หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ฉบับที่ 16 เดือนมกราคม 2556

Page 1

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม ๒๕๕๖

พบกับเรื่องราวดีดี..ที่นี่..เดือนละครั้ง หนังสือพิมพ์เพื่อชาวนครศรีธรรมราช

http://www.nakhonforum.com

ราคา ๒๐ บาท

‘ผู้ใหญ่เฉลิม’ น�ำตัวแทนชาวบ้าน ต.ทอนหงส์ ๒๐-๒๕ คน เดินเท้า ๘๐๐ กม.รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด จากเขา หลวงสู่ท�ำเนียบรัฐบาล ๒๐ มกรา - ๙ กุมภา ๒๕๕๖

˹éÒ ò ˹éÒ ó ˹éÒ ๔ ˹éÒ ñ๐ ˹éÒ ññ ˹éÒ ñ๒ ˹éÒ ñ๓ ˹éÒ ñ๗

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา มอบรางวัลข้าราชการ ต้นแบบโครงการ ‘ข้าราชการไทย ใจสีขาว’ โดยมี พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ว, พ.ต.ท.ศิลายุทธ์ จิตติยาธีรากูล, ผู้ใหญ่เฉลิม กาญจนพิทักษ์ และ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ

รายงาน เครดิตภาพ Tat Nakhon si@fb

¹¤Ã´Í¹¾ÃÐ ¹¾.ºÑ­ญªÒ ¾§Éì¾Ò¹Ôª àÃ×èͧ´Õ´Õ·ÕèàÁ×ͧ¹¤Ã ¨ÓÅͧ ½Ñ觪ŨԵà ชวนคิด ชวนคุย สุธรรม ชยันต์เกียรติ ศิลปินถิ่นนคร รศ.วิมล ด�ำศรี àÅèÒàÃ×èͧàÁ×ͧà¡èÒ ¼È.©ÑµÃªÑ ÈØ¡ÃСҭญ¨น์ รักสุขภาพ นพ.อิสระ หัสดินทร์ มุมมองรักษ์บ้านรักษ์เมือง สุเมธ รุจิวณิชย์กุล มองเมืองคอนผ่านเลนส์ นพ.รังสิต ทองสมัคร์

เมื่ อ วั น ที่ ๒๐ ธั น วาคม ๒๕๕๖ นายเฉลิ ม กาญจนพิ ทั ก ษ์ ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า น หมู่ที่ ๑ ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยกับ ‘รักบ้านเกิด’ ระหว่างวันที่ ๒๐ มกราคม – ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ตนจะน� ำ ตั ว แทนชาวบ้ า น ต. ทอนหงส์ ๙ หมู่บ้าน ประกอบด้วย กลุ่ม ผู ้ น� ำ กลุ ่ ม เยาวชน กลุ ่ ม อสม. ลู ก เสื อ ชาวบ้ า นและกลุ ่ ม แม่ บ ้ า นราว ๒๐-๒๕ คน โดยใช้วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นจุดเริ่มต้น หลังจากสักการะพระบรม ธาตุ เ จดี ย ์ ข อพร พระสงฆ์ ป ระพรมน�้ ำ พระพุทธมนต์ ตนและตัวแทนชาวบ้านจะ ออกเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ >> อ่านต่อหน้า ๘

ตั้ ง แต่ สั ป ดาห์ แ รกของเดื อ นธั น วาคม ๒๕๕๕ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ดิ​ิ น ทางมายั ง จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชหรื อ ชาวนคร เองก็ตาม ถ้าตั้งใจสังเกตป้ายโฆษณา หรือประกาศชวนชวน >> อ่านต่อหน้า ๙


หน้า ๒

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

-

บัญชา พงษ์พานิช plearnstan@gmail.com สวนสร้างสรรค์ นาคร - บวรรัตน์ และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

กิ ด เหตุ ก ระแสไฟฟ้ า ดั บ ทั่ ว เกาะสมุ ย -เกาะพงั น ระหว่างวันที่ ๔-๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ สร้างความเสีย หายแก่ผู้ประกอบธุรกิจและบริการ ตลอดจนกระทบต่อวิถี ชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง ความเสียหายปรากฏทางสื่อ ส่วนกลางประมาณ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาทนับว่าสูงเกินไป แต่ ในระยะยาวหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท อาจต�่ำเกินไป วันแรกที่ไฟฟ้าดับสร้างปัญหาแก่นักท่องเที่ยวถึงขนาดขอ ย้ายออก แม้โรงแรมและรีสอร์ทขนาดใหญ่จะมีเครื่องปั่นไฟ ก็ตาม ส่วนชาวเกาะสมุย-เกาะพงันที่อยู่มาตั้งแต่เคยเดิน ทางสู ่ แ ผ่ น ดิ น ใหญ่ ด ้ ว ยเรื อ นอนอาจรั บ สภาพความเป็ น ‘คนเกาะ’ ได้ แต่คนรุ่นหลังที่ข้ามฟากด้วยเรือเฟอร์รี่หรือ สปีดโบ๊ตอาจยอมรับไม่ได้ แล้วคนรุ่นนี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้นๆ ระยะ ๖๗ ชั่ ว โมงวิ ก ฤต จะมี ช าวเกาะสั ก กี่ ค รั ว เรื อ นหั น กลับไปหุงข้าวต้มแกงด้วยทางมะพร้าวหรือกะลา ส่วนใหญ่ ยินยอมรับประทานข้าวหุงด้วยเตาแก๊สที่สุกไม่สม�่ำเสมอ เหมือนหุงด้วยหม้อไฟฟ้าเนชั่นแนล ซันโยหรือโตชิบาที่แค่ เสียบปลั๊กกดสวิตซ์ข้าวก็สุกหอม บางคนอาจพบค�ำตอบ ว่าชีวิตห่างไกลจากไม้ฟืนและเตาถ่านออกไปทุกนาที ถ้าไม่ ดัดจริตหรือโกหกตัวเอง เกาะสมุย-เกาะพงัน อยู่บนแผ่นดินไทย แต่ไม่ได้เป็นสมบัติ ของคนไทยทั้งหมดอีกต่อไป บ้านเรือน รีสอร์ทและที่ดินมี ชาวต่างชาติถือครองก็มาก ทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ นานาชาติที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก นักท่อง เที่ ย วยุ ค ดิ จิ ต อลมาพร้ อ มมื อ ถื อ รุ ่ น ล่ า สุ ด ที่ ต ้ อ งชาร์ ต ไฟ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลบางเฉียบสมรรถนะสูงล�้ ำ เอาไว้ สื่อสารกับครอบครัวเพื่อนฝูง ติดต่อรับงานส่งงานกับต้น สั งกั ด ผ่ า นอิ นเตอร์ เน็ ต หรือการเฝ้าตรวจเช็ค ราคาหุ้นที่ นิวยอร์คหรือโตเกียวพร้อมสั่งซื้อขายด้วยปลายนิ้ว ส�ำนักงานเคลื่อนที่หรือ Mobile Office เกิดขึ้นแล้วในโลกโดยมี ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเป็นตัวค�้ำประกัน ปี ๒๕๕๘ รัฐบาลตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวไว้ ๒ ล้าน ล้านบาท ไม่ว่าแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติจะสวยงาม เพียงไร โรงแรม รีสอร์ท บ้านพัก ภัตตาคารและบริการจะ วิเศษเลิศเลอเพียงไร หากระบบไฟฟ้าไม่มั่นคงและไม่เพียง พอ การเดินไปสู่เป้าหมายจะยากมาก นักท่องเที่ยวยุคใหม่ ไม่ต้องการแค่ความสว่าง ความสุขสบายและสะดวกเท่านั้น พวกเขาต้องการความคล่องตัวและรวดเร็วในการสื่อสาร ทั้ ง กั บ ครอบครั ว และเรื่ อ งธุ ร กิ จ ขอให้ ช ่ ว ยกั น พิ จ ารณา ความส�ำคัญของไฟฟ้าตามความเป็นจริง

ช่

วงปลายปีที่ผ ่านมา ผมไปจัดการประชุมสนทนากับ องค์ดาไลลามะที่กรุงนิวเดลี แล้วน�ำคณะชาวไทยไป ตามรอยพระพุทธศาสนาและเรียนรู้ศรัทธาของผู้คนบน ชมพูทวีป ๖ เส้นทางทั่วทั้งอินเดีย โดยอาราธนานิมนต์ พระคุณเจ้าจากหลายส�ำนักไปร่วมกว่าครึ่งร้อย กับชาวไทย อีกเกือบ ๓๐๐ คนจากเมืองนครมีท่านพระครูสิริธรรมาภิรัตวัดพระบรมธาตุ กับพระครูพรหมเขตคณารักษ์ วัด สระเรียงรับอาราธนานิมนต์ไปในฐานะธรรมภาคีผู้บวชอุทิศ เพื่อพระพุทธศาสนา เฉพาะการสนทนากับองค์ดาไลลามะ นั้นพวกเราชาวไทยนอกจากได้พ�ำนักร่วมกับพระองค์แล้ว ยังถือโอกาสแปลงโรงแรมไฮแอทกลางกรุงนิวเดลีเป็นมหา วิหารด้วย เอาไว้วันหน้าจะเล่าให้ฟัง แต่เดือนนี้ที่ต้องแจ้ง คือการจัดประชุมวิชาการนานาชาติโดยนักประวัติศาสตร์ โบราณคดีระดับโลกที่จะเผยหลักฐาน พุทธศาสนาใหม่ชี้ว่า เป็นหลักฐานพระพุทธศาสนาที่เก่าที่สุดในเอเซียอาคเนย์ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ รวมหลักฐานโบราณคดี และหลักธรรมเก่าแก่จากทั่วทั้งภาคใต้ แล้วน�ำชมพื้นที่จริง เมื่อครั้งพระพุทธศาสนาแรกเข้า ในจังหวัดนคร - สุราษฎร์ และ ชุมพร (หลังสวน) ๑๑ - ๑๔ มค.นี้ ที่เมืองนคร ซึ่งผม ได้ช่วยยกร่างเอกสารชี้ชวนไว้อย่างนี้

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภั ฏ นครศรี ธ รรมราช แถลงว่ า เนื่ อ งในวาระพุ ท ธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ และ ในฐานะที่จังหวัด นครศรี ธ รรมราชได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น หนึ่ ง ในหั ว หาดส� ำ คั ญ ของ พระพุ ท ธศาสนาในภู มิ ภ าค มี อ งค์ พ ระบรมธาตุ เ จดี ย ์ นครศรี ธ รรมราชที่ ก� ำ ลั ง ขั บ เคลื่ อ นสู ่ ม รดกโลกตามที่ องค์ ก ารยู เ นสโกได้ บ รรจุ ร ายชื่ อ ไว้ แ ล้ ว ประกอบกั บ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้ผ่านการจัดสัมมนา ประวัติศาสตร์ มาแล้ว ๖ ครั้ง ถือเป็นหนึ่งในกรณีน�ำร่อง ของการสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทั่วประเทศมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๑ และ ที่ส�ำคัญได้ร่วมกับ มู ล นิ ธิ ห อจดหมายเหตุ พุ ท ธทาส อินทปัญโญ จัดกิจกรรม ฉลองพุ ท ธชยั น ตี งานวั ด ลอยฟ้ า ที่ ศู น ย์ ก ารค้ า สยาม พารากอน กรุงเทพมหานคร เมื่อวิสาขบูชาที่ผ่านมา โดยได้ จัดเสวนาย่อยว่าด้วยเรื่องปฐม บทพุทธศาสนาในประเทศไทย ขึ้น และพบว่ามีหลักฐานใหม่ๆ และผลการศึกษาค้นคว้า ของนั ก วิ ช าการทั่ ว โลก ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ร่ อ งรอยหลั ก ฐานใหม่ ๆ ว่ า ด้ ว ยปฐมบทพระพุ ท ธศาสนาในเอเซี ย อาคเนย์ จึ ง ได้ ประสานกับแวดวงนักวิชาการโลกเพื่อจัดให้มีการสัมมนา

วิ ช าการระดั บ นานาชาติ ค รั้ ง ส� ำ คั ญ นี้ ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ ๑๑ - ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ นี้ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่ ง กรมศิ ล ปากร โดยพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช จะจัดนิทรรศการพิเศษด้วยการรวบรวม หลักฐานและหลักธรรมเก่าแก่ทั้งหลายที่พบในภาคใต้จาก ทั่วทั้งภาคใต้และในประเทศไทยมาจัดแสดงเป็นกรณีพิเศษ พร้อมกับการน�ำลงพื้นที่แหล่งโบราณคดีส�ำคัญต่างๆ ทั้งที่ เพิ่งผ่านการขุดแต่งและที่เพิ่งค้นพบใหม่หลายพื้นที่ อาจารย์ภูธร ภูมะธน นักวิชาการประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ช าวจั ง หวั ด นคร อดี ต ผู ้ อ� ำ นวยการพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ สถานแห่งชาติ พระนคร และ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระที่จังหวัดลพบุรี ในฐานะที่ ป รึ ก ษาการ จั ด งานครั้ ง นี้ ชี้ แ จงเพิ่ ม เติ ม ว่าการสัมมนาประวัติศาสตร์ นานาชาติ ค รั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ ความ สนใจจากนั ก วิ ช าการนานา ชาติอย่างมาก โดยนอกจาก นักวิชาการชั้นน�ำจากประเทศ ไทยที่ รั บ เชิ ญ เข้ า ร่ ว ม อาทิ ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ อดีต คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, รศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว., ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แล้ ว ดร.เอี ย น โกลฟเว่ อ ร์ ปรมาจารย์ แ ห่ ง โบราณคดี ในเอเซี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ จ ากมหาวิ ท ยาลั ย ลอนดอน, อาจารย์ปีเตอร์ สกีลลิ่ง ปรมาจารย์ด้านภาษาและคัมภีร์ โบราณจากสมาคมบาลี ป กรณ์ , ดร.เจมส์ แลงค์ ตั น หมอนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญเรื่องแก้วโบราณระดับโลก จากสาธารณรัฐเกาหลีและมหาวิทยาลัยลอนดอน, ตลอด จนบังคลาเทศ, มาเลเซีย, พม่า และ ไทย โดยทุกท่านได้ ตอบรับและส่งหัวข้อพร้อมบทคัดย่อมาพร้อมแล้ว กับยัง ได้รับเกียรติจากนักวิชาการชั้นน�ำตอบรับเป็นพิธีกรตลอด การประชุมสัมมนา ประกอบด้วย ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, อาจารย์สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ และเจมส์ สเตนท์ เชื่อว่า จะเป็นการสัมมนาวิชาการครั้งส�ำคัญในระดับโลกทั้งในแง่ ประวัติศาสตร์โบราณคดี และ ในแง่ประวัติพระพุทธศาสนา นส.อนงค์ หนู แ ป้ น ผู ้ อ� ำ นวยการพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถาน แห่ ง ชาติ นครศรี ธ รรมราช กล่ า วว่ า กรมศิ ล ปากรยิ น ดี สนับสนุนในการรวบรวมหลัก ฐานและหลักธรรมว่าด้วยาร >> อ่านต่อหน้า ๑๐


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร

นครศรีธรรมราช

วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วันชัย สุวรรณวิหค หัวหน้าส�ำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัด นครศรีธรรมราช จัดประชุมตัวแทนองค์กรเกษตรกรและ เกษตรกรที่ ไ ด้ รั บ งบอุ ด หนุ น /กู ้ ยื ม และงบโครงการปรั บ โครงสร้างหนี้ ณ ศาลาประชาคมโรงละคร บริเวณสนาม หน้าเมือง พิชัย บุณยเกียรติ นายก อบจ. เจ้าของสถานที่

หน้า ๓

น� ำ คณะผู ้ บ ริ ห ารมาต้ อ นรั บ ตั ว แทนเกษตรกร ผู ้ ว ่ า ฯ วิโรจน์ จิวะรังสรรค์ กล่าวเปิดประชุม สมยศ ภิราญค�ำ รั ก ษาการเลขาธิ ก ารส� ำ นั ก งานกองทุ น ฟื ้ น ฟู กล่ า วถึ ง บทบาทและหน้ า ที่ ข องกองทุ น ฟื ้ น ฟู แ ละร่ ว มมอบเช็ ค แก่องค์กรเกษตรกร ๓๑ องค์กรที่ได้รับงบประมาณรวม ทั้งสิ้น ๕,๕๗๘,๓๒๐ บาท ตัวแทนองค์กรเกษตรกรเข้ารับเช็คนับร้อยคนที่ผม ไม่สามารถสอบถามชื่อ แต่ได้บันทึกภาพเป็นหลักฐาน องค์กรไหน ใครบ้าง โปรดดูภาพ


หน้า ๔

นครศรีธรรมราช

ปี ๒๕๑๒-๑๓ วิกคิงส์ที่อยู่หลังวิทยาลัยอาชีวศึกษา ก็เป็นอีกโรงที่เด็กๆ หนีมาดูหนังรอบบ่าย ตอนนั้นหนัง ก�ำลังภายในเพิ่งเข้ามาใหม่ๆ และได้รับความนิยมอย่างสูง เด็กๆ ดูหนังก�ำลังภายในแล้วไปใช้วิชาตัวเบากับโต๊ะในชั้น เรียน มีเสียงจ๊ากๆๆ และเสียงโครมครามตามมา สมัยบ้าหนังคลั่งหนัง ผมฝันว่าสักวันหนึ่ง ถ้าเรา สามารถฉายหนังดูเองได้ ชีวิตคงสนุกมากที่สุดและผมคง ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าหนังอีกแล้ว เมื่อ ๒๕ ปีก่อน วีดิโอเทปเข้ามา-- เหมือนฝัน เราสามารถฉายหนังดูเองที่ บ้าน วีดิโอตายจากไปอย่างรวดเร็ว เมื่อมีแผ่นซีดีเข้ามา กแอ๊ด’ สุธรรม ชยันต์เกียรติ เจ้าของคอลัมน์ ‘ชวน แทนที่และมีวีซีดีที่ภาพชัดเสียงใสเข้ามาให้เลือก แต่ความ คิด ชวนคุย’ แจ้งว่าก�ำลังอยู่ระหว่างพักผ่อนฟื้น ร่างกาย ขอให้ใครช่วยเขียนแทนด้วย เพื่อให้คอลัมน์ ย้อนร�ำลึกถึงเรื่องเก่าๆ เรื่องเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่ ‘โกแอ๊ด’ เล่าอย่างน่าติดตามไม่ ขาดหายไป ผมเลยอาสาเขียน แทน แม้รู้ตัวว่าเสี่ยงก็ตาม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคมที่ ผ่าน โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์ บนห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ ชาวนคร มีโรงหนังหรื​ือวิกหนังที่สมบูรณ์ ทันสมัยพร้อมกันถึง ๔ โรง และ จะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้า ใหม่ของนักเลงหนัง บริเวณที่ตั้งวิกบนในปัจจุบัน ความทรงจ�ำเกี่ยวกับโรงวิกล่างปัจจุบันเป็นที่ตั้งของธนาคารออมสิน หนังของผมเริ่มเมื่อปี ๒๕๐๖ ตอนออกจากบ้านหมู่ที่ ๓ รู้สึกอยากดูหนังลดน้อยลงไปมาก นานๆ ถึงจะหามาฉาย ต�ำบลท่างิ้วเข้ามาอยู่ในตัวเมือง คือ วิกล่างกับวิกบน ดูสักเรื่อง หรือวิกนครชัยกับวิกนครภาพยนตร์ วิกสุรชัยเปิดฉายราวปี ๒๕๑๓ - ๑๔ เป็นวิกที่ทัน หนั ง เรื่ อ งแรกที่ ผ มดู ที่ วิ ก ล่ า ง คื อ ‘นกน้ อ ย’ ที่ สมัยติดแอร์เย็นฉ�่ำพร้อมการเกิดนักพากย์หนุ่ม ‘ศิริชัย’ ดอกดิน กัญญามาลย์ เป็นผู้สร้าง ผู้ก�ำกับฯ และร่วม (หนุ่ย) ใต้โรงหนังมีร้านอาหาร เราได้ดูหนังฝรั่งดีๆ จ�ำนวน แสดง มิตร ชัยบัญชา กับ เพชรา เชาวราษฎร์ แสดงน�ำ มาก โรงหนังกลายเป็นแหล่งเดินเที่ยว กลับจากโรงเรียนทุก หลังสอบ ม.ศ.๕ เสร็จกลางเดือนมีนาคม ๒๕๑๕ วันต้องออกไปยืนดูหนังแผ่นที่หน้าโรง แล้วไปดูช่างเขียน ผมเข้ากรุงเทพฯ ไปเรียนมหาวิทยาลัย ตอนกลับบ้านปีถัด เขียนภาพส�ำหรับติดรถแห่ได้เป็นพักๆ จนฝันอยากเป็น มาความจ�ำเกี่ยวกับวิกหนังเริ่มเลอะเลือน วิกสมจินต์รามา ช่างเขียน ซื้อสมุดมาตีตารางเขียนรูปจากโปสเตอร์หนัง กับวิโรจน์รามา สร้างปีไหนจ�ำไม่ชัดเจน และไม่รู้สึกผูกพัน เคาบอย บ้าหนัง หลงใหลหนัง ถึงขนาดหนีจากบ้านไปดู เท่าวิกล่างกับวิกบนที่แทบกินนอนอยู่หน้าวิก หนังแล้วกลับมานอนใต้ถุนบ้าน ปัจจุบันวิกล่างกับวิกบนไม่มีเหลือให้เห็นอีกแล้ว สมัยนั้นวันเสาร์ - วันอาทิตย์มีหนังรอบเช้า ๑๐.๓๐ วิกล่างที่กลายเป็นลานจอดรถตู้คิวนครศรีฯ-สุราษฎร์ฯ น. บัตรผ่านประตูส�ำหรับเด็ก ๑ บาท เด็กๆ จะไปออกัน และธนาคารออมสิ น วิ ก บนตรงข้ า มสถานี ร ถไฟเป็ น ที่วิกบนมากกว่า เพราะหน้าวิกมีของกินหลายอย่าง บน อาคารพาณิชย์ วิกสุรชัยเปลี่ยนเป็นอินทราเป็นที่จอดรถ พื้นปูนยังมีเด็กๆ เอาหนังสือการ์ตูนเบบี้ หนูจ๋า และนิยาย แห่หนังและแหล่งเขียนภาพ วิกหนังปิดตายไม่ฟื้นอีกแล้ว ภาพ เช่น ‘สิงห์ด�ำ’ ของ ราช เลอสรวง, ‘อัศวินสายฟ้า’ สมจินต์รามาเป็นที่ตั้งของห้างสหไทยสรรพสินค้า ส่วน พ. บางพลี หรือ ‘แก้วหน้าม้า’ ของปิยดา มาให้เช่าอ่าน วิโรจน์รามาเป็นแหล่งค้าขายเสื้อผ้าของคอกางเกงยีนส์ หนังสือใหม่ค่าเช่าเล่มละ ๒๕ สตางค์ เก่าหน่อย ๕ เล่ม ๑ สิบกว่าปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน คอหนังอาศัยโรงหนัง บาท เช่าตรงนั้นอ่านตรงนั้น อ่านจบก็คืนแล้วเข้าโรงหนัง ในห้างสรรพสินค้าโรบินสัน-โอเชี่ยน ในรอบ ๑๒ ปีที่กลับ เวลาไปพูดให้นักเรียนนักศึกษาฟัง ผมจะบอกว่า มาอยู่บ้าน ผมตีตั๋วเข้าโรงหนังที่โรบินสันฯ ๒ ครั้ง ชีวิตการอ่านของผมเกิดต้นหน้าวิกหนัง ผมได้พบ ราช เมื่ อ โรงหนั ง เมเจอร์ ซี นี เ พล็ ก ซ์ มาเปิ ด ผมอาจ เลอสรวง ๒-๓ ครัง้ ผมบอกกับผูอ้ าวุโสว่าท่านมีสว่ นท�ำให้ เดินเข้าโรงหนังบ่อยกว่าเดิม ถ้ามีหนังน่าสนใจเข้าฉาย ผมรักหนังสือ ท่านกล่าวขอบใจ ผมเชื่อว่าคนรุ่นผมอีก พร้อมๆ กับกรุงเทพฯ หลายๆ คนคงจ�ำภาพเด็กๆ เอาหนังสือมาวางให้เช่าได้บ้าง จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร (เขียนแทน)

