วารสาร at nakhon ฉบับที่ 1 [16 กุมภาพันธ์ 15 มีนาคม 2558]

Page 1

ฉบับที่ 1 ประจ�ำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2558

1


2


วารสาร Is Am Are

editor’s note

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2558

วารสารแจกฟรีรายเดือน

ส�ำนักงาน 321/50 ถ.หลังวิทยาลัยเทคนิค ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 075-313218, 081-7373310

ผู้จัดท�ำ

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการ - การตลาด : ณัชญ์ คงคาไหว บรรณาธิการภาพ : สายันต์ ยรรยงนิเวศน์ กองบรรณาธิการ : ธวัช ฤทธิโชติ, สรวิทย์ จิตต์มนัส, บูณณภัษ คงคาไหว ออกแบบรูปเล่ม : อารี มุทุกันต์

4.... Is Am Are@nakhon 5....Biz News 7....Nakhon Report 8....Cover story

13....คนบนปก 14....Life 17....Picture TalK 18....Treasure & Magical 19....Art & Culture 20....Short Story 22....Food & Travel 24....Dhumma Sabai-Jai 25....Child Care 26....Playground

@Nakhon วารสารแจกฟรี (Free Copy) ฉบับใหม่ล่าสุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช เปรียบเหมือนหน้าต่างประตูหรือระเบียงเมือง ให้คนใกล้บ้าน แขกต่างเมือง ได้สังเกตดู หรือ เดินผ่านเข้ามานั่งพัก แล้วเปิดอ่านเรื่องราวต่างๆ พอได้รับรู้เรื่องราวก�ำลังเป็นกระแสในเมืองที่ มีเจดีย์ยอดทอง ข่าวสาร รายงานตามสถานการณ์ เรื่องน่ารู้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศรัทธาและความเชื่อ ย่างหน้าร้อน บางคนอาจถามหาแหล่งพักใจให้คลายรุ่มร้อน น�้ำตกเล็กๆ เต็มไปด้วย ใบไม้ที่น�ำมาประกอบ คือ ‘น�้ำตกหนานโจน’ อยู ่ ที่ ล านสกาใน อ� ำ เภอลานสกา จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช ไม่ค่อยมีใครรู้จักกันมาก จึง ขออนุญาต ‘ยุคคล จิตส�ำรวย’ ช่างภาพและ นั ก จั ด สวนมื อ ดี ม าแนะน� ำ เผื่ อ บางคนสนใจ แวะเข้าไปเที่ยวชม ขอบคุณ สมเกียรติ ประดู่ หรือ ‘เกียรติ นคร’ ศิษย์เก่าคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเลงพระ นักเลงกวี คอลัมนิสต์ พระเครื่องในหนังสือพิมพ์ ‘ภาคใต้’ ให้เกียรติเปิดคอลัมน์ ‘Treasure & Magical’ น�ำเหรียญ พระบรมธาตุตรีศูลอันล�้ำเลอค่าพร้อมบทสดุดีมอบให้ตีพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ นี่คือ @nakhon ที่แตกต่างออกไป ป๋อง โฟโต้ ช่างภาพมืออาชีพขี่เวสป้าลายหมาจุดตระเวนเก็บภาพสวยๆ มาก�ำนัล ทั้งงานสังคมและภาพตรุษจีนในอีกมุมมองที่งดงาม ขอบคุณภิญโญ เพชรแก้ว อาจารย์ นักดนตรี ช่างภาพและนักปั่นจักรยาน ที่มอบภาพถ่ายประกอบรายงานเรื่อง ‘นครเมืองปั่น’ ขอบคุณ ผู ้ อุปการคุ ณ ผู ้ เ มตตาสนั บสนุ น ค่ า จั ดพิ มพ์ แ ละโฆษณา ทั้ ง ๆ ที่ยัง ไม่เ ห็น โฉมหน้าหนังสือเพราะตระหนักว่าหนังสือมีความจ�ำเป็นและเป็นสื่อสร้างสังคมการอ่านอย่าง แท้จริง โปรดทราบว่าท่านได้มสี ว่ นสร้างสรรค์สงั คมการอ่านและสร้าง ภาพความเจริญให้จงั หวัดนครศรีธรรมราชให้ปรากฏด้วยอย่างส�ำคัญ จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร

บรรณาธิการที่ปรึกษา

3


Flash News = ข่าวสังคมขนาดกระชับ รวมสเตตัสที่เป็นประโยชน์จากเฟซบุ๊ค ของบุคคลต่างๆ nakhon ขออนุญาต น�ำถ่ายทอดอย่างเห็นความส�ำคัญ ขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้

[วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุฯ] 10 ก.พ.58 สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะ ใหญ่หนตะวันออก ปฏิบัติหน้าที่แทน เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตรแก่พระ สงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ 125 รูป [ศาลากลาง] 1-4 มี.ค. จังหวัดนครฯ จัดงาน ‘มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติ 2558’ มีกิจกรรมสวดมนต์ ฟังธรรม นิทรรศการ ‘ต้นธารสยาม - ลังกาวงศ์’ กวนข้าวมธุปายาส พิธี ‘4 มีนา 58’ (วันมาฆบูชา) ร่วมตักบาตรที่ลานโพธิ์ วัดพระ มหาธาตุฯ บ่ายๆ แห่ผ้าพระบฏพระราชทานฯ จากศาลาประดู่หกสู่วัดพระมหาธาตุฯ และ ค�่ำๆ ร่วมเวียนเทียน

คืบหน้าไปเรื่อยๆ พระธาตุเจดีย์วัดทอง ท�ำนุ (วัดหน้าเขา) ต.เขาพระ อ.พิปูน จ.นครฯ ที่สร้างด้วย แรงศรัทธา วัดไม่ได้ เรี่ยไร สนใจสร้างบุญ ต้องไปที่วัด

[เฟซฯ ดร.โจ ทีมสมนึก] 5 ก.พ.2558 ดร.กณพ เกตุชาติ ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท โอซาก้าแก๊ส (ญี่ปุ่น) เพื่อพัฒนาสถานี แก๊สต้นแบบส�ำหรับเติมรถยนต์ ที่ใช้น�้ำเสีย ผสมขี้วัวและหญ้าหมักให้เกิดแก๊ส โดย มีตัวแทนจาก ปตท.มาร่วมด้วย

[กรุงเทพฯ] หลังได้รับรางวัล เรื่องสั้นดีเด่นจากสมาคมภาษา และหนังสือแห่งประเทศไทย ปี 2557 จเด็จ ก�ำจรเดช นักเขียนซีไรต์ ปี 2555 เตรียมออกนวนิยายปรับปรุง ใหม่ ‘ประเทศมือสอง’

[เฟซฯ : Chukiat Sutin] อ�ำนวย นวลอนงค์ ผอ.วิทยาลัย ช่างศิลป์นครศรีธรรมราช (กลาง-เสื้อฟ้า) ประชุมอาจารย์และ ศิษย์เก่า เตรียมจัดงาน ‘คืนสู่เหย้า’ ราวๆ 9 -10 เม.ย. สายลม Digital ช่วยหอบข่าวนี้ไปด้วย

[เฟซฯ: Ladda Prasan] งานประชุมสัมมนา ระดับชาติ ‘เทคโนโลยีภาคใต้วิจัย ครั้งที่ 5’ (23 ม.ค. 58) กับพิธีประสาทปริญญาบัตร (5 ก.พ.58) ลัดดา ประสาร กับพี่ๆ น้องๆ ทีมสื่อสารองค์กรวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT.) ต่างๆ ยินดีปรีดา

4


ห้างสหไทยพลาซ่า

ห้างโรบินสัน

ตลาดหัวอิ ฐ

FIND US ON : SEE KUANG BJ DIAMOND GOLD PAGE เพชรทองซีกวง WWW.SEEKUANG.COM SEEKUANG BJ BOONADA 088-761-2451 BOONYPALIKA

ตลาดท่าม้า

แยกคูขวางติ ดปัม๊ เชลล์

ถ.เนรมิ ต ท่าวัง

ตลาดเสาร์อาทิ ตย์

Jewels Of Nakhon Si Thammarat

Diamond & Gold 1. Naeramit Road (Tawang) Diamond 2. Robinson 3. Sahathai Plaza Gold 4. Ta Ma 5. Hau It 6. Weekend Market 7. Ku Kwang (Near Shell Gas Station) On-line Shop 8. www.facebook.com/BOONADA Gold (HTY) 9. Chuan Heng Hat Yai

พิเศษสุด!

เพียงน�ำวารสาร Is Am Are @Nakhon ฉบับนี้ ทีร่ า้ น 5 ท�ำเลดังกล่าว รับทันที 30% ค่าก�ำเหน็จทองซีกวงรูปพรรณ

5


สุราษฎร์ปิยะ เปิดศูนย์จ�ำหน่ายและบริการ นิสสันนครศรีธรรมราช เมือ่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 คุณศุภพร ล่องดุรยิ างค์ ประธาน กรรมการ บริษัทในเครือปิยะกรุ๊ป ถือฤกษ์ดีเปิดศูนย์จ�ำหน่ายและ บริการ นิสสันนครศรีฯ (สุราษฎร์ปยิ ะ สาขานครศรีฯ) ณ ส�ำนักงาน ถนนนครศรีฯ-ร่อนพิบูลย์ อ.พระพรหม จ.นครศรีฯ ผู้มีเกียรติร่วม แสดงความยินดีหลายร้อยคนและร่วมปล่อยคาราวานรถนิสสัน รุน่ ใหม่กว่า 25 คัน

คุณศุภพร ล่ องดุริยางค์ ประธานกรรมการ บริษัทในเครือปิยะกรุ๊ป

‘ได้รับความไว้วางใจจาก บริ ษัท นิ สสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จ� ำกัด ให้ด�ำเนิ นธุรกิ จศูนย์ จ�ำหน่าย รถยนต์ นิสสัน และศูนย์ บริ การที ่ได้มาตรฐาน โดย น�ำเทคโนโลยี ของรถยนต์ นิสสันที ่ทนั สมัย และได้รับ ความนิ ยมในต่างประเทศมาให้บริ การในจังหวัดนคร ศรี ฯ ซึ่ งถื อเป็ นมิ ติใหม่และทางเลื อกที ส่ ามารถรับรอง ความพึงใจ และความต้องการของประชาชนในจังหวัดนครศรี ฯ และจังหวัดใกล้เคียง บ.สุราษฎร์ ปิยะ และ บ.นิ สสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จ� ำกัด ยิ นดี ร่วมสร้างสรรค์ สิ่ งดีๆ ร่ วมกับชาวนครศรี ฯ ในวาระต่อไป’

นายศิริพฒ ั พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ ร่วมแสดงความยินดี ‘ตลอดชี วิตรับราชการก็ใช้แต่นิสสัน’

6

คุณประพัฒน์ เชยชม

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ‘โชว์ รูมนิ สสันนครศรี ฯ ของ บริ ษัท สุราษฎร์ ปิยะ จ� ำกัด เป็ นโชว์รูมที ่ 2 นครศรี ฯเป็ น จั ง หวัด ใหญ่ อยู่ ใ นระดับ ท็อป 10 ในการจดทะเบี ยน รถยนต์ ตอนแรกๆ เป็ นที ่ ว่ างดูโล่ งๆ พอเริ่ มก่ อสร้ าง ห้า งเซ็ น ทรั ล มาลงข้ า งๆ ก็ ถื อ ว่ า คุ ณ ศุ ภ พรนอกจาก จะเก่ งแล้วยังเฮงด้วย เป็ นการเลื อกท� ำเลที ่ถูกต้อง นิ สสันเป็ นแบรนด์ ของญี ่ป่นุ ที ่จ�ำหน่ ายรถยนต์ เป็ น อันดับ 2 ของโลก ปี ที ่ผ่านมานิ สสันแนะน� ำรถยนต์ รุ่นใหม่ๆ 10 รุ่น บ.สุราษฎร์ ปิยะตัง้ ใจบริ การลูกค้าใน จังหวังนครศรี ฯ และพืน้ ที ใ่ กล้เคี ยง ขอให้สรุ าษฎร์ ปิ ยะท� ำ แบรนด์ นิ ส สัน ประทับ อยู่ ใ นใจของลู ก ค้า และขยายสาขาออกไปเรื ่อยๆ’


