Tfma 151

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51.

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

ความมั่นคงทางอาหาร เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่ทุกประเทศต้องเฝ้า ติดตามและดูแลให้คนในประเทศมีอาหารที่ดี ปลอดภัย และเพียงพอ ตลอดไป อย่างยั่งยืน ดังนั้น หน่วยงานภาคอาหารสัตว์จะเป็นห่วงโซ่ที่สำคัญห่วงหนึ่ง ในสายการผลิตที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อให้สายการผลิต มีความมั่นคง จะต้องร่วมมือกันโดยประสานระหว่างต้นน้ำและปลายน้ำให้มี ความเชื่อมโยงต่อกัน โดยเริ่มตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบที่สำคัญที่มีอยู่ในประเทศ ให้มีความอุดมสมบูรณ์และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี มีผลผลิตที่ดีและ เพิ่ ม มากขึ้ น บนความปลอดภั ย ของทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เมื่ อ อาหารสั ต ว์ มี ความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็จะส่งต่อไปสู่ ผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะทำให้ภาคการเลี้ยงมีความปลอดภัย ลดต้นทุนและสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อไปถึง ผู้บริโภคก็จะได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพและมีสุขภาพที่ดีและสืบทอดความยั่งยืนและความแข็งแรง ของประชาชนในประเทศ จากความมั่นคงทางด้านอาหารที่จะวนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดไป วารสารเล่มนี้ จะยังคงนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องที่น่าติดตามและเป็นแง่คิดมุมมองที่มี สาระ

• วิกฤตเกษตรกรรมไทยกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ • กรมวิชาการเกษตรจับมือเอกชนพัฒนา Seed Hub รับอาเซียน • บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืชและสัตว์เศรษฐกิจ • สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรรายเดือน • พยากรณ์สินค้าเกษตร • รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2556 • การศึกษาประสิทธิภาพของ Methionine Hydroxy Analogue • แนวทางและมาตรการในการควบคุมและจัดการแก้ไขกลุ่มอาการตายด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่น อุตสาหกรรมกุ้งไทย • ส่งออกกุ้งไทยมีแนวโน้มหดตัว • วงการไก่ได้บทเรียนสหฟาร์ม • การเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป กับความมั่นคงทางอาหาร • การทำธุรกิจเกษตรในเมียนมาร์ บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus วิกฤตเกษตรกรรมไทยกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กรมวิชาการเกษตรจับมือเอกชน พัฒนา "Seed Hub"

Vol.

151 กรกฎาคม สิงหาคม 2556

Market Leader 5 8

Food Feed Fuel ซีพีรุกหนักขยายค้า-ลงทุนตรุกี บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนมิถุนายน และแนวโน้มเดือนกรกฎาคม 2556 พยากรณ์สินค้าเกษตร รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2556 การศึกษาประสิทธิภาพของ Methionine Hydroxy Analogue

ปีที่ 30

10 12 20 28 30 40

แนวทางและมาตรการในการควบคุมและจัดการแก้ไขปัญหา กลุ่มตายด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกุ้งไทย 47 ส่งออกกุ้งไทยมีแนวโน้มหดตัว 50 วงการไก่ได้บทเรียนสหฟาร์ม 53

Around the World การเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรปกับความมั่นคงทางอาหาร การทำธุรกิจเกษตรในเมียนมาร์ ข้าวพม่า ชนะคุณภาพอันดับ 1 ของโลก

55 57 67

Statistics ภาคสถิติ

71

Thank You ขอบคุณ

 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก

80

ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข  นายณัฐพล มีวิเศษณ์  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com  พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




Thailand Focus

วิกฤตเกษตรกรรมไทย กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ • ธนการ ดำรงรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง •

นั บ วั น ปั ญ หาสภาพภู มิ อ ากาศยิ่ ง เป็ น เรือ่ งใกล้ตวั เราเข้าไปทุกวัน วันก่อนประเทศจีน ประสบวิ ก ฤตมลพิ ษ เข้ า ไป ทำให้ ป ระชากร ส่วนใหญ่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย ใน ขณะที่ยอดผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจก็เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นผลพวงจาก ปรากฏการณ์โลกร้อนอย่างหนึง่ กล่าวคือ อุณหภูมเิ ฉลีย่ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ทำให้มวลอากาศร้อนขึน้ เมือ่ อากาศร้อนขึน้ น้ำหนักอากาศจะเบาและลอยตัว สูงขึ้น ความกดอากาศบริเวณดังกล่าวก็จะต่ำ กว่าบริเวณโดยรอบ ทำให้หมอกควันบริเวณ ดังกล่าวกระจายตัวลำบาก ปัญหามลพิษในหลาย เมืองใหญ่ของประเทศจีนล้วนมาจากผลงาน ของมนุษย์เรา ขอหยิบยก 2 ประการมานำเสนอก่อน ประการแรก ถ้าไม่มีการปล่อยควันพิษ ออกมาจากไอเสียรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมหาศาล ลำพังสภาพความกด อากาศต่ำคงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษครอง เมืองอย่างที่ประเทศจีนกำลังประสบอยู่ขณะนี้ ประการต่อมา ปรากฏการณ์โลกร้อน ซึง่ อาจจะกล่าวว่าเป็นสาเหตุกระตุน้ ให้สภาพความ กดอากาศต่ำได้นั้น ยิ่งกิจกรรมการผลิต และ การบริโภคของมนุษย์เรายังคงก่อให้เกิดการ

ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสูช่ นั้ บรรยากาศอย่าง ต่อเนื่อง อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบริเวณน้ำ และผิวโลกก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น ผลลั พ ธ์ ดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ น่ า ห่ ว งเพี ย งแค่ ปัญหามลพิษและสุขภาพเท่านัน้ แต่การเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมิดังกล่าวจะทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลก ละลายกลายเป็นน้ำทะเล และระดับน้ำทะเลก็จะ สูงขึน้ ลุกลามกระทัง่ ก่อให้เกิดสภาพภูมอิ ากาศ แปรปรวนตลอดเวลา ซึง่ นับวันจะยิง่ ถีข่ นึ้ และยิง่ รุนแรงขึ้น ยากต่อการคาดเดา ภัยแล้งและภาวะน้ำท่วมสลับไปมาเช่น เดียวกับในบ้านเรา ย่อมสะท้อนลักษณะของ สภาพภูมิอากาศสุดโต่งได้เป็นอย่างดี เมื่อสภาพลมฟ้าอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง ผลผลิตทางการเกษตรย่อมเปลีย่ นแปลง ตาม เนือ่ งจากการผลิตสินค้าเกษตรพึง่ พิงสภาพ ลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก เรายังคงจดจำภาพ ข่าวการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรจำนวน ไม่น้อยได้ แน่นอนว่าผลกระทบที่พวกเราได้รับ จากราคาสินค้าเกษตรทีแ่ พงขึน้ คงจะไม่สามารถ เทียบเคียงได้กับความสูญเสียของเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญทีส่ ดุ ของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแวดวงวิชาการ นัน้ กลับเป็นเรือ่ งใกล้ตวั และน่ากลัวอย่างทีพ่ วก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

5


เราคาดไม่ถงึ กล่าวคือ เรือ่ งทีน่ กั วิชาการเป็นห่วง กันมากทีส่ ดุ นัน้ เป็นเรือ่ งความมัน่ คงด้านอาหาร เนื่องจากประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง เมื่อปากท้องเพิ่มขึ้น พื้นที่เพาะปลูกการ เกษตรและปริมาณอาหารก็ควรจะเพิ่มขึ้นใน อัตราเดียวกัน ในความเป็นจริง การเติบโตของภาค เกษตรกลับสวนทางกับการเพิม่ ขึน้ ของประชากร มิหนำซ้ำการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กำลังบั่นทอนปริมาณผลผลิตพืชอาหารเนื่อง จากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนจะทำให้ระยะ เวลาเพาะปลูกทีเ่ หมาะสมลดลง พืน้ ทีเ่ พาะปลูก ที่เหมาะสมก็จะลดลง ยิ่งกว่านั้น แมลงและศัตรูพืชจะระบาด มากขึ้น สุดท้าย เมือ่ อาหารไม่เพียงพอต่อประชากร ถึงแม้ว่าเราสามารถทนต่อภัยธรรมชาติได้ แต่ เราอาจจะไม่สามารถทนต่อความหิวโหยได้อย่าง

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

ทีเ่ คยมีผเู้ ปรียบเปรยไว้วา่ "โลกทีห่ วิ โหยนัน้ เป็น โลกที่อันตราย" เฉกเช่นภาพการยื้อแย่งอาหาร กันในบางประเทศ สำหรับประเทศไทยเรา แม้ว่าจะประสบ กับสภาพภูมิอากาศเหมือนกัน แต่ก็อาจจะรู้สึก อุน่ ใจได้วา่ พืน้ ฐานบ้านเรานัน้ ยังคงเป็นเกษตรกรรม และกำลังแรงงานประมาณ 40% อยูใ่ น ภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม เมื่อสำรวจตัวเลขผลผลิต ภาคเกษตรแล้ว กลับพบว่าผลผลิตภาคเกษตร ซึ่งควบรวมผลผลิตภาคประมงเข้าด้วยกันแล้ว กลับให้ผลผลิตรวมกันไม่ถึง 10% ของจีดีพี ซึ่งเป็นตัวแทนภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศ ยิง่ กว่านัน้ สัดส่วนดังกล่าวของภาคเกษตร บ้านเรากำลังลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นประเด็นที่เราควรจะปริวิตกกัน แม้เรากำลังมุง่ หน้าพัฒนาประเทศจากภาคอุต-


สาหกรรม แต่เราไม่อาจจะปล่อยให้เกษตรกร ซึง่ เป็นกำลังแรงงานเกือบกึง่ หนึง่ ในประเทศนีเ้ ก็บ เกี่ยวผลผลิตเพียงแค่หยิบมือ ในขณะที่ภายใน หยิบมือดังกล่าวนัน้ เป็นความมัน่ คงของประเทศ

นอกจากนั้ น การสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม แก่ ผลผลิตการเกษตร และการสร้างหลักประกัน รายได้ แ ก่ เ กษตรกร อาจจะทำให้ เ กษตรกร ส่วนหนึ่งปักหลักกับอาชีพดั้งเดิมต่อไปได้

ยิ่งกว่านั้น ถ้าแรงงานเกือบกึ่งหนึ่งเก็บ เกี่ยวผลผลิตได้ไม่ถึง 10% ในขณะที่แรงงาน กึง่ หนึง่ ทีเ่ หลือเก็บเกีย่ วผลผลิตทีเ่ หลือได้ทงั้ หมด แล้วอนาคตบ้านเราจะเป็นอย่างไรต่อไป

อย่างไรก็ตาม การรับมือกับสภาพภูมิอากาศในทางปฏิบัติไม่อาจจะค่อยเป็นค่อยไป ตามแนวทางดังกล่าวได้เท่านั้น โดยเฉพาะการ สร้างระบบเตือนภัย การสร้างและเผยแพร่องค์ ความรู้การรับมือสภาพภูมิอากาศต่างๆ แก่ เกษตรกรทั่วไป

เป็นไปได้หรือไม่ ถ้าหัวกะทิของเกษตรกร ซึง่ น่าจะจัดเป็นแรงงานประสิทธิภาพสูง จะหลัง่ ไหลออกจากภาคเกษตรกรรมสู่การงานอาชีพ อื่น อะไรจะเกิดขึน้ ถ้าทัง้ ปริมาณและคุณภาพ ของเกษตรกรในประเทศนีก้ ำลังลดลง ในขณะที่ การทำไร่ไถนาขณะนี้กำลังเผชิญหน้ากับสภาพ แวดล้อมที่ไม่แน่นอน ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ เปรียบเสมือน ระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่รอการระเบิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ เป็นปัญหาเฉพาะภาครัฐเท่านั้นจึงจะจัดการได้ แต่เราทุกคน ทุกภาคส่วนสามารถมีสว่ นร่วมกับ เรื่องนี้ได้แต่อาจจะต้องเริ่มต้นจากภาครัฐก่อน ถ้าพิจารณาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับปัจจุบนั ซึ่งเสมือนกับแผนที่การเดินทางสู่การพัฒนา ของบ้านเราขณะนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการ เสริมสร้างความแข็งแรงของภาคเกษตรและ ความมัน่ คงด้านอาหารไม่นอ้ ย โดยแผนพัฒนาฯ กล่าวถึงการสนับสนุนสิทธิทด่ี นิ ทำกินแก่เกษตรกร รวมถึงสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร

ภาครั ฐ จำเป็ น จะต้ อ งระดมและเร่ ง รั ด กระบวนการดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่าง พืชบางประเภทอาจจะต้อง เปลี่ยนแปลงฤดูกาลจึงจะสามารถอยู่รอดและ เกิดความเสียหายน้อยทีส่ ดุ จากการเปลีย่ นแปลง ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นภาครัฐจำเป็นจะต้อง เร่งรัดหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในสังกัด ระบุ ฤดูกาลที่เหมาะสมแก่พืชทุกชนิด ฤดูกาลต่อ ฤดูกาล รวมถึงจัดหาพันธุพ์ ชื ทีเ่ หมาะสม อดทน ต่อสภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงบ่อยแก่เกษตรกร นอกจากนั้น ลักษณะดินน้ำในแต่ละพื้นที่ อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับพืชทุกชนิด ฉะนั้น พื้นที่เพาะปลูกใหม่ควรจะเลือก ปลู ก พื ช ให้ เ หมาะสมกั บ สภาพดิ น น้ ำ ในพื้ น ที่ ดังกล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

7


Thailand Focus

กรมวิชาการเกษตรจับมือเอกชน

พัฒนา “Seed Hub” รับอาเซียน

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ทีม่ ศี กั ยภาพของภูมภิ าคเอเชีย ทัง้ การเป็นผูผ้ ลิต เมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาเองในประเทศ และรับจ้าง ผลิตเมล็ดพันธุท์ ม่ี กี ารพัฒนามาจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิต เมล็ดพันธุ์พืชในไทยเพื่อการส่งออกมากขึ้น ทำ ให้ไทยเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ใหญ่ที่สุดใน อาเซียน โดยมีการส่งออกเมล็ดพันธุไ์ ปยังประเทศ ในกลุม่ อาเซียนมากเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากจีน และญี่ปุ่น และ เป็นอันดับที่ 12 ของโลก นางกัลยา เนตรกัลยามิตร ผูอ้ ำนวยการ ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาเมล็ ด พั น ธุ์ พื ช พิ ษ ณุ โ ลก กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การผลิตเมล็ด พันธุพ์ ชื ของไทยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ หน่วยงาน ภาครัฐจะเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่เป็นความ มั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ เช่น ข้าว พืชตระกูลถัว่ ต่างๆ ส่วนภาคเอกชนจะเป็นผูผ้ ลิต เมล็ดพันธุ์ลูกผสมเปิดเพื่อการค้า ประกอบด้วย ข้าวโพด ทานตะวัน พืชผักต่างๆ โดยประเทศไทย นับเป็นฐานการผลิต เมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกที่นักลงทุนต่างชาติ เข้ า มาลงทุ น มากที่ สุ ด ในอาเซี ย น เนื่ อ งจาก ข้อได้เปรียบทางด้านสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ อำนวย ภัยธรรมชาติคอ่ นข้างน้อยเมือ่ เทียบกับ ประเทศอื่นในภูมิภาค เกษตรกรมีความขยัน

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

และมีความสามารถในการเพาะปลูกพืชเหล่านี้ และมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพเมล็ด พันธุ์เพื่อการส่งออกที่มีคุณภาพ ในแต่ละปี มี การส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชไปยังประเทศต่างๆ สร้ า งรายได้ เ ข้ า ประเทศไม่ ต่ ำ กว่ า 3,0004,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะ เป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ต่างชาติเข้ามา ลงทุนมากที่สุด แต่ในสถานการณ์การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ของไทยเอง กลับยังมีความขาดแคลนเมล็ด พั น ธุ์ ดี เนื่ อ งจากสายพั น ธุ์ พ่ อ แม่ จ ะเป็ น ของ ต่างชาติ ทำให้มีสายพันธุ์ลูกผสมที่เป็นของ ไทยเองไม่เกิน 25% ฉะนัน้ จำเป็นต้องเร่งพัฒนา ให้มีพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นของไทยเองมากขึ้น เพื่อ เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและรองรับการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการ ขับเคลื่อนพัฒนาศูนย์กลางด้านเมล็ดพันธุ์พืช รองรับประชาคมอาเซียน หรือ Seed Hub ด้วยการสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุข์ องไทยให้ มีคณ ุ ภาพเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดโลก ส่งเสริม ให้ ต่ า งประเทศเข้ า มาลงทุ น ในอุ ต สาหกรรม เมล็ดพันธุ์เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการสนับสนุน การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเป็นอาชีพทางเลือกเพื่อ สร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ




ขณะนี้ กรมวิชาการเกษตรร่วมกับภาค เอกชนตั้ ง คณะทำงานขึ้ น มาคณะหนึ่ ง เพื่ อ ดำเนินการ Seed Hub รองรับอาเซียน โดย ร่วมมือกันในการพัฒนานักปรับปรุงพันธุ์พืช และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เนื่องจาก การพั ฒ นาเป็ น ฐานการผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ ข อง อาเซียน หรือ Seed Hub จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพราะภาครัฐกับเอกชนมีขอ้ เด่นข้อด้อยแตกต่าง กัน เมื่อนำจุดแข็งของทั้งสองภาคส่วนมารวม กัน จะเป็นพลังทีก่ า้ วไปไปสูก่ ารพัฒนาเป็น Seed Hub ของอาเซียนในภาพรวมของประเทศไทย ไม่แบ่งแยกภาครัฐ หรือเอกชน ตามที่ท่าน อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ให้คำนิยามไว้ ทัง้ นี้ เพือ่ มุง่ ไปสูเ่ ป้าหมายหลักด้วยกันคือ การส่งออก เมล็ดพันธุพ์ ชื เพิม่ ขึน้ ให้ได้มลู ค่า 5,000 ล้านบาท ต่อปี และก้าวขึ้นเป็นอันดับ 2 หรืออันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน และมี บทบาทสำคัญทีจ่ ะเข้ามารองรับการเป็น Seed Hub โดยทำหน้าที่ทั้งวางแผนการผลิตเมล็ด พันธุ์ชั้นพันธุ์หลักและขยาย เน้นพืชตระกูลถั่ว เพือ่ ให้ภาคเอกชนไปผลิตเป็นเมล็ดพันธุจ์ ำหน่าย ขยายสู่เกษตรกรเครือข่าย มีงานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะรองรับ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อคง คุณภาพและความแข็งแกร่งของเมล็ดพันธุ์ให้ สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น รวมถึงการถ่าย ทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เกษตรกรที่สนใจ ที่ สำคัญคือ ภารกิจตรวจมาตรฐานคุณภาพเมล็ด พันธุ์ก่อนส่งออก ที่มีระบบการรับรอง และ ควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานระดับ

สากล พร้อมกันนี้ได้เตรียมยกระดับห้องปฏิบัติ การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อขอการ รับรองมาตรฐานของสมาคมทดสอบคุณภาพ เมล็ดพันธุ์ระหว่างประเทศ หรือ The International Seed Testing Association (ISTA) ซึง่ เป็นมาตรฐานสากล เพือ่ สร้างความน่าเชือ่ ถือ และเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ รวมถึงการ ออกใบรับรองผลวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ ระหว่างประเทศ เพื่อลดข้อกีดกันทางการค้า และส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกเมล็ดพันธุ์ เชื่อมั่นว่าจะดำเนินการได้ภายในปี 2558 นางกัลยา กล่าวเพิม่ เติมว่า ศักยภาพของ ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาเมล็ ด พั น ธุ์ พื ช พิ ษ ณุ โ ลก มีคอ่ นข้างสูง เนือ่ งจากมีเครือ่ งมือทีท่ นั สมัย และ มีการวางผังระบบตรวจสอบตามมาตรฐาน ISTA ซึง่ สามารถรองรับการเป็น Seed Center ในระดับ ภูมิภาค ที่จะช่วยบริการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ เพื่อการส่งออกให้กับผู้ส่งออกที่อยู่ในเขตพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน หรือใกล้เคียง ไม่ตอ้ งส่งไปยัง ศูนย์ฯ ทีก่ รุงเทพฯ เพราะการเสียเวลาหมายถึง ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถ้าสามารถตรวจสอบได้ผล รวดเร็วมากเท่าไร ก็จะได้เปรียบ และสามารถ แข่งขันกับนานาประเทศ ซึ่งคู่แข่งที่สำคัญของ ไทย คือ อินโดนีเซีย กับเวียดนาม อย่างไร ก็ตาม ยังเชือ่ มัน่ ในศักยภาพของไทยว่า เกษตรกร มีความสามารถในการผลิต มีระบบตรวจสอบ รั บ รองคุ ณ ภาพที่ มี ม าตรฐาน รวดเร็ ว และ เอือ้ อำนวยความสะดวกในการส่งออกเหนือกว่า ประเทศอื่น ดังนั้น ไทยต้องรักษาและพัฒนา จุดแข็งที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นไป เพื่อสร้างโอกาส ทางการแข่งขัน และรักษาฐานการลงทุนเรื่อง เมล็ดพันธุ์พืชไว้ให้ได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

9


Food Feed Fuel

ซีพีรุกหนักขยายค้า-ลงทุนตุรกี ซีพีกรุ๊ปปักฐานแดนไก่งวง ทุ่มอีก 300 ล้าน ขยายผลิตอาหารสัตว์ หวังครองเบอร์ 1 ยาวในตุรกี พร้อมรุกหนักธุรกิจอาหารไก่แปรรูป ขายผ่าน 5 ช่องทาง เป้ายอดขายปีนี้ 600 ล้าน แนะผู้ ป ระกอบการยั ง มี ช่ อ งให้ เ ข้ า ไปขุ ด ทอง อีกอื้อ โรงแรม สปา ร้านอาหาร รับท่องเที่ยว บูม อนาคตไกล นายเรวั ติ หทั ย สั ต ยพงศ์ กรรมการ ผูจ้ ดั การ ซีพี ตุรกี บริษทั ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือซีพี เปิดเผยถึงการลงทุน ของเครือในประเทศตุรกีว่า ทางกลุ่มได้เข้าไป ลงทุนในตุรกีมานานกว่า 27 ปีแล้ว เนื่องจาก มองเห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพเป็ น ประเทศศู น ย์ ก ลาง ของภูมภิ าคทีส่ ามารถเชือ่ มถึงทวีปยุโรป เอเชีย กลาง และตะวันออกกลาง ประกอบกับค่าแรง ที่ยังไม่สูงมาก อีกทั้งยังมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ซีพีเข้าไปลงทุนในตุรกี โดยเริ่มต้นการทำธุรกิจอาหารสัตว์ จากนั้น ขยายสู่ธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อ และไก่ไข่ ปัจจุบัน ซี พี มี โ รงงานชำแหละไก่ ใ นตุ ร กี ทั้ ง หมด 4 โรง กำลังผลิต 1.5 แสนตันต่อปี และโรงงาน อาหารสัตว์อีก 6 โรง กำลังการผลิต 1.2 แสนตันต่อเดือน โดยปีนตี้ งั้ เป้าการผลิตอาหาร สัตว์ที่ 1 ล้านตัน ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อขายใน ตุรกี สัดส่วน 95% ที่เหลืออีก 5% ส่งออกไป ประเทศอิรัก และประเทศใกล้เคียง

สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ของซีพีในตุรกีมี 5 ช่องทาง ประกอบด้วย 1. ขายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ทั่วตุรกี 2. ขายผ่านซีพีช็อปที่มีสาขาเกือบ 500 สาขา 3. ผ่านฟู้ดเซอร์วิส เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร 4. ผ่านโมเดิรน์ เทรด และ 5. ส่งออก โดยรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการจำหน่ายใน ประเทศ โดยเป้ารายได้ปีนี้ตั้งไว้ที่ 600 ล้าน บาท

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,860 วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2556

10

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


"ชาวตุรกีส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นิยมรับ ประทานเนื้อไก่เป็นหลัก เนื่องจากเนื้อวัวราคา ค่อนข้างแพง และไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นเนื้อไก่จึงเป็นอาหารหลักของคนที่นี่ ซึ่ง ซีพีมองเห็นช่องทางตรงนี้จึงได้เข้ามาลงทุน ประกอบกับค่าแรง และต้นทุนการผลิตในภาพ รวมยังไม่สูงมาก สามารถผลิตเพื่อส่งออกได้ ในขณะที่รายได้ต่อหัวของชาวตุรกีค่อนข้างสูง อีกทั้งวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ไม่ว่า จะเป็นข้าวโพด ข้าวสาลีมีปริมาณเพียงพอต่อ การผลิต" นายเรวัติ กล่าว และว่า ปัจจุบันซีพีเป็นเบอร์ 1 ในด้านผู้ผลิต อาหาสัตว์รายใหญ่ในตุรกี มีส่วนแบ่งตลาด ประมาณ 9% ส่วนธุรกิจอาหารแปรรูปอยู่ อันดับ 5 มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 7-8% ถือ ว่ายังมีช่องว่างให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุน ได้อีกมาก ทำให้เวลานี้การแข่งขันเริ่มรุนแรง

ทุกรายต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ มองหาตลาดใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ในส่วนของซีพีปีนี้ ได้เตรียมเงินลงทุน ประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 300 ล้านบาท) ลงทุนด้านเครือ่ งจักรเพือ่ ขยาย โรงงานเพิ่ม เนื่องจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บางพืน้ ทีเ่ ริม่ มีกำลังการผลิตใกล้เต็มเพดาน อีก ด้านหนึ่งทางกลุ่มได้มองหาที่ดินสำรองไว้เพื่อ ก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์โรงที่ 7 ต่อไป อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีอ่ ยากฝากถึงนักลงทุน ไทยที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในตุรกีนั้น จะต้องมี ทั้ ง โนว์ ฮ าว (องค์ ค วามรู้ ) และเทคโนโลยี ที่ ทันสมัย เพราะตุรกีอยู่ใกล้กับยุโรปที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลตุรกีพยายามปรับปรุง มาตรฐานการผลิตให้ใกล้เคียงกับยุโรป ส่วน โอกาสของนักลงทุนไทยนั้น มองว่ายังมีโอกาส สูง เพราะรายได้ส่วนหนึ่งของตุรกีมาจากการ ท่องเที่ยว ดังนั้นธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น สปา ร้านอาหารไทย ที่ยังมีเพียงไม่กี่ร้านในเมือง ใหญ่ๆ เพราะปีปีหนึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยว ในตุรกีกว่า 35 ล้านคน สำหรับอุปสรรคของการลงทุนในตุรกี ส่วนตัวมองว่าเรื่องการบริหารจัดการเป็นสิ่ง สำคัญ อีกปัจจัยหนึ่งคือ อัตราดอกเบี้ยที่ยัง ค่อนข้างสูง ส่วนเรื่องกฎระเบียบต่างๆ คงไม่มี ปั ญ หา เพี ย งแต่ ต้ อ งพั ฒ นาสิ น ค้ า ให้ ไ ด้ ต าม มาตรฐานทีร่ ฐั บาลกำหนดไว้เท่านัน้ เอง โดยซีพี เองก็มีการพัฒนาและปรับตัวตลอดเวลาเพื่อ ตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของผูบ้ ริโภค

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

11


Food Feed Fuel

บทวิเคราะห์

สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ • โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. •

1. ข้าว

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ที่มา: FAO (Jun 2013)

ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2556 ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้น คือ ข้าวเปลือกเจ้า 5% อยู่ที่ 9,755 บาท/ตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนและข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ 15,899 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อน ยกเว้นข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ราคา 12,905 บาท/ตัน ลดลงร้อยละ 2.3 ขณะที่ราคาข้าวส่งออก (F.O.B.) ข้าวขาว 5% ราคา 538 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 4.5 และข้าวเหนียว 10% ราคา 1,204 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 0.7 ขณะที่ราคา F.O.B. ข้าวหอมมะลิยังคงปรับตัวสูงขึ้น

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


สถานการณ์ข้าว ราคาข้าวทีเ่ กษตรกรขายได้โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า 5% และข้าวเปลือกหอมมะลิปรับตัวเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากช่วงนีป้ ริมาณผลผลิตข้าวนาปรังออกสูต่ ลาดลดลง ประกอบกับเกษตรกรนำข้าวเข้าร่วม โครงการกับรัฐบาล ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึน้ นอกจากนี้ ทิศทางราคาข้าวหอมมะลิ ตลาดโลก ยังทรงตัวอยูใ่ นเกณฑ์สงู สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพข้าวไทยทีม่ คี ณ ุ ภาพสูงยังเป็นทีต่ อ้ งการตลาดโลก และเป็นตลาดข้าวคุณภาพที่ประเทศคู่แข่งยังไม่อาจแข่งขันในตลาดข้าวคุณภาพของไทยได้ สำหรับราคาข้าวตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจุบันประเทศคู่แข่งข้าวราย สำคัญของไทย ทัง้ อินเดีย และเวียดนาม แข่งขันลดราคาขายข้าวในตลาดโลกอย่างหนัก โดยเดือน พฤษภาคม 2556 ราคาข้าวเวียดนาม 25% อยู่ที่ 352 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ข้าวอินเดีย 25% อยู่ที่ 418 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ข้าวเวียดนาม 5% อยู่ที่ 372 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ขณะที่ข้าวไทย 5% อยู่ที่ 557 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน เพราะอินเดียมีปริมาณสต๊อกข้าวอยู่กว่า 30 ล้านตัน และ ยังมีผลผลิตฤดูกาลใหม่ทกี่ ำลังจะออกสูต่ ลาดอีกมาก เช่นเดียวกับเวียดนามทีผ่ ลผลิตข้าวมีมาก และ ไม่มสี ถานทีเ่ ก็บ ดังนัน้ จึงจำเป็นต้องลดราคาขายลง เพือ่ ระบายสต๊อกข้าวออกให้ได้มากทีส่ ดุ ทำให้ ราคาตลาดโลกปรับลดลง และฉุดให้ราคาข้าวประเทศอืน่ ๆ ตกต่ำลงไปด้วย (สรุปข่าวประจำสัปดาห์ 12-18 มิถุนายน 2556, สมาคมโรงสีข้าวไทย) ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีมติให้ปรับลดราคารับจำนำ ข้าวเปลือกเจ้านาปรังในฤดูการผลิตปี 2556 ลงเหลือ 12,000 บาท/ตัน จากปัจจุบันที่รับจำนำ ไว้ที่ 15,000 บาท/ตัน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2556 ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลผลิตข้าวนาปรัง ออกมาสูต่ ลาดเป็นจำนวนมาก และให้มกี ารปรับเงือ่ นไขการรับจำนำข้าวนาปรังทีเ่ ริม่ มาตัง้ แต่เดือน ก.พ. 2556 ให้มกี ารจำกัดวงเงินในการรับจำนำจากเกษตรกรไว้ทไี่ ม่เกินรายละ 5 แสนบาท ให้มผี ล ทันทีตงั้ แต่วนั ที่ 20 มิ.ย. 2556 โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ หามาตรการในการช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรด้วย คาดการณ์ราคาในเดือนกรกฎาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 5% และข้าวเปลือกหอมมะลิจะลดลง ประมาณร้อยละ 0.1 และ 2.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนอยูท่ รี่ าคา 9,750-9,800 บาท/ตัน และ 15,600-15,800 บาท/ตัน ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังรุ่นที่ 2 ซึ่งจะเริ่มออกสู่ ตลาดในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2556 และการประกาศปรับลดราคาจำนำข้าว สำหรับราคา เฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนอยู่ที่ 12,91012,950 บาท/ตัน เนื่องจากเผชิญภาวะภัยแล้งทำให้มีปริมาณผลผลิตน้อยลง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

13


2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนมิถุนายน 2556 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 8.12 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.81 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งออก (F.O.B.) เท่ากับ 10.65 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 5.97 สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในเดือนมิถนุ ายน 2556 ลดลงจากเดือนก่อน เนือ่ งจากปริมาณการ ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารสัตว์ทรงตัว ขณะที่ปริมาณผลผลิตในประเทศมีมาก จากการ นำเข้าข้าวโพดจากประเทศลาว และกัมพูชา ส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับลดลง เนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 4 (เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556) กัมพูชาชี้แจงว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของกัมพูชาได้รับผลกระทบ อย่างหนักจากการที่ไทยมีมาตรการจำกัดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น คณะกรรมการ นโยบายอาหารจึงได้มีการพิจารณาทบทวนมาตรการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2556 ให้ขยาย ระยะเวลาการนำเข้าของผู้นำเข้าทั่วไป ภายใต้ AFTA และโครงการ Contract Farming ตาม ACMECS ออกไปอีก 1 เดือน จากเดือนกรกฎาคม 2556 เป็นเดือนสิงหาคม 2556 และกำหนด มาตรการบริหารการนำเข้าภาษีอัตราร้อยละ 0 ให้ อคส. นำเข้าได้ตลอดทั้งปี โดยให้จัดทำ แผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับการผลิต การตลาด และความต้องการใช้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อ ผลผลิตในประเทศ

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


คาดการณ์ราคาในเดือนกรกฎาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ ลดลงจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 0.8-1.5 อยูท่ รี่ าคา 8.00-8.10 บาท/กก. เนือ่ งจากปริมาณ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าจากลาว และกัมพูชา ถึงแม้ว่าปริมาณ การใช้เพือ่ เป็นอาหารสัตว์จะมีทศิ ทางเพิม่ ขึน้ จากการเพิม่ การผลิตปศุสตั ว์กต็ าม แต่ปริมาณผลผลิต ก็ยังมีมากเกินกว่าความต้องการจึงส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน

3. มันสำปะหลัง

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคามันสำปะหลัง เดือนมิถุนายน 2556 ราคาหัวมันสำปะหลังสดทีเ่ กษตรกรขายได้ 2.21 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.90 ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 7.31 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.58 สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2556 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.91 ล้านไร่ และผลผลิต 27.55 ล้านตัน คาดว่าเดือน มิถุนายน 2556 ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 0.56 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.04 ของผลผลิตทั้งหมด ทัง้ นี้ ผลผลิตออกสูต่ ลาดแล้ว (ต.ค. 2555-พ.ค. 2556) ประมาณ 24.37 ล้านตัน (ร้อยละ 88.46 ของผลผลิตทัง้ หมด) และออกสูต่ ลาดมากทีส่ ดุ ในเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 5.19 ล้านตัน (ร้อยละ 18.85 ของผลผลิตทั้งหมด) ราคามันสำปะหลังในเดือน มิถุนายน 2556 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หัวมันสดมีเปอร์เซ็นต์แป้งลดลง จึงส่งผลต่อราคามัน สำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ลดลง ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมของ 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

15


การค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิต มันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ได้มีมติที่จะขอเข้าพบ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงพาณิ ช ย์ เพื่ อ ยื่ น ข้ อ เรี ย กร้ อ งให้ รั ฐ บาลระบายสต๊ อ กมั น สำปะหลั ง โครงการรับจำนำ ปีการผลิต 2555/2556 ปริมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งได้แปรเป็นมันเส้น 2.3 ล้านตัน และแป้งมัน 7 แสนตัน โดยวิธีการเปิดประมูลทั่วไปอย่างเร่งด่วนโดยไม่ให้เกินเดือน ตุลาคมนี้ เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการจะขาดแคลนวัตถุดบิ ในการผลิตอย่างรุนแรง และเสนอว่าไม่ควร ดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2556/2557 เพราะปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ ทำให้เกษตรกรอาจไม่มีสินค้าขาย หรือมีขายน้อย ส่งผลให้ราคารับซื้อแพง ยิ่งเป็นปัจจัยกดดันให้เกษตรกรเร่งขุดมันออกมาขาย จากผลการสำรวจการผลิตมันสำปะหลัง ฤดูกาลใหม่ ปี 2556/2557 ในเดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา คาดว่าผลผลิตจะลดลง เพราะช่วงต้นฤดู (ต.ค. 55-ม.ค. 56) ประสบปัญหา คือ 1) การระบาดของเพลีย้ แป้งรุนแรง 2) ท่อนพันธุไ์ ม่สมบูรณ์ และขาดแคลนท่อนพันธุ์ ทำให้ราคาแพง 1-2 บาทต่อท่อน 3) การเริ่มปลูกใหม่หลังสงกรานต์ มี ฝนตกมาก ทำให้เกิดวัชพืชกระทบต่อผลผลิตลดลงจาก 3 ตันเหลือ 2.5 ตันต่อไร่ ซึ่งจะทำให้ ผลผลิตลดลงร้อยละ 20 จากปีก่อนเหลือ 24-25 ล้านตัน คาดการณ์ราคาในเดือนกรกฎาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้จะลดลง ร้อยละ 1-2 อยู่ที่ ราคา 2.16-2.19 บาท/กก. เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้คุณภาพมันสำปะหลัง ลดลง

4. ปาล์มน้ำมัน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมการค้าภายใน

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556




ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2556 ราคาเฉลีย่ ของปาล์มน้ำมันทีเ่ กษตรกรขายได้ เท่ากับ 3.51 บาท/กก. เพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อน ร้อยละ 19.39 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 3.94 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 26.69 สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ในเดือนมิถุนายน 2556 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากอินเดียผูน้ ำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ทสี่ ดุ ของโลก มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสูงทีส่ ดุ ในรอบ 3 เดือน อยูท่ ี่ 755,871 ตัน เพิม่ ขึน้ จาก 685,877 ตัน เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา อีกทัง้ ยังมีความต้องการสำรองน้ำมันปาล์มเพือ่ การบริโภคเพิม่ ขึน้ จากเทศกาลรอมฎอนทีจ่ ะเริม่ ขึน้ ในช่วงเดือนกรกฎาคม และความต้องการใช้ไบโอดีเซลในภาคการขนส่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สต๊อก น้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียลดลงด้วยเช่นกัน ซึง่ ปัจจุบนั มีเหลือเพียง 1.7-1.8 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 7.7-8.7) ซึง่ เป็นระดับสต๊อกต่ำทีส่ ดุ ตัง้ แต่มถิ นุ ายน 2555 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) จึงส่งผลทำให้ราคาปาล์มน้ำมันของประเทศไทยมีแนวโน้มปรับตัวขยับสูงขึ้น คาดการณ์ราคาในเดือนมิถุนายน 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้จะปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ประมาณร้อยละ 1.0-2.0 อยู่ที่ราคา 3.55-3.58 บาท เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลรอมฎอน ทำให้ประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตปาล์มรายใหญ่เก็บน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภคภายในประเทศ ในช่วงเทศกาลรอมฎอนด้วย และประกอบกับขณะนีอ้ ยูใ่ นช่วงฤดูฝน ทำให้ผลผลิตออกสูต่ ลาดน้อย ราคาจึงยังคงสูงขึ้นในระยะนี้

5. ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อเดือนมิถุนายน 2556 ราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้เฉลีย่ ทัง้ ประเทศ เท่ากับ 43.89 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.42 ราคาขายส่งไก่เนือ้ มีชวี ติ ในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลีย่ เท่ากับ 45.00 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.26 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

17


หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ในเดือนมิถุนายน 2556 ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจาก ไก่เนื้อเติบโตดี ทำให้ปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่การบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นเพียง เล็กน้อยจากเดือนก่อน ทำให้ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค การวิเคราะห์ตน้ ทุนการผลิตสินค้าปศุสตั ว์ในไตรมาสแรกของปี 2556 พบว่า ต้นทุนการผลิตสินค้า ปศุสตั ว์ในไตรมาสแรกของปี 2556 ปรับตัวสูงขึน้ ร้อยละ 2.13-41.18 จากไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ซึ่งมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนปรับตัวสูงขึ้น คือ ค่าแรงงานในการเลี้ยง โดยต้นทุนไก่เนื้อ ปรับเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.13 อย่างไรก็ตาม พบว่า ค่าอาหารสัตว์กระทบต่อต้นทุนการผลิตไม่มากนัก เนือ่ งจากวัตถุดบิ อาหารสัตว์หลัก อาทิ รำข้าว ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ กากถัว่ เหลือง มันสำปะหลัง มีการ ปรับขึ้นและลดลงตามสถานการณ์ตลาด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 13 มิถุนายน 2556) คาดการณ์ราคาไก่เนื้อในเดือนกรกฎาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้จะลดลงจากเดือนก่อนประมาณ ร้อยละ 0.5-1.5 อยู่ที่ราคา 43.23-43.67 บาท/กก. เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาด ใกล้เคียงความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย เพราะฝนตกหนัก และพายุฝนในบางพื้นที่ แนวโน้มคาดว่าเดือนหน้าราคาจะทรงตัว หรือลดลงเล็กน้อย

6. กุ้งขาวแวนนาไม ราคากุ้งขาวแวนนาไม เดือนมิถุนายน 2556 6.10

ราคากุ้งขาวแวนนาไมที่เกษตรกรขายได้ 210.55 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ

ราคาขายส่งกุง้ ขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางกุง้ สมุทรสาคร 216.39 บาท/กก. เพิม่ ขึน้ จาก เดือนก่อนร้อยละ 7.14

18

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม สำหรับราคากุง้ ขาวแวนนาไมในเดือนนีป้ รับตัวสูงขึน้ เนือ่ งจากยังคงได้รบั ผลกระทบจากการ ระบาดของโรคตายด่วนในกุ้ง (EMS) ทำให้ปริมาณผลผลิตกุ้งที่ออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ระบุสถานการณ์โรคกุ้งตายด่วน ในกุ้งยังไม่ดีขึ้น โดยไตรมาสที่ 1 ผลผลิตออกมาเพียง 63,000 ตัน และคาดว่าไตรมาสที่ 2 จะมีผลผลิตออกมารวม 31,000 ตัน ซึ่งผลผลิตรวมทั้งสองไตรมาสมีจำนวน 94,000 ตัน ซึ่ง ในภาวะปกติรวมสองไตรมาสจะมีไม่ต่ำกว่า 200,000 ตัน สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงครึ่งปีแรก ผลผลิตกุ้งลดลงมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับไตรมาส 3 คาดการณ์สถานการณ์จะดีขึ้น แต่ ความมั่นใจของคนเลี้ยงยังไม่เพียงพอ ทำให้ไม่กล้าลงทุนเลี้ยงกุ้งครบทุกบ่อ คาดว่าภาพรวมทั้งปี 2556 จะมีปริมาณผลผลิตกุ้งรวม 250,000-300,000 ตัน ประกอบกับกรมประมงได้ปรับลด ตัวเลขผลผลิตกุ้งจาก 400,000 ตัน เหลือเพียง 300,000 ตัน ลดลงจากภาวะปกติถึงร้อยละ 50 เนื่องจากภาวะปกติปริมาณผลผลิตกุ้งไทยมีถึง 500,000-550,000 ตัน ดังนั้น คาดว่า ปริมาณการส่งออกกุ้งของไทย ปี 2556 จะลดลงกว่าร้อยละ 40 และมูลค่าการส่งออกลดลง ไม่เกินร้อยละ 20 คาดการณ์ราคาในเดือนกรกฎาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 1-2 อยู่ที่ราคา 213-215 บาท/กก. เนื่องจากปัญหาการระบาดของโรคกุ้งตายด่วนทำให้ ผลผลิตกุ้งขาวออกสู่ตลาดน้อย และความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

19


Food Feed Fuel

สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนมิถุนายน และแนวโน้มเดือนกรกฎาคม 2556 1. ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบัน ข้าวรอบ 2 ปีการผลิต 2555/56 (นาปรัง ปี 2556) ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรการรับจำนำ แต่ การส่งออกชะลอตัวเนื่องจากราคาข้าวไทยอยู่ ในเกณฑ์สูง ภาครัฐจึงได้ปรับลดราคารับจำนำ ให้สอดคล้องกับภาวะการค้าในตลาดโลก ซึง่ จะ มีผลทำให้ราคาภายในประเทศอ่อนตัวลงใน ระยะต่อไป มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิต ใกล้จะหมดแล้ว มีผลทำให้การส่งออกชะลอตัว ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ เป็ น ช่ ว งปลายฤดู ผลผลิตส่วนใหญ่อยูใ่ นมือผูค้ า้ ราคาเคลือ่ นไหว อยู่ในเกณฑ์ดี ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสูต่ ลาดน้อยลง ประกอบกับการแทรกแซงตลาดของภาครัฐ มีผล ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) ผลผลิตออกสู่ตลาด หมดแล้ว อยู่ในช่วงเกษตรกรเพาะปลูกถั่วฤดู ฝน

ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร มิถุนายน 2556

20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

ปลาป่น อยู่ในช่วงปิดอ่าวฝั่งอันดามัน (กระบี่ พังงา ภูเก็ต) วัตถุดิบมีน้อย แนวโน้ม ราคาเคลื่อนไหวไม่มากนัก สุกร คาดว่าผลผลิตมีเพียงพอกับความ ต้องการ ราคามีแนวโน้มเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดี ไก่เนือ้ ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง แต่ยงั อยูใ่ นเกณฑ์ดตี ามภาวะอุปสงค์อปุ ทาน ซึง่ คาดว่า ผลผลิตที่เลี้ยงทดแทนส่วนที่สูญเสียไปจะทยอย ออกสู่ตลาดมากขึ้น ไข่ไก่ ปริมาณไข่ไก่โดยรวมจะมีเพิ่มขึ้น ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง กุง้ ขาวแวนนาไม ผลผลิตมีนอ้ ย เนือ่ งจาก ยังมีปัญหาในระบบการเลี้ยง คาดว่าราคาจะ ทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูง


2. ภาวะการณ์ผลผลิต สินค้าเกษตรของโลก กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) ได้ประเมินสถานการณ์ และแนวโน้มการผลิต สินค้าเกษตรสำคัญของโลกในฤดูการผลิต ปี 2556/57 ณ เดือนมิถุนายน 2556 ไว้ดังนี้ 2.1 พืชน้ำมัน คาดว่าในฤดูการผลิตปี 2556/57 จะมี ผ ลผลิ ต พื ช น้ ำ มั น (ไม่ ร วม น้ำมันปาล์ม) ประมาณ 490.83 ล้านตัน มาก กว่าปี 2555/56 (467.91 ล้านตัน) ประมาณ 22.92 ล้านตัน (+4.90%) สำหรับพืชน้ำมัน ที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถั่วเหลือง ผลผลิต 285.30 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 17.70 ล้าน ตัน (+6.61%) เมล็ดในปาล์ม ผลผลิต 15.36 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 0.68 ล้านตัน (+4.63%) เนือ้ มะพร้าวแห้ง ผลผลิต 5.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.02 ล้านตัน (+0.34%) เรปซีด ผลผลิต 63.09 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 1.96 ล้านตัน (+3.20%) เมล็ดทานตะวัน ผลผลิต 40.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.93 ล้านตัน (+10.82%) ส่วนพืช น้ำมันที่คาดว่าผลผลิตจะลดลง ได้แก่ เมล็ด ฝ้าย ผลผลิต 44.39 ล้านตัน ลดลง 0.93 ล้านตัน (-2.05%) ถั่วลิสง ผลผลิต 36.41 ล้านตัน ลดลง 0.44 ล้านตัน (-1.20%) สำหรับ น้ ำ มั น ปาล์ ม คาดว่ า จะมี ผ ลผลิ ต ประมาณ 58.08 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2.79 ล้านตัน (+5.05%) 2.2 ธัญพืช ในปี 2556/57 USDA คาดว่าผลผลิตธัญพืชจะมีประมาณ 1,945.89 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 163.42 ล้านตัน (+9.17%) โดยสถานการณ์รายพืช สรุปได้ดังนี้

2.2.1 ข้าวสาลี มีผลผลิตประมาณ 695.86 ล้ า นตั น มากกว่ า ปี 2555/56 (655.59 ล้านตัน) 40.26 ล้านตัน (+6.14%) เนือ่ งจากราคาในปีทผี่ า่ นมาผลผลิตมีนอ้ ย ราคา ค่อนข้างดี จูงใจให้ขยายการเพาะปลูก ประเทศ ทีค่ าดว่าจะมีผลผลิตเพิม่ ขึน้ มาก เช่น รัสเซีย EU ยูเครน คาซัคสถาน ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็นต้น 2.2.2 ธัญพืชเมล็ดหยาบ คาดว่า จะมีผลผลิตประมาณ 1,250.03 ล้านตัน มาก กว่าปีที่ผา่ นมา (1,126.88 ล้านตัน) ประมาณ 123.15 ล้านตัน (+10.93%) โดยมีผลผลิต รายสินค้า ดังนี้ ข้าวโพดฯ ผลผลิต 962.58 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 106.86 ล้านตัน (+12.49%) ข้าวบาเลย์ ผลผลิต 138.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.10 ล้านตัน (+6.23%) ข้าวฟ่าง ผลผลิต 62.69 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 5.34 ล้านตัน (+9.32%) ข้าวโอ๊ต ผลผลิต 22.49 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 1.52 ล้านตัน (+7.26%) ข้าวไรน์ ผลผลิต 15.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.05 ล้านตัน (+7.40%) 2.3 ข้ า วสาร USDA คาดว่ า ผลผลิ ต ปี 2556/57 มีประมาณ 479.162 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา (470.190 ล้านตัน) ประมาณ 8.972 ล้านตัน (+1.91%) ขณะทีค่ วามต้องการ บริโภคข้าวของโลกมีประมาณ 476.320 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (469.252 ล้านตัน) ประมาณ 7.068 ล้านตัน (+1.51%) ส่วน สต๊อกปลายปี 2556/57 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมา อยูท่ รี่ ะดับ 108.618 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา 2.842 ล้านตัน (+2.69%) ส่วนการค้าข้าวใน ตลาดโลก ในปี 2556/57 USDA คาดว่าจะมี ประมาณ 38.137 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

21


(38.102 ล้านตัน) ประมาณ 0.035 ล้านตัน สำหรับปริมาณการส่งออก USDA คาดว่าอินเดีย จะส่งออกได้มากถึง 8.5 ล้านตัน ขณะทีไ่ ทยจะ ส่งออกได้เพียง 8 ล้านตัน และเวียดนาม 7.7 ล้านตัน ตามลำดับ สำหรับราคาส่งออกข้าวไทยเมือ่ วันที่ 19 มิถนุ ายน 2556 (สมาคมผูส้ ง่ ออกข้าวไทย) ราคาข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 ใหม่ (f.o.b.) ตันละ 1,195 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 (f.o.b.) ตันละ 556 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวนึง่ 100% (f.o.b.) ตันละ 562 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าวสหรัฐฯ (เมล็ดยาว #4/5) ตันละ 650 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 5% เวียดนาม ตันละ 365 เหรียญสหรัฐฯ อินเดีย ตันละ 445 เหรียญ สหรัฐฯ ปากีสถาน ตันละ 455 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าวนึ่งอินเดีย และปากีสถาน ตันละ 430 และ 460 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

ถั่วเหลือง อยู่ในช่วงเพาะปลูกถั่วฤดูฝน คาดว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือน สิงหาคม ปลาป่น วัตถุดิบมีไม่มากแม้จะสิ้นสุด ช่ ว งปิ ด อ่ า วแล้ ว คาดว่ า ราคาจะเคลื่ อ นไหว ไม่มากนัก สุกร คาดว่าผลผลิตมีเพียงพอกับความ ต้องการ ราคายังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ใน เกณฑ์ดี ไก่ เ นื้ อ ผลผลิ ต ที่ เ ลี้ ย งทดแทนส่ ว นที่ สูญเสียไปจะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคา มีแนวโน้มอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ไข่ไก่ คาดว่าผลผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้น ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง

3. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนกรกฎาคม 2556

กุ้งขาวแวนนาไม คาดว่าผลผลิตจะออก สู่ตลาดได้มากขึ้น แนวโน้มราคาจะเคลื่อนไหว ไม่มากนัก

ข้าวรอบ 2 ปีการผลิต 2555/56 (นาปรัง ปี 2556) ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง กว่าช่วงทีผ่ า่ นมา แต่การปรับลดราคารับจำนำ จะมีผลทำให้ราคาข้าวอ่อนตัวลง

3.1 กลุม่ สินค้าทีผ่ ลิตเพือ่ ส่งออก สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่

มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิต ออกสู่ตลาดน้อย ราคามีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้น ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เกษตรกรในบางพืน้ ที่ เริม่ เก็บเกีย่ วผลผลิตฤดูใหม่ออกสูต่ ลาด คาดว่า จะมีผลผลิตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แนวโน้ม ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี

22

ปาล์มน้ำมัน คาดว่าผลผลิตจะยังมีไม่มาก เท่าที่คาดการณ์ไว้ แนวโน้มราคาทรงตัวอยู่ใน เกณฑ์ดี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

(1) ข้าว กระทรวงเกษตรฯ ประมาณ การผลผลิตข้าวรอบ 2 ปี 2555/56 (ข้าวนาปรัง ปี 2556) มีประมาณ 9.984 ล้านตัน น้อยกว่า ปีที่ผ่านมา 2.251 ล้านตัน (-18.40%) เนื่อง จากสภาพแห้งแล้ง ทำให้หลายพื้นที่มีปริมาณ น้ำไม่เพียงพอที่จะทำนา ปัจจุบันผลผลิตออกสู่ ตลาดน้ อ ยลงเป็ น ลำดั บ ราคาข้ า วเปลื อ กที่ เกษตรกรขายได้ยงั เคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดตี าม


มาตรการรับจำนำของรัฐบาล แต่มีแนวโน้มที่ จะอ่อนตัวในระยะต่อไป เนือ่ งจากคณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อ 18 มิถุนายน 2556 ให้ปรับลดราคารับจำนำข้าวลงเพื่อสอดคล้อง กับภาวะการค้าข้าวในตลาดโลก โดยข้าวเปลือก เจ้า 100% ความชืน้ 15% ตันละ 12,000 บาท และข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 12,800 บาท สำหรับคุณภาพอื่นราคาลดหลั่นกันตามเกณฑ์ ทีก่ ำหนด และได้จำกัดวงเงินทีจ่ ะรับจำนำไม่เกิน ครัวเรือนละ 500,000 บาท ทัง้ นี้ เริม่ ใช้ตงั้ แต่ วันที่ 30 มิถุนายน-15 กันยายน 2556 สำหรับผลผลิตข้าวรอบ 1 ปีการผลิต 2556/57 กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการ ผลผลิต ณ เดือนมิถนุ ายน 2556 ว่าจะมีผลผลิต ประมาณ 28.443 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 6.95 โดยผลผลิตจะเริ่มเก็บเกี่ยวและ ทยอยออกสูต่ ลาดได้ตงั้ แต่เดือนสิงหาคม 2556 เป็นต้นไป ภาวะการค้า ราคาซือ้ ขายข้าวเปลือก ในตลาดสำคัญ (ณ 21 มิ.ย. 56) เป็นดังนี้ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 9,800-11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,200-17,050 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 13,00014,500 บาท ส่วนการค้าข้าวสาร ราคาซือ้ ขาย เป็นดังนี้ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 กระสอบละ 1,570-1,580 บาท ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 กระสอบละ 3,300-3,320 บาท ข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว กระสอบละ 2,550-2,560 บาท และข้าวนึง่ 100% กระสอบละ 1,590-1,600 บาท การส่งออก ในปี 2556 ไทยตัง้ เป้า การส่งออกไว้ที่ 8.5 ล้านตัน ปัจจุบัน (1 ม.ค.-

