รายนามสมาชิก
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.
บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด
27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51.
บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด
อภินันทนาการ
คณะกรรมการบริหาร
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์
นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด
บรรณาธิการ
แถลง
วารสาร ธุรกิจอาหารสัตว์ ฉบับนี้ จะเป็นฉบับสุดท้ายของปีนี้ และจะเป็น ฉบับที่เป็นรูปเล่มที่พิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ ให้หยิบจับและวางขึน้ หิง้ พร้อมจะ หยิบขึ้นมาได้ตลอดเวลา แต่หลังจากนี้ ท่านผู้อ่านจะไม่ได้พบเห็น วารสาร ธุรกิจอาหารสัตว์ เช่นนี้แล้ว ก็น่าเสียดาย แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลย ย่อมมี การเปลีย่ นแปลง และตอบสนองการช่วยโลกของเราในการลดการใช้กระดาษลง ด้วยการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งข้อมูลข่าวสารจะกระจายสู่ผู้ที่นำ ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางขึน้ จึงขอเชิญชวนท่านให้การสนับสนุนกิจกรรม ของสมาคมฯ ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ ภาคปศุสัตว์ ตลอดไป โดยท่านจะติดตามวารสารธุรกิจอาหารสัตว์ ได้ทาง เว็บไซต์ของสมาคม ที่ www.thaifeedmill.com ในรูปแบบ E-Magazine ซึง่ จะมีสสี นั มากขึน้ และผูส้ นับสนุน ในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์จะได้รับการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของบริษัทได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ สะดวกและกว้างขวางขึ้น ด้วยเว็บไซต์ www.thaifeedmill.com ของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เป็นที่ รู้จักมีผู้เข้าเยี่ยมชมหาข้อมูลมากขึ้นไม่แพ้เว็บไซต์ดังๆ ทั้งหลาย ในวารสารฉบับนี้ ยังคงเนื้อหาที่อัดแน่น ด้วยสาระที่เป็นประโยชน์ คือ
• หน่วยงานกลาง และการร่างกฎหมาย คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง • เบทาโกร ทุ่ม กว่าหมื่นล้าน ขึ้น ฟู้ดคอมเพล็กซ์ 5 แห่งทั่วไทย • เสวนาอุตสาหกรรมปลาป่นจะอยู่อย่างรับผิดชอบและยั่งยืนได้อย่างไร • บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืชและสัตว์เศรษฐกิจ • งานลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ ประมงของไทย • สรุปรายงานการเข้าร่วม Illinois Grain Industry Tour 2013 • การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของแซลโมเนลลาในเนื้อไก่จากการค้าปลีกถึงการบริโภค • การศึกษาอายุการจัดเก็บและประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของกลูตารัลดีไฮด์และอัลคิลเบนซิล ไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ บก.
วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์
Contents
1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
Thailand Focus หน่วยงานกลาง และการร่างกฎหมาย "คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง"
5
Food Feed Fuel เบทาโกรทุ่มกว่าหมื่นล้าน ขึ้น "ฟู้ดคอมเพล็กซ์" 5 แห่ง ทั่วไทย
8
เสวนาอุตสาหกรรมปลาป่นจะอยู่อย่างรับผิดชอบ และยั่งยืนได้อย่างไร?
11
ปีที่ 30
Vol.
153
พฤศจิกายน ธันวาคม 2556
การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของแซลโมเนลลา 60 ในเนื้อไก่จากการค้าปลีกถึงการบริโภค การศึกษาอายุการจัดเก็บและประสิทธิภาพ การฆ่าเชื้อแบคทีเรียของกลูตารัลดีไฮด์ และอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์
70
Thank You ขอบคุณ
80
Market Leader บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ
14
งานลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ในการพัฒนาระบบการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ประมงของไทย
22
Around the World สรุปรายงานการเข้าร่วม Illinois Grain Industry Tour 2013
25
ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก
ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข นายณัฐพล มีวิเศษณ์ นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568
Thailand Focus
หน่วยงานกลาง และการร่างกฎหมาย "คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง" ณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
ตั้งแต่ประเทศไทยมีการนำระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) หรือ ที่บางคนเรียกว่า เกษตรพันธสัญญา เข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจเกษตรอย่าง กว้างขวาง ครอบคลุมทั้งพืช และสัตว์ เป็น ระยะเวลายาวนานกว่า 30-40 ปีนั้น ไทย ยังไม่เคยมีหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานใด ทีจ่ ะเข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจัง และทีผ่ า่ นมา ผู้ประกอบการกับเกษตรกรต่างใช้ความไว้เนื้อ เชื่อใจกันเป็นหลัก ทั้งนี้ ผมเคยกล่าวถึงระบบ Contract Farming ด้ า นธุ ร กิ จ ปศุ สั ต ว์ ใ นประเทศไทย แล้วว่า มีใช้กันอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท ประกันรายได้ ประเภทประกันราคา และประเภท ประกันตลาด แต่ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายและ เกี่ยวข้องกับเกษตรกรในวงกว้างจะมีอยู่ใน 2 ประเภทแรก "ประเภทประกันรายได้" จะเหมาะกับ เกษตรกรรายย่อยเท่านั้น (และเหมาะสำหรับ ใช้ในประเทศกำลังพัฒนา) ผูป้ ระกอบการจะเป็น ผู้รับความเสี่ยงแทบทั้งหมด เพราะสุกร หรือ ไก่ที่นำไปให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นทรัพย์สินของ
บริษทั เช่น ความเสีย่ งด้านราคาผลผลิตทีผ่ นั ผวน ความเสี่ยงต่อโรคระบาดสัตว์ ความเสี่ยงต่อ ภัยพิบัติ และความเสี่ยงจากการจัดการดูแลที่ บกพร่องของเกษตรกร เกษตรกรจะลงทุนเฉพาะโรงเรือน อุปกรณ์ การเลี้ยง ค่าไฟฟ้า และควรจะใช้แรงงานใน ครอบครัว Contract Farming ประเภทประกัน รายได้ เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทำ มีรายได้โดยไม่ต้องอพยพครอบครัวไปทำงาน ในเมืองใหญ่ เกษตรกรจะมีรายได้แน่ๆ จะได้ มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการผลิต ดังนั้น จึงขอย้ำว่า เหมาะสำหรับเกษตรกร รายย่อยทีใ่ ช้แรงงานในครอบครัวเท่านัน้ เพราะ การจ้างแรงงานมักจะได้แรงงานที่ไม่มีคุณภาพ หรือการเปลี่ยนคนงานบ่อย ทำให้ผลผลิตหรือ ประสิทธิภาพการผลิตไม่ดี ในโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ จะมีเกษตรกรในประเภทประกันรายได้นี้อยู่ถึง 90% นั่นหมายความว่า ความเสี่ยงส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาดสัตว์ภัยพิบัติต่างๆ จะเป็นความเสี่ยงที่บริษัทเป็นผู้แบกรับ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
5
ยกตัวอย่าง เกิดภัยพิบตั นิ ำ้ ท่วมสุกร หรือ ไก่ที่ตาย หรือเสียหาย บริษัทจะเป็นผู้แบกรับ ทั้งหมด หรือกรณีเกิดโรคระบาด สุกร หรือไก่ ที่ตาย หรือเสียหาย บริษัทจะเป็นผู้เสียหาย โดยที่เกษตรกรยังมีรายได้อยู่ แต่จะเป็นรายได้ ขั้นต่ำตามที่ตกลงกันไว้ ขณะที่ "ประเภทประกันราคา" จะเหมาะ กับเกษตรกรรายใหญ่ทมี่ คี วามรู้ มีประสบการณ์ มีเงินทุนสูง (และเหมาะสำหรับประเทศทีพ่ ฒ ั นา แล้ว) เพราะถือเป็นการซื้อขายและทำธุรกิจ ร่วมกัน ปกติเกษตรกรกลุ่มนี้จะเลี้ยงไก่เนื้อกัน ราว 1-4 แสนตัว เกษตรกรกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซื้อ พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์จากผู้ประกอบการเมื่อได้ ผลผลิตตามมาตรฐานทีต่ กลงกันผูป้ ระกอบการ จะรับซื้อผลผลิตนั้นจากเกษตรกรในราคาที่ได้ ทำสัญญากันไว้ เท่ากับพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ โรงเรือน ต่างก็เป็นทรัพย์สินของเกษตรกร หากเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ภัยพิบัติ หรือโรค ระบาด เกษตรกรก็จะรับผิดชอบในความเสียหาย นั้น เอง แต่อ ย่างไรก็ ตาม ในความเป็น จริง เกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติจะไม่สามารถชำระ
6
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
หนี้ในงวดนั้นๆ แก่ผู้ประกอบการได้ จึงกลาย เป็นความเสีย่ งทีบ่ ริษทั ผูป้ ระกอบการจำเป็นต้อง รับภาระหนี้สะสมไปด้วยเช่นกัน ส่ ว นใหญ่ ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ คดี ฟ้ อ งร้ อ ง ของระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งมักจะเกิดกับ เกษตรกรในกลุม่ "ประกันราคา" .... ส่วนหนึง่ อาจเป็ น เพราะบางบริ ษั ท นำข้ อ ตกลงแบบ "ประกันราคา" ไปทำกับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เนื่อง จากรายย่อยไม่สามารถรับความเสี่ยงได้มาก เท่ากับกลุม่ เกษตรกรรายใหญ่ทเี่ ปรียบเสมือน นักธุรกิจ จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่เข้าใจกัน และนำไปสู่การฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันก็มี หรือบางส่วนก็เกิดจากการทุจริตไม่ซื่อสัตย์ และละเมิดข้อตกลงกันก็มี ดังนั้น การให้ความรู้ และสื่อสารให้เกิด ความเข้าใจบทบาทหน้าทีข่ องกันและกัน ระหว่าง ผูป้ ระกอบการกับเกษตรกร จึงเป็นสิง่ สำคัญมาก หรือหากประเทศไทยจะมีการสร้างสถาบันขึ้น มาเป็นหน่วยงานกลางเพือ่ ทำหน้าทีด่ แู ลการใช้ ระบบเกษตรพันธสัญญาอย่างเป็นธรรมก็น่าจะ
เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งผมเองกล่าวกับกลุ่มเกษตรกร และเครือข่ายเอ็นจีโออยู่เสมอว่า ซีพีเอฟ สนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่จะช่วยกำกับ ดูแล ตลอดจนเห็นด้วยทีค่ วรจะมีการร่างสัญญา กลางเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำ ข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกร เพราะเชือ่ ว่าน่าจะลดปัญหาการละเมิดข้อตกลง ซึ่งกันและกันได้ แม้ที่ผ่านมาเกษตรกรในระบบ ของซีพีเอฟที่ประสบปัญหาจะมีเพียง 1-2% เท่านัน้ อย่างไรก็ตาม ระบบ Contract Farming ด้านปศุสตั ว์จะมีบริษทั ขนาดใหญ่ตา่ งๆ นำไป ใช้อยูร่ าว 20-25 บริษทั และยังมีบริษทั ขนาด กลาง และเจ้าของธุรกิจอีกมากมายที่ต่างก็ นำระบบนีไ้ ปประยุกต์ใช้ในรูปแบบของตนเอง เช่น การปล่อยเกี๊ยว ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีปัญหา ถกเถียงกันมากน้อยเพียงใด ดังนั้น หากมี หน่วยงานกลาง และสัญญากลางมาเป็นแกน ให้ทั้งผู้ประกอบการทุกบริษัท และเกษตรกร นำไปเป็นหลักในการปฏิบตั ติ อ่ กันก็นา่ จะเป็น แนวทางที่ดี และเมือ่ เร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทน ราษฎร โดย พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน ประธาน คณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญให้ ซีพีเอฟ เข้าร่วม เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมแก่ เกษตรกรและผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้ระบบ
การผลิตแบบ Contract Farming หรือเกษตร พันธสัญญา ร่วมกับทางเกษตรกร องค์การ พัฒนาเอกชน (NGO) และภาครัฐหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงยุ ติ ธ รรม สภาทนายความ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่ง ซีพีเอฟยินดีให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่คาดหวังว่าจะลด ปัญหาเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งได้ ประเด็นสำคัญก็คือ การ ร่างสัญญากลาง และหน่วยงานที่จะจัดตั้งขึ้น มานี้ จำเป็นต้องมีผู้รู้ในเชิงเทคนิคการเกษตร อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ตัวแทนของสมาคม วิชาชีพสัตวบาล ตัวแทนของสมาคมวิชาชีพ สัตวแพทย์ ตลอดจนตัวแทนของสถาบันที่มี ความรูด้ า้ นเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาเป็นคณะ ทำงาน และคณะกรรมการเพื่อดูแล และให้ ข้อมูลเชิงวิชาการด้วย ซึ่งผู้รู้เหล่านี้จะช่วยให้ กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ แต่ละประเภท และเกิดประโยชน์เป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่าย ตลอดจนบังคับใช้ได้จริง เนือ่ งจาก เรือ่ งการเกษตรนีม้ คี วามเกีย่ วข้องกับเทคโนโลยี เกษตรใหม่ๆ ค่อนข้างมาก ขณะเดียวกัน คอนแทรกต์ฟาร์มมิง่ ในแวดวงเกษตรเชิงพืชก็แตกต่าง กับเกษตรปศุสัตว์ และจำเป็นต้องมีผู้รู้ในด้าน พืชเข้ามาด้วยเช่นกัน แล้วมาติดตามกันว่า การใช้ระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งภายใต้การดูแลของหน่วยงาน กลาง และสัญญากลางจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
7
Food Feed Fuel
เบทาโกรทุ่มกว่าหมื่นล้าน
ขึ้น "ฟู้ดคอมเพล็กซ์"
5 แห่งทั่วไทย
การแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ครบวงจร ทำให้ผู้ประกอบการแต่ละคน พยายามสร้างความได้เปรียบคู่แข่ง และลดความ เสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ วันนี้ "ดร.ณรงค์ชัย ศรีสันติแสง" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจเครือ "เบทาโกร" เพิ่งก้าวขึ้นมารับตำแหน่งหมาดๆ จากลูกหม้อ ที่ ค ลุ ก คลี ใ นวงการมากว่ า 36 ปี จะมาพลิ ก ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้เครือเบทาโกร • นโยบายที่จะเริ่มดำเนินการ เบทาโกรทำงานแข็งแกร่งมาตลอด เป็น องค์กรที่ใหญ่ แต่คนยังรู้จักน้อยอยู่ หน้าที่ผม ตอนนี้ อยากจะทำองค์กรให้คนรู้จักมากขึ้น โดย จะเน้ น โฆษณาทางด้ า นผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องบริ ษั ท มากขึ้น ส่วนการดำเนินธุรกิจในแต่ละสายธุรกิจ มีการขยายงานเพิม่ ขึน้ แน่นอน ส่วนการขยายสาขาเบทาโกรช็อปขณะนีม้ ี 100 สาขา ตัง้ เป้าหมาย ภายในปี 2558 ต้องมี 150 แห่ง ปี 2557 ต้องเปิดอีก 25 ช็อป และปี 2558 อีก 25 ช็อป ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณเดือนละ 2 สาขา ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
8
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
• การขยายธุรกิจภายในประเทศไทย ผมจะสร้าง "ฟู้ดคอมเพล็กซ์" ครบวงจร ไปตามภาคต่างๆ ประกอบด้วยโรงเชือดไก่ กำลัง การผลิต 70,000 ตัวต่อวัน ลงทุนแห่งละ ประมาณ 700 ล้านบาท โรงเชือดหมูอกี 300 ล้านบาท กำลังการผลิต 1,000 ตัวต่อวัน และ โรงงานอาหารแปรรูป เพราะเชือดแล้วจะมี เนื้อส่วนหนึ่งที่เป็นเศษ ถ้านำไปแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์จะเป็นการเพิ่มมูลค่า ถ้ารวมที่ดิน แต่ละภาคมีพื้นที่ 150-300 ไร่ ขึ้นไปทั้งหมด ตกแห่งละประมาณ 1,200-1,500 ล้านบาท รวมทั้งการจัดทำ "ดีโป" ในแต่ละภาค จะรวม อยูใ่ นบริเวณใกล้กนั ทัง้ หมด ทีผ่ า่ นมาเราคุยกับ เทสโก้ โลตัส, คุยกับท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต, บิ๊กซี ทุกคนก็ถามว่า เมื่อไหร่เบทาโกรจะสร้าง โรงเชือดทีต่ า่ งจังหวัด เพราะมีหา้ งสรรพสินค้า ที่เปิดในต่างจังหวัดมากมาย เขาไม่อยากจะขน หมู ขนไก่ ขนไข่ จากกรุงเทพฯ ไปแล้ว ตอนนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เลือกลงที่ จ.ร้อยเอ็ด ภาคเหนือเลือก จ.ลำปาง สำหรับภาคใต้ตอนล่างจะลงที่ จ.สุราษฎร์ธานี แต่ปัจจุบันภาคใต้มีโรงงานเชือดที่ จ.พัทลุง เงินลงทุน600 ล้านบาท เชือดอยู่ 30,000 ตัว ต่อวัน จะเปิดอย่างเป็นทางการเดือนมีนาคม 2557 พัทลุงจะเรียกคอมเพล็กซ์ หรือไม่ก็ได้ เพราะโรงเชือดหมูอยูใ่ นตัวเมือง โรงเชือดไก่อยู่ นอกเมืองห่างไป 10 กิโลเมตร แต่ได้เตรียม พืน้ ทีโ่ รงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ไส้กรอก, หมูหมัก, ไก่หมักไว้ สำหรับภาคตะวันออกไปดู จ.ปราจีนบุรี แต่ ยั ง ไม่ อ ยู่ ใ นแผนที่ ชั ด เจน ผมรอฟั ง ความ ชัดเจนเรื่องการประกาศเขตปลอดโรคระบาด จากกรมปศุสัตว์ ถ้าแน่นอน ผมพร้อมลงมือ
ขณะนี้ ผู้บริหารแต่ละภาคกำลังหาที่ดิน ถ้ า ใครมี ก็ น ำมาเสนอได้ เราต้ อ งการที่ ดิ น ระหว่างลำพูนไปลำปาง บริเวณเส้นนีท้ งั้ หมดเลย อยู่ติดถนนใหญ่ หรือจะเข้าไปสัก 1 กิโลเมตร จากถนนใหญ่กไ็ ด้ ส่วนร้อยเอ็ดต้องการบริเวณ พื้นที่จากร้อยเอ็ดวิ่งเข้ายโสธร เพราะเป็นจุด ศูนย์กลางที่เราไปขีดแผนที่แล้ว มันสามารถ เดินทางไปมุกดาหาร อำนาจเจริญได้หมด ส่วนแผนงานจะเริ่มก่อสร้างที่ไหนก่อน นัน้ หากหาซือ้ ทีด่ นิ บริเวณไหนได้กอ่ น จะลงทุน ทำก่อนเลย เพราะอยู่ในแผนที่พร้อมจะลงทุน ทันทีหลังซื้อที่ดินได้ ก่อสร้างทั้งหมดนี้ ใช้เวลา ประมาณ 18 เดือน ประมาณปี 2559 น่าจะ มีผลการดำเนินงานจากคอมเพล็กซ์แล้ว • ความเสี่ยงการทำตลาดในประเทศ โรงเชื อ ดในต่ า งจั ง หวั ด ส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ไ ด้ มาตรฐาน เบทาโกรจึงกล้า 1. ไปลงทุนสร้าง โรงงานเชือดทีไ่ ด้มาตรฐาน 2. การขายไก่ และ หมูมีชีวิต เป็นสิ่งที่มีความเสี่ยง วันนี้หมูหน้า ฟาร์ม ราคา 68 บาท ก็ยิ้มดีใจ หากราคาหมู มีชีวิตลงไป 48 บาท ก็ขาดทุน เบทาโกรจึ ง ลดความเสี่ ย งด้ ว ยการนำ หมู และไก่มาเข้าโรงเชือด แล้วแปรรูปออกไป เป็นชิ้นส่วน ขายพวกโมเดิร์นเทรด ความเสี่ยง จะลดน้อยลงเมื่อเปลี่ยนจากการขายสิ่งมีชีวิต มาขายเนื้อ ราคาขายไม่แกว่งขึ้น-ลงเหมือน สิ่ ง มี ชี วิ ต ซึ่ ง จะแกว่ ง ขึ้ น -ลงตามดี ม านด์ ซั พ พลายล้ ว นๆ สั ง เกตเวลาหมู มี ชี วิ ต ราคา 48 บาทต่อกิโลกรัม เขียงหมูยังราคา 100 บาทต่ อ กิ โ ลกรั ม ก็ เ พราะเวลาเป็ น เนื้ อ ไม่ ไ ด้ แกว่งตามสิ่งมีชีวิต พ่อค้าคนกลาง หรือเขียง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
9
รวยเละ ต้ น ทุ น เราจะได้ เ ปรี ย บคู่ แ ข่ ง ที่ ไ ม่ มี ฐานการผลิตที่ต่างจังหวัด ในอนาคตผมต้อง บริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ให้ดีกว่าปัจจุบัน ผมจะได้เปรียบเป็น 2 เท่า ในอนาคตเบทาโกร จะลดการขายสิง่ มีชวี ติ มาขายเนือ้ ทัง้ หมด ทัง้ นี้ ถ้ามีฟู้ดคอมเพล็กซ์ ผมเกือบไม่ต้องขยายการ เลี้ ย งปศุ สั ต ว์ เพราะปริ ม าณปศุ สั ต ว์ ที่ มี อ ยู่ พอจำหน่าย • การขยายธุรกิจอาหารสัตว์ เบทาโกรมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ 9 แห่ง กำลังการผลิตรวม 2.4 ล้านตันต่อปี ตอนนี้ เต็มกำลังการผลิต ทุกโรงงานต้องจ้างบริษัท อื่นผลิตให้เดือนละ 10,000 ตัน เราจะสร้าง โรงงานอาหารสั ต ว์ แ ห่ ง ใหม่ ที่ ภ าคตะวั น ตก ตอนนี้ ติ ด อยู่ ที่ ก ารหาที่ ดิ น ต้ อ งหาทำเลที่ เหมาะสม ไม่ใช่สร้างเสร็จ ชุมชนมาล้อมหน้า ล้อมหลัง แล้วไปฟ้องว่าเหม็นกลิ่นโรงงาน เรา ทำไม่ได้ โรงอาหารสัตว์ที่ภาคตะวันตก วางไว้ กำลังการผลิต 48,000 ตันต่อเดือน ใช้เงิน ลงทุน 1,700 ล้านบาท เป็นอาหารสัตว์บก อาจจะมีอาหารกุ้ง หรือไม่กำลังอยู่ระหว่าง พิจารณา
10
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
• การขยายธุรกิจในอาเซียน ปัจจุบนั ทีเ่ วียงจันทน์ ประเทศลาว มีฟาร์ม พ่ อ แม่ พั น ธุ์ สุ ก ร 1,000 แม่ ใ ห้ ผ ลผลิ ต แล้ ว ตอนนี้ จ ะขยายฐานไปที่ เ มื อ งปากเซ แขวง จำปาศักดิ์ อยู่ระหว่างการเจรจากับหุ้นส่วน จะทำฟาร์มแม่พันธุ์สุกรอีก 1,500 แม่ และ สร้างโรงงานอาหารสัตว์ กำลังการผลิตวางไว้ 12,000 ตันต่อเดือน มูลค่า 450 ล้านบาท ปัจจุบันที่ลาวส่งอาหารสัตว์เข้าไปขาย 2,000 ตันต่อเดือน กัมพูชา มีฟาร์ม 1,500 แม่ ส่งอาหาร สัตว์เข้าไปขาย 4,000 ตันต่อเดือน กำลัง ก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์บก กำลังการผลิต 18,000 ตัน แบ่งเป็นเฟสแรก 12,000 ตันต่อ เดือน และเฟสที่ 2 อีก 6,000 ตันต่อเดือน มูลค่าการลงทุน 700 ล้านบาท คาดว่าเดือน ธันวาคม 2557 จะแล้วเสร็จ ส่วนที่พม่า อยู่ ระหว่างศึกษากฎหมายการจัดตั้ง โดยสนใจ เข้าไปลงทุนที่ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์
Food Feed Fuel
เสวนา อุตสาหกรรมปลาป่น
จะอยู่อย่างรับผิดชอบ และยั่งยืนได้อย่างไร? ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2556 เวลา 12.00-15.00 น. ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทริ์น พลัส แกรนด์ ฮาวเวิร์ด ถ.เจริญราษฎร์ กทม.