Nakhon Report

โดย...กองบรรณาธิการ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558 นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรม ศิ ล ปากร ประชุ ม ร่ ว มกั บ นายพี ร ะศั ก ดิ์ หิ น เมื อ งเก่ า ผู ้ ว ่ า ราชการจังหวัดนครฯ เรื่องการเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก ปัญหาคราบสนิมองค์พระบรม ธาตุฯ แนวทางแก้ไข และการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่วัด พระมหาธาตุฯ นายบวรเวท กล่าวว่า การจัดท�ำเอกสารการขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลกฉบับสมบูรณ์ (nomination dossier) ต้องทันระยะ เวลาที่ศูนย์มรดกโลกก�ำหนด หากไม่ทันต้องเลื่อนไปส่งปี 2559 เนื้อหาก็ต้องตรงตามแบบฟอร์มที่ก�ำหนดมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน เช่น ใบเสมา ภาพต่างๆ เป็นต้น การเขียนจะบรรยายตามความ รู้สึกไม่ได้ ส่วนเกณฑ์คัดสรร (criteria) ต้องเลือกที่โดดเด่นที่สุด เพียงข้อหนึ่งก็ได้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเซ็นยินยอม ในการเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มดู แ ลบ� ำ รุ ง รั ก ษาการปฏิ บั ติ ต ามกฎระเบี ย บ ด้วย เอกสารต้องสมบูรณ์ครบ 3 คือ ฉบับภาษาไทย, ฉบับภาษาอังกฤษ และหนั ง สื อ สมุ ด ภาพประกอบการ พิจารณา ผศ.ฉั ต รชั ย ศุ ก ระกาญจน์ ประธานคณะกรรมการฝ่ า ย วิชาการ กล่าวว่า จังหวัดนครฯเลือกหลักเกณฑ์ข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 6 ในการน�ำเสนอฯ และการจัดท�ำเอกสารจะทันเวลา ปั ญ หาองค์ พ ระบรมธาตุ ฯ เป็ น คราบสนิ ม นายบวรเวท เห็นชอบให้ตั้งนั่งร้านตรวจสอบหาสาเหตุ ซึ่งส่วนของปลียอด เหนือกลีบบัวขึ้นไปด้านในมีแผ่นตะกั่วและไฟเบอร์กลาสหุ้มโดย มีแผ่นทองค�ำหุ้มทับอยู่รอบนอก ไม่มีโลหะที่เป็นสนิม แต่กลีบ บัวคว�่ำบัวหงายมีโครงเหล็กสแตนเลสรัด และมีปูนโบกทับ ซึ่ง จะเป็นสแตนเลสแท้หรือไม่ต้องตรวจดู คิดว่าคราบสนิมเกิดจาก โครงสร้างเหล็กดังกล่าว กรมศิ ล ปากรจะส่ง ช่างสิบหมู่ ชุดใหญ่, นัก วิ ทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ และวิศวกรมาตรวจสอบ ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บูรณะแบบไหน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด หากจ�ำเป็นต้อง บูรณะก็ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ต้องถอดกลีบบัวค�่ำบัว หงายออกมาเก็บรักษาไว้ แล้วเอาโครงเหล็กดังกล่าวออก และ ติดตั้งโครงเหล็กที่เป็นสแตนเลสแท้ หรือวัสดุที่ไม่เป็นสนิมใหม่

อีกครั้ง และต้องท�ำร่องไม่ให้น�้ำขังภายใน แล้วเอาแผ่นทองค�ำ กลีบบัวคว�่ำบัวหงายปิดทับไว้ชั้นนอกสุดเหมือนเดิม การบูรณะ องค์พระบรมธาตุฯ ไม่ส่งผลกระทบ ต่อการน�ำเสนอขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก การซ่อมแซมบูรณะโบราณสถานเป็นเรื่องปกติ ส�ำหรับการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่วัดพระมหาธาตุฯ เพื่อหาอายุของพระบรมธาตุนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะการขุดเจาะ แบบ Thermoluminescence ที่มีค่าบวก ลบในการค�ำนวณ ซึ่งอาจจะท�ำให้อายุของ โบราณสถานคลาดเคลื่อน บางครั้งอาจ จะท�ำให้โบราณสถานมีอายุน้อยลงถึง 50 ปี หรือ 100 ปี จึงขอให้ใช้วิธีศึกษาเปรียบ เทียบ (comparative education) แทน นายพี ร ะศั ก ดิ์ หินเมืองเก่า กล่าวว่าขอบคุณอธิบดีกรม ศิลปากรที่มาให้ความชัดเจนทั้งในเรื่องต่างๆ ที่ชาวนครให้ความ สนใจ ซึ่งจากการที่อธิบดีเห็นชอบให้ตั้งนั่งร้านตรวจสอบสาเหตุ เพื่อหาวิธีการแก้ไข หรือบูรณะ โดยจะใช้งบประมาณ จากกรม ศิลปากร, จังหวัดนครฯ และจากวัดพระมหาธาตุฯ ส่วนจะต้องใช้ จริงเท่าไรขอผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นไปตรวจสอบก่อน นั่งร้านควรติดตั้ง ในเวลาที่เหมาะสม คือเดือนเมษายน 2558 ไปเสร็จสิ้นภายใน เดือนสิงหาคม 2558 ให้ทันสมโภชในช่วงงานเทศกาลบุญสารท เดือนสิบประจ�ำปี 2558 เมื่อกลางเดือนมกราคม 2558 นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าฯ นครฯ, อาณัติ บ�ำรุงวงศ์ ผอ.ส�ำนักศิลปากรที่ 14 (นครฯ) น�ำผู้เชี่ยวชาญ จากกรมศิลปากรส่องกล้องดูบัวคว�่ำบัวหงายฐานปลียอด ทองค�ำหาเหตุเกิดคราบสนิม จังหวัดเสนอของบฯของกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตอนบน ปีงบประมาณ 2559 จ�ำนวน 30 ล้าน บาทส�ำหรับบูรณะ

7


cover story

เรื่อง : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร

ภาพ : ภิญโญ เพชรแก้ว

พอรับเป็นที่ปรึกษาวารสารแจกฟรี (Free Copy) @nakhon บรรณาธิการ เอ่ ย อย่ า งสุ ภ าพว่ า ช่ ว ยเขี ย นเรื่ อ งปั ่ น จั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพที่ ก� ำ ลั ง บู ม ใน เมืองนครเอาฤกษ์สักชิ้น บอกไปว่าตอนกลับมาอยู่เมืองนครใหม่ๆ ปี 2542 ผมลองปั่นดูบ้าง แต่พอถูกสุนัขไล่งับน่องก็กลัวจนเลิกปั่น (ไม่เคยถูกสุนัขกัด ไม่รู้หรอก) ได้แต่นั่งดู ตอนอยู่เมืองกรุงเคยออกแบบจัดท�ำนิตยสารเกี่ยวกับ กีฬา GTDR (Golf, Tennis, Diving & Racing) โด่งดังอยู่พักหนึ่ง มาล้มเลิก เอาตอนเศรษฐกิจตกเหวปี 2540 เคยค้นคว้าเขียนเรื่องเมาเท่นไบค์ที่ก�ำลังเห่อ อยู่บ้าง พอเลิกก็ลืม

8

ภาพ : ป๋อง โฟโต้


รื่องนักปั่นถูกสุนัขไล่กัดเป็นของธรรมดา คนใจไม่เสาะย่อมไปต่อได้ หรือเปลี่ยน เส้นทาง ผมเห็นนักปั่นที่รักสุขภาพ รักการ ออกก�ำลังและนันทนาการยังปั่นกันอยู่ นับ วันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ร้านขายจักรยานทั้งใหม่ และจักรยานมือสองเพิ่มขึ้น ย้ อ นกลั บ ไปวั น ที่ 26 มกราคม 2552 ผมถู ก น้ อ งๆ ชมรมรั ก ษ์ ป่ า ต้ น น�้ ำ ละอาย อ.ฉวาง จ.นครฯ มีประภาพร ยันต์ตระกูล, ศักษ์นรินทร์ ไชยฤกษ์, ใสทิพย์ ศรี สุ ก ใส กั บ เพื่ อ นๆ และชมรมจั ก รยาน เพื่ อ สุ ข ภาพคลองจั น ดี ที่ ร ่ ว มจั ด แข่ ง ขั น จักรยานเสือภูเขา ‘ละอายแชลเล้นจ์ 2009’ ชิ ง ถ้ ว ยพระราชทานทู ล กระหม่ อ มหญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา ชั ก ชวนไปสั ง เกตการณ์การจัดท�ำเส้นทางแข่งบนเชิงเขาที่ ท้าทาย ต่อมาผมน�ำเรื่องราวไปถ่ายทอด ไว้ใน ‘ผู้จัดการรายวัน’ (ค้นกูเกิลโดยใช้ค�ำ ว่า ‘ละอายแชลเล้นจ์ 2009’ อ่านได้) งานนี้ นักแข่งเสือภูเขาจากปัตตานี สงขลา กระบี่ ตรั ง ภู เ ก็ ต ประจวบคี รี ขั น ธ์ และเจ้ า ถิ่ น มาแข่งขันราวๆ 150 คน สุรพจน์ ชี้เจริญ ประธานสมาพันธ์เสือภูเขาภาคใต้ (ชมรม คลองแงะเสือภูเขา) มาก�ำกับการแข่งขันให้ เป็นไปอย่างถูกกติกาและยุติธรรมโดยไม่ เอาเงินสักบาท ขณะนั้ น สุ ร พจน์ เ ป็ น ประธานดู แ ล การแข่งขันในภาคใต้ 14 จังหวัด ซึ่งมีการ แข่ ง ขั น ต่ อ ปี 15 รายการ ปั จ จุ บั น อาจมี มากกว่า นักแข่งก็น่าจะเพิ่มขึ้นถึง 300400 คน เล่าข้ามไปบ้าง... เช้ามืดวันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2555 ผมนั ด ภิ ญ โญ เพชรแก้ ว , กิ ต ติ ศั ก ดิ์ เชียรศรี, นิรัตน์ แก้วกุล, มีสุข ปานอ่อน พร้อมทีมปั่น และนัดกลุ่มสุทธิ สุทธมุสิก,

“ต้องชื่นชม คนที่เขียน สโลแกน ว่ากีฬาเป็น ยาวิเศษ... ภิญโญ เพชรแก้ว

พ.ต.ท.สุ วิ ท ย์ จอนเอี ย ด, เจริ ญ เกี ย รติ วั ฒ นากร เจ้ า ของยุ ้ ย ล้ ง โฮมเอ็ ก ซ์ เ พิ ร ์ ท และเพื่อนๆ ณ บริเวณหน้าหอประชุมเมือง ภายในสวนสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) เพื่อพูดคุยน� ำเรื่องราวความ เคลื่อนไหวในแวดวงจักรยานเพื่อสุขภาพ มาตีพิมพ์ใน ‘รักบ้านเกิด’ ฉบับเมษายน 2555 อยากเรี ย นว่ า ‘รั ก บ้ า นเกิ ด ’ เป็ น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเมืองนครฉบับแรกที่ ท�ำรายงานเรื่องปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพใน เมืองนคร ภิญโญ (วงด้ามขวาน) เล่าว่าปลาย ปี 2553 เขาป่ ว ยไข้ สุ ข ภาพไม่ แ ข็ ง แรง ร่ า งกายอ่ อ นเพลี ย เพราะเล่ น ดนตรี ใ นที่ ที่มีก ารสู บบุ หรี่ แ ละดื่ มบ้ า ง จึ ง หั นมาปั ่ น

