ฉบับที่ 2 ประจ�ำวันที่ 16 มีนาคม - 15 เมษายน 2558
1
2
วารสาร Is Am Are ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 วันที่ 16 มีนาคม - 15 เมษายน 2558
วารสารแจกฟรีรายเดือน
ส�ำนักงาน 321/50 ถ.หลังวิทยาลัยเทคนิค ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 075-313218, 081-7373310
ผู้จัดท�ำ
ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการ - การตลาด : ณัชญ์ คงคาไหว บรรณาธิการภาพ : สายันต์ ยรรยงนิเวศน์ ฝ่ายภาพ : อดิศักดิ์ เดชสถิตย์ กองบรรณาธิการ : ธวัช ฤทธิโชติ, อุทัย สันติวีรยุทธ, สรวิทย์ จิตต์มนัส, บูณณภัษ คงคาไหว ออกแบบรูปเล่ม : อารี มุทุกันต์ พิมพ์ที่ : เสือผินการพิมพ์ นครศรีธรรมราช โทร. 075-346 239, 084-188 0263
4....Is Am Are@nakhon 5....Biz News 7....Nakhon Report 8....Cover story
13....คนบนปก 14....Life 17....Food & Travel 18....Treasure & Magical 19....Art & Culture 20....Short Story 22....Picture TalK 24....Dhumma Sabai-Jai 25....Child Care 26....Playground
@nakhon Free Copy ฉบับปฐมฤกษ์ แจกจ่ายตามบริษัท ห้างร้านค้า ร้านอาหาร ร้าน กาแฟ สปอนเซอร์ ของเรา แจกจ่ายแก่บุคคลที่เคารพรัก นักอ่านผู้สนใจ เสียงตอบรับอบอุ่น น่ายินดี @nakhon แจกจ่ายออกไป 2-3 วัน นักปั่นชาวชิลี ฮวน ฟรานซิสโก อายุ 45 ปี เอาความ ฝันที่จะปั่นจักรยานครบ 5 ทวีป มาทิ้งบนถนนเมืองไทย เขากับภรรยาและลูกถูกกระบะชน ที่ จ.นครราชสีมา ฮวนเสียชีวิต ภรรยากับลูกบาดเจ็บ นักปั่นทั่วโลกโศกเศร้าซ�้ ำและจดจ�ำชื่อ ประเทศไทยไว้อีกครั้ง ปี 2556 ปีเตอร์กับแมรี่ ทอมสัน สามีภรรยานักปั่นชาวอังกฤษถูกรถ ชนเสียชีวิตที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ข้อเรียกร้องที่เสนอไว้ใน ‘นครเมืองปั่น’ ควรได้รับ ความสนใจจากผู้ขับขี่รถยนต์และนักปั่น อยากเสนอจังหวัดประเมินผล Bike Lane เลียบทาง รถไฟเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น @Life ทีมงานเก็บสาระส�ำคัญจาก งานปัจฉิมนิเทศที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช เชิญสุภาพสตรีนักปลุก พลั ง ชี วิ ต อั น ดั บ หนึ่ ง คุ ณ อั ม พาพั น ธ์ อมรวานิ ช ย์ ไปให้ แ นวทางต่ อ สู ้ แ ละ เสริมสร้างพลังชีวิตไปสู่ความส�ำเร็จแก่ นักศึกษา เปิดอ่านพลัน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 ในงานเปิด ศูนย์จ�ำหน่ายและบริการนิสสันนครศรีฯ (สุราษฎร์ปิยะ สาขานครศรีฯ) ถนนนครฯ-ร่อนพิบูลย์ ของคุณศุภพร ล่องดุริยางค์ -- คุณประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส การตลาดและการขาย บ.นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด พูดถึงการขยายตัวเมืองนคร ฝั่งใต้ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลมาเปิดสาขาว่าจะเป็นท�ำเลทองในอนาคต วั น ที่ 25 กุ ม ภาพั น ธ์ 2558 ได้ คุ ย กั บ คุ ณ พรรณพิ ศ เลขะกุ ล เจ้ า ของ/หุ ้ น ส่ ว น The Terrace Hotel ถนนอ้อมค่าย อดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยส�ำนักงานภาคใต้ ทราบว่าตอนสร้างโรงแรมปี 2555-56 มีคนบอกว่าไกลจากตัวเมือง ปัจจุบันเมืองขยายตาม อย่างรวดเร็ว ถนนอ้อมค่ายกลายเป็นถนนการค้าและการลงทุนแห่งใหม่ The Terrace Hotel อยู่ห่างสนามบิน 10 นาที ห่างตัวเมือง 6-7 นาที เมืองนครเติบโตเพราะมีศักยภาพในตัวเอง อยากให้มองเห็นตรงนี้ แล้วจะพบ ขุมทรัพย์
ด้วยความนับถือ จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร
3
ข่าวบุคคลขนาดกระชับ @nakhon ฉบับ ที่ 2 มีเสียงเรียกร้องจากแฟนๆ ให้เก็บ เรื่องราวน่าสนใจมาเขียนเยอะๆ
(เฟซฯ อดิศักดิ์ เดชสถิตย์) ร้านหนังสือ นาคร-บวรรัตน์ ปิดปรับปรุงยังไม่มีก�ำหนด เปิด อดิศักดิ์ เดชสถิตย์ ผู้จัดการแบกกล้อง ถ่ายรูป กล้องวีดิโอบันทึกภาพป้อน you tube โพสต์ลงเฟซบุ๊ค ภาพที่น�ำมาลงเป็นบรรยากาศ งานปัจฉิมนิเทศ ว.อาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2557 มีงานไม่ซับซ้อนยุ่งยาก ติดต่อ adisak29d@gmail.com หรือเฟซฯ ที่ วงเล็บไว้ข้างหน้า
(P&P อ้อมค่าย) วิโรชา เจียมกัลชาญ (ปิ๋ว) สุดปลื้ม เมื่อ อุดมศรี ประสิทธิผลทวี ‘พี่หนู’ รุ่นพี่กัลยาณีฯ ม.ศ. 5 รุ่นสุดท้ายแวะ มาเยี่ยมร้านเบเกอรี่ P&P ถนนอ้อมค่าย Short Profile : อุดมศรี แซ่ทั่ง เกิดที่ อ.นพพิต�ำ จ.นครฯ เรียนจบปริญญาตรี ม.รามค�ำแหง คณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ แต่งงานแล้ว มีลูกชายแสนรักแสนหวงอายุ 17 ปี ชื่อ อินทุ์ชนก ประสิทธิผลทวี ก�ำลังเรียนเกรด 11 โรงเรียนสาธิตนานาชาติ ม.มหิดล ศาลายา ปัจจุบันท�ำธุรกิจเกี่ยวกับ เรียล เอสเตท ที่ (ศูนย์ข่าวท่าศาลา) 3 มี.ค. 58 รังสรรค์ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ประสบการณ์ธุรกิจ 22 ปี รัตนสิงห์ นายอ�ำเภอท่าศาลา เป็นประธาน การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ รพ.ท่าศาลา, สภ.อ.ท่าศาลา, สนง.ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครฯ และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จ�ำกัด เพื่อ รณรงค์สร้างความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุทาง ถนน โครงการ ‘นครปลอดภัย ทุกวัน ทุกวัย สวมหมวกนิรภัย 100 %’ (อาคารมติชน กรุงเทพฯ) ธารา ศรีอนุรักษ์ ชาว อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครฯ บวชเรียนที่วัดธรรม โฆษณ์ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เขียนบทกวีใช้นาม ธาร ธรรมโฆษณ์ ลาสิกขาฝึกเขียนเรื่องสั้นใน นาม ธารา ศรีอนุรักษ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการ ประกวดเรื่องสั้นรางวัล matichon award 2014 รับรางวัลจาก ขรรค์ชัย บุนปาน ประธาน บ.มติชนฯ
4
(เฟซฯ Chiranan Pitpreecha) จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ น�ำสมาชิก กลุ่มสห+ภาพ มาเที่ยวงาน ‘มาฆบูชาแห่ผ้า ขึ้นธาตุ ปี 2558’ ภาพสวยๆ และเรื่องราว ดีๆ เกี่ยวกับกิจกรรมกรรม (มีชีวิต) ที่ผูกติด กับพระบรมธาตุเจดีย์คงเผยแพร่กว้างขวาง สู่ชาวโลกผ่านแนวคิดและมุมมองของนัก ประวัติศาสตร์
(เฟซฯ Thai Psu Tukta) กาญจนา ทองตะโก ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 2 ม.สงขลานครินทร์ (ปัตตานี) บ้านอยู่ปากนคร เสร็จสิ้นการฝึกสอน ที่กัลยาณีฯ ออกเที่ยวลัลล้าขุนเขา ทะเล น�้ำตก ให้คลายเหนื่อยก่อนอ่านต�ำราเตรียมสอบรรจุ (TAT Nakhonsi Thammarat) เที่ยวเมือง นครแบบติดดิน เชิญ ‘นั่งสามล้อชมเมือง’
(นครฯ) 5 มี.ค. อดิเทพ ทองศรี (อ๊อด สิชล) นักสร้างวัตถุมงคล ประสบการณ์ 23 ปี เริ่มจากสร้างเหรียญพระอุปัชฌา แก้ว อินทสุวัณโณ วัดปทุมยการาม ปี 2535 และวัตถุมงคลอื่นๆ อีกหลายสิบรายการ ‘อ๊อด’ บอกว่าก�ำลังจัดสร้างพระขุนแผน สูตรพระยาจูงนาง เคล็ดลับต�ำหรับ อ.ประสูติ ปิยธัมโม วัดถ�้ำพระพุทธโกษีย์ (ในเตา) อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เขารับมโนราห์ โรงครูมาร่วมฉลอง 3 วัน 3 คืน วัตถุมงคลออกในงานไหว้ครู ประจ�ำปีวัดในเตา 14 พ.ค. 58
ภาพ : กองบรรณาธิการ
Not only you are contented with our fine diamond and gold jewels, but community also enjoys
ห้ างสหไทยพลาซ่ า
ห้ างโรบินสัน
ตลาดหัวอิฐ
ตลาดท่ าม้ า
แยกคูขวางติดปั๊ มเชลล์
ถ.เนรมิต ท่ าวัง
ตลาดเสาร์ อาทิตย์
Jewels Of Nakhon Si Thammarat Find Us On : See Kuang BJ Diamond Gold Diamond & Gold 1. Naeramit Road (Tawang) Page เพชรทองซีกวง Boonypalika Diamond 2. Robinson 3. Sahathai Plaza Gold 4. Ta Ma 5. Hau It 6. Weekend Market WWW.SEEKUANG.COM Seekuang BJ 7. Ku Kwang (Near Shell Gas Station) On-line Shop 8. www.facebook.com/BOONADA 5 boonada 088-761-2451 Gold (HTY) 9. Chuan Heng Hat Yai
