ModernMom Focus Vol.2 No.3 Chapter 1 March 2016

Page 1

Vol.2 No.3 / Chapter 1 March 2016

Chapter

1

Sedentary Behavior

ตามให้ทันปัญหาพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ


Chapter 1 >>

2


Vol.2 No.3 / Chapter 1 March 2016

Chapter 1 :

Sedentary Behavior ตามให้ทันปัญหาพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ● รู้จักพฤติกรรม Sedentary ● Sedentary น่ากังวล ● Sedentary กับสมองเด็ก : ตัวการขัดขวางการเรียนรู้ ● ผลเสียที่เกิดจากพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ต่อพัฒนาการเด็ก ● เจาะลึกถึงต้นเหตุ Sedentary Lifestyle ● Check List พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ของลูก

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน ก�ำลังท�ำอะไรกันอยู่คะ? ที่ตั้งค�ำถามแบบนี้เพราะ ModernMom Focus ฉบับนี้น�ำเสนอพฤติกรรมที่จะมา ชวนให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งค�ำถามกับพฤติกรรมของลูกและ ตัวเราเองค่ะ Sedentary Lifestyle พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ค�ำอาจจะฟังไม่คุ้นหู แต่เชื่อว่าพฤติกรรมนั้นคุ้นเคยกัน อยู่ นั่นคือการที่ไม่ท�ำกิจกรรมใดๆ เลย นั่งอยู่หน้าจอทีวี เล่นเกมทั้งวัน นั่งจ้องแท็บแล็ตตลอดเวลา พฤติกรรม ที่ ไ ม่ ข ยั บ เขยื้ อ นร่ า งกายแบบนี้ เ องที่ ส ่ ง ผลกระทบต่ อ สุขภาพทุกด้านของเด็กทั้งกายและใจ ใน Chapter 1 จะ บอกถึ ง ผลเสี ย จากพฤติ กรรม Sedentary Lifestyle ส่วน Chapter 2 จะเป็นเรื่องของการออกห่างพฤติกรรม นี้ อ่านแล้วเช็กพฤติกรรมของลูกเรากันนะคะ ว่าใช่หรือ ไม่กับ Sedentary Lifestyle... แล้วพบกันฉบับหน้าค่ะ :D ModernMom Focus

Next On Chapter 2 :

การออกห่างพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th

3


Chapter 1 >>

Sedentary Behavior ตามให้ทันปัญหาพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ

4


Chapter 1 >>

รู้จักพฤติกรรม Sedentary

Sitting

ปัจจุบัน ปัญหาพฤติกรรมเด็กที่ ใช้ชีวิตอยู่กับโทรทัศน์ ในวันหยุดทั้งวัน หรือนั่งเล่นโทรศัพท์ มือถือได้เป็นชั่วโมง หากมีแทปเล็ตก็ยอมที่จะไม่ลุกไปไหนได้หลายๆ ชั่วโมง แม้แต่เข้าห้องน�้ำหรือ เดินเล่นในบ้าน หากเด็กคนไหนเป็นแบบที่ว่ามานี้ แปลว่าเด็กคนนั้นก�ำลังเข้าข่าย พฤติกรรม เนือย หรือ พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ซึ่งเป็นค�ำนิยามถึงพฤติกรรมที่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ เคลื่อนไหว ช้าๆ ชอบอยู่กับที่ อันมาจากภาษาอังกฤษว่า Sedentary นั่นเอง

Watching Playing

พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ หรือ Sedentary สรุปอย่างง่ายๆ ได้แก่ พฤติกรรมที่วิถีชีวิตส่วน ใหญ่หมดไปกับการ Sitting (นั่ง), Watching (ดูทีวี,หน้าจอ), Playing Vdo & Game (เล่นเกม หรือดูหนังมากไป) และ Reading (เอาแต่อ่านทั้งวัน)

Sedentary ได้รับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญว่า เกิดจากพฤติกรรมการติดจอ ใช้เวลาอยู่ หน้าจอโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ นานกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ในผู้ ใหญ่ หากเป็นวัยรุ่นหรือเด็ก อาจใช้เวลากับการนั่งเรียนนานเกินไป นั่งรถนานเกินไป รวมถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เล่น โทรศัพท์มือถือ เกิน 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งท�ำให้ ไม่มีการขยับเขยื้อนร่างกาย จนกลายเป็น อุปนิสัยหรือวัฒนธรรม ที่เรียกว่า Sedentary Lifestyle และส่งผลเสียด้านอื่นๆ ตามมา