20 มิ.ย. 56) ไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 2.856 ล้านตัน น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (3.244 ล้านตัน) ร้อยละ 11.94 ผลการรับจำนำ ข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2556 - ข้าวเปลือก รอบที่ 1 รับ จำนำได้รวม 14,415,362 ตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกเจ้า 9,816,692 ตัน ข้าวเปลือก หอมมะลิ 3,400,228 ตัน ข้าวเปลือกหอม จังหวัด 494,944 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 35,681 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 667,817 ตัน - ข้าวเปลือก รอบที่ 2 รับ จำนำได้แล้ว 4,890,026 ตัน จำแนกเป็น ข้าว เปลือกเจ้า 4,650,811 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 9,513 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 229,701 ตัน (2) มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดู ผลผลิตออกสูต่ ลาดน้อยลงตามลำดับ เกษตรกร ส่ ว นใหญ่ ก ำลั ง เพาะปลู ก มั น ฯ ฤดู ใ หม่ ซึ่ ง กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 28.220 ล้านตัน มากกว่า ปี 2555/56 (27.477 ล้านตัน) ร้อยละ 2.70 โดยจะเริม่ ขุด ออกจำหน่ายได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป ปัจจุบันราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ เชื้อ แป้ง 25% จ.นครราชสีมา (21 มิ.ย. 56) ทรงตัวเท่าราคาในเดือนที่ผ่านมาที่ กก. ละ 2.50-2.55 บาท คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหว ไม่มากนักเนื่องจากผลผลิตมีน้อย และคุณภาพ ไม่ค่อยดี ผลการรับจำนำ (ณ 14 พ.ค. 56) เปิดจุดรับจำนำ 665 จุด เป็นลานมัน 619 จุด โรงแป้ง 55 จุด ผลผลิตทีร่ บั จำนำได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

23


9,958,042 ตัน แยกเป็นลานมัน 6,178,723 ตัน และโรงแป้ง 3,779,319 ตัน ธกส. ได้จา่ ยเงินให้ เกษตรกรไปแล้วเป็นเงิน 26,766.99 ล้านบาท (3) ไก่เนื้อ กระทรวงเกษตรฯ คาด ว่าในปี 2556 จะมีผลผลิตประมาณ 1,104.051 ล้านตัว หรือคิดเป็นซากบริโภคประมาณ 1.513 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.53 จะใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 0.9-1.0 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 0.4-0.5 ล้าน ตัน ปัจจุบันผลกระทบจากปัญหาในระบบการ เลีย้ งไก่เนือ้ ทีเ่ กิดขึน้ ในบางพืน้ ทีเ่ ริม่ คลีค่ ลายลง ทำให้ปริมาณไก่ทเี่ ข้าสูต่ ลาดมีมากขึน้ เพียงพอ กับการบริโภค สำหรับราคาไก่มชี วี ติ หน้าโรงฆ่า (21 มิ.ย. 56) ราคา กก. ละ 44-46 บาท อ่ อ นตั ว ลงจากราคาเฉลี่ ย ในเดื อ นที่ ผ่ า นมา ประมาณ กก. ละ 1.10 บาท สำหรับการส่งออก ในปี 2556 (ม.ค.-เม.ย.56) ไทยส่งออกเนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์ไปแล้ว 160,000 ตัน มูลค่า 21,152 ล้านบาท แนวโน้มการส่งออกยังอยูใ่ น เกณฑ์ดี คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก

(4) กุ้งขาวแวนนาไม ผลจากการ เกิดสภาพความแปรปรวนของอากาศและปัญหา ในระบบการเลี้ยง มีผลทำให้ปริมาณกุ้งที่คาด ว่าจะเพาะเลีย้ งได้ในปีนมี้ ปี ริมาณลดลงมาก ซึง่ กรมประมงได้ปรับลดปริมาณผลผลิตกุง้ ขาวฯ ปี 2556 เหลือเพียง 0.296 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ ผ่านมาประมาณ 0.162 ล้านตัน หรือลดลง ร้อยละ 35.37 แนวโน้มการส่งออกใน ปี 2556 นอกจากปั ญ หาปริ ม าณผลผลิ ต ที่ มี น้ อ ยแล้ ว ยั ง ต้ อ งประสบกั บ การกี ด กั น ทางการค้ า ของ ประเทศคูค่ า้ ส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออก โดยรวมในปี 2556 ซึง่ จะน้อยกว่าปีทผี่ า่ นมามาก ปัจจุบันราคากุ้งขาวฯ ในประเทศเคลื่อนไหว อยูใ่ นเกณฑ์ดี โดยราคาซือ้ ขายกุง้ ขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางสมุ ท รสาคร (21 มิ . ย. 56 ขนาด 60 ตัว/กก.) อยู่ที่ กก. ละ 212 บาท สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย กก. ละ 8 บาท แนวโน้มราคายังเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดี สำหรับ การส่งออก ปี 2556 (ม.ค.-เม.ย.56) ส่งออก ไปแล้ว ปริมาณ 0.075 ล้านตัน มูลค่า 20,811 ล้านบาท 3.2 กลุม่ สินค้าทีผ่ ลิตเพือ่ บริโภคภายใน ประเทศ สถานการณ์ สิ น ค้ า เกษตรที่ ส ำคั ญ ได้แก่ (1) ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ เป็ น ช่ ว ง ปลายฤดูปีการผลิต 2555/56 ต่อต้นฤดูปี 2556/57 ซึง่ เกษตรกรอยูร่ ะหว่างการเพาะปลูก ข้าวโพดฤดูใหม่ สำหรับผลผลิตฤดูก่อนยังมี ออกสูต่ ลาดประปราย แต่สว่ นใหญ่อยูใ่ นมือผูค้ า้ สำหรับฤดูการผลิต 2556/57 กระทรวงเกษตรฯ คาดว่า (มิ.ย. 56) จะมีผลผลิตประมาณ 4.879 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปี 2555/56 (4.780

24

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556



สุกรสมบูรณ์ เกษตรกรก็มั่งคั่ง โตไว • น้ำหนักมาก • แข็งแรง • สุขภาพดี

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

สรางความสำเร็จ เคียงคูเกษตรกรไทยมาอยางยาวนาน บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)


ล้านตัน) ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศ ขณะที่ความต้องการใช้ในเบื้องต้นคาดว่าจะมี ประมาณ 4.7-4.8 ล้านตัน ในขณะที่ USDA คาดการณ์ ผ ลผลิ ต ข้ า วโพดฯ ของโลกในปี 2556/57 จะมีประมาณ 962.582 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมาถึง 106.863 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.49 ผลจากราคาในฤดูที่ ผ่านมาเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์สงู จูงใจให้มกี าร เพาะปลูกเพิม่ ขึน้ ปัจจุบนั (21 มิ.ย. 56) ราคา ซือ้ ขายในแหล่งผลิต จ.เพชรบูรณ์ กก. ละ 9.109.17 บาท สูงกว่าเดือนที่ผ่านมา (9.01 บาท) เฉลีย่ กก. ละ 0.13 บาท คาดว่าราคาข้าวโพดฯ ยังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อ เนื่องไปจนถึง ผลผลิตฤดูใหม่ออกสู่ตลาด (2) ปาล์มน้ำมัน กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ผลผลิต ปี 2556 (ณ มิ.ย. 56) ว่ามีประมาณ 12.243 ล้านตัน มากกว่าปี 2555 (11.327 ล้านตัน) ร้อยละ 8.09 คิดเป็น น้ำมันปาล์มดิบประมาณ 2.08 ล้านตัน สำหรับ ความต้องการใช้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 1.9-2.0 ล้านตัน แบ่งเป็นน้ำมันบริโภค 1.0 ล้านตัน ผลิตไบโอดีเซล 0.6-0.7 ล้านตัน ส่งออกประมาณ 0.3 ล้านตัน และคาดว่าจะมีสต๊อกสำรองใน ประเทศอีกประมาณ 0.4-0.5 ล้านตัน ปัจจุบนั แม้ว่าจะย่างเข้าสู่ช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ปริมาณยังมากเท่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบ กั บ ภาครั ฐ ขยายเวลาการดำเนิ น การตาม มาตรการพยุงราคา จากสิ้นสุดเดือนเมษายน เป็ น เดื อ นมิ ถุ น ายน มี ผ ลช่ ว ยให้ ร ะดั บ ราคา ผลปาล์มขยับตัวสูงขึ้นหลังจากที่อ่อนตัวลงมา ในช่วงปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม เมือ่ อคส. ได้ดำเนินการรับซือ้ น้ำมันฯ ในงวดที่ 1 ไปแล้ว

ประมาณ 50,000 ตั น จากปริ ม าณรวม 100,000 ตัน สำหรับราคาที่เกษตรกรขายได้ (น้ำมัน 17% ณ 21 มิ.ย. 56) เฉลี่ย กก. ละ 3.80-4.50 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือน ที่ผ่านมา (3.47 บาท) ราคามีแนวโน้มอ่อนตัว หลังจากสิน้ สุดระยะเวลาทีข่ ยายการดำเนินการ แทรกแซงตลาดเนื่องจากเข้าสู่ช่วงผลผลิตออก มากตามฤดูกาล (3) สุกรมีชีวิต กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ปริมาณสุกรขุน ปี 2556 มีประมาณ 13.072 ล้านตัว เพิม่ ขึน้ จาก ปี 2555 (12.828 ล้านตัว) ร้อยละ 1.90 และมากกว่าความต้องการ ภายในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 12.42 ล้านตัว ผลผลิตส่วนเกินต้องระบายส่งออกไป ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อรักษาระดับ ราคาภายในประเทศ ปัจจุบันปริมาณสุกรใน ระบบมี เ พี ย งพอกั บ ความต้ อ งการ แต่ ภ าวะ การค้าโดยรวมชะลอตัว สำหรับราคาสุกรมีชวี ติ ที่เกษตรกรขายได้ ณ 21 มิถุนายน 2556 (ภาคกลาง) กก. ละ 67-68 บาท สูงกว่าราคา เฉลีย่ ในเดือนทีผ่ า่ นมา กก. ละ 1.90 บาท และ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

25


สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มิ.ย. 55) เฉลี่ย กก. ละ 10 บาท (4) ไข่ไก่ กระทรวงเกษตรฯ คาดว่า ในปี 2556 จะมีผลผลิตไข่ไก่ในระบบประมาณ 11,421 ล้านฟอง สูงกว่าปีทผี่ า่ นมา (10,939 ล้านฟอง) ร้อยละ 4.41 และมากกว่าความ ต้องการบริโภคในประเทศทีค่ าดว่าจะมีประมาณ 11,186 ล้านฟอง ร้อยละ 3.68 ปัจจุบันมี ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากขึ้นจากช่วงที่ผ่าน มา ส่วนภาวะการค้าในบางพื้นที่ชะลอตัว ผล จากมีฝนตกชุก ทำให้มอี าหารโปรตีนจากแหล่ง น้ำมากขึน้ สำหรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม (ณ 21 มิ.ย. 56) ฟองละ 3.10 บาท ต่ำกว่าราคา เฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา (3.14 บาท) เล็กน้อย ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงตามปริมาณผลผลิต ที่ ค าดว่ า จะมี เ พิ่ ม ขึ้ น และผู้ บ ริ โ ภคมี อ าหาร โปรตีนอื่นที่ราคาต่ำกว่าทดแทนมากขึ้น 3.3 กลุม่ สินค้าทีต่ อ้ งนำเข้า สถานการณ์ สินค้าที่สำคัญมีดังนี้ (1) ถั่วเหลือง USDA คาดการณ์ ผลผลิตถัว่ เหลืองโลก ปี 2556/57 มีประมาณ 285.304 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา 17.698 ล้านตัน (+6.61%) ขณะที่ความต้องการใช้ คาดว่ามีประมาณ 239.179 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9.680 ล้านตัน (+4.22%) สำหรับผลผลิต ถัว่ เหลืองของไทยใน ปี 2555/56 ออกสูต่ ลาด หมดแล้ว ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้โดยรวม อยูใ่ นเกณฑ์ดี (17.50-19.60 บาท/กก.) สูงกว่า ราคาทีเ่ กษตรกรขายได้ในปี 2554/55 (14.0017.28 บาท/กก.) ปัจจุบันอยู่ในช่วงเพาะปลูก ถั่วเหลือง ปี 2556/57 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีประมาณ 0.050 ล้านตัน น้อยกว่า

26

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

ปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.13 โดยผลผลิตจะเริ่ม ออกสู่ ต ลาดได้ ตั้ ง แต่ ป ลายเดื อ นกรกฎาคม เป็นต้นไป สำหรับราคาเมล็ดถั่วเหลืองขายส่ง ตลาด กทม. เกรดสกัดน้ำมัน (21 มิ.ย. 56) กก. ละ 18.50-18.80 บาท ทรงตัวเท่ากับ ราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา (2) กากถัว่ เหลือง USDA คาดการณ์ ผลผลิตกากถัว่ เหลืองโลก ปี 2556/57 คาดว่า จะมีปริมาณ 188.696 ล้านตัน มากกว่า ปีทผี่ า่ นมา (181.075 ล้านตัน) 7.621 ล้านตัน เมื่อรวมกับสต๊อกปลายปียกมาจำนวน 9.527 ล้านตัน จะมีผลผลิตกากถัว่ เหลืองรวม 198.523 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้มีประมาณ 185.846 ล้านตัน สำหรับกากถัว่ ฯ ทีไ่ ทยผลิต ได้ใน ปี 2556 มีประมาณ 1.163 ล้านตัน แบ่งเป็นกากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ ปลูกในประเทศ 0.013 ล้านตัน และผลิตจาก เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า 1.150 ล้านตัน ในขณะ ที่ความต้องการใช้คาดว่ามีประมาณ 3.973 ล้านตัน จะต้องนำเข้าให้พอใช้อกี ประมาณ 2.53.0 ล้านตัน ปัจจุบนั (21 มิ.ย. 56) ราคาขายส่ง กากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศ กก. ละ 19.90-19.95 บาท กากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ด นำเข้า กก. ละ 17.10-17.30 บาท อ่อนตัวลง จากราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 0.19 บาท และ 0.81 บาท ตามลำดับ (3) ปลาป่น ผลผลิตใน ปี 2556 คาดว่าจะมีประมาณ 0.50 ล้านตัน ใกล้เคียง ปี 2555 (0.493 ล้านตัน) แต่มากกว่าปริมาณ ความต้องการใช้ในประเทศทีค่ าดว่าจะมีประมาณ 0.466 ล้านตัน ร้อยละ 7.30 ปัจจุบัน ภาวะ ตลาดชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศเปรู


ซึง่ เป็นผูผ้ ลิตผูค้ า้ รายใหญ่รายหนึง่ ของโลก เริม่ จับปลาฤดูกาลใหม่ ซึง่ จะมีปริมาณปลาออกสูต่ ลาด มากขึ้นเป็นลำดับ และมีผลต่อราคาในตลาดโลก ทำให้ผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาราคาปลาป่นเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูง ปัจจุบัน (21 มิ.ย. 56) ราคา ปลาป่นโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 2 เฉลี่ย กก. ละ 22.50 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในเดือน ที่ผ่านมา กก.ละ 2.43 บาท

4. มาตรการแก้ไขปัญหา/การช่วยเหลือผ่านกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ณ 5 เม.ย.56) ในปีงบประมาณ 2556 คชก. ได้อนุมัติเงินกองทุนรวมฯ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือสินค้า เกษตรด้านการตลาดไปแล้วเป็นจำนวนเงิน 3,144,122,180 บาท จำแนกเป็น 1. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร วงเงิน 61.80 ล้านบาท (มีเงือ่ นไขว่าจะดำเนินการ เมื่อราคาสุกรมีชีวิตเท่ากับ หรือต่ำกว่ากิโลกรัมละ 55 บาท ซึ่งขณะนี้ราคายังสูงกว่าราคาที่ กำหนด) 2. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ปี 2555 วงเงิน 132,412,680 บาท ปัจจุบัน ใช้เงินดำเนินงานตามโครงการฯ ไปแล้ว 97.87 ล้านบาท 3. การแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม และราคาผลปาล์มตกต่ำ ปี2555-2556 วงเงิน 2,792.596 ล้านบาท ปัจจุบัน อคส. ได้จ่ายเงินตามโครงการฯ ในรอบที่ 1 ไปแล้ว 1,084.378 ล้านบาท 4. โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2556 วงเงิน 137.1365 ล้านบาท (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 5. โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ ปี 2556 วงเงิน 20.177 ล้านบาท (อยู่ระหว่าง ดำเนินการ) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

27


Food Feed Fuel

พยากรณ์สินค้าเกษตร

ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2556

สัญลักษณ์

ปกติ

มีปัญหาราคาสูง

มีปัญหาราคาต่ำ

ช่วงพยากรณ์ การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน มิ.ย. 56 ก.ค. 56 ส.ค. 56 กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อส่งออก ข้าวนาปรัง ผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2556 (ข้าวเปลือกปี 55/56 รอบ 2) ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ในปริมาณที่ลด น้อยลง ภาครัฐมีมาตรการรับจำนำรองรับ ส่งผลให้ ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนข้าวนาปี ปี 2556/ 57 คาดว่าในบางพื้นที่ จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นไป มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดู ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยมาก ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี หรืออาจจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ไก่เนื้อ ภาวะการผลิตปกติ ปริมาณผลผลิตมีมากเพียงพอกับ ความต้องการ ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี กุ้ง (ขาว ปริมาณกุ้งยังออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากมีปัญหาในระบบ แวนนาไม) การเลี้ยง แนวโน้มราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูง กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ข้าวโพด อยู่ในช่วงเพาะปลูกข้าวโพดฤดูใหม่ ปี 56/57 คาดว่า เลี้ยงสัตว์ จะมีประมาณ 4.985 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ในบางพื้นที่เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้ว แต่จะออกมากช่วง ส.ค.-พ.ย. 56 แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวตามฤดูกาล ประกอบกับ ครม. เห็นชอบให้ขยายเวลาการนำเข้าใน กรอบ AFTA และ ACMECS จากสิ้นสุด ก.ค. เป็น สิ้นสุด ส.ค. 56 ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อยกว่าที่ กษ. ประมาณการไว้ แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรพอใจ เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือในช่วงเดือน มิย. 56 สินค้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

28

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ก.พ.-ต.ค.

พ.ย. 55-มี.ค. 56 (ช่วงออกมาก) เม.ย.-พ.ค. มิ.ย.-พ.ย.

(ช่วงออกมาก 60%)

มิ.ย.-พ.ค.

ม.ค.-ธ.ค. 56

(ออกมาก ก.ค.-ธ.ค. ออกน้อย ม.ค.-มิ.ย.) 




สินค้า

ช่วงพยากรณ์ มิ.ย. 56 ก.ค. 56 ส.ค. 56

สุกร ไข่ไก่ กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า ถั่วเหลือง -ฤดูฝน ปลาป่น

การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน ปริมาณผลผลิตเพียงพอ ราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ ค่อนข้างสูงต่อเนื่อง Egg Board คาดการณ์ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับภาวะ ปกติ ราคายังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี คาดว่าถั่วฝนจะออกสู่ตลาดราวปลายเดือน ส.ค. 56 ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดีนัก คาดว่าราคาจะอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดไม่มากนัก เนื่องจากเป็น ช่วงมรสุม ราคาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ม.ค.-ธ.ค. ม.ค.-ธ.ค.

ส.ค.-ธ.ค. 56

ม.ค.-ธ.ค. 56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

29


Food Feed Fuel

รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2556 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2556

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. น.ส. สุภากาญจน์ แตรสุภาพ 3. นายรวีธนัทณ์ วโรตม์สุพรรณ 4. น.ส. ลัดดา แก้วกาหลง 5. นายพรชัย ภักดีทรัพย์ 6. น.ส. รัชฎาภรณ์ เย็นช้อน 7. น.ส. ญาณี มีจ่าย 8. นายอำนาจ อินทวัน 9. นายศุภชัย วิเศษสุข 10. นายเอกพจน์ เสริมศักดิ์ศศิธร 11. น.ส. ชุลีพร ยิ่งยง 12. นายธเนศ คล้ายเจ๊ก 13. น.ส. นิชนันท์ วัตถุรัตน์ 14. น.ส. ปรวรรณ พิทักษ์โกศล 15. น.ส. กัณฑลี สระทองเทียน 16. นายณัฐพล มีวิเศษณ์

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนียนฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ไทยฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทยฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

สำหรับการสำรวจผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2556 ได้สำรวจพื้นที่ในภาคตะวันออก (สระแก้ว) กลางตอนบน (เพชรบูรณ์, ลพบุรี) ตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) และประเทศกัมพูชา (ไพลิน) ซึ่งโดยปกติของ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้จะมี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่ของกัมพูชา สระแก้ว และพื้นที่รอยต่อกับภาคตะวันออก ที่เป็นโซนหน้าเขา อาทิ อ.ปากช่อง แต่อย่างไรก็ตาม

30

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


ในส่วนของพื้นที่อื่นๆ ที่ได้ไปสำรวจก็พบมีข้าวโพดที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวในอีก 30-45 วัน หรือ ประมาณปลายเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นผลผลิตส่วนใหญ่ที่จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดของ ทุกภูมิภาคทั้งประเทศ ตารางสรุปผลผลิตตามพื้นที่ที่ ได้มีการสำรวจ ระหว่าง 9-12 กรกฎาคม 2556 พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด เพชรบูรณ์ 968,798 1,041,386 7.49% 797 810 1.63% ลพบุรี 259,382 215,287 -17.00% 624 762 22.12% นครราชสีมา 804,300 778,166 -3.25% 675 712 5.48% สระแก้ว 150,090 163,242 8.76% 665 734 10.38% จังหวัด

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 56/57 เพิ่ม/ลด 772,132 843,523 9.25% 161,854 164,049 1.36% 542,902 554,054 2.05% 102,060 119,820 17.40%

จังหวัดสระแก้ว

แหล่งข้อมูล : มักเจริญการเกษตร, ส. โชคจรรยาพืชผล, ร้านทวีพรพืชไร่, รุง่ เรืองผล และเกษตรกร ในพืน้ ที่ คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 153,470 150,090 665 163,243 163,243 734 6.37% 8.76% 10.38%

ผลผลิตรวม (ตัน) 102,060 ตัน 119,820 ตัน 17.40%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

31


สภาพโดยทั่วไป : พบว่าพื้นที่ปลูกโดยรวมของจังหวัดสระแก้วโดยเฉพาะพื้นที่สอยดาว เขาฉกรรจ์, บ้านเขาดิน เพิม่ ขึน้ จากปี 2555 เป็น 163,243 ไร่ 6.37% ซึง่ เป็นพืน้ ทีเ่ ดิมของการ ปลูกมันสำปะหลัง เนือ่ งจากราคาขายข้าวโพดเลีย้ งสัตว์มรี าคาทีส่ งู ประกอบกับมันสำปะหลังแห้งแล้ง ตายช่วงการปลูกต้นปี 2556 และท่อนพันธุ์ที่ขาดแคลน รวมถึงระยะเวลาที่เหลือพอสำหรับการ เก็บเกี่ยวในปีนี้ จึงทำให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นทางเลือกแรกของเกษตรกรถูกนำมาปลูกเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ในภาพของข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ รุน่ 1 (เริม่ ปลูกประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน) จะมีการปลูก ไม่เยอะ เกษตรรอท่าทีของสภาพอากาศ แต่คาดว่าในรุน่ ที่ 2 จะมีการปลูกเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากปีนฝี้ นดี มีการกระจายตัวสม่ำเสมอ ทำให้พอ่ ค้าในพืน้ ทีเ่ ปิดเตาอบเพียง 2 ไซโล เท่านัน้ ซึง่ ผลผลิตได้มาจาก ทั้งในพื้นที่และกัมพูชา ผลผลิตต่อไร่ : เพิ่มขึ้นจากฐานเดิม ประมาณ 10.38% เป็น 734 กิโลกรัม เนื่องจากปี 2555 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กระทบแล้งมาก ทำให้ผลผลิตเสียหาย ฝักไม่สมบูรณ์ จึงทำให้มีผลผลิต ต่อไร่ที่ต่ำ แต่ในปีนี้สภาพอากาศดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่กลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีแล้งบ้างเล็กน้อย ช่วงต้นปี และจากที่ตรวจสอบคุณภาพในเบือ้ งต้นกับลานรับซือ้ ของพ่อค้า ก็พบว่าคุณภาพโดยรวม ของฝักสมบูรณ์ เม็ดเต็มฝัก ไม่มีแคระแกรนให้เห็น ปัญหาและอุปสรรค : ปัจจุบนั พบว่าเกษตรกรปรับเปลีย่ นไปปลูกพืชยืนต้นเป็นจำนวนมากขึน้ อาทิ ยางพารา และลำไย ทำให้คาดว่าในระยะสั้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจจะยังสามารถปลูกแซม ในพืน้ ทีไ่ ด้อยู่ แต่ระยะต่อไปเมือ่ พืชยืนต้นดังกล่าวโตขึน้ จะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชไร่แซมได้ ทำให้ ผลผลิตข้าวโพดหายไป ปีนมี้ หี ลายพืน้ ทีท่ สี่ ลับพืชไร่จากมันสำปะหลังเป็นข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ แต่พนื้ ที่ คลองหาด และเขาตาง๊อก ก็มีพื้นที่ข้าวโพดหายไปเช่นกัน พ่อค้าขายข้าวโพดได้ยากขึ้น จากการที่โรงงานอาหารสัตว์ยังไม่เปิดรับวัตถุดิบ ซึ่งจะส่งผล กระทบต่อเนือ่ งไปยังเกษตรกรทีป่ ลูก เนือ่ งจากโกดังเก็บผลผลิตของพ่อค้าเริม่ เต็ม จึงอาจจะไม่รบั ซือ้ ผลผลิตจากเกษตรกรทีน่ ำมาขาย ซึง่ ราคาทีร่ บั ซือ้ ฝักสดในประเทศอยูท่ ี่ 5.00-5.10 บาท/กก. และ กัมพูชา 5.20-5.30 บาท ความชื้นมากกว่า 30%

32

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556




จังหวัดนครราชสีมา

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา พ่อค้า : ตั้งตรงพาณิชย์ อ.ปากช่อง, ฮะหลีพืชผล อ.ด่านขุนทด คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 804,300 804,300 675 778,166 778,166 712 -3.25% -3.25% 5.48%