บริษัทฮอนด้าศรีนคร ร่วมงาน มหกรรมวิชาการเทคนิคนคร Open House ปีการศึกษา 2557 27-28 ก.พ. 58 รองผู้ฯ ศิริพัฒ พัฒกุล เป็ นประธานเปิ ดงานงาน มหกรรมวิชาการเทคนิคนคร OPEN HOUSE ปีการศึกษา 2557 ระหว่าง 27 – 28 ก.พ. 58 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช มีนิทรรศการ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การ ประกวดโครงการวิชาชีพตามหลักสูตร ระดับ ปวช. ปวส. และ การแสดง ผลงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนนักศึกษา บริษัทฮอนด้า ศรีนครได้รับเกียรติให้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย
หลังเปิ ดโชว์ รูมจ�ำหน่ ายและบริ การนิสสันสาขานครศรี ธรรมราช ไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ลูกค้าให้ความไว้วางใจ บจก. สุราษฎร์ปิยะ จ�ำกัด (สาขานครศรีธรรมราช) อุดหนุนกันอย่างคับคั่ง ณ ส�ำนักงานถนนนครศรีฯ-ร่อนพิบูลย์ อ.พระพรหม จ.นครศรีฯ
สนใจโฆษณา@NAKHON โทร. 075-313218, 081-7373310
6
Nakhon Report
โดย...กองบรรณาธิการ
ทราบว่าทุ่งสงวางแนวเป็นเมืองน่าอยูไว้อย่างไร เพราะหลักคิด เกี่ยวกับเมืองน่าอยู่ หมายถึงเมืองที่มีหลักประกันเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย ปลอดมลภาวะ เรื่องที่ต้องเร่งรัดเป็นพิเศษเห็นจะ เป็นกลิ่นจากโรงยางที่รบกวนชุมชนในบางเวลา แต่ที่น่าชื่นชม ของทุ่งสงก็คือมีสวนสาธารณะให้เป็นแหล่งออกก� ำลังกายและ
วั
นที่ 11-13 มิถุนายน 2558 ถาวรวั ฒ น์ คงแก้ ว นาย อ� ำ เภอทุ ่ ง สง ร่ ว มกั บ กรมท่ อ งเที่ ย ว กระทรวงการท่ อ งเที่ ย ว และกี ฬ า จั ด โครงการ ‘ทุ ่ ง สง เมืองต้องห้าม...พลาด’ แตกลูก (ซ้ าย) ดร.สรรค์ นันธ์ ตันติอุโฆษกุล อัครวงศ์ , ถาวรวัฒน์ คงแก้ ว นอภ.ทุ่งสง, พีระศักดิ์ หินเมืองเก่ า ผู้ว่าฯ ออกไปจาก ‘นครศรี ธ รรมราช นครศรีธรรมราช และ ศ.ดร.นิตย์ ศรี แสงเดือน อธิการบดี ว.เทคโนโลยีภาคใต้ (ภาพขวา) คลองท่ าแพ เมืองต้องห้าม...พลาด’ เปิดเมือง ตามนโยบายของกระทรวงการ สันทนาการ เทศบาลเมืองทุ่งสงร่วมกับประชาคมต่างๆ ในตัวเมือง และรอบนอกช่วยกันกอบกู้คลองท่าแพที่ไหลผ่านตัวเมืองให้เป็น ท่องเที่ยวและกีฬา ถือว่างานนี้อ�ำเภอทุ่งสงคิดเร็วท�ำเร็ว ทุ่งสงเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการศึกษาทางฝั่งตะวันตก แหล่งน�้ำสะอาด เทศบาลเมืองทุ่งสงเป็นต้นแบบเทศบาลที่จัด ของเทือกเขานครศรีธรรมราช สมัยก่อนเป็นตลาดรับซื้อยางและ สร้างโรงแยกขยะและน�ำขยะมาท�ำเชื้อเพลิงก้อนส่งขายแก่โรงปูน สินค้าจ�ำเป็น ชาวทุ่งใหญ่ นาบอน จันดี รัษฎา และห้วยยอด ทุ่งสง ซึ่งเป็นแนวคิดก�ำจัดขยะที่ทันสมัยและน่าเอาอย่าง เรื่องเมืองสวัสดิการเราไม่มีข้อมูล แต่อยากให้ชาวทุ่งสง จั ง หวั ด ตรั ง เข้ า มาซื้ อ ของกิ น ของใช้ ที่ ตั ว เมื อ งทุ ่ ง สงซึ่ ง มี ส าขา ทวงถามรูปแบบและรายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการจากอ�ำเภอ ธนาคารพาณิชย์ครบครันพอๆ กับตัวจังหวัด ทุ่งสงเป็นชุมทางรถไฟเพราะมีสินค้าเกษตร รวมถึงแร่ธาตุ ทุ่งสง เมืองสุขภาพ ถ้าปลอดจากมลภาวะหรือมลภาวะลดน้อย และนักเดินทางมาขึ้นที่นี่จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ต่างๆ ลง สิ่งที่ต้องท�ำคือการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกก�ำลังกาย จากโรงปูนซิเมนต์ทุ่งสง --ไม่ว่าล่องใต้หรือขึ้นเหนือ ทุ ่ ง สงเป็ น เมื อ งการศึ ก ษา มี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาอย่ า ง เช่น การต้นแอโรบิค ซึ่งทุ่งสงขึ้นชื่ออยู่แล้ว การปั่นจักรยานเพื่อ วิทยาลัยเกษตรกรรมไสใหญ่ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช สุขภาพ ทุ่งสงมีชมรมจักรยานที่แข็งแกร่ง ฝ่ายราชการทั้งจังหวัด มงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) เป็นแหล่งผลิต อ�ำเภอ เทศบาลและต�ำรวจร่วมใจกันสร้างบรรยากาศปลอดภัย บัณฑิตด้านการเกษตรรับใช้สังคมมายาวนาน ปัจจุบันสถาบัน จัดหาสถานที่และกระตุ้นให้ประชาชน ตอลดจนนักเรียนมีวิสัยอุดมศึกษาแห่งใหม่อย่างวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT.) ได้ ทัศน์เรื่องการรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทุ่งสงก็จะเป็นแบบอย่าง สร้างความเชื่อมั่นแก่นักศึกษาและผู้ปกครอง สถาบันแห่งนี้ผลิต ของ ‘เมืองต้องห้าม...พลาด’ ที่รับลูกไปขยายต่อได้อย่างทันการ บัณฑิตคุณภาพมาแล้วนับพันคน คณะผู้บริหารก�ำลังผลักดันยก และหลักแหลม โครงการนี้ พี ร ะศั ก ดิ์ หิ น เมื อ งเก่ า ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด ระดับเป็นมหาวิทยาลัยภายในเวลาไม่ช้าไม่นาน หลายๆ ครั้งจึงมีผู้เสนอยกระดับอ�ำเภอทุ่งสงเป็นจังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงานและร่วมสนับสนุนอย่าง แข็งแกร่ง ทุ่งสง รายงานชิ้ น นี้ เ ขี ย นก่ อ นวั น ที่ 11 มี น าคม จึ ง ไม่ ส ามารถ โครงการเปิดเมืองทุ่งสงครั้งนี้เพื่อผลักดันแนวคิด ‘เปิด 3 เมือง’ คือ เมืองน่าอยู่ เมืองสวัสดิการ และเมืองสุขภาพ เราไม่ บันทึกภาพกิจกรรมต่างๆ ได้
7
cover story
เรื่อง : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร
ภาพ : นัท ธีระกุล
จอม วิบลู ย์ กจิ กับทีเจ
8
ต้นเดือนตุลาคม 2557 จอม กิจวิบูลย์ ประธานชมรมขี่ม้านครศรีธรรมราช (NakhonSi Riding Club) บอกว่าขณะนี้กีฬาขี่ม้าในจังหวัดนครฯ ก�ำลังเติบโต ชมรมฯมีฐานะเป็นศูนย์ฝึก นักศึกษาสัตวแพทย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ทุ่งใหญ่) เป็นศูนย์รักษาม้าภาคใต้ เป็นสนามฝึกขี่ มีสมาชิกมากกว่า 200-300 คน มีคนรักม้าสร้างฟาร์มซื้อม้า พันธุ์ดีจากต่างประเทศ มาผสมขายลูกม้าและเปิดสอนขี่ม้า
จ
อมจบปริญญาตรีสาขาภาพยนตร์จาก ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เคยร่วม ผลิ ต ภาพยนตร์ โ ฆษณาหลายชิ้ น กั บ ที ม งานจากต่างประเทศ เขาฝึกขี่ม้าตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบ ขณะเรียนมหาวิทยาลัยเขาเป็น นักกีฬาขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวางสังกัดทีม HG (hot guard : ทหารม้ารักษาพระองค์) จอมเข้ามาบริหารชมรมเมื่อปี 2544 หลั ง ถู ก ทาบทามให้ ม าฝึ ก นั ก กี ฬ าขี่ ม ้ า เข้ า แข่ ง ขั น กี ฬ าแห่ ง ชาติ ปี นี้ เ ป็ น ปี ที่ 13 ชมรมอยู ่ ใ นสวนสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทร์ 84 (ทุ ่ ง ท่ า ลาด) โดยการสนั บ สนุ น ของ สมนึก เกตุชาติ อดีตนายกเทศมนตรีนคร นครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีสมาชิก 200300 คนปัจจุบันชมรมมีม้า 28 ตัว เป็นของ ชมรม 13 ตัว นอกนั้นมีผู้ฝากเลี้ยง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 อาจารย์ กับนักศึกษาสาขาสัตวแพทย์ ม.เทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย (ทุ่งใหญ่) เข้ามาที่คอกม้า ทุ่งท่าลาด นักศึกษามาเรียนตั้งแต่รุ่นแรก ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 7 “นั ก ศึ ก ษามาฝึ ก การดู แ ลม้ า เบื้ อ ง ต้ น การรั ก ษาเบื้ อ งต้ น การขี่ ม ้ า เพราะ สัตวแพทย์ต้องเข้าไปคลุกคลีกับสัตว์ ไม่ว่า จะเข้าไปจับหรือรักษา เพราะสัตว์พูดไม่ได้ การเรียนตรงนี้เพื่อให้กายได้สัมผัสกับม้า การใช้กายสัมผัส การเข้าหา การควบคุม เขาจะไปใช้ในชีวิตจริงซึ่งการขี่ม้าก็เป็นวิชา บังคับ” อาจารย์ สพ.ญ.บุ ญ ทริ ก านต์ วิทิตกรกุล (ป้อม) กับ อาจารย์ สพ.ญ. พุ ธิ ต า เรื อ งอารี รั ช ต์ (นิ่ ม ) เป็ น ชาว เชี ย งใหม่ เรี ย นจบคณะสั ต วแพทย์ จาก ม.เชียงใหม่ ตอนไปถึงผมพบนักศึกษา 5 คนกับอาจารย์ก�ำลังใช้เครื่องกระตุ้นกล้าม เนื้ อ ม้ า ที่ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ ตั ว หนึ่ ง ที่ ส ามารถ อ่านค่าความถี่บนจอมอนิเตอร์เป็นตัวเลข กระตุ ้ น เพราะต้ อ งการให้ ก ล้ า มเนื้ อ ของ ม้าท�ำงาน อาจารย์อธิบายว่าม้าแต่ละตัว
(ซ้ าย) อ.สพ.ญ.บุญทริกานต์ วิทติ กรกุล (เสือ้ สีฟ้า) อ.สพ.ญ.พุธติ า เรืองอารีรัชต์ กับนักศึกษา