ชวนคชวดิ นคยุ สุธรรม ชยันต์เกียรติ

‘โ

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

โดย : นครา nagara@nakhonforum.com หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือน มกราคม ๒๕๕๖ วางแผงต้อนรับปีใหม่ กราบองค์พระบรม ธาตุเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองอ�ำนวยความสุขสันติให้บังเกิดแก่ ลู ก หลานชาวนครทุ ก คน ‘รั ก บ้ า นเกิ ด ’ ฉบั บ นี้ แฟนประจ� ำ ผู ้ ชอบเรื่ องราวและลี ล าเล่ า เรื่ องของ สุ ธ รรม ชยันต์เกียรติ อาจรู้สึกว่าตัวหนังสือรสชาติคุ้นๆ ขาดหาย ไป ‘โกแอ๊ด’ (เจ้าเก่า) แจ้งว่าสุขภาพร่างกายเข้าที่เข้าทาง เมื่อไรจะรีบกลับมา เรื่องสนามหน้าเมืองเป็นเรื่อง ราวขึ้นมาจนได้ เมื่อ รัชนีย์ ไทยาพงศ์สกุล ธนารักษ์พื้นที่ นครศรีธรรมราช ออกหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เรียนไปยัง ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายก เทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เรื่องการใช้สนามหน้าเมือง ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นศ.๕๑ ไป จัดหาประโยชน์เพื่อใช้จัดงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับอนุญาต ระหว่างวันที่ ๘-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และให้น�ำค่าเช่า ๕๐,๒๕๐ บาทไปช�ำระ ณ ส�ำนักงานธนารักษ์ฯภายใน ๑๕ วัน

ป้ายประกาศฟื้นฟูสนามหน้าเมืองของเทศบาล

นี่ก็เป็นเรื่อง.. เพทาย ถนอมจิตร นักแต่งเพลงใต้ ชื่อดังระอาใจกับผู้ที่น�ำวลี ‘เกิดมาหนึ่งชาติขอให้ได้กราบ พระธาตุเมืองคอน’ ไปใช้เป็นประโยชน์ธุรกิจและประโยชน์ ส่วนตัว โดยไม่บอกที่มาว่าใครเป็นคนต้นคิด ถ้อยค�ำที่มี ความหมายนี้ปรากฏอยู่ในเพลง ‘พุทธภูมิ’ อย่างเป็นหลัก ฐาน ฉะนั้นใครที่ท�ำไม่ถูกก็จงท�ำให้ถูกต้อง เจ้าของเพลง ‘ตบให้ ต าย’ บอกว่ า ถ้ า เป็ น ไปเพื่ อประโยชน์ บ ้ า นเมื องจะ ไม่บ่นสักค�ำ วลีดังกล่าว ‘เพทาย’ บอกว่าตนได้ พู ด ที่ ง านวั น ภาษาไทยท่ า มกลางผู ้ ฟ ั ง หลายร้ อ ยคนที่ ม. วลัยลักษณ์ ซึ่ง รศ.ดร.สืบพงษ์ ธรรมชาติ กับ ดร.ณรงค์ บุญสวยขวัญ ก็อยู่ในห้องประชุมด้วย ถ้าใช้ภาษาของชาวเฟซบุ๊คก็ต้องบอกว่า ‘ไปซะแร่ะ’ ..เมื่ อ วั น ที่ ๗ ธั น วาคม ๒๕๕๕ ที ม งานบริ ษั ท เชฟรอน ประเทศไทยส� ำ รวจและผลิ ต จ� ำ กั ด จั ด งานเลี้ ย งปี ใ หม่ สื่อมวลชนที่ร้านน�้ำชุบพร้อมแถลงข่าวการตัดสินใจยุติการ ด� ำ เนิ น งานโครงการก่ อ สร้ า งศู น ย์ สนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ งานในอ่าวไทย(ชอร์เบส) ในเขตพื้นที่บ้านบางสาร ต.กลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีฯ แม้ว่ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (อีเอชไอเอ) จะได้รับความเห็นชอบจากส�ำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ) แล้วก็ตาม ไพโรจน์ กวียานันท์ ปธ.กรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส� ำ รวจและผลิ ต จ� ำ กั ด ให้ เ หตุ ผ ลว่ า เชฟรอนศึ ก ษาโครงการมาตั้ ง แต่ ๒๕๕๐ แต่ ด ้ ว ยเงื่ อ นไข เวลาที่ ค ่ อ นข้ า งนานท� ำ ให้ ป ั จ จั ย ต่ า งๆ ที่ เ คยเป็ น ตั ว แปร ส� ำ คั ญ ในการพิ จ ารณาย้ า ยชอร์ เ บสเปลี่ ย นแปลงไป เช่ น ต้ น ทุ น การด� ำ เนิ น การก่ อ สร้ า งเพิ่ ม สู ง ขึ้ น มากจนไม่ มี ค วาม คุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจหากด�ำเนินการต่อไป กรณีที่ไม่สามารถ ขยายพื้นที่หรือใช้ท่าเรือเพิ่มเติมที่สงขลา และศูนย์สนับสนุน แห่ ง ใหม่ ไ ม่ ทั น ต่ อ การใช้ ง าน บ่ า ยวั น ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ สื่อค่าย ‘มีดี มีเดีย’ ของ ณรงค์ ธีระกุล เป็นเจ้าภาพจัดเสวนาหัวข้อ ‘บทเรียนนคร...กับการยกเลิก

โครงการท่าเรือ โกดังเชฟรอน’ ที่ห้องจงกลนี โรงแรมทวิน โลตัส มีผู้สนใจไปร่วมแสดงความคิดเห็นประมาณ ๓๐ คน แต่ ยัง สรุ ป เป็ น บทเรี ย นไม่ ชั ด เจน ความจริ งเรื่ อ งนี้ ผู ้ ที่ เ ป็ น เจ้ า ภาพน่ า จะเป็ น จั ง หวั ด หรื อ พิ ชั ย บุ ณ ยเกี ย รติ นายก อบจ. ถ้ า อยากรู ้ ว ่ า นครศรี ฯ ได้ ห รื อ เสี ย อะไรไปบ้ า ง รวม ถึ ง มหาวิ ท ยาลั ย ที่ ป ระกาศค� ำ ขวั ญ ‘ประที ป ถิ่ น ประเทื อ ง ไทย’ หรื อ ม.วลั ย ลั ก ษณ์ ค� ำ ถามที่ น ่ า จะเกิ ด ใน ใจก็ คื อ เชฟรอนถอนจริ ง หรื อ แกล้ ง ถอนเพื่ อ ลดกระแส ต่ อ ต้ า น และเพื่ อ ส� ำ รวจประเมิ น ความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด ของ คนในพื้ น ที่ ดร.เลิ ศ ชาย ศิ ริ ชั ย ขาใหญ่ ฝ ่ า ยต่ อ ต้ า นอย่ า ฉลองชั ย จนมองข้ า มประสบการณ์ ห ลายร้ อ ยเล่ ม เกวี ย น ของบริ ษัท ข้ า มชาติ ผู ้ สัม ปทานขุด เจาะน�้ำมันมาแล้วทั่วโลก เป็นอันขาด ท�ำดีก็ต้องบอกกล่าว...วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีฯ น� ำ คณะผู ้ บ ริ ห ารและหั ว หน้ า ส่ ว นราชการในสั ง กั ด ร่ ว มกั บ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พนักงานและลูกจ้าง เด็ก และนักเรียนในสังกัดเทศบาล พี่น้องจากชุมชนต่างๆ ร่วม ปลูกต้นไม้จ�ำนวน ๒๐,๐๐๐ต้น ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มี พระชนมายุ ๘๕ พรรษา ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ แ ละ รักษาสิ่งแวดล้อม ผู ้ ว ่ า ฯ วิ โ รจน์ จิ ว ะรั ง สรรค์ , พล.ต.ต.รณพงศ์ ทรายแก้ ว เจ้ า ของสมญา ‘ผู ้ ก ารล้ า งคุ ก ’ ผบก.ภ.จว. นครศรีฯ, ผอ.สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีฯ

นครศรีธรรมราช

เขต ๑-๔, ผอ.สนง.เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษา เขต ๑๒ ปธ.อาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีฯ และ พิสุทธิ์ เจริญฤทธิ์ ผอ.ส่วนประสานพื้นที่ สนง. ปปส.ภาค ๘ ร่วมลงนามบันทึก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ในโครงการต� ำ รวจประสานโรงเรี ย น ‘๑ ต�ำรวจ ๑ โรงเรียน จังหวัดนครศรีฯ’...ขอให้เฟ้นเอาต�ำรวจ ดีจริงๆ ไปปฏิบัติงาน ‘รักบ้านเกิด’ ฉบับนี้เสนอรายงานเรื่อง ‘ให้ทานไฟ’ กระตุ้นให้ชาวนครสืบทอดประเพณีของชาวเมือง สุทธิ ศิลมัย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดฯ แจ้งว่าย�่ำรุ่งวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ กิจกรรม ‘เดิน-วิ่ง ราตรีข้ามปีบูชาพระบรมธาตุ บุญให้ ทานไฟ’ จะจัดพร้อมกัน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ้า สะดวกเราสามารถไป ‘ให้ทานไฟ’ กี่วัดก็ได้ พิ ชั ย บุ ณ ยเกี ย รติ นายก อบจ., พิ ทั ก ษ์ บริ พิ ศ นอภ.เชี ย รใหญ่ , สุ กิ ต ประสพสุ ข นายกเทศมนตรี ต� ำ บล เชียรใหญ่, สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม ส,อบจ. เขตเชียรใหญ่ และ โสพล เส้งเสน ผอ.ร.ร.เทศบาลวัดคงคาสวัสดิ์ เชิญเที่ยว งานแข่งขันเรือเพรียวฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ครั้งที่ ๑๐ ระหว่างวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ - ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ณ บริเวณแม่น�้ำปากพนังช่วงหน้าที่ ว่าการ อ.เชียรใหญ่ ชมการแสดงของเอกชัย ศริวิชัย และ วง ฌามา ขอแสดงความยินดีกับ สมบูรณ์ ไกรแก้ว รอง ผอ.สพป. นครศรีฯ เขต ๓ ที่ได้เลื่อนต�ำแหน่งเป็น ผอ. ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครศรีฯ (สอสค.) ย้ายมา นั่งประจ�ำที่ส�ำนักงานซอยตึกดินตั้งแต่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ผลการสรรหาอธิ ก ารบดี มรภ.นครศรี ฯ คนใหม่ แ ทน ผศ.ฉั ต รชั ย ศุ ก ระกาญจน์ ที่ มี ศ.ดร.สมบัติ ธ�ำรงธัญวงศ์ นายก สภาฯ มรภ.นครศรีฯ เป็นประธาน รศ.วิมล ด�ำศรี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ที่ ประชุมพิจารณาคัดเลือก รศ.วิมล ด�ำศรี ให้ด�ำรงต�ำแหน่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างโปรดเกล้าฯ ‘รักบ้านเกิด’ ขอแสดงความ ยินดีอย่างจริงใจ และหวังว่าจะยกมหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้า ขึ้นทุกด้าน วณี จิวะรังสรรค์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครศรีฯ ร่ ว มกั บ โรงพยาบาลมหาราชนครศรี ฯ น� ำ โดย นพ.สมชั ย อัศวสุดสาคร จัดโครงการ ‘กาชาดห่วงใย ผู้ป่วยมะเร็งเต้า นม’ โดยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในพื้นที่จังหวัด

วณี จิวะรังสรรค์

หน้า ๕

นพ.สมชัย อัศวสุดสาคร

นครศรีฯ กว่า ๑๐๐ คน บริษัท ไอซีซีฯ สนับสนุนเสื้อชั้นใน วาโก้ออกแบบพิเศษส�ำหรับผู้เป็นมะเร็งเต้านม ๑๐๐ ตัว

ในวาระมณฑลทหารบกที่ ๔๑ สถาปนาครบ ๗๒ ปี เพิ่ ม ศั ก ดิ์ ยอดมิ ต ร ผจก.โรงแรมทวิ น โลตั ส พร้ อ มคณะ ผู ้ บ ริ ห ารน� ำ กระเช้ า ไปแสดงความยิ น ดี กั บ พล.ต.พี ร พล วิริยากุล ผบ.มณฑลทหารบกที่ ๔๑ คนใหม่เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

ไปบรรยายเรื่อง ‘การเขียนเชิงสร้างสรรค์กับการ พัฒนาด้านการสื่อสารของเยาวชน’ ที่โรงเรียนประทีปศาสน์ จนบัดนี้ จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการที่ปรึกษายังประทับ ใจบรรยากาศภายในโรงเรียนและนักเรียนชั้น ม.๔-๖ กว่า ๕๐๐ คน ที่ฟังอย่างสนใจและร่วมเขียนงานกว่า ๓๐๐ ชิ้น พิเศษสุด ! น�ำรักบ้านเกิดฉบับนี้มารับปฏิทินปีใหม่ กระเป๋าแสนน่ารัก ได้ที่ทุกท�ำเลเพชรทองซีกวง BJ นะคะ Tel : 081-597-5535 ติดต่อ : ปาลิกา


หน้า ๖

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

ดี ต ศึ ก ษานิ เ ทศก์ ร ะดั บ หั ว หน้ า หน่ ว ย รั บ ราชการที่ ป ั ต ตานี กระบี่ พั ท ลุ ง เกษียณที่นครศรีธรรมราชมาแล้ว ๓ ปี ทว่า ยังเคลื่อนไหวด้านการศึกษา โดยเฉพาะการ จัดการเรียนรู้เพิื่อให้คนจัดการตนเองได้ พึ่งตนเองและ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในบ้านเกิดของตนเอง ศักดิ์พงษ์ เป็นชาวหัวไทร เรียนจบปริญญาตรี สาขา โลหะอุตสาหกรรมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (พระนครเหนือ) แต่ข้ามสายวิชามาเรียนจบปริญญาตรี สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริ ญ ญาโท สาขา ศึ ก ษาศาสตร์ เ พื่ อ พั ฒ นาชุ ม ชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับราชการศึกษานิเทศก์ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ “ผมไม่ ป ฏิ เ สธการศึ ก ษาในระบบ แต่ ป ฏิ เ สธ กระบวนการจั ด การเรี ย นการสอน เด็ ก พากระเป๋ า ไป โรงเรียนวันละ ๓ กิโลกรัม แต่ครูสอนไม่ถึง ๑ ขีด งบ ประมาณทางการศึ ก ษาไปสิ้ น เปลื อ งกั บ วั ส ดุ อุ ป กรณ์

แต่ไม่สิ้นเปลืองกับการเพิ่มปัญญาให้กับเยาวชน ถ้าเรา ย้อนไปในอดีต สมัยตักศิลานักศึกษาไม่ต้องพาอะไรไป ที่สถาบัน แต่สถาบันจะมอบสิ่งดีๆ มาให้ ส�ำนักเส้าหลิน นักศึกษาก็ไม่ได้พาอะไรไป แต่ส�ำนักให้สิ่งดีๆ กับศิษย์” คลุ ก คลี กั บ การศึ ก ษามาร่ ว ม ๓๐ ปี ศั ก ดิ์ พ งษ์ เห็นปัญหาและจุดอ่อนที่ความรู้ของเด็กไทยด้อยลงทุก ปี ๆ “ปั ญ หาของการศึก ษาไทยที่มีผิดอยู่ ๓ เรื่อง คือ ๑. ระบบประเมินของ สมศ. (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา) ใช้เงินปีละ ๓๐,๐๐๐ กว่าล้าน แต่ สมศ. ยิ่งประเมินมากเท่าไรการศึกษาตกต�่ำ

มากเท่านั้น เพราะว่า สมศ. ไม่ได้ประเมินมาตรฐานการ ศึกษา แต่ไปประเมินเอกสารของครู ซึ่งเป็นการประเมินที่ ผิด แทนที่จะไปดูผลิตผลคือเด็กนักเรียน ๒.การประเมินครู เพื่อเลื่อนระดับ ให้ครูเป็นคศ. ๓ (คศ. คือ ครูและบุคลากร ทางการศึกษา) เพื่อให้ได้เงินประจ�ำต�ำแหน่ง บางโรงเรียน ครู คศ. ๓ เต็มโรงเรียน แต่ผลสัมฤทธิ์ต�่ำลงทุกวัน ครูที่ สอนเก่งอาจไม่ผ่าน คศ. ๓ เพราะหลักฐานไม่พอ ๓. เรื่อง ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ปรัชญาการเรียนรู้ ปัจจุบัน มันมีการรับรู้และการเรียนรู้ การรับรู้คือคนๆ หนึ่ง มา บอกคนๆ หนึ่ ง องค์ค วามรู้อย่างนี้จ ะสูญหายไปเรื่อยๆ

