Twitter Citizen Reporter

Page 1

N O ITI

D E E

D

LE UX

TWITTER

CITIZEN REPORTER ทวิตเตอร์xสื่อพลเมือง มิติใหม่ของการรายงานข่าว โดยทีมนักศึกษาภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ




รายชื่อสมาชิกกลุ่ม นางสาววัลวิภา สังฆะมงคลกิจ นางสาววนิดา อาจาริยะ นางสาวนิภาภรณ์ บัวพุ่ม นางสาวภัทรมน เสริมศิลป์ นายภูมิ บัวพิพัฒน์วงศ์ นายณิชนันทน์ เหรียญสมบัติ นายภาณุพงศ์ สัมฤทธิ์ผ่อง

1540304241 1540305305 1540319918 1540320882 1540324140 1540325998 1540326582

เลขที่ 14 เลขที่ 15 เลขที่ 49 เลขที่ 51 เลขที่ 54 เลขที่ 55 เลขที่ 56


บทน�ำ ในสังคมปัจจุบันนั้นเปรียบได้ว่าการสื่อสารบนโลกออนไลน์มีอัตราการใช้งาน เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้จากจ�ำนวนของผู้ใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค (Facebook) ที่มีผู้ใช้งานเกินกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก ทวิตเตอร์ (Twitter) มีผู้ใช้งานมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าขึ้น ส่งผลให้เกิดเครื่องมือสื่อสาร ที่ทันสมัยมากขึ้น อาทิเช่น สมาร์ทโฟน (Smartphone) แท็บเล็ต (Tablet) เป็นต้น ซึ่ง เครื่องมือสื่อสารยิ่งทันสมัยมากแค่ไหน ก็ยิ่งท�ำให้การสื่อสารบนโลกออนไลน์สะดวก รวดเร็วมากขึ้น เครื่องมือสื่อสารมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนเรียกได้ว่าเป็น โซเชียลมีเดีย (Social Media) เพราะสร้างให้เกิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) หรือเครือข่ายสังคม ออนไลน์ที่มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยต่าง ๆ ซึ่งเกิดเป็นการสื่อสาร สองทางที่ฉับไว สู่การแบ่งปันข้อมูลทุกประเภทอย่างรวดเร็ว เครือข่ายสังคมออนไลน์ทอี่ าศัยโซเชียลมีเดียนัน้ ยิง่ ทวีบทบาทส�ำคัญ ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสังคมต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต สภาพแวดล้อมในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความขัดแย้งระดับสูงขึ้นในสังคม สภาวการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ท�ำให้ผู้คนในสังคมต้องการข้อมูล ข่าวสารที่รวดเร็วทันเหตุการณ์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าส�ำนักข่าวหลายๆ เจ้าทั้งไทยและต่าง ประเทศก็เริ่มให้ความส�ำคัญกับการน�ำเสนอข่าวผ่านสังคมออนไลน์กันมากขึ้น ฉะนั้น โซเชียลมีเดียที่มีคุณสมบัติทั้งความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อ สื่อสาร จึงเข้ามามีบทบาทส�ำคัญ กระทั่งกลายเป็นทางเลือกใหม่ของนักข่าวในการน�ำ เสนอข้อมูลสู่ประชาชน เพราะนอกจากจะสะดวกและรวดเร็วในการใช้งานแล้ว ยัง สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ท�ำให้การรายงานข่าวมีมุมมองที่ หลากหลายมากขึ้น อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าโซเชียลมีเดียที่มีความโดดเด่นในเรื่องความ รวดเร็วของการน�ำเสนอเหตุการณ์เพือ่ ตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารของผูค้ นได้


อย่างทันท่วงที แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ยังมีข้อบกพร่องทั้งในเรื่องของความถูกต้อง และ ความน่าเชื่อถือของข้อมูลเช่นกัน ด้วยประเด็นทีน่ า่ สนใจเกีย่ วกับโซเชียลมีเดียดังกล่าวนัน้ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของ การมีบทบาทที่ส�ำคัญในการรายงานข่าวช่วงภาวะวิกฤตที่มีความรวดเร็ว หรือประเด็น ข้อสงสัยที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลที่นักข่าวแต่ละคนได้น�ำเสนอไปก็ดี ท�ำให้พวก เราเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการรายงานข่าวทีต่ อ้ งค�ำนึงถึงความถูกต้องทีอ่ ยูภ่ ายใต้ของ ความรวดเร็วด้วยเป็นหลัก จึงได้รับความร่วมมือในการท�ำการสัมภาษณ์จากนักข่าวมือ อาชีพ นักข่าวพลเมือง และประชาชนทั่วไปที่ใช้ Twitter ในการรายงานข่าวเป็นประจ�ำ เพื่อการน�ำข้อมูลมาใช้ประกอบเป็นแนวทางในการคิด วิเคราะห์ รวมไปถึงการน�ำเสนอ ในด้านรายละเอียดข่าวสารที่ถูกต้องที่สุด อย่างที่บอกค่ะ ว่าโลกยุคสื่อใหม่นี้ ใคร ๆ ก็เป็นนักข่าวได้ ก็คงจะจริงอยู่บ้าง หากเราไม่พูดถึงในเรื่องของ “คุณภาพของข่าว” เพราะฉะนั้น ทั้งผู้รับสารและผู้บริโภค ข่าวสารเองนัน้ คงจะต้องใช้วจิ ารณญาณอย่างมาก ในการคิดอย่างรอบคอบว่าเราจะเชือ่ ถือข่าวนั้นได้มากน้อยเพียงใด โดยพวกเรามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และก�ำหนดแนวทางร่วม กันระหว่างนักข่าวอาชีพ นักข่าวพลเมือง สื่อต่าง ๆ ทุกแขนง และประชาชน เกี่ยวกับ การน�ำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือ การน�ำเสนอข้อมูลผ่าน Twitter มาช่วยรายงานข่าวในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้เสมอ รวมทัง้ หารือแนวทางด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณทีด่ ที จี่ ะต้องตระหนักถึงเสมอ ตลอด จนเพื่อให้ประชาชนที่สนใจในรายละเอียดข่าวสารและผู้ที่เป็นนักข่าวพลเมืองทั่วไปได้ เห็นถึงแนวทางการรายงานข่าวยุคใหม่ในภาวะวิกฤตว่า ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อการน�ำไปคิด วิเคราะห์ และประกอบการใช้ในการรายงานข่าวได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสมค่ะ นางสาวภัทรมน เสริมศิลป์ บรรณาธิการ


สารบัญ เรื่อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสาร วิวัฒนาการการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน ทฤษฏี SMCR ของเบอร์โล การสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง การสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์ ขอบข่ายประสบการณ์ในทฤษฏีการสื่อสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการรายงานข่าว หลักการเขียนข่าว โครงสร้างของการเขียนข่าว คุณสมบัติของการเป็นนักข่าวที่ดี องค์ประกอบของข่าว องค์ประกอบการเขียนข่าว การพิจารณาคัดเลือกข่าวเพื่อน�ำเสนอ การรายงานข่าวชั้นสูง การมาถึงของ สื่อใหม่ Social Media คืออะไร ทวิตเตอร์ คืออะไร ประวัติความเป็นมาของ Twitter การคิดค้นและยุคเริ่มต้น

หน้า 1 5 12 30 43 46 49 50 53 55 57 58 59 60 65 72 81 87 93 95 97


เรื่อง

หน้า

6 วิธีใช้ประโยชน์จาก Twitter สื่อพลเมือง มิติใหม่ของการรายงานข่าว สื่อพลเมือง(citizen media) Twitter กับหนังสือพิมพ์ Twitter กับโทรทัศน์ Twitter กับการพยากรณ์เหตุการณ์ Twitter กับการรายงานข่าวในพื้นที่ สัมภาษณ์คนข่าวทวิตเตอร์

99 117 121 126 129 135 137 149

ผลการศึกษา การใช้ทวิตเตอร์รายงานข่าวในฐานะสื่อพลเมือง

159

บรรณานุกรม

193




ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสื่อสาร “การสื่อสาร” ตรงกับค�ำในภาษาอังกฤษว่า “Communication” ซึ่งได้มีผู้ ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้ จอร์จ เอ มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า “การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง” คาร์ลไอ โฮฟแลนด์ (Carl I. Hoveland) และคณะให้ความเห็นว่า”การ สื่อสาร คือกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (โดยปกติจะเป็นภาษาพูดหรือ ภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลอื่น ๆ (ผู้รับสาร)

-1-


-2-


วอร์เรน ดับเบิลยู วีเวอร์ (Warren W. Weaver) ให้ค�ำอธิบายเกี่ยวกับการ สือ่ สารว่า “การสือ่ สารมีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างทีจ่ ติ ใจของ คน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่หมายความแต่เพียง การเขียนและการพูดเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดง บัลเล่ต์ และ พฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย” เจอร์เกน รอยซ์ และเกรกอรี เบทสัน (Jurgen Ruesch and Gregory Bateson) ให้ความเห็นว่า “การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูด และภาษาเขียนที่ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่การสื่อสารยังรวมไปถึง กระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย ซึ่งค�ำนิยามนี้ยึดหลักที่ว่าการกระท�ำและ เหตุการณ์ทงั้ หลาย มีลกั ษณะเป็นการสือ่ สาร หากมีผเู้ ข้าใจการกระท�ำและเหตุการณ์เหล่า นั้น นั่นก็หมายความว่าความเข้าใจที่เกิดขึ้นแก่คน ๆ หนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงข่าวสารที่ คน ๆ นั้นมีอยู่และมีอิทธิพลต่อบุคคลผู้นั้น” วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) อธิบายว่า “การสือ่ สารคือการมีความ เข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร (information signs) ชาร์ลส์ อี ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า “ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างสองฝ่าย” เอเวอเร็ต เอ็ม โรเจอร์ส และเอฟ ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (Everett M.Rogers and F. Floyd Shoemaker) ให้ความหมายว่า “การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูก ส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร” บางท่านก็ว่า “การสื่อสาร” คือ การมีส่วนร่วมในข่าวสารร่วมกันระหว่าง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ส่วนจอร์จ เกิร์บเนอร์ ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า “การสื่อสาร คือกระบวนการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีปฏิสัมพันธ์กันในสภาพแวดล้อม ทางสังคมเฉพาะ” จากความหมายข้างต้น จะเห็นได้วา่ สิง่ หนึง่ ทีค่ วามหมายเหล่านีม้ รี ว่ มกันก็คอื การสือ่ สารของมนุษย์ตงั้ แต่อยูบ่ นหลักของความสัมพันธ์ (relationship) กล่าวคือในการ สื่อสารนั้นจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งท�ำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และอีกฝ่าย

-3-


หนึ่งท�ำหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความเกี่ยวกันหรือสัมพันธ์กัน โดยสรุป “การสือ่ สาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดสาร (message) จาก บุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร (source) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับ สาร (receiver) โดยผ่านสื่อ (channel)” แต่ถ้าหากเรามามองกันในอีกมุมมองหนึ่ง ที่มองว่าการสื่อสารระหว่าง มนุษย์ ไม่ใช่เป็นเพียงการส่งสารเพื่อก่อให้เกิดผลตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารตามความ หมายที่มักใช้กันอยู่โดยทั่วไปเท่านั้น แต่การสื่อสารยังหมายความรวมไปถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ หรือ feedback นอกจากนั้นก็ยังรวมถึงอันตรกิริยา หรือปฏิกิริยาที่ มีต่อกันระหว่างผู้สื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร ปฏิกิริยาที่ มีต่อกันนี้เรียกว่า Interaction ปฏิกิริยาที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวน�ำไปสู่ความรู้ความเข้าใจ ร่วมกันในเรื่องของความหมาย (meaning) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น การสื่อสารในความหมายนี้จึงนับเป็นกระบวนการ 2 วิถี หรือ Two - way Communication อยูใ่ นตัวของมันเอง เสมือนหนึง่ เป็นวงจรของความสัมพันธ์ทสี่ ร้างขึน้ มาเพือ่ แลก เปลี่ยนความหมายที่มีอยู่ในสมองของบุคคลที่สื่อสารกัน (ติดต่อกัน) วงจรอันนี้อาจจะ เกิดขึ้นเพียงวงจรเดียวก็ได้ ถ้าหากบุคคลที่ท�ำการสื่อสารกันนั้นมีความสนิทสนมชิดเชื้อ กันมาก รู้ใจซึ่งกันและกัน หรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัวอย่างใกล้ชิด เช่น สามี - ภรรยา พ่อแม่ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท คู่รัก บุคคล เหล่านี้เวลาท�ำการสื่อสารกัน วงจรของการ แลกเปลี่ยนความหมายที่มีอยู่ในสมองอาจจะเกิดขึ้นเพียงวงจรเดียว เช่น ช. กับ น. เป็น สามีภรรยากัน อยู่มาวันหนึ่งตอนเย็น ช. ก็พูดกับน. ว่า “วันนี้ออกไปกินข้าวนอกบ้าน กันเถอะ” ซึ่ง น. ก็สามารถแปลความหมายได้ทันทีและอาจตอบกลับไปอย่างรวดเร็ว ว่า “ดีจังเลยพี่” หรือ น. อาจจะไม่พูดแต่ใช้อากัปกิริยาตอบกลับไป เช่น ส่งสายตาเป็น ท�ำนองดีใจและขอบคุณ หรือหอมแก้ม ช. 1 ฟอด แสดงความขอบคุณ อันนี้วงจรก็จะ เกิดขึ้นเพียงวงจรเดียว (ซึ่งกรณีแบบนี้อาจเกิดขึ้นบ่อยจน น. ไม่ต้องถามกลับแล้วก็ได้ ว่าท�ำไม) แต่ถ้าหาก น. โต้ตอบกลับไปด้วยค�ำพูดที่ว่า “เนื่องในโอกาสพิเศษอะไรหรือ พี่” ก็จะท�ำให้มีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนความหมายที่มีอยู่ในสมองของบุคคล 2 คนแล้ว กลายเป็นวงจร 2 วงจรเกิดขึ้น โดย ช. อาจจะตอบกลับว่า “วันนี้พี่ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นผู้จัดการ เราไปฉลองกันเถอะ”

-4-


ทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการ อ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากค�ำของมนุษย์ เราแปลค�ำนี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความ หมายครอบคลุมกว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการ สื่อสาร) theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about communication (ทฤษฎี เกี่ยวกับการสื่อสาร) ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วยปรัชญา พุทธและปรัชญากรีก ทีว่ า่ ด้วยการคิดและการพูด หลักวิธกี ารเผยแพร่ศรัทธาของศาสนา คริสต์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการ ปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและ สมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และจิตบ�ำบัดของฟรอยด์ รวม ไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎี ของสาขาต่าง ๆ ที่ท�ำหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่าง บุคคล การสื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขาการศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลัก เพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา ขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี

-5-


ก่อนศตวรรษที่ 21 การศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์ทแี่ ยกเป็นเอกเทศในระดับมหาวิทยาลัย เริม่ ต้นเป็นครัง้ แรกทีม่ หาวิทยาลัยมิสซูรี่ และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียทีน่ วิ ยอร์ค จนในปัจจุบนั มีวทิ ยาลัยหรือภาควิชานิเทศศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 1,500 แห่ง ในประเทศไทย เกิดขึ้นแล้วประมาณ 50 แห่ง โดยเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แล้วขยายออกไปสู่สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ในตอนต้น ๆ การศึกษานิเทศก์ศาสตร์จะมุ่งเน้นในด้านการใช้ทฤษฎีเพื่อการ สื่อสารมาประยุกต์เป็นเทคนิควิธี และทักษะในการประกอบอาชีพทางด้านการสื่อสาร มวลชนในระบบการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะแบบเสรีประชาธิปไตย และระบบตลาดเสรี บนพื้นฐานลัทธิทุนนิยม โดยสรุปทฤษฎีเพื่อการสื่อสารก็คือ ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (operational theory) หรือหลักวิชาทั้งมวลในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารมวลชนที่ อาศัยหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสื่อสารธุรกิจที่มีการ โฆษณา และการประชาสัมพันธ์เป็นหลักส�ำคัญ ทฤษฎีของการสื่อสาร (Theory of communication) หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐได้พฒ ั นาการศึกษานิเทศศาสตร์ ที่เน้นสอนการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ (professional practice) ไปสู่การศึกษาวิจัยเพื่อ สร้างทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยแรงผลักดันส่วนหนึง่ จากอิทธิพลทางปัญญา (intellectual influence) ของนักวิชาการทีอ่ พยพมาจากยุโรป อาทิ ลูอนิ และลาซาร์สเฟลด์ ทฤษฎี ข องการสื่ อ สารจึ ง เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น โดยค่ อ ย ๆ แยกจากทฤษฎี ท าง สังคมวิทยา จิตวิทยา และภาษา กลายมาเป็นศาสตร์ไหม่ในตัวของมันเองที่เรียกว่า การ สือ่ สารมวลชน (mass communication study) มุง่ วิจยั ผลของสือ่ มวลชนทีม่ ตี อ่ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เราเรียกทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในระยะเริม่ แรกนีว้ า่ ทฤษฎี การสื่อสารมวลชน (Mass Communication Theory) ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานของ วิลเบอร์ ชรามม์ เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล

-6-


แต่กลุ่มทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ (Wiener – Shannon – Weaver) และในเชิงการสื่อสารของมนุษย์ (Human Communication) ของเบอร์โล (Berlo) รวมทั้งในเชิงการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) ของไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และออสกูด (Heider-Newcomb-Festiger-Osgood) ส่งผลให้การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนขยายตัวออกไป ครอบคลุมอาณาบริเวณของการสื่อสาร (communication spheres) ที่กว้างขวางขึ้น วิชาการสื่อสารมวลชนจึงได้ปรับปรุงตนเอง และขยายตัวจากความเป็นเพียง นิเทศศิลป์ (communication art) มาเป็นนิเทศศาสตร์ (Communication art and science หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า communication arts) สมบูรณ์ในสองทศวรรษสุดท้าย ของศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีของการสื่อสารมิได้จ�ำกัดอยู่เฉพาะที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนเท่านั้น แต่จะครอบคลุมการสื่อสารทุกประเภทและในทุกปริบท (cintext) นับตั้งแต่การสื่อสาร ภายในบุคคล (intrapersonal communication) จนไปถึงการสื่อสารของโลก (global communication) สร้างเป็นองค์ความรูท้ อี่ ธิบายการสือ่ สารทัว่ ไป ในแง่ขององค์ประกอบ โครงสร้าง กระบวนการ บทบาทหน้าที่ จุดประสงค์ (purposes) ประสิทธิผล (effectiveness) ประสิทธิภาพ (efficiency) และค่าประสิทธิภาพ (cost-efficiency) ทฤษฎีของการสื่อสารดังกล่าว อาจจ�ำแนกแยกย่อยออกเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ใน การสือ่ สาร (theories in communication) เมือ่ องค์ความรูเ้ ข้าไปเกีย่ วข้องกับการสือ่ สาร ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ทฤษฎีต่าง ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคล หรือ ในการสื่อสารมวลชน เป็นต้น ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร (Theories about communication) ทฤษฎี แ นวปฏิ บั ติ ใ นนิ เ ทศศิ ล ป์ และทฤษฎี แ นวปรั ช ญาวิ ท ยาศาสตร์ ใ น นิเทศศาสตร์ ได้ร่วมกันสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทฤษฎีการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง สามารถผลิตบัณฑิตออกไปท�ำงานในวิชาชีพปีละมาก ๆ เฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมี นักศึกษาในสาขานีร้ วมทัง้ สิน้ ไม่ตำ�่ กว่าห้าหมืน่ คน มีบณ ั ฑิตทีจ่ บออกไปปีละหลายพันคน ปัญหาที่บัณฑิตส่วนใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญมีความคล้ายคลึงกัน คือไม่สามารถ

-7-


น�ำทฤษฎีไปใช้ปฏิบตั ไิ ด้ในวงการวิชาชีพทีส่ ว่ นมากยังมีลกั ษณะอนุรกั ษ์นยิ ม (conservatism)... อนุรักษ์นิยมในแง่ที่นักวิชาชีพส่วนใหญ่ยังมิได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยตรง และใน แง่ทยี่ งั จะต้องผูกพันกับผลประโยชน์ของธุรกิจทีเ่ ป็นเจ้าของสือ่ หรือเป็นผูอ้ ปุ ถัมภ์สอื่ โดย การให้โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ ช่องว่างระหว่างวิชาการและการปฏิบัติในวิชาชีพยิ่งขยายวงกว้างออกไป การ ศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยผลักดันให้ทฤษฎีโน้มเอียงไปในทางผลประโยชน์ของ ประชาชน และในทางการสร้างสรรค์ประชาสังคม (civil society) มากขึ้น ในขณะที่การ ปฏิบัติในวิชาชีพส่วนใหญ่ยังเน้นส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมเป็น เสมือนหนึ่งพาณิชยศิลป์อันเป็นกลไกของตลาดเสรีที่มีทุนเป็นปัจจัยหลัก ช่องว่างที่กว้างใหญ่กลายเป็นความขัดแย้งของอุดมการณ์สองขั้ว (bipolar ideoloty) และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นความเติบโตของทฤษฎีสื่อสารแนววิพากษ์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมือง เศรษฐกิจสังคม สังคมจิตวิทยา มานุษยวิทยา จริยศาสตร์ นิเวศวิทยา และสุนทรียศาสตร์ ได้ถูกน�ำมาเป็นหลักและแนวในการมองการ สือ่ สารมวลชน สร้างขึน้ เป็นกลุม่ ทฤษฎีตา่ ง ๆ ทีเ่ กีย่ วกับการสือ่ สาร จัดว่าเป็นกลุม่ ทฤษฎี ที่พยายามอธิบายเชิงวิพากษ์ต่อการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารก็คือการอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ หลักการ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การ ควบคุม ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร สภาพปัญหา และแนวโน้มในอนาคต รวม ทั้งการอธิบายแนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร เราอาจจ�ำแนกทฤษฎีการสื่อสารออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1) ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติ ที่พัฒนามาจากทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร (2) ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ ที่พัฒนามาจากทฤษฎีของการ สื่อสาร และ (3) ทฤษฎีการสื่อสารแนววิพากษ์ ที่พัฒนามาจากทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร ความส�ำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสือ่ สารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรูใ้ นทางนิเทศศาสตร์ทใี่ ช้

-8-


เป็นหลักในการศึกษาวิจยั และการปฏิบตั งิ านทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดย ทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดย ทางอ้อม อาทิ การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยา และสังคมวิทยา) การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์) เราอาจแยกแยะให้เห็นความส�ำคัญของทฤษฎีการสื่อสารแนวต่าง ๆ ได้ดังนี้ ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory) ใช้ เ ป็ น หลั ก ในการบริ ห ารและปฏิ บั ติ ง านสื่ อ สารทุ ก ประเภทในสาขา นิเทศศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถน�ำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อการเพิ่ม ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการสื่อสารมวลชน การสื่อสารพัฒนาการ การสื่อสาร การเมืองหรือการสื่อสารธุรกิจ ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติสามารถน�ำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้ง ในด้านการศึกษา การพัฒนาอารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งการพัฒนาพฤติกรรม อาทิ การ ใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ความเพลิดเพลิน ความบันเทิงหรือจิตบ�ำบัด นอกจากนั้นยังจะเป็น ประโยชน์ต่อการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่ง แวดล้อม วิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ จัดว่าเป็นการรวมทฤษฎี แนวปฏิบตั ไิ ว้ เพือ่ สะดวกแก่การศึกษาทัง้ ในเชิงองค์รวมและเชิงแยกส่วน... เชิงองค์รวมอยู่ ในวิชาแกนบังคับร่วมเชิงแยกส่วนอยู่ในวิชาเอกบังคับสาขาต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ กระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory) ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจยั และวิพากษ์วจิ ารณ์การสือ่ สารภายในองค์กร การ สื่อสารสาธารณะ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารระหว่างประเทศ หรือการสื่อสารของ

-9-


โลก สามารถใช้เป็นพืน้ ฐานความคิดของการสร้างสมมติฐานในงานวิจยั และการแสวงหา แนวหรือประเด็นในการวิพากษ์วจิ ารณ์สอื่ หรือการสือ่ สารโดยนักวิชาการ หรือนักวิจารณ์ สื่อ (media critics) การศึกษาทฤษฎีแนววิพากษ์ ควรอยู่ในวิชาปีสูงของระดับปริญญาตรี หรือใน วิชาส่วนใหญ่ของระดับปริญญาโท ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory) ใช้เป็นหลักในการแสวงหา (searching) หรือพิสจู น์ (proving) ข้อเท็จจริง หรือ สัจจะ ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อน�ำไปเป็นพื้นฐานหลักเพื่อการพัฒนาการบริหารหรือการ ปฏิบัติงานการสื่อสารทุกประเภท รวมทั้งใช้เป็นหลักในการปรับปรุงวิพากษ์วิจารณ์สื่อ หรือการสื่อสารให้มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรค์ ปรัชญาในที่นี้มิได้หมายถึงวิชาปรัชญาทั่วไป (general philosophy) แต่หมายถึงแนวคิดลึกซึ้งและกว้างขวางบนพื้นฐานการวิจัยเชิง วิทยาศาสตร์ สามารถน�ำมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสมมติฐานของการวิจัย และการ อ้างอิงในการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ทฤษฎีการสือ่ สารแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์เปิดโอกาสให้เพิม่ ขยายขอบเขตของ นิเทศศาสตร์ออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ แนวดิ่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าลึกซึ้งใน ความหมายปรัชญา วัตถุประสงค์บทบาทหน้าที่ สิทธิเสรีภาพ และความรับผิดชอบของ การสื่อสารประเภทต่าง ๆ แนวราบ ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์เกีย่ วโยงระหว่างนิเทศศาสตร์กบั ศาสตร์ อื่น ๆ อาทิ จิตวิทยา สังคมวิทยา สังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) พิภพศาสตร์ (Earth sciences) นอกจากนั้น ยังอาจน�ำไปสู่การปฏิรูปหรือการปฏิวัติวิชาการและวิชาชีพ นิเทศศาสตร์ ให้มีคุณประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อชีวิตและโลก ก่อให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุนในการ ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในประเทศต่าง ๆ และในโลกมนุษย์โดยรวม ทฤษฎีไซเบอร์เนติกส์ของนอร์เบิร์ต วีเนอร์ และทฤษฎีสารเวลาขาองสมควร กวียะ (เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545) เป็นตัวอย่างของ

-10-


ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปบูรณาการกับ ศาสตร์ทุกแขนงทั้งในทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ส่วนทฤษฎีปทัสถานซึ่งเริ่มต้นโดยวิลเบอร์ชรามม์แสดงให้เห็นถึงการศึกษา เจาะลึกลงไปในบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของสื่อในปริบทของประเทศต่าง ๆ ที่มีปทัส ถานทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ เสรีนิยม อ�ำนาจนิยม เบ็ดเสร็จนิยม และทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารทุกแนวและทุกระดับมีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการ ศึกษา ทางนิเทศศาสตร์ที่จ�ำเป็นต่อการท�ำงานและการวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสาร เช่น เดียวกับทฤษฎีในศาสตร์ทุกแขนง ทฤษฎีการสือ่ สารมีประโยชน์ตอ่ ชีวติ องค์กร สังคม และโลก ทัง้ โดยทางตรงและ ทางอ้อม การศึกษาหรือการท�ำงานทีป่ ราศจากหลักการหรือทฤษฎี ย่อมเปรียบเสมือนการ แล่นเรือออกไปสู่จุดหมายปลายทางอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร โดยปราศจากความรู้ทาง ภูมิศาสตร์ อุตุนิยม ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นอกจากจะขาดประสิทธิผล (คือแล่นเรือ ไปไม่ถงึ จุดหมายปลายทาง) หรือขาดประสิทธิภาพ (คือแล่นเรือไปถึงช้ากว่าก�ำหนด) แล้ว ยังมีความเสีย่ งต่อความเสียหาทีส่ ำ� คัญสองประการคือ ความเสียหายจากภัยอันตราย (เช่น เรือเกยหินโสโครกหรือเรือแตกเพราะพายุ) และความเสียหายจากการพลาดโอกาส (เช่น ท้องเรือว่าง ยังบรรทุกสินค้าบางประเภทได้อีก แต่ไม่รู้ไม่สนใจความต้องการ ของตลาด) ในทางนิเทศศาสตร์ ความเสียหายจากภัยอันตราย (risk cost) เห็นได้ชัดจาก การสื่อสารโดยไม่รู้กฎหมายหรือจริยธรรมและการสื่อสารโดยไม่รู้หลักจิตวิทยา ความเสียหายจากการพลาดโอกาส (opportunity cost) อาจได้แก่ การบริหาร สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์โดยขาดความรู้หรือไม่ค�ำนึงถึงศักยภาพของเครื่องส่งหรือของ บุคลากร การไม่ถอื โอกาสสือ่ สารท�ำความเข้าใจเมือ่ เราได้พบบุคคลทีม่ ปี ญ ั หาขัดแย้งกับเรา ทั้งนี้เพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมของนิวคอมบ์ ซึ่งบอกว่าการสื่อสาร ระหว่างบุคคลเป็นโอกาสส�ำคัญของการประนีประนอมความคิดความเข้าใจซึง่ กันและกัน ความเสียหายอันเกิดจากการพลาดโอกาสในทางนิเทศศาสตร์ อาจมีผลกระทบ รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การมิได้รายงานหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสภาพอากาศให้ ชาวประมงทราบ อาจท�ำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อชีวติ และเรือประมง ดังเช่น

-11-


กรณีพายุที่ขึ้นฝั่งภาคใต้ของไทย หลายครั้ง การมิได้สื่อสารสร้างความอบอุ่นในครอบครัว อาจน�ำไปสู่การติดยาของลูก หลาน หรือแม้แต่การฆ่าตัวตายตามทฤษฏีของเอมิลดูรแกง (Émile Durkheim) นัก สังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้เขียน “Le Suicide” (การฆ่าตัวตาย) ในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งได้ เสนอว่าสาเหตุส�ำคัญอย่างหนึ่งของการฆ่าตัวตาย คือความวิปริตผิดปกติ (anomaly) ที่ มิได้มีการระบายถ่ายเทด้วยการสื่อสารกับบุคคลอื่น

วิวัฒนาการของทฤษฎีการสื่อสาร ยุคก่อนทฤษฎีการสื่อสาร ยุคก่อนทฤษฎี (pre-theoritical period) อาจย้อนหลังไปหลายล้านปี เมือ่ สัตว์ ประเภทหนึ่งได้มีวิวัฒนาการมาสู่ความเป็นมนุษย์นับกลับมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิวัฒนาการสามพันห้าร้อยล้านปีของสมองชีวิต (brain of life) ได้สร้างเสริม ให้สมองของมนุษย์มีสมรรถนะหลายพันล้านเท่าของสมองแบคทีเรีย และนี่เองที่ท�ำให้ มนุษย์วานรได้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ผู้ช�ำนาญในการใช้มือ (homo habills) มนุษย์ผู้ ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) มนุษย์ผู้ฉลาด (homo sapiens) และมนุษย์ผู้ฉลาด แสนฉลาด (homo sapiens sapiens) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตลอดช่วงระยะเวลาของวิวัฒนาการสมองได้ท�ำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการ สื่อสาร 2 ระบบ คือ (1) การสื่อสารภายในร่างกาย และ (2) การสื่อสารระหว่างร่างกาย กับภายนอก ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ (species) เดียวกัน และกับสิ่งภายนอกที่รับรู้ได้ โดยอาศัยช่องทางหรือประสาทการสื่อสาร 1. การสือ่ สารภายในร่างกายเป็นไปทัง้ โดยมีจติ ส�ำนึก (conscious) จิตใต้สำ� นึก (subconscious) และจิตไร้ส�ำนึก (unconscious) จิตส�ำนึกและจิตใต้สำ� นึกอยูเ่ ฉพาะภายในสมอง จิตส�ำนึกอยูใ่ นรูปแบบของการ

-12-


-13-


ส�ำนึกรูแ้ ละการคิด จิตใต้สำ� นึกส่วนใหญ่ “ซ่อนเร้น” อยูใ่ นส่วนเล็ก ๆ ของสมองทีท่ ำ� หน้าที่ เป็นศูนย์เก็บความจ�ำ คือ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ส่วนจิตไร้ส�ำนึก หมายถึง การ สื่อสารระหว่างสมองกับทุกเซลล์และทุกอวัยวะภายในร่างกาย 2. การสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับภายนอกร่างกายของตนเอง หรือกับสิ่ง แวดล้อม ส่วนใหญ่กระท�ำโดยจิตส�ำนึกที่เกิดจากการส่งสาร และรับสารผ่านประสาท การรับรู้ แต่กม็ กี ารสือ่ สารกับภายนอกอีกส่วนหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในระดับจิตใต้สำ� นึก เพราะใน บรรดารูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส ที่ผ่านตาม ลิ้น จมูก หู หรือผิวหนังเข้าสู่สมองของ เรานัน้ จะมีเพียงส่วนเดียวทีเ่ รารับรูใ้ นระบบจิตส�ำนึกของเรา นอกจากนัน้ อาจจะผ่านเข้า ทางระบบจิตใต้สำ� นึก เช่น เสียงของท�ำนองเพลง (melody) ทีข่ บั ร้องโดยนักร้องเพียงคน เดียว มักจะผ่านเข้าทางระบบจิตส�ำนึกแต่เสียงประสาน (harmony) ของเครือ่ งดนตรีนบั ร้อยชิ้นมักจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้ส�ำนึก กระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งมีชีวิต แต่ เมื่อสิ่งมีชีวิตได้วิวัฒนามาเป็นมนุษย์ กระบวนการสื่อสารก็ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมาก ขึ้น มีพลัง สมรรถภาพและสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น เฉพาะภายในร่างกายก็ได้มีพัฒนาการ ของเนื้อเยื่อใหม่ (neocortex) ของสมองส่วนบน ที่ท�ำให้มีการเรียนรู้ การคิด เกิดปัญญา (intellignce) และภูมปิ ญ ั ญา (wisdom) ทีเ่ หนือกว่าสัตว์อนื่ ๆ แม้ในหมูส่ ปีชสี ท์ คี่ ล้ายคลึง กับมนุษย์ อาทิ ลิงชิมแปนซี หรือลิงโบโนโบ ส่วนด้านภายนอกร่างกาย มนุษย์ก็ได้อาศัยสมองปัญญาและมือซึ่งเป็นมรดก ของมนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) สร้างเครื่องมือหรือส่วนขยายของมือ (extension of hands) นับตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงสถานีอวกาศ อย่างไรก็ตาม กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ตั้งแต่จุดแรกเริ่มก�ำเนิดมนุษย์ จนถึงเอประมาณห้าแสนปี ก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือ เป็นสิง่ ทีเ่ กิดมาพร้อมกับชีวติ และต้องด�ำเนินไปเพือ่ ตอบสนองความต้องการของชีวติ เป็น สิ่งที่ต้องมีเพื่อชีวิต (communication for life) และเป็นสิ่งที่ต้องท�ำโดยอัตโนมัติ และ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือละเลยได้ (compulsory communication)

-14-


การสื่อสารโดยธรรมชาติตอบสนองความต้องการทางเพศและความต้องการ ทางสังคม เพื่อท�ำให้อัตตา (self) ชาติพันธุ์ (race) และสปีชีส์ (species) ของตนอยู่รอด ปลอดภัย นั่นคือ บทบาทหน้าที่ (function) ที่เป็นเหตุผลหลักของการที่มนุษย์จะต้องมี การสือ่ สาร ส่วนบทบาทหน้าทีอ่ นื่ ก็เพิม่ เสริมเข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพือ่ ตอบสนองความ ต้องการพื้นฐานที่ขยายออกมาถึงระดับชื่อเสียง ความภาคภูมิใจและอ�ำนาจเหนือผู้อื่น กระนั้นก็ตาม บทบาทหน้าที่ในการอยู่รอดปลอดภัยของชีวิตและสังคมก็ยังมี ความส�ำคัญเป็นอันดับแรกเรื่อยมา ยิ่งมีอันตรายหรืออุปสรรคต่อการอยู่รอดปลอดภัย มาก มนุษย์กย็ งิ่ มีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องพัฒนาการสือ่ สารให้มปี ระสิทธิผลมากขึน้ และนีเ่ อง ที่ท�ำให้สมองของมนุษย์มีพัฒนาการขึ้นในส่วนหน้าด้านซ้ายของเนื้อเยื่อใหม่ จนสามารถ ท�ำให้มนุษย์พูดเป็นค�ำได้เมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อน การสื่อสารเป็นค�ำ (verval communication) หรือการพูดท�ำให้สื่อสารกันได้ เร็วจนสามารถ ทีจ่ ะลดหรือป้องกันอันตรายจากสัตว์รา้ ยหรือมนุษย์กลุม่ อืน่ เพราะมันเป็น ความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องต่อสูเ้ พือ่ ความอยูร่ อดปลอดภัย และนีเ่ องทีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้นของภาษา. จากภาษาพูดมาสู่ภาษาภาพ และภาษาเขียน หลักฐานภาษาภาพทีไ่ ด้พบทีถ่ ำ�้ ลาสโกส์และถ�ำ้ โซเวต์ในฝรัง่ เศส ถ�ำ้ อัลตามิราใน สเปน รวมทัง้ หลายแห่งในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มคี วามหมายเกีย่ วกับอ�ำนาจลึกลับเหนือ ธรรมชาติ ท�ำให้เราต้องสันนิษฐานว่า ภาษาพูดอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการลดหรือขจัด อันตรายต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์เสียแล้ว ไม่ว่าเขาจะอยู่ในท้องถิ่นทวีปใด ภัยอันตรายจากสัตว์หรือมนุษย์กลุม่ อืน่ อาจลดได้ ป้องกันได้โดยการรวมตัวกัน อย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ภาษาพูด แต่ยงั มีภยั อันตรายอีกมากมายหลายอย่างทีม่ นุษย์ตอ้ ง ตกอยู่ในสภาพจนตรอกจนใจ จนท�ำอะไรไม่ได้ แม้จะมีการรวมตัวรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน เข้มแข็งเพียงใดก็ตาม ภัยอันตรายจากพายุ น�ำ้ ท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ฟ้าผ่า เชือ้ โรค และความกลัว อันตรายทีเ่ กิดจากอวิชชา เมือ่ ได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น สุรยิ ปุ ราคา จันทรุปราคา ดาวหาง ดาวตก ภัยอันตรายและความกลัวอันตรายนี่เองที่อาจท�ำให้มนุษย์ต้องท�ำอะไรบาง อย่างเพื่อระบายความรู้สึกกลัว หรือพยายามติดต่อสื่อสารขอความเห็นใจจากอ�ำนาจ

-15-


“ลึกลับ” ที่อาจอยู่เบื้องหลังอาจจะต้องร้อง เต้น เขียนภาพ ฆ่าสัตว์ หรือฆ่ามนุษย์ด้วย กันเองเพื่อบูชายันต์ การพยายามสื่ อ สารกั บ “อ� ำ นาจลึ ก ลั บ ” ก่ อ ให้ เ กิ ด ศาสนาโบราณและ ไสยศาสตร์ของชนเผ่าต่าง ๆ ในทุกทวีป แต่เมือ่ ประมาณสามพันปีศาสดาผูเ้ ปรือ่ งปราชญ์ และทรงปัญญา ได้เสนอหลักศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสันติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ท�ำให้เกิดศาสนาต่าง ๆ ต่อเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ ได้แก่ ฮินดู ขงจื้อ พุทธ คริสต์ อิสลาม สิกข์ (sikn) และบาไฮ การสือ่ สารกลายเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของศาสนาและไสยศาสตร์ ทัง้ ในด้าน การสถาปนาและในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือค�ำสอน การสถาปนาลัทธิความเชือ่ ได้แก่ การสร้างเรือ่ ง (story-making) การเล่าเรือ่ ง (story-telling) เกี่ยวกับอ�ำนาจลึกลับ เทพเจ้า พระเจ้าหรือภูตผีปีศาจ แม้ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ก็ยังมุ่งใช้จิตวิทยาการสร้างเรื่อง สร้างสมมติ เทพ และนิทานชาดก เกี่ยวกับการประสูติในชาติและรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพื่อชักจูงโน้มน้าวประชาชนให้ตื่นเต้น สนใจ และเลื่อมใสศรัทธา อาทิ ลัทธิดินแดน บริสทุ ธิข์ องจีนเชือ่ ว่าถ้ามีศรัทธาในอ�ำนาจของอมิตาภา ซึง่ เป็นพระพุทธเจ้าของเขตปัจฉิม จะได้ไปเกิดใหม่ในแดนสุขาวดี ซึง่ ปราศจากความทุกข์โดยสิน้ เชิง มีพระโพธิสตั ว์หลายองค์ ที่กลับมาเกิดในหลายชาติ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ก่อนที่จะบรรลุการตรัสรู้สูงสุดและกลาย เป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง อวโลกิตศวร ก็ถอื กันว่าเป็นพระโพธิสตั ว์แห่งความเมตตา สงสาร ซึง่ คนจีนเชือ่ ว่าปรากฏออกมาในร่างเจ้าแม่กวนอิม ผูท้ รงเมตตาและให้ทานแก่เด็กคอยช่วยเหลือผูต้ ก ทุกข์ได้ยาก และนักเดินทางในแดนกันดาร ส่วนในจักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ได้สลักเป็นจตุรพักตร์ขึ้นไว้ทั้ง 54 ปรางค์ ในบริเวณปราสาทบายน (ไพชยนต์) ในด้านการเผยแพร่ลทั ธิความเชือ่ หรือค�ำสอนได้มกี ารใช้ปจั จัยกลยุทธ์ ทัง้ ในการ สร้างสือ่ และในการสร้างสาร ศาสนาพุทธสือ่ สารเผยแพร่ดว้ ยภาษาบาลี ซึง่ เป็นภาษาทีช่ าว บ้านอินเดียในยุคนั้นเข้าใจง่ายจนสามารถเข้าถึงหลักการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่าง บุคคลและการสื่อสารสังคมเป็นอย่างดี ทุกศาสนามีการใช้ค�ำอุปมาอุปไมย (metaphor) ที่ท�ำให้เข้าใจค�ำสอนได้อย่างลึกซึ้ง

-16-


ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ ใช้สอื่ สิง่ พิมพ์เผยแพร่ลทั ธิลเู ธอร์อย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1536 โดยนักปฏิรูปศาสนา ฌอง กัลแวง (Jean Calvin) เริ่มต้นด้วย หนังสือ เรื่อง สถาบันศาสนาคริสต์ (“L’ Institution de la Religion Chrétianne”) ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ตั้งวิทยาลัยเผยแพร่ศรัทธา (propaganda fide) ในปี ค.ศ. 1622 เพื่อผลิตมิชชันนารีเป็นสื่อบุคคลออกไปสอนศาสนาในต่างประเทศ นับ ว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่สอนวิชานิเทศศาสตร์ แต่ก็ยังไม่มีองค์ความรู้ที่พอจะ นับเป็นหลักทฤษฎีได้ ในยุคก่อนทฤษฎีนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการ ศึกษาเรื่องการสื่อสาร โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ชาร์ล ดาร์วิน (Charle Darwin) เจ้าของ ทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้เขียนหนังสือรายงานการศึกษาเล่มใหญ่ เรื่อง “The Expression of Emotions in Man And Animals” (การแสดงอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์) ในปี ค. 3ศ. 1872 โดยสรุป ในช่วงก่อนทฤษฎีนี้ ยังมิได้มีการศึกษาการสื่อสารอย่างจริงจัง ทั้ง ในระดับวิชาชีพและวิชาการ ที่เห็นได้ชัดคือยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรการสื่อสารหรือ นิเทศศาสตร์เป็นสาขา (discipline) ในมหาวิทยาลัย แม้ว่าได้มีความพยายามที่จะเรียน รู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสื่อสารบ้างแล้วก็ตาม ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ได้มีการพัฒนาวิชาการทางด้านการสื่อสาร สร้างเป็น ทฤษฎีแนวปฏิบัติส�ำหรับสถานศึกษาในสถาบันชั้นสูง เป็นการน�ำวิชาการสื่อสารเข้าสู่ ยุคทฤษฎีช่วงแรก ก่อนที่จะวิวัฒนาการไปสู่ยุคสมัยนิยม จึงอาจเรียกยุคนี้อีกอย่างหนึ่ง ว่า ยุคก่อนสมัยนิยม (pre-modern age) มีแนวโน้มพัฒนาหลักการรายงานข่าวสาร ในชีวิตประจ�ำวันให้เป็นศิลปะศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า วารสารศาสตร์ (journalism) ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกประมาณทศวรรษ 1890 ถึงประมาณ ทศวรรษ 1920 และช่วงที่สองทศวรรษที่ 1920 ถึงประมาณทศวรรษที่ 1940 1. มีการพัฒนาวิชาการสื่อสาร ใน 6 ด้าน คือ

-17-


1.1 วารสารศาสตร์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ (print journalism) มีการก่อตั้งโรงเรียน หรือสถาบันวารสารศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี และ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (นครนิวยอร์ค) วิชาการวารสารศาสตร์ค่อย ๆ ขยายออกไปครอบคลุมการโฆษณา (advertising) และการประชาสัมพันธ์ (public relations) โดยเฉพาะเมื่อนักหนังสือพิมพ์ต้อง มีส่วนร่วมหรือสัมผัสกับงานการสื่อสารทั้งสองแขนง เอ็ดเวิร์ด แบร์เนส์ (Edward Bernays) หลานของซิกมุนด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เริ่มสร้างทฤษฎีการประชาสัมพันธ์เป็นก้าวแรก หลังจากที่ไอวีลีตั้งส�ำนักงาน ประชาสัมพันธ์แห่งแรก ที่นิวยอร์ก ในปี 1903 1.2 วิชาการภาพยนตร์ ค่อย ๆ เริ่มเจริญเติบโตในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยเฉพาะเมื่อ มีการสถาปนาระบบดารา (star system) ขึ้นในฮอลลีวูด ในปี 1910 และภาพยนตร์ อเมริกนั ประสบความส�ำเร็จในการขยายอิทธิพลของฮอลลีวดู ออกไปทัว่ โลกตัง้ แต่ปี 1919 1.3 การปฏิวัติทางโทรคมนาคม ก่อให้เกิดการพัฒนาวารสารศาสตร์ทางวิทยุและ โทรทัศน์ (Broadcast journalism) การประดิษฐ์เครือ่ งส่งสัญญาด้วยคลืน่ วิทยุของไฮน์รคิ เฮิรต์ ส์ (Heinrich Hertz) น�ำมาสู่การก�ำเนิดสื่อใหม่ คือวิทยุกระจายเสียงส�ำหรับนักวารสารศาสตร์สมัยใหม่ จะได้ ใช้ในการรายงานข่าวสารเป็นประจ�ำวัน เริม่ ตัง้ แต่ปี 1920 ทีส่ ถานีเชล์มฟอร์ดในประเทศ อังกฤษและปี 1921 ที่สถานีหอไอเฟล ประเทศฝรั่งเศส 1.4 ทางด้านหนังสือ เริ่มเกิดมีวรรณกรรมมวลชน (Mass Literature) โดยการบุกเบิกของนัก เขียนอเมริกัน ชื่อ เอช จี เวลส์ (H.G. Wells) นักเขียนอังกฤษชื่อ ดี เอ็ช ลอเรนซ์ (D.H. Lawrence) และนักเขียนฝรั่งเศส ชื่อ จูลส์ เวร์น (Jules Verne) มีการเขียนเรื่องแนว วิทยาศาสตร์เพือ่ ป้อนสถานีวทิ ยุกระจายเสียงและภาพยนตร์ หนังสือกลายเป็นสือ่ มวลชน ประเภทช้า (slower media) ที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญของการพัฒนาสื่อมวลชนประเภทเร็ว (faster media) ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ 1.5 ทางด้านสังคมวิทยาการสื่อสาร (Sociology of Communication)

-18-


เอมีล ดูรแกง (Émile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสท�ำการวิจัยเกี่ยว กับความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการฆ่าตัวตาย สร้างเป็นทฤษฎีอัตวินิบาตกรรม (Théorie de Suicide 1897) ที่เสนอว่าสังคมที่มีระดับการสื่อสารระหว่างบุคคลต�่ำจะ มีอตั ราการฆ่าตัวตายสูง ทฤษฎีนยี้ ำ�้ ให้เห็นบทบาทและความส�ำคัญของการสือ่ สารทีม่ ตี อ่ การแก้ปัญหาสังคม 1.6 ทางด้านจิตวิทยาการสื่อสาร (Psychology of Communication) ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เขียนหนังสือเกี่ยวกับการตีความหมาย หรือการท�ำนายฝัน (1900) และเรียงความสามเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเพศ (1905) อาจถือได้ ว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารภายในบุคคล (intrapersonal communication) อย่างลึกซึง้ จริงจัง ทัง้ ในด้านทฤษฎีและการปฏิบตั ิ ซึง่ รูจ้ กั กันทัว่ ไปในนามของ จิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) และจิตบ�ำบัด (psychotherapy) 2. ในช่วงที่สอง (ทศวรรษ 1920 ถึงทศวรรษ 1940) เป็นช่วงที่โลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เผชิญกับวิกฤตการณ์ร้ายแรง คือภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ (Depression) ในปี 1929 ผนวก กับความเติบโตของลัทธินาซีในเยอรมนี และลัทธิฟาสชิสต์ในอิตาลี ทีน่ ำ� ไปสูส่ งครามโลก ครั้งที่สอง (1939 – 1945) ในช่วงที่สองนี้ อาณาเขตของทฤษฎีการสื่อสารได้ขยายออกไปครอบคลุม รัฐศาสตร์ของการสื่อสาร (Politics of Communication) เกิดปรากฏการณ์ที่อาจ วิเคราะห์เชิงทฤษฎีออกได้เป็น 3 ปทัสถาน คือ ทฤษฎีเสรีนิยมแบบตะวันตก (Western Libertarianism) ทฤษฎีอำ� นาจนิยมนาซีและฟาสชิสต์ (Nazi-Fascist Authoritarianism) และทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ (Marxist-Leninist Totalitarianism) 2.1 ทฤษฎีอ�ำนาจนิยมนาซีและฟาสชิสต์ หลักการและกลยุทธ์การสื่อสารได้ถูกน�ำมาใช้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เยอรมนียุค ฮิตเลอร์และอิตาลียคุ มุสโสลินี พัฒนากลไกการโฆษณาชวนเชือ่ (propaganda machine) ตั้งแต่ระดับแผนกขึ้นไปสู่ระดับกระทรวง ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง ละครและ ภาพยนตร์ ในการปฏิบัติการทางจิตวิทยา (psychological actions) โน้มน้าวจูงใจให้ หลงเชื่อในลัทธิถือเชื้อชาติผิวพรรณ (racism) และการก�ำจัดศัตรูของสังคม

-19-


โจเซฟ เกิบเบลส์ (Joseph Goebbels) ประสบความส�ำเร็จสูงในการแปร กลยุทธ์จติ วิทยาการสือ่ สาร ออกมาเป็นโครงสร้างของรัฐทีม่ ปี ระสิทธิภาพในการปลุกระดม คนเยอรมันให้ท�ำตามความคิดของผู้น�ำ (Führer) อย่างมัวเมา จนถึงกับร่วมกันสังหารยิว หลายล้านคนด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณ แซร์จ ชาโกตีน (Serge Tchakhotine) ศาสตราจารย์จิตวิทยาสังคมแห่ง มหาวิทยาลัยปารีส ศึกษายุทธการการโฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนี เขียนเป็นหนังสือ เล่มส�ำคัญประกอบการบรรยายเรื่อง “Le Viol des Foules par la Propagande Politique” (การข่มขืนฝูงชนด้วยการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง) ตีพิมพ์ในปี 1940 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเพียงสองเดือน อีกเรือ่ งหนึง่ คือ “ปรัชญาและโครงสร้างของฟาสซิสต์เยอรมัน” โดยโรเบิรต์ เอ แบรดี (Robert A. Brady) ศาสตราจารย์วชิ าเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตีพิมพ์ในอังกฤษปี 1937 ยุทธการการโฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนี เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองและ สังคมทีผ่ ลักดันให้เห็นความส�ำคัญของการศึกษาวิชาการรณรงค์ทางการเมืองและสาธารณ มติ (Political Campaign and Public Opinion) ในสาขาจิตวิทยาสังคม รัฐศาสตร์ และ นิเทศศาสตร์ ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง วอลเตอร์ ลิปมันน์ (Walter Lipmann) นักวารสารศาสตร์อเมริกันเขียนเรื่อง “สาธารณมติ” (1922) แฮโรลด์ ดี ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ศาสตราจารย์ รัฐศาสตร์อเมริกันเขียนเรื่อง “เทคนิคการโฆษณาชวนเชื่อในสงครามโลก” (1927) และ “การโฆษณาชวนเชือ่ และเผด็จการ” (1936) ทัง้ สองนับว่าเป็นผูบ้ กุ เบิกคนส�ำคัญให้สาขา วิชาการสือ่ สารการเมืองขึน้ มาเคียงข้างสาขาวิชาการสือ่ สารองค์กรทีม่ กี ารประชาสัมพันธ์ เป็นแกนหลัก ในช่วงที่สองของยุคต้นนี้ นักวิชาการหลายคนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ ท�ำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อและข่าวสารสรงคราม เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์การ สื่อสารต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายอักษะในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง นักคณิตศาสตร์ พอล เอฟ ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) เป็นคนหนึ่ง ทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นหัวหน้าส�ำนักงานวิจยั วิทยุของมูลนิธริ อคกีเ้ ฟลเลอร์ และต่อมาเป็น

