Life & Family Vol.2 No.18 July 2015

Page 1

สื่อในกลุ่มบริษัท อาร์แอลจี

Vol.2 No.18 July 2015

Good

ผู้หญิง

Ride Trips

กับจักรยาน

เตรียมพร้อม

เหตุผลดีๆ ของการปั่น จักรยาน

มือใหม่ ปั่นสนุก

M o d e r n L i f e ส ม ดุ ล ชี วิ ต 3 6 0 ํ

Let’s Cycling ชวนปั่นสร้างสุขภาพ

ครบเครื่อง เรื่องต้องรู้ ผู้หญิงยุคใหม่

FREE พร้อมนิตยสาร ModernMom



Editor Talk

Contents

Vol.2 No.18 July 2015

สวั สดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก

Life&Family ฉบับ Let’s Cycling จะชวนคุณๆ ที่รัก และครอบครัวออกมาสนุกแถมสร้างสุขภาพดีด้วยการ ปั่นจักรยานกันค่ะ ที่น�ำเรื่องนี้มาฝากกันไม่เพียงเพราะกระแสจักรยาน จะมาแรงเท่านั้น แต่การได้ใช้สองขาออกแรงปั่นให้สอง ล้อหมุนไปไหนต่อไปนั้นมีประโยชน์มากมายค่ะ ไม่ว่า จะเป็นการช่วยให้สุขภาพดี ได้ออกก�ำลังกาย ประหยัด สนุกสนาน แถมยังเป็นวิธีง่ายๆ ช่วยลดภาระในโลกใบนี้ ของเราได้อีกทางหนึ่งด้วย ถ้าอ่าน Life&Family แล้วนึกสนุก อย่าลืมไปพา จักรยานคู่ ใจที่จอดทิ้งไว้ซะนานปั่นไปเที่ยวดูนะคะ ไม่ แน่คุณและสมาชิกที่บ้านอาจจะติดใจกลายเป็นชาว Bike Lovers อีกครอบครัวก็เป็นได้ค่ะ ทีมงานนิตยสาร Life&Family

Editor Talk

3

Guru : Elder Care รับมือโลกหมุน หรือน�้ำในหูไม่เท่ากัน

4

Guru : Smart Life เมื่อ Working Mom เกิดเครียดและเหนื่อยจนท้อใจ

5

Highlight : Healthy Cycling ชวนปั่น สร้างสุขภาพ 6 - เหตุผลที่ควรปั่นจักรยาน - มือใหม่ เตรียมตัวปั่นจักรยาน - ผู้หญิงปั่นจักรยาน ได้อะไรมากกว่าที่คิด - เส้นทางปั่นจักรยานในประเทศไทย Our Home ชอล์กคู่บา้ น

18

Inspire Corner Bicycle Bag

20

Relax Zone Maya...มนตราภารตะ 22

เจ้าของ กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี (RLG) ประธานกรรมการบริหาร อนันต์ ศิริภัสราภรณ์ ผู้ก่อตั้งและประธานสถาบัน อาร์แอลจี สุภาวดี หาญเมธี ที่ปรึกษา ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์, ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา, ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ, ศ.พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ, ดร.สายสุรี จุติกุล, รศ.พญ.เสาวคนธ์ อัจจิมากร, ดร.วรนาท รักสกุลไทย, รศ.นพ.วิทยา ถิ​ิฐาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศิริพร ผลชีวิน รองประธานฝ่ายปฏิบัติการสายธุรกิจ Communications ชนิดา อินทรวิสูตร รองประธานฝ่ายบริหารและการ เงิ น มาลี จั น ทร์ ม าลี ผู้ อำ � นวยการบริ ห าร Woman Business ชนิ ด า อิ น ทรวิ สู ต ร บรรณาธิ ก ารอำ � นวยการ/บรรณาธิ ก ารผู้ พิ ม พ์ ผู้ โ ฆษณา สรั ญ ญา โภคาลั ย บรรณาธิ ก ารบริ หาร สรั ญ ญา โภคาลั ย บรรณาธิ ก าร สุ ช าดา เทพหินลัพ บรรณาธิการต้น ฉบับและพัฒนาเนื้อหา ศศิพินทุ์ อุษณีย์มาศ กองบรรณาธิการ นภชา ทังคัมวิจิตร พิสูจน์อักษร ดารารัตน์ ดีก้องเสียง Creative Director วันเฉลิม สุขมาก หัวหน้าศิลปกรรม เด่นใจ โกมลกาญจน ศิลปกรรม นิพนธ์ โพธิ์ชุม, มณเฑียร ศุภโรจน์ ช่างภาพ ธาร ธงไชย, เอกรัตน์ ศรีพานิชย์ ศิลปกรรมอาวุโสงานขายโฆษณาและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วชรพรรณ น้อยศรี, พัฒนา กลิ่นอ่อน ประสานงานกองบรรณาธิการ พิมพ์ชนก ณ สงขลา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด มาลินี อัศว์วิเศษศิวะกุล ผู้อำ�นวยการฝ่ายขายสื่อโฆษณา สุรชัย บรรลือ ผู้จัดการฝ่ายขายสื่อโฆษณา รุ้งลัดดา จักรบุตร #3343 เจ้ า หน้ า ที่ ข ายสื่ อ โฆษณา ประภั ส สร ทองดี #3359, กุ ณ ฑลี จิ โ นการ #3334 ลิ น ดา เจนวิ วั ฒ น์ ส กุ ล #4723 ผู้ อำ � นวยการฝ่ า ยขายสื่ อ โฆษณา Corporate สมอุ ร า สั ง ขจั น ทร์ #2210 รองผู้ อำ � นวยการฝ่ า ยขายสื่ อ โฆษณา Corporate สมใจ ชวาลวณิ ช ชั ย #2211 เจ้ า หน้ า ที่ ข ายสื่ อ โฆษณา Corporate นั น ทิ ย า ยิ น ดี #3332, อิ น ทิ ร า เสลานนท์ #3333, วิ ภ าวดี ดิ ษ ฐสุ ธ รรม #2241, สิ ริ พ ร ทองไกร #2234, จิ ต ติ ม า โพสิ น ธุ์ #2242 ประสานงานฝ่ า ยขายโฆษณา สุ ร างค์ สุ ริ ว งษ์ #3325 ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต ปัญณภพ ศรีหะรัญ ประสานงานฝ่ายผลิต สุชรัสส์ คงมิ่ง ผู้จัดการฝ่ายจัดจำ�หน่ายและสมาชิก รณกฤต ติยะศักดิเดช Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 mmm@rlg.co.th แผนกลูกค้าสัมพันธ์(บริการสมาชิก) โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 2221-2 โทรสาร 0 2831 8422 member@rlg.co.th แยกสี/เพลท : บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2216 2760 พิมพ์ : บริษัท พิมพ์ดี จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2401 9401 กระดาษ : บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0 3853 8968 จัดจำ�หน่าย : เพ็ญบุญ โทรศัพท์ 0 2615 8625 แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 rungladda@rlg.co.th

Life & Family 3


Guru Elder care

เรื่อง นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำ�นวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลนครธน

รับมือโลกหมุน หรือ

น�้ำในหูไม่เท่ากัน

อาการวิงเวียนศีรษะบ้านหมุน มักพบบ่อยมากในผู้ สูงอายุ ซึ่งลูกหลานมักจะได้ยินผู้ใหญ่ ในบ้านพูดให้ฟัง บ่อยๆ จนท�ำให้ดเู หมือนเป็นอาการปกติของท่าน ไม่นา่ จะมี อะไร อันที่จริงตัวอาการของโรคมักไม่ค่อยน่ากลัว แต่สิ่ง ที่อาจเกิดตามมานั้นน่ากลัวมากครับ คือเรื่อง การพลัดตก หกล้ม ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุแล้วเรื่องใหญ่ แน่ ดังนั้นสมควรที่เราต้องใส่ใจเรื่องวิงเวียนบ้านหมุนกัน อย่างตั้งใจเลยทีเดียว อาการวิงเวียนบ้านหมุนนั้น มีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ ที่พบว่าเป็นสาเหตุหลักเลยก็คือ โรคน�้ำในหูไม่เท่ากัน หมายถึง แรงดันของน�้ำภายในอวัยวะระบบประสาทที่ช่วย ในการทรงตัวซึ่งอยู่ในหูชั้นใน มีความผิดปกติไหลเวียนไม่ สะดวก ท�ำให้ศูนย์เสียการทรงตัวไป นอกจากจะเกิดอาการ วิงเวียนบ้านหมุนแล้วยังมีอาการคลื่นไส้ การได้ยนิ ด้อยลง หูอื้อ มีเสียงแปลกๆ ในหู ทันทีที่พบว่าผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการดังกล่าว ต้องรีบให้ ท่านนั่งลงก่อน เปิดพื้นที่ให้มีอากาศถ่ายเท สังเกตดูว่า อาการต่างๆ นั้นค่อยๆ ดีขึ้นจนหายไปหรือไม่ ถ้าพบว่า อาการไม่ดีขึ้น เป็นมากขึ้น หรือเป็นแล้วหายแล้วเป็นอีก ควรให้แพทย์ตรวจร่างกายเพือ่ วินจิ ฉัยหาสาเหตุและให้การ รักษาอย่างถูกต้อง สาเหตุของโรคน�ำ้ ในหูไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ พบครับ ซึ่งก็มักจะปัดไปว่าเป็นเรื่องของการติดเชื้อไวรัส

