Aw 156 96 pages for web

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์ โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2556-2557 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

นายกสมาคม

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)

2. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง

อุปนายก คนที่ 1

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด

3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์

อุปนายก คนที่ 2

บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด

4. นางเบญจพร สังหิตกุล

เหรัญญิก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

5. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์

เลขาธิการ

บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

6. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ

รองเลขาธิการ

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

7. นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด

รองเลขาธิการ

บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด(มหาชน)

8. นายโดม มีกุล

ประชาสัมพันธ์

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด

9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล

ปฏิคม

บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด

10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ

นายทะเบียน

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด

11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น

กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

12. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ ไพสิฐพงษ์

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด

13. นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

14. นายวิชัย คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด

15. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด

16. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม

กรรมการ

บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน)

17. นายวราวุฒิ วัฒนธารา

กรรมการ

บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด

18. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

กรรมการ

บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี 2558 ทุกฝ่ายมี ความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ใครจะเป็นคนตอบได้ว่า พร้อมแล้ว หรือยัง เพราะปัญหาของแต่ละคน แต่ละขนาด แต่ละอุตสาหกรรม ยากทีจ่ ะตอบว่า พร้อมหรือยัง เพราะปัญหายังไม่เกิด หรือถ้าเกิดแล้ว ความรุนแรงของธุรกิจจะกระทบมากน้อยแค่ไหน ใครจะมาวัดให้ เรื่องนี้ก็ต้องยอมรับว่า กรรมใด ใครก่อ กรรมนั้นก็รับกันไปเอง ก็หมายความว่า ใครเตรียมรับมือไว้แล้ว ผลกระทบจะมากจะน้อย ก็นับว่า ได้เตรียมรับปัญหาไว้บ้างแล้ว ดังนั้น เตรียมความพร้อมได้แล้ว จะธุรกิจใหญ่ หรือ เล็กกลางใหญ่ หรือ เล็กๆ ใหญ่ๆ ทุกคนก็ต้องทำ และต้องทำทุกคน ทำเพื่อตัวเองก่อน ผลตามมา เพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศ อย่ารอให้คนอื่นทำก่อน แล้วเราทำตาม ต้องบอกซ้ำว่า กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมเกิดแก่ผู้กระทำอย่างแน่นอน หลีกหนีไม่พ้น... วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ มุ่งหวังที่จะเป็นสื่อให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะ ให้คณะกรรมการบริหารได้ดำเนินการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ทางสมาคมฯ โดยท่าน นายกสมาคมฯ ได้มีความตั้งใจที่จะไปพบกรรมการบริหารของบริษัทสมาชิก เพื่อรายงานความคืบหน้า ของกิจกรรมของสมาคมฯ และรับฟังความเห็นเพื่อไปต่อยอด ซึ่งครั้งแรกนี้ ทางสมาคมฯ ได้เข้าพบ คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เสนอทัศนะ ฝากไว้ในวารสารเล่มนีแ้ ล้ว และเราก็จะไปพบกับสมาชิกท่านอืน่ ๆ ตามลำดับต่อไป เพือ่ ให้การดำเนินงาน สำเร็จลุล่วงด้วยดี นอกจากนี้แล้ว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย มุ่งหวังที่จะให้ภาคเกษตรและปศุสัตว์ มีความ ยั่งยืน มั่นคง และ ปลอดภัย โดยจะต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่วางแผนไว้ โดยแต่ละยุทธศาสตร์ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อให้ธุรกิจไปข้างหน้าได้อีกยาวไกล จึงต้องเตรียมพร้อมให้ทุก ภาคส่วนมีความยั่งยืน และทุกห่วงโซ่ของธุรกิจต้องอยู่ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป เช่นกัน ซึ่งเป็นความ มุ่งหวังอันดีของแผนยุทธศาสตร์นี้อย่างแน่นอน.... บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 31 เล่มที่ 156 ประจำเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2557

Contents

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร. .............................................................................................5 Thailand Focus รายงานการศึกษาวิเคราะห์ เรื่อง GMO: EU vs USA ในเวที TTIP และผลกระทบต่อไทย.............................................................................................. 9 แทรกแซงไท้เก๊ก : กรอบแนวคิดใหม่ใช้แก้ปัญหาสินค้าเกษตร........................................... 25

Food Feed Fuel เปิดยุทธศาสตร์ 20 ปี "อาหารสัตว์" จี้รัฐปฏิรูปทั้งระบบ ปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืน ภาษี 0%............................................... 28 ธุรกิจเกษตรพืชไร่ในภาคอีสาน................................................................................... 31 สรุปรายงานการสัมมนา เรื่อง อนาคตของประเทศไทยกับยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจ........... 42 สรุปรายงานการสัมมนาผลการวิจัย การศึกษาผลกระทบ และการเตรียมความพร้อม ของภาคเกษตรไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.................................................... 47

Market Leader

บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ.......................................................... 53 จับตาสินค้าเกษตรปี 57 ไก่เนื้อ ทุเรียน สดใส-ยางวูบ. ................................................... 62 เร่งล้อมคอก ขจัดโรค ไทยทวงแชมป์ส่งออก "ไก่สดแช่แข็ง".............................................. 64 "โรคกุ้งตายด่วน" อาละวาดหนัก 2 ปี เอาไม่อยู่ ทุบผลผลิตลดฮวบ................................. 68

Around The World

ฟาร์มไก่ไข่ 3 ล้านตัวที่ผิงกู่ เทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในโลก-ใช้หุ่นยนต์เลี้ยงไก่..................... 70 โลกทัศน์สิ่งแวดล้อม 2050 OECD ENVIRONMENTAL OUTLOOK TO 2050.............. 77

ขอบคุณ. ....................................................................................................................... 80  ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม

นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265  Email: tfma44@yahoo.com  Website: www.thaifeedmill.com




บทสัมภาษณ์ ...ผู้บริหาร บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และอยู่ในขั้นการบริหารต้นทุนแบบครบวงจร แต่ยังขาดการมองไปถึงการยกระดับคุณภาพอาหาร “การสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา Quality Product กับการบริหารจัดการ Production Cost จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำธุรกิจได้อย่างยั่งยืน” 

วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์

กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร

ท่านมีแนวคิดและมุมมองต่อธุรกิจอาหารสัตว์อย่างไร?? อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหาร ประเทศไทยมี รากฐานของอุตสาหกรรมนี้มายาวนานกว่า 50 ปี ถือว่าเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มี Economies of scale ในระดับที่สูง และสัมพันธ์กับ พืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และอยู่ในขั้นการบริหารต้นทุนแบบครบวงจร แต่ยงั ขาดการมองไปถึงการยกระดับคุณภาพอาหาร “การสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา Quality Product กับการบริหารจัดการ Production Cost จะทำให้ประเทศไทยเป็นผูน้ ำธุรกิจได้อย่าง ยั่งยืน” เช่น การยกระดับคุณภาพไข่ไก่ (Quality Egg) ซึ่งสะท้อนกลับไปถึงการพัฒนาคุณภาพ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ในปีที่ผ่านมาทั้งประเทศมีการผลิตอาหารสัตว์ราว 15 ล้านตัน หากมองย้อนไปเมื่อ 30 ปี ทีแ่ ล้ว อาหารสัตว์มสี ดั ส่วนการใช้วตั ถุดบิ ข้าวโพดถึง 50-60% ปัจจุบนั สัดส่วนลดลงเหลือประมาณ 30-40% โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาวัตถุดิบทดแทนกันมากขึ้น รวมทั้งการวิจัยด้าน โภชนาการจนทำให้สัดส่วนการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้นได้ หากประเทศไทยจะมีการส่งเสริมสัตว์ สายพันธุ์ใหม่ให้มีบทบาทด้านการส่งออกมากขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีผลผลิตอยู่ประมาณ 5 ล้านตัน ถือว่ามีปริมาณไม่เพียงพอ บทบาทสำคัญหลักในการส่งออกตอนนี้มีเพียงเนื้อไก่ และกุ้ง เท่านั้น ส่วนเนื้อสุกรมีการบริโภคภายในประเทศถึง 90% ส่งออกเพียง 10% จึงมองว่าการ ตลาดส่งออกสำหรับเนื้อสุกรยังสามารถพัฒนาไปได้อีกมาก แน่นอนว่าความต้องการอาหารสัตว์ จะต้องมีเพิม่ ขึน้ ตามไปด้วย ควรมีการผลักดันให้มปี ริมาณวัตถุดบิ เช่น ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เพิม่ ตาม ความต้องการที่แท้จริง เพื่อสามารถใช้ในการเพิ่มการผลิตสุกรนำไปสู่การพัฒนาการส่งออกได้

5


ของอาหารสัตว์ ตลอดจนการบริหารจัดการที่ดี เน้นที่ Basic Quality แทนที่การเน้นปริมาณ ผลผลิตที่ได้เพียงอย่างเดียว เช่น การดูแลค่า PH ในไข่ไก่ การควบคุมปริมาณไข่ขาวไข่แดง สุดท้ายคือ จะทำอย่างไรถึงจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มคุณภาพในตัวสินค้า

ขอให้ท่านช่วยฝากข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอาหารสัตว์ ในอนาคต?? ภาครัฐถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ธุรกิจอาหารสัตว์ขับเคลื่อนไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การกำหนดแหล่งชลประทาน และพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมยังเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับประเทศไทย รัฐจึงจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากทำได้จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มสูงขึ้น รัฐควรดำเนินการสำรวจหน้าดินอย่างจริงจังว่าพื้นที่ใดเหมาะกับการปลูกพืชใด และ ต้องสร้างความเข้าใจให้กบั เกษตรกรทราบอย่างต่อเนือ่ ง ควรให้การสนับสนุนแก่สหกรณ์การเกษตร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านเครื่องไม้เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ไซโล อบแห้ง เพื่อให้สามารถจัดเก็บ และปล่อยสินค้าได้ตามความต้องการของตลาด ตลอดจน การพิ จ ารณามาตรการควบคุ ม ราคาสิ น ค้ า ในธุ ร กิ จ ปศุ สั ต ว์ มี ห่ ว งโซ่ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งหลายส่ ว น ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไปจนถึงผู้จัดจำหน่าย ฉะนั้นรัฐจะต้องพิจารณาให้ครอบคลุม ตลอดทั้งห่วงโซ่ เพื่อจะได้ดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด และส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทยมีความเข้มแข็ง คือ การที่ สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะในเรือ่ งการผลักดัน แก้ไขปัญหา การนำเข้าวัตถุดบิ , การออกใบอนุญาตนำเข้า, การลดภาษี และการหาแหล่งวัตถุดบิ ใหม่ ส่วนแนวคิดที่ทางสมาคมจะจัดตั้ง Asean Feed Connectivity เพื่อสร้าง Networking ระหว่าง ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศในอาเซียน ถือเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะหากประเทศไทยต้องการเป็น ผู้นำธุรกิจนี้ จะต้องรับทราบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเหล่านี้ด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

6


ประวัติผู้บริหาร ชื่อ-นามสกุล : นายวสิษฐ แต้ ไพสิฐพงษ์ อายุ : 52 ปี (วันเกิด 9 พฤษภาคม 2505) ตำแหน่งปัจจุบัน : กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร ตำแหน่งทางสังคม : อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ การศึกษา : M.B.A. University of Texas at Arlington : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ งานอดิเรก : เล่นกอล์ฟ, ฟังเพลง, ขับรถ

ทำความรู้จักสมาชิก เครือเบทาโกร ก่อตัง้ เมือ่ ปี พ.ศ.2510 ภายใต้ชอื่ บริษทั เบทาโกร จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน เริม่ ต้น 10 ล้านบาท เพือ่ ดำเนินธุรกิจผลิต และจำหน่ายอาหารสัตว์ โดยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรก ตั้งอยู่ที่เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ และก่อตั้งโรงงานแห่งแรกที่ อำเภอพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

เบทาโกรขยายธุ ร กิ จ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เริ่ ม จากการ สร้ า งฐานการผลิ ต ด้ า นปศุ สั ต ว์ แ ห่ ง แรก ประกอบด้ ว ย ฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกร โรงงานอาหารสัตว์ และโรงฟักไข่ ที่ อ ำเภอปากช่ อ ง จั ง หวั ด นครราชสี ม า และได้ ข ยาย ฐานการผลิตเต็มรูปแบบไปยังจังหวัดลพบุรี เนื่องจากมี ความเหมาะสมทั้งทางด้านแหล่งวัตถุดิบ และทำเลที่ตั้ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาของการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร ประกอบด้วย โรงงาน อาหารสัตว์ ฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกร โรงฟักไข่ โรงงาน แปรรูป และตัดแต่งเนื้อสุกรอนามัย และโรงงานผลิต อาหารปรุงสุกแช่แข็งจากเนื้อสุกรอนามัย และเนื้อสุกร เอสพีเอฟ ฯลฯ

7


"ทุกย่างก้าวของเรา เครือเบทาโกร คือ ความมุ่งมั่น ทุ่มเท และสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเสริม และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้แก่คนไทย และประชากรโลก" จากธุรกิจที่เป็นพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมเกษตรนำไปสู่การจัดตั้งบริษัทในเครือที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอีกหลายแห่ง เพื่อรองรับเครือข่ายธุรกิจของเบทาโกรตั้งแต่ธุรกิจการผลิต การเลี้ยง และการพัฒนาสายพันธุ์ ทั้งสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ การจัดทำฟาร์มพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การผลิต และจำหน่ายเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ในระดับมาตรฐานสากล อีกทั้งยังร่วมมือกับเกษตรกร ในโครงการประกันราคาไก่เนื้อ และไก่ไข่โครงการจัดเลี้ยงสุกรขุน การผลิต และจำหน่ายสุกรขุน เนื้อไก่สด ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออก ปัจจุบนั เครือเบทาโกร เป็นหนึง่ ในผูน้ ำธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหารครบวงจร ของประเทศไทย ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์ สำหรับสุขภาพสัตว์ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพเพื่อการส่งออก และจำหน่ายในประเทศเพื่อเป็นการตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลายภายใต้แนวคิด "เพื่อคุณภาพชีวิต"

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

8

สำนักงานใหญ่เครือเบทาโกร ตั้งอยู่ที่ อาคารเบทาโกร ทาวเวอร์ (นอรธ์ปาร์ค) 323 ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ (66 2) 833-8000 โทรสาร (66 2) 833-8001 http://www.betagro.com




GMO: EU vs USA

ในเวที TTIP และผลกระทบต่อไทย

Thailand Focus

รายงานการศึกษาวิเคราะห์ เรื่อง

1. ภูมิหลังการเจรจา EU-US Transatlantic Trade and Investment Partnership (TTIP)1 โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดเสรีการค้าการลงทุนระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐอเมริกา คิดเป็นอัตราส่วนรวมร้อยละ 40 ของการผลิตของเศรษฐกิจโลก ซึง่ นับว่าการค้าของสองประเทศนี้ มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก คาดว่าจะทำให้มีตำแหน่งงานและการจ้างงานเพิ่มขึ้น2 ซึ่งจะช่วยให้ สหภาพยุโรปหลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ TTIP ยังรวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (public procurement) ผลการศึกษาโดยสถาบัน Centre for Economic Policy Research ทีก่ รุงลอนดอน แจ้งว่า เมือ่ การเจรจามีผลบังคับใช้ เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะขยายตัวคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 120 พันล้านยูโร3 การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28 เป็นผลให้การส่งออก สินค้าและบริการมีรายได้เพิม่ ขึน้ ปีละประมาณ 187 พันล้านยูโร โดยเฉลีย่ ผูบ้ ริโภคในสหภาพยุโรป แต่ละครอบครัวทีม่ สี มาชิก 4 คน จะมีรายรับเพิม่ ขึน้ ปีละประมาณ 545 ยูโร ในการเจรจา TTIP นี้ ทั้งสองฝ่ายเน้นแก้ปัญหา/อุปสรรคหลังพรมแดนที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ (behind the border in regulations) อุปสรรคที่มิใช่ภาษี (non-tariff barriers) และกฎระเบียบที่ยุ่งยากทำให้ล่าช้า (red tape) หากสามารถลดได้ คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการค้ารวมประมาณร้อยละ 80 เนื่องจากสามารถ ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากกฎระเบียบที่ยุ่งยากดังกล่าว ทั้งนี้ ผลการศึกษาของสหภาพยุโรปกล่าวว่า ผลการเจรจาจะเป็นประโยชน์ทำให้เศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ทัว่ โลก (เช่น ลาตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย) ขยายตัวประมาณ 100 พันล้านยูโรต่อปี และจะทำให้การค้าของโลกมีความแข็งแกร่ง และมีวินัยยิ่งขึ้น4 โดยมีการเจรจาฯ TTIP 4 รอบดังนี้ :

ที่มา : http://trade.ec.europa.eu/doclib/press/ (dated 5 March 2014) ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 สหภาพการค้า UNISON ของอังกฤษกล่าวว่า เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ และ จะทำให้เกิด prolonged and substantial dislocation of EU workers ที่มา : www.bilaterals.org 3 อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 : 1 US Dollar เท่ากับ 0.720074 Euro (ที่มา : www.xe.com/ currency converter/) 4 ที่มา : http://trade.ec.europa.eu/ วันที่ 6 มีนาคม 2557 2

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

1

9


รอบแรก 8-12 กรกฎาคม 2556 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.5 สหรัฐฯ รอบสอง 11-15 พฤศจิกายน 2556 ที่กรุงบรัสเซลส์ เบลเยี่ยม รอบสาม 16-20 ธันวาคม 2556 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ รอบสี่ 10- 14 มีนาคม 2557 ที่กรุงบรัสเซลส์ เบลเยี่ยม และรอบต่อไป รอบห้า 19-23 พฤษภาคม 2557 ทีเ่ มือง Arlington รัฐ Virginia สหรัฐฯ ในการเจรจา TTIP ระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐอเมริกา คาดว่า ประเด็น GMO ซึ่งเป็นประเด็นทางการเมือง ทางเทคนิค และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีการโต้แย้งมาก โดย จะเป็นประเด็นที่อ่อนไหวที่สุดประเด็นหนึ่ง และจะมีการต่อรองสูง โดยสหรัฐอเมริกามีนโยบาย สนับสนุนการคิดค้นและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ทั้งเป็นผู้ผลิต และส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้งมีการวางจำหน่ายสินค้า GMO และที่มีส่วนผสม GMO ในท้องตลาด ในขณะทีส่ หภาพยุโรปมีนโยบายในภาพรวมทีค่ ดั ค้าน ห้ามมิให้มกี ารเพาะปลูก นำเข้า หรือจำหน่ายสินค้า GMO 2. GMOs หรือ Genetically Modified Organisms คือสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการตัดแต่ง/ดัดแปลงทางพันธุกรรม โดยการถ่ายเทยีนจากสิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดลักษณะ หรือคุณสมบัติใหม่ตามที่ต้องการ หรือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ที่เรียกว่า Recombination DNA6 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการปรับปรุงทางพันธุกรรม โดยวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม (Conventional Breeding) ที่ได้จากการผสมข้าม พันธุ์พืชตามธรรมชาติ หรือจากการผสมโดยมนุษย์ เพื่อให้ได้ลักษณะใหม่ที่ต้องการ เช่น ทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง ต้านทานแมลง เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้ จะใช้เวลานานในการคัดเลือกพันธุ์ให้ได้ตาม ลักษณะที่ต้องการ นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมที่สามารถปรับปรุง พันธุ์สิ่งมีชีวิตให้ได้ลักษณะที่ต้องการ มีความหลากหลาย และรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ สามารถแบ่ง GMO ได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.1 จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม (Microorganism GM หรือ Transgenic microorganism) เช่น ไวน์จากยีสต์ GM และ แบคทีเรีย GM ที่กำจัดคราบน้ำมัน ที่มา : www.itd.or.th Recombination DNA เป็นวิธกี ารปรับปรุงพันธุท์ รี่ วดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธกี ารปรับปรุงพันธุกรรมของ สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งจะถ่ายยีนที่แสดงลักษณะที่น่าสนใจ หรือยีนเป้าหมายจากสิ่งมีชีวิตหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ (Donor gene) ไปสูส่ งิ่ มีชวี ติ ทีต่ อ้ งการปรับปรุงพันธุกรรม (Recipient organism) ทีม่ า : www.most.go.th “รายงาน การสืบค้นข้อมูลความก้าวหน้าและสถานะทางเทคโนโลยีชวี ภาพของสิง่ มีชวี ติ ดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ในประเทศ สหรัฐอเมริกา” โดย นายนรินทร์ เรืองพานิช สำนักงานทีป่ รึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 30 ธันวาคม 2553 5 6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

10


2.2 พื ช ดั ด แปลงทางพั น ธุ ก รรม (Plant GM หรื อ Transgenic Plants) เช่ น ถั่วเหลือง (มีความต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืช เพิ่มปริมาณกรดไขมัน) ข้าวโพด (มีความ ต้านทานแมลง และยาป้องกันศัตรูพืช) ฝ้าย (มีความต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืช) ส่วนพืช ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา/ทดลองปลูก เช่น ข้าวสาลี ข้าว มะเขือเทศ แอปเปิ้ล มันฝรั่ง 2.3 สัตว์ดดั แปลงทางพันธุกรรม (GM Animal หรือ Transgenic Animals) ในอดีต การ ปรับปรุงพันธุ์สัตว์มักใช้วิธีการผสมเทียม หรือการผสมในหลอดทดลอง แทนการผสมพันธุ์ตาม ธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาสัตว์ GM โดยการถ่ายยีนที่มีลักษณะที่ต้องการ จากสิ่งมีชีวิตอื่น (เช่น สัตว์ชนิดอื่น พืช มนุษย์) เพื่อให้ได้ลักษณะที่เป็นประโยชน์ตามที่ต้องการ เพือ่ ประโยชน์หลักในอุตสาหกรรมอาหาร เสริมสร้างคุณภาพชีวติ มนุษย์ และประโยชน์ทางการแพทย์ ด้วยการเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มปริมาณน้ำนม และขนสัตว์ ต้านทานต่อโรคติดต่อจากไวรัส และแบคทีเรีย โดยต้องสามารถถ่ายทอดยีนที่ได้รับจากการดัดแปลงฯ ต่อไปสู่ลูกหลานได้ ทั้งนี้ การดัดแปลงพันธุกรรมในสัตว์มีการดำเนินการเช่น 1) สัตว์บก เช่น สุกร (เพิ่มปริมาณ omega-3 fatty acids ในเนื้อหมู) วัว (เพิ่ม ปริมาณโปรตีน beta-casein และ kappa-casein ในน้ำนม โปรตีนทั้งสองชนิดสามารถจับกับ calcium ได้มากขึ้น ช่วยให้น้ำนมมีปริมาณ calcium เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ น้ำนมมีความคงตัว และทนความร้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ลดปริมาณไขมันในน้ำนม)

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะพืช GMO เพื่อการพาณิชย์ ในปี 2553 มีการเพาะปลูกพืช GMO ในโลกเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10 มีพนื้ ทีร่ วมประมาณ 150 ล้านเอเคอร์7 เกษตรกรมากกว่า 15 ล้านคน ใน 29 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกาปลูกพืช GMO มากที่สุด (ครอบคลุมพื้นที่ 66.8 ล้านเอเคอร์) บราซิล (25.4 ล้านเอเคอร์) อาร์เจนตินา ( 22.9 ล้านเอเคอร์) อินเดีย (9.4 ล้านเอเคอร์) แคนาดา (8.8 ล้านเอเคอร์) จีน (3.5 ล้านเอเคอร์) ปารากวัย (2.6 ล้านเอเคอร์) ปากีสถาน (2.4 ล้านเอเคอร์) แอฟริกาใต้ (2.2 ล้านเอเคอร์) อุรุกวัย (1.1 ล้านเอเคอร์) สหภาพยุโรปมี พื้นที่การเพาะปลูกพืช GMO รวม 91,438 เอเคอร์ โดยนิยมปลูกถั่วเหลืองที่ทนต่อยากำจัด วัชพืชมากที่สุด ทั่วโลกมีการปลูกถั่วเหลือง GMO มากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 81 ของพื้นที่ปลูกพืช GMO ทั่วโลก) ฝ้าย (คิดเป็นร้อยละ 64) ข้าวโพด (คิดเป็นร้อยละ 29) เมล็ดเรปซีดพืชน้ำมัน (คิดเป็นร้อยละ 23) ที่มา : www.thaibiznet.net

7

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

2) สัตว์น้ำ เช่น ปลาเทราห์ (เพิ่มปริมาณ omega-3) ปลาแซลมอน (เร่งการ เจริญเติบโต ลดสารที่ทำให้เกิดการแพ้ของมนุษย์ที่มีต่อสัตว์น้ำ) ส่วนสัตว์น้ำที่อยู่ในระหว่างการ วิจัยเช่น ปลาดุก ปลานิล ปลากระพง หอยนางรม หอยเป๋าฮื้อ กุ้ง

11


3. สถิติการค้าสินค้าเกษตรระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐฯ ปี 25568 ตารางที่ 1 การส่งออก-นำเข้าสินค้าเกษตร (หน่วย : ล้านยูโร) : EU 28 Export (%)* Import (%)** All Trade 1,733,123,349 1,683,261,178 All Agricultural Trade 120,089,982 101,501,055 with USA: All trade 287,981,214 196,173,480 Agricultural Trade 15,402.5 (12.8) 9,751,422 (9.6)

Balance (%) 49,862171 18,588,927 91,807,734 5,651,157 (-)

**สินค้าเกษตรส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นสินค้า final products เช่น wine, sparkling wine, cheese, olive oil สินค้าเกษตรที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เช่น oilcakes, ถั่วต่างๆ เช่น pistachios, almonds9

4. สรุปภาพรวมนโยบาย GMO ของสหภาพยุโรป : สหรัฐอเมริกา ในที่นี้ จะกล่าวถึง การขออนุญาตและการติดฉลากสินค้า ซึ่งมีความสำคัญและมีการโต้แย้งมาก 4.1 นโยบายสหภาพยุโรป : มีนโยบายทีเ่ ข้มงวดทีส่ ดุ ในโลก คัดค้านและไม่ยอมรับ GMO มาโดยตลอด ซึ่งครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการเพาะปลูก การใช้ การนำเข้า และการอนุญาต ให้วางจำหน่ายสินค้า GMO หรือสินค้าที่มีส่วนประกอบจาก GMO จากประเทศที่สามในสหภาพยุโรป10 โดยสหภาพยุโรปอนุญาตให้มีการเพาะปลูก นำเข้า หรือวางจำหน่ายสินค้า GMO หรือ ที่มีส่วนประกอบมาจาก GMO ได้ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมาธิการ ยุโรป (European Commission) แล้วเท่านั้น และต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า สินค้า GMO นั้นไม่เป็นภัยต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญมีความปลอดภัย เทียบเท่าพืชปกติ โดยหน่วยงาน European Food Safety Agency (EFSA) จะทำหน้าทีป่ ระเมิน ความเสี่ยง และเสนอผลการประเมินให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาอนุญาตต่อไป แต่ในทาง ปฏิบตั ปิ ระเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังสามารถออกมาตรการห้ามสินค้า GMO โดยเฉพาะในหลาย ประเทศสมาชิกฯ ห้ามการเพาะปลูก GMO ในอาณาเขต และทำให้ GMO กลายเป็นประเด็น ทางการเมืองที่ประเทศสมาชิกฯ มีบทบาทในการกำหนดทิศทางนโยบายเป็นสำคัญ จึงสรุปได้ว่า สหภาพยุโรปไม่สามารถกำหนดนโยบาย GMO ที่บูรณาการนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิกฯ ดังนั้น ระบบการขออนุญาตการนำเข้าสินค้า GMO ของสหภาพยุโรปจึงไม่มีประสิทธิภาพ และ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