-20-


นักวิจยั ทีป่ รึกษาของส�ำนักงานสารนิเทศสงคราม เขาได้ผลิตผลงานวิจยั ทีส่ ำ� คัญหลายชิน้ รวมทัง้ การสร้างสมมติฐานการไหลสองทอดของข่าวสาร (Two-step flow hypothesis) หลายเป็นคนหนึ่งที่ร่วมวางรากฐานการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีการสื่อสารในสหรัฐอเมริกา ทั้ง ๆ ที่เขาเคยเป็นเพียงผู้ได้รับทุนร๊อกกีเฟลเลอร์ผ่านทางมหาวิทยาลัยเวียนนาที่เขาได้ รับปริญญาเอกทางคณิตศาสตร์ 2.2 ทฤษฎีเสรีนิยมแบบตะวันตก จากการทีจ่ ะต้องเข้าร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตรทัง้ ในแนวหน้าและแนวหลัง รวมทัง้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต�่ำภายในประเทศ ท�ำให้ประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดีโรสเวลต์ เองก็ตอ้ งหันมาพึง่ พากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ทัง้ ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เขาได้สร้างลัทธินวิ ดีล (New Deal) เพือ่ แก้ปญ ั หาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง และระหว่างเศรษฐีนายทุนกับคนจน ได้ใช้บุคลิกเฉพาะตนที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความมีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุกระจายเสียงในการจูงใจคนอเมริกัน ให้เห็นความจ�ำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร นับว่าเป็นการน�ำหลักการและ ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ของภาคเอกชนไปใช้ในภาครัฐได้อย่างผล หลังสงครามจึงได้มี การเปิดสอนวิชาการสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) และบริการข่าวสาร สาธารณะ (Public information Service) ทั้งในอเมริกาและยุโรปกลายเป็นแขนงวิชา หนึ่งของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยที่เรียกว่า “การประชาสัมพันธ์ภาครัฐ” หรือ “การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล” ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีการสื่อสารภายในกรอบปทัสถาน การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย 2.3. ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมแบบมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ ส�ำหรับในสหภาพโซเวียต ตัง้ แต่การปฏิวตั ริ สั เซีย ในปี 1920 เลนินเขียนทฤษฎี การเมืองแนวสังคมนิยมหลายเล่ม ในส่วนทีเ่ กีย่ วกับการสือ่ สารมวลชน เขาได้เสนอแนวคิด ส�ำคัญที่ว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นของรัฐโดยการควบคุมของพรรค มีหน้าที่ในการให้การ ศึกษาแก่ชนชั้นกรรมาชีพ มิใช่ท�ำธุรกิจขายข่าวเช่นในประเทศเสรีนิยม ซึ่งสื่อมวลชนมัก จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือของนายทุน ทฤษฎีพื้นฐานอุดมทัศน์มาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์ผสมผสานกันออกมาเป็น ทฤษฎีมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ (Marxism-Leninism) ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศ

-21-


คอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและเวียตนาม มองในแง่ทฤษฎีปทัสถาน (normative theory) ทฤษฎีมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ สร้างรัฐเบ็ดเสร็จนิยม (totalitarian state) ทีร่ ฐั มีอำ� นาจเต็มในการด�ำเนินงานการสือ่ สาร มวลชน เพื่อให้เป็นกลไกการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda machine) ที่จะปลุกระดม มวลชนและผลักดันประเทศไปสู่ความเป็นสังคมนิยมที่สมบูรณ์ การศึกษาวารสารศาสตร์สังคมนิยม (socialist journalism) ในประเทศ คอมมิวนิสต์จึงได้มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายอุดมการณ์นี้นับตั้งแต่ทศวรรษ 1920 เรื่อยมา จนถึงครึ่งหลังของศตวรรษ 20 คู่ขนานมากับวารสารศาสตร์นิยม (liberal journalism) ในประเทศตะวันตกและที่นิยมตะวันตก ทฤษฎีการสื่อสารยุคกลาง ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนมาถึงทศวรรษ 1970 อาจเรียกได้วา่ เป็นยุคโมเดิรน์ นิสต์ (modernism) มีแนวโน้มส�ำคัญสามประการคือ 1. การวิพากษ์ทฤษฎีการสื่อสารของกลุ่มอ�ำนาจนิยม และเบ็ดเสร็จนิยม 2. การก่อเกิดทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา หรือนิเทศศาสตร์พัฒนาการ (Development Communication Theory 3. การวิพากษ์ลทั ธิสมัยนิยม (modernism) ทีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้นของลัทธิหลังสมัย นิยม (postmodernism) 4. การพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีอันเป็นที่มาของศาสตร์แห่งการสื่อสาร มวลชน 1. ในภาพรวม การวิพากษ์ทฤษฎีของกลุ่มอ�ำนาจนิยมและเบ็ดเสร็จนิยม ก็คือ การวิเคราะห์เชิงมานุษยวิทยาว่าเป็นแนวคิดที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ปิดกั้นเสรีภาพ ทางการเมืองของปัจเจกชน ใช้สื่อมวลชนปฏิบัติการทางจิตวิทยาอย่างเข้มข้นเพื่อผล ทางการเมืองของฝ่ายเผด็จการ สื่อมวลชนมีประสิทธิผลสูงในเชิงการเมือง แต่ขาดคุณค่า

-22-


ในเชิงมนุษยธรรม การวิพากษ์ได้ก่อให้เกิดทฤษฎีหลากหลายที่เกี่ยวกับผลและอิทธิพลของสื่อใน เชิงลบ อาทิ กลุม่ ทฤษฎีผลอันไม่จำ� กัดของสือ่ (unlimited effects) ได้แก่ ทฤษฎีกระสุนปืน (magic bullet theory) และทฤษฎีกระสุนเงิน (silver bullet theory) ซึ่งเชื่อว่าการ โฆษณาชวนเชื่อของสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความเชื่อและพฤติกรรมของมวลชนอย่าง มหาศาล เช่น ในกรณีที่ฮิตเลอร์กระท�ำต่อประชาชนชาวเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทฤษฎีเข็มฉีดยา (hypodermic needle theory) ทีพ่ ยายามแสดงให้เห็นว่าสือ่ มวลชน สามารถอัดฉีด “สารอย่างเดียวกัน” แก่สมาชิกทั้งหมดของสังคมมวลชนอย่างได้ผล กลุ่มทฤษฎีนี้ต่อมาถูก “ลบล้าง” ด้วยกลุ่มทฤษฎีผลที่จ�ำกัดของสื่อ (limited effects) ที่อ้างปัจจัยตัวแปรต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา หรือรัฐศาสตร์ที่สามารถจ�ำกัดผลของสื่อได้ ทาง ด้านจิตวิทยา เช่น กระบวนการเลือกสรร (selective process) ความน่าเชื่อถือของ แหล่งสาร (source credibility) กระบวนการยอมรับนวัตกรรม (innovation adoption process) ทฤษฎีแรงเสริม (reinforcement theory) ทางด้านสังคมวิทยา เช่น แบบจ�ำลองการเกี่ยวโยงพึ่งพากันของผลจาก สื่อมวลชน (dependency model of media effects) สมมติฐานการไหลสองทอดของ การสือ่ สาร (two-step flow of communication) แบบจ�ำลองสังคมวัฒนธรรมและกลุม่ ประเภททางสังคมในกระบวนการโน้มน้าวใจ (sociocultural and social categories models of the persuasion process) ทางด้านรัฐศาสตร์ เช่น ทฤษฎีปทัสถานของการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน (normative theories of media performance) อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์ผลและอิทธิพลของสื่อมิได้จ�ำกัดอยู่เฉพาะผลทาง ตรงเท่านั้น หากมุ่งมองไปที่ผลทางอ้อมด้วย ทฤษฎีส�ำคัญที่ยังศึกษากันจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ทฤษฎีคนเฝ้าประตู (gatekeeper theory) ซึ่งเคิร์ท ลูอิน (Kurt Lewin) เป็นผู้ เริ่มเสนอในปี 1947 ว่าสื่อมวลชนเป็นผู้กลั่นกรองคัดเลือกข่าวให้เหลือน้อยลงเพื่อการ เสนอต่อประชาชน แสดงให้เห็นอ�ำนาจเด็ดขาดของสื่อมวลชนที่ไม่มีใครเข้าไปเกี่ยวข้อง

-23-


ได้ ทฤษฎีบทบาทหน้าทีใ่ นการก�ำหนดวาระ (agend-setting function) โดยลาซาร์สเฟล ด์ (Lazarsfeld) เริ่มชี้ให้เห็นตั้งแต่ปี 1944 ว่านักการเมืองพยายามโน้มน�ำประชามติให้ สนใจแต่วาระเรือ่ งราวทีส่ อดคล้องสนับสนุนจุดยืนของพรรคตน ซึง่ ต่อมาแม็คคอมบ์และ ชอว์ (McCombs and Shaws) ในปี 1972 ได้เสนอเป็นทฤษฎีที่แสดงอิทธิพลทางอ้อม ของสื่อในการชี้น�ำวาระทางสังคม หรือเรื่องราวที่ต้องให้ความสนใจ แบบจ�ำลองการขยายวงของความเงียบ (spiral of silence) ซึ่งโนแอล-นอ ยมันน์ (Noelle-Neumann) เริม่ เสนอตัง้ แต่ปี 1974 ว่าสือ่ มวลชนเป็นผูส้ ร้างบรรยากาศ ของความคิดเห็น (climate of opinion) ที่ท�ำให้ปัจเจกชนรู้แนวโน้มของประชามติ และ มักจะปิดปากเงียบเมื่อรู้สึกว่าประชามติไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน จ�ำนวนปัจเจกชน ที่ปิดปากเงียบจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามสัดส่วนความเข้มข้นของประชามตินั้น 2. นอกจากแนวโน้มในการวิพากษ์ผลและอิทธิพลของสื่อแล้ว ยุคกลางของ ทฤษฎีการสือ่ สารยังมีแนวโน้มในการเสนอแนวคิดและแนวทางใหม่เกีย่ วกับบทบาทหน้าที่ ของสือ่ มวลชน เพราะมีแรงผลักดันจากผลของสงคราม สงครามท�ำให้เห็นความส�ำคัญของ การบูรณะฟืน้ ฟูพฒ ั นายุโรปตะวันตก การขยายขอบเขตการพัฒนาออกไปสูป่ ระเทศทีย่ งั ด้อยพัฒนาในโลกทีส่ าม รวมทัง้ ความส�ำคัญทีจ่ ะต้องปรับเปลีย่ นบทบาทของสือ่ มวลชนให้ หันมาเน้นสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ต่าง ๆ ทุกทวีป ได้เกิดมีกลุ่มทฤษฎีที่รวมเรียกว่า ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา หรือ นิเทศศาสตร์พัฒนาการ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากนักวิชาการอเมริกันที่ตระหนักในอ�ำนาจ อิทธิพลของสื่อ และประสงค์จะใช้สื่อในแนวทางใหม่ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของโลก โดย เฉพาะในส่วนที่ยังยากจนและมองเห็นว่าล้าสมัย แดเนียล เลอร์เนอร์ (Daniel Lerner) เขียนหนังสือเรื่อง :”The Passing of Traditional Society, Modernization of the Middle East” (การผ่านไปของสังคม ประเพณีดั้งเดิม การท�ำให้ตะวันออกกลางทันสมัย) ในปี 1958 เสนอความคิดให้เปลี่ยน ตะวันออกกลางจากสภาพสังคมประเพณีดงั้ เดิมไปสูค่ วามทันสมัย เป็นหนังสือเล่มส�ำคัญ ที่ชูธงทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาอย่างกล้าหาญ ทฤษฎีของเขาได้รับการสนับสนุนโดยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของรอสตอฟ (Rostow) ที่เสนอในปี 1960 ว่า ประเทศที่ด้อยพัฒนาจะเจริญเติบโตได้ก็ด้วยการท�ำให้

-24-


เป็นประเทศอุตสาหกรรม (industrialization) มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะบินเหิน (takeoff) ขึ้นไปสู่ความทันสมัยได้ หลังจากนั้นอีกสองปี เอเวอเร็ตต์ รอเจอร์ส (Everett Rogers) ทุมเทงานวิจัย และเปิดฉากเสนอทฤษฎีสอื่ สารนวัตกรรม (communication of innovation) ไปทัว่ โลก แนวความคิดของเขามีอิทธิพลเป็นอันมากต่อนักนิเทศศาสตร์ในประเทศที่ก�ำลังพัฒนา โดยเฉพาะแบบจ�ำลองการยอมรับของชาวบ้าน (adoption process model of the peasants) ที่ยังน�ำมาประยุกต์ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ลูเซียนพาย (Ludien Pye) ในปีเดียวกันเขียนเรื่อง “บทบาทของทหารใน ประเทศก�ำลังพัฒนา” แต่ทตี่ อกย�ำ้ ความส�ำคัญของสือ่ มวลชนในการพัฒนามากเป็นพิเศษจนพูดได้วา่ เป็นจุดเริ่มต้นของนิเทศศาสตร์พัฒนาการที่แท้จริงก็คือหนังสือเรื่อง “สื่อมวลชนกับการ พัฒนาประเทศ” (1964) ของวิลเบอร์ชรามบ์ (Wilbur Schramm) นักสังคมวิทยาที่ต่อ มาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิชาการสื่อสารมวลชนที่ส�ำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ทฤษฎีเหล่านี้มุ่งเสนอให้สื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ยังล้าหลัง โดยมองเห็นว่า “การพัฒนาก็คือการ ท�ำให้ทันสมัย” (เลอร์เนอร์) “การพัฒนาคือความมั่นคง” (แม็คนามารา) “การพัฒนาคือ เสรีภาพ” (ฌ็องมาเออ ผูอ้ ำ� นวยการยูเนสโก) “การพัฒนาคือการปฏิวตั ดิ ว้ ยเสรีภาพ” (เฮ อร์เบิร์ต มาร์แชล รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ) แต่ก็ถูกย้อนวิพากษ์ (reverse criticism) ว่าการท�ำให้ทันสมัย (modernization) ก็คือการท�ำให้เป็นตะวันตก (westernization) ท�ำให้เป็นอเมริกัน (Americanization) เป็นการหล่อหลอมโน้มน้าวให้เชื่อในลัทธินิยม (modernism) เป็นเสรีภาพที่น�ำไป สู่ความเป็นทาสความคิดและวัฒนธรรมตะวันตก 3. การวิพากษ์ลัทธิสมัยนิยม (modernism) เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิหลังสมัย นิยม (postmodernism) นักทฤษฎีแนววิพากษ์จ�ำนวนมิใช่น้อยได้ทุ่มเทศึกษาวิจัยเพื่อ โต้แย้งหรือตักเตือนให้ประเทศก�ำลังพัฒนายั้งคิดไตร่ตรองก่อนที่จะทุ่มตัวยอมรับลัทธิ สมัยนิยมจากนักวิชาการชาวอเมริกัน เฮอร์เบอร์ต มาค์คูเซ (Herbert Marcuse) ได้วางรากฐานการวิพากษ์สังคม

-25-


-26-


ไว้ในหนังสือเรื่อง มนุษย์มิติเดียว (One-dimensional Man) ซึ่งเสนอในปี 1964 ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ถกู น�ำมาเป็นบรรทัดฐานความคิดและเครือ่ งมือสร้างความ ทันสมัย ท้ายที่สุดก็ได้ลดระดับการพูดและการคิดของมนุษย์ให้เหลือเพียงมิติเดียว อาทิ การรวบความจริงกับการปรากฏความจริงไว้ดว้ ยกัน การรวบสิง่ ของกับบทบาทหน้าทีข่ อง มันไว้ด้วยกัน การรวบธนบัตรกับความสุขไว้ด้วยกัน ทฤษฎีของเขาสร้างขึ้นตั้งแต่สอนอยู่ที่สาขาปรัชญาในมหาวิทยาลัยฟรังเฟิร์ต ซึง่ รูจ้ กั กันในนามของส�ำนักแฟรงเฟิรต์ (Frankfurt School) มีสว่ นเป็นชนวนให้นกั ศึกษา ลุกฮือต่อต้านสถาบันทุนนิยม (capitalist establishment) และสังคมบริโภค (society of consumption) ทั้งในปารีส และแคลิฟอร์เนีย ในปี 1968 ชื่อของเขาถูกกล่าอ้างว่า อยู่ในกลุ่มสามเอ็ม (3 M’s) ผู้ปฏิวัติสังคม คือ Marx, Mao และ Marcuse เฮอร์เบิร์ต ชิลเลอร์ (Herbert Schillet) แห่งมหาวิทยาลัยซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ผลักดันทฤษฎีวิพากษ์ออกไปสู่ทฤษฎีใหม่ที่อาจเรียกว่าลัทธิ จักรวรรดินิยมทางการสื่อสาร (communication imperialism) โดยการเขียนเรื่อง จักรวรรดิ์อเมริกันกับการสื่อสาร “American Empire and Communicaiton” (1969) ตามมาด้วยหนังสืออีกหลายเล่มที่เป็นศูนย์รวมความคิดต่อต้าน “การรุกรานทาง วัฒนธรรม” ของสหรัฐอเมริกา ติดตามสนับสนุนด้วยงานวิจัยของ คาร์ล นอร์เด็นสเตร็ง (Karl Nordenstreng) ตาปิโอ วารีส (Tapio Varis) จากประเทศฟินแลนด์ สมควร กวี ยะ, บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา จากประเทศไทยและนักคิดนักวิชาการอีกหลายคนจาก ตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ในช่วงทศวรรษ 1970 ในบทความเรื่อง “La Morale des Objects” (วัตถุธรรม) ตีพิมพ์ในวารสา รนิทเทศศาสตร์ของฝรั่งเศส (1969) ฌ็อง โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard) มีส่วนริเริ่ม อย่างส�ำคัญในการสถาปนาทฤษฎีการบริโภคสัญญะ (consumption of signs) ทีป่ ระสม ประสานแนวคิดลัทธินิยมบริโภคของมาร์คูเซและลัทธิจักรวรรดินิยมทางการสื่อสารของ ชิลเลอร์ทฤษฎีบริโภคสัญญะอธิบายว่า ในประเทศทีม่ งั่ คัง่ ฟุม่ เฟือย (Pays de Cocagne) ด้วยลัทธิบริโภค มนุษย์มคี วามสุขความหวังของชีวติ อยูท่ คี่ วามเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่จะท�ำให้เขาได้บริโภควัตถุอย่างฟุ่มเฟือย แต่ในความเป็นจริงเขาต้องบริโภค “สัญญะ ของวัตถุ” ที่มาจากสื่อมวลชนด้วยและโดยทั่วไป “สัญญะ” ก็มักจะไม่ตรงกับ “วัตถุ”

-27-


หรือผลิตภัณฑ์ ทฤษฎีที่วิพากษ์การบริโภคสัญญะ วิเคราะห์ลัทธิบริโภคและวิจารณ์ลัทธิ จักรวรรดินยิ มทางการสือ่ สาร ได้รว่ มกันกระตุน้ เตือนอย่างรุนแรงให้โลกของนิเทศศาสตร์ ผ่านจากยุคสมัยนิยม (modernism) มาสู่ยุคหลังสมัยนิยม (postmodernism) ใน ทศวรรษ 1980 4. การพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีกลายเป็นที่มาของวิชาการสื่อสารมวลชน ย้อนกลับมาที่สหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักคิดนักวิชาการไม่เพียงแต่จะได้ เสนอแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนาและก�ำลัง พัฒนา) เท่านัน้ หากยังได้พยายามศึกษาวิจยั เพือ่ พัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีการสือ่ สาร ของตนเองให้เพิ่มพูนคุณค่าและประสิทธิภาพอยู่โดยตลอด อาจเรียกรวมแนวคิดทฤษฎี เหล่านี้อยู่ในกลุ่มพัฒนาการสื่อสาร (communication development) ซึ่งต่อมายูเนส โกก็ได้น�ำไปเป็นพื้นฐานในการตั้งโครงการนานาชาติ เพื่อการพัฒนาการสื่อสาร (International Program for Communication Development) และญี่ปุ่นก็ได้น�ำแนวคิด ไปสร้างแผนพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศ (Information Network System) ที่เริ่ม ต้นตั้งแต่ปี 1985-2000 ท�ำให้ญี่ปุ่นก้าวเข้ามาสู่สภาพสังคมสื่อสาร (cybersociety) ใน ต้นศตวรรษที่ 21 ทฤษฎีที่ส�ำคัญและเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคมสื่อสารเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบันก็คือ ไซเบอร์เนติกส์ (Cybernetics) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสาร และการควบคุมภายในสัตว์และในเครื่องจักร ซึ่งน�ำเสนอโดยนอร์เบิร์ต วีเนอร์ (Norber Wiener) เมื่อปี 1948 แสดงให้เห็นบทบาทส�ำคัญของสารสนเทศในการเสริมสร้างและ ด�ำรงสังคมมนุษย์ โดยอาศัยกลไกการป้อนไปและป้อนกลับ (feedforward-feedback mechanism) ภายในระบบชีวิตและระบบสังคม ซึ่งถือว่ามีชีวิตเช่นเดียวกัน ชีวิตและ สังคมจะเจริญพัฒนาไปได้กโ็ ดยการพัฒนาระบบการสือ่ สารทีส่ ามารถถ่ายทอดแลกเปลีย่ น สารสนเทศกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีเดียวกัน ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) เสนอทฤษฎีบทบาท หน้าทีข่ องสือ่ มวลชน (functionalism) เสนอให้เห็นชัดเจนเป็นครัง้ แรกว่าบทบาทหน้าที่ ของสื่อมวลชน คือการด�ำรงรักษาและบูรณาการสังคม (social integration) จึงจะต้องมี

-28-


การปรับปรุงพัฒนาสือ่ มวลชนมิให้เกิดความล้มเหลว (dysfunction) ในการปฏิบตั หิ น้าที่ ของตนคือ การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อม การประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้ตอบสนอง ต่อสภาพแวดล้อม และการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม อีกทฤษฎีหนึ่งแม้ในตอนเริ่มต้นมิได้เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนโดยตรง แต่ก็ ถูกน�ำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อมวลชน นั่นคือ ทฤษฎีสารสนเทศ (information theory) ของ แชนนอน และวีเวอร์ (Shannon and Weaver) ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1949 เสนอเป็นแบบจ�ำลองที่วิเคราะห์การถ่ายทอดสารนิเทศ และแสดงให้เห็นการสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจากแหล่งสาร (source) เลือกสาร (message) ถ่ายทอดไป (transmitted) ในรูปแบบของสัญญาณ (signal) ผ่านช่องทางการสื่อสาร (channel) ไป ยังเครือ่ งรับ (receive) ซึง่ แปลงสัญญาณเป็นสารส�ำหรับจุดหมายปลายทาง (destination) ในกระบวนการนี้อาจมีสิ่งรบกวนหรือแทรกแซง (noise or interference) ซึ่งท�ำให้สาร ที่ส่งกับสารที่รับแตกต่างกันได้ แบบจ�ำลองของทฤษฎีสารสนเทศนี้ มีส่วนเป็นแรงบันดาลใจให้ เดวิด เค เบอร์ โล (David K. Berlo) พัฒนาไปเป็นแบบจ�ำลองทางจิตวิทยาว่าด้วยองค์ประกอบของการ สื่อสารระหว่างบุคคลที่รู้จักกันดีในนามของ S M C R (Source, Message, Channel, Receiver) พิมพ์ในหนังสือ ชื่อ “The Process of Communication” (กระบวนการ สื่อสาร” ในปี 1960 แต่องค์ประกอบของกระบวนการการสือ่ สารทีเ่ สนอเพิม่ เติมอย่างมีความส�ำคัญ จากทฤษฎีสารสนเทศของแชนนอน-วิเวอร์ ก็คือการเข้ารหัสและการถอดรหัส (encoding-decoding) ของผู้ส่งสารและผู้รับสารในแบบจ�ำลองเชิงวงกลมของ วิลเบอร์ ชรา มม์ และ ชาร์ลส์ ออสกูด (Wilbur Schramm and Charles osgood) ท�ำให้เห็นว่าการ สือ่ สารของมนุษย์และของสือ่ มวลชนจะมีประสิทธิผลสูงก็ตอ่ เมือ่ การเข้ารหัสถอดรหัสทีด่ ี ผู้สื่อสารทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความรู้ความสามารถในการแปลสารสนเทศ (information) เป็นสาร (messgae) และแปลงสารเป็นสารสนเทศได้ทั้งสองทิศทาง ทฤษฎีอกี กลุม่ หนึง่ ทีน่ ำ� มาประยุกต์ใช้บอ่ ยครัง้ ในการเพิม่ ประสิทธิภาพของการ สื่อสารมวลชนก็คือแนวคิดของแบบจ�ำลองการใช้ประโยชน์และการไดรับความพึงพอใจ (uses and gratifications) โดยเฉพาะของเอลิฮูคัทซ์ (Elihu Katz) และคณะ (1974)

-29-


ซึง่ เสนอว่า “การใช้ประโยชน์และการได้รบั ความพึงพอใจของผูร้ บั สารมาจากการเปิดรับ สารจากสือ่ มวลชนทีเ่ ขาคาดหวังว่าจะให้สารสนเทศตามความต้องการ อันเกิดจากสภาวะ ทางจิตใจและทางสังคม” จากทฤษฎีนที้ ำ� ให้เริม่ ตระหนักว่าสือ่ มวลชนทีป่ ระสบความส�ำเร็จจะต้องมีการ วิเคราะห์วิจัยให้รู้ความต้องการสารสนเทศของประชาชน รวมทั้งสภาวะทางจิตใจและ สังคมอันเป็นที่มาของความต้องการนั้นอยู่ตลอดเวลา ทฤษฎีทกี่ ล่าวข้างต้นมีประโยชน์อย่างยิง่ ต่อการสือ่ สารมวลชน ซึง่ ถือว่าเป็นการ สือ่ สารทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของสังคมสมัยใหม่ (modern society) ในทีส่ ดุ ก็กอ่ ให้เกิดศาสตร์ใหม่ ที่ขยายตัวมาจากวารสารศาสตร์ เรียกว่า วิชาการสื่อสารมวลชน สถาบันการศึกษาหลายแหล่งในสหรัฐอเมริกาได้ต่อเติมชื่อคณะหรือสถาบัน วารสารศาสตร์ เรียกเป็น “วารสารศาสตร์และสื่อสารมวชชน” (Journalism and Mass Communication) ซึ่งในประเทศไทยก็จะเห็นได้ชัดเจนจากกรณีของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ เป็นคณะวารสารศาสตร์และสือ่ สารมวลชนในช่วงทศวรรษ 1970 เช่นเดียวกัน แต่สถาบันการศึกษาอีกส่วนหนึ่งก็ขยายขอบเขตหลักสูตรการศึกษาออกไป ครอบคลุมวาทะวิทยา และศิลปะการแสดง แล้วเรียกรวมว่านิเทศศาสตร์ (Communication Arts) ซึง่ ต้องการให้หมายถึงทัง้ ศิลปะและศาสตร์ของการสือ่ สาร (Art and Science of Communication) ดังเช่นในกรณีของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน ปัจจุบันสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้ค�ำว่า “นิเทศศาสตร์” ยกเว้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งต้อง เน้นความส�ำคัญของวิชาการที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อหลักของสังคมมวลชน

ทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่ประมาณปี 1980 ถึงประมาณปี 1995 และช่วงที่สองประมาณปี 1990 จนถึงปัจจุบัน คือปี 2002

-30-


1. ในช่วงแรก มีแนวโน้มการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการสือ่ สารมาใน 2 ทิศทาง คือ 1.การวิพากษ์เชิงองค์รวม (holistic approach criticism) ที่น�ำโลก การสื่อสารเข้าสู่ยุคหลังสมัยนิยม และ 2.การปฏิรูปแนวคิดและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารในสังคมใหม่ 1.1 การวิพากษ์เชิงองค์รวม หมายถึง การที่นักคิด นักวิจัย จากสาขาวิชาต่าง ๆ หันมาใช้ความคิดเชิงองค์รวม วิเคราะห์และวิพากษ์การสือ่ สารในระบบทุนนิยมเสรีของ สังคมเศรษฐกิจการตลาด (liberal capitalism in market economy) ในเชิงเศรษฐกิจการเมือง เกิดกลุม่ ทฤษฎีการครอบง�ำก�ำหนด (determinism) ที่วิพากษ์ว่าเทคโนโลยีลัทธิสมัยนิยม และลัทธิการแพร่กระจายของรอเจอร์ส (Rogers’s Diffusionism) มีอ�ำนาจในการก�ำหนดชะตากรรมของประเทศ (fatalism) เทคโนโลยี สร้างสื่อให้เป็นพระเจ้า (dei ex machina) และ “เปิดโอกาสให้ชนชั้นน�ำมีอ�ำนาจเหนือ ความรูแ้ ละการตัดสินใจของประชาชน” ตามทัศนะของ ฌ็อง ฟร็องซัวส์ ลีโอตาร์ด (Jean Francois Lyotard) ในหนังสือเรื่อง “La Condition Postmoderne” (1979) มองลึกและกว้างไปในปรัชญาเชิงองค์รวม ฌาคส์แดริดา (Jacques Derrida) และมิแชล ฟูโกลต์ (Michel Foucault) สนับสนุนแนวคิดเชิงวิพากษ์ของลีโอตาร์ด และ เสริมต่อว่าในยุคสือ่ หลากหลาย รัฐบาลและชนชัน้ น�ำยังได้ใช้เทคโนโลยีการสือ่ สารควบคุม พฤติกรรมสังคมแบบตามจ�ำลอง “กวาดดูโดยรอบ” (panopticon) ซึ่งถือว่าเป็นการ ละเมิดสิทธิและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของประชาชน ทั้งสามนักวิชาการจึงได้เสนอ แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า ลัทธิหลังสมัยนิยม (postmodernism) ถือว่าในสังคมใหม่ เอกชน ต้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างระบบสารสนเทศเสรี (free flow of information) ทั้ง ในองค์กรและในสังคม สมควร กวียะ เสนอแนวคิดไว้เมื่อปี 1986 ว่า มองในแง่อ�ำนาจอิทธิพลของ เทคโนโลยี เราอาจแบ่งประเทศในโลกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่ก�ำหนด เทคโนโลยี และกลุ่มประเทศที่ถูกก�ำหนดโดยเทคโนโลยี กลุ่มแรกสร้างเทคโนโลยีเพื่อ ตอบสนองความต้องการของสังคม กลุม่ ทีส่ องถูกเทคโนโลยีจากกลุม่ แรกเข้ามาก�ำหนดวิถี ชีวิต และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ก่อให้เกิดความเสียเปรียบทั้งด้านเศรษฐกิจ

-31-


การเมือง และสังคมวัฒนธรรม ประเทศจะต้องใช้เงินมหาศาล เป็นต้นทุนของการท�ำเผื่อ ท�ำเกินอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จ�ำเป็น (redundancy cost) รวมทั้งต้นทุนของการสูญเสีย โอกาสในการผลิตเทคโนโลยีของตนเอง (opportunities cost) วิสาหกิจหรือการประกอบการ (entreprise) ในทศวรรษ 1980 มีลักษณะเป็น นามธรรม และหลากหลายรูปแบบเต็มไปด้วยภาษาสัญลักษณ์ และกระแสการสื่อสารที่ เป็นบ่อเกิดของการปรับโครงสร้าง และล�ำดับชั้นของการพึ่งพาอาศัยกันในระดับโลก แต่ การต่อสูแ้ ข่งขันทีข่ ยายขอบเขตและเพิม่ ความเข้มข้นได้บบี บังคับให้เจ้าของกิจการและผู้ บริหารต้องน�ำความรุนแรง และความวิจิตรวิตถาร (violence and hardcore fantasy) ของศิลปะประยุกต์มาใช้ในการสื่อสารและวิทยายุทธ์การบริหารองค์กร วัฒนธรรมการโฆษณาและการโฆษณาชวนเชื่อแอบแฝงตามแบบฮอลลีวูด (Hollywoodian hidden propaganda) แทรกซึมเข้าไปสู่วิถีและวิธีการสื่อสารของ มนุษย์ในสังคมหลังสมัยใหม่ จนถึงขนาดที่อาจมีส่วนในการสร้างวัฒนธรรมสงครามเย็น หรือแม้สงครามยิง 1.2 แนวโน้มที่สองในช่วงแรกของทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน คือการปฏิรูป แนวคิดและแนวทางของการพัฒนาการสื่อสารในสังคมใหม่ สังคมใหม่ต้องอาศัยสารสนเทศเป็นปัจจัยหลักของการสร้างและธ�ำรงพัฒนา สังคม จึงต้องสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ ทั้งในองค์กรและในสังคม บนพืน้ ฐานแนวคิดจากรายงานเรือ่ ง L’ Informatisation de la Societe (การ สร้างสังคมให้เป็นระบบสารสนเทศ) ของซิมองโนรา และอะแลงแมงก์ (Simon Nora และ Alain Minc) ที่เสนอต่อรัฐบาลฝรั่งเศส ในปี 1978 องค์กรกลายเป็นองค์กรสารสนเทศ (Information Organization) สังคมกลายเป็นสังคมสารสนเทศ (Information Society) ต้องอาศัยการสนับสนุนทางเทคโนโลยีจากระบบคอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็นปัจจัยหลักของการ สร้างระบบสารสนเทศ (Informationization) สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น จึงเริ่มวางแผนพัฒนานิทศทางนี้มา ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 แผนของญี่ปุ่นด�ำเนินงานโดยบรรษัทโทรเลขและโทรศัพท์แห่ง ชาติ (NTT) ภายใต้โครงการ 15 ปี เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศ (Information Network System) กลายเป็นแม่แบบส�ำคัญส�ำหรับสาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย และ

-32-


ประเทศก�ำลังพัฒนาอีกหลายประเทศ จุดมุ่งหมายก็เพื่อน�ำเทคโนโลยีของชาติมาสร้าง สังคมสารสนเทศที่พึ่งตนเองได้ ต่อมาภายหลังความหมายของค�ำ “สังคมสารสนเทศ” ได้ขยายครอบคลุม มาถึงค�ำ “สังคมความรู้” (Knowledge Society) และ “สังคมสื่อสาร” (Cyber หรือ Communication Soiety) สังคมความรู้ หมายถึง สังคมสารสนเทศทีเ่ น้นสารสนเทศประเภทความรูส้ ำ� คัญ กว่าประเภทอืน่ เพราะเชือ่ ว่าความรูค้ อื สารสนเทศทีพ่ สิ จู น์สรุปแล้วว่าเป็นความจริง และ มีสาระพร้อมจะน�ำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตและสังคม สังคมสื่อสาร คือ สังคมสารสนเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีเครื่องมือสื่อสารหรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) พร้อมทีจ่ ะสือ่ สารกันได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง อาณาบริเวณของการสือ่ สาร ครอบคลุมทุกท้องถิน่ ของสังคม และสามารถ ขยายออกไปได้ทั่วโลกในยุคโลกาภิวัตน์ (globalisation) ทฤษฎีโลกาภิวตั น์ถอื ก�ำเนิดขึน้ ในบทความเรือ่ ง Globalization ทีศ่ าสตราจาร ย์ธีโอดอร์ เววิตต์ (Theoder Levitt) เสนอในวารสาร “Harvard Business Review” เมื่อปี 1983 แม้ว่าก่อนหน้านั้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการใช้ค�ำนี้กันแล้ว ในทางด้านการเงิน (financial globalization) มีความหมายถึงการค้าข้ามพรมแดนใน ระบบการเงินระหว่างประเทศ 2. ในช่วงที่สองของทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณกลาง ทศวรรษ 1990 มาถึงปี 2002 นับว่าเป็นช่วงวิกฤตทางทฤษฎี (Theoritical Crisis) ทีส่ ำ� คัญ มากอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ทฤษฎีการสื่อสาร ทั้งนี้เพราะถึงแม้โลกจะมีเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตที่สามารถท�ำให้ทุกองค์กรและทุกสังคมติดต่อ เชื่อมโยงกันได้ในอาณาจักรไซเบอร์ (Cyberspace) หรือโลกไซเบอร์ (Cyberworld) แต่โลกภายใต้การบริหารจัดการขององค์กรโลก หรือสหประชาชาติก็ยังอยู่ในสภาพไร้ ระเบียบและแตกแยกจลาจลกันจนถึงขั้นท�ำศึกสงคราม รายงานการศึกษาปัญหาการสือ่ สารของโลก โดยคณะกรรมาธิการ “แม็คไบรด์” ของยูเนสโก ได้พบมาตั้งแต่ปี 1978 ว่า ในโลกหนึ่งเดียวนี้มีหลายความคิด หลายความ เชื่อ หลายความเห็น (“Many Voices, One World” ชื่อของรายงานที่พิมพ์เป็นหนังสือ

-33-


ในปี 1979) แต่ที่โลกมีปัญหาก็เพราะว่าประเทศต่าง ๆ และสังคมวัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ พยายามสือ่ สารท�ำความเข้าใจและประนีประนอมยอมรับกัน ทัง้ นีเ้ พราะมีทฐิ ใิ นลัทธิความ เชื่อของตน หรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันในทางเศรษฐกิจการเมือง จนกระทั่งทศวรรษ สุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ทิฐหิ รือความขัดแย้งเหล่านัน้ ก็ยงั ไม่บรรเทาเบาบาง แต่กลับยิง่ รุนแรงจนกลายเป็นความตึงเครียดระหว่างภูมริ ฐั ศาสตร์ (geopolitics) ภูมเิ ศรษฐศาสตร์ (geoeconomics) และภูมสิ งั คมวัฒนธรรม (geosocio-culture) อาณาจักรทางเศรษฐกิจ ของโลกขยายเข้าไปก้าวก่ายแทรกซ้อนกับอาณาจักรทางการเมือง การปกครอง ซึง่ มีความ เหลื่อมล�้ำกันอยู่แล้วกับอาณาจักรทางสังคมวัฒนธรรม ความตึงเครียด (tension) กลาย เป็นความเครียดของโลก (world stress) ที่บั่นทอนทั้งสุขภาพกายและจิตของประชากร การท�ำศึกสงคราม การก่อการร้าย การต่อสู้เชิงกลยุทธ์เศรษฐกิจ หรือแม้แต่ การแข่งขันกันในเชิงอุตสาหกรรม กลายเป็นสิ่งที่บ่อนท�ำลายคุณภาพชีวิต คุณภาพของ สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขวัญ ก�ำลังใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ ของมนุษยชาติ ท้ายที่สุดความขัดแย้งในความเป็นจริงก็น�ำมาสู่ความรู้สึกขัดแย้งในเชิงทฤษฎี เข้าท�ำนอง “สื่อยิ่งมาก การสื่อสารยิ่งน้อย” (The more the media, the less the communication) ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าสื่อส่วนใหญ่มักถูกใช้เพื่อสร้างสังคมบริโภค ที่มนุษย์แข่งขันกันด้วยการโฆษณาสินค้าฟุ่มเฟือย หรือโฆษณาชวนเชื่อลัทธิเศรษฐกิจ การเมืองที่ไม่ค�ำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ สื่อส่วนน้อยเท่านั้น ที่ถูกใช้เพื่อสร้างสังคมสารสนเทศหรือสังคมความรู้ที่แท้จริง ซึ่งมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยสติ ปัญญาและคุณธรรมความรับผิดชอบร่วมกัน แต่เหตุผลที่แน่นอนก็คือ ทฤษฎีการสื่อสารตั้งแต่ก่อนยุคทฤษฎี ยุคสมัยนิยม ยุคหลังสมัยนิยม แม้มีการวิพากษ์วิจารณ์ และปรับปรุงพัฒนามาแล้วเพียงใด ทฤษฎีการ สือ่ สารก็ยงั อยูใ่ นกรอบของปรัชญาตะวันตกทีเ่ น้นเทคนิคนิยม (technism) มากกว่ามนุษย นิยม (humanism) และเป็นการสือ่ สารทางเดียวมากกว่าการสือ่ สารสองทาง ทัง้ นีเ้ พราะ ปรัชญาตะวันตกมีรากฐานมาจากลัทธิเทวนิยมแนวศาสนาคริสต์ (Christian theism) ซึง่ ถือว่าพระเจ้าองค์เดียวมีอำ� นาจเหนือมนุษย์ ถ่ายทอดมาเป็นกระบวนทัศน์การสือ่ สารเบือ้ ง บนสูเ่ บือ้ งล่าง (top-down communication) จากผูน้ ำ� ถึงประชาชน จากคนรวยถึงคนจน

-34-


จากคนมีถึงคนไม่มี (have to have-not) จากนายทุนผู้ผลิตถึงประชาชนผู้บริโภค จากผู้ มีอ�ำนาจทางเศรษฐกิจหรือการเมืองถึงผู้บริโภคสัญญะ ซึ่งหมายถึงผู้จ่ายเงินส่วนหนึ่งซื้อ ความเป็นนามธรรมที่ไม่มีตัวตนของสินค้าหรืออุดมการณ์ การแสวงหากระบวนทัศน์ใหม่จงึ ค่อย ๆ เริม่ ขึน้ ในตอนต้นทศวรรณ 1990 และ ค่อยทวีความเข้มข้นจริงจังในครึ่งหลังของทศวรรษนี้ รัฐธรรมนูณฉบับ 2540 ของประเทศไทยได้รับทฤษฎีสื่อมวลชนประชาธิปไตย มาเป็นแนวทางของรัฐ ในการปฏิรปู การสือ่ สารมวลชนให้มหี ลักประกันเสรีภาพ อิสรภาพ ความเสมอภาค ความรับผิดชอบ และประสิทธิภาพเพือ่ สาธารณประโยชน์ และเพือ่ สังคม ตามที่บัญญัติในมาตรา 39, 40 และ 41 อมาตยา เสน (Amatya sen) นักเศรษฐศาสตร์ผไู้ ด้รบั รางวัลโนเบล ในปี 1996 เสนอทฤษฎีกระแสเสรีของข่าวสารเพือ่ พัฒนาเศรษฐกิจ (free flow of information for economic development) ชี้ให้เห็นว่าความเปิดกว้างของข่าวสาร (informational openness) จะส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยและระบอบประชาธิปไตยจะส่งเสริมการ พัฒนาเศรษฐกิจทีแ่ ท้จริงและยัง่ ยืน เพราะผูน้ ำ� ในระบอบนีจ้ ะรับรูข้ อ้ มูลข่าวสารทีถ่ กู ต้อง เพื่อการริเริ่มและด�ำเนินโครงการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ โจเซฟ สติกลิทซ์ (Joseph Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์อีกคนหนึ่งที่ได้รับรางวัล โนเบล ในปี 2000 เสนอทฤษฎีสารสนเทศอสมมาตร (Asymetric Information) แสดง เป็นสมการว่าความแตกต่างทางสารสนเทศท�ำให้เกิดความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนรวย กับคนจน เช่น การรับรู้ข่าวสารเรื่องสัมปทานของรัฐเร็วกว่าหรือดีกว่าย่อมได้เปรียบใน การยื่นซองประกวดราคา ท�ำให้มีโอกาสดีกว่าในการได้มาซึ่งสัมปทาน ท�ำให้มีโอกาสที่ จะเพิ่มความร�่ำรวยยิ่งกว่าคนที่มิได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสัมปทาน ทฤษฎีน้ียืนยันถึงบทบาทส�ำคัญของการเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ทว่าการเผยแพร่สารสนเทศนั้นจะต้องยึดหลักความโปร่งใส ความ เสมอภาค และความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ไม่วา่ จะเป็นการเผยแพร่สารสนเทศของ สือ่ ประเภทใด การท�ำงานบนพืน้ ฐานอุดมการณ์ดังกล่าว จึงต้องมีอสิ รภาพในทางวิชาชีพ (professional independence) ซึ่งถือว่าเป็นจริยธรรมที่ส�ำคัญ ในช่วงเวลาเดียวกัน สมควร กวียะ ได้น�ำเอาทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม

-35-


มาปฏิรูปการประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิม สร้างเป็นทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ใหม่ที่เรียก ว่า การสื่อสารองค์กรเชิงบูรณาการ (Integrated Oraganizational Communication) ทฤษฎีนเี้ สนอว่าองค์กรจะต้องปรับเปลีย่ นปรัชญา (1) จากการสือ่ สารมิตเิ ดียวมาเป็นการ สื่อสารหลายมิติ (multi-dimensional communication) ใช้หลายสื่อ หลายทิศทาง และมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมทัง้ องค์กรและสังคมอย่างเป็นธรรม (2) จากการสือ่ สารถึง สาธารณชนหรือมวลชนมาเป็นการสื่อสารกับสมาชิกของสังคม เน้นสังคมภายในองค์กร และชุมชนรอบองค์กร ก่อนขยายขอบเขตออกไปสู่องค์กรอื่น และสังคมมวลชน (3) จาก การสื่อสารโน้มน้าวใจให้คล้อยตามมาเป็นการสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวบน พื้นฐานความแตกต่าง (oneness of differences) ของความรู้ ความคิด และบทบาท หน้าที่ (4) จากการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมภาพลักษณ์ (mind image) ขององค์กรเพียง ด้านเดียวมาเป็นการสื่อสารเพื่อส่งเสริมภาพจริง (real image) ที่แสดงความรับผิดชอบ ขององค์กรต่อสังคมต่อโลกและต่อชีวิตของเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือกลุ่มเป้า หมายขององค์กรหรือไม่ แต่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradingm shift) ที่มีความหมายความส�ำคัญ มาก เริ่มต้นโดย ฟริตจอฟ คาปรา (Fritjof Capra) นักวิจัยสาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัย เวียนนา ซึง่ ต่อมาได้เป็นผูอ้ ำ� นวยการศูนย์นเิ วศศึกษา (Ecoliteracy) ทีม่ หาวิทยาลัยเบิรก์ เลย์ แคลิฟอร์เนีย ในปี 1975 เขาจุดประกายกระบวนทัศน์ใหม่เชิงปรัชญาฟิสกิ ส์ในหนังสือ เรือ่ ง The Tao of Physics (เต๋าแห่งฟิสกิ ส์) โดยการประยุกต์ทฤษฎีแนวปรัชญาตะวันออก โดยเฉพาะฮินดู พุทธ และเต๋า เข้าบูรณาการกับสัจธรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบใหม่ใน ศตวรรษที่ 20 อาทิ ทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) และทฤษฎีจักรวาลวิทยาต่าง ๆ (Cosmological Theories) เสนอให้เห็นคุณค่าเชิงวิทยาศาสตร์ของปรัชญาตะวันออก ที่สมควรจะน�ำมาปฏิรูปสังคมที่ได้ถูกกระท�ำให้เป็นทาสความคิดของตะวันตกตลอดมา ปี 1982 เขาเสนอปรัชญาสังคมแนวใหม่เชิงองค์รวมในหนังสือเรื่อง “The Turning Point” (จุดเปลี่ยนแปลงแห่งศตวรรษ) เสนอให้ใช้การคิดเชิงองค์รวม (holistic thinking) ในการแก้ปัญหาของสังคมและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สื่อมวลชนค�ำนึง ถึงสิ่งแวดล้อม มีจิตส�ำนึกที่จะท�ำความรู้จัก เข้าใจ ช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศ และส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืน

-36-


-37-


ในปี 1996 หนังสือเรื่อง “The Web of Life” (ใยแห่งชีวิต) ของเขา ปฏิรูป ปรัชญาวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ทฤษฎีไซเบอร์เนติ กส์ และทฤษฎีเกยา (Gaia Theory) ของเจมส์ เลิฟล๊อก (James Lovelock) ที่เสนอ ว่า โลกก็เป็นสิ่งมีชีวิตเป็นอภิชีวิต (Superbeing) ที่ชีวิตทั้งหลายอยู่ร่วมกันเป็นสหชีวิต (symbiosis) เช่นเดียวกับทีแ่ บคทีเรียนับแสนล้านมีชวี ติ ร่วมกันกับร่างกายมนุษย์ สรุปให้ เห็นว่าการสื่อสารหรือสันนิธานกรรม (communication) คือความเชื่อมโยงระหว่างกัน (interconnectedness) ของทุกระบบ ระบบชีวิต ระบสังคม ระบบโลก เป็นกระบวน การเชื่อมโยงด้วยสารสนเทศในรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างการป้อนไปและการป้อน กลับ (feed forward – feedback interacfion) ท�ำให้ทุกส่วนของระบบติดต่อเชื่อม โยงกันตามหลักปรัชญาของนิเวศวิทยาแนวลึก (deep ecology) จากพื้นฐานแนวคิดหนังสือสามเล่มของฟริตจอฟ คาปรา สมควร กวียะ พยายามน�ำมาสร้างเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารมวลชน ในหนังสือเรื่องนิเวศ นิเทศ (Eco-communication) ในปี 1997 นิเวศวิทยาเป็นแนวคิดการสื่อสารเชิงนิเวศวิทยา (Ecological Communication) ที่เสนอให้สื่อมวลชนเปลี่ยนมโนทัศน์ของการท�ำงาน จากการเสนอข่าวสารตาม กระแสในรูปแบบดั้งเดิมของวารสารศาสตร์อเมริกัน (American journalism) ซึ่งวาง รากฐานหยั่งลึกมาตั้งแต่ต้นศตวรรษมาเป็นการเฝ้าติดตามสืบสวนสอบสวนพฤติกรรม และผลกระทบของอุตสาหกรรมเชิงลบ (negative industry) ที่มีต่อระบบนิเวศ ดิน น�้ำ อากาศ อาหาร ชีวิต และโลก สื่อมวลชนใหม่จะต้องมีจิตส�ำนึกรับผิดชอบอย่างลึกซึ้งต่อ ความเสื่อมโทรมของชีวิตโลก และหลีกเลี่ยงการโฆษณาสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ก�ำลังก่อ ให้เกิดผลกระทบเชิงลบระยะยาวต่อพิภพ (The Earth) ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งเดียวและอาจ จะเป็นแหล่งสุดท้ายของมนุษยชาติ ส�ำหรับกระบวนทัศน์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารภายในบุคคล และการ สื่อสารระหว่างบุคคล มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในการเสนอทฤษฎีปัญญาแห่งจิต วิญญาณ (Spiritual Intelligence Quotient หรือ SQ) ในสหรัฐอเมริกา โดยไมเคิล เพ อร์ซิงเกอร์ (Micheal Persinger) นักจิตประสาทวิทยา เริ่มต้นในปี 1990 แต่มีการขยาย ความคิดโดย วีเอส รามจันทรัน (V.S. Ramachandran) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

-38-


ในปี 1997 และเป็นทีย่ อมรับกว้างขวางในปี 2000 เมือ่ มิเชล เลวิน (Michel Levin) เขียน หนังสือเรื่อง “Spiritual Intelligence Awakening the Power of Your Spirituality and Intuition” เส้นทางเดินของปัญญาแห่งจิตวิญญาณ (Paths of SQ) มี 6 ประการคือ การ รู้จักหน้าที่ (Duty) การรู้จักทะนุถนอม (Nurturing) การแสวงหาความรู้ (Knowledge) การปรับเปลีย่ นลักษณะตน (Personal Transformation) การสร้างภราดรภาพ (Brotherhood) และการเป็นผู้น�ำแบบบริการ (Servant Leadership) ทฤษฎีปัญญาแห่งจิตวิญญาณ เป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาการสื่อสารของ มนุษย์ คล้ายทฤษฎีเส้นทางที่ปราศจากกาลเวลา (The Timeless Way) ของดีปักโชปรา (Deepak Chopra) ในหนังสือ “Ageless Body, Timeless mind” (1993) ที่เสนอว่า มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ธรรมะหรือพลังแห่งวิวัฒนาการ (power of evolution) มาเป็น พลังสร้างสรรค์รา่ งกายและจิตใจ โดยปฏิบตั ติ นในเส้นทางทีป่ ราศจากกาลเวลาหรือความ เสื่อมโทรมตามอายุขัยที่เร็วเกินควร คือ (1) รู้จักชื่นชมกับความเงียบ (silence) (2) รู้จักความสัมพันธ์เชิงบวกของตนกับธรรมชาติ (nature) (3) ไว้วางใจในความรู้สึกของตนเอง (trust in own feeling) (4) มีความมั่นคงในท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย (self – centered amid chaos) (5) รู้จักเล่นสนุกสนานเหมือนเด็ก (childlike fantasy and play) (6) มั่นใจในสติสัมปชัญญะของตน (trust in own conscionsness) และ (7) ไม่ยดึ ติดความคิดดัง้ เดิมแต่สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา (non – attachment but openness to won creativity) ทั้งทฤษฎีปัญญาแห่งจิตวิญญาณ (SQ) และทฤษฎีเส้นทางที่ปราศจากกาล เวลา (Timeless Way) นับว่าเป็นพัฒนาการมาสูก่ ระบวนทัศน์ใหม่ของทฤษฎีการสือ่ สาร ภายในบุคคลที่เริ่มต้นโดยซิกมุนด์ฟรอยด์ และทฤษฎีการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เริ่มต้น โดยฟริตซ์ไฮเดอร์ เป็นการน�ำเอาจริยศาสตร์มาผสมผสานเป็นจริยธรรมการสื่อสารของ มนุษย์ (Ethics of Human Communication) ที่ถูกท�ำให้เสื่อมโทรมมาหลายทศวรรษ

