ModernMom Focus Vol.1 No.11 Chapter 2 December 2015

Page 1

Urbanization Happy Family Chapter

2

Vol.1 No.12 / Chapter 2 December 2015


Chapter 2 >>

เราจะอยู่อย่างสร้างสรรค์อย่างไรในสังคมเมือง

Urbanization

2


Vol.1 No.11 / Chapter 2 December 2015

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus ฉบับส่งท้ายปี2558 พามา ครอบครัวมาท�ำความรู้จักกับสังคมเมืองของเรากันค่ะ Chapter 1 : ค�ำว่า “Urbanization” ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่ Urbanization Happy Family กระทบกับวิถีชีวิตของครอบครัว การขยายออกของความ อยู่อย่างสร้างสรรค์อย่างไรในสังคมเมือง เป็นเมืองมีทั้งเรื่องดีๆ และเรื่องที่เราต้องรับมือ โอกาสของการประกอบอาชีพมากขึ้น การเข้าถึง ● ครอบครัวไทยในสังคม Urbanization สาธารณูปโภคต่างๆ ดีขนึ้ การตอบสนองความต้องการใน อีก 5-10 ปีข้างหน้า ด้านของพื้นฐานคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องที่ไม่ต้องตั้งค�ำถาม อีกต่อไป แต่ขณะเดียวกันการหลัง่ ไหลเข้ามาสูเ่ มืองทีง่ า่ ย ● เตรียมครอบครัวอย่างไร และรวดเร็ว กระทบกับวิถีชีวิต วิธีคิด ความเป็นอยู่ และ ให้อยู่ในสังคมเมืองอย่างมีความสุข สภาพเศรษฐกิจนีเ้ องทีท่ ำ� ให้เกิดแข่งขันทีส่ งู ขึน้ ครอบครัว ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับสถานการณ์ Urbanize ● กิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กสังคมเมือง ที่มาเคาะประตูบ้าน... ModernMom Focus ● ทักษะจำ�เป็นสำ�หรับเด็กในสังคมเมือง

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th

3


Chapter 2 >>

Urbanization Happy Family

อยู่อย่างสร้างสรรค์อย่างไรในสังคมเมือง

4


Chapter 2 >>

เราคงเห็นกันบ่อยจนแทบเป็นภาพชินตา ทีค่ รอบครัวพากันไปเทีย่ วเล่นในห้าง มากกว่าจะวิ่งเล่นหรือขี่จักรยาน นิยมกินอาหารฟาสต์ฟู้ด มากกว่าอาหารท�ำเอง สื่อสารกับเพื่อนๆ ทางมือถือมากกว่าพบเจอนั่งคุยกัน และมีอุปกรณ์ดิจิตอล ราคาแพง แม้ภาระหนี้ครอบครัวจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะนี่คือวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นโดย ทั่วไปในสังคมเมือง ซึ่งมีพื้นที่แออัด แข่งขันสูง ความปลอดภัยน้อย การเดินทาง ล�ำบากและใช้เวลานาน แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ปฏิเสธและหยุดยั้งไม่ได้ กับภาวะการณ์ขยายตัวจากชนบท ไปสู่สังคมเมือง หรือ Urbanization ซึ่งสังคมเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไปจากสังคมไทยแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพ เช่น ความหนาแน่นของ เมือง ระบบคมนาคมที่สะดวกขึ้น ทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอย หรือในเชิงวิถี ชีวิต ที่คนใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้น ระวังกันมากขึ้น ไว้ ใจกันน้อยลง และผูกพันกัน ยากขึ้น แม้แต่คนในครอบครัวก็ตาม ครอบครัวในสังคมเมือง จึงมีโจทย์ที่หนักหนาพอควร ที่จะอยู่อย่างมีคุณภาพ ในเมืองใหญ่ โดยสมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่าย ส่งเสริมลูกๆ ให้เป็นคนดีของ สังคม ในขณะที่มีเวลาอบรมสั่งสอนน้อยกว่าเดิม และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขท่าม กลางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมขณะนี้