ถ้าเป็นการเรียนรู้คือผู้จัดการเรียนรู้จะสร้างสถานการณ์ ให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ ถ้าเป็นการเรียนรู้องค์ความรู้ จะพัฒนาไปเรื่อยๆ” ปี ๒๕๕๐ ศักดิ์พงษ์เคยได้รับเชิญไปเสวนาเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ “เริ่ ม จากผมไปสั ม มนาเรื่ อ งการหาทางออกเกี่ ย ว กับการศึกษาที่กรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาฯเชิญบุคลากร ทางการศึกษาของประเทศไปร่วม ผมก็พูดไปตามประสา ว่า ถ้าคิดอย่างนี้ไม่ส�ำเร็จ กระทรวงชอบท�ำอะไรยากๆ เขาคิ ด กั น ว่ า ถ้ า เราจะปฏิ รู ป การศึ ก ษาของประเทศ เสี ย ใหม่ ขณะบรรยายก็ ย กทฤษฎี ต ่ า งประเทศมาทั้ ง นั้น นักศึกษาคนไทยที่เรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย เคมบริ ด จ์ ค นหนึ่ ง มาร่ ว มด้ ว ย ผมบอกว่ า มี วิ ธี ท� ำ ง่ า ยๆ นักศึกษาคนนั้นถามว่าพรุ่งนี้อาจารย์ไม่เข้าอบรมได้ไหม แกสนใจความคิดของผม ผมพบว่าเด็กสามารถเรียนได้ ด้วยตัวเองโดยใช้กระดาษแผ่นเดียว ผมเชื่อว่าทุกคนมี ศักยภาพในตัวเอง ถ้าเราคิดอะไรดีๆ เราสามารถท�ำอะไร ได้เยอะแยะ แต่การศึกษาเราที่สอนให้คิดเป็น ท�ำเป็น แก้ปัญหาเป็น เราบอกให้จด ไม่เคยให้เขาคิด แกถามว่า จะท�ำอย่างไร ผมเลยเอาตัวอย่างที่ผมสอนเด็กให้ดู อ่าน หนังสือแล้วถามเองตอบเอง” ศั ก ดิ์ พ งษ์ ส นใจปรั ช ญาของจางจื๊ อ -- ‘เมื่ อ ไรมี ค�ำถามดีๆ ความรู้ดีๆ ก็จะเกิด’ “ผมมานึ ก ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ก็ ดี นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ที่ คิดอะไรดีๆ เขาเริ่มจากการตั้งค�ำถามดีๆ ทั้งนั้น เพราะ ฉะนั้นเมื่อไรก็ตามที่เราสอนให้เด็กรู้จักตั้งค�ำถามดีๆ วัน หนึ่งเขาจะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต พอผมบรรยาย อย่างนี้แกก็ถามว่ามีกระบวนการจัดการอย่างไร ผมก็เอา ตัวอย่างงานให้ดู แกเลยเชิญผมเสวนาไปที่เคมบริดจ์” ศักดิ์พงษ์แจงรายละเอียด “ผมพูดเรื่องปัญหาและ ทางออกของการศึกษาไทย ในงานสัมมนาวิชาการ ซึ่ง ทุ ก ๆ ปี นั ก เรี ย นไทยในอั ง กฤษจะสั ม มนาวิ ช าการหนึ่ ง ครั้ง โดยมหาวิทยาลัยต่างๆ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ปีนั้น เคมบริดจ์เป็นเจ้าภาพ ผมไปพูดว่า..โรงเรียนต้องมีหน้า ที่จัดการเรียนรู้ ไม่ใช่จัดการรับรู้ ปัญหาของสังคมไทย คือการจัดการเรียนรู้ไม่ถูก เราต้องมานั่งวิจัยรูปแบบการ เรียนรู้ที่แท้จริง ที่มีประโยชน์ ผมคิดได้ว่า โดยวิถีของ ชุมชนเมื่อก่อนพ่อแม่มีหน้าที่สั่งสอน สั่งหมายถึงสั่งให้ท�ำ ก่อน ถ้าลูกท�ำไม่ถูกจึงค่อยสอนทีหลัง นั่นคือการเรียนรู้ ปัจจุบันครูจะสอนสั่ง เอาหนังสือมากางสอนแล้วให้เด็ก ไปจ�ำมา ความส�ำเร็จก็คือเด็กตอบได้ตามที่ครูสั่งให้ไป จ�ำ แต่เด็กไม่ได้เกิดความรู้ นี่คือปัญหา ผมเลยคิดว่าใน การจัดการเรียนการสอนต้องเรียนรู้โดยการปฏิบัติ โดย ครูมีค�ำสั่งดีๆ ให้นักเรียนปฏิบัติเพื่อให้เกิดสติปัญญา เช่น ว่า ถ้าจะรู้อะไรนักเรียนต้องตั้งค�ำถาม อยากศึกษาเรื่อง แก้วเด็กต้องตั้งค�ำถาม แก้วสีอะไร นักเรียนก็ดู ถามว่า ปากกว้างเท่าไรก็วัดดู ถ้าถามว่าแก้วใบนี้มีกระบวนการ ผลิตอย่างไร นักเรียนต้องไปหาในหนังสือ ไปถามผู้รู้หรือ ค้นอินเตอร์เน็ต ถ้าเราจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างนี้ เด็ก สามารถที่จะเรียนรู้ได้” ไม่เฉพาะโรงเรียน ชุมชนก็อ่อนแอจนช่วยเหลือตัว เองไม่ได้ “บ้านมีดินก็ต้องไปถามกระทรวงเกษตรฯว่าดิน ของตัวเองควรปลูกอะไร พอมีร้านก็ต้องมีคนมาจัดการว่า ควรจะขายอะไร” ศั ก ดิ์ พงษ์ กั บ ดร.ด� ำ รง โยธารั ก ษ์ จึ ง เพิ่ ง ร่ ว มกั น ก่อตั้ง ‘สถาบันการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเอง’ “ผมกับ ดร.ด�ำรงคิดว่าควรมี >> อ่านต่อหน้า ๙


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

บั บ ที่ แ ล้ ว ผมเขี ย นถึ ง การขายและ หารายได้ ต ้ อ งคิ ด ถึ ง การเติ บ โต (Growth) ท�ำอย่างไรให้เติบโต แต่เป้า หมายที่ แ ท้ จ ริ ง ของกิ จ การ (เจ้ า ของ กิ จ การ) คื อ ก� ำ ไรสุ ท ธิ ห ลั ง หั ก ต้ น ทุ น และค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วเหลือเท่าไร? ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ เงิ น สดที่ เ หลื อ เมื่ อ เที ย บ กับก�ำไรสุทธิที่เป็นตัวเลขทางบัญชีแล้ว เหลือเงินสดจริง ได้ตามเป้าหมายหรือ ไม่? ภาพเป้าหมายของเจ้าของกิจการ ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อความส�ำเร็จภายใน ระยะเวลา ๑ ปี ชัดเจน ในความคิดของ คนที่ประสบความส�ำเร็จทางธุรกิจ พวก เขาจะมี ค วามมุ ่ ง มั่ น ชั ด เจนคื อ สุ ด ท้ า ย แล้วต้องได้ก�ำไรสุทธิและเงินสดได้ตาม เป้าหมายหรือสูงกว่าเท่านั้น จะไม่ยอมให้ ต�่ำกว่านี้เพราะเงินที่ลงทุนไปต้องได้คืน เพื่อการลงทุนใหม่ต่อไป แต่ในความคิด ลูกจ้างอาจไม่มากขนาดนั้น พวกเขาขอ เพียงให้ท�ำยอดขายได้ตามเป้าหมายและ ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ ส�ำคัญที่สุดของ ลูกจ้างคือได้ปรับเงินเดือนเพิ่มหรือไม่? แต่ปีนี้เขาจะได้ปรับค่าแรงขั้นต�่ำขึ้นเป็น ๓๐๐ บาท ใครที่ได้ค่าจ้างต่อเดือนไม่ถึง ๙,๐๐๐ บาท จะได้ปรับทุกคนภายในวัน ที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ นี้ ซึ่งย่อมส่งผล กระทบต่อคนเก่าที่อยู่มานานและมีค่า จ้างไม่ถึง ๙,๐๐๐ บาทหรือมากกว่า แต่ไม่ ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท จะรู้สึกว่าคนรุ่นใหม่ มาถึงก็รับเงินเดือนสูง จ�ำเป็นต้องท�ำให้ เจ้าของกิจการ นายจ้างหันมาปรับเงิน เดือนให้กับคนเก่าสูงขึ้นอีก เพื่อให้เกิด ความต่ า งของระดั บ เงิ น เดื อ นคนใหม่ คนเก่า ซึ่งก็จะมีอายุงานตามแต่กิจการ ที่เปิดมา ถ้ามากกว่า ๕ ปีและมีจ�ำนวน พนักงานมากอย่างธุรกิจโรงงาน-ร้านค้า ปลี ก -โรงแรม-ธุ ร กิ จ บริ ก าร-อื่ น ๆ ก็ จ ะ เป็นต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหลังจากปีที่ แล้วก็ปรับเพิ่ม ๔๐% เจอรอบนี้ก็จะเพิ่ม ขึ้นไปอีกโดยเฉลี่ย ๑๕-๒๐% ขึ้นอยู่กับ ฐานค่าจ้างเดิมเท่าไร? และจ�ำนวนคนที่ ต้องปรับเพิ่มไล่เรียงกันไปตามอายุงาน เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเป็ น ธรรมต่ อ คนที่ อ ยู ่ กับบริษัทมานาน พอเงินเดือนพนักงาน ถู ก ปรั บ เพิ่ ม ก็ จ ะกระทบไปถึ ง ผู ้ จั ด การ

นครศรีธรรมราช

หน้า ๗

โดยหลักการแล้ววงจรธุรกิจ เกิด-เติบโต-เต็ม-ตาย ถ้าจะอยู่ต่อต้องเพิ่มธุรกิจใหม่เพื่อให้เดินต่อไปได้ และยิ่งปัจจุบันจะพบเห็นวงจรนี้ มีระยะเวลาสั้นลงเร็วมาก

ระดับต้นก็ต้องปรับเพิ่มเช่นกัน สรุปโดย รวมปี ๒๕๕๖ นี้จะมีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น แน่นอน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าไฟฟ้าก็ปรับ เพิ่ม ค่าขนส่งรวมถึงค่าใช้จ่ายทางการ ตลาดก็ ต ้ อ งเพิ่ ม ขึ้ น เพราะการแข่ ง ขั น ต้องจัดโปรแกรมทางการตลาดเพื่อรักษา ฐานลูกค้าเดิม เพิ่มลูกค้าใหม่ จากความเป็นจริงในการจัดท�ำงบ ก�ำไรขาดทุนประจ�ำปี ๒๕๕๖ พบว่า การท� ำ ยอดขายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น ก็ เ ป็ น เรื่องยาก เพราะต้องเพิ่มธุรกิจใหม่ สินค้า ใหม่ สาขาใหม่ นั่ น คื อ การลงทุ น เพิ่ ม นั่นเอง เมื่อไม่ได้ท�ำก็ยากที่จะอาศัยสิน ค้าเดิมๆ มาเพิ่มยอดขายได้ เพราะหากมี คู่แข่งประเภทเดียวกันเข้ามาในพื้นที่มาก ก็ย่อมแชร์ยอดขายกันอยู่แล้ว การตั้งราคาเพื่อให้มีก�ำไรเบื้องต้น เพิ่มขึ้นก็ไม่ง่ายเพราะเมื่อต่างก็ต้องแย่ง ลู ก ค้ า โปรแกรมลดราคา-แลกซื้ อ -ซื้ อ ครบแล้วแถมฟรี-รายการชิงโชคให้รางวัล ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น การเพิ่ ม ต้ น ทุ น สิ น ค้ า ท�ำให้ก�ำไรเบื้องต้นลดลง การควบคุมค่าใช้จ่ายก็โดนค่าแรง เพิ่ ม ขึ้ น แบบจ� ำ ยอมตามกฎหมาย ค่ า ไฟฟ้า ทางเลือกการควบคุมค่าใช้จ่ายมี แต่การลดคนงาน ลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ ท�ำได้ยาก โดยรวมค่าใช้จ่ายจะเท่าเดิม และโตกว่าปีที่ผ่านมา ค�ำตอบสุดท้าย สมการง่ายๆ … ยอดขายเพิ่ม-ก�ำไรขั้นต้นเพิ่ม-ค่า ใช้จ่ายเพิ่ม-ก�ำไรสุทธิเพิ่ม ยอดขายลด-ก�ำไรขั้นต้นลด-ค่าใช้ จ่ายเพิ่ม-ก�ำไรสุทธิยิ่งลดลง (ก�ำไรสุทธิ ยังไม่หักค่าเสื่อม+ดอกเบี้ย)

ถ้ า ธุ ร กิ จใดมี ส ภาพเป็ นเช่ น นี้ ต ้ อ ง ตั้งค�ำถามใหม่ จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร? จะหาธุ ร กิ จ ใหม่ อ ะไรมาเสริ ม โดยหลั ก การแล้ววงจรธุรกิจ เกิด-เติบโต-เต็ม-ตาย ถ้าจะอยู่ต่อต้องเพิ่มธุรกิจใหม่เพื่อให้เดิน ต่อไปได้ และยิ่งปัจจุบันจะพบเห็นวงจร นี้มีระยะเวลาสั้นลงเร็วมาก ซึ่งเป็นธุรกิจ ครอบครัวบริหารโดยเจ้าของกิจการคน เดียว มาถึงช่วงหนึ่งที่ต้องวางแผนการ ส่ ง ต่ อ ให้ รุ ่ น ต่ อ ไป ธุ ร กิ จ ใดที่ ไ ด้ เ ตรี ย ม การวางแผนการส่งต่อได้ก็เดินหน้าต่อ ไปโดยคนรุ่นต่อไป ซึ่งต้องเพิ่มไลน์ธุรกิจ ให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อท�ำให้ขาหยั่ง ของธุรกิจมีมากขึ้นจะได้อยู่อย่างมั่นคง หลายคนก็ เ ข้ า ไปเป็ น หุ ้ น ส่ ว นกั บ ธุ ร กิ จ ใหญ่เพื่ออาศัยได้เติบโตไปด้วยกันบ้างก็ ไปซื้อเฟรนไชส์มาเปิดธุรกิจใหม่ไม่ต้อง ไปเสี่ยงกับการลองผิดลองถูกอย่างอดีต เพราะเวลาในปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้ท�ำ อย่างนั้น การทดลองท�ำเท่ากับทดลอง เจ๊ง (ส่วนใหญ่ ๙๕% อาจรอด ๕%)

สุ ด ท้ า ยแล้ ว ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ การ จั ด ท� ำ เป้ า หมายและรั บ ผิ ด ชอบต่ อ เป้ า หมายให้ ชั ด เจน หากจ� ำ เป็ น ต้ อ งปรั บ เปลี่ยนวิธีก็ต้องฝืนใจไม่ชอบก็ต้องยอม ท�ำ ท�ำจนชอบ เพราะเป้าหมายคือก�ำไร สุทธิและเงินสดส�ำคัญกว่า ขอให้ผู้ที่รับ ผิดชอบต่อเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะท�ำ จนบรรลุเป้าหมายมีแต่ความสุข ส�ำหรับ ทุกท่านที่อ่านบทความนี้มีค�ำถามกับตัว เองว่านับแต่ปีใหม่นี้ เป้าหมายในชีวิต ของฉันคืออะไร? และท�ำเพื่อใคร? ต้อง ท�ำอย่างไร? เพื่อให้สามารถครอบครอง ผลลัพธ์ที่เราต้องการได้ ขอให้ทุกท่านมี เงิน มีเวลา มีสุขภาพดี มีความสุขแบบ ๑๐๐% ในทุกๆ ด้านครับ นายไพโรจน์ เพชรคง ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕


หน้า ๘

เรือ่ งจากปก

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

<< ต่อจากหน้า ๑

มู ่ ง หน้ า สู ่ ท� ำ เนี ย บรั ฐ บาลในวั น ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ นายเฉลิ ม กล่ า วถึ ง จุ ด ประสงค์ ในการเดิ น ทางไกลว่ า เพื่ อ สร้ า งความ สามัคคีและความเชื่อมั่นต่อพลังมวลชน ในชุ ม ชน, เพื่ อ สร้ า งส� ำ นึ ก ร่ ว มกั น ว่ า สั ง คมดี จ ะเป็ น เกราะคุ ้ ม ครองป้ อ งกั น ซึ่ ง กั น และกั น , เพื่ อ สรุ ป บทเรี ย นร่ ว ม กั น และน� ำ ไปสู ่ ก ารสร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น แก่ เยาวชน, เพื่อถ่ายทอดรูปแบบ แนวคิด และวิ ธี ก ารต่ อ สู ้ เ อาชะยาเสพติ ด และ

สร้ า งกระแสชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง ต่ อ ต้ า นยา เสพติดสู่สังคม ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การบอกเล่าเรื่องราวให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับ ยาเสพติดในสังคมไทย การแลกเปลี่ยน เรี ย นรู ้ ร ะหว่ า งเส้ น ทาง ตลอดจนการ สร้างเสริมก�ำลังใจแก่เครือข่ายต้านยา เสพติ ด ในภาพกว้ า งและจะเกิ ด ขวั ญ ก� ำ ลั ง ใจแก่ ตั ว แทนชาวบ้ า นที่ ร ่ ว มเดิ น ทางครั้งนี้ด้วย “เราอาศั ย การเดิ น เท้ า เป็ น สั ญ ลักษณ์และเป็นเครื่องมือกระตุ้นสังคม ให้เกิดการรับรู้ และสื่อสารกับสาธารณะ ชุ ม ชน สั ง คมและรั ฐ บาลตระหนั ก ว่ า ชุมชนต้องการแก้ปัญหายาเสพติดและ ต้ อ งการให้ รั ฐ บาลเพิ่ ม มาตรการปราบ ปรามอย่างจริงจังในทุกมิติ ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากให้เกิดเครือข่ายต่อต้านยาเสพ

ติ ด ที่ เ ข้ ม แข็ ง ทั้ ง ปริ ม าณและคุ ณ ภาพ” ผู้ใหญ่บ้านผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว และรางวัลข้าราชการต้นแบบของโครงการ ‘ข้าราชการไทย ใจสีขาว’ เปิดเผย รูปแบบการเดินทาง หลังสักการะ พระบรมธาตุเจดีย์ พระสงฆ์ประพรมน�้ำ พระพุทธมนต์ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช

กล่ า วเปิ ด โครงการ พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ ว ผู ้ บั ง คั บ การต� ำ รวจภู ธ ร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ได้รับรางวัล ข้าราชการต้นแบบโครงการ ‘ข้าราชการ ไทย ใจสีขาว’ ประกาศปล่อยขบวนเดิน เท้ า ‘เขาหลวงสู ่ เ มื อ งหลวง รวมพลั ง แผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด’ คณะก�ำหนด ระยะทางเดินวันละ ๒๐-๕๕ กิโลเมตร ไปตามไหล่ ท างถนนสายเอเซี ย ทั้ ง สาย เก่ า และสายใหม่ ม ากน้ อ ยขึ้ น อยู ่ กั บ สภาพเส้ น ทางและความพร้ อ มของ ตัวแทน อาศัยวัด หรือ ส�ำนักงานองค์กร ปกครองท้องถิ่นเป็นแหล่งพักผ่อนและ พบปะเครื อ ข่ า ยต่ อ ต้ า นยาเสพติ ด แลก เปลี่ยนประสบการณ์ เส้ น ทางและสถานที่ พั ก ก� ำ หนด ไว้คร่าวๆ ดังนี้ ตัวอ�ำเภอท่าศาลา, เขา พลายด�ำ อ.สิชล, อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์-

ธานี , ศู น ย์ สิ น ค้ า โคออฟ, อ.ไชยา, อ.ละแม จ.ชุ ม พร, อ.หลั ง สวน, อ.สวี , อ.เมืองชุมพร, เขาโพธิ์, อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์, อ.ทับสะแก, อ.เมือง ประจวบฯ, อ.สามร้อยยอด, อ.หัวหิน, อ.ท่ า ยาง จ.เพชรบุ รี , อ.เขาย้ อ ย, แม่ ก ลอง จ.สมุ ท รสงคราม, อ.เมื อ ง สมุ ท รสาคร, กรุ ง เทพฯ และท� ำ เนี ย บ รัฐบาล นายเฉลิ ม กาญจนพิ ทั กษ์ ผู ้ ใ หญ่ บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านเก้ากอ ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคี รี จ.นครศรี ธ รรมราช เป็ น บุ ค คลตั ว อย่ า งที่ น� ำ สมาชิ ก ชุ ม ชนสร้ า ง เครือข่ายต่อต้านยาเสพติดเพื่อปกป้อง คนในหมู่บ้านให้ปลอดภัยจากยาเสพติด และได้รับการยกย่องเป็นชุมชนที่มีความ ร่วมมืออย่างเข้มแข็ง ร่วมปกป้องผืนป่า ธรรมชาติจนได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว และรางวัลข้าราชการต้นแบบโครงการ