สมาคมผู้ ผ ลิ ต ปลาป่ น ไทย จั บ มื อ ทุ ก ภาคส่วนสู่การผลิตอย่างรับผิดชอบ และยั่งยืน ตอกย้ำการปรับโครงสร้างการผลิตของไทยต้อง ถูกกฎหมาย ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน เพื่อ เป็นหลักประกันระยะยาวแก่คู่ค้า นายสงวนศักดิ์ อัครวรินทร์ชัย นายก สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย กล่าวในงานเสวนา หัวข้อ “อุตสาหกรรมปลาป่นจะอยู่อย่างรับ ผิดชอบ และยั่งยืนได้อย่างไร?” ว่า.. โรงงาน ปลาป่ น มี ก ารพั ฒ นาการขึ้ น เป็ น ลำดั บ จาก ความต้องการของตลาดที่เรียกร้องการรับรอง มาตรฐานต่างๆ เพื่อให้ผลผลิตปลาป่นที่ได้มา นั้น สะอาดปลอดภัย นำไปสู่การพัฒนามาตรฐานโรงงานอย่างต่อเนื่อง
ขณะนี้ มีสมาชิกโรงงานปลาป่นที่ผ่าน มาตรฐาน GMP แล้วกว่า 60 แห่ง จาก จำนวนโรงงานปลาป่นทั้งหมดกว่า 70 แห่ง นอกจากนี้ ปั ญ หาสำคั ญ ของอุ ต สาหกรรม ปลาป่นยังมาจาก “ที่มาของวัตถุดิบ” ซึ่งส่ง ผลกระทบไปตลอดห่วงโซ่การผลิต ตัง้ แต่ตน้ น้ำ คือ เรือประมง กลางน้ำ คือ โรงงานปลาป่น และปลายน้ำ คือ โรงงานอาหารสัตว์ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน รวมถึง ภาครัฐเพื่อมุ่งสู่การแก้ปัญหา และแสดงความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่ความ ยั่งยืนของอุตสาหกรรมได้ในที่สุด ด้าน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต้องยึดหลัก 3SSafety Security Sustainability หรือความ ปลอดภัย ความมัน่ คง และความยัง่ ยืน ปัจจุบนั โจทย์ของโลกเปลี่ยนไป โครงสร้างการผลิต จะต้ อ งเปลี่ ย นตาม จึ ง ต้ อ งเชื่ อ มโยงผู้ ผ ลิ ต ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตของประมง เข้าด้วยกัน ตัง้ แต่ชาวประมง เรือประมง โรงงาน ปลาป่น โรงงานอาหารสัตว์ ทุกคนในห่วงโซ่ตอ้ ง ตอบความยั่งยืนได้ ซึ่งต้องเริ่มจากมาตรฐาน ทีถ่ กู ต้อง แล้วถ่ายทอดสูช่ าวประมงว่า เขาต้อง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
11
จับปลาแบบไม่ทำลายสิง่ แวดล้อม ตลอดจนช่วย ดูแลธรรมชาติ ซึ่งอาจต้องใช้เวลา ขณะทีต่ น้ ทุนของการทำประมงจะเพิม่ ขึน้ เพราะเขาจะจับปลาได้น้อยลง ซึ่งตรงนี้เป็น โจทย์ที่ทุกภาคส่วนต้องมาดูแลต่อว่า หากต้อง การให้เกิดความยัง่ ยืน ก็ควรจะทำให้ชาวประมง มีรายได้ไม่น้อยไปกว่าเดิม “โรงงานปลาป่นจะทำให้สะอาดปราศจาก เชือ้ เหมือนโรงพยาบาลก็ได้ แต่ถา้ วัตถุดบิ เข้ามา แบบขยะ ออกไปอย่ า งไรก็ เ ป็ น ขยะ จึ ง เป็ น โจทย์ทตี่ อ้ งคำนึงว่า วัตถุดบิ ทีส่ ง่ เข้ามาโรงงาน ปลาป่นจะต้องถูกกฎหมาย ไม่ทำลายสิง่ แวดล้อม ซึ่งวันนี้ลูกค้า และผู้บริโภคเขาถามมาแล้วว่า วั ต ถุ ดิ บ ที่ ม าจากธรรมชาติ นั้ น ประเทศไทย เรามีหลักเกณฑ์อย่างไร เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่าเราทุกคนทำได้” นายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล ยั ง กล่าวอีกว่า จากการหารือร่วมกันในเบื้องต้น ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมประมง ได้ตกลงทีจ่ ะลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ร่วมกัน 2 ฉบับ เพือ่ พัฒนาอุตสาหกรรมประมง ไทยให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนหลังถูกโจมตีอย่างหนัก ในเรื่องของการจ้างแรงงาน และสิ่งแวดล้อม ทัง้ นี้ เอ็มโอยูทภี่ าคเอกชนเตรียมลงนาม ร่วมกันคือ การหาวิธีหยุดไม่ให้จ้างแรงงานที่ ผิดกฎหมาย ทั้งแรงงานเด็ก และการซื้อขาย แรงงานผิดกฎหมาย ซึง่ จะลงนามร่วมกันในวันที่ 11 พ.ย. นี้ "ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นทุกประเทศแถบ อาเซียน โดยเฉพาะไทยที่ถูกจับตามากที่สุด เนื่ อ งจากมี ค่ า แรงขั้ น ต่ ำ วั น ละ 300 บาท
12
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
สูงกว่าเพื่อนบ้านมาก จึงทำให้แรงงานจาก เพื่อนบ้านไหลเข้ามาทำงานในไทย หากปล่อย ไว้จะนำไปสู่การใช้เป็นข้ออ้างในการกำหนด มาตรการกีดกันทางการค้าทีไ่ ม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบ)ี จากสหภาพยุโรป" สำหรั บ การลงนามบั น ทึ ก ความเข้ า ใจ อีกฉบับ เป็นเรื่องของการหาวิธีในการพัฒนา อุตสาหกรรมประมงให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน เช่น กำหนดให้ใช้อุปกรณ์แหอวน หรือตาข่ายจับ ปลาที่ มี ข นาดตากว้ า งขึ้ น เพื่ อ ไม่ ใ ห้ สั ต ว์ น้ ำ ขนาดเล็กติดขึ้นมาด้วยซึ่งจะทำให้ต้นทุนของ ผู้ประกอบการสูงขึ้นอาจต้องปรับราคาเพื่อให้ อยู่ได้ สำหรับเบือ้ งต้นในช่วง 3 ปีแรกของการ ปรับตัวนี้ กรมประมงอาจต้องหางบประมาณ เข้ามาช่วยอุดหนุนให้ซึ่งอาจจะใช้งบประมาณ จากกองทุนที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่เขต การค้าเสรี (กองทุนเอฟทีเอ) ที่มีอยู่แล้ว ส่วน ระยะยาวเชือ่ ว่าจะช่วยทำให้อตุ สาหกรรมประมง ไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืนทั้งระบบ สำหรั บ ดร.จู อ ะดี พงศ์ ม ณี รั ต น์ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมง กล่าวว่า อาวุธ
คู่กายของประเทศไทยที่จะรับมือปัญหาในแวดวงประมงได้ก็คือ “กฎระเบียบ” ไม่ว่าจะเป็นด้าน แหล่งที่มาของปลา วิธีการจับปลา หรือด้านแรงงาน ซึ่งมาตรการต่างๆ ที่รัฐดำเนินการนี้ จะเป็นคำตอบให้ประเทศไทยสามารถตอบคำถามประเทศคู่ค้าได้ ซึ่งกรมประมงเองก็พยายาม ผลักดันให้เกิดการรับรองมาตรฐาน ดังเช่นที่โรงงานปลาป่นกำลังปรับตัวอยู่ในขณะนี้ ขณะที่ นายมงคล สุ ข เจริ ญ คณา รองประธานสมาคมการประมงแห่ ง ประเทศไทย กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมประมงที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ไม่ว่า จะเป็นการจดทะเบียนเรือ แรงงานถูกต้อง หรืออาชญาบัตรเรือ ซึง่ ตัวแปรสำคัญก็คอื กรมประมง อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกฝ่ายยอมรับ และเริ่มมีความเข้าใจตลอดทั้งห่วงโซ่
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
13
Market Leader
บทวิเคราะห์
สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.
1. ข้าว ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2556 ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ที่เกษตรกรขายได้ และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว อยู่ที่ 8,307 บาท/ตัน และราคา 13,000 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.7 และ1.9 ตามลำดับ ขณะที่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ 15,825 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวขาว 5% ส่งออก (F.O.B.) ราคา 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงร้อยละ 0.8 ส่วนราคา F.O.B. ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวขาว 10% อยู่ที่ 1,191 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และ 958 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และ 2.7 ตามลำดับ ซึ่งราคา F.O.B. ข้าวขาว 5% มีทิศทางปรับลดลงเช่นเดียวกับราคาข้าวไทยในตลาดโลกช่วงเดือนกันยายน 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 24.1
หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.
ที่มา: FAO (Oct. 2013)
14
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
สถานการณ์ข้าว ราคาเฉลีย่ ข้าวเปลือกเจ้า 5% และข้าวเปลือกเหนียวทีเ่ กษตรกรขายได้ในเดือนตุลาคม 2556 ปรับลดลงเนือ่ งจากมีความชืน้ สูง ทำให้ราคาปรับตัวลดลงตามความชืน้ ประกอบกับผูป้ ระกอบการ บางรายชะลอการสั่งซื้อข้าวตามการตลาดต่างประเทศที่ชะลอการซื้อเพื่อเปรียบเทียบชนิด และ ราคาข้าวฤดูใหม่จากแหล่งผลิตสำคัญ อาทิ เวียดนาม ที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงต้นฤดู ซึ่งผลผลิต ข้าวฤดูใหม่แถบภูมภิ าคเอเซียออกสูต่ ลาด อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าวหอมมะลิทมี่ คี ณ ุ ภาพยังคงเป็น ที่ต้องการของตลาดที่นิยมบริโภคข้าวใหม่ จะสั่งซื้อข้าวคุณภาพดี (ใหม่) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวหอมมะลิไทย นอกจากนี้ ภาวะการแข่งขันทางการค้าข้าวในตลาดโลกทวีความรุนแรงระหว่างอินเดีย ไทย และเวียดนาม ซึ่งมีผลผลิตข้าวฤดูใหม่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 สมาคมอาหาร เวียดนาม (VFA) ได้ประกาศกำหนดราคาส่งออก ขัน้ ต่ำ (Minimum Export Price) ข้าวขาว 25% ลดลงจากตันละ 365 เป็น 360 เหรียญสหรัฐฯ โดยเริม่ มีผลบังคับใช้ตงั้ แต่วนั ที่ 28 กันยายน 2556 เป็นต้นมา ในขณะที่ VFA เสนอให้รัฐบาลเวียดนามเจรจาขายข้าวให้รัฐบาลอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แองโกลา และเคนยา เพื่อชดเชยการส่งออกที่ลดลง (กรมการค้าต่างประเทศ ระบบออนไลน์: http://www.dft.go.th เข้าถึงข้อมูล ณ 24 ตุลาคม 2556) คาดการณ์ราคาเดือนพฤศจิกายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 1.0-1.2 อยู่ที่ราคา 8,230-8,400 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิจะปรับลดลงเล็กน้อย แต่ คิดเป็นร้อยละ 0.3-0.5 อยู่ที่ราคา 15,640-15,700 บาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว จะลดลงร้อยละ 0.8-1.2 อยู่ที่ราคา 12,850-12,900 บาท/ตัน เนื่องจากมีความชื้นสูง และ ความต้องการซื้อของตลาดชะลอลง ทั้งนี้ ไทยควรรักษาคุณภาพข้าวซึ่งเป็นจุดแข็งในการเพิ่ม อำนาจต่อรองทางด้านราคากับประเทศคู่ค้าท่ามกลางภาวะการแข่งขันทางการค้าตลาดโลกที่มี ความรุนแรงในขณะนี้
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนตุลาคม 2556 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 6.80 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.99 ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์สง่ ออก (F.O.B.) เท่ากับ 8.31 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.15 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
15
หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.
สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเดือนตุลาคม 2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมี ปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากในท้องตลาด เพราะเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประกอบกับยังคงมี ฝนตกในหลายพื้นที่แหล่งเพาะปลูกสำคัญ ส่งผลให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความชื้นสูง จึงทำให้ เกษตรกรขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ในราคาที่ลดลง ขณะนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยรัฐบาล ได้รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรไปแล้ว 18,000 ราย ในปริมาณกว่า 200,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยส่วนหนึง่ จะผลักดันปริมาณข้าวโพดเลีย้ งสัตว์สว่ นเกิน ในตลาดเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ กำหนดเป้าหมายที่ 500,000 ตัน ซึ่งมีผู้ส่งออกเข้าร่วม มาตรการดังกล่าวจำนวน 6 ราย คาดว่าภายในเดือนตุลาคมนี้ จะสามารถส่งออกได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ตัน ซึง่ ทีผ่ า่ นมา ได้ผลักดันให้มกี ารส่งออกอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ในส่วนของมาตรการ และ ในทางการค้าปกติของผู้ส่งออกเอง นอกจากนี้ กรมการค้าภายในได้ตรวจสอบความคืบหน้า การส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ท่าเทียบเรือเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ที่ได้รวบรวมจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือจำนวนกว่า 2,000 ตัน เพื่อส่งออก ไปยังประเทศมาเลเซีย และอีกกว่า 6,300 ตัน ที่ท่าเทียบเรือ อำเภอนครหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้มีการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังประเทศฟิลิปปินส์ด้วย (กระทรวง พาณิชย์, 22 ตุลาคม 2556) คาดการณ์ราคาเดือนพฤศจิกายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ จะเพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 1.00-2.00 อยูท่ รี่ าคา 6.87-6.94 บาท/กก. เนือ่ งจากมาตรการ แทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2556/57 ของรัฐบาลจะช่วยพยุงราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ให้สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว คือ ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งจะมีปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 66 จึงส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
16
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
3. มันสำปะหลัง
หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.
ราคามันสำปะหลัง เดือนตุลาคม 2556 ราคาหัวมันสำปะหลังสดทีเ่ กษตรกรขายได้ 1.97 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.22 ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 7.39 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.76 สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2557 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.98 ล้านไร่ และผลผลิต 28.75 ล้านตัน คาดว่า เดือนตุลาคม 2556 ผลผลิตจะออกสูต่ ลาด 1.25 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 4.36 ของผลผลิตทัง้ หมด และออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ประมาณ 5.20 ล้านตัน (ร้อยละ 18.09 ของผลผลิตทั้งหมด) ราคาที่เกษตรกรขายได้เดือนตุลาคม 2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนือ่ งจากมีฝนตกอย่างต่อเนือ่ ง ทำให้ลานมันส่วนใหญ่หยุดการรับซือ้ หัวมันสำปะหลังเข้าสูโ่ รงแป้งมัน และในบางพืน้ ทีท่ ถี่ กู น้ำท่วม เกษตรกรมีความจำเป็นต้องรีบขุดหัวมัน ทัง้ นี้ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการ นโยบายมันสำปะหลัง ได้อนุมัติโครงการรับจำนำหัวมันสำปะหลังสดจากเกษตรกรในฤดูการผลิต 2556/57 ปริมาณ 10 ล้านตัน ในราคากิโลกรัมละ 2.60 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาท เพือ่ ช่วยเหลือเกษตรกรผูป้ ลูกมันมันสำปะหลัง ซึง่ อยูร่ ะหว่างการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันช่วงที่ผลผลิตหัวมันสำปะหลังจะออกสู่ตลาดมาก ในเดือนธันวาคม สำหรับราคาปัจจุบันที่ผู้ประกอบการรับซื้อจากเกษตรกรถือเป็นราคาที่สูง เมื่อ เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่เริ่มมีการปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ซึ่งเมื่อรวมต้นทุนค่าขนส่งเข้าถึง โรงงานแล้ว ถือว่ายังคงต่ำกว่าราคามันสำปะหลังที่ผลิตในประเทศไทย ส่วนแนวโน้มราคาแป้ง มันสำปะหลังในปี 2557 คาดว่าจะปรับตัวลดลงอยูท่ ี่ 400-430 บาท/ตัน เมือ่ เทียบกับปี 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
17
เฉลี่ยอยู่ที่ 450 บาทต่อตัน เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบทดแทนแป้งมันสำปะหลัง กลับมีผลผลิตได้ตามปกติ คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2556 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลังทีเ่ กษตรกรขายได้จะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.0-2.5 อยู่ที่ราคา 1.92-1.95 บาท/กก. เนื่องจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลานมันส่วนใหญ่ หยุดการรับซื้อหัวมันสำปะหลัง ประกอบกับพื้นที่การผลิตประสบอุทกภัย ส่งผลให้ราคารับซื้อ หัวมันสดลดลงตามไปด้วย
4. ปาล์มน้ำมัน ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2556 ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้เท่ากับ 3.73 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.06 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 3.98 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อน ร้อยละ 5.69
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมการค้าภายใน
สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ราคาเฉลี่ ย ของปาล์ ม น้ ำ มั น ที่ เ กษตรกรขายได้ ใ นเดื อ นตุ ล าคม 2556 ปรั บ ตั ว ลดลง จากเดือนก่อน เนื่องจากในช่วงปลายปี หรือไตรมาสที่ 4 ของไทย เป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ออกมาสูต่ ลาดมากทีส่ ดุ โดยเฉพาะพืน้ ทีป่ ลูกปาล์มทางภาคใต้ จากจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และ
18
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
กระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มมาก เริ่มทยอยออกสู่ตลาด ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันมีการปรับตัว ลงเล็กน้อย การจัดการบริหารสต๊อกปาล์มน้ำมันที่มีปริมาณ 5.0-6.0 หมื่นตัน จึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรมีมาตรการช่วยแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำให้แก่เกษตรกร อาทิ 1) การเปิด ตลาดใหม่กับต่างประเทศที่มีความต้องการผลผลิตปาล์มน้ำมัน 2) ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นการระบายผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ คาดการณ์ราคาเดือนพฤศจิกายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.0-4.0 อยู่ที่ราคา 3.58-3.66 บาท เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ทยอยออกสู่ตลาด อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการใช้ปริมาณผลผลิตยังคงมีน้อย ทำให้ผลผลิตล้นตลาด และผลักดัน ให้ราคาลดลงได้
5. ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อเดือนตุลาคม 2556 ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 43.53 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 0.04 ราคาขายส่งไก่เนื้อมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ย เท่ากับ 37.00 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.64
หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
19
สถานการณ์ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ในเดือนตุลาคม 2556 ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากช่วงนี้ มีฝนตกชุกต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมบางพื้นที่ ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง ประกอบกับเป็น ช่วงเทศกาลกินเจ และปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง สถานการณ์ต่างประเทศ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เตือน ประชาชนระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะสายพันธุ์ H7N9 และ H5N1 โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลแพร่ระบาดของไข้หวัดที่กำลังจะมาถึง ทั้งนี้หน่วยงาน FAO และ USAID ได้สนับสนุนเงินทุนฉุกเฉินจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 80 ล้านบาท) สำหรับ วางแผนเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคกับภาครัฐของประเทศที่มีความเสี่ยง รายงานล่าสุดเมือ่ วันที่ 19 กันยายน 2556 ในประเทศกัมพูชา พบผูป้ ว่ ยไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 จำนวน 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดนกของ กัมพูชาปี 2556 ถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่พบรายงานการระบาดของไข้หวัดนกเป็นครั้งแรกในปี 2547 โดยพบว่าตัง้ แต่ตน้ ปี 2556 มีผปู้ ว่ ยโรคไข้หวัดนกทีย่ นื ยันทางการแพทย์ จำนวน 20 ราย (กรมการค้าระหว่างประเทศ, 14 ตุลาคม 2556) คาดการณ์ราคาไก่เนื้อเดือนพฤศจิกายน 2556 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้จะเพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 0.501.50 อยู่ที่ราคา 43.74-44.18 บาท/กก. เนื่องจากปริมาณฝนลดลง ประกอบกับสถานศึกษา ได้เปิดภาคเรียนแล้ว ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อไก่กลับมาสู่ภาวะปกติ ขณะที่ปริมาณไก่เนื้อ ที่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับปริมาณการบริโภค ส่งผลให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
6. กุ้งขาวแวนนาไม ราคากุ้งขาวแวนนาไม เดือนตุลาคม 2556 ราคากุ้งขาวแวนนาไมที่เกษตรกรขายได้ 266.75 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17.87 ราคาขายส่งกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร 273.61 บาท/กก. เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนร้อยละ 16.63
20
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.
สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม สำหรับราคากุ้งขาวแวนนาไมในเดือนตุลาคม 2556 ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณ ผลผลิตกุ้งขาวที่ยังคงออกสู่ตลาดน้อยจากผลกระทบของโรคตายด่วน (EMS) ทั้งนี้ ปัญหา โรคตายด่วนในกุง้ ขาว สร้างความเสียหายอย่างมากให้กบั ผลผลิตกุง้ ขาวของไทย มีการคาดการณ์วา่ ผลผลิตกุ้งรวมตลอดทั้งปี 2556 จะมีประมาณ 2.5-2.7 แสนตัน ลดลงกว่าปีที่แล้วกว่า ร้อยละ 50 ซึ่งนอกจากจะมีผลกระทบต่อการส่งออกแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทาง ด้านอาหารของไทยด้วย ล่าสุดหัวหน้าทีมนักวิจัยโรคตายด่วนในกุ้งขาว คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการนำสารกลุม่ โพลีฟนี อลมารักษาโรคตายด่วน ในกุ้งขาว (สารกลุ่มโพลีฟีนอล เป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และ สารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรียวิบิโอในกุ้งขาวที่ป่วย และ มีฤทธิ์เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยให้เซลล์ของตับและตับอ่อนของกุ้งแข็งแรง และฟื้นฟู จากการได้รับสารพิษจากแบคทีเรียได้ดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงกุ้งในบ่อที่ป่วยเป็นโรค ตายด่วนต่อไปได้ และกุ้งสามารถเติบโตในขนาดที่ตลาดต้องการ เป็นการบรรเทาความเดือนร้อน ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ คาดการณ์ราคาในเดือนพฤศจิกายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนร้อยละ 1.2-3.0 อยูท่ รี่ าคา 270-275 บาท/กก. เนือ่ งจากปริมาณผลผลิตกุง้ ขาวออกสูต่ ลาดน้อย แต่ความต้องการ ของตลาดยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
21
Market Leader งานลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ
ใน การพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา 9.30-12.00 ณ ห้องวิมานสุริยา โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ
อุตสาหกรรมประมง และผู้ผลิตสินค้า ประมง พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลง (MoU) ส่งเสริมการทำประมงอย่างรับผิดชอบ และ ยัง่ ยืนตลอดห่วงโซ่อปุ ทาน เพือ่ นำไปสูก่ ารผลิต อาหารปลอดภัยและมั่นคง ลดแรงกีดกันทาง การค้าจากประเทศคู่ค้า นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายก สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า การ ลงนามบันทึกข้อตกลง เพือ่ เป็นการวางรากฐาน การส่งเสริมการทำประมงอย่างยั่งยืนในระยะ ยาวของประเทศไทย โดยเฉพาะการให้ความ สำคัญกับการพัฒนาระบบนิเวศวิทยา ซึ่งถูก ทำลายลงไปเรือ่ ยๆ ตามการขยายตัวของจำนวน ประชากร และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้ ง นี้ สมาคมที่ ร่ ว มลงนามในบั น ทึ ก ข้อตกลงประกอบด้วย สมาคมการประมงแห่ง ประเทศไทย สมาคมผูผ้ ลิตปลาป่นไทย สมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคม กุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และ สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย โดยมีสาระ
22
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
สำคัญของข้อตกลงจะเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่แต่ละสมาคมจะสามารถไปปฏิบัติ ได้อย่างเคร่งครัด โดยจะเน้นในเรื่องการทำ ประมงจากแหล่งทีม่ า และเครือ่ งมือถูกต้องตาม กฎหมาย (ไม่เป็น IUU), การทำประมงที่ไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม, ไม่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย และความปลอดภัยทางอาหาร ข้อตกลงดังกล่าวยังได้กำหนดมาตรการ 3 แนวทาง ภายใต้ “โครงการพัฒนาและผลักดัน ผลิตภัณฑ์ประมงภายใต้มาตรฐานการผลิต และ การทำประมงอย่างรับผิดชอบ” ประกอบด้วย 1. ผลักดันให้มกี ารใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม 2. ส่งเสริม ให้ระบบการผลิตสินค้าและ ผลิตภัณฑ์ประมงของไทย มีการดำเนินการ อย่างรับผิดชอบทั้งระบบ 3. พัฒนาระบบการผลิตสินค้า และผลิตภั ณ ฑ์ ป ระมงของไทยให้ ก้ า วไปสู่ ค วามมั่ น คง และยั่งยืน นายพรศิลป์ กล่าวอีกว่า การเซ็นเอ็มโอยู นี้ มุ่งผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพ-
ยากรสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม, ส่งเสริมให้ระบบ การผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ประมงของไทย ให้เป็นการดำเนินการอย่างรับผิดชอบทั้งระบบ รวมทั้งการพัฒนาระบบการผลิตสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ประมงของไทยให้กา้ วไปสูค่ วามมัน่ คง และยั่งยืน ทัง้ นี้ กรมประมง และสมาคมการประมง แห่งประเทศไทย จะเป็นหน่วยงานสำคัญเริม่ ต้น ขับเคลื่อนหลักการดังกล่าวในการร่างกฎข้อ บังคับการจับปลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดย เฉพาะการบั ง คั บ ใช้ กั บ เรื อ ประมงไทยที่ มี อ ยู่ ประมาณ 10,000 ลำ นอกจากนี้ ยังต้องตั้ง หน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลและตรวจสอบการ บังคับใช้กฎหมายการประมงเพื่อให้ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องสามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายได้ “รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการ ปรั บ ปรุ ง วิ ธี ก าร และกฎหมาย รวมถึ ง การ พิจารณามาตรการอุดหนุนร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้ชาวประมงที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนสูง ขึ้ น สามารถประกอบอาชี พ ต่ อ ไปได้ ” นาย พรศิลป์ กล่าว พร้อมคาดว่า การดำเนินการ ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว จะสามารถดำเนิน การสำเร็จได้ภายใน 2-3 ปี ซี่งจะส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์ประมงและอาหารสำเร็จรูปของไทย เป็นการผลิตอย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับของ ผู้ซื้อในต่างประเทศ
ด้ า น นายนิ วั ติ สุ ธี มี ชั ย กุ ล อธิ บ ดี กรมประมง กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็น ต้นมา กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมมือ กับภาคประมง เช่น สมาคมการประมงแห่ง ประเทศไทย สมาคมผูผ้ ลิตปลาป่นไทย สมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ร่วมกันพัฒนาระบบ การรับรองการใช้วตั ถุดบิ สำหรับการผลิตอาหาร สัตว์ เพื่อให้กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ไทย ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อนำไปสู่การประมง อย่างยั่งยืน และมีคุณภาพในการผลิต อธิบดีกรมประมง กล่าวต่อไปว่า ทีผ่ า่ นมา การพัฒนาระบบของไทยยังคงเป็นการรับรอง แบบแยกส่วน กล่าวคือ รับรองเฉพาะการเพาะ เลีย้ งสัตว์นำ้ ทีไ่ ด้มาตรฐาน ไม่ทำลายสิง่ แวดล้อม และการทำประมงอย่างรับผิดชอบ แต่ยังไม่ได้ นำการผลิตอาหารสัตว์นำ้ มาเชือ่ มต่ออย่างเป็น ระบบ แต่วันนี้ การที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กับภาคการประมง มีเป้าหมายร่วมกัน ที่จะ ส่งเสริมให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย มีความปลอดภัย มัน่ คง และยัง่ ยืนตลอดห่วงโซ่ อุปทานเช่นนี้ เกิดเป็นความมุ่งหวังในการร่วม กั น พั ฒ นา ระบบการรั บ รองการใช้ วั ต ถุ ดิ บ อาหารสัตว์ อันจะส่งผลไปสู่การประมงที่ยั่งยืน ต่อไป
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
23
นายสงวนศักดิ์ อัครวรินทร์ชัย นายก สมาคมปลาป่น กล่าวว่า การผลิตปลาป่นเป็น ต้นน้ำของการผลิตสินค้าประมงทุกชนิด ปัจจุบนั ได้รับการต่อต้านว่าใช้วัตถุดิบที่มาจากการทำ ประมงผิดกฎหมาย ทั้งที่ 65% ของวัตถุดิบที่ ไทยนำมาใช้เป็นเศษปลาทีเ่ หลือจากโรงงานปลา กระป๋อง และซูรมิ ิ ส่วนอีก 35% มาจากปลาขนาด เล็กที่ไม่นิยมบริโภค และปลาที่ช้ำจากการคัด ปลา โดยทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย IUU นายสมศักดิ์ ปณีตธั ยาศัย นายกสมาคม กุ้งไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมประมงทั้งระบบ มีมลู ค่าการส่งออกแต่ละปีสงู ถึง 2 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ กุง้ มีมลู ค่าการส่งออกมากถึง 1 แสน ล้านบาท จึงต้องใช้วตั ถุดบิ ในการเลีย้ งกุง้ อย่าง รอบคอบและเป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้า ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้ สินค้าประมงไทยเป็นที่ยอมรับ และไทยจะเป็น ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคม อาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า การลงนาม ดังกล่าวเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือ และจะมี การลงนามความร่วมมืออีกครัง้ ในวันที่ 11 พ.ย. นี้ เรื่องการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
24
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมืออย่างจริงจัง เพราะการ ส่งออกปีนี้ปรับตัวลดลงอย่างมาก ทั้งปลาแร่ ซูริมิ ปลาหมึก โดยเฉพาะซูริมิลดลงถึง 25% ส่วนหนึง่ เป็นเพราะวัตถุดบิ น้อยลง และกฎเกณฑ์ ต่างๆ เข้มงวดมากขึ้น การส่งออกสินค้าของ ไทยจึงมีอุปสรรคต่อเนื่อง นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคม อุตสาหกรรมทูนา่ ไทย กล่าวว่า ปัจจุบนั วัตถุดบิ ทูนา่ ของไทยนำเข้าจากต่างประเทศทัง้ หมด และ ต้องซื้อจากเรือที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น การลงนามครั้งนี้จะส่งผลให้สินค้าของไทยเป็น ที่ ย อมรั บ ของตลาดมากขึ้ น ซึ่ ง ตลาดสิ น ค้ า ประมงยังมีโอกาสขยายตัวได้อกี มากตามกระแส อาหารเพื่อสุขภาพ นางสาวกัณญภัค ตันติพพิ ฒ ั น์พงศ์ นายก สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า การ เพิ่มขึ้นของประชากรโลกเป็นโอกาสของไทยใน การขยายตลาด แต่การขยายตลาดจะมีกฎเกณฑ์ ที่ยุ่งยากขึ้น โดยต้องรักษาสิ่งแวดล้อม และ ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ จึงเป็นหน้าที่ของ ผูป้ ระกอบการ และเกษตรกรทีต่ อ้ งผลักดันร่วม กับรัฐบาลทั้งต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
สุกรสมบูรณ์ เกษตรกรก็มั่งคั่ง โตไว • น้ำหนักมาก • แข็งแรง • สุขภาพดี
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
สรางความสำเร็จ เคียงคูเกษตรกรไทยมาอยางยาวนาน บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
Around the World สรุปรายงานการเข้าร่วม
Illinois Grain Industry Tour 2013 จัดโดย Illinois Department of Agriculture, USA ระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2556 ณ Illinois State, United State of America
Illinois, USA. รัฐอิลลินอยส์ (Illinois State) สหรัฐอเมริกา มีพื้นที่สำหรับการเกษตรจำนวนมากกว่า 74,600 แปลง นั่นหมายถึง การมีพื้นที่เฉพาะทำการเกษตรรวมกว่า 10.76 ล้านเฮกเตอร์ หรือคิดเป็น 75% ของพืน้ ทีท่ งั้ หมด ซึง่ สำหรับพืน้ ทีท่ เี่ ป็นเขตทีอ่ ยูอ่ าศัย พืน้ ทีท่ างธุรกิจ และพืน้ ที่ ไม่ใช้ประโยชน์รวมกันเพียง 25% เท่านัน้ ผลผลิตทางเกษตรส่วนใหญ่ของอิลลินอยส์ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Yellow Corn) ถั่วเหลือง (Soy Bean) อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากข้าวโพด เลี้ยงสัตว์อย่างเอทานอล (Ethanol) และกากเอทานอล (Distillers Dried Grain: DDGS) และ สินค้าปศุสัตว์อย่างเนื้อหมู (Pork) ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้สินค้าและผลผลิตทางการเกษตรของ อิลลินอยส์กลายเป็นอันดับ 3 ของอเมริกาที่มีการส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งมีมูลค่ากว่า 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จัดเป็น King of Product ของเกษตรกรชาวอิลลินอยส์ เป็นพืช ทางเลือกอันดับ 1 และมีถั่วเหลืองเป็นอันดับ 2 ซึ่งเป็น Queen of Product นอกจากนั้น ใน อิลลินอยส์มีโรงงานผลิต Ethanol มากถึง 14 โรงงาน ทำให้การผลิต DDGS ในแต่ละปีมีมาก ถึง 6.25 ล้านตัน และมีการส่งออกในแต่ละปี ทำเงินเข้าประเทศปีละประมาณ 1.375 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
25
โปรแกรมการเดินทาง • Illinois Department of Agriculture • University of Illinois Farm/RTX Farms • GSI • Farm Progress Show 2013 • Marquis Energy/Marquis Ethanol • Spirit Family Farms • Prairie Creek Grain/Transcoastal Supply • Seedburo Equipment • CME/CBOT ข้อมูลทั่วไปของอิลลนอยส์ • Capital: Springfield • Population: 12,910,409 • Number of Counties: 102 • Largest City: Chicago - 2,896,016 • Nickname: Land of Lincoln • Number of Farms: 75,900 • Average Farm Size: 348 acres • Total Farmland: 26.7 million acres Climate & Soil • สภาพภูมิอากาศของรัฐอิลลินอยส์เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืช • สภาพอากาศร้อนในช่วงฤดูร้อน เป็นตัวช่วยทางธรรมชาติให้พืชเติบโตได้ดี และฤดูหนาว ที่หนาวเย็นช่วยให้ดินเสริมความสมบูรณ์ด้วยตัวเอง • อิลลินอยส์ทางตอนใต้จะมีฝนตก 40 นิ้วต่อปี (1,016 มิลลิเมตร) และทางตอนเหนือ จะมีฝนราวๆ 34 นิ้วต่อปี (836 มิลิเมตร) • ทำเลที่ตั้งของอิลลินอย์จะมีลมจากอ่าวเม็กซิโกที่พัดพาเอาฝน และหิมะมา • ตอนเหนือจะมีอณ ุ หภูมเิ ฉลีย่ 25 องศาฟาเรนไฮต์ในเดือนมกราคม และ75 องศาฟาเรนไฮต์ เดือนกรกฏาคม ส่วนทางตอนใต้จะมีอุณหภูมิเดือนมกราคม 36 องศาฟาเรนไฮต์ และ 79 องศาฟาเรนไฮต์ เดือนกรกฎาคม • ความลึกเฉลี่ยของดินในพื้นที่ประมาณ 12.6 นิ้ว • พืน้ ทีบ่ างส่วนของอิลลินอยส์มที งั้ ทีแ่ พงทีส่ ดุ ในโลก และดินมีประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ เช่นกัน โดยลักษณะดินในรัฐมีความแตกต่างกันทางกายภาพถึงประมาณ 1,500 ชนิด
26
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
Crop and Livestock • ข้าวโพด และถั่วเหลืองเป็นพืชอันดับต้น ที่เป็นทางเลือกของเกษตรกร ที่มีมูลค่ารวมกัน มากกว่า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ • ข้าวโพดส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระบวนการ ของอาหารสัตว์ แต่ก็มีบางส่วนเข้ากระบวนการ ผลิตเอทานอล พลาสติก อาหาร และอื่นๆ • อิลลินอยส์ผลิตข้าวโพดมากพอในแต่ละ ปี และยังเหลือสำหรับการส่งออกไปต่างประเทศ • ถั่ ว เหลื อ งส่ ว นใหญ่ จ ะถู ก ใช้ กั บ อาหาร สัตว์ และบางส่วนก็แปรรูปไปเป็นน้ำมันถัว่ เหลือง ยาเวชภัณฑ์ สี เครื่องสำอาง และอื่นๆ • นอกจากนั้ น ยั ง เป็ น ผู้ น ำในการผลิ ต ฝักทอง และ horseradish ที่เป็นแปลงพิเศษ นอกเหนือจากพืชเศรษฐกิจข้างต้น • ผลิตวัวเนื้อ 1.38 ล้านตัว สุกร 4.05 ล้านตัว แกะ 0.069 ล้านตัว และ 0.2 ล้านตัว สำหรับม้า • รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมมากกว่า 1.8 ล้านปอนด์ตอ่ ปี และไข่ไก่อกี ราว 1.4 ล้านฟอง ต่อปี General • มีจำนวนเกษตรกร 156 ราย ในอิลลินอยส์ที่เป็น Farmer Feed • ที่ดินที่ถูกใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร 30.8 ล้านเอเคอร์ ใช้สำหรับ สิ่งก่อสร้างต่างๆ 3.3 ล้านเอเคอร์ และ 1.9 ล้านเอเคอร์ สำหรับระบบการขนส่งต่างๆ โดยภาครัฐ ยุทธศาสตร์ด้านทำเลที่ตั้งของรัฐอิลลินอยส์ อิลลินอยส์ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งทางด้านพื้นที่ทางการเกษตร และจุดเชื่อมโยง ทางด้านโลจิสติกส์ ทั้งการขนส่งทางบก ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งถือเป็นเครือข่าย ที่เชื่อมโยงถึงกันในทุกโมเดลของระบบโลจิสติกส์ เพื่อทำการกระจายสินค้าไปยังรัฐอื่นๆ ใน อเมริกา หรือการส่งออกไปทั่วโลก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
27
• การขนส่งทางราง อิลลินอยส์ เป็นศูนย์กลางของระบบเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งทาง รางของประเทศ ที่มีความยาวถึง 7,300 ไมล์ (11,748 กิโลเมตร) เมืองชิคาโกซึ่งถือเป็น Gate way ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอเมริกา ด้วยทำเลที่ตั้ง ทำให้อิลลินอยส์สามารถเชื่อมต่อกับ ซีกตะวันออก และตะวันตก ได้เป็นอย่างดี • การขนส่ ง ทางน้ ำ ถื อ เป็ น การขนส่ ง ที่มีต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำที่สุด และเป็นที่นิยมใช้ สำหรับการขนถ่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ เนือ่ ง จากมีพื้นที่การรองรับปริมาณการขนส่งที่มาก ทีส่ ดุ โดยความยาวของเส้นทางการขนส่งทางน้ำ ตลอดแนวชายแดนระหว่างรัฐ (Illinois, Mississippi and Kankaskia river) และเชื่อมต่อไปยัง มหาสมุทรแอตแลนด์ติก และทะเลเม็กซิโก 1,798 กิโลเมตร (1,118 ไมล์) การขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ และเป็นจุดเด่นของอิลลินอยส์บนแม่น้ำ Mississippi ซึ่งเป็นการ ขนส่งที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ทำให้มีท่าเรือจำนวน 13 ท่าเรือ ที่เปรียบเสมือนช่องทางการส่ง สินค้าออกสู่ตลาดโลก ทั้งตลาดเอเชีย ยุโรป ละตินอเมริกา ผ่านทางมหาสมุทรแอตแลนด์ติก และทะเลเม็กซิโก • การขนส่งทางบก จุดเด่นของระบบ การขนส่งทางบกของรัฐอิลลินอยส์ โดยเฉพาะ ทางรถบรรทุก คือการยกระดับถนนให้เป็นถนน Highway ที่มีความยาว 3,200 กิโลเมตร ที่เป็น โครงข่ายความเชือ่ มโยงระหว่างรัฐ และระยะทาง 55,500 กิโลเมตร สำหรับเมืองอื่นๆ ในอิลลินอยส์นนั้ ทำให้การขนส่งด้วยรถบรรทุก และการ เดินทางสัญจรทางบกจึงเต็มไปด้วยความสะดวกสบายทุกการ เดินทาง • การขนส่งทางอากาศ อิลลินอยส์มีท่าอากาศยาน ที่เป็นสาธารณะจำนวน 137 สนามบิน และหนึ่งในนั้นคือ ท่าอากาศยาน O’Hare International Airport ในเมืองชิคาโก ทีเ่ ป็นจุดศูนย์กลางของระบบการขนส่งทางอากาศทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ แห่งหนึ่งที่มี Airfreight shipment ไปยังทั่วทุกมุมโลก
28
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
Illinois Department for Agriculture
ความเป็นมา ย้อนกลับไปเมือ่ ปี 1819 สมาคมการเกษตรอิลลินอยส์ (Illinois Agriculture Association) ได้มีการรวมตัวกันเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 1853 ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กรจาก ในรูปแบบของสมาคมฯ มาเป็น Illinois State Agriculture Society โดยมีงบประมาณในการ ดำเนินกิจกรรมเริ่มต้นเพียง 1,000 USD ระยะเวลา 2 ปี ต่อมาในปี 1871 ได้มีการเปลี่ยน แปลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นชื่อในปัจจุบัน คือ Illinois Department of Agriculture ซึ่งอยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของคณะกรรมการสภาเมืองอิลลินอยส์ ซึง่ ในปัจจุบนั หน่วยงานมีงบประมาณดำเนินการ อยู่ที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และมีจำนวนพนักงานมากกว่า 600 คน ในอิลลินอยส์ สำหรับข้าวโพดทีป่ ลูกครัง้ แรกในรัฐอิลลินอยส์ ได้รบั อิทธิพลสายพันธุม์ าจากประเทศอินเดีย และรวมถึงพันธุ์ที่นำมาจากรัฐนิวอิงแลนด์ หลังจากนั้นกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ และภาคเอกชน ได้พัฒนาพันธุ์ของข้าวโพดมาโดยตลอด เพื่อปรับสภาพของการเติบโตเมล็ดพันธุ์ให้เข้ากับคุณภาพ ของดิน และสภาพภูมิอากาศของอิลลินอยส์ โดยในช่วงปี 1900-1905 มีการปลูกข้าวโพดพันธุ์ Reid's Yellow Dent ประมาณ 10 ล้านเอเคอร์ และมีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 120 บุชเชล ต่อเอเคอร์ ซึ่งถือว่าเยอะมากในขณะนั้น แต่พอมาถึงช่วงปี 1925-1950 พื้นที่ปลูกเริ่มลดหาย ไปจนเหลือประมาณ 8.8 ล้านเอเคอร์ และล่าสุดในปี 2012 อิลลินอยส์มีพื้นที่ปลูกถึง 12.8 ล้านเอเคอร์ และเป็นอันดับที่ 4 ในการผลิตข้าวโพด เป็นรองรัฐไอโอวา, มินนิโซตา และเนบราสกา โดยอิลลินอยส์มีผลผลิตเฉลี่ยปี 2012 105 บุชเชลต่อเอเคอร์ ลดลงจากปี 2010 และ 2011 ที่อยู่ราว 157 บุชเชลต่อเอเคอร์ ภายใต้ผลผลิตเฉลี่ยต่อปีราว 2 พันล้านบุชเชล ของข้าวโพด และ 450 ล้านบุชเชลของ ถั่วเหลืองในรัฐอิลลินอยส์ ทำให้ Illinois Department of Agriculture ได้มีการจัดตั้ง Illinois Grain Insurance Fund ขึ้นมาเพื่อให้ความเชื่อมั่นแก่การลงทุนของเกษตรกรในด้านการป้องกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
29