12

EU 28 Agriculture Trade with the United States ที่มา : http://ec.europa.eu/agriculture/ ที่มา : ec.europa.eu/agriculture/ 10 ประเทศที่สาม (Third Country) หมายถึง ประเทศที่มิใช่สมาชิกสหภาพยุโรป หรือไม่อยู่ในระหว่างการสมัครเข้า เป็นสมาชิกฯ ปัจจุบนั ณ ปี พ.ศ. 2557 สหภาพยุโรปมีสมาชิก 28 ประเทศ โดย โครเอเชีย เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 28 เมื่อกลางปี 2556 8 9


ใช้ระยะเวลาพิจารณาฯ ยาวนานเกินไป ส่งผลให้กลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า และขัดขวาง การนำเข้าสินค้าดังกล่าวมายังสหภาพยุโรป เช่น ระยะเวลาการขออนุญาตและจดทะเบียนสินค้า GMO ในสหภาพยุโรปจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึง่ ขณะทีส่ หรัฐอเมริกา ประมาณ 1 ปีครึง่ บราซิล ประมาณ 2 ปี ผลจากความล่าช้าของสหภาพยุโรปนี้ คาดว่า จะมีสินค้า GMO ที่อยู่ระหว่าง ขออนุญาตประมาณ 106 รายการในปี 256311 ทั้งนี้มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1) การวางจำหน่าย การใช้และการกระจายสินค้า GMO เช่น  Directive 2001/18/EC on the deliberate release into the environment of genetically modified organism and repealing Council Directive 90/220/EC ลงวันที่ 12 มีนาคม 254412 เพือ่ กำหนดกรอบกฎหมาย กฎระเบียบ และการบริหารจัดการเกีย่ วกับ GMO ของประเทศสมาชิก ซึ่งกี่ยวข้อง 2 ประเด็นหลัก ได้แก่  การวางจำหน่ายสินค้า GMO และสินค้าที่มีส่วนผสมหรือส่วนประกอบ ของ GMO ในตลาดสหภาพยุโรป รวมทั้งการเพาะปลูก การนำเข้า และการใช้สินค้า GMO ใน อุตสาหกรรม  การใช้ และการกระจายของ GMO ไปยังสิ่งแวดล้อม ที่นอกเหนือจาก การวางจำหน่ายในตลาด เช่น การทดลอง กฎหมายนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อประเทศที่สาม และไทย โดยเป็นการกำหนดกรอบกฎหมายฯ ระดับชาติของประเทศสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบาย GMO ของสหภาพยุโรป โดย ประเทศสมาชิกต้องนำกฎระเบียบนี้ไปปรับบังคับใช้ภายในประเทศ ซึ่งสามารถดำเนินการโดยการ ออกกฎหมายระดับประเทศ ภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2545 แต่ผลทีเ่ กิดขึน้ คือ ความแตกต่างของ ขอบเขตการบังคับใช้ และระดับความเข้มงวดของแต่ละประเทศสมาชิก และบางประเทศสมาชิก ห้ามการเพาะปลูกพืช GMO (ในบางกรณีหา้ มการใช้ในเชิงพาณิชย์) เช่น Austria (ห้ามการเพาะปลูก ข้าวโพด GMO MON 810, MON863 และ TS25) Italy (ห้ามการเพาะปลูกพืช GMO)  Regulation13 (EC) 1829/2003 on genetically modified food and feed ลงวันที่ 22 กันยายน 2546 วางกรอบกฎหมายหลักเกี่ยวกับการควบคุมการวางจำหน่ายสินค้า อาหารและอาหารสัตว์ประเภท GMO หรือมีส่วนผสม หรือส่วนประกอบของ GMO ในท้องตลาด ข้อมูลจากรายงานของ EuroBio เรื่อง How do EU Policies on Biotech Crops Impact Trade and Development ณ 7 มีนาคม 2556 ทีม่ า : www.thaibiz.net รายงานเรือ่ ง นโยบายว่าด้วยการตัดแต่งทางพันธุกรรมของสหภาพยุโรป โดย อาจารี ถาวรมาศ สำหรับคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป 12 ที่มา : http://eurlex.europa.eu 13 กฎระเบียบประเภท Regulation มีผลบังคับใช้โดยตรงต่อประเทศสมาชิก โดยไม่ต้องออกเป็นกฎหมายระดับชาติ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

11

13


(รวมการเพาะปลูก การนำเข้า หรือการใช้ และปรับเปลี่ยนพืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือ ที่มีส่วนผสม และส่วนประกอบของ GMO ในอุตสาหกรรม) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปกป้อง สุขอนามัยมนุษย์และสัตว์ โดยกำหนดวิธปี ระเมินความเสีย่ งด้านความปลอดภัยทีม่ มี าตรฐานสูงสุด ในระดับสหภาพยุโรป ก่อนที่จะวางจำหน่ายสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ GMO หรือที่มีส่วนผสม หรือส่วนประกอบ GMO ในตลาด กฎระเบียบนี้มีนัยสำคัญที่เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า GMO จาก ประเทศที่สาม14 โดยกำหนดว่า การเพาะปลูก นำเข้า หรือวางจำหน่ายสินค้า GMO ดังกล่าว จะดำเนินการได้กต็ อ่ เมือ่ ได้รบั การอนุญาตจากคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วเท่านัน้ ซึง่ จะต้องยืน่ เรือ่ ง ต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศสมาชิกที่ประสงค์จะดำเนินกิจการ และต้องมีหลักฐานทาง วิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า สินค้านัน้ ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิง่ แวดล้อม ต้องมี ความปลอดภัยเทียบเท่าพืชปกติ และต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงจากหน่วยงาน European Food Safety Authority (EFSA) ก่อน15 ปัจจุบัน ณ เดือนมีนาคม 2557 คณะกรรมาธิการ ยุโรปอนุญาตสินค้า GMO รวม 50 รายการ โดยล่าสุดอนุญาตให้ปลูกข้าวโพด GM Pioneer 1507 จากบริษทั DuPont และ Dow Chemical ของสหรัฐฯ16 (แม้วา่ จะมีประเทศสมาชิกคัดค้าน 19 ประเทศ จากสมาชิกรวม 28 ประเทศ) โดยให้เหตุผลว่า มีผลการวิจัยตั้งแต่ปี 2544 ว่าการเพาะปลูกพืช GMO รายการนี้มีความปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทาง การตลาดกับประเทศที่อนุญาตให้ปลูกพืช GMO อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยุโรปไม่นิยมบริโภคพืช GMO เนือ่ งจากกังวลเกีย่ วกับผลกระทบต่อสุขภาพ และระบบนิเวศน์อาจถูกทำลาย ทำให้ผบู้ ริโภค ยุโรปหันมาบริโภคพืชเกษตรอินทรีย์ (organic) มากขึ้น สรุปขั้นตอนการยื่นขออนุญาต ----> อนุญาต (ระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง) : ผู้ผลิต/นำเข้าฯ ----> เสนอขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศสมาชิกที่ประสงค์จะ ประกอบการ ----> ผ่านการประเมินความเสี่ยงจาก EFSA ----> คณะกรรมาธิการยุโรปอนุญาต ประเทศที่มิใช่สมาชิกสหภาพยุโรป และไม่อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกฯ สินค้า GMO ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกในสหภาพยุโรป (แต่ไม่สามารถใช้เป็นอาหารหรืออาหารสัตว์ โดยให้ใช้ใน อุตสาหกรรมเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ) ได้แก่ ข้าวโพด GM maize (MON 810) และมันฝรั่ง “Amflora” (GM starch potato) สินค้าพืช GMO ทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้นำเข้าสำหรับใช้เป็นอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ ได้แก่ หัวบีทน้ำตาล (sugar beet) 1 ประเภท, ถัว่ เหลือง 7 ประเภท, เมล็ดเรปซีดสำหรับผลิตน้ำมัน (oilseed-rape) 3 ประเภท, ฝ้าย 8 ประเภท และ ข้าวโพด 26 ประเภท นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ (สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือ microorganism) 2 ประเภท ได้แก่ แบคทีเรีย biomass และ ยีส biomass 16 EU อนุญาตปลูกข้าวโพด GM Pioneer 1507 จากสหรัฐฯ เมินเสียงค้าน (ที่มา มกอช : http://th-th.facebook.com/KastHotNews) 14 15

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

14


2) การติดฉลากสินค้า GMO – Regulation (EC) No 1830/2003 concerning the traceability and labeling of genetically modified organisms and traceability of food and feed products produced from genetically modified organisms and amending Directive 2001/18/EC ลงวันที่ 22 กันยายน 2546 กำหนดเกี่ยวกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับ และ การติดฉลากสินค้าอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ GMO ที่วางจำหน่ายในตลาด (โดยปรับแก้ไข ระเบียบ Directive 2001/18/EC ในหลายมาตรา เช่น เพิ่มมาตรา 12, 26 ยกเลิกมาตรา 4.6 ที่เกี่ยวกับประเด็นด้านเทคนิคของระบบตรวจสอบย้อนกลับและการติดฉลากสินค้า) เพื่อเน้น การให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนด้วยการวางระบบการติดฉลากสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ GMO เพื่ อ ให้ ข้ อ มู ล อย่ า งครบถ้ ว น และป้ อ งกั น การเข้ า ใจผิ ด แก่ ผู้ บ ริ โ ภคก่ อ นตั ด สิ น ใจซื้ อ สำหรั บ อาหารสัตว์นั้น เกษตรกรควรได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนทั้งในด้านส่วนผสม และส่วนประกอบต่างๆ ในสินค้าอาหารสัตว์ GMO นั้นๆ 4.2 นโยบาย GMO ของสหรัฐอเมริกา17 : มีนโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่ง มีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม เน้นควบคุมความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์สุดท้าย (final products) โดยไม่คำนึงถึงทีม่ าของส่วนประกอบทีใ่ ช้ระหว่างการผลิต ตามสมมติฐานทีว่ า่ สาร หรือผลิตภัณฑ์ ทีไ่ ด้จากเทคโนโลยีดดั แปลงทางพันธุกรรมมีความเสีย่ งเทียบเท่ากับทีไ่ ด้จากสิง่ มีชวี ติ ตามธรรมชาติ ดังนั้น หน่วยงานรัฐบาลจึงมุ่งเน้นการควบคุมความปลอดภัยในกระบวนการผลิตมากกว่า ซึ่งอยู่ ภายใต้กฎหมายควบคุมเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ จึงไม่มีการจัดตั้ง หน่วยงานใหม่ทำหน้าที่ควบคุม และตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก GMO โดยเฉพาะปัจจุบันมี 3 หน่วยงานหลักที่ควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือผลิตภัณฑ์จาก GMO ได้แก่ • กระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture หรือ USDA)-ควบคุม ความปลอดภัยของการปลูกพืช GM ที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ • หน่วยงานอาหารและยา (the Food and Drug Administration หรือ FDA)ควบคุมและดูแลพืชและผลิตภัณฑ์ GM ที่ใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง

1) ผลิตภัณฑ์ GMO จะถูกควบคุมโดยกฎหมาย และหน่วยงานเฉพาะ แตกต่าง กันตามประเภทของผลิตภัณฑ์ เช่น ยารักษาโรค อาหารมนุษย์ ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ อย่างไร ก็ตาม การจัดหรือแบ่งแยกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวติดัดแปลงพันธุกรรมว่า อยู่ในความดูแล ที่มา : www.most.go.th “รายงานการสืบค้นข้อมูลความก้าวหน้า และสถานะทางเทคโนโลยีชีวภาพของสิ่งมีชีวิต ดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ในประเทศสหรัฐอเมริกา” โดย นายนรินทร์ เรืองพานิช สำนักงานที่ปรึกษาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 30 ธันวาคม 2553 17

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

• หน่วยงานป้องกันและรักษาสิง่ แวดล้อม (the Environmental Protection Agency หรือ EPA)-ควบคุมการแพร่กระจายของสารเคมี

15


ของหน่วยงานใดเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เช่น พืช GM ที่มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช จะถูกควบคุมโดยหน่วยงาน EPA ในด้านความปลอดภัยจากสารพิษที่เกิดขึ้น ขณะที่หน่วยงาน FDA จะควบคุมในด้านความปลอดภัยเมื่อนำพืชนั้นมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร ดังที่ ได้กล่าวแล้วว่า ในการควบคุมจะใช้กฎหมาย และวิธีการควบคุมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัย สำคัญเช่น ขั้นตอนการพัฒนา (ต้องระบุว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนใด เช่น ขั้นตอนการทดลองในห้อง ปฏิบตั กิ าร) จุดมุง่ หมายทีน่ ำไปใช้ (เช่น นำไปใช้เป็นยารักษาโรคในสัตว์) ชนิดของสารทีผ่ ลิตขึน้ มา (โดยคำนึงว่าเป็นอันตรายต่อพืชที่อยู่ตามธรรมชาติ หรือมีชิ้นส่วนทางพันธุกรรมที่จะทำให้วัชพืช ต้านทานต่อยาปราบศัตรูพืชหรือไม่) ชนิดของสิ่งมีชีวิต (เช่น พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์) ตารางที่ 2 ตัวอย่างหน่วยงานและกฎหมายควบคุม GMO และผลิตภัณฑ์ : ประเภทของ GMO หน่วยงานควบคุม พืช - ต้านทานแมลง USDA สัตว์ - สัตว์สร้างสารพิษ (toxic substances) EPA 18 FDA จุลินทรีย์ - Therapeutic proteins ผลิตภัณฑ์ หน่วยงานควบคุม อาหารของมนุษย์  - จากพืช FDA - เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ USDA - วัตถุเจือปนอาหาร FDA - ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม FDA ผลิตภัณฑ์อื่นๆ - Cosmetics FDA *PPA - Plant Protection Act TSCA - The Toxic Substances Control Act FFDCA - The Food, Drug and Cosmetics Act MIA - The Meat Inspection Act PPIA - The Poultry Products Inspection Act EPIA - The Egg Products Inspection Act DSHEA - The Dietary Supplement Health and Education Act

กฎหมายควบคุม* PPA TSCA FFDCA กฎหมายควบคุม FFDCA MIA, PPIA, EPIA FFDCA DSHEA FFDCA

สรุปขั้นตอนการยื่นขออนุญาต ----> อนุญาต (ระยะเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง) :

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

16

ยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเภทสินค้า เช่น FDA (อาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง) USDA (พืช) EPA (มีสารประกอบเช่น สารต้านทานยาฆ่าแมลง) ----> ระบุ ระดับการพัฒนา (เช่น อยู่ในระหว่างการพัฒนาในห้องทดลอง จุดมุ่งหมายที่นำไปใช้) ระบุชนิด ของสิ่งที่ผลิต ----> เมื่ออนุญาตแล้วถือว่าปลอดภัย Therapeutic proteins เป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นยา เช่น Insulin เป็น Therapeutic proteins แรก ที่ใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ที่มา : www.probiogen.de)

18


2) การติดฉลากสินค้า GMO - ในภาพรวมหน่วยงาน FDA ยังไม่มีข้อบังคับ ให้ผู้ผลิตระบุส่วนประกอบของสารที่ได้จาก GMO ในฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารหรือยารักษาโรค เพียงแต่ให้ผู้ผลิตที่สมัครใจสามารถยื่น Generally Recognized as Safe (GRAS) ต่อ FDA เท่านั้น ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารและยาดังกล่าว ต้องผ่านการตรวจสอบ และรับรองความปลอดภัย จาก FDA ก่อนการผลิตเพือ่ จำหน่าย ดังนัน้ ผูบ้ ริโภคจึงไม่มคี วามกังวล และให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการรับรองแล้ว ทั้งนี้ ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์จึงไม่จำเป็น หรือมีข้อบังคับจากหน่วยงาน ของรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ระบุวา่ เป็นผลิตภัณฑ์ทมี่ สี ว่ นประกอบของ GMO มีเพียงการแจ้งจากผูผ้ ลิต เช่น ผลิตภัณฑ์ของตนมีสารที่ได้จากจุลินทรีย์ GM ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค และไม่เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคเป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิต ตารางที่ 3 เปรียบเทียบกฎหมาย EU vs USA ที่เกี่ยวกับ GMO : สหรัฐอเมริกา 3 หน่วยงาน : ได้แก่ USDA (พืช GM ที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์) FDA (อาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องสำอาง) EPA (ควบคุมการแพร่กระจายของสาร) กฎระเบียบ/กฎหมาย : PPA -Plant Protection Act TSCA-The Toxic Substances Control Act FFDCA-The Food, Drug and Cosmetics Act MIA- The Meat Inspection Act PPIA-The Poultry Products Inspection Act EPIA-The Egg Products Inspection Act DSHEA-The Dietary Supplement Health and Education Act - ในภาพรวมหน่วยงาน FDA ยังไม่มีข้อบังคับให้ ผู้ผลิตระบุส่วนประกอบของสารที่ได้จาก GMO ในฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารหรือยารักษาโรค เพียงแต่ให้ผู้ผลิตที่สมัครใจสามารถยื่น Generally Recognized as Safe (GRAS) ต่อ FDA ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

กฎระเบียบ/กฎหมาย สหภาพยุโรป - การขออนุญาต หน่วยงาน - คณะกรรมาธิการยุโรป, EFSA - การวางจำหน่าย การใช้ และ การกระจาย GMO กฎระเบียบ/กฎหมาย : - Directive 2001/18/EC on the deliberate release into the environment of genetically modified organism and repealing Council Directive 90/220/EC ลงวันที่ 12 มีนาคม 2544 - Regulation (EC) 1829/2003 on genetically modified food and feed ลงวันที่ 22 กันยายน 2546 - การติดฉลากสินค้า - Regulation (EC) No 1830/2003 concerning GMO the traceability and labeling of genetically modified organisms and traceability of food and feed products produced from genetically modified organisms and amending Directive 2001/18/EC ลงวันที่ 22 กันยายน 2546

17


5. กรณีพิพาทในองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2546 สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ อาร์เจนตินา ได้ยื่นฟ้องต่อ WTO ว่า ระบบการอนุญาตสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) ของสหภาพยุโรปมีความล่าช้าในเชิงปฏิบัติ และประเทศสมาชิกฯ บางประเทศยังออกมาตรการ ระงับการเพาะปลูกสินค้า GMO บางตัวในประเทศของตนเพิ่มเติม แม้สินค้านั้นจะได้รับอนุญาต จากคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว ภายใต้ชื่อกรณี “de facto moratorium on biotech product approvals”19 โดยในปี 2549 คณะกรรมการระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body หรือ DSB) ได้ตัดสินคดีว่า การดำเนินการดังกล่าวของสหภาพยุโรปไม่เป็นไปตามพันธกรณี WTO ตามความตกลงว่าด้วยสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary (SPS) Agreement) ส่งผลให้สหภาพยุโรป และคูก่ รณีทงั้ 3 ประเทศ ตกลงทีจ่ ะเปิดการหารือด้านเทคนิค เกี่ยวกับประเด็นเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) รวมทั้งเรื่อง GMO ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะประเด็นที่ คณะกรรมการ DSB กำหนด โดยกระบวนการหารือดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด และดำเนินการอยู่ สำหรับกรณีแคนาดา ได้มีการลงนามความตกลงเพื่อการหาทางออก และยุติระงับข้อพิพาท ดังกล่าวในปี 2552 และสำหรับกรณีอาร์เจนตินาในปี 2553 จัดตั้งกลไกการประสานงาน และ หารือระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ (regular dialogue) เช่น จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับประเด็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการเกษตรระหว่างสองประเทศ กลไกการติดตามผล การยื่นขออนุญาตสินค้า GMO ของทั้งสองประเทศ20 แต่สำหรับสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบนั ยังไม่มขี อ้ ยุติ และไม่มกี ารลงนามในความตกลงระงับ ข้อพิพาทในลักษณะดังกล่าวระหว่างสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เกีย่ วกับเรือ่ งนี้ คณะกรรมาธิการ ยุโรปหวังว่า สหรัฐอเมริกาจะตกลงจัดตั้งกลไกการประสานงาน และหารือเกี่ยวกับประเด็นเทคโนโลยีชวี ภาพ และ GMO กับสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับทีส่ หภาพยุโรปจัดทำกับคูก่ รณีอนื่ ดังข้างต้น คาดว่า สหรัฐอเมริกาจะใช้ประเด็นที่ติดค้างเกี่ยวกับข้อพิพาทใน WTO ดังกล่าวเป็นประเด็น ต่อรองในเวทีการเจรจา TTIP เพื่อกดดันให้สหภาพยุโรปเปิดตลาดสินค้า GMO ให้สหรัฐอเมริกา เพื่อตอบสนองแรงกดดันจากอุตสาหกรรม และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐฯ เช่น Monsanto, DuPont, Dow Chemical 6. ข้อคิดเห็น21 คาดว่าในเวทีการเจรจา TTIP สหรัฐอเมริกาจะโจมตีสหภาพยุโรปใน ประเด็น GMO เช่น การขออนุญาต และระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาอนุญาต และการติดฉลาก สินค้า ดังนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

18

ที่มา : http://www.wto.org ที่มา : http: //europa.eu/rapid/ 21 เป็นความเห็นส่วนบุคคลของผู้ศึกษาวิเคราะห์ (นางสาวพรศิริ เมฆวิชัย) เท่านั้น 19 20


Position Paper “TTIP–Too many untrustworthy promises and real risks” ที่มา : http://europeangreens.eu/ 23 Citizens turn up the volume on troubled TTIP negotiations ณ วันที่ 20 มีนาคม 2557 ที่มา : www.bilaterals/org 24 ที่มา : www.bilaterals.org, posted 26 May 2013 (Washington Post: 18 May 2013) 22

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

6.1 การขออนุญาต และระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาอนุญาต สหภาพยุโรปจะต้อง ดำเนินการให้รวดเร็วขึน้ เช่น ใช้ระยะเวลา 2 ปี (ปัจจุบนั ประมาณ 3 ปีครึง่ ) แต่สหรัฐอเมริกาก็ยงั คงมองว่า เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า และขัดขวางการนำเข้า โดยคณะกรรมาธิการยุโรป อาจจะประสบปัญหา และการต่อต้านจากภายในเช่น ไม่สามารถบังคับประเทศสมาชิกทีม่ นี โยบาย เข้มงวดเกี่ยวกับ GMO (เช่น ห้ามการเพาะปลูก GMO) เพราะแต่ละประเทศสมาชิกยังมีอำนาจ อธิปไตย (sovereignty) เป็นของตนอยู่ รวมทัง้ จะถูกต่อต้านจากพรรค European Green Party22 ที่เตือนผู้บริโภค และเกษตรกรว่า ผลการเจรจา TTIP จะทำให้สูญเสียหากมีการประนีประนอม และจะต้องไม่มีการเจรจาต่อรองที่เกี่ยวกับหลักการ precautionary principle ที่สหภาพยุโรป ใช้ในการปกป้องความปลอดภัย ทัง้ เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปใช้กฎระเบียบทีเ่ ข้มงวดยิง่ ขึน้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์ การอนุญาต และการเพาะปลูกพืช GMO การติด ฉลากเนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการโคลนนิ่ง (cloned meat) ในภาพรวมเกษตรกรของคู่เจรจาจะต้อง แข่งขัน และมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ จะทำให้ เกษตรกรขนาดเล็กที่ต้องการผลิตอาหารสุขภาพ (healthy food) ไม่สามารถแข่งขันได้ และ ต้องเลิกกิจการในที่สุด23 เกษตรกรยุโรปกล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีตัดแต่งพันธุ์พืชที่ครอบคลุม การเพิ่มผลผลิตถึงการต้านทานแมลง มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่อาจคาดการณ์ได้ และ เมื่อนำมาปลูกก็ไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของเกสรที่ถูกกระแสลมพัดพาไปไกลหลาย ไมล์จากแปลงเพาะปลูก นาย Reinhard ประธานสหพันธ์ Brandenburg Farmers’ Federation กล่าวว่า จะต่อต้านการผ่อนปรนข้อจำกัดการปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมให้ถึงที่สุด และไม่ต้องการ ทำผิดดังเช่นเกษตรกรอเมริกัน (เกษตรกรอเมริกันทำการเกษตรขนาดใหญ่เป็นอุตสาหกรรม ซึ่ง ต่างจากเกษตรกรเยอรมันที่ประกอบการในฟาร์มขนาดเล็กๆ โดยเกษตรกรอเมริกันต้องเจียดผล กำไรจากแต่ละเอเคอร์มาเพาะปลูก และเทคโนโลยีทำให้ตลาดสหรัฐอเมริกาตกอยู่ในสถานการณ์ ที่ยากลำบาก ทั้งๆ ที่มิได้มีปัญหาจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค24 อีกทั้งเกษตรกร ยุโรปยังมีทัศนคติว่า พืชตัดแต่งพันธุกรรมเปรียบเสมือนยาพิษที่แตกต่างจากธรรมชาติโดยสิ้นเชิง และเกรงว่า หากปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงต่อไป แมลงอาจมีการพัฒนาภูมิต้านทานเองได้)

19


6.2 การติดฉลากสินค้า GMO สหภาพยุโรปยังไม่มีนโยบายผ่อนปรนการปนเปื้อนของ ส่วนผสม หรือส่วนประกอบของ GMO ที่ไม่ได้รับการอนุญาตในสินค้าอาหารมนุษย์ที่นำเข้าจาก ประเทศที่สาม และมีระบบการควบคุมตรวจสอบการปนเปื้อนที่เข้มงวด และรัดกุม โดยเฉพาะ ที่จุดตรวจ ณ ด่านพรมแดนของประเทศสมาชิกก่อนที่จะกระจายสินค้าสู่ตลาดในสหภาพยุโรป โดยแม้ว่าจะอนุญาตให้สินค้าฯ ผ่านด่านแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการสุ่มตรวจที่ร้านค้าปลีกอีกด้วย ทั้งนี้ จะอ้างเหตุผลด้านการคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภคเป็นสำคัญ เช่น ในปี 2554 คณะ กรรมาธิการยุโรปได้ประกาศอนุโลมการปนเปือ้ นทางเทคนิค (technical zero level) สำหรับวัตถุดบิ อาหารสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่สามเพื่อผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากถูกกดดันจากประเทศผู้ผลิต และส่งออกเช่น สหรัฐอเมริกา และภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยุโรปที่ต้องปรับตัวเพื่อลดปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบ คาดว่า ในภาพรวมการเจรจา TTIP คงจะมีการตกลงในประเด็นกว้าง (to agree to as wide a deal as possible) แต่ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปในหัวข้อ/ประเด็นที่ควรหารือ ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายมีวฒ ั นธรรมทีแ่ ตกต่างกัน เช่น เรือ่ งเล็กของยุโรปอาจเป็นเรือ่ งใหญ่สำหรับอเมริกนั กรณีความปลอดภัย ผูก้ ำหนดระเบียบอเมริกนั เชือ่ ถือผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ระยะสัน้ ในการ อนุญาตใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในขณะที่ฝ่ายยุโรปมีความระมัดระวัง และสงสัยในสิ่งที่ไม่มีความรู้ หรือไม่คุ้นเคย แม้หากฝ่ายยุโรปยอมผ่อนปรนข้อจำกัดสำหรับพืชตัดแต่งพันธุกรรม แต่คาดว่า จะให้มีการติดฉลากสินค้าดังกล่าว ซึ่งฝ่ายอเมริกันก็จะโต้แย้งตามความเชื่อของตนที่ว่า จะไม่ติด ฉลากสิ่งใดหากไม่เชื่อว่าอันตราย 6.3 ผลกระทบต่อไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