เสือภูเขาบนถนนใกล้บ้าน และได้เข้าร่วม ชมรมจักรยานนครฯ ที่กิตติศักดิ์ เชียรศรี เป็นประธาน ภิญโญบอกว่า “ต้องชื่นชม คนที่เขียนสโลแกนว่ากีฬาเป็นยาวิเศษ ผม หายป่วยร่างกายกลับแข็งแรงโดยไม่ต้อง กินยา” ทุกวันนี้ภิญโญกับเพื่อนนักปั่นกลุ่ม ใหญ่ ยั ง จั ด กิ จ กรรมปั ่ น ไปตามเส้ น ทาง ต่างๆ โดยนัดรวมตัวกันหน้าห้างโรบินสัน โอเชี่ยน ปั่นตามถนนอ้อมค่าย ผ่านตลาด ท่ า แพ ตรงไปยั ง ศาลาบางปู เลี้ยว ...ผมหายป่วย ซ้ า ยที่ ส ามแยก ร่างกายกลับ ศาลาบางปู ตรง เ ข ้ า ส น า ม บิ น

แข็งแรงโดย ไม่ต้องกินยา”

< ภาพ : ทีส่ ะพานตัวที ปากนคร ภิญโญ เพชรแก้ว

9


บางวันปั่นไปจิบกาแฟแลทะเลที่อ่าวปาก นคร ปั ่ น ไปพบเพื่ อ น หรื อ ปั ่ น ทางไกล เข้ากรุ ง เทพฯ ไปร่ ว มเฉลิมฉลองเนื่ องใน วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง มีพระชนมายุ 84 พรรษา มีสุข ปานอ่อน กล่าวว่า ปั่นจักรยานช่วยลดการใช้พลังงาน ฟอสซิล ลดโลกร้อน และเข้าร่วมรณรงค์ปั่น ในวัน car free day กับองค์กรอื่นๆ เช่น ร่วมโครงการปั่นจักรยานเพื่อน้องกับดีแทค “ทางดีแทคจะจ่ายเงินให้เรากิโลเมตรละ สิบบาท โดยเอาจ�ำนวนนักปั่นที่เข้าร่วมคูณ กับจ�ำนวนกิโลเมตรที่ปั่น ได้เงินมาเท่าไร เราน�ำไปซื้อรถจักรยานให้นักเรียนที่ยากจน ในชนบทซึ่งเราไปส�ำรวจมาก่อน ใช้ปั่นไป เรียนหนังสือ เด็กๆ ดีใจกันมาก” กลุ่มของสุทธิ สุทธมุสิก มี 7-8 คน จะตื่ น ตั้ ง แต่ 05.00 น. นั ด กั น ละแวก สะพานยาวหรือสนามกีฬา บางวันปั่นไป พรหมคีรีเลี้ยวกลับมาต�ำบลอินคีรีมาออก ถนนสายที่ทะลุสนามบิน บางวันปั่นไปคีรีวง พ.ต.ท.สุวิทย์เคยเป็นความดันโลหิตสูง หลังปั่นจักรยานร่างกายแข็งแรงเป็นปกติดี “ไม่มียาอะไรดีกว่าออกก�ำลังกาย” ธิฐิกานญ์ มณีสงฆ์ อดีตข้าราชการ ประจ� ำ ส� ำ นั ก งานเกษตรอ� ำ เภอลานสกา กล่าวถึงการปั่นจักรยานว่า-- “ได้ก�ำลัง ได้

10

สังคมที่ดี เห็นคนปั่นจักรยานรู้สึกเป็นพวก เดียวกัน” (ข้อมูลจากรักบ้านเกิด) กิจกรรมแข่งขันที่น่าทึ่งที่สุดในเมือง นครเป็ น รายการที่ ก องทั พ ภาคที่ 4 ร่ ว ม กับหลายองค์กรจัดการแข่งขัน ‘จักรยาน ทางไกลนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 Tour of Srivichai’ เมื่ อ 22 มิ ถุ น ายน 2557 ณ กองทั พ ภาคที่ 4 ค่ า ยวชิ ร าวุ ธ ที่ ป รึ ก ษา แม่ทัพภาคที่ 4 พลตรีอภิไทย สว่างภพ เป็น ประธานเปิด มีนักปั่นจาก 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมถึง 2,150 คน เริ่มสตาร์ทจากกองทั พ ภาคที่ 4 ไปอ� ำ เภอลานสกาที่ อ ากาศ ดี ที่ สุ ด ในประเทศไทย และการแข่ ง ขั น

จักรยานของ ม.ราชภัฏนครฯ ที่จัดติดต่อกัน มาหลายปี ผมถาม ณรงค์ ธีระกุล ผู้จัดการมีดี ที วี แ ละวิ ท ยุ ที่ ป ลี ก ตั ว จากไมโครโฟนมา ปั ่ นว่ า เหตุ ใ ดการปั ่ นในเมื องนครเติบโต นักข่าวรุ่นใหญ่ร่ายยาว “มีการสร้างกลุ่ม ขึ้นมาหลายกลุ่ม เช่น ผมชวน นนทิวรรธน์ นนทภักดิ์ ลองปั่นกลางคืนจากพระธาตุฯ ยามค�่ ำ มาสองสามรอบ นนท์ เ ค้ าไปชวน วิ ท ยา แก้ ว ภราดั ย กั บ นริศา อดิเทพวรพันธ์ มา ลองด้ ว ย ก็ เ ลยคิ ด ชวน คนอื่นๆ มาร่วม มีค�ำถาม มากมายใครจะมาร่ ว ม เวลาตอนนั้ น เค้ า นอนกั น แล้ ว แม่ บ ้ า นติ ด ละครน่ า จะเลื่ อ นมาเร็ ว หน่ อ ย แต่ พ อยื น ยั น ว่ า รถยั ง พลุ ก พล่ า น ตอนหั ว ค�่ ำ เวลานี้ น ่ า จะเหมาะ เมื่ อ คื น ก็ มากั น เยอะ กว่ า 100 คั น จากปากพนั ง สระแก้ ว จั น ดี ในเมื อ ง ตั ว แทนชมรม ชาวหลาหมอปาน และอื่นๆ” ผมสื บ ค้ น คร่ า วๆ พบว่ า เกิ ด ชมรม หรื อ กลุ ่ ม ปั ่ น ในเมื อ งนครเกิ ด ขึ้ น จ� ำ นวน มาก เช่น ชมรมจักรยานร่อนพิบูลย์, ชมรม จั ก รยานราชพฤกษ์ , ชมรมจั ก รยาน อ.นาบอน, ชมรมจักรยาน fs จันดี, ชมรม จักรยาน อ.สิชล, ร้านอมรไบค์ท่าศาลา, นบพิต�ำคลับ, ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ

“เมื่อเริ่มขึ้นแล้วทีนี้จะไปทางไหนต่อ เป็น แฟชั่นมั้ย เห่อไปตามกระแสมั้ย. การเมือง ทางราชการมาครอบมั้ย ผมยังไม่ทราบ” ณรงค์ ธีระกุล


ภาพ : ป๋อง โฟโต้

อ�ำเภอขนอม ชมรมที่แข็งแกร่งมากเห็นจะ เป็นชมรมจักรยานทุ่งสงที่มีคณะกรรมการ ถึง 28 คน น�ำโดย ปรีชา นาคฤทธิ์, ทพ.ทวี จั น ทามงคล, วั ฒ นา ว่ อ งวานิ ช , สุ ร ชั ย ค�ำแก้ว, ทวีพร ทรัพย์ธนทวี, โสภณ นิยม ชาติ, อนุรักษ์ หวังทวีลาภ, ดารณี เรืองประพั น ธ์ , พ.ท.สุ เ ทพ ศรี ใ ส, ด.ต.สั จ จะ เหมทานนท์, นพ.ราชกุมาร ซาร์นาถ เป็นต้น การปั ่ น ช่ ว งเช้ า มื ด มี อั น ตราย ส่ ว น ใหญ่เกิดกับผู้อาวุโสที่ปั่นไปตามถนนใหญ่ บางครั้งเสี่ยงสุนัขไล่กัด แต่ยังไม่เท่าจักรยานยนต์ที่ขี่สวนเลน มีสุข ปานอ่อน เล่า ว่า “บางครั้งเราไม่ทันสังเกต ไม่คิดว่าคนขี่ จักรยานยนต์จะขี่พรวดพราดสวนทางตรง มาที่เรา--อันตรายมาก อีกอย่าง..ที่อยาก ขอร้องคือรถยนต์ที่ขับบนถนน ขออย่ามอง ว่าจักรยานเป็นสิ่งกีดขวางหรือน่าร�ำคาญ อยากให้เอือ้ เฟือ้ พืน้ ทีร่ มิ ถนนให้ดว้ ย” ถามนั ก ปั ่ น ว่ า ต้ อ งการให้ เ ทศบาล หรื อ จั ง หวั ด จั ด ท� ำ ทางจั ก รยานหรื อ เปล่ า ทุกคนตอบว่าต้องการ “อยากให้จังหวัดท�ำเส้นทางส�ำหรับ จักรยาน ขอพื้นที่ริมถนนใหญ่กว้างเมตร กว่าๆ ถ้าท�ำเชื่อมกันได้ตลอดยิ่งดี” นี่คือค�ำขอของนักปั่นเมื่อ 2 ปีก่อน

สองปี ต ่ อ มา เมื่ อ ท่ า นพี ร ะศั ก ดิ์ หิ น เมืองเก่า มาด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดนครฯ ค�ำขอของนักปั่นพุ่งเข้าหู พ่อเมืองจึงตอบสนองความต้องการ เมื่ อ วั น ที่ 19 ตุ ล าคม 2557 ท่ า น พี ร ะศั ก ดิ์ เป็ น ประธานเปิ ด ถนนจั ก รยาน แห่ ง แรกของจั ง หวั ด นครฯ (Bike Lane) และเปิดตัว ‘นครเมืองปั่น’ ตามนโยบาย จังหวัดน�ำร่อง 10 จังหวัดของประเทศไทย ที่ ต ้ อ งจั ด ให้ มี ถ นนจั ก รยานให้ ป ระชาชน ใช้ปั่นจักรยานออก “ได้ก�ำลัง ก� ำ ลั ง กายและกิ จ ได้สังคมที่ดี กรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ ง จังหวัดนครฯ เลือก เห็นคน

สร้ า ง ‘ไบค์ เ ลน’ บนถนนเลี่ ย งเมื อ งของ กรมทางหลวงชนบทสร้างคู่ขนานกับทาง รถไฟ ระหว่ า ง ต.โพธิ์ เ สด็ จ อ.เมื อ ง ไป ต.นาพรุ อ.พระพรหม (ถนน อบจ.) ระยะ ทางประมาณ 6.3 กิโลเมตร ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ น�ำทีมปั่นร่วมกับอดีตรัฐมนตรีวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นริศา อดิเทพวรพันธ์ และ สมาชิ ก ชมรมจั ก รยานนครศรี ธ รรมราช และชมรมจักรยานต่างๆ กว่า 100 คัน ณรงค์ ธีระกุล ให้ความเห็นว่า “เมื่อ เริ่มขึ้นแล้วทีนี้จะไปทางไหนต่อ เป็นแฟชั่น มั้ย เห่อไปตามกระแสมั้ย การเมือง ทาง ราชการมาครอบมั้ย ผมยังไม่ทราบ เพียง แต่ตอนนี้สร้างกันหลายกลุ่ม สะดวกเวลา

ปั่นจักรยาน รู้สึกเป็นพวก เดียวกัน” ธิฐิกานญ์ มณีสงฆ์

ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ปั่นเปิดไบท์เลน ภาพ : สทท.ทุ่งสง

