วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ TFMA E-Magazine 152

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51.

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

ความปลอดภัยทางด้านอาหารสัตว์ นับว่ามีความปลอดภัยอย่างมาก เพราะมีความพิถีพิถันในการคัดเลือกวัตถุดิบ มีขบวนการผลิตที่ทันสมัย มีหลัก การโภชนาการที่พร้อมสรรพ มีกฎหมายคุ้มครองดูแล ระเบียบ มาตรฐาน คุณภาพทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูปและวัตถุดิบที่นำมาผลิต และส่วนควบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และอาหาร สู่ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ

ทุกหน่วยผลิตที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิตภาคปศุสัตว์ จึงต้องให้ ความสำคัญที่จะสร้างมาตรฐานความปลอดภัยทุกขั้นตอนในความรับผิดชอบ ของหน่วยผลิตนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ได้แล้ว จะลดความสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และความมั่นคง และทุกหน่วยที่มีการปรับตัวเพื่อรับมาตรฐานคุณภาพที่ดีได้แล้ว จะได้รับประโยชน์จากมาตรฐานความ ปลอดภัยที่ได้ร่วมมือกันทำอย่างยั่งยืนตลอดไป วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ จะตอบสนองนโยบายช่วยลดภาวะการใช้กระดาษลง โดยปี 2557 ฉบับที่ 154 ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 จะไม่มีการพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มกระดาษแล้ว โดยจะพิมพ์ แล้วนำเสนอในรูปแบบ E-Magazine ทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ www.thaifeedmill.com จึงเรียนมาเพื่อ ท่านผู้อ่านจะได้ติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทาง เว็บไซต์สมาคมฯ ต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ให้ความ สนับสนุนจะได้ใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของท่านตลอดไป โดยหน้าโฆษณาของบริษัทจะได้รับการ เชื่อมโยงทางอินเทอร์เน็ตต่อไปยังเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งขณะนี้ เว็บไซต์ของสมาคมฯ www.thaifeedmill.com แพร่หลายมากขึ้น มีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น จึงขอเชิญชวนท่านแวะเข้าไปชมเว็บไซต์ สมาคมฯ www.thaifeedmill.com ซึ่งจะยิ่งพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป และขอขอบคุณสมาชิกที่ให้ความสนใจวารสาร ธุรกิจอาหารสัตว์ ตลอดมา และต้องยอมรับว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้เข้ามาทำให้ความสะดวกมากขึ้น และโลกต้องการให้ทุกคนช่วยดูแล คณะกรรมการสมาคมฯ ได้ตระหนัก ในเรื่องนี้ด้วย จึงขอเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ บนโลกใบนี้ ที่จะรักษาโลก ด้วยการลดการใช้กระดาษลงบ้าง และ ขอนำเสนอในรูปแบบของอินเทอร์เน็ตซึ่งต่อไปความแพร่หลายในยุคข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตจะเข้ามาสู่ ชีวิตของคนรุ่นใหม่มากขึ้น จึงขอเชิญชวนให้ติดตามต่อไป และขอขอบคุณอย่างสุดซึ้ง บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus แรงงานเกษตรในประเทศไทย อาหารไทยปลอดภัย...ส่งออกไปทั่วโลก "ซีพี" หนุนใช้เทคโนฯ-เปลี่ยนพันธุ์ลดต้นทุน

ปีที่ 30

Vol.

152 กันยายน ตุลาคม 2556

Around the World 5 8 11

Food Feed Fuel รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2556 14 สัมมนา "เปิดประตูสู่ AFET Soybean Futures" 29 สรุปผลการสัมมนา the 10th S.E. Asia U.S. Agricultural Cooperators Conference "Managing Asian Agribusiness in the 21st Century" 34 สรุปผลการเสาวนา การฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล ด้วยการขยายขนาดตาอวนก้นถุงอวนลาก 38

การวิเคราะห์ศักยภาพการผลิต การตลาด ผลกระทบของสินค้าเกษตรไทย และแนวทาง การพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 67 จับตาโอกาสของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ไทยในตลาดอาเซียน... รุกรับอย่างไรดี? 76

Thank You ขอบคุณ

80

Market Leader จับชีพจรอุตสาหกรรมหมูไทย... หากไฟเขียวให้หมู Made in USA บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ ผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตไก่เนื้อ ปี 2556 ผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตไข่ไก่ ปี 2556 ผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตสุกร ปี 2556 ผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ ปี 2556 ผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตโคเนื้อ ปี 2556 ตารางผลพยากรณ์ปริมาณการผลิตปศุสัตว์ ปี 2556 ไม่ง่าย!! หากคิดจะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคต

41 46 56 58 59 61 63 64 65

 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก

ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข  นายณัฐพล มีวิเศษณ์  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com  พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




Thailand Focus

แรงงานเกษตรในประเทศไทย โดย : ชัยพงษ์ สำเนียง

นับตัง้ แต่ทศวรรษที่ 2500 ประเทศไทย ได้มีการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งการพัฒนาให้เป็น ประเทศอุตสาหกรรม ที่ส่งผลให้ภาคการผลิตของไทยเปลี่ยน แปลงไป จากประเทศเกษตรกรรมพัฒนาเป็น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ทำให้มีความเปลี่ยน แปลงด้านโครงสร้างแรงงานอย่างสำคัญ จาก แรงงานทีอ่ ยูใ่ นภาคเกษตรกรรมกว่าร้อยละ 60 ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 2530 ปัจจุบนั มีแรงงาน ภาคเกษตรกรรมเพียงร้อยละ 36 (ทศวรรษ 2550) โดยประมาณ ซึ่งสัมพันธ์กับการเติบโต ของเศรษฐกิจอย่างต่อเนือ่ งกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (ในช่วงปี 2531-2533) ทำให้การจ้างงานใน ภาคนอกการเกษตรขยายตัวอย่างสูง ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มี การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และภาคการผลิต อื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราแรงงานที่ ทำงานในภาคเกษตรกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี พ.ศ. 2516-2520 มีแรงงานใน ภาคเกษตรร้อยละ 67 ช่วงปี 2531-2535 มีแรงงานภาคเกษตรร้อยละ 60 และช่วงปี 2546-2549 มีแรงงานภาคเกษตรเหลือเพียง ร้อยละ 42.2 ของแรงงานทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2553 แรงงานเกษตรมี สั ด ส่ ว นเหลื อ เพี ย ง ร้อยละ 37 (สมพร อิศวิลานนท์ : 2553)

สัดส่วนแรงงานในภาคเกษตรของไทย ลดลงอย่างเห็นชัดเจนจากปี 2516-2520 ทีม่ ี แรงงานภาคเกษตรสูงเกือบ 2 ใน 3 ของผู้มี งานทำทัง้ หมด (ร้อยละ 67) เหลือเพียงร้อยละ 41.1 ในปี 2554 ในทางกลับกันแรงงานได้เข้า ไปทำงานในภาคบริการ และภาคการผลิตเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะภาคบริการ (การขายส่ง การขายปลีก โรงแรม และภัตตาคาร การขนส่ง เป็นต้น) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วน ทีใ่ กล้เคียงกับผูท้ ำงานภาคการเกษตรในปัจจุบนั โดยเพิม่ จากร้อยละ 23.0 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 39.6 ในปี 2554 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555) เมื่อจำแนกตามอายุจะพบว่า ประชากร กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีแนวโน้มที่จะทำงาน ภาคการเกษตรลดน้อยลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ในช่วง 20 ปี คือ จากร้อยละ 35.3 ในปี 2530 เหลือเพียงร้อยละ 12.1 ในปี 2554 (สำนักงาน สถิติแห่งชาติ 2555) ส่วนในกลุ่มอายุ 25-39 ปี มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปี 2530-2540 และ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนือ่ งจนในปี 2554 เหลือ ผูท้ ำงานในภาคการเกษตรร้อยละ 28.7 ขณะที่ ในกลุ่มอายุ 40-59 ปี มีสัดส่วนคนทำงาน ในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก ร้อยละ 25.7 เป็นร้อยละ 46.3 ในปี 2530

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

5


และ 2554 ตามลำดับสำหรับผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว คือ จากร้อยละ 4.4 ในปี 2530 เป็นร้อยละ 12.8 ในปี 2554 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555) จากข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วสะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า ปัจจุบันแรงงานไทยได้ออกจากภาคเกษตรหัน ไปประกอบอาชีพด้านการผลิต โดยเฉพาะการ บริการเป็นจำนวนมาก และทำงานด้านการ เกษตรลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่ม หนุ่มสาว (อายุ 15-24 ปี) (สำนักงานสถิติ แห่งชาติ 2555) นอกจากปัจจัยการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของโรงงาน หรือภาคการผลิต อื่นๆ แล้วปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ แรงงานในภาคเกษตรกรรมลดลงคือ ที่ทำกิน ตกอยู่ในมือของคนนอกภาคเกษตรกรรมมาก ขึ้น กล่าวคือ ประเทศไทยมีปัญหาการกระจาย การถือครองที่ดิน ที่ดินทั้งประเทศมีจำนวน มาก ทีถ่ กู ทิง้ ให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่ดินเหล่านี้เป็นของนายทุนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็น ผลมาจากการเก็งกำไรที่ดินตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 ช่ ว งที่ เ ศรษฐกิ จ มี ก ารขยายตั ว ทำให้ ราคาที่ดินสูงขึ้นอย่างมาก เกษตรกรจำนวน มากเป็ น เกษตรกรไร้ ที่ ดิ น หรื อ ไม่ ก็ ข าดทุ น จนไม่สามารถอยูใ่ นภาคการผลิตทางการเกษตร ได้ ทำให้ผันตนเองไปเป็นแรงงานในภาคการ ผลิตอื่น รวมถึงการจ้างงานในภาคการเกษตร มีระยะเวลาสัน้ เพียง 6 เดือน/ปี แต่การทำงาน ในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ มีการจ้างงาน ตลอดปี ทำให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ เกษตรกรจำนวนมากหันไปเป็นแรงงานในภาค บริ ก าร (นิ พ นธ์ พั ว พงศกร และปั ท มาวดี

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ซูซูกิ 2535) ทำให้สัดส่วนแรงงานไทยในภาค เกษตรกรรมลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นทศวรรษ ที่ 2530 (นิพนธ์ พัวพงศกร และปัทมาวดี ซูซกู ิ 2535) และส่งผลให้การขาดแคลนแรงงาน ในภาคเกษตรกรรม และแรงงานต่างด้าวได้เข้า มาทดแทนแรงงานเหล่านี้ รวมถึงเป็นแรงงาน ราคาถูกในกลุม่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง (พิมพ์ชนก บุลยเลิศ 2551) อุตสาหกรรมห้องเย็น และ ประมง (พวงเพชร์ ธนสิน 2554) ซึ่งแรงงาน กลุ่มนี้ถือว่าเป็นแรงงานที่สร้างความเติบโตให้ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แรงงานในภาคเกษตรกรรมนอกจากเป็นแรงงานที่ทำเกษตรกรรม แล้ว ยังพบว่าแรงงานเหล่านีเ้ ป็นแรงงานรับจ้าง ในช่วงนอกฤดูกาล ไม่ได้เป็นแต่เกษตรกรใน ไร่นาอย่างเดียว พบว่าตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 2510 แล้วที่ครอบครัวของคนอีสานมีรายได้ จากภาคนอกภาคเกษตรกรรมถึงร้อยละ 48 แต่ พอมาถึงปลายทศวรรษที่ 2520 รายได้นอก ภาคเกษตรเพิ่ ม เป็ น ร้ อ ยละ 69 การพึ่ ง พา รายได้จากภาคการผลิตอื่นๆ ไปพร้อมกันด้วย ทำให้แรงงานในภาคเกษตรกรรมคุ้นเคยกับ อาชีพภาคนอกเกษตรกรรมอื่นๆ เช่น ภาค อุตสาหกรรมและภาคบริการ และพบว่าภาค บริการและอุตสาหกรรม สามารถสร้างรายได้ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งแตกต่างจากอาชีพ เกษตรกรรมทีม่ รี ะยะเวลาทำงานเพียง 6 เดือน รวมถึงรายได้ที่ไม่ต่อเนื่องขึ้นอยู่กับกลไกตลาด และสภาพภู มิ อ ากาศ ทำให้ แ รงงานในภาค เกษตรกรรมผันตัวเองไปเป็นแรงงานในภาค นอกเกษตรกรรมจำนวนมาก (นิพนธ์ พัวพงศกร และปัทมาวดี ซูซูกิ 2535)


น่าตกใจว่าหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ต่อไปใน อนาคต แรงงานในภาคเกษตรของเราจะอยู่ในขั้นวิกฤติ และแทบเป็นไปไม่ได้ทจี่ ะไม่พงึ่ พาแรงงานต่างชาติ หรือไม่ ก็ ต้ อ งปรั บ เปลี่ ย นไปใช้ เ ครื่ อ งจั ก รแทนแรงงานคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งต้อง ผันตัวเองมาเป็นแรงงานรับจ้างในภาคต่างๆ หรือไม่ ถ้าจะทำเกษตรกรรม ก็ ต้ อ งเป็ น เกษตร ทางเลื อ ก เช่ น เกษตรอิ น ทรี ย์ วนเกษตร ฯลฯ หากสถานการณ์ ยั ง เป็ น อย่างนี้ต่อไป คาดว่าในอนาคต ประเทศไทยซึง่ (นับตัวเอง) เป็น ประเทศเกษตรกรรมจะคงความ เป็น “ครัวโลก” อาจจะต้องหันไป พึ่ ง พาเครื่ อ งจั ก ร และแรงงาน ข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทน แรงงานไทยในภาคเกษตรที่ขาด หายไป แล้วเรายังจะ (อยาก) เป็น ครัวโลกอีกไหมครับ

โครงการ “ชีวิตพลัดถิ่นกับการเป็นแรงงานข้ามรัฐ : กรณีศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงาน “สัญชาติพม่า” และ “สัญชาติลาว” ในประเทศไทย” สนับสนุนโดย แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

7


Thailand Focus

อาหารไทยปลอดภัย... ส่งออกไปทั่วโลก โดย : ดร.สิทธิชัย ฝรั่งทอง

สือ่ สังคมออนไลน์ หรือทีเ่ รียกว่า โซเชียล มีเดีย นับว่าเป็นช่องทางการสื่อสารที่ถือว่า ฮิตติดลมบน ทัง้ Facebook YouTube หรือ แม้แต่ Twitter ที่เรียกว่าได้รับความนิยมใช้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลาย โดยส่ ว นตั ว แล้ ว ก็ อ าศั ย ช่ อ งทางโซเชี ย ลมี เ ดี ย ในการติ ด ตามความ เคลื่ อ นไหวข่ า วสาร งานด้ า นวิ ช าการ และ ความเป็นไปในภาคอุตสาหกรรมด้วยเหมือน กัน ซึ่งวันก่อนได้ไปเห็น Clip ที่ถูกโพสต์ใน YouTube จากการค้นหาคำว่า “เกษตรพันธสัญญา” ทำให้ตกใจ และคิดว่าไม่อาจนิง่ เฉยอยูไ่ ด้ เพราะเป็นคลิปวีดีโอที่คลาดเคลื่อนจากความ จริงไปมากพอสมควร จนอาจกลายเป็นการ ทำลายระบบเกษตรพันธสัญญา หรือทีร่ จู้ กั กันดี ในชื่อ คอนแทรคฟาร์ม (Contract Farming) ยิ่งไปกว่านั้นคือการทำลาย ภาพลั ก ษณ์ อุ ต สาหกรรมอาหารของ ประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและความ ปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) ซึง่ รัฐบาล กำลั ง เดิ น หน้ า ผลั ก ดั น นโยบายเชิ ง รุ ก ในการ ประชาสัมพันธ์ สู่เป้าหมาย “ครัวของโลก” จน เป็นเหมือนธงชัยที่ประเทศไทยได้นำไปปักใน ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ประเทศผู้นำเข้าอาหารของไทย ที่ช่วยสร้าง ความเชือ่ มัน่ และช่วยนำเข้าเงินตราต่างประเทศ มาตลอด หากมาดูทตี่ วั เลขการส่งออกสินค้าเกษตร ปศุสตั ว์ ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2555 ทีผ่ า่ นมา จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์จากเนือ้ ไก่ มีปริมาณส่งออกรวมมากถึง 538,105 ตัน มีมูลค่าถึง 67.85 หมื่นล้านบาท สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) สามารถ ส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ได้ถึง 243,131 ตัน คิดเป็นมูลค่า 31.13 หมื่นล้านบาท สำหรับ การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์รวมนั้น พบ ว่า ในปี 2555 มีปริมาณสูงถึง 14,417 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.72 พันล้านบาท ส่วนช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 มีการส่งออก 8,119 ตัน มีมลู ค่า 1.31 พันล้านบาท มีตลาดส่งออกหลัก คือ ญีป่ นุ่ สหภาพยุโรป ประเทศในกลุม่ อาเซียน และเกาหลีใต้ ตามลำดับ ด้านสินค้าประมงที่มีกุ้งที่ไทยเป็นผู้ส่ง ออกอั น ดั บ หนึ่ ง ของโลก และเป็ น พระเอกที่ สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสูป่ ระเทศ ไทยมากมายนั้น ในปี 2556 มีปริมาณการ




ส่งออกกุ้งปรุงแต่ง 166,627 ตัน มูลค่ารวม 5.04 หมื่นล้านบาท ช่วงม.ค.-มิ.ย.ปี 2556 ส่งออก 56,436 ตัน มูลค่า 1.71 หมืน่ ล้านบาท สำหรั บ กุ้ ง สดแช่ เ ย็ น จนแข็ ง มี ป ริ ม าณรวม 177,903 ตัน มูลค่ารวม 4.52 หมืน่ ล้านบาท ส่วนปี 2556 ในช่วง 6 เดือนแรก ปริมาณ ส่ ง ออกรวม 47,443 ตั น มี มู ล ค่ า 1.30 หมื่นล้านบาท โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (อียู) แคนาดา เกาหลี ฯลฯ ตามลำดับ ตัวเลขส่งออกที่หยิบยกมานี้ เป็นเครื่อง ตอกย้ำถึงความมั่นใจจากตลาดต่างประเทศ ในสินค้าเกษตรของไทย ว่ามีความปลอดภัยและ มาตรฐานการผลิตระดับโลก ซึง่ ความปลอดภัย ทางอาหาร เป็นประเด็นสำคัญทีป่ ระเทศผูน้ ำเข้า รายใหญ่ต่างๆ ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องมือ ควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหาร นับวันจะมีการ ออกมาตรการ รวมทั้งกฎระเบียบและเงื่อนไข การนำเข้าที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ล่าสุดที่สหรัฐอเมริกาได้ออกมาตรการบังคับใช้ Food Safety Modernization Act (FSMA) ซึง่ เป็นมาตรการ ใหม่ เพื่อยกระดับการควบคุมความปลอดภัย ทางอาหารสำหรับสินค้าอาหารทุกประเภทที่ นำเข้าและจำหน่ายในสหรัฐฯ ใหม่ โดยจะมี การตรวจสอบกระบวนการผลิ ต และแปรรู ป สินค้าเข้มงวดมากขึ้น และเพิ่มความถี่ในการ ตรวจสอบโรงงานผลิตด้วย นีก่ เ็ ป็นอีกมาตรการ ที่ผู้ผลิตของไทยต้องหันมาให้ความสำคัญเพิ่ม มากยิ่งขึ้น มาตรการดังกล่าวมีผลกระทบโดย ตรงต่อผูส้ ง่ ออกของไทยทีส่ ง่ สินค้าไปยังสหรัฐฯ ซึง่ ไทยต้องเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ทาง การค้าที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกเหนือจากที่

เคยดำเนินการอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว เพราะกว่า สินค้าไทยจะไปผงาดในตลาดของประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้ ต้องผ่านการตรวจสอบกระบวนการ ผลิตอย่างเข้มงวดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมส่งออก อย่างไรก็ดี เรือ่ งนีต้ อ้ งบอกว่า มาตรฐาน การผลิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อ การจำหน่ายในประเทศ หรือเพื่อส่งออกก็ตาม ต่างอยูภ่ ายใต้มาตรฐานเดียวกันทัง้ หมด เพราะ ในการตรวจสอบเพื่อออกใบรับรองมาตรฐาน ต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการนั้น เป็นการตรวจ ทั้งระบบ ไม่ใช่เข้าไปดูฟาร์มโชว์ หรือโรงงาน แปรรู ป ที่ ถู ก ตระเตรี ย มไว้ เ พื่ อ ให้ ผู้ ต รวจสอบ เข้าไปดูได้ เพราะการเข้าตรวจสอบนัน้ เป็นแบบ เคาะประตูบ้านโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ซึ่งไม่สามารถจัดเตรียมได้เลย แต่ต้องมีมาตรฐานที่ ด ำเนิ น การโดยปกติ ที่ พ ร้ อ มจะให้ เ ข้ า ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ทำให้กระบวนการ จัดการทัง้ หมดต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ได้ (Traceability) ตลอดกระบวนการผลิต ตัง้ แต่การเลีย้ งในระบบมาตรฐาน การใช้อาหาร ที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง และเหมาะสมกั บ การเจริ ญ เติ บ โตของสั ต ว์ แต่ละประเภท ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนา อย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้ยา-วัคซีนภายใต้ การควบคุ ม ของกรมปศุ สั ต ว์ เ พื่ อ ไม่ ใ ห้ มี ก าร ตกค้างของเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่อาจจะกระทบต่อ สุขภาพของผู้บริโภค การขนส่งที่มีมาตรฐาน และถูกควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี ตลอดจน กระบวนการแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อ ให้อาหารอยู่ในมาตรฐานระดับโลก ที่ยังพ่วง ความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นอีกข้อ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

9


THAILAND Kitchen of The World

เรียกร้องเพิ่มเติมจากตลาดผู้นำเข้าหลักต่างๆ เรียกว่า ทุกกระบวนการถูกควบคุมอย่างเข้มงวด จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการผลิต โดยบริษัท หรือการผลิตของเกษตรกรที่อยู่ใน รูปแบบของคอนแทรคฟาร์มก็ตาม ต่างต้อง อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน (single standard) เช่นนี้ทั้งหมด สิ่งเหล่านี้ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ภาค อุตสาหกรรมเกษตรของไทย มีการพัฒนาระบบ การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้มีคุณภาพ เพื่ อ ยกระดั บ มาตรฐานการผลิ ต ของไทยให้ ทัดเทียมกับประเทศอื่นมาโดยตลอด จนกลาย เป็นจุดแข็งในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โลกได้อย่างทุกวันนี้ หากถ้ามองต่อไป การจะเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) หรือ AEC ในอีก 2 ปีขา้ งหน้าด้วยแล้ว ซึ่งภาครัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จะต้อง ยิ่งเร่งพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อ ศักยภาพการแข่งขันและสร้างความมั่นคงทาง อาหาร โดยเฉพาะนโยบายขับเคลื่อนพัฒนา

10

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ด้านความปลอดภัยทางอาหาร เพือ่ ช่วยผลักดัน ครัวไทยสู่ครัวโลก ที่กลายเป็นธงของรัฐบาล ที่ได้วางเป้าหมายไว้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ อย่าง กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรม ฯลฯ ก็ได้ขานรับนโยบายนีพ้ ร้อม นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ดังนั้น ในโลกของสังคมออนไลน์ อยาก ให้ทุกคนใช้วิจารณญาณในการรับชม และคิด วิเคราะห์ถึงความถูกต้องของข้อมูลอย่างรอบ ด้านด้วย ว่าคลิปวีดีโอดังกล่าวนี้ สร้างขึ้นมา เพื่อสร้างสรรค์ หรือทำลายภาพลักษณ์ที่ดีของ ประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้เร่งช่วยกันสร้างขึ้น เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจทัง้ ในส่วนของผูบ้ ริโภคใน ประเทศ รวมถึงความเชื่อมั่นของตลาดโลกมา โดยตลอด คงต้องฝากให้ผเู้ กีย่ วข้องออกมาช่วย กันตรวจสอบ เพราะเกษตรกรที่ทำมาหากิน ด้วยความตัง้ ใจ และสุจริต แต่กลับไม่ได้รบั ความ เป็นธรรม และถูกนำไปบิดเบือน ทำให้เข้าใจ คลาดเคลื่อน โดยคนในชาติเดียวกัน กลับมา ขัดขวางหนทางพัฒนาประเทศเสียเองแบบนี้ ที่ทำดีมาทั้งหมดก็คงไม่มีค่าอะไร


