@Nakhon Journal issue 3

Page 1

ฉบับที่ 3 ประจ�ำวันที่ 16 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2558

1


2


วารสาร Is Am Are ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 วันที่ 16 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2558

วารสารแจกฟรีรายเดือน

ส�ำนักงาน 321/50 ถ.หลังวิทยาลัยเทคนิค ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 075-313218, 081-7373310

ผู้จัดท�ำ

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการ - การตลาด : ณัชญ์ คงคาไหว บรรณาธิการภาพ : สายันต์ ยรรยงนิเวศน์ ฝ่ายภาพ : อดิศักดิ์ เดชสถิตย์ กองบรรณาธิการ : ธวัช ฤทธิโชติ, อุทัย สันติวีรยุทธ, สรวิทย์ จิตต์มนัส, บูณณภัษ คงคาไหว พิมพ์ที่ : เสือผินการพิมพ์ นครศรีธรรมราช โทร. 075-346 239, 084-188 0263

4....Is Am Are@nakhon 5....Biz News 6....Nakhon Report 8....Cover story

14....Life 17....Food & Travel 18....Treasure & Magical 19....Art & Culture 20....Short Story 22....Picture TalK 24....Dhumma Sabai-Jai 25....Child Care 26....Playground

ค�ำชื่นชม ค�ำชี้แนะจากทุกท่านที่ได้อ่าน @nakhon เป็นน�้ำใสสะอาด ทั้งเป็นก�ำลังใจ อย่างส�ำคัญ แก่กองบรรณาธิการให้สรรหาเรื่องราวดีๆ มาเสนอ ขอบคุณคุณผู้อ่านที่แจ้งว่าใครคือ ‘เจ้าของรัติฟาร์ม’ คอกม้าใหญ่ที่ปากนครตัวจริง ขอโทษเจ้าของฟาร์มมา ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุ ณ ระพี พั น ธ์ รั ก ษาพงษ์ (ติ่ ง ทุ ่ ง สง) นั ก สะสมพระเครื่ อ งคนส� ำ คั ญ ของ ภาคใต้ ฉบับที่แล้วเขาแบ่งภาพสวยๆ เหรียญ พ่อท่านคล้าย 4 ขอบที่หายากมากๆ ให้นักนิยม พระเครื่องได้ชื่นชม ฉบับนี้ติ่งมีน�้ำใจมอบเหรียญ ‘พ่อท่านซัง’ รุ่นแรกมูลค่าไม่ต�่ำกว่า 1 ล้านบาท มาให้อีก ฉบับที่ 3 ขณะก�ำลังคิดและตัดสินใจว่าจะน�ำเรื่องอะไรมาเป็น Cover Story พอทราบ ข่าว ‘การประกวดไก่แจ้’ ที่หอประชุมเทศบาลต�ำบลท่าแพ ผมจึงเลือกเรื่องนี้ทันที สีสันอัน สวยงามของ ‘อัญมณีมีชีวิต’ ที่ปรากฏบนปกและเนื้อใน น่าจะช่วยคลายร้อนรุ่มในใจลงไปบ้าง พิเศษที่สุด วิรัช บริบูรณ์ ช่างภาพสมัครเล่นที่ตระเวนถ่ายภาพในแหล่งต่างๆ มอบ ภาพฝูงควายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ให้ @nakhon น�ำเสนอใน Pictures Talk อ่าน @Nakhon เล่มนี้จบ อยากให้ทายเก็บไว้ในใจ ว่าฉบับที่ 4 Cover Story จะเป็นเรื่อง เกี่ยวกับอะไร

ด้วยความนับถือ จ�ำลอง ฝัง่ ชลจิตร

3


Flash News ฉบับนี้ 12 เม.ย.58 กระแส ข่าวโชยตามร้านกาแฟ ผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า จะเลื่อนขั้นเป็นอธิบดีกรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น-- หากเป็นข่าวจริง ก็ขอแสดงความยินดี

12 เม.ย. 58 จิรา วงศ์สวัสดิ์ น�ำทีมพี่ๆ น้องๆ มอบช่อดอกไม้ต้อนรับ สุริน รักษาแก้ว ที่ย้ายกลับมานั่งเก้าอี้ ผอ.สวท.นศ. เสียที

(เฟซฯ ธง นคร) ลูกๆ ของ ‘องค์พ่อจตุคามฯ’ เหตุการณ์ส่งมอบ ผ้ายันต์ผืนแม่เกิดที่ร้านเสื้อในบวร บาซาร์ เมืองนคร (ซ้าย) เอ ปากพนัง (เอ โชติ), บ่าว นคร (เจ้าของร้าน), อัมฤทธิ์ ไกรนรา, โกเมศ วิศิษฎ์วุฒธิพงศ์ และ ธง นคร (23 เม.ย. 58 เช้าตรู่เป็นต้นไป ชมรมศรัทธาองค์พ่อจตุคามฯ เชิญร่วมงาน ร�ำลึกพระคุณองค์พ่อ ณ ศาลหลักเมือง บริเวณ สนามหน้าเมือง)

(http://www.thaihealth.or.th/Gallery/2148/)

1 เม.ย.58 งานเปิดตัวหนังสือ -- อายุ 80-82 นพ.ประทีป หุตางกูร (ซ้าย) ได้ก�ำลังใจจาก อ.ลูกอิน หุงตางกูร ให้ฟื้นความทรงจ�ำวัย เยาว์เขียนนิยายเรื่องแรก ‘เรื่องเล่าของเด็กโจ้ง คล�ำ’ (แหลมโจรคร�่ำ : เกาะสมุย) สะท้อนให้ เห็นค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อรวมถึงเงื่อนไข แวดล้อมของคนชนบท 70 ปีก่อน ตีพิมพ์โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ปริทรรศ หุตางกูร วาดรูปประกอบ

(เฟซฯ ชัญญภัทร โสฬส) พบปะรุ่น A.M.C 30 จั ด เตะฟุ ตบอลกระชับมิตรกับศิษย์เก่าเบญจมฯ (เฟซฯYukon Jitsumroay) ร้านขนมจีนของ นักตกแต่งสวนชั้นน�ำ อยู่ลานสกาใน มีมุมถ่าย อัมพาพันธ์ อมรวานิชย์ เจ้าของห้างผ้า ทีส่ นามเกียรตินคร เกมจบด้วยสกอร์ 3-3 ตอน อยูใ่ นสนามสนุกเฮฮา ลืมเลขสองหลักทีม่ ี 4 น�ำ รูปเพียบ จิตตนา หนูณะ ปชส.อาวุโส ม.วลัย- โชคดี ชวนลูกสะใภ้ - อิสรีย์ และพนักงาน ลักษณ์ชวนเพื่อนๆ ไปชิมขนมจีน และถ่ายรูป แต่งชุดไทยรับสงกรานต์และต้อนรับลูกค้าด้วย หน้า กลับถึงบ้านหาหยูกยาทาถูกนั แทบไม่ทนั เพือ่ นๆ ฝากบอก บอย-ภัทรวิน โสธรจิตต์ กันสนุกสนาน น�้ำใจไมตรีอย่างไทยๆ นัดต่อไปกรุณาแจ้งล่วงหน้าเนิน่ ๆ จะได้เตรียม กายใจให้พร้อม ทีมบิ๊คไบเกอร์ ชาวนครศรีธรรมราช น�ำทีมโดย ภูริ ภัทร ชีวะพันธศักดิ์ (โป้) พร้อมด้วย โจ เอ็ม ท้อป เอก ไม่พลาดการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบรายการ ศิริพร บุญอ่อน ใหญ่ ศึกเวิลด์ซูเปอร์ไบค์ 2015 ที่ สนามช้างอินเตอร์ รักและหลงใหล เนชั่นแนลเซอร์กิต ของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จังหวัดบุรีรัมย์ กีฬาขี่ม้า เมื่อวันที่ 21-22 มีนาคม 2558

4

หมู่บ้านราชพฤกษ์ (ตรงข้ ามโรบินสัน โอเชี่ยน)


True Move H 4G สัญญาณคุณภาพ วันที่ 11 เมษายน 2558 นายอาณัติ เมฆไพบูลย์ วฒ ั นา ผู้อำ� นวยการ บริหาร ด้านการบริหารจัดการระดับภูมิภาค บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น น�ำทีมคณะผู้บริหาร พร้อมพนักงานในจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิด ตัว True Move H 4G ที่ Piczel coffee นครศรีธรรมราช ยืนยัน ว่าสัญญาณคุณภาพ 4G ของทรูมูฟ เอช สามารถใช้งานได้จริงแล้ว 77 จังหวัดทัว่ ประเทศไทย รวมทัง้ เครือข่าย 3G (850 และ 2100 MHz.) ที่ครอบคลุม 97% มากที่สุดในไทย จึงเข้าถึงทั่วทุกต�ำบล ทุกอ�ำเภอใน ภาคใต้ 14 จังหวัด พร้อมมอบเครือ่ งสมาร์ทโฟน ทรู บียอนด์ และซิม 4G ส�ำหรับใช้งานดาต้า 5 GB/เดือน ให้โรงเรียนวัดนาวง ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช นายอาณัติ กล่าวว่าภายในเดือนเมษายน 2558 สัญญาณของ ทรูมูฟจะครอบคลุมทุกอ�ำเภอของนครศรีธรรมราช เพื่อรองรับนโยบาย ของกระทรวงไอซีทีที่ต้องการส่งเสริมธุรกิจหลักของภาคใต้ ทั้งเรื่อง การท่องเทีย่ ว การลงทุน และการศึกษาให้ทดั เทียมทุกภาคทัว่ ประเทศไทย ต่อจากนัน้ คาราวาน ‘ทรูมฟู เอช 4G’ เคลือ่ นขบวนไปตามสถานที่ ส�ำคัญๆ ในนครศรีธรรมราช

Not only you are contented with our fine diamond and gold jewels, but community also enjoys

ถ.เนรมิต ท่ าวัง

ห้ างโรบินสัน

ห้ างสหไทยพลาซ่ า

แยกคูขวางติดปั๊ มเชลล์

ตลาดเสาร์ อาทิตย์ ตลาดหัวอิฐ ตลาดท่ าม้ า

Jewels Of Nakhon Si Thammarat

Diamond & Gold 1. Naeramit Road (Tawang) Diamond 2. Robinson 3. Sahathai Plaza Gold 4. Ta Ma 5. Hau It 6. Ku Kwang(Near Shell Gas Station) 7. Weekend Market On-line Shop 8. www.facebook.com/BOONADA Gold (HTY) 9. Chuan Heng Hat Yai

Find Us On : See Kuang BJ Diamond Gold Page เพชรทองซีกวง WWW.SEEKUANG.COM Seekuang BJ

Boonypalika

boonada

088-761-2451

5


Nakhon Report โดย...กองบรรณาธิการ

“เ

มื่ อ ต้ น เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ที่ ผ ่ า นมา (2558) บริ ษั ท เกษตร ลุ่มน�้ำ ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท โอซาก้าแก๊ส ผู้ผลิต เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น เจ้า ของเทคโนโลยี่การกรองก๊าซชีวภาพที่มีค่ามีเทนต�่ำเป็นก๊าซที่มี ค่ามีเทนสูงเทียบเท่ากับก๊าซ NGV ที่ปั้มของ ปตท. เรียกว่า CBG ดร.กณพ บอกว่าการมีปั้ม CBG ท�ำให้เราไม่ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ จากอ่าวไทยหรือน�ำเข้าจากต่างประเทศ แต่สามารถผลิตได้เอง จากแหล่งวัตถุดิบหลากหลายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น น�้ำเสีย โรงงาน ขี้วัว ขี้หมู หญ้าหมัก บริษัท โอซาก้าแก๊สเป็นพันธมิตรของ ปตท. ทั้ง 2 บริษัทมีนโยบายสนับสนุนพลังงานสีเขียว จึงร่วมมือ ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้กับบริษัทท้องถิ่นที่มีความพร้อม ปลายๆ ปี 2558 ทีมวิศวกรและช่างฝีมือของบริษัทเกษตรลุ่มน�้ำจะท�ำงาน ร่วมกับคณะของบริษัทโอซาก้าแก๊สเพื่อออกแบบและก่อสร้าง สถานีต้นแบบเชิงสาธิต ให้เหมาะสมกับก๊าซชีวภาพที่ผลิตจาก วัตถุดิบของท้องถิ่น โดยบริษัทโอซาก้าแก๊สจะเป็นที่ปรึกษา ซึ่ง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนส�ำรวจออกแบบ หากได้ผลจะขยายต่อไป ‘สิ่งส�ำคัญคือการได้ท�ำงานร่วมกันและการถ่ายทอดความรู้และ ประสบการณ์ ใ ห้ กั บ ที ม งานท้ อ งถิ่ น ผมตั้ ง ใจให้ เ ป็ น โครงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านพลังงานสีเขียวให้กับทุกฝ่ายที่ สนใจ ทั้งสถานศึกษา ผู้ประกอบการและเกษตรกร’....” (เรื่อง : เทคโนโลยีภาคใต้วิจัยครั้งที่ 5 โดย จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร, เนชั่นสุด สัปดาห์ ฉบับที่ 1186 วันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2558) ต่ อ มาวั น ที่ 9 เมษายน 2558 นายชุ น มิ ม ากามิ รอง ประธานบริ ษั ท โอซาก้าแก๊ซ จ�ำกัด และคณะได้เดินทางมายั ง