-39-


-40-


โดยลัทธิบริโภค และกระแสโลกาภิวัตน์ของระบอบทุนนิยมเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีเส้นทางที่ปราศจากการเวลา มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ เกิดกระบวนทัศน์ลำ�้ สมัยและแนวอนาคต (ultramodernist and futuristic paradigm) ที่มเี วลาเข้ามาเป็นปัจจัยส�ำคัญของสารสนเทศและการสือ่ สารทุกประเภท นั่นคือ ทฤษฎี สารเวลา (The Infotime Theory) ซึ่ง สมควร กวียะ ได้น�ำเสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิต ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อเดือนมีนาคม 2002 หลังจากที่ได้วิจัยและพัฒนามา ตั้งแต่ปี 1997 ทฤษฎีสารเวลามาจากการวิจัยเชิงทดลองทางความคิด (thought experiment) บนพื้นฐานความคิดเชิงองค์รวม และความรู้ทางนิเทศศาสตร์ มนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทุกแขนง ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดทฤษฎีของ พระพุทธองค์ ไอน์สไตน์ ดาร์วิน ฟรอยด์ ชรามม์ วีเนอร์ คาปรา โชปรา และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ในหนังสือเรื่อง “A Brief History of Time” (1990) ตามทฤษฎีสารเวลาสาร (Information) หมายถึงทุกสรรพสิง่ ในเอกภพ คือสาร ทางกายภาพ (Physical Information) สารทางชีวภาพ (Biological Information) สาร ทางสมอง (Brain Information) และสารนอกร่างกาย (Extrasomatic Information) หรือสารสังคม (Social Information) การสือ่ สาร คือการสร้างสภาพร่วมระหว่างผูส้ อื่ สาร (commonness-making) หรือการสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (oneness-making) ของทุกสาร นับตั้งแต่อะตอม โมเลกุล ดาวฤกษ์ กาแล็กซี่ หรือดาราจักร ดาวเคราะห์ ชีวิต สังคม มาจนถึงองค์กร การสื่อสารเป็นกระบวนการพลวัตของความเชื่อมโยงติดต่อระหว่างกัน (dynamic process of intyerconnectedness) ที่ก่อให้เกิดสารหรือระบบ (information or system) แต่จากทฤษฎีเวลาทั้งในทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ พบว่าการสื่อสารอย่างเดียวไม่พอที่จะเกิดให้เกิดระบบได้ ระบบต้องมีกระบวนการ เปลี่ยนแปลงโดยตลอด (perpetual change) นับตั้งแต่การเกิดไปจนถึงการตาย ทุกระบบหรือทุกสารจึงต้องมีเวลาเป็นองค์ประกอบทีจ่ ะขาดเสียมิได้ เรียกรวม

-41-


เสียใหม่ว่า สารเวลา หรือ Infotime... สารคือโครงสร้างและกระบวนการก็คือ เวลา ซึ่ง จะต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยสรุป ทฤษฎีสารเวลาก็คือ สมมติฐานหลักของทฤษฎีการสื่อสารหรือสัน นิธานกรรมทั่วไป (The General Communication Theory) ซึ่งคาดว่าจะเป็นปฐมบท ส�ำคัญ (major postulate) ส�ำหรับทฤษฎีของทุกสิ่งทุกอย่าง (The Theory of Everything and Every Non-Thing) สูตรการสื่อสารของลาสแวลล์ (Lesswell) ฮาโรลด์ ลาสแวลล์ (Harold Lasswell) ได้ท�ำการวิจัยในเรื่องการสื่อสาร มวลชนไว้ในปี พ.ศ. 2491 และได้คิดสูตรการสื่อสารที่ถึงพร้อมด้วยกระบวนการสื่อสาร ที่สอดคล้องกัน โดยในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบค�ำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ ใคร พูดอะไร โดยวิธีการและช่องทางใด ไปยังใคร ด้วยผลอะไร สูตรการสือ่ สารของลาสแวลล์เป็นทีร่ จู้ กั กันอย่างแร่หลายและเป็นทีน่ ยิ มใช้กนั ทั่วไปโดยสามารถน�ำมาเขียนเป็นรูปแบบจ�ำลองและเปรียบเทียบกับองค์ประกอบของ การสื่อสารได้ดังนี้ ในการทีจ่ ะจัดให้การเรียนการสอนเกิดขึน้ อย่างมีประสิทธิภาพดีนนั้ เราสามารถ น�ำสูตรของลาสแวลล์มาใช้ได้เช่นเดียวกับการสื่อสารธรรมดา คือ •ใคร (Who) เป็นผู้ส่งหรือท�ำการสื่อสาร เช่น ในการอ่านข่าว ผู้อ่านข่าวเป็น ผู้ส่งข่าวารไปยังผู้ฟังทางบ้าน ในสถานการณ์ในห้องเรียนธรรมดาก็เช่นเดียวกันย่อม เป็นการพูดระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือการที่ผู้เรียนกลายเป็นผู้ส่งโดยการตอบสนอง กลับไปยังผูส้ อน แต่ถา้ เป็นการสอนโดยใช้ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ ตัวผูส้ ง่ ก็คอื ภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์นั้น •พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร (Says what, with what purpose) เป็นสิ่ง ทีเ่ กีย่ วกับ เนือ้ หาข่าวสารทีส่ ง่ ไป ผูส้ ง่ จะส่งเนือ้ หาอะไรโดยจะเป็นข่าวสารธรรมดาเพือ่ ให้ ผูร้ บั ทราบความเคลือ่ นไหวของเหตุการณ์ตา่ ง ๆ ในแต่ละวัน หรือเป็นการให้ความรูโ้ ดยที่ ผู้สอนจะต้องทราบว่าจะสอนเรื่องอะไร ท�ำไมจึงจะสอนเรื่องนั้น สอนเพื่อวัตถุประสงค์ อะไร และคาดว่าจะได้รับการตอบสนองจากผู้เรียนอย่างไรบ้าง •โดยใช้วิธีการและช่องทางใด (By what means, in what channel) ผู้ส่ง

-42-


ท�ำการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกริยาท่าทาง ใช้ภาพ ฯลฯ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน หรือเครือ่ งเล่นวีซดี เี พือ่ ถ่ายทอดเนือ้ หาข่าวสารให้ผรู้ บั รับได้ โดยสะดวก ถ้าเป็นในการเรียนการสอน ผูส้ อนอาจจะสอนโดยการบรรยายหรือใช้สอื่ สาร สอนต่าง ๆ เพื่อช่วยในการส่งเนื้อหาบทเรียนไปให้ ผู้เรียนรับและเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น •ส่งไปยังใคร ในสถานการณ์อะไร (To whom, in what situation) ผู้ส่งจะ ส่งข่าวสารไปยัง ผู้รับเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร เช่น การอ่านข่าวเพื่อให้ผู้ฟังทาง บ้านทราบถึงเหตุการณ์ ประจ�ำวัน หรือแสดงการท�ำกับข้าวให้กลุ่มแม่บ้านชม ผู้ส่งย่อม ต้องทราบว่าผู้รับเป็นกลุ่มใดบ้างเพื่อสามารถเลือกสรรเนื้อหาและวิธีการส่งให้เหมาะสม กับผู้รับ การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน การสอน ผู้เรียนอายุ 8 ปีกับอายุ 15 ปีต้องมีวิธี การสอนและการใช้สอื่ การสอนต่างกัน ผูส้ อนต้องทราบถึงระดับสติปญ ั ญาความสามารถ และภูมิหลังของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างตลอดจน สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการเรียน เช่น มีสื่อการสอนอะไร ที่จะน�ำมาใช้สอนได้บ้าง สภาพแวดล้อมห้องเรียนที่จะสอนเป็นอย่างไร ฯลฯ •ได้ผลอย่างไรในปัจจุบัน และอนาคต (With what effect, immediate and long term ?) การส่งข่าวสารนั้นเพื่อให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉย ๆ หรือจดจ�ำด้วยซึ่งต้องอาศัย เทคนิควิธกี ารทีแ่ ตกต่างกัน และเช่นเดียวกันกับในการเรียนการสอนทีจ่ ะได้ผลนัน้ ผูส้ อน จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเมื่อสอนแล้ว ผู้เรียนจะได้รับความรู้เกิดการเรียนรู้มากน้อย เท่าใด และสามารถจดจ�ำความรู้ที่ได้รับนั้นได้นานเพียงใด โดยที่ผู้เรียนอาจได้รับความรู้ เพียงบางส่วนหรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ การวัดผลของการถ่ายทอดความรู้นั้นอาจท�ำได้ยาก เพราะบางครั้งผู้เรียนอาจจะไม่แสดงการตอบสนองออกมา และบางครั้งการตอบสนอง นั้นก็อาจจะวัดผลไม่ได้เช่นกัน

ทฤษฏี SMCR ของเบอร์โล (Berio) เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ได้พัฒนาทฤษฎีที่ผู้ส่งจะส่งสารอย่างไร

-43-


และผู้รับจะรับ แปลคววามหมาย และมีการโต้ตอบกับสารนั้นอย่างไร ทฤษฏี S M C R ประกอบด้วย •ผู้ส่ง (source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความช�ำนาญในการสื่อสารโดยมีความ สามารถใน “การเข้ารหัส” (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลใน การสื่อสารมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถใน การปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้น ฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย •ข้อมูลข่าวสาร (message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่ง

-44-


ข่าวสาร

•ช่องทางในการส่ง (channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้ รับข่าวสาร ข้อมูลโดยผ่านประสานทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น •ผู้รับ (receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความช�ำนาญในการสื่อสารโดยมีความ สามารถใน “การถอดรหัส” (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความ และพื้นฐาน ทางสังคมวัฒนธรรม เช่นเดียวหรือคล้ายคลังกันกับผูส้ ง่ จึงจะท�ำให้การสือ่ สารความหมาย หรือการสื่อสารนั้นได้ผล ตามลักษณะของทฤษฏี S M C R นี้ มีปจั จัยทีม่ คี วามส�ำคัญต่อขีดความสามารถ ของผู้ส่งและรับที่จะท�ำการสื่อสารความหมายนั้นได้ผลส�ำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่ •ทักษะในการสือ่ สาร (communication skills) หมายถึง ทักษะซึง่ ทัง้ ผูส้ ง่ และ ผู้รับควรจะมีความช�ำนาญในการส่งและการรับการเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูก ต้อง เช่น ผู้ส่งต้องมีความสามารถในการเข้ารหัสสาร มีการพูดโดยการใช้ภาษาพูดที่ถูก ต้อง ใช้ค�ำพูดที่ชัดเจนฟังง่าย มีการแสดงสีหน้าหรือท่าทางที่เข้ากับการพูด ท่วงท�ำนอง ลีลาในการพูดเป็นจังหวะ น่าฟัง หรือการเขียนด้วยถ้อยค�ำส�ำนวนที่ถูกต้องสละสลวยน่า อ่าน เหล่านี้เป็นต้น ส่วนผู้รับต้องมีความสามารถในการถอดรหัสและมีทักษะที่เหมือน กันกับผู้ส่งโดยมีทักษะการฟังที่ดี ฟังภาษาที่ผู้ส่งพูดมารู้เรื่อง หรือสามารถอ่านข้อความ ที่ส่งมานั้นได้ เป็นต้น •ทัศนคติ (attitudes) เป็นทัศนคติของผูส้ ง่ และผูร้ บั ซึง่ มีผลต่อการสือ่ สาร ถ้าผู้ ส่งและผู้รับ มีทัศนคติที่ดีต่อกันจะท�ำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยว โยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับด้วย เช่น ถ้าผู้ฟังมีความนิยมชม ชอมในตัวผูพ้ ดู ก็มกั จะมีความเห็นคล้อยตามไปได้งา่ ย แต่ในทางตรงข้าม ถ้าผูฟ้ งั มีทศั นคติ ไม่ดตี อ่ ผูพ้ ดู ก็จะฟังแล้วไม่เห็นชอบด้วยและมีความเห็นขัดแย้งในสิง่ ทีพ่ ดู มานัน้ หรือถ้าทัง้ สองฝ่ายมีทศั นคติไม่ดตี อ่ กันท่วงท�ำนองหรือน�ำเสียงในการพูดก็อาจจะห้วนห้าวไม่นา่ ฟัง แต่ถา้ มีทศั นคติทดี่ ตี อ่ กันแล้วมักจะพูดกันด้วยความไพเราะอ่านหวานน่าฟัง เหล่านีเ้ ป็นต้น •ระดับความรู้ (knowledge levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียม กันก็จะท�ำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่

-45-


แตกต่างกันย่อมจะต้องมีการปรับปรุงความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในเรื่องความยาก ง่ายของภาษาและถ้อยค�ำส�ำนวนที่ใช้ เช่น ไม่ใช่ค�ำศัพท์ทางวิชาการ ภาษาต่างประเทศ หรือถ้อยค�ำยาว ๆ ส�ำนวนสลับซับซ้อน ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้สะดวกและง่ายต่อความเข้าใจ ตัวอย่าง เช่น การทีห่ มอรักษาคนไข้แล้วพูดแต่คำ� ศัพท์การแพทย์เกีย่ วกับโรคต่าง ๆ ย่อมท�ำให้คนไข้ ไม่เข้าใจว่าตนเองเป็นโรคอะไรแน่หรือพัฒนากรจากส่วนกลางออกไปพัฒนาหมู่บา้ นต่าง ๆ ในชนบทเพื่อให้ค�ำแนะน�ำทางด้านการเกษตรและเลี้ยงสัตว์แก่ชาวบ้าน ถ้าพูดแต่ศัพท์ ทางวิชาการโดยไม่อธิบายด้ายถ้อยค�ำภาษาง่าย ๆ หรือไม่ใช้ภาษาท้องถิ่นก็จะท�ำให้ชาว บ้านไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้ หรือในกรณีของการใช้ภาษามือของผูพ้ กิ ารทางโสต ถ้าผูร้ บั ไม่เคยได้เรียนภาษามือ มาก่อนท�ำให้ไม่เข้าใจและไม่สามารถสือ่ สารกันได้ เหล่านีเ้ ป็นต้น •ระบบสังคมและวัฒนธรรม (socio - culture systems) ระบบสังคมและ วัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนก�ำหนดพฤติกรรมของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละ ชาติย่อมมีความแตกต่างกัน เช่น การให้ความเคารพต่อผู้อาวุโส หรือวัฒนธรรมการกิน อยู่ ฯลฯ ดังนั้น ในการติดต่อสื่อสารของบุคคลต่างชาติต่างภาษา จะต้องมีการศึกษาถึง กฎข้อบังคับทางศาสนาของแต่ละศาสนาด้วย

การสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์ คล็อด อี. แชนนัน (Claude E.Shannon) และวอร์เรนวีเวอร์ (Warren Weaver) ได้คิดทฤษฏีการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง การสื่อสารเริ่มด้วยผู้ส่งซึ่งเป็น แหล่งข้อมูลท�ำหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัว ถ่ายทอดในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่าง ๆ กันแล้วแต่ลักษณะของ การส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้ได้รับสัญญาณแล้ว สัญญาณที่ได้รับจะถูก ปรับให้เหมาะสมกับเครื่องรับหรือการรับเพื่อท�ำการแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสาร นั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมาก ในขึ้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทางคือ ผู้รับตามที่ต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบาง

-46-


อย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ท�ำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับมีความแตกต่าง กันเป็นเหตุให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจผิดเพี้ยน ไปนับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกัน อัน จะท�ำให้เกิดการแปลความหมายผิดหรือความเข้าใจผิดในการสื่อสารกันได้ จากทฤษฏีการสื่อสารนี้พิจารณาได้ว่า แชนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการ สื่อสารกันจะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่าน อุปกรณ์ระบบไฟฟ้า หรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่าง ๆ เช่น เมื่อมีการเปิดเพลงออก อากาศทางสถานีวทิ ยุ เสียงเพลงนัน้ จะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยการกล�ำ้ สัญญาณ (modulation) จากสถานีวิทยุไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยเครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่น นั้นเป็นเพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะมีสิ่งต่าง ๆ “สิ่งรบกวน” (noise source) เช่น ในการส่งวิทยุระบบ AM สัญญาณจะถูกรับกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉายวิดีทัศน์ในห้องเรียน การรับภาพและเสียงของผูเ้ รียนถูกระกวนโดยสิง่ รบกวนหลายอย่าง เช่น แสงที่ ตกลงบนจอโทรทัศน์ และเสียงพูดคุยจากภายนอก เป็นต้น หรืออีกตัวอย่างหนึ่งเช่นการ พูดโทรศัพท์ ผูท้ เี่ ริม่ ต่อโทรศัพท์จะเป็นผูส้ ง่ เพือ่ ส่งข่าวสารโดยอาศัยโทรศัพท์เป็นเครือ่ งส่ง เมือ่ ผูส้ ง่ พูดไปเครือ่ งโทรศัพท์จะแปลงค�ำพูดเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์ เมือ่ สัญญาณไฟฟ้านั้นส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ของหมายเลขที่ติดต่อก็จะมีเสียงดังขึ้น และ เมื่อมีผู้รับ โทรศัพท์เครื่องนั้นก็จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้กลับเป็นค�ำพูดส่งถึงผู้รับหรือผู้ ฟังซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการสื่อสาร แต่ถ้าระหว่างที่ส่งสัญญาณไปมีสิ่งรบกวน

-47-


-48-


สัญญาณ เช่น ฝนตกฟ้าคะนอง ก็จะท�ำให้สญ ั ญาณทีไ่ ด้รบั ถูกรบกวนสัน่ สะเทือนอาจรับไม่ ได้เต็มทีเ่ ป็นเหตุให้การฟังไม่ชดั เจน ดังนีเ้ ป็นต้น จึงสรุปได้วา่ “สิง่ รบกวน” คือ สิง่ ทีท่ ำ� ให้ สัญญาณเสียไปภายหลังไปภายหลังทีถ่ กู ส่งจากผูส้ ง่ และก่อนทีจ่ ะถึงผูร้ บั ท�ำให้สญ ั ญาณที่ ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับมีลักษณะแตกต่างกัน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคของการ สื่อสารเนื่องจากท�ำให้การสื่อสารไม่ได้ผลเต็มที่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น

การสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์ ตามปกติแล้วในการสือ่ สารระหว่างบุคคลและแบบกลุม่ บุคคลนัน้ ผูส้ ง่ และผูร้ บั จะมีการเปลี่ยนบทบาทกันไปมาในลักษณะการสื่อสารสองทาง โดยเมื่อผู้ส่งได้ส่งข้อมูล ข่าวสารไปแล้ว ทางฝ่ายผูร้ บั ท�ำการแปลความหมายข้อมูลทีร่ บั มา และจะเปลีย่ นบทบาท จากผูร้ บั กลับเป็นผูส้ ง่ เดิมเพือ่ ตอบสนองต่อ สิง่ ทีร่ บั มา ในขณะเดียวกันผูส้ ง่ เดิมจะเปลีย่ น บทบาทเป็นผูร้ บั เพือ่ รับข้อมูลทีส่ ง่ กลับมาและท�ำการแปลความหมายสิง่ นัน้ ถ้ามีขอ้ มูลที่ จะต้องส่งตอบกลับไปก็จะเปลีย่ นบทบาทเป็นผูส้ ง่ อีกครัง้ หนึง่ เพือ่ ส่ง ข้อมูลกลับไปยังผูร้ บั เดิมการสือ่ สารในลักษณะทีท่ งั้ ผูส้ ง่ และผูร้ บั จะวนเวียนเปลีย่ นบทบาทกันไปมาในลักษณะ เชิงวงกลมด้วยลักษณะดังกล่าวท�ำให้ชารลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) และ วิล เบอร์ แอล. ชแรมม์ (Wibur L. Schramm) ได้สร้างแบบจ�ำลองการสื่อสารเชิงวงกลมขึ้น โดยเน้นถึงไม่เพียงแต่องค์ประกอบของการสือ่ สารเท่านัน้ แต่รวมถึงพฤติกรรมของทัง้ ผูส้ ง่ และผูร้ บั ด้วยโดยทีแ่ บบจ�ำลองการสือ่ สารเชิงวงกลมนีจ้ ะมีลกั ษณะของการสือ่ สารสองทาง ซึ่งตรงกันข้างอย่างเห็นได้ขัดกับการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์ ข้อแตกต่างอีกประการคือในขณะที่ความสนใจของแชนนันและวีวเรอ์อยู่ที่ช่องทางการ ติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ แต่ออสกูดและชแรมม์ได้มุ่งพิจารณาและเฉพาะพฤติกรรม ของผู้ส่งและผู้รับซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนส�ำคัญในกระบวนการสื่อสาร ในแบบจ�ำลองนี้จะเห็นได้ว่าออสกูดและชแรมม์มิได้กล่าวถึงตัวถ่ายทอดการ สื่อสารเลยแต่ได้เน้นถึงการกระท�ำของผู้ส่งและผู้รับซึ่งท�ำให้ที่อย่างเดียวกันและเปลี่ยน บทบาทกันไปมาในการเข้า รหัสสาร การแปลความหมาย และการถอดรหัสสาร อย่างไร

-49-


ก็ตามอาจกล่าวได้ว่าหน้าที่ในการเข้า รหัสนั้น มีส่วนคล้ายคลึงกับตัวถ่ายทอด และการ ถอดรหัสก็คล้ายคลึงกับการับของเครื่องรับนั่นเอง

ขอบข่ายประสบการณ์ในทฤษฏีการสื่อสารของชแรมม์ ชแรมม์ได้น�ำทฤษฏีการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของเชนนันและวีเวอร์มา ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายการสื่อสารที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน โดยเน้นถึง วัตถุประสงค์ของการสอน ความหมายของเนื้อหาข้อมูล และการที่ข้อมูลได้รับการแปล ความหมายอย่างไร นอกจากนี้ชแรมม์ยังให้ความส�ำคัญของการสื่อความหมาย การรับ รู้ และการแปลความหมายของสัญลักษณ์ว่าเป็นหัวใจส�ำคัญของการเรียนการสอน ตาม ลักษณะการสื่อสารของชแรรมม์นี้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างดีมีประสิทธิภาพเฉพาะ ในส่วนที่ผู้ส่งและผู้รับทั้งสองฝ่ายต่างมีวัฒนธรรม ประเพณีความเชื่อ ความรู้ ฯลฯ ที สอดคล้องกล้ายคลึงและมีประสงการณ์ร่วมกัน จึงจะท�ำให้สามารถเข้าใจความหมายที่ สื่อกันนั้นได้ ทั้งนี้เพราะผู้ส่งสามารถเข้ารหัสและผู้รับสามารถถอดรหัสเนื้อหาข่าวสารใน ขอบข่าวประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่ เช่น ถ้าไม่เคยเรียนภาษารัสเซีย เราคงไม่สามารถ พูดหรือแปลความหมายของภาษารัสเซียได้ ดังนีเ้ ป็นต้น ถ้าส่วนของประสบการณ์ของทัง้ ผู้ส่งและผู้รับซ้อนกันเป็นวงกว้างมากเท่าใด จะท�ำให้การสื่อสารนั้นเป็นไปได้โดยสะดวก และง่ายมากยิง่ ขึน้ เพราะต่างฝ่ายจะเข้าใจสิง่ ทีก่ ล่าวถึงนัน้ ได้เป็นอย่างดี แต่เมือ่ ใดทีว่ งของ ขอบข่ายประสบการณ์ซ้อนกันน้อยมากหรือไม่ซ้อนกันเลย แสดงว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับแทบ จะไม่มปี ระสบการณ์รว่ มกันเลย การสือ่ สารนัน้ จะท�ำได้ยากล�ำบากหรือแทบจะสือ่ สารกัน ไม่ได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งสามารถทราบได้จากผลป้อนกลับที่ผู้ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั้นเอง จากทฤษฏีการสื่อสารของชแรมม์เนื่องจากในการสื่อสารเราไม่สามารถส่ง “ความหมาย” (meaning) ของข้อมูลไปยังผู้รับได้ สิ่งที่ส่งไปจะเป็นเพียง “สัญลักษณ์” (symbol) ของความหมายนัน้ เช่น ค�ำพูด รูปภาพ เสียงเพลง ท่าทาง ฯลฯ ดังนัน้ เมือ่ มีการ สือ่ สารเกิดขึน้ ผูส้ ง่ ต้องพยายามเข้ารหัสสารซึง่ เป็นสัญลักษณ์เพือ่ ให้ผรู้ บั เข้าใจได้โดยง่าย

-50-


ซึ่งสารแต่ละสารจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย โดยที่สัญลักษณ์แต่ละตัวจะ บ่งบอกถึง “สัญญาณ” (signal) ของบางสิง่ บางอย่างซึง่ จะทราบได้โดยประสบการณ์ของ คนเรา เช่น เมื่อยกมือขึ้นเป็นสัญญาณของการห้อมหรือเมื่อตะโกนเสียงดังเป็นสัญญาณ ของความโกรธ ฯลฯ ดังนั้น ผู้ส่งจึงต้องส่งสัญญาณเป็นค�ำพูด ภาษาเขียน ภาษามือ ฯลฯ เพือ่ ถ่ายทอดความหมายของสารทีต่ อ้ งการจะส่ง โดยพยายามเชือ่ มโยงเนือ้ หาสารเข้ากับ ประสบการณ์ที่สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้รับสามารถแปลและเข้าใจความหมาย ของสัญลักษณ์เหล่านั้นได้โดยง่ายในขอบข่ายประสบการณ์ของตน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ส่ง ต้องการส่งสารค�ำว่า “ดิจิทัล” ให้ผู้รับที่ยังไม่เคยรู้จักค�ำนี้มาก่อน ผู้ส่งต้องพยายามใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายด้วยค�ำพูด ภาพกราฟิกอุปกร์ระดับดิจิทัล เช่น กล้องถ่ายภาพ หรือลัญลักษณ์อื่นใดก็ตามเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและมีประสบการณ์ ร่วมกับผู้ส่งได้มากทีสุดเพื่อเข้าใจความหมายของ “ดิจิทัล” ตามที่ผู้ส่งต้องการ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเรียนการสอนเป็นการที่ผู้สอนต้องให้ความรู้และ ขยายขายข่ายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หากมีสิ่งใดที่ผู้เรียนยังไม่มี ประสบการณ์หรือยังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างเพียงพอ ผู้สอนจ�ำเป็นต้องพยายาม เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ ให้แก่ผู้เรียนโดยการอภิปราลยร่วมกัน ให้ผู้เรียนตอบค�ำถาม หรือท�ำการบ้านเพิ่มเติมย่อมจะเป็นการทราบข้อมูลป้อนกลับว่าผู้ เรียนเกิดเการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ในเรื่องที่เรียนนั้นอย่างเพียงพอหรือยังและ ถูกต้องหรือไม่ ถ้าผู้เรียนยับไม่สามารถเข้าใจหรือยังไม่เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องขึ้น แสดง ว่าเกิด “สิ่งรบกวน” ของสัญญาณในการสอนนั้น ผู้สอนต้องพยายามแก้ไขวิธีการสอน โดยอาจใช้สื่อประเภทต่าง ๆ เข้าช่วย หรือการอภิปลายยกตัวอย่างให้ง่ายขึ้น รวมถึง การใช้สัญลักษณ์อื่น ๆ ที่เหมาะกับระดับของผู้เรียนมาช่วยการสอนนั้นจนกว่าผู้เรียนจะ มีประสบการณ์ร่วมกับผู้สอนและเกิดการเรียนรู้ที่ ถูกต้องในที่สุด จากทฤษฏีการสื่อสารที่กล่าวมาแล้วอาจสรุปได้ว่า ในการสื่อสารนั้นการที่ผู้ ส่งและผู้รับจะสามารถเข้าใจกันได้ดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทักษะ ทัศนคติ ความรู้ ระบบ สังคมและวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่าย ถ้าทั้งผู้ส่งและผู้รับมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สอดคล้องกัน มากจะท�ำให้การสือ่ สารนัน้ ได้ผลดียงิ่ ขึน้ เพาะต่างฝ่ายจะมีความเข้าใจซึง่ กันและกัน และ สามารถขจัดอุปสรรค์ในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและ ผู้รับออกไปได้

-51-



ทฤษฎีที่เกี่ยวกับ การรายงานข่าว ข่าวสารนับเป็นปัจจัยส�ำคัญอีกประการหนึง่ ต่อการบริหารงานประชาสัมพันธ์ การทีจ่ ะสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน จ�ำเป็นต้องมีขา่ วสารทีด่ ี ทีเ่ กิดประโยชน์ตอ่ สังคม การเลือกข่าวสารส�ำหรับเผยแพร่ จึงจะต้องกระท�ำด้วยความระมัดระวังให้องค์กรได้ รับประโยชน์จากการเผยแพร่ข่าวสารทุกครั้ง ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควบคู่กับข่าวสารก็คือ เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ซึ่งต้องมีการเลือกให้ถูกต้องเช่นกัน ข่าวสารที่มีมีคุณค่าต่อ สังคม และใช้เทคนิคในการเขียนให้สอดคล้องกับแบบฉบับของสื่อแต่ละประเภท ย่อม จะได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง

-53-


-54-


ข่าว คือการรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็น ของบุคคลส�ำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งประชาชนให้ความส�ำคัญและสนใจ รวม ทั้งมีผลกระทบต่อผู้คนจ�ำนวนมาก ส�ำหรับนักประชาสัมพันธ์ ข่าวก็คือหัวใจของงาน ประชาสัมพันธ์ ที่จะรายงานภารกิจ ความก้าวหน้าของหน่วยงานให้สาธารณชนทราบ การเขียนข่าวเป็นทัง้ ศาสตร์ และศิลป์ และต้องมีเทคนิคในการสร้างความเข้าใจและความ สนใจแก่ประชาชน ความส�ำเร็จหรือความล้มเหลวของการประชาสัมพันธ์ ยังขึ้นอยู่กับ ความถี่ของผลงานข่าว ที่น�ำเสนอในสื่อต่างๆ

หลักการเขียนข่าว “ข่าว” คือ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีความสําคัญและน่าสนใจของ ประชาชน หรือต่อคนจํานวนมากๆ หรือ “ข่าว” คือ “สุนัขกัดคนไม่ใช่ข่าว แต่คนกัดสุนัข นั่นแหละเป็นข่าว” ซึ่งก็หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ผิดไปจากปกติธรรมดานั่นเอง สําหรับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีลักษณะที่สําคัญและน่าสนใจสําหรับ ประชาชนหรือต่อคนจํานวนมากๆ นั้น ในทางวิชาการได้กําหนดเอาไว้ ดังนี้ ความสดใหม่ หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ย่อม จะเป็นทีน่ า่ สนใจของประชาชน เพราะฉะนัน้ การรายงานข่าวเรือ่ งอะไรก็ตามทีเ่ กิดขึน้ ให้ ประชาชนได้รับฟังได้เร็วเท่าไหร่ ก็ย่อมจะเป็นที่สนใจของประชาชนมากเท่านั้น ความใกล้ชิด หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีความใกล้ชิด กับประชาชนเขาก็จะสนใจ เช่น ขณะนี้มีเรื่องปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ํา จะเห็นได้ ว่านอกจากพี่น้องชาวนาซึ่งเป็นผู้ปลูกข้าวจะให้ความสนใจ เพราะว่าเป็นอาชีพของตน แล้ว ประชาชนโดยทั่วไปก็ให้ความใจด้วยเนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักซึ่งพวกเราทุก คนรับประทาน ความเด่น ในเรื่องของความเด่นนี้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวบุคคล เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เด่นดัง หรือ โด่งดัง ไม่ว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรี บุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา นักร้อง นักแสดง หรือแม้แต่

-55-


บุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ในจังหวัดต่างๆ ก็จะมีผู้ว่าราชการ จังหวัด นายอําเภอ พัฒนาการจังหวัด และอื่นๆ ไม่ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์อะไรก็ตาม ถ้าเกิดขึ้นกับบุคคลที่เด่นก็จะเป็นที่สนใจของประชาชน สถานที่เด่น เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานที่ที่เด่น หรือสถานที่ สําคัญ หรือสถานที่ที่ประชาชนรู้จักแพร่หลาย เช่น พระบรมมหาราชวัง ทําเนียบรัฐบาล ศาลากลางจังหวัด ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับสถานที่เหล่านั้น ก็จะเป็นที่สนใจของประชาชน ผลกระทบ หมายถึง เรือ่ งราวหรือเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ และมีผลกระทบต่อชีวติ ความเป็นอยูข่ องประชาชน ถ้ามีผลกระทบกับคนส่วนมาก ก็จะเป็นข่าวสาํ คัญ เช่น ราคา ยางหรือราคากาแฟตกต่ํา พี่น้องชาวสวนยางและชาวไร่กาแฟก็จะสนใจ หรือราคาข้าว เปลือกตกต่ํา พี่น้องชาวนาก็จะสนในหรือกรณีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นตกมาก หรือหุ้นขึ้นมาก บรรดานักเล่นหุ้น ก็จะให้ความสนใจ ความขัดแย้ง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ซึ่งเป็นการขัดแย้งระหว่างบุคคล หมู่ คณะผลประโยชน์ขัดกัน ความขัดแย้งของพรรคการเมือง กรณีพิพาทระหว่างประเทศ และความขัดแย้งอื่นๆ จะเป็นที่สนใจของประชาชน ความมีเงือ่ นงํา เรือ่ งราวหรือเหตุการณ์ทนี่ า่ สนใจ คนอยากรูอ้ ยากเห็น ซึง่ อาจ จะเป็นเรื่องฆาตกรรม คอรัปชั่น เรื่องลึกลับ ประชาชนสนใจ ความแปลกหรือผิดไปจากธรรมดา หมายถึง เรือ่ งราวหรือเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ แปลกและผิดไปจากธรรมดา คนจะสนใจ เช่น การคลอดลูกแฝด 4 หรือ แฝด 5 สุนัขมีงา งอกออกมา ต้นกล้วยมีหัวปลีเป็นพญานาค หรือแม้กระทั่งสถิติต่างๆ ที่มีคําว่า “ดีที่สุด” “เร็วที่สุด” “ใหม่ที่สุด” “แพงที่สุด” “แก่ที่สุด” และอื่นๆ เรื่องราวที่เร้าใจมนุษย์ หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เร้าใจคน ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของการต่อสู้ การแข่งขัน ผจญภัย รวมไปถึงเรื่องราวของเด็กและสตรี ที่ทําให้ เกิดความรู้สึกสงสาร เห็นใจ เศร้าสลดใจ เรื่องเหล่านี้ประชาชนจะสนใจ ภัยพิบัติ หรือความก้าวหน้า หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับภัย พิบัติต่างๆ คนจะสนใจ เช่น น้ําท่วม ไฟใหม้ เครื่องบินตก แผ่นดินไหว ความเสียหาย ต่างๆ ที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรือโดยฝีมือมนุษย์ ส่วนความก้าวหน้าที่คนสนใจจะได้ แก่ผลสําเร็จต่างๆ ทางวิชาการ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ การผสมเทียม การส่งยาน

-56-


อวกาศไปนอกโลก และอื่นๆ เรื่องราวเกี่ยวกับเพศ หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับ เพศ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย คนจะสนใจ

วิธีการเขียนข่าว ในการเขียนข่าวแต่ละชิ้น จะต้องประกอบด้วย ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทําไม และอย่างไร กล่าวคือ จะต้องเขียนข่าวให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านได้ทราบว่าในเรื่องราว ของข่าวนั้น มีใคร ไปทําอะไร ที่ไหน อย่างไรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยการนําจุด เด่นของเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเขียนเป็นข่าว สําหรับการเขียนข่าวทางวิทยุ กระจายเสียง จะมีขอ้ แตกต่างไปจากการเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์บา้ ง เล็กน้อย กล่าวคือ วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อสําหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ให้ความรู้ความ บันเทิงและข่าวสารแก่คนที่มีการศึกษาและไม่มีการศึกษา คนฉลาดและคนโง่ โดยการ รับฟังด้วยหู ไม่ใช่การอ่าน ดังนั้น การเขียนข่าวทางวิทยุและจายเสียงจะต้องใช้ภาษาที่ เข้าใจง่าย กะทัดรัด ชัดเจน เป็นความจริง และเป็นที่สนใจของผู้ฟัง

โครงสร้างของการเขียนข่าว ในการเขียนข่าวนั้นจะมีด้วยกัน 3 ส่วน คือ พาดหัวข่าว หรือหัวข้อข่าว ความ นํา และเนื้อเรื่อง พาดหัวข่าว หรือ หัวข้อข่าว เป็นการเขียนเพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้ อ่านหรือผู้ฟัง หนังสือพิมพ์จะใช้คําว่า “พาดหัวข่าว” ส่วนวิทยุกระจายเสียงจะเรียกว่า “หัวข้อข่าว” ความนํา หรือ วรรคนํา หรือโปรยหัว เป็นย่อหน้าแรกที่ย่อเรื่องสําคัญของข่าว เอาไว้ ซึง่ ถือว่าเป็นส่วนสาํ คัญของเรือ่ งราว เพราะจะย่อเรือ่ งให้คนอ่านหรือคนฟังได้รเู้ รือ่ ง ก่อน ซึ่งมักจะมีความยาว 3 – 4 บรรทัด

-57-


ข่าวที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ความถูกต้อง ข่าวที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ระบุแหล่งที่มาของ ข่าวให้ชัดเจน มีข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่ถูกต้องมากที่สุดเท่า ที่เราจะทําได้ 2. ไม่ลําเอียง (มีความสมดุล) มีการจัดลําดับความสําคัญของเรื่องราวหรือ เหตุการณ์ตลอดจนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้เข้าใจ 3. ความเที่ยงตรงและยุติธรรม ข่าวที่ดีจะต้องรายงานด้วยความเที่ยวธรรม ไม่นาํ ความรูส้ กึ ส่วนตัวเข้าไปปะปนในการเขียนข่าวหรือเสนอข่าว จะต้องไม่ “ระบายสี” “ไม่มีอคติ” จะต้องเสนอข่าวไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง 4. กระทัดรัดและชัดเจน ข่าวที่ดีจะต้องกระทัดรัด ชัดเจน เลือกใช้ภาษาที่ เข้าใจง่าย ไม่วกวน น่าอ่าน และเขียนให้กระจ่างแจ้ง 5. ทันต่อเหตุการณ์ จะเขียนข่าวเพื่อแสดงว่าข่าวนั้นมีความสดใหม่ ทันต่อ เหตุการณ์ เช่น มีการใช้คําว่า “เช้าวันนี้” “ตอนใกล้เที่ยววันนี้” “บ่ายวันนี้” หรือ “ข่าว ล่าสุดแจ้งว่า” อันเป็นการแสดงถึงความสดใหม่ของข่าว 6. รสนิยมดี เป็นการเขียนทีส่ ร้างสรรและใช้ภาษาทีส่ ภุ าพ การใช้คาํ เชือ่ มบุคคล ในการเขียนข่าวจะต้องระบุ ชือ่ ตาํ แหน่ง ยศ บรรดาศักดิใ์ ห้ถกู ต้อง และจะต้องมีการตรวจ ทานด้วยความระมัดระวัง เพือ่ มิให้เกิดผิดพลาดในสิง่ เหล่านี้ ซึง่ ถือว่าเป็นเรือ่ งสาํ คัญและ ในการเสนอข่าวทางวิทยุกระจายเสียง ไม่จําเป็นจะต้องระบุชื่อบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือ ไม่มีความสําคัญในข่าว เช่น ข่าวเครื่องบินตกมีผู้โดยสารเสียชีวิต 60 คน ไม่จําเป็นต้อง บอกรายชื่อทั้ง 60 คน ควรบอกเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักก็พอแล้ว

การเป็นนักข่าวที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้ คือ 1. มีความรับผิดชอบต่อประชาชน กล่าวคือ มีความสํานึกในวิชาชีพของ

-58-


สื่อมวลชนและจะต้องทํางานในหน้าที่ด้วยความเสียสละซื่อสัตย์ 2. จะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น และสามารถเลือกข่าวที่น่าสนใจได้โดย สัญชาติญาณ จะต้องไม่รอให้ข่าวมาหา ตรงกันข้ามจะต้องออกไปหาข่าว แหล่งที่มาของข่าว ข่าวเกิดจากเหตุการณ์และกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2. กิจกรรมที่วางแผนไว้ 3. ความพยายามของผู้สื่อข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นข่าวเชิงบวกและสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริง ที่เกิดจากกิจกรรมของหน่วยงาน

องค์ประกอบของข่าว การเขียนข่าวสารทีจ่ ะประชาสัมพันธ์ หรือสารทีจ่ ะสือ่ ออกไปยังสือ่ มวลชน ควร มีสาระส�ำคัญหรือองค์ประกอบ ที่เรียกว่า “5 W 1 H ” ดังต่อไปนี้ 1. ใคร (Who) ใครคือบุคคลส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว 2. ท�ำอะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระท�ำหรือเหตุการณ์ใดที่ส�ำคัญ 3. ที่ไหน (Where) การกระท�ำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน 4. เมื่อไร (When) การกระท�ำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นวัน เวลาใด 5. ท�ำไมและอย่างไร ( Why and How) ท�ำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิด ขึ้นได้อย่างไร 6. ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ความเป็นมา

ขั้นตอนในการเขียนข่าว การเขียนข่าว ผู้เขียนควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

-59-


1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์ 2. วางแผนการเขียน ศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของสื่อที่จะส่งเผยแพร่ 3. ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน 4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน

องค์ประกอบการเขียนข่าว การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ ต้องบอกสิ่งส�ำคัญที่สุดก่อน แล้วจึงบอกสิ่งส�ำคัญ รองลงมา ซึ่งการเขียนข่าวมีองค์ประกอบส�ำคัญเรียงล�ำดับ ดังต่อไปนี้ 1. พาดหัวข่าว (headline) เป็นการบอกประเด็นส�ำคัญของข่าว มักใช้ ประโยคทีเ่ ป็นข้อความสัน้ ๆ เพือ่ ช่วยให้รวู้ า่ เป็นข่าวอะไร และมีประเด็นใดน่าสนใจ วิธกี าร พาดหัวข่าวให้พิจารณาความส�ำคัญของข่าวนั้นๆ ว่าใคร ท�ำอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร และท�ำไมจึงท�ำเช่นนั้น ตัวอย่างการเขียนพาดหัวข่าว 1.1 แบบ Who น�ำ เช่น “นายกรัฐมนตรีประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ศอ.บต.” “แฝดสยามเพศหญิงเสียชีวิตแล้ว” “กกต.ยืนกรานห้ามจดใหม่ พรรคถูกยุบ” 1.2 แบบ What น�ำ เช่น “เกิดเพลิงไหม้ที่ย่านชุมชนกลางตลาด” ซึ่งส่วน ใหญ่ความส�ำคัญของข่าวอยู่ที่ การกระท�ำและผลกระทบ 1.3 แบบ When น�ำ เช่น “31 พ.ค.ชี้ชะตายุบพรรค” ซึ่งข่าวนี้ความส�ำคัญ อยู่ที่เงื่อนไขของเวลา 1.4 แบบ Where น�ำ เช่น “เชียงใหม่กลายเป็นเมืองในหมอกจากไฟป่า” ซึ่งคุณค่าของข่าวอยู่ที่สถานที่ 1.5 แบบ Why น�ำ เช่น “เร่งหาสาเหตุหนุ่มคลั่งยิงกราด 3 ศพ กลางตลาด ไท” ความส�ำคัญของข่าวอยู่ที่การตั้งข้อสังเกต เพื่อเพิ่มความอยากรู้ อยากเห็น 1.6 แบบ How น�ำ เช่น “อยากได้มือถือรุ่นใหม่ วัยรุ่นหาเงินด้วยการ ขายตัว” ความส�ำคัญของข่าวอยู่ที่ความเป็นเหตุเป็นผล 2. วรรคน�ำ เป็นประเด็นส�ำคัญของเรื่อง คือต้องตอบสนองความสนใจของผู้

-60-


-61-


อ่านว่า Who What When Where Why เขียนด้วยประโยคสรุปเรื่องหรือสรุปประเด็น ส�ำคัญและกระชับ เพื่อขยายพาดหัวข่าว มีความยาวประมาณ 3-6 ประโยค เช่น “สดศรี ยืนกรานพรรคถูกยุบจดชื่อเดิมไม่ได้ ทนายบอก แม้วพร้อมแก้ปัญหา หาก ทรท.ถูกยุบ ด้านประธาน คมช.ติวเข้มต�ำรวจ-ทหาร สั่งห้ามใช้อาวุธรับมือม๊อบ” 3. ส่วนเชื่อม เป็นตัวเชื่อมระหว่างวรรคน�ำกับเนื้อข่าว ส่วนใหญ่เป็นข้อความ ที่ขยายประเด็นของเรื่อง จะมีหรือไม่มีก็ได้ มักใช้กับข่าวใหญ่ เช่น “ทั้งนี้เป็นการประชุม ลับ ห้ามไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องประชุมศาลฎีกา” 4. เนื้อข่าว เป็นการบอกเรื่องที่เหลือจากที่บอกไว้แล้วในวรรคน�ำ เป็นข้อเท็จ จริงที่สนับสนุนหรือขยายความ หรือช่วยให้วรรคน�ำได้ใจความชัดเจนขึ้น เป็นเรื่องราว ทั้งหมดของข่าวที่ตอบค�ำถาม 5 W และ 1 H มี 2-5 ย่อหน้าตามความเหมาะสม โดย ย่อหน้าแรกๆ เป็นรายละเอียดตามวรรคน�ำ ย่อหน้าสอง อ้างค�ำพูดผู้ให้สัมภาษณ์ หรือผู้ บริหาร เพือ่ เพิม่ ความน่าเชือ่ ถือ ย่อหน้าสุดท้าย เสริมข้อมูลเฉพาะทีจ่ ำ� เป็น เช่น “รายงาน ข่าวแจ้งว่า……………….” นอกจากนีต้ วั อย่างการน�ำค�ำพูดมาใช้ในเนือ้ ข่าว เช่น “ผูก้ อ่ ความ ไม่สงบก�ำลังสูญเสียมวลชน เขาหมดโอกาสที่จะเดินไปสู่ความส�ำเร็จในการแบ่งแยกดิน แดน” พันเอกอัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก กล่าว หรือ ประโยคอ้อม “พันเอกอัคร ทิพ โรจน์ กล่าวว่าผู้ก่อความไม่สงบก�ำลังสูญเสียมวลชน และหมดโอกาสที่จะเดินไปสู่ความ ส�ำเร็จในการแบ่งแยกดินแดน” หรือประโยคตรง พันเอกอัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพ บก กล่าวว่า “ผู้ก่อความไม่สงบก�ำลังสูญเสียมวลชน เขาหมดโอกาสที่จะเดินไปสู่ความ ส�ำเร็จในการแบ่งแยกดินแดน” 5. ทิง้ ท้ายข่าว เป็นการสรุปประเด็นเพือ่ ดึงดูดความสนใจ ตอกย�ำ้ จุดหมาย ส่วน ใหญ่มี ความยาวประมาณ 4-6 ประโยค เช่น “เชิญร่วมกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก ในวัน ที่ 31 พฤษภาคมนี้ และร่วมกันท�ำความดีถวายในหลวงด้วยการงดสูบบุหรี่”

รูปแบบการเขียนข่าว โดยทั่วไปการเขียนข่าวจะมีเพียง 3 ส่วนเท่านั้น ได้แก่ พาดหัวข่าวหรือโปรย

-62-


หัวข่าว (headline) วรรคน�ำ เป็นการสรุปเรื่องราว (lead) เนื้อข่าว เป็นรายละเอียด ของเหตุการณ์และเรื่องราว (detail) นอกจากนี้รูปแบบการเขียนข่าวทั่วๆ ไป ไม่ว่าข่าว หนังสือพิมพ์ หรือข่าววิทยุโทรทัศน์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ปีรามิดหัวกลับ ปีรามิดหัวตัง้ และ สี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยืนแบบผสม ซึ่งใช้ในรูปแบบของข่าวที่แตกต่างกันดังนี้ 1. แบบปิรามิดหัวกลับ (inverted pyramid) เป็นการน�ำเสนอข่าวโดยล�ำดับ ประเด็นส�ำคัญจากมากไปหาน้อย ซึง่ สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการอยากรูอ้ ยาก เห็นสิง่ ส�ำคัญก่อน ส่วนรายละเอียดไว้ทหี ลัง ประกอบด้วย ข่าวพาดหัว วรรคน�ำ ส่วนเชือ่ ม และส่วนของเนื้อเรื่อง เรียงตามล�ำดับความส�ำคัญ เป็นการเขียนข่าว โดยเริ่มด้วยความ น�ำที่เป็นประเด็นส�ำคัญของเรื่อง และส่วนเชื่อมที่โยงความสัมพันธ์ระหว่างความน�ำกับ เนื้อหา ที่มีความส�ำคัญรองลงมา ส่วนเนื้อหา จะเป็นส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดของ เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด

พาดหัวข่าว ส่วนน�ำ เนื้อหา

-63-


รูปแบบโครงสร้างของข่าวในหน้ากระดาษ พาดหัว วรรคน�ำ ค�ำเชื่อม เนื้อข่าวส�ำคัญ เนื้อข่าว เนื้อข่าวส�ำคัญน้อย 2. แบบปิระมิดหัวตั้ง (upright pyramid) จะเรียงล�ำดับข้อมูลที่มีความ ส�ำคัญน้อยไปหามากที่สุด (climax) เพื่อให้ผู้อ่านมีความอยากรู้ เริ่มจากประเด็นที่ไม่มี ความส�ำคัญมากนัก แล้วค่อยๆ เพิม่ ประเด็นทีส่ ำ� คัญขึน้ เรือ่ ยๆ จนกระทัง่ ถึงประเด็นส�ำคัญ ที่สุด มักจะใช้ในเรื่องที่มีเงื่อนง�ำ เชิงสืบสวน สอบสวน ปัจจุบันไม่นิยมใช้

พาดหัวข่าว ส่วนน�ำ เนื้อหา

-64-


3. แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยืนแบบผสม (combination) มักใช้เขียนข่าวที่ไม่ ค่อยส�ำคัญ เป็นข่าวสั้นๆ เริ่มจากส่วนเชื่อม หรือจากเนื้อเรื่องข่าว หลังจากพาดหัวข่าว แล้ว ไม่มคี วามน�ำ ความส�ำคัญของข่าวเท่าเทียมกัน ตัง้ แต่ตน้ จนจบเนือ้ เรือ่ งของข่าว มัก จะเขียนแบบเสนอข้อเท็จจริง

ข้อควรระวังในการเขียนข่าว 1. ชื่อและนามสกุลต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าผิดพลาดอาจกลายเป็น คนละบุคคล หรือเกิดความเสียหายได้ 2. ยศ ต�ำแหน่ง ต้องระบุให้ตรงกับความเป็นจริงขณะนั้น เช่น อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย 3. ค�ำน�ำหน้าชื่อ และบรรดาศักดิ์ต้องระบุเรียงล�ำดับให้ถูกต้อง 4. การใช้อักษรย่อ หรือตัวย่อต่างๆ ควรตรวจสอบให้ดี 5. ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไป 6. การเขียนตัวเลขถ้ามีจ�ำนวนมากอาจใช้ตัวอักษรแทน ถ้าไม่ใช่ตัวเลขที่ แน่นอน ควรใช้ค�ำว่าประมาณ 7. หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก

การพิจารณาคัดเลือกข่าวเพื่อน�ำเสนอ ข่าวที่งานประชาสัมพันธ์คิดว่าส�ำคัญและเด่น และน�ำมาเสนอ แต่สื่ออาจจะ เห็นว่าไม่ส�ำคัญและไม่น่าสนใจ หรือข่าวที่งานประชาสัมพันธ์เห็นว่า เป็นข่าวที่สังคม ควรรู้ แต่อาจเป็นข่าวที่เขาไม่อยากรู้ ดังนั้นประเด็นของข่าวจึงควรอยู่ในกระแสสังคม และมีผลกับคนส่วนใหญ่