Thailand Focus

"ซีพี" หนุนใช้เทคโนฯ-

เปลี่ยนพันธุ์ลดต้นทุน ซีพีหนุนทำการเกษตรเชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผลิ ต สิ น ค้ า ภายใต้ ร ะบบ ODM แทนระบบ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง เปลี่ยนพันธุ์ลดต้นทุน เครื อ เจริ ญ โภคภั ณ ฑ์ (ซี พี ) จั ด เสวนา "เกษตรเพื่ออนาคตประเทศไทย" นายสารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารซีพี กล่าวว่า ทีผ่ า่ นมาแต่ละประเทศจะให้ความสำคัญ กับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมากเกินไป ทำให้ ด้ า นการเกษตรของรั ฐ บาลแต่ ล ะประเทศให้ ความสำคั ญ ลดลงจนถึ ง จุ ด ที่ ภ าวะเศรษฐกิ จ ถดถอย ภาคการเกษตรกลับมีส่วนช่วยในการ กู้ วิ ก ฤติ ก ลั บ คื น มาได้ เป็ น จุ ด เปลี่ ย นที่ ท ำให้ รัฐบาลหันมาสนใจมากขึ้น หนุนใช้ระบบโอดีเอ็มทำการเกษตร

สำหรับไทยภาคการเกษตรต้องปรับปรุง ใหม่ทั้งระบบ เกษตรกรต้องมีการลงทุนให้ได้พันธุ์ดี เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การอุดหนุนของภาครัฐมีได้ แต่ตอ้ งอยูใ่ นขอบเขตทีก่ ำหนด การทำการเกษตรในอนาคต ต้องเชื่อมโยงกับเกษตรกรรายใหญ่ที่มีความพร้อม แต่ภายใต้ระบบ ODM หรือการประสานความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้ส่งออก จะเป็น ฝ่ายแนะนำการใช้พันธุ์ การผลิตเพื่อให้ได้สเปคที่ต้องการ ปัจจุบันภาคเกษตรในประเทศที่พัฒนา แล้วมีการใช้ระบบนี้ ซึ่งดีกว่าระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เกษตรกรจะได้ประโยชน์ทั้งรายได้ที่ เพิ่มขึ้น และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

11


"การเชือ่ มโยงกับผูป้ ระกอบการรายใหญ่ ไม่ใช่การยึดครอง แต่เป็นการพึง่ พาอาศัยซึง่ กัน และกั น วิ ธี ก ารนี้ จ ะดี ก ว่ า ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ที่เกษตรกรเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต แต่การที่จะเอาระบบ ODM มาใช้ สภาพพื้นที่ เพาะปลูกต้องพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่รัฐบาลต้องเป็นผู้ลงทุน" นายสารสิน กล่าว ความต้องการสินค้าสูงสวนทางพื้นที่ลด จากความต้ อ งการอาหารของโลกที่ มี แนวโน้มเพิม่ ขึน้ สวนทางกับพืน้ ทีภ่ าคการเกษตร ทีม่ แี นวโน้มลดลง หลายประเทศกังวลเรือ่ งความ มั่นคงทางด้านอาหาร ส่งผลให้กลุ่มประเทศ ในแถบตะวันออกกลาง มีเป้าหมายที่จะเข้าไป

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ลงทุ น ภาคการเกษตรในประเทศต่ า งๆ ใน ส่วนของไทยเคยได้รับการติดต่อประสานงาน ลักษณะการขอเช่าที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรปลูก ข้าวเป็นเวลา 7-8 ปี หวังผลกำไร 7-8% แต่ หลังจากเข้ามาศึกษาทิศทางการลงทุน พบว่า ภาคการเกษตรลงทุนให้เห็นผลได้ต้องใช้เวลา อย่างน้อย 10 ปี และได้ผลกำไร 2-3% ถือว่า น้อยมาก จึงเป็นไปได้ว่าการลงทุนจากต่าง ประเทศในลักษณะดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นในไทย นายเอนก ศิ ล ปพั น ธุ์ รองกรรมการ ผู้จัดการบริหารสายงานวิจัยและพัฒนา กลุ่ม ธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าว ว่า การทำการเกษตรของไทยมีตน้ ทุนทีส่ งู มาก


ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น เพราะเกษตรกรยั ง ต้ อ งพึ่ ง พา ธรรมชาติ น้ำฝน และพันธุ์ ที่ใช้ให้ผลผลิตต่ำ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนไป การทำการเกษตร จะยิ่ ง ยุ่ ง ยากขึ้ น การทำการเกษตรเพื่ อ ให้ แข่งขันได้ในอนาคต เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยน และยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการลงทุน ด้านพันธุ์พืช ระบุทั่วโลกทำอาชีพเกษตรลดลง นายมนตรี คงตระกูลเทียน รองประธาน กรรมการกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการ เกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ กล่าว ว่า ภาคการเกษตรทัว่ โลกปัจจุบนั ประสบปัญหา เกษตรกรอายุมากเฉลี่ยอยู่ที่ 52-57 ปี ซึ่งมี จำนวนลดลงต่อเนื่องเพราะคนรุ่นใหม่ไม่สนใจ ทำอาชีพเกษตร ส่วนหนึ่งเพราะผลตอบแทน น้อย และมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยเมื่อปี 2537 สหรัฐฯ มีเกษตรกร มีประมาณ 3.4% ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนปี 2553 ลดลงเหลือ 1.6% ออสเตรเลีย จาก 5% เหลือ 3.3% สหภาพยุโรปจาก 9% เหลือ 5% ญี่ปุ่นจาก 5.8 % เหลือ 3.7% จีน จาก 54.3 % เหลือ 36.7% ไทยจาก 56% เหลือ 38.2% อินโดนีเซียจาก 48% เหลือ 38.3% มาเลเซีย จาก 20% เหลือ 13.3% อิ น เดี ย จาก 60.5% เหลื อ 51.1% และ เวียดนามจาก 70% เหลือ 48 %

แนะพึ่งเทคโนฯ แทนกำลังคน ดังนั้น การทำการเกษตรจึงควรหันมา พึง่ พาเทคโนโลยีดา้ นการเกษตรมากขึน้ ทัง้ ด้าน พันธุ์ และเครื่องจักร ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ช่วยลดต้นทุนการผลิต และใช้เวลาลดลง เช่น การทำนาปกติต้องใช้มากถึง 4 แรงงานต่อไร่ มีค่าใช้จ่ายมากถึงไร่ละ 1,200 บาท แต่การ ใช้เครื่องจักรจะลดต้นทุนด้านนี้ได้เหลือ 800 บาทต่อไร่เท่านั้น ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เกษตรกร จะต้องคิดและทบทวนและยอมรับการเปลี่ยน แปลง ปัจจุบนั เกษตรกรในต่างประเทศมีการใช้ เทคโนโลยีด้านการเกษตรมากขึ้น แต่ของไทย ยังให้ความสนใจน้อย เนือ่ งจากส่วนใหญ่ยงั เป็น รายย่ อ ย พื้ น ที่ ก ารเกษตรแปลงเล็ ก จะเป็ น อุปสรรคต่อการใช้เครื่องจักร สินค้าเกษตรทีย่ งั มีอนาคตสดใส คือ ข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่วนข้าวรัฐบาล ต้องสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวเฉพาะถิ่น มากขึ้น เพื่อเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภครักสุขภาพ เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมมะลิ ส่วนข้าวขาว ในอนาคตไทย หากไทยไม่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง กระบวนการผลิต จะไม่สามารถแข่งขันในตลาด ได้ เขตที่เหมาะสนับสนุนปลูกข้าวขาวคือ ภาค กลาง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

13


Food Feed Fuel รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2556 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน 2556

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. นายพลภัทร มั่นศิลป์ 2. นายพรชัย ภักดีทรัพย์ 3. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 4. น.ส.ลัดดา แก้วกาหลง 5. น.ส.ญาณี มีจ่าย 6. น.ส.ทิพย์วรรณ โพธิ์งามวงศ์ 7. น.ส.กัณฑลี สระทองเทียน 8. น.ส.รัชฎาภรณ์ เย็นช้อน 9. น.ส.ณัฐชญา ชัยวัฒนา 10. นายณัฐพล มีวิเศษณ์

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การสำรวจผลผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ครัง้ ที่ 2 ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน 2556 พื้นที่การสำรวจโซนภาคตะวันตก (กาญจนบุรี, ตาก) ภาคกลางตอนบน (อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, สุโขทัย, นครสวรรค์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลย) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กำลังเริ่มมีการ เก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตจากการเก็บเกี่ยว การพบปะหารือ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดถึงนโยบายของทางภาครัฐต่างๆ รวมถึงโครงการแทรกแซงราคา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ดีขึ้น สำหรับในการสำรวจครั้งนี้ มีโอกาสได้เข้าพบเกษตรกรในพื้นที่มากขึ้น โดยสมาคมฯ ได้เข้า ไปให้ข้อมูล และทำความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ในเรื่องของสถานการณ์ราคาในปัจจุบัน การ ให้ความรูเ้ กษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทมี่ คี ณ ุ ภาพ การเก็บเกีย่ วตามระยะเวลาทีเ่ หมาะสม รวมถึง การรับฟังปัญหาจากเกษตรกรในแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นกระบอกเสียงส่งต่อไปยังหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


สำหรับประเด็นปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงเป็นปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น อาทิ ค่าปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ยาฉีดพ่นต่างๆ รวมถึงค่าแรงงาน ประกอบกับราคาขาย ทัง้ ในรูปแบบฝัก และเมล็ดสด ที่ถูกตัดราคาจากพ่อค้าคนกลางที่ต้องรับไปดำเนินการลดความชื้นต่ออีกทอดที่เกษตรกรไม่ สามารถทำได้ เนื่องจากเครื่องลดความชื้นมีราคาสูง ก่อนจะส่งเข้าโรงงานอาหารสัตว์ โดย เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดองค์ความรู้ในวิธีการ หรืออัตราการตัดน้ำหนักและราคา และวิธีการลด ต้นทุนต่างๆ ยังมีหน่วยงานเข้าไปให้ความรู้น้อยมาก ทำให้ขาดการพัฒนาทั้งในด้านของวิธีการ ปลูก การเก็บเกี่ยว และการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น ตารางสรุปผลผลิตตามพื้นที่ที่ได้มีการสำรวจ ระหว่าง 9-13 กันยายน พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) จังหวัด ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด กาญจนบุรี 89,976 76,879 -14.50% 661 668 1.06% นครสวรรค์ 263,850 271,765 3.00% 650 690 6.15% กำแพงเพชร 87,706 62,305 -28.96% 670 670 ตาก 647,866 745,045 -15.00% 641 650 1.40% อุตรดิตถ์ 104,920 146,888 40.00% 659 665 0.90% สุโขทัย 111,630 98,234 -12.00% 642 650 1.24% พิษณุโลก 251,232 251,232 797 750 5.80% เลย 728,431 765,580 5.10% 640 710 12.50%

2556 ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด 59,474 51,355 -13.65% 171,503 187,517 9.33% 58,763 41,744 -28.96% 415,282 484,279 16.61% 67,027 97,680 45.73% 71,666 63,852 -10.90% 200,232 188,424 -5.89% 466,195 543,561 16.59%

จังหวัดตาก แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดตาก, พ่อค้า (นำชัยพืชผล, แม่สอด), เกษตรกรในพื้นที่ (คุณทองเพียรฯ), ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 ต.พะวอ อ.แม่สอด และตลาดกลางผลิตผลการเกษตร สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 647,866 647,866 641 415,282 745,045 745,045 650 484,279 -15% -15% 1.40% 16.61%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เดิมที่เกษตรกรบางส่วนไม่ได้ขึ้นทะเบียน กับสำนักงานเกษตรจังหวัดเมื่อปี 2553 จึงทำให้มีเกษตรกรนำที่ดินที่มีโฉนดมาแสดงมากขึ้น และพื้นที่บางส่วนเพิ่มจากพื้นที่ของมันสำปะหลัง และอ้อยที่เกิดความเสียหายต้นปี 2556 ที่ผ่านมา ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

15


ผลผลิตของจังหวัดตากจะเริม่ ทยอยเก็บเกีย่ วตัง้ แต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป โดยปี 2556 มีการ ปลูกล่าช้ากว่าปกติประมาณ 20-30 วัน และจะเก็บเกีย่ วผลผลิตเยอะในกลางเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ในส่วนของข้าวโพดรุ่นที่ 2 (ข้าวโพดนา) จะมีผลผลิตออกมาช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 จะสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว จากการที่ราคาขายข้าวโพดปีที่แล้ว สูงกว่าระดับ 10 บาท ผลผลิตออกเยอะปลายตุลาคม-พฤศจิกายน รุน่ ที่ 2 ปลูกมากในโซนตะวันออก ของพื้นที่ จ.ตาก ซึ่งมีการใช้ระบบน้ำเข้ามาช่วย แต่ก็ได้ผลผลิตต่อไร่ที่ดี ทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ระยะยาว อย่างเช่นที่ อ.พบพระ เริม่ มีการใช้ระบบนำสปริงเกอร์เข้ามาช่วยเรือ่ งน้ำ ทำให้สามารถ ปลูกได้ตลอดทั้งปี ราคาขายที่เกษตรกรขายได้ ณ จุดรับซื้อของพ่อค้าอยู่ระหว่าง 3.80-4.00 บาท/กก. (ข้าวโพดทั้งฝักที่ความชื้น 30%) และข้าวโพดเมล็ดสด ประมาณ 5.00 บาท/กก. ความชื้น 30% แต่ราคาทีเ่ กษตรกรสามารถอยูไ่ ด้อย่างเหมาะสมจากทีไ่ ด้สอบถามเกษตรกร คือ 8 บาทต่อกิโลกรัม (เม็ดสด ความชื้น 30%) และ 4-5 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายฝัก ความชื้น 30%) ผลผลิตต่อไร่ : เพิ่มขึ้นจาก 641 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 650 กิโลกรัม/ไร่ โดยในปีนี้ การกระจายตัวของฝนดี ฝนไม่ชุกจนเกินไป ทำให้ช่วงเวลาการออกดอกมีความสมบูรณ์ โดย เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีปริมาณน้ำฝนมากทำให้รากเน่า ผลผลิตต่อไร่โดยเฉลี่ยไม่ดีเท่ากับ ปี 2556 แต่สำหรับบางพื้นที่ซึ่งเป็นการปลูกข้าวโพดริมน้ำ ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทำให้เสียหายทั้งหมด โดยยังคงมีแค่บางส่วนที่ยังสามารถปลูกซ่อมแซม ได้ทัน แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่การปลูกริมน้ำไม่ถือเป็นนัยยะสำคัญมากนัก เนื่องจากมีปริมาณ การปลูกที่น้อยเมื่อเทียบสัดส่วนกับพื้นที่ปลูกบนที่สูง และที่ลุ่ม

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556




ต้นทุนการผลิต : เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีพของเกษตรกรข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยต้นทุนเฉลี่ยคาดการณ์ไว้ที่ 2,300-2,500 บาทต่อไร่ เป็นผลมาจากค่าปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และ ค่าแรงงานที่สูงขึ้น ปัญหาและอุปสรรค : ปัจจัยการผลิตทุกชนิดเริ่มมีการปรับราคาสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ของราคาโลก และราคาในประเทศที่เริ่มปรับฐานราคากลับสู่สภาวะปกติ ทำให้เกษตรกร บางรายขาดความเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของราคาที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2555 ประกอบกับ การลดปริมาณการรับซื้อของพ่อค้า และตัดราคา ทำให้เกษตรกรเรียกร้องอยากให้ภาครัฐเข้ามา ดูแลในเรื่องนี้ พ่อค้าที่ จ.ตาก มีการคุยหารือกับพ่อค้าเพชรบูรณ์ ทำให้มีม็อบเกษตรกรเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่เพชรบูรณ์ แต่ไม่รุนแรง เนื่องจากเกษตรกรยังพอใจกับราคา นโยบายรัฐ ทัง้ ข้าว และมันสำปะหลัง มีผลกระทบต่อข้าวโพด และพฤติกรรมของเกษตรกร มาก เนื่องจากการที่เกษตรกรเห็นเกษตรกรจังหวัดอื่นเดินขบวนแล้วสามารถได้ตามที่เสนอ เลย เป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ไม่สนใจกับคุณภาพผลผลิตของตนเอง ข้าวนาปรังเริม่ มีปญ ั หา ระบบน้ำชลประทาน น้ำในเขือ่ นมีนอ้ ย เหลือเพียง 30% แต่ใช้ได้แค่ 9% ซึ่งอยู่ได้ประมาณ 2 เดือน ถ้าไม่มีฝนลงหน้าเขื่อนจะทำให้ข้าวโพดหลังนาเสียหายแน่นอน

จังหวัดกำแพงเพชร แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 87,706 87,706 670 58,763 62,305 62,305 670 41,744 -28.96% -28.96% -28.96% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

17


สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่โดยรวมของทั้งจังหวัดกำแพงเพชรลดลงประมาณ 28.96% เหลือ พื้นที่ปลูก 62,305 ไร่ ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากนโยบายการ รับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ซึ่งทำให้เกษตรกรมองเห็นรายได้ในอนาคตได้ชัดเจนกว่าข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ที่มีการแกว่งตัวของระดับราคาตามแนวโน้มของโลก โดยพื้นที่การเกษตรจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักที่สูญเสียไป ซึ่งก็ได้แก่ข้าว อ้อย และยางพารา แถบพื้นที่ อ.ปางศิลาทอง ในส่วนของ พื้นที่ปลูกอ้อยที่เข้ามาทดแทนพื้นที่ข้าวโพดเนื่องจากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาล ภาพปกติของการปลูกข้าวโพดจังหวัดกำแพงเพชร จะมีการปลูกข้าวโพด 3 รุ่น โดยเดือน สิงหาคม-ตุลาคม จะยังคงเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพดในรุ่นที่ 1 เดือนธันวาคม-มกราคม จะเป็น รุ่นที่ 2 และจะมีพื้นที่อีกเล็กน้อยที่เกษตรกรใช้เป็นรุ่นที่ 3 ในพื้นที่นา โดยจะเก็บเกี่ยวเดือน เมษายน-พฤษภาคม ผลผลิตต่อไร่ : จากการประเมินของคณะสำรวจ ให้ยืนที่ระดับเดิม 670 กก./ไร่ เนื่อง จากสภาพอากาศ และปัจจัยอืน่ ๆ ยังคงไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงจากเดิมนัก โดยฝนยังมีการกระจายตัว อย่างสม่ำเสมอ

จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์

คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

18

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 263,850 203,850 650 171,503 271,765 271,765 690 187,517 3.00% 23.50% 6.15% 9.33%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่การปลูกข้าวโพดของทั้งจังหวัดเพิ่มขึ้นราว 3% เป็น 271,765 ไร่ แต่อย่างไรก็ตาม ทราบว่ามีการแจ้งรายงานพื้นที่ผลผลิตที่มีความเสียหายจากเกษตรกรที่ขึ้น ทะเบียน 20,000 ไร่ ซึ่งหลังจากได้แจ้งข้อมูลความเสียหายเกษตรกรได้มีการปลูกซ่อมใหม่ทั้ง 100% แต่คาดว่าผลผลิตในพื้นที่นี้จะไม่ดีนัก เนื่องจากการปลูกล่านั้นเอง พื้นที่ที่เพิ่มขึ้น มาจาก มันสำปะหลังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้นปี 2556 ที่ผ่านมา มันสำปะหลังเสียหาย และขาดแคลน ท่อนพันธุ์ในการปลูกซ่อม เกษตรกรจึงหันมาปลูกข้าวโพดเป็นทางเลือกแทน อีกส่วนหนึ่งที่ ข้าวโพดมาทดแทนคือ พื้นที่อ้อยที่ครบอายุแล้ว โรงงานน้ำตาลยกเลิกโควต้าในพื้นที่นั้นๆ และ โดนหนอนกอระบาดในบางพื้นที่อ้อย อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการคาดการณ์พื้นที่คาดจะมีการ ลดลงจากการเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกร และมันสำปะหลังที่เริ่มมีพื้นที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรเริ่ ม มี ก ารเก็ บ เกี่ ย วแล้ ว ประมาณ 30% (ระหว่ า งเดื อ นสิ ง หาคม-กั น ยายน) อีกจำนวน 70% จะเริ่มการเก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พื้นที่ปลูกรุ่นที่ 2 กว่าหมื่นไร่ อยู่ในเขต อ.เมือง, แม่เปิ่น, แม่วงศ์ และพยุหคีรี เป็นต้น ผลผลิตต่อไร่ : จากสภาพอากาศที่มีการกระจายตัวของฝนที่ดี ต่างจากปี 2555 ที่มีฝน ทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตเสียหาย จึงทำให้ผลผลิตปีนี้อยู่ที่ 690 กก./ไร่ ซึ่งพื้นที่ที่ดีอย่างเห็น ได้ชัดคือ พื้นที่ฝั่งตะวันออก (หนองม่วง, ไพศาลี) สำหรับพื้นที่เสียหายข้างต้น เป็นพื้นที่ของ ตากฟ้า ที่มีแล้งช่วงต้นปี อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ดี ได้แก่ การที่เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ ทีด่ ขี นึ้ การลงทุนใส่ปยุ๋ มากขึน้ การใช้เทคโนโลยีการผลิตทีด่ ขี นึ้ เป็นต้น แต่ตน้ ทุนการปลูกก็สงู ขึน้ ตามไปด้วย โดยสภาพของปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตออกเยอะในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ต้นทุนการผลิต : เนือ่ งจากการลงทุนในปุย๋ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ทำให้ตน้ ทุนการผลิตเฉลีย่ อยูท่ ี่ 4,0004,300 บาทต่อไร่ ซึ่งราคารับซื้อของพ่อค้าอยู่ที่ 4.00 บาท (ฝักสด ความชื้น 30%) และ 5.80 บาท (เมล็ดสด ความชื้น 30%)

จังหวัดอุตรดิตถ์ แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ และเกษตรกร อ.เมือง (คุณปราสาทฯ) คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 104,920 101,710 659 67,027 146,888 146,888 665 97,680 40.00% 44.42% 0.90% 45.73%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

19


สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่การปลูกของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 40% จึงทำให้พื้นที่มีประมาณ 146,888 ไร่ ทั้งนี้ ในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากพื้นที่ปลูกไม้สักที่ครบอายุของโครงการภาครัฐ และ ภาครัฐได้มีการอนุญาตตัดออกมาขายไปแล้ว จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวคืนสู่เกษตรกรปลูกข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ อีกส่วนหนึง่ คือ พฤติกรรมการปลูกของเกษตรทีม่ หี ลายรุน่ มากขึน้ ซึง่ เกษตรกรจะเลือก ใช้ขา้ วโพดพันธุเ์ บาทีม่ รี ะยะเวลาเก็บเกีย่ วสัน้ ไม่เกิน 110 วัน และพืน้ ทีห่ ลังการปลูกนาก็มกี ารปลูก ข้าวโพดเพิ่มขึ้นเช่นกัน การเก็บเกีย่ วข้าวโพดของจังหวัดอุตรดิตถ์มที งั้ หมด 3 รุน่ ซึง่ ระยะเวลาการเก็บเกีย่ วข้าวโพด ริมน้ำ ช่วงเดือนก.ค.-ส.ค. ข้าวโพดหน้าฝน ในพืน้ ทีร่ าบลุม่ ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. และข้าวโพดหลังนา ช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. ผลผลิตต่อไร่ : ปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.9% เป็น 665 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิต : สำหรับต้นทุนการปลูกโดยเฉลี่ยของจังหวัดอุตรดิตถ์มีประมาณ 2,500 บาทต่อไร่ ซึ่งรายการต้นทุนที่ไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ โดยจะทำให้ เกษตรกรมีกำไรประมาณ 2.22 บาทต่อกิโลกรัม (ขายแบบฝัก ความชืน้ 30%) และกำไรประมาณ 3.75 บาทต่อกิโลกรัม (เมล็ดสด ความชื้น 30%)

20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


จังหวัดพิษณุโลก แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก และสกต. พิษณุโลก จำกัด (สาขานครไทย)

คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 251,232 251,232 797 200,232 251,232 251,232 750 188,424 -5.89% -5.89%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่การปลูกของจังหวัดยังทรงๆ ที่ 251,232 ไร่ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีทั้ง ลด และเพิม่ แต่ไม่มคี วามแตกต่างกันมากนัก ซึง่ ทำให้ผลผลิตโดยรวมอยูร่ ะหว่าง 1.8-2.0 แสนตัน ขึ้นอยู่กับผลผลิตต่อไร่เป็นสำคัญ พื้นที่ของยางพาราเพิ่มขึ้นจากการที่นายทุนภาคใต้เข้ามาซื้อที่ดิน และส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกยางพารามากขึ้น รวมถึงปาล์มน้ำมันก็เริ่มมีแนวโน้มในการปลูกแทนพื้นที่เกษตรที่เป็นพืช อายุสนั้ รวมถึงการเปลีย่ นแปลงพืน้ ทีป่ ลูกข้าวนาปรังให้เป็นพืชระยะสัน้ อย่างข้าวโพด ถัว่ เขียว และ ถั่วเหลือง เป็นหนึ่งการส่งเสริมที่ดีของภาครัฐที่เป็นไปตามนโยบายการจัดการพื้นที่เกษตรที่ เหมาะสม (Zoning) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