Reading 5


Chapter 1 >>

Sedentary น่ากังวล ในโครงการ Exercise is Medicine in Thailand โดยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พบว่า ประชากร ไทยในปัจจุบันประสบปัญหาอ้วนมากขึ้นทุกขณะ โดยตอนนี้ ไทยมีประชากรอ้วนเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รองจากมาเลเซีย และพบว่าส่วนหนึ่งเป็นเด็ก ซึ่ง ประสบปัญหาโรคอ้วนตั้งแต่วัยอนุบาล อันมาจากการขยับเขยื้อนร่างกายน้อยเกินไป การไม่ ออกก�ำลังกาย อยู่ติดที่มาก ซึ่งก็คือ Sedentary Lifestyle นั่นเอง

“ ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง

คนไทยส่วนหนึ่ง มีพฤติกรรมนั่งนิ่งนานถึง 13 ชั่วโมง 15 นาที

6


Chapter 1 >>

ร่างกาย :

อ้วนลงพุง, น�้ำหนักเกินเกณฑ์, ไขมันสะสม, เอวหนา, เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง, โรคความดันโลหิต, เบาหวาน, โรคหัวใจ

Sedentary กับชีวิต หากติดตามผลของพฤติกรรมนี้ เราจะพบว่าส่งผลเสียต่อชีวิตแทบทุกด้าน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการตอบสนองต่อสังคม

จิตใจ :

ขาดความกระตือรือร้น, ขาดแรงบันดาลใจในการท�ำสิ่งใหม่ๆ, เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า, แปลกแยกจากสังคม, ขาดความมั่นใจ, โมโห, หงุดหงิด, ก้าวร้าว

สังคม :

ไม่กล้าเผชิญกับสังคม, จิตใจอ่อนแอ, ไว้วางใจผู้อื่นน้อย, เข้าสังคมไม่เป็น

7


Chapter 1 >> โดยธรรมชาติแล้ว เด็กทุกคนชอบเล่น ชอบซุกซน ไม่ชอบอยู่นิ่ง ยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งเกิด การเรียนรู้ สมองมีการเชื่อมโยงของเซลล์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวช้าลง นั่นหมายถึง อาจมีอะไรบางอย่างที่ เป็นตัวบล็อกให้เขาไม่อยากเคลื่อนไหว ซึ่งบอกถึงอาการติด เช่น ติดโทรทัศน์ ติดโทรศัพท์ ติดแทปเล็ต สิ่งเหล่านี้ดึงความสนใจของการเล่นตามวัยไปเสียหมด จนธรรมชาติของเด็ก บกพร่อง แน่นอนว่ามีผลต่อการทำ�งานของสมองเช่นกัน ยิ่งเด็กๆ เคลื่อนไหวมาก จะมีการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้ามากขึ้น เครือข่ายสมอง จึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อเด็กต้องนั่งอยู่นิ่งๆ ก็เป็นการลดประสาทสัมผัสลง เมื่อ ไม่ได้ลงมือทำ� ไม่ได้เล่น ไม่ได้จับสัมผัสสิ่งรอบตัวจริงๆ แต่สัมผัสแค่เห็นรูปร่างจากผ่าน แทปเล็ตแล้วใช้นิ้วชี้ การเรียนรู้จึงลดลงไปด้วย สมองก็ทำ�งานน้อยลง เส้นใยประสาทจึง ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างน่าเสียดาย

การขาดการสัมผัส เด็กจะไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ถูก ยิ่งเคลื่อนไหวน้อย งุ่มง่าม ขาดการเรียนรู้โลกภายนอก เท่ากับตัดขาด การเรียนรู้ของเด็กไปด้วย

Sedentary กับสมองเด็ก : ตัวการขัดขวางการเรียนรู้ 8


Chapter 1 >>

ผลเสียที่เกิดจาก พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ต่อพัฒนาการเด็ก

• กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง • เดินได้ช้า หรือไม่คล่องแคล่ว • สมองกับร่างกาย ประสานกันได้ไม่ดีตามวัย • ขาดความกระตือรือร้น • ลดนิสัยการชอบค้นหา ชอบศึกษาและทดลอง • งุ่มง่าม • กล้ามเนื้อมัดเล็กท�ำงานได้ไม่ดี