6

ส�ำนักงาน บริษัทเกษตรลุ่มน�้ำ จ�ำกัด ต�ำบลช้างซ้าย อ�ำเภอพระ พรหม เพื่อลงนามความร่วมมือทางเทคโนโลยี ในการสร้างสถานี ต้นแบบส�ำหรับการผลิตก๊าซ CBG (Compressed Bio-Methane Gas) ซึ่ ง เป็ น ก๊ า ซชี ว ภาพที่ ไ ด้ จ ากการหมั ก หญ้ า เนเปี ย ร์ และ มูลวัว ซึ่งบริษัทได้ผลิตแก๊สชนิดนี้เป็นเชื้อเพลิงต่อระบบผลิตไฟฟ้า อยู่แล้ว ดร.กณพ เกตุชาติ ผู้บริหารบริษัทเกษตรลุ่มน�้ำ จ�ำกัด กล่าว ว่า “เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตแก๊สชนิดนี้ ส่วนบริษัทโอซาก้า แก๊ส เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในการกรองแก๊สเพื่อความบริสุทธิ์อยู่ ในระดับโลก จะน�ำเทคโนโลยีการกรองแก๊สมาร่วมมือ โดยล�ำดับ แรกนั้นจะมีก�ำลังผลิตแก๊สได้วันละ 1.5 ตัน เป็นเบื้องต้น ซึ่งหลัง จากการก่อสร้างแล้วเสร็จจะเริ่มผลิตได้ในช่วงต้นปี 2559 ด้วยการ ลงทุนราว 20 ล้านบาทเริ่มแรก” http://www.manager.co.th/Local/ ViewNews.aspx?NewsID=9580000041080

ก่อนลงนามความร่วมมือครั้งส�ำคัญ ดร.กณพ เกตุชาติ น�ำ คณะเข้ า เยี่ ย มคารวะ นายพี ร ะศั ก ดิ์ หิ น เมื อ งเก่ า ผู ้ ว ่ า ราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช และนายราชิต สุดพุ่ม ปลัดจังหวัด “วั นที่ 8เมษายน (2558) น�ำ คณะนั กลงทุนชาวญี่ปุ่น เข้า คารวะท่านผู้ว่าฯ และท่านปลัดจังหวัด นายมิยากามิ รองประธาน บริ ษั ท โอซาก้ า แก๊ ส น� ำ คณะมากั น สี่ ค นเพื่ อ ลงนามบั น ทึ ก ความ เข้าใจกับบริษัทเกษตรลุ่มน�้ำ ในการร่วมกันสร้างสถานีต้นแบบ ผลิตแก๊ส CBG จากหญ้าเนเปียร์ผสมขี้วัว ผลิตได้วันละ 1.2 ตัน หรือใช้เติมรถบรรทุก NGV ได้วันละห้าคัน เป็นสถานีต้นแบบขนาด เล็กแต่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ หากเสร็จใช้งานได้ประมาณต้นปี หน้า เราจะผลิตแก๊สเติมรถยนต์ได้เองจากวัตถุดิบในท้องถิ่นโดย ไม่ต้องน�ำเข้า แก๊ส NGV” (เฟซบุ๊ค : ดร.โจ ทีมสมนึก)


Nakhon Report

โดย...กองบรรณาธิการ

วิ

ลัย คเชนทร์ แม่บ้านชาวพิปูน รับซื้อเมล็ดเหรียง มานาน 4 ปี ฝักเหรียงจะสุกแห้งและร่วงหล่นลง มาราวๆ ปลายมกราคม ถ้าต้นไม่สูงเจ้าของจะสอยเก็บฝักลงมา ฤดูกาลปี 2558 วิลัยเริ่มซื้อเมล็ดเหรียงกิโลกรัมละ 160 บาท สะสมได้ 200-300 กิโลฯ ก็ใส่กระสอบผูกปากไปขายที่แหล่งรับซื้อ เจ้าใหญ่ในตลาดทานพอ กิโลฯ 180 บาท ต้นทุนกับผลก�ำไรกลาย เป็นทุนหมุนเวียนรับซื้อเมล็ดเหรียงที่ชาวบ้านน�ำมาขายต่อไป อ�ำเภอพิปูนอยู่ฝากตะวันตกของเทือกเขาหลวง ทิศตะวันออกจดอ�ำเภอพรหมคีรีและอ�ำเภอนบพิต�ำ เหรียงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลเป็นฝักกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่มีประมาณ 15-20 เมล็ด ต่อฝัก ฝักแก่แห้งเต็มที่มีสีด�ำ เมล็ดเหรียงฝักหล่นกับสอยลงจาก ต้น คุณภาพต่างกัน ฝักหล่นสามารถเก็บได้ถึง 3-4 ปี ต้นเหรียงขึ้น บ้านตามไร่มีเจ้าของ แต่บนภูเขาเป็นของป่า ปีนี้วิลัยรับซื้อเมล็ดเหรียงได้มากกว่าปีก่อนๆ เธอเปรยว่า เหรียงดกมาก กิตติศักดิ์ คเชนทร์ ลูกชายคนโต บอกแม่ว่าเหรียง ไม่ดก แต่ปีก่อนๆ ตอนราคายางกิโลฯ ละ 80-120 บาท ชาวบ้าน ปล่อยทิ้งฝักเหรียงไว้ใต้ต้น บนภูเขาไม่ค่อย มีใครขึ้นไปเก็บ ปีนี้ยางราคาต�่ำกว่า 50 บาท เหรียงกลายเป็นเงินเป็นทองเจ้าของต้องเฝ้า โคนต้น ส่วนบนภูเขาชาวบ้านแห่ขึ้นไปเก็บ บางวันข้ามสันเขาเข้าเขตอ�ำเภอนบพิต�ำ

เมล็ดเหรียงเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ชาวบ้าน เดินหาฝักเหรียงตามโคนต้น ไม่ปล่อยทิ้งเหมือนปีก่อนๆ จน ราคาลดลงมายืนที่กิโลฯละ 140 บาท ราคาซื้อขายขึ้นลงตาม ผู ้ ซื้ อ รายใหญ่ ที่ เ ก็ บ สะสมเมล็ ด เหรี ย งไปเพาะและส่ ง เหรี ย ง เพาะไปภูเก็ตวันละ 150 กิโลฯเท่านั้น ราคาเหรียงเพาะกิโลละ 150 บาท เมล็ดเหรียง 1 กิโลฯ เพาะเป็นหน่อเหรียงราวๆ 3 กิโลฯ เขาค�ำนวณปริมาณที่จะใช้ต่อปี เมื่อซื้อได้ตามต้องการก็ งดซื้อถือเป็นการควบคุมตลาดไปในตัว เหรียงเพาะที่มีกินไม่เคย ขาด ทั้งที่ตลาดบ้านดอน สุราษฎร์ธานีหรือเมืองนคร ล้วนมีเจ้า ใหญ่รับซื้อเมล็ดเก็บไว้เพาะขายส่งตลาดตลอดปี ไม่ต้องรอให้ ถึงฤดูกาลหรือหน้าลูกเหรียงอีกต่อไป เหรียงเพาะหรือลูกเหรียงได้จากน�ำเมล็ดแกะจากฝักไป ตั ดปลายแล้ว แช่ น�้ำ 1 คื น ก่ อนน� ำ ไปเพาะในดิ นที่ เ ตรียมไว้ รดน�้ำพอชื้นๆ 3 คืนรากเหรียงจะแทงออกจากปลายเมล็ดที่ตัดไว้ เมื่อน�ำไปล้างจะได้ลูกเหรียงสีเขียวนวล ถ้าเคี้ยวกินเปล่าๆ จะ ได้กลิ่นฉุนๆ ชาวใต้ใช้เป็นผักเหนาะ ช่วยลดความเผ็ดร้อนของ อาหารคาว บางบ้านน�ำไปดองเหมือนสะตอ จะแกงก็อร่อยชวน กินข้าวดีนัก โดยเฉพาะแกงกะทิกับหมูสามชั้นหรือเนื้อ ลูกเหรียง ให้แคลเซียม เบต้าแคโรทีน และวิตามินซีสูง กิตติศักดิ์ บอกว่าปีนี้เมล็ดเหรียงหาซื้อยากตั้งแต่ปลาย มีนาคม สัปดาห์แรกเดือนเมษายนก็ปิดฤดูกาล

7


cover story

เรื่อง : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร ภาพ : อดิศักดิ์ เดชสถิตย์

ไก่เอ๋ยไก่แจ้ ถึงยามขันขันแซ่กระชั้นเสียง โก่งคอเรื่อยร้องซ้องส�ำเนียง ฟังเพียงบรรเลงวังเวงดัง ถ้าตัวเราเหล่านี้หมั่นนึก ถึงคุณครูผู้ฝึกสอนสั่ง ไม่มากนักสักวันละสองครั้ง คงตั้งแต่สุขทุกวันเอย

วั

นอาทิ ต ย์ ที่ 5 เมษายน 2558 มี ง าน ประกวดไก่ แ จ้ ที่ ห อประชุ ม เทศบาล ต�ำบลท่าแพ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผมนึกภาพไก่หนุ่มไก่สาวสีสัน สวยงามบนหน้ า ปกและเนื้ อ ในของ @ Nakhon ประกอบกับความอยากรู้เรื่องราว เกี่ยวกับไก่แจ้ จึงฝ่าแดดไปงานประกวด ภายใต้ เ ต็ น ท์ ในสวนและภายในอาคาร เจ้าของไก่น�ำลูกไก่ขังกรงไว้จ�ำหน่าย รวม ทั้งไก่ส่งประกวดใส่กรงหลบร้อนไว้ใต้ร่ม เงา ไก่หนุ่มขัน งานนี้ ธีรยุทธ ถาวรพราหมณ์ หรือ สท.แป๋ม แห่งเทศบาลเมืองปากพูนเป็นผู้ จัด โดยได้รับงบฯ สนับสนุนส่วนหนึ่งจาก

8

(ผู้แต่ ง : หม่ อมเจ้ าประภากร มาลากุล) หนังสือสาระการเรี ยนรู้ พื้นฐาน ชุด ภาษา เพื่อชีวติ วรรณคดีล�ำน�ำ ชั้นประถามศึกษา ปี ที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544)

อบจ.นครศรีธรรมราช รวมทั้งห้างร้านน�ำ อาหารและน�้ำดื่มมาบริการฟรี สท.แป๋มเปิดเผยว่าอยากให้มีการส่ง เสริมอาชีพเลี้ยงไก่แจ้เป็นอาชีพเสริมสร้าง รายได้แก่ชาวบ้าน ตลาดไก่แจ้ทั่วประเทศ เติบโตขึ้นทุกขณะ มีทุนสัก 4,000-5,000 บาทสามารถเลี้ยงได้ กลุ่มไก่แจ้สวยงาม ในต� ำ บลปากพู น มี ส มาชิ ก เกื อ บ 50 คน ตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยน ความรู ้ --ส่ งเสริ มชั กจู งให้ เ ด็ กๆ และชาว บ้านเลี้ยงโดยแจกลูกไก่ และขายเป็นราย ได้ ลูกไก่สวยๆ ขายตัวละ 1,000 บาท ไก่