21


ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ได้รบั ข่าวจากพ่อค้าว่า มีขา้ วโพดลาวไหลเข้ามาจากด่านภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ แต่เมื่อตรวจสอบไปพบว่า เป็นข้าวโพดที่มาจาก อ.บ้านโคก ซึ่งทราบว่าตอนนี้ข้าวโพดจากลาว ยังไม่ได้มีการเก็บเกี่ยว จากราคาขายของเกษตรกร ทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการเก็บเกี่ยว โดยหักข้าวโพด คุณภาพดีเข้ายุ้งฉาง เพื่อรอราคาประมาณ 1-1.5 เดือน ซึ่งจะขายสู่ตลาดประมาณปลายเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม และอีกส่วนหนึ่งจะหักขายเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนใช้หนี้ปลายปี ของ ธกส. กองทุนหมู่บ้าน และค่าใช้จ่ายสำหรับการปลูกข้าวโพดรอบใหม่ ผลผลิตต่อไร่ : ปรับลดลงจากปีที่แล้ว 5.8% เหลือ 750 กิโลกรัม/ไร่ แต่จากพฤติกรรม การปลูกข้าวโพดของเกษตรกร จะเห็นได้ว่าเกษตรกรเน้นปริมาณมากกว่าเน้นคุณภาพ รวมถึง ระยะห่างของต้นในการปลูก ซึ่งจากที่พบในหลายๆ แปลง ทำให้เห็นว่า มีการปลูกระยะไม่เกิน 10 ซม. ซึ่งถือว่าแน่นเกินไป ต้นข้าวโพดแย่งอาหารในดินกันเอง แสงแดดส่องไม่ถึง เกิดปัญหา ต้นล้ม ฝักเล็ก ลีบ เม็ดไม่เต็ม รวมถึง เกิดราบริเวณโคนต้น ซึ่งในแปลงที่ได้สำรวจยังไม่พบเจอ เกษตรกรที่เป็นเจ้าของ แต่ได้ฝากไปยังสำนักงานเกษตรจังหวัดให้ช่วยเหลือเกษตรกรทางด้าน วิชาการ ให้ความรู้แก่เกษตรกรมากกว่านี้ ต้นทุนการผลิต : สำหรับต้นทุนการปลูกโดยเฉลี่ยของจังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 3,115 บาทต่อไร่ ซึ่งรายการต้นทุนที่แพงมาจากเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้มากถึง 4.5-5.0 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งที่ปกติจะมีการใช้ประมาณ 3.0-3.5 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น สำหรับข้อมูลตัวเลขต่างๆ ที่สมาคมฯ ได้เคยสอบถามไปยังสำนักงานเกษตรที่มีความ แตกต่างกันกับ สศก. โดยในปีนี้มีการประชุมร่วมกันของคณะทำงานระหว่าง 2 หน่วยงาน ทำให้ ตัวเลขพื้นที่ปลูก ผลผลิตต่อไร่เริ่มมีความใกล้เคียงกัน เพียงแต่ยังไม่เป็นตัวเลขเดียวกันเนื่องจาก การจัดเก็บข้อมูลของสองหน่วยงานยังคงแตกต่างอย่างเห็นได้ชดั และแต่ละหน่วยงานยังคงยืนยัน ที่จะเชื่อถือตัวเลขของตนเองอยู่ ปัจจุบนั เกษตรกรมีการขึน้ ทะเบียนประมาณ 1 ใน 3 ของพืน้ ทีป่ ลูกทัง้ หมด และสำนักงานเกษตร จังหวัดอยู่ระหว่างการเร่งให้เกษตรกรขึ้นทะเบียน และดำเนินการต่างๆ เพื่อรับรองพื้นที่ปลูก • รุ่นที่ 1 กันยายน 20% ตุลาคม 50% และพฤศจิกายน 30% • รุ่นที่ 2 มีนาคม 70% เมษายน 30% สกต. พิษณุโลก มีสมาชิกที่ปลูกข้าวโพดที่เป็นสมาชิกของ ธกส. ด้วยราว 75,000 ราย มีลานชุมชนทีเ่ ป็นกลุม่ ตลาดกลางเพือ่ รวบรวมจากรายย่อย และอยูร่ ะหว่างการปรับปรุงพืน้ ที่ การทำ ไซโล เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร

22

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


จังหวัดเลย แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย รุ่งเรืองวังสะพุงพืชผล และเกษตรกรในพื้นที่

คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 728,431 728,431 640 466,195 765,580 765,580 710 543,561 5.10% 5.10% 12.50% 16.59%

สภาพโดยทัว่ ไป : พืน้ ทีก่ ารปลูกเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย 5.1% เป็น 765,580 ไร่ โดยพืน้ ทีเ่ ขาเป็น พื้นที่ปลูกหลักยังคงเป็นพื้นที่ อ.ด่านซ้าย อ.ปากชม สำหรับในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากพื้นที่ถั่วเหลือง เริ่มไม่ค่อยมีคนปลูก โดยหันมาปลูกข้าวโพดแทน รวมถึงพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัสบริเวณ อ.ปากชม คิดเป็นสัดส่วน 70 : 30 เมือ่ เทียบกับพืน้ ทีร่ าบทีม่ อี ยูแ่ ถบ อ.เชียงคาน, เมือง แต่กเ็ ปลีย่ นเป็นพืน้ ที่ ปลูกอ้อยไปจำนวนหนึ่งแล้ว ซึ่งคาดว่าต่อไปแนวโน้มในพื้นที่ราบยังคงถูกยึดพื้นที่ด้วยอ้อยอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งพบว่ามีโรงงานน้ำตาลจำนวน 2 โรง แถบ อ.วังสะพุง แต่ยังไม่ได้เข้าระบบ เนื่องจาก ยังคงติดขัดในข้อกำหนดของจำนวนพื้นที่การปลูกอ้อย และเรื่องระยะทาง พืน้ ทีก่ ารปลูกยางพาราเป็นทีน่ ยิ มมาก มีการขึน้ ทะเบียนแล้วกว่า 8 แสนไร่ และพืน้ ทีข่ า้ วโพด ทีเ่ คยปลูกแซมยางพาราเริม่ ปลูกไม่ได้ เนือ่ งจากต้นยางมีอายุมากขึน้ ต้นสูงไม่สามารถแซมได้ ทำให้ ข้าวโพดแซมยางพาราส่วนหนึง่ หายไป และพืน้ ทีป่ จั จุบนั ก็เป็นข้าวโพดแซมยางพาราอยูใ่ นบางแห่ง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

23


ภาพโดยรวมพื้นที่ปลูกข้าวโพดไม่โดนแล้ง มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอด พื้นที่ส่วนใหญ่ จะมีการเก็บเกี่ยวเดือน ต.ค.-พ.ย. และรุ่นที่ 2 จะเริ่มปลูกราวๆ ธ.ค. ผลผลิตต่อไร่ : ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2555 เป็น 710 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็น 12.5% ทั้งนี้ การกระจายตัวของฝนยังคงดีอยู่ เหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างยิ่ง รวมถึงพฤติกรรม ของเกษตรกรในพื้นที่ เขาจะนิยมหักข้าวโพดขายประมาณ 30% เพื่อเป็นการนำรายได้หมุมเวียน ในครอบครัว และอีก 70% จะปล่อยให้ขา้ วโพดแห้งคาไร่ โดยทิง้ ไว้มากกว่า 120 วัน หลังจากนัน้ จะเก็บเข้ายุ้งฉางเพื่อรอราคาปรับตัวสูงขึ้นช่วงปลายปี โดยปกติจะเก็บไว้ไม่เกิน 2 เดือน ต้นทุนการผลิต : ต้นทุนการผลิตอยูป่ ระมาณ 3,500 บาท ทัง้ นี้ เนือ่ งมาจากพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ ของการปลูกข้าวโพดจะเป็นพืน้ ทีส่ งู จึงทำให้ตน้ ทุนส่วนใหญ่เกิดจากค่าแรงงานทีแ่ พง และหายาก รวมถึงค่าไถที่มีการคิดราคาจากความแตกต่างของพื้นที่ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติในพื้นที่ราบ ปัญหาและอุปสรรค : ในกรณีของโครงการแทรกแซงราคาข้าวโพด เป็นผลให้เกษตรกร เก็บเกีย่ วช้าลง โดยรอเวลาการประกาศเพือ่ ให้ได้สทิ ธิใ์ นการนำข้าวโพดเข้าโครงการ แต่อกี ส่วนหนึง่ ก็จะเก็บเกี่ยวก่อนในข้าวโพดที่เริ่มล้ม หรือไม่สามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งมา หมุนเวียน และใช้หนี้กองทุนหมู่บ้าน และธกส. ปี 53 นโยบายประกันรายได้ ทำให้เกษตรกรสามารถนำพื้นที่ทุกพื้นที่เข้าโครงการได้หมด และนโยบายใหม่ปี 56 จะสามารถเข้าโครงการได้เฉพาะในส่วนของพืน้ ทีเ่ อกสารสิทธิเ์ ท่านัน้ ซึง่ จะ มีพื้นที่ราวๆ 5 แสนกว่าไร่ ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดทราบว่า บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง อยู่ระหว่างการศึกษาตั้งโรงงาน แปรรูปยางพารา ซึ่งข้อกำหนดของการตั้งโรงงานจะต้องมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณแสนไร่ และรับซือ้ จากพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ทำให้คาดการณ์วา่ หากมีโรงงานแปรรูปยางพาราเกิดขึน้ จะทำให้กนิ พืน้ ที่ ของการปลูกข้าวโพดลดลงไปอีก ซึง่ ในแนวโน้มของการปลูกข้าวโพดในจังหวัดเลยนัน้ ลดลงเรือ่ ยๆ ทุกปี จากเมือ่ ประมาณ 3-4 ปีกอ่ นมีพน้ื ทีข่ า้ วโพดกว่า 1 ล้านไร่ ปัจจุบนั เหลือประมาณ 7 แสน

จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

24

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 89,976 89,976 661 59,474 76,879 76,879 668 51,355 -14.50% -14.50% 1.06% -13.65%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556



สุกรสมบูรณ์ เกษตรกรก็มั่งคั่ง โตไว • น้ำหนักมาก • แข็งแรง • สุขภาพดี

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

สรางความสำเร็จ เคียงคูเกษตรกรไทยมาอยางยาวนาน บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)


สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่การปลูกข้าวโพดหลักๆจะอยู่บริเวณรอบๆ เขื่อนศรีนครินทร์ พืน้ ทีส่ งู ติดชายแดนพม่าบริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ ทองผาภูมิ และไทรโยค ซึง่ พืน้ ทีก่ ารปลูกโดยรวมลดลง 14.50% เป็นพื้นที่ของมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ในส่วนของราคาขายข้าวโพดฝัก ความชื้น 30% ของเกษตรกรอยู่ประมาณ 3 บาทกว่า ผลผลิตต่อไร่ : เพิ่มเล็กน้อย ซึ่ง จ.กาญจนบุรี เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกกระจายตัว อย่างทั่วถึง ไม่ชุกมาก จนได้รับการขนานนามว่าเป็นจังหวัดที่มีฝน 8 แดด 4 (ฝนตก 8 เดือน)

จังหวัดสุโขทัย แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 111,630 111,630 642 71,666 98,234 98,234 650 63,852 -12.00% -12.00% 1.24% -10.90%

สภาพโดยทั่วไป : พืน้ ที่การปลูกข้าวโพดลดลงบริเวณพรานกระต่าย บ้านด่านลานหอย ซึ่ง เปลี่ยนไปเป็นมันสำปะหลังเกือบทั้งหมด ประกอบกับ ยางพารา อ้อยโรงงาน ที่มีความนิยมปลูก เพิ่มขึ้นในหมู่เกษตรกรที่มีราคาเป็นแรงจูงใจ ส่วนข้าวโพดยังคงมีในพื้นที่หลักบริเวณศรีสัชนาลัย จึงทำให้ประเมินว่าพื้นที่ลดลง 12% เหลือ 98,234 ไร่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

25


ผลผลิตต่อไร่ : เพิม่ ขึน้ 1.24% เป็น 650 กิโลกรัมต่อไร่ สภาพอากาศดี โดยเฉพาะบริเวณ พื้นที่สูง ทำให้น้ำไม่ขัง เหมาะแก่การปลูกข้าวโพดที่ไม่ต้องการน้ำปริมาณมากจนเกินไป ฤดูเก็บเกี่ยวจะเริ่มตั้งแต่กันยายน-พฤศจิกายน ซึ่งเกษตรกรจะทยอยเก็บไปเรื่อยๆ แต่ที่จะมี ของเข้าสู่ตลาดมากๆ ของจังหวัดจะเป็นต้นเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ข้อมูลเพิ่มเติม ภักดีพชื ผล (คุณบุญทาดฯ พ่อค้า อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์) ทีร่ บั ซือ้ ข้าวโพดบริเวณรอยต่อ เขต จ.เลย และ จ.เพชรบูรณ์ เน้นพื้นที่เก็บเกี่ยวที่สูง ได้ให้ข้อมูลทำนองเดียวกันกับเกษตรกรพื้นที่ จ.เลย ถึงพฤติกรรมการเก็บเกีย่ วของข้าวโพดบนพืน้ ทีส่ งู ทีม่ กี ารนำเข้ายุง้ ฉางมากกว่าการหักฝักสด เพือ่ นำมาขาย ซึง่ ราคาขายตอนนีป้ ระกาศไว้ที่ 4.20-4.30 บาท/กิโลกรัม (ฝักสด ความชืน้ 30%) เน้นดูคณ ุ ภาพของฝักเป็นหลัก ส่วนทีม่ รี า หรือเสียหายจะคัดแยกออกในทันที เกษตรกรมีพนื้ ทีป่ ลูก โดยเฉลี่ยประมาณ 50 ไร่ต่อครัวเรือน ราคาที่พอใจอยู่ที่ประมาณ 5 บาท/กิโลกรัม (ฝักสด) จัดทำโดย : นายณัฐพล มีวิเศษณ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย วันที่ 23 กันยายน 2556

26

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

27

เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ ลพบุรี พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ พิจิตร สระบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี

จังหวัด

พื้นที่ปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 455,867 455,867 126,234 126,234 193,147 193,147 80,010 80,010 105,011 105,011 187,981 187,981 651,410 651,410 8,640 8,210 968,798 1,041,386 7.49% 968,798 1,041,386 259,382 215,287 -17.00% 259,382 215,287 251,232 251,232 0% 251,232 251,232 111,630 98,234 -12.00% 111,630 98,234 647,866 745,045 15.00% 647,866 745,045 87,706 62,305 -28.96% 87,706 62,305 263,850 271,765 3.00% 203,850 251,765 120,773 120,773 104,920 146,888 40.00% 101,710 146,888 20,269 -46.03% 36,630 179,880 -0.91% 176,530 4,210 -2.99% 4,250 54,660 -2.13% 54,380 44.42%

7.49% -17.00% 0% -12.00% 15.00% -28.96% 23.50%

เพิ่ม/ลด

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 647 294,946 723 91,267 702 135,589 696 55,687 626 65,737 703 132,151 695 452,730 498 4,089 797 810 1.63% 772,132 843,523 624 762 22.12% 161,854 164,049 797 750 -5.89% 200,232 188,424 642 650 1.24% 71,666 63,582 641 650 1.40% 415,282 484,279 670 670 0% 58,763 41,744 650 690 6.15% 171,503 187,517 650 78,502 659 665 0.90% 67,027 97,680 714 26,154 695 125,010 618 2,600 702 38,370

ตารางสรุปผลการคาดการณ์พื้นที่ปลูกและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิต ปี 2556/2557



45.73%

9.25% 1.36% -5.89% -10.90% 16.61% -28.96% 9.33%

เพิ่ม/ลด


28

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

พื้นที่ปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 89,976 76,879 -14.50% 89,976 76,879 14,340 3.69% 13,920 6,870 -9.25% 6,670 2,210 -15.33% 2,160 804,300 778,166 3.25% 804,300 778,166 728,431 765,580 5.10% 728,431 765,580 106,210 -6.86% 106,210 50,940 0.73% 49,300 10,850 -7.18% 10,140 1,710 4.90% 1,660 1,630 1.87% 1,580 22,260 3.97% 21,560 610 -8.95% 580 5,900 5,720 6,900 6,780 6,670 6,540 153,470 163,243 6.37% 150,090 163,242 30,420 29,770 1,190 1,070 7,022,197 6,954,718

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ณ วันที่ 13 ก.ย. 2556 หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2556/2557 เป็นตัวเลขเฉพาะที่ได้มีการสำรวจแล้วเท่านั้น

กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบฯ นครราชสีมา เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี รวม

จังหวัด

8.76%

3.25% 5.10%

เพิ่ม/ลด -14.50%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 661 668 1.06% 59,474 51,355 607 8,700 562 3,860 584 1,290 675 712 5.48% 542,902 554,054 640 710 12.50% 466,195 543,561 660 70,099 606 30,850 512 5,560 544 930 687 1,120 691 15,380 590 360 592 3,490 668 4,610 598 3,990 665 734 10.38% 102,060 119,820 615 18,710 612 730 647 4,777,457 17.40%

2.05% 16.59%

เพิ่ม/ลด -13.65%




Food Feed Fuel สัมมนา “เปิดประตูสู่ AFET Soybean Futures" วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องร่วมฤดีบอลรูม ชั้น 9 โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ เพลินจิต ถ.สุขุมวิท

ตลาดสิ น ค้ า เกษตรล่ ว งหน้ า แห่งประเทศไทย (AFET) มีแผนการ เพิ่มสินค้าประเภทถั่วเหลือง (AFET Chicago Soybean Futures) โดยใช้ ราคาอ้างอิงจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ชิคาโก้ (Chicago Mercantile Exchange: CME) เข้ามาทำการซือ้ ขาย สัญญาล่วงหน้าใน AFET พร้อมกันนี้ ได้มกี ารจัดเตรียมความพร้อมแก่ ผูเ้ กีย่ วข้อง อาทิ เจ้าหน้าทีก่ ารตลาด นักวิเคราะห์ และนักลงทุน ทัว่ ไป ให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจเรือ่ งสภาวะสินค้าถัว่ เหลือง การใช้ถวั่ เหลืองโดยผูป้ ระกอบการ ปัจจัย ที่มีผลต่อความผันผวนด้านราคา การบริหารความเสี่ยง ตลอดจนการใช้ถั่วเหลืองในตลาด ล่วงหน้า จึงได้กำหนดจัดงานสัมมนาเรื่อง “เปิดประตูสู่ AFET Soybean Futures" รวมถึงการ เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าสำหรับการบริหารความ เสี่ยงด้านราคาสินค้าถั่วเหลือง ทั้งนี้ AFET ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่มีการใช้ถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์เป็นจำนวนมาก จึงได้เชิญผู้แทนจากสมาคมผู้ผลิตอาหาร สัตว์ไทย ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว ใน ประเด็นการนำเข้ากากถัว่ เหลือง และกลไกการประกันความเสีย่ งด้านราคาวัตถุดบิ ในตลาดล่วงหน้า และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการนำเข้า และการบริหารความเสี่ยง ดังกล่าวแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารบริษัทสมาชิก AFET เจ้าหน้าที่การตลาด นักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์ และนักลงทุนทั่วไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

29


คุณสมภพ เอื้อทรงธรรม-สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย การผลิตอาหารสัตว์ของโลกในปีที่ผ่านมา (2555) 954 ล้านตัน จากการคาดการณ์ของ Alltech Global Feed Summary,2013 โดยที่เอเชียยังคงเป็นอันดับ 1 ในการผลิตอาหารสัตว์ 37% รองลงมาเป็นทวีปยุโรป 22% และละตินอเมริกา 14% ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณความต้องการอาหารสัตว์ของไทย เมื่อคิดจากจำนวนประชากรสัตว์โดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยสำหรับปี 2556 มีการคาดการณ์ไว้ที่ 16.5 ล้านตัน (ภายหลัง ได้มกี ารปรับลดจำนวนประชากรสัตว์เมือ่ เดือนกรกฎาคม 2556 ทีผ่ า่ นมาของไก่เนือ้ กุง้ และปลา จึงทำให้เหลือประมาณการเพียง 15.4 ล้านตัน) โดยจากอดีตที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยประสบ วิกฤตการณ์ต่างๆ มากมายที่ส่งผลโดยตรง และโดยอ้อมต่อการผลิตอาหารสัตว์ อาทิ ปี 2540 เกิดวิกฤตต้มยำกุง้ ปี 2547 เกิดไข้หวัดนก ปี 2551 เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2554 เกิดปัญหา อุทกภัย และปี 2555 เกิดภัยแล้ง เป็นต้น สำหรับปี 2555 ความต้องการบริโภคอาหารสัตว์ไทยที่แยกเป็นประเภทต่างๆ ในจำนวน ปริมาณอาหารสัตว์รวม 15.5 ล้านตัน แบ่งเป็นไก่เนือ้ 37% สุกร 32% ไก่ไข่ 16% และอืน่ ๆ ทัง้ นี้ วัตถุดิบหลักในอาหารสัตว์ยังคงเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ต้องใช้ 33% หรือคิดเป็น 5-5.5 ล้านตัน ซึง่ จากผลผลิตภายในประเทศ จะเห็นว่ายังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ รองลงมาได้แก่ ถัว่ เหลือง และกากถัว่ เหลือง ทีใ่ ช้ถงึ 24% และอย่างทีท่ ราบกันดี ประเทศไทยมีการผลิตถัว่ เหลืองลดน้อยลง จนต้องมีการนำเข้ามาเกิน 90% ของปริมาณความต้องการใช้ สำหรับการผลิตถัว่ เหลืองของโลกในปี 2555 คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 281.7 ล้านตัน (USDA) โดยประเทศหลักยังคงเป็นอเมริกา ซึ่งบราซิลได้พัฒนาการผลิตถั่วเหลืองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการผลผลิตใกล้เคียงกับอเมริกาอย่างมาก โดยคิดเป็น 31.4% และ 30.2% ตาม ลำดับ ในส่วนของอาร์เจนตินา่ จีน และอินเดีย ก็ถอื เป็นอีก 3 ประเทศหลักทีม่ ผี ลผลิตมากทุกปี และ มีการส่งออกผลผลิตให้แก่ประเทศอื่นๆ ที่ยังมีผลผลิตไม่พอต่อความต้องการใช้ แต่ในส่วนของ ประเทศอินเดียจะนำผลผลิตทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำมัน ก่อนจะมีการส่งออกในรูปกากถั่วเหลืองแทน ประเทศ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนติน่า อื่นๆ รวม

2554/2555 84.19 66.50 40.10 48.36 239.15

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา, กันยายน 2556

30

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

2555/2556 82.06 82.00 49.50 54.03 267.59

2556/2557 % การเปลี่ยนแปลง 88.60 7.98% 85.00 3.66% 53.50 8.08% 54.62 1.09% 281.72 5.28%


ช่วงระยะเวลาการปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วเหลือง

แนวโน้มการส่งออก และนำเข้าของผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองของโลก • ด้านการนำเข้า มากกว่า 50% ของผลผลิตโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าหลักจากทั้ง ประเทศบราซิล และอเมริกา • ด้านการส่งออก ประเทศบราซิลยังขาดประสิทธิภาพเรื่องการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนถ่ายสินค้าลงเรือที่มีความล่าช้า ทำให้เกิดต้นทุนการรอ ของเรือ และใช้เวลานานในการรอคิวขนถ่ายสินค้าหน้าท่า • ราคากากถั่วเหลืองในตลาดชิคาโกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 18.5% ต่อปี • การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองของไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.3% ต่อปี ราคาสูงขึ้น 4.9% ต่อปี กากถั่วเหลือง 12.9% ต่อปี และมีราคาสูงขึ้นเฉลี่ย 3.1% ต่อปี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

31


ภาพที่ 1 นโยบายและมาตรการการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2555-2556

กลุ่มผู้นำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง (ผู้รับซื้อ) • อากรนำเข้า 0% ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า • โดย 7 สมาคม 7 บริษัท ต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทั้งหมดตามคุณภาพ และราคา ที่กำหนด กลุม่ ที่ 1 โรงงานสกัดน้ำมันถัว่ เหลือง 1. สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลือง และรำข้าว 2. สมาคมปศุสัตว์ไทย (ใช้เมล็ดทั้ง เกรดสกัดน้ำมัน และเกรดอาหาร สัตว์)

กลุ่มที่ 2 โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 1. สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 2. สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหาร สัตว์ 3. สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก 4. สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย 5. สมาคมผูค้ า้ สินค้าเกษตรกับประเทศ เพื่อนบ้าน 6. สมาคมปศุสัตว์ไทย 7. สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและ รำข้าว

กลุ่มที่ 3 โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหาร 1. บมจ. ไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร 2. บจ. แลคตาซอย 3. บจ. กรีนสปอต 4. บจ. แดรี่ พลัส 5. บจ. ไทยชิม 6. หจก. คิคโคเคน 7. บมจ. อาหารสากล

รับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ปลูกในประเทศทั้งหมดจากเกษตรกรตามราคา ดังนี้

