ModernMom Focus Vol.2 No.12 Chapter 2 January 2016

Page 1

Vol.2 No.1 / Chapter 2 January 2016

Chapter

2

Toys For Kids

เล่นอย่างไร ให้ปลอดภัยและสนุก


Chapter 2 >>

2


Vol.2 No.1 / Chapter 2 January 2016

Chapter 2 :

Toys For Kids เล่นอย่างไรให้ปลอดภัยและสนุก ● Toys For Kids เล่นอย่างไรให้ปลอดภัยและสนุก ● วัยไหนเล่นอะไรดี ● เลือกของเล่นแบบไหน สบายใจ ปลอดภัยกว่า ● เล่นให้ถูกประเภทของเล่น

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน ModernMom Focus ฉบับมกราคม 2559 ปีใหม่นี้ เจ้ า หนู ค งได้ ข องเล่ น ถู ก อกถู ก ใจกั น มาไม่ น ้ อ ยเลยที เดียว เชื่อว่าคงก�ำลังเบิกบานและใช้เวลาเกือบทั้งวัน ทั้งคืนกับของเล่นชิ้นโปรด... แต่ช้าก่อนค่ะ เพื่อนสนิทเจ้าของเล่นชิ้นใหม่ในมือ ของลูกน้อย สร้างทั้งความสุข และเป็นตัวต้นเหตุของ อุบัติเหตุได้ง่ายๆ ModernMom จึงชวนคุณพ่อคุณแม่ มาส�ำรวจของเล่นในบ้าน ไปดูกันว่าชิ้นไหนผ่าน...ไม่ ผ่าน และต้องระมัดระวังตรงไหนอย่างไรบ้าง เพราะ ของเล่นสุดรักนี้เองที่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่มักจะ เกิดขึ้นกับเด็กค่ะ ModernMom Focus

● เล่นกับเด็กให้ปลอดภัย

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th

3


Chapter 2 >>

Toys For Kids การเล่นเป็นส่วนส�ำคัญของชีวิตวัยเด็ก ซึ่งมีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า การ เล่นมีสว่ นส�ำคัญในการเปลีย่ นโครงสร้างของสมอง ของเล่นจึงเป็นอุปกรณ์สำ� คัญทีช่ ว่ ย เพิ่มศักยภาพของเซลล์สมองให้ท�ำงานได้ดีขึ้น

เล่นอย่างไร ให้ปลอดภัย และสนุก 4


Chapter 2 >>

เรามั ก ได้ ยิ น ข่ า วที่ เ ราได้ ยิ น ได้ ฟ ั ง กั น จนเกื อ บชิ น หู ว่ า เกิ ด อุ บั ติ เ หตุ ขึ้ น กั บ เด็ ก อันเนื่องมาจากของเล่นเป็นประจ�ำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นเด็กเสียชีวิตจากการตกชิงช้า แขนหักจากการเล่นสะพานลื่น หลอดลมอุดตันเพราะกลืนชิ้นส่วนหุ่นยนต์เข้าไป เด็ก ขาดอากาศหายใจเพราะจมน�้ำ เชือกรัดคอโดยไม่ตั้งใจ หรือเด็กป่วยเป็นโรคต่างๆ จาก การรับสารพิษที่ ไม่ได้ตั้งใจจากของเล่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านีค้ งจะเกิดขึน้ น้อยลง หากผูป้ กครองใส่ ใจในการเล่นของเด็กมากขึน้

จัดหาของเล่น ที่เหมาะกับวัยเด็ก

เข้าใจหลักการ เล่นร่วมกับเด็ก

เลือกของเล่น ที่ปลอดภัย ใส่ ใจมาตรฐานการผลิต

เล่นอย่างระมัดระวัง และถูกต้อง กับประเภทของเล่น

5


Chapter 2 >>

วัยไหน

0-6 เดือน

เล่นอะไรดี

เลือกของเล่นประเภทที่เด็กไขว่คว้าได้ เช่น โมบาย กระดิ่ง กระจก ของเล่นเกี่ยวกับการมอง การถือ ประเภทเกี่ยวกับปาก ตัวดูด กัด ที่เด็ก สามารถเอาเข้าปากได้

