วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ 148

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี. เอ็น. พี. อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด

2 7. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

จากประเด็นการเสวนาของผู้รอบรู้ในวงการปศุสัตว์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 ทำให้มองเห็นภาพได้ว่า ภาคการเลี้ยงสุกร ยังเป็นการบริโภคภายในประเทศกว่าร้อยละ 95 และเป็นการส่งออก ร้อยละ 5 จะทำอย่างไรให้การส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากการขยายตลาดในประเทศเพื่อนบ้านที่มีความต้องการมากขึ้น และมี ประเทศต่างๆ ที่มีเป้าหมายเข้ามาลงทุนซึ่งจะมีแนวโน้มมาแข่งขันได้ ตรงนี้ จะกำหนดทิศทางอย่างไรซึ่งเป็นบทพิสูจน์ที่สำคัญ ภาคการส่งออกไก่ แม้จะมีมูลค่าการส่งออกกว่า 70,000 ล้านบาท/ปี แต่ก็ยังเป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นอันดับ 9 ของโลกในการผลิต ซึ่งประเทศไทยเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกกว่า ประเทศไทยมาก เพราะเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบที่สำคัญ ทั้ง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ซึ่งประเทศไทยผลิตได้ ไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าและมีภาระภาษีที่ยังมีการเรียกเก็บอยู่ด้วยเหตุผลการคุ้มครองอุตสาหกรรมโรงงาน สกัดน้ำมันพืชในประเทศ ภาคอุตสาหกรรมกุ้ง ก็เป็นธุรกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญ เกือบร้อยละ 95 แต่ก็มีอุปสรรคมากมาย ตามมาในปีนี้ ทั้งโรคระบาด การกีดกันทางการค้า การกล่าวอ้างการทุ่มตลาด และการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การส่งออกกุ้ง ในปีนี้อาจจะต้องมีการปรับลดเป้าหมายการส่งออก ดังนั้น อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อป้อนสู่ภาคการเลี้ยงจะทำอย่างไรให้ อุปสงค์อุปทาน ของภาคปศุสัตว์และสัตว์น้ำจะสมดุลย์ได้ เพื่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่อย่างจำกัด และไม่ให้ราคาของ วัตถุดิบต้องวิ่งสูงขึ้นไปรอให้มีการแย่งกันใช้ ต้องมีการวางแผนการผลิตการใช้ให้เหมาะสม และภาครัฐ ต้องกำหนดทิศทางการส่งเสริมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และไม่ผลักภาระของผู้ผลิตวัตถุดิบต้นทางมาสู่ผู้เลี้ยงสัตว์ และผู้บริโภค ปลายทาง เช่นที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน และจากมุมมองของผู้ออกระเบียบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เข้าสู่ประเทศยุโรป ก็มองว่า ความปลอดภัยด้านอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสัตว์จะเป็นแหล่ง ต้นน้ำที่จะคัดเลือกวัตถุดิบมาผลิตเพื่อป้อนสัตว์ก่อนที่จะมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารขึ้นสู่โต๊ะอาหาร ได้อย่างเหมาะสมและเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคทุกคน บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 30

Vol.

148

มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

...สารบัญ...

"อุตสาหกรรมไก่" ปีมะเส็ง ผู้ผลิตรายใหญ่ต้องร่วมมือกัน 5 กสิกรไทยคาดส่งออกกุ้งในปี 56 ฟื้นตัวโต 3-7% 8 เอกชนหวั่นส่งออกไก่สะดุด แนะล้ม "เกลือเสริมไอโอดีน" ในอาหารสัตว์ 11 รายงานการสำรวจข้าวโพด ครั้ง 4 ฤดูกาลผลิต ปี 2555/2556 14 แนวโน้มสินค้าพืชเกษตรปี 56 ปีชี้ชะตา "นโยบายรับจำนำข้าว" 29 "ราคากุ้งไทย" สูงเป็นประวัติการณ์ ผู้ส่งออกผนึกดึงราคาซื้อลง-ผู้เลี้ยงแก้เกมหยุดขาย 34 บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ 36 4 เรื่องใหญ่บีบไทยเจรจา FTA กับอียู 44 AEU ประกาศรายการสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์ GSP ใหม่ 46 สรุปผลการจัดงานเสวนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์: เกาะติดกฎระเบียบการนำเข้าอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป แนวโน้มวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกและสถานการณ์ ปศุสัตว์ไทย 51 สรุปประเด็นสำคัญ การให้สัมภาษณ์ ALIC และ R&A "สถานการณ์การผลิตอาหารสัตว์ไทย" 57 สรุปประเด็นสำคัญ สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้การต้อนรับ และหารือร่วมกับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะ 61 ภาคสถิติ 71 ขอบคุณ 80

ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายนพพร วายุโชติ นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข นายณัฐพล มีวิเศษณ์ นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




"อุตสาหกรรมไก่" ปีมะเส็ง ผู้ผลิตรายใหญ่ต้องร่วมมือกัน

การผลิตไก่เนื้อโดยรวมในปี 2555 มีการ ผลิตไก่เนื้อ 1,055.93 ล้านตัวเพิ่มขึ้นจาก 994.32 ล้านตัวในปี 2554 เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อของ ไทยมีการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และมีระบบ การผลิตที่ปลอดภัย ทำให้ปริมาณความต้องการ บริ โ ภคเนื้ อ ไก่ ข องไทยทั้ ง ตลาดภายในและต่ า ง ประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนความต้องการบริโภคเนื้อไก่ ของไทยในปี 2555 มี ป ริ มาณการบริ โ ภคเนื้ อ ไก่ 947,458 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 935,798 ตันในปี 2554 ขณะที่ ร าคาไก่ เ นื้ อ ในปี 2555 เกษตรกร ขายได้เฉลี่ย กก. ละ 41.91 บาท ลดลงจาก กก. ละ 46.81 บาทในปี 2554 เนื่องจากมีการขยาย การผลิ ต เพิ่ ม ขึ้ น รองรั บ การบริ โ ภคเนื้ อ ไก่ จ าก ต่างประเทศ เช่น จากสหภาพยุโรป (อียู) ที่เปิด ตลาดไก่สดแช่แข็งให้ไทยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่ ง คาดว่ า จะส่ ง เข้ า อี ยู ไ ด้ ป ระมาณ 3.2 หมื่ น ตั น และตลาดสิ ง คโปร์ ก ลั บ มาเปิ ด ตลาดให้ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่ผ่านมา การส่งออกเนื้อไก่ของไทยในปี 2555 ไทย สามารถส่งออกเนื้อไก่ได้รวม 5 แสนตัน คิดเป็น มู ล ค่ า 63,189 ล้ า นบาท เพิ่ ม จากปี 2554 ที่ส่งออก 466,845 ตัน มูลค่า 60,293 ล้านบาท ตลาดส่ ง ออกที่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ สหภาพยุ โรป (อี ยู ) ร้อยละ 39.48 ญี่ปุ่น 38.70 กลุ่มประเทศอาเซียน ร้อยละ 11.33

สำหรับแนวโน้มปี 2556 คาดว่าการผลิต ไก่ เ นื้ อ ของไทยยั ง คงปรั บ ตั ว เพิ่ ม ขึ้ น สอดรั บ กั บ จำนวนประชากรและการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น มาก หลังจากเริ่มส่งออกไก่สดแช่แข็งไปในหลาย ประเทศ โดยปี 2556 คาดว่าไทยจะสามารถผลิต ไก่เนื้อได้ประมาณ 1,067.35 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 1,055.93 ล้านตัวในปี 2555 ความต้ อ งการบริ โ ภคปี 2556 คาดว่ า มี ประมาณ 953,107 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 947,458 ตัน ในปี 2555 ราคาที่ เ กษตรกรขายได้ ใ นปี 2556 เฉลี่ย กก. ละ 44 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก. ละ 41.91 บาท ในปี 2555 เนื่องจากไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้นตาม ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบ อาหารสั ต ว์ แ ละค่ า แรงงาน อี ก ทั้ ง ความต้ อ งการ บริโภคเพิ่มขึ้น ราคาส่ ง ออกเนื้ อ ไก่ ส ดแช่ แข็ ง และเนื้ อ ไก่ แปรรูป คาดว่าปี 2556 จะสูงกว่าปี 2555 เล็กน้อย และในปี 2556 คาดว่ า ไทยจะสามารถส่ ง ออก เนื้อไก่ได้รวม 510,000 ตัน มูลค่า 65,400 ล้าน บาท เพิ่ ม ขึ้ น จากปริ ม าณ 500,000 ตั น มู ล ค่ า 63,189 ล้านบาทในปี 2555 ร้อยละ 2

พาณิชย์ถ่วงขึ้นราคาอาหารสัตว์ ภาพโดยรวมสถานการณ์ ไ ก่ เ นื้ อ ของไทย ในปี 2555 ที่ ผ่ า นมาหนั ก หนาสาหั ส พอสมควร

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

5


จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหภาพ ยุโรป (อียู) ลูกค้ารายใหญ่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจ หนัก ลดการนำเข้าไก่แปรรูปจากไทย แม้ว่าวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 จะไฟเขียวให้ไทยส่งไก่สดแช่เย็น แช่แข็งเข้าอียไู ด้อกี ครัง้ หลังเกิดปัญหาโรคไข้หวัดนก ระบาดในไทยในปี 2547 แต่บราซิลที่เจาะตลาด ไก่ ส ดโดยไม่ มี ไ ทยเป็ น คู่ แข่ ง มา 8 ปี และลด ราคาลงตันละ 6,000 บาท ทั้งไก่สดและไก่แปรรูป ทำให้ตลาดแห่งนี้ที่เป็นตลาดไก่พรีเมี่ยมของไทย ขายไม่ ไ ด้ ร าคาที่ ดี เ หมื อ นเดิ ม และต้ อ งแข่ ง ขั น กันมากขึ้น ขณะที่อีกด้านหนึ่งราคาวัตถุดิบกากถั่วเหลือง ข้าวโพด ปลายข้าว ปรับตัวขึ้นสูงโดย เฉลี่ ย 20% ในช่ ว งครึ่ ง ปี ห ลั ง ทำให้ ผู้ ผ ลิ ต และ ส่งออกไก่เนื้อครบวงจรขาดทุนกันหนัก โดยผู้ผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเข้าอียูรายใหญ่ บางราย ได้ เ พิ่ ม กำลั ง การผลิ ต จาก 4 แสนตั น เป็น 6.2 แสนตันต่อปี รับกับอียูไฟเขียวนำเข้าไก่สด แช่เย็นแช่แข็งจากไทยกลางปีที่ผ่านมา ในขณะที่ ผู้ผลิตไก่เนื้อครบวงจรรายใหญ่อีกหลายรายที่รอด จากวิกฤตไข้หวัดนกปี 2547 ได้เพิ่มกำลังการผลิต ไก่เนื้อเช่นกัน เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในไทยและ ต่ า งประเทศ ซึ่ ง การที่ ผู้ ผ ลิ ต รายใหญ่ สู้ กั น ย่ อ ม ยืดเยื้อและเกิดความเสียหายหนัก ขาดทุนติดต่อกัน ถึง 3 ไตรมาส ยกเว้นบางรายที่ปรับตัวแปรรูปเป็น สินค้าพร้อมรับประทานมาตั้งแต่วิกฤตไข้หวัดนก มากขึ้น สุดท้ายผู้ผลิตรายใหญ่ที่จุดชนวนต้องลด กำลั ง การผลิ ต กลั บ มาที่ เ ดิ ม ในไตรมาสสุ ด ท้ า ยปี 2555 ที่ผ่านมา กอปรกั บ ในครึ่ ง ปี ห ลั ง แหล่ ง ปลู ก ข้ า วโพด และถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกา เกิดความเสียหาย จากคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นนานหลายเดือน ส่งผล ให้ราคากากถั่วเหลืองที่ไทยนำเข้าขยับจาก กก. ละ

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

14-15 บาท เป็น กก. ละ 21-22 บาท ข้าวโพด จาก กก. ละประมาณ 9 บาท เป็น 10 บาทเศษ ปลายข้ า วราคาเพิ่ ม ขึ้ น 50% เพราะได้ รั บ ผล กระทบจากนโยบายรับจำนำข้าว ที่รัฐบาลให้โรงสี ต้องส่งมอบปลายข้าวเมือ่ สัง่ สีแปรรูปจากข้าวเปลือก เป็นข้าวสาร แต่เมื่อรัฐบาลขายข้าวขาว 25% แข่ง กั บ เวี ย ดนามและอิ น เดี ย ลำบาก เพราะราคาสู ง กว่ า มาก ทำให้ ข าดแคลนในท้ อ งถิ่ น เนื่ อ งจาก ปลายข้าวส่วนใหญ่จะมาจากการสีข้าวเป็นข้าวขาว 25% ทำให้ ผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ยื่ น หนั ง สื อ ต่ อ กระทรวงพาณิชย์ขอขึ้นราคาอาหารสัตว์อีก 20% ขณะที่กระทรวงพาณิชย์พร้อมจะให้ปรับราคาขึ้น โดยตกลงให้ผู้ผลิตขึ้นราคา 8% ยกเว้นอาหารสัตว์ สำหรับไก่ไข่ และหมูที่ผู้เลี้ยงยังขาดทุนอยู่ อย่างไร ก็ ต าม จนถึ ง ขณะนี้ ผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ หนังสืออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์แต่อย่างใด ทางด้านตลาดไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทย ในปี 2556 กรมการค้าต่างประเทศแจ้งว่า เกาหลีใต้ ญี่ ปุ่ น และฟิ ลิ ป ปิ น ส์ จะส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ม าตรวจ โรงงานในไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้น หากทั้ง 3 ประเทศที่ เ คยซื้ อ ไก่ ส ดแช่ เ ย็ น แช่ แข็ ง จากไทย ปีละ 1.75 แสนตันต่อปี กลับมาซื้อจากไทยบางส่วน จะทำให้ ส ถานการณ์ ไ ก่ เ นื้ อ ไทยดี ขึ้ น พอสมควร รวมทั้งการจับมือกันอย่างจริงจังในการควบคุมการ ผลิต ราคาส่งออก เพื่อให้เกิดเสถียรภาพต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อ

ไก่ไข่รอ ครม. ชี้ชะตา สถานการณ์การผลิตในปี 2555 มีปริมาณ การผลิตไข่ไก่ 11,022 ล้านฟอง หรือวันละ 30.2 ล้ า นฟอง เพิ่ ม ขึ้ น จาก 10,024 ล้ า นฟองในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้น 9.96% เนื่องจากเกษตรกรมี


การขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาพันธุ์สัตว์ มีราคาลดลง ทางด้านความต้องการบริโภค ผลผลิต ไข่ ไ ก่ 95-99% ใช้ บ ริ โ ภคภายในประเทศ การ บริโภคไข่ไก่ทั้งประเทศในช่วง 5 ปี (2551-2555) ขยายตัวในอัตรา 4.65% ต่อปี ในปี 2555 มีการ บริโภคไข่ไก่ทั้งสิ้น 10,923.87 ล้านฟอง เพิ่มขึ้น จาก 9,952.30 ล้ า นฟองของปี 2554 เท่ า กั บ 9.76% เนื่ อ งจากไข่ ไ ก่ มี ก ารณรงค์ ส่ ง เสริ ม การ บริโภคในปี 2555 ราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2555 ราคา ไข่ ไ ก่ ที่ เ กษตรกรขายได้ เ ฉลี่ ย ฟองละ 2.55 บาท ลดลงจากฟองละ 3.01 บาทในปี 2554 ถึง 15.28% เนื่ อ งจากมี ก ารขยายการเลี้ ย งเพิ่ ม ขึ้ น แม้ ว่ า เกษตรกรจะมี ก ารปรั บ ลดการผลิ ต ปลดแม่ ไ ก่ ยืนกรงเร็วขึ้น แต่ราคาก็ยังไม่สูงขึ้นมากนัก สำหรับแนวโน้มปี 2556 สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร (สศก.) ได้คาดคะเนผลผลิตไข่ไก่จาก ปริมาณนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ คาดว่าจะมีปริมาณการ ผลิตไข่ไก่ 11,360 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจาก 11,022 ล้ า นฟองในปี 2555 ถึ ง 3.07% ซึ่ ง เป็ น ผลจาก การนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553 ทำให้ ยั ง มี ป ริ ม าณพั น ธุ์ ไ ก่ ไข่ ใ นระบบอี ก มาก ถึ ง แม้ ผู้ นำเข้าไก่พันธุ์จะมีการปรับการผลิตตามสถานการณ์ โดยลดการนำเข้าจากแผนที่ขอไว้ แต่ผลของการ นำเข้าที่ลดลงจะส่งผลในช่วงปลายปี 2556-2557

ขณะเดี ย วกั น นายยุ ค ล ลิ้ ม แหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน ฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ และผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด) เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณาคืนสิทธิ์การเข้าบริหารจัดการ การนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ของบริษัทผู้นำเข้าให้แก่ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด) เพื่อแก้ไขปัญหาไข่ไก่ราคาตกต่ำ โดยหากมี ก ารคื น สิ ท ธิ์ ค ณะกรรมการ จะ เข้ามาบริหารจัดการผู้นำเข้ารายใหม่ ที่จะนำเข้า แม่ พั น ธุ์ จ ะต้ อ งแจ้ ง เอ้ ก บอร์ ด ว่ า จะนำเข้ า มาขาย ให้ใคร อยู่ที่ไหน เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้นำเข้า และ ไม่กระทบตลาดที่จะขยายตัว อย่างไรก็ตาม การให้เอ้กบอร์ดเข้ามาคุมการ บริหารการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ประวัติศาสตร์ อาจกลั บ มาซ้ ำ รอยเดิ ม ก่ อ นกลางปี 2553 ที่ เอ้กบอร์ดคุมการนำเข้า แต่ผู้ที่ได้รับผลดีกลับเป็น กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเอ้กบอร์ดประมาณ 9 รายใหญ่ ฉะนั้น เอ้กบอร์ดต้องหาวิธีการจัดสรรที่เป็นธรรม แก่ ร ายย่ อ ยมากที่ สุ ด รวมทั้ ง ราคาพ่ อ แม่ พั น ธุ์ ลูกไก่ และราคาไข่แพงเกินเหตุตามมา แม้ปัจจุบัน จะเพิ่มเป็น 23 ราย แต่ก็ไม่มีสิ่งใดมารับประกัน ว่าจะไม่เกิดเรื่องเหล่านี้ซ้ำรอยขึ้นอีก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

7


กสิกรไทยคาดส่งออกกุ้งในปี 56

ฟื้นตัวโต 3-7%

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ส่งออกกุ้งปี’56 อาจฟื้นตัวได้ ...ท่ามกลางปัจจัย เสี่ยงที่ต้องจับตาในอนาคต" ระบุว่า • การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ปี’56 มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 3-7 (YoY) จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และความ คลีค่ ลายจากประเด็นแนวทางการปฏิบตั ดิ า้ นแรงงาน (GLP) และโรคกุง้ ภายหลังจากทีก่ ารส่งออกกุง้ ปี’ 55 หดตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี • การส่ ง ออกกุ้ ง ไปตลาดญี่ ปุ่ น มี แ นวโน้ ม สดใส โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป จากการที่ ผลิตภัณฑ์อาหารไทยเป็นที่ยอมรับทางด้านคุณภาพ และมาตรฐาน • การเร่งรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ทัง้ ทางด้านราคา และคุณภาพสินค้า เป็นโจทย์สำคัญ สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกุ้งไทย กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป นับว่าเป็น สินค้าส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าประมง สามารถ สร้ า งรายได้ ใ นการส่ ง ออกปี ล ะไม่ ต่ ำ กว่ า 3 พั น ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงแม้ภาวะการส่งออกกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปในปี 2555 จะเผชิญกับ ปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ส่งผลให้การส่งออกกุ้ง ของไทยหดตัวลงสูงสุดในรอบ 10 ปี แต่จากสัญญาณ การฟืน้ ตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และความพยายาม

คลี่คลายปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นในปี 2555 ทำให้การส่งออกกุ้งของไทยในปี 2556 น่าจะ มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่สดใสมากขึ้นกว่าปี ก่ อ นหน้ า ทั้ ง นี้ ศู น ย์ วิ จั ย กสิ ก รไทย ได้ ท ำการ วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกกุ้งในปี 2556 ไว้ดังนี้ ศู น ย์ วิ จั ย กสิ ก รไทย คาดว่ า แนวโน้ ม การ ส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและแปรรูปของไทยในปี 2556 น่าจะขยายตัวร้อยละ 3-7 (YoY) โดยปรับตัวใน ทิศทางที่ดีขึ้น จากที่คาดว่าการส่งออกกุ้งในปี 2555 หดตั ว ลงถึ ง ร้ อ ยละ 14 (YoY) เนื่ อ งจาก ปั จ จั ย เสีย่ งทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่ ง เป็ น ตลาดส่ ง ออกกุ้ ง หลั ก ของไทย มี ทิ ศ ทางที่ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้กำลัง ซื้อของตลาดหลักกลับคืนมา ประกอบกับปัญหา ต่างๆ ที่กระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งตั้งแต่ปี 2555 ที่หากคลี่คลายได้ อาจส่งผลให้การส่งออกกลับมา กระเตื้องขึ้นภายในช่วงครึ่งปีหลัง โดยปัญหาหลักๆ ที่ได้เริ่มมีการแก้ไขมีดังนี้

มูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง และแปรรูปของไทย ▪ ปัญหาด้านแรงงาน โดยภาครัฐได้จัดทำ แนวทางการปฏิ บั ติ ก ารใช้ แรงงานที่ ดี (Good Labour Practices หรือ GLP) ในอุตสาหกรรม

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ข่าวรายวัน - คอลัมน์: ข่าวในประเทศ วันที่ 22 มกราคม 2556

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556




กุ้งและอาหารทะเล รวมถึงการร่วมมือของเอกชน ที่เร่งผลักดันให้เกิดโรงงานต้นแบบนำร่องในการนำ แนวทางดังกล่าวมาใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยปรับ ภาพลักษณ์ของสินค้าประมงไทยในสายตาคูค่ า้ ต่างๆ และอาจนำไปสู่การปรับอันดับการถูกจับตามอง จากสหรัฐฯ ไปสู่ระดับที่ดีขึ้น (ปัจจุบัน ไทยถูกจัด ให้อยู่ใน Tier 2 Watch List) ▪ ปั ญ หาโรคกุ้ ง ตายด่ ว น (EMS) โดยการ เร่งปรับปรุงสุขอนามัยในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง และ ทำความสะอาดบ่ อ ฟั ก เลี้ ย งในช่ ว งระหว่ า งเดื อ น มกราคม-เมษายน 2556 ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งเวลาที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่ชะลอการปล่อยลูกกุ้ง ลงบ่ อ เนื่ อ งจากเป็ น ช่ ว งที่ มี อ ากาศหนาว ทำให้ อั ต ราการรอดของลู ก กุ้ ง ต่ ำ โดยการดำเนิ น การ ดังกล่าวจะช่วยลด/แก้ปัญหาโรคกุ้งที่ส่งผลกระทบ ต่ อ ปริ ม าณผลผลิ ต ทั้ ง นี้ คาดว่ า ผลผลิ ต กุ้ ง ในปี 2556 น่ า จะมี ป ริ ม าณประมาณ 540,000 ตั น ซึ่งใกล้เคียงกับผลผลิตในปี 2555 นอกจากนี้ การปรั บ ค่ า จ้ า งแรงงานขั้ น ต่ ำ 300 บาท ทั่วประเทศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบ ต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ เนื่องจากอุตสาหกรรม กุ้งจำเป็นต้องใช้แรงงานภายในอุตสาหกรรมจำนวน มาก อย่ า งไรก็ ต าม การปรั บ ขึ้ น ค่ า แรงอาจมี ผ ล กระทบเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้ ที่ ใ นช่ ว งที่ ผ่ า นมาอาจยั ง มี ก ารจ่ า ย ค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ญี่ ปุ่ น เป็ น ตลาดส่ ง ออกกุ้ ง ที่ ส ำคั ญ อั น ดั บ ที่ 2 รองจากสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของมูลค่าการส่งออกกุ้งทั้งหมด โดยการส่งออก กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปไปยังญี่ปุ่นในปี 2555 มีมูลค่าประมาณ 850 ล้านเหรียญฯ หรือ ขยายตัวร้อยละ 5.3 (YoY) ซึ่งนับว่ามีทิศทางการ

ส่งออกทีส่ วนทางกับการส่งออกไปยังตลาดหลักอืน่ ๆ อย่างเช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การส่งออกกุ้ง ไปยังตลาดญี่ปุ่นในปี 2556 ยังคงมีทิศทางที่สดใส อย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ กุ้งแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความยอมรับอย่าง มากทั้งทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยในกลุ่ม ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น โดยในปี 2555 ที่ผ่านมา มูลค่า ส่ ง ออกกุ้ ง แปรรู ป ไปยั ง ตลาดญี่ ปุ่ น ขยายตั ว สู ง ถึ ง ร้อยละ 10 (YoY) และคาดว่าไทยยังคงครองตลาด ในการเป็นแหล่งนำเข้ากุ้งแปรรูปที่สำคัญอันดับ 1 ของตลาดญี่ปุ่น อย่างต่อเนื่องในปี 2556 โดยมี ส่วนแบ่งตลาดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55 ของการนำเข้า กุ้งแปรรูปในตลาดญี่ปุ่น สำหรั บ การส่ ง ออกกุ้ ง สดแช่ เ ย็ น แช่ แ ข็ ง แม้ว่ามูลค่าการส่งออกในปี 2555 จะหดตัวลงไม่ถึง ร้ อ ยละ 1 (YoY) แต่ ห ากพิ จ ารณาจากสั ด ส่ ว น การนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของญี่ปุ่นจะเห็นว่า ผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยยังคงเป็นที่ต้องการมากขึ้น (สัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.1 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 14.6 ในปี 2555) ในขณะที่ สั ด ส่ ว นการนำเข้ า กุ้ ง สดของญี่ ปุ่ น จากเวี ย ดนาม และอินโดนีเซีย มีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วงปลายปี 2555 ญีป่ นุ่ ยกเลิกการนำเข้ากุง้ จากอินเดีย ภายหลัง จากที่ตรวจพบว่ามีการใช้สารแอนตี้ไบโอติกในการ เลี้ยงกุ้ง นับว่าเป็นโอกาสของกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ของไทยที่จะขยายตลาดได้มากขึ้นในญี่ปุ่น เนื่อง จาก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กุ้งส่วนใหญ่ของอินเดียที่ ส่งออกไปยังญี่ปุ่นจะอยู่ในรูปของกุ้งสดแช่เย็นแช่ แข็ง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