5


Chapter 2 >>

ครอบครัวไทย ในสังคม Urbanization อีก 5-10 ปีข้างหน้า

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย แม้ ไม่ ได้เปลี่ยนโฉมได้ ใน พริบตาเดียว แต่การก้าวไปสู่สังคมเมือง จะค่อยๆ หลอมรวมวิถีชีวิต แบบเก่าและแบบใหม่เข้าด้วยกัน ผสมผสานจนกลายเป็นลักษณะ เฉพาะที่อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งอีกราว 5-10 ปีภายหน้าเราอาจพบ คุณลักษณะครอบครัว ดังต่อไปนี้

ครอบครัวสมัยใหม่จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ

คู่สมรสนิยมอยู่เป็นแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ไม่นิยมอยู่ร่วมกับปู่ย่าตายาย แต่แยกบ้านไปอยู่กันเอง มีความสัมพันธ์กันน้อยลง

ครอบครัวสมัยใหม่มีลูกน้อยลง อาจมีลูกเพียงคนเดียว หรือไม่เกิน 2 คน

คนโสดมีมากขึ้น

ไม่นิยมการแต่งงาน อาจแต่งงานช้า หรือไม่แต่งงานเลย

6


Chapter 2 >>

ครอบครัว กว่า 90%

จ�ำนวนครอบครัวที่หย่าร้าง

มีมากขึ้น

ท�ำงานนอกบ้าน

บ้านเดีย่ วหลังใหญ่ตามชานเมือง จะได้รับความนิยมน้อยลง ครอบครัวขนาดเล็ก นิยมอาศัยในบ้านที่สะดวกสบาย เช่น ห้องชุด คอนโด อพาร์ทเม้นท์ ทาวน์เฮาส์ มากกว่าอยู่ ในบ้านที่มีบริเวณกว้างขวาง เพราะปัญหาเรื่องพื้นที่และความปลอดภัย

คนพึ่งพาอาหารส�ำเร็จรูปมากขึ้น หรือทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น

การไปตลาดและท�ำกับข้าวกินเองกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก

คนชราที่อาศัยอยู่ล�ำพัง โดยไม่มีลูกหลานดูแลมีมากขึ้น การพึ่งพิงกันในหมู่ญาติมีน้อยลง และคนแก่เดินทางล�ำบากขึ้น

คนอยู่ ในภาคเกษตร จะลดลงเหลือเพียง

ร้อยละ 38 7


Chapter 2 >>

เตรียมครอบครัวอย่างไร ให้อยู่ ในสังคมเมืองอย่างมีความสุข

คงเป็นเรื่องหยุดยั้งได้ยาก ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบไปสู่สังคมเมือง สิ่งที่ท�ำได้ คือ สร้างครอบครัวให้เป็นสถาบันหลักเพื่อเตรียมความพร้อมแก่สมาชิกครอบครัว ให้ได้รับ การดูแลและสร้างภูมิต้านทานเพื่อให้เขาอยู่ ในเมืองใหญ่ได้อย่างมีความสุข

1. หางานท�ำใกล้บ้าน ใกล้โรงเรียนลูก

2. สื่อสารด้วยค�ำพูดให้มากที่สุด

ในสังคมเมืองทีท่ กุ อย่างเร่งรีบ การได้ทกั ทาย กันทุกวันสำ�คัญมาก แม้การพูดคุยเพียงแค่ 2-3 ประโยค ก็มคี วามหมายมากแล้ว ทุกวันก่อนแยก ย้ายกันไปทำ�งานและไปโรงเรียน พ่อแม่ลูกควร ได้ถามไถ่ ทักทายกันด้วยความรัก จะทำ�ให้ลูกมี ความอบอุ่นอยู่เสมอ

คนเมืองใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเดินทาง ยิ่งอยู่ไกลที่ทำ�งานเท่าไหร่ ยิ่งต้องเสียเวลาเดิน ทางมากขึ้นเท่านั้นจากปัญหารถติด เวลาที่เหลือ สำ�หรับครอบครัวก็ยิ่งน้อยลงไป หากสามารถ เลือกสถานที่ทำ�งานใกล้บ้านได้ จะช่วยให้มีเวลา เหลือสำ�หรับครอบครัวมากขึ้น และหากเป็นเส้น ทางเดียวกับไปโรงเรียนการเดินทางด้วยกัน จะ ช่วยให้ได้ใช้เวลาด้วยกันมากขึ้น 8


