕๖.
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๑
นพ.บัญชา พงษ์พานิช
นครดอนพระ << ต่อจากหน้า ๒
ในการร่วมสมทบพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชในครั้งนี้เป็นกรณีพิเศษ จึงย่อมยินดีอย่างยิ่ง ใหญ่ เพราะหนังสือเล่มนี้มิได้เป็นเพียงงานใหม่ที่ผ่าน กระบวนการวิจยั ด้วยระเบียบวิธวี ทิ ยาอันวิเศษและหลาก หลายมิติอย่างรอบด้านมากกว่างานอื่นๆ ที่ผ่านมา กับ ยังมีข้อมูลและข้อวิเคราะห์และสังเคราะห์ใหม่ๆ เป็น จ�ำนวนมากรวมทัง้ ยังเรียบเรียงประวัตศิ าสตร์สงั เขปเมือง นครศรีธรรมราชได้อย่างไม่มใี ครท�ำอย่างนีม้ าก่อนนัน้ ยัง หาญกล้าน�ำเสนออย่างทีไ่ ม่เคยมีใครเสนอมาก่อนในหลาย ประการทีท่ า้ ทายต่อการศึกษาค้นคว้าเพือ่ การเรียนรูแ้ ละ บูชาพระบรมธาตุแห่งเมืองนครศรีธรรมราชกันต่อไป ไม่ ว่าจะการกลับมาเรียกว่าพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ๑การเสนอว่ามีการพัฒนาผังบริเวณวัดครั้งส�ำคัญในอดีต แต่แรกเริ่มเป็น ๘ ระยะ ตั้งแต่แรกที่มีผังคล้ายผังของ มหาเจดีย์บรมพุทโธ การส่งพระอนันทเถระมาจากลังกา โดยพระเจ้าวิกรมพาหุที่ ๑ เมือ่ พ.ศ.๑๖๕๔-๑๖๗๕ การ ก่อสร้างเจดียป์ ระธานในปี พ.ศ.๑๗๑๙ โดยพระเจ้านรบดี สิทธิแห่งพุกามโดยความเห็นชอบของกษัตริย์ลังกา ตาม ด้วยวิหารธรรมศาลา ทับเกษตร โพธิมณเฑียร วิหาร เขียน วิหารภิเนษกรมณ์ วิหารยอดมณฑป และ วิหาร ๒
<< ต่อจากหน้า ๔
เป็นเรือนคุกติดดิน แต่กม็ รี า้ นนัง่ รับแขกอยูห่ น้าบ้าน บ้าน ก็ต้องปิดมิดชิดป้องกันสัตว์ร้ายเป็นหลัก รอบบ้านต้องมี ต้นไม้ใหญ่ทหี่ า่ งออกไปโค่นล้มลงมาไม่ถกู บ้านเรือน 'บ้านชาวนอก' แถบลุ่มน�้ำจะมีน�้ำท่วมขังครั้งละ นานๆ ทุกปี ชาวบ้านจะสร้างบ้านเรือนพอพ้นน�้ำ ระดับ หน้าอก เสาเรือนไม่สงู อย่างชาวเหนือ บันได้สกั สามขัน้ แต่ จะไม่เกินห้าขั้น นอกเสียจากไปสร้างบ้านในต�ำแหน่งที่ ลุ่มลึก บ้านแทบทุกหลังจะมีนอกชานที่หลังคาคลุมถึงใช้
หลวง โดยมีพุทธศักราชก�ำกับจากการแปลงศักราชตามที่ ปรากฏในต�ำนานได้อย่างเหลือเชื่อ เช่น การสรุปเสนอว่า พระวิหารหลวงเดิมนั้น “เป็นมณฑปล้อมครอบพระเจดีย์ ในพระวิหารหลวง” ในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๑ เนื่องกับการสร้างวิหารยอดมณฑปพระมงคล บพิตรและพระพุทธบาทสระบุรี โดยไม่พบมีการใช้ข้อมูล แผนที่ในบริติชไลแบรรี่ของร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ การ วิเคราะห์ภายในองค์พระสถูปของสถาบันเทคโนโลยีแห่ง เอเชียอาคเนย์ ข้อพิจารณาว่าการสร้างพระใหญ่ พระสถูป และพระศรีมหาโพธิ์ เรียงกันอย่างลังกา รวมทั้งแบบแผน สถาปัตยกรรมของพม่าภาคใต้แถบมะริด ตะนาวศรีและ ทวาย ทีเ่ คยมีผเู้ สนอไว้ บวรนคร สุ ธี รั ต นามู ล นิ ธิ และ สวนสร้ า งสรรค์
ท� ำ กิ จ กรรมงานบ้ า น พั ก ผ่ อ น รั บ แขกได้ ส ารพั ด และระดั บ เรือนนอนก็ยกสูงขึ้นไปอีกเป็น ชานกลางบ้ า น แล้ ว ยกระดั บ ห้องนอนสูงขึ้นไปอีก เพื่อความ อุ ่ น ใจในปี ที่ น�้ ำ มากเป็ น พิ เ ศษ ส่ ว นเรื อ นที่ อ ยู ่ ริ ม คลองจะมี นอกชานเปียก (ไม่มหี ลังคา) ยืน่ ออกไปอี ก ต่ อ กั บ สะพานยื่ น ในริ ม คลอง แล้วมีเรือจอดเอาไว้ใช้สญ ั จร ส่วนบ้านเรือน ที่อยู่ในทุ่งทุกบ้านเรือจะมีเรือเกยไว้ใต้ถุน ใช้สญ ั จรและหาปลาเมือ่ น�ำ้ ท่วม 'บ้านชาวเมือง' โดยทั่วไปบ้านคนไทย สมัยก่อนทุกบ้านจะมีใต้ถุน ถึงแม้ค้าขายก็ จะอาศัยใต้ถนุ เป็นหลัก แต่โดยทัว่ ไปคนไทย ยุคก่อนจะยกร้าน (ศาลา) ขนาดเล็กเพื่อขายของอยู่หน้า บ้าน ภายหลังวัฒนธรรมบ้านเรือนแถวแบบจีนเกิดขึน้ แต่ จะสร้างในทีๆ่ ไม่มปี ระวัตนิ ำ�้ ท่วม ภายในบ้านเรือนของคน ใต้ทั้งหมดจะมีหน้าต่างช่องลมในการระบายความร้อนทุก หลังคาเรือน มีหลังคาออกปีกคลุมกันฝนสาดเข้ามาในตัว เรือน หน้าต่างจะมีหลังคาคลุม หน้าต่างบ้านเรือนผูม้ ฐี านะ หน่อยก็จะมีบานหน้าต่างยาวลงมาจนถึงพื้นเรือนแล้วท�ำ ราวกั้นเอาไว้กันตก แต่อากาศไหลเข้าไปในห้องคลายร้อน
นาคร-บวรรัตน์ นครศรีธรรมราช ขอชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง ใหญ่ต่อ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริและคณะ ตลอดจนคณะ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้สร้างสรรค์ งานวิ ช าการชิ้ น วิ เ ศษนี้ ขึ้ น และเอื้ อ เฟื ้ อ ให้ ไ ด้ มี ส ่ ว น ร่วมในการสมทบพิมพ์เพื่อเผยแพร่แจกจ่ายในจังหวัด นครศรีธรรมราชเป็นการพิเศษ หากท่านใดยังต้องการ กรุณาติดต่อขอรับได้ที่ plearnstan@gmail.com พร้อม กับขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิง่ มา ณ ทีน่ ี้ บวรนคร สุธรี ตั นามูลนิธิ และ สวนสร้างสรรค์ นาคร-บวรรัตน์ นครศรีธรรมราช มาฆบูชา ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปทรงหลังคาเรือนภาคใต้ยุคก่อนคงเป็นหน้าจั่ว ธรรมดามีปีกนกยื่น (พ่า) ออกมากันแดดกันฝนกันลม มรสุมได้ดี ภายหลังวัฒนธรรมหลังคาชาวอินเดีย คือ 'ปั้นหยา' ที่มีหลังคาคลุมทุกด้านไม่มีจั่ว ป้องกันฝนจาก ลมมรสุมได้ดีมาก แต่ระบายความร้อนไม่ดีนัก จึงมีการ ดัดแปลงเอาหลังคา 'ปั้นหยา' มาผสมกับ 'หลังคาจั่ว' เรี ย กว่ า หลั ง คา 'บลานอ' แต่ ช าวบ้ า นเรามั ก เรี ย กว่ า 'รานอ' กันฝนได้ดี ระบายความร้อนได้ระดับหนึง่ ด้วย อยากจะฝากสถาปนิกบ้านเรา เวลาออกแบบสร้าง บ้านในเมืองเรา ให้ค�ำนึงถึงภูมิประเทศภูมิอากาศ จะ ได้บ้านเรือนที่อยู่แล้วเข้ากับธรรมชาติบ้านเรา อยู่ด้วย ความสุข แทนที่ไปลอกแบบจากบ้านเรือนฝรั่ง สักเอา แต่ง่าย ขาดเอกลักษณ์ของท้องถิ่นชาวใต้เรา หรือบ้าน ของชาวนครเรา