ผลผลิตรวม (ตัน) 542,902 554,054 2.05%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่โดยรวมของทั้งจังหวัดนครราชสีมาลดลงเหลือ 778,166 ไร่ จากการประเมินคาดว่าจะลดลงประมาณ 3.25% โดยพืน้ ทีป่ ากช่องซึง่ เป็นพืน้ ทีข่ า้ วโพดทีม่ ผี ลผลิต ออกสูต่ ลาดพร้อมๆ กับภาคตะวันออก และประเทศกัมพูชา แต่ในปีนี้ สภาพอากาศช่วงต้นปีมปี ญ ั หา เรื่องฝน ทำให้เกิดความล่าช้าในการปลูกประมาณ 20 วัน ซึ่งปากช่องเองก็ได้รับผลกระทบจาก ส่วนนี้ ทำให้ผลผลิตออกช้ากว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ จากการสำรวจพื้นที่ 2 รอบ พบว่า เกษตรกรปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 ไม่มากนัก จากเหตุผล ข้างต้น แต่หากปัจจัยราคาการรับซื้อของตลาดยังคงราคาสูง หรือทรงๆ เดิม ก็ทำให้เป็นแรง จูงใจของเกษตรกรในการปลูกรุ่นที่ 2 เพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับพื้นที่การปลูกมันสำปะหลังที่มี แนวโน้มลดลงรวม 20% จากสภาพของภูมอิ ากาศ ปัจจัยราคา และท่อนพันธุก์ ารปลูกทีข่ าดแคลน อย่างไรก็ตาม พื้นที่การปลูกมันสำปะหลังที่หายไปไม่ได้เปลี่ยนมาเป็นข้าวโพด แต่กลับเปลี่ยนไป เป็นพื้นที่ว่างเปล่า รีสอร์ต และอ้อยโรงงาน ที่ยังคงมีแนวโน้มการปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2556 จะเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวของจังหวัดนครราชสีมาโดย แท้จริง ซึง่ คาดว่าหากสภาพอากาศดี และราคารับซือ้ ยังคงอยูร่ ะดับไม่ตำ่ กว่าปัจจุบนั มากนัก จะทำให้ เกษตรกรปลูกในช่วงกรกฎาคม และสิงหาคม จำนวนมาก ผลผลิตต่อไร่ : ไม่ดีมากตามศักยภาพของพื้นที่จังหวัดที่ควรจะเป็น แต่เมื่อเทียบผลผลิต ต่อไร่กบั ปี 2555 ทีผ่ า่ นมา พบว่าดีขนึ้ 5.48% เฉลีย่ 712 กิโลกรัมต่อไร่ เนือ่ งจากปี 2555 เกิด สภาวะฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว และการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

33


โดยภาพปกติของผลผลิตในจังหวัดนครราชสีมาจะมีการปลูกรุน่ ที่ 1 ไม่เยอะ และคุณภาพของ ผลผลิตไม่ดีนัก แต่ในรุ่นที่ 2 ที่มีการปลูกประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จะมีเพิ่มขึ้นมาก และผลผลิตต่อไร่ก็ดีกว่า ปัญหาและอุปสรรค : โรงงานน้ำตาลที่เกิดขึ้นในจังหวัดใกล้เคียง เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ เกษตรกรเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกข้าวโพด และมันสำปะหลังมาก โดยในระยะหลังพื้นที่ของ ข้าวโพดลดลงอย่างต่อเนือ่ งทุกปี แม้วา่ ผลผลิตโดยรวมยังไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงไปจากเดิมเท่าไรนัก แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นหลัก หากในอนาคตมีปัญหาด้านพื้นที่ปลูกที่ลดลง ประกอบกับ สภาพอากาศไม่ดี ก็จะส่งผลให้ผลผลิตรวมของทั้งจังหวัดต่ำไปด้วย อำเภอปากช่อง มีลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้าไปบุกรุกพื้นที่เกษตรเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาของที่ดินเพิ่มสูงขึ้น การเช่าที่ดินเพื่อทำการ เกษตรเป็นไปอย่างยากลำบาก ประกอบกับต้นทุนค่าเช่าที่แพง ทำให้จำนวนพื้นที่ปลูกลดลงอย่าง เห็นได้ชัด เกษตรกรยังคงมีความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยการผลิตที่ยังคงสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องทั้งค่าแรงงาน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เป็นต้น รวมถึง เกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกพืช เศรษฐกิจทีใ่ ห้ราคาดีกว่าเช่น อ้อย มันสำปะหลัง ทัง้ นี้ ทำให้มบี างส่วนต้องการโครงการรับประกัน ราคาของข้าวโพดจึงจะทำให้เกษตรอยู่ได้ ในส่วนของนโยบายของทางภาครัฐมีการจัดทำแปลงเรียนรูใ้ ห้กลุม่ เกษตรกรครัง้ ละ 25-30 ราย สำหรับการวิเคราะห์ค่าดิน เพื่อให้มีการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และผลผลิตต่อไร่ดีขึ้น

จังหวัดเพชรบูรณ์

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ พ่อค้า : ทรัพย์สินเจริญการเกษตร, รังสรรค์พานิช ไซโล และเกษตรกรในพื้นที่ คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 968,798 968,798 797 1,041,386 1,041,386 810 7.49% 7.49% 1.63%

ผลผลิตรวม (ตัน) 772,132 843,523 9.25%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่การปลูกข้าวโพดของทั้งจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็น 1,041,386 ไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ของ อ.เมือง, หนองไผ่ และวิเชียรบุรี ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของอ้อย และมันสำปะหลัง แต่ใน อ.ศรีเทพ พบว่าพื้นที่ข้าวโพดบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนเป็นอ้อยแล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 20,000 ไร่ นิยมปลูกข้าวโพดรดน้ำ ที่มีการวางแนวท่อน้ำ โดยเป็นไปได้วา่ ในอนาคตจำนวนพืน้ ทีด่ งั กล่าว ยังคงไม่มกี ารเปลีย่ นแปลง รวมถึง สามารถปลูกได้ ตลอดทัง้ ปี ไม่ตอ้ งอาศัยสภาพอากาศ ซึง่ จากทีไ่ ด้มกี ารสอบถามเกษตรกรในพืน้ ทีพ่ บว่า ได้ปล่อยน้ำ โดยเฉลี่ย 10 วันต่อการให้น้ำ 1 ครั้ง ในกรณีที่ฝนไม่ตก และสภาพของผลผลิตมีความสม่ำเสมอ ของเมล็ด ฝักมีขนาดใหญ่ เม็ดเรียงสวย เป็นต้น ผลผลิตต่อไร่ : จากการที่ได้สำรวจพื้นที่เก็บข้าวโพดฝักสด ดูการเจริญเติบโตของข้าวโพด ดูผลผลิตในโกดังของพ่อค้า และข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัด มีความเห็นทีต่ รงกันว่า ผลผลิต ปีนขี้ องเพชรบูรณ์ดมี าก สภาพอากาศเป็นใจ มีการกระจายตัวของฝนสม่ำเสมอเหมาะสมกับข้าวโพด จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่เป็น 810 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1.63% ปัญหาและอุปสรรค : ด้านนโยบายโซนนิง่ ของภาครัฐทีไ่ ด้มกี ารประกาศไปแล้วนัน้ สำนักงาน เกษตรฯ ได้มีแผนงานในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่จากข้าวนาปรังมาปลูกพืชไร่ทดแทน ซึง่ คาดว่าจะใช้ปริมาณน้ำในการเติบโตน้อย และหากไม่มนี โยบายจำนำข้าวเปลือกทีส่ งู เกินไป และ ราคาข้าวโพดไม่ตกต่ำ จะทำให้เกษตรกรอาจจะเปลี่ยนมาปลูกทดแทนได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

35


จังหวัดลพบุรี

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี คาดการณ์ผลการสำรวจ : ฤดูการผลิต ปี 2555/2556 ปี 2556/2557 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 259,382 259,382 624 215,287 215,287 762 -17.00% -17.00% 22.12%

ผลผลิตรวม (ตัน) 161,854 164,049 1.36%

สภาพโดยทั่วไป : พื้นที่ปลูกภาพรวมของจังหวัดลพบุรีลดลง 17% เหลือ 215,287 ไร่ โดยพื้นที่ที่ลดไปอย่างเห็นได้ชัดเป็นพื้นที่ทหารที่ชาวบ้านนำมาใช้ในการเกษตร เนื่องจากปีที่แล้ว ระบบน้ำไม่ดี ทำให้เกษตรกรไม่ใช้พื้นที่เดิมในการปลูก และหายไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อย รวมถึง อ.ชัยบาดาล และลำสนธิ ทีม่ แี นวโน้มลดลงเรือ่ ยๆ ทุกปี ในส่วนของพืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็น พืน้ ทีใ่ นเขต อ.โคกสำโรง โคกเจริญ หนองม่วง แต่สถานการณ์สภาพอากาศยังไม่กระทบแล้ง หรือ ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ผลผลิตต่อไร่ : ปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 22.12% เป็น 762 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งจาก พื้นฐานเดิมของปี 2555 กระทบแล้ง ผลผลิตเสียหาย ประกอบกับปีนี้การกระจายตัวของฝนดี มีน้ำในช่วงสาคัญของการปลูกและการติดดอก ทำให้สภาพของผลผลิตต่อไร่ดีขึ้น จังหวัดลพบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีเทคโนโลยีการปลูก การเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษาที่ดี ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยการใช้เทคโนโลยีน้ำหยด และในระบบสปริงเกอร์ ซึ่งทำให้ ในบางพื้นที่เคยมีการสำรวจได้ผลผลิตเกิน 2,000 กิโลกรัมฝักสด

36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


ปัญหาและอุปสรรค : แนวโน้มของการปลูกในอนาคตขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านราคา และ ต้นทุนการปลูกเป็นหลัก โดยอาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกจากอ้อย และมันสำปะหลังมาเป็น ข้าวโพด รวมถึงข้าวโพดมีอายุสั้น สามารถปลูกได้ 2 ครั้งต่อปี และราคาในปีที่ผ่านมา และปีนี้ดี ทำให้เป็นแรงจูงใจที่สำคัญของเกษตรกรในการปลูก สำนักงานเกษตรจังหวัดได้รบั แผนการจัดทำโซนนิง่ ของรัฐบาล โดยได้ของบประมาณสำหรับ ปัจจัยการผลิต และงบประมาณการอบรมความรู้ด้านการปลูก การเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยว และ ด้านการดูแลรักษา จำนวน 20 ล้านบาท ไปยังหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการทำโซนนิ่งของภาครัฐ

ประเทศกัมพูชา (จังหวัดไพลิน และพระตะบอง)

แหล่งข้อมูล : ไซโลจำเริญชัย (Mr. Sa Chamreoun: Chanroeun Chey Co., Ltd.) สภาพโดยทั่วไป : สัดส่วนพื้นที่การปลูกพืชของจังหวัดพระตะบอง และไพลิน ซึ่งถือเป็น พื้นที่ใหญ่สุดของพื้นที่พืชไร่ทั้งหมดของทั้งประเทศ โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น พบว่า โดยปกติ จ.ไพลิน มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่ามันสำปะหลังในสัดส่วนประมาณ 60 : 40 ขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยทางด้านราคาตลาดเป็นหลัก และในรุน่ ที่ 1 จะมีการปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์นอ้ ยกว่า รุ่นที่ 2 ซึ่งจะสามารถเก็บเกี่ยวช่วงปลายปี 2556 ถึงต้นปี 2557 ส่วนพระตะบองนั้นนิยมปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในรุ่นที่ 1 และบางส่วนในรุ่นที่ 2 ซึ่งส่วนที่หายไปของรุ่นที่ 2 เกษตรกร กัมพูชาจะเปลีย่ นไปปลูกถัว่ เหลือง และงาแทน ทัง้ นี้ เพือ่ เป็นการเพิม่ แร่ธาตุ และความสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งพ่อค้าทั้งชาวไทย และกัมพูชายังคงมีความต้องการในถั่วเหลือง และงาอยู่มาก คณะสำรวจได้เดินทางผ่านด่านถาวรผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นรอยต่อของ อ.ไพลิน ประเทศกัมพูชา โดยเข้าไปสำรวจพืน้ ทีล่ กึ เข้าไปประมาณ 15-20 กม. พบว่า ลานรับซือ้ สินค้า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

37


เกษตรมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากพ่อค้าชาวไทยที่ร่วมทุนกับพ่อค้ากัมพูชาในการทำ ธุรกิจร่วมกัน รวมถึงไซโลทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีป่ ระมาณ 3-4 ไซโล โดยก่อนหน้านี้ สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ ไทย ได้ออกสำรวจร่วมกับ บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ และบริษัท ไทยฟู้ดส์อาหารสัตว์ ในพื้นที่ จังหวัดพระตะบองมาแล้ว เพือ่ นำข้อมูลทัง้ 2 ส่วนมาประกอบกันให้ได้เป็นภาพส่วนใหญ่ของประเทศ กัมพูชา โดยจังหวัดพระตะบองมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 80,000 เฮกเตอร์ และรวมกับไพลิน อีก 13,000 เฮกเตอร์ ทำให้ผลผลิตรวมของ 2 จังหวัดนี้ มีอยูร่ าว 500,000 ตันต่อปี ซึง่ คิดเป็น 65-70 % ของผลผลิตทัง้ ประเทศกัมพูชา ซึง่ ในจำนวนทัง้ หมดนี้ มีเส้นทางของการกระจายออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เข้ามายังประเทศไทย, ถูกส่งไปขายที่ประเทศเวียดนาม และใช้ภายในประเทศ ช่วงการปลูกต้นปีของกัมพูชา เริ่มประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เช่นเดียวกับจังหวัด สระแก้วของไทย จากที่ได้รับทราบข้อมูลจากในพื้นที่พบว่า ช่วงต้นปีข้าวโพดได้รับความเสียหาย จากฝนทิ้งช่วง และแล้งบางส่วน ประมาณ 20% ของพื้นที่ปลูกในจังหวัดไพลินที่ปลูกในรุ่นที่ 1 ที่ปลูกไปแล้วประมาณ 60% โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงออกดอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ มีลกั ษณะฝักเล็ก เม็ดไม่เต็มฝัก เป็นต้น ผลผลิตเฉลีย่ ในพืน้ ทีไ่ พลินประมาณ 5,000 กิโลกรัมเม็ดสด/ เฮกเตอร์ (ประมาณ 800 กิโลกรัมเม็ดสด ความชื้นมากกว่า 30%)

38

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


ราคารับซื้อจากพ่อค้าลานรับซื้อภายในอยู่ระหว่าง 4.8-4.9 บาทต่อกิโลกรัมฝัก ที่ความชื้น 29-30% และจะมีรถบรรทุกจากฝั่งไทยเข้ามารับซื้อต่อที่ลาน ซึ่งในส่วนนี้เป็นข้อตกลงในบันทึก ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS-CBTA: Greater Mekong Sub-region Cross Border Transportation Agreement) ทีอ่ นุญาตให้รถบรรทุกสามารถ เข้ามายังพืน้ ทีป่ ระเทศทีอ่ ยูภ่ ายใต้กรอบความร่วมมือ ดังกล่าว โดยไทยอนุญาตให้รถขนส่งบรรทุก สินค้าได้ 30 ตัน แต่กมั พูชาอนุญาตให้บรรทุกได้ 26 ตัน จำนวน 40 คัน (ไทยรถบรรทุก 30 คัน รถโดยสาร 10 คัน, กัมพูชารถบรรทุก 10 คัน รถโดยสาร 30 คัน) ปัญหาและอุปสรรคในการนำเข้ามาของข้าวโพดกัมพูชา ยังคงมีปญ ั หาด้านเอกสารการผ่าน ด่านต่างๆ ที่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ทำให้พ่อค้าที่นำเข้ามาโดยมากมีเฉพาะรายใหญ่ที่สามารถนำเข้า มาแล้วคุม้ ค่ากับต้นทุนต่างๆ ในการนำเข้า แต่คณ ุ ภาพโดยรวมของข้าวโพดกัมพูชายังไม่ดเี ท่าทีค่ วร ทั้งจากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และการบริหารจัดการด้านเก็บเกี่ยว และหลังเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ประกาศการขยายการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จนถึงเดือนสิงหาคม (เพิ่มจากเดิม 1 เดือน) ทำให้คาดว่าปริมาณข้าวโพดที่จะเข้ามายังไทยยังคง มีปริมาณไม่ต่างจากเดิมนักอยู่ในระดับ 350,000-400,000 ตันในปีนี้ และปัจจัยที่สำคัญคือ ราคารับซื้อข้าวโพดจากเวียดนามที่ปีนี้ยังมีราคาที่ต่ำกว่าไทย จึงอาจจะประเมินในเดือนสิงหาคมตุลาคม อีกครั้งว่าปริมาณข้าวโพดจะไหลเข้าประเทศไหนมากกว่ากัน จัดทำโดย : นายณัฐพล มีวิเศษณ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย วันที่ 25 กรกฎาคม 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

39


Food Feed Fuel

การศึกษาประสิทธิภาพของ

Methionine Hydroxy Analogue ในไก่เนื้อ • Y. G. Liu, Y. Mercier และ P. Dalibard •

ในปัจจุบันยังคงมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณค่าที่แท้จริงของ Methionine Hydroxy Analogue (2-Hydroxy -4-Methyl Thio-Butanoic Acid: HMTBA) เทียบกับ DL-Methionine (DLM) อยู่อย่างต่อเนื่อง การทดลองนี้จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเมทไธโอนีนทั้ง 2 ชนิด เมื่อปรับให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่เท่ากัน (equimolar basis) โดยทดลองในไก่เนื้อพันธ์รอสส์ 308 (Ross 308) อายุ 1 วัน จำนวน 900 ตัว โดยวิธีการทดลองแบบแฟคทอเรียล (factorial) 3x2 โดยแบ่งระดับโภชนะเป็น 3 ระดับตามค่าพลังงาน และอมิโน แอซิด (ME and DAA) ในอาหารที่ให้ และแบ่งเมทไธโอนีนที่ใช้ทดลองเป็น 2 ชนิดคือ DLM และ HMTBA ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าระดับของโภชนะอาหารมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ และเมทไธโอนีนทั้ง 2 ชนิด มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อที่เท่าเทียมกัน

บทนำ มีการถกเถียงกันมาเกือบ 30 ปีทั่วโลกแต่ก็ยังคงไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนแน่นอน เกี่ยวกับ คุณค่าที่สามารถนำไปใช้ได้จริง (biological value: BV) ของ HMTBA เทียบกับ DLM อันเนื่อง มาจากความขัดแย้งของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ทางการค้า และทางกฎหมายต่างๆ ซึ่งทำให้เกิด ความสับสนต่อนักโภชนาการอาหารสัตว์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการปศุสัตว์โดยทั่วไป ด้านหนึง่ ของการทดลองเพือ่ หาคุณค่าทีแ่ ท้จริงของ HMTBA เทียบกับ DLM Jansman และ คณะ ได้ทำการทดลองในปี 2003 โดยกำหนดคุณค่าของ HMTBA โดยใช้สมการ exponential ว่าเท่ากับ 65% เมื่อเทียบกับ DLM โดยน้ำหนักต่อน้ำหนัก และได้เติมเมทไธโอนีนทั้ง 2 ชนิด ในขนาด (dose) ต่างๆ กัน ในอาหารที่ขาดเมทไธโอนีนอย่างมาก และได้สรุปผลการทดลองว่า HMTBA มีคุณค่าเท่ากับ 65% ของ DLM โดยน้ำหนักต่อน้ำหนัก ในทางตรงกันข้าม ในปี 2005 Geraert และ Mercier ได้ใช้ข้อมูลจากการทดลองข้างต้น มาวิเคราะห์ใหม่ โดยดูถึงคุณค่าที่แท้จริงของเมทไธโอนีน (true methionine efficacy) โดย คำนวณจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของไก่ทดลองต่อกรัมของเมทไธโอนีนแต่ละชนิดที่เติมเข้าไป พบว่า คุณค่าที่แท้จริงของ HMTBA เทียบกับ DLM จะแปลผันไปตามปริมาณของเมทไธโอนีนที่เติม เข้าไป

40

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556



Explore your opportunities. Evonik opens a world of nutrition services and products – with new possibilities for more efficient, sustainable and profitable feed and animal production. You know what really counts.

Find out more by scanning this code with the QR-reader of your mobile-camera.

www.evonik.com/feed-additives feed-additives@evonik.com

Evonik (Thailand) LTD 25th Fl, Exchange Tower, Unit 2503 388 Sukhumvit Rd, Klongtoey Bangkok 10110

12-01-510 AZ EYO -Explore your opportunities- Reisfelder A4 englisch.indd 1

20.12.12 14:09


ในทางปฎิบัติทั่วๆ ไป พบว่าผู้คำนวณสูตรอาหารสัตว์ได้ใช้ข้อมูลซึ่งอ้างอิงจากผลการ ทดลองและการศึกษาจำนวนมาก กำหนดให้คุณค่าที่แท้จริงของ HMTBA อยู่ระหว่าง 95105% เมื่อเทียบกับ DLM ในน้ำหนักโมเลกุลที่เท่ากัน (84-92% เมื่อเทียบน้ำหนักต่อน้ำหนัก ของ HMTBA ซึ่งมีความเข้มข้น 88%) ในอาหารสูตรมาตรฐานที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้คุณค่าของ HMTBA จะน้อยลงในอาหารที่คำนวณให้มีเมทไธโอนีนในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอาหารที่คำนวณ เมทไธโอนีนในระดับปรกติ หรือสูง นอกจากนี้ ประโยชน์เพิ่มเติมของการใช้ HMTBA ในอาหารสัตว์คือ ช่วยเพิ่มความเป็นกรด (acidifying) และสามารถต้านจุลชีพ (anti-microbial) เนื่องจากคุณสมบัติความเป็นกรด (pH 1) ของ HMTBA ด้วย การทดลองนี้ทำที่ศูนย์วิจัยสัตว์กรุงเทพ (Bangkok Animal Research Centre: BARC) ในปี 2013 เพื่อเป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อที่เสริมเมทไธโอนีน ด้วย DLM หรือ HMTBA โดยน้ำหนักโมเลกุลที่เท่ากัน (equimolar basis) ในอาหาร 3 ระดับ โภชนะ โดยเป็นการทดลองแบบแฟคทอเรียล (factorial) 3x2

อุปกรณ์และวิธีการ การทดลองใช้ไก่เนื้อเพศผู้ พันธุ์รอสส์ 308 อายุ 1 วัน จำนวน 900 ตัว โดยสุ่มแบ่งเป็น 6 กลุ่ม (อาหารทดลอง) กลุ่มละ 6 ซ้ำ แต่ละซ้ำมีไก่ 25 ตัวเป็น 1 หน่วยการทดลอง ระดับ โภชนะและชนิดของเมทไธโอนีนที่ใช้แสดงตามตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แบบการทดลอง กลุ่มการ ทดลอง 1 2 3 4 5 6

ระดับ โภชนะ

คุณค่าทางโภชนะ ME (kcal/kg)/dig.lys% ไก่เล็ก ไก่รุ่น

สูง

3000/1.25

3100/1.15

กลาง

2900/1.15

3000/1.05

ต่ำ

2800/1.05

2900/0.95

ชนิดเมทไธโอนีน*, % DLM HMTBA 0.25/0.24 0.28/0.27 0.18/0.18 0.20/0.20 0.12/0.12 0.14/0.14

*ปริมาณเมทไธโอนีนที่เติมในอาหารไก่เล็ก และไก่รุ่น

สูตรอาหารคำนวนจากค่ามาตราฐานการย่อยได้ของอมิโน แอซิด (Standardised ileal digestible amino acid; SID) ตามค่าโปรตีนมาตรฐาน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

41


HMTBA มีค่าโภชนะเป็น 88% ของ DLM (โดยน้ำหนักต่อน้ำหนัก) การคำนวนสูตรอาหารและคุณค่าสารอาหารแสดงในตารางที่ 2 และ 3 ตารางที่ 2 วัตถุดิบและสารอาหารสำหรับไก่เล็ก (อายุ 1-17 วัน) สูง วัตถุดิบ T1 T2 ข้าวโพด (โปรตีน 7.8%) 56.05 กากถั่วเหลือง (กระเทาะเปลือก) 37.13 รำข้าว กากคาโนลา (โปรตีน 35.8%) น้ำมันถั่วเหลือง 2.84 โมโนแคลเซียมฟอสเฟต (15.7/22.1% ฟอสฟอรัส) 1.64 หินฝุ่น (38.9% แคลเซียม) 0.62 เกลือ 0.38 โซเดียมไบคาร์บอเนต 0.15 พรีมิกซ์ 0.60 โคลีนคลอไรด์ 60% 0.08 L-lysine HCl 0.19 L-threonine 0.07 DL-methionine (99%) 0.25 HMTBA (88%) - 0.28 น้ำหนักรวม (กิโลกรัม) 100 คุณค่าสารอาหาร พลังงานสำหรับสัตว์ปีก (ME for Poultry) 3000 โปรตีนรวม (crude protein) % 22.9 ไขมันรวม (crude fat) % 5.51 กรดไลโนเลอิก % 2.79 เยื้อใยรวม (crude fiber) % 3.1 ไลซีนที่ย่อยได้ (Dig. Lysine) % 1.25 เมทไธโอนีนที่ย่อยได้ (Dig. methionine) % 0.56 Met+Cys ที่ย่อยได้ (Dig. M+C) % 0.88 ทรีโอนีนที่ย่อยได้ (Dig. threonine) % 0.80 ทริปโตเฟนที่ย่อยได้ (Dig. tryptophan) % 0.24 แคลเซียม % 0.65 ฟอสฟอรัสรวม % 0.73 ฟอสฟอรัสที่ใช้ได้ % 0.40

42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

กลาง

ต่ำ

T3 55.75 28.37 4.00 6.00 2.00 1.67 0.56 0.38 0.15 0.60 0.08 0.21 0.05 0.18 100

T4

T5 58.99 28.33 5.00 4.00 1.65 0.59 0.38 0.15 0.60 0.08 0.11 - 0.12 0.20 100

2900 21.3 4.74 2.30 3.6 1.15 0.45 0.81 0.74 0.22 0.65 0.83 0.40

2800 20.8 2.83 1.38 3.6 1.05 0.40 0.74 0.67 0.21 0.65 0.83 0.40

T6

0.14


โรงเรือนเป็นระบบปิดแบบมีการระบายอากาศ (evaporative cooling system) แต่ละหน่วย การทดลองมีพื้นที่เลี้ยงขนาด 1.0 เมตร X 2.0 เมตร ใช้แกลบเป็นวัสดุรองนอน ระบบให้อาหาร น้ำอัตโนมัติ โดยไม่จำกัดการกิน (ad libitum) ตารางที่ 3 วัตถุดิบและสารอาหารสำหรับไก่รุ่น (อายุ 18-36 วัน) สูง ระดับของโภชนะ T1 T2 ข้าวโพด (โปรตีน 7.8 %) 58.06 กากถั่วเหลือง (กระเทาะเปลือก) 34.26 รำข้าว กากคาโนลา (โปรตีน 35.8%) น้ำมันถั่วเหลือง 4.05 โมโนแคลเซียมฟอสเฟต (15.7/22.1% ฟอสฟอรัส) 1.39 หินฝุ่น (38.9% แคลเซียม) 0.62 เกลือ 0.38 โซเดียมไบคาร์บอเนต 0.15 พรีมิกซ์ 0.60 โคลีนคลอไรด์ 60% 0.16 L-lysine HCl 0.08 L-threonine 0.06 DL-methionine (99%) 0.24 HMTBA (88%) - 0.27 น้ำหนักรวม (กิโลกรัม) 100 คุณค่าสารอาหาร พลังงานสำหรับสัตว์ปีก (ME for Poultry) 3100 โปรตีนรวม (crude protein) % 21.6 ไขมันรวม (crude fat) % 6.7 กรดไลโนเลอิก % 3.4 เยื้อใยรวม (crude fiber) % 3.0 ไลซีนที่ย่อยได้ (Dig. Lysine) % 1.15 เมทไธโอนีนที่ย่อยได้ (Dig. methionine) % 0.54 Met+Cys ที่ย่อยได้ (Dig. M+C) % 0.84 ทรีโอนีนที่ย่อยได้ (Dig. threonine) % 0.76 ทริปโตเฟนที่ย่อยได้ (Dig. tryptophan) % 0.22 แคลเซียม % 0.60 ฟอสฟอรัสรวม % 0.67 ฟอสฟอรัสที่ใช้ได้ % 0.35

