กวาง - ชมพูนุช ดรแกว ้ บัว
จัดทำ�โดย
ณิชนันทน์ เหรียญสมบัติ ภาณพงศ์ สัมฤทธิ์ผ่อง ภูมิ บัวพิพัฒน์วงศ์ วนิดา อาจาริยะ พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2555
คำ�นำ� วิชาชีพสื่อสารมวลชนนั้นเป็นที่นิยมของนักศึกษาในทุก ๆ ยุค ทุก ๆ สมัย แต่มีจำ� นวนไม่มากที่ประสบความสำ�เร็จในวิชาชีพนี้ และก็มีเพียงจำ�นวนไม่มาก ที่สามารถดำ�รง อยู่ในสาขาวิชาชีพนี้ได้ โดยยึดถือหลักจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชนอยู่เสมอ สื่อการเรียนรู้เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา JR 301 : News Reporting & Writing ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้เราได้ฝึกการสัมภาษณ์บุคลลจริง ๆ แล้ว ยัง ทำ�ให้เราได้รับรู้เรื่องราวของอาชีพสื่อสารมวลชนว่าเป็นอย่างไร และเหมือนหรือต่างกับ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจอย่างไร รวมทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ในการทำ�งานต่าง ๆ และได้รับ แรงบันดาลใจอีกมากมาย ทุกข้อผิดพลาดและคำ�ติชม พวกเราขอน้อมรับไว้เพื่อใช้ปรับปรุงในงานต่อ ๆ ไป SLACK TEAM 22 NOV 2012
สื่อมวลชน คือหนึ่งในอาชีพที่ถูกมองว่า เป็นอาชีพที่มีอิทธิพลที่สุดในโลก เพราะผู้ที่เสียง ดังกว่าก็ย่อมสามารถท�ำให้ประชาชนได้ยินมากกว่า เมื่อประชาชนได้ยินมากก็มีสิทธิ์ที่จะถูกโน้มน้าวได้ มากกว่า ดังนั้นไม่ว่าจะในวงการใด สื่อมวลชนก็ดูจะ เป็นผู้มีอิทธิพลไปเสียหมด โดยเฉพาะในเรื่องของ “การเมือง” วันนี้พวกเราจึงเดินทางมาที่ห้างสรรพสินค้า อิมพีเรียล ลาดพร้าว ที่ท�ำการของสถานีโทรทัศน์ เอเชีย อัพเดท เพื่อมาพูดคุยกับนักข่าวรุ่นใหม่อย่าง พี่กวาง ชมพูนุช ดรแก้วบัว ศิษย์เก่าสาขาวิชาโฆษณา สร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ผันตัวมาเป็นนักข่าวที่มีชื่อเสียงได้
พี่กวางเรียนจบสาขาวิชาโฆษณา แต่มาท�ำงานในสายวารสารศาสตร์ซึ่งดู เหมือนเป็นขั้วตรงข้าม อะไรคือจุดพลิกผันให้มาอยู่ตรงนี้ โดยพื้นฐานพี่เป็นคนต่างจังหวัด อยู่จังหวัดอยุธยา เลยค่อนข้างที่จะคลุกคลีกับ เรื่องของท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกัน อยุธยาเนี่ยมันเป็นศูนย์กลาง คือจะไปทางไหนก็ไม่ ไป เหนือก็ไม่เหนือ อีสานก็ไม่อีสาน พอเราอยู่ตรงกลาง เราก็ได้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่าง ใน เรื่องของชีวิตชนบท เรื่องของสังคม ประเพณี วัฒนธรรม พอเข้ามาเรียน ม กรุงเทพ ก็เลือกเรียนนิเทศศาสตร์ ภาควิชาโฆษณา เอก โฆษณาสร้างสรรค์ เรียนไปเรียนมาก็รู้สึกว่าเราเป็นคนชอบคิดแล้วเขียนออกมา และก็เขียน ได้ดีด้วยนะ เวลามีงานเขียนบทละคร เขียนบทรายการเนี่ย เพื่อนก็จะให้เราท�ำตลอด อา จารย์หลายๆท่านก็บอกว่างานเขียนของพี่เนี่ย สามารถพัฒนาไปถึงระดับมืออาชีพได้ มันจะมีอยู่ช่วงนึง ช่วงโอลิมปิค พี่ก็ติดตามข่าวสาร แล้วก็เรียนถ่ายรูปอยู่ด้วย ก็ เลยถ่ายรูป เขียนข่าว แล้วก็เลือกไปฝึกงานกับหนังสือพิมพ์ แล้วเค้าก็ชมว่าเราเก่ง เด็ก ม.กรุงเทพเก่ง อันนี้เรื่องจริงเลย ใครๆก็ชมเรา ตั้งแต่เรื่องแนวคิด การกระท�ำ
การแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ มุมมองของคนยุคนี้ต่อเด็กที่เรียนเอกชนก็คือ ถึงมันจะ ไม่ค่อยเรียบร้อย แต่ก็กระตือรือร้นมาก พอเรียนจบก็ได้ท�ำงานที่แรก คือ หนังสือพิมพ์แนวหน้า ท�ำข่าวสายสังคม สตรี เด็ก อธิบายกันง่ายๆ สังคมนี่ก็คือข่าวคุณหญิงคุณนาย พระราชกรณียกิจของทุกๆพระองค์ ซึ่ง ช่วงที่ท�ำตรงนี้ พี่ต้องติดตามทุกพระองค์ไปนู่นไปนี่ตลอด เป็นเรื่องนึงที่ภูมิใจมากๆในชีวิต ที่ เออ เด็กคนนึงที่พึ่งเรียนจบมา 3 เดือน ได้เดินตามพระราชินี ตามพระเทพ ท�ำตรงนั้น อยู่ 3 ปีแล้วก็มาท�ำสายการตลาด อันนี้เกี่ยวกับเรื่องของตัวเลข เป็นประสบการณ์เขียนข่าว ที่หนักขึ้น ยากขึ้น หลังจากนั้นก็ได้เริ่มท�ำงานสายข่าวโทรทัศน์ ที่ Bangkok Chanel เกี่ยว กับเรื่องของ ก.ท.ม. แต่ตรงนี้เราโตขึ้น มีประสบการณ์มากที่สุด เราก็เลยได้สั่งงาน จ่ายงาน น้องๆ รีไรท์ข่าวเองด้วย
ตั้งแต่แรกเริ่มเข้ามาท�ำงานจนถึงทุกวันนี้ มีอะไรที่ เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ความรับผิดชอบ นะ ตอนท�ำงานใหม่ๆ มันเหมือนสนุกกับ สิ่งแวดล้อมการท�ำงานน่ะ เป็นนักข่าวก็มีเพื่อนนักข่าวเยอะ แต่ งานไม่ค่อยดีเท่าไหร่ รู้สึกว่าไม่เต็มที่ ท�ำไปสนุกไป แต่พอโตขึ้นมี ประสบการณ์มากขึ้น มันปรับไปเองโดยการที่ เราไปท�ำงาน กลับมา เขียนงาน พิมพ์งาน มันสั่งสมประสบการณ์โดยไม่ต้องมาคิดทั้งวันว่าจะ เขียนอะไร มันจะพัฒนาไปเอง พอมันยิ่งพัฒนาเราก็ยิ่งภูมิใจในตัวเอง มากขึ้น ถ้าถามว่านักข่าวมีเวลาเยอะมั้ย “เยอะมาก” อย่าไปเชื่อใน ทีวีว่านักข่าวต้องซุ่มถ่ายรูป ท�ำข่าวนู่นนี่ ถ้างานคุณจบ ออกไปท�ำข่าว กลับมาพิมพ์ส่งบก.เสร็จ ถ้าอย่างพี่ท�ำในโทรทัศน์ ถ้ามันเป็นสกู๊ป ก็ พิมพ์ ลงเสียง ส่งตัด พี่ก็จบของพี่แล้ว ชีวิตนักข่าวไม่เหนื่อยเลย
ดูเหมือนเราจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับงานสายข่าวไปมาก เรื่องที่ว่าท�ำข่าวโทรทัศน์มันยากนี่จริงหรือเปล่า จริงๆไม่ยากนะ ไม่ยากเลย คือข่าวในโทรทัศน์เนี่ยจะแบ่งเป็น 2 อย่าง อย่างแรกก็คือข่าวที่เค้าเอามาน�ำเสนอกัน ในช่วงข่าวกลางวัน ข่าวภาคค�่ำ อย่าง ถ้าเป็นข่าวการเมือง ก็ตามไปดักรอรัฐมนตรีคนที่ก�ำลังเป็นข่าว พอลงจากรถมาก็จ่อ ไมโครโฟนสัมภาษณ์ แล้วก็เอากลับมาเขียนข่าวว่าวันนี้รัฐมนตรีคนนี้ พูดถึงเรื่องนี้ยังไง จ�ำน�ำข้าวเป็นยังไง ผลผลิต-การส่งออกเป็นยังไง แค่เขียนส่งมาสมัยนี้ก็อีเมล์ สมัยก่อนก็ใช้ เมสเซนเจอร์ แล้วทาง บ.ก. ก็จะรีไรท์ แล้วก็ให้ผู้ประกาศอ่าน ข่าวอีกแบบก็คือสกู๊ปที่พี่ชอบท�ำ แล้วก็ถูกมอบหมายให้ท�ำบ่อยๆ มันก็จะ ยากกว่าหน่อย คือเราต้องลงพื้นที่ ไปจังหวัดต่างๆ ก็จะเหนื่อยบ้าง ร้อนบ้างเป็นธรรมดา อย่างเรื่องรับจ�ำน�ำข้าวที่พี่พึ่งลงพื้นที่มานี่ เราก็ต้องไปสัมภาษณ์ชาวนา ดูพื้นที่ แต่ละ จังหวัดเป็นยังไง เดือดร้อนแค่ไหน พอกลับมาก็เอามาตัด พิมพ์ ลงเสียงพากย์ในห้องอัด และก็มาให้ฝ่ายเทคนิคเค้าตัดต่อ แค่นั้นเอง ไม่ยาก และไม่เหนื่อย สนุกมากๆ