11


ไหน ย้ายไปปั่นร่วมกลุ่มต่างๆ ตามเวลา เดิ ม ของแต่ ล ะกลุ ่ ม ได้ เส้ น ทางสายเดิ ม เปลี่ยนมุมมองใหม่ ตอนนี้คิดได้เท่านี้” แม้มี ‘ไบค์เลน’ ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย นั ก ปั ่ น ถู ก จี้ ป ล้ น ก็ เ คยเกิ ด ถู ก รถยนต์ ช น บาดเจ็บก็มี เมื่อธันวาคม 2557 รถยนต์ชน วัณโณ มุสิก (ป๋าโน) ได้รับบาดเจ็บสาหัส และหนีไป เพื่อนๆ ในชมรมลงขันตั้งรางวัล น�ำจับ 10,000 บาท แก่ผู้แจ้งเบาะแสจน สามารถด�ำเนินคดีในระยะเวลา 1 เดือน นับ แต่วันที่ 20 ธันวาคมถึงวันที่ 20 มกราคม 2558 เงียบกริบ ไม่มีเบาะแส-- เพื่อนนักปั่น น�ำโดยสมชัย ไชย-โยธา จึงน�ำเงิน 29,700 บาท ไปมอบให้ เ ป็ น ค่ า รั ก ษาพยาบาลที่ ศาลาหมอปาน อันเป็นเครื่องแสดงความ

12

กลมเกลียวและจิตส�ำนึกที่งดงาม ความไม่ปลอดภัยมาจากตนเองและ มาจากคนอื่ น ๆ การเลื อ กจั ก รยานและ อุ ป กรณ์ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ช ่ ว ยให้ ก ารปั ่ น ปลอดภัย รัฐกร นิจก�ำจร เจ้าของร้าน ABike ถนนพะเนียด ปั่นเสือภูเขานานกว่า 12 ปี เคยเป็ น แชมป์ เ มาเท่ น ไบค์ ค รอส คันทรี่ (สนามคลองแงะ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ตัวเมืองนครมีนักปั่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ทุกคน ต้องการออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ เยาวชน ก็มุ่งเอาดีทางการแข่งขัน เขาแนะน�ำว่าผู้ขี่ จะต้องเลือกรถที่มีความสูงพอดีกับร่างกาย และรู้จักใช้เกียร์ที่เหมาะสม ผมคงไม่ ต ้ อ งแนะน� ำ ว่ า กรุ ณ าสวม หมวกนิรภัย รองเท้า และเสื้อผ้าที่เหมาะสม ด้วยเช่นกัน ส่วนราคาจักรยานไม่ขอแนะน�ำ มีเงินมากก็ซื้อของแพงๆ ดีๆ มีน้อยก็เอา

ให้ เ หมาะแก่ ฐ านะและเป้ า หมายที่ ว าง ไว้ จะเท่ตามกระแสหรือเพื่อสุขภาพ มีรถ ราคาแสนแต่นานๆ ปั่นครั้งก็ไม่คุ้ม สู้ราคา 4,000-5,000 บาทที่ปั่นทุกวันไม่ได้ มีรถ ราคาแสน แต่ปั่นด้วยนิสัยแย่ๆ ตั้งขบวน เข้ า ไปยึ ด เลนรถยนต์ ใ ห้ ค นหมั่ น ไส้ การ เกื้ อ กู ล กั น บนท้ อ งถนนใช่ ร อฝ่า ยรถยนต์ อย่างเดียว รถเล็กต้องเกื้อกูลเช่นกัน จึงลด อุบัติเหตุบนทางปั่นได้ ปัจจุบัน การปั่นจักรยานได้รับความ นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะประเภททัวร์ริ่ง มี ผู้พัฒนา App (แอพฯ) ส�ำหรับนักปั่นขอ ความร่วมมือจากชมรมนักปั่นทั่วประเทศ ช่วยกันรายงานต�ำแหน่งร้านจักรยาน, ร้าน ซ่ อ มจั ก รยาน, ร้ า นอาหาร, ร้ า นกาแฟที่ เป็นมิตรกับนักปั่น (bike friendly), ที่จอด จักรยานปลอดภัย, ชมรมจักรยาน, จุดท่อง เที่ยว, จุดชมวิวที่นักปั่นนิยมใส่ไว้ในมือถือ นักปั่นโปรดจ�ำชื่อ App LikeVelo ไว้ให้ดี เมื อ งนครจะเป็ น เมื อ งปั ่ น ที่ เ ติ บ โต อย่ า งมี อารยะได้ หรื อไม่ นั กปั ่ นต้อ งเป็น ผู ้ ต อบค� ำ ถาม พร้ อ มๆ กั บ ผู ้ ใ ช้ ถ นนร่ ว ม เพราะเรายังเป็นเมืองของรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถสิบล้อและสิบแปดล้อ ไม่ใช่เมือง ที่มี ‘ไบค์เลน’ เชื่อมต่อกันทั่วประเทศอย่าง เยอรมนี แถมผูข้ บั ขีร่ ถยนต์บางคนก็ไม่คอ่ ย มีวินัย รถใหญ่ไม่ข้ามเส้นขาวคุกคาม ‘ไบค์ เลน’ ไม่วา่ ต่อหน้าหรือลับหลังต�ำรวจจราจร บ้านเราล่ะ?


คนบนปก

ดุ

ษฎี ธรรมรัตน์วภิ าค (ออ) เริม่ ปัน่ จักรยานกลางๆ ตุลาคม 2557 เพราะร่างกายไม่แข็งแรง ครั้งแรกไปเรียนโยคะ เจอ ท่ายืนขาเดียวเจ็บจนสู้ไม่ไหว ต่อมาเพื่อนแนะน�ำให้ปั่นจักรยาน ออไปดูจักรยานที่ร้าน Action Bike ของ ‘จ่าสิทธิ์’ หลายหน ถูกใจ ยี่ห้อเบียงคี เหมาะกับโครงสร้างร่างกายราวกับเป็นเนื้อคู่ ได้หมวก ถุงมือ รองเท้าพร้อม เริ่มร้องเพลง ‘on the road again’ (เพลงของ Willie Nelson) ปั่นวันแรกรู้สึกหนักๆ กลับมาปวดหลังปวดไหล่ กระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เจอแรงกระท� ำ จึงส่งแรงต้านกลับมา กัดฟันปั่นต่อไป ออกจากบ้านซอยข้างตลาดท่าม้า โยกเข้าซอยตรง ข้าม ค่อยๆ ลัดเลาะไปออกถนนหน้าส�ำนักงาน อบจ. ไปรอเพื่อนที่ สามแยกถนนเลียบทางรถไฟ ที่ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า เปิด เป็น Bike Lane เส้นแรกของจังหวัดนครฯ ปั่นไปเรื่อยๆ เดือนกว่าๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก็ทุเลา เท้าที่เจ็บก็หาย ปั่นได้เร็วขึ้น คล่อง ขึ้น ระหว่างทางมีเพื่อนนักปั่น รู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้างทักทาย บางคน แนะน�ำวิธีปั่น วิธีวางเท้า “เป็นสังคมที่น่ารัก แม้ไม่รู้จักรู้สึกว่าเป็น พวกเดียวกัน อยากไปทุกวัน” นักปั่นส่วนมากมีกลุ่มของตัวเอง 5-6 คน ออก็มีเหมือนกัน แต่ เป็นกลุ่มที่คุณภาพ สภาพและราคารถแตกต่างกัน เธอไม่ได้ปั่นแข่ง แต่ปั่นออกก�ำลังกาย ได้ข่าวว่าเดือนพฤษภาคมจะมีการแข่งขัน รายการใหญ่ที่ค่ายวชิราวุธ เธออยากท้าทายกับตัวเอง หวังว่าถ้า พร้อมจะลงปั่นระยะทาง 25 กิโล ก็ขอให้ร่างกายฟิตและเฟิร์ม พร้อมลงสนาม

เรื่อง : กองบรรณาธิการ ภาพ : ป๋องโฟโต้ เป็นนักปั่นมือใหม่ เธออยากเห็นนักปั่นมีความปลอดภัย รถยนต์รถใหญ่มีน�้ำใจเจือจานแบ่งปันถนนกันใช้ รู้จักให้ทาง ไม่เบียดจักรยาน อยากได้เส้นทางใหม่ๆ และอยากเห็นกิจกรรม สร้างสรรค์ของกลุ่มนักปั่น ไม่เฉพาะปั่นไปงานแต่งงาน งานบุญ งานกุศลของเพื่อนร่วมกลุ่ม อยากเห็นกลุ่มนักปั่นปั่นไปปลูกป่า ไปเก็บขยะหรือเศษขวดเศษแก้วตามล�ำธาร ตามน�้ำตกให้เป็น รูปธรรม เชื่อว่านักปั่นจะเป็นที่รักของสังคม กระนั้น เธอก็ไม่ต้องการเห็นนักปั่นผู้เชี่ยวชาญปั่น ยึดเลนกลางของถนนหลวง ไปปิดหรือยึดทางรถยนต์หรือ รถใหญ่อย่างน่าเกลียด

ออเป็นสาวเมืองคอน เกิดแถวตลาดท่าม้า เรียนประถมที่ศรีธรรมราชศึกษา มัธยมที่เบญจมราชูทิศ เข้ากรุงเรียนพาณิชยการพระนครตรงข้าม สนามม้านางเลิ้ง จบปริญญาตรีด้านธุรกิจ สาขา การจั ด การทั่ ว ไปที่ วิ ท ยาลั ย ครู บ ้ า นสมเด็ จ ฯ ได้ ท�ำงานบริษัทที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างตอนแรกตอกเสาเข็มสร้าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อปิดโครงการไปอยู่ภูเก็ตร่วมทุนกับ เพื่อนท�ำ Internet cafe ที่ป่าตอง ได้แต่งงานกลับมาอยู่บ้าน เธอ บอกว่าตอนนี้มีอาชีพ ‘แม่บ้าน’ เต็มตัว

13


Life

เรื่อง-ภาพ : ณัชญ์ คงคาไหว

ปรีชา รัสปะ (นวล) หนุ่มใหญ่วัย 40 ต้นๆ ตัดสินใจเปิด ‘นคร จักรยาน’ จ�ำหน่ายจักรยานน�ำเข้ามือสอง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เขาเลือกท�ำเลบริเวณสี่แยกคูขวางที่มีผู้คนผ่านไปมาวันละ หลายหมื่นคน ลงทุนร่วมกับเพื่อนเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่รายปี เปิด เป็นเต็นท์โชว์รถ 14


ขามองว่ า จั ก รยานก� ำ ลั ง เป็ น ที่ นิ ย มของคนรั ก สุ ข ภาพ ซึ่ ง แนวโน้มว่าพ่อบ้าน แม่บ้าน คนหนุ่มสาว เด็กๆ หันมาปั่น จักรยานมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นวิธีออกก�ำลังกายที่ง่ายและ สนุกสนาน ช่องทางและแรงจูงใจเนื่องมาจาก เมื่อ 2 ปีก่อน เขาน�ำ เข้ารถจักรยานจากญี่ปุ่นมา 2 คัน ส�ำหรับตัวเองกับลูกสาวใช้ ปั่นออกก�ำลังกาย แต่ด้วยมาตรฐานที่ดีของรถมือสองผลิตใน ญี่ปุ่น ประกอบกับกระแสความนิยมรถจักรยาน เขาจึงลงทุน น�ำเข้าจักรยานคุณภาพดีให้เป็นทางเลือกคนรักการปั่นหรือ สะสม ตลอดจนคนที่ไม่มีก�ำลังซื้อรถใหม่ราคาสูง นอกจากญี่ปุ่น นวลยังน�ำเข้าจักรยานมือสองยี่ห้อดังๆ จากอเมริกาและยุโรป “รถในร้านผมน�ำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มีหลากหลาย ยี่ห้อ เช่น Hummer, Jeep Cherokee, Land Rover, Chevrolet, Giant, Columbia และอื่นๆ อีกหลายยี่ห้อ คุณภาพเกรด A รถทั้งหมดขนส่งทางเรือมาขึ้นทีท่าเรือกรุงเทพฯ แล้วใส่รถ บรรทุกมาบ้านเราอีกที” นวลเปิดเผย แผ่นไวนิลหน้าร้านระบุว่าจ�ำหน่ายปลีก-ส่ง จักรยานน�ำ เข้าจากญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา คุณภาพสูง ราคาเริ่มต้น 1,990 บาท เป็นวิธีโฆษณาดึงดูดให้นักปั่นเข้าร้านมาดู “ราคาที่ บ อกเริ่ ม ต้ น 1,990 บาท เอาเข้ า จริ ง 1,700