Chapter 2 >>

3. ไม่ขาดกิจกรรมท�ำร่วมกัน

7. ฝึกลูกให้ช่วยเหลือตัวเอง อย่างถูกวิธี

อย่างน้อยสัปดาห์ละวัน หรือ เดือนละ 1 ครั้ง ที่ได้อยู่พร้อมหน้า ทำ�กิจกรรมด้วยกัน ไม่ว่าจะ เป็ น การดี ที่ จ ะฝึ ก ทั ก ษะลู ก ให้ รู้ จั ก ทำ � อะไร ช่วยกันทำ�อาหาร ไปขี่จักรยานเล่น ไปเที่ยวสวน ด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นการเตรียมอาหาร ซักรีด สาธารณะ จะช่วยสร้างความผูกพันต่อกันอยูเ่ สมอ เสื้อผ้าเอง แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง มอบ หมายให้ช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ หรือลองทำ� 4. ใช้ชีวิตอย่างวางแผน งานพิเศษเพือ่ เก็บเงินไว้ซอื้ ของใช้สว่ นตัว จะทำ�ให้ การวางแผนชีวิตช่วยให้จัดการทุกอย่างได้ ทุกคนเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนในครอบครัว ง่ายขึ้น และมองเห็นช่องว่างที่จะเติมเต็มส่วน มากขึ้น ขาดหายในครอบครัวได้ พ่อแม่ควรวางแผน ตัวเองในการทำ�งานสัปดาห์ละกี่วัน มีวันหยุด 8. ฝึกฝนการระวังภัย เมื่อไหร่บ้าง เพื่อนัดหมายคนในครอบครัวใช้ ในเมืองใหญ่ ยิ่งประชากรมาก ยิ่งมีภัยรอบ เวลาอยู่ด้วยกันแบบพิเศษๆ เช่น ไปเที่ยวต่าง ด้าน ฝึกฝนคนในครอบครัวให้รู้จักการแยกแยะ จังหวัด ถูกผิด รู้จักเอาตัวรอดเมื่อต้องเดินทางลำ�พัง ไม่ ตกเป็นเหยื่อและหลงเชื่อคนง่าย

5. รับรู้ชีวิตของกันและกันเสมอ

พ่อแม่ควรให้ลกู ได้รบั รูส้ งิ่ ทีท่ �ำ อยู่ เช่น ทำ�งาน อะไร ทำ�งานที่ไหน งานเกี่ยวกับอะไร หาเวลา เล่ า สู่ กั น ฟั ง เช่ น เดี ย วกั น พ่ อ แม่ ควรรู้ ว่ า ลู ก สนใจอะไร มีปัญหาที่โรงเรียนหรือไม่ ต้องการ อะไรในแต่ละช่วงเวลา ให้ลูกรู้สึกว่าเขามีคนคอย สนับสนุนอยู่เสมอ

9. มีน�้ำใจเสมอ

6. จัดโปรแกรมเยี่ยมญาติ

10. ครอบครัวต้องมาก่อน

แม้เมืองใหญ่จะทำ�ให้ตา่ งคนต่างอยู่ ไม่เชือ่ มัน่ ไว้วางใจกัน แต่อย่างไรก็ตาม ควรสนับสนุนให้ คนในครอบครั ว แสดงน้ำ � ใจต่ อ คนรอบข้ า งอยู่ เสมอ อย่างมีสติ และมีวิจารณญาณ น้ำ�ใจจะ ช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้น

ในยุคที่นิยมครอบครัวเดี่ยว แม้ไม่ได้อยู่ร่วม กับปูย่ า่ ตายาย แต่พอ่ แม่ตอ้ งปลูกฝังความสำ�คัญ ของความเป็นครอบครัว พาลูกๆ ไปเยี่ยมญาติ เสมอๆ ในวันสำ�คัญ และเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ ลูกๆ ฟัง

ครอบครั ว คื อ สถาบั น หลั ก ที่ ทุ ก คนควรให้ ความสำ�คัญ ให้ความรัก ความเข้าใจกัน แม้จะ เป็นครอบครัวเล็กหรือใหญ่ก็ตาม การปลูกฝัง ให้รักครอบครัว จะช่วยให้มีชีวิตที่อบอุ่นและ ปลอดภัย มีกำ�ลังใจในการทำ�สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ 9