แล้วต้องลงพื้นที่บ่อยแค่ไหน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน อย่าง ค.ร.ม.สัญจร ที่นายกฯจะไปประชุมจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ เรา ก็จะเป็นทีมล่วงหน้าไปดูพื้นที่นั้นๆก่อน คือพอรู้ว่านายกก�ำลังจะไปไหน เราก็หาข้อมูลข่าวสารที่ เกี่ยวข้อง พื้นที่นั้นมีอะไรที่น่าสนใจ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจเค้ามีอะไร การส่งเสริมภายในชุมชนเป็น อย่างไร อีสานมีอะไรขาย ท�ำอะไรกิน ปลูกข้าว ปลูกอะไรก็แล้วแต่ เช่นครั้งล่าสุดที่ผ่านมา นายกไปจังหวัดสุรินทร์ นายกจะไปดูช้าง จะไปพัฒนาช้าง และไปใน เรื่องของเขตแดน เราก็ไปดูตรงนั้นว่ามันมีอะไร ยังไง แล้วจะพัฒนาตรงไหน หรือเรื่องของถนน ตรง นี้ก�ำลังจะมีทางเชื่อม ท�ำไมต้องเชื่อม เชื่อมแล้วได้อะไร เพื่อเอื้อประโยชน์ในแง่ของการขนส่งสินค้า เพราะว่าช่วงเช้ารถมันติด ฝั่งเขมรเค้าจะมาซื้อของฝั่งไทยก็ไม่สะดวก เราก็จะได้รายงานว่าที่นายกมาก็ เพื่อจะมาพัฒนาตรงนี้ เพื่อให้ได้ตรงนี้มาช่วยเศรษฐกิจ การคมนาคม การขนส่ง เราก็เก็บมาน�ำเสนอ งานที่พี่ท�ำจะเป็นอย่างนี้ น�ำเสนอในเรื่องของ ชุมชน ชีวิตคน ความเป็นอยู่ ไม่ได้เน้นการเมือง ตีกัน ปิดถนน ไม่ได้ฟาดวงฟาดงากับใคร ก็จะมีสาระ เพราะหัวหน้าเราก็ไม่ได้ปิดกั้น ที่นี่เป็นช่องเสื้อ แดงก็จริง แต่เค้าไม่ได้ปิดกั้นนะว่านักข่าวจะน�ำเสนออะไร แค่คนดูได้ประโยชน์ พี่เป็นคนไม่ชอบสีเสื้อ อยู่แล้ว เลยเลือกจะน�ำเสนอตรงนี้แทน
พี่กวางบอกว่าตัวเองไม่ได้ชอบการเมือง แล้วท�ำไมตอนนี้ถึง ท�ำงานข่าวการเมือง ที่ท�ำอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่ชอบเลย แต่ว่ามันเป็นโอกาสที่ต้องท�ำ อีกอย่าง คือเพื่อเป็นการทดสอบตัวเองด้วย แล้วความจริงมันก็มีข้อดีหลายอย่างอยู่นะ อย่างเรื่องสัมภาษณ์นักการเมือง ก็ไม่ใช่ว่าจะมีงานแบบนี้ไปซะทุกช่อง ส่วน ใหญ่ของช่องอื่นๆเค้าก็จะท�ำได้แค่รอเจาะสัมภาษณ์เวลานักการเมืองเดินออก มา แต่ช่องนี้มันเป็นช่องการเมืองที่อยู่ในสายของพรรคเพื่อไทย มันก็เข้าถึง แหล่งข่าวได้ง่าย เราสามารถที่จะนั่งคุยกับนักการเมืองคนไหนก็ได้มากกว่าช่อ งอื่นๆ พี่ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะฝึกฝนตัวเอง แต่พี่ก็ประกาศเจตนารมณ์ บอกทั้ง ตัวเองและทุกคนเสมอว่า “พี่ไม่ใช่เสื้อแดง” และก็ “ไม่ใช่เสื้อเหลือง” แต่ “รักในหลวง”
“เราไม่ควรหวัง เอาชีวิตของเรา ไปฝากไว้กับ นักการเมือง”