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๒
มี
นาหน้ า ร้ อ น เล่ า เรื่ อ งเบาๆ แต่ ส�ำคัญมาก เรื่องอาหารมื้อเช้า บาง คนห่วงความสวยงามงาม กลัวอ้วนเลย งดมื้ อ เช้ า บางคนโดยเฉพาะคนสู ง วั ย กาแฟถ้วยเดียวคิดว่าเอาอยู่ แต่รู้ไหมว่า เสี่ยงเกิดโรคถึง ๖ โรค เพราะว่าตอนนอนหลับร่างกายเรา งดอาหารตลอด นอนหลายชั่วโมงก็อด หลายชั่วโมง บางคน ๖-๘ ชั่วโมงตื่นมา ร่างกายต้องการอาหารเพิ่มพลังที่ท�ำให้ สดชื่นกระฉับกระเฉง ส่งก�ำลังไปกระตุ้น สมองให้พร้อมท�ำงานและฟื้นความจ�ำ คนขาดอาหารเช้ า จะเงื่ อ งหงอย เปิดทางให้โรคร้ายๆ เจ็บๆ พาเหรดเข้า ตัวอย่างน้อย ๖ โรค ๑. โรคอ้วน บางคนอาจค้านทันที อดแล้วยังอ้วนอีก ไม่อยากเชื่อ เชื่อเถิด คนอดมื้อเช้าจะกินสะสมมื้อต่อไป เพราะ ระดั บ น�้ ำ ตาลในเลื อ ดต�่ ำ เลยอยากกิ๊ น อยากกิน และร่างกายอยากได้ของหวาน สักถ้วย เดี๋ยวนี้สาวออฟฟิศนิยมชาเย็น กาแฟเย็น เลยเดินอ้วนเข้าออฟฟิศกัน เป็นแถวๆ งดมื้อเช้ากินหนักมื้อเที่ยงการ เผาผลาญไม่ดีนัก
สมาพั น ธ์ จิ ต อาสาชาวใต้ มอบเงิ น เยี ย วยาผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย เมื อ งนคร ครั ว เรื อ นละ ๕,๐๐๐ บาท ๑๓๕ ครัวเรือน รวม ๖๗๕,๐๐๐ บาท ตั้ง เป้ามอบ ๑๐ จังหวัด ๖๐๐ ครัวเรือน
เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมศรีวชิ ยั ชัน้ ๕ ศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายขจรเกียรติ รั ก พานิ ช มณี รองผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด
๒. โรคเบาหวาน ขณะนีโ้ รคเบาหวาน กลายเป็นโรคทั่วไปที่เป็นกันเกือบทุกคน แต่ใครรับประทานอาหารเช้าเป็นประจ�ำ จะช่วยลดภาวะผิดปกติเรื่องการท�ำงาน ของอินซูลินได้ถึง ๓๕-๕๐ เปอร์เซ็นต์ ๓. โรคอั ล ไซเมอร์ หรื อ ความจ� ำ เสื่อม เป็นโรคชวนผวาและน่าเศร้าของ
สังคม ถ้าบ้านไหนมีผู้สูงอายุความจ�ำเสื่อม ลู ก หลานจะออกจากบ้ า นต้ อ งใส่ กุ ญ แจ ล็ อ กประตู กั น ที เ ดี ย ว พู ด สั้ น ๆ ว่ า ขั ง แม่ ขังพ่อเอาไว้ ใครไม่อยากให้ลูกจับขังห้อง เปลี่ยนมากินมื้อเช้าไว้ก่อน ถ้าสมองถูก กระตุ้นให้ตื่นตัว อาการหลงๆ ลืมๆ เกิด ยาก
นครศรีธรรมราช เป็นตัวแทนรับมอบเงิน เยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรี ธ รรมราช จาก ดร.เกล้ า สรวง สุพงษ์ธร ประธานสมาพันธ์จิตอาสาชาวใต้ ครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท น�ำไปมอบแก่ ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนใน เบือ้ งต้น ๑๓๕ ครัวเรือน ดร.เกล้าสรวง สุพงษ์ธร ประธานสมา
พันธ์จิตอาสาชาวใต้ กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ เป็นองค์กรจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมใน การดูแลและให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งท�ำ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วน รวม และจากเหตุการณ์อุทกภัยน�้ำท่วม ใหญ่หลายพื้นที่ในภาคใต้ที่ผ่านมา ก่อน นี้สมาพันธ์ฯ ร่วมกับส�ำนักข่าวเนชั่น และ สมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งหน่วยงานเอกชน ได้มีการลงพื้นที่ให้
๔. โรคเส้ น เลื อ ดในสมองและ โรคหัวใจ แพทย์อธิบายว่าตอนเช้าหลัง ตื่ น นอนเลื อ ดในกายมี ค วามเข้ ม ข้ น สู ง เส้ น เลื อ ดที่ ส ่ ง ไปเลี้ ย งสมองหรื อ หั ว ใจ อาจอุดตันได้ การรับประทานอาหารเช้า อย่างสม�่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคดังกล่าว ๕. โรคกรดไหลย้อน มาจากพฤติกรรมกินไม่เหมาะสม โรคมาพร้อมยุค บริโภคนิยม อยากกิน กินไม่เป็นเวลา กิน เพื่อความหรรษา กินเอาความเก๋ คนงด อาหารเช้าแต่ไปพึ่งพาเครื่องดื่มคาเฟอีน อย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูก�ำลัง จะยิ่ง เป็นตัวกระตุ้นให้น�้ำย่อยหลั่งออกมามาก ขึ้น กินมื้อเช้าพอดีๆ กินเป็นปกติหลีก เลี่ยงโรคอันน่าทรมานนี้ได้ ๖. โรคนิ่ว การอดอาหารนานกว่า ๑๔ ชั่ ว โมงจะท� ำ ให้ ค อเลสเตอรอลใน ถุงน�้ำดีจับตัวกัน ใครปล่อยไว้นานๆ จะ ท�ำให้กลายเป็นก้อนนิ่วได้ แล้วอย่าคิด ว่าจะเป็นเฉพาะผู้ชาย ผู้หญิงก็เป็นนิ่ว ในไตได้ อาหารเช้าที่กินเข้าไป (ไม่ใช่นั่ง ดูเฉยๆ) จะไปท�ำให้ตับปล่อยน�้ำดีออก มาละลายไม่ให้คอเลสเตอรอลจับตัวเป็น ก้อนนิ่ว แค่ ป รั บ เปลี่ ย นทั ศ นคติ ร ่ า งกายก็ ปลอดไปหลายโรค
ก�ำลังใจ พร้อมมอบถุงยังชีพและเรือไป แล้ว โดยสมาพันธ์ฯ มีโครงการมอบเงิน เยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท ใน ๑๐ จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง กระบี่ พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส รวม ๖๐๐ ครัวเรือน
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ภ