20

1) ด้านการส่งออก ไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายใหญ่ของโลก จึงจำเป็น ต้องมีความชัดเจนในประเด็นสินค้า GMO ยิ่งขึ้น เนื่องจากในอดีตได้รับผลกระทบจากกรณีที่ผู้ นำเข้าในประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป ซาอุดิอาระเบีย เคยขอหนังสือรับรองว่าสินค้าที่ส่งไป ไม่ใช่ GMOs หรือไม่ได้ผลิตจากวัตถุดิบ GMOs หรือไม่มี GMOs เจือปนในสินค้าเช่น มะเขือเทศ กระป๋อง ข้าวโพดกระป๋อง แป้งข้าว ปลาทูนา่ กระป๋อง ทีผ่ นู้ ำเข้าต้องการทราบว่าน้ำมันในกระป๋อง นั้นมาจากพืช GMOs หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตลาดพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกมีการเติบโตสูง อย่างต่อเนื่อง และไทยมีโอกาสในการเข้าถึง และใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อเพิ่มโอกาส ในการแข่งขันเช่นกัน25 รวมทั้งนโยบาย GMO ของไทยควรมีความชัดเจนมากขึ้น นอกเหนือจาก การทดลอง หากต้องการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ก็ควรกำหนดเขตเพาะปลูกพืช GMO และ ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ปะปนกับการปลูกพืชธรรมชาติ ทิศทางนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพและ GMOs ของไทย ที่มา : http://library.unu.ac.th

25


2) คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องบนพื้นฐานเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกันมากทีส่ ดุ จนกลายเป็นมาตรฐานโลกซึง่ จะมีผลในการกำหนดกฎระเบียบทีจ่ ะใช้ในการ กำหนดคุณภาพสินค้า เช่น สินค้าอุตสาหกรรม มาตรการเกี่ยวกับสุขอนามัย ซึ่งทั้งสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกานำมาใช้อย่างมากในปัจจุบัน และต่างก็เป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตร และอาหาร รายใหญ่จากไทย หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องของไทยจึงจำเป็นต้องติดตามการเจรจา TTIP อย่างใกล้ชดิ และเตรียมการให้พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับผลการเจรจาในประเด็น GMO ฯลฯ เพื่อ ช่วงชิงความได้เปรียบด้านศักยภาพ และการแข่งขันของสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารของไทยใน ทัง้ 2 ประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะการติดฉลากสินค้าอาหารทีม่ สี ว่ นประกอบ หรือส่วนผสม GMO ด้วยการกำหนดระดับการเจือปน (tolerance) ดังนั้น ไทยจึงควรมีมาตรฐานการตรวจสอบที่ ครบถ้วน เช่น การตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) การตรวจระดับการปนเปื้อน การเก็บข้อมูล ทีเ่ กีย่ วกับสินค้าอย่างละเอียด ชัดเจน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล แม้จะทำให้ผปู้ ระกอบการ มีต้นทุนสูงขึ้น แต่ก็เป็นการเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มมูลค่าสินค้าของไทย นับว่าเป็นการลงทุนที่ คุ้มค่า และยั่งยืน

ที่มา : ec.europa.eu/food/ ที่มา : www.globalgap.org 28 ที่มา : www.doa.go.th 26 27

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

3) โอกาสทางการค้าที่มีศักยภาพ และยั่งยืนด้วยการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ (organic) เป็นการเพาะปลูกพืชตามธรรมชาติ และปลอดสารเคมี (ที่มีการผลิต และจำหน่ายในไทย เช่น ผักและผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวง) เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศที่มีฐานะดี โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ในการส่งออกไปสหภาพยุโรปนีต้ อ้ งปฏิบตั ติ ามระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง ผ่านการ ตรวจรับรอง และอนุญาตจากหน่วยงาน FVO (Food and Veterinary Office ภายใต้ Directorate General of Health & Consumers หรือ DG SANCO คณะกรรมาธิการยุโรป)26 ให้ส่งไป สหภาพยุโรปได้ ดังนัน้ ไทยควรเร่งรัดการพัฒนา การผลิต การขออนุญาต และรับรองสินค้า organic ของไทยให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น และให้ได้รับการรับรองและติดฉลากสากลเพิ่ม เช่น Global G.A.P.27 เป็นการเพิ่มโอกาสและขยายการส่งออกสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร 28 เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืช organic ได้

21


บทสรุปผู้บริหาร 1. ภาพรวมการเจรจา TTIP (EU-US Transatlantic Trade and Investment Partnership) เพือ่ เปิดเสรีการค้าการลงทุนระหว่างสองประเทศ คิดเป็นอัตราส่วนรวมของการผลิตของเศรษฐกิจ โลก ร้อยละ 40 เมือ่ การเจรจาฯ มีผลบังคับใช้ (ภายในประมาณ 2-3 ปี) คาดว่า จะเพิม่ มูลค่าการค้า รวมของทั้งสองประเทศประมาณร้อยละ 80 ทั้งสองประเทศได้เริ่มการเจรจารอบแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม 2556 ทีก่ รุงวอชิงตัน ดี.ซี. ล่าสุดได้เจรจารอบทีส่ รี่ ะหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2557 ที่กรุงบรัสเซลส์a โดยกำหนดจะเจรจารอบที่ห้า ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2557 ณ เมือง Arlington รัฐ Virginiab สหรัฐอเมริกา 2. คาดว่าประเด็น GMO (สินค้าที่มีการดัดแปลง/ตัดแต่งพันธุกรรม) ปัจจุบันในภาพรวม ทั้งสองประเทศมีนโยบายสวนทางกัน (โดยสหภาพยุโรปคัดค้านการปลูก/ผลิต ส่วนสหรัฐอเมริกา สนับสนุนฯ) ซึ่งมีความอ่อนไหว และมีแนวโน้มว่าจะมีข้อโต้แย้งสูง 3. สถิติการค้าสินค้าเกษตรระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐอเมริกา ปี 2556c สหภาพยุโรป ได้ดลุ การค้ามูลค่า 5,651 ล้านยูโร ซึง่ ส่งออกสินค้าเกษตรไปสหรัฐอเมริกามูลค่า 15,402 ล้านยูโร (ร้อยละ 12.8 ของการส่งออกรวมไปสหรัฐฯ) โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า final products (เช่น wine, sparkling wine, cheese, olive oil)d และนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามูลค่า 9,751 ล้านยูโร (ร้อยละ 9.6 ของการนำเข้ารวมจากสหรัฐฯ) เช่น oilcakes ถั่วต่างๆ (pistachios, almonds) 4. กรณีพิพาทใน WTO ปี 2546 สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอาร์เจนตินา ได้ยื่นฟ้อง ต่อ WTO ว่า ระบบการอนุญาตสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology ซึ่งรวม GMO ด้วย) ของสหภาพยุโรป มีความล่าช้าในเชิงปฏิบตั ิ และบางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ออกมาตรการ ระงับการเพาะปลูกพืช GMO บางรายการเพิม่ เติมในประเทศของตน ถือว่าเป็นการกีดกันทางการค้า คณะกรรมการระงับข้อพิพาทของ WTO (DSB: Dispute Settlement Body) ได้ตัดสินว่า การดำเนินการดังกล่าวของสหภาพยุโรป ไม่เป็นไปตามพันธกรณี WTO ตามความตกลงว่าด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

22

เจรจารอบแรกเมื่อ 8-12 กรกฎาคม 2556 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ที่มา: European Commission Directorate-General for Trade (http://trade.ec.europa.eu) ณ วันที่ 29 เมษายน 2557 c ที่มา: http://ec.europa.eu/agriculture/ d ที่มา: ec.europa.eu/agriculture/ a

b


สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS Agreement) ทั้งนี้ ในกรณีของสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีข้อยุติ โดยสหภาพยุโรปหวังว่า สหรัฐฯ จะตกลงจัดตั้งกลไกการประสานงาน และหารือ ที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ เช่นเดียวกับที่สหภาพยุโรปได้จัดทำกับแคนาดา และอาร์เจนตินา คาดว่า สหรัฐอเมริกาจะใช้เป็นประเด็นต่อรองในเวทีการเจรจา TTIP นี้ เพื่อกดดันให้สหภาพยุโรปเปิด ตลาดสินค้า GMO ต่อไป 5. ข้อคิดเห็นe คาดว่าสหภาพยุโรปจะปรับระยะเวลาการยื่นขอ การพิจารณา และอนุญาต สินค้า GMO ให้เร็วขึ้นเป็น 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่ง (ปัจจุบันประมาณ 3 ปีครึ่ง) ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะ ถูกต่อต้านจากเกษตรกร ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และกลุ่มการเมือง เนื่องจากไม่ไว้วางใจ ด้านความปลอดภัยต่อสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และในภาพรวมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของ สหภาพยุโรปยังไม่ก้าวหน้าเท่าเทียมกับของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม จากเหตุผลดังกล่าว และการ คุ้มครองผู้บริโภค สหภาพยุโรปคงจะต่อรองให้มีการติดฉลากสินค้า GMO ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา 6. ผลกระทบต่อไทยและประเทศอื่นๆf ในที่นี้จะเน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไทย 6.1 การส่งออก ไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารรายใหญ่ของโลก จึงจำเป็นต้องมี ความชัดเจนในประเด็นสินค้า GMO ยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสินค้าปลอด GMO เนื่องจากในอดีต เคยได้รับผลกระทบจากกรณีที่ผู้นำเข้าในประเทศต่างๆ (เช่น สหภาพยุโรป ซาอุดิอาระเบีย) ขอหนังสือรับรองว่า สินค้าทีส่ ง่ ไปไม่ใช่ GMOs หรือไม่ได้ผลิตจากวัตถุดบิ GMOs หรือไม่มี GMOs เจือปนในสินค้า เช่น มะเขือเทศกระป๋อง ข้าวโพดกระป๋อง

เป็นความเห็นส่วนบุคคลของผู้ศึกษาวิเคราะห์ (นางสาวพรศิริ เมฆวิชัย) เท่านั้น เป็นความเห็นส่วนบุคคลของผู้ศึกษาวิเคราะห์ (นางสาวพรศิริ เมฆวิชยั ) เท่านั้น

e f

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

6.2 คาดว่ า จะมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นหลั ก เกณฑ์ ใ ห้ ส อดคล้ อ งบนพื้ น ฐานเดี ย วกั น หรื อ ใกล้เคียงกันมากที่สุด จนกลายเป็นมาตรฐานโลกซึ่งจะมีผลในการกำหนดกฎระเบียบที่จะใช้ใน การกำหนดคุณภาพสินค้า เช่น สินค้าอุตสาหกรรม มาตรการเกีย่ วกับสุขอนามัย ซึง่ ทัง้ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ใช้อย่างมากในปัจจุบัน ไทยจึงจำเป็นต้องติดตามการเจรจา TTIP อย่างใกล้ชิด และ เตรียมการให้พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับผลการเจรจาในประเด็น GMO ฯลฯ เพื่อ ช่วงชิงความได้เปรียบด้านการเสริมสร้างศักยภาพ และการแข่งขันของสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหาร ของไทยในทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวโดยเฉพาะ

23


6.3 โอกาสใหม่ทางการค้าทีม่ ศี กั ยภาพ และยัง่ ยืนด้วยการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ (organic) เป็นการเพาะปลูกพืชตามธรรมชาติและปลอดสารเคมี (มีการผลิตและจำหน่ายในไทย เช่น ผัก และผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวง) เป็นที่นิยมของผู้บริโภคฐานะดีในต่างประเทศ โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในการส่งออกไปสหภาพยุโรปนั้น ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องฯ ผ่าน การตรวจรับรอง และอนุญาตจากหน่วยงาน FVO (Food and Veterinary Office ภายใต้ Directorate General of Health & Consumers หรือ DG SANCO คณะกรรมาธิการยุโรป)g ให้สง่ ไปสหภาพยุโรปได้ ดังนัน้ ไทยควรเร่งรัดการพัฒนา การผลิต การขออนุญาต และรับรองสินค้า organic ของไทยให้มคี วามหลากหลายยิง่ ขึน้ ด้วย ให้ได้รบั การรับรองและติดฉลากสากลเช่น Global G.A.P.h รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ศักยภาพของสินค้าเกษตรของไทย เป็นการเพิ่มโอกาส และ ขยายการส่งออก ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรi เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถให้ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องการเพาะปลูกพืช organic ได้

ศึกษา และวิเคราะห์โดย : ส่วนอำนวยการ สำนักสารสนเทศการเจรจาการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พฤษภาคม 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

24

ที่มา: ec.europa.eu/food/ ที่มา: www.globalgap.org i ที่มา: www.doa.go.th g

h




ใช้แก้ปัญหาสินค้าเกษตร 

ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย 

Thailand Focus

แทรกแซงไท้เก๊ก : กรอบแนวคิดใหม่

การแก้ ไ ขปั ญ หาราคาสิ น ค้ า เกษตรตกต่ ำ ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปัจจุบัน อาจแบ่งได้เป็น4 วิธี ดังนี้ 1. รับจำนำ : อย่างกรณีของข้าว ณ ปัจจุบัน ซึ่งการ จำนำด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมาก ตันละ 1.5 หมื่นบาท ส่งผลให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระขาดทุนหลายแสนล้านบาท และมี ภาระในการระบายสต๊อกข้าวที่เริ่มเสื่อมสภาพอีกด้วย 2. ประกันราคา : อย่างกรณีของยางแผ่นรมควันที่รัฐบาล เคยสั ญ ญาประกั น ราคาที่ 90 บาท ขณะที่ ช าวสวนยางบางคน ก็พอใจ บางคนก็เรียกร้องที่ 95 บาท โดยรัฐบาลจะจ่ายส่วนต่าง ของราคาให้ 3. ชดเชยรายได้ : รัฐบาลได้พยายามเสนอให้จ่ายเงินชดเชยปัจจัยการผลิตให้ 2,520 บาทต่อไร่ ให้กับชาวสวนยางไม่เกิน 25 ไร่ ใช้งบราว 2.1 หมื่นล้าน

แม้พวกเราจะรู้ว่าในระยะยาวแล้ว ควรเลือกเส้นทางของการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต รวมไปถึงการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า แต่ระยะสั้นๆ แล้ว 4 วิธีข้างต้นไม่ว่าจะเลือกวิธีใด เหล่านี้ล้วนเป็นโมเดลแบบ "ขาดทุนก็คือกำไร" นั่นหมายถึง รัฐบาลยอมขาดทุนเพื่อสร้างกำไร ให้กับเกษตรกรทั้งชาวนาชาวสวนนั่นเอง มันจะมีวิธีใหม่ๆ บ้างหรือไม่ เมื่อเราเริ่มตั้งคำถาม เราก็ อาจได้คำตอบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นั่นอาจเป็นโมเดลแบบ "กำไรก็คือกำไร" ซึ่ง หมายถึงว่า ทั้งรัฐบาลก็มีกำไร และเกษตรกรก็มีกำไรด้วย แต่มันจะเป็นไปได้ละหรือ??

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

4. แทรกแซงตลาดจริง : เช่น ที่ผ่านมาได้ซื้อยางเข้าแทรกแซงตลาดราว 2 หมื่นล้าน บาท ได้สต๊อกยาง 2 แสนตัน แต่สต๊อกก็มีมูลค่าลดลงเสื่อมค่าลง และไม่สามารถพยุงราคา ตลาดได้เมื่อจำเป็นต้องระบายสต๊อกออกไป

25


กรอบแนวคิ ด ใหม่ นี้ ก็ คื อ "แทรกแซง ไท้เก๊ก" (คำแปลจากภาษาจีน : สุดยอดการ แทรกแซง) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 กระบวนท่าของ "การคลั ง ไท้ เ ก๊ ก "  โดยใช้ แ นวคิ ด   "ในนิ่ ง มีเคลื่อน" และ "สี่ตำลึงปาดพันชั่ง" ซึ่งเป็น เคล็ดวิชาสำคัญของ "มวยไท้เก๊ก" นั่นเอง คือ ใช้ แ รงที่ น้ อ ยเพื่ อ ยกตลาดขนาดใหญ่ ม ากขึ้ น ไปได้ ด้วยการจัดตั้ง "กองทุนรักษาเสถียรภาพ ราคาสินค้าเกษตรผ่านตลาดล่วงหน้า" โดย ควรเริ่มต้นจากสินค้าเกษตรที่เป็นปัญหา "ยาง พารา" ก่อนเลย โดยอาจวางเงินทุนเริ่มต้น 5 พันล้านบาท ด้วยวิธีการแทรกแซงผ่านตลาด ล่วงหน้าจะมีข้อดีกว่าการแทรกแซงตลาดแบบ เดิมๆ 2 เรื่อง คือ 1. สามารถเพิ่มกำลังซื้อได้ถึง 20 เท่า เช่น กรณีของยาง วางเงินค้ำประกัน 5 พัน ล้าน จะสามารถแทรกแซงตลาดยางได้ถึง 1 แสนล้านบาท หรือกว่า 1 ล้านตัน ซึ่งมากกว่า กำลั ง การผลิ ต ส่ ว นเกิ น ของยางธรรมชาติ ที่ ประเมินไว้ราว 5 แสนตันต่อปีเสียอีก ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าน่าจะดันราคายางแผ่นรมควันให้ ถึง 100 บาทต่อกก. ได้ไม่ยากนัก ซึ่งนั่นก็จะ เป็นระดับราคาที่ชาวสวนยางพอใจ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

26

2. ไม่ต้องเก็บสต๊อกยางจริง : สัญญา ซื้อล่วงหน้าจะเป็น "สต๊อกเสมือน" จะสามารถ ถือไปได้เรื่อยๆ ด้วยการต่อสัญญาแบบ roll over ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเสื่อม คุณภาพของสต๊อก ซึ่งจะต้องถูกบีบให้รีบขาย ออกมาเมือ่ เก็บเกิน 1 ปี เหมือนกรณีสต๊อกข้าว และยางของรัฐบาลในปัจจุบัน หากเรื่องนี้เป็นไปตามแผนก็คือ รัฐบาล จะมีผลกำไรจากงานนี้ด้วย เพราะไล่ซื้อไปจาก ราคาต่ำๆ ไปสู่ระดับสูงๆ กว่า 100 บาทต่อ กก. ได้ ขณะทีช่ าวสวนยางก็พอใจกับระดับราคา นั้น รายได้อาจสูงขึ้น 25% หรือเพิ่มขึ้น 7.5 หมื่นล้านบาทต่อปีกันเลย โดยรัฐบาลก็ไม่ต้อง เสียงบฯ 2.1 หมืน่ ล้านตามแผนเดิม ความจริง แล้ว รัฐบาลไทยอาจไม่ต้องซื้อแทรกแซงถึง ขนาดนัน้ ก็ได้ เพราะเพียงแค่ประกาศว่ารัฐบาล ไทยจะแทรกแซงในตลาดล่วงหน้าถึง 1 ล้านตัน และเป็นสต๊อกเสมือนที่จะเก็บไว้นานเท่าไหร่ ก็ได้ เมื่อข่าวแบบนี้ออกไปก็จะมีคนเข้ามาช่วย รัฐบาลไทยซื้อยางจำนวนมากอยู่แล้ว


หากสามารถทำแล้วได้ผลดี สิ่งที่ควรทำ ต่อไปก็คือ "ยืมพลัง" ทั้งจากภาคประชาชน ด้วยการออก "กองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย" แบบประหยัดภาษีได้คล้าย LTF RMF ก็อาจ ระดมเงินมาได้ราว 1 หมื่นล้าน ทั้งยังอาจ "ยืมพลัง" จากกองทุนบำนาญ โดยอาจกำหนดให้ 1% ของสินทรัพย์ต้องมาลงทุนในสต๊อกสินค้า เกษตรไทยก็เป็นเงินถึง 3.5 หมื่นล้านบาท รวมกัน 2 แหล่งเมื่อคูณด้วยกำลังซื้อ 20 เท่า ก็จะสามารถซื้อสต๊อกสินค้าเกษตรไทย (ข้าว ยาง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด มัน และอื่นๆ) เป็น สินทรัพย์ได้ถึง 9 แสนล้านบาทเลยทีเดียว หากแค่นั้นยังไม่สะใจพอ เนื่องจากการ พยุงราคาข้าว และยางนัน้ จะเป็นผลดีทางรายได้ ของชาวนาในอินเดีย และเวียดนาม รวมถึง ชาวสวนยางของอินโดนีเซีย และมาเลเซียด้วย

ดังนัน้ ควร "ยืมพลัง" ของประเทศคูแ่ ข่งในการ ขายข้าว และคูแ่ ข่งในการขายยาง ให้มาร่วมมือ ในการทำแบบเดียวกัน พลังก็เพิ่มขึ้นอีกหลาย เท่าตัว จะส่งผลให้ภูมิภาคนี้สามารถกำหนด ทิศทางราคาตลาดโลกได้อย่างง่ายดายยิ่งกว่า พลิกฝ่ามือ ด้วยกระบวนการเหล่านี้ จะมีข้อดีทั้ง 4 ด้านเลยก็คือ 1. รัฐบาลไม่ขาดทุน แถมมีกำไร ติดไม้ตดิ มือ ไม่ตอ้ งระบายสต๊อกทีเ่ น่าเสีย แถม ไม่ต้องรับมือกับม็อบภาคเกษตรอีกต่อไป 2. ชาวนาชาวสวนพอใจกับราคาทีส่ งู และมีรายได้ที่ สูงขึ้น 3. เป็นการช่วยสร้างธุรกรรมให้ตลาด สินค้าเกษตรล่วงหน้า AFET 4. ปิดช่องการ ทุจริตคอร์รัปชันการรั่วไหลของงบประมาณ หากกรอบแนวคิดใหม่นี้ ได้ถูกนำไปใช้ และสำเร็จโดยดี นั่นหมายถึง ประเทศไทยจะ ประหยัดงบประมาณในการอุดหนุนภาคเกษตร ทีป่ กติแล้วต้องจ่ายถึงกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ไปได้สบายๆ เกษตรกรได้ราคาที่สูงจนน่าพอใจ นอกจากนี้ ยังปิดช่องทางทุจริตสำหรับกลุม่ คน ที่เล่นกลโกงกับเงินทองของงบประมาณรั่วไหล อีกด้วย นี่อาจเป็นการเปลี่ยนโมเดลของไทยใน รอบหลายสิบปีจาก "ขาดทุนก็คอื กำไร" มาเป็น "กำไรก็คอื กำไร" ประหยัดเงินรัฐบาลไปแสนล้าน และเกษตรกรกำไรเพิ่มขึ้นอีกแสนล้าน เมื่อ เห็นตัวเลขผลประโยชน์ที่สูงขึ้นของชาติแบบนี้ แล้ว ผมอดที่จะตื่นเต้นไปกับแนวคิดใหม่นี้ไม่ได้ แล้วท่านผู้อ่านละครับ??

