ModernMom Focus Vol.1 No.11 Chapter 1 December 2015

Page 1

Vol.1 No.11 / Chapter 1 December 2015

Chapter

Urbanization 1 Thai Family Life


Chapter 1 >>

2


Vol.1 No.11 / Chapter 1 December 2015

Chapter 1 :

Urbanization Thai Family Life รู้จัก เข้าใจ ครอบครัวไทยในสังคมเมือง ● การเติบโตของ Urbanization ในสังคมไทย ● Family Life ครอบครัวภายใต้สังคมเมือง ● รูปแบบครอบครัวส่วนใหญ่ในสังคมเมือง ● เด็กๆ และแนวโน้มด้านการศึกษาในสังคมเมือง ● ผลกระทบต่อเด็กๆ ในสังคม Urbanization

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus ฉบับส่งท้ายปี2558 พามา ครอบครัวมาท�ำความรู้จักกับสังคมเมืองของเรากันค่ะ ค�ำว่า “Urbanization” ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่ กระทบกับวิถีชีวิตของครอบครัว การขยายออกของความ เป็นเมืองมีทั้งเรื่องดีๆ และเรื่องที่เราต้องรับมือ โอกาสของการประกอบอาชี พ มากขึ้ น การเข้ า ถึ ง สาธารณูปโภคต่างๆ ดีขนึ้ การตอบสนองความต้องการใน ด้านของพื้นฐานคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องที่ไม่ต้องตั้งค�ำถาม อีกต่อไป แต่ขณะเดียวกันการหลั่งไหลเข้ามาสู่เมืองที่ง่าย และรวดเร็ว กระทบกับวิถีชีวิต วิธีคิด ความเป็นอยู่ และ สภาพเศรษฐกิจนีเ้ องทีท่ ำ� ให้เกิดแข่งขันทีส่ งู ขึน้ ครอบครัว ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับสถานการณ์ Urbanize ที่มาเคาะประตูบ้าน... ModernMom Focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th

3


Chapter 1 >>

Urbanization Thai Family Life ชีวิตครอบครัวไทยภายใต้สังคมเมือง ในปี พ.ศ.2551 หรือเมื่อ 7 ปีท่ีผ่านมา มีรายงาน ว่าเกิดปรากฏการณ์ที่ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ ในเขตเมื อ งเป็ น ครั้ ง แรกในประวั ติ ศ าสตร์ โ ลก เป็ น ปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต พฤติกรรม และ สุ ข ภาวะของคนจ� ำ นวนมากอยางหลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ แ ละ เราเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า Urbanization Urbanization หรือ ความเป็นสังคมเมือง หมายถึง กระบวนการทีช่ มุ ชนกลายเป็นเมือง หรือมีการเคลือ่ นย้าย ของผู้คนหรือการด�ำเนินกิจการงานเข้าสู่บริเวณเมือง หรือมีการขยายตัวของเมืองออกไปเล่าอย่างง่ายๆ ก็คือ ประชาชนจะอาศัยอยู่ในสังคแบบเมืองมากขึน้ กว่าแต่กอ่ น ไม่ว่าจะเดินทางเข้าไปใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ หรื อ การที่ ชุ ม ชนถู ก เปลี่ ย นให้ ก ลายเป็ น สั ง คมเมื อ ง แม้จะยังอาศัยอยู่ที่เดิมและเคยเป็นชนบทมาก่อน

4


Chapter 1 >>

องค์การสหประชาชาติ ได้มีการคาดการณ์ ไว้ว่า ภายในปี พ.ศ.2050 จะมีประชากรอาศัยในเมืองมากขึ้น

66% ของประชากรโลกทั้งหมด

Urbanization

ซึ่งในปัจจุบัน มีประชากรอาศัยในเมืองอยู่ที่ร้อยละ 54 5


Chapter 1 >>

Urban Area หรือพื้นที่เขตเมือง จะต้องมีประชาชนอาศัยอยู่ ไม่ต่ำ�กว่า 100,000 คน ในขณะที่กรุงเทพฯ มีคนอาศัยอยู่ราว 5 ล้านกว่าคน