ความจริงแล้วการท�ำข่าวการเมืองเป็นเรื่องที่กดดันมากหรือเปล่า ตอบยาก คือมันก็เป็นแบบนี้ตั้งแต่สมัยไหนมา มันขึ้นอยู่กับคนมากกว่า ถ้า คนไปหวังกับพรรคการเมือง นักการเมือง หรือนายกรัฐมนตรีมากไป เขาก็จะไม่ได้ พึ่งพาตัวเองอยู่อย่างนั้น เงยหน้ามองเค้า แต่ไม่คิดจะท�ำอะไรให้ตัวเองด้วยตัวเองเลย พี่ว่าประชาชนควรรับรู้เรื่องของการเมืองไว้ รับรู้แล้วก็ติดตาม ว่าตัวเองจะได้ หรือเสียผลประโยชน์อะไร แต่ไม่ควรเอาความหวัง เอาชีวิต ไปฝากไว้กับนักการเมือง เหมือนคนภาคอีสานหลายคน ที่ทุกวันนี้เอาไปฝากชีวิตไว้กับพรรคเพื่อไทย และอดีต นายกทักษิณ นั้นคือเอาชีวิตไปฝาก แล้วก็ไม่ดิ้นรน ไม่พยายาม คนพวกนี้แหละที่จะ กดดันเรื่องการเมือง เพราะพอเปลี่ยนพรรค ความช่วยเหลือมันก็เปลี่ยนไปชัดเจน พอพรรคนึงได้ ภาคใต้ดี พอพรรคนึงได้ ภาคเหนือดี นี่ไงมันถึงกดดัน ส่วนคนที่ใช้ ชีวิตธรรมดาๆ เป็นคนระดับกลางๆ ที่ได้รับการศึกษาอย่างพวกเรา พี่คิดว่าการเมือง ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความกดดันให้เราเลย
ได้อยู่ใกล้ชิดกับการเมืองขนาดนี้ พี่มองเห็นอะไรจากการเมืองไทยบ้าง เห็น เห็นทั้งคนที่ท�ำงานเพื่อให้มันเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้ออกมาเป็นงาน และก็เห็น คนที่เกาะงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งอ�ำนาจ เงิน การสรรเสริญ ความมั่งมี อะไรต่างๆนานามี หมด แต่คงให้บอกเจาะจงไม่ได้ว่าใครเป็นยังไง เพราะว่ามันก็มีอยู่ทั่วๆไป แต่ถามว่าคน ท�ำงานมีมั้ย มี มีจริงๆ แล้วก็ตั้งใจด้วย นักการเมืองที่ตั้งใจท�ำงานนี่มีจริงๆนะ นักการเมือง รักพวกพ้องก็มี มีแน่นอน ไม่ใช่ว่าเลวซะทุกคน หรือสมบูรณ์ทุกคน แต่พี่มองตรงที่ใคร ท�ำงานมากใครท�ำงานน้อยมากกว่า
ช่วงหลายปีให้หลังนี้ สื่อมวลชนมักถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะใน ประเด็นทางจริยธรรม พี่กวางคิดยังไงกับเรื่องนี้ พี่ว่ามันเป็นที่ตัวนักข่าว เพราะว่ามันไม่ได้มีใครมาบังคับหรือควบคุมเราได้ในเรื่องของการน�ำ เสนอ ตัวเราต้องควบคุมตัวเราเอง ว่าเราท�ำข่าวมาเพื่ออะไร ให้ใคร ประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร ถ้า เราสามารถท�ำให้คนอื่นได้รับประโยชน์จากมันได้ก็ถือว่าเก่ง แต่พวกที่เบี่ยงเบนประเด็น เบี่ยงเบน เนื้อหา เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามมันก็มี เยอะด้วย เยอะจนบางครั้งพี่ก็ไม่เข้าใจว่ามันจะรุนแรงกันไปถึง ไหน แม้แต่ที่นี่เอง ฝั่งรายการสัมภาษณ์ ก็จะสบายๆไม่มีอะไรมาก แต่ฝั่งที่เป็นข่าวดุดัน รายโจมตีฝ่าย ตรงข้ามสุดฤทธิ์ก็มี มันอยู่ที่เราเลือกจะน�ำเสนออะไร แต่ว่าทีนี้อะไรที่มันไม่ดีต่อพรรคที่สนับสนุนช่องนั้นๆ มันก็จะไม่สามารถออกอากาศได้ คนที่ เป็นบก. เค้าก็จะเลือก ว่าจะดีดประเด็นไหน เอาประเด็นไหนขึ้น และตัดประเด็นไหนออก เค้าอาจ จะตัดด้านดีที่พี่เขียนออกไปก็ได้ ซึ่งมันก็เป็นข้อเสียส�ำหรับช่องที่เลือกข้าง สื่อที่เลือกข้าง เพราะมัน ท�ำให้ผู้รับสารไม่ได้ประโยชน์เต็ม 100% สมมุติว่าชาวนาพูดว่า “จ�ำน�ำข้าวดี แต่มีการโกง” เราก็ไม่ได้ บิดเบือนมันซะทีเดียว อาจจะใช้เป็นกระบวนการเอาไม่ดีขึ้นก่อนแล้วดีตบท้าย เช่น “สวยแต่อ้วน อ้วน