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

แต่สำหรับ "ข้าว" นั้นเป็นสินค้าเกษตรที่ ท้าทายยิ่งกว่า และเรื่องราวอาจยากกว่าหน่อย เพราะมีการผลิตข้าวเจ้าทั่วโลกถึง 450 ล้าน ตันต่อปี ขณะที่ไทยผลิตอยู่ราว 20 ล้านตัน เท่านั้น ส่วนข้าวที่เหลือเพื่อทำการค้าระหว่าง ประเทศอยู่ที่ 8% ของการผลิตรวม ดังนั้น หากจะแทรกแซงจริ ง ๆ อาจต้ อ งทำถึ ง 10 ล้านตันขึ้นไป หรือราว 1.5 แสนล้านบาท แต่ด้วยนี่เป็นการแทรกแซงผ่านตลาดล่วงหน้า รัฐบาลก็ใส่เงินค้ำประกันแค่ 7.5 พันล้านบาท เท่านั้นเองเพื่อแทรกแซงตลาดข้าวได้ถึง 10 ล้ า นตั น โดยไม่ ต้ อ งเก็ บ สต๊ อ กจริ ง ด้ ว ย จะ เห็นว่าเป็นวงเงินที่น้อยกว่าใช้เพื่อจำนำข้าวใน ปัจจุบันลิบลับ

27


Food Feed Fuel

เปิดยุทธศาสตร์ 20 ปี 'อาหารสัตว์'

จี้รัฐปฏิรูปทั้งระบบ ปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืน ภาษี 0% เปิดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี รับมือ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จะสูต้ า่ งชาติได้ ชี้รัฐปฏิรูปนโยบายอาหารสัตว์ทั้งระบบ เน้น 3 ยุทธศาสตร์สู้ สร้างความปลอดภัย-มัน่ คงยั่งยืนทางอาหาร เร่งส่งเสริมปลูกข้าวโพดถั่วเหลืองให้เพียงพอ ปรับลดภาษีนำเข้ากาก ถั่วเหลืองให้เหลือ 0% พร้อมจี้ตัดสินใจให้ ชัดเจนนโยบายปลูกถั่วเหลือง GMO ถ้าปลูก ไม่ได้ ให้อนุญาตปลูกได้ในประเทศเพือ่ นบ้าน และนำเข้ามาใช้ได้ สร้างความสามารถในการ แข่งขันให้ผู้ผลิต

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

28

รายงานข่าวจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยว่า จากการทีส่ มาคมได้วา่ จ้าง ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า ไทย ทำการศึกษายุทธศาสตร์อุตสาหกรรม อาหารสัตว์ในอีก 20 ปีขา้ งหน้า หรือปี 2575 ขณะนี้ได้ผลสรุปออกมาแล้ว พบว่า มีจุดอ่อน ในเรือ่ งต้นทุนการผลิตสูง วัตถุดบิ หลักมีปริมาณ ไม่เพียงพอ คุณภาพมีความแปรปรวนสูง การ วิ จั ย และพั ฒ นาวั ต ถุ ดิ บ ทดแทนพื ช โปรตี น ชนิดใหม่มีน้อย และความร่วมมือในการพัฒนา ประสิ ท ธิ ภ าพในห่ ว งโซ่ อ าหารยั ง ไม่ เ ข้ ม แข็ ง

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

เพียงพอ นอกจากนีก้ ารดำเนินนโยบายของภาค รัฐทีเ่ กีย่ วข้องส่งผลต่อต้นทุน และประสิทธิภาพ การผลิต รวมถึงผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลง สภาพภู มิ อ ากาศ ซึ่ ง มี ผ ลต่ อ ปริ ม าณ และ คุณภาพ ขณะเดียวกัน ความต้องการใช้พืช เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ไปผลิตเป็นพืชพลังงาน มีมากขึน้ มีการกีดกันทางการค้าทีไ่ ม่ใช่ภาษีใน อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และประเทศเพื่อนบ้านที่ ขยายตัว ทำให้พื้นที่ปลูกวัตถุดิบที่ไทยสามารถ นำเข้าได้ลดลง จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ได้มีกำหนด ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 3 ยุทธศาสตร์หลัก เริ่มจากยุทธศาสตร์ที่ 1 (Feed Safety) การผลิตอาหารสัตว์ทมี่ คี วามปลอดภัย จะเน้น 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการผลิต เมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ และการจำหน่ายให้มี มาตรฐาน 2) ส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบอาหาร สัตว์ให้มคี ณ ุ ภาพ ปลอดภัยตามมาตรฐานตรวจ สอบย้อนกลับได้ 3) ส่งเสริมการผลิตอาหาร สัตว์ให้มีคุณภาพ ปลอดภัยตามมาตรฐาน และ 4) สร้างความตระหนักถึงคุณภาพสินค้า และ ความปลอดภัยของการผลิตสินค้าเกษตร


ขณะเดียวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตถั่วเหลืองให้มีการสนับสนุนการวิจัย และ พัฒนาเมล็ดถัว่ เหลืองสายพันธุท์ ดี่ สี ามารถปลูก ได้ในประเทศไทย และประเทศที่ 3 รวมถึงให้ ภาครัฐส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนปลูก ถัว่ เหลืองในประเทศที่ 3 และให้เอกชนสามารถ นำเข้าถัว่ เหลืองจากประเทศทีไ่ ปลงทุนเพาะปลูก ได้ ให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนา ถัว่ เหลืองระยะ 5 ปี (2557-2561) ในส่วนของ กากถั่วเหลือง เรียกร้องให้ภาครัฐปรับลดภาษี นำเข้าให้เหลือ 0%

มีการจัดทำยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมมันสำปะหลังระยะ 5 ปี (25602564) รวมถึ ง การลดการแทรกแซงราคา มันสำปะหลัง นอกจากนี้ ให้มีการปรับปรุง กฎระเบียบการซื้อขายรำข้าว และปลายข้าว เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายเข้าถึงวัตถุดิบได้ อย่างทั่วถึง 2) ให้ธุรกิจอาหารสัตว์สามารถเข้าถึง วัตถุดิบอาหารสัตว์ได้อย่างสะดวก และมีราคา เหมาะสม 3) ส่งเสริมการผลิตวัตถุดบิ อาหารสัตว์ คุณภาพดี ลดการสูญเสีย และมีการใช้ประโยชน์ อย่างเหมาะสม 4) รักษาเสถียรภาพการผลิต วัตถุดิบอาหารสัตว์ 5) การจัดการซื้อวัตถุดิบ ที่มีประสิทธิภาพ 6) การให้ความสำคัญกับพืช วัตถุดิบอาหารสัตว์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตอาหารสัตว์อย่าง ยั่งยืน (Feed Sustainability) เน้น 4 กลยุทธ์ คือ 1) การใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ และ เสริ ม สร้ า งความสามารถในการแข่ ง ขั น ของ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ตลอดห่วงโซ่อาหาร 2) การพัฒนาการผลิตทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม 3) สร้างเครือข่ายผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารระดับ ภูมิภาค และระดับประเทศ 4) การเป็นผู้นำ ด้านการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหารของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในอาเซียน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตอาหารสัตว์ เพื่อตอบสนองความมั่นคงของห่วงโซ่อาหาร (Feed Security) จะเน้น 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ส่ ง เสริ ม การผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ ใ น ปริมาณทีเ่ พียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสั ต ว์ เช่ น ข้ า วโพดส่ ง เสริ ม ให้ เพิ่ ม ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ โดยปลู ก ในพื้ น ที่ โ ซนนิ่ ง ที่ เหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมการปลูกในกลุ่ม ประเทศเพือ่ นบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวี ย ดนาม เรี ย กร้ อ งให้ ภ าครั ฐ ปรั บ ปรุ ง กฎระเบี ย บการนำเข้ า ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ จ าก ประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบความร่วมมือของ AFTA เพื่ อ ให้ ส ามารถนำเข้ า ข้ า วโพดได้ ใ น ช่วงเวลาที่เหมาะสม

29


เร่งมาตรฐานปลูกข้าวโพดยั่งยืน ใช้ราคาจูงใจยกระดับเกษตรกร นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กำลังเร่งดำเนินการนำยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ปี 2575 มาปฏิบัติให้เป็น รูปธรรม เริ่มจากการจัดทำร่างมาตรฐานการปลูกข้าวโพดอย่างยั่งยืน โดยสาระสำคัญจะกำหนดเกี่ยวกับ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละขัน้ ตอน เช่น ทีด่ นิ จะนำไปใช้ตอ้ งพิจารณาให้ดี ตอนนีป้ ลูกข้าวโพดได้ 600700 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเท่าไหร่ ใช้นำ้ ปริมาณกีล่ ติ ร ใช้ปยุ๋ เท่าไหร่ ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ ตัดไม้ทำลายป่าเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็น การเพิ่มมูลค่าในการเพาะปลูกข้าวโพด ทั้งนี้ ร่างมาตรฐานการปลูกข้าวโพดอย่างยั่งยืนดังกล่าว ไม่ได้เป็น มาตรฐานบังคับ แต่ภาคเอกชนกำหนดขึ้น หากเกษตรกรรายใดสามารถปฏิบัติตามได้ จะรับซื้อข้าวโพด ในราคาที่สูงกว่าราคาข้าวโพดในท้องตลาด ถือเป็นการใช้การตลาดจูงใจยกระดับการปลูกพืชของเกษตรกร ไทย ตามแผนคาดว่าร่างดังกล่าวจะแล้วเสร็จปลายปี 2557 หลังจากนั้นต้องทำประชาพิจารณ์รับฟัง ความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเป็นรูปธรรมนำมาใช้ได้ประมาณกลางปี 2558 หลังจาก จัดทำร่างเสร็จ ทางสมาคมฯ จะช่วยประสานในการจัดหาแหล่งเงินทุนมาช่วยในการปรับตัว ซึ่งคงต้องให้ ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อช่วยยกระดับเกษตรกรให้ดีขึ้น แต่กว่าจะเห็นผลสำเร็จคงต้องใช้เวลาอีก หลายปีพอสมควร แต่ถือว่าช่วยให้การบริหารจัดการจำนวนผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ และ เตรียมรองรับกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของประเทศคู่ค้าจะใช้เรื่องความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม มาเป็นมาตรการควบคุมการส่งออกสินค้าในอนาคต ทีผ่ า่ นมาสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ประกาศการปฏิบตั ทิ างการ เกษตรที่ดี (GAP) พืชอาหาร แต่เป็นมาตรฐานสมัครใจ ไม่ใช่มาตรฐานบังคับ ก็ไม่มีเกษตรกรทำกันมากนัก เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุน ทางสมาคมฯ จึงต้องพัฒนาต่อไปข้างหน้า นอกจากต้องปลูกตามหลัก GAP แล้ว เกษตรกรต้องนำมาตรฐานเรื่องความยั่งยืนมาปฏิบัติด้วย จะใช้ตลาดบังคับยกระดับเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น ถ้าทำได้ตามมาตรฐานจะให้ราคาทีด่ ขี นึ้ ยกตัวอย่าง ถ้าผ่าน GAP ให้ 10 บาทต่อกิโลกรัม ถ้าผ่านมาตรฐาน ความยั่งยืนให้ 12 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ คงต้องขอความร่วมมือบริษัทผู้ผลิต วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จะช่วยกันผลักดันนโยบายดังกล่าวให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งคาดว่าคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะเห็นผลสำเร็จ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

30

"เราต้องวิ่งหนีไปข้างหน้าก่อน ต้องบอกเกษตรกรว่า ต่อไปตลาดเปลี่ยน เกษตรกรต้องเปลี่ยนวิธีคิด ถ้าไม่ทำวันนี้ก็ต้องทำวันหน้า ต่อไปการค้าขายจะดูตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ หากทำ GAP และ ความยัง่ ยืนจะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิม่ ขึน้ ด้วย ทีผ่ า่ นมาผลผลิตข้าวโพดภายในประเทศ 5 ล้านตันโดยเฉลีย่ ต่อปี ทุกปีผู้ผลิตอาหารสัตว์จะรับซื้อหมด ในอนาคตเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น สะท้อนทรัพยากรที่มีอยู่ใน ไทยว่า จะไม่พอภายในกีป่ ี ต้องวางแผนล่วงหน้า หากปล่อยให้มกี ารปลูกข้าวโพดอย่างทีท่ ำอยูป่ จั จุบนั ไปเรือ่ ยๆ ประเทศไทยคงแข่งขันลำบาก ขณะเดียวกันเราจะกันข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามา เพราะ มาตรการทางภาษีตอ่ ไปจะไม่มแี ล้ว การไม่มภี าษีทำให้ตน้ ทุนข้าวโพดถูกลง แต่เกษตรกรไทยจะปกป้องตัวเอง อย่างไร ต้องไปลงทุนเพิ่ม ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าให้มากขึ้น" นายพรศิลป์กล่าว และว่า




ใน  ภาคอีสาน

Food Feed Fuel

ธุรกิจเกษตรพืชไร่

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตุลาคม 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

“พืชไร่” จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก และการทำเกษตร พื ช ไร่ ถื อ เป็ น อาชี พ หลั ก ของเกษตรกรไทย ประกอบกั บ ไทยมี ศั ก ยภาพด้ า นการเกษตร โดย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “อีสาน” นับเป็นอีกภาคหนึ่งของไทยที่มีการปลูกพืชไร่หลายชนิด อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น เนื่องด้วยขนาดพื้นที่ของภาคที่ใหญ่เทียบได้กับ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีพื้นที่ทางการเกษตรกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ ทั้งหมดของภาค ประกอบกับตั้งอยู่บนแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร รวมถึงมีเทือกเขารายล้อม ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง อีกทั้งยังมีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ ด้วยความได้เปรียบเชิงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภาคอีสานที่เป็นประตูการค้าเชื่อมกับกลุ่มประเทศ อินโดจีน จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ภาคอีสานพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการค้า และการลงทุน ธุรกิจการเกษตรในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และนานาชาติ อันเป็นแรงขับเคลื่อนในการรองรับ อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญต่างๆ ตามมา

31


ข้าว...ธุรกิจเกษตรพืชไร่ที่สำคัญของภาคอีสาน เมือ่ พิจารณาพืน้ ทีท่ างการเกษตรในภาคอีสาน ในปี 2554 พบว่ามีพนื้ ทีใ่ นการปลูก “ข้าว” มากเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 42.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทางการเกษตร ทัง้ หมดของภาคอีสาน และหากมองในแง่ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในภาคอีสาน จะพบว่า “ข้าว” มีปริมาณผลผลิตมากที่สุดเช่นกัน คิดเป็นเกือบร้อยละ 40 ของปริมาณสินค้าเกษตรทั้งหมด ของภาคอีสาน ทำให้ขา้ วเป็นสินค้าเกษตรหลักทีน่ บั ว่ามีความสำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ ภาคเกษตรแดนอีสาน ตลอดจนอาชีพชาวนายังเป็นอาชีพหลักที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับ คนอีสานเป็นจำนวนมาก

ปริมาณผลผลิตข้าวนาปี 2555 แยกรายภาคของไทย

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (ข้อมูล ณ กันยายน 2556)

ภาคอีสาน ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ พื้นที่นาส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และ มีปริมาณผลผลิตข้าวสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ในประเทศ ซึ่งหากพิจารณาปริมาณผลผลิต ข้าวนาปีตามประเภทข้าวในปี 2555 พบว่า ภาคอีสานมีสัดส่วนผลผลิตข้าวเจ้าคิดเป็นร้อยละ 57.8 ของผลผลิตข้าวนาปีภาคอีสาน (ซึ่งเป็นผลผลิตข้าวหอมมะลิมากกว่าร้อยละ 80 ของ ผลผลิตข้าวเจ้าภาคอีสานทั้งหมด) และมีสัดส่วนผลผลิตข้าวเหนียวกว่าร้อยละ 42.2 ของผลผลิต ข้าวนาปีภาคอีสาน ถือเป็นปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวที่สูงสุดในประเทศ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

32

• ข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice) เป็นพันธุ์ข้าวที่มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ และสร้างชื่อเสียงของข้าวไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก นับว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ (ที่นิยมปลูก และบริโภคอย่างแพร่หลายคือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15) เนื่องด้วยลักษณะเมล็ดข้าวสารที่เรียวยาว ขาว ใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย เมื่อหุงแล้ว มีความนุม่ เหนียว รสชาติอร่อย และจุดเด่นสำคัญคือ ความหอมทีค่ ล้ายกับกลิน่ ใบเตย ทำให้ได้รบั


พื้นที่ศักยภาพปลูกข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน...ทุ่งกุลาร้องไห้

ที่มา : รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ความนิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งใน และต่างประเทศ โดยแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญ อยู่ในภาคอีสานตอนล่างคือ ทุ่งกุลาร้องไห้ หรือดินแดนแห่งข้าวหอมมะลิโลก จนได้รับการ ขนานนามว่า “ทุง่ รวงทองแห่งข้าวมะลิโลก” อีกทัง้ ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิม่ (Value Creation) ให้กับสินค้าได้ด้วยการยกระดับการผลิตจากข้าวปกติเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ระดับบนที่มีความ ต้องการบริโภคสูง โดยเฉพาะตลาดยุโรป

เมื่อ 4 มีนาคม 2556 ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์* (จีไอ) จากสหภาพยุโรป นับเป็นสินค้าข้าวรายแรก ในอาเซียนที่ได้รับการจดจีไอในอียู ทำให้ไทยสามารถใช้ตรา Protected Geographical Indication ของอียูติดที่สินค้าได้ สร้างความเชื่อมั่น ให้ผู้บริโภคในอียูมากขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าไทย ตลอดจนทำให้ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทั้งด้านมาตรฐานสินค้า และด้านคุณภาพ *ชื่อ หรือสัญลักษณ์เฉพาะที่ใช้บนผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งที่อิงไปถึงตำแหน่งห รือจุดเริ่มต้นทางภูมิศาสตร์ (เช่นเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อาจจะใช้เป็นมาตราวัดคุณภาพของสิ่งบางสิ่ง หรือมีชื่อเสียงในทางใดทางหนึ่ง โดยมีผลมาจากจุดกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสิ่งนั้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ทัง้ นี้ เมือ่ เดือนกรกฎาคม 2556 กระทรวงพาณิชย์ได้คดั เลือกข้าวหอมมะลิจากทุง่ กุลาร้องไห้ เป็นข้าวทีจ่ ะนำมาจัดจำหน่ายในรูปแบบของทีร่ ะลึกตามสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว และสนามบิน ทีต่ อ้ งการ โปรโมทข้าวหอมมะลิไทยให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้รู้จัก โดยในเบื้องต้นจะมีการนำร่องบรรจุภัณฑ์ ข้าวหอมมะลิไว้ 2 ชนิดคือ หม้อดินเครือ่ งปัน้ ดินเผาจากเกาะเกร็ด และแพคเก็จจิง้ ของยีห่ อ้ นารายา เนื่องจากมีรูปแบบที่สวยงามสามารถจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อเป็นของที่ระลึกได้

33


• ข้าวเหนียว (Sticky Rice) โดยพันธุ์ที่นิยมปลูก และบริโภคอย่างแพร่หลายคือ พันธุ์ กข. 6 ส่วนใหญ่ปลูกในพืน้ ทีภ่ าคอีสานตอนบน โดยเฉพาะในจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และสกลนคร (มีสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของ แต่ละจังหวัด ขณะทีก่ ลุม่ จังหวัดในอีสานตอนกลาง และอีสานตอนล่างมีสดั ส่วนการปลูกข้าวเหนียว น้อยกว่า) ส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศในลักษณะเมล็ดข้าวเหนียว นอกจากนี้ เป็น การบริโภคในลักษณะนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดบิ ในการผลิตสุราพืน้ เมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียว เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร และขนมขบเคี้ยว สำหรับตลาดส่งออกของข้าวเหนียวค่อนข้างแคบ และส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในลักษณะ ของเมล็ดข้าวเหนียว ตลาดจะอยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะจีนที่มีความต้องการปลายข้าวเหนียว และ แป้งข้าวเหนียวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ ยังมีความต้องการรองรับจากโรงงาน ผลิตอาหารแช่แข็งของญี่ปุ่นที่ใช้แป้งข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ เช่น ขนมโมจิ เกี๊ยวซ่า เป็นต้น เนื่องจากแนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องการอาหารที่มีความนุ่ม และพร้อม รับประทานโดยไม่ยุ่งยากในการเตรียม ส่งผลต่อความต้องการข้าวเหนียวเพื่อเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ด้วย

พื้นที่ศักยภาพปลูกข้าวเหนียวในภาคอีสาน..อีสานตอนบน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

34

ที่มา : กรมการค้าข้าว รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย


• ล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2556 ภาคอีสานได้ประสบกับภาวะภัยแล้งรุนแรงกว่า 7 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ข้าวจากภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทำฝนหลวงเพื่อ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรแล้วบางส่วน อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะเป็นช่วงหน้าฝน แต่ฝนตกนอกพื้นที่รับน้ำ ส่งผลต่อปริมาณน้ำในเขื่อนที่ลดลง ทำให้รัฐบาลต้องประเมินสถานการณ์ อย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้ หากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอในช่วงต้นฤดูกาลทำนาปรังใน เดือนพฤศจิกายน ก็อาจแจ้งเตือนให้เกษตรกรงดทำนาปรังในปีนี้ • เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศกระทรวงอย่างเป็นทางการ

ให้มีการจัดโซนนิ่งพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ อันจะช่วยยก ระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนต่อปริมาณผลผลิตที่อาจเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ตลอดจนเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร

สำหรับเขตเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว รวมทั้งสิ้น 75 จังหวัด แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 20 จังหวัด (ขณะที่ภาคกลาง 18 จังหวัด ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคใต้ 13 จังหวัด และภาคตะวันออก 7 จังหวัด) นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมกับกรมการข้าว ยังแบ่งเขตโซนนิ่ง ข้าวเป็น 3 เขต คือ เขตปลูกข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กับตอนบน เขตปลูก ข้าวเหนียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กับภาคเหนือตอนบน และเขตปลูกข้าวขาวในภาคเหนือ ตอนล่าง กับภาคกลาง เป็นต้น

ผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ของไทย แยกรายภาค

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาคอีสานจะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัด ด้านชลประทานที่ยังไม่เพียงพอ ทำให้มีปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ส่งผลต่อปริมาณ ผลผลิตข้าวเฉลี่ยที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ในประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลได้เร่งเพิ่มพื้นที่ ชลประทาน ตลอดจนให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อันจะเป็นการช่วยลด ต้นทุนการผลิต อีกทั้งบางช่วงยังมีการทำฝนหลวง โดยศูนย์ฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนส่วนหนึ่งด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

หมายเหตุ : เป็นผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของข้าวนาปี+นาปรัง โดยปี 2556 เป็นตัวเลขคาดการณ์ ณ กันยายน 2556 ที่มา : OAE รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

35


สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันด้านราคา และแนวโน้มตลาดสินค้าข้าวในระยะถัดไป มีดังนี้ สถานการณ์ปัจจุบัน แนวโน้มระยะถัดไป - ภาพรวมปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก - ปริมาณผลผลิตอาจเพิ่มขึ้น จากการที่เกษตรกร เกษตรกรเร่งปลูก และรอเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกนาปี ต้องการนำข้าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของ ฤดูใหม่ เพื่อเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี รัฐบาล เนื่องจากปัจจัยดึงดูดด้านราคาที่อยู่ในเกณฑ์ 2556/57 (เริ่ม 1 ตุลาคม 2556) แม้ภาคอีสาน ดี ประกอบกับคาดว่าอาจมีปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของไทยจะประสบภาวะ และไม่มีโรคแมลงระบาดจากการที่เกษตรกรดูแล ภัยแล้งในหลายจังหวัดช่วงเดือนสิงหาคม 2556 รักษาอย่างดี ก็ตาม - ช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2556 ราคาข้าวภายใน - ราคาข้าวเปลือกในประเทศ คาดว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี ใกล้เคียงกับปี 2555 จากผลของนโยบายรับจำนำ ประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี (จากนโยบายรับจำนำข้าว ของรัฐบาล) โดยข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่ ข้าวของรัฐบาล เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา เฉลี่ยอยู่ที่ 9.787 บาท ต่อตัน ลดลงร้อยละ 2.9 (YOY) - ราคาส่งออกมีแนวโน้มลดลง จากแรงกดดันด้าน - ช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2556 ราคาส่งออก ปริมาณข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และการแข่งขันด้าน ข้าวของไทยลดลง (จากคู่แข่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้น) โดยข้าวขาว 5% เฉลี่ยอยู่ที่ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาโดยคู่แข่งหน้าเก่าอย่างเวียดนาม ที่พยายามลด ต่อตัน ลดลงร้อยละ 4.8 (YOY) อย่างไรก็ดี ยังเป็น ราคาลงเพื่อแข่งกับอินเดีย ขณะที่คู่แข่งหน้าใหม่อย่าง เมียนมาร์ และกัมพูชา ต่างเร่งพัฒนาการผลิตข้าว ระดับที่นับว่าสูงกว่าคู่แข่งพอสมควร จึงส่งผลต่อ ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอยู่ที่ 4.92 ล้านตัน เพื่อส่งออกมากขึ้น ซึง่ อาจส่งผลถึงปริมาณการส่งออก ข้าวของไทยที่ต้องเผชิญความท้าทายมากยิ่งขึ้น ลดลงร้อยละ 2.2 (YOY) จากการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดข้าวในเวทีโลก ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ FAO รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ธุรกิจข้าวและอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวในภาคอีสาน... โอกาสของผู้ประกอบการในการขยายตลาด ธุรกิจข้าวในภาคอีสานนับว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจข้าวไทย ตลอดจน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่อยู่ในระดับอุตสาหกรรม ได้เพิ่มความหลากหลายของชนิดผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งผลิตภัณฑ์ข้าวในรูปอาหาร และมิใช่อาหาร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

36


ผลิตภัณฑ์อาหาร ข้าวกล้องงอก อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเหลวต่างๆ อาหารผล เมล็ดข้าวงอก เครื่องดื่มสกัดคลอโรฟิลด์ เครื่องดื่มชาเขียวจากต้นข้าว ต้นกล้า น้ำนมข้าวยาคู ข้าวเม่า ข้าวพองอบกรอบ ซีเรียลอาหารเช้า เมล็ดข้าวอ่อน โจ๊กสำเร็จรูป น้ำส้มสายชู เต้าเจี้ยว ปลายข้าว เครื่องดื่มสุขภาพ สารปรุงรส จมูกข้าว ข้าวกึ่งสำเร็จรูป ข้าวกระป๋อง ข้าวแดง (สีผสมอาหาร/ยา) ข้าวกล้อง/ข้าวสาร น้ำมันรำข้าวปรุงอาหาร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสัตว์ รำ แป้งข้าวเหนียว/ แป้งข้าวจ้าว

ผลิตภัณฑ์เส้น แป้งแผ่น ข้าวเกรียบ อาหารว่าง ขนมไทย แป้งเค้ก แป้งดัดแปร (ใช้ผสมอาหาร ใช้ผสมยา เคลือบกระดาษ เคลือบสีน้ำ) ผลิตภัณฑ์ที่มิใช่อาหาร เชื้อเพลิง ถ่านกัมมันต์ สารสกัด (ซิลิก้า โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส)

แกลบ

รำ

สารสกัด (เคมีภัณฑ์) อิโนซิตอล โคคิว 10 ไฟติกแอซิด เครื่องสำอาง สบู่ ครีมล้างหน้า เครื่องสำอาง แป้งโรยตัว แป้งผัดหน้า โลชั่น ครีมพอกหน้า ปุ๋ยหมัก อาหารสัตว์ เยื่อฟาง

ฟางข้าว ที่มา : การส่งเสริมเกษตรแปรรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีข้าว รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

เมล็ดข้าว

37


สำหรับด้านเครือข่ายการตลาด เมื่อเกษตรกรผลิตข้าวเปลือกได้แล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้ บริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจะขาย อาจขายโดยตรงแก่โรงสี หรือผ่านตัวกลางทั้งภาครัฐ และ เอกชน โดยรูปแบบการเคลื่อนย้ายข้าวเปลือกจากชาวนาไปยังโรงสี ส่วนมากนิยมใช้รถบรรทุก หรือรถกระบะในการขนส่งเนื่องจากมีความคล่องตัว เมื่อโรงสีแปรสภาพข้าวเป็นข้าวสารแล้ว ข้าวส่วนหนึ่งจะกระจายสู่ผู้บริโภคในท้องถิ่น หรือผู้บริโภคในภาคต่างๆ ของประเทศผ่านผู้ค้าส่ง ที่นำข้าวมาบรรจุถุง ตลอดจนนำไปเพิ่มมูลค่าผ่านโรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ที่มีความหลากหลาย และกระจายสินค้าผ่าน 2 ช่องทาง คือ • ช่องทางการค้าดั้งเดิม เช่น ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว และโชห่วย เป็นต้น • ช่องทางการค้าแบบใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น

สายการผลิตข้าว ชาวนา

Production พ่อค้า ข้าวเปลือก

ตัวแทน นายหน้า

สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์

 Processing

 Distribution

โรงสี ผู้ส่งออก

หยง

ผู้ค้าส่ง

ตลาดต่างประเทศ

ตลาดในประเทศ

ข้าวสาร

ผู้ค้าปลีก

 Consumptions

สถาบันรัฐ อคส. ธกส. อ.ต.ก.