32

เกรดสกัดน้ำมัน

เกรดผลิตอาหารสัตว์

เกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร

ราคารับซื้อ : ไม่ต่ำกว่า 14.00 บาท ณ ไร่นา ไม่ต่ำกว่า 14.75 บาท ณ กทม. ขนาดเมล็ด : คละ สีผิวเมล็ด : ไม่ระบุ ความชื้น : ไม่เกิน 13% ของน้ำหนัก สิ่งเจือปน : ไม่เกิน 3% ของน้ำหนัก เมล็ดเสีย : ไม่เกิน 5% ของน้ำหนัก เมล็ดแตก : ไม่เกิน 5% ของน้ำหนัก โปรตีน : ไม่ระบุ

ราคารับซื้อ : ไม่ต่ำกว่า 14.25 บาท ณ ไร่นา ไม่ต่ำกว่า 15.00 บาท ณ กทม. ขนาดเมล็ด : เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 5 มม. สีผิวเมล็ด : เหลืองมัน ความชื้น : ไม่เกิน 13% ของน้ำหนัก สิ่งเจือปน : ไม่เกิน 2% ของน้ำหนัก เมล็ดเสีย : ไม่เกิน 3% ของน้ำหนัก เมล็ดแตก : ไม่เกิน 5% ของน้ำหนัก โปรตีน : ไม่ระบุ

ราคารับซื้อ : ไม่ต่ำกว่า 15.25 บาท ณ ไร่นา ไม่ต่ำกว่า 17.00 บาท ณ กทม. ขนาดเมล็ด : เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 4.8 มม. สีผิวเมล็ด : เหลืองมัน ความชื้น : ไม่เกิน 13% ของน้ำหนัก สิ่งเจือปน : ไม่เกิน 1% ของน้ำหนัก เมล็ดเสีย : ไม่เกิน 3% ของน้ำหนัก เมล็ดแตก : ไม่เกิน 3% ของน้ำหนัก โปรตีน : ไม่ต่ำกว่า 36%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556




ร่างข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้าถั่วเหลือง AFET Chicago Soybean Futures

เรื่อง สินค้าอ้างอิง ขนาดของสัญญา หน่วยการซื้อขาย ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ (Tick size) จำนวนการถือครองสูงสุด

รายละเอียด U.S. no. 2 Yellow Soybean ตามมาตรฐาน USDA 500 Bushels (13.61 ตัน หรือ 13,610 กก.) บาท ต่อ Bushels 0.10 บาท ต่อ Bushels (50 บาทต่อ 1 สัญญา) ไม่เกิน 600 สัญญาในเดือนก่อนเดือนที่ครบกำหนด อายุสัญญา และไม่เกิน 5,000 สัญญาในทุกเดือน รวมกัน

*กรณีผู้มีประกันความเสี่ยง เงื่อนไขเป็นไปตามที่ AFET กำหนด

เดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ อัตราการขึ้นลงของราคาสูงสุดประจำวัน อัตราเงินประกัน เวลาการซื้อขาย วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา

วิธีการคำนวณ Final Settlement Price

วันซื้อขายสุดท้าย (Last Trading Day)

มกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และ พฤศจิกายน ไม่เกิน 4 เดือนล่วงหน้า เป็นไปตามที่ AFET กำหนดตามความผันผวนของ ราคาในแต่ละ ช่วงเวลา 10.00-15.45 น. ชำระราคาด้วยส่วนต่างแทนการส่งมอบ (Cash Settlement) คำนวณโดยราคาอ้างอิงจากราคา Daily settlement ของช่วง Open Outcry ของ CME Soybean Futures ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนก่อน เดือนครบ กำหนดส่งมอบของ CME และกำหนดเป็นราคาต่อ 1 Bushel โดยแปลงเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน (THB/USD) ที่ประกาศโดย AFET วันทำการสุดท้ายของเดือน ก่อนเดือนที่ครบกำหนด ส่งมอบ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

33


Food Feed Fuel สรุปผลการสัมมนา the 10th S.E. Asia U.S. Agricultural Cooperators Conference "Managing Asian Agribusiness in the 21st Century" ระหว่างวันที่ 20-24 สิงหาคม 2556 ณ Esplanade Hotel Fremantle, Perth, Australia

• ผู้จัดงาน ได้แก่ (1) US Soybean Export Council(2) US Grains Council (3) USDA 1. สถานการณ์การเพาะปลูกถั่วเหลือง ข้าวโพด ของโลก ถั่วเหลือง • USDA คาดการณ์ว่าปี 2013 นี้ สหรัฐฯจะมีพื้นที่เพาะปลูกสูงสุดในระดับ 31.46 ล้านเฮกเตอร์ และมีผลผลิตสูงสุดที่ระดับ 93.09 ล้านตัน เนื่องจากมีสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย ขณะที่ผลผลิตถั่วเหลืองของโลกในปี 2012/13 จะอยู่ที่ 269 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 239 ล้านตัน ในปี 2011/12 ส่วนการบริโภคอยู่ที่ 262 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 256 ล้านตัน การบริโภค กากถั่วเหลืองของโลกมากที่สุดอยู่ในทวีปเอเชียเหนือ 32% รองลงมาเป็นอเมริกาเหนือ 18% ยุโรป 17% อเมริกาใต้ 12% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11% • USDA คาดการณ์วา่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนำเข้าถัว่ เหลือง 5.9 ล้านตันในปี 2012/13 เพิ่มขึ้นจาก 5.7 ล้านตันในปี 2011/12 และนำเข้ากากถั่วเหลือง 11.4 ล้านตันในปี 2012/13 ใกล้เคียงจาก 11.5 ล้านตันในปี 2011/12 ทัง้ นี้ ผลผลิตถัว่ เหลืองทัง้ หมดของสหรัฐฯ กว่า 60% ถูกส่งออกระหว่างปี 2009-2012 แต่คาดว่าจะส่งออกเกินกว่า 2 ใน 3 ภายในปี 2020

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


• ปกติเกษตรกรในสหรัฐฯ จะเพาะปลูกถั่วเหลืองกับข้าวโพดสลับกัน 50:50 แต่ปัจจุบัน ปลูกถั่วเหลืองมากกว่าเนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยกว่าข้าวโพด นอกจากนี้ เกษตรกรยังดูปัจจัย เรื่องความต้องการกากถั่วเหลืองในภาคปศุสัตว์ และคาดการณ์ผลผลิตในอเมริกาใต้ • USDA คาดการณ์วา่ ราคาถัว่ เหลืองในปี 2013/14 จะอยูท่ ี่ 11.35 $/Bushel ซึง่ ต่ำกว่า 14.4 $/Bushel ในปี 2012/13 ส่วนราคากากถั่วเหลืองในปี 2013/14 จะอยู่ที่ 358 $/ตัน ซึ่งต่ำกว่า 502 $/ตัน ในปี 2012/13 ทั้งนี้ อเมริกาใต้จะเพาะปลูกถั่วเหลืองเป็นประวัติการณ์ ในปี 2013/14 ซึ่งมากกว่าปีก่อน 31.3 ล้านตัน และราคาถั่วเหลืองสำหรับ New Crop น่าจะ ขายได้เกือบ 10$/Bushel ในช่วงเก็บเกี่ยว ข้าวโพด • สภาพอากาศปี 2013 ดี ก ว่ า ปี 2012 มาก โดย สหรัฐฯ ได้เน้นย้ำเรื่องความ ยั่งยืนในการผลิตข้าวโพด ซึ่ง จะทำให้ลดการใช้ที่ดิน 30% ลดความสูญเสียดิน 67% ลด การใช้น้ำชลประทาน 53% ลดพลั ง งาน 43% ลดก๊ า ซ เรือนกระจก 36% รวมทัง้ การ จัดทำ Crop Insurance 2. ปัจจัยที่ต้องติดตามในปี 2013 • การลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ Fossil Fuel ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯ ผลิต น้ำมันดิบได้มากขึ้น จากการขุดเจาะ Oil Shale แบบ Hydraulic Fracturing จะทำให้ลดการ พึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน และใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และส่งผลต่อไปยังสินค้าเกษตร ทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิต Biofuels เช่น ข้าวโพด ทัง้ นี้ สหรัฐฯมีการผลิตน้ำมันดิบ 7.7 ล้านบาเรลต่อวัน ในปี 2013 เพิ่มขึ้นจาก 6.47 ล้านบาเรลต่อวันในปี 2012 และผลิตก๊าซธรรมชาติ 25.32 Trillion Cubic Feet ในปี 2012 เพิม่ ขึน้ จาก 24.04 Trillion Cubic Feet ในปี 2011 นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อเนื่องถึงรายได้ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน • ความเสี่ยงปัจจัยการเมืองในตะวันออกกลาง • การตัดสินใจของ FED ในการชะลอหรือยกเลิกการซื้อพันธบัตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

35


• การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเติบโตเพียง 7.5% ในครึ่งแรกของปี 2013 และคาด ว่าจะเติบโตลดลงต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี เป็นผลจากการที่รัฐบาลจีนมีมาตรการที่รัดกุมกับ การปล่อยสินเชื่อ เป็นห่วงเรื่องราคาอสังหาริมทรัพย์ และหนี้ภายในประเทศ และต้องการให้ เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการบริโภคภายในประเทศมากกว่าพึ่งพาการส่งออก อันจะทำให้ความต้องการ นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์อย่างถั่วเหลืองลดลง • การลดการสนับสนุนเรื่อง Biofuels เนื่องจากราคาอาหารที่สูง ต้นทุนในการอุดหนุน ความห่วงใยต่อผลกระทบการใช้ที่ดิน ซึ่ง EU มีเป้าที่จะลดการใช้ Biofuel จาก 10% เป็น 5% เพราะศึกษาแล้วพบว่าการผลิต Biodiesel จาก Rapeseed ก่อให้เกิด GHG มากกว่า 2 เท่า จาก Petro Diesel และนักสิ่งแวดล้อมต่อต้านมากขึ้น • ความอ้วนในประชากรของประเทศพัฒนา และกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ และลด การทานเนือ้ หรือน้ำมันจากพืช เนือ่ งจากสังคมเริม่ ให้ความสำคัญ เช่น โรงเรียนลดอาหารกลางวัน ที่มีส่วนผสมแคลอรี่ สายการบินคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจากน้ำหนักผู้โดยสาร ประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิตคิดค่าเบี้ยประกันเพิ่ม • จำนวนประชากรทีเ่ ติบโตช้าลงในประเทศพัฒนาแล้ว และเติบโตรวดเร็วในประเทศยากจน โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก 66.95 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะ มีประเด็นว่าใครจะผลิตอาหาร ประเทศกำลังพัฒนาจะสรรหาเงินที่ไหนมาตอบสนองการนำเข้า อาหาร และอาจจะเกิดปัญหาการอพยพอย่างผิดกฎหมาย 3. สภาวะตลาดในจีน • จีนมีการผลิตเนื้อหมูปีละ 52 ล้านตัน มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ 23.6 ล้านตัน คิดเป็นการบริโภค 17.5 กก. ต่อคนต่อปี และมีการผลิตอาหารหมูปีละ 163 ล้านตัน มี FCR ที่ 4.7 • จีนมีความต้องการอาหารสัตว์สูงขึ้น โดยเฉพาะกากพืชที่เป็นแหล่งโปรตีน ซึ่งวัดตาม โภชนะของการผลิตอาหารสัตว์ โดยมีสัดส่วนโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 8.6% ในปี 1993 เป็น 19.2% ในปี 2003 และ 25.8% ในปี 2012 • จีนมีการเติบโตของการผลิตอาหารสัตว์ 4.5% ต่อปี ระหว่างปี 2002-2012 และ คาดว่าจะเติบโต 4% ต่อปี ระหว่างปี 2012-2017 และ 3.5% ต่อปี ระหว่างปี 2017-2022 ในอัตราทีถ่ ดถอย โดยมีความต้องการกากถัว่ เหลืองเติบโตรวดเร็วกว่าการผลิตอาหารสัตว์ กล่าวคือ เพิ่มขึ้น 5.4% ต่อปี ระหว่างปี 2012-2017 และ 4.4% ต่อปี ระหว่างปี 2017-2022 แต่ใน อัตราที่ถดถอยเช่นเดียวกัน

36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


• จีนมีทรัพยากรน้ำเทียบเท่ากับสหรัฐฯแต่ประชากรมีมากกว่า4เท่า แต่น้ำจะถูกนำไปใช้ ในภาคอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองมากขึ้น ส่วนปัญหาการใช้ที่ดิน จีนมีการผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง โดยมาจากการใช้พื้นที่เพาะปลูกที่มากขึ้น แต่ yield ต่ำ ซึ่งมีสัดส่วนแค่ 60% เทียบกับ ข้าวโพดสหรัฐฯ และคาดว่าจะมีการผลิตเติบโตได้ไม่เกิน 3% ต่อปี ทำให้ตอ้ งนำเข้าข้าวโพดเพิม่ ขึน้ โดยคาดการณ์วา่ ภายในปี 2017 จะต้องการนำเข้ากว่า 17 ล้านตัน และภายในปี 2022 จะต้องการ นำเข้ากว่า 32 ล้านตัน 4. สภาวะตลาดสุกร • สัดส่วนการผลิตเนือ้ สุกรโลก แบ่งได้เป็นจีน 50% สหภาพยุโรป 21% สหรัฐฯ 10% โดยอีก 10 ปีข้างหน้า การบริโภคเนื้อสุกรจะเพิ่มขึ้น 23% ซึ่งมีจีนบริโภคอยู่ ½ ของการบริโภคทั้งหมด และปัจจุบันจีนนำเข้าเนื้อหมูปีละ 2 ล้านตัน • ต้นทุนการผลิตสุกรของสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/100 ปอนด์ สหภาพยุโรป อยู่ที่ประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ/100 ปอนด์ ส่วนจีน อยูท่ ี่ประมาณ 80 กว่า ดอลลาร์สหรัฐฯ/100 ปอนด์ • จีนบริโภคเนือ้ สัตว์ 56 กก. ต่อคนต่อปี โดย 65% เป็นเนือ้ สุกร หรือคิดเป็น 37-38 กก. ต่อคนต่อปี และจีนผลิตเนือ้ สุกร 50 ล้านตัน จากสุกร 660 ล้านตัว โดยคาดว่าจะผลิต 60 ล้านตัน จากสุกร 800 ล้านตัว ภายในปี 2020 • ประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปคือ บริษัท Shuanghui International ของจีน อยู่ระหว่าง ยืน่ ข้อเสนอเพือ่ ขอซือ้ กิจการของบริษทั Smithfield วงเงิน 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพือ่ ความ มั่นคงในความต้องการอาหารอย่างเนื้อสุกรภายในประเทศ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

37


Food Feed Fuel

สรุปผลการเสวนา

การฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล ด้วยการขยายขนาดตาอวนก้นถุงอวนลาก เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

ปี 2549 ไทยมีแผนแม่บทการจัดการ ประมงทะเลไทย ซึ่งให้ชาวประมงและผู้มีส่วน ร่วมอื่นๆ เข้าร่วม และมีพันธกิจชัดเจนในการ ส่งเสริม และสนับสนุนการลดปริมาณปลาเป็ด และหากขยายอวนลากปลาจาก 2.5 ซม. เป็น 4 ซม. จะช่วยเพิ่มมูลค่าปลาจับได้มากขึ้น และ ในอนาคตอาจพัฒนาเป็น 6 ซม. กรมประมง ปี 2504 ไทยเริม่ มีการทำประมงอวนลาก นำเทคโนโลยีมาจากเยอรมัน จับสัตว์นำ้ หน้าดิน จากแต่กอ่ นจับสัตว์นำ้ ผิวน้ำ และปี 2506 ไทย มีเรืออวนลาก 200 กว่าลำ (ผลการจับ 200 กก./ชม.) แต่ในปี 2523 มีปริมาณ 10,000 กว่าลำ (ผลการจับ 20 กก./ชม.) แสดงให้เห็น

38

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ว่าการทำประมงอวนลากไม่สมดุลกับสัตว์น้ำที่ มีอยู่ ต่อมาในปี 2523 กรมประมงงดออก อาชญาบัตรเรืออวนลาก แต่ได้รบั การทักท้วงมา ตลอดให้งดการใช้ระเบียบนี้ ในปี 2528 FAO ออกคู่มือจรรยาบรรณในการทำประมงให้ถูก วิธี แต่ไม่ได้บังคับใช้ ในปี 2554 กรมประมง เผยแพร่แผนแม่บทขนาดตาอวน 4 ซม. และใน ปี 2556 ให้ชาวประมงมีสว่ นร่วมนำเรือมาติดตัง้ แล้วทดลองลาก ดูผลวิเคราะห์ว่าเหมาะสมกับ สภาพเศรษฐกิจการประมงและทรัพยากรทาง ทะเลหรือไม่ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ชาวประมงมีการจับปลานอกน่านน้ำ ไป ยั ง ประเทศมาเลเซี ย อิ น โดนี เ ซี ย ติ ม อร์ -


ตะวันออก ออสเตรเลียเหนือ ตะวันออกกลาง หลั ง จากทะเลไทยไม่ มี สั ต ว์ น้ ำ การจั บ ปลาทรายแดงที่ ม าเลเซี ย มี ข นาดเล็ ก ลงเท่ า แค่ ลูกปลากัด ส่วนปลาเก๋าไม่มแี ล้ว แต่กอ่ นน้ำมัน แพงลิตรละ 40 บาท เรือจอดเยอะ เคยนำเสนอ กรมประมงให้ขยายขนาดตาอวน แต่ต้องมี การช่วยเหลือโดยแจกคูปองน้ำมัน ซึง่ ชาวประมง เห็ น ความสำคั ญ ถึ ง ผลดี ผ ลเสี ย แต่ สุ ด ท้ า ย ไม่ได้ดำเนินการอะไร ปัจจุบันชาวประมงลาก ปลา 6 เดือน จอดเรือไว้ 6 เดือน ขาดทุนจาก ราคาน้ำมัน

ไทยยังโดนโจมตีจาก NGO ยุโรปว่า ใช้ลูกปลา เล็กปลาน้อยมาทำปลาป่นไปเลีย้ งกุง้ ส่งออกไป ยุโรป ซึ่งการขยายขนาดตาอวนสามารถตอบ โจทย์ได้ว่า เราทำตามที่ยอมรับของสากล และ อาจพิจารณาเป็นวาระแห่งชาติ โดยบังคับว่า เครื่องมือใดใช้ได้หรือไม่ และรัฐควรจ่ายชดเชย รับซื้อคืน หรือให้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งงบประมาณ ไม่นา่ เกินหมืน่ ล้านบาท ครอบคลุมเพียงแค่ 20 จังหวัดชายฝัง่ ซึง่ อาจจะกระทบโรงงานปลาป่น ในช่วงแรก แต่ธุรกิจต้องปรับตัวให้ได้

สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน

การผลิ ต อาหารสั ต ว์ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใน ห่วงโซ่การแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ปลาป่น ถือเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์เพื่อนำไปเลี้ยง สัตว์ และได้ผลิตภัณฑ์สัตว์ โดยไทยผลิตอาหาร สัตว์ 15-16 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นสัตว์บก 90% สัตว์น้ำ 10% หากเทียบปี 2530 ผลิต เพียง 5 ล้านตัน จะมีอตั ราการเติบโตปีละ 8-9% เป็ น อุ ต สาหกรรมต่ อ เนื่ อ งที่ มี ศั ก ยภาพจาก เกษตรพื้นฐาน สร้างมูลค่าเพิ่ม รองรับความ ต้องการภายในประเทศ 70-80% ส่งออก 2030% การใช้ปลาป่นในอาหารสัตว์ในปี 2530 มีสดั ส่วนประมาณ 10% ปัจจุบนั ใช้ปลาป่น 4-5 แสนตันต่อปี คิดสัดส่วนเป็นเพียง 3-4% ของ ส่วนประกอบในอาหารสัตว์ พบคุณภาพปลาป่น ในปัจจุบนั ดีขนึ้ เช่น สภาพความสดของตัวสินค้า เนือ่ งจากใช้ by product จากโรงแปรรูปอาหาร ซึ่งเกินกว่าครึ่ง และเป็นปลาขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ไทยควรปรับตัวกับกระแสโลก สร้างความยัง่ ยืน พร้อมรับวิกฤตอาหาร และพลังงานจากประชากร ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ทรัพยากรมีจำกัด

ความร่วมมือในการร่างพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. .... เป็นไปด้วยดี ชาวประมง ตระหนักว่า เรานำปลาในอนาคตมาบริโภคใน ปัจจุบนั เพราะจับปลาเล็กน้อย ซึง่ ควรจัดระเบียบ ใหม่ทั้งหมด โดยเริ่มจากเรืออวนลากไปยังเรือ เล็ก สุดท้ายจะได้ปลาป่นที่มีคุณภาพมากกว่า ปลาป่นขนาดเล็ก และควรมีมาตรการจูงใจด้วย ให้ขยายขนาดตาอวน ผ่านการรับรู้ข้อมูลของ ชาวประมงและอยู่ร่วมกันได้ สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ปัจจุบนั ไทยผลิตปลาป่นประมาณ 5 แสน ตัน เพิ่มจากวัตถุดิบปลากระป๋อง ซูริมิ เศษ ซากหัวปลา ก้างปลาคนกิน เทียบ 20 ปีก่อน ที่มีเพียง 3 แสนตัน และเป็นปลาเป็ดจากเรือ ซึ่ ง ตอนนี้ สั ด ส่ ว นปลาเศษซากมากกว่ า ปลา จั บ แล้ ว ทั้ ง นี้ 10 ปี ห ลั ง มานี้ ลู ก ปลาเล็ ก ปลาน้อยถูกนำไปเลี้ยงตะพาบ ปลากะพง ทำ น้ำปลากะตัก ปลากะตักตากแห้ง (ปลาหมา) ซึ่งตัวยิ่งเล็กยิ่งแพงเพราะไม่มีก้าง นอกจากนี้

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

39


SEAFDEC เมือ่ 10 ปีกอ่ น FAO เข้ามาไทยมีโครงการคัดแยก สั ต ว์ น้ ำ พลอยได้ ร่ ว มกั บ ประเทศในอาเซี ย น ซึ่ ง พบว่ า ความเสือ่ มโทรมเกิดขึน้ มา 20 ปีแล้ว จึงมี Code of Conduct, กิจกรรมมุ่งการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีค่าที่สุด อย่างยั่งยืน, การพัฒนาปรับปรุงดัดแปลงเครื่องมือทำ ประมง, ช่วยดูวิธีการออกแบบเครื่องมือ, การเก็บรักษา, การแปรรูปสร้างมูลค่า ประเทศต่างๆ กำหนดขนาดตาอวนก้นถุง เนื่องจากความต้องการสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น จากการ เพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ โดยมาเลเซียทดลอง และประกาศระเบียบขยายจาก 1" เป็น 1.5" ไทยกำหนดใช้ 1" บรูไนกำหนดใช้ 4 ซม. อินโดนีเซีย และพม่า กำหนดใช้ 4-6 ซม. เวียดนามกำหนดใช้กำลัง แรงม้า หากต่ำกว่า 90 ใช้ 2.8 ซม. หาก 90-150 ใช้ 4 ซม. และหากเกินกว่า 150 ใช้มากกว่า 4 ซม. บทสรุป • กรมประมงอยู่ระหว่างขอความเห็นจากทุกภาคส่วน และยังไม่ประกาศบังคับใช้ อาจมี การช่วยเหลือผ่านการจัดตั้งกองทุน • ปี 2522-2551 กรมประมงทดลองแล้วมีผลการหลุดรอดของปลาเล็ก 4 ชม. 28% หรือ 7% ต่อชม. ไม่ได้แปลว่าปลาเล็กหลุดหมดทุกตัว • ความจริงวันนี้ ชาวประมงมีบางส่วนใช้ขนาดตาอวนเพียง 1 ซม. เท่านั้น • ชาวประมงนำเสนอว่าการจับปลาควรแบ่งช่วงเวลา และโควต้าในการจับ • 7 เดือนแรกปี 2556 ไทยส่งออกปลาป่น 8 หมืน่ ตัน คุณภาพปลาป่นดี ต่างประเทศยอมรับ ปัจจุบันโรงงานปลาป่นซื้อปลาข้ามจังหวัด แต่บวกราคาเพิ่มได้ เพราะมีกรรมวิธีการผลิตที่ดี • ชาวประมงฝั่งอันดามันมีความพร้อมร่วมมือเข้าร่วมโครงการขยายขนาดตาอวน

40

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556



Explore your opportunities. Evonik opens a world of nutrition services and products – with new possibilities for more efficient, sustainable and profitable feed and animal production. You know what really counts.

Find out more by scanning this code with the QR-reader of your mobile-camera.

www.evonik.com/feed-additives feed-additives@evonik.com

Evonik (Thailand) LTD 25th Fl, Exchange Tower, Unit 2503 388 Sukhumvit Rd, Klongtoey Bangkok 10110

12-01-510 AZ EYO -Explore your opportunities- Reisfelder A4 englisch.indd 1

20.12.12 14:09


Market Leader

จับชีพจรอุตสาหกรรมหมูไทย...