หนุ่มสาวสวยๆ ได้รับรางวัลชมเชยมาบ้าง ราษฎร์บู ร ณะ ที่ นั กเลี้ ยงไก่ สามารถแบ่ ง ตัวละ 8,000-10,000 บาท ส�ำหรับมือใหม่ สายพั น ธุ ์ ดี ๆ มาเลี้ ย งดู ใ ห้ ส วยงามส่ ง ถือว่าโก้มาก ประกวด คุ ณ สุ ทิน เป็ นลู กก� ำ นั น บ้ า นเกิ ด การจั ด ประกวดครั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ เงิ น สนั บ สนุ น จั ด ท� ำ ถ้ ว ยรางวั ล ประมาณ 150,000 บาท รายได้จากค่ารับสมัครไก่ ตัวละ 300 บาท ตั้งเป้าว่าเจ้าของไก่จะส่ง เข้าประกวดราว 300 ตัว คณะกรรมการ 90 คน มาจาก 4 ภาคทั่วประเทศ การจัดประกวดครั้งนี้คาดหวังสังคม จะมองเห็ น ความส� ำ คั ญ ผู ้ เ ลี้ ย งสามารถ สร้างรายได้เสริม และเกิดความสามัคคีใน กลุ่มคนเลี้ยงไก่ ผมได้ พ บและพู ด คุ ย กั บ คุ ณ สุ ทิ น วงษ์ใหญ่ อายุ 67 ปี ปัจจุบันเป็นนายก สมาคมไก่แจ้ไทย มีฟาร์มเลี้ยงไก่อยู่แถว

อยู่เพชรบุรี พ่อชอบเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวม ทั้งไก่ชนเพื่อเล่นการพนัน ส่วนเขาไม่ชอบ เพราะเห็นว่าทรมานสัตว์ พ่อให้ฝึกเลี้ยงไก่ แจ้ และเริ่มเลี้ยงอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะ รักตอนอายุ 20 ปี เลี้ยงต่อเนื่องมาตลอด 40 ปี มีผู้กระซิบว่าคุณสุทินมีไก่แจ้ราคา 300,000 บาท และราคาหลักแสนอีกหลาย ตัว เลี้ยงจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และอีก 2-3 ประเทศในยุโรป ที่นิยมเลี้ยงไก่ เคยอุ้มไก่แจ้สวยๆ ไปออก รายการ ‘คุณพระช่วย’ 3 ตอน ประสบการณ์ 40 ปี คุณสุทินสรุปให้ ฟังว่าเขาเลี้ยงเชิงอนุรักษ์ที่มีหลักการ 4 ข้อ ซึ่งท�ำให้การเลี้ยงด�ำเนินอยู่ได้ยาวนาน 1. เลี้ยงจ�ำหน่าย เหมือนเลี้ยงนกเขา เป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่า

9


มาเดินๆ ให้เขาเกรงใจ การประกวดทุกชนิดมีตุกติก เขาให้เกียรติคุณเป็นกรรมการ แต่คุณไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ กรรมการที่ท�ำตัวเป็นเซลส์ ขายแอร์ที่มีบริการหลังการขาย ผมเกลียดมาก หาคนเป็นกรรมการไม่ยาก วงการนี้ แต่หากรรมการ ที่เป็นคนหายาก 10

2. จ่ายแจกแก่เด็กๆ ที่มีใจรัก เพราะ คิดว่าไก่สามารถสร้างความรักความเมตตาขึ้นในใจ, ฝึกให้เขาดูแลรับผิดชอบ, เด็กๆ ได้ช่วยพ่อแม่ท�ำงาน, ขยันเรียน และห่าง ไกลยาเสพติด 3. เผยแพร่ ต้องเผยแพร่ความรู้เกี่ยว กับไก่แจ้ไทย ไก่แจ้คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งมีอยู่ หลายสิบสายพันธุ์ให้เป็นที่รู้จัก 4. พัฒนาสายพันธุ์ หลังจากเลี้ยงอยู่ นานคุณสุทินใช้เวลาพัฒนาสายพันธุ์ไก้แจ้ จนได้ไก่สีสวยๆ เช่น สีโกโก้เปรอะหรือสี กาบหมาก เป็นต้น คุณสุทินพูดถึงล�ำดับศักดิ์ของไก่แจ้ ว่ามีอยู่ 4 ชนิด 1. ไก่พญาเลี้ยง มี 40 กว่า สี 2. ไก่คนเลี้ยงมีสารพัดพันธุ์ เช่น ไก่วัด ไก่พื้นเมือง 3. ไก่เถื่อนหรือไก่ป่าเป็นไก่ ต้นตระกูล 4. ไก่สินบนหรือไก่ไหว้เจ้า ผู ้ อ ่ า นเห็ น อย่ า งไรลองใคร่ ค รวญ หรือตีความกันเอง ที่แน่ๆ การเลี้ยงไก่แจ้ สามารถเป็นอาชีพ ผมแอบเข้าไปเปิดดูลิงก์ รายการ ‘คุณพระช่วย’ คุณสุทินเปิดเผยกับ พิธีกรว่าไข่ไก่แจ้พันธุ์ดีจากฟาร์มคุณสุทิน ราคาลูกละ 500 - 1,000 บาท คุณสุทินสรุปประสบการณ์เป็นข้อๆ

ให้พูดง่ายเข้าใจง่าย อย่างอุปนิสัยของคน เลี้ยงไก่แจ้ต้องมีความรัก 1. พวกรักษ์-- ไม่ ต้องการให้ไก่ไทยสูญพันธุ์ 2. พวกรัก-- แค่ ได้ยินเสียงก็มีความสุข และ 3. พวกลักไก่ (อี แ อบ) พวกเอาไก่ บั ง หน้ า เข้ า สู ่ ว งการ แท้จริงมาหาประโยชน์จากชาวบ้าน ไป หลอกขายไก่สายพันธุ์ไม่ดีแก่ชาวบ้าน การจัดประกวดมีข้อดีอย่างน้อย 2 ประการ 1. คนรักไก่มีความสุข เกิดความ สนุกสนาน ไก่ได้ถ้วยรางวัลสามารถเอา ไปประดับบารมี 2. เป็นช่องทางจ�ำหน่าย ลูกไก่หรือไก่ที่ได้รางวัล คุ ณ สุ ทิ น มาร่ ว มงาน มาควบคุ ม กรรมการ “มาเดิ น ๆ ให้ เ ขาเกรงใจ การ ประกวดทุกชนิดมีตุกติก เขาให้เกียรติคุณ เป็ น กรรมการ แต่ คุ ณ ไม่ ใ ห้ เ กี ย รติ เ จ้ า ภาพ กรรมการที่ท�ำตัวเป็นเซลส์ขายแอร์ ที่มีบริการหลังการขายผมเกลียดมาก หา คนเป็ น กรรมการไม่ ย ากวงการนี้ แต่ ห า กรรมการที่เป็นคนหายาก” ขยายความบริ ก ารหลั ง การขาย หมายถึ ง เจ้ า ของฟาร์ ม ที่ เ ป็ น กรรมการ ตั ดสิ น ให้ ไ ก่ ที่ ซื้อจากฟาร์ มตั ว เองได้ถ้ว ย รางวัล เกิดประโยชน์ต่อเนื่องทั้งสองฝ่าย การประกวดถ้ า มี ก ฎข้ อ บั ง คั บ เข้ ม แข็ ง สามารถอนุ รั ก ษ์ ม รดกของชาติ ไ ม่ ใ ห้ สู ญ พันธุ์, ส่งเสริมให้เกิดรายได้ และถ้าการ ตัดสินสุจริตยุติธรรมจะเกิดความสามัคคี จะขยายแวดวงให้กว้างขวางออกไป “การประกวดคัดทั้งคนดีและไก่ดี” คุ ณ สุ ทิ น ต� ำ หนิ ต รงๆ ว่ า รั ฐ บาลไม่ เห็นความส�ำคัญ และไม่สนับสนุนเหมือน รัฐบาลญี่ปุ่น กรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ 3 กรม ได้ แ ก่ ก รมปศุ สั ต ว์ กรมประมงและกรม อุทยานฯ ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้เลย ภายในอาคารไก่ที่เจ้าของเช็ดหน้า ท�ำความสะอาดหงอน เล็บและแข้งขา หลัง


ลงทะเบี ย นชั่ ง น�้ ำ หนั ก แยกประเภทแล้ ว เจ้าของจะน�ำไปใส่กรงวางไว้ในอาคาร ไก่ บางตัวคึกคะนอง ตีปีกร้องอย่างร่าเริง บาง ตัวนอนนิ่งเพราะอากาศเริ่มอบอ้าว พยัคฆ์ กิ่มหลัก ประธานชมรมไก่ แจ้ภาคใต้ เดินทางมาจากกระบี่ เปิดเผย ว่าขณะนี้ภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด มีการเลี้ยง ไก่แจ้ขยายตัวเพิ่มขึ้น มีกลุ่มแล้วประมาณ 50 กลุ่มและผ่านการประกวดมาแล้วราวๆ 150-200 ตั ว เขาเองก็ พ ยายามพั ฒ นา สายพันธุ์ไก่ เพราะหลังเกิดไข้หวัดนกเมื่อ ปี 2548 เกิดเหตุสะดุดไม่สามารถพัฒนา ต่อยอดไปได้ บางอย่างสูญพันธุ์ เช่นไก่

ไทยสายพันธุ์กาบอ้อย กาบหมาก จ�ำเป็น ต้องหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาพัฒนาต่อยอด ให้ได้มาตรฐาน พยัคฆ์ มาร่วมงานในฐานะกรรมการ กลางชี้ ข าด หากการประกวดมี ป ั ญ หา ต้องชี้ขาด เขาเลี้ยงไก่แจ้มาตั้งแต่ปี 2535 ปัจจุบันที่บ้านเลี้ยงไก่แจ้ราว 100 ตัว อรั ญ ยอสิ น ธุ ์ บ้ า นอยู ่ เ กาะยอ ท�ำงานบริษัทด้านการเกษตรรายใหญ่ เพิ่ง เลี้ยงไก่แจ้ปี 2553 เพราะรักและมีความ รู้เรื่องเกษตรกรรม ขณะนี้บ้านที่เกาะยอมี ไก่แจ้เกือบ 40 ตัว เขาบอกว่าเลี้ยงหาราย ได้เสริมซึ่งเดือนหนึ่งๆ เขามีรายได้จากไก่

ไม่ต�่ำกว่า 5,000 บาท เขาอยากแนะน�ำให้ เด็ กที่ ครอบครั ว ยากจนในชนบทที่มีพื้น ที่ หั น มาเลี้ ย งไก่ แ จ้ เด็ ก จะได้ ใ ช้ เ วลาว่ า ง ให้เป็นประโยชน์ เกิดนิสัยรักสัตว์และไม่ สนใจยาเสพติ ด ส่ ว นตั ว เองนอกจากมี รายได้เสริม-- “เลี้ยงไก่แจ้ ท�ำให้สบายใจ ครับ” อรัญบอก จักรกริช วิมลกาญจนา ฉายา ‘บังรี่ บ้ า นไก่ แ จ้ ค ลองสามวา’ พาไก่ 8-9 ตั ว บรรจุลงกระดาษเจาะรูใส่รถตู้มากับเพื่อนๆ จากกรุงเทพฯ ไก่ไทยสายพันธุ์ไก่ป่าเหลือง ของเขาเพิ่งได้ถ้วยรางวัลชนะเลิศสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