ของเล่นที่เหมาะกับวัย คือหัวใจส�ำคัญที่ ช่วยส่งเสริมให้พัฒนาการเด็กเติบโตได้เต็ม ที่ เพราะเด็กแต่ละวัยไม่ควรเล่นของเล่นทีย่ าก เกินไป หรือง่ายเกินไป บางครั้งเด็กเล็กเล่น ของเล่นที่ซับซ้อนเกินไป อาจสร้างความเบื่อ หน่าย สับสน ท�ำให้เด็กขาดก�ำลังใจและเลิก สนใจการเล่นไปเสีย โอกาสในการเรียนรู้สิ่ง ต่างๆ ก็ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้น�ำ เสนอหลักการเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับ พัฒนาการเด็กตามวัย ซึ่งได้แก่

6-12 เดือน

ของเล่นทีใ่ ช้บบี เพือ่ ให้เกิดเสียง ระฆัง ส�ำหรับ จับเขย่า ของเล่นที่ใช้สำ� หรับลากดึง แท่งไม้ใหญ่ๆ ส�ำหรับต่อเป็นรูปตึกเอามาเรียงตามแนวตั้งและ แนวนอน

6


Chapter 2 >>

12-18 เดือน

2-3 ขวบ

ของเล่นประเภทให้เด็กตอก ดินสอเทียน ส� ำ หรั บ ขี ด เขี ย น แต่ ไ ม่ ใ ช่ ส� ำ หรั บ การวาดรู ป ลูกบอล ฆ้อน ของที่ใช้เสียบใส่ตามช่อง ทราย น�้ำ ส�ำหรับให้เด็กเล่น สมุดภาพส�ำหรับให้เด็กดู

กล่องทีม่ ชี อ่ งหลายช่องส�ำหรับใส่รปู ทรงต่างๆ ที่ตัดกระดาษ ก้อนไม้สีต่างๆ ส�ำหรับจับคู่สี ของ เล่นที่ใช้สร้างบ้าน ดินสอเทียน ดินสอสีไว้ระบาย สมุดภาพ ลูกปัดขนาดใหญ่ส�ำหรับให้เด็กร้อย

18 เดือน -2 ขวบ

3-4 ขวบ

กล่ อ งที่ มี ช ่ อ ง 3-4 ช่ อ ง ส� ำ หรั บ ใส่ แ ท่ ง พลาสติก รูปทรงต่างๆ ฆ้อนตอก หรือที่ใช้กด ห่วงกลมที่มีราวให้สามารถเลื่อนไปมา ดินสอ เทียน ให้เด็กเริ่มต้นเลียนแบบเส้นตรง สมุดภาพ สัตว์ สิง่ ของเครือ่ งใช้ เพือ่ ให้เด็กรูจ้ กั สามารถเรียก ชื่อได้ รถยนต์ ตุ๊กตา ของเล่นนุ่มๆ แท่งไม้ชิ้น เล็กๆ ส�ำหรับต่อบ้าน

ภาพถ่ายๆ 6 ชิ้นขึ้นไปเพื่อให้เด็กต่อ แท่งรูป ทรงต่างๆ ทีย่ ากขึน้ ส�ำหรับให้เด็กหยิบใส่ตรงช่อง รูปภาพสัตว์ สิ่งของง่ายๆ ให้เด็กจับคู่ ของเล่นใช้ ต่อประดิษฐ์ บ้านตุ๊กตา ที่ตัดกระดาษ กรรไกร

7


Chapter 2 >>

เลือกของเล่นแบบไหน สบายใจ ปลอดภัยกว่า เป็นที่รู้กันว่าของเล่นทุกชนิดส�ำหรับเด็ก จะถึงมือเด็กได้ ก็เพราะมีผู้ ใหญ่เป็นคนเลือกซื้อ หลักการเลือกซื้อหรือหา ของเล่นที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องส�ำคัญมาก เพื่อให้แน่ ใจว่า พ่อแม่เองไม่ได้เป็นคนน�ำเอาอันตรายมาสูล่ กู น้อยโดยไม่ตงั้ ใจ ควรศึกษาแนวทางการเลือกของเล่นที่ปลอดภัย ต่อไปนี้ค่ะ