‘ข้าราชการไทย ใจสีขาว’ จากส�ำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุ จ ริ ต ในภาครั ฐ (ป.ป.ท.) ร่ ว มกั บ ข้ า ราชการอี ก ๒๑ คน เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๖ หวั ง ว่ า การเดิ น เท้ า สู ่ เ มื อ งหลวง ครั้ ง นี้ จะได้ รั บ การสนั บ สนุ น อุ ป กรณ์ และเครื่องใช้จ�ำเป็นจากภาครัฐ เอกชน มูลนิธิและบุคคลอย่างอบอุ่น นอกจาก การสร้างจิตส�ำนึกที่เป็นนามธรรม


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

รายงาน

นครศรีธรรมราช

หน้า ๙

<< ต่อจากหน้า ๑

ร่วมประเพณี ‘ให้ทานไฟ’ ที่ขึ้นไว้บริเวณหน้าวัดหรือใน ชุมชนเพิ่มขึ้น ส�ำหรับชาวนครศรีธรรมราชและลูกหลานที่เป็นคน รุ่นใหม่ ส่วนมากรู้จักและเคยไปร่วมประเพณีให้ทานไฟที่ เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครศรีธรรมราชซึ่งสืบสานต่อกันมา อย่างยาวนาน แม้ว่าบางท้องถิ่นอาจปรับปรุงหรือประยุกต์ รูปแบบให้เหมาะสมกับยุคสมัย ขณะที่สถานศึกษาหลาย แห่งร่วมสืบทอดประเพณีให้ทานไฟโดยน�ำนักเรียนไปร่วม ท�ำอาหารถวายพระตามวัดต่างๆ ท�ำให้ประเพณีอันดีงาม กลับมาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ประเพณีให้ทานไฟของจังหวัดนครศรีธรรมราชจัด กันช่วงในเดือนธันวาคม – มกราคม ที่กระแสลมมรสุม ทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ พั ด พาเอาอากาศหนาวเย็ น มา จากภาคเหนือและทะเลจีนใต้มายังแหลมมลายูตอนเหนือ ท�ำให้ภาคใต้อากาศหนาวเย็นกว่าปกติด้วย บางปีหนาว ถึงขนาดชาวบ้านต้องตื่นมาก่อกองไฟผิงในตอนเช้ามืด ขณะที่พระสงฆ์ตามอารามต่างๆ ก็ได้รับความหนาว เย็น ตอนย�่ำรุ่งชาวบ้านจึงพร้อมใจไปก่อกองไฟให้พระสงฆ์ ผิงสร้างความอบอุ่น และน�ำอุปกรณ์และเครื่องปรุงต่างๆ ไปท�ำขนมหรืออาหารเช้าถวายพระสงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์ไม่ต้อง ออกไปบิณฑบาตท่ามกลางอากาศหนาวเย็น การรวมตัวน�ำ ข้ า วของมาปรุ ง ถวายเป็ น ภั ต ตาหารเช้ า ต่ อ หน้ า กองไฟ ภายในลาดวัดเรียกว่า ‘ให้ทานไฟ’ หรือการท�ำบุญด้วยไฟ ขนมที่ชาวบ้านนิยมท�ำถวายพระสงฆ์คือ ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจู่จุน กล้วยทอด กล้วยแขก ข้าว เหนียวกวนทอด ขนมม้า ขนมด้วง ขนมรังแตนรังต่อ ขนม จ� ำ ปาดะ ขนมโค ขนมกรุ บ ข้ า วเกรี ย บปากหม้ อ และ

อื่นๆ แต่ขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของประเพณีให้ทานไฟคือ ขนมกรอก ซึ่งท�ำจากแป้งเหลวปรุงเป็นแผ่นนิ่มๆ ในกระทะ แล้วพับเป็นแผ่นยาวรสชาติหอมหวานชวนรับประทาน ปัจจุบัน ชาวบ้านบางคนไม่สามารถน�ำเตาหรืออุปกรณ์ไปท�ำขนมหรือหุงอาหารถวายพระ แต่มีผู้ประกอบ อาหารไปปรุงจ�ำหน่ายให้ผู้ประสงค์จะท�ำบุญซื้อถวายพระ ซึ่งเป็นความสะดวก ขณะเดียวกันอาหารก็มีให้เลือกมากขึ้น ไม่ว่าข้าวมันไก่ ข้าวหมกไก่ โจ๊กหรือข้าวต้ม วัดต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชนิยมท�ำบุญให้ ทานไฟเกือบทุกวัดและทุกปี เพราะเป็นประเพณีที่เก่าแก่ และดีงามของจังหวัดที่สืบทอดกันมาช้านาน ประเพณีนี้ ยังก่อให้เกิดความสามัคคีและความเบิกบานที่ได้ตื่นเช้ามา ท�ำบุญ ประเพณีให้ทานไฟเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล โดยกล่าว ถึงในขุนทกนิกายชาดก เรื่อง ความตระหนี่ถี่เหนียวของ โกลิยะเศรษฐีที่อยากกินขนมเบื้อง แต่เสียดายเงินไม่ยอม ซื้อ ทั้งยังไม่ต้องการให้ลูกเมียและข้าทาสบริวารได้กินด้วย เศรษฐีจึงให้ภรรยาขึ้นไปท�ำขนมเบื้องบนชั้นที่เจ็ดให้เศรษฐี

<< ต่อจากหน้า ๖

การเตรียมการให้คนไทยยืนหยัดบนขาของตนเองได้อย่าง สถาบั น สั ก สถาบั น ที่ จ ะ มั่นคง” จั ด การให้ เ ขาตั้ ง ค� ำ ถาม สถาบั น การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ จั ด การตนเองไม่ ใ ห้ ค วาม ให้ เ ขาพึ่ ง พาตนเอง ถ้ า ส� ำ คั ญ กั บ ส� ำ นั ก งาน แต่ ส ามารถติ ด ต่ อ ได้ ที่ บ ้ า นของ เราไปสอนวิ ธีคิ ด เขาๆ จะช่วยเหลือตนเองได้ ถ้าช่วย ดร.ด�ำรง บนถนนซอยทางเข้าโรงเรียนในเขียว ๒ อ�ำเภอ เหลื อ ตนเองได้ ก็ จ ะจั ด การตั ว เองได้ ถ้ า ทุ ก ครวบครั ว พรหมคีรี “เราจะเผยแพร่แนวคิดไปเรื่อยๆ องค์กรไหน ทุกหมู่บ้าน จังหวัด ประเทศที่จัดการตัวเองได้ คือเรา จะเชิ ญ เราไปท� ำ เราไม่ ท� ำ เพื่ อ ธุ ร กิ จ แต่ ท� ำ เพื่ อ สร้ า ง ต้ อ งรู ้ ว ่ า จะอยู ่ อ ย่ า งไรให้ เ ข้ ม แข็ ง การเตรี ย มเข้ า สู ่ ปัญญามากกว่า องค์กรไหนมีคนนั่งอยู่ ๕ คนเราก็จะไปที่ ประชาคมอาเซี ย นไม่ ใ ช่ เ ตรี ย มภาษาอั ง กฤษ แต่ เ ป็ น นั่น มี ๑๐ เราจะไป แต่ถ้าเขารวมตัวกันได้ ๔๐-๕๐ คน พร้ อ มจะไปที่ ส ถาบั น เราก็ พร้อมจะจัดที่สถาบัน แหล่ง เรียนรู้ของเราจะกระจายไป ที่ไหนก็ได้ เรามีหลักว่าจะ ท� ำ อย่ า งไรให้ เ ขาเสี ย น้ อ ย ที่สุด เราไป ๒ คน ดีกว่าเขา เคลื่อนย้ายเป็น ๑๐๐ คน” แนวคิดในการจัดการ เรี ย นรู ้ ผ ่ า นการทดลองที่ โรงเรียนวัดยางทอง ต�ำบล โมคลาน อ� ำ เภอท่ า ศาลา “เป็ น โรงเรี ย นเดี ย วใน ประเทศไทยที่ผู้ปกครองไม่ เลขที่ ๖/๑๐ อาคารพาณิชย์หน้าโรงแรมทวินโลตัส ให้เงินลูกไปโรงเรียนแม้แต่ บาทเดียว ผมคิดว่าสาเหตุที่ โทร. ๐๘๗-๒๙๔-๐๖๗๓

ได้รับประทานคนเดียวและไม่ต้องการให้ใครเห็น ขณะที่ สองสามีภรรยาก�ำลังปรุงขนมเบื้อง พระพุทธเจ้าประทับ อยู่ที่เชตวันมหาวิหารทรงทราบด้วยญาณ จึงโปรดให้พระ โมคคัลลานะไปแก้นิสัยของโกลิยะเศรษฐี พระโมคคัคลานะ ใช้อิทธิฤทธิ์ตรงไปบนตึกชั้นเจ็ดของคฤหาสน์เศรษฐี เศรษฐี เข้ า ใจว่ า จะมาขอขนม จึ ง แสดงอาการรั ง เกี ย จและออก วาจาขับไล่ แต่พระโมคคัคลานะพยายามทรมานเศรษฐีอยู่ นานจนยอมละนิสัยตระหนี่ พระโมคคัลลานะได้แสดงธรรม เรื่องประโยชน์ของการให้ จนโกลิยะเศรษฐีและภรรยาเกิด ความเลื่อมใส ได้นิมนต์มารับถวายอาหารที่บ้านตน พระ โมคคัลลานะแจ้งให้น�ำไปถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก ๕๐๐ รูป ณ เชตวันมหาวิหาร โกลิ ย ะเศรษฐี แ ละภรรยาน� ำ เข้ า ของเครื่ อ งปรุ ง ไป ท�ำขนมเบื้องถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก แต่ปรุงเท่า ไหร่แป้งที่เตรียมมาเพียงเล็กน้อยก็ไม่หมด พระพุทธเจ้าจึง โปรดเทศนาสั่งสอน ทั้งสองคนเกิดความปีติอิ่มเอิบในการ บริจาคทาน เห็นแจ้งบรรลุธรรมชั้นโสดาบัน เด็กมีสภาพทุพ-โภชนาการไม่ใช่ไม่มีเงินไปโรงเรียน หรือ ไม่มีกิน แต่เพราะมีเงิน เด็กไปกินขนมกรุบกรอบ พ่อแม่ ส่งลูกไปเอาแต่คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ลืมสุขภาพจิต สุขภาพกายซึ่งเป็นรากฐานการศึกษา ที่แท้จริง..ผมขายความคิดกับผู้อ�ำนวยการ ท่านก็ไปขาย ความคิดกับผู้ปกครอง มีการประชุม ถามว่าเงินที่ให้ลูกไป โรงเรียนมีประโยชน์กับลูกอย่างไรขอให้เขียนมา ปรากฏ ว่ามีประโยชน์ไม่กี่ข้อ เช่น ไม่อายเพื่อน ลูกได้กิน พอ ให้เขียนโทษพ่อแม่เขียนมาได้เยอะแยะ..ถ้าเราไม่ให้เงิน ลูกไปโรงเรียนกลัวจะอายเพื่อน เลยถามว่าถ้าไม่ให้ทั้ง โรงเรียนแล้วจะอายใคร เลยตกลงไม่ให้กันทั้งโรงเรียน เด็ก ๓๖๐ พ่อแม่ไม่ให้เงินไปกินขนม จะให้เอาไปฝาก ธนาคารเฉพาะวันจันทร์ ปรากฏว่านมโรงเรียนที่เด็กไม่ ค่อยกินเดี๋ยวนี้เด็กกินหมด กลับบ้านกินข้าวเย็น อาหาร เที่ ย งโรงเรี ย นท� ำ ให้ กิ น ขนมมี ต ้ ม ถั่ ว เขี ย ว กล้ ว ยบวด ชี ขนมโบราณที่เด็กไม่กินเดี๋ยวนี้เด็กกินทั้งนั้น โรงเรียน จัดการตัวเอง เมื่อก่อนอาหารกลางวันกระทรวงสั่งต้องท�ำ อย่างนั้นอย่างนี้ สิ่งที่เราสอนทั้งหมดคือ ท�ำให้คนจัดการ ตัวเองได้ ศั ก ดิ์ พ งษ์ ว าดภาพฝั น ว่ า สั ก วั น คงมี โ อกาสสร้ า ง โรงเรียนต้นแบบในจังหวัดนครศรีธรรมราชสัก ๑ โรง “โรงเรียนที่ครู นักเรียน ผู้ปกครองมีความสุข เด็ก เรียนจบ ป.๖ อาจคิดว่าตัวเขาจะมีความสุขกับนาของ พ่ออย่างไร ไม่จ�ำเป็นต้องเข้าสอบเรียนต่อ ไปสู่ระบบ การศึ ก ษาที่ ท� ำ ให้ ค นอยู ่ ใ นท้ อ งถิ่ น ไม่ ไ ด้ ช่ ว ยตั ว เอง ไม่ได้”


หน้า ๑๐

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

รศ.วิมล ด�ำศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๒) เกียรติคุณที่ได้รับจากบุคคลและองค์กรต่างๆ ด้วยความสามารถ (ดีในเนื้อ) ด้านศิลปินเพลงบอก ของเพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ จึงส่งผลให้ท่านได้รับ เกียรติคุณจากบุคคล และองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป็น ล�ำดับตั้งแต่วัยหนุ่มกระทั่งถึงวัยชรา เกียรติคุณที่ได้รับครั้ง ส�ำคัญๆ ดังเช่น ๒.๑) ได้รับถ้วยรางวัล จากนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสชนะเลิศการประชันเพลงบอก ณ จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ๒.๒) ได้รับโล่เกียรติคุณ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโอกาสชนะเลิศการแข่งขันว่าเพลงบอกแห่พระ ทอด ผ้าป่า ประจ�ำปี ๒๕๒๐

ฉิ่งคู่ชีพ และตลับยาสูบประจ�ำตัว

ตอนที่ ๖ ๒.๓) ได้รับโล่เกียรติคุณ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ในโอกาสชนะเลิศการแข่งขันว่าเพลงบอก ณ งานเทศกาล เดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ๒.๔) ได้รับการยกย่อง ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทาง ด้านวัฒนธรรม สาขากีฬาและนันทนาการประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จากส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ๒.๕) ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน – เพลงบอก) ประจ�ำ ปี พ.ศ.๒๕๓๘ จากส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง ชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ค�ำประกาศเกียรติคุณครั้งนั้น มีใจความว่าดังนี้ “นายสร้อย ด�ำแจ่ม เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันอายุ ๗๑ ปี เป็นศิลปิน ผู้มีความสามารถในด้านเพลงบอก สืบต่อเนื่องมาตลอด นับถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลานานถึง ๕๐ ปีเศษ ที่นายสร้อย ด�ำแจ่ม หรือ เพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ ยึดเป็นอาชีพ ว่าเพลงบอกในงานบวชนาค งานศพ งานรื่นเริง งานเทศกาล งานประชันแข่งขัน งานกุศล งานสาธารณประโยชน์ ฯลฯ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งปัจจุบันนับได้เป็นจ�ำนวนนับหมื่นครั้ง

ซึ่งเพลงบอก เป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่ได้รับ ความนิยมพอๆ กับหนังตะลุงและมโนราห์ ดังนั้นเพลง บอกสร้อย เสียงเสนาะ จึงเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับความนิยม ในหมู่นักเลงเพลงบอกทั้งหลาย ด้วยผลงาน “มุขปาฐะ” ที่มีจิตและวิญญาณแห่งความเป็นศิลปินประเภท “คิดเอง ท� ำ เอง” ริ เ ริ่ ม สร้ า งสรรค์ ผ ลงานด้ ว ยปฏิ ภ าณไหวพริ บ ในการว่ากลอนสดได้อย่างมีคุณค่ายิ่ง จนได้รับเกียรติ และรางวัลมากมาย โดยเฉพาะได้รับผลงานดีเด่นทาง วัฒนธรรม สาขากีฬาและนันทนาการประจ�ำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ อีกทั้งยังเป็นผู้เสียสละสร้างสรรค์งานเพื่อสังคม พั ฒ นาเพลงบอกให้ ทั น ต่ อ เหตุ ก ารณ์ ส มสมั ย อยู ่ เ สมอ เป็นศิลปินที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นมรดกการ แสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่มีความสามารถผู้หนึ่ง” นายสร้อย ด�ำแจ่ม จึงได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้น บ้าน – เพลงบอก) (อ่านต่อฉบับหน้า)

ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ นครศรี ธ รรมราช ซึ่ ง กรม ศิลปากรจัดขึ้นเป็นกรณีพิเศษที่สุดอย่างยากที่จะหาโอกาส เช่นนี้ได้อีกแล้ว ที่พิพิธภัณฑสถานวัดพระบรมธาตุก็มีความ พิเศษเช่นกัน เนื่องจากทางวัดได้ปรับปรุงการจัดแสดงใหม่ มีการอัญเชิญหลักฐานพระพุทธศาสนาส�ำคัญตลอดจนสิ่ง อื่นๆ ออกมาจัดแสดงอย่างสมบูรณ์และสวยงามยิ่ง โดย อาจารย์ทัศนีย์ พิกุล อดีตผู้อ�ำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ นครศรีธรรมราช ในฐานะอาสาสมัครจัด จะเป็นผู้น�ำ ชมด้วยตนเอง และตลอดวันจันทร์ที่ ๑๔ ม.ค.จะมีการเดิน ทางลงพื้นที่แวะโบราณสถานเขาคาในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ก่อนที่จะแวะขึ้นเขาศรีวิชัยที่อ� ำเภอพุนพิน ที่กรม ศิลปากรก�ำลังขุดแต่ง เผยให้เห็นโบราณสถานและโบราณ วัตถุจ�ำนวนมาก โดยจะไปแวะกลางวันที่พระบรมธาตุไชยา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา สุราษฎร์ธานี หลังจาก นั้นจึงเดินทางผ่านแหลมโพธิ์ พุมเรียง ซึ่งเคยเป็นชุมชน ท่าเรือค้าขายสมัยโบราณ แวะแหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส อ�ำเภอท่าชนะที่มีหลักฐานการศึกษาใหม่ระบุว่าอาจจะเป็น แหล่งอุตสาหกรรมแก้วส�ำคัญของภูมิภาคเมื่อนับพันปีที่แล้ว แล้วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ภูเสก ที่เขาเสก อ�ำเภอหลังสวน ซึ่ง เพิ่งค้นพบใหม่ รอการทูลเกล้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ก่อนที่จะแวะสวนโมกขพลารามใน

ฐานะแหล่งธรรมะส�ำคัญของโลกในปัจจุบันอีกด้วย ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ฉั ต รชั ย ศุ ก ระกาญจน์ สรุ ป ว่ า งานนี้ ถื อ เป็ น ความร่ ว มมื อ ขั บ เคลื่ อ นครั้ ง ส� ำ คั ญ ของทุ ก ภาคส่ ว นในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช โดยผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช และ เทศบาลนคร นครศรี ธ รรมราช จะร่ ว มเป็ น เจ้ า ภาพเลี้ ย งต้ อ นรั บ ณ สวนศรีธรรมาโศกราช ในเย็นวันที่ ๑๓ มกราคม หลัง จากการบรรยายสรุ ป แก่ ช าวจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช และผู้สนใจทั่วไปในวงกว้างในช่วงบ่ายวันที่ ๑๓ จึงขอ เชิ ญ ชวนผู ้ ส นใจได้ เ ลื อ กสมั ค ร แจ้ ง ความจ� ำ นงในการ เข้าร่วมได้ที่ ส�ำนักงานอธิการบดี Tel. +6675392037, Fax.+6675392017 Email: Chat7299@hotmail. com เฉพาะการเข้าร่วมประชุมสัมมนานานาชาติ ระยะ เวลา ๒ วัน วันที่ ๑๒ - ๑๓ ม.ค.๕๖ และ การร่วมเดิน ทางทัศนศึกษาในวันที่ ๑๔ ม.ค.๕๖ มีจ�ำนวนจ�ำกัด กรุณา สมัครและช�ำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า ท่านที่อยู่เมืองนคร หรือ อยู่ที่ไหนก็ตาม หากสนใจ อย่าได้ช้านะครับ ทราบว่าขณะนี้มีผู้สมัครจากทั่วประเทศ และหลายประเทศมากแล้วครับ. กรุงนิวเดลี ๑๒ ธ.ค.๕๕

