Aw#154 98 pages for web

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์ โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51.

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2556-2557 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

นายกสมาคม

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)

2. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง

อุปนายก คนที่ 1

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด

3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์

อุปนายก คนที่ 2

บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด

4. นางเบญจพร สังหิตกุล

เหรัญญิก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

5. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์

เลขาธิการ

บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

6. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ

รองเลขาธิการ

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

7. นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด

รองเลขาธิการ

บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด(มหาชน)

8. นายโดม มีกุล

ประชาสัมพันธ์

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด

9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล

ปฏิคม

บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด

10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ

นายทะเบียน

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด

11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น

กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

12. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ ไพสิฐพงษ์

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด

13. นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

14. นายวิชัย คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด

15. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด

16. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม

กรรมการ

บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน)

17. นายวราวุฒิ วัฒนธารา

กรรมการ

บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด

18. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

กรรมการ

บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ฉบับ E-Magazine ฉบับแรก ได้ออกมา ทักทายท่านแล้ว ด้วยนโยบายที่จะช่วยกันลดการใช้กระดาษ และนำสู่ การขยายวงผู้อ่านมากยิ่งขึ้นจากการเยี่ยมชมในเวปไซต์ของสมาคมฯ ที่ www.thaifeedmill.com นอกจากผูอ้ า่ นจะได้รบั ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร แล้ว สีสัน ก็จะน่าอ่านมากขึ้น และผู้ให้การสนับสนุนจะได้รับคำขอบคุณ จากเราด้วยการเปิดพืน้ ทีใ่ นหน้าเวปเพจของสมาคมฯ เพือ่ ลิงค์ไปสูเ่ ว็บไซต์ ของบริษทั ซึง่ เรามัน่ ใจว่า เว็บไซต์ของ www.thaifeedmill.com แพร่หลาย และเว็บไซต์ของท่านที่สนับสนุนเราจะยิ่งได้รับการเข้าเยี่ยมชมมากยิ่งขึ้น เนื้อหาในเล่ม เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และจะมีความหลากหลาย ในสาระที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ธุ ร กิ จ อาหารสั ต ว์ ปศุ สั ต ว์ ซึ่ ง จะมองมิ ติ ที่ ก ว้ า ง ขวางมากยิ่ ง ขึ้ น และการเตรี ย มพร้ อ มสู่ อ นาคตที่ จ ะต้ อ งแข่ ง ขั น ในการ แย่งพื้นที่แหล่งผลิตวัตถุดิบ เพื่อมนุษย์ เพื่อปศุสัตว์ และเพื่อพลังงาน จึง ต้องมองความยั่งยืน และรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศ และของโลก ให้อยู่ตลอดไป และการแข่งขันทางการค้า มิใช่จะมีเพียงการค้าระหว่าง ธุรกิจ ยังต้องแข่งขันระหว่างประเทศ ระหว่างภูมิภาค ดังนั้น ช่องทาง ข้ อ มู ล ข่ า วสารจะมี ค วามสำคั ญ และหากท่ า นจะมี ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์ และพร้อมจะให้เผยแพร่ต่อได้ ทางเราก็ยินดีรับไว้พิจารณาในระยะเวลาที่ เหมาะสมต่อไป ขอขอบคุณ กรรมการ สมาชิกสมาคมฯ และผูส้ นใจทีใ่ ห้ความสนับสนุน ในการจัดพิมพ์วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ ในรูปแบบ E-Magazine บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 31 เล่มที่ 154 ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

Contents Thailand Focus

คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 2556 และคาดการณ์ปี 2557............................. 5 ทางสองแพร่ง...ประเทศไทย จำเป็นหรือไม่ ต้องมี "จีเอ็มโอ"..................................... 17 การรับมือของไทย กับมาตรการอาหารอีย.ู ........................................................... 20

Food Feed Fuel

ส่องสินค้าเกษตรดาวรุ่งปี 57............................................................................... 23 รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2556.............................................. 26

Market Leader

ปี 57 สินค้าปศุสัตว์ ไทยสดใส.............................................................................. 40 ส.อาหารสัตว์ จ้างหอไทยศึกษาหมูเห็ดเป็ดไก่. ....................................................... 43 ส่องแนวโน้ม และการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมกุ้งไทยปี 2557.................................... 45 หนาวหนัก ฉุดผลผลิตหมู-ไก่วูบ. ........................................................................ 48 "ซีพีเอฟ" พลิกโฉมโรงเชือดไก่ ทุ่มซื้อเครื่องจักรชำแหละรายแรกในไทย..................... 50

Around The World

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับ "ภาคเกษตร"........................................................ 53 เวียดนาม บนเส้นทางสู่ครัวของโลก...................................................................... 56 เจาะตลาดสินค้าเกษตร ศักยภาพไทยในอาเซียน.................................................... 60 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหราชอาณาจักร..................................................... 63

การใช้กลิ่นหอมเพื่อลดความเครียด และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์. .................. 66 ภาคสถิต.ิ ............................................................................................................... 71 ขอบคุณ. ................................................................................................................ 80  ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม

นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข  นายณัฐพล มีวิเศษณ์  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265  Email: tfma44@yahoo.com  Website: www.thaifeedmill.com




ตลอดทั้งปี 2556 และคาดการณ์ปี 2557

Thailand Focus

คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ๏ ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชน

การบริโภคภายในประเทศปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ขยายตัวในอัตราที่ ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่การบริโภคขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.6 และขยายตัวในระดับที่ต่ำกว่า การคาดการณ์ครัง้ ก่อนทีค่ าดว่า การบริโภคจะขยายตัวร้อยละ 2.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหน้า การขยายตัวของการบริโภคในระดับต่ำเป็นผลจากผลของมาตรการกระตุ้นการบริโภค ที่ได้ดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมาอ่อนแรงลง รวมถึงรัฐบาลยังไม่มีมาตรการกระตุ้นการบริโภค ใหม่ๆ ที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน อีกทั้งสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง กอปรกับ สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ส่งผลให้ ผู้บริโภคมีความระมัดระวังด้านการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ที่มา: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

การบริโภคตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.9%

5


คาดว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคตลอดทัง้ ปี 2557 จะขยายตัวทีป่ ระมาณร้อยละ 3.0 ขยายตัวในอัตราทีเ่ ร่งตัวขึน้ จากปี 2556 เนือ่ งจากคาดว่าในปี 2557 สถานการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศในภาพรวมน่าจะปรับตัวดีขึ้น จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่น่าจะมี เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกิดการจ้างงาน และส่งผลต่อการ บริโภคทีน่ า่ จะมีความคึกคักเพิม่ มากขึน้ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองทีค่ าดว่าจะสามารถคลีค่ ลาย ไปในทิศทางที่ดีขึ้น

การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.7%

การลงทุนภายในประเทศปี 2556 คาดว่าน่าจะสามารถขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวจากในปีที่ผ่านมาที่การลงทุนขยายตัวถึงร้อยละ 13.3 และขยายตัว ในระดับที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดว่าการลงทุนจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ภายหลังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมาอ่อนแรงลง รวมถึงปัญหาในด้านของนโยบายการ ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เม็ดเงินเข้าสู่ระบบช้ากว่าที่คาดไว้ รวมถึงสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองถึงขัน้ มีการยึดสถานทีร่ าชการ ยิง่ ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีความ ล่าช้า และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนค่อนข้างมาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

6

คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนปี 2557 น่าจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำในปี 2556 และคาดว่าในปี 2557 งบประมาณใน โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐน่าจะมีเม็ดเงินลงสูร่ ะบบเศรษฐกิจเพิม่ มากขึน้ ซึง่ จะส่งผลให้ สถานการณ์ด้านการลงทุนในปี 2557 น่าจะมีความคึกคักเพิ่มขึ้น


การค้าระหว่างประเทศ การส่งออกตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 0.5%

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

การส่งออกโดยรวมของประเทศตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะมีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 230,373.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การนำเข้าปี 2556 คาดว่าจะมีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 252,198.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากมูลค่าการส่งออก และการนำเข้าข้างต้น ส่งผลให้คาดว่าดุลการค้าตลอดทัง้ ปี 2556 จะขาดดุลการค้าประมาณ 21,825.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แนวโน้มการส่งออกปี 2557 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา เร่งตัวขึ้นจากการส่งออกในปี 2556 ที่ขยายตัวในระดับต่ำ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โลก ภาพรวมน่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และมีเสถียรภาพ มากขึ้นน่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกในปี 2557 ขยายตัวได้ในระดับที่ดี

ปัจจัยบั่นทอน • สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบางอยู่มาก • การแข่งขันด้านการส่งออกที่ค่อนข้างรุนแรง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ปัจจัยเกื้อหนุน • สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และมีเสถียรภาพมากขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปี

7


๏ ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม การเกษตรกรรม ตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 0.7% GDP ภาคเกษตรกรรม

ที่มา: สศช.

Price and Production

ที่มา: สศก.

GDP ภาคการเกษตรตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากสถานการณ์ไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในระดับต่ำ และระดับราคา สินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยทางธรรมชาติ และโรคระบาด ที่ส่งผลกระทบให้ผลผลิตภาคการเกษตรหดตัว และทำให้ภาคการเกษตรในปีนี้ ขยายตัวในระดับต่ำ GDP ภาคการเกษตรปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.4 ตามการฟื้นตัว ของการส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งเศรษฐกิจกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มของการฟื้นตัว แต่ ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง ได้แก่ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวใน ภาคเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

8


ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรม ตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 0.9%

สำหรับ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2557 น่าจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับปี ที่ผ่านมา เร่งตัวขึ้นจากในปี 2556 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ ก ารส่ ง ออกภาคอุ ต สาหกรรมของไทยน่ า จะสามารถขยายตั ว ได้ ใ นระดั บ ที่ ดี กอรปกั บ สถานการณ์ด้านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐน่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่าง เต็มที่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคของประเทศให้คึกคักเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเกื้อหนุน • สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากในช่วงครึ่งแรกของปี ปัจจัยบั่นทอน • ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก • สถานการณ์ด้านการบริโภคที่ขยายตัวในระดับต่ำ • สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ขยายตัวในอัตราที่ ชะลอตัวจากในปีทผี่ า่ นมาทีภ่ าคอุตสาหกรรมขยายตัวถึงร้อยละ 6.9 และขยายตัวในระดับทีต่ ำ่ กว่า การคาดการณ์ครัง้ ก่อนทีค่ าดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ 2.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในระดับต่ำดังกล่าวเนื่องจากสถานการณ์ ด้านการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวในระดับต่ำ รวมถึงสถานการณ์ด้านการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมที่ขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังมี ความเปราะบางในระดับสูง

9


ภาคการท่องเที่ยว ตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 26.3 ล้านคน หน่วย: ล้านคน

หน่วย: แสนล้านบาท

ที่มา: กรมการท่องเที่ยว และการคำนวณ

• คาดการณ์การท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 2556 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะมีจำนวน 26.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.16 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ19.6จากปีที่ผ่านมา • คาดการณ์นักท่องเที่ยวปี 2557 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะมีจำนวน 27.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.29 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากปี 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

10

ปัจจัยเกื้อหนุน • มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของหน่วยงานรัฐ และ เอกชน • มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย • เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนยังขยายตัวในระดับที่ดี ปัจจัยบั่นทอน • การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก • การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้าน • การชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐฯ • สถานการณ์ภัยธรรมชาติ • สถานการณ์ความผันผวนของค่าเงินบาท • สถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศ


๏ ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ภาคการเงิน อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน

เงินฝากและสินเชื่อ

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำหรับปริมาณเงินฝาก และการให้สินเชื่อ ปี 2556 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องทั้ง 2 ด้าน แม้จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากในส่วนของเงินฝาก ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็นผลมาจากการชะลอลงของเงินฝากที่สถาบันรับฝากเงินทุก ประเภท ส่วนการแข่งขันระดมเงินฝากยังมีอยูต่ อ่ เนือ่ ง สะท้อนจากการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งเพื่อรักษาฐานเงินฝาก และรองรับความต้องการสินเชื่อ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสิ้นปี และในส่วนของการขอสินเชื่อที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เป็น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 2.25 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ในการประชุม กนง. ครั้งสุดท้ายของปีนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการ กระตุน้ เศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก หลังจากในช่วงไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่า ที่คาด โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน ภายใต้แรงกดดัน ด้านราคาทีย่ งั อยูใ่ นระดับต่ำ ขณะทีส่ นิ เชือ่ ภาคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลง บ้างแล้ว นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง และสนับสนุนการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไปอาจอยู่ใน ระดับที่ทรงตัวต่อเนื่อง และหากปัจจัยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งใน และระหว่างประเทศ ปรับตัวดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยน่าจะสามารถปรับตัวในทิศทางขาขึ้นได้

11


ผลมาจากการชะลอลงของสินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ภาคธุรกิจ ได้แก่ ภาคการเงิน และประกันภัย ภาคการผลิต และภาคการขายส่งและขายปลีก ขณะที่สินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ภาคครัวเรือนค่อนข้าง ทรงตัว อัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

• ตลอดทั้งปี 2556 คาดค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ • ตลอดทั้งปี 2557 คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระหว่าง 32.0-32.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

• แนวโน้มในปี 2557 จะมีการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกมากกว่าเข้าเนื่องจากสหรัฐฯ มีแนวโน้ม เศรษฐกิ จ ที่ ป รั บ ตั ว ดี ขึ้ น ส่ ง ผลให้ ธ นาคารกลางสหรั ฐ ฯ อาจปรั บ ลดวงเงิ น ในการกระตุ้ น เศรษฐกิจในปลายปี 2556 และทำการยกเลิกในต้นปี 2557 ผนวกกับสถานการณ์ทางการเมือง ภายในประเทศที่ยังไม่มีทิศทางในการแก้ ไขได้อย่างเป็นรูปธรรมนัก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของ นักลงทุนทำให้นักลงทุนป้องกันความเสี่ยงโดยการไม่ถือเงินบาทไว้ ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้ม อ่อนค่าลงในปี 2557

• ตลอดทัง้ ปี 2556 คาดค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงมาอยูท่ รี่ ะดับ 30.71 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เศรษฐกิจโลกยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว ผนวกกับเศรษฐกิจไทยเองก็ยังคงซึมๆ รวมทั้งมีปัจจัย ภายนอกทีม่ ผี ลกับอัตราแลกเปลีย่ นโดยตรงคือ มาตรการการใช้ QE ของสหรัฐฯ ว่าจะปรับลดลง หรือยกเลิกในปลายปีนี้ ส่งผลให้ค่าถัวเฉลี่ยค่าเงินบาทตลอดทั้งปีมาปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างมาก ในช่วงสิ้นปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

12

• ตลอดทัง้ ปี 2557 คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมาอยูท่ รี่ ะหว่าง 32.0-32.5 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากประเทศสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผล ให้มีการลดการใช้มาตรการ QE หรือยกเลิกการใช้ในปี 2557 ส่งผลให้นักลงทุนหันกลับไปถือ เงินดอลลาร์เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัย บั่นทอนในการทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว


๏ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ประมาณการภาวะเศรษฐกิจโลกปี 2556 และปี 2557 รายการ

หน่วย 2552 2553

2554

2555

2556F 2556F 2556F 2557F 2557F (มิ.ย.56) (ต.ค.56) (ธ.ค.56) (ต.ค.56) (ธ.ค.56)

การขยายตัวของ % -10.7 12.6 6.0 2.5 3.6 2.9 2.9 4.9 4.9 ปริมาณการค้าโลก การขยายตัวทาง % -0.7 5.1 4.0 3.2 3.3 2.9 2.9 3.6 3.6 เศรษฐกิจของโลก - สหรัฐอเมริกา % -3.5 2.4 1.8 2.2 1.9 1.6 1.6 2.6 2.6 - สหภาพยุโรป % -4.3 2.0 1.4 -0.6 -0.3 -0.4 -0.4 1.0 1.0 - ญี่ปุ่น % -6.3 4.5 -0.6 2.0 1.6 2.0 2.0 1.2 1.2 - จีน % 9.1 10.4 9.3 7.8 7.75 7.6 7.6 7.3 7.3 - ASEAN 10 % 1.1 7.9 4.6 5.2 5.4 5.2 4.9 5.6 5.3 ราคาน้ำมัน $/bbl. 61.5 77.0 106.7 109.1 103-115 105-110 105-107 110-115 105-110 ที่มา: IMF, World Economic Outlook, October 2013 and ADB, Asian Development outlook, October 2013 (ASEAN 10 = Indonesia, Malaysia, Philippines, Thailand, Viet Nam, Brunei, Cambodia, Lao, Myanmar, Singapore)

คาดว่าราคาน้ำมันในไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 106.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันปี 2556 และปี 2557 จะอยู่ที่ระดับ 105.3 และ 105-110 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก

13


ปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจโลกปี 2557

• การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ อย่างเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป • รัฐบาลของประเทศต่างๆ ใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลังในการกระตุน้ เศรษฐกิจ และการใช้งบประมาณลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย) • เศรษฐกิจของเอเชียยังขยายตัวได้ดี (ในระดับ 5% ขึ้นไป) ทำให้เอเชียเป็นภูมิภาคสำคัญ ที่พยุงเศรษฐกิจโลก • อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ

ปัจจัยลบสำหรับเศรษฐกิจโลกปี 2557

• ความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่สูง • ปัญหาภาคการคลังของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนในช่วงเวลาการปรับลดขนาดมาตรการ QE • ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน • ภัยทางธรรมชาติ

ปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

14

• เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป • เศรษฐกิจในเอเชียยังขยายตัวในระดับสูง • กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP 1 วัน) ลงร้อยละ 0.25 ในการประชุม กนง. รอบสุดท้ายของปีช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ ระดับ 2.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 โตน้อยกว่าที่คาด • นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น งบประมาณปี 2557 ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท รวมถึงงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 แสนล้าน และงบลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท • รัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายเพิ่มรายได้ และลดค่าครองชีพให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อ กระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ

ปัจจัยลบสำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2557

• ความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่สูง • สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และสถานการณ์การชุมนุมขับไล่รัฐบาลของกลุ่ม กปปส. ในช่วงปลายปี


• ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน • การขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม • ต้นทุนการผลิต และค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น เช่น ค่าแรง ราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง เป็นต้น • ภัยทางธรรมชาติ โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด

๏ คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 2556 และคาดการณ์ปี 2557 ภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2557: มุมมองมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

• เศรษฐกิจไทย ในปี 2557 มีโอกาสขยายตัวประมาณ 4.0-5.0% (โอกาสที่เศรษฐกิจ จะขยายตัวมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ สถานการณ์ทางการเมืองของไทย) • การส่งออกขยายตัวประมาณ 5.0-7.0% • อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2.8-3.3%

15


ตารางคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2556 และตลอดทั้งปี 2557 2556F รายการ หน่วย 2554 2555 (ต.ค.-56) GDP (ราคาปัจจุบัน) พันล้านบาท 10,540.13 11,362.87 GDP (ราคาปี 2531) % 0.1 6.5 3.5 ภาคการผลิต (อัตราการขยายตัว) การเกษตร % 4.1 3.8 0.4 นอกภาคเกษตร % -0.3 6.7 3.8 - อุตสาหกรรม % -4.3 6.9 2 ภาคการใช้จ่าย (อัตราการขยายตัว) การบริโภคของเอกชน % 1.3 6.6 2.2 การลงทุน % 3.3 13.3 4.3 ภาคบริการ ล้านคน 19.1 22.3 26.4 จำนวนนักท่องเที่ยว % 19.9 16.8 18.3 พันล้านบาท 776.2 966.6 1,158.90 รายได้จากนักท่องเที่ยว % 23.1 24.5 19.9 ภาคการค้าต่างประเทศ ล้าน US $ -6,200.60 -20,751.80 -25,347.40 ดุลการค้า % GDP -1.8 -5.7 -6.5 ล้าน US $ 222,579.20 229,236.10 233,636.00 การส่งออก % 15.1 3 1.9 ล้าน US $ 228,779.70 249,987.90 258,983.40 การนำเข้า % 25.1 9.3 3.6 ล้าน US $ 5,889 -1,470 -7,181 ดุลบัญชีเดินสะพัด % GDP 1.7 -0.4 -1.8 อัตราแลกเปลี่ยน บาท/US $ 30.5 31.1 30.7 อัตราเงินเฟ้อ % 3.8 3.0 2.3

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

16

2556F (ธ.ค.-56)

2557F (ต.ค.-56)

2557F (ธ.ค.-56)

3.0

5.1

4.5

0.7 3.2 0.9

2.4 5.3 5.4

2.4 4.6 5.9

1.9 3.7

3.6 10.3

3.0 6.9

26.4 18.5 1,160.20 20.0

27.6 4.6 1,217.70 5.1

27.7 5.0 1,295.90 11.7

-21,825.10 -30,879.70 -27,026.70 -5.6 -7.4 -6.5 230,373.30 248,822.40 245,347.60 0.5 6.5 6.5 252,198.40 279,702.10 272,374.30 0.9 8.0 8.0 -5,583 -8,740 -4,740 -1.4 -2.1 -1.1 30.71 31 32.0-32.5 2.2 3.0 3.0




ต้องมี

"จีเอ็มโอ"

Thailand Focus

ทางสองแพร่ง... ประเทศไทย จำเป็นหรือไม่ ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ พื้นที่ทำการเกษตรไม่มีทางเพิ่มขึ้นมากไปกว่าที่เป็นอยู่ และนับวันยิ่งจะลด น้อยลง ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตการเกษตรให้เพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่มีจำกัดจึงเป็น หนทางหลักที่จะสร้างความมั่นคงทางอาหาร นำมาซึ่งเหตุผลที่หลายๆ ประเทศยอมรับการวิจัย/การผลิต/จำหน่ายสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการดัดแปลง พันธุวิศวกรรม (GMOs) ประเทศทีย่ อมรับ และมีการปลูกพืชจีเอ็มในเชิงพาณิชย์อย่างเปิดเผย นัน้ ล้วนเป็นประเทศใหญ่ๆ เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทัง้ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา อินเดีย จีน สหรัฐอเมริกานั้น เป็นยักษ์ใหญ่ที่ก้าวหน้าที่สุดในเรื่องการวิจัย และผลิตสินค้าจีเอ็ม ล่าสุดมีข่าวออกมาว่าสหรัฐฯ ได้จำหน่ายแซลมอนจีเอ็มที่ผ่านการตัดต่อ พันธุกรรมยีนแซลมอน กับยีนปลาไหลตาบอดชนิดหนึ่งได้ผลสำเร็จ ทำให้แซลมอนเติบโตเร็ว และมีขนาดใหญ่ ส่วนจีนยอมรับเพียงฝ้ายจีเอ็มเท่านั้น ยังไม่ได้ยอมรับพืชอาหาร หรือสัตว์จีเอ็ม ฝัง่ ประเทศใกล้เคียงเราอย่าง เวียดนาม กัมพูชา ก็มกี ารปลูกข้าวจีเอ็มกันทัว่ ไป และฟิลปิ ปินส์ อาจอนุมัติให้ปลูกข้าวทองคำ (Golden Rice) ซึ่งเป็นข้าวจีเอ็มสายพันธุ์แรกของประเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้น กฎหมายอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยทำการศึกษาวิจัย พัฒนาพืชจีเอ็มได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการทดลอง แต่ไม่อนุญาตให้ผลิตเพื่อการค้า รวมทั้งไม่อนุญาตให้ทำการทดลองปลูกในแปลงปลูก และไม่ อนุญาตให้นำเข้าพืช หรือสินค้าจีเอ็ม ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัตกิ กั กันพืช พ.ศ. 2507 ยกเว้น การนำเข้าถั่วเหลือง หรือข้าวโพดเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 15 มกราคม 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ส่วนประเทศที่ไม่อนุญาตและมีมาตรการตรวจสอบพืชจีเอ็มอย่างเข้มงวด คือ ญี่ปุ่น และ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) แต่ระยะหลังมานี้ มีข้อมูลว่า กลุ่มผู้บริโภคในสหภาพยุโรป เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผลิตด้วยเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพ และยอมรับ การบริโภคผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้น

17


อย่ า งไรก็ ต าม มี ข้ อ มู ล การสุ่ ม ตรวจ ข้าวโพดในไทย โดยมูลนิธชิ วี วิถใี นพืน้ ทีไ่ ม่ตำ่ กว่า 15 จังหวัด เช่น พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช ฯลฯ จากการ สุม่ ตรวจตัวอย่างข้าวโพด 221 ตัวอย่าง พบว่า มีการปนเปื้อนจีเอ็มโอ 20 ตัวอย่าง คิดเป็น 8.8% คาดว่าจะเป็นข้าวโพดที่กระจายไปจาก การทดสอบของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เคยทดลองปลูก ข้าวโพดจีเอ็มเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ในอดีตประเทศไทยเคยมีการทดลองปลูก มะละกอจีเอ็มที่ขอนแก่น ทดลองปลูกมะเขือเทศชะลอการสุกแก่ที่ จ.พิษณุโลก ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้แม้มีกฎหมายห้าม! ส่วนปัจจุบัน มี ความพยายามจะลองปลู ก ข้ า วโพดจี เ อ็ ม ใน แปลงทดลอง จ.พิษณุโลก โดยความร่วมมือของ บ.มอนซานโต้ และมหาวิทยาลัยนเรศวร แต่มี การคัดค้านจากเอ็นจีโอ และแนวร่วม และยัง ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ที่ ผ่านมา สหภาพยุโรป (อีย)ู และญีป่ นุ่ ตีกลับสินค้า ผลไม้รวมอบแห้งของไทยลอตหนึ่ง เนื่องจาก ตรวจพบมะละกอจีเอ็มที่ใช้อบแห้ง นั่นหมาย ความว่า ในประเทศไทยมีการปลูกมะละกอจีเอ็ม ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