อดทนต่อแรงกระตุ้นไม่เท่ากัน การกระตุ้น กั บ คลื่ น ไฟฟ้ า ไปที่ แ ผ่ น แปะที่ ตั ว ม้ า ต้ อ ง ค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ พอม้ากระตุกก็เท่ากับ ว่ากระตุ้นกล้ามเนื้อได้แล้วก็หยุด บางตัว ท�ำอยู่ราวๆ 10-20 นาที ส.พญ.พุ ธิ ตา บอกว่ า ม้ า เจ็ บกล้ า ม เนื้อใช้วิธีฝังเข็มจะดีที่สุด แต่ที่นี่ไม่มีใคร สามารถท�ำได้จึงต้องการะตุ้นให้กล้ามเนื้อ ขยันท�ำงาน กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บจะ แข็งแรงเป็นปกติ ความรู้เรื่องม้าผมน้อย กว่าจะสื่อความเข้าใจหน้าที่ของเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ตัวนี้เล่นเอาอาจารย์อ่อนใจ คุยยาวๆ กับ อ.สพ.ญ.บุญทริกานต์ เรื่องน�ำนักศึกษามาฝึกปฏิบัติจริง นักศึกษา ทุกคนเรียนหลักสูตรพฤติกรรมสัตว์มาแล้ว ทุกคนรู้วิธีอยู่กับม้า หรือท�ำอย่างไรจะไม่ ถูกม้าเตะ สัตว์อื่นๆ ก็เหมือนกัน เรื่องม้าถ้า เจ้าของคอกหรือเจ้าของหวงม้านักศึกษา ก็เกร็ง แต่ส่วนมากเจ้าของม้าเข้าใจและ ยินดีให้นักศึกษาเรียนรู้ เรื่องพวกนี้เข้าใจ ได้เพราะม้าแต่ละตัวราคาแพง ถามว่ามี นัก ศึก ษาสั ตวแพทย์ นั บถื อศาสนามุ สลิ ม
ภาพโดย ป๋องโฟโต้
บ้ า งหรื อ เปล่ า เธอว่ า มี เวลาเรี ย นตรวจ รักษาสุนัขพวกเขาจะยืนดู ถ้าตรวจรักษา หมูพวกเขาจะยืนดูเหมือนกัน การสัมผัสจับ ต้องไม่มี แต่ม้า วัว แพะ นกหรือสัตว์อื่นที่ ไม่ขัดหลักศาสนาจับต้องได้ นี่เป็นความรู้ ใหม่ของผม แต่เข้าใจว่าสัตวแพทย์ที่นับถือ ศาสนาอิสลามภาคสนามคงมีน้อย อ.สพ.ญ. พุธิตา เป็นรุ่นน้อง มช.ของ อ.สพ.ญ.บุญทริกานต์ 2 ปี ท�ำวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโทเรื่องการวางยาสัตว์ ชอบ ท�ำงานภาคสนามมากกว่าในห้องแล็ป จุด ประสงค์ในการวางยาม้า ล่อ สุนัข แมว ก็ เพื่ อ การผ่ า ตั ด รั ก ษาช่ ว ยสั ต ว์ ใ ห้ ห ายเจ็ บ ปวดหรือช่วยชีวิต รู้เพิ่มเติมอีกว่าอาจารย์ เป็ น นั ก ไวโอลิ น ประจ� ำ วง Sound Post Chamber Orchestra เชียงใหม่ และยังมี ฝีมือด้านเล่นเปียโนอีกด้วย อาจารย์บอก ว่าทุ่งใหญ่มีความชื้นมาก ไม่สามารถยก เปี ย โนมาได้ เ พราะเกรงเชื้ อ รา แต่ ถ ้ า มี คอนเสิร์ตวงจะส่งโน้ตมาให้ ซ้อมไวโอลิน กั บ โน้ ต ก่ อ นแสดงกลั บ ไปซ้ อ มกั บ วงสั ก 2-3 ครั้งก็เล่นได้
9
อ�ำไพ-ไกรวัลย์ ถาวระ ภาพโดยนัท ธีระกุล
วั น ที่ 1 มี น าคม 2558 จอมเข้ า พิ ธี สมรสกับพรพรรณ ศิริสุข งานแต่งกลาง วันจัดที่แกรนด์ปาร์คโฮเต็ล บรรยากาศใน งานตกแต่งสไตล์ฟาร์มม้า มีเพื่อนๆ ชาว ม้ า ไปอวยพรมากมาย ภาคค�่ ำ จั ด เลี้ ย ง ฉลองแบบเคาบอยในสนามหน้าชมรมที่ทุ่ง ท่าลาด ผมได้คุยกับ อ�ำไพ-ไกรวัลย์ เจ้า ของคอกม้ าหน�ำไพรวัลย์ ซอยหอไตร ต. ในเมือง อ.เมือง จ.นครฯ อ�ำไพเล่าว่าความชอบม้ามาจากสาย เลื อ ด สมั ย พ่ อ เป็ น ก� ำ นั น ที่ บ ้ า นมี ม ้ า เห็ น พ่อขี่ม้ามาแต่เด็กๆ พอมีลูกชาย-ธี ศิ ษ ฎ์ ถาวระ (โอม) ที่ชอบม้ามาก ลูกชายมา ฝึกหัดขี่ม้าที่ชมรมขี่ม้าสมัย ดร.ดนัย ลิมปดนัย กับครูๆ อีกหลายคน เธอเล่าว่าเมื่อ เห็นลูกชายอยู่บนหลังม้ารู้สึกว่าเขาสมาร์ท มาก จึงสนับสนุนให้ลูกขี่อย่างเต็มที่ ขณะ ลู ก ชายอยู ่ ม.1-ม.2 วั น จั น ทร์ - ศุ ก ร์ เ รี ย น ขี่ม้าที่นครฯ และทุกวันศุกร์หลังเลิกเรียน จะแบกกระเป๋าแบกอานม้าหนักอึ้งไปขึ้น รถไฟที่ ทุ ่ ง สง เพราะรถที่ น ครฯ ไม่ มี แ ล้ ว ไปส่งลูกกังวลว่าจะหลับเลยไป ลูกไปค่าย ทองฑีฆายุที่นครปฐมเพื่อไปเรียนหลักสูตร
10
การบริ บ าลม้ า เบื้ อ งต้ น ไกรวั ล ย์ บ อกว่ า ลูกชายยังไปเรียนเพิ่มเติมที่ค่ายศูนย์การ ทหารม้าสระบุรี (สม.) ที่ควบคุมดูแลทั้งม้า มีชีวิตและม้าเหล็ก พ่อแม่แสนจะเป็นห่วง เพราะลูกเดินทางคนเดียว ไปวันศุกร์เย็น กลับถึงบ้านวั น อาทิ ตย์ หัว ค�่ ำ แม้ สอนว่ า ถ้าลูกรักการขี่ม้าลูกต้องศึกษาม้าให้มากๆ ต้องให้ใจกับเขา ต้องเรียนรู้ว่าม้าต้องการ อะไร เราต้องการอะไรจากเขา ความสุข ที่ เ ราจะให้ เ ขาได้ ก่ อ นที่ ลู ก จะได้ แ ช้ ม ป์ ประเทศไทยมี น ายพลคนหนึ่ ง อยากได้ เยาวชนที่จะเป็นตัวแทน ตอนนั้นลูกก�ำลัง สอบ เราคิ ด ว่ า นี่ เ ป็ น โอกาสของลู ก มี ค รู สอนขี่ม้าเยาวชนที่เก่งมากชื่อ ร.ท.โสภณ แจ้งกระจ่าง มาถามว่าตอนนี้เป็นโอกาสดี จะให้ลูกไปขี่มั้ย เราก็ตกลง “เมื่อไปแข่งได้ พบกับ พล.ท.อัษฎางค์ โชติประศาสน์อินทาระ ปัจจุบันเป็นกรรมการกีฬาขี่ม้า นานาชาติ ท่านแนะน�ำกับโอมว่าการขี้ม้า เอนดูแรนซ์ ม้ากับคนต้องประสานเป็นใจ ดวงเดียวกันแล้วลูกจะประสบความส�ำเร็จ” การขี่ม้าแอนดูแรนซ์ (Andurance Ride) คือการแข่งม้ามาราธอนตามสภาพ ภูมิประเทศอย่างขี่ขึ้นเขา ลงห้วย ลุยน�้ำ หรือเข้าเมือง
โอมแข่งแอนดูแรนซ์ครั้งแรกที่สระบุรี คณะกรรมการปล่อยม้านับสิบออกจากเส้น สตาร์ท นักกีฬามีหลายระดับ หลายวัย มี ทั้งนักธุรกิจที่มีม้าราคาแพงๆ แต่งตัวเท่ๆ นักแข่งเหล่านี้ไม่ช่วยม้าเลย บนเส้นทางที่มี ทั้งก้อนหิน ก้อนกรวด ขึ้นภูเขา พวกเขาไม่ ลงจากหลังม้า “แต่โอมลงเดินแล้วยังปลด อานมาแบก เป็นภาพที่เราประทับใจมาก ลู ก เราพอแข่ ง เสร็ จ ยั ง ลู บ ไล้ พู ด คุ ย กั บ ม้ า อาบน�้ำให้ม้า พวกเพื่อนลูกๆ ก็ท�ำเหมือน กัน แต่คุณหนูๆ ลูกคนรวยขี่เสร็จแล้วเอา ม้าให้พลทหารพาไปอาบ เราปลูกฝังนิสัย รักม้าให้ลูก ตอนหลังเด็กที่เรียนจากชมรม นครฯ ที่เป็นตัวแทนไปแข่งที่ซาบาห์ก็ไปกัน อย่างทุลักทุเล ไปกันด้วยใจรัก” ตอนไปเรี ย นที่ อ อสเตรเลี ย โอมไป สมัครเป็นคนโกยขี้ม้าในฟาร์มม้าแห่งหนึ่ง ที่ เ จ้ า ของหวงม้ า อย่ า งมาก เขาดู แ ลม้ า อย่างดีเพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับม้า ต่อมา เมื่อเจ้าของฟาร์มม้ารู้ว่าโอมเป็นนักขี่ม้า เจ้าของให้ความรักและไว้วางใจอย่างมาก ม้าตัวแรกที่พ่อแม่ซื้อให้ลูกชาย ชื่อ แรนเจอร์ ซื้อจากนครปฐมมาฝึกซ้อม ต่อ มาลูกชายได้เป็นแช้มป์ถ้วยพระราชทาน โดยขี่ม้าชื่อบูมเมอแรง
ทิชาพันธุ์ ทิชนิ พงศ์ (เต๋ า) ภาพโดยนัท ธีระกุล
อ�ำไพเล่าย้อนว่า ม้าแรกจริงๆ ที่ลูก หัดขี่ชื่อม้าสีหมอก เป็นม้าบ้านตัวไม่ใหญ่ ลูกชายฝึกจูงฝึกขี่ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เธอ อ่ า นออกตั้ ง แต่ แ รกว่ า ลู ก รั ก ม้ า โดยสาย เลือด นับตั้งแต่ปู่ ตา ป้า และพ่อแม่ นั บ ตั้ ง แต่ ลู ก ชาย (ทายาทเจ้ า ของ หน� ำ ไพรวั ล ย์ รี ส อร์ ต ถู ก ยิ ง เสี ย ชี วิ ต ตามที่ เป็นข่าวใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช) จากไปเมื่อกลางเดือนมกราคม 2558 แม่ เขียนจดหมายถึงลูกทุกวัน เพราะช่วยให้ รู้สึกสบายใจขึ้นมาบ้าง เขียนบันทึกเก็บไว้ อ่าน “สิ่งที่เราฝันเกี่ยวกับเขามันหมดสิ้น แล้ว” ไกรวัลย์กับอ�ำไพยังดูแลรักษาม้าที่ คอกด้วยความรักใคร่ เห็นท่วงท่าของม้าที ไรก็ได้แต่นึกถึงลูกชาย ม้าทุกตัวเหมือนจะ รู้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นที่นี่
ทิ
ชาพันธุ์ ทิชินพงศ์ (เต๋า) เจ้าของ ฟาร์มม้า ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในกลุ่มบุกเบิกชมรมขี่ ม้านคร ร่วมขุดดินถางหญ้า สร้างสนามฝึก ขี่ม้าที่ทุ่งท่าลาด ฟาร์มของเขามีม้า 21 ตัว เต๋ า เล่ า ย้ อ นว่ า แต่ เ ดิ ม บ้ า นที่ มี ม ้ า มากที่สุด คือไร่คุณเจี้ยงหรือคุณจ�ำเริญ ลิมปิชาติ ตรงข้ามหาดสระบัว ที่ไปเอาม้า จากสนามบ้านไร่ที่หาดใหญ่มาเลี้ยง เป็น พ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ชื่อเปเล่กับบรองโก้มา ปล่ อ ยไว้ ใ นสวนมะพร้ า ว มี ม ้ า แกลบอยู ่ ด้วยตัวหนึ่ง สิบกว่าปีออกลูกเกือบร้อย ใคร จับก็ไม่ได้เพราะสภาพเป็นม้าป่า “เพื่อนผม เป็นอเมริกันชื่อ Galaway Alanspark เป็น เคาบอย มันไปจับได้เจ็ดตัวเอามาเลี้ยงไว้ที่ ซอยมะขามชุม (หลังวัดใหญ่ชัยมงคล) นั่น แหละที่เป็นจุดก�ำเหนิดของการสร้างสนาม ขี่ม้า” ถามว่าในเมืองนครมีเคาบอยราวๆ กี่ คน เต๋าตอบยิ้มๆ “เมืองนครมีเคาบอยแต่ง ตั ว อยู ่ ม าก น่ า จะหลั ก ร้ อ ย—ขี่ ม ้ า มี น ้ อ ย
ภาพโดยนัท ธีระกุล