ความเสี่ยงของผลผลิต ทั้งในส่วนของข้าวโพด และถั่วเหลือง โดยมีแนวคิดง่ายๆ คือ การรักษา ผลประโยชน์สูงสุดให้แก่เกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักของรัฐอิลลินอยส์นั่นเอง จากสถิติของการเริ่มประกันพืชไร่ของหน่วยงานนี้ มีสถิติที่เห็นได้ชัดเจนว่า เกษตรกรเอง ให้ความสำคัญเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ จากทัง้ สภาพอากาศทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงไปจากอดีต ความไม่แน่นอน ของฝนที่จะตกมาในช่วงเวลาไหน และปัจจัยภายนอกที่จะกระทบต่อผลผลิตในไร่ของเกษตรกร ทำให้การทำประกันความเสีย่ งเป็นต้นทุนทีเ่ กิดขึน้ เพิม่ เติมมาจากต้นทุนการผลิตทัว่ ไป แต่จะทำให้ เกษตรกรสามารถกำหนดกำไรไว้ได้ในอัตราความเสี่ยงที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับเกษตรกรที่ไม่ได้ทำ ประกันเอาไว้ ซึ่งจากฐานข้อมูลพบว่า ปี 2012 มีถึง 81% ที่เกษตรกรให้ความเชื่อมั่นในการ ทำประกันในสินค้าข้าวโพด ถั่วเหลือง 77% และข้าวสาลีที่ 66% หน้าที่การทำงานและเป้าหมายของ Illinois Department for Agriculture • ตอบสนองนโยบายของนายกเทศมนตรีรฐั อิลลินอยส์ เพือ่ ให้มกี ารส่งออกเพิม่ ขึน้ เป็น 2 เท่า จากเดิมภายในปี 2014 • สร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาทางการเกษตรในทุกๆ สินค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ • สร้างพันธมิตรร่วมกับหน่วยงาน หรือองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพื่อความ ปลอดภัยทางอาหารให้แก่ประชาชนในรัฐอิลลินอยส์ • สนับสนุนและส่งเสริมด้านการนำเข้าและส่งออกในส่วนของสินค้าเกษตร และสินค้าปศุสตั ว์ โดยการจัดทำโปรแกรมการส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ ทั้งในส่วนของการให้ความรู้แก่เกษตรกร อย่างใกล้ชดิ การร่วมกับเกษตรกรในการทำวิจยั เพือ่ พัฒนาการผลิต การหาช่องทางด้านการตลาด ให้แก่ผู้ขาย หรือผู้ส่งออก เป็นต้น • การออกระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตที่ดีให้แก่สินค้าเกษตรใน รัฐอิลลินอยส์ รวมถึงการเป็นผู้ตรวจสอบ (Inspector) ในสินค้าต่างๆ ที่มีการควบคุม • การสร้างความยัง่ ยืนให้แก่สนิ ค้าเกษตร ทรัพยากรแหล่งน้ำ ความปลอดภัยทางอาหาร และ อื่นๆ ตามนโยบายหลักของรัฐ เป็นต้น อุตสาหกรรมที่รองรับผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลืองในอเมริกา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เอทานอล - ในรั ฐ อิ ล ลิ น อยส์ มี 14 โรงงานผลิ ต เอทานอลจากผลผลิตของข้าวโพด ซึ่งเพียงพอต่อความ ต้องการใช้ทั้งรัฐ รวมถึงเหลือพอที่จะส่งออกเป็นมูลค่า เพิ่มให้กับรัฐ โดยจะได้ผลผลิตเอทานอลเฉลี่ย 1.6 พัน ล้านแกลลอน จากผลผลิตข้าวโพด 560 ล้านบุชเชล
30
ถั่วเหลือง น้ำมัน - เป็นกระบวนการคัดแยกเอาน้ำมันออกมาจาก เมล็ดถั่วเหลืองด้วยกรรมวิธีการผลิตในรูปแบบต่างๆ ที่มี หลากหลายกรรมวิ ธี ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ ผลผลิ ต ที่ จ ะได้ หลังจากกระบวนการคัดแยก และเทคโนโลยีทใี่ ช้ ซึง่ ทำให้ by product ออกมามีคุณค่าทางโภชนาไม่เท่ากัน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระบวนการแปรรูป - นอกเหนือจากการผลิตเป็น เอทานอลแล้ว ข้าวโพดยังสามารถแยกส่วนประกอบออก เป็น Germ oil, starch, gluten และ hull ซึ่งในแต่ละตัว ก็ ส ามารถผลิ ต ออกเป็ น สิ น ค้ า ที่ ใ ห้ มู ล ค่ า ได้ ใ นทุ ก ส่ ว น อาทิ cornstarch, cooking oil, sweeteners, high fructose corn syrup, cereal, fuel นอกเหนือจากที่ จะนำมาเป็นอาหารสัตว์ ด้านการส่งออก - รัฐอิลลินอยส์มีสัดส่วนการส่งออก ข้าวโพดถึง 28% ของสินค้าเกษตรทั้งหมดที่ส่งออก
ถั่วเหลือง Soybean meal - เป็นผลที่ได้จากการสกัดเอาน้ำมัน ออก ที่เอาเปลือกนอกของเมล็ดถั่วเหลืองออก และส่วน หางของเมล็ดถั่วเหลืองจากเครื่องบดถั่วเหลืองจากอุตสาหกรรมการทำแป้งถั่วเหลือง ซึ่งมีค่าโปรตีนที่สูง และ ธาตุอาหารทีเ่ หมาะสมสำหรับอุตสาหกรมอาหารสัตว์ ซึง่ โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมู ซึ่ง กว่า 90% ของผลผลิตในรัฐทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการนี้ ด้านการส่งออก - การส่งออกถัว่ เหลือง และกากถัว่ เหลือง ของอิลลินอยส์ถือเป็นอันดับต้นๆ ของการส่งออกในด้าน สินค้าเกษตร โดยมีมลู ค่าสูงถึง 3.1 พันล้านเหรียญต่อปี
พื้นที่การปลูกพืชไร่ทางเศรษฐกิจของอิลลินอยส์ทั้งหมดกว่า 27 ล้านเอเคอร์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ประมาณ 12.8 ล้านเอเคอร์) ถั่วเหลือง (ประมาณ 9 ล้านเอเคอร์) ข้าวสาลี (ประมาณ 6.6 แสนเอเคอร์) และเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (1.5 แสนเอเคอร์) โดยมีสถานการณ์ภาพรวม ดังนี้ ช่วงเวลาการปลูกข้าวโพด และถั่วเหลืองของรัฐอิลลินอยส์ ปี 2013 ชนิดพืช ข้าวโพด ถั่วเหลือง
พื้นที่ในรัฐ ตอนล่าง ตอนกลาง ตอนบน ตอนล่าง ตอนกลาง ตอนบน
Earliest Planting Date 1 เมษายน 13 5 เมษายน 13 10 เมษายน 13 15 เมษายน 13 20 เมษายน 13 24 เมษายน 13
Final Planting Date 31 พฤษภาคม 13 5 มิถุนายน 13 5 มิถุนายน 13 20 มิถุนายน 13 20 มิถุนายน 13 15 มิถุนายน 13
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
31
ตารางแสดงผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพด และถั่วเหลืองในพื้นที่ต่างๆ ของรัฐอิลลินอยส์ ปี 2012
32
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของอเมริกา รายงานประจำเดือนสิงหาคม 2013 - ผลผลิตข้าวโพด คาดว่าจะอยู่ที่ 13.8 พันล้านบุชเชล เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จาก ปี 2012 ซึ่งจะเป็นสัดส่วนในการเพิ่มที่สูงที่สุดสำหรับสหรัฐอเมริกา ผลผลิตจะเฉลี่ยที่ 154.4 บุชเชลต่อเอเคอร์ เพิ่มขึ้น 31.0 บุชเชล จากปี 2012 ซึ่งเช่นเดียวกันที่มีสถิติผลผลิตต่อ เอเคอร์เฉลี่ยสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ส่วนพื้นที่ เก็บเกีย่ วคาดว่าจะอยูท่ ี่ 89.1 ล้านเอเคอร์ โดยไม่เปลีย่ นแปลงจากการคาดการณ์ตงั้ แต่เดือนมิถนุ ายน แต่ปรับเพิ่มขึ้น 2% จากปี 2012 สถานการณ์ถั่วเหลืองของอเมริกา รายงานประจำเดือนสิงหาคม 2013 - ผลผลิตถั่วเหลืองที่การคาดการณ์ที่ 3.26 พันล้าน บุชเชล เพิ่มขึ้น 8% จากปี 2012 ผลผลิตจะอยู่ที่ 42.6 บุชเชลต่อเอเคอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 บุชเชล จากปี 2012 ในส่วนของพืน้ ทีเ่ ก็บเกีย่ ว คาดการณ์ไว้ที่ 76.4 ล้านเอเคอร์ ลดลงน้อยกว่า 1% จากที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2012 เนื้อที่เพาะปลูกทั้ง ประเทศอยู่ที่ประมาณ 77.2 ล้านเอเคอร์ สถิติของผลผลิตต่อเอเคอร์เทียบระหว่างข้าวโพด และถั่วเหลือง ระหว่างปี 1970-2013 เมื่อเทียบกันระหว่างปี พบว่าผลผลิต ข้าวโพด มีความแปรผันมากกว่าผลผลิตถั่วเหลือง เห็นได้จากกราฟข้างต้น และล่าสุด เมือ่ ปี 2012 ทีเ่ กิดภัยร้อนทัว่ อเมริกา ทำให้ ผลผลิตข้าวโพดตกต่ำเป็นอย่างมาก แต่ใน ทางตรงกันข้าม ถัว่ เหลืองกลับได้รบั ผลกระทบ ไม่มากนัก ซึ่งจากสถิติข้อมูลดังกล่าวที่มีการเก็บย้อนหลังไปถึง 30 กว่าปี ทำให้เห็นได้ชัดว่า ผลผลิตข้าวโพดจะมีผลกระทบต่อปัจจัยภายนอกทางด้านการเจริญเติบโตที่มากกว่าถั่วเหลือง สัดส่วนการปลูกพืช GMO กับพืช Organic ข้าวโพดมีสดั ส่วนใช้เมล็ดพันธุ์ GMO ประมาณ 90% และเป็น Organic 10% ส่วนถัว่ เหลือง จะนิยมมากกว่า โดยมีการปลูกภาพรวมทั้งอเมริกา ถึง 95% ที่เป็น GMO และอีก 5% ที่เป็น Non-GMO โดยเมื่อได้สอบถามเจ้าของฟาร์มพบว่า ไม่สามารถรับรองได้ 100% ว่าจะไม่มีการ ปนเปื้อนจาก GMO แต่ก็เป็นเพียงโอกาสที่จะเกิดจากปัจจัยภายนอก อาทิ นก ลม เท่านั้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
33
ส่วนพืน้ ที่ จะแบ่งสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน และ มีการขึน้ ทะเบียนต่อหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง และ ราคาขายส่วนใหญ่แบบ organic จะสูงกว่า ประมาณ 2 US$/bushel
University of Illinois Farms & RTX Farms
เจ้าของ/ผู้บริหาร : Tim & Roxy Seifert รายละเอียดการติดต่อ : 217-306-4262
Mr. Tim Seifert เป็นเกษตรกรชาวอเมริกาที่มีการพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มอย่าง แท้จริง โดยฟาร์มแห่งนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1975 จากคุณตา ซึ่งมีการดำเนินการเรื่อยมา จนกระทั่ง ตกมาสูม่ อื ของ Tim เมือ่ ปี 1996 เป็นต้นมา สิง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนทีส่ ดุ จากการเปลีย่ นมือในการบริหาร จัดการคือ การใช้รูปแบบของเกษตรกรที่เป็นเครือข่าย (สมาชิก) มีการเก็บข้อมูลในทุกๆ ขั้นตอน ทุกปี ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว ราคาขาย ราคา CBOT นั้น ทำให้ Tim สามารถพยากรณ์ ราคาที่จะขายให้ในตลาด CBOT ในส่วนที่คาดการณ์ว่าราคาไม่ได้ตาม Break Even ก็จะเก็บ เข้าสู่ไซโลขนาดใหญ่ พืน้ ทีก่ ารเกษตรของ Tim แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ พืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ 1,500 เอเคอร์ และถัว่ เหลือง (Non-GMO) 1,500 เอเคอร์ โดยพืน้ ทีก่ ารปลูกของทัง้ 2 พืช จะแยกกันอย่างชัดเจน การปลูกจะหยอดประมาณกลางเดือนเมษายน และเก็บเกี่ยวกลางเดือนตุลาคม (ต้องเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะเกิดน้ำแข็งเกาะผลผลิต ซึ่งคาดว่าปีนี้จะเริ่มฤดูของ Frost กลางเดือน ต.ค.) ซึ่งในทุกๆ ครอปของการปลูก ไม่วา่ จะเป็นข้าวโพด หรือถัว่ เหลือง จะมีการลงบันทึกทุกรายการ เพือ่ การบริหาร จัดการด้านการเงินที่โปร่งใส และรวมถึงการคำนวณหาจุดคุ้มทุน (Break Even) ของต้นทุน การผลิตพืชแต่ละบุชเชล (Bushel) โดยจากการหาผลผลิตต่อไร่จากในฟาร์ม ได้ข้อมูลดังนี้
34
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
- White Corn (Food grade) 196 บุชเชล/เอเคอร์ (ประมาณ 1,191.36 กก./ไร่) - Yellow Corn (Feed grade) 238 บุชเชล/เอเคอร์ (ประมาณ 2,418.08 กก./ไร่) สำหรับการปลูก จะใช้เทคโนโลยี GPS สำหรับเครื่องจักร ที่ใช้ในการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นยา และ เก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อการเก็บเป็นฐานข้อมูลในทุกๆ ครั้งที่ทำการผลิต เพื่อนำมาเปรียบเทียบ และพัฒนาการผลิตให้ดีขึ้นในทุกๆ ปี เป็นที่น่าแปลกใจว่า การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของฟาร์มแห่งนี้ มีในทุกกระบวนการ แต่เมือ่ ได้สอบถามถึงการใช้ระบบน้ำเพือ่ มาบริหาร จัดการ และแก้ไขปัญหาเรื่องฝนขาดช่วง หรือแล้ง ทราบว่า ไม่มี การใช้ระบบน้ำใดๆ เข้ามาช่วยเหลือในด้านนี้ ซึง่ จะใช้การพยากรณ์จาก หน่วยงานภาครัฐอย่างเดียว ประกอบกับการทำประกันความเสีย่ งของ ผลผลิต (Risk Management) ด้วยการทำประกันผลผลิต (Crop Insurance) โดยข้อมูลจาก Springfield Regional Office ได้เริ่มมี การทำประกันผลผลิตสินค้าเกษตรมาตัง้ แต่ปี 1998 เป็นต้นมา และ มีแนวโน้มของเกษตรกรทีน่ ยิ มทำประกันดังกล่าวเพิม่ จำนวนขึน้ อย่าง ต่อเนื่องในทุกปี ในปี 2012 มีเกษตรกรในอิลลินอยส์ ทำประกัน ข้าวโพดไว้ที่ประมาณ 10 ล้านเอเคอร์ จากพื้นที่ทั้งหมด 12 ล้าน เอเคอร์ คิดเป็น 81% เลยทีเดียว ประวัติศาสตร์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อประมาณ 100 ปี ทีแ่ ล้ว RTX Farm ของคุณ Tim ได้มกี ารหาตัวอย่างข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ในอดีต และเริ่มเก็บตัวอย่างในฟาร์มของตัวเองในทุกช่วงของการ เปลีย่ นแปลง ซึง่ เริม่ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว (ฝักซ้ายสุด) ไล่มาจนถึงข้าวโพด ทีม่ กี ารปรับปรุงพันธุกรรมอย่างทีเ่ ห็นได้จากภาพ ล่ า งสุ ด ซึ่ ง จะพบว่ า ผลผลิ ต ต่ อ เอเคอร์ ข อง เกษตรกรอเมริกามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
35
ต้นทุนการปลูก และการคาดการณ์ราคา ตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าแปลงการปลูกทั้งถั่วเหลือง และข้าวโพดแบ่งออกเป็น 2 แปลง (Tim และ Sally) ต้นทุนการปลูกถัว่ เหลือง และข้าวโพดปี 2012 รวม 27,079.63 USD ผลผลิต รวมได้ดังนี้ 1. Corn 12,160 bushels 2. Bean 4,219 bushels *ตัวอย่างป้องกันความเสี่ยงของ TIM ราคาขายที่คาดการณ์ของถั่วเหลือง 14.9 $/b ซึ่ง Tim จะแบ่งขาย 70% (1,476.3x14.9 =21,992) ทำให้ได้รายได้ 21,992 $ และอีก 30% จะเก็บเข้าในไซโล และรอขายอีกทีทรี่ าคา 16 $ (632x16 = 10,112) นัน่ คือ ถัว่ เหลือง Crop นี้ จะทำให้เฉพาะในส่วนแปลงของ Tim จะได้รายได้ 32,104 $
Spirit Farms
เจ้าของ/ผู้บริหาร : John & Michelle Stewart รายละเอียดการติดต่อ : Office 815-695-5667, Mobile 630-768-0412 Email: michelle@spiritifamilyfarms.com
Spirit Farm ถือเป็นหนึง่ ในฟาร์มทีม่ ลี กั ษณะฟาร์มทีม่ คี วามทันสมัยสูง มีการบริหารจัดการ ฟาร์มอย่างมีระบบ ทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
36
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกให้มีการเป็นเอกภาพ ซึ่ง สมาชิกแต่ละรายมีพนื้ ทีท่ างการเกษตรตัง้ แต่ขนาดเล็กเพียง 10 เอเคอร์ ไปจนถึง 10,000 เอเคอร์ ซึ่งลักษณะของฟาร์มจะเปรียบเสมือนศูนย์กลางทั้งในเรื่องข้อมูล งานวิจัย และฐานของอำนาจ ในการต่อรองในด้านต่างๆ ให้แก่สมาชิก โดยที่ Spirit Farm คำนึงถึงการอยูร่ ว่ มกันด้วยผลประโยชน์ ที่เหมาะสมกับสมาชิกเป็นสำคัญ การใช้ระบบเทคโนโลยีในการผลิต เครื่องจักร การปลูกที่ทันสมัย โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องหยอด เก็บเกีย่ ว เตรียมดิน จากบริษทั Johndeere ทีจ่ ะจัดส่งให้ Spirit Farm ทุกปี เพื่อให้นำมาใช้กับสถานที่จริง และ เผยแพร่ความสามารถของเครื่องจักรแก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ Spirit Farm การวิเคราะห์ ค่าดิน การใช้ระบบ GPS ในการตรวจสอบพื้นที่ และการนำทางเครื่องจักรที่แม่นยำตรงตาม พื้นที่จริง เป็นต้น
สำหรับการปลูกพืชของ Spirit Farms จะใช้วธิ กี ารปลูกแบบ Crop Mix จากพืน้ ทีก่ ารเกษตร ทั้งหมดของ Spirit Farm มีจำนวน 20,920 เอเคอร์ โดยแบ่งออกเป็น • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 50% • ถั่วเหลือง (Non - GMO) 45% • ข้าว 5% Sustainable Farming Program Spirit Farm ดำเนินการสร้างความยั่งยืนสำหรับฟาร์มเกษตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่สร้างผล ประโยชน์ระยะยาวแก่เจ้าของที่ดิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีแผนงานที่ได้ดำเนินการไว้ 4 แผนงานดังนี้
1. Sustainable Agronomy Practices - แบบแผนการปฏิบตั เิ พือ่ สร้างความยัง่ ยืนต่อผลผลิต ทางการเกษตร 2. Respectful Land Stewardship - การดูแลให้เกิดความสำนึกต่อที่ดินทำกิน 3. Responsible Fiduciary Relationship - ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ และความ รับผิดชอบ 4. Impactful Community Involvement - สร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีพลัง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
37
วิสัยทัศน์ Spirit Farms มองยุทธศาสตร์ในอีก 35 ปีขา้ งหน้า ขณะทีป่ ระชากรโลกจะมีจำนวนเติบโต ขึ้นประมาณ 9 พันล้านคน และนั่นเป็นสาเหตุว่า เกษตรกรชาวอเมริกันจะต้องเป็นผู้นำในการ ผลิตอาหาร การผลิตวัตถุดบิ อาหารสัตว์เพือ่ ใช้หล่อเลีย้ งคนในโลกให้ได้ และหนึง่ ในผูผ้ ลิตรายใหญ่ ของโลกจะต้องเป็นครอบครัวของ Spirit Farms จากเดิมเมื่อปี 2005 ที่ Spirit Farm มีที่ดิน เพียง 610 เอเคอร์ ปัจจุบัน (ปี 2013) มีที่ดินจำนวนถึง 20,920 เอเคอร์ ลักษณะการดำเนินการ Custom Farming Solution: Spirit Farms ใช้การหลีกเลี่ยง “แบ่งเค้ก” แต่จะใช้วิธีการ สร้างความสัมพันธ์ของฟาร์ม ซึง่ พวกเขารูด้ วี า่ ทุกๆ คน มีความแตกต่างกันทัง้ ในส่วนของเกษตรกร ลูกไร่ พืชในแต่ละแปลง ดังนั้น ทีมงานของ Spirit Farms จึงเน้นทำงานร่วมกับเจ้าของที่ดินที่จะ ทำความเข้าใจ และดำเนินการตามเป้าหมายของแต่ละคน แต่ละแผนการจัดการฟาร์ม ซึง่ เป็นสูตร และดำเนินการได้โดยใช้ข้อมูลทางจากพื้นฐานทางการเงิน และรายงานสถิติของผลผลิตพืชที่เป็น รูปธรรม Sustainable Agronomy Practices: Spirit Farms ได้ดำเนินการสร้าง และทดลองวิธกี าร เพิม่ ผลผลิต และคุณภาพของทุกๆ แปลงที่ Spirit Farms เป็นเจ้าของ โดย Spirit Farms เดินตาม กับกฎเกณฑ์ง่ายๆ 1 ข้อ คือ จะต้องพัฒนา หรือดูแลที่ดินให้ดีขึ้นกว่าตอนที่พบมันใหม่ๆ Respectful Land Stewardship: Spirit Farms ให้ความสำคัญกับการทำเกษตรแบบ ระยะยาว โดยปกติในทุกๆ Crop ของการทำการเกษตร พวกเขาจะบำรุงรักษาแร่ธาตุในดินให้มี ความอุดมสมบูรณ์แทนทีจ่ ะใช้สารเคมี หรือปุย๋ เคมีเข้ามาเพิม่ ผลผลิต พวกเขาบอกว่า การวิเคราะห์ ค่าดิน และปรับปรุงดินให้มีแร่ธาตุที่คงที่สม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำการเกษตร ซึ่งจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า พืชที่คุณปลูกต้องการกินอะไร เราก็ต้องหาสิ่งนั้นมาให้พร้อมก่อน ทีจ่ ะปลูกพืชลงไป นัน่ จะทำให้เกิดความยัง่ ยืนสำหรับความอุดมสมบูรณ์ของทีด่ นิ ต่อไปอีกหลายรุน่ ที่จะสืบทอดในกิจการต่อๆ ไป Responsible Fiduciary Relationships: Spirit Farms มีความเข้มแข็ง และมั่นคง ทางด้านการเงินเป็นอย่างมาก รวมถึงการมีเครดิตที่ดีต่อเจ้าหนี้ และลูกหนี้ทั้งหลาย ทำให้การ บริหารจัดการทางด้านการเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีความโปร่งใส การจัดเก็บข้อมูลตัวเลขต่างๆ มีผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบ และควบคุมการหมุนเวียนของเงินได้ ที่สำคัญ Spirit Farms กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการขอใบรับรองในด้านสิ่งแวดล้อม (Certificate of Environment) ที่คาดว่าจะสำเร็จลุล่วงภายในปี 2013 Impactful Community Involvement: Spirit Farms เน้นการสนับสนุนชุมชนในชนบท ทีเ่ ราทำงาน และอาศัยอยู่ รับผิดชอบเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Ag Safe Day ให้ทนุ สำหรับการศึกษา อย่างต่อเนื่อง จัดแคมป์ฤดูร้อนสำหรับเด็กๆ และการจัดทัวร์เกษตรสำหรับทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
38
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
Spirit Farm ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ สวัสดิการของพนักงานภายใต้การดูแล ทัง้ ในเรือ่ งของเวลา ด้านการเงิน เป็นต้น ด้านเทคโนโลยี พื้นที่ทางการเกษตรของ Spirit Farms ที่กว้างใหญ่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เครื่องมือที่มี เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดความแม่นยำของข้อมูล และง่ายต่อการดำเนินการ โดยรถแทรกเตอร์ทุกคันของฟาร์ม จะติดตั้ง GPS mapping, precision planting, and smart devices นอกจากนี้ Spirit Farms ยังมีแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับการพัฒนาพืชไร่ ที่คอยสนับสนุน ทางด้านการตรวจสอบผลลัพธ์ของตัวอย่าง ด้วยเทคโนโลยีทที่ นั สมัย เพือ่ ให้แน่ใจว่าฟาร์มในแต่ละ แห่งจะได้รับประสิทธิภาพที่สูงสุด และการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพต่อดินในระยะยาว Spirit Farms อยู่ระหว่างการก่อสร้างสถานที่จัดเก็บผลผลิตที่มีความจุ 2 ล้านบุชเชล ทีถ่ กู ออกแบบโดย John ทีม่ คี วามรูท้ างด้านวิศวกร และถือเป็นไซโลที่ John เชือ่ ว่าเป็นทีท่ ที่ นั สมัยทีส่ ดุ ทั้งในด้านของคุณสมบัติในการรักษาคุณภาพผลผลิต ซึ่งเป็นการการันตีว่า ผลผลิตที่จะขายสู่ ท้องตลาดจากฟาร์มของพวกเขา เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ภาพบรรยากาศภายใน Spirit Farms
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
39
Farm Progress Show 2013
Decatur, Illinois
นิทรรศการการแสดงเทคโนโลยี และเครื่องมือการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ซึ่งปกติ จะมีการหมุนเวียนสถานที่จัดงานปี ละแห่งสลับกันโดยปี 2012 จัดขึ้นที่รัฐ Iowa และปี 2013 จัดที่รัฐ Illinois ซึ่งโดยปกติมักจะมีการจัดงานอยู่ในพื้นที่ที่มีการทำการเกษตรมากเป็นลำดับต้นๆ ของอเมริกา สำหรับภาพของงานในส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนการตัง้ Village ของแต่ละบริษทั ทีม่ นี วัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ มาออกงาน อาทิ Johndeere, GSI, Sukup, Kubota เป็นต้น นอกจากนี้ ก็เป็นการให้ความรู้ของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ Illinois Department of Agriculture, Soybean Association, มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น Farm Progress Events จะประกอบด้วยงานแสดงสินค้าและนวัตกรรมทางด้านการ เกษตรใหญ่ที่จะมีการจัดขึ้นในทุกๆ ปี ตามพื้นที่ตา่ งๆ ในอเมริกา โดยมีรายละเอียดการจัดงาน ดังนี้ Farm Progress Show - เป็นงานกลางแจ้งใหญ่ที่สุดใน อเมริกาที่มีการจัดขึ้นในทุกๆ ปี ใน 2 พื้นที่ทางการเกษตรของ อเมริกา พื้นที่แรกคือ เมือง Decatur รัฐอิลลินอยส์ (ที่จัดขึ้นในปี 2013) และเมือง Boone รัฐ Iowa ทีจ่ ะมีการจัดขึน้ สำหรับปี 2014 สำหรับการจัดงานนี้ มีผู้ประกอบการจากทั้งใน และต่างประเทศ เข้าร่วมงานมากมาย ภายในงานจะมีทั้งรูปแบบของการแสดงสินค้าของบริษัทต่างๆ ที่ได้นำเอา เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัยมาโชว์ และจำหน่าย การจัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อให้ความรู้ แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมงาน การแสดงนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ เครื่องบินเล็กบังคับรีโมทสำหรับการ โปรยปุ๋ย และยาฆ่าแมลง การนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น สามารถ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.FarmProgressShow.com Husker Harvest Days - งานแสดงนวัตกรรมทางด้านระบบการจัดการน้ำ ระบบการให้นำ้ ซึ่งถูกจัดขึ้น ณ พื้นที่ปลูกข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา (Western Corn Belt) ใกล้กับ
40
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
Explore your opportunities. Evonik opens a world of nutrition services and products – with new possibilities for more efficient, sustainable and profitable feed and animal production. You know what really counts.