9


สัดส่วนการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ของญี่ปุ่น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ว่าภาพรวม ของการส่งออกกุ้งในปี 2556 จะฟื้นตัวและสามารถ ขยายการส่งออกได้ประมาณร้อยละ 3-7 (YoY) แต่ในระยะถัดไป อุตสาหกรรมกุ้งไทยก็ยังคงเผชิญ กับหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบโดยตรงต่อ อุตสาหกรรม ดังนี้ ▪ การยกเลิกให้สิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป ซึ่งครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป โดยไทยจะ ต้องกลับไปใช้ภาษีในอัตราปกติในการส่งออกไปยัง สหภาพยุโรป (ปรับเพิ่มขึ้นจากอัตรา GSP ร้อยละ 7 เป็นอัตราปกติร้อยละ 20) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึ ง 31 ธั น วาคม 2559 ซึ่ ง อาจส่ ง ผล กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในอนาคต ▪ การใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนของ สหรัฐฯ (Countervailing Duty: CVD) ซึ่งขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการไต่ส่วนทั้งทางด้าน อุตสาหกรรมกุ้งภายในของสหรัฐฯ และไทย โดย ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1.5-3 เดือน และคาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในครึ่งปีแรก ซึ่งหากไทยถูกเรียก เก็ บ ภาษี ต่ อ ต้ า นการอุ ด หนุ น เพิ่ ม เติ ม จากเดิ ม ที่ ปั จ จุ บั น ถู ก เรี ย กเก็ บ ภาษี ต่ อ ต้ า นการทุ่ ม ตลาด (Anti dumping) ในอัตราร้อยละ 1.38 ก็จะยิ่ง ส่งผลลบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้า กุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น ▪ ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มผันผวนในทิศทาง แข็งค่าขึ้น อาจมีผลกระทบต่อราคาส่งออกกุ้งของ ไทยให้มีราคาสูงขึ้น แม้ว่าผู้ประกอบการบางราย จะได้รับยอดคำสั่งซื้อทั้งปี และทยอยส่งมอบตาม ช่วงเวลาที่ลูกค้ากำหนด ทำให้อาจจะยังไม่ได้รับ

10

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

ผลกระทบต่ อ การส่ ง ออกในระยะสั้ น แต่ ห ากค่ า เงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ก็อาจ ส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งซื้อในอนาคต ▪ ปั ญ หาการขาดแคลนแรงงาน ที่ เริ่ ม ทวี ความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลัก ดันให้ค่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมกุ้ง และสินค้า เกษตรแปรรูปขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต จากปัจจัยเสี่ยงข้างต้นที่อุตสาหกรรมกุ้งไทย อาจต้องเผชิญในระยะถัดไป ล้วนส่งผลต่อต้นทุนใน การประกอบธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขัน ทางด้ า นราคาของผู้ ป ระกอบการไทยในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้อง จึง ควรติดตามความเคลือ่ นไหวของสถานการณ์ดงั กล่าว อย่ า งใกล้ ชิ ด รวมทั้ ง เตรี ย มวางแผนรั บ มื อ ภาระ ต้นทุนที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เพื่อให้ อุ ต สาหกรรมกุ้ ง ไทยสามารถที่ จ ะรั ก ษาขี ด ความ สามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดต่างๆ ได้ ทั้ ง นี้ แนวทางในการปรั บ ตั ว ที่ ส ำคั ญ ของ ผู้ประกอบการ ควรเร่งบริหารจัดการต้นทุนในการ ผลิตและการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการ บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน การให้ความสำคัญ กั บ การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทั้ ง ในด้ า นการพั ฒ นา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ กุ้ ง แปรรู ป เพื่ อ สร้ า งความหลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ในแต่ละตลาดมากขึ้น ตลอดจน ควรเพิ่มมูลค่าเพิ่ม ให้ กั บ สิ น ค้ า โดยการพั ฒ นาวั ต ถุ ดิ บ กุ้ ง ให้ ส ามารถ ส่งออกในรูปของอาหารสำเร็จพร้อมทานมากขึ้น นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา/ปรับปรุง มาตรฐานการผลิ ต มาตรฐานสิ น ค้ า รวมถึ ง การ สร้ า งแบรนด์ ใ ห้ เ ป็ น ที่ จ ดจำของกลุ่ ม ลู ก ค้ า มาก ยิ่งขึ้น


เอกชนหวั่นส่งออกไก่สะดุด

แนะล้ม ‘เกลือเสริมไอโอดีน’ ในอาหารสัตว์ • ยุพิน พงษ์ทอง •

การขาดสารไอโอดีน (Iodine) เป็นสาเหตุ สำคัญที่สุดของความพิการทางสติปัญญา โดยความ ผิ ด ปกติ ข องการขาดสารไอโอดี น คื อ เกิ ด อาการ คอพอก และโรคเอ๋ อ คื อ ระดั บ สติ ปั ญ ญาพั ฒ นา ด้อยกว่าปกติ และมีพัฒนาการทางร่างกายต่ำกว่า เกณฑ์ หากมีการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ก็ จ ะมี ผ ลทำให้ ท ารกมี พั ฒ นาการของสมองและ ระบบประสาทที่ ช้ า กว่ า ปกติ ที่ ผ่ า นมารั ฐ บาลได้ แก้ ปั ญ หาโดยการออกมาตรการบั ง คั บ ให้ เ กลื อ บริโภคได้ทั้งคนและสัตว์ทุกชนิดต้องเป็นเกลือเสริม ไอโอดีน

สารไอโอดีนไทยเป็นปัญหาที่สำคัญในเด็กเล็กและ สตรีที่ตั้งครรภ์ เพราะคนกลุ่มนี้ได้รับปริมาณสาร ไอโอดีนจากอาหารที่รับประทานไม่เพียงพอ จึงเกิด ผลกระทบต่อสติปัญญาและการเจริญเติบโตของ เด็ ก ภาครั ฐ จึ ง ให้ ก รมอนามั ย ส่ ง เสริ ม ให้ ค วามรู้ ประชาชนและติดตามสถานการณ์ปัญหาขาดสาร ไอโอดีนในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา จะเป็นผู้รับผิดชอบ เกลือบริโภคที่ต้องเสริมไอโอดีนเพื่อให้ประชาชน ได้รับไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ของร่างกายเมื่อบริโภคเกลือ

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ เรื่ อ งมาตรการบั ง คั บ ให้ เ กลื อ บริโภค หรือโซเดียมคลอไรด์เสริมไอโอดีนเป็นส่วน ผสมในอาหารสั ต ว์ ต ามข้ อ เสนอของกระทรวง สาธารณสุข ซึ่งกำหนดให้เกลือบริโภคทั้งคนและ สัตว์ทุกชนิดเป็นเกลือเสริมไอโอดีนตามนโยบาย เกลื อ เสริ ม ไอโอดี น ถ้ ว นหน้ า (USI) โดยมอบให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ออกกฎหมาย ควบคุมเกลือสำหรับสัตว์ให้เป็นเกลือเสริมไอโอดีน ทั้งหมด ซึ่งมาตรการนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ แก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในไทย และเพื่อ แก้ปญั หาการรัว่ ไหลของเกลืออุตสาหกรรมไปสูเ่ กลือ บริโภค

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของกรมอนามัย พบว่าปัญหาการขาดสารไอโอดีนยังคงมีอยู่ และ วิธีการแก้ไขปัญหาที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) แนะนำคือการใช้ Universal Salt lodization (USI) ซึ่ ง ตามหลั ก การเมื่ อ เสริ ม ไอโอดี น ในเกลื อ บริโภคแล้ว ควรลดหรือแก้ไขปัญหาการขาดสาร ไอโอดีนในกลุ่มเป้าหมายได้ แต่ในความเป็นจริง พบว่าการเสริมไอโอดีนในเกลือบริโภคยังมีปัญหา อยู่

ทั้งนี้ สมาคมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าโรคขาด

“จากการสำรวจของสมาคมฯ ในตัวอย่าง เกลือเสริมไอโอดีนที่วางจำหน่ายในตลาด พบว่า มีปริมาณสารไอโอดีนในระดับที่แตกต่างกันมาก บางยี่ห้อมีระดับต่ำกว่ามาตรฐาน และจากการ เก็บตัวอย่างเกลือไอโอดีนจากจังหวัดต่างๆ 12 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

11


ตัวอย่าง พบว่า มี 5 ตัวอย่างทีค่ า่ สารไอโอดีนต่ำกว่า มาตรฐานตามทีก่ ฎหมายกำหนด คือ 20-40 ppm จำนวน หรือ 42% ที่มีค่าไอโอดีนต่ำกว่าเกณฑ์” ทั้งนี้ สมาคมฯ เห็นว่าภาครัฐฯ โดยคณะ กรรมการอาหารและยา ยังไม่สามารถแก้ปัญหา เกลื อบริ โ ภคเสริ ม ไอโอดี น ให้ ได้ คุ ณ ภาพ ซึ่ ง จุ ดนี้ เป็นสาเหตุหลักที่ผู้บริโภคได้รับปริมาณสารไอโอดีน ไม่ เ พี ย งพอ จึ ง เป็ น การแก้ ไขปั ญ หาที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง ขณะเดียวกันคณะกรรมการอาหารและยาได้เสนอ ให้ ครม. มีมติให้กระทรวงเกษตรฯ ออกกฎหมาย บังคับให้อาหารสัตว์ใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ซึ่ง จะส่งผลกระทบกับธุรกิจการผลิตอาหารสัตว์ของ ไทย ทั้งด้านการคำนวณสูตรอาหาร เพราะปริมาณ ไอโอดีนในเกลือเสริมไอโอดีนมีค่าแปรปรวน หรือ ไม่แน่นอน ไม่สามารถนำมาคำนวณในสูตรอาหาร สัตว์ได้ นอกจากนั้ น ยั ง เกิ ด ผลกระทบด้ า นการ จัดการสำหรับโรงงานอาหารที่ผลิตอาหารสัตว์ ทั้ง เพื่อการเลี้ยงสัตว์ในประเทศและการส่งออก ซึ่ง จะมีความยุ่งยากมากขึ้นตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ การ คัดแยก การเก็บวัตถุดิบ การผลิตอาหารสัตว์ ระบบ การเลี้ยง โดยผู้ส่งออกไม่สามารถปรับเปลี่ยนแผน การเลี้ยงและการขายได้ต่ำกว่าความต้องการของ ตลาด ขณะที่ ผู้ ป ระกอบการจะมี ต้ น ทุ น การผลิ ต อาหารสัตว์เพิ่มขึ้น “จากการคำนวณต้นทุนการใช้เกลือเสริม ไอโอดีน ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ พบว่า ต้นทุนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จะเพิ่มขึ้นปีละ 34 ล้านบาท จากการคำนวณต้นทุน 3 ส่วนหลัก คือ ค่าเกลือเสริมไอโอดีน ค่าตรวจวิเคราะห์ และค่า การจัดการที่เพิ่มขึ้น และยังเกิดผลกระทบต่อการ

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

ส่งออกไก่ไปตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ เพราะ กฎหมาย Food Sanitation ไม่อนุญาตให้ใช้ ไอโอดีนเป็นสารปรุงแต่งอาหารทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ซึ่งไทยมียอดส่งออกปีละประมาณ 2 แสนตัน มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท” ส่วนการรั่วไหลของเกลืออุตสาหกรรมไปสู่ เกลื อ บริ โ ภคนั้ น หากพิ จ ารณาปริ ม าณการผลิ ต เกลื อ ของไทยพบว่ า สามารถผลิ ต เกลื อ ได้ ปี ล ะ 2 ล้านตัน โดยเข้าสู่อุตสาหกรรม 1.5 ล้านตัน หรือ 75% และเป็นเกลือบริโภค 5 แสนตัน หรือ 25% สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใช้เพียง 10% ของ เกลือบริโภค หรือ 2.5% ของเกลือที่ผลิตได้ทั้งหมด อย่ า งไรก็ ต าม จากประกาศกระทรวง สาธารณสุขเรื่องเกลือบริโภคมีการยกเว้นสำหรับ อาหารสัตว์บางชนิดที่ไม่ต้องใช้เกลือเสริมไอโอดีน และร่างประกาศกระทรวงเกษตรฯ เรื่องกำหนด ประเภท ชนิ ด หรื อ ลั ก ษณะของวั ต ถุ ที่ เ ติ ม ใน อาหารสัตว์ที่ให้ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร สัตว์ รวมทั้งอัตราส่วน หรือปริมาณที่ให้ใช้ หรือ ห้ า มไม่ ใ ห้ ใช้ วั ต ถุ นั้ น เกิ น กำหนด มี ก ารยกเว้ น ให้ กั บ การผลิ ต อาหารเพื่ อ ใช้ เ ลี้ ย งสั ต ว์ สำหรั บ การ ส่ ง ออก และสำหรั บ สั ต ว์ ป่ ว ยตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ “มาตรการบังคับใช้เกลือเสริมไอโอดีนใน อาหารสั ต ว์ ไ ม่ ใช่ แ นวทางการแก้ ไขปั ญ หาการ รั่วไหลของเกลือดังกล่าว สมาคมฯ จึงทำหนังสือ ชี้ แจงไปยั ง กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวง สาธารณสุข เพือ่ ขอให้พจิ ารณาขอยกเลิกมติ ครม. เบื้องต้นพบว่ากระทรวงสาธารณสุขเข้าใจปัญหา ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้ว”


ตารางประเมินผลกระทบจากการบังคับใช้ระบบ USI ปี 2555 ชนิดสัตว์ ไก่เนื้อ ไก่พ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ เล็กรุ่น ไก่ให้ไข่ ไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ หมูขุน หมูพันธุ์ เป็ดเนื้อ เป็ดพันธุ์ เป็ดไข่ โคนม รวมทั้งหมด

ปริมาณ อัตราการใช้เกลือ2 อาหารสัตว์1 (กก./100 กก. อาหาร) (ตัน) 4,597,164 0.35 716,184 0.35 841,967 0.35 1,765,200 0.50 24,000 0.50 3,835,000 0.35 837,000 0.35 252,000 0.50 21,900 0.50 169,000 0.50 574,875 0.50 13,634,290

ปริมาณเกลือ ที่ใช้ (ตัน) 16,090.07 2,506.64 2,946.88 8,823.00 120.00 13,422.50 2,929.50 1,260.00 109.50 845.00 2,874.38 51,930.48

ต้นทุนเกลือ ที่เพิ่มขึ้น (บาท) 3,218,014.8 501,328.8 589,376.9 1,765,200.0 24,000.0 2,684,500.0 585,900.0 252,000.0 21,900.0 169,000.0 574,875.0 10,386,095.5

ต้นทุนอาหารสัตว์ ที่เพิ่มขึ้น (บาท/ตัน) 0.70 0.70 0.70 1.00 1.00 0.70 0.70 1.00 1.00 1.00 1.00 0.76

ที่มา: 1 คือ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และ 2 คือ กรมปศุสัตว์ หมายเหตุ: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยรายงานว่า หากต้องมีการเติมไอโอดีนให้ได้ตามที่กำหนดจะทำให้ต้นทุนการผลิตเกลือเพิ่มขึ้น ตันละ 200 บาท

ประเทศไทยสามารถผลิตเกลือได้ปีละประมาณ 2 ล้านตัน โดยเข้าสู่อุตสาหกรรม 1.5 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 75 และเป็นเกลือบริโภค 0.5 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 25 ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใช้เพียง ร้อยละ 10 ของปริมาณเกลือปริโภค หรือร้อยละ 2.5 ของปริมาณเกลือที่ผลิตได้ทั้งหมด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

13


รายงานการสำรวจข้าวโพด ครั้งที่ 4 ฤดูกาลผลิต ปี 2555/2556 โดยคณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระหว่างวันที่ 10-14 ธันวาคม 2555

• จัดทำโดย: ณัฐพล มีวิเศษณ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย วันที่ 27 ธันวาคม 2555 •

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. น.ส.สุภากาญจน์ แตรสุภาพ 3. นายรวีธนัทณ์ วโรตม์สุพรรณ 4. น.ส.ชุลีพร ยิ่งยง 5. น.ส.ปรวรรณ พิทักษ์โกศล 6. น.ส.บุษบง ศรีอักษร 7. น.ส.กัณฑลี สระทองเทียน 8. น.ส.ญาณี มีจ่าย 9. นายอำนาจ อินทวัน 10. นายเมธ พนานุสรณ์ 11. นายทวี แก้วบัวดี 12. น.ส.นิชนันท์ วัตถุรัตน์ 13. นายอิศรา บุญประสงค์ 14. นายณัฐพล มีวิเศษณ์

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนียนฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทยฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

สำหรับภาพรวมของการสำรวจปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2555/2556 ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 10-14 ธันวาคม 2555 นั้น พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่พึงพอใจกับราคารับซื้อข้าวโพด ณ ช่วงเวลานี้ ในส่วนของลานรับซื้อมองทิศทางราคาอยู่ในกรอบ 10-12 บาทในปี 2556 แต่เนื่องจากโกดังเก็บสินค้า เกษตรส่วนใหญ่ถูกเช่าเก็บสินค้าเกษตรในโครงการของรัฐบาล จึงทำให้ไม่สามารถเก็บ Stock ของ ข้าวโพดไว้ได้มากพอในปี 2556 ซึ่งในส่วนของภาพรวมของจังหวัดทางตอนเหนือ เห็นในทิศทางเดียวกัน ที่ยางพาราจะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ปลูกข้าวโพดต่อไป และถือเป็นกระแสความนิยมของเกษตรกรในหลายๆ จังหวัดด้วย

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่เพาะปลูก 105,456 ไร่ 126,234ไร่ ↑  19.7%

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 105,456 126,234 ไร่ -

ผลผลิตต่อไร่ 666 กก. 723 กก. ↑  8.5%

ผลผลิตรวม 70,234 ตัน 91,267 ตัน ↑  29.95%

สภาพโดยทั่วไป : - พื้นที่โดยรวมของจังหวัดแม้จะได้รับอิทธิพลจากกระแสการปลูกยางพารา แต่ไม่ มากนัก ประกอบกับราคาดีทำให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น - พื้นที่การปลูกหลักยังคงเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา และพื้นที่บนเขา โดยพืชไร่เศรษฐกิจหลัก ของเกษตรกรยังคงเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนั้น จะนิยมปลูกข้าวบริเวณพื้นราบ ซึ่งเป็นคนละพื้นที่กัน - จากสภาพอากาศที่มีฝนกระจายตัวสม่ำเสมอไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ทำให้ผลผลิต ข้าวโพดดี เมล็ดเต็มฝัก ได้นำ้ หนักเพิม่ ขึน้ รวมถึง การหันมาใช้เมล็ดพันธุผ์ สมของบริษทั เอกชนที่นิยมคือ CP888 ซึ่งมีผลทำให้โดยเฉลี่ยทั้งจังหวัดเพิ่มขึ้นประมาณ 8.5% คิดเป็น 723 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิต : - ต้นทุนการผลิตรวมของเกษตรกร เฉลี่ยทั้งจังหวัด 5,290 บาทต่อไร่ โดยต้นทุนหลัก จะอยู่ที่ค่าแรงงานในการปลูกและเก็บเกี่ยวที่ยังไม่สามารถใช้เครื่องจักรทำงานแทน แรงงานคนได้ รวมถึง ค่าปุ๋ยบำรุงเพื่อให้ผลผลิตต่อไร่ดีขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

15


จังหวัดเชียงราย แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย,  การค้าภายในจังหวัดเชียงราย

พื้นที่เพาะปลูก 813,890 ไร่ 728,431 ไร่ ↓  10.5%

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 813,890 ไร่ 728,431 ไร่ ↓  10.5%

ผลผลิตต่อไร่ 646 กก. 640 กก. ↓  0.92%

ผลผลิตรวม 525,772 ตัน 466,195 ตัน ↓  11.33%

สภาพโดยทั่วไป : - พื้นที่การเพาะปลูกข้าวโพดจังหวัดเชียงรายลดลง 10.5% โดยนิยมปลูกยางพารา และมันสำปะหลังมากขึ้น จากการที่มันสำปะหลังมีโครงการแทรกแซงราคา และ เกษตรกรเห็นการเปลี่ยนแปลงของฐานะของผู้ที่ปลูกยางพาราทำให้กระแสการปลูก ยางพารามีมากขึ้น - อีกปัจจัยหนึ่ง คือ การเกิดน้ำหลากช่วงกลางปี และฝนทิ้งช่วงปลายปีทำให้พื้นที่ ข้าวโพดที่เสียหายไม่มีการปลูกซ่อม เนื่องจากเกษตรกรมองว่าหากมีการปลูกซ่อม ก็จะไม่ทันฝน และพื้นที่ปลูกยากต่อการปลูกซ่อมซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงไม่คุ้มค่าต่อการ ปลูกซ่อม - พฤติกรรมการปลูกของจังหวัดเชียงรายจะเริม่ ปลูกช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. และจะเก็บเกีย่ ว ประมาณเดือนส.ค.-ก.ย. หลังจากนั้นจะเริ่มลงข้าวโพดฤดูแล้งประมาณเดือนต.ค. และจะเก็บเกี่ยวอีกรอบประมาณเดือนม.ค.-ก.พ.

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556




- ผลผลิตต่อไร่ลดลงเล็กน้อย 0.92% ซึ่งบางพื้นที่ราบได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วง ช่วงดอกออก แต่ในภาพรวมข้าวโพดจังหวัดเชียงรายยังคงเป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักอยู่ แม้ว่าจะเริ่มมียางพาราและมันสำปะหลังแทรกพื้นที่เข้ามาบ้างก็ตาม ปัญหาและอุปสรรค : - สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงรายได้มีโครงการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร โดยการวิเคราะห์ดินเพื่อ ให้ใช้ปุ๋ยที่มีความเหมาะสมต่อสภาพดินในแต่ละพื้นที่ - เกษตรกรยังคงนิยมการเผาพื้นที่หลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดปัญหามลภาวะ ทางอากาศ เกิดการต่อต้านจากหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการ ทำให้คุณภาพดินเสื่อมลง ซึ่งเป็นผลทำให้ผลผลิตต่อไร่ไม่ดีเท่าที่ควร

จังหวัดพะเยา แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา,  การค้าภายในจังหวัดพะเยา

พื้นที่เพาะปลูก 220,487 ไร่ 193,147 ไร่ ↓  12.40%

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 220,487 ไร่ 193,147 ไร่ ↓  12.40%

ผลผลิตต่อไร่ 702 กก. 702 กก. -

ผลผลิตรวม 154,782 ตัน 135,589 ตัน ↓  1.24%

สภาพโดยทั่วไป : - พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว เหลือ 193,147 ไร่ หรือคิดเป็น 12.40% เป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่เดิมไปปลูกยางพาราซึ่งเป็นกระแสความ นิยมจากจังหวัดข้างเคียงของเกษตรกร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

17


- ผลผลิตต่อไร่คงที่จากปีที่ผ่านมาที่ 702 กิโลกรัมต่อไร่ แม้ว่าภาวะฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางพื้นที่ทำให้ผลผลิตไม่ค่อยดี แต่ในบางพื้นที่ยังคงมีการบำรุง ดูแลรักษาอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตโดยรวมของทั้งจังหวัดไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ให้ไว้ ปัญหาและอุปสรรค : - การทดลองปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพาราของเกษตรกรมีเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ได้ผล เป็ น ที่ น่ า พอใจเนื่ อ งจาก เกษตรกรจั ง หวั ด พะเยาเลี ย นแบบพฤติ ก รรมจาก จังหวัดน่าน แต่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร จึงไม่ได้มีการแบ่งโซน ซึ่ง ผลของการถูกเผาไร่ข้าวโพดหลังจากเก็บเกี่ยวทำให้ต้นกล้ายางพาราตาย ซึ่ง ต่างจากจังหวัดน่านที่มีการแยกพื้นที่ทั้งสองอย่างชัดเจน

จังหวัดน่าน แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน

พื้นที่เพาะปลูก 582,410 ไร่ 651,410 ไร่ ↑  11.85%

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 582,410 ไร่ 651,410 ไร่ ↑  11.85%

ผลผลิตต่อไร่ 688 กก. 695 กก. ↑  1.02%

ผลผลิตรวม 400,698 ตัน 452,729 ตัน ↑  12.98%

สภาพโดยทั่วไป : - เนื่องจากปี 2554 ที่ผ่านมามีพื้นที่การเพาะปลูกเสียหายจากภัยธรรมชาติ แต่เริ่ม ฤดูการปลูกปีนี้ พื้นที่ในส่วนที่มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 11.85% ยังคงเป็นพื้นที่ ข้าวโพดเดิม - ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็น 695 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 1.02% จาก ปั จ จั ย การบำรุ ง รั ก ษาที่ ดี ข องเกษตรกร อี ก ทั้ ง การกระจายตั ว ของฝนสม่ ำ เสมอ เหมาะสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

18

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


ปัญหาและอุปสรรค : - ปัจจุบันพื้นที่การปลูกยางพาราในจังหวัดน่านมีมากขึ้น จากนโยบายการส่งเสริม ของจังหวัด ทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เริ่มปลูกยางพารา และยังคง อยู่ในช่วงของการเติบโตในปีแรก ทำให้พื้นที่ข้าวโพดยังคงไม่หายไปมากกว่าเดิม นัก แต่แนวโน้มของพื้นที่การปลูกข้าวโพดในอนาคตอาจจะลดลงในพื้นที่ราบ เชิงเขา จากการที่ยางพาราโตจนไม่สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แซมในพื้นที่ได้

จังหวัดแพร่ แหล่งข้อมูล :

สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก 187,981ไร่ 187,981ไร่ -

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 187,981ไร่ 187,981ไร่ -

ผลผลิตต่อไร่ 693 กก. 703 กก. ↑  1.44%

ผลผลิตรวม 125,060 ตัน 132,150 ตัน ↑  5.67%

สภาพโดยทั่วไป : - ปริมาณพื้นที่เพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวของจังหวัดแพร่ ยังทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2554 แต่ในด้านผลผลิตรวมทั้งจังหวัดเพิ่มขึ้น 5.67% จากผลผลิตต่อไร่ที่ดี - ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเป็น 703 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 1.44% จาก ปั จ จั ย การใช้ ปุ๋ ย บำรุ ง ดิ น และเร่ ง การเจริ ญ เติ บ โต อี ก ทั้ ง การกระจายตั ว ของฝน สม่ำเสมอเหมาะสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปัญหาและอุปสรรค : - พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกแซมสวนยางพาราไม่สามารถทำได้แล้ว แต่เนื่องจากเกษตรกรที่เคยทำสวนมะขามหวานได้เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ทำให้พื้นที่โดยรวมถัวเฉลี่ยไปอยู่ในระดับทรงตัว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

19


จังหวัดอุตรดิตถ์ แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์, เกษตรอำเภอน้ำปาด, บ้านโคก และเมือง การค้าภายในจังหวัดอุตรดิตถ์