าคใต้เพิง่ ผ่านวิกฤตการณ์นำ�้ ท่วมใหญ่เมือ่ เดือนทีแ่ ล้ว ตอนนี้ถือว่าทุกพื้นที่น�้ำแห้งสนิทแล้ว แต่เรื่องที่ตาม มาก็คอื การทีต่ อ้ งช่วยฟืน้ ฟูกนั ขนานใหญ่ให้กลับมาสูส่ ภาพ วิถชี วี ติ ปกติ ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของภาคใต้ จาก สภาพอากาศที่มีเพียงฤดูฝนและฤดูร้อน แต่ในอนาคตไม่ แน่วา่ เราอาจเรียกฤดูรอ้ นทางบ้านเราว่า “ฤดูแล้ง” แบบ ภาคอีสานก็ได้ คือน�ำ้ ในแม่นำ�้ ล�ำคลองอาจจะแห้งขาดหาย ไปหมด ผมไม่ได้เปิดประเด็นเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้ เกิดขึน้ แต่ประมวลจากการเปลีย่ นแปลงธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทีเ่ กิดจากน�้ำมือมนุษย์เราในปัจจุบนั จะเพือ่ สร้าง ความสุขสบาย หรือเพื่อสร้างความร�่ำรวยมั่งคั่งของใคร ก็ตามแต่ เราอาจต้องเผชิญกับวิกฤติใหม่ที่ตรงข้ามกันคือ “ภัยแล้ง” ตามทีม่ ีการท�ำนายทายทักกันจากหลายส�ำนัก จริงไม่จริงอย่างไร หากเราไม่ประมาทจากสภาพอากาศ แปรปรวนที่เอาแน่นอนไม่ได้ในปัจจุบัน ความเสียหาย ต่างๆ อาจลดน้อยถอยลงก็ได้ ยุคนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ยากล�ำบากที่สุดของบ้าน เมื อ ง ในการแก้ ป ั ญ หาสารพั ด ทั้ ง ด้ า นการเมื อ ง ด้ า น พลังงาน ด้านศาสนา ด้านสิง่ แวดล้อม ฯลฯ ทีม่ คี วามคิด เห็นเป็นฝักฝ่าย และพลังแต่ละฝ่ายก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ผมออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เป็นมนุษย์พนั ธุส์ ดุ โต่งในความคิด เห็นส่วนตัว และก็เห็นว่าความคิดเห็นของคนอื่นก็ล้วนมี เหตุผลตามความรู้และประสบการณ์ของคนนั้นๆ ผมจึง ขอน�ำเสนอมุมมองบางประการทีต่ อ้ งมองสองด้าน เพือ่ ให้ ท่านได้ชว่ ยคิดต่ออย่างใช้สติให้ประเทศชาติผา่ นไปได้อย่าง สันติสุข และเกือบทุกเรื่องที่ยกมาพูดถึงในฉบับนี้ เป็น ประเด็นทีผ่ มเคยกล่าวถึงมาแล้ว เพียงแต่นำ� มาจับคู่ (กัด) เฉพาะที่นครฯ และภาคใต้ให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกัน อย่างมีเหตุผลด้วยกันทัง้ สองฝ่าย สร้างเขือ่ น/สร้างฝายมีชวี ติ ส�ำหรับคนนครผมคิดว่าคงไม่ตอ้ งอธิบายความหมาย กันอีก เพราะอยูใ่ นกระแสทีต่ อบโต้กนั ในสังคมสือ่ ในทุกวัน นี้ โจทย์ทตี่ รงกันทุกฝ่ายคือท�ำอย่างไรจึงมีนำ�้ ใช้ตลอดปี ฝ่ายกรมชลประทาน อ้างถึงหลักการที่ว่าทางใต้ มีฝนตกชุกแต่น�้ำถูกปล่อยทิ้งลงทะเลไปในช่วงหน้าฝน ท�ำให้ไม่มีน�้ำใช้ในหน้าร้อน จึงมีความจ�ำเป็นสร้างเขื่อน ที่แข็งแรงเพื่อกักเก็บน�้ำบนภูเขาปริมาณมหาสาร แล้ว จัดสรรน�้ำปล่อยลงมาตามปริมาณที่ค�ำนวณไว้ในแต่ละ ฤดูกาล มีระบบความควบคุมระดับน�้ำในกรณีที่ฤดูกาลที่ มีฝนตกผิดปกติไม่ให้เกิดอันตราย หรือฤดูทแี่ ล้งจัดจนอาจ ไม่มนี ำ�้ ใช้ หากไม่มกี ารสร้างเขือ่ นเก็บน�ำ้ ส�ำรองไว้ ฝ่ายนักอนุรักษ์ (ซึ่งมีทั้งปราชญ์ชาวบ้านและนัก วิชาการ) มองว่าการสร้างเขื่อนเป็นการท�ำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พืชพันธุ์และสัตว์ป่า รวมทั้งต้องมีการอพยพ ผูค้ นทีต่ งั้ ถิน่ ฐานตัง้ แต่บรรพบุรษุ ออกไป เปิดทางให้มกี าร ตัดไม้ทำ� ลายป่าง่ายขึน้ รวมทัง้ กรณีทมี่ ฝี นตกมากผิดปกติ อาจท�ำให้เขื่อนพังตามที่ได้รับฟังข่าวสารที่เกิดขึ้นในต่าง ประเทศ ฝ่ายนีเ้ ห็นว่าควรกักน�ำ้ ตามล�ำน�ำ้ ทีไ่ หลลงมาเป็น ระยะ โดยโครงสร้างที่ใช้วัสดุธรรมชาติที่ออกแบบให้สัตว์ น�ำ้ สามารถว่ายทวนน�ำ้ ขึน้ ไปได้ตามวงจรวิถชี วี ติ ธรรมชาติ ของมัน และมีการซึมซับกระจายเก็บกักน�ำ้ ใต้ดนิ ไป ๒ ฝัง่
หน้า ๑๓ ต่อกิจกรรมการเกษตร ผมก็เห็นว่าปัญหาที่กฎหมายยัง ไปไม่ถงึ เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี เช่ น ด้ า น social media ด้ า นชลประทาน และด้ า น พลังงาน ควรจะได้มีการปรับแก้ไขปลดล็อคให้เดินต่อได้ ส่วนการผลิตไฟฟ้าทางเลือกจากแผงรับแสงอาทิตย์ที่เป็น พลังงานสะอาดเช่นกัน ควรมีการหยิบยกขึ้นมาปรับแก้ ด้านกฎหมาย เพราะผมมองว่าในอนาคตจะมีการใช้มาก ขึน้ โดยเฉพาะในอาคารและบ้านพักอาศัย อาจมีผลกระทบ ต่อความเป็นส่วนตัวและปัญหาแสงสะท้อนรบกวนบุคคล อื่น (ปัจจุบันมีเทศบัญญัติควบคุมการใช้กระจกสะท้อน แสงประกอบอาคารทีม่ ผี ลกระทบบุคคลอืน่ )
สร้างความชุม่ ชืน้ ให้ตน้ ไม้เจริญงอกงามตลอดเส้นทางทีม่ นี ำ�้ ขัง จึงเรียกว่า“ฝายมีชวี ติ ” (ฝายคนละความหมายกับทาง ราชการ) โดยมีผลงานสร้างจริงไปทั่วประเทศทุกภูมิภาค แล้วได้ผลดีกว่า ๓๓๐ แห่ง ด้วยงบประมาณจากประชาชน กันเอง มุมมองผู้เขียน : ไม่ลองใช้แนวทางของฝ่ายอนุรักษ์ เพื่อพิสูจน์เห็นให้ผ่านอีกหน้าแล้งจะดีไหม ถ้าได้ผลดีก็ไม่ ต้องไปตั้งงบประมาณแผ่นดินมาสร้างเขื่อน เปลี่ยนแปลง พืน้ ทีร่ วบรวมขยะและสร้างโรงงานก�ำจัดขยะ โจทย์ ที่ ต รงกั น ทุ ก ฝ่ า ย : จ� ำ เป็ น ต้ อ งจั ด หาพื้ น ที่ ระบบนิเวศ และวิถชี วี ติ ทัง้ คน สัตว์ พืชให้สญ ู เสียไป รวบรวมขยะของเมือง โดยสามารถควบคุมเรื่องมลภาวะ ทุกด้าน สร้างโรงไฟฟ้าจากเชือ้ เพลิงถ่านหิน / ปัญหาของเมืองใหญ่ทุกแห่งคือ ปริมาณขยะจาก โรงไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด โจทย์ ที่ ต รงกั น คื อ ความจ� ำ เป็ น ต้ อ งจั ด หาแหล่ ง อาคารและครัวเรือนเพิ่มขึ้นทุกปี นครศรีธรรมราชติดอัน ดับต้นๆของประเทศที่มีขยะมาก ทั้งนี้มูลเหตุจากการรับ พลังงานไฟฟ้าส�ำรองมาใช้ในอนาคต ฝ่ายการไฟฟ้าฯที่มีหน้าที่โดยตรง มีการส�ำรวจความ ขยะจากทุกอ�ำเภอเข้ามารวมในตัวเมือง (เมือ่ ก่อนรับจาก ต้องการและได้เลือกสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน ต่างจังหวัดด้วย) จนกองสูงเป็นภูเขาเห็นได้จากไกล จาก โดยมีการรับรองความปลอดภัยการใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ด้วย