6


Chapter 1 >>

การเติบโตของ

Urbanization ในสังคมไทย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำ�ลังก้าวไปสู่สังคมเมืองอย่างรวดเร็ว โดย กรุงเทพฯ เป็นเมืองขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออก มีการกระจุกตัว ของคนในเขตเมืองค่อนข้างมาก ซึ่งธนาคารโลกได้นิยามว่า พื้นที่ที่จะถูกเรียกว่าเขต เมือง หรือ Urban Area นั้นจะต้องมีประชาชนอาศัยอยู่ไม่ต่ำ�กว่า 100,000 คน ใน ขณะที่กรุงเทพฯ มีคนอาศัยอยู่ราว 5 ล้านกว่าคน นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว จังหวัดที่มีการเติบโตของเมืองมากที่สุด ก็คือสุราษฎร์ธานี มีการเจริญเติบโตสูงสุดทั้งในเชิงประชากรและเขตพื้นที่ แต่พื้นที่มีประชากรอยู่หนา แน่นมากที่สุดในต่างจังหวัดคือ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีประชากร 5,900 คน ต่อตารางกิโลเมตร จังหวัดอื่นๆ ที่กำ�ลังก้าวสู่ Urbanization ตามมาอย่างติดๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และภูเก็ต และ จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ เช่น นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร เป็นต้น รวมแล้วประมาณ 18 เมืองใหญ่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเมืองหลักที่มีความ สำ�คัญอยู่แล้ว การขยายตัวของกลุ่มเมืองเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อชีวิตของคน ในทุกๆ ด้าน

7


Chapter 1 >>

Family Life

ครอบครัวภายใต้สังคมเมือง

8


Chapter 1 >>

ปัจจุบัน ประชากรวัยทำ�งานและวัยเรียนต่างหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในเขตเมืองมากขึ้น

และเพิ่มขึ้นทุกขณะ ในแง่ของแรงงาน มีการทิ้งอาชีพในชนบทเพื่อหาอาชีพใหม่ใน เมือง ในแง่ของการศึกษา เด็กๆ ต้องการแสวงหาแหล่งความรู้ที่เพียบพร้อม และในแง่ อุตสาหกรรม มีการลงทุนมหาศาลเพื่อเป็นศูนย์รวมความเป็นเลิศในสังคมเมือง นี่ คื อ เหตุ ผ ลที่ ค นที่ เ ข้ า มาอยู่ ใ นสั ง คมเมื อ งนานเข้ า ไม่ ส ามารถกลั บ ออกไปอยู่ แบบเดิมได้ รูปแบบครอบครัวสมัยใหม่จึงถูกสร้างขึ้นภายใต้สังคมเมือง และเบื้องต้น ที่สุด ผลกระทบของสังคมเมืองคือจำ�นวนประชากรไม่สมดุลกับทรัพยากรพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การให้บริการทางการแพทย์ ระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้น ก็ก่อเกิดปัญหา ไม่ว่าจะการแย่งชิงพื้นที่อาศัยที่ดี ทำ�ให้ ต้นทุนราคาที่ดินพุ่งขึ้นมหาศาล ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ปัญหาความ เหลื่อมล้ำ�ทางรายได้ ปัญหาการบริการของรัฐที่ไม่ทั่วถึง และปัญหาการอพยพของ แรงงาน เป็นต้น จากสภาพปัญหาที่กล่าวมา มีผลให้รูปแบบของครอบครัวในสังคมเมือง ส่วนใหญ่ มีลักษณะครอบครัวเพียง 2 รุ่น หรือรุ่นพ่อแม่และลูก ขาดรุ่นปู่ย่าตายายอาศัยอยู่ ร่วมกัน เรียกว่าครอบครัวเดี่ยว ซึ่งทุกคนมีหน้าที่ให้ตัวเองรอดอาจใช้ชีวิตร่วมกันน้อย ลง เพราะต่างมีหน้าที่ของตนเอง ใช้ชีวิตค่อนข้างเร่งด่วน ครอบครัวส่วนใหญ่ฝาก ท้องไว้กับร้านค้า หรืออาหารนอกบ้าน รูปแบบครอบครัวอีกแบบที่พบมาก คือ ครอบครัวที่หย่าร้าง สามีภรรยามักแยก กันอยู่ ต้องทำ�หน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ทั้งทำ�งานนอกบ้านในบ้าน รับบทบาทเป็น ทั้งพ่อและแม่ ทั้งคู่จะมีเวลาให้กับลูกน้อยลง เด็กในครอบครัวเหล่านี้ต้องมีความ แข็งแกร่งสูง ช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นตัวของตัวเองตั้งแต่เด็ก และนึกภาพครอบครัวที่ มีความสัมพันธ์ต่อกันแบบปู่ย่าตายายไม่ออก บางครั้งใช้ชีวิตเหมือนต่างคนต่างอยู่ มี เวลากินข้าวร่วมกันน้อย และมีเวลาคุยกันน้อย 9