Chapter 2 >>

กิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กสังคมเมือง การอยู่ ในเมืองใหญ่อาจมีข้อจ�ำกัดเรื่องพื้นที่ส�ำหรับการเล่นของ เด็ก การท�ำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว ความปลอดภัยในการ เที่ยวเล่น และเวลาที่เร่งรีบ ท�ำให้หลายๆ ครอบครัว มักละเลยความ ส�ำคัญของกิจกรรมที่จะท�ำร่วมกับเด็กๆ ไป ที่จริงแล้ว ยังมีกิจกรรมไม่น้อยที่สามารถท�ำร่วมกันได้ ซึ่งใช้เวลา ไม่มากเกินไป ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก แต่ยังคงความสนุกสนานและสร้าง ความผูกพันในครอบครัวได้ไม่น้อย ซึ่งได้แก่

1. งานศิลปะกระชับสัมพันธ์

ไม่ว่าจะเป็นเด็กๆ ผู้ใหญ่ หรือคุณปู่คุณย่า สามารถทำ�งานศิลปะของ ตัวเองได้ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูปของใครของมัน หรือช่วยกัน วาด การเก็บวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของใหม่ การช่วยกันประกอบ ของเล่นใช้เอง เป็นต้น

2. ท�ำอาหารและขนม

ขอเพียงมีห้องครัวเล็กๆ และอุปกรณ์สำ�คัญๆ เท่านั้น ก็สามารถทำ�กิจกรรมสนุกๆ ด้วยกันได้แล้ว เช่น ชวนลูกทำ� ขนมอบ ฝึกลูกปรุงอาหารและเตรียมส่วนประกอบอาหาร ให้ ลูกโชว์ฝีมือการทำ�อาหาร เป็นต้นเป็นอีกวิธีที่ทำ�ให้ครอบครัว แน่นแฟ้นมากขึ้นด้วย

3. เกมปริศนาและอักษรไขว้

นี่คือสุดยอดเกมส์ที่จะสร้างความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบที่ดี แม้จะ ฝึกฝนอยู่ในบ้านหรือที่แคบๆ ก็ตาม เกมประเภทนี้ช่วยให้เด็กเก่งด้าน ภาษา มีความจำ�เป็นเลิศ และยังใช้เล่นด้วยกันในบ้านได้ดีอีกด้วย 10


Chapter 2 >>

4. ปลูกต้นไม้ ในกระถาง

แค่หาเวลาไปตลาดต้นไม้สกั วัน ซือ้ กระถางใบเล็ก เมล็ดผัก หรือดอกไม้ ดิน และปุ๋ย จากนั้นหามุมเล็กๆ ในบ้าน แม้แต่บนระเบียงบ้าน ก็เนรมิตให้ กลายเป็นสวนได้จากต้นไม้ในกระถาง สร้างสีเขียวให้บ้านและช่วยปลูกฝัง เด็กๆ ให้รักธรรมชาติได้

5. อ่านหนังสือ

เป็นกิจกรรมที่ทำ�ได้ทุกมุมของบ้าน ทุกที่ ทุกเวลา แต่ได้ประโยชน์ มหาศาล ส่งเสริมลูกให้รักการอ่าน และหาหนังสือได้จากทุกที่ในเมืองใหญ่

6. ชมนกและแมลง

เชื่อมั้ยว่าการได้อยู่กับธรรมชาติท่ามกลางเมืองหลวงเป็นอะไรที่ชวน ให้รู้สึกดีอย่างสุดๆ แต่ละเมืองควรมีนโยบายสร้างสวนสาธารณะเพื่อใช้ เป็นปอดของเมือง ควรหาเวลาพากันไปชมนก ดูแมลง ดูต้นไม้ จะช่วยให้ สุขภาพดีขึ้นและรู้สึกสดชื่นได้มาก

7. ใช้ App อย่างสร้างสรรค์

ในเมื่อปฏิเสธเทคโนโลยีไม่ได้ ก็ควรสนับสนุนให้ใช้แอพลิเคชั่นอย่าง สร้างสรรค์ และเปิดประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในเมืองใหญ่ เช่น การใช้แอพฯ เพื่อการศึกษา ชมสารคดี ฝึกการเขียนบันทึก สิ่งเหล่านี้สามารถทำ�ร่วม กับคนในครอบครัวได้ด้วย