ในหูชั้นใน แต่อันที่จริงยังมีสาเหตุอื่นอีก ซึ่งจ�ำเป็นต้อง ได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยิน ตรวจพยาธิ สภาพของระบบประสาทหู การตรวจทางสมอง เป็นต้น การรักษาก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ รวมทั้งการ ให้ยาบรรเทาอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ยาขยายหลอดเลือด ยาลดปริมาณน�ำ้ ยาลดบวม ยากล่อมประสาท เป็นต้น ความส�ำคัญของลูกหลานอยู่ที่การดูแลผู้สูงอายุในบ้าน อย่างใกล้ชิด ระวังเรื่องความปลอดภัยในสถานที่อยู่อาศัย ระวังเรือ่ งการพลัดตกหกล้ม ดูแลสุขภาพท่านให้ดี เพราะถ้า สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี โอกาสเกิดโรคน�ำ้ ในหูไม่เท่ากัน ก็ลดน้อยลง การดูแลส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ • อาหารสุขภาพที่ไม่เค็ม • งดสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่ ชา กาแฟ • ออกก�ำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม�ำ่ เสมอ • อารมณ์ดีไม่เครียด • นอนพักผ่อนเพียงพอ • อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย จะเห็นได้ว่า โรคน�้ำในหูไม่เท่ากันนั้นไม่น่ากลัวเท่าไร นัก แต่สิ่งที่จะเกิดตามมาอันได้แก่การพลัดตกหกล้มนั้น น่ากลัวและเป็นอันตรายอย่างยิง่ ถ้าลูกหลานใส่ใจในเรือ่ งนี้ เฝ้าสังเกตอาการให้ดี ตลอดจนป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ให้ท่านแล้ว โอกาสที่จะเกิดปัญหาดังกล่าวก็จะลดน้อยลง ไปได้อย่างมากมายทีเดียวครับ

Life & Family 4


Guru Smart Life

เรื่อง ครูโม่ย สุวรรณา โชคประจักษ์ชัด นักเขียนและผู้ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมและการเป็นโค้ชชีวิต Suwanna The Coach

เมื่อ Working Mom เกิดเครียด และเหนื่อยจนท้อใจ นี่เป็นค�ำถามของผู้หญิงที่ต้องทั้งท�ำงานในบ้านและ งานนอกบ้าน ที่รู้สึกคร�่ำเคร่งและอ่อนล้า จนอดสงสัย ไม่ได้ว่าเป็นเพราะตั้งเป้าหมายสูงไปหรือเป็นเรื่องธรรมดา ที่ต้องท�ำใจยอมรับสภาพกันแน่ ซึ่งเราอาจถามใหม่ว่า ท�ำ อย่างไรที่เราสามารถทั้งท�ำงานบ้านและงานนอกบ้านได้ อย่างเต็มที่โดยไม่เคร่งเครียดและเหนื่อยเกินไป ก่อนอื่นเราต้องกลับมาดูว่า อะไรที่เป็นต้นเหตุของ ความเหนื่อยและความเครียด ถ้าคุณคิดว่าปริมาณงานที่ มีมากเกินไป ก็ลองเขียนออกมาทั้งหมด และดูว่างานใดที่ คนอื่นท�ำแทนเราไม่ได้ และงานใดที่คนอื่นก็ท�ำแทนได้ เช่น งานซักและรีดผ้า เป็นงานที่สามารถจ้างคนอื่นท�ำ แทนเรา โดยเริ่มปล่อยงานที่ไม่ส�ำคัญไปก่อน แม้ว่างาน นั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่คุณเคยท�ำเองมาโดยตลอด แต่ เมื่องานเล็กๆ น้อยๆ หลายๆ งานรวมกัน ก็กลายเป็น งานที่ท�ำให้เรี่ยวแรงและเวลาในชีวิตลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ บางครั้งดูเหมือนว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายแต่อาจท�ำให้คุณมี เวลาไปคิดสร้างสรรค์งานที่ให้รายได้มากกว่าเดิม จากนั้ น ก็ ม าดู ว ่ า คุ ณ เองมี ธ รรมชาติ ใ นการท� ำ งาน อย่างไร หลายครั้งความเครียดมาจากนิสัยในการท�ำงาน เช่น บางคนจะท�ำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบ จึงมีแนวโน้มที่จะหมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับงานที่ไม่ส�ำคัญ และไม่เร่งด่วน ถ้าต้องการรู้ว่าตนเองมีธรรมชาติอย่างไร ก็ต้องจดรายการงานที่ทำ� ในแต่ละวัน ก็จะเห็นรูปแบบการ ใช้เวลาของเรา จากนั้นก็ฝึกที่จะวางแผนการท�ำงาน และ ปรับปรุงแผนงานอยู่เสมอๆ คุณก็จะท�ำงานถูกเรื่องถูก จังหวะและเวลายิ่งขึ้น

หลั ง จากที่ ท บทวนและปรั บ ปรุ ง ตามข้ อ แนะน� ำ ทั้ ง สองข้อแล้ว แต่ยังพบว่ายังเหนื่อยและเคร่งเครียด ก็ต้อง กลับมาดูคุณภาพในการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ เช่น การกิน การ ออกก�ำลังกาย การนอนหลับพักผ่อน ดูว่าเราจัดสรรเวลา อย่างสมดุลและพอเพียงหรือไม่ ชีวิตที่กินไม่ได้ นอนไม่ หลับ และไม่มีเวลาออกก�ำลังกาย แม้ไม่ได้ท�ำอะไรมาก ก็เคร่งเครียดและเหนื่อยอ่อนได้ หากเรามีชีวิตที่สมดุล กินอาหารที่สดสะอาด มีคุณค่า และรสชาติที่อร่อยถูกใจด้วย ก็ทำ� ให้ชีวิตมีพลังใจและกาย ทีจ่ ะท�ำงาน การนอนและการออกก�ำลังกายทีเ่ พียงพอก็เป็น อีกปัจจัยส�ำคัญที่ช่วยให้เรามีความสามารถในการรับมือ กับปัญหาและความทุกข์ที่เข้ามา ตัวอย่างลูกศิษย์ที่มา เรียนโยคะกับครู มีหลายคนถามว่า ช่วงที่มาเล่นโยคะจะ ไม่ค่อยเครียด ทั้งที่งานก็ยุ่งและมีปัญหาที่ต้องแก้มาก กว่าเดิมอีก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะโยคะช่วยบรรเทาและ ปลดปล่อยความตึงเครียดทั้งทางกายและใจที่ฝังอยู่ ใน กล้ามเนื้อ อวัยวะภายในและระบบประสาท และความ สุขสงบที่เกิดขึ้นจากการฝึกโยคะ ก็ช่วยให้ใจได้พักและมี ก�ำลังมากขึ้น ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในการจัดสรรเวลาชีวิต ท�ำให้คนเราแต่ละคนมีความสามารถในการจัดการและ รับผิดชอบที่แตกต่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ชีวิตคือองค์รวม ที่ต้องการความสมดุลในทุกมิติ หากเราใช้เวลาส่วนใหญ่ ไปท�ำกับสิ่งที่ไม่ส�ำคัญ ก็จะเหลือเวลาท�ำสิ่งส�ำคัญน้อยลง จนต้องท�ำอย่างเร่งรีบและเคร่งเครียด เราไม่อาจเพิ่มเวลา ชีวิตด้วยการอดนอน เวลาที่เพิ่มขึ้นของชีวิตที่ขาดสมดุล ไม่ได้ให้ผลงานที่ดีแล้ว ยังท�ำให้สุขภาพย�่ำแย่อีกด้วย

Life & Family 5


HIGHLIGHT : Healthy Cycling เรื่อง กิ่งกาญจน์

51% ของชาวอเมริกัน ไม่เคยขี่จักรยานมาก่อนเลยแม้แต่ครั้งเดียว 17% ของประชากรทั้งสหรัฐอเมริกา ขี่จักรยานมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 42% ไม่เคยนั่งจักรยานเลย จากตัวเลขนี้เองที่ท�ำให้เกิดความ ตระหนักได้ว่า ควรมีการส่งเสริมการ ขี่ จั กรยานให้ ม ากขึ้ น เพื่ อ ประโยชน์ ทั้งในแง่การออกก�ำลังกายและการ ประหยัดพลังงาน สหรัฐอเมริกาจึงมี แผนกระตุ้นการปั่นจักรยานมากขึ้น โดยส่ ง เสริ ม ธุ ร กิ จ การขายจั กรยาน