หากไฟเขียวให้หมู Made in USA. โดย : โชติกา ชุ่มมี EIC (Economic Intelligence Center)

ความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการกดดันให้ไทย และอีก หลายประเทศในเอเชียยอมเปิดตลาดให้มีการนำเข้าเนื้อสุกรและ ชิ้นส่วนสุกรแปรรูปจากสหรัฐฯ ได้กลายเป็นอีกหนึ่ง “ประเด็นร้อน” ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะหากไทยยอมเปิดตลาดให้สหรัฐฯ ตามที่เรียกร้องจริง นอกจากจะทำให้เกิดปัญหา oversupply และมีผลให้ราคาเนื้อสุกรในประเทศตกต่ำลงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ในไทยโดยเฉพาะรายเล็ก และรายกลาง รวมถึง stakeholders อื่นๆ ในห่วงโซ่การผลิต และ กระทบต่อความปลอดภัยทางอาหารของผู้บริโภคในไทยอีกด้วย ปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตเนื้อสุกรอยู่ที่ราว 100 ล้านตันต่อปี โดยที่ “จีน” คือ ประเทศที่ ผลิตสุกรรายใหญ่ที่สุดของโลก ในขณะที่ “สหรัฐฯ” กลับครองแชมป์ผู้ส่งออกเนื้อสุกรอันดับ 1 โดยพบว่าในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการผลิตเนื้อสุกรอยู่ที่ราว 105.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนหน้าประมาณ 3.5 ล้านตัน (ดูรูปที่ 1) ซึ่งสาเหตุหลักมาจากปริมาณการผลิตในจีน ซึ่ ง เป็ น ประเทศผู้ ผ ลิ ต รายใหญ่ ที่ สุ ด ของโลกที่ เ พิ่ ม ขึ้ น อย่ า งมาก โดยพบว่ า ผลผลิ ต เนื้ อ สุ ก ร ที่จีนผลิตได้คิดเป็นสัดส่วนมากถึงราวครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่เป็นการ ผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคภายในประเทศเอง เนื่องจากเนื้อสุกรเป็นอาหารหลักของ ชาวจีน ยิ่งไปกว่านั้น ชาวจีนยังเป็นชาติที่มีการบริโภคเนื้อสุกรมากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดย มีปริมาณการบริโภคเฉลีย่ อยูท่ ี่ 75 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และยังเพิม่ สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ งทุกปีอกี ด้วย อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่ปริมาณการส่งออกรายประเทศจะพบว่า สหรัฐฯ คือประเทศที่มี การส่งออกเนือ้ สุกรอันดับ 1 ของโลกโดยอยูท่ ี่ราว 2.4 ล้านตัน หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดราว 1 ใน 3 ของปริมาณการส่งออกทั่วโลกในปี 2012 (ดูรูปที่ 2) ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตสุกรในสหรัฐฯ มีมากเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ชิ้นส่วนสุกรบางอย่างโดยเฉพาะส่วน หัว ขา และเครื่องใน คนอเมริกันส่วนใหญ่ก็ไม่นิยมบริโภค และขายในประเทศไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่ง นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามผลักดันให้มีการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ไปขาย ยังตลาดต่างประเทศมาโดยตลอด ขณะเดียวกันยังเป็นการทำตามนโยบายหาเสียงของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ทีไ่ ด้เคยประกาศไว้กอ่ นหน้านีว้ า่ จะผลักดันการส่งออกเนือ้ สุกรไปยังประเทศต่างๆ ทัว่ โลกเพิม่ ขึน้ ซึง่ หากทำได้จริงก็เท่ากับเป็นการช่วยรักษาฐานเสียงทางการเมืองในประเทศเอาไว้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

41


รูปที่ 1 : จีนคือ ประเทศที่ผลิตเนื้อสุกรรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาด 50% ของปริมาณ การผลิตทั่วโลก

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA, Foreign Agricultural Services)

รูปที่ 2 : สหรัฐฯ ส่งอออกเนื้อสุกรมากที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดราว 1 ใน 3 หรือราว 2.4 ล้านตัน ในปี 2012

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA, Foreign Agricultural Services)

นอกจากนี้ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งสุกรในสหรัฐฯ ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทยมาก ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับ อานิสงส์มาจากการอุดหนุนโดยตรง (subsidy) จากรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Environmental Working Group (EWG) Farm Subsidy ซึง่ เป็นหน่วยงานทีเ่ ก็บรวบรวมข้อมูล เงินอุดหนุนในภาคเกษตรของสหรัฐฯ พบว่า ในช่วงระหว่างปี 1995-2012 รัฐบาลสหรัฐฯ

42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

มีการใช้เม็ดเงินมากถึงราว 122 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ หรือกว่า 4,400 ล้านบาท เพือ่ อุดหนุน อุตสาหกรรมสุกรในประเทศ โดยพบว่าส่วนใหญ่ เป็นการสนับสนุนต้นทุนอาหารสัตว์สำหรับเลีย้ ง สุ ก ร (ต้ น ทุ น อาหารสั ต ว์ คิ ด เป็ น สั ด ส่ ว นราว 50% ของต้นทุนการเลี้ยงสุกรในสหรัฐฯ) โดย เฉพาะถั่วเหลือง และข้าวโพด ซึ่งเป็นวัตถุดิบ หลักที่สามารถหาได้ในพื้นที่ รวมทั้งยังให้การ


สนับสนุนผูเ้ ลีย้ งสุกรในด้านอืน่ ๆ ร่วมด้วย ซึง่ นี่ คือหนึง่ ในเหตุผลสำคัญทีช่ ว่ ยให้ตน้ ทุนการเลีย้ ง สุ ก รของเกษตรกรสหรั ฐ ฯ อยู่ ใ นระดั บ ที่ ต่ ำ ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไทย (ดูรูปที่ 3) ซึ่ง ความได้เปรียบในเรือ่ งต้นทุนดังกล่าว ก่อให้เกิด การแข่งขันทีไ่ ม่เป็นธรรมในตลาดโลก เพราะทำ ให้ผู้ส่งออกสหรัฐฯ สามารถตั้งราคาขายเนื้อ สุกรได้ต่ำกว่าราคาที่ผลิตในประเทศที่มีการ ส่งออกไปจำหน่าย และสามารถตีตลาดในต่าง ประเทศได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ หากรัฐบาลไทยยอมเปิดตลาดให้มี การนำเข้าเนือ้ สุกรและเครือ่ งในจากสหรัฐฯ จะ ทำให้เกิดภาวะผลผลิตล้นตลาด (oversupply) และราคาเนื้ อ สุ ก รในประเทศตกต่ ำ รวมทั้ ง ยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในไทยซึ่งมี จำนวนมากถึ ง เกื อ บ 260,000 ครั ว เรื อ น เนื่องจากปัจจุบัน ไทยสามารถผลิตเนื้อสุกรที่มี คุณภาพสูงได้ในปริมาณที่มากเพียงพอสำหรับ การบริโภคภายในประเทศอยู่แล้ว โดยเกือบ ทั้งหมดคือ ราว 98-99% ของปริมาณการ ผลิตทั้งหมดเป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดภายใน ประเทศ (ดูรูปที่ 4) ซึ่งหากรัฐบาลไทยยอมทำ ตามที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้เปิดตลาดเนื้อสุกร จะทำให้เกิดภาวะ oversupply และทำให้ราคา เนื้อสุกรในประเทศตกต่ำลงได้ ดังที่ได้เคยเกิด ขึ้นมาแล้วในประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการเปิดตลาดให้มีการนำเข้าเนื้อสุกรและ ชิ้นส่วนจากสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา (ปี 2012) ผลทีต่ ามมาคือ ราคาสุกรหน้าฟาร์มในประเทศ ดังกล่าวตกต่ำลงมาก จนทำให้เกษตรกรใน ประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูเ้ ลีย้ งสุกร รายเล็ก และกลางที่ไม่ได้อยู่ในรูปของบริษัท

ขนาดใหญ่ต้องล้มละลายและเลิกกิจการกันไป กว่าครึง่ เนือ่ งจากไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุน การผลิต และราคากับเนื้อสุกรที่นำเข้าจาก สหรัฐฯ ที่มีราคาถูกกว่าได้ ซึ่งไม่เพียงจะส่งผล กระทบต่อกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรเท่านั้น แต่ยังมีผล กระทบไปยังธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ ในห่วงโซ่การ ผลิตอีกด้วย ไม่วา่ จะเป็นธุรกิจอาหารสัตว์ ปุย๋ ยา เคมีภัณฑ์ พันธุ์สัตว์ รวมทั้งธุรกิจผลิตกระสอบ กล่องกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้บริโภคในไทยอีกด้วย อีกประเด็นหนึ่ง ทีน่ า่ กังวลคือ ความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) ของผูบ้ ริโภคชาวไทย เพราะเป็นทีท่ ราบ กันดีว่า สหรัฐฯ อนุญาตให้มีการใช้ “สารเร่ง เนือ้ แดง” ประเภทแร็คโตพามีน (Ractopamine) และคาร์บาดอกซ์ (Carbadox) ในการเลี้ยงได้ อย่ า งถู ก กฎหมาย เพื่ อ ช่ ว ยเพิ่ ม ปริ ม าณเนื้ อ แดง และลดไขมันในเนื้อสัตว์ลง ขณะที่กรม ปศุสัตว์ของไทย ได้จัดให้สารเคมีประเภทดัง กล่ า ว เป็ น สารต้ อ งห้ า มในฟาร์ ม สุ ก ร ตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 เนื่ อ งจากมี โ ทษต่ อ สั ต ว์ และมนุ ษ ย์ มี ฤ ทธิ์ กระตุ้นสมอง และระบบไหลเวียนโลหิต หาก บริโภคเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการใจสั่น และ นอนไม่หลับได้ ซึ่งไทยได้ประกาศห้ามใช้สาร เร่งเนือ้ แดงผสมในอาหารสัตว์อย่างเด็ดขาด นับ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1999 เป็นต้นมา ทั้งนี้ หากรัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการนำเนื้อสุกรเข้า มาจากสหรัฐฯ ก็จะทำให้ผบู้ ริโภคชาวไทยตกอยู่ ในภาวะเสีย่ งสูง และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

43


รูปที่ 3 : เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในสหรัฐฯ มีต้นทุนที่ถูกกว่าเกษตรกรไทยถึงราวครึ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่ง ได้รับอานิสงส์จากการอุดหนุนโดยตรง (subsidy) จากรัฐบาลสหรัฐฯ

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA)

รูปที่ 4 : ประเทศไทยสามารถผลิตเนื้อสุกรได้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศมาโดยตลอด โดยพบว่าเกือบทั้งหมดเป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ และมีการส่งออกในสัดส่วน เพียงเล็กน้อยคือ ราว 1-2% เท่านั้น

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA, Foreign Agricultural Services) และฝ่ายติดตามและประเมินภาวะตลาดสินค้าเกษตร สำนักส่งเสริมสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


Implication - รัฐบาลไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนในการปฏิเสธ การนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ เนื่องจากปัจจุบันไทยสามารถผลิตเนื้อสุกรได้ใน ปริมาณทีม่ ากเพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศอยูแ่ ล้ว เพราะ หากไทยอนุญาตให้มีการนำเข้าก็จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสุกรของไทย ทั้งระบบ และมีส่วนทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด และกลไกด้านราคาอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อการจ้างงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องใน อุตสาหกรรมการผลิตสุกรซึ่งมีจำนวนมากถึงราว 10-12 ล้านคน อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านอืน่ ๆ ร่วมด้วย ไม่วา่ จะปัญหาความ สัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย และสหรัฐฯ ความเสีย่ งจากการถูกตัดสิทธิพเิ ศษ ทางภาษีศุลกากร (GSP) หรือแม้แต่การนำประเด็นในเรื่องดังกล่าวมากดดันให้ มีการจัดสถานะไทยตามกฎหมายการค้า (Special 301) ทีก่ ำลังมีการขอทบทวน นอกรอบให้จัดไทยเป็นประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มที่ต้องจับตา มองเป็นพิเศษ (PWL) ต่อไปอีก ซึ่งเหล่านี้คือผลกระทบที่ไทยอาจต้องเผชิญ หากเรามีจุดยืนที่แข็งกร้าวในการปฏิเสธการนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ - ขณะเดียวกัน ผูป้ ระกอบการไทยควรมองหาช่องทาง และโอกาสในการขยายเข้า ไปลงทุนในธุรกิจฟาร์มสุกร และโรงงานแปรรูปสุกรในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่ง รัฐบาลในประเทศเหล่านี้ให้การสนับสนุนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อ ช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรในประเทศ เนือ่ งจากส่วนใหญ่ยงั คงเป็น การผลิตในระดับเกษตรกรรายย่อย และมีการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน (backyard farming) ซึง่ มีการบริหารจัดการฟาร์มทีไ่ ม่ได้มาตรฐานมากนัก ซึง่ รวมไปถึงโอกาส ในการเข้าไปลงทุนในโรงงานแปรรูปสุกรเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดผลิต ภัณฑ์แปรรูปสุกรในอาเซียน และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่ม ประเทศ CLMV ควบคู่กันไปด้วย รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่า เพิม่ ให้กบั อุตสาหกรรมเนือ้ สุกรของไทยควบคูก่ นั ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การ เพิ่มสัดส่วนของผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรปรุงสุก หรือแปรรูปพร้อมรับประทานที่มี ความหลากหลาย เพือ่ รองรับพฤติกรรมของผูบ้ ริโภคทีก่ ำลังเปลีย่ นแปลงไปตาม แนวโน้มการขยายตัวของความเป็นเมือง (urbanization trend) การเติบโตของ กลุม่ ชนชัน้ กลาง และรายได้ตอ่ หัวของประชากรทีม่ แี นวโน้มเพิม่ สูงขึน้ ในปัจจุบนั ซึง่ นอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั อุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นการหลีกหนีการ แข่งขันด้านราคาในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ตลาดเนื้อ และชิ้นส่วน สุกรอีกด้วย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

45


Market Leader

บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

1. ข้าว

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ที่มา: FAO (Aug 2013)

ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนสิงหาคม 2556 ราคาข้าวทีเ่ กษตรกรขายได้เพิม่ ขึน้ ทุกประเภทคือ ข้าวเปลือกเจ้า 5% อยูท่ ี่ 9,613 บาท/ตัน เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อน ข้าวเปลือกหอมมะลิอยูท่ ี่ 15,643 บาท/ตัน เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ราคา 13,300 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ขณะที่ราคาข้าวส่งออก (F.O.B.) ปรับลดลง ได้แก่ ข้าวขาว 5% ราคา 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และข้าวหอมมะลิ 1,172 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงร้อยละ 2.3 และ0.3 ตามลำดับ ยกเว้น ข้าวเหนียว 10% ราคาเพิม่ ขึน้ 958 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 1.7 ซึง่ ทิศทาง ราคา F.O.B. ข้าว 5% ปรับลดลงในทิศทางเดียวกับราคาข้าวไทย 5% และ 25% ในตลาดโลก

46

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


สถานการณ์ข้าว ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือก เหนียวเมล็ดยาวปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ช่วงปลายฤดูกาลผลิตข้าวนาปรัง ทำให้ผลผลิต ออกสู่ตลาดลดลง และเกษตรกรได้นำข้าวเข้าร่วมโครงการจำนำฯ สำหรับราคาข้าวตลาดโลก มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจุบันประเทศคู่แข่งข้าวรายสำคัญของไทย ทั้งอินเดีย และ เวียดนาม เร่งระบายสต๊อกข้าวออกเนื่องจากเผชิญกับภาวะสต๊อกล้น เช่นเดียวกับไทยที่เร่งให้เกิด การประมูลข้าวเพื่อระบายผลผลิตออก ทำให้ราคาตลาดโลกปรับลดลง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เปิดประมูลข้าวทั่วไปรอบที่ 3 ทั้งข้าวเหนียว ข้าวหอมจังหวัด และ ข้าวขาว 5% รวมจำนวน 201,665.94 ตัน ใช้หลักเกณฑ์เดิมเหมือนกับการประมูลข้าวรอบแรก โดยจะเจรจาต่ อ รองราคาต่ อ เมื่ อ มี ผู้ เ สนอซื้ อ ยื่ น ราคาประมู ล อยู่ ใ นเกณฑ์ ร าคาที่ ก รมการค้ า ต่างประเทศกำหนดไว้ โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศการจำหน่ายข้าวสารตาม โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 และนาปรังปี 2555 แบ่งเป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 101,304.72 ตันเพือ่ การส่งออก กับข้าวหอมจังหวัด/ข้าวเหนียวขาว 10% จำนวน 100,361.22 ตัน เพื่อใช้ภายในประเทศ หรือส่งออกต่างประเทศ โดยวิธีการยื่นซองเสนอราคา ทีก่ รมการค้าต่างประเทศ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2556 (ประชาชาติธรุ กิจ เมือ่ วันที่ 14 สิงหาคม 2556) คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% และข้าวเปลือกหอมมะลิจะเพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 0.2 และ 0.05 ตามลำดับ อยู่ที่ราคา 9,500-9,630 บาท/ตัน และ 15,500-15,650 บาท/ตัน ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว จะ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 0.8 อยู่ที่ 13,350-13,400 บาท/ตัน เนื่องจากผลผลิต ข้าวออกสู่ตลาดลดลง

2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนสิงหาคม 2556 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 7.46 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.98 ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์สง่ ออก (F.O.B.) เท่ากับ 9.76 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.01 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

47


หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเดือนสิงหาคม 2556 ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากช่วงเดือน สิงหาคม ถึงธันวาคม มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด ส่งผลให้สต๊อกมีปริมาณมาก ขณะที่ ความต้องการใช้ลดลงจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นผู้ใช้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รายใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งมีการนำเข้าข้าวสาลีคุณภาพต่ำมาใช้ทดแทนข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ในสูตรอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดการณ์ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ปี 2556/57 จะมีปริมาณ 4.88 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2 โดยจะออกมากในเดือนสิงหาคม ถึงธันวาคม 2556 นอกจากนี้ การอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อัตราภาษีร้อยละ 0 จาก ประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาต่ำเข้ามาแข่งขันกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย มากขึ้น ส่งผลให้พ่อค้าขายผลผลิตของปีที่ผ่านมาได้น้อยลง และเกิดปัญหาสต๊อกคงเหลือมาก รวมทั้งชะลอการรับซื้อฤดูใหม่ที่กาลังจะออกสู่ตลาด จึงคาดว่าจะเป็นแรงกดดันให้ราคาข้าวโพด ฤดูใหม่ปรับตัวลดลงได้อีก (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 25 กรกฏาคม 2556) คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ จะลดลงจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 0.3-0.5 อยู่ที่ราคา 7.39-7.41 บาท/กก. เนื่องจากเป็น ช่วงที่มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทั้งผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 ในประเทศ และจาก การนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สต๊อกในประเทศมีปริมาณมาก ขณะที่ความต้องการใช้ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ชะลอตัวลง จึงกดดันให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเดือนนี้ลดลง

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556



Sunny-Side

Up A golden outlook.

Kemin is ushering in a new dawning in carotenoid advancement with Quantum GLO™. Quantum GLO is a new generation of carotenoids that offers better bioavailability and gives the desired yolk color score that you want at a lower cost. This means using less Quantum GLO while still getting the beautiful sunny-side up yolks you expect. Made from molecules harvested from marigolds and paprika, Quantum GLO is the natural, more efficient way to create golden results.

Quantum GLO™: A sunny forecast for profits. www.kemin.com

© Kemin Industries, Inc and its group of companies 2013. All rights reserved. ® TM Trademarks of Kemin Industries, Inc., U.S.A.

13-QuantumGLO_FP_HP_V07F.indd 1

1/8/13 9:15 AM


3. อ้อยโรงงาน

หมายเหตุ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คเดือนสิงหาคม 2556 ราคาเฉลี่ยของน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์ค (ส่งมอบเดือนตุลาคม 2556) เท่ากับ 16.76 เซนต์/ปอนด์ เพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 2.5 และเพิม่ ขึน้ ในรูปเงินบาทที่ 11.45 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 2.5 สถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คเดือนสิงหาคมปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเข้ามาซื้อ น้ำตาลคืนจากตลาด (Short-covering) ของกลุ่มกองทุนและนักเก็งกำไรต่างๆ ประกอบกับได้รับ แรงหนุนจากภาวะอากาศเย็นและฝนตกในบราซิล ทำให้การตัดอ้อยส่งเข้าโรงงานและการส่งออก น้ำตาลล่าช้า อีกทั้งการเกิดน้ำค้างแข็งในบราซิลคาดว่าจะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตอ้อย ทัง้ นี้ องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศคาดว่า ปี 2556/2557 จะมีนำ้ ตาลเกินดุลลดลงเป็น 3.5 ล้านตัน ลดลงเกือบร้อยละ 70 จาก 11.2 ล้านตันของฤดูกาลที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิต บางประเทศลดลง อาทิ บราซิล และอินเดีย หลังจากราคาน้ำตาลลดลง ผลผลิตน้ำตาลโลกใน ฤดูการผลิตนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 179 ล้านตัน สูงกว่าการบริโภค 175.50 ล้านตัน และเกินดุล ติดต่อกัน 3 ปี ซึง่ ทำให้ในระยะต่อไปคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาน้ำตาลตลาดโลกปรับลดลง (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย วันที่ 7 สิงหาคม 2556)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

49


คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาเฉลี่ยของน้ำตาลทรายในตลาดโลกจะลดลงจากเดือนก่อน ประมาณร้อยละ 0.4-1.0 อยูท่ รี่ าคา 16.60-16.70 เซนต์/ปอนด์ เนือ่ งจากแรงกดดันจากผลผลิต น้ำตาลส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่ ประกอบกับค่าเงินเรียลของบราซิลที่อ่อนค่าลง ผลักดันให้มีแรงขาย ออกมาบางส่วน จึงมีโอกาสทำให้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลง

4. ยางพารา

หมายเหตุ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคายางพารา เดือนสิงหาคม 2556 ราคาเฉลีย่ ของยางพาราทีเ่ กษตรกรขายได้ เท่ากับ 67.30 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.11 เป็นไปในทิศทางเดียวกับราคาเฉลีย่ ของยางแผ่นดิบทีป่ ระมูล ณ ตลาดหาดใหญ่ทลี่ ดลงอยูท่ ี่ 72.89 บาท/กก. ลดลงคิดเป็นร้อยละ 0.44 และราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 F.O.B. กรุงเทพฯ เท่ากับ 81.17 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.60 สถานการณ์ยางพารา ราคาทีเ่ กษตรกรขายได้มแี นวโน้มปรับตัวลดลง และมีความผันผวนเป็นอย่างมาก เนือ่ งจาก เกิดความผันผวนของราคาน้ำมัน ทีเ่ ป็นผลจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของอียปิ ต์ และ ความกังวลเกี่ยวกับระบบการขนส่งน้ำมัน จึงทำให้ราคายางพาราเกิดความผันผวนในระยะนี้ ถึงแม้สต๊อกยางพาราในจีนจะเริ่มปรับ ลดลงบ้างแล้ว แต่ยังมีปริมาณสต๊อกที่อยู่ในระดับสูง จึงยังส่งผลให้ภาพรวมราคายางเผชิญกับ แรงกดดันให้ราคามีแนวโน้มที่ปรับตัวตัวลดลงอยู่ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยที่จะทำให้ราคายางพาราขยับ ตัวสูงขึ้นได้เช่นกัน จากอุปทานยางพาราภายในประเทศ รวมถึงสภาพอากาศยังไม่เอื้ออำนวยต่อ การกรีดยางพารา อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางพาราให้ขยับสูงขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้จะลดลงจากเดือนก่อนประมาณ ร้อยละ 1-5 อยู่ที่ราคา 63.94-66.63 บาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ทำให้ผู้ซื้อยางพาราไม่มีความมั่นใจในการสั่งซื้อจึงชะลอการสั่งซื้อ โดยเฉพาะจีนที่ชะลอการสั่งซื้อ จากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัย สนับสนุนให้ราคายางพาราจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

5. มันสำปะหลัง ราคามันสำปะหลัง เดือนสิงหาคม 2556 ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ 2.14 บาท/กก. ราคาทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 7.40 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.14 สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2556 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.16 ล้านไร่ และผลผลิต 27.46 ล้านตัน คาดว่า เดือนสิงหาคม 2556 ผลผลิตจะออกสูต่ ลาด 0.93 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 3.37 ของผลผลิตทัง้ หมด ทัง้ นี้ ผลผลิตออกสูต่ ลาดแล้ว (ต.ค. 2555 -มิ.ย. 2556) ประมาณ 24.85 ล้านตัน (ร้อยละ 90.50 ของผลผลิตทัง้ หมด) และออกสูต่ ลาดมากทีส่ ดุ ในเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 5.18 ล้านตัน (ร้อยละ 18.85 ของผลผลิตทั้งหมด) สำหรับปี 2557 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.02 ล้านไร่ และผลผลิต 28.22 ล้านตัน เมือ่ เทียบกับปี 2556 พบว่าพืน้ ทีเ่ ก็บเกีย่ วลดลงร้อยละ 1.67 ส่วนผลผลิตเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.78 สำหรับเดือนนี้ เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่มี ปริมาณฝนตกชุก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของหัวมันสด ทำให้เปอร์เซนต์เชื้อแป้งต่ำ ราคาที่เกษตรกร