18

คำถามคื อ ใครคื อ ต้ น ตอที่ เ ผยแพร่ มะละกอจีเอ็มในประเทศไทย ขณะนี้มีมะละกอ จีเอ็มแพร่กระจายไปมากน้อยแค่ไหน เป็นกี่ เปอร์เซ็นต์ของมะละกอทัง้ หมดทีผ่ ลิตในประเทศ ภาครัฐเคยสุ่มตรวจสอบมะละกอและพืชอื่นๆ หรือไม่ เกษตรกรรู้หรือไม่ว่ามะละกอที่ตัวเอง ปลูกเป็นจีเอ็ม ผูบ้ ริโภครูห้ รือไม่วา่ ส้มตำทีต่ วั เอง

กินแทบจะเป็นอาหารหลักนัน้ ทำมาจากมะละกอ จีเอ็ม ในความเห็ น ภาคเอกชนที่ ท ำธุ ร กิ จ ที่ เกี่ยวข้อง นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ผู้จัดการบริษัท สยาม อะโกร อินดัสทรี จำกัด และนายกสมาคมอาหารสำเร็จรูป ซึง่ เป็นสมาคม ที่ มี ผู้ ป ระกอบการส่ ง ออกผลไม้ แ ปรรู ป เป็ น สมาชิกอยู่จำนวนมาก กล่าวว่า หลังจากที่อียู และญี่ปุ่น ตรวจพบมะละกอจีเอ็มในสินค้าที่ ส่งออกนั้น ผู้ประกอบการตกใจมาก ที่ผ่านมา ไม่มีใครรู้มาก่อนว่ามีมะละกอจีเอ็มในประเทศ ไทย จึงไม่ได้ตรวจสอบในเรื่องนี้ หลังจากมีปัญหาดังกล่าว ตนในฐานะ นายกสมาคมอาหารสำเร็ จ รู ป ได้ ห ารื อ กั บ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแนวทางแก้ไข ปัญหา เห็นควรต้องแยกโซนนิ่งพืชจีเอ็ม และ ไม่จีเอ็มออกจากกันให้ได้ ภาคเอกชนต้องทำ คอนแทร็กต์กับเกษตรกร ไม่ให้เกษตรกรปลูก มะละกอพันธุท์ เี่ ป็นจีเอ็ม หรือปนเปือ้ นจีเอ็ม และ ขอให้ภาครัฐตรวจวิเคราะห์ควบคุมเมล็ดพันธุ์ ว่าเป็นจีเอ็ม หรือปนเปื้อนจีเอ็มหรือไม่ "ส่วนเรือ่ งทีว่ า่ ควรมีการผลิตสินค้าจีเอ็ม ในประเทศไทยหรือไม่นั้น มองว่า ขณะนี้สาย เกิ น ไปแล้ ว ที่ จ ะพู ด เรื่ อ งนี้ เพราะมั น มี อ ยู่ ใ น ประเทศแล้ว เมื่อมันมีปนเปื้อนอยู่แล้วจะย้อน กลับไปล้างทำความสะอาดประเทศให้ไม่มีเลย ก็ ค งยาก ถ้ า เกษตรกรปลู ก แล้ ว ไม่ ไ ด้ ข ายให้ อุตสาหกรรมเพือ่ แปรรูปส่งออกก็คงไม่มปี ญ ั หา สำหรับการแก้ปญ ั หาทีผ่ สู้ ง่ ออกต้องทำคือ ตรวจ วิเคราะห์ความเสี่ยง ขอใบอนุญาตประเทศที่จะ ส่งออกอย่างถูกต้องชัดเจน"


โดยส่ ว นตั ว เห็ น ว่ า การจะยอม และ อนุ ญ าตผลิ ต รั บ สิ น ค้ า จี เ อ็ ม โอควรพิ จ ารณา รายชนิ ด สิ น ค้ า ในสิ น ค้ า ที่ ไ ม่ ใ ช่ อ าหารมนุ ษ ย์ อาจจะทำจีเอ็มโอเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น ฝ้าย ส่วนพืชอาหารอาจจะอนุญาตให้ทำในพืชทีไ่ ม่ได้ ใช้เป็นอาหารมนุษย์โดยตรง เช่น ข้าวโพดเลีย้ ง สัตว์ และถั่วเหลือง ที่มีการผลิตในเชิงพาณิชย์ และได้รับการยอมรับในหลายๆ ประเทศ แต่ ต้องทำในส่วนทีไ่ ม่กระทบต่อสิง่ แวดล้อม สำหรับ สินค้าทีไ่ ทยเรามีจดุ แข็งอยูแ่ ล้วอย่างข้าว ไม่ควร ทำจีเอ็มโอ "มีพืชจีเอ็มบางตัวที่ได้รับการยอมรับใน หลายประเทศอยู่แล้ว เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด แต่ยงั ไม่มกี ารทดสอบทีพ่ สิ จู น์วา่ ปลอดภัย คนที่ ค้นคว้าวิจัยพยายามบอกว่าปลอดภัย แต่กลุ่ม ต่อต้านอ้างเรื่องการมีผลต่อการเติบโต และ การทำงานของเซลล์ในร่างกาย ยังไม่มีผลวิจัย สรุปที่ชัดเจน ดังนั้น ถ้าไทยจะทำจีเอ็มโอ ต้อง ทำในพืชที่ไม่ใช่อาหารมนุษย์ ในอนาคต ถ้า โซนนิ่งการเกษตรสำเร็จ จะสามารถใช้โซนนิ่ง จั ด บล็ อ กจี เ อ็ ม โอไว้ แ ยกโซนจี เ อ็ ม โอ และไม่ จีเอ็มโอ ทั้งนี้ เกษตรกรต้องมานั่งคุยกันว่า

จะเอาอย่างไร ปัจจุบันมีปัญหาข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ไม่พอใช้ อาจจะใช้จีเอ็มโอในข้าวโพดเลี้ยง สัตว์" นายยุคลกล่าว ในการประชุ ม รั ฐ มนตรี อ าเซี ย นด้ า น การเกษตรและป่ า ไม้ (AMAF) ครั้ ง ที่ 35 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ เดือนกันยายน 2556 ได้มีการหารือเกี่ยวกับ พื ช ตั ด ต่ อ พั น ธุ ก รรม หรื อ พื ช จี เ อ็ ม และมี แนวโน้มที่อาเซียนจะร่วมกันกำหนดมาตรฐาน จีเอ็มโอด้วย เนือ่ งจากทีป่ ระชุมพิจารณาเห็นว่า สิ น ค้ า จี เ อ็ ม โอสามารถแก้ ไ ขปั ญ หาการขาด แคลนอาหารให้ แ ก่ ป ระชากรโลกได้ ดั ง นั้ น ประเทศไทยต้องหารือกัน และสรุปจุดยืนเรื่อง จี เ อ็ ม โอว่ า จะยอมรั บ อนุ ญ าตให้ ผ ลิ ต และ จำหน่ายได้หรือไม่ มีขอ้ กำหนดข้อยกเว้นอย่างไร จะสอดคล้องกับแนวทางของประเทศอื่นหรือ ไม่อย่างไร เมื่ อ เหตุ ผ ลที่ ห ลายประเทศอนุ ญ าตให้ ผลิตและจำหน่ายสินค้าจีเอ็มคือ เพือ่ ความมัน่ คง ทางอาหาร จึงเป็นคำถามที่ควรคิดให้ดีว่า ใน ประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางพันธุกรรมตามธรรมชาติ เกษตรกร มีความสามารถผลิตพืชผลที่มีคุณภาพได้ตาม วิธีที่เหมาะสม และเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร รายใหญ่ของโลก ไม่มีปัญหาขาดแคลนอาหาร อย่างประเทศไทยของเรา มีความจำเป็นขนาด นั้ น เลยหรื อ ที่ ต้ อ งไปไหลตามน้ ำ ตามกระแส ประเทศอื่นๆ ที่เขามีความจำเป็นกระทั่งแทบ ไม่มีทางเลือก อีกทั้งประเทศผู้ซื้อหลักๆ ของ ไทยก็ยังไม่ยอมรับสินค้าจีเอ็ม แล้วเราจะผลิต ให้ได้ผลมากเพื่ออะไร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ด้าน นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รักษาการ รองนายกรั ฐ มนตรี และรั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในส่วน กฎหมายควบคุมสินค้าจีเอ็มโอของประเทศไทย นัน้ อยูร่ ะหว่างการร่างโดยกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระทรวง เกษตรฯ เห็นว่า พืชจีเอ็มโอมีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม จึงให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ร่าง

19


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

20

การรับมือของไทย กับมาตรการอาหารอียู

ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์  ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง

หลังจากสหภาพยุโรป (อีย)ู พบกับวิกฤต อันเนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้า (Bovine Spongiform Encepthalopathy-BSE) และ โรคระบาดทีเ่ กีย่ วกับสัตว์อนื่ ๆ ในช่วงปี 25332543 ทำให้สหภาพยุโรปตระหนักถึงความ ปลอดภั ย ด้ า นอาหาร และกำหนดนโยบาย มาตรการควบคุมสุขอนามัยและความปลอดภัย ด้านอาหารทีเ่ ข้มงวด และประกาศใช้ยทุ ธศาสตร์ สมุดปกขาว ว่าด้วยความปลอดภัยด้านอาหาร (White Paper on Food Safety) ในปี 2545 เพื่อควบคุมความปลอดภัยของสินค้าอาหาร และสินค้าอาหารสัตว์ตลอดห่วงโซ่อปุ ทานตัง้ แต่ แหล่งผลิตในระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภค (Farm to Fork) โดยใช้กลไกการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) มีผลบังคับใช้กบั สินค้าเกษตรและ อาหารที่ผลิตในยุโรปและที่นำเข้าจากประเทศ ที่สามเพื่อจำหน่ายและบริโภคในสหภาพยุโรป ด้วย สำหรับมาตรการควบคุมความปลอดภัย อาหารที่นำเข้ามาจากประเทศที่สามของสหภาพยุโรป จะควบคุมความปลอดภัยอาหารที่ แตกต่างกันระหว่างสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดมาจาก สัตว์ และสินค้าที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดมาจากสัตว์ ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

(ได้ แ ก่ พื ช ผั ก ผลไม้ ) ที่ แ ตกต่ า งกั น ตาม ความจำเป็น นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังออก ข้ อ กำหนดเฉพาะสำหรั บ สิ น ค้ า อาหารแต่ ล ะ ประเภทในระดับสหภาพยุโรป เพือ่ ให้การควบคุม ด้านสุขอนามัย และการปรับใช้กฎหมาย และ กฎระเบียบของประเทศสมาชิกเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปก็มกี ารบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละ ประเทศสมาชิกกับคณะกรรมาธิการสหภาพ ยุโรป ซึ่งทำหน้าที่กำหนด และกำกับดูแลด้าน นโยบายในภาพรวม โดยมีองค์กร European Food Safety Authority (EFSA) ทำหน้าที่ ประเมินความเสีย่ งของสินค้าอาหารต่างๆ ตามที่ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเรียกร้อง รวมทัง้ ใช้ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหาร และ อาหารสัตว์ (Rapid Alert System for Food and Feed-RASFF) ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวม ฐานข้ อ มู ล การแจ้ ง เตื อ นเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาด้ า น สุขอนามัยในสินค้าอาหาร และอาหารสัตว์ที่ ตรวจพบ เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถรับ ทราบแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว และมี ประสิทธิภาพ


สำหรับประเทศไทย หลังจากที่ประสบ ปัญหาการตรวจพบสารตกค้างในสินค้ากุ้งที่ ส่งออกไปสหภาพยุโรป จนต้องเผาทำลายทิง้ ไป ปัญหาการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในปลาทูน่า กระป๋องที่ส่งออกจากไทยไปสหภาพยุโรปในปี 2555 และปัญหาการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก ช่วงปี 2546 ส่งผลให้สหภาพยุโรประงับการ นำเข้ า ไก่ ส ดจากไทยนานถึ ง 8 ปี ตั้ ง แต่ ปี 2547-2555 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กรม ประมง และกรมปศุสัตว์ ได้พยายามเร่งแก้ ปัญหา จนสินค้ากุง้ และปลาทูนา่ กระป๋องได้รบั การยอมรั บ และส่ ง ออกไปสหภาพยุ โ รปได้ ส่วนเรือ่ งไข้หวัดนกประเทศไทยได้รบั การยืนยัน จากองค์การสุขภาพสัตว์ว่า มีสถานะปลอด ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ขณะทีส่ หภาพยุโรป ส่งเจ้าหน้าที่มาประเมิน และมีมติยกเลิกการ ห้ามนำเข้าไก่สดจากไทย เมือ่ วันที่ 1 ก.ค. 2555 แต่ขณะเดียวกัน ไทยก็ยังต้องมีมาตรการเฝ้า ระวังด้านสุขอนามัยของสินค้าเนื้อไก่สด และ

มีระบบควบคุมตรวจสอบเชื้อซัลโมแนลล่าใน ไก่สดที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญโดยไม่ผ่อน ปรน ขณะเดียวกัน ประเทศไทยได้พยายาม พัฒนาระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหาร และอาหารสัตว์ โดยความร่วมมือระหว่างสหภาพ ยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียนได้พยายามนำ ระบบดังกล่าวมาใช้เช่นกัน (Asian Rapid Alert System for Food and Feed ARASFF) และหากในเวลาอันใกล้นี้ ประเทศต่างๆ ใน กลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะไทยต้องนำเข้าสินค้า เกษตร เพือ่ เป็นแหล่งวัตถุดบิ จากประเทศในกลุม่ อาเซียนมากขึน้ ระบบดังกล่าวจะเป็นเครือ่ งมือ ในการควบคุมด้านสุขอนามัยของแหล่งวัตถุดิบ อาหารทีเ่ ป็นประโยชน์ ดังนัน้ การกำหนดแนว นโยบายมาตรการ และพัฒนาระบบแจ้งเตือน สินค้านำเข้าของประเทศไทย จึงควรต้องได้รับ การพัฒนาให้มปี ระสิทธิภาพเพือ่ รักษาภาพลักษณ์ ของสินค้าอาหารไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

....สหภาพยุโรปจะควบคุม ความปลอดภัยอาหาร ที่แตกต่างกัน ระหว่างสินค้า ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากสัตว์ และ สินค้าที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิด มาจากสัตว์....

21


มาวันนี้ กุ้งไทยเจอวิกฤตโรคตายด่วน (EMS) ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งในประเทศลดลง โรงงานแปรรูปขาดวัตถุดบิ กุง้ เพือ่ นำมาแปรรูป ผู้ ป ระกอบการทุ ก ภาคการผลิ ต ต้ อ งปรั บ ตั ว เกษตรกรต้ อ งปรั บ วิ ธี ก ารเลี้ ย งเพื่ อ ลดความ เสี่ยงในการเกิดโรค และแม้การเข้าสู่ AEC จะ สร้างโอกาสด้านแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า อาหารมูลค่าเพิ่ม แต่ประเทศไทยต้องเร่งวาง มาตรการด้ า นสุ ข อนามั ย และการควบคุ ม คุณภาพสินค้าที่นำเข้ามาเป็นแหล่งวัตถุดิบให้ รัดกุม และประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจมองสหภาพยุโรป เป็ น ต้ น แบบสำหรั บ ประเด็ น ความปลอดภั ย ด้ า นอาหาร และที่ ส ำคั ญ ไทยต้ อ งตระหนั ก และกำหนดกลไกที่ชัดเจนในการปกป้องราคา วัตถุดบิ สินค้าเกษตรในประเทศ และโอกาสของ เกษตรกรไทยด้วย ภาครัฐต้องเร่งกำหนดมาตรการควบคุม และตรวจสอบด้านความปลอดภัยด้านอาหาร ทีเ่ ข้มงวดและรัดกุม การพัฒนาโครงสร้าง และ สร้างความเข้มแข็งในระบบควบคุมตรวจสอบ ทั้งด้านเครื่องมืออุปกรณ์ และบุคลากรผู้ทำ หน้าที่ตรวจสอบ ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับฟาร์มถึงโรงงานแปรรูปก็มีบทบาท ที่สำคัญที่ต้องยกระดับการผลิตสินค้าของตน ให้ ไ ด้ ม าตรฐานสากล หรื อ สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ กำหนดกฎระเบียบสหภาพยุโรป หรือประเทศ คู่ค้า หรือแม้แต่มาตรฐานอื่นๆ อีกมากมายที่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

22

กำหนดโดยภาคเอกชนของประเทศคู่ค้า ซึ่ง นอกจากข้ อ กำหนดด้ า นความปลอดภั ย ด้ า น อาหารแล้ ว ยั ง มี ข้ อ กำหนดด้ า นอื่ น ๆ ที่ จ ะ ถู ก นำมาใช้ เ ป็ น ข้ อ อ้ า ง เช่ น สุ ข ภาพสั ต ว์ สวัสดิภาพสัตว์ แรงงานที่ถูกกฎหมาย การ รักษาสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน นอกจากนี้ คณะกรรมาธิ ก ารสหภาพยุ โ รปได้ เ สนอให้ มี การทบทวนกฎระเบียบบางประเด็น ได้แก่ การ ควบคุม และตรวจสอบสุขภาพสัตว์ สุขภาพพืช วัสดุเพื่อขยายพันธุ์พืช รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ และ การกำหนดกรอบงบประมาณร่วม ซึ่งประเด็น เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย เช่ น ประเด็ น การเก็ บ ค่ า ธรรมเนี ย มสำหรั บ การควบคุม และตรวจสอบสินค้าเกษตร และ อาหาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระ ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น การเปิดเผยข้อมูลรายชื่อ ผู้ ป ระกอบการเพื่ อ ให้ ผู้ บ ริ โ ภคเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหาร โดยคาดว่า กรอบระเบียบดังกล่าวน่าจะมีผล บังคับใช้ประมาณปี 2559 ดังนั้น จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออก สิ น ค้ า ไปยั ง ตลาดสหภาพยุ โ รป ต้ อ งศึ ก ษา รายละเอียดข้อกำหนดกฎระเบียบของสหภาพ ยุโรป และติดตามการแก้ไขทบทวนกรอบกฎ ระเบียบที่จะมีขึ้นในอนาคตอย่างใกล้ชิด วันนี้ ประเทศไทยจะยังเป็นผู้นำในการ ส่งออกสินค้าอาหาร หรือเป็นครัวของโลกได้อกี ต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง




สินค้าเกษตรดาวรุ่งปี 57

≥ สาขาพืชขยายตัวต่อเนื่อง นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการ สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาวะ เศรษฐกิจการเกษตรในปี 2557 เทียบปี 2556 ในสาขาพื ช คาดจะขยายตั ว เพิ่ ม ขึ้ น ในช่ ว ง 3.2-4.2% โดยผลผลิตพืชที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่วนผลผลิตพืชที่มี แนวโน้มลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง สับปะรด และผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด และเงาะ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปริมาณ

น้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน ภูมพิ ล และเขือ่ นสิรกิ ติ ิ์ ซึง่ มีความสำคัญต่อการ เพาะปลูกพืช รวมทัง้ การเปลีย่ นแปลงของสภาพ อากาศ และการระบาดของศัตรูพืชต่างๆ ส่วนด้านราคาพืชที่เกษตรกรจะขายได้ ในปี 2557 ในภาพรวมคาดจะใกล้เคียงกับปี 2556 สำหรับการส่งออกสินค้าพืช และผลิตภัณฑ์ มีแนวโน้มดีขนึ้ ตามทิศทางของเศรษฐกิจ กลุ่ ม ประเทศคู่ ค้ า แต่ ยั ง มี ปั จ จั ย เสี่ ย งหลาย ประการ ที่ จ ะส่ ง ผลกระทบต่ อ การผลิ ต ภาค เกษตร เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลีย่ น ราคาน้ำมัน รวมถึงภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ต่างๆ ซึง่ จำเป็นต้องมีการติดตาม และประเมิน สถานการณ์อย่างใกล้ชิด สำหรับแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตร ทีค่ าดว่าจะขยายตัวเพิม่ ขึน้ ในปี 2557 หรือทีเ่ ป็น สินค้าดาวรุ่งเด่นๆ ในเบื้องต้น มี 3 รายการ ได้แก่ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ส่วนที่จะมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ และยางพารา ซึง่ ในภาพรวม

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,910 วันที่ 2-4 มกราคม 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ในรอบปี 2557 สินค้าเกษตรสำคัญ หลายรายการของไทย มีทิศทางที่ไม่สดใสนัก เฉพาะอย่างยิง่ ด้านการส่งออก เพราะสินค้าหลัก ทั้งข้าว ยางพารา มีตัวเลขการส่งออกที่ลดลง ทั้งเชิงปริมาณ และมูลค่า ซึ่งเป็นไปตามกลไก ตลาด และตามสภาพภาวะเศรษฐกิจโลก ขึน้ ต้น ศักราชใหม่ปี 2557 ทิศทางสินค้าเกษตรไทย จะเป็นอย่างไร ขอสรุปแนวโน้มโดยตรวจสอบ จากกูรูในวงการ ดังรายละเอียด

Food Feed Fuel

ส่อง

23


มีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวดีขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งตลาดหลักทั้งจีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นจะฟื้นตัวขึ้น

≥ ข้าวไทย คาดรั้งอันดับ 2 สำหรั บ ในสิ น ค้ า ข้ า ว ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ เกษตรกรส่ ว นใหญ่ ข องประเทศ คาดในปี นี้ การส่งออกจะดีขึ้น เนื่องจากมีบางบริษัทที่ได้ รับข้าวราคาถูกจากสต๊อกรัฐบาลนำไปขายดัมพ์ ราคาเวียดนาม และอินเดีย และจะส่งผลทำให้ ราคาข้าวไทยยังอยู่ในระดับต่ำ แข่งขันได้ดีขึ้น คาดในปี 2557 ไทยจะส่งออกข้าวได้ในเชิง ปริมาณที่ 7.5 ล้านตัน จากในปีทคี่ าดจะส่งออก ได้ระดับ 6.6 ล้านตัน จากตัวเลข 7.5 ล้านตัน จะทำให้ไทยรั้งขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวลำดับ ที่ 2 รองจากอินเดีย ทีแ่ ม้ในปีนผี้ ลผลิตข้าวของ อินเดียจะลดลงจาก 108 ล้านตัน เหลือ 105 ล้านตันข้าวสาร และมีการบริโภคภายในประเทศ 95 ล้านตัน จะเห็นว่ายังมีสต๊อกเหลือส่งออก จำนวนมาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

24

"สอดรับกับในปี 2557 การค้าข้าวโลก คาดการณ์ว่าจะมีการบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 38.3 ล้านตัน เป็น 39.5 ล้านตัน เพราะจีนมีความ ต้องการนำเข้า เนื่องจากผลผลิตลดลง ส่วน ฟิลิปปินส์คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น เพราะล็อต แรก 5 แสนตัน คาดว่าจะไม่เพียงพอ" อย่างไรก็ดี กรมการค้าต่างประเทศ รายงาน (ณ 26 ธ.ค. 56) คาดการส่งออกข้าวไทยในปี 2556 จะ ทำได้ที่ 6.68 ล้านตัน มูลค่า 4.38 พันล้าน ดอลลาร์ ส หรั ฐ ฯ ลดลงจากปี 2 555 ในแง่ ปริมาณ 3.9% และในแง่มูลค่าลดลง 7.9% ส่วนปี 2557 คาดไทยจะส่งออกข้าวไม่ต่ำกว่า

8-10 ล้านตัน จะพยายามหาตลาดใหม่ เช่น แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง และอีกหลายประเทศ ขณะทีค่ คู่ า้ เดิมก็เชือ่ ว่า จะหันกลับมาซือ้ ข้าวไทย เพิ่มขึ้น เพราะมีคุณภาพดีกว่าเพื่อนบ้าน และ ราคาก็ใกล้เคียงกัน

≥ ยันน้ำมันปาล์มไม่ขาดแคลน จากความกังวลในปลายปี 2556 ทีส่ ต๊อก น้ำมันปาล์ม เหลืออยู่ 2.6 แสนตัน และราคา ผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ ในสัปดาห์ที่ 4 เดือนธันวาคม 2556 (23-29 ธ.ค. 56) อยูท่ ี่ กิโลกรัมละ 4.97 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ ก่อน ที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 5.20 บาท ในเดือน ธันวาคม คาดจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจํานวน 9.4 แสนตัน จึงทำให้สมาชิกสมาคมโรงกลั่น น้ำมันปาล์มออกมาเคลือ่ นไหวพยายามให้มกี าร ปรับราคาน้ำมันปาล์มขวดเพื่อบริโภคเพิ่มขึ้น จากขวดละ 42 บาท ที่กรมการค้าภายใน กำหนด อย่างไรก็ดี ทางโรงงานสกัด และผูส้ ง่ ออก น้ำมันปาล์มยืนยันว่า น้ำมันปาล์มจะไม่ขาดแคลนเหมือนในปี 2554 และผลผลิตปาล์ม จะออกมาเป็นจำนวนมาก สอดคล้องกับ สศก. ที่คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิต 4.2 ล้ า นไร่ เพิ่ ม ขึ้ น จากปี ที่ แ ล้ ว ที่ มี 4.11 ล้านไร่ และจะมีผลผลิตประมาณ 13.8 ล้านตัน เพิ่มจากปีที่แล้ว

≥ มันคึกคัก หวั่นไม่พอขาย ส่วนสถานการณ์การส่งออกมันสำปะหลังฤดูการผลิต 2556/57 ได้มีการสำรวจ จาก 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้า


สำหรับในปี 2557 คาดปริมาณส่งออก แป้งมันจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 8% จากตลาดจีนก็มคี วามต้องการสูง แต่ทเี่ ป็นห่วง คื อ วั ต ถุ ดิ บ อาจขาดแคลนเพราะถู ก มั น เส้ น แย่งวัตถุดิบ ซึ่งจะไปหวังพึ่งวัตถุดิบเพื่อนบ้าน ส่งออกเหมือนปีที่แล้วคงไม่ได้ เพราะผลผลิต เพือ่ นบ้านก็ลดลงเช่นเดียวกัน ส่วนมันเส้นในปีนี้ ก็มีแนวโน้มขยายตัว ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำหรับ สินค้ามันสำปะหลังในปีนคี้ อื กรณีทรี่ ฐั บาลใหม่ ของจีนให้งดจัดงานเลี้ยง และงดให้ของขวัญ ทำให้การใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ อาหาร และเคมีภัณฑ์ลดลง ส่วนปัจจัยเสี่ยง ภายใน หากไม่มีโครงการจำนำมันสำปะหลัง คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นกว่าปีนี้แน่นอน

มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมัน สำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2556 พบว่า มีพื้นที่ภาคตะวันออก ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเสียหาย 30% จึง คาดว่าจะทำให้ผลผลิตหัวมันสดในปี 2557 จะลดลงเหลือ 26 ล้านตัน จากทีป่ แี ล้วมีผลผลิต 27 ล้านตัน ขณะที่ในปี 2556 ไทยมีการส่งออก แป้งมัน 3.5 ล้านตัน สูงกว่าปีกอ่ นทีม่ กี ารส่งออก 3.1-3.2 ล้านตัน และมันเส้นคาดว่าจะส่งออก 5.3 ล้านตัน ถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี จากปี 2555 ส่งออก 4.7-4.8 ล้านตัน

ส่วนในสินค้ายางพารา คาดจะมียอด การส่งออกปริมาณยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 3.2 ล้ า นตั น ในปี ที่ แ ล้ ว แต่ ด้ า นมู ล ค่ า อาจลดลง เพราะราคายางพาราในตลาดโลกลดลง แต่ใน ปีนมี้ องว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จะปรับตัวดีขนึ้ ซึง่ จะทำให้ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ ยางพาราได้ เ พิ่ ม ขึ้ น ขณะที่ ร าคายางพารา ในประเทศคาดภาพรวมทั้งปีเฉลี่ยที่ระดับ 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไม่น่าแตะถึงระดับ 100 บาทต่อกิโลกรัม โดยภาพรวมจะดีกว่าปี 2556 แน่นอน จากภาวะเศรษฐกิจโลกเติบโต และ ขยายตัวอย่างต่อเนือ่ ง จึงคาดการณ์วา่ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น จะทำให้ ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

≥ ยางพาราดีวันดีคืน

25


Food Feed Fuel

รายงาน

การสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2556 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2556

๏ รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ ๏ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

นายพรชัย ภักดีทรัพย์ นายรวีธนัทณ์ วโรตม์สุพรรณ นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ น.ส.ชุลีพร ยิ่งยง น.ส.ลัดดา แก้วกาหลง นางลาวัณย อนุวัฒนา น.ส.ญาณี มีจ่าย นายธเนศ คล้ายเจ๊ก นายจตุพล ใจมั่น นายณัฐพล มีวิเศษณ์

บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ไทยฟู้ดส์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทยฟู้ดส์อาหารสัตว์ จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

สำหรับการสำรวจข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ครัง้ ที่ 3/2556 ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2556 โดยมีพนื้ ทีภ่ าคเหนือเป็นเป้าหมายสำคัญทีม่ ขี า้ วโพดในไร่ครบอายุแล้ว บางส่วนมีการทยอยเก็บเกีย่ ว ออกสู่ท้องตลาด บางส่วนที่มีการปลูกล่าเนื่องจากรอฝน ก็อยู่ในช่วงที่อายุประมาณ 100 วัน รอเก็บเกี่ยวช่วงปลายปีพอดี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

26

สำหรับภาพรวมของผลผลิตรวมของภาคเหนือ จากมุมมองของคณะสำรวจ คาดการณ์ว่า บางจังหวัดอาจจะมีพื้นที่ลดบ้างเพิ่มบ้าง ผลผลิตต่อไร่ก็เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่มองในทิศทาง เดียวกันคือ ผลผลิตข้าวโพดโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจากปัจจัยทางด้านราคาขายปี 2555 ที่เป็นแรงจูงใจสำคัญ หรือปัญหาของท่อนพันธุ์ของมันสำปะหลัง ทำให้มีการเปลี่ยนพื้นที่ราบ เป็นการปลูกข้าวโพดแทน สภาพฝนก็มีการกระจายตัวดีทั่วทุกพื้นที่ตรงช่วงเวลาที่เหมาะสม ถึง แม้ว่าบางพื้นที่จะได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงไปสำหรับรอบการปลูกช่วงแรกประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม แต่ก็แทบจะเรียกได้ว่ามีการปลูกซ่อมใหม่ทั้งหมด


สถานการณ์ด้านราคา และนโยบายการแทรกแซงราคาของภาครัฐมีการหารือกันเยอะขึ้น ทั้งจากในที่ประชุมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดต่างๆ พ่อค้า และเกษตรกร เพื่อให้ส่วนภูมิภาค ได้รับทราบข้อมูลประเด็นปัญหาด้านราคาที่เกิดขึ้นว่า มีสาเหตุ องค์ประกอบจากสาเหตุอะไร รวมถึงเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ในปัจจุบนั ให้มากยิง่ ขึน้ โดยปัญหาหลักๆ จากนโยบาย คือ การที่ทั้งพ่อค้า และเกษตรกรยังไม่ได้รับเงินชดเชยในหลายจังหวัด และเกษตรกรเร่งการ เก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อเข้าโครงการก่อนเวลา กล่าวโดยสรุปทั้งประเทศ พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 5.15 ทำให้มีพื้นที่รวม 7.38 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 665 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.31 หรือคิดเป็น 5.22 ล้านตัน ตารางสรุปผลผลิตตามพื้นที่ที่ได้มีการสำรวจ ระหว่าง 18-22 พฤศจิกายน 2556 พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด อุทัยธานี 120,773 120,773 650 720 10.77% พิจิตร 20,269 17,684 -12.75% 714 698 -2.24% แพร่ 187,981 263,173 40.00% 703 689 -1.99% น่าน 651,410 784,167 20.38% 695 695 พะเยา 193,147 231,776 20.00% 702 714 1.71% เชียงราย 455,867 468,038 2.67% 647 664 2.63% เชียงใหม่ 126,234 169,153 34.00% 723 708 2.07% ลำพูน 105,011 105,011 626 626 จังหวัด

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด 78,502 86,596 10.31% 14,472 12,343 -14.71% 132,151 181,326 37.21% 452,730 544,996 20.38% 135,589 165,488 22.05% 294,946 310,777 5.37% 91,267 119,706 31.22% 65,737 65,737 -

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

๏ จังหวัดอุทัยธานี ๏

27


คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 120,773 120,773 650 78,502 120,773 120,773 720 86,596 0% 0% 10.77% 10.31%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่หลักในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดอุทัยธานีอยู่บริเวณ อ.บ้านไร่ อ.ลานสัก คิดเป็นพืน้ ทีก่ ว่า 80% ของพืน้ ทีท่ งั้ จังหวัด โดยปี 2556 นี้ เกษตรกรทีเ่ คยปลูก ข้าวโพดยังคงพืน้ ทีก่ ารปลูกเช่นเดิมจากปี 2555 พืน้ ทีป่ ลูกจึงยังคงทรงๆ เท่าเดิมที่ 120,773 ไร่ แต่ในส่วนของผลผลิตต่อไร่เพิม่ สูงขึน้ เป็น 720 กิโลกรัม จากการเพิม่ ปัจจัยในการบำรุงดูแลรักษา เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.77 พฤติกรรมโดยปกติของเกษตรกรจะมีการปลูก 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 จะเริ่มมีการปลูกตั้งแต่ กรกฎาคม-สิงหาคม และเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หลังจากนั้นก็ปลูก รุ่นที่ 2 (ข้าวโพดแล้ง) ซึ่งมีปริมาณการปลูกน้อยประมาณเดือนพฤศจิกายน เก็บเกี่ยวประมาณ เดือนมีนาคม-เมษายนปีต่อไป ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่ได้ปลูกข้าวโพดรุ่น 2 ต่อ จะปล่อยพื้นที่ไว้ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วระยะสั้น ทั้งนี้ สภาพฝนปี 2556 ทราบว่า ฝนตกช้ากว่าปกติในช่วงแรกทำให้มีการปลูกล่าช้าไป เล็กน้อย และขาดช่วงไปเล็กน้อย แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อการติดดอก และเติบโตของ ข้าวโพด ราคาขายที่เกษตรกรขายได้ ณ จุดรับซื้อของพ่อค้าประมาณ 5 บาท/กก. (ข้าวโพด ทั้งฝักที่ความชื้น 30%) และข้าวโพดเมล็ดสด 8.00 บาท/กก. ความชื้นประมาณ 20-25% ผลผลิตต่อไร่ : เพิม่ ขึน้ จาก 650 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 720 กิโลกรัม/ไร่ โดยในปีนี้ การกระจาย ตัวของฝนดี สม่ำเสมอ ทำให้ช่วงเวลาการออกดอกมีความสมบูรณ์ อีกทั้งเกษตรกรยังมีความ เอาใจใส่ทั้งการบำรุงธาตุในดิน จะเห็นได้จากการปลูกพืชตระกูลถั่วแทนข้าวโพดรุ่น 2 เป็นประจำ การเว้นระยะการปลูกที่เหมาะสมทำให้แสงแดดส่องถึงพื้นดิน ซึ่งบางแปลงของเกษตรกรพบว่า ได้ผลผลิตถึง 16-17 ตันฝักข้าวโพด จากพื้นที่ปลูก 10 ไร่เลยทีเดียว ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

28

ปัญหาและอุปสรรค : จากนโยบาย Zoning ของภาครัฐ มีขอ้ แนะนำให้ลดพืน้ ทีก่ ารปลูกข้าว เป็นอ้อยตามสภาพดินที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ของข้าวโพดที่อยู่บริเวณที่ราบลดหายไป เป็นอ้อยด้วยอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลที่ด่านช้างยังคงมีความ สามารถรองรับปริมาณอ้อยได้อีก โดยในปัจจุบันพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดอุทัยธานีแบ่งออก เป็น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด (เรียงตามลำดับจำนวนพื้นที่ที่ปลูกมาก)


๏ จังหวัดพิจิตร ๏

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 20,269 20,269 714 14,472 17,684 17,684 698 12,343 -12.75% -12.75% -2.24% -14.71%

ภาพปกติของการปลูกข้าวโพดจังหวัดพิจติ ร จะมีการปลูกข้าวโพด 2 รุน่ โดยเดือนสิงหาคมกันยายน จะยังคงเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวข้าวโพดในรุ่นที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จะเป็นของ รุ่นที่ 2 ราคาขายข้าวโพดเมล็ดสดที่ความชื้น 30% ขายประมาณ 5.50-5.60 บาท/กก. และ เมล็ดแห้งความชื้น 14.5% ราคาประมาณ 8 บาท

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่ภาพรวมของจังหวัดพิจิตรมีการปลูกลดลงร้อยละ 12.75 เหลือ 17,684 ไร่ จากปี 2555 ที่มีพื้นที่ปลูก 20,269 ไร่ สาเหตุหลักๆ จากการลดลงเนื่องมาจาก การปลูกข้าวแทน โดยพืน้ ทีท่ ยี่ งั คงมีการปลูกข้าวโพด คงเป็นพืน้ ทีเ่ ชิงเขาทีไ่ ม่สามารถทำนาข้าวได้ ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นที่นาข้าวในจังหวัดพิจิตรมีมากกว่า 2 ล้านไร่ ประกอบกับ โรงสีข้าว โกดัง เก็บข้าวขนาดใหญ่ และขนาดเล็กจำนวนมากในจังหวัด จึงทำให้พอ่ ค้าข้าวโพด และพืชไร่ชนิดอื่นๆ น้อยลง โดยการเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวแทน ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนพืชในการปลูกที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และด้วยสภาพพื้นที่ราบลุ่มของทั้ง จังหวัด ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการปลูกได้ ต่างจากจังหวัดที่มีที่เชิงเขา และที่ราบสลับกันไป

29


ผลผลิตต่อไร่ : จากการประเมินของคณะสำรวจ ให้ลดลงเหลือ 698 กก./ไร่ เนื่องจาก เกษตรกรไม่ได้ดแู ลมากนัก คือ การปลูกแล้วปล่อยทิง้ ไว้ไปดูแลข้าวหรือพืชอืน่ มากกว่า แต่เกษตรกร ที่มีการปลูกพืชชนิดเดียวก็จะยังคงดูแลที่ดีเหมือนเดิม และเนื่องจากพื้นที่การปลูกที่น้อย พ่อค้า ในพืน้ ทีไ่ ม่คอ่ ยมี จึงทำให้การเก็บเกีย่ วล่าช้า แต่เป็นผลดีตอ่ คุณภาพความชืน้ ทีเ่ กษตรกรจำเป็นต้อง ปล่อยแห้งคาไร่ ในกรณีที่ต้องการใช้รถเก็บเกี่ยวต้องรอพ่อค้าจากจังหวัดใกล้เคียงมาดำเนินการ แต่หากพื้นที่สูงรถเก็บเกี่ยวไม่สามารถขึ้นได้ ก็ยังคงใช้แรงงานคนหักฝักให้เห็นอยู่ตามเดิม

๏ จังหวัดแพร่ ๏

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่, หจก. ชุมเฮงหลี เด่นชัย, บจก.เด่นชัยทรัพย์เกษตร บ.ชุนเฮงหลีรงุ่ เรืองทรัพย์ (ซ้อดำ, โกกล), ลานข้าวโพดการเกษตรศุภนิมติ ห้วยโรง ไผ่โทน คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

30

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 187,981 187,981 703 132,151 263,173 263,173 689 181,326 40.00% 23.50% -1.99% 37.21%

สภาพโดยทั่วไป : จังหวัดแพร่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับฤดูการผลิตอย่างมาก คิดเป็นร้อยละ 40 โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 263,173 ไร่ โดยพื้นที่หลักได้แก่ อ.ร้องกวาง อ.สอง อ.ลอง และอ.วังชิ้น ซึ่งพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นมาจากปัจจัย 4 อย่าง ประกอบด้วย


• พืน้ ทีป่ ลูกมันสำปะหลังลดลง พืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดริมแม่นำ้ เพิม่ ขึน้ จากราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ปี 2555 ที่สูงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร โดยพฤติกรรมโดยปกติของเกษตรกรที่เมื่อราคาผลผลิต พืชทดแทนที่สามารถปลูกได้มีราคาสูง หรือต่ำ เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนได้อย่างทันที • โครงการ Zoning ของทางภาครัฐที่เอื้ออำนวยให้ลดพื้นที่ปลูกนาปรังที่มีการใช้ปริมาณ น้ำเยอะ เปลี่ยนเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน อย่างไรก็ตาม พบว่า สภาพอากาศฝนตกช้ากว่าปกติ ทำให้พื้นที่ปลูกชุดแรกมีรายงาน ความเสียหายบ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่งจะเป็นการเสียหายเชิงคุณภาพ ไม่ได้เสียหายโดยสิ้นเชิง สภาพ โดยทั่วไปของเกษตรกรจะมีพฤติกรรมต่อการปลูกทำให้ปลูกได้ 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 (ต้นฝน) ปลูกประมาณเดือน พ.ค. และเก็บเกี่ยวเดือน ส.ค. รุ่นที่ 2 (ปลายฝน) ปลูกประมาณเดือน ส.ค. และเก็บเกี่ยวประมาณเดือน พ.ย. รุ่นที่ 3 (พื้นที่นา) เริ่มปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวประมาณเดือน ธ.ค. และเก็บเกี่ยว มี.ค. ผลผลิตต่อไร่ : ฝนตกล่า มีน้ำหลากช่วงการปลูกชุดแรก แต่ไม่เสียหายทั้งหมด โดยส่งผล ต่อคุณภาพของผลผลิตทำให้ ผลผลิตต่อไร่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.99 ซึ่งลดลงจาก 703 เหลือ 689 กิโลกรัมต่อไร่ แต่หลังจากผ่านช่วงเวลาน้ำหลากไปแล้ว สภาพฝนกระจายตัวดีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และข้าวโพดริมน้ำก็ได้รับน้ำอย่างสมบูรณ์ ซึ่งคาดการณ์ว่ารุ่นที่ 3 ข้าวโพดหลังนา หากราคาข้าวโพดสูงขึ้นจะทำให้เกษตรกรหันมาปลูกมากขึ้นกว่าเดิม โดยราคาขายของเกษตรกร เมล็ดสด ความชื้น 30% ขายได้ที่ราคา 6.30 บาท/กิโลกรัม (ณ วันที่ 8 พ.ย. 56 ขายเพื่อ เข้าร่วมโครงการแทรกแซงราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

๏ จังหวัดน่าน ๏

31


คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 651,410 651,410 695 452,730 784,167 784,167 695 544,996 20.38% 20.38% 0% 20.38%

สภาพโดยทัว่ ไป : พืน้ ทีก่ ารปลูกของเกษตรกรเพิม่ ขึน้ 20.38% จึงทำให้พนื้ ทีท่ สี่ ามารถระบุ ได้ประมาณ 784,167 ไร่ ทั้งนี้ ในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากพื้นที่ปลูกของการสลับแปลงการปลูกพืช ของเกษตรกรส่วนหนึง่ พืน้ ทีม่ นั สำปะหลังทีม่ ปี ญ ั หาเรือ่ งท่อนพันธุส์ ว่ นหนึง่ และเพิม่ จากพืน้ ทีร่ มิ น้ำ อีกส่วนหนึ่ง โดยปัจจัยหลักๆ จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาจากราคาขายปี 2555 ที่จูงใจ ให้เกษตรกรใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่สูงจะไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ดีเท่า ข้าวโพด ในส่วนของพฤติกรรมของเกษตรกรยังคงนิยมการหักฝักเก็บเข้ายุง้ ก่อนนำไปขาย เนือ่ งจาก หน้าฝนดินชุม่ น้ำ รถเกีย่ วไม่สามารถเข้าพืน้ ทีไ่ ด้ตอ้ งรอให้ดนิ แห้งก่อน ซึง่ จะเป็นช่วงประมาณปลายปี ขณะนี้มีข้าวโพดออกสู่ตลาดประมาณ 20% เป็นข้าวโพดริมน้ำเกือบทั้งหมดที่สามารถนำออกมา ขายได้ แต่อีก 80% คาดจะออกสู่ตลาดไปจนถึงต้นปี 2557 ผลผลิตต่อไร่ : เนื่องจากปี 2555 จังหวัดน่านไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง หรือน้ำท่วม ทำให้ผลผลิตไม่เสียหาย โดยปีนี้ยังคงคาดการณ์เท่ากับปีที่แล้ว ประกอบกับต้นทุนการผลิตของ เกษตรกรเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าแรงงาน แต่ไม่ได้ใช้ปัจจัยสนับสนุนในอัตราที่มากขึ้น สภาพอากาศ ตามที่กล่าวข้างต้น ฝนมีการกระจายตัวดีสม่ำเสมอ อาจจะเว้นช่วงบ้างในชุดแรกของการปลูก เช่นเดียวกับ อ.ร้องกวาง และอ.สอง จ.แพร่ ที่มีพื้นที่ติดกับ จ.น่าน และมีแนวเทือกเขาเดียวกัน ปัญหาที่พบ : จากนโยบายการแทรกแซงราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง การขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่เป็นรายเก่า โดยหากเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนแล้วเคยมีพื้นที่เท่าไร ไม่สามารถขึ้นจำนวนพื้นที่เพิ่มขึ้นได้ ส่วนรายใหม่ที่เพิ่งขึ้นทะเบียนเปิดรับเต็มที่ตามจำนวนจริง แต่ภายในชุมชนด้วยกันเองก็มีการเจรจาหาข้อยุติเพื่อให้เกิดความยุติธรรมร่วมกันเพื่อไม่ให้ผล ประโยชน์ของเกษตรกรเท่าเทียมกัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

32

จากสภาพปัญหาทั้งการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่ข้าวโพด และการเผาไร่หลังเก็บเกี่ยวของ เกษตรกร โดยทางหน่วยงานภาครัฐภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีกฎระเบียบที่ขัดแย้ง กันเองอยู่ เนื่องจากกรมป่าไม้มีข้อบัญญัติไม่ให้เกษตรกรรุกป่าเพื่อการปลูกพืชยืนต้นอย่าง ยางพารา แต่สามารถปลูกข้าวโพดไร่ได้ ทำให้ภาพลักษณ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลายเป็นภาพของ การบุกรุกทำลายป่าไป ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ชี้แจงให้สำนักงานเกษตรจังหวัด ทราบถึงความห่วงใย และชี้แจงถึงโครงการสร้างความยั่งยืนในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สมาคมฯ ได้


ร่วมกับหลายๆ หน่วยงานดำเนินการ ซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าว แต่อาจจะเป็น ลักษณะของความร่วมมือที่ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปในอนาคต สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน มีความกังวลต่อการบุกรุกป่าเพิ่มของเกษตรกร โดยปัจจุบัน นโยบายหลักของจังหวัดส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราซึ่งเป็นพืชยืนต้นมากขึ้นทดแทนข้าวโพด แต่สำหรับพื้นที่ป่าที่เป็นการบุกรุก ก็ไม่สามารถห้ามปรามได้ เนื่องจากข้อกฎหมายที่เอื้อต่อการ ปลูกพืชระยะสั้นมากกว่าพืชยืนต้นของกรมป่าไม้

๏ จังหวัดพะเยา ๏

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา คาดการณ์ผลการสำรวจ : พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 193,147 193,147 702 135,589 231,776 231,776 714 165,488 20.00% 20.00% 1.71% 22.05%

สภาพโดยทัว่ ไป : พืน้ ทีก่ ารปลูกของจังหวัดเพิม่ ขึน้ ราว 20% ที่ 231,776 ไร่ โดยเป็นพืน้ ที่ ทีเ่ พิม่ มาจากเกษตรกรทีม่ าขึน้ ทะเบียนเพิม่ ขึน้ จากปี 2553 ทีเ่ คยมาลงทะเบียนไว้โดยไม่มเี อกสารสิทธิ์ และผ่านกระบวนการตรวจสอบแล้ว อีกประการหนึ่ง พื้นที่ที่เคยปล่อยทิ้งพักแปลงไว้ โดยรีบนำ กลับมาปลูกเพิ่ม ซึ่งปกติเกษตรกรจะหมุนเวียนการปลูกพืช โดยจะปลูกข้าวโพดแปลงละประมาณ 2 ปี แล้วจะปล่อยที่ดินทิ้งไว้ โดยไปปลูกข้าวโพดในอีกแปลงหนึ่ง สลับแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทุกๆ 2 ปี โดยเฉพาะที่ อ.ปง ดอกคำใต้ และเชียงคำ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

33


ผลผลิตต่อไร่ : ปรับเพิม่ ขึน้ จาก 702 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 714 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.71 โดยส่วนหนึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรที่เปลี่ยนจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ ไม่ได้มาตรฐาน มาเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีอัตราการงอกที่ดี มีฝักเต็มสมบูรณ์ อีกส่วนหนึ่ง ภาครัฐก็ได้มีการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ของท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมีคุณสมบัติ ไม่แตกต่างจากบริษัทเอกชนรายใหญ่มากนัก

๏ จังหวัดเชียงราย ๏

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย, นิติยาการเกษตร (อ.เวียงป่าเป้า) คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

34

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 455,867 455,867 647 294,946 468,038 468,038 664 310,777 2.67% 2.67% 2.63% 5.37%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2.67% เป็น 468,038 ไร่ โดยพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่คือ พื้นที่ข้าวโพดที่ปลูกริมน้ำ จะสามารถเห็นได้ตลอดเส้นทางของแม่น้ำ แถบ อ.แม่ลาว แม่กก ซึ่งแต่เดิมมีการปลูกข้าวโพดบ้าง ปลูกผักบ้าง แต่เมื่อราคาปี 2555 เป็นแรง จูงใจของเกษตรกร ทำให้ปรับพื้นที่จากการปลูกผักเป็นข้าวโพดเพิ่มขึ้น ภาพรวมของข้าวโพดเชียงรายจะมีการปลูกรุ่น 1 ประมาณ เดือนเมษายน โดยเป็นพื้นที่ ปลูกอาศัยน้ำฝน และริมน้ำ จะทยอยเก็บเกี่ยวไปเรื่อยจนสิ้นสุดประมาณพฤศจิกายน และข้าวโพด


รุ่น 2 ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณเกือบๆ 2 หมื่นไร่ ประมาณเดือนพฤศจิกายน ปลูกทดแทนพื้นที่ ที่มีน้ำน้อยไม่พอปลูกข้าว ซึ่งพื้นที่นี้จะมีทั้งข้าวโพด และพืชตระกูลถั่วรวมอยู่ด้วย จะอยู่บริเวณ อ.เมือง แม่ริม แม่สรวย แม่ลาว แม่จัน เป็นต้น และเก็บเกี่ยวจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดไป ผลผลิตต่อไร่ : ปรับเพิม่ ขึน้ จาก 647 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 664 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็น 2.63% โดยเกษตรกรมีการบำรุงดิน ใส่ปุ๋ยดีขึ้น ในมีการกระจายตัวดี ปัญหาและอุปสรรค : พื้นที่ยางพารามีอัตราการเติบโตสูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ ข้าวโพดเดิม ซึ่งต่อไปหากยังคงมียางพาราเข้าไปทดแทนข้าวโพดอยู่อย่างต่อเนื่อง จะทำให้พื้นที่ ข้าวโพดหายไปอีกพอสมควร ทัง้ นี้ พฤติกรรมของเกษตรกรก็เปลีย่ นไปโดยจะไม่มกี ารหักฝักเข้ายุง้ หรือเก็บไว้ แต่จะขายสดทั้งฝักเลย ซึ่งจะทำให้ราคาขายต่ำ คุณภาพไม่ดี

๏ จังหวัดเชียงใหม่ ๏

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ คาดการณ์ผลการสำรวจ : พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 126,234 126,234 723 91,267 169,153 169,153 708 119,706 34.00% 34.00% -2.07% 31.22%