น�้ำท่วมปีนี้ท�ำให้เกิดน�้ำเสียไหลออกจากพื้นที่กองขยะลง เทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทัง้ ได้เตรียมการไว้นานแล้วทัง้ จัดหา แหล่งน�้ำ และส่งกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน สถานทีท่ จี่ งั หวัดกระบีแ่ ละสงขลา และแหล่งจัดซือ้ ถ่านหิน รอบข้างและค่ายทหารมณฑลทหารบกที่ ๔๑ ทีอ่ ยูต่ ดิ กัน ฝ่ายเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเป็นผู้ดูแลและ ไว้แล้วอย่างเพียงพอกับการใช้ตามจ�ำนวนปีทคี่ ำ� นวณไว้ ฝ่ายนักอนุรักษ์/ประชาชนในพื้นที่/นักวิชาการ ไม่ บริหารจัดการเคยมีแผนการจะสร้างโรงไฟฟ้าเชือ้ เพลิงจาก เห็นด้วยและได้ตอ่ ต้านมาตลอด โดยได้นำ� ข้อมูลยกเลิกการ ขยะ แต่ตอนนี้ผมก็ไม่ทราบว่าถูกระงับไปหรือชะลอการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินของต่างประเทศ เช่น สร้างเพื่อเปลี่ยนแนวทางการก�ำจัดขยะ ขณะนี้เห็นมีการ ประเทศจีนยกเลิกการโครงการก่อสร้าง ๑๐๓ แห่ง สหราช ระดมถมดินสร้างแนวกันขอบทีท่ งิ้ ขยะให้สงู คิดว่าสามารถ อาณาจักรจะปิดโรงไฟฟ้าเชือ้ เพลิงถ่านหินทัง้ หมดใน ๘ ปี ป้องกันมลภาวะด้านกลิน่ และสายตาได้ ? ฝ่ายนักอนุรกั ษ์และนักวิชาการ มองว่าพืน้ ทีร่ วบรวม ข้างหน้า ฝรั่งเศสจะปิดทั้งหมดใน ๖ ปีข้างหน้า รัฐควีนส์ แลนด์ ออสเตรเลีย งดสร้างเพิม่ เพราะแม้แต่โรงไฟฟ้าทีม่ ใี ช้ ขยะมีความจ�ำเป็น แต่ตอ้ งควบคุมปริมาณให้จดั การได้เร็ว ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ระบบ Ultra Super-Critical ยัง มากกว่าทีจ่ ะรับขยะมาจากทุกแห่งในปริมาณทีม่ ากเกินไป ก่อมลพิษมากกว่าใช้แก๊สถึง ๒ เท่า และเทคโนโลยีการจับ และอยูต่ ดิ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ของเมืองทีไ่ ม่นา่ จะอยู่ และกักเก็บคาร์บอน ก็ทำ� ให้ตน้ ทุนสูงเกินไป และอีกหลายๆ คูก่ นั ได้ การก�ำจัดโดยฝังกลบเป็นชัน้ ๆยังจะเป็นปัญหาน�ำ้ ประเทศทีท่ ยอยกันปิด ฯลฯ ส�ำหรับเส้นทางขนส่งถ่านหิน เสียที่อาจแทรกซึมไปยังแหล่งน�้ำใต้ดินที่มีการส�ำรวจแล้ว ที่กระบี่จะมีผลกระทบต่อป่าชายเลนที่เป็นพื้นที่ชุ่มน�้ำที่มี ว่ามีปริมาณมากในแนวพื้นที่นี้ การเผาขยะเพื่อไปผลิต ความส�ำคัญต่ออนุสญ ั ญาระหว่างประเทศ (Ramsar Con- กระแสไฟฟ้าควรเป็นทางเลือกที่ต้องรีบด�ำเนินการโดยใช้ vention) เพื่อการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ ระบบทีส่ ามารถควบคุมมลพิษได้ มุมมองผู้เขียน : ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ ชุม่ น�ำ้ ในโลก รวมทัง้ มีผลกระทบต่อการท่องเทีย่ วทางทะเล มุมมองของผูเ้ ขียน : ข่าวดีสำ� หรับเรือ่ งนีค้ อื รัฐบาล การจัดการขยะของเมืองนครว่า ทางกฎหมายผังเมืองถึง ยอมชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าเชือ้ เพลิงถ่านหินไปก่อน ๒ ปี เวลาแล้วที่จะต้องก�ำหนดให้มีพื้นที่รับขยะเป็นโซนของ เพือ่ ไปท�ำการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพและสิง่ แวดล้อม แต่ละอ�ำเภอ ซึง่ ควรท�ำได้ทงั้ รวมกลุม่ อ�ำเภอทีอ่ ยูใ่ กล้กนั ใหม่ทั้งหมด หากผลการศึกษาเห็นว่าให้สร้างได้ ก็ลองดู หรือแยกเดี่ยวก็ได้ถ้าหากเป็นอ�ำเภอใหญ่และมีพื้นที่มาก เหตุผลใหม่วา่ ฟังขึน้ หรือไม่ แต่ยงั เป็นห่วงว่าการใช้ Super พอ และอนุญาตให้สร้างโรงงานก�ำจัดขยะได้ (ที่ผ่านมา Technology เพือ่ ขจัดมลพิษทัง้ หลายจะมีตน้ ทุนการผลิต ไม่กำ� หนดพืน้ ทีใ่ ช้ประโยชน์ดงั กล่าวในผังเมือง เพราะไม่มี ที่สูง แล้วคงจะต้องขายกระแสไฟฟ้าราคาแพงแก่ผู้บริโภค ข้อก�ำหนดบัญญัติไว้ให้ต้องมี) ส�ำหรับพื้นที่เป็นที่รองรับ ขยะในการบริหารจัดการ จ�ำเป็นต้องมีการตัง้ กองทุนดูแล หรือไม่ ส�ำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังสะอาดมีหลายตัว ความเป็นอยู่ของชุมชนให้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับกรณี เลือก ได้แก่ กังหันลมที่ก�ำลังติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ เช่นที่ ตัง้ โรงไฟฟ้าทีข่ นอม หรือทีอ่ นื่ ๆ ปากพนัง หัวไทร ระโนด ฯลฯ ยังไม่มใี ครออกมาต่อต้าน ก็ สรุปท้ายบทความ : น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี อีกทั้งเป็นกระแสการท่องเที่ยวอีก มีอีกหลายกรณีที่เป็นปัญหาขัดแย้งกันที่ไม่ได้พูด รูปแบบหนึ่ง แต่ยังมีประเด็นปัญหาที่บางจังหวัดไปตั้งใน พื้นที่ สปก. และศาลปกครองตัดสินว่าผิดวัตถุประสงค์ ถึง และแต่ละฝ่ายก็มักจะสร้างวาทกรรมให้ฝ่ายที่ไม่เห็น ของการใช้พื้นที่ต้องหยุดการด�ำเนินงาน ความจริงการติด ด้วยเป็นศัตรูร้าย ผมยังเชื่อว่าถ้ามีการเปิดใจพูดกันโดย ตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าในพื้นที่การเกษตรก็มีปัญหาด้าน ปราศจากอคติ ยังมีหนทางออกทีส่ รุปลงตัวให้ประเทศไทย ผิดวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ของผังเมือง (พื้นที่สีเขียว) แต่ เดินหน้าต่อไปได้ แต่หากต้องการชนะแบบหักล้างกันให้ โดยอ�ำนาจการปกครองพิเศษได้สั่งการให้มีการอนุโลม ล้มหายตายจากไปสักข้าง ก็เชื่อว่าจะเป็น “ชัยชนะบน เปลีย่ นแปลงได้ เพราะไม่ได้กอ่ มลภาวะและไม่มผี ลกระทบ ความพ่ายแพ้ของบ้านเมือง”
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๔
ทานตะวัน เขียวน�้ำชุม (ครูแจง) ห้องเรียนธรรมชาติบ้านลมฝน