ราคาถูก จัดหาสถานที่เพื่อการปั่น ออกก�ำลังกาย เพิ่มลานจอดจักรยาน ส�ำหรับผู้ใช้ปั่นไปท�ำงาน และเพิ่ม มาตรการความปลอดภัยส�ำหรับเลน จักรยานมากขึ้น ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เราจึง เห็ น กระแสความสนใจปั ่ น จั กรยาน Life & Family 6

มากขึ้น ไม่ว่าจะปั่นในฟิตเนส หรือ ออกไปปั ่ น ในสวนสาธารณะ มี นั ก แสดงคนดังระดับโลกมากมายหันมา ใช้จักรยานเป็นพาหนะแทนการขึ้น รถไฟฟ้าไปท�ำงาน และเทรนด์นกี้ ำ� ลัง แพร่หลายไปทัว่ โลก รวมถึงเอเชียและ ประเทศไทยด้วย


Healthy Cycling ชวนปั่น สร้างสุขภาพ

จากที่เคยจ�ำกัดวงอยู่ในกลุ่มเล็กๆ การขี่จักรยานได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพราะความประหยัดและช่วยลดมลภาวะให้โลกเท่านั้น แต่การขี่จักรยานยังส่งผลดีกับสุขภาพกายและใจของคุณอีกด้วย

สถิติการใช้จักรยานในชีวิตประจ�ำวัน ของประชากรในประเทศต่างๆ 10 อันดับทั่วโลก อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4 อันดับ 5 อันดับ 6 อันดับ 7 อันดับ 8 อันดับ 9 อันดับ 10

เมืองเทียนจิน ประเทศจีน 77% เมืองเสิ่นหยาง ประเทศจีน 65% กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน 50% กรุงธากา ประเทศบังคลาเทศ 48% เมืองเออร์เลนสเตเจน ประเทศเยอรมนี 40% กรุงโอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 25 % กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย 24 % กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย 22% กรุงบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก 20% เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส 15%

ส�ำ หรั บ ในประเทศไทยแม้จะยัง ไม่ ติ ด อั น ดั บ โลกแต่ ก็ มี กระแสนิ ย ม ปั่นจักรยานมากขึ้น จากข้อมูลการ ตลาดพบยอดจ�ำหน่ายจักรยานสูงขึ้น เป็นประวัติการณ์ โดยขยายตัวถึง 4 เท่าภายใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ นโยบายการส่งเสริมให้ใช้จักรยานใน

การท่องเที่ยวทั่วไปของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ท�ำให้ปจั จุบนั มีผใู้ ช้ จักรยานทัว่ ประเทศอยูร่ าว 2.5 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เฉพาะใน กรุงเทพฯ มีประมาณ 150,000 คน ต่างจังหวัด 2.1 ล้านคน ที่เหลือเป็น นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและต่ า ง-

ประเทศที่หันมาใช้จักรยานท่องเที่ยว ชมเมื อ ง มี การตั้ ง เป้ า หมายไว้ ว ่ า ใน 4 ปีข้างหน้า ต้องการเห็นการปั่น จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่าง ถาวร

ที่มาข้อมูล : ตัวเลขจากสมาคมกองทุนจักรยานนานาชาติ (International Bicycle Fund) http://www.ibike.org/library/statistics-data.htm

Life & Family 7


เหตุผลที่ควร

ปั่นจักรยาน

Life & Family 8


ปั่นสร้างสุขภาพ

สาเหตุที่เทรนด์ปั่นจักรยานฮิตไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ นัน่ เพราะมีงานวิจยั และข้อสนับสนุน มากมายซึง่ พูดตรงกันว่า “การปัน่ จักรยานเป็นวิธกี ารทีด่ ใี น การออกก�ำลังกายและลดน�้ำหนัก” เห็นได้ชัดจากปริมาณ การเผาผลาญแคลอรี ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่หนักประมาณ 60 กิโลกรัม ปั่นจักรยาน 20-24 กิโลเมตรจะเผาผลาญ พลังงานได้ถึง 448 กิโลแคลอรี เท่ากับว่าหากขี่จักรยาน ไปท�ำงานซึ่งห่างจากบ้าน 10 กิโลเมตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง สามารถลดน�้ำหนักได้ประมาณ 0.5 กิโลกรัมในแต่ละเดือน นอกจากช่วยลดน�้ำหนักแล้ว การปั่นจักรยานยังให้ ประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งนักปั่นส่วนใหญ่มีต้นขาที่แข็งแรง มาก เพราะใช้ขา ก้นและน่องในการขับเคลื่อนจักรยาน ขณะที่ร่างกายส่วนบนควบคุมทิศทางการขี่ กล้ามเนื้อ

ทุกส่วนจึงท�ำงานอย่างแข็งขัน สัมพันธ์กันอย่างมีจังหวะ จะโคน ความแข็งแรงนี้ท�ำให้ร่างกายมีพลังเพิ่มขึ้นด้วย หากปัน่ จักรยานไปสักระยะหนึง่ จะพบว่าตัวเองมีแรงมากขึน้ และลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 65 การปั่นจักรยานยังช่วยท�ำให้การท�ำงานของปอดและ หัวใจดีขึ้นด้วย ผู้ที่ปั่นจักรยานเป็นประจ�ำสามารถลดภาวะ ความดันเลือดสูงและลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ดี ซึ่ง เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ยัง พบว่า คนที่ปั่นจักรยานประจ�ำช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรค อัลไซเมอร์ด้วยเพราะการปั่นช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ สมองที่ใช้บันทึกความจ�ำ ซึ่งมักเสื่อมลงหลังอายุ 30 ปี เป็นต้นไป ทั้งนี้มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจยังวิจัยพบว่า ผู้ปั่นจักรยานประจ�ำจะมีอายุยืนยาวกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

ปั่นลดใช้พลังงาน

ปั่นสนุก สร้างมิตร

การปั ่ น จั กรยานนั้ น เป็ น ที่ ย อมรั บ ว่ า ช่ ว ยลดปั ญ หา สิ่งแวดล้อม ยิ่งมีการใช้จักรยานมากเท่าไหร่ สัดส่วน การใช้รถยนต์ลดลง จะช่วยลดการผลิตปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศ อันเป็นสาเหตุของโลกร้อน หาก เดินทางไปท�ำงานด้วยจักรยานมากขึ้นก็จะลดการพึ่งพา น�้ำมันลง สิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้น แถมเป็นการเดินทางที่ ประหยัดเงิน หลายประเทศทั่วโลกได้ค้นพบว่าการท�ำที่ จอดรถยนต์สำ� หรับ 1 คัน สามารถจอดจักรยานได้มากกว่า 20 คัน การปัน่ จึงท�ำให้เกิดการใช้พนื้ ทีอ่ ย่างมีประโยชน์กบั คนจ�ำนวนมาก

ผู้ที่ปั่นจักรยานเป็นประจ�ำมักเป็นผู้มีบุคลิกที่มั่นใจใน ตัวเองมากขึ้น ด้วยรูปร่างและสุขภาพที่ดูดี ความมั่นใจ นี้ ส ่ ง ผลต่ อ การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ให้ รู ้ สึ ก ภาคภู มิ ใ จในตั ว เอง คนหนุม่ สาวทีม่ งี านอดิเรกเป็นนักปัน่ จักรยานมักท�ำงานได้ ดีมีประสิทธิภาพอย่างน่าทึ่ง นั่นเพราะเขาออกก�ำลังกาย เป็ น ประจ� ำ มี ความเครี ย ดน้ อ ย และมี อั ธ ยาศั ย ที่ ดี ซึ่ ง อาจเป็นผลมาจากการพบปะผู้คนในสังคมใหม่ๆ การปั่นจักรยานซึ่งมักมีการรวมกลุ่มเล็กๆ ไปจนถึง กลุ่มใหญ่ ช่วยสร้างชุมชนของคนรักสุขภาพกระจายไป ทั่วทุกเมืองและทุกประเทศ การปั่นจักรยานจึงไม่ใช่การ ออกก� ำ ลั ง กายที่ โ ดดเดี่ ย วแต่ มี โ อกาสจะพบเพื่ อ นใหม่ มีสังคมใหม่ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในวงการ อื่น อีกทั้งบางคนก้าวจากนักปั่นสมัครเล่นไปเป็นนักปั่น มืออาชีพ เข้าร่วมกิจกรรมแข่งจักรยานการกุศลต่างๆ ท�ำ ให้ชีวิตมีสีสันมากขึ้น

Life & Family 9


มือใหม่ เตรียมตัว ปั่นจักรยาน รู้จักประเภทของจักรยาน

การเลือกจักรยานที่เหมาะกับตัวเองและสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การปั่น คือด่านแรกของนักปั่นมือใหม่ โดย ปัจจุบันจักรยานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.จักรยานแบบใช้ตามบ้านทั่วไป (Bicycle Maid) เป็นแบบที่เราคุ้นตากันดี มีรูปแบบไม่ ซับซ้อน รูปร่างค่อนข้างเรียบง่าย มีตะกร้าใส่ของ เหมาะ ส�ำหรับการขี่เพื่อไปซื้อข้าวของ จ่ายตลาดหรือเดินทางไป มาภายในหมู่บ้าน และราคาไม่แพง 2. จักรยานแบบปั่นจริงจังหรือปั่นระยะ ไกล มีราคาสูงกว่าจักรยานแม่บ้าน มีความซับซ้อนของ การใช้งานโดยแยกย่อยออกไปเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 2.1 จักรยานเสือภูเขา (Mountain Bike) ใช้ขี่ ขึ้นเขาได้ ขี่บนถนนลูกรัง ในป่า เหมาะกับการท่องเที่ยว 2.1