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

51


ขายได้เฉลี่ยจึงไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังแห่งชาติ ที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานร่วมกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงพลังงาน เพื่อเตรียมแผนบริหาร จัดการสต๊อกมันสำปะหลัง จากโครงการรับจำนำมันสำปะหลังฤดูกาลปี 2556/2557 เพือ่ จัดทำ แผนการนำมันสำปะหลังจากโครงการจำนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน ในเบื้องต้นประเมินว่าในปี 2556 จะมีหวั มันสด 28 ล้านตัน และกำหนดเป้าหมายแทรกแซงราคา 10 ล้านตัน อีกทัง้ กระทรวง พาณิชย์ได้เปิดประมูลซือ้ มันสำปะหลังเส้นปริมาณ 2.8 แสนตัน จากโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2552/2553 ปริมาณ 8.79 หมืน่ ตัน เพือ่ ใช้ในประเทศ และจากโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2555/2556 ปริมาณ 2.04 แสนตัน เพื่อการส่งออก คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้จะลดลง ร้อยละ 1-2 อยู่ที่ ราคา 2.10-2.12 บาท/กก. เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพมัน สำปะหลังทำให้เชื้อแป้งลดลง

6. ปาล์มน้ำมัน

หมายเหตุ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมการค้าภายใน

ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเดือนสิงหาคม 2556 ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ เท่ากับ 3.32 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.90 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 3.68 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 1.66

52

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ในเดือนสิงหาคม 2556 ปรับตัวลดลง เนื่อง จากเป็นช่วงสิ้นสุดเทศกาลรอมฎอน ทำให้อุปทานของผลผลิตปาล์มน้ำมันมีปริมาณไม่มาก และ ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันในตลาดยังคงมีอยูใ่ นปริมาณมาก ราคาปาล์มน้ำมันจึงยังคงไม่ปรับตัว สูงในช่วงนี้ ถึงแม้วา่ สต๊อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556 ยังทรงตัว อยู่ที่ 1.65 ล้านตัน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน 2556 โดยเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 (ตามรายงานของคณะกรรมการปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย) คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก เดือนก่อนประมาณร้อยละ1.0-5.0 อยู่ที่ราคา 3.22-3.32 บาท เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคม เป็นช่วงทีผ่ ลผลิตปาล์มน้ำมันเริม่ ออกสูต่ ลาด ซึง่ จะมากทีส่ ดุ ในเดือนกันยายน และตุลาคม จึงทำให้ ราคาปาล์มน้ำมันลดลง

7. ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อเดือนสิงหาคม 2556 ราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้เฉลีย่ ทัง้ ประเทศ เท่ากับ 43.95 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.07 ราคาขายส่งไก่เนือ้ มีชวี ติ ในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลีย่ เท่ากับ 47.00 บาท/ กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.17

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

53


สถานการณ์ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ในเดือนสิงหาคม 2556 ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากใน ช่วงนีม้ ฝี นตกในหลายพืน้ ที่ การซือ้ ขายไม่คล่องตัว ประกอบกับมีอาหาร และสัตว์นำ้ ตามธรรมชาติ มากขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง สำหรับปริมาณผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีทิศทาง ลดลงแต่ลดลงเพียงเล็กน้อย จึงส่งผลให้ราคาไก่เนือ้ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ปริมาณการส่งออกเนือ้ ไก่ของประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) อยูท่ ี่ 256,800 ตัน มูลค่า 32,460 ล้านบาท สำหรับสินค้าประเภทไก่ส่งออกจากประเทศไทยคือ เนื้อไก่สด และไก่ปรุงสุก ตลาดหลักอยูท่ สี่ หภาพยุโรป และญีป่ นุ่ ราคาส่งออกไก่สดไปยังสหภาพยุโรปเพิม่ ขึน้ ประมาณ 10% จากช่วงก่อนหน้านี้ เนือ่ งจากตลาดมีความต้องการสูงขึน้ ส่วนการส่งออกไปญีป่ นุ่ ขณะนีส้ ง่ ออกได้แต่เฉพาะไก่ปรุงสุก ราคาเพิม่ ขึน้ 4-5% เนือ่ งจากอัตราแลกเปลีย่ นเงินเยนอ่อนค่า ลง ส่วนไก่สดอยู่ในระหว่างการเจรจา (ผู้จัดการออนไลน์, 5 สิงหาคม 2556) คาดการณ์ราคาไก่เนื้อในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณ ร้อยละ 0.8-1.5 อยู่ที่ราคา 44.30-44.61 บาท/กก. เนื่องจากในเดือนนี้ความต้องการบริโภค เนื้อไก่กลับมาสู่สภาวะปกติ ภายหลังจากชะลอตัวลงจากภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ ขณะที่ ปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ปริมาณการผลิตไก่เนื้อโดยภาพรวมมากนัก

8. กุ้งขาวแวนนาไม ราคากุ้งขาวแวนนาไม เดือนสิงหาคม 2556 ราคากุ้งขาวแวนนาไมที่เกษตรกรขายได้ 220.27 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.76 ราคาขายส่งกุง้ ขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางกุง้ สมุทรสาคร 220.45 บาท/กก. เพิม่ ขึน้ จาก เดือนก่อนร้อยละ 4.02 สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม สำหรับราคากุ้งขาวแวนนาไมในเดือนนี้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตกุ้งขาวที่ยัง คงออกสู่ตลาดน้อย จากผลกระทบของโรคตายด่วนในกุ้ง หรืออีเอ็มเอส (EMS) ซึ่งทำให้ผลผลิต กุ้งลดต่ำสุดในรอบหลายสิบปี และราคาวัตถุดิบกุ้งในเวลานี้ถือว่าสูงสุดในรอบ 15 ปี ทั้งนี้ ข้อมูล จากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย พบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ประเทศไทยส่งออก

54

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป 9.96 หมื่นตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 32.21 คิดเป็นมูลค่า 2.88 หมืน่ ล้านบาท ซึง่ ลดลงร้อยละ 29.06 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยตลาดที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เวียดนาม และญี่ปุ่น ถึงแม้ว่า ฮ่องกงจะนำเข้าเพิม่ ขึน้ แล้วก็ตาม แต่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศยกเว้นการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การ อุดหนุน และการยกเลิกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) จนทำให้ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ ทำให้ ประเทศไทยได้เปรียบคู่แข่งในการส่งออกกุ้งขาวไปตลาดสหรัฐในอนาคต คาดการณ์ราคาในเดือนกันยายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 1-2 อยู่ที่ราคา 222-224 บาท/กก. เนื่องจากปริมาณผลผลิตกุ้งขาวออกสู่ตลาดน้อย และปัจจัย สนับสนุนจากการประกาศยกเว้นการเรียกเก็บอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

55


Market Leader

ผลพยากรณ์

ปริมาณการผลิตไก่เนื้อ ปี 2556 ณ เดือนกันยายน 2556 : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

จำนวนไก่เนื้อ ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 รวมทั้งประเทศ 145.185 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 3.367 ล้านตัว หรือร้อยละ 2.37 ปริมาณการผลิต ปี 2556 รวมทั้งประเทศ 1,104.051 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 48.116 ล้านตัว หรือร้อยละ 4.56 สถานการณ์การผลิต ปี 2556 คาดว่าการผลิตไก่เนื้อของไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา สอดรับกับ จำนวนประชากร และความต้องการบริโภคของตลาด (ทัง้ ตลาดภายในและต่างประเทศ) ทีเ่ พิม่ ขึน้ โดยเกษตรกรมีการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยง การจัดการฟาร์ม และระบบการผลิตที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากเริ่มส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปยังสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งคาดว่าในปี 2556 ไทยจะสามารถส่งออกไก่สดไปสหภาพยุโรปได้เพิ่มขึ้นจากปี 2555 รวมทั้งคาดการณ์ว่าญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะอนุญาตให้นำเข้าไก่สดจากไทยเช่นกัน จึงทำให้การ ส่งออกของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย ผลผลิตรายเดือนของไก่เนื้อ ปี 2556 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 7.82 7.82 8.11 7.61 8.36 8.75 8.01 9.22 8.18 8.40 9.09 8.61

56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

แหล่งผลิต 5 อันดับแรก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ลพบุรี




สถานการณ์ตลาดและราคา ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2556 (ม.ค.-ก.ค.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.44 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 42.80 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 1.50 เนื่องจากราคาไก่เนื้อ ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และค่าแรงงาน อีกทั้งความต้องการบริโภคของตลาด (ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ) ที่เพิ่มขึ้น การส่งออก ในปี 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่รวมได้ปริมาณ 243,131 ตัน มูลค่า 31,132.73 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 263,184 ตัน มูลค่า 33,305.28 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 7.62 และ 6.52 ตามลำดับ โดยแยกเป็นการส่งออก ไก่สดแช่แข็งปริมาณ 45,331.46 ตัน มูลค่า 3,031.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 40,933.56 ตัน มูลค่า 2,649.18 ล้ า นบาท ในช่ ว งเดี ย วกั น ของปี ที่ ผ่ า นมา ร้อยละ 10.74 และ 14.45 ตามลำดับ เนื่องจาก ยั ง คงมี ค วามต้ อ งการบริ โ ภคไก่ ส ดแช่ แ ข็ ง อย่ า ง ต่อเนือ่ งจากสหภาพยุโรป สำหรับการส่งออกเนือ้ ไก่ แปรรูปมีปริมาณ 197,800 ตัน มูลค่า 28,100.85 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 222,250 ตัน มูลค่า 30,656.10 ล้านบาท ในช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.00 และ 8.34 ตามลำดับ เนื่องจาก ได้ รั บ ผลกระทบจากการแข็ ง ค่ า ของเงิ น บาทในไตรมาสที่ 1 รวมทั้ ง ประเทศคู่ค้ายังคงมีปริมาณสินค้าคงเหลือในสต๊อก โดยคาดว่าความ ต้องการเนื้อไก่แปรรูปจะเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

57


Market Leader

ผลพยากรณ์

ปริมาณการผลิตไข่ ไก่ ปี 2556 ณ เดือนกันยายน 2556 : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

จำนวนไก่ไข่ ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 รวมทั้งประเทศ 42.272 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก ปีที่แล้ว 0.783 ล้านตัว หรือร้อยละ 1.89 ปริมาณการผลิตไข่ไก่ รวมทัง้ ประเทศ 11,086 ล้านฟอง เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 146 ล้านฟอง หรือร้อยละ 1.34 อัตราการให้ไข่ รวมทัง้ ประเทศ 291 ฟองต่อตัวต่อปี เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 1 ฟองต่อตัวต่อปี หรือร้อยละ 0.34

สถานการณ์การผลิต ในปี 2556 ปริมาณการผลิตไข่ไก่ยังคงเพิ่มขึ้น จากการที่มีแม่ไก่ไข่ยืนกรงในระบบมากขึ้น และจากการนำเข้าพ่อ-แม่พันธุ์ (P.S) ไก่ไข่ในปี 2555 ยังคงมีมาก ประกอบกับผู้เลี้ยงไก่ไข่เข้าสู่ ระบบมาตรฐานฟาร์ม และมีการบริหารจัดการฟาร์มทีด่ ี โดยเลีย้ งในระบบโรงเรือนปิด และสภาพ อากาศที่ไม่ร้อนจัด ส่งผลให้แม่ไก่ไข่ให้ไข่มากขึ้น ผลผลิตรายเดือนของไข่ไก่ ปี 2556 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 8.27 8.28 8.11 7.55 7.83 8.25 8.65 8.66 8.36 8.74 8.37 8.93

แหล่งผลิต 5 อันดับแรก ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี

สถานการณ์ตลาดและราคา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศค่อนข้างสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยไตรมาสแรก ราคาเฉลี่ยฟองละ 2.72 บาท ไตรมาสที่สองเฉลี่ยฟองละ 3.00 บาท และในไตรมาสที่สาม (กค.-สค.) เฉลี่ยฟองละ 3.14 บาท เนื่องจากในปี 2555 ราคาไข่ไก่ตกต่ำทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ไข่ประสบการขาดทุน ผู้เลี้ยงบางส่วนจึงปรับลดการผลิต และเกษตรกรปลดแม่ไก่เพื่อรองรับ เทศกาลสาร์ทจีน ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


Market Leader

ผลพยากรณ์

ปริมาณการผลิตสุกร ปี 2556 ณ เดือนกันยายน 2556 : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

จำนวนสุกร ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 รวมทั้งประเทศ 7.924 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 99,233 ตัว หรือร้อยละ 1.27 ปริมาณการผลิต รวมทั้งประเทศ 13.072 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.243 ล้านตัว หรือร้อยละ 1.90 สถานการณ์การผลิต ปริมาณการผลิตปี 2556 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในปีที่ผ่านมาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย และ รายเล็กเลิกกิจการไปบางส่วน เพราะราคาวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และต้นทุนการผลิตสุกรสูง ส่งผลให้ ผู้เลี้ยงสุกรขาดทุนสะสมเป็นระยะเวลานาน จนไม่มีทุนสำรองในการเลี้ยงสุกร แต่ผู้เลี้ยงสุกร รายกลาง และรายใหญ่ ที่มีศักยภาพทางด้านกำลังทุนมากกว่า และมีประสิทธิภาพการผลิตดี ผลตอบแทนที่ได้รับยังดีอยู่ ขยายการเลี้ยงสุกร ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงทางด้านโรคระบาดของ โรคทางระบบสืบพันธุ์ และระบบทางเดินหายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) สามารถควบคุมให้ลดลงได้เพราะเกษตรกรมีการปรับปรุงมาตรฐานฟาร์ม กระบวนการควบคุม และเฝ้าระวังโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้จำนวนสุกร ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 เพิ่มขึ้นด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

59


ผลผลิตรายเดือนของสุกร ปี 2556 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 8.72 8.43 8.25 8.25 8.27 8.30 8.45 8.42 8.40 8.24 8.16 8.11

แหล่งผลิต 5 อันดับแรก ราชบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระบุรี

สถานการณ์ตลาดและราคา ราคา ปี 2556 คาดว่าราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้โดยเฉลี่ย จะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555 แม้ว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และคาดว่าต้นทุนการผลิตสุกร จะยังคงอยูใ่ นระดับสูง ปี 2556 โดยราคาเฉลีย่ (ม.ค.-ก.ค.) กิโลกรัมละ 64.42 บาท เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้น ร้อยละ 10.05 การส่งออก ปี 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ ปริมาณ 1,927 ตัน มูลค่า 115.59 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้นร้อยละ 121.24 และ 126.20 ตามลำดับ เนื่องจากมีการส่งออกไปประเทศ สปป.ลาว เพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกเนื้อสุกรแปรรูป ปริมาณ 5,233 ตัน มูลค่า 1,104.84 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ลดลง ร้อยละ 5.63 และ 8.31 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดมีความต้องการลดลง สำหรับสุกรมีชีวิต ส่งออกปริมาณ 99,067 ตัว มูลค่า 362.14 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ลดลง ร้อยละ 67.52 และ 68.87 ตามลำดับ เนื่องจากปี 2555 มีการส่งออกปริมาณมาก เพราะต้องการระบายผลผลิตส่วนเกิน การนำเข้า ปี 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) การนำเข้าส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกร (หนัง ตับ และ เครื่องในอื่นๆ) และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร ปริมาณ 6,474 ตัน มูลค่า 73.33 ล้านบาท เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปี 2555 ลดลง ร้อยละ 12.91 และ 16.29

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


Market Leader

ผลพยากรณ์

ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ ปี 2556 ณ เดือนกันยายน 2556 : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

จำนวนโคนม ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 รวมทั้งประเทศ 0.589 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก ปีที่แล้ว 15,057 ตัว หรือร้อยละ 2.62 จำนวนแม่โครีดนมเฉลี่ยในรอบปี รวมทั้งประเทศ 0.251 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10,374 ตัว หรือร้อยละ 4.32 ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบ รวมทั้งประเทศ 1.125 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 60,868 ตัน หรือร้อยละ 5.72 อัตราการให้น้ำนมดิบ เฉลี่ยทั้งประเทศ 12.30 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.17 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หรือร้อยละ 1.40

สถานการณ์การผลิต ในปี 2556 การผลิตน้ำนมดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนแม่โค รีดนมเฉลี่ยในรอบปี และอัตราการให้น้ำนมดิบที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากราคารับซื้อน้ำนมดิบอยู่ ในเกณฑ์ดี และความต้องการน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้น จูงใจให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญต่อการ บริ ห ารจั ด การฟาร์ ม ให้ ไ ด้ ต ามมาตรฐาน ผลิ ต น้ ำ นมดิ บ ที่ มี คุ ณ ภาพดี โดยเกษตรกรผู้ เ ลี้ ย ง โคนมคัดเลือกแม่โคที่มีความสามารถในการให้น้ำนมและมีอัตราการผสมติดดี อีกทั้งในปัจจุบัน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรที่มีความพร้อม และสามารถในการจัดการฟาร์ม ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

61


ผลผลิตรายเดือนของน้ำนมดิบ ปี 2556 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 9.17 8.56 7.89 7.58 7.79 7.96 7.86 7.79 7.97 8.69 9.31 9.43

แหล่งผลิต 5 อันดับแรก สระบุรี นครราชสีมา ลพบุรี เชียงใหม่ ราชบุรี

สถานการณ์ตลาดและราคา สถานการณ์ตลาดอยูใ่ นภาวะปกติ ราคาทีเ่ กษตรกรขายได้ยงั ไม่เปลีย่ นแปลง เนือ่ งจากราคา กลางน้ำนมดิบหน้าโรงงานยังคงอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.00 บาท จนกว่าจะมีมติเปลี่ยนแปลงจาก คณะรัฐมนตรี

62

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


Market Leader

ผลพยากรณ์

ปริมาณการผลิตโคเนื้อ ปี 2556 ณ เดือนกันยายน 2556 : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

จำนวนโคเนื้อ ณ วันที่ 1 มกราคม รวมทั้งประเทศ 5.148 ล้านตัว ลดลงจากปีที่แล้ว 245,058 ตัว หรือร้อยละ 4.54 ปริมาณการผลิต รวมทั้งประเทศ 995,055 ตัว ลดลงจากปีที่แล้ว 31,436 ตัว หรือร้อยละ 3.06

สถานการณ์การผลิต จำนวนโคเนื้อ ณ วันที่ 1 มกราคม และปริมาณการผลิตปี 2556 ทั้งประเทศลดลงจาก ปีที่แล้ว เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา และประกอบอาชีพอื่นที่ให้ผลตอบแทนเร็วกว่า และมีการประกันราคา แน่นอน ทำให้พื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถูกจำกัดลง และยังขาดแคลนแรงงานในการเลี้ยงโค อีกทั้ง ในช่วงปีทผี่ า่ นมา ราคาโคเนือ้ มีชวี ติ มีราคาสูงขึน้ เกษตรกรจึงขายโคเนือ้ ทัง้ โคเพศผู้ และเพศเมียออก ส่งผลให้จำนวนแม่โค และลูกโคลดลง สถานการณ์ตลาดและราคา โคมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ปี 2556 (ม.ค.-ก.ค.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.66 บาท สูงขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 16.14 เนือ่ งจากปริมาณการผลิตทีล่ ดลง เกษตรกร ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่การเลี้ยงโคเนื้อ หันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน ส่งผลให้ พื้นที่ในการเลี้ยงโคเนื้อลดลง ส่วนการส่งออกโคมีชีวิตเดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 มีการส่งออก 98,239 ตัว มูลค่า 666.28 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 66.56 และ 58.52 และราคาเนื้อโคชำแหละก็ปรับตัวสูงขึ้น กิโลกรัมละ 180-240 บาท ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

63


64

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ไกเนื้อ 137,646,821 ไกไข 40,449,726 สุกร 7,785,525 โคเนื้อ 5,890,701 โคนม 555,486

จำนวน ณ วันที่ 1 มกราคม (ตัว) ปริมาณการผลิตในรอบป (ตัว) จำนวนแมในรอบป ปริมาณ รอยละ ปริมาณ รอยละ ป 2554 ป 2555 ป 2556 ป 2554 ป 2555 ป 2556 ป 2555 ป 2556 เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด 141,818,460 145,184,961 3,366,501 2.37 994,319,478 1,055,934,706 1,104,050,699 48,115,993 4.56 41,488,920 42,272,608 783,688 1.89 10,024,434,871 10,939,146,320 11,085,516,273 146,369,953 1.34 7,824,421 7,923,654 99,233 1.27 11,886,122 12,828,363 13,071,563 243,200 1.90 808,833 853,517 869,422 5,392,579 5,147,521 -245,058 -4.54 1,087,227 1,026,491 995,055 -31,436 -3.06 2,299,121 2,242,310 2,182,974 573,963 589,020 15,057 2.62 984,960 1,064,321 1,125,188 60,867.90 5.72 228,123 240,340 250,714

หมายเหตุ : จำนวนตัว ณ วันที่ 1 มกรำคม เปนขอมูลผลสำรวจ ปริมาณการผลิตในรอบปของไกไข คือ ไขไก หนวย : พันฟอง ปริมาณการผลิตในรอบปของโคนม คือ น้ำนมดิบ หนวย : ตัน

1 2 3 4 5

ลำดับ ชื่อ ที่ ปศุสตั ว ป 2554

ตารางผลพยากรณปริมาณการผลิตปศุสัตว ป 2556 ปริมาณ รอยละ ปริมาณ รอยละ ป 2554 ป 2555 ป 2556 เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด เพิ่ม-ลด เพิม่ -ลด 289 290 291 1.000 0.34 15,905 1.86 14.70 15.00 15.00 0.000 0.00 -59,336 -2.65 0.4729 0.4578 0.4558 -0.002 -0.44 10,374 4.32 11.83 12.13 12.30 0.170 1.40

อัตราการเกิดในรอบป

Market Leader




Market Leader

ไม่ง่าย!! หากคิดจะทำ

ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในอนาคต โดย : สมคิด เรืองณรงค์

เมื่อไม่นานมานี้ มีโอกาสได้ฟังกูรูด้าน เกษตร-ปศุสตั ว์ของไทย กล่าวถึงลักษณะ และ ความท้าทายของภาคปศุสัตว์ในอนาคต บน เวทีเสวนางานหนึ่ง

บ้านเราพัฒนามาได้ไกลพอควรแล้ว จึงไม่น่า เป็นห่วงนัก แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ เศรษฐกิจชนิดใด ความสำคัญจะอยู่ที่ตลาด รองรับเพียงพอหรือไม่

ฟังแล้วก็อยากหยิบยกบางช่วงบางตอน มาเล่าสูก่ นั ฟัง เนือ่ งจากการทำฟาร์มในอนาคต จะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และต้องลงทุนใน ด้ า นมาตรฐานการอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มตาม กระแส Green Policy อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึง่ กระแสอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมนีเ้ อง จะเป็นปัจจัย สำคัญในการตีกรอบให้ผู้ประกอบการฟาร์มจะ ต้องยึดถือ และดำเนินการอย่างถูกต้อง ใครที่ คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตนั้น จึงไม่ ง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายกลาง หรื อ รายย่ อ ย ลั ก ษณะของภาค ปศุสัตว์ไทยในอนาคต น่าจะมีการปรับเปลี่ยน ตามแนวโน้มชัดเจนใน 6 ประเด็นหลัก ดังต่อ ไปนี้ ลองติดตามดูกัน ...