-65-


เทคนิคการเขียนข่าวให้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทางสื่อมวลชน การเขียนข่าวเป็นทัง้ ศาสตร์และศิลป์ มีความยืดหยุน่ ไม่ยดึ ติดกับรูปแบบ เขียน อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ความส�ำเร็จของการประชาสัมพันธ์สว่ นหนึง่ คือการ ได้รบั การเผยแพร่ขา่ วของหน่วยงานผ่านสือ่ มวลชน ปัจจุบนั การส่งข่าวเพือ่ เผยแพร่ทำ� ได้ ยากขึ้น เนื่องจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ล้วนส่งข่าวไปยังสื่อมวลชนแทบทั้งสิ้น ดังนั้น การเขียนข่าวให้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทางสื่อมวลชนต้องค�ำนึงถึงเทคนิคดังต่อไปนี้ 1. ศึกษารายละเอียดของสื่อให้เข้าใจ เช่น ชื่อของบรรณาธิการ เนื้อหาของ สื่อ เพื่อที่จะด�ำเนินการส่งข่าวได้อย่างน่าสนใจ และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ 2. รายละเอียด เนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ ต้องเลือกประเด็นและมีเนื้อหา น่าสนใจรวมทั้งต้องมีความครบถ้วนในตัวเอง และต้องไม่ผิดพลาดทั้งในด้านเนื้อหา วัน เวลา สถานที่ และชื่อบุคคล เพราะหากมีความผิดพลาด สื่อมวลชนจะจ�ำความผิดพลาด นั้นไปตลอด 3. ข่าวมีคุณภาพ ครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้อง 4. ความรวดเร็วของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากรายงานทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ คุณค่าของข่าวจะมากขึ้น เพราะการรายงานข่าวสดๆ ร้อนๆ ผู้อ่านมักชื่นชอบและให้ ความสนใจ 5. ต้องค�ำนึงเสมอว่า การส่งข่าวต้องถูกคน ถูกหน้า ถูกฉบับ ถูกเวลา เพราะ โอกาสได้รบั การตีพมิ พ์จะมีสงู นักประชาสัมพันธ์ควรทราบก�ำหนดของการปิดต้นฉบับของ แต่ละสื่อ เพื่อก�ำหนดเวลาในการส่งข่าวได้อย่างถูกต้อง 6. ต้องกระตุน้ ความสนใจของผูส้ อื่ ข่าวหรือบรรณาธิการ โดยการพาดหัวข่าว ให้น่าสนใจ โดยทั่วไปสื่อมวลชนมีความต้องการข่าวจากหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นการเขียน ข่าวต้องสร้างความน่าสนใจเพือ่ ดึงดูดใจบรรณาธิการให้ได้ เช่น “ม.อ.จัดพิธพี ระราชทาน ปริญญาบัตร” เปลี่ยนเป็น “ม.อ.ถวายปริญญาในหลวง” “คลินิกวัยรุ่นโรงพยาบาล ม.อ. สรุปปัญหาวัยรุ่น” เปลี่ยนเป็น “คลินิกวัยรุ่น ม.อ.สะท้อนปัญหาวัยโจ๋” นอกจากนี้สิ่งที่ ท�ำให้ข่าวน่าสนใจเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความใกล้ชิดของข่าวกับผู้บริโภคทั้งกายและใจ ความ ส�ำคัญหรือความเด่นของบุคคลในข่าว ขนาดของเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ใหญ่ ย่อมได้รับ

-66-


ความสนใจมากกว่า ข่าวทีม่ ผี ลกระทบต่อคนจ�ำนวนมาก ย่อมมีความส�ำคัญมากกว่า ข่าว มีเงื่อนง�ำ มักได้รับความสนใจ หรือข่าวแปลก พิสดาร จะได้รับความสนใจมาก เป็นต้น 7. ข่าวที่ส่งไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและมีข้อมูลเพียงพอ 8. ไม่เขียนยกย่องจนออกนอกหน้า เพราะหากหนังสือพิมพ์เขียนข่าวยกย่อง มากเกินไป อาจถูกเพ่งเล็งว่าได้รับผลประโยชน์ 9. ต้องมีกระดาษหัวข่าว ซึ่งมีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ รวมทั้งผู้ให้ข่าว ที่ พร้อมจะให้สื่อมวลชนติดตามหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา 10. เลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาข่าว ต้องพิจารณาดูว่า เขียนไปลงหนังสือพิมพ์ อะไร การเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์นั้นเป็นอย่างไร ควรรู้นโยบายและการท�ำงานของ หนังสือพิมพ์ ว่าน�ำเสนอข่าวแนวไหน ท�ำข่าวประเภทใด ท�ำให้ข่าวที่เขียนส่งไปมีโอกาส ตีพิมพ์เผยแพร่มากขึ้น เช่น ข่าวเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องเชิญมาท�ำข่าวหรือ ส่งให้สื่อหรือนัก ข่าวในสายนี้เพื่อจะได้สื่อตรงกลุ่มเป้าหมาย 11. เนื้อข่าวไม่จ�ำเป็นต้องเขียนยาวมาก ควรพิมพ์จบในกระดาษ เอ 4 หน้า เดียว เทคนิคและขั้นตอนในการถามค�ำถามเพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มา เขียนข่าว

ความส�ำเร็จของการได้ข้อมูลขึ้นอยู่กับความสามารถในการถามค�ำถาม และ ท�ำให้ผู้ที่ถูกถามพึงพอใจ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ถามอย่างมีจดุ มุง่ หมาย และวางแผนทีจ่ ะถามค�ำถามในสิง่ ทีค่ นทัว่ ไปอยากรู้ 2. ศึกษาคนที่เราจะไปถาม 3. เริ่มจากค�ำถามกว้างๆ ไปเจาะประเด็นค�ำถามที่แคบเข้าหรือประเด็นที่ อยากรู้ 4 .อาศัยค�ำตอบก่อนหน้านี้ของผู้ให้สัมภาษณ์ มาเป็นพื้นฐานในการถาม ค�ำถามต่อไป 5. ค�ำถามควรกระชับ ไม่ควรถามค�ำถามที่ยาวเกินไป

-67-


-68-


6. ขออนุญาตก่อนถาม โดยหลักจิตวิทยา ถ้าขออนุญาตถามค�ำถาม คนทั่วไป จะตอบรับที่จะตอบ 7. หลังจากถามค�ำถามแล้วให้หยุดฟัง 8. จดบันทึก หรืออัดเทปค�ำให้สัมภาษณ์ไว้ เพื่อน�ำข้อมูลมาเขียนข่าว ค�ำถามทั่วไปที่สามารถน�ำมาใช้สัมภาษณ์ ค�ำถามพื้นฐานที่สามารถน�ำมาใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะท�ำข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ ได้แก่ รายละเอียดของโครงการเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ของโครงการเป็น อย่างไร เป้าหมาย ความคาดหวังหรือประโยชน์ของโครงการหรือกิจกรรมคืออะไร ความ คืบหน้าในการด�ำเนินการไปถึงขัน้ ไหน ปัญหาและอุปสรรคในการท�ำงานมีอะไรบ้าง และ จะแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้ข้อควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงค�ำถามที่น�ำไปสู่ความขัดแย้ง หรือ ความไม่พอใจของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น ค�ำถามว่า มีความขัดแย้งในการท�ำงานใช่หรือไม่ เรื่องนี้มีการเมืองเข้ามาแทรก หรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นหรือไม่ ยกเว้นว่าได้สร้างความ สัมพันธ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นอย่างดีแล้ว และมีความเชี่ยวชาญในการท�ำข่าวเจาะลึก กรณีเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งนักประชาสัมพันธ์มีโอกาสที่จะเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่ น การให้ สั ม ภาษณ์ ท างโทรทั ศ น์ การพู ด เข้ า สายในรายการวิ ท ยุ หรื อ การให้ สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ควรคิดว่า การให้สัมภาษณ์เป็นโอกาสที่ได้ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นโอกาสได้ชี้แจงหรืออธิบาย เหตุผลในสิง่ ทีถ่ กู วิพากษ์วจิ ารณ์ รวมทัง้ ได้ชมเชยเพือ่ เสริมสร้างขวัญก�ำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ ผูป้ ฎิบตั งิ าน นอกจากนีเ้ มือ่ ได้ฟงั ค�ำถาม ไม่ควรรีบตอบ แต่พยายามท�ำความเข้าใจค�ำถาม ก่อน อย่าท่องจ�ำค�ำตอบ ให้พยายามท�ำความเข้าใจเรื่องที่จะให้สัมภาษณ์ พูดอย่างเป็น ธรรมชาติ ถ้าไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดเจน ให้ขอค�ำถามอีกครั้ง และถ้าผู้สัมภาษณ์อ้างถึง ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ให้กล่าวแก้ไข อย่าปล่อยให้ผ่านเลยไป

-69-


ภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ ภาพถ่ายช่วยให้ขา่ วมีความสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ เพราะช่วยให้ผอู้ า่ นเข้าใจเนือ้ หา ราย ละเอียดของเรื่อง รวมทั้งนิยมชมชอบต่อบุคคลและหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น ภาพถ่ายจึงเป็น สื่อที่มีบทบาทส�ำคัญในการประชาสัมพันธ์ ประเภทของภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประเภทของภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ภาพบุคคล เน้นบุคคลส�ำคัญในเหตุการณ์ 2) ภาพกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่น่าสนใจ 3) ภาพสถานที่ เน้นสถานที่ส�ำคัญในข่าว 4) ภาพเหตุการณ์ เน้นเหตุการณ์ตามธรรมชาติ เทคนิคในการถ่ายภาพให้ได้ลงข่าว เทคนิคในการถ่ายภาพให้ได้ลงข่าวมีข้อควรพิจารณาดังนี้ 1. มีความสอดคล้องกับเนือ้ หาข่าว ข่าวและภาพควรจะกลมกลืนกัน มีเนือ้ หา มีชีวิตชีวา มีความชัดเจน สามารถบอกเรื่องราวให้ผู้ดูรู้เรื่องและเข้าใจได้ชัดเจน และควร มีค�ำอธิบายภาพ ซึ่งมีรายละเอียดว่าใคร ท�ำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ท�ำไม อย่างไร โดยพิมพ์ ด้วยกระดาษต่างหากไว้ใต้ภาพ ไม่ควรเขียนข้างหลังภาพ 2. การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ ต้องเลือกบุคคลที่น่าสนใจ จะตามใจ ผู้ที่ต้องการเป็นข่าวไม่ได้ ต้องมีศิลปะและใช้วิจารณญาณในการถ่ายภาพและคัดเลือก ภาพให้เหมาะสม หากภาพถ่ายไม่น่าสนใจ ไม่มีความแปลกใหม่ อาจไม่ได้รับการตีพิมพ์ 3. ภาพถ่ายประกอบข่าวของบุคคลผู้เป็นแหล่งข่าวในภาพ ไม่ควรนั่งตัว ตรง (แข็งเหมือนภาพจากบัตรประชาชน) ควรอยู่ในอิริยาบถต่างๆ เช่น กอดอก ก�ำลัง จับปากกา ก�ำลังพูดอธิบาย ซึ่งท�ำให้ภาพข่าวน่าสนใจขึ้น

-70-


วิธีการถ่ายภาพ ภาพถ่ายทีจ่ ะน�ำไปประกอบข่าวนัน้ ปัจจุบนั มีความสะดวก รวดเร็วและง่ายขึน้ เพราะเทคโนโลยีของกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล ที่ใช้ระบบอัตโนมัติในการท�ำงาน ซึ่งมี ข้อแนะน�ำในการถ่ายภาพดังต่อไปนี้ 1. วางนิว้ ไว้บนปุม่ ชัตเตอร์แล้วกดลงไปเบาๆ ประมาณครึง่ ทาง อย่าเพิง่ กดลงไป จนสุด กล้องจะเริม่ โฟกัสภาพและค�ำนวณแสง จากนัน้ ค่อยกดปุม่ ชัตเตอร์ลงไปอีกครึง่ หนึง่ จนสุดอย่างแผ่วเบา กล้องก็จะบันทึกภาพทันที ภาพทีไ่ ด้จะไม่สนั่ และได้จงั หวะทีต่ อ้ งการ 2. การถ่ายภาพย้อนแสง สามารถเปิดแฟลชช่วย เพื่อไม่ให้ภาพที่ออกมามืด 3. การถ่ายภาพบุคคลครึ่งตัว ผู้ถ่ายภาพควรย่อตัวเล็กน้อย เนื่องจากหากถ่าย จากส่วนสูง ปกติแล้ว ภาพที่อยู่ในมุมที่กดลง จะท�ำให้ศรีษะดูใหญ่ และช่วงตัวดูสั้น เป็น สาเหตุให้ได้ภาพที่ล�ำตัวและขาสั้นแต่ศรีษะโตเมื่อถ่ายภาพบุคคลเต็มตัว 4. การถ่ายภาพบุคคล ต้องค�ำนึงถึงองค์ประกอบ ด้านแสง ฉากหน้า ฉากหลัง โดยเฉพาะฉากหลังที่ดีต้องไม่รกรุงรัง และรบกวนสายตาในการมอง เช่น มีใบไม้หรือเสา โผล่ขึ้นมาจากศรีษะ ต้องหลีกเลี่ยงฉากดังกล่าว หรือถ่ายให้ฉากหลังเบลอ ด้วยการปรับ รูรับแสงให้กว้าง ความเร็วชัตเตอร์สูง เคล็ดลับในการถ่ายภาพหมู่เพื่อน�ำไปเป็นภาพประกอบข่าว ภาพข่าวประชาสัมพันธ์นนั้ ต้องใช้ภาพหมูเ่ พือ่ ประกอบในการเผยแพร่ขา่ วค่อน ข้างมาก ซึ่งมีข้อแนะน�ำในการถ่ายภาพหมู่ดังนี้ 1. พยายามให้น�้ำหนักของภาพดูสมดุล ไม่หนักไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งเป็น หน้าที่ของช่างภาพเนื่องจากเป็นผู้ที่เห็นองค์ประกอบทั้งหมด ผู้ที่ถูกถ่ายจะไม่ทราบว่า ภาพดูสมดุลดีหรือไม่ 2. การถ่ายภาพหมู่บ่อยครั้งต้องถ่ายในที่มีแสงน้อย ต้องใช้แฟลชช่วย ควรให้ ภาพที่ออกมาเห็นชัดเจนทุกคน 3. หากไม่ต้องการให้ผู้ถูกถ่ายภาพหมู่บางคนหลับตา อาจใช้วิธี บอกให้ทุกคน

-71-


หลับตาก่อน แล้วจึงนับ 1-2-3 ให้เปิดตาได้ แล้วจึงท�ำการกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ จะได้ภาพ ที่ไม่มีใครหลับตา 4. การถ่ายภาพหมูไ่ ม่จำ� เป็นต้องถ่ายภาพเมือ่ เสร็จสิน้ กิจกรรม อาจถ่ายตอนเริม่ ต้นกิจกรรมหรือระหว่างการท�ำกิจกรรม เพราะหากรอเสร็จสิน้ กิจกรรม สมาชิกอาจอยูไ่ ม่ ครบหรือสื่อมวลชนบางท่านไม่สามารถรอจนจบกิจกรรม อาจกลับไปก่อนได้

การรายงานข่าวชั้นสูง การรายงานข่าวเชิงสืบสวน (Investigative Reporting) วงการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทยเรียกการรายงานข่าวประเภทนีว้ า่ “ข่าวเจาะ” การรายงานข่าวเชิงสืบสวนเป็นข่าวที่ได้มาด้วยการสืบค้น ขุดเจาะเรื่องราวออกมาตีแผ่ อย่างต่อเนื่อง น�ำข้อเท็จจริงของข่าวมาเปิดเผยตามล�ำดับ ท�ำให้เกิดความสนใจติดตาม และวิพากษ์วจิ ารณ์อย่างกว้างขวาง จนน�ำไปสูก่ ารปรับปรุงเปลีย่ นแปลง การระงับยับยัง้ หรือยุติเรื่องนั้น รวมทั้งการด�ำเนินการเอาผิดลงโทษผู้เกี่ยวข้อง การรายงานข่าวเชิงสืบสวนนีผ้ สู้ อื่ ข่าวจึงต้องล้วงลึกเข้าไปถึงต้นตอของเรือ่ งจน กระทัง่ ถึงผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลังเหตุการณ์ขา่ วนัน้ ซึง่ ก็ตอ้ งมีแหล่งข่าวตัวบุคคลทีจ่ ะยืนยันความ ถูกต้องของข่าว รวมไปถึงการเก็บรวบรวมหลักฐานเอกสารที่สามารถพิสูจน์ว่า เรื่องที่ เกิดขึ้นเป็นความจริงทุกประการหรือใกล้เคียงกับเรื่องจริงที่สุดอีกด้วย การรายงานข่าวแบบนี้จะแตกต่างจากการรายงานข่าวประเภทอื่น ๆ ตรงที่ การรายงานข่าวประเภทอื่น ๆ นั้น จะน�ำเอาสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดอยู่แล้วมา น�ำเสนอ แต่การรายงานข่าวเชิงสืบสวน จะน�ำข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัด และไม่อาจหยิบยกได้โดยง่ายมาน�ำเสนอ เป็นการพยายามขุดค้นความจริงที่ซ่อนเร้น

-72-


(Hidden Facts) ลักษณะของข่าวที่จัดว่าเป็นข่าวเชิงสืบสวนมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. มีความลึก 2. มีความกว้าง 3. มีความซับซ้อน 4. มีความแรง 5. มีความต่อเนื่อง 6. ควรเป็นข่าวเดี่ยว 7. มีลักษณะเปิดโปง 8. หาข้อยุติได้ การรายงานข่าวเชิงสืบสวนเป็นศาสตร์และศิลป์ควบคู่กันไป จุดเริ่มต้นมัก เกิดจากความสังหรณ์ใจ (Hunch) ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือได้แง่มุม ประเด็นข่าว (Tip) จากการที่มีผู้ชี้เบาะแส (Hint) โดยบอกเล่าทางวาจาหรือส่งเอกสารข้อมูลมาให้ หรืออาจมีนกั ข่าวหรือใครก็ตามในกองบรรณาธิการเกิดความสงสัยหรือสังหรณ์ใจในเรือ่ ง ที่ได้ยิน ได้อ่านพบว่าน่าจะมีอะไรซุกซ่อนอยู่อีก น่าจะเป็นเพราะเหตุนั้น เหตุนี้ ดังนั้น มุมมองที่แตกต่าง จึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากในการท�ำข่าวประเภทนี้ หลังจากได้ประเด็นข่าวก็ตอ้ งมีการตัง้ สมมุตฐิ านถึงสาเหตุความเป็นไปได้ โดย อาจศึกษาจากหลักฐานแวดล้อม การสังเกต การคิด หรือการปรึกษาบรรณาธิการ หรือคนอื่น ๆ ในกองบรรณาธิการ เมื่อได้ข้อสมมุติฐานแล้วก็น�ำมาเรียงตามความเป็น ไปได้ ข้อสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดจะอยู่บนสุด ส่วนข้อสมมุติฐานที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ อาจถูกตัดทิ้งไป เมื่อได้สมมุติฐานแล้ว ล�ำดับต่อไปก็คือการก�ำหนดเป้าหมายของการท�ำข่าว เช่น เรื่องนี้ต้องถูกน�ำมาพิจารณาใหม่ ค�ำสั่งที่ไม่ชอบธรรมไร้เหตุผลนั้นต้องถูกยกเลิก คนท�ำความผิดต้องถูกสอบสวนทางวินัย ถูกด�ำเนินคดีเพ่งและอาญา นโยบายเรื่องนี้ซึ่ง มีเงื่อนง�ำมีผลประโยชน์ซุกซ่อนอยู่ต้องถูกยกเลิก เป็นต้น เมื่อเป้าหมายในการรายงานข่าวเรื่องนั้น ๆ ชัดเจน การวางแผนสืบค้นเรื่อง

-73-


ราว การมองหาแหล่งข่าวที่จะเข้าไปหาข้อเท็จจริงจะตามมาทันที การท�ำข่าวเชิงสืบสวนจะต้องมีการวางแผนและประสานการท�ำงานกันเป็นทีม ตัง้ แต่การเก็บรวบรวมข้อมูล จนมาถึงขัน้ ตอนของการน�ำเสนอหรือการรายงานข่าวออกไป ซึ่งการรายงานข่าวออกไปนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องได้ข้อมูลหลักฐานทั้งหมดครบ ถ้วนสมบูรณ์เสียก่อนจึงน�ำเสนอได้ หากข้อมูลที่ได้มามีน�้ำหนักของความเป็นไปได้ เป็น เรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ จริง ครบองค์ประกอบของข่าว ทัง้ มีแนวโน้มจะติดตามสืบเสาะข้อเท็จจริง ต่อไปได้ การรายงานข่าวเบือ้ งต้นให้ผอู้ า่ นรูว้ า่ เรือ่ งราวเป็นมาอย่างไร แง่มมุ ทีเ่ ป็นเงือ่ นง�ำ น่าสงสัยอยู่ตรงไหน ก็สามารถรายงานข่าวได้เลย การค่อย ๆ รายงานข่าวออกไปนี้จะ ท�ำให้กองบรรณาธิการได้ข้อมูล หลักฐาน เอกสารต่าง ๆ แม้แต่การสัมภาษณ์ บุคคล จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อการเสนอข่าวกระทบไปถึงผู้ใด ทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสีย ประโยชน์ แม้กระทั่งคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่เนื่องจากเขารู้เรื่องราวทั้งหมดและมี หลักฐานอยู่ในมือ ต้องการเห็นความถูกต้องจึงตัดสินใจให้ข้อมูลแก่หนังสือพิมพ์ ซึ่งขั้น ตอนการน�ำเสนอหรือการรายงานนี้ จะมีผลกดดันผู้รับผิดชอบอย่างส�ำคัญ จากการที่ข่าวเชิงสืบสวนมีประเด็นสลับซับซ้อนมากมาย การหยิบประเด็น ขึ้นมาติดตามและน�ำเสนอจึงต้องคัดเลือก กลั่นกรองว่าประเด็นใดจะเสนอก่อน เสนอ ระหว่างที่ข่าวก�ำลังเดินไป หรือเก็บรอไว้เสนอในตอนท้ายใกล้จะจบ การน�ำเสนอ นอกจากในรูปแบบของข่าวที่ติดตามอย่างต่อเนื่องแล้ว การน�ำ เสนอด้วยรูปแบบอื่นมีส่วนช่วยผลักดันให้ข่าวบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เช่น บทรายงาน สัมภาษณ์พิเศษ บทวิเคราะห์ บทบรรณาธิการ ขั้นตอน วิธีการด�ำเนินการท�ำข่าวเชิงสืบสวนอาจท�ำได้โดยพิจารณาจากหลัก 11 ข้อ ดังนี้ 1. จะต้องมีความคิด (Conception) 2. ศึกษาเรื่องราวที่กระท�ำได้ (Feasibility Study) 3. การตัดสินใจท�ำหรือไม่ (Go and No Go Study Decision) 4. การวางแผนและสร้างพื้นฐานในการท�ำงาน (Planning and Base Building) 5. การวิจัยพื้นฐาน (Original Research)

-74-


6. การประเมินผลใหม่อีกครั้ง (Re-Evaluation) 7. ทบทวนการตัดสินใจท�ำหรือไม่ท�ำอีกครัง้ (Go and No Go Decision) 8. สัมภาษณ์บุคคลที่เป็นกุญแจไขข่าว (Key Interviews) 9. การประเมินผลครั้งสุดท้าย (Final Evaluation) 10. ทบทวนการตัดสินใจท�ำหรือไม่ท�ำอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย (Final Go anf No Go Decision) 11. เขียนและตีพิมพ์ข่าว (Writing and Publication) ข้อควรระวังในการเสนอข่าวเชิงสืบสวน 1. ควรระวังผู้ให้เบาะแสข่าว ผู้สื่อข่าวจะต้องประเมินคุณค่าของผู้ให้เบาะแส ข่าวด้วยว่าน่าเชือ่ ถือเพียงใด และข้อมูลทีไ่ ด้มามีขอ้ พิสจู น์อะไรเพือ่ สนับสนุนข้ออ้างหรือ ข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องตัง้ สมมุตฐิ านดูวา่ ผูใ้ ห้เบาะแสข่าวมีจดุ มุง่ หมายอะไรหากข่าวได้รบั การตีพมิ พ์เผยแพร่ ใครจะได้รบั ผลประโยชน์บา้ ง หรืออาจหวังให้หนังสือพิมพ์เป็นเครือ่ ง มือท�ำลายใครหรือไม่ หรือหวังผลประโยชน์อะไร อย่างไรก็ดี หากการประเมินข้อมูลข้อ เท็จจริงทีไ่ ด้จากผูใ้ ห้เบาะแสข่าวแล้วพบว่าไม่นา่ เชือ่ ถือ ก็ไม่ควรทิง้ ข้อมูลเหล่านัน้ ทัง้ หมด ควรเก็บใส่แฟ้มไว้ก่อน เพราะอาจมีประโยชน์ต่อไปในวันข้างหน้าก็ได้ 2. การท�ำข่าวเชิงสืบสวน นอกจากความถูกต้องซึ่งเป็นหัวใจแล้ว ความเป็น ธรรมและความเป็นกลางยังต้องค�ำนึงถึงตลอดเวลาด้วย ผู้สื่อข่าวควรเปิดโอกาสให้ทุก ฝ่ายได้แสดงข้อเท็จจริงในฝ่ายของเขาออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่เสียหายหรือตก เป็นข่าวในทางเสือ่ มเสีย แม้ผสู้ อื่ ข่าวจะมีสมมุตฐิ านของตนทีจ่ ะต้องหาข้อมูลหลักฐานมาส นับสนุนหรือพิสจู น์เงือ่ นง�ำต่าง ๆ ของเรือ่ งนัน้ ก็ตาม ผูส้ อื่ ข่าวจะต้องไม่ดว่ นสรุปอะไรง่าย ๆ ถือเอาความคิดเห็นของตนเองเป็นหลัก ยัดเยียดข่าวสารข้อมูลด้านเดียวให้ผู้อ่านเชื่อ ตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้แต่แรกเป็นส�ำคัญ 3. ข่าวสืบสวนเป็นการพยายามเปิดเผยประเด็นทีถ่ กู ซ่อนเร้น เมือ่ มีการสืบค้น ย่อมท�ำให้ผู้ที่เสียผลประโยชน์ไม่พอใจและตอบโต้กลับ ซึ่งการตอบโต้กลับนี้อาจตอบโต้ ด้วยวิธีการทางกฎหมาย หรืออาจตอบโต้โดยวิธีการที่อยู่เหนือกฎหมาย ดังนั้นผู้สื่อข่าว

-75-


ต้องระมัดระวังการท�ำข่าวประเภทนีใ้ ห้ดี หากข้อมูลหลักฐานไม่ชดั เจนพออาจถูกฟ้องร้อง กลับฐานหมิ่นประมาทได้ง่าย ๆ บางครั้งอาจถูกอิทธิพลบางอย่างท�ำร้ายก่อนข่าวจะสิ้น สุด การวางแผนจึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากส�ำหรับการน�ำเสนอข่าวประเภทนี้ 4. ความเคยชินต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเป็นอุปสรรคส�ำคัญในการ รายงานข่าว เมื่อได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านพบอะไรก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปหมดทุก เรื่อง ความรู้สึกเช่นนี้เป็นเรื่องอันตราย ท�ำให้ผู้สื่อข่าวเฉื่อยชา และมองไม่เห็นประเด็น ข่าว ผูส้ อื่ ข่าวต้องพยายามก�ำจัดความรูส้ กึ เช่นนีอ้ อกไป และจะต้องตืน่ ตัวตลอดเวลากับ เหตุการณ์ที่ได้พบเห็นในแต่ละวัน

การรายงานข่าวเชิงตีความ (Interpretative Reporting) ในปัจจุบัน ผู้สื่อข่าวจ�ำเป็นต้องมีวิธีการสื่อข่าวหรือเสนอข่าวที่ให้ข้อมูลหรือ ข้อเท็จจริงของสถานการณ์ข่าวที่ชัดเจนและลึกซึ้ง อันเป็นการสนองความต้องการด้าน ข้อมูลข่าวสารของบุคคลในสังคมยุคปัจจุบันที่เหตุการณ์ต่าง ๆ เต็มไปด้วยความยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึน้ การรายงานข่าวลักษณะนีจ้ ะต้องอธิบายถึงสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับข่าวทัง้ หมด ต้องอาศัยข้อมูลจ�ำนวนมาก และผู้อยู่ร่วมในสถานการณ์มีส่วนช่วยอธิบายข้อเท็จจริง ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เรียกวิธีการเสนอข่าวประเภทนี้ว่า การรายงานข่าวเชิงตีความ ในสังคมปัจจุบัน การรายงานข่าวเชิงตีความ หรือบางครั้งเรียกว่าการ “ไข ข่าว” มีความจ�ำเป็นมากยิ่งขึ้น การแสวงหาข่าวหรือการสื่อข่าวของผู้สื่อข่าวมิใช่ปฏิบัติ หน้าที่ไปวัน ๆ เท่านั้น แต่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ก้าวทันโลก ทันเหตุการณ์ และทันต่อความต้องการของผูอ้ า่ นทีต่ อ้ งการบริโภคข่าวสารทีม่ คี ณ ุ ค่าและเป็นประโยชน์ ต่อตนเองมากที่สุด ดังนั้นการสื่อข่าวที่นอกเหนือจากการรายงานเหตุการณ์หรือข้อเท็จ จริงที่เป็นจริงอยู่แล้ว จ�ำเป็นต้องแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตสู่ปัจจุบัน

-76-


และมีความหมายต่อเนื่องต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การเขียนข่าวประเภทนี้มีหลัก การส�ำคัญอยู่ตรงที่ว่า “จะไม่เสนอข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น แต่จะให้ รายละเอียดหรือแสดงความสัมพันธ์กบั อดีต (ถ้ามี) และชีท้ ศิ ทางให้เห็นว่าอะไรจะเกิดขึน้ หรือกระทบกระเทือนอย่างไรในอนาคต” องค์ประกอบของการรายงานข่าวเชิงตีความ ได้แก่ 1. มูลเหตุและแรงจูงใจ (Cause and Motive) 2. ความส�ำคัญ (Significance) 3. การวิเคราะห์ (Analysis) 4. การเปรียบเทียบ (Comparison) 5. การคาดคะเนหรือพยากรณ์ (Forecast) ปัจจัยที่เอื้ออ�ำนวยการรายงานข่าวเชิงตีความ ได้แก่ 1. ข้ออ้าง (Reference) 2. ภูมิหลัง (Background) 3. ข้อมูลส่วนตัว (Resumes) 4. การส�ำรวจ (Survey) 5. สถานการณ์และแนวโน้ม (Situation and Trends) ขั้นตอนในการรายงานข่าวและการเขียนข่าวเชิงตีความ ควรปฏิบัติดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลข่าวจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ข่าวนั้น ให้มากที่สุด 2. เลือกประเด็นข่าวที่ส�ำคัญที่สุดเพื่อเป็นแกนในการเขียนข่าวและอธิบาย ข่าวต่อไป 3. เขียนวรรคน�ำข่าวที่เป็นการสรุปเรื่อง (Summary Lead) เพื่อให้ผู้อ่าน สามารถเรียนรู้ถึงเหตุการณ์ข่าวในเบื้องต้นก่อน

-77-


4. รายงานเหตุการณ์หรือเรือ่ งราวของข่าวทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั อย่างชัดเจนทีส่ ดุ 5. น�ำเสนอเบื้องหลังหรือค�ำอธิบายของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องราวนั้น เพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นท�ำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวในข่าว รวดเร็วยิ่งขึ้น 6. แสดงข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ ได้แก่ ข้อมูลจากการส�ำรวจ การวิเคราะห์ การคาดการณ์ แนวโน้มในอนาคต เพื่อความสมบูรณ์ของข่าวชิ้นนั้นหรือแสดงทิศทาง ของข่าวนั้นต่อไป 7. รายงานความคืบหน้าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด ณ เวลานั้น เพื่อท�ำให้ ผูอ้ า่ นเกิดความเข้าใจในเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ หมด อีกทัง้ สามารถตัดสินหรือประเมินค่าใน เหตุการณ์ข่าวนั้นได้ในที่สุด คุณสมบัติที่ดีของผู้สื่อข่าวเชิงตีความ ได้แก่ 1. ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการสื่อข่าวในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็น อย่างดี เนื่องจากจะต้องเป็นผู้เจาะลึกในเรื่องราวที่เกิดขึ้น 2. ต้องเป็นผู้มีความอดทน ละเอียดรอบคอบ สามารถปฏิบัติงานได้ท่ามก ลางความกดดัน และแข่งขันกับเวลาเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวที่จ�ำเป็นส�ำหรับการตีพิมพ์ใน หน้าหนังสือพิมพ์ในแต่ละกรอบ 3. ต้องเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องสถานการณ์และแนวโน้มของโลกปัจจุบันเป็น อย่างดี เพื่อวางแผนการท�ำงานให้ได้ข้อมูลข่าวที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่าน 4. ต้องเป็นนักส�ำรวจหรือนักวิเคราะห์ทชี่ ำ� นิชำ� นาญ สามารถมองเห็นประเด็น ข่าวที่จะน�ำมาอธิบายขยายความเพื่อประโยชน์ต่อสังคมต่อไป 5. ต้องเป็นผู้ศึกษา เพิ่มพูนความรู้ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อทันต่อความ เปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ 6. ต้องเป็นผู้รู้จักอุทิศตนเองเพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่านและวิชาชีพของตนเอง

-78-


การรายงานข่าวประเภทสะเทือนใจ (Human Interest Reporting) การรายงานข่าวประเภทนี้จะมุ่งรูปแบบการเขียนข่าวให้เกิดความสะเทือนใจ (Human Interest) ซึ่งจะเน้นการกระตุ้นทางอารมณ์ หลักการเขียนข่าวสะเทือนใจ มีดังนี้ 1. การเขียนข่าวสะเทือนใจมักเขียนในรูปสารคดีสั้น ตรงไปตรงมา ท�ำนอง การเขียนเป็นสิ่งส�ำคัญ การเขียนรูปประโยคที่อ่อนไหวจะสะเทือนใจมากกว่าประโยค แข็งกระด้างหรือเกินเลยความจริง 2. การถ่วงเรื่องไว้มีความส�ำคัญ เพื่อยั่วยุให้ผู้อ่านติดตามอ่านตั้งแต่ต้นจน จบ (Climax) 3. การจับอารมณ์คนเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญ แต่ไม่ใช่สอดแทรกอารมณ์ลง ในการเขียน ให้ผู้เขียนเป็นสื่อทางความรู้สึกและจิตใจไปสู่ผู้อ่าน 4. การล�ำดับเหตุการณ์และการจบเรือ่ งเพือ่ รายงานให้ผอู้ า่ นได้รวู้ า่ เหตุการณ์ นั้นมุ่งไปสู่จุด Climax (ความส�ำคัญที่สุดของเรื่อง) อาจเดินเรื่องทั้งหมดโดยไม่บอก จุด Climax เพื่อจะได้เปิดเผยในวินาทีสุดท้ายก่อนจะจบเรื่องนั้นก็ได้ วิธีการเสนอข่าว ประเภทนี้ ตัง้ แต่สว่ นแรกของวรรคน�ำและเนือ้ หาไม่ได้กำ� หนดแน่นอนตายตัว ขึน้ อยูก่ บั เนื้อหาหรือข้อเท็จจริง และสไตล์ของผู้เขียนเป็นส�ำคัญ 5. ลักษณะการด�ำเนินเรื่อง ในทางปฏิบัติของข่าวประเภทสะเทือนใจจะตรง กันข้ามกับข่าวประจ�ำวันทั่วไป โดยการรายงานข่าวสะเทือนใจจะไม่ตรงเข้าสู่เนื้อหา ผู้ อ่านจะมีความรูส้ กึ เหมือนกับเคลือ่ นเข้าไปในข่าวเพือ่ รับการป้อนเต็มที่ ส่วนการรายงาน ข่าวทั่วไปเป็นการเดินเข้าหาจุดที่ส�ำคัญของเรื่องทันทีทันใด

-79-



การมาถึงของ สื่อใหม่ ในอดีตสื่อมวลชนมีบทบาทส�ำคัญอย่างมากในด้านการก�ำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) ความเป็นตัวกลางการน�ำคัดและเลือกเสนอข้อมูลข่าวสารในสังคม (Gatekeeper) หรือแนวคิดผู้น�ำทางความคิดของสังคม (Opinion Leader) แต่ปัจจุบัน นี้ บทบาทของสื่อมวลชนซึ่งถือเป็นแกนส�ำคัญของเหล่านี้ ก�ำลังถูกสื่อใหม่ หรือ ? นิว มีเดีย? (New Media) ท้าทาย หรืออาจถึงขั้นแนวคิดและทฤษฎีบางทฤษฎีถูกลบความ ส�ำคัญจากต�ำรายุคใหม่ให้เป็นเพียงประวัตกิ ารศึกษาถึงผลกระทบของสือ่ มวลชนต่อผูอ้ า่ น เลยทีเดียว นีย่ งั ไม่รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีในวิชาการนิเทศศาสตร์และสือ่ สารมวลชนอีก

-81-


-82-


หลายทฤษฎีที่ปรากฏการณ์ของการเกิดขึ้นของสื่อใหม่ได้ท�ำให้แนวคิดและทฤษฎีเหล่า นั้นลดความส�ำคัญไปมาก เช่น ทฤษฎีการไหลของข่าวสาร (Information Flow) ได้แก่ ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle) ที่เชื่อว่าสื่อมวลชนมีบทบาทและทรงอิทธิพล อย่างมากต่อผู้รับสาร ทฤษฎีการไหลของข่าวสารสองขั้นตอน (Two step Information flow) ที่สื่อมวลชนมีบทบาทในการเลือกหยิบน�ำเสนอข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยเป็นผู้ รายงานข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งมีมากมายในสังคม นอกจากนัน้ ทฤษฎีแนวเศรษฐศาสตร์ของสือ่ (Media Economics) ได้แก่ การ ผลิตข่าวสารมวลชน (Mass Production) การเผยแพร่ข่าวสารมวลชน (Mass Distribution) การผูกขาดของสื่อมวลชน (Media Monopolies) ก็ก�ำลังถูกท้าทายจากสื่อใหม่ หากย้อนรอยเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นของสื่อใหม่ท�ำให้การท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับ บาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนต้องหันไปในทฤษฎีบางส�ำนักที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เช่น ทฤษฏีแนววิพากษ์สื่อ (Media Criticism) หรือทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวก�ำหนด (Technology Determinism) นักวิชาการคนแรกๆ ที่สนใจเรื่องนี้คือ ฮาโรลด์ อินนิส (Harold A Innis) นักวิชาการชาวแคนาดา แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต้ (University of Toronto) ปรากฏความคิดในหนังสือชือ่ Empire and Communication ตีพมิ พ์ครัง้ แรก ในปี ค.ศ. 1950 ราว พ.ศ.2493 และ The BIAS of Communication ตีพิมพ์ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) ความชัดเจนของแนวคิดเทคโนโลยีเป็นตัวก�ำหนดชัดเจน ยิ่งขึ้น เมื่อมีค�ำพูดของ มาร์แชล แมคลูฮัน (Marshall McLuhan) นักวิชาการสื่อชาว อเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของอินนิส ที่ว่า Medium is Massage ในหนังสือชื่อ Understanding Media : The Extensions of Man ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ.2507) ค�ำพูดทีน่ บั ว่าเป็นวรรคทองในหนังสือเล่มนี้ แสดงให้เห็นว่า สือ่ เป็นตัวก�ำหนด รูปแบบการสื่อสารของมนุษยชาติ จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ.2532) หนังสืออีกเล่มของ แมคลูฮัน ชื่อ The Global Village ซึง่ ปรากฏค�ำว่า สังคมข่าวสาร (Information Society) เป็นครัง้ แรก อาจ ถือเป็นครั้งแรกที่จุดประกายแก่นักวิชาการสื่อสารมวลชนทั่วโลกให้หันมาสนใจท�ำความ เข้าใจกับการสื่อสารไร้พรมแดนนับแต่บัดนั้น จะเห็นได้ว่าอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกใน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2512 และประมาณปี พ.ศ.2530 ขณะที่นักวิชาการคนไทยได้

-83-


เริ่มน�ำอินเตอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทย นับเป็นเวลาไล่เลี่ยกับการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ของแมคลูฮัน จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ของแมคลูฮันคือ การน�ำเสนอให้เห็นถึงสภาพของ เทคโนโลยีสื่อในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง หลังจากนั้น ค�ำว่า สื่อใหม่ (New Media) ก็ค่อยๆ ปรากฏขึ้นในแวดวงเวที นักวิชาการผู้สนใจศึกษาท�ำความเข้าใจสื่อมวลชนตามแนวคิดเทคโนโลยีเป็นตัวก�ำหนด เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไป? ระบบการสื่อสารของสังคมโดย เฉพาะสื่อสารมวลชนก็จะปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่โลกเทคโนโลยีสารสนเทศไปด้วย โดยที่ ยังท�ำหน้าที่และบทบาทหลักของตนเองอยู่ในด้านปรัชญาพื้นฐานส�ำคัญของความจริง ความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม และความรับผิดชอบ โดยยังเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร แหล่งบันเทิงใจ เมือ่ เทคโนโลยีการสือ่ สารเปลีย่ น รูปแบบ และกระบวนการสื่อสารก็เปลี่ยนตามไปด้วย ดังเช่นกรณีการเกิดขึ้นของ ชุมชนไซเบอร์ (Cyber Community) เทคโนโลยีการสือ่ สารย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรม จากเดิมทีเ่ น้น การสื่อสารด้วยภาษาค�ำพูด มาเป็นภาษาตัวอักษร จนปัจจุบันเป็นภาษาดิจิตอล (Digital Language) การเกิดขึน้ ของคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มอื ถือ สือ่ เครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นต้น ท�ำให้พฤติกรรมและจิตวิทยาการสื่อสารในสังคมเปลี่ยนแปลงไป บทบาท ของผูร้ บั สารส่วนใหญ่ในสังคมก็เปลีย่ นจากเดิมทีเ่ คยเป็นเพียงผูร้ บั (Passive Audience) มาเป็นผูส้ บื ค้นและรับรูข้ อ้ มูลข่าวสารด้วยตัวเองแทน (The Active Audience) นอกจาก นั้น การไหลของข่าวสารในสังคมจะมีความหลากหลายช่องทางมากขึ้น ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ จากยุคดั้งเดิมมนุษย์มีสื่อสารตัวต่อตัว เป็นค�ำพูดหรือมุขปาฐะ เทคโนโลยีสื่อจึงได้วิวัฒนาการสื่อท�ำให้มนุษย์สื่อสารกันผ่าน สื่อมวลชนเหมือนๆ จ�ำนวนมาก (Mass Media) เกิดสื่อมวลชนขึ้นมาหลายประเภท เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันการสื่อสารในสังคม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึน้ แต่กม็ คี วามหลากหลายได้ในเวลาเดียวกัน จึงอาจ กล่าวได้วา่ สือ่ เครือข่ายสังคม หรือ โซเชียล มีเดีย (Social Media) เช่น ทวิตเตอร์ เฟสบุค๊ ไฮไฟ ยูทูป เป็นต้น ได้น�ำผู้คนกลับมาพบกันแบบตัวต่อตัวมากขึ้น พร้อมๆ กันบางกรณีก็ เป็นคนในเครือข่ายเดียวกัน แต่สงิ่ ทีย่ อมรับกันว่าสือ่ เก่าไม่มมี ากนักก็คอื ความเป็น ?พืน้ ที่

-84-


สาธารณะ? ของการแสดงความคิดความเห็นทางการเมือง (Political public sphere) ที่กล่าวมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าภูมิทัศน์สื่อ (media landscape) ได้เปลี่ยนแปลง ไป ท�ำให้รูปแบบการสื่อสารของคนในสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป นักสื่อสาร มวลชน โดยเฉพาะสื่อเก่าจะก้าวพร้อมๆ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างไร หากไม่มีการปรับตัวจากความเคยชินเดิมๆ คงต้องยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า คนไทยสมัยนี้ไม่แพ้(ชาติใด)ใครแล้ว ในเรื่อง ความทันสมัยเกี่ยวกับไอที มีอะไรใหม่ในโลกไซเบอร์หรือไอที คนไทยสมัยนี้ก็สามารถมี ส่วนในการเข้าใช้ไม่แพ้ใคร ปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมานั้นเป็นปีของการสื่อสารบนโลกออนไลน์ สังเกตได้จาก จ�ำนวนของผู้ใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค (Facebook) ที่มีผู้ใช้งานเกินกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก ทวิตเตอร์ (Twitter) มีผู้ใช้งานมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก และเมื่อ เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าส่งผลให้เกิดเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น สมาร์ท โฟน (Smartphone) แท็บเล็ต (Tablet) เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือสื่อสารยิ่งทันสมัยยิ่งท�ำให้ การสื่อสารบนโลกออนไลน์ สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เครื่องมือสื่อสารที่พัฒนาดังกล่าวข้างต้นได้กลายมาเป็น โซเชียลมี เดีย (Social Media) เพราะสร้างให้เกิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) หรือเครือ ข่ายสังคมออนไลน์ทมี่ นุษย์ตดิ ต่อสือ่ สารกันด้วยเทคโนโลยีอนั ทันสมัยต่าง ๆ เกิดเป็นการ สื่อสาร 2 ทางที่ฉับไว เกิดการแบ่งปันข้อมูลทุกประเภทอย่างรวดเร็ว เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่อาศัยโซเชียลมีเดีย ยิ่งทวีบทบาทส�ำคัญ ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสังคมต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต สภาพแวดล้อมในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความขัดแย้งระดับ สูงขึ้นในสังคม สภาวการณ์ดงั กล่าวท�ำให้ผคู้ นในสังคมต้องการข้อมูลข่าวสารทีร่ วดเร็วทันเหตุการณ์มาก ขึ้น เพื่อท�ำให้ตนได้รับความรู้ ความเข้าใจ และลดความวิตกกังวลหรือไม่แน่ใจที่เกิดขึ้น (Ball-Rokeach and DeFIeur, 1976) สังเกตได้จากสังคมไทยในช่วงที่เกิดความขัดแย้งกรณี “เมษาเลือด” เมื่อปี พ.ศ. 2553 หรือเกิดภาวะวิกฤต กรณี “มหาอุทกภัย” ปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา สมาชิกในสังคมหรือผูร้ บั สารยิง่ ต้องการข้อมูลจากสือ่ มวลชน สือ่ มวลชนจะได้รบั การคาด

-85-


หวังจากสังคมให้มีบทบาทในการช่วยคลี่คลาย และส่งเสริมการจัดการกับภาวะวิกฤต ที่คุกคามความสงบสุขของสังคมโดยเร็ว สื่อมวลชนจึงต้องท�ำหน้าที่ในการรวบรวมและ เผยแพร่ข้อมูลประเด็นปัญหาต่าง ๆ และแนว ทางแก้ไขให้รวดเร็วทันต่อความต้องการ ของผู้คนที่ตกอยู่ในสภาพตึงเครียดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โซเชียลมีเดียที่มีคุณสมบัติด้านความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร จึงเข้ามามีบทบาทส�ำคัญและ กลายเป็นทางเลือกใหม่ของนักข่าวในการน�ำเสนอข้อมูล แก่ประชาชน เพราะนอกจากจะรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว ยังสามารถสร้าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ท�ำให้การรายงานข่าวมีมุมมองที่หลากหลาย มากขึน้ ขณะเดียวกันโซเชียลมีเดียทีม่ คี วามโดดเด่นในเรือ่ งความรวดเร็วของการน�ำเสนอ เหตุการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารของผู้คนได้อย่างทันท่วงที ก็มีข้อ กังขาในเรื่องของความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ด้วยประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การมีบทบาทส�ำคัญในการรายงานข่าวช่วงภาวะวิกฤตด้วยความรวดเร็ว หรือประเด็น ข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลที่น�ำเสนอ เวทีเสวนา “โซเชียลมีเดียทางเลือก ใหม่? ของการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต” จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างภาควิชา วารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมุง่ หวังให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ การแลกเปลีย่ น ความคิดเห็น และก�ำหนดแนวทางร่วมกันระหว่างอาจารย์ นักศึกษา นักวิชาชีพสื่อทั้ง ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น รวมถึงภาคประชาชน เกี่ยวกับการน�ำเทคโนโลยีด้าน การสือ่ สารผ่านสือ่ สังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) มาช่วยรายงานข่าว ในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้เสมอ รวมทั้งหารือแนวทางด้านจริยธรรมที่จะต้องตระหนักถึง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนเพื่อให้นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ได้เห็นถึงแนวทาง การรายงานข่าวยุคใหม่ในภาวะวิกฤตว่า ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อให้น�ำใช้ไป ประกอบวิชาชีพต่อไป

-86-


Social Media คืออะไร ส�ำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลีย่ งหรือหนีคำ� ว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะ ไม่วา่ จะไปทีไ่ หน ก็จะพบเห็นมันอยูต่ ลอดเวลา ซึง่ หลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมัน ค�ำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึง่ ในทีน่ จี้ ะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึง่ มีขนาด ใหม่มากในปัจจุบัน ค�ำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น ดังนั้นค�ำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนอง ทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคล บนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ ต้องการติดต่อสือ่ สารหรือมีปฏิสมั พันธ์กนั จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึง่ ก็คอื เว็บทีแ่ สดง เนือ้ หาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมือ่ เทคโนโลยีเว็บ พัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์ มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคน สามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ ส�ำหรับ social media แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ ใช้แสดงตัวตนและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(social met work) ได้แก่ Facebook,twitter,myspace,licedIn,hi-5 น�ำเสนอในลักษณะเนื้อหาข้อความ(content sharing) ได้แก่ Word press, Typepad,slideshare น�ำเสนอมัลติมีเดีย (Visual image video platform) น�ำเสนอในรูปของ ภาพถ่ายหรือวีดีโอ ได้แก่youtube,Frickr social bookmark site เวปไซต์ที่ใช้บุ๊คมาร์คเว็ป

-87-


Wikis pedia เว็บที่เป็นอภิธานศัพท์ ปัจจุบันสังคมบนโลกใบนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) หรือ ยุคแห่งสังคมข้อมูลข่าวสารอย่างเต็มตัว ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ก้าวหน้า การเชือ่ มต่อโลกทัง้ ใบสามารถท�ำได้ โดยไม่มอี ปุ สรรคทัง้ ด้านเวลาและระยะทาง เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด การติดต่อสื่อสารท�ำได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ คนละซีกโลก หรือต่างเวลากัน ก็สามารถเชือ่ มโยงติดต่อสือ่ สารกันได้ เพียงแค่มสี ญ ั ญาณ โทรศัพท์หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ต เรียกได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ก็สามารถสื่อสาร กันได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วยความง่ายและสะดวกสบายในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมโยง คนทั้งโลกเข้าด้วยกัน ท�ำให้เกิดการสร้างสังคมในโลกอินเทอร์เน็ตขึ้น หรือที่รู้จักกันใน ชื่อ “เครือข่ายสังคมออนไลน์” (Online Social Network) เพื่อให้ผู้คนสามารถแลก เปลี่ยนข้อมูล แบ่งปันข่าวสาร เล่าเรื่องราว ความสนใจเฉพาะเรื่องซึ่งกันและกัน และ ทุกคนสามารถก็สามารถเลือกรับข่าวสารข้อมูลดังกล่าวได้อย่างเสรี ท�ำให้เครือข่ายสังคม ออนไลน์กลายเป็นแหล่งการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากข้อมูลของสถาบันวิจัยและศูนย์ข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐ ได้แก่ PewInternet, Tnsdigitallife, Neilsen และ Comscoredatamine ได้รวบรวมสถิติ เมื่อต้นปี 2555 พบว่า ประชากรทั่วโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากถึง 2,095,006,005 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรโลกทั้งหมด โดยใช้เวลาไปกับอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 16 ชัว่ โมงต่อเดือน ซึง่ โซเชียลเน็ตเวิรค์ เป็นกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตทีใ่ ช้เวลากันมากทีส่ ดุ เฟ ซบุ๊ค (Facebook) 137,644,000 ครั้งต่อเดือน ยูทูป (Youtube) มีการเข้าชมวิดีโอราว 40 ล้านครั้งต่อวัน และมีการทวิตข้อความในทวิตเตอร์ (Twitter) ถึง 250 ล้านครั้งต่อวัน (สุดทีวัล สุขใส และณัฐชญา อัครยรรยง, 2555) ด้วยปัจจัยด้านความรวดเร็วในการเข้าถึง ท�ำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์มี ความได้เปรียบ สังเกตได้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน จะพบทั้งหน่วยงานของ ภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่หน่วยงานภาคประชาชน ที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ใน การติดต่อสื่อสาร หรือประชาสัมพันธ์องค์กร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ไม่เว้นแม้แต่ปัญหา