กลาง

ต่ำ

T3 58.09 27.33 5.00 3.00 3.03 1.40 0.59 0.38 0.15 0.60 0.17 0.08 0.05 0.18 100

T4

T5 62.09 20.10 6.00 7.00 1.31 1.43 0.56 0.38 0.15 0.60 0.19 0.08 0.04 0.12 0.20 100

3000 20.1 5.7 2.8 3.4 1.05 0.45 0.77 0.69 0.20 0.60 0.75 0.35

2900 18.4 4.2 2.0 3.7 0.95 0.36 0.69 0.63 0.18 0.60 0.79 0.35

T6

0.14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

43


อาหารอัดเม็ดที่อุณหภูมิ 82 องศาเซลเซียส ให้อาหารแบบขบแตกสำหรับไก่เล็กถึงอายุ 12 วัน หลังจากนั้นให้อาหารเม็ดจนสิ้นสุดการเลี้ยงที่ 36 วัน โปรแกรมให้แสงตามคู่มือการ เลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์รอสส์ 308 ไก่ทุกตัวได้รับการทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล และโรคไอบีดี (Infectious Bronchitis Disease: IBD) ที่อายุ 7 วัน และกัมโบโรที่อายุ 14วัน ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด และความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือน ในช่วงอายุ 1-7 วัน คือ 33.8/29.5 องศาเซลเซียส และ 74.6 % ในช่วงอายุ 8-17 วัน คือ 32.5/28.4 องศาเซลเซียส และ 80.3% ในช่วงอายุ 18-36 วัน คือ 30.9/27.1 องศาเซลเซียส และ 85.9% ตามลำดับ จดบันทึกการใช้อาหารทุกสัปดาห์ ชั่งน้ำหนักไก่และคำนวณปริมาณอาหารที่กินไปเมื่อไก่ อายุ 17 วัน และ 36 วัน; อัตราการตาย (mortality) และสาเหตุจะถูกบันทึกทุกวัน; ความ สม่ำเสมอของฝูง (flock uniformity) จะคำนวนเมื่อสิ้นสุดการทดลอง; ไก่ 1 ตัว ที่มีน้ำหนัก เฉลี่ยมาตรฐานจากทุกหน่วยการทดลอง จะถูกชำแหละเพื่อหาเปอร์เซนต์ซาก, เนื้อหน้าอก และ ไขมันในช่องท้องเมื่อสิ้นสุดการทดลอง น้ำหนักไก่เมื่อสิ้นสุดการทดลอง, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, ปริมาณอาหารที่กิน, อัตราการเปลี่ยน อาหาร (feed conversion ratio: FCR), อัตราการรอดชีวิต (livability), ความสม่ำเสมอของฝูง, เปอร์เซนต์ซาก, เนื้อหน้าอก และ ไขมันในช่องท้อง เป็นหัวข้อที่จะใช้วิเคราะห์ในการทดลองนี้

ผลการทดลองและวิจารณ์ ผลการทดลองและประสิทธิภาพการเจริญเติบโตแสดงในตารางที่ 4 และการคำนวนทาง สถิติแสดงในตารางที่ 5 พบว่าสูตรอาหารทีใ่ ช้ มีความเหมาะสมต่อการเลีย้ งโดยทีไ่ ก่มกี ารเจริญเติบโตในระดับดี และ มีอตั ราการตายต่ำมาก ระดับของคุณค่าทางโภชนะมีผลโดยตรงต่อน้ำหนักทีเ่ พิม่ ขึน้ , ปริมาณอาหาร ที่กิน และอัตราการแลกเนื้อ เมทไธโอนีนทั้ง 2 ชนิด ให้ผลที่ไม่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตของไก่ ในทั้ง 3 ระดับโภชนะ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในส่วนความสม่ำเสมอของฝูง เปอร์เซนต์ซาก รวมทั้งความ สัมพันธ์ระหว่างระดับโภชนะและชนิดของเมทไธโอนีนที่ใช้ในการทดลอง

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


ตารางที่ 4 แสดงผลของระดับโภชนะและชนิดของเมทไธโอนีนต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สูง กลาง ต่ำ ระดับของโภชนะ DLM HMTBA DLM HMTBA DLM HMTBA อายุ 1-17 วัน น้ำหนักเริ่มต้น (กรัม) 39 39 39 39 39 39 a a b bc d 700 668 659 632 635cd น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (กรัม) 697 อาหารที่กิน (กรัม) 907 917 910 909 912 915 1.32c 1.37b 1.40b 1.45a 1.44a อัตราการแลกเนื้อ* 1.33c อายุ 18-35 วัน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (กรัม) 1775 1749 1752 1742 1731 1691 d d ab bcd a 2926 3028 3008 3097 3047ab อาหารที่กิน (กรัม) 2936 c c b b อัตราการแลกเนื้อ* 1.66 1.67 1.74 1.74 1.82a 1.80a อายุ 1-36 วัน น้ำหนักสุดท้าย (กรัม) 2510a 2488a 2459ab 2440ab 2402bc 2365c น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (กรัม) 2471a 2449a 2420ab 2400ab 2363ab 2326b อาหารที่กิน (กรัม) 3840d 3841d 3935abc 3913bcd 4007a 3962ab อัตราการแลกเนื้อ* 1.56c 1.57c 1.64b 1.65b 1.73a 1.70a อัตราการรอด (%) 100.0a 99.3ab 98.7ab 98.7ab 97.3b 100.0a ความสม่ำเสมอของฝูง (%) 92.45 91.48 92.59 93.79 92.99 93.60 *อัตราการแลกเนื้อถูกปรับปรุงโดยหักจำนวนไก่ที่ตาย และคัดทิ้งออกจากการคำนวณ a, b, c.. หมายถึงตัวอักษรที่แตกต่างกันในแถวเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

ตารางที่ 5 แสดงการคำนวนทางสถิติ น้ำหนักที่เพิ่ม อาหารที่กิน ปัจจัย 0-36 วัน (กรัม) 0-36 วัน (กรัม) สูง 2463±78 3845±111 ระดับโภชนะ กลาง 2416±81 3930±94 2344±71 3984±111 อาหาร ต่ำ P value 0.002 0.005 DLM 2418±90 3916±126 แหล่งของ HMTBA 2392±85 3905±104 เมทไธโอนีน P value 0.269 0.421 P value 0.961 0.899

อัตราการ แลกเนื้อ 1.57±0.03 1.65±0.03 1.72±0.04 <0.001 1.64±0.06 1.63±0.07 0.641 0.287

อัตราการ ตาย (%) 1.78±2.46 2.67±1.94 1.67±2.67 0.256 1.56 ±2.01 2.40 ±2.49 0.146 0.047

(%) ซาก 75.7±1.1 75.6±0.9 75.7±1.3 0.873 75.8±1.0 75.5±1.2 0.466 0.882

ผลสรุป ระดับโภชนะมีผลต่อน้ำหนักทีเ่ พิม่ ขึน้ , ปริมาณอาหารทีก่ นิ และอัตราการแลกเนือ้ โดยทัง้ DLM และ HMTBA มีสว่ นสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่ และ HMTBA มีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับ DLM ในน้ำหนักโมเลกุลที่เท่ากันในทั้ง 3 ระดับโภชนะ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

45


รูปที่ 1 ผลของระดับโภชนะกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

รูปที่ 2 ผลของชนิดของเมทไธโอนีนกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

รูปที่ 3 ผลของระดับโภชนะกับอัตราการแลกเนื้อ

รูปที่ 4 ผลของชนิดของเมทไธโอนีนกับอัตราการแลกเนื้อ

เอกสารอ้างอิง Geraert, P.A. and Y. Mercier, 2005. Bio-equivalency of DLM and HMBTA. Feed International September 2005, 40-44. Jansman, A. J. M., Kan, C. A. and J. Wiebenga, 2003. Comparison of the biological efficacy of DLMethionine and hydroxy-4-methylthiobutanoic acid (HMB) in pigs and poultry. ID-Lelystad, ID TNO Animal Nutrition, N° 2209, Wageningen, The Netherlands. Mercier, Y., 2011. Comparison of the relative efficiency of 2 methionine sources - DL-Methionine and DL- Methionine Hydroxy Analogue acid (DL-HMTBA) - on broiler performances in practical diets and 23 rearing periods. Adisseo Internal Report, 39 pp.

46

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


Market Leader

แนวทางและมาตรการในการควบคุมและจัดการ แก้ไขปัญหากลุ่มอาการตายด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกุ้งไทย 1. สรุปสถานการณ์การเกิดโรคกลุ่มอาการตับวายเฉียบพลัน หรือตายด่วน (EMS) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2556 1.1 ผลการเลี้ยงกุ้งทั้งประเทศ จากการประเมินสถานการณ์ของการเลี้ยงกุ้งในเดือนกุมภาพันธ์เปรียบเทียบกับเดือน มีนาคม มีสัดส่วนกุ้งที่เป็นโรคตายลดลงจากประมาณร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 8.5 1.2 ผลการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยง จากข้อมูลปริมาณการปล่อยลูกกุง้ ในปี 2556 เมือ่ เทียบกับปี 2555 พบมีปริมาณลดลง ชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรยังไม่กล้าตัดสินใจปล่อยกุ้งลงเลี้ยงเต็มพื้นที่ เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิด อาการ EMS อย่างไรก็ตาม ปริมาณลูกกุง้ ทีเ่ กษตรกรทัว่ ประเทศปล่อยลงเลีย้ งในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปริมาณที่ลงกุ้งเท่ากับ 3,407 3,299 และ 3,481 ล้านตัว ตามลำดับ 1.3 ผลผลิตกุ้งจากบ่อดิน ข้อมูลผลผลิตจากการจับกุ้งของเกษตรกรทั่วประเทศ ในไตรมาสแรกของปี 2556 มี ผลผลิตเท่ากับ 63,500 ตัน และผลผลิตในไตรมาสแรกของปี 2555 เท่ากับ 94,400 ตัน เมื่อ เปรียบเทียบแล้วพบว่าผลผลิตกุ้งลดลง 30,900 ตัน สาเหตุการลดลง (ถ้ามีการเลี้ยงรอดจนได้ ขนาดจับขาย) เนื่องจากความไม่มั่นใจในการลงกุ้ง ร้อยละ 33 จากการตายภายในระยะเวลา 1 เดือน ร้อยละ 20 และจากการที่กุ้งโตช้าและเกษตรกรรีบจับขายทำให้ได้น้ำหนักน้อยอีก ร้อยละ 47 อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลผลผลิตในเดือนมีนาคม 2556 พบว่ามีสญ ั ญาณทีด่ ขี นึ้ โดยมีผลผลิต ประมาณ 19,800 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 16,400 ตัน ประมาณร้อยละ 21

ที่มา: กรมประมง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

47


2. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2556 Dr. Donald Lightners แห่งมหาวิทยาลัย Arizona ได้รายงานเผยแพร่สาเหตุของโรค EMS หรือลักษณะอาการตับวายเฉียบพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome: AHPNS) ในกุ้งขาวว่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ที่ถูก infect จากไวรัส หรือ phage (bacteriophage) แล้วผลิตสารพิษ ทำลายเนื้อเยื่อตับ ซึ่งเกิดขึ้นกับกุ้งที่ลงเลี้ยงในเดือนแรก นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าประเทศ ผูน้ ำเข้ากุง้ แช่แข็งมีความเสีย่ งต่ำทีเ่ ชือ้ ตัวนีจ้ ะแพร่ขยายไปยังกุง้ ในประเทศ เพราะกุง้ ทีต่ ายด้วย EMS เป็นกุง้ ขนาดเล็ก ซึง่ ไม่ได้อยูใ่ นระบบการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ทีมนักวิจยั ยังพบว่า กุง้ แช่แข็ง ที่มีเชื้อตัวนี้ ไม่สามารถแพร่ระบาดโรคไปยังกุ้งเป็นได้ ทีมนักวิจัยยืนยันว่า V. parahaemolyticus สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิด EMS ไม่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 Dr. Iddya Karunasagar ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ด้านอาหารทะเลของ FAO ได้กล่าวยืนยันว่า กุ้งที่เป็น EMS ไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค 3. มาตรการในการแก้ไขโรค EMS กรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโรค EMS/AHPNS มาโดยตลอด โดยการดำเนินการ ปรับปรุงสุขอนามัยโรงเพาะฟักกุ้งทะเล และส่งเสริมให้คำแนะนำแนวทางการเลี้ยงกุ้งทะเลใน บ่อดินให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อป้องกันความสูญเสียจากกลุ่มอาการตายด่วน อย่างไรก็ดี การทราบสาเหตุของโรค ทำให้การจัดการโรงเพาะฟัก และบ่อดินมีประสิทธิภาพมากขึน้ และสามารถ ออกมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเลี้ยงและส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ กรมประมงจะมี มาตรการเพิ่มเติมดังนี้ 3.1 โรงเพาะฟักกุ้งทะเล (โรงผลิตนอเพลียส) กรมประมงจะดำเนินการตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ในโรง เพาะฟักเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงการติดต่อมายังบ่ออนุบาล 3.2 โรงอนุบาลลูกกุ้ง กรมประมงกำหนดให้โรง อนุบาลต้องมีผลตรวจคุณภาพลูกกุ้ง ตามเกณฑ์ ม าตรฐานกรมประมง และผลการตรวจเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus แนบท้ายใบกำกับการจำหน่ายลูกพันธุ์ สัตว์น้ำ (FMD) ในการซื้อ-ขายทุกครั้ง

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556



Sunny-Side

Up A golden outlook.

Kemin is ushering in a new dawning in carotenoid advancement with Quantum GLO™. Quantum GLO is a new generation of carotenoids that offers better bioavailability and gives the desired yolk color score that you want at a lower cost. This means using less Quantum GLO while still getting the beautiful sunny-side up yolks you expect. Made from molecules harvested from marigolds and paprika, Quantum GLO is the natural, more efficient way to create golden results.

Quantum GLO™: A sunny forecast for profits. www.kemin.com

© Kemin Industries, Inc and its group of companies 2013. All rights reserved. ® TM Trademarks of Kemin Industries, Inc., U.S.A.

13-QuantumGLO_FP_HP_V07F.indd 1

1/8/13 9:15 AM


3.3 บ่อดิน กรมประมงได้กำหนดมาตรการรณรงค์ให้เกษตรกรตรวจเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ในน้ำและดินพื้นบ่อ มีการพักน้ำก่อนใช้เป็นเวลา 1 เดือน และมีการฆ่าเชื้อในน้ำ ก่อนนำมาใช้เลี้ยงกุ้ง โดยในระหว่างการเตรียมบ่อและระหว่างเลี้ยง เกษตรกรอาจเติมจุลินทรีย์ กลุ่ม Bacillus เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว รวมถึงการจัดการสภาวะแวดล้อมให้มี ออกซิเจนเพียงพอ 3.4 กรณีเกิดโรคในฟาร์ม 3.4.1 พบกุ้งป่วย หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุก่อนอายุ 45 วัน ต้องแจ้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พบอาการป่วย หรือ ตาย ตามมาตรา 8 ใน พรบ. โรคระบาดสัตว์ 3.4.2 หากพบว่ามีการติดเชื้อควรฆ่าเชื้อในบ่อด้วยคลอรีน และทำลายซากกุ้งที่ตาย โดยการผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที 3.5 การดูแลด้านอาหารปลอดภัย กรมประมงไม่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค เนื่องจากจะมีสารตกค้างและ กระทบต่อมาตรการควบคุมด้านอาหารปลอดภัยของสินค้ากุ้งที่ส่งออก ดังนั้น กรมประมงจึง กำหนดมาตรการในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตกุ้งอย่างเข้มงวด และจะดำเนิน มาตรการเพิกถอนใบรับรองมาตรฐาน GAP สำหรับเกษตรกรที่ถูกตรวจพบการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่เป็นสารต้องห้ามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิด 3.6 ภาคการส่งออก 3.6.1 กรมประมงกำหนดให้สินค้ากุ้งทุกผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกยังต่างประเทศ ต้องผ่าน การตรวจสอบเชือ้ แบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ทุกครัง้ จนกว่าสถานการณ์ โรคจะคลี่คลาย 4. คาดการณ์ผลผลิต กรมประมงคาดการณ์ผลผลิตกุ้งในเดือน เมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน จะมีผลผลิต ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1 และผลผลิตกุ้งจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนเข้าสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่ 3 และ 4 โดยจะมีผลผลิตรวมทั้งปีประมาณ 400,000 ตัน นอกจากนี้ กรมประมงได้มอบหมายให้ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง รวบรวมข้อมูลการปล่อยลูกกุ้งจากการออกหนังสือกำกับการ จำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ (FMD) รายเดือน เพื่อประมาณสถานการณ์ผลผลิตล่วงหน้าให้กับภาค ส่งออก เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผลผลิตกุ้งในอนาคต และสามารถวางแผนการส่งออกได้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

49


Market Leader

ส่งออกกุ้งไทย มีแนวโน้มหดตัว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองการส่งออก กุง้ ไทยยังวิกฤต จากผลกระทบจากมาตรการ ตอบโต้การอุดหนุน (CVD) ของสหรัฐฯ

มาตรการเก็ บ ภาษี อ ากรตอบโต้ ก าร อุดหนุน (CVD) จากสหรัฐฯ...อีกปัจจัยลบที่ กดดันการส่งออกกุ้งไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ให้มุมมองแนวโน้ม การส่งออกกุ้งของไทย โดยระบุว่า จากการที่ กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้เปิดไต่สวนเพือ่ ใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duties: CVD) ต่อสินค้ากุ้งที่นำเข้าจาก 7 ประเทศผู้ส่งออกหลักของตลาดสหรัฐฯ ได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย และไทย หลังจากมีข้อกล่าวหาว่า 7 ประเทศดังกล่าว มีการอุดหนุนจากภาครัฐ ในการช่วยเหลือสนับสนุนการส่งออก และทำ ให้มคี วามได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคาเมือ่ เทียบกับอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐฯ โดย เมือ่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2556 กระทรวงพาณิชย์ ของสหรัฐฯ ได้ประกาศอัตราภาษีอากรตอบโต้ การอุดหนุนในเบือ้ งต้น โดยศูนย์วจิ ยั กสิกรไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว รวม ถึงสถานการณ์การส่งออกกุง้ ไทยในช่วงทีเ่ หลือ ของปี 2556 ดังนี้

ในระยะทีผ่ า่ นมา การส่งออกกุง้ ของไทย เผชิญกับหลากหลายปัจจัยท้าทาย ทัง้ จากต้นทุน ค่าแรงทีส่ งู ขึน้ โรคกุง้ ตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ทีร่ ะบาดตัง้ แต่ปี 2555 ต่อ เนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ปริมาณผลผลิต กุ้งไม่เพียงพอสำหรับส่งออก และราคาวัตถุดิบ สูงขึน้ รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนี้ ยังเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้า โดย เฉพาะสถานการณ์ทางด้านแรงงานทีไ่ ทยถูกจัด ให้อยูใ่ นกลุม่ บัญชี Tier 2 Watch List ในรายงาน การค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์ และการส่งออกกุ้งของไทย จาก ปัจจัยท้าทายข้างต้น ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรก ของปี 2556 ไทยมีมูลค่าการส่งออกกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็งเท่ากับ 298 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวสูงถึงร้อยละ 27 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียว กันของปีก่อน (YoY)

ที่มา: โพสต์ทูเดย์

50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


แม้ไทยยังครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็งเป็นอันดับ 1 ในตลาดสหรัฐฯ แต่สดั ส่วนดังกล่าว ก็มแี นวโน้มลดลงค่อนข้าง มาก ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากการระบาดของโรค EMS ทำให้ไทยมีผลผลิตกุ้งไม่เพียงพอสำหรับ ส่งออก และมีราคากุ้งเพิ่มสูงขึ้น ด้านส่วนแบ่ง ตลาดของจีน และเวียดนาม ในตลาดสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการระบาดของ โรคกุง้ ตายด่วนเช่นเดียวกับไทย ซึง่ ทำให้สหรัฐฯ หันไปนำเข้ากุ้งจากอินเดีย เอกวาดอร์ และ อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น สอดรับกับการที่ประเทศ คู่แข่งทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว ยังมีศักยภาพใน เชิงพื้นที่เพาะเลี้ยงและความสามารถในการ พัฒนาการผลิตจนมีผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องด้วย ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศอัตรา ภาษีอากรตอบโต้การอุดหนุน (CVD) ของทัง้ 7 ประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีดังกล่าวยัง ไม่ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ โดยกระทรวงพาณิ ช ย์ ข อง สหรัฐฯ จะมีการทบทวนอัตราภาษีดังกล่าว เป็นขัน้ สุดท้ายในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2556 ซึ่ ง ไทยยั ง สามารถชี้ แ จงข้ อ เท็ จ จริ ง ก่ อ นการ ทบทวนขั้นสุดท้ายได้

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หาก สหรัฐฯ ยังคงยืนการเรียกเก็บภาษีเท่ากับอัตรา ขัน้ ต้น ก็ถอื ว่าอัตราภาษีอากรทีไ่ ทยถูกเรียกเก็บ ยั ง เป็ น ระดั บ ที่ ไ ม่ สู ง มาก และยั ง มี ค วามได้ เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งส่วนใหญ่ คือ จีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย แต่อาจจะยิ่ง ทำให้เอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งไม่ถูกเรียก เก็บภาษี มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และทำให้ไทยสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดเพิม่ ขึ้นอีกในระยะต่อไป ดังนั้น ไทยควรเร่งแก้ ปัญหาการขาดแคลนผลผลิตกุ้งในการส่งออก และแก้ไขสถานการณ์ด้านแรงงานเพื่อรักษา จุดยืนของการเป็นผูส้ ง่ ออกกุง้ หลักในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ไว้ การส่งออกกุง้ ไทยในระยะถัดไป...ปัจจัย สำคัญยังคงขึน้ อยูก่ บั การคลีค่ ลายปัญหาการ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงการบริหารจัดการ ด้านค่าแรง และค่าเงินของผู้ประกอบการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากในระยะ ถั ด ไป การระบาดของโรคกุ้ ง ตายด่ ว นยั ง ไม่ คลี่คลาย และผลผลิตกุ้งยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ อาจทำให้การเรียกเก็บภาษีจากสหรัฐฯ ไม่ส่ง ผลกระทบต่อการส่งออกกุง้ ของไทยในปี 2556 มากนั ก เนื่ อ งจากไทยจะยั ง คงมี วั ต ถุ ดิ บ ไม่ เพียงพอสำหรับการส่งออก อย่างไรก็ตาม หาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

51


ประเทศ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย

อัตราภาษีอากร CVD (%) 1.75-2.09 5.76 5.08-7.05 10.41-11.32 10.8-62.74 0.39-0.7 0.81-1.22

หมายเหตุ; อัตราภาษีอากร CVD ต่ำกว่า 2% ไม่ถูกเรียกเก็บอากร ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

สถานการณ์โรคกุ้งตายด่วนสามารถคลี่คลายลงได้ ผนวกกับค่า เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่มีเสถียรภาพมากขึ้น คงจะช่วยประคองให้ สถานการณ์การส่งออกกุ้งในครึ่งหลังของปี 2556 ฟื้นตัวดีขึ้นจาก ในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากความต้องการนำเข้ากุ้งจากตลาดหลัก (สหรัฐฯ และญี่ปุ่น) ที่ยังคงมีอยู่ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในระยะที่เหลือของปีนี้ น่าจะ ไม่แย่ลงไปกว่าที่หดตัวสูงถึงร้อยละ 27 (YoY) ในช่วง 4 เดือนแรก ของปี หรือประเมินว่ามูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย สำหรับภาพทั้งปี 2556 อาจหดตัวอยู่ในกรอบร้อยละ 19-27 มองไปข้างหน้า ผู้ประกอบการส่งออกกุ้งไทยยังจำเป็นต้อง เร่งคลี่คลายปัจจัยลบที่เกิดขึ้น และเสริมจุดแข็งด้วยการเน้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผูน้ ำเข้าในตลาด หลักและตลาดศักยภาพใหม่ๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับมือกับ ความท้าทายที่รออยู่ (นอกเหนือไปจากประเด็นการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุนและการ จัดให้ไทยอยู่ในบัญชีที่ต้องจับตาจากสหรัฐฯ) โดยเฉพาะจากความเป็นไปได้ที่สินค้าส่งออกของ ไทย รวมถึงกุ้งจะถูกตัดสิทธิ GSP จากตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ในปี 2557 แม้ผลจากปัจจัย ดังกล่าว อาจจะได้รับการบรรเทาจากการบรรลุกรอบเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-อียู ก็ตาม

52

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


Market Leader

วงการไก่

ได้บทเรียนสหฟาร์ม วงการไก่เห็นใจสหฟาร์มเจอมรสุม ปิดตัว ชัว่ คราว ชีบ้ ทเรียนแบงก์-นโยบายรัฐทุบครัวโลก แต่ ร ะบุ ปั ญ หาบิ๊ ก เพเยอร์ ไ ม่ ก ระทบภาพรวม อุตสาหกรรม อีกด้านผูค้ า้ เจ้าอืน่ ได้อานิสงส์จาก ซัพพลายในตลาดลด ดันราคาไก่ในประเทศขยับ ส่งออกต่อรองราคาได้ดีขึ้นหลังเข้าไฮซีซัน เผย ยอดส่งออก 5 เดือนแรกยังวิง่ ฉิว โตเกือบ 5%

จากผลพวงดั ง กล่ า วส่ ง ผลให้ ร าคาไก่ มีชีวิตหน้าฟาร์ม ณ ปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น เฉลี่ยราคาอยู่ที่ 47 บาทต่อกิโลกรัม จาก ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เฉลี่ยที่ 36 บาทต่อ กิโลกรัม และจากผลผลิตไก่ไทยที่ลดลง ไม่ล้น ตลาดเหมือนในปีทผี่ า่ นมา ทำให้สามารถต่อรอง ราคาสินค้าผู้นำเข้าต่างประเทศได้ดีขึ้น

แหล่งข่าวจากวงการส่งออกไก่ เปิดเผย กรณีที่ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตและ ส่ ง ออกสิ น ค้ า ไก่ ร ายใหญ่ มี ปั ญ หาขาดสภาพ คล่อง ทำให้ตอ้ งปิดตัวลงชัว่ คราวว่ารูส้ กึ เห็นใจ เพราะแม้จะเป็นคู่แข่งขันกัน แต่ก็อยู่ในวงการ เดี ย วกั น และช่ ว ยสร้ า งงานและนำเงิ น เข้ า ประเทศเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าอีกด้าน หนึง่ จากทีส่ หฟาร์มมีปญ ั หา ทำให้ผลผลิต หรือ ซัพพลายไก่ในภาพรวมของประเทศตั้งแต่ต้นปี ทีผ่ า่ นมาปรับตัวลดลง จากก่อนหน้านีส้ หฟาร์ม ถือเป็นผู้เลี้ยงและแปรรูปไก่รายใหญ่สุดของ ประเทศ จะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาด 6-7 แสนตัน ต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 2 ล้านตัวต่อเดือน และมีแผนจะขยายกำลังการผลิตอีกมาก แต่ ต้องมาสะดุดก่อน