พื้นที่เพาะปลูก 104,920 ไร่ 104,920 ไร่ -

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 104,920 ไร่ 104,920 ไร่ -

ผลผลิตต่อไร่ 649 กก. 659 กก. ↑  1.50 %

ผลผลิตรวม 68,093 ตัน 69,142 ตัน ↑  1.54%

สภาพโดยทั่วไป : - ปริมาณพื้นที่เพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ ยังทรงตัวเมื่อเทียบกับ ปี 2554 แต่ในด้านผลผลิตรวมทั้งจังหวัดเพิ่มขึ้น 1.54% จากผลผลิตต่อไร่ที่ดี - ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 1.50% เป็น 659 กก. ต่อไร่ จากสภาพ อากาศที่ เ หมาะสม มี ฝ นกระจายตั ว สม่ ำ เสมอในพื้ น ที่ ข องจั ง หวั ด ในส่ ว นการ บำรุงดูแลรักษาเกษตรกรไม่เปลี่ยนแปลงนัก เนื่องจากจะทำให้กระทบต่อต้นทุนที่ เพิ่มขึ้นของเกษตรกร ทำให้ผลผลิตต่อไร่ยังไม่สูง ปัญหาและอุปสรรค : - โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นปัจจัยที่สำคัญของเกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยน การปลูกพืช แต่เนื่องจากราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นที่น่าพอใจของเกษตรกร จึ ง ทำให้ เ กษตรกรที่ มี ค วามชำนาญ และปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ม านาน ไม่ ปรับเปลี่ยนการปลูก ทำให้พื้นที่เท่าเดิม - สื บ เนื่ อ งจากโครงการแทรกแซงมั น สำปะหลั ง และรั บ จำนำข้ า ว ทำให้ พื้ น ที่ ในการเก็บโกดังต่างๆ ที่เป็นของพ่อค้า และเอกชน ไม่สามารถ Stock ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ได้ สาเหตุหนึ่งเพราะการเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐได้รับผลตอบแทน ที่ดีกว่าโดยไม่ต้องมีการลงทุนอย่างอื่นเพิ่ม

20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


จังหวัดพิจิตร แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร,  การค้าภายในจังหวัดพิจิตร

พื้นที่เพาะปลูก 37,720 ไร่ 20,269 ไร่ ↓  46.26 %

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 37,720 ไร่ 20,269 ไร่ ↓  46.26 %

ผลผลิตต่อไร่ 691 กก. 714 กก. ↑  3.32 %

ผลผลิตรวม 260,645 ตัน 144,720 ตัน ↓  44.47%

สภาพโดยทั่วไป : - ปริมาณพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดพิจิตรลดลงอย่างมาก เหลือเพียง 20,269 ไร่ โดย พื้นที่หลักยังคงเป็น อ.ดงเจริญ และอ. สากเหล็ก ที่นิยมปลูกข้าวโพดหน้าฝน - ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ เ พิ่ ม ขึ้ น 714 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ จากสภาพอากาศที่ เ หมาะสม มี ฝ น กระจายตัวสม่ำเสมอในพื้นที่ของจังหวัด ไม่มีโรคระบาด หรือศัตรูพืชที่ร้ายแรง - ต้นทุนเฉลี่ยของเกษตรกรอยู่ที่ 4,410 บาท โดยต้นทุนกว่า 50% จะอยู่ที่ค่าเช่าพื้นที่ และค่าปุ๋ย ปัญหาและอุปสรรค : - โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นปัจจัยที่สำคัญของเกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยน การปลูกพืช จึงทำให้เกษตรกรเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกอย่างมาก แต่ในทาง ตรงกันข้ามเกษตรกรที่ยังคงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่มีระบบการดูแล และบริหาร จัดการที่ดีขึ้น จำนวนไร่ต่อครัวเรือนลดลงประสิทธิภาพผลผลิตต่อไร่ดีขึ้นตาม ลำดับ - ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ถอื เป็นพืชไร่ทเี่ กษตรกรนิยมปลูกเป็นอันดับ 3 รองจากอ้อยโรงงาน และถั่วเขียว - ปั จ จั ย สำคั ญ ของเกษตรกรในพื้ น ที่ นี้ อยู่ ที่ ร าคาผลผลิ ต ที่ จ ะขายได้ ใ นแต่ ล ะปี ซึ่งราคาตั้งแต่กลางปี 2555 ถึงปลายปี ราคาข้าวโพดค่อนข้างดี อาจจะมีแนวโน้ม ทำให้เกษตรกรหันกลับมาปลูกข้าวโพดได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับปัจจัยทางด้าน สภาพอากาศทีข่ า้ วโพดใช้นำ้ น้อยกว่าพืชชนิดอืน่ จึงทำให้ปี 2556 อาจมีการปรับตัว สูงขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

21


จังหวัดลำพูน แหล่งข้อมูล :

ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2554/2555 ปี 2555/2556 เพิ่ม/ลด (%)

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน,  พ่อค้าในพื้นที่ (หจก. นครหริปุญชัย พืชผล)

พื้นที่เพาะปลูก 107,567ไร่ 105,011ไร่ ↓  2.37%

พื้นที่เสียหาย -

พื้นที่เก็บเกี่ยว 107,567ไร่ 105,011ไร่ ↓  2.37%

ผลผลิตต่อไร่ 624 กก. 626 กก. ↑  0.32%

ผลผลิตรวม 67,121 ตัน 65,736 ตัน ↓  2.06%

สภาพโดยทั่วไป : - พื้นที่โดยรวมของจังหวัดลำพูนลดลงเล็กน้อย 2.37% เหลือเพียง 105,011 ไร่ - ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 0.32% เป็น 626 กก. ต่อไร่ แต่ถือว่ายังไม่ มากนัก เนื่องจากเกษตรกรใช้แรงงานคนในการปลูก ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยวเองเกือบทั้งหมด ปัญหาและอุปสรรค : - พื้นที่ลดลงจากการขยายพื้นที่ของมันสำปะหลัง บริเวณ อ.ลี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูก ที่ใหญ่และสำคัญของข้าวโพด เนื่องจากเกษตรกรเห็นข้อเปรียบเทียบระหว่าง ราคามันสำปะหลังที่มีโครงการแทรกแซงราคา ประกอบกับผลผลิตต่อไร่ของ ข้าวโพดไม่สูงเท่าที่ควร จึงทำให้เกษตรกรได้รับรายได้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับ มันสำปะหลัง

22

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

23

เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ ลพบุรี พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร สระบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี

จังหวัด

ปี 54/55 455,867 105,456 220,487 78,183 107,567 187,981 582,410 8,960 81,261 301,607 228,393 113,909 605,483 97,451 310,412 186,805 88,180 104,920 37,720 181,530 4,340 55,850 6,920

พื้นที่ปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 เพิ่ม/ลด ปี 54/55 ปี 55/56 เพิ่ม/ลด ปี 54/55 ปี 55/56 เพิ่ม/ลด ปี 54/55 ปี 55/56 เพิ่ม/ลด 455,867 - 455,867 455,867 644 647 -0.92% 293,578 294,946 0.47% 126,234 19.70% 105,456 126,234 19.70% 666 723 8.50% 70,234 91,267 29.95% 193,147 19.70% 220,487 193,147 19.70% 702 702 - 154,782 135,589 -12.40% 80,010 2.33% 78,183 80,010 2.33% 676 696 2.95% 52,851 55,687 5.36% 105,011 -2.37% 107,567 105,011 -2.37% 624 626 0.32% 67,122 65,737 -2.06% 187,981 - 180,462 187,981 693 703 1.44% 125,060 132,151 5.67% 651,410 11.85% 513,359 651,410 11.85% 688 695 1.02% 353,191 452,730 28.18% 8,640 -3.57% 8,960 8,210 -8.37% 509 498 -2.16% 4,560 4,089 -10.34% 968,798 -1.27% 981,261 968,798 -1.27% 725 797 9.93% 711,414 772,132 8.53% 259,382 -14.00% 301,607 259,382 -14.00% 725 624 -13.93% 218,665 161,854 -25.98% 251,232 10.00% 228,393 251,232 10.00% 698 797 14.18% 159,418 200,232 25.60% 111,630 -2.00% 113,909 106,630 -6.39% 700 642 -8.29% 79,736 68,456 -14.15% 647,866 7.00% 605,483 647,866 7.00% 500 641 28.20% 302,742 415,282 37.17% 87,706 -10.00% 97,451 87,706 -10.00% 670 670 65,292 58,763 -10.00% 263,850 -15.00% 310,412 203,850 -34.33% 657 650 -1.07% 203,941 132,503 -35.03% 120,773 -35.35% 186,805 120,773 -35.35% 650 650 - 121,423 78,502 -35.35% 87,400 -0.88% 88,180 84,800 -3.83% 610 596 -2.29% 53,790 50,541 -6.04% 104,920 - 104,920 101,710 -3.06% 649 659 1.50% 68,093 67,027 -1.57% 20,269 -46.03% 37,720 36,630 -2.89% 691 714 3.32% 26,065 26,154 0.34% 179,880 -0.91% 181,530 176,530 -2.75% 701 695 -0.86% 127,253 125,010 -1.76% 4,210 -2.99% 4,340 4,250 -2.07% 615 618 0.49% 2,669 2,600 -2.59% 54,660 -2.13% 55,850 54,380 -2.63% 709 702 -0.99% 39,598 38,370 -3.10% 96,410 -0.53% 96,920 95,830 -1.12% 689 695 0.87% 66,778 67,000 0.33%

ตารางสรุปผลการสำรวจปริมาณข้าวโพด ฤดูการผลิต ปี 2555/2556


24

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

พื้นที่ปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 เพิ่ม/ลด ปี 54/55 ปี 55/56 เพิ่ม/ลด ปี 54/55 ปี 55/56 เพิ่ม/ลด ปี 54/55 ปี 55/56 เพิ่ม/ลด 14,340 3.69% 13,830 13,920 0.65% 602 607 0.83% 8,326 8,700 4.49% 6,870 -9.25% 7,570 6,670 -11.89% 557 562 0.90% 4,216 3,860 -8.44% 2,210 -15.33% 2,610 2,160 -17.24% 586 584 -0.34% 1,529 1,290 -15.63% 804,300 - 804,300 804,300 685 672 -0.97% 548,532 542,902 -0.97% 728,431 -10.50% 813,890 728,431 -10.50% 646 640 -0.92% 525,772 466,195 -11.33% 106,210 -6.86% 114,030 106,210 -6.86% 590 660 11.86% 67,278 70,099 4.19% 50,940 0.73% 50,670 49,300 -2.70% 611 606 -0.82% 30,959 30,850 -0.35% 10,850 -7.18% 11,690 10,140 -13.25% 524 512 -2.29% 6,126 5,560 -9.24% 1,710 4.90% 1,630 1,660 1.84% 552 544 1.45% 900 930 3.33% 1,630 1.87% 1,600 1,580 -1.25% 694 687 1.01% 1,110 1,120 0.90% 22,260 3.97% 21,410 21,560 0.70% 695 691 -0.57% 14,880 15,380 3.36% 610 -8.95% 670 580 -13.43% 612 590 -3.59% 410 360 -12.20% 5,900 20.90% 4,880 5,720 17.21% 592 592 0.00% 2,889 3,490 20.80% 6,900 -11.19% 7,770 6,780 -12.74% 677 668 -1.33% 5,260 4,610 -12.36% 6,670 -1.48% 6,770 6,540 -3.40% 668 598 -10.48% 4,522 3,990 -11.76% 153,470 -2.47% 157,360 150,090 -4.62% 707 665 -5.94% 111,260 102,060 -8.27% 30,420 -4.67% 31,910 29,770 -6.71% 623 615 -1.28% 19,880 18,710 -5.89% 1,190 -0.83% 1,200 1,070 -10.83% 617 612 -0.81% 740 730 -1.35% 7,022,197 -3.73% 7,118,912 6,954,718 -3.64% 645 647 0.31% 4,722,844 4,777,457 1.15%

สรุป : พื้นที่ปลูกปี 2555/2556 โดยรวมลดลง 3.73% อยู่ที่ 7,022,197 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง 3.64% อยู่ที่ 6,954,718 ไร่ แต่เนื่องจาก ผลผลิตต่อไร่โดยรวม เพิ่ ม ขึ้ น เล็ ก น้ อ ย 0.31%จากปี 2554/2555 แต่ ใ นจั ง หวั ด ที่ มี พื้ น ที่ เ ก็ บ เกี่ ย วมาก มี ผ ลผลิ ต ต่ อ ไร่ ดี ขึ้ น มาก อาทิ เพชรบู ร ณ์ น่ า น ตาก เป็ น ต้ น ทำให้ผลผลิตโดยรวมทั้งประเทศปี 2555/2556 เพิ่มขึ้นที่ 1.15% คิดเป็น 4,777,457 ตัน

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ณ วันที่ 27 ธ.ค. 2555

ปี 54/55 ราชบุรี 13,830 เพชรบุรี 7,570 ประจวบฯ 2,610 นครราชสีมา 804,300 เลย 813,890 ชัยภูมิ 114,030 หนองบัวลำภู 50,670 อุดรธานี 11,690 หนองคาย 1,630 อุบลราชธานี 1,600 ศรีสะเกษ 21,410 บุรีรัมย์ 670 ขอนแก่น 4,880 ปราจีนบุรี 7,770 ฉะเชิงเทรา 6,770 สระแก้ว 157,360 จันทบุรี 31,910 ชลบุรี 1,200 รวมทัง้ ประเทศ 7,195,482

จังหวัด




รายงานสรุปผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูการผลิตปี 2555/2556 โดยคณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย

สถานการณ์ภาพรวมภายในประเทศ ฤดูการผลิตปี 2555 /2556 พบว่า พื้นที่โดยรวมของทั้งประเทศลดลงประมาณมากกว่าแสนไร่ คิ ด เป็ น 3.73% โดยพื้ น ที่ ป ลู ก ส่ ว นใหญ่ ที่ ล ดลงเนื่ อ งมาจากปั จ จั ย ทางด้ า นราคาของพื ช แข่ ง ขั น อาทิ มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อยโรงงาน รวมถึง พืชต่างๆ เหล่านี้ มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาส่งเสริมและ สนับสนุนอย่างจริงจังและเห็นผล แต่เนื่องจากปี 2555 นี้ สภาพอากาศเหมาะสมให้กับการเจริญเติบโต ของข้าวโพด มีการกระจายตัวของฝนอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าบางจังหวัดจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงไปบ้าง แต่ไม่ ทำให้ภาพรวมของประเทศเสียหายมาก จึงทำให้ผลผลิตรวมปีนี้อยู่ที่ 4,777,457 ตัน อย่างไรก็ตามพื้นที่บริเวณที่ราบเชิงเขา และพื้นที่สูงยังคงมีจำนวนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของ ข้าวโพด ทำให้คาดว่าปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงทรงๆ อยู่ระหว่าง 4.5-5.0 ล้านตัน ในส่วนนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้องยังคงเป็นนโยบายการรับจำนำข้าวเปลือก โครงการแทรกแซงราคามันสำปะหลังที่ส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการปลูกพืชของเกษตรกรได้ในระดับ หนึ่ง เนื่องจาก โครงการต่างๆ ถือเป็นการสร้างหลักประกันสำหรับราคารับซื้อให้เกษตรกร (ที่มีเอกสารสิทธิ์ และขึ้นทะเบียน) และราคาการรับซื้อ/รับจำนำ ยังดีกว่าราคาตลาด ทำให้พื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนจาก การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชโครงการแทนนั่นเอง แต่กระแสตามค่านิยมของเกษตรกรภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีเ่ ริม่ มีความสนใจเรียนรู้ การปลูกยางพารา เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นตามลำดับ ข้อมูลจากการสอบถามในเชิงพื้นที่พบว่า ส่วนหนึ่งมาจาก นายทุนจากภาคใต้ได้มาซื้อที่ดิน และปลูกยางพาราให้เห็น ซึ่งผลตอบรับในรูปตัวเงินที่ประจักษ์

5 จังหวัดแรกที่มีพื้นที่ปลูกและผลผลิตมากที่สุด

1. จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ปลูก 968,798ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 797 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 772,132 ตัน เพิ่มขึ้น 8.53%

2. จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ปลูก 804,300 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 672 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 542,902 ตัน ลดลง 0.97%

3. จังหวัดเลย มีพื้นที่ปลูก 728,431 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 640 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 466,195 ตัน ลดลง 11.33%

4. จังหวัดน่าน มีพื้นที่ปลูก 651,410 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 695 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 452,730 ตัน เพิ่มขึ้น 28.18% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

25


5. จังหวัดตาก มีพื้นที่ปลูก 647,866 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 641 กก./ไร่ ผลผลิตรวม 415,282 ตัน เพิ่มขึ้น 37.17%

สถานการณ์ผลผลิตจากต่างประเทศ เศรษฐกิจโลกปี 2556 ประเมินโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรดาดว่าจะมีการขยายตัว 3.6% โดยทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่นยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจของ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เติบโต 5.8% ทั้งนี้ ในส่วนของเศรษฐกิจการเกษตรของโลก ซึ่งได้รับผลกระทบ จากปรากฏการณ์เอลนิโญ และความไม่เพียงพอของพืชอาหาร ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่เพียงพอ ต่อประชากรโลก และเอลนิโญที่ได้สร้างความเสียหายช่วงกลางปี 2555 ที่ผ่านมา ทำให้พืชเกษตรได้รับ ความเสียหายส่งผลโดยตรงต่อราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และคาดว่าจะมีผลต่อไปถึงปี 2556 ทั้งนี้ สศก. ประเมินว่าประเทศออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบดังกล่าวค่อนข้างมาก รวมถึงทวีปอเมริกาใต้จะได้รับ ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่รุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ผลผลิตรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลกปีการเพาะปลูก 2555/ 2556 ประเมินโดยกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา 839.02 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554/ 2555 ประมาณ 4.41% โดยผู้ผลิตรายใหญ่ยังคงเป็น

26

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


สหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งช่วงกลางปีที่ผ่านมา ประกอบกับการคาดการณ์ ผลผลิตในอเมริกาลดลงเหลือ 271.94 ล้านตัน ในส่วนของผู้ผลิตอันดับรองลงมาได้แก่ จีน อเมริกาใต้ และยุโรป ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2555/2556 คาดว่าลดลง 2.30% เหลือ 853.29 ล้านตัน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาปรับลดการผลิตเอทานอลลง ส่งผลให้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ อเมริ ก าลดลงเหลื อ 254.01 ล้ า นตั น หรื อ 8.95% นอกจากนี้ ป ระเทศอื่ น ๆ ที่ ใช้ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ อาทิ เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรปก็มีแนวโน้มการใช้ลดลงเช่นเดียวกัน

สถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย ปริมาณความต้องการอาหารสัตว์มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ ผู้บริโภค ทำให้อัตราการขยายตัวของวงการอุตสาหกรรมปศุสัตว์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามาตรการ กีดกันทางการค้าทัง้ ทางภาษีและไม่ใช่ภาษีของต่างประเทศยังคงดำเนินอยู่ แต่สญั ญาณจากประเทศรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่งสัญญาณที่ดีในความต้องการนำเข้าเนื้อไก่ดิบใน ไตรมาสแรกของปี 2556 ปี 2555 สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทยได้สรุปปริมาณความต้องการอาหารสัตว์มปี ริมาณ 15.2 ล้านตัน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2556 อย่างต่อเนื่องจากความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผล สืบเนือ่ งจากประชากรสัตว์ทมี่ แี นวโน้มในภาพรวมทีส่ งู ทัง้ จากการบริหารจัดการทีด่ ี การปรับปรุงกระบวนการ ควบคุม และเฝ้าระวังโรคระบาด หากไม่มีปัจจัยโรคระบาดในสัตว์ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่จะเป็นนัยสำคัญ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชากรสัตว์ นโยบายและมาตรการด้านการเกษตรที่สำคัญของรัฐบาล (มติ ครม. 25 ธ.ค. 2555) คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบประกาศนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้า เสรีอาเซียน (อาฟต้า) ปี 2556 อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 โดยเปิดให้ผู้นำเข้าทั่วไปนำเข้าได้ระหว่างช่วง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

27


วันที่ 1 มีนาคม-31 กรกฎาคม 2556 ขณะที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) ยังคงสามารถนำเข้าได้ตลอดปี 2556 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้เปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองปี 2555-2556 แบบไม่จำกัดปริมาณและ ช่วงเวลาการนำเข้า โดยคิดอัตราภาษีในโควต้าร้อยละ 0 ส่วนอัตราภาษีนอกโควต้าคิดอัตราร้อยละ 80 ตามแนวทางการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง โดยกำหนดราคารับซื้อราคาตามกลไกตลาด แต่ไม่ต่ำกว่า ราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ โดยเกรดอาหารสัตว์ ณ ไร่นาที่ 14.25 บาท/ก.ก. และราคารับซื้อหน้าโรงงาน 15.00 บาท/ก.ก. คณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบยุทธศาสตร์การเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศด้านการเกษตร ปี พ.ศ. 2556-2559 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มี 2 กลยุทธ์ คือ 1. เตรียมความ พร้อมและสร้างภูมิคุ้มกัน 2. การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเก็บกักและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร มี 2 กลยุทธ์ คือ 1. การพัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ก๊าซเรือนกระจก 2. ส่งเสริม สนับสนุนการปรับระบบการผลิต สู่เกษตรกรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร มี 5 กลยุทธ์ คือ 1. การพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 3. เพิ่มศักยภาพบุคลากร 4. พัฒนาการดำเนินงานตามกรอบความ ร่วมมือกับต่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 5. สร้างกลไกในการติดตาม ขับเคลื่อนการพัฒนา การเกษตรภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการ ทำงานร่ ว มกั บ ส่ ว นราชการที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ จั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ เ พิ่ ม เติ ม อี ก 2 ด้ า นคื อ ยุ ท ธศาสตร์ ด้ า น สาธารณสุข และยุทธศาสตร์ด้านเตรียมการความพร้อมในการรับภัยพิบัติ

28

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


แนวโน้มสินค้าพืชเกษตรปี '56 ปีชี้ชะตา "นโยบายรับจำนำข้าว" ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี ปี

เกษตรกร (บาท/ตัน) 12,536 13,819 13,171 14,961 15,700 5

2551 2552 2553 2554 25554/ อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)

ข้าวหอมมะลิ ส่งออก F.O.B1/ เกษตรกร2/ ($/ตัน) (บาท/ตัน) (บาท/ตัน) 910 30,083 10,524 937 31,884 9,468 1,023 32,149 8,315 1,043 31,537 9,662 1,100 34,100 10,200 5 2 -0

ข้าวขาว ส่งออก F.O.B.3/ ($/ตัน) (บาท/ตัน) 688 22,767 554 18,912 493 15,505 550 16,634 585 18,000 -3 -6

หมายเหตุ: 1/ ราคาส่งออก F.O.B. ข้าวหอมมะลิชั้น 2 (ใหม่) 2/ ราคาข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 14-15% ที่เกษตรกรขายได้ 3/ ราคาส่งออก F.O.B. ข้าว 5% 4/ ประมาณการ ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สมดุลเมล็ดถั่วเหลืองของไทย ปี

ผลิต

นำเข้า

2551 2552 2553 2554 2555 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2556*

184,011 185,853 169,577 126,521 107,479 -14 104,370

1,723,273 1,534,551 1,818,707 1,994,378 1,961,015 5 1,924,699

รวม (Supply) 1,907,284 1,721,404 1,968,282 2,120,699 2,068,494 4 2,029,059

หน่วย: ตัน

ความต้องการใช้ภายในประเทศ รวม ส่งออก สกัดน้ำมัน ทำพันธุ์ แปรรูป (Demand) 1,271,716 13,549 620,820 1,199 1,907,284 1,275,296 13,358 431,454 1,296 1,721,404 1,542,307 11,887 433,134 954 1,988,282 1,727,676 8,905 381,689 2,629 2,120,899 1,659,478 7,484 399,502 2,030 2,068,494 9 -15 -10 19 4 1,663,275 7,182 356,612 2,000 2,029,069

หมายเหตุ: *ประมาณการ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 มกราคม 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

29


ราคาถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ของไทย รายการ 1. ราคาเมล็ดถั่วเหลืองเกษตรกรขายได้ (บาท/กก.) 2. ราคานำเข้า (บาท/กก.) - ท่าเรือเกาะสีชัง - ตลาดชิคาโก 3. ราคาขายส่งน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์1/ (บาท/กก.)