11


ที่ ฉ ะเชิ ง เทราเมื่ อ ปลายวั น ที่ 22 มี น าคม 2558 แอบถามว่าราคาเท่าไร บังรี่บอกว่า 15,000 บาท ที่บ้านเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่แจ้มา นาน ช่วงนี้มีไก่ราวๆ 300 ตัว บังรี่เดินเข้า ออกอาคารกับกรงขังไก่หน้าอาคาร “ผมได้กับไก่มาเยอะครับ ทั้งรางวัล และรายได้ อย่างไม่มีอะไรเดือนหนึ่งก็ไม่ ต�่ำกว่าสามหมื่น เดือนที่แล้วได้แสนกว่า มาเที่ ย วนี้ เ อาไก่ ม าล่ ารางวัล แล้วค่อ ยๆ

หัว : มีขนาดใหญ่และกว้าง หรือ กลม สมส่วนกับใบหน้า หงอน : ใหญ่ สมส่ ว น เรี ย งเป็ น ระเบี ย บตั้ ง ตรง หรื อ เอี ย ง ล้มไปข้างใดข้างหนึ่ง เพราะ หงอนตั ว เมี ย ค่ อ นข้ า งบาง เบา และฐานหงอนไม่หนา เหนียง : ใหญ่ สมดุลกับหงอน ปลาย กลม ห้ อ ยอยู ่ ใ ต้ ค าง ผิ ว เหนียงหยาบ ปาก : สั้นและโค้งเล็กน้อย มั่นคง แข็งแรง ตา : กลม โต มีประกายสดใส ติ่งหู : ขนาดปานกลาง กลมรี เป็นรูปไข่ มีสีแดงเช่นเดียว กับหงอน (ยกเว้นไก่ป่า หู ขาว มีติ่งหูสีขาว) คอและขนของคอ : คอสั้น โค้งเล็ก น้ อ ย มี ข นสร้ อ ยคอหนา แน่น สวยงาม ปลายขนมล กลม หรือรี ล�ำตัว : เล็ก กลม สั้น กว้างและลึก อก : ใหญ่ กลม เต็ม ยื่นไปข้าง หน้า ท้อง : ช่ ว งท้ อ งสั้ น กลม เต็ ม มี ขนดก หนา นุ่ม ปีก : หนาและยาว ทอดขนาด กั บ ล� ำ ตั ว ปลายปี ก สั ม ผั ส พื้นตรงส่วนปลายของล�ำตัว หลัง : กว้ า งและสั้ น มากจนแทบ ไม่ มี ช ่ อ งว่ า งระหว่ า งพุ ่ ม สร้อยคอและโคนหาง สะ โพกมีขนคลุมหางพัดแน่น หาง : ห า ง ชั ย แ ล ะ ห า ง พั ด มี ลักษณะเหมือนกัน ใบใหญ่ ปลายมลเรียงเป็นระเบียบ ไม่ ต�่ ำ กว่ า ข้ า งละ 7 เส้ น

12

ทยอยขายออกไป เดิ น ทางไกลไก่ ช�้ ำ การประกวดที่กรุงเทพฯ ไก่ เ ยอะกว่ า เที่ยวนี้ถือว่าเล่นเอา เพื่อน” บังรี่พูดตรงๆ ซื่อๆ และน่าจะเป็น แรงบั น ดาลใจแก คนที่สนใจก็เป็นได้

(รวมหางชั ย ) ตั้ ง ตรง ไม่ เอี ย งไปข้ า งใดข้ า งหนึ่ ง แผ่ กว้ า งหรื อ แผ่ บ านประมาณ 90-150 องศา มองด้านข้าง จะเอนท�ำมุมมาด้านหน้าเล็ก น้ อ ย ไม่ ม ากจนดู เ หมื อ น หางอัด แข้ง : ใหญ่ กลม สั้น แข็งแรง หน้า แข้ ง สั้ น ประมาณ 1 องคุ ลี (3/4นิ้ว หรือ 2 ซม.) นับจาก สุ ดปลายขนด้ านหน้ า ถึ งข้ อ นิว้ แรกเกล็ดเรียงเป็นระเบียบ ไม่มีขน นิ้วเท้า : ขาแต่ละข้างมีนิ้ว 4 นิ้ว นิ้ว ตรง สั้ น กางได้ รู ป ข้ อ นิ้ ม เรียงเรียบร้อย แข็งแรงมีเล็บ สมบูรณ์ ขน : สะอาด นุ่ม หนาแน่น เป็น มันเงาสดใส น�้ำหนักตัว : ประมาณ 610 กรัม ถ้า น�้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐาน เกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้ มาตรฐาน

ศิรกิ ญ ั ญา ศรีศกั ดา ก�ำลังเรียน ม.2 โรงเรี ย นโยธิ น บ� ำ รุ ง เธอมากั บ พ่อ เธอบอกว่าที่บ้านมีไก่แจ้หลายตัว “เลีย้ งเพราะชอบและรักค่ะ มีความ สุ ข ดี วั น นี้ ม าทั้ ง พ่ อ และเพื่ อ นๆ ของพ่อ” บนเวทีมีถ้วยรางวัลวางเรียงราย อยูห่ ลายสิบใบ ไก่ลงทะเบียน 300 ตัว น่าจะมีรางวัลติดมือกลับบ้านบ้าง

หัว : มีขนาดใหญ่และกว้าง หรือ กลม สมส่วนกับใบหน้า หงอน : ใหญ่ หนา มี สี แ ดงตั้ ง ตรง เหมาะสมกับล�ำตัว ผิวหงอน หยาบเป็นเม็ดเล็กๆ คล้าย ก�ำมะหยี่ หรือทรายหยาบ หน้ า หงอนยื่ น จรดจงอย ปาก ท้ายหงอนโค้งกดตาม รูปหัวใจ จักหงอนมี 4-5 จัก (นั บ จากจั ก ที่ ติ ด กั บ จงอย ปาก ท้ายหงอนไม่นับ) เหนียง : ใหญ่ สมดุลกับหงอน ปลาย กลม ห้อยทาบไปตามล�ำคอ สวยงาม ผิวเหนียงหยาบ ปาก : สั้นและโค้งเล็กน้อย มั่นคง แข็งแรง ตา : กลม โต มีประกายสดใส ติ่งหู : ขนาดปานกลาง กลม รี เป็น รูปไข่ มีสีแดงเช่นเดียวกับ หงอน (ยกเว้นไก่ป่า หูขาว มีติ่งหูสีขาว) คอและขนของคอ : คอสั้น โค้งเล็ก น้อย มีขนสร้อยคอหนาแน่น สวยงาม ปลายขนแหลม ล�ำตัว : เล็ก กลม สั้น กว้างและลึก อก : ใหญ่ กลม เต็ม ยื่นไปข้าง หน้า ท้อง : ช่วงท้องสั้น กลม เต็ม มีขน ดก หนา นุ่ม ปีก : หนาและยาว ทอดขนานกับ ล� ำ ตั ว ปลายปี ก สั ม ผั ส พื้ น ตรงส่วนปลายของล�ำตัว หลัง : กว้างและสั้นมาก จนแทบไม่ มีช่องว่างระหว่างพุ่มสร้อย คอและโคนหาง สะโพกมี ระย้าหนาแน่น หาง : หางชัย 2 เส้น ยาวคล้ายดาบ

ชี้ขึ้นตรง สูงกว่าส่วนหัวประ มาณ 1 ใน 3 ของความยาม ทั้งหมด ขณะยืนหางจะแตะ สัมผัสกับท้ายหงอน หางพัด ลักษณะปลายมล เรียงเป็น ระเบียบ ไม่ต�่ำกว่าข้างละ 6 เส้ น แผ่ ห รื อ บานประมาณ 90-150 องศา ระย้าแซมหาง พัด (หางคุม หรือเครื่องคลุม) ปลายขนแหลมคล้ายใบข้าว มี 2 ถึง 3 ชั้น ระหว่างหางพัด ทั้งสองข้างมีขนบัวหงาย หรือ ขนอุยปิดก้นคลุมเป็นระเบียบ แข้ง : ใหญ่ กลม สั้น แข็งแรง หน้า แข้ ง สั้ น ประมาณ 1 องคุ ลี (3/4นิ้ ว หรื อ 2 ซม.) นั บ จากสุดปลายขนด้านหน้าถึง ข้ อ นิ้ ว แรก เกล็ ด เรี ย งเป็ น ระเบียบ ไม่มีขน นิ้วเท้า : ขาแต่ละข้างมีนิ้ว 4 นิ้ว นิ้ว ตรง สั้ น กางได้ รู ป ข้ อ นิ้ ม เรียงเรียบร้อย แข็งแรงมีเล็บ สมบูรณ์ ขน : สะอาด นุ่ม หนาแน่น เป็น มันเงาสดใส น�้ำหนักตัว : ประมาณ 730 กรัม ถ้า น�้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐาน เกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้ มาตรฐาน


1.สีเบญจรงค์ เลี้ยงไว้เสริมสร้างบารมี

2.สีโนรี เลี้ยงเป็นศรีแก่บ้าน

3.เลี่้ยงแล้วสุขส�ำราญบานใจ ต้องสีไก่ป่าเหลือง

4.เลี้ยงแล้วประเทืองปัญญา ต้องหาสีกาบหมาก

5. เลี่ยงแล้วจะมีดีหลากหลาย ต้องหาสีกาบอ้อย

6. เลี้ยงแล้วมีสินทรัพย์ไว้ใช้สอย ต้องเลี้ยงสีประดู่

7. เลี้ยงแล้วเสมือนมีครู ต้องเลี้ยงไก่ป่าหูขาว

8. เลี้ยงแล้วมีความสุขยืนยาว ต้องเลี้ยง สีเหลืองดอกโสน

9.เลี้ยงแล้วโก้ โอ่อ่า ต้องหาสีไก่ป่าเข้ม

10.เลี้ยงแล้วเต็มด้วยอ�ำนาจวาสนา ต้องหาสีเหลืองหางขาว

11.เลี้ยงแล้วสังคมดี ไม่ฉาว ต้อง เลี้ยง สีเหลืองลูกปลา

12.เลี้ยงแล้วเศรษฐีถามหาต้องเลี้ยง สีสร้อยสุวรรณ

13


Life

เรื่อง - ภาพ : ณัชญ์ คงคาไหว

14


าวนครรุ่นหลังที่ได้ยินเสียงเพลงนี้ อาจนึกฉงนว่าใครเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้องและท�ำนอง บางคนปักใจเชื่อว่าเพลงมาร์ช ลักษณะครูเอื้อ สุนทรสนาน (สุนทราภรณ์) เป็นผู้แต่งเหมือนเพลง ประจ�ำสถาบันต่างๆ หลายสิบสถาบัน เรือ่ งนี้ อาจารย์พฒ ั นชัย พันธุพ ์ ทิ ย์แพทย์ ปัจจุบนั อายุ 76 ปี และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับผู้ประพันธ์จะมาเปิดเผยว่าผู้ประพันธ์ เพลงๆ นี้ คือ อาจารย์อนิรทุ ธ์ พันธุพ ์ ทิ ย์แพทย์ ซึง่ มีศกั ดิเ์ ป็น ‘อา’ “อาอนิรุทธ์เป็นคนแต่งเนื้อร้องครับ โดยมีจมื่นมานิตย์นเรศ ร์ (เฉลิม เศวตนันท์) เป็นผู้ให้ท�ำนอง เรียบเรียงเสียงประสานโดย ประสาน สุทัศน์ ณ อยุธยา ด้วยเหตุผลขณะนั้นประเทศไทยได้ เข้าร่วมในสงครามมหาเอเชียบูรพา ท่านจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ท่านก็ออกประกาศนโยบายส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนในชาติได้เกิดความรักใคร่สามัคคี ทั้งต่อชาติบ้าน เมืองและท้องถิ่น ให้ถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาเฉก เช่นชาวตะวันตก มีการแต่งกายในชุดสากล พร้อมทั้งประกาศให้ ประชาชนได้เลิกกินหมากด้วย” อาจารย์พัฒนชัยเล่าย้อน บทเพลงสะท้อนภาพบ้านเมือง กับท่วงท�ำนองปลุกเร้าจิตใจ ฟังแล้วเกิดความรักความภาคภูมใิ จและหวงแหนบ้านเกิดเมืองนอน ขณะประพั น ธ์ อ าจารย์ อ นิ รุ ท ธ์ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เลขานุ ก าร ส�ำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ใกล้ ชิ ด กั บ คนในรั ฐ บาล จึ ง มี ค วามเห็ น สอดคล้ อ งกั บ นโยบาย และที่ ส� ำ คั ญ อาจารย์ อ นิ รุ ท ธ์ ท ่ า นรั ก และ ภูมิใจในบ้านเกิด ท่านจึงประพันธ์บทเพลงนี้ให้เป็น ประจ� ำ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช เมื่ อ บทเพลงแพร่ สู่สาธารณะก็ได้รับการยอมรับและยกย่องว่าไพเราะ สะท้อนภาพลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราชได้เป็น อย่างดี แม้แต่ จอมพลป. พิบูลสงคราม ก็กล่าวชื่นชม และมอบรางวัลให้อาจารย์ อนิรุทธ์ พันธุ์พิทย์แพทย์ อาจารย์อนิรุทธ์มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 2454 - 2538 รวม อายุ 84 ปี บ้ า นเกิ ด อยู ่ ต� ำ บลท่ า วั ง อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช (บริ เ วณตรอกฉาง) ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาขั้ น ประถมที่ โรงเรี ย นเทศบาลวั ด มเหยงคณ์ มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 ที่ โ รงเรี ย น เบญจมราชูทิศ มัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนวัดปทุมคงคา และ ปริ ญ ญาบั ต รจากคณะอั ก ษรศาสตร์ แ ละวิ ท ยาศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับราชการครูสามัญพิเศษโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครู มัธยมโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กองฝึกหัดครู กรมสามัญ ศึกษา ต่อมาโอนไปรับราชการในสังกัดสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