8


Chapter 2 >>

1. เลือกของเล่นที่เหมาะกับวัย นอกจากปลอดภัยแล้ว ยังได้ประโยชน์เต็มที่ ไม่ ต้องทิ้งขว้างหรือวางไว้เฉยๆ เพราะเด็กไม่เข้าใจการเล่น วิธีการเลือกให้เหมาะกับวัยที่ ง่ายที่สุดคือการดูค�ำอธิบายข้างกล่อง ซึ่งจะเขียนบอกไว้ว่า ส�ำหรับเด็กกี่ขวบขึ้นไป 2. เลือกของเล่นที่มีเครื่องหมาย มอก. หรือมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานที่ปลอดภัยส�ำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในประเทศไทย 3. ส�ำรวจความแข็งแรง ทนทานของของเล่น วัสดุไม่แตกหักง่ายเกินไป และ กล่องบรรจุควรแข็งแรงทนทานด้วยเช่นกัน 4. เลือกส่วนประกอบที่ปลอดภัย ได้แก่ วัสดุไม่อ่อนเกินไป ไม่แข็งเกินไป ไม่ เป็นชิ้นเล็กๆ หลุดง่าย ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีเกินมาตรฐาน ไม่มีเสียงดังจนแสบ แก้วหู หรือเกิน 85 เดซิเบล ไม่มีความร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่มีประกายเปลวไฟที่ เป็นอันตรายต่อเด็ก เป็นต้น 5. มีค�ำอธิบายการเล่น บริเวณข้างกล่อง หรือภายในกล่องควรมีคู่มืออธิบายการ เล่นที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้น�ำไปใช้ผิดประเภท เช่น ของเล่นไม่ควรใกล้ความร้อน ของเล่น ไม่ควรน�ำเข้าปาก เป็นต้น 6. เลือกของเล่นทีเ่ ป็นของเล่นเด็กจริงๆ ไม่ใช่ของดัดแปลงเพียงแค่เด็กชอบเล่น เช่น เด็กบางคนชอบเล่นดอกไม้ไฟ แม้จะสนุกแค่ไหน โปรดจ�ำเสมอว่านั่นไม่ใช่ของเล่น เด็ก แต่เป็นของเล่นผู้ใหญ่ทอี่ าจมีอนั ตรายได้กบั คนทุกวัย หรือ ลูกโป่ง ซึงไม่ใช่ของเล่น และมีอันตรายมากเมื่อแตกขณะถือ เป็นต้น 7. เลือกของเล่นที่ราคาเหมาะสม ซึ่งราคาที่เหมาะสมกับของเล่นไม่ควรแพงเกิน ไป เพราะหากท�ำตกหักเสียหายจะท�ำให้เสียเงินเปล่าๆ อย่างไม่คุ้มค่า แต่หากมีราคาถูก เกินไป นัน่ หมายถึงต้นทุนทีต่ ำ�่ มาก ซึง่ อาจผลิตจากวัสดุคณุ ภาพต�ำ่ และสารเคมีทอี่ นั ตราย ไม่ผ่านมาตรฐานได้เช่นกัน 8. เลือกของเล่นแบบกลางๆ ที่เล่นได้นาน เช่นของเล่นประเภทตัวต่อ จิ๊กซอว์ หนังสือ หรือตุ๊กตา ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงเด็กชาย เล่นได้ตั้งแต่วัยเริ่มเดินจนถึง เด็กเล็ก ท�ำให้คุ้มค่า ประหยัด หลีกเลี่ยงของเล่นประเภทยอดฮิตที่ตามกระแสมากๆ จะ ท�ำให้เล่นได้ไม่นานเมื่อเลิกฮิตก็กลายเป็นขยะได้ 9


Chapter 2 >>

เล่นให้ถูก ประเภทของเล่น

มีคนจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีน่ ำ� ของไม่นา่ เล่นมาเป็นของเล่น ไม่วา่ จะเป็นของใช้ ของกิน เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่ยารักษาโรค หรือน�ำของเล่นแบบหนึ่ง มาประยุกต์เล่นอีก แบบหนึ่ง ที่ ไม่เหมาะสมและท�ำให้เกิดอันตรายได้ การเล่นของเล่นให้ถูกประเภท และระวังการเล่นแต่ละอย่างจึงถือเป็นเรื่องส�ำคัญอย่างยิ่ง มาดูแนวทางง่ายๆ ในการเล่นของเล่นแต่ละประเภทกันค่ะ