เคาบอยขั บ ช็ อ ปเปอร์ ก็ มี ม าก เคาบอยขี่ ม้ามีน้อย เพราะม้ามีภาระเลี้ยงดู เว้นคนที่ ชอบจริงๆ ถึงซื้อมาเลี้ยง แต่ม้าที่ขี่กันที่บ้าน เราตัวมันเล็ก ของผม--ผมไปดูงานที่อาริโซน่า อเมริกา --ม้าไม่ใช่ว่าดีทุกตัว ตัวไหน ที่ไม่ดีเขาคัดออก เขาเช็คสมอง ลักษณะดี ไหม ม้าเขามีมาก เขาจะคัดแต่ม้าดีๆ ม้า ไม่ดีเขาก�ำจัดไป จะเอาไปท�ำอะไรก็ท�ำ แต่ ม้าที่ใช้งาน มาขี่เป็นม้าดีทั้งหมด เวลาเราดู เขาถ่ายหนังจะเห็นแต่ม้าสวยๆ ดีๆ บ้านเรา ไม่ค่อยมีม้า มาอย่างไรก็เอาแล้ว การผสม ของเราผสมกันมั่ว ของเขากว่าจะผสมเขา
ณทพชร สมเดช ภาพโดยอดิศักดิ์ เดชสถิตย์
เช็คสายพันธุ์ก่อน เช็คถึงปู่ย่าตาทวด ลูกม้า จะออกมามีคุณภาพหมด” คอกปากนครของเต๋ า ลงทุ น ซื้ อ พ่ อ พันธุ์ชั้นเยี่ยม ที่ประกวดได้รางวัลมาจาก อเมริกา ขั้นตอนการน�ำเข้าไม่ซับซ้อน แต่ ใช้เงินมาก “ม้าที่อเมริการาคาถูกมาก ถ้า ไม่ใช่เป็นม้ากีฬา หรือม้าฝึกแล้ว ม้าที่เลี้ยง ตามฟาร์มทั่วไปที่ยังไม่ฝึก ยังไม่ได้รับการ ยอมรั บ ราคาไม่ กี่ ห มื่ น บาท แต่ มั น แพง ค่าขนส่ง ถ้าเอาขึ้นเครื่องบินเราต้องซื้อตู้ คอนเทนเนอร์ ราคาตู้ราวๆ หกแสนใส่ได้ สามตัว เราซื้อกันสามคนก็แบ่งกัน กว่าจะ มาถึงเราม้าตัวหนึ่งราคาราวๆ ห้าแสน มา ถึงนครฯเขาจะขายหกถึงเจ็ดแสน เครื่อง ลงที่สุวรรณภูมิ เราต้องเอาเข้าคอกที่มีใบ อนุญาตกักโรค เสร็จแล้วเอารถบรรทุุกจาก กรุงเทพฯมาบ้านเรา” เต๋าเล่า ม้ า จากอเมริ ก าต้ อ งปรั บ ตั ว เรื่ อ ง อุณหภูมิ บางตัวเป็นลม ต้องเอาเข้าห้อง แอร์ หรือใช้พัดลม อยู่ในคอกต้องอากาศ โปร่ง หลังคาร้อนต้องใช้ไอน�้ำ ใช้เวลาเป็น ปีกว่าจะปรับตัวได้ เต๋าเลี้ยงด้วยฟางกับ อาหารส�ำเร็จวันละ 3 มือ เต๋าซื้อม้าจาก อเมริกา อาร์เยนติน่า และออสเตรเลีย เป็น ม้ามีประสบการณ์หรือม้าครูอายุราวๆ 15 ปี ไว้สอนฝึกขี่ม้า
11
เต๋ามีความสามารถทางดนตรี หลงใหลการขี่ม้า และสอนการขี่ม้าแบบเคาบอยอเมริกัน แตกต่างจากจอม กิจวิบูลย์ ที่ สอนการขี่ข้ามเครื่องกีดขวาง
แ
ดดร่มลมตก วันที่ 7 มีนาคม ผมชวน บรรณาธิการ ณัชญ์ คงคาไหว กับช่าง ภาพ--อดิศักดิ์ เดชสถิตย์ เข้าไปที่ฟาร์ม ของเต๋า ซึ่งก�ำลังสอนขี่ม้าแบบประกบตัว ต่อตัวให้กับ ณทพชร สมเดช (เจี๊ ย บ) แห่ง Bride Wedding Studio ถนนประตู ลอด เธอมาขี่ครั้งแรกก็ขึ้นม้า Jog ได้ (เต๋า
12
ว่าอเมริกาเรียก jog แต่ยุโรปเรียก Trot) ซึ่ง ไม่ง่ายเลย แต่เพราะม้าที่ก�ำลังขี่เป็นม้าครู คือ มีประสบการณ์ที่สามารถสอนคนฝึก ใหม่และใจดี ไม่ฉุนเฉียวหรือพยศ เจี๊ยบ บอกว่าอยากขี่ม้ามานานแล้ว รู้สึกเท่ดี คอกปากนครของเต๋ า มี ส นามฝึ ก สอนขี่ม้า 2 สนาม อยู่ติดคลองปากนคร บรรยากาศดีมีลมพัดเบาๆ สนามแรกเป็น สนามคนฝึกใหม่ถมทรายหนา สนามสอง ระดั บ ขี่ เ ป็ น แล้ ว ถมทรายน้ อ ยกว่ า ไม่ กี่ นาทีต่อมา ธิติ ตระกูลเมฆี กับปาลิกา จึงไพศาล เจ้าของแบรนด์เพชรทองซีกวง
พาลูกชายหญิง 3 คนมาฝึกขีม่ า้ 2 ใน 3 เป็น นางแบบรุน่ เยาว์บนปก @nakon ฉบับนี้ ก่อนจบรายงานชิ้นนี้ จอม กิจวิบูลย์ แจ้งว่า เมืองนครก�ำลังจะจัด Horse Fair ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราชราวๆ เดือนมิถุนายน 2558 โดยการ สนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), ท่ อ งเที่ ย วและกี ฬ าจั ง หวั ด นคร ศรีฯ, สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดนครฯ, ชมรม กีฬาขี่ม้าจังหวัดนครศรีฯ, ชมรมเคาบอย นครศรีฯ, ปศุสัตว์จังหวัดนครศรีฯ จังหวัด นครศรีฯ ซึ่งผู้ว่าฯพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า สนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ให้ยิ่งใหญ่ที่สุด ในภาคใต้ โดยเนรมิตพื้นที่ 45 ไร่ ริมถนน เฉลิมพระเกียรติ อ.ปากนคร (ตรงข้ามปั๊ม ปตท.) ให้มีบรรยากาศแบบเคาบอย (ผม อยากเรียกว่างาน Horse Fair) ที่น่าตื่นเต้น ที่สุด ชื่องาน ‘Cowboys Festival Vol.1’ มี ม้าจากที่ต่างๆ มาร่วมไม่น้อยกว่า 50 ม้า การแข่งขั้นจัดเตรียมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ขี่ม้าอ้อมถัง, เอ๊กซ์ตรีมเคาบอย และ มินิ โชว์ จัมพ์ปิ้ง หรือกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง จากนานาประเทศมาขี่ ม ้ า ตลอด จนโชว์ต่างๆ จากชมรมเคาบอย เช่น โชว์ ม้าสายพันธุ์ต่างๆ วัวและสัตว์ต่างๆ จาก ปศุสัตว์ มีกิจกรรมออกร้าน บูธอุปกรณ์ม้า และเคาบอย บูธของหน่วยงานต่างๆ เช่น สัตวแพทย์ เชื่อว่าเจ้าของคอกม้า นักกีฬา และคนรักม้ามาร่วมอย่างเนืองแน่น รอเที่ยวงาน Horse Fair นะครับ
คนบนปก
เรื่อง : กองบรรณาธิการ ภาพ : อดิศักดิฺ เดชสถิตย์
น
างแบบสดใส่ น ่ า รั ก รั บ ฤดู ร ้ อ น เป็ น 2 ศรี พี่ น ้ อ ง ปัณฑา ตระกูลเมฆี (น้องปัน) ก�ำลังเรียนชั้น ม. 3 โรงเรียน เบญจมราชูทิศ (EP) กันตา ตระกูลเมฆี (น้องกัน) ม.2 โรงเรียน เบญจมราชู ทิ ศ (EP) ลู ก สาวสุ ด หวงของธิ ติ ตระกู ล เมฆี กั บ ปาลิกา จึงไพศาล ปาลิกา เล่าว่ารู้จักรัติฟาร์ม (ของเต๋า) ดีอยู่แล้ว ประกอบกับ น้องร่วมรุ่น MBA รามค�ำแหงคนหนึ่งเขาลงเฟซฯ ก็ยิ่งสนใจ แล้ว มาเจอน้องอีกคนแนะน�ำให้มาดู จึงชวนสามี - ธิติกับลูกชาย ธัชพล ตระกูลเมฆี (น้องพล) ม.1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ (EP) พอมาถึง สองพ่อลูกก็ขึ้นม้าทันที รอบต่อมาก็ชวนลูกสาวมาด้วย แค่ครั้งแรก ทุกคนรู้สึกพึงพอใจ และอยากขี่กันอีก น้องปันบอกว่าอยากขี่ม้า เร่งรัดแม่ให้พามาส่งคอก พอมาถึงรีบลงจากรถไปสวมรองเท้า เมื่อ น้องเจี๊ยบลงจาก ‘อาปาเช่’ น้องปันก็ขึ้นม้าทันที ดูเธอมีความสุข น้องปันพูดจากใจว่า เป็นประสบการณ์ที่ดีจากครั้งที่ครูเต๋า สอนขี่ เลยอยากขี่ ครั้งนี้แค่ครั้งที่ 2 เท่านั้นเอง ท่วงท่าบนหลัง ม้าดูสง่างาม “สนุกมาก อยากขี่อีก ตอนแรกกลัว เพราะหนูกลัว สัตว์ทุกชนิด ตอนนี้กลัวม้าน้อยลงแล้ว สนุกเพราะได้บังคับ เคย ดูญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ ขี่ในละคร ‘สี่หัวใจแห่งขุนเขา’ แล้วเท่
รู้สึกอยากขี่ ทั้งที่กลัว เพราะญาญ่าเคยสัมภาษณ์ว่าเคยตกม้า พอ ขี่แล้วไม่ค่อยกลัว การขี่ม้าท�ำให้เรามีสมาธิ เพราะเราต้องจดจ่อกับ มัน คลายเครียดด้วย อากาศดี” น้องกันขี่ครั้งที่ 2 เหมือนกัน เธอบอกว่าสนุก ไม่เคยคิดว่าจะ ได้ขี่ม้า เวลาขี่ก็ตื่นเต้น กลัวนิดหน่อย น้องกันว่าม้าน่าจะเป็นหนึ่ง เดียวกับเราได้ คิดว่าจะขี่ต่อไป แรกๆ ก็เครียด ตอนนี้ไม่เครียด แล้ว เต๋าเป็นครูที่ดี สอนอย่างทุ่มเทคนต่อคน อาปาเช่ เป็นม้าครู เต๋าบอกว่าจะกอดก็ได้ ซบไหล่ก็ได้ จับ ขาก็ได้ ไม่ดุ ไม่กัด @nakhon โชคดี นึกไว้แต่ที่แรกว่าจะไม่ได้ภาพ ตามต้องการ เพราะนางแบบของเราก็เพิ่งขึ้นม้าใหม่ๆ จะควบคุม ให้ม้ายืนนิ่งๆ เห็นท่าจะยาก ไม่ต้องพูดถึงยืนถ่ายข้างๆ กอดม้า ถ้า ม้ากัดหรือเตะลูกสาวของเขาได้รับบาดเจ็บเราจะท�ำอย่างไร แต่ อาปาเช่เป็นคุณป้าใจดี รักและเอ็นดูนางแบบมาก ยืนให้ช่างภาพ บันทึกภาพตามต้องการ ขอบคุ ณ น�้ ำ ใจเอื้ อ เฟื ้ อ ของเต๋ า -ทิ ช าพั น ธุ ์ ทิ ชิ น พงศ์ ขอบคุณธิติ ตระกูลเมฆี ปาลิกา จึงไพศาล เด็กๆ ทุกคน พิเศษสุด ‘ม้าอาปาเช่’
13
Life
เรื่อง : ณัชญ์ คงคาไหว, ภาพ : ปกรณ์ ขันติยาภรณ์
อัมพาพันธ์ อมรวานิชย์ สุภาพสตรีวัย 61 ปี เจ้าของห้างผ้าโชคดี ตรงข้ามโรงแรมทักษิณ ต�ำบลท่าวัง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือใจกลางเมืองนคร เธอยังเป็นเจ้าของบริษัท อัมพาพันธ์ กับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เครื่องส�ำอางผิวหน้า ยี่ห้อ Namone’ Perfect Cream (นาโมเน่เพอร์เฟคครีม) และเป็นนักธุรกิจ ที่เอื้อเฟื้อสังคม ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์ ท�ำงาน ใช้ชีวิตเป็นวิทยาทานให้กับบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิต มองเห็นโอกาส ที่เป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ 14
อั