สภาพโดยทัว่ ไป : พืน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ จากปี 2555 ทีมกี ารปลูก 126,234 ไร่ เป็น 169,153 ไร่ คิดเป็น 34.00% โดยพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น มาจากพื้นที่ปลูกฟักทองที่เคยมีการปลูกมาก ประกอบกับ เกษตรกรที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน ได้รับอิทธิพลจากราคาตกต่ำของข้าวโพด จึงทำให้โครงการ แทรกแซงราคาข้าวโพดเป็นอีกทางเลือกทีเ่ กษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการ จึงมีเกษตรกรขึน้ ทะเบียน เพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

35


ผลผลิตต่อไร่ : มีภาวะของฝนทิ้งช่วงตอนทำรุ่นช่วงแรก และช่วงข้าวโพดกำลังจะออก ดอกหัว ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์นัก ประกอบกับเกษตรกรเร่งเก็บก่อนอายุการเก็บความชื้น สูง โดยมีความกังวลเกี่ยวกับมาตรการแทรกแซงจะมีการจำกัดปริมาณ ซึ่งการประเมิณของ คณะสำรวจให้นำ้ หนักลดลงเล็กน้อยคิดเป็น 2.07% จาก 723 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 708 กิโลกรัม ต่อไร่

๏ จังหวัดลำพูน ๏

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 105,011 105,011 626 65,737 105,011 105,011 626 65,737 0% 0% 0% 0%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่คงที่ โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพดแถบ อ.ลี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดหลัก ของจังหวัดเป็นพื้นที่สูง เป็นเขาเกือบทั้งหมด ทำให้เกษตรกรที่ปลูกแต่ข้าวโพดมานานไม่สามารถ เปลี่ยนพืชในการปลูกได้ ในส่วนของพื้นที่ราบที่เป็นไม้ยืนต้น และไม้ผลก็ยังคงพื้นที่เช่นเดิม โดยรวมจึงทำให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2555 คงพื้นที่ไว้ 105,011 ไร่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

36

ผลผลิตต่อไร่ : พฤติกรรมของเกษตรกรเหมือนเดิม เคยทำแบบไหนก็ยังคงทำแบบเดิม การใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี การดูแลบำรุงรักษา การใช้เมล็ดพันธุ์ และการหยอดปริมาณเท่าๆ เดิม จึงทำให้ผลผลิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 626 กิโลกรัมต่อไร่ ประกอบกับปริมาณฝนเป็นปกติ กระจายตัวสม่ำเสมอดี


ธนาพรรณการเกษตร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ (คุณพิเชษฐ์ เชื่อมวราศาสตร์) คาดการณ์ปริมาณ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศประมาณ 5.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะจังหวัดหลักๆ 3 จังหวัด น่าน เพชรบูรณ์ และตาก ซึ่งพื้นที่บนเขาส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ในส่วนจังหวัดนครสวรรค์ผลผลิต ไม่คอ่ ยดี ฝนทิง้ ช่วงตอนชุดแรกของการปลูก และมาตกอีกครัง้ ช่วงเดือนกรกฎาคม ฝนน้อยแต่ดสี ำหรับข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย ทีต่ อ้ งการปริมาณน้ำมากกว่าไม่ดนี กั ปัญหาหลักๆ ของทัง้ พ่อค้า และเกษตรกร คือ การขึ้นทะเบียน การเข้าร่วมโครงการไม่ได้ หรือคนที่เข้าได้ก็ยังไม่ได้รับเงินชดเชย คุณพิเชษฐ์ฯ ได้ออกสำรวจพืน้ ทีใ่ นอำเภอแม่เปิน แม่วงก์ ลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าปริมาณ มากกว่าที่เกษตรจังหวัดนครสวรรค์แจ้งไว้เพียง 10,000-15,000 ตัน และอำเภอลาดยาวมีเกษตรกร เพียง 1 รายเพาะปลูกข้าวโพด ซึง่ เกษตรกรผูป้ ลูกรับได้กบั การไม่สามารถขายเข้าร่วมในมาตรการแทรกแซงฯ และพบว่ามีการปลูกในรุ่น 2 และรุ่น 3 เกษตรกรให้ข้อมูลว่า ปลูกข้าวโพดขายง่าย แม้ราคาจะไม่ดี ผิดกับ มันสำปะหลัง ใช้เวลาปลูกนาน การขุดหัวมันทำได้ยาก ต้องจ้างรถแมคโครขนาดเล็ก เงื่อนไขการขายมาก ส่วนข้าว ไม่ปลูกเพราะน้ำน้อย และทราบว่าชาวนาทีป่ ลูกไปจำนำ ยังไม่ได้เงินตัง้ แต่เดือนสิงหาคม เป็นต้นมา เขาจึงตัดสินใจปลูกข้าวโพดต่อ สำหรับรุ่น 2 ได้ผ่านระยะการผสมเกสร และติดฝักไปแล้ว หรืออายุกว่า 65 วันขึ้นไปแล้ว เก็บเกี่ยวได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนรุ่น 3 ต้นเพิ่งขึ้นได้ 4 นิ้ว เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคม 2557 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม พบการปลูกถั่วเขียวในเขตอำเภอแม่วงก์ ในกรณีที่เกษตรกรหาเมล็ดพันธุ์ได้โดยไปซื้อ ที่จังหวัดกำแพงเพชร, พิจิตร ซึ่งเริ่มการปลูกแล้ว และคาดว่าปลายเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม จะมีผลผลิต ออกสู่ตลาด ราคาที่ซื้อเมล็ดพันธุ์คือ กก. ละ 40 บาท ใช้หว่านทำพันธุ์ถึง 15 กก./ไร่ ในนามของสมาคมพ่อค้าพืชไร่ ได้มีการทำหนังสือผ่านไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอขยายระยะ เวลา โดยขอขยายเวลาให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ถงึ 28 ก.พ. 57 และพ่อค้าสามารถขายได้ถงึ 31 มี.ค. 57 เนื่องจากมองว่า ข้าวโพดรุ่น 2 ของเกษตรกรที่จะออกปลายปี และต้นปีหน้าจะไม่สามารถเข้า โครงการได้ทัน จะทำให้เกษตรกรอาจจะเก็บเกี่ยวก่อนเวลา คุณภาพสินค้าจะไม่ดี และจะมีข้าวโพดทะลัก ปริมาณมากอีกรอบ ในส่วนของพ่อค้าจะต้องใช้เวลาในการปรับปรุงคุณภาพก่อนจะส่งไปยังผู้ส่งออก หรือ อาหารสัตว์ ทำให้หากรับสินค้าโครงการมาช่วงปลายโครงการจะทำไม่ทัน และอาจจะปฏิเสธไม่รับซื้อจาก เกษตรกร ตลาดกลางข้าวเปลือก ข้าวโพด และพืชไร่ทกุ ชนิด อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ (คุณรุง่ จุฬาฯ และ คุณแหม่มฯ) คาดการณ์ว่า พื้นที่ปลูกของนครสวรรค์ และจังหวัดทางตอนเหนือเพิ่มขึ้นมาก โดยข้าวโพด ไหลลงมาเร็วขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมาจากสายเหนือ อาทิ เชียงราย ตาก แม่จัน แม่สอด แต่ปีนี้คุณภาพของ ข้าวโพดที่แม่สอดไม่ดี ฝักไม่สวย เม็ดไม่เต็ม มีเม็ดดำแซม ปกติจะส่งเข้าฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และผู้ส่งออก เนื่องจากข้าวโพดเกรดไม่สวย ส่งไปยังโรงงานอาหารสัตว์ไม่ผ่าน ถูกตีกลับ จึงทำให้เสียต้นทุนค่าขนส่ง ไม่คุ้มต่อการส่ง จัดทำโดย : ณัฐพล มีวิเศษณ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย วันที่ 6 ธันวาคม 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

๏ ข้อมูลเพิ่มเติม ๏

37


เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ ลพบุรี พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ พิจิตร สระบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี

จังหวัด

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 55/56 ปี 56/57 455,867 468,038 126,234 169,153 193,147 231,776 80,010 105,621 105,011 105,011 187,981 263,173 651,410 784,167 8,640 8,588 968,798 1,041,386 259,382 215,287 251,232 251,232 111,630 98,234 647,866 745,045 87,706 62,305 263,850 271,765 120,773 120,773 104,920 146,888 20,269 17,684 179,880 176,343 4,210 2,868 54,660 47,519 89,976 76,879 เพิ่ม/ลด 2.67% 34.00% 20.00% 32.01% 0.00% 40.00% 20.38% -0.60% 7.49% -17.00% 0.00% -12.00% 15.00% -28.96% 3.00% 0.00% 40.00% -12.75% -1.97% -31.88% -13.06% -14.56%

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ปี 55/56 ปี 56/57 455,867 468,038 126,234 169,153 193,147 231,776 80,010 105,621 105,011 105,011 187,981 263,173 651,410 784,167 8,210 8,588 968,798 1,041,386 259,382 215,287 251,232 251,232 111,630 98,234 647,866 745,045 87,706 62,305 203,850 251,765 120,773 120,773 101,710 146,888 20,269 17,684 176,530 176,343 4,250 2,868 54,380 47,519 89,976 76,879 เพิ่ม/ลด 2.67% 34.00% 20.00% 32.01% 0.00% 40.00% 20.38% 4.60% 7.49% -17.00% 0.00% -12.00% 15.00% -28.96% 23.51% 0.00% 44.42% -12.75% -0.11% -32.52% -12.62% -14.50%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด 647 664 2.63% 294,946 310,777 5.37% 723 708 2.07% 91,267 119,760 31.22% 702 714 1.71% 135,589 165,488 22.05% 696 695 0.14% 55,687 71,407 28.23% 626 626 0% 65,737 65,737 0.00% 703 689 -1.99% 132,151 181,326 37.21% 695 695 0% 452,730 544,996 20.38% 498 562 12.85% 4,303 4,826 12.15% 797 810 1.63% 772,132 843,523 9.25% 624 762 22.12% 161,854 164,049 1.36% 797 750 -5.90% 200,232 188,424 -5.90% 642 650 1.25% 71,666 63,852 -10.90% 641 650 1.40% 415,282 484,279 16.61% 670 670 0% 58,763 41,744 -28.96% 650 690 6.15% 171,503 187,518 9.34% 650 720 10.77% 78,502 86,597 10.31% 659 665 0.91% 67,142 97,681 45.48% 714 698 -2.24% 14,472 12,343 -14.71% 695 687 -1.15% 125,017 121,148 -3.09% 618 616 -0.32% 2,602 1,767 -32.09% 702 705 0.43% 38,371 33,501 -12.69% 661 668 1.06% 59,474 51,355 -13.65% 

ตารางสรุปผลการคาดการณ์พื้นที่ปลูก และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิต ปี 2556/2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

38


39

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 55/56 ปี 56/57 4,340 3,381 6,870 4,496 2,210 369 804,300 778,166 728,431 765,580 106,210 119,190 50,940 44,290 10,850 14,361 1,710 847 1,630 584 6,638 6,568 15,353 15,126 12,008 12,232 3,323 3,428 153,470 163,243 30,420 41,345 1,190 983 7,022,197 7,383,924 เพิ่ม/ลด -22.10% -34.56% -83.30% -3.25% 5.10% 12.22% -13.05% 32.36% -50.47% -64.17% -1.05% -1.48% 1.87% 3.16% 6.37% 35.91% -17.39% 5.15%

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ปี 55/56 ปี 56/57 4,340 3,381 6,670 4,496 2,160 369 804,300 778,166 728,431 765,580 106,210 119,190 49,300 44,290 10,140 14,361 1,660 847 1,580 584 6,638 6,568 15,353 15,126 12,008 12,232 3,323 3,428 150,090 163,242 29,770 41,345 1,070 983 6,954,718 7,363,923 เพิ่ม/ลด -22.10% -32.59% -82.92% -3.25% 5.10% 12.22% -10.16% 41.63% -48.98% -63.04% -1.05% -1.48% 1.87% 3.16% 8.76% 38.88% -8.13% 5.88%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 607 597 -1.65% 2,634 2,018 562 562 0.00% 3,861 2,527 584 577 -1.20% 1,291 213 675 712 5.48% 542,903 554,054 640 710 12.49% 466,196 543,562 660 639 -3.18% 70,099 76,162 606 660 8.91% 30,870 29,231 512 518 1.17% 5,555 7,439 544 553 1.65% 930 468 687 697 1.46% 1,120 407 691 685 -0.87% 4,587 4,499 592 607 2.53% 9,089 9,181 668 663 -0.75% 8,021 8,110 598 670 12.04% 1,987 2,297 665 734 10.38% 102,058 119,820 615 635 3.25% 18,708 26,254 612 623 1.80% 728 612 649 665 2.40% 4,740,059 5,228,952

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ที่มา : จากการสำรวจ และการประเมินของคณะอนุกรรมการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ณ วันที่ 22 พ.ย. 56 สรุป : พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 5.15 ทำให้มีพื้นที่รวม 7.38 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 665 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.31 หรือคิดเป็น 5.22 ล้านตัน

ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบฯ นครราชสีมา เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ขอนแก่น ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี รวม

จังหวัด

 เพิ่ม/ลด -23.39% -34.55% -83.50% 2.05% 16.59% 8.65% -5.31% 33.92% -49.68% -63.66% -1.92% 1.01% 1.11% 15.60% 17.40% 40.34% -15.93% 10.31%


Market Leader

ปี 57 สินค้าปศุสัตว์ไทยสดใส เปิดศักราชปี 2557 สินค้าเกษตรด้านพืชของไทยหลาย รายการ ยังต้องเผชิญชะตากรรมรับสภาพตลาดส่งออกยังไม่ฟื้น เศรษฐกิจโลกยังไม่มีปัจจัยหนุน จึงทำให้สถานการณ์ราคาในประเทศ ยังทรงๆ ตรงกันข้ามกับภาพรวมสินค้าปศุสัตว์ หลายรายการมี สั ญ ญาณบวกมาตั้ ง แต่ ปี 2556 ส่วนจะจริงหรือไม่นั้น น.สพ.ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิ บ ดี ก รมปศุ สั ต ว์ กล่ า วถึ ง ทิ ศ ทางแนวโน้ ม สิ น ค้ า ปศุสัตว์ในภาพรวมของปีม้า 

ไก่เนื้อทิศทางสดใส

ภาพรวมการขยายตัวทิศทางปศุสัตว์ (ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และอื่นๆ) ที่ทำรายได้หลัก โดยประมาณ ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2556 มีมูลค่าการส่งออกรวม 9.8 หมื่นล้านบาท มีอัตราการขยายตัว 12.5% เมื่ อ เที ย บกั บ ช่ ว งเดี ย วกั น ของปี 2555 ที่ มี มู ล ค่ า ส่ ง ออก 8.2 หมื่ น ล้ า นบาท ส่วนปริมาณ คาดว่าจะขยายตัว 2% จากปีก่อนมีการส่งออก 7.8 แสนตัน ส่วนในปี 2557 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โคเนื้อ นม และผลิตภัณฑ์นม นั้นเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในตลาดอาเซียน และตลาดโลกที่เป็นคู่ค้าหลัก เนื่องจากสินค้าเหล่านี้เป็นอาหารสำหรับผู้บริโภค ซึ่งไม่ว่าเศรษฐกิจจะขาขึ้น หรือขาลง ก็ยัง จำเป็นต้องบริโภค โดยแยกเป็นรายชนิดดังนี้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

40

ไก่เนื้อ ภาพรวมปริมาณส่งออกในปี 2556 มีปริมาณ 5.3 แสนตัน ลดลงจากปี 2555 ที่มีปริมาณส่งออก 5.5 แสนตัน หรือลดลง 4% สาเหตุจากปัญหาภายใน เนื่องจากมีผู้ประกอบการบางรายมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องกระทบต่อการผลิต ทำให้ตัวเลขส่งออกไก่แปรรูปลดลง ขณะเดียวกัน ในส่วนของการส่งออกไก่สดได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่ตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,913 วันที่ 12-15 มกราคม 2557


ล่าสุด ตลาดส่งออกไก่สดยังได้อานิสงส์ จากที่รัฐบาลญี่ปุ่นอนุญาตให้มีการนำเข้าไก่สด จากไทยอีกครั้ง มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2556 ทีผ่ า่ นมา (หลังห้ามนำเข้าตัง้ แต่ปี 2547 ที่เกิดโรคไข้หวัดนก) ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการ แพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ญี่ปุ่นเคยนำเข้า เนื้อไก่สดจากประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนตัน จากปัจจัยบวก ดังกล่าว คาดว่าในปี 2557 ไทยจะส่งออก ไก่สดแช่แข็ง และไก่แปรรูป (ไก่ปรุงสุก) ไป ตลาดญี่ปุ่นได้ไม่ต่ำกว่า 3 แสนตัน มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท และการส่งออกในภาพรวม ทุกตลาด คาดจะส่งออกสินค้าไก่ได้ไม่น้อยกว่า 6.5 แสนตัน มูลค่าไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้าน บาท

ส่ ว นสถานการณ์ ส่ ง ออกเนื้ อ สุ ก รในปี 2556 มีปริมาณ 1.7 หมื่นตัน มูลค่า 3.3 พันล้านบาท เพิ่มจากปี 2555 ทั้งปริมาณ และมูลค่า โดยเฉลี่ย 17.21% ทิศทางราคา ในประเทศจึงสูงขึ้นตามวัฏจักร แต่จะมีราคา ที่ตกต่ำในบางช่วง เช่น เทศกาลกินเจ หรือ ปิดเทอม เพราะการบริโภคเนื้อสุกรจะลดลง ส่ ว นเกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งนั้ น มี ก ารปรั บ ตั ว ตาม สถานการณ์ ในปี 2556 ผลผลิตสุกรมี 16 ล้านตัว เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่มีการผลิต 15.2 ล้านตัว เนื่องจากคู่ค้ามีความต้องการบริโภค เนื้ อ สุ ก รจากไทยเพิ่ ม ขึ้ น โดยมี ต ลาดหลั ก ที่ ฮ่องกง และญีป่ นุ่ ทีม่ กี ารนำเข้าเนือ้ สุกรแช่แข็ง และปรุงสุก นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกแม่ พันธุ์สุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้านปีหนึ่งหลาย แสนตัว "ในปี 2557 คาดว่าตลาดสุกรจะยัง สดใส ขณะที่การบริโภคในประเทศก็ไม่ได้ลด น้อยลง มองว่าทั้งปริมาณ และมูลค่าในปีนี้ น่าจะเป็นปีทองของผู้เลี้ยงก็ว่าได้" 

นมและผลิตภัณฑ์นม มาแรง

ส่วนสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม (ส่วน ใหญ่ ส่ ง ออกในรู ป นมข้ น หวาน) ที่ ส่ ง เข้ า ไป จำหน่ายในประเทศเพือ่ นบ้าน ปัจจุบนั มีแนวโน้ม ที่จะส่งออกในรูปนมพร้อมดื่มมากขึ้น โดยในปี 2557 มีโอกาสขยายตัวของอุตสาหกรรมนม เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งไรก็ ดี ในปี ที่ ผ่ า นมา นมผง ในตลาดโลกมีราคาสูงกว่าปีก่อน จึงทำให้ผู้ ประกอบการนมได้หนั มาใช้นำ้ นมดิบในประเทศ เพื่อใช้ผลิตนมผงมากขึ้น จึงคาดว่าการสั่งเข้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ได้อนุญาตให้มีการนำเข้าไก่สดจากไทยอีกครั้ง ตัง้ แต่เดือนกรกฎาคม 2555 แต่กว่าจะได้สง่ ออก เกือบปลายปีแล้ว แต่มาขยายผลในปี 2556 เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ปี 2556 ส่งออกไก่สดได้ ถึง 5.8 หมื่นตัน จากปีก่อนหน้าส่งออกเพียง 5.18 พันตัน

หมูตลาดใน-นอกขยายตัว

41


นมผงในปี 2556 จะไม่เกินโควตานำเข้า ส่วน สาเหตุทผี่ ปู้ ระกอบการมีการสัง่ นำเข้านมผงนัน้ เนือ่ งจากในบางอุตสาหกรรมจำเป็นทีต่ อ้ งใช้ทำ ขนม คุกกี้ ไอศกรีม นมข้นหวาน และนมเปรีย้ ว เป็นต้น "ในปี 2557 ความต้ อ งการนมและ ผลิตภัณฑ์นมในตลาดอาเซียนยังขยายการเติบโต ได้อกี มาก ซึง่ ทีต่ อ้ งเน้นคือ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งโคนม ผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุน อาทิ ให้เกษตรกรใช้สัดส่วนอาหารหยาบมาก กว่าอาหารข้น ที่สำคัญจำนวนโคนมที่อยู่ใน ฟาร์ม ควรจะเลี้ยงจำนวนโคที่ให้นมมากกว่า จำนวนโคที่ไม่ให้ผลผลิต แต่ฟาร์มในเมืองเลี้ยง ผสมกันไปหมด จึงทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้นวิธีแก้ ควรจะต้องจำหน่ายโคออกไปบ้าง" 

ส่งออกไข่ไก่พงุ่ ช่วยดันราคาในปท.

ส่วนในสินค้าไข่ไก่ จากผลกระทบปลายปี 2555 สถานการณ์ราคาไข่ไก่ตกต่ำมาก จึงทำ ให้มีการอนุมัติเงินจากคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อ ผลักดันการส่งออกไข่ไก่ มีผลให้ในปี 2556 ราคาไข่ไก่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดการ ส่งออกไข่ไก่ ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ส่งออกได้ถงึ 218.9 ล้านฟอง สูงกว่าในปี 2555 ที่ส่งออก 87 ล้านฟอง หรือเพิ่มขึ้น 149.7% โดยตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

42

"ความจริงแล้วสินค้าปศุสัตว์ แทบทุกตัว การส่งออกจะขยายตัวตามสัดส่วน ไม่มีแบบ ก้าวกระโดด ดังนั้น เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน

ในปี 2558 สินค้าปศุสัตว์ทุกรายการเรามี ศักยภาพเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน ส่วน ในภาพรวมตลาดโลกในสินค้าสัตว์ปีก ไทยมี ศักยภาพในการส่งออกอยูอ่ นั ดับ 4 ของโลก รอง จาก บราซิล สหภาพยุโรป (อีย)ู และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี จะต้องมีการแข่งขันต้นทุนการผลิต เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการที่ผู้ประกอบการ ไปลงทุนเพื่อนบ้าน เพราะค่าแรงถูกกว่า เป็น การขยายการผลิตเพื่อที่จะลดต้นทุน ไม่ใช่เพื่อ ที่จะเป็นคู่แข่งในอนาคตของไทย" น.สพ.ทฤษดี กล่าวย้ำว่า ภาพรวมปศุสตั ว์ ในปี 2557 นั้น สดใสทุกตัวโดยไม่ต้องอิง เศรษฐกิจโลก เนือ่ งจากเป็นอาหาร และทีส่ ำคัญ ไทยค่อนข้างได้เปรียบ และมีจดุ แข็ง ผลิตสินค้า ได้มาตรฐานสากล เป็นทีย่ อมรับจากคนทัว่ โลก อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประเทศอื่นๆ ด้วย เนื่องจากภาครัฐ และเอกชนของไทยมีความ ร่วมมือ และสอดประสานการทำงานได้เป็น อย่างดี




จ้างหอไทย

ศึกษาหมูเห็ดเป็ดไก่

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยอยู่ระหว่าง ว่าจ้างทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศึกษา เรื่องทิศทางปศุสัตว์ไทยอีก 20 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2575 ใช้เงินประมาณ 1 ล้าน กว่าบาท โดยมีระยะเวลาการศึกษา 1 ปี ให้ วิเคราะห์ถึงแนวคิด และแนวโน้มการบริโภค สินค้าปศุสัตว์ของคนทั่วโลกที่มีแนวคิดเปลี่ยน ไป โดยเฉพาะในสัตว์เศรษฐกิจหลัก 7 ชนิด ได้แก่ ไก่ สุกร เป็ด วัวเนื้อ วัวนม ปลา และ กุ้ง เนื่องจากในอนาคตมีปัจจัยแวดล้อมมาก ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  24 มกราคม 2557

มายที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยง ปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการผลิต อาหารสัตว์ต้องนำมาพิจารณา โดยเฉพาะการ ให้ ค วามสำคั ญ ในเรื่ อ งสุ ข ภาพ สิ่ ง แวดล้ อ ม และการนำอาหารสัตว์บางชนิดไปใช้เป็นพืช พลังงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการนำมาใช้ เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงการนำเทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย มาใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมปศุ สั ต ว์ เป็นต้น ทัง้ นี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ภายในปีนี้ เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการในอุตสาหกรรม ปศุสัตว์นำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง การดำเนินธุรกิจ และการลงทุนในอนาคตได้ อย่างชัดเจน "ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาเรื่องเหล่านี้ กันอย่างละเอียด อย่างมากทำการศึกษาใน เรื่องของตัวเลขปริมาณ แนวโน้มราคาขึ้น-ลง ในระยะ 3-5 ปี การศึกษาตัวเลขอีก 20 ปี ข้างหน้า ไม่ถอื ว่าไกลเกินไป โดยการศึกษา ดูทงั้ ทิศทางการผลิตปศุสัตว์ทั้งสัตว์เล็ก และสัตว์ ใหญ่" นายพรศิลป์กล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

สมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ไ ทย จ้ า ง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ลุยวิจัยทิศทางแนวคิด-แนวโน้มการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ไทย ในอีก 20 ปีข้างหน้า เน้นครอบคลุม 7 สัตว์ เศรษฐกิจหลัก เช่น ไก่ สุกร เป็ด วัวเนื้อ วัวนม ปลา และกุ้ง หวังให้ผู้ประกอบการใน อุ ต สาหกรรมปศุ สั ต ว์ น ำไปใช้ ใ นการกำหนด นโยบาย ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และการลงทุน ในอนาคต