น
ครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีความ อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติสูงที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย มีทั้งทะเลและ ภูเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ กว่า ๒๐ ปีมา แล้วที่ Tarzan Adventure Team เพือ่ น เดินป่าหลังคาแดนใต้ น�ำโดยทาร์ซาน บอยหรือครูบอย ได้นำ� นักเดินทางแบกเป้ เดินป่าขึน้ สูย่ อดต่างๆ ของเทือกเขาหลวง นครศรีธรรมราช ภูเขาบ้านเกิดของตน กว่า ๗๐๐ ครัง้ เพือ่ สัมผัสความงดงามของ ชีวติ บนผืนป่าฝนหลังคาแดนใต้ Tropical Rain Forest ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย สร้างความ ตระหนักให้แก่ผคู้ นรักษ์ในธรรมชาติอย่าง ต่อเนื่อง จนได้รับมาตรฐานการจัดการ น� ำ เที่ ย วเดิ น ป่ า ในระดั บ ยอดเยี่ ย มจาก กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และรางวัล อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วไทยประเภท รายการน�ำเที่ยวดีเด่น จากการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ปัจจุบัน Tarzan Adventure Team ได้ใช้พื้นที่ ๔ ไร่ ก่อน
ถึ ง น�้ ำ ตกวั ง ลุ ง (สองรั ก ) ณ บ้ า น วั ง ลุ ง ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคี รี จ.นครศรี ธ รรมราช เป็ น สถานที่ ส� ำ หรั บ จั ด กิ จ กรรมธรรมชาติ ที่ หลากหลายรูปแบบ มีชอื่ ว่า “บ้าน ป่าลมฝน หรือ Lomfon Nature
บอกอันตราย ปลอดภัย กลิน่ สัตว์ปา่ กลิน่ สายลม กลิ่ น แสงแดด กลิ่ น ฝน...กลิ่ น อันตราย หรือปลอดภัย การอ่านรหัสจาก เสียง เสียงสรรพสิง่ ในป่าบอกอะไร ความ เงียบบอกอะไร ภาษาของสัตว์ป่าแปลว่า อะไร ภาษาการเคลื่ อ นที่ ข องลม เสี ย ง จากสายน�้ำ เสียงแมลง เสียงปกติ หรือ เสียงอันตรายจะรู้ได้อย่างไร ด้านสุนทรีย์ ธรรมชาติ เกมธรรมชาติเพื่อเปิดทุกประสาทสัมผัสและการปรับตัวสูธ่ รรมชาติ ค่าย Junior Jungle Camp แค้มป์ แบบเข้มข้น ๗ วัน ๖ คืนเต็มๆ ส�ำหรับ เด็กอายุ ๙ ปีขึ้นไป ใช้ชีวิตในธรรมชาติ กับทาร์ซานบอย... หาฟืน ก่อไฟ เก็บพืช ผัก หาปลา หุงหาอาหาร เปิดทุกประสาท สัมผัสอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่มีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น กิน ดื่ม ใช้น�้ำ จากภูเขา สร้างทีพ่ กั จากวัสดุธรรมชาติเอง เรียนรู้การคิดประดิษฐ์ของเล่นเองในป่า ฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ อืน่ ในธรรมชาติ ค่าย Family Nature Camp ค่าย ครอบครัวสัมผัสธรรมชาติ เหมาะส�ำหรับ ทุกคนในครอบครัว ทีต่ อ้ งการใช้ชวี ติ กลาง แจ้งในช่วงวันหยุด ๒ วัน ๑ คืน ไร้สิ่ง อ�ำนวยความสะดวก อยู่ร่วมกับธรรมชาติ แบบง่ายๆ กางเต็นท์ ผูกเปล ท�ำกิจกรรม ธรรมชาติร่วมกันในวันพักผ่อนของแต่ละ เดือน ท�ำกิจกรรมส�ำรวจธรรมชาติรอบๆ ตั ว โดยมี กิ จ กรรมหลั ก ได้ แ ก่ นั ก สื บ สายน�ำ้ เดินป่าระยะสัน้ รอบแค้มป์ ดูผเี สือ้ แมลง ไลเคน และพันธุไ์ ม้ เก็บผัก ตักน�ำ้ ก่อไฟ ท�ำอาหาร ดูดาว ดูนก ท�ำผ้ามัดย้อม จากสีธรรมชาติ ท�ำของเล่นจากธรรมชาติ ท�ำงานศิลปะจากจินตนาการในธรรมชาติ ก่อนกลับบันทึกประสบการณ์และความ ทรงจ�ำร่วมกันในครอบครัว
Camp” ที่พักในสวนป่าริมน�้ำใสที่ไหลมา จากน�ำ้ ตกของเขาหลวง โดยมีครูแจง เป็น ผู้ร่วมออกแบบและจัดกิจกรรมธรรมชาติ ส�ำหรับเด็กและครอบครัว มีเอกลักษณ์ใน เรื่องของการเรียนรู้อย่างมีความสุขเหมาะ สมแก่คนทุกเพศทุกวัย ได้แก่ คอร์สรหัสป่า Junior คอร์ส ๓ วัน ๒ คืน ส�ำหรับเด็กอายุตงั้ แต่ ๖-๑๒ ปี เพือ่ ให้ เ ด็ ก เข้ า ใจวิ ถี ข องความเป็ น ป่ า ของ ธรรมชาติ ม ากกว่ า มองเห็ น เพี ย งสถานที่ สวยงาม สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว เห็ น ความมี ชีวิตของป่าที่ผูกพันต่อทุกสรรพสิ่งอย่างมี ระบบ และมีพื้นฐานในการใช้ชีวิตบนโลก ด้วยความแข็งแกร่งและอ่อนโยนจากการ ถูกขัดเกลาจากความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ โดยจะเรี ย นรู ้ ก ารด� ำ รงชี พ ในธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัว การแต่งตัว จัด ข้าวจัดของ การใช้เป้ การแพ็คของ อะไร ก่อน-หลัง อุปกรณ์จ�ำเป็น การใช้อุปกรณ์ เช่น การผูกเปล การตั้งแค้มป์ การก่อกอง ไฟ การหุงข้าวจากสารพัดวิธี การถอดรหัส ป่า การสะกดรอย (รูป) การเดินป่าตั้งแต่ ก้าวแรก สังเกตอะไร ดูอะไรก่อนหลัง ต้อง จดจ�ำอะไร ทิศ ลักษณะทางภูมศิ าสตร์จาก สายตา การถอดรหัสจากร่องรอย รอยคน รอยสัตว์ รอยเก่าใหม่ ชนิด ขนาด เป้าหมาย การอ่านรหัสจากรส อะไรในป่ากิน ได้หรือไม่ได้ ดูจากอะไร ท�ำกินอย่างไร สนใจสอบถามรายละเอี ย ดเพิ่ ม ระวังอะไร หาน�้ำสะอาดได้จากอะไรบ้าง เติ ม ได้ ที่ ครู แ จง ๐๘๑-๘๒๔-๘๘๘๐ การอ่านรหัสจากกลิ่น กลิ่นดอกไม้ บอก Line Id : lomfon50 FB: ทานตะวัน อะไรบ้าง เช่น เวลา สถานที่ บอกพื้นที่ เขียวน�ำ้ ชุม (ลมฝน)