แต่สวย” เห็นมั้ย ต่างกันทันที มันก็เป็นเทคนิคอย่างนึง แต่อย่างพี่ พี่เองจะไม่ชอบข่าวการเมือง ถ้า เขียนก็คือในเรื่องของ รัฐบาลท�ำอะไร อย่างไร ได้ประโยชน์อย่างไร เสียประโยชน์อย่างไร พี่เขียนไอ้ ส�ำบัดส�ำนวนโจมตีทั้งหลายแบบนั้นไม่เป็น ในวงการนี้มีใครที่พี่กวางยกย่องให้เป็น Idol บ้างมั้ย คุณ บัญชา ชุมชัยเวทย์ ที่รายการข่าวเศรษฐกิจอยู่ช่อง 3 เค้าท�ำข่าวเศรษฐกิจจากเรื่องที่เรา ไม่ค่อยเข้าใจ เค้าท�ำให้เราเข้าใจได้ง่าย ท�ำให้คนทุกระดับเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ที่ส�ำคัญคือเค้าน�ำเสนอ อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีสคริปต์ อาศัยความเข้าใจ มันต่างกันนะ ส่วนใหญ่เค้าอ่านกัน อย่างคุณกิตตินี่ ก็กึ่งพูดกึ่งอ่าน แต่คุณบัญชานี่เค้าไม่ต้องมีอะไรเลย แล้วมันก็ท�ำให้คนเข้าใจเศรษฐกิจมากขึ้น อุปสรรคหลักๆ ที่เจอในงานนี้คืออะไร อุปสรรคในงานไม่มี มีแต่เรื่องของอุปสรรคที่อยู่ที่ตัวเราเองมากกว่า เพราะว่างานมันก็ต้องมี เบื่อ มีเหนื่อยบ้าง ขี้เกียจบ้าง บางทีมีงานต้องท�ำติดๆกัน บางทีว่างก็ว่างติดๆกันเลย มันก็สร้างความ
รู้สึกที่ท�ำให้เราเบื่อไปบ้าง แค่นั้นเอง เรื่องของสุขภาพส�ำคัญที่สุด อย่างคนท�ำงานทีวี อย่างพี่เนี่ย เดือนนึงมาแล้วที่พี่ไม่ได้ใช้เสียงเลย ต้องพิมพ์ข่าวอย่างเดียว ไม่พูดไม่อะไรเลย ไม่สัมภาษณ์ เพราะกล่องเสียงอักเสบ เส้นเสียงบวม เพราะ ว่าเราใช้เสียงเยอะ เมื่อวานไปตรวจก็กลับมา 80% แล้ว เรื่องของดูแลสุขภาพมันส�ำคัญต่อการท�ำงาน ที่ใช้เสียง พี่ป่วย ไม่สามารถไปอ่านข่าวได้ พี่ก็ขาดรายงานได้ สิ่งที่คนไม่เคยมาท�ำงานตรงนี้ก็ไม่มีวันรู้ แต่เราอยากจะบอก คนอื่นจะมองว่านักข่าวเท่ เป็นบุคคลที่ลึกลับ เพราะดูละครเยอะไง อยากให้มองนักข่าวใหม่ ว่านักข่าวเป็นตัวแทนของพวกเค้ามากกว่า เป็นตัวแทนที่จะน�ำเสนอข่าว ให้พวกเค้าได้รับประโยชน์ ได้ รู้ว่าเค้าจะได้รับอะไรเสียอะไร ต้องท�ำตัวยังไง อย่างนี้มากกว่า แล้วก็นักข่าวไม่ใช่ผู้วิเศษ คนอยากเป็น นักข่าวมาก อยากรู้จักกับนักข่าวมาก และก็เลยท�ำให้หลายๆคนเข้าใจนักข่าวผิด ให้เข้าใจว่านักข่าวคือ เพื่อนของเค้า เพื่อนที่จะบอกน�ำเสนอเรื่องราว ทุกมุมทุกส่วนของประเทศให้เค้าได้รับรู้ แค่นั้นล่ะ
ทุกวันนี้พี่ท�ำงานด้วยความรู้สึกแบบไหน รู้สึกว่า มันจะต้องมีอะไรมากกว่านี้ จากหนังสือพิมพ์มาโทรทัศน์ ความใฝ่ฝันของทุกคนต้อง อยากนั่งอ่านข่าว ทุกวันนี้พี่ได้อ่านข่าว ได้เป็นพิธีกร แต่มันก็ยังไม่ใช่ผู้ประกาศข่าว คือมันก็ยังมีค�ำว่า นักข่าวพ่วงท้าย มันก็ต้องลงสนาม แต่ไม่ใช่ว่าลงสนามไม่ดีนะ แค่ดูเหมือนว่าคนที่เป็นผู้ประกาศก็เป็น อีกขั้นหนึ่งแล้ว ตั้งแต่เป็นนักข่าวมา เรื่องอะไรที่ประทับใจที่สุด ประทับใจพระราชินีมาก คือเด็กๆรุ่นหลังจะไม่ค่อยได้เห็นท่านทรงงานแล้ว แต่พี่ยังพอทันไง เราก็เห็นมาตลอด แล้วพอเราได้มาคอยตามเสด็จท่าน ท่านก็จะหันมายิ้มให้พี่ตลอด ยิ้มให้พี่คนเดียว เลยนะ ทุกครั้งเลย ด้วยความที่เป็นเด็กยิ้มเก่ง พี่ก็ยิ้มตอบท่าน ท่านก็ยิ้มให้พี่ ความฝันสูงสุดในฐานะนักข่าวของพี่คืออะไร อยากเป็นผู้ประกาศข่าว แต่ว่าอยากจะอยู่ในช่องที่มันเป็นกลาง แค่ให้รู้สึกว่าเรามีโลโก้ของ