Find out more by scanning this code with the QR-reader of your mobile-camera.
www.evonik.com/feed-additives feed-additives@evonik.com
Evonik (Thailand) LTD 25th Fl, Exchange Tower, Unit 2503 388 Sukhumvit Rd, Klongtoey Bangkok 10110
12-01-510 AZ EYO -Explore your opportunities- Reisfelder A4 englisch.indd 1
20.12.12 14:09
Grand Island, Nebraska มีผู้ผลิตมากกว่า 29 รัฐในอเมริกา และต่างประเทศเข้าร่วมตอบรับในงานเป็นประจำทุกปี (www. HuskerHarvestDays.com) New York Farm Show - งานแสดงสินค้าทีเ่ กีย่ วกับภาค การเกษตรทัง้ หมด ทีถ่ กู จัดขึน้ ในร่มทีเ่ มือง Syracuse รัฐ New York ซึ่ง Farm Progress ร่วมกับ Northeast Equipment Dealers Association ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงานนี้ขึ้น (รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม www. NewYorkFarmShow.com) Farm Progress Hay Expo - งานแสดงสินค้า และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิง่ สินค้า Dairy, Forage และ Hey ถูกจัดขึน้ ใน 3 พืน้ ทีข่ อง Iowa, Wisconsin และ Minnesota ที่จะมีการจัดเพียงแค่ 2 วัน เท่านั้น (รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม www.HayExpo.com) Farm Futures Ag Summit - งานสัมมนาทาง ด้านวิชาการที่เกี่ยวกับการเกษตร การปศุสัตว์ โดยมีผู้ เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา รวมถึงผู้ประกอบการ เกษตรกรที่ ประสบความสำเร็จด้านต่างๆ มาพูดคุย ให้มมุ มองแง่คดิ กับ ผูเ้ ข้าร่วมงาน เพือ่ นำไปปรับใช้ และพัฒนากับฟาร์มของตัวเอง (รายละเอียดเพิ่มเติม www.FarmFutures.com) ภาพบรรยากาศงาน Farm Progress Show 2013
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
41
JohnDeere เป็นบริษัทที่มีประวัติศาสตร์มาอย่าง ยาวนาน โดยจัดตัง้ ขึน้ มากว่า 100 ปี มาแล้ว และเป็นบริษทั ทีม่ ี สินค้าประเภทเครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับสาขาของ Johndeere ในประเทศไทย ได้มีสำนักงานสำหรับการกระจายสินค้า มีการทำการตลาดต่างๆ เพือ่ ให้เกษตรกรชาวไทยได้มผี ลผลิตทางการเกษตรทีด่ ขี นึ้ มากกว่าปัจจุบนั ซึ่งบริษัทเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภาคการเกษตรเป็นหัวใจสำคัญของคนส่วนใหญ่ของ ประเทศ และยังคงมีช่องว่างสำหรับบริษัทในเข้าไปช่วย Hagie เป็นอีกหนึ่งบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการ เกษตร โดยเริ่มจากธุรกิจครอบครัวในฟาร์มเล็กๆ รัฐ Iowa หลังจากนัน้ จึงได้มกี ารพัฒนาต่อยอดมาโดยตลอด ซึง่ ผ่านมาแล้ว กว่า 3 รุ่นของการเปลี่ยนมือภายในครอบครัว ทำให้ Hagie เติบโตขึ้นเป็นผู้นำอีกรายในด้านของเครื่องมือทางด้านการ เกษตร โดยเฉพาะข้าวโพด สำหรับการขยายตลาดของ Hagie ทราบว่า ภูมภิ าคเอเชีย กำลังจะมีสาขาของ Hagie เข้ามาเปิดทีป่ ระเทศกัมพูชา แต่สำหรับ ประเทศไทย มีเพียงการส่งเครือ่ งจักร อะไหล่ ชิน้ ส่วนต่างๆ เข้าไป ตามออร์เดอร์ของบริษัทผู้นำเข้ามากกว่าแนวคิดที่จะ มาตั้งสำนักงานขาย
42
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
GSI: GRAIN SYSTEMS
Larry Pritchett/Annette Martin รายละเอียดการติดต่อ : 1004 East Illinois Street-P.O. Box 20 Assumption, IL 62510 USA Phone: 217-226-4421 International Fax: 217-226-3404 www.grainsystems.com
ปี 1972 เป็นปี แรกที่ Grain Systems (GSI) เริ่มก่อตั้งขึ้น โดย Mr. Craig Sloan โดย เริม่ จะมีการดำเนินการผลิตสินค้าจากแผ่นเหล็กทีม่ พี นื้ ผิวเป็นรูปคลืน่ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของถังบรรจุ ผลผลิตการเกษตรขนาดใหญ่ หลังจากนั้นเพียง 16 ปี GSI ได้เติบโตทางธุรกิจจากที่เคยเป็น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้กา้ วมาสูก่ ารเป็นโรงงานทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก และปัจจุบนั GSI เป็น ผูผ้ ลิตและส่งออกสินค้าไปกว่า 70 ประเทศทัว่ โลก GSI เป็นโรงงานผูผ้ ลิตเกีย่ วกับบรรจุภณ ั ฑ์สนิ ค้า เกษตรขนาดใหญ่แห่งหนึง่ ของโลก โดยมี Storage Grain bins, grain silos, bin sweeps, spreaders, chain loop systems, commercial bucket elevators and conveyors เป็นต้น GSI มีสัดส่วนการขายโดยเฉลี่ยในประเทศ 65% และต่างประเทศ 35% เป็นผู้นำทาง การตลาดในสินค้าประเภท Grain และ Protein segments มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Assumption, Illinois มีโรงงานผลิตทีต่ งั้ อยูใ่ นอเมริกา อีก 6 โรงงาน และอีก 4 โรงงานผลิตทีต่ งั้ อยูต่ า่ งประเทศ ได้แก่ ในประเทศแคนาดา บราซิล มาเลเซีย และจีน ซึ่งทำให้ GSI มีพนักงานทั้งโลกรวมกันกว่า 2,500 คน จากประวัติความเป็นมาของ GSI พบว่า ได้มี แบรนด์/บริษทั ต่างๆ ภายใต้ GSI Group รวมกันถึง 13 แบรนด์ดว้ ยกัน อาทิ Automated Production (Swine), Cumberland Poultry, Charies bank เป็นต้น
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
43
ข้อมูลโรงงาน Assumption มีพื้นที่รวมของโรงงานมากกว่า 1,000,000 ตารางฟุต และมีคนงานรวม 940 คน โดยมี ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ Farm Grain Storage, Commercial Grain Storage และ Grain Storage Accessories ซึ่งสินค้าที่เป็น highlights ประกอบด้วย • Grain Storage GSI เป็นผู้นำด้านการผลิตโกดังเก็บผลผลิตทางการเกษตรมากกว่า 40 ปี โดยมีลกู ค้าทัง้ ใน และต่างประเทศทีใ่ ห้การยอมรับในคุณภาพของสินค้า รวมถึงระบบการทำงานของสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามความ ต้องการเฉพาะเจาะจงของลูกค้า • Farm Storage Grain Bins โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตรในฟาร์มที่มักจะเห็นได้ตลอดการเดินทางในพื้นที่ที่ทำการ เกษตร โดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ และถัว่ เหลือง ซึง่ ข้อดีทสี่ ำคัญทีส่ ดุ คือ การเก็บรักษา คุณภาพของผลผลิตไว้รอราคาขายของเกษตรกรได้ • Grain Bin Floors ระบบการจัดการบริเวณพื้นของโรงเก็บ/ไซโล ซึ่งสามารถที่จะสั่ง ตามแบบทีต่ อ้ งการได้ โดยทุกขัน้ ตอนของการผลิตจะเน้นทีค่ ณ ุ ภาพของสินค้า ความคงทน และการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ • Bulk Feed Tanks Bulk Feed Tanks (BFT) เป็นสินค้ายอดนิยมสำหรับอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ทมี่ ตี น้ ทุนไม่แพงนัก และมีความสะดวกต่อการใช้งา่ ย ซึง่ Tank ตัวนี้ สามารถที่จะบรรจุ Grain ได้หลากหลายชนิดตามที่ต้องการ ซึ่งระบบการ ป้องกันความชื้นด้านบน (หลังคา) และตัวถังรอบข้างถูกออกแบบมาอย่างดี สำหรับการรักษาความชื้นภายใน โดยมีขนาดให้เลือกมากมายมีพื้นที่การจัดเก็บได้มากถึง 77 metric tons (3,182 บุชเชล) Primary Processes ประกอบด้วย • Metal Fabrication • Machining • Extrusion • Powder Coat Paint • Welding • Assembly • Product Testing and R&D
44
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
MARQUIS ENERGY
John & Michelle Stewart Office: 815-925-7300 Toll free 888-925-7311 Fax: 815-925-9127, http://www.marquisenergy.com/
สำหรับ Marquis Ethanol มีโรงงานผลิตเอทานอลจำนวน 2 โรงงาน ได้แก่ ที่ตั้งโรงงาน • ผลผลิต Ethanol • ผลผลิต DDGS • ผลผลิต Corn Oil ระบบการขนส่งจากโรงงาน
Hennepin, Illinois 140,000,000 แกลลอน/ปี 360,000 ตัน/ ปี 4,000,000 แกลลอน/ ปี ทางน้ำ และทางรางรถไฟ
Necedah, Wisconsin 75,000,000 แกลลอน/ปี 181,000 ตัน/ ปี 1,400,000 แกลลอน/ ปี ทางรางรถไฟ
ภาพข้างซ้าย - เป็นจุดขนถ่ายเอทานอล หรือ DDGS ลงสู่เรือเพื่อขนส่งต่อไปยังจุดหมาย ภาพด้านล่าง - เป็นระบบการขนส่งทางรางรถไฟ ที่เชื่อมต่อกับรถบรรทุก ที่เรียกว่าเป็น Multimodel Transports ที่มีการขนส่งด้วยวิธีการ หลายรูปแบบ เพื่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
45
กระบวนการ Dry Mill Ethanol Process และ DDGS Corn DDGS คือ Corn Dry Distillers Grains with Solubles เป็นผลิตภัณฑ์ของ กากข้าวโพดที่เหลือจากอุตสาหกรรมโรงงานการผลิตเอทานอล (byproduct) ที่ใช้ข้าวโพดเป็น วัตถุดิบในการผลิต ซึ่งเป็นส่วนของกากข้าวโพดที่เป็นของแข็ง กับส่วนของกากข้าวโพด ซึ่งได้ มาจากกระบวนการผลิตเอทานอลมาทำให้แห้ง แล้วจึงนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยขั้นตอนการผลิต Ethanol และ DDGS มีดังนี้ (ตามภาพประกอบ) • การบดวัตถุดิบ โดยบดแบบแห้ง เพื่อการสามารถลดการใช้พลังงานที่ใช้ในการผลิต เอทานอลได้ถึงร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด การทำให้สุกและการทำให้เป็นของเหลว (Liquefaction) โดยผ่านความร้อนให้สกุ หลังจากนัน้ นำเข้าสูก่ ระบวนการ การเปลีย่ นแป้งให้เป็น น้ำตาล (Saccharification) โดยการใช้เอนไซม์เพือ่ เปลีย่ นแป้ งให้เป็นน้ำตาลสำหรับการหมักต่อไป • การหมัก (Fermentation) เป็นการหมักยีสต์ เพื่อให้เป็นเอทานอล ผลจะได้เอทานอล ที่ความบริสุทธิ์ ประมาณร้อยละ 10 และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจากขั้นตอนนี้นำไปใช้ ประโยชน์ได้ • การกลั่น (Distillation) เป็นการแยกเอาน้ำออก เพื่อให้ได้เอทานอลที่มีความเข้มข้นที่สูง - ขั้นตอนการผลิต DDGS จะประกอบด้วยการแยกส่วนที่เป็นของเหลว และของแข็ง ออกจากกัน (Separation) โดยเครื่องปั่นเหวี่ยง นำส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลือหลังจากกลั่นแยก เอทานอลไประเหย เพื่อทำให้เข้มข้นขึ้น (Evaporator) นำไปผสมกับส่วนของแข็งแล้วทำให้แห้ง (Drying) และเย็นตัวลง (Cooling) ซึ่งจะได้ออกมาเป็น DDGS • สำหรับการทำให้เอทานอลเหมาะสมกับการทำเป็นเชือ้ เพลิง จะใช้วธิ ี Dehydration ซึง่ เป็น การนำน้ำที่เหลืออยู่ในเอทานอลออก และหลังจากนั้นจะเติมสารบางอย่างลงไปเพื่อให้ดื่มไม่ได้ (Denature)
46
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • DDGS มีความเหมาะสมกับการใช้ในอาหารสัตว์ทเี่ ป็นสัตว์กระเพาะรวม เนือ่ งจาก DDGS เองเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีเยื่อใย (Crude Fiber: CF) ค่อนข้างสูง โดยให้ในรูปอาหารหยาบ คุณภาพดี หรือ Protected Protein เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีหรับสัตว์กระเพาะรวม แต่ใน กระบวนการผลิต DDGS ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ดีจึงทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพที่ดี โปรตีนสูง สารสีประเภท Xanthophylls สูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ที่สามารถอาศัย สารสีในการปรับปรุงคุณภาพสีไข่ไก่ให้มีสีที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้สารสีสังเคราะห์ • รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกับผูผ้ ลิตเอทานอล เพือ่ เป็น Alternative Energy มาโดยตลอดทำให้มีสินค้าปลายทางอย่าง DDGS มีการผลิตมากขึ้นจากอเมริกามีเทคโนโลยี การผลิตที่ดี และมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดที่สามารถให้ผลผลิตต่อไร่สูง • DDGS มี (Crude Fiber :CF) ทีค่ อ่ นข้างสูง เมือ่ ใช้ในสูตรอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดีย่ ว ในปริมาณมากๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการย่อยได้ลดลง และความต้องการกินอาหารของสัตว์ ลดลง ความต้องการใช้ DDGS ในอเมริกา 9% ใช้ในสัตว์ปีก 10% ใช้ในสุกร 39% ใช้ในวัวนม 41% ใช้ในวัวเนื้อ ในอาหารวัวนม และวัวเนื้อ ไม่ควรใช้ DDGS เกิน 30% ของสัดส่วนวัตถุดิบ ทั้งหมด เพราะมี Sulfur Content สูงมาก ส่งผลต่อระบบการทำงานของสมอง และมีความเป็น กรดสูง ทำให้สัตว์กินได้น้อยลง ส่วนในอาหารสัตว์ปีก เช่น ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไม่ควรใช้ DDGS เกิน 10% ของสัดส่วนวัตถุดิบทั้งหมด เพราะอาจปล่อย Ammonia มากผิดปกติ • ผลผลิต DDGS ในอเมริการวมประมาณ 42 ล้านตัน ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในอุตสาหกรรม เลี้ยงสัตว์ในอเมริกา ประมาณ 33 ล้านตัน และมีบางส่วนที่ส่งออกประมาณ 9 ล้านตัน โดยตลาดที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน เม็กซิโก แคนนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ส่วน ประเทศไทยเองมีการนำเข้ามาน้อยมาก จากที่ประเทศไทยเองมีผลผลิตข้าวโพดที่มีคุณภาพเยอะ ต่างจากประเทศอื่นที่นำเข้า DDGS ที่มีผลผลิตข้าวโพดน้อยมาก
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
47
SEEDBURO Equipment Company
Veronica Quintana Phone: 800 284 5779/ 217-421-0203 Fax: 217-421-0200 Email: vquintana@seedburo.com, www.Seedburo.com
Seedburo เป็นบริษทั ผูน้ ำทางด้านโรงงานผลิตเครือ่ งมือ และการกระจายสินค้าในอุปกรณ์ จำพวกเครื่องมือตรวจสอบ การวัดค่าต่างๆ เครื่องมือสำหรับการคัดแยก Grain, feed และ seed โดยมีสาขาอยู่ทั่วโลกมากถึง 90 ประเทศ โดยสำนักงานที่เมืองชิคาโกนั้น เป็นสำนักงานขายและ การกระจายสินค้า ไม่มีการผลิตแต่อย่างใด โดยจะมีโรงงานที่ผลิตอยู่ในประเทศเม็กซิโก Seedburo เป็นบริษัทที่มีการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การเกษตร ทั้งนี้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการผลิตขึ้นมานั้น จะมีการทำวิจัยร่วมกับ USDA และได้ รับรองจาก USDA ทุกชิ้นก่อนที่จะมีการจำหน่ายโดยทั่วไป ตัวอย่างของสินค้าอาทิ Brass Grain Probes, Boerner Grain Divider and Precision Dividers, Counts-A-Pak Seed Counters, Burrows Moisture Testers, SEEDBURO Computer Grain Scales เป็นต้น
48
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
Sunny-Side
Up A golden outlook.
Kemin is ushering in a new dawning in carotenoid advancement with Quantum GLO™. Quantum GLO is a new generation of carotenoids that offers better bioavailability and gives the desired yolk color score that you want at a lower cost. This means using less Quantum GLO while still getting the beautiful sunny-side up yolks you expect. Made from molecules harvested from marigolds and paprika, Quantum GLO is the natural, more efficient way to create golden results.
Quantum GLO™: A sunny forecast for profits. www.kemin.com
© Kemin Industries, Inc and its group of companies 2013. All rights reserved. ® TM Trademarks of Kemin Industries, Inc., U.S.A.
13-QuantumGLO_FP_HP_V07F.indd 1
1/8/13 9:15 AM
TRANS COASTAL SUPPLY COMPANY
Pamela Moses and Robert Briscoe Phone: 217-421-0203 Fax: 217-421-0200 Website: http://www.transcoastalsupply.com
ก่อตั้งเมื่อปี 2007 โดย Pamela Moses and Robert Briscoe มีสาขาที่ทำการ ได้แก่ Decatur IL, Elwood IL, Minneapolis MN, West Des Moines IA และ Brea LA ถูกจัดว่า เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการส่งออกโดยตู้คอนเทนเนอร์สูงสุด 1 ใน 100 บริษัท โดย JOC ปี 2009-2012 ในปี 2012 อยู่ในอันดับที่ 29 สำหรับการจัดอันดับของ JOC และอยู่ใน 4 อันดับแรก ของการส่งออกสินค้าเกษตรที่สูงที่สุดรายหนึ่งของอเมริกา และในปีเดียวกันนี้ ได้รับรางวัล IL Exporter of the year จากผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ ควบรวมบริษัทร่วมกับ Prairie Creek Grain ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในด้านการขนถ่าย ตูค้ อนเทนเนอร์ในอเมริกา ทีม่ ถี งึ 170,000 metric tons สำหรับพืน้ ทีจ่ ดั เก็บในโกดัง และ 1,000 คอนเทนเนอร์ต่อสัปดาห์สำหรับประสิทธิภาพในการขนถ่าย ความแตกต่างระหว่างบริษัททั่วไปกับ Trans Coastal - คุณภาพของตู้สินค้า และความรับผิดชอบต่อลูกค้าที่ใช้บริการ - สามารถจัดทำเอกสาร Freight Forwarding ในพื้นที่ทำการ - มีความพร้อมด้านความเป็นมืออาชีพของบุคลากรในทุกที่ตั้งของสาขา - ประสบการณ์ด้านการขายและการตลาดสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ตั้งแต่ปี 2000 - มีมาตรฐานการตรวจสอบทางคุณภาพที่สูง ทั้ง Grain และสินค้าอื่นๆ - ใช้ระบบ FGIS (Federal Grain Inspection Service) ซึ่งเป็นระบบการตรวจสอบที่ได้ มาตรฐานจากรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง - มีหอ้ งตรวจสอบ (Lab) สำหรับการสุม่ ตรวจตัวอย่าง อาทิ Aflatoxin/Vomitoxin (DON)/ Melamine/Zearalenone/T-2/Fumonisins/Xanthrophyll/Urease/Hunter Color
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
49
สินค้าที่ถูกส่งออกโดย Trans Costal PRODUCTS GRAIN #1 Yellow Soybeans
#2 Yellow Soybeans
#1 Yellow Corn
#2 Yellow Corn
#3 Yellow Corn
DETAILS Test Weight Moisture Splits FM Test Weight Moisture Splits FM Test Weight Moisture Damage FM Test Weight Moisture Damage FM Test Weight Moisture Damage FM
Qualify Min 54 Max 14% Max 10% Max 1% Min 54 Max 14% Max 20% Max 2% Min 56 Max 14.5% Max 3% Max 2% Min 54 Max 14.5% Max 5% Max 3% Min 52 Max 14.5% Max 7% Max 4%
Dried Distillers Grains with Soluble (Golden DDGS) Profat Min 35% Protein Min 25% Fat Min 8% Moisture Max 12.5% Fiber Max 10% 60% Corn Gluten Meal Protein Min 60% Moisture Max 12.5% *Includes DMX7 at 3lbs per MTon 47% Hi Pro Soybean Meal Protein Min 46.5% Moisture Max 12.5% Fat Max 3% Fiber Max 7% 43% Low Pro Soybean Meal Protein Min 43% Moisture Max 12.5% Fat Max 3% Fiber Max 7%
50
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
วิธีการขนถ่าย DDGS จากรถบรรทุกเข้าตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุกเข้าชั่งน้ำหนัก และยื่นเอกสาร *มีเจ้าหน้าที่ USDA เก็บตัวอย่าง DDGS
รถบรรทุกเข้าสู่ โกดังจุดถ่ายสินค้า
รถบรรทุก ถ่าย DDGS ลงสู่ด้านล่าง
พื้นที่ด้านใน ตู้คอนเทนเนอร์ ที่จัดเก็บ DDGS ก่อนจะปิดผนึก และขนส่งเรือ
DDGS วิ่งไป ตามท่อ ตามเส้นทางที่ กำหนดไว้
DDGS ผ่านมา ทางท่อ เข้าสู่ ตู้คอนเทนเนอร์ ที่จอดรออยู่
DDGS จะถูกเจ้าหน้าที่จาก USDA สุ่มเก็บดูทั้งคุณภาพสี กลิ่น และวิเคราะห์ในห้อง Lab ซึ่งตัวอย่างที่ทำการสุ่มมา จะเก็บไว้นานกว่า 3 เดือน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
51
ปลายทางการส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคเอเชีย ประเทศ
Taiwan Thailand Malaysia Indonesia Vietnam CDO Philippines China South Korea
ชื่อท่าเรือ
Kaohsiung, Taichung Bangkok, Lat Krabang, Laem Chabang PT Kelang, Penang, Pasir Guidang, Kuching, and Kota Kinabalu Jakarta, Surabaya, Belawan, Semarang Ho Chi Mihn City, Haiphong Manila, Cebu, Davao Qingdao, Huangpu, Xiamen, Shanghai, Dalian and more Busan, Kwang Yang, Inchon
สายการเดินเรือที่เป็นพันธมิตร APL/China Shipping/Cosco/CMA/CSAV/Evergreen/ Hanjin/Hapag Lloyd/Hyundai/Maersk/ Mediterreaning/Shipping/MOL/NYK/PO/OOCL/UASC/Wan Hai/Yang Ming/Zim
52
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
Agribase International, Inc.