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท�ำงานและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสูร่ ะบบ ๗. ระบบเบรค เป็ น ระบบกลไก เพื่ อ ใช้ ค วบคุ ม การหยุ ด หมุ น ของใบพั ด และเพลาแกนหมุนของกังหัน เมื่อได้รับ ความเร็วลม เกินความสามารถของกังหัน ที่จะรับได้ และในระหว่างการซ่อมบ�ำรุง รักษา ๘. แกนคอหมุนรับทิศทางลม เป็น ตั ว ควบคุ ม การหมุ น ห้ อ งเครื่ อ ง เพื่ อ ให้ ใบพัดรับทิศทางลมโดยระบบอิเลคทรอ นิคส์ ที่เชื่อมต่อให้มีความสัมพันธ์กับหาง เสือรับทิศทางลมทีอ่ ยูด่ า้ นบนของเครือ่ ง ๙. เครื่ อ งวั ด ความเร็ ว ลมและ ทิศทางลม เชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นตัวชี้ขนาด ของความเร็ ว และทิ ศ ทางของลมเพื่ อ ที่ คอมพิวเตอร์จะได้ควบคุมกลไกอื่น ๆ ได้ ถูกต้อง ๑๐. เสากังหันลม เป็นตัวแบกรับ ส่วนทีเ่ ป็นตัวเครือ่ งทีอ่ ยูข่ า้ งบน
ท่
ามกลางกระแสต่ อ ต้ า นการสร้ า ง โรงไฟฟ้าถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีแผน จะก่อสร้างในพื้นที่ อ�ำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และอ�ำเภอเทพา จังหวัด สงขลา เนื่องจากเชื่อว่าจะส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิต และมลภาวะที่จะตามมาของ ชาวบ้านในพืน้ ที่ แต่ชาวนครศรีธรรมราช ของเราต่ า งยิ น ดี ที่ ภ าคเอกชน อย่ า ง บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วินด์ อินเตอร์ เนชัน่ แนล จ�ำกัด (Iwind) ได้เข้ามาด�ำเนิน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในพื้นที่ อ�ำเภอปากพนัง ซึ่งด�ำเนินการติดตั้งไป แล้วทัง้ หมด ๔ ตัว รวมก�ำลังการผลิต ๑๐ เมกะวัตต์ นอกจากเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วย พลังงานที่สะอาดแล้ว ชาวปากพนังยัง ได้ทัศนียภาพที่สวยงาม ตามแนวชายฝั่ง ทะเลทิศตะวันออก หลายท่านคงสงสัยว่า ลมน�ำมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร วันนีผ้ เู้ ขียน จะไขข้อข้องใจทัง้ หมดให้ทา่ นผูอ้ า่ นทราบ ครับ เรามาท�ำความรู้จักกับ โรงไฟฟ้า พลังงานลม ไปพร้อม ๆ กัน โรงไฟฟ้ า พลั ง งานลมสามารถ จ�ำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของ กังหัน จะได้ ๒ แบบ คือ ๑. กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine) เป็นกังหัน ลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลม โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม มี อุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หนั ไปตามทิศทาง ของกระแสลม เรียกว่า หางเสือ และมี อุปกรณ์ป้องกันกังหันช�ำรุดเสียหายขณะ เกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุและตัง้ อยูบ่ น เสาที่ แ ข็ ง แรง กั ง หั น ลมแบบแกนนอน ได้แก่ กังหันลมวินด์มิลล์ (Windmills) กังหันลมใบเสื่อล�ำแพน นิยมใช้กับเครื่อง ฉุดน�ำ้ กังหันลมแบบกงล้อจักรยาน กังหัน ลมส�ำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพรอบเพลเลอร์ (Propeller) ๒. กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลม ที่ มี แ กนหมุ น และใบพั ด ตั้ ง ฉากกั บ การ เคลื่ อ นที่ ข องลมในแนวราบ ซึ่ ง ท� ำ ให้ สามารถรับลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง
หน้า ๑๕
รูปกังหันลมแนวแกนนอน
ซึ่งในปัจจุบันกังหันลมแนวแกนตั้งไม่เป็นที่ นิยมในการใช้งาน ส่ ว นประกอบส� ำ คั ญ ๆ ของระบบ กังหันลม ทัว่ ๆ ไปอาจแบ่งได้ดงั นี้ ๑. ใบพั ด เป็ น ตั ว รั บ พลั ง ลมและ เปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลซึ่งยึดติดกับชุด แกนหมุ น และส่ ง แรงจากแกนหมุ น ไปยั ง
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานลม ๑. พลังงานลมเป็นพลังงานสะอาด ทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมปราศจากสารก่อ มลพิษใดๆ ๒. มีความสมดุลด้ านพลังงานที่ดี เยีย่ ม เนือ่ งจากลมนัน้ เกิดขึน้ ตลอดเวลา ๓. ด� ำ เนิ น งานได้ ร วดเร็ ว ฟาร์ ม รูปกังหันลมแนวแกนตัง้ กังหันลมสามารถสร้างเสร็จสิ้นภายในไม่ กีส่ ปั ดาห์ เพลาแกนหมุน ๔. เป็นแหล่งพลังงานที่น่าเชื่อถือ ๒. เพลาแกนหมุน รับแรงจากแกน และน�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากลมที่ หมุนใบพัด และส่งผ่านระบบก�ำลังเพือ่ หมุน ใช้ขับเคลื่อนกังหันลมไม่มีค่าใช้จ่ายตลอด และปัน่ เครือ่ งก�ำเนิดไฟฟ้า กาล และไม่ถูกกระทบโดยราคาของเชื้อ ๓. ห้ อ งส่ ง ก� ำ ลั ง เป็ น ระบบปรั บ เพลิงฟอสซิล เปลี่ยนและควบคุมความเร็วในการหมุน ระหว่างเพลาแกนหมุนกับเพลาของเครื่อง ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานลม ก�ำเนิดไฟฟ้า ๑. ไม่สามารถควบคุมความสม�่ำ๔. ห้ อ งเครื่ อ ง มี เสมอของพลังงานได้ ๒. ส่งผลต่อทัศนียภาพ เนื่องจาก ขนาดใหญ่ แ ละมี ค วาม ส� ำ คั ญ ต่ อ กั ง หั น ลมใช้ ต้องใช้กังหันขนาดใหญ่ อาจบดบังส่วน บรรจุ ร ะบบต่ า งๆ ของ ต่างๆ ของพืน้ ทีไ่ ป ๓. การเกิดมลภาวะทางเสียง เมื่อ กังหันลม เช่น ระบบเกียร์ เครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า เบรก ใบพัดขนาดใหญ่ทำ� งานจะเกิดเสียงดังมาก รบกวนผูอ้ ยูใ่ กล้เคียง และระบบควบคุม ๔. การรบกวนคลืน่ วิทยุ ซึง่ เกิดจาก ๕. เครื่ อ งก� ำ เนิ ด ไฟฟ้ า ท� ำ หน้ า ที่ เ ปลี่ ย น ใบพัดส่วนใหญ่ทำ� จากโลหะเมือ่ หมุนท�ำให้ พลังงานกลเป็นพลังงาน เกิดการรบกวนคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ใน ระยะ ๑-๒ กิโลเมตร ไฟฟ้า ๖. ระบบควบคุ ม ด้วยความปรารถนาดี ไฟฟ้า ใช้ระบบคอมพิวอาจารย์แก้ว เตอร์เป็นตัวควบคุมการ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๖ บัญญัติ ลายพยัคฆ์ ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา นครศรีธรรมราช