มพาพันธ์ เป็นลูกศิษย์ในสังกัดเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย ของ อาจารย์ศุภกิจ รุ่งโรจน์ เจ้าของธุรกิจ ‘พิซซ่าลอยฟ้า’ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในนาม ‘นักปลุกพลังชีวิต’ The Power of Change หรือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อัมพาพันธ์ อมรวานิชย์ ได้ รับเชิญเป็นวิทยากรไปปัจฉิมนิเทศผู้ส�ำเร็จการศึกษาของวิทยาลัย ศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ หนึ่งชั่วโมงที่อัมพาพันธ์ถ่ายทอดประสบการณ์แก่ผู้ส�ำเร็จ การศึกษา @nakhon เห็นว่ามีคุณค่ายิ่งจึงน�ำมาถ่ายทอดแบ่งปัน เรื่องขยะที่ช่วยชุบชีวิต เธอกล่าวต่อที่ประชุมว่า ทุกคนรู้จัก ขยะ เวลาขยะอยู่ในมือเราจะนึกถึงถังขยะ เราอยากเอาไปทิ้ง ไม่ อยากมีใครเก็บขยะไว้ เพราะไร้ค่า แล้วขยะชีวิตล่ะคืออะไร “สอบตกโดนแม่ตี กิ๊กทิ้ง...ที่เป็นเรื่องลบๆ ทั้งหมดคือขยะ จ�ำเป็นไหมที่เราต้องเก็บ เก็บไว้ทุกเรื่องราว ขยะชีวิต เก็บไว้นานๆ จะเกิดการทับซ้อน ต้อง‘แบก’ ครั้งแล้วครั้งเล่าแบกกันมาเท่าไหร่ ชีวิตจะมีแต่ความหนักอึ้ง แล้วจะเอาพลังมาจากไหน เก็บไว้หมด ชีวิตจะช้า เพราะมีแต่ขยะ..” เธออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่าขยะอยู่นานๆ ก็เน่าเสีย “ทีนี้พอแบกไว้นานๆ พัฒนาการต่อไปของมันก็คือ ‘ปมด้อย’ จากแบกมาเป็นปมด้อย เกิดอาการกลัว ไม่กล้า ไม่เก่ง ห่อเหี่ยว ท�ำให้ชีวิตไม่มีพลัง ต่อมาจากปมด้อยกลายเป็น ‘เงื่อนไข’ คือพอ ไม่กล้า ไม่เก่ง ไม่มั่นใจ ก็จะบอกว่าค่อยท�ำก่อน เอาไว้ก่อน ไม่ ได้ลงมือเพราะไม่มีพลัง แล้ววาระสุดท้ายของมันก็คือ ‘จุดบอด’ จุดบอดแปลว่าอะไรคะ แปลว่าใช้การไม่ได้ จบเลย-- มันล้วนมา จากตัวเองทั้งนั้น” เมื่อตัวเองเป็นสาเหตุแล้วจะแก้อย่างไร “ฉะนั้นเราต้องมองมุมกลับ จากเงื่อนไขให้มีปัญญา เอา ความผิ ดพลาดที่ ผ่ า นมาเป็ นบทเรี ยนให้ จดจ� ำ มั น มี ผลต่อ การ เดินไปข้างหน้าของชีวิตคุณ การจะมีพลังคือต้อง ‘ลบจุดบอด’ ท� ำ ให้ ชี วิ ต สมบู ร ณ์ แ บบ พลั ง บริ สุ ท ธิ์ อ ยู ่ ที่ ป ลายจมู ก เป็ น พลั ง ที่ ม หั ศ จรรย์ พลั ง จากธรรมชาติ ใ นตั ว เราที่ ทุ ก คนมี เราต้ อ งใช้ ‘กุญแจ’ มี Key Word เพื่อเปิดชีวิตที่ทับซ้อน ค้นให้พบ หาให้เจอ อยู่ที่ไหน ต้องมีตัวขับเคลื่อน เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ขยะ...” เธอเล่าย้อนกลับสู่วัยเด็ก ว่าคุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เธอยัง เล็ก ภาระจึงตกอยู่ที่คุณแม่ ฐานะไม่อ�ำนวยให้ได้เรียนหนังสือ ไปมากว่าชั้น ป.4 ทั้งที่สอบได้ที่ 1 มาตลอด ครั้นถึงวันมอบตัว ขึ้นชั้น ป.5 คุณแม่ไม่มีเงิน หาที่ไหนไม่ได้ ตัวเธอเสียใจอย่าง มาก พร�่ำบอก-ขอร้องว่าอยากเรียนหนังสือ ค�ำพูดค�ำเดียวที่ออก
15
ด้วยจิตส�ำนึกของคนที่เป็นลูกตอนนั้น ต้องพลิกสถานการณ์ ต้อง เลิกท�ำตัวซึมเศร้า คิดอย่างเดียวท�ำอย่างไรก็ได้ให้แม่ได้กินข้าว เพราะตอนนั้นเรามีสิทธิ์คิดได้อย่างเดียวคือข้าวสารมื้อต่อมื้อ เท่า นั้นจริงๆ และกระป๋องนมตามกองขยะก็คือข้าวสารของเรา...” เธอกล่าวย�้ำกับผู้ฟัง “จ�ำเอาไว้ แรงบันดาลใจ ท่านต้อง มีแรงบันดาลใจ แรงบันดาลใจของท่านอยู่ที่ไหน ค้นให้พบ อยู่ ที่ไหน หาให้เจอ เพราะแรงบันดาลใจคือแรงขับเคลื่อน คือกุญแจ คือ Key Word น�ำไปสู่ความส�ำเร็จ พลังอยู่แค่ปลายจมูก รู้แล้ว ชีวิตจะมีแต่ชีวิตชีวา ท้อเมื่อไหร่ ใช้ Key Word จ�ำเอาไว้....” มาคื อ ‘หนู อ ยากเรี ย นหนั ง สื อ ’ อ้ อ นวอนคุ ณ แม่ จ นน�้ ำ ตาแทบ เป็นสายเลือด ทุกคนต่างเสียใจ แต่ในวินาทีแห่งวิกฤต เธอกลับ เปลี่ยนสถานการณ์ได้อย่างเข้มแข็ง ด้วยจิตส�ำนึกของคนที่เป็น ลูก เพราะคนที่เสียใจที่สุดก็คือคุณแม่ นั่นคือจุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยนแปลงชีวิตของเธอ “เพราะแม่ ม ณเฑี ย ร นิ ล ประภา คื อ แรงบั น ดารใจของพี่
16
อั ม พาพั น ธ์ อมรวานิ ช ย์ มอบประสบการณ์ ดี ๆ แด่ นั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาจบใหม่ ๆ เป็ น ดวงไฟแห่ ง พลั ง ส่อ งทาง ชีวิต ไม่ให้ทดท้อ ยอมแพ้ อย่าสิ้นก�ำลังใจ ค้นให้พบเป้า หมาย เมื่อประสบความส�ำเร็จก็คืนกลับสู่สังคม เพราะเรา ได้รับจากสังคมมามาก คืนกลับโดยไม่หวังสิ่งใดๆ ตอบแทน แล้วชีวิตจะมีความสุข และ ความส�ำเร็จ
Travel & Food เรื่อง : มคธ เวสาลี ภาพ : ป๋องโฟโต้
เห็ดผัดเต้ าหู้ไข่
ไ
ปจิ บ เอสเปรสโซ่ ข มๆ คุ ย สบายๆ กั บ สุ ก ฤตา ชั ย นิ วัฒนา (มุก) และ วรัญญา มุสิกะ (แจ้) 2 หุ้นส่วนร้านอาหารมีเทสต์ ชื่อ Taste Me โครงการ I-Biz หลัง ร้านแมคโดนัลด์นครศรีธรรมราช อาคารพาณิชย์สองห้องสุดท้าย ของโครงการ ถนนพั ฒ นาการคูขวาง ส อ ง ค น เ ป ็ น ศิ ษ ย ์ เ ก ่ า เบญจมฯ สุ ก ฤตา จบวิ ศ วกรรม อิ เ ลคทรอนิ ก ส์ จากมหาวิ ท ยา ลั ย อั ส สั ม ชั ญ (เอแบค) กลั บ มา ท�ำงานช่วยครอบครัว—ร้านดุสิต โยธา ตรงข้ า มโบสถ์ เ บธเลเฮ็ ม วรั ญ ญา จบวิ ศ วกรรมศาสตร์ สาขาอุ ต สาหการ ม.สงขลา นครินทร์ ประสบการณ์ท�ำงานกับ ปูนซิเมนต์ไทย และโรงงานผลิต อะไหล่ของพี่ชาย
หลั ง คลอดสุ ก ฤตาสนใจ เรื่ อ งสุ ข ภาพ เธอฝึ ก เล่ น โยคะ จากวี ดิ โ อ ต่ อ มาเปิ ด สอนโยคะ เสื่ อ ที่ ห มู ่ บ ้ า นเมื อ งทองราวๆ 7-8 ปี และไปเรี ย นโยคะเพิ่ ม เติ ม ที่ BFIA Fly international Academ y รั บ ประกาศนี ย บั ต ร จาก Patricia Duchaussoy ประธานหลักสูตร ส่วนวรัญญา พบว่าบริเวณหน้าอกมีก้อนเนื้อ เล็ ก ๆ งอกขึ้ น เป็ น แนว จึ ง หยุ ด ท�ำงานมาดูแลร่างกาย เปลี่ยนแปลงวิ ถี ชี วิ ต หั น มาออกก� ำ ลั ง ฝึกโยคะและปรับอาหารเสียใหม่ ปี ก ่ อ นสองคนเปิ ด สอน โยคะฟลายที่ สี่ แ ยกประตู ชั ย เปิดขายน�้ำผลไม้ปั่นและคั้นแก่ ผู้มาเรียนโยคะ ที่ เ ก่ า บ้ า นชั้ น เดี ย วแคบ
มุก
ไป เพราะคนสนใจสุ ข ภาพมา เรียนโยคะเพิ่มขึ้น จึงย้ายมาอยู่ที่ โครงการ I-Biz เป็นอาคารสองชั้น ชั้ น บนสอนโยคะฟลาย ชั้ น ล่ า ง เปิดร้านอาหารสุขภาพตามความ ฝัน ตกแต่งร้านตามสไตล์ที่ตัวเอง ชอบ ไปทานที่ไหนเห็นสวยงามก็ เอามาประยุกต์ เก้าอี้ โต๊ะ ซื้อจาก Chic Republic ล้วนๆ ร้านดูโปร่ง สบายดี เมนูบางรายการผู้เรียน โยคะที่ต้องการจบวันด้วยอาหาร สุขภาพหลังฝึกโยคะ ที่นี่จึงเสิร์ฟ อาหารจานผั ก อย่ า งสลั ด ปลา แซลม่อนย่าง ราดน�้ำซอสสไตล์ ญี่ ป ุ่ น สลั ด ปลาทู น ่ า อาหารลู ก ผสมหรือฟิวชั่น (Fusion Food)
แจ้
อย่างพาสต้าน�้ำแกงขนมจีนเนื้อ ปลาทู น ่ า เผื่ อ บางคนอยากชิ ม อาหารรสชาติ แ บบปั ก ษ์ ใ ต้ ร ส เผ็ดนิดๆ ข้าวกล้องสีสวยๆ ข้าว หอมมะลิ กั บ ข้ า วหอมนิ ล หุ ง ปน กั น รั บ ประทานกั บ แกงกะทิ กุ ้ ง สดเห็ดแครง หอมกะทิ หอมข้าว รสกลมกล่ อ ม เผ็ ด พอดี ๆ ตาม ด้วยผัดเห็ดสามอย่างกับเต้าหู้ไข่ ถู ก ปากคนชอบเห็ ด แน่ อิ่ ม ข้ า ว ตบท้ า ยด้ ว ยกาแฟกั บ เค้ ก แต่ อยากแนะน� ำ ชาเขี ย วเย็ น เป็ น พิ เ ศษสั ก แก้ ว อบอวลด้ ว ยกลิ่ น ชาเขียวแท้ๆ ราดนมสดปั่น หรือ น�้ำผลไม้ปั่นแยกกากที่คืนความ สดชื่นอย่างรวดเร็ว Taste Me เป็นร้านอาหารของ คนรักสุขภาพ เปิด บริ ก ารทุ ก วั น โทร. ส� ำ รองโต๊ ะ ที่ 0814340570 (คุ ณ แจ้ )
17
Treasure & Magical โดย...เกียรตินคร
(สมบัติของ ระพีพันธ์ รักษาพงษ์) เกียรตินคร เขียน ๖ มีนาคม ๒๕๕๘
18
เนื่องบัดนี้สวรรค์เปิดบรรเจิดจ้า ยิ่งสุริยันส่องอาบฉาบประโลม องค์อุโฆษโชติช่วงห้วงพินิจ สังฆะเกจิฯสัพพัญญูผู้เกริกไกร
เมื่อ ๑ เดียวในใต้หล้าปรากฏโฉม กว่าดวงโคมประทีปแก้วแพร้วเพชรใด ถ้วนสุพิศงามพิสุทธิ์ผุดผ่องใส พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ลิขิตพร
พิมพ์โด่งดัง ‘สองขอบ’ นอบจ�ำแนก พุทธศักราช ‘๒๔๙๘’ แผดก�ำจร ฤทธิรุจพุทธคุณหนุนอ�ำนาจ ทั้งแคล้วคลาดปลอดภัยใครเมตตา
เรียงรุ่นแรก ‘ยอดนิยม’ บ่มสะท้อน เอี่ยมอมรคู่นาครป้อนนครา แผ่ผงาดสาดบารมีศรีวาสนา ศฤงคารทรัพย์นานาไหลบ่านอง
แห่ง ‘สวนขัน’ อารามอร่ามล�้ำ เมืองลิกอร์ก่อนิยามตามครรลอง คือ ๑ เดียวในใต้หล้ากล้าประกาศ รอยเขยื้อนซ�้ำพื้นเหรียญเนียนแยบยล
‘บ้านจันดี - ฉวาง’ น�ำพร�่ำสนอง จึงสมปองเอกอรหันต์อนันตมนต์ พิศพิลาสวาดประดิษฐ์วิจิตรฉงน ตื่นตะลึงล่วงหลุดพ้นกลวิธี
จักหาไหนเล่าเปรียบเทียบที่ซึ่ง เหตุบังเอิญทุกประการบันดาลมี เนื่องบัดนี้สวรรค์เปิดบรรเจิดแจ้ว อันเอกองค์ร�่ำลือเลื่องเรืองชัชวาล
ด้วยนับหนึ่งถึงตระหนักศักดิศรี แสนมหัศจรรย์ลั่นพสุธีอลังลาน เมื่อ ๑ เดียวปรากฏแล้วอภิรฐาน เป็นสมบัติแห่งต�ำนานสะท้านแผ่นดิน