ดอกไม้ ไฟ

หุ่นยนต์ประกอบร่าง

ดอกไม้ไฟเป็นของเล่นสำ�หรับเด็ก สามารถ ระเบิ ด ได้ มี แ รงพุ่ ง ทำ�ให้ บ าดเจ็ บ โดยเฉพาะ ใบหน้า ทำ�ให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย มีสารเคมีที่ อันตราย ควรให้ผู้ใหญ่เป็นคนจุดและอยู่ห่างจาก เด็กพอประมาณ

หุ่นยนต์ประกอบจะเต็มไปด้วย วัสดุชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่ง่ายต่อการ เอาเข้าปาก และติดคอ จึงไม่ควรให้ เด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบเล่น

ปืน : ของเล่นอันตราย

การเล่นปืนเป็นการเล่นทีอ่ นั ตราย ไม่วา่ จะเป็นปืนอัดลม ปืนลูกดอก หรือแม้กระทั่งปืนฉีดน้ำ� หากกระสุนโดนจุดอันตรายในร่างกายก็ บาดเจ็ บ ได้ โดยเฉพาะการโดนลู ก ตา การเลื อ กปื น เล่ น ควรมี กระสุนที่แรงไม่เกิน 0.08 จุล ตามมาตรฐานยุโรป คือไม่ได้เน้น การทะลุทะลวง เมื่อโดนยิงแล้วไม่ควรรู้สึกเจ็บแต่อย่างใด จึงจะถือ ว่าให้เล่นได้ 10


Chapter 2 >>

รองเท้าสเกต

เลือกที่มีมาตรฐานการผลิต เก็บลูกล้อได้เมื่อ ไม่ต้องการใช้ และไม่ควรใส่เล่นในพื้นที่ทั่วไป เพราะเมื่อล้มจะเกิดอันตรายได้โดยเฉพาะสมอง ของเด็ก และควรเล่นในที่ฝึกเล่นที่ปลอดภัย

จักรยานและรถหัดเดิน

ในบางประเทศ รถหัดเดินเป็นสิ่งต้องห้าม สำ�หรับเด็ก เพราะเกิดอันตรายได้งา่ ยจากการล้ม แล้วทับตัว หากต้องการควรเลือกชนิดแข็งแรง มีศูนย์ถ่วงมั่นคง สมดุล ไม่ล้มง่าย และใช้เล่น โดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่เท่านั้น

ลูกโป่ง

ลูกโป่งนั้นเหมาะกับเด็กที่อายุ 8 ขวบขึ้น ไป เพราะเป็นของเล่นที่แตกง่าย ทั้งขณะเป่า และขณะเล่น หากแตก จะทำ�ให้เกิดอันตรายต่อ ใบหน้า หรือการเป่าลูกโป่งทำ�ให้ลูกโป่งถูกดูด เข้าไปในปากง่ายต่อการอุดตันทางเดินหายใจ ไม่ควรให้เด็กเคี้ยวเล่นหรืออม ชิ้นส่วนลูกโป่ง หากแตกก็ไม่ควรนำ�มาเล่นเด็ดขาด ผู้ใหญ่ควร เก็บทิ้งทันที

ของเล่นเขย่าแล้วมีเสียง

ของเล่นมีเสียง

ของเล่นที่เขย่าและมีเสียง ไม่ควรประกอบ ด้วยชิ้นส่วนเล็กๆ ที่เขย่าแล้วหลุดง่ายจะทำ�ให้ เด็กนำ�เข้าปาก การประกอบควรแข็งแรง ผู้ใหญ่ เขย่าให้ดู แล้วให้เด็กถือฝึกกำ�เขย่าในท่านั่ง ไม่ ควรเล่นในท่านอน ซึ่งเด็กมักจับด้ามเข้าปากอม ทำ�ให้อาเจียนและสำ�ลักได้

ระวังของเล่นที่มีเสียงดังมากเกิน 85 เดซิเบล ควรเลือกประเภททีป่ รับระดับเสียงได้ และมีเสียง ไพเราะน่าฟัง ไม่เล็กแหลมเกินไป เสียงที่ดังเกิน 100 เดซิเบล เมือ่ ฟังนานๆ ต่อเนือ่ ง ทำ�ให้หหู นวก ได้ ส่วนเสียงดัง 130 เดซิเบลขึ้นไป ทำ�ความ เสียหายต่อโสตประสาทได้ในเวลาเพียง 2 นาที 11