เรือ่ งของสิง่ แวดล้อม : นับเป็นเรือ่ งสำคัญ ทีส่ ดุ ของวันนี้ เพราะกระแสโลกมุง่ เน้นไปทีก่ าร ดูแลรักษาสิง่ แวดล้อมเป็นหลัก ส่งผลให้มกี ารยก ระดับมาตรฐานด้านสิง่ แวดล้อมตามไปด้วย และ การลงทุนในด้านสิง่ แวดล้อม ย่อมต้องใช้เม็ดเงิน มหาศาลเพื่อให้ผ่านการรองรับมาตรฐานด้าน สิง่ แวดล้อม กฎเกณฑ์เหล่านีจ้ ะเป็นตัวคัดกรอง ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หากไม่มีเงิน ลงทุนที่สูงพอแล้ว แทบจะมองไม่เห็นหนทางที่ จะได้เป็นเจ้าของฟาร์มเลีย้ งสัตว์เลย เพราะหาก ไม่ลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อม และทำความเข้าใจ กับผู้คนรอบด้านแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การ ต่อต้านจากชุมชน-ท้องถิ่นที่ตั้งของฟาร์มนั้นๆ

เรือ่ งของพันธุ์ และวัตถุดบิ : ประเทศไทย ยังต้องพึง่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ และพันธุส์ ตั ว์จาก ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบประเภทกาก ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด ส่วนพันธุ์สัตว์ โดย เฉพาะไก่นั้น ประเทศไทยยังคงต้องนำเข้าพันธุ์ ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าการพึ่งพิงดังกล่าวก็คือ ต้นทุนการผลิตเนือ้ สัตว์ของไทย ส่วนสุกรถือว่า

เรือ่ งของการรวมกลุม่ : ความยากลำบาก ในการประกอบอาชี พ ทำฟาร์ ม เลี้ ย งสั ต ว์ ใ น อนาคตจากการถูกบีบให้เข้าหลักเกณฑ์รักษา สิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้กลุ่มฟาร์มรายย่อยมี จำนวนน้อยลง แต่เกษตรกรรายย่อยก็ยงั มีทาง ออก และสามารถอยูร่ อดได้ โดยการรวมตัวเป็น กลุ่มก้อนในรูปสหกรณ์ หรือนิติบุคคล เพื่อให้ เกิดความร่วมมือ และเพิ่มศักยภาพในการผลิต

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

65


และการตลาด หากมีพลังมากๆ ก็สามารถกลาย เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เช่นกัน เรื่องของการขนส่ง และระบบกระจาย สินค้า (โลจิสติกส์) : นีเ่ ป็นปัญหาใหญ่อกี ข้อหนึง่ ของประเทศไทย... บ้านเรามีข้อจำกัดในการ จัดการขนส่ง และการกระจายสินค้าค่อนข้าง มาก และที่สำคัญ การขนส่งสินค้าปศุสัตว์ ซึ่ง เป็นสิง่ มีชวี ติ นัน้ จะยิง่ ยุง่ ยากและลำบากมากกว่า การขนส่งสินค้าทั่วไป เพราะแบคทีเรียทำงาน ตลอดเวลา หากจัดการระบบโลจิสติกส์ไม่ดี ย่อมจะเกิดความเสียหายมหาศาลตามมา การ จัดการเรื่องนี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการอยู่ รอดของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วย ประการสุดท้ายเรือ่ งประชาพิจารณ์ : การ ขยายฟาร์มใหม่มีข้อจำกัดมาก เพราะไม่มีใคร ต้องการให้มฟี าร์มเลีย้ งสัตว์ไปอยูใ่ กล้ทดี่ นิ หรือ บ้านของตน อันจะเป็นเหตุให้ราคาทีด่ นิ บริเวณ นัน้ ตกต่ำลง ขณะเดียวกัน ผูป้ ระกอบการฟาร์ม รายใหม่ ยังต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์จาก ผู้เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นอีกมากมาย ซึ่งแม้ จะมองว่าเป็นการสนับสนุนให้เกิดการทำฟาร์ม ให้เป็นธุรกิจสีเขียว แต่กเ็ ปิดช่องให้เกิดการเรียก เก็บเงินที่สูงเกินจริงได้

66

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

จากหลายๆ ประการที่กล่าวมา ทำให้ มองเห็นแนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ในอนาคตด้วย เช่นกัน แม้จะทราบกันดีอยู่ว่า ราคาสินค้า เกษตร-ปศุสัตว์ มีความผันผวนขึ้น-ลง เนื่อง มาจากอุปสงค์ และอุปทานอยู่เสมอ และจะ ยั ง คงเป็ น ความท้ า ทายที่ ค นทำฟาร์ ม ในภาค เกษตร-ปศุสัตว์ยังต้องเผชิญต่อไป แต่ที่สำคัญ คือ ปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมาล้วนเป็นต้นทุน มหาศาลของผูป้ ระกอบการฟาร์มทัง้ สิน้ ซึง่ ย่อม กระทบเป็นลูกโซ่ไปยัง “ราคาเนือ้ สัตว์ปลายทาง” แน่นอน แม้ราคาจะสูงขึ้นจากต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผู้บริโภคในอนาคตก็คงพร้อมที่จะจ่าย ให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีการตระหนักในประเด็นนี้ ซึ่งแนวโน้มนี้ เราได้เริ่มเห็นแล้วจากผลิตภัณฑ์ ด้านกรีนต่างๆ ทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น อาทิ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตราสัญลักษณ์คาร์บอน ฟุตพริน้ ท์ ซึง่ ได้รบั การตอบรับจากผูบ้ ริโภคเป็น อย่างดีแม้จะรู้สึกว่ามีราคาสูงกว่าเล็กน้อย ถึงบรรทัดนี้ ต้องบอกว่าเกษตรกรที่ทำ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์อยู่ในขณะนี้ อย่าเพิ่งตระหนก หากแต่ต้องเรียนรู้กระแสโลกและพร้อมปรับตัว สูธ่ รุ กิจสีเขียว เรียนรูท้ จี่ ะรวมกลุม่ สร้างแนวทาง บริหารร่วมกันอย่างครบวงจร ตั้งแต่วางแผน ผลิต และขาย เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กลุ่ม ของตนเอง..ซึ่งในที่สุด การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จะไม่เพียงดีต่อโลก แต่จะดีต่อคุณ และเพื่อน เกษตรกรด้วยกันอย่างแน่นอน


Around the World

???

การวิเคราะห์ศักยภาพการผลิต การตลาด ผลกระทบของสินค้าเกษตรไทย และแนวทางการพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย ธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทำให้ สิ น ค้ า เกษตรไทยหลายรายการได้ รั บ ผลกระทบจากการเข้ า สู่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียน (AEC) ภาคเหนือตอนล่างเป็นแหล่ง ผลิตพืช และสัตว์เศรษฐกิจทีส่ ำคัญของประเทศ ซึ่ ง อาจได้ รั บ ผลกระทบเช่ น กั น โดยมี สิ น ค้ า ด้านพืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Seeds, Grains) ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้ อ ยโรงงาน ยางพารา สิ น ค้ า ด้ า นปศุ สั ต ว์ ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ โคเนื้อ และโคนม สินค้าด้านประมง ได้แก่ ปลานิล ฯลฯ รายงานนี้ ได้นำเสนอถึงศักยภาพการผลิต การตลาด ผลกระทบ และการเตรียมพร้อม ด้านการเกษตรในแต่ละสินค้าของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ทีไ่ ด้จากการรวบรวมข้อมูล จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการ กำหนดตำแหน่ ง ทางยุ ท ธศาสตร์ ที่ น ำไปใช้ วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตร ที่สำคัญของอาเซียน (Thailand Competitiveness Matrix: TCM) เพื่อให้ทราบถึงแนวทาง การพัฒนาด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในการเตรียมพร้อมทั้งเชิงรุก และ รับ เพื่อมุ่งให้ไทยได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากที่สุด สาระ สำคัญโดยสรุป มีดังนี้

หลั ง เข้ า สู่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (AEC) สินค้าเกษตรไทยส่วนใหญ่จะได้รับผล กระทบทัง้ ทางบวก และทางลบมากน้อยแตกต่าง กันไปในแต่ละสินค้า โดยภาพรวมของผลกระทบ ทางบวก อาจเกิดจากความพร้อมทางด้านต่างๆ ของไทย ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการ แข่งขันให้สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น โดย เฉพาะตลาดอาเซียน สร้างมูลค่าทางการค้าให้ ไทยได้ ม ากขึ้ น ด้ ว ย ส่ ว นผลกระทบทางลบ โดยภาพรวม มักเกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่ ทำให้ได้รับผลกระทบทางด้านราคาหากต้อง แข่งขันทางการค้า ส่วนการกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ได้ใช้การวิเคราะห์ Thailand Competitiveness Matrix หรือ TCM ที่พิจารณาทั้งทางด้าน Attractiveness Factors และ Competitiveness Factors เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการ แข่งขันของสินค้าเกษตรที่สำคัญที่มีผลได้ 6 ตำแหน่ง ได้แก่ 1) New Wave 2) Opportunity 3) Star 4) Troble 5) Question Mark 6) Falling Star โดยผลการวิ เ คราะห์ TCM ในสิ น ค้ า ด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง แต่ละรายการที่ ผลิตได้ในจังหวัดนครสวรรค์ สามารถกำหนดได้ อยู่ในตำแหน่ง Opportunity Star Trouble

ที่มา: วารสารเศรษฐกิจการเกษตร ปีที่ 58 ฉบับที่ 673 ธันวาคม 2555 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

67


Question Mark และ Falling Star รวม 5 ตำแหน่ง พิจารณารายละเอียดได้ดังนี้ “Opportunity Strategic Positioning” หมายถึ ง สิ น ค้ า ที่ มี อ นาคต เนื่องจากมีความต้องการทางการตลาด สูง มีศักยภาพในการสร้างรายได้ แต่มี ขีดความสามารถในการแข่งขันปานกลาง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาบางประการ สินค้า เกษตรของไทยที่อยู่ในตำแหน่งนี้ ได้แก่ มันสำปะหลัง และปลานิล

68

สำหรับแนวทางการพัฒนามันสำปะหลัง ของไทยเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปิด AEC คือ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยจัดสร้างท่าเรือ เพือ่ การพาณิชย์กลางโดยภาครัฐ และมุง่ พัฒนา ให้ไทยเป็น Trading Hub การจัดทำโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต) การจัดทำโครงการประกันภัย พืชผล และกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในตลาด ซื้อขายล่วงหน้ามากขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ด้านผลผลิตและราคา และการพัฒนามาตรฐาน สินค้าเพื่อการส่งออก

1) มันสำปะหลัง

2) ปลานิล

มันสำปะหลังเป็นสินค้าที่ไทยได้รับผล กระทบทางบวก เนือ่ งจากสามารถสร้างโอกาส ในตลาดส่งออกได้มากขึ้น เพราะปริมาณผล ผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อตลาดจีน อีกทั้งยัง ได้เปรียบทางการค้าเมื่อเทียบกับประเทศคูแ่ ข่ง สำคัญโดยเฉพาะเวียดนาม เพราะไทยมีการวิจยั และพั ฒ นาอย่ า งสม่ ำ เสมอ ทั้ ง ในเรื่ อ งการ พัฒนาสายพันธุ์ที่ดี การป้องกันกำจัดศัตรูพืช (โรค และแมลง) วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มีโรงงานแปรรูปทีท่ นั สมัย (มาตรฐาน HACCP และ ISO) มีมาตรฐานการส่งออกที่ดี มีการ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตตั้งแต่ปลูก จน ถึงเก็บเกี่ยว อีกทั้งมีระบบโลจิสติกส์ที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าต้นทุนการผลิตของ ไทยยังคงสูงกว่า อีกทัง้ สภาพความอุดมสมบูรณ์ ของดินยังคงต่ำกว่า ประกอบกับนโยบายรัฐบาล เวียดนามในปัจจุบันได้มุ่งเน้นพัฒนาการผลิต มั น เส้ น สะอาด ซึ่ ง อาจส่ ง ผลกระทบทางลบ ทางด้านราคาในอนาคต หากทุกภาคส่วนของ ไทยยังไม่เร่งพัฒนาคุณภาพมันเส้นสะอาดเพื่อ ส่งออกและแก้ปัญหาสิ่งเจือปนอย่างจริงจัง

แนวทางการพัฒนาปลานิลของไทยเพื่อ เลื่อนไปเป็น Star เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปิด AEC คือ การมุง่ พัฒนาการผลิตด้วยการศึกษา วิจยั พัฒนาด้านเทคโนโลยีการเลีย้ ง การพัฒนา ระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าปลานิล การสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อย และการมุง่ ขยายตลาด โดยส่งเสริมการประชาสั ม พั น ธ์ สิ น ค้ า ปลานิ ล ในต่ า งประเทศ และ ประชาสัมพันธ์สนิ ค้าปลานิลกับชาวต่างประเทศ ทีอ่ ยูใ่ นประเทศไทย พร้อมทัง้ สร้าง และเพิม่ ความ น่าเชื่อถือให้กับ THAI TILAPIA ในอาเซียน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ผลผลิตของไทยมีคุณภาพดี เป็นที่นิยม ของผู้ บ ริ โ ภคในตลาดอาเซี ย น มี โ ครงสร้ า ง พื้นฐานการผลิต/มาตรฐานการผลิตที่ดี โดย รูปแบบของผลผลิตเป็นปลานิลแช่แข็งทัง้ ตัวเพือ่ ส่งออกมากกว่าร้อยละ 80 แต่ต้นทุนการผลิต ของไทยค่อนข้างสูง และทรัพยากรการผลิตไม่ อุดมสมบูรณ์ ดังนัน้ ไทยจึงอาจได้รบั ผลกระทบ ทั้งทางบวกจากคุณภาพมาตรฐานของสินค้าที่ เอือ้ ต่อการขยายตลาด และผลกระทบทางลบด้าน ราคาหากต้องแข่งขันกับประเทศสมาชิกอื่นๆ


“Star Strategic Positioning” หมายถึง สินค้าที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิต และส่ ง ออกรายใหญ่ ที่ สุ ด ในอาเซี ย น ความต้องการสินค้าในตลาดอาเซียนอยู่ ในระดับสูง ซึ่งพิจารณาจากอัตราการ ขยายตัวในการนำเข้าสินค้าของประเทศ ในอาเซียนจากโลก ความสามารถในการ แข่งขันอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง สินค้าเกษตรของไทยที่อยู่ในตำแหน่งนี้ ได้แก่ อ้อยโรงงาน (น้ำตาลทราย) ปศุสตั ว์ ต่างๆ อาทิ สุกร โคเนื้อ/ผลิตภัณฑ์และ โคนม/ผลิตภัณฑ์ 1) อ้อยโรงงาน (น้ำตาลทราย) ถึงแม้ว่าอ้อยโรงงานของไทยจะมีความ สามารถในการแข่งขันมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนหลายด้าน โดยเฉพาะด้านระบบโลจิสติกส์ที่ดีกว่าด้านการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ได้ปริมาณ ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง และสามารถขยาย พืน้ ทีเ่ พาะปลูกได้มาก แต่ยงั คงพบปัญหาผลผลิต ต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งเกษตรกร รายย่อยขาดการรวมกลุม่ ทำให้ไทยอาจจะได้รบั ผลกระทบทัง้ ทางบวก และลบจากการเข้าสู่ AEC แนวทางการพัฒนาอ้อยโรงงานของไทย เพือ่ เตรียมพร้อมสูก่ ารเปิด AEC คือ การจัดทำ โครงการพัฒนาระบบชลประทานและแหล่งน้ำ ในพืน้ ทีป่ ลูกอ้อยนอกเขตชลประทาน การจัดตัง้ สถาบันวิจยั อ้อยและน้ำตาลทรายไทย การจัดทำ โครงการพั ฒ นาระบบสารสนเทศอ้ อ ย และ น้ำตาลทรายไทย การจัดทำโครงการจัดแปลง ปลูกอ้อย เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยใน พื้นที่ใกล้เคียง การส่งเสริมระบบการขนส่ง

น้ำตาลทรายทางน้ำ (แม่นำ้ ) และการขนส่งระบบ ราง เพือ่ เชือ่ มต่อตลาดอาเซียน และสาธารณรัฐ ประชาชนจีน (Connectivity) 2) ปศุสตั ว์ตา่ งๆ อาทิ สุกร โคเนือ้ /ผลิตภัณฑ์ และโคนม/ผลิตภัณฑ์ 2.1) สุกร ไทยได้ รั บ ผลกระทบเชิ ง บวกค่ อ น ข้างมาก เนือ่ งจากไทยมีศกั ยภาพในการแข่งขัน เป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจากเวียดนาม จึงสามารถสร้างมูลค่าทางการค้าได้เพิม่ ขึน้ แต่ ต้องมีการพัฒนาในอีกหลายด้าน เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถทางการแข่งขัน เพราะเดิมผลผลิต ส่วนใหญ่ผลิตเพือ่ บริโภคภายในประเทศมากกว่า ส่งออก อีกทั้งยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับขาดแคลน แรงงาน และไม่มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร แนวทางการพั ฒ นาสุ ก รของไทย เพือ่ เตรียมพร้อมสูก่ ารเปิด AEC คือ การศึกษา การผลิตการตลาดสุกรในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดทำเขตปลอดโรค FMD ของสุกร การ อำนวยความสะดวกทางการค้าโดยเฉพาะการ ค้าตามแนวชายแดนระหว่างประเทศ การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ การ พัฒนากลุ่ม/สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรต้นแบบ และ การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเนื้อสุกรในตลาด AEC 2.2) โคเนื้อและผลิตภัณฑ์ ไทยผลิตโคเนื้อ และผลิตภัณฑ์เป็น อันดับ 4 ของอาเซียน แต่ยงั ไม่เพียงพอต่อการ บริโภคในประเทศ โดยเฉพาะเนือ้ คุณภาพสูงจาก ต่างประเทศ โคเนือ้ (โคมีชวี ติ ) ทีผ่ ลิตได้สว่ นใหญ่ ส่งออกไปมาเลเซีย ส่วนเนือ้ โคแช่เย็นแช่แข็ง ส่ง ไปลาว โดยสินค้าของไทยมีมาตรฐานการผลิต ทีด่ เี ป็นทีย่ อมรับของตลาด มีการพัฒนาทางด้าน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

69


เทคโนโลยี แต่ไทยอาจจะได้รบั ผลกระทบทางลบ ทางด้ า นราคาที่ มี แ นวโน้ ม ลดต่ ำ ลงจนทำให้ เกษตรกรเลิกผลิตโคเนื้อกันมากขึ้น และอาจ ใช้ไทยเป็นเพียงทางผ่านเพื่อส่งออกสู่ประเทศ ในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น เนื่องจากปัญหาด้าน ต้ น ทุ น การผลิ ต ของไทยสู ง กว่ า ประเทศอื่ น ๆ โดยเฉพาะพม่า เพราะค่าจ้างแรงงานไทยสูงกว่า และหากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ สามารถ พัฒนามาตรฐานการผลิตและการตรวจ/ควบคุม โรคได้ ดี ขึ้ น จะกลายเป็ น คู่ แ ข่ ง ทางการค้ า ที่ สำคัญของไทย สำหรับแนวทางการพัฒนาโคเนื้อ และผลิตภัณฑ์ของไทยเพื่อเตรียมพร้อมสู่การ เปิด AEC คือ การมุ่งขยายการผลิตโคเนื้อ การพัฒนาระบบตลาด การอำนวยความสะดวก ทางการค้า การเพิ่มผลผลิตพันธุ์/การกระจาย พันธุ์โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และพ่อพันธุ์ 2.3) โคนมและผลิตภัณฑ์ ไทยสามารถผลิตน้ำนมดิบได้เป็น อันดับ 3 ของอาเซียน แต่ผลผลิตที่ได้ทั้งหมด นำมาใช้บริโภคในประเทศเท่านั้น ทั้งที่ไทยมี ประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแทบจะทุกด้าน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ ทีผ่ ลิตได้มคี ณ ุ ภาพมาตรฐานทีด่ ี อีกทัง้ เกษตรกร มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ดังนั้น ไทยอาจได้รับ ผลกระทบทางบวกจากการเข้าสู่ AEC หาก สามารถเพิ่มประมาณผลผลิตในประเทศ และ มุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออกให้มากขึ้น แนวทางการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ของไทยเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปิด AEC คือ การเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคของ เกษตรกร การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเพื่อการ แข่งขัน

70

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

การพัฒนาระบบตลาด การอำนวย ความสะดวกทางการค้า การผลักดันและสร้าง โอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม (HUB) ในภูมภิ าคอาเซียน และการพัฒนา ฟาร์มโคนมให้ได้มาตรฐานการจัดการฟาร์ม ที่ดี (GAP) “Trouble” หมายถึง สินค้าที่มีความ ต้องการของตลาดและความสามารถใน การแข่ ง ขั น ต่ ำ การวิ จั ย และพั ฒ นาและ เทคโนโลยี ก ารผลิ ต อยู่ ร ะดั บ ปานกลาง ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ ต่ ำ ต้ น ทุ น การผลิ ต สู ง โครงสร้างการผลิตมีปญ ั หา แต่ภาพลักษณ์ และระบบโลจิสติกส์ของสินค้าค่อนข้างดี สินค้าเกษตรของไทยที่อยู่ในตำแหน่งนี้ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มดิบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Seed) เป็นต้น 1) ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มดิบ เมื่ อ พิ จ ารณาด้ า นปาล์ ม น้ ำ มั น พบว่ า ผลผลิตปาล์มน้ำมันและผลผลิตน้ำมันต่อไร่ต่ำ เพราะการวิจยั และพัฒนาพันธุป์ าล์มน้ำมันของ ไทยยังมีน้อย ประกอบกับเกษตรกรขาดการ จัดการสวนปาล์มที่ดี สืบเนื่องจากการทำสวน ปาล์มในไทยเป็นระบบสวนขนาดเล็ก เกษตรกร ไม่กล้าลงทุนพัฒนาสวนปาล์มเพราะเกรงว่าจะ ไม่คมุ้ ค่ากับการลงทุน ตลอดจนปริมาณผลผลิต ที่ได้ไม่สอดคล้องกับระบบการผลิตน้ำมันปาล์ม ในประเทศ และนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับ พลังงานไม่ต่อเนื่อง/ขาดความชัดเจน รวมถึง การดำเนินนโยบายด้านประกันราคาเพื่อช่วย เหลือเกษตรกรภายในประเทศ ส่งผลให้ต้นทุน การผลิตน้ำมันปาล์มดิบของโรงงานสกัดน้ำมัน ปาล์มดิบไทยสูงขึ้น


สำหรับด้านน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทย นั้น ถึงแม้ว่าจะมีมาตรฐานการผลิตที่ดี เนื่อง จากมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีการผลิตเมื่อ เทียบกับประเทศอืน่ ๆ ทำให้นำ้ มันปาล์มทีไ่ ด้ มี ลักษณะใส ไม่มตี ะกอน และไม่เป็นไข แต่นโยบาย รัฐบาลขาดความชัดเจน ไม่มีแผนงานที่เป็น รูปธรรม และไม่ตอ่ เนือ่ ง ประกอบกับการบริหาร/ จัดการสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออก/นำเข้าน้ำมัน ปาล์มดิบ กระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบภายใน ประเทศ แนวทางการพัฒนาปาล์มน้ำมัน และ น้ำมันปาล์มดิบของไทยเพื่อเตรียมพร้อมสู่การ เปิด AEC คือ การกำหนดแผน/นโยบายเกีย่ วกับ การพัฒนาด้านพลังงานทางเลือกให้ชดั เจน โดย เฉพาะด้านการบริหารระบบการผลิตวัตถุดบิ ทัง้ ระบบ และสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ มุง่ เน้นปรับปรุง ระบบการผลิตในพื้นที่ปลูกเดิม อาทิ ด้านการ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ การจัดการสวนที่ดี การ เก็บเกี่ยวผลผลิต ควบคู่กับการขยายพื้นที่ปลูก ใหม่ การกำหนดระบบการผลิตให้สอดคล้องกับ โลจิสติกส์ การพัฒนางานวิจยั ด้านอุตสาหกรรม ต่อเนื่อง และการจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต 2) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Seed) ถึงแม้ว่าไทยจะมีการวิจัย และพัฒนา ด้านการผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อย่างต่อเนือ่ ง มี มาตรฐานสินค้าดีเป็นที่ยอมรับของตลาด แต่ รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนการใช้พันธุ์ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ GMOs ในเชิงพาณิชย์ ซึง่ ส่ง ผลต่อเนื่องในการวิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ พันธุ์ และกฎระเบียบไม่เอื้อต่อการพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพ หรือการนำเข้าพันธุกรรม

ที่ดีจากต่างประเทศ รวมทั้งไม่มีความชัดเจน เกี่ยวกับการบริหารการนำเข้าเมล็ดข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ และการขาดความพร้อมของโครงสร้างเพือ่ รองรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ GMOs เมือ่ เทียบกับคูแ่ ข่งทีส่ ำคัญ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่ ง จุ ด อ่ อ นของไทยเหล่ า นี้ ท ำให้ ไ ทยได้ รั บ ผล กระทบทางลบจากการเข้าสู่ AEC ค่อนข้างมาก ดังนั้น แนวทางการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ของไทยเพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ AEC คือ ภาครัฐควรกำหนดนโยบายทีช่ ดั เจนในด้าน GMOs เชิงพาณิชย์ มีการยอมรับ biotechnology (GMOs) ให้มากขึ้น และส่งเสริมให้มีการ วิจัย และพัฒนาอย่างครบวงจรควบคู่กับการ พั ฒ นานั ก วิ จั ย รุ่ น ใหม่ รวมถึ ง การแก้ ไ ขกฎ ระเบียบ/พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์ ความปลอดภัย และเป็นธรรมต่อการพัฒนาด้าน เทคโนโลยีชวี ภาพ โดยให้ภาคเอกชนเข้าไปมีสว่ น ร่วมในการออกนโยบาย และกำหนดกฎระเบียบ ควบคู่กับการดำเนินมาตรการมุ่งเน้นการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต “Question Mark” หมายถึง สินค้าที่มี ความต้องการทางการตลาดต่ำ แม้จะมี ความสามารถในการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง เพราะมีปญ ั หาทีเ่ กิดจากห่วงโซ่ มูลค่าบางส่วน จำเป็นต้องปรับตัวให้อยู่ รอด หรื อ ปรั บ เปลี่ ย นการผลิ ต ได้ แ ก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Grains) และข้าว 1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Grains) ปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ (Grains) ทีผ่ ลิตได้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายใน ประเทศ โดยเฉพาะป้ อ นอุ ต สาหกรรมผลิ ต อาหารสัตว์ ซึ่งขณะนี้ปริมาณการผลิตปศุสัตว์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