-88-


ของประชาชนทั่วไปก็เลือกที่จะใช้ช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เพื่อสะท้อนไปยังสังคม เพราะเป็นวิธีที่ประหยัด รวดเร็ว และกระจายไป ได้ในวงกว้าง ท�ำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กลายเป็นแหล่งข้อมูลชัน้ ดี ซึง่ คงจะปฏิเสธไม่ ได้ว่า ในจ�ำนวนของผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีไม่น้อยที่เป็นนักข่าว หรือท�ำงานด้าน สื่อสารมวลชน เพราะนอกจากจะใช้ในการส่งข่าวถึงประชาชนแล้ว นี่ก็อาจจะเป็นอีก 1 ช่องทางในการเปิดพืน้ ทีใ่ ห้บคุ คลและหน่วยงานอืน่ ๆ ติดต่อสือ่ สารมายังสือ่ มวลชนได้ดว้ ย ด้วยความรวดเร็วของข่าวสารบนโลกอินเทอร์เน็ตในยุคโลกาภิวัฒน์ ท�ำให้ สื่อมวลชนจะย�่ำอยู่กับที่เพื่อรอให้ข่าววิ่งเข้ามาหาไม่ได้แล้ว เพราะปัจจุบันทุกคนล้วน เป็นนักข่าวได้ เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรือวีดีโอ ผ่านทางเครือข่าย สังคมออนไลน์ได้ทันที และเพียงไม่กี่นาทีก็อยู่ในกระแสของเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว แต่จะนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของสิ่งที่ถูกเผยแพร่ออกไป ดังนั้นเพื่อก้าวให้ ทันโลกของข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชนต้องวิ่งให้ทันกระแสโลก เมื่อข่าวไม่ได้วิ่งเข้ามาทาง โทรศัพท์ เครือ่ งแฟกซ์ หรือการแจ้งหมายผ่านข้อความอีกต่อไป ผูส้ อื่ ข่าวจึงมีความจ�ำเป็น ต้องเข้าไปอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการใช้งานและ การคัดเลือกข่าวจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ ว่าใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการท�ำงานข่าว เพราะในโลกอินเทอร์เน็ตมีเครือข่าย สังคมออนไลน์หลายล้านเว็บไซต์ แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของการใช้งานตามความ เหมาะสม และการจะเลือกหยิบเรื่องใดขึ้นมาเพื่อให้เป็นข่าว ต้องมีหลักเกณฑ์การคัด เลือกอย่างไร เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของแหล่งข่าว “โซเชียลมีเดีย” เรียกได้วา่ เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ทมี่ กี ารใช้งานอย่างแพร่ หลายและมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในหลากหลายวงการ ซึ่งไม่จ�ำกัดเพียงแค่ในแวดวง ธุรกิจและการตลาดทีเ่ รามักน�ำเสนอกันอยูเ่ ป็นประจ�ำเท่านัน้ แต่ยงั มีอทิ ธิพลไปในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นแวดวงการศึกษา, การเมืองหรือแม้แต่ในด้านดนตรี ซึ่งในวันนี้เรามีบทความ จากเว็บไซต์ Mylife.com ที่จะมาสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โซเชียลมีเดียมีอิทธิพล อย่างไรบ้างในแต่ละวงการ

-89-


เริม่ ต้นกันด้วยที่ แวดวงข่าวสารและสือ่ สารมวลชน (News) ในยุคดิจติ อลโซเชีย ลมีเดียกลายมาเป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารขนาดใหญ่จากทั่วทุกมุมโลก โดยโซเชียลมีเดีย ถูกใช้เป็นช่องทางในการรับข่าวสารโดยเฉพาะข่าวด่วน (Breaking News) คิดเป็นสัดส่วน มากถึง 50% ของผู้บริโภคทั้งหมด รวมถึงโซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางในการรับข่าวสาร ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มผู้บริโภคชาวอเมริกัน โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 27.8% ซึ่งเป็นรองจากอันดับที่ 1 อย่างทางหนังสือพิมพ์คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 1% เท่านั้น นอกจากนี้ในกลุ่มนักข่าวกว่า 65% ยังหันมาใช้โซเชียลมีเดียมีเดียอย่าง Facebook และ Linkedin มาก่อนเป็นอันดับต้นๆเพื่อค้นหาข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ต่อกันด้วย แวดวงการศึกษา (Education) ปัจจุบันพบว่ามีจ�ำนวนนักเรียน และนักศึกษาในสหรัฐฯที่ใช้งานโซเชียลมีเดียคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของจ�ำนวน ทั้งหมด โดยกว่า 59% ของนักเรียนทั้งหมดใช้โซเชียลมีเดียเพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในเรืองของการศึกษา รวมถึง 50% ยังใช้โซเชียลมีเดียเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ งานหรือการบ้านที่ได้รับด้วยเช่นกัน ซึ่งการใช้งานโซเชียลมีเดียในแวดวงการศึกษาไม่ ถูกจ�ำกัดเพียงแค่ในกลุ่มนักเรียนเท่านั้น แต่คุณครูและอาจารย์ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีการ ใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยการผลส�ำรวจพบว่ากว่า 30% ของคุณครูทั้งหมดใช้โซเชียลมี เดียมีเดียเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารกับนักเรียนและอีกมากกว่า 50% ก็ใช้โซเชียลมี เดียเพื่อเป็นตัวช่วยในการสอนหนังสือ แวดวงการจ้างงาน (Employment) จากผลการส�ำรวจพบว่าปัจจุบันกลุ่มผู้ สมัครงานเริม่ หันมาค้นหาต�ำแหน่งงานผ่านโซเชียลมีเดียเพิม่ มากขึน้ ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 6 ของผูส้ มัครงานทัง้ หมด โดยโซเชียลมีเดียทีไ่ ด้รบั ความนิยมในกลุม่ ผูส้ มัครงานมาก ที่สุดเป็นอันดับที่ 1 คือ Facebook (52%) รองลงมาเป็น Linkedin (38%) และ Twitter (34%) แต่ในทางกลับกันบริษัทส่วนใหญ่กว่า 89% กลับใช้ Linkedin เพื่อค้นหาผู้สมัคร งานมากที่สุดเป็นอันดับแรก ตามมาด้วย Facebook (26%) และ Twitter (15%) ซึ่งใน เวลานี้มีจ�ำนวนบริษัทมากกว่า 2.6 ล้านบริษัทที่มีเพจบน Linkedin แวดวงเศรษฐกิจ (Economy) โซเชียลมีเดียกลายมาเป็นธุรกิจประเภทใหม่ ที่เข้ามามีบทบาทส�ำคัญในแวดวงธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างต�ำแหน่งงานได้มากกว่า 1,000 ต�ำแหน่ง อีกทัง้ ยังช่องทางใหม่ทชี่ ว่ ยสร้างรายได้และยอดขายให้เพิม่ ขึน้ อย่างมหาศาล ซึง่

-90-


ทาง Facebook รายงานว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2012 ที่ผ่านมา Facebook มีรายได้ รวมกันอยู่ที่ 1,260 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมจาก 954 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2011 และแวดวงสุดท้ายที่เราเลือกมาให้ติดตามกัน คือ แวดวงการตลาด (Marketing) โดยผลการส�ำรวจพบว่าในแง่มมุ ของนักธุรกิจโซเขียลมีเดียเป็นช่องทางส�ำคัญในการ ท�ำการตลาดที่ช่วยสร้าง Lead ได้มากกว่าช่องทางอื่นอย่าง Trade Show, Direct Mail, Telemarketing, และ PPC (Pay Per Click) ถึง 2 เท่าตัว รวมถึงโซเชียลมีเดียยังมีอัตรา การซื้อสินค้าต่อจ�ำนวนการคลิก หรือ Conversion Rate มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึง 13% ส่วนในแง่มมุ ของผูบ้ ริโภคพบว่ากว่า 46% ของผูใ้ ช้งานอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานโซเชียลมี เดียเพื่อเป็นช่องทางที่ช่วยในการตัดสินใจก่อนซื้อสินค้า

-91-



ทวิตเตอร์ คืออะไร Twitter.com เป็นบริการส่งข้อความเป็นประโยคสั้นๆ ที่คุณส่งไปนั้นจะ เป็นการบอกว่า คุณ ก�ำลังท�ำอะไรอยู่? ในตอนนั้น เพื่อเป็นบันทึก ณ. ช่วงเวลานั้นว่า คุณท�ำอะไรอยู่ ลงไปในเว็บไซต์ของ Twitter.com เช่น “ก�ำลังจะกินข้าว” “ก�ำลังจะ ออกจากบ้าน” เป็นต้น และเมื่อคุณส่งประโยคสั้นๆ ไปเรื่อยๆ ในช่วงเวลาที่คุณมีเวลา และสามารถท�ำได้ เมื่อกลับมาอ่านมัน ข้อความทั้งหมด มันจะก็จะสามารถประติดประ ต่อ บอกเรื่องราวว่าคุณท�ำอะไรไปบ้างช่วงวันหนึ่งๆ ซึ่งจะสะดวกกว่าการ มานั่งหลังคด หลังแข็งมานั่งเขียนบล็อก ทั้งวัน นี้แหละที่ Twitter.com เลยเข้ามาทดแทนและช่วยให้

-93-


-94-


คนไม่ชอบเขียน บล็อก หันมาใช้บริการพวกนี้เยอะมากขึ้น แต่สงิ่ หนึง่ ทีม่ าช่วยให้ Twitter มีประโยชน์ และสนุกมากขึน้ ก็คอื คุณสามารถ ติดตาม (Follow) คนอื่นๆ ที่เค้าเขียนข้อความลงไปใน Twitter ของเค้าได้ ว่าเค้าคนนั้น ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ โดยเมื่อคุณ ติดตาม (Follow) เค้าแล้ว เมื่อคนนั้นเค้าท�ำอะไรและพิมพ์ อะไรลงไปใน Twitter คุณก็ได้รับข้อความเหล่านั้นด้วยไปพร้อมๆ กัน และก็สามารถ ติดตามได้ทีละหลายๆ คน ซึ่งก็จะท�ำให้คุณทราบว่าเค้าเหล่านั้นก�ำลังท�ำอะไรอยู่ในขณะ นั้นทันที จะเห็นว่า Twitter ก็เริ่มกลายเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูล (Broadcast) ของคนๆ หนึ่ง ไปยังคนหลายๆ คนได้ง่ายๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และที่ส�ำคัญคือ คุณสามารถส่งข้อความเข้า Twitter ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายๆ ผ่าน SMS หรือ WAP โดยเข้าไปที่ http://m.twitter.com ดังนัน้ ไม่วา่ คุณอยูไ่ หนก็ตาม ทีค่ ณ ุ มีโทรศัพท์มอื ถือ คุณก็สามารถส่งข้อความเข้า Twitter ได้ง่ายๆ

ประวัติความเป็นมาของ Twitter Twitter ก่อตั้งขึ้นโดยบริษัท Obvious Corp เมื่อเดือน มีนาคม ค.ศ. 2006 ที่ เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาขึ้นโดย Evan Williams และ Meg Hourihan Evan Williams Twitter ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสาร “ TIME ” ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2009 ได้นำ� เอา Twitter ขึน้ ปก เป็นเรือ่ งเด่นประจ�ำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าว ถึงการเปลี่ยนแปลงการน�ำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่าง Twitter “บริการ ของ Twitter นั้น ถึงจะเป็นแค่บริการเล็กๆ แต่ตอนนี้ บริการเล็กๆ ที่ว่านี้ ประสบความ ส�ำเร็จอย่างสวยงาม มีผใู้ ช้งานหลายล้านคนทัว่ โลก ทัง้ หมดทัง้ มวลนี้ สานต่อจากการเป็น บล็อกเกอร์แค่คนๆ หนึ่งจริงๆ Twitter (ทวิตเตอร์) เป็น Social Network ขนาดเล็กเรียกว่า “Micro-Blog” มีคุณสมบัติคล้ายกับบล็อกทั่วไป แต่จะสามารถส่งข้อความได้เพียง 140 ตัวอักษรเท่านั้น Twitter มาจากรากศัพท์คำ� ว่า tweet ทีแ่ ปลว่า เสียงนกร้อง หมายถึง Unified Message

-95-


ชนิดหนึ่ง ข้อความสั้น ๆ กระชับ กับค�ำถามที่ว่า What are you doing? (คุณก�ำลังท�ำ อะไรอยู่) ให้เราแสดงความรู้สึกอารมณ์ ต่าง ๆ ของเรา มาบอกให้ผู้คนรับรู้ถึงข้อความที่ เราได้แสดงออกไป จะสามารถอัพเดตข้อความได้ตลอดเวลา (Real time) Tweet ได้ไม่ เรื่อยๆ แต่ข้อความที่โพสต์จะต้องไม่ไปรบกวนให้ผู้อื่นร�ำคาญด้วย Twitter ไม่ได้โพสต์เพียงข้อความเท่านัน้ แต่สามารถโพสต์ภาพถ่าย, วิดโี อ และ ไฟล์ตา่ งๆ ได้ดว้ ย โดยมีเว็บไซต์ทใี่ ห้บริการฝากรูปภาพจากนัน้ ก็แนบลิงค์เพือ่ ให้บคุ คลอืน่ คลิกเข้าไปดูจากเว็บไซต์แทน Twitter จะเน้นข้อความมากกว่ารูปภาพ หรือ วิดีโอ จึง ท�ำให้อัพเดตข้อความใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อัพเดทข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ตั้งแต่เปิดตัวมาจนถึงตอนนี้ 5 ปีแล้วส�ำหรับ Social Network อย่าง Twitter ที่มีคอนเซ็ปต์เล็กๆ โลโก้ก็ใช้นกตัวเล็กๆ แถมจ�ำกัดการโพสต์ การทวีตของ user ให้เป็น แค่ประโยคเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วย 140 ตัวอักษร ถึงแม้คอนเซ็ปต์ของทวิตเตอร์จะ “เล็ก” แต่เอาเข้าจริงความ “เล็ก” แต่ “ง่าย” นี่ กลับดึงดูดใจหลายๆ คนให้ใช้ทวิตเตอร์กนั มากมายตัง้ แต่ปถุ ชุ นคนธรรมดา เซเหลบทีใ่ ช้ RT ตอบ ด้วยความเล็กๆ ง่ายๆ ของทวิตเตอร์ ท�ำให้เกิด Content ที่มีปริมาณมหาศาล และรวดเร็วทันใจ จนเดี๋ยวนี้หลายๆ คนวัดความไวของส�ำนักข่าวจากการทวีตแบบเรียล ไทม์ไปแล้ว ในเชิงกลยุทธ์ Twitter ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้ และอีกนัยเพื่อเปิดตลาดการขายโฆษณา ประมาณต้นเดือนเมษายน ทวิต เตอร์ได้เปลี่ยนดีไซน์หน้าเว็บหน้าแรกสุด ถ้าเรายังไม่ได้ล็อกอินและเข้าไปดูในหน้าแรก เว็บ (twitter.com) จะเห็นว่าหน้าเว็บจะออกแบบใหม่โดยเน้นการสมัครสมาชิกมากขึ้น (คอนเซ็ปต์หน้าแรกคล้ายคลึงกับเว็บ Facebook มาก) นอกจากนี้ยังเริ่มพัฒนา Local Trend Feature เช่นมากกว่า 70 ประเทศ ปรับปรุงหน้าค้นหาให้ค้นหาคนที่จะ Follow ง่ายขึ้น และหันมาสู้รบปรบมือกับ Twitter Client เจ้าบิ๊กเบ้งอย่าง Ubertwitter ที่โดน แบนไปด้วยสาเหตุต่างๆ นานา และถึงกับออกมา ขอให้นักพัฒนาหยุดสร้าง Twitter Client ได้แล้ว นอกจากความเคลื่อนไหวต่างๆ ข้างต้น ยังมีหลายเรื่องที่ท�ำให้ Twitter เข้าสู่

-96-


จุดพีค เช่นในวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีจ�ำนวนข้อความทวีตกว่า 5,106 ข้อความใน แต่ละวินาทีอันเนื่องจากการถูกวิสามัญฯ ของ Osama bin Laden ทั้งหมดนี้เป็นความ เคลื่อนไหวของนกเล็กอย่างTwitter ในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน

การคิดค้นและยุคเริ่มต้น ทวิตเตอร์มีต้นก�ำเนิดจากการระดมความคิด ที่ถูกจัดขึ้นโดยบริษัทโอดีโอ ซึ่ง เป็นบริษัท พอด แคสติง โดย ดอร์ซี เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้แนะน�ำความ คิดการส่งบริการข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส (SMS) พูดคุย และสนทนากันภายในกลุ่ม เล็ก ๆ ช่วงแรก โค้ดเนมของบริการนีม้ ชี อื่ ว่า “twttr” ซึง่ วิลเลียมส์ได้แนะน�ำให้กบั โนอาห์ กลาส โดยชื่อในรูปแบบนี้มีแรงบันดาลใจมากจาก ฟลิคเกอร์ (Flickr) และมีเพียง 5 ตัวอักษรคล้ายกับการส่งข้อความสั้นแบบชื่อ ย่อของชาวอเมริกนั ในช่วงแรกนัน้ นักพัฒนาได้กำ� หนดหมายเลข “10958” เป็นรหัส แต่ ภายหลังได้เปลีย่ นเป็น “40404” เพือ่ ความสะดวกในการใช้งาน การท�ำงานของโครงการนี้ เริม่ ต้นขึน้ ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 เมือ่ ดอร์ซี ได้ทำ� การส่งทวีตแรกเมือ่ เวลา 21:50 น. ตามเวลาท้องถิ่น ด้วยค�ำว่า “just setting up my twttr” แจ็ก ดอร์ซี กล่าวไว้ว่า “...เราได้ค�ำว่า ‘ทวิตเตอร์’ และมันสุดยอด มันคือการ ส่งข้อมูลด้วยข้อความสั้น เหมือนกับส่งด้วยนก ซึ่งบ่งบอกถึงว่าผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร “ ต้นแบบของทวิตเตอร์ถูกน�ำมาใช้ส�ำหรับพนักงานในบริษัทโอดีโอ และได้เผย แพร่ตอ่ สาธารณะในรุน่ สมบูรณ์เมือ่ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 บิซ สโตน, อีวานส์ วิลเลียมส์, แจ็ก ดอร์ซี และพนักงานของบริษัทโอดีโอ ได้ ถูกโอนหุ้นทั้งหมดมาที่อ็อปวีโออุส รวมถึงเว็บไซต์ โอดีโอ.คอม และทวิตเตอร์.คอม ด้วย วิลเลียมส์ได้ถูกไล่ออก ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งกับทวิตเตอร์จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2554 และทวิ ตเตอร์ได้แยกออกมาตั้งเป็นบริษัทของตนเองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 จุดเริ่มต้นของจ�ำนวนการใช้งานทวิตเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คือในงานเซาธ์บาย

-97-


เซาธ์เวสต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ SXSW ซึ่งจัดขึ้นในเมืองออสติน รัฐเทกซัส ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยระหว่างงาน การใช้งานทวิตเตอร์มจี ำ� นวนเพิม่ มากขึน้ จาก 20,000 ทวี ตต่อวัน เป็น 60,000 ทวีตต่อวัน ซึ่งมีส่วนเพราะการวางจอพลาสมาขนาด 60 นิ้วจ�ำนวน 2 จอในทางเดินระหว่างงาน และจอจะแสดงทวีตที่ผู้ใช้งานทวีตเข้าสู่ระบบ โดยสตีเวน เลวี นักข่าวจากนิตยสารนิวส์วีก ได้กล่าวว่า “งานประชุมนับร้อยงาน ที่จะใช้ระบบทวิต เตอร์นี้ โดยที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วผ่านการเมนชั่น หลายคนคงจะคิดว่า Facebook หรือ Google+ เป็นเครือข่ายสังคมที่เติบโต เร็วทีส่ ดุ แต่จากการส�ำรวจล่าสุดพบว่าเป็น Twitter ทีส่ ามารถครองแชมป์เครือข่ายสังคม ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก สือ่ ต่างชาติรายงานชัดเจนว่า Twitter เครือข่ายสังคมรับส่งข้อความสัน้ 140 ตัว อักษรยอดนิยมนัน้ เป็น “Fastest-Growing Social Platform in the World” หรือเครือ ข่ายสังคมที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุด โดยพบว่าจ�ำนวนผู้ใช้งานประจ�ำหรือ active user ของ Twitter นั้นเติบโต 40% เมื่อเทียบระหว่างยอดไตรมาส 2 และไตรมาส 4 ปี 2012 อัตราเติบโต 40% นั้นค�ำนวณจากตัวเลขผู้ใช้งานประจ�ำ 288 ล้านคนต่อเดือน โดยการส�ำรวจของส�ำนักวิจัย Global Web Index พบว่าจ�ำนวนผู้ใช้งาน Twitter นี้ เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2009 ถึง 714% Global Web Index นัน้ เป็นบริการวิจยั ตลาดทีเ่ ก็บข้อมูลโดยอิงจากพฤติกรรม การใช้งานเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย โดยประมวลข้อมูลจาก 31 ประเทศบนจ�ำจ�ำกัดความ เรื่องการเป็นผู้ใช้งานประจ�ำว่า active user คือผู้ที่ใช้งาน Twitter ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ในเดือนกรกฎาคมปี 2009 บริษัท Global Web Index ประเมินว่า Twitter มีผู้ใช้งานประจ�ำ 35.47 ล้านคนต่อเดือนเท่านั้น ท�ำให้คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 714% อย่างที่กล่าวมา การส�ำรวจยังพบว่า 59% ของบัญชีผู้ใช้ Twitter คือผู้ใช้งานประจ�ำทุกเดือน ถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงและแสดงถึงความผูกติดบริการของชาว Twitter โดยปัจจุบัน ผู้ใช้ งาน Twitter คิดเป็น 21% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

-98-


6 วิธีใช้ประโยชน์จาก Twitter หากคุณเคยได้ยินค�ำนี้และยังสงสัยถึงประโยชน์ของทวิตเตอร์ (Twitter)? ซึ่ง จริงๆแล้วมันมีมากไปกว่าแค่ใช้ดูว่าคนแปลกหน้ากินอะไรเป็นอาหารกลางวัน เพราะ คุณสามารถติดตามข่าวด่วน ใช้เป็นช่องทางร้องเรียนไปถึงบริษัทผู้ผลิต หรือแม้แต่แช ตกับคนดัง ทวิตเตอร์มแี ต่เรือ่ งไร้สาระ ทวิตเตอร์เป็นทีใ่ ห้คนใช้ยกหางบูชาตัวเอง และอืน่ ๆ อีกนานาสารพัดทีค่ ณ ุ อาจเคยได้ยนิ เกีย่ วกับโซเชียลเน็ตเวิรก์ แห่งนี้ แต่จริงๆ แล้วทวิตเตอร์ จะเป็นประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อถ้าคุณใช้งานเป็น และมองข้ามเรื่องที่หลายคนพูดไป (ซึ่ง ก็จริง เราไม่เถียง) เพราะโดยธรรมชาติของบริการแห่งนี้ จะเอื้อต่อการฝากข้อความสั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว ท�ำให้เหมาะส�ำหรับใช้เป็นช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า หรือใช้ ติดตามเหตุการณ์ที่คุณสนใจจากคนที่อยู่ในจุดเกิดเหตุ รวมไปถึงใช้ตามดูชีวิตของบุคคล ที่คุณสนใจเป็นพิเศษ และนี่คือ 6 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ทวิตเตอร์มีประโยชน์ส�ำหรับคุณ ติดตามข่าว เว็บไซต์โดยส่วนใหญ่ยังถือเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งข่าวที่สมบูรณ์กว่า แต่ถ้า คุณต้องการตามข่าวเฉพาะเรื่องในแบบหายใจรดต้นคอ และสนใจแม้แต่รายละเอียดยิบ ย่อย ทวิตเตอร์จะเป็นทางเลือกทีด่ ี เพราะคุณสามารถอ่านรายงานสดจากยูสเซอร์ของทวิ ตเตอร์คนอืน่ ๆ ทีอ่ ยูใ่ นเหตุการณ์หรือสถานทีเ่ กิดเหตุ เช่นกรณีเครือ่ งบินตกทีแ่ ม่นำ�้ ฮัดสัน ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นก็จะโพสต์เล่าเรื่องราวที่พบเห็นไว้ในทวิตเตอร์ของพวกเขา (คอน เซ็ปต์ของทวิตเตอร์ก็คือ การบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจ�ำวันด้วยข้อความสั้นๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อหนึ่งอัพเดต) นอกจากประชาชนคนธรรมดาแล้ว คุณยังสามารถติดตามทวิตเตอร์ของไซต์ ข่าวอย่าง CNN (www.twitter.com/cnn หรือเรียกย่อๆ ว่า @CNN) ซึ่งจะโพสต์หัวข้อ ข่าวพร้อมกับลิงก์ไปยังเนื้อหารายละเอียด แต่เราชอบ @cnnbrk มากกว่า แม้จะไม่ได้ เป็นทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของสถานีข่าวแห่งนี้ แต่ก็ดีตรงที่จะสรุปข่าวให้อ่านแล้ว

-99-


เข้าใจง่ายๆ ในประโยคเดียว ไม่ต้องตามลิงก์ไปอ่านอีก (เว้นแต่ว่าคุณสนใจรายละเอียด) @NYTimes ก็เป็นอีกจุดที่คุณจะพบหัวข้อข่าวด่วนทุกชั่วโมง แถมด้วยทวิต เตอร์ของนักเขียนและของคอลัมน์ประจ�ำในหนังสือพิมพ์ที่ทรงอิทธิพลฉบับนี้ ที่น่าสนใจ อื่นๆ ส�ำหรับเรื่องของข่าวก็จะมีอย่างเช่น @BreakingNewsOn, @nprnews, @weirdnews, @macrumors, @MarsPhoenix, @Astronautics และแน่นอนว่าพีซีแมกะซีน เองก็มีทวิตเตอร์รายงานข่าวในด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน (@PCMag) ช่องทางติดต่อกับบริษัทผู้ผลิต การใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางให้บริการหลังการขายอย่างเต็มรูปแบบ อาจยังฟัง ดูไม่ค่อยเข้าทีเท่าไรส�ำหรับบริษัทส่วนใหญ่ อย่างน้อยก็จนกว่าบริการแห่งนี้จะมีสมาชิก เพิ่มอีก 10 ล้านราย อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน คุณสามารถใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางในการ ร้องเรียนได้ และเสียงของคุณก็จะดังไปถึงเจ้าของสินค้า เพราะบริษทั ยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็น Zappos, Starbucks, Whole Foods, JetBlue และอืน่ ๆ อีกมากมาย (มาก มายจริงๆ) ล้วนแล้วแต่มีแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ให้คุณใช้ในการติดต่อ ดังนั้นต่อจากนี้ไป ถ้าคุณมีเรื่องอยากร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ลอง ใช้กูเกิ้ลเสิร์ชชื่อของบริษัทเจ้าของสินค้า แล้วตามด้วยค�ำว่า Twitter ถ้าบริษัทดังกล่าว มีแอ็กเคานต์บนทวิตเตอร์ คุณก็จะพบในผลการค้นหาล�ำดับต้นๆ ที่ส�ำคัญคือ พยายาม เรียบเรียงเรื่องร้องเรียนของคุณให้กระชับได้ใจความ เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าข้อความจะ ถูกจ�ำกัดไว้แค่ไม่เกิน140 ตัวอักษร ขอความช่วยเหลือ เช่นเดียวกับบล็อกและฟอรัม ทวิตเตอร์คอื สถานทีท่ เี่ หมาะเป็นอย่างยิง่ ส�ำหรับ การถามค�ำถามทีค่ ณ ุ ขีเ้ กียจค้นหาค�ำตอบด้วยตัวเอง รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือ (เช่น “มีใครว่างช่วยขนของย้ายบ้านวันศุกร์ไหม?”) ขอความคิดเห็น (“กล้วยแบบออร์แกนิกมี รสชาติดกี ว่าหรือเปล่า?”) หรือขอค�ำแนะน�ำ (“ใส่แรมให้กบั แมคบุก๊ ใหม่เท่าไรดี?”) เป็นต้น โอเว่น ริ้งเคิ้ล ผู้พัฒนาทวิตเตอร์บอกกับเราว่า ปัญหาที่คุณเคยใช้เวลาคิด 5 นาที อาจได้ค�ำตอบออกมาภายในเวลา 10 วินาทีบนทวิตเตอร์ แต่นี่หมายถึงอย่างน้อย

-100-


คุณต้องมีเพื่อนๆ ในชีวิตจริงตามดู (follow) ทวิตเตอร์ของคุณอยู่ และแน่นอนว่าถ้าจะ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุณก็ควรตามดูทวิตเตอร์ของเพื่อนด้วย เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน โปรโมตผลงานหรือบริษัทของคุณ เช่นเคยคือ ทวิตเตอร์ไม่ใช่บริการแรกทีใ่ ห้คณ ุ ใช้ประโยชน์ในลักษณะนี้ แต่ดว้ ย ธรรมชาติของตัวมันเอง ท�ำให้ทวิตเตอร์เป็นทางเลือกทีเ่ หมาะมากส�ำหรับการโปรโมตผล งานหรือประชาสัมพันธ์บริษัทของคุณ ขอแค่คุณท�ำแบบไม่กระโตกกระตาก มีลิงก์ไปยัง แอพพลิเคชันที่คุณเพิ่งเขียนเสร็จ หรือสินค้าตัวใหม่ของบริษัทบ้างในบางโอกาส ผสม ผสานไปกับเรือ่ งราวอืน่ ๆ ของคุณ ถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าให้ลงิ ก์โปรโมตงานมีเกินกว่า 3 ลิงก์ต่อสัปดาห์ เพราะนั่นจะเป็นการยัดเยียดและท�ำให้คนที่ตามดูคุณรู้สึกไม่ดีเปล่าๆ หรือหนักๆ เข้าก็อาจไม่สนใจที่จะตามคุณอีก ไม่ขาดการติดต่อกับเพื่อนฝูง นอกจากดูเรือ่ งราวการใช้ชวี ติ ประจ�ำวันของคนแปลกหน้าเพือ่ ความบันเทิงแล้ว ทวิตเตอร์ยังเป็นช่องทางโปรดที่เราชอบใช้เพื่อไม่ให้ขาดการติดต่อจากเพื่อนฝูง แค่เขียน ข้อความบอกเล่าเรื่องราวสั้นๆ ในแต่ละวัน เพื่อนๆ ก็จะรู้ความเป็นไปของคุณ ว่าก�ำลัง ทุกข์หรือสุขแค่ไหน ในทางตรงกันข้าม คุณก็สามารถรู้ได้ว่ามีเพื่อนคนไหนเจ็บไข้ได้ป่วย อยู่หรือเปล่า หรือคนไหนก�ำลังอยู่ในอารมณ์เศร้าและต้องการก�ำลังใจ ต้องการให้คุณไป หา นี่ยังไม่นับรวมถึงการใช้ชวนกินข้าว หรือชวนท�ำกิจกรรมอื่นๆ พบคนดัง ยูสเซอร์ชื่อดังของทวิตเตอร์ที่มีคนตามดูเป็นจ�ำนวนมากบางรายอาจไม่สนใจ ข้อความที่คุณส่งไปถึง แต่ไม่ใช่กับเบรนท์ สปินเนอร์ (ดาราจากสตาร์เทร็ก) ซึ่งค่อนข้าง เป็นมิตรทีเดียว เช่นเดียวกับดาราตลกอย่างสตีเฟ่น ฟราย หรือถ้าคุณมีไอดอลหรือฮีโร่ใน ดวงใจ ลองเสิร์ชหาทวิตเตอร์ของเขาเหล่านั้น แล้วติดตามดูว่า พวกเขาใช้ชีวิตอย่างไรจึง ประสบความส�ำเร็จ

-101-


อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณอยากเข้าสังคมออนไลน์แห่งนี้ แต่ยังรู้สึกขัดๆ เขินๆ และ ก็ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ลองดู10 ทิปที่เราแนะน�ำในบทความนี้ เชื่อว่าน่าจะท�ำให้คุณใช้งา นทวิตเตอร์ได้คล่องขึ้นราวกับว่าใช้งานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว 1. ย่อ URL ให้สั้นลง ในการใช้งานทวิตเตอร์ เรือ่ งหนึง่ ทีค่ ณ ุ หนีไม่พน้ ก็คอื การแชร์ลงิ ก์ แต่เนือ่ งจาก ในแต่ละทวีต คุณเขียนข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ถ้า URL ที่คุณต้องการแชร์ยาว เหยียด ใช้บริการย่อ URL ให้สั้นลง เพื่อที่คุณจะได้มีพื้นที่ส�ำหรับเขียนข้อความมากขึ้น ที่เราชอบก็อย่างเช่น tinyurl.com, is.gd, ow.ly และ bit.ly 2. RT = Retweet ถ้าคุณพบทวีตทีถ่ กู ใจ และต้องการก๊อบปีไ้ ปแปะ (paste) ไว้บนไซต์ของตัวเอง หรือทีไ่ หนก็ตาม คุณสามารถท�ำได้ไม่มปี ญ ั หา ตราบใดทีค่ ณ ุ ให้เครดิตกับผูเ้ ขียนข้อความใน ทวีตนัน้ ซึง่ โดยธรรมเนียมปฏิบตั แิ ล้ว จะใช้การใส่คำ� ว่า RT แล้วตามด้วยชือ่ ทวิตเตอร์ของ เจ้าของทวีต เช่นถ้าคุณน�ำทวีตของเราไปใช้ คุณก็ควรใส่คำ� ว่า RT @PCMag ไว้นา่ ทวีตนัน้ 3. ส่งเมสเซจส่วนตัว ด้วยฟังก์ชัน Direct Messages ของทวิตเตอร์ คุณสามารถส่งข้อความส่วนตัว ที่มีขนาดไม่เกิน 140 ตัวอักษรไปยังผู้ใช้ทวิตเตอร์คนอื่นๆ ได้ ลักษณะจะคล้ายกับอีเมล์ ฉบับย่อ แต่มีข้อแม้ว่าคนที่คุณจะส่งข้อความถึงได้นั้น ต้องเป็นยูสเซอร์ที่ตามดู (follow) คุณเท่านั้น 4. ใช้สัญลักษณ์ @ ถ้าคุณต้องการอ้างถึง ให้เครดิต หรืออยากติดต่อกับผู้ใช้ทวิตเตอร์คนอื่นๆ ให้ ใส่สญ ั ลักษณ์ @แล้วตามด้วยชือ่ ทวิตเตอร์ของคนๆ นัน้ ไว้ในทวีตของคุณ ข้อความในส่วน ดังกล่าว (@ยูสเซอร์เนม) ก็จะกลายเป็นลิงก์น�ำไปยังทวิตเตอร์ของยูสเซอร์รายที่ว่า และ ที่ส�ำคัญคือ ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนั้นสามารถเห็นข้อความในทวีตนี้ของคุณด้วย ในทางตรง

-102-


กันข้าม คุณก็สามารถเช็กได้ว่ามีใครอ้างถึงคุณในทวีตของพวกเขาบ้าง ด้วยการคลิกที่ @ ยูสเซอร์เนมของคุณเองจากกรอบทางขวามือในหน้า Home 5. หาเพื่อนของคุณ ถ้าคุณยังไม่รู้จะเริ่มต้นสังคมออนไลน์แห่งนี้อย่างไร ลองใช้ Search.twitter. com หาทวิตเตอร์ของเพื่อนคุณ ทวิตเตอร์ของคนดัง หรือของบริษัทที่คุณสนใจ เพื่อที่ คุณจะได้ตามดู หรือถ้าคุณมีหัวข้อที่สนใจอยู่แล้ว ก็สามารถใช้หัวข้อนั้นเป็นคีย์เวิร์ดใน การค้นหาได้เลย 6. เพิ่มโอกาสในการถูกพบให้กับทวีตของคุณ ถ้าเรื่องที่คุณก�ำลังจะเขียนเป็นหัวข้อซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจ (เช่นโอบาม่า ซีรีส์เรื่อง Lost หรืออื่นๆ) การใส่เครื่องหมาย # ไว้ข้างหน้าหัวข้อนั้น (เช่น #Lost) จะ ท�ำให้คนอื่นๆ พบทวีตของคุณได้ง่ายขึ้น และบางทีเขาเหล่านั้นก็อาจตามดูคุณต่อ ยก ตัวอย่างเช่นกรณีของเครื่องบินตกที่แม่น�้ำฮัดสัน #flight1549 ได้กลายมาเป็นแท็กยอด ฮิต เช่นเดียวกับเป็นคีย์เวิร์ดที่ผู้คนจ�ำนวนมากใช้ในการเสิร์ช 7. แชร์ภาพถ่าย ผู้คนส่วนใหญ่ชอบที่จะแชร์ภาพของตัวเองให้กับคนทั้งโลกได้ดู และบางคนก็ โด่งดังจากการเรื่องนี้ อย่างเช่นกรณีของจานิส คลุมส์ ซึ่งใช้ TwitPic โพสต์ภาพของเที่ยว บิน 1549 ไว้บนทวิตเตอร์ของเขาได้ก่อนใครเพื่อน เช่นเดียวกันคุณสามารถใช้ TwitPic รวมถึงอีกหลายๆ บริการทีล่ กั ษณะคล้ายกันนี้ เพือ่ ช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการอัพโหลด และโพสต์ภาพไว้บนทวิตเตอร์ 8. ทวีตจากมือถือ ทวิตเตอร์ให้คุณส่งข้อความตัวอักษรจากโทรศัพท์มือถือเพื่ออัพเดตทวีตของ คุณ เช่นเดียวกับที่รับทวีตใหม่ของคนอื่นๆ ซึ่งคุณตามดูอยู่ได้ แต่ก่อนอื่นคุณต้องเข้าไป ที่ Settings คลิกที่แท็บ Devices แล้วใส่หมายเลขโทรศัพท์ของคุณก่อน ในทางตรง

-103-


กันข้าม ถ้าใช้ไปสักพักแล้วคุณรู้สึกว่าการรับทวีตของคนอื่นๆ บนโทรศัพท์มือถือ สร้าง ความร�ำคาญให้กับคุณมากกว่าการได้อัพเดตเรื่องราว คุณก็สามารถเข้ามายกเลิกได้จาก ในแท็บเดียวกันนี้ 9. หาเดสก์ทอปไคลเอ็นต์ดีๆ มาใช้ ด้วยเดสก์ทอปไคลเอ็นต์อย่าง TweetDeck, Twhirl หรือ TwitterFox คุณ สามารถรับทวีตและจัดให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นระบบระเบียบส�ำหรับการตามอ่านได้ ไคลเอ็นต์เหล่านีจ้ ะเป็นประโยชน์มากถ้าคุณตามดูทวีตของหลายคน และมีการปฏิสมั พันธ์ โต้ตอบ รวมไปถึงใช้ฟังก์ชัน direct messages อยูบ่อยๆ 10. ดาวน์โหลดโมบายไคลเอ็นต์ ถ้าคุณมีแบล็กเบอร์รี่ ไอโฟน หรือสมาร์ตโฟนอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือท�ำงานบนเครือข่าย 3G เราอยากแนะน�ำให้ดาวน์โหลดโมบายไคลเอ็นต์ของทวิตเตอร์ มาใช้ เพราะจะช่วยให้คุณท�ำอะไรได้มากกว่าแค่ส่งข้อความที่เป็นเท็กซ์ ไคลเอ็นต์ที่น่า สนใจก็จะมีอย่างเช่น Twitterific, TwitterBerry, PocketTweets และ Twidroid เป็นต้น การพัฒนาของเทคโนโลยีสอื่ สารในปัจจุบนั ถือว่าเป็นการพัฒนาทีก่ า้ วกระโดด และรวดเร็วอย่างมาก ในยุคแรกเริ่ม การสื่อสารเน้นหลักไปที่การสื่อสารแบบทางเดียว คือสือ่ มวลชนส่งสารไปยังผูร้ บั สารหรือประชาชนทัว่ ไป แต่ในปัจจุบนั หลังจากการเข้ามา ของอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสารมวลชน ท�ำให้เกิดการสื่อสาร ที่สามารถโต้ตอบกันได้มากขึ้น ผู้ส่งสารนั้นอาจไม่ใช่สื่อมวลชนเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อ ไป ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงการสื่อสารได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทุกคน สามารถก�ำหนดการรับรูข้ า่ วสารได้ดว้ ยตนเองโดยไม่ตอ้ งรอให้สำ� นักข่าวหรือบรรณาธิการ จากสื่อต่างๆมาคอยก�ำหนดทิศทางการรับรู้ข่าวสารอีกต่อไป อยากรู้หรือสนใจเรื่องไหน เวลาใดก็สามารถเข้าดูได้ทนั ที เมือ่ สือ่ ใหม่กลายเป็นช่องทางทีส่ ะดวกและรวดเร็ว มีอสิ ระ ในการรับรู้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนจะให้ความสนใจและ ใช้สื่อใหม่ในจ�ำนวนที่เพิ่มมากขึ้น

-104-


-105-


ในปัจจุบันสื่อมวลชนในประเทศไทยได้หันมาให้ความสนใจกับการใช้สื่อใหม่ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับได้มี การจัดตั้งกองบรรณาธิการข่าวออนไลน์หรือแม้กระทั่งการรายงานข่าวผ่านสื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดียของสถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องที่น�ำเอารายการไปท�ำในรูปแบบ ออนไลน์บนเว็บไซต์และยังไม่นบั รวมนักข่าวทีท่ กุ วันนีห้ ลายคน หลายส�ำนักข่าวรายงาน ข่าวผ่านทางเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีสื่อมวลชนที่ยังไม่มั่นใจใน ประสิทธิภาพของสื่อใหม่มากนัก ยังไม่กล้าที่จะเจาะลึกและจริงจังกับการใช้สื่อใหม่เป็น ช่องทางในการน�ำเสนอข่าวสารอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากยังกังวลในความหน้าเชื่อถือ ของข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปยังสื่อใหม่ การใช้สื่อใหม่หากจะพูดถึงผลดีและผลเสียอาจมอง ได้หลายด้าน เช่น สือ่ ใหม่เป็นสือ่ ทีม่ คี วามรวดเร็วและง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชนแต่ หากการสื่อสารนั้นรวดเร็วมากเกินไปอาจท�ำให้เกิดความผิดพลาดหรือความคาดเคลื่อน ของข้อมูลได้ง่ายเช่นเดียวกัน บ่อยครั้งที่สื่อมวลชนโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อ หวังให้ขอ้ มูลไปถึงผูร้ บั สารให้รวดเร็วกว่าส�ำนักข่าวอืน่ ๆโดยยังไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลเสียได้อย่างรวดเร็ว เพราะทันทีที่มีการโพสต์ ก็จะมีการแชร์ข้อความ ต่อไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสื่อใหม่เป็นเรื่องที่ส�ำคัญอย่างยิ่งที่นักสื่อสาร มวลชนจะต้องท�ำ เพราะในอดีตคนส่วนใหญ่ปฏิเสธการรับรูข้ า่ วสารทีม่ าจากสือ่ ออนไลน์ เพราะความไม่แน่ใจในความถูกต้องของข้อมูล เมื่อสื่อมวลชนเลือกสื่อใหม่เข้ามาเป็น อีกเครื่องมือในการสื่อสารกับประชาชน ควรที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อ ถือต่อข้อมูลที่ถูกส่งผ่านสื่อใหม่ จะท�ำให้สื่อใหม่กลายเป็นช่องทางในการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เมื่อสื่อใหม่เข้ามามีบทบาทต่อสื่อมวลชน การเข้า ถึงสือ่ ของคนทัว่ ไปย่อมมีมากขึน้ ตามไปด้วย สิง่ ทีต่ ามมาคือการเกิดขึน้ ของนักข่าวพลเมือง ซึ่งนักข่าวพลเมืองอาจเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่ต้องการน�ำเสนอมากกว่าสื่อมวลชน ใคร ต่อใครก็สามารถเป็นผลิตสื่อได้ สื่อมวลชนกระแสหลักจึงต้องปรับตัวเพื่อรองรับการ เปลีย่ นแปลงในอนาคต คนทีผ่ ลิตสือ่ ได้ดอี าจไม่ได้ผกู ติดกับอาชีพ นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ หรือสือ่ โทรทัศน์อกี ต่อไป แต่ผทู้ นี่ ำ� เสนอข้อมูลผ่านสือ่ ได้ดอี าจเป็นผูท้ มี่ อี าชีพหรือมีความ รูใ้ นเรือ่ งนัน้ ๆเช่น ข่าวเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ทมี่ คี วามรูด้ า้ นการเงินอาจน�ำเสนอข่าว

-106-


ได้ดกี ว่าสือ่ มวลชนเพราะมีความเข้าใจในเรือ่ งนัน้ มากกว่า ดังนัน้ สือ่ มวลชนในยุคตอนรับ สื่อใหม่ควรปรับตัวและพัฒนาทักษะความรู้ให้รอบด้านมากขึ้น เมื่อสื่อใหม่เข้ามา ช่อง ทางในการน�ำเสนอก็มากตามไปด้วยสิ่งที่สื่อมวลชนจะต้องมีคือ การมีคุณสมบัตินักข่าว รุน่ ใหม่ทมี่ ที กั ษะในการท�ำงานด้านดิจติ อลมากขึน้ เรียนรูแ้ ละใช้เทคโนโลยีรอบตัวให้เกิด ประโยชน์สงู สุด ความต้องการคนทีม่ ที กั ษะในการท�ำสือ่ หลายช่องทางก็มมี ากขึน้ สามารถ ท�ำข่าวทีน่ ำ� เสนอได้ทกุ ช่องทางทัง้ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และสือ่ ออนไลน์ในเวลาเดียวกัน ในอนาคตการแพร่กระจายและการเข้าถึงสื่อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นการเรียนรู้และ ท�ำความเข้าใจกับเครือ่ งมือในการสือ่ สารทีเ่ รียกว่า“สือ่ ใหม่” ของสือ่ สารมวลชนนัน้ ควร เตรียมความพร้อมรับมือกับการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารที่นับวันมีแนวโน้มที่จะ พัฒนามากยิง่ ขึน้ และไม่มที สี่ นิ้ สุด การท�ำความเข้าใจการใช้สอื่ ใหม่ของนักสือ่ สารมวลชนก็ เปรียบเสมือนกับทหารทีร่ จู้ กั และฝึกใช้อาวุธปืนทีท่ รงพลังมาเป็นอย่างดีเพราะไม่วา่ อาวุธ ปืนที่ใช้จะมีการพัฒนาไปมากแค่ไหน หากเรามีทักษะในการควบคุมมันและเรียนรู้พลัง ของมันก็จะท�ำให้ใช้ปืนนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต่างกันกับนักสื่อสารมวลชนหาก เปรียบสือ่ ใหม่เป็นเครือ่ งมือหนึง่ ของการสือ่ สาร การเรียนรูข้ อบเขต พลังอ�ำนาจและข้อดี ข้อเสียของสือ่ ใหม่ถอื เป็นสิง่ ส�ำคัญทีส่ อื่ มวลชนจะสามารถเตรียมความพร้อมและรับมือกับ การท�ำหน้าทีส่ อื่ มวลชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดความน่าเชือ่ ถือในการใช้สอื่ ใหม่ ธุรกิจขายข่าวสารเป็นอีกสาขาอาชีพหนึง่ ทีไ่ วต่อการเปลีย่ นแปลงมาก ไม่วา่ จะ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนา สายงานข่าวทั้งสิ้น ยิ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี่การสื่อสารด้วยแล้ว ยิ่งส่งผลสะเทือน โดยตรง เนื่องเพราะธุรกิจประเภทนี้ ยึดถือเอาความสดใหม่ รวดเร็วของข่าวเป็นหัวใจ ส�ำคัญ ไม่ต้องย้อนหลังไปไกลหรอก เอาแค่เมื่อ 20 ปีก่อน สมัยผมเพิ่งก้าวเข้าสู่อาชีพ นักข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์รายวัน ตอนนั้นการสื่อสารระหว่างกองบรรณาธิการข่าว กับนักข่าวใช้โทรศัพท์สาธารณะเป็นหลัก เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น หรือมีการแถลงข่าว นักข่าวจะถูกส่งลงพื้นที่ท�ำข่าว

-107-


-108-


สัมภาษณ์แหล่งข่าวเสร็จ ต้องวิ่งวุ่นหาโทรศัพท์สาธารณะที่อยู่ใกล้สุดรายงานข่าวให้กับ กองบรรณาธิการเรียบเรียงเป็นเนื้อข่าวน�ำเสนอสู่สายตาประชาชน หากอยู่ไม่ไกลจาก ออฟฟิตต้องรีบเดินทางกลับไปพิมพ์ข่าวด้วยตนเอง หรือถ้าใครประจ�ำอยู่ในพื้นที่ข่าวของตัวเองอยู่แล้ว เช่น ท�ำเนียบรัฐบาล รัฐสภา กระทรวงต่างๆ อย่างนีโ้ ชคดีหน่อยครับ ส่วนใหญ่องค์กรเหล่านีม้ หี อ้ งนักข่าวและ มีโทรศัพท์ มีเครื่องแฟ๊กซ์ประจ�ำให้ห้องละเครื่อง สองเครื่อง เมื่อได้ข้อมูลข่าวนักข่าวจะ วิ่งกรูกันมาแย่งโทรศัพท์ส่งข่าว หรือไม่เช่นนั้นก็รีบมาพิมพ์ดีดป๊อกๆแป๊กๆ ส่งเป็นแฟ็กซ์ ให้กับกองบรรณาธิการ อย่างไรก็ตามมีหลายครัง้ เหมือนกันนะครับ ทีน่ กั ข่าวต่างฉบับกันทะเลาะเบาะ แว้งเพราะแย่งชิงโทรศัพท์ หรือแฟ๊กซ์ซึ่งมีอยู่น้อยนิดเดียว แต่เหตุการณ์เหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมีโทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นอวัยวะชิ้น ใหม่ของคนเรา แม้ว่าในยุคแรกๆ โทรศัพท์มือถือจะมีรูปลักษณ์หนักและเทอะทะปาน กระบอกข้าวหลามก็ตามเถอะ แต่มันช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคนข่าวภาคสนาม กับกองบรรณาธิการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์มากขึ้น ยิ่งทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือได้พัฒนาไปไกล เครื่องเล็กกะทัดรัด ท�ำงานได้หลาก หลายเกินกว่าคนเมือ่ สองทศวรรษก่อนจะนึกภาพได้ กอปรกับมันยังท�ำงานร่วมกับเครือ่ ง คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และโปรแกรมต่างๆซึง่ พัฒนาขึน้ อย่างรวดเร็ว จนกลาย เป็นยุคของ Web 2.0 ซึง่ ผูใ้ ช้บริการเป็นผูส้ ามารถก�ำหนด หรือสร้างเนือ้ หาสาระต่างๆใน เว็บไซต์ เหล่านี้ยิ่งเปลี่ยนโฉมการท�ำงานในแวดวงข่าวสาร เพราะมันท�ำให้สิ่งที่เรียกว่า วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) มี พลังและมีที่ยืนในพื้นที่สื่อกระแสหลัก (Mainstream media) มากขึ้น แล้วในบรรดาเว็บไซต์ ประเภท Web 2.0 ยอดฮิต จ�ำพวกสร้างเครือข่ายสังคม (Social network) เว็บ Twitter ซึ่งแปลเป็นไทยแบบบ้านๆ ว่า เสียงร้องจ๊อกแจ๊กของ นก เป็นอีกตัวหนึ่งที่มาแรงเชื่อกันว่ามีผู้คนกว่า 6 ล้านคนทั่วโลกใช้บริการ Twitter อยู่ ในขณะนี้ Twitter จัดว่าเป็นเว็บให้บริการเขียน Blog ประเภทหนึ่ง แต่มันแตกต่างจาก พวก Blogger.com หรือ Wordpress.com ตรงที่เว็บ Blog อื่นๆเขาไม่จ�ำกัดพื้นที่การ

-109-


เขียนของสมาชิก คุณอยากโพสต์เขียนอะไรยาวแค่ไหนก็ได้ แต่ Twitter.com ก�ำหนดให้สมาชิกโพสต์เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษรเท่านั้น จะว่าไปแล้วมันเหมือนกับการคุณยิงส่งข้อความสั้นๆประเภท SMS เข้าโทรศัพท์มือถือคนอื่นนั่นแหละครับ ดังนั้นจึงเรียกบริการของ Twitter ว่าเป็น Micro-blogging service ต้นก�ำเนิดของ Twitter เริ่มเมื่อปี 2549 โดย Jack Dorsey และกลุ่มเพื่อนวัย 30 เศษ พวกเขาเกิดปิง๊ ไอเดียการส่งข้อความสัน้ ๆ ในหัวข้อค�ำถาม “คุณก�ำลังท�ำอะไรอยู”่ กับเพื่อนฝูงและผู้ติดตามอ่าน Microblog มาจากการไปร่วมงานเทศกาลแสดงดนตรีเซา ท์เวสต์ เมือ่ เหล่าแฟนเพลงใช้รปู แบบการพูดคุย แสดงความคิดเห็นและนัดหมายระหว่าง กันผ่านการสื่อสารในรูปแบบนี้ ไม่นา่ เชือ่ ว่า รูปแบบการสือ่ สารสัน้ ๆเช่นนีจ้ ะมีอทิ ธิพลแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ท�ำให้นกั การตลาดหยิบฉวยใช้เป็นเครือ่ งมือในการโฆษณาประชาสัมพันธ์อกี รูปแบบหนึง่ แม้กระทั่งนักการเมืองอย่างนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็ใช้เป็น เครื่องมือหนึ่งในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี จนตอนนี้ผู้น�ำประเทศ ต่างๆทั่วโลก และเหล่านักการเมือง ดารา นักร้อง โฮโซ เซเลบฯทั้งหลาย อย่าง Ashton Kutcher, Oprah Winfrey ต่างกลัวตกเทรนด์รีบสมัครเป็นสมาชิกของ Twitter ส่งผล ให้บรรดาแฟนๆสมัครตามกันเป็นทิวแถว เพือ่ ขอเป็นผูต้ ดิ ตาม (Follower) อ่านกิจกรรม ความคิดของเหล่าคนดัง อิทธิพลของ Twitter กระจายไปทั่วโลก องค์กรระดับบิ๊กอย่าง ส�ำนักงาน อวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือที่รู้จักดีในนามของนาซ่า ยังใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการกระ จายข่าวสาร หรือแม้กระทัง่ รัฐบาลอังกฤษเองยังเตรียมแผนให้เยาวชนระดับประถมเรียน รู้และฝึกใช้งาน Social Network อย่าง Twitter ให้คล่องแคล่ว แล้วเจ้า Twitter มันเกี่ยวข้องกับวงการข่าวอย่างไรหรือครับ...ส่วนหนึ่งเป็น เพราะความฮิตของมัน แถมยังใช้งานได้งา่ ย สามารถส่งและรับข้อความสัน้ ๆผ่านโทรศัพท์ มือถือ ท�ำให้กลายเป็นเครื่องมือชิ้นส�ำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ

-110-


เชื่อไหมครับว่า ในช่วงปีสองปีมานี้ เหตุการณ์วิกฤติส�ำคัญๆทั่วโลก ไม่ว่าจะ เป็นภัยพิภัยธรรมชาติ หรือภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายล้วนถูกถ่ายทอดสดผ่าน Twitter ก่อนสื่อมวลชนกระแสหลักอื่นๆจะรายงานข่าวเสียอีก ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์การก่อการร้ายใหญ่ในเมืองมุมไบ ของประเทศอินเดีย มีผู้คนจ�ำนวนมากอยู่ในเหตุการณ์ส่งข้อความสั้นๆผ่าน Twitter ของตนเองแล้วถูกน�ำไป ถ่ายทอดกระจายต่อโดยเพื่อนฝูงและผู้ติดตาม Twitter ของพวกเขา หรือกรณีเครือ่ งบินตกที่ Denver, Colorado ผูโ้ ดยสารบนเครือ่ งบินยังสามารถ กระหน�ำ่ ยิงข้อความสัน้ ๆ รายงานสดผ่าน Twitter ของตนเองเป็นชุดๆ ก่อนสือ่ กระแสหลัก จะหยิบฉวยไปน�ำเสนอข่าวสดผ่านทางจอโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์เสียอีก แม้แต่ในประเทศไทย ช่วงวิกฤติทางการเมือง อย่างช่วงสงกรานต์แดงเดือดที่ ผ่านมา Twitter กลายเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราว ข่าวสารต่างๆ แน่นอนครับว่า ความน่าเชือ่ ถือของข่าวสารในลักษณะเช่นนีย้ งั ถูกตัง้ ค�ำถามถึง ความถูกต้อง แม่นย�ำของข้อมูล เพราะหลายๆครัง้ มันกลายเป็นช่องทางแพร่กระจายข่าวลือ ข่าวลวง อย่างเช่น ช่วงวิกฤติไข้หวัดใหญ่แม๊กซิโกระบาด Twitter ของผูค้ นจ�ำนวนมากกระจายข่าวผิดๆสร้าง ความตื่นตระหนักไปทั่วโลก ความร้อนแรงของ Twitter เช่นนี้ ท�ำให้องค์กรสื่อ ส�ำนักข่าวทั่วโลก ไม่ว่าจะ เป็น CNN BBC ฯลฯ หยิบฉวยใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเช็คข่าวสาร ตรวจสอบกระแส ความรู้สึก ความคิดเห็นของประชาชน และยังใช้เป็นช่องทางในการเผยกระจายข่าวของ ตนเองฟีด (Feed) ส่งข้อมูลข่าวผ่าน Twitter ล่าสุดเมื่อ ต้นเดือนเมษายน 2552 หนังสือพิมพ์ระดับยักษ์อย่าง Guardian ประกาศตัวว่าเป็นเจ้าแรกที่กระโดดเข้าสู่ยุคใหม่ ในรูปโฉมของการรายงานข่าวผ่านทาง Twitter ทุกข่าว หลังจากหนังสือพิมพ์ Guardian ยืนหยัดในวงการสิ่งพิมพ์มาถึง 188 ปี Guardian เชื่อว่าทุกข่าวสามารถสรุปสั้นๆได้ภายใน 140 ตัวอักษร แล้วรายงานผ่าน ทาง Twitter องค์กรสือ่ ในประเทศไทยเองก็เริม่ กระโดดเข้าสู่ Twitter เหมือนกันครับ แม้วา่ ในตอนนี้จะแค่ Feed ส่งพาดหัวข่าว หรือเนื้อหาเล็กน้อยในส่วนของข่าวเด่นประเด็น

-111-


ร้อน แต่เชื่อว่าในอนาคต Twitter จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คนข่าวจากส�ำนักข่าวต่างๆ ลงมาเล่นมากขึ้น ไม่แน่นะครับ ในอนาคตอันใกล้ คณะนิเทศศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์ คงไม่ เพียงแค่สอนนักศึกษาให้เขียนข่าวตามรูปแบบข่าวเดิมๆที่เห็นในหนังสือพิมพ์อย่างเดียว เท่านั้น ต่อไปอาจจะต้องสอนให้นกั ข่าวรุน่ ใหม่สามารถจับประเด็นและสรุปความให้ได้ อย่างรวดเร็ว และอยู่ภายใน 140 ตัวอักษร Twitter ท�ำให้ผู้ชมหันมาเปิดทีวี ถือเป็นการค้นพบครัง้ ส�ำคัญของบริษทั วิจยั อย่าง Nielsen ซึง่ ลงมือศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ชมทีวีชาวอเมริกันและบทสนทนาบนTwitterอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก จนพบว่าในบางครั้ง บทสนทนาบน Twitter ก็เป็นแรงจูงใจที่ท�ำให้ผู้ชมหันมาเปิดทีวี ชาว Twitter หลายคนอาจเคยรู้สึกอยากเปิดทีวีชมรายการทีวีที่เพื่อนก�ำลัง เมาท์อยู่บน Twitter เรื่องนี้ Nielsen เปิดเผยผลการส�ำรวจเมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา ว่าบริษัทได้ลงมือเปรียบเทียบบทสนทนาของชาว Twitter และอัตราการชม หรือเรทติง้ ของรายการทีวใี นช่วงเวลาไพร์มไทม์ของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์หลักมากกว่า 221 ตอนชนิดนาทีต่อนาที ซึ่งแม้การส�ำรวจจะไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยพิเศษระหว่าง ข้อมูล 2 กลุ่มนี้ แต่อย่างน้อยก็สามารถสรุปได้ว่าข้อความ Twitter มีส่วนช่วยให้เรทติ้ง ของรายการ 29% ของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นทันที Mike Hess รองประธานและนักวิจัยอาวุโสของ Nielsen พบว่าข้อความบน Twitter ยังมีความเกี่ยวพันกับเรทติ้งรายการในแง่มุมอื่นๆด้วย เช่นในภาพรวม เรทติ้ง ของรายการ 48% ของกลุม่ ตัวอย่างได้รบั ผลเปลีย่ นแปลงจากจ�ำนวนข้อความบน Twitter ทีเ่ กีย่ วข้องกับโชว์ โดยมีโชว์บางรูปแบบทีไ่ ด้รบั ผลดีจากบทสนทนาบน Twitter มากกว่า โชว์บางรูปแบบ ซึ่งในรายงานไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยทิ้งท้ายเพียงว่าความเชื่อม โยงระหว่าง Twitter และทีวีนั้นเป็นเรื่องน่าสนใจที่ควรจะมีการศึกษาให้ละเอียดมาก ขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม Nielsen และ Twitter นั้นเป็นพันธมิตรธุรกิจกันในขณะนี้ ทั้งคู่ พยายามประชาสัมพันธ์ดชั นีทเี่ รียกว่า Nielsen Twitter TV Rating เพือ่ ขายข้อมูลให้กบั

-112-


ผูส้ นใจสถิตแิ ละการศึกษาบทสนทนาออนไลน์เกีย่ วกับรายการทีวี จุดนีเ้ ชือ่ ว่าจะสามารถ ต่อยอดธุรกิจข้อมูลวิเคราะห์ตลาดได้มากมาย โดยเฉพาะในวันนีท้ กี่ ารตลาดบนโซเชียลมี เดียนั้นมีการลงทุนมากขึ้นต่อเนื่อง เบื้องต้นMitchell J. Lovett ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยUniversity of Rochesterซึ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อความบน Twitter และความสนใจในการ ชมรายการทีวีนั้นมองว่าการพิสูจน์ความเกี่ยวพันนี้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากความซับซ้อน เกี่ยวกับปัจจัยในการชมหรือการวางแผนชมรายการทีวี ซึ่งวิธีการศึกษาในประเด็นนี้จะ ต้องมีการยกระดับและพัฒนาต่อไป Twitter อาวุธของนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ เหตุการณ์เมษาเลือดที่ผ่านมา แทบจะบอกได้เลยว่า เป็นเปลี่ยนแปลงครั้ง ส�ำคัญของวงการข่าวเมืองไทยเลยทีเดียว เพราะการรับรู้ข่าวสารจาก “สื่อเดิม” ดูจะ เป็นช่องทางที่ “ช้าและไม่ทันใจ” ของกลุ่มคนที่รับข่าวสาร และในขณะเดียวกันก็กลาย เป็นช่องทางใหม่ของ “สื่อและนักข่าว” ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร “ทางตรง” ไปยัง กลุ่มคนรับสื่อได้ทันที ผ่านทาง “สื่อใหม่ (New Media) อย่าง Social Network” โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในบริการอย่าง ทวิตเตอร์ (Twitter) ต้องถือว่าเป็นช่องทางทีร่ อ้ นแรง และ มีข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา แบบวินาที ต่อวินาทีเลยทีเดียว จากเหตุการณ์ในคืนวันเกิดเหตุการปะทะกันของ กลุ่ม นปช. และ เจ้าหน้าที่ ทหาร หากเป็นเมือ่ ก่อน เราคงจะต้องรอนักข่าวถ่ายทอด หรือส่งข่าวเข้ามาในรายการข่าว ทางทีวีหรือวิทยุ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารทาง “เสียง” หรือ “ภาพ” ซะส่วนใหญ่ และการออกแต่ละครัง้ ก็ตอ้ งรอ “จังหวะและโอกาสของรายการทีวี หรือวิทยุในช่วงนัน้ ๆ ด้วย” ซึ่งด้วยเหตุผลเหล่านี้ท�ำให้ ข่าวกว่าจะมาถึงผู้รับก็ดูจะช้าและใช้เวลาเลยทีเดียว นักข่าวสายพันธุ์ใหม่ : เปลียนแปลงอย่างไรให้จริยธรรมคงเดิม ในยุคที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป สู่ยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทมาก ขึ้น ท�ำให้เกิดมิติใหม่ทางด้านสัมพันธภาพของมนุษย์ ทั้งการสนทนาระหว่างบุคคล และ การสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคลอย่างไร้พรมแดน แน่นอนว่า เมื่อการสื่อสารเปลี่ยน องค์

-113-


ประกอบของการสื่อสารก็ย่อมเปลี่ยนด้วยเช่นกัน วิชาชีพหนึง่ ทีต่ อ้ งพึงระวังในเรือ่ งของ การสือ่ สารเป็นอย่างมาก คืออาชีพนักข่าว ยิง่ การสือ่ สารภายในโลกโซเชียลมีเดียด้วยแล้ว ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นสองเท่า ปัจจุบันการน�ำเสนอข่าวสารหรือแม้กระทั่งการถ่ายทอดเรื่องราว ไปยัง ประชาชนมีหลากหลายช่องทางให้นักข่าวเลือกสรรค์ ทั้งช่องทางที่เป็นสื่อดั้งเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อใหม่ในโลกโซเชียลมีเดียอย่าง เฟสบุ๊ค ทวิต เตอร์รวมถึงแอพพลิเคชัน่ ทีก่ ำ� ลังเป็นทีน่ ยิ มในหมูด่ าราและบุคคลทัว่ ไปอย่างอินตราแกรม อย่างไรก็ตาม ช่องทางทีก่ ล่าวมานีล้ ว้ นแต่เป็นช่องทางทีป่ ระชาชนใช้ ในการส่งสารและรับสารด้วยเช่นกัน เมือ่ ประชาชนมีความต้องการทีจ่ ะรับรูข้ า่ วสารข้อมูล มากขึ้น การท�ำหน้าที่ของนักข่าวจึงบกพร่องไม่ได้เป็นอันขาด และด้วยความต้องการที่ จะรับรู้ข่าวสารของประชาชนในโลกโซเชียลมีเดียนี่เอง ท�ำให้นักข่าวต้องเร่งพัฒนาฝีไม้ ลายมือในการรายงานข่าวและความเคลือ่ นไหวต่างๆในสังคม จนกลายเป็น “นักข่าวสาย พันธุ์ใหม่ ” ที่มีบทบาทในโลกโซเซียลมีเดียเพิ่มขึ้น การรายงานข่าวสารผ่านตัวอักษรในรูปแบบประโยคที่กระชับ สั้น ง่าย ได้ใจความ และคนที่ติดตามข่าวสารที่เราเป็นคนรายงานลงไปนั้น ก็สามารถเข้ามา มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นกลับได้เช่นกัน การใช้สื่อโซเชียลมีเดียกลายเป็นอีกโลกหนึ่งของข่าวสาร ได้สร้าง ความท้าทายในการท�ำงานให้กบั นักข่าวสายพันธุใ์ หม่ทตี่ อ้ งปรับตัวด้านเนือ้ หามากขึน้ โดย เฉพาะเรือ่ งความถูกต้องของเนือ้ หาข่าวสารนัน้ ยิง่ ต้องระวังในการใช้ถอ้ ยค�ำในการสือ่ สาร พร้อมทัง้ ต้องค�ำนึงว่าการน�ำเสนอข่าวสารชิน้ นัน้ ต้องไม่สง่ ผลกระทบต่อคนจ�ำนวนมากใน ทางที่เสียหาย ดังนั้นนักข่าวยุคนี้จึงต้องค�ำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการน�ำ เสนอข่าวอย่างเคร่งครัด เพราะในโลกออนไลน์หากเกิดการผิดพลาดก็ยากที่จะแก้ไขได้ ในระยะเวลาอันสัน้ เนือ่ งมาจากความรวดเร็วของการเสพสือ่ ทางโซเชียลมีเดียทีผ่ รู้ บั สาร อาจจะขาดการไตร่ตรองและใช้วิจารณญาณในการเสพข่าว จนบางครั้งส่งผลให้เกิดการ ส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาดและเกิดผลกระทบต่อสังคมตามมาอย่างมากมาย

-114-


เทคนิคการพิจารณาความเชื่อถือของข่าว โลกของข่าวสารในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้งครองเมืองแบบนี้อะไรต่อมิอะไรมัน เปลีย่ นแปลงไปเยอะครับ รูปแบบในการน�ำเสนอข่าวสารเปลีย่ นไป จากเดิมทีจ่ ะออกแนว สือ่ สารทางเดียว ก็เริม่ มีการสือ่ สารสองทางโดยใช้โซเชียลมีเดียหรือสือ่ สังคมเป็นสือ่ กลาง กัน โดยดูได้จากแนวคิดโซเชียลทีวขี องเนชัน่ เป็นต้น ความไวในการน�ำเสนอข่าวก็เพิม่ มาก ขึน้ นักข่าวพลเมืองทีป่ ระสบพบเหตุสามารถน�ำเสนอข่าวผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียกันได้ ทันที ผู้คนเริ่มใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการรับข่าวสารกันมากขึ้น ทว่าเมื่อข่าวสาร มีมากขึ้น การเผยแพร่ข่าวเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ปัญหาก็ตามมา นั่นคือ เราจะแยกแยะ ระหว่างข่าวที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ กับข่าวที่บิดเบือน ไม่เป็นความจริง ไม่มีความน่าเชื่อถือ ได้อย่างไร ในมหาสมุทรข่าวสารอันกว้างใหญ่อย่างโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้ … บล็อกของ ผมในตอนนี้จะลองแนะน�ำแนวทางปฏิบัติให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับ ก่อนอื่นเลย ลอง Google ดูข่าวนั้นๆ ก่อน ถ้าข่าวดังจริง ต้องค้นเจอสิ นึกไม่ออก บอกไม่ถูก พึ่งอากู๋ไว้ก่อน อันนี้ผมแนะน�ำอยู่เป็นประจ�ำครับ … ถ้า ข่าวที่เราได้ทราบมาเป็นข่าวจริง มันย่อมไม่ถูกน�ำเสนอโดยเว็บไซต์เว็บไซต์เดียวแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข่าวนั้นเป็นข่าวที่เป็นกระแสฮือฮา รับรองว่าไม่มีทางที่ค้นหาด้วย Google ไม่เจอแน่นอน

-115-



สื่อพลเมือง มิติใหม่ของการรายงานข่าว การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงจากการใช้ Social Media ของ “คนข่าว” ชื่อดังอย่าง สุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอ�ำนวยการกลุ่ม Nation, ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, อศินา พร วศิน ประธานชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนนักข่าวเกือบทุกส�ำนักข่าว ที่ประชาชนให้ความสนใจติดตามข่าวทาง Facebook, Twitter อย่าง กิตติ สิงหาปัด , นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์, เสถียร วิริยะพรรณพงศา มาแชร์ความคิดและประสบการณ์ใน การใช้ Social Media หลายๆ อย่างน่าสนใจ และหาอ่านไม่ได้ทั่วไป

-117-


-118-


การเสวนาในวงกาแฟวานนี้ช่วงแรกเป็นการแชร์ประสบการณ์ของนักข่าว แต่ละคน ด�ำเนินรายการโดย ณัฏฐา โกมลวาทิน และน่าสนใจตรงที่เพิ่งรู้ว่านักข่าวหลาย ต่อหลายคนในที่นี้หลายคนพูดเหมือนกันว่า เริ่มแรกไม่ค่อยมีใครใช้ Social Media แต่ผู้ บังคับบัญชาขององค์กรทีต่ วั เองสังกัดอยูก่ ม็ อบหมายให้ใช้ Social Media อย่าง Twitter ในการน�ำเสนอข่าวซึง่ จะส่งผลให้ขบั เคลือ่ นองค์กรข่าวไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวฯ และนักข่าวอาวุโสจากไทยรัฐ หนึ่ง ในผู้สร้างเว็บไซต์ Thairath.co.th ตั้งแต่ยุคแรกๆ ก็เปิดใจยอมรับตรงๆ กับผู้ร่วมเสวนา ในเรื่อง Social Media ว่า ตอนแรก “ไทยรัฐ” ก็รู้สึกว่าตัวเอง “ช้า” ไปในเรื่อง Social Media แม้แต่ คอลัมนิสต์บางคนของไทยรัฐจะส่งต้นฉบับทีหนึ่งก็ยังเขียนด้วยปากกาลงกระดาษให้คน น�ำมาพิมพ์ต่อในคอมพิวเตอร์ และไทยรัฐน่าจะเป็นสื่อสุดท้ายที่ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์ข่าว อย่างเดียว แต่ดว้ ยความทีโ่ ลกข้อมูลข่าวสารเปลีย่ นไป ทางไทยรัฐเลยเปิดบริษทั ใหม่อย่าง Trend VG3 ที่แยกออกมาท�ำเรื่องดิจิตอลโดยเฉพาะ จากนั้นก็มีนักข่าวไอทีรุ่นใหม่ของ ไทยรัฐออกความเห็นตามมาอีกหลายคนว่า เพื่อการรายงานที่อัพเดตมากขึ้น ตัวเองจึง ต้องใช้ Social Media อย่างแอคทีฟมากยิ่งขึ้น ไม่หยุดอยู่เพียงอะไรเดิมๆ จากนั้นณัฏฐาได้ตั้งค�ำถามไปทาง สุทธิชัย หยุ่น ที่ค่อนข้างอัพเดตข่าวผ่านทาง Twitter อย่างรวดเร็วว่องไว ซึ่งบรรณาธิการอ�ำนวยการเนชั่นก็เผยว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ ผ่านมา Social Media มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในแง่ของบทบาทการน�ำเสนอข่าว น่าดีใจทีว่ งการนักวิชาการกับวงการสือ่ เองก็รว่ มผลักดันให้มกี ารใช้งานกัน สอนและแลก เปลีย่ นกันมากขึน้ โดยทางเนชัน่ เองภายในก็มกี ารแจกคูม่ อื จริยธรรมของนักข่าวของเนชั่ นว่า จะต้องใช้ Social Media อย่างไร จากนัน้ ก็เป็นการแลกเปลีย่ นความคิดเห็นสัน้ ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นนักข่าวรุน่ เด็กๆ และรุ่นกลางๆ ถามนักข่าวผู้ใหญ่ อย่างเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะนักข่าวบางคนก็เริ่ม สับสนเหมือนกันระหว่าง การน�ำเสนอความคิดเห็นส่วนตัว กับการน�ำเสนอข้อเท็จจริง ของข่าว ซึ่งในเรื่องนี้ สุทธิชัย หยุ่นได้แชร์ว่า “ใน Social Media นักข่าวจะต้องระวัง ความคิดเห็นส่วนตัวเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะคนรับสารไม่ได้แยกว่าอันไหนส่วนตัว อัน ไหนฐานะนักข่าว นักข่าวจะไม่มีความเป็นส่วนตัวใน Social Media ทุกคนมีสิทธิเอาไป

-119-


พูดต่อได้ นักข่าวทุกคนต้องยอมรับเมื่อได้พูดออกไป… เมื่อคุณจะมีความเป็นส่วนตัว คุณ ต้องแยก Account ออกไป มันบอกกับคนรับสารไม่ได้… นอกจากเนือ้ หาข่าว นักข่าวต้อง เก็บบรรยากาศ สีสัน มาทวีตด้วยซึ่งสิ่งเหล่านี้บางทีไม่ได้ลงข่าว” ส่วนทางด้าน กิตติ สิงหาปัด นักข่าวมากประสบการณ์ ล่าสุดกับข่าว 3 มิติก็ แชร์วา่ “ผมไม่ใช้ Twitter เพือ่ การส่วนตัว แต่ผมจะใช้ Twitter รายงานข่าว เพราะบางที การทวีตเรื่องส่วนตัว อย่างผมไปกินข้าวอะไรที่ไหน Follower ของผมไม่ค่อยได้อะไร อย่างการที่ผมมาแชร์เรื่องวันนี้ผมก็ไม่ได้ทวีตบอกใคร… ส่วนตัวแล้วเวลาใช้ Twitter ก็ ใช้ในการรับข่าวด้วย เช่น มักจะมีคนดูรายการส่งเบาะแสเข้ามาว่ามีข่าวไหนน่าไปท�ำ ก็ จะเลือกและตามไปท�ำข่าว” จากนั้ น ณั ฎ ฐาก็ ถ ามไปทาง ดร.มานะ ตรี ร ยาภิ วั ฒ น์ จากมหาวิ ท ยาลั ย หอการค้าไทย ในเชิงของการสอนด้านนิเทศศาสตร์ ดร.มานะก็เผยว่าตอนนี้ตัวเองก�ำลัง พยายามผลักดันให้นักศึกษาใช้ Social Media ในการท�ำข่าวตั้งแต่ต้นน�้ำจนถึงปลายน�้ำ อย่างตั้งแต่การคิดประเด็นข่าว การส�ำรวจเทรนด์ แง่มุมข่าว การหาแหล่งข่าว การร่วม มือกันระหว่างนักข่าวมืออาชีพ กับนักข่าวพลเมือง ในอนาคตจะต้องมี Social Media Editor ที่ท�ำงานร่วมกับนักข่าวในพื้นที่ อย่างเช่น เฮลิคอปเตอร์ตก ก็ต้องมีคนในพื้นที่ ท�ำงานร่วมกับนักข่าวทีส่ ำ� นักข่าว ต้องสอนให้เด็กรุน่ ใหม่เข้าใจเรือ่ งการใช้ Social Media มาท�ำงานมากขึน้ อย่างในต่างประเทศ 97% ของนักข่าวใช้ Social Media ในการท�ำงาน ข่าวแล้ว ดังนัน้ เราจึงอยูใ่ นช่วงการเปลีย่ นผ่านสูม่ ติ ใิ หม่ของการท�ำข่าวทีม่ มี ติ ลิ มุ่ ลึกมากขึน้ หลังจากนั้นก็จบช่วงแรก เข้าสู่ช่วงที่ 2 ที่เป็นการแชร์กลเม็ดการใช้ประโยชน์ สูงสุดจาก Social Media เพือ่ งานข่าวจากผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน Social Media อย่าง อภิศลิ ป์ ตรุงกานนท์ จาก Pantip.com และเมธา เกรียงปริญญากิจ จาก Facebookgoo.com ซึ่งวิทยากรทั้งสองคนได้แชร์ว่า Social Media เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการท�ำข่าวมาก พร้อมทัง้ แนะน�ำเทคนิคในการสร้าง Twitter List ทีใ่ ช้ในการติดตามบทสนทนาของแหล่ง ข่าวออนไลน์ ตลอดจนเว็บไซต์ที่ใช้ติดตามดูเทรนด์ของข่าว เช่น Lab.in.th/thaitrend และ Zanroo.com นอกจากนี้ ทั้งสองคนกล่าวตรงกันอย่างหนึ่งว่า Social Media เป็น สือ่ ทีเ่ ราจะต้องสร้างความน่าติดตามให้กบั ผูร้ บั สาร อย่าง Facebook ใช้ในการ “คุยข่าว” ในเชิงพูดคุย ตั้งค�ำถาม แชร์ความรู้สึกส่วนตัว ในแบบ “เปิดโอกาสให้คนโต้ตอบ” กับสิ่ง

-120-


ที่เราคิดมากยิ่งขึ้น ตลอดจนแชร์เนื้อหาที่หาไม่ได้จากที่ไหน เช่น ภาพเบื้องหลังข่าวที่เรา ถ่ายได้เอง ส่วน Twitter จะเหมาะกับการใช้ “รายงานข่าว” และโต้ตอบได้ฉับไว เน้น การอัพเดตแบบ Realtime จากทีเ่ ฝ้าติดตามงานมาทัง้ หมด เราพบว่ามันถึงเวลาแล้วทีน่ กั ข่าวจะต้อง “เอา จริง” กับการใช้ Social Media ในการ “ท�ำข่าว” ไม่ใช่เพียงแค่ “น�ำเสนอข่าว” ในแบบ ท�ำข่าวอะไรมาก็นำ� มาส่งผ่านทาง Facebook และ Twitter แต่สงิ่ ทีน่ กั ข่าวจะต้องท�ำก็คอื คิดใหม่ท�ำใหม่ทั้งกระบวนการตั้งแต่ สืบตามดูเทรนด์ข่าวออนไลน์ หาแหล่งข่าวออนไลน์ อ้างอิงแหล่งข่าว สืบประวัติบุคคล และน�ำเสนอผ่านทาง Social Media ให้ถูกจริตผู้รับ สารในแต่ละช่องทาง เพือ่ ให้ขา่ วทีต่ วั เองน�ำเสนอนัน้ ถูกต้องน่าเชือ่ ถือ ฉับไว และเจาะลึก อันเป็นหัวใจของการน�ำเสนอข่าวสารข้อมูล

สื่อพลเมือง (citizen media) หมายถึง รูปแบบของเนือ้ หาในสือ่ ทีส่ ร้างโดยบุคคลหรือชุมชนทีเ่ รียกตนเองว่า นักข่าวประชาชน หรือ นักข่าวอิสระ ซึ่งอาจมีอาชีพเป็นนักข่าวจริงๆ หรือไม่ก็ได้ ใครคือเครือข่ายพลเมืองเน็ต? เครือข่ายพลเมืองเน็ต คือ การรวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายของกลุม่ พลเมือง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่มีความเชื่อร่วมกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การแสดงออก การปกป้องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เสรีภาพของสื่อ และการ สนับสนุนสื่อพลเมือง

-121-


จุดยืนของเครือข่าย เครือข่ายพลเมืองเน็ต รวมตัวเพื่อท�ำงานรณรงค์เชิงนโยบายในระดับประเทศ และร่วมมือกับพันธมิตรระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนและปกป้อง อิสรภาพในพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งหมายถึงการสนับสนุนและปกป้องสิทธิของพลเมืองเน็ต และเสรีภาพของสื่อออนไลน์ ในฐานะพื้นที่ที่ทุกคนอยู่ร่วมกัน บนพื้นฐานของหลัก 5 ประการดังนี้ สิทธิในการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น สาระบันเทิง ฯลฯ สิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นความรู้สึก สิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการตัดสินใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการก�ำกับดูแลอินเทอร์เน็ต สิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศอย่างไม่เลือกปฏิบัติ ทุกวันนีส้ อื่ กระแสหลักอาจท�ำให้เรือ่ งราว ทีเ่ กิดขึน้ ในท้องถิน่ ถูกบิดเบือน หรือ ไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก หากยังมี ‘นักข่าวพลเมือง’ ที่สามารถน�ำเสนอเหตุการณ์เหล่า นั้นได้ ด้วยมุมมองของ ‘เยาวชน’ คนในพื้นที่ ‘ใครๆ ก็เป็นนักข่าวได้’ ดูจะไม่ใช่ค�ำพูดเกินจริงส�ำหรับยุคนี้ ด้วยความที่ อุปกรณ์การสื่อสารทุกวันนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลายหน้าที่ และ สามารถพกพาติดตัวได้ตลอด บวกกับทิศทางของข่าวในกระแสหลัก มักจะเทไปด้านใด ด้านหนึง่ มากเกินไป ข่าวของคนธรรมดาหรือเรือ่ งเล่าจากชุมชน จึงไม่ถกู น�ำเสนอมากนัก ‘นักข่าวพลเมือง’ คือ ปรากฏการณ์ทปี่ ระชาชนจากหลายกลุม่ หันมาจับกล้อง สวมบทบาทเป็นนักข่าว บอกเล่าเรือ่ งราวในท้องถิน่ ของตน แนวคิดนีซ้ งึ่ ก�ำลังอยูใ่ นกระแส ความสนใจ โดยมีการขยายแนวคิดนี้ไปยังภูมิภาคต่างๆ ให้คนธรรมดาที่สนใจได้เปลี่ยน บทบาทเป็นนักข่าวพลเมือง ส�ำหรับภาคอีสาน สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เห็นความส�ำคัญของความเป็นนักข่าวพลเมือง จึงจับมือกับ โต๊ะข่าวพลเมือง สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย จัดอบรม ‘นักข่าวพลเมือง’ ในภาคอีสาน อาทิ

-122-


จ.มหาสารคาม อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอบรม ความรู้เชิงปฏิบัติการในกระบวนการผลิตสื่อให้แก่ชาวบ้าน เยาวชน และผู้ที่สนใจจะเป็น นักข่าวพลเมืองทุกคน ทัง้ นีใ้ นการจัดกิจกรรมทุกครัง้ จะมีนสิ ติ สาขาการสือ่ สารมวลชน รวมถึงเยาวชน จากหลายกลุม่ เข้าร่วมด้วย ทัง้ ในฐานะผูเ้ ข้าอบรมและวิทยากร ซึง่ นับเป็นการเคลือ่ นไหว ในแนวทางการศึกษานอกห้องเรียนของเยาวชนที่น่าสนใจ ‘ทูน’ ไพฑูรย์ ธุระพันธ์ นักศึกษาสาวที่ก�ำลังเรียนใน วิชาเอกวารสารศาสตร์ สาขาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคามแสดง ความเห็นว่า การรายงานข่าวแบบนักข่าวพลเมืองมีเสน่หใ์ นเรือ่ งมุมมอง การคิดประเด็นทีม่ ี ลักษณะเฉพาะตัว แฝงลีลาการเล่าเรื่องที่มีกลิ่นไอท้องถิ่น ท�ำให้รู้ว่าการเป็นพลเมืองนั้น ไม่ใช่แค่การบริโภคสื่ออย่างเดียว แต่พลเมืองมีสิทธิ์แสดงออกซึ่งความคิดเห็นผ่านสื่อได้ ซึง่ การมีโอกาสได้ผา่ นเวทีการอบรมทัง้ ในฐานะผูเ้ ข้าอบรมและในฐานะวิทยากร ทีถ่ า่ ยทอดประสบการณ์แก่ผอู้ นื่ ท�ำให้เธอเริม่ หันมาสนใจงานด้านสารคดีโทรทัศน์อกี ด้าน หนึ่ง เพราะสนุกกับการเขียนบท และลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชาวบ้าน ส่วนสาวเจ้าถิ่น ‘นุ่น’ เกศมณี ภูค�ำตา นิสิตชั้นปีที่ 4 วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์ สาขาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดใจว่า การเข้าร่วมอบรมท�ำให้เธอเข้าใจการท�ำงานของนักข่าวพลเมือง ซึง่ เป็นพืน้ ทีข่ องพลเมือง ที่มองปัญหาอย่างคนวงใน มีความลึกของประเด็น และแตกต่างจากที่สื่อกระแสหลักน�ำ เสนอ หากในขณะเดียวกันนักข่าวพลเมืองก็ต้องค�ำนึงถึงจริยธรรมของสื่อมวลชนในการ หน้าที่ไม่ต่างกับสื่อหลัก “การอบรมเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะน�ำไปต่อยอดในการ ท�ำงานด้านสื่อต่อไป และจะชักชวนรุ่นน้องให้เข้ามาร่วมท�ำงานลงพื้นที่ งานชิ้นต่อไปจะ เสนอเรื่องของหมู่บ้านที่ภูเวียงที่สร้างสังคมเกษตรจนน�ำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน” ในขณะที่ ‘เจต’ เจษฎา เกลียวกมลทัต นิสิตหนุ่ม วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์ สาขาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าถึง ประสบการณ์จากการเป็นนักข่าวพลเมืองว่า การท�ำงานในแบบนักข่าวพลเมืองท�ำให้รวู้ า่

-123-


การท�ำงานโดยไม่ต้องอาศัยทฤษฎีนั้น มีพลังในการเล่าเรื่องที่แฝงด้วยแง่คิดอย่างหลาก หลาย ซึ่งเกิดจากการประมวลความรู้โดยคนในท้องถิ่นเอง ท�ำให้เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ทั้งนี้เขายังได้ฝากถึงรุ่นน้องที่ก�ำลังศึกษาในสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ และทุกสาขาที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อ รวมถึงผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นนักข่าว พลเมืองว่า ควรคิดหาประเด็นให้เป็นก่อนสิ่งอื่นใด โดยเริ่มมองจากสิ่งที่มีในท้องถิ่นหรือ ชุมชนของตนเสียก่อน เพราะการมองหาประเด็นจากสิ่งใกล้ตัว หรือสิ่งที่เราคุ้นเคยจะ ท�ำให้เล่าเรื่องได้ถูกต้อง ชัดเจน และมีพลังความลึกของข้อมูล ภูมิพัฒน์ บุญเลี้ยง โปรดิวเซอร์นักข่าวพลเมือง ทีวีไทย กล่าวถึงกิจกรรมการ อบรมครัง้ นีว้ า่ เป็นการสอนเล่าเรือ่ งด้วยภาพ มุมมองในการเล่าเรือ่ ง และการตัดต่อภาพ ในเบือ้ งต้น โดยให้ผเู้ ข้าร่วมอบรมเห็นถึงประโยชน์จากการใช้พนื้ ทีส่ อื่ เพือ่ เล่าเรือ่ งในชุมชน โดยไม่จำ� กัดรูปแบบในการเล่าเรือ่ ง ไม่เน้นเทคนิค และกระบวนการตามกรอบการรายงาน ข่าวแบบมืออาชีพ แต่เน้นการน�ำเสนอประเด็นที่สามารถสื่อสารให้คนภายนอกเข้าใจ ตรงกันกับผู้เล่าเรื่อง และน�ำความรู้ที่ได้กลับไปผลิตงานสื่อด้วยตนเองเพื่อถ่ายทอดเรื่อง ราวในชุมชน ส�ำหรับนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมนั้น จะได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยน ความรู้ระหว่างกันกับบุคคลอื่น “น้องนิสิต นักศึกษา จะได้เห็นการเล่าเรื่องในแบบของชาวบ้าน ที่ไม่เน้น ทฤษฏี ในขณะเดียวกันชาวบ้านเองก็จะได้รับความรู้จากนิสิตด้านการเล่าเรื่องอย่างเป็น ขั้นตอน และด้านเทคนิคต่างๆ เพราะผู้เข้าร่วมอบรมนักข่าวพลเมืองส่วนใหญ่ยังไม่ค่อย รู้เรื่องกระบวนการผลิต ไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้ชัดเจนนัก อยากเสนอแนะให้ผู้ที่ สนใจจะเป็นนักข่าวพลเมืองกลับไปศึกษาผลงานของนักข่าวพลเมืองทีไ่ ด้ออกอากาศทาง ทีวีไทย เพื่อท�ำความเข้าใจเพิ่มเติม พร้อมทั้งเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย เพื่อ ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง” โปรดิวเซอร์นักข่าวพลเมืองกล่าว ด้าน ชาคริต สุดสายเนตร อาจารย์ประจ�ำสาขาการสื่อสารมวลชน คณะ วิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า การที่นิสิตได้มีโอกาสเข้าร่วม เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานนักข่าวพลเมืองถือเป็นบทเรียนหนึ่งที่ท�ำให้นิสิตได้เรียนรู้เรื่อง ราวหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนการสอนในวิชา การรายงานข่าวและวิชาการผลิตสือ่ วิทยุโทรทัศน์เพือ่ ชุมชนของสาขาการสือ่ สารมวลชน

-124-


“เนื้อหาในวิชาเรียนของสาขาการสื่อสารมวลชนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันกับการ เกิดขึ้นของนักข่าวพลเมือง นั่นคือ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์เนื้อหาในชุมชน เพื่อประโยชน์ ของชุมชน และงานทุกชิ้นที่ได้ออกอากาศนั้นจะช่วยนับเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความ รู้ใหม่ ร่วมกันทั่วประเทศ และสามารถสะท้อนปัญหาในท้องถิ่นให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ทราบ อีกด้วย” อาจารย์ชาคริต อธิบายถึงประโยชน์จากการท�ำงานเป็นนักข่าวพลเมืองของนิสติ ทั้งนี้อาจารย์ชาคริตคาดหวังไว้ว่า นิสิตที่ผ่านการเวทีการอบรมและได้กลาย เป็นนักข่าวพลเมืองนัน้ จะสามารถประยุกต์ใช้ความรูไ้ ด้ถกู ต้อง และถ่ายทอดกระบวนการ ท�ำงานในแบบนักข่าวพลเมืองสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งขณะนี้ทางสาขาการสื่อสารมวลชนได้เริ่ม จัดกิจกรรมอบรมนักข่าวพลเมืองจากพี่สู่น้องไปแล้ว 1 รุ่น และถ้านิสิตจะต่อยอด ประสบการณ์นี้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทางสาขาฯก็ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากประสบการณ์ทเี่ หล่ากลุม่ เยาวชน คนรุน่ ใหม่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในการ ฝึกอบรม ‘นักข่าวพลเมือง’ ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ของตนผ่านเวทีเล็กๆ ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากสาขาฯ เป็นการเริ่มต้นบทบาทของเยาวชนที่ก�ำลังก้าวสู่การท�ำหน้าที่ พลเมืองควบคู่กับการเป็นนักสื่อมวลชนที่ดี ประสบการณ์จากวันนี้ จะช่วยให้พวกเขาเติบโตและก้าวไปสูว่ ชิ าชีพสือ่ มวลชน ที่มีความรู้ความสามารถในการท�ำหน้าที่เพื่อสังคมได้อย่างสมบูรณ์ Social Media จะเปลี่ยนแปลงอะไร ในอนาคตเราจะไม่แยกอีกแล้วว่าอะไรเป็น มือถือ โทรทัศน์ นาฬิกา วิทยุ หนังสือพิมพ์ คอมพิวเตอร์ แฟกซ์ ปริ้นเตอร์ เพราะระบบการสื่อสารจ integrate เข้า กันหมดไม่ไช่แค่การเชื่อมต่อของ hardware แต่รวมถึงคอนเท้นด้วย การสื่อสารจะไม่ใช่ ทางเดียวอย่างที่เคยเป็น และอย่างทีจ่ ะควบคุมทิศทางจากศูนย์กลางได้ แต่จะมาจากคน ที่มีอิทธิพลในด้านต่างๆ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวท�ำให้เกิดกระแส Social media จะรวมไปถึงระบบการสื่อสารทั้งหมดที่ผู้คนจะติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงกันได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นสื่อเก่า ส�ำนักข่าว ช่องทีวีใดๆก็ตาม ก็จะถูกเชื่อม

-125-


โยงกับ social media และมีการตอบสนองกันของข่าวสารที่มาจากประชาชนและมา จากภาครัฐภาคเอกชน จนเสมือนใช้พื้นที่เดียวกัน ขณะนี้มีผู้ใช้งาน facebook twitter ที่เป็นนักข่าวเท่าที่ผมลิสดูแล้วไม่ต�่ำกว่า 300-400 คน คนแวดวงบันเทิงทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ 400-500 คน นักการเมือง เจ้า หน้าทีร่ ฐั ข้าราชการ ก็มอี กี จ�ำนวนมาก ท�ำให้สอื่ เดิมสามารถทีจ่ ะดูกระแสสังคม มอนิเตอ ได้ว่าเกิดเหตุการณ์ใดน่าสนใจ บุคคลไดบ้างที่เกี่ยวข้อง และหยิบไปน�ำเสนอเป็นเนื้อหา รายการไม่ว่าข่าว วาไรตี้ ทอคโชว์ ที่ตรงกับความต้องการอยากรู้อยากเห็นของผู้ชมได้ เช่นเกิดเรื่องความขัดแย้งระหว่างคนมีหน้ามีตากลุ่มนึง มีการถกเถียงกันถึง ข้อเท็จจริงใน social media สื่อหลักอย่าง tv ก็น�ำเสนอประเด็นรวมถึง เชิญผู้เกี่ยวข้อง ออกมาชี้แจงได้ ซึ่ง social media ไม่สามารถจะไปให้ไครมาชี้แจงได้ รัฐบาลเองก็รับรู้ รับทราบถึงความต้องการ ข้อเรียกร้องของประชาชนได้โดยตรงและรวดเร็ว จนถึงทันที ทันใด โดยไม่ต้องเสียเวลาไปออกแบสอบถาม ท�ำงานวิจัย social media และสื่อเก่าก็จะมีการตอบสนองกัน social media คือจุด พบปะกันของรัฐและประชาชน social media คือจุดพบปะกันของนักข่าวอาชีพและนัก ข่าวพลเมือง ไม่ว่าคุณจะเป็นใครคุณอาจจะเป็นข่าวได้ทุกเมื่อ จากทีก่ ล่าวมาข้างต้นคุณจะเห็นว่า social media เป็นเครือ่ งมือของประชาชน ในการเข้าถึงบริการของรัฐแะเอกชน ร้องขอ วิพากวิจารณ์ เสนอความคิด ส่วนสื่อหลัก ก็ตอบสนอง social media ท�ำให้ประชาชนคนหนึ่ง กลุ่มนึงมีอ�ำนาจต่อรองมากขึ้นโดย ใช้ สื่อ social media ในการสร้างความร่วมมือ กระแสโจมตี ก่อนหน้านี้คงไม่มีไครกล้า ไปด่า ว่าแปะชือ่ ตัวเองไว้บนถุงยังชีพ หรือคนทีม่ อี ธิ พิ ลคนนีท้ ำ� งานไม่ได้เรือ่ งให้ไครได้ยนิ

Twitter กับหนังสือพิมพ์ social network อย่าง twitter เหมือนใยประสาทที่เชื่อมโยงผู้คน เป็นพื้นที่ แสดงความคิดเห็นของคนในสังคม ต่อสิ่งต่างๆ เหตุการณ์ ประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้น ในสังคมได้ โดยเฉพาะทวีตเตอร์ที่มีคลื่นสะท้อนที่เร็วกว่าสื่ออื่น มันสามารถ

-126-


-127-


บอกได้วา่ วันจันทร์เปิดเรียนนี้ วุน่ วาย ผูค้ นรูส้ กึ เบือ่ หน่ายอย่างไร เกิดเหตุรา้ ยเหตุฉกุ เฉิน ที่ไหน ในพื้นที่ต่างๆเกิดอะไร ช่วงนี้คนก�ำลังสนุกและสนใจกับอะไร รายการตอนนี้ก�ำลัง เป็นที่สนใจ และพูดคุยไปร่วมด้วยกับการดูทีวี แบบนาทีต่อนาที มันมีการสะท้อนกลับ ของสื่อหลักที่น�ำเสนอเรื่องราวในประเด็นต่างๆออก มา จากนั้นสื่อใหม่อย่าง social media หรือ social network จะตอบรับ และเป็นเวที ระดมความเห็นจากภาคประชาชน เช่น ในสภาก�ำลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ เถียงกันว่าจะ เปิดคลิปเหตุการณ์การกระชับพื้นที่ได้หรือไม่ สื่อ internet อย่าง twitter ก็ท�ำหน้าที่วิ พากวิจารย์ร่วมไปด้วย อีกทั้งยังน�ำข้อมูลที่อภิปรายกันอยู่ ออกมาค้านกันแบบโจงครึ้ม (Twitter Parliament) กระแสของ iphone4 WWDC พูดคุย ริวิวจากผู้เชี่ยวชาญ ล้นทวิตเตอร์ ซึ่ง ปกติแล้วหากไม่มี social network เราก็จะเพียงติดตามข่าวอยู่หน้าจอเพียงคนเดียว หรือมีการรวมกลุ่มกันเพื่อด�ำเนินกิจกรรมบางอย่างไม่ว่าจะใน online หรืิอ offline จาก ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น มีกระแสต่อต้าน หรือความคิดเห็นดีๆ ข้อมูลดีๆ หลายอย่างที่ เกิดขึน้ จากสังคมออนไลน์แห่งนีม้ ากมาย ทีเ่ ราเห็นแล้วรูส้ กึ ว่ามันโปะเชะเลย และมีปรากฏ การน่าสนใจ แทบตลอดเวลา แต่มันไม่ถูกตอบสนอง Why ? เพราะมันไม่ใช่สงั คมทัง้ หมด (มีคนใช้งาน internet จ�ำนวนนึงเท่านัน้ ที่ จะเข้าถึง) และเพราะมันไม่ได้ออกไปสู่สังคมภายนอก สื่อใหม่อย่าง social media จึงยัง ต้องการการตอบสนองจากสือ่ กระแสหลัก หรือสือ่ ประเภท TV หนังสือพิมพ์ วิทยุ อยูอ่ ย่าง เช่น การท�ำหน้าทีร่ ายงานเหตุฉกุ เฉิน หรือขอความช่วยเหลือ แม้จะมีการ RT จ�ำนวนมาก ก็ใช่ว่าจะมีใครที่สามารถจะช่วยเหลือได้ หรือมีหน้าที่โดยตรง การรายงานสภาจราจรใน แต่ละจุดจากโดยเมนชัน่ ไปที่ @js100 แต่ผมก็ไม่รวู้ า่ ถูกน�ำไปใช้จริงจังขนาดไหนการทีผ่ สู้ อื่ ข่าว คนท�ำงานด้านสือ่ ทัง้ การเมือง บันเทิง นาๆ มาใช้งาน twitter ก็นบั ว่าเป้นประโยชน์ ที่จะสามารถน�ำมันไปขยายผลต่อได้ ว่านโยบายรัฐบาลแบบนี้ คนในสังคมเห็นอย่างไร ก็ สามารถจะเอาไปอ้างอิงได้คล้ายๆกับ POLL การใช้ twitter ร่วมกับรายการ TV ท�ำให้ พิธีกรสื่อสารกับผู้ชมได้โดยตรง ซึ่งอาจจะมี feedback กลับไปกลับมาได้ ปัญหาของ twitter ในไทยก็คือการประยุกต์ใช้ สิ่งที่เป็นอยู่คือการเข้ามาใช้ กระจุกรวมอยู่ในทวิตเตอร์แต่ไม่ได้น�ำไปใช้ภายนอก ซึ่งจ�ำเป็นที่ต้องมี application,

-128-


tool หรือเว็บไซต์นาๆ ที่ต้องน�ำข้อมูลเหล่านี้ออกไปภายนอก twitter อย่างเช่นเว็บไซต์ มีการ feed ข้อความที่มีเมนชั่นถึง , เว็บไซต์ trending หรือการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมา เพื่อจ�ำแนกข้อมูลในทวิต+แคมเปญการใช้งานร่วมด้วย อื่นๆที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อที่ จะเชื่อมโยง ประสานกับสื่อหลักได้ ซึ่งในใจผมก�ำลังนึกถึง Twitter Newspaper หรือลักษณะวารสารแจกฟรีที่ น�ำเสนอเรื่องราวการเคลื่อนไหวต่างใน twitter มีการรวมกลุ่มท�ำกิจกรรมของชาวทวิ ต, สินค้าแบรนด์นี้ก�ำลังมีโปรโมชั่นน่าสนใจ เโรงภาพยนต์นี้ชวนเชิญไปดูมีเทศกาลหนัง ชวนกลุม่ คนรักหนังไป , มีทวีตความเห็นส�ำคัญจาก ทวิตเตอร์นกั การเมือง หรือผูว้ า่ , ข่าว เหตุการณ์สำ� คัญทีเ่ กิดขึน้ และถูกรายงานในทวิตเตอร์, ภาพถ่ายเด็ดๆหรือแม้แต่ twitter traveler คนทีช่ อบกินชอบเทีย่ วแล้วทวีตเข้ามาอย่างเป็นกิจลักษณะ ,ชาวทวิตบางคนทีม่ ี บทบาทเด่น น่าสนใจในขณะนั้น, มีการรวมกลุ่มกัน, ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆเพื่อ บันทึกเรื่องราว และน�ำเสนอมันต่อคนนในสังคมออนไลน์โดยรวม และสังคมภายนอกที่ ไม่ได้รบั ข้อมูลข่าวสารจาก internetหรืออาจเป็นชนิดทีเ่ ป็นเว็บไซต์ขา่ ว twitter เช่นเป็น หน้าตาเว็บข่าว มีระบบเหมือนเว็บข่าวทั่วไป แต่ถูกอัพเดตจากชาวทวิตเตอร์เองที่ เป็น ทั้งนักข่าวอาชีพ นักข่าวพลเมือง รวมถึงนักเขียน นักเที่ยว นักกิน , ดารา celeb เขียน ข่าวบันเทิงเองอย่างที่ต้องการ ลงในหมวดต่างๆอย่างเป็นระบบรองรับ video ภาพถ่าย จาก social media อื่นๆ twitvid twitpic ใช้งานร่วมกับโปรแกรม client อื่นๆ ที่นิยม ใช้ได้ เราจะสามารถส่ง ภาพ ข้อมูล เขียนบทความลงเว็บนี้ จากมือถือ อีกทั้งจัดเก็บเผย แพร่ได้อย่างเป็นระบบ แทนที่จะโผล่มาแล้วจมหายไป ซึ่งระบบนี้อาจต้องมีการคัดเลือก คน หรือมีคอนเน็คชั่นที่ดีเพื่อรับข่าว จากชาวทวิตในวงกว้าง

Twitter กับโทรทัศน์ หลายสิบหลายร้อยคนแล้ว ในแวดวงนักแสดง นักร้อง เพื่อนดารา ผู้จัดการ คนท�ำรายการทีวี คนเบื้องหลังเองเข้ามาใช้งานกัน ณ ขณะนี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเข้ามา ใช้เงียบๆ ไม่ได้มีการโปรโมท จึงไม่เป็นที่รู้จัก หรือดาราที่เข้ามาใช้ ก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้

-129-


twitter อย่างไร สาเหตุที่ แวดวง TV มาใช้กันก็เพราะว่ามีกระแสต่อเนื่องของ twitter อีกรวม ทั้ง สื่อเป็นเครื่องมือส�ำคัญในอาชีพนี้ จึงเป็นที่กระตือรื้อร้นพอสมควรในการเข้ามาใช้ งาน Twitter ซึ่งผมสังเกตุจาก connection ของ twitter ดาราแล้ว มักเป็นกลุ่มของแต่ ล่ะค่ายด้วยเหมือนกัน หรือจากการชักชวนกันมาเล่นของเพื่อนสนิท ดาราบางท่านชอบ เล่น internet สนุกๆอยุ่แล้วอย่างคุณหนุ่มกรรชัย @noom_kanchai อยู่หน้าจอทีวี จะ รู้จักวางตัวดีมาก เป็นสมาทแมนคนนึง แต่อยู่หน้าจอคอมแล้วคุณหนุ่มกันเองแบบสุดๆ คนนี้เล่นเน็ตเก่งมาก ขาห้อง camfrog เลยในแวดวงทีวีที่เข้ามาใช้กัน ใหม่ๆ อาจสงสัย ว่าเห็นเค้ามาใช้กันโครมๆ เรามาท�ำไมไม่ค่อยมี follow เพราะเนื่องจากไม่เป็นที่รู้จัก นั่นเอง ดาราที่เค้ามาใช้มี follow นับพันหรือหมื่นนั้น มีการทวีตต่อเนื่องหรือมักจะเข้า ร่วมในกิจกรรมของชาวทวิตเตอร์เปิดตัว twitter ดารา ในระบบของทวิเตอร์นนั้ ไม่มรี ะบบทีจ่ ะให้เราโฆษณาไปได้กว้างๆ จะอาศัยการ บอกต่อหรือ RT กัน การขยายตัวของ follower จะต้องใช้ระยะเวลา แต่มีวิธีการนึงที่มัก จะถูกมองข้ามคือ หน้า Profile ที่ no name ชาวทวิตเตอร์รู้จักและประเมินบุคลิกภาพ กันเบื้องต้น ก็จาก Avatar และ bio ว่าคุณเป็นใครมาจากไหน ไม่งั้นจะไม่ไปล่วงรุ้เอาได้ 1. ใส่ Profile bio Avatar บอกว่าคุณเป็นใคร 2. Background Twitter ช่วยในเรื่องของ brand ได้ เมื่อมีการค้นหาหรือเข้า มาดูหน้า blog ของคุณ สิ่งที่จะท�ำให้คนจ�ำได้คือรูปคุณหรือโลโก้บริษัทิ อัลบั้ม ผลงาน ออกแบบให้โดเด่นไปเลยมันคือหน้าบ้านคุณ 3. Google กูเกิลนั้นสามารถใช้ค้นหาทวิตเตอร์ได้แล้ว และคนส่วนใหญ่ก้จะ ใช้ google เสิชหาเสียด้วย ฉนั้นใส่ full name เป็นภาษาไทย หรือค�ำที่คนเรียก เป็นที่ รู้จักครับ วิธีนี้รับรองว่าจะมีคน มาตาม follow ทุกวัน ยิ่งกระแส twitter แรง ก็ยิ่งเยอะ 4. เข้าร่วมในกิจกรรม หรือเข้าเยี่ยมเว็บไซต์เกี่ยวกับทวิตเตอร์ อย่าง thaifollow.com สารบัญชาวทวิตเตอร์ไทย ก็ไปลงทะเบียนกัน 5. ปกติแล้วคนใช้ทวิตเตอร์ก้จะ รับข้อมูลข่าวสารจากเครือข่าย จากกลุ่มของ ตัวเอง เล็กบ้างใหญ่บา้ ง แต่ใคร ดาราคนไหน ceo ทีไ่ หนมาสมัครไม่มที างเลยจะไปทราบ นอกจากจะมีไคร RT หรือแนะน�ำ ก็จากในกลุ่มของศิลปินดาราเอง