ขณะที่ด้านการส่งออกช่วงครึ่งปีหลังถือ เป็นช่วงที่มีการสั่งซื้อสูง หรือเป็นช่วงไฮซีซัน ลูกค้าต่างประเทศได้เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่าง หนาแน่น เฉพาะอย่างยิง่ ตลาดหลักคือ สหภาพ ยุโรป (อียู) ที่ได้อนุญาตให้มีการนำเข้าไก่สด จากประเทศไทยได้อกี ครัง้ ตัง้ แต่เดือนกรกฎาคม 2555 รวมถึงอีกหนึง่ ตลาดหลักคือ ญีป่ นุ่ ขณะนี้ ค่าเงินเยนเริ่มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ทำให้สินค้า ไก่นำเข้าจากไทยราคาถูกลง สามารถนำเข้าได้ เพิ่ ม ขึ้ น ซึ่ ง ขณะนี้ ญี่ ปุ่ น ยั ง อนุ ญ าตให้ น ำเข้ า ไก่ไทยได้เฉพาะไก่แปรรูป หรือไก่ปรุงสุก ก่อน หน้านี้ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้า มาตรวจรับรองระบบควบคุมโรคของโรงงาน ผลิตส่งออก แต่ล่าสุดยังไม่ได้อนุญาตให้มีการ นำเข้าไก่สด หากอนุญาตจะช่วยเพิม่ ยอดส่งออก ไก่ไทยได้มากขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,860 วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

53


"กรณีสหฟาร์มเรารู้สึกเห็นใจเพราะอยู่ วงการเดียวกัน ที่ผ่านมาก็ทราบกันดีว่าวงการ ปศุสัตว์ถือเป็นอาชีพเสี่ยง แบงก์ปล่อยกู้ยาก ส่วนลูกค้าชัน้ ดีกไ็ ม่ได้ปล่อยกูม้ าก ผูป้ ระกอบการ เอสเอ็มอี หรือคนที่สายป่านไม่ยาว ที่ผ่านมาก็ ปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก เพราะต้นทุนทุกอย่าง เพิ่มขึ้นทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ค่าไฟฟ้า ค่า น้ำมัน ค่าจ้างแรงงาน จะไปขอขึน้ ราคากับลูกค้า ก็ยาก เพราะเขาไม่รับรู้ แต่ที่เขาคำนึงถึงคือ ราคาปลายทางต้องขายได้ และผู้บริโภคต้อง รับได้ ดังนั้น บทเรียนจากสหฟาร์มคือ อย่า ไว้ใจแบงก์ และมาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมา เช่น การขึน้ ค่าแรงมาก ทำให้เป้าหมายครัวโลก ของไทยได้รบั ผลกระทบ ต้องดูแลด้วย ไม่ใช่ปล่อย ตามยถากรรม" ด้านนายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เผยถึงการ ส่งออกสินค้าไก่ของไทยช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ว่า มียอดการส่งออกทีเ่ พิม่ ขึน้ โดยด้าน ปริมาณส่งออกได้ 2.19 แสนตัน เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 4.7% ส่วนด้านมูลค่า ส่งออกได้ 2.75 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ช่ ว งเดี ย วกั น ของปี ที่ แ ล้ ว 1.4% (ดู ต าราง ประกอบ) ขณะที่ ใ นปี 2555 ไทยส่ ง ออก

54

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

ไก่แปรรูป และไก่สดได้ 5.5 แสนตันมูลค่า 7.08 หมื่นล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้าส่งออกทั้ง ด้านปริมาณ และมูลค่าเพิ่มขึ้น 10% ซึ่งหาก ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อนุญาตให้มีการนำเข้า ไก่สดในครึ่งปีหลัง เชื่อว่าเป้าดังกล่าวจะทะลุ เป้าหมาย แต่หากยังไม่อนุญาตเป้ายังต้องลุ้น ส่ ว นกรณี ปั ญ หาขาดสภาพคล่ อ งของ สหฟาร์ม ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเมษายน ดร. ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการ บจก. สหฟาร์ม และบริษัทในเครือเผยว่า อยู่ระหว่าง การหาเงินมาจ่ายให้ผเู้ ลีย้ งไก่ทเี่ ป็นคอนแทร็กต์ ฟาร์ม (ลูกเล้า) ของบริษัท รวมถึงคนงานและ พนักงาน ล่าสุดได้ติดต่อเพื่อสอบถามความ คืบหน้าแต่ไม่สามารถติดต่อได้ โดย ดร.ปัญญา ได้ปิดโทรศัพท์ และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ บริษัทแจ้งตามข่าวที่ปรากฏตามสื่อว่า ทาง บริษัทอยู่ระหว่างเร่งหาเงินมาจ่ายให้พนักงาน คนงาน และลูกเล้า ส่วนหนึ่งจะนำสินทรัพย์ ของบริษทั ไปขายเพือ่ นำเงินมาจ่าย อีกด้านหนึง่ ระบุว่า ผู้นำเข้าไก่รายใหญ่จากตะวันออกกลาง ได้ตกลงที่จะนำเงินมาร่วมลงทุนจำนวนหลาย พันล้านบาท คาดจะใช้เวลาราว 2 เดือน บริษทั จะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ


Around the World

การเจรจา FTA

ไทย-สหภาพยุโรป กับความมั่นคงทางอาหาร • ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ •

เรื่อง "ความมั่นคงทางอาหาร" เป็น ประเด็นที่ได้รับความสนใจ และห่วงใยทั้งใน ระดับประชาคมโลกและในประเทศไทย เนื่อง จากมีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงหลายด้านที่ จะส่งผลกระทบบัน่ ทอนความมัน่ คงทางอาหาร ในปัจจุบันและในอนาคต ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของประชากร โลก ราคาอาหารที่สูงขึ้น ผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ฯลฯ การเจรจาจัดทำ ความตกลง FTA ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพ ยุโรป ก็มีประเด็นเชื่อมโยงกับเรื่องความมั่นคง ทางอาหารที่ควรให้ความสนใจพิจารณาเป็น อย่างยิ่ง เนื่องมาจากข้อเรียกร้องของสหภาพ ยุโรปเกีย่ วกับการคุม้ ครองทรัพย์สนิ ทางปัญญา ในกรณีการคุ้มครองพันธุ์พืช และผลของความ ตกลง FTA ต่อการขยายตัวของระบบการเกษตร เชิงเดี่ยว ขอทำความเข้าใจร่วมกันว่า "ความมัน่ คง ทางอาหาร" เกิดขึ้น และดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนได้ ต้องมีปัจจัยเอื้ออำนวยสนับสนุน

หลายด้านประกอบกัน ปัจจัยที่กล่าวถึงกันอยู่ มาก โดยทัว่ ไป ได้แก่ (1) การมีอาหารในปริมาณ ทีเ่ พียงพอ สามารถตอบสนองกับความต้องการ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นได้ (2) มีอาหารที่ ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบด้าน สุขภาพต่อผู้บริโภค (3) มีการเข้าถึงและระบบ กระจายอาหารอย่างทัว่ ถึงและเป็นธรรม หากมี อาหารปริมาณมากและปลอดภัย แต่ไม่สามารถ เข้าถึงได้เนื่องจากราคาสูง หรือระบบกระจาย อาหารถูกผูกขาด หรือในบางช่วงเกิดปัญหา เนื่องจากภัยธรรมชาติ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มี ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร แต่นอกเหนือจากปัจจัย 3 ด้านข้างต้น แล้ว ความมั่นคงทางอาหารยังขึ้นอยู่กับปัจจัย เกื้อหนุนสำคัญอีก 3 ด้านที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง และให้ความสำคัญ ได้แก่ (1) การมีระบบการ ผลิตทางการเกษตรทีห่ ลากหลาย มีการปลูกพืช หลากหลายชนิดพันธุ์ มีระบบนิเวศการเกษตร หลากหลายรูปแบบ หากมีปัญหาโรค หรือ แมลงศัตรูพืชแพร่ระบาด หรือมีปัญหาความ

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,855 วันที่ 23-26 กรกฎาคม 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

55


แปรปรวนของภูมิอากาศ จะยังคงมีผลผลิต ทางการเกษตรที่ให้ผลผลิตเพียงพอ (2) ฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพ มีความหลากหลาย ของชนิดพันธุ์พืช สัตว์ จุลินทรีย์ เพื่อเป็นฐาน ของการนำมาปรับปรุงให้ได้พันธุ์ที่ดีมากขึ้น (3) เกษตรกรสามารถเข้าถึง และแลกเปลี่ยน พันธุกรรมพืช และทรัพยากรพันธุกรรมอื่นๆ ได้อย่างสะดวก เพื่อการเก็บรักษาพันธุกรรมไว้ ปลูกในฤดูถัดไป และนำพันธุกรรมที่เก็บรักษา ไว้ไปแลกเปลี่ยนกับชุมชนเกษตรอื่นๆ เพื่อการ อนุรักษ์ และปรับปรุงพันธุ์ เป็นการอนุรักษ์ พันธุพ์ ชื พืน้ เมือง และช่วยปรับปรุงให้ได้พนั ธุพ์ ชื ชนิดใหม่ๆ ข้อเรียกร้อง และผลกระทบจากการทำ ความตกลง FTA ที่อาจส่งผลกระทบต่อปัจจัย เกือ้ หนุนความมัน่ คงทางอาหารทีค่ วรพิจารณา ระมัดระวังอย่างยิง่ คือ ข้อเรียกร้องจากสหภาพ ยุโรปต่อการปรับเปลีย่ นระบบกฎหมายคุม้ ครอง พันธุ์พืชของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนว ปฏิ บั ติ ต ามอนุ สั ญ ญาคุ้ ม ครองพั น ธุ์ พื ช ใหม่ (UPOV 1991) ซึ่งจะมีระบบการคุ้มครอง คล้ายคลึงกับระบบสิทธิบัตร ข้อเรียกร้องดัง กล่าว จะส่งผลกระทบต่อการจำกัดสิทธิของ เกษตรกรในการเก็บรักษาพันธุพ์ ชื เพือ่ ใช้ปลูกใน ฤดูถดั ไป หรือเพือ่ การแลกเปลีย่ น และปรับปรุง พันธุ์ รวมทั้งผลกระทบต่อระบบ และกฎเกณฑ์ ในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้พนั ธุกรรม พืชของไทยอย่างเป็นธรรม

56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

ผลกระทบในอี ก ด้ า นหนึ่ ง ของการทำ ความตกลง FTA ต่อความมั่นคงทางอาหาร คือ ผลต่อการปรับเปลี่ยน และขยายระบบการ ผลิตไปสู่การผลิตทางการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว เพื่อการส่งออกมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มี คุณลักษณะ และได้มาตรฐานตอบสนองต่อ ความต้องการของตลาดมากที่สุด มีรายงาน การศึกษาของสำนักงานเลขาอนุสัญญาความ หลากหลายทางชี ว ภาพที่ ร ะบุ ว่ า ระบบการ เกษตรแบบเชิงเดี่ยวเป็นสาเหตุสำคัญในลำดับ ต้นๆ ของปัญหาการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ ทำให้พันธุ์พืชพื้นเมือง พันธุ์พืช ท้องถิ่นสูญหายไป เนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการ ของตลาด ประกอบกับเป็นการผลิตที่ใช้สาร เคมีทางการเกษตรในปริมาณสูง ส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร และส่งผลต่อความ หลากหลายทางชีวภาพในท้ายที่สุด ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทาง อาหารบางเรื่องเป็นปัจจัยที่ควบคุม หรือแก้ไข ได้ยาก เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แต่ ปัจจัยจากเรื่องการเปลี่ยนระบบการคุ้มครอง พันธุพ์ ชื การรักษาระบบการผลิตทางการเกษตร ทีห่ ลากหลาย เป็นเรือ่ งทีด่ แู ลจัดการได้ ในการ เจรจาความตกลง FTA กับสหภาพยุโรป จึง ไม่ควรที่จะยอมรับข้อเรียกร้องที่จะสร้างปัจจัย เสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ของประเทศไทย (และของโลก) มากขึ้น




Around the World

การทำธุรกิจเกษตร ในเมียนมาร์ • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย •

“สาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมาร์ ” หรือ “เมียนมาร์” เป็นหนึง่ ในประเทศทีน่ กั ลงทุน ทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) จีน ญี่ปุ่น รวมถึงไทย ต่างให้ความสนใจมากที่สุด ในขณะนี้เพื่อแสวงหาโอกาส และลู่ทางขยาย ตลาดในเมียนมาร์ ด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจ สูง เนื่องจากยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ที่ ร อการพั ฒ นา ทั้ ง แหล่ ง ปิ โ ตรเลี ย ม ก๊ า ซ ธรรมชาติ ป่าไม้ โดยเฉพาะพืน้ ทีก่ ารเกษตรทีม่ ี ศักยภาพสูงในการเพาะปลูก เนือ่ งจากเมียนมาร์ มีแหล่งน้ำ และสภาพภูมอิ ากาศทีเ่ หมาะแก่การ ผลิตสินค้าเกษตร ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา เมียนมาร์ได้ส่งสัญญาณการเปิดประตูรับการ เชือ่ มโยงทางเศรษฐกิจ การค้า รวมทัง้ การลงทุน จากภายนอกผ่านนโยบายส่งเสริมการลงทุน จากต่างประเทศของรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งมี แนวโน้มเปิดกว้างให้นกั ลงทุนต่างชาติเข้าไปลง ทุนอย่างเสรีได้มากขึน้ ส่งผลให้เมียนมาร์กลาย เป็นแหล่งลงทุนที่เนื้อหอมมากที่สุดประเทศ หนึ่ง

มากขึน้ ในพืน้ ทีท่ างการเกษตรทีม่ อี ยูอ่ ย่างจำกัด (ประมาณ 131.8 ล้านไร่ หรือร้อยละ 41.1 ของพื้นที่ทั้งหมด) เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต แต่ เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการนำพืชผลทาง การเกษตรไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทำให้เกิด การแย่งชิงพืน้ ทีป่ ลูกในพืชเกษตรบางชนิด เช่น พืชอาหาร และพืชพลังงาน และส่งผลให้ไทย ผลิ ต พื ช เกษตรบางชนิ ด ไม่ เ พี ย งพอกั บ ความ ต้องการ ประกอบกับภาคเอกชนต้องการนำพืช เกษตรมาเป็นปัจจัยการผลิต หรือเพิ่มมูลค่าใน ประเทศไทย ดังนั้น ไทยจึงต้องหาแหล่งลงทุน ปลูกพืชเกษตรเพิ่มเติม และเมียนมาร์ก็เป็นอีก ทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในการลงทุนธุรกิจ เกษตรจากปัจจัยดึงดูด ดังนี้ ประเด็น น่าสนใจของธุรกิจเกษตร ในเมียนมาร์

ความน่าสนใจของธุรกิจเกษตร ในเมียนมาร์

• ความมั่งคั่งด้านทรัพยากรธรรมชาติ เมียนมาร์ มีพื้นที่เพาะปลูก 11.7 ล้านเฮกตาร์ (หรือประมาณ 73 ล้านไร่) คิดเป็นพืน้ ทีร่ อ้ ยละ 18 ของพื้ น ที่ ทั้ ง หมด และรั ฐ บาลมี แ ผนจะ ขยายพื้นที่เพาะปลูกอีกร้อยละ 8.4 ของพื้นที่ ทั้งหมด

แม้ว่าในระยะหลัง ประเทศไทยมีการ ขยายการเพาะปลูกพืชเกษตรหลากหลายชนิด

• ภาคเกษตรกรรมในเมี ย นมาร์ มี บทบาทสูงถึงร้อยละ 38.2 ของผลิตภัณฑ์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

57


ต่อวัน ไทย 8.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน) โดยมี แรงงาน 31.7 ล้านคน กระจายอยู่ในภาค เกษตรกรรมร้อยละ 70 • นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดิน ระยะยาว รัฐบาลเมียนมาร์กำหนดให้นกั ลงทุน ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินเบื้องต้นได้ระยะยาว ถึ ง 50 ปี ซึ่ ง เป็ น เงื่ อ นไขภายใต้ น โยบาย ส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถซื้อที่ดินในเมียนมาร์ได้

มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประกอบกับ รัฐบาลเมียนมาร์สนับสนุนให้ชาวต่างชาติลงทุน ในภาคเกษตรกรรม ผ่านนโยบาย “การขยาย ระบบชลประทานของภาครัฐ และการส่งเสริม ให้ เ กษตรกรขยายพื้ น ที่ เ พาะปลู ก พื ช เกษตร ตลอดจนการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ในทุกด้านเกี่ยวกับภาคเกษตร” เพื่อผลักดันให้ เกิดการพัฒนาการผลิต และการจ้างแรงงาน รวมทั้งการกระจายรายได้ อันจะเป็นแรงขับ เคลื่อนเศรษฐกิจของเมียนมาร์ให้มีศักยภาพ ในการผลิต และส่งออกได้ทัดเทียมกับประเทศ อื่นในภูมิภาค • ค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ ต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน โดย ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของเมียนมาร์เท่ากับ 1.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน (ขณะที่กัมพูชา 1.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน ลาว 1.7 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อวัน เวียดนาม 2.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

• ประตูการค้าโลก เมียนมาร์มีทำเล ที่ตั้งเป็นประตูการค้าที่เชื่อมต่อกับ 5 ประเทศ โดยเฉพาะการเป็ น ประตู สู่ ป ระเทศยั ก ษ์ ใ หญ่ อย่ า งจี น และอิ น เดี ย อี ก ทั้ ง เมี ย นมาร์ ยั ง มี สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทั้ง 2 ประเทศอย่าง มาก ทำให้เป็นโอกาสในการเข้าถึงประชากรโลก ถึง 2.6 พันล้านคน หรือร้อยละ 40 ของประชากร โลกทั้งหมด ในอนาคตหากการเชื่อมโยงทาง เศรษฐกิจภายในภูมิภาคมีการพัฒนาให้ครอบ คลุมถึงกันมากขึ้น นอกจากนี้ การค้าชายแดน เมียนมาร์ยังมีบทบาทสำคัญในการดึงเม็ดเงิน เข้าประเทศ ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมือง ที่เริ่มผ่อนคลาย ยิ่งตอกย้ำให้เมียนมาร์เป็น ประเทศที่นักลงทุนสนใจขยายการค้า และการ ลงทุนมากขึ้น

การลงทุนธุรกิจการเกษตร ในเมียนมาร์ ปัจจุบนั รูปแบบการเกษตรของเมียนมาร์ ยังคงเป็นเกษตรแบบดัง้ เดิม (Traditional Agriculture) ที่เป็นการผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่น


เท่านัน้ ขาดเทคโนโลยีการผลิตขัน้ สูง เช่น เครือ่ ง จักรกลทางการเกษตรทีท่ นั สมัย ขาดองค์ความรู้ ด้านการผลิต มีโรงงานผลิตแต่รูปแบบ สินค้า ยังไม่ทนั สมัย และความไม่พร้อมของโครงสร้าง สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบคมนาคม ขนส่งสินค้า ระบบชลประทานที่ยังไม่ทั่วถึง ตลอดจนยั ง ขาดแคลนแหล่ ง ปั จ จั ย การผลิ ต ทั้งเงินทุน พันธุ์พืชที่ดี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และ แรงงานที่มีทักษะ โดยเกษตรกรเมียนมาร์ยังมี การใช้สารเคมีน้อย ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น มากกว่า ปุ๋ ย วิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี ร าคาแพง ทั้ ง นี้ ข้ อ มู ล จากองค์ ก ารอาหารและการเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ หรือ FAO รายงานว่าในปี 2012

เมียนมาร์มีผลผลิตธัญพืชที่สำคัญ คือ ข้าว (94.3%) ข้าวโพด (4.6%) ข้าวสาลี (0.6%) อื่นๆ (0.5%) นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุน การปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญโดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน ณ เดือนกรกฎาคม 2555 เมียนมาร์ ได้ เปิดสัมปทานให้นกั ลงทุนจากต่างประเทศ เข้า ไปเช่าพืน้ ทีป่ ลูกพืชเกษตรนับล้านไร่ในบริเวณ พื้นที่ย่านตะนาวศรี โดยทางการเมียนมาร์ ได้มีการแบ่งเขต โซนการเพาะปลูกพืชแต่ละ ชนิดอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกับ นักธุรกิจในพืน้ ทีใ่ นสัดส่วน 60:40 หรือ 50:50 ซี่งพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่ติดแนวพรมแดนด้าน จ.ระนอง กว่า 1 แสนไร่ อันจะส่งผลดีตอ่ การ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

59


ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรที่ สนใจจากประเทศไทย สำหรับรูปแบบการเข้าไปลงทุนทำธุรกิจ เกษตรในเมียนมาร์นั้น พบว่าผู้ประกอบการ ไทยส่วนใหญ่จะเข้าไปในลักษณะการทำการ เกษตรแบบพันธ สัญญา (Contract Farming) เนื่ อ งจากเมี ย นมาร์ มี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ที่ อุดมสมบูรณ์รอการพัฒนาอยูม่ าก ประกอบกับ ค่าจ้างแรงงานมีราคาถูกกว่าประเทศอื่นๆ ใน ภูมภิ าค และมีแรงงานรองรับจำนวนมาก (ธุรกิจ การเกษตรเน้นใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว) ในขณะที่ไทยมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การเกษตรและเทคโนโลยี ตลอดจนแรงงาน

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

มี ทั ก ษะซึ่ ง สามารถถ่ า ยทอดความรู้ เ พื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพการผลิตได้ จึงย่อมเป็นผลดีทาง การค้า และการลงทุนแก่ทั้งสองฝ่าย จากนั้น ในด้านการกระจายสินค้า ผู้ประกอบการไทย อาจนำผลผลิตการเกษตรที่ได้จากเมียนมาร์ (ผ่านการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์) มาผลิต และแปรรู ป เพื่ อ สร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ สิ น ค้ า ในไทย และส่งออกไปยังประเทศในภูมภิ าค เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน เป็นต้น หรืออาจ ใช้เมียนมาร์ เป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออก โดยผ่านท่าเรือเมียนมาร์ เพื่อส่งต่อไปยังตลาด อื่น เช่น เอเชียใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง และยุโรป เป็นต้น


โอกาส ทางธุรกิจ

การพัฒนาพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะการค้าชายแดน บริเวณด่าน แม่สอด จ.ตาก และด่านแม่สาย จ.เชียงราย ที่มีการค้าสินค้าเกษตร จำนวนมาก ซึ่งนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย ในการขยาย ตลาดสินค้าเกษตรในเมียนมาร์ได้อีกทางหนึ่ง

แม้จะมีกฎระเบียบทีเ่ ปิดโอกาสทางการ ค้าการลงทุนสำหรับคนต่างชาติ แต่ในทาง ปฎิบตั ิ นักลงทุนต่างชาติจะสามารถทำธุรกิจ ในเมี ย นมาร์ ไ ด้ จะต้ อ งมี ค นท้ อ งถิ่ น เป็ น หุ้นส่วน เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาร์ต้องให้ คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของธุรกิจก่อน และควร ติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของ Ministry of National Planning and Economic Development (Myanmar) รายงานว่าในปี 25532554 มีบริษัทต่างชาติที่ลงทุนในภาคเกษตร ในเมียนมาร์เพียง 3 บริษัท มูลค่าเงินลงทุน 138.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จึงยังเป็นโอกาส ที่ดีของผู้ประกอบไทยในการบุกการลงทุนภาค เกษตรในเมียนมาร์ นอกจากนี้ การค้าชายแดนยังเป็นโอกาส ทางธุรกิจทีด่ ขี องไทยอีกทางหนึง่ ในการกระจาย สินค้า โดยใช้ความได้เปรียบที่มี ประกอบกับ การเป็นประเทศคูค่ า้ กันมายาวนาน เพือ่ นำเข้า วั ต ถุ ดิ บ ทางการเกษตรผ่ า นการค้ า ชายแดน ไทย-เมียนมาร์ เพื่อนำมาผลิตและแปรรูปเพื่อ เพิ่มมูลค่าต่อไป ในอี ก ทางหนึ่ ง การลงทุ น ในธุ ร กิ จ เกษตร และภาคธุรกิจเกี่ยวเนื่องในเมียนมาร์ ถือเป็นโอกาสของผูป้ ระกอบการ SMEs ไทย

ซึ่ ง ถ้ า หากอยู่ ใ น supply chain ของผู้ ประกอบการรายใหญ่ของไทย ก็จะยิ่งเพิ่ม โอกาสในการหาตลาดรองรับได้อย่างแน่นอน มากขึ้ น และหากได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก รัฐบาล ก็มีโอกาสจะเติบโตเป็นธุรกิจขนาด ใหญ่ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ SMEs อาจต้องเผชิญการแข่งขันกับ ผู้ ป ระกอบการรายใหญ่ ข องไทย หรื อ ผู้ ประกอบการของเมียนมาร์เอง ซึ่งขณะนี้มี ผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยที่มีศักยภาพ บางรายได้เข้าไปลงทุนด้านการส่งเสริมการ เพาะปลูกพืชไร่ในเมียนมาร์แล้ว ตลอดจน อุ ต สาหกรรมสนั บ สนุ น เช่ น อาหารสั ต ว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เป็นต้น

กฎหมาย/นโยบายส่งเสริมด้านการ ลงทุนธุรกิจการเกษตรในเมียนมาร์ ปัจจัยที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง อีกประเด็นในการลงทุนที่เมียนมาร์ คือ กฎหมายทางการลงทุน ตลอดจนนโยบายส่งเสริม ด้านการลงทุนธุรกิจเกษตรของเมียนมาร์ทตี่ อ้ ง การนักลงทุนต่างชาติในลักษณะของ “ผู้สร้าง” มากกว่า “ผู้เข้าใช้ประโยชน์” เพื่อยกระดับ ศักยภาพภาคการเกษตรของประเทศ ดังนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

61


กฎหมายการลงทุนของเมียนมาร์ 1. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศตัง้ อยู่บนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจตลาด 2. การส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน และผู้ประกอบการ และส่งเสริมกิจกรรมของ ผู้ประกอบการ 3. การดำเนินการเศรษฐกิจแบบเปิดเพือ่ การค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ โดยมี หลักประกันและการคุ้มครอง ดังนี้ 3.1 อนุ ญ าตให้ น ำเงิ น ตราต่ า ง ประเทศเข้า-ออกได้ 3.2 อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่เข้ามา ทำงานในเมียนมาร์สง่ เงินกลับได้ หลังจากหักภาษีเงินได้ และค่า ใช้จ่ายอื่นๆ 3.3 ธุ ร กิ จ ที่ ด ำเนิ น การภายใต้ ก ฎ หมายการลงทุนของต่างชาติจะ ได้รับการคุ้มครองว่าจะไม่ถูกยึด และครอบครองโดยรัฐ และนอก จากนี้ นักลงทุนต่างชาติสามารถ เช่ า พื้ น ที่ ด ำเนิ น การระยะยาว (Long term lease) ได้จากรัฐบาล เมียนมาร์ โดยค่าเช่าพืน้ ทีใ่ นพืน้ ที่ อุตสาหกรรม (Industries Zone) ของรัฐบาลอยูใ่ นอัตรา 3 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อตารางเมตรต่อปี การลงทุน ในเมียนมาร์ควรหาคู่ค้าที่ เป็นนักธุรกิจท้องถิ่น จึงจะเป็นแนวทางที่ดี ทีส่ ดุ ในขณะนี้ เนือ่ งจากระเบียบการค้ารัฐบาล เมียนมาร์ตอ้ งการให้นกั ธุรกิจท้องถิน่ สามารถ ทำธุรกิจแข่งขันกับคนต่างชาติได้ ตลอดจน