Market Leader

ส.อาหารสัตว์

43


และว่า ในอนาคต คนให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ในต่างประเทศมีคนพูดกันมากว่า ในอนาคตคนกินเนื้อสีขาว เช่น เนื้อไก่มากขึ้น กินเนื้อแดงลดลง กินผักมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ ต้องนำมาพิจารณาด้วย รวมถึงอาหารสัตว์หลายตัวถูกนำไปใช้เป็นพืชพลังงานมากขึ้นด้วย ส่วนหนึ่ง วัตถุดิบจะทำอย่างไร มีปัจจัยแวดล้อมมาก ผลการศึกษาเพื่อให้นักธุรกิจด้านปศุสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์สามารถนำไปใช้เป็นแนวนโยบายว่า ภายในอีก 20 ปีข้างหน้านี้ ควรดำเนิน ธุรกิจแบบไหนถึงจะอยู่รอด ลดธุรกิจทางด้านนี้ไปเพิ่มทางด้านนั้น เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจาก ทั่วโลก เนื่องจากสินค้าปศุสัตว์เป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่สร้างรายได้ในการส่งออกของไทยจำนวน มาก นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีจำกัด เพราะพื้นที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์มีเท่าเดิม ผลิตภาพต้อง เพิ่มขึ้น เรื่องนี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง ที่สำคัญในอนาคต การดูแลพัฒนาประสิทธิภาพการ ผลิต การดูแลเรื่องความปลอดภัยของวัตถุดิบระหว่างขั้นตอนการผลิตยังต้องมองภาพรวมลงไป ตลอดห่วงโซ่ ซึ่งมีเกษตรกร ผู้ประกอบการรายกลาง รายย่อยเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมด ปริมาณ การใช้อาหารสัตว์ปี 2556 มียอดรวม 15.5 ล้านตัน คาดการณ์ปี 2557 มีความต้องการ เพิ่มขึ้นประมาณ 15.5 ล้านตัน จากที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 16 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณ ผลผลิตกุ้งลดลงจากปัญหาโรคตายด่วน ส่งผลให้ความต้องการใช้อาหารกุ้งลดลงไปประมาณ 4 แสนตัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

44


Market Leader

ส่องแนวโน้ม และการฟื้นตัว ของ อุตสาหกรรมกุ้งไทย ปี 2557 โดย : ถนอมจิตร สิริภคพร

ปี 2556 ทีผ่ า่ นมา ไทยซึง่ เป็นผูน้ ำด้านการผลิต และผูส้ ง่ ออกกุง้ อันดับหนึง่ ของโลกมา อย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2534 ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติโรคตายด่วน (EMS: Early Mortality Syndrome) ทำให้ปริมาณผลผลิตกุ้งของไทยปี 2556 อยู่ที่ประมาณ 260,000 ตัน ลดลงจาก ปีก่อนที่ 472,881 ตัน หรือลดลงประมาณร้อยละ 45 ส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกกุ้ง ของไทยในช่วง 11 เดือนแรกปี 2556 ที่มีจำนวนเพียง 187,330 ตัน คิดเป็นมูลค่า 60,086 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 39.3 และ 28.9 ตามลำดับ ทำให้ไทยสูญเสียตำแหน่งผู้นำการส่งออก กุ้งในตลาดหลักสำคัญโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาให้กับอินเดียเป็นครั้งแรก

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดย ธปท. สำนักงานภาคใต้

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ปริมาณการส่งออกกุ้งของไทย

45


โรคตายด่วนพบครั้งแรกในจีน ตั้งแต่ ปี 2552 และระบาดสู่เวียดนามในปี 2553 หลังจากนั้นได้ระบาดเข้าสู่มาเลเซีย และภาค ตะวันออกของไทย แถบจังหวัดจันทบุรี และ ระยองในปี 2554 กระทั่งปลายปี 2555 เริ่ม ระบาดไปทั่วประเทศ และสร้างความสูญเสีย ต่ อ อุ ต สาหกรรมกุ้ ง ของไทยอย่ า งรุ น แรง ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา ทำให้เกิดปัญหา การขาดแคลนกุ้งอย่างหนัก ขณะที่ราคากุ้ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ สะท้อนจาก ราคาเฉลี่ยกุ้งขาวขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ปี 2556 อยู่ที่กิโลกรัมละ 208.65 บาท เพิ่มจาก 128.86 บาทในปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.9 ผลจากการขาดแคลนกุ้ ง นำมาซึ่ ง การ ปรับตัวของอุตสาหกรรมกุ้งไทย เริ่มตั้งแต่การ ปรับลดกำลังการผลิต การนำเข้าวัตถุดิบ การ หันไปใช้อาหารทะเลอื่นเป็นวัตถุดิบแทน และ การย้ า ยฐานการผลิ ต ไปต่ า งประเทศ อาทิ อินเดีย รวมทั้งการเปลี่ยนไปผลิตสินค้ามูลค่า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

46

เพิ่มสูง ทำตลาดโดยไม่เน้นปริมาณเพื่อเจาะ ตลาด Premium ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออก กุ้ ง แปรรู ป ของไทยในปี 2556 ที่ มี สั ด ส่ ว น ร้ อ ยละ 50.4 สู ง ขึ้ น เมื่ อ เที ย บกั บ สั ด ส่ ว น ร้อยละ 44.3 ในปี 2555 สำหรั บ ตลาดหลั ก สำคั ญ ที่ ไ ทยมี ก าร ส่งออกกุง้ ลดลงมากในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ได้ แ ก่ สหรั ฐ อเมริ ก า ญี่ ปุ่ น และ สหภาพยุโรป โดยลดลงร้อยละ 39.5 28.3 และ 44.0 ตามลำดับ สาเหตุจากปัญหาขาดแคลน กุ้งเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจาก พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตอบสนองต่อราคา กุง้ ทีป่ รับตัวสูงขึน้ มากในแต่ละตลาด โดยตลาด สหรั ฐ อเมริ ก าเป็ น ตลาดที่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ ปัจจัยราคามากกว่าคุณภาพสินค้า จึงทำให้การ ส่งออกลดลงมากกว่าตลาดญีป่ นุ่ ซึง่ เน้นคุณภาพ มากกว่าราคา ส่วนตลาดยุโรปแม้จะเน้นคุณภาพ แต่เนื่องจากมีปัญหาเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ จึงทำให้การส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวลดลง มากกว่าตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น


การนำเข้ากุ้งทุกประเภทในสหรัฐอเมริกา มกราคม-ตุลาคม % 2555 2556 เปลี่ยนแปลง อินเดีย 50,099 78,104 55.9 ไทย 109,435 68,418 -37.5 อินโดนีเซีย 60,499 66,798 10.4 เอกวาดอร์ 69,122 65,130 -5.8 เวียดนาม 32,438 46,715 44.0 จีน 29,438 26,070 -11.4 เม็กซิโก 21,370 14,387 -32.7 อื่นๆ 59,288 51,789 -12.6 รวม 431,689 417,411 -3.3 ที่มา: National Marine Fisheries Service of United States

หน่วย: เมตริกตัน % ส่วนแบ่งตลาด 2555 2556 11.6 18.7 25.4 16.4 14.0 16.0 16.0 15.6 7.5 11.2 6.8 6.2 5.0 3.4 13.7 12.5 100.0 100.0

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการนำเข้ากุ้งในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาด ที่ไทยเราครองความเป็นผู้นำอย่างโดดเด่นมาอย่างยาวนาน พบว่า ในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2556 อินเดียสามารถครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่ง ที่ร้อยละ 18.7 แทนที่ไทยได้เป็นครั้งแรก ขณะที่ ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 16.4 ตกลงมาเป็นอันดับสอง ตามด้วย อันดับสาม คือ อินโดนีเซีย ที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.0 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2557 ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากประเด็นการ ตั ด สิ ท ธิ พิ เ ศษทางภาษี ศุ ล กากร (GSP) ของสหภาพยุ โ รป และ ประเด็นเรื่องการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไขเพื่อมิให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อ อุตสาหกรรมกุ้งโดยรวม

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

จากการที่ภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรค ตายด่วน เช่น การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ และการเน้นวิธีการเลี้ยงโดยการ อนุบาลให้ลูกกุ้งแข็งแรงจะทำให้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยเริ่มจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผลผลิตจากการเลี้ยงในรอบแรกปีนี้ซึ่งจะออกในช่วง พฤษภาคม-มิถุนายน ได้ผลดี คาดว่าผลผลิตกุ้งจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในปี 2558

47


Market Leader

หนาวหนัก

ฉุดผลผลิตหมู-ไก่วูบ ภัยหนาวกระทบภาคปศุสัตว์ หมู-ไก่ไข่ ผลผลิตวูบ เกษตรกรยันยังไม่ปรับราคาหน้า ฟาร์มช่วงนี้ แต่สง่ สัญญาณหลังตรุษจีนขอปรับ จากกำไรน้อย นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยง ไก่ฯ แนะทุกฝ่ายเอาใจใส่รกั ษาระดับอุณหภูมใิ น โรงเรือนจะผ่านช่วงวิกฤติไปได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

48

นายสุ ร ชั ย สุ ท ธิ ธ รรม นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เกิด โรคปอด และเยื่อหุ้มปอดอักเสบ (APP) ติดต่อ ในสุกร มีผลให้สุกรเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่ง ใน แถบจั ง หวั ด ชลบุ รี ฉะเชิ ง เทรา และจั ง หวั ด ในภาคตะวันออก ส่วนที่ยังมีชีวิตต้องใช้วัคซีน ช่วย ซึง่ ทำให้เกษตรกรมีภาระต้นทุนเพิม่ ขณะที่ โรคนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สุกรโตแล้ว หากเอาไม่อยู่ จะกระทบต่อผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดได้ ขณะ เดียวกัน จากสภาพอากาศที่หนาวเย็น และ แปรปรวนในหลายพื้นที่ของประเทศในขณะนี้ มีผลให้สกุ รปรับตัวไม่ทนั ทำให้กนิ อาหารลดลง เติบโตช้าลง และต้องใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น

"จากทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้น ทำให้ผลผลิต สุกรมีชีวิตในขณะนี้ลดลง อย่างไรก็ดี เราจะยัง ไม่ปรับราคาขึ้น เพราะล่าสุดได้หารือกับกรม การค้าภายในเรียบร้อยแล้วว่าจะตรึงราคาหมู มีชีวิตหน้าฟาร์มไว้ที่ 72-73 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะส่งให้ราคาหมูเนื้อแดงในตลาดสดเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ 140 บาทต่อกิโลกรัม และช่วง ตรุษจีน ปลายเดือนมกราคมราคาก็นา่ จะอยูใ่ น เกณฑ์นี้ แต่หลังตรุษจีนราคาอาจปรับตัวขึ้น เล็กน้อย" "ในเร็วๆ นี้ หากไทยได้รัฐบาลใหม่ ทาง สมาคมอยากขอการสนับสนุนจากรัฐบาลในการ ช่วยผลักดันการส่งออกเนื้อสุกรสดแช่แข็งไป จำหน่ายตลาดญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันมีการนำเข้าเนื้อ สุกรปีหนึง่ หลายแสนตัน โดยส่วนใหญ่นำเข้าจาก ยุโรป แต่ยงั ติดในเรือ่ งทีไ่ ทยเป็นเขตโรคปากและ เท้าเปื่อยในสุกร จึงยังไม่ได้รับการอนุญาต"

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,914 วันที่ 16-18 มกราคม 2557


ขณะที่นายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในขณะนี้ ได้ส่งผลให้ผลผลิต ไข่ไก่ในภาพรวมของประเทศลดลง 2-10% ขึ้นกับแต่ละพื้นที่ โดยภาคเหนือ และภาคอีสานผลผลิตลดลงมากที่สุด ส่งผล ให้ผลผลิตไข่ไก่ทวั่ ประเทศในขณะนีม้ ปี ระมาณ 30 ล้านฟอง ต่อวัน ถือว่าขาดแคลนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการ ของตลาด แต่ผู้ประกอบการยังจำหน่ายไข่ในราคาเดิม โดยไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ยที่ 3.10-3.20 บาทต่อ ฟอง จากต้นทุนการผลิตที่ 3.04 บาทต่อฟอง มีกำไรเล็กน้อย "ปกติเอ้กบอร์ดจะให้เรามีกำไรไม่เกิน 20% ของราคาต้นทุน แต่ขณะนีก้ ำไรเราไม่ถงึ 20% ซึ่งก็อยู่ในกรอบข้อตกลงที่สามารถปรับ ขึน้ ได้ เราก็เห็นใจผูบ้ ริโภคทีต่ อ้ งถ้อยทีถอ้ ยอาศัย กัน แต่ช่วงใกล้ตรุษจีนอาจ ขอปรับขึน้ เล็กน้อย แต่ ในยามทีบ่ า้ นเมืองเป็น แบบนี้ เราก็ไม่อยาก ไปซ้ำเติมผู้บริโภคมาก ทั้งที่เราสามารถขึ้นราคาได้ตั้งแต่ก่อนปีใหม่"

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ด้านนางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริม การเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า อยากเตือนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ และไก่ไข่ ได้เอาใจใส่ดูแลไก่อย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน กลางวันร้อน กลางคืนหนาว อาจมีผลให้ไก่ป่วยไม่สบาย และอาจเกิดโรค เช่น นิวคาสเซิลได้ ดังนั้น หาก รายใดเลี้ยงไก่แบบโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศ หรืออีแวป ก็ควรปรับอุณหภูมิในโรงเรือนให้มี ความเหมาะสม ส่วนทีเ่ ป็นโรงเรือนเปิดก็ควรหมัน่ ดูแลการเปิด-ปิดผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ หากดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีก็จะผ่านไปได้

49


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

50

"ซีพีเอฟ"

พลิกโฉมโรงเชือดไก่ ทุ่มซื้อเครื่องจักรชำแหละ รายแรกในไทย ต้นทุนค่าวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานที่ เพิม่ สูงขึน้ ส่งผลให้หลายบริษทั พยายามหาทาง ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกที่นับวันจะ รุนแรงมากขึ้นได้

เฉพาะเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของสหภาพยุโรป เริ่มตั้งแต่ การวางระบบการจัดการ การเลีย้ งภายในฟาร์ม การขนส่งสัตว์เข้าสูโ่ รงงานเชือด โรงงานแปรรูป จนส่งมอบถึงมือลูกค้า

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่ง ในด้านการผลิต แปรรูป และจำหน่ายปศุสัตว์ ครบวงจรของประเทศไทยเช่นเดียวกัน

"ผมจะรับผิดชอบเฉพาะโรงเชือดไก่ และ โรงแปรรูปที่ จ.สระบุรี โรงเชือดปัจจุบนั มีกำลัง การผลิต 260,000 ตัวต่อวัน และโรงงาน แปรรูปปัจจุบนั ผลิตได้ประมาณ 2,600-2,700 ตันต่อเดือน โดยโรงงานแปรรูปจะผลิตไก่เพื่อ การส่งออก 90% ที่เหลือขายตลาดภายใน ประเทศภายใต้แบรนด์ซพี ี รวมยอดขายทัง้ ไก่สด และผลิตภัณฑ์แปรรูปของ 2 โรงงาน ประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี จากการบริหารระบบ โลจิสติกส์ และซัพพลายเชนทั้ง 2 โรงงาน ทำ ให้ประหยัดต้นทุนไปได้มาก จากช่วงเริม่ ต้นเพียง ไม่กแี่ สนบาท ตอนนีท้ ำได้ประมาณ 4 ล้านกว่า บาทต่อเดือน ทั้งปี 2556 คาดว่าจะสามารถ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งระบบได้ประมาณ 50 ล้ า นบาทต่ อ ปี และตั้ ง เป้ า จะลดการสู ญ เสี ย ให้ได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10% ทุกปี

ธีรยุทธ พัชรมณีปกรณ์ รองกรรมการ ผู้จัดการ ธุรกิจโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จ.สระบุรี ซี พี เ อฟ เปิ ด เผยว่ า หลั ง จากได้ รั บ รางวั ล ผู้ ป ระกอบการดี เ ด่ น ด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ ก ารค้ า ประจำปี 2556 (Export Logistics Model Award-ELMA) ที่มอบโดยสำนักธุรกิจบริการ และโลจิ ส ติ ก ส์ ก ารค้ า กรมส่ ง เสริ ม การค้ า ระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ว่า ซีพีเอฟ ทำเรื่องลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพมาอย่าง ยาวนาน และมาเริ่มเข้มข้นขึ้นในช่วง 2 ปี ทีผ่ า่ นมา รวมถึงการสร้างมาตรฐานการส่งออก ให้ ไ ด้ ต ามหลั ก ปฏิ บั ติ ข องประเทศคู่ ค้ า โดย ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ลดไก่ตายระหว่างขนส่ง

วางเป้า Zero Stock

การลดต้นทุน ต้องทำให้คุณภาพไก่ออก มาดีด้วย ทุกฝ่ายต้องประสานงานกันอย่าง ใกล้ชดิ เริม่ จากการเลีย้ งทีด่ ี ทำให้มสี ขุ ภาพทีด่ ี มีการกำหนดพื้นที่การเลี้ยงเทียบตามน้ำหนัก ของไก่ 33 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทำให้ไก่ ไม่แออัดจนเกินไป ถ้าไก่นำ้ หนักมากขึน้ จำนวน ตัวไก่ต่อพื้นที่จะลดลง การจับไก่ คนงานต้อง ผ่านการอบรม ต้องอุม้ ประคองลงกล่อง ไม่ใช่จบั โยนลงกล่อง ในการจับไก่จะมีรางเลื่อนกล่อง วิ่งเข้าไปในฟาร์ม ทำให้การจับมีประสิทธิภาพ ไม่บาดเจ็บ เสียหาย มีกำหนดเวลาตัง้ แต่เริม่ จับ ไก่จากฟาร์มถึงโรงชำแหละต้องไม่เกิน 12 ชม. โดยมีการจัดตั้ง "ศูนย์ 24 ชม." อยู่ที่โรงงาน ประสานกับฟาร์มทีจ่ ะจับล่วงหน้า ทำให้สามารถ ควบคุมเรื่องการสูญเสียได้ โดยฟาร์มกับโรง เชือดมีรศั มีหา่ งกันไม่เกิน 50 กม. ทำให้สามารถ ควบคุมการเดินทางได้ค่อนข้างดี

ขณะนี้ทางซีพีเอฟที่สระบุรีมีเป้าหมาย ทำ "สต๊อกให้เป็นศูนย์" (Zero Stock) หลาย ส่วนงาน เริ่มจากพยายามลดพื้นที่การจัดเก็บ ไม่ต้องมีสต๊อกคงค้าง ทำให้เงินจม แต่เป็น เรื่องที่ต้องใช้เวลา นอกจากนี้ การผลิตสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นการรับจ้างผลิต (OEM) ให้ลูกค้า ต้องประสานกับลูกค้าว่าทำอย่างไรให้ปริมาณ สิ น ค้ า ที่ สั่ ง ซื้ อ แต่ ล ะครั้ ง บรรจุ ไ ด้ เ ต็ ม ตู้ ค อนเทนเนอร์

ขณะเดียวกัน ได้เริม่ คุยกับซัพพลายเออร์ อีกหลายราย เช่น ถุงพลาสติกบรรจุไก่ แต่ โรงงานผลิตส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถวบางบอน จ. สมุทรสาคร ทำให้มีปัญหาเรื่องระยะทาง คง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

การขนส่งมีการกำหนดจำนวนตัวไก่ที่ ใส่ ก ล่ อ งพลาสติ ก ไม่ ใ ห้ เ บี ย ดกั น จะทำให้ ไ ก่ บาดเจ็บ รถขนส่งมีระบบ GPS ควบคุมทุกคัน มีการกำหนดรถจากฟาร์มต้องมาจอดในโรง เชือดไม่เกิน 15 นาที ก่อนเข้าสู่กระบวนการ ผลิ ต ทำให้ ก ารสู ญ เสี ย เรื่ อ งน้ ำ หนั ก น้ อ ยลง ลดอัตราการตายของไก่ระหว่างการขนส่งอยู่ที่ 0.09% มาตรฐานสหภาพยุโรปกำหนดที่ 0.2% ซีพเี อฟทำได้ตำ่ กว่ามาตรฐาน ทำให้ตน้ ทุนดีขนึ้ ลดการสูญเสียการตายระหว่างการขนส่งน้อย มาก ทั้ ง หมดส่ ง ผลให้ ซี พี เ อฟลดต้ น ทุ น การ ขนส่งไปได้มาก 10-20%

ปัจจุบันเริ่มจับมือกับโรงงานผลิตกล่อง กระดาษลูกฟูกที่ตั้งอยู่ใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ห่างจากโรงงานซีพีเอฟ 6-7 กม. โดยนำระบบ VMI-Vendor Managed Invetory มาบริหาร จัดการคลังสินค้า มีการกำหนดปริมาณความ ต้องการใช้ และเวลาที่จะใช้ไว้ชัดเจนล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาโรงงานผลิตสามารถขนกล่องมาส่ง เข้าสู่ไลน์การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-inTime: JIT) ตอนนี้ทำได้ประมาณ 30% ทำให้ ลดพื้นที่การจัดเก็บกล่องไปได้พอสมควร

51


ต้องใช้เวลาคุยกันอีกระยะหนึง่ รวมถึงการหารือ กั บ ซั พ พลายเออร์ ที่ ข ายวั ต ถุ ดิ บ ถ้ า ซี พี เ อฟ สั่งซื้อวัตถุดิบตัวใดมาก สามารถเจรจาเรื่อง การทำระบบ VMI ได้ แต่หากใช้วัตถุดิบนั้น เพียงเล็กน้อยเป็นเรื่องยาก

เครื่องชำแหละไก่รายแรกในไทย ค่าแรงงานถือเป็นปัจจัยต้นทุนที่สำคัญ ของโรงงาน เพราะธุรกิจไก่ยังต้องใช้แรงงาน จำนวนมาก ดั ง นั้ น เมื่ อ ช่ ว งเดื อ นเมษายน 2556 ทางผู้บริหารจึงมีนโยบายปรับปรุงครั้ง ใหญ่ด้วยการสั่งซื้อเครื่องจักรอัตโนมัติเข้ามา ทดแทนแรงงานคน ด้วยเงินลงทุนประมาณ 160 ล้านบาท จากเมื่อก่อนต้องใช้คนงาน ในการชำแหละไก่ที่เป็นตัวออกมาเป็นชิ้นส่วน เครื่องชำแหละไก่อัตโนมัตินี้ ถือเป็นเครื่องแรก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

52

และเป็นโรงงานเดียวในประเทศไทยที่มีการใช้ ซีพีเอฟ มีเครื่องจักรอัตโนมัติในการชำแหละ ไก่ 2 ชุด ชุดหนึ่งชำแหละไก่ได้นาทีละ 100 ตัว หรือคิดเป็น 6,000 ตัวต่อชั่วโมง เรามี เครื่องจักร 2 ชุด เท่ากับ 1 ชั่วโมง ชำแหละ ไก่ได้ 12,000 ตัวต่อชั่วโมง ทำให้ ซีพีเอฟ สามารถลดการใช้ พ นั ก งานไปได้ ถึ ง 200 กว่ า คน สามารถแก้ ปั ญ หาการขาดแคลน แรงงานมี ฝี มื อ ในการชำแหละไก่ เนื่ อ งจาก การชำแหละไก่ตอ้ งอาศัยความชำนาญ คนงาน ใหม่ เ ข้ า มาทำไม่ ไ ด้ เมื่ อ มี เ ครื่ อ งจั ก รเข้ า มา สามารถย้ายแรงงานส่วนนี้ไปทำงานในจุดอื่น ที่ยังขาดแคลนแรงงาน ในอนาคตมีแผนจะ ซื้อเครื่องเพิ่มเติมที่โรงงานปักธงชัย จ.นครราชสีมา อย่างไรก็ตาม การนำระบบโลจิสติกส์ และซั พ พลายเชนมาบริ ห ารจั ด การภายใน โรงงาน ส่งผลให้พนักงานทำงานง่ายขึ้น ลด กระบวนการและขั้นตอนการทำงานต่างๆ ลง ได้มาก ขณะเดียวกัน ได้ส่งเสริมให้พนักงาน คิดโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพต่างๆ โดยนำ แนวคิดเรื่องกลยุทธ์การบริหารงานแบบญี่ปุ่น (Kaizen) มาใช้ โดยจะเปิ ด โอกาสให้ ร ะดั บ หัวหน้างานมานำเสนอแนวคิดดีๆ มีการประกวด ให้รางวัลกัน รวมถึงการนำระบบลีน (Lean) มาช่ ว ยลดการสู ญ เสี ย และลดขั้ น ตอนการ ทำงานต่างๆ ลงได้มาก




"ภาคเกษตร" โดย : วีรพงษ์ รามางกูร

ประมาณปลายปี 2558 ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ก็จะเปิดกันเต็ม รูปแบบ ซึ่งก็หมายความว่า สินค้าส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริ ก าร จะเปิ ด ถึ ง กั น อย่ า งเสรี ยกเลิ ก ภาษี ขาเข้าระหว่างกัน รวมทั้งกฎระเบียบอุปสรรค อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างกันก็คงจะยกเลิก ไปด้วย เพื่อให้การค้าขายระหว่างกันเป็นไป อย่างเสรี จนจะกลายเป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ระหว่างกัน การเปิดเสรีระหว่างกัน เป็นการขยายตลาด อาเซียนให้ใหญ่โตขึน้ รัฐบาลก็ทำประชาสัมพันธ์ ค่อนข้างมากให้ประชาชนได้รู้ จะได้ปรับตัวให้ ทันเมื่อเวลามาถึง สำหรับประเทศไทย โดยส่วนรวมน่าจะ ได้ประโยชน์เพราะตั้งอยู่ใจกลางของประชาคม รายล้อมด้วยประเทศอาเซียนใหม่ อันได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม อีกทั้งอยู่ใกล้ จีนทีม่ เี ศรษฐกิจใหญ่เป็นที่ 2 ของโลก เมือ่ เทียบ