-130-


Twitter กับดาราเป็นอะไรที่เหมาะเหม็ง ดารากับสือ่ มันของคูก่ นั เป็นดาราก้ตอ้ งอยูห่ น้าจอ แม้สอื่ จะน�ำเสนอข่าวทีไ่ ม่ดี แต่หลายครั้งกลับให้ผลทางบวกกับงานของเขา แต่มีที่แรงจนชีวิตศิลปินต้องพังทลายลง ไปเลยก็มี สื่อใหม่อย่าง Social media ก็พอจะเป็นที่พึ่งพาได้ เพราะคุณจะเป็นนักข่าว บันเทิง เขียนข่าวตัวเอง อย่างทวิตเตอร์ดีอย่างไร 1. สร้าง loyalty สร้างความส�ำพันธ์ ที่ยืนยาวกับผู้ที่ชื่นชอบ ติดตามผลงาน เป็นช่องทางสื่อสารกับแฟนๆได้โดยตรง 2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี กับแฟนคลับ คุณสมามารถแชร์เรื่องราวตั้งแต่หัว จรดเท้า เช้าจรดเย็นให้กับแฟนคลับที่หลงรักคุณปานจะกลืนกิน พูดคุย ทักทาย happy birthday ผ่าน twitter นัดหมายพบปะ ชวนไปท�ำกิจกรรมร่วมกันได้ 3.ส�ำรวจกระแส ความนิยม Follower เป็นเครื่องมือวัดได้ตัวนึง และความ คิดเห็นที่ส่งมาหาคุณ หรือแม้กระทั่งประเด็นต่างๆที่เป็นข่าว และมีการพูดคุยถกเถียง กันใน Twitter 4.เป็น backup ถ้าเป็นนักการเมืองอาจเรียกว่า ฐานเสียง เสียงสนับสนุนเลยที เดียว celebrity ใครอย่าเผลอไปด่าดาราหรือคน follower เยอะๆเชียวน่ะ อิอ่ะ 5. มันเป็นเครือ่ งมือสือ่ สารของคุณเอง ทีใ่ ช้ได้ทกุ ทีผ่ า่ นมือถือหรือคอมพิวเตอร์ คุณสามารถสร้างกลุ่มผู้ติดตาม หรือสนับสุนผลงานของคุณได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาสื่ออื่น หรือบุคคลอื่นนัก 6. twitter มันเป็นระบบการติดตามอยูแ่ ล้วเหมาะเหม็งในเรือ่ งของ personal brand เป็นแบรด์ของตัวบุคคล ตื่นเช้า แต่งตัวไปเที่ยวไหน ถ่ายละคร ถ่ายรายการใด สามารถทีจ่ ะโปรโมทไปด้วย อย่ามองข้ามเชียวพลังการชักชวนปากต่อปากของทวิตเตอร์ นี่ ผมเองไปกดทีวดี ทู กุ ทีทมี่ ไี ครทวิตว่าช่องไหนมีอะไร ส�ำภาษไครอยูจ่ ากการชักชวนของ เพื่อนเรา บทบาทของดาราใน Twitter เป็นสีสันอย่างมาก ยกตัวอย่างกลุ่มศิลปิน kamikaze มายกครัวทวีตเก่ง แต่ง

-131-


ตัวอะไร เล่นคอนเสริต ไปเที่ยว ถ่ายรายการเพลง ทวีตให้ตามดูและรับ feedback กัน สดๆ และกลุ่มนี้มีแฟนคลับเยอะมากผู้ติดตามนับหมื่นคน แล้วเกิดอะไร พอคนได้เห้น เบื้องหลัง หรือได้ปฎิสัมพันธ์กับนักแสดง นักร้องแล้วเค้าก็จะเกิดความรู้สึกดีๆ แล้วเค้า ก้จะตามดูรายการที่คุณไปถ่ายด้วย และอีกหลายคนอย่าง โจอี้บอย คุณโดมปกรณ์ลัม หลายคน เป็นที่น่าติดตาม เป็นคนสร้าง content บันเทิงในทวิตเตอร์ซึ่งเข้าท่ากว่าไป follow ทวิตเตอร์ ข่าวส�ำนัก บันเทิงอื่นอีก ซึ่งดารานักแสดงเองมักจะไปร่วมงาน event ต่างๆ ก็จะได้ข่าวได้ภาพ มา กันด้วย การใช้ทวิตเตอร์นั้นไม่หยุดเพียงการทวีต หรือให้มี follow มาก แต่ต้องมี power คือสามารถชักน�ำหรือมีอิทธิพลต่อ follower ด้วย ดารานักแสดงในชุมชนทวิตก็ ไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม ต่างๆของชาวทวิตเตอร์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะ ทวิตเตอร์นี่ไม่ไช่เด็กส่วนไหญ่ที่มาเล่น จะเป้นวัยท�ำงานซะเป็นหลัก และคุณอาจไม่คาด คิดว่าเขาเป็นใครกัน หลา่ยคนเป็นสื่อเป้นนักข่าว มันช่วยในการประสานงาน ประสาน ความส�ำพันธ์กับคนในแวดวงเดียวกันได้ ใช้ Twitter กับรายการ TV อย่างไร เป็นอะไรที่ work ทีเ่ ดียวหากจะพัฒนาในทางเทคนิคให้เชือ่ มต่อกันได้ ปกติแล้ว ทีวีก็จะสื่อทางเดียว หลังๆมามี internet ก็ใช้ e-mail ในการตอบกลับ ติชมรายการ พอ ถึงปัณจุบันนี้มี Twitter แล้วความคิด ความเห็นตอบกลับเข้ามาแสกหน้ากันเลย Twittter จะช่วยให้รายการ TV มันโต้ตอบกับผู้ชมได้มากขึ้น เช่น 1.สามารถชวนเชิญ คนให้ไปติดตามรับชมรายการได้ Drive traffic ผูช้ มรายการ อย่างกับ seo เลย 5+ 2.สามารถทีจ่ ะน�ำค�ำถาม ความเห็นจากผูช้ มทางบ้าน เข้าไปในรายการได้ทนั ที แม้จะไม่ใช่รายการสด หรือเป็นรายการสดก็ใช้แทน SMS ได้ 3.สามารถทีจ่ ะเช็คว่าผูช้ มมีความคิดความเห็นอย่างไร ต่อสิง่ ทีร่ ายการน�ำเสนอ อยู่ ณ ขณะนั้น พูดง่ายๆว่าคุณได้ยินเสียงคนดูที่อยู่ทางบ้าน

-132-


พอพักเบรก ยกมือถือดูว่าคนที่ดูอยู่ทางบ้านรุ้สึกอย่างไร ว่าอะไรพิธีกรบ้างรึ ป่าว มี​ีประเด็นอะไรน่าเอาไปถามแขกรับเชิญ ในมุมของผู้ชมเองปกติแล้วเราจะดูทีวีอยู่คนเดียว เหงาๆ แต่ twitter มันก็ มีอะไรประหลาดๆเสมอ คือมันช่วยให้คนดู อยู่ทางบ้านพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับสิ่งที่รายการเสนออยู่ได้เลยอย่างเช่น งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple ถ้าเราเข้า ชมเว็บไซต์หรือดูทางไหนก็ตาม เราก็ดูอยู่หน้าจอคนเดียว แต่พอมี social media มัน เปิดโลกการสื่อสารอีกมิตินึงเลย คือเราได้รับรู้ ดูภาพ พูดคุยกับคนในงานนั้น ผ่านมือถือ แบบ real time เห็นกระแส ความคิดเห็นทุกมุมโลก็และค�ำจารณ์จากกูรูไอที นักการ ตลาด ผู้ใช้งานได้โดยตรงเทียบได้กับหน้าจอนึงเป็นหน้าจอทีวีรายการ อีกหน้าจอนึงคือ หน้าจอ community ของคนดู 2 หน้าจอนี้มาประกบกันบางรายการก็จะเอา หน้าจอ twitter wall ไปขึ้นด้วย วิธีการเข้ามาใช้งาน Twitter ของรายการทีวีในเรื่องของ brand นั้นจะมีคน เข้าไปตามอยู่แล้ว แต่เพียงแค่ follower มากแล้วสรุปว่ารายการเร็ตติ้งดี นั้นยังไม่พอ twitter ยังท�ำอะไรได้มากกว่านั้น มันช่วยสร้างความสนิทสนมและความประทับใจแก่ผู้ ชมได้ คุณควรมีาคนที่ใช้งานทวิตเตอร์ไว้ ไม่เพียงแต่ feed ข่าวเท่านั้น อาจแยกเป็น 2 ไอดีหรือ group ทวิตเตอร์รายการ พิธีกร ทีมงาน ใช้ส่วนตัวด้วยเลยส�ำหรับทวิตเตอร์ ที่เป็นคน เพราะมันเป็นมิติการสื่อสารของคน การใช้คนจะช่วยได้ เช่นเราพูดคุยกับชาว ทวิตเตอร์เสมอเหมือนดาราคนนึงคุยกับแฟนคลับ แล้วตัวพิธกี รก็เป็นแบรนด์ของรายการ ไปด้วย เช่นวันนี้ถ่ายรายการ เบื้องหลัง ทีมงาน ดารานักแสดง แขกรับเชิญเป็นไง คนที่ ติดตามเมื่อได้ปฎิสัมพันธ์แล้ว เค้าก็อยากที่จะชมรายการที่ออกมาหน้าจอ และรักในตัว พิธกี ร หรือศิลปินด้วยหรือรายการเนือ้ หาเกีย่ วกับอะไรก็ทวีต หรือพูดคุยในกลุม่ นัน้ ๆเช่น การเมือง วิจารณ์รัฐบาล ก็พูดคุยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมือง คนได้อ่าน ได้โต้เถียง ก็จะ เข้าไปติดตามรับชมด้วยว่า วันนี้จะแสดงความเห็นว่าอย่างไร บางท่านอย่างสุทธิชัยหยุ่น ถึงกับคิดท�ำรายการที่ถ่ายทอด หรือเป็นพื้นที่ข่าว สัมภาษณ์แขกรับเชิญกันในทวิตเตอร์เลยทีเดียว แต่รปู แบบนัน้ ก้ยงั ไม่ลงตัว ในเชิงเทคนิค วิธีการแล้ว รายการ Tv อย่าง internet Tv จึงสามารถจะเชื่อมต่อระบบอะไรได้โดยง่าย

-133-


หากเราจะคิดท�ำนองว่าจะน�ำคนดูทางบ้าน เข้ามานั่งในสตูดิโอ ในห้องถ่ายท�ำเลย ส่วน Tv ปกติอาจจะใช้รับค�ำติชมได้ แต่สามารถพูดคุยกับพิธีกรได้โดยตรง จึงควรจะมีแท๊ก เพื่อที่จะสามารถใช้เป้นพื้นที่ได้เข้าไปดูได้ เพราะทวิตเตอร์นั้นเราไม่ได้เห็นว่าใครทวีตอะ ไรไปหมด แท๊กก็จะช่วยได้เช่น #ch3 ทัง้ นีห้ ากต้องการให้ผชู้ มมีสว่ นร่วมมากๆ ต้องมีการ รณรงค์เชิญชวนร่วมไปด้วย ท้ายนี้ไม่ว่ารายการ TV จะเข้ามาใช้หรือไม่ คนชมทางบ้านก็ เปิดพื้นที่ใช้กันอยู่แล้ว มาดูว่าเค้าพูดถึงคุณว่าอย่างไร Twitter TV อาจเป็นมิติของคนดู ไม่ไช่ของรายการก็ได้ แต่เป็นรายการที่ให้ คนทีวีดู สังคมส่วนใหญ่มักจะมอง internet computer ในแง่ที่ไม่ดีนัก เพราะการใช้ งานส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นด้านบันเทิง multimedia เพลง หนัง เกมส์ ธุรกิจท�ำ เงินมากมาย อีกทั้งสื่อยังเผยแพร่เรื่องราวของ Internet ในด้านไม่ดีนักเช่นเด็กติดเกมส์ โดนล่อลวง ทั้งที่ยังมีข้อดี และสาระประโยชน์อีกมากมายมีธุรกิจการค้า มีแหล่งข้อมูล ดีๆ มีช่องทางสื่อสารราคาประหยัดอื่นๆที่เราไช้ได้อีกมาก ซึ่งต่างจากการใช้งานใน ต่างประเทศที่มีทั้ง สาระความรู้+นวัตกรรม+ครีเทอีพ+ท�ำเงิน+สนุก รสนิยมในการเสพ ที่สูง แต่สื่อหลักก็ยังคงมอง สื่อ Internet ไม่ดี เหตุที่ว่ามันคือคู่แข่งส�ำคัญ ที่ผู้บริโภคจะ หันไปเสพได้งา่ ยสะดวก ค่าใช้จา่ ยน้อยหรือแม้แต่ผบู้ ริโภคจะเป็นสือ่ เองก็ยงั ไม่ยาก ธุรกิจ ขนาดย่อม หรือใหญ่กเ็ ข้าไปใช้digital media ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์นมี่ ากขึน้ มัน ถูกกว่า และประเมินผลได้ ส�ำนักข่าวหนังสือพิมพ์ต่างประเทศบางแห่ง ถึงกับปลดพนักงานจ�ำนวนมาก เพราะ อุปกรณ์สื่อสารที่มีการใช้จ�ำนวนมาก ท�ำให้ผู้บริโภครับข่าวได้ง่ายๆจากมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ข้างตัว ยอดหนังสือพิมพ์ ทีป่ กติตอ้ งแข่งขันกับส�ำหนักอืน่ อยูแ่ ล้ว ดิง่ เหวแน่นอน แม้ สือ่ internet จะเป็นสือ่ ทีท่ นั สมัย แต่สอื่ หลักก็ตระหนักถึงมานานแล้วเพียงแต่ปรับตัว จากที่ เดิมอาจต่อต้าน ก็เข้ามาใช้สื่อ Internet ซะเลยซึ่งเป็นเรื่องที่ดีทางเลือกที่ดีของผู้บริโภค ส�ำหรับรัฐบาลเองก็ใช่ว่าจะชอบ internet เพราะมันคุมไม่ได้ หากจะมีการ แสดงความเห็นวิพากวิจารณ์รัฐบาลและการเผยแพร่ไปของข้อมูล และข่าวลือมากมาย

-134-


และส�ำหรับรัฐบาลทีเ่ ผด็จการ สือ่ Internetอาจถูกมองว่าเป้นทีซ่ อ่ งสุมทางการเมืองด้วยซ้ ำไป สือ่ interenet แท้ทจี่ ริงมันคือสือ่ ของประชาชน เป็นกระบอกเสียง เป็นสภาประชาชน หรืออาจเป็นศาลเตี้ยได้ในบางครั้ง และมันท�ำให้ประชาชนนั้นเข็มแข็งขึ้น มีพลังมากขึ้น การที่ internet ไทยยังล้าหลังกว่าเพื่อนบ้าน นั้นอาจมาจากสาเหตุนี้ ที่รัฐบาลไม่อยาก ให้อินเตอร์เน็ตเร็วไป ส่งได้มากไปเพราะกลัวประชาชนจะฉลาดเร็วตามไปด้วย ก็เป็นได้

Twitter กับการพยากรณ์เหตุการณ์ ข้อความใน twitter facebook นั้นถูกอัพเดตเหตุการณ์ในทุกๆวินาที จากทุก พื้นที่ ข่าวจะเกิดขึ้นใน social media ก่อนจะถูกน�ำเสนอในทีวี ทุกๆเรื่องกระแสสังคม เหตุการในท้องที่ คนเดินทาง กิจกรรมรวมตัว ดินฟ้าอากาศเหล่านี้ ไม่วา่ เราจะอยูห่ า่ งไกล สักเพียงใดเราก็สามารถรับรู้ได้อย่างทันท่วงที social media ที่มีความรวดเร็วสุงอย่าง twitter จึงคล้ายกับ time machine ทีท่ ำ� ให้เรารูเ้ หตุการณ์ล์ ว่ งหน้า อย่างเช่นมีไข้หวัดระบาดในกรุงเทพ เราอยูต่ า่ งจังหวัดเรา รู้เหตุการณ์ต้ังแต่เนิ่นๆ และเราสามารถมองเห็นถึงผลกระทบที่สืบเนื่องก่อนคนในพื้นที่ เดียวกับเราที่ไม่ได้ใช้ social media เราเห็นกระแสสังคมที่จะน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ตั้งแต่มันตั้งเค้าก่อนมันจะส่งผลมาถึงเราในพืนที่ๆ เราอยู่ ใน social network มีการแชร์ location เป็นไปได้ถ้าเราน�ำเส้นทางของ แต่ละคนมาวาดแผนทีด่ วู า่ คนเหล่านัน้ จะไปกระจุกตัวทีไ่ หน สามารถก�ำหนดจุดเฝ้าระวัง อาชญากรรมและอุบตั เิ หตุได้ เช่นถ้าคนกรุงเทพส่วนใหญ่แชร์โลเคชัน่ เราก้สามารถค�ำนวน (predictive)ได้วา่ อีกกีช่ วั่ โมงข้างหน้ารถจะติดทีไ่ หน และทีน่ นั่ คนเยอะรถเยอะก็อาจเกิด เหตุร้ายได้ถี่กว่า ต�ำรวจก็ไปโฟกัสที่นั่น เราอยู่จังหวัดนึงแต่เพื่อจังหวัดไกล้ทวีตว่าฝนตก เราก็สามารถรุ้ก่อนชาวบ้าน แล้วว่าฝนก�ำลังจะมาในอีกไม่ถงึ ชัว่ โมง เราสามารถเห็นเหตุการณ์ตา่ งๆทีเ่ ริม่ ตัง้ เค้าก่อตัว และกระทบกันเป็นโดมิโน จนเกิดเหตุการบานปลายใหญ่หลวงได้ดว้ ยอัลกอริทมึ่ ต่างๆของ

-135-


-136-


โปรแกรมทีจ่ ะค�ำนวนพยากรณ์แนวโน้มของเหุการณ์การทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต และนีอ่ าจ เป็นอนาคตของ google search ,twiter search twitter forecast ที่จะท�ำให้คนค้นหา แนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอาคตได้นอกเหนือจาก real time search ปัจจุบัน หากเทียบกับยุคก่อนๆที่เราไม่มีเครื่องมือสื่อสาร หากมีภัยพิบัติมาทีไม่ว่า โรคระบาด ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ท�ำให้เราปรับตัวไม่ทัน ไข้หวัด ระบาดจังหวัดนึงกว่าจะแพร่มาถึงก็หลายอาทิตย์หลายเดือนแต่เราก็รบั รูช้ า้ ไป ตอนนีเ้ รา มีอินเตอร์เน็ตที่วิ่งด้​้วยความเร็วแสงท�ำให้ทุกที่เป็นที่เดียวกัน internet ท�ำให้ไม่มีภาค เหนือ ใต้ อีสาน ทุกคนจะเหมือนอยู่ภาคกลาง ยุคที่ ดารา เซเล็ป นักการเมือง เขียนข่าวเอง ” อยากเป็นข่าว อยากแก้ข่าว อยากสร้างข่าว อยากโจมตี “ก็ tweet ออกไป ก็เป็นข่าวแล้ว ไม่ตอ้ งโชว์เต้าตามงานประกาศรางวัล รอให้นกั ข่าวมาตามแอบถ่าย เพราะ ถ่ายได้เอง เขียนได้ เอามือถือส่องไปในร่องอกหรือระหว่างขาก็เป็นเรื่อง ดาราหน้าเก่า ดาราที่กระแสตกไม่มีนักข่าวมาสนใจ ก็ยังสามารถเป็นข่าวได้ใน social media อยากโจมตีรฐั บาล อยากอภิปราย ไม่ตอ้ งรอสภาเปิด ก็ทำ� ได้แค่เขียนลง twitter facebook ซึ่งเป็นสภาประชาชน ฟ้องประชาชนเลย

Twitter กับการรายงานข่าวในพื้นที่ การรายงานข่าวในพื้นที่ด้วยSocial Media นั้นไม่เพียงแต่เป็นการ พ่นข้อมูลเท่านั้น แต่ต้องตอบความกระหายของมูลข่าวสารของผู้ใช้งาน Social Media ด้วย ด้วยอุปนิสัยของนักข่าวที่มักจะคอยป้อนข้อมูล ข่าวสารให้คนบริโภคว่าควรจะทาน อะไร มีวติ ามินอะไรในข่าวบ้าง ก็ทวีตหรือโพสในสิง่ ทีต่ อ้ งการให้คนรู้ แต่ในหลายสถาณะ การณที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนั้น ผู้คนต่างใช้ Social media ไม่ว่า Facebook twitter ใน การค้นหา แลกเปลี่ยน ความเห็นต่อเรื่องราวและข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น เพื่อสังเคราะห์ ข้อเท็จจริงต่างๆอย่างทันสถาณะการณ์ Social media จึงเหมือนกับสมองขนาดใหญ่ของสังคมที่ช่วยประมวลข้อมู

-137-


ข่าวสารที่เกิดขึ้น แม้ว่จะมีข่าวลืออย่างแพร่หลายแต่ข่าวลือนั้นก็จะถูกท�ำลายไป เพราะ คนในสังคมหลากหลายอาชีพ หลายแวดวง สามารถจะแสดงความเห็นโต้แย้งได้ สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว TV หนังสือพิมพ์ ไม่ อาจสื่อสารข้อมูลที่คนอยากรู้ได้ทันท่วงที โฆษณาบ้าง ละครบ้าง ราการบ้าง คนตามข่าว ต้องรอแต่ละช่วงและอาจไม่ไช่ข้อมูลที่ต้องการ ในเหตุการณ์น�้ำท่วมกรุงเทพปี 2554 นี้ คนใจจดดใจจ่อ ซึ่งสิ่งที่แต่ละพื้นที่ควรจะได้ข่าวสาร 80% มาจากพื้นที่ของตัวเอง 20% จากส่วนกลาง แต่ไม่มีช่องทางไหนจะตอบโจทย์ได้ดีทั้ง ข้อมูลที่ต้องการ และความเร็ว อย่าง social media การรายงานข่าวในพื้นที่ด้วย Social Media จึงต้องดูกระแสว่าคนต้องการรู้ อะไร หรืออะไรที่เป็นประเด็นถกเถียงว่าจริงไม่จริง นักข่าวในพื้นที่สามารถตอบได้ น�ำ ภาพและคนมายืนยันได้ก็ไปเจาะตรงนั้น เพื่อตอบความต้องการได้ทันทีทันใด อย่าลืมว่า คนไม่ได้รับข่าวเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่เพื่อรับมือได้อย่างทันท่วงที เป็นการน�ำเสนอ ข่าวแบบมีปฎิสัมพันธ์กับผู้รับสารและเอาความต้องการของผู้รับสารเป็นหลัก และในทางกับกันนักข่าวอยากจะใช้ social media ในการ monitor สถานะ การณ์กส็ ามารถท�ำได้ดว้ ยการ search twitter ซึง่ เจาะจงพืน้ ที่ เวลา ดูภาพ วิดโี อในบริเวณ พื้นที่นั้นแบบ realtime ได้ แต่ว่าการไปนั่งอ่าน timeline นั้นเป็นเรื่องยาก หากจะใช้ เป็นจริงเป็นจังแล้ว ต้องมีการพัฒนาโปรแกรมมาประมวลข้อมูล สามารถจับเหตุการณ์ พฤติกรรม กระแส ประมวลภาพและวิดีโอที่โพสเข้ามาทั้งหมดในเหตุการณ์ได้เช่น มีคน รวมตัวกันเพื่อจะไปงานมหกรรมนี้ คนที่ไปก็มักจะชักชวนกันไปทวีตภาพ วิดีโองานงาน เราก็สามารถ search ดูได้ ตอนนีไ้ ด้ยนิ ข่าวลือหนาหูวา่ บริเวณนีน้ ำ�้ ท่วม ก็สามารถ search พื้นที่ดูได้ว่าคนบริเวณนั้นว่าอย่างไร และสอบถามคนที่อยู่จุดนั้นได้อีกด้วย อย่ามองข้าม Youtube Social Network google นัน้ แทบจะเข้าถึงข้อมุลทุกอย่างในโลกไม่วา่ สาธารณะ องกร หรือข้อมูล ส่วนตัว google ก็มผี ลิตภัณฑ์รองรับหมด ไม่วา่ พืน้ ฐานจนถึงแอดวานซ์ แล้วก็สามารถใช้ งานกันได้ฟรีมคี นนิยมใช้ทวั่ โลก เหมือนตูโ้ ทรศัพท์ทเี่ ป็นสาธารรูปโภคพืน้ ฐานอะไรเช่นนัน้ แต่ google นั้นไม่ได้เพียงแต่จะเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลทั่วโลก แนวคิดของ google นั้นยัง

-138-


มองไปถึงsocial media ที่ google พยามจะ build อยู่เสมอมา ไม่ว่า google wave ที่เสมือนกับเป็น office ออนไลน์ที่คนในที่ต่างๆนั้นจะร่วม brain storm กันได้แบบ realtime ความจริง google wave นั้นเจ๋งมาก แต่ใช้งานยากและเทคโนโลยีสูงไป มีรูป แบบที่แม้จะตรงความต้องการแต่ไม่ค่อยสอดรับกับพฤติกรรมการใช้งาน จนถึง google pluse นั้นก็เป็นความพยามอีกครั้งในการสร้างชุมชนออนไลน์ social network เพื่อต่อสู้กับ facebook ที่มีคนใช้งานกว่า 500 ล้านคน แต่ดูเหมือน จะเป็นเพียงการโชว์แสงยานุภาพเท่านั้น google + ไม่ได้เป็น social network ที่มีรูป แบบแปลกใหม่แต่ก็อปปี้มาทั้งดุ้น จ�ำนวนคนเข้าใช้งานมหาศาลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ กี่สัปดาห์นั้นมาจากช่องทางและจ�ำนวนคนใช้งาน google ที่มีมากอยู่แล้ว ความเป็น social network นัน้ ไม่ไช่เพียงแต่มหี น้าตาการใช้งานสะดวกสวยงาม แต่ต้องสามารถจะเป็นเครื่องมือของมวลชน สื่อมวลชนได้ สามารถสร้างกระแส ระดม ความเห็น รายงานข่าวทีฉ่ บั ไว เป็นระบบกลไกทางสังคม แต่ google + ยังไม่ได้พดู ถึงส่วน นี้เลย ซึ่งเป็นสาระส�ำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ ถ้า google ต้องการเอาชนะ facebook นั้นต้องรบด้วยสมองไม่ไช่ก�ำลังอย่างเดียว คือต้องสร้าง social network ในรุปแบบที่ แตกต่างและดีกว่า การท�ำเหมือนเช่นนีก้ เ็ ป็นการอาศัยทุม่ ก�ำลังลงไปอย่างเปล่าประโยชน์ คาดว่าไม่นานจ�ำนวนคนใช้งานก็จะลดลงเรื่อยๆ Social Network ระดับโลก Youtube Google ไม่ควรมองข้าม social network ที่มีอยู่อย่าง youtube ยูทูบเป็น สือสังคมอออนไลน์รูปแบบนึง ที่มีกิจกรรมากมายไม่ว่า viral video, auditon นักร้อง นักดนตรี ,ใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด ใช้เป็นช่องทีวี เป็น live concert เป็นที่เผย แพร่ผลงาน ตัดต่อ ถ่ายท�ำภาพยนต์ ดนตรี ท�ำรายการทีวีออนไลน์ อื่นๆมากมาย หลาย คนนั้นเกิดเป็นดารานักร้องจาก youtube นี่เอง ซึ่งก็มีคนใช้งานจ�ำนวนมากทั่วโลก ใน เหตุการณ์ประติวัติประชาชนในโลกอาหรับ มีคนโพสวิดีโอภาพการจราจล การชุมชนุม ประท้วง จ�ำนวนมากในยูทูบ รูปแบบ ของสารทีโ่ ต้ตอบและเผยแพร่ใน social network นั้นมีทงั้ text, pic-

-139-


ture,voice และ video ซึ่งมีรูปแบบครบถ้วนทั้งภาพและเสียง ใน twitter ก็มี twitvid. com ที่ช่วยโพสเรื่องราว ไปใน twitter ได้ทันเหตุการณ์ ซึ่ง youtube นั้นดีกว่ามากใน แง่ทั้งผู้ชม ผู้ใช้ แต่ยังให้ความส�ำคัญกับ trend เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้นน้อย เกินไป ทั้งที่ search ของ youtube เองก็แสนฉลาด น่าจะน�ำเสนอเหตุการณ์ต่างให้เป็น ที่ประจักษ์ต่อสายตาคนว่า เกิดอะไรขึ้นที่ไดบ้างอย่างทันสถานะการณ์ แบบสดๆ ด้วยการใช้งาน จ�ำนวนคนใช้งาน youtube นั้นสามารถท�ำให้เกิดการแพร่ไป อย่างรวดเร็วและ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ ได้ไม่ยาก และหากท�ำได้เช่นนัน้ youtube ก็จะจะเป็นอีก social network นึงทีจ่ ะมาสร้างปรากฏการณ์ไม่แพ้ twitter ,facebook เลย เราอาจได้เห็นวิดีโอที่มีนักข่าวจ�ำเป็น ยืนบรรยายอยู่น่ากล้องทุกช่วงเวลา และในนา ทีส�ำคัญๆอีกมากมายในเหตุการณ์ทั่วโลก เช่นเดียวกับข่าวด่วนทางทีวี Facebook ,Twitter ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มคนหลากหลายในสังคมไทย social media อย่างfacebook twitterนัน้ ท�ำให้คนกลุม่ ต่างๆในสังคมได้มพี นื้ ที่ของตัวเองบนสื่อ ไม่ว่าจะกลุ่มชาติพันธ์ อย่างม้ง กลุ่มต่างศาสนิกอย่างมุสลิม กลุ่มชาว บ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน กลุ่มการเมือง ก่อนทีเ่ รือ่ งราวปัญหาของคนกลุม่ ต่างๆนัน้ ไม่เคยมีถกู มองเห็นหรือรับรูเ้ รือ่ งราว ข้อเท็จจริงของพวกเค้าจากสื่อ TV หนังสือพิมพ์มาก่อน เรารู้ว่าเกิดปัญหาภาคใต้ เรารับ รู้ว่ามีการประท้วง แต่ส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้มองเข้าไปเห็นปัญหา เพราะสื่อไทยเรานั้นไม่ได้ ให้พนื้ ทีก่ บั ประชาชนอย่างแท้จริง มีแต่วา่ อยากจะให้คนรับรูอ้ ะไรแค่ไหน อยากให้คนคิด ไปในทิศทางเดียวกันหมด เป็นไทยในฟอร์มเดียวกัน เราจะได้ยินเสียงชาวบ้าน ปัญหาใน ชนบทบนทีวีเท่าไหร่กันเชียวมันมีแต่ปัญหาเน่าๆในกรุงงเทพ อีกอย่างนึงใครกันจะพูดเรื่องจริงเรื่องไม่ดีออกทีวีก็มีแต่เรื่องประโลมโลก จัดการได้แล้ว สงบเรียบร้อยดี โฆษณาชวนเชื่อทั้งนั้น กลุ่มคนที่มีคามแตกต่างหลาก หลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมในสังคมไทยจึงมาใช้ internet เป็นพื้นที่ในการ เผยแพร่ปัญหาในชุมชนของตนเองออกสู่สาธารณะ และเป็นพื้นที่ในการระดมความคิด เห็นและการมีส่วนร่วม ชาวเข้าเผ่าม้งจัดท�ำเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ ฐานข้อมูลเครือญาติ และ social media อย่าง facebook twitter ในการติดต่อเชือ่ มโยงกันกับชาวม้งทีก่ ระจัดกระจายอยู่

-140-


-141-


ทั่วประเทศไทยและทั่วโลก ชาวมุสลิม คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามก็ใช้ internet ใน การเผยแพร่ศาสนา เช่นครูสอนศาสนาอิสลามสอนในทีต่ า่ งๆก็อดั วิดโี อเก็บเนือหาอัพเดต บนเว็บไซต์ ให้ได้ติดตาม สอบถอบปัญหา ประชาสัมพันเรียนอะไรวันไหนควบคู่กันไป กลุม่ นักศึกษาใช้ facebook เข้าถึงกลุม่ เพือ่ นมุสลิมด้วยกัน เพือ่ ตักเตือนแนะน�ำ ในเรื่องการประพฤติตัว ในกรณีโรงเรียนวัดหนองจอกห้ามคลุมหิญาบก็มีการแสดงความ เห็นและและชักชวนไปรวมกลุ่มเคลื่อนไหวกันบน facebook ด้วยเช่นกัน กลุม่ มุสลิมนัน้ มีการใช้ internet ในการดะวะหรือเผยแพร่อย่างจริงจังถึงขนาด ที่รายการศาสนาก็ยังมีช่วงสอนใช้คอมพิวเตอร์ ใช้ facebook กันด้วย มีเว็บไซต์และ application เกี่ยวกับศาสนาเช่น กุรอานออนไลน์ แปรกุรอาน ปฎิฐิน โปรแกรมเตือน เวลาละหมาด มี islamtube เว็บวิดีโออิสลาม มีการจัดท�ำเนือหาดีๆมากมาย internet จึงท�ำให้เราได้เห็นคนกลุ่มต่างๆที่แทบไม่เคยเห็นรับรู้ทางสื่อทีวีมาก ขึน้ เราได้รบั รูป้ ญ ั หาแลกเปลีย่ นทัศนะระหว่างคนไทยพุทธและคนไทยมุสลิมกันได้คนต่อ คน ไม่ไช่อ่านจากงานเขียนหรือมุมมองของนักข่าว แต่เป็นการบอกเล่าขอเจ้าตัวเองซึ่ง ใครจะเล่าถึงปัญหาความทุกข์ของตัวเองได้ดีกว่าตัวเค้า กว่าคนในชุมชนนั้น หากเปรียบ เทียบดูจากการน�ำเสนอข่าวทางทีวี ซึง่ บางครัง้ ก็เป็นการกล่าวอ้างโจมตีกนั มัง่ ครัน้ เราจะ สอบถามโต้ตอบกับคนในข่าวจริงก็ท�ำไม่ได้เหมือน internet และนอกจากนี้ social media ก็ยังช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มคนในวัยต่างๆ วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ กลุ่มรักร่วมเพศ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มความสนใจอื่นๆ เพื่อรับรู้และเข้าใจในความ แตกต่างหลากหลายทางความคิดความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีของคนในสังคมไทย ไม่ ไช่สอื่ หลักอย่าง TV ทีต่ อ้ งการก�ำหนดความคิดของทุกคนให้เป็นไปในทางเดียวกัน พยาม ปิดหูปิดตาคนทั้งประเทศ ไม่แน่นะครับ เมื่อระบบโครงข่ายเราครอบคลุมและคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมาก แล้ว ก็จะมีชอ่ งทีวอี นิ เตอร์เน็ตท้องถิน่ ของแต่ละอ�ำเภอจังหวัดเยอะขึน้ ไปด้วย ซึง่ เป็นสือ่ ที่แม้แต่นักศึกษาคนทั่วไปก็สามารถจัดท�ำขึ้นมาได้ง่ายๆ ต�ำราเรียน Social Media social media คือหนังสือที่มีผู้เขียนมากที่สุดในโลก และปรับปรุงให้ทันสมัย ได้เร็วที่สุด

-142-


ถ้าพูดถึง social media เรามักจคิดถึง facebook twitter ซึ่งอันที่จริงแล้ว social media นั้นมหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ location แชร์ภาพถ่าย แชร์ไอ เดียแรงบันดาลใจ แชร์ข้อมูลข่าวสารดีๆ ออกสู่สาธารณะและใครก็น�ำข้อมูลนั้นไปใช้ได้ ตามที่เค้าอนุญาติให้ใช้ และไม่มากก้น้อยแบรนด์ หรือกลุ่มความสนใจต่างๆ ก็เริ่มที่จะ build social network ของตัวเองขึ้นมาแล้ว ไม่เท่านั้น social media นั้นสามารเข้าไปอยู่ในองค์กร เป็นพื้นที่ความคิด ไอ เดีย เสนอแนะ ความรู้ ประสบการใหม่ๆ ให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ และเป็น เการเรียนรู้ร่วมกันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดในระบบ intranet ซึ่งมันจะดีกว่า ปลอดภัยกว่าใช้สื่ออนไลน์ภายนอก เว็บบอร์ดกระดานข่าว blog ซึ่งจะท�ำให้คนใน องค์กรรู้เรื่องราวโดยรอบของฝ่ายต่างๆที่ปฎิบัติการ ว่าเกิดปัญหาอะไรแก้ยังไง มีนวัตกร รมใหม่ๆ ข่าวสารใหม่ๆในฝ่ายต่างๆยังไง ต้องการข้อมูลความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มเติมก็ค้นได้จากคลังความรู้ในบริษัท ที่อาจ ถูกถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญในบริษัทเอง แต่ไม่ควรใช้พูดคุย นินทา โต้เถียงกัน หรือมา แทนการสนทนาตัวต่อตัว แบบ facebook twitter แต่ควรเป็นในแบบร่วมแสดงความคิด เห็นในประเด็นปัญหา แนวทางต่างๆ ค�ำแนะน�ำในด้านเทคนิคได้ ไม่จ�ำกกัดอยู่ในแผนก ตัวเอง คนทีปฎิบัติงานอยู่ข้างนอก หรือต่างจังหัด สามารถอัพเดตเรื่องราว ความคืบหน้า ได้ตลอดเวลา ม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ social media ก็จะเป็นส่วนนึงของการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกัน และตลอดเวลาด้วย ต�ำราเรียน social media ส�ำหรับนักเรียน ถ้านักเรียนนักศึกษามี tablet pc ใช้กันอย่างทั่วถึงแล้ว คนอาจจะนึกถึงต�ำรา เรียนที่เป็น E-book แต่ผมคิดว่าต�ำราเรียนจะเป็นคลังความรู้ที่เชื่อมโยงกันแต่ละวิชา สามารถสืบค้น และปรับปรุงได้ตลอดเวลาโดยบุคลากรทีมคี วามสามารถ ความเชีย่ วชาญ ในสาขาต่างๆ คล้ายคลึงกับ wiki สาราณุกรมออนไลน์และ google แต่เป็นคลังความรู้ ในสถาบันการศึกษาเอง ซึ่งจะสามารถมารถจัดการเรื่องคุณภาพ ประเภทของเนื้อหาได้ ตามต้องการ

-143-


หนังสือเรียน social media จึงคล้ายกับเว็บไซต์ที่สามารถลิ้งค์ข้อมูลที่เดี่ยว ข้องอย่างเช่น เราก�ำลังอ่านวิชาคอมพิวเตอร์แต่มีความเกี่ยวข้องกับกฏหมาย สามารถที่ จะคลิกลิงค์ขอ้ ความนัน้ หรือค้นเพือ่ เข้าไปสูเ่ นือ้ หานัน้ ได้อย่างต่อเนือ่ งรวมถึงสามารถเข้า ถึงคน เข้าถึงผูร้ เู้ พือ่ สอบถามปัญหา เช่นนักเรียนนอนอ่านหนังสือจาก tablet อยูใ่ นเปลที่ บ้าน เมือ่ มีขอ้ สงสัยก็สามารถส่งข้อความสัน้ ๆสอบถามกับเพือ่ น คุณครู รุน่ พี่ หรือบุคลากร ทางการศึกษานอกพื้นที่ๆก�ำลังออนไลน์อยู่ได้ทันที ท�ำให้ค้นคว้าได้ต่อเนื่อง สามารถเข้าถึง งาน เรียงความ โปรเจค ของนักศึกษาชั้นอื่นสาขาอื่นได้ ดูว่า เพือ่ นต่างสาขาเรียนอะไรซึง่ อาจเป็นเรือ่ งทีเ่ ราสนใจอยากเรียนด้วย สามารถแสดงความ คิดเห็นในบทความสรุปบทเรียนแต่ละวันของเพื่อนได้ แนวโน้มโซเชียลมีเดียที่คนจะพูดถึงต่อไป : Social Mechanism กลไกทาง สังคม Social networking นั้นได้เกาะหลังมาตั้งแต่โทรศัพท์มือถือได้ถือก�ำเนิด โหนดๆ แรก ของการติดต่อสือ่ สารระหว่างบุคคลได้เพิม่ ทวีคณ ู internet ได้เข้ามาเป็นส่วน นึงใน evolution ของ social networking จนไม่อาจจัดประเภทของการสือ่ สารได้ชดั เจน อีกแล้ว เพราะทุกอย่างโยงใยถึงกันจนสื่อสารได้ทุกรูปแบบ วันนี้มันเป็นมากกว่าการส่ง เอกสาร ข้อความสัน้ บอกความคิดถึง แต่มนั คือ social mechanism เป็นกลไกทางสังคม facebook วันนี้มีคนใช้งานแล้วกว่า 800 ล้านคน twitter แม้จะโชวตัวเลข 400 ล้านคนแต่ผู้ใช้งานที่ active จริงเพียง 100 ล้านต้นๆ โซเชียลเกิดใหม่อกมาอย่าง sina weibo มากกว่า 100 ล้าน และจะมีโซเชียลเฉพาะกลุ่ม เฉพาะวัตถุประสงค์ ของ แต่ละภาษาแต่ละะประเทศเกิดใหม่ขึ้นเรื่อยๆ พูดง่ายๆว่าสื่อไม่ว่าประเภทใดจะถูกปรับ เป็นรูปแบบ social media ทั้งหมด คือ “มิติการสื่อสารของคน” ควบคู่ไปกับการเข้า ถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสาร Social app. growing application สมาทโฟนท�ำให้หลายคนที่ไม่เป็นที่รู้จักมีรายได้มหาศาลแบบ ไม่ทันตั้งตัว อย่าง Instagram ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เจ๋ง แต่ไม่ใช่มนั เป็น app พลิกโลกอะไร

-144-


ด้วยมันเป็นเพราะว่าจ�ำนวนผู้ใช้งานที่มาก เครือข่ายขนาดความเร็วสูงและมาเก็ตที่ใหญ่ ท�ำให้ app ที่มีการการใช้งานแตกต่างจาก app อื่นเหล่านี้โตเร็วจนเป็นที่น่าตกใจ และ ไอ้ความเร็วของมันก็ท�ำให้กระแสตกเร็วได้เช่นกัน หากไม่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและตอบ ความต้องการใหม่ๆ Twitter นวัตกรรมล�้ำยุค Twitter ขยายตัวอย่างช้าๆแต่ล�้ำหน้าด้วยนวัตกรรม ทวิตเตอร์ไม่ไช่เว็บมัน คือนวัตกรรม ทวิตเตอร์เริ่มจากความคิดที่ให้คนรับรู้กันว่าไครท�ำอะไรที่ไหน ด้วยช่อง ทาง เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีอยู่ทุกประเภท ข้อความพื้นฐาน 140 ไปถึงได้หมด แและ ด้วยเหตุนไี้ ม่วา่ เทคโนโลยี ฮาดแวร์จะปรับเปลีย่ นพัฒนาไปก็ไม่มผี ลกระทบทีจ่ ะท�ำให้ทวิ เตอร์ตกไปได้ มีแต่จะยิ่งท�ำให้ twitter ซอกซอนไปมากขึ้น ในขณะที่ facebook เติบโต เต็มที่และถอยหลัง twitter จะกลายเป็นผู้น�ำ Google + ไม่ได้ใช้สมอง Google นั้นไม่ได้สร้าง google plus ด้วยสมองแต่เป็นการทุ่มแรงลงไปอย่าง มาก มันเป็นเพียงการออกแบบ user interface ทีน่ า่ ใช้เท่านัน้ ไม่นานก็ตอ้ ง shutdown ไปเช่นเดียวกับ google wave ที่เป็นอภิรวมการสื่อสารมากมายไว้ด้วยกัน แต่บางที่คน เราก็แค่ต้องการจะส่งข้อความสั้น social media ที่กูเกิลจะบิ้วอย่าง wave มันมากไป ก็ต้องลาไป Google pluse อาจท�ำได้เพียงสร้างโซเชียลของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างกู เกิ้ล doc ใช้ในองกร หรือเป็นกลุ่ม partner เพราะ Google plus นั้นไม่มีในสิ่งที่ social network ควรจะมีอย่างฎิสัมพันธ์ ระบบความสัมพันธ์ กลไกที่ท�ำให้เกิดกิจกรรมร่วมกัน คอนเท้นและบุคคลที่น่าสนใจ Facebook ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์ google

-145-


หลายคนยังสงสัยว่าเอะ facebook จะมาส่งผลกระทบกับกูเกิ้ลได้ยังไงมัน คนละประเภทกันไม่ไช่เหรอ facebook นั้นเชื่อมโยงหมู่เพื่อนวงษาคณาญาติไว้โดยตรง ไม่ว่าจะคุยอะไร โพสรูปอะไรก็ผ่าน facebook ได้หมดมันจึงแทนการส่ง sms chat e-mail จากที่มีเรื่องราวอะไรเรา forward mail ตอนนี้ก็แค่แชร์ต่อๆกัน chat ก็มีปิด ทาง gtalk ไปอีกทาง และในส่วนของเสิช ทุกคนโพสทาง social media ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน ไม่ ได้โพสที่กูเกิ้ล เนื้อหาใน facebook ย่อมมีความสดใหม่ทันเหตุการณ์กว่า คิดดูว่ากว่าจะ มีคนรวมคอนเท้นลง blog, web แล้วอินเด็กซ์ การติดตามข่าวทาง facebook twitter เร็วกว่าแน่นอน เพราะคนให้ความส�ำคัญกับข่าวใหม่แต่ละวัน และกูเกิ้ลก็ให้ความส�ำคัญ ด้วย อีกทั้งเว็บไซต์ก็เชื่อม facebook โดยตรงก็ส่งตรงถึงคนอ่าน ไม่ต้องเสิช หรือเสิช ใน facebook ในเรื่องของการค้นหาข้อมูลสินค้า สถาณที่กินเที่ยว ความรู้ social network อย่าง twitter facebook ก็สามารถแทนได้เพราะถามได้จากคนโดยตรง Youtube ผู้น�ำด้าน internet tv ยูทูบนั้นกลายเป็นช่องทีวีที่แม้แต่แม่บ้านท�ำครัวก็จัดรายการอาหารที่คนดูทั่ว โลกได้ youtube ไม่ไช่แค่คลังวิดีโออีกต่อไปแต่มันคือผู้น�ำในเรื่อง Social TV และ interactive TV คอนเท้นในอินเตอร์เน็ตสามารถท�ำให้ตอบโต้มีลูกเล่นได้เพราะเป็นระบบ computer ต่างจาก tv ปกติสื่อสารทางเดียว ซ�้ำยังเป็นที่รายงานข่าวของ reporter ที่ ลุยไปในที่ต่างๆให้เราได้ติดตามอย่างไกล้ชิดหากว่า youtube นั้นท�ำ timeline ที่ public และมี tigger แบบ fcebook ที่เห็นวิดีโอ คอมเม้น like share ของ เพื่อนใน youtube ที่เราติดตามได้กระแสก็จะเร็วขึ้น เพราะตอนนี้เท่าที่ดู youtube น่าจะใช้เทคโนโลยีของกูเกิ้ลในการคิววิดีโอที่เราต้องการได้แม่นย�ำ จาก keyword ไม่ ว่าเราจะท่องเว็บอะไร google เก็บ keyword ในหน้าเว็บที่เราเปิดไปคิว video ขึ้นมา ให้หน้าแรก และความแม่นย�ำนั้นเองท�ำให้เราไม่ได้รับข้อมูลใหม่ๆและหลากหลาย คือไม่ เห็น world trending

-146-


Geo location มันจะเวิร์คและไปใช้ในเรื่อง social commerce ได้ดีก็ต่อเมื่อร้านค้า กิจกา ร่างๆในเมืองนั้นมีเว็บไซต์และบริการลูกค้า crm ทางเว็บจ�ำนวนมากเสียก่อน และก็คง กระจุกอยู่ในเมืองด้วย มันถึงจะครึกครื้นและน�ำมาใช้ในกิจกรรมส่งเสริมการขายได้ แนวโน้มของ social media นอกจากการบอกต่อ แชร์กันอย่างรวดเร็วแล้ว สิ่งที่จะเป็นที่พูดถึงต่อไปของ social media ก็คือเรื่องของ Social Mechanism หรือกลไกทางสังคม และการจัดการ องค์ความรู้ อะไรคือกลไกทางสังคม social media จะเข้ามาเป็นสื่อกลางของผู้คนใน สังคมอย่างแยกไม่ออก จะชวนกันไปไหนท�ำอะไร ครอบครัวญาติอยูไ่ กลก็เหมือนไกล้ ภาพ สะท้อนและผลกระทบ การรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ตื่นตัวภัยพิบัติ แสดงพติ กรรมทางสังคม เวทีสาธารณะ เครื่องมือช่วยรัฐ เจ้าหน้าที่สอดส่อง เครือข่ายผู้บริโภค คุณหมอพบคนไข้ นี่คือกลไกทางสังคม ส่วนการจัดการองค์ความรู้นั้นคือ ข้อมูลเนื้อหาใน social media สามารถสืบ ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง มีการระบุชื่อบุคล สถานที่ พิกัด เวลา ลงในภาพ วีดีโอ ข้อ ความ ถูกจัดและล�ำดับเวลา เชือ่ มโยงบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกันได้ ไปทีไ่ หนเวลาอะไร สามารถเชือ่ ม โยงคนและข้อมุล เนื้อหาบทความกับผู้เขียนผู้อ่าน google ท�ำให้เข้าถึงข้อมูลความรู้ แต่ social media นั้นท�ำให้เข้าถึงผู้รู้ด้วย และเป็นที่แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นกัน

-147-



สัมภาษณ์คนข่าวทวิตเตอร์ ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าค�ำสอน หลังจากหลักการที่ยืดยาวผ่านไปสามบท เรา ก็คิดเห็นว่า ต้องมีตัวอย่างของผู้ที่มช้ทวิตเตอร์ในการรายงานข่าวมาเป็นตัวอย่าง เราจึงได้ท�ำการสัมภาษณ์ ทั้งนักข่าวจริง ๆ และนักข่าวพลเมือง ที่ใช้ทวิตเตอร์ เป็นหลักในการรายงานข่าวมาจ�ำนวนหนึง่ ถึงวิธกี าร หลักการ และสิง่ ทีเ่ ขาคิดเห็นในการ รายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์ในประเทศไทย และโลก ณ ปัจจุบัน และได้ยกบางส่วนที่น่า สนใจมาน�ำเสนอท่านผู้อ่าน

-149-


-150-


ตัวแทนนักข่าวมืออาชีพ คุณ สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์ (พี่จิน) บรรณาธิการข่าว การเมือง ส�ำนักข่าวเนชั่น อย่างไร

1.การรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์มีผลตอบรับกลับมามากน้อยแค่ไหน