สะท้อนภาพลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราช ได้เป็นอย่างดี แม้แต่ จอมพล ป. พิบลู สงคราม ก็กล่าวชืน่ ชมและมอบรางวัล ให้อาจารย์ อนิรทุ ธ์ พันธุพ ์ ทิ ย์แพทย์ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และด�ำรงต�ำแหน่งอาจารย์ วิทยาลัยพลศึกษา กองส่งเสริมพลศึกษา วิทยาลัยพลศึกษาตาม ล�ำดับ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อปี 2485, บ.ช. ปี 2492, เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 ปี 2494, จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ปี 2495, จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ปี 2497, เหรียญจักรพรรดิมาลา ปี 2503, ต.ม. ปี 2508, ต.ช. เมื่อปี 2511 บั้นปลายชีวิต อาจารย์พัฒนชัยต้องการถ่ายทอดเรื่องราว ที่บางคนอาจเข้าใจผิดให้ถูกต้องอย่างภาคภูมิใจ และอยากให้ ชาวนครร่วมภาคภูมิใจ ทุกคราที่ได้ยินเพลงมาร์ชประจ�ำจังหวัด นครศรีธรรมราช เพราะท่านรับรู้เรื่องนี้อย่างใกล้ชิดนั่นเอง

15


Travel & Food

เรื่อง : มคธ เวสาลี ภาพ : ป๋องโฟโต้

‘โ

กเฮี้ ย ง’ คุณพ่อของโกเมศ นิคกรุงเทพ เขากลับมาท�ำธุรกิจ วิ ศิ ษ ฎ์ วุ ฒิ พ งศ์ ท� ำ งานที่ รับเหมาก่อสร้าง ปี 2540 เกิด ภัตตาคารจีนมีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ หลายปี ก่อนน�ำประสบการณ์กลับบ้านมาเช่าห้องแถว หน้ า โรงแรมเยาวราช ถนน ยมราช เปิ ด ร้ า นขายอาหาร จ�ำพวกโจ๊ก สะเต๊ะ กาแฟและ อื่นๆ ปัจจุบันโกเมศอายุ 44 ปี ตอนเขาเกิดพ่อเปิดร้านอาหาร อยูแ่ ล้ว หลังจบ ปสว.จาก ว.เทคเศรษฐกิจล้มเหลว ธุรกิจสะดุด ไปต่อไม่ได้ ปี 2541 เขาเปิดร้าน แต่ เ ตี๊ ย มตรงข้ า มตลาดคู ข วาง มีแม่ช่วยประคับประคอง 2 ปี ต่อมาร้านย้ายมาอยู่เยื้องตลาด คูขวาง (ร้านปัจจุบัน) ท�ำติ่มซ�ำ กว่ า 50 รายการบริ ก ารลู ก ค้ า เช้ามืดแม่ค้าเนื้อหมูและผักสดๆ

16

จากตลาดข้ามมาส่งทีร่ า้ น ร้านเปิดตั้งแต่ 05.00 น. พนักงานหญิง 15-17 คน กุลกี จุ อ บริ ก ารลู ก ค้ า ที่ ท ยอยเข้ า มานั่ ง ตามเก้าอีร้ ว่ ม 100 คน ติ่มซ�ำดูตามรูปล้วนอร่อย และน่ากิน หมูหมักไว้ล่วงหน้า 1-2 วัน สุวนิ รัตน์ ภรรภา - อดีต อาจารย์ ภ าษาอั ง กฤษเป็ น คน ปรุ ง ตามสู ต รเก่ า แก่ พนั ก งาน มาร้านตั้งแต่ย�่ำรุ่งมาช่วยกันห่อ และจัดท�ำอาหารแต่ละชนิดใส่ หม้ อ นึ่ ง ขนมจี บ เนื้ อ หมู ห วาน นุ่ม ฮะเก๋าเหนียวหนุบ เกี๊ยวกุ้ง เนื้ อ กุ ้ ง เต็ ม ค� ำ เกี๊ ย วเห็ ด หลิ น ขาว นึ่งจนเห็ดเปื่อยแทบละลาย คนชอบสาหร่ายต้องชิมหมูห่อ สาหร่ายไส้ปอู ดั สมั ย พ่ อ สั่ ง วั ต ถุ ดิ บ จาก เมืองตรังมาท�ำน�ำ้ จิม้ แต่วตั ถุดบิ


ตัวนัน้ ขาดๆ หายๆ พ่อจึงคิดสูตร น�้ำจิ้มที่เต็มไปด้วยกระเทียมสับ ให้กินกับแครอท แตงกวาและ ผั ก กาดหอม แถมสลั ด ผั ก จาน เล็กๆ แต่ละวันใช้น�้ำจิ้มมากกว่า 20 ลิตร ร้ า นสมบู ร ณ์ โ อชาตลาด คู ข วางบริ ก ารแบบเก่ า ลู ก ค้ า ไม่ต้องไปชี้ให้อบนึ่ง ร้านจะยก ติ่มซ�ำใส่ถาดมาวาง ไม่ต้องรอ นาน เลื อ กติ่ ม ซ� ำ ชนิ ด ที่ อ ยาก โกเมศ วิศษ ิ ฎ์วฒ ุ พ ิ งศ์ (เมศ) สุวนั รัตน์ วิศษ ิ ฎ์วฒ ุ พ ิ งศ์ (กบ) ถ.ปากนคร ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร. 075-317-065, 084-307-0482, กิน ทีส่ ำ� คัญราคาย่อมเยา ลูกค้า เที่ยวเมืองนคร อย่าลืมแวะไป 084-305-5993 ขาประจ�ำและขาจรเต็มร้านจน ชิมติ่มซ�ำอร่อยๆ น�้ำจิ้มรสเด็ดที่ ต้องขยาย อยู่เมืองนครหรือมา สมบูรณ์โอชา

17


Treasure & Magical โดย...เกียรตินคร

(สมบัติของ ระพีพันธ์ รักษาพงษ์ )

(1) มาจะกล่าวบทไป ถิ่นลิกอร์แต่เดิมเรื่มได้ยิน บ้านควนพังอ�ำเภอร่อนพิบูลย์ มีท่านขุนศักดาวุธเป็นบิดา ถือก�ำเนิด 6 มกราคม 2394 อุปสมบทเป็นภิกษลุเด็ดเดี่ยว เป็นพระสงฆ์อภิญญาปฏิปทาปฏิบัติ ฉายานั้น ‘ติสสะเถระ’ ระบือไกล หลังกลับรับเจ้าอาวาสวัดวัวหลุง ครองบรรพชิตเพื่อสู่นิพพานแดน จวบ 16 มีนาคม 2478 พ่อท่านซังมรณะละกายไป นับเป็นองค์อริยะสงฆ์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้คนต่างเลื่อมใสในอารี

ถึงเกจิย์ยิ่งใหญ่ในทักษิณ คือแดนดินก�ำเนิดท่านเกิดมา แหล่งรวมศูนย์เถระพระเหนือฟ้า น้องสุดท้องสี่ชายกล้ามารดาเดียว เมื่ออายุยี่สิบเอ็ดปีที่เฉลียว มิแลเหลียวสึกออกมาแต่นั้นไป ขานชื่อชัด ‘อธิการซัง’ แต่ครั้งไหน ออกธุดงค์ปลงจิตใจไปทั่วแคว้น วิปัสสนาหมายมุ่งพ้นหวงแหน อธิการซังไม่หวังแม้นยศฐาใด เสียงโศกเศ้าร้องแผดน�้ำตาไหล สิริอายุขัยสิ้นลง 84 ปี ชื่อเสียงเบิกเกริกไกรไทยวิถี พระครูอรรถธรรมรสที่มีวิชชา

(2) คือ 1 ในเบญจภาคีฤทธีเหรียญ อภิพลังมหาอุตม์หยุดศาสตรา ทั้งแผ่นดินนอบนบเคารพแล้ว มิ่งมงคลเลิศล้อมน้อมกราบกราน จึงยิ่งใหญ่แจ่มชัดถึงบัดนี้ จากพุทธศักราช 2480 จ�ำรูญเจือ เหรียญพ่อซัง รุ่น 1 ตะลึงโลก ทรัพย์ไหลหลั่งเนืองยิ่งศฤงคาร สืบสมบัติตกทอดให้พรอดพร�่ำ @nakhon ส่งอวยพรมหาชน

18

มิแปรเปลี่ยนต�ำนานการเก่งกล้า เสริมเมตตามากมหาปัญญาชาญ ดั่งวัตถุดวงแก้วแพร้วอาจหาญ ครอบคุ้มครองวงศ์วานทั้งว่านเครือ ประสบการณ์สดุดีที่ล้นเหลือ สร้างแจกจ่ายศิษย์เหรื่อเอื้ออวยทาน จักชุ่มโชคโยกมิติอภินิหาร ปวงบริวารซื่อสัตย์ก�ำจัดจน งามเลิศล�้ำสาดส�ำแดงทุกแห่งหน เถิดประสิทธิ์อิทธิดลตลอดกาล.!!