Chapter 1 >>

รูปแบบครอบครัวส่วนใหญ่ ในสังคมเมือง

คู่สมรสม ไม่มีลูก

ครอบครัวเดี่ยว มีแค่พ่อแม่ลูก

พ่อเลี้ยงเดี่ยว / แม่เลี้ยงเดี่ยว

จำ�นวนสมาชิก ในครอบครัว

การพูดคุย สื่อสารผ่านทาง โซเชียลเน็ตเวิร์ก และโทรศัพท์

2-4 คน

ความรับผิดชอบ ในครอบครัว

การหาเลี้ยงครอบครัว

ดูแลตัวเองเป็นหลัก

ต่างคน ต่างรับประทานอาหาร คนละเวลา 10

90 % ของพ่อและแม่

ทำ�งานนอกบ้าน


Chapter 1 >>

การเลี้ยงดูเด็ก ส่งเข้าเนอสเซอรี่เป็นส่วนใหญ่ หญิงชายแต่งงานช้าลง แต่งงานอายุเฉลี่ย

ผู้หญิง 25-30 ปี

ไลฟ์สไตล์

• ใช้เงินในทุกๆ ด้าน รวมถึงความบันเทิง • สถานที่หย่อนใจคือห้างสรรพสินค้า • ออกกำ�ลังกายในที่ร่ม • ขาดอุปกรณ์สื่อสารไม่ ได้ • มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวน้อย

ผู้ชาย 30-35 ปี 11


Chapter 1 >>

เด็กๆ และแนวโน้มด้านการศึกษาในสังคมเมือง

หากโฟกัสไปยังเด็กและเยาวชน ผู้ซ่ึงไม่เพียงเติบโตอยู่ในสังคมเมืองเท่านั้น แต่ พวกเขายังต้องแสวงหาวิชาความรู้ หล่อหลอมความรู้ ประสบการณ์ และหล่อหลอม ความเป็นตัวของตัวเองจากสิ่งแวดล้อม พบว่าเด็กมีการศึกษาในสังคมเมืองที่มีลักษณะ เฉพาะ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อันได้แก่

ข้อดี

ข้อเสีย

• ธุรกิจการศึกษาที่แข่งขันกันสูง ทำ�ให้ เกิดหลักสูตรใหม่ๆ น่าสนใจมากขึ้น สถาบัน มีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ • เด็กมีโอกาสเลือกเรียนในสิง่ ทีต่ นสนใจ มีความหลากหลายของวิชาการ เด็กค่อน ข้างรู้เท่าทันโลกสมัยใหม่ และเลือกสิ่งที่ตน ต้องการได้อย่างอิสระ • เด็ ก มี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น สู ง ที่ จ ะรั บ การศึกษา บางคนจึงมีปริญญาหลายๆ ใบ ไปพร้อมๆ กัน • สังคมเมืองมีหลักสูตรนานาชาติเพิ่ม มากขึ้น เปิดโลกด้านภาษาต่างประเทศมาก ขึน้ มีสถาบันจากต่างประเทศมาจัดการศึกษา ในไทยมากขึ้น • มุ ม มองด้ า นการศึ ก ษามี ค วามเป็ น สากลมากขึ้น มีความรู้ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก คุณภาพการเรียนการสอนยกระดับขึ้น • เยาวชนรุ่นใหม่ เข้าใจหลักการสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น