Chapter 2 >>

เล่นกับเด็กให้ปลอดภัย ในวัยต�่ำกว่า 3 ขวบ การเล่นของเล่นเกือบทุกชนิด นั้นควรอยู่ ในสายตาผู้ ใหญ่ เพราะอันตรายไม่ได้เกิดจาก ประเภทของเล่นเท่านัน้ แต่เกิดความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ของ เด็กด้วย ของเล่นจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อเล่นให้เป็น เล่นโดยมีเพื่อนเล่น มีการกระตุ้นที่เหมาะสม ซึ่งหลักการ ต่อไปนี้ นอกจากจะท�ำให้การเล่นปลอดภัยมากขึ้นแล้ว ยังท�ำให้เด็กมีพัฒนาการการเล่นที่ดีต่อการเจริญเติบโต อีกด้วย

12


Chapter 2 >>

เล่นตามวัย สนุกตามวัย

เป็นแนวคิดทีท่ ำ� ให้เด็กค่อยๆ มีพฒ ั นาการทีก่ า้ วหน้าอย่างเห็นได้ชดั และ วัดผลได้ผปู้ กครองต้องใจเย็นทีจ่ ะให้เด็กฝึกการเล่นไปทีละขัน้ อย่างช้าๆ เช่น เล่นของที่เคลื่อนไหวช้าๆ ก่อนจะเล่นของเคลื่อนไหวเร็ว เล่นของที่จับง่าย ก่อนจะเล่นของชิ้นเล็กที่จับยาก เป็นต้น ท�ำให้เด็กสนุกกับการเล่นได้เต็มที่ โดยไม่ ต้องกังวลว่าเด็กจะกลัวของเล่นหรือไม่

เล่นให้สนุก

คือสอนวิธีเล่นที่ท�ำให้สนุก สร้างสรรค์ เข้าใจวิธีการเล่น และเห็นคุณค่า ของการเล่ น สร้างความภูมิใจ และรักของเล่นของตัวเอง

จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเล่น

การเล่นวิ่ง กระโดด ควรอยู่ในที่ปลอดภัย มีการรองแผ่นกันกระแทก เผื่อเด็กล้มมีการกั้นขอบเขต เพื่อสร้างโซนปลอดภัย ไม่ให้เด็กไปเล่นใน มุมอันตราย เป็นต้นจะทำ�ให้เด็กสนุกกับการเล่นได้เต็มที่

รู้จักแบ่งปัน

เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังให้เด็กรู้จักเล่นกับเพื่อน แบ่งปันของเล่นกับผู้อื่น ยอมให้ผู้อื่นยืมของเล่นได้ หรือรู้จักรอคอยที่จะเล่นของเล่นต่อจากคนอื่น

รู้จักเวลาเล่น

ไม่ใช่เล่นของชิ้นใดชิ้นหนึ่งทั้งวัน จนไม่ยอมพักผ่อน โดยเฉพาะการ เล่นอุปกรณ์ประเภทแทปเล็ตในปัจจุบันซึ่งเด็กติดมาก หากเล่นนานเกินไป จะเกิดผลเสียต่อสมองและดวงตาได้

เล่นของเล่นที่สร้างสรรค์เสมอ

เพื่อช่วยต่อยอดความคิด กระตุ้นเซลล์สมอง ไม่เล่นของเล่นที่ท�ำให้ หมกหมุ่น และไม่เกิดประโยชน์ เช่น การเล่นแทปเล็ต สมาร์ทโฟนมาก เกินไป การดูโทรทัศน์มากเกินไป เป็นต้น 13


Chapter 2 >>

ของเล่นกับเด็ก เป็นของคู่กัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ หาก ห้ามเด็กไม่ให้เล่น เท่ากับห้ามการเรียนรู้และหยุดการพัฒนาเด็ก ด้วยนั่นเอง การเลือกของเล่นที่ปลอดภัย ใส่ใจกับมาตรฐานการผลิต และ เล่นให้ถูกประเภทแล้ว สิ่งสำ�คัญอีกอย่างคือการอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ในช่วงเวลาที่เล่น ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำ�พังนานเกินไป และ เล่นกับเด็กด้วยความรู้สึกสนุกสนาน ด้วยความรัก ความอบอุ่น คือหัวใจสำ�คัญที่จะทำ�ให้เด็กได้มีพัฒนาการที่ดีจากการเล่นอย่าง แท้จริง

14


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.