“รถน�ำเข้าจากนอก คุณภาพ ได้มาตรฐาน ผมยังมีช่างอีก 3 คน ไว้ดูแลหลังการขาย” ผมยั ง เคยขาย แต่ คั น ที่ แ พงที่ สุ ด ยี่ ห ้ อ Jaguar ราคา 35,000 บาท ผมสั่งเข้ามา 4 คัน ขายไปแล้ว 2 คัน” ด้วยบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็น กันเอง เปิดร้านไม่ครบเดือน เขาขายรถ ไปแล้วกว่า 300 คัน “ลูกค้ามีทั้งนักปั่นชาวนคร มาจาก สุราษฎร์ธานี สงขลา และอื่นๆ นักปั่น จากชมรมจักรยานต่างๆ ก็เคยเข้ามานั่ง พูดคุยปรึกษา รถน�ำเข้าจากนอกคุณภาพ ได้มาตรฐาน ผมยังมีช่างอีก 3 คนไว้ดูแล หลังการขาย ลูกค้าซื้อไปรถมีปัญหากลับ

15


ชอบจักรยานทางเรียบ-ทางไกล เสือหมอบ เสือภูเขา กลุ่มรถ โบราณ นิยมรถเก่าๆ ที่ทางร้านมีให้เลือกมากมาย นวลเพิ่ม เติมว่าจักรยานพับขนาดไม่ใหญ่นัก เหมาะส�ำหรับเด็กๆ พ่อ บ้านแม่บ้าน ได้ปั่นเล่นกินลมชมวิวก�ำลังเป็นที่นิยม ถามว่าตลาดจักรยานออกก�ำลังกายจะเติบโตไปอีกนาน แค่ไหน นวลวิเคราะห์อย่างอารมณ์ดีว่าอีกราว 4-5 ปี ตลาด จะค่อยๆ ชะลอตัวลง เพราะทุกคนอาจมีรถเป็นของตัวเอง แต่ ก่อนถึงวันนั้นเขาจะตั้งใจคัดเฟ้นน�ำรถสวยๆ คุณภาพดีตาม ความต้องการของลูกค้ามาบริการอย่างเต็มความสามารถ

มาแก้ไขได้ มาปรึกษาก็ได้ ถ้าไม่พอใจผมยินดีให้เปลี่ยน ถ้า นักปั่น นักฝึกปั่น คนรักสุขภาพ ต้องการจักรยาน หากสาเหตุมาจากสินค้าของผม” คุณภาพดี เหมาะกับตัวท่าน ราคาเหมาะสม เชิญและชม นครจักรยานจึงกลายเป็นแหล่งพูดคุยเรื่องจักรยาน-นวลเปิ ด เผยว่ า ลู ก ค้ า ของเขามี ทั้ ง กลุ ่ ม ประเภทนั ก ที่ ‘นครจักรยาน’ โทร. 081-078-5967 คุยกับปรีชา รัสปะ ปั่น กลุ่มนิยมรถโบราณ และกลุ่มครอบครัว กลุ่มนักปั่นจะ ก่อนก็ได้

16


Picture’s Talk

โดย : ป๋องโฟโต้

17


Treasure & Magical โดย...เกียรตินคร

เหรียญพระบรมธาตุ ตรีศูล ๒๔๖๐ เนื้อทองแดงผิวไฟ

ผิวะไฟใสสะพรั่งอลังฉาย งดงามเป็นดั่งเดิมเพิ่มนิยาม

เปล่งประกายฉาบผิวให้หวิวหวาม เวลาข้ามผ่านคล้อยเกือบร้อยปี

คือ*ตรีศูล*เหรียญดังพลังครบ ๒๔๖๐ อภิญญาจารย์สานพิธี

เจิดบรรจบชูเชิดเปิดวิถี สวดบาลีเสกสนั่นสั่นมณฑล

รวมมวลสารโลหะมนต์ดลศักดิ์สิทธิ์ ร.๖ ทรงโปรดประดิษฐ์นิมิตผล คราบูรณะมหาเจดีย์ศรีปวงชน เมืองลิกอร์ก่อสุขล้นบนชาติไทย

18

สืบสมบัติตกทอดให้พรอดพร�่ำ สัญลักษณ์มรดกโลกโฉลกชัย

ล้วนเลิศล�้ำย�้ำวิจิตรพิศมัย ประกาศไกลยิ่งใหญ่ใจเปรมปรีดิ์

จึงพิศหน้าพิศหลังยังโดดเด่น คราบเก่าหิ้งพริ้งเพิ่มเสริมบารมี

พ้นประเด็นวาดแซมแต่งแต้มสี มหิทธีสาดส�ำแดงแกร่งต�ำนาน

ผิวะไฟใสสะพรั่งยังแนบเนื้อ บรมธาตุยอดตรีศูลพูนตระการ

งามระเรื่อเปล่งปลั่งอลังฉาน เหรียญคู่บ้านคู่เมืองเรืองอิทธิฤทธิ์

เกียรตินคร เขียน ๒๓ กันยายน ๒๕๕๗


Art & Culture เรื่องและภาพ : ธง อาทิตย์

เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมบางเรื่องมีความเป็นมาทาง ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ต�ำนานและความเชื่อ หาหลักฐานการ อ้างอิงยาก มีโอกาสออกจากบ้านเราเมืองคอนไปภาคอีสาน ข้ามฝั่งโขง ไปประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ ประเทศลาว ด้วยเวลาอันจ�ำกัดกับหน้าที่รับผิดชอบจึงไม่ได้ดูอะไร ละเอียดนัก การเดิ น ทางท� ำ ให้ ม องเห็ น วิ ถี ค วามเป็ น อยู ่ ข องคนไทย ในอีสาน แวะรับประทานอาหาร ชื่อร้านตั้งให้เกิดความเข้าใจ มีลักษณะเฉพาะ อาจจะเป็นจิตวิทยาให้ลูกค้าจ�ำได้ง่าย อย่าง ก๋วยเตี๋ยวเป่าปาก ก็คิดถึงรสอาหารว่าคงจะเผ็ดร้อนน่าดู เอาเข้า จริงเราก็ไม่ได้ทาน เพราะก�ำลังหิว เมื่อหิวก็ต้องมองหาข้าว ซึ่งเป็น สิ่งที่เราคุ้นเคย พอท้องอิ่มก็คิดถึงท้องนา ก็มองเห็นวิถีชาวนาที่เปลี่ยนแปลงไป นึกถึงค�ำกล่าวในอดีต ‘ในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว’ แสดง ว่าน�้ำกับนาคู่กัน เมื่อเห็นนาก็เห็นน�้ำ เมื่อเห็นน�้ำก็เห็นปลา อันเป็น ลักษณะอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ปัจจุบันเรามองเห็นการท�ำลาย ธรรมชาติมากขึ้น ตลอดทางมีห้วย คู คลอง หนองน�ำ้ ที่เหือดแห้ง เต็มไปหมด ต้นไม้ใบเหลืองไหม้เป็นสีน�้ำตาล อาจจะเป็นหน้าแล้ง หรือขาดน�้ำ การท�ำนาในอดีตเราเห็นวัวเห็นควาย เห็นความเอื้อเฟื้อ เห็น การลงแขกที่บ้านเราเรียก ‘ออกปาก’ มีคนมาช่วยกันด�ำนา เก็บ เกี่ยวดอกผลผลิต มีวัฒนธรรมความร่วมมือจนเกิดเป็นการละ เล่น และพิธีกรรม ซึ่งเป็นมรดกอันเป็นเอกลักษณ์ให้คนรุ่นหลัง ได้สืบทอดเรียนรู้ เช่น ร�ำเคียวเกี่ยวข้าว พิธีแรกนา พิธีท�ำขวัญ ข้าว หรือการท�ำขวัญแม่โพสพ พิธีกดขวัญข้าว พิธีผูกข้าว อันเป็น ลักษณะกลางบ้านอย่างทางใต้เรา ได้ เ ห็ น ไร่ น าแถบอี ส านก็ ย ้ อ นคิ ด ถึ ง บ้ า น เลยอยากน� ำ

พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวที่บ้านเรามาเล่าไว้สัก 2 พิธี พิธีกดขวัญ คือการท�ำขวัญข้าวของชาวนาภาคใต้ ท�ำเมื่อ ข้าวเริ่มตั้งท้องเป็นการอันเชิญขวัญแม่โพสพ โดยจัดเตรียมเครื่อง บูชาที่มีแต่ขนมเช่น ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมถั่ว ขนมงา และมี แป้งหอม น�้ำมันหอม ชาวนาจะดูว่าข้าวในนาตรงบริเวณใดตั้ง ท้องงามมากก็จะตั้งขนมเพื่อบูชาตรงบริเวณนั้น แล้วจุดธูปเทียน กล่าวค�ำอัญเชิญแม่โพสพ เสร็จแล้วน�ำเอาแป้งหอม น�้ำมันหอมทา ตามใบข้าว คล้ายการเจิม 3-7 กอ แล้วน�ำขนมกลับ ส่วนแป้งหอม น�้ำมันหอมจะน�ำไปเก็บไว้ในยุ้ง พิ ธี ผู ก ข้ า ว เป็นการท�ำขวัญข้าวของชาวนาภาคใต้ เมื่อ ข้ า วในนาเริ่ ม สุ ก จวนใกล้ เ วลาเก็ บ เกี่ ย ว โดยจั ด เตรี ย มเครื่ อ ง ท�ำขวัญในพิธีรวบข้าว คือ หว้า 1 กิ่ง ใบร่มข้าว 1 ใบ หวายน�้ำ 1 ทาง หวายขม 1 ทาง น�้ำข้าว 1 ต้น คล้า 1 ต้น ใบฝักข้าว 1 ใบ ชะพูดพระ 1 ต้น มังเล 1 ต้น และว่านยายเพา แล้วรวบต้นข้าวประมาณ 5-7 กอ มาผูกด้วยด้ายแดง ด้ายขาว ให้ติดกับหลัก จากนั้นท�ำ พิธีตั้งเครื่องพลีกรรมบนหลักประกอบด้วย ขนมต้มแดง ขนมต้ม ขาว ข้าวปากหม้อข้าวเหนียว 1 ช้อน ข้าวเจ้า 1 ช้อน ไข่ไก่ 1 ฟอง ปลาสลิด ปลาสลาด ปลาหมอ ปลากระดี่ ปลาโอ เทียน 1 เล่ม ธูป 3 ดอก หมาก 1 ค�ำ ดอกไม้ 3 ดอก ใส่ในจานชามที่ดีที่สุด เมื่อ เสร็จพิธีกรรมจึงเริ่มเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้แกระเก็บเกี่ยวข้าวเป็นรวง เพราะถือคติว่าถ้าใช้เคียวเกี่ยวแล้ว แม่โพสพจะหนีไป แต่ละประเพณีและพิธีการต่างๆ ล้วนแฝงไว้ด้วยการดูแล รักษา ไม่เหยียดย�่ำท�ำลายธรรมชาติที่เราได้อาศัยเพื่อการด�ำรง ชีวิต และเพื่อไม่ให้เกิดการเบียดเบียนซึ่งกัน รวมทั้งเป็นการแสดง ความกตัญญูต่อสิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อตัวเราเอง ดูเหมือนเป็น ความเชื่อที่ล้าสมัย งมงาย แต่หากเราพิจารณาให้ลึกซึ้ง แท้จริง แล้ ว พิ ธี กรรมเหล่ า นี้ เ ป็ นภู มิปั ญ ญา เป็ น แนวทางแนวคิด เพื่อ อนุรักษ์ เคารพธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารของเรา และที่เราควร เคารพอีกอย่าง บรรพบุรุษของเราที่สร้างความเชื่อเหล่านี้ เพราะนี่ คือความฉลาดอย่างมาก แต่เมื่อเราดูแคลนภูมิปัญญาเหล่านี้เราก็ อาจกลายเป็นผู้ท�ำลาย