เพลงบอกสร้อยกับบรรดาลูกศิษย์ศิลปินเพลงบอก ในโอกาส ช่วยงานการกุศลของวัดวาอารามต่างๆ

นพ.บัญชา พงษ์พานิช

นครดอนพระ << ต่อจากหน้า ๒ พระพุ ท ธศาสนาในการจั ด นิ ท รรศการพิ เ ศษ ณ พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราชในครั้งนี้ การจัดนิทรรศการพิเศษในครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ น�ำโบราณวัตถุที่พบในภาคใต้จากหลายพิพิธภัณฑ์ รวมถึง โบราณวัตถุที่ขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุที่จัด เก็บอยู่ในคลังเก็บวัตถุโบราณ ซึ่งไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมา ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชิ้นส่วนธรรมจักร จากโบราณ สถานเขาศรีวิชัย พระพิมพ์จากแหล่งโบราณคดีบ้านท่า ตะเภา อ�ำเภอพุนพิน จ. สุราษฎร์ธานี ที่มีจารึกที่ส�ำคัญ สนับสนุนรอยแรกพระพุทธศาสนาในภาคใต้และรวมถึง ในเอเชียอาคเนย์ได้เป็นอย่างดี ในการนี้ได้เรียนเชิญท่าน อธิบดีกรมศิลปากร มาเป็นประธานเปิดนิทรรศการใน บ่ายวันที่ ๑๑ มกราคม เวลาแสดงต่อเนื่องระยะเวลา ๑ เดือน ถึงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ นายแพทย์บัญช า พงษ์พานิช กรรมการและ เลขานุการหอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบการน� ำ คณะเดินทางลงพื้นที่ เพิ่ม เติ ม ว่ า การลงพื้ น ที่ ค รั้ ง นี้ มี ค วามพิ เ ศษในหลาย ประการ กล่าวคือ นอกจาก


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๑

วัดเขียนบางแก้ว

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์

‘ค

ณะลังกาแก้ว’ หรือคณะลังกาป่าแก้ว หมายถึง คณะสงฆ์หินยานลัทธิเถรวาทสายลังกาวงศ์ในภาค ใต้และนครศรีธรรมราชอีกคณะหนึ่ง ถือเป็นคณะสงฆ์คณะ ที่สองที่มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษา พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช มีส�ำนักเจ้าคณะอยู่ที่ วัดเขียนบางแก้ว (อ�ำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงปัจจุบัน) และวัดสทิงพระ (วัดจะทิ้งพระ อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัด สงขลาปัจจุบัน) คณะ ‘ลั ง กาแก้ ว ’ หรื อ คณะลั ง กาป่ า แก้ ว เชื่ อ กันว่าเป็นค�ำที่แปลมาจากค�ำว่า ‘วนรัตน์’ อันหมายถึง พุ ท ธศาสนาลั ง กาวงส์ ต ามแบบส� ำ นั ก พระวนรั ต นมหา เถระแห่ ง ลั ง กา ซึ่ ง ถื อ กั น ว่ า เป็ น สมณวงศ์ ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ยิ่ ง มีหลักฐานว่าเมื่อจุลศักราช ๘๓๘ (พ.ศ.๒๐๑๙) พระภิกษุ ในรามัญประเทศ (มอญ) ได้ออกไปแปลงในลังกาทวีป เพื่อให้เป็นสมณะอันบริสุทธิ์ที่ส�ำนักพระวนรัตนมหาเถระ ซึ่งพระภิกษุจากสยามประเทศ (กรุงศรีอยุธยา) ก็ได้ออก ไปแปลงในส�ำนักนี้เหมือนกัน น่าสังเกตในกรุงสุโขทัยก็ มีวัดสังกัดคณะลังกาแก้ว เช่น วัดไตรภูมิป่าแก้ว และใน ท�ำเนียบสมณศักดิ์ครั้งกรุงศรีอยุธยาก็​็มีการตั้งสังฆราช ฝ่ายซ้ายให้เป็นสมเด็จพระวนรัตน์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกาย ลังกาวงศ์ในกรุงศรีอยุธยาที่สัมพันธ์กับลังกาวงศ์ในภาคใต้ จารึ ก แผ่ น ทองที่ หุ ้ ม ปลี ย อดพระบรมธาตุ เ มื อ ง นครศรีธรรมราช แผ่นที่ ๔๖ ซึ่งเป็นอักษรขอมและอักษร ไทยภาษาไทย ความว่า “ศุภมัสดุ วันพุธ แรม ๑๐ ค�่ำ เดือน ๓ ปีฉลู เอกศก จุลศักราช ๑๐๑๑ พุทธศักราช ๒๑๙๒ พระพรรษาเศษสังขยา ๑๐ เดือน สัปบุรุษทั้งปวงศรัทธา เอาทองขึ้นเป็น ๒๐ ชั่ง ขณะวินัยธรเป็นสมเด็จเจ้าป่า แก้ว” ซึ่งแสดงว่าใน พ.ศ.๒๑๙๒ ซึ่งตรงกับแผ่นดินสมเด็จ พระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระวินัยธรด�ำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จเจ้าคณะป่าแก้วหรือคณะลังกาแก้วแล้ว ในพระต� ำ ราบรมราชู ทิ ศ เพื่ อ กั ล ปนาสมั ย สมเด็ จ พระเพทราชาบ่ ง ว่ า “อนุ ต รวรพุ ท ธ ศั ก ราช ๒๑๔๒ มี พยัคฆสังวัจฉระ ทุติยาษาฒมาส” และอีกตอนหนึ่งบ่ง ว่า “ในวันศุกร์ เดือนหก แรมสิบห้าค�่ำ ขาร สัมฤทธิศก ห้าค�่ำ” (ซึ่งตรงกับจุลศักราช ๑๐๖๐) เป็นปีที่ “พระครู อินทเมาลีศรีสาคร บวรมนทราชจุฬา มุนีศรีอุปดิสเถระ คณะป่ า แก้ ว หั ว เมื อ งพั ท ลุ ง ขอพระราชทานให้ ถ วาย พระพร ด้วยต�ำราพระกัลปนาพระราชอุทิศไว้แต่ก่อน ส�ำหรับ อาราม ณ เมืองนคร เมืองพัทลุงและเมืองขึ้นเมืองนคร และเมืองพัทลุง ขึ้นคณะป่าแก้ว วัดเขียน วัดสทิง หัวเมือง พัทลุง และต�ำราพระกัลปนาพระราชอุทิศเดิมนั้นช�ำรุด และ ขอท�ำบูรณะใหม่สนองต�ำราเดิมไว้ส�ำหรับพระศาสนา” ในพระต�ำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยสมเด็จพระ เพทราชายังบ่งไว้ด้วยว่า “อารามเมืองนครและเมืองพัทลุง และเมืองขึ้นคณะป่าแก้ว วัดเขียน วัดสทิง หัวเมืองพัทลุง

วัดจะทิ้งพระ

เป็นอารามสองร้อยเก้าสิบอารามนั้น แลสมเด็จพระพนรัตน์ราช แต่พระองค์นครให้ทูลพระกรุณาแด่สมเด็จบรม บพิตรพระบรมราชาธิราช แลให้ตราพระบรมราชโองการ” ซึ่งแสดงว่าใน พ.ศ.๒๑๕๓ นั้น สมเด็จพระราชาคณะป่า แก้วที่กรุงศรีอยุธยา คือ ‘สมเด็จพระพนรัตน์’ ซึ่งมาจาก ค�ำ ‘วนรัตน์’ ตามนามพระวนรัตนมหาเถระในลังกา แต่ เอกสารที่พบในภาคใต้ช่วงนี้ไม่ปรากฏค�ำว่า ‘คณะลังกา แก้ว’ ส่วนใหญ่จะใช้ ‘คณะป่าแก้ว’ หลักฐานที่แสดงว่าคณะป่าแก้วมีชื่อเรียกว่า ‘คณะ ลังกาแก้ว’ ที่ชัดเจนก็คือจารึกที่แผ่นอิฐแดง ซึ่งพบที่บรรจุ

อยู่ในเจดีย์วัดแจ้ง (ร้าง) หมู่ที่ ๙ ต�ำบลล�ำป�ำ อ�ำเภอเมือง พัทลุง (ปัจจุบันเก็บอยู่ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา) เป็น แผ่นอิฐขนาดกว้าง ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๑ เซนติเมตร หนา ๘.๕ เซนติเมตร มีข้อความว่า “พระพุทธสักราชล่วง แล้ว ๒๔๑๔ พระวสา ปีกุนสัพสกเดือนเกา ขื่นสิบสีค�ำ วันพุท ท่านฆนาลังกาแก้วภรอมด้วยพระสงฆ ท่านเจา เมือง พระหล้วง กรมกาน ยาติโยม ทายกโมทนาส่งพระ เจดีย์อง์นี้ไว้ไนย พระศาสนาเปนพุทบูชา ฉลองพระเดช พระคุณสมเดจพระพุทิเจา ตราบท้าวถ้วน ๕๐๐๐ พระวสา แลฯ นิบภานปัจโยโหตุเมฯ”

บุญปีใหม่ในเมืองนคร.. ๏ ราชพฤกษ์บานพร้อมพรักดั่งรักคลี่ สีมงคลพระภูบาล ขวัญบ้านเมือง ๏ สีฟ้าเบิกเมฆแซม แต้มแสงสูรย์ เจ้าบินหลาโบยบินคืนถิ่นนอน ๏ ลาปีเก่า รับขวัญ วันฟ้าใส เยือนเมืองเก่าเหย้าเมืองคอนได้ผ่อนพัก ๏ ขอพรพระบรมธาตุ ผงาดศักดิ์ ทั้งทวยเทพเทวา คู่ธานี ๏ ร่วมตักบาตรสร้างบุญหนุนวันใหม่ สืบวิถี ค่าล�้ำ งามศรัทธา ๏ ท�ำขนม ผลัดกันชิม ยิ้มกันทั่ว พร้อมปู่ย่าตายาย ให้พรดล ๏ บุญชีวิตของชนผู้ อยู่เมืองพระ เบิกสายตา เริ่มต้นวันอันเป็นชัย

ก�ำจายทั่วพื้นที่ งามสีเหลือง สีรองเรืองแห่งเมืองพระ เมืองนคร คอยเกื้อกูล ฟ้าแจ่มใสไม่หยุดหย่อน ดั่งคนย้อนคืนบ้าน ผสานรัก มอบหัวใจห่มหัวใจ ..ใจประจักษ์ “นุ่งผ้าถุง” “คาดผ้าซัก” รักษ์สิ่งดี น้อมกราบหลักเมือง เรืองศรี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกทิศที่ คุ้มชีวา ท�ำ “ทานไฟ” ใจสว่างกระจ่างหล้า กาลเบื้องหน้า ค่าเสริมส่งเป็นมงคล สร้างครอบครัวอบอุ่น อิ่มบุญกุศล หวังลูกหลานสุขล้น พ้นโพยภัย เมือง ธรรมะขับขาน นานสมัย เบิกหัวใจเริ่มต้นปี อย่างปรีดิ์เปรม. รังสิมันตุ์ จุลหริก


หน้า ๑๒

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

นพ.อิสระ หัสดินทร์ eitsara@gmail.com

ขมั น แทรกตั บ ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด จากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic Fatty liver or NAFLD) คือจุดเริ่มของ โรคตั บแข็ ง เริ่ ม เป็ น ที่ ย อมรับ ตั้ง แต่ป ี ๒๕๒๔ และด้วย การตรวจอุลตร้าซาวด์ตับแพร่หลายมากขึ้น จึงมักเจอโรค นี้บ่อยมากขึ้นๆ เช่นพบได้มาก ร้อยละ ๑๗ ถึง ๓๓ ของ ชาวอเมริกัน ร้อยละ ๑๐-๒๐ ของชาวญี่ปุ่น และพบได้ทั่ว โลก พบมากขึ้นตามแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของภาวะเมตาโบลิก ซินโดรม (Metabolic Syndrome) ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะการดื้อต่ออินซูลิน และ ไขมันในเลือดสูงซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวัยกลางคนอายุประมาณ ๔๕ ถึง ๕๐ ปีขึ้นไป ที่อัตราการเผาผลาญอาหารเริ่มลด ลง และหากจะเรียกว่าเป็นโรคที่เชื่อมโยงกับภาวะโภชนา เกิน (Overnutrition) ร่วมกันกับ การออกก�ำลังกายพร่อง (underactivity) ก็คงจะไม่ผิด

ภาพตัดชิ้นเนื้อแสดงเซลล์ตับปกติ

ไขมันแทรกตับคืออะไร ภาวะไขมั น แทรกตั บ หมายถึ ง ภาวะที่ มี ก ารสะสม ของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) อยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนๆ นั้นไม่ได้ดื่มสุรา (ปกติ คนที่ดื่มสุรามานานจะมีการพอกของเซลล์ไขมันในตับ) ซึ่ง ทางการแพทย์ เ รี ย กภาวะนี้ ว ่ า Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) เซลล์ไขมันนี้จะไม่ก่อให้เกิดการ เสียหายหรืออักเสบกับตับในระยะแรก แต่ก็มีผู้ป่วยบาง ส่วน (ประมาณร้อยละ ๕-๘) ที่เซลล์ไขมันดังกล่าว ท�ำให้ เกิดการอักเสบของตับเกิดกลุ่มอาการที่ เรียกว่า NonAlcoholic Steatohepatitis (NASH) ในที่สุดก็จะเป็นตับ แข็ง (Cirrhosis) แต่ก็จะมีบางกลุ่มของผู้ป่วยไขมันแทรกตับ ที่จะมีการด�ำเนินโรคจนเกิดตับแข็งได้ถึงร้อยละ ๒๐-๒๘ ใน เวลา ๑๐ ปี ดังนั้น แม้ว่าโดยรวมดูเหมือนว่าภาวะไขมัน แทรกตับจะเป็นภาวะที่ไม่รุนแรงเท่าใดนัก แต่ผู้ป่วยที่เป็น ขั้นรุนแรง จะมีการด�ำเนินโรคไปเป็นตับแข็งและอาจเสีย ชีวิตได้ไม่ต่างจากโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิด B หรือ C สาเหตุของไขมันแทรกตับ ๑. กลุ่ม Primary คือผู้ที่มีไขมันแทรกตับโดยที่ไม่มี สาเหตุชัดเจน แต่จากการศึกษาพบว่าภาวะที่ร่างกายดื้อ

ต่ออินซูลิน (Insulin Resistant Syndrome) เป็นปัจจัย ที่ส�ำคัญของการเกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ หลังจาก นั้นอาจจะมีปัจจัยหรือกลไกอื่นอีกที่มากระตุ้นให้เกิดการ อักเสบ และการตายของเซลล์ตับ ซึ่งกลุ่มอาการที่สัมพันธ์ ต่อการดื้อต่ออินซูลินนี้มักจะมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ - โรคอ้วน ซึ่งมักจะอ้วนจากการสะสมของไขมันที่ ล�ำตัว (Central Obesity) มากกว่าที่จะสะสมที่แขน-ขา - โรคความดันโลหิตสูง - โรคไขมันในเลือดสูง - โรคเบาหวาน ๒. กลุ่ม Secondary คือผู้ที่มีไขมันแทรกตับโดยมี สาเหตุชัดเจน คือ - จากการดื่มสุรา alcoholic liver disease (ALD) - จากไวรัสตับอักเสบ B หรือ C - จากโรคแพ้ภูมิ Autoimmune hepatitis - จากยาบางชนิ ด เช่ น prednisolone, amiodarone, tamoxifen, MTx, และกลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS). - จากภาวะการขาดสารอาหาร

ภาพตัดชิ้นเนื้อแสดงไขมัน (วงขาว) แทรกในเซลล์ตับ

ชายโครงขวา อาจจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย ตรวจร่างกาย ผู้ป่วยมักจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นอาจจะพบว่าผู้ ป่วยอาจจะอ้วน ซึ่งมักจะเป็นอ้วนแบบลงพุง และในกรณี ผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้วก็อาจตรวจเจอลักษณะของโรคตับ เรื้อรัง หรือตับแข็งร่วมด้วย การเจาะเลือดดูการท�ำงาน ของตับอาจจะพบค่า AST กับค่า ALT สูงกว่าปกติประมาณ ๑.๕ เท่า ถึง ๔ เท่า อาจจะมีค่า ALP สูงขึ้นเล็กน้อยส่วน ค่าอื่นๆ มักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ การวิ นิ จ ฉั ย โรคไขมั น แทรกตั บ กลุ ่ ม Primary ๑. โดยการเจาะเลือดดูการท�ำงานของตับว่ามีการ อักเสบ (ค่า AST, ALT สูงกว่าปกติ) ดูระดับ น�้ำตาล, ระดับ ไขมันในเลือดว่าสูงกว่าปกติ ๒. การตรวจอุลตราซาวด์ จะพบว่าตับอาจมีขนาดโต ขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นกว่าไตและม้าม และก่อนอื่น ต้องตัดสาเหตุที่อาจท�ำให้เกิดภาวะไข มันคั่งสะสมในตับในกลุ่ม Secondary ออกไปก่อน เช่นการ ดื่มสุรา, การรับประทานยา, ตับอักเสบจากไวรัสบี และซี เป็นต้น กรณีขั้นตอนที่ ๑ และ ๒ ยังไม่ชัดเจน อาจต้องท�ำขั้น ตอนที่ ๓ และ/หรือ ขั้นตอนที่ ๔ คือ ๓. ตรวจโดยวิธีเอ็กซ์เรย์ คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) หรือเอ็กซ์เรย์ สนามแม่เหล็ก (MRI) ๔. เจาะชิ้นเนื้อตับออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่ง อันตราย แต่ให้ผลแน่นอน ๑๐๐% จึงเลือกท�ำเฉพาะในราย ที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย และไม่ตอบสนองต่อการ รักษาเบื้องต้นเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และประเมินความ รุนแรงของโรคหรือในกรณีที่คิดว่าภาวะอักเสบของตับอาจ จะเกิด สาเหตุอื่นร่วมด้วย การรักษาพื้นฐาน • การลดน�้ำหนัก เป็นสิ่งที่ส�ำคัญและได้ประโยชน์มาก ที่สุด ซึ่งควรลดน�้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพ อาหารกล่าวคือ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ อาหารทะเลไข่แดง และเนื่องจาก Triglyceride เป็นตัวส�ำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน�้ำตาลมากเกินไป ควร ลดปริมาณอาหารลงด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเย็น ทั้งนี้ พึงระวังว่าไม่ควรลดน�้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ ควรลดน�้ำหนักเร็วเกินไป โดยทั่วไป แนะน�ำให้ลดน�้ำหนัก ลงประมาณ ๑-๒ กิโลกรัม / เดือน เพราะการลดน�้ำหนัก ลงอย่างรวดเร็วโดยการงดอาหารอาจก่อให้เกิดตับอักเสบ อย่างรุนแรงได้ การลดน�้ำหนักนั้นควรลดลงมาอย่างน้อย ร้อยละ ๑๕ จากน�้ำหนักเริ่มต้นหรือจนน�้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน • การออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ • การรักษาระดับน�้ำตาลและไขมันในเลือดให้ใกล้ เคียงปกติมากที่สุด • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา

กลไกการเกิดไขมันแทรกตับกลุ่ม Primary ในคนปกติระดับน�้ำตาลจะถูกควบคุมโดยอินซูลินซึ่ง ผลิตมาจากตับอ่อน เมื่อน�้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนจะหลั่ง อินซูลินออกมามากขึ้น โดยอินซูลินจะออกฤทธิ์ที่ตับ กล้าม เนื้อและเซลล์ไขมันเพื่อให้น�ำน�้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ ในภาวะที่ดื้อต่ออินซูลินซึ่งอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากพฤติกรรมเช่น อ้วน ไม่ออกก�ำลังกาย รับประทาน อาหารที่มีน�้ำตาลหรือไขมันมาก จะท�ำให้เซลล์ต่างๆ ไม่ ตอบสนองต่ออินซูลินในขนาดปกติ ท�ำให้ตับอ่อนต้องผลิต อินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาระดับน�้ำตาลในเลือดให้คงที่ เมื่อภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งตับอ่อนไม่ สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิดเป็นโรคเบา หวานชนิดที่ ๒ ต้องใช้ยาเร่งการตอบสนองต่ออินซูลิน หรือ ยากระตุ้นตับอ่อน ซึ่งเมื่อเป็นมากจนกระทั่งบางคนต้องฉีด การใช้ยารักษา จนถึงปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ผลดีจริง เท่าที่มีการ อินซูลิน ภาวะดื้อต่ออินซูลินอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือ ทดลองและพอจะได้ผลดีได้แก่ • ยารักษาเบาหวานที่เพิ่มความไวต่ออินซูลินเช่น piเมื่อร่างกายอ้วนขึ้นรับประทานอาหารที่มีแป้งเพิ่มขึ้น รวม ทั้งไม่ได้ออกก�ำลังกายท�ำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่ม oglitazone และ rosiglitazone,และ metformin • Anti-TNFa agents เช่น infliximab มากขึ้น ท�ำให้ตับมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้น • ยาเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เช่น pentoxifylline • ยาต้านอนุมูลอิสระ, เช่น vitamin E, betaine, อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ มักจะตรวจพบโดย and s-adenosylmethionine (SAMe). • Ursodexycholic Acid (UDCA) บังเอิญจากการมาเจาะเลือดเช็คสุขภาพ เว้นแต่ในบางราย • Silymarin เมื่อโรคตับเป็นมากแล้วอาจมีอาการปวดแน่นบริเวณใต้