Terry English Phone: 847-80-0166 Email: Terry.english@agribaseinc.com
Agribase International เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านการส่งออกสินค้าที่เน้นคุณภาพ ไม่วา่ จะเป็นอาหารสัตว์ ส่วนผสมอาหารสัตว์ รวมถึงวัตถุดบิ อาหารสัตว์ประเภทต่างๆ ทัง้ ในส่วนของ ธัญพืช และวัตถุดบิ ทีจ่ ำเพาะสำหรับอาหารสัตว์ อาทิ DDGS, Soybeans, Whey Powder เป็นต้น Distillers Dries Grains with Solubles Quality ProFat : Min. 35 - 36% Moisture : Max 12% Fiber : Min 10% Vomitoxin : Max 20 ppb Certificate : Analysis certificate issued by an independent laboratory Packing : Bulk in containers Loading : About 25 MT per 40’ containers Monthly capacity : 30000 MT
Other Commodities Whey permeate Foods Soybean meal - Peas Corn Gluten Meal - Non GMO Soybean Cotton Seed Meal - Chicken claw Canola Meal Corn Gluten Meal Fish Meal Specification: Alfalfa Pelletd - Crude Protein 60% min - Protein 17% min - Crude Fat 1% min - Fat 1%min - Fiber 5% max - Fiber 32%max - Color : Golden Yellow - Moisture 10%max
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
53
Chicago Board of Trade (CBOT)/CME Group
ความเป็นมา ปี 1852 ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ เ ศรษฐกิ จ ของสหรั ฐ อเมริ ก ากำลั ง ขยายตั ว ตลาดหอการค้ า แห่งนครชิคาโก หรือ Chicago Board of Trade (CBOT) จึงได้ถือเกิดขึ้นจากการร่วมมือกัน ของกลุ่มพ่อค้าในนครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ เป็นตลาดล่วงหน้าแห่งแรกในสหรัฐฯ เกิดขึ้นโดย การนำข้าวโพดซึง่ เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมทีส่ ำคัญของภูมภิ าคในแถบนีม้ าทำเป็นสัญญาซือ้ ขาย ใน CBOT โดยการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงแรกเป็นแบบ Forward Contracts ต่อมา จึงได้เริ่มพัฒนารูปแบบสัญญาซื้อ-ขายที่เป็นมาตรฐาน รวมไปถึงการพัฒนาไปถึงขั้น Future Option Contract (สัญญาสิทธิที่จะขาย) หลังจากนั้น CBOT ได้มีการพัฒนามาโดยตลอด และ ประเทศอีกหลายประเทศได้นำเอา CBOT เป็นโมเดลในการซือ้ ขายสินค้าล่วงหน้าจนทำให้ CBOT ได้ถูกยกให้เป็นแม่แบบของการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าในตลาดต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลาต่อมา ความเข้มแข็งของ CME Group • Leading Size and Scales • Reliability • Highly Liquid Markets • Superior Trading Technology • Financial Safeguards • Capital Efficiencies • Market Integrity • Most Diverse Product Line • Global reach การดำเนินการ ตลาด CME ก่อตัง้ ขึน้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ บริหารความเสีย่ งภายใต้พนื้ ฐานอุปสงค์ และอุปทาน (Demand & Supply) การซื้อ-ขายสัญญามีทั้งแบบ สัญญาล่วงหน้ามาตรฐาน (Future) และ สัญญาสิทธิล่วงหน้า (Future Option) ซึ่งให้สิทธิในการซื้อ-ขายในอนาคต ผู้ที่ทำการซื้อ-ขาย
54
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
จะต้องเป็นสมาชิกของตลาด ในกรณีไม่เป็นสมาชิกตลาดสามารถ ซื้อ-ขายผ่านโบรกเกอร์ ผู้ที่ เข้ามาซือ้ -ขายในตลาดล่วงหน้า ได้แก่ นักเก็งกำไร (Speculator) ขาย และกลุม่ ผูป้ อ้ งกันความเสีย่ ง (Hedger) ซึ่งได้แก่ เกษตรกร โรงงานผลิตสินค้าอาหาร สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจการค้า ระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมีเฉลี่ยแต่ละวันทำการมีจำนวนคนประมาณ 3,000 คน ภายใน Stadium ที่แบ่งออกเป็นโซน แบ่งตามประเภทของสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน ปัจจุบันตลาดสินค้า ล่วงหน้าที่นครชิคาโกบริหารจัดการโดยบริษัท CME Group และแยกตลาดซื้อ-ขายออกเป็น 2 ตลาด คือ Chicago Board of Trade: CBOT เน้นการซื้อ-ขายสินค้าเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ สินค้าข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต สินค้าอื่นๆ ได้แก่ Interest Rate และ Equity Index และตลาด Chicago Mercantile Exchange (CME) ซึ่งซื้อ-ขายสินค้า Dairy, Livestock, Lumber, Metals (Gold, Copper, Silver, Steel) Currency และ Energy การสือ่ สารด้านอิเล็กทรอนิกส์มบี ทบาทสูงต่อตลาดล่วงหน้าในปัจจุบนั มีการซือ้ -ขายสัญญา ล่วงหน้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 90 ของมูลค่าซื้อ-ขายทั้งหมดของตลาด ซึ่งการ ซือ้ -ขายต่อวันมีไม่ตำ่ กว่า 3 ล้านสัญญา มูลค่าประมาณ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการซือ้ ขาย ในระบบดั้งเดิมก็ยังคงมีให้เห็นเป็นเสน่ห์ของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรแห่งแรกของโลกอยู่นั่นเอง สำหรับวิธีการซื้อขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้าทั่วโลกนั้น แต่เดิมจะใช้วิธี Open Outcry ซึ่งคำสั่งซื้อ-ขาย จะถูกส่งผ่านการตะโกน และสัญญาณมือที่ให้กันในห้องค้า (Pit) ระหว่างสมาชิก ของตลาด (ระบบนี้ยังคงใช้กันอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการใช้สีของเสื้อแจ็คเก็ตเป็นสัญลักษณ์ ในการบ่งบอกถึงหน่วยงาน บริษทั ประเภทสินค้า เป็นต้น) ต่อมาในระยะหลังเมือ่ คอมพิวเตอร์เข้ามา มีบทบาท และมีประสิทธิภาพมากขึน้ การซือ้ ขายสินค้าล่วงหน้าแบบใหม่โดยผ่านทางคอมพิวเตอร์ หรือ Electronic Trading System ได้เริ่มเข้ามาแทนที่ระบบซื้อขายแบบเก่า (ยังคงมีระบบ การซื้อขายแบบเดิมควบคู่ไปกับการซื้อขายแบบเก่าอยู่) เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ Open Outcry อย่างมหาศาล เพราะไม่มีความจำเป็นต้องอบรม และจ้างคนมาทำการซื้อขายกันใน ห้องค้า ตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดใหม่ทั้งหลายจึงเป็นรูปแบบของการซื้อขายผ่านระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
55
จุดเด่นของ CME อีกประการหนึ่งคือ การมีสำนักงานหักบัญชีการซื้อ-ขาย (Clearings House) เป็นผู้รับประกันการซื้อ-ขายตามสัญญาของคู่สัญญา หน้าที่ของสำนักงานหักบัญชีจะทำ ให้ผู้ซื้อ หรือผู้ขายสัญญาล่วงหน้า ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของคู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่ง เป้าหมายอีกทางหนึ่งของตลาด CBOT คือ เป็นตลาดทางเลือกให้กับเกษตรกรอเมริกา ที่สามารถใช้เป็นการระบายสินค้าทั้งในทางตรง และการหารายได้ในทางอ้อมได้ รวมถึง CBOT ที่รับภาระความเสี่ยงให้กับเกษตรกร โดยที่เกษตรกรสามารถตรวจสอบราคาในอนาคตได้ เพื่อ ทำการชะลอผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด หรือการทำสัญญาการซื้อขายล่วงหน้าก็ถือเป็นการปิด ความเสี่ยงได้อีกประการ ข้อคิดเห็นจากการรับฟังข้อมูล ราคาสินค้าเกษตร ราคาสินค้าพลังงาน อัตราดอกเบีย้ มีความผันผวน ไปตามข้อมูลข่าวสารที่กระทบกับปัจจัย ต่างๆ ซึ่งทำให้อุปทาน และอุปสงค์สินค้าเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และผลกำไรธุรกิจ ดังนั้น การใช้ประโยชน์ตลาดล่วงหน้าจะเป็นทางเลือก ในการป้องกัน/ควบคุม/ลดความเสี่ยงของความผันผวน ระดับราคาสินค้าในอนาคต ซึง่ ทำให้ผปู้ ระกอบการสามารถ วางแผนงาน และบริหารจัดการการผลิตสินค้าได้อย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การส่งเสริมให้ผู้ผลิต/ส่งออกได้รับ ความรูค้ วามเข้าใจ และทราบกลไกของการซือ้ -ขายในตลาด ล่วงหน้า เพือ่ นำไปเป็นเครือ่ งมือในการลงทุนเพือ่ ลดความ เสี่ยง และนำดอกผลได้มาชดเชยราคาในปัจจุบัน ดังนั้น การสร้ า งความร่ ว มมื อ กั บ ตลาดสิ น ค้ า เกษตรล่ ว งหน้ า แห่งประเทศไทย (Agricultural Futures Exchange of Thailand: AFET) โดยการจัดอบรมสัมมนาให้เกษตรกรไทย และผู้ส่งออกไทยให้มีความรู้ เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการ ป้องกัน หรือควบคุมความเสี่ยงเหมือนกับเกษตรกรใน สหรัฐอเมริกา หรือประเทศไทยอาจจะต้องหาแนวทาง ในการสร้ า งโมเดลของการรั บ ประกั น ผลผลิ ต ทางการ เกษตรมากกว่าการเน้นนโยบายเรื่องการแทรกแซงราคา ซึ่ ง เป็ น การแก้ ปั ญ หาที่ ต้ น เหตุ และจะส่ ง ผลกระทบต่ อ ผลผลิตสินค้าเกษตร เกษตรกร โครงสร้างต่างๆ ที่เป็น ห่วงโซ่เดียวกันในระยะยาว
56
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ ส่วนประกอบของเมล็ดข้าวโพด
สัดส่วนการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ จะมีการใช้ในอาหารวัวมากที่สุด รองลงมาเป็น ไก่ และหมู
ปริมาณการใช้ข้าวโพดในอุตสาหกรรมเอทานอล และ DDGS สังเกตได้ว่ามีสัดส่วนการใช้ที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
พื้นที่ปลูก และผลผลิตของรัฐต่างๆ ในอเมริกา 2012-2012 Area harvested Yield per acre State 2012 2013 2012 2013 1,000 acres bushels Washington 115 135 215 215 California 180 170 185 190 Georgia 310 450 180 141 Ohio 3,650 3680 123 172 Arkansas 695 970 178 170 Indiana 6,030 5900 99 166 Minnesota 8,330 8200 165 166 Delaware 178 174 135 165 Illinois 12,250 11900 105 165 Louisiana 530 740 173 165 Mississippi 795 900 165 165 Iowa 13,700 13500 137 163 Nebraska 9100 9800 142 161 Michigan 2390 2470 133 158 Maryland 435 430 122 155 Kentucky 1530 1500 68 154 New York 680 750 134 150 Pennsylvania 1000 1100 132 150 Tennessee 960 880 85 146 Virginia 350 320 103 145 Alabama 295 280 98 145 Colorado 1010 1020 133 145 Wisconsin 3300 3250 121 144 New Jersey 86 80 118 138 South Dakota 5300 5300 101 138 Texas 1550 2100 130 138 North Carolina 820 880 117 132 Missouri 3300 3250 75 130 South Carolina 310 325 122 124 Kansas 3950 4200 96 116 North Dakota 3460 3600 122 116 Oklahoma 295 340 110 115
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
57
ข้อมูลด้านการนำเข้า และส่งออก • อเมริกาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดอันดับ 1 ของโลก รองลงมาเป็นบราซิลและอาร์เจนติน่า • ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดมากที่สุด รองลงมาเป็นเม็กซิโก เกาหลีใต้ และ EU • โดยเฉลี่ยจะมีการส่งออกข้าวโพดไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกราว 20% ของผลผลิต ข้าวโพดในอเมริกา
พื้นที่ที่เป็น Corn Belt ซึ่งเป็น แหล่ ง ปลู ก ข้ า วโพดที่ ส ำคั ญ ของอเมริกา โดยมีทั้ง 9 รัฐ และมีพนื้ ทีป่ ลูกรวมกันเกินกว่า 70% ของพืน้ ทีป่ ลูกทัง้ ประเทศ
58
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
59
Shandong Zhonghui International Trade Co. Ltd. , China Shanghai Hao Kun Import and Export Co., Ltd. , China Shenzhen Four Gardener Grain Co., Ltd. , China Thai Feed Mill Association, Thailand Xiamen C&D Agricultural Products Co., Ltd. , China
Manager
Ms. Dan Lin
Shandong Wanbao Group Co. Ltd. , China
Mr. Jisheng Feng Ms. Hui Chen Mr. Dongshu Zhang Vice Mr. Natthaphol Meewiset
Mr. Longwei Zhou
General Manager-Agricultural Products Division Assistant to General ManagerAgricultural Products Division General Manager General Manager General Manager Assistant Manager
Ms. Jianli Zhang
Rizhao Dingtian International Trading Co. Ltd. , China
General Manager
Mr. Zongjiang Wang
รายนามคณะเดินทางจากกลุมประเทศเอเชีย จำนวน 18 คน Full Name Position Company Ms. Jean Zhang Manager of Grains & Oils Dept. Ameropa (Beijing) Trading Co. Ltd., China Mr. Mike Xu Vice General Manager Chinalight General Merchandise Imp & Exp Corp., China Ms. Maggie Mak Purchasing Manager Comfez Limited, Hong Kong Mr. Louis Bui Director Europa LLC, Vietnam/U.S. Ms. Sufang Wang General Manager Qingdao Haizhida International Commerce Co. Ltd., China Ms. Xiaochen Dong Import Department Manager Qingdao Topsunshine Trading Co., Ltd., China Mr. Qiyong Xiao General Manager Qingdao Zhongyijianong Import & Export Co. Ltd. , China Mr. Kejun Liu Purchasing Manager Mr. Pengfei Liu General Manager Qingdao Zhuolong International Trade Co. Ltd. , China Mr. Qing Luan Purchasing Manager Fax 86 10 65978327 86 10 67747284 852 258 57111 8653280777760 8653268721190
Email jeanzhang@ameropa.com mike@chinalight.com.cn Maggie.mak@goldcoin-group.com Europe.enterprise@gmail.com Helen701006@htmail.com Xiao-chen1314@163.com
86 53268972760 86 13501913154 86 2152582909 662 6756263 86 5922263099 86 13779936936
86 6333888738
Ring_lin@chinacnd.com
86 5922033349
จัดทำโดย : ณัฐพล มีวิเศษณ สมาคมผูผลิตอาหารสัตวไทย
Zhonghuifeng0809@126.com Alyssachenhui1999@163.com Xxzds56@126.com Joh.tfma@gmail.com
zlw@sinowanbao.com
zhangjianli@sinowanbao.com
18906330136@189.cn
luanqing727@hotmail.com
86 53268972762 86 2161366086 86 2152582910 662 6756265
86 6333888370
8653286998358 8653286990579 8618766283277 86 63322887500 86 6332210155 86 18806338933
86 53258751999 86 53258751288 bridliu@126.com
Tel 86 10 65978382 86 10 87763919 852 25851200 1 818 9256454 8653285971981 8653286721180
เอกสารแนบทาย
Quantitative risk assessment of Salmonella in chicken meat from retail to consumption Bunikar Chullabodhi 1*, Thanida Harintharanon 1, Suphachai Nuanualsuwan 2 1
2
Bureau of Livestock Standard and Certification, Department of Livestock Development 69/1 Phayathai road., Ratchathewi district, Bangkok, THAILAND 10400.
Department of Veterinary Public Health, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Henri Dunant road, Patumwan, Bangkok, Thailand 10330. *Corresponding author, E-mail address: bunikarc@dld.go.th
Abstract The objective of this study is to determine the adverse effect caused by Salmonella spp. contaminated in the chicken meat from retail to consumption by quantitative risk assessment. The hazard in this study is Salmonella spp. in chicken meat which has been implicated in the foodborne disease outbreak. For the exposure assessment, 5 samples of chicken meat were sampled three times from modern market in 6 Bangkok divisions and 3 peripheral provinces, Nonthaburi, Patumtani, and Samutsakorn. A total of 270 samples have been detected and enumerated for prevalence and concentration of Salmonella spp., respectively. The growth during retail storage including transport to household and the survival of thermal inactivation were described by an exponential and log-linear model, respectively. The chicken meat consumption was about 9.77 g/person/day. The highest geometric mean concentration of Salmonella at the retail was 4.46 MPN/g (0.65 log MPN/g) then Salmonella increased to 1.03 log MPN/g during 12 hr of storage at 10 ํC. Salmonella concentration after transport from retail to household about 1 hr at 17 Cํ increased again to 1.54 log MPN/g. However, assuming that thermal inactivation by cooking at 64 Cํ core temperature for 1 min. Salmonella became 0.53 log MPN/g. Salmonella prevalence was assumed to be constant at 42.96%. The prevalence including concentration of Salmonella in chicken meat and chicken meat consumption was used to calculate probability of receiving at least one Salmonella from chicken meat consumption which are 0.4049. For hazard characterization, the dose response model to estimate probability of infection (Pill) was 0.00712. The risk characterization was the integration of exposure and infection. Risk estimate of Salmonella in chicken meat was 0.00288. Risk management options are recommended to control Salmonella contamination along the food chain. Keywords : quantitative risk assessment, Salmonella spp., chicken meat
60
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของแซลโมเนลลา ในเนื้อไก่จากการค้าปลีกถึงการบริโภค บุณิกา จุลละโพธิ1* ธนิดา หรินทรานนท์1 ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ2 สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 69/1 ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 2 ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 *ผู้รับผิดชอบบทความ E-mail address: bunikarc@dld.go.th 1
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อประเมินผลกระทบจากแซลโมเนลลาที่ปนเปื้อนใน เนื้อไก่จากการค้าปลีกถึงการบริโภค อันตรายที่ใช้ในการศึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงเชิง ปริมาณคือ แซลโมเนลลา ซึ่งเคยมีการรายงานเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการ บริโภคเนื้อไก่ การประเมินการสัมผัสจะเป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อไก่จากตลาดทันสมัย 6 พื้นที่ ในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดในเขตปริมณฑล โดยเก็บครั้งละ 5 ตัวอย่าง ซ้ำ 3 รอบ ตรวจหา และนับจำนวนเพื่อคำนวณความชุกและความเข้มข้นแซลโมเนลลา รวมทั้งสิ้น 270 ตัวอย่าง ใช้แบบจำลอง exponential อธิบายการเพิ่มจำนวนแซลโมเนลลาที่ระดับค้าปลีก และระดับการขนส่งถึงระดับครัวเรือน ใช้แบบจำลอง log linear อธิบายการลดจำนวน แซลโมเนลลาในการปรุงอาหารด้วยความร้อน การบริโภคเนื้อไก่ของประชากรไทยโดยเฉลี่ย คือ 9.77 g/คน/วัน ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตความเข้มข้นในเนื้อไก่สูงสุด 4.46 MPN/g (0.65 log MPN/g) ในระหว่างการวางขายที่ตลาดทันสมัย แซลโมเนลลาเพิ่มจำนวนเป็น 1.03 log MPN/g ในระหว่างการขนส่งจากตลาดทันสมัยถึงครัวเรือน แซลโมเนลลาเพิม่ จำนวนเป็น 1.54 log MPN/g ในระดับครัวเรือนผู้บริโภคปรุงเนื้อไก่ด้วยความร้อน 64 ํC ระยะเวลา 1 นาที แซลโมเนลลาลดจำนวนเหลือ -0.53 log MPN/g เมื่อกำหนดค่าความชุกแซลโมเนลลาคงที่ ร้อยละ 42.96 ปริมาณบริโภคเนื้อไก่คนไทยโดยเฉลี่ย 9.77 g/คน/วัน ความน่าจะเป็นที่จะ ได้รับแซลโมเนลลาจากเนื้อไก่ เท่ากับ 0.4049 ความน่าจะเป็นในการเจ็บป่วยจากแซลโมเนลลาในเนื้อไก่ เท่ากับ 0.00712 และความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยเนื่องจากการบริโภคเนื้อไก่ ที่มีการปนเปื้อนด้วยแซลโมเนลลา เท่ากับ 0.00288 ซึ่งจะต้องมีการจัดทำมาตรการด้านการ จัดการความเสี่ยง เพื่อควบคุมแซลโมเนลลาในทุกขั้นตอนการผลิต คำสำคัญ : ประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ แซลโมเนลลา เนื้อไก่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
61
บทนำ โรคอาหารเป็นพิษ (Foodborne Diseases) เป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับ นานาชาติ รวมถึงประเทศไทย หน่วยงานของรัฐบาลที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านความปลอดภัย ของอาหาร (Food Safety) เช่น กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นที่จะต้องมี การเฝ้าระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การผลิตสัตว์ (Animal Production) การฆ่าสัตว์ (Slaughtering) การแปรรูป (Processing) การเก็บรักษา (Storage) การขนส่ง (Transport) การกระจายสินค้า (Distribution) จนกระทั่งถึงผู้บริโภค (Consumer) การเฝ้าระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร (Monitoring and Surveillance) ในทุกขั้นตอนการผลิตมีความสำคัญ เนื่องจากหากมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคในบางขั้นตอน ของการผลิตแล้ว จุลินทรีย์ก่อโรคก็จะคงตัวอยู่ในอาหารจนกระทั่งผ่านไปถึงผู้บริโภค และมี ความเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคจะเจ็บป่วยจากโรคอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ วิธีการเก็บรักษาอาหาร ที่ไม่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอนการผลิต จะทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเกิดความเจ็บป่วย หรือมีระดับความเสี่ยงต่อโรค อาหารเป็นพิษสูงมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ หากมีขั้นตอนการผลิตที่สามารถทำลาย หรือกำจัด จุลินทรีย์ก่อโรคให้มีจำนวนลดน้อยลงได้ ก็จะเป็นการลดโอกาสในการเกิดความเจ็บป่วยของผู้ บริโภค หรือมีระดับความเสี่ยงต่อโรคอาหารเป็นพิษลดน้อยลงตามลำดับเช่นเดียวกัน ดังนั้น การ เฝ้าระวังการปนเปือ้ นของจุลนิ ทรียก์ อ่ โรคในอาหาร จึงเป็นเครือ่ งมือทีส่ ำคัญในการตรวจสอบระดับ การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการผลิต ปัจจุบัน แนวทางในการควบคุมโรคอาหารเป็นพิษของ Codex Alimentarius Commission (CAC) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ คือ การวิเคราะห์ความเสีย่ ง (Risk Analysis) ประกอบด้วย การประเมินความเสีย่ ง (Risk Assessment) เป็นกระบวนการประเมินเพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงของผู้บริโภค ซึ่งหากค่าประมาณความ เสี่ยงที่ประเมินได้มีระดับสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก็จะต้องมีการควบคุม หรือลดระดับความเสี่ยง ให้อย่างในเกณฑ์ โดยกระบวนการที่เรียกว่า การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) และ กระบวนการของผู้ที่ประเมินความเสี่ยง และผู้จัดการความเสี่ยงมีการติดต่อและประสานงานกัน รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของอาหาร เรียกว่า การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) (FAO/WHO, 2012) การประเมินความเสี่ยงจุลินทรีย์เชิงปริมาณ (Quantitative Microbial Risk Assessment: QMRA) สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประมาณค่าความเสี่ยง (Risk Estimate) เช่น จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากจุลินทรีย์ก่อโรค Salmonella spp. ที่อาจจะมี การปนเปื้อนในเนื้อไก่