Distribution

ข้าวเปลือก

ที่มา : logisticssharing.com รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

38

สำหรับช่องทางการกระจายข้าวไปยังต่างประเทศ อาจขายข้าวผ่านผูส้ ง่ ออก ซึง่ การขายข้าว ให้ผสู้ ง่ ออกในปริมาณมากและซือ้ ขายระหว่างโรงสีขนาดใหญ่กบั ผูส้ ง่ ออกจะทำผ่านหยง 3 จากนัน้ โรงสีมีหน้าที่จัดหาสินค้าที่หยงติดต่อมา และจัดส่งสินค้าตามที่สั่ง โดยโรงสีเป็นผู้จัดการเรื่องค่า ขนส่ง ตลอดจนสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่ได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ เพื่อ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปภาพรวมของธุรกิจพืชไร่ในภาคอีสานซึ่งรวมถึงข้าวไว้เบื้องต้น ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่ผู้ประกอบการควรศึกษาอย่างรอบคอบ ดังนี้


- ทำเลที่ตั้งติดชายแดน และเส้นทางเชื่อมโยงประเทศ เพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศอินโดจีน - ทำเลตั้งอยู่กลางกลุ่มประเทศที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน : GMS (Greater Mekong Subregion) ตลอดจนมี ถนนEWEC (East West Economic Corridor Highway) เชื่อมถึงเวียดนาม และมีจุดค้าขายกับ เพื่อนบ้านรอบทิศ (มุกดาหาร หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี และสุรินทร์) - มีพื้นที่ปลูกข้าวเกือบร้อยละ 70 โดยเฉพาะเป็น แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพของไทย (ทุ่งกุลาร้องไห้) -

-

-

-

Weaknesses - พืชไร่เป็นพืชอายุสั้น ทำให้มีการปลูกพืชในพื้นที่เดิม หลายครั้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเสื่อมของคุณภาพดิน ได้ในอนาคต - พื้นที่ประสบภัยแล้ง 1 ใน 4 ของภาคกลาง ตลอดจนบางพื้นที่มีความไม่พร้อมด้านชลประทาน ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรยังต้องพึ่งธรรมชาติสูง - นโยบายสนับสนุนภาคเกษตรภายในประเทศของ รัฐบาล อาจส่งผลต่อการสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในเวทีโลก

- สินค้าทางการเกษตรสามารถเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้น ควรมีการบริหารจัดการด้านช่องทางการจำหน่าย และกระจายสินค้าอย่างเป็นระบบ เพื่อลดต้นทุน ในการดำเนินกิจการ Opportunities Threats รัฐบาลสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่า - ภาคอีสานประสบกับภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เช่น ให้กับสินค้าเกษตร อันจะเพิ่มขีดความสามารถในการ น้ำท่วม ภัยแล้ง ตลอดจนปัญหาดินเค็ม และดินถล่ม อาจส่งผลต่อการผลิตสินค้าเกษตร และผลผลิตเฉลี่ย แข่งขันทั้งตลาดใน และต่างประเทศ ตามนโยบาย ต่อไร่ที่อยู่ในระดับต่ำ ครัวไทยสู่ครัวโลก แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจาก - สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบาง ผลผลิตเกษตรพืชไร่มมี ากขึน้ เพือ่ นำไปผลิตเป็นอาหาร อัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนราคาน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อการส่งออก และความผันผวนของราคา และพลังงานทดแทน ตลอดจนสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรได้ แปรรูปต่างๆ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว ภาครัฐ และเอกชน มีการส่งเสริมเพื่อขยายการผลิต - อาจต้องเผชิญปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ดิน ข้าวอินทรีย์ จากการที่ภาครัฐดำเนินยุทธศาสตร์ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้สมดุล เพื่อใช้ปลูกพืชอาหาร และ ข้าวอินทรีย์ ปี 2547-2551 โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ พืชพลังงาน อินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ มีโครงข่ายถนนในกลุ่มอนุภาคแม่น้ำโขง ทำให้สะดวก - ตลาดต่างประเทศตั้งมาตรฐานสินค้าเกษตรสูง เป็น ในการขนส่งเพื่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน อุปสรรคต่อการส่งออกของไทย ทั้งมาตรการกีดกัน ทางการค้าทางภาษี และมิใช่ภาษี เช่น มาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัย ตลอดจน ประเทศคู่แข่งหน้าใหม่อย่างเมียนมาร์ และกัมพูชา ได้หันมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น โดยเฉพาะ ข้าวหอมอินทรีย์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

Strengths - มีแหล่งทรัพยากรน้ำขนาดใหญ่ คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล

39


ธุรกิจเกษตรพืชไร่...เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ AEC ปัจจัยที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงอีกประเด็นที่สำคัญ คือ การเตรียมพร้อมในการก้าวสู่การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งจะเป็นการ ยกเลิกกำแพงภาษี และลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตรโดยใน ภาพรวมจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ฐานการผลิตเดียวกัน การขยายการส่งออก และโอกาสทาง การค้าสินค้าเกษตรและบริการโดยเฉพาะในกลุม่ ประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) ที่จะลดภาษีการค้าสินค้าเหลือร้อยละ 0 ในปี 2558 ขณะเดียวกันก็ยังได้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีจากประเทศหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปยังต้องติดตามประเด็นการแข่งขัน ธุรกิจพืชไร่ในตลาดโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเช่น ในอุตสาหกรรมข้าว ทั้งจากประเทศคู่แข่งหน้าเก่าอย่างเวียดนาม และอินเดีย ตลอดจน คู่แข่งหน้าใหม่อย่างเมียนมาร์ และกัมพูชา ที่พัฒนาระบบการผลิต ข้าวอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในเวทีโลก ดังนั้น ไทยควรเร่งวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้น เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย อีกทั้งเพื่อ รองรับแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตเกษตรมีมากขึ้น อาทิ การเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวตั้งแต่ “ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” โดยการสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ กระแสการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เพือ่ ลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และยังเป็น อีกช่องทางหนึ่งในการทำตลาดสู่ “ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products)” ของผู้ประกอบการไทย เช่น พืชเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอินทรีย์ นับเป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมของ ไทยที่ต่างประเทศนิยมบริโภคโดยเฉพาะยุโรป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

40


ธุรกิจเกษตรพืชไร่ไทย ...ควร “รุก” หรือ “รับ” กับกระแส AEC “AEC” นับเป็นโอกาสที่ดี และมีแนวโน้มการเติบโตของการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศสมาชิก ที่ ส ดใส โดยไทยเข้ า ไปลงทุ น ด้ า นเกษตรในประเทศเพื่ อ นบ้ า น นำความก้ า วหน้ า ทางวิ ท ยาศาสตร์ เกษตร และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมี ทรัพยากรธรรมชาติรอการพัฒนาอยู่อีกมาก ตลอดจนมีแรงงานราคาถูกรองรับ อันเป็นผลดีต่อการค้า และการลงทุนแก่ทงั้ สองฝ่าย ซึง่ อาจใช้ประเทศเพือ่ นบ้าน (ทีน่ า่ สนใจโดยเฉพาะประเทศเมียนมาร์ สปป.ลาว กั ม พู ช า และเวี ย ดนาม) เป็ น ฐานในการผลิ ต เพื่ อ ส่ ง ออกต่ อ ไปยั ง ประเทศอื่ น อั น เป็ น การแสวงหา ผลประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นจาก AEC อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ควรคำนึงถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งรูปแบบการลงทุน ที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐาน และกฎระเบียบของประเทศที่จะเข้าไปลงทุน โดยการแสวงหาคู่ค้าที่เป็น นักธุรกิจท้องถิ่นน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากกฎระเบียบการค้าของแต่ละประเทศ มักต้องการให้คนท้องถิ่นสามารถแข่งขันกับนักธุรกิจต่างชาติได้ และกฎระเบียบอาจมีการเปลี่ยนแปลง บ่อยครั้ง จึงต้องติดตามอยู่เสมอ นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์อันดีจะยิ่งเป็นการช่วยอำนวยให้ ธุรกิจไทยเข้าถึงตลาดได้ดีขึ้น

บทสรุป และข้อเสนอแนะการลงทุนธุรกิจเกษตรพืชไร่ในภาคอีสาน

มองไปข้างหน้า ธุรกิจเกษตรพืชไร่ยังมีโอกาสเติบโตจากความต้องการในตลาดโลกที่ยังมี รองรับทั้งด้านอาหารและพลังงาน ขณะที่ “การสร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้กับผลผลิตพืชไร่ซึ่งรวมถึง ตั้งแต่ “ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” ถือเป็นกุญแจไขความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ เพื่อ รองรับแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ทสี่ ร้างมูลค่าเพิม่ จากผลผลิตเกษตรในอนาคตทีเ่ พิม่ ขึน้ ท่ามกลางกระแส AEC ที่กำลังจะมาถึง ทั้งนี้ อาจต้องจับตาปัจจัยท้าทายภายในประเทศ (ต้นทุน การผลิตสูงขึ้น) ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมหรือศักยภาพ อาจพิจารณาแนวทางการขยายการ ลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และได้รับอานิสงส์จาก การลดภาษีเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าทัว่ ไปในปี 2558 ซึง่ ถือเป็นหนึง่ ในทางเลือกทีเ่ ปิดโอกาส ทางด้านการค้าการลงทุน ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังมีข้อจำกัดด้านเงินทุนอาจพิจารณา แนวทางการหาพันธมิตร หรือช่องทางในการเป็นส่วนหนึ่งในสายการผลิตของธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ขยายกิจการไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีดังกล่าว แหล่งที่มาของข้อมูล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (OAE) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หอการค้าไทย กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

จากศักยภาพภาคอีสานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และยังมีพื้นที่ทางการเกษตรเหมาะแก่การปลูก พืชไร่หลายชนิด โดยเฉพาะข้าว ที่นับว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีศักยภาพของประเทศ และ เป็นทีร่ จู้ กั ในระดับสากล อีกทัง้ ยังสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก ตลอดจนทำเลทีต่ งั้ เป็นประตู การค้าเชื่อมกับกลุ่มประเทศอินโดจีน ยิ่งช่วยส่งเสริมให้ภาคอีสานสามารถจะพัฒนาสู่การเป็น ศูนย์กลางด้านการค้า และการลงทุนธุรกิจการเกษตรในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และนานาชาติ

41


Food Feed Fuel

สรุปรายงานการสัมมนา เรื่อง

อนาคตของประเทศไทยกับยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.30-16.30 น. ณ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวเปิดงาน โดย

รศ.ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

กล่าวย้อนความเป็นมาว่าพืชส่งออกสำคัญสมัยอยุธยา คือ พริกไทย ข้าว สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สินค้าพริกไทย ทำให้ เ กิ ด Future Market และปลู ก มากที่ จั ง หวั ด จั น ทบุ รี เช่นเดียวกับดอกทิวลิปของฮอลแลนด์ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลริมแม่น้ำนครชัยศรี และบางปลาสร้อย โดยใช้แรงงานโค กระบือ พื้นที่แข่งขันหลักคือ เกาะชวา พัฒนาโดยชาว Dutch เพาะปลูกอ้อยได้ผลดีในเขตร้อน ซึ่งไทย แข่งขันไม่ได้ และสูญหายไปในช่วงการเซ็นสนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ หลังจากแก้ไขสนธิสญ ั ญา ไทยสร้าง โรงงานอ้อยสมัยใหม่ที่ลำปาง ส่วนสินค้ายางพาราเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ต้นแรกมาจากสิงคโปร์ เพาะปลูกในจังหวัด ตรัง ส่วนมันสำปะหลังเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนโยบาย CAP ปกป้องสินค้า ธัญพืชใน EU มีการนำแป้งไปผสมกับกากถั่วเหลืองเป็นอาหารสัตว์ โดยเยอรมนีลงทุนที่ผาแดง หลังจากนั้นสินค้าข้าวโพด และปาล์มน้ำมันก็เริ่มมีการเพาะปลูกตามมา เนื่องจากแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี 1961 เน้นเรื่อง Diversification

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

42

ช่วงทศวรรษ 1970 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญโดยสหรัฐอเมริกาลอยตัวค่าเงิน ทำให้ เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่ามาก เกิดการย้ายฐานผลิตอาหารมายังทวีปเอเชีย ส่งผลให้เกิดการ เลี้ยงไก่สมัยใหม่ และไทยเกิดอุตสาหกรรมเกษตร นำข้าวโพดไปเลี้ยงสัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด ตั้งโรงงานที่บางนา แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ต่อมาเกิดโรงงานอาหารทะเล ส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น ปี 1980 ญี่ปุ่นนำการปลูกผักผลไม้มาพัฒนาในไทย สร้างมูลค่าเพิ่มทำให้ไทยสามารถ ส่งออกหน่อไม้ฝรั่งทางเครื่องบินไปญี่ปุ่นได้ ราคาถูกกว่าปลูกเอง


ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าพืชเศรษฐกิจสำคัญกว่า 70-80% คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด โดยนำหลัก 4F มาใช้กับพลวัตรของภาคเกษตรไทย ได้แก่ Food Feed Factory/Fiber Fuel ร่วมกับ SME ได้แก่ Sustainability Modernization Education เพื่อเชื่อมต่อเรื่องเกษตร และอาหารไปยัง AEC บรรยายพิเศษ หัวข้อ

“ความสมดุลพืชอาหาร พืชพลังงาน เพื่ออนาคตของไทย” โดย คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

Pascal Lamy อดีตเลขาธิการ WTO กล่าวว่าโลกจะต้องได้รับการดูแลไม่ให้มี Export Restriction เพื่อบรรเทาสภาวะวิกฤตอาหาร ซึ่งภายหลังถูกนำมาใช้ในวงเจรจาการค้า ทำให้ ไทยต้องมาคิดถึงเรื่องความมั่นคงอาหาร ซึ่ง FAO ให้คำจำกัดความว่าต้องมีจำนวนเพียงพอ เข้าถึงได้โดยง่าย ใช้ประโยชน์ได้ และมีความสม่ำเสมอ สรุปว่าไทยไม่มีความมั่นคงทางอาหาร และพลังงาน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ประเทศที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหาร เช่น พวกตะวันออกกลาง จะเช่า หรือซื้อที่ดินทำ การเกษตร เรียกว่า Land Grab ไปปลูกพืชทีค่ ดิ ว่าไม่มนั่ คงในประเทศตนเอง เพือ่ สร้างความมัน่ คง ของอาหารให้สามารถเลี้ยงดูประชากรของตนเองได้ และยังมีสิทธิ์ไปขายแข่งกับประเทศที่สาม ได้ด้วย ส่วนญี่ปุ่นใช้นโยบาย RAI ลงทุนสินค้าเกษตรแบบมีความรับผิดชอบ ทำให้ Land Grab ถูกกฎหมายในวงเจรจา ส่วนไทยเป็นสมาชิก APEC ก็จะมีส่วนร่วมด้วย โดย APEC ผลิตอาหาร 50% ของโลก มีการเจรจาเรื่อง RAI เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ประเทศสมาชิกไปลงทุนเพาะปลูกได้

43


คุณพรศิลป์ มองว่าต้องบริหารจัดการเรื่องเกษตรและอาหารโดยใช้หลัก 4S คือ Sustainability Security Safety Standard เนื่องจากโลกมีความเคลื่อนไหวตลอด มีการเจรจาเสรีเกษตร และอาหารในประเทศที่ต้องการไปลงทุนด้วย ไทยต้องใช้ข้อตกลงให้เป็นประโยชน์ ทำอย่างไร ให้เกิดสมดุลระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งตอนนี้ถูกมองว่าเป็นปัญหาระหว่างการเข้าถึงตลาดกับ การปกป้อง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามสำคัญ เช่น จำนวนประชากรโลก พื้นที่จำกัด การขยายเทคโนโลยี การเพิ่มผลผลิต การให้การศึกษา ข้อจำกัดทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง การจัดการเรื่อง Food Loss & Food Waste ในการบริโภค และหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็น ประเด็นการค้า หากกระทำตามไม่ได้จะมีมาตรการกีดกัน การเสวนาหัวข้อ

“2030 วิกฤตพืชพลังงาน และพืชอาหารโลก” โดย คุณพัชรี คงตระกูลเทียน

ประธานคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ภายใต้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

แนวโน้มของโลกในปี คศ.2030 โดยมีปี คศ. 2010 เป็นฐาน พบว่าจำนวนประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นถึง 22% มูลค่า GDP สูงขึ้น 89% มีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น 33% ทรัพยากรน้ำ 41% และอาหาร 27% การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านต่างๆ เป็นปัจจัย เสี่ยงของโลก อาทิ น้ำท่วม ฝนแล้ง การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ไฟป่า สภาวะอากาศรุนแรง การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระบบนิเวศน์ทางทะเล ผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

44

ที่น่าตกใจคือความเสียหายที่เกิดจากมหันตภัยที่เกี่ยวกับสภาพอากาศมีแนวโน้มสูงขึ้น จาก สถิติมูลค่าความสูญเสียรวมต่อเศรษฐกิจจากมหันตภัยทั้งหมดในปี 2013 เท่ากับ USD 140 Billion ความสูญเสียที่มีการประกันภัยมีมูลค่าเพียง USD 45 Billion โดยในปี 2011 อุทกภัย ครั้งใหญ่ของประเทศไทย ถือเป็นการสูญเสียที่สุดในรอบ 43 ปี โดยมีตัวเลขอยู่ที่ USD 49.6 Billion และมีการประกันภัยเพียง USD 16.2 Billion การเจรจาภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 196 ประเทศ ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก โดยจะต้องลดการปล่อยก๊าซฯ ให้ได้ 50% จากระดับปัจจุบันภายในปี 2050 เพื่อ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงเกินกว่า 2 องศา โดยไทยจะต้องลด 7-20% ในปี 2020 ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดจะเป็นปัญหาสำคัญของโลกในอนาคต ปริมาณน้ำจืดหมุนเวียน ภายในประเทศต่อหัวประชากรโดยเฉลี่ยของโลกลดลง 54% ระหว่างปี 1962-2011 โดยมี ประเทศไทย อินเดีย และจีน ที่จะลดลงสูงสุดถึง 56%, 62% และ 50% ตามลำดับ


ฉะนั้ น โลกจะต้ อ งหาวิ ธี ก ารลดความเสี่ ย งในเรื่ อ งการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ ประเทศไทยจะต้องบรูณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครอบคลุมตลอดทั้ง ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน และความมั่นคงด้าน ทรัพยากรน้ำ ไปจนถึงผลักดันให้เรื่องเกษตรเป็นวาระแห่งชาติต่อไป อาจารย์มนตรี คงตระกูลเทียน  รองประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และคณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร PIM

ปัจจุบันตัวเลขพื้นที่การเกษตรมีจำนวน 150 ล้านไร่ แบ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของ ประเทศ 110 ล้านไร่ (ข้าว 65 ล้านไร่ นาปลัง 10-12 ล้านไร่ ยางพารา 14-15 ล้านไร่ ข้าวโพด 7.2 ล้านไร่ อ้อย และมันสำปะหลัง ประมาณอย่างละ 8 ล้านไร่) นอกจากนั้นยังมีพืชพลังงาน ได้แก่ ปาลม์ที่นำมาผลิตไบโอดีเซล ประมาณ 4.9 ล้านไร่ ที่เหลือ 10 ล้านไร่ เป็นพืชผักผลไม้ ปี 2555/2556 ผลผลิตข้าวในตลาดโลกมีเพิ่มมากขึ้นประมาณ 20 ล้านตัน ส่งผลให้ ข้าวราคาตก สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรทั่วโลกมีประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น แต่ทำให้ราคา ลดลง เนื่องจากตัวกำหนดราคาเกิดจาก Demand/Supply ทั่วโลก ฉะนั้นทำอย่างไรจะให้เกิด ความสมดุลกัน ซึ่งการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตรมีความจำเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีการ กำหนดพื้นที่ปลูกข้าวไว้ที่ 48 ล้านไร่ ฉะนั้นก็ควรจะใช้พื้นที่ที่เหลือจากการปลูกข้าวไปปลูกพืช ชนิดอื่นแทน ในด้านเชื้อเพลิงปี 2556 ไทยมีการนำเข้าเชื้อเพลิง 1.49 ล้านล้านบาท หาก นำพื้นที่ปลูกข้าวที่มีแหล่งน้ำมากมาปลูกปาล์มจะช่วยให้ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้ ส่วนระบบ ชลประทานมีพื้นที่ 30 ล้านไร่ มีน้ำพอเพียงต่อการเพาะปลูก อีกทั้งยังมีพื้นที่ที่จะทำระบบ ชลประทานเพิ่มได้อีกถึง 30 ล้านไร่ ดร.พรชัย รุจิประภา  อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

ในอีก 20 ปี ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 40% โดยประเทศ อินเดียจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากกว่าอเมริกา ส่วนจีนจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากกว่า ยุโรป 2-3 เท่า ฉะนั้น เขื่อนเป็นทางเลือกแรกในด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ในปี 2050 ประชากรโลกจะเพิม่ ขึน้ เป็น 9 พันล้านคน (คิดเป็น 34.3% จากปัจจุบนั ดังนัน้ ประมาณได้ว่าความต้องการอาหาร พลังงาน และน้ำ ควรจะเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อย 34.3%) หากมองย้อนมาในช่วงระยะ 20 ปี หรือในปี 2030 ประชากรโลกจะอยู่ที่ 8 พันล้านคน ใน ขณะที่ แ หล่ ง น้ ำ มั น ดิ บ ลดลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ภายหลั ง ปี 2015 ทำให้ จ ะต้ อ งหั น มาใช้ แ หล่ ง พลังงานอื่นแทน ราคาพลังงานจะแพงมากขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งอาหาร และพลังงาน เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน

45


ในส่วนของประเทศไทยเองจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2567 และในปี 2568 จำนวน ประชากรจะลดลงเรื่อยๆ สินค้าเพื่อสุขภาพจะขายดี ความต้องการพลังงานจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดย ส่วนใหญ่เป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง กระทรวงพลังงานมีหน้าที่ ในการจัดหาแหล่งพลังงานทางเลือก รวมถึงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้ ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าอ่าวไทยจะมีก๊าซธรรมชาติให้ใช้ได้เพียง 15 ปี แม้ จะยังเหลือก๊าซธรรมชาติในเขตพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ก็คาดว่าน่าจะมีก๊าซธรรมชาติ ให้ใช้ต่อได้เพียง 10 ปีเท่านั้น ในขณะที่ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเป็น เท่าตัวจาก 32,000 เมกกะวัตต์ เป็น 77,000 เมกกะวัตต์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

(องค์กรมหาชน)

ดาวเทียมทีเ่ กีย่ วข้องกับการเกษตร ประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ คือ 1. ดาวเทียมสำรวจโลก ใช้ในการทำแผนที่แบ่งสัดส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นดาวเทียมที่หยาบ แต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้เครื่องบิน สำรวจ และดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีความละเอียดของภาพที่เห็นมากกว่า แต่กลับกันก็จะไม่ สามารถมองภาพกว้างโดยรวมของพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของดาวเทียมทั้งสองแบบคือ ยังขาดความแม่นยำ 100% ยังคงต้องนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ ด้วย เนื่องจาก เคยระบุชนิดพืชที่ปลูกผิด 2. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ปัจจุบันไม่มีค่าใช้จ่าย หรือหากมีก็น้อยมาก ดาวเทียมอุตนุ ยิ มวิทยานีจ้ ะไม่เคลือ่ นที่ สามารถเก็บภาพในตลอดเวลา ใช้ประกอบในการคาดการณ์ ผลผลิต หรือใช้สำหรับเตือนภัยต่างๆ ปัจจุบนั จีนได้ใช้ดาวเทียมนำทางเป่ยโต่ว เพือ่ ตรวจสอบสภาพ อากาศเช่นกัน จากภาพดาวเทียมพบว่า การปลูกที่ขาดการจัดการ เช่น นาข้าวติดกับแปลงอ้อย บ้างก็ติด กับชุมชนที่ต้องการใช้น้ำ บ้างก็ใช้ที่ดินในเขตป่าเขา เวลาเกิดปัญหาฟ้องร้องกันขึ้นมา ดาวเทียม ไม่สามารถเรียกข้อมูลเพื่อตรวจสอบย้อนหลัง ฉะนั้นประเทศไทยยังถือว่าขาดการจัดการที่ดี ไม่ใช่แค่พูดกันถึงเรื่องโซนนิ่ง แต่จะต้องพูดถึงนโยบายการใช้ที่ดินของประเทศ จัดทำโดย : นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข และ นายอรรถพล ชินภูวดล วันที่ 14 พฤษภาคม 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

46


การศึกษาผลกระทบ และการเตรียมความพร้อม ของภาคเกษตรไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน :

กรณีศึกษามันสำปะหลัง

วันอังคารที่ 29 เมษายน 2557 เวลา 09.00-13.00 น. ณ ห้อง B127 ชั้น 1 อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

Food Feed Fuel

สรุปรายงานการสัมมนาผลการวิจัย

ความเป็นมา ด้วยหน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้รบั มอบหมายจากฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจยั สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ดำเนินการโครงการการศึกษาผลกระทบ และการเตรี ย มความพร้ อ มของภาคเกษตรไทยสู่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น : กรณี ศึ ก ษา มันสำปะหลัง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ซึ่งมันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ฉะนั้น การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมมัน สำปะหลังไทย จึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการดังกล่าว และเพื่อให้รายงานการศึกษามีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจึงได้จัดสัมมนาผลการวิจัย โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมวิพากษ์ รวมถึงเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงในรายงานการศึกษา โดยนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิพากษ์ และมี ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นรวมทั้งสิ้น 43 คน

47


ช่วงที่ 1 การนำเสนอผลการวิจัยการศึกษาผลกระทบ และการเตรียมความพร้อม ของภาคเกษตรไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษามันสำปะหลัง โดย คุณวัชริน มีรอด  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จากสัดส่วนพืชเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียน ปี 2556 จะพบว่าผลผลิตของไทยอยู่ในระดับต้น โดยเฉพาะ อ้อย และมันสำปะหลัง ทีม่ ผี ลผลิตมากเป็นอันดับหนึง่ คือ 99 ล้านตัน และ 28 ล้านตัน ตามลำดับ ในส่วนของประเทศที่มีผลผลิตมันสำปะหลังเป็นอันดับสองคือ อินโดนีเซียอยู่ที่ 26 ล้านตัน ถือว่าไม่ห่างจากไทยมากนัก ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดไทยยังถือว่าอยู่ในอันดับต้นเกือบ ทุกสินค้า ยกเว้นปาลม์น้ำมันถือได้ว่าไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง จึงเป็นประเด็นว่า ทำอย่างไรจะการรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันไว้ให้ได้ โดยเป้าหมายของโครงการ ต้องการให้ไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังอันดับ 1 ของโลก หากเปรียบเทียบสัดส่วนผลผลิตต่อไร่ของโลก และอาเซียน จะให้ชดั เจนว่าอาเซียน มีผลผลิต เฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าผลิตผลเฉลี่ยของโลก และจากข้อมูลของสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในด้านของต้นทุนต่อผลผลิตต่อไร่ พบว่าไทยมีต้นทุนที่สูงกว่า ประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 1.80 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่เวียดนามมีต้นทุนอยู่ที่ 1.50 บาท/กิโลกรัม ส่วนกัมพูชา และ สปป. ลาว มีต้นทุนเพียง 1 บาท/กิโลกรัม ปัจจุบันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยยังอยู่ในระดับ First Generation และจะต้องเร่ง พัฒนาไปสู่ Second Generation กล่าวคือ นอกจากจะเป็นเพียงแค่วัตถุดิบอาหารสัตว์จะต้อง พัฒนา และสร้างมูลค่าเพิม่ ไปสูว่ ตั ถุดบิ สำหรับอุตสาหกรรม อาทิ พลังงานเอทานอล ไบโอพลาสติก อาหารสุขภาพ ไปจนถึงวัสดุชีวภาพย่อยสลายง่าย ปัญหาและข้อจำกัดทีไ่ ด้จากการศึกษา ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน คือ 1) ผลผลิตของเกษตรกร ค่อนข้างต่ำ สาเหตุมาจากการกระจายท่อนพันธุ์ (ปนเปือ้ นเชือ้ โรค และแมลงศัตรูพชื ท่อนพันธุอ์ อ่ น หรือแก่เกินไป) ซึ่งความต้องการท่อนพันธุ์อยู่ที่กว่า 1,000 ล้านตันต่อปี 2) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ของประเทศไทยที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และการขาดแคลนแรงงานขุดมันสำปะหลัง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

48


อาเซียนมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้พันธุ์ดี และพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์

แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยที่ได้ จากการศึกษา 1. ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังด้วยการเพิ่มผลผลิต ต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต โดยจะต้อง - ยกระดับเกษตรกรปลูกมันเป็น smart farmer ผลผลิต 6-8 ตัน ต่อไร่ ใช้หลักการ เกษตรแม่นยำ - สนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เช่น เครื่องปลูก เครื่องขุด และเก็บเกี่ยวมัน - สนับสนุนการผลิตทีไ่ ม่ทำลายสิง่ แวดล้อม เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต ลดปัจจัยการผลิต มี carbon/water foot Sustainable Agriculture

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

- ศูนย์ความรู้มันสำปะหลังสำหรับชุมชน cassava knowledge bank

49


2. การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงของภูมิภาค - ศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มันที่ปรับตัวได้ดีในภูมิภาค/เทคโนโลยี การ เกษตรที่เหมาะสมกับอาเซียน/เครื่องจักรกลการเกษตร - ศูนย์กลางการพัฒนากำลังคนระดับสูงทางด้านอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง Regional Talent - ถ่ายทอดเทคโนโลยีและลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน (พันธุ์, เครื่องจักรกล) - Regional Excellence มีสถาบันวิจยั เงิน วิจยั จำนวน publication ทางด้านมันสำปะหลัง และแป้งสูงสุดแหล่ง supply พันธุ์ในอาเซียน อัฟริกา และอเมริกาใต้ 3. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคต - การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพตลอด Value Chain การบริหารจัดการ แปลงทีด่ ี การใช้ทรัพยากรน้อยทีส่ ดุ อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง Near zero waste, green city, green industry - การปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การใช้เครื่องหมายพันธุกรรม high throughput genotyping and phenotyping screening - พืชมหัศจรรย์ พืชอนาคต อาหาร พลังงาน อาหารสัตว์ สารเคมีทดแทนพืชอาหาร เช่น ข้าวโพด มันฝรั่งไม่ทำให้เกิด ภูมิแพ้ (talcum สารดูดความชื้น) วิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มที่ทดแทนแป้งนำเข้า และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Bio based ช่วงที่ 2 ข้อเสนอแนะจากการวิพากษ์ผลการศึกษา โดย คุณธิดารัตน์ รอดอนันต์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

50

ได้นำเสนอการทำงานของคลัสเตอร์มันโคราชที่ขยายผลจากสีคิ้ว โมเดล ซึง่ เป็นการทำงานร่วมกันเพือ่ แก้ปญ ั หาวิกฤตการณ์เพลีย้ แป้งสีชมพู ระบาดในแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ และโรงงานแป้งมันสำปะหลังขาดแคลน วัตถุดิบเข้าโรงงาน การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง นักวิชาการโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สงวนวงษ์ และ ที พี เค และ เกษตรกร โดยภาควิชาการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรต้นแบบเพื่อให้ เกษตรกรนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากการอบรมให้ความรู้กับ เกษตรกรเพื่อให้ใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ความรู้ที่ได้ไม่เพียงนำไปใช้กับการ ปลูกมันสำปะหลัง แต่ยงั ใช้กบั การทำการเกษตรประเภทอืน่ ๆ อีกด้วย ผลของการดำเนินโครงการ


คลัสเตอร์มันโคราช ชี้ให้เห็นว่าเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าสูงมาก และคืนทุนภายในปีเดียว ในส่วนของความเห็นที่มีต่อโครงการมี ดังนี้ • จะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รัฐบาลควรสนับสนุนเตรียมความพร้อม และการกระจายความรู้ สู่ เ กษตรกร โดยการจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ เ พื่ อ กระจายความรู้ ไ ปยั ง ซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวเกษตรกร • การส่งเสริมพัฒนาควรมองตลอดซัพพลายเชนตัง้ แต่ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ และควรมองระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป ที่ผ่านมาภาครัฐมีการตัดสินใจระยะสั้น เช่น กรณีการแทรกแซงเพื่อกำหนดราคา มันสำปะหลังในแต่ละปี แม้จะส่งผลดี ช่วยยกระดับราคามันสำปะหลังในตลาด จูงใจให้เกษตรกร ปลูกอย่างต่อเนื่องมีรายได้ที่ดี แต่ผลเสียคือ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ • ควรเตรียมความพร้อมโครงสร้างพืน้ ฐานด้านเกษตรกรรม สาธารณูปโภคทีค่ รบถ้วน เช่น การขาดแหล่งน้ำ ไฟฟ้า รวมถึงการจัดการมหภาค การใช้เทคโนโลยีในการจัดทำฐานข้อมูล/ ดาวเทียม รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณให้มีการทำงาน Full time ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตเป็น 5-6 ตัน/ไร่ได้ ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร  นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ • ต้องเริม่ จากการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด (Market Position) ความสามารถในการแข่ ง ขั น และนำข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วมาใช้ ว าง ตำแหน่ง (position) ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย โดยวิเคราะห์ ย้อนกลับจากอุตสาหกรรมปลายน้ำ มายังอุตสาหกรรมต้นน้ำ และต้อง กำหนดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Develop) ว่าจะเน้นไปที่การเพิ่มปริมาณ หรือมูลค่าที่สูง • ควรวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในรายงานศึกษา เพื่อการใช้ ประโยชน์ในระดับนโยบาย พร้อมทั้งเสนอให้การกำหนดยุทธศาสตร์มันสำปะหลังพิจารณาจาก ความต้องการผลิตภัณฑ์เป็นหลัก (outside in planning)

• ควรคาดการณ์ล่วงหน้า โดยมองการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มีความต้องการใช้มันสำปะหลังภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เวียดนามมีนโยบายในการปลูกมัน สำปะหลังอย่างไร และไทยจะพัฒนาตอบรับได้อย่างไร เป็นต้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

• รายงานการศึกษายังขาดยุทธศาสตร์การตลาด การสร้าง Product และการสร้างความ ร่วมมือระหว่างกันภายในประเทศ

51


คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ทำการศึกษายุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปี 2575 และพบว่าในอีก 20 ปีขา้ งหน้า อุตสาหกรรม ปศุสัตว์จะเติบโตกว่า 2 เท่า ส่งผลต่อความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่ม มากขึน้ ถึง 1.86 เท่า หรือประมาณ 28 ล้านตัน ฉะนัน้ เฉพาะอุตสาหกรรม อาหารสัตว์มคี วามต้องการมันสำปะหลังถึง 31.58 ล้านตัน ถึงตอนนัน้ มันสำปะหลังจะตอบสนอง ตลาดอย่างไร ส่วนข้อคิดเห็นสำหรับโครงการ • วัตถุประสงค์ของการศึกษามุ่งไปสู่การเป็นอันดับหนึ่งของตลาดโลก ฉะนั้นจะต้องเพิ่ม การศึกษาให้ครอบคลุมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ต้นทุนถูกกว่าไทยอย่างไร โดยเฉพาะต้อง ศึกษาจีนที่เป็นตลาดใหญ่ด้วยว่ามียุทธศาสตร์อย่างไร • จะต้องตัง้ เป้าหลัก 3 สิง่ คือทำอย่างไรให้สนิ ค้า 1) ถูกทีส่ ดุ 2) มูลค่าสูงสุด และ 3) คุณค่า สูงสุด และเรื่องสำคัญที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงคือความมั่งคงทางอาหารที่จะต้องตระหนักถึงด้วย • จะต้องมีการพัฒนาให้ความรู้แก่ผู้ที่อยู่ในวงจรให้มีความรู้เทียบเท่ากัน ตลอดจนไปช่วย พัฒนาให้ความรู้แก่ประเทศเพือ่ นบ้านให้มมี าตรฐานผลผลิตทีด่ ีด้วย ไม่ควรมองประเทศเพือ่ นบ้าน เป็นคู่แข่ง • ควรทำการศึกษาการปลูกมันสำปะหลังยั่งยืน และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันสมาคมฯ กำลังทำโครงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ยั่งยืนอยู่ ซึ่งจะใช้เป็นมาตรฐานนำสำหรับการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ในระดับอาเซียนด้วย ความคิดเห็นอื่นๆ ที่ได้จากที่ประชุม • ควรมองในมุมทั้งของอาเซียนไม่เฉพาะแค่ไทย และควรพัฒนาเพื่อนบ้านเพื่อให้เป็นฐาน ผลิตของไทย โดยเฉพาะประเทศที่มีระบบโลจิสติกส์ที่ง่าย เช่น กัมพูชา และควรวางแผนระยะยาว อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเกษตรค่อนข้างใช้เวลา • การปลูกมันสำปะหลังของไทยมีความซับซ้อนสูงถือเป็นจุดแข็งทำให้ต่างประเทศเข้าสู่ ธุรกิจได้ยาก อีกทั้งธุรกิจมันสำปะหลังของไทยเองมีความร่วมมือกันสูงมาก ภาครัฐต้องมาเป็น เจ้าภาพ และมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

52

• ควรมีการกำหนดสัดส่วนเป้าหมายของการใช้ประโยชน์ระหว่างการใช้มันสำปะหลังเพื่อ การผลิตอาหารอาหารสัตว์ และพลังงาน จัดทำโดย นายอรรถพล ชินภูวดล 2 พฤษภาคม 2557




ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ 

โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. 

Market Leader

บทวิเคราะห์สถานการณ์

ข้าว ราคาข้าวเฉลี่ย เดือนพฤษภาคม 2557 ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 14,100 บาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียว เมล็ดยาว 13,100 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และ 0.8 ตามลำดับ ขณะที่ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 6,994 บาท/ตัน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.1 สอดคล้องกับราคา FOB ข้าวขาว 5% ที่ลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 394 ดอลลาร์ สหรัฐฯ/ตัน ส่วนราคา FOB ข้าวหอมมะลิ อยู่ที่ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ยังทรงตัวต่อเนื่อง จากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวไทย 5% และ 25% ในตลาดโลกเดือนเมษายน 2557 อยูท่ ี่ 395 และ 352 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.4 และ 3.8 ตามลำดับ

ที่มา : FAO (May 2014)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

53


สถานการณ์ข้าว ราคาข้าวเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ลดลงต่อเนื่องโดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า 5% เนื่องจากการ เร่งระบายสต๊อกข้าวในช่วงฤดูกาลทีผ่ ลผลิตข้าวออกสูต่ ลาดมากขึน้ สำหรับราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากความต้องการของตลาดยังคงมีตอ่ เนือ่ งโดยเฉพาะ ข้าวคุณภาพ เช่น ข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดโลก ทั้งนี้ รายงานกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ผลการประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลผ่าน ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ทั้งหมด 8 ครั้ง รวมปริมาณข้าวที่อนุมัติ ขายไปแล้วทัง้ สิน้ 480,924 ตัน คาดว่ารัฐบาลจะมีรายได้จากการระบายข้าว คิดเป็นมูลค่า 6,082 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการทยอยรับมอบข้าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 จนถึง กรกฎาคม 2557

คาดการณ์ราคาเดือนมิถุนายน 2557 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาเฉลีย่ ข้าวเปลือกเจ้า 5% จะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.061.0 อยู่ที่ราคา 6,900-7,000 บาท/ตัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และความ ต้องการสั่งซื้อของผู้ประกอบการที่ชะลอลง สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.5-1.0 อยูท่ รี่ าคา 14,000-14,200 บาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวจะเพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 0.5-0.8 อยูท่ รี่ าคา 13,100-13,200 บาท/ตัน เนือ่ งจากความต้องการของ ตลาดข้าวคุณภาพ เช่น ข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม คาดว่าทิศทางราคาข้าว มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น ภายหลังจากหมดฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาด เนื่องจากประสบปัญหา ภัยแล้ง และเกษตรกรส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีทุนเพียงพอสำหรับปลูกข้าวฤดูนาปรัง ได้ชะลอการทำนา ไว้ก่อน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เดือนพฤษภาคม 2557 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 8.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11.42 0.63 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

54

ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์สง่ ออก (F.O.B.) เท่ากับ 9.43 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ

สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเดือนพฤษภาคม 2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เข้าสู่ตลาดลดลง เพราะอยู่ในช่วงฤดูเพาะปลูก ขณะที่ความต้องการใช้ผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเพิ่มขึ้น


หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ว่า พื้นที่เพาะปลูก ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ปี 2557/58 คาดว่าจะลดลง เนือ่ งจากปีทผี่ า่ นมาราคาปรับตัวลดลง เกษตรกร จึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า อาทิ อ้อย รวมถึงพื้นที่สวนยางพาราซึ่ง เกษตรกรปลูกแซมระหว่างรอผลผลิตจากยางพารา เมื่อยางพาราพร้อมให้ผลผลิตจึงยกเลิกการ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลง สำหรับผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศ เหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ปี 2557/58 ในเดือนมิถนุ ายน ทัง้ นีก้ ารส่งออก ปี 2557 คาดว่าจะลดลง เนื่องจากในปี 2556 มีการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามมาตรการแทรกแซงตลาด ซึ่งทำให้ ราคาขายปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การผลิตลดลง และผู้ประกอบการยังคงมีความต้องการใช้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 15 พฤษภาคม 2557)

คาดการณ์ราคาเดือนมิถุนายน 2557 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ จะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.00-2.50 อยู่ที่ราคา 7.80-7.92 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 จะเริ่มเก็บเกี่ยวในเดือนมิถุนายน ทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังทรงตัว ส่งผลให้ราคาลดลงจากเดือนก่อน

ราคามันสำปะหลัง เดือนพฤษภาคม 2557 ราคาหัวมันสำปะหลังสดทีเ่ กษตรกรขายได้ 2.16 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0 ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 7.12 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

มันสำปะหลัง

55


หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2557 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.32 ล้านไร่ และผลผลิต 29.20 ล้านตัน คาดว่าเดือน พฤษภาคม 2557 ผลผลิตจะออกสูต่ ลาด 0.89 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 3.07 ของผลผลิตทัง้ หมด โดยออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนมกราคม 2557 ประมาณ 5.38 ล้านตัน (ร้อยละ 18.81 ของ ผลผลิตทั้งหมด)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

56

ราคาที่เกษตรกรขายได้เดือนพฤษภาคม 2557 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมี ฝนตกในหลายพืน้ ที่ ทำให้เชือ้ แป้งมันสำปะหลังลดลง ส่งผลทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังทีเ่ กษตรกร ขายได้ลดลง ทั้งนี้ สถานการณ์มันสำปะหลังปี 2557 คาดว่าราคามันสำปะหลังจะปรับตัวสูงขึ้น จากปี 2556 (เฉลี่ยทั้งปี 2.10 บาท) โดยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2557 ราคามัน สำปะหลังที่เกษตรกรรขายได้ ณ ไร่นา เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.20 บาท โดยประเทศจีนซึ่ง เป็นคู่ค้าหลักของไทย ยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการใช้ภายในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย อีกทั้ง กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานผลการระบาดของเพลี้ยแป้ง ใน 12 จังหวัด รวมพื้นที่ 8,138 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ เกิดการระบาดเพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ไร่ โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เกิดการระบาด เกิดในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือน และเกิด การระบาดค่อนข้างรวดเร็ว เนื่องจากเพลี้ยแป้งซึ่งติดมากับท่อนพันธุ์ที่เกษตรกรนำมาปลูก รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการระบาด หากเปรียบเทียบกับปีก่อน ถือว่าไม่รุนแรงมากนัก และยังสามารถควบคุมได้ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินมาตรการ เบื้องต้น คือ การปล่อยแตนเบียน และแมลงช้างปีกใสตามพื้นที่ที่พบการระบาด เพื่อควบคุมการ ระบาดของเพลี้ยแป้ง


คาดการณ์ราคาในเดือนมิถุนายน 2557 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลังทีเ่ กษตรกรขายได้จะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2-1.2 อยู่ที่ราคา 2.13-2.15 บาท/กก. เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้คุณภาพ มันสำปะหลังลดลง ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ลดลง

ปาล์มน้ำมัน ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ย เดือนพฤษภาคม 2557 ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้เท่ากับ 3.26 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 12.83 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 4.04 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 6.88

สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมการค้าภายใน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤษภาคม 2557 ปรับตัวลดลง จากเดือนก่อน เนื่องจากสภาพอากาศของไทย มีการปรับเปลี่ยนจากฤดูแล้งไปสู่ฤดูฝน ทำให้ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลง ในขณะที่กลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามมีความต้องการสต๊อก น้ำมันพืช ทั้งน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันปาล์ม เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะก่อนที่จะ ถึงช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิมในเดือนรอมฎอน ซึง่ ปีนกี้ ำหนดเริม่ วันที่ 28 มิถนุ ายน 2557 ทัง้ นี้ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 คาดว่าการนำเข้าน้ำมันปาล์มของตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น สอดคล้อง กับรายงานของออยเวิลด์ (Oil World) ทีค่ าดว่าไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2557 (เดือนเมษายน-มิถนุ ายน) จะมีปริมาณการนำเข้าน้ำมันปาล์มของตลาดโลกประมาณ 10.50 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 9.60 ล้านตัน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 9.38 โดยคาดว่าจะนำเข้าน้ำมันปาล์ม จากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ตามลำดับ

57


คาดการณ์ราคาในเดือนมิถุนายน 2557 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 0.25-3.55 อยู่ที่ราคา 3.27-3.39 บาท เนื่องจากสภาพอากาศของไทย ที่เป็นช่วงรอยต่อของ ฤดูแล้ง และพายุฝนตกหนักในพืน้ ทีเ่ พาะปลูกของไทย ทำให้เกษตรกรเก็บผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ ตลาดได้น้อยลง ส่งให้ราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ความ ต้องการใช้ปาล์มน้ำมันในตลาดโลกยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล รอมฎอนเช่นทุกปี

ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อเดือนพฤษภาคม 2557 ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 42.49 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนร้อยละ 2.61 ราคาขายส่งไก่เนื้อมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ย เท่ากับ 41.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.13

สถานการณ์ ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤษภาคม 2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจาก สภาพอากาศที่ร้อนทำให้ไก่เติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณไก่เนื้อในตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการ บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพราะสถานศึกษาเปิดภาคเรียนแล้ว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

58

ปี 2557 คาดว่าผลผลิตไก่เนือ้ ทัง้ หมด 1,440 ล้านตัว จำแนกเป็นเนือ้ ไก่ประมาณ 2,132 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 13.0 สำหรับสัดส่วนปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ ในประเทศ และการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 70.0 และร้อยละ 30.0 ของผลผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ ตลาดเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดี คาดว่าราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้เฉลีย่ ทัง้ ปี ประมาณกิโลกรัมละ 42 บาท ด้านการส่งออกสินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย ปี 2557 ยังคงมีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 5 ของโลก โดยตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากมีการอนุญาตให้ไทยส่งไก่สดเข้าไป จำหน่ายได้เมื่อช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมา และกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการ เจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) เพิม่ โควต้าส่งไก่สด รวมถึงเกาหลีใต้ และกลุม่ ประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายใหม่ในอนาคต (กรมปศุสัตว์, 15 พฤษภาคม 2557)


หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

คาดการณ์ราคาไก่เนื้อเดือนมิถุนายน 2557 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้จะเพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 1.002.00 อยู่ที่ราคา 42.91-43.34 บาท/กก. เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดทรงตัว ส่วนความ ต้องการบริโภคเนื้อไก่มีอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

กุ้งขาวแวนนาไม ราคากุ้งขาวแวนนาไม เดือนพฤษภาคม 2557 ราคากุ้งขาวแวนนาไมที่เกษตรกรขายได้ 230.85 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.71 ราคาขายส่งกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร 198.42 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 25.82 ราคากุ้งขาวแวนนาไมในเดือนพฤษภาคม 2557 ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากการ ชะลอคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ ในปี 2557 กรมประมงคาดว่าผลผลิตกุ้งไทยจะอยู่ที่ ประมาณ 250,000 ตัน ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 350,000 ตัน เพราะปัจจัยคุกคามการเลี้ยงกุ้งในประเทศ คือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างมาก การระบาดของโรค ตายด่วน (EMS) ที่ยังมีอยู่ และเกษตรกรยังต้องระวังโรคตัวแดงดวงขาว ซึ่งเป็นโรคระบาด ในกุ้ง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งชะลอการปล่อยลูกกุ้งตามปกติของรอบการเลี้ยง โดยแนวทาง การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ได้แก่ การจัดทำ Monitoring Report สำหรับผู้บริหารในสินค้ากุ้ง ทะเลและผลิตภัณฑ์เป็นรายเดือน (การผลิต การตลาด และการค้า) และการผลิตจุลินทรีย์ ปม.1 เพื่อใช้ป้องกัน และยับยั้งโรคกุ้งตายด่วน ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวคือ การเร่งแก้ไขปัญหา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม

59


หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ด้านการค้า โดยเฉพาะการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ประเด็นการใช้แรงงานเด็ก และแรงงาน บังคับ (Forced Labour) ในอุตสาหกรรมกุ้งไทย รวมทั้งการที่สหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทาง ภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้ากุ้งไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผลผลิตกุ้งจะออกสู่ตลาดน้อย แต่ราคากุ้งยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ซึ่งมี สาเหตุมาจากคำสั่งซื้อกุ้งจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไทยชะลอตัวลง เนื่องจากสหรัฐฯ ประเมินว่าปริมาณสต๊อกกุ้งทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง จึงชะลอการซื้อกุ้งไทย

คาดการณ์ราคาในเดือนมิถุนายน 2557 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะลดลง จากเดือนก่อนร้อยละ 4.7013.36 อยู่ที่ราคา 200-220 บาท/กก. เนื่องจากการชะลอคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

60


61

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557


Market Leader

จับตาสินค้าเกษตรปี 57

ไก่เนื้อ ทุเรียน สดใส-ยางวูบ สศก.เปิดโผสินค้าเกษตรน่าจับตาปี 57 สถานการณ์ยางพารายังวิตก เผยรายชื่อ 6 สินค้าเฝ้าระวัง ขณะทีไ่ ก่เนือ้ และทุเรียน อนาคต สดใส นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ รองเลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผย ถึ ง ผลวิ เ คราะห์ แ นวโน้ ม ตลาดผลผลิ ต การ เกษตร และปศุสัตว์ ปี 2557 ว่ามีกลุ่มสินค้า น่าจับตาจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มสินค้าสดใส ประกอบด้วย ไก่เนื้อ และ ทุเรียน 2. กลุ่มสินค้าน่าเป็นห่วง ได้แก่ ยางพารา และ 3. กลุม่ สินค้าเฝ้าระวัง ประกอบด้วย ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

62

สำหรับไก่เนื้อ สศก. คาดว่าจะมีการ ผลิตเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.35 เทียบกับปริมาณของ ปี 2556 โดยตลาดมีแนวโน้มที่ดีในประเทศ ญี่ปุ่นซึ่งอนุญาตให้ไทยส่งไก่สดไปจำหน่ายได้ เมื่ อ ช่ ว งปลายปี ที่ ผ่ า นมา และกลุ่ ม สหภาพ ยุโรป (EU) ซึ่งไทยกำลังเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) เพิ่มโควต้าส่งไก่สดอยู่ รวมถึงแนวโน้ม ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ในประเทศเกาหลีใต้ และ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเป้าหมายการตลาด ด้านทุเรียน คาดว่าปี 2557 นี้ จะมี ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 โดยผลผลิตจะ ออกมากในเดือน พ.ค.-มิ.ย. แม้ปริมาณส่งออก ต่างประเทศจะหดตัวลง แต่มูลค่าจะสูงขึ้นตาม ราคาทุเรียน รวมถึงปริมาณการบริโภคภายใน ที่จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 9.59 ส่วนกลุ่มสินค้าน่าเป็นห่วงคือ ยางพารา นั้น สศก. คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 3.95 ล้านตัน เพิ่มจากปี 56 ร้อยละ 4.5 เพราะ พื้นที่กรีดยางส่วนใหญ่อยู่ในช่วงให้ผลผลิตสูง และมีการเปิดกรีดหน้ายางใหม่มากขึ้น ส่วน ตลาดส่งออกคาดว่าจะส่งออกได้ 3.7 ล้านตัน แต่ราคาจะปรับลดลงอีกเพราะสต๊อกยางล้น ตลาด และราคายางคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ถูกกว่าของไทย ส่วนกลุ่มสินค้าที่ต้องเฝ้าระวัง 6 ชนิด นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อธิบดีกรมประมง กล่าว ถึงสถานการณ์กงุ้ ขาวแวนนาไมซึง่ กำลังมีปญ ั หา


ด้านข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ซึง่ จะเริม่ เก็บเกีย่ ว ในเดื อ น มิ . ย. จะให้ ผ ลผลิ ต รวมเพิ่ ม มากขึ้ น เพราะสภาพอากาศอำนวย แต่ตลาดส่งออกจะ หดตัวลง เพราะเมือ่ ปี 56 มีการส่งออกไปมาก จากมาตรการส่ ง เสริ ม และแทรกแซงราคา ตลาด อย่างไรก็ตาม การบริโภคภายในจะเพิ่ม ขึ้นเพราะผู้ประกอบการปศุสัตว์ต้องการสินค้า

รวมถึงปัญหาตลาดส่งออกกุ้งของไทย ปี 57 อยู่ในภาวะแข่งขันรุนแรง เพราะสิทธิ GSP ของไทยกับสหภาพยุโรปเพิ่งสิ้นสุดไป เมื่อสิ้นปี 56 และปัญหาอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้ง ไทยถูกเพ่งเล็งเรือ่ งใช้แรงงานเด็กและค้ามนุษย์ จนถูกจัดให้อยู่ในบัญชี Tier 2 Watch List ดังนั้น ราคากุ้งที่เกษตรกรขายได้จึงจะปรับ ตัวลดลงเพราะผู้ประกอบการแปรรูปไม่กล้า สต๊อกกุ้งจำนวนมาก และหันไปซื้อกุ้งจากต่าง ประเทศมาแปรรูปแทน ส่วนข้าวนาปรัง ผลวิเคราะห์ของ สศก. รายงานว่า ผลผลิตข้าวนาปรังไทยจะลดลง แต่ มีแนวโน้มส่งออกปริมาณข้าวมากขึ้นประมาณ 8 ล้ า นตั น ข้ า วสาร จากความต้ อ งการของ ตลาดทีย่ งั ต้องการข้าวอยู่ และราคาข้าวไทยลด ต่ำลง แต่เนื่องจากปริมาณผลผลิตของคู่แข่ง สำคัญคือ เวียดนาม จะออกสู่ตลาดมากขึ้น ดังนั้นราคาข้าวคาดว่าจะลดลงอีก