2551

2552

2553

2554

16.90

14.57

13.98

15.30

อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 17.00 0.61

18.70 15.08 50.27

15.52 13.02 42.96

14.18 12.23 42.17

17.23 14.81 49.24

18.56 16.80 50.08

2555

0.90 3.51 1.30

หมายเหตุ; 1/ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่รวมภาชนะบรรจุ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สิ น ค้ า พื ช เกษตรที่ ส ำคั ญ ในปี 2554/55 ประสบปั ญ หามากพอสมควร ทั้ ง ด้ า นการผลิ ต การตลาด ตลอดจนนโยบายภาครัฐที่ถูกวิพากษ์ วิจารณ์อย่างหนักในการใช้เงินดำเนินการและสต๊อก ล้นเพราะการขายสินค้าในราคาสูงกว่าคู่แข่งมาก เกินไป เริ่มจากข้าวนาปีปีการผลิต 2554/55 ได้รับ ผลกระทบจากน้ำท่วมปลายปี 2554 ทำให้ผลผลิต เสียหายกว่า 5 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งปี 2554/55 ไทยปลูกข้าวนาปี 61.08 ล้านไร่ ผลผลิต 23.27 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 381 กก. ส่วนนาปรังปี 2555 พื้นที่เพาะปลูก 17.10 ล้านไร่ ผลผลิต 11.33 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตเฉลี่ย ต่อไร่ 662 กก. ทางด้านการตลาด ความต้องการใช้บริโภค ภายในประเทศเพื่อการบริโภคทำเมล็ดพันธุ์ อาหาร สัตว์ และอุตสาหกรรมแปรรูปอื่นๆ เท่ากับ 13.94 ล้ า นตั น ข้ า วเปลื อ ก ราคาที่ เ กษตรกรขายได้ ใ นปี 2555 ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียว เมล็ดยาวความชื้น 14-15% อยู่ที่ตันละ 15,700 บาท และ 12,300 บาทในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.44 และ 18.58 ต่อปีตามลำดับ ส่วนข้าวเปลือก เจ้า ความชื้น 14-15% ขายได้ตันละ10,200 บาท ลดลงร้อยละ 0.42 ต่อปีราคาส่งออกขยับเล็กน้อย

30

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ปี 2555 ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ใหม่) ตันละ 1,100 เหรียญสหรัฐ (34,100 บาทต่ อ ตั น ) เพิ่ ม ขึ้ น ตั น ละ 739 บาท ปรั บ ขึ้ น ตามต้ น ทุ น การรั บ ซื้ อ ข้ า วเปลื อ กที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ส่ ว น ข้ า วขาว 5% เหลื อ ตั น ละ 585 เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ (18,000 บาทต่อตัน) เพิ่มขึ้นตันละ 1,366 บาท เมื่อเทียบกับปีการผลิตก่อน การส่งออกในปี 2555 คาดว่าจะส่งออกได้ 7 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 145,000 ล้านบาท เมื่อ เที ย บกั บ ปี 2554 ที่ ส่ ง ออกได้ 10.71 ล้ า นตั น ข้าวสาร มูลค่า 196,117 ล้านบาท ปริมาณและ มูลค่าลดลงมาก เนื่องจากราคาส่งออกข้าวไทยอยู่ ในเกณฑ์สูงกว่าคู่แข่งอินเดียและเวียดนาม เฉลี่ย ประมาณ 130-170 เหรียญสหรัฐต่อตันส่งผลให้ เสียตลาดแก่คู่แข่งและอาจเสียแชมป์ที่ไทยครอง มายาวนาน สำหรับแนวโน้มปี 2556 ผลผลิตข้าวนาปี ปี 2555/56 ของไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประมาณการว่า มีพื้นที่เพาะปลูก 61.72 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 ผลผลิต 26.19 ล้านตัน ข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.55 ผลผลิตเฉลี่ย ต่อไร่ 424 กก. เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากราคาข้าวทีเ่ กษตรกร ขายได้ อ ยู่ ใ นเกณฑ์ ดี จึ ง จู ง ใจให้ เ กษตรกรปลู ก เพิ่มขึ้น


ทัง้ นีเ้ กษตรกรจะเก็บเกีย่ วผลผลิตตัง้ แต่เดือน สิงหาคม 2555 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกมากใน เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2555 ประมาณ 20.11 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 76.78 ของผลผลิต ข้าวนาปีทั้งหมด ส่วนข้าวนาปรังปี 2556 คาดว่า มีพื้นที่เพาะปลูก 17.12 ล้านไร่ ผลผลิต 11.67 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 682 กก. เนื้อที่ เพาะปลู ก ผลผลิ ต และผลิ ต ต่ อ ไร่ เ พิ่ ม ขึ้ น จากปี 2555 ร้อยละ 0.11, 3.05 และ 3.02 ผลผลิตจะ เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 และจะ เก็บเกี่ยวมากในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556

คู่แข่งส่งออกล้วนหน้าเดิม แนวโน้มราคาปี 2556 คาดว่าจะใกล้เคียงกับ ปี 2555 เนื่องจากความต้องการข้าวของโลกยังคง มีมาก ประกอบกับนโยบายรับจำนำของภาครัฐที่ กำหนดราคารับจำนำในราคาสูง

ทางด้านการส่งออก ปี 2556 คาดว่าไทยจะ ส่งออกประมาณ 8-8.5 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้น จากปี 2555 ร้ อ ยละ 23.08 เนื่ อ งจากรั ฐ บาล ได้รับแรงกดดันจากภาระสต็อกข้าวในสิ้นปี 2555 มากกว่า 10 ล้านตันข้าวเปลือก จะต้องหาตลาดใหม่ และร่วมมือกับภาคเอกชนหาตลาดข้าวใหม่ๆ มาก ขึ้น ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ข้าวในปี 2556 คือ เวียดนาม มีนโยบายส่งเสริม การส่ ง ออกข้ า วคุ ณ ภาพสู ง แทนข้ า วคุ ณ ภาพต่ ำ ซึ่งจะมาชนกับตลาดไทยมากขึ้น อินเดีย เน้นการ ระบายข้ า วออกสู่ ต ลาดโลกต่ อ เนื่ อ ง เนื่ อ งจาก ปริมาณข้าวสำรองที่กำหนดไว้เป็นมูลภัณฑ์กันชน และสำรองเพิ่มเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร สูงถึง 3 เท่าของปริมาณสำรองขั้นต่ำ ส่วนจีนใช้มาตรการ รับซื้อข้าวขั้นต่ำ เพื่อควบคุมราคาในประเทศไม่ให้ กระทบผู้บริโภค ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

31


ทางด้านพม่า กำหนดเป้าหมายการส่งออก จาก 1.5 ล้ า นตั น ในปี 2556 เป็ น 3 ล้ า นตั น ข้ า วสารในปี 2560 โดยจะกลั บ มาเป็ น ผู้ ส่ ง ออก ข้าวรายใหญ่อีกครั้งภายใน 5 ปีข้างหน้า ด้วยการ ปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่มผลผลิต ต่อไร่จากไร่ละประมาณ 240 กก. เป็นไร่ละ 640 กก. กั ม พู ช ากำหนดเป้ า หมายส่ ง ออกจากปี ล ะ ประมาณ 0.7-0.8 ล้านตัน เป็น 1 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2558 ด้วยการเพิ่มผลผลิตข้าว อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เน้นเพิ่มผลผลิตตามนโยบายของ รัฐที่ต้องการพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศ เพื่อลด การนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ และไนจีเรียผู้นำเข้า ข้าวรายใหญ่ เพิ่มภาษีนำเข้าข้าวและเพิ่มผลผลิต ในประเทศมากขึ้นเพื่อลดการนำเข้า

สำหรั บ สถานการณ์ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ปี 2555 จากภาวะภั ย แล้ ง คลื่ น ความร้ อ นในเขต พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ผลผลิตลดลงจาก 331.18 ล้านตันในปี 2550/51 เหลือ 313.92 ล้านตันในปี 2554/55 แต่การผลิต โดยรวมของโลกปี 2554/55 ยั ง สู ง ถึ ง 877.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 830.29 ล้านตันในปี 2553/ 54 ร้อยละ 5.72 ในส่ ว นการผลิ ต ของไทย เนื้ อ ที่ เ พาะปลู ก ปี 2554/55 มี 7.26 ล้ า นไร่ ลดลงจาก 7.48 ล้านไร่ในปี 2553/54 ร้อยละ 2.94 ผลผลิตรวม 4.78 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 659 กก. เพิ่มขึ้นจาก 650 กก. ในปี 2553/54 ได้รับผลดีจากปริมาณฝน ที่เพียงพอ แต่พื้นที่ปลูกลดลง เนื่องจากเกษตรกร เปลี่ ย นไปปลู ก พื ช ที่ ใ ห้ ผ ลตอบแทนดี ก ว่ า เช่ น มันสำปะหลัง อ้อย ทางด้านความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2554/55 มี 4.36 ล้ า นตั น เพิ่ ม ขึ้ น จาก 4.28 ล้านตันในปี 2553/54 จากความต้องการใช้มาก ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงไก่เนื้อมากขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้ ข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14-15 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นเป็น กก. ละ 8.36 บาท ในปี 2554/55 จาก กก.ละ 8.30 บาทในปี 2553/54 การส่งออกข้าวโพด 2.9 แสนตันในปี 2554/55 เพิ่มขึ้นจาก 2.1 แสนตันในปี 2553/54 การนำเข้ า ปี 2554/55 เท่ า กั บ 1.8 แสนตั น ลดลงจากปี 2553/54 ที่นำเข้า 3.9 แสนตัน ส่วนแนวโน้มปี 2556 พื้นที่เพาะปลูกของ ไทยปี 2555/56 คาดว่ามี 7.19 ล้านไร่ ลดลงจาก 7.26 ล้านไร่ในปี 2554/55 เนื่องจากเกษตรกร

32

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556




ที่ผ่านมา คาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องในปี 2556 ด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นประเภท ข้าวโพด ถั่วเหลือง มาจากสภาพอากาศของโลก แปรปรวน ทำให้ ผ ลผลิ ต ลดลง การดำเนิ น การ แก้ ปั ญ หาเป็ น ไปได้ ย าก แต่ ใ นส่ ว นของข้ า วกลั บ มีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นมากจากนโยบายรับ จำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดของรัฐบาล ขณะที่ราคา ส่งออกข้าวขาวที่ขายได้ขยับเพิ่มเล็กน้อย

หั น ไปปลู ก พื ช อื่ น ที่ ใ ห้ ผ ลตอบแทนดี ก ว่ า ขณะที่ ความต้องการใช้ปี 2555/56 คาดว่ามี 4.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.36 ล้านตันในปี 2554/55 ราคาในปี 2555/56 คาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคา ตลาดโลก กอปรกับผลผลิตข้าวโพดไทยลดลง แต่ ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น การส่งออกในปี 2555/56 คาดว่าจะส่งออก ประมาณ 1.5-2.5 แสนตัน และนำเข้าประมาณ 2-3 แสนตัน ผลผลิตเหลือส่งออกไม่มาก ขณะที่จะ มีการนำเข้าข้าวโพดราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน

ต้นทุนผลิตปี"56 ยังสูง ภาพโดยรวมของพืชเกษตรกลุ่มพืชไร่ ทั้ง ข้ า ว ข้ า วโพด และถั่ ว เหลื อ ง ราคาสู ง ซึ่ ง ส่ ง ผล กระทบต้นทุนการผลิตเนื้อสัตว์สูงขึ้นในปี 2555

จึ ง คาดว่ า ปี นี้ จ ะเป็ น ปี ชี้ ช ะตานโยบายรั บ จำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดอย่างแท้จริง ว่าจะอยู่หรือ ไป ซึ่งจริงๆ แล้ว ข้าวส่วนใหญ่ของไทยที่ส่งออกจะ ขายให้กับประเทศที่มีฐานะปานกลางและประเทศ ยากจนเป็นหลัก อีกทั้งข้าวไทย หรือประเทศคู่แข่ง ก็ ผ ลิ ต ออกสู่ ต ลาดทุ ก เดื อ น ไม่ เ หมื อ นช่ ว ง 20 กว่าปีก่อนหน้านั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้อง ใช้เงินทุนหลายแสนล้านบาทต่อปีซื้อข้าวเข้าเก็บ ในโกดั ง ที่ ต้ อ งใช้ ทุ น มหาศาล และเสี่ ย งขาดทุ น มโหฬาร ข้ า วเสื่ อ มคุ ณ ภาพ เพราะขายไม่ ไ ด้ จากราคาสูงกว่าคู่แข่งจำนวนมาก การทุจริตจาก ช่องโหว่ทุกขั้นตอน ความไม่โปร่งใสในการขายข้าว แบบลับๆ ให้แก่ผู้ส่งออกเอกชนบางราย ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีปัญหาในการระดมเงินมารับ จำนำมากขึ้น และในระยะยาวเกษตรกรจะไม่สนใจ ในการปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพข้ า ว เห็ น ได้ จ ากขณะนี้ เกษตรกรหันไปปลูกข้าวที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 80 วั น เศษ แทนพั น ธุ์ อ ายุ เ ก็ บ เกี่ ย ว ประมาณ 110 วันขึ้น หรือปลูกข้าวที่มีการต้านทาน เพลี้ยกระโดดมากขึ้น แต่คุณภาพผลผลิตไม่เหมาะ กับการนำไปบริโภคโดยตรง ต้องนำไปแปรรูปเป็น เส้นก๋วยเตี๋ยวแทน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

33


"ราคากุ้งไทย" สูงเป็นประวัติการณ์

ผู้ส่งออกผนึกดึงราคาซื้อลง-ผู้เลี้ยงแก้เกมหยุดขาย แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมส่งออก กุ้งเปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และ กุ้งแปรรูปกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ กุ้งอย่างรุนแรง จากปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง โดยปริมาณความ ต้องการใช้ในแต่ละวันอยู่ประมาณ 800-1,000 ตัน แต่ ป ริ ม าณวั ต ถุ ดิ บ มี เ พี ย ง 300-400 ตั น ต่ อ วั น เท่ า นั้ น โดยโรงงานขนาดใหญ่ บ างแห่ ง มี ค วาม ต้องการกุ้งประมาณ 50-100 ตันต่อวัน กลับซื้อ ได้เพียง 10-20 ตัน ทำให้ช่วงที่ผ่านมาผู้ส่งออก ต่างออกมาแย่งกันซื้อกุ้งด้วยการเสนอราคาที่สูง ผลจากวิกฤตดังกล่าวทำให้ราคากุ้งปรับตัวสูงสุด เป็ น ประวั ติ ก ารณ์ โดยกุ้ ง ขนาด 40 ตั ว ต่ อ กก. ราคาพุ่ ง ขึ้ น ไปถึ ง 220-240 บาท กุ้ ง ขนาด 50 ตัวต่อ กก. ราคาพุ่งขึ้นไปถึง 210 บาท และกุ้ง ขนาด 60 ตัวต่อ กก. ราคาพุ่งขึ้นไป 203 บาท เป็นต้น "ราคากุง้ เริม่ ปรับตัวขึน้ ตัง้ แต่ชว่ งหยุดเทศกาล ปีใหม่ ระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ราคากุ้งปรับ สูงขึ้นไปถึง 50 บาทต่อ กก. เช่น กุ้งขนาด 100 ตัวต่อ กก. ราคาเพิ่มเป็น 150 บาท และเกรงว่า ช่วงตรุษจีนจะสูงกว่านี้อีก เมื่อเทียบกับราคากุ้ง ในตลาดโลกยั ง ทรงตั ว ทำให้ ผู้ ซื้ อ ต่ า งประเทศ ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดความไม่มั่นใจและชะลอ การสั่งซื้อ" แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุกุ้งขาดตลาด หลายฝ่ า ยคาดการณ์ ว่ า มาจากความต้ อ งการ ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

(demand) เทียม เนื่องจากโรงงานแข่งขันกันซื้อ ทั้งที่ไม่มีออร์เดอร์ ทำให้เกิดราคาเทียม ซึ่งบางส่วน คิดว่ามาจากภาวะการตายด่วนในกุ้ง (EMS) ใน ช่วงที่ผ่านมาทำให้ปริมาณผลผลิตกุ้งลดลง และ มีคำสั่งจากกรมประมงให้หยุดการเลี้ยงลูกกุ้งเป็น เวลา 1 เดือน นั บ ตั้ ง แต่ ก ลางเดื อ นมกราคม 2556 เพื่ อ ตั ด วงจรปั ญ หาดั ง กล่ า ว แต่ ส าเหตุ แ ฝงอาจเกิ ด ผู้ ป ระกอบการรายใหญ่ ใ นห่ ว งโซ่ ก ารผลิ ต สิ น ค้ า ตลอดซั พ พลายเชนกำลั ง เล่ น เกมอะไรบางอย่ า ง ทำให้ราคากุ้งสูงกว่าปกติ และยังมาเจอกับภาวะ เงิ น เยนอ่ อ นค่ า ลง และเงิ น เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ อ่ อ น ค่าลง 30-40% ขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ลูกค้า จึ ง ไม่ ย อมซื้ อ ในระยะยาวอาจจะกระทบความ เชื่อมั่นได้ แนวทางในการแก้ไขวิกฤตดังกล่าวได้ยินว่า ทางสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งได้หารือกับสมาชิก เมื่ อ สั ป ดาห์ ที่ ผ่ า นมา โดยกำหนดมาตรการเพื่ อ คลี่คลายสถานการณ์เบื้องต้น 2 ด้าน คือ ขอให้ ผู้ประกอบการปรับลดราคาการเสนอซื้อกุ้งในช่วงนี้ ลง 20 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อดึงราคาให้กลับสู่ภาวะ ปกติ และขอให้โรงงานรับซื้อสลับกันหยุดมากขึ้น จากเดิมสัปดาห์ละ 1 วัน เป็น 3 วัน และให้หยุด เหลื่อมวันกัน เพื่อกระจายการใช้วัตถุดิบให้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดทอนความต้องการใช้วัตถุดิบลงได้ 1 ใน 3 หรือเหลือประมาณวันละ 65 โรง


แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาราคากุ้งว่า ในช่วงปี 2555 เป็นช่วงที่มีการร้องขอให้กระทรวง พาณิ ช ย์ เข้ า มารั บ จำนำกุ้ ง โดยตั้ ง ราคาไว้ ตั้ ง แต่ ขนาดเล็ก 100 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 100 บาท ไล่ ขึ้ น ไปจนถึ ง ขนาด 40 ตั ว ต่ อ กิ โ ลกรั ม ราคา 165 บาท ซึ่ ง ขณะนั้ น อั ต ราแลกเปลี่ ย นที่ ใช้ ใ น การกำหนดราคาอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แต่ขณะนี้ถึงสมาคมจะกดราคาซื้อลงกิโลกรัมละ 20 บาท แต่ราคากุ้งยังสูงกว่าราคาที่ขอให้มีการ รับจำนำอยู่ดี แต่ผู้ส่งออกต้องส่งออกในอัตราแลก เปลี่ยนที่หายไป 4 บาท เหลือ 29 บาทต่อเหรียญ สหรัฐฯ "ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับราคา วัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยรวมถึงราคาอาหารกุ้งขึ้น ไปแล้ว แต่ขณะนี้อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าน่าจะส่ง ผลดี ต่ อ การนำเข้ า วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ เช่ น กาก ถั่วเหลือง มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับลดราคา ลงบ้าง" แหล่งข่าวกล่าว แหล่ ง ข่ า วจากวงการผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง กล่ า วว่ า การที่ผู้ส่งออกรวมตัวกันประกาศเสนอราคารับซื้อ ลดลง 20 บาท เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ ราคากุ้ ง ปรั บ ลดลงทั น ที 20 บาท และเกิ ด การ แตกตื่นตกใจในวงการคนเลี้ยงกุ้งอย่างมาก เพราะ ต่างเกรงว่าราคากุ้งจะวิ่งลงอีก ทำให้มีการรีบจับ กุ้ ง ขึ้ น มาเทขายกั น อย่ า งมโหฬารถึ ง 100 กว่ า ตู้ คอนเทนเนอร์ แต่ผ่านไปเพียง 3-4 วัน ปริมาณกุ้ง ลดลง เนื่ อ งจากกุ้ ง ขนาดไซส์ ที่ ผู้ ส่ ง ออกต้ อ งการ ถู ก จั บ ไปเกื อ บหมดแล้ ว ทำให้ ผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง เริ่ ม มา ประชุมหารือกัน และวิเคราะห์อ่านเกมสถานการณ์ ของผู้ส่งออกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีถือเป็นจังหวัดที่มีปริมาณ กุ้ ง เหลื อ มากกว่ า ทุ ก พื้ น ที่ และได้ น ำร่ อ งแก้ เ กม

กลับด้วยการจับมือกันหยุดขายกุ้งให้กับผู้ส่งออก โดยผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง มองว่ า ปริ ม าณกุ้ ง ที่ เ หลื อ อยู่ ใ นบ่ อ มีปริมาณน้อย เมื่อความต้องการกุ้งยังมีมาก ราคา กุ้งต้องปรับขึ้น ไม่มีทางจะปรับราคาลงได้มากนัก ขณะนี้ โรคกุ้ ง ตายด่ ว นได้ ลุ ก ลามลงพื้ น ที่ ภาคใต้ในหลายจังหวัดเสียหายมาก เช่น สงขลา ปั ต ตานี นครศรี ธ รรมราช ตรั ง กระบี่ ระนอง ชุ ม พร ประจวบคี รี ขั น ธ์ รวมถึ ง สุ ร าษฎร์ ธ านี ดี ม านด์ ม าก แต่ ซั พ พลายกุ้ ง น้ อ ย ให้ ก ดราคา ยั ง ไง ในที่ สุ ด ราคากุ้ ง มั น ก็ เ หวี่ ย งขึ้ น อยู่ ดี การที่ ผู้ส่งออกมองว่า ราคากุ้งตอนนี้สูงเกินกว่าต้นทุน ของผู้ เ ลี้ ย งมาก แต่ เ ป็ น ราคาที่ ผู้ ส่ ง ออกเสนอซื้ อ เอง ไม่ใช่คนเลี้ยงปั่นราคาขึ้นไป และต้องเห็นใจ คนเลี้ยงบ้าง เพราะช่วงที่ผ่านมาผู้เลี้ยงหลายคน ประสบปั ญ หาโรคกุ้ ง ตายด่ ว น เช่ น คนเลี้ ย งกุ้ ง 10 บ่ อ เลี้ ย งรอดเพี ย ง 5 บ่ อ ได้ โ อกาสนี้ ที่ กุ้ ง ราคาดี ไ ด้ เ งิ น มาชดเชยความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ บ้ า ง ไม่ ใช่ ค นเลี้ ย งกุ้ ง จะกำไรอะไรกั น มากมาย และตอนนี้ ค นที่ ป ระสบปั ญ หาต่ า งก็ ห ยุ ด ไม่ ก ล้ า ลงกุ้งรอบใหม่กัน และคงต้องรอกันอีกหลายเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยพอสมควร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

35


บทวิเคราะห์ สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ • โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส •

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

1. ข้าว ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2555 ราคาข้ า วที่ เ กษตรกรขายได้ ล ดลง ได้ แ ก่ ข้ า วเปลื อ กหอมมะลิ ราคา 15,329 บาท/ตั น และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ราคา 11,871 บาท/ตั น ลดลงจากเดื อ นก่ อ นร้ อ ยละ 1.0 และ 0.6 ตามลำดับ ยกเว้นข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคา 10,234 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 สำหรับราคาข้าวส่งออก (F.O.B.) ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวขาว 5% ราคา 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ข้าวหอมมะลิราคา 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และ ข้าวเหนียวขาว 10% ราคา 794 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ

สถานการณ์ข้าว เนื่ อ งจากปริ ม าณผลผลิ ต ข้ า วเปลื อ กหอม มะลิ และข้าวเปลือกเหนียวออกสู่ตลาดอย่างต่อ

36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

ที่มา: FAO (December 2012)

เนื่อง ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ราคา ข้าว 2 ชนิดอ่อนตัวลง ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นข้าวที่เกษตรกร ส่วนใหญ่ นำเข้าร่วมโครงการรับจำนำ ทำให้ปริมาณผลผลิต ข้าวออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการตลาด ยังมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มติ ค ณะอนุ ก รรมการพิ จ ารณาระบายข้ า ว เมื่ อ วันที่ 16 พ.ย. 2555 เห็นชอบแนวทางการจำหน่าย ข้ า วหอมมะลิ ต ามโครงการรั บ จำนำข้ า วเปลื อ ก ปีการผลิต 2555/56 เพื่อให้ข้าวหอมมะลิฤดูใหม่ เข้าสู่ตลาดส่งออกโดยเร็ว ซึ่งผู้ส่งออกสามารถซื้อ


ข้าวโดยตรงจากโรงสี (Ex-milled) ที่จะเสนอราคา ซื้อด้วยวิธีการจับคู่กับโรงสีที่เข้าร่วมโครงการทั้ง หมด 90 ราย ปริมาณข้าวหอมมะลิล็อตแรกรวม 2.43 แสนตัน จากทัง้ หมด 7 แสนตัน และมีผสู้ ง่ ออก เสนอซื้อเข้ามา 27 ราย อย่ า งไรก็ ต าม สมาคมผู้ ส่ ง ออกข้ า วไทย รายงานว่า ล่าสุดได้มีการอนุมัติจำหน่ายข้าวหอม มะลิ จำนวน 1.43 แสนตัน มีโรงสีขอถอนตัว 22 ราย โดยอ้างว่าไม่สามารถรับจำนำข้าวเปลือกจาก เกษตรกรเพื่ อ สี แ ปรสภาพส่ ง มอบให้ ผู้ ส่ ง ออกได้ ตามปริมาณที่กำหนด และโรงสีบางแห่งต้องการสี แปรสภาพเข้าโกดังกลาง เนื่องจากได้ประโยชน์จาก โครงการมากกว่า สำหรับการส่งออกข้าวปี 2556 สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะส่งออกประมาณ 8-8.5 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ ร้อยละ 23.1 เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนขยายตลาด ส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ประเทศในภูมิภาค แอฟริ ก า อเมริ ก าใต้ ตะวั น ออกกลาง รวมทั้ ง เร่งผลักดันการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐอย่างต่อเนื่อง ด้านความต้องการบริโภคของโลกปี 2556 คาดว่า จะมีปริมาณ 467.87 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนเฉลี่ยร้อยละ 2.24 ส่วนการค้าข้าวของโลก นั้น คาดว่าจะมีปริมาณ 36.07 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 38.21 ล้ า นตั น ข้ า วสารของปี 2555 ร้อยละ 5.61

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และราคาข้าวเปลือก เหนียวเมล็ดยาวจะลดลงจากเดือนก่อนประมาณ ร้อยละ 0.1-0.2 โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 10,225-

10,215 บาท/ตัน 15,275-15,320 บาท/ตัน และ 11,845-11,865 บาท/ตัน ตามลำดับ เนื่องจาก ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนธันวาคม 2555 ราคาข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ค วามชื้ น ไม่ เ กิ น 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 8.93 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.49 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งออก (F.O.B.) เท่ากับ 10.63 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.94

สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คณะกรรมการนโยบายข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ทบทวนมาตรการข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ปี 2555/56 โดย รั บ จำนำข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ค วามชื้ น 14.5% ใน เดือนตุลาคม-ธันวาคม ต่ำกว่าราคากิโลกรัมละ 9 บาท สำหรับสถานการณ์ความต้องการใช้ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารสัตว์ภายในประเทศของ เดือนธันวาคมยังทรงตัว เนื่องจากเกษตรกรได้เร่ง ผลิตไก่เนื้อในช่วงเดือนที่แล้วเพื่อให้ทันส่งมอบใน ช่วงเทศกาลสิ้นปี จึงทำให้ในเดือนนี้เกษตรกรผลิต ไก่เนื้อลดลง ขณะที่เป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิตทำให้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

37


ผลผลิตข้าวโพดออกสู่ตลาดไม่มากนัก โดยคาดว่า ในเดือนนี้จะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.66 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 18.52 จากเดือนก่อน ส่งผลให้ราคา ข้าวโพดทีเ่ กษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง สำหรับราคา ข้าวโพดอาหารสัตว์ส่งออก (F.O.B) และราคาตลาด ซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ส่งมอบเดือนมกราคม 2556 ปรับตัวลดลง เล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์ ทีย่ งั คงสูง ทำให้ผสู้ ง่ ออกในหลายประเทศลดปริมาณ การผลิตไก่เนื้อลง

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้จะ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 3-6 อยู่ที่ ราคา 9.20-9.47 บาท/กก. เนื่องจากยังเป็นช่วง ปลายฤดูกาลผลิต ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก การที่เกษตรกรเพิ่มปริมาณการผลิตไก่เนื้อ อันมี สาเหตุจากราคาอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลง บ้าง

3. อ้อยโรงงาน

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์ค เดือนธันวาคม 2555 ราคาเฉลี่ ย ของน้ ำ ตาลทรายดิ บ ในตลาด นิวยอร์ค (ส่งมอบเดือนมีนาคม 2556) เท่ากับ 19.18 เซนต์ / ปอนด์ คิ ด เป็ น 12.90 บาท/กก. เพิ่ ม ขึ้ น เล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5

สถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทราย ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายโลกลดลง เนื่อง จากการชะลอหีบอ้อยในช่วงฝนตกท้ายฤดูกาลผลิต ของบราซิล และอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ากับ ไทยเพิ่มการนำเข้าจำนวน 2.53 ล้านตันในปี 2555 จาก 2.43 ล้านตันในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และ อาจนำเข้าน้ำตาลทรายดิบถึง 3.5 ล้านตันในปี 2556 ทำให้ความต้องการยังมีอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2555

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศู น ย์ วิ จั ย ธ.ก.ส. คาดว่ า ราคาเฉลี่ ย ของ น้ำตาลทรายในตลาดโลกจะลดลงประมาณร้อยละ 0.2-0.7 อยู่ที่ราคา 19.05-19.15 เซนต์/ปอนด์ จากเดือนก่อน เนื่องจากสภาพอากาศในพื้นที่เก็บ เกี่ยวหลักในภาคกลางตอนใต้จากประเทศบราซิล

38

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


เอื้อต่อการหีบอ้อยปี 2555/56 คาดว่าผลผลิตมี จำนวน 532 ล้านตัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 2.60 ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของเดือนธันวาคมจะมีอ้อย เข้าหีบอีก 17 ล้านตัน หรือมากกว่า นอกจากนี้ อินเดียมีแผนปรับเพิ่มภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายดิบ เพื่อปกป้องผลผลิตในประเทศจากการปรับตัวลดลง ของราคาน้ำตาลตลาดโลก

4. ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคายางพาราเดือนธันวาคม 2555 ราคาเฉลี่ยของยางพาราที่เกษตรกรขายได้ เท่ากับ 77.46 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.20 ซึ่ง สอดคล้องกับทิศทางราคาเฉลี่ย ของยางแผ่นดิบที่ประมูล ณ ตลาดหาดใหญ่อยู่ที่ 81.42 บาท/กก. เพิ่ ม ขึ้ น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 2.84 แต่ราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 F.O.B. กรุงเทพฯ ลดลง เท่ากับ 92.13 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.27

สถานการณ์ยางพารา สถานการณ์ราคายางพาราอยูใ่ นระดับทรงตัว แต่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการ ใช้ทเี่ พิม่ สูงขึน้ โดยผลสรุปสิน้ ปี พบว่าไทยเป็นผูผ้ ลิต รถยนต์ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก จากยอดการ

ผลิ ต รถยนต์ ข องไทยสู ง ถึ ง 2.2 ล้ า นคั น จาก เป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้เพียง 1.8 ล้านคันเท่านั้น ซึ่ง เป้าหมายของปี 2556 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านคัน อันเป็นผลจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่ จองในปี 2555 และจะผลิตในปี 2556 ถึงร้อยละ 70-80 หรือประมาณ 4-5 แสนคัน เนื่องจากอะไหล่ และอุ ป กรณ์ ป ระกอบรถยนต์ ต้ อ งใช้ ย างพาราใน การผลิต ยางพาราจึงมีแนวโน้มดีขึ้นจากเดิม โดย เมื่อวันที่ 9-12 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมาประเทศไทย ได้จัดการประชุมสภาความร่วมมือด้านยางระหว่าง ประเทศ โดย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เข้าร่วม เพื่อพิจารณาตัดสินใจเข้าร่วมสมาชิกของ (International Tripartite Rubber Council: ITRC) ในอนาคต ประเด็ น สำคั ญ คื อ มาตรการรั ก ษา เสถี ย รภาพราคายาง การจั ด ตั้ ง ตลาดภู มิ ภ าค อาเซียน และการจัดตั้งกองทุนยางพารา ซึ่งประเทศ สมาชิ ก ทั้ ง 3 ประเทศจะไปวิ เ คราะห์ เ พื่ อ การ โค่นยางเก่าและปลูกทดแทนในประเทศของตนเอง จึงอาจส่งผลต่อการปรับราคายางให้เพิ่มขึ้นด้วย

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคายางพาราที่ เกษตรกรขายได้ จะเพิ่มขึ้นอีกในระดับร้อยละ 0.51.00 หรือประมาณ 77.84-78.23 บาท เนื่องจาก ได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจที่สดใสขึ้นของจีน เยอรมัน รวมถึงอัตราว่างงานของสหรัฐฯ ที่ปรับตัว ลดลงเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากผู้ซื้อที่เตรียมหยุด ยาว เพราะอยู่ในช่วงสิ้นปี ขณะที่นักลงทุนบางส่วน ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยางในจีน หลัง จากที่สต็อคยางในตลาดเซี่ยงไฮ้ปรับตัวสูงขึ้น จึง เป็นปัจจัยที่ทาให้ราคายางพาราลดลงเช่นกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

39


5. มันสำปะหลัง

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคามันสำปะหลังเดือนธันวาคม 2555 ราคาหั ว มั น สำปะหลั ง สดที่ เ กษตรกรขาย ได้ 2.18 บาท/กก. ลดลงจากเดื อ นก่ อ นร้ อ ยละ 2.68 ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 7.17 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.70

สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2556 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.91 ล้านไร่ และผลผลิต 27.55 ล้านตัน คาดว่าเดือนธันวาคม 2555 ผลผลิ ต จะออกสู่ ต ลาด 3.40 ล้ า นตั น คิดเป็นร้อยละ 12.34 ของผลผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิ ต ออกสู่ ต ลาดมากที่ สุ ด ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ประมาณ 5.19 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 18.85 ของ ผลผลิตทั้งหมด โครงการแทรกแซงตลาดมั น สำปะหลั ง ปี 2555/2556 เริ่มเปิดรับจำนำมันสำปะหลังเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2555 โดยข้อมูลล่าสุด (วันที่ 24 ธ.ค. 2555) เกษตรกรนำมันสำปะหลังมาจำนำแล้วคิดเป็นมันเส้น ปริมาณ 3 แสนตัน จากเป้าหมายการรับจำนำมัน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 10 ล้านตัน แบ่งเป็นการแปรรูปเป็นมันเส้นและแป้งมัน 8.4

40

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

ล้านตัน และนำไปใช้ในการผลิตเป็นเอทานอลอีก 1.6 ล้านตัน สาเหตุที่เกษตรกรนำมันสำปะหลังมา เข้าร่วมโครงการจำนำยังไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็น ผลมาจากราคารับจำนำกับราคาตลาดไม่แตกต่างกัน มากนัก และยังมีข้อเรียกร้องจากเกษตรกรให้เพิ่ม จุดรับจำนำให้ทั่วถึง สำหรับช่วงเดือนนี้เป็นช่วงที่ ผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก แต่ยังคงมีความ ต้องการของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ ราคาปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลัง ที่เกษตรกรขายได้จะลดลง ร้อยละ 2-3 อยู่ที่ 2.112.14 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังที่จะ ออกสู่ตลาดปริมาณมากขึ้น จึงทำให้ราคาปรับตัว ลดลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากผู้ประกอบการที่ ยังคงมีความต้องการหัวมันสดอยู่

6. ปาล์มน้ำมัน

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมการค้าภายใน

ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2555 ราคาเฉลีย่ ของปาล์มน้ำมันทีเ่ กษตรกรขายได้



Explore your opportunities. Evonik opens a world of nutrition services and products – with new possibilities for more efficient, sustainable and profitable feed and animal production. You know what really counts.

Find out more by scanning this code with the QR-reader of your mobile-camera.

www.evonik.com/feed-additives feed-additives@evonik.com

Evonik (Thailand) LTD 25th Fl, Exchange Tower, Unit 2503 388 Sukhumvit Rd, Klongtoey Bangkok 10110

12-01-510 AZ EYO -Explore your opportunities- Reisfelder A4 englisch.indd 1

20.12.12 14:09


เท่ากับ 2.74 บาท/กก. ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 31.33 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 3.03 บาท/กก. ลดลง จากเดือนก่อนร้อยละ 27.86

สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขาย ได้ในเดือนธันวาคม 2555 มีแนวโน้มลดลงอย่าง มาก เนื่ อ งจากมี ก ารนำเข้ า ปาล์ ม น้ ำ มั น จากต่ า ง ประเทศ ซึ่งมีปริมาณถึง 40,000 ตัน ในขณะที่ ผลผลิตปาล์มน้ำมันภายในประเทศยังเพียงพอ โดย เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่ง ประเทศไทย คาดว่าอาจเป็นผลมาจากการที่รัฐบาล ต้ อ งการควบคุ ม ราคาน้ ำ มั น ปาล์ ม ขวด ส่ ง ผลให้ ราคาที่เกษตรกรไทยขายปาล์มน้ำมันได้จึงมีราคา ลดลงอย่างรวดเร็วและชัดเจน จากเฉลี่ยในเดือน พฤศจิกายน 2555 เท่ากับ 3.46 บาท ลดลงเหลือ เพียง 2.74 บาท ในเดือนธันวาคม ส่งผลให้ราคา ขายส่ ง ปรั บ ตั ว ลดลงเช่ น กั น นอกจากนี้ ผลพวง จากมาตรการห้ามส่งออก ในช่วงเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ ส่งออก (กิโลกรัมละ 10 บาท) จึงทาให้ปาล์มน้ำมัน ระบายออกสู่ ต ลาดต่ า งประเทศน้ อ ยลง ปริ ม าณ สต็อคภายในประเทศจึงสูงขึ้นตามไปด้วย

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกร ขายได้จะลดลงอีกร้อยละ 2.50-5.50 หรือเหลือ อยู่ประมาณ 2.59- 2.67 บาท เนื่องจากไทยยังมี ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่ค้างสต็อคภายในประเทศ ที่ ยั ง ไม่ ร ะบายอี ก จำนวนมาก อี ก ทั้ ง ยั ง มี ป ริ ม าณ ผลผลิ ต ปาล์ ม จากประเทศคู่ แข่ ง ทั้ ง อิ น โดนิ เซี ย และมาเลเซีย ได้ออกมาเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด มากขึ้นในช่วงนี้ราคาจึงคงปรับลดลง

7. ไก่เนื้อ

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาไก่เนื้อเดือนธันวาคม 2555 ราคาไก่ เ นื้ อ ที่ เ กษตรกรขายได้ เ ฉลี่ ย ทั้ ง ประเทศ เท่ า กั บ 42.96 บาท/กก. เพิ่ ม ขึ้ น จาก เดือนก่อนร้อยละ 0.33 ราคาขายส่งไก่เนื้อมีชีวิต ในตลาดกรุ ง เทพฯ จากกรมการค้ า ภายในเฉลี่ ย เท่ากับ 41.50 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.75

สถานการณ์ไก่เนื้อ ราคาไก่ เ นื้ อ ที่ เ กษตรกรขายได้ ใ นเดื อ น ธันวาคม 2555 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนที่แล้ว เนื่อง จากความต้องการบริโภคเนื้อไก่ทั้งภายใน และภาย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

41


นอกประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวและ เฉลิ ม ฉลองปี ใ หม่ ขณะที่ ป ริ ม าณการผลิ ต ไก่ เ นื้ อ ออกสู่ ต ลาดอยู่ ใ นเกณฑ์ ป กติ ทั้ ง นี้ เ พราะราคา วัตถุดิบที่สูงขึ้นมากทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับ ต้นทุนได้ จึงไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้มาก เท่าที่ควร โดยในเดือนธันวาคมจะมีผลผลิตออกสู่ ตลาดจำนวน 94,250,142 ตัว ลดลงจากเดือนก่อน ร้ อ ยละ 2.63 สหภาพยุ โรปประกาศพิ กั ด โควต้ า ส่งออกไก่ไทยปี 2555-2556 แบ่งเป็นโควต้าไก่ ปรุงสุก 160,033 ตัน และไก่สด (รวมทั้งแช่เกลือ หรื อ ในน้ ำ เกลื อ ) 92,610 ตั น ทำให้ ทิ ศ ทางการ ส่ ง ออกไก่ เ นื้ อ ของไทยดี ขึ้ น และสามารถขยาย ปริมาณการส่งออกภายใต้โควต้าไก่สดแช่เย็นและ แช่แข็งได้ นอกจากนี้ ในตลาดญีป่ นุ่ คาดว่าจะส่งออก ไก่สุกได้ประมาณ 200,000 ตัน และจะสามารถ เปิดตลาดไก่สดแช่แข็งได้ในช่วงกลางปี 2556 ซึ่ง หากไทยสามารถส่งออกไก่สดไปยังญีป่ นุ่ ก็จะสามารถ ดึงส่วนแบ่งการตลาดไก่สดทีจ่ ากเดิมเป็นของบราซิล ประมาณ 46%

คาดการณ์ราคาไก่เนื้อในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วจิ ยั ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 2-4 อยู่ที่ราคา 43.82-44.68 บาท/กก. เนื่องจาก ความต้องการบริโภคเนื้อไก่กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ภายหลั ง จากหมดช่ ว งเทศกาลปี ใ หม่ ในขณะที่ ปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดน้อยลง ถึงแม้ว่าราคา อาหารสัตว์จะปรับตัวลงเล็กน้อยก็ตาม แต่เกษตรกร ก็ ยัง ไม่ เ พิ่ม ปริ ม าณการผลิต ไก่ เ นื้อ มากเท่ า ที่ค วร เพราะไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น สูงได้

8. กุ้งขาวแวนนาไม

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และตลาดกลางกุ้ง สมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคากุ้ ง ขาวแวนนาไมเดื อ นธั น วาคม 2555 ราคากุ้ ง ขาวแวนนาไมที่ เ กษตรกรขายได้ 152.03 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.32 ราคาขายส่งกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลาง กุ้ ง สมุ ท รสาคร 146.33 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 0.09

42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม คณะอนุกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ เห็นชอบในหลักการของโครงการรักษาเสถียรภาพ ราคากุ้งทะเลด้วยระบบเครือข่ายแบบกลุ่มเพื่อบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมกุ้งไทย เพื่อแก้ไข ปัญหาเสถียรภาพราคากุ้งทะเลอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายคือ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งที่เป็นเกษตรกรรายย่อย บริษัทห้องเย็น ผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ คาดว่าจะมีผลผลิตกุ้งเข้าโครงการประมาณ 30,000 ตัน ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2556-57 ภายใต้งบประมาณ 370 ล้านบาท โครงการดังกล่าว จะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้ถึง 5 บาท/กก. จากสถานการณ์กุ้งขาวราคาตกต่ำในปี 2555 อันเป็นผลจากความต้องการในตลาดต่างประเทศ ที่ ล ดลง โดยเฉพาะตลาดสหรั ฐ อเมริ ก า และสหภาพยุ โรป ซึ่ ง อยู่ ใ นช่ ว งที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากวิ ก ฤต เศรษฐกิจ โดยอุตสาหกรรมกุ้งไทยพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก ดังนั้น การส่งออกกุ้งของไทยในปี 2556 จำเป็นต้องหาตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และจีน เพื่อทดแทนการส่งออกที่ลดลง อีกทั้ง ภาครัฐ และเอกชนควรร่วมมือแก้ไขปัญหาแรงงานภาคประมง รวมถึงดูแลด้านสวัสดิการแรงงานประมง อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs: Non-tariff Barriers) ที่จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทย

คาดการณ์ราคาในเดือนมกราคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.1-0.3 อยู่ที่ 152.2-152.5 บาท/กก. เนื่องจากความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีความ ต้องการบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

43


4 เรื่องใหญ่

บีบไทยเจรจา FTA กับอียู 4 เหตุผลหลักบีบต้องเจรจา

นลักษณ์

ดร. ชิงชัย หาญเจ

กำลังเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง กรณีที่ ประเทศไทยเตรียมเปิดเจรจาเพื่อจัดทำความตกลง เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับสหภาพยุโรป หรือ อียู ที่มีสมาชิก 27 ประเทศ และถือเป็นหนึ่งใน ตลาดหลักของไทย ซึ่งความคืบหน้าที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ได้มี มติให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาเอฟทีเอไทยอียู ครอบคลุมใน 17 ประเด็นการเจรจา และล่าสุด อยู่ ใ นขั้ น ตอนของรั ฐ สภาเพื่ อ พิ จ ารณาให้ ค วาม เห็นชอบและแก้ไขเพิ่มเติมตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หลังจากนั้นจะเปิดเวทีรับฟังความเห็น จากทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้เสียเพื่อกำหนดท่าทีการ เจรจาในรายละเอียดแต่ละเรื่องอีกครั้ง ก่อนแสดง เจตนารมณ์เพื่อเปิดเจรจากับอียูต่อไป

ก่อนที่จะไปถึงลำดับขั้นตอนต่างๆ ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการร่วม สภาธุรกิจ ไทย-สหภาพยุ โรป ให้ สั ม ภาษณ์ ถึ ง เหตุ ผ ลความ จำเป็นใน 4 ประเด็น ที่ไทยจะต้องเร่งเปิดเจรจา เอฟทีเอกับอียู ประกอบด้วย 1. จะสามารถทดแทน ต่อกรณีที่ประเทศไทยจะถูกอียูตัดสิทธิพิเศษทาง ภาษีศุลกากร (จีเอสพี) เป็นการถาวรในปี 2558 ตามเงื่ อ นไขรายได้ ต่ อ หั ว ประชากรเกิ น เกณฑ์ ที่ กำหนด ซึ่ ง หากไม่ มี เ อฟที เ อมาทดแทนจะทำให้ สินค้าไทยได้รับผลกระทบในการส่งออกไปตลาดอียู ราว 8 หมื่นล้านบาท อาทิ ในสินค้าเครื่องปรับ อากาศ รถยนต์ รองเท้า กุ้งแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป ถุ ง มื อ ยาง เป็ น ต้ น และในอนาคตหากยั ง ไม่ มี เอฟทีเอการส่งออกไปอียูก็จะกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก ข้อ 2 เวลานี้ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ได้ เริ่ ม เจรจาเอฟที เ อกั บ อี ยู แ ล้ ว หลายประเทศ (ได้ แ ก่ สิ ง คโปร์ เวี ย ดนาม มาเลเซี ย ส่ ว น อินโดนีเซียก็ได้ประกาศเจตนารมณ์แล้ว) หากเขา เจรจาเป็นผลสำเร็จ และมีผลบังคับใช้ไทยจะเสีย เปรียบเพื่อนบ้านในการส่งออกสินค้าไปอียู โดยจะ เสียเปรียบทั้งด้านภาษี และยังถูกกีดกันทางการค้า ที่ไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี)

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,813 วันที่ 27-30 มกราคม 2556

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


"หากเขาเสร็จก่อนซึ่งก็เชื่อว่าจะเสร็จก่อน แน่นอน เพราะเรายังไม่เริ่ม และหากข้อตกลงมี ผลบั ง คั บ ใช้ เราอาจต้ อ งส่ ง ออกสิ น ค้ า เกษตรผ่ า น สิงคโปร์ มาเลเซีย" 3. หากไทยไม่เจรจาจะประสบปัญหากับ มาตรการทีเ่ ข้มงวดซึง่ ถือเป็นเอ็นทีบขี องอียไู ปตลอด เช่น ระเบียบเรื่องสารเคมีตกค้างในสินค้าอาหาร พืชผักต่างๆ แต่หากมีการเจรจาเอฟทีเอก็มีช่องทาง ที่สามารถเจรจาให้เขาผ่อนปรนได้ และ 4. หากมี การเจรจาเอฟทีเอการลงทุนจากยุโรปจะไหลมาไทย เพราะเราเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดมาโดยตลอด เขา ก็ต้องมาร่วมกับเราเพื่อขยายการลงทุนไปยังกลุ่ม ประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) รวมถึงการลงทุนในประเทศอาเซียนที่มีการจัดทำ เอฟที เ อกั บ อี ยู ที่ น่ า จั บ ตามองคื อ การลงทุ น จาก ฝรั่งเศสที่กำลังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษี ภายในของรั ฐ บาล ทำให้ ต้ อ งย้ า ยฐานออกนอก ประเทศเพิ่มขึ้น

แนะใช้โอกาสขอยืดจีเอสพี ขณะเดี ย วกั น หากไทยเปิ ด เจรจากั บ อี ยู ซึ่ ง คาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีกว่าจะได้ข้อสรุป และคงมีผลบังคับใช้ไม่ทันปี 2558 ที่ไทยจะถูกตัด จี เ อสพี ไทยควรใช้ โ อกาสนี้ ใ นการเจรจาเพื่ อ ให้ เหตุผลความจำเป็นเพิ่มเติมเพื่อขอให้อียูยืดระยะ เวลาการให้ สิ ท ธิ จี เ อสพี ในลั ก ษณะเดี ย วกั บ ที่ อินโดนีเซียใช้โอกาสในการประกาศเจตนารมณ์เปิด เจรจาเอฟทีเอขอยืดเวลาการตัดจีเอสพีจากอียสู ำเร็จ มาแล้ว "มองว่ า ช่ ว งนี้ เ ป็ น จั ง หวะที่ ดี ที่ เราจะเปิ ด เจรจาเอฟทีเอกับอียู เพราะการเมืองภายในเรานิ่ง พอสมควร ประกอบกับเศรษฐกิจของอียูในภาพรวม

เวลานี้ ไ ม่ ค่ อ ยดี เขาก็ ต้ อ งการขยายการค้ า การ ลงทุน ออกมานอกกลุ่มมากขึ้น และพูดกันตรงๆ เขาก็ต้องการที่จะส่งสินค้าและบริการมาบ้านเรา เหมื อ นกั น ในการเจรจาเอฟที เ อไทย-อี ยู ค รั้ ง นี้ รัฐบาลได้วางตัวหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยไว้แล้ว คือ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้า ไทย ซึ่ ง เป็ น นั ก เศรษฐศาสตร์ ที่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ ทั้ ง ในและต่างประเทศให้เป็นหัวหน้าคณะ เราก็มั่นใจ ว่าการกำหนดท่าที และการเจรจาจะเป็นไปอย่าง ระมัดระวังและมีความรอบคอบ"

หนักใจเอ็นจีโอต้าน ส่วนข้อกังวลของภาคประชาสังคม และ กลุม่ องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) เกรงไทยจะเสียรู้ และเสี ย เปรี ย บอี ยู ใ นการเจรจาหลายเรื่ อ ง อาทิ ในประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ยา) เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ บุหรี่ และการคุ้มครองพันธุ์พืช มองว่า ไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเจรจาในประเด็น เหล่านี้ได้ แต่ข้อกังวล และท่าทีที่แสดงออกมาจาก ผู้มีส่วนได้เสียผ่านสื่อ และผ่านการรณรงค์ต่างๆ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลและเครือ่ งมือในการเจรจา ต่อรองได้ "กรอบเจรจาเอฟทีเอไทย-อียูผ่านความเห็น ชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และรอเข้าสูก่ ารพิจารณา ของรั ฐ สภาตามมาตรา 190 ของรั ฐ ธรรมนู ญ ปี 2550 จะผ่านเมื่อไหร่เรายังไม่ทราบ แต่เราอยาก ให้เร็วที่สุด เพราะเวลานี้เราช้ากว่าคนอื่นหมดแล้ว ส่วนข้อกังวลต่างๆ ผู้มีส่วนได้เสียก็ต้องคุยกันให้ เข้าใจ ซึ่งภาคธุรกิจเราทำงานใกล้ชิดกับภาคประชา สังคมมากกว่ารัฐบาล แต่ก็ยอมรับว่ามีความหนักใจ พอสมควร หากยังไม่เข้าใจและมาเดินขบวนต่อต้าน รัฐบาลก็ต้องระวัง" ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

45


A-EU ประกาศรายการสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์ GSP ใหม่ ตามที่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกกฎระเบียบ Regulation (EU) No 978/2012 of the European Parliament and of the Council of 25 October 2012 applying a scheme of generalized tariff preferences and repealing Council Regulation (EC) No 732/2008 ซึ่งเป็นกฎระเบียบเกี่ยวกับโครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป และให้ยกเลิกกฎระเบียบโครงการ GSP เดิม นั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออก Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 of 17 December 2012 suspending the tariff preferences for certain GSP beneficiary countries in respect of certain GSP sections in accordance with Regulation (EU) No 978/2012 of the European Parliament and of the Council applying a scheme of generalized tariff preferences ซึ่งเป็นการประกาศรายการสินค้าตาม section ที่จะ ถูกตัดสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 สำนักงานฯ ขอเรียนสรุปสาระสำคัญดังนี้ 1. ตามกฎระเบี ย บ Regulation (EU) No 978/2012 การพิ จ ารณาตั ด สิ ท ธิ (Graduation) จะคำนวณจากสถิติเฉลี่ย 3 ปีติดต่อกัน โดยสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าแต่ละ Section จะต้องไม่เกิน threshold ที่ร้อยละ 17.5 ยกเว้นสินค้า textiles ภายใต้ Section 11a และ 11b จะต้องไม่เกิน threshold ที่ร้อยละ 14.5 ซึ่งจะคำนวณจากสถิติมูลค่าการนำเข้าสินค้าของสหภาพฯ จากประเทศที่ได้รับ สิทธิประโยชน์ GSP ทั้งหมด โดยใช้สถิติ ณ วันที่ 1 กันยายน ของปีที่มีการพิจารณาและ 2 ปีก่อนหน้า ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ใช้สถิติ ณ วันที่ 1 กันยายน 2012 และ 2 ปีก่อนหน้าในการพิจารณาตัดสิทธิครั้งนี้ 2. ประเทศและรายการสินค้าที่ถูกตัดสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการ GSP ใหม่มีดังนี้ • ประเทศจีน ถูกตัดสิทธิใน section S-1a, S-1b, S-2b, S-2c, S-2d, S-4b, S-6a, S-6b, S-7a, S-17a, S-17b, S-18 และ S-20 • ประเทศคอสตาริก้า ถูกตัดสิทธิใน Section S-20 • ประเทศเอควาดอร์ ถูกตัดสิทธิใน Section S-2a และ S-4a • ประเทศอินเดีย ถูกตัดสิทธิใน Section S-5, S-6a, S-6b, S-8a, S-11a และ S-17b • ประเทศอินโดนีเซีย ถูกตัดสิทธิใน Section S-1a, S-3 และ S-6b • ประเทศไนจีเรีย ถูกตัดสิทธิใน Section S-8a • ประเทศยูเครน ถูกตัดสิทธิใน Section S-17a • ประเทศไทย ถูกตัดสิทธิใน Section S-4a, S-4b และ S-14

46

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


3. Section S-4a คือสินค้าใน chapter 16 ได้แก่ ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา หรือสัตว์จำพวก ครัสตาเซีย โมลลุสก์ หรือจากสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ Section S-4b คือสินค้าใน chapter 17 ได้แก่ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล chapter 18 ได้แก่ โกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ chapter 19 ได้แก่ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช หรือนม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกเพสทรี chapter 20 ได้แก่ ของปรุงแต่งทำจากพืชผัก ผลไม้ ลูกนัต หรือจากส่วนอื่นของพืช chapter 21 ได้แก่ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ chapter 22 ได้แก่ เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู และ chapter 23 ได้แก่ กากและเศษที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อาหารที่จัดทำไว้สำหรับสัตว์เลี้ยง Section S-14 คือสินค้าใน chapter 71 ได้แก่ ไข่มุกธรรมชาติ หรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติ หรือ กึ่งรัตนชาติ โลหะมีค่า โลหะที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอย และ รูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์ 4. ให้ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2013 นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 รายละเอียดของ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 สามารถดูได้จาก http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:348:0011:0013:EN:PDF ความเห็น/ข้อสังเกต 1. ใน Section 4a สินค้าไทยที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการถูกตัดสิทธินี้คือ ผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากเนื้อสัตว์ และสินค้าประมงแปรรูป อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง และกุ้งแปรรูป ซึ่งในปี 2554 ไทย มีมูลค่าการส่งออกมายังสหภาพฯ สูงถึง 333 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ และใน section 4b สินค้าไทยที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการถูกตัดสิทธินี้คือ อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ซึ่งในปี 2554 ไทยมีมูลค่าส่งออกมายังสหภาพฯ สูงถึง 720 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 149 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สำหรับ section 14 ได้แก่สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ในปี 2554 ไทยมีมูลค่าการส่งออกมายังสหภาพฯ สูงถึง 1,645 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เนื่องจากเป็น สินค้าที่ไทยโดนตัดสิทธิ GSP อยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด 2. การตัดสิทธิประโยชน์นี้ ทำให้สินค้าของไทยจะต้องเสียภาษีที่อัตราสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้า ของไทยในตลาดสหภาพฯ เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจากการตัดสิทธิประโยชน์นี้จะมีผลใช้บังคับเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ดังนั้น ผู้ประกอบการและส่งออกไทยจึงยังคงมี เวลาอีก 1 ปี ในการปรับตัวและควรเร่งคิดค้นวิธีการและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมทั้งกลยุทธ์ทาง การตลาด เพื่อยังคงความสามารถในการแข่งขันและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในสหภาพฯ ไว้ได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

47


18.12.2012

EN

Official Journal of the European Union COMMISSION IMPLEMENTING REGULATION (EU) No 1213/2012 of 17 December 2012 suspending the tariff preferences for certain GSP beneficiary countries in respect of certain GSP sections in accordance with Regulation (EU) No 978/2012 of the European Parliament and of the Council applying a scheme of generalised tariff preferences

L 348/11

THE EUROPEAN COMMISSION, Having regard to the Treaty on the Functioning of the European Union, Having regard to Regulation (EU) No. 978/2012 of the European Parliament and of the Council of 25 October 2012 applying a scheme of generalised tariff preferences and repealing Council Regulation (EC) No. 732/2008 (1), and in particular Article 8(2) thereof, Whereas: (1) In accordance with Regulation (EU) No 978/2012 the tariff preferences of the general arrangement of the Generalised Scheme of Preferences (GSP) are to be suspended in respect of products of a GSP section originating in a GSP beneficiary country when the average value of Union imports of such products over three consecutive years from that GSP beneficiary country exceeds the thresholds listed in Annex VI of that Regulation. (2) Prior to the application of the tariff preferences under the general arrangement, a list of GSP sections for which the tariff preferences are suspended in respect of the GSP beneficiary countries concerned should be established by the Commission. The list should be based on data available on 1 September 2012 and of the two preceding years. (3) The measures provided for in this Regulation are in accordance with the opinion of the Generalised Preferences Committee, HAS ADOPTED THIS REGULATION: Article 1 The list of products of GSP sections for which the tariff preferences referred to in Article 7 of Regulation (EU) No. 978/2012 are suspended in respect of the GSP beneficiary countries concerned is established in the Annex to this Regulation. Article 2 This Regulation shall enter into force on the day following that of its publication in the Official Journal of the European Union. It shall apply from 1 January 2014 until 31 December 2016. This Regulation shall be binding in its entirety and directly applicable in all Member States. Done at Brussels, 17 December 2012. For the Commission The President Jose Manuel BARROSO (1) OJ L 303, 31.10.2012, p. 1.