• เขียนหนังสือไม่ค่อยได้ หรือเขียนได้ช้า • ความช่างสังเกตลดลง • กินเก่ง กินมากไป • ระบบเผาผลาญมีปัญหา • สายตาท�ำงานได้ไม่ดี หรือมีปัญหาสายตาตั้งแต่เด็ก • พูดช้า มีปัญหาด้านการสื่อสาร • รอไม่ได้ อดทนต�่ำ

9


Chapter 1 >>

เจาะลึกถึงต้นเหตุ Sedentary Lifestyle 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

โรงเรียนและ ระบบการเรียนการสอน

บางครั้ ง สถานรั บ เลี้ ย งเด็ ก อาจ แก้ ป ั ญ หาเด็ ก อยู ่ ไ ม่ นิ่ ง ด้ ว ยการเปิ ด โทรทัศน์ให้เด็กดูทงั้ วัน หรือ บางโรงเรียน เน้นการอ่านและเขียนในห้องเรียนมาก เกินพอดี มีสัดส่วนการเล่นกลางแจ้ง ต�่ำเกินไป พ่อแม่จึงควรติดตามรูปแบบ การเรียนการสอนของลูกๆ เอาไว้ด้วย

สังคมเพื่อน

ครอบครัว

หากอยู่ ในครอบครัวที่ ใช้เทคโนโลยี ทั น สมั ย จนเป็ น เรื่ อ งปกติ เช่ น คุ ณ พ่อคุณแม่ ใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา, เปิดโทรทัศน์ ให้ลูกดูเพื่อฆ่าเวลา, ให้ เด็ ก อยู ่ นิ่ ง ๆ ด้ ว ยการดู ก าร์ ตู น หรื อ เล่นเกมมากเกินไป อาจเข้าข่ายพ่อแม่ รังแกฉัน เพราะครอบครัวนัน่ เองทีป่ ลูก ฝังพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ให้กับเด็ก โดยไม่รตู้ วั ครอบครัวจึงควรตรวจสอบ ตัวเองอยู่เสมอ ว่าสนับสนุนให้เด็กมี พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ มากไปหรือไม่

10

คงไม่มีปัญหาถ้าเด็กมีเพื่อนเล่นที่ หลากหลาย ชวนกันเล่นดินเล่นทราย กี ฬ า เตะฟุ ต บอล วิ่ ง ไล่ จั บ หรื อ ประดิษฐ์งานศิลปะ คละกันไป ซึ่งหาก เด็กอยู่ ในสังคมเพื่อนที่คลั่งไคล้การ ใช้สมาร์ทโฟน ติดแทปเล็ต ก็มักจะดึง ให้เขาติดไปด้วย พ่อแม่จึงต้องระวัง เรื่องการให้ลูกใช้อุปกรณ์ดิจิตอล และ กิจกรรมที่ลูกท�ำกับเพื่อนด้วย


Chapter 1 >>

Check List

พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ของลูก ตรวจสอบว่าครอบครัวของเรา เข้าข่ายพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ บ้างหรือไม่

ไม่ออกก�ำลังกายเลย

ใน 1 สัปดาห์

• เกิน 6-7 ชั่วโมง • เกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน ต่อวัน ชอบอยู่คนเดียว • • นานเกิน 1 ปี • นานเกิน 2 ชั่วโมง า • ใน 13 ชั่วโมง • วันละ 10 มากกว่ ชั่วโมง • มากกว่า 70% นิ่งๆ เฉื่อยๆ

อยู่กับที่ ได้นาน

น�้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นระยะเวลา

มากกว่าเจอเพื่อน

ใช้อินเทอร์เน็ต แต่ละครั้ง

เคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก

ใช้คอมพิวเตอร์

ปฏิเสธผูอ้ นื่ เมื่อถูกชวนให้ ไปเล่นนอกบ้าน

ที่มา : ข้อมูลจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 11


Chapter 1 >>

ใครท�ำ Check List แล้วได้ผลลัพธ์วา่ ใช่เกินกว่า 5 ข้อบ้างไหมคะ นั่นหมายถึงว่า ได้เวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเร่งด่วนแล้ว หากปล่อยไว้อาจเกิดผลเสียระยะยาวและแก้ ไขได้ยากเมื่อเด็กๆ โตขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งในฉบับหน้า Chapter 2 เราจะมาค้นพบวิธีแก้ไข พฤติกรรม Sedentary พร้อมแนวทางป้องกัน โดยเฉพาะบทบาท ของพ่อแม่นั้นส�ำคัญมาก อย่าพลาดนะคะ

12


Chapter 1 >>


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.