62
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
การประเมินความเสี่ยงจุลินทรีย์เชิงปริมาณ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การระบุอันตราย (Hazard Identification: HI) เป็นขั้นตอนในการทบทวน และยืนยัน การเจ็บป่วยจริง โดยเกิดจากแซลโมเนลลาทีอ่ าจจะมีการปนเปือ้ นในเนือ้ ไก่ และเป็นขัน้ ตอนในการ เข้าใจถึงการเปลีย่ นแปลงจำนวนแซลโมเนลลาในเนือ้ ไก่ทอี่ าจจะมีการเจริญเติบโตเพิม่ จำนวน หรือ ถูกทำลาย ทำให้จำนวนของแซลโมเนลลาลดลงทุกขั้นตอนการผลิตได้ (Lammerding and Fazil, 2000) 2. การอธิบายอันตราย (Hazard Characterization: HC) เป็นขัน้ ตอนในการคำนวณจำนวน ผู้บริโภคที่เจ็บป่วยโรคอาหารเป็นพิษด้วยแซลโมเนลลา โดยอาศัยแบบจำลองในรูปของสมการ คณิตศาสตร์ (Buchanan et al., 2000) 3. การประเมินการสัมผัส (Exposure Assessment: EA) เป็นขัน้ ตอนในการคำนวณโอกาส ในการบริโภคเนื้อไก่ที่มีการปนเปื้อนด้วยแซลโมเนลลา โดยอาศัยข้อมูลความชุก และจำนวน แซลโมเนลลาทีป่ นเปือ้ นในเนือ้ ไก่ รวมถึงปริมาณการบริโภคเนือ้ ไก่ (Consumption) (Lammerding and Fazil, 2000) ขั้นตอนการประเมินการสัมผัส เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจำนวนแซลโมเนลลา ในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การผลิตสัตว์ (Animal Production) การฆ่าสัตว์ (Slaughtering) การแปรรูป (Processing) การเก็บรักษา (Storage) การขนส่ง (Transport) และการกระจายสินค้า (Distribution) จนกระทัง่ ถึงผูบ้ ริโภค (Consumer) บางขัน้ ตอนในการผลิตอาจจะทำให้แซลโมเนลลา มีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่บางขั้นตอนอาจจะทำลาย หรือกำจัดแซลโมเนลลา ให้มีจำนวนลดน้อยลงก็ได้ 4. การอธิบายความเสี่ยง (Risk Characterization: RC) เป็นขั้นตอนในการคำนวณ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากการบริโภคเนื้อไก่ที่ปนเปื้อนแซลโมเนลลา ขั้นตอนนี้จึง เป็นการบูรณาการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการอธิบายอันตราย (ขั้นตอนที่ 2) และ ขั้นตอนการประเมินการสัมผัส (ขั้นตอนที่ 3) เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ และคำนวณได้เป็นค่าประมาณความเสี่ยง ซึ่งก็คือ ระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการบริโภคเนื้อไก่ หรือจำนวนผู้ป่วยต่อจำนวนประชากรที่บริโภคเนื้อไก่ (Buchanan et al., 2000) วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากแซลโมเนลลาทีป่ นเปือ้ นในเนือ้ ไก่จากการค้าปลีกถึงการบริโภค ทำให้ทราบค่าประมาณความเสีย่ งพืน้ ฐาน ของเนื้อไก่ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดระดับการปนเปื้อนแซลโมเนลลาใน ทุกขัน้ ตอนการผลิต (Microbiological limit setting tool) และเพือ่ เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังทางด้าน ความปลอดภัยของการปนเปื้อนแซลโมเนลลาในเนื้อไก่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
63
อุปกรณ์ และวิธีการ 1. การระบุอันตราย (Hazard Identification: HI) เป็นการทบทวนและยืนยันการเจ็บป่วย โรคอาหารเป็นพิษจริงที่เกิดจากอันตราย หรือจุลินทรีย์ก่อโรค โดยจุลินทรีย์ก่อโรคที่ใช้ในการ ศึกษาครั้งนี้คือ แซลโมเนลลา (Non typhoidal Salmonella spp.) 2. การอธิบายอันตราย (Hazard Characterization: HC) เป็นการประเมินความน่าจะเป็น หรือจำนวนผูป้ ว่ ยทีต่ อ่ เนือ่ งจากการสัมผัสกับจุลนิ ทรียก์ อ่ โรค (Pill) โดยอาศัยข้อมูลจากการประเมิน การสัมผัส (ขั้นตอนที่ 3) ขั้นตอนนี้จะอาศัยแบบจำลองในรูปของสมการคณิตศาสตร์ในการ วิเคราะห์ เรียกว่า Dose-Response model แบบจำลองนี้จะประมาณจำนวนการเจ็บป่วย ซึ่ง จะขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ก่อโรค (ไม่ขึ้นกับชนิดของอาหาร) ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลอง Beta-Poisson ดังสมการ (1) (1) ค่า α และ β เท่ากับ 0.1324 และ 51.45 ตามลำดับ Dose คือ จำนวนแซลโมเนลลา ทีเ่ ข้าสูร่ า่ งกายจากการบริโภคเนือ้ ไก่ คำนวณจากผลคูณของความเข้มข้นของแซลโมเนลลาหลังจาก ผ่านการปรุงอาหารด้วยความร้อนแล้ว (log MPN/g) และปริมาณการบริโภคเนือ้ ไก่ตอ่ วัน (g/day) (FAO/WHO, 2012) 3. การประเมินการสัมผัส (Exposure Assessment: EA) เป็นการประเมินโอกาสในการได้รบั แซลโมเนลลาที่อาจจะปนเปื้อนมากับเนื้อไก่ที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย โดยการเก็บตัวอย่างเนื้อไก่จาก ตลาดทันสมัยจำนวน 5 ตัวอย่าง/ครั้ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งเป็น 6 พื้นที่ รวมถึง จังหวัดในเขตปริมณฑล คือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร เก็บทัง้ หมด 3 ครั้ง จากนั้นแบ่งตัวอย่างออกเป็น 2 ส่วน จะมีตัวอย่างทั้งสิ้น 270 ตัวอย่าง ส่งตัวอย่างเพื่อ ตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 1) ตรวจวิเคราะห์ตวั อย่างจำนวน 135 ตัวอย่าง โดยใช้วธิ กี ารมาตรฐาน EN ISO 6579: 2002/A1:2007 Microbiology of food and animal feeding stuffs, Horizontal method for the detection of Salmonella spp. Amendment 1: Annex D: Detection of Salmonella spp. (ISO 6579:2002/A1:2007) จะได้ข้อมูลความชุก (Prevalence) 2) ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวน 135 ตัวอย่าง ด้วยวิธี Most Probable Method (MPN) จะได้ข้อมูลความเข้มข้น (Concentration)
64
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ข้อมูลการบริโภคเนือ้ ไก่โดยเฉลีย่ ของประชากรไทยโดยประมาณ 9.77 g/คน/วัน สืบค้น จากฐานข้อมูลปริมาณอาหารทีค่ นไทยบริโภค ในกลุม่ ประชากรอายุมากกว่า 3 ปีขนึ้ ไป ค่าเปอร์เซ็นต์ ไทล์ที่ 97.5 ของปริมาณอาหารที่บริโภค เฉพาะผู้ที่บริโภค (Eater only) ของสำนักมาตรฐาน สินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ที่ website: http:// consumption.acfs.go.th/index.php (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2550) เนื่องจากแซลโมเนลลาเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเพิ่มจำนวนในอาหารได้ หากมีการเก็บรักษาอาหารไว้ในสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของแซลโมเนลลา โดยปัจจัย ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแซลโมเนลลาในอาหาร (Factors Affecting Growth) เช่น อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็นกรดด่าง (pH) และปริมาณน้ำในเนื้อไก่ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความ เกีย่ วข้องโดยตรงกับการเก็บรักษาเนือ้ ไก่ (Storage) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ปัจจัยอุณหภูมิ ดังสมการ (2) (2) อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเก็บรักษาเนื้อไก่ (Storage Temperature and Time) เป็น ปัจจัยสำคัญในการกำหนดการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของแซลโมเนลลาในเนื้อไก่ ทั้งนี้ อุณหภูมจิ ะทำหน้าทีใ่ นการกำหนดอัตราการเจริญเติบโตต่อหนึง่ หน่วยเวลา โดยทัว่ ไปแซลโมเนลลา จะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย และระยะเวลา ในการเก็บรักษาเนือ้ ไก่จะทำให้ทราบจำนวนแซลโมเนลลาทีเ่ จริญเติบโตจริงของอุณหภูมทิ เี่ ก็บรักษา เนื้อไก่ ในการศึกษาครั้งนี้ จะพิจารณาสภาวะการเก็บรักษาเนื้อไก่จากโรงเชือดถึงผู้บริโภค แบ่ง ออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ 1) สภาวะการวางขายเนือ้ ไก่ในตลาดทันสมัย คือ อุณหภูมิ 10 Cํ ใช้เวลาประมาณ 12 ชัว่ โมง (ศุภชัย และโอภาส, 2550) เมื่อแทนค่า 10 ํC ในสมการ (2) จะได้อัตราการเจริญเติบโตของ แซลโมเนลลา ที่อุณหภูมิ 10 ํC (FAO/WHO, 2012) 2) สภาวะการเก็บรักษาเนือ้ ไก่ในขัน้ ตอนการขนส่งจากตลาดทันสมัยถึงครัวเรือนคือ อุณหภูมิ 17 ํC ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง (ศุภชัยและโอภาส, 2550) เมื่อแทนค่า 17 ํC ในสมการ (2) จะได้อัตราการเจริญเติบโตของแซลโมเนลลาที่อุณหภูมิ 17 ํC (FAO/WHO, 2012) ขั้นตอนต่อไปหลังจากเนื้อไก่ถึงครัวเรือนของผู้บริโภคคือ การปรุงอาหารด้วยความร้อน ซึง่ เป็นขัน้ ตอนทีจ่ ะสามารถลดความเข้มข้น หรือกำจัดแซลโมเนลลาได้ตามสัดส่วนของเวลาในการ ปรุงอาหาร ข้อมูลตามรายงานของ FAO/WHO (2012) พบว่า ความร้อนของการปรุงอาหาร อยูท่ อี่ ณ ุ หภูมิ 64 Cํ ในเวลาประมาณ 1 นาที โดยอัตราการทำลายแซลโมเนลลาทีอ่ ณ ุ หภูมิ 64 Cํ จะคำนวณได้จากสมการ (3) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
65
(3) โดยที่ D64 ของแซลโมเนลลาเท่ากับ 0.48 นาที และระยะเวลาในการปรุงอาหาร (Inactivation Time) เท่ากับ 1 นาที ดังนัน้ เมือ่ แทนทัง้ 2 ค่าลงไปในสมการ (3) ก็จะได้การทำลายแซลโมเนลลา คือ 2.08 log จากนัน้ จึงคำนวณความน่าจะเป็นในการสัมผัสกับแซลโมเนลลา (Probability of Exposure) โดยอาศัยสมการ (4) (4) โดยที่ P คือ ความชุก (Prevalence) ของแซลโมเนลลาในเนื้อไก่ คำนวณจากสัดส่วน จำนวนตัวอย่างเนื้อไก่ที่ตรวจวิเคราะห์พบการปนเปื้อนแซลโมเนลลาต่อจำนวนตัวอย่างเนื้อไก่ ทัง้ หมดทีต่ รวจ และ Dose คือ จำนวนแซลโมเนลลาทีเ่ ข้าสูร่ า่ งกาย ดังเช่นสมการ (1) (FAO/WHO, 2012) 4. การอธิบายความเสี่ยง (Risk Characterization : RC) เป็นขั้นตอนในการประเมินความ น่าจะเป็น หรือความเป็นไปได้ทผี่ บู้ ริโภคเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ จากการบริโภคเนือ้ ไก่ทอี่ าจจะ มีการปนเปือ้ นด้วยแซลโมเนลลา โดยขัน้ ตอนนีจ้ ะเป็นการบูรณาการผลทีไ่ ด้จากขัน้ ตอนการประเมิน การสัมผัส (ขัน้ ตอนที่ 3) และขัน้ ตอนการอธิบายอันตราย (ขัน้ ตอนที่ 2) ซึง่ คำนวณได้โดยการคูณ PE ในสมการ (4) จากขั้นตอนการประเมินการสัมผัส (ขั้นตอนที่ 3) และ Pill ในสมการ (1) จากขั้นตอนการอธิบายอันตราย (ขั้นตอนที่ 2) เข้าด้วยกัน ทำให้ได้ค่าประมาณความเสี่ยง (Risk Estimate) ดังสมการ (5) (5) ผล ค่าเฉลีย่ เรขาคณิต (Geometric Mean) ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาในเนือ้ ไก่จากโรงเชือด ณ ตลาดทันสมัย ดังตารางที่ 1 อยูร่ ะหว่าง 0.29-4.46 MPN/g อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครัง้ นี้ จะใช้ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาสูงสุดในเนือ้ ไก่ 4.46 MPN/g หรือ 0.65 log MPN/g เพราะ การเลือกสภาวะที่เลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) จะทำให้ได้ค่าความเสี่ยงสูงที่สุด และ เพื่อกำหนดการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ที่เข้มงวดที่สุด โดยทำให้อาหารมีความ ปลอดภัยที่สามารถครอบคลุมเนื้อไก่ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าได้ด้วย
66
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ตารางที่ 1 ความชุก (%) และความเข้มข้นของแซลโมเนลลา (MPN/g) ในเนื้อไก่จากตลาดทันสมัย Geometric Estimated 90th ค่าสูงสุด เขต/จังหวัด ความชุก* ค่าต่ำสุด Percentile Mean กรุงเทพกลาง 0 (0/15)** 0.29 0.31 0.46 0.92 กรุงเทพตะวันออก 47 (7/15) 0.29 1.68 43.98 120 กรุงเทพเหนือ 0 (0/15) 0.29 0.29 0.29 0.29 กรุงเทพใต้ 87 (13/15) 0.29 2.93 20.83 24 ธนบุรีเหนือ 33 (5/15) 0.29 0.72 4.39 23 ธนบุรีใต้ 60 (9/15) 0.29 4.46 150.87 460 นนทบุรี 53 (8/15) 0.29 1.08 6.23 9 ปทุมธานี 40 (6/15) 0.29 3.06 274.99 1,200 สมุทรสาคร 67 (10/15) 0.29 2.30 22.17 43 *ค่าความชุกเฉลี่ยร้อยละ 42.96 **(จำนวนบวกต่อแซลโมเนลลา/จำนวนตัวอย่าง)
เนื้อไก่จากโรงเชือดผ่านขั้นตอนการวางขายที่ตลาดทันสมัยที่อุณหภูมิ 10 ํC โดยการ วางขายใช้ระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ดังนั้น - ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาเพิ่มจำนวนขึ้นมา = 0.38 log - ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาจากตลาดทันสมัยจึงมีความ = 0.65 log + 0.38 log เข้มข้น = 1.03 log MPN/g เนื้อไก่จากตลาดทันสมัยผ่านขั้นตอนการขนส่งจากตลาดทันสมัยถึงครัวเรือน ณ อุณหภูมิ 17 ํC โดยการขนส่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ดังนั้น - ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีก = 0.51 log - ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาในครัวเรือนจึงมีความเข้มข้น = 1.03 log + 0.51 log = 1.54 log MPN/g ในระดับครัวเรือน เนื้อไก่ได้ผ่านการปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 64 ํC เป็น ระยะเวลานานประมาณ 1 นาที ดังนั้น - ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาลดลง = 2.07 log - ความเข้มข้นของแซลโมเนลลาหลังปรุงอาหารจึงมีความ = 1.54 log - 2.07 log เข้มข้น = - 0.53 log MPN/g โดยที่มีข้อสมมุติฐานว่า ความชุกของแซลโมเนลลาตั้งแต่ระดับค้าปลีกถึงระดับครัวเรือน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เท่ากับร้อยละ 42.96 (จำนวนบวกต่อแซลโมเนลลา 58 ตัวอย่าง/จำนวน ตัวอย่างทั้งหมด 135 ตัวอย่าง) ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ของคนไทยโดยเฉลี่ยประมาณ 9.77 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
67
g/คน/วัน เมือ่ คูณกับความเข้มข้น แซลโมเนลลาในเนือ้ ไก่ -0.53 log MPN/g (0.29 MPN/g) จะ ได้เป็นปริมาณแซลโมเนลลาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย (Dose) เท่ากับ 2.85 MPN ดังนั้นเมื่อแทนค่า ความชุก (42.96%) และปริมาณแซลโมเนลลา (2.85 MPN) ลงในสมการ (4) ก็จะได้ความน่าจะ เป็นที่จะได้รับสัมผัสแซลโมเนลลาจากเนื้อไก่ (PE) เท่ากับ 0.4049 นอกจากนี้เมื่อแทนค่าปริมาณ แซลโมเนลลา ลงในสมการ (1) ก็จะได้ความน่าจะเป็นในการเจ็บป่วยจากแซลโมเนลลา (Pill) เท่ากับ 0.00712 เมื่อแทนค่า PE และ Pill ลงในสมการ (5) หรือ เป็นคูณกันของทั้ง 2 ค่า ก็จะได้ ความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยเนื่องจากการบริโภคเนื้อไก่ที่มีการปนเปื้อนด้วยแซลโมเนลลาเท่ากับ 0.00288 วิจารณ์ แม้ว่าความเข้มข้นของแซลโมเนลลาในเนื้อไก่เริ่มต้นที่ระดับค้าปลีก จะอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ 4.46 MPN/g แต่เนื่องจากแซลโมเนลลาสามารถเจริญเติบโตได้ใน 2 ขั้นตอน คือ การวางขายในตลาดทันสมัย และการขนส่งจากตลาดทันสมัยถึงครัวเรือนของผู้บริโภค ทำให้ แซลโมเนลลามีการเพิ่มจำนวนอย่างน้อย 2 และ 3 เท่า เป็น 11 MPN/g และ 34 MPN/g ตามลำดับ ประกอบกับความชุกของแซลโมเนลลาในเนื้อไก่อยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 42.96 ทำให้ความน่าจะเป็นที่จะได้รับสัมผัสแซลโมเนลลาจากเนื้อไก่ เท่ากับ 0.40 ซึ่งเป็นค่าที่สูง และ ความน่าจะเป็นในการเจ็บป่วยจากแซลโมเนลลาเท่ากับ 0.00712 หมายความว่า หากได้รับ ปริมาณแซลโมเนลลา 2.85 MPN จำนวน 1,000 ครั้ง จะมีโอกาสเจ็บป่วยไม่เกิน 8 ครั้ง สำหรับค่าประมาณความเสี่ยงของแซลโมเนลลาจากการบริโภคเนื้อไก่ จากการศึกษาครั้งนี้ เท่ากับ 0.00288 หมายความว่า ผู้บริโภคจำนวน 1,000 คน ที่บริโภคเนื้อไก่ จะมีผู้เจ็บป่วย ประมาณ 3-4 คน/วัน และจำนวนผู้ป่วยก็จะสูงมากขึ้นตามสัดส่วนของผู้บริโภค เช่น หาก ประชากรไทยทัง้ ประเทศจำนวน 65 ล้านคนบริโภคเนือ้ ไก่ จะมีประชากรไทยประมาณ 187,470 คน ที่จะป่วยด้วยแซลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในเนื้อไก่ ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยจากทั้ง Food Poisoning และ Acute Diarrhea ในทุกผลิตภัณฑ์อาหารที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุข จะมีผู้ป่วย ด้วยแซลโมเนลลาประมาณ 154 คน/วัน หรือ 56,255 คน/ปี (กรมควบคุมโรค, 2555) สรุปและข้อเสนอแนะ การประเมินความเสีย่ งเชิงปริมาณของแซลโมเนลลาในเนือ้ ไก่จากการค้าปลีกถึงการบริโภค ในครั้งนี้ ทำให้ทราบค่าประมาณความเสี่ยงพื้นฐานของเนื้อไก่ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการ กำหนดระดับการปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคในกระบวนการผลิตอาหาร (Microbiological limit setting tool) และสามารถใช้ข้อมูลที่ได้ นำไปเปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานความปลอดภัยของ จุลินทรีย์ก่อโรคในเนื้อไก่ภายในประเทศ มาตรฐานระหว่างประเทศ และมาตรฐานของประเทศ
68
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ที่นำเข้า (Microbiological standard comparison) หน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งก็คือ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการพิจารณา หรือกำหนด มาตรฐานการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคในเนื้อไก่ (Microbiological limit) หรือกำหนด มาตรการด้านการจัดการความเสี่ยง (Risk management options) ดังนั้น เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภคจากแซลโมเนลลา จำเป็นจะ ต้องมีการกำหนดมาตรการด้านการจัดการความเสีย่ ง (Risk management options) ในขัน้ ตอนการ ผลิตตั้งแต่ในระดับฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ โรงฆ่าไก่เนื้อ การขนส่งซากไก่ การเก็บรักษาเนื้อไก่ในระดับ ค้าปลีก และการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการปรุงอาหาร จะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน แซลโมเนลลาในเนื้อไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคจะได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ พูลศรีกาญจน์ และคุณสืบเนื่อง ชัยชนะ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ให้ความอนุเคราะห์การวิเคราะห์ระดับการ ปนเปื้อนของแซลโมเนลลาในเนื้อไก่ทางห้องปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมโรค 2555. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2554. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ISBN 0857-6521 โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานกิจการโรงพิมพ์) เขตบางซื่อ กรุงเทพ URL: http://www.boe.moph.go.th ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ และโอภาส วงศ์นิติพัฒน์ 2550. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “ประเมินความเสี่ยงของ ลิสทีเรียโมโนไซโตจีเนสในผลิตภัณฑ์ไก่ 248 น. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 2550. ฐานข้อมูลปริมาณอาหารที่คนไทยบริโภค (Database of Food Consumption of Thai People) สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ URL: http://consumption.acfs.go.th/index.php Buchanan, R. L., J. L. Smith, and W. Long. 2000. Microbial risk assessment: dose-response relations and risk characterization. Int. J. Food Microbiol. 58:159-72. FAO/WHO 2012. Risk Assessments of Salmonella in eggs and broiler chickens. Microbiological risk assessment series 2. Food and Agriculture Organization of the United Nations. Rome. 302p. ISO 6579:2002/A1:2007 Microbiology of food and animal feeding stuffs, Horizontal method for the detection of Salmonella spp. Amendment 1: Annex D: Detection of Salmonella spp. Lammerding, A. M., and A. Fazil. 2000. Hazard identification and exposure assessment for microbial food safety risk assessment. Int. J. Food Microbiol. 58:147-57. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
69
Shelf life and bactericidal efficacy of glutaraldehyde and alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride Thanida Harintharanon 1, Kanuengnit Kortrhammarit 1, Julaporn Srinha 1, Sudarat Kueylaw 1 Bureau of Livestock Standards and Certification, Department of Livestock Development 69/1 Phayathai road., Ratchathewi district, Bangkok, THAILAND 10400.