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556



Sunny-Side

Up A golden outlook.

Kemin is ushering in a new dawning in carotenoid advancement with Quantum GLO™. Quantum GLO is a new generation of carotenoids that offers better bioavailability and gives the desired yolk color score that you want at a lower cost. This means using less Quantum GLO while still getting the beautiful sunny-side up yolks you expect. Made from molecules harvested from marigolds and paprika, Quantum GLO is the natural, more efficient way to create golden results.

Quantum GLO™: A sunny forecast for profits. www.kemin.com

© Kemin Industries, Inc and its group of companies 2013. All rights reserved. ® TM Trademarks of Kemin Industries, Inc., U.S.A.

13-QuantumGLO_FP_HP_V07F.indd 1

1/8/13 9:15 AM


L 348/12

EN

Official Journal of the European Union

18.12.2012

ANNEX The list of GSP sections for which the tariff preferences referred to in Article 7 of Regulation (EU) No. 978/2012 are suspended in respect of a GSP beneficiary country concerned. Column A: name of country Column B: GSP section (Article 2(j) of GSP Regulation) Column C: description A China

B S-1a S-1b S-2b S-2c S-2d S-4b S-6a S-6b S-7a S-7b S-8a S-8b S-9a S-9b S-11a S-11b S-12a S-12b S-13 S-14 S-15a S-15b S-16

C Live animals and animal products excluding fish Fish, crustaceans, molluscs and other aquatic invertebrates Vegetables, fruit and nuts Coffee, tea, mate and spices Cereals, flour, seeds and resins Prepared foodstuffs (excl. meat and fish), beverages, spirits and vinegar Inorganic and organic chemicals Chemicals, other than organic and inorganic chemicals Plastics Rubber Raw hides and skins and leather Articles of leather and furskins Wood and wood charcoal Cork manufactures of straw and other plaiting materials Textiles Articles of apparel and clothing accessories Footwear Headgear, umbrellas, sun umbrellas, sticks, whips and prepared feathers and down Articles of stone, ceramic products and glass Pearls and precious metals Ferro-alloys and articles of iron and steel Base metals (excl. iron and steel), articles of base metals (excl. articles of iron and steel) Machinery and equipment ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

49


A

B S-17a S-17b S-18 S-20 Costa Rica S-2b Ecuador S-2a S-4a India S-5 S-6a S-6b S-8a S-11a S-17b Indonesia S-1a S-3 S-6b Nigeria S-8a Ukraine S-17a Thailand S-4a S-4b S-14

50

C Railway and tramway vehicles and products Motor vehicles, bicycles, aircraft and spacecraft, ships and boats Optical instruments, clocks and watches, musical instruments Miscellaneous Vegetables, fruit and nuts Live plants and floricultural products Preparations of meat and fish Mineral products Inorganic and organic chemicals Chemicals, other than organic and inorganic chemicals Raw hides and skins and leather Textiles Motor vehicles, bicycles, aircraft and spacecraft, ships and boats Live animals and animal products excluding fish Animal or vegetable oils, fats and waxes Chemicals, other than organic and inorganic chemicals Raw hides and skins and leather Railway and tramway vehicles and products Preparations of meat and fish Prepared foodstuffs (excl. meat and fish), beverages, spirits and vinegar Pearls and precious metals

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


สรุปผลการจัดงานเสวนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์:

เกาะติดกฎระเบียบการนำเข้าอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป แนวโน้มวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในตลาดโลกและสถานการณ์ปศุสัตว์ไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค

ความเป็นมา ตามคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะผู้แทน สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Delegation of the European Union to Thailand) กำหนดจัดเสวนา เรื่อง “อุตสาหกรรมปศุสัตว์: เกาะติดกฎระเบียบการนำเข้าปศุสัตว์ของสหภาพยุโรปแนวโน้มวัตถุดิบ อาหารสัตว์ในตลาดโลกและสถานการณ์ปศุสัตว์ไทย” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 ณ โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ซึ่งสามารถสรุปภาพรวมการเสวนาได้ดังนี้ ภาคเช้า  1. คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้า แห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าววัตถุประสงค์ และ Mr. Attila Nyitrai, Deputy Head of the Delegation of European Union to Thailand เป็นผู้กล่าวต้อนรับ 2. รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายยุ ค ล ลิ้ ม แหลมทอง) กล่ า วเปิ ด การเสวนาและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความสำคัญของปศุสัตว์ไทยในตลาดโลก” ซึ่งสามารถสรุปสาระ สำคัญได้ดังนี้ สาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยในปัจจุบันมีศักยภาพ เกิดจากปัจจัยที่สำคัญได้แก่ 1.การมีพันธุ์สัตว์ที่ดี 2. อาหารสัตว์ที่มีปริมาณเพียงพอ 3. องค์ความรู้ในการบริหารจัดการ 4.การมี กฎหมายควบคุมปศุสัตว์ทั้งหมด อีกทั้งในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบาย Green Economy ซึ่งให้ความสำคัญ กับ Zero Waste Agriculture, การใช้ฉลาก Carbon Footprintและการเริ่มบังคับใช้มาตรฐานบังคับ ของสินค้าเกษตรบางชนิด เพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ One World One Health อย่างจริงจัง 3. การบรรยายเรื่อง “สถานการณ์และแนวโน้มอาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์ในสหภาพ ยุโรปและตลาดโลก” โดย Mr. Peter Radewan, EU Expert ( German Feed Association) สามารถ สรุปประเด็นจากการบรรยายได้ดังนี้ - การผลิตพืชของภาคการเกษตรต้องเพิม่ ปริมาณการผลิตเป็นอย่างน้อย 2 เท่าภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าโลกต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

51


- ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) โลกต้องมีการผลิตโปรตีนให้ได้มากกว่าร้อยละ 60 โดยมี การประเมินว่าการผลิตโปรตีนจากสัตว์จะเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่า ได้แก่ เนื้อสัตว์ (สัตว์ปีก/สุกร/ เนื้อวัว) จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ผลิตภัณฑ์นมจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า - ความต้องการปริมาณโปรตีนในอาหารที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งความต้องการโปรตีนจะเป็น ปัญหามากกว่าความต้องการด้านพลังงานทั้งในระยะกลางและระยะยาว - ตลาดการผลิตปศุสัตว์หลักที่มีการเติบโตจะอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา - อาหารสัตว์ผสม (Compound Feed) จะเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างมากในการ เพิ่มปริมาณการผลิตปศุสัตว์ - มีความสมบูรณ์ของกฎระเบียบและมาตรการควบคุมความปลอดภัยอาหารสัตว์ในสหภาพ ยุโรป ซึ่งให้ความสำคัญกับการติดตามตรวจสอบของห่วงโซ่การผลิต, การลดการปนเปื้อนจากแหล่งวัตถุดิบ และการมีระบบควบคุมคุณภาพและรับประกันคุณภาพ 4. การบรรยาย เรื่ อ ง “กฎระเบี ย บการนำเข้ า สิ น ค้ า อาหารสั ต ว์ ข องสหภาพยุ โรป” โดย Dr. Wolfgung Trunk, DG Health and Consumer, European Commission มีการกล่าวถึงโครงการ กฎหมายอาหารสัตว์ในสหภาพยุโรป โดยมีรายละเอียดกฎหมาย ได้แก่ - กฎหมายว่าด้วยการทำการตลาดอาหารสัตว์ (Feed marketing: Reg 767/2009) - กฎหมายว่าด้วยวัตถุปนเปื้อนอาหารสัตว์ (Feed additives: Reg 1831/2003) - กฎหมายว่าด้วยอาหารสัตว์ที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม (GM-Feed: Reg 1829/2003) - กฎหมายว่าด้วยสุขอนามัยอาหารสัตว์ (Feed Hygiene: Reg 183/2005) - กฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์ (Animal By-Products: Reg 1069/2009) - กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาหารสัตว์ (Feed Control: Reg 882/2004) - กฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร (General Food Law: Reg 178/2002) - Negative list ของสสารต้องห้ามในอาหารสัตว์ - รายการสินค้าของวัตถุดิบอาหารสัตว์ - สสารที่ไม่เป็นที่ต้องการในอาหารสัตว์ - ระบบแจ้งเตือนภัยเร่งด่วนด้านความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป (EU’s Rapid Alert System for Food and Feed: RASFF) สามารถสรุปประเด็นจากการบรรยายได้ดังนี้ - ระบบความปลอดภัยทางอาหารของสหภาพยุโรปมีการปรับปรุงใหม่ตั้งแต่ปี 2000

52

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


- การจัดตั้งหลักการ “farm to fork” โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสัตว์ มีการกำหนดสุขอนามัย อาหารสัตว์ (Feed Hygiene) และกฎระเบียบว่าด้วยการทำการตลาดอาหารสัตว์ (Marketing rules for feed) มีการบูรณาการในระบบควบคุมอย่างเป็นทางการและจะผนวกเข้าไปอยู่ในระบบการควบคุมอาหาร - RASFF เป็นระบบที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าที่นำเข้ามาในสหภาพยุโรป ภาคบ่าย  การเสวนาเรื่อง “แนวโน้มอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในตลาดโลก ปี 2556” โดยมีวิทยากร เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่

- คุณเอกพจน์ ยอดพินิจ - คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ - คุณกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม - คุณคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ - Mr. Peter Radewan - Dr. Wolfgung Trunk

อุปนายกสมาคมกุ้งไทย เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่ เพื่อส่งออกไทย

สามารถสรุปประเด็นจากการเสวนาได้ดังนี้ - สำหรับอุตสาหกรรมสุกรของประเทศไทย มีการบริโภคภายในประเทศร้อยละ 95 และมี การส่งออกเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ซึ่งประเทศเวียดนามจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในอาเซียนของประเทศไทย ในอนาคตข้างหน้า ส่วนตลาดโลกนั้นประเทศจีนมีอัตราการบริโภคเนื้อสุกรถึงร้อยละ 50 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก - การส่งออกไก่ของประเทศไทยนั้น แม้ว่าจะสามารถนำเงินตราเข้ามาในประเทศถึง 70,000 ล้านบาทต่อปี แต่สัดส่วนการผลิตและการส่งออกของโลกนั้น ประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับ 4 ของโลก และมีการผลิตเป็นอันดับ 9 ของโลก จากปีที่ผ่านมานั้น สหภาพยุโรปอนุญาตให้ประเทศไทยสามารถ ส่งออกไก่ไปได้ นับตั้งแต่เกิดปัญหาไข้หวัดนกในประเทศไทยหลายปีก่อน ซึ่งนับเป็นข่าวดีของประเทศไทย แต่ข่าวเสียในปีนี้ก็คือ ราคาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากทั่วโลก - อุตสาหกรรมกุ้งไทย มีการส่งออกถึงร้อยละ 95 และเพื่อการบริโภคภายในประเทศเพียง ร้ อ ยละ 5-6 เท่ า นั้ น ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น สิ น ค้ า เพื่ อ การส่ ง ออกอย่ า งแท้ จ ริ ง และแตกต่ า งจากอุ ต สาหกรรม ปศุสัตว์ประเภทอื่น โดยการส่งออกกุ้งของประเทศไทย ถือว่าเป็นอันดับหนี่งของโลก เนื่องมาจากมีความ เข้มแข็งตลอดห่วงโซ่การผลิต และมีปัจจัยที่อุตสาหกรรมกุ้งไทยจะต้องเผชิญในปี 2556 ได้แก่ ปัญหา โรคระบาด, การถูกตัดสิทธิ GSP, ปัญหาด้านแรงงาน, Anti-dumping: AD, Countervailing Duty: CVD, ค่าแรงขั้นต่ำและอัตราแลกเปลี่ยน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

53


- คุ ณ บุ ญ ธรรม อร่ า มศิ ริ วั ฒ น์ เลขาธิ ก ารสมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ไ ทย ให้ ข้ อ มู ล ว่ า อุ ต สาหกรรมอาหารสั ต ว์ ข องประเทศไทย ในปี 2555 มี ป ริ ม าณการผลิ ต อาหารสั ต ว์ 15.5 ล้ า นตั น ซึ่งเป็นการผลิตที่เกินตัว เกิดภาวะล้นตลาด ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์สัตว์ตกต่ำ อีกทั้งในปีที่ผ่านมามีต้นทุน การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลกระทบมาจากวิกฤตอากาศในแหล่งเพาะปลูก Grain และ Oilseed - การผลิตอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี 2004 ถึง 2013 เติบโตมาโดยตลอด แม้ว่าจะเจอวิกฤตเศรษฐกิจ 4 ครั้ง กล่าวคือ วิกฤตหวัดนก ปี 2004 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 วิกฤตอุทกภัย ปี 2011 วิกฤตภัยแล้ง ปี 2012 แต่ก็ยังมีการเติบโตเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 7.2% ต่อปีในอัตราที่ถดถอย - การเติบโตในปี 2555 มากกว่าปี 2554 8.4% เกินกว่าค่าเฉลี่ย สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะ Over Supply โดยในปี 2556 คาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตได้ 16.5 ล้านตัน กล่าวคือ จะเติบโตด้วยค่าเฉลี่ยปกติ และต้นทุนการผลิตจะลดลงเล็กน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มอาหารสัตว์บกเติบโตด้วยความระมัดระวัง เพราะปี 2555 เป็นบทเรียน จำเป็นต้องวางแผนปรับสมดุล

54

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


- ในเชิงมูลค่ากากถั่วเหลืองเป็นตัวหลัก โดยในปี 2554 ราคาเฉลี่ย 344 $/ST และเพิ่มขึ้นเป็น 427 $/ST ในปี 2555 หรือเพิ่มขึ้น 24-25% ซึ่งในครึ่งหลังของปี 2555 ฐานราคาสูงสุดในเดือนสิงหาคม กันยายน ก่อนคลายตัวลง หากมองราคาล่วงหน้า ณ 6 มีนาคม 2556 price pattern sideway ครึ่งปีแรก และอ่อนตัวครึ่งปีหลัง โดยราคาในปี 2556 เทียบ 2555 ลดลงประมาณ 5% แต่ยังสูงกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก - ราคาข้าวโพดครึ่งแรกปี 2555 เปลี่ยนแปลงผันผวนรุนแรง โดยราคาเฉลี่ยปี 2554 อยู่ที่ 679 Cent/Bushel และปรับเพิ่มขึ้น 2% เป็น 691 Cent/Bushel ในปี 2555 หากมองราคาล่วงหน้า ณ 6 มีนาคม 2556 ครึ่งแรกปี 2556 sideway down ครึ่งหลังปี 2556 จะปรับฐาน และลดลงทั้งปี ประมาณ 5% - หากนำราคาข้ า วโพด และกากถั่ ว เหลื อ ง มาถ่ ว งปริ ม าณการใช้ เ ป็ น ต้ น ทุ น ในการผลิ ต อาหารสัตว์ จะพบว่าปี 2555 สูงกว่าปี 2554 ประมาณ 12% ส่วนปี 2556 ครึ่งปีแรกใกล้เคียงกับ ปีก่อน ครึ่งปีหลังลดลง จากสภาพการณ์ของอเมริกาเหนือเป็นปกติ อเมริกาใต้มีความชัดเจนว่าผลผลิต ถั่วเหลืองดีขึ้นกว่าปีก่อน ส่งผลต้นทุนรวมดีขึ้น แต่ยังสูงกว่าปี 2554 ประมาณ 6% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

55


- นอกจากนี้ คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย มองว่า ในปีนี้หากสหรัฐอเมริกาไม่ประสบปัญหาภัยแล้ง ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์น่าจะดีขึ้น มองเห็นอนาคต ของไทยว่ามีภาคปศุสัตว์ที่แข็งแกร่งมาตลอด 20 ปี พร้อมที่จะเป็นครัวของประเทศและของโลก มีการ พัฒนาสมบูรณ์แบบทั้งห่วงโซ่อาหาร ไทยมีความพร้อมรองรับกับภาวะการขาดแคลนอาหารที่จะมาถึง ในปี 2050 และ AEC อีก 2 ปีข้างหน้าจะเป็น ASEAN Food Chain แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคหลักของ ห่วงโซ่ ก็คือ วัตถุดิบ ซึ่งขาดแคลนแหล่งโปรตีน เนื่องจากเหลือเพียงพอในโลกแค่ภูมิภาคอเมริกาเหนือ และใต้ เพราะภาคพื้น ASEAN 10 ประเทศมีความคล้ายคลึงกัน โดยเป็นแหล่งแป้งที่เพียงพอ ทั้งข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง จึงควรมีแนวคิดร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อความยั่งยืน - ผู้แทนจากสหภาพยุโรปกล่าวถึงความสำคัญในอนาคตข้างหน้า ถึงแนวโน้มของความสำคัญ ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดคือ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพราะสหภาพยุโรป มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมาก ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของผู้บริโภคเอง ที่ให้ความสำคัญกับความ ปลอดภัยทางอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบจนถึงตลาด ดังเช่น ผู้บริโภคไม่ต้องการ ผลผลิต GMO หรือความต้องการปริมาณโปรตีนที่เพิ่มสูงขึ้นจากอาหาร และการเปลี่ยนแปลงจากสภาพ ภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน

56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556




สรุปประเด็นสำคัญการให้สัมภาษณ์ ALIC และ R&A

“สถานการณ์การผลิตอาหารสัตว์ของไทย” วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2556 ณ ห้องประชุมสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ผู้เข้าร่วมการสัมภาษณ์ 1. คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ 2. Mr. Kazuhisa Hoshini, D.V.M 3. Mr. Shuhei Munemasa 4. Mr. Ryosuke Yasuda

เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย International Research Group, Research Department, ALIC International Research Group, Research Department, ALIC R&A Information Service Co.,Ltd

สถานการณ์ปีที่แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ข้าวโพด กากถั่วเหลืองปีก่อนราคาสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย และเกิดการขยายตัวเกินไป มากกว่าความต้องการตลาด ซึ่งการผลิตไก่เนื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ผู้เลี้ยงไก่เนื้ออยู่ในภาวะที่ไม่ดี อาจทำให้ปีนี้ยังขยายตัวได้ไม่มาก และปีนี้ราคาข้าวโพด กากถั่วเหลืองน่าจะต่ำกว่าปีก่อน สถานการณ์ การผลิตไก่เนื้อโดยรวมปี 2013 จะดีกว่าปี 2012

ปี 2011 การเลี้ยงไก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพราะเหตุใด ตลาดในประเทศและต่างประเทศขยายตัว และกำลังซื้อในประเทศดี มีการขยายของ Modern Trade และ Fast Food คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นเกษตรกรมีฐานะดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร รวมทั้ง มีการขยายตลาดการส่งออกไก่ปรุงสุก นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสูงสุดกว่า 20 ล้านคนในปีก่อน ซึ่งค่าเฉลี่ยของการบริโภคไก่ของชาวต่างชาติมากกว่าคนไทย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

57


ทราบว่าการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดในไทยไม่มมี าตรการบังคับ จะมีวธิ กี ารอย่างไร ให้ข้าวโพดเพียงพอ ในอดีตรัฐบาลจะเข้ามาช่วยดูแลเกษตรกรบางช่วงที่ราคาข้าวโพดต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ผ่าน โครงการรับจำนำ แต่ถ้าปีใดที่ราคาข้าวโพดสูงกว่าต้นทุนการผลิต รัฐบาลจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไก ตลาด ปัจจุบันชาวนาชาวไร่ตัดสินใจเป็นทางเลือกหนึ่งตามผลตอบแทนซึ่งข้าวโพดน้อยกว่าอ้อย ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ทั้งนี้ ชาวนาชาวไร่ปลูกข้าวโพดเพราะความคุ้นเคยและปลูก 2 crop แต่มีแนวโน้มสูง ว่าข้าวโพดไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

ข้าวโพดไทยไม่เพียงพอ ภาครัฐจะตัดสินใจลดภาษีนำเข้าไหม และภาคเอกชน มีวิธีการอย่างไร ข้าวโพดไทยมีการส่งออกประมาณปีละ 1-2 แสนตันในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือน ส.ค.-ต.ค. ซึ่งปีก่อนส่งออกไปญี่ปุ่น 1 หมื่นตัน แต่ไทยมีการนำเข้าจากพม่า ลาว เขมร ประมาณ 3-5 แสนตันต่อปี จะเห็นว่าไทยเป็น Net Importer ในกรอบ AFTA 10 ประเทศในอาเซียนมีอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 ในกรอบ WTO อัตราภาษี นำเข้าจากประเทศอาร์เจนติน่า บราซิล แอฟริกา อินเดีย เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 20 และมีโควต้าปีละ 5 หมื่นตัน 2 ปีก่อนไทยมีการนำเข้า Feed Wheat ทดแทนข้าวโพด ซึ่งปีที่แล้วนำเข้าจากออสเตรเลีย และ อินเดีย ทำให้มีวัตถุดิบเพียงพอ โดยผู้ผลิตไก่เนื้อใช้ผลิตภัณฑ์ข้าวและมันสำปะหลังทดแทน ทั้งนี้ภาพรวม การผลิตอาหารสัตว์มีการใช้รำสกัดและรำละเอียดปีละ 2-3 ล้านตัน มันเส้นมันอัดเม็ดปีละ 1-1.5 ล้านตัน

ปี 2015 จะเปิดตลาด AEC ไทยมีแนวโน้มทีจ่ ะลงทุนปลูกวัตถุดบิ ในประเทศเพือ่ นบ้าน หรือไม่ มีการลงทุนมาหลายปีแล้ว ในกรอบ ACMECS ซึ่งผู้ประกอบการไทยไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง และภาษีในกรอบ AFTA ขณะนั้นยังไม่เป็น 0% ทั้งหมด แต่เมื่อปี 2553 ภาษี ในกรอบ AFTA เป็น 0% ใน 6 ประเทศแรก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ อีก 3 ปี ต่อมาพม่า ลาว เขมร เวียดนาม เปิดตลาด 0% เช่นกัน ทำให้กรอบ ACMECS ยกเลิกไป และ ดึงดูดให้หลายบริษัททั้งจากไทยและต่างชาติ ลงทุนตั้งโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มในประเทศเหล่านั้น

ในอนาคตอาจนำเข้าวัตถุดิบหรืออาหารสัตว์สำเร็จรูปไหม มีความเป็นไปได้ ถ้าช่วงใดโรงงาน หรือฟาร์มมีต้นทุนที่ดีกว่า อาจมีอาหารสัตว์สำเร็จรูปจาก เวียดนามมาตีตลาดในไทยได้เช่นกัน เพราะเป็นตลาดในพื้นที่เดียวกัน

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


แนวโน้มต้นทุนเพิ่มขึ้นจากค่าแรงขั้นต่ำ และอุตสาหกรรมเกษตรอาจจะไม่ได้รับ สิทธิ์ BOI ต่อด้วย จะกระทบความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ หากดู แ นวโน้ ม พั ฒ นาการทั้ ง วั ต ถุ ดิ บ พื้ น ฐาน โรงงานอาหารสั ต ว์ การเลี้ ย งสั ต ว์ การแปรรู ป ตลอดห่วงโซ่อุปทานแล้ว ต้องอาศัยต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งแหล่งวัตถุดิบในอาเซียนสามารถเคลื่อนย้าย ได้ง่ายในระดับราคาที่ไม่แพง การเลี้ยงสัตว์ก็มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ใช้แรงงานน้อยลง โดยการเพิ่ม ค่าแรงนั้นรวดเร็ว แต่ช่วยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทำให้ขาดแคลนแรงงานน้อยลง แรงงานจากประเทศ เพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น ค่าแรง 300 บาท สูงกว่าในอดีต แต่หากเทียบภูมิภาคอาเซียน ยังต่ำกว่าในญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตเท่านั้น ศักยภาพอุตสาหกรรมไทยสามารถผลิตอาหารเลี้ยงผู้บริโภคในประเทศเพียงพอ และเหลือส่งออก ได้ ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนขอให้ BOI ทบทวนนโยบายที่มองเพียง Hi Technology แต่ควรมองเป็น Food Chain ทั้งระบบ โดยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรพื้นฐานในระดับต้นน้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในระดับ กลางน้ำ และความหลากหลายของอาหารในระดับปลายน้ำ

เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในไทยมีโกดังหรือไซโลสำหรับขายต่อเองหรือไม่ เกษตรกรส่ ว นใหญ่ ไ ม่ มี โ กดั ง แต่ จ ะมี พ่ อ ค้ า ใกล้ แ หล่ ง เพาะปลู ก ช่ ว ยเก็ บ เกี่ ย วผลผลิ ต แปรรู ป นำส่งโรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งในอดีต เกษตรกรจะหักฝักข้าวโพด แล้วนำไปเก็บในยุ้งขนาดเล็ก แต่ปัจจุบัน เกษตรกรเก็บด้วยมือน้อยลง ใช้เครื่องยนต์ขับเข้าไปในไร่ มีการสีเป็นเม็ดๆ ขนขึ้นรถให้พ่อค้าอบแห้ง ก่อนส่งโรงงานอาหารสัตว์