ตัวที่จะชี้ได้ว่าเป็น Feedback ส�ำหรับพี่นะ ส่วนใหญ่พี่จะทวิตเรื่องการเมือง อย่างแรกพี่ว่าดูจากคนที่มาฟอลโล่เรา ผลตอบรับมาก็โอเคนะ การทวิตเรื่องการเมือง ของพี่ก็เน้นอ่านง่าย เพราะว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ช่วงนี้ คนเสพข่าวการเมืองกันเยอะ พี่ ก็ต้องทวิตให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย ต่อไปคือดูจากการ Retweet พี่จะพยายามทวิตข่าวสาร ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลที่เป็นจริง ประมาณเที่ยงคืนพี่จะมีเวลาทวิตรายละเอียดข่าวแต่ละวัน ลงไป คนก็จะ Retweet กันเยอะมาก คือไม่ว่าจะดึกแค่ไหนคนก็ยังคงสนใจและติดตาม อยู่ ยอมรับว่า Feedback คนค่อนข้างให้การยอมรับเยอะมาก เพราะพีท่ ำ� งานวงการข่าว มากว่า 4 ปีแล้ว แต่ก็มีกรณีที่เป็นฝ่ายเสื้อแดงหรือฝ่ายนั่นนี่มากโพสในลักษณะที่รุนแรง หรือว่าก็ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน 2.การรายงานข่ า วที่ มี ก ารแสดงความคิ ด เห็ น หรื อ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ใ น สถานการณ์ต่างๆ ลงไป คุณคิดว่าเป็นการโน้มน้าวประชาชนหรือไม่ อย่างไร อันนีเ้ กีย่ วกับการเป็น Gatekeeper ด้วย เช่น เรือ่ งนิรโทษกรรม เราก็พยายาม อธิบายความไป เรียกว่าเป็นการอยากกระตุกให้ประชาชนได้คิดมากกว่า อาจจะมีส่วน ของการวิพากษ์วจิ ารณ์หรือวิเคราะห์ลงไปบ้าง การทีเ่ ราทวิตลงไปเราก็อยากให้คนเข้าใจ กราก็ต้องเขียนให้เข้าใจง่าย การที่จะใส่ความเห็นลงไปนั้นเราก็ต้องหาข้อมูลก่อน ไม่ใช่ ใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปเฉยๆ กรณีที่เราต้องใส่ความเห็นลงไปพี่ก็จะใส่วงเล็บเพื่อบอก ให้ประชาชนทราบไปเลย ถามว่ามีผลกระทบมั้ย ก็มีพอสมควร เพราะข่าวหลายข่าว ต้องหาข้อมูลประกอบก่อน แล้วมาทวิตเพื่ออธิบายให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้น อยู่กับคนที่ติดตามเรา

-151-


3.คุณมีหลักเกณฑ์อย่างไร ในการรายงานข่าวลงทวิตเตอร์ ส�ำคัญมากๆ ก็คือต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ถ้าข้อมูลที่รายงานไปเกิด ผิดพลาดก็ตอ้ งรีบลบและแก้ไขใหม่ให้เร็วทีส่ ดุ แต่หากลบไม่ทนั ก็ตอ้ งรีบบอกไปว่าเปลีย่ น ข้อมูลนะ ทวิตช้าไม่เป็นไรแต่ขอ้ มูลต้องถูกต้องทีส่ ดุ ซึง่ ในสถานการณ์บา้ นเมืองเรามีความ แตกแยกอยู่ด้วย พี่ก็จะพยายามแนะให้คุยกันมากกว่าไม่ยายามทวิตในสิ่งที่จะก่อให้เกิด การแตกแยกเพิ่มขึ้น 4.คุณคิดว่าทวิตเตอร์มีอิทธิพลต่อคนในสังคมหรือไม่ อย่างไร มีผล การที่เราน�ำเสนอหรือทวิตข่าวลงไปนั้น ส่งผลต่อการรับรู้ของประชาชน ที่ติดตามเรา แล้วน�ำมาต่อคนในสังคม เช่น กรณีล่าสุดที่ประเทศไทยถูกลักหลับ พี่ก็ใช้ ค�ำนี้ทวิตลงไป ตอนแรกพี่ก็คิดแล้วคิดอีกนะว่าใช้ค�ำแรงเกินไปหรือเปล่า หรือกลัวผู้คน จะเข้าใจว่าไม่เหมาะสม แต่พอมีกระแสออกมาในสื่อหลายสื่อก็ใช้ค�ำนี้เช่นกัน จนเป็นสิ่ง ที่ผู้คนรับรู้โดยทั่วกัน เรื่องประเทศไทยโดนลักหลับ ซึ่งจริง ๆ แล้วพอถึงจุด ๆ หนึ่งเราก็ ต้องใส่ความเห็นลงไปบ้าง 5.คุณคิดว่าข้อความการรายงานข่าวที่ถูกทวิตลงในทวิตเตอร์นั้น ก่อให้เกิด กระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร ขึ้นอยู่กับประเด็นในสถานการณ์นั้น ๆ จะเป็นตัวกระตุ้น เช่น การที่คนออกมา ต่อต้านนิรโทษกรรม ผู้คนออกมาแสดงออกกันเยอะแยะมาก ๆ กระจายกันในหลาย ๆ พื้นที่ ทั้งในส่วนของภาพและข้อความ สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนมาจากโลกโซเชี่ยล 6. คุณคิดว่าผู้สื่อข่าวพลเมืองมีอิทธิพลท�ำให้การรายงานข่าวเปลี่ยนรูปแบบ หรือไม่ อย่างไร

-152-


โซเชี่ยลมีเดียท�ำให้เกิดนักข่าวพลเมืองในการรายงานข่าวเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่เชิง ว่าเปลี่ยนรูปแบบ เพราะจริงๆ แล้ว ไม่ว่าใครก็รายงานข่าวได้ ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น นักข่าวได้ เนื่องจากเรามีสื่ออยู่ในมือ ท�ำได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะฉะนั้นคนที่เป็นนัก ข่าวมืออาชีพก็ต้องแสดงฝีมือให้ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อถือและยอมรับในความเป็นมืออาชีพ ทั้งในการรายงานข่าวเชิงลึกและรอบด้าน พร้อมกับข้อมูลที่ละเอียดและถูกต้องกว่าด้วย 7. ความผิดพลาดในการรายงานข่าวของพลเมืองมีผลกระทบต่อการรับรู้ของ ประชาชนหรือไม่ อย่างไร มีผลอยู่แล้ว เพราะข่าวที่ผ่านโลกโซเชี่ยลนั้นค่อนข้างรวดเร็ว ไม่ได้มีการตรวจ สอบที่ละเอียดถี่ถ้วน แพร่เร็ว ท�ำให้ประชาชนเข้าใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คนส่วนใหญ่จะคิด น้อย ไม่รอบคอบรอบด้าน เน้นการทวิตเร็วเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพี่ก็ไม่ได้โฟกัสว่าต้อง เป็นนักข่าวพลเมืองเท่านั้น หมายถึงการรายงานข่าวของคนทุกคนด้วย

-153-


-154-


ตัวแทนสื่อพลเมือง คุณ บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์ (พี่บอล) นักศึกษาปริญญาโท ด้านนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ อย่างไร

1.การรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์มีผลตอบรับกลับมามากน้อยแค่ไหน

ตอบรับมาก ถ้าข่าวนั้นสะท้อนมุมมองที่สุดโต่งของขั้วการเมืองด้านใดด้าน หนึ่งอย่างชัดเจน 2.การรายงานข่ า วที่ มี ก ารแสดงความคิ ด เห็ น หรื อ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ใ น สถานการณ์ต่างๆ ลงไป คุณคิดว่าเป็นการโน้มน้าวประชาชนหรือไม่ อย่างไร เป็นการโน้มน้าวประชาชนทัง้ ทางตรงและทางอ้อม ในทางตรงเมือ่ ผูต้ ดิ ตามได้ เห็นการทวิตจากพื้นที่ข่าวจริงโดยไม่ได้ผ่านสื่อหลัก ท�ำให้ประชาชนส่วนหนึ่งเลือกที่จะ เชื่อและขยายวงของความเชื่อออกไปโดยง่ายโดยไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ขณะ ที่โน้มน้าวทางอ้อมเกิดขึ้นจากบทวิพากย์วิจารณ์ของผู้คนที่ได้เห็นทวิตข้อความนั้นและ ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่เกิดขึ้น ก็ยิ่งท�ำให้ประชาชนเชื่อว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นจริง 3.คุณมีหลักเกณฑ์อย่างไร ในการรายงานข่าวลงทวิตเตอร์ หากเป็นข่าวเรื่องข้อเท็จจริงจะต้องมีแหล่งอ้างอิงที่มาชัดเจนถึงจะท�ำการ รายงานข่าว แต่ถ้าเป็นทัศนะของคนที่ทวิต จะท�ำการรีทวิตทันที และใส่ความคิดเห็นต่อ ในทวิตถัดไปว่ามีความเห็นเห็นอย่างไรต่อประเด็นนั้นๆ 4.คุณคิดว่าทวิตเตอร์มีอิทธิพลต่อคนในสังคมหรือไม่ อย่างไร มีอิทธิพลต่อคนในสังคม

-155-


5.คุณคิดว่าข้อความการรายงานข่าวที่ถูกทวิตลงในทวิตเตอร์นั้น ก่อให้เกิด กระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร ทวิตเตอร์ข่าวของเมืองไทย เหมือนเป็นสังคมของการบอกต่อกันปากต่อปาก จนกลายเป็นไฟลามทุ่ง ตรวจสอบหาที่มาได้ยากกว่าสื่อสังคมอื่นๆ เพราะข้อจ�ำกัดด้าน ตัวอักษร การใส่ภาพหรือวีดิโอประกอบ และเนื่องด้วยความรวดเร็วของทวิตเตอร์ในการ รายงานข่าว ท�ำให้เมื่อเกิดประเด็นขึ้น กระแสวิพากย์วิจารณ์ต่อเรื่องราวต่างๆ จึงออกไป อย่างรวดเร็วจนไร้ขอบเขตหรือจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์นั้น และพร้อมที่จะกลับมาเป็น ประเด็นวิพากย์วิจารณ์ได้อีกครั้งเมื่อมีผู้ติดตามเริ่มกลับมา retweet อีกครั้ง (ขุดทวิต) 6. คุณคิดว่าผู้สื่อข่าวพลเมืองมีอิทธิพลท�ำให้การรายงานข่าวเปลี่ยนรูปแบบ หรือไม่ อย่างไร ผู้สื่อข่าวพลเมืองจะเน้นการรายงานข่าวจากพื้นที่จริงที่รวดเร็วตามประเด็นที่ เห็นโดยผ่านประสบการณ์และทัศนคติสว่ นตัวของผูร้ ายงาน ท�ำให้เกิดความรวดเร็วกว่าสือ่ ปกติ หรือการเลือกใช้ถ้อยค�ำที่ไม่เป็นทางการ การสรุปความ ท�ำให้เกิดการตีความขยาย ความได้งา่ ยกว่า จึงเป็นทีช่ นื่ ชอบของผูต้ ดิ ตามทัง้ ฝ่ายทีไ่ ด้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึง่ ผูส้ อื่ ข่าวพลเมืองเองไม่ตอ้ งมีเรือ่ งของจรรยาบรรณในการน�ำเสนอข่าวแบบสือ่ มวลชน แต่ ใช้เพียงแค่สัญชาตญาณเท่านั้น ท�ำให้ผู้ติดตามรู้สึกเข้าถึงและใกล้ชิดเหตุการณ์มากกว่า 7. ความผิดพลาดในการรายงานข่าวของพลเมืองมีผลกระทบต่อการรับรู้ของ ประชาชนหรือไม่ อย่างไร เนือ่ งจากนักข่าวพลเมืองไม่ได้ถกู ให้ความเชือ่ ถือมากเท่านักข่าวจริง ท�ำให้ผคู้ น ยอมรับในความผิดพลาดของการรายงานข่าวได้ในระดับหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการรายงาน ข่าวที่บิดเบือนกับความเป็นจริงมาก เช่น การใช้ภาพตัดต่อ การใส่ร้ายโดยไร้ซึ่งหลักฐาน หรือการรายงานข่าวด้านตรงข้ามกับสิง่ ทีผ่ ตู้ ดิ ตามคาดหวัง ขณะทีต่ วั ของผูท้ วิตเองก็ไม่มี

-156-


มาตรฐานในการยอมรับความผิดพลาด เช่น บางคนไม่กล้าลบทวิตที่ผิดพลาด เนื่องจาก เป็นทวิตที่ก�ำลังมีคน Retweet อยู่ ซึ่งผู้ทวิตได้ผลประโยชน์ทางตรงจากข้อความที่มีการ รีทวิตเยอะๆ เช่น มีคนติดตามทวิตมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจปล่อยปละละเลยที่จะแก้ไขข้อ บกพร่อง และเลือกการทวิตข้อความใหม่เพื่อแก้ไขความผิดพลาดแทน 8. มีอะไรอยากพูดเกี่ยวกับทวิตเตอร์อีกหรือไม่ การเลือกตามอ่านทวิตใครบ้าง ถือเป็นการบ่งบอกถึงทัศนคติได้ชัดเจนที่สุดว่า คนเหล่านั้นมีความเชื่อในเรื่องใด มีรสนิยมในการเสพข่าวอย่างไร หรือแม้แต่พฤติกรรม ในการตอบโต้กับคนในทวิตเตอร์เอง ดังนั้น การทวิตอย่างเป็นกลางไม่เคยเกิดขึ้นจริง เพราะทุกตัวอักษรที่ทวิตนั้นล้วนเกิดขึ้นจากการกลั่นกรองมาหลายชั้นจากผู้ทวิตเอง (คิด-ทวิต-อ่าน-ส่ง) แต่เรามักจะอ้างว่ามันเป็นสื่อที่เร็วจนไม่สามารถควบคุมความถูก ต้องหรือคุณภาพได้ ดังนั้น จึงควรต้องชี้แจงถึงการเล่นทวิตเตอร์ว่า ถ้าเป็นเรื่องที่มีผลก ระทบต่อคนอื่นแน่ๆ ก็อย่าทวิตเลย แต่ถ้าคิดจะทวิตแล้ว จงเตรียมตัวรับผลตอบรับจาก ข้อความนั้นด้วย :D

-157-


-158-


ผลการศึกษา การใช้ทวิตเตอร์รายงานข่าว ในฐานะสื่อพลเมือง เราได้ทำ� การศึกษาการรายงานข่าวของสือ่ พลเมืองทางทวิตเตอร์ ผ่านการให้ผู้ ใช้ทวิตเตอร์ทวั่ ไปท�ำแบบสอบถาม และได้ตดิ ตามทวิตเตอร์ของกลุม่ คนทีเ่ ป็นสือ่ พลเมือง และเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของความถี่ เวลาที่ใช้ทวีต สถานที่ที่ทวีต อุปกรณ์ที่ ใช้ในการทวีต รวมถึงลักษณะ รูปแบบ ของข่าวที่สื่อพลเมืองได้ทวีต แล้วเก็บข้อมูลเป็น ระยะเวลา 1 เดือน ก่อนจะท�ำการสรุป จนได้ผลดังที่จะกล่าวในหน้าต่อไปนี้

-159-


ตอนที่ 1 ของแบบสอบถาม เป็นค�ำถามเชิงประชากร เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของ ผูต้ อบแบบสอบถาม จ�ำนวนผูต้ อบแบบสอบถาม เป็นผูใ้ ช้บริการสือ่ ออนไลน์ทวิตเตอร์ทงั้ สิ้น 378 คน แบ่งเป็นผู้ชายร้อยละ 22 และผู้หญิงร้อยละ 78 อายุของผูต้ อบแบบสอบถาม ร้อยละ 67 คือ 15-20 ปี รองลงมาคือ 21-24 ปี ร้อยละ 18 และ 25 ปีขึ้นไป ร้อยละ 8

ในส่วนของการศึกษา ร้อย ละ 50 ของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ใน ระดับปริญญาตรี รองลงมาคือระดับ มัธยมปลาย ร้อยละ 37 และระดับต�่ำ กว่ามัธยมปลาย ร้อยละ 10

-160-


ด้านอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา รองลง มาคือพนักงานเอกชน ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 3 แ ล ะ ด ้ า น เ งิ น เ ดื อ น ผู ้ ต อ บ แบบสอบถามร้อยละ 52 ยังไม่มีรายได้ รอง ลงมาคือ รายได้ต่อเดือนต�่ำกว่า 5000 ร้อย ละ 18 และ รายได้ต่อเดือน 5000 - 10000 บาท ร้อยละ 17

เงินเดือน

ผ ล ก ร ส� ำ ร ว จ แบบสอบถามในตอนนี้ท�ำให้ เราทราบว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่ ที่เล่นทวิตเตอร์ คือวัยรุ่น ที่ยัง เป็นนักเรียน นักศึกษา มีราย ได้ไม่มาก อายุอยู่ในระหว่าง 15-20 ปี

-161-


ตอนที่ 2 ของการศึกษาเรื่องสื่อพลเมืองกับทวิตเตอร์ เราท�ำการเก็บข้อมูลโดย การติดตามนักข่าวพลเมืองจ�ำนวนหนึ่ง เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อดูว่าลักษณะการทวีตของ พวกเขา ความถี่ในการทวีต สถานที่ที่ใช้ทวีต อุปกรณ์ที่ใช้ทวีต และจุดประสงค์หลักใน การใช้ทวิตเตอร์ รวมถึงจ�ำนวนบัญชีทวิตเตอร์ที่พวกเขาติดตาม ได้ผลสรุปว่า ผูต้ อบแบบสอบถามร้อยละ 82 ใช้งานทวิตเตอร์ทุกวัน รองลงมาคือ 5-6 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 6 และ ต�่ำกว่า นั้น ร้อยละ 12 ด้านระยะเวลาในการใช้งานท วิตเตอร์ในแต่ละวัน ร้อยละ 36 ของผู้ ตอบแบบสอบถามใช้งานทวิตเตอร์ 7-9 ชม. รองลงมาคือร้อยละ 19 ใช้งานครั้ง ละ 4-6 ชม. และ 12 ชม. ขึ้นไป

ด้านช่วงเวลาที่ใช้ ส่วนใหญ่ ร้อย ละ 65 ตอบว่าใช้งานทวิตเตอร์ในช่วงเวลา 20.00 น. ถึง 00.00 น. รองลงมาคือในช่วง เวลา 16.00น. - 20.00น. ร้อยละ 19 และช่วง เวลา 12.00 น.-16.00 น. ร้อยละ 8 ร ้ อ ย ล ะ 8 5 ข อ ง ผู ้ ต อ บ แบบสอบถามใช้งานทวิตเตอร์ในที่พักของ ตัวเอง รองลงมาคือ ร้อยละ 6 ใช้งานทวิต

-162-


เตอร์ในที่ท�ำงาน และร้อยละ 5 ใช้ทวิ ตเตอร์ในสถานศึกษา ด้านอุปกรณ์ทใี่ ช้ ร้อยละ 55 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้งานทวิต เตอร์ผา่ นโทรศัพท์มอื ถือ รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คิดเป็นร้อยละ 24 และ 12 ตามล�ำดับ

-163-


ด้านจุดประสงค์ในการใช้ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 51 ใช้ทวิตเตอร์ ในการติดตามข่าวสาร รองลงมาร้อยละ 32 ใช้เพื่อติดตามบุคคลมีชื่อเสียง เช่น ดารา นัก ร้อง รองลงมาคือใช้เพื่อพูดคุย และใช้เป็นบล็อกส่วนตัว ร้อยละ 7 ผู้ต อบแบบสอบถามร้ อ ยละ 39 มี จ� ำ นวนบั ญ ชี ที่ ไ ด้ ท� ำ การติ ด ตาม 101-200 บัญชี รองลงมาคือร้อยละ 26 ติดตาม 301-400 บัญชี และร้อย ละ 21 ติดตาม 201-300 บัญชี แต่ว่าผู้ ตอบแบบสอบถามถึงร้อยละ 56 ติดตาม บัญชีทวิตเอตร์ประเภทรายงานข่าวเพียง 21-30 บัญชีเท่านั้น

-164-


เมื่อถามถึงประเภทข่าวที่ผู้ตอบแบบสอบถามได้ติดตามผ่านทวิตเตอร์ พบ ว่า ผู้ติดตามส่วนใหญ่เลือกติดตามข่าวทั่วไป เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวท้องถิ่น ข่าว อาชญากรรม ฯลฯ รองลงมาคือข่าวบันเทิง, ข่าวเทคโนโลยี, ข่าวต่างประเทศ และ ข่าว กีฬา ตามล�ำดับ

-165-


ในส่วนที่ 3 ของแบบสอบถาม เป็นค�ำถามเชิงเปรียบเทียบ ระหว่างลักษณะ การรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์ทผี่ ตู้ อบแบบสอบถามพบเห็นบ่อย และแบบทีต่ อ้ งการให้มี เมื่อถามถึงลักษณะของการรายงานข่าวทางทวิตเตอร์ที่ผู้ตอบแบบสอบถาม พบบ่อย ผลคือคนส่วนใหญ่พบแบบสรุปย่อเนื้อหาข่าวให้จบในทวีตเดียวมากที่สุด แต่ใน ขณะเดียวกัน การสรุปย่อเนือ้ หาข่าวก็เป็นลักษณะการรายงานข่าวทีผ่ ตู้ อบแบบสอบถาม ต้องการมากที่สุด โดยร้อยละ 90 ระบุว่าเป็นลักษณะการรายงานข่าวที่ต้องการ ในส่วนของสื่อที่ใช้ประกอบกับการรายงานข่าว ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พบเห็นรูปภาพมากที่สุด แต่เมื่อถามถึงรูปแบบที่ต้องการ ผู้คนส่วนใหญ่อยากให้เพิ่มสื่อ วิดิโอ แผนภูมิ กราฟ และอินโฟกราฟฟิค เข้าไปในการรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์ ดังที่เราจะเห็นในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ว่าอินโฟกราฟฟิคเข้ามามีบทบาท

-166-


อย่างต่อเนือ่ งในการรายงานข่าวผ่านทุกสือ่ เพราะเป็นการท�ำข้อมูลให้ออกมาดูแล้วเข้าใจ ง่าย เหมาะแก่การใช้อธิบายเรื่องที่เข้าใจยาก เช่นการเมือง เศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่า ผู้คนที่ใช้ทวิตเตอร์ก็หวังที่เห็นพัฒนาการของการรายงานข่าวผ่า นทวิตเตอร์อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เมื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ท�ำให้การรายงานข่าวโดยแนบ สื่อต่างๆได้ง่ายขึ้น ผู้คนก็หวังจะเห็นสื่อเหล่านั้นทุกใช้ให้เป็นประโยชน์ในการรายงาน ข่าวเช่นกัน

-167-


-168-


ในแบบสอบถามตอนที่ 4 เราให้ผู้ตอบแบบสอบถามในเรื่องความพึงพอใจ ในการใช้ทวิตเตอร์ เพื่อศึกษาว่าเหตุผลใดที่ท�ำให้พวกเขาเลือกใช้ทวิตเตอร์ในการรับ ข้อมูลข่าวสาร และผลการสอบถามเป็นดังนี้

ทวิตเตอร์มีเนื้อหาสั้น กระชับ ได้ใจความ 5 222 59% 4 126 33% 3 26 7% 2 4 1% 1 0 0% เนื้อหาข้อมูลใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 5 173 46% 4 161 43% 3 37 10% 2 7 2% 1 0 0% ความน่าสนใจของข้อมูลข่าวสารทวิตเตอร์ 5 166 44% 4 161 43% 3 49 13% 2 2 1% 1 0 0%

-169-


มีภาพข่าวประกอบที่น่าสนใจ 5 116 31% 4 160 42% 3 83 22% 2 16 4% 1 3 1% มีคลิปวิดีโอประกอบรายงานข่าว 5 40 11% 4 90 24% 3 159 42% 2 54 14% 1 35 9% มีลิงค์ส�ำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมภายหลัง 5 138 37% 4 144 38% 3 76 20% 2 20 5% 1 0 0% ความน่าเชื่อถือของเนื้อหาข่าวสาร 5 50 13% 4 95 25% 3 151 40% 2 71 19% 1 11 3%

-170-


ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 5 281 74% 4 73 19% 3 21 6% 2 2 1% 1 1 0% ความทันเหตุการณ์ในปัจจุบันของข่าวสาร 5 290 77% 4 71 19% 3 15 4% 2 0 0% 1 2 1% ความง่ายต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร 5 270 71% 4 96 25% 3 11 3% 2 1 0% 1 0 0% ความง่ายต่อการสืบหาที่มาของข้อมูลข่าวสาร 5 92 24% 4 119 31% 3 132 35% 2 28 7% 1 7 2%

-171-


ความง่ายต่อการส่งต่อข่าวสาร 5 249 66% 4 93 25% 3 32 8% 2 3 1% 1 1 0% ง่ายต่อการตอบกลับไปยังผู้เขียน 5 191 51% 4 116 31% 3 58 15% 2 11 3% 1 2 1% ง่ายต่อการเก็บไว้อ่านภายหลัง 5 180 48% 4 107 28% 3 63 17% 2 24 6% 1 4 1% ง่ายต่อการแสดงความคิดเห็น 5 166 44% 4 119 31% 3 70 19% 2 18 5% 1 5 1%

-172-


เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารมีการรายงานต่อเนื่อง 5 103 27% 4 152 40% 3 99 26% 2 22 6% 1 2 1% ข้อมูลข่าวสารตรงตามความต้องการ 5 95 25% 4 160 42% 3 103 27% 2 17 4% 1 3 1% สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการทวิตเตอร์ 5 123 33% 4 162 43% 3 83 22% 2 7 2% 1 3 1% ระบบปฏิบัติการของทวิตเตอร์มีการพัฒนาตลอดเวลา 5 89 24% 4 154 41% 3 115 30% 2 17 4% 1 3 1%

-173-


มีการแจ้งเตือนและเงื่อนไขการบริการให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทราบ 5 103 27% 4 130 34% 3 116 31% 2 22 6% 1 7 2% ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ท่านได้รับในแต่ละวัน 5 134 35% 4 158 42% 3 80 21% 2 5 1% 1 1 0% ได้รับข่าวสารที่เป็นประโยชน์ 5 104 28% 4 165 44% 3 97 26% 2 9 2% 1 3 1% ครอบคลุมเนื้อหาและข่าวสารต่างๆ 5 103 27% 4 165 44% 3 94 25% 2 13 3% 1 3 1%

-174-


ความทันสมัยของข้อมูลข่าวสาร 5 208 55% 4 142 38% 3 26 7% 2 2 1% 1 0 0% มีความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร 5 53 14% 4 105 28% 3 164 43% 2 50 13% 1 6 2% จะเห็นได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เน้นทวิตเตอร์ที่เรื่องความเร็ว แต่ ไม่พอใจในความผิดพลาดของข้อมูล ที่เกิดขึ้นบ่อยและง่าย เพราะความเร็วที่เพิ่มสูง นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้บริโภค ไม่คิด ว่าการกรองเนื้อหาและความถูกต้องของข่าวสารเป็นหน้าที่ของผู้รับสาร หากแต่เป็น หน้าที่ของผู้ส่งสารต่างหาก นอกจากนั้นผู้คนยังพอใจทวิตเตอร์ในแง่ของการสามารถตอบกลับและส่งข่าว ต่อได้ แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความเป็นผู้รับสารแบบ Active Audience คือไม่ได้เพียง รับสารแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังมีการแสดงปฏิกิริยาตอบกลับที่มีต่อข่าวในหลาย ๆ ทาง ทั้ง การแสดงความคิดเห็น และการติชม รวมถึง ผู้รับสารบางส่วนก็เลือกจะผันตัวเองไป เป็นผู้ส่งสาร หรือสื่อพลเมืองอีกด้วย

-175-


-176-


ในตอนที่ 5 เราให้ผู้ตอบแบบสอบถามยกตัวอย่างบัญชีทวิตเตอร์ประเภท รายงานข่าวที่ติดตามและชื่นชอบ พร้อมเหตุผล นี่คือบางส่วนของค�ำตอบที่เราหยิบยก มาน�ำเสนอ @blognone ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ @Mrvop ยามเฝ้าโลก รายงานข่าวภัยพิบัติธรรมชาติ รอบรู้จริง รู้ลึก อธิบาย ละเอียดจนเข้าใจได้ ข้อมูลทันสมัย ฉับไว รายงานเกือบตลอด24ชม. @facebloginth รายงาาข่าวไอทีได้รวดเร็ว เข้าใจง่าย @Rawangpai ดูตั้งใจดี @lemonoiz ไม่เชิงรายงานข่าว แต่เค้าก็ทวิตข่าวบ้าง ส่วนมากเปนทวิตไป เรื่อยเรื่องชีวิตประจ�ำวัน มุกแป้กบ้างไรบ้าง แต่ตามแล้วตลกดี มีสาระด้วยบางที ชอบ @news1005fm @Thairath_News เพราะ มีการอัพเดตข่าวตลอดเวลา แม้จะดึกดื่นแต่ไหน บางครั้งเข้าทวิตเตอร์มาตอนตี่สามตีสี่ยังเห็นไทยรัฐนิวส์รายงานข่าวผ่านทางทวิตเตอร์ อยู่เลย

-177-


ชอบพี่เอม @noppatjak ที่เป็นนักข่าวค่ะ เวลาทวีตข่าวเราก็มั่นใจว่าถูกต้อง ในระดับหนึ่งเพราะเป็นนักข่าวจริงไม่ใช่ใครมานั่งเทียนเขียนก็ไม่รู้ @khajochi ทวีตข่าวเทคโนโลยีและข่าทั่วไป รวดเร็วดี @js100 รายงานการจราจร เพราะเมื่อขับรถไปฟังไป ก็จะรู้ว่าเส้นไหนควร เลี่ยง รถติดจากเหตุอะไร @TheReaderThai ชอบเพราะอัพเดทข่าวสารในวงการหนังสือ ซึงเป็น วงการที่ไม่ค่อยมีใครรายงานมากนัก และมีความหลากหลายในข้อมูล น่าสนใจ มีลิงค์ ให้ตามอ่านข้อมูลเชิงลึกต่อได้ @ThaiPBS เวลามีรายการอะไรทางทีวีก็จะทวีตบอก @NTVWorldNews เป็นแอคเคาท์ที่ทวิตข่าวทุกอย่าง ทั้งการเมืองและข่าว แปลกๆจากทั่วทุกมุมโลก มีภาพประกอบน่าสนใจ ทวิตเรื่อยๆ บางครั้งก็ทวิตภาพน่า รักๆของสัตว์ลกหรือทิวทัศน์ได้รับรู้ทั้งข่าวสาร และเปิดมุมมองโลก ได้ยิ้มในระหว่างวัน ไปกับภาพน่ารักต่างๆด้วย @nationchannel รายงานข่าวทันต่อเหตุการณ์

-178-


ใหม่ๆ

@siamphonedotcom เกี่ยวกับมือถือและเทคโนโลยี ทันทุกเทคโนโลยี

@NTVWorldNews รุ้ข่าวต่างประเทศแปลกๆใหม่ๆ @AdmOd เพราะลุงมอดคือลุงมอด @MorningNewsTV3 พาดหัวข้อชัดเจน รวดเร็ว @NTVWorldNews เป็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับต่างประเทศ ท�ำให้เรารู้ อะไรมากมาย @wheresale ได้รู้ว่าสินค้าตัวไหนลดราคา หรือร้านอาหารร้านใดมีโปรโม ชั่นดีๆ บางทีก็มีแจกส่วนลดในลิ้งที่แนบมากับเนื้อหาที่โพส @js100radio รายงานข่าวสารการจราจรตลอดเวลาสะดวกต่อการเดินทาง @NTVWorldNews ข่าวรอบโลกที่รายงานทุกสถานการณ์มีความถูกต้อง และปลอดภัยต่อการรับข่าว

-179-


@sermsin_s จะมีรูปต่างๆไม่ว่าจะสถานที่หรือเหตุการณ์ต่างๆพร้อมค�ำ บรรยายภาพที่ย่อความได้ชัดเจนกระชับ @Kom_chad_luek ได้ข้อมูลข่าวสารครบถ้วนเหมือนหนังสือพิมพ์ @noppatjak ผู้สื่อข่าวที่มีความเป็นกันเองและน�ำเสนอข่าวในแง่มุมที่ไม่ใช่ กระแสหลัก @rawangpai ข่าวเร็วและทันสมัย @wirojla รายงานข่าวสถานการณ์บ้านเมือง ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวการเมือง เป็นคนที่เเสดงความคิดเห็นได้หลากหลายมุมดี มีการเเย้งในข้อมูลเพื่อให้เห็นว่าข้อมูล นั้นไม่ได้มีด้านเดียว @NTVWorldNews Foreign News NTV รายงานข่าวต่างประเทศทั่วทุกมุม โลก มีข่าวทุกประเภทตั้งแต่อาชญากรรม จนถึงข่าวบันเทิง มีภาพประกอบทุกข่าว เท�ำ ให้เนื้อข่าวมีความน่าสนใจมากขึ้น @noppatjak : ข่าวน่าสนใจ เข้าใจง่าย มีการแสดงความเห็นตามสมควร @cake_nbc : ข่าวน่าสนใจ ใช้ภาษาเข้าใจง่ายมากกกกกกก เนื้อหาข่าวมีหลากหลาย วงการ

-180-


@NTVWorldNews เป็นข่าวของต่างประเทศ ซึ่งบางทีก็ไม่ได้ถูกน�ำเสนอ ผ่านทางโทรทัศน์ ติดตามได้ง่าย @MorningNewsTV3 เพราะมีการสรุปเนื้อหาข่าว ไม่ต้องไปอ่านยาวๆ รู้ได้ ทันที และอัปเดททุกวัน ทันเหตุการณ์

สนใจ

@Bangkok_2474 มีการรายงานข่าวพร้อมการวิจารณ์อย่างมีเหตุผลที่น่า

@bluebanana_leaf เพราะเขาทวิตน่าอ่านดี @khajochi เพราะ มีการอัพเดตเรื่องของเทคโนโลยี(โทรศัพท์มือถือ) @SpringNews_TV เพราะ มีการอัพเดตข่าวทุกประเภททั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ เรื่องทั่วๆไป เรื่องหวย ฯลฯ ท�ำให้เราได้รับข่าวสาร(ที่ส�ำคัญ)ตลอดเวลา @PostToday ทันใจ เปิดลิ้งค์ได้

สม�่ำเสมอ

@Rawangpai @Sax_Taninwat รายการรวดเร็ว ค่อนข้างเชื่อถือได้ และ

-181-


@NTVWorldNews รายงานข่าวได้น่าสนใจ มีรูปภาพประกอบ @sugarscrape เป็นส�ำนักรายงานข่าวบันเทิงตปท ต้นๆที่ติดตาม @BarackObama ฉันชื่นชอบในตัวท่านและที่ส�ำคัญทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ ต่างๆเกิดขึ้นในสหรับหรือแม้กระทั่งประเทศอื่นท่านก็จะทวีตเสมอ เช่นค�ำพูดให้ก�ำลัง ใจ สถานการณืขนาดนั้น @Thaimarketing เพราะรายงานข่าวได้หลายประเภท ทั้งเทคโนโลยี สถานการณ์ปัจจุบันและบันเทิง @Thaimacupdate เพราะเป็นคนที่ชอบใช้สินค้าของapple และเว็บนี้น�ำ เสนอข่าวคราวของบริษัทนี้ได้รวดเร็ว @Pat_ThaiPBS เหตุผล เพราะ กระชับ เร็ว อ่านง่าย @Legend_Seven ข่าวที่น�ำมาทวีตเจ้าของแอคกรองมาก่อนและน�ำมาเสนอ เฉพาะแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ แหล่งข่าวลือที่รายงานพลาดบ่อยๆ จะไม่น�ำมาเสนอ

-182-


นอกจากนั้นเรายังได้ขอให้ผู้ตอบแบบสอบถาม เสนอข้อติชม และแนะน�ำ เกี่ยวกับการรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์ ว่าควรมีการปรับปรุง แก้ไขอย่างไร เพื่อให้ตรง กับความต้องการของผู้บริโภคสื่อมากยิ่งขึ้น และนี่คือค�ำตอบที่หยิบยกมาบางส่วน ยากต่อการอ่านเข้าใจภายใน 140 ตัวอักษร หากต้องการเข้าใจเนื้อหาข่าว ทั้งหมดต้องกดลิงค์เข้าไป ใครที่อ่านจากทวิตเตอร์เท่านั้นอาจตีความเนื้อข่าวไปผิดก็ได้ ควรรายงานข่าวที่ถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ ตรงไปตรงมา ระบุวันเวลาให้ ทราบ และอยากให้มีการระบุแหล่งข่าวที่ชัดเจนมากกว่านี้ ไม่ให้เครดิตที่มาของข่าว / การรายงานข่าวทุตยภูมิมีการ RT แบบเก่า ท�ำให้ track ไม่ได้ ข้อปรับปรุงคือ การรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์ต้องใช้ข้อความที่กระชับและ จ�ำกัดตัวอักษร จึงต้องเลือกใช้ค�ำให้ดี เพราะความหมายอาจบิดเบือนได้ บางทีข่าวยังไม่กรองมาก่อน เป็นข่าวผิด ๆ แต่ท�ำให้เชื่อง่าย รีไปแล้ว แล้ว เพิ่งรู้ว่าไม่จริง ข่าวมันไปเร็ว คิดว่ากรองแล้วก็ยังมีพลาดได้ ควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนน�ำเสนอข่าว มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ น่าเชื่อถือ และเลิกมีภาพประกอบข่าวที่มันละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างภาพคนตายหัว แบะได้แล้ว

-183-


การน�ำเสนอข่าวควรเสนอทั้งพาดหัว และมีการสรุปย่อข่าว เพื่อให้ผู้อ่าน สามารถเข้าใจเนื้อหาข่าวได้ง่าย ควรมีลิ้งค์ให้กดเข้าไปอ่านรายละเอียด ควรมีที่มาของข่าว เครดิต ควรเขียนข่าวด้วยค�ำที่ชัดเจนมีแหล่งที่มาแน่นอน เพราะข่าวๆหนึ่งจะมีคนน�ำ ไปทวีตต่อ ท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย ผู้สื่อข่าวบางส�ำนักใช้ทวิตเตอร์ทวิตข่าวสารต่างๆแต่ข่าวนั้นอาจไม่ได้รับการ ตรวจสอบให้ถูกต้อง จึงท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ตรวจสอบแหล่งที่มา และข้อเท็จจริงก่อนน�ำเสนอข่าว เพราะว่าข้อมูลที่ถูก ทวีตนั้นถูกส่งต่อออกไปในวงกว้างรวดเร็วมาก ถ้าข่าวเป็นข่าวลวงจะท�ำให้เกิดความ เข้าใจผิดในวงกว้างได้ บางครั้งหัวข้อข่าวก็สั้นเกินไป อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ไม่มีลิ้งค์ให้ไปต่อ ข่าวในทวิตเตอร์มีความไวสูงมาก แต่ไม่ผ่านการกรอง เหมือนการบอกต่อๆอย่างรวดเร็ว มีความบิดเบือนสูง ต้องกรองจากหลายๆทวิต ตรวจสอบความถูกต้องของข้อความก็ส่ง และความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว ควรบอกแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และอ้างอิงจากแหล่งเชื่อถือได้

-184-


ควรมีข่าวที่มีความน่าสนใจและแปลกใหม่เรื่อยๆ บางทีข่าวผิดเเต่ยังเอามาเเชร์ เลิกเอาเร็วเข้าว่าแล้วไตร่ตรองข้อมูลกัน มากกว่านี้ก็จะดี มั่วง่าย ควรจะตรวจสอบความถูกต้องของข่าวก่อนน�ำเสนอ ข้อดีคือข่าวเร็ว แต่ความเชื่อถือของข่าวยังไม่มากนัก ควรต้องปรับปรุงตรงนี้ และบางทีหาต้นตอที่มาของข่าวไม่ได้ เพราะมีการก็อปทวีต ย่อข่าวมาหลายต่อ การรายงานข่าวในทวิตเตอร์จะท�ำให้แพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ กดรีทวีต หากข่าวสารนั้นผิดพลาดจะท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย การรายงานข่าวใน ทวิตเตอร์จึงควรตรวจสอบให้แน่ชีดก่อน ข่าวบางข่าวไม่ตรงตามความเป็นจริง บางครั้งอาจสั้นเกินจนท�ำให้เนื้อหาข่าว เปลี่ยน และมีข่าวลือเยอะควรคัดกรองข่าวสารทีมีสาระและน่าเชื่อถือมากกว่าที่เป็นอยู่

ข่าวที่ดีควรมีความถูกต้องกว่านี้ ไม่ใช่ว่าเป็นข่าวโคมลอยฟอร์เวิร์ดต่อมา เรื่อยๆแล้วหาต้นตอไม่ได้จนอยากที่จะแก้ไขข่าวที่เกิดกรณีผิดพลาด

-185-


ถึงการรายงานข่าวทางทวิตเตอร์จะรวดเร็วก็จริง แต่เรื่องของความถูกต้องก็ ควรจะเช็คให้ดีเพระการทวิตนั้นมันจะไวมากเวลาคนรีทวิตท�ำให้ข่าวแพร่กนะจายโดย เร็วถ้าหากเนื้อหามันผิดก็จะท�ำให้คนจ�ำนวนมากเข้าใจผิด ควรมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน เพราะส่วนใหญ่เป็นข่าวลือหรือไม่ใช่ข้อเท็จจริง ท�ำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด น่าจะสามารถอัพวิดีโอลงได้ในระยะเวลาที่ยาวกว่านี้เพื่อประกอบเนื้อหาข่าว ไปพร้อมกัน ความน่าเชื่อถือน้อย ข่าวสารบางอย่างส่งต่อกันมาจนเกิดความผิดพลาด หา ที่มาตั้งต้นของข่าวได้ยากในบางครั้ง ต้องเชื่อถือได้เป็นอันดับแรก ทวิตเตอร์มีข้อดีคือรวดเร็ว แต่หลายครั้งมาก ๆ ที่จะเป็นข่าวที่ผิด ได้ยินมาลอย ๆ หรือข่าวที่ไม่มีมูลความจริง แต่ก็ท�ำให้มวลชนหลง เชื่อ เพราะฉะนั้นความถูกต้องจึงต้องเป็นเรื่องที่ส�ำคัญกว่าความรวดเร็วในการน�ำเสนอ งดการเเสดงความคิดเห็นส่วนตัวโดยไม่มีข้อมูลที่เเน่นอน แหล่งข้อมูลบอกไม่ชัดเจน ท�ำให้มีความคลาดเคลื่อน และบิดเบือนในบ่อย ครั้ง ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากในการรับข่าวสาร

-186-


บางครั้ง ข่าวที่ทวีตมามีความก�ำกวม เพราะการจ�ำกัดจ�ำนวนอักษร ข่าวแพร่ ไปเร็วมาก บางครั้งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน ข่าวค่อนข้างน่าเชื่อถือน้อย ต้องใช้วิจารณญาณสูงว่าข่าวนี้มีความจริงมาก น้อยเพียงใด บางบัญชีรายงานข่าวใช้ค�ำผิด ท�ำให้ความหมายของข่าวผิดเพี้ยนไปได้ ซึ่ง ผู้คนส่วนใหญ่ที่เห็นไม่สนใจจะไปดูเนื้อข่าวจริงๆ รู้มาอย่างไรก็รู้ไปอย่างนั้น จึงคิดว่า ควรระวังค�ำที่สื่อสารด้วย เน้นข่าวที่กรองแล้ว หรือข่าวที่มีมูลที่แท้จริง มิใช่เกิดจากการแชร์ต่อๆกันมา สามารถเช็คได้ว่าข่าวใดล่าสุด อาจมีเครื่องหมายที่ให้เจ้าของแอคเคาท์ท�ำ เครื่องหมายไว้ ว่าข่าวนี้เรียบร้อยแล้ว เคลียร์แล้ว หรือมีแบ่งต่างหากไปเลยว่า tweettohelp เป็นช่องทางส�ำหรับช่วยเหลือ ต.ย. ข่าวเด็กหาย เด็กป่วย ที่บางทีแชร์กันไป โดยไม่รู้ว่าเคลียร์แล้ว ควรมีความทันสมัย รวดเร็ว กระชับ ไม่ก�ำกวม ควรพิจารณาแหล่งข้อมูลและเนื้อหาของข่าวก่อนจะทวิตออกมาสู่สาธารณะ เพราะเพียงการทวิตข่าวสารที่ผิดจะท�ำให้ผู้ที่ติดตามรับรู้สิ่งที่ไม่เป็นจริงด้วย

-187-


บางครั้งรูปภาพไม่ตรงกันกับเนื้อหาของข่าว ท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ #ข่าวบางข่าวเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว แต่เพิ่งมาทวิตเพราะคิดว่าเพิ่งเกิดมาเมื่อไม่นาน ขาดความถูกต้องอยู่มาก บางครั้งข่าวลือ คนก็เชื่อรีบกดrt ท�ำให้ข่าวลือยิ่ง กระจายออกไป เพราะฉะนั้นคนที่อ่านต้องกลั่นกรองและใช้วิจารณญาณเยอะกว่านี้ การสะกดค�ำ บางทีก็สะกดผิด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรจะตรวจ ทานให้ถูกต้องก่อนที่จะทวีต ควรรายงานข่าวที่จริง ส่วนใหญ่ในทวิตเตอร์จะแข่งกันลงข่าวที่ว่าฉันเร็วสุด รายงานข่าวโดยที่ไม่ตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ บางทีข่าวบางข่าวก็ไม่ถูกต้อง บางทีมีความผิดพลาดมากแต่ส่งต่อกันอย่าง รวดเร็วท�ำให้ได้ข้อมูลผิดๆ วิธีพัฒนาก็คือตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนที่จะเผยแพร่ อยากให้ย่อข่าวให้ได้ใจความและไม่ควรพาดแค่หัวข่าวและให้ลิ้งค์มาอ่านต่อ เพราะไม่อยากเปิดหลายหน้า ควรปรับปรุงให้ดึงดูดผู้ใช้มากกว่านี้เพราะส่วนใหญ่ในทวีตเตอร์ทุกคนจะคิด ว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวเลยอาจไม่ต้องติดตามใครเลย อาจจะมีการแนะน�ำเพจที่สร้างสรรค์ จัดอันดับเพจสาธารณะที่คนติดตามเยอะจนถึงห่วยสุด

-188-


ด้วยข้อจ�ำกัดเรื่องจ�ำนวนตัวอักษร อาจท�ำให้ต้องมีการกระชับเนื้อความ จน อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ อยากให้ระวังจุดนี้เยอะๆค่ะ โลกทวิตเตอร์ไม่ได้กว้างมาก ไม่ควรลงแค่พาดหัวข่าวหรือเนื้อหาข่าวเพียงอย่างเดียว ควรลงใจความส�ำคัญ และเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา ไม่โอเวอร์ ค�ำนึงถึงความถูกต้องและเป็นกลาง ข้อมูลในทวิตเตอร์บางครั้งความน่าเชื่อถือน้อยเกินไป ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ตัวอักษรไม่พอเพิ่มเครดิต, เป็นเรื่องกุแล้วรีทวิตต่อๆกันมา ท�ำให้ข้อมูลที่แพร่ได้เร็วนั้น อาจมีมากเกินไปจนหาที่มาไม่เจอ หรือเผลอหลงเชื่อข่าวลือได้ จึงควรพยายามให้ความ ส�ำคัญของการเขียนที่มาของข้อมูลให้มากกว่านี้ ให้มีแหล่งข้อมูลเชื่อมโยงที่น่าเชื่อถือในการรายงานข่าวที่ส�ำคัญๆให้มากๆ ควรมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนน�ำเสนอให้มากกว่านี้ ควรพาดหัวข่าวให้เข้าใจ ง่าย ไม่เกิดความสับสน ควรหาน�ำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง กันหน้าแตก บางครั้งมีการพาดหัวข่าวลอยๆ(หรือบางครั้งก็มีภาพประกอบ) อาจท�ำให้ ผู้รับสารเข้าใจในตัวข่าวได้ไม่ครบถ้วน การพาดหัวข่าวควรมีเนื้อหาอย่างย่อหรือโดย ละเอียดแนบมาด้วย เพื่อให้ผู้รับสารรับสารได้สะดวก และเข้าใจได้ถูกต้อง

-189-


nowism เกินไป ไม่ตรวจความถูกต้องของข้อมูลให้รอบด้านก่อน ควรตรวจ สอบความถูกต้องของข่าวก่อนรายงาน เรื่องความน่าเชื่อถือของข่าว เพราะบางทีข่าวไป เร็วแต่ไม่จริงก็เดือดร้อนได้ อยากให้เช็คข่าวสาร เช็คความถูกต้องก่อน เพราะทวิตเตอร์เป็นโซเชียล เน็ตเวิร์คที่แพร่ข่าวสารต่อกันรวดเร็วมาก ถ้าข่าวไม่ถูกต้อง ภายในไม่กี่นาทีอาจจะถูกรี ไปเป็นร้อยแล้ว ท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ บางทีข่าวจากเมืองนอกที่แปลมา อาจมีการแปลผิด หรือใช้ค�ำผิดไปเล็กน้อย ท�ำให้ความหมายเปลี่ยน อยากให้เช็คให้ดี แล้วก็แปลอย่างมีความรู้จริงๆ ควรมีความถูกต้องแม่นย�ำมากกว่านี้ และมีลิงค์ประกอบเพื่อให้คนที่สนใจ สามารถเข้าไปดูเนื้อหาของข่าวได้ทั้งหมด ความถูกต้องและแหล่งอ้างอิงต้องพัฒนา ยิ่งส่งข่าวสารได้ไวและง่ายต้องยิ่ง ระวังความถูกต้องของข้อมูลให้มาก ถ้าข่าวสารผิดกว่าจะแก้ข่าวกันได้คนก็รีทวิตกัน ไปเยอะแล้ว แล้วพวกที่อ่านน้อยก็จะยิ่งรับข่าวที่ถูกต้องยากกว่าพวกที่ติดตามข่าวเป็น ประจ�ำ และคนจ�ำพวกนี้ก็จะท�ำให้ข่าวที่ถูกต้องแพร่กระจายได้ช้า ด้านความถูกต้อง คนรายงานข่าวควรมีที่มาชัดเจน ตรวจสอบที่มาให้ เรียบร้อยว่าข่าวที่จะรายงานนั้นมีมูลความจริง ไม่ใช่สักแต่รายงานเร็วเข้าว่าค่ะ :)

-190-


มีการใส่รูปประกอบเนื้อหาและควรมีการอัพเดทข่าวสารใหม่ ๆ ตลอดเวลา บางบัญชีทวิตเตอร์ควรเลิกมีแต่พาดหัวข่าว แต่ไม่มีลิงค์เข้าสู่เนื้อหาข่าว หรือ เนื้อหาข่าวในลิงค์ก็แทบไม่บอกอะไรเพิ่มเติมเลย

-191-



บรรณานุกรม ประวัติศาสตร์ของทวิตเตอร์. (2553). สืบค้นจาก http://www.lomtoe. com/twitter/history_twitter.php ter/

วิธีการใช้ทวิตเตอร์. (2553). สืบค้นจาก http://www.lomtoe.com/twit-

โซเชียลมีเดียคืออะไร. (2556). สืบค้นจาก http://www.microbrand.co/ social-network สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2554). ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนก�ำลังถูกท้าทายสื่อใหม่. สืบค้นจาก http://www.sunandhanews.com/2011-05-10-03-44-25/15742011-05-10-03-42-13.html การรายงานข่าวขั้นสูง. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/onlinecitizenship/home/good-communication/advanced-reporting pdf

องค์ประกอบการเขียนข่าว. สืบค้นจาก http://prd.rmutp.ac.th/km/1.

มโนชญ์ ศาสตร์ศรี. (2555). หลักการเขียนข่าว การผลิตข่าว และการ รายงานข่าว. สืบค้นจาก http://contentcenter.prd.go.th/contentviewfullpage. aspx?folder=601&subfolder=&contents=6159 เทคนิคการรายงานข่าว. (2550). สืบค้นจาก www.general.psu.ac.th/

-193-


data/word/technicnew.doc ทฤษฏีสื่อใหม่. สืบค้นจาก http://www.bloggang.com/viewdiary. php?id=amuletstory&month=03-2012&date=13&group=38&gblog=1 ทวิตเตอร์. สืบค้นจาก www.fis.ru.ac.th/twitter/twitter.pdf‎ มโนมัย ไชโย. (2552). 6 วิธีใช้ประโยชน์จาก Twitter. สืบค้นจาก http:// www.arip.co.th/articles.php?id=407314 Twitter ท�ำให้ผู้ชมหันมาเปิดทีวี?. (2556). สืบค้นจาก http://thumbsup. in.th/2013/08/study-links-tv-viewership-and-twitter-conversations/ ภาวุธ พงษ์วิทยภาณุ. (2553). Twitter อาวุธของนักข่าวสายพันธุ์ใหม่. สืบค้นจาก http://www.pawoot.com/node/549/ ฌาวิตรา พัฒนาอารยสกุล. (2556). นักข่าวสายพันธุ์ใหม่ : เปลียนแปลง อย่างไรให้จริยธรรมคงเดิม. สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/print. php?id=876637 กาฝาก. (2556). วิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือในข่าว. สืบค้นจาก http:// www.kafaak.com/2012/08/31/how-to-verify-the-creditability-of-newssource/ จักรพงศ์. (2554). เมื่อคนข่าวไทยเอาจริงกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค. สืบค้นจาก http://thumbsup.in.th/2011/07/social-media-news-reporting/

-194-


สฤณี อาชวานันทกุล. (2555). เครือข่ายพลเมืองเน็ต. สืบค้นจาก www. fringer.org/wp-content/writings/netiquette.pdf Social Media จะเปลี่ยนแปลงอะไร. (2555). สืบค้นจาก http://twittereffect.wordpress.com/2011/10/23/social-media Twitter Newspaper : Social Media ต้องการการตอบสนอง. (2556). สืบค้นจาก http://twittereffect.wordpress.com/2010/06/07/twitter-newspaper-social-media Twitter กับแวดวง TV และ ดารา (Twitter TV รายการที่ให้คนทีวีดู). (2555). สืบค้นจาก http://twittereffect.wordpress.com/2010/07/03/twitter ผู้มีอิทธิพลในทวิตเตอร์ : Power ของ Twitter อยู่ตรงไหน. (2553). สืบค้น จาก http://twittereffect.wordpress.com/2010/06/04/

-195-





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.