ธรรมชาติที่ต้องลุยไปบนถนนขรุขระและการแข่งขัน 2.2 จักรยานเสือหมอบ (Road Bike) เน้นความเร็ว เป็นหลัก เหมาะกับถนนเรียบโล่ง ระยะทางไกล มีน�้ำหนัก เบา

2.3 จั ก รยานส� ำ หรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว (Touring Bike) ไม่เน้นความเร็วและความทนทานมากนัก แต่เน้น

การขับขี่ท่องเที่ยวที่สบายๆ ปั่นทางไกลได้ไม่เมื่อยล้า 2.4 จักรยานส�ำหรับคนเมือง (City Bike) เพื่อ การเดินทางไปท�ำงานระยะสั้นๆ เน้นรูปลักษณ์สวยงาม บางครั้งหรูหราแปลกใหม่ 2.5 จักรยานแบบพับได้ (Folding Bike) เพื่อการ พกพาโดยเฉพาะ เก็บใส่รถไว้เป็นเพือ่ นเดินทางส�ำหรับการ ท่องเที่ยวหรือไปท�ำงาน

2.2

2.3

Life & Family 10

2.4

2.5


เลือกขนาดให้เหมาะ

การขี่จักรยานที่ขนาดไม่เหมาะกับตัวอาจสร้างผลเสีย มากกว่าผลดี เพราะท�ำให้ขับขี่ไม่สบาย และบาดเจ็บได้ ง่าย ปกติจักรยานจะมีขนาดที่เรียกว่าเบอร์ ตั้งแต่ 16-25 นิ้ว ซึ่งเป็นการวัดความยาวของท่อนั่ง สูตรค�ำนวณส�ำหรับ จักรยานท่องเที่ยวทั่วไปคือ วัดความสูงจากพื้นขึ้นมาถึง สะโพกผู้ขี่ แล้วน�ำค่าไปลบออกด้วย 9 จะได้เป็นเบอร์ที่ เหมาะสม แต่หากเป็นจักรยานเสือภูเขาให้ลบออกด้วยเลข 11 จะได้ขนาดที่ขับขี่สบายพอดี

ตั้งงบ เลือกแบรนด์ รุ่นและสีที่ชอบ

การตัง้ งบประมาณเป็นเรือ่ งจ�ำเป็นมาก เพราะราคาของ จักรยานนั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสน ควรศึกษาข้อดีข้อเสีย สีสัน แฟชัน่ ที่ชอบของแต่ละแบรนด์ ก่อนจะตัดสินใจไปซื้อ ทั้งนี้ไม่ใช่แค่จักรยานเท่านั้น ควร เผื่องบไว้ส�ำหรับอุปกรณ์เสริมอีก เช่น หมวกกันน็อกเพื่อ ความปลอดภัย ไฟหน้าไฟท้ายซึ่งมักไม่ได้ติดไว้ให้ ถุงมือ ส�ำหรับกันลื่น กรณีปั่นระยะไกลอาจต้องสวมแว่นตากัน แดดและลม พร้อมชุดนักปั่นโดยเฉพาะซึ่งจะสบายตัว ระบายเหงือ่ ได้ดกี ว่าเสือ้ ผ้าทัว่ ไป และอย่าลืมกระเป๋าสะพาย ที่เอาไว้เก็บอุปกรณ์ส�ำคัญที่ต้องติดตัวในการปั่นด้วย

ประเมินก�ำลังการปั่นของตัวเอง

การปั่นจักรยานเป็นการออกก�ำลังกายทุกส่วน หาก ต้องการปั่นระยะไกลขอให้แน่ใจก่อนว่าร่างกายมีความ พร้อม กล้ามเนื้อได้รับการยืดหยุ่นและฝึกฝนเพียงพอ เพื่อที่จะไม่บาดเจ็บระหว่างทางหรือกลับมาเจ็บป่วย ระยะ แรกควรซ้อมปั่นให้คุ้นเคยกับจักรยานของตัวเอง ในการ บังคับทิศทาง การหยุดรถ การใช้งานเกียร์ต่างๆ ให้ คล่องแคล่วเสียก่อน จากนั้นจึงเริ่มปั่นระยะใกล้ๆ และ ค่อยๆ เพิ่มระยะทางไปทีละนิดจนมั่นใจว่าสามารถปั่นไป ได้ แ ค่ ไ หนจึ ง จะเหมาะสมกั บ สภาพร่ า งกาย และก่ อ น ส�ำรวจเส้นทางและจุดพัก ปั่นจักรยานควรวอร์มอัปและคูลดาวน์หลังปั่นด้วย การ ไม่ว่าจะปั่นเพื่อออกก�ำลังกาย ปั่นเพื่อการท่องเที่ยว ปั่นจึงจะให้ประโยชน์ที่แท้จริง หรือปั่นไปท�ำงานในเมืองแทนการนั่งรถสาธารณะ ก็ควร ศึกษาเส้นทางปั่นให้ดีเสียก่อน การปั่นที่ปลอดภัยนั้นควร ดูแลจักรยานถูกวิธี ปั่นในเลนจักรยานโดยเฉพาะ ไม่ให้เกิดความเสี่ยงจาก อย่าลืมศึกษาวิธีบ�ำรุงรักษาจักรยานแต่ละประเภทด้วย การเฉี่ยวชนของรถคันใหญ่ วัดระยะทางในการปั่นว่าเป็น เพื่อยืดอายุการใช้งานจักรยาน และให้เกิดความปลอดภัย กี่กิโลเมตร มีจุดจอดจักรยานระหว่างทางและปลายทาง ที่สุดในการขับขี่ ก่อนน�ำออกไปขี่ควรตรวจเช็กระบบเกียร์ หรือไม่ พร้อมเตรียมอุปกรณ์ล็อกรถเพื่อความปลอดภัย ยางลม ความหล่อลื่นของโซ่ เป็นต้น ให้เรียบร้อยพร้อม ในการจอดไว้ด้วย ใช้งานเสมอ

สัญญาณมือเรื่องส�ำคัญ

ควรศึกษาการให้สัญญาณมือส�ำหรับนักปั่นเอาไว้ด้วย เพื่อใช้สื่อสารขณะอยู่บนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการบอก ทิศทางว่าต้องการเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาหรือตรงไหน การขอ ให้ชะลอความเร็ว หรือหยุด การปล่อยให้แซงหรือขอทาง การเตือนภัยเกี่ยวกับหลุมหรือพื้นอันตราย เป็นต้น

เลี้ยวซ้าย

Life & Family 11

เลี้ยวขวา

หยุด


ผู้หญิงปั่นจักรยาน ได้อะไรมากกว่าที่คิด

ในสมัยก่อนผู้หญิงส่วนใหญ่มักกลัวการขี่จักรยาน ด้วยเชื่อว่าเป็นกีฬาของผู้ชาย หากผู้หญิงปั่นจะท�ำให้ขาใหญ่ น่องโตและมีกล้ามเป็นมัด แลดูไม่สวยงาม แต่จริงๆ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการปั่นจักรยานช่วยให้กล้ามเนื้อยิ่งแข็งแรง และกระชับขึ้น ท�ำให้ไขมันลดลง กล้ามเนื้อจึงมีความตึง หากปั่นให้พอดีไม่หักโหมเกินไป รวมถึงการเลือกจักรยานที่พอดีกับขนาดตัว กลับยิ่งท�ำให้ขาเพรียวสวยขึ้นได้ด้วย 7 ข้อดีเมื่อผู้หญิงปั่นจักรยาน

• ปั่นแล้วหัวใจแข็งแรงขึ้น ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยให้ความดันเลือดปกติและเลือด ไปเลีย้ งหัวใจได้เต็มที่ ช่วยให้หวั ใจแข็งแรง กล้ามเนือ้ หัวใจ ท�ำงานได้ดี • ปั่นจักรยานแล้วผิวสวยขึ้น เพราะการ ปั่นช่วยการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ท�ำให้ผิวหนังเต่งตึง กระชับและสดชื่น • ดูปราดเปรียวขึ้น เพราะระบบหายใจดีขึ้น ปอดแข็งแรง ดูกระฉับกระเฉงว่องไว • ท�ำงานได้ดีขึ้น เพราะช่วยลดอาการปวดหัว ไมเกรน ลดความเครียดจากการท�ำงาน ปัญหาส่วนตัว หรือ ความหงุดหงิดเล็กๆ น้อยๆ สามารถคลายได้ด้วยการปั่น จักรยานเพียง 30 นาที • รูปร่างดีขึ้น เพราะช่วยลดไขมันส่วนเกิน จาก การเผาผลาญแคลอรีได้ถึง 3,000 แคลอรีใน 1 เดือนจาก การปั่นเพียงวันละ 20 นาทีเท่านั้น ช่วยท�ำให้รูปร่างกระชับ ได้สัดส่วนเพราะการปั่นจักรยานต้องใช้ร่างกายทุกส่วน แขนขามีความกระชับ ขนาดหน้าท้องและเอวลดลง • ร่างกายแข็งแรงขึ้น หลังปั่นจักรยานสักระยะ หนึ่งจะพบว่าตัวเองมีเรี่ยวแรงก�ำลังวังชา ไม่เหนื่อยง่าย • อารมณ์ดีขึ้น ลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าและมี พลังงานทีด่ ี เพราะการปัน่ จักรยานจะช่วยให้สมองหลัง่ สาร โดปามีนที่เชื่อมโยงกับพลังงานในร่างกาย ต่อสู้กับความ เหนื่อยล้าทั้งใจและกายได้เป็นอย่างดี