• ความเหลื่ อ มล้ำ� ด้ า นการศึ ก ษาของ เด็กในเมืองและชนบทมีมากขึ้น แตกต่างกัน มากขึ้นทั้งในเรื่องหลักสูตร ความรู้รอบตัว เทคโนโลยี และความหลากหลายของเนื้อหา วิชาการ • มีผจู้ บการศึกษาระดับสูงมากขึน้ จนล้น ตลาดแรงงาน แม้สังคมเมืองจะมีแหล่งงาน มหาศาล แต่คนตกงานกลับมีมากขึ้น • การเรียนการสอนที่เน้นการแข่งขัน เน้นหลักวิชาการ ทำ�ให้ขาดการสอนทักษะด้าน การคิด และพัฒนาทางอารมณ์ คนรุ่นใหม่ไม่ สนใจสังคม และเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางมาก ขึ้น • การเรี ย นรู้ ชี วิ ต ด้ า นอื่ น ขาดหายไป โดยเฉพาะทักษะในการดำ�รงชีวิต การทำ�การ เกษตร การตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติ ขาดหายไป

12


Chapter 1 >>

ผลกระทบต่อเด็กๆ ในสังคม Urbanization

สังคมเมืองได้สร้างครอบครัวที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งด่วน เด็กจำ�นวนไม่น้อยจึงเติบโต ในเนอสเซอรี่มากกว่าการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การสร้างความรักความผูกพันระหว่าง ครอบครัวจึงลดลงไปด้วย ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดก็คือ • เด็กในสังคมเมืองมีความผูกพันกับพ่อแม่น้อยกว่าเด็กในสังคมรอบนอก • นึกภาพของครอบครัวใหญ่ที่มีสายใยรักของปู่ย่าตายายไม่ออก • กิจกรรมของเด็กๆ มักเป็นกิจกรรมที่ทำ�เองโดยลำ�พัง เช่น การดูโทรทัศน์ เล่น แทปเล็ต อ่านหนังสือ ใช้อินเตอร์เน็ต เล่นเกม และโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งไม่จำ�เป็นต้อง มีพ่อแม่ร่วมทำ�ด้วย • เด็กมีโลกส่วนตัวสูง ไม่สนใจปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเท่าไหร่นัก • การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของเด็กมีค่อนข้างน้อย ไม่สนใจร่วมกิจกรรมกับ ชุมชน แม้จะจัดห่างจากบ้านเพียงไม่กี่ก้าว • เด็กไม่มีความไว้วางใจต่อผู้อื่นง่ายๆ • มีความโดดเดี่ยวสูง คบหาแต่กับเพื่อนในกลุ่มเดิมๆ ขณะเดียวกันก็กล้าเสี่ยง ที่จะมีเพื่อนใหม่ในโลกออนไลน์มากขึ้น เพราะสามารถปิดบังตัวตนได้ • เด็กในสังคมเมืองเมื่อมีปัญหามักหาทางออกที่ไม่ปรึกษาหารือผู้ใหญ่ • แนวโน้มสถิติปัญหาเพิ่มสูงและรุนแรงมากขึ้น เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาติด เพื่อน ลักขโมย ท้องไม่พึงประสงค์ เป็นต้น 13


Chapter 1 >>

ฉบับนี้ทำ�ความรู้จักกับสังคมเมืองและผลกระทบ ต่อเด็กและครอบครัวกันไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การ อยู่ในสังคมเมืองใหญ่ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป หาก รู้จักรับมือกับการเปลี่ยนแปลง การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับครอบครัว และการเตรียมความพร้อมแก่เด็ก ที่จะเติบโตในเมืองใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีให้อ่านกัน ในฉบับหน้า Chapter 2 ค่ะ

14


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.