วั
นที่ นั่ ง เขี ย นต้ น ฉบั บ เป็ น วั น ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ ตรงกับวันสตมวาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากพวก เราไป ครบ ๑๐๐ วัน ไม่ว่าวันไหนๆ ก็ นึกถึงพระองค์ท่านตลอด และจะน�ำค�ำ สอนของพระองค์ ม าปรั บ ใช้ ใ นชี วิ ต และ หน้าที่การงานตลอดไป ฉบั บ นี้ ข อเขี ย นกลั บ ไปซ�้ ำ กั บ เมื่ อ เดื อ น พ.ย. ๕๙ ที่ เ ป็ น ครั้ ง หนึ่ ง ...ครั้ ง เดียวในชีวิตนักปั่น ที่ปั่นไปถวายพระพร ในหลวงที่อาคารร้อยปี โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ แต่อยากจะบอก
กับคุณผู้อ่านว่า เป็นทริปที่สุดของนักปั่น วันนั้นเราปั่นกันด้วยใจ ไม่ใช่ปั่นกันด้วย ก�ำลังขา ๕ วันเต็มๆ จากนครศรีธรรมราช ต้องมีใจเป็นหนึ่งจริงๆ ต้องพร้อมทุกอย่าง โดยเฉพาะใจ ที่มีความมุ่งมั่น จะท�ำเพื่อ ในหลวง ยังคงร�ำลึกถึงวันนั้นเสมอ แม้จะผ่าน ไปกี่ปีก็แล้วแต่ โดยเฉพาะวันนี้ ๒๐ ม.ค. ๖๐ วันที่ครบ ๑๐๐ วัน ที่พระองค์จากไป ยิ่งค�ำนึงถึงเป็นทวีคูณ ขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย
เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ฮอนด้าศรีนคร ร่วมสนับสนุนกิจกรรม Marketing Plan Contest ซึ่งเป็นโครงการประกวดวิชาการทางด้านการตลาด ในสถาบันระดับอุดมศึกษา โดยนักศึกษาท�ำแผนการตลาดรถจักรยานยนต์ All New Zoomer - X Unblocker, I am และ จัดกิจกรรมจริงในสถานศึกษา มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้นกั ศึกษาได้น�ำความรูท้ างทฤษฏีการตลาดมา ใช้ปฏิบตั จิ ริง เพือ่ เพิม่ พูนประสบการณ์และการเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ทีผ่ า่ นมา โครงการ ศุภาลัย เบลล่า นครศรีธรรมราช จัดงานแถลงข่าวครั้งส�ำคัญแห่งปี แถลงผลประกอบการปี ๒๕๕๙ และเผยภาพรวมเศรษฐกิจ และทิศทางอสังหาฯ ภาคใต้ โดย ดร.ประทีป ตัง้ มติธรรม ประธานกรรมการบริหาร คุณไตรเดชะ กรรมการผู้จัดการ และคุณอดิศักดิ์ วารินทร์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานโครงการ ภูมภิ าค ๓ "บ้านทีเ่ หนือกว่า กับความสุขของชีวติ ทีล่ งตัว บนทีส่ ดุ ของท�ำเลศักยภาพ" ใจกลาง เมืองนครศรีธรรมราช
‘คิวคูตอน’ กลายเป็นอาณาจักรอาหารสมบูรณ์แบบเมือ่ ‘โกแอ๊ด’ สุธรรม ชยันต์เกียรติ ยก ‘ครัวนคร’ มาเปิดเคียงข้าง โกปี๊ ลิกอร์ และเฮาค็อฟฟี่ พบกับครัวนคร เร็วๆ นีท้ ค่ี วิ คูตอน ถนนอ้อมค่าย
เมือ่ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) ประกาศผลการประกวดหนั ง สื อ ดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ในงานนี้ ๒ นักเขียน ชาวนครได้ ร ั บ ๒ รางวั ล คื อ หนั ง สื อ รวมเรือ่ งสัน้ ‘เมือง บ้าน ผม’ โดยจ�ำลอง ฝั่งชลจิตร ได้รับรางวัลชมเชยประเภทรวม เรื่องสั้น และ กิตติศักดิ์ คเชนทร์ ได้รับ รางวัลชมเชยจากนวนิยายเรื่อง ‘บ้านใน โคลน’ ทัง้ ๒ เล่มหาซือ้ ได้ตามร้านหนังสือ ทัว่ ไป
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นพ.รังสิต ทองสมัคร์
นั บ จากที ม อาสาได้ ล งแรงกายแรงใจออกช่ ว ยเหลื อ ผู้ประสบภัยตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นมา สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ช าวที ม อาสาทุ ก คนได้ เ ห็ น นอกจากความ เดือดร้อนทางกายภาพจากน�้ำท่วมแล้วคือ เด็กนักเรียนใน จุดต่างๆ ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น หนังสือแบบเรียน โรงเรียน ห้องเรียน ห้องสมุด ถนนหนทางที่จะมุ่งสู่โรงเรียน โดนน�้ำท่วมเสียหาย ซึ่งในเบื้องต้นมีน�้ำใจหลั่งไหลกันเข้า ช่วยเหลือกันตามสมควรแล้ว มีอีกความเดือดร้อนหนึ่งที่พวกเราได้เจอมาโดยตรง และเล็งเห็นว่าเป็นความเดือดร้อนที่แท้จริงตั้งแต่ช่วงน�้ำ ท่วม และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันและในอนาคต คือภาวะ รายจ่ายให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่ประสบภับน�้ำท่วม ด้วย หลายครอบครัวมีรายได้เป็นลูกจ้างในสวนยางพารา สวน ปาล์ม ซึ่งถูกยกเลิกการว่าจ้างนานอีกหลายเดือน จึงได้ปรึกษากับทีมอาสารวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ว่ า อยากตั้ ง กองทุ น ช่ ว ยเด็ ก นั ก เรี ย นเหล่ า นี้ เพื่ อ แบ่ ง เบา ภาระความเดือดร้อนของครอบครัวผู้ประสบภัยเหล่านี้ ผมเปิดบัญชีกับทางธนาคารกสิกรไทย สาขา ท่าศาลา ใช้ชื่อว่า ...นพ.รังสิต ทองสมัคร์ เพื่อกองทุนเพื่อการศึกษาเด็ก นักเรียนที่มีผลกระทบจากน�้ำท่วม.... Education fund for child flood victims บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 023-2-89275-7
หน้า ๑๗