11


Chapter 2 >>

ทักษะจำ�เป็นสำ�หรับเด็กในสังคมเมือง ด้วยเหตุที่สังคมเมืองมีปัญหาที่ซับซ้อน การเติบโตใน เมืองใหญ่ ให้ปลอดภัย มีความสุข และมีภูมิต้านทานต่อ ปัญหานั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะ ส�ำคัญต่างๆ ซึ่งได้แก่

1.ทักษะในการเดินทาง

เด็กๆ ควรมีทักษะที่จะเดินทางได้ด้วยตัวเอง เช่น การ จดจำ�เส้นทางรถโดยสารประจำ�ทาง การกะเวลาออกจากบ้าน ไปถึงยังโรงเรียนให้พอดี การดูแลความปลอดภัยของตัวเอง ขณะเดินทาง เป็นต้น

2. ทักษะในการอดทนอดกลั้น

ฝึกลูกให้มีความอดทน เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ เพราะหลาย อย่างไม่สามารถกำ�หนดได้ เช่น การเดินทางที่รถติดยาวนาน การรอเข้าคิวซื้อของที่มีคนต่อแถวจำ�นวนมาก เป็นต้น

12


Chapter 2 >>

3. ทักษะการแยกแยะ และสัญชาตญาณการระวังภัย

สั ง คมเมื อ งมี ทั้ ง คนดี ค นร้ า ยปะปนกั น คนที่ เ ข้ า มาหา เด็กๆ หรือมิจฉาชีพล้วนมีกลวิธีที่เอาชนะใจเด็กได้ ควรสอน เด็กให้แยกแยะเป็นระหว่างคนที่เข้ามาคุยอย่างจริงใจและ คนที่จ้องหาผลประโยชน์ แม้จะเป็นเรื่องไม่ง่าย แต่อย่างน้อย เด็กๆ ควรรู้จักที่จะระมัดระวังคนแปลกหน้า ไม่เชื่อคนง่าย และระมัดระวังตัวอยู่เสมอ

4. ทักษะการใช้ความว่องไวในชีวิตประจ�ำวัน

การอยู่ในเมืองต้องเร่งรีบ ใช้เวลาแต่ละนาทีอย่างคุ้มค่า คงไม่ดีแน่หากลูกเป็นคนทำ�อะไรช้า เฉื่อยแฉะ อาจทำ�ให้ มีปัญหาในชีวิตประจำ�วันและขาดโอกาสบางอย่างได้ ฝึก ลูกให้กระตือรือร้น คล่องแคล่ว และหมัน่ ออกกำ�ลังกายอยูเ่ สมอ

5. ทักษะการมองอย่างรอบด้าน

ไม่ควรมองอะไรเพียงด้านเดียว หรือวิเคราะห์ปัญหาแค่ เพียงผิวเผิน แต่ควรมองเห็นอย่างรอบด้านสำ�หรับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต เพราะโครงสร้างสังคมในเมืองใหญ่นั้นมี ความซับซ้อนสูง ฝึกลูกให้มองไปข้างหน้า มองปัญหาให้ ทะลุ และแก้ปัญหาที่ให้ผลระยะยาว

6. ทักษะการเอาตัวรอด

ลูกควรมีความรู้รอบตัวที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน และรับมือ กั บ สิ่ ง ที่ คาดการณ์ ไ ม่ ไ ด้ เพื่ อ ให้ ส ามารถเอาตั ว รอดได้ ใ น สภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดเหตุน้ำ�ท่วม ไฟดับ อุบัติเหตุ ต่างๆ หรือ การถูกล่อลวง

13


Chapter 2 >>

นับวันสังคมเมืองก�ำลังขยายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ วิถีชีวิตของครอบครัวก็ ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ขณะที่ทุกครอบครัวยังคงต้องการคุณภาพชีวิต ที่ดี ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว และความปลอดภัยส�ำหรับเด็กๆ แม้จะ หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงไม่ ได้ แต่อย่าลืมว่าเรายังสามารถช่วยกันสร้างสังคม ที่น่าอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบทก็ตาม ด้วยการใส่ ใจครอบครัว เตรียม พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มทักษะส�ำคัญให้เด็กๆ เอาไว้เสมอ เท่านี้ก็ สามารถท�ำให้อยู่อย่างสร้างสรรค์และมีความสุขได้ในสังคมเมือง

14


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.