Art & Culture เรื่องและภาพ : ธง อาทิตย์

มษาหน้าร้อน ที่ร้อนจริงๆ จะอาบน�้ำ น�้ำก็ไม่ไหลอีก ขับรถ ออกนอกเมืองไปหาลมเย็นๆ ให้พอคลายอบอ้าว ผ่านเส้น ทางซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นทุ่งนา กว้างไกล ตอนนี้กลายเป็นตึก รามและหมู่บ้านจัดสรรไปเกือบหมดแล้ว นึกย้อนไปสมัยวัย เยาว์ ตอนที่เป็นเด็กๆ ช่วงนี้เป็นช่วงปิดภาคเรียน แล้วก็เป็น ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวพอดีเช่นกัน เด็กๆ นอกเมืองสมัยนั้นก็จะสนุกกับท้องไร่ท้องนา ได้ไป เรียนรู้วิถีชีวิตของครอบครัว เมื่อยังเล็กๆ ก็ได้แต่วิ่งเล่นไปตาม ประสา โตขึ้นมาหน่อยก็ช่วยพ่อแม่เก็บข้าวบ้างตามก�ำลัง ซึ่ง ท้องถิ่นภาคใต้บ้านเราก็จะเก็บข้าวด้วยอุปกรณ์ที่ไม่เหมือน ภาคอื่น ๆ เลย ก็เหมาะสมแล้วที่จะเรียกว่าเก็บข้าว เพราะต้อง เก็บเอาทีละรวง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ ‘แกะ’ นั่นเอง ซึ่งมีเฉพาะภาคใต้ เท่านั้น ลักษณะเป็นใบมีดโค้งท�ำด้วยเหล็กกล้า ยาวสัก 2 นิ้ว ครึ่ง เสียบติดกับแผ่นไม้ และมีไม้ไผ่เล็กๆ เสียบก้านยึดใน ทางขวางไว้เพื่อเป็นมือจับ โดยวิธีการจับจะจับด้วยการคีบไว้ ระหว่างนิ้วนางกับนิ้วกลาง ใช้นิ้วชี้กับหัวแม่มือจับรวงข้าวแล้ว สะบัดมือให้คมมีดตัดคอรวงให้ห่างจากรวงไปราว 4-5 นิ้ว เพื่อ ไว้รวบมัดเป็นเลียงข้าว ซึ่งผู้ใหญ่จะเป็นคนมัดเลียง เพราะจะ ต้องใช้อุ้งมือขนาดใหญ่ และแรงในการหักคอเลียงในการมัด คอเลียงข้าว เด็กๆ จะมัดไม่ได้ เพราะมือเล็กๆ และแข็งแรง ไม่พอที่จะมัดได้ เด็กๆ ก็ได้แต่ช่วยเก็บพอสักก�ำมือก็วางไว้ให้ ผู้ใหญ่เอาไปรวมมัดเป็นเลียง

นึกย้อนดูก็ช่างเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของบรรพบุรุษไทยภาคใต้ของเราที่เรียนรู้มาจากภูมิประเทศ และภูมิ อากาศที่เป็นเฉพาะภาคใต้บ้านเราเหมือนกัน เพราะบ้านเรา นั้นฝนตกทั้งปี บางครั้งบางปีฝนก็ตกจนมีน�้ำเจิ่งนองในท้องนา ยิ่งเป็นนาลุ่มก็ยิ่งมีน�้ำมากต้องลุยน�้ำเก็บข้าวก็มี เพราะฉะนั้น ข้าวพันธุ์ที่เอามาปลูกต้องเป็นข้าวพันธ์ุที่มีต้นสูงยาวให้ยื่นหนี พ้นน�้ำขึ้นมา เรื่องการเก็บข้าวก็แปลกตาส�ำหรับคนภาคอื่นๆ อยู่พอ สมควร เพราะภาคอื่นๆ จะใช้วิธีเกี่ยวข้าวด้วยเคียว โดยจะ รวบเกี่ยวคราวละหลายๆ ต้น แล้วรวบวางกองไว้เป็นฟ่อน ๆ รอเอาไปตี แต่ภาคใต้นั้นเก็บเป็นเลียงแล้วเอามานวดออกเป็น เม็ดข้าวเปลือก มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่ง ในขณะนั้นได้มาเป็นเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และ สงขลา ซึ่งตัวท่านนั้นเป็นคนสุพรรณบุรี ได้มาเห็นการเก็บข้าว ของคนภาคใต้ แล้วรู้สึกขัดตาขัดใจเป็นอย่างมาก ด้วยการท�ำ นาเกี่ยวข้าวของภาคกลางไม่ได้ท�ำอย่างนี้ เห็นว่าการเก็บข้าว ทีละรวงนั้นไม่ฉลาดเลย แลดูราวกับคนพิการท�ำงานนั่นเลยที เดียว จนถึงกับมีจดหมายไปถึงกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น จะขอให้มีการ ยกเลิกการเก็บข้าวด้วยแกะของคนภาคใต้ ด้วยเห็นว่าการ เกี่ยวข้าวด้วยเคียวน่าจะเหมาะสมกว่า โชคดีที่กรมพระยา ด�ำรง ฯ ไม่เห็นด้วย ไม่อย่างนั้นวันนี้เราอาจไม่รู้จัก ‘แกะ’ ไป แล้วก็ได้ โชคดีที่กรมพระยาด�ำรงฯ เข้าใจว่าภูมิปัญญาแต่ละท้อง ที่แต่ละท้องถิ่นย่อมมีที่มา ถึงได้สั่งสมสืบต่อกันมา จะมอง เพียงผิวเผิน อย่างขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงนั้นไม่ได้

19


างสาว ศ. กั บ นางสาว น. เป็ น ลู ก จ้ า งชั่ ว คราวของเทศบาลสาม ปี รับเงินเดือนสี่พันกว่าๆ สองสาวเรียน จบชั้ น ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ชั้ น สู ง สาขาคอมพิวเตอร์กับบัญชีจากสถาบัน เดียวกัน พวกเธอสมัครสอบและผ่ าน การคัดเลือกอย่างขาวสะอาด หรือพูด อี ก ที ว ่ า เข้ า ท� ำ งานโดยปราศจากเส้ น สาย ปีแรกสองสามอยู่คนละแผนก พอ ย่ า งเข้ า ปี ที่ ส าม นายกเทศมนตรี ผู ้ ม า จากการเลือกตั้งมีนโยบายโยกย้ายสับ เปลี่ ย นบุ ค ลากรตามความเหมาะสม พวกเธอจึ งถู ก ส่ งตั ว ไปยงกองอนามัย ได้ ฝ ึ ก อบรมเกี่ ย วกั บ งานสุ ข ภาพ อนามัย บางวันนั่งรถโมบายกับทีม งานตระเวนตามตลาดสด ช่ ว ยกั น ตรวจวั ด สารเร่ ง เนื้ อ แดงในเนื้ อ หมู สารฟอกขาวในถั่ ว งอก หน่ อ ไม้ ดอง เนื้ อ ขนุ น แก่ ป อกส� ำ เร็ จ กั บ กล้ ว ยแก่ หั่ น ชิ้ น พร้ อ มแกง ตรวจ วัดปริมาณสารเคมีตกค้างในพืช ผั ก และผลไม้ สารฟอร์ ม าลิ น ในปลาทะเล สารเคมี จ ากยา ปฏิชีวนะในเนื้อไก่ แล้วน�ำผล การตรวจจากกองอนามัยส่งไป ยังฝ่ายประชาสัมพันธ์เผยแพร่ สู่ผู้บริโภค พวกเธอทราบจากนายแพทย์ หัวหน้ากองอนามัยว่าปี 2548 กระทรวง สาธารณสุขมีค�ำสั่งให้ใส่ใจเฝ้าระวังไข้

20

เลือดออก เพราะประเทศไทยมีแนวโน้ม การแพร่ระบาดสูงขึ้น ขณะนี้กระทรวง พบผู ้ ป ่ ว ยทั่ ว ประเทศระหว่ า งเดื อ น มกรา-กุมภา 2,769 ราย เสียชีวิต 2 ราย ตั ว เลขชั ด เจนอยู ่ ใ นหั ว ของเธอทั้ ง สอง เมื่ อ ส� ำ นั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด รั บ ค� ำ สั่ ง จากกระทรวงต้ น สั ง กั ด แล้ ว มอบหมายมาตรการเฝ้าระวังต่อมายัง เทศบาล ซึ่งพุ่งตรงมายังกองของพวก เธอ ฝ่ า ยประชาสั ม พั น ธ์ มี ห น้ า ที่ แ จ้ ง

ข่ า วแก่ ป ระชาชนในเขตเทศบาลให้ ระมัดระวังยุงลาย โดยทุกบ้านช่วยกัน ก�ำจัด ลูกน�้ำ ยุงลายและยุงลายทุกเจ็ด วัน ตามปกติยุงลายจะวางไข่ในบ้าน

เรื อ นร้ อ ยละ 95 หลั ง ประชุ ม ตอกย�้ ำ แนวทางแนวทางป้องกันหรือตัดวงจร ชีวิตยุงลาย นางสาว ศ. กับนางสาว น. กลับบ้านไปเทน�้ำในถ้วยรองขาตู้กับข้าว อ่างน�้ำและใส่เกลือผงในภาชนะใส่น�้ำ ที่เป็นแหล่งวางไข่ของตัวต้นเหตุเหมือน เจ้ า หน้ า ที่ เ ทศบาลคนอื่ น ๆ แต่ รุ ่ ง เช้ า พวกเธอสองคนได้ รั บ มอบหมายงาน เฝ้าระวังลักษณะพิเศษจากนายแพทย์ หัวหน้ากอง “อย่างที่พวกคุณรู้กันอยู่แล้ว ยุง ลายเก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ฟักไข่ภายใน บ้านเรือน แต่เหลืออีกห้าเปอร์เซ็นต์ ฟักตัวเติบโตนอกบ้าน ตามป่า ตาม ภาชนะน�้ำขัง เทศบาลเรามีชุมชนอยู่ สามสิ บ แปดชุ ม ชน สภาพชุ ม ชนก็ แตกต่างกัน บางชุมชนอยู่ใกล้แหล่ง น�้ำ บางชุมชนมีป่าเป็นหย่อมๆ บาง ชุ ม ชนชาวบ้ า นทิ้ ง ของสกปรกลง คลอง พวกคุณสองคนต้องบุกเข้าไป ในทุกชุมชน..” นายแพทย์หนุ่มใหญ่ ผิ ว พรรณขาวหมดจด เขาอธิ บ าย ด้วยรอยยิ้มสนิทสนม “พี่ๆ ในกอง ต่ า งมี ง านวิ เ คราะห์ อื่ น ๆ ที่ ต ้ อ งใช้ ความรู ้ ที่ เ รี ย นมา อี ก อย่ า ง งาน เอกสารตกค้ า งต้ อ งเร่ ง ท� ำ ก็ เ ยอะ งานที่มอบหมายให้คุณสองคนเป็นการ เก็ บ สถิ ติ ส� ำ หรั บ พวกคุ ณ แล้ ว ไม่ ยาก เลย งานออกตรวจตลาดยากกว่าเป็น ไหนๆ”


นางสาว ศ. ถามแผ่ ว ๆ “ดิฉันกับคุณ น. ต้องท�ำอะไรบ้าง คะหัวหน้า” “อ๋ อ ..ไม่ มี อ ะไรยากเลย เพียงแต่เป็นงานเร่งด่วนสักหน่อย เท่านั้นเอง เราช้าไม่ได้ ท่านนายก เทศมนตรีสั่งก�ำชับลงมาแล้วว่าให้ รีบด�ำเนินการ เพราะไวรัสเดงกี่ตัวนี้ อันตราย มีทั้งหมดสี่สายพันธุ์ ขณะนี้ มี แ นวโน้ ม ว่ า จะพบในเด็ ก …ถ้ า ชนิ ด รุนแรงคนป่วยถึงขนาดช็อกได้” นางสาว น. รั บ ค� ำ สั่ ง อย่ า งหนั ก แน่น “พวกเราจะรีบท�ำงานให้เสร็จค่ะ ถ้าเป็นงานเก็บสถิติดิฉันคงพอท�ำได้ค่ะ เพราะเคยเรียนมาบ้าง”

ามวั น มาแล้ ว ที่ น างสาว ศ. กั บ นางสาว น. เดินเข้าเดินออกตาม ชุ ม ชนต่ า งๆ เพื่ อ เก็ บ สถิ ติ ม ายื น ยั น ความหนาแน่ น หรื อ แออั ด ของของ ประชากรยุงลายในชุมชน วิ ธี ท� ำ งานของพวกเธอดู เ หมื อ น จะง่ายดาย ไม่จ�ำเป็นต้องใช้เครื่องมือ แพทย์ ห รื อ วิ ท ยาศาสตร์ แ พทย์ พวก เธอถู ก กองอนามั ย สั่ ง ให้ ท� ำ งานภาค สนามด้วยกัน ห้ามแยกคู่อย่างเด็ดขาด ก�ำชับว่าต้องสวมกางเกงขาสั้นเท่านั้น ถ้าเลยหัวเข่าได้ยิ่งดี เสื้อที่สวมก็ต้อง เปิดแขนห้ามขัดขืน จากนั้นให้รีบพาตัว เข้าไปนั่งในท�ำเลอับๆ ชื้นๆ วิเคราะห์