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กับมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดนีเซีย ในแง่ของทีต่ งั้ และระดับของการพัฒนาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว เราน่าจะได้ประโยชน์ กว่าประเทศอาเซียนเก่าอื่นๆ แต่ เ มื่ อ คำนึ ง ถึ ง ภาคเกษตรกรรมแล้ ว น่าห่วง โดยเฉพาะพืชหลักทีเ่ ราผลิตส่งออกเป็น จำนวนมาก เป็นผู้นำของโลก เช่น ข้าว ยาง พารา มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม พืชดังกล่าว ขณะนี้เป็นพืชที่รัฐบาลใช้ภาษีอากรเป็นจำนวน มากชดเชยการผลิต ต้นทุนการผลิตสูงเพราะ ขาดแคลนแรงงาน ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักร ใช้นำ้ มัน รวมทัง้ ใช้แรงงานต่างชาติเป็นจำนวน มาก ในกรณี เ รื่ อ งข้ า ว ไทยคงได้ เ ปรี ย บ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับ สิงคโปร์นั้น ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตร แต่เราก็ ไม่ได้เปรียบพม่า เวียดนาม กัมพูชา และลาว ประเทศเหล่านี้ก็เสียเปรียบในเรื่องระบบการ ขนส่ง แต่ต่อไปข้างหน้าเมื่อถึง พ.ศ. 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

กับ

Around the World

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

53


สินค้าเกษตรเหล่านี้ จะสามารถส่งข้ามพรมแดน กันได้อย่างเสรี ถ้าประเทศไทยยังคงไม่มีการ เตรียมตัวก็น่าจะมีปัญหาราคาข้าว ราคายาง พารา ราคามันสำปะหลัง ราคาข้าวโพด ราคา ลำไย ต้องเป็นไปตามราคาตลาด หากยังคง โครงการรับจำนำพืชผลต่างๆ ในราคาที่สูง กว่ า ตลาด สิ น ค้ า ชนิ ด เดี ย วกั น จากประเทศ เพื่ อ นบ้ า นก็ ค งจะหลั่ ง ไหลเข้ า มาในประเทศ นำเข้ามาจำนำ ซึ่งที่จริงก็คือเอามาขายให้กับ รัฐบาลไทยนั่นเอง รัฐบาลจะเอาเงินภาษีอากร ที่เก็บจากประชาชนไทยไปรับซื้อข้าวพม่า ข้าว กัมพูชา ข้าวเวียดนาม หรือไปรับซื้อยางพารา จากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในราคาที่สูงกว่า ราคาตลาด ประชาชนคนไทยผูเ้ สียภาษีกไ็ ม่ควร จะยอม แม้ทกุ วันนี้ การทีร่ ฐั บาลเอาเงินภาษีของ ประชาชนไปทำโครงการรับจำนำข้าว จำนำ ยางพารา มันสำปะหลัง ใช้เงินภาษีอากรไป ชดเชยการขาดทุนจำนวนมหาศาล และชาวไร่ ชาวนาก็ได้ไม่ถึงครึ่ง แต่สูญเสียไปกับค่าขนส่ง ค่ า เช่ า โกดั ง ค่ า สิ น ค้ า สู ญ หาย เสื่ อ มสภาพ ความสามารถส่งออกไม่มี หรือมีกต็ ำ่ กว่าเอกชน ผู้ส่งออก ประเทศผู้นำเข้าถ้าซื้อก็ซื้อกดราคา ลง เพราะรู้หมดว่าประเทศไทยมีข้าว มียาง มีมัน เก็บอยู่ในโกดังเท่าไหร่ ประชาชนผู้เสีย ภาษียังไม่รู้สึก แต่ถ้ารัฐบาลไม่สามารถรักษา วินยั ทางการคลังไว้ได้ และต้องขึน้ ภาษี เมือ่ นัน้ ผู้เสียภาษีคงจะรับไม่ได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

54

หากไม่เตรียมตัว ไม่ปรับตัวเสียแต่เนิ่นๆ เกษตรกรทีเ่ คยได้รบั ผลประโยชน์จนเคยชินจาก นโยบายของรัฐบาลก็คงจะไม่เข้าใจ และยอมรับ ไม่ได้ ปัญหาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นปัญหาการ

เมืองทันที จะไม่เกิดความโกลาหลขึ้นหรือ เมื่อ เวลานั้นมาถึง รัฐบาลก็คงจะเปลี่ยนวิธีมาใช้ วิธีชดเชยตามเนื้อที่การเพาะปลูกเหมือนกับ กรณีของยางพาราในขณะนี้ แต่ก็คงจะทำไป ตลอดกาลไม่ได้ มิฉะนั้นก็เท่ากับเราเอาภาษี อากรของประชาชนไปอุดหนุนผู้นำเข้าในต่าง ประเทศ เราควรจะต้องตระหนักว่า เมือ่ ถึงเวลา ที่เราจะต้องเปิดเสรีสำหรับสินค้าเกษตรกรรม กับประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียน ราคา สินค้าเกษตรภายในประเทศเหล่านี้ ต้องสอดคล้องกับราคาในตลาดโลก สามารถขึ้นลงตาม สถานการณ์ในตลาดโลก เนื่องจากระดับการพัฒนาของประเทศ อาเซียนเก่าสูงกว่าประเทศอาเซียนใหม่ แม้ว่า ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ ข องเราอาจจะสู ง กว่ า ประเทศ เพื่อนบ้าน เพราะเราใช้เครื่องจักร ใช้พลังงาน ใช้ปยุ๋ ในอัตราทีส่ งู กว่าประเทศเพือ่ นบ้าน เพราะ ประเทศเราเป็นประเทศที่ขาดแคลนแรงงาน เสียแล้ว ต่อไปข้างหน้าก็คงจะขาดแคลนยิ่งขึ้น ถ้าเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม และภาค บริการขยายตัวมากขึ้น การจะคงปริมาณการ ผลิ ต ไว้ ใ นระดั บ ที่ สู ง แล้ ว ชดเชยด้ ว ยเงิ น ภาษี อากร ก็ยิ่งจะเป็นภาระอย่างหนักกับประชาชน ผูเ้ สียภาษี จะเป็นลูกตุม้ ถ่วงความเจริญก้าวหน้า ของประเทศ ไม่ให้ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มี รายได้ปานกลาง ไม่นา่ จะมีทางเลือกอืน่ นอกจากวางแผน ลดการผลิตสินค้าเกษตรที่ต้องการเงินชดเชย ช่วยเหลือลงตามลำดับ ไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้า ยังมัวแต่ตงั้ งบประมาณจากภาษีอากรไปชดเชย ราคาสินค้าทีเ่ ราไม่มคี วามได้เปรียบในการผลิต เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ


เมื่ อ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นของเรา พม่ า เวียดนาม กัมพูชา และลาว พัฒนาระบบการ ขนส่งภายในประเทศของเขา เปิดพืน้ ทีอ่ นั กว้าง ใหญ่ของเขาให้ติดต่อตลาดโลก ประกอบกับ จำนวนประชากรที่มาก ค่าแรงงานยังต่ำกว่า เรา ระดับการพัฒนายังต่ำกว่าเรา การเมืองได้ รับการปฏิรูปให้เป็นที่ยอมรับของชาวโลกมาก ขึ้น นักลงทุนย่อมจะพากันไปลงทุนในประเทศ เหล่านัน้ เราเองต้องถอยออกจากภาคเศรษฐกิจ นี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป จะอยู่กับความภูมิใจว่า เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับหนึ่งต่อไปไม่ ได้

ทางเดียวก็คอื ต้องให้การศึกษากับสังคม ว่า เราคงจะทำอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ โดยเฉพาะ สินค้าราคาถูก เช่น ข้าวนาปรัง ต้องปรับ เปลี่ยนระบบชลประทานที่มีให้เหมาะสม และ คุ้มค่ากับสิ่งที่ผลิต เช่น สินค้าเกษตรชนิดอื่น หรือเปลี่ยนไปเป็นการประมง ไม้ยืนต้น และ อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา คงจะมาถึงเร็วขึ้น จากการเกิ ด เออี ซี หรื อ ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียน สำหรับสินค้าทางด้านอุตสาหกรรม และ บริการคงจะไม่มผี ลกระทบอะไรมาก เพราะการ ลดภาษีขาเข้า และสิ่งกีดขวางทางการค้าได้ ค่อยๆ ลดลงมา ได้ปรับตัวกันมานานแล้ว แต่ ภาคเกษตรกรรมของเรายังไม่ได้ทำอะไรเลย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

อีกทางหนึ่งที่จะลดปริมาณการผลิตของ สินค้าเกษตรราคาลงก็คอื จำกัดเนือ้ ทีเ่ พาะปลูก ลดการส่งออกลง เพราะการชดเชยราคาให้ เกษตรกรไทยก็เท่ากับรัฐบาลจ้างเกษตรกรไทย ผลิตข้าว ผลิตยางพารา แล้วขายให้กบั ผูบ้ ริโภค หรือผู้ใช้ในต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าต้นทุน การผลิต เพราะต้นทุนการผลิตเมือ่ รวมกับต้นทุน ของเกษตรกร และต้นทุนจากภาษีอากรของ ประชาชนแล้ว มีอัตราสูงกว่าราคาที่ผู้บริโภค และผู้ใช้สินค้าเกษตรของไทยจ่าย ในระยะยาว ประชาชนผูเ้ สียภาษีกค็ งจะยอมไม่ได้ ถ้ายังต้อง ใช้เงินเป็นแสนๆ ล้านอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

55


Around the World

เวียดนาม

บนเส้นทางสู่ครัวของโลก ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อเดือนธันวาคม 2529 หรือ 27 ปี มาแล้ว เวียดนามได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจครั้ง ใหญ่ ปรับเปลี่ยนจากระบบวางแผนส่วนกลาง มาเป็นเศรษฐกิจแบบการตลาด ยกเลิกระบบ นารวม อนุญาตให้ชาวนาขายพืชผลทางการ เกษตรในตลาด ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมเติบโต อย่างรวดเร็ว จากเดิมผลิตอาหารไม่เพียงพอ กับความต้องการ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ปจั จุบนั เวียดนามสามารถผลิตอาหาร ได้เหลือเฟือเกินความต้องการ และกำลังก้าว ไปสู่ ก ารเป็ น ครั ว ของโลกในหลายผลิ ต ภั ณ ฑ์ เนือ่ งจากพืน้ ทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์ และเกษตรกรมีความขยันหมั่นเพียร จนเป็นประเทศที่ ได้ รั บ การยกย่ อ งอย่ า งมากจากองค์ ก ารสหประชาชาติ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 สามารถส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมาก ถึ ง 2.52 หมื่ น ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ หรื อ ประมาณ 8 แสนล้านบาท

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

56

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 3 ธันวาคม 2556

สิ น ค้ า อาหารสำคั ญ รายการแรก คือ ข้าว จากเดิม ผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคใน ประเทศ แต่ ปั จ จุ บั น เวี ย ดนาม มี ผ ลผลิ ต มากถึ ง ปี ล ะ 27.7 ล้านตัน เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ อันดับ 5 ของโลก รอง จาก จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ ขณะที่ไทยเป็นอันดับ 6 ของโลก 20.2 ล้าน ตัน นอกจากนี้ ได้แซงหน้าไทยซึ่งเดิมเป็นผู้ ส่งออกข้าวรายใหญ่ทสี่ ดุ ของโลกมายาวนาน โดย ปัจจุบนั ก้าวเป็นผูส้ ง่ ออกข้าวรายใหญ่อนั ดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย ขณะที่ไทยหล่นมา เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยจีนเป็นผู้นำเข้าข้าว รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ประมาณ 1 ใน 3 ของการส่งออกข้าวของเวียดนามทั้งหมด


สำหรับสุกร เวียดนามเป็นผูผ้ ลิตเนือ้ สุกร รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ รายใหญ่อนั ดับ 5 ของโลก รองจากจีน สหภาพ ยุโรป บราซิล และรัสเซีย โดยในปี 2555 ผลิต 2.025 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม เป็นการผลิต เพื่อสนองความต้องการตลาดภายในประเทศ แทบทัง้ หมด ส่งออกเพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ขณะที่ เป็ด เวียดนามนับเป็นประเทศเลีย้ งเป็ดรายใหญ่ อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน สำหรับในด้านสัตว์น้ำ น่านน้ำเวียดนาม ถื อ เป็ น แหล่ ง ประมงที่ ส มบู ร ณ์ มี ท รั พ ยากร สัตว์นำ้ จำนวนมาก ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน สำหรับกิจการผลิตอาหารทะเลเป็นอย่างมาก โดยบริษัท รอแยล ฟู้ดส์ จำกัด ของไทย ซึ่ง เป็ น ผู้ ผ ลิ ต และจำหน่ า ยปลากระป๋ อ งซาร์ ดี น และแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศ ภายใต้ชื่อ "สามแม่ครัว" ได้ก่อตั้งฐานผลิตปลากระป๋อง ในเวียดนาม ดำเนินการในนาม บริษทั รอแยล ฟู้ดส์ (เวียดนาม) จำกัด ตั้งภายในนิคมอุตสาหกรรมของเมืองเตียนยาง (Tien Giang) ทางภาคใต้ของประเทศ และที่จังหวัดแหง่อัน (Nghe An) ทางภาคกลางของประเทศ

ในปี 2556 คาดว่าเวียดนามจะส่งออก สินค้าสัตว์น้ำมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยกระทรวงเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development-MARD) ของเวียดนาม กำหนด เป้าหมายปริมาณการจับสัตว์น้ำค่อนข้างคงที่ ณ ระดับ 2.4-2.6 ล้านตัน/ปี ต่อเนื่องจนถึงปี 2563 โดยลดเป้ า หมายปริ ม าณจั บ สั ต ว์ น้ ำ บริ เ วณชายฝั่ ง จาก 1.2 เหลื อ 0.8-0.87 ล้านตัน/ปี ขณะเดียวกันเพิ่มเป้าหมายปริมาณ จับสัตว์น้ำนอกชายฝั่งจาก 1 เป็น 1.4-1.53 ล้านตัน/ปี สำหรับผลิตภัณฑ์กุ้ง เวียดนามกำลังมา แรง ปัจจุบันเวียดนามนับเป็นประเทศผู้ผลิตกุ้ง รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และ ไทย โดยในปี 2556 คาดว่าเวียดนามจะส่งออก กุง้ เป็นมูลค่ามากถึง 8.5 หมืน่ ล้านบาท อย่างไร ก็ตาม การส่งออกไปยังจีนเกือบทั้งหมดเป็น กุ้งที่เป็นวัตถุดิบยังไม่ได้แปรรูป ทำให้เกิดการ ขาดแคลนกุ้งสำหรับแปรรูปในประเทศ ทำให้ ต้องนำเข้ากุ้งยังไม่ได้แปรรูปจากอินเดีย และ อาฟริกา มีการคาดว่าเวียดนามจะกลายเป็นมหาอำนาจในด้านแปรรูปกุ้งในอนาคต เนื่องจาก หลายบริษัท เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือ มิตซุยของญี่ปุ่น มีแผนก่อสร้างฐานผลิต และ แปรรูปกุ้งแบบครบวงจรในเวียดนามเพื่อส่ง ออกในอนาคต เนื่องจากมีข้อได้เปรียบทั้งเป็น แหล่งวัตถุดบิ และได้รบั GSP จากสหภาพยุโรป ขณะที่ไทยจะถูกตัดในอนาคต

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ปัญหาสำคัญในระยะที่ผ่านมา คือ ข้าว เวียดนามมีคุณภาพต่ำ ทำให้ราคาจำหน่ายต่ำ กว่าไทยมาก ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงได้ ริเริ่มโครงการปรับปรุงคลังเก็บ และไซโล เพื่อ ให้สามารถเก็บข้าวได้นานขึน้ รวมทัง้ ช่วยเหลือ ผู้ส่งออกในเวียดนามในการสร้างยี่ห้อ (Brand) ท้องถิ่นของตัวเอง การนำเครื่องมือที่ทันสมัย มาใช้ ท ดแทนแรงงานในการผลิ ต ข้ า วเพื่ อ ส่ ง ออก

57


อนึ่ง น้ำปลาฟู้ก๊วกของเวียดนามที่ผลิต ณ เกาะฟู้ก๊วก ได้มีชื่อเสียงอย่างมาก และของ จ.เกี ย นยาง (Kien Giang) ซึ่ ง มี ท ำเลที่ ตั้ ง ในอ่าวไทย โดยใช้วัตถุดิบเป็นปลากะตักที่จับ ได้รอบๆ เกาะ อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมี การใช้ฉลากปลอมหลอกลวงผู้บริโภคว่าเป็น น้ำปลาฟู้ก๊วก เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาข้ า งต้ น ทางการของ เวี ย ดนามได้ ยื่ น ขอจดทะเบี ย นเครื่ อ งหมาย การค้าตามแหล่งทางภูมิศาสตร์เพื่อคุ้มครอง สิทธิ และป้องกันการลอกเลียนแบบ โดยสหภาพยุโรปเพิ่งมอบประกาศนียบัตร Protected Designation of Origin certification ให้แก่ น้ำปลาฟู้ก๊วกไปแล้วในปี 2556 โดยนับเป็น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ รกของเออี ซี ที่ ไ ด้ รั บ มอบ PDO จากสหภาพยุโรป ส่วนกาแฟ เวียดนามก้าวกระโดดแซง หน้าโคลัมเบีย กลายเป็นผูส้ ง่ ออกกาแฟรายใหญ่ อันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล นับตั้งแต่ ปี 2543 เป็นต้นมา โดยในปี 2555 เวียดนาม ส่งออกมากกว่า 1.7 ล้านตัน มูลค่า 1.1 แสน ล้านบาท โดยมีการเพาะปลูก กาแฟมากบนที่ราบสูง ทางตอนกลางของ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

58

ประเทศ โดยมีลูกค้ารายใหญ่ คือ เยอรมนี และสหรัฐฯ เป็นที่น่าสังเกตว่า เวียดนามกับ บราซิล เน้นปลูกกาแฟต่างชนิดกัน กล่าวคือ เวียดนามปลูกพันธุโ์ รบัสต้าเกือบทัง้ หมด ขณะที่ บราซิลปลูกพันธุ์อะราบิกา ขณะที่ชา ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556 ส่งออก 1.28 แสนตัน มูลค่า 206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6 พันล้าน บาท โดยนับเป็นประเทศผู้ส่งออกชารายใหญ่ อันดับ 5 ของโลก สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่สุด คือ ปากีสถาน อย่างไรก็ตาม กว่า 90% ยัง เป็นการส่งออกในรูปวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ พริ ก ไทย เวี ย ดนามนั บ เป็ น ประเทศที่ เพาะปลูก และส่งออกพริกไทยรายใหญ่ที่สุด ในโลก โดยในปี 2556 คาดว่าจะส่งออก 1.3 แสนตัน มูลค่าประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 800-1,120 กก./ไร่ โดยเกษตรกรบางรายสามารถมีผลผลิต สูงถึง 1,440-1,600 กก./ไร่ ยิ่งไปกว่านั้น เวี ย ดนามยั ง ประสบผลสำเร็ จ ในการพั ฒ นา คุณภาพให้มีคุณภาพมาตรฐานตามความต้อง การของผู้ซื้อ โดยมีโรงงานคัดแยกทำความ สะอาดพริกไทยขนาดใหญ่ มีเครือ่ งจักรทันสมัย สามารถใช้ไอน้ำอบ หรือล้างพริกไทย แล้วอบ ให้แห้งเพื่อป้องกันเชื้อราอัลฟลาทอกซิน ทำให้ สามารถขายพริกไทยในราคาสูงกว่าเดิม


อย่างไรก็ตาม กรณีของเม็ดมะม่วงหิมพานต์แตกต่างพืชผลชนิดอื่น คือ ผลผลิตใน ประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องนำ เข้าจากต่างประเทศมากถึงครึง่ หนึง่ ของทัง้ หมด จากทวี ป อาฟริ ก า อิ น โดนี เ ซี ย และกั ม พู ช า เพื่อมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วส่งออกไป ต่างประเทศ

สำหรับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เวียดนาม พัฒนาตนเองอย่างรวดเร็วจนแซงหน้าอินเดีย กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก นับ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา โดยมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากเพียง 5 ร้อยล้านบาท ในปี 2543 เพิ่มเป็น 2.2 แสนตัน มูลค่า 4.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2555 โดยมีลูกค้า รายใหญ่ คือ สหรัฐฯ จีน และเนเธอร์แลนด์

การพั ฒ นาสิ น ค้ า อาหารอย่ า งรวดเร็ ว ของเวี ย ดนามนั บ เป็ น เรื่ อ งที่ ต้ อ งจั บ ตามอง อย่างใกล้ชิด เนื่องจากหลายผลิตภัณฑ์แข่งขัน โดยตรงกับไทย และนับเป็นความท้าทายสำคัญ ของไทยที่ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ คู่ แ ข่ ง สำคั ญ ที่ ก ำลั ง มาแรง ยิ่งไปกว่านั้น เวียดนามยังได้เปรียบ ไทยอย่างเห็นได้ชัดจากเครือข่ายคนเวียดนาม จำนวนหลายล้านคนที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศ ในยุคสงครามเย็น ซึ่งจำนวนมากได้ประกอบ อาชีพร้านค้าของชำ ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ นับเป็นกำลังสำคัญ ในการช่วยกระจายสินค้าอาหารของเวียดนาม ไปจำหน่ายยังทั่วโลก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

สำหรับมันสำปะหลัง เวียดนามมีพื้นที่ เพาะปลูกประมาณ 36 ล้านไร่ ผลผลิต 9.4 ล้ า นตั น /ปี นั บ เป็ น ผู้ ส่ ง ออกรายใหญ่ อั น ดั บ 2 ของโลก รองจากประเทศไทย โดยมีมูลค่า ส่งออกผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังในปี 2555 ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

59


Around the World

เจาะตลาดสินค้าเกษตร

ศักยภาพไทยในอาเซียน ปรียนิจ กุลตั้งเจริญ

ประเทศสมาชิกในอาเซียนส่วนใหญ่ล้วน แต่เป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตสินค้าเกษตร เป็นสินค้าหลัก และมีชนิดของสินค้าทีใ่ กล้เคียง กัน เพราะอยู่ในภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่ คล้ายกัน เมื่ออาเซียนต้องรวมเป็นหนึ่ง สินค้า เหล่ า นี้ จึ ง หลี ก ไม่ พ้ น ที่ ต้ อ งแข่ ง ขั น กั น หรื อ ร่วมมือกันทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ทางการต่อ รอง ไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรมจึงควร รู้ว่า ไทยมีที่ยืนอยู่ในตลาดอาเซียนอย่างไร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

60

บุบผา ภู่ละออ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย พัฒนาการเกษตรชนบท สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว ว่า กระทรวงได้รว่ มกับผูป้ ระกอบการ เกษตรกร และนักวิชาการ วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสิ น ค้ า เกษตรที่ ส ำคั ญ ของอาเซี ย น 20 รายการสำคัญ ว่าสินค้าเกษตรของไทยอยูใ่ น ตำแหน่งไหนของตลาด โดยพิจารณาจาก พั น ธุ์ พื ช การผลิ ต การวิ จั ย และ พั ฒ นา ความน่ า สนใจของสิ น ค้ า ศั ก ยภาพของผู้ ป ระกอบการ และ เกษตรกร รวมถึงความต้องการของตลาด

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ทั้งนี้ ได้แบ่งศักยภาพสินค้าออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าดาวเด่น สินค้าที่มีอนาคต และสามารถเป็นดาวเด่นได้ สินค้าดาวรุ่งใหม่ สินค้าที่อยู่ในขาลง สินค้าที่มีความไม่แน่นอน และสินค้าที่มีปัญหามาก ผลการวิเคราะห์พบว่า สินค้าในกลุ่ม ดาวเด่นของไทยในตลาดอาเซียนคือ สินค้า ทีม่ คี วามต้องการในตลาดมาก มีความสามารถ ในการผลิตสูง และคุณภาพเป็นที่ต้องการของ ตลาด ได้ แ ก่ น้ ำ ตาลทราย มั ง คุ ด ลำไย สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรด สุกร โคนม และผลิตภัณฑ์นม โคเนื้อและผลิตภัณฑ์ ซึ่ง สินค้าในกลุ่มนี้ มีความ สามารถ และ


กลุ่ ม สิ น ค้ า ที่ มี อ นาคต และสามารถ เป็นดาวเด่นได้ ได้แก่ ปลานิล กุง้ มันสำปะหลัง และกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้ เป็น สินค้าที่มีความต้องการมากแต่ยังมีปัญหาด้าน การผลิตอยู่บ้าง เช่น กุ้ง เจอปัญหาโรคระบาด หรือมันสำปะหลัง มีความต้องการมาก ทัง้ การ นำมาทำเป็นพืชอาหาร และพืชพลังงาน สินค้ากลุม่ คลืน่ ลูกใหม่ ได้แก่ กลุม่ สินค้า ทีม่ คี วามต้องการในตลาดมาก แต่กระบวนการ ผลิต และขีดความสามารถยังน้อย เช่น มะม่วง สั บ ปะรดสด โดยมะม่ ว งมี ปั ญ หาเรื่ อ งการ ขนส่ง สินค้าเน่าเสียง่าย แต่มะม่วงไทยเป็นที่

ต้องการของตลาดอย่างมาก ขณะทีส่ บั ปะรดสด มีปัญหาคล้ายมะม่วงในเรื่องการขนส่ง และ เน่าเสียง่าย รวมถึงยังไม่มีการส่งเสริม หรือ โปรโมตให้มีการกินสับปะรดสดมากนัก หาก เทียบกับผลไม้ประเภทอื่นๆ ทั้งๆ ที่เป็นผลไม้ ที่มีรสชาติดี ซึ่งสับปะรดสดของไทยก็เป็นที่ ต้องการของตลาดอาเซียนเช่นเดียวกัน สินค้ากลุ่มดาวตก หรือกลุ่มที่ไม่ได้มี ตลาดหลักอยูใ่ นอาเซียน ได้แก่ ยางพารา เพราะ ขณะนี้ตลาดค่อนข้างมีปัญหา เนื่องจากคู่ค้า อย่างจีน และยุโรป เริ่มลดการสัง่ ซือ้ สินค้าจาก ไทย ส่วนสินค้าไก่เนื้อ ทุเรียน และไข่ไก่ เป็น กลุม่ สินค้าทีไ่ ม่ได้สง่ ออกไปตลาดอาเซียนมากนัก ส่วนใหญ่มีตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น และจีน ดังนั้น ผูป้ ระกอบการจึงต้องมุง่ เน้นเปิดตลาดในอาเซียน เพิ่มขึ้นเพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคในอาเซียน มากขึ้นกว่าปัจจุบัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