ทางด้านปาล์มน้ำมัน ผลผลิตโดยรวม ที่จะออกสู่ตลาดปี 57 จะเพิ่มขึ้นเพราะปาล์ม น้ำมันที่ปลูกใหม่เมื่อปี 54 เริ่มให้ผลผลิต และ คาดว่าการส่งออกปาล์มน้ำมันจะลดน้อยลง โดย ผลผลิตจะถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำไบโอดีเซล ในประเทศมากขึ้นแทน หมู ปี 57 นี้ คาดว่าจะมีหมูออกสูต่ ลาด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.61 เพราะราคาที่จูงใจ และ ราคาอาหารสัตว์ที่ลดต่ำลงทำให้เกษตรกรที่มี ศักยภาพขยายการผลิต โดยเนื้อหมูแปรรูป จะส่งออกได้มากขึ้น และหมูมีชีวิตที่ส่งออกไป ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกัมพูชาจะเพิ่มขึ้น เช่นกัน เพราะหมูประเทศเพื่อนบ้านได้รับผล กระทบจากโรคระบาด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ผลผลิตลดลง เพราะถึงแม้ว่าราคาจะจูงใจให้ เกษตรกรลงกุง้ เพิม่ แต่การเลีย้ งยังประสบปัญหา โรคตายด่วน (EMS) อยู่ ซึ่งหวังว่าปี 57 นี้ จะสามารถกระตุ้นให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 แสนตัน

อ้อยโรงงาน จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 เทียบกับปริมาณในปี 56 เนื่องจากมี การส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย และ พืชอื่น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปรับราคาลง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อย มากขึ้ น โดยคณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบ กำหนดราคาอ้อยขัน้ ต้น ฤดูการผลิตปี 56/57 ในอัตรา 900 บาท/ตัน ที่ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส และกำหนดอัตราขึน้ /ลง ของราคา อ้อยที่ 54 บาท/1 หน่วย ซี.ซี.เอส/เมตริกตัน

63


Market Leader

เร่งล้อมคอก ขจัดโรค

ไทยทวงแชมป์ส่งออก

"ไก่สดแช่แข็ง"

ขณะที่ ห ลายประเทศทั่ ว โลกเกิ ด การ แพร่ ร ะบาดของโรคไข้ ห วั ด นก และพบการ กลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสในบางประเทศ โดย เฉพาะช่วงเดือนมีนาคม เมษายน แม้จะเริ่ม เข้าสู่ช่วงหน้าร้อน แต่จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม และประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนือ่ ง และมีผเู้ สียชีวติ ถึง 12 คนแล้วในปีนี้ แต่ในทางตรงกันข้าม ปีนกี้ ลับกลายเป็น ปีทองในการส่งออกไก่ของประเทศไทย โดย นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รักษาการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศ อย่ า งชั ด เจนว่ า ประเทศไทยปลอดจากการ แพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกติดต่อกันมาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเกิดการ ระบาดของไข้ ห วั ด นกในจั ง หวั ด ต่ า งๆ ของ ประเทศไทยตลอดช่ ว งปี ที่ ผ่ า นมา มาถึ ง ปัจจุบันเป็นเพียง "ข่าวลือ" เท่านั้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

64

ตอกย้ำความน่าเชื่อถือมากขึ้น เมื่อกรม ปศุสัตว์ และบริษัทส่งออกทั้งหลายได้พยายาม ผลักดันให้หลายประเทศยอมเปิดตลาดนำเข้า

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 เม.ย. 2557

ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยกลับคืนมา หลังเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก ตั้งแต่ปี 2547 หรือประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ ก ารส่ ง ออกไก่ ไ ทยผงาดขึ้ น มา อีกครั้ง

ลุยทวงคืนตลาดไก่สดจากบราซิล หลังจากที่ตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป (อีย)ู กับญีป่ นุ่ เพิง่ อนุมตั ใิ ห้ประเทศไทยส่งไก่สด เข้าไปขายได้เหมือนเดิมเมื่อช่วงปลายปี 2556 นายคึ ก ฤทธิ์ อารี ป กรณ์ ผู้ จั ด การสมาคม ผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ทางสมาคม ผูผ้ ลิตไก่เพือ่ ส่งออกไทย คาดการณ์วา่ ภาพรวม ปี 2557 จะสามารถส่งออกไก่ได้ประมาณ 630,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 84,000 ล้ า นบาท หรื อ เพิ่ ม ขึ้ น ประมาณ 19.84% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่ส่งออกได้ประมาณ 525,682 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70,944 ล้านบาท


ที่มา : สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย

ทั้งนี้ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น ไทยเริ่ม ส่งออกไก่สดไปเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 คาด ว่าภาพรวมจะส่งออกได้ประมาณ 300,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 42,300 ล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ประมาณ 42.14% เทียบกับปีกอ่ น โดยจำนวนนี้แบ่งเป็นไก่สดประมาณ 90,000100,000 ตัน และคาดว่าภายใน 2-3 ปี ไทย จะสามารถดึงตลาดไก่สดในญี่ปุ่นกลับคืนมาได้ ประมาณ 200,000 ตัน หรือครึง่ หนึง่ ทีบ่ ราซิล ส่งออกอยู่

แทนไปหมดแล้ว ไทยส่งออกไก่ปรุงสุกได้อย่าง เดียว ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นเปิดให้นำเข้าไก่สดได้ ไทยต้องเร่งทวงตลาดคืนกลับมาจากบราซิล

ในอดีตก่อนเกิดไข้หวัดนก ประเทศไทย เป็นผูส้ ง่ ออกไก่สดอันดับหนึง่ ด้วยซ้ำ แต่ปจั จุบนั ได้ถูกคู่แข่งสำคัญอย่างบราซิลเสียบตลาดทด-

นำเข้ า เพราะมี ค วามตกลงหุ้ น ส่ ว น เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ส่งผลให้ไทย เสี ย ภาษี น ำเข้ า ไก่ ส ด 8.5% ขณะที่ บ ราซิ ล

ไทยมีความได้เปรียบบราซิลเรื่องภาษี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

การส่งออกไก่ปรุงสุกไปตลาดญี่ปุ่นช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ปี 2556 ไทยส่งออกไก่ ปรุงสุกไปตลาดญี่ปุ่นประมาณ 211,061 ตัน ถือว่าลดลงจากปี 2555 ส่งออกได้ประมาณ 222,358 ตัน หรือลดลงประมาณ 5%

65


เสียภาษีนำเข้าไก่สด 11.9% ด้านไก่แปรรูป ไทยเสี ย ภาษี 3% ขณะที่ จี น คู่ แ ข่ ง สำคั ญ เสียภาษี 6% ส่วนบราซิลไม่ได้ทำไก่แปรรูป ส่งญี่ปุ่น ส่วนตลาดไก่ของอเมริกาในญี่ปุ่น ตลอด 20 ปีทผี่ า่ นมาไม่ได้เพิม่ ขึน้ เฉลีย่ ขึน้ ลงประมาณ 30,000-40,000 ตัน อเมริกาจะส่งเป็นไก่ติด กระดูก เช่น น่องไก่เข้าไปให้ญี่ปุ่นเลาะกระดูก เอง แต่ความต้องการในตลาดน้อย เพราะญีป่ นุ่ ไม่มีแรงงานเลาะกระดูก ตอนนี้ตลาดญี่ปุ่นถือว่ามีแนวโน้มสดใส เนือ่ งจากนโยบายเปิดให้นกั ท่องเทีย่ วเข้าไปโดย ไม่ต้องมีวีซ่า จะทำให้มีความต้องการบริโภค ภายในเพิ่มขึ้น

หวัง FTA โควตาเพิ่ม-ภาษี 0% สำหรับตลาดอียูปี 2557 คาดการณ์ว่า จะส่งออกได้ประมาณ 250,000 ตัน คิดเป็น มูลค่าประมาณ 32,700 ล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ประมาณ 2.31% เทียบกับปีก่อน การส่งออก ไก่ไปตลาดอียูไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะเป็นการ ส่งออกผ่านระบบโควตาเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ มี ก ารส่ ง ออกไก่ ป รุ ง สุ ก นอกโควตาประมาณ 10,000 ตัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

66

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 อียูกำหนดโควตา และการเสียภาษีนำเข้าให้ ประเทศไทย 3 ประเภท ได้แก่ 1. ไก่หมักเกลือ 92,000 ตัน ในโควตาภาษี 15.4% (ถ้านอก โควตาภาษี 1,300 ยูโรต่อตัน) 2. ไก่สด 5,100 ตั น ในโควตาไม่ เ สี ย ภาษี (นอกโควตาภาษี 1,024 ยูโรต่อตัน) และ 3. ไก่ปรุงสุก 174,000

ตัน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (1) ไก่ปรุงสุก (ที่ มี เ นื้ อ ไก่ ม ากกว่ า 57%) 160,000 ตั น ในโควตาเสียภาษี 8% (นอกโควตาแล้วแต่พิกัด ทั่วไปเสียภาษี 1,024 ยูโรต่อตัน)+ไก่ปรุงสุก (ที่มีเนื้อไก่น้อยกว่า 57%) 14,000 ตัน ใน โควตาเสียภาษี 10.9% (นอกโควตาเสียภาษี 2,700 ยูโรต่อตัน) ขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่างบราซิล ทางอียู กำหนดโควตาเช่นกัน ไก่หมักเกลือ 170,000 ตัน ไก่ปรุงสุกมีโควตา 70,000 ตัน ส่วนไก่สด อี ยู ไ ม่ มี โ ควตาให้ บ ราซิ ล ส่ ง ให้ ต้ อ งเสี ย ภาษี 1,024 ยูโรต่อตัน ถึงแม้บราซิลจะเสียภาษี ไก่สดมาก แต่ปริมาณการส่งออกไปตลาดอียู ยังมาก เพราะต้นทุนการผลิตของบราซิลต่ำ เมื่อนำต้นทุนทั้งหมดมาถัวเฉลี่ยกัน ทำให้ยังมี กำไรส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย พยายาม ผลักดันให้ทางอียูทบทวนการเพิ่มโควตานำเข้า ไก่ แต่ไม่ได้รับการตอบรับ และล่าสุดในการ เจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-อียู ทาง สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้ผลักดันผ่าน กระทรวงพาณิชย์ใน 2 ประเด็นคือ 1) ขอ โควตาส่ ง ออกไก่ เ ข้ า ไปในอี ยู เ พิ่ ม 2) ไม่ มี ภาษี ใ นโควตาหรื อ ภาษี 0% แต่ จ นถึ ง วั น นี้ การเจรจา FTA ไทย-อียู ยังไม่มคี วามก้าวหน้า เนื่ อ งจากภายใต้ รั ฐ บาลรั ก ษาการทำให้ ไ ม่ สามารถตัดสินใจทำข้อตกลงต่างๆ ได้ ดังนั้น ความล่าช้าในการเจรจาทีเ่ กิดขึน้ นำมาซึง่ ความ สูญเสียประโยชน์ทางการค้า


ลุ้นบุกตลาดเกาหลี-ซาอุฯ ล่าสุดทางกรมการค้าต่างประเทศ ร่วม กับกรมปศุสัตว์ ได้พยายามช่วยผู้ส่งออกผลัก ดันการเปิดตลาดไก่สด และไก่ปรุงสุกให้ขยาย ตั ว เพิ่ ม ขึ้ น โดยเฉพาะตลาดเกาหลี ภาพรวม นำเข้ า ไก่ จ ากทั่ ว โลกประมาณ 130,000150,000 ตันต่อปี ปัจจุบันไทยส่งไก่ปรุงสุก เข้าตลาดเกาหลีประมาณ 12,000-14,000 ตัน ก่อนเกิดไข้หวัดนก ไทยเคยส่งออกไก่สด ไปเกาหลี ถึ ง 40,000 ตั น ต่ อ ปี ตอนนี้ ถู ก คู่แข่งอย่างบราซิลมาเสียบแทน ตอนนี้ทุกฝ่าย พยายามจะดึงตลาดไก่สดกลับคืนมา

ขณะที่ตลาดอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ตลาด ตะวันออกกลาง มีแนวโน้มจะส่งออกไก่แปรรูป ได้เพิ่มขึ้น เดิมไทยเคยส่งไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ประมาณ 2,000-3,000 ตัน ต่อปี ปัจจุบันเพิ่มมาเป็น 9,000-10,000 ตัน ความต้ อ งการของตะวั น ออกกลางจะเน้ น ไก่ เป็นตัว ขนาดเล็ก และอนาคตตลาดซาอุฯ ซึ่ง เป็นตลาดใหญ่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ มี ต ลาดรั ส เซี ย ปกติ ไ ทย ส่งออกประมาณ 8,000 ตันต่อปี และตลาด แอฟริกาใต้ ไทยส่งออกประมาณ 7,000 ตัน รวมถึงตลาดมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม การส่งออกไก่ของไทย จะไปได้สวยอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ และ พยายามผลักดันจะไปได้ถึงฝั่งฝันหรือไม่ คงขึ้น กับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครั ฐ และภาคเอกชน จะต้ อ งร่ ว มมื อ กั น ประสานประโยชน์ ทั้งกรมปศุสัตว์ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผูค้ วบคุมกฎระเบียบ ผู้ เ ลี้ ย ง ผู้ ส่ ง ออก ผู้ ข ายอาหารสั ต ว์ ที่ ดู แ ล ผลประโยชน์ของตัวเอง ต้องช่วยกันควบคุม เรื่องสารตกค้าง เชื้อโรคต่างๆ ให้ดี โดยเฉพาะ สิ่ ง ที่ ป ระเทศคู่ ค้ า สำคั ญ หลายประเทศกั ง วล และเฝ้าจับตามองอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อซัลโมเนลลา, โรคนิวคาสเซิล และโรคร้ายแรงอย่าง "ไข้หวัดนก" ให้ดี เนื่องจากประเทศรอบบ้าน ของไทยกำลังระบาดกันอย่างน่ากลัวทีเดียว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

โดยทางเกาหลี ไ ด้ ส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ เ ข้ า มา ตรวจสอบโรงงานตั้งแต่ปี 2555 ตอนนี้อยู่ ระหว่างกรมปศุสัตว์ตอบแบบสอบถามกลับไปมากับทางเกาหลี ซึง่ แหล่งข่าวในวงการส่งออก ไก่คาคการณ์ว่า ทางเกาหลีจะอนุมัติให้ไทย ส่งไก่สดเข้าไปได้ประมาณช่วงไตรมาส 4 ของ ปี 2557 ตอนนี้ถือเป็นโอกาสทองของไก่สด นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะเกาหลีใต้กำลัง เกิดการระบาดของไข้หวัดนก ทำให้ประชาชน หันมาบริโภคไก่สดนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่ม ขึ้นแทนการบริโภคไก่ที่เลี้ยงภายในประเทศ

67


Market Leader

"โรคกุ้งตายด่วน"

อาละวาดหนัก 2 ปี เอาไม่อยู่ทุบผลผลิตลดฮวบ อากาศแปรปรวน-โรคตายด่ ว น ฉุ ด ผลผลิตกุ้งวูบหนักไม่ถึงเป้า 3 แสนตัน ลาม ส่งออก ปี'57 ไม่โต ส. อาหารแช่เยือกแข็ง ชีป้ ญ ั หากุง้ ไม่มแี ถมราคาตก หลังไทยเสียตลาด ส่ ง ออกให้ ม าเลเซี ย -อิ น โดฯ เอกชนหนี ต าย ลงทุนอินเดีย ดร.พุทธ ส่องแสงจินดา ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง เปิดเผยว่า ทางสถาบันเตรียมออกตรวจสอบ โรงเพาะฟักกุ้ง และโรงอนุบาลกุ้งทั่วประเทศ 400-500 โรง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

68

หลังจากการแก้ไขปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (อีเอ็มเอส) ตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ยังทรงตัว และยังมีโรคตัวแดงดวงขาวแทรกซ้อนอีก ส่วน ผลผลิตกุ้งขาว และกุ้งกุลาดำที่จับได้ 2 เดือน แรกปีนี้ มีปริมาณ 23,649.43 ตัน แยกเป็น กุ้งขาว 22,143.41 ตัน ลดลง 53.23% และ กุ้งกุลาดำ 1,506.02 ตัน ลดลง 43.56% สาเหตุที่ลดลงมากจากต้นปีนี้อากาศหนาวจัด ซึ่งต้องรอประเมินผลผลิตรอบเดือน พ.ค.-ก.ย. นี้ว่าจะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ 3-3.5 แสนตัน หรือไม่

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคม กุ้งตะวันออกไทย เปิดเผยว่า คาดว่าผลผลิต กุ้งเพาะเลี้ยงปีนี้จะมีเพียง 2.5 แสนตัน เท่ากับ ปีกอ่ น ต่ำกว่าเป้าหมายทีว่ างไว้ 3 แสนตัน จาก ปัญหาการจัดการ และสภาพแวดล้อมในช่วง ที่ผ่านมาอากาศร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้กุ้ง กินอาหารน้อยลง เมื่ออาหารเหลือค้าง ทำให้ น้ำในบ่อเน่าเร็ว โดยเฉพาะกุง้ ขาวทีเ่ ลีย้ งในพืน้ ที่ น้ำจืดจังหวัดฉะเชิงเทรา นครปฐม ราชบุรี ฯลฯ ปกติจะมีผลผลิตรวมประมาณปีละ 6-7 หมื่นตัน เสียหายไปกว่า 70% หรือเสียหาย ไปเกือบ 5 หมื่นตัน/ปี ส่วนการเลี้ยงกุ้งขาว ในพื้นที่น้ำเค็มหลายจังหวัด เช่น สุราษฎร์ธานี ยังไม่เลีย้ ง เพราะไม่มนั่ ใจ กำลังรอดูวา่ วิธไี หนที่ จะเลี้ยงได้ดีอยู่ เพื่อไม่ให้ขาดทุนมากไปกว่านี้ นายบุ ญ เลิ ศ ช้ า งงาม ผู้ ต รวจสอบ กิ จ การสหกรณ์ ผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง ตราดยั่ ง ยื น จำกั ด กล่าวว่า ผลผลิตยังหายไป 40-50% เมื่อ เทียบกับสถานการณ์ปกติ คาดว่าปีนี้ผลผลิต จะได้ 2.5 แสนตั น เพราะผู้ เ ลี้ ย งไม่ มั่ น ใจ ไม่กล้าลงกุ้ง ที่เคยเลี้ยง 10 บ่อเหลือเพียง 3-4 บ่ อ และอั ต รารอดลดลง 50% เมื่ อ เทียบกับปีที่ผ่านมา 1 บ่อได้ 500 กก. ถึง 1,500 กก.


"การแก้ปญ ั หาของสหกรณ์ฯ ได้จดั อบรม เรื่องระบบนิเวศให้สมาชิกอยู่เสมอ เพราะช่วง 10 กว่าวันแรกที่ปล่อยลงเลี้ยงลูกกุ้งต้องกิน อาหารจากธรรมชาติ การอบรมในการเตรียมน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง การสร้างแร่ธาตุ เพือ่ สร้างอาหารธรรมชาติให้ลกู กุง้ กินเป็นสิง่ สำคัญ มาก โดยเฉพาะช่วงนี้ลูกกุ้งที่ผลิตได้ค่อนข้าง อ่อนแอ" นายบุญเลิศกล่าว ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่ เ ยื อ กแข็ ง ไทย เปิ ด เผยว่ า มู ล ค่ า การส่ ง ออกอาหารแช่ เ ยื อ กแข็ ง ในปี นี้ น่าจะมีมลู ค่า 1 แสนล้านบาททรงตัว ใกล้เคียง กับปี 2556 โดยแยกเป็นมูลค่าในส่วนของกุ้ง 60,000 ล้านบาท ในส่วนปลา ปลาหมึก มูลค่า 30,000-40,000 ล้ า นบาท เพราะยั ง ติ ด ปัญหากุง้ ตายด่วนไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมกันแก้ไขในปี 2558 น่าจะดีขึ้น แต่ไทย กำลังจะถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (จีเอสพี) ในปี 2558 มีผลให้ไทยเสียความ สามารถในการแข่งขัน ทางเอกชนหวังว่ารัฐบาล จะเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อียู แต่

ปั ญ หาภายในประเทศ ส่ ง ผลให้ ไ ม่ ส ามารถ เจรจาให้สำเร็จลุล่วงได้โดยเร็ว นอกจากนี้ สินค้าประมงถูกกล่าวหาว่า ใช้แรงงานเด็ก ทุกหน่วยงานทัง้ ภาครัฐ เอกชน พยายามเร่งแก้ไข ด้านนายผณิศวร ชำนาญเวช ทีป่ รึกษา สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ราคากุ้งขนาด 100 ตัว/กก. จำหน่ายราคา 140 บาท จากเดิมราคา 200-230 บาท เพราะหลังจากไทยมีปัญหาอีเอ็มเอสไม่มีสินค้า ทำให้ผู้นำเข้าหันไปสั่งซื้อสินค้าจากแหล่งผลิต อืน่ เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซียแทน ราคากุง้ ใน 2 แหล่งนี้ปรับสูงขึ้น "แม้ว่าในปีที่ผ่านมา ผู้ส่งออกนำเข้ากุ้ง ต่างประเทศมาเป็นวัตถุดิบ แต่นำเข้าได้เพียง 16,000 ตัน ยังไม่สามารถชดเชยปริมาณผล ผลิตกุ้งที่เคยผลิตได้ปีละ 6 แสนตัน เหมือน เอาเนื้อหนูมาปะเนื้อช้าง ในอนาคตไม่เพียงจะ สูญเสียตลาดให้คู่แข่ง แต่ยังมีโอกาสเสียตลาด ให้สินค้าประมงชนิดอื่น เช่น ปลาแซลมอน และหากไทยถูกอียูตัดสิทธิจีเอสพี จะต้องเสีย ภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% เช่น เดิมได้ สิทธิจีเอสพีทำให้เสียภาษี 4% ตัดสิทธิจะต้อง เสียภาษี 14% ผู้ส่งออกบางรายได้ขยายฐาน การผลิตไปแหล่งผลิตกุ้งอื่น เช่น อินเดีย ส่วน ผูเ้ ลีย้ งปรับพฤติกรรมเลีย้ งกุง้ ขนาดเล็กระยะแค่ 3 เดือน ก็เอามาขายกำไร 1% ดีกว่าเสี่ยงกับ โรคกุ้งตายด่วนที่มีโอกาสตาย 50% ตอนนี้ โรงงานจึงต้องลดการจ้างแรงงาน บางราย ยอมจ่ายค่าจ้าง 75% ลดเวลาทำงาน หรือลด จำนวนพนักงานลงประมาณ 50% แล้ว"

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

สาเหตุหลักมาจากพ่อแม่พนั ธุก์ งุ้ ของไทย เหลื อ น้ อ ย และขาดแคลน ลู ก กุ้ ง ที่ ผ ลิ ต ได้ อ่อนแอ อัตราการตายภายใน 1 สัปดาห์หลังจาก ปล่อยลงบ่อสูงขึ้น หากเกษตรกรซื้อลูกกุ้งจาก บริ ษั ท ใหญ่ ค รบวงจรต้ อ งซื้ อ อาหารกุ้ ง ด้ ว ย เรื่องนี้กรมประมงต้องลงมาแก้ไข รวมทั้งต้อง ช่วยเจรจานำเข้าพ่อแม่พนั ธุก์ งุ้ จากต่างประเทศ มาเสริม เพราะผู้นำเข้ารายเล็กไม่สามารถสู้ รายใหญ่ครบวงจรที่สามารถบล็อกออร์เดอร์ จากแหล่งผลิตชั้นดีได้มากกว่า

69


Around the World

ฟาร์มไก่ไข่ 3 ล้านตัวที่ผิงกู่

เทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในโลกใช้หุ่นยนต์เลี้ยงไก่ เมือ่ โลกมีความไม่แน่นอนมากขึน้ ทัง้ สภาพภูมอิ ากาศ โรคระบาดทีส่ ร้างความเสียหาย และ ความต้องการที่ไม่เพียงพอ ทุกประเทศต่างต้องการความมัน่ คง และความปลอดภัยทางอาหารทีค่ วบคูไ่ ปกับการพัฒนา เศรษฐกิจที่มีการใช้ และทำลายทรัพยากรมากขึ้นๆ ทำอย่างไรที่จะผลิตให้มากขึ้น ปลอดภัยจาก โรคระบาด และต้นทุนถูกลง และที่สำคัญทำอย่างไรที่จะนำไปสู่ขบวนการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะจีนที่มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน มีปัญหามลพิษมากมาย จำเป็นต้องเปลี่ยน นโยบายการทำเกษตรใหม่ ไปพร้อมกับนโยบายการลดมลพิษ และดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้จีน ต้องหาพาร์ตเนอร์ผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์ทั้งความมั่นคงทางอาหาร และการ เติบโตอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันจีนเป็นประเทศใหญ่แต่มพี นื้ ทีก่ ารเกษตรไม่มากนัก ยิง่ เมืองใหญ่ๆ มีการพัฒนา จำเป็นต้องนำที่ดินภาคเกษตรมาพัฒนาในรูปแบบอื่น จึงต้องหาที่ดินอื่นมาชดเชยพื้นที่เกษตร ผืนนั้นแทน เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่เกษตรลดลง การถมทะเลเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จีนเลือกใช้ รวมทั้งวิธีการให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็น สหกรณ์ รวบรวมที่ดินเป็นผืนใหญ่เพื่อทำเกษตรแบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ประเทศจีนเคยใช้ระบบคอมมูน ต่อมายกเลิกเปลี่ยนมาเป็นการเกษตรที่ต่างคนต่างทำ ซึ่ง เกษตรกรแต่ละคนมีทดี่ นิ ไม่มากนักเช่นเดียวกับประเทศไทย บางรายต้องเช่า ทำให้ตน้ ทุนการผลิตสูง แต่วันนี้จีนกำลังปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่มาเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ใช้ระบบการทำ เกษตรแปลงใหญ่อีกครั้ง และมาพร้อมเงื่อนไขการลดมลพิษ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

70

ด้วยการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ทใี่ ช้เทคโนโลยีทนั สมัยมาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้เครือซีพีได้รับการพิจารณาให้เข้าบริหารโครงการไก่ไข่ครบวงจรที่จังหวัด ผิงกู่ ใกล้นครปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นฟาร์มไก่ไข่ 3 ล้านตัว ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และใน เอเชีย ยุโรป ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีประมาณ 6-7 ล้านตัวต่อฟาร์ม


(ซ้าย) นายสมภพ มงคลพิทักษ์สุข ผู้ดูแลโครงการผิงกู่ และ ดร.สารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์

รัฐบาลจีนจึงมีนโยบายนี้ โดยทำผ่าน โครงการเกษตรสมัยใหม่ เขาระบุเลยว่าโครงการ เกษตรสมัยใหม่ต้องใช้เทคโนโลยี และการจัด การแผนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในเชิง ปริมาณ และเชิงคุณภาพ เมื่อนโยบายรัฐบาล กลางออกมาอย่างนี้ รัฐบาลท้องถิ่นก็ต้องเอา นโยบายของรัฐบาลกลางไปดำเนินการ คือหา ผู้ร่วมทุน แต่ปัจจุบันเกษตรกรของจีนมีที่ดิน น้อยมาก โดยเฉลีย่ ประมาณ 3-4 หมูห่ รือ 1-2 ไร่ แล้วยังขาดวิชาการ ขาดเงินทุน ในขณะที่