ความเป็นกลาง จะได้สบายใจ ไปไหนก็สบายใจ คือทุกวันนี้ถ้าไปในถิ่นเสื้อแดงเค้าก็จะต้อนรับเราดี มาก แต่ถ้าไปสัมภาษณ์คนที่ไม่ใช่เสื้อแดงเค้าจะโบ้ยหน้าหนีเลย มันสร้างความหนักใจให้คนท�ำงาน บางคนก็โดนด่าแรงมาก ด่าแรงถึงตระกูล พี่เคยไม่เคยโดนก็ถือว่ายังโชคดี เคยรู้สึกเบื่อ หรือท้อจนอยากจะเลิกเป็นนักข่าวบ้างหรือเปล่า เคยนะ คือกดดันตัวเองมากเกินไป อยากจะอ่านข่าว อยากเป็นผู้ประกาศให้ได้ไวๆ ถ้าเราเป็นผู้ ประกาศข่าว เราก็ได้เงินมากขึ้น โอกาสมากขึ้น ใครๆก็อยากเป็น อยากท�ำ สวยด้วย ได้เงินด้วย สบาย ด้วย นั่งอ่านข่าวเฉยๆ แต่ด้วยความที่ผู้ประกาศอายุต้องมาก ต้องอาวุโส ส่วนใหญ่ก็ได้เป็นผู้ประกาศ หลักกันตอน 30 แต่พี่พึ่ง 28 แค่ก็คิดว่าถ้าเราท�ำมากๆ อาจจะได้เป็นเร็วขึ้น ก็เลยกดดันตัวเอง ท�ำงาน หนักมากจนท้อเลยล่ะ แต่มาคิดๆดู ออกไปข้างนอกเราก็สนุกแบบเด็กๆ แต่ด้วยความที่คิดไวเกินตัว ชอบเร่งให้ตัวเอง แก่ อยากจะอยู่ข้างในเร็วๆ ก็เลยท�ำให้บางทีท้อบ้าง ไม่อยากท�ำแล้ว เท่านั้นเอง แต่ถ้าไม่ท�ำก็คงไม่ใช่ ตัวเอง
แล้วถ้าไม่ได้เป็นนักข่าวแล้ว พี่คิดว่าจะท�ำอะไรต่อไป อยากกลับบ้าน กลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ปลูก พืช ท�ำสวน ท�ำไร่ ธรรมดาๆแบบชาวบ้านทั่วไป แล้วก็อยากสร้างที่ดินที่ มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ถ้าพี่มีเงิน ประสบความส�ำเร็จในเรื่องของการเป็น ผู้ประกาศแล้วนะ พี่จะเจียดเงินส่วนหนึ่งมาท�ำเป็นศูนย์เรียนรู้ตามแนว พระราชด�ำริสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อที่จะให้มันไม่หมดไป ในเรื่องของ ธรรมชาติ ในเรื่องของวิถีชีวิต การใช้ชีวิต เพราะพี่ก็ท�ำงานใกล้ชิดพระองค์ ถึงมันจะเป็นช่วงปลายๆของพระราชกรณียกิจของพระองค์แล้ว ก็เถอะ ก็ได้เห็นงานหลากหลาย ท�ำให้รู้ว่าที่ผ่านมาพระองค์ท�ำเพื่ออะไร พอเพียงคืออะไร พอเพียงไม่ใช่แค่ว่าจมก็จมอยู่อย่างนั้น แต่มันคือการ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มี 10 ใช้ 5 แล้วเก็บไว้ ไม่ใช่ว่ามี 10 ใช้ 15 ซึ่งมันท�ำให้คน แตกแยก อาจจะมีแปลงนาเล็กๆ ให้ได้เข้ามาปลูกกัน ปลูกกล้วย จับปลา ความฝันสูงสุดของพี่คือถ้ามีเงินแล้วจะท�ำแบบนี้ล่ะ
“สิ่งสำ�คัญคือเรา
อยากจะทำ�
ไม่ใช่อยากจะเป็น”
ถ้ามีโอกาสพูดคุยกับรุ่นน้องที่ก�ำลังตั้งใจจะเป็นนักข่าว อยากจะบอกอะไร งานข่าวไม่ยาก สิ่งที่ยากคือโอกาส โอกาสที่ได้มันน้อยมาก ช่วงนี้ส�ำนักข่าวมีเยอะ เคเบิลมีเยอะ แต่ว่าเคเบิลมันก็มีหลายระดับ ช่องที่พี่อยู่เป็นอันดับ 1 ของเคเบิล แซงเนชั่น แซง ทุกสิ่งอย่างมาอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นเคเบิลที่ใหญ่ที่สุด มีคนดูมากที่สุดในประเทศ บางวันเรตติ้งก็ ชนะช่อง 3 ช่อง 7 ฟรีทีวีหลายๆช่อง สิ่งที่น่าจะหามากที่สุดคือโอกาส และก็การฝึกงานส�ำคัญ เพราะการฝึกงานเป็นการ สร้างโอกาสให้ตัวเอง ให้รู้จักกับรุ่นพี่นักข่าว เพื่อให้เค้าชักจูงเราเข้ามาในวงการข่าวง่ายขึ้น มัน ไม่เหมือนกับการเรียนจบไปสมัครแล้วเราไม่รู้จักใครเลย มันยาก เพราะว่านักข่าวเก่งอย่างเดียว ไม่ได้ ต้องมีเส้นด้วย ใครก็อยากเป็นนักข่าว คนกี่ล้านทั้งประเทศ ได้เป็นนักข่าวน้อยมากเลยนะ และที่ประสบความส�ำเร็จก็มีน้อยมากด้วย อยากให้ฝึกงานกันเยอะๆ ฝึกได้ฝึกเลย ฝึกหลายๆ ที่ ว่างก็ฝึกเลย ปี 2 ก็ฝึกได้ ฝึกหลายๆที่ พี่ฝึกมา 2 ที่นะ ฝึก NBT และก็ช่องสยามกีฬา ฝึก เยอะๆ เราจะได้รู้จักเค้าและเค้าก็จะดึงเราเข้าไปท�ำงาน
ชีวิตหลังเรียนจบมันแตกต่างจากสมัยเรียนอย่างไร แตกต่าง นะ ตอนแรกพี่ไม่รู้ว่าจบมาจะท�ำอะไรด้วยซ�้ำ อย่างที่เค้าบอกกันว่ามหาลัยเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ บางคนเรียน ไปยังไม่รู้เลยว่าจะเรียนไปท�ำอะไร คือรู้ว่าชอบ รู้ว่าอยากเรียน ก็ เรียนไป แต่มันจะไปค้นพบแค่จุดเดียว พี่เนี่ยมีความสามารถเรื่อง เสียง ชอบร้องเพลง ไปประกวดนู่นนี่ ของม.กรุงเทพก็ประกวด นะ ได้ต�ำแหน่งด้วย ตอนนั้นพี่ก็เลยคิดว่า พี่อยากเป็นนักร้องนะ แต่สมัยนั้นเวทีมันไม่ได้เปิดเยอะขนาดนี้ แต่พอมาท�ำหนังสือพิมพ์ ท�ำงานข่าวแล้ว มันก็สนุกดีนะ จนลืมตรงนั้นไปเลย พอข้ามจาก หนังสือพิมพ์มาท�ำในโทรทัศน์ คราวนี้ก็ได้กลับมาใช้เสียงอีกครั้ง หนึ่ง ลงเสียงสกู๊ป รายงานข่าว รายงานสด มันก็เลยท�ำให้เรารู้ว่า ตัวตนของเรา ความสามารถของเราอยู่ตรงไหน
มอะไรบ้างที่จ�ำเป็นถ้าคิดจะมาเดินในเส้นทางสายนักข่าวนี้ ส�ำหรับพี่นะ ความรักที่อยากจะท�ำ ไม่ใช่อยากจะเป็น อยากเป็นเนี่ย ทุก คนอยากเป็นหมด เพราะว่าโคตรเท่เลย พี่ก็ไม่รู้หรอกว่ามันเท่ยังไง เพราะพี่ท�ำ เพราะอยากท�ำ พี่เจอมาเยอะมากเลยนะ นักข่าวต่างจังหวัดที่หลอกตัวเองว่าเป็น นักข่าว เอาตัวเองไปคลุกคลีกับนักข่าวของแต่ละหน่วยงาน ไทยรัฐ เดลินิวส์ คม ชัดลึก พอไปรู้จักกับไทยรัฐก็ไปเข้าพวกกับไทยรัฐแล้วก็บอกตัวเองว่าเป็นนักข่าว ใหม่ ทางนี้ก็ใช้ทางนี้ แล้วก็เหมารวมกันว่าเป็นนักข่าว แล้วพวกนี้ก็มีรับเงินกัน เยอะ พวกท้องถิ่นจะมีการเมืองท้องถิ่นแล้วรับเงินกันเยอะ อันนี้คือพวกอยากเป็น อยากเท่ อยากอยู่ใกล้ชิด ส.ส. อยากใกล้ชิดแหล่งข่าว ผู้มีอิทธิพล แต่ถ้าอยากท�ำก็คือ ท�ำได้หมด ไม่เกี่ยงงาน ทุกวันนี้มีนักข่าวที่เป็นเพราะ ความเท่ก็มี เกี่ยงงานก็มี ซึ่งมันก็อยู่ประมาณซัก 20% เลยนะ พวกนักข่าวที่ไป ไม่ได้ทุกที่ คือไม่ได้มีจิตวิญญาณในการเป็นนักข่าวไง ร้อนก็ไม่ไป เหนื่อยก็ไม่ไป เลือกไปแต่ที่ดีๆ