71


ขยายตัวสูงกว่าปริมาณการผลิตข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ในประเทศมาก ทำให้ผปู้ ระกอบการโรงงาน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ต่างมีการนำเข้าจาก ต่างประเทศอย่างต่อเนือ่ ง ดังนัน้ ผลกระทบโดย ภาพรวมหลังเข้าสู่ AEC คือ จะมีการนำเข้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศสมาชิกอาเซียน เข้ามาภายในประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะผลผลิต ทีไ่ ด้จากโครงการความร่วมมือสาขาการเกษตร และอุตสาหกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วม มือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Cho Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ระหว่าง กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ที่ได้รับ การยกเว้นภาษีนำเข้า และไม่ต้องมีใบรับรอง แหล่งกำเนิดสินค้า (Certicate of Origin: C/O) ที่ล้วนส่งผลกระทบต่อการตลาดข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ในประเทศ โดยเฉพาะทางด้านราคาซึ่งทำ ให้เกษตรกรไทยเสี่ยงต่อภาวะการขาดทุนจาก การผลิต เพราะต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ (Grains) ของไทยสูงกว่าหลายประเทศใน อาเซียน อีกทั้งปัญหาด้านความอุดมสมบูรณ์ ของทรั พ ยากรดิ น และน้ ำ ของไทยน้ อ ยกว่ า ประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า ลาว) ดังนั้นแนวทางการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ (Grains) ของไทยเพื่อเตรียมพร้อมการ เข้าสู่ AEC คือ การดำเนินมาตรการมุง่ เน้นการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยเฉพาะผลผลิตที่ ปลอดสารอะฟลาทอกซิน 2) ข้าว ถึ ง แม้ ว่ า ไทยจะมี ค วามพร้ อ มในหลาย ด้าน เนือ่ งจากเป็นผูส้ ง่ ออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีโครงสร้างการผลิต และมาตรฐานการผลิต

72

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

สินค้าดี สามารถผลิตข้าวได้หลากหลายชนิด และหลายชั้นคุณภาพ มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมข้าว ปริมาณผลผลิตเกินความต้องการ บริ โ ภคภายในประเทศ ผู้ ป ระกอบการและ โรงสีขา้ วมีศกั ยภาพสูง รวมถึงมีความได้เปรียบ เกีย่ วกับการประจักษ์วา่ ข้าวไทยเป็นข้าวคุณภาพ ดี ทำให้มปี ริมาณความต้องการบริโภคข้าวไทย มาก และมีความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่อง GMOs แต่อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีปัญหาในหลายด้าน เช่นกัน อาทิ ขาดระบบการบริหารจัดการข้าว ขาดการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวของ เกษตรกร ชาวนาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี ขาด ความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิน และน้ำ ขาดแคลนชาวนารุ่นใหม่ ตลอดจนการดำเนิน นโยบายแทรกแซงกลไกราคาของรัฐบาล และ ความเสียเปรียบทางด้านผลผลิตต่อไร่ตำ่ ต้นทุน การผลิ ต สู ง โดยเฉพาะหากเปรี ย บเที ย บกั บ เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย อีกทั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ยังมีน้อย ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนบาง ประเทศยังไม่ลดภาษีนำเข้าข้าวเป็น 0% ในปี 2558 ประกอบกับประเทศคู่แข่งด้านการผลิต ในกลุ่มประเทศอาเซียนแข็งแกร่งขึ้น เช่น พม่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบทั้งทางบวก และลบต่อข้าวไทยหลังเข้าสู่ AEC ผลกระทบทางบวก ได้แก่ ความได้เปรียบ ของการนำเข้าวัตถุดิบ ตลาดการค้าข้าวไทยใน อาเซียนใหญ่ขนึ้ ผูป้ ระกอบการสามารถย้ายฐาน การผลิตไปยังประเทศที่เหมาะสมกับการลงทุน ระบบโลจิสติกส์ในกลุม่ อาเซียนมีการพัฒนาให้มี ความสะดวก ใช้เวลาน้อย รวดเร็ว ประหยัด ต้นทุนด้านการขนส่งได้มากขึน้ ส่วนผลกระทบ ทางลบ คือ มีความเสี่ยงด้านการระบาดของ ศัตรูข้าวมากขึ้น ราคาข้าวของไทยอาจตกต่ำ


หากมีการลักลอบนำเข้าข้าวเปลือกจากประเทศ เพือ่ นบ้าน และหากมีการนำข้าวสารคุณภาพต่ำ เข้ามาผสม และส่งออก ซึ่งจะกระทบต่อภาพ ลักษณ์ของข้าวไทย แนวทางการพัฒนาข้าวของไทย เพื่อ เตรียมพร้อมสู่การเข้าสู่ AEC คือ การดำเนิน มาตรการมุง่ เน้นการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับคุณภาพข้าว พัฒนาพันธุข์ า้ วหอม และ พันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อจำแนกแนวทางการพัฒนาข้าวไทย ออกเป็นมาตรการเชิงรับ และเชิงรุก พบว่า มาตรการเชิงรับของไทย ประกอบด้วย การ ทบทวนกฎระเบียบ การส่งออกและนำเข้าข้าว ของประเทศไทย การเร่งรัดการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและ พระราชบัญญัตสิ วัสดิการชาวนา การตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพสินค้าข้าวด้านสุขอนามัย และสุ ข อนามั ย พื ช อย่ า งเข้ ม งวด ในขณะที่ มาตรการเชิงรุก ประกอบด้วย การดำเนินการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการผลิตปี 2555-2559 อย่างจริงจัง การเพิ่มศักยภาพ การวิ จั ย และพั ฒ นาการผลิ ต ข้ า ว การเพิ่ ม ประสิทธิภาพการผลิต การยกระดับคุณภาพ การลดต้นทุนการผลิต การแปรรูป และพัฒนา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข้ า ว และสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ของข้ า ว การเพิ่มศักยภาพการแปรรูป และผลิตภัณฑ์ การสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ของข้ า วให้ แ ตกต่ า งจาก ประเทศคูแ่ ข่ง การสร้างความเข้มแข็งของชาวนา และองค์กรชาวนา การกำหนดนโยบายการ จัดทำเขตพื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพสูง และการผลักดันการจัดระบบการปลูกข้าวใน พื้นที่ภาคกลางอย่างจริงจัง

“Falling Star Strategic Positioning” หมายถึง สินค้าที่มีความต้องการ ทางการตลาดต่ำ แต่มคี วามสามารถในการ แข่งขันอยู่ในเกณฑ์ดีทุกส่วนของห่วงโซ่ มูลค่า ดังนั้น จึงต้องพัฒนาและเพิ่มช่อง ทางการตลาดเพือ่ ปรับตัวให้อยูร่ อด หรือ ปรับเปลี่ยนการผลิต ปัญหา ได้แก่ ยางพารา ไก่เนื้อ/ผลิตภัณฑ์ และไข่ไก่ 1) ยางพารา ถึงแม้ว่าผลผลิตยางพาราของไทยมีคุณภาพมาตรฐานที่ดี มีส่วนแบ่งตลาดอาเซียนใน ระดับทีด่ ี โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนการผลิต ทั้งทางด้านวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเกษตรกร ผู้ผลิตมีความชำนาญในการเพาะปลูก ซึ่งอาจ ทำให้ไทยได้รบั ผลกระทบทางบวกจากการเข้าสู่ AEC แต่ยังคงพบปัญหาต่างๆ หลายประการที่ จะส่งผลกระทบทางลบต่อยางพาราไทย ทาง ด้านความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศ ผู้ผลิตอื่นๆ อาทิ ปัญหาเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ ระบบกรีดถี่ ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูงเพราะ ค่าจ้างแรงงานและต้นทุนพลังงานของไทยสูง การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทำได้ไม่มากนัก สืบเนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางยังมี ข้อจำกัดด้านเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิตใน การพัฒนาธุรกิจ อีกทั้งบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ด้านอุตสาหกรรมยางมีน้อย ทำให้การพัฒนา ยางพาราทั้งระบบค่อนข้างล่าช้า สำหรับแนวทางการพัฒนายางพาราของ ไทยเพือ่ เตรียมพร้อมสูก่ ารเปิด AEC เพือ่ พัฒนา จาก Falling Star เป็น Star คือ การมุ่งเน้น การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต และคุ ณ ภาพ ยางทีเ่ ป็นวัตถุดบิ การพัฒนาระบบตลาดยางใน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

73


ประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งพัฒนาให้ไทย เป็นศูนย์กลางยางพารา (HUB) และการส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ๆ อาทิ ตลาดใน กลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ซึ่ง เป็ น ประเทศที่ เ ศรษฐกิ จ เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว นอกจากนั้น ควรมุ่งการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมแปรรูปยาง ผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การเร่งรัดวิจัย และ พัฒนาอย่างมีมาตรฐานทางวิชาการ การเสริม รายได้ และยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต เกษตรกร ชาวสวนยาง การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร ล่วงหน้า หรือ AFET ให้เข้มแข็ง เพือ่ เป็นแหล่ง รองรับสินค้าในราคายุติธรรม 2) ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ไทยสามารถผลิตไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ได้เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับ 4 ของ โลก และมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อ เทียบกับประเทศอืน่ ๆ ทัง้ ทางด้าน Productivity ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีการผลิต และมาตรฐาน การผลิต แต่ผลผลิตทีไ่ ด้สว่ นใหญ่มากถึงร้อยละ 70 ใช้บริโภคในประเทศ มีเพียงร้อยละ 30 ที่ส่งออก อีกทั้งอัตราการเติบโตของส่วนแบ่ง ในตลาดอาเซียนค่อนข้างน้อย เพราะผลผลิต ของไทยส่วนใหญ่มุ่งเน้นการส่งออกไปตลาด ญีป่ นุ่ และสหภาพยุโรป ดังนัน้ หากต้องการให้ เกิดผลกระทบทางบวกจากการเข้าสู่ AEC ไทย ต้องมีการพัฒนาทางด้านข้อกฎหมาย อาทิ อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานใน โรงงานที่ได้รับสิทธิ์ BOI 3) ไข่ไก่ ถึงแม้ว่าไทยจะสามารถผลิตไข่ไก่ได้มาก เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย และมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมือ่ เทียบกับ

74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ประเทศอื่นๆ ทั้งทางด้าน Productivity ปัจจัย การผลิต เทคโนโลยีการผลิต และมาตรฐาน การผลิต เช่นเดียวกับไก่เนื้อ แต่ผลผลิตเกือบ ทั้งหมด (ร้อยละ 99) ใช้บริโภคในประเทศ มีการส่งออกน้อยมาก เพราะนโยบายภาครัฐไม่ สนับสนุน หากต้องการให้เกิดผลกระทบทางบวก จากการเข้าสู่ AEC ไทยต้องมุ่งเน้นขยายการ ผลิตให้มากขึน้ ควบคูไ่ ปกับการจัดการหาแหล่ง วัตถุดบิ อาหารสัตว์ทมี่ นั่ คง การจัดทำเขตปลอด โรคระบาด การสร้างสินค้าคุณภาพ การศึกษา พฤติ ก รรมผู้ บ ริ โ ภค และการขยายตลาดใน อาเซียน เมื่ อ พิ จ ารณาจากรายละเอี ย ดที่ ก ล่ า ว มาแล้วข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า หากเข้าสู่ AEC ในปี 2558 สินค้าเกษตรไทยในแต่ละ ชนิดจะได้รับผลกระทบทางบวก และทางลบ มากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันหน่วยงาน ทุกภาคส่วนต่างเร่งดำเนินมาตรการทั้งเชิงรุก และเชิงรับเพื่อให้ไทยเกิดความได้เปรียบมาก ที่สุด และเสียเปรียบน้อยที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญ อีกประการหนึ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการอย่าง เร่งด่วนควบคู่กับการจัดทำนโยบายด้านต่างๆ คือ การสร้างความตระหนักรู้ เพือ่ ให้เกษตรกร ไทยปรับตัวเพือ่ เตรียมพร้อมสูก่ ารเปิดประชาคม อาเซียน (AEC) โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยน พฤติ ก รรมด้ า นการผลิ ต มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นา คุณภาพสินค้า ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณ ผลผลิตต่อไร่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันทางด้านราคากับประเทศคู่แข่ง ตลอด จนเปิดโลกรับรู้ข่าวสารด้านการผลิต และการ ตลาด เพื่อหาแนวทางปรับตัวที่เหมาะสมกับ แต่ละบุคคลเพื่อให้สามารถคงอยู่ได้ในกระแส เศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป


เอกสารอ้างอิง กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. แนวทางพัฒนาการผลิตข้าวของไทยเพือ่ เตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558. เอกสารการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ศักยภาพการ แข่งขันของสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าประมงเพื่อ รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. เอกสารการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ศักยภาพ การแข่งขันของสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ. กรมปศุสตั ว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. การวิเคราะห์ศกั ยภาพสินค้าปศุสตั ว์ไทยใน AEC (Thailand Competitiveness Matrix: TCM). เอกสารการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ศักยภาพการ แข่งขันของสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์สนิ ค้า 4 กลุม่ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ และมะพร้าว (กะทิ). เอกสารการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม อาเซียนด้านการเกษตร. เอกสารการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขัน ของสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. การวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันผลไม้ เศรษฐกิจ 4 ชนิด (ทุเรียน ลำไย มังคุด มะม่วง). เอกสารการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการ วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

75


Around the World

จับตาโอกาสของธุรกิจ

เมล็ดพันธุ์ไทยในตลาดอาเซียน... รุกรับอย่างไรดี? โดย : โชติกา ชุ่มมี EIC (Economic Intelligence Center)

อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชของไทยยังมี ช่องว่างให้เติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศักยภาพในการก้าวไปสู่การเป็น “ศูนย์กลาง การผลิตเมล็ดพันธุ์” (Seed hub center) ทั้ง ในแง่การเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์เขตร้อน ของอาเซียน หรือแม้แต่การรับจ้างผลิตเมล็ด พันธุ์ให้กับต่างชาติ แต่สิ่งที่ทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชนไทยต้องเร่งปรับตัวคือ การปรับปรุง กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการ ลงทุน และการพัฒนาธุรกิจเมล็ดพันธุ์ รวมถึง การให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเมล็ด พันธุ์พืชให้มีคุณภาพสูงและทนทานต่อสภาพ อากาศต่างๆ ได้ดีขึ้น เพื่อให้เป็นที่ต้องการของ ตลาดอาเซียน และตลาดโลก “อาเซียน” คือ ตลาดส่งออกเมล็ดพันธุพ์ ชื อันดับหนึง่ ของไทย โดยมีสดั ส่วนการส่งออกราว 70% ของปริมาณการส่งออกทัง้ หมด ประเทศ ไทยนับได้ว่า เป็นแหล่งผลิต "เมล็ดพันธุ์พืช เขตร้อน" ที่มีศักยภาพสูงของภูมิภาคอาเซียน ทั้ ง จากความได้ เ ปรี ย บในด้ า นทำเลที่ ตั้ ง ของ ประเทศ ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม และภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมสำหรับการ ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพหลากหลายชนิด ตลอดจนโครงสร้างพืน้ ฐานทีด่ ี และความพร้อม ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นการผลิต รวม

76

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

ไปถึ ง ทั ก ษะความชำนาญด้ า นการผลิ ต ของ เกษตรกรไทย โดยในปี 2012 ไทยส่งออก เมล็ดพันธุ์พืชไปยังตลาดอาเซียนปริมาณรวม 12,937 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของปริมาณการส่งออกเมล็ดพันธุพ์ ชื ทัง้ หมดใน ปีทผี่ า่ นมา โดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการส่งออก เมล็ดพันธุผ์ กั และเมล็ดพันธุพ์ ชื ไร่ อาทิ ข้าวโพด มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา โดยมีเวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา เป็นตลาดส่งออกหลัก ขณะที่ความต้องการเมล็ดพันธุ์ในกลุ่ม อาเซียนยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีตอ่ เนือ่ ง สะท้อน ได้จากมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุข์ องไทยไปยัง ตลาดอาเซียนที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจาก 1,340 ล้านบาทในปี 2008 มาเป็น 1,756 ล้านบาทในปีที่แล้ว หรือมีอตั ราการเติบโตเฉลีย่ สะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 7% โดยพบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดเมล็ด พั น ธุ์ ใ นอาเซี ย นมากเป็ น อั น ดั บ 8 ของโลก รองจากสหรัฐฯ อินเดีย บราซิล จีน อาร์เจนตินา แคนาดา และอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับ ปัจจัยหนุนจากความสามารถของไทยในการ ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อนที่มีคุณภาพดี และ ได้รับมาตรฐานสากล รวมทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดความสม่ำเสมอของการ งอกของเมล็ดพันธุอ์ กี ด้วย ยิง่ ไปกว่านัน้ การให้


ความสำคัญในเรือ่ งการพัฒนาภาคเกษตรกรรม และความมั่นคงด้านอาหาร (Food security) ซึ่งถือเป็นนโยบายที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของภู มิ ภ าคนี้ และแนวโน้ ม การเพิ่ ม ขึ้ น ของ จำนวนประชากรในกลุ่มอาเซียนที่คาดว่าจะพุ่ง ไปอยู่ที่ 650 ล้านคน ภายในปี 2050 ก็เป็น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ความต้องการเมล็ดพันธุ์ พืชจากไทยซึ่งถือเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรม อาหารเพิม่ สูงขึน้ ตามไปด้วย รวมทัง้ ยังช่วยหนุน บทบาทของไทยในการมุ่งไปสู่การเป็น Seed hub center ของภูมิภาคในอนาคตอีกด้วย แต่อปุ สรรคสำคัญของไทยในการก้าวไปสู่ การเป็น Seed hub center คือ ข้อกฎหมาย และกฎระเบียบด้านพันธุพ์ ชื บางประการทีย่ งั คง ล้าสมัย และปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่ เอื้อต่อการลงทุน และการพัฒนาสายพันธุ์พืช ใหม่ๆ ซึง่ เป็นสิง่ ทีอ่ าจทำให้ไทยเสียเปรียบคูแ่ ข่ง จากชาติอื่นๆ ในอาเซียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังการเกิดขึน้ ของ AEC อย่างเป็นทางการ ในปี 2015 เนื่องจากปัจจุบันสมาชิกอาเซียน เกือบทุกประเทศได้มีการปรับปรุงข้อกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ให้มคี วามทันสมัย และเอือ้ ต่อการค้าการลงทุนด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์เพื่อ เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนในประเทศ นัน้ ๆ นำเข้าพ่อพันธุแ์ ม่พนั ธุพ์ ชื จากต่างประเทศ ได้อย่างเสรี เพื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์ใหม่ให้ได้ ผลผลิตสูง และต้นทุนต่ำสำหรับป้อนตลาด ทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศ ขณะที่กฎหมาย ของไทยระบุว่า ภายหลังการวิจัยและทดสอบ เสร็จเรียบร้อย จะต้องทำลายทิ้งพันธุ์พืชที่นำ เข้ามาโดยไม่อนุญาตให้ขยายผลไปสู่การวิจัย เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาค

เอกชนขาดแรงจูงใจในการวิจัย และปรับปรุง พั น ธุ์ ใ หม่ และหั น ไปลงทุ น ในประเทศอื่ น ที่ อนุญาตให้นำผลการวิจยั ไปต่อยอดสูก่ ารพัฒนา เชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ ปัญหาการละเมิด ลิขสิทธิ์ และการลักลอบผลิต และจำหน่ายเมล็ด พันธุ์ในไทย ก็เป็นอีกจุดบอดที่ส่งผลกระทบต่อ ความมัน่ ใจของผูป้ ระกอบการในการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงเมล็ดพันธุ์อีก ประการหนึ่งด้วย รวมทั้งความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนและ การเปลีย่ นแปลงของสภาพภูมอิ ากาศ (Climate change) แม้วา่ วิกฤติปญ ั หาโลกร้อนทีเ่ กิดขึน้ ใน ปัจจุบันจะนับเป็นโอกาสสำหรับไทยในฐานะ แหล่ ง ผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ พื ช เขตร้ อ น และทำให้ นานาชาติ หั น มาสนใจสั่ ง ซื้ อ เมล็ ด พั น ธุ์ พื ช ที่ ทนร้อนมากขึ้นก็ตาม แต่ในทางกลับกัน ปัจจัย ดังกล่าวก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนา เมล็ดพันธุ์พืช รวมทั้งคุณภาพและผลผลิตที่ได้ เพราะเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ผลผลิต พืชลดลง เนื่องจากพืชจำเป็นต้องใช้อาหารที่ สร้างได้ไปสำหรับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพ อากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะพืชที่มีถิ่นกำเนิด จากเขตหนาว เช่น กะหล่ำปลี และผักกาดขาว เป็นต้น หรือแม้แต่แนวโน้มการแข่งขันในธุรกิจ เมล็ดพันธุ์จากคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ซึ่งปัจจุบัน พบว่า จีนได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการปรับ ปรุ ง พั น ธุ์ ที่ รุ ด หน้ า และมี ก ารนำเทคโนโลยี ชีวภาพมาใช้อย่างแพร่หลาย เพือ่ ให้ได้สายพันธุ์ ใหม่ทใี่ ห้ผลผลิตสูง และทนต่อภาวะโลกร้อนได้ดี ยิ่งขึ้น รวมทั้งยังหันมาสร้างแบรนด์เป็นของ ตนเองมากขึ้นอีกด้วย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

77


รูปที่ 1 : “อาเซียน” คือตลาดส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชอันดับหนึ่งของไทย โดยพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยังตลาดอาเซียนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม (CAGR) อยู่ที่ 7% ต่อปี

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

รูปที่ 2 : ประเทศไทยตั้งเป้ายกระดับมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์เป็น 5,000 ล้านบาท ภายในปี 2016

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

78

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556


Implication - ไทยควรใช้ประโยชน์จากการเกิดขึน้ ของ AEC โดยใช้ประเทศในอาเซียนทีม่ ตี น้ ทุน ถูกกว่าเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำกลับมาใช้ในไทยหรือเพื่อส่งออกไป จำหน่ายต่อในตลาดต่างประเทศ โดยพบว่าปัจจุบนั บริษทั ผลิตเมล็ดพันธุร์ ายใหญ่ๆ ในไทยหลายรายกำลังให้ความสนใจในการเข้าไปลงทุนด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์ใน ประเทศอื่นๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า เนื่องจากประเทศเหล่านี้อนุญาตให้นำพ่อแม่พันธุ์พืชจากต่างประเทศ เข้าไปปรับปรุงพันธุ์ และต่อยอดการวิจัยในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งยังคงเป็นข้อจำกัด สำหรับไทยในปัจจุบัน - ขณะที่ภาครัฐ และเอกชน ควรร่วมกันกำหนดแผนยุทธศาสตร์เมล็ดพันธุ์ที่ ชัดเจนเพื่อเตรียมความพร้อมในการผลักดันให้ไทยเป็น Seed hub center ของอาเซียน ไม่วา่ จะเป็นการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และพระราชบัญญัตติ า่ งๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน การ เร่งออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืช รวมทั้งการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ของนักปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย รวมไปถึงการ วิจัย และพัฒนาสายพันธุ์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงคุณภาพของ เมล็ดพันธุใ์ ห้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรค และแมลง และตรงกับความต้องการ ของลูกค้ามากยิง่ ขึน้ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ และเครือ่ งหมายการค้า (Trade mark) เป็นของตนเอง ซึง่ นอกจากจะเป็นการเพิม่ ช่องทางการตลาดและมูลค่าเพิม่ ให้กับธุรกิจเมล็ดพันธุ์แล้ว ยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และยกระดับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุไ์ ทย รวมทัง้ สนับสนุนบทบาทของไทยในการ เป็น Seed hub center ของภูมิภาคอีกด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 152 กันยายน-ตุลาคม 2556

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ(ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด 6. บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท ท็อปฟีดมิลล์ จำกัด 9. บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 10. บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด 11. บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 12. บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด 13. บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด 14. บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด 15. บริษัท ตงชาง เครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด 16. บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด 17. บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด 18. บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด 19. บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2247-7000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2279-7534 โทร. 0-2910-9728-29 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 0-3488-6140-46 โทร. 0-2784-7900 โทร. 0-2757-4792-5 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2640-8013 โทร. 0-2886-4350




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.