แล้วว่าน่า จะมีประชากรยุงลายอาศัยพอสมควร กลิ่ น เนื้ อ ตั ว หอมกรุ ่ น ของสาวสะพรั่ ง จะเรี ย กยุ ง ตั ว ร้ า ยห้ า เปอร์ เ ซ็ น ต์ ต าม สถิ ติ ข องกระทรวงให้ บิ น ออกจากที่ ซ่ อ นมาดู ด เลื อ ดนั ก วิ จั ย ภาคสนามผู ้ ลงมาเก็บสถิติ สิ่งที่พวกเธอถูกสั่งให้ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด ก็ คื อ ปล่ อ ยให้ ยุงลายดูดเลือดจนแน่ใจว่าปากยาวๆ จมลงไปในเนื้ อ ไม่ ส ามารถถอนออก อย่างรวดเร็ว มีเวลาให้คู่ที่มาด้วยใช้ ถุงพลาสติกที่พับปากถุงเป็นขอบ จาก นั้นจึงค่อยๆ ครอบตัวยุง…ท�ำอย่างไร ก็ ไ ด้ ใ ห้ ยุ ง เลิ ก ดู ด หุ บ ปากถุ ง ให้ โ ป่ ง มี อากาศอยู่ข้างใน แล้วผูกหนังยางเก็บ

ตัวอย่างเอาไว้ ต้องระมัดระวังไม่ให้ ยุงตาย นักเก็บสถิติซึ่งกลายเป็นนัก วิจัยภาคสนามจะต้องนั่งนิ่งๆ เป็นเป้า ล่อ คอยจับยุงใส่ถุงผูกปากชุมชนละ 20 นาที ได้เท่าไรน�ำกลับมาส่งกอง อนามั ย น� ำ เข้ า ห้ อ งแล็ ป ส่ อ งกล้ อ งดู เพศ วิเคราะห์ความแออัดและปริมาณ ของลู ก น�้ ำ ยุ ง ลาย โดยค� ำ นวณจาก จ� ำ นวนที่ จั บ ได้ ภ ายใน 20 นาที ตาม ช่วงเวลาและสถานที่ ต่อจากนั้นกอง อนามั ย จึ ง จะก� ำ หนดมาตรการก� ำ จั ด โดยฉี ด พ่ น ยาตามชุ ม ชน หรื อ ป้ อ งกั น การแพร่ระบาดด้วยวิธีอื่นๆ แม้การเก็บ สถิ ติ วิ ธี นี้ จ ะย้ อ นกลั บ ไปสู ่ ยุ ค โบราณ เกรงว่ า จะเสี่ ย งติ ด เชื้ อ ไข้ เ ลื อ ดออก แต่ น ายแพทย์ หั ว หน้ า กองอนามั ย ได้ ย�้ำให้ความมั่นใจและให้ก�ำลังใจอย่าง อบอุ่น ก่อนพวกเธอจะออกปฏิบัติการณ์ ภาคสนาม “คุณ ศ. ถามผมว่าพวกคุณสอง คนจะติดเชื้อไข้เลือดออกตัวนี้หรือเปล่า ผมขอยืนยันด้วยเกียรติว่าพวกคุณจะไม่ เป็นไร.. คุณ ศ. กับ คุณ น.น่ะโตแล้ว”

(ผมเขียนเรื่องสั้น ‘ลูกจ้างชั่วคราว’ ตีพิมพ์ครั้งแรก ‘คม ชัด ลึก’ วันที่ 30 เมษายน 2548 ถ้าผู้อ่านสักคน ถามว่า ชื่อตัวละครท�ำไมจึงเป็น ‘คุณ ศ.’ หรือ ‘คุณ น.’ เขาไม่มีชื่อจริงหรือ ผมจะตอบว่า-- การเขียนคือ การสร้างความหมาย ณ ที่นี้ คุณ ศ.กับคุณ น. มีสภาพเหมือนคนไม่เต็มคน ไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจชื่อจริง เธอเป็นเด็กฝากให้มีหน้าที่การงาน แม้ไม่ตรงกับความสามารถ เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ก้มหน้ายอมรับ-แม้ให้ท�ำงานไม่ถนัดหรืองานเสี่ยง – ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีความมั่นคงในหน้าที่ ต้องท�ำทุกอย่างที่นายใช้.. เพื่อรักษางานเอาไว้ โชคดีที่ไม่มีใครถาม เข้าใจว่าผู้อ่านทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ดี)

21


Picture’s Talk โดย : ป๋องโฟโต้

22


Nature & WildLife เรื่อง : นายกระจิบ

ช่

วงเดือนพฤษภาคม คิดถึงสายลมเย็นๆ ตามป่าเขา เป็นช่วงที่ ‘ผีเสื้อ’ พาฝูงมา หากินเกลือตามดินโป่งหรือแอ่งน�้ำแฉะๆ ย่อมสร้างความส�ำราญใจแก่คนรักผีเสื้อได้ ไม่น้อย ผี เ สื้ อ (ฺ B utterfly ) มี วิ วั ฒ นาการมา ตั้ ง แต่ ยุ ค ครี เ ทเชี ย ส ( Cretaceous Peผีเสื้อจัดเป็นสัตว์เช่นเดียวกับแมลง riod) เมื่ อ กว่ า 65 ล้ า นปี ก ่ อ น เนื่ อ งจาก ซากดึ ก ด� ำ บรรพ์ ข องสั ต ว์ ใ นตระกู ล ผี เ สื้ อ ทั่ ว ไป ประกอบด้ ว ยล� ำ ตั ว ที่ ไ ม่ มี โ ครง มีน้อยมาก จึงท�ำให้การคะเนเกี่ยวกับต้น กระดูกภายใน แต่มีเปลือกนอกแข็ง เป็น สารจ�ำพวกไคติน (Chitin) ห่อหุ้มร่างกาย ก�ำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ภายในเปลือกแข็งเป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ ใช้ในการเคลื่อนที่ มีปีกเป็นแผ่นบาง 2 คู่ มี 6 ขา ปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กคล้ายฝุ่น เมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ท�ำให้ เกิดสีต่าง ๆ ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้าอยู่ใต้ หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน และ กลางคืน หลากหลายสายพันธุ์

วงจรชีวิตของผีเสื้อ มีดังนี้ คือ ระยะ ไข่ (Egg Stage) ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage) ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage) และ ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage) ผี เ สื้ อ มี ว งจรชี วิ ต ที่ สั้ น ทั้ ง นี้ ก็ ขึ้ น อยู ่ กับสายพันธุ์เช่นกัน เพราะผีเสื้อบางพันธุ์ มีอายุเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์ บางสายพันธุ์ มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุ ยาวนานในระยะเป็นตัวบุ้ง ขณะที่แมลง ชนิดอื่นๆ อาจหยุดการเจริญเติบโตในระยะ ไข่หรือระยะดักแด้ ความงามของผีเสื้อ ท�ำให้หลายพื้นที่ ในประเทศไทย จัดเทศกาลดูผีเสื้อกันเลย ทีเดียว เด็กๆ พบเห็นผีเสื้อคราใด ต้องมี ความรักความเมตตา เพราะผีเสื้อทั้งน่ารัก น่ามอง ช่วยให้โลกใบนี้น่าอภิรมย์ขึ้น ว่าแต่รู้แล้วใช่ไหม ผีอะไร สวยที่สุด!!

(ใกล้สี่แยกจรัส)

23


Dhamma Sabai-jai โดย...ร่มธรรม

รรมบรรยาย @วัดเสมาเมือง หัวข้อ ‘เหตุ แ ห่ ง มิ ต ร เหตุ แ ห่ ง ศั ต รู ’ คล้ายตั้งใจจะส่งผ่านให้คนไกลบ้าน ที่ มีโอกาสกลับมาเยี่ยมเยียนบ้านเกิดช่วง วันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ได้สดับรับฟัง มุ่งหมายให้เกิดความรักปรองดองในหมู่ คณะและเครือญาติ พระครูนครธรรมรัต (พระอธิการ อนุชิต เตชปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดเสมาเมื อ ง นครศรี ธ รรมราช ขึ้ น ธรรมาสน์ เทศนาหลังอุบาสก-อุบาสิกา สวดมนต์ กั น อย่ า งพร้ อ มเพรี ย ง ท่ า นให้ นิ ย าม ‘มิ ต ร’ ว่ า เป็ น ผู ้ ที่ เ กื้ อ กู ล มี ค วามมุ ่ ง ดี ปรารถนาดีต่อกัน ให้ความช่วยเหลือ ว่า กล่าวตักเตือน ไม่ปล่อยให้คิด-พูด-ท�ำ ในสิ่งผิด จะคอยป้องกันไม่ให้มีความ เสื่อมเสียเกิดขึ้น ส่ ว นศั ต รู นั้ น คื อ ผู ้ ล ้ า งผลาญ มี เจตนาตรงกันข้ามกับมิตรทุกประการ

24

เหตุแห่งมิตรนั้น พระครูนครธรรมรัต ท่านเทศนาว่าให้หมั่นเจริญเมตตา เพราะจะท� ำ ให้ มี จิ ต ใจที่ ผ ่ อ งแผ้ ว ตื่ น ก็เป็นสุข หลับก็เป็นสุข ไม่มีการเบียดเบียน ไม่คิดร้ายท�ำร้ายให้ใครได้เดือด ร้อน อันเป็นเหตุให้เขาไม่เกลียดชัง ไม่ เป็นสร้างศัตรู การได้อยู่ท่ามกลางมิตร ท� ำ ให้ อุ ่ น ใจ สบายใจ ไม่ ต ้ อ งกลั ว ภั ย และจะเป็นที่รักของคนทั้งหลาย จึงควร หมั่นเจริญเมตตาให้จิตเป็นกุศล ใบหน้า ยิ้มแย้มแจ่มใส และจริงใจกับทุกๆ คน ดุจเป็นญาติเป็นมิตรกัน ตรงกันข้ามกับเหตุที่ท�ำให้เกิดศัตรู ความไม่ปรารถนาดีต่อกัน มุ่งร้ายต่อกัน อิจฉาริษยา คิดร้ายกับผู้อื่นก็ชื่อว่าเป็น ศัตรู ย่อมมีเวรมีภัย มันท�ำให้การกินอยู่ ไม่ปกติสุข แต่หากมันพลาดไปมีเวรมี ภัยต่อกันแล้ว ก็จ�ำเป็นต้องเจริญเมตตา ให้มากขึ้น เปิดใจกว้างให้มากขึ้น เพราะ เวรไม่สามารถระงับด้วยการจองเวร คิด ร้ายกับเขา เขาย่อมคิดร้ายตอบ ให้สิ่งใด ไป ย่อมได้รับสิ่งนั้นกลับมา ฉันใดฉันนั้น ฉะนั้ น เหตุ แ ห่ ง มิ ต รหรื อ ศั ต รู จึ ง อยู่ที่เราเอง เราควรจะเป็นผู้มีปกติจิต กุศล มีปกติจิตผ่องใส คิด พูด ท�ำแต่สิ่ง ที่ดีงาม ไม่เบียดเบียนท�ำร้ายผู้อื่น เป็น ผู้มีความสงบ ไม่ผูกพยาบาท เบิกบาน เป็นสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ‘เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร’ -เท่านั้น ….สาธุ

บอกบุญ : โรงเรียนอนุบาลวัดเสมาเมือง (เพื่อการกุศลของวัด) ก�ำลังก่อสร้าง อาคารเรียนสูง 3 ชั้น (ลานอเนก ประสงค์-ห้องเรียน-ห้องพักครู) เพื่อรองรับนักเรียนในชั้น อ.1-อ.3 ในปีการศึกษาใหม่ อีกทางวัดเสมาเมือง ก�ำลังบูรณะศาลาหลวงปู่ทวด (ศาลาจัตุรมุข) พร้อมลงรักปิดทอง พระประธานในศาลาการเปรียญ ผู้มีจิตศรัทธา ติดต่อได้ที่วัดเสมาเมือง ต.ในเมือง จ.นครศรีธรรมราช