ธนาคารมีเงินแต่ไม่รจู้ ะปล่อยกูอ้ ย่างไร เกษตรกรไม่สามารถกู้เงินได้เลยเนื่องจากไม่มีหลัก ทรัพย์ค้ำประกัน “จากปั ญ หานี้ คุ ณ ธนิ น ท์ เจี ย รวนนท์ (ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์) ได้มแี นวคิด “4 ประสาน” คือ มีภาครัฐบาล เกษตรกร ธนาคาร และ เครือซีพี มาร่วมกันทำโครงการนี้ คุณธนินท์ เสนอโครงการนี้ ต่ อ รั ฐ บาลจี น ไปตั้ ง แต่ แ ผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ปัจจุบันจีนมีแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 แล้ว ในแผนเขียนไว้ชัดเจนว่าจีนจะ เปลีย่ นจากโรงงานของโลกมาเป็นตลาดของโลก แทนที่จะเป็นผู้ผลิตมาเป็นผู้ทำตลาด ดังนั้น การทีจ่ ะทำตลาดได้ตอ้ งจัดหาเทคโนโลยีการผลิต ทีด่ เี พือ่ ให้ตน้ ทุนต่ำลง สามารถต่อสูก้ บั ตลาดได้ ซึง่ โครงการทีเ่ ครือซีพเี สนอ รัฐบาลจีนอนุมตั แิ ล้ว เช่น โครงการไก่ไข่ครบวงจร 3 ล้านตัวที่ผิงกู่ นครปักกิ่ง โครงการไก่เนื้อ 100 ล้านตัวต่อปี หมู 1 ล้านตัวต่อปี และโครงการเกษตรผสม ผสานโดยการปลูกข้าว และปลูกพืชน้ำมัน Rapeseed ในลักษณะผสมผสานทีฉ่ อื ซี นครเซีย่ งไฮ้” นายสมภพกล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

นายสมภพ มงคลพิทกั ษ์สขุ รองประธาน กรรมการกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและ อาหาร ดูแลธุรกิจซีพีในมาเลเซีย และจีน ซึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการผิงกู่ กล่าวว่า โครงการผิงกู่เกิดจากรัฐบาลจีนตระหนักถึงจำนวน ประชากรที่มีอยู่กว่า 1,300 ล้านคน การผลิต อาหารให้เพียงพอกับความต้องการของคนใน ประเทศถือเป็นเรือ่ งทีย่ งิ่ ใหญ่มาก ในหลายๆ ปี ที่ผ่านมา จีนมีปัญหาเรื่องอาหารที่ไม่ได้คุณภาพ ปัจจุบันรัฐบาลจีนไม่ได้ห่วงว่าอาหารจะ ไม่เพียงพออย่างเดียว แต่หว่ งเรือ่ งความปลอดภัยของอาหารด้วย

71


อย่ า งไรก็ ต าม โครงการที่ ผิ ง กู่ เป็ น โครงการเกษตรหมุนเวียนทันสมัย เป็นโครงการ ที่รักษาสิ่งแวดล้อม มีโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบ ปิดจำนวน 18 หลัง มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปไข่ โรงงานผลิตปุย๋ คาดว่าเสร็จ สิ้นปีนี้ ดังนั้นขี้ไก่ที่ออกมาทั้งหมดพอแห้งแล้ว เอาไปทำปุ๋ย เอาปุ๋ยไปปลูกผักออร์แกนิก ซึ่ง รัฐบาลจีนเสนอให้นำไปปลูกท้อ เพราะพื้นที่ แถบนี้ปลูกท้อที่ดีที่สุดของจีน โดยซีพีได้ว่าจ้าง นักวิชาการมาพัฒนาปุย๋ ให้เหมาะสมสำหรับกับ ความต้องการของต้นท้อ ขณะเดียวกันซีพไี ด้รบั อนุมัติตั้งโรงงานบรรจุท้อในบริเวณใกล้เคียง ด้วยแล้ว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

72

“ปุย๋ ทีท่ ำจะมีทงั้ ปุย๋ แห้ง และปุย๋ น้ำ ส่งไป ตามท่อ ในปีแรกจะให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยฟรี ปีที่ สองอาจจะขายในราคาต่ำ แล้วค่อยๆ ขยับขึ้น ในปีถัดไป ตอนนี้โครงการไก่ไข่ผิงกู่ครบวงจร ยังกลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่คนจีนให้ความสนใจ แวะมาเยีย่ มชมโครงการเกือบทุกวัน ด้วยโครง-

การผิงกู่เป็นฟาร์มเดียวที่ใช้เทคโนโลยีสูงสุด แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกายังไม่ทันสมัยเท่าที่ ผิงกู่ เพราะในฟาร์มควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ใช้คนดูแลน้อยมาก เราศึกษาเทคโนโลยี จากหลายประเทศ รวมทั้งการเอาหุ่นยนต์มา เลี้ยงไก่ ในโลกนี้ยังไม่มีคนทำ รวมทั้งไข่ไก่ที่ ออกมาจะวิ่งไปตามสายพาน มีการคัดแยกไข่ ตามสี ตามขนาด โดยไม่ตอ้ งใช้คน” นายสมภพ กล่าว โรงเลี้ยงหนึ่งโรงมีไก่ 1.7 แสนตัว ใช้ คนงานดูแล 1 คน คนดูแลทำงาน 8 ชั่วโมง เพราะทุกอย่างถูกตั้งแบบอัตโนมัติ โรงเลี้ยงมี ทัง้ หมด 8 ชัน้ อุณหภูมอิ ยูท่ ี่ 21 องศาเซลเซียส การเลีย้ งไก่ตอ้ งควบคุมด้วยแสง ไก่จะกินอาหาร ตลอด จะหลับตอน 19.00-04.00 น. โดย ปิดไฟให้ไก่หลับพร้อมกัน ไก่จะออกไข่ช่วงเวลา ประมาณ 04.00-12.00 น. โดยช่วงทีอ่ อกไข่มาก ทีส่ ดุ เวลา 9.00-10.00 น. ไก่จะออกไข่ตวั ละฟอง ต่อวัน ใน 1 ปีก็จะได้ 365 ฟองต่อไก่ 1


ตัว การเก็บไข่จะมีสายพานให้ไข่ไหลออกมา เป็ น ระบบอั ต โนมั ติ ไข่ จ ะไหลมารอที่ โ รงคั ด ของไทยใช้คนเก็บไข่ใส่ถาด แต่ที่นี่ใช้สายพาน ทำให้ลดต้นทุนฟองละ 25 สตางค์ และคน ไม่ได้สมั ผัสไข่กท็ ำให้อาหารปลอดภัย และเครือ่ ง คัดไข่ชั่วโมงหนึ่งคัดได้ 180,000 ฟอง “สำหรับเคล็ดลับในการเลือกกินไข่ คุณ ธนินท์ บอกว่า เวลากินให้กินไข่ฟองเล็ก ใน สหรัฐอเมริกากินไข่ฟองเล็ก เพราะเป็นไข่จาก แม่ไก่สาว เป็นไก่ที่มีฮอร์โมนมากที่สุด คุณค่า ทางอาหารจะสูงสุด และการเก็บไข่ให้อยูไ่ ด้นาน ต้องเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 150 วัน” นายสมภพกล่าว โรงเลี้ยงไก่ไข่

ไข่ไก่ไหลตามราง

ข้อมูลทั้งหมด เล้าไหนมีปัญหา เล้าไหนกิน อาหารน้อยกินอาหารมาก การทำงานสามารถ ติดตามได้หมด หากมีปญ ั หาเกิดขึน้ ก็สง่ ข้อความ เข้ า มื อ ถื อ ให้ ค นมาแก้ ไ ขได้ ทั น ท่ ว งที ถ้ า เรา ไม่มีเทคโนโลยีเราไม่สามารถบริหารจัดการได้ นี่เป็นจุดเด่นของซีพี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

ในโรงเลี้ยงหนึ่งโรงมีหุ่นยนต์ 1 ตัว ทำ หน้าที่ดูว่าแต่ละกรงมีไก่ตายหรือไม่ เพราะถ้า คนเดินไปกลับแต่ละแถว ดู ทุกชั้น วันหนึ่งต้องเดิน 12 กิโลเมตร แต่หุ่นยนต์มีเซ็นเซอร์ชี้ไปที่ไก่แต่ละกรง ถ้า พบไก่ตายก็จะรายงานไปว่า กรงที่ 18 แถวหน้า 5 มีไก่ ตาย 1 ตัว หุ่นยนต์รู้เพราะ อุ ณ หภู มิ ไ ก่ ป กติ ป ระมาณ 104 องศาฟาเรนไฮต์ แต่ถา้ อุณหภูมลิ ดลงเหลือ 80 กว่า แสดงว่าไก่ตาย นอกจากนี้ อาหารสัตว์ยังส่งตรงจากท่อ ไปที่เล้าโดยตรง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ที่ผิงกู่เป็นที่แรกของเครือซีพีที่อาหารสัตว์ส่ง จากคลังผ่านท่อไปทีเ่ ล้า โดยมีตาชัง่ บอกจำนวน ว่าอาหารไหลเข้าไปจำนวนเท่าไรแล้ว ดังนั้น ด้ ว ยระบบการบริ ห ารจั ด การแบบนี้ ทำให้ รู้

73


โครงการผิงกู่มีเกษตรกรซึ่งเป็นเจ้าของ ที่ดินรวมตัวกันตั้งสหกรณ์ มีรัฐบาลเขตผิงกู่ และเครือซีพีร่วมทุนก่อตั้งบริษัทในชื่อ “บริษัท กู่ต้า” โดยรัฐบาลปักกิ่ง เครือซีพี ถือหุ้นฝ่ายละ 15% ที่เหลืออีก 70% เป็นของเกษตรกรซึ่ง รวมตัวกันถือหุ้นในนามสหกรณ์การเลี้ยงสัตว์ ในเขตพื้นที่สีเขียวของเมืองปักกิ่ง สหกรณ์ได้ กูเ้ งินจากธนาคารมาดำเนินการ และโครงการนี้ รัฐบาลจ่ายดอกเบีย้ ให้ จากปกติรฐั บาลต้องเอา เงินไปช่วยเหลือคนพิการเหล่านีอ้ ยูแ่ ล้วในแต่ละ ปี เมื่อมีโครงการนี้รัฐบาลก็เอาก้อนนี้ไปจ่าย เป็นดอกเบี้ยแทน ขณะที่เครือซีพีเช่าที่ดินจาก เกษตรกรภายใต้สหกรณ์จำนวน 380 ไร่

สำหรับโครงการผิงกู่ เป็นโครงการนำ ร่อง ขณะนี้มีอีก 3-4 มณฑลยื่นข้อเสนอให้ ซีพไี ปทำ แต่เนือ่ งจากไม่มกี ำลังคน อย่างไรก็ตาม โครงการนีเ้ ครือซีพลี งทุนไปประมาณ 728 ล้าน หยวน คาดว่าจะคุ้มทุนประมาณ 10 ปี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

74

นายสมภพกล่ า วว่ า สิ่ ง ที่ รั ฐ บาลจี น ต้องการจากโครงการนีค้ อื 1. ความเป็นอยูข่ อง เกษตรกรดี ขึ้ น โครงการนี้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ คน ประมาณ 1,608 ครอบครัว หรือประมาณ 5,000 คน โดย 852 คนเป็นเจ้าของทีด่ นิ อีก 756 คน เป็นทหารพิการ คนพิการทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่ ที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินสนับสนุนช่วยเหลือ เมื่อมี โครงการนี้ รั ฐ บาลไม่ ต้ อ งจ่ า ยแล้ ว เพราะคน เหล่านี้มีเงินจากโครงการนี้ในการดำเนินชีวิต

“อีก 20 ปีข้างหน้าทรัพย์สินนี้จะตกเป็น ของสหกรณ์ที่เกษตรกรเป็นเจ้าของ โดยที่ซีพี เป็นลูกจ้างรับบริหาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ซีพีถนัด แม้จะมีความเสี่ยงเรื่องการเลี้ยง การตลาด แต่ เป็ น ความเสี่ ย งที่ เ ราควบคุ ม และจั ด การได้ ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ แบงก์ก็ปลอดภัยที่จะ ให้กู้ เกษตรกรก็สามารถชำระหนี้ได้เพราะซีพี จ่ายผลตอบแทนและค่าเช่าปีละ 350 ล้านบาท หรือ 70 ล้านหยวน จากเดิมทีเ่ กษตรกรกลุม่ นี้ มีรายได้รวม 12 ล้านหยวนต่อปี ส่วนรัฐบาล ก็เอาเงินที่ควรช่วยเหลือเกษตรกร คนพิการ มาช่วยเหลือเรื่องดอกเบี้ยแทนเกษตรกร และ ในอนาคต รัฐบาลยังเก็บภาษีได้อีก ที่สำคัญ ธุรกิจไม่เกิดแค่ธรุ กิจเดียว ยังมีธรุ กิจขนส่ง ธุรกิจ รับจ้าง ธุรกิจบริการ ทั้งหมดเป็น 4 ประสาน ที่ทุกคนได้ประโยชน์”


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

โรงคัดไข่ไก่ 

 อาหารสัตว์

ส่งตรงตามท่อ ไปยังโรงเลี้ยง

75


Mr.Wn Lian Jiang รองผู้ว่าเขตผิงกู่

ด้าน Mr.Wn Lian Jiang รองผู้ว่าเขต ผิงกู่ กล่าวว่า โมเดล 4 ประสานเกิดจาก การคิ ด ให้ ทุ ก ฝ่ า ยได้ ป ระโยชน์ ร่ ว มกั น คื อ รัฐบาล ชาวนา บริษัท และธนาคาร ชาวนา เป็นเจ้าของที่ดิน ไม่มีความรู้ ไม่มีเงินลงทุน ทางบริ ษั ท มี เ ทคโนโลยี มี ค วามรู้ มี ต ลาด มีความพร้อม ทางรัฐบาลมีความคิดว่า อยาก เพิ่มรายได้ให้กับเกษตร แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ธนาคารมีความต้องการพัฒนาเกษตรแต่ไม่ สามารถให้กู้ได้ ทั้ง 4 หน่วยงานจึงประสาน ความร่วมมือกันสร้างโปรเจ็กต์ ก็คิดเอา 4 ประสานโมเดลมาไว้ที่เดียวกัน สร้างด้วยกัน โครงการไก่ไข่ครบวงจรผิงกู่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการทำเกษตร คือ ชาวนาร่วมเป็นเจ้าของบริษัท คนบริหารบริษัทเป็นลูกจ้างของ ชาวนา ชาวนามอบหมายให้บริษัททำ บริษัทนำรายได้กลับไปให้ชาวนา ชาวนาได้ผลประโยชน์จากโครงการนี้ โดยชาวนาให้บริษัทเช่าที่ดิน ผลประโยชน์ต่างๆ เป็นของชาวนา และสูงกว่าที่เขาเคยได้รับ ส่วน รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม เพราะฉะนั้นการทำโมเดลใหม่นี้เหมาะสมกับ สถานการณ์ประเทศจีนในปัจจุบัน ได้ประโยชน์ทั้งชาวนา และรัฐบาลจีน และผู้นำปักกิ่งให้ความสนใจโครงการนี้มาก อย่ า งไรก็ ต าม จากการสอบถามเกษตรกรรายหนึ่ ง ที่ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการกล่าวว่า ก่อนจะเข้าร่วมโครงการมีการประชุมกันหลายรอบ ใช้เวลาคิดนาน เพราะก่อนหน้านี้ปลูกข้าวสาลีตั้งแต่รุ่นปู่ ทำต่อกันมา เรื่อยๆ จึงไม่ค่อยมีความเชื่อว่าโครงการนี้จะทำได้ ตั้งแต่โครงการนี้ เกิดขึ้น ชีวิตก็เปลี่ยนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

76

“รายได้ของเกษตรกรมาจากการให้เช่าที่ดิน หากคิดเป็นรายคน ได้ค่าเช่าคนละ 400 หยวนต่อปี โบนัสจากสหกรณ์ 1,500 หยวนต่อปี และรายได้จากค่าจ้าง โดยค่าแรงขั้นต่ำในปักกิ่งอยู่ที่ 1,500 หยวน แต่โครงการนีจ้ า้ ง 3,000 หยวน ถ้าครอบครัวไหนมีหลายคน รายได้รวม ก็มากขึน้ ถ้ามีรายได้ 7,000-8,000 หยวนต่อปี หรือเฉลีย่ 500 หยวน ต่อเดือน ก็มีความเป็นอยู่ใช้ชีวิตสบาย” นายสมภพกล่าว




OECD ENVIRONMENTAL OUTLOOK TO 2050

The Consequences of Inaction Key Facts and Figures

Around the World

โลกทัศน์สิ่งแวดล้อม 2050

พลังงาน และการใช้ที่ดิน ภายในปี 2050 คาดว่าประชากรโลกจะเพิม่ ขึน้ จาก 7 พัน หากปราศจากนโยบายใหม่

ล้าน เป็นมากกว่า 9 พันล้าน ภายในปี 2050 การเติ บ โตของประชากรมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะเพิ่ ม แรงกดดันต่อทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่ง พลังงาน และอาหาร

เศรษฐกิจโลกทีเ่ ติบโต 4 เท่าของปัจจุบนั คาดว่าจะต้องการพลังงานมากกว่าเดิม 80% ภายในปี 2050 หากไม่มีการดำเนินงานตาม นโยบายใหม่ใดๆ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ GDP ของ โลก คาดว่าจะถึง 4 เท่าภายในปี 2050 แม้วา่ จะมีการถดถอยในปัจจุบัน

พลังงานโลกรวมในปี 2050 จะไม่ต่าง จากปัจจุบันมาก โดยมีสัดส่วนพลังงานฟอสซิลประมาณ 85% พลังงานทดแทนรวมทั้ง เชื้อเพลิงชีวภาพแค่มากกว่า 10% เล็กน้อย และพลังงานนิวเคลียร์เท่าเดิม ประเทศ BRIICS (Brazil, Russia, India, Indonesia, China, and South Africa) คาดว่าจะใช้พลังงานมากสุด โดย เพิ่มเชื้อเพลิงฟอสซิล

อัตราการเติบโตของ GDP เฉลีย่ คาดว่า จะช้าลงเล็กน้อยในทศวรรษหน้าในจีน และ อินเดีย ในขณะทีอ่ ฟั ริกายังคงเป็นทวีปทีย่ ากจน ที่สุด คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะ พุ่งสูงสุดระหว่าง ปี 2030-2050 ประชากรจำนวนมากกว่ า 25% ใน ประเทศ OECD คาดว่าจะมีอายุมากกว่า 65 ปี ภายในปี 2050 เปรียบเทียบกับประมาณ 15% ในปัจจุบัน จีน และอินเดียจะมีประชากร สูงอายุจำนวนมาก โดยประชากรแรงงานในจีน จะลดลงมากภายในปี 2050 เมืองทั่วโลกจะมี ประชากรเพิ่มขึ้น ภายในปี 2050 เกือบ 70% ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง

เพือ่ ทีจ่ ะหล่อเลีย้ งปากท้องประชากรโลก ที่เพิ่มขึ้น คาดว่าที่ดินเกษตรกรรมจะขยายทั่ว โลกในทศวรรษหน้านี้ เพื่อสนองต่อการเพิ่ม ความต้องการเรื่องอาหาร แต่ในอัตราทีละเล็ก ละน้อย ดังนั้น ในทศวรรษที่จะมาถึงข้างหน้า โลกจะประสบปัญหาแย่งชิงที่ดินมากขึ้น และ ที่ดินก็จะหายากขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา : The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

การพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจ

77


การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ภายในปี แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติออกเป็นหย่อม เล็กหย่อมน้อย มลภาวะ และการเปลี่ยนแปลง 2050 หากปราศจากนโยบายใหม่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทัว่ โลก คาดว่าจะเพิ่มถึง 50% โดยเหตุผลเบื้องต้น เนื่องจากการเติบโตถึง 70% ของการปล่อย CO2 จากภาคพลังงาน ความเข้มข้นในชั้น บรรยากาศของก๊าซเรือนกระจก อาจถึง 685 (ppm) ของ CO2 equivalent ภายในปี 2050 เป็นผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกคาดว่าจะเป็น 3 Cํ -6  Cํ สูงกว่าระดับก่อนอุตสาหกรรมภายใน สิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งเกินเป้าประสงค์ที่ได้ตกลงกัน ไว้ในระหว่างประเทศว่าจำกัดให้อยู่ใน 2  ํC การดำเนิ น งานเพื่ อ ลดการปลดปล่ อ ย ก๊าซเรือนกระจก ตามความตกลงแคนคูน (Cancun Agreement) ในการประชุมสมัชชาภาคี อนุสัญญา UNFCCC ไม่เพียงพอที่จะป้องกัน อุณหภูมิเฉลี่ยโลกจากการทะลุระดับ 2  ํC หาก ไม่มกี ารลดการปล่อยก๊าซอย่างรวดเร็ว และคุม้ ทุนก่อนปี 2020 อุณหภูมิจะเพิ่มเป็น 3  ํC

ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในปี 2050 หากปราศจากนโยบายใหม่ ทั่วโลกความหลากหลายทางชีวภาพบน บก คาดว่าจะลดลงอีก 10% ภายในปี 2050 โดยการสู ญ เสี ย ที่ ส ำคั ญ เกิ ด ขึ้ น ในทวี ป เอเชี ย ยุโรป และอัฟริกาตอนใต้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

78

พืน้ ทีป่ า่ ไม้สมบูรณ์ทวั่ โลก คาดว่าจะลดลง 13% แรงกดดันหลักที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเปลีย่ น แปลงการใช้ทดี่ นิ เช่น การเกษตร การขยายตัว ของป่าไม้เพือ่ การพาณิชย์ การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน การบุกรุกของผู้คน และการแบ่งแยก

สภาพภูมิอากาศ

การเกษตรยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะกลาย เป็ น แรงขั บ เคลื่ อ นให้ เ กิ ด การสู ญ เสี ย ความ หลากหลายทางชีวภาพทีเ่ ติบโตเร็วทีส่ ดุ ภายใน ปี 2050 ที่สองคือการทำป่าไม้เพื่อค้าไม้ และ ที่สามตามมาไม่ห่างคือ การปลูกพืชพลังงาน ประมาณหนึ่ ง ในสามของความหลาก หลายทางชีวภาพในน้ำจืดทั่วโลก ได้สูญหายไป แล้ว และยังจะสูญเสียต่อไปอีกจนถึงปี 2050

น้ำ ภายในปี 2050 หากปราศจากนโยบาย ใหม่ การเข้ า ถึ ง น้ ำ จื ด จะค่ อ นข้ า งตึ ง เครี ย ด มาก เนือ่ งจากประชาชน 2.3 พันล้าน เพิม่ จาก ปัจจุบัน (คือเพิ่มกว่า 40%) คาดว่าจะอาศัย อยู่ในลุ่มแม่น้ำที่มีการแย่งชิงน้ำใช้อย่างมาก โดยเฉพาะในทวีปอัฟริกาตอนเหนือ และตอนใต้ ทวีปเอเชียใต้ และกลาง อุปสงค์น้ำทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอีก ประมาณ 55% เนื่องจากความต้องการใช้น้ำ ที่เติบโตในภาคการผลิต (+400%) การผลิต กระแสไฟฟ้ า พลั ง งานความร้ อ น (+140%) และการใช้ตามครัวเรือน (+130%) น้ำจาก ชลประทานสามารถช่วยสนองความต้องการนี้ ได้เล็กน้อย ซึ่งการเพิ่มความต้องการน้ำอย่าง สูง คาดว่าเกิดในประเทศเศรษฐกิจรุ่ง และ ประเทศกำลังพัฒนา


MDG สำหรับสุขอนามัยไม่ประสบผล สำเร็จในปี 2015 ดังนั้น ภายในปี 2050 ประชาชน 1.4 พันล้าน จะยังคงไม่สามารถ ได้รับสุขอนามัยดีขั้นพื้นฐาน

สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ภายในปี 2015 หากปราศจากนโยบายใหม่ มลภาวะทางอากาศจะกลายเป็นสาเหตุ หลักในบรรดาปัจจัยสิ่งแวดล้อมโลกที่ทำให้มี การตายก่อนกำหนดอายุ ความรุนแรงไม่เป็น รองจากสาเหตุ ห ลั ก เช่ น น้ ำ สกปรก และ ขาดสุขอนามัยที่ดีเท่าไรนัก ความเข้มข้นของ มลภาวะทางอากาศในบางเมืองใหญ่ โดยเฉพาะ ในเอเชีย ได้เกินมาตรฐานความปลอดภัยของ องค์การอนามัยโลกไปแล้ว ดังนั้น เมื่อถึงปี 2050 สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น จำนวนการตายก่อนกำหนดอายุ จาก การได้รับฝุ่นละออง คาดว่าจะมากกว่าสองเท่า ของปัจจุบนั คือ จาก 1 ล้านเป็นเกือบ 36 ล้าน ต่อปีใน 2050 ส่วนใหญ่เกิดในจีน และอินเดีย

จำนวนการตายก่อนกำหนดอายุ จาก การได้รับก๊าซโอโซนในระดับพื้นผิวโลก มาก กว่ า สองเท่ า สู ง ขึ้ น จากปี 2010 ส่ ว นใหญ่ เกิดในทวีปเอเชียที่ความเข้มข้นของโอโซนสูง และจำนวนประชากรก็สูงมาก มากกว่า 40% จะเกิดขึ้นในจีน และอินเดีย การปล่อย SO2 และ NO2 คาดว่าจะ เพิม่ มากขึน้ ในประเทศเศรษฐกิจรุง่ ในทศวรรษ ต่อไป เปรียบเทียบกับปี 2000 แล้วภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซ SO2 คาดว่าจะเป็น 90% สูงกว่า และ NO2 50% สูงกว่า ปัจจุบันประชาชนเมืองแค่ 2% เท่านั้น อาศั ย อยู่ ใ นพื้ น ที่ ซึ่ ง มี ฝุ่ น ละอองได้ ม าตรฐาน ประมาณ 70% ของประชาชนในเมืองของ ประเทศ BRIICS และ ROW ได้รับฝุ่นละออง เกินกำหนดมาตรฐานไปมาก (มากกว่า 70μg/ m3) ในปี 2050 ประชากรในเขตเมืองมากขึ้น ดังนั้น ในทุกภูมิภาค % ของประชาชนที่จะ อยู่ในเขตฝุ่นละอองเกินมาตรฐานก็จะสูงมาก ขึ้นอีก โรคที่มาจากการได้รับสารเคมีอันตราย จะมีความสำคัญมากขึ้น และรุนแรงในประเทศ อื่นนอก OECD ซึ่งมาตรการความปลอดภัย ไม่ เ พี ย งพอ เนื่ อ งจากการผลิ ต สารเคมี ใ น ประเทศเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศ BRIICS จะส่งสารเคมีออกขายในโลกมากเท่า ประเทศ OECD ภายในปี 2050 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 156 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557

จำนวนประชากรที่ ส ามารถเข้ า ถึ ง ทรัพยากรน้ำ (ตามที่ได้พยายามจัดสรรใหม่ แล้ว) จะมีเพิม่ ขึน้ มากโดยเฉพาะในกลุม่ ประเทศ BRIICS อย่างไรก็ตาม มากกว่า 240 ล้านคน ทั่วโลก ไม่มีโอกาสเช่นนั้น ภายในปี 2050 เป้าประสงค์การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDG) 2015 ประเมินจากฐานปี 1990 ของจำนวน ประชากรที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรน้ำที่ได้ พยายามจัดสรรใหม่ คาดว่าจะสำเร็จตามเป้า แต่ว่ายังไม่ใช่ในเขต Sub-Sahara Africa

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท มู่หยางโฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท ตงชางเครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2516-8811 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 092 089 1601 โทร. 0-2937-4355 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2757-4792-5




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.