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๓

สุเมธ รุจิวณิชย์กุล

sumet_arch@hotmail.com

วัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖ ครับ....ผ่านไปอีก หนึ่ ง ปี ที่ “รั ก บ้ า นเกิ ด ”หนั ง สื อ พิ ม พ์ ท้องถิ่นที่ดี๊ดี รอดตัวมาได้ทั้งๆ ที่มีผู้อุปถัมภ์ ยังน้อยราย ซึ่งผมเองเพิ่งทราบว่าออกมาได้ ๑๕ ฉบับแล้ว ยังมีแฟนคลับติดตามถามไถ่ กันอย่างเหนียวแน่น ซื้อบ้างรับแจกบ้างก็ไม่ ว่ากัน แต่ถ้าอยากให้อยู่กันได้นานๆ ยังไง ก็สนับสนุนทุนบ้างนะครับ ส่วนค่าตัวผู้เขียน ทุกท่านไม่มีนะครับ ท�ำด้วยจิตสาธารณะที่ อยากเห็นบ้านเมืองน่าอยู่ ส�ำหรับผมเองที่ ผ่านมาจะเขียนแนวข้อคิดเห็นในการพัฒนา เมื อ งที่ อิ ง หลั ก วิ ช าการกั น มากสั ก หน่ อ ย ฉบับเริ่มต้นปีใหม่นี้ก็ขอเปลี่ยนแนวคุยเป็น เรื่องสัพเพเหระกว้างๆ กันสักเดือนนะครับ เรื่ อ งราวปี ที่ ผ ่ า นมาที่ ผ มมี มุ ม มอง สถานที่ ต ่ า งๆ ของนครที่ ค วรพิ จ ารณา ปรับปรุง เช่นถนนราชด�ำเนินตั้งแต่สะพาน ราเมศวร์ยันหัวถนน หรือเรื่องราวเกี่ยวกับ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ก็มีการขยับ ขานรับกันบ้างบางเรื่อง แต่ที่ได้ดั่งใจคือ การปลุกคนรุ่นใหม่ให้เป็นตัวแทนคนรุ่นเก่า ที่ รั ก บ้ า นเกิ ด ลุ ก ขึ้ น มาคิ ด สร้ า งบ้ า นสร้ า ง เมืองอย่างมีหลักการ และโชคดีที่ท่านรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครฯ ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ท่านเล่นด้วยและเป็นโต้โผรวมกลุ่ม หนุ่มสาวชาวนครที่เป็นนักธุรกิจแขนงต่างๆ รวมทั้งสถาปนิกรุ่นใหม่ให้มาร่วมกันแสดง ความคิ ด เห็ น อยู ่ ห ลายครั้ ง หลายคราแล้ ว คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีการศึกษาที่สูงและมี มุมมองที่กว้างไกลทั้งจากการท่องเที่ยวจริง และการท่ อ งเที่ ย วทางสื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ผมจึงอยากฝากความหวังกับลูกหลานของ คนนครที่ จ ะพั ฒ นาในทุ ก มิ ติ ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ มี เฉพาะแต่ เ รื่ อ งการสร้ า งสถานที่ แ ละวั ต ถุ แต่ ค รอบคลุ ม ไปถึ ง การสร้ า งวิ นั ย ที่ เ ป็ น เรื่องสาธารณะ ไม่ว่าการค้าขายถาวรบน

www.nakhonforum.com

ทางเท้า การจราจร การทิ้งขยะ ฯลฯ ปีเก่า ที่ผ่านมาหากทบทวนกันแล้ว ผมเห็นว่า หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งก็ พ ยายามกั น แล้ ว แต่ยังสอบไม่ผ่าน เพราะจะต้องไปแก้ที่ ทัศนคติของชาวเมืองบางคนบางกลุ่มด้วย ปีที่ผ่านมานครมีการลงทุนท�ำธุรกิจ กันยกใหญ่ จนบริษัทผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ส� ำ รวจสถิ ติ ก ารจ� ำ หน่ า ยในภาคใต้ ย กให้ นครเป็นแชมป์ประจ�ำปี ๒๕๕๕ ซึ่งถือว่า เป็นปรากฏการณ์ใหญ่อีกครั้งที่ไม่ปกตินัก ของเมื อ งนครที่ มั ก จะขยายตั ว อย่ า งช้ า ๆ ไม่ได้เป็นการก้าวกระโดดเหมือนปัจจุบัน ไม่ ท ราบว่ า เกิ ด จากแรงเสริ ม จากการ ประชาสัมพันธ์ “นครศรีดี๊ดี” ของจังหวัด หรือเป็นกระแสวัดพระบรมธาตุสู่มรดกโลก หรือเป็นเพราะโครงการลงทุนขนาด mega project ที่จะมาลงที่นคร แต่จะเป็นเพราะ สาเหตุอะไรก็ตาม ผมก็อยากให้ชาวนคร เตรียมตัวตั้งรับและตั้งรุกให้พร้อม ซึ่งปีใหม่ นี้ผมก็คงเขย่าเรื่องหลักใหญ่ๆ ตามมุมมอง ของผมต่อไป จะเริ่มจากขอให้ท่านช่วยมอง หาจุดเด่นของ “นครศรีดี๊ดี” ด้วยกันนะครับ โดยการกาเครื่องหมายถูกในเรื่องต่อไปนี้ที่ ท่านคิดว่าใช่หรือถูกต้อง แล้วเรามาร่วมกัน วิเคราะห์กันต่อไป องค์พระธาตุเป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญ ที่ชาวนครภูมิใจ และชาวพุทธทั่วไปอยาก มาสักการะบูชาและเที่ยวชม นครศรี ธ รรมราชมี พ ลเมื อ งมาก ที่สุดในภาคใต้ ซึ่งจะเป็นก�ำลังซื้อส�ำคัญใน การท�ำธุรกิจ ความเป็นเมืองโบราณเก่าแก่และ ความมีวิถีชีวิตดั้งเดิมของนคร จะเป็นจุด ขายส�ำคัญด้านหนึ่ง ภูเขาล�ำเนาไพร ทะเล ของนคร เป็นธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์สวยงามไม่เป็น รองใคร

ปีที่ผ่านมานครมีการลงทุน ท�ำธุรกิจกันยกใหญ่ จนบริษัทผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ส�ำรวจสถิติการจ�ำหน่ายในภาคใต้ยกให้นครเป็นแชมป์ประจ�ำปี ๒๕๕๕ ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหญ่อีกครั้งที่ไม่ปกตินักของเมืองนครที่มัก จะขยายตัวอย่างช้าๆไม่ได้เป็นการก้าวกระโดดเหมือนปัจจุบัน เอาแค่ไม่กี่เรื่องท่านให้คะแนนถูกกี่ ข้อครับ? ท่านคงสงสัยแล้วว่าผมถามเรื่องที่ ทุกคนรู้แล้วไปท�ำไม หากท่านให้คะแนนถูก ทั้งหมดแสดงว่าท่านยอมรับว่านครเรามีดี แน่นอนที่จะเป็นพลังให้เรามีก�ำลังใจในการ พัฒนา นี่เป็นเรื่องที่เคยมีการวิเคราะห์กัน แล้วว่าการรู้จักตัวตนของเราจะเป็นจุดเริ่ม ที่ไปท�ำเรื่องใหญ่ เราลองว่ากันเป็นเรื่องๆ ดูซิครับ หากท่ า นเชื่ อ ว่ า องค์ พ ระธาตุ มี คุณสมบัติเป็นมรดกโลกได้จริง นั่นหมาย ถึ ง ทั่ ว โลกยอมรั บ ซึ่ ง มิ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งแค่ สั ญ ลั ก ษณ์ ท างศาสนาพุ ท ธเท่ า นั้ น แต่ เป็ น อารยธรรมของเมื อ งนครและของ มนุษยชาติที่ทุกศาสนาเข้าเยี่ยมชมได้ ซึ่ง ชาวนครเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรง แต่ทุก คนรู้เรื่องนี้ดีหรือยังหรือเคยเข้าไปชมบ้าง หรือไม่ และคิดว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมหรือ ให้ความร่วมมือต่อแผนการพัฒนาอย่างไร ตั ว เลขประชากรจั ง หวั ด นครศรี ธรรมราชมากที่ สุ ด ในภาคใต้ อ ยู ่ แ ล้ ว ท่ า น ไม่ ต ้ อ งไปค้ น หาหรอกครั บ แต่ ค นนครที่ จะมี ก� ำ ลั ง ซื้ อ สิ น ค้ า ที่ เ ราผลิ ต เองหรื อ คน ต่างถิ่นผลิตส่งมาขายเรานั้นเป็นจริงหรือ ภาพลวงตา ทุกวันนี้บนถนนบางสายเช่น ถนนพัฒนาการต่อไปยังถนนอ้อมค่าย จะ เห็นโครงการบ้านจัดสรรผุดขึ้นอย่างดอก เห็ ด ยั ง ไม่ ร วมธุ ร กิ จ ใหญ่ อื่ น ๆ เช่ น ร้ า น อาหาร โรงแรม ห้างขายสินค้า ฯลฯ จน บริ ษั ท ขายวั ส ดุ ก ่ อ สร้ า งใหญ่ ๆ ต้ อ งมา สร้างโชว์รูมเปิดขายหลายแห่ง อยากฝาก ให้ วิ เ คราะห์ กั น ลึ ก ซึ้ ง กั น หน่ อ ยเพราะเรา เคยมี บ ทเรี ย นมาแล้ ว รวมทั้ ง หน่ ว ยงาน ราชการและองค์ ก รท้ อ งถิ่ น ที่ ต ้ อ งเตรี ย ม

สาธารณูปโภคให้ทันต่อการขยายตัว เมื อ งที่ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ที่ รุ ่ ง เรื อ ง (ไม่ได้มีกันได้ทุกเมือง) ไม่ว่าอ�ำเภอเมือง อ�ำเภอปากพนัง อ�ำเภอสิชล ฯลฯ ชาวเมือง มีความต้องการที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางด้ า นวั ฒ นธรรมหรื อ วิ ถี ชี วิ ต หรื อ ไม่ มี การเตรียมตัวรองรับกันอย่างไรบ้าง ซึ่งคน ท้องถิ่นส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้ก�ำหนดเอง จริงหรือไม่ว่าป่าเขาล�ำเนาไพรของ นครยังเขียวขจีอยู่กันครบตามที่ได้รับรางวัล กินรีจากการท่องเที่ยว เพราะเห็นข่าวจาก สื่อที่ยังมีการลอบตัดต้นไม้กัน อยู่ที่ว่าคน นครอี ก นั่ น แหละที่ เ ห็ น ประโยชน์ ส ่ ว นตั ว หรือประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่ เรื่องนี้อาจ ต้องให้นักเขียน “ถอดรหัสป่า” ทาร์ซาน บอย จากหนังสือพิมพ์รักบ้านเกิดไปสืบหา ความจริงกันต่อไป ผมเชื่อว่าชาวนครส่วน ใหญ่ก็ยังไม่ทราบความน่าเที่ยวป่าเขาของ เราเอง แต่ไปทราบเรื่องของภาคอื่นและ ต่างประเทศมากกว่า ลองส่งเสริมให้คนนคร เป็นลูกค้ารายใหญ่ซิครับ ผมว่าคนท้องถิ่น มีรายได้มากและยั่งยืนกว่าไปตัดไม้ท�ำลาย ป่าเสียอีก อย่างที่ผมพูดไว้ในตอนแรกว่า ความ จริงทางราชการหรือองค์กรท้องถิ่นก็ทราบ ว่าถึงปัญหาต่างๆ และพยายามจัดการกับ ปัญหาเหล่านั้น แต่หากชาวเมืองขาดการ ตระหนักต่อความรับผิดชอบทางสังคม ผม คิดว่าเหนื่อยครับไม่ว่าใครจะมาบริหารบ้าน เมื อ งก็ ต าม ซึ่ ง ปี ใ หม่ นี้ เ ราคงต้ อ งช่ ว ยกั น เขย่าชาวเมืองให้ตื่นเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา ใหญ่จุดนี้ให้ผ่านจึงจะประสบความส�ำเร็จใน การพัฒนาเมือง สุดท้ายนี้ ผมขอให้ชาวนคร ทุกท่านโชคดีปีใหม่ครับ


หน้า ๑๔

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

เชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาสอนนักเรียนเกี่ยว กับการน�ำพืชสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น มะกรูด มาผลิตเจลล้างมือ ยาสีฟัน แชมพูสระผม และ น�้ำยาก�ำจัดเหา โดยได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก การปฏิบัติจริง มีการน�ำเอาสิ่งที่เกิดจากการ เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันทั้งที่บ้านและที่ โรงเรียนได้น�ำไปสู่การจัดการเรียนรู้โดยแบบ โครงงานที่ ห ลากหลายในโรงเรี ย น คุ ณ ครู ประไพ ยินเจริญ เล่าให้ฟังว่า การจัดการเรียน รู้แบบโครงงานนั้นต้องเริ่มจากความสนใจและ ความคิดริเริ่มของผู้เรียนเอง เน้นการเรียนรู้ ผ่ า นการปฏิ บั ติ ง านจริ ง ด้ ว ยความพากเพี ย ร พยายามอย่างจดจ่อต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ ยาวนานพอสมควร ระยะเพิ่งเริ่มท�ำโครงงานครู จะท�ำโครงงานกับนักเรียนด้วย เพื่อให้เขาเกิด ความมั่นใจว่าไม่โดดเดี่ยวในการท�ำงาน น�ำไปสู่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีเทคนิควิธีการจัดการ รู้เรียนรู้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการ ตระหนักในเรื่องที่เรียน และพิจารณาเลือกหัว

เรื่องหรือประเด็นปัญหาด้วยตนเอง อาจจะ น�ำตัวอย่างโครงงานหลายๆโครงงาน ด�ำเนิน การแล้วประสบความส�ำเร็จ มาให้นักเรียนได้ ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งเรื่องที่เลือกอาจจะได้มาจาก ปัญหาที่อยากแก้ หรือสิ่งดีที่อยากท�ำ ขั้นตอนที่ ๒ ส่งเสริมแนะน�ำ การรวบรวมประมวลข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้หัวเรื่องที่สนใจจะศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะ ต้องมีการวางแผนเพื่อศึกษาความรู้ที่เกี่ยว ข้อง กับเรื่องที่สนใจ จากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ สอบถาม วิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้ น ตอนที่ ๓ การจั ด ท� ำ ร่ า งโครงงาน เป็ น การก� ำ หนดกรอบการจั ด ท� ำ โครงงาน ทั้งหมด โดยให้นักเรียนได้ศึกษาการจัดท�ำร่าง โครงงานจากตัวอย่าง และจัดท�ำร่างโครงงาน ของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ ชื่อ โครงงาน ผู้รับผิดชอบโครงงาน ที่ปรึกษาโครง งาน วัตถุประสงค์ สถานที่และก�ำหนดระยะ เวลาด�ำเนินการ ผังมโนทัศน์ สาระส�ำคัญของ โครงงานวิธีการด�ำเนินงาน งบประมาณและ แหล่งที่มา ผลที่คาดว่าจะได้รับ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ปรึกษา ขั้นตอนที่ ๔ ให้ก�ำลังใจ แนะน�ำ สนับสนุ น ทรั พ ยากรตามความจ� ำ เป็ น ครู ร ่ ว มท� ำ กิ จ กรรมโครงงานกั บ นั ก เรี ย นบ้ า งตามความ เหมาะสม ขั้นตอนที่ ๕ ให้นักเรียนได้ศึกษาแบบ อย่างการเขียนรายงานโครงงานในเรื่องต่างๆ และน�ำเอามาประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงาน ของตนเอง การสรุ ป ประเมิ น ผลและเขี ย น รายงาน ให้มีการสรุปผลการศึกษา การจัดท�ำ แบบประเมินผลของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู ผู้ ปกครองนักเรียน นักเรียนในโรงเรียน และน�ำ รวบรวมเรียบเรียงเขียนรายงานตามแบบฉบับ รายงานโครงงาน โดยครูต้องให้ค�ำแนะน�ำ อย่างใกล้ชิด (อ่านต่อฉบับหน้า)

ค.ศ. ๑๙๖๐ เป็นบอลลูนโพลิยูรีเทนเคลือบ ไนลอนมี ข นาดใหญ่ ถึ ง ๓๐,๐๐๐ ลู ก บาศก์ ฟุต ลอยขึ้นจากเมืองเบิร์นนิง รัฐเนบราสกา (Burning, Nebraska) โดยใช้ก๊าซโพรเพน เป็นเชื้อเพลิงในการท�ำอากาศร้อนภายในลูก บอลลูน เรือเหาะ การขับเคลื่อนลูกบอลลูนด้วย เครื่องจักร นายอองรี กิฟฟาร์ด ได้ประดิษฐ์ เรือเหาะขึ้นมาในปี ค.ศ. ๑๘๕๒ เรือเหาะ ล�ำแรก มีความยาว ๔๔ เมตร ลูกบอลลูน

เป็ น รู ป ทรงซิ ก าร์ มี ถุ ง เชื้ อ เพลิ ง ก๊ า ซซึ่ ง ใช้ ขั บ เคลื่อนเครื่องยนต์ขนาด ๓ แรงม้า และ ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ท่านเคาน์ท เฟอร์ดินัน วอน เซปเปลิน ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เรือ เหาะแบบมีโครงล�ำแรกขึ้นมา ตัวโครงท�ำจาก โลหะ ยาว ๑๒๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒ เมตร มีถุงเชื้อเพลิงท� ำด้วยยางบรรจุ ก๊าซไฮโดรเจน มีครีบและหางเสือเพื่อบังคับ ทิศทาง และขับเคลื่อนด้วยแรงขับดันจากการ เผาไหม้ภายใน เครื่องบิน การที่เครื่องบินสามารถบิน อยู่ในอากาศได้ ทั้งนี้มีแรงที่เกี่ยวข้องมากระ ท� ำ ต่ อ เครื่ อ งบิ น อยู ่ ทั้ ง หมด ๔ แรงด้ ว ยกั น ได้แก่ ๑. แรงยก (Lift) ๒. น�้ำหนัก (Weight) ๓. แรงขับ (Thrust) และ ๔. แรงฉุดหรือแรง ต้าน (Drag) แรงยก ความดันที่ผิวด้านบนของปีก มีค่าน้อยกว่าความดันของผิวด้านล่างของปีก ความดันดังกล่าวเกิดจากกระแสอากาศที่ไหล ผ่านปีก ที่มีรูปร่างออกแบบมาพิเศษ เพื่อให้