Life & Family 12


เกร็ดน่ารู้ของนักปั่น

• ปัน่ จักรยานให้ปลอดภัยควรสวมใส่หมวกกันน็อกทุก ครัง้ ในสหรัฐอเมริกามีนกั ปัน่ ทีบ่ าดเจ็บทีศ่ รี ษะจากอุบตั เิ หตุ มากถึง 6,000 รายต่อปี ร้อยละ 2 เสียชีวิต แต่ร้อยละ 90 ของนักปั่นปลอดภัยหลังประสบอุบัติเหตุเพราะสวมหมวก กันน็อก วัยทีบ่ าดเจ็บมากทีส่ ดุ คือ 5-14 ปี สถิตชิ ายมากกว่า หญิง อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในเขตเมือง • เสื้อผ้าสวมสบายเป็นหัวใจส�ำคัญอย่างหนึ่งของการ ปั่นจักรยาน เสื้อผ้าไม่พอดีและระบายอากาศไม่ดีท�ำให้ นักปั่นหน้ามืดเป็นลมหรือประสบอุบัติเหตุได้ • ไม่ควรใส่เสื้อที่มีตะเข็บ เพราะเกิดการเสียดสีผิว หนังจนระคายเคืองได้ • อย่าลืมติดตั้งไฟให้จักรยานเมื่อต้องปั่นในเวลาเย็น พลบค�่ำและกลางคืน ไฟท้ายควรเป็นไฟกะพริบสีแดง ด้าน หน้าเป็นไฟส่องสว่างสีขาวมองเห็นทีม่ ดื ได้ชดั เจน อุบตั เิ หตุ มักเกิดมากที่สุดเวลาบ่าย 3 ถึง 6 โมงเย็น แต่อุบัติเหตุที่ ถึงแก่ชีวิตมักเกิดจากการขี่ในที่มืด • ผู้ขับขี่ต้องไม่ลืมสวมเสื้อสีสว่างหรือชุดที่มีแถบ สะท้อนแสงเสมอ เมื่อปั่นในเวลากลางคืน • สังเกตสิ่งรอบข้างเสมอในการปั่น ทั้งรถคันอื่นๆ ที่ ใช้ถนนร่วมกัน คนข้ามถนน สัตว์ ถนนที่ขรุขระและเลือก ปั่นในที่ปลอดภัยที่สุด • การเบรกกะทันหันมักท�ำให้เสียการทรงตัว ค่อยๆ ชะลอเมื่อต้องการหยุดแล้วเบรกพร้อมกันทั้งหน้าและหลัง รถจะเสียหลักได้ยากขึ้น • ไม่ควรปล่อยมือขณะขี่จักรยาน อุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดจากการรับโทรศัพท์ขณะขี่ ท�ำให้เสียการทรงตัว • เลือกจักรยานที่มีขนาดเหมาะกับตัว จะท�ำให้ปั่น ได้นานโดยไม่เมื่อย และกล้ามเนื้อไม่ผิดรูป • หากต้องปั่นลงเขา ให้ใช้ขาปั่นไปด้วย ไม่ปล่อย ให้รถไหลลงเอง เพราะก�ำลังขาที่ปั่นแล้วหยุดกะทันหัน จะท�ำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ (ข้อมูลสถิติจาก Cycling Accidents Facts & Figures August 2014 (www.rospa.com) เตรียมตัวให้พร้อม แล้วมาสัมผัสประสบการณ์ ‘ปัน่ ’ สัก ครั้ง รับรองว่าคุณและครอบครัวจะติดใจค่ะ Life & Family 13

Application แผนที่ปั่นเมือง คู่หูนักปั่นจักรยานกรุงเทพ แอปพลิเคชั่นทันสมัยเอาใจนักปั่นโดยเฉพาะ ที่ชื่อ NOSTRA Map โดยการจัดท�ำของ โกลบเทค มูลนิธิโลกสีเขียว สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และ สสส. ร่วมกันจัดท�ำแผนที่เส้นทาง ส�ำหรับนักปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในชื่อโครงการว่า แผนที่ปั่นเมือง : คู่มือเส้นทางจักรยานกรุงเทพมหานคร หรือ Bangkok Bike Map โดยใช้งานง่ายๆ ผ่านสมาร์ตโฟนทั้งในระบบ Android และ iOs เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://map.nostramap.com

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ แห่งประเทศไทย เป็นชมรมที่ไม่เพียงชักชวนให้คนปั่นจักรยานเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมข่าวสารการปั่นจักรยานทั่วไทย การส�ำรวจความเห็นน่าสนใจ ข้อมูลความปลอดภัยในการปั่น และน�ำเสนอบทความน่าอ่านมากมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยจักรยาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นักปั่นและผู้สนใจสามารถเข้าไปรับชม สื่อน่าสนใจของชมรม หรือสมัครเป็นสมาชิกเว็บบอร์ด เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมติดตาม นโยบายส�ำคัญๆ ของหน่วยงานรัฐ ที่มีต่อการพัฒนาสวัสดิการแก่นักปั่นได้อย่างเข้มข้น ได้ที่ www.thaicyclingclub.org


เส้นทางปั่นเลียบเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ส� ำ หรั บ ฝั ่ ง ธนบุ รี ก็ มี เ ส้ น ทางขี่ จั กรยานเช่ น กั น อยู ่ บริเวณชุมชนกุฎีจีน ซึ่งเป็นชุมชนเก่า มีชาวจีน โปรตุเกส และไทยอิสลามอาศัยรวมกัน เส้นทางนี้เริ่มต้นที่ใต้สะพานพุทธฝั่งธนบุรี ปั่นเลียบ แม่ น�้ ำ เจ้ า พระยา ผ่ า นโบสถ์ ซ างตาครู ส ศาลเจ้ า แม่

กวนอิม ทะลุออกมาได้ยังถนนอรุณอมรินทร์ เลี้ยวขวาไป ยังวัดอรุณราชวราราม เส้นทางรวม 2 กิโลเมตร เป็นเส้นทางสั้นๆ ปั่นสบายๆ ได้เป็นอย่างดี

ปั่นจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์ กรุ ง เทพมหานครได้ เ ปิ ด เลนจั ก รยานรอบเกาะ รัตนโกสินทร์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมา โดยมีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร เริ่ ม ต้ น จากลานคนเมื อ งหรื อ ศาลาว่ า การกรุ ง เทพ มหานครเลี้ยวซ้ายออกถนนราชด�ำเนินกลาง มาจรดสี่ แยกคอกวัว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนตะนาว เลี้ยวขวาเข้า ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชินี และถนน พระอาทิตย์ สิ้นสุดที่สวนสันติชัยปราการ เส้นทางนี้จะพานักปั่นผ่านสถานที่ส�ำคัญๆ มากมาย กลางกรุง มีร้านอาหารและของกินชื่อดังตลอดเส้นทาง Life & Family 14


เส้นทางปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ

เส้นทางปั่นย่านชุมชนสามแพร่ง ชุ ม ชนสามแพร่ ง เป็ น ชุ ม ชนเก่ า แก่ ได้ แ ก่ แพร่ ง สรรพศาสตร์ แพร่งนราและแพร่งภูธร ซึ่งมีถนนเล็กๆ เชื่อมต่อกันหมด ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือนแบบ สมัยเก่าโบราณที่สวยงามและควรค่าแก่การอนุรักษ์ สอง ข้างทางเต็มไปด้วยอาหารอร่อยๆ จุดเริ่มต้นอยู่ท่ีศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ตัดเข้า ถนนมหรรณพ ทะลุมายังศาลเจ้าพ่อเสือ เลี้ยวซ้ายไปตาม ถนนตะนาวเพื่อเข้าสู่ย่านสามแพร่ง ไปต่อยังคลอดหลอด สิ้นสุดที่พิพิธภัณฑ์สยาม รวมระยะทางแล้ว 3 กิโลเมตร ตลอดทางจะพบสถานทีป่ ระวัตศิ าสตร์มากมายทีค่ วรค่า แก่การศึกษา แต่เส้นทางขี่จักรยานอาจเล็กและคับคั่งด้วย ผู้คนจึงควรขี่อย่างระมัดระวัง เส้นทางเลนเขียวรอบสนามบินสุวรรณภูมิ เส้ น ทางเปิ ด ใหม่ ล ่ า สุ ด ของกรุ ง เทพฯ มี ความยาว 23.5 กิ โ ลเมตร เลนเขี ย วแห่ ง นี้ ถื อ เป็ น เส้ น ทางที่ มี มาตรฐานและความปลอดภัยสูง ถนนเป็นพื้นสีเขียวฉาบ ด้วยยางพาราลดความลื่น เลนกว้างขวางสามารถขับ แซงกันได้ โดยเส้นทางวิ่งวนตามเข็มนาฬิกา ตลอดทาง