19


สี่โมงเช้าวันอาทิตย์ บิดากับมารดา นั่งอยู่ที่โต๊ะรับประทานอาหาร แกง เผ็ด แกงจืด และข้าวสวยในจานโชย ควันคว้าง กลิ่นกับข้าวปรุงใหม่หอมชวนหิว ทุกอย่างพร้อมแล้ว ขาดแต่ลูกสาวอายุ 16 ปีเพียงคนเดียว “ยายหนู ล ่ ะ ” สามี ถ ามภรรยานั่ ง ด้านตรงกันข้าม “อยู่ข้างบนค่ะ” ภรรยาตอบ เหลียว มองบันได ลุกจากเก้าอี้เดินเงยหน้าเรียก “ยายหนู...คุณพ่อรอทานข้าวจ้ะ” เสี ย งแว่ ว มาจากชั้ น บน “เดี๋ ย ว ค่ะ...” หล่อนกลับไปนั่ง “ทานกันพลางๆ เถอะค่ะ” สามีจับช้อนส้อม พลางถอนหาย ใจเบาๆ “ท�ำไมไม่มาทานพร้อมๆ กันล่ะ ท�ำอะไรอยู่รึ” หล่อนยิ้มก่อนพูด “คงโทรศัพท์”

20

เขาวางช้อน มอง ไปที่บันได “กินข้าวก่อน ก็ได้นี่ ลองเรียกอีกครั้งซิ” หล่ อ นเรี ย กลู ก สาว เสี ย งตอบปะปนมากั บ เสี ย ง เพลง “เดี๋ยวค่ะ...” เขาเอนหลังพึงพนักเก้าอี้ หนวด ซึ่งเริ่มมีเส้นสีทองแซมประปรายกระตุก “ธุระอะไรกันนักหนา ถึงลงมากินข้าว ร่วมกับพ่อแม่ไม่ได้” หล่ อ นยิ้ ม อย่ า งเป็ น กั ง วล จึ ง ขึ้ น บันไดไปเรียก ยายหนูก�ำลังหมุนโทรศัพ ท์พัล วัน วิทยุบนเตียงดังขรม “กิน ข้าวก่อนเถอะ” ลูกสาวหันผลุงมาทางมารดา “แม่ ก็...บอกว่าเดี๋ยวๆ” “คุณพ่อรออยู่” หล่อนพูดนุ่มนวล ลูกสาววางหูโทรศัพท์ “หนูยังไม่ หิว บอกพ่อให้กินก่อน” “กิ น เสี ย หน่ อ ยสิ ” หล่ อ นคะยั้ น คะยอ “กินกับคุณพ่อ” สาวรุ ่ น เหมื อ นไม่ คุ ้ น กั บ น�้ ำ เสี ย ง แกมขอร้อง เธอยกหูโทรศัพท์หมุน “เห็น มั้ยล่ะ แม่มากวนจนหนูหมุนไม่ทัน ถูก คนอื่นตัดหน้าไปแล้ว” มารดางุนงง ไม่เข้าใจทีล่ กู พูด อะไร แย่ง อะไรชิง หล่อนได้ยินเสียงโฆษกชาย โทรศัพท์กับผู้ฟังซึ่งเป็นเด็กสาว “แม่ขึ้นมาบอกไปกินข้าว” หล่อน

พูดได้เพียงเท่านี้แล้วรู้สึกว่าลมตีแน่น ขึ้นมาถึงหน้าอกจึงหันกลับลงบันได สามีเห็นผู้เป็นแม่กลับมาจากห้อง ลู ก สาว เดิ น เลี่ ย งไปเข้ า ห้ อ งน�้ ำ เสี ย ง รดน�้ำลงพื้นตามมา เขาก้าวพรวดๆ ไป ยืนที่ประตูห้องลูก ลูกสาวนัง่ เหยียดขาบนพืน้ เอนหลัง พิงขอบเตียง โทรศัพท์แนบหู ปลายนิ้วชี้ มือขวาสอดคาอยู่ในช่องหมุนหมายเลข “ธุระส�ำคัญนักรึ ถึงลงไปกินข้าว ปลาไม่ได้” “หนูโทรศัพท์อยู่ค่ะ” ลูกสาวพูด “พ่อไม่เห็นหนูหมุน” “ยังไม่ถึงเวลาหมุนค่ะ” บิ ด าตี สี ห น้ า แปลกๆ “ยั ง ไม่ ถึ ง เวลา... ท�ำไมหนูต้องเฝ้าล่ะ หรือว่าเขา จ�ำกัดเวลา” “ค่ ะ ” ลู ก สาวตอบ ลุ ก ขึ้ น นั่ ง บน เตียง “หนูหมุนหาใครรึ” เขาถาม ทั้งๆ ที่ ไม่เคยปฏิบัติอย่างนี้กับลูกมาก่อน “หนู...เออ..หนู” ลูกสาวอึกอัก โฆษกวิ ท ยุ ป ระกาศให้ ผู ้ ฟ ั ง รี บ โทรศัพท์พร้อมบอกหมายเลข สาวรุ่นละ สายตาจากบิ ด าไปหมุ น โทรศั พ ท์ ทั น ที พอหมุนได้สามครั้ง กระบอกโทรศัพท์ ในมือของเธอถูกแย่งไป “ดูสิ พ่อนี่ หนูหมุนไม่ทันอีกแล้ว” เขากระแทกหูโครม “เหลวไหล...!” “หนูจะขอเพลง” เธอโพล่งขึ้นมา นึ ก ถึ ง เพื่ อ นร่ ว มชั้ น ที่ ห มุ น โทรศั พ ท์ ติ ด และได้คุยกับโฆษกผ่านทางรายการเมื่อ วันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อนอีกสามคนก็ เคยหมุนส�ำเร็จมาแล้ว เธอพยายามมา หลายสัปดาห์แล้ว แต่ถูกคนอื่นแย่งไป


เสียก่อนทุกครั้ง รวมทั้งเพื่อนที่ส่งเสียง แจ้วๆ มาให้เธอได้ยิน “ขอก็ขอ แต่หนูต้องกินข้าวก่อน พ่อกับแม่นั่งรออยู่” เขายืนตัวสั่นระงับ ความโกรธที่พล่านขึ้นมาง่ายๆ “แต่พ่อ ว่าเทปหนูก็มีเป็นร้อยๆ จะขออะไรกัน อีก” “มันไม่เหมือนกันหรอกค่ะ” “ไม่เหมือนยังไง” “พ่อไม่เข้าใจหรอก” “เอาละ พ่อยอมรับว่าไม่เข้าใจ แต่ หนูต้องกินข้าวก่อน” ลูกสาวลุกขึ้น ปิดวิทยุ เดินเลี่ยง บิดาลงไปกินข้าว เขาเดินตามกลับลง มา ภรรยานั่งนิ่งอยู่ที่โต๊ะ “อ้าว...กินกันเสียทีพ่อลูก” หล่อน พยายามปรับน�้ำเสียง ลูกสาวนั่งหน้างอ ตักแกงจืดราด ข้าว ลงมือช้อนเข้าปาก เคี้ยวอย่างฝืด ฝืน บิดาเห็นท่าทางอันไม่น่าดูของลูก เขาสบตาภรรยา หล่ อ นส่ า ยหน้ า ช้ า ๆ คล้ายขอร้องให้เรื่องนี้ผ่านไปเสียเร็วๆ เขาเข้าใจความรู้สึกของภรรยาดี ลูกสาวถือช้อนตักข้าว เธอจับช้อน ด้วยปลายนิ้วปลายเล็บ ช้อนแกว่งไป

“คุณ” ภรรยาเรียก หล่อนพยายาม ให้เขาเย็นลง ลู ก สาวร้ อ งไห้ โ ฮวิ่ ง ขึ้ น ห้ อ ง ปิ ด ประตู โ ครม ล้ ม ตั ว นอนร้ อ งไห้ ส ะอึ ก สะอื้น ใบหน้าเขาหมองคล�้ำ ค่อยๆ ยกมือ ขวาลูบใบหน้า หน้าผาก จนถึงท้ายทอย กินข้าวกันสักมื้อ “มื้อนี้อย่ากินมันเลย” “กิ น เสี ย หน่ อ ยเถอะค่ ะ ” หล่ อ น ราวๆ กับท�ำสงคราม คะยั้นคะยอสามี “นะคะ...” ยังไงยังงั้นแหละ เขาร�ำพึงเบาๆ ยังไม่คลายขุ่นใจ “กินข้าวกันสักมื้อ ราวๆ กับท�ำสงคราม ยังไงยังงั้นแหละ” หล่ อ นพู ด ปลอบ “ยายหนู ค งไม่ แกว่ ง มาและกระทบกั บ ขอบจาน เขา อยากให้น้อยหน้าเพื่อน มันไม่ร้ายแรง ร�ำคาญลูกสาวจนทนไม่ไหว กระแทก อะไรนักหนาหรอกค่ะ” เขากับหล่อนลงมือกินข้าวต่อไป ช้อนโครมลงบนขอบจาน เอื้อมมือผลัก ศีรษะลูกที่นั่งทางขวามือ เขาตวาด “ไม่ กินก็ไม่ต้องกิน รีบลุกขึ้นไปเดี๋ยวนี้เลย” ผู้เขียน : เรื่องสั้น ‘กินข้าว’ เขียนปี 2532 ซึ่งรายการเพลงทางวิทยุ และ ธุรกิจเทปคาสเซ็ตก�ำลังเบ่งบาน การขอฟังเพลงทางโทรศัพท์ และได้ สนทนากับดีเจออกอากาศเป็นสิ่งโก้เก๋ ปัจจุบัน โทรศัพท์ท�ำหน้าที่ได้ มากกว่าขอเพลงหลายเท่า

21


Travel & Food เรื่องและภาพ : มคธ เวสาลี

มื้ อ กลางวั น มื้ อ ค�่ ำ ของบางคน หรื อ บาง ครอบครัว ชาวนครหรือนักท่องเที่ยวตัดสินใจ เลือก ‘ร้านเรินไม้’ ที่อยู่มายาวนาน 14 ปี เพิ่ง ปรับปรุงใหม่หน้าร้านสวยสะดุดตา ‘เรินไม้’ ภาษาปากคนใต้ คนคอน (นครศรีธรรมราช) แปลว่า ‘เรือนไม้’ เรือนหลังงามสร้างด้วยไม้ อยู่ท่ามกลางแมกไม้ ร่มรื่น โอ่โถงสบายๆ เรินไม้ มีค�ำว่า ‘Steak & More’ เขียน ภาษาอังกฤษก�ำกับไว้ บอกชาวต่างชาติให้รับ รู้ว่าเป็นร้านอาหารระดับน�ำ รองรับ AEC บาง ร้านไม่รับบัตรเครดิต ต้องการแต่เงินสด เลย ไม่อินเตอร์-ไม่พร้อมบริการลูกค้าที่สะดวกใช้ บัตรเครดิต ที่นี่รับ Master Card และ VISA มี Wi-Fi ฟรีให้สื่อสารส่วนตัว สื่อสารธุรกิจ หาก ต้ อ งการนั่ ง ยาวๆ เดี๋ ย วนี้ ใ ครๆ ก็ ท� ำ งานบน สมาร์ทโฟนบนแท็บเล็ต อาหารทั้งไทยและฝรั่ง อย่างสเต็กหมู พริกไทยอ่อน มันฝรั่งอบหัวขนาดพองาม กับ ขนมปังหอมนุ่ม เสิร์ฟพร้อมสลัดผักจานใหญ่ ถ้ า อยากกิ น ‘ขนมปั ง กระเที ย ม’ รั บ รองจะ ถูกปาก ที่นี่กุ๊กเลือกขนมปังชิ้นหนาๆ เนื้อนุ่ม อบกรอบ ทาเนยแท้ๆ กระเทียมสดแลเห็นเป็น ชิ้น ไม่ได้ต�ำละเอียด พาร์สลีย์สับ หอมอร่อย