1
Abstract Livestock disinfectant products are products that have been used in animal farms, slaughterhouse, food processing plants and feed mills to disinfect micro organisms. The chemical properties in terms of concentration and efficacy of active substances are required to register as a disinfectant. The shelflife and bactericidal efficacy of glutaraldehyde and alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride have been determined. Six glutaraldehyde and alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride products have been sampled every 4 months for 8 times (28 months). For each sampling, 4 bottles of disinfectant were sampled and each bottle was analyzed for the concentration and bactericidal efficacy of active substance(s) for 4 times (n = 192). The chemical analysis indicated that both the first disinfectant product with Glutaraldehyde 15% W/V, Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W and Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V and the third product with Glutaraldehyde 7.5% W/V, Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W and Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V contained glutaraldehyde as an active substance within the deviation range as long as 16 months. Furthermore, the second disinfectant product with Glutaraldehyde 10% W/V, Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W and Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/Vcontained glutaraldehyde as an active substance within the deviation range as long as 24 months. While alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride was the sole active substance of disinfectant products 4-6 and mixed with glutaraldehyde in disinfectant products 1-3 at the concentrations of 20%, 16% and 10%, respectively. The result indicated that all disinfectant products contained alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride within the deviation range as long as 28 months. The average shellife of glutaraldehyde and alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride ranged from 16 to 24 months. The bactericidal property of all disinfectant products against Staphylococus aureus ATCC 6538, Salmonella Choleraesuis ATCC 10708, Pseudomonas aeruginosa ATCC 15442 was effective up to 28 months. Key words: shelf life, bactericidal efficacy, glutaraldehyde, alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride
70
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
การศึกษาอายุการจัดเก็บและประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ของกลูตารัลดี ไฮด์และอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ ธนิดา หรินทรานนท์ 1 คนึงนิจ ก่อธรรมฤทธิ์ 1 จุฬาพร ศรีหนา 1 สุดารัตน์ เคยเหล่า 1 1
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 69/1 ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
บทคัดย่อ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อด้านการปศุสัตว์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฆ่าเชื้อในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งการขึ้นทะเบียนจำเป็นต้องมี ผลการวิเคราะห์สารสำคัญและผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อประกอบการพิจารณา ดังนัน้ จึงได้ทำการศึกษาอายุการจัดเก็บและประสิทธิภาพการฆ่าเชือ้ แบคทีเรียของกลูตารัลดีไฮด์ และอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ โดยการเก็บตัวอย่าง 6 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 4 ซ้ำ ๆ เก็บตัวอย่าง ทุก 4 เดือนเป็นเวลา 28 เดือน จำนวน 8 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 192 ตัวอย่าง เพือ่ ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญและทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชือ้ แบคทีเรีย พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ 1 ประกอบด้วย Glutaraldehyde 15% W/V Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W และ Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V และผลิตภัณฑ์ที่ 3 ประกอบด้วย Glutaraldehyde 7.5% W/V Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W และ Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ปริมาณสารสำคัญของกลูตารัลดีไฮด์ ยังคงอยู่ในเกณฑ์คลาดเคลื่อนจนถึงเดือนที่ 16 ผลิตภัณฑ์ที่ 2 ประกอบด้วย Glutaraldehyde 10% W/V Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W และ Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ปริมาณสารสำคัญของกลูตารัลดีไฮด์ ยังคงอยู่ ในเกณฑ์ ค่ า คลาดเคลื่ อ นจนถึ ง เดื อ นที่ 24 ในขณะที่ อั ล คิ ล เบนซิ ล ไดเมทิ ล แอมโมเนี ย มคลอไรด์ ทัง้ ทีเ่ ป็นผลิตภัณฑ์เดีย่ วในผลิตภัณฑ์ที่ 4 5 และ 6 ทีม่ สี ว่ นประกอบของ Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 20% 16% และ 10% ตามลำดับ และที่ผสมรวมกับ กลูตารัลดีไฮด์ในผลิตภัณฑ์ที่ 1 2 และ 3 พบว่าปริมาณของสารสำคัญในทุกผลิตภัณฑ์ยงั คงอยู่ ในเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจนถึงเดือนที่ 28 จากการศึกษาอายุการจัดเก็บของกลูตารัลดีไฮด์ และอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ โดยเฉลี่ยมีอายุการจัดเก็บอยู่ช่วง 16 ถึง 24 เดือน การทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococus aureus ATCC 6538, Salmonella Choleraesuis ATCC 10708, Pseudomonas aeruginosa ATCC 15442 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้จนถึง 28 เดือน คำสำคัญ : อายุการจัดเก็บ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ กลูตารัลดีไฮด์ อัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
71
บทนำ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ด้านการปศุสัตว์จัดเป็น วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับการขึ้น ทะเบียนจากกรมปศุสตั ว์ ผลิตภัณฑ์ฆา่ เชือ้ ด้านการปศุสตั ว์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทใี่ ช้ฆา่ เชือ้ ในฟาร์ม เลีย้ งสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สตั ว์ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึง่ การขึน้ ทะเบียน จำเป็นต้องมีผลการวิเคราะห์สารสำคัญ และผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อประกอบการ พิจารณาเพื่อการขึ้นทะเบียนด้วย ผลิตภัณฑ์กลุ่มกลูตารัลดีไฮด์จัดเป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ ทั้งแบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ ยีสต์ เชื้อรา ไวรัส โปรโตซัว รวมถึงสปอร์ต่างๆ เช่น แซลโมเนลลา อี.โคไล ไวรัสพีอีดี (PED) ไวรัสพีอาร์อาร์เอส (PRRSV) ไวรัสปากและเท้าเปื่อย (FMD) และได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าสามารถฆ่าเชื้อไข้หวัดนก (Avian Influenza H5N1) ได้ นอกจากนี้ กลูตารัลดีไฮด์ไม่กดั กร่อนโลหะ ยาง และพลาสติก ดังนัน้ กลูตารัลดีไฮด์จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้ออย่างแพร่หลายและยาวนานกว่า 60 ปี ทั้งใน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ อย่างไร ก็ตาม กลูตารัลดีไฮด์ก็ไม่เหมาะสำหรับใช้ฆ่าเชื้อที่ผิวหนังของมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากมีฤทธิ์ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเนือ้ เยือ่ โครงสร้างจัดอยูใ่ นกลุม่ ไดอัลดีไฮด์ (Dialdehyde) โมเลกุลประกอบด้วย คาร์บอน 5 อะตอม ต่อกับหมู่อัลดีไฮด์ (H-C=O) ที่แขนทั้ง 2 ข้าง โดย หมู่อัลดีไฮด์ทำปฏิกิริยากับหมู่เอมีน (NH2, NH3+) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างเซลล์ และโปรตีนของจุลินทรีย์ โดยการเชื่อมต่อแบบ Cross-links เป็นการรบกวนการทำงานของ เอนไซม์ต่างๆ รวมถึงการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางกายภาพ และชีวเคมีภายในเซลล์ทำให้จุลินทรีย์ตายในที่สุด (Meginley, 2012) ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ฆ่าเชื้อกลูตารัลดีไฮด์ ที่ผสมรวมกับอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ จะมีการออกฤทธิ์ ยาวนาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ หรือมีชื่อเรียกว่าเบนซัลโคเนียมคลอไรด์ เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก (Cationic surfactant) และเป็นสารประกอบในกลุ่มของควอเทอนารีแอมโมเนียม (Quaternary ammonium compound) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นด่างสูง (คนึงนิจ, 2550) อัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ เป็นสารเคมีทลี่ ะลายได้ดใี นเอธานอล (Ethanol) และอะซีโตน (Acetone) แต่ละลายได้ช้ากว่าในน้ำ สารละลายจะมีลักษณะไม่มีสีถึงสีเหลืองอ่อน และจะเกิดฟองเมื่อเขย่า อัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางใน หลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค เช่น ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ใช้เป็นสารกำจัดสาหร่าย มอส หรือตะไคร่น้ำ บนพื้นทางเดิน หลังคาบ้าน รวมถึงในสระว่ายน้ำ และผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ
72
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่ กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่กรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ. 2548 ได้กำหนด เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อน ดังนี้ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2548) ตารางที่ 1 เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่ใช้ ด้านการปศุสัตว์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวิเคราะห์วัตถุอันตราย ปริมาณของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่ระบุไว้เป็น กรัม/กิโลกรัม หรือ กรัม/ลิตร ที่ 20 องศาเซลเซียส 500 และมากกว่า 250 ถึงน้อยกว่า 500 100 ถึงน้อยกว่า 250 25 ถึงน้อยกว่า 100 น้อยกว่า 25
เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่อนุญาตให้มีได้จากปริมาณของ สารสำคัญที่ระบุ ไม่เกิน ± 25 กรัม/กิโลกรัม หรือ กรัม/ลิตร ไม่เกิน ± 5% ไม่เกิน ± 6% ไม่เกิน ± 10% ไม่เกิน ± 15% สำหรับวัตถุอันตรายที่มีลักษณะเป็น ของเหลวและครีม ไม่เกิน ± 25% สำหรับวัตถุอันตรายที่มีลักษณะเป็น ของแข็ง ผง เกล็ด และเม็ด
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อดังกล่าวควรมีอายุการจัดเก็บที่เหมาะสม รวมถึงประสิทธิภาพ ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้น จึงได้ดำเนินศึกษาวิจัยเพื่อทราบความสัมพันธ์ของอายุการจัดเก็บ และ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกลุ่มกลูตารัลดีไฮด์ และอัลคิลเบนซิลไดเมททิลแอมโมเนียมคลอไรด์ เพื่อเป็นข้อมูลวิชาการประกอบการพิจารณารับขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และสามารถนำไปแนะนำเกษตรกรในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเตรียมตัวอย่าง 1.1 ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกลุ่ม Glutaraldehyde ผสม Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 3 ผลิตภัณฑ์ๆ ละ 4 ซ้ำ จำนวน 8 ครั้ง รวม 96 ตัวอย่าง ดังนี้ 1.1.1 ผลิตภัณฑ์ที่ 1 ประกอบด้วย Glutaraldehyde 15% W/V Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W และ Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V 1.1.2 ผลิตภัณฑ์ที่ 2 ประกอบด้วย Glutaraldehyde 10% W/V Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W และ Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V 1.1.3 ผลิตภัณฑ์ที่ 3 ประกอบด้วย Glutaraldehyde 7.5% W/V Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W และ Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
73
1.2 ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกลุ่ม Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 3 ผลิตภัณฑ์ๆ ละ 4 ซ้ำ จำนวน 8 ครั้ง รวม 96 ตัวอย่าง ดังนี้ 1.2.1 ผลิตภัณฑ์ที่ 4 ประกอบด้วย Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 20% W/W 1.2.2 ผลิตภัณฑ์ที่ 5 ประกอบด้วย Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 16% W/W 1.2.3 ผลิตภัณฑ์ที่ 6 ประกอบด้วย Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W แต่ละผลิตภัณฑ์เป็นตัวอย่างที่ผลิตชุดเดียวกัน เก็บไว้ในอาคารสถานที่จัดเก็บทั่วไป อุณหภูมิห้อง 2. การเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ 2.1 เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฆา่ เชือ้ เดือนที่ 1, 4, 8, 12, 16, 20, 24, 28 เป็นระยะเวลา 2 ปี ส่งตรวจวิเคราะห์ทกี่ ลุม่ งานตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และวัตถุอนั ตราย สำนักตรวจสอบคุณภาพ สินค้าปศุสัตว์ ในแต่ละครั้งส่งตรวจผลิตภัณฑ์วิเคราะห์สารสำคัญ 3 ตัวอย่าง (3 ซ้ำ) โดยวิธี Potentiometric Titration และอีก 1 ตัวอย่างส่งทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ 2.2 กลุ่มงานตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และวัตถุอันตราย สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้า ปศุสัตว์ ทำการทดสอบการฆ่าเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC 6538, Salmonella Choleraesuis ATCC 10708, Pseudomonas aeruginosa ATCC 15442 โดยวิธี Use dilution (AOAC, 2010) 3. คำนวณหาปริมาณค่าต่ำสุดของปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยใช้ค่า เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่อนุญาตให้มีได้จากปริมาณของสารสำคัญที่ระบุ นำมาเปรียบเทียบกับ ผลวิเคราะห์ที่ปริมาณสารสำคัญของผลิตภัณฑ์ตามระยะเวลาที่จัดเก็บ ผล 1. ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญกลุ่มกลูตารัลดีไฮด์ พบว่ามีแนวโน้มลดลงตามอายุ ที่จัดเก็บ และผลการวิเคราะห์สารกลุ่มอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ มีค่าคงที่ ไม่ ผันแปรตามอายุที่จัดเก็บ ดังแสดงในตารางที่ 1.1 และ 1.2
74
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ตารางที่ 1.1 แสดงเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารกลุ่ม Glutaraldehyde ผสม Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride ผลวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ % ส่วนประกอบ เดือนที่เก็บตัวอย่าง (เก็บตัวอย่างทุก 4 เดือน) 1 4 8 12 16 20 24 28 ผลิตภัณฑ์ที่ 1 1. Glutaraldehyde 15% W/V 14.5 14.4 14.3 14.3 14.2 14.0 13.9 13.8 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 9.9 9.8 9.8 9.8 10.0 10.0 10.2 10.2 10% W/W 3. Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ผลิตภัณฑ์ที่ 2 1. Glutaraldehyde 10% W/V 9.7 9.6 9.5 9.5 9.5 9.4 9.4 9.3 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10.1 10.0 10.0 9.9 9.9 9.9 9.9 9.9 10% W/W 3. Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ผลิตภัณฑ์ที่ 3 1. Glutaraldehyde 7.5% W/V 7.7 7.6 7.6 7.6 7.5 7.4 7.4 7.3 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 12.0 12.0 12.0 12.2 12.4 12.5 12.7 12.5 10% W/W 3. Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ตารางที่ 1.2 แสดงเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารกลุ่ม Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride ผลวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ % ส่วนประกอบ เดือนที่เก็บตัวอย่าง (เก็บตัวอย่างทุก 4 เดือน) 1 4 8 12 16 20 24 28 ผลิตภัณฑ์ที่ 4 Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 19.7 19.6 19.8 19.8 20.2 20.2 20.2 20.2 20% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 5 Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 15.8 18.9 15.9 16.1 16.2 16.2 16.2 16.2 16% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 6 Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10.1 10.1 10.3 10.2 10.4 10.3 10.3 10.6 10% W/W
2. ค่าต่ำสุดของปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับได้ เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่อนุญาตให้มีได้จากปริมาณสารสำคัญที่ระบุตามตารางที่ 1 ปริ ม าณของสารสำคั ญ ในวั ต ถุ อั น ตรายที่ ร ะบุ ไ ว้ เ ป็ น กรั ม /กิ โ ลกรั ม หรื อ กรั ม /ลิ ต รที่ 20 องศาเซลเซียส ดังนั้นส่วนประกอบใน 100% ของผลิตภัณฑ์ใช้เกณฑ์ ดังนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
75
สารสำคั ญ 10% ถึ ง น้ อ ยกว่ า 25% เกณฑ์ ค่ า คลาดเคลื่ อ นที่ อ นุ ญ าตให้ มี ไ ด้ จ าก ปริมาณของสารสำคัญที่ระบุ ไม่เกิน ±6% สารสำคัญ 2.5% ถึงน้อยกว่า 10% เกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่อนุญาตให้มีได้จาก ปริมาณของสารสำคัญที่ระบุ ไม่เกิน ±10% ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าต่ำสุดของปริมาณสารสำคัญที่ยอมรับได้ ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ที่ 1 1. Glutaraldehyde 15% W/V 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 2 1. Glutaraldehyde 10% W/V 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 3 1. Glutaraldehyde 7.5% W/V 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 4 Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 20% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 5 Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 16% W/W ผลิตภัณฑ์ที่ 6 Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W
ค่าต่ำสุดของ ปริมาณ ค่าคลาดเคลื่อนที่ ปริมาณสารสำคัญ สารสำคัญ อนุญาตให้มีได้ (%) ที่ยอมรับได้ (%) คิดเป็น (%) ไม่เกิน ± 6% ไม่เกิน ± 10%
14.1 9.4
94% 90%
ไม่เกิน ± 10% ไม่เกิน ± 10%
9.4 9.4
90% 90%
ไม่เกิน ± 10% ไม่เกิน ± 10%
7.425 9.4
90% 90%
ไม่เกิน ± 6%
18.8
94%
ไม่เกิน ± 6%
15.04
94%
ไม่เกิน ± 10%
9.4
90%
3. ผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพ ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จนเดือนที่ 28 ดังแสดงในตารางที่ 3.1 และ 3.2
76
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
ตารางที่ 3.1 แสดงผลการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของสารกลุ่ม Glutaraldehyde ผสม benzyl dimethyl ammonium chloride ผลการทดสอบประสิทธิภาพ Useส่วนประกอบ เชื้อ เดือนที่เก็บตัวอย่าง dilution 1 4 8 12 16 20 24 ผลิตภัณฑ์ที่ 1 1 : 220 S. aureus ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 1. Glutaraldehyde 15% W/V S. Choleraesuis ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 2. Alkyl benzyl dimethyl P. aeruginosa ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ammonium chloride 10% W/W 3. Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ผลิตภัณฑ์ที่ 2 1 : 75 S. aureus ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน S. Choleraesuis ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 1. Glutaraldehyde 10% W/V P. aeruginosa ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W 3. Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V ผลิตภัณฑ์ที่ 3 1 : 100 S. aureus ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน S. Choleraesuis ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 1. Glutaraldehyde 7.5% W/V P. aeruginosa ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 2. Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride 10% W/W 3. Polyethoxylated alkyl alcohol 5% W/V
Alkyl
28 ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ตารางที่ 3.2 แสดงผลการทดสอบประสิ ท ธิ ภ าพการฆ่ า เชื้ อ ของสารกลุ่ ม Alkyl benzyl dimethyl ammonium chloride ผลการทดสอบประสิทธิภาพ Useส่วนประกอบ เชื้อ เดือนที่เก็บตัวอย่าง dilution 1 4 8 12 16 20 24 28 ผลิตภัณฑ์ที่ 4 1 : 150 S. aureus ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน Alkyl benzyl dimethyl ammonium S. Choleraesuis ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน chloride 20% W/W P. aeruginosa ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผลิตภัณฑ์ที่ 5 1 : 100 S. aureus ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน Alkyl benzyl dimethyl ammonium S. Choleraesuis ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน chloride 16% W/W P. aeruginosa ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผลิตภัณฑ์ที่ 6 1 : 66 S. aureus ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน Alkyl benzyl dimethyl ammonium S. Choleraesuis ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน chloride 10% W/W P. aeruginosa ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
77
วิจารณ์ จากการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญพบว่ากลูตารัลดีไฮด์ ในผลิตภัณฑ์ที่ 1 และ 3 ปริมาณ สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจนถึงเดือนที่ 16 และผลิตภัณฑ์ที่ 2 ปริมาณสารสำคัญยังอยู่ในเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจนถึงเดือนที่ 24 ในขณะที่อัลคิลเบนซิลไดเมทิ ล แอมโมเนี ย มคลอไรด์ ใ นผลิ ต ภั ณ ฑ์ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ดี่ ย ว (ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ 4 5 และ 6) และที่ผสมรวมกับกลูตารัลดีไฮด์ (ผลิตภัณฑ์ที่ 1 2 และ 3) ปริมาณของสารสำคัญในทุก ผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจนถึงเดือนที่ 28 ปริมาณสารสำคัญของกลูตารัลดีไฮด์ในผลิตภัณฑ์ที่ 1 2 และ 3 มีแนวโน้มลดลงตามอายุที่จัดเก็บแต่ปริมาณสารสำคัญ ของอัลคิลเบนซิลไฮเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ ส่วนใหญ่มีค่าคงตัว หรือมีค่าเพิ่มขึ้นในบางผลิตภัณฑ์ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการวิเคราะห์สารสำคัญของแต่ละผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์จากชุดการผลิต เดียวกัน ไม่ได้วิเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ขวดเดิม Rutala and Weber (2008) ได้รายงานว่า ปัจจัย ที่มีผลทำให้ปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อลดลง แบ่งเป็น ปัจจัยภายนอก เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง ภาชนะบรรจุ ระยะเวลาที่เก็บและปัจจัยภายในของการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ของสาร เช่น oxidation hydrolysis ดังนั้น เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ จึงมีการกำหนด ข้อความในฉลาก เช่น ต้องเก็บผลิตภัณฑ์ให้มิดชิดในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ สถานที่ เก็บตัวอย่างต้องแห้ง และเย็น ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่ม สัตว์เลี้ยง เปลวไฟ ความร้อน (คนึงนิจ, 2550) การทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการ ฆ่าเชื้อได้จนถึงเดือนที่ 28 กลูตารัลดีไฮด์เป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ได้แม้มีสิ่งปนเปื้อน เช่น เลือด สารคัดหลั่ง หรือมูลสัตว์ และมีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะต่ำ จึงมีการ นำมาใช้ในการฆ่าเชื้อในฟาร์มปศุสัตว์ สำหรับอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ เป็น ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การผลิตนม การผลิตอาหารประเภทเนื้อหมู ไก่ และปลา โดยใช้ฆ่าเชื้อพื้นผิวและอุปกรณ์ต่างๆ และทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่มือ (Fazlara and Ekhtelat, 2012) อย่างไรก็ตาม คุณสมบัตขิ องผลิตภัณฑ์ฆา่ เชือ้ ทีด่ ี ต้องประกอบด้วย สามารถ ทำลายเชือ้ ได้รวดเร็ว และหลายชนิด มีความคงตัวแม้อยูใ่ นสภาวะทีเ่ ป็นกรด หรือด่าง ประสิทธิภาพ ไม่ลดลงเมือ่ สัมผัสสารอินทรีย์ ไม่กดั กร่อนพืน้ ผิว (โลหะ พลาสติก หรือยาง) ไม่ระคายเคืองผิวหนัง เยื่อเมือก ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ เช่น ชนิดของจุลชีพ ชนิด และความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาของการใช้ จำนวนของเชือ้ ทีป่ นเปือ้ น การปนเปือ้ น ของสารอินทรีย์ที่ติดมากับอุปกรณ์ (พูลศักดิ์, 2553)
78
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาอายุการจัดเก็บของกลูตารัลดีไฮด์ และอัลคิลเบนซิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวสูง โดยเฉลี่ยมีอายุการจัดเก็บอยู่ในช่วง 16 ถึง 24 เดือน สำหรับประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อพบว่าสามารถผ่านเกณฑ์การฆ่าเชื้อจนถึง 28 เดือน ดังนั้น เกษตรกรทีน่ ำผลิตภัณฑ์ฆา่ เชือ้ ไปใช้ตอ้ งคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งาน การใช้ตอ้ งใช้ตามวิธี การใช้ที่ระบุบนฉลาก โดยเฉพาะอัตราส่วนความเข้มข้นในการใช้ ระยะเวลาที่ให้ผลิตภัณฑ์สัมผัส กับพื้นผิว และต้องทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทำการฆ่าเชื้อ ข้อสำคัญก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง ต้องอ่านฉลากให้เข้าใจ รวมทั้งปฏิบัติตามข้อแนะนำ และคำเตือนบนฉลากเพื่อประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยในการใช้ กิตติกรรมประกาศ ผู้ศึกษาวิจัยขอขอบคุณ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและ รับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย สพ.ญ.สุนันท์ กิตติจารุวัฒนา น.สพ.ชูศักดิ์ อาจสูงเนิน และ สพ.ญ. สุภาพร วงศ์ศรีไชย กลุ่มงานตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และวัตถุ อันตราย สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ และที่ทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ และทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของผลิตภัณฑ์ นางสาวอรสุรี ภวชโลธร นักวิชาการสัตวบาล นางสาวขวัญตา ดำสว่าง นักวิทยาศาสตร์ และนางสาววันศิริ ไม้เขียว นักวิชาการสัตวบาล ทีช่ ว่ ย เก็บตัวอย่างประสานงานการทดลอง เอกสารอ้างอิง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2548. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อน จากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 130 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548. คนึงนิจ ก่อธรรมฤทธิ์. 2550. วัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์. กรมปศุสัตว์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 292 น. พูลศักดิ์ พุ่มวิเศษ. 2553. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในอุตสาหกรรมอาหาร URL: http:// www.thaimex.net AOAC 2010. Official Methods of Analysis of AOAC international 18 th Edition, Revision 3. Fazlara, A. and Ekhtelat, M. 2012. The Disinfectant Effects of Benzalkonium Chloride on Some Important Foodborne Pathogens. American-Eurasian J. Agric. & Environ. Sci. 12(1) : 23-29. Meginley, H. E. 2012 Glutaraldehyde uses and counterfeits [Online] URL: http://www.watertechonline. com Rutala, W.A. and Weber, D.J. 2008. Guideline for Disinfection and sterilization in Health care Facilities [Online] URL: http://www.edc.gov/hicpoc/ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 153 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556
79
ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์
1. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ(ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด 6. บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท ท็อปฟีดมิลล์ จำกัด 9. บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 10. บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด 11. บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 12. บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด 13. บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด 14. บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด 15. บริษัท ตงชาง เครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด 16. บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด 17. บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด 18. บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด 19. บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2247-7000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2279-7534 โทร. 0-2910-9728-29 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 0-3488-6140-46 โทร. 0-2784-7900 โทร. 0-2757-4792-5 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2640-8013 โทร. 0-2886-4350