แนวโน้มตลาดที่ดีอยู่แล้ว ผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งเกษตรกร และ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ควรจะ รักษาความเป็นดาวเด่นไว้ให้ได้ ด้วยการคง คุณภาพการผลิต และพัฒนาสินค้า เทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง

61


สิ น ค้ า กลุ่ ม ที่ มี ค วามไม่ แ น่ น อน คื อ กลุ่ ม สิ น ค้ า ที่ ต้ อ งมี ก ารปรั บ ตั ว เพื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความ สามารถในการแข่งขัน ได้แก่ ทูน่า เพราะวัตถุดิบต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ข้าว เพราะ ข้าวไทยไม่มีตลาดในอาเซียนกุ้งก้ามกราม ไหม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สินค้ากลุ่มที่มีปัญหามาก ได้แก่ มะพร้าว เมล็ดกาแฟ และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีความ ต้ อ งการสิ น ค้ า จากไทยน้ อ ย และขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ต่ ำ โดยสิ น ค้ า มะพร้ า ว มี อิ น โดนี เ ซี ย ครองตลาด ส่ ว นกาแฟไทย ไม่ ส ามารถสู้ เ วี ย ดนามได้ และปาล์ ม น้ ำ มั น มาเลเซีย เป็นเจ้าตลาดอยู่ สินค้า 3 ชนิดนี้ จึงแข่งขันได้ยาก โดยต้องการการสนับสนุน จากรั ฐ เพื่ อ แก้ ปั ญ หาในสิ น ค้ า กลุ่ ม นี้ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ กษตรกรจะค่ อ ยปรั บ ตั ว ตามสถานการณ์ เช่น เมื่อความต้องการสินค้าน้อยลง อาจเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน หรืออาจจัดทำโซนนิ่ง การเพาะปลูก เพราะสินค้าเหล่านี้ยังจำเป็นต่อการบริโภคในประเทศ "การจัดทำนี้ วิเคราะห์เทียบกับตลาดอาเซียน แต่หากเทียบกับศักยภาพของตลาดโลก บางกลุ่มสินค้าที่มีปัญหาในอาเซียนอาจโดดเด่นในตลาดโลกภาพรวมได้ ซึ่งผู้ประกอบการ และเกษตรกร ควรจะพร้อมพัฒนาการผลิต และการตลาดอยู่ตลอดเวลา" ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

62

สำหรับในปี 2556 กระทรวงได้จัดทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อระดม ความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับสินค้าเกษตรไทยจากการเข้าสู่เออีซี และระดมความเห็นเพือ่ ใช้ในการกำหนดนโยบายการเกษตรอาเซียนของไทย




ในสหราชอาณาจักร

กับผลผลิตสินค้าเกษตรของสหราชอาณาจักร รวมถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีปริมาณลดลง เนื่องจากประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศไม่เอื้อ อำนวยต่อการทำการเกษตร และต้นทุนวัตถุดบิ อาทิ อาหารสัตว์ และราคาน้ำมัน ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ แม้ภาพรวมของมูลค่าตลาดสินค้าเกษตร อินทรียใ์ นสหราชอาณาจักรในปี 2555 หดตัวลง แต่ยอดจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ในบางช่องทาง กลั บ ขยายตั ว รวมถึ ง การผลิ ต สิ น ค้ า เกษตร อินทรียบ์ างประเภทยังมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ซึง่ เป็น ประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ที่มา: EXIM E-News ส่วนวิจัยธุรกิจ 1 ฝ่ายวิจัยธุรกิจ กันยายน 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

สินค้าเกษตรอินทรียเ์ ป็นหนึง่ ในทางเลือก ของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีราคาแพงกว่าสินค้า ปกติ ผู้ บ ริ โ ภคที่ ยิ น ดี จ่ า ยเงิ น เพื่ อ ซื้ อ สิ น ค้ า ดังกล่าว จึงเป็นผู้บริโภคที่มีฐานะทางการเงิน ค่อนข้างดี ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าตลาด สิ น ค้ า เกษตรอิ น ทรี ย์ ที่ มี ข นาดใหญ่ มั ก อยู่ ใ น ประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก สหราชอาณาจักร ถือเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วที่ผู้บริโภคมี ความตื่นตัวในการเลือกซื้อสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยราว 4 ใน 5 ของครัวเรือนในสหราชอาณาจักรบริโภค และใช้สินค้า เกษตรอินทรีย์ ขณะทีต่ ลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของสหราชอาณาจักรใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ EU รองจากเยอรมนี และฝรั่งเศส อย่างไร ก็ตาม ในปี 2555 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของสหราชอาณาจั ก รหดตั ว ลงร้ อ ยละ 1.5 จากปีก่อนหน้า เหลือ 1.64 พันล้านปอนด์ เนื่ อ งจากเศรษฐกิ จ ของสหราชอาณาจั ก รที่ ชะลอตัว ทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีก ขนาดใหญ่ ป ระมาณการยอดจำหน่ า ยสิ น ค้ า เกษตรอินทรีย์ว่าอาจมีแนวโน้มลดลง จึงลด พื้นที่จำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าว ประกอบ

Around the World

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์

63


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

64

• การเลือกซือ้ สินค้าเกษตรอินทรียผ์ า่ น ช่องทางออนไลน์ได้รบั ความนิยมเพิม่ ขึน้ โดย ยอดจำหน่ายของร้านค้าออนไลน์ที่เน้นสินค้า เกษตรอินทรียร์ ายสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ Ocado, Abel&Cole และ Riverford เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ในปี 2555 สวนทางกับยอดจำหน่ายสินค้า เกษตรอินทรียผ์ า่ นหน้าร้านซูเปอร์มาร์เก็ต และ ร้านค้าปลีกรายใหญ่ อาทิ Tesco, Asda และ Sainsbury ที่หดตัวร้อยละ 3.8 แสดงให้เห็น ถึงความนิยมของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มี เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย และได้รับความสะดวกสบายจากบริการจัดส่ง สินค้าถึงบ้าน ขณะที่พื้นที่จัดจำหน่ายสินค้า เกษตรอินทรีย์ในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้า ปลีกทัว่ ไปมีคอ่ นข้างจำกัด ทำให้มสี นิ ค้าเกษตร อิ น ทรี ย์ ไ ม่ ห ลากหลาย และมี จ ำนวนไม่ ม าก ทัง้ นี้ แนวโน้มดังกล่าวทำให้รา้ นค้าปลีกรายใหญ่ ให้ ค วามสนใจในการทำตลาดสิ น ค้ า เกษตร อินทรีย์ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ ปัญหาพื้นที่จัดจำหน่ายที่มีจำกัด รวมถึงเป็น ช่องทางเพื่อติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ เปลี่ยนแปลงไป • วัยรุน่ และวัยทำงานเป็นกลุม่ ผูบ้ ริโภค ที่ต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปราว ครึง่ หนึง่ ของผูท้ เี่ ลือกซือ้ สินค้าเกษตรอินทรียใ์ น

สหราชอาณาจักรเป็นกลุ่มคนเกษียณอายุ และ กลุ่มวัยทำงานที่ไม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูกแล้ว กลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวใส่ใจในสุขภาพค่อนข้าง มาก และมี ก ำลั ง ซื้ อ มากพอ อย่ า งไรก็ ต าม กระแสความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยผลักดันให้กลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับการ ศึกษาดีทั้งกลุ่มนักศึกษา และวัยทำงาน หันมา เลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง โดยจากการสำรวจของร้าน Planet Organic ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ชื่อดัง ในกรุงลอนดอน พบว่าลูกค้ากลุ่มนักศึกษาใช้ จ่ายซือ้ สินค้าเพิม่ ขึน้ ถึงร้อยละ 15 เทียบกับยอด จำหน่ายรวมของร้านที่ขยายตัวราวร้อยละ 5 เท่านั้น • ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผ่านร้านอาหาร และผู้ให้บริการด้านอาหาร มีแนวโน้มขยายตัว Soil Association องค์กร ด้านเกษตรอินทรียส์ ำคัญของสหราชอาณาจักร ประเมินว่า การจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผ่านทางร้านอาหาร และผูใ้ ห้บริการด้านอาหาร ในสหราชอาณาจักรมีมูลค่า 15.9 ล้านปอนด์ ในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากโครงการ “Food for Life” ซึ่ง ผลักดันให้สถานศึกษา รวมถึงโรงพยาบาลใน อังกฤษ เปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ใน


• ความต้องการใช้สนิ ค้าอินทรียท์ เี่ กีย่ ว กับสุขภาพ และความงามยังขยายตัวต่อเนือ่ ง

ทัง้ นี้ Soil Association ประเมินว่าตลาดสินค้า อิ น ทรี ย์ ที่ เ กี่ ย วกั บ สุ ข ภาพ และความงามใน สหราชอาณาจักรมีมลู ค่า 31.8 ล้านปอนด์ ในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากปีก่อนหน้า โดยแบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคือ “Neil’s Yard Remedies” มียอดจำหน่าย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นกลุ่ ม สิ น ค้ า อิ น ทรี ย์ ใ นปี 2555 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.9 ปัจจุบันมีร้านกว่า 40 แห่งในสหราชอาณาจักร และร้านในประเทศอืน่ กว่า 80 แห่งทั่วโลก แม้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสหราชอาณาจักรจะหดตัวในปี 2555 จากภาวะ เศรษฐกิจ และปัญหาด้านอุปทาน แต่สถานการณ์การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ และ ความต้องการใช้สินค้าอินทรีย์หลายประเภทที่ ขยายตัว แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ยั ง มี แ นวโน้ ม ดี ใ นระยะข้ า งหน้ า โดยเริ่ ม มี สัญญาณฟื้นตัวจากยอดจำหน่ายอาหาร และ เครื่องดื่มอินทรีย์ของสหราชอาณาจักรในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ที่กลับมาขยายตัว สหราชอาณาจักรจึงถือเป็นตลาดสำคัญของ ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่ยังต้อง ให้ความสำคัญ โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่จะ ส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร ต้องผ่านการ ตรวจรั บ รองมาตรฐานเกษตรอิ น ทรี ย์ ข อง สหภาพยุโรป ซึ่งหน่วยงานของไทยที่สามารถ รับรองมาตรฐานดังกล่าวได้ คือ สำนักงาน มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ ปัจจุบันสินค้า เกษตรอิ น ทรี ย์ ข องไทยที่ มี ศั ก ยภาพในตลาด ส่งออก อาทิ ข้าวอินทรีย์ ผักอินทรีย์ น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ และไหมอินทรีย์ เป็นต้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

การประกอบอาหารสำหรับนักเรียน และคนไข้ โดยใช้ตรา “Food for Life Catering” เป็น เครื่องหมายรับรองผู้ให้บริการอาหารดังกล่าว ปัจจุบันราว 1 ใน 5 ของโรงเรียนในอังกฤษ รวมถึงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลหลายแห่ง เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และคาดว่าจะมีผู้ เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ การใช้ วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ในการประกอบอาหาร เพื่ อ แสดงถึ ง ความใส่ ใ จต่ อ สุ ข ภาพของลู ก ค้ า เริ่มถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่ของร้านอาหาร ทั่วไปเช่นเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กรณีของ McDonald ในสหราชอาณาจักร ซึ่ง ใช้ วั ต ถุ ดิ บ เกษตรอิ น ทรี ย์ ป ระกอบอาหารชุ ด สำหรั บ เด็ ก “Happy Meal” รวมถึ ง ใช้ น ม อินทรีย์สำหรับผสมในกาแฟ และชาของร้าน • อุตสาหกรรมสิง่ ทออินทรียม์ แี นวโน้ม ขยายตั ว ดี สั ง เกตได้ จ ากรายได้ ข องผู้ ผ ลิ ต สิง่ ทออินทรียใ์ นสหราชอาณาจักรทีไ่ ด้มาตรฐาน Global Organic Textiles Standards (GOTS) ขยายตัวถึงร้อยละ 10 ในปี 2555 ขณะที่ จำนวนผูผ้ ลิตสิง่ ทออินทรียท์ วั่ โลกทีไ่ ด้รบั มาตรฐาน GOTS เพิ่มขึ้นเป็น 2,995 ราย ในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 10 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทออินทรีย์ ส่วนใหญ่ เน้นใช้วัตถุดิบที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ (รวมถึงปศุสัตว์) อาทิ ฝ้าย ขนสัตว์ และไหม ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมีตั้งแต่ผู้ผลิตเส้นใย เส้ น ด้ า ย ผ้ า ผื น ไปจนถึ ง เสื้ อ ผ้ า สำเร็ จ รู ป นอกจากนี้ ยังรวมถึงผู้ประกอบการฟอกย้อม และพิมพ์ผ้าที่ใช้วัตถุดิบอินทรีย์อีกด้วย

65


การใช้กลิ่นหอมเพื่อลดความเครียด และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์ Aromatherapy for Stress Management and Improve Animal Performance มนตรี ปัญญาทอง  (eak608@hotmail.com)

สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดย ตรงต่อการให้ผลผลิตของปศุสัตว์ทั้งในระยะ สั้น และระยะยาว การจัดการกับความเครียด ของสัตว์สามารถช่วยลดการสูญเสีย และช่วย ให้สัตว์ได้แสดงศักยภาพการให้ผลผลิตได้อย่าง เต็มที่ วิธีการลดความเครียดโดยใช้กลิ่นหอม เป็นอีกวิธกี ารหนึง่ ทีส่ ามารถช่วยให้สตั ว์ได้ผอ่ น คลาย ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้ ผลผลิตเป็นไปตามเป้าหมายได้อีกด้วย

ความเครียดในปศุสัตว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

66

การผลิตปศุสัตว์ในปัจจุบันเน้นผลผลิต เป็นหลัก ทำให้มกี ารปรับปรุงสายพันธุข์ องสัตว์ ให้กินเก่ง โตเร็ว ใช้พื้นที่ต่อตัวน้อย มีการ จัดการต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับตัวสัตว์มากมาย เช่น การให้อาหารตามระยะการเจริญเติบโต หรือ การเปลี่ยนอาหาร การให้วัคซีน การฉีดยา การเคลื่ อ นย้ า ย การผสมเที ย ม การทำ เครื่องหมาย และการหย่านมให้เร็วขึ้นเพื่อเร่ง รอบการผลิต เป็นต้น การจัดการเหล่านี้มี วัตถุประสงค์หลักเพื่อประสิทธิภาพการผลิตให้ สูงสุด อย่างไรก็ตาม การจัดการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง

กับตัวสัตว์ย่อมมีผลทำให้สัตว์เกิดความเครียด (stress) ซึ่งทำให้เกิดผลเสียหลายอย่างกับตัว สัตว์ โดยเฉพาะมีผลโดยตรงกับการกระตุน้ การ หลั่งฮอร์โมน Glucocorticoid หรือ Cortisol ซึ่งไปมีผลต่อระบบสืบพันธุ์เนื่องจากไปยับยั้ง การหลั่งฮอร์โมน Gonadotropin releasing hormone (GnRH), Follicle stimulating hormone (FSH) และ Luteinizing hormone (LH) ทำให้ระบบสืบพันธุ์ไม่พัฒนา ยับยั้งการ เจริญของกล้ามเนื้อ ทำให้การให้นม หรือการ ให้ไข่ลดลง (Virginie, 2013) นอกจากนี้ เมื่อ สั ต ว์ เ ครี ย ด ยั ง ส่ ง ผลให้ อั ต ราการกิ น ลดลง โดยเฉพาะสัตว์ที่ขังแน่น เมื่อเกิดความไม่สมดุล ของสารอาหารที่ ไ ด้ รั บ จะทำให้ สั ต ว์ อ่ อ นแอ และระบบภู มิ คุ้ ม กั น ถู ก กด (Eilish, 2010) ทำให้การทำวัคซีนบางตัวไม่ได้ผล และเกิดการ สูญเสียตามมาในทีส่ ดุ นอกจากนี้ ความเครียด ยังส่งผลให้คุณภาพเนื้อต่ำลง โดยพบว่าสัตว์ที่ เครียดก่อนเข้าโรงเชือดจะมีผลต่อความนุม่ ของ เนื้อ (tenderness) (Ferguson and Warner, 2008)


ผลของการใช้สารที่ให้กลิ่นหอมในปศุสัตว์ การใช้กลิ่นหอมสามารถช่วยลดความเครียดลงได้ โดยในคนพบว่าการที่ได้รับกลิ่นหอมของ lavender หรือกลิ่นหอมของนม ทำให้ระดับฮอร์โมน cortisol ในเลือดลดลง หรือการที่คนไข้ใน โรงพยาบาลทีไ่ ด้รบั กลิน่ ส้มจะมีอารมณ์ดขี น้ึ ในขณะทีร่ อรับการตรวจจากแพทย์ (Virginie, 2013)

รูปที่ 1 แสดงกลไกการตอบสนองตอความเครียดที่มีผลต่อฮอร์ โมนและระบบสืบพันธุ์ (HPA: Hypothalamic Pituitary Adrenal Axis, CRH: Corticotropin Releasing Hormone, ACTH: Adrenocotricotropic Hormone, HPO: Hypothalamic Pituitary Ovarian Axis, GnRH: Gonadotropin Releasing Hormone, FSH: Follicle Stimulating Hormone, LH: Luteinizing Hormone, IL-18 TNFα: Proinflammatory cytokines) (Virginie, 2013)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

ในปศุสัตว์พบว่าการเสริมสารให้กลิ่นหอม (Natural aromatic complex) ที่สกัดจากพืช หรือน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ลงในอาหาร ทำให้โคนมมีอัตราการกินได้เพิ่มขึ้น (feed intake) มีผลผลิตน้ำนมสูงขึ้น (milk production) มีช่วงสูงสุดของการให้นมยาวนานขึ้น (milk peak) รวมทั้งกลับมาตั้งท้องได้เร็วขึ้น (Virginie, 2013) กลิ่นหอมของ lavender ยังช่วยลด อาการอักเสบ และลดอาการเจ็บปวดได้ในโคเนื้อ (Daniela and Laur, 2012) การเสริมน้ำมัน หอมระเหยที่สกัดได้จาก oregano, กระเทียม และส้ม ในระดับ 3.5 และ 7.0% มีแนวโน้ม ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพซากของโคเนื้อ โดยทำให้อัตราการเจริญเติบโต เฉลี่ยต่อวัน และน้ำหนักซากดีขึ้น (Dayane et al., 2013) ในสัตว์ปีกเช่น ไก่เนื้อ พบว่าการใช้

67


น้ำมันหอมระเหยมีผลทำให้ประสิทธิภาพของเอนไซม์ในร่างกายดีขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการ ย่อยอาหารดีขนึ้ 5% (Losa, 2001) โดยพบว่าเอนไซม์ amylase ในลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเสริมน้ำมันหอมระเหยในไก่เนื้อ (Peter and Riccardo, 2001) นอกจากนี้ ยังพบว่าการเสริมน้ำมันหอมระเหยช่วยลดความหนืด (viscosity) ของอาหารในระบบทางเดิน อาหารซึ่งทำให้อาหารย่อยได้ง่ายขึ้น และยังลดปริมาณเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วย

รูปที่ 2 เปรียบเทียบผลผลิตน้ำนมของโคนมเมื่อได้รับการเสริมสารให้กลิ่นหอม (Natural aromatic complex) กับโคนมกลุ่มควบคุม (Virginie, 2013)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

68

ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพซากของโคเนื้อเมื่อเสริมน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) Treatment (g/day) Items Control 3.5 % Essential oil 7.0 % Essential oil Initial weight, kg 219.26 220.28 219.78 Final weight, kg 341.06 347.71 347.57 Average daily gain (ADG), kg 1.33 1.39 1.40 Hot carcass weight, kg 180.71 180.70 184.12 Cold carcass weight, kg 176.51 176.05 179.81 ที่มา: Dayane et al. (2013)


รูปที่ 3 ผลของการเสริมน้ำมันหอมระเหยต่อโอกาสในการตรวจพบเชื้อ Clostridia perfringens ในไก่เนื้อ (Peter and Riccardo, 2001)

กลไกในการช่วยลดความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้สารให้กลิ่นในสัตว์ นั้น มีอยู่ 2 แบบ คือ การที่สัตว์ได้สัมผัสกลิ่นหอมโดยตรง (Aromatherapy) และการออกฤทธิ์ ของสารในน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) เมือ่ สัตว์กนิ เข้าไป การทีส่ ตั ว์ได้สมั ผัสกลิน่ โดยตรงนัน้ สัตว์จะรูส้ กึ สดชืน่ สงบ และผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ความรูส้ กึ ดีขนึ้ ส่งผลให้ความเครียด (stress) จากสภาพแวดล้อมเช่น ความแออัด ความร้อน หรือการจัดการต่างๆ นัน้ ลดลง (Virginie, 2013) มีรายงานว่า มีการใช้กลิ่นหอมในการรักษาโรคบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทในสัตว์ หรือ แม้กระทั่งในมนุษย์ หรือการใช้กลิ่นหอมช่วยทำให้สัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายสงบลง การที่สัตว์ได้รับ ความเครียด จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตผิดปกติ กลิ่นหอมนั้นจะช่วยให้ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตกลับมาอยู่ในสภาวะปกติได้ ซึ่งทำให้การทำงานของ ระบบอื่นๆ เป็นปกติตามไปด้วย (Hongratanaworakit, 2004) สารในน้ำมันหอมระเหยเป็นสาร ประกอบไฮโดรคาร์บอนจำพวก terpenes และสารที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบเช่น alcohol, esters, aldehydes และ ketones ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารที่ออกฤทธิ์ ทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ กระตุ้นการหลั่งของเอนไซม์ ลดความหนืด (viscosity) ของอาหารในระบบทางเดินอาหาร และช่วยควบคุมเชื้อสาเหตุของโรค เป็นผลให้สัตว์มีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น (Losa, 2001) การใช้สารให้กลิน่ หอม ถือว่าเป็นทางเลือกหนึง่ ในการช่วยลดความเครียด หรือช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

กลไกในการช่วยลดความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของสารให้กลิ่นหอม

69


การผลิต เนื่องจากสัตว์เลี้ยงมีระบบประสาทสัมผัสในการรับกลิ่น และรสเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยในอาหารสัตว์เล็กเช่น สุกรหย่านม โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของนม หรือสารให้กลิ่นนม หรือ กลิ่นวนิลาเพื่อกระตุ้นการกินอาหาร ดังนั้น การให้ความสำคัญกับคุณค่าของอาหารสัตว์เพียง อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญกับกลิ่น และรสของอาหารด้วย เพื่อช่วยให้ สัตว์มคี วามเครียดทีน่ อ้ ยลง รวมไปถึงในกรณีทมี่ กี ารจัดการต่างๆ ทีท่ ำให้เกิดความเครียด โดยเฉพาะ ในสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง เช่น โคนม การให้สัตว์ได้สัมผัสกลิ่นหอมโดยตรงอาจจะช่วยลดความ เครียดลงได้ ซึ่งจะนำไปสู่การได้มาของผลผลิตที่เป็นไปตามเป้าหมายนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง Daniela C.A. and Laur M. 2012. Animal welfare in organic farming of cattle. The Annals of “VALAHIA” University of Targoviste 2012. Dayane C. R., André M. J., Ivanor N. do P., Caroline L. F., Carlos E. E., Fernando Z. and André M. de C. 2013. Influence of essential oils on animal performance, carcass traits and temperament of heifers finished in feedlot. 59th International Congress of Meat Science and Technology, 18-23rd August 2013, Izmir, Turkey. Eilish M. L. 2010. Characterization of physiological and immune-related biomarkers of weaning stress in beef cattle. Doctor of Philosophy thesis. The National University of Ireland. Ferguson N.M. and Warner R.D. 2008. Have we underestimated the impact of pre-slaughter stress on meat quality in ruminants?. Meat Science. 80: 12-19. Hongratanaworakit T. 2004. Physiological effects in aromatherapy. Songklanakarin J. Sci. Technol. 26(1): 117-125. Losa R. 2001. The use of essential oils in animal nutrition. In: Brufau J. (ed.). Feed manufacturing in the Mediterranean region. Improving safety: From feed to food. Zaragoza: CIHEAM, 2001. P. 39-44. Peter W. and Riccardo L. 2001. The use of essential oils and their compounds in the poultry nutrition. WORLD POULTRY-Elsevier. 17(4): 14-15. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

70

Virginie N. 2013. Stress management to improve animal performance. ALLABOUTFEED. 21(5): 14-16.




71

7.33 8.10 9.46 10.14 10.23 7.49

ม.ค.

7.97 8.70 8.99 9.43 10.16 8.18

ม.ค.

29.61 33.40 25.00 27.64 32.49 26.20

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคารำสด

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาปลาป่น

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

7.43 9.21 10.18 9.20 10.03

ก.พ.

26.84 34.20 28.91 28.81 31.30

ก.พ.

7.42 8.37 9.57 10.19 10.19

ก.พ.

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

7.19 9.47 9.97 8.62 8.63

มี.ค.

25.69 35.28 37.98 32.21 31.30

มี.ค.

7.60 8.92 10.01 10.35 10.15

มี.ค.

6.22 9.34 9.70 8.72 7.71

เม.ย.

29.08 36.53 31.77 33.24 29.94

เม.ย.

7.57 9.24 10.65 10.51 10.21

เม.ย.

4.87 9.41 8.34 8.09 8.92

พ.ค.

33.50 31.53 32.09 30.26 26.74

พ.ค.

7.05 9.31 10.49 10.24 9.89

พ.ค.

5.18 9.98 8.20 7.76 10.32

มิ.ย.

34.19 28.31 31.29 29.38 24.80

มิ.ย.

7.45 9.64 9.68 10.76 10.24

มิ.ย.

6.01 9.93 9.50 8.22 10.09

ก.ค.

34.58 28.92 32.32 31.53 29.84

ก.ค.

6.26 9.38 9.18 10.86 9.94

ก.ค.

6.28 9.76 9.49 10.55 10.53

ส.ค.