22

สเต็ ก ปลากระพง มั น ฝรั่ ง บด เลื อ กเฉพาะ ปลากระพงจากทะเล (ไม่คาว) สดใหม่ทุกวัน ปลาแซลมอนเลื อ กเฉพาะปลาจากนอรเวย์ คุ ณ ภาพดี ก ว่ า แซลมอนที่ อื่ น ๆ ย� ำ ทู น ่ า เนื้ อ แน่ น สไตล์ ญี่ ปุ ่ น ใส่ ม าญองเนสรสจั ด จ้ า น เด็กๆ ชอบกินข้าวผัด หมู ปู กุ้งตามชอบ บน จานมีหอมต้นใหญ่วางเคียง หรือผัดไทยกุ้งสด ตัวโตๆ ก็อร่อยถูกปาก ส�ำหรับคนรักน�้ำปลาพริก เรื่องนี้อยาก เล่าเป็นพิเศษ แค่เห็น ‘หอมแดง’ หั่นซอยเห็น เนื้อสีม่วงอ่อนๆ พริกขี้หนูสด กระเทียมแกะ เม็ด หอมซอยไม่คน เพราะว่าบางคนไม่กิน หอมแดง (ณ เวลานั้น) คนช่างรับประทาน บางคน ร้านไหนขาดน�้ำปลาพริก-จะไม่เข้า ไม่เหยียบเลย ที่นี่เคยมีคนมากินข้าวกินสเต็ก แล้วขอน�้ำปลาพริกกลับบ้าน พริกน�้ำปลาดู เหมือนปรุงง่าย ต่อให้ใช้น�้ำปลายี่ห้อเดียวกัน แต่ ล ะคนท� ำ ออกมารสชาติ แตกต่างกัน

ชวัลพัชร แกะประจักษ์ (คุณแอ๋ว) ผู้จัดการร้าน

เรินไม้ยังมีอาหารอร่อยๆ เช่น แซลมอน ราดซอสส้ ม สปาเก็ ต ตี้ ผั ด ไทย ย� ำ สมุ น ไพร เต้าหู้ปลา อาหารจานเดียวตามสั่งและอื่นๆ อีกมาก Bon Appétit อิ่มอร่อย สุขภาพดีทั่วหน้า ร้านอยู่เชิงสะพานสวนหลวง ใกล้พิพิธภัณฑ์ฯ นครฯ (จากวั ด พระมหาธาตุ ฯ ไปทางทิ ศ ใต้ ประมาณ 500 เมตร) เปิดบริการทุกวัน 10.3021.30 น. ส�ำรองที่นั่ง หรือสั่งอาหาร : โ ทร.คุณ แอ๋ว 089-874-5228


Nature & WildLife เรื่องและภาพ : นายกระจิบ

ปิดประตูหลังบ้านตอนเช้า ผมมองหา เจ้ า กระรอกตั ว โปรดบนต้ น ทองหลาง ดี ใจจั ง ที่ มั น ยั ง อยู ่ ดี มีสุขเช่นเดิม ไม่เป็น กระรอกย่ า งที่ เ ห็ น ในตลาดชาวบ้ า น เมื่ อ เย็ น วาน แถมมั น ยั ง แสดงกายกรรม ‘ดอกไม้ให้คุณ’ อีกด้วย กระรอก (Squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยง ลู ก ด้ ว ยนม มี ข นปุ ก ปุ ย คลุ ม ทั่ ว ร่ า งกาย นั ย น์ ต ากลมด� ำ หางเป็ น พวงฟู จั ด อยู ่ ประเภทสัตว์ฟันแทะ แบ่งได้เป็น 3 พวก ใหญ่ ๆ ได้แก่ กระรอกต้นไม้ กระรอกดิน และกระรอกบิน กระรอกทุกตัวมีนิ้วเท้าหลังข้างละ

หน้าห้างลัคกี้

081-6056726

5 นิ้ ว และนิ้ ว เท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ ว นิ้ ว โป้ ง จะเป็ น ปุ่ ม นูนๆ เหมาะส�ำหรับการจับอาหารมาแทะ ชอบกินผลไม้และเมล็ดพืชเป็นหลัก แต่ยัง ชอบลิ้มรสชาติของแมลงด้วยเหมือนกันนะ โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญา กระรอก บางครั้งก็ยังแอบขโมยไข่นกกิน เป็นอาหารอีกด้วย กระรอกมีหลายสายพันธ์ุ เช่น พญา กระรอกด�ำ พญากระรอกเหลือง ที่ขนาด ล�ำตัวค่อนข้างโต อาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ กระรอกหลากสี

กระรอกสามสี กระรอกท้องแดง กระรอก ดินหลังลาย กระรอกข้างลายท้องแดง จั ด เป็ น กระรอกขนาดกลาง อาศั ย ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้เช่นกัน ส ่ ว ก ร ะ ร อ ก ข น า ด เ ล็ ก ก็ มี กระรอกหางม้าเล็ก กระรอกหางม้า ใหญ่ กระรอกหน้ า กระแต กระรอก ปลายหางด� ำ กระรอกดิ น แก้ ม แดง กระจ้ อ น กระแต กระเล็ น (กระถิ ก ) ขน ปลายหู ย าว อาศั ย อยู ่ ต ามป่ า โปร่ ง เช่ น ป่าดิบแล้งและเต็งรัง หากินตามต้นไม้สูง พบได้ ท างภาคอี ส านและภาคตะวั น ออก ของประเทศไทย กระรอกสวยงามน่ า รั ก นิ สั ย ร่ า เริ ง เหมือนเด็กๆ ระหว่างภาพกระรอกบนต้นไม้ ขนฟูฟ่องสีสันสดสวย กับกระรอกผิวไหม้ เกรียมนอนนิ่งในถาด เด็กๆ ว่าภาพไหน สามารถจรรโลงโลก และสร้างสุขได้ยั่งยืน กว่ากันครับ

ชุดกีฬาเพื่อคนคอน โทร.084-0520416 086-9505292

23


Dhamma Sabai-jai โดย...ร่มธรรม

พระครูปริ ยตั ิ คณ ุ าสัย เจ้าอาวาสวัดประดู่ฯ

ช่

วงสายๆ ของวั น แรม 15 ค�่ ำ เดื อ น 2 ปี ม ะแม ซึ่ ง เป็ น วั น พระ เลยตั้ ง ใจ เข้ า วั ด ประดู ่ พั ฒ นาราม ที่ ช าวบ้ า นเรี ย ก ว่า ‘วัดโด’ ต�ำบลท่าวัง อ�ำเภอเมือง จังหวัด นครศรี ธ รรมราช วั ด นี้ มี พื้ น ที่ 19 ไร่ ได้ รับวิสุงคามสีมา เมื่อปีพุทธศักราช 1820 ปัจจุบันมีพระครูปริยัติคุณาสัย (รั่น อาริโย) เป็นเจ้าอาวาส แม้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนอาจดู บ างตา เพราะตรงกับวันท�ำงาน คนที่มาส่วนมาก เป็ น คนเฒ่ า คนแก่ เดิ น ถื อ ปิ ่ น โตในมื อ คนละเถา-สองเถา พร้ อ มตะกร้ า บรรจุ ดอกไม้ธูปเทียนและภาชนะส�ำหรับกรวดน�้ำ หลั ง ญาติ โ ยมสวดมนต์ ร ่ ว มกั น ราว หนึ่งชั่วโมง ท่านเจ้าอาวาสก็ขึ้นเทศนาธรรม ในหัวข้อ ‘บุญ’ (ต่อเนื่องจากวันพระเมื่อ สัปดาห์ก่อน) สาระของค�ำว่าบุญ ท่านบอก ว่าเป็นได้ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ขยาย ความก็คือ คน พระ สามเณร เป็นสิ่งมีชีวิต หากเป็นคนดี พระดี สามเณรที่ดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ได้ชื่อว่าบุญ เป็นบุญ เป็นเนื้อ นาบุญ อยู่กันอย่างเรียบร้อย ไม่มีภัย.. ส่วนวัด บ้าน ดิน สถานที่ต่างๆ เป็น สิ่งไม่มีชีวิต ถือเป็นบุญสถาน มีบุญ เพราะ มี ผู ้ ที่ อ าศั ย เป็ น คนดี วั ด ก็ มี พ ระดี อ าศั ย

24

ฉะนั้น วัดจึงมีบุญ เป็นสถานที่ดีๆ บ้านก็ เช่นกัน ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเป็นคนดี พ่อ แม่ พี่ น้ อ ง ลู ก ๆ หลานๆ หากเป็ น คนดี เป็นคนมีบุญ บ้านก็มีบุญ สรุปที่ไหนๆ ก็ สามารถมีบุญมีบาปได้ ขึ้นอยู่กับบุคคลใน สถานที่นั้นจะประพฤติปฏิบัติ สังคมก็เช่น กัน มีทั้งเป็นบุญและเป็นบาป พระครู ป ริ ยั ติ คุ ณ าสั ย ยกตั ว อย่ า ง เช่ น สถานที่ ส� ำ คั ญ อย่ า งวั ด พระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ว่าเป็นสถานที่มีบุญ เพราะคน ที่เข้าไปจะรู้สึกไม่กล้าท�ำสิ่งที่ไม่ดีไม่เหมาะ เพราะรู้ว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้น เมื่อคนไม่ กล้าท�ำชั่ว แล้วท�ำแต่สิ่งดีๆ วัดจึงเรียกว่า ‘บุญ’ บ้านก็เช่นกัน โรงเรียนก็เช่นกัน ที่ ไหนๆ ก็มีบุญได้ หากปฏิบัติดี “เลือกสรร ชีวิตว่าอยู่อย่างไร ความชั่วท�ำให้เกิดทุกข์ ความดีท�ำให้เกิดความสุข” พระครู ป ริ ยั ติ คุ ณ าสั ย เล่ า เรื่ อ งใน พุทธศาสนานิกายเซน.. วัดแห่งหนึ่ง..ลูกศิษย์ทดท้อชีวิต บ่น กระปอดกระแปด หดหู ่ เ ป็ น ทุ ก ข์ ส ารพั ด อย่ า ง วั น แล้ ว วั น เล่ า ผ่ า นไปก็ ไ ม่ ส ามารถ เอาชนะความทุกข์นั้นได้ ท่านอาจารย์มา เห็นจึงสั่งให้ลูกศิษย์คนดังกล่าวไปหาซื้อ เกลือมาถุงนึง แล้วเทใส่แก้ว เอาน�้ำเปล่าใส่

ลงไปคนให้เข้ากันแล้วบอกให้ดื่ม “เป็นไง” “เค็มครับ” ลูกศิษย์ตอบ วันต่อมาอาจารย์สั่งให้ไปซื้อเกลืออีก คราวนี้ท่านพาไปที่แม่น�้ำ แล้วสั่งให้เทเกลือ ลงไปในแม่น�้ำ แล้วตักดื่ม “เป็นไง” “รสชาติดี ไม่เค็มครับ” ลูกศิษย์ตอบ ท่ า นอาจารย์ จึ ง โปรดลู ก ศิ ษ ย์ ว ่ า -คนเราถ้ า ท� ำ ใจแคบเหมื อ นแก้ ว แล้ ว เอา เรื่องโน้นเรื่องนี้ สารพัดเรื่อง ใส่ลงไป มัน ก็ จ ะได้ ร สที่ จั ด จ้ า น หนั ก เป็ น ทุ ก ข์ ตรง กันข้าม หากเราท�ำใจให้กว้าง เรื่องต่างๆ ที่ประเดประดังเข้ามา มันก็ไม่หนัก ไม่จัด จ้าน ไม่ทุกข์จนเกินไป ยังสามารถมีช่อง ทางให้คิดแก้ไขได้ ตัวเธอก็เช่นกัน จงท�ำ จิ ต ใจให้ เ ป็ น แม่ น�้ ำ ที่ ก ว้ า งขวางเสี ย บ้ า ง ความทุกข์ระทมจะได้เจือจางลง พระครู ป ริ ยั ติ คุ ณ าสั ย กล่ า วสรุ ป เทศนาธรรมว่า “คนเราจะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้น อยู่กับการเอาสิ่งต่างๆใส่ลงไปให้ตัวเอง… พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไรควรวาง อะไรควร เก็บ ให้พิจารณาตัวเอง อยู่ด้วยคุณธรรม แล้วจะเป็นสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า” สาธุ !