62

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะช่วย อำนวยให้ธุรกิจไทยเข้าถึงตลาดได้ดีขึ้น ล่าสุด ณ เดือนกันยายน 2555 รัฐสภา เมียนมาร์ได้ผ่านร่างกฎหมายการลงทุนโดย ตรงจากต่างประเทศฉบับใหม่ เพือ่ เปิดโอกาส ให้เกิดการลงทุนจากภายนอกมากที่สุด ซึ่งมี สาระสำคัญ ดังนี้ 1. อนุญาตให้บริษัทต่างชาติถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ในกิจการร่วมทุนหรือ Joint Venture ได้ 2. ยินยอมให้กองทุนต่างชาติสามารถ ลงทุนใน Joint Venture ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ 3. อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดิน เบื้องต้นได้เป็นระยะเวลา 50 ปี โดยมีเงื่อนไข ให้สามารถต่อสัญญาได้ ทัง้ นี้ ได้ขจัดอุปสรรคต่อการลงทุนของ ต่างชาติเรื่องข้อกำหนดที่ระบุว่า นักลงทุน จะต้องมีเงินลงทุนเริม่ ต้นขัน้ ต่ำ 5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ (ประมาณ 155 ล้านบาท) เพือ่ ดึงดูด การลงทุนใหม่จากต่างชาติ นโยบายส่งเสริมการลงทุน • การเช่า และใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินเพื่อดำเนิน โครงการลงทุนระยะยาวเบื้องต้นได้ 50 ปี (กรณีเช่าจากรัฐบาล) ซึ่งระยะเวลาในการเช่า อาจยื ด หยุ่ น ได้ ขึ้ น อยู่ กั บ การพิ จ ารณาของ รัฐบาลเมียนมาร์เป็นสำคัญ และสามารถต่อ อายุได้ตามที่ Myanmar Investment Commission (MIC) พิจารณา (กรณีเป็นโครงการที่มี การเช่าทีด่ นิ นักลงทุนจะต้องแนบร่างข้อตกลง


การเช่าที่ดินนั้นด้วย) สำหรับกรณีการเช่าที่ดินจากเอกชนเมียนมาร์สามารถดำเนินการได้ไม่เกิน คราวละ 1 ปี และต่ออายุทุก 1 ปี นักลงทุนชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อที่ดินในเมียนมาร์ได้ แต่สามารถเช่าที่ดินเพื่อดำเนิน โครงการลงทุนระยะยาวได้ ตัวอย่างราคาเช่าที่ดินในเมียนมาร์ ที่ดิน ราคาซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ราคาเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม - เขตอุตสาหกรรมท้องถิ่น (กระทรวงแรงงาน) - เขตอุตสาหกรรม Mingaladon (ร่วมทุนระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและกระทรวงแรงงาน) ค่าเช่าสำนักงาน - Taw Win Centre (Pyay Road) - Sakura Tower (กลางเมือง) ค่าเช่าโชว์รูมในเขตเมือง ค่าเช่าที่พักอาศัยสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ค่าเช่าโรงงาน - เขตกรุงย่างกุ้ง - นอกกรุงย่างกุ้ง

อัตรา (ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน) ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติ และบริษัทต่างชาติซื้อที่ดิน 0.255 0.15

1.86-3.11 45 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ / ตารางเมตร / เดือน 2,500 0.6-14 0.2-2.3

ที่มา: Overseas Research Development , Japan External Trade Organization (2012) รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ด้านการใช้ประโยชน์จากที่ดิน นักลงทุนชาวต่างชาติสามารถลงทุนด้านการเกษตร อาทิ การเพาะปลูก ผลิต แปรรูปและจำหน่ายพืชล้มลุก (รวมทั้ง มันสำปะหลัง และยาสูบ) และทำไร่ หรือแปรรูปพืชเป็นยา กาแฟ ชา น้ำมันปาล์ม พืชสวน และจำหน่ายผลผลิตของตนได้ โดยมี กระทรวงเกษตร และชลประทานเมียนมาร์ เป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาและอนุมัติโครงการ ลงทุนด้านเกษตรกรรม รวมทั้งกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภาคเกษตรกรรม มากขึ้น (ตลอดจนส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร พัฒนากิจการอุตสาหกรรม เกษตรขนาดเล็ก และการใช้เทคโนโลยีขนาดเบาในโรงงาน การค้าผลิตผลทางการการเกษตร วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตร) โดยนักลงทุนสามารถขอยื่นอนุมัติโครงการตามแผนการ ส่งเสริม • การจ้างแรงงาน ชั่วโมงการทำงานโดยทั่วไป 8 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้ สามารถกำหนด ค่าแรงตามประเภทแรงงาน ดังนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

63


ประเภทแรงงาน แรงงานทั่วไป1 วิศวกร (ระดับกลาง)2 ผู้จัดการ (ระดับหัวหน้าแผนก)3 พนักงานนอกภาคการผลิต (ระดับทั่วไป)4 พนักงานนอกภาคการผลิต (หัวหน้าแผนก)5 โบนัส (คงที่+ผันแปร) อัตราประกันสังคม - นายจ้าง - ลูกจ้าง

ค่าจ้างแรงงาน (ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน) 68 176 577 173 562 1.56 เท่าของเงินเดือน ร้อยละ 1.6-3.3 ร้อยละ 1.0-2.0

ที่มา: Japan External Trade Organization (2012) เก็บรวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย หมายเหตุ: 1 ฐานเงินเดือน : อายุการทำงานประมาณ 3 ปี ผลตอบแทนต่อปีทั้งหมด : ฐานเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา : 1.137 USD (843,344 Kyat) 2 ฐานเงินเดือน : การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาตรีวศิ วะ หรือสูงกว่า อายุการทำงานประมาณ 5 ปี ผลตอบแทนต่อปีทั้งหมด : ฐานเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา : 2.623 USD (1,945,551 Kyat) 3 ฐานเงินเดือน : การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า อายุการทำงานประมาณ 10 ปี ผลตอบแทนต่อปีทั้งหมด : ฐานเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา : 8.449 USD (6,266,854 Kyat) 4 ฐานเงินเดือน : อายุการทำงานประมาณ 3 ปี ผลตอบแทนต่อปีทั้งหมด : ฐานเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา : 2.466 USD (1,829,099 Kyat) 5 ฐานเงินเดือน : การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า อายุการทำงานประมาณ 10 ปี ผลตอบแทนต่อปีทั้งหมด : ฐานเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา : 8.162 USD (6,053,978 Kyat)

ด้านแรงงานสำหรับการทำเกษตร นักลงทุนชาวไทยควรคำนึงถึงการให้ค่าจ้างในระดับ ที่เหมาะสม รวมทั้งการจัดสวัสดิการให้กับแรงงานท้องถิ่นเหล่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการ เปรียบเทียบการจ่ายค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับแรงงานของเจ้าของที่เป็นนักลงทุนชาวเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งแรงงานที่มีทักษะ เช่น หัวหน้างาน เข้าไปเพื่อ ช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยีการเกษตรแก่เมียนมาร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตให้มากขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนควรตระหนักถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ต้องปฎิบัติ ขณะการ ดำเนินการลงทุนในเมียนมาร์ ซึ่งหากละเว้น หรือขัดขืนการปฎิบัติตามกฎระเบียบของทางการ อาจได้รับโทษร้ายแรงตามกฎหมายของเมียนมาร์

ปัญหา/อุปสรรคการลงทุนธุรกิจเกษตรในเมียนมาร์ แม้วา่ เมียนมาร์จะเปิดประตูการค้าเพือ่ ดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติมากขึน้ แต่ผปู้ ระกอบการ ไทยควรระมัดระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยปัญหา หรืออุปสรรคการลงทุนธุรกิจเกษตรที่ อาจพบในเมียนมาร์ คือ

64

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556




ปัญหา/อุปสรรคการลงทุนธุรกิจเกษตรในเมียนมาร์ ความไม่พร้อมของสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง บางแห่งไม่มีระบบการระบายน้ำ หรือกำจัดของเสียอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ เส้นทางคมนาคมหลายแห่งยังมีสภาพทรุดโทรม ทำให้การลงทุนเบื้องต้นอาจมีมูลค่าสูง เทคโนโลยีการผลิตยังไม่สูง เช่น ขาดเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ทันสมัย (เช่น รถแทรกเตอร์) ขาดองค์ความรู้ด้านการผลิต (เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร) เนื่องจากการปลูกพืชเกษตรของเมียนมาร์ ยังเป็นแบบดั้งเดิม ขาดแคลนแหล่งปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์พืชที่ดี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องจักรกลการเกษตร งบประมาณ ตลอดจนการขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ทั้งด้านทักษะฝีมือและความรู้ (ร้อยละ 75 ของเด็กในชนบท ได้รับการศึกษาเพียงระดับประถม) ระบบการเงินการธนาคารของเมียนมาร์ยังไม่พร้อม และกฏระเบียบค่อนข้างซับซ้อน อาจทำให้การชำระเงิน เกิดความล่าช้า และประชาชนไม่นิยมชำระเงินผ่านระบบธนาคาร ประกอบกับรัฐบาลเมียนมาร์เป็นผู้ผูกขาด ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ กฎระเบียบด้านค้าและการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในข้อมูลเท่าที่ควร (ข้อมูลบางอย่างทางการเมียนมาร์อาจไม่เผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้) จนอาจทำให้เกิดการผิดพลาดในการ วางแผน/ประสานงานระหว่างกัน และอาจมีค่าใช้จ่ายสูง การเมืองในเมียนมาร์ แม้ปัญหาทางการเมืองจะเริ่มผ่อนคลายแล้ว แต่เมียนมาร์ยังอยู่ในช่วงปฏิรูป และ เปลี่ยนผ่านประเทศสู่พัฒนาการทางการเมืองที่มีความเป็นเสรีมากยิ่งขึ้น ทำให้นโยบายการเมืองต่างๆ ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจต้องอาศัยระยะเวลาในการสร้างเสถียรภาพพอสมควร ราคาเช่าที่ดินสูง โดยเฉพาะเขตเมืองสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงราคาบ่อยครั้ง ตลอดจนต้นทุน พลังงานค่อนข้างสูง อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าก๊าซ การยอมรับจากคนในท้องถิ่น ธุรกิจการเกษตรบางโครงการอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงต้อง วางแผนจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำความเข้าใจกับคนในท้องถิ่น เพื่อให้ธุรกิจ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ความผันผวนของสภาพอากาศ อาจนำมาซึ่งภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหว และไซโคลนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, กรมส่งเสริมการส่งออก รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

บทสรุป และข้อเสนอแนะการลงทุนธุรกิจเกษตรในเมียนมาร์ ธุรกิจการเกษตรในเมียนมาร์เป็นหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทั้งนี้ พบว่า ปัจจัยดึงดูดในการลงทุน คือ ความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติของเมียนมาร์ ค่าจ้าง แรงงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน นโยบายของรัฐบาลเมียนมาร์ ที่สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ตลอดจนการเปิดประตู การค้าสู่เวทีประชาคมโลก และการผ่อนคลายทางการเมือง จึงทำให้ธุรกิจการเกษตรในเมียนมาร์ มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

65


สำหรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการทำธุรกิจการเกษตรในเมียนมาร์ ปัจจัยที่ควร พิ จ ารณาเป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆ คื อ กฎหมาย/นโยบายส่ ง เสริ ม การลงทุ น ต่ า งๆ (เนื่ อ งจากมี ก าร เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง) เช่น การเช่า และใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร การจ้างแรงงาน เป็นต้น อันจะ ทำให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างสะดวกมากขึ้น ในขณะที่การหาพันธมิตรทางธุรกิจก็ถือเป็นกุญแจ ไขความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจเช่นกัน ถือเป็นอีกช่องหนึ่งในการเข้าสู่ตลาดพม่า ซึ่งอาจ จำเป็นต้องมีสายสัมพันธ์ทดี่ กี บั ทางการพม่า ทัง้ ในระดับรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิน่ รวมถึง การเสาะหาพันธมิตรธุรกิจท้องถิน่ ทีน่ า่ เชือ่ ถือและไว้วางใจ ซึง่ จะช่วยอำนวยให้ธรุ กิจไทยเข้าถึง ตลาดได้ดขี นึ้ สามารถปรับตัวและเรียนรูว้ ฒ ั นธรรม ปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบทีถ่ กู ต้อง และดำเนิน ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มการลงทุนของชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากการเปิดประเทศของเมียนมาร์เป็นการช่วยเอื้อโอกาสขยายการค้าการลงทุน ระหว่างไทย และเมียนมาร์แล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการต่อยอดธุรกิจ ให้เติบโตขึ้น ทั้งจากด้านธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น

แหล่งที่มาของข้อมูล:  Japan External Trade Organization (JETRO), Ministry of National Planning and Economic Development (Myanmar), กรมส่งเสริมการส่งออก (DITP) กระทรวงพาณิชย์,  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), สถาบันอาหาร (NFI),  ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

66

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


Around the World

ข้าวพม่า ชนะคุณภาพ อันดับ 1 ของโลก

• ณัฐภาส กุลเรืองทรัพย์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ •

หนังสือพิมพ์ วอลสตรีท เจอร์นลั รายงาน โดยอ้างอิงข้อมูลจากการประกวดสุดยอดข้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานประชุมข้าวโลก จัดขึ้น เมื่อวันที่ 19-21 ต.ค. 54 ที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม คณะกรรมการได้พิจารณา ข้าวมากกว่า 30 สายพันธุ์ที่ส่งเข้าประกวด เกณฑ์การตัดสิน จะพิจารณาจากรสชาติ สี คุณภาพ เมือ่ 2 ปีกอ่ น (ปี 2552-2553) ข้าว หอมมะลิของไทย ได้ครองตำแหน่งสุดยอดข้าว ไปครองติดต่อกัน 2 ปี สำหรับปี 2554 ข้าว Pearl Paw San ของพม่า ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ไปครอง ข้าวสายพันธุด์ งั กล่าวของพม่ามีลกั ษณะ เมล็ดกลมหนา ความยาว 5-5.5 มม. เมล็ดข้าว จะมีความยาวมากกว่าเดิม 3-4 เท่า เมือ่ ผ่านการ หุงต้ม และสามารถรักษากลิ่นหอมเฉพาะไว้ได้ ทำให้ข้าวสายพันธุ์นี้ชนะข้าวหอมมะลิของไทย และชนะข้าวสายพันธุ์ Venere ของอิตาลีไปได้ นายเย มิน อัง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมข้าวของพม่า ประมาณการไว้ว่า พม่าจะ เพิ่มการส่งออกข้าวสูงถึง 2 ล้านตัน ในปี 2555 และ 3 ล้านตัน ในปี 2558 ข้อมูลสถิติของรัฐบาลพม่าแสดงตัวเลข การบริโภคข้าวของคนพม่า ปรากฏว่า สูงถึง 210 กก. ต่อคน ซึ่งสูงที่สุดในโลก

พม่ า กำลั ง เร่ ง ปฏิ รู ป เพื่ อ กลั บ มาเป็ น ผู้ ส่งออกข้าวอันดับ 1 ซึ่งเคยส่งออกสูงสุด ในปี ค.ศ. 1960 หรือ 40 กว่าปีมาแล้ว โดยมีตลาด เป้าหมายอยูท่ แี่ อฟริกา บังคลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และติมอร์ตะวันออก ปั จ จุ บั น พม่ า ได้ จั ด ตั้ ง ธนาคารเพื่ อ การ เกษตร เพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่เกษตรกรราย ย่อยที่มีหนี้สินจำนวนมาก ธนาคารดังกล่าว มี ชื่ อ ว่ า เมี ย นมาร์ อะโกร-บิ สิ เ นส พั บ ลิ ค (Myanma Agro-Business Public) มีผู้ถือหุ้น 76 ราย ซึ่งรวมไปถึงธนาคารเพื่อการพัฒนา เกษตรกรรม (ADC) หลายแห่งที่กำลังดำเนิน การโดยนักธุรกิจที่เชี่ยวชาญด้านเงินกู้สำหรับ เกษตรกร รูปแบบของธนาคารดังกล่าวนี้ คล้ายกับ ธนาคารในอิ น โดนี เ ซี ย ซึ่ ง พม่ า กำลั ง ศึ ก ษา แนวทางปฏิรปู การเมืองและเศรษฐกิจ แต่ตา่ งกัน ทีธ่ นาคารเมียนมาร์ อะโกร-บิสเิ นส พับลิค ไม่ใช่ กิจการทีค่ วบคมุโดยรัฐฯ นอกจากนี้ นายทินทูต๊ อู ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติของพม่า ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบนั ผูส้ ง่ ออกข้าวรายใหญ่ในท้องถิน่ หลายแห่ง กำลังสร้างโรงสีขนาดใหญ่ทรี่ องรับการสีขา้ วได้ 200 ตันต่อวัน และคาดว่ายอดจำหน่ายปุ๋ยจะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

67


เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการขยายเนื้อที่ปลูกข้าว ออกไปในหลายจุดในเขตอูข่ า้ วใหญ่ของประเทศ สมาคมอุ ต สาหกรรมข้ า วพม่ า ได้ เ ริ่ ม สต๊อกข้าวตั้งแต่ปลายปี 2554 มีการจัดเก็บ ข้อมูลสถิติต่างๆ อย่างเป็นระบบยิ่งกว่าทุกๆ ปี ที่ผ่านมา ทำให้ทราบปริมาณที่ต้องการบริโภค ภายใน และปริมาณสำรองที่เพียงพอ ทำให้ สามารถคำนวณปริมาณส่งออกล่วงหน้าได้ นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน รองรับการขนส่งสินค้าที่กำลัง ขยายตัวไม่หยุด โดยในปี 2554 เป็นปีแรกที่ สามารถส่งข้าวออกจากท่าเรือในเขตทีร่ าบปาก แม่นำ้ อิรวดีอขู่ า้ วใหญ่โดยตรง ไม่ตอ้ งขนส่งไปยัง เมืองย่างกุ้งก่อน ทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมาก รายงานจากจังหวัดพิษณุโลก เมื่อเดือน มกราคม 2555 ในการเสวนา “พม่าในประชาคม อาเซียน” จัดโดย มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด พิษณุโลก และสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ มีนกั วิชาการ พ่อค้า ข้าราชการตามแนวตะเข็บชายแดน ตัง้ แต่จงั หวัด เชียงราย จนถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ร่วม เสวนา ซึง่ ในตอนหนึง่ ของการเสวนา นายวิชยั เข็มทองคำ ผู้ช่วยที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัด ตาก ได้กล่าวว่า ผลผลิตข้าวพม่า 2,800 กก. ต่อไร่ แต่ไทยมีผลผลิตต่อไร่ 700 กก. จากข้ อ มู ล ทั้ ง หมดที่ ก ล่ า วมาตั้ ง แต่ ต้ น ณ วันนี้ ไทยจะมีเส้นทางเดินของการพัฒนา เรือ่ งข้าวอย่างไร รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภค พื้นฐานที่ยังไม่พรั่งพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อก้าวสู่ AEC ในปี 2558

68

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

ดิน และน้ำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้อง วางแผนให้เป็นระบบ พัฒนาคุณภาพดิน โครงสร้างดิน พื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำที่ได้รับสำรวจ รวบรวมข้อมูล แหล่งพื้นที่ใดมีปัญหาให้เร่ง ดำเนินการแก้ไข ให้ดินมีคุณภาพอุดมสมบูรณ์ รวมทั้ ง กรรมสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น ที่ จ ะช่ ว ยสร้ า งแรง จูงใจให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเรื่องน้ำ ให้ แต่ละพื้นที่ได้รับน้ำพอเพียง ในรูปแบบระบบ ชลประทานที่ เ หมาะสมในแต่ ล ะพื้ น ที่ แต่ ล ะ ครัวเรือน การทำงานต้องบูรณาการกันทั้ง ภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และเกษตรกร เรื่องป่าไม้เป็นหัวใจสำคัญเช่นกัน ทำไม ป่าไม้เกี่ยวข้องอะไรกับข้าว? ตลอดการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 พระองค์ทา่ นทรงงาน ผ่านมาค่อนศตวรรษ ทรงงานทุกด้าน ทุกสาขา อาชีพ โดยเฉพาะด้านการเกษตร และโดยเฉพาะ เรื่องดิน น้ำ ป่า ป่าดี ดินดี ป่ามี น้ำมี ไม่ว่าข้าว หรือ การเกษตร ทุกชนิดที่เรียกรวมๆ กันว่า การ กสิกรรม นั้น หากขาดป่า ผลที่ตามมาคือ ฝนแล้ง น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากฉับพลัน ดิน โคลนถล่มอย่างที่มีข่าวอยู่ทุกปี ถึงเวลาแล้ว ที่เราชาวไทยทุกคน ควรสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระองค์ทา่ น เรายังจะไปบุกป่า บุกร้างถางพง บุกรุกป่าสงวน ทำลายป่าไม้กัน อยู่อีกทำไม หยุดเถิด พระองค์ท่านเหนื่อยมา มากพอแล้ว แต่พวกเรายังมีอีกหลายกลุ่มชน ที่กลับทำในสิ่งที่สวนทางการทรงงานของพระ องค์ท่าน กสิกรรมของเราจะดี ต้องมีป่า และ ป่าจะสร้างความสมดุลของธรรมชาติ สร้าง ความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเองโดยธรรม-


ชาติ ทุ่งนาจะเขียวขจียามวสันตกาล และจะ เหลืองอร่ามยามเหมันตฤดู นี่คือแผ่นดินทอง ของไทย และเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองที่ ควรปกป้องรักษาไว้สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน

ปลอดสารเคมี และสูงสุดให้เป็นข้าวอินทรีย์ รวมทั้ ง การทำข้ า ว GAP ซึ่ ง มี ผ ลดี ต่ อ การ บริโภคและการส่งออก รวมทั้งผลดีเมื่อเข้าสู่ AEC ในปี 2558

เรื่องคุณภาพข้าว ปัจจุบันข้าวของไทย เรา ในสภาพความเป็นจริง แม้จะมีคุณภาพดี จากหลักฐานที่ปรากฏข้อมูลข้างต้น เคยได้รับ รางวัลชนะเลิศในระดับโลกมาแล้ว แต่อย่างไร ก็ตาม ยังคงต้องพัฒนาต่อเนือ่ งในเรือ่ งผลผลิต ต่อไร่ ซึง่ จำเป็นต้องวิจยั ค้นคว้า ทดลอง ให้ได้ พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า เดิม ไม่เฉพาะแต่ขา้ วขาวดอกมะลิ 105 เท่านัน้ ข้าวพันธุ์อื่นๆ ก็ต้องมีการพัฒนา วิจัยต่อเนื่อง ด้วยเช่นกัน ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

ระบบฐานข้อมูล รัฐต้องยอมรับความจริง ว่า ระบบฐานข้อมูลของเรายังขาดประสิทธิภาพ ในการพัฒนา ข้อมูลการเกษตรยังมีข้อโต้แย้ง แต่ละหน่วยงานข้อมูลไม่ตรงกัน ข้อมูลยังไม่เป็น เอกภาพ ยังไม่เป็นระบบอย่างแท้จริง แม้แต่ขอ้ มูล ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ก็ยังมีปัญหาในเรื่อง ความถูกต้อง แม่นยำ ข้อมูลเกษตรไทยเรา ยังไม่เป็นระบบฐานข้อมูลที่ดี มีประสิทธิภาพ เพราะเหตุใด? ถึงเวลาแล้วทีจ่ ะต้องเป็นน้ำหนึง่ ใจเดียวกัน ร่วมกันพิจารณาข้อมูลเกษตรให้เป็น เอกภาพอย่างแท้จริง เพื่อประเทศชาติ และ ส่วนรวม

เรื่องปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าว ทุกภาคส่วนควร รณรงค์ให้ความสำคัญกับการใช้ปยุ๋ อินทรีย์ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์/เคมี สารชีวภาพ เพื่อคุณภาพของ ผลผลิต และปลอดภัยทั้งเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิต กับผูบ้ ริโภค รวมทัง้ เป็นการอนุรกั ษ์ฟนื้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะแรกพัฒนา ให้เป็นข้าวปลอดภัย ต่อไปพัฒนาให้เป็นข้าว

เรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน แม้ว่าเราจะ พั ฒ นาไปมากแล้ ว ก็ ต าม แต่ มี บ างส่ ว นที่ ยั ง รอการพัฒนา ต้องดำเนินการสำรวจ และ ดำเนินการเร่งด่วน โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ ต่างฝ่ายต่างวิจยั ต่างฝ่ายต่างพัฒนา ซึง่ ไม่เป็น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

69


หนึ่งเดียว ควรบูรณาการดำเนินการในเรื่อง โลจิสติกส์ เรื่องนี้จะส่งผลอย่างมาก เมื่อก้าวสู่ AEC ในปี 2558 การพัฒนาแก้ไขทั้งหมดข้างต้น จะส่ง ผลกระทบต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ เกิดความหลากหลาย ทางชีวภาพ เป็นการนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักไร่นาสวนผสม หลักเกษตรผสมผสานมาใช้ ซึ่งทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนน่าอยู่ สาธารณูปโภคพรั่งพร้อม พอใช้พอกิน มีเงินเก็บออม ประเด็ น สุ ด ท้ า ย หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มี แ นวทางให้ ผ ลิ ต เพื่ อ เพี ย งพอใช้ บริโภคภายในก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปขาย ดังนั้น ข้าวที่เรานำไปขายย่อมได้ราคาดี เพราะ เรามีการพัฒนาในแต่ละประเด็นข้างต้นที่กล่าวมา เกษตรกรจะมีรายได้เพียงพอ มีข้าวที่มี คุณภาพดีบริโภค มีความยั่งยืนในภาคเกษตรการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ จะช่วยให้เรียกคืนขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม จารีตประเพณีดั้งเดิมแต่เก่าก่อนกลับคืนมา ข้าวไทยไม่จำเป็นต้องครองแชมป์ส่งออกอันดับ 1 ของ AEC หรือระดับโลก เนื่องด้วย เพราะเหตุผลของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แหล่งอ้างอิงข้อมูล:  http//www.matichon.co.th,  http//www.bangkokbiznews.com, ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2555,  http//www.khaosod.co.th

70

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556


8.27 7.33 8.10 9.46 10.14 10.23

ม.ค.

26.10 29.61 33.40 25.00 27.64 32.49

ม.ค.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

8.51 7.97 8.70 8.99 9.43 10.16

ม.ค.

ราคารำสด

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลาป่น

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

9.54 7.43 9.21 10.18 9.20 10.03

ก.พ.

27.04 26.84 34.20 28.91 28.81 31.30

ก.พ.

8.55 7.42 8.37 9.57 10.19 10.19

ก.พ.

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

9.82 7.19 9.47 9.97 8.62 8.63

มี.ค.

29.27 25.69 35.28 37.98 32.21 31.30

มี.ค.

9.14 7.60 8.92 10.01 10.35 10.15

มี.ค.

9.24 6.22 9.34 9.70 8.72 7.71

เม.ย.

29.60 29.08 36.53 31.77 33.24 29.94

เม.ย.

9.43 7.57 9.24 10.65 10.51 10.21

เม.ย.

8.20 4.87 9.41 8.34 8.09 8.92

พ.ค.

29.36 33.50 31.53 32.09 30.26 26.74

พ.ค.

9.25 7.05 9.31 10.49 10.24 9.89

พ.ค.

8.56 5.18 9.98 8.20 7.76 10.32

มิ.ย.

30.79 34.19 28.31 31.29 29.38 24.80

มิ.ย.

9.58 7.45 9.64 9.68 10.76 10.24

มิ.ย.

9.84 6.01 9.93 9.50 8.22 10.09

ก.ค.

33.65 34.58 28.92 32.32 31.53 29.84

ก.ค.

10.99 6.26 9.38 9.18 10.86 9.94

ก.ค.

8.97 6.28 9.76 9.49 10.55 10.53

ส.ค.

35.66 36.04 30.82 32.58 37.70 30.78

ส.ค.

10.03 6.21 9.01 9.04 11.60 9.26

ส.ค.

7.17 5.91 10.04 9.58 10.88

ก.ย.

34.19 34.58 29.78 31.42 35.06

ก.ย.