Child Care โดย...ชัญญภัทร

ทความจากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิ ริ ร าชพยาบาล กล่ า วถึ ง ความส� ำ คั ญ ของระเบี ย บวิ นั ย ในเด็กว่า เป็นโครงสร้างที่ผู้ใหญ่ก�ำหนด ขึ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ขั้นพื้นฐานในการ ควบคุ ม ตนเอง ภายใต้ เ งื่ อ นไขที่ จ ะเลื อ ก แสดงพฤติกรรมอันเหมาะสม และเป็นที่ ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้เด็กสามารถ ด� ำ รงชี วิ ต อยู ่ ใ นสั ง คมได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็ ก ๆ จะอยู ่ ใ นสั ง คมอย่ า งมี ค วาม สุข ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง และ ระเบียบวินัยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญ ถ้า หากปลูกฝังให้เด็กมีระเบียบวินัยแล้ว เด็ก ย่ อ มเรี ย นรู ้ ที่ จ ะเคารพในสิ ท ธิ ข องตนเอง และผู้อื่น เพราะในโลกของความเป็นจริง มีหลายสิ่งที่ไม่จ�ำเป็นต้องอธิบาย แต่เด็ก สามารถเรียนรู้จากการกระท�ำของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะช่วงวัย 6 ปีแรก ‘จะส่งผลต่อ ช่ ว งชี วิ ต ที่ เ หลื อ ทั้ ง หมด ทั้ ง ลั ก ษณะชี วิ ต ลักษณะนิสัย และลักษณะการด�ำเนินชีวิต’ ดังนั้นผู้ใหญ่ควรปลูกฝังระเบียบวินัย ให้กับเด็กๆ อย่างจริงจัง โดยเด็กส่วนใหญ่ ต้องการให้ผู้ใหญ่ควบคุมเขา แต่ไม่ใช่ด้วย การข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรง เพราะเด็ก อาจไม่ให้ความร่วมมือ และยังสุ่มเสี่ยงต่อ

การเสี ย สั ม พั น ธภาพที่ ดี ภายในครอบครัวอีกด้วย แล้ ว จะท� ำ อย่ า งไร เด็กๆ จึงจะให้ความร่วม มือ ค�ำตอบคือผู้ใหญ่ หรือ ผู้ปกครองควรสื่อสารกับ เด็ ก ๆ ให้ ชั ด เจน ถื อ เป็ น ข้อตกลงร่วมกัน โดยใช้ค�ำ พู ด ที่ ต รงไปตรงมาเกี่ ย ว กั บ กฎระเบี ย บของบ้ า น (หรื อ สถานที่ ต่างๆ) ซึ่งสมาชิกจะต้องร่วมกันปฏิบัติโดย ปราศจากข้อโต้แย้ง เช่น (ในครอบครัว) ลูกทุกคนจะต้องมาพร้อมกันที่โต๊ะอาหาร ตอน 6 โมงเย็น เมื่อทานเสร็จแล้วจะต้อง ช่วยกันเก็บถ้วยชาม ท�ำความสะอาดให้ เรียบร้อย ก่อน 2 ทุ่มจะต้องท�ำการบ้าน และทบทวนบทเรียน เข้านอนไม่เกิน 3 ทุ่ม ตื่นนอนไม่เกินเวลา 6 โมงเช้า ปัจจุบันเด็ก ติดเกมส์ ‘เกมส์ออนไลท์’ ทางโทรศัพท์มือ ถือหรือร้านอินเตอร์เน็ตกันมาก ผู้ปกครอง ควรก�ำหนดเวลาเล่นอย่างเคร่งครัด เป็นต้น ผู้ปกครองควรให้เด็กๆ เรียนรู้ขอบเขตของตนเองว่าสิ่งใดสามารถท�ำได้และ ท�ำไม่ได้ เช่น พี่โกรธน้องได้ แต่จะตีน้อง ไม่ได้ น้องโกรธพี่ได้ แต่จะพูดไม่สุภาพกับ พี่ไม่ได้ ฝึกให้พวกเขารู้จักการแก้ไขปัญหา

ด้ ว ยตนเอง แบ่ ง หน้ า ที่ ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ใ ห ้ ชัดเจน และเปิดโอกาส ให้พวกเขาได้แสดงน�้ำใจ ต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล กั น แนะน� ำ ให้ เ ขารู ้ จั ก คิ ด หาหนทางแก้ ไ ขกั บ สถานการณ์ต่างๆ สอน ให้รู้จักท�ำความดี เคารพ กฎกติกาของสังคม โดยอาจมีรางวัลเป็น แรงจูงใจบ้างเมื่อเขาท�ำได้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) โปรดไว้ในหัวข้อ ‘วินัยเรื่องที่ใหญ่กว่าที่คิด’ ว่ า วิ นัยเป็ น การจั ดสรรโอกาส เป็น ความ หมายเชิงบวก ท�ำให้ชีวิตและสังคมมีระบบ ระเบียบ ท�ำให้ท�ำอะไรได้คล่อง ด�ำเนินชีวิต ได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาสในการที่จะ ด�ำเนินชีวิตและท�ำกิจการของสังคมให้เป็น ไปด้วยดี ทั้งนี้ก็เพื่อโอกาสแก่การพัฒนา ชีวิต และสังคมมนุษย์ ระเบียบวินัยเริ่มที่บ้าน พ่อแม่ให้ค�ำ แนะน�ำอบรมอย่างเคร่งครัด พร้อมปฏิบัติ เป็ น ต้ น แบบ เด็ ก ๆ ก็ จ ะซึ ม ซั บ จนกลาย เป็นนิสัย ย่อมส่งผลให้สังคมพัฒนาในเชิง คุณภาพไปพร้อมๆ กัน

25


Playground โดย...โสฬส

ด้ แ สงแดดแรงๆ สั ก ชั่ ว โมง เดียว ‘ข้าวเกรียบว่าว’ แผ่น บางๆ กลมๆ ของคุณมาโนชญ์ หมื่ น มโน ตากไว้ ต รงลานข้ า ง บ้ า น ก็ ส ามารถเก็ บ เข้ า ร่ ม มา เรียงซ้อนแผ่น เตรียมจ�ำหน่าย ให้กับลูกค้าเจ้าประจ�ำได้แล้ว ข้ า วเกรี ย บว่ า วเป็ น ขนม ไทยโบราณ วั ต ถุ ดิ บ ใช้ ท� ำ ไม่ ยุ ่ ง ยาก ล้ ว นอยู ่ ใ นวิ ถี ชี วิ ต คน ไทยทั้งสิ้น อาทิ ข้าวสารเหนียว น�้ำตาล ไข่ เกลือ และเมล็ดงา ข้าวเกรียบว่าวย่างไฟขยายตัว เป็นแผ่นใหญ่ๆ สีกรอบแดงเป็น ความฝันของเด็กๆ เป็นของกิน เล่นๆ กินเพลินๆ พบเห็นชินตา ตามงานรื่นเริง งานเทศกาลหรือ งานประเพณีต่างๆ ทั้งยามเย็น ย�่ำและค�่ำคืน คุ ณ มาโนชญ์ (พี่ อ ้ อ ย) ภายในชุมชนมุมป้อม ต.ในเมือง จ.นครศรี ธ รรมราช อาจเป็ น แหล่ ง ผลิ ต ข้ า วเกรี ย บว่ า วราย ใหญ่และรายเดียวในเมืองนคร ที่ผลิตสืบทอดกันมากว่า 100 ปี “ผมจ�ำความได้--ลืมตามา ก็เห็นแม่เฒ่าท�ำข้าวเกรียบว่าว แล้ว ก่อนหน้านั้นอีกล่ะ เพราะ ฉะนั้นผมคาดว่าอาชีพนี้นับร้อย ปีคงพูดได้ หลังแม่เฒ่า-แม่ผม ก็ท�ำต่อ ตอนนี้แม่อายุ 70 กว่า ท� ำ ไม่ ไ หว ผมจึ ง สานต่ อ --ไม่

26

อยากให้สูญหาย อยากอนุรักษ์ ไว้ ใ ห้ น านที่ สุ ด เพราะมั น คื อ ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน...” พี่ อ ้ อ ยบอกกรรมวิ ธี ผ ลิ ต เริ่ ม ต้ น จากการน� ำ สารเหนี ย ว มาแช่น�้ำซาวทิ้งไว้ 1 คืน ก่อน น�ำมาใส่หวดนึ่งจนสุกเป็นข้าว เหนียวร้อนๆ แล้วน�ำมาต�ำ (เช) ในครกขนาดใหญ่ (ขั้นตอนการ ต�ำนี้ได้เหงื่อไม่น้อยทีเดียว) ต�ำ ให้ เ หนี ย วแตกเนี ย นเป็ น เนื้ อ เดียวกันดีแล้ว ก็เติมส่วนผสม ลงไป ทั้งน�้ำตาล เกลือ ไข่ เมล็ด งาด�ำ ตามสูตรที่สืบทอดมาและ เคล้าให้ทั่ว จากนั้นจึงน�ำมาปั้น เป็นก้อนๆ แล้วรีดให้เป็นแผ่น บางๆ น�ำออกตากบนสาดคล้า (เสื่อสานด้วยต้นคล้า) จนแห้ง “สมัยแม่เฒ่าเราขายแผ่น ละ 80 สตางค์ ลูกค้ า บางครั้ง ต้องนอนรอกันที่บ้านเป็น 2 คืน เลย เพราะเครื่ อ งไม้ เ ครื่ อ งมื อ ไม่ทันสมัย--ท�ำได้ช้ากว่า ตอน นี้ ข ายแผ่ น ละ 3.50 บาท วั น หนึ่งผมท�ำ 5 กิโล ลูกค้าหลักๆ เช่น ครัวนายหนัง (ย่างกันหน้า โรงหนัง ขายลูกค้าในร้าน) ร้าน ขายขนมใกล้สามแยกโพธิ์เสด็จ แม่ ค ้ า หน้ า โรงพยาบาลต่ า งๆ รวมทั้ ง ลู ก ค้ า เจ้ า ประจ� ำ และ ทั่ ว ไป ครั้ ง หนึ่ ง ผมภู มิ ใ จมาก คนต่างอ�ำเภออยากซื้อไปฝาก

พ่อเขา ผ่านวัดพระธาตุ--มือจบ หัว (ยกมือไหว้ท่วมหัว) บอกขอ ให้เจอร้านที่ขายข้าวเกรียบว่าว สุดท้ายก็มาจอดรถหน้าบ้านผม นึกแล้วขนลุกทุกที รู้สึกดีๆ ครับ” นอกจากข้ า วเกรี ย บว่ า ว พี่ อ ้ อ ยยั ง รั บ ท� ำ งานป้ า ย และ สกรีน ผ้าบาติก ปั้น แกะสลัก และจ�ำหน่ายลูกชิ้นหมูอีกด้วย เวลาแต่ ล ะวั น ถู ก จั ด สรรอย่ า ง รู้คุณค่า ไม่ปล่อยให้สูญเปล่า “บอกตรงๆ ว่ า ถ้ า ใครอยาก ได้ ค วามรู ้ เ รื่ อ งข้ า วเกรี ย บว่ า ว มาหาผมเลย ไม่คิดเงิน ไม่เอา ค่ า แฟรนไชส์ แค่ ต ้ อ งการให้ ภู มิ ป ั ญ ญานี้ ไ ด้ ถู ก สานต่ อ ไม่ สูญหายไปกับกาลเวลา คนรุ่น ก่อนบอกคนรุ่นเรา คนรุ่นเราจึง ควรบอกต่อคนรุ่นต่อๆ ไป มัน ยุ ติ ธ รรม ค่ า ของคนของศิ ล ปะ ภู มิ ปั ญ ญาก็ เ ท่ านี้ - -- สวยงาม แล้ว...” อยากกิ น ข้ า วเกรี ย บว่ า ว ย่างหอมกรุ่น เนื้อหวานกรอบๆ หรื อ สนใจเก็ บ เกี่ ย วเป็ น ภู มิ ปัญญาไว้ประกอบอาชีพ เชิญ แวะพูดคุยที่ร้าน ‘เส้นสายลาย ศิ ล ป์ ’ ถนนศรี ธ รรมโศก (ถนน ข้ า วเกรี ย บ) ใกล้ ส ามแยกวั ด มุมป้อม พี่อ้อย - มาโนชญ์ หมื่นมโน โทร.089-470-0932


27


28


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.