Art & Culture เรื่องและภาพ : ธง อาทิตย์
ย
ามนี้อากาศร้อนเข้าหน้าแล้ง ความร้อนแผ่มาก็นึกถึงความ เย็น นึกถึงความร่มรื่นของร่มเงาใบไม้ แล้วก็ให้ระลึกถึงท้อง ทุ่งนา คงเพราะเราได้เห็นได้โตมาจากท้องนาป่าล�ำเนา เห็นความ เปลี่ยนแปลง เห็นวิวัฒนาการ จากนาข้าวกลายเป็นสวน จาก ความอุดมสมบูรณ์กลายเป็นความแห้งแล้ง นึกถึงล�ำธาร คูคลอง ร่ อ งน�้ ำ การเดิ น ทางจากเรือ เป็นรถยนต์ การขนข้าวของต่ า งๆ สะดวกสบายขึ้น เลยนึกไปเรื่อยถึงการขนข้าวกล้าข้าวเลียงด้วย ‘หนวน’ ‘หนวน’ เป็นเครื่องมือใช้ขนข้าวของอย่างง่ายๆ ของคนใต้ ใช้ ในที่มีลักษณะกันดาร ไม่มีถนน คู่เคียงไปกับ ‘ทางควาย’ (บางแห่ง เรียกทางพลี) ทางที่เป็นสาธารณะที่ชาวบ้านชุมชนแบ่งเสียสละ ไว้ให้ได้ใช้เดิน ขนข้าวของเปรียบปัจจุบันคือถนนหนทาง แต่ทาง ควายคนในอดีตเขาห้ามปิด ห้ามขวาง ด้วยความเชื่อที่ว่ายังแต่ ความเดือดร้อนฉิบหาย แก่ผู้ปิดผู้ขวาง หรือยึดเป็นเจ้าของ ‘หนวน’ เป็นไม้คานสองอันคู่กัน ซึ่งมักจะเป็นไม้ขนาดเล็ก เท่าขาพอรับน�้ำหนักได้ อาศัยต้นไม้ตามป่าตามพงใกล้บ้านใกล้ ท้องนา แล้วมีไม้คาดขวางด้านท้ายๆ ประมาณ 2 อัน ยึดให้คาน ทั้งสองด้านติดกัน มักคาดด้วยเชือกหรือหวาย ระหว่างไม้คาดทั้ง 2 อันนั้น ก็จะใช้ไม้ที่หาได้ง่าย เบา และมีความยืดหยุ่น วางเรียงๆ กันใช้เป็นที่ส�ำหรับวางของ ที่ปลายอีกด้านหนึ่งคือหัว มักจะคาดด้วยเชือก ที่มีความ แข็งแรงและมีความหนารองด้วยเศษผ้า หรือกระสอบใบเตยเก่าๆ บางที่อาจจะใช้เศษเสื่อต้นคล้า ใช้ส�ำหรับวางทาบไปบนหลังวัว ควาย เพื่อรับน�้ำหนัก ปลายสุดของหัว มีเชือกที่แข็งแรงอีกเส้น คาด ผูกติดกับแอกเหมือนลักษณะคันไถ ใช้ส�ำหรับฉุด ดึง ลาก บางที่บางท้องถิ่นอาจจะมีเพียงต�ำแหน่งเดียว
เมื่อใช้งานก็เทียมเข้ากับวัว ควาย ลากจูงไปในบริเวณท้อง ทุ่งนา ส่วนท้ายก็บรรทุกข้าวของ ส่วนมากมักจะเป็นข้าวกล้า ข้าว เลียง ซึ่งชาวนามีความจ�ำเป็นใช้ประกอบการ และด�ำรงชีพ ‘หนวน’ ไม่มีล้อ ส่วนหัวเมื่อเทียมกับวัว-ควายแล้วจะยกสูงขึ้น ส่วนท้ายจะ ติดอยู่กับพื้น ดูเหมือนจะเป็นความยากล�ำบากในการใช้งาน แต่ใน ความจริงแล้วคือภูมิปัญญาวิถีท้องนาของชาวใต้ การคาดเชือกยึดหนวนไว้โดยไม่ตายตัว เพราะการใช้อยู่ใน พื้นที่ที่ไม่เรียบมีหลุมบ่อ ต่างระดับ ช่วยในตัวถ่ายน�้ำหนักได้ดี การ ยกปลายด้านหนึ่งให้สูงขึ้น ก็เพราะเมื่อลากจูงไปในท้องนาที่เต็ม ไปด้วยหญ้า วัชพืช เถาวัลย์ ก็จะท�ำให้ไม่ไปเกี่ยว ไปข้อง ท�ำให้มี ความสะดวกและง่าย ส่วนที่ไม่มีล้อก็ด้วยเพราะในท้องทุ่ง หนทาง ฤดูกาล มีทั้งน�้ำ ทั้งตมเลน ทั้งหญ้า หากมีล้ออย่างเกวียนก็จะ ท�ำให้เกี่ยวพัน ติดหล่ม อันเป็นความยากล�ำบากกว่า อีกประการหนึ่งเมื่อใช้งานลากจูง ปู่ ย่า ตา ยาย ท่านห้าม นั่ ง บนหนวน ก็ ด้ ว ยว่ า จะไม่ กินแรงวั ว แรงควาย เพื่อ ส�ำ นึกถึง ประโยชน์ที่เราได้จากสัตว์เหล่านี้ก็มากพอแล้ว ทนทางหนวนไม่ ต้องไปตัดถนน ถมที่ตัดไม้ ตัดหญ้า เพราะพื้นดินเป็นที่ท�ำกินที่อยู่ ป่าให้ความอุดมสมบูรณ์ ให้ร่มเงา ให้น�้ำให้ท่า ไม่ต้องมาแล้งขาด น�้ำอย่างปัจจุบันนี้ แม้ต้นไม้กลางนา ปู่ย่ายังห้ามตัด ‘หนวน’ เป็นภูมิปัญญาอันแยบยลของบรรพบุรุษ ของปู่ ย่า ตา ยา ของชาวใต้ หากเราทุกคนอาศัยหลักวิธีคิดอย่างที่ท่านเหล่า นั้นมอบเป็นมรดกไว้ให้ คิดโดยอาศัยธรรมชาติ ความเป็นจริงที่ เหมาะ ที่พอควร เอื้อเฟื้อ ไม่เอาแต่ง่ายสะดวกแล้วไปท�ำลายสิ่งอื่น นี่คือความแหลมคมของผีปู่ ผีย่า ที่เราเคารพบูชาใน คุณประโยชน์ได้อย่างไม่อายใคร
19
ค
รัง้ แรกทีฉ่ นั เห็นผูช้ ายอายุรว่ มๆ ห้าสิบ ผมบางศีรษะเกือบล้าน แต่เขาเลือกตัด เกรี ย นเลยดู ไ ม่ น ่ า เกลี ย ด หนวดเคราดกด� ำ แซมขาว ถูกตัดเล็มสั้นๆ เป็นระเบียบ ผิวพรรณ ขาวกว่าผู้ชายลิกอร์ทั่วไป เนื้อตัวค่อนข้างอวบ สักนิด ถ้าเขาเป็นนักเขียนจริงๆ อย่างที่ได้ยิน พนักงานสาวบอกลูกค้าช่างสอดรู้สอดเห็นบาง คน--ฉันรู้สึกแปลกใจมากๆ ท�ำไมเขาไม่ออก เดินทางดั้นด้นไปหาข้อมูลไกลๆ อย่างนักเขียน ชื่อก้องโลกนิยมยึดถือกัน --หรืออย่างที่ฮันส์ ของฉันปฏิบัติ ฉั น เห็ น เขานั่ ง จมอยู่ในร้านลิก อร์ม าปี กว่าๆ หรือเกือบสองปีแล้วกระมัง ร้านอาหาร พื้นๆ ริมถนนราชด�ำเนิน ภายในย่านการค้าเก่า แก่ที่มีร้านรวงไม่กี่ร้าน อย่างร้านข้าวแกงพื้น เมืองที่รวบรวมกระต่ายขูดมะพร้าวรูปลักษณ์ แปลกๆ มาตั้ ง แสดงไว้ นั บ ร้ อ ยตั ว ร้ า นร็ อ ค 99 เจ้าของร้านเป็นคนมุสลิม เคยเป็นลูกมือ ในภั ต ตาคารที่ เ ยอรมั น เขากลับมาเปิด ขาย อาหารฝรั่งและเป็นนายหน้าให้ชาวมาเลเซียที่ ต้องการท�ำธุรกิจรังนกนางแอ่นที่ปากพนัง ฉัน กับฮันส์ไปกินอาหารเย็นหลายมื้อ นอกนั้นเป็น ร้านตัดผม แผงพระ และ อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ภายในร้านลิกอร์ดูโล่งๆ ไม่หรูหรา โต๊ะ อาหารตั้งห่างๆ เดินไปเดินมาสะดวก ติดตั้ง เครื่องท�ำความเย็นสี่ตัว พนักงานหญิงแต่งชุด ตั ด เย็ บ ด้ ว ยผ้ า ยกเมื อ งนคร ทางร้ า นบริ ก าร อาหารไทย-จีนสั่งได้ตามเมนู ทั้งมีชุดอาหาร เช้าแบบฝรั่ง ขนมปัง ไข่ดาว ชา กาแฟ เค้ก ขนมปังอบหลายชนิด และไอศกรีมหลากรส นักเขียนเลือกนั่งโต๊ะตัวในติดประตูด้านหลัง ตรงนั้ น ใต้ เ พดานเหนื อ ศี ร ษะมี ห ลอดนี อ อน เขาสามารถผลักประตูกระจกด้านข้างออกไป ยั ง ร้ า นหนั ง สื อ นาคร-บวรรั ต น์ ที่ อ ยู ่ ติ ด กั น ได้ สะดวก ฉันผ่านมากี่ครั้งๆ ก็เห็นเขาจิบกาแฟ ช้าๆ --อ่านหนังสือไปพลางเหมือนไม่สนใจใคร และอะไรทั้งสิ้น แต่ ฉั น รู ้ ดี - -สองหู ข องเขาได้ ยิ น ตลอด เวลา แล้วยังคอยสดับตรับฟังเรื่องราวบางเรื่อง
20
ที่สนใจ สองตาเล็กหยีสอดส่ายสังเกตสังกา จนบางทีดูวอกแวก ฉันสบตาเขาครั้งหนึ่งโดย บังเอิญ ก็คงราวปีกว่าๆ หรือสองปีตั้งแต่เห็น เขาครั้ ง แรก --เพี ย งแค่ วู บ เดี ย วนั้ น ฉั น รู ้ สึ ก ทันทีว่าเขาพึงพอใจหน้าตากับหุ่นเพรียวงาม ของฉันเข้าให้แล้ว ประสาโคแก่ประสบการณ์ เต็มหัวอกหัวใจ เขาจึงเก็บง�ำประกายตาไม่ให้ หลุกหลิกเหมือนหนุ่มรุ่นข้างถนนที่พยายาม ขายขนมจีบให้ฉัน
เ
มือ่ ปีทแี่ ล้วฉันอายุครบยีส่ บิ สาม เรือนร่าง ระหงสูงร้อยหกสิบแปดเซ็นฯ น�้ำหนักห้าสิบ ถ้วนๆ ฉันเพิ่งรับปริญญาและก�ำลังมองหางาน ท�ำ ฉันนุ่งกางเกงยีนสะเอวต�่ำฟิตปั๋ง เส้นผมด�ำ ขลับยาวประบ่า เลยไม่ต้องท�ำไฮไลท์เหมือน เพื่อนๆ บางทีแค่รวบด้วยผ้าคาดผมสีสวยๆ เท่านั้น เพื่อนๆ หลายคนแอบอิจฉาเรือนผมที่ งดงามสมบูรณ์ของฉัน เสี ย งกรุ ๋ ง กริ๋ ง ของก� ำ ไลเงิ น และเทอคอยส์ปลุก นักเขียนประจ�ำร้านกาแฟให้เ งย หน้าเหลียวหา เขามองมาทางฉันซึ่งนั่งอยู่ฟาก ตรงข้าม ข้างหลังฉันเป็นกระจกเงาบานใหญ่ เขามองเห็นฉันในกระจก ฉันแกล้งสบตาเขา ผาดๆ ท�ำเป็นไม่สนใจ มันเป็นวิธียั่วคนแก่ให้ หัวใจเต้นตึกๆ แล้วฉันก็ชอบท�ำอย่างนั้นเสีย ด้วยสิ ตอนนั้นฉันเพิ่งรู้จัก และก�ำลังหลงใหล ฮั น ส์ --หลงชนิ ด หั ว ปั ก หั ว ป� ำ ขนาดหาญ กล้าเดินอี๋อ๋อกันข้างถนนในบ้านเกิด ฉันไม่ สนใจสายตาใครๆ ฮันส์เป็นนักท่องเที่ยวชาว เนเธอร์แลนด์ เขามีแม่เป็นชาวเยอรมัน เรา พบกันโดยบังเอิญคืนที่ฉันไปเที่ยวกระบี่ เขา จีบฉันด้วยภาษาอังกฤษพื้นๆ ง่ายๆ ยิ้มของ เขาสดใส เป็นมิตรและอบอุ่น เขาเป็นนักเขียน อิสระ เดินทางมาท่องเที่ยว ถ่ายรูปและเขียน สารคดีขายให้แก่หนังสือที่บ้านเขา ฮันส์หล่อ เหมือนพระเอกจอห์นนี่ เด็ปป์ --ท่าทางเจ้าชู้ มี เสน่ห์และช่างเอาอกเอาใจ รู้จักกันคืนแรกฉัน ก็โถมเข้าไปซุกอยู่ในอ้อมกอดของเขาเสียแล้ว