ช่วยอธิบายโครงสร้างราคาข้าวโพดไทยกับต่างประเทศ ข้าวโพดไทยรัฐบาลให้ส่งออกเสรี แต่นำเข้าในกรอบ WTO แบบควบคุม ดังนั้น ราคาตลาด CBOT จะมี อิ ท ธิ พ ล โดยหากราคาข้ า วโพดในไทยต่ ำ กว่ า ตลาด CBOT จะมี ก ารส่ ง ออก อั น จะทำให้ ร าคา ข้าวโพดไทยปรับตัวสูงขึ้น เพื่อไม่ถูกนำไปส่งออก และนำมาใช้ในประเทศแทน

บริษัทต่างชาติที่ลงทุนในไทย มีบทบาทแค่ไหน มีบทบาทบ้าง โดย Cargill มีโรงงานในไทยขนาดกลางที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด ส่วน ADM และ BUNGE เป็นผู้ขายวัตถุดิบเมล็ดและกากถั่วเหลือง

กากถั่วเหลืองนำเข้าส่วนใหญ่ราคาจะขึ้นกับสากลหรือไม่ ไทยนำเข้าหลักจากบราซิล อาร์เจนติน่า สหรัฐอเมริกา อินเดีย โดยเรือขนาด Panamax 6 หมื่นตัน บริษัทใหญ่เช่นซีพีสั่งซื้อได้ทั้งลำ ส่วนรายอื่นๆ มีการร่วมกันซื้อระหว่างสมาชิกสมาคมฯ เฉลี่ยเดือนละ 1-2 ลำ ซึ่งค่าขนส่งมาไทยไม่แพงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ จะเห็นได้ว่าไทยมีความจำเป็นที่จะต้องสรรหา แหล่งวัตถุดิบที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ เพื่อรองรับการเติบโตของการผลิตอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

59


ไทยส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองไหม ไทยมีการหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งแต่ก่อนปลูก 5-6 แสนตัน ปัจจุบันเหลือเพียง 1 แสนตัน โดยนักวิจัยได้ศึกษาการจัด Zoning พื้นที่ทั้งไทย ลาว เขมร พม่า เวียดนาม ร่วมกัน ทั้งนี้ ถั่วเหลืองไม่ต้องการอากาศร้อนมากนัก และส่วนใหญ่เป็น Non GMO ซึ่งในไทยใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เต้าหู้ ซีอิ๊ว ส่วนโรงงานอาหารสัตว์ และโรงสกัดน้ำมันใช้เมล็ดถั่วเหลืองในประเทศน้อยลง

รัฐบาลส่งเสริมการนำข้าวโพดไปทำพลังงานทดแทน เช่น E10 Ethanol เหมือน มันสำปะหลัง และกากน้ำตาลไหม ไทยมองแหล่งพลังงานโดยให้กลไกลตลาดตอบโจทย์ ซึ่งราคาข้าวโพดสูงกว่าราคามันสำปะหลัง จึงไม่มีการนำไปใช้ทำ Ethanol แต่ถ้าราคาข้าวโพดใกล้เคียงกับมันสำปะหลังเหมือนในสหรัฐอเมริกา ก็มีแนวโน้มปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ได้กำหนดนโยบายชัดเจนห้ามนำข้าวโพดไปผลิต Ethanol

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


สรุปประเด็นสำคัญ

สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้การต้อนรับ และหารือร่วมกับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะ วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ผู้เข้าร่วมการประชุมจากฝ่ายคุณอภิสิทธิ์และคณะ ได้แก่ 1. คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ (ผู้นำคณะฯ) 2. คุณวีระชัย  วีระเมธีกุล 3. คุณชินวรณ์  บุญยเกียรติ 4. คุณสรรเสริญ  สมะลาภา 5. คุณวิชัย  ล้ำสุทธิ 6. คุณผ่องศรี  ธาราภูมิ

ผู้เข้าร่วมการประชุมจากสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ 1. คุณพรศิลป์  พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 2. คุณบุญธรรม  อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิกาสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 3. คุณกฤษณพันธ์  จัตุพร อุปนายกสมาคมฯ คนที่1 สมาคมปศุสัตว์ไทย 4. นางสุวดี  ธีระสัตยกุล กรรมการบริหารสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 5. น.สพ.เกียรติภูมิ  พฤกษะวัน รองเลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 6. คุณสมพร  กมลพรสิน ผู้จัดการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 7. คุณเอกพจน์  ยอดพินิจ อุปนายกสมาคมกุ้งไทย 8. คุณกานดา  ไกลขจรกิตติ ผู้จัดการสมาคมกุ้งไทย 9. คุณประยุทธ์  ศรีวิโรจน์ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตและผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ 10. คุณสุทธิ  ทวีศักดิ์วุฒิกุล เลขานุการสมาคมผู้ผลิตและผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ 11. คุณวัฒนา  คงวัฒนานนท์ เลขาธิการสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย 12. คุณธวัชชัย  อรรถกรจิระ ผู้จัดการสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย 13. คุณธนเดช  แสงวัฒนกุล กรรมการและเลขานุการสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 14. คุณสบโชค  ศรีทองสุข เจ้าหน้าทีส่ มาคมส่งเสริมการเลีย้ งไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 15. คุณสุเรียน  ลือชาธร ผู้จัดการสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ 16. คุณคึกฤทธิ์  อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย 17. คุณวิมลรัตน์  เปรมศิริ ผู้ช่วยผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย 18. คุณสมเกียรติ  พันธ์จิตวุฒิชัย สมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

61


ด้วย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะ มีจุดประสงค์ในการเข้าร่วมหารือกับสมาพันธ์ปศุสัตว์ และ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเห็นความสำคัญของภาคเกษตร ที่ประกอบด้วยด้านการผลิตอาหารสัตว์ ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ซึ่งเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของไทย และจากโครงการพิมพ์เขียวประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า ภาคเกษตรมีจำนวนประชากร และทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องจำนวนมากทั้งด้านปริมาณและมูลค่า ทั้งทางด้านฐานการผลิต ความมั่นคงด้านอาหาร แม้ว่าภาคเกษตรจะมีสัดส่วนต่อ GDP ลดลง ทั้งนี้ ภาครัฐ และเอกชนมีความจำเป็นต้องมองถึงโครงสร้าง เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตของไทยยังต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย อุตสาหกรรมการเกษตรทั้งภาคการผลิตอาหารสัตว์ ภาคปศุสัตว์ ภาคประมงของไทยมีการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ในประเทศรวม 80% และส่งออกรวม 20% โดยเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในวงจรที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่การนำวัตถุดิบการเกษตรขั้นพื้นฐานมาแปรรูป และส่งผ่านไปยังโรงงานอาหารสัตว์นำไปผลิตอาหาร สัตว์สำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณกว่าปีละ 15.5 ล้านตัน ใช้ในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ แปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพื่อป้อนความต้องการภายในประเทศ โดยมีการสร้างแรงงานในระบบที่เกี่ยวเนื่องผ่านกระบวน ต่างๆ เหล่านั้น และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานในระดับราคาที่เหมาะสมต่อผู้บริโภค รวมทั้งการ ส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์สัตว์ นำเงินตราเข้าสู่ประเทศปีละ 2 แสนล้านบาท

62

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


หากปัญหาภาคปศุสัตว์เกิดในส่วนใดส่วนหนึ่ง ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในการเข้ามา แก้ไขปัญหา ดังเห็นได้จากปริมาณเพื่อให้วงจรดังกล่าวข้างต้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และเอื้อ ประโยชน์ต่อประเทศในทุกๆ ด้าน

ปัญหา 1. วัตถุดิบอาหารสัตว์ถือเป็นปัญหาร่วมของวงการปศุสัตว์ทั้งระบบ เนื่องจากเป็นต้นทุนหลักในการ ผลิตอาหารสัตว์ และการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น - วัตถุดิบในประเทศ มีสัดส่วน 60% ของการใช้ทั้งหมด เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ ข้ า ว มี ปั ญ หาประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต ต่ ำ กว่ า เกณฑ์ ค่ า เฉลี่ ย ของโลก และมี ก ารยกระดั บ ราคาให้ สู ง ขึ้ น ซึ่งเกิดผลทำให้มีการควบคุมนโยบายในการนำเข้ากลุ่มวัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศเพื่อนบ้าน - วัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีสัดส่วน 40% ซึ่งผลิตได้ไม่เพียงพอ หรือผลิตไม่ได้ภายใน ประเทศ เช่น ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง กากพืชน้ำมันอื่นๆ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการเก็บภาษีนำเข้าในระดับ 2-9% 2. การควบคุมราคาขายอาหารสัตว์สำเร็จรูป ที่ไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ข้อเสนอแนะ 1. รัฐควรสนับสนุนให้เกษตรกรมีความสามารถในการแข่งขันได้ โดยการจัดหาแหล่งน้ำชลประทาน ให้เพียงพอ ประกอบกับการให้ความรู้ ความเข้าใจในการเป็นผู้ประกอบการที่ดี ที่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน 2. รัฐควรพิจารณาลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ผลิตได้ไม่เพียงพอหรือผลิตไม่ได้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ที่ไม่จำเป็นของผู้ประกอบการ ซึ่งมีมูลค่าปีละประมาณ 2 พันล้านบาท ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

63


3. ควรเน้นนโยบายกรอบความตกลง AFTA ในด้านฐานการผลิตและการตลาดร่วมอย่างจริงจัง 4. ภาครัฐควรปล่อยให้ต้นทุนที่แท้จริงเป็นไปตามกลไกตลาด และหาวิถีทางลดภาระค่าใช้จ่าย ในการผลิตให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์แทน

สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ไทยไม่ควรนำราคาไข่ไก่ไปเป็นดัชนีชี้วัดความเป็นอยู่ของประชาชน แต่ควรต้องให้ราคาไข่ไก่เป็นไป ตามต้นทุนอาหารสัตว์ ค่าแรง โรคระบาด การจัดการสิ่งแวดล้อม เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวมีอัตราการทำ กำไรไม่เกิน 15% ปัญหา - การนำเข้าเสรีพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่แบบไม่มีขอบเขตจำกัดปริมาณของไทย ทำให้เกิดการล้มละลาย ของผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมาก โดยปัจจุบันต้นทุนรวมอยู่ที่ 2.80 บาทต่อฟอง แต่กระทรวงพาณิชย์ ประกาศราคาขาย 2.20 บาทต่อฟอง ทำให้ขาดทุนฟองละ 0.50 บาท ในปี 2555 ทั้งปี - ภาครัฐไม่เข้าใจพฤติกรรมธุรกิจไข่ไก่พอ ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางประสบปัญหา ไม่เหมือนผู้ประกอบการรายใหญ่ครบวงจร - ภาครัฐไม่รับฟังข้อมูลอย่างทั่วถึง และเป็นห่วงการดำรงชีวิตของคนเมืองมากเกินไป การกำหนด เพดานราคาสูงสุด ต้องกำหนดเพดานราคาต่ำสุดคู่กันด้วย และผู้ประกอบการยอมรับการขาดทุนได้ตาม ภาวะตลาด ข้อเสนอแนะ - ควรสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ให้มีแต้มต่อเพื่อรักษา สมดุลของระบบ เพราะเกี่ยวเนื่องไปยังการปล่อยสินเชื่อของธนาคารด้วย - รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือในการเปิดตลาดนัดให้รายย่อยขายตรงต่อผู้บริโภคในทุกจังหวัด เพื่อลดการบิดเบือนกลไกการจัดจำหน่าย - การปล่อยเสรีพ่อแม่พันธุ์เป็นการกระจายผู้ประกอบการรายใหม่มีโอกาสเข้ามา แต่รายใหญ่ ได้เปรียบกว่ารายย่อย ดังนั้นต้องปล่อยเสรีแบบมีการจัดการควบคุม

สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) นโยบายรัฐ ซึ่งต้องตกผลึกก่อนประกาศใช้ ไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตด้านต่างๆ และเงินทุน เป็นปัจจัยรอง สมัยยุค นรม.สมัคร มีนโยบายประกันราคาที่ 8.50 บาทต่อกก. แต่มีผลผลิตต่อไร่ที่ 700 กก. ต้นทุนเกษตรกรเพียงแค่ 4 บาทต่อกก.

64

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


2) ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งการประกันหรือการรับจำนำสินค้าพืชไร่ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด หรือแม้กระทั่งไข่ไก่ ไม่ได้สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร แต่เป็นการสร้างความเคยตัว สมัย ยุค นรม.สมัคร ไม่สนับสนุนการนำข้าวโพดไปใช้เป็นพลังงานทดแทน แต่ควรนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ เหมาะสมกว่า ข้อเสนอแนะ - ถ้าข้าวโพดราคาถูก ก็จะผลิตอาหารสัตว์ได้ถูก ประชาชนบริโภคอาหารราคาถูก ดังนั้น ภาครัฐ ต้องดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้บริโภค

สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย อุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยมีการส่งออกประมาณ 6 หมื่นล้าน ซึ่งไทยมีสัดส่วน 2% ของการผลิต โลก เติบโต 30% จากปี 2003-2012 โดยมีบราซิลเป็นผู้ส่งออกลำดับที่ 1 เนื่องจากเป็นแหล่งวัตถุดิบ ด้านข้าวโพด ถั่วเหลือง ส่วนไทยเป็นผู้ส่งออกลำดับที่ 4 มีสัดส่วนเพียง 5% ผู้ประกอบการต้องรักษาสมดุล ด้านปริมาณการผลิตและราคา เพื่อรองรับทั้งการบริโภคในประเทศ 71% และการส่งออกไปยังตลาดหลัก 29%

ปัญหา - จำกัดโควต้านำเข้าเนื้อไก่ ซึ่งไทยมีอุปสรรคทางการค้ากับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ที่ไม่เปิดตลาด นำเข้า ซึ่งอาจสร้างโอกาสส่งออกของไทยได้ถึง 6 แสนตัน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมบริโภคเนื้อน่อง ส่วนสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป นิยมบริโภคเนื้อหน้าอก ทั้งนี้ การส่งออกไก่หมักเกลือและไก่ปรุงสุก ในปี 2556 จะมีการใช้เต็มโควต้าส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งไทยควรจัดทำ FTA ร่วมกับ EU และไทยอยู่ระหว่าง การขอญี่ปุ่นเปิดตลาดไก่สด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

65


- ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้น เกิดจากนโยบายสหรัฐอเมริกาที่ให้ใช้ข้าวโพดนำไปผลิต Gasohol เพื่อ แก้ปัญหาน้ำมันแพง และการเกิด Heat Wave แม้ว่าไทยใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นฐานการผลิตข้าวโพด แต่มาเลเซียและจีนก็สั่งซื้อด้วย - การขยายกำลังการผลิตเกินตัว ทำให้ผลผลิตปศุสัตว์ล้นตลาด ราคาตกต่ำ - การขาดแคลนแรงงาน BOI ออกกฎหมายห้ามใช้แรงงานต่างด้าว ภายในปี 2557 สำหรับกิจการ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ - พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กำหนดให้โรงงานที่มีลูกจ้าง 100 คน ต้องจ้าง แรงงานคนพิการ 1 คน มิเช่นนั้นจะโดนปรับ

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เป็นตัวกลางดูแลทั้งกลุ่มบริษัท กลุ่มรายใหญ่ (5 พัน-1 หมื่นแม่) กลุ่ม รายกลาง (1 พัน-5 พันแม่) กลุ่มรายย่อยและสหกรณ์ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชการ อปท. ในเรื่อง กฎระเบียบต่างๆ การค้าเสรีต้องปล่อยให้เป็นไปตาม Demand และ Supply ทำธุรกิจต้องมีทั้งกำไรและขาดทุน เอกชนยอมรั บ ได้ แต่ ที่ ผ่ า นมาเคยมี ก ารนำเข้ า เนื้ อ หมู และรั ฐ บาลอนุ ญ าตห้ า มส่ ง ออกหมู มี ชี วิ ต ซึ่ ง อุตสาหกรรมมีการเลี้ยงหมูปีละ 13-14 ล้านตัว แต่สัดส่วนการส่งออกหมูมีชีวิตเพียง 2-3% เท่านั้น ต้นทุนอาหารสัตว์นบั เป็นสัดส่วน 80% ของต้นทุนรวมทัง้ หมดในการเลีย้ งหมู ซึง่ ไม่มแี นวโน้มว่าจะลง แต่ผู้เลี้ยงหมูเข้าใจดีว่าวิถีการผลิต การค้า การตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในวงจรการเลี้ยงหมู 1 ปีเศษ

สมาคมกุ้งไทย ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลก โดยปี 2555 มีปริมาณผลผลิต 540,000 ตัน ลดลง 10% จากปี 2554 ซึ่งมีปริมาณ 600,000 ตัน มีสาเหตุมาจากปัญหาโรคระบาด และ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป คาดว่าปริมาณผลผลิตกุ้งปี 2556 น่าจะใกล้เคียงกับ หรือลดลงเล็กน้อย จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดได้ ปัญหา - โรคระบาด เช่น โรคตัวแดงดวงขาว โรคขี้ขาว โรค EMS ซึ่งพบในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา และเริ่มมีแนวโน้มไปยังภาคใต้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีบ้างแล้ว - ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปัญหาแรงงานขาดแคลน ปัญหาน้ำมันแพง สวนทางกับราคากุ้งตกต่ำ - ไทยมีตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป คิดรวมเป็น 76% แต่การส่งออก มีแนวโน้มลดลง

66

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


• ตลาดสหรัฐฯ ไทยถูกฟ้องร้อง และใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping: AD) ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน และอยู่ระหว่างการดำเนินการฟ้องร้อง CVD รวมทั้ง ถูกระบุใน รายงานของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ ว่ามีการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ โดยถูกจัดในสถานะ Tier 2 Watch list ตั้งแต่ปี 2552 • ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ตามระเบียบใหม่ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 และจะถูกเก็บภาษีในอัตรา MFN (20%) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 • พึ่งพิงตลาดหลักเดิมๆ ซึ่งเริ่มมีปัญหามากขึ้นอย่างเช่น สหรัฐฯ อียู ญี่ปุ่น ซึ่งประสบปัญหา เศรษฐกิจรุมเร้า จึงทำให้ภาครัฐของประเทศนั้นๆ ออกมาตรการต่างๆ มาปิดกั้นการนำเข้าสินค้า ของเรา ข้อเสนอแนะ

- วิจัยเพื่อทราบสาเหตุและแนวทางป้องกัน/รักษาโรคอย่างถูกต้อง รวมถึงการประชาสัมพันธ์และ เผยแพร่ความรู้ให้กับเกษตรกร - ควรมีการพิจารณาและดำเนินการออกมาตรการในการช่วยเหลือที่ชัดเจน และสามารถนำมา ใช้ได้อย่างทันการณ์ โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำในกรณีที่ราคากุ้งตกลงถึงราคาที่กำหนดไว้ - ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้ากุ้งไทยโดยเฉพาะเรื่องแรงงาน รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลการ ดำเนินการแก้ปัญหาแรงงานทั้งในระดับประเทศ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมง โดย ดำเนินการในเชิงรุกเพื่อไม่ให้ถูกยกมาเป็นประเด็นในการกีดกันการค้าต่อไป - เจรจา FTA กับสหภาพยุโรป โดยเจรจาให้สินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP ต้องได้รับการพิจารณาลดภาษี นอกจากนี้ ในระหว่างการเจรจาต้องคงสิทธิ GSP จนกว่าการเจรจาจะแล้วเสร็จ - การส่งเสริมตลาดใหม่ โดยการจัดคณะร่วมภาครัฐและเอกชน และมาตรการส่งเสริมและจูงใจ เพื่อสร้างฐานตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดหลักเดิมๆ เช่น เกาหลี - 17% ของต้นทุนการผลิตกุ้งมาจากพลังงาน ซึ่งภาครัฐควรสนับสนุนให้รายย่อยเปลี่ยนมาใช้ พลังงานจากไฟฟ้า โดยอุดหนุนการนำเข้ามอเตอร์ประหยัดพลังงานจากญี่ปุ่น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

67


สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย ปัญหา - ปลานำเข้าอย่างเสรี มีราคาถูก ตีตลาดผู้เลี้ยงภายในประเทศ ซึ่งสวนทางกลับการส่งออกปลา ไปเวียดนาม ที่ต้องขอใบรับรองคุณภาพก่อน - ระบบชลประทาน • ไม่ได้กำหนดมาเพื่อการเลี้ยงปลา แต่ในทางยังชีพ เกษตรกรต้องเลี้ยงปลาด้วย เพราะปลา เป็นโปรตีนที่หาง่าย, สร้างรายได้ • ภาวะแล้ง เกษตรกรขาดน้ำเลี้ยงปลา ภาวะน้ำหลาก ผลผลิตเสียหาย ข้อเสนอแนะ 1. ควบคุมต้นทุนการผลิต ด้วยการจัดการที่ดี กล้าลงทุน 2. ควบคุมคุณภาพ ด้วยมาตรฐาน GAP 3. บริหารอุปสงค์อุปทาน ด้วยระบบ IT และ Logistic 4. ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5. ภาครัฐสนับสนุนการจัดการน้ำ, การควบคุมปลานำเข้า,พัฒนาสายพันธุ์ ฯลฯ

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคุณอภิสิทธิ์ฯ และคณะ ต้องแยกปัญหาเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) การขาดแคลนแรงงาน กฎหมายคนพิการ พลังงาน (2) ภาพรวมในเชิงโครงสร้าง ซึ่งผู้ประกอบการ ผู้เลี้ยงสัตว์ อยู่ตรงกลางและได้รับผลกระทบจากนโยบายที่มี ระหว่างวัตถุดิบและผู้บริโภค (3) โรคระบาด

68

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


มาตรการช่วยเหลือ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ทาง ได้แก่ 1. ต้นน้ำ - หามาตรการช่วยเหลือรายได้เกษตรกรอย่างไร ไม่ให้กระทบห่วงโซ่กลไกราคา และ การซื้อขาย ซึ่งในปัจจุบันประชาชน ไม่ว่าจะในด้านวิชาการหรือสังคมเมือง เริ่มตกผลึกและหยิบยกประเด็น ปัญหาจากการแทรกแซง 2. ปลายน้ำ - ยอมรับว่าแก้ไขค่าครองชีพยาก เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนทางการเมือง ซึ่ง ในปัจจุบันภาครัฐขอความร่วมมือไม่ให้ผู้ประกอบการขึ้นราคาสินค้า และเพิ่มสินค้าใน Watch List การแก้ไขปัญาสินค้ารายตัว ปลา ควรนำเสนอสภาผู้แทนฯ หามาตรการป้องกันการนำเข้าปลาจากต่างประเทศมาตีตลาดเพื่อ ปกป้องผู้เพาะเลี้ยงในประเทศ รวมทั้ง การส่งเสริม R&D สายพันธุ์ปลา กุ้ง (1) ควรแก้ไขปัญหาด้านการส่งออก และสิทธิ์ GSP โดยผลักดันการจัดทำ FTA ร่วมกับ EU ซึ่งแต่ก่อนติดปัญหาด้าน Partnership Agreement แม้ว่าแพทย์จะกังวลปัญหาเรื่องเหล้าและบุหรี่นำเข้า แต่ควรเสนอขึ้นภาษีสินค้าเหล่านั้นที่ผลิตในประเทศแทน (2) ควรนำเสนอข่าวชี้แจงภาพลักษณ์เรื่อง แรงงานต่อสหรัฐฯ และเสนอกรรมาธิการนำค่าใช้จ่ายจ้างทนายไปหักลดหย่อนภาษีได้ (3) ควรเน้นสร้าง ตลาดใหม่ เช่ น เกาหลี ซึ่ ง สนใจอาหารไทย นอกจากนี้ บางช่ ว งที่ มี ผ ลผลิ ต กุ้ ง เกิ น ควรมี ม าตรการ ช่วยเหลือในระยะสั้น ไม่เกินกว่าราคาตลาด เพื่อจูงใจในการไถ่ถอนคืน สุกร ควรจัดโซนพื้นที่ที่ปลอดโรคในจังหวัดนำร่อง เป็นการตัดวงจรและแยกพื้นที่ชัดเจน ไก่เนื้อ เจ้าหน้าที่ EU มาตรวจโรงงานในไทย ซึ่งแสดงความพอใจ และจะนำเสนอคณะกรรมาธิการ โรคระบาด โดยจะส่งผลต่อญี่ปุ่นด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นมองนโยบายตาม EU และพึ่งเลือกตั้งเสร็จ นอกจากนี้ การส่งเสริมตลาดตะวันออกกลาง ภาครัฐควรเป็นผู้นำคณะ ผ่านมาตรการช่วยเหลือทางภาษี เนื่องจาก เอกชนไม่สามารถทำตลาดเองได้ง่ายเหมือนในสหรัฐฯ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

69


ไข่ ไ ก่ ความตั้ ง ใจในการออกกฎหมายนำเข้ า เสรี พ่ อ แม่ พั น ธุ์ ต้ อ งการช่ ว ยรายย่ อ ย รายกลาง ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านั้น เป็นผู้นำเสนอในช่วงที่พ่อแม่พันธุ์มีราคาแพง พรรคปชป.มีนโยบายชัดเจนว่า สนับสนุนการค้าเสรีตั้งแต่ปี 2489 แต่ต้องไม่มีรายใหญ่เป็นผู้คุมอำนาจตลาด/ผูกขาด ภาครัฐต้องมีหน้าที่ ดูแลอย่างเป็นธรรม ช่วยให้เกิดการแข่งขันที่สมบูรณ์และเป็นประโยชน์อย่างทั่วถึง ภาษีนำเข้าวัตถุดิบ การเก็บภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองเป็นการคุ้มครองทั้งเกษตรกรผู้ปลูกเมล็ด ถั่วเหลืองจำนวนน้อย และโรงสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ดังนั้น ควรแบ่งประเภทอาหารสัตว์ตามโปรตีน และ แยกดูรายตัว ซึ่งผู้แทนจากพรรค ปชป. ดร. ผ่องศรี ธาราภูมิ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในคณะกรรมาธิการ ยกร่าง พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. ... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ผลิตและ แก้ปัญหาการขอใบอนุญาตจำหน่าย ไทยมีปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ และผลผลิตต่อไร่ต่ำเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ซึ่งอนุญาตให้ใช้พันธุ์ GMO ได้ ดังนั้น ภาครัฐต้องมีนโยบายจูงใจเกษตรกรเพาะปลูก

70

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

71

8.27 7.33 8.10 9.46 10.14 10.23

ม.ค.

26.10 29.61 33.40 25.00 27.64 32.49

ม.ค.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

8.51 7.97 8.70 8.99 9.43 10.16

ม.ค.

ราคารำสด

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลาป่น

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

9.54 7.43 9.21 10.18 9.20 10.03

ก.พ.

27.04 26.84 34.20 28.91 28.81 31.30

ก.พ.

8.55 7.42 8.37 9.57 10.19 10.19

ก.พ.

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

9.82 7.19 9.47 9.97 8.62 8.63

มี.ค.

29.27 25.69 35.28 37.98 32.21 31.30

มี.ค.

9.14 7.60 8.92 10.01 10.35 10.15

มี.ค.

9.24 6.22 9.34 9.70 8.72

เม.ย.

29.60 29.08 36.53 31.77 33.24

เม.ย.

9.43 7.57 9.24 10.65 10.51

เม.ย.

8.20 4.87 9.41 8.34 8.09

พ.ค.

29.36 33.50 31.53 32.09 30.26

พ.ค.

9.25 7.05 9.31 10.49 10.24

พ.ค.

8.56 5.18 9.98 8.20 7.76

มิ.ย.

30.79 34.19 28.31 31.29 29.38

มิ.ย.

9.58 7.45 9.64 9.68 10.76

มิ.ย.

9.84 6.01 9.93 9.50 8.22

ก.ค.

33.65 34.58 28.92 32.32 31.53

ก.ค.

10.99 6.26 9.38 9.18 10.86

ก.ค.

8.97 6.28 9.76 9.49 10.55

ส.ค.

35.66 36.04 30.82 32.58 37.70

ส.ค.

10.03 6.21 9.01 9.04 11.66

ส.ค.

7.17 5.91 10.04 9.58 10.88

ก.ย.

34.19 34.58 29.78 31.42 35.06

ก.ย.

8.93 6.10 9.22 9.08 10.57

ก.ย.

5.97 7.14 9.30 9.51 10.80

ต.ค.

30.93 33.29 27.78 28.86 30.95

ต.ค.

7.89 6.30 9.24 9.45 10.14

ต.ค.

7.50 7.03 8.99 10.97 11.15

พ.ย.

25.11 29.96 25.28 28.46 32.83

พ.ย.

7.84 7.14 9.19 9.82 10.49

พ.ย.

7.42 8.20 8.66 9.25 10.81

ธ.ค.

26.03 31.80 25.57 27.50 33.80

ธ.ค.

6.94 7.83 9.13 9.92 10.25

ธ.ค. 6.94 6.10 8.10 9.04 10.14 10.15

ต่ำสุด

10.99 7.83 9.64 10.65 11.66 10.23

สูงสุด

25.11 25.69 25.28 25.00 27.64 31.30

ต่ำสุด

35.66 36.04 36.53 37.98 37.70 32.49

สูงสุด

5.97 4.87 8.66 8.20 7.76 8.63

ต่ำสุด

9.84 8.20 10.04 10.97 11.15 10.16

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.40 6.62 9.40 9.47 9.52 9.61

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

29.81 31.60 30.62 30.68 31.95 31.70

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.90 7.02 9.06 9.70 10.51 10.19

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


72

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

15.87 14.25 15.30 13.10 13.95 18.77

ม.ค.

15.92 13.99 15.07 14.32 13.85 18.41

ก.พ.

16.27 13.26 15.75 15.21 12.88 18.25

มี.ค.

17.24 14.67 15.75 13.88 14.12 18.22

ม.ค.

17.10 15.70 15.11 14.15 15.13 18.15

ก.พ.

17.16 15.68 14.86 13.46 15.75 19.07

มี.ค. 16.90 16.07 14.80 12.80 16.06

เม.ย.

16.58 13.88 15.75 15.29 12.73

เม.ย.

17.13 17.19 14.09 12.59 16.23

พ.ค.

16.09 14.14 14.91 15.47 13.31

พ.ค.

2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

17.06 15.28 14.99 19.47

ม.ค.

16.29 15.47 16.01 19.35

ก.พ.

16.74 16.10 14.75 16.75 20.14

มี.ค. 17.09 16.45 14.20 17.01

เม.ย. 18.14 15.28 14.20 17.20

พ.ค.

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

18.90 14.44 14.20 17.73

มิ.ย.

18.70 17.93 13.43 11.60 16.98

มิ.ย.

16.56 14.10 14.24 14.61 12.79

มิ.ย.

17.86 14.26 14.88 20.02

ก.ค.

20.26 16.91 13.25 13.50 19.00

ก.ค.

16.15 14.03 12.76 14.50 14.23

ก.ค.

17.86 15.05 15.50 22.65

ส.ค.

19.58 16.86 14.05 14.33 21.80

ส.ค.

15.99 15.64 12.17 14.33 15.21

ส.ค.

17.89 15.02 15.45 22.69

ก.ย.

18.33 16.94 14.02 14.45 21.80

ก.ย.

17.67 15.82 12.10 14.27 17.17

ก.ย.

17.46 15.35 15.47 22.34

ต.ค.

16.65 16.43 14.35 14.32 21.09

ต.ค.

18.42 16.27 11.98 14.27 17.41

ต.ค.

17.66 15.64 15.57 21.48

พ.ย.

14.56 16.58 14.64 14.39 20.28

พ.ย.

17.76 16.81 12.10 14.59 18.85

พ.ย.

18.08 14.98 14.34 20.08

ธ.ค.

12.62 17.00 13.62 13.44 18.88

ธ.ค.

16.05 16.02 12.14 14.31 20.06

ธ.ค. 15.87 13.26 11.98 13.10 12.73 18.25

ต่ำสุด

18.42 16.81 15.75 15.47 20.06 18.77

สูงสุด

12.62 14.67 13.25 11.60 14.12 18.15

ต่ำสุด

20.26 17.93 15.75 14.45 21.80 19.07

สูงสุด

16.74 14.26 14.20 14.99 19.35

ต่ำสุด

18.90 17.06 15.57 22.69 20.14

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.77 15.49 14.94 19.08 19.65

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.19 16.50 14.33 13.58 18.09 18.48

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

16.61 14.85 13.69 14.52 15.20 18.48

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม




ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

73

6.79 7.21 7.94 7.79 8.09 8.93

ม.ค.

11.27 9.87 13.41 11.33 16.31 14.98

ม.ค.

13.05 10.06 12.92 11.92 15.74 15.00

ก.พ.

7.52 6.83 8.05 7.99 7.45 8.96

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

5.64 4.03 5.54 7.86 7.53 6.79

ม.ค.

5.78 3.95 5.43 8.14 7.13 6.85

ก.พ.

ราคามันสำปะหลังเส้น

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลายข้าว

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคากากรำสกัดน้ำมัน

5.83 4.08 5.83 8.46 6.59 7.07

มี.ค.

15.07 10.01 12.15 11.63 15.78 15.06

มี.ค.

7.77 6.41 7.96 7.38 6.49 7.90

มี.ค.

5.91 4.21 6.24 8.70 7.00

เม.ย.

20.66 9.95 10.24 11.39 15.94

เม.ย.

7.36 5.59 7.76 6.92 6.42

เม.ย.

5.90 4.04 6.51 8.62 7.29

พ.ค.

20.01 9.59 9.53 11.29 16.33

พ.ค.

6.47 4.91 7.26 6.33 6.21

พ.ค.

5.80 4.25 6.81 8.00 7.25

มิ.ย.

16.93 9.80 9.60 11.65 16.44

มิ.ย.

6.07 4.83 7.19 6.41 5.82

มิ.ย.

6.01 4.37 6.93 7.81 7.13

ก.ค.

15.57 9.64 9.88 12.42 16.27

ก.ค.

6.99 4.74 7.37 7.80 6.14

ก.ค.

5.95 4.41 7.00 7.54 7.39

ส.ค.

13.55 9.41 10.36 12.86 15.86

ส.ค.

6.50 4.74 7.58 8.07 8.43

ส.ค.

5.63 4.62 7.23 7.44 7.67

ก.ย.

11.80 9.26 11.50 13.68 15.67

ก.ย.

5.69 4.58 8.30 8.24 8.67

ก.ย.

4.79 4.72 7.30 7.34 7.65

ต.ค.

10.12 8.94 11.58 14.48 15.46

ต.ค.

5.84 5.30 8.14 8.32 8.81

ต.ค.

4.60 5.03 7.34 7.67 7.48

พ.ย.

9.43 9.97 11.61 15.66 15.45

พ.ย.

7.19 6.06 8.09 9.56 9.31

พ.ย.

4.06 5.41 7.76 7.80 7.25

ธ.ค.

8.88 12.60 11.36 16.12 15.30

ธ.ค.

7.04 7.51 7.89 8.05 9.23

ธ.ค. 5.69 4.58 7.19 6.33 5.82 7.90

ต่ำสุด

7.77 7.51 8.30 9.56 9.31 8.96

สูงสุด

8.88 8.94 9.53 11.29 15.30 14.98

ต่ำสุด

20.66 12.60 13.41 16.12 16.44 15.06

สูงสุด

4.06 3.95 5.43 7.34 6.59 6.79

ต่ำสุด

6.01 5.41 7.76 8.70 7.67 7.07

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.49 4.43 6.66 7.95 7.28 6.90

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.86 9.93 11.18 12.87 15.88 15.01

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.77 5.73 7.79 7.74 7.59 8.60

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

29.29 30.51 29.30 30.04 28.00 31.00

ม.ค.

29.78 30.90 29.30 29.80 28.00 30.00

ก.พ.

40.39 40.03 57.93 57.70 49.83 52.88

ม.ค.

40.58 39.54 66.06 63.33 48.89 62.57

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

43.58 53.34 41.67 40.38 50.60 60.00

ม.ค.

49.52 52.23 41.70 45.23 50.60 60.00

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลา FO

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลาป่นนำเข้า

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาตับปลาหมึก SLP

54.52 50.56 41.89 45.95 50.60 60.00

มี.ค.

40.56 42.16 68.52 63.45 47.99 63.11

มี.ค.

30.14 31.19 29.30 29.80 28.00 30.00

มี.ค.

58.50 50.56 41.89 46.01 51.55

เม.ย.

39.36 43.54 68.06 55.21 48.12

เม.ย.

31.55 31.19 29.30 29.80 25.00

เม.ย.

59.83 44.80 41.89 46.01 54.45

พ.ค.

39.52 44.23 67.90 51.97 55.35

พ.ค.

30.40 30.16 29.30 29.80 26.89

พ.ค.

60.47 43.50 41.42 46.01 55.11

มิ.ย.

42.55 44.08 68.28 51.97 59.24

มิ.ย.

30.84 30.68 29.30 29.80 28.58

มิ.ย.

61.13 41.38 40.91 47.72 53.54

ก.ค.

44.51 44.44 67.46 50.29 61.16

ก.ค.

31.76 30.74 29.46 29.52 33.70

ก.ค.

61.67 40.94 40.31 49.85 52.28

ส.ค.

44.53 44.59 65.40 48.17 63.33

ส.ค.

32.00 30.77 29.70 29.25 30.80

ส.ค.

58.42 39.40 40.21 50.01 55.85

ก.ย.

46.14 45.59 60.86 43.92 56.80

ก.ย.

31.30 30.90 29.56 29.25 35.04

ก.ย.

55.47 38.55 40.15 50.36 55.98

ต.ค.

45.15 50.07 57.26 45.13 54.22

ต.ค.

31.17 31.02 29.34 29.25 36.13

ต.ค.

53.70 40.07 40.27 50.60 55.71

พ.ย.

40.43 53.30 56.45 48.26 68.37

พ.ย.

31.11 30.32 30.04 28.00 36.13

พ.ย.

51.35 39.21 40.38 50.60 55.08

ธ.ค.

39.45 53.30 56.45 48.61 74.33

ธ.ค.

30.82 30.32 30.04 28.00 36.13

ธ.ค. 29.29 30.16 29.30 28.00 25.00 30.00

ต่ำสุด

32.00 31.19 30.04 30.04 36.13 31.00

สูงสุด

39.36 39.54 56.45 43.92 47.99 52.88

ต่ำสุด

46.14 53.30 68.52 63.45 74.33 63.11

สูงสุด

43.58 38.55 40.15 40.38 50.60 60.00

ต่ำสุด

61.67 53.34 41.89 50.60 55.98 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

55.68 44.55 41.06 47.39 53.45 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

41.93 45.41 63.39 52.33 57.30 59.52

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

30.85 30.73 29.50 29.36 31.03 30.33

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

75

65.23 47.25 62.75 55.00 48.00 53.58

ม.ค.

6.69 6.32 7.02 8.12 7.73 8.94

ม.ค.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

22.22 19.63 16.69 19.28 18.73 17.75

ม.ค.

22.58 18.94 16.79 20.04 18.51 17.68

ก.พ.

7.13 6.29 7.25 8.20 7.45 9.15

ก.พ.

66.00 48.21 63.09 53.33 48.00 58.85

ก.พ.

WHEAT FLOUR

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

WHEAT BRAN

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

WHEAT GLUTEN

23.70 18.61 16.60 20.50 17.89 16.47

มี.ค.

7.43 6.29 7.59 7.76 6.67 7.66

มี.ค.

66.00 48.21 63.09 53.33 48.00 58.85

มี.ค.

24.59 17.32 16.30 20.50 17.80

เม.ย.

7.73 5.99 7.55 7.52 6.41

เม.ย.

66.00 58.39 63.09 53.33 46.50

เม.ย.

25.46 16.89 15.72 20.45 17.50

พ.ค.

7.00 5.26 7.16 6.94 6.23

พ.ค.

66.00 62.03 64.71 53.33 46.50

พ.ค.

25.48 17.00 15.72 19.94 17.20

มิ.ย.

6.19 4.85 6.90 6.61 5.86

มิ.ย.

66.00 63.26 64.78 53.33 48.54

มิ.ย.

24.56 17.00 15.05 19.82 17.15

ก.ค.

6.79 4.84 6.87 7.44 5.93

ก.ค.

66.00 60.89 64.78 49.28 51.00

ก.ค.

23.34 16.82 15.44 19.50 17.73

ส.ค.

6.87 4.79 7.21 7.77 7.93

ส.ค.

60.79 59.34 64.78 48.75 50.05

ส.ค.

22.39 16.67 18.55 19.26 17.38

ก.ย.

6.50 4.76 8.08 7.98 8.79

ก.ย.

51.71 61.70 64.78 48.75 48.13

ก.ย.

21.69 16.53 19.28 18.97 17.58

ต.ค.

5.78 5.00 7.92 8.06 9.24

ต.ค.

50.22 61.70 64.78 48.75 47.50

ต.ค.

21.16 16.34 19.10 18.97 17.98

พ.ย.

5.93 5.44 7.88 8.43 8.80

พ.ย.

50.22 61.95 55.92 48.75 47.50

พ.ย.

20.09 16.17 19.10 18.97 18.02

ธ.ค.

6.21 6.44 7.80 8.17 9.10

ธ.ค.

46.43 61.95 55.00 48.23 47.50

ธ.ค. 46.43 47.25 55.00 48.23 46.50 53.58

ต่ำสุด

66.00 63.26 64.78 55.00 51.00 58.85

สูงสุด

5.78 4.76 6.87 6.61 5.86 7.66

ต่ำสุด

7.73 6.44 8.08 8.43 9.24 9.15

สูงสุด

20.09 16.17 15.05 18.97 17.15 16.47

ต่ำสุด

25.48 19.63 19.28 20.50 18.73 17.75

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

23.11 17.33 17.03 19.68 17.79 17.30

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.69 5.52 7.44 7.75 7.51 8.58

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

60.05 57.91 62.63 51.18 48.10 57.09

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


76

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

17.44 19.41 23.24 25.86 28.01 27.44

ม.ค.

17.81 20.88 25.19 25.62 27.73 25.79

ก.พ.

77.50 69.89 85.00 90.50 86.67 120.00

ม.ค.

77.50 68.75 85.00 96.67 93.67 120.00

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

47.00 66.70 ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ม.ค.

47.00 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลาหมึก SO

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลาหมึกป่น SLM

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาเปลือกกุ้ง

48.46 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มี.ค.

77.50 68.75 85.00 96.67 98.33 120.00

มี.ค.

18.50 21.51 25.56 27.40 27.45 25.79

มี.ค.

50.00 68.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

เม.ย.

77.50 70.11 85.00 96.67 98.33

เม.ย.

19.23 22.19 25.90 27.64 31.30

เม.ย.

52.29 58.70 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

พ.ค.

78.07 80.22 85.00 96.20 98.33

พ.ค.

19.22 23.83 26.81 28.99 31.30

พ.ค.

55.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มิ.ย.

78.75 86.63 89.44 92.50 98.33

มิ.ย.

19.36 24.46 26.74 29.18 30.44

มิ.ย.

60.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.ค.

73.99 87.50 90.50 98.10 96.67

ก.ค.

20.34 24.62 27.03 29.40 26.85

ก.ค.

70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ส.ค.

78.00 87.50 90.50 98.33 98.33

ส.ค.

23.48 24.69 26.89 29.40 29.16

ส.ค.

70.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ก.ย.

81.25 88.25 90.50 93.40 120.00

ก.ย.

24.29 25.34 26.69 29.12 27.24

ก.ย.

68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ต.ค.

78.94 88.25 90.50 86.67 120.00

ต.ค.

23.91 24.94 26.65 28.66 26.58

ต.ค.

68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

พ.ย.

66.70 85.00 90.50 86.67 120.00

พ.ย.

21.47 21.32 26.29 28.66 26.72

พ.ย.

68.00 52.00 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ธ.ค.

60.52 85.00 90.50 86.67 120.00

ธ.ค.

19.01 21.23 26.00 28.23 26.74

ธ.ค. 17.44 19.41 23.24 25.62 26.58 25.79

ต่ำสุด

24.29 25.34 27.03 29.40 31.30 27.44

สูงสุด

60.52 68.75 85.00 86.67 86.67 120.00

ต่ำสุด

81.25 88.25 90.50 98.33 120.00 120.00

สูงสุด

47.00 52.00 0.00 0.00 0.00 0.00

ต่ำสุด

70.00 68.00 0.00 0.00 0.00 0.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

58.65 57.78 #DIV/0! #DIV/0! #DIV/0! #DIV/0!

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

75.52 80.49 88.12 93.25 104.06 120.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

20.34 22.87 26.08 28.18 28.29 26.34

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

77

8.77 18.00 22.50 26.00 10.00 14.85

ม.ค.

107.27 118.00 135.75 144.50 110.50 116.65

ม.ค.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

176.00 190.00 205.00 264.00 213.00 267.00

ม.ค.

ราคาไข่ไก่คละ

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

213.00 190.00 251.00 270.00 254.00 280.00

ก.พ.

110.94 115.50 140.75 144.50 110.50 128.91

ก.พ.

12.90 18.00 24.50 26.00 10.00 16.00

ก.พ.

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกไก่ไข่

248.00 207.00 241.00 284.00 260.00 270.00

มี.ค.

128.44 115.12 141.62 146.72 106.67 135.00

มี.ค.

20.90 20.23 24.85 26.74 8.68 16.00

มี.ค.

241.00 240.00 241.00 304.00 227.00

เม.ย.

133.15 137.09 139.50 150.50 93.50

เม.ย.

22.00 27.36 24.00 28.00 7.00

เม.ย.

245.00 237.00 255.00 300.00 254.00

พ.ค.

137.50 143.70 146.50 150.50 97.67

พ.ค.

22.00 27.96 27.00 28.00 8.67

พ.ค.

224.00 238.00 276.00 282.00 268.00

มิ.ย.

133.50 142.50 152.38 150.50 103.50

มิ.ย.

20.32 27.00 29.15 28.00 11.00

มิ.ย.

210.00 244.00 278.00 282.00 229.00

ก.ค.

127.50 142.50 147.96 150.50 98.33

ก.ค.

16.00 27.00 27.38 28.00 7.50

ก.ค.

226.00 260.00 270.00 300.00 246.00

ส.ค.

127.50 149.90 144.50 150.50 93.50

ส.ค.

16.00 28.56 26.00 28.00 6.00

ส.ค.

237.00 241.00 272.00 300.00 240.00

ก.ย.

129.12 149.27 144.50 150.50 99.50

ก.ย.

17.62 28.62 26.00 28.00 8.40

ก.ย.

208.00 216.00 253.00 300.00 235.00

ต.ค.

129.54 142.38 144.50 150.50 105.50

ต.ค.

18.47 15.15 26.00 26.00 11.00

ต.ค.

214.00 233.00 253.00 313.00 236.00

พ.ย.

124.30 142.10 144.50 150.50 108.77

พ.ย.

17.57 25.04 26.00 26.00 11.88

พ.ย.

222.00 236.00 253.00 258.00 240.00

ธ.ค.

125.50 143.85 144.50 139.57 110.50

ธ.ค.

19.54 25.74 26.00 21.83 13.00

ธ.ค. 8.77 15.15 22.50 21.83 6.00 14.85

ต่ำสุด

22.00 28.62 29.15 28.00 13.00 16.00

สูงสุด

107.27 115.12 135.75 139.57 93.50 116.65

ต่ำสุด

137.50 149.90 152.38 150.50 110.50 135.00

สูงสุด

176.00 190.00 205.00 258.00 213.00 267.00

ต่ำสุด

248.00 260.00 278.00 313.00 268.00 280.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

222.00 227.67 254.00 288.08 241.83 272.33

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/100 ฟอง

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

126.19 136.83 143.91 148.27 103.20 126.85

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.67 24.06 25.78 26.71 9.43 15.62

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


78

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

13.50 7.25 18.00 17.50 14.50 16.19

ม.ค.

12.92 8.98 18.50 18.37 12.94 11.20

ก.พ.

35.63 31.58 44.33 45.24 36.20 42.69

ม.ค.

37.18 32.88 45.00 47.28 34.70 37.91

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

45.19 52.28 58.25 51.00 54.47 58.22

ม.ค.

53.12 55.34 60.19 58.86 49.63 68.28

ก.พ.

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกไก่เนื้อ

58.32 56.82 60.41 61.50 48.85 59.70

มี.ค.

39.52 30.28 40.96 48.30 27.53 38.97

มี.ค.

15.50 4.50 18.50 20.50 6.18 10.96

มี.ค.

57.07 59.60 60.41 67.11 59.63

เม.ย.

40.78 31.18 42.09 52.10 33.13

เม.ย.

16.50 5.23 18.50 21.32 6.31

เม.ย.

53.72 60.00 60.50 70.00 62.50

พ.ค.

41.02 36.45 44.28 54.60 39.33

พ.ค.

15.58 13.89 20.07 22.50 11.33

พ.ค.

52.68 58.00 60.50 70.00 55.15

มิ.ย.

36.06 37.92 42.46 50.25 38.22

มิ.ย.

9.06 14.50 19.35 20.96 12.50

มิ.ย.

50.72 55.30 61.93 72.88 54.95

ก.ค.

37.46 38.00 37.47 43.60 35.20

ก.ค.

11.35 14.50 16.10 17.34 12.50

ก.ค.

53.74 55.00 59.37 80.40 54.31

ส.ค.

42.62 38.00 36.07 42.20 35.53

ส.ค.

16.34 14.50 12.58 15.73 12.50

ส.ค.

51.79 54.02 56.83 70.77 54.13

ก.ย.

37.54 40.68 37.63 41.74 33.58

ก.ย.

13.81 15.19 14.14 16.50 12.02

ก.ย.

51.52 52.18 51.52 55.50 47.65

ต.ค.

30.36 41.62 36.02 38.58 31.37

ต.ค.

7.66 16.50 14.50 14.58 6.96

ต.ค.

51.21 55.44 51.38 52.87 54.31

พ.ย.

31.00 40.00 37.33 37.67 40.73

พ.ย.

8.94 16.50 14.50 14.50 10.42

พ.ย.

51.13 57.25 51.45 61.08 52.33

ธ.ค.

30.84 41.00 41.93 36.90 40.75

ธ.ค.

8.25 16.50 15.50 14.50 14.07

ธ.ค. 7.66 4.50 12.58 14.50 6.18 10.96

ต่ำสุด

16.50 16.50 20.07 22.50 14.50 16.19

สูงสุด

30.36 30.28 36.02 36.90 27.53 37.91

ต่ำสุด

42.62 41.62 45.00 54.60 40.75 42.69

สูงสุด

45.19 52.18 51.38 51.00 47.65 58.22

ต่ำสุด

58.32 60.00 61.93 80.40 62.50 68.28

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

52.52 55.94 57.73 64.33 53.99 62.07

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

36.67 36.63 40.46 44.87 35.52 39.86

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

12.45 12.34 16.69 17.86 11.02 12.78

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 148 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2556

79

1,238.46 1,475.00 1,875.00 1,637.50 1,734.80 1,476.92

ม.ค.

1,750.00 1,600.00 1,900.00 1,930.43 1,552.00 1,786.96

ก.พ.

1,800.00 1,607.69 1,900.00 2,000.00 1,312.00 1,561.54

มี.ค.

13.00 15.00 18.00 18.00

ม.ค.

13.00 15.00 18.00 17.22

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

45.77 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ม.ค.

49.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ก.พ.

มี.ค.

50.88 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

13.00 16.78 18.00 16.00

มี.ค.

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกสุกรขุน

56.17 58.00 58.00 58.00 60.00

เม.ย.

13.00 18.00 18.00

เม.ย.

1,673.91 1,804.55 1,900.00 2,000.00 1,452.38

เม.ย.

57.92 58.00 58.00 58.00 60.00

พ.ค.

13.00 18.00 18.00

พ.ค.

1,316.67 1,847.83 1,900.00 2,000.00 1,666.67

พ.ค.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

มิ.ย.

13.00 18.00 18.00

มิ.ย.

1,296.00 1,661.54 1,900.00 2,000.00 1,500.00

มิ.ย.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.ค.

13.00 18.00 18.00

ก.ค.

1,053.85 1,500.00 1,900.00 2,000.00 1,500.00

ก.ค.

59.36 58.00 58.00 58.00 60.00

ส.ค.

13.00 18.00 18.00

ส.ค.

1,284.00 1,596.00 1,844.00 2,400.00 1,500.00

ส.ค.

60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.ย.

13.84 18.00 18.00

ก.ย.

1,223.08 1,600.00 1,720.00 2,161.54 1,476.00

ก.ย.

60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ต.ค.

15.00 18.00 18.00

ต.ค.

1,346.15 1,600.00 1,600.00 1,896.15 1,200.00

ต.ค.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

พ.ย.

15.00 18.00 18.00

พ.ย.

1,400.00 1,752.00 1,600.00 1,746.00 1,376.92

พ.ย.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ธ.ค.

15.00 18.00 18.00

ธ.ค.

1,400.00 1,800.00 1,600.00 1,965.22 1,256.52

ธ.ค. 1,053.85 1,475.00 1,600.00 1,637.50 1,200.00 1,476.92

ต่ำสุด

1,800.00 1,847.83 1,900.00 2,400.00 1,734.80 1,786.96

สูงสุด

13.00 15.00 18.00 16.00

ต่ำสุด

15.00 18.00 18.00 18.00

สูงสุด

45.77 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ต่ำสุด

60.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

55.93 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.57 17.40 18.00 17.07

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1,398.51 1,653.72 1,803.25 1,978.07 1,460.61 1,608.47

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อปฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ตงชาง เครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด

โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร.

0-2833-8000 0-2680-4580 0-2473-8000 0-2247-7000 0-2814-3480 0-2632-7232 0-2680-4500 0-2194-5678-96 0-2681-1329 0-2279-7534 0-2910-9728-29 0-2938-1406-8 0-3488-6140-46 0-2784-7900 0-2757-4792-5 0-2575-5777-86 0-2193-8288-90 0-2640-8013




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.