ณรงค์ หิตโกเมท

หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา สพป. นศ.๓

ตอนที่ ๑

รับรางวัลครูดีในดวงใจ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

รงเรี ย นบ้ า นล� ำ คลอง สั ง กั ด ส� ำ นั ก งาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต ๓ จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมี นักเรียนทั้งสิ้น ๑๐๒ คน ชุมชนรอบโรงเรียน ประกอบอาชี พ เกษตรกรรม มี ก ารท� ำ นา ปลูกผัก เลี้ยงปลา ผู้ปกครองนักเรียนจะให้ การสนั บ สนุ น พั ฒ นาผู ้ เ รี ย นในด้ า นวิ ช าการ และจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ที่ ๒ จาก สมศ. ของโรงเรียนบ้านล�ำคลอง พบว่ า ในมาตรฐานที่ ๔ ด้ า นผู ้ เ รี ย นมี ค วาม สามารถในการคิ ด วิ เ คราะห์ คิ ด สั ง เคราะห์ มี วิ จ ารณญาณ มี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ คิ ด ไตร่ ต รองและมี วิ สั ย ทั ศ น์ และมาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง ผลการประเมินทั้งสองมาตรฐานอยู่ ในระดั บ คุ ณ ภาพพอใช้ ส่ ว นมาตรฐานอื่ น ๆ ผลการประเมิ น อยู ่ ใ นระดั บ ดี คุ ณ ภาพดี แ ละ ดีมาก และข้อเสนอแนะจากการประเมิน ได้ เสนอแนะให้ส่งเสริมผู้เรียนโดยการให้ผู้เรียน ได้จัดท�ำโครงงาน จากข้อเสนอแนะ ดังกล่าว คุณครูประไพ ยินเจริญ ครูวิทยฐานะช�ำนาญ การพิเศษโรงเรียนบ้านล�ำคลองได้ศึกษาเรียน รู้อย่างจริงจัง ได้ให้ความหมายของการจัดการ เรียนรู้แบบโครงงานว่า “โครงงานเป็นวิธีการ เรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน ที่อยากจะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มื่อแหงนมองท้องฟ้ากันแล้ว เคยนึกอยาก ขึ้ น ไปล่ อ งลอยอยู ่ บ นท้ อ งฟ้ า กั น บ้ า งไหม คะ ฉบับนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับ บินๆ เหาะๆ ลอยๆ มาฝากให้เตรียมบินข้ามปีไปด้วยกัน ค่ะ..เริ่มจาก บอลลูน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ ในสมัยก่อนมีความใฝ่ฝันที่จะบินได้เหมือน นก ปี ค.ศ.๑๗๘๓ พี่ น ้ อ งตระกู ล มองต์ โกลฟิ เ ย ชาวฝรั่ ง เศสชื่ อ นายโจเซฟ และ นายเอเตี ย น ประดิ ษ ฐ์ บ อลลู น ที่ ท� ำ จาก กระดาษและผ้ า ไหม ใช้ วั ส ดุ ธ รรมชาติ เ ป็ น เชื้อเพลิง เช่น ฟางข้าวและปุ๋ยคอก โดยมีมา

โครงงานสุขศึกษา ผลิตเจลล้างมือจาก มะกรูดใช้ในโรงเรียน

หรือหลายๆ สิ่งที่สงสัยและอยากรู้ค�ำตอบให้ ลึกซึ้งชัดเจน โดยใช้ทักษะกระบวนการและ ปัญญาหลายๆ ด้าน มีวิธีการศึกษาอย่างเป็น ระบบและมีขั้นตอนต่อเนื่อง มีการวางแผนใน การศึกษาอย่างละเอียดแล้วลงมือปฏิบัติตาม แผนงานที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลการ ศึกษาหรือค�ำตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ” คุณครูประไพ ยินเจริญ ได้วิเคราะห์ ผู ้ เ รี ย น รู ้ จั ก ผู ้ เ รี ย นทุ ก คนโดยการออกเยี่ ย ม บ้าน วิเคราะห์หลักสูตร จัดท�ำหน่วยการเรียน รู้ จัดท�ำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกสาระที่รับ ผิ ด ชอบ ได้ พ ยายามผลิ ต และจั ด หาสื่ อ การ เรียนการสอน เช่น การผลิตหนังสืออ่านเพิ่ม เติ ม ชุ ด เกษตรพอเพี ย ง และชุ ด ปุ ๋ ย อิ น ทรี ย ์ ชี ว ภาพ หนั ง สื อ อ่ า นเพิ่ ม เติ ม ชุ ด อาหาร ปลอดภั ย ใส่ ใ จสุ ข ภาพ เอกสารประกอบ การเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นได้ ใ ช้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า ส่ ง เสริ ม ให้ผู้เรียนได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ด้วย ตนเอง ใช้วิธีสอนที่เป็นกันเองกับผู้เรียน ได้

ควิส ฟรังซัว ดาร์ลองส์ หัวหน้าหน่วยทหาร ราบ และนายปิลาร์ต เดอ โรซิเย นักฟิสิกส์ ชาวฝรั่งเศสเป็นมนุษย์ ๒ คนแรกที่ได้ทดลอง บินขึ้นสู่ท้องฟ้า บอลลูนบินอยู่เหนือไร่องุ่นที่ ระดับความสูง ๕๐๐ ฟุตนานกว่า ๒๒ นาที บอลลูนอาศัยหลักการลอยตัวของอากาศร้อน ที่เบากว่าอากาศเย็นรอบๆ บอลลูน และแรง ขั บ เคลื่ อ นมาจากลมที่ พั ด พาตามธรรมชาติ บอลลูนที่ถือว่าเป็นต้นแบบของบอลลูนในยุค ปัจจุบันนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ปี

จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

อาจารย์แก้ว

จบ ๓. Plasma Display การท�ำงานของ Plasma เป็นจอภาพ ที่ มี ลั ก ษณะแผ่ น เรี ย บบาง พลาสมาเกิ ด ขึ้ น จากแก๊ ส ที่ แ ตกตั ว กลายเป็ น อิ อ อน กั บ อิ เ ล็ ก ตรอน (ประจุ ล บ) ในสภาวะ ปกติ อะตอมของแก๊สเป็นกลางทางไฟฟ้า มี จ� ำ นวนโปรตอน (ประจุ บ วก) เท่ า กั บ จ�ำนวน อิเล็กตรอน ท�ำให้ประจุไฟฟ้าสุทธิ ของอะตอมเป็นศูนย์ และถ้าผ่านกระแส ไฟฟ้า หรืออิเล็กตรอนอิสระเข้าไปในแก๊ส มั น จะวิ่ ง เข้ า ชนอะตอมของแก๊ ส ท� ำ ให้ อิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียส ของแก๊ส หลุดออก อะตอมขาดความสมดุล มีประจุ บวกมากกว่าประจุลบ อยู่ในสภาวะอิออน อิเล็กตรอนอิสระจาก กระแสไฟฟ้าวิ่งเข้า แทนที่ อิ เ ล็ ก ตรอนที่ ห ลุ ด ออกไป เข้ า สู ่ ว ง โคจรด้านนอก และลดระดับเข้าสู่วงโคจร ด้านใน ปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นรูป ของโฟตอน (พลั ง งานแสง) จอพลาสมา ประกอบขึ้ น จากเซลขนาดเล็ ก นั บ ล้ า น เซล ภายในเซลแต่ละเซลบรรจุแก๊สซีนอน หรือนีออน เซลทั้งหมดถูกแผ่นแก้วทั้งสอง ประกบอยู ่ มี เ ส้ น อิ เ ล็ ก โตรด เดิ น อยู ่ บ น แผ่นแก้ว ข้างล่างแผ่นแก้ว เป็นเลขที่อยู่ ของขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าทั้งสองฝั่งของแผ่น ระยะทางด้านบนยาวกว่าด้านล่าง ซึ่งกระแส อากาศด้านบนของปีกมีความเร็วมากกว่าด้าน ล่าง และความดันแปรผกผันกับความเร็ว น�้ำหนัก น�้ำหนักของเครื่องบิน ที่เกิด จากแรงดึงดูดของโลก แรงขั บ แรงขั บ ไปข้ า งหน้ า จาก เครื่องยนต์ แรงฉุดหรือแรงต้าน แรงต้านอากาศ เกิดจากแรงเสียดทานของกระแสอากาศ กับ พื้นผิวของเครื่องบิน ในขณะที่เครื่องบินก�ำลังบินอยู่ในแนว ระดับ แรงยกจะเท่ากับน�้ำหนักหรือแรงโน้ม ถ่ ว งของโลก และในขณะที่ เ ครื่ อ งบิ น ก� ำ ลั ง ไต่ระดับหรือก�ำลังบินขึ้น แรงยกและแรงขับ ต้องมากกว่าน�้ำหนัก ส่วนในขณะที่เครื่องบิน ก�ำลังบินในระดับต�่ำลงหรือลงสู่สนามบิน แรง ยกต้องน้อยกว่าน�้ำหนัก แรงขับต้องน้อยกว่า แรงต้าน และในขณะที่เครื่องบินก�ำลังบินด้วย ความเร่งไปข้างหน้าแรงขับต้องมากกว่าแรง ต้ า น ดั ง นั้ น การที่ เ ครื่ อ งบิ น จะสามารถบิ น

แก้ ว จะมี ลั ก ษณะตั ด กั น (Cross) ด้ า นบน เดินเป็นแนวนอน ส่วนด้านล่างเดินอยู่ใน แนวตั้ ง ฉาก เมื่ อ จุ ด ตั ด ของอิ เ ล็ ก โตรดทั้ ง สองมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดแรงดัน ไฟฟ้าระหว่างจุดบน และจุดล่าง กระแส ไฟฟ้าสามารถไหลผ่านเซลนั้นได้ อะตอม ของแก๊สในเซล จะปลดปล่อยแสงอัลตร้า ไวโอเล็ต ซึ่งเป็นแสงที่ตามองไม่เห็น ดังนั้น ภายในเซลจึงต้องฉาบฟอสฟอรัส ๑ เซลต่อ หนึ่งสี ๑ จุดแสง มี ๓ เซล ประกอบด้วย ๓ สี เมื่อแสงอัลตร้าไวโอเลตกระทบเข้า

กั บ อะตอมของฟอสฟอรั ส มั น จะกระตุ ้ น ให้อะตอมของฟอสฟอร์ ปลดปล่อยแสงที่ ตามองเห็นออกมาการปรับเปลี่ยนแรงดัน ไฟฟ้ า ของเซลแต่ ล ะเซล สามารถเปลี่ ย น ความเข้มของสีแสงได้ ข้อเด่น ของจอแบบ พลาสมาคือคุณสามารถสร้างจอให้มีขนาด ใหญ่เท่าไรก็ได้ เพราะจุดแสงแต่ละจุดไม่ ขึ้ น ต่ อ กั น ภาพที่ ไ ด้ อ อกมามี ค วามสว่ า ง และคมชัดมาก มองจากมุมใดก็ได้ ความ สว่างไม่ลดลง และยังท�ำให้จอมีขนาดบาง เหมือนกับน�ำรูปภาพไปแขวนไว้

และลอยในอากาศได้นั้น ต้องอาศัยความเร็ว ของเครื่องยนต์และใบพัด หรือไอพ่น ขับดัน ให้เครื่องบินมีความเร็วไปทางด้านหน้า และ ออกแบบรู ป ร่ า งพิ เ ศษของปี ก ของเครื่ อ งบิ น ให้มีความโค้งด้านบน และเรียบด้านล่าง ซึ่ง เราเรียกว่า แอร์โรฟอยล์ (aerofoil) ซึ่งรูป ร่างลักษณะนี้ ท�ำให้อากาศไหลผ่านด้านบน ของปี ก อย่ า งรวดเร็ ว กว่ า ด้ า นล่ า ง ความดั น อากาศเหนือปีกจึงน้อยกว่าใต้ปีก ดังนั้น ปีก จึ ง ถู ก ดั น ขึ้ น จากด้ า นล่ า ง แรงดั น ที่ ว ่ า นี้ คื อ แรงยกนั่นเอง ซึ่งเป็นไปตามกฎของแบร์นูลลี่ (Bernoulli’s principle) ส่วนรูปร่างที่ดีที่สุด ของเครื่องบินขึ้นอยู่กับภารกิจที่ต้องท�ำ เช่น เครื่องบินที่มีปีกยาวมากจะมีประสิทธิภาพใน การบินสูง แต่บินช้าและเลี้ยวยาก เป็นต้น ผู้ ที่คิดสร้างเครื่องบินล�ำแรกของโลกได้เป็นผล ส�ำเร็จ ในปี ค.ศ.๑๙๐๓ ที่ท�ำให้กิจการการบิน มีความเจริญก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ เขาคนนั้น คือสองพี่น้องตระกูลไรท์ ประกอบไปด้วย วิล เบอร์ ไรท์ และออร์วิล ไรท์ ชาวสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของการ “บิน” ยังมีอีกมาก มายนะคะ มาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันได้ในงาน วันเด็กแห่งชาติ ๒๕๕๖ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่ อ การศึ ก ษานครศรี ธ รรมราช มาเตรี ย ม พร้อมขยับปีก หัดบิน เตรียมเหิรฟ้าร่อนลม ไปกับกิจกรรม “วิทยาศาสตร์การบิน” กัน ค่ะ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ สนุก กับการสร้างสรรค์ประดิษฐ์หลากหลายชิ้น งาน ได้แก่ เครื่องร่อน เครื่องบินพลังงาน ยาง และอื่ น ๆ ที่ ส ามารถอธิ บ ายหลั ก การวิ ท ยาศาสตร์ ก าร “บิ น ” เรี ย นรู ้ เ รื่ อ ง ประวั ติ ก ารบิ น หลั ก พื้ น ฐานการบิ น และ วัสดุธรรมชาติที่สามารถบินได้ ชมภาพยนตร์ สาระบันเทิงเกี่ยวกับการบิน พลาดไม่ได้กับ นิ ท รรศการและการสาธิ ต จากชมรมกี ฬ า ทางอากาศ ร่ ม บิ น นครศรี ธ รรมราช หรื อ พารามอเตอร์ และชมรมเครื่องบินเล็กบังคับ วิทยุ มาบินไปพร้อมๆ กันที่นี่นะคะ..” พื้นที่ เล็กๆ ความสุขแห่งการเรียนรู้”

หน้า ๑๕

๔. Light Emitting Diode (LED) การท� ำ งานของ LED เป็ น อุ ป กรณ์ จ�ำพวกสารกึ่งตัวน�ำ เมื่อจ่ายไฟเข้าไปในรูป ของการ Forward bias จะมีอิเล็กตรอน และ hole ไหลผ่าน PN junction จากอิ เล็กโทรด เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งมาพบ hole อิ เ ล็ ก ตรอนจะคายพลั ง งานออกจนถึ ง ระดับต�่ำพอที่จะเข้าไปอยู่ในวงโคจรรอบ นิวเคลียส (อยู่ในรูปของโฟตอน คือจะเปล่ง แสงออกมา) สีของแสงที่ปรากฏขึ้นอยู่กับ สารอนิ น ทรี ย ์ ที่ ผ สมในสารกึ่ ง ตั ว น� ำ และ ออกมาใกล้เคียง แสงอุลตร้าไวโอเลต แสง ที่มองเห็นได้ และแสงอินฟาเรด ปัจจุบันนี้ LED สามารถน�ำมาพัฒนา เป็นจอโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ ตั้งแต่ ๓๐ – ๖๐ ฟุต และมีคุณสมบัติที่สามารถเห็นได้ ขณะที่ ตั้ ง อยู ่ ก ลางแจ้ ง มี ห ลั ก การท� ำ งาน พื้นฐานเหมือนกับทีวีแบบ CRT ที่เปลี่ยน สัญญาณทางไฟฟ้าจากสายอากาศหรือจาก เครื่องเล่นวีดีโอเป็นจุดแสงหน้าจอโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ ที่ ใ ช้ ห ลอด LED สี แ ดง เขี ย ว และน�้ำเงิน แทนจุดแสง ๑ จุด (๑ โมดูล) ดังนั้นบน จอโทรทัศน์ ๑ โมดูล เกิดจาก หลอด LED อย่างน้อย ๓ หลอด (สีแดง เขียว และน�้ำเงิน) อย่างไรก็ตาม ๑ โมดูล อาจประกอบด้วย หลอดมากกว่า ๓ ดวง ก็ ไ ด้ ขึ้ น อยู ่ กั บ ผู ้ อ อกแบบ ขนาดของ ๑ โมดูล เพื่อจะได้ภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน จะต้องใช้หลอด LED เป็นจ�ำนวนนับแสน ดวงเรียงกันเป็นตาข่าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้า ต้องการภาพที่มีรายละเอียดของจุด ๖๔๐ x ๔๘๐ ต้องใช้จุดแสงจ�ำนวน ๓๐๗๒๐๐ จุด นั่นก็หมายความว่าต้องใช้หลอด LED อย่างน้อย ๓๐๗๒๐๐ x ๓ = ๙๒๑๖๐๐ ดวง หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า เนื้ อ หาสาระ ทั้ ง หมดจะเป็ น ประโยชน์ ส� ำ หรั บ ผู ้ อ ่ า น ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความคุ ้ ม ค่ า คุ ้ ม ราคาที่ จ ่ า ย มากที่สุด


หน้า ๑๖

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

Tarzanboy

“นี่

แหละ ลงหุบนี้ น�้ำควรจะอยู่ข้าง ล่ า ง มี ท างด่ า นลงสองทาง นั่ น ไง หมอนั่นก็ดูเหมือนจะมีเป้าหมายเดียว กับเรา”รอยพรานนิรนาม ที่หักกิ่งไม้บอก ทาง ยังคงอยูก่ บั เรา และเขาก็เลือกทางทีผ่ ม หมายตาไว้เช่นกัน

“....นีไ่ ง ชัด คนหนึง่ เดินวนไปวนมาหา เทรล นัน่ อีกคนแยกเดินทางนัน้ และนีน่ า่ จะ มีรอยใครอีกคนยืนตรงนี้ รอดูสองคนก�ำลัง หาเส้นทางเดิน และ...นั่น รวมกันไปทาง นั้น” ดงเฟิร์น และหญ้าเล็กๆ นั้นมีรอยถูก เหยียบให้เอนลู่ มีใบไม้ใบหญ้าพลิกหงายขึน้ จากการเดินเหยียบไปข้างหน้า และแยกสาย กั น ไปคนละทิ ศ ละทางในจุ ด ที่ ม องไม่ เ ห็ น เส้นทางเดินข้างหน้า มันเป็นอาการของการ ลังเล และช่วยกันหาเส้นทางเดิน ขณะใคร อีกคน หยุดยืนเหยียบเฟิร์นกอหนึ่งจนแบน ราบ ก่อนลุยไปด้านซ้ายขวาทัง้ หมดและตาม ดิง่ ลงหุบ ทีเ่ ราคาดหมายจะไปเช่นกัน “ถ้าเขาตั้งแค้มป์ข้างหน้านี้ ก็น่าจะ หมายความว่า เขามาแบบท่องเทีย่ ว แต่หาก ข้ามไปก็นา่ จะมาแบบพราน” “ท�ำไมละพี่” หากใครไม่คุ้นเคยกับ พรานป่ า ก็ จ ะสงสั ย การวิ นิ จ ฉั ย ข้ อ นี้ เ ป็ น ธรรมดา “ก็ เหมือนเราไง พี่พามิลล์กะต๊อบมา คือพาคนนอกมา ก็ไปไหนได้ไม่ไกลหรอก

วันหนึ่งเดินได้ประมาณ นี้แหละก็ต้องตั้งแค้มป์ แล้ว แต่ถ้าพรานจะเดิน ได้ ไ วและไกลกว่ า นั้ น ” แต่ก็อาจจะแค่ใกล้เคียง ตอนนี้ ผ มยั ง สรุ ป ไม่ ไ ด้ ว่า พรานกลุ่มนี้มาจาก ด้านไหน กรุงชิงทีผ่ มอยู่ หรืออ�ำเภอพิปูนด้านฝั่งตรงข้าม และทาง ไหนใกล้รไึ กลกว่ากัน ทีท่ �ำให้เขาและผมต่าง มาสุดทางอยูบ่ ริเวณนี้ “เอ รอยช้างตรงนี้เหมือนจะยังใหม่ อยูเ่ ลยนะ นีๆ่ มีขมี้ นั สดๆ อุน่ ๆ เลยพีบ่ อย” มิลล์ซงึ่ เริม่ ตาไว นัง่ ก้มๆ เงยๆ มองดูรอ่ งรอย ของท่านขุน หรือช้างป่า ที่ดูเหมือนจะเพิ่ง ผ่านจุดนีไ้ ปหยกๆ “อืม ใช่ ท่าจะไม่ได้การล่ะ เดินเงียบๆ กันนะ หูไวตาไว ...เอ็กซ์ปิดท้ายไว้ มิลล์กะ ต๊อบตามพี่ แต่ทิ้งระยะห่างไว้สักหน่อยนะ อย่าชิดมาก” สถานการณ์ดเู หมือนจะฉุกเฉิน ขึ้นมาฉับพลัน เพราะจู่ๆ เราก็มาเดินย�่ำทับ รอยของช้างป่าอย่าง กะทั น หั น ผมพาเดิ น ลงหุบ ตัดเลียบริมผา ริมล�ำธาร ป่ายามเย็น เงี ย บกริ บ ไม่ มี แ ม้ ใ บ ไม้ไหว ทันใดนั้น! ขณะ ก้ า วข้ า มล� ำ ธารเล็ ก ๆ ผมเหลื อ บเห็ น สี ขุ ่ น ๆ ข อ ง ส า ย น�้ ำ เ ล็ ก ๆ พร้ อ มกั บ กลิ่ น สาบ