ฉันไม่รู้สึกผิดอะไร ฉันเลือกชีวิตของฉัน เองได้ สมัยเรียนชั้นมัธยมฉันฝันอยากมีแฟน เป็นฝรั่ง--ชาวยุโรปหรืออเมริกาก็ได้ ฉั น หว่ า นล้ อ มชั ก ชวนฮั น ส์ ใ ห้ ม าเที่ ย ว ลิกอร์ บอกว่าบ้านฉันเมืองเก่าแก่ มีพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งฉันต้องพูดภาษาอังกฤษและท�ำ มือรูปกรวยอยู่นานกว่าจะสื่อสารให้เขาเข้าใจ ว่าเป็น ‘เจดีย์’ เขาเองก็หลงใหลตัวฉัน เขามา อยู่เมืองไทยร่วมเดือน ไม่รู้จักใคร และเริ่มรู้สึก เหงา เขาไม่มีอะไรต้องห่วงแถวกระบี่ เมื่อฉัน ชวนข้ามฟากอันดามันมาสัมผัสฝั่งอ่าวไทย บ้าง เขาจึงไม่ปฏิเสธ เขาพักโรงแรมไทยหลี ตามค� ำ แนะน� ำ ของคู ่ มื อ น� ำ เที่ ย ว ‘โลนลี่ เพลเน็ ต ’ โรงแรมเก่ า แก่ ข นาดย่ อ มริ ม ถนน ราชด�ำเนินแห่งนี้ อยู่ห่างจากร้านลิกอร์ราว สามร้อยเมตร --ตรงกันข้ามวัดวังตะวันตก ตอนสายๆ ประมาณเก้าโมง ฉันรีบออก จากบ้านมารอฮันส์ที่ร้านลิกอร์ นักเขียนยังนั่ง โต๊ะตัวเดิม เขาเงยหน้ามาทางฉัน เรามองหน้า กันผาดๆ เช่นเดิม ฉันนั่งหันหลังให้กระจกเงา บานใหญ่ สักครู่ฮันส์จะออกจากโรงแรมมาหา ฉัน เราสั่งอาหารเช้าสองชุด เรากินอย่างคน หิวที่แท้จริง อิ่มแล้วนั่งพูดคุยกัน บางทีหยอก ล้อกันจนลูกค้าหันมาค้อน แบบว่าฉันท�ำตัวไม่ สมเป็นหญิงไทย แต่ต้องขอยกเว้นนักเขียนคน นั้น เขาวางท่านิ่งเฉย บางทีแค่มองผ่าน ฉันไม่ สนใจหรอกว่าใครจะมองอย่างไร ก็นี่มันชีวิต ของฉัน เวลานี้ฉันก�ำลังมีความสุข และยืนอยู่ เหนือสาวๆ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวะฯ ที่เดิน สวนกันไปมาบนทางเท้า เด็กสาวๆ เหล่านั้น มองฉันอย่างอิจฉา ใช่สิ..ฮันส์ออกจะหล่อเหลา ดูเหมาะสมกันดีเวลาเดินจับมือถือแขนไปไหน มาไหน ก็เขาสูงกว่าฉันสิบเซ็นฯเท่านั้นเอง หลังจ่ายค่าอาหารเราจับมือเดินคลอเคลียเข้าร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น ซื้อของกระจุก กระจิก แล้วรีบกลับโรงแรม ความจริงฉันควร จะชวนเขาไปถ่ายรูปพระบรมธาตุเจดีย์ เที่ยว ชมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ หรื อ แค่ เ ดิ น ข้ า มถนนไปชม ความสวยงามของกุฏิไม้อายุกว่าร้อยปีในวัด
ผ่
านไปปีครึ่ง…! วังตะวันตก แต่ฉันไม่เห็นเขาเรียกร้องขอไป เขาก� ำ ลั ง เขี ย นติ ด ต่ อ กั น เป็ น วรรค ก่ อ นเที่ ย งวั น นั้ น ฉั น หิ ว แปลก แถม —หลายประโยค ถ้ า ฉั น บั ง เอิ ญ กลายเป็ น ไหนสักแห่ง เขาอาจจะยังไม่รีบร้อน ฉันเอง ก็ไม่อยากเร่งรัด --เขาเป็นนักเขียนอิสระจึงมี เปรี้ยวปากเปรี้ยวคอ ท้องไส้บงการให้รีบออก ตั ว ละครของเขาแล้ ว ละก็ ฉั น อยากให้ เ ขา เวลาให้ฉันเหลือเฟือ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เท่า ไปหาก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ หรือก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ พรรณนาอย่างนี้ ผัดซีอิ๊วน�้ำมันเยิ้มที่ร้านลิกอร์ นักเขียนยังอยู่ที่ ที่ฉันต้องการ “ผิวพรรณของเธอดูขาวเนียนกว่าครั้ง เดิม เขาจะไม่ไปไหนเลยหรือ…ถ้วยกาแฟวาง ก่อน วันนี้เธอมีผ้าลูกไม้สีขาวสะอาดคลุมไหล่ นแรกข้ามฟากมาจากกระบี่ ฉันฝืนใจ ตรงหน้า เขาก�ำลังอ่านนวนิยายแปลของนัก รวบผมผูกไว้ข้างหลังด้วยยางวง สวมรองเท้า นอนค้างที่บ้าน ตื่นเช้ารีบอาบน�้ำแต่งตัว เขียนฝรั่งเล่มโต โต๊ะซ้ายมือเขานักเรียนหญิง หนังสีน�้ำตาลอ่อนพื้นเตี้ย รัดส้นเท้าอวบอิ่ม นั่งสองแถวมาหาฮันส์ที่โรงแรม ร่วมรักอย่าง ชั้น ม.5-ม.6 สี่คนนั่งกินไอศกรีมไปพลาง เล่น ขาวนวล เธอสวมชุดคลุมท้องสีชมพู สะพาย หิวกระหายในกันและกัน พอรู้สึกหิวก็ชวนกัน เกมในโทรศัพท์มือถือไปพลาง พวกเธอพูดคุย กระเป๋าหนังสีน�้ำตาลแบรนด์นอกราคาแพง จูงมือถือแขนมาที่ร้านลิกอร์ นักเขียนนั่งดื่ม โดยไม่มองหน้ากัน กิริยาท่าทางของเธอสงบลงกว่าครั้งก่อน สงบ ฉั น สั่ ง ก๋ ว ยเตี๋ ย วผั ด ซี อิ๊ ว ใส่ ก ล่ อ งกั บ อย่างคนที่รู้จักชีวิตมากขึ้น…” กาแฟอ่านหนังสืออยู่แล้ว ตลอดทั้งสามวัน..สี่ วัน..เขาเพียงเงยหน้ามองเราอย่างผาดๆ เผินๆ เค้กช็อกโกแลตกลับบ้าน ระหว่างนั่งรอที่โต๊ะ ฉันไม่รู้หรอกว่าเขาจดบันทึกหรือเขียน เท่านั้นคงพอล่วงรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรา ตัวเดิมข้างกระจกบานใหญ่ เขาลอบมองมา อะไร พนักงานน�ำถุงใส่กล่องอาหารมาส่ง ทางฉัน คิ้วขมวดย่น เขาคงจ�ำฉันไม่ได้ ดูท่า ฉั น รี บ จ่ า ยเงิ น แล้ ว ผลั ก ประตู อ อกจากร้ า น ทั้งคู่ด�ำเนินไปถึงไหนแล้ว เขาก�ำลังครุ่นคิด…คิดว่าเคยเห็นฉันที่ไหนมา ฉั น รู ้ สึ ก เหมื อ นเขาจ้ อ งมองตามหลั ง ฉั น มา แต่ฉันไม่แคร์หรอกนะ ! ฉันทนอยู่บ้านไม่ได้ เลยย้ายมาอยู่โรง- ก่อน เขาวางหนังสือ แล้วหยิบกระดาษขึ้นมา เมื่อกลับออกจากลานจอดรถกับวิสันต์ --พ่อ แรมกับฮันส์ หลังตัดใจเปิดเผยกับแม่ว่ าฉัน จดยิกๆ ของลูกสาวตัวน้อยในท้อง ฉันมองผ่านแผ่น เขาจดด้วยปากกาหมึกซึมสีเงิน ฉันเห็น ฟิล์มปิดกระจก แลเห็นเขาชะเง้อมาทางรถ มีคนรักแล้ว เขาเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ ฉันโต มันเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เขาคงเขียนถึงฉัน ของเรา เขาคงไม่เห็นฉันหรอก ฉันต่างหากเป็น แล้วแม่ไม่ต้องห่วง แม่จ�ำต้องท�ำใจ “แกโชคดีนะที่พ่อตายไปเสียก่อน แก กระมัง นัยน์ตาคู่นั้นบ่งบอกว่าก�ำลังสนใจตัว ฝ่ายเห็นเขาข้างเดียวชัดเจน เห็นแม้รอยยิ้ม ฉัน ผู้หญิงที่คล่องแคล่วว่องไวและมั่นใจอย่าง เยาะน้อยๆ บนใบหน้าของเขา เลยท�ำตัวอย่างสาวหัวสมัยใหม่ได้ตามใจ” แม่หลบซ่อนสายตาตอนท่านพูด เสียง ฉัน แม้ขณะนี้เขายังจ�ำคลับคล้ายคลับคลา เขาคงจ�ำฉันได้แล้ว จ�ำได้ประสานักเขียน แม่สั่นเครือ ฉันรีบเข้าไปกอดประจบประแจง หรือยังนึกไม่ออกว่าฉันเป็นใคร หมดสภาพ ที่นั่งจับเจ่าเฝ้าคอยให้เรื่องราวน่า เอ…หรือว่าเขานึกออกแล้ว ! และขอโทษแม่ --กอดเสียแน่นหวังให้แม่ยก ตื่นเต้นลอยผ่านมาเข้าปาก โทษ ฉันท�ำให้แม่ผิดหวัง แต่จะท�ำอย่างไรได้ ผู้เขียน : เรื่องสั้น ‘ผ่านไปปีครึ่ง’ เขียนปี 2547 ตีพิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 625 วันที่ 24 เมื่อฉันเลือกลิขิตชีวิตของตัวเอง
วั
– 30 พฤษภาคม 2547 ใช้เทคนิดใหม่ที่นักอ่านเรื่องสั้นแนวเก่าๆ ไม่เข้าใจ ต่อมาเรื่องนี้ Marcel Barang แปลเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ใน Bangkok Post หลายคนอาจคุ้นเคยกับฉากในเรื่อง
21
Picture’s Talk โดย : ป๋องโฟโต้
22
Nature & WildLife เรื่องและภาพ : นายกระจิบ
ก
ล้ ว ยเล็ บ มื อ นางหวีงาม อาหารแสน โปรดของเจ้ า อิ กั ว น่ า ตรงเกาะชะนี (ทุ่งท่าลาด) เพื่อแลกกับภาพและเรื่องราว ของมัน เอามาฝากเด็กๆ อิ กั ว นา (Iguana) เป็นสัต ว์เลื้อ ย คลานในตระกู ล กิ้ ง ก่ า มี ถิ่ น อาศั ย อยู ่ ใ น ประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง-ใต้ รวมทั้ง หมู่เกาะต่างๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและ พอลินีเซีย (อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก) ทั้ ง นี้ พื้ น ที่ แ ถบอเมริ ก ากลางจะมี ร ะดั บ อุณหภูมิใกล้เคียงกับประเทศไทยคือร้อน ชื้น อิกัวนา ถูกกล่าวขานครั้งแรกในปี ค.ศ.1768 โดยโยเซฟุส นิโคเลาส์ เลาเรนที
นั ก ธ ร ร ม ช า ติ วิทยาชาวออสเตรีย อีกัวน่าแบ่งได้ 3 ชนิด หลัก คือ อีกัวน่าเขียว (Green Iguana) อีกัวน่าทะเล (Mary Iguana) และอีกัวน่า ทะเลทราย มีอายุเฉลี่ย 10-15 ปี ขนาด ใหญ่ได้ถึง 180 เซนติเมตร (จากหัวจรด หาง ) อิกัวน่าหัวจะโตมีหนามแหลมคล้าย หวีอยู่แนวกลางของล�ำตัว หนามเห็นได้ชัด ที่สุดตั้งแต่คอไปถึงหาง บริเวณล�ำคอมีปุ่ม กลมขนาดใหญ่ ใต้คอมีเหนียงขรุขระ ตัวผู้
จะมีขนาดล�ำตัวโต หัวโตและมีแผงหนาม ชัดเจนกว่าตัวเมีย อาหารที่ ช อบคื อ แมลงและพื ช ผั ก ผลไม้ ตอนเล็กๆ จะกินเฉพาะแมลง เมื่อตัว เต็มวัยจะกินพืชและผลไม้เป็นหลัก ผสมพั น ธุ ์ ช ่ ว งเดื อ น พ.ย.-ม.ค. ตั้ ง ท้องประมาณ 60 วัน จากนั้นเพศเมียจะ ขุดรูวางไข่ ครั้งละประมาณ 25-70 ฟอง (ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พันธุ์) และใช้เวลา ฟักเป็นตัว 70-90 วัน อิ กั ว น่ า ชอบไต่ ไ ปตามกิ่ ง ไม้ - ขอน ไม้ บางครั้งไต่ได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ นอนนิ่งเป็นนานสองนาน ชอบลงน�้ำ ว่ายน�้ำเล่นอีกด้วย เด็กๆ อยากเห็น อิกัวน่า - น่ารักๆ ตัวเป็นๆ (อิกัวน่ า ..นะ ไม่ ใ ช่ อี น ่ า กลั ว ) ไปดู ไ ด้ ที่ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่ง ท่าลาด) ตรงเกาะชะนี ใกล้ๆ กับเรือน เพาะช�ำ แล้วอย่าลืมเอาอาหารไปฝาก มันด้วยล่ะ..