มี เ จ้ า หน้ า ที่ ค อยให้ ความช่ ว ยเหลื อ และป้ า ยบอกระยะ ทางเป็นระยะ การเข้าไปปั่นต้องแลกบัตรเพื่อตรวจเช็ก ผู้ใช้บริการได้ ระหว่างทางเต็มไปด้วยวิวทิวทัศน์สวยงาม มีสนามหญ้าล�ำน�ำ้ ดูสบายตา และมีทจี่ อดรถได้สะดวกสบาย

Life & Family 15


เส้นทางปั่นนอกเขตปริมณฑล 3. เส้นทางปั่นอัมพวา หากชื่นชอบการปั่นเลียบคลอง เส้นทางปั่นในอัมพวา ลุ่มแม่นำ�้ แม่กลองเหมาะมากที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว พัก ผ่อน จุดเริ่มต้นเส้นทางปั่นที่วัดอัมพวันเจติยาราม ไปถึง อาสนวิหารแม่พระบังเกิด จากนั้นข้ามฝั่งแม่น�้ำไปจะพบ กับวัดย่างกุ้ง วัดบางแคน้อย เลาะเลียบแม่น�้ำและข้าม มาจะพบจุดเริ่มต้น ซึ่งแต่ละจุดจะมีระยะทางห่างไกลกัน สลับกับบ้านเรือนชุมชนริมแม่น้�ำที่สวยงาม ผ่านโครงการ อัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ซึ่งด�ำเนินชีวิตแบบเกษตรด้วย การท�ำน�้ำตาลมะพร้าว รวมระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร

1. เส้นทางปัน่ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยานั้นเป็นเมืองมรดกโลก การปั่น จักรยานชมเมืองเป็นการเดินทางที่เหมาะสมมากเพราะ ท�ำให้ได้ชื่นชมอุทยานประวัติศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างสะดวก เส้นทางการปั่นเริ่มต้นที่บริเวณบึงพระราม ตรงไปยัง วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ปั่นย้อนมายังวัดพระศรีสรรเพชญ์ ข้ามคลองไปชมวัดโลกยสุธารามต่อ แต่หากปัน่ ออกถนนอู่ทองเลียบแม่น�้ำจะไปพบกับวัดไชยวัฒนาราม รวมระยะทางแล้ว 9 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่คุ้มค่า 4. เส้นทางปั่นชมทะเลปราณบุรี อย่างมาก หากอยากได้ บ รรยากาศแบบหาดทรายที่ ส วยงาม ทางเลื อ กที่ ดี คื อ เส้ น ทางปั ่ น ชมหาดปราณบุ รี จั ง หวั ด 2. เส้นทางปั่นในจังหวัดสุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ สุโขทัยเหมาะกับการปั่นจักรยานท่องเที่ยวเช่นกัน มีจุดเริ่มต้นที่หาดปราณบุรี ถัดจากชุมชนน�้ำปราณ เพราะมีโบราณสถานกว่า 200 แห่ง ให้ชื่นชมและศึกษา เลียบไปเจอหาดนเรศวร (หาดเขากะโหลก) ทะลุไปยังถนน โดยเส้นทางเริ่มต้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตรง ใหญ่ซึ่งเชื่อมไปถึงหาดสามร้อยยอดได้ด้วย ระยะทางรวม ข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปั่นไปรอบโบราณสถาน แล้ว 15 กิโลเมตรที่จะพบกับหาดทรายอันสงบ สวยงาม กลางเมือง สามารถทะลุถนนใหญ่ไปยังวัดศรีชุม วัดพาย ทอดยาวไปพร้อมทิวสนตลอดทาง หลวง และวนกลับมายังจุดเริ่มต้นได้ง่ายดาย รวมระยะ ทาง 10 กิโลเมตร ซึ่งจะผ่านวัดส�ำคัญๆ เช่น วัดมหาธาตุ ที่อยู่กลางเมืองสุโขทัย เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ วัด ศรีสวาย วัดสระศรี วัดศรีชุม และวัดพระพายหลวง ซึ่ง ล้วนแต่เป็นวัดส�ำคัญทีม่ สี ถาปัตยกรรมสวยงามประดิษฐาน อยู่ภายใน

Life & Family 16


และจังหวัดใกล้ๆ 5.เส้นทางปั่นชมน�้ำตกที่นครนายก จังหวัดนครนายกอยู่ใกล้กรุงเทพฯ สามารถปัน่ จักรยาน ไปได้โดยตามเส้นทางธรรมชาติ ซึง่ จะผ่านสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว ส�ำคัญ ได้แก่ น�้ำตกวังตะไคร้ น�้ำตกสาริกา น�้ำตกนางรอง อุทยานพระพิฆเนศ เขื่อนขุนด่านปราการชล ตลอดทาง พบกับเรือนที่พักแบบโฮมสเตย์ที่ค่อนข้างสวยงาม 6.เส้นทางปั่นจักรยานชมธรรมชาติ ที่สระบุรี จังหวัดสระบุรีมีเส้นทางที่เป็นที่นิยมของนักปั่น คือ เส้นทางมวกเหล็ก ซึ่งเริ่มต้นที่สถานีมวกเหล็ก ขับไปยัง อุโมงค์ต้นไม้ที่มีความสวยงามและมหัศจรรย์ มุ่งไปยัง น�้ำตกเจ็ดสาวน้อย ซึ่งมีความร่มรื่น ชุ่มเย็น อากาศ บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยต้นไม้นานาพรรณ และมีที่พักส�ำหรับ นักท่องเที่ยวหลายแห่งตลอดเส้นทาง 7. เส้นทางปั่นกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรีขึ้นชื่อเกี่ย วกับสถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ หากเลือกการปั่นจักรยานจะช่วยเพิ่มอรรถรส ในการเยีย่ มชมสถานทีส่ ำ� คัญมากขึน้ โดยเริม่ ต้นได้ทสี่ ถานี รถไฟกาญจนบุรี หรือสถานีรถไฟแควใหญ่ จากนั้นปั่นชม สะพานข้ามแม่น�้ำแคว ไปยังสุสานทหารสัมพันธมิตรดอน รัก แล้วแวะกินอาหารอร่อยๆ ระหว่างทางได้ แต่หาก ต้องการปัน่ ต่อ สามารถไปยังน�ำ้ ตกไทรโยคน้อยได้ดว้ ย

Life & Family 17


HOME & LIFESTYLE Our Home เรื่อง เอกเขนก

ชอล์กคู่บ้าน ขจัดคราบไคล

ส�ำหรับเสื้อเชิ้ตของคุณผู้ชายมักมีคราบไคลอยู่ที่คอ เสื้อ ซึ่งเป็นคราบเหลืองที่ขจัดยากมาก เพราะบางครั้งลง เครื่องซักผ้าเฉยๆ ก็เอาไม่ออก ต้องเอามาขยี้ด้วยมือให้ วุน่ วาย ขอแนะน�ำให้คุณลองใช้ชอล์กมาถูตรงช่วงคอเสื้อ ให้ทั่ว ผงชอล์กจะดูดซึมคราบมันท�ำให้ขยี้คราบเหลืองๆ นี้ออกได้ง่ายขึ้นค่ะ

ซ่อนรอยแตก

หากมีรอยสีกะเทาะตามก�ำแพงหรือผนังบ้านแล้วท�ำให้ ดูไม่สวยงามแล้วล่ะก็ ชอล์กช่วยคุณได้ค่ะ เพียงเอาชอล์ก สีเดียวกับก�ำแพงมาฝนตรงรอยแตก ผงชอล์กจะเข้าไปอัด แทนที่ช่องว่างท�ำให้ก�ำแพงกลับมาเรียบเนียนเหมือนเดิม ป้องกันสนิม ส�ำหรับวิธีนี้เหมาะกับรอยที่ไม่ลึกมาก แต่หากเป็นรอย ใครมีปัญหาเครื่องเงินที่บ้านขึ้นสนิมบ้างไหมคะ ไม่ กะเทาะใหญ่แล้วล่ะก็ แนะน�ำให้ทาสีใหม่ค่ะ ว่าจะจานชาน ช้อนส้อม ถาดต่างๆ แม้เก็บเข้าตู้อย่างดี แต่นานไปเจ้าสนิมก็ถามหาได้ ให้เอาชอล์กห่อด้วยผ้าขาว บางแล้วไปใส่ไว้ในตู้เก็บเครื่องเงินด้วยซิคะ ชอล์กจะช่วย ดูดความชื้นท�ำให้ช่วยป้องกันสนิมได้