ในวงการนี้มีเรื่องอะไรที่ไม่สามารถบอกหรือสอนกันได้บ้างไหมครับ เรื่องของความกดดันในเรื่องของการท�ำงาน งานข้างนอกเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ ว่าข้างในเค้าต้องการอะไร หัวหน้าเราต้องการอะไร บางทีเราต้องเรียนรู้ในเรื่องของคนมากๆ คนที่เราจะท�ำงานด้วยมันยาก ยากกว่าการท�ำงานมากๆ เราต้องรู้ว่าคุยกับผู้ใหญ่แนวนี้ต้องคุย แบบไหน เข้าถึงอย่างไร ช่วงแรกพี่ยังไม่รู้หรอก มันเป็นจิตวิทยาในการเข้าถึงหัวหน้า เข้าถึงใจ คน มันต้องท�ำงานมาเรื่อยๆ แล้วปรับตัวไปเอง เราจะรู้เองว่าหัวหน้าคนนี้ชอบให้เราถาม สนใจเค้า รายงานเค้า วันนี้ไปนี้มา เป็นอย่าง นี้ๆ เจออะไรมา นู่นนี่นั่น เค้าอยากให้เราพูดก่อน เค้าไม่ต้องการถาม แต่เมื่อก่อนพี่ท�ำงานกลับ มาแล้ว เอางานกลับมาท�ำ หัวหน้าถามว่าเป็นยังไง เราก็ไม่รู้ว่าจะตอบเค้ายังไง เราเป็นเด็กซื่อ บื้อ ไม่มีจิตวิทยาที่จะเข้าหาผู้ใหญ่ ไม่รู้จะพูดยังไง งานเป็นยังไง ... ก็ดีค่ะงาน แต่พอโตมาปุ๊บ งานเป็นยังไง ... อ๋อ งานนี้ก็ดีค่ะ แต่ว่านายกมาช้านิดนึง เพราะคนรุมข้างหน้าเยอะไปหมดเลย อะไรแบบนี้ มันยากนะกับการเข้ากันคนที่ท�ำงาน มันยากกว่าการท�ำงานมากๆ
เมื่อเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ พี่กวางยังได้พาเราเข้าไปชมการท�ำงาน ของสถานีโทรทัศน์ ในส่วนของห้องส่ง ห้องควบคุม โดยมีพี่ๆ ฝ่าย เทคนิคเป็นผู้อธิบายวิธีการท�ำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ฟังอย่างใกล้ชิด รวมถึงยังสาธิตวิธีการท�ำงาน เช่นการเปิด VTR ก่อนเข้ารายการ การตัด เข้าโฆษณา ฯลฯ ท�ำให้พวกเราได้รับความรู้อย่างมากมาย การได้ท�ำงานชิ้นนี้เป็นประสบการณ์สัมภาษณ์ครั้งแรกของพวกเรา ก่อนที่จะได้ท�ำการสัมภาษณ์เช่นนี้อีกหลายครั้ง เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก เพราะท�ำให้เรารู้ตั้งแต่เรื่องของการเตรียมตัว ไปจนถึงข้อผิดพลาด ซึ่ง เราสามารถน�ำไปปรับใช้ได้ในการท�ำงานครั้งต่อๆ ไป ทั้งยังท�ำให้เราได้รู้จัก ตัวตนของผู้ที่ท�ำงานในอาชีพสื่อมวลชนมากขึ้นอีกด้วย สื่อมวลชน อาชีพนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องของ การท�ำงานและการน�ำเสนอ โดยเฉพาะในเรื่องของการผิดจรรยาบรรณ บิดเบือนเนื้อหาข่าวเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม หรือน�ำเสนอในเรื่องที่ไม่เหมาะ
สม ไม่มีสาระ ไม่ก่อให้เกิดปัญญาแก่สังคม โดยเฉพาะบางส่วนที่ร้ายแรงถึง ขั้นท�ำลายศีลธรรมอันดี และล่วงเกินสถาบันหหลักของชาติอีกด้วย การได้มาพูดคุยสัมภาษณ์กับพี่กวางในคราวนี้ ท�ำให้เราได้รู้ว่า ยัง มีสื่อมวลชนอีกมาก ที่ยังท�ำงานโดยเห็นแก่สังคมเป็นหลัก ตั้งใจท�ำงาน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ไม่บิดเบือนเนื้อหา ไม่น�ำเสนอเนื้อหาที่จะ เป็นการโจมตีหรือละเมิดผู้อื่น ยึดถือในจรรยาบรรณและจริยธรรมของ สื่อมวลชนที่ดี แรงบันดาลใจและความรู้ต่างๆ ที่เราได้ในการท�ำงานสัมภาษณ์ครั้ง นี้ เราสัญญาว่า เราจะยึดถือ และน�ำไปปรับใช้ เพื่อให้สามารถเป็นสื่อมวลชน ที่ดี สามารถช่วยเหลือประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก และมีส่วนช่วยให้ประเทศ ชาติพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต ขอบคุณครับ SLACK TEAM
ขอขอบคุณ
พี่กวาง - ชมพูนุช ดรแก้วบัว
สถานีโทรทัศน์ Asia Update ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