Child Care โดย...ชัญญภัทร

ลการวิจัยของนักจิตวิทยาเด็กทั่วโลกระบุตรงกันว่า การเล่านิทานให้เด็กฟังบ่อยๆ มีส่วนช่วยเสริมสร้าง จินตนาการ สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น หู ตา และสมองได้ นิทานยังช่วยสร้างสมาธิ ความจ�ำ ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กๆ อันเป็นพื้นฐาน การศึกษาในอนาคตอีกด้วย เพราะเรื่องราวในนิทาน อาจสร้างแรงบันดาลใจให้ กับเด็กๆได้อย่างคาดไม่ถึง เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงความรู้สึก นึกคิดได้เป็นอย่างดี เป็นแรงกระตุ้น หรือสิ่งเร้าเพื่อให้พวก เขาได้ท�ำในสิ่งที่ฝัน เกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนานอย่าง ไม่สิ้นสุด เพื่อการเรียนรู้สู่ความเป็นจริง ริชาร์ด วูฟสัน นักจิตวิทยาด้านเด็กส�ำรวจและพบ ว่า เด็กวัย 3-8 ขวบ มากกว่าครึ่งบอกว่าช่วงเวลาที่คุณ พ่อคุณแม่อ่านนิทานให้ฟังนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่พวกเขา ชอบมากที่สุด และชอบฟังนิทานก่อนนอนจากคุณพ่อ คุณแม่ ขณะที่คุณแม่เป็นนักเล่านิทานตัวจริงมากกว่า คุณพ่อ ส่วนเด็กวัย 3-4 ขวบ เป็นช่วงวัยที่ต้องการให้คุณ พ่อคุณแม่อ่านนิทานให้ฟังบ่อยๆ ถือเป็นช่วงเวลาที่ได้ สร้างสายใยความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แข็งแกร่ง และ เป็นช่วงส�ำคัญต่อการพัฒนาของลูกน้อยอีกด้วย นิทานจึงเป็นช่องทางที่ดี ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ ได้ค้นพบโลกที่เต็มไป ด้วยสีสัน ความหลากหลาย ได้รู้จักสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัว ผ่านตัวละครในนิทาน ไม่ว่าจะเป็นสิงสาราสัตว์ ต้นไม้

ใบหญ้า แม่น�้ำล�ำธาร หุบเขา ยักษ์ หรือสถานที่ต่างๆ รูปทรงแปลกๆ ตลอดจนเรื่องราวแนวคิดที่แปลกพิสดาร แต่แฝงไว้ซึ่งความต้องการของเด็กๆ ในทุกด้าน อาทิ ด้านความรัก ความต้องการให้คนอื่นสนใจ ความต้องการ ให้ความรักแก่คนอื่น การเล่นสนุก การบริโภค ตื่นตา ตื่นใจกับสิ่งวิเศษมหัศจรรย์ สิ่งที่สวยงาม การสัมผัสกับ สิ่งลี้ลับ และความบันเทิง ฯลฯ ดังนั้น ‘นิทาน กับเด็กและครอบครัว’ เป็นเรื่อง จ�ำเป็นอย่างลึกซึ้งที่ผู้ใหญ่ไม่ควรมองข้าม ส่วนวิธีการเล่านิทานให้ลูกฟัง ผู้เชี่ยวชาญแนะน�ำ ว่า ไม่จ�ำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ ให้ยุ่งยาก พ่อแม่ เป็นอุปกรณ์มีชีวิตที่ดีที่สุดส�ำหรับลูก เพียงอุ้มลูกไว้บนตัก หรือ โอบกอดลูก พร้อมเปิดหนังสือนิทานให้ลูกดูรูปภาพไป พร้อมๆ กันและอ่านให้ฟัง เท่านี้ก็เพียงพอ แต่ย�้ำว่าต้องอ่าน ให้ลูกฟังบ่อยๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคย เสาะหาหนังสือดีๆ ที่น่าสนใจ เรื่องราวสนุกๆ อ่านให้ฟังซึ่งกันและกัน และใน กรณีที่ลูกอ่านหนังสือเองได้ ก็ให้อ่านเอง หรืออาจสลับกับ พ่อแม่บ้าง เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย และเมื่อยล้า ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆ โลกใบเล็กของเด็กๆ จากหนังสือนิทาน กับ ความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่ เชื่อว่าอนาคตของ พวกเขาจะต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีชีวิต ที่สดใสอย่างแน่นอน

25


Playground โดย...ศิริกุล อายุบวร

ด้

วย..สถาบันดนตรียามาฮ่า คือผู้น�ำทางด้านดนตรีศึกษาแห่งแรก ของประเทศไทย เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ปัจจุบันมีโรงเรียนใน เครือข่าย 95 แห่งทั่วประเทศ มีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากลรับรอง โดย Yamaha Foundation ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2499 มีระบบการ สอบและการประเมินผลที่เป็นมาตรฐานมากกว่า 40 ประเทศ มีนักเรียน กว่า 6,000,000 คน ทั่วโลก ปัจจุบันระบบการสอบของยามาฮ่า มียอด นักเรียนที่ใช้สอบประเมินผลมากที่สุดของประเทศไทย โรงเรียนดนตรียามาฮ่า นครศรีธรรมราช เป็นอีกหนึ่งเครือข่าย ที่เปิดสอนหลักสูตรดนตรีย่างเข้าสู่ปีที่ 5 และได้รับความไว้วางใจจาก ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าสู่ระบบมาตรฐานการเรียนการสอนของ ‘ดนตรียามาฮ่า’ อย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนและถือได้ว่าเป็นหัวใจของการเริ่มต้น เรียนดนตรีในเด็กเล็กอายุ 3-4 ปี คือ หลักสูตร Music Wonderland (MC) เป็นการสอนจากการฟัง ร้อง เต้น ฝึกจินตนาการ ซึ่งมีข้อดีที่ เด็กๆ จะได้สนุกสนานไปกับโลกแห่งเสียงเพลง เสริมสร้างความคิด สร้างสรรค์ เป็นการปลูกฝังพื้นฐานด้านดนตรีที่เหมาะสมกับวัย โดย ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กโทน (Electone) เด็กๆ จะได้แสดงออก (Expression) และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ พร้อมทั้งผู้ปกครองในห้องเรียนผ่าน กิจกรรมทางดนตรี ได้แก่...Keyboard Geography คือการเรียนรู้พื้น ฐานของดนตรีผ่านเสียงเครื่องดนตรีอันหลากหลายชนิด Eurhythmic เน้นการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ เพื่อสร้างทักษะพื้นฐานการแสดงออกทาง ดนตรี Singing ฝึกการร้องและการออกเสียงตัวโน๊ตที่ถูกต้อง พร้อมทั้ง เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี Music Appreciation คือการเรียน รู้ภาษาดนตรีด้วยความเข้าใจ ผ่านความพลิ้วไหวของท่วงท�ำนอง จากนั้นเด็กวัย 4-6 ปี ต่อเนื่องด้วยหลักสูตร Junior Music Course (JMC) วั ย นี้ เ ป็ น วั ย ที่ ลู ก น้ อ ยมี พั ฒ นาการทางด้ า นระบบ ประสาทการฟังสูงสุด เด็กๆ จะสามารถจดจ�ำเสียงหรือค�ำต่างๆ ได้ ดี หากได้รับการส่งเสริมให้อยู่ ในสภาพแวดล้อมที่เน้นการฟัง ได้ร้องเพลง และได้เล่นดนตรี หลากหลายรู ป แบบ พื้ น ฐาน ทางด้านดนตรีของเด็กๆ จะได้ รับการพัฒนาอย่างสมดุลและมี

26

ประสิทธิภาพสูงสุด JMC เป็นหลักสูตรมาตรฐานอันดับ 1 ของ Yamaha Music Education System ซึ่งถูกคิดค้นและออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อตอบ สนองพัฒนาการทางดนตรีตามช่วงวัยของเด็ก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ซึ่งเป็นที่ยอมรับจาก 40 กว่าประเทศทั่วโลก รายละเอียดของ JMC คือ Listen&sing ส่งเสริมพัฒนาด้าน การฟัง ทักษะการออกเสียง รวมถึงระดับเสียง เมโลดี้และคอร์ดต่างๆ Music Playing ฝึกทักษะการเล่นดนตรีอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กๆ จะได้ เรียนรู้พื้นฐานการเล่นแนวท�ำนองและคอร์ด พร้อมทั้งสร้างเสริมการเข้า สังคมกับเพื่อนในห้องเรียน สนุกสนานไปกับการบรรเลงดนตรีแบบกลุ่ม Read&Write เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางดนตรีด้วยการอ่านและ ประพันธ์เพลง ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนดนตรียามาฮ่า Concert เปิดโอกาสทางการแสดงให้เด็กๆ ทุกคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ กิจกรรม Class Concert และ School Concert ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับเด็กๆ ที่จบหลักสูตร JMC และผ่านการทดสอบ (Audition) แล้ว ก็จะต่อยอดด้วยหลักสูตร Junior Extension Course (JXC) ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะที่ช่วยดึงศักยภาพสูงสุดของผู้เรียนที่มีทักษะทาง ดนตรีระดับสูง เน้นระบบการเรียนการสอนเชิงลึกอย่างครบครัน ทั้งใน ด้านความคิดสร้างสรรค์ การฝึกฝนเรียบเรียงและประพันธ์เพลง โดย เป็นการเรียนทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว กับเครื่องดนตรีที่ตัวเองชื่นชอบ พร้อมทั้งเปิดโอกาสทางดนตรีให้กับเด็กๆ ที่มีความสามารถอันโดดเด่น ทุกคนผ่านเวทีระดับประเทศอีกด้วย นอกจากหลั ก สู ต รพื้ น ฐานดั ง กล่ า วและอี ก หลายๆ หลั ก สู ต ร โรงเรี ย นดนตรี ย ามาฮ่ า นครศรี ธ รรมราช ยั ง มี บุ ค ลากร (คุ ณ ครู ) ที่ เชี่ยวชาญด้านการสอนดนตรีอีกกว่า 10 ท่านคอยให้ค�ำแนะน�ำแก่น้องๆ อย่างเป็นกันเอง เราจึงเป็นสถาบันดนตรีที่เหมาะส�ำหรับผู้ที่รักในดนตรี “เริ่มต้นที่นี่...ดนตรีมีหัวใจ” สนใจเชิญแวะมาพูดคุยกับเราได้ค่ะ..

โรงเรียนดนตรียามาฮ่า นครศรีธรรมราช 1983/1,2 ถ.ราชด�ำเนิน ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร.075-357-337, 081-963-5315, 087-8961010


27


28


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.