โคลนโชยแตะจมูก “จุ ๊ ๆ เงี ย บบบ!!!” ผมหั น ขวั บ ไปยั ง สองสาวพร้ อ มกั บ เอานิ้ ว แตะริ ม ฝี ป ากท� ำ สัญญาณให้เงียบ และพยายามส่งสัญญาณ มือให้ทุกคนถอยหลัง แต่ทว่าช้าไปซะแล้ว กับสถานการณ์ตอนนี้ มิลล์ซงึ่ ห่างจากผมอยู่ ประมาณ ๕ ก้าว ก�ำลังกระโดดข้ามล�ำธาร เล็กนีแ้ ละตรงมาทีผ่ ม “แว้ๆ แปร๋นนน !!” เสียงแรกเป็นเจ้า ก้อนกลมๆ ขนาดรถเต่าวิ่งตัดผ่ากลางคณะ เรา มันคือเจ้าลูกช้างป่าตัวเล็ก ที่ตกใจและ วิ่งเตลิดมาทิศเดียวกับที่พวกเรายืนตะลึงกัน อยู่ มิลล์ซึ่งกระโดดข้ามมาก่อนหน้าหัวซุก หัวซุนมาปะทะผม ส่วนต๊อบกะเอ็กซ์ซึ่งตั้ง ท่าจะกระโดดตามมาชะงักถอยกรูด แต่ยัง หันรีหันขวางอยู่ แต่ทว่าเสียงที่สองนี่เองที่ ท�ำให้ผมจ�ำต้องตัดสินใจเด็ดขาด เพราะมัน คือแม่ของเจ้าช้างพลายทีเ่ ตลิดไปก่อนหน้านี้ ก�ำลังวิ่งจี้ตามลูกน้อยมา ดูขนาดมันราวกับ ภูเขาลูกย่อมๆ “เอ็กซ์ตอ๊ บ ถอยๆ วิง่ ๆ !!!! หลบต้นไม้ ใหญ่ มิลล์ตามพี่มา” สั่งการได้เท่านั้นผมก็ คว้าข้อมือสาวน้อย มุดคลานไปในดงทึบข้าง หน้าแบบลืมตาย แต่ดเู หมือนสถานการณ์ผม

กลับแย่กว่า เพราะขณะมุดไปตามทางด่าน แคบๆ โดยหารู้ไม่ว่า ก�ำลังมุดไปอยู่ใจกลาง โขลงช้างป่าซะแล้ว ทั้งซ้ายและขวา ภูเขา หลายลูกก�ำลังเคลือ่ นทีอ่ ย่างอลหม่าน ! “ลงล�ำธารๆ มิลล์กระโดดๆ” ขณะ ตั้งใจปีนขึ้นสันเขา ผมจ�ำต้องหักเหมุดลง ต�่ำและจ�ำต้องตัดสินใจกระโดดลงไปในร่อง ล�ำธารที่ครั้งแรกหมายมั่นจะตั้งแค้มป์พัก ส�ำหรับคืนนี้ โชคดีที่ระยะกระโดดลงมานั้น ไม่สงู มากนัก และพืน้ ล�ำธารเต็มไปด้วยทราย “....ปีนขึ้นไปอีกฝั่งหนึ่ง เร็วๆ” ผม ดันหลังนักเรียนรหัสป่าให้รีบปีนป่ายขึ้นไป ยังอีกฟากหนึ่งของล�ำธาร ขณะตัวเองยืน ประจันหน้ากับเจ้าช้างป่าสองแม่ลกู ซึง่ เตลิด ลงมาตัง้ แต่ครัง้ แรก มันชูงวงร่อนไปมาพร้อม ก้าวมาข้างหน้ายืนคร่อมเจ้าลูกน้อยแสนซน เอาไว้ ตาจ้องตา ใจประสานใจ !!! การต่อ รองและส่งภาษาทางประสาทสัมผัสพิเศษก็ เริม่ ขึน้ “...ใจเย็นๆ ฉันมาดี ขอขมาเถอะหาก ท�ำให้เธอตกใจ เธอก็คงหวงลูกน้อย ....เรา ต่างคนต่างไปเถอะนางพญาคชสาร” ความ เงียบสนิทราวกับโลกหยุดหมุน น�้ำในล�ำธาร หยุดไหลเกิดขึ้นขณะการประจันหน้าอย่าง กระชั้นชิด ชั่วเวลาอันยาวนานนี้แท้จริงสั้น เพียงชั่วแมลงจักจั่นกรีดเสียง เจ้าศรีไพรแม่ ลูกอ่อนเหมือนจะยอมรับค�ำขอขมา มันลด งวงที่ชูร่อนไปมาลงมาแตะพื้นน�้ำ ส่ายหัวไป มาพร้อมกับก้าวถอยหลังไปสองก้าว ก่อนที่ จะใช้งวงดันเจ้าลูกน้อยแสนซนให้เดินย้อน กลับไปในเส้นทางที่ฝูงส่วนใหญ่ของมันแตก กระเจิงไป ผมได้แต่ยืนนิ่งอยู่กับที่ เพราะ หลังจากผลักดันให้มิลล์ปีนขึ้นไปอยู่บนฝั่ง ตรงข้ามได้แล้ว ตนเองก็หมดหนทางที่จะ หลบเลี่ยงไปทางไหนได้ แต่ทั้งหมดก็จบลง ด้วยดี ต่างคนต่างไปตามวิถขี องตนเอง “วู้ๆ พี่บอย มิลล์ อยู่ทางไหน” เสียง เอ๊ ก ซ์ ต ะโกนโหวกเหวกลงมาจากต้ น ไทร ใหญ่ สถานการณ์ทำ� ให้เราแตกออกเป็นสอง กลุ่ม ผมกะมิลล์หลงตกอยู่ใจกลางโขลงช้าง ป่าแบบไม่ทันตั้งตัว ส่วนต๊อบกับเอ๊กซ์ถอย ไปตัง้ หลักบนต้นไม้ใหญ่ได้ทนั ท่วงที “เฮ้อ! ไงล่ะ ไปไงมาไงกันล่ะเนีย่ พีบ่ อย ท�ำไมเราถึงจ๊ะเอ๋กับช้างป่าโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว แบบนี้ โอยย ! ใจคอหายหมด” มิลล์ปนี กลับ ลงมาพูดพลางหัวเราะพลาง “พี่ก็ไม่นึกว่าเราจะเดินอยู่ใต้ลมมัน อยู่ดีๆ ตอนเราลงจากสันเขานั่นนะ เราดัน กลับมาอยู่ใต้ลมมัน มันเลยนิ่งอยู่ในโป่งนั่น น่ะ จริงๆ พี่ก็เห็นน�้ำขุ่นๆ แล้วนะ แต่ยัง ไม่ทันอะไร เจ้าตัวเล็กนั่นท�ำเสียเรื่องก่อน เลย ฮ่าๆ เป็นไงถึงใจดีมยั้ ล่ะ” “โห พี่บอย ต๊อบเห็นช้างเป็นสิบตัว เลย มันอยูย่ งั ไงน่ะ ท�ำไมตอนแรกเราไม่เห็น ไม่ได้ยนิ เสียงมันเลย จะเดินเข้าไปกลางโขลง มันซะงัน้ ” ต๊อบกับเอ๊กซ์ซงึ่ ปีนขึน้ ต้นไม้ ต่าง ก็เห็นเหตุการณ์ได้ชดั เจน “นั่นนะซิ พี่ก็ไม่นึกว่าจะจ๊ะเอ๋กับมัน เร็วและกระชัน้ ชิดแบบนี้ แหม! เพิง่ เห็นขีม้ นั อุน่ ๆ บนเนินโน้น ลงมาปุบ๊ ก็ทกั ทายกันแบบ ไม่ให้ทันตั้งตัวเลย เอาละๆ ตอนนี้ก็ไม่มีไร


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

หน้า ๑๗

นพ.รังสิต ทองสมัคร์

แล้ว มันไปกันหมดแล้วเราหาแค้มป์พักกันเถอะ เดิน ข้ามสันนีไ้ ปอีกสันดีกว่า ข้างหน้าน่าจะมีอกี ร่องล�ำธาร ตรงนัน้ น่าจะปลอดภัยกว่า” เราปีนข้ามไปยังสันเขาอีก ทอดหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับเส้นทางที่ช้างป่าโขลงนั้น เตลิดไป เป้าหมายคือการตั้งแค้มป์ส�ำหรับคืนนี้ หลัง จากทีอ่ กสัน่ ขวัญแขวนกันมาเมือ่ ครู่ “นี่ เราแค้มป์ตรงนี้เถอะ โล่งกว่า มองเห็นได้ ไกล มีแอ่งน�้ำด้วย สวยดี” เราถึงเป้าหมายเอาขณะที่ เจ้าจักจัน่ ตัวนัน้ ร้องเสียงยาวและวังเวงกว่าเดิม “ก่อนอื่นเราต้องส�ำรวจรอบๆ แค้มป์ก่อนนะ ดู ทางหนีทีไล่ ดูรอยสัตว์ต่างๆ ว่าควรระวังอะไร ฮ่าๆ เอ้า เอ็กซ์ดูด่านนั่นซิ มีรอยอะไรใหม่ๆ บ้าง” เอ็กซ์รู้ งานเป็นอย่างดี โดยปกติหากเป็นป่าลึกและเรายังไม่ เคยมา จะตัง้ แค้มป์สกั ที ต้องดูให้ละเอียด ว่าตรงไหน ทางด่าน ตรงไหนต้องระวังอะไร ทีส่ ำ� คัญต้องส�ำรวจดู ให้เห็นกะตาตัวเอง ถึงจะรูว้ า่ ...ต้องดูอะไร และอะไรจะ อันตรายแบบไหน เปล ฟลายชีตหรือผ้าใบหลังคากันน�ำ้ ค้าง ถูกกาง ขึ้นระหว่างต้นไม้สองต้น เปลสองชั้นส�ำหรับสองสาว อยูบ่ นนัน้ ผมกับเอ็กซ์เลือกนอนพืน้ ซึง่ ปูใบไม้กบั ผ้าใบ รองอีกที “เอ้า มิลล์ หุงข้าว ..โน่นไปหาจารย์เอ็กซ์โน่น” หลักสูตรเบื้องต้นของการด�ำรงชีพ ถูกเร่งรัดไปตาม สถานการณ์จริง “...นี่ แบบนี้ ตวงด้วยฝาหม้อสนาม เต็มฝานี้ ข้าวจะเต็มหม้อพอดี ใส่นำ�้ เต็มขอบมาด้วยนะ” ผมเดิน ไปตัดไม้งา่ มมาท�ำคาน “คนๆ มันหน่อยนะ ตอนใส่น�้ำ ....แล้วนี่มาวาง แบบนี้” ผมบุ้ยใบ้เอ็กซ์ปล่อยให้เขาท�ำกันเอง แค่ แนะห่างๆ “...นัน่ อย่าให้เอียงไม่งนั้ น�ำ้ หก ...ไม่ๆ ใส่เอง วาง เอง หุงเองเลย สุกก็กนิ ดิบก็กนิ ” กองไฟ เสียงล�ำธาร และกลิ่นข้าวเริ่มเดือด แม้ว่าจะเพิ่งผ่านเรื่องตื่นเต้น มาหยกๆ แต่ตอนนี้อารมณ์ทุกคนเริ่มผ่อนคลาย ผม หลบมุ ม นั่ ง อยู ่ ริ ม ล� ำ ธารเขี ย วครึ้ ม คนเดี ย วเงี ย บๆ สายลมหุบ พัดล่องลอยตามน�้ำ หอบไอดิน กลิ่นธาร และดอกไม้ป่าจางๆ นั้นมาฝาก ผมถอดรองเท้า วาง เท้าเปลื่อยเปล่าในล�ำธารใสสีกระจก บัดนั้น ดูราวกับ ว่าเราและป่ารอบข้าง ได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว... ราตรีที่เซ็งแซ่ไปด้วยเสียงหรีดหริ่งเรไร และเสียงปลา ล�ำธารฮุบแมลงน�้ำ กลับดูเงียบสงัดในความเป็นจริง เสียงป่าเสียงไพรก็เป็นเช่นนี้ การมีสรรพสิ่งบรรเลงอยู่ อย่างครบถ้วน แท้จริงคือความสงัดเงียบที่หลายคน มิเคยได้ยนิ

ตั้งแต่หัวหมอก เสียงอึกทึกโล้งเล้งลั่นหลาด ของพ่อค้าแม่ค้าที่ยกของมาเตรียมขาย บนรางรถไฟหน้าสถานีคลองจันดี นครศรี ฯ ผมนั่งบนเก้าอี้พลาสติกสีแดงวางคร่อมเส้น รางเหล็กด้านหนึ่งของรางรถไฟ กวาดสายตา มองผู้คน กับวิถีง่ายงามแบบนี้ ชาร้อนสีส้มหวานในมือพร่องลง เหนียวเหลือง ห่อสองก�ำลังจะถูกกลืนหายลงในท้อง เสียง ฉึก-ฉัก ปู๊น-ปู๊น ของรถไฟขาล่อง ขบวนแล้วขบวนเล่าแล่นผ่านถานี วันแล้ว วันเล่า… “หลาด-ถานี” สองสิ่งที่ไม่น่า มาเชื่อมต่อติดเป็นเนื้อแนบแอบชิดกันแบบนี้ วันแล้ว วันเล่า….ท�ำให้ผมได้เก็บภาพ มาบอกเล่าผู้คน วันแล้ว วันเล่า…


หน้า ๑๘

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

นภสร มีบุญ

เริน ที่ภาษาใต้ แปลว่า .. บ้าน เรินไม้ ก็คือ บ้านไม้ บ้านหลังเล็กที่แสนจะน่ารัก และอบอุ่นทุกครั้งที่มาเยือน บ้านหลังนี้เปิดบริการมาตั้งแต่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ริ น ไม้ ห ลั ง นี้ ตั้ ง อยู ่ ริ ม ถนนราชด� ำ เนิ น เปิ ด บริ ก ารกั น มาแล้ ว กว่ า สิ บ สามปี แวดล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ท�ำให้มอง แล้วร่มรื่น บรรยากาศสบายๆ เดินเข้าไป กลางร้านก็จะได้ยินเสียงน�้ำ และเสียงเพลง เบาๆ คอยขับกล่อมให้กับผู้เข้าใช้บริการ จนดู เ สมื อ นประหนึ่ ง ว่ า นั่ ง รั บ ประทาน อาหารอยู่ในสวนของบ้านตัวเอง ที่ส�ำคัญ

สเต็กปลาแซลมอนซอสเนย ย�ำสลัดปลาทูน่า

เรินไม้หลังนี้จะมีรอยยิ้ม ให้ กั บ ผู ้ ม าเยื อ นเสมอ พนั ก งานที่ นี่ ดู จ ะเป็ น แม่ เ หล็ ก อี ก หนึ่ ง แรง ที่ ดึงดูดลูกค้า น้องๆ พนักงานบริ ก ารที่ นี่ พู ด จา ไพเราะ และมี ร อยยิ้ ม พร้ อ มหั ว ใจให้ บ ริ ก าร

ย�ำสลัดปลาแซลมอน สปาเก็ตตี้ผัดไทยกุ้งสด

ท�ำให้ร้านที่มีบรรยากาศน่านั่งพักผ่อน และ อาหารที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต ท�ำให้ยิ่ง เพิ่มความมีเสน่ห์ของร้านมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่ได้ตกแต่งและปรับปรุงร้านใหม่ ให้ดูโปร่ง โล่ง สบายตาขึ้น และเพิ่มเอาไม้ ระแนงมาตกแต่ ง ให้ ดู ทั น สมั ย ขึ้ น แต่ ก็ ยั ง คงเน้นเรื่องความสบายตา อาหารของที่นี่ ก็ใส่ใจต่อสุขภาพของลูกค้า การเลือกใช้ผัก ปลอดสารพิษ และเครื่องปรุงอย่างดี รวม ไปถึงการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ บอก ได้เลยว่าทัดเทียมกับโรงแรมหรู แต่ราคา มิ ต รภาพค่ ะ .. ความสบายของร้ า นและ บรรยากาศบ่งบอกถึงความสุขของเจ้าของ


ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

น�้ำกระเจี๊ยบ

น�้ำอัญชัน

ร้านได้ดีจริงๆ กับเจ้าของกิจการ คุณสาธิต รักกมล อดีตคนวงการโรงแรมและงานทัวร์ ที่ล้มลุกคลุกคลานมากับร้านอย่างเนิ่นนาน ด้วยความรัก มาถึงวันนี้มองเห็นลูกค้าที่มา อุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย ก็ยิ้มได้แล้วค่ะ .. วันนี้ โอ ลั่ลล้า มากับแรงหิวอย่าง << มุม open air ตรงเทอเรส หน้าร้าน

เต็มที่ แต่เมนูวันนี้ขอบอกว่าแม้จะหิวจัด ทานเยอะ แต่รับรองความปลอดภัยเรื่อง น�้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพราะเมนู ส่ ง ท้ า ย ปลายปี ที่เรานัดกันกับทางร้านวันนี้ ล้วน เป็นสลัดเสียส่วนใหญ่ค่ะ .. เรียกน�้ำย่อยกัน ด้วยน�้ำกระเจี๊ยบสีแดงสด ..และน�้ำอัญชัน สีม่วงขรึมของผู้จัดการร้าน ตามมาติดๆ ด้วย ย�ำสลัดทูน่า และย�ำสลัดปลาแซลมอน ผั ก ปลอดสารพิ ษ ที่ แ สนกรอบและความ หวานจากมะเขือเทศสด ตามด้วยสเต็กปลา แซลมอนซอสเนย หอมกรุ่น เสิร์ฟพร้อม กับขนมปังแสนนุ่มและสลัด ตบท้ายด้วย สปาเก็ ต ตี้ ผั ด ไทยกุ ้ ง สด ที่ ผ สมผสานกั น อย่างลงตัวทั้งไทยและฝรั่ง ..เส้นที่หอมนุ่ม และส่ ว นผสมครบเครื่ อ งตามแบบฉบั บ อาหารไทย กั บ กุ ้ ง สดๆ ที่ ห วานนุ ่ ม ลิ้ น โอ๊ยยยย... อิ่มตา อิ่มท้อง และอิ่มใจจริงๆ ค่ะ กับการลั่ลล้ามาชิมอาหารที่เรินไม้หลัง นี้ ตอนนี้มีแรงแล้ว มองหาโปรแกรมท่อง เที่ยวกับวันหยุดยาวๆ ของเทศกาลส่งท้าย

หน้า ๑๙

ปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ก�ำลังจะมาถึงกันดีกว่า นะคะ .. เตรียมความพร้อมเรื่องการเลือก สถานที่ .. จองที่พัก ..จัดกระเป๋า แล้วอย่า ลืมตรวจเช็คสภาพยานพาหนะที่จะต้องใช้ เดินทาง .. สิ่งส�ำคัญท่องเที่ยวหัวใจใหม่ ไม่ ท�ำร้ายสิ่งแวดล้อมค่ะ ปีหน้าฟ้าใหม่ในปี มะเส็ง ล้อหมุน ..กลับมาพบกันด้วยความ คิดถึงกันอีกเช่นเคย มีความสุขกันถ้วนหน้า กับการลั่ลล้า ส่งท้ายปลายปีทุกท่านค่ะ ขอขอบคุณ : ผู ้ จั ด การร้ า นเริ น ไม้ พี่จิระวัฒน์ (พี่ผอม) และน้องๆ พนักงาน ที่น่ารักทุกคนค่ะ : รั บ สิ ท ธิ พิ เ ศษเช่ น เดิ ม ค่ ะ ส่ ว น ลด ๑๐ % ตลอดเดือนมกราคมนี้ ส�ำหรับ แฟนคอลัมน์ โอลั่ลล้า นสพ.รักบ้านเกิด : ส�ำรองที่นั่ง ร้านเรินไม้ Steak & More โทร. ๐๘๑-๗๓๔-๔๕๘๓ ๓๓๒ ถนนราชด� ำ เนิ น เชิ ง สะพาน สวนหลวง ใกล้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ อ.เมื อ ง จ.นครศรีธรรมราช


หน้า ๒๐

นครศรีธรรมราช

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

เปิดบริการมื้อกลางวันและมื้อค�่ำทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 332 ถ.ราชด�ำเนิน เชิงสะพานสวนหลวง ใกล้พิพิธภัณฑ์ โทร.084-734-4583


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.