Life & Family 18


ส่วนใหญ่เราจะรู้จักชอล์กว่าอยู่คู่กับกระดานด�ำ แล้วที่อยู่ประจ�ำก็คือโรงเรียนเท่านั้น แต่รู้ไหมคะว่านอกจากจะเป็นอุปกรณ์สำ� คัญของคุณครูแล้ว ชอล์กยังเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ทำ� ให้การดูแลบ้านของคุณง่ายขึ้นด้วย เจ้าแท่งเล็กๆ นี้จะท�ำอะไรได้บ้าง...มาดูกันค่ะ

จับถนัดมือ เวลาที่จะซ่อมหรือใช้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ด้วยอากาศร้อนๆ ของบ้านเราท�ำให้มือมันหรือมีเหงื่อออก จะจับเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไขควง ฆ้อน ตะปู ก็อาจลื่นหลุดมือได้ ลองอาจเอาชอล์กถูตรงด้ามจับ ก็จะช่วยกันลื่นได้ดีทีเดียวค่ะ

กันมด หากคุณมีปัญหามดมักเดินทัพเข้ามาขึ้นที่โต๊ะอาหาร หรือตู้กับข้าวในบ้านแล้ว วิธีป้องกันแบบง่ายๆ ก็คือ ให้ เอาชอล์กไปขีดที่ขาโต๊ะหรือตู้หรือตรงจุดที่เราไม่อยาก ให้เข้าไป เพราะชอล์กมีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตที่มดไม่ชอบ ท�ำให้เจ้ามดน้อยล่าทัพไปได้ค่ะ เทคนิคจากชอล์กแท่งเล็กๆ นี้ นอกจากช่วยให้คุณ จัดการเรื่องในบ้านได้ง่ายขึ้นแล้วยังเป็นผู้ช่วยที่มีราคา ไม่แพงอีกด้วยค่ะ Life & Family 19


HOME & LIFESTYLE Inspire corner เรื่อง จินตนา เวสเซลลิ่ง

Bicycle Bag ส�ำหรับตัวฉันเองพอย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ใช้จักรยาน มากที่สุดในโลก จักรยานถือเป็นยานพาหนะที่ขาดไม่ได้ เลยรู้สึกชินกับการใช้จักรยาน แทบทุกวันตามคนทีน่ ไี่ ปด้วย ไม่เว้นแม้แต่วนั ฝนตกแดดออกหรือหิมะตก จึงเกิดไอเดียการ ท�ำของใช้น่ารักๆ ที่เกี่ยวกับจักรยานอย่าง กระเป๋าจักรยาน คิดว่าคงไม่ยากเกินไปนะคะ อุปกรณ์

• ผ้าคอตตั้นเนื้อหนา 3 ชิ้น เลือกลายตามชอบ • กระดุมส�ำหรับตกแต่ง • กระดุมปิ๊กแป๊ก • ริบบิ้นผ้าหรือแถบผ้ากุ๊นส�ำเร็จ แล้วมาเย็บขอบติดกันทีหลังแบบตัวอย่างก็ได้นะคะ • กรรไกร, เข็มหมุด, ชอล์กเขียนผ้า, สายวัด

Life & Family 20


1

2

3

4

5

6

7

8

9

วิธีท�ำ : 1.ตัดผ้าคอตตั้น 2 ลาย ลายละ 2 เย็บริมทุกด้านของผ้า ยกเว้นด้านบน ชิน้ ลายแรก (สีนำ�้ เงิน) ไว้ทำ� ตัว Body ด้านนอก ส่วนอีกลาย (สีแดง) ไว้เป็น ผ้าซับใน ขนาด 22 x 20 ซม. เว้น เนื้อที่ตะเข็บไว้ 1 ซม. 2.ตรงส่วนมุมล่างของผ้าแต่ละชิ้น ให้วัดและตัดเข้ามา 2 x 2 ซม. 3.ตัดผ้าจ�ำนวนสองชิ้น ขนาด 11 x 22 ซม. ส� ำ หรั บ ไว้ ท� ำ ส่ ว นฝาปิ ด กระเป๋า เว้นเนื้อที่ตะเข็บไว้ 1 ซม. เช่นกัน 4.น�ำริบบิ้นผ้าหรือผ้ากุ๊นที่เย็บขอบ ติดกันแล้วขนาด 20 ซม. มาพับครึ่ง (ต้องใช้ทั้งหมด 3 เส้น) 5. น�ำริบบิ้นชิ้นแรกที่พับครึ่งแล้ว มาสอดเข้าตรงริมด้านข้างระหว่างผ้า ที่ใช้ท�ำตัว Body ด้านนอก โดยหัน ด้านถูกเข้าด้วยกัน และให้ปลายริบบิน้ อยู่ด้านใน (ดูรูปประกอบ) ยึดผ้าทั้ง สองชิ้นเข้าด้วยกันด้วยเข็มหมุด และ

ที่จะเป็นส่วนปากกระเป๋า และตรงมุม ด้านล่างสองมุมทีต่ ดั ออกไป (ผ้าซับใน ก็ท�ำแบบเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ ไม่ต้องมีริบบิ้น แต่แค่ประกบกันและ ลงมือเย็บได้เลยค่ะ) 6. ใช้เตารีดรีดตรงส่วนตะเข็บให้ เรี ย บก่ อ น จากนั้ น จั บ จี บ ตรงมุ ม ที่ ตัดออก แล้วเย็บมุมเว้นเนื้อที่ตะเข็บ เข้ามา 1 ซม. 7.เย็บเสร็จพอกลับด้านผ้า เราจะ ได้ ตั ว กระเป๋ า ด้ า นนอกและด้ า นใน ออกมา หน้าตาดังรูป 8.ส่วนของฝากระเป๋า ให้หันด้าน ถูกประกบกัน จากนั้นใช้วิธีเย็บปกติ แต่เผื่อช่องไว้กลับผ้าหลังเย็บนะคะ 9.ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนเอาส่วนประกอบ ทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกัน โดย ให้ตัว Body อยู่ชั้นนอกสุด (หันด้าน ผิดเข้าข้างใน) ตามด้วยริบบิ้นอีกสอง Life & Family 21

10 เส้นที่เหลือ (วางต�ำแหน่งให้ห่างริม ด้านข้างด้านละ 4 ซม.) ตามมาด้วย ส่วนของฝากระเป๋า และชั้นในสุดจะ เป็นส่วนของผ้าซับ (ดูรูปประกอบ) 10.ยึดชิ้นส่วนทั้งหมดเข้าด้วยกัน ด้วยเข็มหมุด จากนัน้ ก็ลงมือเย็บ และ อย่าลืมเว้นช่องไว้ส�ำหรับกลับผ้าหลัง เย็บเสร็จด้วยนะคะ พอกลับผ้าเรียบร้อย น�ำไปรีดด้วยไฟอ่อน แล้วเย็บริมซ�้ำ เพื่ อ ความเรี ย บร้ อ ยและติ ด กระดุ ม เราก็จะได้กระเป๋าจักรยานน่ารักๆ มา ใช้หนึ่งใบแล้วค่ะ เวลาน�ำไปใช้ก็แค่ เอาริบบิ้นผูกติดกับจักรยาน น่ารักดี ไหมคะ


HOME & LIFESTYLE Relax Zone เรื่อง ธันวา

Maya...มนตราภารตะ หากคุณเป็นอีกคนที่ชอบอาหารรสชาติอร่อย พร้อม ดืม่ ด�ำ่ วิวสวยของกรุงเทพฯ ยามค�ำ ่ เชือ่ ว่าถ้าคุณได้มาสัมผัส ประสบการณ์ของ Modern Indian ที่ห้องอาหารมายา โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพ สุขุมวิท รับรองว่าจะหลง เสน่ห์กับทั้งบรรยากาศห้องอาหารลอยฟ้า และอาหาร อินเดียรสชาติละมุนถูกปากอย่างแน่นอนค่ะ เชฟฮาร์ดิป บาเทีย หัวหน้าเชฟของห้องอาหารมายา ที่คร�่ำหวอดอยู่ในวงการอาหารอินเดียมายาวนาน บอก กับเราว่า ห้องอาหารมายาใช้ต�ำรับอาหารจากอินเดียตอน เหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซียและราชวงศ์ชั้นสูง ของอินเดีย ส่วนผสมต่างๆ ในเมนูคัดสรรอย่างดี เน้น เครือ่ งเทศกลิน่ หอมกรุน่ และการปรุงอย่างละเมียดละไม จึง ถูกจัดเป็น Luxury Cuisine ที่น่าหาโอกาสลิ้มลองสักครั้ง เริ่มด้วยสองจานแรกที่เป็น Starter เรียกน�้ำย่อยค่ะ Murgh Gilafi Seekh Kebab เนือ้ ไก่สบั หมักกับเครือ่ งเทศ และผักชีหอ่ ด้วยพริกหยวกเสียบไม้แล้วย่างในเตาทันดูร์ (เตา อบสไตล์อนิ เดีย) จานนีน้ อกจากเนือ้ ไก่สบั จะนุม่ แล้วยังหอม ชวนกินจากกลิน่ เครือ่ งเทศและพริกหยวก ต่อด้วยจานทีส่ อง Barra Chaamp เนื้อแกะออสเตรเลียหมักกับเครื่องเทศ อบเชยและน�้ำส้มสายชูย่างหอมกรุ่น ถูกใจคนชอบกินเนื้อ แกะค่ะ ส�ำหรับ Main Dish เป็นแกงค่ะ Seabass Moilee แกง เนื้อปลากะพงขาวทอด เนื้อปลาสดใหม่หอมกระทิและ