8.93 6.10 9.22 9.08 10.57

ก.ย.

5.97 7.14 9.30 9.51 10.80

ต.ค.

30.93 33.29 27.78 28.86 30.95

ต.ค.

7.89 6.30 9.24 9.45 10.14

ต.ค.

7.50 7.03 8.99 10.97 11.15

พ.ย.

25.11 29.96 25.28 28.46 32.83

พ.ย.

7.84 7.14 9.19 9.82 10.49

พ.ย.

7.42 8.20 8.66 9.25 10.81

ธ.ค.

26.03 31.80 25.57 27.50 33.80

ธ.ค.

6.94 7.83 9.13 9.92 10.25

ธ.ค. 6.94 6.10 8.10 9.04 10.14 9.26

ต่ำสุด

10.99 7.83 9.64 10.65 11.60 10.24

สูงสุด

25.11 25.69 25.28 25.00 27.64 24.80

ต่ำสุด

35.66 36.04 36.53 37.98 37.70 32.49

สูงสุด

5.97 4.87 8.66 8.20 7.76 7.71

ต่ำสุด

9.84 8.20 10.04 10.97 11.15 10.53

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.40 6.62 9.40 9.47 9.52 9.55

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

29.81 31.60 30.62 30.68 31.95 29.65

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

8.90 7.02 9.06 9.70 10.51 10.01

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

Statistics

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

71


72

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

15.87 14.25 15.30 13.10 13.95 18.77

ม.ค.

15.92 13.99 15.07 14.32 13.85 18.41

ก.พ.

16.27 13.26 15.75 15.21 12.88 18.25

มี.ค.

17.24 14.67 15.75 13.88 14.12 18.22

ม.ค.

17.10 15.70 15.11 14.15 15.13 18.15

ก.พ.

17.16 15.68 14.86 13.46 15.75 19.07

มี.ค. 16.90 16.07 14.80 12.80 16.06 19.36

เม.ย.

16.58 13.88 15.75 15.29 12.73 17.96

เม.ย.

17.13 17.19 14.09 12.59 16.23 17.89

พ.ค.

16.09 14.14 14.91 15.47 13.31 17.23

พ.ค.

2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

17.06 15.28 14.99 19.47

ม.ค.

16.29 15.47 16.01 19.35

ก.พ.

16.74 16.10 14.75 16.75 20.14

มี.ค. 17.09 16.45 14.20 17.01 20.47

เม.ย. 18.14 15.28 14.20 17.20 19.35

พ.ค.

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

18.90 14.44 14.20 17.73 18.48

มิ.ย.

18.70 17.93 13.43 11.60 16.98 17.15

มิ.ย.

16.56 14.10 14.24 14.61 12.79 16.43

มิ.ย.

17.86 14.26 14.88 20.02 18.30

ก.ค.

20.26 16.91 13.25 13.50 19.00 17.20

ก.ค.

16.15 14.03 12.76 14.50 14.23 16.16

ก.ค.

17.86 15.05 15.50 22.65 18.29

ส.ค.

19.58 16.86 14.05 14.33 21.80 17.29

ส.ค.

15.99 15.64 12.17 14.33 15.21 16.63

ส.ค.

17.89 15.02 15.45 22.69

ก.ย.

18.33 16.94 14.02 14.45 21.80

ก.ย.

17.67 15.82 12.10 14.27 17.17

ก.ย.

17.46 15.35 15.47 22.34

ต.ค.

16.65 16.43 14.35 14.32 21.09

ต.ค.

18.42 16.27 11.98 14.27 17.41

ต.ค.

17.66 15.64 15.57 21.48

พ.ย.

14.56 16.58 14.64 14.39 20.28

พ.ย.

17.76 16.81 12.10 14.59 18.85

พ.ย.

18.08 14.98 14.34 20.08

ธ.ค.

12.62 17.00 13.62 13.44 18.88

ธ.ค.

16.05 16.02 12.14 14.31 20.06

ธ.ค. 15.87 13.26 11.98 13.10 12.73 16.16

ต่ำสุด

18.42 16.81 15.75 15.47 20.06 18.77

สูงสุด

12.62 14.67 13.25 11.60 14.12 17.15

ต่ำสุด

20.26 17.93 15.75 14.45 21.80 19.36

สูงสุด

16.74 14.26 14.20 14.99 18.29

ต่ำสุด

18.90 17.06 15.57 22.69 20.47

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.77 15.49 14.94 19.08 19.23

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.19 16.50 14.33 13.58 18.09 18.04

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

16.61 14.85 13.69 14.52 15.20 17.48

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

73

6.79 7.21 7.94 7.79 8.09 8.93

ม.ค.

11.27 9.87 13.41 11.33 16.31 14.98

ม.ค.

13.05 10.06 12.92 11.92 15.74 15.00

ก.พ.

7.52 6.83 8.05 7.99 7.45 8.96

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

5.64 4.03 5.54 7.86 7.53 6.79

ม.ค.

5.78 3.95 5.43 8.14 7.13 6.85

ก.พ.

ราคามันสำปะหลังเส้น

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลายข้าว

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคากากรำสกัดน้ำมัน

5.83 4.08 5.83 8.46 6.59 7.07

มี.ค.

15.07 10.01 12.15 11.63 15.78 15.06

มี.ค.

7.77 6.41 7.96 7.38 6.49 7.90

มี.ค.

5.91 4.21 6.24 8.70 7.00 7.18

เม.ย.

20.66 9.95 10.24 11.39 15.94 15.39

เม.ย.

7.36 5.59 7.76 6.92 6.42 7.32

เม.ย.

5.90 4.04 6.51 8.62 7.29 7.19

พ.ค.

20.01 9.59 9.53 11.29 16.33 15.11

พ.ค.

6.47 4.91 7.26 6.33 6.21 8.16

พ.ค.

5.80 4.25 6.81 8.00 7.25 7.26

มิ.ย.

16.93 9.80 9.60 11.65 16.44 15.10

มิ.ย.

6.07 4.83 7.19 6.41 5.82 9.58

มิ.ย.

6.01 4.37 6.93 7.81 7.13 7.31

ก.ค.

15.57 9.64 9.88 12.42 16.27 14.26

ก.ค.

6.99 4.74 7.37 7.80 6.14 8.94

ก.ค.

5.95 4.41 7.00 7.54 7.39 7.32

ส.ค.

13.55 9.41 10.36 12.86 15.86 13.98

ส.ค.

6.50 4.74 7.58 8.07 8.43 9.33

ส.ค.

5.63 4.62 7.23 7.44 7.67

ก.ย.

11.80 9.26 11.50 13.68 15.67

ก.ย.

5.69 4.58 8.30 8.24 8.67

ก.ย.

4.79 4.72 7.30 7.34 7.65

ต.ค.

10.12 8.94 11.58 14.48 15.46

ต.ค.

5.84 5.30 8.14 8.32 8.81

ต.ค.

4.60 5.03 7.34 7.67 7.48

พ.ย.

9.43 9.97 11.61 15.66 15.45

พ.ย.

7.19 6.06 8.09 9.56 9.31

พ.ย.

4.06 5.41 7.76 7.80 7.25

ธ.ค.

8.88 12.60 11.36 16.12 15.30

ธ.ค.

7.04 7.51 7.89 8.05 9.23

ธ.ค. 5.69 4.58 7.19 6.33 5.82 7.32

ต่ำสุด

7.77 7.51 8.30 9.56 9.31 9.58

สูงสุด

8.88 8.94 9.53 11.29 15.30 13.98

ต่ำสุด

20.66 12.60 13.41 16.12 16.44 15.39

สูงสุด

4.06 3.95 5.43 7.34 6.59 6.79

ต่ำสุด

6.01 5.41 7.76 8.70 7.67 7.32

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

5.49 4.43 6.66 7.95 7.28 7.12

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.86 9.93 11.18 12.87 15.88 14.86

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.77 5.73 7.79 7.74 7.59 8.64

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

29.29 30.51 29.30 30.04 28.00 31.00

ม.ค.

29.78 30.90 29.30 29.80 28.00 30.00

ก.พ.

40.39 40.03 57.93 57.70 49.83 52.88

ม.ค.

40.58 39.54 66.06 63.33 48.89 62.57

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

43.58 53.34 41.67 40.38 50.60 60.00

ม.ค.

49.52 52.23 41.70 45.23 50.60 60.00

ก.พ.

ราคาน้ำมันปลา FO

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลาป่นนำเข้า

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาตับปลาหมึก SLP

54.52 50.56 41.89 45.95 50.60 60.00

มี.ค.

40.56 42.16 68.52 63.45 47.99 63.11

มี.ค.

30.14 31.19 29.30 29.80 28.00 30.00

มี.ค.

58.50 50.56 41.89 46.01 51.55 60.00

เม.ย.

39.36 43.54 68.06 55.21 48.12 62.66

เม.ย.

31.55 31.19 29.30 29.80 25.00 29.50

เม.ย.

59.83 44.80 41.89 46.01 54.45 60.00

พ.ค.

39.52 44.23 67.90 51.97 55.35 59.57

พ.ค.

30.40 30.16 29.30 29.80 26.89 29.50

พ.ค.

60.47 43.50 41.42 46.01 55.11 60.00

มิ.ย.

42.55 44.08 68.28 51.97 59.24 56.76

มิ.ย.

30.84 30.68 29.30 29.80 28.58 30.00

มิ.ย.

61.13 41.38 40.91 47.72 53.54 60.00

ก.ค.

44.51 44.44 67.46 50.29 61.16 55.32

ก.ค.

31.76 30.74 29.46 29.52 33.70 30.00

ก.ค.

61.67 40.94 40.31 49.85 52.28 60.00

ส.ค.

44.53 44.59 65.40 48.17 63.33 56.79

ส.ค.

32.00 30.77 29.70 29.25 30.80 31.00

ส.ค.

58.42 39.40 40.21 50.01 55.85

ก.ย.

46.14 45.59 60.86 43.92 56.80

ก.ย.

31.30 30.90 29.56 29.25 35.04

ก.ย.

55.47 38.55 40.15 50.36 55.98

ต.ค.

45.15 50.07 57.26 45.13 54.22

ต.ค.

31.17 31.02 29.34 29.25 36.13

ต.ค.

53.70 40.07 40.27 50.60 55.71

พ.ย.

40.43 53.30 56.45 48.26 68.37

พ.ย.

31.11 30.32 30.04 28.00 36.13

พ.ย.

51.35 39.21 40.38 50.60 55.08

ธ.ค.

39.45 53.30 56.45 48.61 74.33

ธ.ค.

30.82 30.32 30.04 28.00 36.13

ธ.ค. 29.29 30.16 29.30 28.00 25.00 29.50

ต่ำสุด

32.00 31.19 30.04 30.04 36.13 31.00

สูงสุด

39.36 39.54 56.45 43.92 47.99 52.88

ต่ำสุด

46.14 53.30 68.52 63.45 74.33 63.11

สูงสุด

43.58 38.55 40.15 40.38 50.60 60.00

ต่ำสุด

61.67 53.34 41.89 50.60 55.98 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

55.68 44.55 41.06 47.39 53.45 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

41.93 45.41 63.39 52.33 57.30 58.71

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

30.85 30.73 29.50 29.36 31.03 30.13

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

75

65.23 47.25 62.75 55.00 48.00 53.58

ม.ค.

6.69 6.32 7.02 8.12 7.73 8.94

ม.ค.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

22.22 19.63 16.69 19.28 18.73 17.75

ม.ค.

22.58 18.94 16.79 20.04 18.51 17.68

ก.พ.

7.13 6.29 7.25 8.20 7.45 9.15

ก.พ.

66.00 48.21 63.09 53.33 48.00 58.85

ก.พ.

WHEAT FLOUR

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

WHEAT BRAN

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

WHEAT GLUTEN

23.70 18.61 16.60 20.50 17.89 16.47

มี.ค.

7.43 6.29 7.59 7.76 6.67 7.66

มี.ค.

66.00 48.21 63.09 53.33 48.00 58.85

มี.ค.

24.59 17.32 16.30 20.50 17.80 16.70

เม.ย.

7.73 5.99 7.55 7.52 6.41 7.29

เม.ย.

66.00 58.39 63.09 53.33 46.50 58.85

เม.ย.

25.46 16.89 15.72 20.45 17.50 17.00

พ.ค.

7.00 5.26 7.16 6.94 6.23 8.75

พ.ค.

66.00 62.03 64.71 53.33 46.50 58.85

พ.ค.

25.48 17.00 15.72 19.94 17.20 16.90

มิ.ย.

6.19 4.85 6.90 6.61 5.86 8.82

มิ.ย.

66.00 63.26 64.78 53.33 48.54 58.85

มิ.ย.

24.56 17.00 15.05 19.82 17.15 16.70

ก.ค.

6.79 4.84 6.87 7.44 5.93 8.62

ก.ค.

66.00 60.89 64.78 49.28 51.00 55.64

ก.ค.

23.34 16.82 15.44 19.50 17.73 16.51

ส.ค.

6.87 4.79 7.21 7.77 7.93 8.81

ส.ค.

60.79 59.34 64.78 48.75 50.05 58.85

ส.ค.

22.39 16.67 18.55 19.26 17.38

ก.ย.

6.50 4.76 8.08 7.98 8.79

ก.ย.

51.71 61.70 64.78 48.75 48.13

ก.ย.

21.69 16.53 19.28 18.97 17.58

ต.ค.

5.78 5.00 7.92 8.06 9.24

ต.ค.

50.22 61.70 64.78 48.75 47.50

ต.ค.

21.16 16.34 19.10 18.97 17.98

พ.ย.

5.93 5.44 7.88 8.43 8.80

พ.ย.

50.22 61.95 55.92 48.75 47.50

พ.ย.

20.09 16.17 19.10 18.97 18.02

ธ.ค.

6.21 6.44 7.80 8.17 9.10

ธ.ค.

46.43 61.95 55.00 48.23 47.50

ธ.ค. 46.43 47.25 55.00 48.23 46.50 53.58

ต่ำสุด

66.00 63.26 64.78 55.00 51.00 58.85

สูงสุด

5.78 4.76 6.87 6.61 5.86 7.29

ต่ำสุด

7.73 6.44 8.08 8.43 9.24 9.15

สูงสุด

20.09 16.17 15.05 18.97 17.15 16.47

ต่ำสุด

25.48 19.63 19.28 20.50 18.73 17.75

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

23.11 17.33 17.03 19.68 17.79 16.96

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

6.69 5.52 7.44 7.75 7.51 8.51

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

60.05 57.91 62.63 51.18 48.10 57.79

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


76

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

17.44 19.41 23.24 25.86 28.01 27.44

ม.ค.

17.81 20.88 25.19 25.62 27.73 25.79

ก.พ.

77.50 69.89 85.00 90.50 86.67 120.00

ม.ค.

77.50 68.75 85.00 96.67 93.67 120.00

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

4.67 4.48 7.24 4.90 5.91

ม.ค.

4.49 4.34 7.14 4.80 5.42

ก.พ.

ราคากากปาล์มเมล็ดใน

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาปลาหมึกป่น SLM

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาเปลือกกุ้ง

3.95 3.92 5.77 4.75 5.02

มี.ค.

77.50 68.75 85.00 96.67 98.33 120.00

มี.ค.

18.50 21.51 25.56 27.40 27.45 25.79

มี.ค.

3.34 3.88 4.71 4.71 4.94

เม.ย.

77.50 70.11 85.00 96.67 98.33 120.00

เม.ย.

19.23 22.19 25.90 27.64 31.30 25.79

เม.ย.

3.06 4.07 4.59 4.63 5.14

พ.ค.

78.07 80.22 85.00 96.20 98.33 120.00

พ.ค.

19.22 23.83 26.81 28.99 31.30 25.79

พ.ค.

3.33 4.20 4.79 4.67 5.32

มิ.ย.

78.75 86.63 89.44 92.50 98.33 120.00

มิ.ย.

19.36 24.46 26.74 29.18 30.44 25.79

มิ.ย.

3.50 4.30 4.84 4.85 5.38

ก.ค.

73.99 87.50 90.50 98.10 96.67 120.00

ก.ค.

20.34 24.62 27.03 29.40 26.85 25.79

ก.ค.

4.83 3.44 4.74 4.54 5.96 5.40

ส.ค.

78.00 87.50 90.50 98.33 98.33 120.00

ส.ค.

23.48 24.69 26.89 29.40 29.16 24.69

ส.ค.

4.83 3.05 5.46 4.41 5.96

ก.ย.

81.25 88.25 90.50 93.40 120.00

ก.ย.

24.29 25.34 26.69 29.12 27.24

ก.ย.

4.42 2.88 6.30 4.51 5.59

ต.ค.

78.94 88.25 90.50 86.67 120.00

ต.ค.

23.91 24.94 26.65 28.66 26.58

ต.ค.

4.36 3.10 7.12 4.86 5.81

พ.ย.

66.70 85.00 90.50 86.67 120.00

พ.ย.

21.47 21.32 26.29 28.66 26.72

พ.ย.

4.50 3.44 7.12 5.03 6.00

ธ.ค.

60.52 85.00 90.50 86.67 120.00

ธ.ค.

19.01 21.23 26.00 28.23 26.74

ธ.ค. 17.44 19.41 23.24 25.62 26.58 24.69

ต่ำสุด

24.29 25.34 27.03 29.40 31.30 27.44

สูงสุด

60.52 68.75 85.00 86.67 86.67 120.00

ต่ำสุด

81.25 88.25 90.50 98.33 120.00 120.00

สูงสุด

4.36 2.88 3.88 4.41 4.63 4.94

ต่ำสุด

4.83 4.67 7.12 7.24 6.00 5.91

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

4.59 3.52 4.99 5.20 5.22 5.32

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

75.52 80.49 88.12 93.25 104.06 120.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

20.34 22.87 26.08 28.18 28.29 25.86

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

77

8.77 18.00 22.50 26.00 10.00 14.85

ม.ค.

107.27 118.00 135.75 144.50 110.50 116.65

ม.ค.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

176.00 190.00 205.00 264.00 213.00 267.00

ม.ค.

ราคาไข่ไก่คละ

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

213.00 190.00 251.00 270.00 254.00 280.00

ก.พ.

110.94 115.50 140.75 144.50 110.50 128.91

ก.พ.

12.90 18.00 24.50 26.00 10.00 16.00

ก.พ.

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกไก่ไข่

248.00 207.00 241.00 284.00 260.00 270.00

มี.ค.

128.44 115.12 141.62 146.72 106.67 135.00

มี.ค.

20.90 20.23 24.85 26.74 8.68 16.00

มี.ค.

241.00 240.00 241.00 304.00 227.00 276.00

เม.ย.

133.15 137.09 139.50 150.50 93.50 138.81

เม.ย.

22.00 27.36 24.00 28.00 7.00 18.57

เม.ย.

245.00 237.00 255.00 300.00 254.00 313.00

พ.ค.

137.50 143.70 146.50 150.50 97.67 154.17

พ.ค.

22.00 27.96 27.00 28.00 8.67 23.25

พ.ค.

224.00 238.00 276.00 282.00 268.00 323.00

มิ.ย.

133.50 142.50 152.38 150.50 103.50 159.30

มิ.ย.

20.32 27.00 29.15 28.00 11.00 25.00

มิ.ย.

210.00 244.00 278.00 282.00 229.00 291.00

ก.ค.

127.50 142.50 147.96 150.50 98.33 150.50

ก.ค.

16.00 27.00 27.38 28.00 7.50 23.00

ก.ค.

226.00 260.00 270.00 300.00 246.00 320.00

ส.ค.

127.50 149.90 144.50 150.50 93.50 153.87

ส.ค.

16.00 28.56 26.00 28.00 6.00 24.31

ส.ค.

237.00 241.00 272.00 300.00 240.00

ก.ย.

129.12 149.27 144.50 150.50 99.50

ก.ย.

17.62 28.62 26.00 28.00 8.40

ก.ย.

208.00 216.00 253.00 300.00 235.00

ต.ค.

129.54 142.38 144.50 150.50 105.50

ต.ค.

18.47 15.15 26.00 26.00 11.00

ต.ค.

214.00 233.00 253.00 313.00 236.00

พ.ย.

124.30 142.10 144.50 150.50 108.77

พ.ย.

17.57 25.04 26.00 26.00 11.88

พ.ย.

222.00 236.00 253.00 258.00 240.00

ธ.ค.

125.50 143.85 144.50 139.57 110.50

ธ.ค.

19.54 25.74 26.00 21.83 13.00

ธ.ค. 8.77 15.15 22.50 21.83 6.00 14.85

ต่ำสุด

22.00 28.62 29.15 28.00 13.00 25.00

สูงสุด

107.27 115.12 135.75 139.57 93.50 116.65

ต่ำสุด

137.50 149.90 152.38 150.50 110.50 159.30

สูงสุด

176.00 190.00 205.00 258.00 213.00 267.00

ต่ำสุด

248.00 260.00 278.00 313.00 268.00 323.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

222.00 227.67 254.00 288.08 241.83 292.50

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/100 ฟอง

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

126.19 136.83 143.91 148.27 103.20 142.15

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

17.67 24.06 25.78 26.71 9.43 20.12

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


78

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

13.50 7.25 18.00 17.50 14.50 16.19

ม.ค.

12.92 8.98 18.50 18.37 12.94 11.20

ก.พ.

35.63 31.58 44.33 45.24 36.20 42.69

ม.ค.

37.18 32.88 45.00 47.28 34.70 37.91

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

45.19 52.28 58.25 51.00 54.47 58.22

ม.ค.

53.12 55.34 60.19 58.86 49.63 68.28

ก.พ.

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกไก่เนื้อ

58.32 56.82 60.41 61.50 48.85 59.70

มี.ค.

39.52 30.28 40.96 48.30 27.53 38.97

มี.ค.

15.50 4.50 18.50 20.50 6.18 10.96

มี.ค.

57.07 59.60 60.41 67.11 59.63 64.06

เม.ย.

40.78 31.18 42.09 52.10 33.13 44.88

เม.ย.

16.50 5.23 18.50 21.32 6.31 18.17

เม.ย.

53.72 60.00 60.50 70.00 62.50 64.53

พ.ค.

41.02 36.45 44.28 54.60 39.33 45.97

พ.ค.

15.58 13.89 20.07 22.50 11.33 18.67

พ.ค.

52.68 58.00 60.50 70.00 55.15 65.15

มิ.ย.

36.06 37.92 42.46 50.25 38.22 43.04

มิ.ย.

9.06 14.50 19.35 20.96 12.50 17.50

มิ.ย.

50.72 55.30 61.93 72.88 54.95 65.92

ก.ค.

37.46 38.00 37.47 43.60 35.20 44.00

ก.ค.

11.35 14.50 16.10 17.34 12.50 17.50

ก.ค.

53.74 55.00 59.37 80.40 54.31 70.54

ส.ค.

42.62 38.00 36.07 42.20 35.53 44.05

ส.ค.

16.34 14.50 12.58 15.73 12.50 19.27

ส.ค.

51.79 54.02 56.83 70.77 54.13

ก.ย.

37.54 40.68 37.63 41.74 33.58

ก.ย.

13.81 15.19 14.14 16.50 12.02

ก.ย.

51.52 52.18 51.52 55.50 47.65

ต.ค.

30.36 41.62 36.02 38.58 31.37

ต.ค.

7.66 16.50 14.50 14.58 6.96

ต.ค.

51.21 55.44 51.38 52.87 54.31

พ.ย.

31.00 40.00 37.33 37.67 40.73

พ.ย.

8.94 16.50 14.50 14.50 10.42

พ.ย.

51.13 57.25 51.45 61.08 52.33

ธ.ค.

30.84 41.00 41.93 36.90 40.75

ธ.ค.

8.25 16.50 15.50 14.50 14.07

ธ.ค. 7.66 4.50 12.58 14.50 6.18 10.96

ต่ำสุด

16.50 16.50 20.07 22.50 14.50 19.27

สูงสุด

30.36 30.28 36.02 36.90 27.53 37.91

ต่ำสุด

42.62 41.62 45.00 54.60 40.75 45.97

สูงสุด

45.19 52.18 51.38 51.00 47.65 58.22

ต่ำสุด

58.32 60.00 61.93 80.40 62.50 70.54

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

52.52 55.94 57.73 64.33 53.99 64.55

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

36.67 36.63 40.46 44.87 35.52 42.69

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

12.45 12.34 16.69 17.86 11.02 16.18

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 151 กรกฎาคม-สิงหาคม 2556

79

1,238.46 1,475.00 1,875.00 1,637.50 1,734.80 1,476.92

ม.ค.

1,750.00 1,600.00 1,900.00 1,930.43 1,552.00 1,786.96

ก.พ.

1,800.00 1,607.69 1,900.00 2,000.00 1,312.00 1,561.54

มี.ค.

13.00 15.00 18.00 18.00

ม.ค.

13.00 15.00 18.00 17.22

ก.พ.

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

45.77 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ม.ค.

49.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ก.พ.

มี.ค.

50.88 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

13.00 16.78 18.00 16.00

มี.ค.

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

2551 2552 2553 2554 2555 2556

เดือน

ราคาลูกสุกรขุน

56.17 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

เม.ย.

13.00 18.00 18.00 16.00

เม.ย.

1,673.91 1,804.55 1,900.00 2,000.00 1,452.38 1,866.67

เม.ย.

57.92 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

พ.ค.

13.00 18.00 18.00 18.00

พ.ค.

1,316.67 1,847.83 1,900.00 2,000.00 1,666.67 1,600.00

พ.ค.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

มิ.ย.

13.00 18.00 18.00 18.00

มิ.ย.

1,296.00 1,661.54 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,600.00

มิ.ย.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ก.ค.

13.00 18.00 18.00 18.00

ก.ค.

1,053.85 1,500.00 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,676.92

ก.ค.

59.36 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ส.ค.

13.00 18.00 18.00 18.00

ส.ค.

1,284.00 1,596.00 1,844.00 2,400.00 1,500.00 1,965.38

ส.ค.

60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ก.ย.

13.84 18.00 18.00

ก.ย.

1,223.08 1,600.00 1,720.00 2,161.54 1,476.00

ก.ย.

60.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ต.ค.

15.00 18.00 18.00

ต.ค.

1,346.15 1,600.00 1,600.00 1,896.15 1,200.00

ต.ค.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

พ.ย.

15.00 18.00 18.00

พ.ย.

1,400.00 1,752.00 1,600.00 1,746.00 1,376.92

พ.ย.

58.00 58.00 58.00 58.00 60.00

ธ.ค.

15.00 18.00 18.00

ธ.ค.

1,400.00 1,800.00 1,600.00 1,965.22 1,256.52

ธ.ค. 1,053.85 1,475.00 1,600.00 1,637.50 1,200.00 1,476.92

ต่ำสุด

1,800.00 1,847.83 1,900.00 2,400.00 1,734.80 1,965.38

สูงสุด

13.00 15.00 18.00 16.00

ต่ำสุด

15.00 18.00 18.00 18.00

สูงสุด

45.77 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

ต่ำสุด

60.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

สูงสุด

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

55.93 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

13.57 17.40 18.00 17.40

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1,398.51 1,653.72 1,803.25 1,978.07 1,460.61 1,691.80

เฉลี่ย

หน่วย : บาท/ตัว


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ(ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด 6. บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท ท็อปฟีดมิลล์ จำกัด 9. บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 10. บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด 11. บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 12. บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด 13. บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด 14. บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด 15. บริษัท ตงชาง เครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด 16. บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด 17. บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด 18. บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด 19. บริษัท ลีโก้ อินสตรูเมนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2247-7000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2279-7534 โทร. 0-2910-9728-29 โทร. 0-2938-1406-8 โทร. 0-3488-6140-46 โทร. 0-2784-7900 โทร. 0-2757-4792-5 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2640-8013 โทร. 0-2886-4350




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.