หน้าห้างลัคกี้
081-6056726
23
Dhamma Sabai-jai โดย...ร่มธรรม
ย่
างเข้ า ฤดู ร ้ อ นเดื อ น มีนา-เมษา อากาศย่อม ร้อนแล้งเป็นธรรมดา ร้อน กายยั ง พอหาร่ ม เงาแมกไม้ อาคารบ้ า นเรื อ น ป้ า ยรถ ประจ� ำ ทาง หรื อห้างสรรพสิ น ค้ า ให้ พ อแอบอิ ง ส่ ว น ร้อนใจ สิ่งเดียวที่จะขจัดปัดเป่า คือร่มเงาใน รสพระธรรม ทุกวันพระ ณ ศาลา 100 ปี พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร พุทธศาสนิกชนพร้อมใจนุ่งขาว ห่มขาวมาสวดมนต์ สดับรับฟังธรรมเทศนา และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ หั ว ข้ อ ธรรมบรรยายในวั น นี้ คื อ ‘การ ท�ำดีให้เป็นสุข’ กล่าวคือการที่ญาติโยมได้มี ศรัทธาในพระพุทธศาสนากันมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ถือว่าทุกคนได้มาเพิ่มพูน บารมีด้วยการลด ละ เลิก การท�ำความชั่วทั้ง ปวง ท�ำความดีให้ถึงพร้อม และท�ำจิตใจให้ บริสุทธิ์ การได้มาวัดในวันพระ หรือวันธรรม-
24
สวนะ บางทีก็เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งมีความ หมายเดี ย วกั น ก็ ถื อ ได้ ว ่ า มาท� ำ ความดี เพราะความหมายของ วั น พระคื อ วั น ที่ เ ว้ น จากการประพฤติบาป อกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา ใจ ไม่ท�ำสิ่ง ที่เป็นพิษ การไม่เบียดเบียน เป็นวันแห่งการ ฟังธรรม เพื่อทบทวนความประพฤติในรอบ สัปดาห์ผ่านมา จะได้ระวัง ยับยั้งสิ่งที่ไม่ดีที่จะ เกิดขึ้น ด้วยความเพียรชอบ ดังนี้ หนึ่ง-ศรัทรา คือเชื่อในการกระท�ำ เชื่อ ในเรื่องของกรรม เชื่อเรื่องผลของกรรม เชื่อ ว่ า สั ต ว์ มี ก รรมเป็ น ของตน และเชื่ อ ในเรื่ อ ง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สอง-สติ คือการมีสติ เป็นการป้องกัน ไม่ให้เผลอ พลาด หลง ให้ถูกทิศ ให้เฉลียวใจ การมีสติช่วยให้เราพูดหรือท�ำสิ่งใดไม่พลาด และดีงาม โบราณว่า จะลุกให้เหลียวหลัง จะ นั่งให้มองก้น คือไม่เผลอ.. สาม-สมาธิ คือการตั้งมั่น แน่วแน่ สงบ ไม่ อ ่ อ นแอต่ อ สิ่ ง ต่ า งๆ ที่ เ ข้ า มา สุ ภ าษิ ต ว่ า ‘ยิ้ ม ได้ เ มื่ อ ภั ย มา’ เพราะหากมี ส ติ ส ามารถแก้ ไ ข ปัญหาได้ สี่ - ปั ญ ญา คื อ ถ้ า ฟั ง ให้ ดี จะเกิดปัญญา ความรอบรู้ เข้าใจ ก� ำ จั ด ความสงสั ย ในทุ ก สิ่ ง ทุ ก ประการ ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ ผิ ด พลาด เกิ ด ความก้ า วหน้ า สมหวัง อุปมาดั่งการเดินทางในที่
สว่างย่อมแตกต่างกับการเดินทางในที่มืด ทั้ง โอกาส เวลาและจุดหมาย เพราะ ‘แสงสว่าง ใดๆ เสมอปัญญาไม่มี’ ปัญญาพระท่านบอกว่า เกิดจากการฟัง การขบคิ ด วิ นิ จ ฉั ย ตั้ ง ค� ำ ถามและมี ก ารจด บันทึก (กันลืม) 2 ส.ที่ส�ำคัญคือหนึ่ง-สมอง..จ�ำ สอง-สมุด..บันทึก ขยายความต่อไปว่าการฟังธรรมก่อให้ เกิดไหวพริบ ต้องอาศัยการสั่งสม สามารถแก้ วิกฤต ช่วยให้ด�ำเนินชีวิตไม่ประมาทเตรียม ตั ว เตรี ย มใจได้ ทุ ก สถานการณ์ อยู ่ ส บายไป สะดวกพ้นจากความล�ำเค็ญ การท�ำความดีให้เป็นสุข ประกอบด้วย 3 ดี คือ ดี ท างกาย เริ่ ม จากการไม่ ฆ ่ า สั ต ว์ ไม่ เบียดเบียนชีวิต มีความนอบน้อม ไม่จองหอง ต้องค�ำนึงถึงประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดี ท างวาจา อาวุธส�ำคัญของคนเราคือ ปาก ใช้ปากให้เป็นทุน พูดด้วยความไพเราะ พู ด ในสิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความ สามัคคี ไม่สร้างความแตกแยก จึงควรใช้ปาก ไปในทางสร้างสรรค์ จะอิ่ม อด ดี ร้าย ก็ที่ปาก ดีทางใจ 2 ทางแรกคือกายกับวาจา จะดี ได้ก็เพราะมีใจที่ดี เพราะใจเป็นนายคอยก�ำกับ ถ้าสติมาปัญญาเกิด อาศัยการไม่เผลอ รู้เท่า ทันกิเลส ที่จะชักน�ำไปในทางเสื่อม สลัดความ ชั่วออกไป และหาความดีเข้ามาใส่ ชื่อว่าบ่อ เกิดแห่งความดีทั้งหลาย ท� ำ ความดี แ ล้ ว อย่ า ถื อ ดี อย่ า อวดดี เพราะในความดีอาจไม่ดีได้ ต้องระวัง ท�ำดีให้ ถูกทาง ถูกคน ถูกเวลาสถานที่ และพึงรักษา ความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม ..สาธุ
Child Care โดย...ชัญญภัทร
ค
ร�่ำเคร่งกับการเรียนมาตลอดทั้งปี ได้ เวลาผ่อนคลายกันบ้าง กิจกรรมของ เด็กๆ ยอดนิยมช่วงปิดภาคเรียน คือการ ให้ ลู ก หลานไปเรี ย นเสริ ม ทางด้ า นดนตรี และศิลปะ ‘แล้วดนตรีกับศิลปะ มีดีและส่งผลดี อย่างไรกับตัวผู้เรียนบ้าง’ ศิลปะส�ำหรับเด็ก บางคนคิดว่าเป็น แค่การวาดรูประบายสี แต่ความจริงแล้ว ค� ำ ว่ า ศิ ล ปะ หรื อ ศิ ล ป์ ทั่ ว ไปหมายถึ ง การกระท�ำ หรือขั้นตอนของการสร้างชิ้น งานศิลปะโดยมนุษย์ เพื่อการสร้างสรรค์ สุนทรียภาพ หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ งานศิ ล ปะ จะรวมถึ ง ชิ้ น งานหลาย ชนิดในรูปแบบต่างๆ เช่น งานเขียน บท กวี การเต้ น ร� ำ การแสดง ดนตรี งาน ประติ ม ากรรม ภาพวาด ภาพเขี ย น การ จั ก สาน หรื อ อื่ น ๆ แต่ ส ่ ว นใหญ่ จ ะหมาย ถึง งานทางทัศนศิลป์ ภาพวาด ภาพเขียน งานประติ ม ากรรม งานแกะสลั ก รวมถึ ง conceptual art และ installation art
อ.วิมลมาลย์ ขันธะชวนะ ศิลปิน ภาพพิมพ์ อาจารย์ประจ�ำคณะประติมากรรมภาพพิ ม พ์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร แสดงความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ การเรี ย น การสอนศิ ล ปะส� ำ หรั บ เด็ ก ว่ า เด็ ก ๆ มี ความสามารถทางด้ า นศิ ล ปะมาก หาก ผู้ปกครองให้การสนับสนุน สิ่งที่เป็นเรื่อง ยากในการท� ำ งานศิ ล ปะ ไม่ ใ ช่ ก ารเรี ย น รู้วิธีแปลกใหม่ แต่เป็นการต่อสู้กับความ กลัวของเด็กๆ ซึ่งผู้ใหญ่จะต้องมีส่วนช่วย พวกเขาข้ามผ่านความกลัว “ถ้าเราเข้าใจความใสซื่อแบบเด็กๆ เราก็จะเห็นความงามของงานศิลปะแบบ เด็กๆ ถ้าเราเอาไปเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ มันก็ไม่ได้ ความงามของงานเด็กๆ ก็คือ ความสด และความซื่อ” ส่วน ‘ดนตรี’ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ม นุ ษ ย์ มี ค วามสุ ข สนุ ก ร่ า เริ ง ช่วยให้ผ่อนคลาย เป็นเครื่องกล่อมเกลา จิ ต ใจให้ เ บิ ก บาน ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตาย มีดนตรีเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ อาจสืบเนื่องมาจากความบันเทิงใน รูปแบบต่ า งๆ โดยตรง หรื ออาจเกิ ดจาก ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความ
เชื่อ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบใน การท�ำงาน เพลงที่เกี่ยวข้องในงานพิธีการ เพลงสวดถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น ดนตรี เ ป็ น ศิ ล ปะที่ อ าศั ย เสี ย งเป็ น สื่อในการถ่ายทอดสู่ผู้ฟัง เป็นศิลปะที่ง่าย ต่ อ การสั ม ผั ส สร้ า งความพึ ง พอใจ นั ก ปราชญ์กล่าวว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากล ของมนุษยชาติ เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และ มนุษย์ได้น�ำมาดัดแปลงให้ประณีต งดงาม ไพเราะ เมื่อฟังดนตรีแล้วท�ำให้เกิดความ รู้สึกนึกคิดต่างๆ...” อ.วิรุณ ทัศน์ทอง อาจารย์ภาควิชา ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิ ด ล กล่ า วว่ า การเรี ย นดนตรี ช ่ ว ยให้ เด็กสมาธิสั้นมีสมาธิดีขึ้น เพราะการเรียน ดนตรี ต ้ อ งอาศั ย สมาธิ ความสงบ และ ความอดทน เด็ ก ๆ จะได้ ฝ ึ ก สมาธิ เ มื่ อ ต้ อ งการจดจ่ อ กั บ การฝึ ก ซ้ อ มบทเพลง และต้องยอมรับว่าเมื่อยังเล่นไม่ได้ก็ต้อง พยายามฝึ ก ต่ อ ไปอย่ า งอดทน “ดนตรี มี ความส�ำคัญในด้านความรู้สึกนึกคิดและ อารมณ์ หรือ EQ พวกเขาจะรู้จักแยกแยะ ความรู้สึก และควบคุมความรู้สึก รวมทั้ง การแสดงออก สามารถจัดการกับอารมณ์ ของตนเอง เรียนรู้ รับรู้ เข้าใจตนเอง มีการ แสดงออกของอารมณ์ อ ย่ า งสร้ า งสรรค์ และที่ส�ำคัญพวกเขายังเข้าใจถึงอารมณ์ และความรู้สึกของผู้อื่น และมีกาลเทศะ อีกด้วย” อ.วิรุณ กล่าว ปิดเทอมเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่า ทั้ง ต่อตัวเด็กๆและผู้ปกครอง มองหากิจกรรม ดีๆที่เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ ให้ลูกๆ เมื่อ เด็กๆมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขเช่น เดียวกัน
25
Playground โดย...KID-DEE
น�้ำแข็งบอกบางเจ้าใส่ถั่วขาว ถั่วด�ำต้มสุก ใส่ลอดช่องเขียว ไว้ก้นกระบอก เมื่อถอดน�้ำแข็งออกมา ถั่วกับลอดช่องก็อยู่ท่อน ปลายให้กัด-เลีย-ดูด ตามใจชอบ อย่างไรก็ดี น�้ำแข็งบอกยังไม่ต ายไปง่ายๆ คนท�ำปรับตัว รักษาความสะอาดอุปกรณ์ผลิต ขั้นตอนการท�ำสะอาด กว่าเดิม วงเลยกลางมีนาคม ประเดี๋ยวก็เข้าสู่เมษายน ปีนี้อากาศ น�้ำหวานมีให้เลือกหลากหลายรส งานวัด งานสวนสนุกมีน�้ำแข็ง ร้อนอบอ้าวดีแท้ นึกถึงเพลงเก่าๆ บอกให้ดูดกิน ‘หน้าแล้งแห้งร้อน ดินก้อนแตกระแหง (ภาพประกอบ อดิศักดิ์ เดชสถิตย์ บันทึกจากงานสวนสนุ กที่ แสดงแดดมันแผดมันเผา มันร้อนผะผ่าวไปทั่วทุกแห่ง’ สวนศรี ธรรมาโศกราช ระหว่ างมีกจิ กรรมวันสตรี สากล ปี 2558) หน้าร้อนทีไร เรามักนึกถึงของกินเย็นๆ ผู้เฒ่าผู้แก่นึกถึง ลอดช่อง รวมมิตร วุ้นเย็นๆ เด็กรุ่นใหม่นึกถึงไอศกรีมในร้านหรูๆ สักก้อนหรือสองก้อน ท็อปปิ้งเยอะๆ เด็กๆ ปี 2500 มักนึกถึงน�้ำแข็งบอก เด็กบ้านนอกมีคนเอา ถังน�้ำแข็งขึ้นท้ายจักรยานปั่นไปตามหมู่บ้าน เมื่อถึงกลางหมู่บ้าน ที่เด็กๆ ก�ำลังวิ่งเล่นก็จอดรถสั่นกระดิ่งแก๊งๆๆ เด็กที่พ่อแม่มีเศษ สตางค์ 25 สตางค์หรือบาทลูกๆ ก็ได้กิน พ่อแม่ไม่มีสตางค์ลูกๆ ก็ได้แต่ดูปากเพื่อนๆ อม - เลีย - ดูด น�้ำแข็งบอกสีสวยๆ แล้ว กลืนน�้ำลาย ถ้าเพื่อนใจดีแบ่งให้ดูดสักครั้งความสุขผุดขึ้นมาเต็ม ใบหน้า น�้ ำ แข็ ง บอกเป็ น ความฝั น เป็ น จิ น ตนาการของคนรุ ่ น เก่ า ปัจจุบันพ่อแม่มีเงินทองบางคนไม่นิยมให้ลูกรับประทาน กลัวไม่ สะอาด กลัวเชื้อโรค ทั้งท้องร่วงท้องเสียหรือโรคบิด ยินหอมให้ ลูกๆ กินไอศกรีมยี่ห้อดังๆ โดยไม่กังวล น�้ำแข็งท�ำง่าย แค่มีเครื่องท�ำเป็นถังกลมๆ ประกอบขึ้นจาก สังกะสี หรือสแตนเลส แผ่นปิดข้างบนเจาะรูไว้ใส่กระบอกหลายๆ รู กระบอกท�ำจากสังกะสีหรือสแตนเลสไว้ใส่น�้ำรสต่างๆ สีต่างๆ หยอดแล้วเสียบกระบอกในรู ในถังใส่น�้ำเย็นเฉียบ เต็มไปด้วย ก้อนน�้ำแข็งและเกลือเม็ด แล้วหมุนฝาที่เสียบกระบอกไปมาอย่า หยุด จนน�้ำหวานในกระบอกค่อยๆ กลายเป็นน�้ำแข็ง เมื่อน�้ำสี ต่างๆ จับเป็นเนื้อข้นๆ จึงเสียบไม้ไผ่อันเล็กๆ ที่ผ่าเหลาไว้เป็นที่ จับ
ล่
26
27
28