เครื่องแกง จานนี้กินคู่กับ Nan ขนมปังอบสไตล์อินเดียที่ มีหลายแบบให้เหลือชิม รับรองว่าจะติดใจ นอกจากอาหารจะรสชาติดีแล้วที่ห้องอาหารมายายัง มีเครื่องดื่มอร่อยๆ ช่วยให้ชุ่มคอด้วยค่ะ ม็อกเทลสองแก้ว สองรสชาติที่แวะมาแล้วไม่น่าพลาดก็คือ Apple Pomegranate Colada น�้ำแอปเปิ้ล ทับทิมและน�้ำมะพร้าวปั่น ได้รสหวานอมเปรี้ยวก�ำลังลงตัวทีเดียว และ Mango Lassi น�้ ำ มะม่ ว งปั ่ น กั บ โยเกิ ร ์ ต โรยหน้ า ด้ ว ยถั่ ว พิ ส ตาชิ โ อบด แก้วนี้หอมหวานดื่มแล้วชื่นใจค่ะ หากใครที่ อ ยากไปกิ น อาหารอิ น เดี ย รสชาติ ดั้ ง เดิ ม สไตล์ โมเดิร์น ในบรรยากาศหรูหรากับวิวของกรุงเทพฯ ยามค�่ำคืน ว่าแต่จะหลงเสน่ห์ต้องมนต์หรือไม่ คงต้องลอง แวะมาสัมผัส “มายา” ด้วยตัวเองดูค่ะ

Info : ห้องอาหารและบาร์ มายา

ที่ตั้ง : ชั้น 29 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพ สุขุมวิท เลขที่ 1 สุขุมวิท 22 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (บีทีเอสสถานีพร้อมพงษ์ทางออกที่ 6) เวลาเปิดบริการ : จันทร์-เสาร์ 17.00-01.00 น. อาทิตย์ 11.30-15.00 น. (ซันเดย์บรันช์) 17.00-01.00 น. โทรศัพท์ : 0 2683 4888 e-mail : info.bkkhi@ihg.com

Life & Family 22


สัญญาณโรคร าย คุณผูช าย ที่ ไม ควรมองข าม

การดู แ ลสุ ข ภาพของคนในครอบครั ว นั้ น สํ า คั ญ โดยส วนใหญ คณ ุ พ อคุณแม หลายคนก็จะสนใจเรือ่ งสุขภาพ ลูกเป นหลัก เนื่องด วยภูมิคุ มกันของลูกเล็กยังไม แข็งแรง ทําให ป วยไข ได ง าย ซึ่งการเจ็บป วยของลูกน อยในแต ละครั้ง ย อมนํามาซึง่ ความกังวลใจของคุณพ อคุณแม แต จริงๆ แล ว คนเป นพ อแม เองก็อย าลืมที่จะต องดูแลสุขภาพตัวเองด วย นะคะ โดยเฉพาะคุณพ อที่ถือเป นเสาหลักของครอบครัว ก็ต องไม หลงลืมในการเช็กสุขภาพของตัวเอง ซึ่งผู ชายมีแนวโน มของการดื่มแอลกอฮอล และสูบบุหรี่มากกว า ผู หญิง ในขณะเดียวกันผู ชายในวัยก อนอายุ 40 ป กลับเข ารับบริการทาง การแพทย น อยกว าผู หญิง โดยจะมาพบแพทย ก็เมื่อมีอาการของโรค ซึ่ง บางครัง้ อาจเลยระยะเริม่ ต นแล ว ฉะนัน้ การรูจ กั สังเกตสัญญาณร างกายตัว หรือพฤติกรรมของคุณผู ชาย ก็จะช วยให ได รับการดูแลอย างทันท วงที

1. เจ็บหน าอก

ผู ชายส วนใหญ คิดว าการเจ็บหน าอก มาจากสาเหตุเพราะลมขึ้น หรืออาหารไม ย อย แต นั่นอาจเป นสาเหตุเบื้องต นของภาวะหัวใจวาย เฉียบพลันได ด วย ฉะนั้นหากรู สึกแน นหรือเจ็บบริเวณหน าอก หายใจสั้น หอบเหนื่อย ควรรีบพบแพทย ทันที

2. อ วนลงพุง

ไม ใช แค ความอ วนธรรมดา แต เป นภาวะของการมีไขมันสะสมบริเวณ ช วงเอวหรือช องท องปริมาณมาก ถือเป นกลุ มเสี่ยงต อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

3. อวัยวะเพศไม ตื่นตัว

อาการของการหย อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ Erectile Dysfunction (ED) ถือเป นหนึ่งในอาการที่อาจมีสาเหตุจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากจะไปทําให มีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน อยลง

2562 โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง

คุณรู หรือไม

ในป

คาดการณ ว า และ กลุ ม เบาหวาน จะเป นสาเหตุการเสียชีวิตของผู ชายไทย

4. ป สสาวะบ อย

ถือเป นสัญญาณของการเป นโรคต อมลูกหมากโตหรืออักเสบ โดยจะ ทําให เกิดความผิดปกติของการถ ายป สสาวะ เช น ป สสาวะบ อย อัน้ ป สสาวะ ไม ได หรือต องใช เวลาเบ งป สสาวะนานกว าปกติ ป สสาวะลําเล็กลงไม ค อย พุ ง ต องตื่นกลางดึกเพื่อมาป สสาวะ เป นต น หากมีอาการเช นนี้ควรรีบไป พบแพทย โดยด วน

5. ไอเรื้อรัง

หากคุณมีอาการเรื้อรัง หรือหลอดลมอักเสบ โดยเป นๆ หายๆ เป น เวลานาน บวกกับมีอาการปวดหน าอก รวมไปถึงไหล และแขน เป นหนึง่ ใน อาการของมะเร็งปอด ซึง่ ควรจะไปพบแพทย เพือ่ ทําการตรวจวินจิ ฉัยอย าง แน ชัดอีกที เพื่อการดูแลรักษาได ทันท วงที

6. ท องอืด จุกเสียด ท องผูก ปวดท อง

อาการธรรมดาๆ ที่ดูเหมือนไม เป นพิษเป นภัย แต หากเป นบ อยๆ อาการปวดท องนั้นลุกลามไปถึงชายโครง ไหล หรือลําตัวด านขวา ร วมกับ มีอาการเบื่ออาหาร เป นสัญญาณของมะเร็งตับที่ทําให ต องสังเกตตัวเอง เพิ่มเติม ลองคลําช วงท องบริเวณชายโครง หรือลิ้นป ว าพบก อนเนื้อแปลก ปลอมไหม แล วควรไปตรวจอย างละเอียดกับแพทย อีกด วย ดังนัน้ คุณพ อๆ ทัง้ หลายควรดูแลสุขภาพตัวเอง มีการไปตรวจสุขภาพ ประจําป อย างน อยป ละ 1 ครัง้ หรือบางคนเลือกทีจ่ ะหาตัวช วยทีจ่ ะมาดูแลคุณ ยามเจ็บไข อย างการทําประกันสุขภาพ เพือ่ ช วยแบ งเบาภาระของครอบครัว จะได รบั ซึง่ ควรเลือกทีใ่ ห ความคุม ครองทีค่ ม ุ ค า และช วยให บริหารความเสีย่ ง ทีอ่ าจเกิดขึน้ ด วยแพ็กเกจ “เอไอเอ ออล อิน วัน” พร อม ครบ ในแผน ประกันเดียว สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมกับตัวแทนประกันชีวติ เอไอเอ หรือเอไอเอ คอลล เซ็นเตอร 1581 หรือ www.aia.co.th

ผู ชายมีอายุสั้นกว าผู หญิง อายุคาดเฉลี่ย ป เมื่อแรกเกิดของผู ชายไทยคือ ป ในขณะที่ผู หญิงไทยคือ

71.1 78.1

ที่มา : 1 ข อมูลอัตราชีพของประชากรไทย ป พ.ศ.2556 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2 แผนพัฒนาสถิติสาขาสุขภาพ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2556-2558 สํานักงานสถิติแห งชาติ *คําเตือน ผู ซื้อควรทําความเข าใจในรายละเอียดความคุ มครองและเงื่อนไขก อนตัดสินใจทําประกันภัยทุกครั้ง



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.