โดยมีผู้ควบคุมการด�ำเนินงาน ให้ความเห็น พิจารณา เด็กนักเรียน ของกองทุนสามท่านคือ - อ.บุญเสริม แก้วพรหม ลุงบุญเสริม กวีน้อยเมืองนคร อดีตศึกษานิเทศก์ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ เป็นผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพมากที่สุดท่านหนึ่ง - น้องศักดิ์ โรงเรียนสอนดนตรีครูเอ็ม Tanongsak Wattanasiri ผู้ที่ยืนหยัดท�ำงานอาสาในพื้นที่น�้ำท่วมมา อย่างแข็งขันตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน - นพ.รังสิต ทองสมัคร์ ทั้งนี้ผมมีเงินเหลือจากการบริจาคในช่วงน�้ำท่วมอยู่ จ�ำนวนหนึ่ง เป็นตั้งต้นของกองทุน มีบริจาคเพิ่มจากหลาย ฝ่าย จนถึ ง วั น เวลานี้ ณ วั น ที่ ๒๑ กุ ม ภาพั น ธ์ มี เ งิ น ใน กองทุนแล้วทั้งสิ้น ๑๓๖,๓๘๑ บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นหก พันสามร้อยแปดสิบเอ็ดบาท) คาดว่าน่าจะสามารถช่วยเหลือเด็กที่ตอนนี้มีรายชื่ออยู่ ในบัญชีแล้ว ๑๐ คน ได้อย่างน้อยหนึ่งปี กองทุนจะช่วยเหลือให้เด็กนักเรียนตามความจ�ำเป็น ของเด็กแต่ละคน แต่ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน โดย การโอนเข้าบัญชีของนักเรียนหรือผู้ปกครองแต่ละคน เราจะท�ำงานนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินจะหมดครับ
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๘
น
สพ. รักบ้านเกิดฉบับนี้ โอ ลั่ลล้า ขอ พาท่านผู้อ่านมาร�ำลึกถึงความหลัง กับต�ำนานการเปิดบ้านเปิดเมืองในอดีต กับห้องรับแขกห้องใหญ่แห่งแรกบนถนน พัฒนาการคูขวาง ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช บนถนนพัฒนาการคูขวาง ถนน เส้นคู่ขนานกับถนนราชด�ำเนินซึ่งปัจจุบัน แทบจะกลายเป็ น ถนนหลั ก ของเมื อ งอี ก หนึ่งเส้นไปแล้ว โรงแรมทวินโลตัส ครบ รอบ ๒๒ ปี ทีก่ ำ� ลังจะมาถึงในวันเปิดบริการ ครัง้ แรกอย่างเป็นทางการนัน้ คือวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ตลอดระยะเวลายีส่ บิ กว่าปีที่ผ่านมา โรงแรมแห่งนี้มีโอกาสได้ ต้อนรับแขกคนส�ำคัญทั้งในระดับเชื้อพระวงศ์, แขกคนส�ำคัญในประเทศ และต่าง ประเทศมากมาย นอกจากโรงแรมทวิ น โลตัส จะเป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่ที่มี จ�ำนวนพนักงานกว่าสีร่ อ้ ยชีวติ โรงแรมทวิน โลตัส ก็เติบโตมาพร้อมกับวัฒนธรรมองค์กร ที่ถูกปลูกสร้างให้มีจิตส�ำนึกเพื่อสาธารณะ มาโดยตลอด การคืน ก�ำไรให้กับ สังคมก็ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ได้กระท�ำมาอย่าง ต่อเนือ่ ง จากรุน่ พ่อมาสูล่ กู ความรุง่ เรืองใน อดีตที่ท่านประธาน ดร.บุญกิจ ลีเลิศพันธ์ และภรรยา ดร.สุนนั ทา ลีเลิศพันธ์ ได้มอง เห็นถึงความส�ำคัญของส�ำนึกรักบ้านเกิด จนกระทั่ ง ได้ ตั ด สิ น ใจก่ อ สร้ า งโครงการ ขนาดใหญ่ มู ล ค่ า พั น กว่ า ล้ า นบาทขึ้ น ที่ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชนี้ เพี ย งเพื่ อ จะ ทดแทนบุญคุณบ้านเกิดจาก อ.ปากพนัง เพือ่ ให้ลกู หลานผูใ้ ช้แรงงานมีตลาดแรงงาน รองรับ มีความเจริญในบ้านเกิดเมืองนอนที่ จะต้องเกิดขึน้ ตามมาในอนาคตอันใกล้ อีก ทั้งยังสามารถช่วยให้ลูกหลาน ไม่ต้องเดิน ทางทิ้งพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เข้าไปหางาน ท�ำถึงกรุงเทพมหานครฯ สามารถมีงานท�ำ ในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน และอยู่ร่วมกับ
ครอบครัวได้อย่างอบอุน่ มาบัดนี้ การบริหารงานตกทอดมา สู่รุ่นทายาท โดยคุณจักรพรรดิ์ ลีเลิศพันธ์ และ คุณกอรปกมล ลีเลิศพันธ์ ก็ยังคงยึด หลักการบริหารงานโรงแรม โดยมีการท�ำ กิจกรรมคืนก�ำไรกลับสู่สังคม เมื่อมีโอกาส อย่างสม�่ำเสมอ เช่นกัน การปรับเปลี่ยน และตกแต่งห้องพักใหม่ รองรับการก้าวผ่าน การให้บริการมากว่ายี่สิบปีมานี้ ก็แสดงถึง จุดยืนอันชัดเจน ที่จะท�ำให้ ห้องรับแขก ห้องแรกของโรงแรมทวินโลตัสยังคงรองรับ และตอบสนองการเข้าใช้บริการจากลูกค้า ได้อย่างต่อเนือ่ งตราบถึงปัจจุบนั ล็อบบีท้ สี่ วยหรู โอ่อา่ การจัดดอกไม้ ตกแต่งในทุกพืน้ ทีส่ ว่ นกลางภายในโรงแรม การอัญเชิญองค์พอ่ จตุคามรามเทพ มาวาง เด่นเป็นสง่าอยูก่ ลางล็อบบี้ เพือ่ ให้ผมู้ าเยือน จากต่างถิน่ ได้กราบไหว้บชู าตามความเชือ่
ความศรัทธาที่มีต่อองค์พ่อ ห้องพักสะอาด สบาย พร้อมสิง่ อ�ำนวยความสะดวก เหมาะ แก่ ก ารพั ก ผ่ อ น อุ ่ น ใจกั บ ลานจอดรถที่ กว้างขวาง, ห้องประชุมสัมมนา–จัดเลี้ยง ตั้งแต่ความจุ ๕๐-๑,๕๐๐ ท่าน, อาหาร เช้าแบบบุฟเฟ่ต์ (พร้อมมุมขนมจีน รสเด็ด) ณ ห้องอาหารปทุมมาศ, ห้องอาหารจีน “หนานจิง” กับหลากหลายเมนูความอร่อย ของอาหารจีนสไตล์กวางตุ้ง ที่ลูกค้ามาใช้ บริการแล้วก็ตอ้ งกลับมาอีก มีทงั้ อาหารโต๊ะ แชร์, ห้องส่วนตัว, ห้องวี.ไอ.พี. ไว้บริการ, ลานเบียร์ ส�ำหรับผู้ที่ต้องการดื่มด�่ำเสียง เพลง พร้อมเครื่องดื่มรสชาติละมุน แบบ สบายๆ กับมิตรสหายที่รู้ใจ, บัว สปา ชั้น ๔ กับการให้บริการนวดผ่อนคลาย นวด กระชับผิวหน้า ผิวกาย พร้อมการบ�ำบัดด้วย ศาสตร์ของเครื่องหอมนานาชนิด และที่ พลาดไม่ได้ ส�ำหรับผูร้ กั สุขภาพ คือ ฟิตเนส
เซ็นเตอร์ บริเวณชั้น ๔ ที่มีความพร้อม สมบูรณ์แบบ สระว่ายน�้ำ พร้อมบริการ สอนว่ายน�้ำจากครูผู้เชี่ยวชาญ, เครื่องออก ก�ำลังกายที่ทันสมัย และมีคุณภาพ พร้อม เทรนเนอร์ รวมถึง การสอนเต้นตามเทรนด์ ทีค่ นรุน่ ใหม่ชนื่ ชอบ Zumba Dance ทุกวัน จันทร์, พฤหัสบดี เวลา ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น. และวันศุกร์ เวลา ๑๗.๓๐-๑๘.๓๐ น. ครัง้ ละ ๑๐๐ บาท “มาเมืองคอน นอนทวิน โลตัส” แวะมาเมืองคอน ลองมานอน โรงแรม ทวิน โลตัสสิคะ สนใจเข้าใช้บริการ ติดต่อได้ค่ะที่ www.twinlotushotel.com/rsvn@ thettwinlotushotel.com โทรศัพท์ ๐๗๕-๓๒๓-๗๗๗ โทรสาร ๐๗๕-๓๒๓-๘๒๑
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้า ๑๙
หน้า ๒๐
ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๖๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