36.04 30.82 32.58 37.70 30.78

ส.ค.

6.21 9.01 9.04 11.60 9.26

ส.ค.

5.91 10.04 9.58 10.88 9.71

ก.ย.

34.58 29.78 31.42 35.06 29.00

ก.ย.

6.10 9.22 9.08 10.57 8.39

ก.ย.

7.14 9.30 9.51 10.80 8.59

ต.ค.

33.29 27.78 28.86 30.95 31.90

ต.ค.

6.30 9.24 9.45 10.14 8.06

ต.ค.

7.03 8.99 10.97 11.15 9.17

พ.ย.

29.96 25.28 28.46 32.83 26.59

พ.ย.

7.14 9.19 9.82 10.49 7.95

พ.ย.

8.20 8.66 9.25 10.81 8.22

ธ.ค.

31.80 25.57 27.50 33.80 24.72

ธ.ค.

7.83 9.13 9.92 10.25 7.32

ธ.ค. 6.10 8.10 9.04 10.14 7.32 7.49

ต่ำสุด

7.83 9.64 10.65 11.60 10.24 7.49

สูงสุด

25.69 25.28 25.00 27.64 24.72 26.20

ต่ำสุด

36.04 36.53 37.98 37.70 32.49 26.20

สูงสุด

4.87 8.66 8.20 7.76 7.71 8.18

ต่ำสุด

8.20 10.04 10.97 11.15 10.53 8.18

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.62 9.40 9.47 9.52 9.34 8.18

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

31.60 30.62 30.68 31.95 29.12 26.20

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

7.02 9.06 9.70 10.51 9.32 7.49

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


14.25 15.30 13.10 13.95 18.77 18.75

ม.ค.

13.99 15.07 14.32 13.85 18.41

ก.พ.

13.26 15.75 15.21 12.88 18.25

มี.ค.

14.67 15.75 13.88 14.12 18.22 19.14

ม.ค.

15.70 15.11 14.15 15.13 18.15

ก.พ.

15.68 14.86 13.46 15.75 19.07

มี.ค. 16.07 14.80 12.80 16.06 19.36

เม.ย.

13.88 15.75 15.29 12.73 17.96

เม.ย.

17.19 14.09 12.59 16.23 17.89

พ.ค.

14.14 14.91 15.47 13.31 17.23

พ.ค.

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

17.06 15.28 14.99 19.47 20.62

ม.ค.

16.29 15.47 16.01 19.35

ก.พ.

16.74 16.10 14.75 16.75 20.14

มี.ค. 17.09 16.45 14.20 17.01 20.47

เม.ย. 18.14 15.28 14.20 17.20 19.35

พ.ค.

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

72 18.90 14.44 14.20 17.73 18.48

มิ.ย.

17.93 13.43 11.60 16.98 17.15

มิ.ย.

14.10 14.24 14.61 12.79 16.43

มิ.ย.

17.86 14.26 14.88 20.02 18.30

ก.ค.

16.91 13.25 13.50 19.00 17.20

ก.ค.

14.03 12.76 14.50 14.23 16.16

ก.ค.

17.86 15.05 15.50 22.65 18.29

ส.ค.

16.86 14.05 14.33 21.80 17.29

ส.ค.

15.64 12.17 14.33 15.21 16.63

ส.ค.

17.89 15.02 15.45 22.69 18.89

ก.ย.

16.94 14.02 14.45 21.80 17.89

ก.ย.

15.82 12.10 14.27 17.17 17.30

ก.ย.

17.46 15.35 15.47 22.34 19.30

ต.ค.

16.43 14.35 14.32 21.09 18.05

ต.ค.

16.27 11.98 14.27 17.41 17.84

ต.ค.

17.66 15.64 15.57 21.48 20.23

พ.ย.

16.58 14.64 14.39 20.28 18.77

พ.ย.

16.81 12.10 14.59 18.85 18.26

พ.ย.

18.08 14.98 14.34 20.08 20.85

ธ.ค.

17.00 13.62 13.44 18.88 19.45

ธ.ค.

16.02 12.14 14.31 20.06 18.47

ธ.ค. 13.26 11.98 13.10 12.73 16.16 18.75

ต่ำสุด

16.81 15.75 15.47 20.06 18.77 18.75

สูงสุด

14.67 13.25 11.60 14.12 17.15 19.14

ต่ำสุด

17.93 15.75 14.45 21.80 19.45 19.14

สูงสุด

16.74 14.26 14.20 14.99 18.29 20.62

ต่ำสุด

18.90 17.06 15.57 22.69 20.85 20.62

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.77 15.49 14.94 19.08 19.43 20.62

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

16.50 14.33 13.58 18.09 18.21 19.14

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

14.85 13.69 14.52 15.20 17.64 18.75

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


73

7.21 7.94 7.79 8.09 8.93 6.76

ม.ค.

9.87 13.41 11.33 16.31 14.98 9.45

ม.ค.

10.06 12.92 11.92 15.74 15.00

ก.พ.

6.83 8.05 7.99 7.45 8.96

ก.พ.

4.03 5.54 7.86 7.53 6.79 6.64

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

3.95 5.43 8.14 7.13 6.85

ก.พ.

ราคามันสำปะหลังเส้น

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาปลายข้าว

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคากากรำสกัดน้ำมัน

4.08 5.83 8.46 6.59 7.07

มี.ค.

10.01 12.15 11.63 15.78 15.06

มี.ค.

6.41 7.96 7.38 6.49 7.90

มี.ค.

4.21 6.24 8.70 7.00 7.18

เม.ย.

9.95 10.24 11.39 15.94 15.39

เม.ย.

5.59 7.76 6.92 6.42 7.32

เม.ย.

4.04 6.51 8.62 7.29 7.19

พ.ค.

9.59 9.53 11.29 16.33 15.11

พ.ค.

4.91 7.26 6.33 6.21 8.16

พ.ค.

4.25 6.81 8.00 7.25 7.26

มิ.ย.

9.80 9.60 11.65 16.44 15.10

มิ.ย.

4.83 7.19 6.41 5.82 9.58

มิ.ย.

4.37 6.93 7.81 7.13 7.31

ก.ค.

9.64 9.88 12.42 16.27 14.26

ก.ค.

4.74 7.37 7.80 6.14 8.94

ก.ค.

4.41 7.00 7.54 7.39 7.32

ส.ค.

9.41 10.36 12.86 15.86 13.98

ส.ค.

4.74 7.58 8.07 8.43 9.33

ส.ค.

4.62 7.23 7.44 7.67 7.27

ก.ย.

9.26 11.50 13.68 15.67 13.09

ก.ย.

4.58 8.30 8.24 8.67 9.00

ก.ย.

4.72 7.30 7.34 7.65 7.15

ต.ค.

8.94 11.58 14.48 15.46 11.91

ต.ค.

5.30 8.14 8.32 8.81 7.74

ต.ค.

5.03 7.34 7.67 7.48 7.00

พ.ย.

9.97 11.61 15.66 15.45 10.55

พ.ย.

6.06 8.09 9.56 9.31 8.04

พ.ย.

5.41 7.76 7.80 7.25 6.78

ธ.ค.

12.60 11.36 16.12 15.30 9.75

ธ.ค.

7.51 7.89 8.05 9.23 7.05

ธ.ค. 4.58 7.19 6.33 5.82 7.05 6.76

ต่ำสุด

7.51 8.30 9.56 9.31 9.58 6.76

สูงสุด

8.94 9.53 11.29 15.30 9.75 9.45

ต่ำสุด

12.60 13.41 16.12 16.44 15.39 9.45

สูงสุด

3.95 5.43 7.34 6.59 6.78 6.64

ต่ำสุด

5.41 7.76 8.70 7.67 7.32 6.64

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

4.43 6.66 7.95 7.28 7.10 6.64

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

9.93 11.18 12.87 15.88 13.68 9.45

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.73 7.79 7.74 7.59 8.41 6.76

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


30.51 29.30 30.04 28.00 31.00 31.50

ม.ค.

40.03 57.93 57.70 49.83 52.88 59.27

ม.ค.

39.54 66.06 63.33 48.89 62.57

ก.พ.

30.90 29.30 29.80 28.00 30.00

ก.พ.

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

53.34 41.67 40.38 50.60 60.00 60.00

ม.ค.

52.23 41.70 45.23 50.60 60.00

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลา FO

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาปลาป่นนำเข้า

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาตับปลาหมึก SLP

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

74

50.56 41.89 45.95 50.60 60.00

มี.ค.

42.16 68.52 63.45 47.99 63.11

มี.ค.

31.19 29.30 29.80 28.00 30.00

มี.ค.

50.56 41.89 46.01 51.55 60.00

เม.ย.

43.54 68.06 55.21 48.12 62.66

เม.ย.

31.19 29.30 29.80 25.00 29.50

เม.ย.

44.80 41.89 46.01 54.45 60.00

พ.ค.

44.23 67.90 51.97 55.35 59.57

พ.ค.

30.16 29.30 29.80 26.89 29.50

พ.ค.

43.50 41.42 46.01 55.11 60.00

มิ.ย.

44.08 68.28 51.97 59.24 56.76

มิ.ย.

30.68 29.30 29.80 28.58 30.00

มิ.ย.

41.38 40.91 47.72 53.54 60.00

ก.ค.

44.44 67.46 50.29 61.16 55.32

ก.ค.

30.74 29.46 29.52 33.70 30.00

ก.ค.

40.94 40.31 49.85 52.28 60.00

ส.ค.

44.59 65.40 48.17 63.33 56.79

ส.ค.

30.77 29.70 29.25 30.80 31.00

ส.ค.

39.40 40.21 50.01 55.85 60.00

ก.ย.

45.59 60.86 43.92 56.80 54.69

ก.ย.

30.90 29.56 29.25 35.04 31.50

ก.ย.

38.55 40.15 50.36 55.98 60.00

ต.ค.

50.07 57.26 45.13 54.22 53.43

ต.ค.

31.02 29.34 29.25 36.13 31.50

ต.ค.

40.07 40.27 50.60 55.71 60.00

พ.ย.

53.30 56.45 48.26 68.37 56.31

พ.ย.

30.32 30.04 28.00 36.13 31.50

พ.ย.

39.21 40.38 50.60 55.08 60.00

ธ.ค.

53.30 56.45 48.61 74.33 58.46

ธ.ค.

30.32 30.04 28.00 36.13 31.50

ธ.ค. 30.16 29.30 28.00 25.00 29.50 31.50

ต่ำสุด

31.19 30.04 30.04 36.13 31.50 31.50

สูงสุด

39.54 56.45 43.92 47.99 52.88 59.27

ต่ำสุด

53.30 68.52 63.45 74.33 63.11 59.27

สูงสุด

38.55 40.15 40.38 50.60 60.00 60.00

ต่ำสุด

53.34 41.89 50.60 55.98 60.00 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

44.55 41.06 47.39 53.45 60.00 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

45.41 63.39 52.33 57.30 57.71 59.27

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

30.73 29.50 29.36 31.03 30.58 31.50

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


75

47.25 62.75 55.00 48.00 53.58 56.71

ม.ค.

เดือน

6.32 7.02 8.12 7.73 8.94 6.79

ม.ค.

19.63 16.69 19.28 18.73 17.75 16.40

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

18.94 16.79 20.04 18.51 17.68

ก.พ.

6.29 7.25 8.20 7.45 9.15

ก.พ.

WHEAT FLOUR

2552 2553 2554 2555 2556 2557

48.21 63.09 53.33 48.00 58.85

ก.พ.

WHEAT BRAN

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

WHEAT GLUTEN

18.61 16.60 20.50 17.89 16.47

มี.ค.

6.29 7.59 7.76 6.67 7.66

มี.ค.

48.21 63.09 53.33 48.00 58.85

มี.ค.

17.32 16.30 20.50 17.80 16.70

เม.ย.

5.99 7.55 7.52 6.41 7.29

เม.ย.

58.39 63.09 53.33 46.50 58.85

เม.ย.

16.89 15.72 20.45 17.50 17.00

พ.ค.

5.26 7.16 6.94 6.23 8.75

พ.ค.

62.03 64.71 53.33 46.50 58.85

พ.ค.

17.00 15.72 19.94 17.20 16.90

มิ.ย.

4.85 6.90 6.61 5.86 8.82

มิ.ย.

63.26 64.78 53.33 48.54 58.85

มิ.ย.

17.00 15.05 19.82 17.15 16.70

ก.ค.

4.84 6.87 7.44 5.93 8.62

ก.ค.

60.89 64.78 49.28 51.00 55.64

ก.ค.

16.82 15.44 19.50 17.73 16.51

ส.ค.

4.79 7.21 7.77 7.93 8.81

ส.ค.

59.34 64.78 48.75 50.05 58.85

ส.ค.

16.67 18.55 19.26 17.38 16.80

ก.ย.

4.76 8.08 7.98 8.79 8.55

ก.ย.

61.70 64.78 48.75 48.13 58.85

ก.ย.

16.53 19.28 18.97 17.58 16.57

ต.ค.

5.00 7.92 8.06 9.24 7.85

ต.ค.

61.70 64.78 48.75 47.50 60.99

ต.ค.

16.34 19.10 18.97 17.98 16.34

พ.ย.

5.44 7.88 8.43 8.80 7.87

พ.ย.

61.95 55.92 48.75 47.50 60.99

พ.ย.

16.17 19.10 18.97 18.02 16.71

ธ.ค.

6.44 7.80 8.17 9.10 7.29

ธ.ค.

61.95 55.00 48.23 47.50 55.64

ธ.ค. 47.25 55.00 48.23 46.50 53.58 56.71

ต่ำสุด

63.26 64.78 55.00 51.00 60.99 56.71

สูงสุด

4.76 6.87 6.61 5.86 7.29 6.79

ต่ำสุด

6.44 8.08 8.43 9.24 9.15 6.79

สูงสุด

16.17 15.05 18.97 17.15 16.34 16.40

ต่ำสุด

19.63 19.28 20.50 18.73 17.75 16.40

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.33 17.03 19.68 17.79 16.84 16.40

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.52 7.44 7.75 7.51 8.30 6.79

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

57.91 62.63 51.18 48.10 58.23 56.71

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


19.41 23.24 25.86 28.01 27.44 25.79

ม.ค.

20.88 25.19 25.62 27.73 25.79

ก.พ.

69.89 85.00 90.50 86.67 120.00 120.00

ม.ค.

68.75 85.00 96.67 93.67 120.00

ก.พ.

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

4.67 4.48 7.24 4.90 5.91 6.65

ม.ค.

4.49 4.34 7.14 4.80 5.42

ก.พ.

ราคากากปาล์มเมล็ดใน

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาปลาหมึกป่น SLM

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาเปลือกกุ้ง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

76

3.95 3.92 5.77 4.75 5.02

มี.ค.

68.75 85.00 96.67 98.33 120.00

มี.ค.

21.51 25.56 27.40 27.45 25.79

มี.ค.

3.34 3.88 4.71 4.71 4.94

เม.ย.

70.11 85.00 96.67 98.33 120.00

เม.ย.

22.19 25.90 27.64 31.30 25.79

เม.ย.

3.06 4.07 4.59 4.63 5.14

พ.ค.

80.22 85.00 96.20 98.33 120.00

พ.ค.

23.83 26.81 28.99 31.30 25.79

พ.ค.

3.33 4.20 4.79 4.67 5.32

มิ.ย.

86.63 89.44 92.50 98.33 120.00

มิ.ย.

24.46 26.74 29.18 30.44 25.79

มิ.ย.

3.50 4.30 4.84 4.85 5.38

ก.ค.

87.50 90.50 98.10 96.67 120.00

ก.ค.

24.62 27.03 29.40 26.85 25.79

ก.ค.

3.44 4.74 4.54 5.96 5.40

ส.ค.

87.50 90.50 98.33 98.33 120.00

ส.ค.

24.69 26.89 29.40 29.16 24.69

ส.ค.

3.05 5.46 4.41 5.96 5.42

ก.ย.

88.25 90.50 93.40 120.00 120.00

ก.ย.

25.34 26.69 29.12 27.24 25.79

ก.ย.

2.88 6.30 4.51 5.59 5.42

ต.ค.

88.25 90.50 86.67 120.00 120.00

ต.ค.

24.94 26.65 28.66 26.58 25.89

ต.ค.

3.10 7.12 4.86 5.81 5.81

พ.ย.

85.00 90.50 86.67 120.00 120.00

พ.ย.

21.32 26.29 28.66 26.72 25.79

พ.ย.

3.44 7.12 5.03 6.00 6.37

ธ.ค.

85.00 90.50 86.67 120.00 120.00

ธ.ค.

21.23 26.00 28.23 26.74 25.79

ธ.ค. 19.41 23.24 25.62 26.58 24.69 25.79

ต่ำสุด

25.34 27.03 29.40 31.30 27.44 25.79

สูงสุด

68.75 85.00 86.67 86.67 120.00 120.00

ต่ำสุด

88.25 90.50 98.33 120.00 120.00 120.00

สูงสุด

2.88 3.88 4.41 4.63 4.94 6.65

ต่ำสุด

4.67 7.12 7.24 6.00 6.37 6.65

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

3.52 4.99 5.20 5.22 5.46 6.65

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

80.49 88.12 93.25 104.06 120.00 120.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

22.87 26.08 28.18 28.29 25.84 25.79

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


77

18.00 22.50 26.00 10.00 14.85 23.00

ม.ค.

ม.ค.

118.00 135.75 144.50 110.50 116.65 150.50

190.00 205.00 264.00 213.00 267.00 313.00

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาไข่ไก่คละ

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาลูกไก่ไข่

190.00 251.00 270.00 254.00 280.00

ก.พ.

ก.พ.

115.50 140.75 144.50 110.50 128.91

18.00 24.50 26.00 10.00 16.00

ก.พ.

207.00 241.00 284.00 260.00 270.00

มี.ค.

มี.ค.

115.12 141.62 146.72 106.67 135.00

20.23 24.85 26.74 8.68 16.00

มี.ค.

240.00 241.00 304.00 227.00 276.00

เม.ย.

เม.ย.

137.09 139.50 150.50 93.50 138.81

27.36 24.00 28.00 7.00 18.57

เม.ย.

237.00 255.00 300.00 254.00 313.00

พ.ค.

พ.ค.

143.70 146.50 150.50 97.67 154.17

27.96 27.00 28.00 8.67 23.25

พ.ค.

238.00 276.00 282.00 268.00 323.00

มิ.ย.

มิ.ย.

142.50 152.38 150.50 103.50 159.30

27.00 29.15 28.00 11.00 25.00

มิ.ย.

244.00 278.00 282.00 229.00 291.00

ก.ค.

ก.ค.

142.50 147.96 150.50 98.33 150.50

27.00 27.38 28.00 7.50 23.00

ก.ค.

260.00 270.00 300.00 246.00 320.00

ส.ค.

ส.ค.

149.90 144.50 150.50 93.50 153.87

28.56 26.00 28.00 6.00 24.31

ส.ค.

241.00 272.00 300.00 240.00 348.00

ก.ย.

ก.ย.

149.27 144.50 150.50 99.50 155.50

28.62 26.00 28.00 8.40 25.00

ก.ย.

216.00 253.00 300.00 235.00 326.00

ต.ค.

ต.ค.

142.38 144.50 150.50 105.50 153.77

15.15 26.00 26.00 11.00 24.31

ต.ค.

233.00 253.00 313.00 236.00 300.00

พ.ย.

พ.ย.

142.10 144.50 150.50 108.77 150.50

25.04 26.00 26.00 11.88 23.00

พ.ย.

236.00 253.00 258.00 240.00 313.00

ธ.ค.

ธ.ค.

143.85 144.50 139.57 110.50 150.50

25.74 26.00 21.83 13.00 23.00

ธ.ค. 15.15 22.50 21.83 6.00 14.85 23.00

ต่ำสุด

28.62 29.15 28.00 13.00 25.00 23.00

สูงสุด

ต่ำสุด

115.12 135.75 139.57 93.50 116.65 150.50

สูงสุด

149.90 152.38 150.50 110.50 159.30 150.50

190.00 205.00 258.00 213.00 267.00 313.00

ต่ำสุด

260.00 278.00 313.00 268.00 348.00 313.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

227.67 254.00 288.08 241.83 302.25 313.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/100 ฟอง

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

เฉลี่ย

136.83 143.91 148.27 103.20 145.62 150.50

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

24.06 25.78 26.71 9.43 21.36 23.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


7.25 18.00 17.50 14.50 16.19 19.50

ม.ค.

8.98 18.50 18.37 12.94 11.20

ก.พ.

31.58 44.33 45.24 36.20 42.69 40.80

ม.ค.

32.88 45.00 47.28 34.70 37.91

ก.พ.

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

52.28 58.25 51.00 54.47 58.22 69.22

ม.ค.

55.34 60.19 58.86 49.63 68.28

ก.พ.

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาลูกไก่เนื้อ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

78

56.82 60.41 61.50 48.85 59.70

มี.ค.

30.28 40.96 48.30 27.53 38.97

มี.ค.

4.50 18.50 20.50 6.18 10.96

มี.ค.

59.60 60.41 67.11 59.63 64.06

เม.ย.

31.18 42.09 52.10 33.13 44.88

เม.ย.

5.23 18.50 21.32 6.31 18.17

เม.ย.

60.00 60.50 70.00 62.50 64.53

พ.ค.

36.45 44.28 54.60 39.33 45.97

พ.ค.

13.89 20.07 22.50 11.33 18.67

พ.ค.

58.00 60.50 70.00 55.15 65.15

มิ.ย.

37.92 42.46 50.25 38.22 43.04

มิ.ย.

14.50 19.35 20.96 12.50 17.50

มิ.ย.

55.30 61.93 72.88 54.95 65.92

ก.ค.

38.00 37.47 43.60 35.20 44.00

ก.ค.

14.50 16.10 17.34 12.50 17.50

ก.ค.

55.00 59.37 80.40 54.31 70.54

ส.ค.

38.00 36.07 42.20 35.53 44.05

ส.ค.

14.50 12.58 15.73 12.50 19.27

ส.ค.

54.02 56.83 70.77 54.13 67.64

ก.ย.

40.68 37.63 41.74 33.58 37.64

ก.ย.

15.19 14.14 16.50 12.02 16.38

ก.ย.

52.18 51.52 55.50 47.65 65.00

ต.ค.

41.62 36.02 38.58 31.37 35.58

ต.ค.

16.50 14.50 14.58 6.96 13.50

ต.ค.

55.44 51.38 52.87 54.31 65.32

พ.ย.

40.00 37.33 37.67 40.73 35.31

พ.ย.

16.50 14.50 14.50 10.42 14.42

พ.ย.

57.25 51.45 61.08 52.33 64.75

ธ.ค.

41.00 41.93 36.90 40.75 41.52

ธ.ค.

16.50 15.50 14.50 14.07 17.24

ธ.ค. 4.50 12.58 14.50 6.18 10.96 19.50

ต่ำสุด

16.50 20.07 22.50 14.50 19.27 19.50

สูงสุด

30.28 36.02 36.90 27.53 35.31 40.80

ต่ำสุด

41.62 45.00 54.60 40.75 45.97 40.80

สูงสุด

52.18 51.38 51.00 47.65 58.22 69.22

ต่ำสุด

60.00 61.93 80.40 62.50 70.54 69.22

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

55.94 57.73 64.33 53.99 64.93 69.22

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

36.63 40.46 44.87 35.52 40.96 40.80

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

12.34 16.69 17.86 11.02 15.92 19.50

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


79

1,475.00 1,875.00 1,637.50 1,734.80 1,476.92 2,056.00

ม.ค.

1,600.00 1,900.00 1,930.43 1,552.00 1,786.96

ก.พ.

1,607.69 1,900.00 2,000.00 1,312.00 1,561.54

มี.ค.

13.00 15.00 18.00 18.00 20.00

ม.ค.

13.00 15.00 18.00 17.22

ก.พ.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00

ม.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 154 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ก.พ.

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

มี.ค.

13.00 16.78 18.00 16.00

มี.ค.

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

2552 2553 2554 2555 2556 2557

เดือน

ราคาลูกสุกรขุน

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

เม.ย.

13.00 18.00 18.00 16.00

เม.ย.

1,804.55 1,900.00 2,000.00 1,452.38 1,866.67

เม.ย.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

พ.ค.

13.00 18.00 18.00 18.00

พ.ค.

1,847.83 1,900.00 2,000.00 1,666.67 1,600.00

พ.ค.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

มิ.ย.

13.00 18.00 18.00 18.00

มิ.ย.

1,661.54 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,600.00

มิ.ย.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ก.ค.

13.00 18.00 18.00 18.00

ก.ค.

1,500.00 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,676.92

ก.ค.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ส.ค.

13.00 18.00 18.00 18.00

ส.ค.

1,596.00 1,844.00 2,400.00 1,500.00 1,965.38

ส.ค.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ก.ย.

13.84 18.00 18.00 19.52

ก.ย.

1,600.00 1,720.00 2,161.54 1,476.00 1,796.00

ก.ย.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ต.ค.

15.00 18.00 18.00 20.00

ต.ค.

1,600.00 1,600.00 1,896.15 1,200.00 1,700.00

ต.ค.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

พ.ย.

15.00 18.00 18.00 21.85

พ.ย.

1,752.00 1,600.00 1,746.00 1,376.92 1,746.15

พ.ย.

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ธ.ค.

15.00 18.00 18.00 22.00

ธ.ค.

1,800.00 1,600.00 1,965.22 1,256.52 1,800.00

ธ.ค. 1,475.00 1,600.00 1,637.50 1,200.00 1,476.92 2,056.00

ต่ำสุด

1,847.83 1,900.00 2,400.00 1,734.80 1,965.38 2,056.00

สูงสุด

13.00 15.00 18.00 16.00 20.00

ต่ำสุด

15.00 18.00 18.00 22.00 20.00

สูงสุด

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00

ต่ำสุด

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.57 17.40 18.00 18.55 20.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1,653.72 1,803.25 1,978.07 1,460.61 1,714.71 2,056.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท มู่หยาง เกรนเทค จำกัด บริษัท เจริญเมืองแมชชินเนอรี่ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2516-8811 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 092 089 1601 โทร. 0-2281-5331 โทร. 0-2937-4355 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.